SlideShare a Scribd company logo
1 of 56
Download to read offline
สถาบันคลังป+ญญาด.านยุทธศาสตร6ชาติ
รายงานถอดความ
เวที ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน
เวทีวิชาการ
จัดโดย
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
2 ตุลาคม 2564
สถาบันคลังป+ญญาด.านยุทธศาสตร6ชาติ
รายงานถอดความ (Transcript)
เรื่อง ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน
ผู้นำเสนอหลัก
คุณ พิรุณ ฉัตรวนิชกุล
คุณ ปถวี ตรีกรุณาสวัสดิ์
รายงานฉบับนี้ถอดความจากเวทีวิชาการ เรื่อง "ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน" จัดโดย สถาบันคลังปัญญา
ด้านยุทธศาสตร์ชาติ ร่วมกับศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2564 ผ่านการประชุมออนไลน์
บนโปรแกรม Zoom Meeting
บรรณาธิการ: ยุวดี คาดการณ์ไกล
กองบรรณาธิการ: ชญานิษฐ์ เชิดธรรมธร ศรันย์ชนก ลิมวิสิฐธนกร
อำนวยการผลิตโดย: สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
ปีที่เผยแพร่: ตุลาคม 2564
www.klangpanya.in.th
ที่อยู่
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ อาคารพร้อมพันธุ์ 1 637/1 ถนนลาดพร้าว เขตจตุจักร กทม.
10900 โทรศัพท์ 02-938-8826 โทรสาร 02-938-8864
สถาบันคลังป+ญญาด.านยุทธศาสตร6ชาติ
สารบัญ
หน้า
คำนำ
บทนำ
คุณ ยุวดี คาดการณ์ไกล 3 – 4
ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน ในทัศนะของผู้มีประสบการณ์กับการเมืองพรรคฯ ของจีน 5 – 10
โดย คุณ พิรุณ ฉัตรวนิชกุล
ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีนในมุมมองประวัติศาสตร์และการเมืองจีนยุคใหม่ 11 – 17
โดย คุณ ปถวี ตรีกรุณาสวัสดิ์
ทัศนะต่อประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน 18
ศ. (พิเศษ) ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ 18 – 21
คุณ เกริกไกร จีระแพทย์ 22 – 23
นพ.วิจารณ์ พานิช 24
ศ.ดร. ตีรณ พงศ์มฆพัฒน์ 25 – 27
นพ. ชูชัย ศุภวงศ์ 28 – 30
ดร.ธวัชชัย ยงกิตติกุล 31 – 32
นพ. สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ 33 – 34
รศ. วรศักดิ์ มหัทธโนบล 35 – 37
รศ. ดร. จำนง สรพิพัฒน์ 38 – 39
ดร. พนา สถิตศาสตร์ 40 – 42
ภาคผนวก 43 – 52
สถาบันคลังป+ญญาด.านยุทธศาสตร6ชาติ
1
คำนำ
1 กรกฎาคม ค.ศ. 2021 เป็นวาระครบรอบ 100 ปีแห่งการก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีน (ค.ศ.1921-
2021) ซึ่งเป็นพรรคการเมืองเดียวที่ครองอำนาจการปกครองจีนมาตลอดตั้งแต่สถาปนาสาธารณรัฐประชาชน
จีน (1 ตุลาคม ค.ศ.1949) เราคงมิอาจปฏิเสธระบบการเมืองและการปกครองของจีนที่อยู่เบื้องหลังการ
กำหนดทิศทางและขับเคลื่อนความสำเร็จของจีนในปัจจุบัน ระบบการเมืองของจีนที่เรียกว่า ระบอบ
ประชาธิปไตยแบบสังคมนิยมที่ค่อย ๆ พัฒนาขึ้นจนมีเอกลักษณ์และมีลักษณะเฉพาะของจีน จึงควรค่าแก่การ
เรียนรู้และทำความเข้าใจยิ่ง
ในความคิดของคนส่วนใหญ่ คำว่า ประชาธิปไตย กับ จีน น่าจะไม่ใช่ของคู่กัน กลับเป็นสิ่งตรงข้าม
มากกว่า คนทั่วไปมักเข้าใจว่าการปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์จะไม่มีประชาธิปไตย เพราะดูจากการที่จีน
ไม่มีการเลือกตั้งทั่วไป แต่จีนมีกระบวนการเลือกผู้นำแบบคัดสรรตามระบบที่ตนเองออกแบบ คำถามคือ
ประชาธิปไตยมีนิยามเดียวที่เป็นแบบตะวันตกเท่านั้นหรือไม่ ในความเป็นจริง หลายประเทศที่นำระบอบ
ประชาธิปไตยไปใช้ก็มีรูปแบบที่แตกต่างกัน ล้วนต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับบริบทของประเทศตน ถ้า
เช่นนั้น ประชาธิปไตยในความหมายของจีนคืออะไร ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีนบอกอะไรแก่เรา และใน
อนาคตจีนจะเดินไปบนเส้นทางประชาธิปไตยหรือไม่ และอย่างไร
ในโอกาสที่สถาบันคลังปัญญาได้จัดพิมพ์และเผยแพร่ หนังสือประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน ซึ่งเป็น
หนังสือแปลจากต้นฉบับภาษาจีน ที่เขียนโดยศาสตราจารย์ฝางหนิง นั้น มีความน่าสนใจและควรค่าแก่การทำ
ความเข้าใจเป็นอย่างยิ่งว่า ประสบการณ์ประชาธิปไตยของจีนที่ผ่านมาและที่จะเป็นไปในอนาคตเป็นอย่างไร
มีอะไรที่สังคมไทยจะเรียนรู้ได้ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติจึงได้จัดเวทีเสวนาวิชาการ เรื่อง
"ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน" ในวันเสาร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 13.00 – 16.00 น. ด้วยการ
ประชุมออนไลน์บนโปรแกรม Zoom Meeting
ในการนี้ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ ได้จัดทำรายงานสรุปและถอดความเนื้อหาการ
ประชุมครั้งนี้ขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้สู่ผู้กำหนดและตัดสินใจเชิงนโยบาย ภาคส่วนต่าง ๆ นิสิตนักศึกษา และ
ประชาชนทั่วไปที่สนใจการเมืองจีนต่อไป
สถาบันคลังป+ญญาด.านยุทธศาสตร6ชาติ
2
ภาพบรรยากาศกิจกรรมเสวนาออนไลน์
สถาบันคลังป+ญญาด.านยุทธศาสตร6ชาติ
3
บทนำ
การจัดเวทีและเผยแพร่หนังสือ
ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน
ยุวดี คาดการณ์ไกล รองประธานสถาบันคลังปัญญาฯ
สืบเนื่องจากสถาบันคลังปัญญาฯ ได้จัดพิมพ์และเผยแพร่ หนังสือประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน
เมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งเป็นหนังสือที่แปลมาจากต้นฉบับภาษาจีน สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติจึงร่วมกับ
ศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน จัดให้มีการเสวนาวิชาการ เรื่อง ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน ทางออนไลน์
เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2564 เวลา 13.00-16.30 น.
หนังสือประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน ได้รับการแนะนำจากนักวิชาการคือ รองศาสตราจารย์ GUO
JING ซึ่งเป็นรองผู้อำนวยการ Department of Comparative Politics , Institute of Political
Sciences, CASS ที่มาเยี่ยมเยือนสถาบันคลังปัญญาฯ เมื่อปี 2016 และได้หารือถึงการสร้างความร่วมมือ
ระหว่าง Think Tank ไทยกับจีน รองศาสตราจารย์ GUO JING จึงได้เสนอโครงการแปลหนังสือ โดยเลือก
หนังสือประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน (中国民主的经验) และสถาบันคลังปัญญาฯ นำโดย
นางสาวยุวดี คาดการณ์ไกล เป็นบรรณาธิการแปลและหัวหน้าทีมงานแปล คณะผู้แปลประกอบด้วย นาย
เทวินทร์ เจิ้ง และดร.จุรี สุชนวนิช
หนังสือประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน เป็นผลงานวิจัยของจีน ใช้แนวคิดและมุมมองตะวันออก ใน
การมองประชาธิปไตยตะวันตกและตะวันออก พร้อมสรุปบทเรียนประสบการณ์ของจีนที่ผ่านมา หัวใจสำคัญ
ที่หนังสือต้องการนำเสนอคือ โมเดลการเมืองแบบประชาธิปไตยของประเทศหนึ่งๆ จะต้องได้รับผลกระทบ
อย่างแน่นอน จากสภาพพื้นฐานของประเทศ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมดั้งเดิม ขั้นตอนการพัฒนาที่เป็นจริง
และสภาพแวดล้อมระหว่างประเทศ นอกจากนี้ ยังได้ชี้ให้เห็นถึงประสบการณ์พื้นฐานที่สำคัญในการสร้าง
การเมืองแบบประชาธิปไตยของจีนสี่ประการ อันได้แก่ ประการแรก ในกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจและ
สังคมนั้น การคุ้มครองสิทธิของประชาชนควรเป็นเอกภาพกับการรวมศูนย์อำนาจรัฐ ประการที่สอง ในขั้นตอน
ประวัติศาสตร์ของการพัฒนาประเทศให้เป็นอุตสาหกรรมและความทันสมัยอย่างแท้จริงนั้น ระบอบ
ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือถูกเลือกให้เป็นทิศทางหลักและจุดเน้นของการสร้างการเมืองแบบ
ประชาธิปไตย ประการที่สาม ด้วยความก้าวหน้าของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมนั้น จะมีส่วนช่วยให้การ
ขยายสิทธิและพัฒนาสิทธิของประชาชนอย่างค่อยเป็นค่อยไป และประการที่สี่ ในการสร้างการเมืองแบบ
สถาบันคลังป+ญญาด.านยุทธศาสตร6ชาติ
4
ประชาธิปไตยและการปฏิรูประบบนั้น กลยุทธ์ผลักดันที่ปัญหาและส่งเสริมด้วยการนำร่องนั้นได้ถูกนำมาใช้เพื่อ
ต้องการหลีกเลี่ยงและลดความเสี่ยงทางการเมือง เป็นต้น
ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้คือ ศาสตราจารย์ฝางหนิง นับว่าเป็นนักวิชาการชั้นนำผู้ที่มีชื่อเสียงมากท่าน
หนึ่งของจีนในปัจจุบัน ในฐานะนักคิดด้านปรัชญาการเมืองและสังคมของประเทศจีน ท่านเรียนจบปริญญาตรี
ในประเทศจีนที่มหาวิทยาลัย Capital Normal University และได้มีโอกาสไปศึกษาต่อระดับปริญญาโท 1 ปี
(1987-88) ด้านการเมืองการปกครอง ณ มหาวิทยาลัย Whittier, California สหรัฐอเมริกา
ท่านมีประสบการณ์ทำงานในสายวิชาการ โดยเป็นศาสตราจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์และกฎหมาย
มหาวิทยาลัย Capital Normal University จากนั้นย้ายมาทำงานในสถาบันวิจัยเป็นผู้อำนวยการสถาบันวิจัย
รัฐศาสตร์(Institute of Political Sciences) ภายใต้สถาบันสังคมศาสตร์จีน (CASS)
ความโดดเด่นของท่านคือ ท่านเป็นผู้ที่มีความสามารถระดับนำด้านปรัชญาและสังคมศาสตร์ จน
ได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในผู้มีความสามารถของ “โครงการหมื่นความสามารถ” ระดับชาติของจีน (国家
“万人计划”哲学社会科学领军人才)และได้รับเชิญให้เป็นผู้บรรยายในการศึกษา
แบบรวมกลุ่ม (Collective Study) ของโปลิตบูโร (กรมการเมือง) ในคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน
2 สมัย
ผลงานด้านงานเขียนของศาสตราจารย์ฝางหนิง มีหลายเล่มด้วยกัน สำหรับหนังสือประสบการณ์
ประชาธิปไตยจีน(民主的中国经验)ถือว่าเป็นเล่มที่เด่นมากเล่มหนึ่ง ซึ่งได้รับการแปลและ
เผยแพร่อย่างกว้างขวางแล้วถึง 6 ภาษา ได้แก่ อังกฤษ อาหรับ สเปน ญี่ปุ่น เกาหลี และล่าสุดคือ ไทย (ภาพที่
1)
อนึ่ง การจัดเสวนาวิชาการในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากท่านอ.พิรุณ ฉัตรวานิชกุล ในฐานะผู้มีความรู้
การเมืองของพรรคคอมมิวนิสต์จีนอย่างแตกฉาน และ อ.ปถวี ตรีกรุณาสวัสดิ์ คนรุ่นใหม่ที่สนใจประวัติศาสตร์
จีน ศึกษาและติดตามการเมืองจีนมาอย่างต่อเนื่อง ให้เกียรติเป็นวิทยากรนำการอภิปราย และได้รับเกียรติจาก
ท่านอดีตรัฐมนตรี อดีตนายกสภามหาวิทยาลัย นักวิชาการ ฯลฯ เข้าร่วมเสวนาและร่วมแสดงความคิดเห็น
ทั้งนี้ สถาบันคลังปัญญาฯ ได้ถอดความการนำอภิปรายของวิทยากรและทัศนะของผู้เข้าร่วมเสวนา มานำเสนอ
ในรายงานฉบับนี้แล้วดังรายละเอียดในบทถัดไป
สถาบันคลังป+ญญาด.านยุทธศาสตร6ชาติ
5
ภาพที่ 1 แสดง ศาสตราจารย์ฝางหนิงและผลงาน
หนังสือประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน
ที่ถูกแปลและตีพิมพ์เผยแพร่ออกเป็น 6 ภาษา
สถาบันคลังป+ญญาด.านยุทธศาสตร6ชาติ
6
ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน
ในทัศนะของผู้มีประสบการณ์กับการเมืองพรรคฯ ของจีน
โดย คุณ พิรุณ ฉัตรวนิชกุล (อดีตรองเลขาฯ กกต)
สวัสดีครับ ผมขอไปอย่างรวบรัดเลยนะครับ ก่อนอื่นต้องขอพูดถึง หนังสือที่คุณยุวดีแนะนำ
ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน ผมก็อ่านด้วยความพินิจพิจารณา มีความประทับใจหนังสือเล่มนี้มาก ปกติไม่
ค่อยได้อ่านหนังสือวิชาการ เขาใช้คำว่าหนังสือวิชาการจากนักวิชาการจีน โดยทั่วไปมักจะเป็นเอกสารที่ทาง
พรรคคอมมิวนิสต์จีนออกมา เพราะฉะนั้นการอ่านหนังสือเล่มนี้จึงมีคุณค่าที่เราจะนั่งพิจารณาในฐานะหนังสือ
วิชาการทางรัฐศาสตร์ที่เกี่ยวกับประชาธิปไตยของจีนที่ดีมากเล่มหนึ่ง อยากจะให้มีการเผยแพร่หนังสือเล่มนี้
เพราะว่าในแง่ของความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพวกเรา เกี่ยวกับประเทศจีน เกี่ยวกับการเมืองจีน ผมว่าที่ผ่านมา
ค่อนข้างน้อย ในด้านของการศึกษาระดับชาติ พูดเลยว่าองค์กรที่เกี่ยวข้องกับด้านประชาธิปไตยของเรา มีการ
พูดถึงประชาธิปไตยและการเมืองของจีนน้อยมาก ประสบการณ์ของประชาธิปไตยของจีนเล่มนี้ถือว่าเป็นการ
เปิดศักราชให้มีการเข้าใจการเมืองจีนให้มากขึ้น
เท่าที่ผมได้อ่านจากหนังสือเล่มนี้ และทำความเข้าใจ เห็นว่า พื้นฐานของพรรคคอมมิวนิสต์ที่จะ
มุ่งหวังสร้างสรรค์ประชาธิปไตยขึ้นมาในประเทศ เป็นเรื่องที่เราไม่ต้องสงสัย เพราะว่าอดีตผู้นำของพรรค
คอมมิวนิสต์จีนตั้งแต่รุ่นก่อตั้งแทบทุกคน ก่อนจะมาเป็นคอมมิวนิสต์ หรือเข้าพรรคคอมมิวนิสต์จีน ล้วนแต่
เป็นนักเคลื่อนไหว นักรักชาติ นักประชาธิปไตยมาก่อนทั้งนั้น เริ่มต้นจากปัญหาเรื่องเอกราชของชาติ และ
ปัญหาที่ประเทศจีนไม่มีประชาธิปไตยอยู่ใต้การปกครองของระบอบฮ่องเต้มายาวนาน เพราะฉะนั้นการ
เคลื่อนไหวเรียกร้องต่อสู้ของผู้คนในยุคสมัยก่อนที่จะมีคอมมิวนิสต์จีน ก็จะเห็นว่าทุกท่านเป็นนักประชาธิปไตย
แล้วเรื่องราวเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นที่ประเทศจีนเท่านั้น นักต่อสู้เพื่อเอกราชเพื่อประชาธิปไตยแทบทุกแห่ง เมื่อไป
ถึงจุดหนึ่งแล้ว จะมาสนใจและมุ่งที่จะสร้างสรรค์ประชาธิปไตยแบบยั่งยืนขึ้นมา
เพราะฉะนั้นว่าไปแล้ว ประชาธิปไตยกับคอมมิวนิสต์มีส่วนใกล้ชิดสนิทสนมกันอย่างยิ่ง จะเห็นว่าบท
เพลงเองของจีนเอง ตั้งแต่จีนยังไม่ปลดปล่อยประเทศ มีเพียงจุดฐานที่มั่นที่ยึดมาได้ ผู้นำจีนให้ความสนใจที่จะ
มองว่า จะทำให้ประชาชนในเขตฐานที่มั่นของตนเองมีการปกครองแบบประชาธิปไตยอย่างไรบ้าง เรื่องนี้ผม
ยกตัวอย่างเปรียบเทียบได้ แม้แต่พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ในสมัยที่ผมไปเข้าร่วมในเขตป่าเขา ก็จะ
เห็นว่า พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยมีฐานที่มั่นอยู่ทางภาคเหนือเล็กนิดเดียว และประชากรส่วนใหญ่ที่
มาร่วมอยู่กับอำนาจรัฐในเขตปกครองหรืออยู่ในฐานที่มั่นพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ก็เป็นชนชาติม้ง
ชนชาติลัวะ แต่สิ่งที่พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยในขณะนั้นให้ความสนใจ คือ ทำอย่างไรให้ประชากร
ที่มาอยู่ในเขตปกครองของพรรคคอมมิวนิสต์ประเทศไทย มีการดำเนินการทางชีวิตตามแบบประชาธิปไตย ถึง
ขนาดมีการจัดตั้งอำนาจรัฐขึ้นมา และจัดให้มีการเลือกตั้งในเขตปกครองเล็ก ๆ มีอยู่แห่งหนึ่งเป็นชนชาติม้ง
สถาบันคลังป+ญญาด.านยุทธศาสตร6ชาติ
7
พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยไปจัดเลือกตั้งโดยที่ประชาชนอ่านหนังสือไม่ได้ ใช้การลงคะแนนเสียงแบบ
เม็ดข้าวโพด คือ พยายามให้มีการเลือกตั้งในเขตของตนเอง โดยแบ่งให้ชัดเจนว่านี่เป็นผู้สมัคร จะหยอดเม็ด
ข้าวโพดลงในชาม คนได้เม็ดข้าวโพดมากกว่า คนนั้นจะขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่บ้านของเขตนั้น ๆ เพราะฉะนั้น นี่เป็น
การแสดงประการหนึ่งของนักปฏิวัติพรรคคอมมิวนิสต์ในแต่ละแห่ง มักจะให้ความสนใจ รวมทั้งที่ท่านเลนินทำ
ไว้ในโซเวียตของรัสเซียด้วย
การพยายามทดลองที่จะวางรากฐานให้พื้นที่ของตนเองที่มีการทดลองให้ประชาชนมีอำนาจอธิปไตย
ถึงขั้นนำพาให้ชาวบ้านร่างธรรมนูญของตนเอง มีการแบ่งหน้าที่กันทำ มีการแบ่งว่า คนนี้รับผิดชอบด้าน
เศรษฐกิจ ด้านเศรษฐกิจดูแลตั้งแต่หมูเห็ดเป็ดไก่ ดูแลทรัพยากร ที่จังหวัดน่านดูแลเรื่องรังผึ้ง รังผึ้งเป็น
ทรัพยากรและเป็นรายได้สำคัญของอำนาจรัฐ เขตจังหวัดน่านจะมีผู้ที่ทำหน้าที่เสมือนเป็นรัฐมนตรีกระทรวง
เศรษฐกิจ มีการพิมพ์เงินขึ้นมาใช้กันเองในเขตที่มั่นเป็นต้น อันนี้ อาจารย์เอนกคงได้เห็นแบบอย่างเหล่านี้มา
บ้าง นี่เป็นเพียงเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เกิดขึ้น แต่ความเป็นจริงแล้ว ในขณะนั้นไม่สามารถดำเนินการทาง
การเมืองได้อย่างต่อเนื่อง ในส่วนของจีนเองก็เช่นเดียวกัน
ผมพูดประเด็นนี้เพียงแต่สะท้อนให้เข้าใจว่า คนอาจจะมองว่าพวกคอมมิวนิสต์เป็นพวกเผด็จการ เป็น
พวกไม่เอาประชาธิปไตย เป็นพวกใช้ความรุนแรง แต่ความจริงแล้ว โดยพื้นฐานเดิมของชาวพรรคคอมมิวนิสต์
หรือนโยบายพรรคคอมมิวนิสต์ มุ่งที่จะทดลองทำเรื่องประชาธิปไตยให้กับประชาชนเป็นหลัก ส่วนที่เห็นจาก
การพยายามจะสร้างสรรค์ประชาธิปไตยในประเทศจีน ตามที่อยู่ในหนังสือประสบการณ์ประชาธิปไตยจีนนั้น
ผมคิดว่ามีประเด็นที่น่าสนใจมาก คือ ได้มีการเสนอระบอบประชาธิปไตยที่เราไม่ค่อยคุ้นชิน ไม่ค่อยได้ยินสัก
เท่าไหร่ มีการเสนอระบอบประชาธิปไตยที่ไม่ใช่ประชาธิปไตยแบบตะวันตก ไม่ใช่ประชาธิปไตยแบบมีการ
