SlideShare a Scribd company logo
1 of 15
Download to read offline
1 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ 
รหัสวิชา ง33202 ชื่อวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 6 
ปีการศึกษา 2557 
ชื่อโครงงาน รักนะ♥ ปะการังฟอกขาว! 
ชื่อผู้ทาโครงงาน 1.นางสาวศศิพิมพ์ คุณารูป เลขที่ 16 ชั้น ม.6 ห้อง 2 
2.นายพีรดนย์ สุริยะธง เลขที่ 33 ชั้น ม.6 ห้อง 2 
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน ครูเขื่อนทอง มูลวรรณ์ 
ระยะเวลาดาเนินงาน ภาคเรียนที่ 1-2 ปีการศึกษา 2557 
โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ 
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34
2 
ใบงาน 
การจัดทาข้อเสนอโครงงานคอมพิวเตอร์ 
สมาชิกในกลุ่ม 
1.นางสาวศศิพิมพ์ คุณารูป เลขที่ 18 
2.นายพีรดนย์ สุริยะธง เลขที่ 33 
คาชี้แจง ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มเขียนข้อเสนอโครงงานตามหัวข้อต่อไปนี้ 
ชื่อโครงงาน (ภาษาไทย) รักนะ♥ ปะการังฟอกขาว! ชื่อโครงงาน (ภาษาอังกฤษ) Coral Reef Bleaching! My Love ♥ ประเภทโครงงาน โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา 
ชื่อผู้ทาโครงงาน 
1.นางสาวศศิพิมพ์ คุณารูป เลขที่ 18 
2.นายพีรดนย์ สุริยะธง เลขที่ 33 
ชื่อที่ปรึกษา ครูเขื่อนทอง มูลวรรณ์ 
ที่มาและความสาคัญของโครงงาน 
ปะการังเป็นสิ่งมีชีวิตซึ่งจัดเป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีกระดูกสันหลังที่อาศัยอยู่ใต้ท้องทะเลโดยปะการังเป็นแหล่ง ที่อยู่อาศัยและกันภัยของสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเล และปะการังยังสามาสามารถบ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ของ สิ่งมีชีวิตภายใต้ท้องทะเลนั้นๆได้อีกด้วย ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาแนวปะการังทั่วโลกต่างต้องเผชิญกับภาวะฟอก ขาวที่นับวันจะทวีความรุนแรงและมีความถี่ในการเกิดบ่อยครั้งมากขึ้นโดยแม้ขณะนี้ยังไม่คาตอบที่แน่ชัดของ สาเหตุการเกิดปะการังฟอกขาวแต่นักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่าเป็นผลมาจากความแปรปรวนของสภาพอากาศ เนื่องมาจากภาวะโลกร้อน และปะการรังยังเป็นที่พักอาศัยและที่ป้องกันภัยของปลาสัตว์ต่างๆที่อาศัยอยู่ในท้อง ทะเลและส่งผลให้แนวปะการังขาดความสวยงามและระบบนิเวศเสื่อมโทรม อีกทั้งการเกิดปะการังฟอกขาวยัง ส่งผลในวงกว้างของระบบนิเวศทาให้เกิดปัญหาอย่าง ดังนั้นปะการังในใต้ทะเลเป็นสิ่งที่เราควรเห็นคุณค่าของ ปะการังอย่างมากและควรที่จะได้รับความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์แนวปะการังและตัวปะการังเพื่อช่วยอนุรักษ์ ปะการัง 
ขอบเขตโครงงาน 
1. จัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่องปะการังฟอกขาว โดยนำเสนอในรูปแบบpowerpoint 
2. ศึกษาเรื่องปะการังฟอกขาว ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร และจะมีแนวทางอนุรักษ์ได้อย่างไรบ้าง
3 
หลักการและทฤษฎี 
ความรู้ทั่วไป ปะการังฟอกขาว เป็นสภาวะที่ปะการังสูญเสียสาหร่ายเซลล์เดียวที่อาศัยอยู่ภายในเนื้อเยื่อ ทำให้ ปะการังอ่อนแอเพราะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอแลปะการังอาจตายไปในที่สุดถ้าหากไม่สามารถทนต่อสภาวะนี้ได้ สาเหตุที่ทำให้ปะการังฟอกขาวเป็นพื้นที่กว้างครอบคลุมพื้นที่น่านน้ำในระดับประเทศหรือครอบคลุมอาณาเขตกว้าง ในระดับภูมิภาคได้คือ อุณหภูมิน้ำทะเลที่สูงขึ้นอย่างผิดปกติ ซึ่งในน่านน้ำไทย เคยได้รับผลกระทบเช่นนี้เมื่อปี พ.ศ. 2534 2538 2541 2546 2548 และ 2550 โดยปี พ.ศ.2534 และ 2538 แนวปะการังทางฝั่งทะเลอันดามันได้รับ ความเสียหายมาก พบว่าปะการังตายประมาณ 10-20% ส่วนในปี พ.ศ.2541 ก่อให้เกิดความเสียหายมากทางฝั่งอ่าว ไทย แต่ปีต่อๆ มาเกิดทางฝั่งอันดามันแต่ไม่พบความเสียหายมากนัก เพราะปะการังสามารถฟื้นตัวกลับคืนสู่สภาพ ปกติได้เนื่องจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งมาเร็วในตอนต้นฤดูช่วยบรรเทาทำให้อุณหภูมิน้ำทะเลลดลงได้ 
สำหรับในปี พ.ศ.2553 นับเป็นปีที่แนวปะการังเสียหายมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ อุณหภูมิน้ำทะเลจากปกติ 29 องศาเซลเซียสได้เริ่มสูงขึ้นเป็น 30 องศาเซลเซียสตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม พ.ศ.2553 สามสัปดาห์ต่อมาปะการังได้ เริ่มฟอกขาวแผ่พื้นที่เป็นวงกว้างคลุมทะเลทั้งฝั่งอันดามันและอ่าวไทย จากการสำรวจโดยหลายหน่วยงาน พบว่าในแต่ ละพื้นที่มีปะการังฟอกขาวมากน้อยต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าบริเวณนั้นมีปะการังชนิดใดเป็นพวกที่ขึ้นครอบคลุม พื้นที่มาก (dominant group) หากพวกที่ขึ้นคลุมพื้นที่มากเป็นพวกที่ไวต่อการฟอกขาว พื้นที่นั้นก็จะได้รับผลกระทบ มาก อย่างเช่น แนวปะการังที่มีปะการังเขากวาง (Acroporaspp.) ขึ้นเป็นดงกว้างใหญ่ พื้นที่นั้นก็จะได้รับผลกระทบ มาก นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับว่าชายฝั่งที่แนวปะกรังขึ้นอยู่นั้นได้รับอิทธิพลจากคลื่นลมมากน้อยเพียงไรด้วย ด้านที่รับ แรงจากคลื่นลมจะเป็นด้านที่อุณหภูมิไม่สูงอยู่ตลอดเวลา (เช่น ด้านตะวันตกของเกาะต่างๆ ทางฝั่งทะเลอันดามัน) ปะการังจึงฟอกขาวน้อยกว่าด้านอื่น เมื่อประมาณโดยภาพรวมทั่วประเทศแล้ว พบว่าปะการังแต่ละแห่งฟอกขาวมาก ถึง 30-95% ปะการังทุกชนิดฟอกขาวเกือบทั้งหมด ยกเว้นเพียง 3-4 ชนิดเท่านั้นที่ยังคงต้านอยู่ได้ เช่น ปะการังสีน้ำ เงิน (Heliopora coerulea) ปะการังลายดอกไม้ (Pavona decussata) และปะการังดาวใหญ่ (Diploastrea heliopora) 
สาเหตุ ปะการังจะฟอกขาว ส่วนใหญ่เกิดจาก 1. อุณหภูมิน้ำทะเลที่สูงขึ้นอย่างผิดปกติ และ 2. ความเค็มลดลง เนื่องจากอิทธิพลของน้ำจืดเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดปะการังฟอกขาว
4 
กราฟแสดงอุณหภูมิน้าทะเลในแนวปะการังบริเวณเกาะภูเก็ต ตั้งแต่มกราคม พ.ศ.2552 – กันยายน พ.ศ.2553 Ref : http://classconnection.s3.amazonaws.com/ และ http://oceana.org/sites/default/files/explore/creatures/ocean235chadan_002.jpg 
จากกราฟแสดงอุณหภูมิน้ำทะเลในแนวปะการังบริเวณเกาะภูเก็ตตั้งแต่ มกราคม พ.ศ.2552 – กันยายน พ.ศ.2553 พบว่าข้อมูลในกรอบเป็นช่วงที่อุณหภูมิน้ำทะเลขึ้นสูงกว่า 30 องศาเซลเซียสต่อเนื่องกันเป็นเวลาประมาณ 3 เดือน ทั้งนี้ประมาณไว้ว่า ณ อุณหภูมิตั้งแต่ 30 องศาเซลเซียสขึ้นไป เป็นจุดวิกฤตที่กระตุ้นให้เกิดการฟอกขาวของปะการัง ทั้งนี้ขึ้นกับองค์ประกอบอื่นด้วยที่เป็นตัวกระตุ้นร่วม โดยเฉพาะความเข้มของแสงแดด 
แนวปะการังในอ่าวทางทิศเหนือของเกาะราชาใหญ่ มีปะการังเขากวาง (Acropora austera)ขึ้นอยู่เป็นดง กว้างใหญ่เริ่มฟอกขาวตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2553 (ซ้าย) หลังจากนั้นในเดือนกันยายน เมื่อตรวจสอบอีก ครั้งพบว่าปะการังเขากวางตายไปทั้งหมด (ขวา) 
