SlideShare a Scribd company logo
1 of 182
Download to read offline
สารบัญ
                                    Contents
                                                                       หน้า
                                                                     Pages
บรรณาธิการแถลง                                                            7
Editorial                                                               11

ปฎิรูปการศึกษาศาสตร์ด้วยยุทธศาสตร์ “หนึ่งมหาวิทยาลัย หนึ่งจังหวัด”      17
ประเวศ วะสี
Education Reform based on the Strategy of                               1
“One University, One Province”
Praves Vasee

แก้วิกฤตด้วยเศรษฐกิจพอเพียง                                             1
วิรุณ ตั้งเจริญ

Crisis-free State through Sufficiency Economy                           9
Wiroon Tungcharoen

มหาวิทยาลัยกับการศึกษาทางเลือก                                          59
อำนาจ เย็นสบาย

University and Alternative Education                                    71
Amnard Yensabye

ฐานคิดเพื่อการพัฒนาภูมิธรรมที่โพธิวิชชาลัย                              81
กวี วรกวิน
Concept of Dhamma Realm Development at Bodhi Vijjalaya
Kawee Worakawin

   วารสารโพธิวิจัย Journal
    Bodhi Research
เศรษฐกิจพอเพียงในทัศนะโลก                                                   89
พิพัฒน์ ยอดพฤติการ
Sufficiency Economy in Global View
Pipat Yodprudtikan
การศึกษาเพื่อความเป็นมนุษย์                                                101
ดุษฎี สีตลวรางค์
Education for Humanity
Dusadee Sitalavarang
การศึกษาทางเลือก : การศึกษา “บุญนิยม” ของชาวอโศก                           111
กนกศักดิ์ แก้วเทพ
Alternative Education : “Bun-Niyom” (Meritism) Education
of Asoke Community
Kanoksak Kaewthep

วิถีวัฒนาความเป็นมนุษย์ ในระบบการศึกษาของมูลนิธิพุทธฉือจี้ ไต้หวัน         1
สุวิดา แสงสีหนาท
Cultivating Humanity in Educational Institutions - The Tzu Chi Approach
Suwida Sangsehanat

บทความปริทัศน์                                                              -
Review Articles

บทวิจารณ์หนังสือ                                                            -
Book Reviews

เกี่ยวกับผู้เขียน                                                          17
Author’s Profile

ข้อมูลข่าวสารสำหรับผู้ที่จะส่งผลงานมาตีพิมพ์                               177
Instruction to Authors

                                                               วารสารโพธิวิจัย
                                                      Bodhi Research Journal 5
วารสารโพธิวิจัย : วารสารการพัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืน
         “คือพืนทีทางวิชาการ สำหรับบทความ ผลงานวิจย หรือข้อคิดเห็น ทีเ่ ปิดโลกทัศน์ทางปัญญา
               ้ ่                                ั
ในศาสตร์ทุกสาขา เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาทางเลือกอย่างยั่งยืนในทุกระดับ โดย
มีเป้าหมายสร้างความเข้มแข็งและพึ่งตนเองของชุมชนและสังคมบนฐานความรู้และคุณธรรม
จัดพิมพ์เผยแพร่ปีละ ๑ ครั้ง ในเดือนกันยายน โดยได้รับการสนับสนุน งบประมาณการ
จัดพิมพ์จากโครงการต้นแบบโพธิวิชชาลัย บนฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หนึ่งในโครง
การบริการวิชาการแก่ชุมชน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ”
                         Bodhi Research Journal:
              A Journal on Holistic Sustainable Development
	        This	 journal	 provides	 an	 academic	 space	 for	 sharing	 your	 thinking,	
original and innovative research, findings and practices of all sciences related
to	sustainable	and	community	development.	It	also	aims	to	stimulate	research	
and	works	in	sustainable	development	with	right	knowledge	and	ethics	in	every	
aspect	and	at	every	level,	particularly	in	the	strategies,	theories	and	practices	
of	alternative	development,	and	in	the	empowerment	and	development	of	self-
reliance	and	autonomy	of	communities	and	societies.	The	journal	is	published	once	
a	year,	in	September.	The	publication	of	Bodhi	Research	Journal	is	sponsored	
by	Srinakharinwirot	University.
วารสารโพธิวิจัย : วารสารการพัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืน
คณะที่ปรึกษา                        Advisory Board
๑. วิรุณ ตั้งเจริญ (ศ.ดร.)          1. Wiroon Tungcharoen (Professor Dr.)
๒. วิภาวี อนุพันธ์พิศิษฐ์ (รศ.)     2. Vipavee Anupunpisit (Associate Professor)
๓. สุมาลี เหลืองสกุล (รศ.)          3. Sumalee Leungsakul (Associate Professor)
๔. อำนาจ เย็นสบาย (รศ.)             4. Amnard Yensabye (Associate Professor)
๕. กวี วรกวิน (ผศ.)                 5. Kawee Worakawin (Assistant Professor)
๖. สมปรารถนา วงศ์บุญหนัก (ดร.)      6. Somprathna Wongbunnak (Dr.)
๗. ละออ อัมพรพรรดิ์ (ดร.)           7. La-aw Ampornpan (Dr.)
๘. อภิชัย พันธเสน (ศ.ดร.)           8. Apichai Puntasen (Professor Dr.)

บรรณาธิการ                          Editor
สุวิดา แสงสีหนาท (ดร.)              Suwida Sangsehanat (Dr.)

คณะบรรณาธิการ (ภายใน)               Editorial Board (Internal)
๑. พิพัฒน์ นวลอนันต์                1. Pipat Nualanant
๒. สิทธิธรรม โรหิตะสุข              2. Sitthidham Rohitasuk
๓. สมศักดิ์ เหมะรักษ์               3. Somsak Hemarak
๔. ประภัสสร ยอดสง่า                 4. Prapatsorn Yodsa-nga
๕. ศิริวรรณ วิบูลย์มา               5. Siriwan Wibunma
๖. ศศิธร อินทร์ศรีทอง               6. Sasidhorn Insrithong




    วารสารโพธิวิจัย Journal
     Bodhi Research
คณะบรรณาธิการ (ภายนอก)                          Editorial Board (External)
1. กนกศักดิ์ แก้วเทพ (รศ.ดร.)                   1. Kanoksak Kaewthep (Associate Professor Dr.)
   (คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)          (Faculty of Economics, Chulalongkorn
2. กนกรัตน์ ยศไกร (ดร.)                            University)
   (คณะวิทยาการจัดการ                           2. Kanokrat Yossakrai (Dr.)
   มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม)                     (Chandrakasem Rajabhat University)
3. พิพัฒน์ ยอดพฤติการ (ดร.)                     3. Pipat Yodprutikarn (Dr.)
   (สถาบันไทยพัฒน์)                                  (Thai Pat Institution)
4. บอง ซู่ เหลียน (ดร.)                         4. Bong Sue Lian (Dr.)
   (อาจารย์เกษียณ ประเทศมาเลเซีย)                  (Retired lecturer, Malaysia)
ผู้ช่วยคณะบรรณาธิการ                         Editorial Board Assistants
๑. กฤษณา สังคริโมกข์                         1. Kritsana Sungkrimoke
๒. ณัฐวรรณ เฉลิมสุข                          2. Nattawan Chalermsuk
๓. ธีร์วรา สุวรรณศักดิ์                      3. Teewara Suwannasak
๔. จักราวุธ นิยมเดชา                         4. Chackrawudha Niyomdecha
๕. ศรอ์ศนัญย์ เจริญฐิตากร                    5. Sornanan Charoenthitakon
๖. วารุณี อัศวโภคิน                          6. Varunee Asavabhokin
๗. อรอุมา รุ่งเรืองวณิชกุล                   7. Onuma Rungreangwanitkun
๘. ณิชชิศา พรประเสริฐรัตน์                   8. Neatchisa Pornprasertrat
๙. แสง คำมะนาง                               9. Sang Commanang
จัดทำโดย: วิทยาลัยโพธิวชชาลัย และโครงการบริการวิชาการแก่ชมชน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
                        ิ                                ุ
           ๑๑๔ สุขุมวิท ๒๓ (ซอยประสานมิตร) กรุงเทพฯ ๑๐๑๑๐
Publish by: College of Bodhi Vijjalaya, Srinakharinwirot University,
             114 Sukhumvit 23 (Soi Prasanmitra), Bangkok 10110, Thailand
             Tel/Fax: (66)22602141 E-mail: suwida@swu.ac.th, suwida.ss@gmail.com
พิมพ์ที่ : เลคแอนด์ฟาวด์เท่นพริ้นติ้งจำกัด
จำนวนพิมพ์ : ๖๐๐ เล่ม

                                                                         วารสารโพธิวิจัย
                                                                Bodhi Research Journal
สารบัญ
                                    Contents
                                                                       หน้า
                                                                     Pages
บรรณาธิการแถลง                                                            7
Editorial                                                               11

ปฎิรูปการศึกษาศาสตร์ด้วยยุทธศาสตร์ “หนึ่งมหาวิทยาลัย หนึ่งจังหวัด”      17
ประเวศ วะสี
Education Reform based on the Strategy of                               1
“One University, One Province”
Praves Vasee

แก้วิกฤตด้วยเศรษฐกิจพอเพียง                                             1
วิรุณ ตั้งเจริญ

Crisis-free State through Sufficiency Economy                           9
Wiroon Tungcharoen

มหาวิทยาลัยกับการศึกษาทางเลือก                                          59
อำนาจ เย็นสบาย

University and Alternative Education                                    71
Amnard Yensabye

ฐานคิดเพื่อการพัฒนาภูมิธรรมที่โพธิวิชชาลัย                              81
กวี วรกวิน
Concept of Dhamma Realm Development at Bodhi Vijjalaya
Kawee Worakawin

   วารสารโพธิวิจัย Journal
    Bodhi Research
เศรษฐกิจพอเพียงในทัศนะโลก                                                   89
พิพัฒน์ ยอดพฤติการ
Sufficiency Economy in Global View
Pipat Yodprudtikan
การศึกษาเพื่อความเป็นมนุษย์                                                101
ดุษฎี สีตลวรางค์
Education for Humanity
Dusadee Sitalavarang
การศึกษาทางเลือก : การศึกษา “บุญนิยม” ของชาวอโศก                           111
กนกศักดิ์ แก้วเทพ
Alternative Education : “Bun-Niyom” (Meritism) Education
of Asoke Community
Kanoksak Kaewthep

วิถีวัฒนาความเป็นมนุษย์ ในระบบการศึกษาของมูลนิธิพุทธฉือจี้ ไต้หวัน         1
สุวิดา แสงสีหนาท
Cultivating Humanity in Educational Institutions - The Tzu Chi Approach
Suwida Sangsehanat

บทความปริทัศน์                                                              -
Review Articles

บทวิจารณ์หนังสือ                                                            -
Book Reviews

เกี่ยวกับผู้เขียน                                                          17
Author’s Profile

ข้อมูลข่าวสารสำหรับผู้ที่จะส่งผลงานมาตีพิมพ์                               177
Instruction to Authors

                                                               วารสารโพธิวิจัย
                                                      Bodhi Research Journal 5
วารสารโพธิวิจัย Journal
  Bodhi Research
บรรณาธิการแถลง
         วารสาร “โพธิวิจัย”: วารสารการพัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืน เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยน
ทางปัญญาสำหรับผูขบเคลือนการพัฒนาแนวทางเลือกในทุกศาสตร์สาขาซึงหมายรวมถึงนักวิชาการ
                  ้ั ่                                          ่
ปราชญ์ชาวบ้าน และผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ เพื่อร่วมกันสรรสร้างสังคมที่มีความสุข สันติ
และสมดุลอย่างยั่งยืน ทั้งในระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ และมนุษย์กับธรรมชาติ โดยเริ่มด้วย ๔
มิติสำคัญ ซึ่งจะเป็นประเด็นหลักประจำฉบับที่ ๑ - ๔ ดังนี้
         ๑) มิติทางการศึกษา ที่จะสรรสร้างอย่างไร เยาวชนรุ่นใหม่จึงจะเป็นพลังในการ
ขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืน ข้ามพ้นระบบทุนนิยมแข่งขันขูดรีด ก้าวมาสู่การร่วมมือกัน
ร่วมพลังกัน บนฐานคุณธรรม ในการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน สังคม และประเทศ ให้พึ่งตนเองได้
ขณะเดียวกัน ก็มีภูมิคุ้มกันที่จะรู้ทันคัดกรองกระแสโลกาภิวัตน์ ซึ่งเป็นประเด็นหลักสำหรับ
ฉบับปฐมฤกษ์ เดือนกันยายน ๒๕๕๓ นี้ ด้วยหัวข้อ
         “เมล็ดพันธุ์โพธิ ในระบบการศึกษาไทย - การถอยกลับสู่ปรัชญา
         และเป้าประสงค์เริ่มต้นของการศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นมนุษย์”
         ในฉบับนี้ ศ.นพ.ประเวศ วะสี ได้กรุณาให้เรียบเรียงบทความจากการบรรยายพิเศษในการ
สัมมนาวิชาการเพือการปฏิรปศึกษาศาสตร์ ท่านได้เปิดโลกทัศน์ทางปัญญาให้แก่แวดวงวิชาการใน
                ่        ู
ประเด็น “หนึ่งมหาวิทยาลัย หนึ่งจังหวัด” สู่การปฏิรูปศึกษาศาสตร์อย่างเป็นรูปธรรม
          ศ.ดร.วิรุณ ตั้งเจริญ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้เปิดประเด็นการ
“แก้ไขวิกฤตของสังคมด้วยเศรษฐกิจพอเพียง” ซึงเป็นปณิธานแห่งการก่อเกิดวิทยาลัยโพธิวชชาลัย
                                           ่                                    ิ
และท่านได้ให้ข้อคิดที่น่าสนใจเพื่อการปรับเปลี่ยนระบบการศึกษาไทยไปสู่การบ่มเพาะ
“ความเป็นมนุษย์” ที่แท้จริง
          “มหาวิทยาลัยกับการศึกษาทางเลือก” โดย รศ.อำนาจ เย็นสบาย รองอธิการบดีฝ่าย
เครือข่ายการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นอีกแว่นความคิดหนึ่งที่เปิดโลกทัศน์
ทางการศึกษา ที่ไม่จำเป็นต้องแข่งขันเพียงเพื่อผลิตบัณฑิตที่ต้องพึ่งพิงตลาดแรงงาน และวิ่ง
หนีจากถิ่นเกิดเข้ามากระจุกตัวอยู่แต่ในเมือง


                                                                     วารสารโพธิวิจัย
                                                            Bodhi Research Journal 7
“ฐานคิดเพื่อการพัฒนาภูมิธรรมที่โพธิวิชชาลัย” โดย ผศ.กวี วรกวิน คณบดีวิทยาลัย
โพธิวชชาลัย กล่าวถึงบทบาทของการศึกษาทีจะต้องพัฒนาคนให้สมดุล ก่อนจะไปพัฒนาสังคม
     ิ                                   ่
ให้สมดุลได้
          ในฉบับ ท่านผู้อ่านจะได้พบกับรูปแบบการสร้างเมล็ดพันธุ์ทางปัญญาในสถานศึกษา
หลายแห่ง ทั้งในและต่างประเทศ อาทิเช่น การศึกษาที่เน้นศีลและการทำงานจริงของชุมชน
ศีรษะอโศก จังหวัดศรีสะเกษ การศึกษาเพื่อพัฒนามนุษย์ของโรงเรียนกงไกรลาศวิทยา
จังหวัดสุโขทัย และการศึกษาที่ปลูกฝังคุณธรรมของสถานศึกษาฉือจี้ ประเทศไต้หวัน เป็นต้น
         ๒) มิติศิลปะและวัฒนธรรมสร้างสรรค์ เพื่อเปิดโลกทัศน์ใหม่ให้แก่ศิลปะและ
วัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่น ซึ่งสังคมสมัยใหม่อาจมองว่าคร่ำครึไม่เป็นวิทยาศาสตร์ แต่ศิลปะและ
วัฒนธรรมชุมชนท้องถินเหล่านีอาจเป็นการสร้างสรรค์ดวยภูมปญญา เพือแสดงถึงวิถแห่งการเคารพ
                    ่       ้                      ้ ิั          ่        ี
แสดงถึงความจริง ความดี และความงาม ของความเป็นมนุษย์ที่เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ
ศิลปะและวัฒนธรรมสร้างสรรค์ ยังหมายถึง การวิพากษ์ศิลปะและวัฒนธรรมที่คนส่วนใหญ่
ยอมรับปฏิบัติ แต่อาจไม่สร้างสรรค์สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ศิลปะและวัฒนธรรมเป็นส่วนที่จับต้อง
ได้และจับต้องไม่ได้ ที่เรา-มนุษย์ทุกคนถูกหล่อหลอมโดยไม่รู้ตัว ขณะเดียวกัน ก็มีส่วนสร้าง
ศิลปะและวัฒนธรรมอยู่ตลอดเวลา แล้วทำไมเราจึงไม่ร่วมกันสร้างสรรค์ศิลปะและวัฒนธรรมที่
จะนำไปสู่ความสงบสุขสันติ ความเข้มแข็งของชุมชน การพึ่งตนเองได้ และการพัฒนาที่ยั่งยืน
(ประเด็นหลักสำหรับฉบับที่ ๒)
         ๓) มิติวิถีชีวิตกับธรรมชาติ มนุษย์ได้ตักตวงขูดรีดธรรมชาติมานานหลาย
ศตวรรษ เพียงเพื่อคำลวงโลกที่ว่า “ความก้าวหน้า ความศิวิไลซ์ และการพัฒนา” จนกระทั่ง
โลกใบนี้ผอมแห้งขาดความอุดมสมบูรณ์ บอบช้ำเน่าเหม็นด้วยมลพิษทั้งทางน้ำ ดิน และอากาศ
อีกทัง เป็นแผลฉกรรจ์ในระดับชันโอโซน ถึงเวลาแล้วหรือยังทีเ่ รา-มนุษย์ทแสนศิวไลซ์ จะหันกลับ
     ้                         ้                                     ่ี    ิ
มามองน้ำตาของแม่ (ธรณี) ทีกำลังเจิงนองจากภาวะโลกร้อน เราต้องร่วมกันปรับเปลียนวิถชวต
                            ่       ่                                           ่ ีีิ
ให้สอดคล้องกับธรรมชาติ ด้วยการร่วมรักษาระบบนิเวศน์ ใช้พลังงานทดแทน ฟืนฟูและอนุรกษ์
                                                                             ้         ั
ทรัพยากรดิน น้ำ ป่า ค้นหาภูมิปัญญาที่มนุษย์เคยอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างพึ่งพาอาศัยซึ่ง
กันและกัน และมีสมมาชีพทีไม่เบียดเบียนเพือนมนุษย์และธรรมชาติ (ประเด็นหลักสำหรับฉบับที่ ๓)
                ั       ่               ่



