SlideShare a Scribd company logo
1 of 16
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
รหัสวิชา ง33202 ชื่อวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 6
ปีการศึกษา 2558
ชื่อโครงงาน พริกขี้หนูกาจัดมด (Paprika get rid of ants)
ชื่อผู้ทาโครงงาน
นางสาว รุ่งธิดา ดรุณชูวงศ์ เลขที่ 40
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ห้อง 7
อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน
คุณครู เขื่อนทอง มูลวรรณ์
ระยะเวลาดาเนินงาน ภาคเรียนที่ 1-2 ปีการศึกษา 2558
โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34
ใบงาน
การจัดทาข้อเสนอโครงงานคอมพิวเตอร์
สมาชิกในกลุ่ม
นางสาว รุ่งธิดา ดรุณชูวงศ์ เลขที่ 40
ชื่อโครงงาน (ภาษาไทย)
พริกขี้หนูกําจัดมด
ชื่อโครงงาน (ภาษาอังกฤษ)
Paprika get rid of ants
ประเภทโครงงาน โครงงานประเภทจําลองทฤษฎี (Theory Experiment)
ชื่อผู้ทาโครงงาน นางสาว รุ่งธิดา ดรุณชูวงศ์
ชื่อที่ปรึกษา คุณครู เขื่อนทอง มูลวรรณ์
ระยะเวลาดาเนินงาน 2 สัปดาห์ 2 วัน
ที่มาและความสาคัญของโครงงาน
ในปัจจุบันนี้ มีมดอยู่เป็นจํานวนมากและขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว มดเป็นแมลงที่มีประชากร
มากกว่ามนุษย์ด้วยซ้ําไป มดเป็นแมลงที่จะคอยสร้างความรําคาญและความหงุดหงิดให้แก่คนมาก มดมี
หลากหลายชนิด หลากหลายประเภท และหลากหลายวรรณะ มีทั้ง มดคันไฟ มดแดงไฟ มดตะนอย มดลิ้น
งูเห่า มดดํา มดง่าม ฯลฯ ซึ่งแหล่งที่เรามักจะพบมดบ่อยๆ คือ ตามที่แห้งบริเวณที่เป็นซอก รอยแตกของพื้น
ปูน พื้นไม้ ตามต้นไม้ แม้แต่ในบ้านเราก็พบมดเช่นกัน ผู้จัดทําจึงคิดหาวิธีการกําจัดมดด้วยวิธีทางธรรมชาติ วิธี
ที่ไม่ต้องใช้สารเคมีที่จะเกิดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและร่างกายของคน สัตว์ และพืช ขึ้นมา จากการศึกษาจาก
แหล่งข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านเอกสาร ผู้ปกครอง หรือเว็บไซต์ต่างๆทางอินเทอร์เน็ต ผู้จัดทําก็พบว่า ส่วน
ใหญ่ผู้คนจะใช้กลุ่มผักที่มีฤทธิ์ร้อนมากําจัดมดเป็นส่วนมาก ซึ่งผู้จัดทําก็จะนําสารบางชนิดจากสมุนไพรที่มีฤทธิ์
ร้อนมาสกัดเป็นสารกําจัดมด ในการทดลองหาสารกําจัดมดครั้งนี้ ผู้จัดทําจึงเลือกใช้พริกขี้หนูเป็นสารกําจัดมด
และยังคิดนํา ผิวมะกรูด ขิง พริกขี้หนูแห้ง และกระชาย เข้ามาช่วยกําจัดมดด้วย
นอกจากนี้แล้วผู้จัดทํายังต้องการที่จะนําพืชสมุนไพรที่หาง่ายตามท้องตลาดเข้ามาช่วยกําจัดมดด้วย
โดยจะนํามาเป็นส่วนผสมของสารละลายพริกขี้หนูอีกมากมายหลากหลายชนิด โดยจะเปรียบเทียบว่าสูตร
กําจัดมดชนิดไหนดีที่สุด ผลการศึกษาจะได้นําไปเป็นแนวทางในการเรียนรู้ระดับสูงต่อไป
วัตถุประสงค์ของการจัดทาโครงงาน
1. เพื่อศึกษาหาความเข้มข้นจากสารละลายพริกที่เหมาะสมในการกําจัดมด
2. เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสารละลายพริก สูตร 1 สูตร 2 สูตร 3 สูตร 4 และสูตร 5 ถึงความ
เหมาะสมในการกําจัดมด
ขอบเขตของการจัดทาโครงงาน
สารสกัดที่ได้จาก พริกขี้หนู สบู่กรด ผิวมะกรูด ขิง พริกขี้หนูแห้ง และกระชาย ต้องนํามาทดลองกําจัด
มด
หลักการและทฤษฎี
1. มด
มด เป็นสัตว์ในวงศ์ FORMICIDAE อันดับ HYMENOPTERA มีจํานวนชนิดมากกว่า 12,000 ชนิด โดยพบมาก
ในเขตร้อนของโลก มดมีการสร้างรังเป็นอาณาจักรขนาดใหญ่ บางรังมีจํานวนประชากรมากถึงล้านตัว มีการ
แบ่งวรรณะกันทําหน้าที่คือ วรรณะมดงาน เป็นมดเพศเมียเป็นหมัน ทําหน้าที่หาอาหาร สร้างและซ่อมแซมรัง
ปกป้องรังจากศัตรู ดูแลตัวอ่อน และงานอื่นๆ ทั่วไป เป็นวรรณะที่พบได้มากที่สุด วรรณะสืบพันธุ์ เป็นมดเพศผู้
และราชินี เพศเมีย มีหน้าที่สืบพันธุ์ เนื่องจากมดเป็นสัตว์ในวงศ์ FORMICIDAE จึงสามารถผลิตกรดมดหรือกรด
ฟอร์มิกได้เป็นลักษณะเฉพาะของสัตว์ในวงศ์นี้
กายวิภาคของมด
ส่วนหัว
 หนวด
หนวด ของมดนั้นแตกต่างจากแมลงกลุ่มอื่น คือ หนวดของมดจะม้วนเข้าศอก เว้นแต่มดสายพันธุ์
FOMISINTOS ที่จะมีลักษณะการม้วนหนวดเหมือนแมลงชนิดอื่นๆ หนวดมด มีหน้าที่รับรู้สื่อสารและรายงาน
สถานภาพต่างๆของบริเวณนั้นๆ ในการสื่อสารมดจะใช้หนวดมาสัมผัสกันเป็นการสื่อสารแบบ ลอย (EMANDO)
หนวดของมดจะแบ่งออกเป็นปล้องๆ ซึ่งแล้วแต่ประเภท วรรณะของมด
 ตา
แบ่งได้เป็นสองประเภทคือ ตารวมและ ตาเดี่ยว
ตารวม คือ ตาที่มีอยู่เป็นคู่ อาจมีลักษะอื่นๆด้วย เช่น ตาเป็นมี ตา 2คู่ และไม่จําเป็นต้องอยู่บริเวณ
ข้างหน้าเสมอไป มดส่วนใหญ่จะมีตาเป็นประเภทตารวม
ตาเดี่ยว คือ ตาที่ไม่ใช่คู่ ส่วนใหญ่ จะมีสามตา และอยู่บริเวณล่างของหนวด
มดส่วนใหญ่จะมีตารวม บางชนิดไม่มีตารวมตั้งอยู่บริเวณส่วนหน้า หรือด้านข้างของส่วนหัว มีขนาด
ตั้งแต่เป็นจุดเล็ก ๆ จนถึงขนาดใหญ่ ส่วนมากเป็นรูปวงกลม มีบ้างที่เป็นรูปวงรีหรือรูปไต มีหน้าที่สําหรับการ
มองเห็น ส่วนตาเดี่ยวโดยทั่วไปมี 3 ตา อยู่เหนือระหว่างตารวม ส่วนมากพบในเพศผู้และราชินี สําหรับมดงาน
พบมากในมดเขตหนาว ไม่ได้ใช้ในการมองเห็น
 ปาก
ปากของ มดจะมีอยู่สองลักษณะ คือ แบบกัดกิน (THORAX) และ ปากแบบลักษะดูด (THERESE)
ปากแบบกัดกิน จะมีลักษณะเป็นฟันสองซี่ จะคมมาก มีกรามที่แข็งแรงและขนาดใหญ่ เป็นส่วนที่
เห็นชัดที่สุดรูปสามเหลี่ยม กึ่งสามเหลี่ยมหรือเป็นแนวตรงถือเป็นอวัยวะที่สําคัญในการจับเหยื่อและ ป้องกันตัว
ทําให้มดส่วนใหญ่เป็นพวกกินสัตว์ พบได้ในมดงาน
ปากแบบลักษณะดูด จะมีไว้สําหรับ ดูดน้ําหวาน ตามเกสร พบในมดเพศเมีย และมดราชินี
ร่องพักหนวด เป็นร่วมหรือแอ่งยาวคล้ายรอยพิมพ์ อยู่บริเวณหน้าของส่วนหัว เป็นที่เก็บหนวดขณะที่
ไม่ได้ใช้ โดยทั่วไปมี 1 คู่ มีลักษณะแตกต่างกันตั้งแต่เป็นร่องตื้น ๆ ไปถึงร่องลึกเห็นชัดเจน บางชนิดไม่มีร่องพัก
หนวดนี้
ส่วนกลาง
ส่วนกลางเป็นส่วนที่เชื่อมต่อระหว่าง ส่วนท้อง และส่วนหัว โดยมากจะเป็นทรงกระบอก อาจมีตุ่ม
หนามอยู่ด้วย เป็นส่วนที่สองของลําตัวมดเป็นรูปทรงกระบอก อกของมดจะไม่ใช้คําว่า THORAX แต่จะใช้
ALITRUNK แทน เนื่องจากอกของมดประกอบด้วย อกปล้องแรก อกปล้องที่ 2 และอกปล้องที่ 3 แต่อกปล้องที่ 3
นี้จะรวมกับท้องปล้องที่ 1 ซึ่งเรียกว่า PROPODEUM ส่วนอกจะเป็นที่ตั้งของส่วนขาและปีก (สําหรับราชินีและมด
เพศผู้) มดงานจะมีส่วนอกปกติ ยกเว้นมดราชินีมีอกขนาดใหญ่กวา ปีกจะพบที่มดเพศผู้และมดเพศเมียเท่านั้น
มดบางชนิดอกปล้องที่ 1 อกปล้องที่ 2 เชื่อมติดกันเชื่อมติดกัน เช่นเดียวกับอกปล้องที่ 3 กับปล้องที่ 1 มดบาง
ชนิดสันหลังอกมีหนามหรือตุ่มหนาม บางชนิดอาจเป็นแผ่นคล้ายโล่ห์ ขาของมดส่วนมากค่อนข้างยาว ทําให้
เคลื่อนไหวได้คล่องแคล่วว่องไวมาก ความยาวของขาและรูปร่างของมดนั้นจะถูกกําหนดโดยพฤติกรรมต่างๆ
ส่วนท้อง
เป็นส่วนที่อยู่ท้ายสุดของมด บางชนิดจะแตกออกเป็น 2 ส่วน เรียกว่า WASTED TWIN ซึ่งมดบางชนิดอาจมี
เหล็กใน และบางชนิดก็มีช่องไว้ปล่อยสารป้องกันตัว เป็นส่วนที่ 3 มดมี 1 หรือ 2ปล้องขึ้นอยู่กับกลุ่มมด อาจมี
1ปล้องคือ PETIOLEเป็นปล้องที่ 2 ของส่วนท้องอาจเป็นปุ่ม หรือแผ่น ส่วนถ้ามี 2 ปล้องคือ PETIOLE และ POST
PETIOLE เป็นปล้องที่ 2กับปล้องที่ 3 POSTPETIOLE อาจเป็นปุ่มหรือรูปทรงกระบอกก็ได้ มดบางชนิด PETIOLE มี
หนาม 1 คู่ ส่วนท้ายของลําตัว เรียก GASTER โดยทั่วไปมีรูปร่างกลม แต่บางชนิดเป็นรูปหัวใจ หรือรูป
ทรงกระบอก ปลายส่วนท้องของมดงานส่วนใหญ่มีเหล็กใน บางชนิดสามารถทําให้เกิดอาการเจ็บปวดได้
สําหรับบางชนิดไม่มีเหล็กใน ก็จะเปิดเป็นช่อง สําหรับขับสาร
(HTTP://WWW.TH.WIKIPEDIA.ORG/WIKI/%E0%B8%A1%E0%B8%94)
2. พริกขี้หนู
ชื่อสามัญ : Bird Chili