แนวปะการังสีน้าเงิน (Heliopora coerulea) ที่อ่าวฝั่งตะวันตกของเกาะราชาใหญ่ (ซ้าย) อ่าวทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะปายู (ขวา) ยังคงอยู่ในสภาพดี ไม่ได้รับผลกระทบจากการฟอกขาว
5 
การที่ปะการังอยู่ในสภาวะฟอกขาวต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน ทำให้ปะการังค่อยๆ ตายไป โดยเฉพาะปะการังใน สกุล Acroporaspp. เป็นพวกที่เริ่มตายก่อนชนิดอื่นๆ หลังจากที่ฟอกขาวได้ 1 เดือน ปะการังชนิดอื่นค่อยๆ ทยอย ตายตามไป ต่อมาในตอนปลายเดือนมิถุนายน พ.ศ.2553 อุณหภูมิเริ่มลดลงมาอยู่ที่ 29 องศาเซลเซียสเศษ ซึ่งเป็น อุณหภูมิที่กลับเข้าสู่ภาวะเกือบปกติ ปะการังโขด (Porites lutea) ซึ่งเป็นโครงสร้างหลักของแนวปะการัง เป็นพวก แรกที่เริ่มมีสีน้ำตาลกลับคืนมา แสดงให้เห็นการฟื้นตัวที่ค่อยๆ เกิดขึ้น ประมาณได้ว่าปะการังโขดที่ฟอกขาวสามารถ ฟื้นตัวได้ราว 50-75% (นั่นคือ ประมาณหนึ่งในสี่ถึงครึ่งหนึ่งได้ตายไป) 
แนวปะการังบริเวณหมู่เกาะสุรินทร์ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2553 มีความสมบูรณ์มาก แต่หลังจากเกิดการฟอกขาว ได้ดำเนินการตรวจสอบซ้ำในเดือนธันวาคม พ.ศ.2553 พบว่าแนวปะการังกลับอยู่ในสภาพเสียหายมาก ในขณะที่กลุ่ม ปะการังเขากวางและปะการังโต๊ะ (Acropora spp.) ในแนวปะการังบริเวณเกาะสิมิลัน ตายเป็นจำนวนมากเช่นกัน 
ปะการังโขด (Porites lutea) เริ่มกลับมามีสีน้าตาล เมื่ออุณหภูมิน้าลดลงสู่ปกติในปลายเดือนมิถุนายน (ซ้าย) และจากการประเมินในหลายพื้นที่ พบว่าปะการังโขด (P. lutea) ตายจากการฟอกขาว 25-50% (ขวา)
6 
แนวปะการังบริเวณหมู่เกาะสุรินทร์ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2553 มีความสมบูรณ์มาก (ซ้าย) หลังจากเกิดการฟอกขาวทาให้แนวปะการังกลับอยู่ในสภาพเสียหายมาก (ขวา) 
แนวปะการังตามเวิ้งอ่าวทางฝั่งตะวันตกของเกาะต่างๆ ทางฝั่งทะเลอันดามัน ได้รับอิทธิพลจากคลื่นใต้น้ำ (internal waves) เป็นครั้งคราว ทำให้อุณหภูมิน้ำทะเลไม่สูงตลอดเวลา ผลกระทบจากปะการังฟอกขาวจึงไม่รุนแรงมาก ทำให้ มีปะการังมีชีลิตรอดอยู่ได้มากกว่าชายฝั่งด้านอื่นของเกาะ และจากการสำรวจในแหล่งท่องเที่ยวสำคัญหลายพื้นที่ ในช่วงเดือนกันยายน-ธันวาคม พ.ศ. 2553 โดยเฉพาะที่หมู่เกาะพีพี (จังหวัดกระบี่) เกาะ-ราชา (จังหวัดภูเก็ต) เกาะไข่ นอก และหมู่เกาะสุรินทร์-สิมิลัน (จังหวัดพังงา) พบว่าในแนวปะการังแต่ละแห่งได้รับผลกระทบจากการฟอกขาวและ เกิดความเสียหายค่อนข้างมาก 
แนวปะการังตามเวิ้งอ่าวทางฝั่งตะวันตกของเกาะต่างๆ ทางฝั่งทะเลอันดามัน ได้รับอิทธิพลจากคลื่นใต้น้ำ (internal waves) ผลกระทบจากปะการังฟอกขาวจึงไม่รุนแรงมาก
7 
จากตารางจะเห็นว่า จากการสำรวจในสถานีศึกษาจำนวน 27 แห่ง มีปะการังที่มีชีวิตเหลืออยู่ในช่วง 0.1 – 66.3% (เฉลี่ย 13.9%+13.33 ) อัตราการตายของปะการัง (คิดเป็นเปอร์เซ็นต์สัมพัทธ์กับปริมาณปะการังที่มีชีวิตที่มีอยู่เดิม) กระจายอยู่ในช่วง 26 – 100% (เฉลี่ย 68.8%+22.5) โดยมีข้อสังเกตว่าแหล่งที่ได้รับผลกระทบน้อยมากคือที่อ่าวฝั่ง ตะวันตก (อ่าวพลับพลา) ของเกาะราชาใหญ่ อ่าวฝั่งทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะปายู ทั้งสองแห่งนี้มีปะการังสี น้ำเงิน (Heliopora coerulea) เป็นชนิดที่ขึ้นเด่นในพื้นที่ (dominant species) ซึ่งปะการังชนิดนี้สามารถต้านต่อ การฟอกขาวได้ดี อ่าวที่พบผลกระทบจาการฟอกขาวค่อนข้างน้อยอีกแห่งหนึ่งคือ อ่าวลาน้า ซึ่งอยู่ทางฝั่งตะวันตก เฉียงเหนือของเกาะพีพีดอน ในอ่าวแห่งนี้ยังพบปะการังกลุ่มเขากวางและปะการังโต๊ะ (Acropora spp.) เหลืออยู่ ค่อนข้างมาก ในขณะที่พื้นที่อื่นปะการังในสกุลนี้หลงเหลืออยู่น้อยมากหลังจากการฟอกขาว สาเหตุที่ปะการังในอ่าว ลาน้าได้รับผลกระทบไม่รุนแรงมากนัก อาจเนื่องจากเป็นจุดที่รับคลื่นและมวลน้ำที่พัดมาจากทะเลเปิดทางฝั่งตะวันตก ทำให้อุณหภูมิไม่สูงตลอดเวลา ซึ่งลักษณะนี้ยังพบที่อ่าวฝั่งตะวันตกของเกาะราชาใหญ่ และในเวิ้งอ่าวตามหมู่เกาะสิมิ ลัน และยังมีข้อน่าสังเกตอีกแห่งหนึ่ง คือที่เกาะราชาใหญ่ฝั่งตะวันออกตอนกลาง มีอัตราการตายค่อนข้างน้อยเช่นกัน แท้ที่จริงแล้ว บริเวณนี้มีปะการังโขด (Porites lutea) เป็นชนิดเด่น พบว่ามีการฟอกขาวมาก แต่มีการฟื้นตัวได้ดีเมื่อ อุณหภูมิน้ำลดลง
8 
ตารางปริมาณปกคลุมพื้นที่ (%) ของปะการังที่มีชีวิตก่อนและหลังการฟอกขาวปี พ.ศ.2553 และอัตราการตาย ของปะการัง (%) ณ สถานีสารวจซึ่งเป็นแปลงสารวจถาวรที่มีการติดตามตรวจสอบอย่างต่อเนื่องในระยะยาว
9 
หมายเหตุ 1.แปลงสำรวจ เป็นแปลงขนาดยาว 100 เมตร อยู่บนโซนลาดชัน (reef slope) ณ ความลึกที่แตกต่างกัน ไปในแต่ละแห่ง (เฉลี่ยอยู่ในช่วง 3-10 เมตร) 2.ข้อมูลก่อนการฟอกขาว สำรวจในช่วงต้นปี พ.ศ. 2553 (ยกเว้นของ กลุ่มเกาะสิมิลัน ซึ่งสำรวจในปลายปี พ.ศ.2550) ข้อมูลหลังการฟอกขาว สำรวจในช่วงปลายปี พ.ศ.2553 
จากการที่แนวปะการังได้รับความเสียหายจากการฟอกขาวอย่างรุนแรงในปี พ.ศ.2553 นี้ ทำให้สภาพแนวปะการัง เปลี่ยนแปลงไปเป็นอันมาก แนวปะการังหลายแห่งเปลี่ยนจากสภาพสมบูรณ์ไปเป็นสภาพเสียหายมาก การฟื้นตัวของ แนวปะการังจะเกิดขึ้นได้โดยขบวนการทางธรรมชาติ โดยโคโลนีของปะการังที่ยังหลงเหลืออยู่เจริญเติบโตต่อไป และ จากการเข้ามาลงเกาะใหม่ของตัวอ่อนปะการัง ซึ่งอาจเป็นตัวอ่อนที่ได้จากแม่พันธุ์ที่อยู่ภายในแนวปะการังนั้น หรือมา จากแหล่งอื่นที่อยู่ใกล้เคียงหรือห่างไกลออกไป ดังนั้นการจัดการพื้นที่จึงต้องครอบคลุมเป็นพื้นที่กว้าง เพราะแนว ปะการังถึงแม้มิใช่เป็นผืนเดียวกัน แต่ก็มีความเชื่อมโยงกัน เพราะต้องอาศัยตัวอ่อนที่แพร่กระจายไปตามกระแสน้ำ ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับแนวปะการังครั้งนี้ แน่นอนที่สุดในแต่ละพื้นที่ใช้เวลาแตกต่างต่างกันในการฟื้นตัวกลับคืนสู่ สภาพดีดังเดิม จากเหตุการณ์ปะการังฟอกขาวในปี พ.ศ.2534 และ 2538 ที่ก่อให้เกิดความเสียหายค่อนข้างรุนแรง (แต่รุนแรงน้อยกว่าปี พ.ศ.2553 มาก) แนวปะการังใช้ระยะเวลาอย่างน้อย 5 ปี ถึงจะมีปะการังสภาพดีขึ้นได้ แต่นั่นก็ ต้องเป็นแหล่งที่มีการรบกวนจากมนุษย์น้อยมาก อย่างไรก็ตาม ในบางพื้นที่ถึงแม้ว่ามีการฟื้นตัวเกิดขึ้น แต่ องค์ประกอบของประชาคม (coral community) อาจจะเปลี่ยนไปจากเดิม เช่น กรณีของแนวปะการังบริเวณชายฝั่ง หน้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ที่เคยมีปะการังเขากวางเด่นบนโซนลาดชัน (ณ ระดับความลึก 8 – 15 ม.) เมื่อได้รับความเสียหายจากการฟอก-ขาวในปี พ.ศ.2538 ทำให้ปะการังเขากวางตายไปมาก ซึ่งจากการติดตาม สำรวจในจุดเดียวกันอย่างต่อเนื่อง พบว่าแนวปะการังนั้นใช้เวลานานเกือบ 20 ปีจึงจะมีปะการังที่มีชีวิตขึ้นได้ หนาแน่นเหมือนก่อนหน้าที่จะได้รับผลกระทบจากการฟอกขาวในปี พ.ศ.2534 