 8 วารสารโพธิวิจัย Journal
   Bodhi Research
๔) มิติวิถีศานติสุข กับ ศาสนา ปรัชญา ความเชื่อ แม้ผู้คนบางส่วนในโลก
สมัยใหม่บอกว่าตนเองไม่มีศาสนา แต่เราอาจจะเพียงกำลังต่อต้านศาสนา ปรัชญา ความเชื่อ
ที่ไม่สามารถนำทางชีวิตของเราไปสู่ศานติสุขที่แท้จริงก็ได้ ดังนั้น วารสารโพธิวิจัยจึงเปิดพื้นที่
สำหรับการวิพากษ์ศาสนา ปรัชญา ความเชื่อ อีกทั้ง มีพื้นที่สำหรับการนำเอาศาสนา ปรัชญา
ความเชื่อ มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนามนุษย์และสังคม เพื่อไปสูการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมทั้ง การ
                                                              ่
เสวนาระหว่างศาสนาเพือเปิดโลกทัศน์ทางจิตวิญญาณและปัญญา (ประเด็นหลักสำหรับฉบับที่ ๔)
                          ่
           มิติทั้งสี่ ที่วารสารโพธิวิจัยเสนอตัวเป็นพื้นที่ทางวิชาการเพื่อแลกเปลี่ยนในเชิง
ปัญญานี้ ยังคงเปิดรับแว่นความคิดและบทความในประเด็นอืนๆ ทีสร้างสรรค์การพัฒนาทียงยืน
                                                            ่ ่                        ่ ่ั
เพื่อตอบสนองเป้าประสงค์ ๕ ประการ ดังนี้
๑. เพื่อเป็นพื้นที่ทางวิชาการให้แก่คณาจารย์ นักศึกษา บุคลากรและนักวิชาการได้ตีพิมพ์
     บทความงานวิจัย บันทึกงานวิจัย และบทความทางวิชาการ ที่บูรณาการทฤษฎีเข้ากับ
     การปฏิบตจริงอย่างมีคณภาพ และสร้างสรรค์ให้เกิด “ปัญญา” ในการขับเคลือนการพัฒนา
             ัิ             ุ                                                ่
     ทางเลือกอย่างยั่งยืนในทุกระดับโดยมีเป้าหมายสร้างความเข้มแข็งและพึ่งตนเองของชุมชน
     และสังคมบนฐานความรู้และคุณธรรม
๒. เพื่อเป็นพื้นที่ให้แก่ปราชญ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แสดงข้อคิดข้อเห็นทั้งในเชิงทฤษฎีและการ
   ปฏิบัติ ที่เป็นนวัตกรรม และเปิดโลกทัศน์ทาง “ปัญญา” ให้แก่แวดวงผู้ขับเคลื่อนการ
   พัฒนาอย่างยั่งยืน
๓. เป็นวารสารเชิงบูรณาการศาสตร์ ซึ่งตีพิมพ์ผลงานวิจัยและบทความวิชาการที่มีนวัตกรรม
   ข้ามพ้นขอบเขตจำกัดแห่ง “ศาสตร์สาขา” เพื่อพัฒนาความเป็นมนุษย์ ในวิถีแห่ง
   “ปัญญา” (ความรู้และคุณธรรม) สู่ความยั่งยืนทางสังคม ทั้งในด้านทฤษฎีและการปฏิบัติ
   ทางด้านการพัฒนาอย่างเป็นองค์รวม ที่คำนึงถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างสังคม เศรษฐกิจ
   การเมือง ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมประเพณี มนุษย์ ทรัพยากรธรรมชาติ การอนุรักษ์
   ระบบนิเวศน์และสิ่งแวดล้อม อย่างเป็นองค์รวม
๔. มุ่งไปสู่การเป็นวารสารนานาชาติชั้นนำ ด้วยผลงานวิชาการที่ทันสมัยและมีคุณภาพ ซึ่ง
   ผ่านระบบการให้คำแนะนำด้วยกัลยาณมิตรที่เชี่ยวชาญในศาสตร์สาขาที่เกี่ยวข้อง จำนวน
   ๓ ท่าน

                                                                         วารสารโพธิวิจัย
                                                                Bodhi Research Journal 9
๕. มุ่งให้วารสารเปรียบเสมือนพื้นที่แห่งการหล่อเลี้ยงและฝึกฝน “ปัญญา” เพื่อการพัฒนา
   อย่างเป็นองค์รวมและยั่งยืน ดังชื่อของวารสาร

         คณะบรรณาธิการหวังว่า ท่านผู้อ่านทุกท่านจะเป็นส่วนหนึ่งที่ร่วมกันแลกเปลี่ยน
ประสบการณ์ทั้งในเชิงทฤษฎีและการปฏิบัติ เพื่อเปิดโลกทัศน์ทาง “ปัญญา” และสร้างสรรค์
การพัฒนาทียงยืน ซึงวารสารจะเผยแพร่ไปยังสถานศึกษาและศูนย์เรียนรูเ้ ศรษฐกิจพอเพียงและ
           ่ ่ั ่
การพัฒนาที่ยั่งยืนในมิติต่างๆทั่วประเทศ ท่านสามารถส่งบทความเข้ามาให้พิจารณาได้ทุกเมื่อ
และติดต่อสอบถามรายละเอียดต่างๆผ่านทาง e-mail: suwida@swu.ac.th, suwida.ss@gmail.
com


                                                               ดร.สุวิดา แสงสีหนาท
                                                                          บรรณาธิการ




 10 วารสารโพธิวิจัย Journal
    Bodhi Research
Editorial
          “Bodhi Research Journal” is a journal that focuses on holistic sustainable
development. It provides an academic space for sharing the latest knowledge
and thinking on all sciences and practices of sustainable alternative development
among academicians, scientists, experts and field practitioners of alternative
development. The journal serves as a forum for discussion and advancing
development on creating a society that is at peace and harmony with itself,
with the environment and all living beings within it. The journal focuses on four
essential aspects of sustainable development which will be the main themes of
the first four issues of the journal. These four aspects are:

    1. Education - The inaugural issue of the Journal published in September,
       2010 carries this theme on education, ‘Bodhi seed in Thai Education
       System - Returning to the Philosophy and Primary Objectives of
       Education for Sustainable Development’
    2. Creative Arts and Culture - A theme on creative arts and culture will
       be carried in the second issue of the Journal.
    3. Way of Life and Nature - The third issue of the Journal will feature
       ‘way of life and nature’ as its main theme.
    4. Religions, Spirituality, Beliefs and Philosophy - The fourth issue of the
       Journal wil feature the theme on ‘religions, beliefs and philosophy’.

1. Education - This aspect addresses the issue of how to create new
   generations of youths who are ethically upright, who will form an ethically
   conscious workforce that drives sustainable development. They will be able
   to resist the profiteering type of capitalistic exploitation of resources. They
   wil be capable of building a self-reliant community and country to meet
   the challenges and protect from the devastating effect of globalization.
   This is the main theme of the inaugural issue of the Journal published in
   the month of September B.E. 2553, ‘Bodhi seed in Thai Education System
                                                                   วารสารโพธิวิจัย
                                                          Bodhi Research Journal 11
- Returning to the Philosophy and Primary Objectives of Education for
   Sustainable Development’. Thanks to Professor Dr. Praves Vasee who kindly
   contributed an article that he extracted from his special lecture given
   at the academic seminar on education science reform. In this article
   on education reform, he revealed the vision of ‘One University, One
   Province’.

   Professor Dr. Wiroon Tungcharoen, the Rector of Srinakharinwirot University,
   contributed the article on “Crisis-free State through Sufficiency Economy”.
   He highlighted the background and aspiration of the inception of College
   of Bodhi Vijjalaya, and the need for transforming Thai education for the
   advancement of humanity and crisis-free growth based on the philosophy
   of Sufficiency Economy.

   “University and Alternative Education”, an article contributed by Associate
   Professor Amnard Yensabye, Vice-Rector of the Learning Network of
   Srinakharinwirot University, provided another aspect of a fresh vision on
   alternative education in correct training of the graduates who will be
   equipped with entrepreneurial skil s and knowledge for developing rural
   areas or their own community without the need to compete for a place
   in the conventional labor market.

   In this inaugural issue, you wil find more articles of current works on
   producing “intellectual seeds (graduates)” in a number of education
   institutions, both local and abroad. These include the education focusing on
   Buddhist precepts and field project assignments of Srisa Asoke Community
   in Srisaket Province; the education for advancement of humanity at Gong
   Grai-lart Witthaya School in Sukhothai Province; and the education for
   cultivating ethical conduct at Tzu Chi educational institutes in Chinese
   Taipei.



1 วารสารโพธิวิจัย Journal
   Bodhi Research
2. Creative Arts and Culture - Traditional arts and culture of local community
   may be considered old-fashioned, not scientific or non-academic, or not
   trendy by some. Some critics are of the opinion that working in arts and
   culture does not contribute to development. However, arts and culture of
   local community express the creativity and local knowledge and skills of
   the local people. They reflect on the people’s respect for truth, goodness
   and beauty of humankind, a part of nature. Arts and culture are both
   tangible and intangible; they are part of us in our everyday life and
   activities. Hence, why don’t we work together in creating arts and culture
   that could lead to peace and non-violence; that could instill a spirit of
   strong self-reliance; that could contribute to sustainable development by
   way of preservation or conservation or any other ways? This would be a
   theme for the second issue of Bodhi Research Journal .

3. Way of Life and Nature - Under the pretext of ‘pushing for growth, progress,
   advancement, development’, human-beings have so aggressively exploited
   nature for so long that we are actually getting the opposite - this world is
   actually crumbling with severe life-threatening pollution, environmental crises,
   natural disasters, climate change and global warming. Is it time now that
   we, supposedly civilized people, should start nurturing mother earth back to
   health? It is time for us all to work together in changing our way of life
   to be back in accord with nature; protective of the ecosystem through
   conservation of the earth’s resources and use of green alternative energy
   and other such measures. In the past, we used to be able to live in
   harmony with nature, supporting it and not destroying it as it supported our
   lives. What has been happening between then and now? Harmony with
   nature and how we live and advance in sustainable development would
   be a theme for the third issue of Bodhi Research Journal.



                                                                  วารสารโพธิวิจัย
                                                         Bodhi Research Journal 1
4. Peace with Religion, Spirituality, Beliefs and Philosophy - Some people may
   declare that they are agnostics or atheists; still others are opposed to any
   religious beliefs. Those who have faiths claim to find some form of peace
   or solace in their faiths or practice. How do the agnostics, atheists and
   those who are against any religious beliefs or practice find tranquility?
   Bodhi Research Journal provides a space for critical discussion on religions,
   beliefs (for or against), spirituality, and philosophy and their practice (mental
   and spiritual cultivation); and how these contribute, positively or negatively
   or not at all, to the sustainable development of human beings and their
   society and environment. This wil be a theme for the fourth issue of Bodhi
   Research Journal.
In addition to the above, Bodhi Research Journal also serves as a forum for
all to exchange their expertise and findings on sustainable development in line
with the following five objectives.

1. Bodhi Research Journal provides an academic space for lecturers, students,
   practitioners and others to present their research findings, thesis and academic
   articles on integrated sustainable development. This would contribute to
   building up knowledge on alternative and sustainable development.

2. Bodhi Research Journal is also the journal for philosophers and intellectuals
   and all interested parties to express their vision, their views and analyses
   of the theory and practice of alternative or sustainable development.

3. The journal promotes and publishes findings from multidisciplinary studies,
   integrated sciences and any sciences that focus on holistic development
   that necessarily is multi and interdisciplinary in approach and practice that
   encompass aspects of economics, politics, religions, arts, cultures, humanity,
   natural resources, ecology and environment. It is a multidisciplinary journal
   that publishes innovative research and applications that push further the

 1 วารสารโพธิวิจัย Journal
    Bodhi Research
frontier of knowledge and the advancement of humanity in socio-politico-
    economically, culturally, ecologically and environmentally sustainable way.

4. Aims to be a leading international journal in latest research and advances
   on the theory and practice of integrated and sustainable development of
   the society and its cultures and traditions, human and material resources,
   conservation and preservation of the ecology and environment.

5. Aims to be a journal synonymous with culturing and practicing ‘WISDOM’
   in holistic sustainable development, as the name indicates.

         The editors welcome contributions in social and other sciences of life
and development, and any innovative research works or critical reviews related
to the theory and practice of holistic sustainable development, particularly in
community-centered, culturally and ecologically sustainable and/or alternative
development, empowerment and development of communities, especially
community autonomy and self-reliance. The journal will be distributed to
all educational institutes, and learning centres of sufficiency economy and
sustainable development nationwide. You are welcome to send your articles to
us. For more details please contact the editor at suwida@swu.ac.th, suwida.ss@
gmail.com.

                                          Dr. Suwida Sangsehanat
                                          Editor




                                                               วารสารโพธิวิจัย
                                                      Bodhi Research Journal 15
1 วารสารโพธิวิจัย Journal
   Bodhi Research
ปฏิรูปการศึกษาศาสตร์ด้วยยุทธศาสตร์
“หนึ่งมหาวิทยาลัย หนึ่งจังหวัด”
Education Reform based on the Strategy of “One University, One Province”
                                                                    ประเวศ วะสี
                                                                 Praves Vasee
                                         บทคัดย่อ
           การปฏิ ร ู ป การศึ ก ษาศาสตร์ จะต้ อ งปรั บ มโนทั ศ น์ ไม่ เ อาวิ ช าเป็ น ตั ว ตั ้ ง
ซึ่งเป็นการคิดแบบแยกส่วน ต้องมีมโนทัศน์ใหม่ที่บูรณาการโดยใช้ชุมชนท้องถิ่นเป็นฐานสำคัญ
ของพระเจดียแห่งการพัฒนาและการปฏิรปการศึกษาศาสตร์ มีมโนทัศน์แบบใหม่ทใช้พนทีเ่ ป็นตัวตัง
              ์                       ู                                     ่ี ้ื               ้
ต้องประกาศยุทธศาสตร์ “หนึ่งมหาวิทยาลัย หนึ่งจังหวัด” เพื่อให้อาจารย์และนักศึกษาได้เข้า
ไปเรียนรูและปฏิบตรวมกับชาวบ้าน แล้วนำวิชาการเทคโนโลยีทเ่ี หมาะสมเข้าไปหนุนเสริมชุมชน
         ้         ั ิ่
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมไปถึงการสังเคราะห์นโยบายจากการปฏิบัติ ไปสู่การจัดทำ
นโยบายสาธารณะ ตามยุทธวิธี ๕ ลำดับขั้น เพื่อให้จังหวัดทั้งจังหวัดเป็นจังหวัดแห่งการเรียนรู้
จังหวัดทั้งจังหวัดเป็นมหาวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยรูปใหม่ที่มีชีวิต และเมื่อนั้น ทั้งจังหวัดจะ
เป็นสวรรค์บนดิน และการศึกษาศาสตร์เป็นพลังที่สร้างความสุข สันติ ให้แก่แผ่นดิน