ชื่อวิทยาศาสตร์: Capsicum frutescent Linn
ชื่อวงศ์ : SOLANACEAE
ชื่ออื่น ๆ : พริกแด้ พริกแต้ พริกนก พริกแจว พริกน้ําเมี่ยง (เหนือ - พายัพ) พริก พริกชี้ฟ้า พริกขี้หนู
(ภาคกลาง -เหนือ) ดีปลี (ใต้ - ปัตตานี) ดีปลีขี้นก พริกขี้นก ใต้ (ภาคใต้) ลัวะเจีย (แต้จิ๋ว) มะระตี้ (สุรินทร์) ล่า
เจียว (จีนกลาง) หมักเพ็ด (อีสาน)
สรรพคุณ
ผล: ใช้ปรุงรสอาหาร ช่วยเจริญอาหาร และรักษาอาการอาเจียน รักษาโรคหิด กลาก รักษาโรคบิด โดย
การใช้พริกสด 1เม็ดหรือมากกว่านั้นใช้กิน และอาการปวดบวมเนื่องจากความเย็นจัด โดยใช้ผงพริกแห้งทําเป็น
ขี้ผึ้ง หรือสารละลายแอลกอฮอล์ใช้ทา
อื่น ๆ: พรรณไม้นี้เป็นพรรณไม้สวนครัวที่ขาดกันไม่ได้ เป็นพรรณไม้ที่ขึ้นง่าย แต่บํารุงรักษายาก เพราะใบ
อ่อนของพริกอร่อย ทําให้แมลงต่าง ๆ ชอบกิน ผลแรกผลิใช้ผสมกับผักแกงเลียงช่วยชูรส ส่วนผลกลางแก่ใช้ใส่
แกงคั่วส้ม จะได้อาหารที่มีรสเปรี้ยวอ่อน ๆ เพราะมีวิตามีซี และไส้พริกจะมีสารแคบไซซิน ที่ให้ความเผ็ดและมี
กลิ่นฉุนเผ็ดร้อน เป็นเครื่องปรุงอาหารช่วยชูรส ใส่น้ําพริก ยํา ทําเป็นน้ําปลาดองและยังเป็นยาช่วยกระตุ้นทํา
ให้เจริญอาหาร บํารุงธาตุ หรือใช้ภายนอกเป็นยาทาถูนวดลดอาการไขข้ออักเสบ
ข้อมูลทางเภสัชวิทยา
สารสกัดจากพริก ใช้ทาลงบนผิวหนังจะทําให้หลอดเลือด ตามบริเวณนั้นขยายตัว และการไหลเวียน
ของเลือดเพิ่มขึ้น ถ้าใช้มากเกินไปอาจจะทําให้ระคายเคืองได้ ฤทธิ์ต่อต้านเชื้อแบคทีเรียและฆ่าแมลง แคบไซ
ซินจะมีผลยับยั้งเชื้อ Bacillus cereus และเชื้อ Bacillus subtilis แต่ไม่มีผลต่อเชื้อ Bacillus aureus และ
เชื้อ Bacillus coli นอกจากนี้สารที่สกัดจากพริก โดยวิธีการต้มด้วยน้ํา จะมีฤทธิ์ในการฆ่าแมลง ฤทธิ์ต่อระบบ
ทางเดินอาหาร แคบไซซิน ทําให้เจริญอาหาร และกินอาหารได้มากขึ้น พริกสามารถช่วยกระตุ้นทําให้การ
เคลื่อนไหวของกระเพาะอาหารสุนัขเพิ่มขึ้นและน้ําสกัดที่ได้จากพริก จะช่วยลดการบีบตัวของลําไส้เล็กส่วน
ปลาย ileum ของหนูตะเภาที่เกิดจากอะเซทิลโมลีนและฮีสตามีนได้ส่วนแคบไซซิน จะเพิ่มการบีบตัว ของ
ลําไส้เล็กส่วนปลาย ileum ของหนูตะเภา แต่ถ้าให้แคบไซซินซ้ําอีกครั้งในขนาดเท่า ๆ กัน จะมีผลน้อยมาก
หรือไม่มีผลเลย ผลต่อระบบไหลเวียนโลหิต แคบไซซิน ที่สกัดจากพริก สามารถกระตุ้นหัวใจห้องบนของหนู
ตะเภา แต่เมื่อฉีดเข้าทางหลอดเลือดดําของแมวและสุนัข จะทําให้ความดันโลหิต และหัวใจเต้นช้า หายใจขัด
และอาการพวกนี้จะหายไป เมื่อเราตัดเส้นประสาทเวกัสออก (Vagotomy) ส่วนแคบไซซิน จะเพิ่มความดัน
โลหิตในแมว ที่ถูกตัดหัวออก (decapitated cat) ถ้าฉีดเข้าในหลอดเลือดดําของแมวที่ถูกวางยาสลบ จะทําให้
ความดันโลหิตในปอดสูงขึ้น แต่เมื่อฉีดเข้าบริเวณหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจโดยตรง จะทําให้หลอดเลือดนั้นหด
ตัว และฤทธิ์ของแคบไซซินต่อหัวใจห้องบนของหนูตะเภานั้นจะเพิ่มทั้งความเร็ว และความแรงในการเต้น ฤทธิ์
อื่น ๆ หลังจากกินอาหารที่ใช้พริกขี้หนูแก่จัดสีแดงเป็นเครื่องปรุงแต่งนานประมาณ 3 สัปดาห์ จะทําให้สาร
กลุ่มคอร์ติโซน ในพลาสมาเพิ่มขึ้น และปริมาณที่ขับออกทางปัสสาวะก็จะเพิ่มขึ้น ส่วนสารที่สกัดได้จากพริก
ถ้าฉีดเข้าช่องท้องของหนูถีบจักร จะมีฤทธิ์กดประสาท ทําให้เดินเซ เล็กน้อย และชักตายได้ เมื่อฉีดเข้าหลอด
เลือดจะมีฤทธิ์กระตุ้นมดลูกของหนูขาว และมีฤทธิ์กระตุ้นปลายประสาทรับความรู้สึกทั่วไป
(http://www.the-than.com/samonpai/sa_7.html)
3. มะกรูด
ชื่อสามัญ: Porcupine Orange, Kiffir Lime, Leech Lime
ชื่อวิทยาศาสตร์:Citrus hystrix DC.
ชื่อวงศ์: RUTACEAE
ชื่อท้องถิ่น: มะขุน มะขูด (ภาคเหนือ) มะหูด (หนองคาย) ส้มกรูด ส้มมั่วผี (ภาคใต้) โกรยเซียด (เขมร)
มะขู (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน)
สารที่สาคัญ
ในใบและผลมะกรูด เมื่อนํามากลั่นด้วยไอน้ําจะให้น้ํามันหอม ระเหยในปริมาณ 0.08 % และ4 %
ตามลําดับ น้ํามันหอมระเหยจากผิวมะกรูดมักประกอบด้วยเบต้า-ไพนีน, ไลโมนีนและซาบินีน เป็นสารหลัก
ส่วนน้ํามันหอมระเหยจากใบจะประกอบด้วย ซีโทรเนลลาล ไอโซพูลิโกล และไลนาลูออล เป็นสารหลัก ส่วนใน
น้ํามะกรูดมีกรดซิตริก ไวตามินซี และกรดอินทรีย์ชนิดอื่น ๆ เป็นส่วนประกอบ
การนามาใช้
การใช้มะกรูดสระผมน่าจะรู้จักกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ วิธีการสระ บ้างก็ใช้ผลดิบผ่าแล้วบีบน้ําสระ
โดยตรง บ้างก็นําไปเผา หรือต้มก่อนสระ มะกรูดยังมีใช้ในพระราชพิธีสําคัญ เช่น พระราชพิธีโสกันต์ ซึ่งระบุไว้
ในพระราชพิธีสิบสองเดือนไว้ ว่าจะต้องมีผลมะกรูดและใบส้มป่อย ประกอบในพิธีด้วย เข้าใจว่าน่าจะใช้เพื่อ
การสระผมนั่นเอง และก็สามารถนําไปล้างพื้นได้ด้วย ซึ่งเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งเช่นกันน้ํามะกรูด มีรสเปรี้ยว
กลิ่นฉุนคล้ายใบ แต่ไม่ค่อยจะได้ประโยชน์กันมาก ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะหาได้ยากกว่า และได้น้ําน้อยกว่า
เพราะมะกรูดมีส่วนเปลือกที่หนา ขณะที่มะนาวหาได้ง่ายกว่า น้ํามากกว่า และรสชาติที่ถูกปากมากกว่า
อย่างไรก็ตาม มีอาหารบางชนิดที่นิยมใช้น้ํามะกรูดเช่นกัน นอกจากนั้น ในมะกรูดมีน้ํามันหอมระเหยอยู่มาก มี
กลิ่นฉุน ทั้งในใบ และผล บางครั้งสามารถนําไปใช้ไล่แมลงบางชนิด
(http://www.the-than.com/samonpai/sa_16.html)
4. ขิง
ชื่อสามัญ: Ginger
ชื่อวิทยาศาสตร์:Zingier officinal Roscoe
ชื่อวงศ์: Zingiberaceae
ชื่อสามัญ: Ginger
ชื่ออื่น: ขิงแกลง ขิงแดง (จันทรบุรี) ขิงเผือก (เชียงใหม่) สะเอ (แม่ฮ่องสอน) ขิงบ้าน ขิงแครง ขิงป่า
ขิงเขา ขิงดอกเดียว (ภาคกลาง) เกีย (จีนแต้จิ๋ว)
สารที่สาคัญ
ในเหง้าขิงมี น้ํามันหอมระเหยอยู่ประมาณ 1 - 3 % ขึ้นอยู่กับวิธีปลูกและช่วงการเก็บรักษา ในน้ํามัน
ประกอบด้วยสารเคมี ที่สําคัญคือ ซิงจิเบอรีน (Zingiberene) ซิงจิเบอรอล (Zingiberol) ไบซาโบลี
(bisabolene) และแคมฟีน(camphene) น้ํามัน (oleo - resin) ในปริมาณสูง เป็นส่วนที่ทําให้ขิงมีกลิ่นฉุน
และมีรสเผ็ด ส่วนประกอบสําคัญ ในน้ํามันซัน ได้แก่ จินเจอรอล (gingerol) โวกาออล (shogaol) ซิงเจอโรน
(zingerine) มีคุณสมบัติเป็นยากันบูด กันหืน ใช้ใส่ในน้ํามันหรือไขมัน เพื่อป้องกันการบูดหืน สารที่ทําให้ขิงมี
คุณสมบัติเป็นยากันบูด กันหืนได้คือ สารจําพวกฟีนนอลิค
(http://web.ku.ac.th/agri/jinsen/kingg.htm)
(http://www.horapa.com/content.php?Category=Herb&No=201)
(http://ramaclinic.ra.mahidol.ac.th/)
5. กระชาย
ชื่อวิทยาศาสตร์:Boesenbergia pundurata (R0xb) Schitr
วงศ์: Zinggberaceae
ชื่อท้องถิ่น: กะแอน ระแอน (ภาคเหนือ) ขิงทราย (มหาสารคาม) ว่านพระอาทิตย์ (กรุงเทพฯ)
สารที่สาคัญ
รากและเหง้ากระชายมีน้ํามันหอมระเหยซึ่งประกอบด้วยสารไพนีน แคมฟีน เมอร์ซีน ไลโมนีน บอร์
นีออล และการบูร เหง้าและรากของกระชายมีรสเผ็ดร้อนขม หมอยาพื้นบ้านในประเทศไทยใช้เหง้า และราก
ของกระชายแก้ปวดมวนในท้อง แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้ลมจุกเสียด แก้โรคกระเพาะ รักษาแผลในปาก แก้ตกขาว
กลาก เกลื้อน ใช้เมื่อมีอาการปวดข้อเข่า ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ บํารุงกําลัง และใช้บําบัดโรคกามตายด้านอีกด้วย
(http://web.ku.ac.th/agri/jinsen/kingg.htm)
(http://www.horapa.com/content.php?Category=Herb&No=201)
(http://ramaclinic.ra.mahidol.ac.th/)
การเข้าสู่ร่างกายของสารพิษ
สารพิษเข้าสู่ร่างกายได้ 3 ทาง คือ
1. ทางจมูก ด้วยการสูดดมไอของสาร ผลคือละอองของสารพิษปะปนเข้าไปกับลมหายใจ สารพิษบาง
