SlideShare a Scribd company logo
1 of 10
Download to read offline
บทที่    1
                           แนะนำเกี่ยวกับสารป้องกันกำจัดวัชพืช
                             (Introduction to Herbicides)




_11-08(001-040)P3.indd 1                                         8/9/11 5:42:06 PM
สารป้องกันกำจัดวัชพืช :
                                                                                                 หลักการและกลไกการทำลายพืช

               1.1 สารป้องกันกำจัดวัชพืช (Herbicide)
                     สารป้องกันกำจัดวัชพืช หรือที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า “herbicide” นั้น โดยทั่วไปอาจ
               จะเรียกเป็นภาษาไทยที่แตกต่างกันไป เช่น ยาฆ่าหญ้า ยาปราบหญ้า ยากำจัดวัชพืช สารเคมี
               กำจัดวัชพืช หรือสารกำจัดวัชพืช ซึ่งทั้งหมดนี้การใช้คำว่า “สารป้องกันกำจัดวัชพืช” เป็นชื่อ
               เรียกที่เหมาะสมที่สุด เพราะเป็นได้ทั้งคุมไม่ให้วัชพืชงอกและฆ่าวัชพืชที่งอกขึ้นมาแล้ว
                      สารป้องกันกำจัดวัชพืช หมายถึง สารเคมีชนิดใด ๆ ก็ตามที่นำมาใช้เพื่อฆ่าทำลายหรือ
               ยับยั้งการเจริญเติบโตของวัชพืช ไม่ว่าจะเป็นในขณะที่วัชพืชงอกขึ้นมาแล้วหรือยังเป็นเมล็ดอยู่
               ตลอดจนชิ้นส่วนต่าง ๆ ของวัชพืชที่ขยายพันธุ์ได้ที่อยู่บนดินหรืออยู่ในดิน
                       สถานการณ์การทำการเกษตรของประเทศไทยในปัจจุบันนี้ การควบคุมวัชพืชโดยการใช้
               สารป้องกันกำจัดวัชพืช นับว่าเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่มีประสิทธิภาพสูงในการกำจัดวัชพืช ซึ่งมี
               บทบาทสำคัญอย่างยิ่งในทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้เนื่องจากการปรับปรุงใน
               การเขตกรรม วิธีการปลูก การขยายพื้นที่เพาะปลูก ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงจากสังคมภาค
               เกษตรไปเป็นสังคมภาคกึ่งอุตสาหกรรม ทำให้แรงงานในภาคเกษตรขาดแคลน ไม่สามารถทำงาน
               ได้ทันเวลากับการเจริญเติบโตของพืชปลูก นอกจากนี้ค่าแรงที่สูงขึ้นทำให้ต้นทุนการผลิตยิ่งสูง
               ขึ้นไปอีก ปัจจุบันมีการจำหน่ายสารป้องกันกำจัดวัชพืชทั้งตลาดต่างประเทศและภายในประเทศ
               ไทย (รูปที่ 1.1 และตารางที่ 1.1 และ 1.2) สำหรับในประเทศไทยสารป้องกันกำจัดวัชพืช
               มีการใช้มากกว่าสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชชนิดอื่น ๆ เช่น สารป้องกันกำจัดแมลง ไร และสัตว์
               ศัตรูพืช สารป้องกันกำจัดโรคพืช ตลอดจนสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช เหตุผลอีก
               อันหนึ่ง คือ ทุกครั้งที่ปลูกพืชจะมีวัชพืชขึ้นอยู่เสมอ ยกเว้นการปลูกพืชในสารละลายธาตุอาหาร
               (hydroponic) การป้องกันกำจัดวัชพืชโดยการใช้สารเคมีนั้น เป็นวิธีที่กำลังได้รับความนิยมและ
               ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ทั้งนี้นอกจากจะสามารถใช้ได้อย่างสะดวกรวดเร็วแล้ว ในหลาย
               กรณียังใช้ต้นทุนที่ต่ำกว่าวิธีอื่น โดยเฉพาะในสภาพที่แรงงานหายากและราคาค่าแรงแพง การใช้
               สารป้องกันกำจัดวัชพืชให้ได้ประสิทธิผลนั้น ผู้ใช้จะต้องมีความรู้ที่ดีพอ ทั้งนี้เนื่องจากสารป้องกัน
               กำจั ด วั ช พื ช นั้ น เปรี ย บเสมื อ นดาบสองคม ซึ่ ง จะต้ อ งใช้ ใ ห้ ถู ก ต้ อ งและด้ ว ยความระมั ด ระวั ง
               มิฉะนั้นแล้วสารป้องกันกำจัดวัชพืชที่ใช้อาจจะเป็นอันตรายต่อพืชปลูก พืชชนิดอื่น มนุษย์ และ
               สัตว์ตาง ๆ ตลอดจนสิงแวดล้อมได้เช่นกัน
                     ่                      ่




_11-08(001-040)P3.indd 2                                                                                                      8/9/11 5:42:06 PM
แนะนำเกี่ยวกับสารป้องกันกำจัดวัชพืช         
                                               สารปองกันกำจัดศัตรูพืชอ�น ๆ
                                                          6%
                                                                                                  สารปองกันกำจัดศัตรูพืชอ�น ๆ
                                                                                                             4%
                                                                                                                                          1
                                สารปองกันกำจัดโรคพืช                              สารปองกันกำจัดโรคพืช
                                         8%                                                 7%


                           สารปองกันกำจัดแมลง                                สารปองกันกำจัดแมลง
                                  28%                                                17%




                                        สารปองกันกำจัดวัชพืช        (A)                   สารปองกันกำจัดวัชพืช          (B)
                                                58%                                                72%