การสำรวจหลังการฟอกขาวของปะการังคราวนี้ ได้พบโคโลนีวัยอ่อน (ขนาดเล็กกว่า 5 ซม.) ของปะการังใน สกุล Acropora spp. ขึ้นในหลายพื้นที่ แสดงให้เห็นว่าสิ่งแวดล้อมในแนวปะการังเหล่านั้นยังอยู่ในสภาวะที่ เอื้ออำนวยต่อการลงเกาะและการเจริญเติบโตของตัวอ่อน มีอยู่เพียงแห่งเดียวที่น่าเป็นห่วง คือบริเวณฝั่งตะวันออก ของเกาะเมียง (หาดเล็ก) ซึ่งไม่พบปะการังวัยอ่อนเลย แต่กลับพบว่ามีสาหร่ายในกลุ่ม blue-green algae (cyanobacteria) ขึ้นคลุมบนซากปะการังที่ตายจากการฟอกขาว สิ่งนี้ เป็นข้อบ่งชี้ถึงมวลน้ำที่ไม่สะอาด สาเหตุอาจ เกิดจากของเสียที่ถูกถ่ายเทลงน้ำ โดยเฉพาะของเสียจากเรือที่จอดอยู่เป็นจำนวนมากในบริเวณนั้น รวมทั้งอาจเป็น ของเสียที่ไหลซึมผ่านชั้นดินเนื่องจากพื้นที่นั้นไม่ไกลจากที่พักของนักท่องเที่ยว ฉะนั้นการจัดการพื้นที่เพื่อให้คุณภาพ น้ำดีเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ทางอุทยานแห่งชาติต้องจัดการ
10 
นักวิจัยสารวจปะการังวัยอ่อน (juvenile coral) ที่เริ่มเจริญเติบโตในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ จากปะการังฟอกขาว เป็นปะการังสกุล Acropora (ปะการังเขากวาง) และ Favia (ปะการังวงแหวน) 
ในการติดตามศึกษาหลังการฟอกขาวครั้งนี้ ได้ติดตามตรวจสอบการอุบัติของโรค (coral disease) ด้วย พบว่าโรคด่าง ขาว (white band disease) มักเกิดขึ้นโดยเฉพาะกับปะการังดาวใหญ่ (Diploastrea heliopora) ปะการังที่เกิดโรค ด่างขาวจะค่อยๆ ตายไป และยังพบโรคจุดขาว (white spot) มากขึ้นหลังจากเหตุการณ์ฟอก-ขาวผ่านไป โดยโรคนี้ มักพบในปะการังโขด (Porites lutea) จะมีการติดตามตรวจสอบต่อไปว่าโรคนี้ทำให้ปะการังตายหรือไม่และระดับ ของผลกระทบที่เกิดขึ้น 
ปะการังดาวใหญ่ (Diploastrea heliopora) เกิดโรคแถบขาว (ซ้าย) และปะการังโขด (P. lutea) เกิดโรคจุด ขาว (ขวา ) 
ผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม 
1. ปะการังเกิดความเสื่อมโทรม ส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยว
11 
2. ปะการังฟอกขาวทำให้แนวปะการังเสื่อมโทรม ส่งผลให้กระทบต่อสมดุลในระบบนิเวศแนวปะการัง โดยเฉพาะ อย่างยิ่งโครงสร้างประชาคมปลาในแนวปะการังและสิ่งมีชีวิตในแนวปะการังชนิดอื่นๆ 
3. เพิ่มอัตราการกร่อนทางชีวภาพ (bioerosion) และทำลายโครงสร้างของแนวปะการัง 
4. สังคมสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ อาจเจริญเติบโตแทนที่แนวปะการังเดิม 
การบริหารจัดการ 
1. สร้างความรู้ ความเข้าใจแก่ประชาชน นักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว ผู้ใช้ประโยชน์จากแนวปะการัง เพื่อให้ทราบสถานการณ์ของแนวปะการังฟอกขาว ผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ การรณรงค์ให้ ผู้ประกอบการธุรกิจดำน้ำดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 
2. ลดผลกระทบจากกิจกรรมการท่องเที่ยวที่ส่งผลกระทบต่อแนวปะการัง ด้วยการกำหนดพื้นที่ รูปแบบกิจกรรม และ ข้อควรปฏิบัติที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้ประโยชน์ต่างๆ ทั้งนี้ ทางกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และกรมอุทยานฯ สามารถนำรูปแบบวิธีการดำเนินงานของโครงการกรีนฟินส์ไปใช้ 
3. ผลักดันให้เรือท่องเที่ยวปรับปรุงเรือ โดยให้มีถังกักเก็บของเสียในเรือ มิให้มีการปล่อยของเสียลงในแนวปะการัง โดยตรง เพื่อลดปัญหาการแพร่ของเชื้อโรคหรือปริมาณสารอาหารในแนวปะการัง 
4. มีการจัดการอย่างเข้มงวดเพื่อลดปริมาณตะกอนจากแผ่นดินลงสู่ทะเล เช่น ควบคุมการเปิดหน้าดิน และกำหนด มาตรการป้องกันการกัดเซาะหน้าดินบนเกาะที่มีแนวปะการัง 
5. กำหนดมาตรการป้องกันกิจกรรมประมงที่ส่งผลกระทบต่อแนวปะการัง โดยเฉพาะการลักลอบจับปลาสวยงาม และปลากินพืชในแนวปะการังในเขตอุทยานแห่งชาติ โดยต้องมีการตรวจตราป้องกันการกระทำผิดอย่างเข้มงวด 
6. ปิดพื้นที่ไม่ให้มีการใช้ประโยชน์ใดๆ ในพื้นที่แนวปะการังที่จำเป็นต้องได้รับการคุ้มครองอย่างเข้มงวด เช่น บาง บริเวณในเขตอุทยานแห่งชาติ 
7. นำแผนแม่บทการจัดการอุทยานแห่งชาติ ที่เคยมีการทำไว้แล้วมาใช้อย่างจริงจัง 
8. จัดสร้างแหล่งดำน้ำใหม่ หรือปะการังเทียมเสริมในบริเวณที่เหมาะสม เพื่อลดการใช้ประโยชน์ในแนวปะการัง
12
13
14 
วิธีดาเนินงาน 
แนวทางการดาเนินงาน 
1 คิดหัวข้อโครงงานเพื่อนำเสนอครูที่ปรึกษาโครงงาน 
2 ศึกษาและค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สนใจ คือเรื่องปะการังฟอกขาว ว่ามีเนื้อหามากน้อยเพียงใด และต้องศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเพียงใดจากเว็บไซต์ต่างๆ และเก็บข้อมูลไว้เพื่อจัดทำเนื้อหาต่อไป 
3จัดทำโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์เพื่อนำเสนอครูที่ปรึกษา 
4 ปฏิบัติการจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่องปะการังฟอกขาว 
5 นำเสนอรายงานความก้าวหน้าเป็นระยะๆ โดยแจ้งให้ครูที่ปรึกษาโครงงานเข้าไปตรวจความก้าวหน้าของ โครงงานผ่านของเรา ซึ่งครูที่ปรึกษาจะให้ข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อให้จัดทำเนื้อหาและการนำเสนอที่น่าสนใจ ต่อไป ทั้งนี้เมื่อได้รับคำแนะนำก็จะนำมาปรับปรุง แก้ไขให้เป็นที่สนใจยิ่งขึ้น 
6 ประเมินผลงาน โดยการนำเสนอผ่าน powerpoint แล้วให้ครูที่ปรึกษาประเมินผลงาน 
เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ 
1 เครื่องคอมพิวเตอร์ พร้อมเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 
2 เว็บไซต์ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร เช่น www.facebook.com www.hotmail.com www.google.com 
3 โปรแกรมตัดต่อและตกแต่งรูปภาพ เช่นAdobe Photoshop CS4 และ PhotoScape2.0
15 
ขั้นตอนและแผนดาเนินงาน 
ลาดับ 
ที่ 
ขั้นตอน 
สัปดาห์ที่ 
ผู้รับผิดชอบ 
1 
2 
3 
4 
5 
6 
7 
8 
9 
10 
11 
12 
13 
14 
15 
16 
17 
1 
คิดหัวข้อโครงงาน 
√ 
√ 
2 
ศึกษาและค้นคว้าข้อมูล 
√ 
√ 
3 
จัดทำโครงร่างงาน 
√ 
√ 
4 
ปฏิบัติการสร้างโครงงาน 
√ 
√ 
√ 
√ 
√ 
5 
ปรับปรุงทดสอบ 
√ 
6 
การทำเอกสารรายงาน 
√ 
√ 
7 
ประเมินผลงาน 
√ 
8 
นำเสนอโครงงาน 
√ 
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 
ต้องการให้บุคคลทั่วไปได้รู้ลักษณะจาเพาะของปะการัง ชนิดของปะการัง เขตที่อยู่ของปะการังและแนว ปะการัง สาเหตุของการเกิดปะการังฟอกขาว ผลกระทบของการเกิดปะการังฟอกขาว และวิธีการป้องกันวิธีการ อนุรักษ์การเกิดปะการังฟอกขาว 
สถานที่ดำเนินการ 
กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง 
- กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ 
- กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม 
แหล่งอ้างอิง (เอกสาร หรือแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ที่นำมาใช้การทำโครงงาน) 
- https://sites.google.com/site/madupakarang/home/pakarang-fxk-khaw-khux-xari 
- http://nstda.or.th/rural/public/100%20articles-stkc/15.pdf 
- http://marinegiscenter.dmcr.go.th/km/coral-blenching/#.VFtV9_mUcnc 
- http://www.acr.ac.th/acr/ACR_E- Learning/CAREER_COMPUTER/COMPUTER/M4/ComputerProject/content1.html

