SlideShare a Scribd company logo
1 of 60
Download to read offline
1คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน
2 คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน
ที่ปรึกษา
	 นางวันทนีย์  วัฒนะ  	 ผู้อำ�นวยการสำ�นักอนามัย
	 นายโกวิท  ยงวานิชจิต    	 รองผู้อำ�นวยการสำ�นักอนามัย
	 นางชุดาภรณ์  ศิริสนธิ   	 ผู้อำ�นวยการกองการพยาบาล	
	 	 สาธารณสุข
คณะผู้จัดทำ�
	 นางสาววาณีรัตน์  รุ่งเกียรติกุล
	 นางสกาวดี  ดอกเทียน
	 นางชนัญทิพพ์  เรียงวิโรจน์กิจ
	 นางสาวปัญญภัสส์  ปานจันทร์
	 นางสาวปัทมา  เติมบุญ
3คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน
บทน�ำ
	
	 คู่มือ การดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องส�ำหรับประชาชน จัดท�ำขึ้น
เพื่อให้ประชาชนที่ป่วยเป็นโรคไตและผู้ดูแลได้เรียนรู้ ท�ำความเข้าใจเกี่ยวกับ
เทคนิควิธีการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม หรือการล้างไตทางช่องท้อง
ด้วยตนเองที่บ้านได้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพ
กายและใจ ท�ำให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
	 ส�ำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร โดยกองการพยาบาลสาธารณสุข
ได้ตระหนักในความส�ำคัญดังกล่าว จึงได้จัดท�ำคู่มือการดูแลผู้ป่วยล้างไต
ทางช่องท้องส�ำหรับประชาชน  และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้ จะเป็น
ประโยชน์แก่ผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรังโรคไตที่สนใจจะฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
หรือล้างไตทางช่องท้องด้วยตนเองที่บ้าน ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถใช้
ชีวิตกับครอบครัวได้อย่างมีความสุข ตามเจตนารมณ์ของผู้บริหารกรุงเทพมหานคร
                                               (นางชุดาภรณ์  ศิริสนธิ)   
	 	                    ผู้อ�ำนวยการกองการพยาบาลสาธารณสุข
4 คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน
สารบัญ
                                                                    หน้า
บทนำ�	
คุณรู้ไหมว่าไตเราทำ�หน้าที่อะไรบ้าง	 5
โรคไตคืออะไรและมีกี่ชนิด	 6
รู้หรือไม่ผลของไตวายจะมีอาการอย่างไร	 7
วิธีการบำ�บัดทดแทนไต	 8
ชนิดของการล้างไตทางช่องท้อง	 14
รูปแบบต่างๆ ของการล้างไตทางช่องท้อง 	 19
ชนิดของน้ำ�ยาล้างไตทางช่องท้องมีอะไรบ้าง	22
การล้างไตผ่านทางช่องท้อง ช่วยให้คุณภาพชีวิต	 24
ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังดีขึ้นอย่างไร?
การดำ�รงชีวิตของผู้ป่วย ญาติ และผู้ดูแล	25
ควรวางสายล้างไตทางช่องท้องอย่างไรให้ปลอดภัย	 26
การเตรียมสถานที่ และสิ่งแวดล้อมสำ�หรับการล้างไต	 27
ทางช่องท้อง
ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังควรรับประทานอาหารให้เหมาะสม	 43
อย่างไร
5คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน
คุณรู้ไหมว่าไตเราทำ�หน้าที่อะไรบ้าง
	 เนื่องจากไตเป็นอวัยวะที่สำ�คัญมาก ทำ�ให้เราสามารถดำ�รงชีวิตอยู่ได้
หากเกิดการเจ็บป่วยเป็นโรคไต ผู้ป่วยควรจะเรียนรู้ ทำ�ความเข้าใจ หน้าที่
การทำ�งานของไต เพื่อชะลอการเสื่อมการทำ�งานของไต ที่มีหลายประการ
ดังนี้
	 1. การกำ�จัดของเสีย หรือสารที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ยาและสาร
ต่างๆ ที่มีมากเกินไป หรือมีอันตรายต่อร่างกาย
	 2. ดูดซึมและเก็บสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายไว้ ไม่ให้เสียไปกับ
ปัสสาวะ
	 3. รักษาสมดุลน้ำ�ของร่างกาย โดยเมื่อร่างกายมีน้ำ�มากเกินไป ไตจะ
ขับน้ำ�ส่วนเกินออก แต่เมื่อร่างกายขาดน้ำ� ไตจะพยายามสงวนน้ำ�ไว้ในร่างกาย
	 4. รักษาสมดุลกรดด่างและเกลือแร่ในร่างกาย เช่น โซเดียม โพแทสเซียม
แคลเซียม ฟอสเฟต และแมกนีเซียม ให้อยู่ในระดับที่พอเหมาะ
	 5. ควบคุมความดันโลหิตผ่านทางการควบคุมสมดุลน้ำ� และเกลือแร่
บางชนิด
	 6. สร้างฮอร์โมน อีริโทรโปอิติน (Erythropoietin) ที่ควบคุมการสร้าง
เม็ดเลือดแดงจากไขกระดูก ทำ�ให้ไม่เกิดภาวะโลหิตจาง และสร้างฮอร์โมน
แคลซิไตรออล (Calcitriol) ซึ่งควบคุมการดูดซึมแคลเซียม และฟอสฟอรัส
ทำ�ให้กระดูกแข็งแรง
6 คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน
โรคไตคืออะไรและมีกี่ชนิด
	
	 โรคไต หมายถึง ภาวะที่มีความผิดปกติของไต มีสาเหตุเกิดจากโรคต่างๆ
มากมาย เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดฝอยไต
อักเสบ ได้แก่ โรคเอสแอลอี (SLE) โรคไตอักเสบ ไอจีเอ (IGA) เป็นต้น และจาก
การศึกษาของสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2549-พ.ศ. 2551
พบว่าประชากรไทยมีความชุกโรคไตเรื้อรังร้อยละ 17.6 ของประชากรไทย
ทั่วประเทศ
	 ชนิดของการเป็นโรคไต ถ้าแบ่งตามระยะเวลาของการด�ำเนินโรค
และความสามารถในการฟื้นตัว แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
	 โรคไตเฉียบพลัน หมายถึงภาวะที่ไตเสียการท�ำงานไปอย่างรวดเร็ว
แต่เสียการท�ำงานเพียงชั่วคราว และเมื่อรักษาสาเหตุได้แล้ว การท�ำงานของไต
จะกลับฟื้นตัวดีขึ้นจนเป็นปกติได้ ถ้าจ�ำเป็นต้องรับการบ�ำบัดทดแทนไต
ก็สามารถหยุดได้เมื่อไตฟื้นตัว
	 โรคไตเรื้อรัง หมายถึงภาวะที่มีการท�ำลายเนื้อไตอย่างถาวร แม้โรคไต
ที่เป็นสาเหตุจะสงบลงแล้ว ไตก็ไม่ฟื้นตัวเป็นปกติ และมีเนื้อเยื่อพังผืดแทรก
เข้าไปในเนื้อไต ถ้าเป็นรุนแรงจะท�ำให้ไตค่อยๆ ฝ่อ เล็กลง และค่อยๆ เสื่อม
หน้าที่ลงไปเรื่อยๆ อย่างไม่มีทางเลี่ยง จนเข้าสู่ภาวะโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย
ซึ่งผู้ป่วยจ�ำเป็นต้องรับการบ�ำบัดทดแทนไต ด้วยการปลูกถ่ายไตหรือการผ่าตัด
เปลี่ยนไต การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม หรือการล้างไตทางช่องท้อง
7คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน
รู้หรือไม่ผลของไตวายจะมีอาการอย่างไร
	 เมื่อผู้ป่วยเข้าสู่ภาวะโรคไตวาย จะท�ำให้เกิดอาการที่เกิดจากการเสีย
หน้าที่ต่างๆ ของไต ดังนี้
	 1. เสียหน้าที่ในการขับน�้ำ ท�ำให้มีปัสสาวะออกน้อย บวม เหนื่อย
หอบ นอนราบไม่ได้ จากน�้ำท่วมปอด เนื่องจากภาวะน�้ำและเกลือเกิน
	
	 2. เสียหน้าที่ในการขับของเสีย เสียสมดุล กรดด่าง และเกลือแร่ ท�ำให้
มีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ คันตามผิวหนัง
เลือดออกง่ายหยุดยาก กล้ามเนื้อแขนขากระตุก ไม่มีแรง ในรายที่เป็นมาก
อาจซึม หมดสติ หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือหัวใจหยุดเต้น และเสียชีวิตได้
	
	 3. เสียหน้าที่ในการสร้างฮอร์โมน ท�ำให้เกิดโรคภาวะโลหิตจาง
หรือกระดูกบาง
8 คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน
วิธีการบำ�บัดทดแทนไต
	 ปัจจุบันมีวิธีการบ�ำบัดทดแทนไต 3 วิธีดังนี้
	 1. การปลูกถ่ายไตหรือการผ่าตัดเปลี่ยนไต
	 2. การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
	 3. การล้างไตทางช่องท้อง(Peritoneal Dialysis :PD)
	 การเลือกวิธีบ�ำบัดทดแทนไต จะเลือกวิธีใด ต้องพิจารณาให้เหมาะสม
ในหลายๆ ด้าน แต่ถ้าไม่มีข้อจ�ำกัดใดๆ ขึ้นกับความพอใจของผู้ป่วยและครอบครัว
เป็นหลัก
	
	 ทั้งนี้ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม และการล้างไตทางช่องท้อง
เป็นเพียงการน�ำวิธีทางการแพทย์ มาท�ำหน้าที่แทนไตที่เสียไป มิใช่การรักษา
เพื่อให้ไตที่วายไปแล้ว ฟื้นตัวกลับมาเป็นปกติ ดังนั้น ผู้ป่วยจะต้องฟอกเลือด
ด้วยเครื่องล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องไปตลอดชีวิต หรือจนกว่าจะได้รับ
ไตเทียม หรือการผ่าตัดปลูกถ่ายไตใหม่
9คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน
	 1. การปลูกถ่ายไตหรือการผ่าตัดเปลี่ยนไต เป็นการปลูกถ่ายไตใหม่
เข้าไป เพื่อท�ำหน้าที่ทดแทนไตเดิม ซึ่งปัจจุบันถือว่าเป็นการรักษาทดแทนไต
ที่ดีสุด เนื่องจากไตใหม่จะท�ำงานได้ใกล้เคียงไตเดิมของผู้ป่วย และท�ำหน้าที่
ได้ดีกว่าการฟอกเลือดทั้ง 2 ชนิด จึงท�ำให้ผู้ป่วยมีสุขภาพดีกว่า มีโอกาสเจ็บป่วย
และเสียชีวิตน้อยกว่า และมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าการฟอกเลือด ไตใหม่จะได้
มาจากการบริจาค โดยอาจมาจากญาติที่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือด หรือสามี
ภรรยา หรือมาจากผู้ที่มีภาวะสมองตายที่ยินดีบริจาค
	
	
	 ไตใหม่ที่ปลูกถ่ายเข้าไป ถือเป็นสิ่งแปลกปลอมของผู้ป่วย ร่างกาย
ผู้ป่วยจะมีการสร้างภูมิต้านทาน เพื่อขจัดสิ่งแปลกปลอม เพราะฉะนั้น ผู้ป่วย
ทุกรายที่ได้รับการปลูกถ่ายไตใหม่ จะต้องได้รับยากดภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกัน
ปฏิกิริยาการปฏิเสธอวัยวะ การกินยากดภูมิคุ้มกันต้องกินไปตลอดชีวิต
ถ้าขาดยาอาจท�ำให้ไตที่ปลูกถ่ายเสีย จากปฏิกิริยาการปฏิเสธอวัยวะ
10 คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน
	 ผลจากการรับประทานยากดภูมิคุ้มกัน ท�ำให้ผู้ป่วยเปลี่ยนไต มีภูมิคุ้มกัน
น้อยมาก จึงจ�ำเป็นที่ผู้ป่วยเปลี่ยนไตทุกคน จะต้องวางแผนการใช้ชีวิตประจ�ำวัน
ใหม่ เพราะต้องดูแลตนเองเป็นพิเศษ เช่น
	 การใส่หน้ากากอนามัย (MASK) เพื่อปิดจมูกและปากตลอดเวลา
เพื่อป้องกันการติดเชื้อโรคจากบุคคลอื่นที่อยู่ใกล้ชิดที่ป่วย และไม่รู้ว่าป่วย
ทั้งที่บ้าน และชุมชนต่างๆ
	 การดูแลในเรื่องการควบคุมอาหาร รสชาติ เครื่องปรุง เวลาในการ
รับประทานยากดภูมิคุ้มกันและยารักษาโรคประจ�ำตัว รวมทั้งการตรวจเช็ค
และปรับระดับยาให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมอยู่เสมอ เพื่อป้องกันการเกิดผล
ข้างเคียงจากยา 		 	 	 	 	 	 	
	 นอกจากนี้การผ่าตัดเปลี่ยนไตเป็นการผ่าตัดใหญ่ จึงมีความเสี่ยง
ต่อภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดได้เหมือนการผ่าตัดใหญ่ทั่วไป จึงจ�ำเป็นต้อง
มีการประเมินผู้ป่วยว่าเหมาะสมที่จะท�ำการผ่าตัดหรือไม่ และมีการเตรียมผู้ป่วย
ก่อนผ่าตัด และการดูแลหลังผ่าตัดเป็นอย่างดี
	 อย่างไรก็ตามผู้ป่วยส่วนใหญ่ ต้องรับการรักษาด้วยฟอกเลือดก่อน
เพื่อเตรียมสภาพร่างกายให้แข็งแรงและพร้อมส�ำหรับการผ่าตัด นอกจากนี้
การรอไตบริจาคจากผู้มีภาวะสมองตาย มีระยะเวลารอคอยเฉลี่ยประมาณ 4 ปี
ซึ่งเป็นระยะเวลาที่นานเกินกว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีชีวิตอยู่ได้ โดยไม่ได้รับ
การฟอกเลือดไปก่อน แต่ถ้าเป็นไตที่ได้รับบริจาคจากญาติ สามี หรือภรรยา
ที่สุขภาพแข็งแรง และมีเนื้อเยื่อเข้ากันได้ ก็สามารถท�ำการผ่าตัดได้ในเวลา
ประมาณ 1-3 เดือน จะเห็นได้ว่าหลังการผ่าตัดปลูกถ่ายไตแล้ว ผู้ป่วยก็ยังคง
ต้องมาติดตามการรักษากับแพทย์อย่างสม�่ำเสมอ และปฏิบัติตามค�ำแนะน�ำ
ของแพทย์อย่างเคร่งครัด
11คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน
	 2. การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม คือการน�ำเลือดออกจากตัว
ผู้ป่วยออกมาฟอกด้วยเครื่องไตเทียม โดยเมื่อเริ่มการฟอกเลือด จะต้องแทงเข็ม
เข้าสู่หลอดเลือดพิเศษ หรือหลอดเลือดเทียมที่เตรียมไว้ล่วงหน้า และต่อเข็ม
เข้ากับท่อน�ำเลือดของเครื่องไตเทียม หรือในกรณีที่ใช้สายสวนหลอดเลือดด�ำ 
ก็จะต่อปลายสายสวนดังกล่าว เข้ากับท่อน�ำเลือด เพื่อน�ำเลือดจากผู้ป่วย ไปท�ำ
การฟอกในตัวกรองของเครื่องไตเทียม ในตัวกรองนี้ เลือดของผู้ป่วยจะมีการ
แลกเปลี่ยนสารต่างๆกับน�้ำยาชนิดพิเศษ โดยของเสียในเลือดของผู้ป่วยจะ
เคลื่อนที่ออกจากเลือดไปยังน�้ำยา และจะมีการแลกเปลี่ยนของเกลือแร่ต่างๆ
และกรดด่าง จนมีระดับที่เหมาะสม นอกจากนี้ตัวกรองยังท�ำหน้าที่กรองน�้ำ
ส่วนเกินออกจากตัวผู้ป่วย เยื่อกรองในตัวกรองดังกล่าว ถูกออกแบบไม่ให้
เม็ดเลือดต่างๆ รวมทั้งโปรตีน เสียออกไปจากร่างกายของผู้ป่วย หลังจากที่
เลือดได้ผ่านการกรองท�ำให้สะอาด และมีระดับเกลือแร่และกรดด่างที่เหมาะสม
แล้ว เครื่องไตเทียมจะน�ำเลือดที่ดีกลับคืนสู่ตัวผู้ป่วย
	 โดยทั่วไปผู้ป่วยจะได้รับการฟอกเลือดครั้งละ 4-5 ชั่วโมง สัปดาห์ละ
2-3 ครั้ง เนื่องจากต้องใช้เครื่องไตเทียมที่มีระบบการท�ำงานที่ซับซ้อน ดังนั้น
การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม จึงต้องท�ำที่โรงพยาบาลหรือศูนย์ไตเทียม
โดยมีพยาบาลและเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการฟอกเลือดเป็นผู้ดูแลอย่าง
ใกล้ชิด
12 คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน
	 3. การล้างไตทางช่องท้อง(Peritoneal Dialysis : PD) เป็นการ
ฟอกเลือดโดยใช้เยื่อบุภายในช่องท้องของผู้ป่วยเป็นเยื่อตัวกรอง ท�ำหน้าที่กรอง
ของเสีย น�้ำ แลกเปลี่ยนเกลือแร่ต่างๆ  และกรดด่างระหว่างเลือดผู้ป่วย ที่ผ่าน
เข้ามาในบริเวณหลอดเลือดที่ผนังช่องท้องกับน�้ำยาล้างไต
	 หลักการท�ำงานของการล้างไตทางช่องท้อง จะอาศัยแรงโน้มถ่วงของ
โลกในการปล่อยน�้ำยาเข้าและออกจากช่องท้อง เมื่อต่อถุงน�้ำยากับสายต่อท่อ
ล้างไต แล้วยกขึ้นให้สูงระดับไหล่หรือสูงกว่า น�้ำยาใหม่จากถุงจะไหลเข้าสู่
ช่องท้อง เมื่อน�้ำยาหมดถุงสามารถปลดสายออกจากท่อต่อล้างไต ทิ้งน�้ำยา
ค้างไว้ในท้องเป็นเวลา 4-8 ชั่วโมง ระยะที่น�้ำยาค้าง และปลดสายถุงน�้ำ
ออกนั้น ผู้ป่วยสามารถมีกิจวัตรประจ�ำวันได้ตามปกติ  
	 เมื่อครบ  4-8 ชั่วโมง น�้ำยาล้างไตที่มีของเสียอยู่ จะถูกปล่อยออกจาก
ช่องท้อง และถูกแทนที่ด้วยน�้ำยาใหม่ที่เติมเข้าไป ซึ่งทั้งหมดนี้ เรียกว่า การเปลี่ยน
น�้ำยาล้างไตและการแลกเปลี่ยนของเสีย (Exchange)
	 การแลกเปลี่ยนน�้ำยาจะท�ำวันละ 4-5 รอบ ขึ้นอยู่กับการรักษาของ
แพทย์
13คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน
14 คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน
ชนิดของการล้างไตทางช่องท้อง
การล้างไตทางช่องท้อง (PD) มี 2 ชนิด ดังนี้
	 1.การล้างไตทางช่องท้องด้วยเครื่องอัตโนมัติ
	 (Automated Peritoneal Dialysis : APD)
	 	 การล้างไตทางช่องท้องด้วยเครื่องอัตโนมัติ บางครั้งเรียกว่า
การล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องด้วยเครื่อง (Continuous Cycle Peritoneal
Dialysis:CCPD) เป็นการล้างไตทางช่องท้องด้วยเครื่องควบคุมการเปลี่ยน
ถ่ายน�้ำยาล้างไตแบบอัตโนมัติ ซึ่งจะท�ำในเวลากลางคืน ขณะที่ผู้ป่วยนอนหลับ
ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะค้างน�้ำยาล้างไตไว้ในช่องท้อง หรือเปลี่ยนถ่ายน�้ำยาล้างไต
เพียงครั้งเดียวระหว่างวัน
15คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน
	 การล้างไตทางช่องท้องด้วยเครื่องอัตโนมัติ เหมาะส�ำหรับผู้ป่วยที่
ต้องการอิสระจากการล้างไตตอนกลางวัน หรือถ้าจ�ำเป็นต้องท�ำ ใช้จ�ำนวนครั้ง
น้อยลง และไม่จ�ำเป็นต้องเปลี่ยนถ่ายน�้ำยาล้างไตทุกๆ 4-8 ชั่วโมง ท�ำให้
โอกาสติดเชื้อเข้าไปในช่องท้องลดลง อีกทั้งยังสามารถลดขั้นตอนการท�ำให้
น้อยลง ช่วยลดภาระของผู้ดูแล แต่น�้ำยาและอุปกรณ์ดังกล่าว ยังมีราคาแพง
กว่าแบบที่ใช้กันอยู่ทั่วไปมาก และอาจไม่เหมาะกับผู้ที่มีการไหลเข้าออกของ
น�้ำยาจากช่องท้องไม่ดี ท�ำให้เครื่องหยุดท�ำงานบ่อย หรือในผู้ป่วยที่หลับยาก
ตื่นง่าย เนื่องจากมีการท�ำงานของเครื่องขณะนอนหลับ
16 คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน
	 2.การล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องด้วยตนเอง
	 (Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis : CAPD)
	 การล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องด้วยตนเองเป็นการท�ำความสะอาด
เลือดตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน โดยผู้ป่วยสามารถท�ำกิจวัตร เช่น เดินไปมาได้
ตามปกติ แม้ในขณะที่มีการเปลี่ยนถ่ายน�้ำยาล้างไต เพราะการล้างไตทางช่องท้อง
อย่างต่อเนื่องด้วยตนเองนี้ ใช้เพียงถุงน�้ำยาล้างไตซึ่งแขวนบนเสาที่มีล้อ
ในระหว่างการใส่น�้ำยาล้างไตเข้าไปในช่องท้อง และสายที่เชื่อมต่อมายังสายท่อ
ล้างไต
	 ผู้ป่วยส่วนใหญ่ต้องเปลี่ยนถ่ายน�้ำยาล้างไตวันละ 4 ครั้ง คือ เมื่อตื่นนอน
ตอนเช้า ตอนกลางวัน ก่อนอาหารเย็น และก่อนนอน ซึ่งการเปลี่ยนน�้ำยา
ล้างไตในแต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 30 นาที น�้ำยาล้างไตจะค้างอยู่ในช่องท้อง
ในช่วงที่มีการแลกเปลี่ยนของเสียและในช่วงเวลากลางคืน
	 ในขณะที่มีการเปลี่ยนถ่ายน�้ำยาล้างไต ผู้ป่วยสามารถท�ำกิจกรรมต่างๆ
ที่ไม่เป็นข้อห้ามได้ เช่น ดูทีวี คุยโทรศัพท์ นั่งท�ำงานบนโต๊ะ หรืออ่านหนังสือ
เป็นต้น การเปลี่ยนถ่ายน�้ำยาล้างไตสามารถท�ำได้ในบริเวณที่สะอาด ไม่ว่า
จะเป็นที่บ้าน ที่ท�ำงาน หรือแม้แต่เวลาไปท่องเที่ยว
17คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน
ชุดอุปกรณ์ส�ำหรับการล้างไตทางช่องท้อง
ภาพแสดงชุดอุปกรณ์ส�ำหรับการล้างไตทางช่องท้อง
สายล้างไตทาง
ช่องท้อง
สายต่อเพื่อการส่งผ่าน
น�้ำยาชนิดสั้น
ถุงน�้ำยา
ล้างไตใหม่
ท่อส่งน�้ำยาเข้าออก
ถุงเปล่า (ถุงรับน�้ำยา
จากช่องท้อง)
18 คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน
	 1. อุปกรณ์ที่ติดอยู่กับตัวผู้ป่วยตลอดเวลา
	 	 1.1 สายล้างไตทางช่องท้อง (Tenckhoff Catheter) เป็นสายท่ออ่อน
ขนาดเล็กที่ใส่เข้าไปในช่องท้องผ่านทางผนังหน้าท้อง เพื่อเป็นช่องทางให้น�้ำยา
ล้างไตไหลเข้าออก การใส่สายท่อล้างไตเข้าไปในช่องท้อง ใช้เพียงการผ่าตัดเล็ก
แบบผู้ป่วยนอก และควรปล่อยให้แผลสมานดีเสียก่อนที่จะเริ่มท�ำการล้างไต
ซึ่งอาจใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ โดยปกติแล้วสายท่อล้างไต จะไม่สร้าง
ความเจ็บปวด และจะติดอยู่กับร่างกายของผู้ป่วยตลอดการล้างไตทางช่องท้อง
ซึ่งสามารถใช้ได้ตลอดชีวิตของผู้ป่วย หากไม่มีปัญหาแทรกซ้อน เช่น อุดตัน
สายลอยจากต�ำแหน่งที่ก�ำหนด ฯลฯ
	 	 1.2 สายต่อเพื่อการส่งผ่านน�้ำยาชนิดสั้น (transfer set) ซึ่งมีอายุ
การใช้งานประมาณ 6 เดือน ดังนั้นทุก 6 เดือนท่านต้องไปติดต่อที่หน่วยล้างไต
ทางช่องท้องเพื่อเปลี่ยนสายยาง
	 2. อุปกรณ์ที่ไม่ติดอยู่กับตัวผู้ป่วยตลอดเวลา
	 	 2.1 ท่อส่งน�้ำยาเข้าออก
	 	 2.2 ถุงน�้ำยา
19คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน
รูปแบบต่างๆของการล้างไตทางช่องท้อง
	