ก       าร ปฏิรูปการศึกษาศาสตร์เป็นเรื่องที่มีความสำคัญ เพราะโดยมากจะกล่าวเพียงปฏิรูป
        การศึกษา ทังที่ “ตัวศาสตร์” เองก็ตองการปฏิรป ให้เราเพ่งเล็งเข้าไปดูวาตัว “การศึกษา”
              ่
                   ้                       ้         ู
                                                        ่      ุ่
                                                                            ่
นันคืออะไร ซึงเป็นจุดสำคัญ การศึกษาควรจะเป็นพลังทีสำคัญทีสดของการพัฒนาชีวตและการ
  ้                                                                                ิ
อยู่ร่วมกัน เพราะเป็นระบบที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ใหญ่กว่าระบบอื่นๆ ทั้งสิ้น ควรจะเป็นพลังที่พาชาติ
ออกจากวิกฤติ แต่ว่าที่ผ่านมา ก็ไม่เป็นพลังอย่างที่ว่านั้นได้ เราคงต้องมาทบทวนสิ่งที่เรียกว่า
ปฏิรูปการศึกษาศาสตร์อีกครั้ง
         การปฏิรูปที่สำคัญที่สุดและลึกที่สุดที่จะมีพลังเรียกว่าการปรับมโนทัศน์ หรือ Recon-
ceptualization ธุรกิจใดๆ ที่เคยประสบกำไรอย่างมาก ถ้ายังทำไปอย่างเดิม ต่อไปจะขาดทุน
เพราะสิ่งต่างๆ เปลี่ยนไปแล้ว จึงต้องปรับมโนทัศน์ในเรื่องที่กำลังทำ อันนี้เป็นหลัก
หากกล่าวถึงเรื่องสุขภาพ ในอดีต สุขภาพดีคือการไม่มีโรค การมีโรคคือสุขภาพไม่ดี อาจจะ
คุ้นเคยจนไม่เห็นว่าแปลก แต่การนิยามเช่นนั้น ทำให้เรื่องระบบสุขภาพเข้าไปสู่สภาวะ
                                                                            วารสารโพธิวิจัย
                                                                   Bodhi Research Journal 17
วิกฤติ เพราะว่าจำกัดความคับแคบและไม่ตรงกับความจริง เนื่องด้วย พบว่ามีหลายคนที่
ไม่สบายแต่แพทย์ตรวจเท่าไรก็ไม่พบโรค จนคิดไปว่าคนไข้แกล้งทำ ในความเป็นจริงคน
ไข้ที่ไม่มีโรค ก็ไม่สบายได้ สุขภาพไม่ดีได้ หรือไม่มีโรคก็สุขภาพดีได้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น
คนเป็นเบาหวานความดันสูงคือการมีโรค แต่ถ้าสามารถควบคุมให้มีความสมดุล ก็สุขภาพดีได้
ดังนั้น จึงไม่เป็นความจริงที่ว่า การมีสุขภาพดีคือการไม่มีโรค และการมีโรคคือสุขภาพ
ไม่ดี ต้องปรับมโนทัศน์ใหม่ว่า “การไม่มีโรคก็สุขภาพไม่ดีได้ และการมีโรคก็สุขภาพดีได้”
การนิยามแบบเดิมที่ว่าสุขภาพดีคือการไม่มีโรค ทำให้วิธีการคับแคบอยู่ในมือของผู้เชี่ยวชาญ
เท่านั้นคือเรื่องโรค ใครจะรู้เรื่องโรคนอกจากหมอ เมื่อปรับนิยามใหม่ว่า “สุขภาพคือดุลยภาพ”
สิงต่างๆทีได้สมดุลก็จะมีความเป็นปกติและความยังยืน เวลาทีรางกายของเราได้ดลก็จะสบายดี
  ่          ่                                  ่            ่่               ุ
และการที่เราไม่สบายทุกชนิดก็คือการเสียดุล ไม่ว่าจะเป็นมะเร็ง หรือมีปัญหาทางจิตใจ
ยกตัวอย่าง ผู้หญิงคนหนึ่งมาตรวจเท่าไหร่ก็ไม่พบโรค แต่ว่าปัญหามาจากสามีทำให้ไม่
สบายมาก เพราะฉะนั้นการปฏิรูประบบสุขภาพ จึงให้นิยามสุขภาพใหม่ ปรับมโนทัศน์ใหม่
จะได้ไปได้ไกลได้ลึก เมื่อสุขภาพคือดุลยภาพ จึงหมายถึงทั้งหมด ดุลยภาพระหว่างกายกับใจ
ระหว่างมนุษย์กบสังคมกับสิงแวดล้อมครอบคลุมทุกอย่าง และทุกอย่างก็เข้ามามีบทบาททังหมด
                  ั          ่                                                      ้
เช่นกัน ถ้านึกถึงว่าสุขภาพคือการไม่มโี รค เทคโนโลยีทจะนำมาใช้กเ็ ป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์
                                                     ่ี
เท่านั้น แต่ถ้าบอกว่าคือดุลยภาพ ก็จะคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม การศึกษา สมาธิ โยคะ ไทเก๊ก
การแพทย์แผนไทย และทุกด้าน เปิดพื้นที่ให้แก่การรักษาสุขภาพได้กว้างกว่าความหมายเดิม
            เพราะฉะนันการปฏิรปใดๆ จำเป็นต้องปรับมโนทัศน์เรืองนัน การศึกษาก็เช่นเดียวกัน ถ้า
                          ้  ู                              ่ ้
ต้องการให้มพลังก็ตองปรับมโนทัศน์ การใช้คำว่าปฏิรปการศึกษาศาสตร์ คือปรับมโนทัศน์วาการ
              ี      ้                             ู                                   ่
ศึกษานีคออะไร ทีแล้วมาการศึกษาเอาวิชาการศึกษาเป็นตัวตังมาร้อยกว่าปี เราอาจจะไม่รสกว่า
       ้ื          ่                                      ้                          ู้ ึ
แปลกเพราะเราคุนเคย จนเกิดจินตนาการในสังคมไทยว่า การศึกษาคือการท่องหนังสือ “เออลูก...
                 ้
ท่องหนังสือหรือยัง” ทุกคนนึกเช่นนันหมด เพราะเราเอาวิชาเป็นตัวตัง เด็กนักเรียนไม่อยากคุยกับ
                                  ้                              ้
พ่อแม่ ปูยา ตายาย เพราะคุยแล้วไม่ได้คะแนน คะแนนอยูทการท่องวิชา ซึงทำลายสังคมขนาดหนัก
         ่่                                          ่ ่ี          ่
เพราะว่า พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย นั้นมีความรู้ในตัว มีความรัก มีอะไรมากมาย นโนทัศน์ดังกล่าว
ได้ตดความสัมพันธ์นลง เป็นความคิดแยกส่วน เพราะเอาวิชาเป็นตัวตัง ในอดีตครังรัชกาลที่ ๕ หลัง
    ั                  ้ี                                      ้           ้
จากใช้การศึกษาแบบใหม่มาได้ ๘ ปี พระมหาสมณเจ้าฯ กรมพระยาวชิรญาณวโรรสได้เตือนว่า
การศึกษาแบบนี้จะทำให้คนไทยขาดจากรากเหง้าของตัว ปรากฏเป็นบันทึกลายลักษณ์อักษร

 18 วารสารโพธิวิจัย Journal
    Bodhi Research
ในหนังสือที่เกี่ยวกับสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ซึ่งมีอยู่ ๘ เล่ม และเล่มหนึ่งว่าด้วยการศึกษา
คำเตือนดังกล่าวปรากฏอยู่ในเล่มนี้ รากเหง้าของสังคมคือวัฒนธรรม ต้นไม้จะต้องมีรากฉันใด
สังคมก็ต้องมีรากฉันนั้น การตัดรากต้นไม้แล้วเป็นเช่นใด การพัฒนาโดยตัดรากของสังคมก็เช่น
เดียวกันนัน การพัฒนาทีตดรากสังคม ตัดเรืองวัฒนธรรมออกไป จนมหาวิทยาลัยเกือบไม่เข้าใจ
          ้              ่ั             ่
แล้วว่าวัฒนธรรมคืออะไร ความเข้าใจคับแคบมาก ภารกิจข้อ ๔ ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมก็
มีเพียงการสร้างเรือนไทย มีวงดนตรีไทย เก่งหน่อยก็ไปอัญเชิญสมเด็จพระเทพฯ มาทรงดนตรี
ก็เรียกว่าทำนุบำรุงแล้ว
            ที่จริงคำว่าวัฒนธรรมนั้นเป็นคำที่ใหญ่มากมีความหมายครอบคลุมมาก หมายถึง
วิถีชีวิตร่วมกันของกลุ่มชนที่สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมหนึ่งๆ ซึ่งมีความหมายกว้างรวมถึง
ความเชือร่วมกัน คุณค่าร่วมกัน การทำมาหากินทีคนเคยถ่ายทอดกันมาสอดคล้องกับภูมประเทศ
         ่                                        ่ ุ้                           ิ
ก็เป็นวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ภาษา การไกล่เกลี่ยความขัดแย้ง การใช้ทรัพยากร
อย่างเป็นธรรม ทรัพยากรธรรมชาติ การดูแลรักษาสุขภาพ อยู่ภายใต้ร่มวัฒนธรรมทั้งสิ้น
เศรษฐกิจก็อยู่ในร่มนี้ ไม่ได้ทิ้งอะไรออกไปเลย เพราะวัฒนธรรมหมายถึงระบบการอยู่ร่วมกัน
มนุษย์แต่โบราณมาโดยธรรมชาติจะคิดถึงการอยู่ร่วมกัน แม้แต่สัตว์ก็อยู่เป็นฝูง เพราะการอยู่
เป็นฝูงการอยู่ร่วมกันทำให้รอดชีวิตมากกว่าอยู่เดี่ยวๆ มีการศึกษาสุนัขป่า สังเกตพบว่ามันมี
จริยธรรมของการอยูรวมกัน เช่น เวลาเล่นกันตัวทีแข็งแรงกว่าต้องทำเป็นแพ้ตวทีออนแอกว่าบ้าง
                      ่่                           ่                      ั ่่
ถ้าชนะทุกคราวการเล่นไม่สนุก แล้วก็จะอยู่ร่วมกันไม่ได้ ซึ่งเป็นธรรมชาติของการอยู่ร่วมกัน
ชนทุกหนทุกแห่งเกิดระบบจริยธรรมขึ้นเมื่อมีการอยู่ร่วมกัน เพราะถือว่าการอยู่ร่วมกันนี่สำคัญ
มาก มนุษย์ทอยูในร่มวัฒนธรรม ร่มของการอยูรวมกัน มีวถวฒนธรรมอยูยงยืนมาเป็นหลายพัน
                ่ี ่                           ่่      ิีั           ่ ่ั
ปีหมื่นปีก็ได้
            แต่ในระยะหลังมานี้ เรามาทำแบบแยกส่วนหมดทุกอย่าง การพัฒนาก็แยกส่วน
ไปเป็นพัฒนาเศรษฐกิจ เมื่อกล่าวถึงเศรษฐกิจก็แยกส่วนไปเป็นการเงิน แยกส่วนไปเรื่อยๆ
การศึกษาก็เช่นเดียวกัน การศึกษาไปแยกส่วนเอาวิชาเป็นตัวตัง ไม่ได้เอาชีวตและการอยูรวมกัน
                                                         ้            ิ         ่่
เป็นตัวตัง ท่านพระธรรมปิฎกหรือพระพรหมคุณาภรณ์ กล่าวว่าปัญหาใหญ่ของการศึกษาคือการ
          ้
คิดแบบแยกส่วน ว่าชีวตก็อย่างหนึง การศึกษาก็อกอย่างหนึงทิงชีวตไปเลย ไปเอาวิชาเป็นตัวตัง
                      ิ          ่           ี         ่ ้ ิ                         ้
เมื่อไม่เอาชีวิตและการอยู่ร่วมกัน (Living Together) เป็นตัวตั้งจะพลาดเสมอ อย่างเรื่อง
เศรษฐกิจ ไปเอาเรืองตลาดเสรีเป็นตัวตัง หลายคนได้รางวัลโนเบล (Noble Prize) จากทฤษฎีตลาด
                  ่                 ้
                                                                      วารสารโพธิวิจัย
                                                             Bodhi Research Journal 19
เสรีจากการเอาตลาดเป็นตัวตั้ง ซึ่งจะต้องพลาดแน่ เมื่อพิจารณาวิกฤติโลก คือวิกฤติอะไร
ก็คือวิกฤติการอยู่ร่วมกันอย่างสมดุล อเมริกามีปัญหามากมาย ทั้งเรื่องสถาบันการเงิน
รวมทั้งเรื่องการศึกษา เพราะไปเอาอย่างอื่นเป็นตัวตั้ง จึงพลาดหมด ดังนั้น ถ้าจะปฏิรูปเรื่อง
ศึกษาศาสตร์ ต้องปรับมโนทัศน์ว่าการศึกษาคืออะไร ที่แล้วมาได้พยายามปฏิรูปกันไปหลาย
ระลอก ก็ปรากฏว่าไม่มีพลัง และกินผู้คนกินรัฐมนตรีไปหลายคน กินต่างๆ ไป แต่ไม่เกิดอะไร
ไปติดบ่วงไปติดอยูในหลุมดำ หลุมดำของมโนทัศน์แบบเดิม ไม่ใช่คนไม่พยายาม ไม่ใช่คนไม่เก่ง
                    ่
เช่นท่านอาจารย์สปปนนท์ ก็ถอว่าเป็นคนไทยทีเ่ ก่งฉลาด (Bright) ทีสดคนหนึงแล้ว และทุมเทเรือง
                  ิ        ื                                   ุ่     ่          ่ ่
การศึกษามาโดยตลอด เป็นเลขาธิการสภาการศึกษา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ออกนโยบายต่างๆแต่ก็ไม่มีผลตอบรับที่เป็นพลังแต่อย่างใด

           เรื่องดุลยภาพนั้นเป็นเรื่องสำคัญ วิกฤติโลกในทุกวันนี้คือวิกฤติดุลยภาพ เสียดุล
หมดระหว่างกายกับใจ ระหว่างมนุษย์กับสังคม ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม เสียดุลทาง
เศรษฐกิจ เสียดุลทุกอย่าง เพราะว่าการพัฒนาการคิดและทำแบบแยกส่วนใดๆ นำไปสู่การ
เสียดุลทั้งหมด ตัวอย่างที่ง่ายที่สุดคือร่างกายของเรา ซึ่งประกอบด้วยส่วนประกอบอันหลาก
หลาย เซลล์ต่างๆอวัยวะต่างๆซึ่งแตกต่างกันมากตั้งแต่สมองจนถึงหัวแม่เท้า มีปอด มีตับ
มีไต หลากหลายสุดประมาณ และทั้งหมดนี้ต้องเชื่อมโยงกันเป็นระบบจึงจะเกิดพลัง ต้อง
บูรณาการจึงจะเกิดดุลยภาพ หากเซลล์ของปอดเซลล์ของตับอยากจะเติบโตโดยไม่คำนึงถึง
ส่วนรวมทั้งหมด นั่นก็คือมะเร็งนั่นเอง ร่างกายก็เสียดุลคือป่วยและหนักเข้าก็ตายไปต่อไป
ไม่ได้ เพราะเป็นการพัฒนาแบบแยกส่วน การที่จะมีดุลยภาพได้ต้องพัฒนาอย่างบูรณาการ
ไม่ใช่แยกส่วน กรมตำรวจคิดจะปรับมโนทัศน์เรื่องตำรวจ ก็ต้องไปดูระบบความยุติธรรม
ซึ่งแยกส่วนมาเป็นเรื่องของตำรวจ เรื่องของอัยการ เรื่องของศาล จึงเกิดวิกฤติ เพราะแยก
ส่วนออกมาจากเรื่องชุมชนท้องถิ่น ชุมชนก็เหมือนฐานพระเจดีย์ ถ้าพัฒนาโดยไม่เอาฐานก็ทำ
ไม่ได้ ไม่มพระเจดียองค์ใดสร้างสำเร็จจากยอดเพราะมันจะพังลงๆ พระเจดียตองสร้างจากฐาน
           ี         ์                                                      ์้
ฐานจะได้รองรับข้างบน ประเทศไทยพัฒนาจากยอดทุกอย่าง เศรษฐกิจก็จะเอาจากข้างบนแล้ว
บอกว่าส่วนเกินจะกระเด็นลงข้างล่างหรือ Shift a down ก็ไม่สำเร็จ ช่องว่างห่างมากขึนเรือยๆ
                                                                                    ้ ่
การศึกษาเช่นเดียวกันแทนที่การศึกษาจะทำให้ชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็ง กลับไปดึงคนออกมาหมด
ให้ทุกคนพุ่งไปสู่การท่องหนังสือ ที่เรียกว่าอุดม แล้วก็ทำอุดมเป็นธุรกิจทั้งหมด จึงวิกฤติ

 20 วารสารโพธิวิจัย Journal
    Bodhi Research
มีประชาธิปไตยมา ๗๐ กว่าปี ยังฆ่ากันตาย เพราะไม่มประชาธิปไตยระดับชาติทไหน
                                                                  ี                 ่ี
ทำได้สำเร็จโดยปราศจากประชาธิปไตยทีฐานล่าง เมือหันไปดูสหรัฐอเมริกาก่อนทีจะตังประเทศ
                                             ่            ่               ่ ้
มีการวิเคราะห์ถกเถียง (Debate) กันว่ากรอบมโนทัศน์ (Concept) ของประเทศคืออะไร
แล้วก็ตกลงกันว่ากรอบมโนทัศน์ของประเทศอเมริกาคือ กรอบมโนทัศน์ท้องถิ่น แล้วนำไปใส่ชื่อ
ประเทศเป็น United State of America ไม่ได้เรียกประเทศอเมริกา แปลว่าอเมริกา
เกิดจากท้องถิ่นรวมตัวกัน United State; State คือท้องถิ่น ดังนั้น ประชาธิปไตยของ
อเมริกามาจากรากฐานขึ้นมา ไม่ได้มีแต่ที่วอชิงตัน อเมริกาจึงมีหลักทางความคิดที่แข็งแรงมาก
รัฐธรรมนูญฉบับเดียวใช้มากว่า ๒๐๐ ปี ของไทย ๑๘ - ๑๙ ฉบับแล้ว เพราะเราไปทำข้างบนเรา
สร้างพระเจดียจากยอดไม่สำเร็จ จึงต้องทำใหม่พระเจดียตองสร้างจากฐาน เมือต้องการสันติสข
                ์                                             ์้       ่               ุ
ต้องการความสุข ความเป็นปกติ ความยั่งยืน ก็ต้องมีดุลยภาพ อะไรที่ไม่ได้ดุลก็ไม่ยั่งยืน
เหมือนเรือที่เสียดุลวิ่งไปเดี๋ยวก็ล่ม ถ้าเรือได้ดุลก็วิ่งไปได้ไกล
           ดังนันเราจะพัฒนาอย่างมีดลยภาพแล้ว ก็ตองพัฒนาอย่างบูรณาการไม่ใช่แบบแยกส่วน
                ้                       ุ                  ้
ก็ตองคิดเป็นลำดับไป เมือพัฒนาอย่างบูรณาการ ก็ตองเอาพืนทีเ่ ป็นตัวตัง ไม่ใช่เอากรมเป็นตัวตัง
   ้                       ่                             ้      ้         ้                    ้
เพราะการพัฒนาที่เอากรมเป็นตัวตั้ง ก็แยกเป็นเรื่องๆ เช่น กรมน้ำ กรมดิน กรมข้าว
ก็ไม่บูรณาการ เมื่อมหาวิทยาลัยเอาวิชาเป็นตัวตั้ง ก็แยกเรื่อง มหาวิทยาลัยถึงไม่มีพลัง ถ้าจะ
พัฒนาอย่างบูรณาการแล้วต้องเอาพืนทีเ่ ป็นตัวตัง เอากรมเป็นตัวตังไม่ได้ เอาวิชาเป็นตัวตังไม่ได้
                                      ้             ้                ้                      ้
เอาเรื่องเป็นตัวตั้งไม่ได้ ให้สังเกตว่าอยู่ในพื้นที่เดียวกัน ถ้าเอากรมเป็นตัวตั้ง กรมข้าวก็แยกไป
กรมต้นไม้ก็แยกไป กรมน้ำก็แยกไป แต่ถ้าบูรณาการก็ต้องใช้หมดทุกเรื่อง แยกส่วนทั้งวิธีการ
และงบประมาณ ให้งบประมาณตามกรม และกรมก็เป็นนิตบคคลด้วย จึงมีปญหาเชิงโครงสร้าง
                                                                ิุ               ั
ตามมาอย่างต่อเนื่อง ถ้าตั้งกรอบมโนทัศน์ให้มั่นคง ต้องเอาพื้นที่เป็นตัวตั้ง ในพื้นที่ก็มีหมู่บ้าน
มีตำบล มีเมือง มีจังหวัด วิธีจำตัวเลขง่ายๆ แม้จะไม่ตรงทีเดียว คือใช้ ๑๐ คูณ ไปเรื่อยๆ
มี ๗๖ จังหวัด ก็มีประมาณ ๗๖๐ อำเภอ ที่จริงแล้วกว่านั้น แล้วก็มีประมาณ ๗,๖๐๐ ตำบล
มีประมาณ ๗๖,๐๐๐ หมู่บ้าน
        การพัฒนาโดยเอาพื้นที่เป็นตัวตั้งนั้นมีตัวอย่างเป็นรูปธรรม ที่บ้านหนองกลางดง
อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผู้ใหญ่โชคชัยเป็นผู้ใหญ่บ้าน มีสภาผู้นำชุมชน
โดยมีสมาชิกสภา ๕๙ คน มีผู้นำที่เป็นทางการ ๓ คน คือผู้ใหญ่บ้าน กรรมการสภาผู้นำชุมชน
และสมาชิกสภาผูนำชุมชน ตำแหน่งละ ๑ คน ซึงเป็นจำนวนทีกำหนดโดยกฎหมาย สมาชิกสภา
              ้                             ่            ่
                                                                           วารสารโพธิวิจัย
                                                                  Bodhi Research Journal 1
ผู้นำชุมชนทั้งหมดมาจากกลุ่มละ ๒ คน โดยมีผู้นำตามทางการ ๓ คน นอกนั้นเป็นผู้นำไม่เป็น
ทางการอีก ๕๖ คน โดยเป็นผู้นำกลุ่มอาชีพ ผู้นำกลุ่มสตรี ผู้นำกลุ่มออมทรัพย์ ผู้นำเยาวชน
และผูนำต่างๆอีกมาก นีคอหมูบานเดียวรวมเป็น ๕๙ คน สภาผูนำชุมชนจะไปสำรวจข้อมูล
           ้              ่ื ่้                                  ้
ชุมชน ซึ่งเป็นจุดสำคัญ การสำรวจถือเป็นการวิจัย และการวิจัยจะไม่ประสบความสำเร็จ
ถ้าไม่ใช้ข้อมูล แต่นี่ชาวบ้านทำวิจัยเองเข้าไปสำรวจข้อมูลชุมชน เสร็จแล้วเอาข้อมูลมาพูดคุย
กันว่า พื้นที่มีเท่าไหร่ การทำมาหากินเป็นอย่างไร ใครมี/ไม่มีที่ดินทำกิน มีปัญหาอะไรบ้าง
มียาเสพติดไหม ใครเสพ ใครค้า ใครทำอะไร สำรวจหมด แล้วนำมาทำแผนชุมชน แผนชุมชนที่
ได้นจะเป็นแผนพัฒนาอย่างบูรณาการ พัฒนาทุกด้านเชือมโยงกันทังหมด เสร็จแล้วก็เอาแผนชุมชน
      ้ี                                             ่        ้
ทีสภาผูนำชุมชนจัดทำนี้ไปให้คนทั้งหมู่บ้านดู ซึ่งเรียกว่า สภาประชาชน ซึ่งมีสมาชิกเป็นคนทั้ง
  ่ ้
หมู่บ้าน เนื่องจากหมู่บ้านขนาดไม่ใหญ่ จึงสามารถเป็นประชาธิปไตยโดยตรง (Direct Demo-
cracy) ประชาธิปไตยทีเ่ ราใช้อยูในระบบสภาผูแทนเป็นประชาธิปไตยตัวแทน (Indirect Demo-
                               ่               ้
cracy หรือ Represented Democracy) ซึ่งเกิดขึ้นแต่ครั้งโบราณที่การคมนาคมยังไม่สะดวก
การสือสารน้อย ประชาชนจึงต้องเลือกตัวแทนเข้าไปประชุมกันในเมืองหลวง ซึงล้าสมัยมากแล้ว
         ่                                                                ่
เพราะเดียวนีการคมนาคมสะดวก การติดต่อรูถงกันหมด แล้วประชาธิปไตยตัวแทนก็มปญหามาก
             ๋ ้                            ้ึ                                  ีั
มีการใช้เงินใช้ทอง หลังจากนั้นไปโกงกินมีคนมาล็อบบี้ ไม่ใช่เฉพาะในประเทศไทย จุดสำคัญ
ที่บ้านหนองกลางดงนี้เป็นประชาธิปไตยชุมชน นำแผนพัฒนาชุมชนไปให้ประชาชนทั้งหมู่บ้าน
ดู ชอบไม่ชอบ จะเพิ่มเติมอะไรจะตัดอะไร สภาประชาชนทั้งหมู่บ้านเป็นผู้รับรองแผนชุมชน
เป็นแผนที่ชาวบ้านมีส่วนร่วม เข้าใจและร่วมขับเคลื่อนได้ ถ้าแผนนั้นทำมาจากสภาพรรคการ
เมือง ชาวบ้านไม่เข้าใจ ก็ร่วมขับเคลื่อนไม่ได้ แต่แผนนี้ชาวบ้านทำเอง จึงขับเคลื่อนแผน
ร่วมกันได้ เกิดการพัฒนาอย่างบูรณาการขึ้นในชุมชน ผลปรากฏว่าทุกอย่างดีขึ้น อย่างน้อย ๘
เรืองเข้ามาเชือมโยงกัน เศรษฐกิจความยากจนลดน้อยลง หนีสนน้อยลง เงินออมเพิมขึน จิตใจดีขน
   ่             ่                                        ้ิ                ่ ้        ้ึ
ความรุนแรงน้อยลง สังคมดีขึ้น วัฒนธรรมดีขึ้น สิ่งแวดล้อม สุขภาพ การศึกษา ประชาธิปไตย
เพราะกระบวนการทั้งหมดเป็นประชาธิปไตย จึงเชื่อมโยงกันหมดเป็นบูรณาการ เป็นมรรค ๘
ของการพัฒนาชุมชน เศรษฐกิจ จิตใจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม สุขภาพ การศึกษา
เป็นประชาธิปไตยเชื่อมโยงเป็นกระบวนการเดียวกัน เมื่อเกิดผลแล้วเหมือนสวรรค์บนดิน
          นอกจากนี้ ยังมีสวรรค์บนดินที่ บ้านท่านางแมว อำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น
บ้านคีรีวงศ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยเฉพาะที่บ้านคีรีวงศ์นี้ ชาวบ้านเศรษฐกิจดี