More Related Content

What's hot

โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวก
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวกโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวก
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวกพัน พัน
 
เรื่องปัญหาขยะภายในโลก
เรื่องปัญหาขยะภายในโลกเรื่องปัญหาขยะภายในโลก
เรื่องปัญหาขยะภายในโลกพัน พัน
 
โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง เปลือกไข่ไล่มด
โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง เปลือกไข่ไล่มดโครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง เปลือกไข่ไล่มด
โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง เปลือกไข่ไล่มดพัน พัน
 
1.หลักสูตรภาษาไทย
1.หลักสูตรภาษาไทย1.หลักสูตรภาษาไทย
1.หลักสูตรภาษาไทยnang_phy29
 
Biomapcontest2014 คาเสะ
Biomapcontest2014 คาเสะBiomapcontest2014 คาเสะ
Biomapcontest2014 คาเสะWichai Likitponrak
 
Food m1
Food m1Food m1
Food m1umpan
 
โครงงานเรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียน
โครงงานเรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียนโครงงานเรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียน
โครงงานเรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียนพัน พัน
 
โครงสร้างสาระวิทย์ป.5
โครงสร้างสาระวิทย์ป.5โครงสร้างสาระวิทย์ป.5
โครงสร้างสาระวิทย์ป.5supphawan
 
จุลสารชมรมผู้ไร้กลอ่งเสียงรามาธิบดี ปีที่ 3 ฉบับที่ 2
จุลสารชมรมผู้ไร้กลอ่งเสียงรามาธิบดี ปีที่ 3 ฉบับที่ 2จุลสารชมรมผู้ไร้กลอ่งเสียงรามาธิบดี ปีที่ 3 ฉบับที่ 2
จุลสารชมรมผู้ไร้กลอ่งเสียงรามาธิบดี ปีที่ 3 ฉบับที่ 2Sutthinee Sudchai
 
บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง-แผนที่
บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง-แผนที่บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง-แผนที่
บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง-แผนที่ครูอ้อ วิรยา
 
2562 final-project 37-609_pornchita
2562 final-project 37-609_pornchita2562 final-project 37-609_pornchita
2562 final-project 37-609_pornchitaPornchita Taejanung
 
แผนที่และประวัติความเป็นมาของแผนที่
แผนที่และประวัติความเป็นมาของแผนที่แผนที่และประวัติความเป็นมาของแผนที่
แผนที่และประวัติความเป็นมาของแผนที่พัน พัน
 

What's hot (19)

โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวก
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวกโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวก
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวก
 
โครงงาน
โครงงานโครงงาน
โครงงาน
 
เรื่องปัญหาขยะภายในโลก
เรื่องปัญหาขยะภายในโลกเรื่องปัญหาขยะภายในโลก
เรื่องปัญหาขยะภายในโลก
 
โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง เปลือกไข่ไล่มด
โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง เปลือกไข่ไล่มดโครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง เปลือกไข่ไล่มด
โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง เปลือกไข่ไล่มด
 
1.หลักสูตรภาษาไทย
1.หลักสูตรภาษาไทย1.หลักสูตรภาษาไทย
1.หลักสูตรภาษาไทย
 
Biomapcontest2014 คาเสะ
Biomapcontest2014 คาเสะBiomapcontest2014 คาเสะ
Biomapcontest2014 คาเสะ
 
Biomapcontest2014 timber
Biomapcontest2014 timberBiomapcontest2014 timber
Biomapcontest2014 timber
 
Food m1
Food m1Food m1
Food m1
 
File
FileFile
File
 
โครงงานเรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียน
โครงงานเรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียนโครงงานเรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียน
โครงงานเรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียน
 
โครงสร้างสาระวิทย์ป.5
โครงสร้างสาระวิทย์ป.5โครงสร้างสาระวิทย์ป.5
โครงสร้างสาระวิทย์ป.5
 
Aksorn 1
Aksorn 1Aksorn 1
Aksorn 1
 
Biomapcontest2014 xoxo
Biomapcontest2014 xoxoBiomapcontest2014 xoxo
Biomapcontest2014 xoxo
 
Jame
JameJame
Jame
 
จุลสารชมรมผู้ไร้กลอ่งเสียงรามาธิบดี ปีที่ 3 ฉบับที่ 2
จุลสารชมรมผู้ไร้กลอ่งเสียงรามาธิบดี ปีที่ 3 ฉบับที่ 2จุลสารชมรมผู้ไร้กลอ่งเสียงรามาธิบดี ปีที่ 3 ฉบับที่ 2
จุลสารชมรมผู้ไร้กลอ่งเสียงรามาธิบดี ปีที่ 3 ฉบับที่ 2
 
บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง-แผนที่
บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง-แผนที่บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง-แผนที่
บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง-แผนที่
 
2562 final-project 37-609_pornchita
2562 final-project 37-609_pornchita2562 final-project 37-609_pornchita
2562 final-project 37-609_pornchita
 
Biocontest2014 kitty
Biocontest2014 kittyBiocontest2014 kitty
Biocontest2014 kitty
 
แผนที่และประวัติความเป็นมาของแผนที่
แผนที่และประวัติความเป็นมาของแผนที่แผนที่และประวัติความเป็นมาของแผนที่
แผนที่และประวัติความเป็นมาของแผนที่
 

Viewers also liked

Joomla 15 quickstart
Joomla 15 quickstartJoomla 15 quickstart
Joomla 15 quickstartarslanpdf
 
Introduction
IntroductionIntroduction
IntroductionJia Lai
 
Offline freelancerViet chủ đề: "What's new on Social Media"
Offline freelancerViet chủ đề: "What's new on Social Media"Offline freelancerViet chủ đề: "What's new on Social Media"
Offline freelancerViet chủ đề: "What's new on Social Media"FreelancerViet
 
Viestintäkoulutusesittely
ViestintäkoulutusesittelyViestintäkoulutusesittely
ViestintäkoulutusesittelyCamilla Lehtinen
 
How to insert you tube videos into moodle
How to insert you tube videos into moodleHow to insert you tube videos into moodle
How to insert you tube videos into moodleKammy Benham
 
Hillview residency luxury flats in pune
Hillview residency   luxury flats in puneHillview residency   luxury flats in pune
Hillview residency luxury flats in punehillviewkothrud
 
ข้อสอบโค้วตา มช ปี 2552 วิชาภาษาไทย
ข้อสอบโค้วตา มช ปี 2552 วิชาภาษาไทยข้อสอบโค้วตา มช ปี 2552 วิชาภาษาไทย
ข้อสอบโค้วตา มช ปี 2552 วิชาภาษาไทยfirstyuppedu
 
Offline freelancerViet chủ đề: "What's new on Social Media"
Offline freelancerViet chủ đề: "What's new on Social Media"Offline freelancerViet chủ đề: "What's new on Social Media"
Offline freelancerViet chủ đề: "What's new on Social Media"FreelancerViet
 
ใบงานที่ 1โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
ใบงานที่ 1โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ใบงานที่ 1โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
ใบงานที่ 1โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์firstyuppedu
 
Autobiografía yariri lizarazo
Autobiografía yariri lizarazoAutobiografía yariri lizarazo
Autobiografía yariri lizarazonacional711
 
ข้อสอบโค้วตา มช วิชาคณิตศาสตร์ ปี 52
ข้อสอบโค้วตา มช วิชาคณิตศาสตร์ ปี 52ข้อสอบโค้วตา มช วิชาคณิตศาสตร์ ปี 52
ข้อสอบโค้วตา มช วิชาคณิตศาสตร์ ปี 52firstyuppedu
 

Viewers also liked (12)

Joomla 15 quickstart
Joomla 15 quickstartJoomla 15 quickstart
Joomla 15 quickstart
 
Heresy Project
Heresy Project  Heresy Project
Heresy Project
 
Introduction
IntroductionIntroduction
Introduction
 
Offline freelancerViet chủ đề: "What's new on Social Media"
Offline freelancerViet chủ đề: "What's new on Social Media"Offline freelancerViet chủ đề: "What's new on Social Media"
Offline freelancerViet chủ đề: "What's new on Social Media"
 
Viestintäkoulutusesittely
ViestintäkoulutusesittelyViestintäkoulutusesittely
Viestintäkoulutusesittely
 
How to insert you tube videos into moodle
How to insert you tube videos into moodleHow to insert you tube videos into moodle
How to insert you tube videos into moodle
 
Hillview residency luxury flats in pune
Hillview residency   luxury flats in puneHillview residency   luxury flats in pune
Hillview residency luxury flats in pune
 