เลือกตั้งแข่งขัน ไม่ใช่ระบบ one man one vote แต่มีการเสนอระบอบประชาธิปไตยที่ศาสตราจารย์
ฝางหนิงให้รายละเอียดจำนวนมาก และอันนี้เป็นรากฐานที่เราจะให้ความสนใจในการศึกษา ว่าระบอบที่เสนอ
ไว้และดำเนินการอยู่ขณะนี้ของประเทศจีนจะเป็นอย่างไรบ้าง
ระบอบประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ ผมคิดว่าเรื่องนี้ เราควรจะให้ความสำคัญอย่างมาก และ
ระบบประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ ในหนังสือเล่มนี้ ศาสตราจารย์ฝางหนิง ได้ให้รายละเอียดพูดถึงข้อดีของ
ระบอบนี้ค่อนข้างสูง ในขณะเดียวกันได้เสนอประเด็นที่เป็นอุปสรรคในการที่ประชาชนโดยทั่วไปจะมี
ประชาธิปไตยแบบเดียว แบบแข่งขันอย่างเดียว โดยที่น่าสนใจ คือ ในหนังสือเล่มนี้ได้พูดถึง หมู่บ้านหนึ่งที่ทาง
จีนได้เข้าไปทดลอง ถ้าหากว่ามีการเลือกตั้งระดับหมู่บ้านที่ใช้การลงคะแนนเสียงแบบแข่งขันจะเกิดไรขึ้น
ปรากฏว่า สิ่งที่ผมคิดไม่ถึงเลย ว่ามันเกิดขึ้นเหมือนกับสิ่งที่ได้เกิดขึ้นกับการเลือกตั้งแบบที่ผมมีประสบการณ์
และเห็นมาในประเทศไทย คือ มีการซื้อเสียง ซึ่งเป็นเรื่องแปลก จากการสังเกตว่า หลังเปิดให้มีการเลือกตั้ง
แบบแข่งขัน ปรากฏว่า ร้านอาหาร ร้านคาราโอเกะ ในบริเวณแถบนั้น เปิดกันคึกคัก ผู้เข้าแข่งขัน ผู้สมัคร มี
การพาผู้ที่มีสิทธิที่จะเลือกตั้งไปเลี้ยงกัน หลังเลือกตั้งมีการพาไปเลี้ยงที่ร้านอาหารหรู เป็นต้น นี่เป็นเรื่องที่
ขนาดมีการดูแลอย่างใกล้ชิด แต่ผลการวิจัยและติดตามเกิดสิ่งเหล่านี้ขึ้น มีแบบที่ทำมาในการเมืองไทย คือ
จ้างผู้แข่งขันลงสมัครรับเลือกตั้ง และจ้างคนอีกคนหนึ่งให้มาเป็นคู่แข่ง โดยที่ไปสมัครสมาชิกของอีกพรรค เป็น
สถาบันคลังป+ญญาด.านยุทธศาสตร6ชาติ
8
ต้น อันนี้เกิดขึ้นจากทางคณะวิจัยไปสำรวจมา เพราะฉะนั้น เหตุการณ์เหล่านี้ทำให้จีนเองพิจารณาเรื่องที่จะให้
มีการเลือกตั้งแบบแข่งขัน แบบที่ทำกันอยู่ในประเทศอื่น ๆ หรือไม่ ก็ต้องเป็นเรื่องที่จีนต้องคิดมาก
เขาเลยมองเห็นว่า ในสภาวะปัจจุบันสิ่งที่สำคัญที่สุด แนวคิดของจีนที่ยึดอยู่กับโครงสร้างส่วนบน และ
โครงสร้างส่วนล่าง จีนมองว่า การพัฒนาประเทศให้เป็นอุตสาหกรรมที่ทันสมัย หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องมีการ
ปกครองแบบประชาธิปไตย เพราะว่า ถ้าหากว่ามีการพัฒนาอุตสาหกรรมและมีอุตสาหกรรมทันสมัยมาแล้ว
แต่โครงสร้างส่วนบนไม่เป็นประชาธิปไตย ยังเป็นแบบการวางแผนจากส่วนกลางอย่างเข็มข้น ยังมีการรวมศูนย์
ที่ไม่ให้คนออกความเห็นต่าง ๆ จะทำให้ผู้คน ไม่กระตือรือร้นที่จะประกอบการทางเศรษฐกิจ ทำให้ไม่สามารถ
มีการผลิตทางอุตสาหกรรมที่ทันสมัยได้ ถ้าหากต้องการพัฒนาเศรษฐกิจให้ไปได้ดี ในขณะเดียวกันต้องการที่จะ
มีระบอบการเมืองแบบประชาธิปไตย ต้องทำให้ระบอบเศรษฐกิจมีการพัฒนา ไม่อาจมีประชาธิปไตยในสังคมที่
ล้าหลัง ในสังคมที่ชนบทห่างไกลความเจริญ สังคมเมืองที่มีการเจริญเติบโตน้อย เมืองอยู่ในสภาวะที่เสื่อมโทรม
ผู้คนอยู่ในเมืองอย่างยากจน เพราะฉะนั้น เมื่อจะทำให้เมืองขยายตัว เมืองเจริญรุ่งเรือง เมืองมีกิจกรรมทาง
เศรษฐกิจอย่างคึกคัก เมืองมีอุตสาหกรรมอย่างคึกคัก จำเป็นต้องมีการกระตุ้นให้ประชาชนมีความ
กระตือรือร้น การกระตุ้นให้ประชาชนมีความกระตือรือร้นจะต้องผ่านระบบการเมืองแบบประชาธิปไตยเป็น
ตัวกระตุ้น
แต่การเมืองแบบประชาธิปไตย จีนพบว่า เขาสามารถที่จะระดมความเห็นประชาชนให้แสดง
ความเห็นอย่างกว้างขวาง โดยไม่ต้องผ่านการเลือกตั้งแบบเดียว คือ แบบแข่งขัน แบบลงคะแนนเลือกตั้งทั่วไป
แต่จีนสามารถระดมและคุ้มครองสิทธิของประชาชน ให้ประชาชนมีสิทธิทางเศรษฐกิจ มีสิทธิในการประกอบ
อาชีพได้ โดยไม่มีความจำเป็นที่ต้องเปิดให้มีการเลือกตั้ง ในขณะเดียวกัน จากผลการวิจัย จีนไม่ได้ปิดตายการ
เลือกตั้ง แต่จีนได้พิจารณาถึงในทางสากลว่าโลกกำลังไปแบบนี้ ทุกประเทศทำแบบนี้ ทำให้จีนมีความพยายาม
ในการทดลอง โดยวิธีการของจีน ในการทำงานการเมือง ในการสร้างประชาธิปไตย เขามีวิธีที่เปิดเขตทดลอง
ในเรื่องเขตเศรษฐกิจที่เขาเริ่มทดลองเป็นแบบนี้ มีการใช้เขตเศรษฐกิจพิเศษ มีการทดลองเขตบางเขตที่มีความ
พร้อมก่อน ในด้านการเมืองก็เช่นเดียวกัน จีนมองว่า จำเป็นต้องมีการนำร่องจากการทดลองให้มีการเลือกตั้ง
ในบางส่วน ในบางเมือง ในบางมณฑลก่อน และการเลือกตั้งเป็นการเลือกตั้งทางการเมืองอย่างเดียว แต่เป็น
การเลือกแบบเจ้าหน้าที่ของทุกหน่วยงานพรรคคอมมิวนิสต์เองที่ได้มีการขยายให้มีความคล่องตัว และให้ได้รับ
การคัดสรรมากขึ้น เพราะฉะนั้นจีนค่อย ๆ จะไปในแนวทางนี้
ผมมีข้อสังเกตประการณ์หนึ่งจากการอ่านหนังสือเล่มนี้ ว่าระบอบประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ
ความจริงเป็นระเบียบของพรรคคอมมิวนิสต์ทุกแห่ง ลักษณะของพรรคคอมมิวนิสต์สากล ไม่ว่าจะเป็นพรรค
คอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เขามีระบบระเบียบในการเป็นประชาธิปไตย ถือว่าทุกคนที่สังกัดในพรรค มีที่
ประชุมที่จะออกความเห็นได้เป็นระยะ ประเทศจีนในขณะนี้ ผมเข้าใจว่า จะมีการประชุมพรรคเกือบทุกที่แทบ
ทุกอาทิตย์ เวลาเราเดินทางไปจีน จะพบว่าเจ้าหน้าที่มาต้อนรับขอลาไปประชุม (ประชุมหน่วยพรรค) แสดงว่า
วิธีการปฏิบัติภายในพรรคคอมมิวนิสต์มีระบบระเบียบ มีธรรมเนียมปฏิบัติที่จะส่งเสริมให้มีประชาธิปไตยแบบ
ปรึกษาหารืออยู่แล้ว
สถาบันคลังป+ญญาด.านยุทธศาสตร6ชาติ
9
สิ่งที่คนภายนอกอาจจะคิดไม่ถึงในพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน แม้แต่กองทัพของจีนก็มี
ประชาธิปไตยในกองทัพ ในกองทัพปลดแอกที่นำโดยพรรคคอมมิวนิสต์โดยทั่วไปมีผู้นำสองฝ่าย คือ มีผู้
บัญชาการและผู้ชี้นำทางการเมือง ผู้ชี้นำทางการเมืองที่อยู่ในกองทหารตั้งแต่ผู้กองเป็นต้นไป ก็จะมีการดำเนิน
ชีวิตทางการเมืองของบรรดาทหารในสังกัดอยู่ในกองร้อยหรือกองพันให้มีชีวิตแบบประชาธิปไตย แม้กระทั่ง
ประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ ทุกแห่งจะมีการเปิดประชุมเดือนละครั้ง สองเดือนครั้ง เพื่อให้ทุกคนได้ออก
ความเห็นว่าชีวิตในกองร้อยเป็นอย่างไรบ้าง ชีวิตความเป็นอยู่ ข้าวปลาอาหาร สิ่งที่พบเห็นสามารถร้องเรียนได้
เช่น เบี้ยเลี้ยง ถ้าเป็นในกองทัพจีน เขาจะมีระบบให้ประชุมทางเศรษฐกิจ เขาเรียกว่า ประชาธิปไตยเศรษฐกิจ
ในกองทหาร ในทหารทุกระดับสามารถที่จะออกความเห็นได้ในที่ประชุมนั้น ๆ ว่าชีวิตความเป็นอยู่เป็นอย่างไร
ข้าวปลาอาหาร มีความเดือนร้อนอะไรบ้าง เพราะฉะนั้นธรรมเนียมปฏิบัติภายในพรรคคอมมิวนิสต์เองเอื้อที่จะ
เกิดรูปแบบประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือมาก
ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ คิดว่าจะเป็นแนวโน้มใหญ่ของการดำเนินการในประเทศจีนที่เรา
จะต้องติดตาม เทคโนโลยีสมัยใหม่ อินเตอร์เน็ต เครือข่ายต่าง ๆ มันจะเอื้อต่อการใช้วิธีการมากขึ้น อย่างเช่น
ที่จีนให้ทุกคนในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเข้าร่วมประชุมสภาประชาชนได้ โดยรับฟังการถ่ายทอดและแสดงความ
คิดเห็น มีแอดมินรับเอาเรื่องราวต่าง ๆ ที่ประชาชนร่วมแสดงความคิดเห็น ผมว่าเทคโนโลยีสมัยใหม่จะมีส่วน
ส่งเสริมในด้านการแสดงความคิดเห็นที่เป็นประชาธิปไตยอย่างกว้างขวาง ในขณะเดียวกันที่ศาสตราจารย์
ฝางหนิงพูดถึงก็คือว่า ขณะนี้จีนก็จะยังไม่หยุด จะยังแสวงหาแนวทางใหม่ ๆ เพื่อให้ประชาธิปไตยแบบ
ปรึกษาหารือมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อาจจะต้องติดตามต่อไปว่า เขาจะมีวิธีการอย่างไร อันนี้ก็เป็นประเด็น
หนึ่ง จะฝากว่าเรื่องประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือนี้ เนื่องจากว่าในทางรัฐศาสตร์ การเสนอเรื่องนี้ แม้ว่าจะ
เป็นเรื่องที่มีมายาวนาน แต่ในขณะนี้มีการเสนอขึ้นมาเหมือนกับว่า เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมาใหม่ ผมก็คิดว่า
น่าสนใจ น่าสนใจที่จะศึกษาต่อไป
อีกประเด็นหนึ่งในหนังสือเล่มนี้ที่น่าสนใจก็คือว่า จีนเสนอว่าให้จับปัญหาที่เกิดขึ้นจากความเป็นจริง
เริ่มจากการปฏิบัติ แล้วก็ลงไม้ลงมือแก้ปัญหาอย่างจริงจัง เช่น ปัญหาเรื่องความยากจน ความจริงตั้งแต่เริ่มต้น
ที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนเริ่มปลดปล่อยประเทศคือแก้ปัญหาเรื่องความยากจน ชาวนาไม่มีที่ดินทำกินของตัวเอง
จีนก็ยึดแผ่นดินทั้งหมดแล้วก็มาแบ่งปัน แบ่งปันไม่ใช่ให้เลย แต่ว่าให้ทำ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา 70 กว่าปี คนที่
ได้รับที่ดินจากการแบ่งปันนั้นไปก็ยังอยู่ในลิสต์ของกระบวนการแก้ปัญหาของหน่วยงานที่แก้เรื่องความยากจน
แก้ปัญหามาจนทุกวันนี้ มีการสอบถามตรวจสอบตลอดเวลา ในคนที่ใช้ที่ดิน มีการสำรวจ มีการวิจัยว่า คนที่
ได้รับที่ดินไป เช่น คนละสิบห้าไร่ ในหมู่บ้านเดียวกัน ในตำบลเดียวกัน ใครบ้างที่มีการเปลี่ยนแปลงดีที่สุด แล้ว
ครอบครัวไหนที่ได้รับไปเท่ากัน ทำไมจึงมีผลิตผลน้อยกว่าคนอื่น ฉะนั้นเขาจะเข้าไปสอบถามว่ามีปัญหาอะไร
ติดขัดอะไร ติดขัดเพราะว่าจริง ๆ แล้วไม่ชอบ แต่ขณะนั้นไม่มีทางเลือก ถ้าเป็นอย่างนี้คุณจะเปลี่ยนไหม
เปลี่ยนจากการทำเกษตรกรรมแบบนี้ไปเป็นช่างฝีมือไหม อันนี้ผมพูดถึงรายละเอียดเท่านั้นเองว่า กระบวนการ
ที่จะแก้ความยากจน เวลาเขาจับปัญหาไหน ศาสตราจารย์ฝางหนิงบอกว่า เขาจะจับปัญหานั้น แล้วก็ทดสอบ
นำร่องแก้ปัญหาไปเรื่อย ๆ ไม่จบไม่สิ้น ทำให้เขาแก้ปัญหาแต่ละเรื่องที่เป็นเรื่องสำคัญแก้ได้ตกไป
สถาบันคลังป+ญญาด.านยุทธศาสตร6ชาติ
10
นอกจากนี้ มีประเด็นที่คิดว่าเรื่องราวในประวัติศาสตร์หลายเรื่อง เติ้งเสี่ยวผิงก็ดี ผู้นำพรรคฯ ก็ดี ก็
ยอมรับว่า พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนเคยทำเรื่องผิดพลาดใหญ่ ๆ มาหลายเรื่องหลายครั้ง แต่เติ้งเสี่ยว
ผิงบอกว่า ขอหยุดไว้ก่อน จะกลับไปสรุปบทเรียนยังไงก็ได้ แต่ไม่ใช่ใช้เวลาขณะนี้ไปขุดมันจนกระทั่งไม่จบไม่
สิ้น ก็ยอมรับว่ามีเรื่องผิดพลาด แต่ตอนนี้ความสำคัญของประเทศจีนในการก้าวไปข้างหน้ามันมีความสำคัญ
มากกว่า เพราะฉะนั้นขอให้คิดเรื่องที่จะก้าวไปข้างหน้าก่อน แต่จะไปสรุปบทเรียนแล้วจะไปเอาผิดใคร ไปก่อ
เรื่องนองเลือดอย่างไร ไม่ใช่ว่าพรรคคอมมิวนิสต์จีนจะไม่ยอมรับ แต่ขออย่าถึงขั้นเอาตอนนี้ให้ตายกันไปข้าง
หนึ่ง เพราฉะนั้นก็เป็นเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจที่ศาสตราจารย์ฝางหนิงได้พูดถึงอยู่ว่า ไม่ใช่ว่าจะละเลยสิ่งที่ทำ
ผิดพลาดมาในอดีต แล้วก็ลืมไป แต่มันก็มีอีกหลายเรื่องและมันต้องใช้เวลา
ผมคิดว่าการศึกษาชุดคำในสมัยเหมาเจ๋อตงก็ดี หรือในสมัยต่อมาก็ดี ก็จะมีการอ้างคำพูด 2-3
ประโยคนี้แล้วก็นำไปตีความมากมาย เพราฉะนั้น ต้องรู้ว่าคำพูดเหล่านั้นถูกใช้ที่ไหน ใช้ในบริบทอะไร เช่น
กรณีที่ว่า เสียงข้างน้อยต้องขึ้นกับเสียงข้างมาก ในกรณีนี้ ศาสตราจารย์ฝางหนิงก็บอกว่า ประชาธิปไตยแบบ
ปรึกษาหารือ จะสามารถหลีกเลี่ยงจุดอ่อนของการที่เอาแต่เสียงข้างมาก ไม่ใช่ว่าลงมติชนะกันแค่เสียงเดียวก็
ต้องเอาเรื่องนั้นไปเลยเพราะว่าคุณแพ้แล้ว เสียงข้างน้อยถูกละเลยไปเลย ไม่ได้รับการปฏิบัติ ประชาธิปไตย
แบบปรึกษาหารือเขาว่าจะได้ฟังเสียงข้างมาก แล้วก็ได้ฟังสิ่งที่เสียงข้างน้อยเสนอไว้ว่ามีวิธีไหนบ้างที่จะทำให้
เสียงข้างน้อยและเสียงข้างมากมีวิธีปฏิบัติไปด้วยกัน กรณีที่พูดว่า เสียงข้างน้อยให้ขึ้นกับเสียงข้างมาก มันอยู่
ในระเบียบการของพรรคคอมมิวนิสต์ ก็มีคำพูดหนึ่งสำหรับสมาชิกพรรคเท่านั้น คือ บุคคลต้องขึ้นกับเหล่า
จัดตั้ง แล้วในเหล่าจัดตั้งเสียงข้างน้อยต้องขึ้นต่อเสียงข้างมาก ชั้นล่างขึ้นต่อชั้นบน ทุก ๆ ส่วนขึ้นต่อศูนย์การ
นำ คำพูดชุดนี้เขาไม่ได้เอามาใช้กับประชาชนทั่วไป แต่สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ปฏิญาณตนต้องปฏิบัติตามนี้
นั่นคือ คุณอยู่ที่ไหนก็ตาม ต้องขึ้นอยู่กับเหล่าจัดตั้ง แล้วเมื่อมีการถกเถียง มีการอภิปราย มีการลงมติในหน่วย
จัดตั้งนั้น ๆ เสียงข้างน้อยต้องขึ้นต่อเสียงข้างมาก ไม่ใช่ไม่จบไม่สิ้น ตัดสินกันแล้วหลายครั้งเสียงข้างน้อยก็ยัง
ไปเคลื่อนไหวก่อการปั่นป่วนวุ่นวาย ไม่ยอม ให้จบเป็นขั้น ๆ เรื่องนี้มีมาตั้งแต่สมัยเหมาเจ๋อตง เหมาเจ๋อตงเคย
เป็นเสียงข้างน้อย แล้วก็โหวตแพ้ จำเป็นต้องทำตามเสียงข้างมาก ใน Long March ถ้าเราเคยไปอ่านประวัติ
เราจะเจอ แล้วต่อมาพักหลังปรากฏว่า ข้อเสนอที่เหมาเจ๋อตงเสนอไปนั้นน่าจะถูกต้องมากกว่าก็มีการประชุม
ในระยะถัดมา แล้วนำเอาแนวทางที่เหมาเจ๋อตงเสนอขึ้นมาแทน ก็คือเมื่อคุณยังเป็นเสียงข้างน้อยอยู่ ใน
ระหว่างที่เป็นเสียงข้างน้อย ในฐานะที่คุณเป็นสมาชิกพรรค เป็นกรรมการกลาง บริหารอยู่ในพรรคเดียวกัน
เสียงข้างน้อยต้องขึ้นกับเสียงข้างมากไปก่อน เพราะฉะนั้นเรื่องราวเหล่านี้ต้องดูบริบทของการใช้คำ ว่าเขาใช้
กับบริบทไหน
สำหรับเรื่องนี้ผมก็ขอเพียงแต่พูดว่า เรื่องราวของประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือจะเป็น
ประชาธิปไตยระดับไหน ไม่มีระบบไหนที่สมบูรณ์แบบ มีแต่ข้อดี ไม่มีข้อบกพร่อง เพราฉะนั้นก็ไม่ใช่ว่าไปหลง
กับมันอย่างเดียว ทางศาสตราจารย์ฝางหนิงก็บอกแล้วว่าประชาธิปไตยมีหลายรูปแบบ วิธีการต่าง ๆ มันยังมี
อีกหลายเงื่อนไข ต้องอย่าไปหลงยึดติดกับวิธีใดวิธีหนึ่งอย่างเดียว จะต้องนำมาซึ่งสภาพความเป็นจริง คือ
สถาบันคลังป+ญญาด.านยุทธศาสตร6ชาติ
11
เริ่มต้นจากสภาพความเป็นจริง เริ่มต้นจากสถานการณ์ในขณะนั้นแล้วมาพิจารณา ไม่ใช่ว่าเอาเรื่องเฉพาะไปใช้
ทั่วไป เอาเรื่องทั่วไปมาใช้กับการแก้ปัญหาเฉพาะเรื่อง
ประวัติวิทยากร
คุณ พิรุณ ฉัตรวนิชกุล
จบการศึกษาจากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อดีตรองเลขาธิการ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ชุดที่ 1
สถาบันคลังป+ญญาด.านยุทธศาสตร6ชาติ
12
ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน
ในมุมมองประวัติศาสตร์และการเมืองจีนยุคใหม่
โดย คุณ ปถวี ตรีกรุณาสวัสดิ์
ผมขอขอบคุณทางผู้จัดนะครับ สถาบันคลังปัญญาฯ และศูนย์วิจัยไทยจีนที่ให้โอกาสผมมาร่วมเสวนา
ในวันนี้ สิ่งแรกขอเรียนว่า ที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นการกล่าวในนามบุคคลและเป็นความคิดเห็นส่วนตัวเท่านั้น
ตอนที่ได้รับการทาบทามให้มาร่วมเสวนา ผมรู้สึกยินดีและดีใจว่าในประเทศไทยมีการศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับ
ประเทศจีน ซึ่งจะช่วยเพิ่มองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับประเทศจีนในไทย สำหรับผลงานการศึกษาเกี่ยวกับจีนในอดีต
ซึ่งค่อนข้างน้อย ดร.เขียน ธีระวิทย์ได้ปูรากฐานไว้ และในวันนี้มี อ.วรศักดิ์ มหัทธโนบล ซึ่งได้ช่วยอย่างมากใน
การสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างการเมืองจีนให้กับคนไทย
ก่อนอื่น พอเห็นชื่อของหนังสือ “ประสบการณ์ประชาธิปไตยของจีน” ผมค่อนข้างที่จะตกใจและ
เชื่อว่าชื่อของหนังสือน่าจะช่วยทำให้ขายหนังสือได้มากขึ้น เพราะว่าทุกคนจะตั้งคำถาม ว่า “เอ๊ะ จีนเป็น
คอมมิวนิสต์ แล้วชื่อบนปกที่บอกว่าประชาธิปไตย เป็นประชาธิปไตยในรูปแบบไหนและมาจากไหน” จากที่
ผมได้คุยกับคุณยุวดีฯ ผู้จัดการเสวนาครั้งนี้ ทราบว่ามีนักวิชาการบางคนได้ตั้งคำถามนี้ด้วยเหมือนกัน และ
อาจจะเอาไปพูดคุยในลักษณะที่แซวด้วย ซึ่งผมคิดว่าสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ใช่ “bad news” แต่เป็น news ที่ช่วย
สร้างความตื่นตัวหรือ awareness กระตุ้นให้คนอยากค้นหาและทำความเข้าใจ หรืออย่างน้อยน่าจะช่วยให้
ขายหนังสือได้มากขึ้น
ด้วยเวลาสั้น ผมขอสรุปสิ่งที่ได้จากการอ่านหนังสือเล่มนี้ ดังนี้ ประการแรก หนังสือเล่มนี้เหมือนเป็น
ปฏิกิริยาตอบสนอง โดยแสดงให้เห็นการมีตัวตนและอัตลักษณ์ของจีนและปฏิเสธความคิดและทฤษฎีของ
ตะวันตก โดยเฉพาะของ Fukuyama ที่ในยุคทศวรรษ 1990 มองว่าประชาธิปไตยเสรี (liberal democracy)
จะเป็นจุจบของประวัติศาสตร์ (The End of History) ซึ่งข้อสรุปดังกล่าว ภายในไม่ถึงหนึ่งชั่วอายุคน เมื่อ
คำนึงถึงการพัฒนาของจีนก็ดูเหมือนว่า อาจจะดูสั่นคลอนหรือถูกตั้งคำถาม
ประการที่สอง สิ่งที่อ่านไปแล้วมันกระโดดขึ้นมา คือ หนังสือได้บรรยายประสบการณ์ของจีนเกี่ยวกับ