ชนิดจะมีฤทธิ์กัดกร่อน ทําให้เยื่อจมูกและหลอดลมอักเสบหรือซึมผ่านเนื้อเยื่อเข้าสู่กระแสโลหิตทําให้
โลหิตเป็นพิษ
2. ทางปาก อาจจะเข้าปากโดยความสะเพร่า เช่น ใช้มือที่เปื้อนสารพิษหยิบอาหารเข้าปากหรือกินผัก
ผลไม้ที่มีสารพิษตกค้างอยู่ หรืออาจจะจงใจกินสารพิษบางชนิดเพื่อฆ่าตัวตาย เป็นต้น
3. ทางผิวหนัง เกิดอาการสัมผัสหรือจับต้องสารพิษ สารพิษบางชนิดสามารถซึมผ่านทางผิวหนังได้
เพราะเข้าไปทําปฏิกิริยาเกิดเป็นพิษแก่ร่างกาย
สารพิษเมื่อเข้าสู่ร่างกายทางใดก็ตาม เมื่อมีความเข้มข้นพอจะมีปฏิกิริยา ณ จุดสัมผัสและซึมเข้าสู่
กระแสโลหิต ซึ่งจะพาสารพิษไปทั่วร่างกายความสามารถในการสู่กระแสโลหิตนั้นขึ้นอยู่กับคุณสมบัติการ
ละลายของสารพิษนั้น สารพิษบางชนิดอาจถูกร่างกายทําลายได้ บางชนิดอาจถูกขับถ่ายออกทางไต ซึ่ง
จะมีผลกระทบต่อทางเดินปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะบางชนิดอาจถูกสะสมไว้ เช่น ที่ตับ ไขมัน
เป็นต้น
(https://web.ku.ac.th/schoolnet/snet6/envi3/san-pit/work1m.htm)
วิธีดาเนินการ
แนวทางการดาเนินงาน
จัดทําและนําเสนอโครงงานในรูปแบบของ MICROSOFT POWER POINT
เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้
 อุปกรณ์
เครื่องชั่ง 1 เครื่อง บีกเกอร์ ขนาด 250 มิลลิลิตร จํานวน 1 ใบ
ครก 1 ชุด กระชอน 2 อัน
ช้อน 4 คัน แก้วใส่สาร 9 ใบ
แก้วมีฝาปิดสําหรับใส่มด 15 ใบ ขวดใส่น้ําขนาดใหญ่ 1 ใบ
กระบอกฉีดสาร 5 กระบอก
โปรแกรม Microsoft Excel สําหรับคํานวณการแสดงผลแบบกราฟและแผนภูมิ
 วัสดุ
พริกขี้หนู 14 ขีด ผิวมะกรูด 2 ขีด
ขิง 2 ขีด พริกขี้หนูแห้ง 2 ขีด
กระชาย 2 ขีด น้ํา 1000 มิลลิลิตร
 วิธีการเตรียมสาร ในการทดลอง
ชุดที่ 1 ชั่งพริกขี้หนู 2 ขีด จํานวน 1 ชุด
ชุดที่ 2 ชั่งพริกขี้หนู 2 ขีด + ผิวมะกรูด 1 ขีด จํานวน 1 ชุด
ชุดที่ 3 ชั่งพริกขี้หนู 2 ขีด + ขิง 1 ขีด จํานวน 1 ชุด
ชุดที่ 4 ชั่งพริกขี้หนู 2 ขีด + พริกขี้หนูแห้ง 1 ขีด จํานวน 1 ชุด
ชุดที่ 5 ชั่งพริกขี้หนู 2 ขีด + กระชาย 1 ขีด จํานวน 1 ชุด
น้ําทั้งหมด 1000 มิลลิลิตร
วิธีการค้นคว้าทดลอง
 การเตรียมสารการทดลองสารละลายพริกสูตร 1
นําพริกขี้หนูที่ชั่งไว้ 2 ขีดชุดที่ 1 นํามาโขลกให้ละเอียด เติมน้ํา 200 มิลลิลิตร แล้วนําสารละลายพริก
สูตร 1 ไปกรองแยกกากพริกขี้หนูทิ้ง จะได้สารละลายพริกสูตร 1
วิธีทดลองสูตรที่ 1
1. นํามดดํามา 10 ตัว นําใส่แก้วมีฝาปิดไว้ทั้งหมด 3 แก้ว จะได้มดทั้งหมด 3 ชุด สําหรับการทดลอง 3
ครั้ง
2. นําสารละลายพริกสูตร 1 ใส่กระบอกฉีด
3. ฉีดสารละลายพริกสูตร 1 ใส่มดดําทั้ง 3 ใบทันที ใบละ 1 ครั้งเท่านั้น พร้อมจับเวลาถอยหลัง 3 นาที
4. สังเกตจํานวนที่มดตายในแต่ละครั้งที่ฉีดสาร
5. บันทึกผลการทดลองลงตารางไว้
 การเตรียมสารการทดลองสารละลายพริกสูตร 2
นําพริกขี้หนูที่ชั่งไว้ 2 ขีดชุดที่ 2 นํามาโขลกให้ละเอียด เติมน้ํา 100 มิลลิลิตร นําผิวมะกรูดที่ชั่งไว้ 1
ขีดผสมกับน้ํา 100 มิลลิลิตรบดให้ละเอียด หลังจากนั้นจึงนําสารละลายพริกขี้หนูและสารละลายผิวมะกรูดมา
ผสมกัน แล้วนําสารละลายพริกสูตร 2 ไปกรองแยกกากพริกขี้หนูและผิวมะกรูดทิ้ง จะได้สารละลายพริกสูตร 2
วิธีทดลองสูตรที่ 2
1. นํามดดํามา 10 ตัว นําใส่แก้วมีฝาปิดไว้ทั้งหมด 3 แก้ว จะได้มดทั้งหมด 3 ชุด สําหรับการทดลอง 3
ครั้ง
2. นําสารละลายพริกสูตร 2 ใส่กระบอกฉีด
3. ฉีดสารละลายพริกสูตร 2 ใส่มดดําทั้ง 3 ใบทันที ใบละ 1 ครั้งเท่านั้น พร้อมจับเวลาถอยหลัง 3 นาที
4. สังเกตจํานวนที่มดตายในแต่ละครั้งที่ฉีดสาร
5. บันทึกผลการทดลองลงตารางไว้
 การเตรียมสารการทดลองสารละลายพริกสูตร 3
นําพริกขี้หนูที่ชั่งไว้ 2 ขีดชุดที่ 3 นํามาโขลกให้ละเอียด เติมน้ํา 100 มิลลิลิตร นําขิงที่ชั่งไว้ 1 ขีดมา
โขลกให้ละเอียด เติมน้ํา 100 มิลลิลิตร หลังจากนั้นจึงนําสารละลายพริกขี้หนูและสารละลายขิงมาผสมกัน
แล้วนําสารละลายพริกสูตร 3 ไปกรองแยกกากพริกขี้หนูและขิงทิ้ง จะได้สารละลายพริกสูตร 3
วิธีทดลองสูตรที่ 3
1. นํามดดํามา 10 ตัว นําใส่แก้วมีฝาปิดไว้ทั้งหมด 3 แก้ว จะได้มดทั้งหมด 3 ชุด สําหรับการทดลอง 3
ครั้ง
2. นําสารละลายพริกสูตร 3 ใส่กระบอกฉีด
3. ฉีดสารละลายพริกสูตร 3 ใส่มดดําทั้ง 3 ใบทันที ใบละ 1 ครั้งเท่านั้น พร้อมจับเวลาถอยหลัง 3 นาที
4. สังเกตจํานวนที่มดตายในแต่ละครั้งที่ฉีดสาร
5. บันทึกผลการทดลองลงตารางไว้
 การเตรียมสารการทดลองสารละลายพริกสูตร 4
นําพริกขี้หนูที่ชั่งไว้ 2 ขีดชุดที่ 4 นํามาโขลกให้ละเอียด เติมน้ํา 100 มิลลิลิตร นําพริกขี้หนูแห้งที่ชั่งไว้
1 ขีดมาโขลกให้ละเอียด เติมน้ํา 100 มิลลิลิตร หลังจากนั้นจึงนําสารละลายพริกขี้หนูและสารละลายพริกขี้หนู
แห้งมาผสมกัน แล้วนําสารละลายพริกสูตร 4 ไปกรองแยกกากพริกขี้หนูและพริกขี้หนูแห้งทิ้ง จะได้สารละลาย
พริกสูตร 4
วิธีทดลองสูตรที่ 4
1. นํามดดํามา 10 ตัว นําใส่แก้วมีฝาปิดไว้ทั้งหมด 3 แก้ว จะได้มดทั้งหมด 3 ชุด สําหรับการทดลอง 3
ครั้ง
2. นําสารละลายพริกสูตร 4 ใส่กระบอกฉีด
3. ฉีดสารละลายพริกสูตร 4 ใส่มดดําทั้ง 3 ใบทันที ใบละ 1 ครั้งเท่านั้น พร้อมจับเวลาถอยหลัง 3 นาที
4. สังเกตจํานวนที่มดตายในแต่ละครั้งที่ฉีดสาร
5. บันทึกผลการทดลองลงตารางไว้
 การเตรียมสารการทดลองสารละลายพริกสูตร 5
นําพริกขี้หนูที่ชั่งไว้ 2 ขีดชุดที่ 5 นํามาโขลกให้ละเอียด เติมน้ํา 100 มิลลิลิตร นํากระชายที่ชั่งไว้ 1
ขีดมาโขลกให้ละเอียด เติมน้ํา 100 มิลลิลิตร หลังจากนั้นจึงนําสารละลายพริกขี้หนูและสารละลายกระชายมา
ผสมกัน แล้วนําสารละลายพริกสูตร 5 ไปกรองแยกกากพริกขี้หนูและกระชายทิ้ง จะได้สารละลายพริกสูตร 5
วิธีทดลองสูตรที่ 5
1. นํามดดํามา 10 ตัว นําใส่แก้วมีฝาปิดไว้ทั้งหมด 3 แก้ว จะได้มดทั้งหมด 3 ชุด สําหรับการทดลอง 3
ครั้ง
2. นําสารละลายพริกสูตร 5 ใส่กระบอกฉีด
3. ฉีดสารละลายพริกสูตร 5 ใส่มดดําทั้ง 3 ใบทันที ใบละ 1 ครั้งเท่านั้น พร้อมจับเวลาถอยหลัง 3 นาที
4. สังเกตจํานวนที่มดตายในแต่ละครั้งที่ฉีดสาร
5. บันทึกผลการทดลองลงตารางไว้
งบประมาณ
200 บาท (สองร้อยบาทถ้วน)
ขั้นตอนและแผนดาเนินงาน
ลาดับ
ที่
ขั้นตอน
สัปดาห์ที่ ผู้รับผิดชอบ
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16
1 คิดหัวข้อโครงงาน รุ่งธิดา
2 ศึกษาและค้นคว้าข้อมูล รุ่งธิดา
3 จัดทําโครงร่างงาน รุ่งธิดา
4 ปฏิบัติการสร้างโครงงาน รุ่งธิดา
5 ปรับปรุงทดสอบ รุ่งธิดา
6 การทําเอกสารรายงาน รุ่งธิดา
7 ประเมินผลงาน รุ่งธิดา
8 นําเสนอโครงงาน รุ่งธิดา
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. เมื่อมดโดนสารละลายพริกขี้หนูแล้ว มดตาย
2. สารละลายพริกขี้หนูที่ทํา จะสามารถใช้ได้จริง และไม่เป็นอันตรายต่อผิวหนัง
สถานที่ค้นคว้าทดลอง
1. ภายในบริเวณโรงเรียน ชุมชนข่วงเปาเหนือ
2. บ้านผู้ปกครอง และ เพื่อนบ้านของนักเรียน
กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง
วิชาวิทยาศาสตร์
- เคมี
- ชีววิทยา
แหล่งอ้างอิง
HTTP://WWW.TH.WIKIPEDIAORG/WIKI/%E0%B8%A1%E0%B8%94
http://www.the-than.com/samonpai/sa_7.html
http://www.the-than.com/samonpai/sa_16.html
http://web.ku.ac.th/agri/jinsen/kingg.html
http://ramaclinic.ra.mahidol.ac.th/
http://board.dserver.org/t/thaipr01/00000328.html
www.e-saanclassnet.org/etraining/file/1163414120-tedddddddddddddy.doc
www.pirun.ku.ac.th/g4786027/dowload/.../content235.2.doc
http://www.vcharkarn.com/project/view/584
http://www.maceducation.com/e-knowledge/2412212100/13.htm