  วารสารโพธิวิจัย Journal
    Bodhi Research
ร่วมมือกันทำ ดูแลสิ่งแวดล้อม มีผ้าทอมือย้อมคราม เดิมขายไม่ดี ตัดเป็นเสื้อผ้าก็ยังขายไม่ดี
ต่อมามีคนช่วยเรืองการออกแบบ ก็ตดออกมาสวย จึงขายดีขน ซึงวิชาการพวกนีมหาวิทยาลัยมี
                  ่                     ั                    ้ึ ่                ้
ซึงจะกล่าวถึงต่อไป ระดับตำบลก็มทเ่ี ป็นสวรรค์บนดิน เช่น ตำบลปากพูน จังหวัดนครศรีธรรมราช
  ่                               ี
มีประชากร ๓๕,๐๐๐ คน ตำบลนี้ค่อนข้างใหญ่ ในตำบลนี้มีศูนย์เด็กเล็ก ๗ ศูนย์ ซึ่งเด็กเล็ก
ทุกคนในตำบลนี้เข้าเรียนฟรี ไม่มีการสอบเข้า (Entrance) สังคมไทยอยู่กับเรื่องสอบเข้า
จนนึกว่าเป็นเรืองธรรมดา ทีจริงการสอบเข้าเป็นเรืองไม่ดี ประเทศฝรังเศสมีกฎหมายห้ามสอบเข้า
                ่            ่                     ่               ่
ถ้ามหาวิทยาลัยไหนจัดการสอบเข้า จะผิดกฎหมาย เนื่องด้วยเป็นสิทธิของคนฝรั่งเศสที่จะเข้า
เรียน แม้จะเก่งหรือไม่เก่ง จะรวยหรือจน ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะเรียน ที่ตำบลปากพูนไม่มีสอบเข้า
เด็กพร้อมเมือไหร่เข้าแล้วเรียนฟรีหมด มีครูพเ่ี ลียง เด็กทังตำบล ได้กนนมฟรีทกวัน นมสดนมวัว
             ่                                   ้         ้         ิ      ุ
ผูหญิงตังครรภ์ในตำบลนีกนนมฟรีทกคน เพราะว่าโภชนาการของหญิงตังครรภ์สำคัญมาก ถ้าเด็ก
    ้ ้                  ้ิ           ุ                                ้
คลอดมาแล้วน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์แปลว่าโภชนาการแม่ไม่ดี แล้วเด็กทีนำหนักต่ำกว่าเกณฑ์นอก
                                                                       ่้             ่ี ี
๓๐ ปี ๔๐ ปีข้างหน้า จะเป็นโรคหัวใจ จะเป็นโรคมะเร็ง เป็นโรคต่างๆ มีการวิจัยระยะยาวแล้ว
และงานวิจัยนี้ได้รับพระราชทานรางวัลเจ้าฟ้ามหิดล ซึ่งถือเป็นรางวัลโนเบลเมืองไทย
แสดงให้เห็นว่า เด็กน้ำหนักต่ำว่าเกณฑ์นี้ยังมีอยู่ ทั้งๆที่ประเทศเราผลิตอาหารได้เหลือกิน
แต่วนนีทตำบลปากพูน ผูหญิงตังครรภ์ทกคนกินนมฟรีทกวัน เพราะตำบลเลียงวัวนมไว้ ๑๐๐ ตัว
      ั ้ ่ี              ้ ้             ุ              ุ                ้
แต่ละตัวให้นม ๒๐ กิโลกรัมต่อวัน จึงมีนมมากพอสำหรับหญิงตั้งครรภ์และเด็กทุกคน ที่เป็น
เช่นนีได้เพราะการพัฒนาอย่างบูรณาการ ถ้าพัฒนาแบบแยกส่วน สมมติเด็กอยูกบการศึกษา แม้
       ้                                                                      ่ั
การศึกษาอยากให้เด็กกินนม ก็ไม่มนมแล้วจะเอาจากไหน หรือลูกอยากให้แม่กนนมก็ไม่มนมกิน
                                    ี                                         ิ     ี
แต่การบูรณาการทั้งหมด ทั้งเศรษฐกิจ จิตใจ สุขภาพ ไปพร้อมกัน จึงทำได้ ที่ตำบลนี้ยังมีการ
สำรวจคนพิการ พบว่า ทั้งตำบลมี ๓๘๒ คน มีชนิดไหนบ้าง และจัดอาสาสมัครไปดูแลทุกคน
ซึ่งจุดนี้มหาวิทยาลัยต้องเข้าไป เพราะบางเรื่องก็ต้องการวิชาการเข้าไปเสริม ชาวบ้านไม่ต้อง
การอาสาสมัครไปดูแล แต่ต้องการวิชาการไปช่วยเสริม เวลามหาวิทยาลัยกล่าวถึงโครงการกาย
ภาพบำบัดต้องนึกถึงกายภาพบำบัดชุมชน เพื่อนำวิชาการเข้าไปเชื่อมต่อกับชุมชน
           ตัวอย่างดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า มีสวรรค์บนดินได้จริงๆ จากการพัฒนาอย่างบูรณาการ
ทั้งในพื้นที่ระดับชุมชนและระดับตำบล จึงเป็นรูปแบบที่สามารถจะขยายตัวไปได้เต็มประเทศ
ซึ่งเราต้องตั้งเป้าหมายว่าเราอยากเห็นสวรรค์บนดินเต็มประเทศไทย ซึ่งเราทำได้แน่นอน
ประเทศไทยมีทรัพยากรมากมาย ทั้งทรัพยากรธรรมชาติ ความหลากหลายทางชีวภาพ

                                                                       วารสารโพธิวิจัย
                                                              Bodhi Research Journal
ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ทรัพยากรทางศาสนธรรม และทรัพยากรทางสังคม เป็นต้น
ถ้าเราช่วยกันทำในวิธีที่ถูกทาง เราสร้างสวรรค์บนดินประเทศไทยได้ เราผลิตอาหารได้เหลือกิน
ต่อไปโลกจะวิกฤติ เราก็ไม่เป็นไร เรามีอาหารกินพอ ภัยธรรมชาติก็ไม่มาก เพราะเราอยู่ในภูมิ
ประเทศทีเ่ หมาะ ความหลากหลายทางชีวภาพพร้อมทีจะมี ถ้าเราดูแลรักษาแผ่นดินของเราไว้ซง
                                                  ่                                  ่ึ
มีคามหาศาล เราทำได้แน่นอน ร่วมสร้างประเทศไทยให้เป็นประเทศทีนาอยูทสดในโลก ซึงจุดนี้
    ่                                                           ่ ่ ่ ่ี ุ      ่
มหาวิทยาลัยมีความสำคัญที่จะเข้ามาเพราะเป็นพลังใหญ่มากมายมีตั้ง ๑๐๐ กว่ามหาวิทยาลัย
จังหวัดเรามีเพียง ๗๖ จังหวัดเอง ถ้า ๑ มหาวิทยาลัยมาทำงานกับ ๑ จังหวัด ก็เสริมสร้าง
ได้ทั้งประเทศ
             ยุทธศาสตร์ ๑ มหาวิทยาลัย ๑ จังหวัด ก็คือ ให้มหาวิทยาลัยไปดูในแต่ละจังหวัด
ซึงโดยเฉลียมีประมาณ ๑๐ อำเภอ ๑๐๐ ตำบล ๑,๐๐๐ หมูบาน ทำไมเราจะทำไม่ได้ให้ดหมดทัง
  ่        ่                                                 ่้                          ี ้
๑,๐๐๐ หมู่บ้าน ทั้ง ๑๐๐ ตำบล เรามีรูปแบบอยู่แล้วเรื่องกระบวนการจากที่ยกตัวอย่างมาแล้ว
รูปแบบการพัฒนาอย่างบูรณาการ ซึ่งชาวบ้านทำกันเอง เมื่อมหาวิทยาลัยจะไปทำ จำเป็นต้อง
เอาพื้นที่เป็นตัวตั้ง อย่าไปเอาเรื่องเป็นตัวตั้ง ถ้าใช้เรื่องเป็นตัวตั้งเดี๋ยวจะกระจายกันไปหมด
แล้วจะไม่มกำลังทีจะเสริมหนุนกัน ถ้ามหาวิทยาลัยประกาศว่าจะทำกับจังหวัดใดสักจังหวัดหนึง
              ี      ่                                                                        ่
จะมีผู้สนับสนุนหรือให้กำลังใจตามมามากมาย แต่ถ้าเอาวิชาเป็นตัวตั้ง ก็มองไม่เห็นผู้สนับสนุน
เพราะแคบเพียงแค่วชา เช่น สมมติวามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒทำกับสระแก้ว มหาวิทยาลัย
                       ิ             ่
รังสิตทำกับปทุมธานี มหาวิทยาลัยทักษิณทำกับพัทลุง ทังจังหวัดเลย เมือเอาจังหวัดเอาพืนทีเ่ ป็น
                                                           ้                ่             ้
ตัวตัง ผูสนับสนุนคนแรกเลยก็คอ ผูวาราชการจังหวัด เพราะการพัฒนาจังหวัดนันไม่ใช่เรืองง่าย
     ้ ้                        ื ้่                                               ้        ่
หากมีมหาวิทยาลัยเข้ามาเป็นเพือน ผูวาฯก็ดใจ คนในจังหวัดก็ดใจ ใครๆก็ดใจถ้วนหน้า เข้ามา
                                 ่ ้่ ี                            ี            ี
สนับสนุนพร้อมที่จะทำร่วมกัน แต่ถ้าเอาวิชาเป็นตัวตั้งทำเรื่องนั้นเรื่องนี้ไม่ยอมประกาศพื้นที่
ก็ไม่มีพลัง


ยุทธวิธีการเสริมพลังการศึกษาศาสตร์ ด้วยยุทธศาสตร์ “หนึ่งมหาวิทยาลัยหนึ่งจังหวัด”
         ๑) อาจารย์และนักศึกษาไปร่วมทำแผนชุมชน ซึ่งมหาวิทยาลัยต้องสร้างแรงจูงใจให้
อาจารย์อยากไป ไม่ใช่เฉพาะคณะศึกษาศาสตร์ แต่ทกคณะทุกสถาบัน ต้องกำหนดเป็นหน่วยกิต
                                             ุ
สำหรับนิสิตให้ไปทำแผนชุมชน จะเป็นวิชาเลือกก็ได้ถ้าไม่บังคับ อาจารย์และนักศึกษาไปร่วม

  วารสารโพธิวิจัย Journal
    Bodhi Research
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal
Bodhi Research Journal

More Related Content

Viewers also liked

Dhammavani-Vipassana Radio
Dhammavani-Vipassana RadioDhammavani-Vipassana Radio
Dhammavani-Vipassana RadioDhammavani
 
Urban Dhamma: Asoke Goodwill Market, Engaging Urbanites the Asoke Way
Urban Dhamma: Asoke Goodwill Market, Engaging Urbanites the Asoke WayUrban Dhamma: Asoke Goodwill Market, Engaging Urbanites the Asoke Way
Urban Dhamma: Asoke Goodwill Market, Engaging Urbanites the Asoke Waysatisamadhi
 
A study of pāramīs bhikkhu bodhi - transcripts
A study of pāramīs   bhikkhu bodhi - transcriptsA study of pāramīs   bhikkhu bodhi - transcripts
A study of pāramīs bhikkhu bodhi - transcriptssatisamadhi
 
Lay Buddhist Activism
Lay Buddhist ActivismLay Buddhist Activism
Lay Buddhist Activismsatisamadhi
 
Asoke buddhist merit based economy wbf bcl
Asoke buddhist merit based economy wbf bclAsoke buddhist merit based economy wbf bcl
Asoke buddhist merit based economy wbf bclsatisamadhi
 
Right Education - the Srisa Asoke Model
Right Education - the Srisa Asoke ModelRight Education - the Srisa Asoke Model
Right Education - the Srisa Asoke Modelsatisamadhi
 
Merit based buddhist economy bcl presentation paper
Merit based buddhist economy bcl presentation paperMerit based buddhist economy bcl presentation paper
Merit based buddhist economy bcl presentation papersatisamadhi
 
Multi+aloe+un+negocio+con+exito
Multi+aloe+un+negocio+con+exitoMulti+aloe+un+negocio+con+exito
Multi+aloe+un+negocio+con+exitoGustavo Muñoz
 
Presentacion multialoe final 2013 ok
Presentacion multialoe final 2013  okPresentacion multialoe final 2013  ok
Presentacion multialoe final 2013 okGustavo Muñoz
 
rebirth and kamma
rebirth and kammarebirth and kamma
rebirth and kammasatisamadhi
 
noble eightfold path
 noble eightfold path noble eightfold path
noble eightfold pathsatisamadhi
 
Prediction Of Soaked Cbr For Coarse Grained Soil Mixtures Condensed To 10 Pages
Prediction Of Soaked Cbr For Coarse Grained Soil Mixtures Condensed To 10 PagesPrediction Of Soaked Cbr For Coarse Grained Soil Mixtures Condensed To 10 Pages
Prediction Of Soaked Cbr For Coarse Grained Soil Mixtures Condensed To 10 Pagespmcgough
 
Sadharanabhogi - a Buddhist Social System as Practised in Asoke Communities
Sadharanabhogi - a Buddhist Social System as Practised in Asoke CommunitiesSadharanabhogi - a Buddhist Social System as Practised in Asoke Communities
Sadharanabhogi - a Buddhist Social System as Practised in Asoke Communitiessatisamadhi
 
How to manage the mind
How to manage the mindHow to manage the mind
How to manage the mindsatisamadhi
 

Viewers also liked (17)