	 1. ระบบท่อส่งน�้ำยาเข้าออกสายตรง (Straight transfer set
system) ระบบนี้การเปิดน�้ำยาใหม่เข้าท้อง และการถ่ายน�้ำที่ฟอกไต
แล้วออกจากท้อง จะใช้สายยางเส้นเดียวกันตลอดเส้น ระบบท่อส่งน�้ำยาแบบนี้
มีข้อเสียที่ติดเชื้อได้ง่าย และถุงที่คาไว้ที่หน้าท้องตลอดเวลา จะสร้างความร�ำคาญ
ให้กับผู้ป่วย ปัจจุบันจึงไม่มีใช้แล้ว
ระบบท่อส่งน�้ำยาเข้าออกสายตรง
20 คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน
	 2. ระบบท่อส่งน�้ำยาเข้าออกรูปตัววาย (Y-Set system)
ถุงน�้ำยาใหม่และถุงเปล่าแยกกับสาย
	 ลักษณะของสายจะคล้ายตัววาย (Y) โคนของสายยางจะต่อกับสายต่อ
เพื่อการส่งผ่านน�้ำยาที่หน้าท้องของผู้ป่วย ปลายสาย 2 ข้าง จะใช้ต่อกับถุงน�้ำยา
ล้างไตใหม่ 1 ข้าง และอีกข้างจะใช้ต่อกับถุงเปล่า ส�ำหรับเปิดน�้ำออกจากท้อง
ผู้ป่วย ระบบนี้เมื่อผู้ป่วยถ่ายน�้ำยาเก่าออกจากช่องท้องเสร็จแล้ว จะท�ำการ
ปิดปลายด้านที่ต่อกับสายที่เข้าไปในช่องท้องผู้ป่วย และเปิดให้น�้ำยาจาก
ถุงน�้ำยาใหม่ ไหลผ่านภายในสายไปสู่ถุงเปล่าโดยไม่เข้าสู่ช่องท้องผู้ป่วย
เพื่อเป็นการล้างท�ำความสะอาดภายในสายระยะหนึ่งก่อน ซึ่งสามารถลดจ�ำนวน
เชื้อโรคที่หลุดรอดเข้าไปในสายขณะเปลี่ยนถุงน�้ำยา แล้วจึงปิดสายด้านถุงเปล่า
และเปิดให้น�้ำยาไหลเข้าสู่ช่องท้องผู้ป่วย
	 ข้อดี คือสามารถลดอัตราการติดเชื้อในช่องท้องได้ และยังสามารถ
แบ่งน�้ำใส่ท้องครั้งละน้อยๆ ได้ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถทนต่อการใส่น�้ำยา
ปริมาณมากในครั้งเดียวได้
	 ข้อเสีย คือผู้ป่วยต้องมีสายที่ต่อกับสายต่อ เพื่อการส่งผ่านน�้ำยาคาไว้
ที่หน้าท้องตลอดเวลา ไม่สะดวกต่อผู้ป่วยในการด�ำเนินชีวิตประจ�ำวัน ปัจจุบัน
ไม่นิยมใช้แล้ว
ระบบท่อส่งน�้ำยาเข้าออกรูปตัววาย
21คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน
	 3. ระบบท่อส่งน�้ำยาเข้าออกรูปตัววาย (Y-Set system) ที่มี
ถุงน�้ำยาใหม่และถุงเปล่าติดมากับสาย
	 เป็นระบบที่นิยมใช้ในปัจจุบันอย่างแพร่หลาย และได้รับการสนับสนุน
จากส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้ใช้กับผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง
น�้ำยาในระบบนี้แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ Twin Bag และ Andy Disc ทั้ง 2 ชนิด
เป็นระบบที่ท�ำงานเหมือนกัน คือ สายส่งน�้ำยา จะมีลักษณะเป็นตัว (Y) เช่น
เดียวกับข้อ 2 ต่างกันตรงที่ถุงน�้ำยา และถุงเปล่าต่อกับสายมาแล้ว แบบส�ำเร็จรูป
จากโรงงาน
	
	
	
	 ข้อดีที่เหนือกว่าระบบที่มีถุงน�้ำใหม่และถุงเปล่าแยกกับสาย คือ
จ�ำนวนครั้งในการต่ออุปกรณ์แต่ละครั้งลดลง ท�ำให้โอกาสติดเชื้อลดลง
และผู้ป่วยไม่ต้องมีสายที่ต่อกับท่อล้างไตคาไว้ที่หน้าท้องตลอดเวลา ท�ำให้
สะดวกในการด�ำเนินชีวิตประจ�ำวัน
ภาพแสดงระบบท่อส่งน�้ำยา
เข้าออกรูปตัววายที่มีถุงน�้ำใหม่
และถุงเปล่าติดมากับสายชนิด Twin Bag
ภาพแสดงระบบท่อส่งน�้ำยา
เข้าออกรูปตัววายที่มีถุงน�้ำใหม่
และถุงเปล่าติดมากับสายชนิด Andy Disc
22 คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน
ชนิดของน�้ำยาล้างไตทางช่องท้อง
มีอะไรบ้าง
น�้ำยาล้างไตทางช่องท้องแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดคือ
	 1. น�้ำยาที่ใช้น�้ำตาลกลูโคสเป็นส่วนผสม เป็นน�้ำยาล้างไตทาง
ช่องท้องที่ใช้กันทั่วไปในประเทศไทย ปัจจุบันความเข้มข้นที่ใช้กันคือ 1.5 %
2.5 % และ 4.25% โดยน�้ำยาที่มีความเข้มข้นของน�้ำตาลกลูโคสมาก จะดึงน�้ำ
ส่วนเกินออกจากร่างกายได้มาก และเร็วกว่าน�้ำยาที่มีความเข้มข้นของน�้ำตาล
กลูโคสน้อย
	 ข้อเสีย ของการใช้สารละลายกลูโคสที่มีความเข้มข้นสูงนานๆ จะท�ำให้
เกิดความเสื่อมของเยื่อบุช่องท้อง ท�ำให้ประสิทธิภาพในการล้างไตลดลง
นอกจากนี้กลูโคสอาจท�ำให้เกิดปัญหาต่อภาวะโภชนาการได้ เช่น ท�ำให้ผู้ป่วย
รับประทานอาหารได้น้อยลง หรืออาจอ้วนขึ้นและน�้ำตาลในเลือดสูงขึ้น จากการ
ได้รับน�้ำตาลและพลังงานมากเกินความต้องการของร่างกาย
23คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน
	 2. น�้ำยาที่ใช้กลูโคสโพลิเมอร์เป็นส่วนผสม กลูโคสโพลิเมอร์
เป็นสารที่มีขนาดโมเลกุลใหญ่ ท�ำให้ถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดน้อย และช้ากว่า
กลูโคส ท�ำให้ยังคงความเข้มข้นของสารละลายในช่องท้องได้นานกว่ากลูโคส
นอกจากนี้ยังมีปฏิกิริยากับเยื่อบุช่องท้องน้อยกว่ากลูโคส
	 ข้อดี คือท�ำให้ดึงน�้ำส่วนเกินออกได้ดี แม้ว่าจะทิ้งน�้ำยาไว้ในช่องท้อง
เป็นเวลานาน เกิดความเสื่อมของเยื่อบุช่องท้องช้ากว่ากลูโคส และไม่มีปัญหา
เรื่องระดับน�้ำตาลในเลือดสูง และการดื้อต่อยาอินซูลินในผู้ป่วยเบาหวาน
	 ข้อควรระวัง ในผู้ป่วยเบาหวานกลูโคสโพลิเมอร์ อาจท�ำให้ค่าน�้ำตาล
ในกระแสเลือด ที่วัดโดยใช้แถบวัดปลายนิ้ว สูงกว่าค่าความเป็นจริงได้
	 น�้ำยาที่ใช้กลูโคสโพลิเมอร์เป็นส่วนผสม ได้แก่ น�้ำยา Icodrextrin
ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีใช้ทั่วไปเนื่องจากมีราคาแพง
	 ขนาดบรรจุของน�้ำยา มีดังนี้
	 	 1 ลิตร
	 	 1.5 ลิตร
	 	 2 ลิตร (ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน)
	 	 5 ลิตร (ใช้กับการล้างไตทางช่องท้องด้วยเครื่องอัตโนมัติ)
	 ในปัจจุบันถุงบรรจุน�้ำยา 1 ห่อ จะประกอบด้วยสายส่งน�้ำยา ถุงน�้ำยา
สะอาด และถุงเปล่าส�ำหรับรองรับน�้ำยาที่เปิดออกจากท้องผู้ป่วย
24 คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน
การล้างไตผ่านทางช่องท้อง ช่วยให้คุณภาพชีวิต
ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังดีขึ้นอย่างไร?
	 ผู้ป่วยสามารถดูแลได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องพึ่งพาบุคลากรทางการแพทย์
	 ผู้ป่วยไม่ต้องจ�ำกัดน�้ำและอาหารมาก
	 ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปโรงพยาบาล
	 มีการน�ำเอาของเสียออกจากร่างกายตลอดเวลาท�ำให้ร่างกายรู้สึกดี
	 การล้างไตทางช่องท้องจะช่วยคงสภาพการท�ำงานของไตเก่า
	 ไม่ต้องใช้เข็มฉีดยา
	 ควบคุมความดันโลหิตของผู้ป่วยได้ดี
	 ช่วยรักษาสมดุลของสารน�้ำและเกลือแร่ได้ดีกว่า
	 มีอัตราการรอดชีวิตสูงกว่าการฟอกเลือด
	 เสี่ยงต่อการติดเชื้อที่แพร่กระจายทางกระแสเลือดน้อยกว่า
	 ผู้ป่วยมีความยืดหยุ่นและมีอิสระในการใช้ชีวิตได้ตามปกติเพราะการ
ล้างไตด้วยตนเอง ท�ำให้ผู้ป่วยสามารถปรับตารางการล้างไตให้เหมาะสมกับ
การท�ำงาน การเรียน หรือแผนการเดินทางของตนเองได้ และการล้างไตได้เอง
ทุกวัน ท�ำให้ผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้น เป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้ป่วย
25คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน
การด�ำรงชีวิตของผู้ป่วย ญาติ และผู้ดูแล
	
	 เนื่องจากอุปกรณ์ทั้งหมดสามารถน�ำไปใช้ที่ที่อยู่ของผู้ป่วยได้ และวิธีการ
ไม่ซับซ้อนมากนัก ผู้ป่วยจึงสามารถท�ำการล้างไตทางช่องท้องที่บ้านได้ ไม่ต้อง
ลางาน หรือเสียเวลา และเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาโรงพยาบาลบ่อย
โดยมาพบแพทย์เป็นระยะตามความเหมาะสม เช่น 1–2 เดือนต่อครั้ง โดยทั่วไป
ต้องท�ำการเปลี่ยนถ่ายน�้ำยาวันละ 4–5 ครั้ง และต้องท�ำต่อเนื่องทุกวัน โดยใช้
เวลาในการเปลี่ยนถ่ายน�้ำยาแต่ละครั้งไม่เกิน 30 นาที และระหว่างการเปลี่ยนถ่าย
น�้ำยาแต่ละครั้ง ซึ่งห่างกันประมาณ 4–5 ชั่วโมง ผู้ป่วยหรือญาติ และผู้ดูแล
ก็สามารถไปท�ำกิจวัตรต่างๆ ได้ตามปกติ แต่ในรอบสุดท้ายของวันซึ่งมักท�ำ
ก่อนเข้านอน จะทิ้งค้างไว้ 6–8 ชั่วโมงโดยไม่จ�ำเป็นต้องตื่นมาเปลี่ยนน�้ำยา
กลางดึก
26 คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน
ควรวางสายล้างไตทางช่องท้อง
อย่างไรให้ปลอดภัย
	
	 ต�ำแหน่งในการวางสายล้างไตทางช่องท้องที่ดี คือ อยู่เหนือหรือล่าง
แนวสายรัดเข็มขัด 2 เซนติเมตร เพื่อหลีกเลี่ยงการกดทับของเข็มขัด ส่วนในผู้ป่วย
ที่มีรูปร่างอ้วนมีรอยย่นของผนังหน้าท้อง ต�ำแหน่งที่เหมาะสม คือ อยู่เหนือสะดือ
ส่วนต�ำแหน่งปากแผลช่องทางออกของสายล้างไตทางช่องท้อง ควรมีทิศทาง
ชี้ลงล่าง เพื่อไม่ให้เป็นที่สะสมของเหงื่อ สิ่งสกปรก เสี่ยงต่อการติดเชื้อน้อยกว่า
ชี้ขึ้น และควรอยู่ทางด้านขวามือของผู้ป่วย เพราะจะท�ำให้ปลายสายด้านที่อยู่
ในช่องท้องอยู่ค่อนไปทางด้านซ้าย เป็นทิศทางตามการบีบตัวลงของล�ำไส้ใหญ่
ซึ่งจะช่วยให้ปลายสายไม่ลอยขึ้นจากต�ำแหน่งที่ท�ำให้น�้ำยาไหลออกได้ดี
27คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน
การเตรียมสถานที่ และสิ่งแวดล้อมส�ำหรับ
การล้างไตทางช่องท้อง
	 ผู้ป่วยและผู้ดูแลจะต้องเตรียมสถานที่ให้พร้อมก่อนรับการรักษาด้วย
การล้างไตทางช่องท้อง ดังนี้
	 1.เตรียมสถานที่/สิ่งแวดล้อม
	 	 	 - ความสะอาดทั่วไปของบ้าน
	 	 	 - บริเวณส�ำหรับเปลี่ยนน�้ำยาสะอาด ควรจัดพื้นที่แยกเป็น
สัดส่วนหรือเป็นห้อง
	 	 	 - อากาศถ่ายเทสะดวก มีแสงแดดส่องถึง
	 	 	 - ห้องน�้ำสะอาด
	 	 	 - มีถังขยะไว้รองรับถุงน�้ำยาที่ใช้แล้ว
	 	 	 - ไม่มีสัตว์เลี้ยงบริเวณที่เปลี่ยนถ่ายน�้ำยา
	 	 	 - แหล่งน�้ำสะอาด น�้ำประปา มีอ่างล้างมือ ก๊อกน�้ำ
	 2. สถานที่เก็บน�้ำยาล้างไต
	 	 	 - วางในที่ร่ม แสงแดดไม่ส่องจัด
	 	 	 - วางสูงจากพื้นดิน พื้นซีเมนต์
	 	 	 - มีการจัดเก็บน�้ำยาตามล�ำดับก่อน-หลัง
	 3. เตรียมอุปกรณ์ในการเปลี่ยนถ่ายน�้ำยาและอุปกรณ์ท�ำแผล
ช่องสายออก
	 	 	 - มีกล่องฝาปิดใส่อุปกรณ์ส�ำหรับการใช้ล้างไตและท�ำแผล
	 	 	 - โต๊ะส�ำหรับวางน�้ำยา
	 	 	 - ตาชั่งชนิดแขวน
	 	 	 - สบู่เหลวแบบมีปั้มกด
28 คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน
	 	 	 - ตะกร้ารองรับผ้าเช็ดมือที่ใช้แล้ว
	 	 	 - ถังรองรับถุงน�้ำยาล้างไตที่ปล่อยออกจากช่องท้อง
	 4. การปฏิบัติการเปลี่ยนถ่ายน�้ำยา
	 5. การดูแลแผลและการท�ำแผลหลังการวางสายล้างไตทาง
ช่องท้อง แบ่งเป็น 2 ระยะ
		5.1 การดูแลแผลและการท�ำแผลในระยะ 2 สัปดาห์แรก
	 	 	 (1) นอนราบหนุนหมอนบนเตียง อย่างน้อย 12 ชั่วโมง
หลังการวางสาย
	 	 	 (2) รับการประเมินสัญญาณชีพ ซึ่งประกอบด้วย การวัด
ความดันโลหิต จับชีพจร วัดการหายใจ และวัดไข้อย่างต่อเนื่อง
	 	 	 (3) รับการประเมินอาการปวดแผล เพื่อพิจารณาให้ยาแก้ปวด
	 	 	 (4) ภายใน 7 วันหลังวางสายล้างไตทางช่องท้อง หลีกเลี่ยง
การเปิดแผล (เนื่องจากแผลผ่าตัดเป็นแผลที่สะอาด ปลอดเชื้ออยู่แล้ว การเปิดแผล
จะท�ำให้มีโอกาสที่แผลสัมผัสกับเชื้อโรคมากขึ้น) ยกเว้นกรณีแผลมีเลือดซึมมาก
หรือเปียก พยาบาลหรือแพทย์จะเป็นผู้เปิด และท�ำแผลเอง
	 	 	 (5) ระมัดระวังการดึงรั้งสายล้างไตทางช่องท้อง ซึ่งจะท�ำให้
เกิดอันตรายกับแผล ท�ำให้แผลหายช้าและมีโอกาสติดเชื้อมากขึ้น
	 	 	 (6) สังเกตอาการผิดปกติ ได้แก่ มีน�้ำเลือด หนอง ซึมออก
จากแผล ปวด หรือเจ็บแผลมาก ต้องแจ้งให้พยาบาลทราบ
	 	 	 (7) ระวังอย่าให้แผลเปียกน�้ำ
29คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน
	 	 	 (8) หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่เพิ่มความดันภายในช่องท้อง เช่น
ออกแรงเบ่ง ไอ จาม และการนั่งยองๆ เพราะจะท�ำให้สายเคลื่อนไปอยู่
ผิดต�ำแหน่ง และแผลปริได้
	 	 	 (9) ระวังไม่ให้เกิดอาการท้องผูก เพราะจะท�ำให้เพิ่มความดัน
ภายในช่องท้องเวลาออกแรงเบ่ง ควรแจ้งให้พยาบาลหรือแพทย์ทราบ และ
รับประทานยาระบายตามที่แพทย์สั่ง
	 	 	 (10) หลังจากวางสายล้างไตทางช่องท้องแบบถาวร ให้รอ
ประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อให้แผลหายดีก่อน แล้วจึงเริ่มใส่น�้ำยาเข้าช่องท้อง
เพื่อล้างไต ดังนั้นในระยะนี้ให้จ�ำกัดน�้ำดื่ม งดอาหารเค็ม งดผลไม้ หากเป็น
ผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมอยู่แล้ว ก็ให้ฟอกต่อไปจนกว่า
จะได้เริ่มท�ำการล้างไตทางช่องท้อง
		 5.2 การดูแลแผลและการท�ำแผลหลังจาก 2 สัปดาห์แรก
	 	 	 ผู้ป่วยหรือญาติผู้ดูแลควรท�ำแผลบริเวณปากแผลช่องทางออก
ของสายล้างไตทางช่องท้อง อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง หรือเมื่อผิวหนังเปียกชื้น
สถานที่ท�ำแผลต้องเป็นที่ลมสงบ ปิดประตูหน้าต่าง พัดลมและเครื่องปรับอากาศ
เพื่อลดการปนเปื้อนเชื้อโรค ในอากาศที่ฟุ้งกระจาย และสวมผ้าปิดปากปิดจมูก
ทุกครั้ง
30 คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน
ขั้นตอนการท�ำแผล
(1) ล้างมือถูกต้องตามขั้นตอน และเช็ดมือ
	 ให้แห้งด้วยผ้าสะอาด
	