ประชาธิปไตยว่าเป็นกระบวนการที่คดไปวนมา เป็นเหมือนกับคนเล่นปิงปอง ตั้งแต่สมัยปลายราชวงศ์ชิงก็เป็น
ที่ตระหนักในวงกว้างแล้วว่า กระบวนทัศน์และมุมมองต่อโลกที่มองว่าราชวงศ์ชิงหรือจีน เป็นศูนย์กลางของ
โลกได้เปลี่ยนไปแล้ว การพ่ายแพ้สงครามฝิ่นทั้งสองครั้งและการพ่ายแพ้สงครามกับประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะ
การแพ้สงครามต่อประเทศญี่ปุ่น ทำให้ราชวงศ์ชิงเล็งเห็นความสำคัญของการปฏิรูปและเปลี่ยนแปลงตนเอง
ให้ก้าวไปสู่หรือกลับคืนไปสู่สถานะความเป็นพี่ใหญ่และมหาอำนาจของภูมิภาค ในการนี้ ในช่วงปลายราชวงศ์
ชิง ได้มีความพยายามที่จะศึกษาบทเรียนของประเทศอื่น ๆ โดยการจัดตั้งเป็นคณะทำงานเพื่อปฏิรูประบบการ
สถาบันคลังป+ญญาด.านยุทธศาสตร6ชาติ
13
ปกครอง โดยได้ไปศึกษาระบบการปกครองต่าง ๆ ของอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมันในสมัยนั้น และนำกลับมา
เพื่อประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ในประเทศ แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายว่า ข้อเสนอต่าง ๆ ไม่ได้รับการให้ความสำคัญ
เนื่องจากถูกมองว่าไม่เป็นประโยชน์และสอดคล้องกับสถานการณ์ และต่อมา อันนี้ผมคิดว่ามันเป็นความ
ผิดพลาดเชิงยุทธศาสตร์ “strategic misstep” ของราชวงศ์ชิงคือ การล้มล้างหรือล้มเลิกระบบการสอบ
คัดเลือกข้าราชการ หรือที่รู้จักในไทยในชื่อชอง การสอบจอหงวน “状元” ซึ่งเหตการณ์ดังกล่าว เป็นการ
สะบั้นเส้นเลือดใหญ่ที่เชื่อมอำนาจของรัฐกับผลประโยชน์ของชนชั้นกลางที่แผ่ขยายไปทั่วทุกอณูของสังคม
และเป็นเสมือนการทำลายฐานการสนับสนุนรัฐบาลและราชวงศ์ชิงของชนชั้นกลางโดยปริยาย ถ้าเทียบกับ
ปัจจุบันก็คือการทำลายฐานและโครงสร้างของระบบราชการ ดังนั้น ย่อมแน่นอนว่า ราชวงศ์นั้น ๆ หรือรัฐบาล
ใดก็ตามคงอยู่ได้ยาก หากทำการล้มล้างระบบเดิมแต่ไม่มีระบบใหม่ที่เข้ามาแทนที่
ภายหลังการล่มสลายของราชวงศ์ชิง ก็เข้าสู่ยุคขุนศึก ยุคสาธารณรัฐและยุคจีนคณะชาติ ซึ่งหาก
ถามว่าในช่วงนั้นมีกลุ่มอำนาจไหนที่ให้ความสำคัญกับแนวคิดประชาธิปไตยอย่างแท้จริงหรือไม่ จากที่อ่านและ
ศึกษาก็คงต้องตอบว่ามีอยู่น้อย โดยทุกกลุ่มอำนาจ ไม่ว่าขุนศึก พรรคก๊กมินตั๋งหรือแม้แต่พรรคคอมมิวนิสต์เอง
ก็ให้ความสำคัญกับอำนาจในเชิงที่เป็นรูปธรรม คือปกครองพื้นที่เท่าไหร่ ยึดครองหน่วยงานกี่หน่วยงาน กอง
กำลังติดอาวุธมีกำลังพลกี่นาย เก็บภาษีได้เท่าไหร่ มีงบประมาณดำเนินโครงการเท่าไหร่ ฯลฯ แต่ท่ามกลาง
ความแก่งแย่งของกลุ่มอำนาจต่าง ๆ แนวคิดและอุดมการณ์ประชาธิปไตยตามความเข้าใจของเราในปัจจุบัน
กลับไปเกิดที่เยาวชน ในชนชั้นกลางปัญญาชน โดยเฉพาะคนที่มีการศึกษา ซึ่งจากการสังเกตจะพบว่าช่วงต้น
ทศวรรษ 1910 หรือช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 เราจะมีเห็นขบวนการ (movement) ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น New
Age Movement หรือว่าจะเป็น May 4th Movement หรือการเคลื่อนไหวต่าง ๆ ไม่เพียงถูกขับเคลื่อนด้วย
แนวคิดเกี่ยวกับประชาธิปไตย แต่รวมถึงแนวคิดการเมืองอื่น ๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นแนวคิดคอมมิวนิสต์ ฟาสซิสต์
แนวคิดอนาธิปไตย (anarchist) ซึ่งเป็นภาพสะท้อนของความกระหายและความอยากที่จะหา reason of
being และทางออกในการแก้ไขปัญหาปากท้อง การแก้ไขปัญหาอัตลักษณ์ที่ถูกดูแคลน เราจะทำอย่างไร
ภายใต้บริบทการเสาะแสวงหาคำตอบและการสร้างอัตลักษณ์ใหม่ขึ้นมาแทนที่อัตลักษณ์ที่ล่มสลายไป
กับราชวงศ์ชิงและภายใต้สมมุติฐานว่า ระบบการเมืองเป็นตัวกำหนดความสำเร็จของสังคม เยาวชนและ
ปัญญาชนจีนเมื่อ 100 กว่าปีที่แล้ว จากตัวอย่างความเจริญก้าวหน้าของประเทศตะวันตกก็หันมารณรงค์
แนวคิดที่ให้ความสำคัญกับการ “ใฝ่หานายเต๋อ (德) หรือ democracy กับ นายไซ่ (赛) หรือ science” เพื่อ
แก้ไขปัญหาต่าง ๆ แต่ความฝันดังกล่าวก็ถูกทำให้พังทลายลงด้วยผลลัพธ์ของสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่จีนไม่ได้
ผลประโยชน์ที่เป็นรูปธรรม และสิ่งที่ตามมาคือ เยาวชนและปัญญาชนจีนรู้สึกว่า ‘อ้าว เรานึกว่าถ้าเราเป็น
เหมือนพวกเขา ถ้าเราเชื่อและทำตามตัวอย่างของเขาแล้วจะดี แต่ทำไมในที่สุดเราไม่ได้อะไรเลย ทำไมเราถูก
หักหลัง ...’ ซึ่งผมคิดว่าเหตุการณ์ในช่วงนี้ ทำให้ชาวจีนหลายกลุ่มมองว่า การนิยมตะวันตก การเชิดชู
ประชาธิปไตยไม่ใช่คำตอบสำหรับจีน และนั่นก็เป็นจุดเริ่มต้นของการที่คนหลายกลุ่มพยายามหารูปแบบใหม่ ๆ
ที่ใช่สำหรับจีน ซึ่งรวมถึงอุดมการณ์และแนวคิดลัทธิคอมมิวนิสต์ด้วย
สถาบันคลังป+ญญาด.านยุทธศาสตร6ชาติ
14
ในการนี้ ขอกล่าวเพิ่มเติมว่า ความจริงแล้ว พรรคก๊กมินตั๋งกับพรรคคอมมิวนิสต์เองไม่ได้ห่างไกลกัน
เพราะในการสร้างพรรคก็กมินตั๋ง ซุนยัตเซ็นได้ไปขอและได้รับความช่วยเหลือจากพรรคคอมมิวนิสต์รัสเซีย
ทั้งการปฏิรูปโครงสร้างของพรรค การอบรมบุคลากร การปรับปรุงคุณภาพของงานทางด้านความคิด
การยกระดับงานด้าน propaganda ฯลฯ ซึ่งเงื่อนไขเพื่อความช่วยเหลือดังกล่าวคือการให้พรรคก๊กมินตั๋ง
ทำงานกับพรรคคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวทำให้ผมคิดว่ายุคทศวรรษ 1910 - 1920 เป็นยุคที่
น่าสนใจมาก เพราะทั้งพรรคก๊กมินตั๋งและพรรคคอมมิวนิสต์เป็นเพื่อนร่วมงานกัน ซึ่งส่งผลให้สองพรรคและ
บุคคลที่เกี่ยวข้องกับสองพรรครู้จักกันและมีเพื่อนอยู่ทั้งสองพรรค ซึ่งความใกล้ชิดดังกล่าว กอปรกับ
ประสบการณ์ที่ชนชั้นผู้นำประสบ ส่งผลให้ในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังการตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน
นโยบายของผู้นำของทั้งสองฝั่งช่องแคบไต้หวัน แม้ว่าจะภายนอกจะดูเหมือนแตกต่างกัน แต่เมื่อพิจารณา
เชิงลึกก็จะเห็นว่ามุ่งแก้ปัญหาที่ตนมองว่าเป็นจุดอ่อนในยุคทศวรรษ 1920 และ 1930 กล่าวคือ พรรค
คอมมิวนิสต์มุ่งแก้ไขปัญหาที่ดินในขณะที่พรรคก๊กมินตั๋งมุ่งแก้ไขปัญหาคอร์รัปชัน ซึ่งอันนี้เป็นภาพใหญ่ทาง
ประวัติศาสตร์ก่อนที่จะปูทางไปสู่พัฒนาการทางการเมืองในยุคต่อไปของสาธารณรัฐประชาชนจีน
ประการที่สาม หนังสือระบุว่า การพัฒนา “ประชาธิปไตย” ในปัจจุบันของจีน เป็นปฏิกิริยาสะท้อน
กลับของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในยุคปฏิวัติวัฒนธรรม โดยทางการจีนมองว่าเหตุการณ์ในช่วงดังกล่าวเป็นการ
แสดงออกทางประชาธิปไตยที่ไร้ระเบียบแบบแผน (disorderly democracy) ซึ่งบั่นทอนเสถียรภาพและ
ความมั่นคงของชาติ ในการนี้ จากการทบทวนบทเรียนของยุคปฏิวัติวัฒนธรรม สิ่งที่พรรคคอมมิวนิสต์จีน
ดำเนินการหลังจากนั้น คือ การสร้างประชาธิปไตยที่มีระเบียบแบบแผน (orderly democracy) ซึ่งข้อความ
ดังกล่าว สะท้อนและตอกย้ำอย่างชัดเจนความห่วงกังวลหลักเกี่ยวกับประเด็นความมีระเบียบแบบแผนในการ
ปกครองหรือการจัดระเบียบในสังคม ซึ่งภาพดังกล่าว เหมือนที่กล่าวข้างต้นแล้ว ตอกย้ำว่าพัฒนาการของจีน
เป็นกระบวนการการเกิด action และ reaction อย่างไม่สิ้นสุด เหมือนการตีโต้ปิงปองไปเรื่อย ๆ ซึ่งสอดคล้อง
กับสิ่งที่อาจารย์ที่เป็นนักปรัชญาลัทธิมาร์กซ์ของผมสมัยเรียนที่มหาวิทยาลัยที่ปักกิ่งสอนไว้ว่า
กระบวนการพัฒนาของจีน เป็นเหมือนบันได มันจะขึ้นมาและจะลงไปบ้าง อาจจะมีปัญหาบ้าง แต่จากจุด
ที่ม้วนตัวลงมา สิ่งที่สำคัญคือการหาทางออกเพื่อก้าวขึ้นไปสู่ระดับที่สูงขึ้นต่อไป ซึ่งไม่ขัดแย้งกับทฤษฎีทฤษฎี
วัตถุนิยมวิภาษ และความพยายามในการสร้างความสอดคล้องระหว่างโครงสร้างส่วนบนกับโครงสร้างส่วนล่าง
นอกจากนี้ หนังสือได้กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของการมี orderly democracy คือการสนับสนุนและ
ขับเคลื่อนนโยบายปฏิรูปและเปิดประเทศ (reform and opening) ของเติ้ง เสี่ยวผิง (ปี ค.ศ. 1978) ซึ่งเป็น
ความพยายามที่จะกลับมาสู่ประชาคมโลก การที่จะอยู่เคียงข้างเทียบไหล่ได้กับประเทศในสากล โดยปัญหา
ที่ผู้นำจีนในตอนนั้นมองว่าเป็นปัญหาที่ต้องก้าวข้าม คือ การปลดปล่อยศักยภาพและพลังการผลิตของ
ประชาชน ดังนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นคือการสร้างกระบวนการที่เปิดกว้างและเป็นประชาธิปไตยมากขึ้นด้วยการ
พยายามแยกหน้าที่ (function) และความรับผิดชอบของภาครัฐ หน่วยงานราชการและหน่วยงานของพรรค
คอมมิวนิสต์ออกจากกัน เพื่อไม่ให้เกิดการรวมศูนย์ของอำนาจเกินไป ซึ่งก็ต้องยอมรับว่า หากใช้ระดับการ
พัฒนาทางวัตถุเป็นตัววัด การกระจายอำนาจการตัดสินใจและการแบ่งหน้าที่ระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ของ
สถาบันคลังป+ญญาด.านยุทธศาสตร6ชาติ
15
สังคมประสบคามสำเร็จค่อนข้างมาก อย่างไรก็ดี แม้ว่าในปัจจุบันประเทศจีนจะได้พัฒนาไปมากแล้ว แต่จากที่
ท่านอาจารย์พิรุณฯ ได้กล่าวข้างต้น หน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ของภาครัฐของจีนต้องไปประชุมของสาขาพรรค
คอมมิวนิสต์ทุกอาทิตย์ ซึ่งตอกย้ำข้อเท็จจริงว่า ในปัจจุบัน แม้ว่าจีนจะพัฒนาไปสู่ประเทศแนวหน้าของโลก
แล้ว แต่ในเชิงลึก จีนก็ยังมีสภาพเหมือน deep state ซึ่งมีโครงสร้างหลายส่วนที่ทับซ้อนกันอยู่ นอกจากนี้
อีกภาพที่ต้องดูต่อไปคือ พรรคกับรัฐบาลจะแยกโครงสร้าง function และความรับผิดชอบได้ถึงขนาดไหน
โดยไม่นำมาซึ่งความอ่อนแอของโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์จีนและภาคส่วน
ต่าง ๆ ของสังคม การปลดปล่อยพลังทั้งของภาครัฐและเปิดโอกาสให้ภาคประชาชน ภาควิชาการ ฯลฯ เติบโต
และมีความรับผิดชอบในการกำหนดอนาคตของตัวเองมากขึ้นนำมาซึ่งสิ่งใด
ในประสบการณ์ของจีน หลังจากที่เปิดประเทศและปฏิรูปประเทศ 10 ปี ในปี 1989 คือเหตุการณ์
เทียนอันเหมิน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียใจว่า เกิดการเสียเลือดเสียเนื้อขึ้น แต่ถ้ามองลึกลงไป ต้นเหตุของเหตุการณ์
เทียนอันเหมิน คือ การเรียกร้องของเยาวชนและนักศึกษามหาวิทยาลัยในประเด็นเดิม ๆ ได้แก่ ปัญหาปาก
ท้อง คอร์รัปชั่น ประสิทธิภาพการบริหารจัดการของประเทศ การที่เจ้าหน้าที่ของภาครัฐบางคนใช้ตำแหน่ง
กอบโกยผลประโยชน์และเรียกทรัพย์สิน ซึ่งล้วนเป็นปัญหาเดิม ซึ่ง ณ จุดนี้ ผู้นำระดับสูงของพรรค
คอมมิวนิสต์ก็มองว่าเราไม่ได้เข้มงวดเกี่ยวกับระเบียบและอุดมการณ์และมุ่งพัฒนาทางเศรษฐกิจจนก่อให้เกิด
ความหย่อนยาน และจำเป็นต้องจัดระเบียบสังคมในส่วนภาครัฐและภาคประชาชน ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าว ก็
เป็นปฏิกิริยาตีกลับเหมือนการตีโต้ในเกมส์ปิงปองที่มุ่งปรับทัศนคติของสังคมในภาพรวม หรือการที่บันไดของ
การพัฒนาประเทศมาถึงจุดม้วนตัวลงและพรรค/ภาครัฐต้องหาทางออกและกำหนดแนวทางสำหรับการพัฒนา
ประเทศต่อไป หรือการต้องพยายามสร้างความสอดคล้อง ระหว่างองคาพยพต่าง ๆ ของสังคม ทั้งนี้ ถ้ามอง
จากภาพรวมของการพัฒนาประเทศต่าง ๆในโลก ในยุคทศวรรษ 1960-1970 ประเทศในโลกตะวันตก เช่น
ฝรั่งเศสหรือแม้กระทั่งหลายประเทศในเอเชียก็เกิดกระแสนิยมอุดมการณ์สังคมนิยม ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า
การเกิดปฏิกิริยาตีกลับในสังคมเมื่อประชาชนรู้สึกถึงว่าหาทางออกไม่ได้ ทั้งนี้ ที่สำคัญยิ่งกว่าคือสังคมนั้น ๆ
สร้างสภาวะสมดุลอีกครั้งอย่างไร ซึ่งในกรณีของจีนคือการจัดระเบียบสังคมและการปฏิรูประบบการ
ดำเนินการและบริหารกิจการของภาครัฐเพื่อให้สามารถรักษาสมดุลระหว่างกระแสและแรงกดดันต่าง ๆ
ในสังคม ซึ่งข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงทำให้การมีพรรคคอมมิวนิสต์เป็นเสาหลักสำคัญของประเทศและสังคมจีน
เป็นปัจจัยสำคัญลำดับต้น ๆ ของการพยายามเข้าใจประเทศจีน
ประการที่สี่ เหมือนกับที่เขามีสังคมนิยมในรูปแบบจีน จีนก็มีประชาธิปไตยในแบบจีน โดยถ้าต้อง
เปรียบคงเหมือนสามเหลี่ยมของไฟ ซึ่งประกอบด้วยสามองค์ประกอบได้แก่ ความร้อน อากาศ และเชื้อเพลิง
สำหรับประเทศจีนไม่ว่าจะเป็นระบบการปกครองใดก็ต้องตอบโจทย์สำคัญ ได้แก่ การอยู่รอด (survival) ของ
ระบบการปกครอง/พรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งขึ้นอยู่กับความชอบธรรม (legitimacy) ของระบบการปกครอง/
พรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งตั้งอยู่บนความกินดีอยู่ดี (wellbeing) ของประชาชน ซึ่งผมคิดว่าสมการอันนี้ ถูกสกัด
ออกมาจากประสบการณ์ที่ชาวจีนได้ฟันฝ่ามา อนึ่ง สมการดังกล่าวก็ยังมีคุณค่าสำหรับประเทศอื่นด้วย
โดยเฉพาะเมื่อมองว่า ยังมีหลายคนที่ยึดติดว่าประชาธิปไตยต้องเป็นรูปแบบนั้นรูปแบบนี้ แต่หากพิจารณา
รายงานเวทีวิชาการ เรื่อง ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน
รายงานเวทีวิชาการ เรื่อง ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน
รายงานเวทีวิชาการ เรื่อง ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน
รายงานเวทีวิชาการ เรื่อง ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน
รายงานเวทีวิชาการ เรื่อง ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน
รายงานเวทีวิชาการ เรื่อง ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน
รายงานเวทีวิชาการ เรื่อง ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน
รายงานเวทีวิชาการ เรื่อง ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน
รายงานเวทีวิชาการ เรื่อง ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน
รายงานเวทีวิชาการ เรื่อง ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน
รายงานเวทีวิชาการ เรื่อง ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน
รายงานเวทีวิชาการ เรื่อง ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน
รายงานเวทีวิชาการ เรื่อง ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน
รายงานเวทีวิชาการ เรื่อง ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน
รายงานเวทีวิชาการ เรื่อง ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน
รายงานเวทีวิชาการ เรื่อง ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน
รายงานเวทีวิชาการ เรื่อง ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน
รายงานเวทีวิชาการ เรื่อง ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน
รายงานเวทีวิชาการ เรื่อง ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน
รายงานเวทีวิชาการ เรื่อง ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน
รายงานเวทีวิชาการ เรื่อง ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน
รายงานเวทีวิชาการ เรื่อง ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน
รายงานเวทีวิชาการ เรื่อง ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน
รายงานเวทีวิชาการ เรื่อง ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน
รายงานเวทีวิชาการ เรื่อง ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน
รายงานเวทีวิชาการ เรื่อง ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน
รายงานเวทีวิชาการ เรื่อง ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน
รายงานเวทีวิชาการ เรื่อง ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน
รายงานเวทีวิชาการ เรื่อง ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน
รายงานเวทีวิชาการ เรื่อง ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน
รายงานเวทีวิชาการ เรื่อง ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน
รายงานเวทีวิชาการ เรื่อง ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน
รายงานเวทีวิชาการ เรื่อง ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน
รายงานเวทีวิชาการ เรื่อง ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน
รายงานเวทีวิชาการ เรื่อง ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน
รายงานเวทีวิชาการ เรื่อง ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน
รายงานเวทีวิชาการ เรื่อง ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน
รายงานเวทีวิชาการ เรื่อง ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน

More Related Content

Similar to รายงานเวทีวิชาการ เรื่อง ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน

วิทยาศาสตร์เพื่ออะไร?
วิทยาศาสตร์เพื่ออะไร?วิทยาศาสตร์เพื่ออะไร?
วิทยาศาสตร์เพื่ออะไร?Satapon Yosakonkun
 
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตกอธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตกKlangpanya
 
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยKlangpanya
 
03 แบบ ว-1ด-วณิชชาv3
03 แบบ ว-1ด-วณิชชาv303 แบบ ว-1ด-วณิชชาv3
03 แบบ ว-1ด-วณิชชาv3KruBeeKa
 
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal satisamadhi
 
ผู้นำทางความคิด 2015 : เสียงที่มีอิทธิพลมากที่สุดในโลก
ผู้นำทางความคิด 2015 : เสียงที่มีอิทธิพลมากที่สุดในโลกผู้นำทางความคิด 2015 : เสียงที่มีอิทธิพลมากที่สุดในโลก
ผู้นำทางความคิด 2015 : เสียงที่มีอิทธิพลมากที่สุดในโลกKlangpanya
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...Klangpanya
 
ประวัติ2
ประวัติ2ประวัติ2
ประวัติ2sangworn
 
ผู้นำจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 : บทเรีย...
ผู้นำจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 : บทเรีย...ผู้นำจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 : บทเรีย...
ผู้นำจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 : บทเรีย...Klangpanya
 
04 แบบ ว-1ย-1ด-วณิชชา-แผนย่อย
04 แบบ ว-1ย-1ด-วณิชชา-แผนย่อย04 แบบ ว-1ย-1ด-วณิชชา-แผนย่อย
04 แบบ ว-1ย-1ด-วณิชชา-แผนย่อยKruBeeKa
 
สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์
สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์
สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์pentanino
 
Policy Brief 4/2562 ยุทธศาสตร์การทูตสาธารณะของเกาหลีใต้และข้อเสนอแนะสำหรับประ...
Policy Brief 4/2562 ยุทธศาสตร์การทูตสาธารณะของเกาหลีใต้และข้อเสนอแนะสำหรับประ...Policy Brief 4/2562 ยุทธศาสตร์การทูตสาธารณะของเกาหลีใต้และข้อเสนอแนะสำหรับประ...
Policy Brief 4/2562 ยุทธศาสตร์การทูตสาธารณะของเกาหลีใต้และข้อเสนอแนะสำหรับประ...Klangpanya
 
เส้นทางการพัฒนาประเทศจีน และความหมายทางสากล
เส้นทางการพัฒนาประเทศจีน และความหมายทางสากลเส้นทางการพัฒนาประเทศจีน และความหมายทางสากล
เส้นทางการพัฒนาประเทศจีน และความหมายทางสากลKlangpanya
 

Similar to รายงานเวทีวิชาการ เรื่อง ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน (20)

V 293
V 293V 293
V 293
 
วิทยาศาสตร์เพื่ออะไร?
วิทยาศาสตร์เพื่ออะไร?วิทยาศาสตร์เพื่ออะไร?
วิทยาศาสตร์เพื่ออะไร?
 