Dhammavani-Vipassana Radio
Dhammavani-Vipassana RadioDhammavani-Vipassana Radio
Dhammavani-Vipassana Radio
 
Man and reasoning1001048
Man and reasoning1001048Man and reasoning1001048
Man and reasoning1001048
 
meditation
meditationmeditation
meditation
 
Urban Dhamma: Asoke Goodwill Market, Engaging Urbanites the Asoke Way
Urban Dhamma: Asoke Goodwill Market, Engaging Urbanites the Asoke WayUrban Dhamma: Asoke Goodwill Market, Engaging Urbanites the Asoke Way
Urban Dhamma: Asoke Goodwill Market, Engaging Urbanites the Asoke Way
 
A study of pāramīs bhikkhu bodhi - transcripts
A study of pāramīs   bhikkhu bodhi - transcriptsA study of pāramīs   bhikkhu bodhi - transcripts
A study of pāramīs bhikkhu bodhi - transcripts
 
Lay Buddhist Activism
Lay Buddhist ActivismLay Buddhist Activism
Lay Buddhist Activism
 
Asoke buddhist merit based economy wbf bcl
Asoke buddhist merit based economy wbf bclAsoke buddhist merit based economy wbf bcl
Asoke buddhist merit based economy wbf bcl
 
Right Education - the Srisa Asoke Model
Right Education - the Srisa Asoke ModelRight Education - the Srisa Asoke Model
Right Education - the Srisa Asoke Model
 
Merit based buddhist economy bcl presentation paper
Merit based buddhist economy bcl presentation paperMerit based buddhist economy bcl presentation paper
Merit based buddhist economy bcl presentation paper
 
Multi+aloe+un+negocio+con+exito
Multi+aloe+un+negocio+con+exitoMulti+aloe+un+negocio+con+exito
Multi+aloe+un+negocio+con+exito
 
Presentacion multialoe final 2013 ok
Presentacion multialoe final 2013  okPresentacion multialoe final 2013  ok
Presentacion multialoe final 2013 ok
 
Catálogo pdf
Catálogo pdfCatálogo pdf
Catálogo pdf
 
rebirth and kamma
rebirth and kammarebirth and kamma
rebirth and kamma
 
noble eightfold path
 noble eightfold path noble eightfold path
noble eightfold path
 
Prediction Of Soaked Cbr For Coarse Grained Soil Mixtures Condensed To 10 Pages
Prediction Of Soaked Cbr For Coarse Grained Soil Mixtures Condensed To 10 PagesPrediction Of Soaked Cbr For Coarse Grained Soil Mixtures Condensed To 10 Pages
Prediction Of Soaked Cbr For Coarse Grained Soil Mixtures Condensed To 10 Pages
 
Sadharanabhogi - a Buddhist Social System as Practised in Asoke Communities
Sadharanabhogi - a Buddhist Social System as Practised in Asoke CommunitiesSadharanabhogi - a Buddhist Social System as Practised in Asoke Communities
Sadharanabhogi - a Buddhist Social System as Practised in Asoke Communities
 
How to manage the mind
How to manage the mindHow to manage the mind
How to manage the mind
 

Similar to Bodhi Research Journal

สุนทรียภาพแห่งการเรียนรู้ จากครูสู่นักเรียน-
สุนทรียภาพแห่งการเรียนรู้ จากครูสู่นักเรียน-สุนทรียภาพแห่งการเรียนรู้ จากครูสู่นักเรียน-
สุนทรียภาพแห่งการเรียนรู้ จากครูสู่นักเรียน-Dental Faculty,Phayao University.
 
ปรัชญาการศึกษากับการเรียนรู้ของมนุษย์
ปรัชญาการศึกษากับการเรียนรู้ของมนุษย์ปรัชญาการศึกษากับการเรียนรู้ของมนุษย์
ปรัชญาการศึกษากับการเรียนรู้ของมนุษย์pentanino
 
คำอธิบายรายวิชาและโครงสร้างรายวิชา
คำอธิบายรายวิชาและโครงสร้างรายวิชาคำอธิบายรายวิชาและโครงสร้างรายวิชา
คำอธิบายรายวิชาและโครงสร้างรายวิชาPrincess Chulabhorn's College, Chiang Rai Thailand
 
Present QA for kbu draft1
Present QA for kbu draft1Present QA for kbu draft1
Present QA for kbu draft1Pises Tantimala
 

Similar to Bodhi Research Journal (20)

8.9.2015
8.9.20158.9.2015
8.9.2015
 
V 293
V 293V 293
V 293
 
Edu news 9-10.58
Edu news 9-10.58Edu news 9-10.58
Edu news 9-10.58
 
V 301
V 301V 301
V 301
 
20
2020
20
 
V 251
V 251V 251
V 251
 
V 290
V 290V 290
V 290
 
สุนทรียภาพแห่งการเรียนรู้ จากครูสู่นักเรียน-
สุนทรียภาพแห่งการเรียนรู้ จากครูสู่นักเรียน-สุนทรียภาพแห่งการเรียนรู้ จากครูสู่นักเรียน-
สุนทรียภาพแห่งการเรียนรู้ จากครูสู่นักเรียน-
 
996 File
996 File996 File
996 File
 
V 300
V 300V 300
V 300
 
ปรัชญาการศึกษากับการเรียนรู้ของมนุษย์
ปรัชญาการศึกษากับการเรียนรู้ของมนุษย์ปรัชญาการศึกษากับการเรียนรู้ของมนุษย์
ปรัชญาการศึกษากับการเรียนรู้ของมนุษย์
 
V 268
V 268V 268
V 268
 
คำอธิบายรายวิชาและโครงสร้างรายวิชา
คำอธิบายรายวิชาและโครงสร้างรายวิชาคำอธิบายรายวิชาและโครงสร้างรายวิชา
คำอธิบายรายวิชาและโครงสร้างรายวิชา
 
V 263
V 263V 263
V 263
 
15 may 10 v 242
15 may 10 v 24215 may 10 v 242
15 may 10 v 242
 
สังคมศึกษา ปลาย
สังคมศึกษา ปลายสังคมศึกษา ปลาย
สังคมศึกษา ปลาย
 
อังกฤษ ปลาย
อังกฤษ ปลายอังกฤษ ปลาย
อังกฤษ ปลาย
 
20653 v 244
20653 v 24420653 v 244
20653 v 244
 
Present QA for kbu draft1
Present QA for kbu draft1Present QA for kbu draft1
Present QA for kbu draft1
 