(2) แกะแผลด้วยความนุ่มนวล
(3) สังเกตคราบน�้ำเหลืองหรือคราบเลือด
	 ที่ติดอยู่กับผ้าก็อซ และรอบๆ แผล
(4) ใช้มือสะอาดตรวจดูแผล โดยกดดูแผล
	 ว่ามีหนองหรือไม่
31คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน
(5) ล้างมือถูกต้องตามขั้นตอน หรือใช้น�้ำยา
	 ล้างมือแอลกอฮอล์ส�ำหรับล้างมือ
(6) ใช้ไม้พันส�ำลีเช็ดข้อต่อด้วยน�้ำเกลือ
	 ล้างแผล 1-2 ไม้
	
(7) พันข้อต่อด้วยผ้าก็อซปราศจากเชื้อ
	
(8) เช็ดผิวหนังรอบแผลด้วยน�้ำยาฆ่าเชื้อ
	 (โพวิดีน) 1-2 ไม้ โดยเช็ดห่างจากแผล		
	 ประมาณ 1 เซนติเมตร เพื่อฆ่าเชื้อโรค
	 และไม่เช็ดเข้าในแผล เพราะจะท�ำให้
	 เกิดการระคายเคืองแผล
32 คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน
(9)  เช็ดบริเวณปากแผลและสายด้วยน�้ำเกลือ	
	 ล้างแผล 2-3 ไม้
(10) ใช้ผ้าก้อซปราศจากเชื้อซับให้แห้ง
(11) รองใต้สายด้วยผ้าก็อซปราศจากเชื้อ
	
	
(12) ปิดแผลด้วยผ้าก็อซปราศจากเชื้อ
	
(13) ปิดแผลด้วยพลาสเตอร์ผ้า และเก็บสายต่อ
	 ให้เรียบร้อย
33คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน
การเปลี่ยนน�้ำยาระบบ Twin bag
ขั้นตอนการเปลี่ยนน�้ำยา
1. สวมผ้าปิดปากและจมูก  
	
2. ล้างมือตามขั้นตอนที่ถูกต้องและเช็ดมือ
	 ด้วยผ้าสะอาดให้แห้ง
3. เทแอลกอฮอล์ 70% ลงบนโต๊ะ ให้มีขนาด
	 ประมาณเท่าเหรียญ 10 บาท และเช็ดโต๊ะ
	 โดยวนจากจุดตรงกลางออกไปด้านนอก
	 และเช็ดขอบโต๊ะโดยรอบ
4. เตรียมอุปกรณ์ตัวหนีบสีน�้ำเงิน ซองจุกปิด
	 สีขาว ถุงน�้ำยาใหม่ให้พร้อม	
5. ตรวจสอบสภาพถุงน�้ำยาจากด้านนอก
	 ของถุงน�้ำยา ได้แก่ วันหมดอายุ ปริมาตร
	 ความเข้มข้นของน�้ำยา สายน�้ำยา ความ
	 ขุ่นใส และตรวจดูว่าถุงรั่วหรือไม่
34 คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน
6. ฉีกถุงหุ้มถุงน�้ำยาใหม่ชั้นนอกออก และ
	 แกะสายน�้ำยา โดยไม่ใช้กรรไกรหรือ
	 ของมีคมตัดเด็ดขาด เพราะอาจท�ำให้
	 ถุงรั่วและติดเชื้อได้
	
7. หนีบตัวหนีบสีน�้ำเงินที่สายถุงน�้ำยาใหม่
	
8. หักแท่งสีเขียวที่ถุงน�้ำยาใหม่
9. ล้างมือตามขั้นตอนที่ถูกต้องและเช็ดมือ
	 ด้วยผ้าสะอาดให้แห้ง
	
10. เตรียมผ้าเช็ดมือที่สะอาดไว้ วางท่อวาล์ว
	 และจับท่อวาล์วกับสายน�้ำยาให้ถูกต้อง
	 และดึงจุกยางออก	
11. ต่อสายน�้ำยาเข้ากับวาล์วท่อล้างไต โดย
	 จับวาล์วสีฟ้าและหมุนเกลียวให้ปิดไป
	 ทางซ้ายมือ
35คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน
12. แขวนถุงน�้ำยาใหม่ และวางถุงรับน�้ำยา
	 จากช่องท้องในภาชนะรองรับ
	
13. เปิดวาล์วปล่อยน�้ำยาออกจากช่องท้อง
	 ลงไปในถุงรับน�้ำยาจากช่องท้องจนน�้ำยา
	 หมด และตรวจสอบถุงน�้ำยาอีกครั้งว่า
	 น�้ำยายังไหลอยู่หรือไม่
14. เมื่อน�้ำยาออกจากช่องท้องหมดแล้ว ให้
	 ปิดวาล์วสีฟ้า และเปิดตัวหนีบสีน�้ำเงิน
	 ที่สายถุงใหม่ ล้างสาย 5 วินาที แล้วหนีบ
	 ตัวหนีบสีน�้ำเงินที่สายถุงรับน�้ำยาจาก
	 ช่องท้อง
15. เปิดวาล์วสีฟ้าปล่อยน�้ำยาใหม่เข้าช่องท้อง
	 จนหมดถุง ในระหว่างนี้ห้ามหยิบจับ หรือ
	 รับโทรศัพท์ หรือท�ำกิจกรรมอื่นๆ โดย
	 เด็ดขาด
	
16. ล้างมือด้วยแอลกฮอล์
36 คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน
17. เมื่อน�้ำยาหมดให้ปิดวาล์วสีฟ้า และหนีบ
	 ตัวหนีบสีน�้ำเงินที่สายถุงน�้ำยาใหม่ โดยมี
	 ตัวหนีบตัวแรกยังหนีบอยู่ที่สายถุงรับน�้ำยา
	 จากช่องท้อง
	
18. เปิดซองจุกปิดขาว และตรวจสอบฟองน�้ำ
	 ชุบน�้ำยาฆ่าเชื้อภายในจุกปิดสีขาวว่ายังชุ่ม
	 อยู่หรือไม่ (ถ้าไม่ชุ่มให้เปลี่ยนซองใหม่)
	
19. ปลดสายน�้ำยาออกและปิดจุกสีขาวอันใหม่
	
20. น�ำน�้ำยาที่ปล่อยออกมาจากช่องท้อง
	 ชั่งน�้ำหนัก เพื่อวัดปริมาณก่อนปล่อยน�้ำยา
	 ทิ้งและบันทึกรายละเอียดในสมุดประจ�ำตัว
	 ผู้ป่วยให้เรียบร้อย
	
21. ตัดเป็นรอยที่ถุงน�้ำยาและเทน�้ำยาทิ้งที่
	 ส้วม หรือชักโครกและราดน�้ำหรือกดน�้ำ
	 ล้างตามปกติ
37คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน
การเปลี่ยนน�้ำยาระบบ ANDY disc
ขั้นตอนการเปลี่ยนน�้ำยา
1. สวมผ้าปิดปากและจมูก
	
	
2.	 ล้างมือตามขั้นตอนที่ถูกต้องและเช็ดมือ
	 ด้วยผ้าสะอาดให้แห้ง
3. เทแอลกอฮอล์ 70% ลงบนโต๊ะให้มีขนาด
	 ประมาณเท่าเหรียญ 10 บาท และเช็ดโต๊ะ
	 โดยวนจากจุดตรงกลางออกไปด้านนอก
	 และเช็ดขอบโต๊ะโดยรอบ
4. เตรียมอุปกรณ์ แท่นยึด ถุงน�้ำยาใหม่
	 ให้พร้อม
5. ตรวจสภาพถุงน�้ำยาจากด้านนอกของ
	 ถุงน�้ำยา ได้แก่ วันหมดอายุ ปริมาตร
	 ความเข้มข้นของน�้ำยา สายน�้ำยา ความ
	 ขุ่นใส และตรวจดูว่าถุงรั่วหรือไม่
38 คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน
6. ฉีกถุงหุ้มถุงน�้ำยาใหม่ชั้นนอกออก และ
	 แกะสายน�้ำยา โดยไม่ใช้กรรไกรหรือ
	 ของมีคมตัดเด็ดขาดเพราะอาจท�ำให้ถุง
	 รั่วและติดเชื้อได้
	
7. แขวนถุงน�้ำยาใหม่ และวางถุงรับน�้ำยา
	 จากช่องท้องในภาชนะรองรับและวาง
	 จานหมุนลงในแท่นยึด
	
8. สอดฝาปิดปลอดเชื้อไว้ในแท่นในช่อง
	 ด้านซ้ายดังรูปให้แน่น ส�ำหรับผู้ที่ถนัด
	 มือซ้ายให้สอดฝาปิดปลอดเชื้อในช่อง
	 ด้านขวาแทน
9. สอดข้อต่อสายส่งน�้ำยาเข้ากับช่องด้านขวา  
	 ดังรูป ส�ำหรับผู้ที่ถนัดมือซ้ายให้สอด
	 ข้อต่อสายส่งน�้ำยาเข้าไปในช่องด้านซ้าย
	 แทน
	
10. ล้างมือด้วยแอลกอฮอล์
39คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน
11. ถอดฝาปิดปลายท่อออกจากจานหมุน
	 และทิ้งไป
	
12. ต่อข้อต่อสายส่งน�้ำยาเข้ากับจานหมุน
	
13. ถ่ายน�้ำยาที่ใช้แล้วออกจากช่องท้อง
	 โดยให้จานหมุนอยู่ในต�ำแหน่งที่ดังรูป
	 และปลดตัวหนีบ
14. เมื่อน�้ำยาออกจากช่องท้องจนหมดแล้ว
	 ท�ำการชะล้างสายน�้ำยาของถุงใหม่นาน
	 5 วินาที โดยบิดให้จานหมุนอยู่ใน
	 ต�ำแหน่งดังรูป
15. เติมน�้ำยาเข้าช่องท้องโดยบิดให้จานหมุน
	 อยู่ในต�ำแหน่งดังรูป
40 คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน
16. ปิดระบบโดยอัตโนมัติ โดยบิดให้
	 จานหมุนอยู่ในต�ำแหน่งดังรูป
17. ปิดตัวหนีบที่สายส่งน�้ำยา
18. ล้างมือด้วยแอลกอฮอล์
19. ปิดฝาครอบของฝาปิดปลอดเชื้อ
	 อันใหม่
20. หมุนข้อต่อสายส่งน�้ำยาออกจาก
	 จานหมุน
41คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน
21. ปิดข้อต่อสายส่งน�้ำยาด้วย ฝาปิด
	 ปลอดเชื้ออันใหม่ทันที
22. ปิดจานหมุน
23. น�ำน�้ำยาที่ปล่อยออกมาจากช่องท้อง
	 ชั่งน�้ำหนัก เพื่อวัดปริมาณก่อนปล่อย	 	
	 น�้ำยาทิ้ง และบันทึกรายละเอียดใน
	 สมุดประจ�ำตัวผู้ป่วยให้เรียบร้อย
24. ตัดเป็นรอยที่ถุงน�้ำยาและเทน�้ำยาทิ้ง
	 ที่ส้วมหรือชักโครก และราดน�้ำหรือ
	 กดน�้ำล้างตามปกติ
42 คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน
การจดบันทึก
	
	 การบันทึกมีความส�ำคัญส�ำหรับการติดตามผลการรักษา โดยทีมบุคลากร
ที่ให้การรักษา จะใช้ดูประกอบการวางแผนการรักษา ดังนั้น ผู้ป่วยหรือผู้ดูแล
จึงจ�ำเป็นต้องบันทึกรายละเอียดทั้งหมด และน�ำมาด้วยทุกครั้งที่นัดตรวจ สิ่งที่
ต้องบันทึกในแต่ละครั้ง แต่ละวัน ประกอบด้วยข้อมูลต่อไปนี้
	 1. วันที่ และรอบที่ ของการเปลี่ยนน�้ำยา
	 2. ความเข้มข้นของน�้ำยาที่ใช้
	 3. เวลาที่เริ่มใส่น�้ำยาเข้า และเวลาที่น�้ำยาไหลเข้าหมด
	 4. เวลาที่เริ่มปล่อยน�้ำยาออก และเวลาที่น�้ำยาไหลออกหมด
	 5. ปริมาตรน�้ำยาที่เข้า แล ะออก
	 6. สีของน�้ำยา ความขุ่น ความใส เยื่อวุ้น เลือด รวมทั้งอาการผิดปกติ
ที่เกิดขึ้น เช่น อาการเจ็บปวดบริเวณปากแผลหรือในท้อง อาการเจ็บปวดเกิดขึ้น
ขณะใส่น�้ำยาเข้า หรือขณะปล่อยน�้ำยาออก มีไข้ตัวร้อน หนาวสั่น ผื่นตามตัว
อาการแน่นอึดอัดในท้องหรือในอก เวลานั่งหรือนอน และอื่นๆ ที่คิดว่าผิดปกติ
	 7. บันทึกน�้ำหนักตัวประจ�ำวัน ควรชั่งน�้ำหนัก หลังจากปล่อยน�้ำ
ออกจากช่องท้องหมดแล้วในเวลาเดียวกัน ทุกวัน
	 8. วัดอุณหภูมิร่างกาย ควรวัดอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง หรือทุกครั้ง
ที่รู้สึกตัวว่ามีไข้ตัวร้อน หรือเวลาที่ปวดท้อง หรือน�้ำยาที่ออกจากช่องท้องขุ่น
43คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน
ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังควรรับประทานอาหาร
ให้เหมาะสมอย่างไร
	
	 เพื่อป้องกันภาวะขาดสารอาหาร ลดภาวะภาวะแทรกซ้อนจาก
ความผิดปกติของสมดุลโซเดียม โปแตสเซียม แคลเซียม และฟอสฟอรัส
ป้องกันการเกิดภาวะบวมน�้ำ และช่วยชะลอความเสื่อมการท�ำงานของไต
ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่เข้ารับการบ�ำบัดทดแทนไต ด้วยการปลูกถ่ายไต หรือการ
ผ่าตัดเปลี่ยนไต การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม หรือการล้างไตทางช่องท้อง
ควรเรียนรู้ ท�ำความเข้าใจ ให้ความร่วมมือกับทีมสุขภาพในการปรับพฤติกรรม
การรับประทานอาหารให้เป็นเวลา ครั้งละน้อย แต่บ่อยๆ 4 – 5 มื้อ ต่อวัน
โดยมีสารอาหารครบทั้ง 5 หมู่อย่างเหมาะสม เพียงพอกับความต้องการของ
ร่างกายตนเองตามค�ำแนะน�ำของนักโภชนาการ ดังตารางที่ 1
44 คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน
	 จากตารางดังกล่าว แสดงว่าผู้ป่วยโรคไตในแต่ละคน ควรได้รับสารอาหารที่
มีโปรตีน พลังงาน และเกลือแร่ ได้แก่ โซเดียม โปแตสเซียม แคลเซียม และฟอสฟอรัส
ที่เหมาะสม เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ตามรายละเอียดดังนี้
ตารางที่ 1 สารอาหารที่แนะน�ำส�ำหรับผู้เป็นโรคไตเรื้อรังก่อนล้างไต
นําหน
นําหน นําหน
า
สารอาหาร โรคไตเรื�อรัง
ระยะ �-� ระยะ �-�
พลังงาน �� – �� กิโลแคลอรี�/ ้ ักตัว/ นัว
โปรตีน �.� – � (กรัม/ ้ ักตัว/ นัว ) �.� – �.� (กรัม/ ้ ักตัว/ นัว )
คาร์โบไฮเดรต �� – �� % ของพลังงานทั้งหมด ในอาหาร �� – �� กรัม
ไขมัน �� – �� % ของพลังงานทั้งหมด
ไขมันอนอิ่มตมตัว< � % คอเรสเตอรอล < ��� มก./ นัว
โซเดียม �,��� – �,��� มก./ นัว
โปแตสเซียม ไม่จํากัด �,��� – �,��� มก./ นัว
ปรับตามผลเลือด
ฟอสฟอรัส ��� – �,��� มก./ นัว ปรับตามผลเลือด
แคลเซียม �,��� – �,��� มก./ นัว
ถ้ามี binder ควรจํากัดแคลเซียม < �,��� มก./ นัว
นํ้ ไม่จํากัด ปริมาณปัสสาวะ + นํ้า ��� มล.
45คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน
ความต้องการพลังงานจากสารอาหารคาร์โบไฮเดรต และไขมัน
	