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตกอธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
 
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
 
03 แบบ ว-1ด-วณิชชาv3
03 แบบ ว-1ด-วณิชชาv303 แบบ ว-1ด-วณิชชาv3
03 แบบ ว-1ด-วณิชชาv3
 
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
 
ผู้นำทางความคิด 2015 : เสียงที่มีอิทธิพลมากที่สุดในโลก
ผู้นำทางความคิด 2015 : เสียงที่มีอิทธิพลมากที่สุดในโลกผู้นำทางความคิด 2015 : เสียงที่มีอิทธิพลมากที่สุดในโลก
ผู้นำทางความคิด 2015 : เสียงที่มีอิทธิพลมากที่สุดในโลก
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
 
V 304
V 304V 304
V 304
 
ประวัติ2
ประวัติ2ประวัติ2
ประวัติ2
 
V 289
V 289V 289
V 289
 
V 300
V 300V 300
V 300
 
V250
V250V250
V250
 
V250
V250V250
V250
 
ผู้นำจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 : บทเรีย...
ผู้นำจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 : บทเรีย...ผู้นำจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 : บทเรีย...
ผู้นำจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 : บทเรีย...
 
04 แบบ ว-1ย-1ด-วณิชชา-แผนย่อย
04 แบบ ว-1ย-1ด-วณิชชา-แผนย่อย04 แบบ ว-1ย-1ด-วณิชชา-แผนย่อย
04 แบบ ว-1ย-1ด-วณิชชา-แผนย่อย
 
สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์
สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์
สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์
 
Policy Brief 4/2562 ยุทธศาสตร์การทูตสาธารณะของเกาหลีใต้และข้อเสนอแนะสำหรับประ...
Policy Brief 4/2562 ยุทธศาสตร์การทูตสาธารณะของเกาหลีใต้และข้อเสนอแนะสำหรับประ...Policy Brief 4/2562 ยุทธศาสตร์การทูตสาธารณะของเกาหลีใต้และข้อเสนอแนะสำหรับประ...
Policy Brief 4/2562 ยุทธศาสตร์การทูตสาธารณะของเกาหลีใต้และข้อเสนอแนะสำหรับประ...
 
15 may 10 v 242
15 may 10 v 24215 may 10 v 242
15 may 10 v 242
 
เส้นทางการพัฒนาประเทศจีน และความหมายทางสากล
เส้นทางการพัฒนาประเทศจีน และความหมายทางสากลเส้นทางการพัฒนาประเทศจีน และความหมายทางสากล
เส้นทางการพัฒนาประเทศจีน และความหมายทางสากล
 

More from Klangpanya

ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยKlangpanya
 
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคKlangpanya
 
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท Klangpanya
 
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนKlangpanya
 
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...Klangpanya
 
World-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsWorld-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsKlangpanya
 
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Klangpanya
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...Klangpanya
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...Klangpanya
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนKlangpanya
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...Klangpanya
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationKlangpanya
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Klangpanya
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...Klangpanya
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนKlangpanya
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...Klangpanya
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfKlangpanya
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdfKlangpanya
 
Korakot Design for International 02 อว.pdf
Korakot Design for International 02 อว.pdfKorakot Design for International 02 อว.pdf
Korakot Design for International 02 อว.pdfKlangpanya
 
การบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdf
การบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdfการบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdf
การบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdfKlangpanya
 

More from Klangpanya (20)

ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
 
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
 
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
 
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
 
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
 
World-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsWorld-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese Relations
 
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
 
Korakot Design for International 02 อว.pdf
Korakot Design for International 02 อว.pdfKorakot Design for International 02 อว.pdf
Korakot Design for International 02 อว.pdf
 
การบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdf
การบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdfการบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdf
การบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdf
 