V 259
V 259V 259
V 259
 

Bodhi Research Journal

  • 1.
  • 2. สารบัญ Contents หน้า Pages บรรณาธิการแถลง 7 Editorial 11 ปฎิรูปการศึกษาศาสตร์ด้วยยุทธศาสตร์ “หนึ่งมหาวิทยาลัย หนึ่งจังหวัด” 17 ประเวศ วะสี Education Reform based on the Strategy of 1 “One University, One Province” Praves Vasee แก้วิกฤตด้วยเศรษฐกิจพอเพียง 1 วิรุณ ตั้งเจริญ Crisis-free State through Sufficiency Economy 9 Wiroon Tungcharoen มหาวิทยาลัยกับการศึกษาทางเลือก 59 อำนาจ เย็นสบาย University and Alternative Education 71 Amnard Yensabye ฐานคิดเพื่อการพัฒนาภูมิธรรมที่โพธิวิชชาลัย 81 กวี วรกวิน Concept of Dhamma Realm Development at Bodhi Vijjalaya Kawee Worakawin วารสารโพธิวิจัย Journal Bodhi Research
  • 3. เศรษฐกิจพอเพียงในทัศนะโลก 89 พิพัฒน์ ยอดพฤติการ Sufficiency Economy in Global View Pipat Yodprudtikan การศึกษาเพื่อความเป็นมนุษย์ 101 ดุษฎี สีตลวรางค์ Education for Humanity Dusadee Sitalavarang การศึกษาทางเลือก : การศึกษา “บุญนิยม” ของชาวอโศก 111 กนกศักดิ์ แก้วเทพ Alternative Education : “Bun-Niyom” (Meritism) Education of Asoke Community Kanoksak Kaewthep วิถีวัฒนาความเป็นมนุษย์ ในระบบการศึกษาของมูลนิธิพุทธฉือจี้ ไต้หวัน 1 สุวิดา แสงสีหนาท Cultivating Humanity in Educational Institutions - The Tzu Chi Approach Suwida Sangsehanat บทความปริทัศน์ - Review Articles บทวิจารณ์หนังสือ - Book Reviews เกี่ยวกับผู้เขียน 17 Author’s Profile ข้อมูลข่าวสารสำหรับผู้ที่จะส่งผลงานมาตีพิมพ์ 177 Instruction to Authors วารสารโพธิวิจัย Bodhi Research Journal 5
  • 4. วารสารโพธิวิจัย : วารสารการพัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืน “คือพืนทีทางวิชาการ สำหรับบทความ ผลงานวิจย หรือข้อคิดเห็น ทีเ่ ปิดโลกทัศน์ทางปัญญา ้ ่ ั ในศาสตร์ทุกสาขา เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาทางเลือกอย่างยั่งยืนในทุกระดับ โดย มีเป้าหมายสร้างความเข้มแข็งและพึ่งตนเองของชุมชนและสังคมบนฐานความรู้และคุณธรรม จัดพิมพ์เผยแพร่ปีละ ๑ ครั้ง ในเดือนกันยายน โดยได้รับการสนับสนุน งบประมาณการ จัดพิมพ์จากโครงการต้นแบบโพธิวิชชาลัย บนฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หนึ่งในโครง การบริการวิชาการแก่ชุมชน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ” Bodhi Research Journal: A Journal on Holistic Sustainable Development This journal provides an academic space for sharing your thinking, original and innovative research, findings and practices of all sciences related to sustainable and community development. It also aims to stimulate research and works in sustainable development with right knowledge and ethics in every aspect and at every level, particularly in the strategies, theories and practices of alternative development, and in the empowerment and development of self- reliance and autonomy of communities and societies. The journal is published once a year, in September. The publication of Bodhi Research Journal is sponsored by Srinakharinwirot University.
  • 5. วารสารโพธิวิจัย : วารสารการพัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืน คณะที่ปรึกษา Advisory Board ๑. วิรุณ ตั้งเจริญ (ศ.ดร.) 1. Wiroon Tungcharoen (Professor Dr.) ๒. วิภาวี อนุพันธ์พิศิษฐ์ (รศ.) 2. Vipavee Anupunpisit (Associate Professor) ๓. สุมาลี เหลืองสกุล (รศ.) 3. Sumalee Leungsakul (Associate Professor) ๔. อำนาจ เย็นสบาย (รศ.) 4. Amnard Yensabye (Associate Professor) ๕. กวี วรกวิน (ผศ.) 5. Kawee Worakawin (Assistant Professor) ๖. สมปรารถนา วงศ์บุญหนัก (ดร.) 6. Somprathna Wongbunnak (Dr.) ๗. ละออ อัมพรพรรดิ์ (ดร.) 7. La-aw Ampornpan (Dr.) ๘. อภิชัย พันธเสน (ศ.ดร.) 8. Apichai Puntasen (Professor Dr.) บรรณาธิการ Editor สุวิดา แสงสีหนาท (ดร.) Suwida Sangsehanat (Dr.) คณะบรรณาธิการ (ภายใน) Editorial Board (Internal) ๑. พิพัฒน์ นวลอนันต์ 1. Pipat Nualanant ๒. สิทธิธรรม โรหิตะสุข 2. Sitthidham Rohitasuk ๓. สมศักดิ์ เหมะรักษ์ 3. Somsak Hemarak ๔. ประภัสสร ยอดสง่า 4. Prapatsorn Yodsa-nga ๕. ศิริวรรณ วิบูลย์มา 5. Siriwan Wibunma ๖. ศศิธร อินทร์ศรีทอง 6. Sasidhorn Insrithong วารสารโพธิวิจัย Journal Bodhi Research
  • 6. คณะบรรณาธิการ (ภายนอก) Editorial Board (External) 1. กนกศักดิ์ แก้วเทพ (รศ.ดร.) 1. Kanoksak Kaewthep (Associate Professor Dr.) (คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) (Faculty of Economics, Chulalongkorn 2. กนกรัตน์ ยศไกร (ดร.) University) (คณะวิทยาการจัดการ 2. Kanokrat Yossakrai (Dr.) มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม) (Chandrakasem Rajabhat University) 3. พิพัฒน์ ยอดพฤติการ (ดร.) 3. Pipat Yodprutikarn (Dr.) (สถาบันไทยพัฒน์) (Thai Pat Institution) 4. บอง ซู่ เหลียน (ดร.) 4. Bong Sue Lian (Dr.) (อาจารย์เกษียณ ประเทศมาเลเซีย) (Retired lecturer, Malaysia) ผู้ช่วยคณะบรรณาธิการ Editorial Board Assistants ๑. กฤษณา สังคริโมกข์ 1. Kritsana Sungkrimoke ๒. ณัฐวรรณ เฉลิมสุข 2. Nattawan Chalermsuk ๓. ธีร์วรา สุวรรณศักดิ์ 3. Teewara Suwannasak ๔. จักราวุธ นิยมเดชา 4. Chackrawudha Niyomdecha ๕. ศรอ์ศนัญย์ เจริญฐิตากร 5. Sornanan Charoenthitakon ๖. วารุณี อัศวโภคิน 6. Varunee Asavabhokin ๗. อรอุมา รุ่งเรืองวณิชกุล 7. Onuma Rungreangwanitkun ๘. ณิชชิศา พรประเสริฐรัตน์ 8. Neatchisa Pornprasertrat ๙. แสง คำมะนาง 9. Sang Commanang จัดทำโดย: วิทยาลัยโพธิวชชาลัย และโครงการบริการวิชาการแก่ชมชน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ิ ุ ๑๑๔ สุขุมวิท ๒๓ (ซอยประสานมิตร) กรุงเทพฯ ๑๐๑๑๐ Publish by: College of Bodhi Vijjalaya, Srinakharinwirot University, 114 Sukhumvit 23 (Soi Prasanmitra), Bangkok 10110, Thailand Tel/Fax: (66)22602141 E-mail: suwida@swu.ac.th, suwida.ss@gmail.com พิมพ์ที่ : เลคแอนด์ฟาวด์เท่นพริ้นติ้งจำกัด จำนวนพิมพ์ : ๖๐๐ เล่ม วารสารโพธิวิจัย Bodhi Research Journal
  • 7. สารบัญ Contents หน้า Pages บรรณาธิการแถลง 7 Editorial 11 ปฎิรูปการศึกษาศาสตร์ด้วยยุทธศาสตร์ “หนึ่งมหาวิทยาลัย หนึ่งจังหวัด” 17 ประเวศ วะสี Education Reform based on the Strategy of 1 “One University, One Province” Praves Vasee แก้วิกฤตด้วยเศรษฐกิจพอเพียง 1 วิรุณ ตั้งเจริญ Crisis-free State through Sufficiency Economy 9 Wiroon Tungcharoen มหาวิทยาลัยกับการศึกษาทางเลือก 59 อำนาจ เย็นสบาย University and Alternative Education 71 Amnard Yensabye ฐานคิดเพื่อการพัฒนาภูมิธรรมที่โพธิวิชชาลัย 81 กวี วรกวิน Concept of Dhamma Realm Development at Bodhi Vijjalaya Kawee Worakawin วารสารโพธิวิจัย Journal Bodhi Research
  • 8. เศรษฐกิจพอเพียงในทัศนะโลก 89 พิพัฒน์ ยอดพฤติการ Sufficiency Economy in Global View Pipat Yodprudtikan การศึกษาเพื่อความเป็นมนุษย์ 101 ดุษฎี สีตลวรางค์ Education for Humanity Dusadee Sitalavarang การศึกษาทางเลือก : การศึกษา “บุญนิยม” ของชาวอโศก 111 กนกศักดิ์ แก้วเทพ Alternative Education : “Bun-Niyom” (Meritism) Education of Asoke Community Kanoksak Kaewthep วิถีวัฒนาความเป็นมนุษย์ ในระบบการศึกษาของมูลนิธิพุทธฉือจี้ ไต้หวัน 1 สุวิดา แสงสีหนาท Cultivating Humanity in Educational Institutions - The Tzu Chi Approach Suwida Sangsehanat บทความปริทัศน์ - Review Articles บทวิจารณ์หนังสือ - Book Reviews เกี่ยวกับผู้เขียน 17 Author’s Profile ข้อมูลข่าวสารสำหรับผู้ที่จะส่งผลงานมาตีพิมพ์ 177 Instruction to Authors วารสารโพธิวิจัย Bodhi Research Journal 5
  • 10. บรรณาธิการแถลง วารสาร “โพธิวิจัย”: วารสารการพัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืน เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยน ทางปัญญาสำหรับผูขบเคลือนการพัฒนาแนวทางเลือกในทุกศาสตร์สาขาซึงหมายรวมถึงนักวิชาการ ้ั ่ ่ ปราชญ์ชาวบ้าน และผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ เพื่อร่วมกันสรรสร้างสังคมที่มีความสุข สันติ และสมดุลอย่างยั่งยืน ทั้งในระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ และมนุษย์กับธรรมชาติ โดยเริ่มด้วย ๔ มิติสำคัญ ซึ่งจะเป็นประเด็นหลักประจำฉบับที่ ๑ - ๔ ดังนี้ ๑) มิติทางการศึกษา ที่จะสรรสร้างอย่างไร เยาวชนรุ่นใหม่จึงจะเป็นพลังในการ ขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืน ข้ามพ้นระบบทุนนิยมแข่งขันขูดรีด ก้าวมาสู่การร่วมมือกัน ร่วมพลังกัน บนฐานคุณธรรม ในการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน สังคม และประเทศ ให้พึ่งตนเองได้ ขณะเดียวกัน ก็มีภูมิคุ้มกันที่จะรู้ทันคัดกรองกระแสโลกาภิวัตน์ ซึ่งเป็นประเด็นหลักสำหรับ ฉบับปฐมฤกษ์ เดือนกันยายน ๒๕๕๓ นี้ ด้วยหัวข้อ “เมล็ดพันธุ์โพธิ ในระบบการศึกษาไทย - การถอยกลับสู่ปรัชญา และเป้าประสงค์เริ่มต้นของการศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นมนุษย์” ในฉบับนี้ ศ.นพ.ประเวศ วะสี ได้กรุณาให้เรียบเรียงบทความจากการบรรยายพิเศษในการ สัมมนาวิชาการเพือการปฏิรปศึกษาศาสตร์ ท่านได้เปิดโลกทัศน์ทางปัญญาให้แก่แวดวงวิชาการใน ่ ู ประเด็น “หนึ่งมหาวิทยาลัย หนึ่งจังหวัด” สู่การปฏิรูปศึกษาศาสตร์อย่างเป็นรูปธรรม ศ.ดร.วิรุณ ตั้งเจริญ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้เปิดประเด็นการ “แก้ไขวิกฤตของสังคมด้วยเศรษฐกิจพอเพียง” ซึงเป็นปณิธานแห่งการก่อเกิดวิทยาลัยโพธิวชชาลัย ่ ิ และท่านได้ให้ข้อคิดที่น่าสนใจเพื่อการปรับเปลี่ยนระบบการศึกษาไทยไปสู่การบ่มเพาะ “ความเป็นมนุษย์” ที่แท้จริง “มหาวิทยาลัยกับการศึกษาทางเลือก” โดย รศ.อำนาจ เย็นสบาย รองอธิการบดีฝ่าย เครือข่ายการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นอีกแว่นความคิดหนึ่งที่เปิดโลกทัศน์ ทางการศึกษา ที่ไม่จำเป็นต้องแข่งขันเพียงเพื่อผลิตบัณฑิตที่ต้องพึ่งพิงตลาดแรงงาน และวิ่ง หนีจากถิ่นเกิดเข้ามากระจุกตัวอยู่แต่ในเมือง วารสารโพธิวิจัย Bodhi Research Journal 7
  • 11. “ฐานคิดเพื่อการพัฒนาภูมิธรรมที่โพธิวิชชาลัย” โดย ผศ.กวี วรกวิน คณบดีวิทยาลัย โพธิวชชาลัย กล่าวถึงบทบาทของการศึกษาทีจะต้องพัฒนาคนให้สมดุล ก่อนจะไปพัฒนาสังคม ิ ่ ให้สมดุลได้ ในฉบับ ท่านผู้อ่านจะได้พบกับรูปแบบการสร้างเมล็ดพันธุ์ทางปัญญาในสถานศึกษา หลายแห่ง ทั้งในและต่างประเทศ อาทิเช่น การศึกษาที่เน้นศีลและการทำงานจริงของชุมชน ศีรษะอโศก จังหวัดศรีสะเกษ การศึกษาเพื่อพัฒนามนุษย์ของโรงเรียนกงไกรลาศวิทยา จังหวัดสุโขทัย และการศึกษาที่ปลูกฝังคุณธรรมของสถานศึกษาฉือจี้ ประเทศไต้หวัน เป็นต้น ๒) มิติศิลปะและวัฒนธรรมสร้างสรรค์ เพื่อเปิดโลกทัศน์ใหม่ให้แก่ศิลปะและ วัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่น ซึ่งสังคมสมัยใหม่อาจมองว่าคร่ำครึไม่เป็นวิทยาศาสตร์ แต่ศิลปะและ วัฒนธรรมชุมชนท้องถินเหล่านีอาจเป็นการสร้างสรรค์ดวยภูมปญญา เพือแสดงถึงวิถแห่งการเคารพ ่ ้ ้ ิั ่ ี แสดงถึงความจริง ความดี และความงาม ของความเป็นมนุษย์ที่เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ศิลปะและวัฒนธรรมสร้างสรรค์ ยังหมายถึง การวิพากษ์ศิลปะและวัฒนธรรมที่คนส่วนใหญ่ ยอมรับปฏิบัติ แต่อาจไม่สร้างสรรค์สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ศิลปะและวัฒนธรรมเป็นส่วนที่จับต้อง ได้และจับต้องไม่ได้ ที่เรา-มนุษย์ทุกคนถูกหล่อหลอมโดยไม่รู้ตัว ขณะเดียวกัน ก็มีส่วนสร้าง ศิลปะและวัฒนธรรมอยู่ตลอดเวลา แล้วทำไมเราจึงไม่ร่วมกันสร้างสรรค์ศิลปะและวัฒนธรรมที่ จะนำไปสู่ความสงบสุขสันติ ความเข้มแข็งของชุมชน การพึ่งตนเองได้ และการพัฒนาที่ยั่งยืน (ประเด็นหลักสำหรับฉบับที่ ๒) ๓) มิติวิถีชีวิตกับธรรมชาติ มนุษย์ได้ตักตวงขูดรีดธรรมชาติมานานหลาย ศตวรรษ เพียงเพื่อคำลวงโลกที่ว่า “ความก้าวหน้า ความศิวิไลซ์ และการพัฒนา” จนกระทั่ง โลกใบนี้ผอมแห้งขาดความอุดมสมบูรณ์ บอบช้ำเน่าเหม็นด้วยมลพิษทั้งทางน้ำ ดิน และอากาศ อีกทัง เป็นแผลฉกรรจ์ในระดับชันโอโซน ถึงเวลาแล้วหรือยังทีเ่ รา-มนุษย์ทแสนศิวไลซ์ จะหันกลับ ้ ้ ่ี ิ มามองน้ำตาของแม่ (ธรณี) ทีกำลังเจิงนองจากภาวะโลกร้อน เราต้องร่วมกันปรับเปลียนวิถชวต ่ ่ ่ ีีิ ให้สอดคล้องกับธรรมชาติ ด้วยการร่วมรักษาระบบนิเวศน์ ใช้พลังงานทดแทน ฟืนฟูและอนุรกษ์ ้ ั ทรัพยากรดิน น้ำ ป่า ค้นหาภูมิปัญญาที่มนุษย์เคยอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างพึ่งพาอาศัยซึ่ง กันและกัน และมีสมมาชีพทีไม่เบียดเบียนเพือนมนุษย์และธรรมชาติ (ประเด็นหลักสำหรับฉบับที่ ๓) ั ่ ่ 8 วารสารโพธิวิจัย Journal Bodhi Research
  • 12. ๔) มิติวิถีศานติสุข กับ ศาสนา ปรัชญา ความเชื่อ แม้ผู้คนบางส่วนในโลก สมัยใหม่บอกว่าตนเองไม่มีศาสนา แต่เราอาจจะเพียงกำลังต่อต้านศาสนา ปรัชญา ความเชื่อ ที่ไม่สามารถนำทางชีวิตของเราไปสู่ศานติสุขที่แท้จริงก็ได้ ดังนั้น วารสารโพธิวิจัยจึงเปิดพื้นที่ สำหรับการวิพากษ์ศาสนา ปรัชญา ความเชื่อ อีกทั้ง มีพื้นที่สำหรับการนำเอาศาสนา ปรัชญา ความเชื่อ มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนามนุษย์และสังคม เพื่อไปสูการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมทั้ง การ ่ เสวนาระหว่างศาสนาเพือเปิดโลกทัศน์ทางจิตวิญญาณและปัญญา (ประเด็นหลักสำหรับฉบับที่ ๔) ่ มิติทั้งสี่ ที่วารสารโพธิวิจัยเสนอตัวเป็นพื้นที่ทางวิชาการเพื่อแลกเปลี่ยนในเชิง ปัญญานี้ ยังคงเปิดรับแว่นความคิดและบทความในประเด็นอืนๆ ทีสร้างสรรค์การพัฒนาทียงยืน ่ ่ ่ ่ั เพื่อตอบสนองเป้าประสงค์ ๕ ประการ ดังนี้ ๑. เพื่อเป็นพื้นที่ทางวิชาการให้แก่คณาจารย์ นักศึกษา บุคลากรและนักวิชาการได้ตีพิมพ์ บทความงานวิจัย บันทึกงานวิจัย และบทความทางวิชาการ ที่บูรณาการทฤษฎีเข้ากับ การปฏิบตจริงอย่างมีคณภาพ และสร้างสรรค์ให้เกิด “ปัญญา” ในการขับเคลือนการพัฒนา ัิ ุ ่ ทางเลือกอย่างยั่งยืนในทุกระดับโดยมีเป้าหมายสร้างความเข้มแข็งและพึ่งตนเองของชุมชน และสังคมบนฐานความรู้และคุณธรรม ๒. เพื่อเป็นพื้นที่ให้แก่ปราชญ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แสดงข้อคิดข้อเห็นทั้งในเชิงทฤษฎีและการ ปฏิบัติ ที่เป็นนวัตกรรม และเปิดโลกทัศน์ทาง “ปัญญา” ให้แก่แวดวงผู้ขับเคลื่อนการ พัฒนาอย่างยั่งยืน ๓. เป็นวารสารเชิงบูรณาการศาสตร์ ซึ่งตีพิมพ์ผลงานวิจัยและบทความวิชาการที่มีนวัตกรรม ข้ามพ้นขอบเขตจำกัดแห่ง “ศาสตร์สาขา” เพื่อพัฒนาความเป็นมนุษย์ ในวิถีแห่ง “ปัญญา” (ความรู้และคุณธรรม) สู่ความยั่งยืนทางสังคม ทั้งในด้านทฤษฎีและการปฏิบัติ ทางด้านการพัฒนาอย่างเป็นองค์รวม ที่คำนึงถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมประเพณี มนุษย์ ทรัพยากรธรรมชาติ การอนุรักษ์ ระบบนิเวศน์และสิ่งแวดล้อม อย่างเป็นองค์รวม ๔. มุ่งไปสู่การเป็นวารสารนานาชาติชั้นนำ ด้วยผลงานวิชาการที่ทันสมัยและมีคุณภาพ ซึ่ง ผ่านระบบการให้คำแนะนำด้วยกัลยาณมิตรที่เชี่ยวชาญในศาสตร์สาขาที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๓ ท่าน วารสารโพธิวิจัย Bodhi Research Journal 9
  • 13. ๕. มุ่งให้วารสารเปรียบเสมือนพื้นที่แห่งการหล่อเลี้ยงและฝึกฝน “ปัญญา” เพื่อการพัฒนา อย่างเป็นองค์รวมและยั่งยืน ดังชื่อของวารสาร คณะบรรณาธิการหวังว่า ท่านผู้อ่านทุกท่านจะเป็นส่วนหนึ่งที่ร่วมกันแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ทั้งในเชิงทฤษฎีและการปฏิบัติ เพื่อเปิดโลกทัศน์ทาง “ปัญญา” และสร้างสรรค์ การพัฒนาทียงยืน ซึงวารสารจะเผยแพร่ไปยังสถานศึกษาและศูนย์เรียนรูเ้ ศรษฐกิจพอเพียงและ ่ ่ั ่ การพัฒนาที่ยั่งยืนในมิติต่างๆทั่วประเทศ ท่านสามารถส่งบทความเข้ามาให้พิจารณาได้ทุกเมื่อ และติดต่อสอบถามรายละเอียดต่างๆผ่านทาง e-mail: suwida@swu.ac.th, suwida.ss@gmail. com ดร.สุวิดา แสงสีหนาท บรรณาธิการ 10 วารสารโพธิวิจัย Journal Bodhi Research