	 ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มีอายุน้อยกว่า 60 ปี ควรได้รับพลังงาน 35
กิโลแคลอรี่/น�้ำหนักตัว 1 กก./วัน และผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี  ควรได้รับ
พลังงาน 30 กิโลแคลอรี่/น�้ำหนักตัว 1 กก./วัน  ดังตารางที่ 1 โดยมีสัดส่วน
คาร์โบไฮเดรตร้อยละ 55 ของพลังงานทั้งหมด  
	 แหล่งอาหารคาร์โบไฮเดรต ได้แก่ ข้าว ก๋วยเตี๋ยว น�้ำตาล และแป้ง
ซึ่งแป้งแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
	 	 แป้งที่มีโปรตีน เช่น ข้าว ขนมปัง ก๋วยเตี๋ยว บะหมี่ เผือก มัน
ข้าวโพด
	 	 แป้งปลอดโปรตีน เช่น ก๋วยเตี๋ยวเซี่ยงไฮ้ วุ้นเส้น แป้งมัน
แป้งข้าวโพด แป้งท้าวยายม่อม ซาหริ่ม สาคูลอยแก้ว  สาคู วุ้นน�้ำหวาน
วุ้นลอยแก้ว วุ้นใบเตย ขนมรวมมิตร ลอดช่องสิงค์โปร์ ทับทิมกรอบ ตะโก้
จากแป้งถั่ว ลูกชิดเชื่อม ลูกชิดน�้ำแข็ง ขนมชั้น เป็นต้น  
	 เนื่องจากผู้เป็นโรคไตเรื้อรังต้องจ�ำกัดโปรตีนในอาหาร ดังนั้นจึงควร
จ�ำกัดปริมาณข้าวหรือก๋วยเตี๋ยว มื้อละ 2-3 ทัพพี และรับประทานแป้งปลอด
โปรตีนเพิ่มขึ้น
46 คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน
	 ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังมักมีไขมันในเลือดสูง โดยเฉพาะไตรกลีเซอไรด์
และมีเอชดีแอล (ไขมันตัวดี) ต�่ำ ท�ำให้มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดหลอดเลือดแดง
แข็งและโรคหัวใจขาดเลือด ทั้งนี้ผู้ป่วยควรได้รับไขมันประมาณร้อยละ 25-35
ของพลังงานทั้งหมดจากอาหารที่ได้รับต่อวัน โดยเป็นไขมันอิ่มตัวน้อยกว่า
ร้อยละ 7 และโคเลสเตอรอลในอาหารน้อยกว่า 200 มิลลิกรัม/วัน หรือไขมัน
1 ส่วน ต่อพลังงาน 150 กิโลแคลอรี่ต่อวัน  
	 โดยไขมัน 1 ส่วน เทียบเท่ากับอาหารต่างๆ ในปริมาณต่อไปนี้
น�้ำมันพืช 1 ช้อนชา  สลัดน�้ำข้น 1 ช้อนชา  สลัดน�้ำใส 3 ช้อนชา มาการีน
1 ช้อนชา  ครีมเทียม 2 ช้อนชา  เบคอน 1 ชิ้น
       	 ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง น�้ำหนัก 60 กิโลกรัม ควรได้รับพลังงาน
1,800-2,000 กิโลแคลอรี่ต่อวัน ควรได้รับไขมัน 12–13 ส่วนต่อวัน หรือได้รับ
น�้ำมันพืช 12–13 ช้อนชาต่อวัน  
	 ข้อควรปฏิบัติส�ำหรับผู้ป่วยโรคไตในการรับประทานอาหารเพื่อป้องกัน
และรักษาภาวะไขมันในเลือดสูง ดังนี้
	 1. อาหารทุกมื้อควรมีไขมันปริมาณเล็กน้อย โดยประกอบอาหาร
ประเภทลวก ต้ม ปิ้ง นึ่ง ย่าง หรืออบ เป็นประจ�ำ
	 2. กินไขมันดี ที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว (Unsaturated fatty acid)
จากอาหารต่อไปนี้
     	 	 2.1 ควรใช้น�้ำมันพืชผสม โดยเลือกใช้น�้ำมันกลุ่มที่มีไขมันไม่อิ่มตัว
ต�ำแหน่งเดียว (Mono unsaturated fatty acid) เช่น น�้ำมันมะกอก น�้ำมันร�ำข้าว
น�้ำมันถั่วลิสง น�้ำมันงา เนย และถั่วลิสง เป็นต้น ผสมน�้ำมันกลุ่มที่มีไขมัน
ไม่อิ่มตัวหลายต�ำแหน่ง (Poly unsaturated fatty acid) เช่น น�้ำมันถั่วเหลือง
น�้ำมันข้าวโพด น�้ำมันเมล็ดทานตะวัน และน�้ำมันดอกค�ำฝอย เป็นต้น ในสัดส่วน
1: 1 เพื่อประกอบอาหารประเภทผัด ทอด หรือท�ำน�้ำย�ำ และน�้ำสลัด
47คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน
	 	 2.2 รับประทานเนื้อสัตว์พวกปลาทะเล
เช่น ปลาทู ปลาโอ ปลาซาบะ หรือปลาน�้ำจืดบางชนิด
เช่น ปลานิล ปริมาณ 3–5 ครั้ง ต่อสัปดาห์ เนื่องจาก
มีกรดไขมันที่ดี และมีโอเมกา 3 สูง ช่วยลดระดับ
ไตรกลีเซอไรด์ในเลือด
	 3. ลดการรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว (Saturated fatty acid)
ดังนี้
    	 	 3.1 รับประทานเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เช่น เนื้อปลา ไข่ขาว  หลีกเลี่ยง
หมูสามชั้น สันคอหมู หนังไก่ เนย หรืออาหารที่มีเนยเป็นส่วนประกอบ เช่น
เค้ก คุ้กกี้  พัฟ พาย เป็นต้น
    	 	 3.2 หลีกเลี่ยงอาหารที่ใช้น�้ำมันมะพร้าว กะทิ หรือน�้ำมันปาล์ม
เนยทียม (มาร์การีน) เนยขาว เนื่องจากมีกรดไขมันอิ่มตัว และกรดไขมัน
ชนิดทรานส์ ซึ่งเป็นไขมันที่แข็งตัวจากการเติมโฮโดรเจน  หากได้รับปริมาณมาก
จะท�ำให้ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูงได้
	 4. ลดอาหารที่มีโคเลสเตอรอลในเลือดสูง โดยควบคุมปริมาณ
โคเลสเตอรอลในอาหารไม่ให้เกิน 300 มิลลิกรัมต่อวัน
	 5. ลดอาหารที่ท�ำให้ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูง โดยรับประทาน
อาหารที่ไม่ใส่กะทิ ได้แก่ แกงส้ม แกงเหลือง แกงแค แกงป่า ต้มย�ำ ต้มโคล้ง
ส�ำหรับอาหารประเภทย�ำ ได้แก่ ย�ำผักบุ้ง ย�ำแตงร้าน ย�ำแตงกวา ย�ำผลไม้
โดยปรุงรสให้อ่อนเค็ม ควรหลีกเลี่ยงอาหารทอดทุกชนิด ของหวานจัด ผลไม้
หวานจัด เครื่องดื่มที่มีรสหวาน และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
48 คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน
ความต้องการโปรตีน
	 ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังควรได้รับโปรตีน 0.6-0.8 กรัม/น�้ำหนักตัว 1 กก./วัน
โดยเป็นโปรตีนคุณภาพสูง (high biological value, HBV) ร้อยละ 50 ของโปรตีน
ทั้งหมด
	 โปรตีนคุณภาพสูง หมายถึง อาหารโปรตีนที่มีกรดอะมิโนจ�ำเป็นครบถ้วน
พบในเนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อเป็ด เนื้อไก่ ปู ปลา กุ้ง หอย ไขนม และผลิตภัณฑ์
จากนม
	 โปรตีนคุณภาพต�่ำ หมายถึงอาหารโปรตีนที่ประกอบด้วยกรดอะมิโน
จ�ำเป็นแต่ไม่ครบถ้วน อาหารในกลุ่มนี้ได้แก่ ถั่วเมล็ดแห้ง ธัญพืชต่างๆ เช่น
ข้าวเจ้า ข้าวสาลี ข้าวโพด พืช  ผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์ประเภทเอ็น หนัง
กระดูกอ่อน เป็นต้น
	 โปรตีนมีในอาหารหมวดต่างๆ ดังนี้
	 ก. หมวดเนื้อสัตว์ ให้โปรตีนประมาณ 7 กรัม พลังงาน 70 กิโลแคลอรี่
ได้แก่
	 	 	 เนื้อสัตว์สุก เช่น เนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อวัว น�้ำหนัก 30 กรัม
หรือประมาณ 2 ช้อนกินข้าว
	 	 	 ไข่ทั้งฟอง 1 ฟอง หรือไข่ขาว 2 ฟอง
	 	 	 ปลาตัวเล็ก 1 ตัว
	 	 	 ลูกชื้น 4 - 5 ลูก
	 	 	 กุ้ง 3 - 5 ตัว
	 	 	 ซี่โครงหมูทอด 3 - 5 ชื้น
	 	 	 นม 1 กล่อง (240 มิลลิลิตร ) มีโปรตีนประมาณ 7 กรัม
และมีเกลือแร่ เช่น แคลเซียม โปแตสเซียมและฟอสฟอรัสสูง ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
ที่มีระดับฟอสฟอรัสในเลือดสูงกว่า 5.0 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ควรจ�ำกัดการดื่มนม
49คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน
	 ข. หมวดข้าว แป้ง ธัญพืชให้โปรตีนประมาณ 2 กรัม พลังงาน 70
กิโลแคลอรี
	 	 	 ข้าว 1 ทัพพี
	 	 	 เส้นหมี่ 1 ทัพพี
	 	 	 บะหมี่ ½ ก้อน
	 	 	 ขนมปัง 1 แผ่น
	 ค.หมวดผัก ให้โปรตีนประมาณ 1 กรัม พลังงาน 25 กิโลแคลอรี
	 	 	 ผักสุกประมาณ 1 ทัพพี (1/2 ถ้วยตวง) หรือผักดิบประมาณ
2 ทัพพี (1 ถ้วยตวง)
	 ง. หมวดผลไม้ ให้โปรตีนประมาณ 0.5 กรัม พลังงาน 70 กิโลแคลอรี
	 	 	 สับปะรด  6 – 8 ชิ้นค�ำ
	 	 	 แตงโม  6 - 8  ชิ้นค�ำ
	 	 	 เงาะ  3 – 4  ลูก
	 	 	 มังคุด  3 – 4  ลูก
	 	 	 แอบเปิ้ล  ผลเล็ก  1  ผล
50 คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน
ความต้องการโซเดียม
	
	 การรับประทานโซเดียมเกินความจ�ำเป็น ส่งผลให้ภาวะความดันโลหิตสูง
และน�้ำในร่างกายเกิน ดังนั้นผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังควรบริโภคโซเดียมน้อยกว่า
2,000 มิลลิกรัมต่อวัน โดยรับประทานอาหารที่มีรสชาติอ่อน ใช้สมุนไพร
และเครื่องเทศในการเพิ่มกลิ่นและรสชาติ จ�ำกัดการใช้เกลือไม่เกิน 1 ช้อนชา
ต่อวันหรือใช้เครื่องปรุงรส เช่น ซีอิ้วขาว ซอสปรุงรส น�้ำปลา ไม่เกิน  3–4 ช้อนชา
ต่อวัน หากซื้ออาหารปรุงส�ำเร็จควรหลีกเลี่ยงการปรุงเพิ่ม
ตารางที่ 2 ปริมาณโซเดียมในเครื่องปรุงรส ปริมาณ 1 ช้อนชา
(5 กรัม)
เครื่องปรุงรส		 	 	 	 	          มิลลิกรัม
เกลือ                                                             2,000
น�้ำปลา	 400
ซีอิ้วขาว	 400
ซอสหอยนางรม	 150
ผงชูรส	 492
ผงฟู	 340
กะปิ	 300
เต้าหู้ยี้	 185
น�้ำพริกเผา	 90
น�้ำพริกกะปิ	 90
ซอสพริก	 70
น�้ำปลาหวาน	 60
น�้ำจิ้มไก่	 70
ซอสมะเขือเทศ	 55
คู่มือการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องสำหรับประชาชน 2557
คู่มือการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องสำหรับประชาชน 2557
คู่มือการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องสำหรับประชาชน 2557
คู่มือการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องสำหรับประชาชน 2557
คู่มือการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องสำหรับประชาชน 2557
คู่มือการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องสำหรับประชาชน 2557
คู่มือการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องสำหรับประชาชน 2557
คู่มือการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องสำหรับประชาชน 2557
คู่มือการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องสำหรับประชาชน 2557
คู่มือการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องสำหรับประชาชน 2557

More Related Content

What's hot

การพยาบาลผู้ป่วยก่อนและหลังการตรวจเพื่อการวินิจฉัยโรค
การพยาบาลผู้ป่วยก่อนและหลังการตรวจเพื่อการวินิจฉัยโรคการพยาบาลผู้ป่วยก่อนและหลังการตรวจเพื่อการวินิจฉัยโรค
การพยาบาลผู้ป่วยก่อนและหลังการตรวจเพื่อการวินิจฉัยโรคCC Nakhon Pathom Rajabhat University
 
แนวทางปฏิบัติการป้องกันดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน (ตา ไต เท้า)
แนวทางปฏิบัติการป้องกันดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน (ตา ไต เท้า)แนวทางปฏิบัติการป้องกันดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน (ตา ไต เท้า)
แนวทางปฏิบัติการป้องกันดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน (ตา ไต เท้า)Utai Sukviwatsirikul
 
Psoriasis แนวทางการรักษา
Psoriasis แนวทางการรักษาPsoriasis แนวทางการรักษา
Psoriasis แนวทางการรักษาUtai Sukviwatsirikul
 
คู่มือการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง (CAPD) ในชุมชน
คู่มือการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง (CAPD) ในชุมชนคู่มือการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง (CAPD) ในชุมชน
คู่มือการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง (CAPD) ในชุมชนUtai Sukviwatsirikul
 
การพยาบาลDhf
การพยาบาลDhfการพยาบาลDhf
การพยาบาลDhfMaytinee Beudam
 
แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในชุมชน
แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในชุมชนแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในชุมชน
แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในชุมชนCAPD AngThong
 
คู่มือผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง
คู่มือผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังคู่มือผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง
คู่มือผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังUtai Sukviwatsirikul
 
PICO : ค้นข้อมูลอย่างไรให้ตรงประเด็นการรักษา
PICO : ค้นข้อมูลอย่างไรให้ตรงประเด็นการรักษาPICO : ค้นข้อมูลอย่างไรให้ตรงประเด็นการรักษา
PICO : ค้นข้อมูลอย่างไรให้ตรงประเด็นการรักษาsongsri
 
บทบาทพยาบาลไตเทียมกับการป้องกันและการจัดการภาวะน้ำเกินของผู้ป่วย
บทบาทพยาบาลไตเทียมกับการป้องกันและการจัดการภาวะน้ำเกินของผู้ป่วยบทบาทพยาบาลไตเทียมกับการป้องกันและการจัดการภาวะน้ำเกินของผู้ป่วย
บทบาทพยาบาลไตเทียมกับการป้องกันและการจัดการภาวะน้ำเกินของผู้ป่วยChutchavarn Wongsaree
 
สมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุ
สมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุสมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุ
สมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุUtai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตUtai Sukviwatsirikul
 
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหา ของระบบทางเดินหายใจ
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหา ของระบบทางเดินหายใจการพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหา ของระบบทางเดินหายใจ
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหา ของระบบทางเดินหายใจtechno UCH
 
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014Utai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการพัฒนา CKD clinic และ เครือข่ายการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ของกระทร...
แนวทางการพัฒนา CKD clinic และ เครือข่ายการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังของกระทร...แนวทางการพัฒนา CKD clinic และ เครือข่ายการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังของกระทร...
แนวทางการพัฒนา CKD clinic และ เครือข่ายการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ของกระทร...CAPD AngThong
 
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction, AMI หรือ Acute c...
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction, AMI หรือ Acute c...โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction, AMI หรือ Acute c...
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction, AMI หรือ Acute c...Utai Sukviwatsirikul
 
คู่มือปฏิบัติการเพื่อดำเนินงานลดโรคไตเรื้อรัง CKD
คู่มือปฏิบัติการเพื่อดำเนินงานลดโรคไตเรื้อรัง CKDคู่มือปฏิบัติการเพื่อดำเนินงานลดโรคไตเรื้อรัง CKD
คู่มือปฏิบัติการเพื่อดำเนินงานลดโรคไตเรื้อรัง CKDCAPD AngThong
 
แนวทางการบำบัดทดแทนไต
แนวทางการบำบัดทดแทนไตแนวทางการบำบัดทดแทนไต
แนวทางการบำบัดทดแทนไตCAPD AngThong
 
คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)
คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)
คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)Utai Sukviwatsirikul
 

What's hot (20)

การพยาบาลผู้ป่วยก่อนและหลังการตรวจเพื่อการวินิจฉัยโรค
การพยาบาลผู้ป่วยก่อนและหลังการตรวจเพื่อการวินิจฉัยโรคการพยาบาลผู้ป่วยก่อนและหลังการตรวจเพื่อการวินิจฉัยโรค
การพยาบาลผู้ป่วยก่อนและหลังการตรวจเพื่อการวินิจฉัยโรค
 
แนวทางปฏิบัติการป้องกันดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน (ตา ไต เท้า)
แนวทางปฏิบัติการป้องกันดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน (ตา ไต เท้า)แนวทางปฏิบัติการป้องกันดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน (ตา ไต เท้า)
แนวทางปฏิบัติการป้องกันดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน (ตา ไต เท้า)
 
ภาวะซีด
ภาวะซีดภาวะซีด
ภาวะซีด
 
Psoriasis แนวทางการรักษา
Psoriasis แนวทางการรักษาPsoriasis แนวทางการรักษา
Psoriasis แนวทางการรักษา
 
22
2222
22
 
คู่มือการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง (CAPD) ในชุมชน
คู่มือการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง (CAPD) ในชุมชนคู่มือการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง (CAPD) ในชุมชน
คู่มือการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง (CAPD) ในชุมชน
 
การพยาบาลDhf
การพยาบาลDhfการพยาบาลDhf
การพยาบาลDhf
 
แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในชุมชน
แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในชุมชนแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในชุมชน
แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในชุมชน
 
คู่มือผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง
คู่มือผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังคู่มือผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง
คู่มือผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง
 
PICO : ค้นข้อมูลอย่างไรให้ตรงประเด็นการรักษา
PICO : ค้นข้อมูลอย่างไรให้ตรงประเด็นการรักษาPICO : ค้นข้อมูลอย่างไรให้ตรงประเด็นการรักษา
PICO : ค้นข้อมูลอย่างไรให้ตรงประเด็นการรักษา
 
บทบาทพยาบาลไตเทียมกับการป้องกันและการจัดการภาวะน้ำเกินของผู้ป่วย
บทบาทพยาบาลไตเทียมกับการป้องกันและการจัดการภาวะน้ำเกินของผู้ป่วยบทบาทพยาบาลไตเทียมกับการป้องกันและการจัดการภาวะน้ำเกินของผู้ป่วย
บทบาทพยาบาลไตเทียมกับการป้องกันและการจัดการภาวะน้ำเกินของผู้ป่วย
 
สมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุ
สมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุสมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุ
สมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุ
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
 
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหา ของระบบทางเดินหายใจ
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหา ของระบบทางเดินหายใจการพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหา ของระบบทางเดินหายใจ
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหา ของระบบทางเดินหายใจ
 
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
 
แนวทางการพัฒนา CKD clinic และ เครือข่ายการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ของกระทร...
แนวทางการพัฒนา CKD clinic และ เครือข่ายการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังของกระทร...แนวทางการพัฒนา CKD clinic และ เครือข่ายการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังของกระทร...
แนวทางการพัฒนา CKD clinic และ เครือข่ายการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ของกระทร...
 
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction, AMI หรือ Acute c...
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction, AMI หรือ Acute c...โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction, AMI หรือ Acute c...
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction, AMI หรือ Acute c...
 
คู่มือปฏิบัติการเพื่อดำเนินงานลดโรคไตเรื้อรัง CKD
คู่มือปฏิบัติการเพื่อดำเนินงานลดโรคไตเรื้อรัง CKDคู่มือปฏิบัติการเพื่อดำเนินงานลดโรคไตเรื้อรัง CKD
คู่มือปฏิบัติการเพื่อดำเนินงานลดโรคไตเรื้อรัง CKD
 
แนวทางการบำบัดทดแทนไต
แนวทางการบำบัดทดแทนไตแนวทางการบำบัดทดแทนไต
แนวทางการบำบัดทดแทนไต
 
คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)
คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)
คู่มือการดูแลโรคตาเบื้องต้น โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)
 

Viewers also liked

คู่มือ59 เล่ม3 ไต
คู่มือ59 เล่ม3 ไตคู่มือ59 เล่ม3 ไต
คู่มือ59 เล่ม3 ไตChuchai Sornchumni
 
หนังสือความรู้เรื่องโรคไต
หนังสือความรู้เรื่องโรคไตหนังสือความรู้เรื่องโรคไต
หนังสือความรู้เรื่องโรคไตCAPD AngThong
 
การใช้ยาในผู้ป่วยไตเรื้อรัง
การใช้ยาในผู้ป่วยไตเรื้อรังการใช้ยาในผู้ป่วยไตเรื้อรัง
การใช้ยาในผู้ป่วยไตเรื้อรังCAPD AngThong
 
Centre management - PD quality นพ.สกานต์
Centre management -  PD quality นพ.สกานต์Centre management -  PD quality นพ.สกานต์
Centre management - PD quality นพ.สกานต์Kamol Khositrangsikun
 
การออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
การออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังการออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
การออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังCAPD AngThong
 
การออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
การออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังการออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
การออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังCAPD AngThong
 
อาหารบำบัดโรคไต
อาหารบำบัดโรคไตอาหารบำบัดโรคไต
อาหารบำบัดโรคไตchalunthorn teeyamaneerat
 
ยาในโรคไตเรื้อรัง
ยาในโรคไตเรื้อรังยาในโรคไตเรื้อรัง
ยาในโรคไตเรื้อรังCAPD AngThong
 
รูปแบบการจัดการ Ckd clinic และ แนวทางการพัฒนาบุคลากร
รูปแบบการจัดการ Ckd clinic และ แนวทางการพัฒนาบุคลากรรูปแบบการจัดการ Ckd clinic และ แนวทางการพัฒนาบุคลากร
รูปแบบการจัดการ Ckd clinic และ แนวทางการพัฒนาบุคลากรKamol Khositrangsikun
 
คู่มือปฏิบัติการเพื่อดำเนินงานลดโรคไตเรื้อรัง Ckd
คู่มือปฏิบัติการเพื่อดำเนินงานลดโรคไตเรื้อรัง Ckdคู่มือปฏิบัติการเพื่อดำเนินงานลดโรคไตเรื้อรัง Ckd
คู่มือปฏิบัติการเพื่อดำเนินงานลดโรคไตเรื้อรัง CkdTuang Thidarat Apinya
 
คู่มือ ICD (Chest drain)
คู่มือ ICD (Chest drain)คู่มือ ICD (Chest drain)
คู่มือ ICD (Chest drain)Weerawan Ueng-aram
 