More Related Content

What's hot

นำเสนอออกแบบการสอนโดยใช้ปรัชญา
นำเสนอออกแบบการสอนโดยใช้ปรัชญานำเสนอออกแบบการสอนโดยใช้ปรัชญา
นำเสนอออกแบบการสอนโดยใช้ปรัชญาKannika Kamma
 
รูปเล่มโครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดี
รูปเล่มโครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดีรูปเล่มโครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดี
รูปเล่มโครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดีอาภัสรา ยิ่งคำแหง
 
บท2ต่อมไร้ท่อ
บท2ต่อมไร้ท่อบท2ต่อมไร้ท่อ
บท2ต่อมไร้ท่อWichai Likitponrak
 
บท2สืบพันธุ์พืชดอก
บท2สืบพันธุ์พืชดอกบท2สืบพันธุ์พืชดอก
บท2สืบพันธุ์พืชดอกWichai Likitponrak
 
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2...
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2...รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2...
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2...Sircom Smarnbua
 
โครงงาน สุดยอดว่านหางจระเข้
โครงงาน สุดยอดว่านหางจระเข้โครงงาน สุดยอดว่านหางจระเข้
โครงงาน สุดยอดว่านหางจระเข้KuNg Pw
 
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง เชื้อเห็ดราเอคโตไมคอร์ไรซากับการเจริญเติบโตขอ...
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง เชื้อเห็ดราเอคโตไมคอร์ไรซากับการเจริญเติบโตขอ...รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง เชื้อเห็ดราเอคโตไมคอร์ไรซากับการเจริญเติบโตขอ...
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง เชื้อเห็ดราเอคโตไมคอร์ไรซากับการเจริญเติบโตขอ...Sircom Smarnbua
 
Lesson4animalrepro kr uwichai62
Lesson4animalrepro kr uwichai62Lesson4animalrepro kr uwichai62
Lesson4animalrepro kr uwichai62Wichai Likitponrak
 
งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1Pim Suttipa
 
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวก
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวกโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวก
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวกพัน พัน
 
2559 project
2559 project 2559 project
2559 project tup tup
 
โครงร่างโครงงานการแบ่งเซลล์
โครงร่างโครงงานการแบ่งเซลล์โครงร่างโครงงานการแบ่งเซลล์
โครงร่างโครงงานการแบ่งเซลล์Chayaporn Jongjumnien
 

What's hot (19)

นำเสนอออกแบบการสอนโดยใช้ปรัชญา
นำเสนอออกแบบการสอนโดยใช้ปรัชญานำเสนอออกแบบการสอนโดยใช้ปรัชญา
นำเสนอออกแบบการสอนโดยใช้ปรัชญา
 
รูปเล่มโครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดี
รูปเล่มโครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดีรูปเล่มโครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดี
รูปเล่มโครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดี
 
บท2ต่อมไร้ท่อ
บท2ต่อมไร้ท่อบท2ต่อมไร้ท่อ
บท2ต่อมไร้ท่อ
 
บท2สืบพันธุ์พืชดอก
บท2สืบพันธุ์พืชดอกบท2สืบพันธุ์พืชดอก
บท2สืบพันธุ์พืชดอก
 
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2...
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2...รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2...
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2...
 
โครงงาน สุดยอดว่านหางจระเข้
โครงงาน สุดยอดว่านหางจระเข้โครงงาน สุดยอดว่านหางจระเข้
โครงงาน สุดยอดว่านหางจระเข้
 
Cellularres tu
Cellularres tuCellularres tu
Cellularres tu
 
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง เชื้อเห็ดราเอคโตไมคอร์ไรซากับการเจริญเติบโตขอ...
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง เชื้อเห็ดราเอคโตไมคอร์ไรซากับการเจริญเติบโตขอ...รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง เชื้อเห็ดราเอคโตไมคอร์ไรซากับการเจริญเติบโตขอ...
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง เชื้อเห็ดราเอคโตไมคอร์ไรซากับการเจริญเติบโตขอ...
 