  • 14. Editorial “Bodhi Research Journal” is a journal that focuses on holistic sustainable development. It provides an academic space for sharing the latest knowledge and thinking on all sciences and practices of sustainable alternative development among academicians, scientists, experts and field practitioners of alternative development. The journal serves as a forum for discussion and advancing development on creating a society that is at peace and harmony with itself, with the environment and all living beings within it. The journal focuses on four essential aspects of sustainable development which will be the main themes of the first four issues of the journal. These four aspects are: 1. Education - The inaugural issue of the Journal published in September, 2010 carries this theme on education, ‘Bodhi seed in Thai Education System - Returning to the Philosophy and Primary Objectives of Education for Sustainable Development’ 2. Creative Arts and Culture - A theme on creative arts and culture will be carried in the second issue of the Journal. 3. Way of Life and Nature - The third issue of the Journal will feature ‘way of life and nature’ as its main theme. 4. Religions, Spirituality, Beliefs and Philosophy - The fourth issue of the Journal wil feature the theme on ‘religions, beliefs and philosophy’. 1. Education - This aspect addresses the issue of how to create new generations of youths who are ethically upright, who will form an ethically conscious workforce that drives sustainable development. They will be able to resist the profiteering type of capitalistic exploitation of resources. They wil be capable of building a self-reliant community and country to meet the challenges and protect from the devastating effect of globalization. This is the main theme of the inaugural issue of the Journal published in the month of September B.E. 2553, ‘Bodhi seed in Thai Education System วารสารโพธิวิจัย Bodhi Research Journal 11
  • 15. - Returning to the Philosophy and Primary Objectives of Education for Sustainable Development’. Thanks to Professor Dr. Praves Vasee who kindly contributed an article that he extracted from his special lecture given at the academic seminar on education science reform. In this article on education reform, he revealed the vision of ‘One University, One Province’. Professor Dr. Wiroon Tungcharoen, the Rector of Srinakharinwirot University, contributed the article on “Crisis-free State through Sufficiency Economy”. He highlighted the background and aspiration of the inception of College of Bodhi Vijjalaya, and the need for transforming Thai education for the advancement of humanity and crisis-free growth based on the philosophy of Sufficiency Economy. “University and Alternative Education”, an article contributed by Associate Professor Amnard Yensabye, Vice-Rector of the Learning Network of Srinakharinwirot University, provided another aspect of a fresh vision on alternative education in correct training of the graduates who will be equipped with entrepreneurial skil s and knowledge for developing rural areas or their own community without the need to compete for a place in the conventional labor market. In this inaugural issue, you wil find more articles of current works on producing “intellectual seeds (graduates)” in a number of education institutions, both local and abroad. These include the education focusing on Buddhist precepts and field project assignments of Srisa Asoke Community in Srisaket Province; the education for advancement of humanity at Gong Grai-lart Witthaya School in Sukhothai Province; and the education for cultivating ethical conduct at Tzu Chi educational institutes in Chinese Taipei. 1 วารสารโพธิวิจัย Journal Bodhi Research
  • 16. 2. Creative Arts and Culture - Traditional arts and culture of local community may be considered old-fashioned, not scientific or non-academic, or not trendy by some. Some critics are of the opinion that working in arts and culture does not contribute to development. However, arts and culture of local community express the creativity and local knowledge and skills of the local people. They reflect on the people’s respect for truth, goodness and beauty of humankind, a part of nature. Arts and culture are both tangible and intangible; they are part of us in our everyday life and activities. Hence, why don’t we work together in creating arts and culture that could lead to peace and non-violence; that could instill a spirit of strong self-reliance; that could contribute to sustainable development by way of preservation or conservation or any other ways? This would be a theme for the second issue of Bodhi Research Journal . 3. Way of Life and Nature - Under the pretext of ‘pushing for growth, progress, advancement, development’, human-beings have so aggressively exploited nature for so long that we are actually getting the opposite - this world is actually crumbling with severe life-threatening pollution, environmental crises, natural disasters, climate change and global warming. Is it time now that we, supposedly civilized people, should start nurturing mother earth back to health? It is time for us all to work together in changing our way of life to be back in accord with nature; protective of the ecosystem through conservation of the earth’s resources and use of green alternative energy and other such measures. In the past, we used to be able to live in harmony with nature, supporting it and not destroying it as it supported our lives. What has been happening between then and now? Harmony with nature and how we live and advance in sustainable development would be a theme for the third issue of Bodhi Research Journal. วารสารโพธิวิจัย Bodhi Research Journal 1
  • 17. 4. Peace with Religion, Spirituality, Beliefs and Philosophy - Some people may declare that they are agnostics or atheists; still others are opposed to any religious beliefs. Those who have faiths claim to find some form of peace or solace in their faiths or practice. How do the agnostics, atheists and those who are against any religious beliefs or practice find tranquility? Bodhi Research Journal provides a space for critical discussion on religions, beliefs (for or against), spirituality, and philosophy and their practice (mental and spiritual cultivation); and how these contribute, positively or negatively or not at all, to the sustainable development of human beings and their society and environment. This wil be a theme for the fourth issue of Bodhi Research Journal. In addition to the above, Bodhi Research Journal also serves as a forum for all to exchange their expertise and findings on sustainable development in line with the following five objectives. 1. Bodhi Research Journal provides an academic space for lecturers, students, practitioners and others to present their research findings, thesis and academic articles on integrated sustainable development. This would contribute to building up knowledge on alternative and sustainable development. 2. Bodhi Research Journal is also the journal for philosophers and intellectuals and all interested parties to express their vision, their views and analyses of the theory and practice of alternative or sustainable development. 3. The journal promotes and publishes findings from multidisciplinary studies, integrated sciences and any sciences that focus on holistic development that necessarily is multi and interdisciplinary in approach and practice that encompass aspects of economics, politics, religions, arts, cultures, humanity, natural resources, ecology and environment. It is a multidisciplinary journal that publishes innovative research and applications that push further the 1 วารสารโพธิวิจัย Journal Bodhi Research
  • 18. frontier of knowledge and the advancement of humanity in socio-politico- economically, culturally, ecologically and environmentally sustainable way. 4. Aims to be a leading international journal in latest research and advances on the theory and practice of integrated and sustainable development of the society and its cultures and traditions, human and material resources, conservation and preservation of the ecology and environment. 5. Aims to be a journal synonymous with culturing and practicing ‘WISDOM’ in holistic sustainable development, as the name indicates. The editors welcome contributions in social and other sciences of life and development, and any innovative research works or critical reviews related to the theory and practice of holistic sustainable development, particularly in community-centered, culturally and ecologically sustainable and/or alternative development, empowerment and development of communities, especially community autonomy and self-reliance. The journal will be distributed to all educational institutes, and learning centres of sufficiency economy and sustainable development nationwide. You are welcome to send your articles to us. For more details please contact the editor at suwida@swu.ac.th, suwida.ss@ gmail.com. Dr. Suwida Sangsehanat Editor วารสารโพธิวิจัย Bodhi Research Journal 15
  • 20. ปฏิรูปการศึกษาศาสตร์ด้วยยุทธศาสตร์ “หนึ่งมหาวิทยาลัย หนึ่งจังหวัด” Education Reform based on the Strategy of “One University, One Province” ประเวศ วะสี Praves Vasee บทคัดย่อ การปฏิ ร ู ป การศึ ก ษาศาสตร์ จะต้ อ งปรั บ มโนทั ศ น์ ไม่ เ อาวิ ช าเป็ น ตั ว ตั ้ ง ซึ่งเป็นการคิดแบบแยกส่วน ต้องมีมโนทัศน์ใหม่ที่บูรณาการโดยใช้ชุมชนท้องถิ่นเป็นฐานสำคัญ ของพระเจดียแห่งการพัฒนาและการปฏิรปการศึกษาศาสตร์ มีมโนทัศน์แบบใหม่ทใช้พนทีเ่ ป็นตัวตัง ์ ู ่ี ้ื ้ ต้องประกาศยุทธศาสตร์ “หนึ่งมหาวิทยาลัย หนึ่งจังหวัด” เพื่อให้อาจารย์และนักศึกษาได้เข้า ไปเรียนรูและปฏิบตรวมกับชาวบ้าน แล้วนำวิชาการเทคโนโลยีทเ่ี หมาะสมเข้าไปหนุนเสริมชุมชน ้ ั ิ่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมไปถึงการสังเคราะห์นโยบายจากการปฏิบัติ ไปสู่การจัดทำ นโยบายสาธารณะ ตามยุทธวิธี ๕ ลำดับขั้น เพื่อให้จังหวัดทั้งจังหวัดเป็นจังหวัดแห่งการเรียนรู้ จังหวัดทั้งจังหวัดเป็นมหาวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยรูปใหม่ที่มีชีวิต และเมื่อนั้น ทั้งจังหวัดจะ เป็นสวรรค์บนดิน และการศึกษาศาสตร์เป็นพลังที่สร้างความสุข สันติ ให้แก่แผ่นดิน ก าร ปฏิรูปการศึกษาศาสตร์เป็นเรื่องที่มีความสำคัญ เพราะโดยมากจะกล่าวเพียงปฏิรูป การศึกษา ทังที่ “ตัวศาสตร์” เองก็ตองการปฏิรป ให้เราเพ่งเล็งเข้าไปดูวาตัว “การศึกษา” ่ ้ ้ ู ่ ุ่ ่ นันคืออะไร ซึงเป็นจุดสำคัญ การศึกษาควรจะเป็นพลังทีสำคัญทีสดของการพัฒนาชีวตและการ ้ ิ อยู่ร่วมกัน เพราะเป็นระบบที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ใหญ่กว่าระบบอื่นๆ ทั้งสิ้น ควรจะเป็นพลังที่พาชาติ ออกจากวิกฤติ แต่ว่าที่ผ่านมา ก็ไม่เป็นพลังอย่างที่ว่านั้นได้ เราคงต้องมาทบทวนสิ่งที่เรียกว่า ปฏิรูปการศึกษาศาสตร์อีกครั้ง การปฏิรูปที่สำคัญที่สุดและลึกที่สุดที่จะมีพลังเรียกว่าการปรับมโนทัศน์ หรือ Recon- ceptualization ธุรกิจใดๆ ที่เคยประสบกำไรอย่างมาก ถ้ายังทำไปอย่างเดิม ต่อไปจะขาดทุน เพราะสิ่งต่างๆ เปลี่ยนไปแล้ว จึงต้องปรับมโนทัศน์ในเรื่องที่กำลังทำ อันนี้เป็นหลัก หากกล่าวถึงเรื่องสุขภาพ ในอดีต สุขภาพดีคือการไม่มีโรค การมีโรคคือสุขภาพไม่ดี อาจจะ คุ้นเคยจนไม่เห็นว่าแปลก แต่การนิยามเช่นนั้น ทำให้เรื่องระบบสุขภาพเข้าไปสู่สภาวะ วารสารโพธิวิจัย Bodhi Research Journal 17
  • 21. วิกฤติ เพราะว่าจำกัดความคับแคบและไม่ตรงกับความจริง เนื่องด้วย พบว่ามีหลายคนที่ ไม่สบายแต่แพทย์ตรวจเท่าไรก็ไม่พบโรค จนคิดไปว่าคนไข้แกล้งทำ ในความเป็นจริงคน ไข้ที่ไม่มีโรค ก็ไม่สบายได้ สุขภาพไม่ดีได้ หรือไม่มีโรคก็สุขภาพดีได้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น คนเป็นเบาหวานความดันสูงคือการมีโรค แต่ถ้าสามารถควบคุมให้มีความสมดุล ก็สุขภาพดีได้ ดังนั้น จึงไม่เป็นความจริงที่ว่า การมีสุขภาพดีคือการไม่มีโรค และการมีโรคคือสุขภาพ ไม่ดี ต้องปรับมโนทัศน์ใหม่ว่า “การไม่มีโรคก็สุขภาพไม่ดีได้ และการมีโรคก็สุขภาพดีได้” การนิยามแบบเดิมที่ว่าสุขภาพดีคือการไม่มีโรค ทำให้วิธีการคับแคบอยู่ในมือของผู้เชี่ยวชาญ เท่านั้นคือเรื่องโรค ใครจะรู้เรื่องโรคนอกจากหมอ เมื่อปรับนิยามใหม่ว่า “สุขภาพคือดุลยภาพ” สิงต่างๆทีได้สมดุลก็จะมีความเป็นปกติและความยังยืน เวลาทีรางกายของเราได้ดลก็จะสบายดี ่ ่ ่ ่่ ุ และการที่เราไม่สบายทุกชนิดก็คือการเสียดุล ไม่ว่าจะเป็นมะเร็ง หรือมีปัญหาทางจิตใจ ยกตัวอย่าง ผู้หญิงคนหนึ่งมาตรวจเท่าไหร่ก็ไม่พบโรค แต่ว่าปัญหามาจากสามีทำให้ไม่ สบายมาก เพราะฉะนั้นการปฏิรูประบบสุขภาพ จึงให้นิยามสุขภาพใหม่ ปรับมโนทัศน์ใหม่ จะได้ไปได้ไกลได้ลึก เมื่อสุขภาพคือดุลยภาพ จึงหมายถึงทั้งหมด ดุลยภาพระหว่างกายกับใจ ระหว่างมนุษย์กบสังคมกับสิงแวดล้อมครอบคลุมทุกอย่าง และทุกอย่างก็เข้ามามีบทบาททังหมด ั ่ ้ เช่นกัน ถ้านึกถึงว่าสุขภาพคือการไม่มโี รค เทคโนโลยีทจะนำมาใช้กเ็ ป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์ ่ี เท่านั้น แต่ถ้าบอกว่าคือดุลยภาพ ก็จะคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม การศึกษา สมาธิ โยคะ ไทเก๊ก การแพทย์แผนไทย และทุกด้าน เปิดพื้นที่ให้แก่การรักษาสุขภาพได้กว้างกว่าความหมายเดิม เพราะฉะนันการปฏิรปใดๆ จำเป็นต้องปรับมโนทัศน์เรืองนัน การศึกษาก็เช่นเดียวกัน ถ้า ้ ู ่ ้ ต้องการให้มพลังก็ตองปรับมโนทัศน์ การใช้คำว่าปฏิรปการศึกษาศาสตร์ คือปรับมโนทัศน์วาการ ี ้ ู ่ ศึกษานีคออะไร ทีแล้วมาการศึกษาเอาวิชาการศึกษาเป็นตัวตังมาร้อยกว่าปี เราอาจจะไม่รสกว่า ้ื ่ ้ ู้ ึ แปลกเพราะเราคุนเคย จนเกิดจินตนาการในสังคมไทยว่า การศึกษาคือการท่องหนังสือ “เออลูก... ้ ท่องหนังสือหรือยัง” ทุกคนนึกเช่นนันหมด เพราะเราเอาวิชาเป็นตัวตัง เด็กนักเรียนไม่อยากคุยกับ ้ ้ พ่อแม่ ปูยา ตายาย เพราะคุยแล้วไม่ได้คะแนน คะแนนอยูทการท่องวิชา ซึงทำลายสังคมขนาดหนัก ่่ ่ ่ี ่ เพราะว่า พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย นั้นมีความรู้ในตัว มีความรัก มีอะไรมากมาย นโนทัศน์ดังกล่าว ได้ตดความสัมพันธ์นลง เป็นความคิดแยกส่วน เพราะเอาวิชาเป็นตัวตัง ในอดีตครังรัชกาลที่ ๕ หลัง ั ้ี ้ ้ จากใช้การศึกษาแบบใหม่มาได้ ๘ ปี พระมหาสมณเจ้าฯ กรมพระยาวชิรญาณวโรรสได้เตือนว่า การศึกษาแบบนี้จะทำให้คนไทยขาดจากรากเหง้าของตัว ปรากฏเป็นบันทึกลายลักษณ์อักษร 18 วารสารโพธิวิจัย Journal Bodhi Research