ข้อสอบโค้วตา มช ปี 2552 วิชาภาษาไทย
ข้อสอบโค้วตา มช ปี 2552 วิชาภาษาไทยข้อสอบโค้วตา มช ปี 2552 วิชาภาษาไทย
ข้อสอบโค้วตา มช ปี 2552 วิชาภาษาไทย
 
Offline freelancerViet chủ đề: "What's new on Social Media"
Offline freelancerViet chủ đề: "What's new on Social Media"Offline freelancerViet chủ đề: "What's new on Social Media"
Offline freelancerViet chủ đề: "What's new on Social Media"
 
ใบงานที่ 1โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
ใบงานที่ 1โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ใบงานที่ 1โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
ใบงานที่ 1โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
 
Autobiografía yariri lizarazo
Autobiografía yariri lizarazoAutobiografía yariri lizarazo
Autobiografía yariri lizarazo
 
ข้อสอบโค้วตา มช วิชาคณิตศาสตร์ ปี 52
ข้อสอบโค้วตา มช วิชาคณิตศาสตร์ ปี 52ข้อสอบโค้วตา มช วิชาคณิตศาสตร์ ปี 52
ข้อสอบโค้วตา มช วิชาคณิตศาสตร์ ปี 52
 

Similar to ใบงานที่ 1โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์

งานโก๋แก้
งานโก๋แก้งานโก๋แก้
งานโก๋แก้Pornthip Nabnain
 
2562 final-project-2731 (1)
2562 final-project-2731 (1)2562 final-project-2731 (1)
2562 final-project-2731 (1)Sarocha Somboon
 
2562 final-project-2731 (1)
2562 final-project-2731 (1)2562 final-project-2731 (1)
2562 final-project-2731 (1)Sarocha Somboon
 
2562 final project 26,31
2562 final project 26,312562 final project 26,31
2562 final project 26,31Sarocha Somboon
 
งานคอมสาว
งานคอมสาวงานคอมสาว
งานคอมสาวChatika Ruankaew
 
2562 final project 26,31
2562 final project 26,312562 final project 26,31
2562 final project 26,31Sarocha Somboon
 
รูปเล่มโครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดี
รูปเล่มโครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดีรูปเล่มโครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดี
รูปเล่มโครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดีอาภัสรา ยิ่งคำแหง
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์rungthida darunchuwong
 
10657065 747554985324701 2086860594_n
10657065 747554985324701 2086860594_n10657065 747554985324701 2086860594_n
10657065 747554985324701 2086860594_nMilk MK
 
โครงร่างโครงงานการแบ่งเซลล์
โครงร่างโครงงานการแบ่งเซลล์โครงร่างโครงงานการแบ่งเซลล์
โครงร่างโครงงานการแบ่งเซลล์Chayaporn Jongjumnien
 
2557 โครงงาน (1)
2557 โครงงาน (1)2557 โครงงาน (1)
2557 โครงงาน (1)Milk MK
 
โครงงาน สุดยอดว่านหางจระเข้
โครงงาน สุดยอดว่านหางจระเข้โครงงาน สุดยอดว่านหางจระเข้
โครงงาน สุดยอดว่านหางจระเข้KuNg Pw
 
โครงงาน สุดยอดว่านหางจระเข้
โครงงาน สุดยอดว่านหางจระเข้โครงงาน สุดยอดว่านหางจระเข้
โครงงาน สุดยอดว่านหางจระเข้KuNg Pw
 

Similar to ใบงานที่ 1โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ (20)

งานโก๋แก้
งานโก๋แก้งานโก๋แก้
งานโก๋แก้
 
2562 final-project-2731 (1)
2562 final-project-2731 (1)2562 final-project-2731 (1)
2562 final-project-2731 (1)
 
2562 final-project-2731 (1)
2562 final-project-2731 (1)2562 final-project-2731 (1)
2562 final-project-2731 (1)
 
งานคอมพ
งานคอมพ งานคอมพ
งานคอมพ
 
2562 final project 26,31
2562 final project 26,312562 final project 26,31
2562 final project 26,31
 
งานคอมสาว
งานคอมสาวงานคอมสาว
งานคอมสาว
 
2562 final project 26,31
2562 final project 26,312562 final project 26,31
2562 final project 26,31
 
งานคอม
งานคอมงานคอม
งานคอม
 
รูปเล่มโครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดี
รูปเล่มโครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดีรูปเล่มโครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดี
รูปเล่มโครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดี
 
ใบงานคอม
ใบงานคอมใบงานคอม
ใบงานคอม
 
ใบงานคอม
ใบงานคอมใบงานคอม
ใบงานคอม
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
 
10657065 747554985324701 2086860594_n
10657065 747554985324701 2086860594_n10657065 747554985324701 2086860594_n
10657065 747554985324701 2086860594_n
 
โครงร่างโครงงานการแบ่งเซลล์
โครงร่างโครงงานการแบ่งเซลล์โครงร่างโครงงานการแบ่งเซลล์
โครงร่างโครงงานการแบ่งเซลล์
 
2557 โครงงาน (1)
2557 โครงงาน (1)2557 โครงงาน (1)
2557 โครงงาน (1)
 
โครงงาน สุดยอดว่านหางจระเข้
โครงงาน สุดยอดว่านหางจระเข้โครงงาน สุดยอดว่านหางจระเข้
โครงงาน สุดยอดว่านหางจระเข้
 
โครงงาน สุดยอดว่านหางจระเข้
โครงงาน สุดยอดว่านหางจระเข้โครงงาน สุดยอดว่านหางจระเข้
โครงงาน สุดยอดว่านหางจระเข้
 
2560 project
2560 project 2560 project
2560 project
 
Jame
JameJame
Jame
 
at1
at1at1
at1
 

More from firstyuppedu

Coral reef-bleaching
Coral reef-bleaching Coral reef-bleaching
Coral reef-bleaching firstyuppedu
 
Coral reef-bleaching
Coral reef-bleachingCoral reef-bleaching
Coral reef-bleachingfirstyuppedu
 
โครงงานปะการังฟอกขาว (Coral Reef Bleaching){Test}
โครงงานปะการังฟอกขาว (Coral Reef Bleaching){Test}โครงงานปะการังฟอกขาว (Coral Reef Bleaching){Test}
โครงงานปะการังฟอกขาว (Coral Reef Bleaching){Test}firstyuppedu
 
โครงงานวิชาคอมพิวเตอร์
โครงงานวิชาคอมพิวเตอร์โครงงานวิชาคอมพิวเตอร์
โครงงานวิชาคอมพิวเตอร์firstyuppedu
 
ข้อสบโค้วตา มช วิชา สังคมศึกษา ปี2552
ข้อสบโค้วตา มช วิชา สังคมศึกษา ปี2552ข้อสบโค้วตา มช วิชา สังคมศึกษา ปี2552
ข้อสบโค้วตา มช วิชา สังคมศึกษา ปี2552firstyuppedu
 
ข้อสอบโค้วตา มช วิชาวิทยาศาสตร์1 ปี2552
ข้อสอบโค้วตา มช วิชาวิทยาศาสตร์1 ปี2552ข้อสอบโค้วตา มช วิชาวิทยาศาสตร์1 ปี2552
ข้อสอบโค้วตา มช วิชาวิทยาศาสตร์1 ปี2552firstyuppedu
 

More from firstyuppedu (7)

Coral reef-bleaching
Coral reef-bleaching Coral reef-bleaching
Coral reef-bleaching
 
Coral reef-bleaching
Coral reef-bleachingCoral reef-bleaching
Coral reef-bleaching
 
โครงงานปะการังฟอกขาว (Coral Reef Bleaching){Test}
โครงงานปะการังฟอกขาว (Coral Reef Bleaching){Test}โครงงานปะการังฟอกขาว (Coral Reef Bleaching){Test}
โครงงานปะการังฟอกขาว (Coral Reef Bleaching){Test}
 
5555
55555555
5555
 
โครงงานวิชาคอมพิวเตอร์
โครงงานวิชาคอมพิวเตอร์โครงงานวิชาคอมพิวเตอร์
โครงงานวิชาคอมพิวเตอร์
 
ข้อสบโค้วตา มช วิชา สังคมศึกษา ปี2552
ข้อสบโค้วตา มช วิชา สังคมศึกษา ปี2552ข้อสบโค้วตา มช วิชา สังคมศึกษา ปี2552
ข้อสบโค้วตา มช วิชา สังคมศึกษา ปี2552
 
ข้อสอบโค้วตา มช วิชาวิทยาศาสตร์1 ปี2552
ข้อสอบโค้วตา มช วิชาวิทยาศาสตร์1 ปี2552ข้อสอบโค้วตา มช วิชาวิทยาศาสตร์1 ปี2552
ข้อสอบโค้วตา มช วิชาวิทยาศาสตร์1 ปี2552
 