บทบาทพยาบาลไตเทียมกับการป้องกันและการจัดการภาวะน้ำเกินของผู้ป่วย
บทบาทพยาบาลไตเทียมกับการป้องกันและการจัดการภาวะน้ำเกินของผู้ป่วยบทบาทพยาบาลไตเทียมกับการป้องกันและการจัดการภาวะน้ำเกินของผู้ป่วย
บทบาทพยาบาลไตเทียมกับการป้องกันและการจัดการภาวะน้ำเกินของผู้ป่วยChutchavarn Wongsaree
 
อาหารในผู้ป่วยไตเรื้อรัง
อาหารในผู้ป่วยไตเรื้อรังอาหารในผู้ป่วยไตเรื้อรัง
อาหารในผู้ป่วยไตเรื้อรังCAPD AngThong
 
แนวทางการดูแลผู้ป่วย ไข้เลือดออก (สำหรับครอบครัว)
แนวทางการดูแลผู้ป่วย ไข้เลือดออก (สำหรับครอบครัว)แนวทางการดูแลผู้ป่วย ไข้เลือดออก (สำหรับครอบครัว)
แนวทางการดูแลผู้ป่วย ไข้เลือดออก (สำหรับครอบครัว)chalunthorn teeyamaneerat
 
ยารักษาโรคเบาหวาน
ยารักษาโรคเบาหวานยารักษาโรคเบาหวาน
ยารักษาโรคเบาหวานUtai Sukviwatsirikul
 
Guildline thai atherosclerosis_update_16_07_50
Guildline thai atherosclerosis_update_16_07_50Guildline thai atherosclerosis_update_16_07_50
Guildline thai atherosclerosis_update_16_07_50Utai Sukviwatsirikul
 

Viewers also liked (20)

คู่มือ59 เล่ม3 ไต
คู่มือ59 เล่ม3 ไตคู่มือ59 เล่ม3 ไต
คู่มือ59 เล่ม3 ไต
 
หนังสือความรู้เรื่องโรคไต
หนังสือความรู้เรื่องโรคไตหนังสือความรู้เรื่องโรคไต
หนังสือความรู้เรื่องโรคไต
 
การใช้ยาในผู้ป่วยไตเรื้อรัง
การใช้ยาในผู้ป่วยไตเรื้อรังการใช้ยาในผู้ป่วยไตเรื้อรัง
การใช้ยาในผู้ป่วยไตเรื้อรัง
 
Centre management - PD quality นพ.สกานต์
Centre management -  PD quality นพ.สกานต์Centre management -  PD quality นพ.สกานต์
Centre management - PD quality นพ.สกานต์
 
การออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
การออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังการออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
การออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
 
การออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
การออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังการออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
การออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
 
Rr rx
Rr rxRr rx
Rr rx
 
อาหารบำบัดโรคไต
อาหารบำบัดโรคไตอาหารบำบัดโรคไต
อาหารบำบัดโรคไต
 
ยาในโรคไตเรื้อรัง
ยาในโรคไตเรื้อรังยาในโรคไตเรื้อรัง
ยาในโรคไตเรื้อรัง
 
กรณีศึกษาไต (Ns) แก้ไข
กรณีศึกษาไต (Ns)  แก้ไขกรณีศึกษาไต (Ns)  แก้ไข
กรณีศึกษาไต (Ns) แก้ไข
 
Overview of peritoneal dialysis
Overview of peritoneal dialysisOverview of peritoneal dialysis
Overview of peritoneal dialysis
 
รูปแบบการจัดการ Ckd clinic และ แนวทางการพัฒนาบุคลากร
รูปแบบการจัดการ Ckd clinic และ แนวทางการพัฒนาบุคลากรรูปแบบการจัดการ Ckd clinic และ แนวทางการพัฒนาบุคลากร
รูปแบบการจัดการ Ckd clinic และ แนวทางการพัฒนาบุคลากร
 
Present.อาหารโรคไตcapd
Present.อาหารโรคไตcapdPresent.อาหารโรคไตcapd
Present.อาหารโรคไตcapd
 
คู่มือปฏิบัติการเพื่อดำเนินงานลดโรคไตเรื้อรัง Ckd
คู่มือปฏิบัติการเพื่อดำเนินงานลดโรคไตเรื้อรัง Ckdคู่มือปฏิบัติการเพื่อดำเนินงานลดโรคไตเรื้อรัง Ckd
คู่มือปฏิบัติการเพื่อดำเนินงานลดโรคไตเรื้อรัง Ckd
 
คู่มือ ICD (Chest drain)
คู่มือ ICD (Chest drain)คู่มือ ICD (Chest drain)
คู่มือ ICD (Chest drain)
 
บทบาทพยาบาลไตเทียมกับการป้องกันและการจัดการภาวะน้ำเกินของผู้ป่วย
บทบาทพยาบาลไตเทียมกับการป้องกันและการจัดการภาวะน้ำเกินของผู้ป่วยบทบาทพยาบาลไตเทียมกับการป้องกันและการจัดการภาวะน้ำเกินของผู้ป่วย
บทบาทพยาบาลไตเทียมกับการป้องกันและการจัดการภาวะน้ำเกินของผู้ป่วย
 
อาหารในผู้ป่วยไตเรื้อรัง
อาหารในผู้ป่วยไตเรื้อรังอาหารในผู้ป่วยไตเรื้อรัง
อาหารในผู้ป่วยไตเรื้อรัง
 
แนวทางการดูแลผู้ป่วย ไข้เลือดออก (สำหรับครอบครัว)
แนวทางการดูแลผู้ป่วย ไข้เลือดออก (สำหรับครอบครัว)แนวทางการดูแลผู้ป่วย ไข้เลือดออก (สำหรับครอบครัว)
แนวทางการดูแลผู้ป่วย ไข้เลือดออก (สำหรับครอบครัว)
 
ยารักษาโรคเบาหวาน
ยารักษาโรคเบาหวานยารักษาโรคเบาหวาน
ยารักษาโรคเบาหวาน
 
Guildline thai atherosclerosis_update_16_07_50
Guildline thai atherosclerosis_update_16_07_50Guildline thai atherosclerosis_update_16_07_50
Guildline thai atherosclerosis_update_16_07_50
 

Similar to คู่มือการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องสำหรับประชาชน 2557

Service plan 15 ธันวาคม 2558 _ นพ.สกานต์ บุนนาค
Service plan 15 ธันวาคม 2558 _ นพ.สกานต์ บุนนาคService plan 15 ธันวาคม 2558 _ นพ.สกานต์ บุนนาค
Service plan 15 ธันวาคม 2558 _ นพ.สกานต์ บุนนาคKamol Khositrangsikun
 
แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีและซีเรื้อรัง
แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีและซีเรื้อรังแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีและซีเรื้อรัง
แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีและซีเรื้อรังUtai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบ ซี เรื้อรัง ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559
แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบ ซี เรื้อรัง ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบ ซี เรื้อรัง ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559
แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบ ซี เรื้อรัง ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559Utai Sukviwatsirikul
 
Thailand practice hep c guideline 2016
Thailand practice hep c guideline 2016Thailand practice hep c guideline 2016
Thailand practice hep c guideline 2016Utai Sukviwatsirikul
 
แนวทางเวชปฎิบัติสำหรับโรคเบาหวาน จ.พระนครศรีอยุธยา พ.ศ.2555
แนวทางเวชปฎิบัติสำหรับโรคเบาหวาน จ.พระนครศรีอยุธยา พ.ศ.2555แนวทางเวชปฎิบัติสำหรับโรคเบาหวาน จ.พระนครศรีอยุธยา พ.ศ.2555
แนวทางเวชปฎิบัติสำหรับโรคเบาหวาน จ.พระนครศรีอยุธยา พ.ศ.2555Utai Sukviwatsirikul
 
คู่มือให้บริการ รพสต
คู่มือให้บริการ รพสตคู่มือให้บริการ รพสต
คู่มือให้บริการ รพสตsivapong klongpanich
 
แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2557
แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2557แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2557
แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2557Utai Sukviwatsirikul
 
คู่มือมะเร็งชุด1
คู่มือมะเร็งชุด1คู่มือมะเร็งชุด1
คู่มือมะเร็งชุด1THANAKORN
 
24.hbv and hcv guideline 2012 (update)
24.hbv and hcv guideline 2012 (update)24.hbv and hcv guideline 2012 (update)
24.hbv and hcv guideline 2012 (update)Aimmary
 
แนวทางการดูแลผู้ป่วยมะเร็งตับในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2558
แนวทางการดูแลผู้ป่วยมะเร็งตับในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2558แนวทางการดูแลผู้ป่วยมะเร็งตับในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2558
แนวทางการดูแลผู้ป่วยมะเร็งตับในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2558Utai Sukviwatsirikul
 
Thailand guideline for hepatocellular carcinoma
Thailand guideline for hepatocellular carcinomaThailand guideline for hepatocellular carcinoma
Thailand guideline for hepatocellular carcinomaUtai Sukviwatsirikul
 
อาหารตามหมู่เลือด
อาหารตามหมู่เลือดอาหารตามหมู่เลือด
อาหารตามหมู่เลือดVorawut Wongumpornpinit
 
httpswww.gastrothai.netsourcecontent-file178.Thailand20Guideline20for20Hepato...
httpswww.gastrothai.netsourcecontent-file178.Thailand20Guideline20for20Hepato...httpswww.gastrothai.netsourcecontent-file178.Thailand20Guideline20for20Hepato...
httpswww.gastrothai.netsourcecontent-file178.Thailand20Guideline20for20Hepato...PatthanitBunmongkonp
 

Similar to คู่มือการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องสำหรับประชาชน 2557 (20)

Service plan 15 ธันวาคม 2558 _ นพ.สกานต์ บุนนาค
Service plan 15 ธันวาคม 2558 _ นพ.สกานต์ บุนนาคService plan 15 ธันวาคม 2558 _ นพ.สกานต์ บุนนาค
Service plan 15 ธันวาคม 2558 _ นพ.สกานต์ บุนนาค
 
แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีและซีเรื้อรัง
แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีและซีเรื้อรังแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีและซีเรื้อรัง
แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีและซีเรื้อรัง
 
Hep c guideline 2016
Hep c guideline 2016Hep c guideline 2016
Hep c guideline 2016
 
แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบ ซี เรื้อรัง ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559
แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบ ซี เรื้อรัง ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบ ซี เรื้อรัง ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559
แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบ ซี เรื้อรัง ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559
 
Thailand practice hep c guideline 2016
Thailand practice hep c guideline 2016Thailand practice hep c guideline 2016
Thailand practice hep c guideline 2016
 
แนวทางเวชปฎิบัติสำหรับโรคเบาหวาน จ.พระนครศรีอยุธยา พ.ศ.2555
แนวทางเวชปฎิบัติสำหรับโรคเบาหวาน จ.พระนครศรีอยุธยา พ.ศ.2555แนวทางเวชปฎิบัติสำหรับโรคเบาหวาน จ.พระนครศรีอยุธยา พ.ศ.2555
แนวทางเวชปฎิบัติสำหรับโรคเบาหวาน จ.พระนครศรีอยุธยา พ.ศ.2555
 
Dyspepsia 2561
Dyspepsia 2561Dyspepsia 2561
Dyspepsia 2561
 
คู่มือให้บริการ รพสต
คู่มือให้บริการ รพสตคู่มือให้บริการ รพสต
คู่มือให้บริการ รพสต
 
Dm 2557
Dm 2557Dm 2557
Dm 2557
 
แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2557
แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2557แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2557
แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2557
 
Chf guideline
Chf guidelineChf guideline
Chf guideline
 
คู่มือมะเร็งชุด1
คู่มือมะเร็งชุด1คู่มือมะเร็งชุด1
คู่มือมะเร็งชุด1
 
24.hbv and hcv guideline 2012 (update)
24.hbv and hcv guideline 2012 (update)24.hbv and hcv guideline 2012 (update)
24.hbv and hcv guideline 2012 (update)
 
แนวทางการดูแลผู้ป่วยมะเร็งตับในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2558
แนวทางการดูแลผู้ป่วยมะเร็งตับในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2558แนวทางการดูแลผู้ป่วยมะเร็งตับในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2558
แนวทางการดูแลผู้ป่วยมะเร็งตับในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2558
 
CPG for hepatocellular carcinoma
CPG for hepatocellular carcinomaCPG for hepatocellular carcinoma
CPG for hepatocellular carcinoma
 
Thailand guideline for hepatocellular carcinoma
Thailand guideline for hepatocellular carcinomaThailand guideline for hepatocellular carcinoma
Thailand guideline for hepatocellular carcinoma
 
Epilepsy
EpilepsyEpilepsy
Epilepsy
 
การจัดการโรคDm&htใน อปท.
การจัดการโรคDm&htใน อปท.การจัดการโรคDm&htใน อปท.
การจัดการโรคDm&htใน อปท.
 
อาหารตามหมู่เลือด
อาหารตามหมู่เลือดอาหารตามหมู่เลือด
อาหารตามหมู่เลือด
 
httpswww.gastrothai.netsourcecontent-file178.Thailand20Guideline20for20Hepato...
httpswww.gastrothai.netsourcecontent-file178.Thailand20Guideline20for20Hepato...httpswww.gastrothai.netsourcecontent-file178.Thailand20Guideline20for20Hepato...
httpswww.gastrothai.netsourcecontent-file178.Thailand20Guideline20for20Hepato...
 

More from Utai Sukviwatsirikul

Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนNanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนUtai Sukviwatsirikul
 
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันClinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันUtai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...Utai Sukviwatsirikul
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaSaccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaUtai Sukviwatsirikul
 
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)Utai Sukviwatsirikul
 
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaDrugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaUtai Sukviwatsirikul
 
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Utai Sukviwatsirikul
 
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Utai Sukviwatsirikul
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Utai Sukviwatsirikul
 
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงUtai Sukviwatsirikul
 
ความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตUtai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)Utai Sukviwatsirikul
 
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการUtai Sukviwatsirikul
 
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินUtai Sukviwatsirikul
 
Clinical case emergency contraceptives
Clinical case emergency contraceptivesClinical case emergency contraceptives
Clinical case emergency contraceptivesUtai Sukviwatsirikul
 

More from Utai Sukviwatsirikul (20)

Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนNanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
 
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันClinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
 
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
 
Supply chain management
Supply chain managementSupply chain management
Supply chain management
 
Best practice in communication
Best practice in communicationBest practice in communication
Best practice in communication
 
Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaSaccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
 
SME Handbook
SME HandbookSME Handbook
SME Handbook
 
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
 
Scientific evidence of BIOFLOR
Scientific evidence of BIOFLORScientific evidence of BIOFLOR
Scientific evidence of BIOFLOR
 
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaDrugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
 
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
 
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
 
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
 
ความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไต
 
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
 
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
 
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
 
Clinical case emergency contraceptives
Clinical case emergency contraceptivesClinical case emergency contraceptives
Clinical case emergency contraceptives
 

คู่มือการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องสำหรับประชาชน 2557