Lesson1 celldivision2561
Lesson1 celldivision2561Lesson1 celldivision2561
Lesson1 celldivision2561
 
Lesson4animalrepro kr uwichai62
Lesson4animalrepro kr uwichai62Lesson4animalrepro kr uwichai62
Lesson4animalrepro kr uwichai62
 
งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1
 
Lesson4cellres bio3 2562
Lesson4cellres bio3 2562Lesson4cellres bio3 2562
Lesson4cellres bio3 2562
 
Lesson2plantreproduction2561
Lesson2plantreproduction2561Lesson2plantreproduction2561
Lesson2plantreproduction2561
 
Cellres posn 2562_kruwichai
Cellres posn 2562_kruwichaiCellres posn 2562_kruwichai
Cellres posn 2562_kruwichai
 
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวก
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวกโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวก
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวก
 
ใบงานคอม
ใบงานคอมใบงานคอม
ใบงานคอม
 
2559 project
2559 project 2559 project
2559 project
 
โครงร่างโครงงานการแบ่งเซลล์
โครงร่างโครงงานการแบ่งเซลล์โครงร่างโครงงานการแบ่งเซลล์
โครงร่างโครงงานการแบ่งเซลล์
 
Lesson2 plantrepro
Lesson2 plantreproLesson2 plantrepro
Lesson2 plantrepro
 

Similar to แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์

2557 โครงงาน (1)
2557 โครงงาน (1)2557 โครงงาน (1)
2557 โครงงาน (1)Milk MK
 
2560 project438 (1)
2560 project438 (1)2560 project438 (1)
2560 project438 (1)saruta38605
 
2557 โครงงาน (1)
2557 โครงงาน (1)2557 โครงงาน (1)
2557 โครงงาน (1)Milk MK
 
2557 โครงงาน (1)
2557 โครงงาน (1)2557 โครงงาน (1)
2557 โครงงาน (1)Milk MK
 
2557 โครงงาน 3-
2557 โครงงาน  3-2557 โครงงาน  3-
2557 โครงงาน 3-Milk MK
 
2557 โครงงาน 2-
2557 โครงงาน  2-2557 โครงงาน  2-
2557 โครงงาน 2-Milk MK
 
งานคอมสาว
งานคอมสาวงานคอมสาว
งานคอมสาวChatika Ruankaew
 
10657065 747554985324701 2086860594_n
10657065 747554985324701 2086860594_n10657065 747554985324701 2086860594_n
10657065 747554985324701 2086860594_nMilk MK
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ Warittha Nokmeerod
 
การสืบพันธุ์ในคน แก้ไข
การสืบพันธุ์ในคน แก้ไขการสืบพันธุ์ในคน แก้ไข
การสืบพันธุ์ในคน แก้ไขIsaree Kowin
 
การสืบพันธุ์ในคน
การสืบพันธุ์ในคนการสืบพันธุ์ในคน
การสืบพันธุ์ในคนIsaree Kowin
 
โครงร่างโครงงานคอม
โครงร่างโครงงานคอมโครงร่างโครงงานคอม
โครงร่างโครงงานคอมScott Tape
 
โครงงานคอม
โครงงานคอมโครงงานคอม
โครงงานคอมPrangwadee Sriket
 
โครงงานคอม
โครงงานคอมโครงงานคอม
โครงงานคอมPrangwadee Sriket
 
โครงงานคอม
โครงงานคอมโครงงานคอม
โครงงานคอมPrangwadee Sriket
 
โครงงานคอม
โครงงานคอมโครงงานคอม
โครงงานคอมPrangwadee Sriket
 
โครงงานคอม
โครงงานคอมโครงงานคอม
โครงงานคอมPrangwadee Sriket
 
โครงงานคอม (1)
โครงงานคอม (1)โครงงานคอม (1)
โครงงานคอม (1)Prangwadee Sriket
 

Similar to แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ (20)

ใบงานคอม
ใบงานคอมใบงานคอม
ใบงานคอม
 
2557 โครงงาน (1)
2557 โครงงาน (1)2557 โครงงาน (1)
2557 โครงงาน (1)
 
2560 project438 (1)
2560 project438 (1)2560 project438 (1)
2560 project438 (1)
 
2557 โครงงาน (1)
2557 โครงงาน (1)2557 โครงงาน (1)
2557 โครงงาน (1)
 
2557 โครงงาน (1)
2557 โครงงาน (1)2557 โครงงาน (1)
2557 โครงงาน (1)
 
2557 โครงงาน 3-
2557 โครงงาน  3-2557 โครงงาน  3-
2557 โครงงาน 3-
 
2557 โครงงาน 2-
2557 โครงงาน  2-2557 โครงงาน  2-
2557 โครงงาน 2-
 
งานคอมสาว
งานคอมสาวงานคอมสาว
งานคอมสาว
 
10657065 747554985324701 2086860594_n
10657065 747554985324701 2086860594_n10657065 747554985324701 2086860594_n
10657065 747554985324701 2086860594_n
 
Taxonomy
TaxonomyTaxonomy
Taxonomy
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
 
การสืบพันธุ์ในคน แก้ไข
การสืบพันธุ์ในคน แก้ไขการสืบพันธุ์ในคน แก้ไข
การสืบพันธุ์ในคน แก้ไข
 
การสืบพันธุ์ในคน
การสืบพันธุ์ในคนการสืบพันธุ์ในคน
การสืบพันธุ์ในคน
 
โครงร่างโครงงานคอม
โครงร่างโครงงานคอมโครงร่างโครงงานคอม
โครงร่างโครงงานคอม
 
โครงงานคอม
โครงงานคอมโครงงานคอม
โครงงานคอม
 
โครงงานคอม
โครงงานคอมโครงงานคอม
โครงงานคอม
 
โครงงานคอม
โครงงานคอมโครงงานคอม
โครงงานคอม
 
โครงงานคอม
โครงงานคอมโครงงานคอม
โครงงานคอม
 
โครงงานคอม
โครงงานคอมโครงงานคอม
โครงงานคอม
 
โครงงานคอม (1)
โครงงานคอม (1)โครงงานคอม (1)
โครงงานคอม (1)
 

แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์

  • 1. แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ รหัสวิชา ง33202 ชื่อวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 6 ปีการศึกษา 2558 ชื่อโครงงาน พริกขี้หนูกาจัดมด (Paprika get rid of ants) ชื่อผู้ทาโครงงาน นางสาว รุ่งธิดา ดรุณชูวงศ์ เลขที่ 40 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ห้อง 7 อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน คุณครู เขื่อนทอง มูลวรรณ์ ระยะเวลาดาเนินงาน ภาคเรียนที่ 1-2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34
  • 2. ใบงาน การจัดทาข้อเสนอโครงงานคอมพิวเตอร์ สมาชิกในกลุ่ม นางสาว รุ่งธิดา ดรุณชูวงศ์ เลขที่ 40 ชื่อโครงงาน (ภาษาไทย) พริกขี้หนูกําจัดมด ชื่อโครงงาน (ภาษาอังกฤษ) Paprika get rid of ants ประเภทโครงงาน โครงงานประเภทจําลองทฤษฎี (Theory Experiment) ชื่อผู้ทาโครงงาน นางสาว รุ่งธิดา ดรุณชูวงศ์ ชื่อที่ปรึกษา คุณครู เขื่อนทอง มูลวรรณ์ ระยะเวลาดาเนินงาน 2 สัปดาห์ 2 วัน
  • 3. ที่มาและความสาคัญของโครงงาน ในปัจจุบันนี้ มีมดอยู่เป็นจํานวนมากและขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว มดเป็นแมลงที่มีประชากร มากกว่ามนุษย์ด้วยซ้ําไป มดเป็นแมลงที่จะคอยสร้างความรําคาญและความหงุดหงิดให้แก่คนมาก มดมี หลากหลายชนิด หลากหลายประเภท และหลากหลายวรรณะ มีทั้ง มดคันไฟ มดแดงไฟ มดตะนอย มดลิ้น งูเห่า มดดํา มดง่าม ฯลฯ ซึ่งแหล่งที่เรามักจะพบมดบ่อยๆ คือ ตามที่แห้งบริเวณที่เป็นซอก รอยแตกของพื้น ปูน พื้นไม้ ตามต้นไม้ แม้แต่ในบ้านเราก็พบมดเช่นกัน ผู้จัดทําจึงคิดหาวิธีการกําจัดมดด้วยวิธีทางธรรมชาติ วิธี ที่ไม่ต้องใช้สารเคมีที่จะเกิดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและร่างกายของคน สัตว์ และพืช ขึ้นมา จากการศึกษาจาก แหล่งข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านเอกสาร ผู้ปกครอง หรือเว็บไซต์ต่างๆทางอินเทอร์เน็ต ผู้จัดทําก็พบว่า ส่วน ใหญ่ผู้คนจะใช้กลุ่มผักที่มีฤทธิ์ร้อนมากําจัดมดเป็นส่วนมาก ซึ่งผู้จัดทําก็จะนําสารบางชนิดจากสมุนไพรที่มีฤทธิ์ ร้อนมาสกัดเป็นสารกําจัดมด ในการทดลองหาสารกําจัดมดครั้งนี้ ผู้จัดทําจึงเลือกใช้พริกขี้หนูเป็นสารกําจัดมด และยังคิดนํา ผิวมะกรูด ขิง พริกขี้หนูแห้ง และกระชาย เข้ามาช่วยกําจัดมดด้วย นอกจากนี้แล้วผู้จัดทํายังต้องการที่จะนําพืชสมุนไพรที่หาง่ายตามท้องตลาดเข้ามาช่วยกําจัดมดด้วย โดยจะนํามาเป็นส่วนผสมของสารละลายพริกขี้หนูอีกมากมายหลากหลายชนิด โดยจะเปรียบเทียบว่าสูตร กําจัดมดชนิดไหนดีที่สุด ผลการศึกษาจะได้นําไปเป็นแนวทางในการเรียนรู้ระดับสูงต่อไป วัตถุประสงค์ของการจัดทาโครงงาน 1. เพื่อศึกษาหาความเข้มข้นจากสารละลายพริกที่เหมาะสมในการกําจัดมด 2. เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสารละลายพริก สูตร 1 สูตร 2 สูตร 3 สูตร 4 และสูตร 5 ถึงความ เหมาะสมในการกําจัดมด ขอบเขตของการจัดทาโครงงาน สารสกัดที่ได้จาก พริกขี้หนู สบู่กรด ผิวมะกรูด ขิง พริกขี้หนูแห้ง และกระชาย ต้องนํามาทดลองกําจัด มด
  • 4. หลักการและทฤษฎี 1. มด มด เป็นสัตว์ในวงศ์ FORMICIDAE อันดับ HYMENOPTERA มีจํานวนชนิดมากกว่า 12,000 ชนิด โดยพบมาก ในเขตร้อนของโลก มดมีการสร้างรังเป็นอาณาจักรขนาดใหญ่ บางรังมีจํานวนประชากรมากถึงล้านตัว มีการ แบ่งวรรณะกันทําหน้าที่คือ วรรณะมดงาน เป็นมดเพศเมียเป็นหมัน ทําหน้าที่หาอาหาร สร้างและซ่อมแซมรัง ปกป้องรังจากศัตรู ดูแลตัวอ่อน และงานอื่นๆ ทั่วไป เป็นวรรณะที่พบได้มากที่สุด วรรณะสืบพันธุ์ เป็นมดเพศผู้ และราชินี เพศเมีย มีหน้าที่สืบพันธุ์ เนื่องจากมดเป็นสัตว์ในวงศ์ FORMICIDAE จึงสามารถผลิตกรดมดหรือกรด ฟอร์มิกได้เป็นลักษณะเฉพาะของสัตว์ในวงศ์นี้ กายวิภาคของมด ส่วนหัว  หนวด หนวด ของมดนั้นแตกต่างจากแมลงกลุ่มอื่น คือ หนวดของมดจะม้วนเข้าศอก เว้นแต่มดสายพันธุ์ FOMISINTOS ที่จะมีลักษณะการม้วนหนวดเหมือนแมลงชนิดอื่นๆ หนวดมด มีหน้าที่รับรู้สื่อสารและรายงาน สถานภาพต่างๆของบริเวณนั้นๆ ในการสื่อสารมดจะใช้หนวดมาสัมผัสกันเป็นการสื่อสารแบบ ลอย (EMANDO) หนวดของมดจะแบ่งออกเป็นปล้องๆ ซึ่งแล้วแต่ประเภท วรรณะของมด  ตา แบ่งได้เป็นสองประเภทคือ ตารวมและ ตาเดี่ยว ตารวม คือ ตาที่มีอยู่เป็นคู่ อาจมีลักษะอื่นๆด้วย เช่น ตาเป็นมี ตา 2คู่ และไม่จําเป็นต้องอยู่บริเวณ ข้างหน้าเสมอไป มดส่วนใหญ่จะมีตาเป็นประเภทตารวม ตาเดี่ยว คือ ตาที่ไม่ใช่คู่ ส่วนใหญ่ จะมีสามตา และอยู่บริเวณล่างของหนวด มดส่วนใหญ่จะมีตารวม บางชนิดไม่มีตารวมตั้งอยู่บริเวณส่วนหน้า หรือด้านข้างของส่วนหัว มีขนาด ตั้งแต่เป็นจุดเล็ก ๆ จนถึงขนาดใหญ่ ส่วนมากเป็นรูปวงกลม มีบ้างที่เป็นรูปวงรีหรือรูปไต มีหน้าที่สําหรับการ
  • 5. มองเห็น ส่วนตาเดี่ยวโดยทั่วไปมี 3 ตา อยู่เหนือระหว่างตารวม ส่วนมากพบในเพศผู้และราชินี สําหรับมดงาน พบมากในมดเขตหนาว ไม่ได้ใช้ในการมองเห็น  ปาก ปากของ มดจะมีอยู่สองลักษณะ คือ แบบกัดกิน (THORAX) และ ปากแบบลักษะดูด (THERESE) ปากแบบกัดกิน จะมีลักษณะเป็นฟันสองซี่ จะคมมาก มีกรามที่แข็งแรงและขนาดใหญ่ เป็นส่วนที่ เห็นชัดที่สุดรูปสามเหลี่ยม กึ่งสามเหลี่ยมหรือเป็นแนวตรงถือเป็นอวัยวะที่สําคัญในการจับเหยื่อและ ป้องกันตัว ทําให้มดส่วนใหญ่เป็นพวกกินสัตว์ พบได้ในมดงาน ปากแบบลักษณะดูด จะมีไว้สําหรับ ดูดน้ําหวาน ตามเกสร พบในมดเพศเมีย และมดราชินี ร่องพักหนวด เป็นร่วมหรือแอ่งยาวคล้ายรอยพิมพ์ อยู่บริเวณหน้าของส่วนหัว เป็นที่เก็บหนวดขณะที่ ไม่ได้ใช้ โดยทั่วไปมี 1 คู่ มีลักษณะแตกต่างกันตั้งแต่เป็นร่องตื้น ๆ ไปถึงร่องลึกเห็นชัดเจน บางชนิดไม่มีร่องพัก หนวดนี้ ส่วนกลาง ส่วนกลางเป็นส่วนที่เชื่อมต่อระหว่าง ส่วนท้อง และส่วนหัว โดยมากจะเป็นทรงกระบอก อาจมีตุ่ม หนามอยู่ด้วย เป็นส่วนที่สองของลําตัวมดเป็นรูปทรงกระบอก อกของมดจะไม่ใช้คําว่า THORAX แต่จะใช้ ALITRUNK แทน เนื่องจากอกของมดประกอบด้วย อกปล้องแรก อกปล้องที่ 2 และอกปล้องที่ 3 แต่อกปล้องที่ 3 นี้จะรวมกับท้องปล้องที่ 1 ซึ่งเรียกว่า PROPODEUM ส่วนอกจะเป็นที่ตั้งของส่วนขาและปีก (สําหรับราชินีและมด เพศผู้) มดงานจะมีส่วนอกปกติ ยกเว้นมดราชินีมีอกขนาดใหญ่กวา ปีกจะพบที่มดเพศผู้และมดเพศเมียเท่านั้น มดบางชนิดอกปล้องที่ 1 อกปล้องที่ 2 เชื่อมติดกันเชื่อมติดกัน เช่นเดียวกับอกปล้องที่ 3 กับปล้องที่ 1 มดบาง ชนิดสันหลังอกมีหนามหรือตุ่มหนาม บางชนิดอาจเป็นแผ่นคล้ายโล่ห์ ขาของมดส่วนมากค่อนข้างยาว ทําให้ เคลื่อนไหวได้คล่องแคล่วว่องไวมาก ความยาวของขาและรูปร่างของมดนั้นจะถูกกําหนดโดยพฤติกรรมต่างๆ ส่วนท้อง เป็นส่วนที่อยู่ท้ายสุดของมด บางชนิดจะแตกออกเป็น 2 ส่วน เรียกว่า WASTED TWIN ซึ่งมดบางชนิดอาจมี เหล็กใน และบางชนิดก็มีช่องไว้ปล่อยสารป้องกันตัว เป็นส่วนที่ 3 มดมี 1 หรือ 2ปล้องขึ้นอยู่กับกลุ่มมด อาจมี 1ปล้องคือ PETIOLEเป็นปล้องที่ 2 ของส่วนท้องอาจเป็นปุ่ม หรือแผ่น ส่วนถ้ามี 2 ปล้องคือ PETIOLE และ POST