ใบงานที่ 1โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์

  • 1. 1 แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ รหัสวิชา ง33202 ชื่อวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 6 ปีการศึกษา 2557 ชื่อโครงงาน รักนะ♥ ปะการังฟอกขาว! ชื่อผู้ทาโครงงาน 1.นางสาวศศิพิมพ์ คุณารูป เลขที่ 16 ชั้น ม.6 ห้อง 2 2.นายพีรดนย์ สุริยะธง เลขที่ 33 ชั้น ม.6 ห้อง 2 ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน ครูเขื่อนทอง มูลวรรณ์ ระยะเวลาดาเนินงาน ภาคเรียนที่ 1-2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34
  • 2. 2 ใบงาน การจัดทาข้อเสนอโครงงานคอมพิวเตอร์ สมาชิกในกลุ่ม 1.นางสาวศศิพิมพ์ คุณารูป เลขที่ 18 2.นายพีรดนย์ สุริยะธง เลขที่ 33 คาชี้แจง ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มเขียนข้อเสนอโครงงานตามหัวข้อต่อไปนี้ ชื่อโครงงาน (ภาษาไทย) รักนะ♥ ปะการังฟอกขาว! ชื่อโครงงาน (ภาษาอังกฤษ) Coral Reef Bleaching! My Love ♥ ประเภทโครงงาน โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา ชื่อผู้ทาโครงงาน 1.นางสาวศศิพิมพ์ คุณารูป เลขที่ 18 2.นายพีรดนย์ สุริยะธง เลขที่ 33 ชื่อที่ปรึกษา ครูเขื่อนทอง มูลวรรณ์ ที่มาและความสาคัญของโครงงาน ปะการังเป็นสิ่งมีชีวิตซึ่งจัดเป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีกระดูกสันหลังที่อาศัยอยู่ใต้ท้องทะเลโดยปะการังเป็นแหล่ง ที่อยู่อาศัยและกันภัยของสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเล และปะการังยังสามาสามารถบ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ของ สิ่งมีชีวิตภายใต้ท้องทะเลนั้นๆได้อีกด้วย ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาแนวปะการังทั่วโลกต่างต้องเผชิญกับภาวะฟอก ขาวที่นับวันจะทวีความรุนแรงและมีความถี่ในการเกิดบ่อยครั้งมากขึ้นโดยแม้ขณะนี้ยังไม่คาตอบที่แน่ชัดของ สาเหตุการเกิดปะการังฟอกขาวแต่นักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่าเป็นผลมาจากความแปรปรวนของสภาพอากาศ เนื่องมาจากภาวะโลกร้อน และปะการรังยังเป็นที่พักอาศัยและที่ป้องกันภัยของปลาสัตว์ต่างๆที่อาศัยอยู่ในท้อง ทะเลและส่งผลให้แนวปะการังขาดความสวยงามและระบบนิเวศเสื่อมโทรม อีกทั้งการเกิดปะการังฟอกขาวยัง ส่งผลในวงกว้างของระบบนิเวศทาให้เกิดปัญหาอย่าง ดังนั้นปะการังในใต้ทะเลเป็นสิ่งที่เราควรเห็นคุณค่าของ ปะการังอย่างมากและควรที่จะได้รับความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์แนวปะการังและตัวปะการังเพื่อช่วยอนุรักษ์ ปะการัง ขอบเขตโครงงาน 1. จัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่องปะการังฟอกขาว โดยนำเสนอในรูปแบบpowerpoint 2. ศึกษาเรื่องปะการังฟอกขาว ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร และจะมีแนวทางอนุรักษ์ได้อย่างไรบ้าง
  • 3. 3 หลักการและทฤษฎี ความรู้ทั่วไป ปะการังฟอกขาว เป็นสภาวะที่ปะการังสูญเสียสาหร่ายเซลล์เดียวที่อาศัยอยู่ภายในเนื้อเยื่อ ทำให้ ปะการังอ่อนแอเพราะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอแลปะการังอาจตายไปในที่สุดถ้าหากไม่สามารถทนต่อสภาวะนี้ได้ สาเหตุที่ทำให้ปะการังฟอกขาวเป็นพื้นที่กว้างครอบคลุมพื้นที่น่านน้ำในระดับประเทศหรือครอบคลุมอาณาเขตกว้าง ในระดับภูมิภาคได้คือ อุณหภูมิน้ำทะเลที่สูงขึ้นอย่างผิดปกติ ซึ่งในน่านน้ำไทย เคยได้รับผลกระทบเช่นนี้เมื่อปี พ.ศ. 2534 2538 2541 2546 2548 และ 2550 โดยปี พ.ศ.2534 และ 2538 แนวปะการังทางฝั่งทะเลอันดามันได้รับ ความเสียหายมาก พบว่าปะการังตายประมาณ 10-20% ส่วนในปี พ.ศ.2541 ก่อให้เกิดความเสียหายมากทางฝั่งอ่าว ไทย แต่ปีต่อๆ มาเกิดทางฝั่งอันดามันแต่ไม่พบความเสียหายมากนัก เพราะปะการังสามารถฟื้นตัวกลับคืนสู่สภาพ ปกติได้เนื่องจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งมาเร็วในตอนต้นฤดูช่วยบรรเทาทำให้อุณหภูมิน้ำทะเลลดลงได้ สำหรับในปี พ.ศ.2553 นับเป็นปีที่แนวปะการังเสียหายมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ อุณหภูมิน้ำทะเลจากปกติ 29 องศาเซลเซียสได้เริ่มสูงขึ้นเป็น 30 องศาเซลเซียสตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม พ.ศ.2553 สามสัปดาห์ต่อมาปะการังได้ เริ่มฟอกขาวแผ่พื้นที่เป็นวงกว้างคลุมทะเลทั้งฝั่งอันดามันและอ่าวไทย จากการสำรวจโดยหลายหน่วยงาน พบว่าในแต่ ละพื้นที่มีปะการังฟอกขาวมากน้อยต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าบริเวณนั้นมีปะการังชนิดใดเป็นพวกที่ขึ้นครอบคลุม พื้นที่มาก (dominant group) หากพวกที่ขึ้นคลุมพื้นที่มากเป็นพวกที่ไวต่อการฟอกขาว พื้นที่นั้นก็จะได้รับผลกระทบ มาก อย่างเช่น แนวปะการังที่มีปะการังเขากวาง (Acroporaspp.) ขึ้นเป็นดงกว้างใหญ่ พื้นที่นั้นก็จะได้รับผลกระทบ มาก นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับว่าชายฝั่งที่แนวปะกรังขึ้นอยู่นั้นได้รับอิทธิพลจากคลื่นลมมากน้อยเพียงไรด้วย ด้านที่รับ แรงจากคลื่นลมจะเป็นด้านที่อุณหภูมิไม่สูงอยู่ตลอดเวลา (เช่น ด้านตะวันตกของเกาะต่างๆ ทางฝั่งทะเลอันดามัน) ปะการังจึงฟอกขาวน้อยกว่าด้านอื่น เมื่อประมาณโดยภาพรวมทั่วประเทศแล้ว พบว่าปะการังแต่ละแห่งฟอกขาวมาก ถึง 30-95% ปะการังทุกชนิดฟอกขาวเกือบทั้งหมด ยกเว้นเพียง 3-4 ชนิดเท่านั้นที่ยังคงต้านอยู่ได้ เช่น ปะการังสีน้ำ เงิน (Heliopora coerulea) ปะการังลายดอกไม้ (Pavona decussata) และปะการังดาวใหญ่ (Diploastrea heliopora) สาเหตุ ปะการังจะฟอกขาว ส่วนใหญ่เกิดจาก 1. อุณหภูมิน้ำทะเลที่สูงขึ้นอย่างผิดปกติ และ 2. ความเค็มลดลง เนื่องจากอิทธิพลของน้ำจืดเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดปะการังฟอกขาว
  • 4. 4 กราฟแสดงอุณหภูมิน้าทะเลในแนวปะการังบริเวณเกาะภูเก็ต ตั้งแต่มกราคม พ.ศ.2552 – กันยายน พ.ศ.2553 Ref : http://classconnection.s3.amazonaws.com/ และ http://oceana.org/sites/default/files/explore/creatures/ocean235chadan_002.jpg จากกราฟแสดงอุณหภูมิน้ำทะเลในแนวปะการังบริเวณเกาะภูเก็ตตั้งแต่ มกราคม พ.ศ.2552 – กันยายน พ.ศ.2553 พบว่าข้อมูลในกรอบเป็นช่วงที่อุณหภูมิน้ำทะเลขึ้นสูงกว่า 30 องศาเซลเซียสต่อเนื่องกันเป็นเวลาประมาณ 3 เดือน ทั้งนี้ประมาณไว้ว่า ณ อุณหภูมิตั้งแต่ 30 องศาเซลเซียสขึ้นไป เป็นจุดวิกฤตที่กระตุ้นให้เกิดการฟอกขาวของปะการัง ทั้งนี้ขึ้นกับองค์ประกอบอื่นด้วยที่เป็นตัวกระตุ้นร่วม โดยเฉพาะความเข้มของแสงแดด แนวปะการังในอ่าวทางทิศเหนือของเกาะราชาใหญ่ มีปะการังเขากวาง (Acropora austera)ขึ้นอยู่เป็นดง กว้างใหญ่เริ่มฟอกขาวตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2553 (ซ้าย) หลังจากนั้นในเดือนกันยายน เมื่อตรวจสอบอีก ครั้งพบว่าปะการังเขากวางตายไปทั้งหมด (ขวา) แนวปะการังสีน้าเงิน (Heliopora coerulea) ที่อ่าวฝั่งตะวันตกของเกาะราชาใหญ่ (ซ้าย) อ่าวทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะปายู (ขวา) ยังคงอยู่ในสภาพดี ไม่ได้รับผลกระทบจากการฟอกขาว