  • 2. 2 คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน ที่ปรึกษา นางวันทนีย์ วัฒนะ ผู้อำ�นวยการสำ�นักอนามัย นายโกวิท ยงวานิชจิต รองผู้อำ�นวยการสำ�นักอนามัย นางชุดาภรณ์ ศิริสนธิ ผู้อำ�นวยการกองการพยาบาล สาธารณสุข คณะผู้จัดทำ� นางสาววาณีรัตน์ รุ่งเกียรติกุล นางสกาวดี ดอกเทียน นางชนัญทิพพ์ เรียงวิโรจน์กิจ นางสาวปัญญภัสส์ ปานจันทร์ นางสาวปัทมา เติมบุญ
  • 3. 3คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน บทน�ำ คู่มือ การดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องส�ำหรับประชาชน จัดท�ำขึ้น เพื่อให้ประชาชนที่ป่วยเป็นโรคไตและผู้ดูแลได้เรียนรู้ ท�ำความเข้าใจเกี่ยวกับ เทคนิควิธีการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม หรือการล้างไตทางช่องท้อง ด้วยตนเองที่บ้านได้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพ กายและใจ ท�ำให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ส�ำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร โดยกองการพยาบาลสาธารณสุข ได้ตระหนักในความส�ำคัญดังกล่าว จึงได้จัดท�ำคู่มือการดูแลผู้ป่วยล้างไต ทางช่องท้องส�ำหรับประชาชน และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้ จะเป็น ประโยชน์แก่ผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรังโรคไตที่สนใจจะฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม หรือล้างไตทางช่องท้องด้วยตนเองที่บ้าน ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถใช้ ชีวิตกับครอบครัวได้อย่างมีความสุข ตามเจตนารมณ์ของผู้บริหารกรุงเทพมหานคร (นางชุดาภรณ์ ศิริสนธิ) ผู้อ�ำนวยการกองการพยาบาลสาธารณสุข
  • 4. 4 คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน สารบัญ หน้า บทนำ� คุณรู้ไหมว่าไตเราทำ�หน้าที่อะไรบ้าง 5 โรคไตคืออะไรและมีกี่ชนิด 6 รู้หรือไม่ผลของไตวายจะมีอาการอย่างไร 7 วิธีการบำ�บัดทดแทนไต 8 ชนิดของการล้างไตทางช่องท้อง 14 รูปแบบต่างๆ ของการล้างไตทางช่องท้อง 19 ชนิดของน้ำ�ยาล้างไตทางช่องท้องมีอะไรบ้าง 22 การล้างไตผ่านทางช่องท้อง ช่วยให้คุณภาพชีวิต 24 ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังดีขึ้นอย่างไร? การดำ�รงชีวิตของผู้ป่วย ญาติ และผู้ดูแล 25 ควรวางสายล้างไตทางช่องท้องอย่างไรให้ปลอดภัย 26 การเตรียมสถานที่ และสิ่งแวดล้อมสำ�หรับการล้างไต 27 ทางช่องท้อง ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังควรรับประทานอาหารให้เหมาะสม 43 อย่างไร
  • 5. 5คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน คุณรู้ไหมว่าไตเราทำ�หน้าที่อะไรบ้าง เนื่องจากไตเป็นอวัยวะที่สำ�คัญมาก ทำ�ให้เราสามารถดำ�รงชีวิตอยู่ได้ หากเกิดการเจ็บป่วยเป็นโรคไต ผู้ป่วยควรจะเรียนรู้ ทำ�ความเข้าใจ หน้าที่ การทำ�งานของไต เพื่อชะลอการเสื่อมการทำ�งานของไต ที่มีหลายประการ ดังนี้ 1. การกำ�จัดของเสีย หรือสารที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ยาและสาร ต่างๆ ที่มีมากเกินไป หรือมีอันตรายต่อร่างกาย 2. ดูดซึมและเก็บสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายไว้ ไม่ให้เสียไปกับ ปัสสาวะ 3. รักษาสมดุลน้ำ�ของร่างกาย โดยเมื่อร่างกายมีน้ำ�มากเกินไป ไตจะ ขับน้ำ�ส่วนเกินออก แต่เมื่อร่างกายขาดน้ำ� ไตจะพยายามสงวนน้ำ�ไว้ในร่างกาย 4. รักษาสมดุลกรดด่างและเกลือแร่ในร่างกาย เช่น โซเดียม โพแทสเซียม แคลเซียม ฟอสเฟต และแมกนีเซียม ให้อยู่ในระดับที่พอเหมาะ 5. ควบคุมความดันโลหิตผ่านทางการควบคุมสมดุลน้ำ� และเกลือแร่ บางชนิด 6. สร้างฮอร์โมน อีริโทรโปอิติน (Erythropoietin) ที่ควบคุมการสร้าง เม็ดเลือดแดงจากไขกระดูก ทำ�ให้ไม่เกิดภาวะโลหิตจาง และสร้างฮอร์โมน แคลซิไตรออล (Calcitriol) ซึ่งควบคุมการดูดซึมแคลเซียม และฟอสฟอรัส ทำ�ให้กระดูกแข็งแรง
  • 6. 6 คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน โรคไตคืออะไรและมีกี่ชนิด โรคไต หมายถึง ภาวะที่มีความผิดปกติของไต มีสาเหตุเกิดจากโรคต่างๆ มากมาย เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดฝอยไต อักเสบ ได้แก่ โรคเอสแอลอี (SLE) โรคไตอักเสบ ไอจีเอ (IGA) เป็นต้น และจาก การศึกษาของสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2549-พ.ศ. 2551 พบว่าประชากรไทยมีความชุกโรคไตเรื้อรังร้อยละ 17.6 ของประชากรไทย ทั่วประเทศ ชนิดของการเป็นโรคไต ถ้าแบ่งตามระยะเวลาของการด�ำเนินโรค และความสามารถในการฟื้นตัว แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ โรคไตเฉียบพลัน หมายถึงภาวะที่ไตเสียการท�ำงานไปอย่างรวดเร็ว แต่เสียการท�ำงานเพียงชั่วคราว และเมื่อรักษาสาเหตุได้แล้ว การท�ำงานของไต จะกลับฟื้นตัวดีขึ้นจนเป็นปกติได้ ถ้าจ�ำเป็นต้องรับการบ�ำบัดทดแทนไต ก็สามารถหยุดได้เมื่อไตฟื้นตัว โรคไตเรื้อรัง หมายถึงภาวะที่มีการท�ำลายเนื้อไตอย่างถาวร แม้โรคไต ที่เป็นสาเหตุจะสงบลงแล้ว ไตก็ไม่ฟื้นตัวเป็นปกติ และมีเนื้อเยื่อพังผืดแทรก เข้าไปในเนื้อไต ถ้าเป็นรุนแรงจะท�ำให้ไตค่อยๆ ฝ่อ เล็กลง และค่อยๆ เสื่อม หน้าที่ลงไปเรื่อยๆ อย่างไม่มีทางเลี่ยง จนเข้าสู่ภาวะโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ซึ่งผู้ป่วยจ�ำเป็นต้องรับการบ�ำบัดทดแทนไต ด้วยการปลูกถ่ายไตหรือการผ่าตัด เปลี่ยนไต การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม หรือการล้างไตทางช่องท้อง
  • 7. 7คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน รู้หรือไม่ผลของไตวายจะมีอาการอย่างไร เมื่อผู้ป่วยเข้าสู่ภาวะโรคไตวาย จะท�ำให้เกิดอาการที่เกิดจากการเสีย หน้าที่ต่างๆ ของไต ดังนี้ 1. เสียหน้าที่ในการขับน�้ำ ท�ำให้มีปัสสาวะออกน้อย บวม เหนื่อย หอบ นอนราบไม่ได้ จากน�้ำท่วมปอด เนื่องจากภาวะน�้ำและเกลือเกิน 2. เสียหน้าที่ในการขับของเสีย เสียสมดุล กรดด่าง และเกลือแร่ ท�ำให้ มีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ คันตามผิวหนัง เลือดออกง่ายหยุดยาก กล้ามเนื้อแขนขากระตุก ไม่มีแรง ในรายที่เป็นมาก อาจซึม หมดสติ หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือหัวใจหยุดเต้น และเสียชีวิตได้ 3. เสียหน้าที่ในการสร้างฮอร์โมน ท�ำให้เกิดโรคภาวะโลหิตจาง หรือกระดูกบาง
  • 8. 8 คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน วิธีการบำ�บัดทดแทนไต ปัจจุบันมีวิธีการบ�ำบัดทดแทนไต 3 วิธีดังนี้ 1. การปลูกถ่ายไตหรือการผ่าตัดเปลี่ยนไต 2. การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม 3. การล้างไตทางช่องท้อง(Peritoneal Dialysis :PD) การเลือกวิธีบ�ำบัดทดแทนไต จะเลือกวิธีใด ต้องพิจารณาให้เหมาะสม ในหลายๆ ด้าน แต่ถ้าไม่มีข้อจ�ำกัดใดๆ ขึ้นกับความพอใจของผู้ป่วยและครอบครัว เป็นหลัก ทั้งนี้ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม และการล้างไตทางช่องท้อง เป็นเพียงการน�ำวิธีทางการแพทย์ มาท�ำหน้าที่แทนไตที่เสียไป มิใช่การรักษา เพื่อให้ไตที่วายไปแล้ว ฟื้นตัวกลับมาเป็นปกติ ดังนั้น ผู้ป่วยจะต้องฟอกเลือด ด้วยเครื่องล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องไปตลอดชีวิต หรือจนกว่าจะได้รับ ไตเทียม หรือการผ่าตัดปลูกถ่ายไตใหม่
  • 9. 9คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน 1. การปลูกถ่ายไตหรือการผ่าตัดเปลี่ยนไต เป็นการปลูกถ่ายไตใหม่ เข้าไป เพื่อท�ำหน้าที่ทดแทนไตเดิม ซึ่งปัจจุบันถือว่าเป็นการรักษาทดแทนไต ที่ดีสุด เนื่องจากไตใหม่จะท�ำงานได้ใกล้เคียงไตเดิมของผู้ป่วย และท�ำหน้าที่ ได้ดีกว่าการฟอกเลือดทั้ง 2 ชนิด จึงท�ำให้ผู้ป่วยมีสุขภาพดีกว่า มีโอกาสเจ็บป่วย และเสียชีวิตน้อยกว่า และมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าการฟอกเลือด ไตใหม่จะได้ มาจากการบริจาค โดยอาจมาจากญาติที่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือด หรือสามี ภรรยา หรือมาจากผู้ที่มีภาวะสมองตายที่ยินดีบริจาค ไตใหม่ที่ปลูกถ่ายเข้าไป ถือเป็นสิ่งแปลกปลอมของผู้ป่วย ร่างกาย ผู้ป่วยจะมีการสร้างภูมิต้านทาน เพื่อขจัดสิ่งแปลกปลอม เพราะฉะนั้น ผู้ป่วย ทุกรายที่ได้รับการปลูกถ่ายไตใหม่ จะต้องได้รับยากดภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกัน ปฏิกิริยาการปฏิเสธอวัยวะ การกินยากดภูมิคุ้มกันต้องกินไปตลอดชีวิต ถ้าขาดยาอาจท�ำให้ไตที่ปลูกถ่ายเสีย จากปฏิกิริยาการปฏิเสธอวัยวะ
  • 10. 10 คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน ผลจากการรับประทานยากดภูมิคุ้มกัน ท�ำให้ผู้ป่วยเปลี่ยนไต มีภูมิคุ้มกัน น้อยมาก จึงจ�ำเป็นที่ผู้ป่วยเปลี่ยนไตทุกคน จะต้องวางแผนการใช้ชีวิตประจ�ำวัน ใหม่ เพราะต้องดูแลตนเองเป็นพิเศษ เช่น การใส่หน้ากากอนามัย (MASK) เพื่อปิดจมูกและปากตลอดเวลา เพื่อป้องกันการติดเชื้อโรคจากบุคคลอื่นที่อยู่ใกล้ชิดที่ป่วย และไม่รู้ว่าป่วย ทั้งที่บ้าน และชุมชนต่างๆ การดูแลในเรื่องการควบคุมอาหาร รสชาติ เครื่องปรุง เวลาในการ รับประทานยากดภูมิคุ้มกันและยารักษาโรคประจ�ำตัว รวมทั้งการตรวจเช็ค และปรับระดับยาให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมอยู่เสมอ เพื่อป้องกันการเกิดผล ข้างเคียงจากยา นอกจากนี้การผ่าตัดเปลี่ยนไตเป็นการผ่าตัดใหญ่ จึงมีความเสี่ยง ต่อภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดได้เหมือนการผ่าตัดใหญ่ทั่วไป จึงจ�ำเป็นต้อง มีการประเมินผู้ป่วยว่าเหมาะสมที่จะท�ำการผ่าตัดหรือไม่ และมีการเตรียมผู้ป่วย ก่อนผ่าตัด และการดูแลหลังผ่าตัดเป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามผู้ป่วยส่วนใหญ่ ต้องรับการรักษาด้วยฟอกเลือดก่อน เพื่อเตรียมสภาพร่างกายให้แข็งแรงและพร้อมส�ำหรับการผ่าตัด นอกจากนี้ การรอไตบริจาคจากผู้มีภาวะสมองตาย มีระยะเวลารอคอยเฉลี่ยประมาณ 4 ปี ซึ่งเป็นระยะเวลาที่นานเกินกว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีชีวิตอยู่ได้ โดยไม่ได้รับ การฟอกเลือดไปก่อน แต่ถ้าเป็นไตที่ได้รับบริจาคจากญาติ สามี หรือภรรยา ที่สุขภาพแข็งแรง และมีเนื้อเยื่อเข้ากันได้ ก็สามารถท�ำการผ่าตัดได้ในเวลา ประมาณ 1-3 เดือน จะเห็นได้ว่าหลังการผ่าตัดปลูกถ่ายไตแล้ว ผู้ป่วยก็ยังคง ต้องมาติดตามการรักษากับแพทย์อย่างสม�่ำเสมอ และปฏิบัติตามค�ำแนะน�ำ ของแพทย์อย่างเคร่งครัด
  • 11. 11คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน 2. การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม คือการน�ำเลือดออกจากตัว ผู้ป่วยออกมาฟอกด้วยเครื่องไตเทียม โดยเมื่อเริ่มการฟอกเลือด จะต้องแทงเข็ม เข้าสู่หลอดเลือดพิเศษ หรือหลอดเลือดเทียมที่เตรียมไว้ล่วงหน้า และต่อเข็ม เข้ากับท่อน�ำเลือดของเครื่องไตเทียม หรือในกรณีที่ใช้สายสวนหลอดเลือดด�ำ ก็จะต่อปลายสายสวนดังกล่าว เข้ากับท่อน�ำเลือด เพื่อน�ำเลือดจากผู้ป่วย ไปท�ำ การฟอกในตัวกรองของเครื่องไตเทียม ในตัวกรองนี้ เลือดของผู้ป่วยจะมีการ แลกเปลี่ยนสารต่างๆกับน�้ำยาชนิดพิเศษ โดยของเสียในเลือดของผู้ป่วยจะ เคลื่อนที่ออกจากเลือดไปยังน�้ำยา และจะมีการแลกเปลี่ยนของเกลือแร่ต่างๆ และกรดด่าง จนมีระดับที่เหมาะสม นอกจากนี้ตัวกรองยังท�ำหน้าที่กรองน�้ำ ส่วนเกินออกจากตัวผู้ป่วย เยื่อกรองในตัวกรองดังกล่าว ถูกออกแบบไม่ให้ เม็ดเลือดต่างๆ รวมทั้งโปรตีน เสียออกไปจากร่างกายของผู้ป่วย หลังจากที่ เลือดได้ผ่านการกรองท�ำให้สะอาด และมีระดับเกลือแร่และกรดด่างที่เหมาะสม แล้ว เครื่องไตเทียมจะน�ำเลือดที่ดีกลับคืนสู่ตัวผู้ป่วย โดยทั่วไปผู้ป่วยจะได้รับการฟอกเลือดครั้งละ 4-5 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง เนื่องจากต้องใช้เครื่องไตเทียมที่มีระบบการท�ำงานที่ซับซ้อน ดังนั้น การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม จึงต้องท�ำที่โรงพยาบาลหรือศูนย์ไตเทียม โดยมีพยาบาลและเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการฟอกเลือดเป็นผู้ดูแลอย่าง ใกล้ชิด
  • 12. 12 คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน 3. การล้างไตทางช่องท้อง(Peritoneal Dialysis : PD) เป็นการ ฟอกเลือดโดยใช้เยื่อบุภายในช่องท้องของผู้ป่วยเป็นเยื่อตัวกรอง ท�ำหน้าที่กรอง ของเสีย น�้ำ แลกเปลี่ยนเกลือแร่ต่างๆ และกรดด่างระหว่างเลือดผู้ป่วย ที่ผ่าน เข้ามาในบริเวณหลอดเลือดที่ผนังช่องท้องกับน�้ำยาล้างไต หลักการท�ำงานของการล้างไตทางช่องท้อง จะอาศัยแรงโน้มถ่วงของ โลกในการปล่อยน�้ำยาเข้าและออกจากช่องท้อง เมื่อต่อถุงน�้ำยากับสายต่อท่อ ล้างไต แล้วยกขึ้นให้สูงระดับไหล่หรือสูงกว่า น�้ำยาใหม่จากถุงจะไหลเข้าสู่ ช่องท้อง เมื่อน�้ำยาหมดถุงสามารถปลดสายออกจากท่อต่อล้างไต ทิ้งน�้ำยา ค้างไว้ในท้องเป็นเวลา 4-8 ชั่วโมง ระยะที่น�้ำยาค้าง และปลดสายถุงน�้ำ ออกนั้น ผู้ป่วยสามารถมีกิจวัตรประจ�ำวันได้ตามปกติ เมื่อครบ 4-8 ชั่วโมง น�้ำยาล้างไตที่มีของเสียอยู่ จะถูกปล่อยออกจาก ช่องท้อง และถูกแทนที่ด้วยน�้ำยาใหม่ที่เติมเข้าไป ซึ่งทั้งหมดนี้ เรียกว่า การเปลี่ยน น�้ำยาล้างไตและการแลกเปลี่ยนของเสีย (Exchange) การแลกเปลี่ยนน�้ำยาจะท�ำวันละ 4-5 รอบ ขึ้นอยู่กับการรักษาของ แพทย์
  • 14. 14 คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน ชนิดของการล้างไตทางช่องท้อง การล้างไตทางช่องท้อง (PD) มี 2 ชนิด ดังนี้ 1.การล้างไตทางช่องท้องด้วยเครื่องอัตโนมัติ (Automated Peritoneal Dialysis : APD) การล้างไตทางช่องท้องด้วยเครื่องอัตโนมัติ บางครั้งเรียกว่า การล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องด้วยเครื่อง (Continuous Cycle Peritoneal Dialysis:CCPD) เป็นการล้างไตทางช่องท้องด้วยเครื่องควบคุมการเปลี่ยน ถ่ายน�้ำยาล้างไตแบบอัตโนมัติ ซึ่งจะท�ำในเวลากลางคืน ขณะที่ผู้ป่วยนอนหลับ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะค้างน�้ำยาล้างไตไว้ในช่องท้อง หรือเปลี่ยนถ่ายน�้ำยาล้างไต เพียงครั้งเดียวระหว่างวัน
  • 15. 15คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน การล้างไตทางช่องท้องด้วยเครื่องอัตโนมัติ เหมาะส�ำหรับผู้ป่วยที่ ต้องการอิสระจากการล้างไตตอนกลางวัน หรือถ้าจ�ำเป็นต้องท�ำ ใช้จ�ำนวนครั้ง น้อยลง และไม่จ�ำเป็นต้องเปลี่ยนถ่ายน�้ำยาล้างไตทุกๆ 4-8 ชั่วโมง ท�ำให้ โอกาสติดเชื้อเข้าไปในช่องท้องลดลง อีกทั้งยังสามารถลดขั้นตอนการท�ำให้ น้อยลง ช่วยลดภาระของผู้ดูแล แต่น�้ำยาและอุปกรณ์ดังกล่าว ยังมีราคาแพง กว่าแบบที่ใช้กันอยู่ทั่วไปมาก และอาจไม่เหมาะกับผู้ที่มีการไหลเข้าออกของ น�้ำยาจากช่องท้องไม่ดี ท�ำให้เครื่องหยุดท�ำงานบ่อย หรือในผู้ป่วยที่หลับยาก ตื่นง่าย เนื่องจากมีการท�ำงานของเครื่องขณะนอนหลับ
  • 16. 16 คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน 2.การล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องด้วยตนเอง (Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis : CAPD) การล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องด้วยตนเองเป็นการท�ำความสะอาด เลือดตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน โดยผู้ป่วยสามารถท�ำกิจวัตร เช่น เดินไปมาได้ ตามปกติ แม้ในขณะที่มีการเปลี่ยนถ่ายน�้ำยาล้างไต เพราะการล้างไตทางช่องท้อง อย่างต่อเนื่องด้วยตนเองนี้ ใช้เพียงถุงน�้ำยาล้างไตซึ่งแขวนบนเสาที่มีล้อ ในระหว่างการใส่น�้ำยาล้างไตเข้าไปในช่องท้อง และสายที่เชื่อมต่อมายังสายท่อ ล้างไต ผู้ป่วยส่วนใหญ่ต้องเปลี่ยนถ่ายน�้ำยาล้างไตวันละ 4 ครั้ง คือ เมื่อตื่นนอน ตอนเช้า ตอนกลางวัน ก่อนอาหารเย็น และก่อนนอน ซึ่งการเปลี่ยนน�้ำยา ล้างไตในแต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 30 นาที น�้ำยาล้างไตจะค้างอยู่ในช่องท้อง ในช่วงที่มีการแลกเปลี่ยนของเสียและในช่วงเวลากลางคืน ในขณะที่มีการเปลี่ยนถ่ายน�้ำยาล้างไต ผู้ป่วยสามารถท�ำกิจกรรมต่างๆ ที่ไม่เป็นข้อห้ามได้ เช่น ดูทีวี คุยโทรศัพท์ นั่งท�ำงานบนโต๊ะ หรืออ่านหนังสือ เป็นต้น การเปลี่ยนถ่ายน�้ำยาล้างไตสามารถท�ำได้ในบริเวณที่สะอาด ไม่ว่า จะเป็นที่บ้าน ที่ท�ำงาน หรือแม้แต่เวลาไปท่องเที่ยว