รายงานเวทีวิชาการ เรื่อง ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน

  • 2. สถาบันคลังป+ญญาด.านยุทธศาสตร6ชาติ รายงานถอดความ (Transcript) เรื่อง ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน ผู้นำเสนอหลัก คุณ พิรุณ ฉัตรวนิชกุล คุณ ปถวี ตรีกรุณาสวัสดิ์ รายงานฉบับนี้ถอดความจากเวทีวิชาการ เรื่อง "ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน" จัดโดย สถาบันคลังปัญญา ด้านยุทธศาสตร์ชาติ ร่วมกับศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2564 ผ่านการประชุมออนไลน์ บนโปรแกรม Zoom Meeting บรรณาธิการ: ยุวดี คาดการณ์ไกล กองบรรณาธิการ: ชญานิษฐ์ เชิดธรรมธร ศรันย์ชนก ลิมวิสิฐธนกร อำนวยการผลิตโดย: สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ ปีที่เผยแพร่: ตุลาคม 2564 www.klangpanya.in.th ที่อยู่ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ อาคารพร้อมพันธุ์ 1 637/1 ถนนลาดพร้าว เขตจตุจักร กทม. 10900 โทรศัพท์ 02-938-8826 โทรสาร 02-938-8864
  • 3. สถาบันคลังป+ญญาด.านยุทธศาสตร6ชาติ สารบัญ หน้า คำนำ บทนำ คุณ ยุวดี คาดการณ์ไกล 3 – 4 ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน ในทัศนะของผู้มีประสบการณ์กับการเมืองพรรคฯ ของจีน 5 – 10 โดย คุณ พิรุณ ฉัตรวนิชกุล ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีนในมุมมองประวัติศาสตร์และการเมืองจีนยุคใหม่ 11 – 17 โดย คุณ ปถวี ตรีกรุณาสวัสดิ์ ทัศนะต่อประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน 18 ศ. (พิเศษ) ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ 18 – 21 คุณ เกริกไกร จีระแพทย์ 22 – 23 นพ.วิจารณ์ พานิช 24 ศ.ดร. ตีรณ พงศ์มฆพัฒน์ 25 – 27 นพ. ชูชัย ศุภวงศ์ 28 – 30 ดร.ธวัชชัย ยงกิตติกุล 31 – 32 นพ. สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ 33 – 34 รศ. วรศักดิ์ มหัทธโนบล 35 – 37 รศ. ดร. จำนง สรพิพัฒน์ 38 – 39 ดร. พนา สถิตศาสตร์ 40 – 42 ภาคผนวก 43 – 52
  • 4. สถาบันคลังป+ญญาด.านยุทธศาสตร6ชาติ 1 คำนำ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2021 เป็นวาระครบรอบ 100 ปีแห่งการก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีน (ค.ศ.1921- 2021) ซึ่งเป็นพรรคการเมืองเดียวที่ครองอำนาจการปกครองจีนมาตลอดตั้งแต่สถาปนาสาธารณรัฐประชาชน จีน (1 ตุลาคม ค.ศ.1949) เราคงมิอาจปฏิเสธระบบการเมืองและการปกครองของจีนที่อยู่เบื้องหลังการ กำหนดทิศทางและขับเคลื่อนความสำเร็จของจีนในปัจจุบัน ระบบการเมืองของจีนที่เรียกว่า ระบอบ ประชาธิปไตยแบบสังคมนิยมที่ค่อย ๆ พัฒนาขึ้นจนมีเอกลักษณ์และมีลักษณะเฉพาะของจีน จึงควรค่าแก่การ เรียนรู้และทำความเข้าใจยิ่ง ในความคิดของคนส่วนใหญ่ คำว่า ประชาธิปไตย กับ จีน น่าจะไม่ใช่ของคู่กัน กลับเป็นสิ่งตรงข้าม มากกว่า คนทั่วไปมักเข้าใจว่าการปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์จะไม่มีประชาธิปไตย เพราะดูจากการที่จีน ไม่มีการเลือกตั้งทั่วไป แต่จีนมีกระบวนการเลือกผู้นำแบบคัดสรรตามระบบที่ตนเองออกแบบ คำถามคือ ประชาธิปไตยมีนิยามเดียวที่เป็นแบบตะวันตกเท่านั้นหรือไม่ ในความเป็นจริง หลายประเทศที่นำระบอบ ประชาธิปไตยไปใช้ก็มีรูปแบบที่แตกต่างกัน ล้วนต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับบริบทของประเทศตน ถ้า เช่นนั้น ประชาธิปไตยในความหมายของจีนคืออะไร ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีนบอกอะไรแก่เรา และใน อนาคตจีนจะเดินไปบนเส้นทางประชาธิปไตยหรือไม่ และอย่างไร ในโอกาสที่สถาบันคลังปัญญาได้จัดพิมพ์และเผยแพร่ หนังสือประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน ซึ่งเป็น หนังสือแปลจากต้นฉบับภาษาจีน ที่เขียนโดยศาสตราจารย์ฝางหนิง นั้น มีความน่าสนใจและควรค่าแก่การทำ ความเข้าใจเป็นอย่างยิ่งว่า ประสบการณ์ประชาธิปไตยของจีนที่ผ่านมาและที่จะเป็นไปในอนาคตเป็นอย่างไร มีอะไรที่สังคมไทยจะเรียนรู้ได้ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติจึงได้จัดเวทีเสวนาวิชาการ เรื่อง "ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน" ในวันเสาร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 13.00 – 16.00 น. ด้วยการ ประชุมออนไลน์บนโปรแกรม Zoom Meeting ในการนี้ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ ได้จัดทำรายงานสรุปและถอดความเนื้อหาการ ประชุมครั้งนี้ขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้สู่ผู้กำหนดและตัดสินใจเชิงนโยบาย ภาคส่วนต่าง ๆ นิสิตนักศึกษา และ ประชาชนทั่วไปที่สนใจการเมืองจีนต่อไป
  • 6. สถาบันคลังป+ญญาด.านยุทธศาสตร6ชาติ 3 บทนำ การจัดเวทีและเผยแพร่หนังสือ ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน ยุวดี คาดการณ์ไกล รองประธานสถาบันคลังปัญญาฯ สืบเนื่องจากสถาบันคลังปัญญาฯ ได้จัดพิมพ์และเผยแพร่ หนังสือประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน เมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งเป็นหนังสือที่แปลมาจากต้นฉบับภาษาจีน สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติจึงร่วมกับ ศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน จัดให้มีการเสวนาวิชาการ เรื่อง ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน ทางออนไลน์ เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2564 เวลา 13.00-16.30 น. หนังสือประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน ได้รับการแนะนำจากนักวิชาการคือ รองศาสตราจารย์ GUO JING ซึ่งเป็นรองผู้อำนวยการ Department of Comparative Politics , Institute of Political Sciences, CASS ที่มาเยี่ยมเยือนสถาบันคลังปัญญาฯ เมื่อปี 2016 และได้หารือถึงการสร้างความร่วมมือ ระหว่าง Think Tank ไทยกับจีน รองศาสตราจารย์ GUO JING จึงได้เสนอโครงการแปลหนังสือ โดยเลือก หนังสือประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน (中国民主的经验) และสถาบันคลังปัญญาฯ นำโดย นางสาวยุวดี คาดการณ์ไกล เป็นบรรณาธิการแปลและหัวหน้าทีมงานแปล คณะผู้แปลประกอบด้วย นาย เทวินทร์ เจิ้ง และดร.จุรี สุชนวนิช หนังสือประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน เป็นผลงานวิจัยของจีน ใช้แนวคิดและมุมมองตะวันออก ใน การมองประชาธิปไตยตะวันตกและตะวันออก พร้อมสรุปบทเรียนประสบการณ์ของจีนที่ผ่านมา หัวใจสำคัญ ที่หนังสือต้องการนำเสนอคือ โมเดลการเมืองแบบประชาธิปไตยของประเทศหนึ่งๆ จะต้องได้รับผลกระทบ อย่างแน่นอน จากสภาพพื้นฐานของประเทศ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมดั้งเดิม ขั้นตอนการพัฒนาที่เป็นจริง และสภาพแวดล้อมระหว่างประเทศ นอกจากนี้ ยังได้ชี้ให้เห็นถึงประสบการณ์พื้นฐานที่สำคัญในการสร้าง การเมืองแบบประชาธิปไตยของจีนสี่ประการ อันได้แก่ ประการแรก ในกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมนั้น การคุ้มครองสิทธิของประชาชนควรเป็นเอกภาพกับการรวมศูนย์อำนาจรัฐ ประการที่สอง ในขั้นตอน ประวัติศาสตร์ของการพัฒนาประเทศให้เป็นอุตสาหกรรมและความทันสมัยอย่างแท้จริงนั้น ระบอบ ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือถูกเลือกให้เป็นทิศทางหลักและจุดเน้นของการสร้างการเมืองแบบ ประชาธิปไตย ประการที่สาม ด้วยความก้าวหน้าของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมนั้น จะมีส่วนช่วยให้การ ขยายสิทธิและพัฒนาสิทธิของประชาชนอย่างค่อยเป็นค่อยไป และประการที่สี่ ในการสร้างการเมืองแบบ
  • 7. สถาบันคลังป+ญญาด.านยุทธศาสตร6ชาติ 4 ประชาธิปไตยและการปฏิรูประบบนั้น กลยุทธ์ผลักดันที่ปัญหาและส่งเสริมด้วยการนำร่องนั้นได้ถูกนำมาใช้เพื่อ ต้องการหลีกเลี่ยงและลดความเสี่ยงทางการเมือง เป็นต้น ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้คือ ศาสตราจารย์ฝางหนิง นับว่าเป็นนักวิชาการชั้นนำผู้ที่มีชื่อเสียงมากท่าน หนึ่งของจีนในปัจจุบัน ในฐานะนักคิดด้านปรัชญาการเมืองและสังคมของประเทศจีน ท่านเรียนจบปริญญาตรี ในประเทศจีนที่มหาวิทยาลัย Capital Normal University และได้มีโอกาสไปศึกษาต่อระดับปริญญาโท 1 ปี (1987-88) ด้านการเมืองการปกครอง ณ มหาวิทยาลัย Whittier, California สหรัฐอเมริกา ท่านมีประสบการณ์ทำงานในสายวิชาการ โดยเป็นศาสตราจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์และกฎหมาย มหาวิทยาลัย Capital Normal University จากนั้นย้ายมาทำงานในสถาบันวิจัยเป็นผู้อำนวยการสถาบันวิจัย รัฐศาสตร์(Institute of Political Sciences) ภายใต้สถาบันสังคมศาสตร์จีน (CASS) ความโดดเด่นของท่านคือ ท่านเป็นผู้ที่มีความสามารถระดับนำด้านปรัชญาและสังคมศาสตร์ จน ได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในผู้มีความสามารถของ “โครงการหมื่นความสามารถ” ระดับชาติของจีน (国家 “万人计划”哲学社会科学领军人才)และได้รับเชิญให้เป็นผู้บรรยายในการศึกษา แบบรวมกลุ่ม (Collective Study) ของโปลิตบูโร (กรมการเมือง) ในคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน 2 สมัย ผลงานด้านงานเขียนของศาสตราจารย์ฝางหนิง มีหลายเล่มด้วยกัน สำหรับหนังสือประสบการณ์ ประชาธิปไตยจีน(民主的中国经验)ถือว่าเป็นเล่มที่เด่นมากเล่มหนึ่ง ซึ่งได้รับการแปลและ เผยแพร่อย่างกว้างขวางแล้วถึง 6 ภาษา ได้แก่ อังกฤษ อาหรับ สเปน ญี่ปุ่น เกาหลี และล่าสุดคือ ไทย (ภาพที่ 1) อนึ่ง การจัดเสวนาวิชาการในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากท่านอ.พิรุณ ฉัตรวานิชกุล ในฐานะผู้มีความรู้ การเมืองของพรรคคอมมิวนิสต์จีนอย่างแตกฉาน และ อ.ปถวี ตรีกรุณาสวัสดิ์ คนรุ่นใหม่ที่สนใจประวัติศาสตร์ จีน ศึกษาและติดตามการเมืองจีนมาอย่างต่อเนื่อง ให้เกียรติเป็นวิทยากรนำการอภิปราย และได้รับเกียรติจาก ท่านอดีตรัฐมนตรี อดีตนายกสภามหาวิทยาลัย นักวิชาการ ฯลฯ เข้าร่วมเสวนาและร่วมแสดงความคิดเห็น ทั้งนี้ สถาบันคลังปัญญาฯ ได้ถอดความการนำอภิปรายของวิทยากรและทัศนะของผู้เข้าร่วมเสวนา มานำเสนอ ในรายงานฉบับนี้แล้วดังรายละเอียดในบทถัดไป
  • 8. สถาบันคลังป+ญญาด.านยุทธศาสตร6ชาติ 5 ภาพที่ 1 แสดง ศาสตราจารย์ฝางหนิงและผลงาน หนังสือประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน ที่ถูกแปลและตีพิมพ์เผยแพร่ออกเป็น 6 ภาษา
  • 9. สถาบันคลังป+ญญาด.านยุทธศาสตร6ชาติ 6 ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน ในทัศนะของผู้มีประสบการณ์กับการเมืองพรรคฯ ของจีน โดย คุณ พิรุณ ฉัตรวนิชกุล (อดีตรองเลขาฯ กกต) สวัสดีครับ ผมขอไปอย่างรวบรัดเลยนะครับ ก่อนอื่นต้องขอพูดถึง หนังสือที่คุณยุวดีแนะนำ ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน ผมก็อ่านด้วยความพินิจพิจารณา มีความประทับใจหนังสือเล่มนี้มาก ปกติไม่ ค่อยได้อ่านหนังสือวิชาการ เขาใช้คำว่าหนังสือวิชาการจากนักวิชาการจีน โดยทั่วไปมักจะเป็นเอกสารที่ทาง พรรคคอมมิวนิสต์จีนออกมา เพราะฉะนั้นการอ่านหนังสือเล่มนี้จึงมีคุณค่าที่เราจะนั่งพิจารณาในฐานะหนังสือ วิชาการทางรัฐศาสตร์ที่เกี่ยวกับประชาธิปไตยของจีนที่ดีมากเล่มหนึ่ง อยากจะให้มีการเผยแพร่หนังสือเล่มนี้ เพราะว่าในแง่ของความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพวกเรา เกี่ยวกับประเทศจีน เกี่ยวกับการเมืองจีน ผมว่าที่ผ่านมา ค่อนข้างน้อย ในด้านของการศึกษาระดับชาติ พูดเลยว่าองค์กรที่เกี่ยวข้องกับด้านประชาธิปไตยของเรา มีการ พูดถึงประชาธิปไตยและการเมืองของจีนน้อยมาก ประสบการณ์ของประชาธิปไตยของจีนเล่มนี้ถือว่าเป็นการ เปิดศักราชให้มีการเข้าใจการเมืองจีนให้มากขึ้น เท่าที่ผมได้อ่านจากหนังสือเล่มนี้ และทำความเข้าใจ เห็นว่า พื้นฐานของพรรคคอมมิวนิสต์ที่จะ มุ่งหวังสร้างสรรค์ประชาธิปไตยขึ้นมาในประเทศ เป็นเรื่องที่เราไม่ต้องสงสัย เพราะว่าอดีตผู้นำของพรรค คอมมิวนิสต์จีนตั้งแต่รุ่นก่อตั้งแทบทุกคน ก่อนจะมาเป็นคอมมิวนิสต์ หรือเข้าพรรคคอมมิวนิสต์จีน ล้วนแต่ เป็นนักเคลื่อนไหว นักรักชาติ นักประชาธิปไตยมาก่อนทั้งนั้น เริ่มต้นจากปัญหาเรื่องเอกราชของชาติ และ ปัญหาที่ประเทศจีนไม่มีประชาธิปไตยอยู่ใต้การปกครองของระบอบฮ่องเต้มายาวนาน เพราะฉะนั้นการ เคลื่อนไหวเรียกร้องต่อสู้ของผู้คนในยุคสมัยก่อนที่จะมีคอมมิวนิสต์จีน ก็จะเห็นว่าทุกท่านเป็นนักประชาธิปไตย แล้วเรื่องราวเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นที่ประเทศจีนเท่านั้น นักต่อสู้เพื่อเอกราชเพื่อประชาธิปไตยแทบทุกแห่ง เมื่อไป ถึงจุดหนึ่งแล้ว จะมาสนใจและมุ่งที่จะสร้างสรรค์ประชาธิปไตยแบบยั่งยืนขึ้นมา เพราะฉะนั้นว่าไปแล้ว ประชาธิปไตยกับคอมมิวนิสต์มีส่วนใกล้ชิดสนิทสนมกันอย่างยิ่ง จะเห็นว่าบท เพลงเองของจีนเอง ตั้งแต่จีนยังไม่ปลดปล่อยประเทศ มีเพียงจุดฐานที่มั่นที่ยึดมาได้ ผู้นำจีนให้ความสนใจที่จะ มองว่า จะทำให้ประชาชนในเขตฐานที่มั่นของตนเองมีการปกครองแบบประชาธิปไตยอย่างไรบ้าง เรื่องนี้ผม ยกตัวอย่างเปรียบเทียบได้ แม้แต่พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ในสมัยที่ผมไปเข้าร่วมในเขตป่าเขา ก็จะ เห็นว่า พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยมีฐานที่มั่นอยู่ทางภาคเหนือเล็กนิดเดียว และประชากรส่วนใหญ่ที่ มาร่วมอยู่กับอำนาจรัฐในเขตปกครองหรืออยู่ในฐานที่มั่นพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ก็เป็นชนชาติม้ง ชนชาติลัวะ แต่สิ่งที่พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยในขณะนั้นให้ความสนใจ คือ ทำอย่างไรให้ประชากร ที่มาอยู่ในเขตปกครองของพรรคคอมมิวนิสต์ประเทศไทย มีการดำเนินการทางชีวิตตามแบบประชาธิปไตย ถึง ขนาดมีการจัดตั้งอำนาจรัฐขึ้นมา และจัดให้มีการเลือกตั้งในเขตปกครองเล็ก ๆ มีอยู่แห่งหนึ่งเป็นชนชาติม้ง