  • 5. 5 การที่ปะการังอยู่ในสภาวะฟอกขาวต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน ทำให้ปะการังค่อยๆ ตายไป โดยเฉพาะปะการังใน สกุล Acroporaspp. เป็นพวกที่เริ่มตายก่อนชนิดอื่นๆ หลังจากที่ฟอกขาวได้ 1 เดือน ปะการังชนิดอื่นค่อยๆ ทยอย ตายตามไป ต่อมาในตอนปลายเดือนมิถุนายน พ.ศ.2553 อุณหภูมิเริ่มลดลงมาอยู่ที่ 29 องศาเซลเซียสเศษ ซึ่งเป็น อุณหภูมิที่กลับเข้าสู่ภาวะเกือบปกติ ปะการังโขด (Porites lutea) ซึ่งเป็นโครงสร้างหลักของแนวปะการัง เป็นพวก แรกที่เริ่มมีสีน้ำตาลกลับคืนมา แสดงให้เห็นการฟื้นตัวที่ค่อยๆ เกิดขึ้น ประมาณได้ว่าปะการังโขดที่ฟอกขาวสามารถ ฟื้นตัวได้ราว 50-75% (นั่นคือ ประมาณหนึ่งในสี่ถึงครึ่งหนึ่งได้ตายไป) แนวปะการังบริเวณหมู่เกาะสุรินทร์ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2553 มีความสมบูรณ์มาก แต่หลังจากเกิดการฟอกขาว ได้ดำเนินการตรวจสอบซ้ำในเดือนธันวาคม พ.ศ.2553 พบว่าแนวปะการังกลับอยู่ในสภาพเสียหายมาก ในขณะที่กลุ่ม ปะการังเขากวางและปะการังโต๊ะ (Acropora spp.) ในแนวปะการังบริเวณเกาะสิมิลัน ตายเป็นจำนวนมากเช่นกัน ปะการังโขด (Porites lutea) เริ่มกลับมามีสีน้าตาล เมื่ออุณหภูมิน้าลดลงสู่ปกติในปลายเดือนมิถุนายน (ซ้าย) และจากการประเมินในหลายพื้นที่ พบว่าปะการังโขด (P. lutea) ตายจากการฟอกขาว 25-50% (ขวา)
  • 6. 6 แนวปะการังบริเวณหมู่เกาะสุรินทร์ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2553 มีความสมบูรณ์มาก (ซ้าย) หลังจากเกิดการฟอกขาวทาให้แนวปะการังกลับอยู่ในสภาพเสียหายมาก (ขวา) แนวปะการังตามเวิ้งอ่าวทางฝั่งตะวันตกของเกาะต่างๆ ทางฝั่งทะเลอันดามัน ได้รับอิทธิพลจากคลื่นใต้น้ำ (internal waves) เป็นครั้งคราว ทำให้อุณหภูมิน้ำทะเลไม่สูงตลอดเวลา ผลกระทบจากปะการังฟอกขาวจึงไม่รุนแรงมาก ทำให้ มีปะการังมีชีลิตรอดอยู่ได้มากกว่าชายฝั่งด้านอื่นของเกาะ และจากการสำรวจในแหล่งท่องเที่ยวสำคัญหลายพื้นที่ ในช่วงเดือนกันยายน-ธันวาคม พ.ศ. 2553 โดยเฉพาะที่หมู่เกาะพีพี (จังหวัดกระบี่) เกาะ-ราชา (จังหวัดภูเก็ต) เกาะไข่ นอก และหมู่เกาะสุรินทร์-สิมิลัน (จังหวัดพังงา) พบว่าในแนวปะการังแต่ละแห่งได้รับผลกระทบจากการฟอกขาวและ เกิดความเสียหายค่อนข้างมาก แนวปะการังตามเวิ้งอ่าวทางฝั่งตะวันตกของเกาะต่างๆ ทางฝั่งทะเลอันดามัน ได้รับอิทธิพลจากคลื่นใต้น้ำ (internal waves) ผลกระทบจากปะการังฟอกขาวจึงไม่รุนแรงมาก
  • 7. 7 จากตารางจะเห็นว่า จากการสำรวจในสถานีศึกษาจำนวน 27 แห่ง มีปะการังที่มีชีวิตเหลืออยู่ในช่วง 0.1 – 66.3% (เฉลี่ย 13.9%+13.33 ) อัตราการตายของปะการัง (คิดเป็นเปอร์เซ็นต์สัมพัทธ์กับปริมาณปะการังที่มีชีวิตที่มีอยู่เดิม) กระจายอยู่ในช่วง 26 – 100% (เฉลี่ย 68.8%+22.5) โดยมีข้อสังเกตว่าแหล่งที่ได้รับผลกระทบน้อยมากคือที่อ่าวฝั่ง ตะวันตก (อ่าวพลับพลา) ของเกาะราชาใหญ่ อ่าวฝั่งทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะปายู ทั้งสองแห่งนี้มีปะการังสี น้ำเงิน (Heliopora coerulea) เป็นชนิดที่ขึ้นเด่นในพื้นที่ (dominant species) ซึ่งปะการังชนิดนี้สามารถต้านต่อ การฟอกขาวได้ดี อ่าวที่พบผลกระทบจาการฟอกขาวค่อนข้างน้อยอีกแห่งหนึ่งคือ อ่าวลาน้า ซึ่งอยู่ทางฝั่งตะวันตก เฉียงเหนือของเกาะพีพีดอน ในอ่าวแห่งนี้ยังพบปะการังกลุ่มเขากวางและปะการังโต๊ะ (Acropora spp.) เหลืออยู่ ค่อนข้างมาก ในขณะที่พื้นที่อื่นปะการังในสกุลนี้หลงเหลืออยู่น้อยมากหลังจากการฟอกขาว สาเหตุที่ปะการังในอ่าว ลาน้าได้รับผลกระทบไม่รุนแรงมากนัก อาจเนื่องจากเป็นจุดที่รับคลื่นและมวลน้ำที่พัดมาจากทะเลเปิดทางฝั่งตะวันตก ทำให้อุณหภูมิไม่สูงตลอดเวลา ซึ่งลักษณะนี้ยังพบที่อ่าวฝั่งตะวันตกของเกาะราชาใหญ่ และในเวิ้งอ่าวตามหมู่เกาะสิมิ ลัน และยังมีข้อน่าสังเกตอีกแห่งหนึ่ง คือที่เกาะราชาใหญ่ฝั่งตะวันออกตอนกลาง มีอัตราการตายค่อนข้างน้อยเช่นกัน แท้ที่จริงแล้ว บริเวณนี้มีปะการังโขด (Porites lutea) เป็นชนิดเด่น พบว่ามีการฟอกขาวมาก แต่มีการฟื้นตัวได้ดีเมื่อ อุณหภูมิน้ำลดลง
  • 8. 8 ตารางปริมาณปกคลุมพื้นที่ (%) ของปะการังที่มีชีวิตก่อนและหลังการฟอกขาวปี พ.ศ.2553 และอัตราการตาย ของปะการัง (%) ณ สถานีสารวจซึ่งเป็นแปลงสารวจถาวรที่มีการติดตามตรวจสอบอย่างต่อเนื่องในระยะยาว
  • 9. 9 หมายเหตุ 1.แปลงสำรวจ เป็นแปลงขนาดยาว 100 เมตร อยู่บนโซนลาดชัน (reef slope) ณ ความลึกที่แตกต่างกัน ไปในแต่ละแห่ง (เฉลี่ยอยู่ในช่วง 3-10 เมตร) 2.ข้อมูลก่อนการฟอกขาว สำรวจในช่วงต้นปี พ.ศ. 2553 (ยกเว้นของ กลุ่มเกาะสิมิลัน ซึ่งสำรวจในปลายปี พ.ศ.2550) ข้อมูลหลังการฟอกขาว สำรวจในช่วงปลายปี พ.ศ.2553 จากการที่แนวปะการังได้รับความเสียหายจากการฟอกขาวอย่างรุนแรงในปี พ.ศ.2553 นี้ ทำให้สภาพแนวปะการัง เปลี่ยนแปลงไปเป็นอันมาก แนวปะการังหลายแห่งเปลี่ยนจากสภาพสมบูรณ์ไปเป็นสภาพเสียหายมาก การฟื้นตัวของ แนวปะการังจะเกิดขึ้นได้โดยขบวนการทางธรรมชาติ โดยโคโลนีของปะการังที่ยังหลงเหลืออยู่เจริญเติบโตต่อไป และ จากการเข้ามาลงเกาะใหม่ของตัวอ่อนปะการัง ซึ่งอาจเป็นตัวอ่อนที่ได้จากแม่พันธุ์ที่อยู่ภายในแนวปะการังนั้น หรือมา จากแหล่งอื่นที่อยู่ใกล้เคียงหรือห่างไกลออกไป ดังนั้นการจัดการพื้นที่จึงต้องครอบคลุมเป็นพื้นที่กว้าง เพราะแนว ปะการังถึงแม้มิใช่เป็นผืนเดียวกัน แต่ก็มีความเชื่อมโยงกัน เพราะต้องอาศัยตัวอ่อนที่แพร่กระจายไปตามกระแสน้ำ ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับแนวปะการังครั้งนี้ แน่นอนที่สุดในแต่ละพื้นที่ใช้เวลาแตกต่างต่างกันในการฟื้นตัวกลับคืนสู่ สภาพดีดังเดิม จากเหตุการณ์ปะการังฟอกขาวในปี พ.ศ.2534 และ 2538 ที่ก่อให้เกิดความเสียหายค่อนข้างรุนแรง (แต่รุนแรงน้อยกว่าปี พ.ศ.2553 มาก) แนวปะการังใช้ระยะเวลาอย่างน้อย 5 ปี ถึงจะมีปะการังสภาพดีขึ้นได้ แต่นั่นก็ ต้องเป็นแหล่งที่มีการรบกวนจากมนุษย์น้อยมาก อย่างไรก็ตาม ในบางพื้นที่ถึงแม้ว่ามีการฟื้นตัวเกิดขึ้น แต่ องค์ประกอบของประชาคม (coral community) อาจจะเปลี่ยนไปจากเดิม เช่น กรณีของแนวปะการังบริเวณชายฝั่ง หน้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ที่เคยมีปะการังเขากวางเด่นบนโซนลาดชัน (ณ ระดับความลึก 8 – 15 ม.) เมื่อได้รับความเสียหายจากการฟอก-ขาวในปี พ.ศ.2538 ทำให้ปะการังเขากวางตายไปมาก ซึ่งจากการติดตาม สำรวจในจุดเดียวกันอย่างต่อเนื่อง พบว่าแนวปะการังนั้นใช้เวลานานเกือบ 20 ปีจึงจะมีปะการังที่มีชีวิตขึ้นได้ หนาแน่นเหมือนก่อนหน้าที่จะได้รับผลกระทบจากการฟอกขาวในปี พ.ศ.2534 การสำรวจหลังการฟอกขาวของปะการังคราวนี้ ได้พบโคโลนีวัยอ่อน (ขนาดเล็กกว่า 5 ซม.) ของปะการังใน สกุล Acropora spp. ขึ้นในหลายพื้นที่ แสดงให้เห็นว่าสิ่งแวดล้อมในแนวปะการังเหล่านั้นยังอยู่ในสภาวะที่ เอื้ออำนวยต่อการลงเกาะและการเจริญเติบโตของตัวอ่อน มีอยู่เพียงแห่งเดียวที่น่าเป็นห่วง คือบริเวณฝั่งตะวันออก ของเกาะเมียง (หาดเล็ก) ซึ่งไม่พบปะการังวัยอ่อนเลย แต่กลับพบว่ามีสาหร่ายในกลุ่ม blue-green algae (cyanobacteria) ขึ้นคลุมบนซากปะการังที่ตายจากการฟอกขาว สิ่งนี้ เป็นข้อบ่งชี้ถึงมวลน้ำที่ไม่สะอาด สาเหตุอาจ เกิดจากของเสียที่ถูกถ่ายเทลงน้ำ โดยเฉพาะของเสียจากเรือที่จอดอยู่เป็นจำนวนมากในบริเวณนั้น รวมทั้งอาจเป็น ของเสียที่ไหลซึมผ่านชั้นดินเนื่องจากพื้นที่นั้นไม่ไกลจากที่พักของนักท่องเที่ยว ฉะนั้นการจัดการพื้นที่เพื่อให้คุณภาพ น้ำดีเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ทางอุทยานแห่งชาติต้องจัดการ