  • 6. PETIOLE เป็นปล้องที่ 2กับปล้องที่ 3 POSTPETIOLE อาจเป็นปุ่มหรือรูปทรงกระบอกก็ได้ มดบางชนิด PETIOLE มี หนาม 1 คู่ ส่วนท้ายของลําตัว เรียก GASTER โดยทั่วไปมีรูปร่างกลม แต่บางชนิดเป็นรูปหัวใจ หรือรูป ทรงกระบอก ปลายส่วนท้องของมดงานส่วนใหญ่มีเหล็กใน บางชนิดสามารถทําให้เกิดอาการเจ็บปวดได้ สําหรับบางชนิดไม่มีเหล็กใน ก็จะเปิดเป็นช่อง สําหรับขับสาร (HTTP://WWW.TH.WIKIPEDIA.ORG/WIKI/%E0%B8%A1%E0%B8%94) 2. พริกขี้หนู ชื่อสามัญ : Bird Chili ชื่อวิทยาศาสตร์: Capsicum frutescent Linn ชื่อวงศ์ : SOLANACEAE ชื่ออื่น ๆ : พริกแด้ พริกแต้ พริกนก พริกแจว พริกน้ําเมี่ยง (เหนือ - พายัพ) พริก พริกชี้ฟ้า พริกขี้หนู (ภาคกลาง -เหนือ) ดีปลี (ใต้ - ปัตตานี) ดีปลีขี้นก พริกขี้นก ใต้ (ภาคใต้) ลัวะเจีย (แต้จิ๋ว) มะระตี้ (สุรินทร์) ล่า เจียว (จีนกลาง) หมักเพ็ด (อีสาน) สรรพคุณ ผล: ใช้ปรุงรสอาหาร ช่วยเจริญอาหาร และรักษาอาการอาเจียน รักษาโรคหิด กลาก รักษาโรคบิด โดย การใช้พริกสด 1เม็ดหรือมากกว่านั้นใช้กิน และอาการปวดบวมเนื่องจากความเย็นจัด โดยใช้ผงพริกแห้งทําเป็น ขี้ผึ้ง หรือสารละลายแอลกอฮอล์ใช้ทา อื่น ๆ: พรรณไม้นี้เป็นพรรณไม้สวนครัวที่ขาดกันไม่ได้ เป็นพรรณไม้ที่ขึ้นง่าย แต่บํารุงรักษายาก เพราะใบ อ่อนของพริกอร่อย ทําให้แมลงต่าง ๆ ชอบกิน ผลแรกผลิใช้ผสมกับผักแกงเลียงช่วยชูรส ส่วนผลกลางแก่ใช้ใส่ แกงคั่วส้ม จะได้อาหารที่มีรสเปรี้ยวอ่อน ๆ เพราะมีวิตามีซี และไส้พริกจะมีสารแคบไซซิน ที่ให้ความเผ็ดและมี กลิ่นฉุนเผ็ดร้อน เป็นเครื่องปรุงอาหารช่วยชูรส ใส่น้ําพริก ยํา ทําเป็นน้ําปลาดองและยังเป็นยาช่วยกระตุ้นทํา ให้เจริญอาหาร บํารุงธาตุ หรือใช้ภายนอกเป็นยาทาถูนวดลดอาการไขข้ออักเสบ ข้อมูลทางเภสัชวิทยา
  • 7. สารสกัดจากพริก ใช้ทาลงบนผิวหนังจะทําให้หลอดเลือด ตามบริเวณนั้นขยายตัว และการไหลเวียน ของเลือดเพิ่มขึ้น ถ้าใช้มากเกินไปอาจจะทําให้ระคายเคืองได้ ฤทธิ์ต่อต้านเชื้อแบคทีเรียและฆ่าแมลง แคบไซ ซินจะมีผลยับยั้งเชื้อ Bacillus cereus และเชื้อ Bacillus subtilis แต่ไม่มีผลต่อเชื้อ Bacillus aureus และ เชื้อ Bacillus coli นอกจากนี้สารที่สกัดจากพริก โดยวิธีการต้มด้วยน้ํา จะมีฤทธิ์ในการฆ่าแมลง ฤทธิ์ต่อระบบ ทางเดินอาหาร แคบไซซิน ทําให้เจริญอาหาร และกินอาหารได้มากขึ้น พริกสามารถช่วยกระตุ้นทําให้การ เคลื่อนไหวของกระเพาะอาหารสุนัขเพิ่มขึ้นและน้ําสกัดที่ได้จากพริก จะช่วยลดการบีบตัวของลําไส้เล็กส่วน ปลาย ileum ของหนูตะเภาที่เกิดจากอะเซทิลโมลีนและฮีสตามีนได้ส่วนแคบไซซิน จะเพิ่มการบีบตัว ของ ลําไส้เล็กส่วนปลาย ileum ของหนูตะเภา แต่ถ้าให้แคบไซซินซ้ําอีกครั้งในขนาดเท่า ๆ กัน จะมีผลน้อยมาก หรือไม่มีผลเลย ผลต่อระบบไหลเวียนโลหิต แคบไซซิน ที่สกัดจากพริก สามารถกระตุ้นหัวใจห้องบนของหนู ตะเภา แต่เมื่อฉีดเข้าทางหลอดเลือดดําของแมวและสุนัข จะทําให้ความดันโลหิต และหัวใจเต้นช้า หายใจขัด และอาการพวกนี้จะหายไป เมื่อเราตัดเส้นประสาทเวกัสออก (Vagotomy) ส่วนแคบไซซิน จะเพิ่มความดัน โลหิตในแมว ที่ถูกตัดหัวออก (decapitated cat) ถ้าฉีดเข้าในหลอดเลือดดําของแมวที่ถูกวางยาสลบ จะทําให้ ความดันโลหิตในปอดสูงขึ้น แต่เมื่อฉีดเข้าบริเวณหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจโดยตรง จะทําให้หลอดเลือดนั้นหด ตัว และฤทธิ์ของแคบไซซินต่อหัวใจห้องบนของหนูตะเภานั้นจะเพิ่มทั้งความเร็ว และความแรงในการเต้น ฤทธิ์ อื่น ๆ หลังจากกินอาหารที่ใช้พริกขี้หนูแก่จัดสีแดงเป็นเครื่องปรุงแต่งนานประมาณ 3 สัปดาห์ จะทําให้สาร กลุ่มคอร์ติโซน ในพลาสมาเพิ่มขึ้น และปริมาณที่ขับออกทางปัสสาวะก็จะเพิ่มขึ้น ส่วนสารที่สกัดได้จากพริก ถ้าฉีดเข้าช่องท้องของหนูถีบจักร จะมีฤทธิ์กดประสาท ทําให้เดินเซ เล็กน้อย และชักตายได้ เมื่อฉีดเข้าหลอด เลือดจะมีฤทธิ์กระตุ้นมดลูกของหนูขาว และมีฤทธิ์กระตุ้นปลายประสาทรับความรู้สึกทั่วไป (http://www.the-than.com/samonpai/sa_7.html) 3. มะกรูด ชื่อสามัญ: Porcupine Orange, Kiffir Lime, Leech Lime ชื่อวิทยาศาสตร์:Citrus hystrix DC. ชื่อวงศ์: RUTACEAE ชื่อท้องถิ่น: มะขุน มะขูด (ภาคเหนือ) มะหูด (หนองคาย) ส้มกรูด ส้มมั่วผี (ภาคใต้) โกรยเซียด (เขมร) มะขู (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน)
  • 8. สารที่สาคัญ ในใบและผลมะกรูด เมื่อนํามากลั่นด้วยไอน้ําจะให้น้ํามันหอม ระเหยในปริมาณ 0.08 % และ4 % ตามลําดับ น้ํามันหอมระเหยจากผิวมะกรูดมักประกอบด้วยเบต้า-ไพนีน, ไลโมนีนและซาบินีน เป็นสารหลัก ส่วนน้ํามันหอมระเหยจากใบจะประกอบด้วย ซีโทรเนลลาล ไอโซพูลิโกล และไลนาลูออล เป็นสารหลัก ส่วนใน น้ํามะกรูดมีกรดซิตริก ไวตามินซี และกรดอินทรีย์ชนิดอื่น ๆ เป็นส่วนประกอบ การนามาใช้ การใช้มะกรูดสระผมน่าจะรู้จักกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ วิธีการสระ บ้างก็ใช้ผลดิบผ่าแล้วบีบน้ําสระ โดยตรง บ้างก็นําไปเผา หรือต้มก่อนสระ มะกรูดยังมีใช้ในพระราชพิธีสําคัญ เช่น พระราชพิธีโสกันต์ ซึ่งระบุไว้ ในพระราชพิธีสิบสองเดือนไว้ ว่าจะต้องมีผลมะกรูดและใบส้มป่อย ประกอบในพิธีด้วย เข้าใจว่าน่าจะใช้เพื่อ การสระผมนั่นเอง และก็สามารถนําไปล้างพื้นได้ด้วย ซึ่งเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งเช่นกันน้ํามะกรูด มีรสเปรี้ยว กลิ่นฉุนคล้ายใบ แต่ไม่ค่อยจะได้ประโยชน์กันมาก ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะหาได้ยากกว่า และได้น้ําน้อยกว่า เพราะมะกรูดมีส่วนเปลือกที่หนา ขณะที่มะนาวหาได้ง่ายกว่า น้ํามากกว่า และรสชาติที่ถูกปากมากกว่า อย่างไรก็ตาม มีอาหารบางชนิดที่นิยมใช้น้ํามะกรูดเช่นกัน นอกจากนั้น ในมะกรูดมีน้ํามันหอมระเหยอยู่มาก มี กลิ่นฉุน ทั้งในใบ และผล บางครั้งสามารถนําไปใช้ไล่แมลงบางชนิด (http://www.the-than.com/samonpai/sa_16.html) 4. ขิง ชื่อสามัญ: Ginger ชื่อวิทยาศาสตร์:Zingier officinal Roscoe ชื่อวงศ์: Zingiberaceae ชื่อสามัญ: Ginger ชื่ออื่น: ขิงแกลง ขิงแดง (จันทรบุรี) ขิงเผือก (เชียงใหม่) สะเอ (แม่ฮ่องสอน) ขิงบ้าน ขิงแครง ขิงป่า ขิงเขา ขิงดอกเดียว (ภาคกลาง) เกีย (จีนแต้จิ๋ว)
  • 9. สารที่สาคัญ ในเหง้าขิงมี น้ํามันหอมระเหยอยู่ประมาณ 1 - 3 % ขึ้นอยู่กับวิธีปลูกและช่วงการเก็บรักษา ในน้ํามัน ประกอบด้วยสารเคมี ที่สําคัญคือ ซิงจิเบอรีน (Zingiberene) ซิงจิเบอรอล (Zingiberol) ไบซาโบลี (bisabolene) และแคมฟีน(camphene) น้ํามัน (oleo - resin) ในปริมาณสูง เป็นส่วนที่ทําให้ขิงมีกลิ่นฉุน และมีรสเผ็ด ส่วนประกอบสําคัญ ในน้ํามันซัน ได้แก่ จินเจอรอล (gingerol) โวกาออล (shogaol) ซิงเจอโรน (zingerine) มีคุณสมบัติเป็นยากันบูด กันหืน ใช้ใส่ในน้ํามันหรือไขมัน เพื่อป้องกันการบูดหืน สารที่ทําให้ขิงมี คุณสมบัติเป็นยากันบูด กันหืนได้คือ สารจําพวกฟีนนอลิค (http://web.ku.ac.th/agri/jinsen/kingg.htm) (http://www.horapa.com/content.php?Category=Herb&No=201) (http://ramaclinic.ra.mahidol.ac.th/) 5. กระชาย ชื่อวิทยาศาสตร์:Boesenbergia pundurata (R0xb) Schitr วงศ์: Zinggberaceae ชื่อท้องถิ่น: กะแอน ระแอน (ภาคเหนือ) ขิงทราย (มหาสารคาม) ว่านพระอาทิตย์ (กรุงเทพฯ) สารที่สาคัญ รากและเหง้ากระชายมีน้ํามันหอมระเหยซึ่งประกอบด้วยสารไพนีน แคมฟีน เมอร์ซีน ไลโมนีน บอร์ นีออล และการบูร เหง้าและรากของกระชายมีรสเผ็ดร้อนขม หมอยาพื้นบ้านในประเทศไทยใช้เหง้า และราก ของกระชายแก้ปวดมวนในท้อง แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้ลมจุกเสียด แก้โรคกระเพาะ รักษาแผลในปาก แก้ตกขาว กลาก เกลื้อน ใช้เมื่อมีอาการปวดข้อเข่า ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ บํารุงกําลัง และใช้บําบัดโรคกามตายด้านอีกด้วย (http://web.ku.ac.th/agri/jinsen/kingg.htm) (http://www.horapa.com/content.php?Category=Herb&No=201) (http://ramaclinic.ra.mahidol.ac.th/)