  • 18. 18 คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน 1. อุปกรณ์ที่ติดอยู่กับตัวผู้ป่วยตลอดเวลา 1.1 สายล้างไตทางช่องท้อง (Tenckhoff Catheter) เป็นสายท่ออ่อน ขนาดเล็กที่ใส่เข้าไปในช่องท้องผ่านทางผนังหน้าท้อง เพื่อเป็นช่องทางให้น�้ำยา ล้างไตไหลเข้าออก การใส่สายท่อล้างไตเข้าไปในช่องท้อง ใช้เพียงการผ่าตัดเล็ก แบบผู้ป่วยนอก และควรปล่อยให้แผลสมานดีเสียก่อนที่จะเริ่มท�ำการล้างไต ซึ่งอาจใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ โดยปกติแล้วสายท่อล้างไต จะไม่สร้าง ความเจ็บปวด และจะติดอยู่กับร่างกายของผู้ป่วยตลอดการล้างไตทางช่องท้อง ซึ่งสามารถใช้ได้ตลอดชีวิตของผู้ป่วย หากไม่มีปัญหาแทรกซ้อน เช่น อุดตัน สายลอยจากต�ำแหน่งที่ก�ำหนด ฯลฯ 1.2 สายต่อเพื่อการส่งผ่านน�้ำยาชนิดสั้น (transfer set) ซึ่งมีอายุ การใช้งานประมาณ 6 เดือน ดังนั้นทุก 6 เดือนท่านต้องไปติดต่อที่หน่วยล้างไต ทางช่องท้องเพื่อเปลี่ยนสายยาง 2. อุปกรณ์ที่ไม่ติดอยู่กับตัวผู้ป่วยตลอดเวลา 2.1 ท่อส่งน�้ำยาเข้าออก 2.2 ถุงน�้ำยา
  • 19. 19คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน รูปแบบต่างๆของการล้างไตทางช่องท้อง 1. ระบบท่อส่งน�้ำยาเข้าออกสายตรง (Straight transfer set system) ระบบนี้การเปิดน�้ำยาใหม่เข้าท้อง และการถ่ายน�้ำที่ฟอกไต แล้วออกจากท้อง จะใช้สายยางเส้นเดียวกันตลอดเส้น ระบบท่อส่งน�้ำยาแบบนี้ มีข้อเสียที่ติดเชื้อได้ง่าย และถุงที่คาไว้ที่หน้าท้องตลอดเวลา จะสร้างความร�ำคาญ ให้กับผู้ป่วย ปัจจุบันจึงไม่มีใช้แล้ว ระบบท่อส่งน�้ำยาเข้าออกสายตรง
  • 20. 20 คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน 2. ระบบท่อส่งน�้ำยาเข้าออกรูปตัววาย (Y-Set system) ถุงน�้ำยาใหม่และถุงเปล่าแยกกับสาย ลักษณะของสายจะคล้ายตัววาย (Y) โคนของสายยางจะต่อกับสายต่อ เพื่อการส่งผ่านน�้ำยาที่หน้าท้องของผู้ป่วย ปลายสาย 2 ข้าง จะใช้ต่อกับถุงน�้ำยา ล้างไตใหม่ 1 ข้าง และอีกข้างจะใช้ต่อกับถุงเปล่า ส�ำหรับเปิดน�้ำออกจากท้อง ผู้ป่วย ระบบนี้เมื่อผู้ป่วยถ่ายน�้ำยาเก่าออกจากช่องท้องเสร็จแล้ว จะท�ำการ ปิดปลายด้านที่ต่อกับสายที่เข้าไปในช่องท้องผู้ป่วย และเปิดให้น�้ำยาจาก ถุงน�้ำยาใหม่ ไหลผ่านภายในสายไปสู่ถุงเปล่าโดยไม่เข้าสู่ช่องท้องผู้ป่วย เพื่อเป็นการล้างท�ำความสะอาดภายในสายระยะหนึ่งก่อน ซึ่งสามารถลดจ�ำนวน เชื้อโรคที่หลุดรอดเข้าไปในสายขณะเปลี่ยนถุงน�้ำยา แล้วจึงปิดสายด้านถุงเปล่า และเปิดให้น�้ำยาไหลเข้าสู่ช่องท้องผู้ป่วย ข้อดี คือสามารถลดอัตราการติดเชื้อในช่องท้องได้ และยังสามารถ แบ่งน�้ำใส่ท้องครั้งละน้อยๆ ได้ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถทนต่อการใส่น�้ำยา ปริมาณมากในครั้งเดียวได้ ข้อเสีย คือผู้ป่วยต้องมีสายที่ต่อกับสายต่อ เพื่อการส่งผ่านน�้ำยาคาไว้ ที่หน้าท้องตลอดเวลา ไม่สะดวกต่อผู้ป่วยในการด�ำเนินชีวิตประจ�ำวัน ปัจจุบัน ไม่นิยมใช้แล้ว ระบบท่อส่งน�้ำยาเข้าออกรูปตัววาย
  • 21. 21คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน 3. ระบบท่อส่งน�้ำยาเข้าออกรูปตัววาย (Y-Set system) ที่มี ถุงน�้ำยาใหม่และถุงเปล่าติดมากับสาย เป็นระบบที่นิยมใช้ในปัจจุบันอย่างแพร่หลาย และได้รับการสนับสนุน จากส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้ใช้กับผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง น�้ำยาในระบบนี้แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ Twin Bag และ Andy Disc ทั้ง 2 ชนิด เป็นระบบที่ท�ำงานเหมือนกัน คือ สายส่งน�้ำยา จะมีลักษณะเป็นตัว (Y) เช่น เดียวกับข้อ 2 ต่างกันตรงที่ถุงน�้ำยา และถุงเปล่าต่อกับสายมาแล้ว แบบส�ำเร็จรูป จากโรงงาน ข้อดีที่เหนือกว่าระบบที่มีถุงน�้ำใหม่และถุงเปล่าแยกกับสาย คือ จ�ำนวนครั้งในการต่ออุปกรณ์แต่ละครั้งลดลง ท�ำให้โอกาสติดเชื้อลดลง และผู้ป่วยไม่ต้องมีสายที่ต่อกับท่อล้างไตคาไว้ที่หน้าท้องตลอดเวลา ท�ำให้ สะดวกในการด�ำเนินชีวิตประจ�ำวัน ภาพแสดงระบบท่อส่งน�้ำยา เข้าออกรูปตัววายที่มีถุงน�้ำใหม่ และถุงเปล่าติดมากับสายชนิด Twin Bag ภาพแสดงระบบท่อส่งน�้ำยา เข้าออกรูปตัววายที่มีถุงน�้ำใหม่ และถุงเปล่าติดมากับสายชนิด Andy Disc
  • 22. 22 คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน ชนิดของน�้ำยาล้างไตทางช่องท้อง มีอะไรบ้าง น�้ำยาล้างไตทางช่องท้องแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดคือ 1. น�้ำยาที่ใช้น�้ำตาลกลูโคสเป็นส่วนผสม เป็นน�้ำยาล้างไตทาง ช่องท้องที่ใช้กันทั่วไปในประเทศไทย ปัจจุบันความเข้มข้นที่ใช้กันคือ 1.5 % 2.5 % และ 4.25% โดยน�้ำยาที่มีความเข้มข้นของน�้ำตาลกลูโคสมาก จะดึงน�้ำ ส่วนเกินออกจากร่างกายได้มาก และเร็วกว่าน�้ำยาที่มีความเข้มข้นของน�้ำตาล กลูโคสน้อย ข้อเสีย ของการใช้สารละลายกลูโคสที่มีความเข้มข้นสูงนานๆ จะท�ำให้ เกิดความเสื่อมของเยื่อบุช่องท้อง ท�ำให้ประสิทธิภาพในการล้างไตลดลง นอกจากนี้กลูโคสอาจท�ำให้เกิดปัญหาต่อภาวะโภชนาการได้ เช่น ท�ำให้ผู้ป่วย รับประทานอาหารได้น้อยลง หรืออาจอ้วนขึ้นและน�้ำตาลในเลือดสูงขึ้น จากการ ได้รับน�้ำตาลและพลังงานมากเกินความต้องการของร่างกาย
  • 23. 23คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน 2. น�้ำยาที่ใช้กลูโคสโพลิเมอร์เป็นส่วนผสม กลูโคสโพลิเมอร์ เป็นสารที่มีขนาดโมเลกุลใหญ่ ท�ำให้ถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดน้อย และช้ากว่า กลูโคส ท�ำให้ยังคงความเข้มข้นของสารละลายในช่องท้องได้นานกว่ากลูโคส นอกจากนี้ยังมีปฏิกิริยากับเยื่อบุช่องท้องน้อยกว่ากลูโคส ข้อดี คือท�ำให้ดึงน�้ำส่วนเกินออกได้ดี แม้ว่าจะทิ้งน�้ำยาไว้ในช่องท้อง เป็นเวลานาน เกิดความเสื่อมของเยื่อบุช่องท้องช้ากว่ากลูโคส และไม่มีปัญหา เรื่องระดับน�้ำตาลในเลือดสูง และการดื้อต่อยาอินซูลินในผู้ป่วยเบาหวาน ข้อควรระวัง ในผู้ป่วยเบาหวานกลูโคสโพลิเมอร์ อาจท�ำให้ค่าน�้ำตาล ในกระแสเลือด ที่วัดโดยใช้แถบวัดปลายนิ้ว สูงกว่าค่าความเป็นจริงได้ น�้ำยาที่ใช้กลูโคสโพลิเมอร์เป็นส่วนผสม ได้แก่ น�้ำยา Icodrextrin ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีใช้ทั่วไปเนื่องจากมีราคาแพง ขนาดบรรจุของน�้ำยา มีดังนี้ 1 ลิตร 1.5 ลิตร 2 ลิตร (ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน) 5 ลิตร (ใช้กับการล้างไตทางช่องท้องด้วยเครื่องอัตโนมัติ) ในปัจจุบันถุงบรรจุน�้ำยา 1 ห่อ จะประกอบด้วยสายส่งน�้ำยา ถุงน�้ำยา สะอาด และถุงเปล่าส�ำหรับรองรับน�้ำยาที่เปิดออกจากท้องผู้ป่วย
  • 24. 24 คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน การล้างไตผ่านทางช่องท้อง ช่วยให้คุณภาพชีวิต ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังดีขึ้นอย่างไร? ผู้ป่วยสามารถดูแลได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องพึ่งพาบุคลากรทางการแพทย์ ผู้ป่วยไม่ต้องจ�ำกัดน�้ำและอาหารมาก ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปโรงพยาบาล มีการน�ำเอาของเสียออกจากร่างกายตลอดเวลาท�ำให้ร่างกายรู้สึกดี การล้างไตทางช่องท้องจะช่วยคงสภาพการท�ำงานของไตเก่า ไม่ต้องใช้เข็มฉีดยา ควบคุมความดันโลหิตของผู้ป่วยได้ดี ช่วยรักษาสมดุลของสารน�้ำและเกลือแร่ได้ดีกว่า มีอัตราการรอดชีวิตสูงกว่าการฟอกเลือด เสี่ยงต่อการติดเชื้อที่แพร่กระจายทางกระแสเลือดน้อยกว่า ผู้ป่วยมีความยืดหยุ่นและมีอิสระในการใช้ชีวิตได้ตามปกติเพราะการ ล้างไตด้วยตนเอง ท�ำให้ผู้ป่วยสามารถปรับตารางการล้างไตให้เหมาะสมกับ การท�ำงาน การเรียน หรือแผนการเดินทางของตนเองได้ และการล้างไตได้เอง ทุกวัน ท�ำให้ผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้น เป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้ป่วย
  • 25. 25คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน การด�ำรงชีวิตของผู้ป่วย ญาติ และผู้ดูแล เนื่องจากอุปกรณ์ทั้งหมดสามารถน�ำไปใช้ที่ที่อยู่ของผู้ป่วยได้ และวิธีการ ไม่ซับซ้อนมากนัก ผู้ป่วยจึงสามารถท�ำการล้างไตทางช่องท้องที่บ้านได้ ไม่ต้อง ลางาน หรือเสียเวลา และเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาโรงพยาบาลบ่อย โดยมาพบแพทย์เป็นระยะตามความเหมาะสม เช่น 1–2 เดือนต่อครั้ง โดยทั่วไป ต้องท�ำการเปลี่ยนถ่ายน�้ำยาวันละ 4–5 ครั้ง และต้องท�ำต่อเนื่องทุกวัน โดยใช้ เวลาในการเปลี่ยนถ่ายน�้ำยาแต่ละครั้งไม่เกิน 30 นาที และระหว่างการเปลี่ยนถ่าย น�้ำยาแต่ละครั้ง ซึ่งห่างกันประมาณ 4–5 ชั่วโมง ผู้ป่วยหรือญาติ และผู้ดูแล ก็สามารถไปท�ำกิจวัตรต่างๆ ได้ตามปกติ แต่ในรอบสุดท้ายของวันซึ่งมักท�ำ ก่อนเข้านอน จะทิ้งค้างไว้ 6–8 ชั่วโมงโดยไม่จ�ำเป็นต้องตื่นมาเปลี่ยนน�้ำยา กลางดึก
  • 26. 26 คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน ควรวางสายล้างไตทางช่องท้อง อย่างไรให้ปลอดภัย ต�ำแหน่งในการวางสายล้างไตทางช่องท้องที่ดี คือ อยู่เหนือหรือล่าง แนวสายรัดเข็มขัด 2 เซนติเมตร เพื่อหลีกเลี่ยงการกดทับของเข็มขัด ส่วนในผู้ป่วย ที่มีรูปร่างอ้วนมีรอยย่นของผนังหน้าท้อง ต�ำแหน่งที่เหมาะสม คือ อยู่เหนือสะดือ ส่วนต�ำแหน่งปากแผลช่องทางออกของสายล้างไตทางช่องท้อง ควรมีทิศทาง ชี้ลงล่าง เพื่อไม่ให้เป็นที่สะสมของเหงื่อ สิ่งสกปรก เสี่ยงต่อการติดเชื้อน้อยกว่า ชี้ขึ้น และควรอยู่ทางด้านขวามือของผู้ป่วย เพราะจะท�ำให้ปลายสายด้านที่อยู่ ในช่องท้องอยู่ค่อนไปทางด้านซ้าย เป็นทิศทางตามการบีบตัวลงของล�ำไส้ใหญ่ ซึ่งจะช่วยให้ปลายสายไม่ลอยขึ้นจากต�ำแหน่งที่ท�ำให้น�้ำยาไหลออกได้ดี
  • 27. 27คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน การเตรียมสถานที่ และสิ่งแวดล้อมส�ำหรับ การล้างไตทางช่องท้อง ผู้ป่วยและผู้ดูแลจะต้องเตรียมสถานที่ให้พร้อมก่อนรับการรักษาด้วย การล้างไตทางช่องท้อง ดังนี้ 1.เตรียมสถานที่/สิ่งแวดล้อม - ความสะอาดทั่วไปของบ้าน - บริเวณส�ำหรับเปลี่ยนน�้ำยาสะอาด ควรจัดพื้นที่แยกเป็น สัดส่วนหรือเป็นห้อง - อากาศถ่ายเทสะดวก มีแสงแดดส่องถึง - ห้องน�้ำสะอาด - มีถังขยะไว้รองรับถุงน�้ำยาที่ใช้แล้ว - ไม่มีสัตว์เลี้ยงบริเวณที่เปลี่ยนถ่ายน�้ำยา - แหล่งน�้ำสะอาด น�้ำประปา มีอ่างล้างมือ ก๊อกน�้ำ 2. สถานที่เก็บน�้ำยาล้างไต - วางในที่ร่ม แสงแดดไม่ส่องจัด - วางสูงจากพื้นดิน พื้นซีเมนต์ - มีการจัดเก็บน�้ำยาตามล�ำดับก่อน-หลัง 3. เตรียมอุปกรณ์ในการเปลี่ยนถ่ายน�้ำยาและอุปกรณ์ท�ำแผล ช่องสายออก - มีกล่องฝาปิดใส่อุปกรณ์ส�ำหรับการใช้ล้างไตและท�ำแผล - โต๊ะส�ำหรับวางน�้ำยา - ตาชั่งชนิดแขวน - สบู่เหลวแบบมีปั้มกด
  • 28. 28 คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน - ตะกร้ารองรับผ้าเช็ดมือที่ใช้แล้ว - ถังรองรับถุงน�้ำยาล้างไตที่ปล่อยออกจากช่องท้อง 4. การปฏิบัติการเปลี่ยนถ่ายน�้ำยา 5. การดูแลแผลและการท�ำแผลหลังการวางสายล้างไตทาง ช่องท้อง แบ่งเป็น 2 ระยะ 5.1 การดูแลแผลและการท�ำแผลในระยะ 2 สัปดาห์แรก (1) นอนราบหนุนหมอนบนเตียง อย่างน้อย 12 ชั่วโมง หลังการวางสาย (2) รับการประเมินสัญญาณชีพ ซึ่งประกอบด้วย การวัด ความดันโลหิต จับชีพจร วัดการหายใจ และวัดไข้อย่างต่อเนื่อง (3) รับการประเมินอาการปวดแผล เพื่อพิจารณาให้ยาแก้ปวด (4) ภายใน 7 วันหลังวางสายล้างไตทางช่องท้อง หลีกเลี่ยง การเปิดแผล (เนื่องจากแผลผ่าตัดเป็นแผลที่สะอาด ปลอดเชื้ออยู่แล้ว การเปิดแผล จะท�ำให้มีโอกาสที่แผลสัมผัสกับเชื้อโรคมากขึ้น) ยกเว้นกรณีแผลมีเลือดซึมมาก หรือเปียก พยาบาลหรือแพทย์จะเป็นผู้เปิด และท�ำแผลเอง (5) ระมัดระวังการดึงรั้งสายล้างไตทางช่องท้อง ซึ่งจะท�ำให้ เกิดอันตรายกับแผล ท�ำให้แผลหายช้าและมีโอกาสติดเชื้อมากขึ้น (6) สังเกตอาการผิดปกติ ได้แก่ มีน�้ำเลือด หนอง ซึมออก จากแผล ปวด หรือเจ็บแผลมาก ต้องแจ้งให้พยาบาลทราบ (7) ระวังอย่าให้แผลเปียกน�้ำ
  • 29. 29คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน (8) หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่เพิ่มความดันภายในช่องท้อง เช่น ออกแรงเบ่ง ไอ จาม และการนั่งยองๆ เพราะจะท�ำให้สายเคลื่อนไปอยู่ ผิดต�ำแหน่ง และแผลปริได้ (9) ระวังไม่ให้เกิดอาการท้องผูก เพราะจะท�ำให้เพิ่มความดัน ภายในช่องท้องเวลาออกแรงเบ่ง ควรแจ้งให้พยาบาลหรือแพทย์ทราบ และ รับประทานยาระบายตามที่แพทย์สั่ง (10) หลังจากวางสายล้างไตทางช่องท้องแบบถาวร ให้รอ ประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อให้แผลหายดีก่อน แล้วจึงเริ่มใส่น�้ำยาเข้าช่องท้อง เพื่อล้างไต ดังนั้นในระยะนี้ให้จ�ำกัดน�้ำดื่ม งดอาหารเค็ม งดผลไม้ หากเป็น ผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมอยู่แล้ว ก็ให้ฟอกต่อไปจนกว่า จะได้เริ่มท�ำการล้างไตทางช่องท้อง 5.2 การดูแลแผลและการท�ำแผลหลังจาก 2 สัปดาห์แรก ผู้ป่วยหรือญาติผู้ดูแลควรท�ำแผลบริเวณปากแผลช่องทางออก ของสายล้างไตทางช่องท้อง อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง หรือเมื่อผิวหนังเปียกชื้น สถานที่ท�ำแผลต้องเป็นที่ลมสงบ ปิดประตูหน้าต่าง พัดลมและเครื่องปรับอากาศ เพื่อลดการปนเปื้อนเชื้อโรค ในอากาศที่ฟุ้งกระจาย และสวมผ้าปิดปากปิดจมูก ทุกครั้ง
  • 30. 30 คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน ขั้นตอนการท�ำแผล (1) ล้างมือถูกต้องตามขั้นตอน และเช็ดมือ ให้แห้งด้วยผ้าสะอาด (2) แกะแผลด้วยความนุ่มนวล (3) สังเกตคราบน�้ำเหลืองหรือคราบเลือด ที่ติดอยู่กับผ้าก็อซ และรอบๆ แผล (4) ใช้มือสะอาดตรวจดูแผล โดยกดดูแผล ว่ามีหนองหรือไม่
  • 31. 31คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน (5) ล้างมือถูกต้องตามขั้นตอน หรือใช้น�้ำยา ล้างมือแอลกอฮอล์ส�ำหรับล้างมือ (6) ใช้ไม้พันส�ำลีเช็ดข้อต่อด้วยน�้ำเกลือ ล้างแผล 1-2 ไม้ (7) พันข้อต่อด้วยผ้าก็อซปราศจากเชื้อ (8) เช็ดผิวหนังรอบแผลด้วยน�้ำยาฆ่าเชื้อ (โพวิดีน) 1-2 ไม้ โดยเช็ดห่างจากแผล ประมาณ 1 เซนติเมตร เพื่อฆ่าเชื้อโรค และไม่เช็ดเข้าในแผล เพราะจะท�ำให้ เกิดการระคายเคืองแผล
  • 32. 32 คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน (9) เช็ดบริเวณปากแผลและสายด้วยน�้ำเกลือ ล้างแผล 2-3 ไม้ (10) ใช้ผ้าก้อซปราศจากเชื้อซับให้แห้ง (11) รองใต้สายด้วยผ้าก็อซปราศจากเชื้อ (12) ปิดแผลด้วยผ้าก็อซปราศจากเชื้อ (13) ปิดแผลด้วยพลาสเตอร์ผ้า และเก็บสายต่อ ให้เรียบร้อย
  • 33. 33คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน การเปลี่ยนน�้ำยาระบบ Twin bag ขั้นตอนการเปลี่ยนน�้ำยา 1. สวมผ้าปิดปากและจมูก 2. ล้างมือตามขั้นตอนที่ถูกต้องและเช็ดมือ ด้วยผ้าสะอาดให้แห้ง 3. เทแอลกอฮอล์ 70% ลงบนโต๊ะ ให้มีขนาด ประมาณเท่าเหรียญ 10 บาท และเช็ดโต๊ะ โดยวนจากจุดตรงกลางออกไปด้านนอก และเช็ดขอบโต๊ะโดยรอบ 4. เตรียมอุปกรณ์ตัวหนีบสีน�้ำเงิน ซองจุกปิด สีขาว ถุงน�้ำยาใหม่ให้พร้อม 5. ตรวจสอบสภาพถุงน�้ำยาจากด้านนอก ของถุงน�้ำยา ได้แก่ วันหมดอายุ ปริมาตร ความเข้มข้นของน�้ำยา สายน�้ำยา ความ ขุ่นใส และตรวจดูว่าถุงรั่วหรือไม่