  • 10. 10 นักวิจัยสารวจปะการังวัยอ่อน (juvenile coral) ที่เริ่มเจริญเติบโตในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ จากปะการังฟอกขาว เป็นปะการังสกุล Acropora (ปะการังเขากวาง) และ Favia (ปะการังวงแหวน) ในการติดตามศึกษาหลังการฟอกขาวครั้งนี้ ได้ติดตามตรวจสอบการอุบัติของโรค (coral disease) ด้วย พบว่าโรคด่าง ขาว (white band disease) มักเกิดขึ้นโดยเฉพาะกับปะการังดาวใหญ่ (Diploastrea heliopora) ปะการังที่เกิดโรค ด่างขาวจะค่อยๆ ตายไป และยังพบโรคจุดขาว (white spot) มากขึ้นหลังจากเหตุการณ์ฟอก-ขาวผ่านไป โดยโรคนี้ มักพบในปะการังโขด (Porites lutea) จะมีการติดตามตรวจสอบต่อไปว่าโรคนี้ทำให้ปะการังตายหรือไม่และระดับ ของผลกระทบที่เกิดขึ้น ปะการังดาวใหญ่ (Diploastrea heliopora) เกิดโรคแถบขาว (ซ้าย) และปะการังโขด (P. lutea) เกิดโรคจุด ขาว (ขวา ) ผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม 1. ปะการังเกิดความเสื่อมโทรม ส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยว
  • 11. 11 2. ปะการังฟอกขาวทำให้แนวปะการังเสื่อมโทรม ส่งผลให้กระทบต่อสมดุลในระบบนิเวศแนวปะการัง โดยเฉพาะ อย่างยิ่งโครงสร้างประชาคมปลาในแนวปะการังและสิ่งมีชีวิตในแนวปะการังชนิดอื่นๆ 3. เพิ่มอัตราการกร่อนทางชีวภาพ (bioerosion) และทำลายโครงสร้างของแนวปะการัง 4. สังคมสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ อาจเจริญเติบโตแทนที่แนวปะการังเดิม การบริหารจัดการ 1. สร้างความรู้ ความเข้าใจแก่ประชาชน นักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว ผู้ใช้ประโยชน์จากแนวปะการัง เพื่อให้ทราบสถานการณ์ของแนวปะการังฟอกขาว ผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ การรณรงค์ให้ ผู้ประกอบการธุรกิจดำน้ำดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 2. ลดผลกระทบจากกิจกรรมการท่องเที่ยวที่ส่งผลกระทบต่อแนวปะการัง ด้วยการกำหนดพื้นที่ รูปแบบกิจกรรม และ ข้อควรปฏิบัติที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้ประโยชน์ต่างๆ ทั้งนี้ ทางกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และกรมอุทยานฯ สามารถนำรูปแบบวิธีการดำเนินงานของโครงการกรีนฟินส์ไปใช้ 3. ผลักดันให้เรือท่องเที่ยวปรับปรุงเรือ โดยให้มีถังกักเก็บของเสียในเรือ มิให้มีการปล่อยของเสียลงในแนวปะการัง โดยตรง เพื่อลดปัญหาการแพร่ของเชื้อโรคหรือปริมาณสารอาหารในแนวปะการัง 4. มีการจัดการอย่างเข้มงวดเพื่อลดปริมาณตะกอนจากแผ่นดินลงสู่ทะเล เช่น ควบคุมการเปิดหน้าดิน และกำหนด มาตรการป้องกันการกัดเซาะหน้าดินบนเกาะที่มีแนวปะการัง 5. กำหนดมาตรการป้องกันกิจกรรมประมงที่ส่งผลกระทบต่อแนวปะการัง โดยเฉพาะการลักลอบจับปลาสวยงาม และปลากินพืชในแนวปะการังในเขตอุทยานแห่งชาติ โดยต้องมีการตรวจตราป้องกันการกระทำผิดอย่างเข้มงวด 6. ปิดพื้นที่ไม่ให้มีการใช้ประโยชน์ใดๆ ในพื้นที่แนวปะการังที่จำเป็นต้องได้รับการคุ้มครองอย่างเข้มงวด เช่น บาง บริเวณในเขตอุทยานแห่งชาติ 7. นำแผนแม่บทการจัดการอุทยานแห่งชาติ ที่เคยมีการทำไว้แล้วมาใช้อย่างจริงจัง 8. จัดสร้างแหล่งดำน้ำใหม่ หรือปะการังเทียมเสริมในบริเวณที่เหมาะสม เพื่อลดการใช้ประโยชน์ในแนวปะการัง
  • 12. 12
  • 13. 13
  • 14. 14 วิธีดาเนินงาน แนวทางการดาเนินงาน 1 คิดหัวข้อโครงงานเพื่อนำเสนอครูที่ปรึกษาโครงงาน 2 ศึกษาและค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สนใจ คือเรื่องปะการังฟอกขาว ว่ามีเนื้อหามากน้อยเพียงใด และต้องศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเพียงใดจากเว็บไซต์ต่างๆ และเก็บข้อมูลไว้เพื่อจัดทำเนื้อหาต่อไป 3จัดทำโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์เพื่อนำเสนอครูที่ปรึกษา 4 ปฏิบัติการจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่องปะการังฟอกขาว 5 นำเสนอรายงานความก้าวหน้าเป็นระยะๆ โดยแจ้งให้ครูที่ปรึกษาโครงงานเข้าไปตรวจความก้าวหน้าของ โครงงานผ่านของเรา ซึ่งครูที่ปรึกษาจะให้ข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อให้จัดทำเนื้อหาและการนำเสนอที่น่าสนใจ ต่อไป ทั้งนี้เมื่อได้รับคำแนะนำก็จะนำมาปรับปรุง แก้ไขให้เป็นที่สนใจยิ่งขึ้น 6 ประเมินผลงาน โดยการนำเสนอผ่าน powerpoint แล้วให้ครูที่ปรึกษาประเมินผลงาน เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ 1 เครื่องคอมพิวเตอร์ พร้อมเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 2 เว็บไซต์ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร เช่น www.facebook.com www.hotmail.com www.google.com 3 โปรแกรมตัดต่อและตกแต่งรูปภาพ เช่นAdobe Photoshop CS4 และ PhotoScape2.0
  • 15. 15 ขั้นตอนและแผนดาเนินงาน ลาดับ ที่ ขั้นตอน สัปดาห์ที่ ผู้รับผิดชอบ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 1 คิดหัวข้อโครงงาน √ √ 2 ศึกษาและค้นคว้าข้อมูล √ √ 3 จัดทำโครงร่างงาน √ √ 4 ปฏิบัติการสร้างโครงงาน √ √ √ √ √ 5 ปรับปรุงทดสอบ √ 6 การทำเอกสารรายงาน √ √ 7 ประเมินผลงาน √ 8 นำเสนอโครงงาน √ ผลที่คาดว่าจะได้รับ ต้องการให้บุคคลทั่วไปได้รู้ลักษณะจาเพาะของปะการัง ชนิดของปะการัง เขตที่อยู่ของปะการังและแนว ปะการัง สาเหตุของการเกิดปะการังฟอกขาว ผลกระทบของการเกิดปะการังฟอกขาว และวิธีการป้องกันวิธีการ อนุรักษ์การเกิดปะการังฟอกขาว สถานที่ดำเนินการ กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง - กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ - กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม แหล่งอ้างอิง (เอกสาร หรือแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ที่นำมาใช้การทำโครงงาน) - https://sites.google.com/site/madupakarang/home/pakarang-fxk-khaw-khux-xari - http://nstda.or.th/rural/public/100%20articles-stkc/15.pdf - http://marinegiscenter.dmcr.go.th/km/coral-blenching/#.VFtV9_mUcnc - http://www.acr.ac.th/acr/ACR_E- Learning/CAREER_COMPUTER/COMPUTER/M4/ComputerProject/content1.html