  • 10. การเข้าสู่ร่างกายของสารพิษ สารพิษเข้าสู่ร่างกายได้ 3 ทาง คือ 1. ทางจมูก ด้วยการสูดดมไอของสาร ผลคือละอองของสารพิษปะปนเข้าไปกับลมหายใจ สารพิษบาง ชนิดจะมีฤทธิ์กัดกร่อน ทําให้เยื่อจมูกและหลอดลมอักเสบหรือซึมผ่านเนื้อเยื่อเข้าสู่กระแสโลหิตทําให้ โลหิตเป็นพิษ 2. ทางปาก อาจจะเข้าปากโดยความสะเพร่า เช่น ใช้มือที่เปื้อนสารพิษหยิบอาหารเข้าปากหรือกินผัก ผลไม้ที่มีสารพิษตกค้างอยู่ หรืออาจจะจงใจกินสารพิษบางชนิดเพื่อฆ่าตัวตาย เป็นต้น 3. ทางผิวหนัง เกิดอาการสัมผัสหรือจับต้องสารพิษ สารพิษบางชนิดสามารถซึมผ่านทางผิวหนังได้ เพราะเข้าไปทําปฏิกิริยาเกิดเป็นพิษแก่ร่างกาย สารพิษเมื่อเข้าสู่ร่างกายทางใดก็ตาม เมื่อมีความเข้มข้นพอจะมีปฏิกิริยา ณ จุดสัมผัสและซึมเข้าสู่ กระแสโลหิต ซึ่งจะพาสารพิษไปทั่วร่างกายความสามารถในการสู่กระแสโลหิตนั้นขึ้นอยู่กับคุณสมบัติการ ละลายของสารพิษนั้น สารพิษบางชนิดอาจถูกร่างกายทําลายได้ บางชนิดอาจถูกขับถ่ายออกทางไต ซึ่ง จะมีผลกระทบต่อทางเดินปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะบางชนิดอาจถูกสะสมไว้ เช่น ที่ตับ ไขมัน เป็นต้น (https://web.ku.ac.th/schoolnet/snet6/envi3/san-pit/work1m.htm)
  • 11. วิธีดาเนินการ แนวทางการดาเนินงาน จัดทําและนําเสนอโครงงานในรูปแบบของ MICROSOFT POWER POINT เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้  อุปกรณ์ เครื่องชั่ง 1 เครื่อง บีกเกอร์ ขนาด 250 มิลลิลิตร จํานวน 1 ใบ ครก 1 ชุด กระชอน 2 อัน ช้อน 4 คัน แก้วใส่สาร 9 ใบ แก้วมีฝาปิดสําหรับใส่มด 15 ใบ ขวดใส่น้ําขนาดใหญ่ 1 ใบ กระบอกฉีดสาร 5 กระบอก โปรแกรม Microsoft Excel สําหรับคํานวณการแสดงผลแบบกราฟและแผนภูมิ  วัสดุ พริกขี้หนู 14 ขีด ผิวมะกรูด 2 ขีด ขิง 2 ขีด พริกขี้หนูแห้ง 2 ขีด กระชาย 2 ขีด น้ํา 1000 มิลลิลิตร  วิธีการเตรียมสาร ในการทดลอง ชุดที่ 1 ชั่งพริกขี้หนู 2 ขีด จํานวน 1 ชุด ชุดที่ 2 ชั่งพริกขี้หนู 2 ขีด + ผิวมะกรูด 1 ขีด จํานวน 1 ชุด ชุดที่ 3 ชั่งพริกขี้หนู 2 ขีด + ขิง 1 ขีด จํานวน 1 ชุด
  • 12. ชุดที่ 4 ชั่งพริกขี้หนู 2 ขีด + พริกขี้หนูแห้ง 1 ขีด จํานวน 1 ชุด ชุดที่ 5 ชั่งพริกขี้หนู 2 ขีด + กระชาย 1 ขีด จํานวน 1 ชุด น้ําทั้งหมด 1000 มิลลิลิตร วิธีการค้นคว้าทดลอง  การเตรียมสารการทดลองสารละลายพริกสูตร 1 นําพริกขี้หนูที่ชั่งไว้ 2 ขีดชุดที่ 1 นํามาโขลกให้ละเอียด เติมน้ํา 200 มิลลิลิตร แล้วนําสารละลายพริก สูตร 1 ไปกรองแยกกากพริกขี้หนูทิ้ง จะได้สารละลายพริกสูตร 1 วิธีทดลองสูตรที่ 1 1. นํามดดํามา 10 ตัว นําใส่แก้วมีฝาปิดไว้ทั้งหมด 3 แก้ว จะได้มดทั้งหมด 3 ชุด สําหรับการทดลอง 3 ครั้ง 2. นําสารละลายพริกสูตร 1 ใส่กระบอกฉีด 3. ฉีดสารละลายพริกสูตร 1 ใส่มดดําทั้ง 3 ใบทันที ใบละ 1 ครั้งเท่านั้น พร้อมจับเวลาถอยหลัง 3 นาที 4. สังเกตจํานวนที่มดตายในแต่ละครั้งที่ฉีดสาร 5. บันทึกผลการทดลองลงตารางไว้  การเตรียมสารการทดลองสารละลายพริกสูตร 2 นําพริกขี้หนูที่ชั่งไว้ 2 ขีดชุดที่ 2 นํามาโขลกให้ละเอียด เติมน้ํา 100 มิลลิลิตร นําผิวมะกรูดที่ชั่งไว้ 1 ขีดผสมกับน้ํา 100 มิลลิลิตรบดให้ละเอียด หลังจากนั้นจึงนําสารละลายพริกขี้หนูและสารละลายผิวมะกรูดมา ผสมกัน แล้วนําสารละลายพริกสูตร 2 ไปกรองแยกกากพริกขี้หนูและผิวมะกรูดทิ้ง จะได้สารละลายพริกสูตร 2 วิธีทดลองสูตรที่ 2 1. นํามดดํามา 10 ตัว นําใส่แก้วมีฝาปิดไว้ทั้งหมด 3 แก้ว จะได้มดทั้งหมด 3 ชุด สําหรับการทดลอง 3 ครั้ง
  • 13. 2. นําสารละลายพริกสูตร 2 ใส่กระบอกฉีด 3. ฉีดสารละลายพริกสูตร 2 ใส่มดดําทั้ง 3 ใบทันที ใบละ 1 ครั้งเท่านั้น พร้อมจับเวลาถอยหลัง 3 นาที 4. สังเกตจํานวนที่มดตายในแต่ละครั้งที่ฉีดสาร 5. บันทึกผลการทดลองลงตารางไว้  การเตรียมสารการทดลองสารละลายพริกสูตร 3 นําพริกขี้หนูที่ชั่งไว้ 2 ขีดชุดที่ 3 นํามาโขลกให้ละเอียด เติมน้ํา 100 มิลลิลิตร นําขิงที่ชั่งไว้ 1 ขีดมา โขลกให้ละเอียด เติมน้ํา 100 มิลลิลิตร หลังจากนั้นจึงนําสารละลายพริกขี้หนูและสารละลายขิงมาผสมกัน แล้วนําสารละลายพริกสูตร 3 ไปกรองแยกกากพริกขี้หนูและขิงทิ้ง จะได้สารละลายพริกสูตร 3 วิธีทดลองสูตรที่ 3 1. นํามดดํามา 10 ตัว นําใส่แก้วมีฝาปิดไว้ทั้งหมด 3 แก้ว จะได้มดทั้งหมด 3 ชุด สําหรับการทดลอง 3 ครั้ง 2. นําสารละลายพริกสูตร 3 ใส่กระบอกฉีด 3. ฉีดสารละลายพริกสูตร 3 ใส่มดดําทั้ง 3 ใบทันที ใบละ 1 ครั้งเท่านั้น พร้อมจับเวลาถอยหลัง 3 นาที 4. สังเกตจํานวนที่มดตายในแต่ละครั้งที่ฉีดสาร 5. บันทึกผลการทดลองลงตารางไว้  การเตรียมสารการทดลองสารละลายพริกสูตร 4 นําพริกขี้หนูที่ชั่งไว้ 2 ขีดชุดที่ 4 นํามาโขลกให้ละเอียด เติมน้ํา 100 มิลลิลิตร นําพริกขี้หนูแห้งที่ชั่งไว้ 1 ขีดมาโขลกให้ละเอียด เติมน้ํา 100 มิลลิลิตร หลังจากนั้นจึงนําสารละลายพริกขี้หนูและสารละลายพริกขี้หนู แห้งมาผสมกัน แล้วนําสารละลายพริกสูตร 4 ไปกรองแยกกากพริกขี้หนูและพริกขี้หนูแห้งทิ้ง จะได้สารละลาย พริกสูตร 4 วิธีทดลองสูตรที่ 4 1. นํามดดํามา 10 ตัว นําใส่แก้วมีฝาปิดไว้ทั้งหมด 3 แก้ว จะได้มดทั้งหมด 3 ชุด สําหรับการทดลอง 3 ครั้ง 2. นําสารละลายพริกสูตร 4 ใส่กระบอกฉีด
  • 14. 3. ฉีดสารละลายพริกสูตร 4 ใส่มดดําทั้ง 3 ใบทันที ใบละ 1 ครั้งเท่านั้น พร้อมจับเวลาถอยหลัง 3 นาที 4. สังเกตจํานวนที่มดตายในแต่ละครั้งที่ฉีดสาร 5. บันทึกผลการทดลองลงตารางไว้  การเตรียมสารการทดลองสารละลายพริกสูตร 5 นําพริกขี้หนูที่ชั่งไว้ 2 ขีดชุดที่ 5 นํามาโขลกให้ละเอียด เติมน้ํา 100 มิลลิลิตร นํากระชายที่ชั่งไว้ 1 ขีดมาโขลกให้ละเอียด เติมน้ํา 100 มิลลิลิตร หลังจากนั้นจึงนําสารละลายพริกขี้หนูและสารละลายกระชายมา ผสมกัน แล้วนําสารละลายพริกสูตร 5 ไปกรองแยกกากพริกขี้หนูและกระชายทิ้ง จะได้สารละลายพริกสูตร 5 วิธีทดลองสูตรที่ 5 1. นํามดดํามา 10 ตัว นําใส่แก้วมีฝาปิดไว้ทั้งหมด 3 แก้ว จะได้มดทั้งหมด 3 ชุด สําหรับการทดลอง 3 ครั้ง 2. นําสารละลายพริกสูตร 5 ใส่กระบอกฉีด 3. ฉีดสารละลายพริกสูตร 5 ใส่มดดําทั้ง 3 ใบทันที ใบละ 1 ครั้งเท่านั้น พร้อมจับเวลาถอยหลัง 3 นาที 4. สังเกตจํานวนที่มดตายในแต่ละครั้งที่ฉีดสาร 5. บันทึกผลการทดลองลงตารางไว้ งบประมาณ 200 บาท (สองร้อยบาทถ้วน)
  • 15. ขั้นตอนและแผนดาเนินงาน ลาดับ ที่ ขั้นตอน สัปดาห์ที่ ผู้รับผิดชอบ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 1 คิดหัวข้อโครงงาน รุ่งธิดา 2 ศึกษาและค้นคว้าข้อมูล รุ่งธิดา 3 จัดทําโครงร่างงาน รุ่งธิดา 4 ปฏิบัติการสร้างโครงงาน รุ่งธิดา 5 ปรับปรุงทดสอบ รุ่งธิดา 6 การทําเอกสารรายงาน รุ่งธิดา 7 ประเมินผลงาน รุ่งธิดา 8 นําเสนอโครงงาน รุ่งธิดา ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. เมื่อมดโดนสารละลายพริกขี้หนูแล้ว มดตาย 2. สารละลายพริกขี้หนูที่ทํา จะสามารถใช้ได้จริง และไม่เป็นอันตรายต่อผิวหนัง สถานที่ค้นคว้าทดลอง 1. ภายในบริเวณโรงเรียน ชุมชนข่วงเปาเหนือ 2. บ้านผู้ปกครอง และ เพื่อนบ้านของนักเรียน