  • 22. ในหนังสือที่เกี่ยวกับสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ซึ่งมีอยู่ ๘ เล่ม และเล่มหนึ่งว่าด้วยการศึกษา คำเตือนดังกล่าวปรากฏอยู่ในเล่มนี้ รากเหง้าของสังคมคือวัฒนธรรม ต้นไม้จะต้องมีรากฉันใด สังคมก็ต้องมีรากฉันนั้น การตัดรากต้นไม้แล้วเป็นเช่นใด การพัฒนาโดยตัดรากของสังคมก็เช่น เดียวกันนัน การพัฒนาทีตดรากสังคม ตัดเรืองวัฒนธรรมออกไป จนมหาวิทยาลัยเกือบไม่เข้าใจ ้ ่ั ่ แล้วว่าวัฒนธรรมคืออะไร ความเข้าใจคับแคบมาก ภารกิจข้อ ๔ ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมก็ มีเพียงการสร้างเรือนไทย มีวงดนตรีไทย เก่งหน่อยก็ไปอัญเชิญสมเด็จพระเทพฯ มาทรงดนตรี ก็เรียกว่าทำนุบำรุงแล้ว ที่จริงคำว่าวัฒนธรรมนั้นเป็นคำที่ใหญ่มากมีความหมายครอบคลุมมาก หมายถึง วิถีชีวิตร่วมกันของกลุ่มชนที่สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมหนึ่งๆ ซึ่งมีความหมายกว้างรวมถึง ความเชือร่วมกัน คุณค่าร่วมกัน การทำมาหากินทีคนเคยถ่ายทอดกันมาสอดคล้องกับภูมประเทศ ่ ่ ุ้ ิ ก็เป็นวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ภาษา การไกล่เกลี่ยความขัดแย้ง การใช้ทรัพยากร อย่างเป็นธรรม ทรัพยากรธรรมชาติ การดูแลรักษาสุขภาพ อยู่ภายใต้ร่มวัฒนธรรมทั้งสิ้น เศรษฐกิจก็อยู่ในร่มนี้ ไม่ได้ทิ้งอะไรออกไปเลย เพราะวัฒนธรรมหมายถึงระบบการอยู่ร่วมกัน มนุษย์แต่โบราณมาโดยธรรมชาติจะคิดถึงการอยู่ร่วมกัน แม้แต่สัตว์ก็อยู่เป็นฝูง เพราะการอยู่ เป็นฝูงการอยู่ร่วมกันทำให้รอดชีวิตมากกว่าอยู่เดี่ยวๆ มีการศึกษาสุนัขป่า สังเกตพบว่ามันมี จริยธรรมของการอยูรวมกัน เช่น เวลาเล่นกันตัวทีแข็งแรงกว่าต้องทำเป็นแพ้ตวทีออนแอกว่าบ้าง ่่ ่ ั ่่ ถ้าชนะทุกคราวการเล่นไม่สนุก แล้วก็จะอยู่ร่วมกันไม่ได้ ซึ่งเป็นธรรมชาติของการอยู่ร่วมกัน ชนทุกหนทุกแห่งเกิดระบบจริยธรรมขึ้นเมื่อมีการอยู่ร่วมกัน เพราะถือว่าการอยู่ร่วมกันนี่สำคัญ มาก มนุษย์ทอยูในร่มวัฒนธรรม ร่มของการอยูรวมกัน มีวถวฒนธรรมอยูยงยืนมาเป็นหลายพัน ่ี ่ ่่ ิีั ่ ่ั ปีหมื่นปีก็ได้ แต่ในระยะหลังมานี้ เรามาทำแบบแยกส่วนหมดทุกอย่าง การพัฒนาก็แยกส่วน ไปเป็นพัฒนาเศรษฐกิจ เมื่อกล่าวถึงเศรษฐกิจก็แยกส่วนไปเป็นการเงิน แยกส่วนไปเรื่อยๆ การศึกษาก็เช่นเดียวกัน การศึกษาไปแยกส่วนเอาวิชาเป็นตัวตัง ไม่ได้เอาชีวตและการอยูรวมกัน ้ ิ ่่ เป็นตัวตัง ท่านพระธรรมปิฎกหรือพระพรหมคุณาภรณ์ กล่าวว่าปัญหาใหญ่ของการศึกษาคือการ ้ คิดแบบแยกส่วน ว่าชีวตก็อย่างหนึง การศึกษาก็อกอย่างหนึงทิงชีวตไปเลย ไปเอาวิชาเป็นตัวตัง ิ ่ ี ่ ้ ิ ้ เมื่อไม่เอาชีวิตและการอยู่ร่วมกัน (Living Together) เป็นตัวตั้งจะพลาดเสมอ อย่างเรื่อง เศรษฐกิจ ไปเอาเรืองตลาดเสรีเป็นตัวตัง หลายคนได้รางวัลโนเบล (Noble Prize) จากทฤษฎีตลาด ่ ้ วารสารโพธิวิจัย Bodhi Research Journal 19
  • 23. เสรีจากการเอาตลาดเป็นตัวตั้ง ซึ่งจะต้องพลาดแน่ เมื่อพิจารณาวิกฤติโลก คือวิกฤติอะไร ก็คือวิกฤติการอยู่ร่วมกันอย่างสมดุล อเมริกามีปัญหามากมาย ทั้งเรื่องสถาบันการเงิน รวมทั้งเรื่องการศึกษา เพราะไปเอาอย่างอื่นเป็นตัวตั้ง จึงพลาดหมด ดังนั้น ถ้าจะปฏิรูปเรื่อง ศึกษาศาสตร์ ต้องปรับมโนทัศน์ว่าการศึกษาคืออะไร ที่แล้วมาได้พยายามปฏิรูปกันไปหลาย ระลอก ก็ปรากฏว่าไม่มีพลัง และกินผู้คนกินรัฐมนตรีไปหลายคน กินต่างๆ ไป แต่ไม่เกิดอะไร ไปติดบ่วงไปติดอยูในหลุมดำ หลุมดำของมโนทัศน์แบบเดิม ไม่ใช่คนไม่พยายาม ไม่ใช่คนไม่เก่ง ่ เช่นท่านอาจารย์สปปนนท์ ก็ถอว่าเป็นคนไทยทีเ่ ก่งฉลาด (Bright) ทีสดคนหนึงแล้ว และทุมเทเรือง ิ ื ุ่ ่ ่ ่ การศึกษามาโดยตลอด เป็นเลขาธิการสภาการศึกษา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ออกนโยบายต่างๆแต่ก็ไม่มีผลตอบรับที่เป็นพลังแต่อย่างใด เรื่องดุลยภาพนั้นเป็นเรื่องสำคัญ วิกฤติโลกในทุกวันนี้คือวิกฤติดุลยภาพ เสียดุล หมดระหว่างกายกับใจ ระหว่างมนุษย์กับสังคม ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม เสียดุลทาง เศรษฐกิจ เสียดุลทุกอย่าง เพราะว่าการพัฒนาการคิดและทำแบบแยกส่วนใดๆ นำไปสู่การ เสียดุลทั้งหมด ตัวอย่างที่ง่ายที่สุดคือร่างกายของเรา ซึ่งประกอบด้วยส่วนประกอบอันหลาก หลาย เซลล์ต่างๆอวัยวะต่างๆซึ่งแตกต่างกันมากตั้งแต่สมองจนถึงหัวแม่เท้า มีปอด มีตับ มีไต หลากหลายสุดประมาณ และทั้งหมดนี้ต้องเชื่อมโยงกันเป็นระบบจึงจะเกิดพลัง ต้อง บูรณาการจึงจะเกิดดุลยภาพ หากเซลล์ของปอดเซลล์ของตับอยากจะเติบโตโดยไม่คำนึงถึง ส่วนรวมทั้งหมด นั่นก็คือมะเร็งนั่นเอง ร่างกายก็เสียดุลคือป่วยและหนักเข้าก็ตายไปต่อไป ไม่ได้ เพราะเป็นการพัฒนาแบบแยกส่วน การที่จะมีดุลยภาพได้ต้องพัฒนาอย่างบูรณาการ ไม่ใช่แยกส่วน กรมตำรวจคิดจะปรับมโนทัศน์เรื่องตำรวจ ก็ต้องไปดูระบบความยุติธรรม ซึ่งแยกส่วนมาเป็นเรื่องของตำรวจ เรื่องของอัยการ เรื่องของศาล จึงเกิดวิกฤติ เพราะแยก ส่วนออกมาจากเรื่องชุมชนท้องถิ่น ชุมชนก็เหมือนฐานพระเจดีย์ ถ้าพัฒนาโดยไม่เอาฐานก็ทำ ไม่ได้ ไม่มพระเจดียองค์ใดสร้างสำเร็จจากยอดเพราะมันจะพังลงๆ พระเจดียตองสร้างจากฐาน ี ์ ์้ ฐานจะได้รองรับข้างบน ประเทศไทยพัฒนาจากยอดทุกอย่าง เศรษฐกิจก็จะเอาจากข้างบนแล้ว บอกว่าส่วนเกินจะกระเด็นลงข้างล่างหรือ Shift a down ก็ไม่สำเร็จ ช่องว่างห่างมากขึนเรือยๆ ้ ่ การศึกษาเช่นเดียวกันแทนที่การศึกษาจะทำให้ชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็ง กลับไปดึงคนออกมาหมด ให้ทุกคนพุ่งไปสู่การท่องหนังสือ ที่เรียกว่าอุดม แล้วก็ทำอุดมเป็นธุรกิจทั้งหมด จึงวิกฤติ 20 วารสารโพธิวิจัย Journal Bodhi Research
  • 24. มีประชาธิปไตยมา ๗๐ กว่าปี ยังฆ่ากันตาย เพราะไม่มประชาธิปไตยระดับชาติทไหน ี ่ี ทำได้สำเร็จโดยปราศจากประชาธิปไตยทีฐานล่าง เมือหันไปดูสหรัฐอเมริกาก่อนทีจะตังประเทศ ่ ่ ่ ้ มีการวิเคราะห์ถกเถียง (Debate) กันว่ากรอบมโนทัศน์ (Concept) ของประเทศคืออะไร แล้วก็ตกลงกันว่ากรอบมโนทัศน์ของประเทศอเมริกาคือ กรอบมโนทัศน์ท้องถิ่น แล้วนำไปใส่ชื่อ ประเทศเป็น United State of America ไม่ได้เรียกประเทศอเมริกา แปลว่าอเมริกา เกิดจากท้องถิ่นรวมตัวกัน United State; State คือท้องถิ่น ดังนั้น ประชาธิปไตยของ อเมริกามาจากรากฐานขึ้นมา ไม่ได้มีแต่ที่วอชิงตัน อเมริกาจึงมีหลักทางความคิดที่แข็งแรงมาก รัฐธรรมนูญฉบับเดียวใช้มากว่า ๒๐๐ ปี ของไทย ๑๘ - ๑๙ ฉบับแล้ว เพราะเราไปทำข้างบนเรา สร้างพระเจดียจากยอดไม่สำเร็จ จึงต้องทำใหม่พระเจดียตองสร้างจากฐาน เมือต้องการสันติสข ์ ์้ ่ ุ ต้องการความสุข ความเป็นปกติ ความยั่งยืน ก็ต้องมีดุลยภาพ อะไรที่ไม่ได้ดุลก็ไม่ยั่งยืน เหมือนเรือที่เสียดุลวิ่งไปเดี๋ยวก็ล่ม ถ้าเรือได้ดุลก็วิ่งไปได้ไกล ดังนันเราจะพัฒนาอย่างมีดลยภาพแล้ว ก็ตองพัฒนาอย่างบูรณาการไม่ใช่แบบแยกส่วน ้ ุ ้ ก็ตองคิดเป็นลำดับไป เมือพัฒนาอย่างบูรณาการ ก็ตองเอาพืนทีเ่ ป็นตัวตัง ไม่ใช่เอากรมเป็นตัวตัง ้ ่ ้ ้ ้ ้ เพราะการพัฒนาที่เอากรมเป็นตัวตั้ง ก็แยกเป็นเรื่องๆ เช่น กรมน้ำ กรมดิน กรมข้าว ก็ไม่บูรณาการ เมื่อมหาวิทยาลัยเอาวิชาเป็นตัวตั้ง ก็แยกเรื่อง มหาวิทยาลัยถึงไม่มีพลัง ถ้าจะ พัฒนาอย่างบูรณาการแล้วต้องเอาพืนทีเ่ ป็นตัวตัง เอากรมเป็นตัวตังไม่ได้ เอาวิชาเป็นตัวตังไม่ได้ ้ ้ ้ ้ เอาเรื่องเป็นตัวตั้งไม่ได้ ให้สังเกตว่าอยู่ในพื้นที่เดียวกัน ถ้าเอากรมเป็นตัวตั้ง กรมข้าวก็แยกไป กรมต้นไม้ก็แยกไป กรมน้ำก็แยกไป แต่ถ้าบูรณาการก็ต้องใช้หมดทุกเรื่อง แยกส่วนทั้งวิธีการ และงบประมาณ ให้งบประมาณตามกรม และกรมก็เป็นนิตบคคลด้วย จึงมีปญหาเชิงโครงสร้าง ิุ ั ตามมาอย่างต่อเนื่อง ถ้าตั้งกรอบมโนทัศน์ให้มั่นคง ต้องเอาพื้นที่เป็นตัวตั้ง ในพื้นที่ก็มีหมู่บ้าน มีตำบล มีเมือง มีจังหวัด วิธีจำตัวเลขง่ายๆ แม้จะไม่ตรงทีเดียว คือใช้ ๑๐ คูณ ไปเรื่อยๆ มี ๗๖ จังหวัด ก็มีประมาณ ๗๖๐ อำเภอ ที่จริงแล้วกว่านั้น แล้วก็มีประมาณ ๗,๖๐๐ ตำบล มีประมาณ ๗๖,๐๐๐ หมู่บ้าน การพัฒนาโดยเอาพื้นที่เป็นตัวตั้งนั้นมีตัวอย่างเป็นรูปธรรม ที่บ้านหนองกลางดง อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผู้ใหญ่โชคชัยเป็นผู้ใหญ่บ้าน มีสภาผู้นำชุมชน โดยมีสมาชิกสภา ๕๙ คน มีผู้นำที่เป็นทางการ ๓ คน คือผู้ใหญ่บ้าน กรรมการสภาผู้นำชุมชน และสมาชิกสภาผูนำชุมชน ตำแหน่งละ ๑ คน ซึงเป็นจำนวนทีกำหนดโดยกฎหมาย สมาชิกสภา ้ ่ ่ วารสารโพธิวิจัย Bodhi Research Journal 1
  • 25. ผู้นำชุมชนทั้งหมดมาจากกลุ่มละ ๒ คน โดยมีผู้นำตามทางการ ๓ คน นอกนั้นเป็นผู้นำไม่เป็น ทางการอีก ๕๖ คน โดยเป็นผู้นำกลุ่มอาชีพ ผู้นำกลุ่มสตรี ผู้นำกลุ่มออมทรัพย์ ผู้นำเยาวชน และผูนำต่างๆอีกมาก นีคอหมูบานเดียวรวมเป็น ๕๙ คน สภาผูนำชุมชนจะไปสำรวจข้อมูล ้ ่ื ่้ ้ ชุมชน ซึ่งเป็นจุดสำคัญ การสำรวจถือเป็นการวิจัย และการวิจัยจะไม่ประสบความสำเร็จ ถ้าไม่ใช้ข้อมูล แต่นี่ชาวบ้านทำวิจัยเองเข้าไปสำรวจข้อมูลชุมชน เสร็จแล้วเอาข้อมูลมาพูดคุย กันว่า พื้นที่มีเท่าไหร่ การทำมาหากินเป็นอย่างไร ใครมี/ไม่มีที่ดินทำกิน มีปัญหาอะไรบ้าง มียาเสพติดไหม ใครเสพ ใครค้า ใครทำอะไร สำรวจหมด แล้วนำมาทำแผนชุมชน แผนชุมชนที่ ได้นจะเป็นแผนพัฒนาอย่างบูรณาการ พัฒนาทุกด้านเชือมโยงกันทังหมด เสร็จแล้วก็เอาแผนชุมชน ้ี ่ ้ ทีสภาผูนำชุมชนจัดทำนี้ไปให้คนทั้งหมู่บ้านดู ซึ่งเรียกว่า สภาประชาชน ซึ่งมีสมาชิกเป็นคนทั้ง ่ ้ หมู่บ้าน เนื่องจากหมู่บ้านขนาดไม่ใหญ่ จึงสามารถเป็นประชาธิปไตยโดยตรง (Direct Demo- cracy) ประชาธิปไตยทีเ่ ราใช้อยูในระบบสภาผูแทนเป็นประชาธิปไตยตัวแทน (Indirect Demo- ่ ้ cracy หรือ Represented Democracy) ซึ่งเกิดขึ้นแต่ครั้งโบราณที่การคมนาคมยังไม่สะดวก การสือสารน้อย ประชาชนจึงต้องเลือกตัวแทนเข้าไปประชุมกันในเมืองหลวง ซึงล้าสมัยมากแล้ว ่ ่ เพราะเดียวนีการคมนาคมสะดวก การติดต่อรูถงกันหมด แล้วประชาธิปไตยตัวแทนก็มปญหามาก ๋ ้ ้ึ ีั มีการใช้เงินใช้ทอง หลังจากนั้นไปโกงกินมีคนมาล็อบบี้ ไม่ใช่เฉพาะในประเทศไทย จุดสำคัญ ที่บ้านหนองกลางดงนี้เป็นประชาธิปไตยชุมชน นำแผนพัฒนาชุมชนไปให้ประชาชนทั้งหมู่บ้าน ดู ชอบไม่ชอบ จะเพิ่มเติมอะไรจะตัดอะไร สภาประชาชนทั้งหมู่บ้านเป็นผู้รับรองแผนชุมชน เป็นแผนที่ชาวบ้านมีส่วนร่วม เข้าใจและร่วมขับเคลื่อนได้ ถ้าแผนนั้นทำมาจากสภาพรรคการ เมือง ชาวบ้านไม่เข้าใจ ก็ร่วมขับเคลื่อนไม่ได้ แต่แผนนี้ชาวบ้านทำเอง จึงขับเคลื่อนแผน ร่วมกันได้ เกิดการพัฒนาอย่างบูรณาการขึ้นในชุมชน ผลปรากฏว่าทุกอย่างดีขึ้น อย่างน้อย ๘ เรืองเข้ามาเชือมโยงกัน เศรษฐกิจความยากจนลดน้อยลง หนีสนน้อยลง เงินออมเพิมขึน จิตใจดีขน ่ ่ ้ิ ่ ้ ้ึ ความรุนแรงน้อยลง สังคมดีขึ้น วัฒนธรรมดีขึ้น สิ่งแวดล้อม สุขภาพ การศึกษา ประชาธิปไตย เพราะกระบวนการทั้งหมดเป็นประชาธิปไตย จึงเชื่อมโยงกันหมดเป็นบูรณาการ เป็นมรรค ๘ ของการพัฒนาชุมชน เศรษฐกิจ จิตใจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม สุขภาพ การศึกษา เป็นประชาธิปไตยเชื่อมโยงเป็นกระบวนการเดียวกัน เมื่อเกิดผลแล้วเหมือนสวรรค์บนดิน นอกจากนี้ ยังมีสวรรค์บนดินที่ บ้านท่านางแมว อำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น บ้านคีรีวงศ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยเฉพาะที่บ้านคีรีวงศ์นี้ ชาวบ้านเศรษฐกิจดี วารสารโพธิวิจัย Journal Bodhi Research
  • 26. ร่วมมือกันทำ ดูแลสิ่งแวดล้อม มีผ้าทอมือย้อมคราม เดิมขายไม่ดี ตัดเป็นเสื้อผ้าก็ยังขายไม่ดี ต่อมามีคนช่วยเรืองการออกแบบ ก็ตดออกมาสวย จึงขายดีขน ซึงวิชาการพวกนีมหาวิทยาลัยมี ่ ั ้ึ ่ ้ ซึงจะกล่าวถึงต่อไป ระดับตำบลก็มทเ่ี ป็นสวรรค์บนดิน เช่น ตำบลปากพูน จังหวัดนครศรีธรรมราช ่ ี มีประชากร ๓๕,๐๐๐ คน ตำบลนี้ค่อนข้างใหญ่ ในตำบลนี้มีศูนย์เด็กเล็ก ๗ ศูนย์ ซึ่งเด็กเล็ก ทุกคนในตำบลนี้เข้าเรียนฟรี ไม่มีการสอบเข้า (Entrance) สังคมไทยอยู่กับเรื่องสอบเข้า จนนึกว่าเป็นเรืองธรรมดา ทีจริงการสอบเข้าเป็นเรืองไม่ดี ประเทศฝรังเศสมีกฎหมายห้ามสอบเข้า ่ ่ ่ ่ ถ้ามหาวิทยาลัยไหนจัดการสอบเข้า จะผิดกฎหมาย เนื่องด้วยเป็นสิทธิของคนฝรั่งเศสที่จะเข้า เรียน แม้จะเก่งหรือไม่เก่ง จะรวยหรือจน ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะเรียน ที่ตำบลปากพูนไม่มีสอบเข้า เด็กพร้อมเมือไหร่เข้าแล้วเรียนฟรีหมด มีครูพเ่ี ลียง เด็กทังตำบล ได้กนนมฟรีทกวัน นมสดนมวัว ่ ้ ้ ิ ุ ผูหญิงตังครรภ์ในตำบลนีกนนมฟรีทกคน เพราะว่าโภชนาการของหญิงตังครรภ์สำคัญมาก ถ้าเด็ก ้ ้ ้ิ ุ ้ คลอดมาแล้วน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์แปลว่าโภชนาการแม่ไม่ดี แล้วเด็กทีนำหนักต่ำกว่าเกณฑ์นอก ่้ ่ี ี ๓๐ ปี ๔๐ ปีข้างหน้า จะเป็นโรคหัวใจ จะเป็นโรคมะเร็ง เป็นโรคต่างๆ มีการวิจัยระยะยาวแล้ว และงานวิจัยนี้ได้รับพระราชทานรางวัลเจ้าฟ้ามหิดล ซึ่งถือเป็นรางวัลโนเบลเมืองไทย แสดงให้เห็นว่า เด็กน้ำหนักต่ำว่าเกณฑ์นี้ยังมีอยู่ ทั้งๆที่ประเทศเราผลิตอาหารได้เหลือกิน แต่วนนีทตำบลปากพูน ผูหญิงตังครรภ์ทกคนกินนมฟรีทกวัน เพราะตำบลเลียงวัวนมไว้ ๑๐๐ ตัว ั ้ ่ี ้ ้ ุ ุ ้ แต่ละตัวให้นม ๒๐ กิโลกรัมต่อวัน จึงมีนมมากพอสำหรับหญิงตั้งครรภ์และเด็กทุกคน ที่เป็น เช่นนีได้เพราะการพัฒนาอย่างบูรณาการ ถ้าพัฒนาแบบแยกส่วน สมมติเด็กอยูกบการศึกษา แม้ ้ ่ั การศึกษาอยากให้เด็กกินนม ก็ไม่มนมแล้วจะเอาจากไหน หรือลูกอยากให้แม่กนนมก็ไม่มนมกิน ี ิ ี แต่การบูรณาการทั้งหมด ทั้งเศรษฐกิจ จิตใจ สุขภาพ ไปพร้อมกัน จึงทำได้ ที่ตำบลนี้ยังมีการ สำรวจคนพิการ พบว่า ทั้งตำบลมี ๓๘๒ คน มีชนิดไหนบ้าง และจัดอาสาสมัครไปดูแลทุกคน ซึ่งจุดนี้มหาวิทยาลัยต้องเข้าไป เพราะบางเรื่องก็ต้องการวิชาการเข้าไปเสริม ชาวบ้านไม่ต้อง การอาสาสมัครไปดูแล แต่ต้องการวิชาการไปช่วยเสริม เวลามหาวิทยาลัยกล่าวถึงโครงการกาย ภาพบำบัดต้องนึกถึงกายภาพบำบัดชุมชน เพื่อนำวิชาการเข้าไปเชื่อมต่อกับชุมชน ตัวอย่างดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า มีสวรรค์บนดินได้จริงๆ จากการพัฒนาอย่างบูรณาการ ทั้งในพื้นที่ระดับชุมชนและระดับตำบล จึงเป็นรูปแบบที่สามารถจะขยายตัวไปได้เต็มประเทศ ซึ่งเราต้องตั้งเป้าหมายว่าเราอยากเห็นสวรรค์บนดินเต็มประเทศไทย ซึ่งเราทำได้แน่นอน ประเทศไทยมีทรัพยากรมากมาย ทั้งทรัพยากรธรรมชาติ ความหลากหลายทางชีวภาพ วารสารโพธิวิจัย Bodhi Research Journal
  • 27. ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ทรัพยากรทางศาสนธรรม และทรัพยากรทางสังคม เป็นต้น ถ้าเราช่วยกันทำในวิธีที่ถูกทาง เราสร้างสวรรค์บนดินประเทศไทยได้ เราผลิตอาหารได้เหลือกิน ต่อไปโลกจะวิกฤติ เราก็ไม่เป็นไร เรามีอาหารกินพอ ภัยธรรมชาติก็ไม่มาก เพราะเราอยู่ในภูมิ ประเทศทีเ่ หมาะ ความหลากหลายทางชีวภาพพร้อมทีจะมี ถ้าเราดูแลรักษาแผ่นดินของเราไว้ซง ่ ่ึ มีคามหาศาล เราทำได้แน่นอน ร่วมสร้างประเทศไทยให้เป็นประเทศทีนาอยูทสดในโลก ซึงจุดนี้ ่ ่ ่ ่ ่ี ุ ่ มหาวิทยาลัยมีความสำคัญที่จะเข้ามาเพราะเป็นพลังใหญ่มากมายมีตั้ง ๑๐๐ กว่ามหาวิทยาลัย จังหวัดเรามีเพียง ๗๖ จังหวัดเอง ถ้า ๑ มหาวิทยาลัยมาทำงานกับ ๑ จังหวัด ก็เสริมสร้าง ได้ทั้งประเทศ ยุทธศาสตร์ ๑ มหาวิทยาลัย ๑ จังหวัด ก็คือ ให้มหาวิทยาลัยไปดูในแต่ละจังหวัด ซึงโดยเฉลียมีประมาณ ๑๐ อำเภอ ๑๐๐ ตำบล ๑,๐๐๐ หมูบาน ทำไมเราจะทำไม่ได้ให้ดหมดทัง ่ ่ ่้ ี ้ ๑,๐๐๐ หมู่บ้าน ทั้ง ๑๐๐ ตำบล เรามีรูปแบบอยู่แล้วเรื่องกระบวนการจากที่ยกตัวอย่างมาแล้ว รูปแบบการพัฒนาอย่างบูรณาการ ซึ่งชาวบ้านทำกันเอง เมื่อมหาวิทยาลัยจะไปทำ จำเป็นต้อง เอาพื้นที่เป็นตัวตั้ง อย่าไปเอาเรื่องเป็นตัวตั้ง ถ้าใช้เรื่องเป็นตัวตั้งเดี๋ยวจะกระจายกันไปหมด แล้วจะไม่มกำลังทีจะเสริมหนุนกัน ถ้ามหาวิทยาลัยประกาศว่าจะทำกับจังหวัดใดสักจังหวัดหนึง ี ่ ่ จะมีผู้สนับสนุนหรือให้กำลังใจตามมามากมาย แต่ถ้าเอาวิชาเป็นตัวตั้ง ก็มองไม่เห็นผู้สนับสนุน เพราะแคบเพียงแค่วชา เช่น สมมติวามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒทำกับสระแก้ว มหาวิทยาลัย ิ ่ รังสิตทำกับปทุมธานี มหาวิทยาลัยทักษิณทำกับพัทลุง ทังจังหวัดเลย เมือเอาจังหวัดเอาพืนทีเ่ ป็น ้ ่ ้ ตัวตัง ผูสนับสนุนคนแรกเลยก็คอ ผูวาราชการจังหวัด เพราะการพัฒนาจังหวัดนันไม่ใช่เรืองง่าย ้ ้ ื ้่ ้ ่ หากมีมหาวิทยาลัยเข้ามาเป็นเพือน ผูวาฯก็ดใจ คนในจังหวัดก็ดใจ ใครๆก็ดใจถ้วนหน้า เข้ามา ่ ้่ ี ี ี สนับสนุนพร้อมที่จะทำร่วมกัน แต่ถ้าเอาวิชาเป็นตัวตั้งทำเรื่องนั้นเรื่องนี้ไม่ยอมประกาศพื้นที่ ก็ไม่มีพลัง ยุทธวิธีการเสริมพลังการศึกษาศาสตร์ ด้วยยุทธศาสตร์ “หนึ่งมหาวิทยาลัยหนึ่งจังหวัด” ๑) อาจารย์และนักศึกษาไปร่วมทำแผนชุมชน ซึ่งมหาวิทยาลัยต้องสร้างแรงจูงใจให้ อาจารย์อยากไป ไม่ใช่เฉพาะคณะศึกษาศาสตร์ แต่ทกคณะทุกสถาบัน ต้องกำหนดเป็นหน่วยกิต ุ สำหรับนิสิตให้ไปทำแผนชุมชน จะเป็นวิชาเลือกก็ได้ถ้าไม่บังคับ อาจารย์และนักศึกษาไปร่วม วารสารโพธิวิจัย Journal Bodhi Research