  • 10. สถาบันคลังป+ญญาด.านยุทธศาสตร6ชาติ 7 พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยไปจัดเลือกตั้งโดยที่ประชาชนอ่านหนังสือไม่ได้ ใช้การลงคะแนนเสียงแบบ เม็ดข้าวโพด คือ พยายามให้มีการเลือกตั้งในเขตของตนเอง โดยแบ่งให้ชัดเจนว่านี่เป็นผู้สมัคร จะหยอดเม็ด ข้าวโพดลงในชาม คนได้เม็ดข้าวโพดมากกว่า คนนั้นจะขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่บ้านของเขตนั้น ๆ เพราะฉะนั้น นี่เป็น การแสดงประการหนึ่งของนักปฏิวัติพรรคคอมมิวนิสต์ในแต่ละแห่ง มักจะให้ความสนใจ รวมทั้งที่ท่านเลนินทำ ไว้ในโซเวียตของรัสเซียด้วย การพยายามทดลองที่จะวางรากฐานให้พื้นที่ของตนเองที่มีการทดลองให้ประชาชนมีอำนาจอธิปไตย ถึงขั้นนำพาให้ชาวบ้านร่างธรรมนูญของตนเอง มีการแบ่งหน้าที่กันทำ มีการแบ่งว่า คนนี้รับผิดชอบด้าน เศรษฐกิจ ด้านเศรษฐกิจดูแลตั้งแต่หมูเห็ดเป็ดไก่ ดูแลทรัพยากร ที่จังหวัดน่านดูแลเรื่องรังผึ้ง รังผึ้งเป็น ทรัพยากรและเป็นรายได้สำคัญของอำนาจรัฐ เขตจังหวัดน่านจะมีผู้ที่ทำหน้าที่เสมือนเป็นรัฐมนตรีกระทรวง เศรษฐกิจ มีการพิมพ์เงินขึ้นมาใช้กันเองในเขตที่มั่นเป็นต้น อันนี้ อาจารย์เอนกคงได้เห็นแบบอย่างเหล่านี้มา บ้าง นี่เป็นเพียงเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เกิดขึ้น แต่ความเป็นจริงแล้ว ในขณะนั้นไม่สามารถดำเนินการทาง การเมืองได้อย่างต่อเนื่อง ในส่วนของจีนเองก็เช่นเดียวกัน ผมพูดประเด็นนี้เพียงแต่สะท้อนให้เข้าใจว่า คนอาจจะมองว่าพวกคอมมิวนิสต์เป็นพวกเผด็จการ เป็น พวกไม่เอาประชาธิปไตย เป็นพวกใช้ความรุนแรง แต่ความจริงแล้ว โดยพื้นฐานเดิมของชาวพรรคคอมมิวนิสต์ หรือนโยบายพรรคคอมมิวนิสต์ มุ่งที่จะทดลองทำเรื่องประชาธิปไตยให้กับประชาชนเป็นหลัก ส่วนที่เห็นจาก การพยายามจะสร้างสรรค์ประชาธิปไตยในประเทศจีน ตามที่อยู่ในหนังสือประสบการณ์ประชาธิปไตยจีนนั้น ผมคิดว่ามีประเด็นที่น่าสนใจมาก คือ ได้มีการเสนอระบอบประชาธิปไตยที่เราไม่ค่อยคุ้นชิน ไม่ค่อยได้ยินสัก เท่าไหร่ มีการเสนอระบอบประชาธิปไตยที่ไม่ใช่ประชาธิปไตยแบบตะวันตก ไม่ใช่ประชาธิปไตยแบบมีการ เลือกตั้งแข่งขัน ไม่ใช่ระบบ one man one vote แต่มีการเสนอระบอบประชาธิปไตยที่ศาสตราจารย์ ฝางหนิงให้รายละเอียดจำนวนมาก และอันนี้เป็นรากฐานที่เราจะให้ความสนใจในการศึกษา ว่าระบอบที่เสนอ ไว้และดำเนินการอยู่ขณะนี้ของประเทศจีนจะเป็นอย่างไรบ้าง ระบอบประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ ผมคิดว่าเรื่องนี้ เราควรจะให้ความสำคัญอย่างมาก และ ระบบประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ ในหนังสือเล่มนี้ ศาสตราจารย์ฝางหนิง ได้ให้รายละเอียดพูดถึงข้อดีของ ระบอบนี้ค่อนข้างสูง ในขณะเดียวกันได้เสนอประเด็นที่เป็นอุปสรรคในการที่ประชาชนโดยทั่วไปจะมี ประชาธิปไตยแบบเดียว แบบแข่งขันอย่างเดียว โดยที่น่าสนใจ คือ ในหนังสือเล่มนี้ได้พูดถึง หมู่บ้านหนึ่งที่ทาง จีนได้เข้าไปทดลอง ถ้าหากว่ามีการเลือกตั้งระดับหมู่บ้านที่ใช้การลงคะแนนเสียงแบบแข่งขันจะเกิดไรขึ้น ปรากฏว่า สิ่งที่ผมคิดไม่ถึงเลย ว่ามันเกิดขึ้นเหมือนกับสิ่งที่ได้เกิดขึ้นกับการเลือกตั้งแบบที่ผมมีประสบการณ์ และเห็นมาในประเทศไทย คือ มีการซื้อเสียง ซึ่งเป็นเรื่องแปลก จากการสังเกตว่า หลังเปิดให้มีการเลือกตั้ง แบบแข่งขัน ปรากฏว่า ร้านอาหาร ร้านคาราโอเกะ ในบริเวณแถบนั้น เปิดกันคึกคัก ผู้เข้าแข่งขัน ผู้สมัคร มี การพาผู้ที่มีสิทธิที่จะเลือกตั้งไปเลี้ยงกัน หลังเลือกตั้งมีการพาไปเลี้ยงที่ร้านอาหารหรู เป็นต้น นี่เป็นเรื่องที่ ขนาดมีการดูแลอย่างใกล้ชิด แต่ผลการวิจัยและติดตามเกิดสิ่งเหล่านี้ขึ้น มีแบบที่ทำมาในการเมืองไทย คือ จ้างผู้แข่งขันลงสมัครรับเลือกตั้ง และจ้างคนอีกคนหนึ่งให้มาเป็นคู่แข่ง โดยที่ไปสมัครสมาชิกของอีกพรรค เป็น
  • 11. สถาบันคลังป+ญญาด.านยุทธศาสตร6ชาติ 8 ต้น อันนี้เกิดขึ้นจากทางคณะวิจัยไปสำรวจมา เพราะฉะนั้น เหตุการณ์เหล่านี้ทำให้จีนเองพิจารณาเรื่องที่จะให้ มีการเลือกตั้งแบบแข่งขัน แบบที่ทำกันอยู่ในประเทศอื่น ๆ หรือไม่ ก็ต้องเป็นเรื่องที่จีนต้องคิดมาก เขาเลยมองเห็นว่า ในสภาวะปัจจุบันสิ่งที่สำคัญที่สุด แนวคิดของจีนที่ยึดอยู่กับโครงสร้างส่วนบน และ โครงสร้างส่วนล่าง จีนมองว่า การพัฒนาประเทศให้เป็นอุตสาหกรรมที่ทันสมัย หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องมีการ ปกครองแบบประชาธิปไตย เพราะว่า ถ้าหากว่ามีการพัฒนาอุตสาหกรรมและมีอุตสาหกรรมทันสมัยมาแล้ว แต่โครงสร้างส่วนบนไม่เป็นประชาธิปไตย ยังเป็นแบบการวางแผนจากส่วนกลางอย่างเข็มข้น ยังมีการรวมศูนย์ ที่ไม่ให้คนออกความเห็นต่าง ๆ จะทำให้ผู้คน ไม่กระตือรือร้นที่จะประกอบการทางเศรษฐกิจ ทำให้ไม่สามารถ มีการผลิตทางอุตสาหกรรมที่ทันสมัยได้ ถ้าหากต้องการพัฒนาเศรษฐกิจให้ไปได้ดี ในขณะเดียวกันต้องการที่จะ มีระบอบการเมืองแบบประชาธิปไตย ต้องทำให้ระบอบเศรษฐกิจมีการพัฒนา ไม่อาจมีประชาธิปไตยในสังคมที่ ล้าหลัง ในสังคมที่ชนบทห่างไกลความเจริญ สังคมเมืองที่มีการเจริญเติบโตน้อย เมืองอยู่ในสภาวะที่เสื่อมโทรม ผู้คนอยู่ในเมืองอย่างยากจน เพราะฉะนั้น เมื่อจะทำให้เมืองขยายตัว เมืองเจริญรุ่งเรือง เมืองมีกิจกรรมทาง เศรษฐกิจอย่างคึกคัก เมืองมีอุตสาหกรรมอย่างคึกคัก จำเป็นต้องมีการกระตุ้นให้ประชาชนมีความ กระตือรือร้น การกระตุ้นให้ประชาชนมีความกระตือรือร้นจะต้องผ่านระบบการเมืองแบบประชาธิปไตยเป็น ตัวกระตุ้น แต่การเมืองแบบประชาธิปไตย จีนพบว่า เขาสามารถที่จะระดมความเห็นประชาชนให้แสดง ความเห็นอย่างกว้างขวาง โดยไม่ต้องผ่านการเลือกตั้งแบบเดียว คือ แบบแข่งขัน แบบลงคะแนนเลือกตั้งทั่วไป แต่จีนสามารถระดมและคุ้มครองสิทธิของประชาชน ให้ประชาชนมีสิทธิทางเศรษฐกิจ มีสิทธิในการประกอบ อาชีพได้ โดยไม่มีความจำเป็นที่ต้องเปิดให้มีการเลือกตั้ง ในขณะเดียวกัน จากผลการวิจัย จีนไม่ได้ปิดตายการ เลือกตั้ง แต่จีนได้พิจารณาถึงในทางสากลว่าโลกกำลังไปแบบนี้ ทุกประเทศทำแบบนี้ ทำให้จีนมีความพยายาม ในการทดลอง โดยวิธีการของจีน ในการทำงานการเมือง ในการสร้างประชาธิปไตย เขามีวิธีที่เปิดเขตทดลอง ในเรื่องเขตเศรษฐกิจที่เขาเริ่มทดลองเป็นแบบนี้ มีการใช้เขตเศรษฐกิจพิเศษ มีการทดลองเขตบางเขตที่มีความ พร้อมก่อน ในด้านการเมืองก็เช่นเดียวกัน จีนมองว่า จำเป็นต้องมีการนำร่องจากการทดลองให้มีการเลือกตั้ง ในบางส่วน ในบางเมือง ในบางมณฑลก่อน และการเลือกตั้งเป็นการเลือกตั้งทางการเมืองอย่างเดียว แต่เป็น การเลือกแบบเจ้าหน้าที่ของทุกหน่วยงานพรรคคอมมิวนิสต์เองที่ได้มีการขยายให้มีความคล่องตัว และให้ได้รับ การคัดสรรมากขึ้น เพราะฉะนั้นจีนค่อย ๆ จะไปในแนวทางนี้ ผมมีข้อสังเกตประการณ์หนึ่งจากการอ่านหนังสือเล่มนี้ ว่าระบอบประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ ความจริงเป็นระเบียบของพรรคคอมมิวนิสต์ทุกแห่ง ลักษณะของพรรคคอมมิวนิสต์สากล ไม่ว่าจะเป็นพรรค คอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เขามีระบบระเบียบในการเป็นประชาธิปไตย ถือว่าทุกคนที่สังกัดในพรรค มีที่ ประชุมที่จะออกความเห็นได้เป็นระยะ ประเทศจีนในขณะนี้ ผมเข้าใจว่า จะมีการประชุมพรรคเกือบทุกที่แทบ ทุกอาทิตย์ เวลาเราเดินทางไปจีน จะพบว่าเจ้าหน้าที่มาต้อนรับขอลาไปประชุม (ประชุมหน่วยพรรค) แสดงว่า วิธีการปฏิบัติภายในพรรคคอมมิวนิสต์มีระบบระเบียบ มีธรรมเนียมปฏิบัติที่จะส่งเสริมให้มีประชาธิปไตยแบบ ปรึกษาหารืออยู่แล้ว
  • 12. สถาบันคลังป+ญญาด.านยุทธศาสตร6ชาติ 9 สิ่งที่คนภายนอกอาจจะคิดไม่ถึงในพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน แม้แต่กองทัพของจีนก็มี ประชาธิปไตยในกองทัพ ในกองทัพปลดแอกที่นำโดยพรรคคอมมิวนิสต์โดยทั่วไปมีผู้นำสองฝ่าย คือ มีผู้ บัญชาการและผู้ชี้นำทางการเมือง ผู้ชี้นำทางการเมืองที่อยู่ในกองทหารตั้งแต่ผู้กองเป็นต้นไป ก็จะมีการดำเนิน ชีวิตทางการเมืองของบรรดาทหารในสังกัดอยู่ในกองร้อยหรือกองพันให้มีชีวิตแบบประชาธิปไตย แม้กระทั่ง ประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ ทุกแห่งจะมีการเปิดประชุมเดือนละครั้ง สองเดือนครั้ง เพื่อให้ทุกคนได้ออก ความเห็นว่าชีวิตในกองร้อยเป็นอย่างไรบ้าง ชีวิตความเป็นอยู่ ข้าวปลาอาหาร สิ่งที่พบเห็นสามารถร้องเรียนได้ เช่น เบี้ยเลี้ยง ถ้าเป็นในกองทัพจีน เขาจะมีระบบให้ประชุมทางเศรษฐกิจ เขาเรียกว่า ประชาธิปไตยเศรษฐกิจ ในกองทหาร ในทหารทุกระดับสามารถที่จะออกความเห็นได้ในที่ประชุมนั้น ๆ ว่าชีวิตความเป็นอยู่เป็นอย่างไร ข้าวปลาอาหาร มีความเดือนร้อนอะไรบ้าง เพราะฉะนั้นธรรมเนียมปฏิบัติภายในพรรคคอมมิวนิสต์เองเอื้อที่จะ เกิดรูปแบบประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือมาก ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ คิดว่าจะเป็นแนวโน้มใหญ่ของการดำเนินการในประเทศจีนที่เรา จะต้องติดตาม เทคโนโลยีสมัยใหม่ อินเตอร์เน็ต เครือข่ายต่าง ๆ มันจะเอื้อต่อการใช้วิธีการมากขึ้น อย่างเช่น ที่จีนให้ทุกคนในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเข้าร่วมประชุมสภาประชาชนได้ โดยรับฟังการถ่ายทอดและแสดงความ คิดเห็น มีแอดมินรับเอาเรื่องราวต่าง ๆ ที่ประชาชนร่วมแสดงความคิดเห็น ผมว่าเทคโนโลยีสมัยใหม่จะมีส่วน ส่งเสริมในด้านการแสดงความคิดเห็นที่เป็นประชาธิปไตยอย่างกว้างขวาง ในขณะเดียวกันที่ศาสตราจารย์ ฝางหนิงพูดถึงก็คือว่า ขณะนี้จีนก็จะยังไม่หยุด จะยังแสวงหาแนวทางใหม่ ๆ เพื่อให้ประชาธิปไตยแบบ ปรึกษาหารือมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อาจจะต้องติดตามต่อไปว่า เขาจะมีวิธีการอย่างไร อันนี้ก็เป็นประเด็น หนึ่ง จะฝากว่าเรื่องประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือนี้ เนื่องจากว่าในทางรัฐศาสตร์ การเสนอเรื่องนี้ แม้ว่าจะ เป็นเรื่องที่มีมายาวนาน แต่ในขณะนี้มีการเสนอขึ้นมาเหมือนกับว่า เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมาใหม่ ผมก็คิดว่า น่าสนใจ น่าสนใจที่จะศึกษาต่อไป อีกประเด็นหนึ่งในหนังสือเล่มนี้ที่น่าสนใจก็คือว่า จีนเสนอว่าให้จับปัญหาที่เกิดขึ้นจากความเป็นจริง เริ่มจากการปฏิบัติ แล้วก็ลงไม้ลงมือแก้ปัญหาอย่างจริงจัง เช่น ปัญหาเรื่องความยากจน ความจริงตั้งแต่เริ่มต้น ที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนเริ่มปลดปล่อยประเทศคือแก้ปัญหาเรื่องความยากจน ชาวนาไม่มีที่ดินทำกินของตัวเอง จีนก็ยึดแผ่นดินทั้งหมดแล้วก็มาแบ่งปัน แบ่งปันไม่ใช่ให้เลย แต่ว่าให้ทำ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา 70 กว่าปี คนที่ ได้รับที่ดินจากการแบ่งปันนั้นไปก็ยังอยู่ในลิสต์ของกระบวนการแก้ปัญหาของหน่วยงานที่แก้เรื่องความยากจน แก้ปัญหามาจนทุกวันนี้ มีการสอบถามตรวจสอบตลอดเวลา ในคนที่ใช้ที่ดิน มีการสำรวจ มีการวิจัยว่า คนที่ ได้รับที่ดินไป เช่น คนละสิบห้าไร่ ในหมู่บ้านเดียวกัน ในตำบลเดียวกัน ใครบ้างที่มีการเปลี่ยนแปลงดีที่สุด แล้ว ครอบครัวไหนที่ได้รับไปเท่ากัน ทำไมจึงมีผลิตผลน้อยกว่าคนอื่น ฉะนั้นเขาจะเข้าไปสอบถามว่ามีปัญหาอะไร ติดขัดอะไร ติดขัดเพราะว่าจริง ๆ แล้วไม่ชอบ แต่ขณะนั้นไม่มีทางเลือก ถ้าเป็นอย่างนี้คุณจะเปลี่ยนไหม เปลี่ยนจากการทำเกษตรกรรมแบบนี้ไปเป็นช่างฝีมือไหม อันนี้ผมพูดถึงรายละเอียดเท่านั้นเองว่า กระบวนการ ที่จะแก้ความยากจน เวลาเขาจับปัญหาไหน ศาสตราจารย์ฝางหนิงบอกว่า เขาจะจับปัญหานั้น แล้วก็ทดสอบ นำร่องแก้ปัญหาไปเรื่อย ๆ ไม่จบไม่สิ้น ทำให้เขาแก้ปัญหาแต่ละเรื่องที่เป็นเรื่องสำคัญแก้ได้ตกไป
  • 13. สถาบันคลังป+ญญาด.านยุทธศาสตร6ชาติ 10 นอกจากนี้ มีประเด็นที่คิดว่าเรื่องราวในประวัติศาสตร์หลายเรื่อง เติ้งเสี่ยวผิงก็ดี ผู้นำพรรคฯ ก็ดี ก็ ยอมรับว่า พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนเคยทำเรื่องผิดพลาดใหญ่ ๆ มาหลายเรื่องหลายครั้ง แต่เติ้งเสี่ยว ผิงบอกว่า ขอหยุดไว้ก่อน จะกลับไปสรุปบทเรียนยังไงก็ได้ แต่ไม่ใช่ใช้เวลาขณะนี้ไปขุดมันจนกระทั่งไม่จบไม่ สิ้น ก็ยอมรับว่ามีเรื่องผิดพลาด แต่ตอนนี้ความสำคัญของประเทศจีนในการก้าวไปข้างหน้ามันมีความสำคัญ มากกว่า เพราะฉะนั้นขอให้คิดเรื่องที่จะก้าวไปข้างหน้าก่อน แต่จะไปสรุปบทเรียนแล้วจะไปเอาผิดใคร ไปก่อ เรื่องนองเลือดอย่างไร ไม่ใช่ว่าพรรคคอมมิวนิสต์จีนจะไม่ยอมรับ แต่ขออย่าถึงขั้นเอาตอนนี้ให้ตายกันไปข้าง หนึ่ง เพราฉะนั้นก็เป็นเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจที่ศาสตราจารย์ฝางหนิงได้พูดถึงอยู่ว่า ไม่ใช่ว่าจะละเลยสิ่งที่ทำ ผิดพลาดมาในอดีต แล้วก็ลืมไป แต่มันก็มีอีกหลายเรื่องและมันต้องใช้เวลา ผมคิดว่าการศึกษาชุดคำในสมัยเหมาเจ๋อตงก็ดี หรือในสมัยต่อมาก็ดี ก็จะมีการอ้างคำพูด 2-3 ประโยคนี้แล้วก็นำไปตีความมากมาย เพราฉะนั้น ต้องรู้ว่าคำพูดเหล่านั้นถูกใช้ที่ไหน ใช้ในบริบทอะไร เช่น กรณีที่ว่า เสียงข้างน้อยต้องขึ้นกับเสียงข้างมาก ในกรณีนี้ ศาสตราจารย์ฝางหนิงก็บอกว่า ประชาธิปไตยแบบ ปรึกษาหารือ จะสามารถหลีกเลี่ยงจุดอ่อนของการที่เอาแต่เสียงข้างมาก ไม่ใช่ว่าลงมติชนะกันแค่เสียงเดียวก็ ต้องเอาเรื่องนั้นไปเลยเพราะว่าคุณแพ้แล้ว เสียงข้างน้อยถูกละเลยไปเลย ไม่ได้รับการปฏิบัติ ประชาธิปไตย แบบปรึกษาหารือเขาว่าจะได้ฟังเสียงข้างมาก แล้วก็ได้ฟังสิ่งที่เสียงข้างน้อยเสนอไว้ว่ามีวิธีไหนบ้างที่จะทำให้ เสียงข้างน้อยและเสียงข้างมากมีวิธีปฏิบัติไปด้วยกัน กรณีที่พูดว่า เสียงข้างน้อยให้ขึ้นกับเสียงข้างมาก มันอยู่ ในระเบียบการของพรรคคอมมิวนิสต์ ก็มีคำพูดหนึ่งสำหรับสมาชิกพรรคเท่านั้น คือ บุคคลต้องขึ้นกับเหล่า จัดตั้ง แล้วในเหล่าจัดตั้งเสียงข้างน้อยต้องขึ้นต่อเสียงข้างมาก ชั้นล่างขึ้นต่อชั้นบน ทุก ๆ ส่วนขึ้นต่อศูนย์การ นำ คำพูดชุดนี้เขาไม่ได้เอามาใช้กับประชาชนทั่วไป แต่สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ปฏิญาณตนต้องปฏิบัติตามนี้ นั่นคือ คุณอยู่ที่ไหนก็ตาม ต้องขึ้นอยู่กับเหล่าจัดตั้ง แล้วเมื่อมีการถกเถียง มีการอภิปราย มีการลงมติในหน่วย จัดตั้งนั้น ๆ เสียงข้างน้อยต้องขึ้นต่อเสียงข้างมาก ไม่ใช่ไม่จบไม่สิ้น ตัดสินกันแล้วหลายครั้งเสียงข้างน้อยก็ยัง ไปเคลื่อนไหวก่อการปั่นป่วนวุ่นวาย ไม่ยอม ให้จบเป็นขั้น ๆ เรื่องนี้มีมาตั้งแต่สมัยเหมาเจ๋อตง เหมาเจ๋อตงเคย เป็นเสียงข้างน้อย แล้วก็โหวตแพ้ จำเป็นต้องทำตามเสียงข้างมาก ใน Long March ถ้าเราเคยไปอ่านประวัติ เราจะเจอ แล้วต่อมาพักหลังปรากฏว่า ข้อเสนอที่เหมาเจ๋อตงเสนอไปนั้นน่าจะถูกต้องมากกว่าก็มีการประชุม ในระยะถัดมา แล้วนำเอาแนวทางที่เหมาเจ๋อตงเสนอขึ้นมาแทน ก็คือเมื่อคุณยังเป็นเสียงข้างน้อยอยู่ ใน ระหว่างที่เป็นเสียงข้างน้อย ในฐานะที่คุณเป็นสมาชิกพรรค เป็นกรรมการกลาง บริหารอยู่ในพรรคเดียวกัน เสียงข้างน้อยต้องขึ้นกับเสียงข้างมากไปก่อน เพราะฉะนั้นเรื่องราวเหล่านี้ต้องดูบริบทของการใช้คำ ว่าเขาใช้ กับบริบทไหน สำหรับเรื่องนี้ผมก็ขอเพียงแต่พูดว่า เรื่องราวของประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือจะเป็น ประชาธิปไตยระดับไหน ไม่มีระบบไหนที่สมบูรณ์แบบ มีแต่ข้อดี ไม่มีข้อบกพร่อง เพราฉะนั้นก็ไม่ใช่ว่าไปหลง กับมันอย่างเดียว ทางศาสตราจารย์ฝางหนิงก็บอกแล้วว่าประชาธิปไตยมีหลายรูปแบบ วิธีการต่าง ๆ มันยังมี อีกหลายเงื่อนไข ต้องอย่าไปหลงยึดติดกับวิธีใดวิธีหนึ่งอย่างเดียว จะต้องนำมาซึ่งสภาพความเป็นจริง คือ
  • 14. สถาบันคลังป+ญญาด.านยุทธศาสตร6ชาติ 11 เริ่มต้นจากสภาพความเป็นจริง เริ่มต้นจากสถานการณ์ในขณะนั้นแล้วมาพิจารณา ไม่ใช่ว่าเอาเรื่องเฉพาะไปใช้ ทั่วไป เอาเรื่องทั่วไปมาใช้กับการแก้ปัญหาเฉพาะเรื่อง ประวัติวิทยากร คุณ พิรุณ ฉัตรวนิชกุล จบการศึกษาจากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตรองเลขาธิการ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ชุดที่ 1