  • 34. 34 คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน 6. ฉีกถุงหุ้มถุงน�้ำยาใหม่ชั้นนอกออก และ แกะสายน�้ำยา โดยไม่ใช้กรรไกรหรือ ของมีคมตัดเด็ดขาด เพราะอาจท�ำให้ ถุงรั่วและติดเชื้อได้ 7. หนีบตัวหนีบสีน�้ำเงินที่สายถุงน�้ำยาใหม่ 8. หักแท่งสีเขียวที่ถุงน�้ำยาใหม่ 9. ล้างมือตามขั้นตอนที่ถูกต้องและเช็ดมือ ด้วยผ้าสะอาดให้แห้ง 10. เตรียมผ้าเช็ดมือที่สะอาดไว้ วางท่อวาล์ว และจับท่อวาล์วกับสายน�้ำยาให้ถูกต้อง และดึงจุกยางออก 11. ต่อสายน�้ำยาเข้ากับวาล์วท่อล้างไต โดย จับวาล์วสีฟ้าและหมุนเกลียวให้ปิดไป ทางซ้ายมือ
  • 35. 35คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน 12. แขวนถุงน�้ำยาใหม่ และวางถุงรับน�้ำยา จากช่องท้องในภาชนะรองรับ 13. เปิดวาล์วปล่อยน�้ำยาออกจากช่องท้อง ลงไปในถุงรับน�้ำยาจากช่องท้องจนน�้ำยา หมด และตรวจสอบถุงน�้ำยาอีกครั้งว่า น�้ำยายังไหลอยู่หรือไม่ 14. เมื่อน�้ำยาออกจากช่องท้องหมดแล้ว ให้ ปิดวาล์วสีฟ้า และเปิดตัวหนีบสีน�้ำเงิน ที่สายถุงใหม่ ล้างสาย 5 วินาที แล้วหนีบ ตัวหนีบสีน�้ำเงินที่สายถุงรับน�้ำยาจาก ช่องท้อง 15. เปิดวาล์วสีฟ้าปล่อยน�้ำยาใหม่เข้าช่องท้อง จนหมดถุง ในระหว่างนี้ห้ามหยิบจับ หรือ รับโทรศัพท์ หรือท�ำกิจกรรมอื่นๆ โดย เด็ดขาด 16. ล้างมือด้วยแอลกฮอล์
  • 36. 36 คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน 17. เมื่อน�้ำยาหมดให้ปิดวาล์วสีฟ้า และหนีบ ตัวหนีบสีน�้ำเงินที่สายถุงน�้ำยาใหม่ โดยมี ตัวหนีบตัวแรกยังหนีบอยู่ที่สายถุงรับน�้ำยา จากช่องท้อง 18. เปิดซองจุกปิดขาว และตรวจสอบฟองน�้ำ ชุบน�้ำยาฆ่าเชื้อภายในจุกปิดสีขาวว่ายังชุ่ม อยู่หรือไม่ (ถ้าไม่ชุ่มให้เปลี่ยนซองใหม่) 19. ปลดสายน�้ำยาออกและปิดจุกสีขาวอันใหม่ 20. น�ำน�้ำยาที่ปล่อยออกมาจากช่องท้อง ชั่งน�้ำหนัก เพื่อวัดปริมาณก่อนปล่อยน�้ำยา ทิ้งและบันทึกรายละเอียดในสมุดประจ�ำตัว ผู้ป่วยให้เรียบร้อย 21. ตัดเป็นรอยที่ถุงน�้ำยาและเทน�้ำยาทิ้งที่ ส้วม หรือชักโครกและราดน�้ำหรือกดน�้ำ ล้างตามปกติ
  • 37. 37คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน การเปลี่ยนน�้ำยาระบบ ANDY disc ขั้นตอนการเปลี่ยนน�้ำยา 1. สวมผ้าปิดปากและจมูก 2. ล้างมือตามขั้นตอนที่ถูกต้องและเช็ดมือ ด้วยผ้าสะอาดให้แห้ง 3. เทแอลกอฮอล์ 70% ลงบนโต๊ะให้มีขนาด ประมาณเท่าเหรียญ 10 บาท และเช็ดโต๊ะ โดยวนจากจุดตรงกลางออกไปด้านนอก และเช็ดขอบโต๊ะโดยรอบ 4. เตรียมอุปกรณ์ แท่นยึด ถุงน�้ำยาใหม่ ให้พร้อม 5. ตรวจสภาพถุงน�้ำยาจากด้านนอกของ ถุงน�้ำยา ได้แก่ วันหมดอายุ ปริมาตร ความเข้มข้นของน�้ำยา สายน�้ำยา ความ ขุ่นใส และตรวจดูว่าถุงรั่วหรือไม่
  • 38. 38 คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน 6. ฉีกถุงหุ้มถุงน�้ำยาใหม่ชั้นนอกออก และ แกะสายน�้ำยา โดยไม่ใช้กรรไกรหรือ ของมีคมตัดเด็ดขาดเพราะอาจท�ำให้ถุง รั่วและติดเชื้อได้ 7. แขวนถุงน�้ำยาใหม่ และวางถุงรับน�้ำยา จากช่องท้องในภาชนะรองรับและวาง จานหมุนลงในแท่นยึด 8. สอดฝาปิดปลอดเชื้อไว้ในแท่นในช่อง ด้านซ้ายดังรูปให้แน่น ส�ำหรับผู้ที่ถนัด มือซ้ายให้สอดฝาปิดปลอดเชื้อในช่อง ด้านขวาแทน 9. สอดข้อต่อสายส่งน�้ำยาเข้ากับช่องด้านขวา ดังรูป ส�ำหรับผู้ที่ถนัดมือซ้ายให้สอด ข้อต่อสายส่งน�้ำยาเข้าไปในช่องด้านซ้าย แทน 10. ล้างมือด้วยแอลกอฮอล์
  • 39. 39คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน 11. ถอดฝาปิดปลายท่อออกจากจานหมุน และทิ้งไป 12. ต่อข้อต่อสายส่งน�้ำยาเข้ากับจานหมุน 13. ถ่ายน�้ำยาที่ใช้แล้วออกจากช่องท้อง โดยให้จานหมุนอยู่ในต�ำแหน่งที่ดังรูป และปลดตัวหนีบ 14. เมื่อน�้ำยาออกจากช่องท้องจนหมดแล้ว ท�ำการชะล้างสายน�้ำยาของถุงใหม่นาน 5 วินาที โดยบิดให้จานหมุนอยู่ใน ต�ำแหน่งดังรูป 15. เติมน�้ำยาเข้าช่องท้องโดยบิดให้จานหมุน อยู่ในต�ำแหน่งดังรูป
  • 40. 40 คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน 16. ปิดระบบโดยอัตโนมัติ โดยบิดให้ จานหมุนอยู่ในต�ำแหน่งดังรูป 17. ปิดตัวหนีบที่สายส่งน�้ำยา 18. ล้างมือด้วยแอลกอฮอล์ 19. ปิดฝาครอบของฝาปิดปลอดเชื้อ อันใหม่ 20. หมุนข้อต่อสายส่งน�้ำยาออกจาก จานหมุน
  • 41. 41คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน 21. ปิดข้อต่อสายส่งน�้ำยาด้วย ฝาปิด ปลอดเชื้ออันใหม่ทันที 22. ปิดจานหมุน 23. น�ำน�้ำยาที่ปล่อยออกมาจากช่องท้อง ชั่งน�้ำหนัก เพื่อวัดปริมาณก่อนปล่อย น�้ำยาทิ้ง และบันทึกรายละเอียดใน สมุดประจ�ำตัวผู้ป่วยให้เรียบร้อย 24. ตัดเป็นรอยที่ถุงน�้ำยาและเทน�้ำยาทิ้ง ที่ส้วมหรือชักโครก และราดน�้ำหรือ กดน�้ำล้างตามปกติ
  • 42. 42 คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน การจดบันทึก การบันทึกมีความส�ำคัญส�ำหรับการติดตามผลการรักษา โดยทีมบุคลากร ที่ให้การรักษา จะใช้ดูประกอบการวางแผนการรักษา ดังนั้น ผู้ป่วยหรือผู้ดูแล จึงจ�ำเป็นต้องบันทึกรายละเอียดทั้งหมด และน�ำมาด้วยทุกครั้งที่นัดตรวจ สิ่งที่ ต้องบันทึกในแต่ละครั้ง แต่ละวัน ประกอบด้วยข้อมูลต่อไปนี้ 1. วันที่ และรอบที่ ของการเปลี่ยนน�้ำยา 2. ความเข้มข้นของน�้ำยาที่ใช้ 3. เวลาที่เริ่มใส่น�้ำยาเข้า และเวลาที่น�้ำยาไหลเข้าหมด 4. เวลาที่เริ่มปล่อยน�้ำยาออก และเวลาที่น�้ำยาไหลออกหมด 5. ปริมาตรน�้ำยาที่เข้า แล ะออก 6. สีของน�้ำยา ความขุ่น ความใส เยื่อวุ้น เลือด รวมทั้งอาการผิดปกติ ที่เกิดขึ้น เช่น อาการเจ็บปวดบริเวณปากแผลหรือในท้อง อาการเจ็บปวดเกิดขึ้น ขณะใส่น�้ำยาเข้า หรือขณะปล่อยน�้ำยาออก มีไข้ตัวร้อน หนาวสั่น ผื่นตามตัว อาการแน่นอึดอัดในท้องหรือในอก เวลานั่งหรือนอน และอื่นๆ ที่คิดว่าผิดปกติ 7. บันทึกน�้ำหนักตัวประจ�ำวัน ควรชั่งน�้ำหนัก หลังจากปล่อยน�้ำ ออกจากช่องท้องหมดแล้วในเวลาเดียวกัน ทุกวัน 8. วัดอุณหภูมิร่างกาย ควรวัดอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง หรือทุกครั้ง ที่รู้สึกตัวว่ามีไข้ตัวร้อน หรือเวลาที่ปวดท้อง หรือน�้ำยาที่ออกจากช่องท้องขุ่น
  • 43. 43คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังควรรับประทานอาหาร ให้เหมาะสมอย่างไร เพื่อป้องกันภาวะขาดสารอาหาร ลดภาวะภาวะแทรกซ้อนจาก ความผิดปกติของสมดุลโซเดียม โปแตสเซียม แคลเซียม และฟอสฟอรัส ป้องกันการเกิดภาวะบวมน�้ำ และช่วยชะลอความเสื่อมการท�ำงานของไต ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่เข้ารับการบ�ำบัดทดแทนไต ด้วยการปลูกถ่ายไต หรือการ ผ่าตัดเปลี่ยนไต การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม หรือการล้างไตทางช่องท้อง ควรเรียนรู้ ท�ำความเข้าใจ ให้ความร่วมมือกับทีมสุขภาพในการปรับพฤติกรรม การรับประทานอาหารให้เป็นเวลา ครั้งละน้อย แต่บ่อยๆ 4 – 5 มื้อ ต่อวัน โดยมีสารอาหารครบทั้ง 5 หมู่อย่างเหมาะสม เพียงพอกับความต้องการของ ร่างกายตนเองตามค�ำแนะน�ำของนักโภชนาการ ดังตารางที่ 1
  • 44. 44 คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน จากตารางดังกล่าว แสดงว่าผู้ป่วยโรคไตในแต่ละคน ควรได้รับสารอาหารที่ มีโปรตีน พลังงาน และเกลือแร่ ได้แก่ โซเดียม โปแตสเซียม แคลเซียม และฟอสฟอรัส ที่เหมาะสม เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ตามรายละเอียดดังนี้ ตารางที่ 1 สารอาหารที่แนะน�ำส�ำหรับผู้เป็นโรคไตเรื้อรังก่อนล้างไต นําหน นําหน นําหน า สารอาหาร โรคไตเรื�อรัง ระยะ �-� ระยะ �-� พลังงาน �� – �� กิโลแคลอรี�/ ้ ักตัว/ นัว โปรตีน �.� – � (กรัม/ ้ ักตัว/ นัว ) �.� – �.� (กรัม/ ้ ักตัว/ นัว ) คาร์โบไฮเดรต �� – �� % ของพลังงานทั้งหมด ในอาหาร �� – �� กรัม ไขมัน �� – �� % ของพลังงานทั้งหมด ไขมันอนอิ่มตมตัว< � % คอเรสเตอรอล < ��� มก./ นัว โซเดียม �,��� – �,��� มก./ นัว โปแตสเซียม ไม่จํากัด �,��� – �,��� มก./ นัว ปรับตามผลเลือด ฟอสฟอรัส ��� – �,��� มก./ นัว ปรับตามผลเลือด แคลเซียม �,��� – �,��� มก./ นัว ถ้ามี binder ควรจํากัดแคลเซียม < �,��� มก./ นัว นํ้ ไม่จํากัด ปริมาณปัสสาวะ + นํ้า ��� มล.
  • 45. 45คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน ความต้องการพลังงานจากสารอาหารคาร์โบไฮเดรต และไขมัน ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มีอายุน้อยกว่า 60 ปี ควรได้รับพลังงาน 35 กิโลแคลอรี่/น�้ำหนักตัว 1 กก./วัน และผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ควรได้รับ พลังงาน 30 กิโลแคลอรี่/น�้ำหนักตัว 1 กก./วัน ดังตารางที่ 1 โดยมีสัดส่วน คาร์โบไฮเดรตร้อยละ 55 ของพลังงานทั้งหมด แหล่งอาหารคาร์โบไฮเดรต ได้แก่ ข้าว ก๋วยเตี๋ยว น�้ำตาล และแป้ง ซึ่งแป้งแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ แป้งที่มีโปรตีน เช่น ข้าว ขนมปัง ก๋วยเตี๋ยว บะหมี่ เผือก มัน ข้าวโพด แป้งปลอดโปรตีน เช่น ก๋วยเตี๋ยวเซี่ยงไฮ้ วุ้นเส้น แป้งมัน แป้งข้าวโพด แป้งท้าวยายม่อม ซาหริ่ม สาคูลอยแก้ว สาคู วุ้นน�้ำหวาน วุ้นลอยแก้ว วุ้นใบเตย ขนมรวมมิตร ลอดช่องสิงค์โปร์ ทับทิมกรอบ ตะโก้ จากแป้งถั่ว ลูกชิดเชื่อม ลูกชิดน�้ำแข็ง ขนมชั้น เป็นต้น เนื่องจากผู้เป็นโรคไตเรื้อรังต้องจ�ำกัดโปรตีนในอาหาร ดังนั้นจึงควร จ�ำกัดปริมาณข้าวหรือก๋วยเตี๋ยว มื้อละ 2-3 ทัพพี และรับประทานแป้งปลอด โปรตีนเพิ่มขึ้น
  • 46. 46 คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังมักมีไขมันในเลือดสูง โดยเฉพาะไตรกลีเซอไรด์ และมีเอชดีแอล (ไขมันตัวดี) ต�่ำ ท�ำให้มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดหลอดเลือดแดง แข็งและโรคหัวใจขาดเลือด ทั้งนี้ผู้ป่วยควรได้รับไขมันประมาณร้อยละ 25-35 ของพลังงานทั้งหมดจากอาหารที่ได้รับต่อวัน โดยเป็นไขมันอิ่มตัวน้อยกว่า ร้อยละ 7 และโคเลสเตอรอลในอาหารน้อยกว่า 200 มิลลิกรัม/วัน หรือไขมัน 1 ส่วน ต่อพลังงาน 150 กิโลแคลอรี่ต่อวัน โดยไขมัน 1 ส่วน เทียบเท่ากับอาหารต่างๆ ในปริมาณต่อไปนี้ น�้ำมันพืช 1 ช้อนชา สลัดน�้ำข้น 1 ช้อนชา สลัดน�้ำใส 3 ช้อนชา มาการีน 1 ช้อนชา ครีมเทียม 2 ช้อนชา เบคอน 1 ชิ้น ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง น�้ำหนัก 60 กิโลกรัม ควรได้รับพลังงาน 1,800-2,000 กิโลแคลอรี่ต่อวัน ควรได้รับไขมัน 12–13 ส่วนต่อวัน หรือได้รับ น�้ำมันพืช 12–13 ช้อนชาต่อวัน ข้อควรปฏิบัติส�ำหรับผู้ป่วยโรคไตในการรับประทานอาหารเพื่อป้องกัน และรักษาภาวะไขมันในเลือดสูง ดังนี้ 1. อาหารทุกมื้อควรมีไขมันปริมาณเล็กน้อย โดยประกอบอาหาร ประเภทลวก ต้ม ปิ้ง นึ่ง ย่าง หรืออบ เป็นประจ�ำ 2. กินไขมันดี ที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว (Unsaturated fatty acid) จากอาหารต่อไปนี้ 2.1 ควรใช้น�้ำมันพืชผสม โดยเลือกใช้น�้ำมันกลุ่มที่มีไขมันไม่อิ่มตัว ต�ำแหน่งเดียว (Mono unsaturated fatty acid) เช่น น�้ำมันมะกอก น�้ำมันร�ำข้าว น�้ำมันถั่วลิสง น�้ำมันงา เนย และถั่วลิสง เป็นต้น ผสมน�้ำมันกลุ่มที่มีไขมัน ไม่อิ่มตัวหลายต�ำแหน่ง (Poly unsaturated fatty acid) เช่น น�้ำมันถั่วเหลือง น�้ำมันข้าวโพด น�้ำมันเมล็ดทานตะวัน และน�้ำมันดอกค�ำฝอย เป็นต้น ในสัดส่วน 1: 1 เพื่อประกอบอาหารประเภทผัด ทอด หรือท�ำน�้ำย�ำ และน�้ำสลัด
  • 47. 47คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน 2.2 รับประทานเนื้อสัตว์พวกปลาทะเล เช่น ปลาทู ปลาโอ ปลาซาบะ หรือปลาน�้ำจืดบางชนิด เช่น ปลานิล ปริมาณ 3–5 ครั้ง ต่อสัปดาห์ เนื่องจาก มีกรดไขมันที่ดี และมีโอเมกา 3 สูง ช่วยลดระดับ ไตรกลีเซอไรด์ในเลือด 3. ลดการรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว (Saturated fatty acid) ดังนี้ 3.1 รับประทานเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เช่น เนื้อปลา ไข่ขาว หลีกเลี่ยง หมูสามชั้น สันคอหมู หนังไก่ เนย หรืออาหารที่มีเนยเป็นส่วนประกอบ เช่น เค้ก คุ้กกี้ พัฟ พาย เป็นต้น 3.2 หลีกเลี่ยงอาหารที่ใช้น�้ำมันมะพร้าว กะทิ หรือน�้ำมันปาล์ม เนยทียม (มาร์การีน) เนยขาว เนื่องจากมีกรดไขมันอิ่มตัว และกรดไขมัน ชนิดทรานส์ ซึ่งเป็นไขมันที่แข็งตัวจากการเติมโฮโดรเจน หากได้รับปริมาณมาก จะท�ำให้ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูงได้ 4. ลดอาหารที่มีโคเลสเตอรอลในเลือดสูง โดยควบคุมปริมาณ โคเลสเตอรอลในอาหารไม่ให้เกิน 300 มิลลิกรัมต่อวัน 5. ลดอาหารที่ท�ำให้ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูง โดยรับประทาน อาหารที่ไม่ใส่กะทิ ได้แก่ แกงส้ม แกงเหลือง แกงแค แกงป่า ต้มย�ำ ต้มโคล้ง ส�ำหรับอาหารประเภทย�ำ ได้แก่ ย�ำผักบุ้ง ย�ำแตงร้าน ย�ำแตงกวา ย�ำผลไม้ โดยปรุงรสให้อ่อนเค็ม ควรหลีกเลี่ยงอาหารทอดทุกชนิด ของหวานจัด ผลไม้ หวานจัด เครื่องดื่มที่มีรสหวาน และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  • 48. 48 คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน ความต้องการโปรตีน ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังควรได้รับโปรตีน 0.6-0.8 กรัม/น�้ำหนักตัว 1 กก./วัน โดยเป็นโปรตีนคุณภาพสูง (high biological value, HBV) ร้อยละ 50 ของโปรตีน ทั้งหมด โปรตีนคุณภาพสูง หมายถึง อาหารโปรตีนที่มีกรดอะมิโนจ�ำเป็นครบถ้วน พบในเนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อเป็ด เนื้อไก่ ปู ปลา กุ้ง หอย ไขนม และผลิตภัณฑ์ จากนม โปรตีนคุณภาพต�่ำ หมายถึงอาหารโปรตีนที่ประกอบด้วยกรดอะมิโน จ�ำเป็นแต่ไม่ครบถ้วน อาหารในกลุ่มนี้ได้แก่ ถั่วเมล็ดแห้ง ธัญพืชต่างๆ เช่น ข้าวเจ้า ข้าวสาลี ข้าวโพด พืช ผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์ประเภทเอ็น หนัง กระดูกอ่อน เป็นต้น โปรตีนมีในอาหารหมวดต่างๆ ดังนี้ ก. หมวดเนื้อสัตว์ ให้โปรตีนประมาณ 7 กรัม พลังงาน 70 กิโลแคลอรี่ ได้แก่ เนื้อสัตว์สุก เช่น เนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อวัว น�้ำหนัก 30 กรัม หรือประมาณ 2 ช้อนกินข้าว ไข่ทั้งฟอง 1 ฟอง หรือไข่ขาว 2 ฟอง ปลาตัวเล็ก 1 ตัว ลูกชื้น 4 - 5 ลูก กุ้ง 3 - 5 ตัว ซี่โครงหมูทอด 3 - 5 ชื้น นม 1 กล่อง (240 มิลลิลิตร ) มีโปรตีนประมาณ 7 กรัม และมีเกลือแร่ เช่น แคลเซียม โปแตสเซียมและฟอสฟอรัสสูง ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ที่มีระดับฟอสฟอรัสในเลือดสูงกว่า 5.0 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ควรจ�ำกัดการดื่มนม
  • 49. 49คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน ข. หมวดข้าว แป้ง ธัญพืชให้โปรตีนประมาณ 2 กรัม พลังงาน 70 กิโลแคลอรี ข้าว 1 ทัพพี เส้นหมี่ 1 ทัพพี บะหมี่ ½ ก้อน ขนมปัง 1 แผ่น ค.หมวดผัก ให้โปรตีนประมาณ 1 กรัม พลังงาน 25 กิโลแคลอรี ผักสุกประมาณ 1 ทัพพี (1/2 ถ้วยตวง) หรือผักดิบประมาณ 2 ทัพพี (1 ถ้วยตวง) ง. หมวดผลไม้ ให้โปรตีนประมาณ 0.5 กรัม พลังงาน 70 กิโลแคลอรี สับปะรด 6 – 8 ชิ้นค�ำ แตงโม 6 - 8 ชิ้นค�ำ เงาะ 3 – 4 ลูก มังคุด 3 – 4 ลูก แอบเปิ้ล ผลเล็ก 1 ผล
  • 50. 50 คู่มือการล้างไตสำ�หรับประชาชน ความต้องการโซเดียม การรับประทานโซเดียมเกินความจ�ำเป็น ส่งผลให้ภาวะความดันโลหิตสูง และน�้ำในร่างกายเกิน ดังนั้นผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังควรบริโภคโซเดียมน้อยกว่า 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน โดยรับประทานอาหารที่มีรสชาติอ่อน ใช้สมุนไพร และเครื่องเทศในการเพิ่มกลิ่นและรสชาติ จ�ำกัดการใช้เกลือไม่เกิน 1 ช้อนชา ต่อวันหรือใช้เครื่องปรุงรส เช่น ซีอิ้วขาว ซอสปรุงรส น�้ำปลา ไม่เกิน 3–4 ช้อนชา ต่อวัน หากซื้ออาหารปรุงส�ำเร็จควรหลีกเลี่ยงการปรุงเพิ่ม ตารางที่ 2 ปริมาณโซเดียมในเครื่องปรุงรส ปริมาณ 1 ช้อนชา (5 กรัม) เครื่องปรุงรส มิลลิกรัม เกลือ 2,000 น�้ำปลา 400 ซีอิ้วขาว 400 ซอสหอยนางรม 150 ผงชูรส 492 ผงฟู 340 กะปิ 300 เต้าหู้ยี้ 185 น�้ำพริกเผา 90 น�้ำพริกกะปิ 90 ซอสพริก 70 น�้ำปลาหวาน 60 น�้ำจิ้มไก่ 70 ซอสมะเขือเทศ 55