  • 15. สถาบันคลังป+ญญาด.านยุทธศาสตร6ชาติ 12 ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน ในมุมมองประวัติศาสตร์และการเมืองจีนยุคใหม่ โดย คุณ ปถวี ตรีกรุณาสวัสดิ์ ผมขอขอบคุณทางผู้จัดนะครับ สถาบันคลังปัญญาฯ และศูนย์วิจัยไทยจีนที่ให้โอกาสผมมาร่วมเสวนา ในวันนี้ สิ่งแรกขอเรียนว่า ที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นการกล่าวในนามบุคคลและเป็นความคิดเห็นส่วนตัวเท่านั้น ตอนที่ได้รับการทาบทามให้มาร่วมเสวนา ผมรู้สึกยินดีและดีใจว่าในประเทศไทยมีการศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับ ประเทศจีน ซึ่งจะช่วยเพิ่มองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับประเทศจีนในไทย สำหรับผลงานการศึกษาเกี่ยวกับจีนในอดีต ซึ่งค่อนข้างน้อย ดร.เขียน ธีระวิทย์ได้ปูรากฐานไว้ และในวันนี้มี อ.วรศักดิ์ มหัทธโนบล ซึ่งได้ช่วยอย่างมากใน การสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างการเมืองจีนให้กับคนไทย ก่อนอื่น พอเห็นชื่อของหนังสือ “ประสบการณ์ประชาธิปไตยของจีน” ผมค่อนข้างที่จะตกใจและ เชื่อว่าชื่อของหนังสือน่าจะช่วยทำให้ขายหนังสือได้มากขึ้น เพราะว่าทุกคนจะตั้งคำถาม ว่า “เอ๊ะ จีนเป็น คอมมิวนิสต์ แล้วชื่อบนปกที่บอกว่าประชาธิปไตย เป็นประชาธิปไตยในรูปแบบไหนและมาจากไหน” จากที่ ผมได้คุยกับคุณยุวดีฯ ผู้จัดการเสวนาครั้งนี้ ทราบว่ามีนักวิชาการบางคนได้ตั้งคำถามนี้ด้วยเหมือนกัน และ อาจจะเอาไปพูดคุยในลักษณะที่แซวด้วย ซึ่งผมคิดว่าสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ใช่ “bad news” แต่เป็น news ที่ช่วย สร้างความตื่นตัวหรือ awareness กระตุ้นให้คนอยากค้นหาและทำความเข้าใจ หรืออย่างน้อยน่าจะช่วยให้ ขายหนังสือได้มากขึ้น ด้วยเวลาสั้น ผมขอสรุปสิ่งที่ได้จากการอ่านหนังสือเล่มนี้ ดังนี้ ประการแรก หนังสือเล่มนี้เหมือนเป็น ปฏิกิริยาตอบสนอง โดยแสดงให้เห็นการมีตัวตนและอัตลักษณ์ของจีนและปฏิเสธความคิดและทฤษฎีของ ตะวันตก โดยเฉพาะของ Fukuyama ที่ในยุคทศวรรษ 1990 มองว่าประชาธิปไตยเสรี (liberal democracy) จะเป็นจุจบของประวัติศาสตร์ (The End of History) ซึ่งข้อสรุปดังกล่าว ภายในไม่ถึงหนึ่งชั่วอายุคน เมื่อ คำนึงถึงการพัฒนาของจีนก็ดูเหมือนว่า อาจจะดูสั่นคลอนหรือถูกตั้งคำถาม ประการที่สอง สิ่งที่อ่านไปแล้วมันกระโดดขึ้นมา คือ หนังสือได้บรรยายประสบการณ์ของจีนเกี่ยวกับ ประชาธิปไตยว่าเป็นกระบวนการที่คดไปวนมา เป็นเหมือนกับคนเล่นปิงปอง ตั้งแต่สมัยปลายราชวงศ์ชิงก็เป็น ที่ตระหนักในวงกว้างแล้วว่า กระบวนทัศน์และมุมมองต่อโลกที่มองว่าราชวงศ์ชิงหรือจีน เป็นศูนย์กลางของ โลกได้เปลี่ยนไปแล้ว การพ่ายแพ้สงครามฝิ่นทั้งสองครั้งและการพ่ายแพ้สงครามกับประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะ การแพ้สงครามต่อประเทศญี่ปุ่น ทำให้ราชวงศ์ชิงเล็งเห็นความสำคัญของการปฏิรูปและเปลี่ยนแปลงตนเอง ให้ก้าวไปสู่หรือกลับคืนไปสู่สถานะความเป็นพี่ใหญ่และมหาอำนาจของภูมิภาค ในการนี้ ในช่วงปลายราชวงศ์ ชิง ได้มีความพยายามที่จะศึกษาบทเรียนของประเทศอื่น ๆ โดยการจัดตั้งเป็นคณะทำงานเพื่อปฏิรูประบบการ
  • 16. สถาบันคลังป+ญญาด.านยุทธศาสตร6ชาติ 13 ปกครอง โดยได้ไปศึกษาระบบการปกครองต่าง ๆ ของอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมันในสมัยนั้น และนำกลับมา เพื่อประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ในประเทศ แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายว่า ข้อเสนอต่าง ๆ ไม่ได้รับการให้ความสำคัญ เนื่องจากถูกมองว่าไม่เป็นประโยชน์และสอดคล้องกับสถานการณ์ และต่อมา อันนี้ผมคิดว่ามันเป็นความ ผิดพลาดเชิงยุทธศาสตร์ “strategic misstep” ของราชวงศ์ชิงคือ การล้มล้างหรือล้มเลิกระบบการสอบ คัดเลือกข้าราชการ หรือที่รู้จักในไทยในชื่อชอง การสอบจอหงวน “状元” ซึ่งเหตการณ์ดังกล่าว เป็นการ สะบั้นเส้นเลือดใหญ่ที่เชื่อมอำนาจของรัฐกับผลประโยชน์ของชนชั้นกลางที่แผ่ขยายไปทั่วทุกอณูของสังคม และเป็นเสมือนการทำลายฐานการสนับสนุนรัฐบาลและราชวงศ์ชิงของชนชั้นกลางโดยปริยาย ถ้าเทียบกับ ปัจจุบันก็คือการทำลายฐานและโครงสร้างของระบบราชการ ดังนั้น ย่อมแน่นอนว่า ราชวงศ์นั้น ๆ หรือรัฐบาล ใดก็ตามคงอยู่ได้ยาก หากทำการล้มล้างระบบเดิมแต่ไม่มีระบบใหม่ที่เข้ามาแทนที่ ภายหลังการล่มสลายของราชวงศ์ชิง ก็เข้าสู่ยุคขุนศึก ยุคสาธารณรัฐและยุคจีนคณะชาติ ซึ่งหาก ถามว่าในช่วงนั้นมีกลุ่มอำนาจไหนที่ให้ความสำคัญกับแนวคิดประชาธิปไตยอย่างแท้จริงหรือไม่ จากที่อ่านและ ศึกษาก็คงต้องตอบว่ามีอยู่น้อย โดยทุกกลุ่มอำนาจ ไม่ว่าขุนศึก พรรคก๊กมินตั๋งหรือแม้แต่พรรคคอมมิวนิสต์เอง ก็ให้ความสำคัญกับอำนาจในเชิงที่เป็นรูปธรรม คือปกครองพื้นที่เท่าไหร่ ยึดครองหน่วยงานกี่หน่วยงาน กอง กำลังติดอาวุธมีกำลังพลกี่นาย เก็บภาษีได้เท่าไหร่ มีงบประมาณดำเนินโครงการเท่าไหร่ ฯลฯ แต่ท่ามกลาง ความแก่งแย่งของกลุ่มอำนาจต่าง ๆ แนวคิดและอุดมการณ์ประชาธิปไตยตามความเข้าใจของเราในปัจจุบัน กลับไปเกิดที่เยาวชน ในชนชั้นกลางปัญญาชน โดยเฉพาะคนที่มีการศึกษา ซึ่งจากการสังเกตจะพบว่าช่วงต้น ทศวรรษ 1910 หรือช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 เราจะมีเห็นขบวนการ (movement) ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น New Age Movement หรือว่าจะเป็น May 4th Movement หรือการเคลื่อนไหวต่าง ๆ ไม่เพียงถูกขับเคลื่อนด้วย แนวคิดเกี่ยวกับประชาธิปไตย แต่รวมถึงแนวคิดการเมืองอื่น ๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นแนวคิดคอมมิวนิสต์ ฟาสซิสต์ แนวคิดอนาธิปไตย (anarchist) ซึ่งเป็นภาพสะท้อนของความกระหายและความอยากที่จะหา reason of being และทางออกในการแก้ไขปัญหาปากท้อง การแก้ไขปัญหาอัตลักษณ์ที่ถูกดูแคลน เราจะทำอย่างไร ภายใต้บริบทการเสาะแสวงหาคำตอบและการสร้างอัตลักษณ์ใหม่ขึ้นมาแทนที่อัตลักษณ์ที่ล่มสลายไป กับราชวงศ์ชิงและภายใต้สมมุติฐานว่า ระบบการเมืองเป็นตัวกำหนดความสำเร็จของสังคม เยาวชนและ ปัญญาชนจีนเมื่อ 100 กว่าปีที่แล้ว จากตัวอย่างความเจริญก้าวหน้าของประเทศตะวันตกก็หันมารณรงค์ แนวคิดที่ให้ความสำคัญกับการ “ใฝ่หานายเต๋อ (德) หรือ democracy กับ นายไซ่ (赛) หรือ science” เพื่อ แก้ไขปัญหาต่าง ๆ แต่ความฝันดังกล่าวก็ถูกทำให้พังทลายลงด้วยผลลัพธ์ของสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่จีนไม่ได้ ผลประโยชน์ที่เป็นรูปธรรม และสิ่งที่ตามมาคือ เยาวชนและปัญญาชนจีนรู้สึกว่า ‘อ้าว เรานึกว่าถ้าเราเป็น เหมือนพวกเขา ถ้าเราเชื่อและทำตามตัวอย่างของเขาแล้วจะดี แต่ทำไมในที่สุดเราไม่ได้อะไรเลย ทำไมเราถูก หักหลัง ...’ ซึ่งผมคิดว่าเหตุการณ์ในช่วงนี้ ทำให้ชาวจีนหลายกลุ่มมองว่า การนิยมตะวันตก การเชิดชู ประชาธิปไตยไม่ใช่คำตอบสำหรับจีน และนั่นก็เป็นจุดเริ่มต้นของการที่คนหลายกลุ่มพยายามหารูปแบบใหม่ ๆ ที่ใช่สำหรับจีน ซึ่งรวมถึงอุดมการณ์และแนวคิดลัทธิคอมมิวนิสต์ด้วย
  • 17. สถาบันคลังป+ญญาด.านยุทธศาสตร6ชาติ 14 ในการนี้ ขอกล่าวเพิ่มเติมว่า ความจริงแล้ว พรรคก๊กมินตั๋งกับพรรคคอมมิวนิสต์เองไม่ได้ห่างไกลกัน เพราะในการสร้างพรรคก็กมินตั๋ง ซุนยัตเซ็นได้ไปขอและได้รับความช่วยเหลือจากพรรคคอมมิวนิสต์รัสเซีย ทั้งการปฏิรูปโครงสร้างของพรรค การอบรมบุคลากร การปรับปรุงคุณภาพของงานทางด้านความคิด การยกระดับงานด้าน propaganda ฯลฯ ซึ่งเงื่อนไขเพื่อความช่วยเหลือดังกล่าวคือการให้พรรคก๊กมินตั๋ง ทำงานกับพรรคคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวทำให้ผมคิดว่ายุคทศวรรษ 1910 - 1920 เป็นยุคที่ น่าสนใจมาก เพราะทั้งพรรคก๊กมินตั๋งและพรรคคอมมิวนิสต์เป็นเพื่อนร่วมงานกัน ซึ่งส่งผลให้สองพรรคและ บุคคลที่เกี่ยวข้องกับสองพรรครู้จักกันและมีเพื่อนอยู่ทั้งสองพรรค ซึ่งความใกล้ชิดดังกล่าว กอปรกับ ประสบการณ์ที่ชนชั้นผู้นำประสบ ส่งผลให้ในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังการตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน นโยบายของผู้นำของทั้งสองฝั่งช่องแคบไต้หวัน แม้ว่าจะภายนอกจะดูเหมือนแตกต่างกัน แต่เมื่อพิจารณา เชิงลึกก็จะเห็นว่ามุ่งแก้ปัญหาที่ตนมองว่าเป็นจุดอ่อนในยุคทศวรรษ 1920 และ 1930 กล่าวคือ พรรค คอมมิวนิสต์มุ่งแก้ไขปัญหาที่ดินในขณะที่พรรคก๊กมินตั๋งมุ่งแก้ไขปัญหาคอร์รัปชัน ซึ่งอันนี้เป็นภาพใหญ่ทาง ประวัติศาสตร์ก่อนที่จะปูทางไปสู่พัฒนาการทางการเมืองในยุคต่อไปของสาธารณรัฐประชาชนจีน ประการที่สาม หนังสือระบุว่า การพัฒนา “ประชาธิปไตย” ในปัจจุบันของจีน เป็นปฏิกิริยาสะท้อน กลับของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในยุคปฏิวัติวัฒนธรรม โดยทางการจีนมองว่าเหตุการณ์ในช่วงดังกล่าวเป็นการ แสดงออกทางประชาธิปไตยที่ไร้ระเบียบแบบแผน (disorderly democracy) ซึ่งบั่นทอนเสถียรภาพและ ความมั่นคงของชาติ ในการนี้ จากการทบทวนบทเรียนของยุคปฏิวัติวัฒนธรรม สิ่งที่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ดำเนินการหลังจากนั้น คือ การสร้างประชาธิปไตยที่มีระเบียบแบบแผน (orderly democracy) ซึ่งข้อความ ดังกล่าว สะท้อนและตอกย้ำอย่างชัดเจนความห่วงกังวลหลักเกี่ยวกับประเด็นความมีระเบียบแบบแผนในการ ปกครองหรือการจัดระเบียบในสังคม ซึ่งภาพดังกล่าว เหมือนที่กล่าวข้างต้นแล้ว ตอกย้ำว่าพัฒนาการของจีน เป็นกระบวนการการเกิด action และ reaction อย่างไม่สิ้นสุด เหมือนการตีโต้ปิงปองไปเรื่อย ๆ ซึ่งสอดคล้อง กับสิ่งที่อาจารย์ที่เป็นนักปรัชญาลัทธิมาร์กซ์ของผมสมัยเรียนที่มหาวิทยาลัยที่ปักกิ่งสอนไว้ว่า กระบวนการพัฒนาของจีน เป็นเหมือนบันได มันจะขึ้นมาและจะลงไปบ้าง อาจจะมีปัญหาบ้าง แต่จากจุด ที่ม้วนตัวลงมา สิ่งที่สำคัญคือการหาทางออกเพื่อก้าวขึ้นไปสู่ระดับที่สูงขึ้นต่อไป ซึ่งไม่ขัดแย้งกับทฤษฎีทฤษฎี วัตถุนิยมวิภาษ และความพยายามในการสร้างความสอดคล้องระหว่างโครงสร้างส่วนบนกับโครงสร้างส่วนล่าง นอกจากนี้ หนังสือได้กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของการมี orderly democracy คือการสนับสนุนและ ขับเคลื่อนนโยบายปฏิรูปและเปิดประเทศ (reform and opening) ของเติ้ง เสี่ยวผิง (ปี ค.ศ. 1978) ซึ่งเป็น ความพยายามที่จะกลับมาสู่ประชาคมโลก การที่จะอยู่เคียงข้างเทียบไหล่ได้กับประเทศในสากล โดยปัญหา ที่ผู้นำจีนในตอนนั้นมองว่าเป็นปัญหาที่ต้องก้าวข้าม คือ การปลดปล่อยศักยภาพและพลังการผลิตของ ประชาชน ดังนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นคือการสร้างกระบวนการที่เปิดกว้างและเป็นประชาธิปไตยมากขึ้นด้วยการ พยายามแยกหน้าที่ (function) และความรับผิดชอบของภาครัฐ หน่วยงานราชการและหน่วยงานของพรรค คอมมิวนิสต์ออกจากกัน เพื่อไม่ให้เกิดการรวมศูนย์ของอำนาจเกินไป ซึ่งก็ต้องยอมรับว่า หากใช้ระดับการ พัฒนาทางวัตถุเป็นตัววัด การกระจายอำนาจการตัดสินใจและการแบ่งหน้าที่ระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ของ
  • 18. สถาบันคลังป+ญญาด.านยุทธศาสตร6ชาติ 15 สังคมประสบคามสำเร็จค่อนข้างมาก อย่างไรก็ดี แม้ว่าในปัจจุบันประเทศจีนจะได้พัฒนาไปมากแล้ว แต่จากที่ ท่านอาจารย์พิรุณฯ ได้กล่าวข้างต้น หน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ของภาครัฐของจีนต้องไปประชุมของสาขาพรรค คอมมิวนิสต์ทุกอาทิตย์ ซึ่งตอกย้ำข้อเท็จจริงว่า ในปัจจุบัน แม้ว่าจีนจะพัฒนาไปสู่ประเทศแนวหน้าของโลก แล้ว แต่ในเชิงลึก จีนก็ยังมีสภาพเหมือน deep state ซึ่งมีโครงสร้างหลายส่วนที่ทับซ้อนกันอยู่ นอกจากนี้ อีกภาพที่ต้องดูต่อไปคือ พรรคกับรัฐบาลจะแยกโครงสร้าง function และความรับผิดชอบได้ถึงขนาดไหน โดยไม่นำมาซึ่งความอ่อนแอของโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์จีนและภาคส่วน ต่าง ๆ ของสังคม การปลดปล่อยพลังทั้งของภาครัฐและเปิดโอกาสให้ภาคประชาชน ภาควิชาการ ฯลฯ เติบโต และมีความรับผิดชอบในการกำหนดอนาคตของตัวเองมากขึ้นนำมาซึ่งสิ่งใด ในประสบการณ์ของจีน หลังจากที่เปิดประเทศและปฏิรูปประเทศ 10 ปี ในปี 1989 คือเหตุการณ์ เทียนอันเหมิน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียใจว่า เกิดการเสียเลือดเสียเนื้อขึ้น แต่ถ้ามองลึกลงไป ต้นเหตุของเหตุการณ์ เทียนอันเหมิน คือ การเรียกร้องของเยาวชนและนักศึกษามหาวิทยาลัยในประเด็นเดิม ๆ ได้แก่ ปัญหาปาก ท้อง คอร์รัปชั่น ประสิทธิภาพการบริหารจัดการของประเทศ การที่เจ้าหน้าที่ของภาครัฐบางคนใช้ตำแหน่ง กอบโกยผลประโยชน์และเรียกทรัพย์สิน ซึ่งล้วนเป็นปัญหาเดิม ซึ่ง ณ จุดนี้ ผู้นำระดับสูงของพรรค คอมมิวนิสต์ก็มองว่าเราไม่ได้เข้มงวดเกี่ยวกับระเบียบและอุดมการณ์และมุ่งพัฒนาทางเศรษฐกิจจนก่อให้เกิด ความหย่อนยาน และจำเป็นต้องจัดระเบียบสังคมในส่วนภาครัฐและภาคประชาชน ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าว ก็ เป็นปฏิกิริยาตีกลับเหมือนการตีโต้ในเกมส์ปิงปองที่มุ่งปรับทัศนคติของสังคมในภาพรวม หรือการที่บันไดของ การพัฒนาประเทศมาถึงจุดม้วนตัวลงและพรรค/ภาครัฐต้องหาทางออกและกำหนดแนวทางสำหรับการพัฒนา ประเทศต่อไป หรือการต้องพยายามสร้างความสอดคล้อง ระหว่างองคาพยพต่าง ๆ ของสังคม ทั้งนี้ ถ้ามอง จากภาพรวมของการพัฒนาประเทศต่าง ๆในโลก ในยุคทศวรรษ 1960-1970 ประเทศในโลกตะวันตก เช่น ฝรั่งเศสหรือแม้กระทั่งหลายประเทศในเอเชียก็เกิดกระแสนิยมอุดมการณ์สังคมนิยม ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า การเกิดปฏิกิริยาตีกลับในสังคมเมื่อประชาชนรู้สึกถึงว่าหาทางออกไม่ได้ ทั้งนี้ ที่สำคัญยิ่งกว่าคือสังคมนั้น ๆ สร้างสภาวะสมดุลอีกครั้งอย่างไร ซึ่งในกรณีของจีนคือการจัดระเบียบสังคมและการปฏิรูประบบการ ดำเนินการและบริหารกิจการของภาครัฐเพื่อให้สามารถรักษาสมดุลระหว่างกระแสและแรงกดดันต่าง ๆ ในสังคม ซึ่งข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงทำให้การมีพรรคคอมมิวนิสต์เป็นเสาหลักสำคัญของประเทศและสังคมจีน เป็นปัจจัยสำคัญลำดับต้น ๆ ของการพยายามเข้าใจประเทศจีน ประการที่สี่ เหมือนกับที่เขามีสังคมนิยมในรูปแบบจีน จีนก็มีประชาธิปไตยในแบบจีน โดยถ้าต้อง เปรียบคงเหมือนสามเหลี่ยมของไฟ ซึ่งประกอบด้วยสามองค์ประกอบได้แก่ ความร้อน อากาศ และเชื้อเพลิง สำหรับประเทศจีนไม่ว่าจะเป็นระบบการปกครองใดก็ต้องตอบโจทย์สำคัญ ได้แก่ การอยู่รอด (survival) ของ ระบบการปกครอง/พรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งขึ้นอยู่กับความชอบธรรม (legitimacy) ของระบบการปกครอง/ พรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งตั้งอยู่บนความกินดีอยู่ดี (wellbeing) ของประชาชน ซึ่งผมคิดว่าสมการอันนี้ ถูกสกัด ออกมาจากประสบการณ์ที่ชาวจีนได้ฟันฝ่ามา อนึ่ง สมการดังกล่าวก็ยังมีคุณค่าสำหรับประเทศอื่นด้วย โดยเฉพาะเมื่อมองว่า ยังมีหลายคนที่ยึดติดว่าประชาธิปไตยต้องเป็นรูปแบบนั้นรูปแบบนี้ แต่หากพิจารณา