                    					รูปที่	1.1	ปริมาณการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชชนิดต่าง ๆ (A) ในประเทศสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2544
                                   	
                                    (ที่มา : U.S. Environmental Protection Agency, 2001) และ (B) ในประเทศไทย พ.ศ. 2553
                                    (ที่มา : ฝ่ายวัตถุมีพิษ สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร, 2553)


                           ปริ ม าณการใช้ ส ารป้ อ งกั น กำจั ด ศั ต รู พื ช ทางการเกษตรของประเทศไทยทั้ ง หมดนั้ น
                    สารป้องกันกำจัดวัชพืชเป็นกลุ่มที่มีทั้งปริมาณและมูลค่าการนำเข้ามากที่สุด โดยใน พ.ศ. 2540
                    มีปริมาณ 22,459 ตันของสารออกฤทธิ์ คิดเป็นมูลค่า 2,472 ล้านบาท และในปีต่อ ๆ มาปริมาณ
                    และมูลค่าการนำเข้าก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ (ตารางที่ 1.1) ต่อมาใน พ.ศ. 2552 มีปริมาณ 85,821 ตัน
                    ของสารออกฤทธิ์ คิดเป็นมูลค่า 93,384 ล้านบาท (ตารางที่ 1.2) ทั้งนี้เพราะแรงงานในภาค
                    เกษตรกรรมขาดแคลน เกษตรกรจึงนิยมเปลี่ยนมาใช้สารป้องกันกำจัดวัชพืชแทนกันมากขึ้น
                          จากการรายงานปริมาณและมูลค่าของสารป้องกันกำจัดวัชพืชที่มีการนำเข้ามาก 5 อันดับ
                    แรกของประเทศไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2538 ได้แก่ glyphosate, 2,4-D, atrazine, ametryn และ
                    paraquat ซึ่งมีปริมาณการนำเข้า 3,607, 2,637, 1,536, 1,132 และ 244 ตันสารออกฤทธิ์
                    (ตารางที่ 1.3) ต่อมาในปี พ.ศ. 2541 และ 2545 สารป้องกันกำจัดวัชพืชที่มีการนำเข้ามากเป็น
                    5 อันดับแรกก็ยังเป็นกลุ่มเดิมเพียงแต่มีปริมาณและมูลค่าการนำเข้าเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
                          ในช่วงระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมาได้มีการนำเข้าของสารป้องกันกำจัดวัชพืชสูงที่สุดถึง
                    ร้อยละ 9.1 ส่วนการนำเข้าของสารป้องกันกำจัดโรคพืช และสารป้องกันกำจัดแมลงเพิ่มขึ้น
                    ร้อยละ 2.9 และ 1.0 ต่อปี ตามลำดับ ซึ่งคาดว่าแนวโน้มของการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช




_11-08(001-040)P3.indd 3                                                                                                         8/9/11 5:42:06 PM
สารป้องกันกำจัดวัชพืช :
                                                                                           หลักการและกลไกการทำลายพืช

               ทางการเกษตรในประเทศไทยและทั่วโลก จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอัตราร้อยละ 3-5 ต่อปี
               โดยที่ในแถบอเมริกาเหนือมีการใช้สูงที่สุดถึงร้อยละ 27 ประเทศในแถบภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
               มีการใช้ร้อยละ 24 ประเทศในแถบอเมริกากลางและใต้มีการใช้ร้อยละ 19 ประเทศในแถบ
               ภูมิภาคยุโรปตะวันตกมีการใช้ร้อยละ 17 และประเทศในแถบภูมิภาคอื่น ๆ มีการใช้ร้อยละ 13
               ตามลำดับ
                    ปัจจุบันนี้ในประเทศไทยได้มีผู้แทนจากภาคเอกชน (business and trade sector) ที่
               ประกอบธุรกิจทางด้านสารเคมีเกษตร โดยมี 2 สมาคมหลัก ได้แก่ สมาคมอารักขาพืชไทย (Thai
               Crop Protection Association) และสมาคมคนไทย-ผู้ประกอบธุรกิจสารเคมีเกษตร (Thai
               Agri-Business Association) ซึ่งทำหน้าที่ประสานงานระหว่างหน่วยงานจากภาครัฐบาลและ
               ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบธุรกิจทางด้านสารเคมีเกษตร ซึ่งในประเทศไทยได้มีบริษัท
               เอกชนต่าง ๆ ที่ประกอบธุรกิจสารเคมีเกษตรที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้า การส่งออก การผลิต
               และการกระจายผลิ ต ภั ณ ฑ์ ข องสารเคมี เ กษตร ซึ่ ง ส่ ว นใหญ่ จ ะเป็ น ธุ ร กิ จ สารเคมี เ กษตรที่ มี
               การนำเข้ามาจำหน่ายจากต่างประเทศ
                       วิธีการควบคุมวัชพืชโดยการใช้สารป้องกันกำจัดวัชพืช มักจะเป็นวิธีการเริ่มต้นแรก ๆ
               ที่เกษตรกรเลือกนำมาใช้ในการควบคุมวัชพืช ด้วยเหตุผลที่ว่าเป็นวิธีการที่ช่วยในการกำจัดวัชพืช
               ได้ง่าย สะดวก และรวดเร็วกว่าการใช้วิธีการอื่น ๆ แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า จะเป็นวิธี
               ที่เหมาะสมที่สุด การใช้สารป้องกันกำจัดวัชพืชที่ไม่ถูกต้องอาจจะส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม
               และผู้ใช้ได้ ดังนั้น จึงควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับสารป้องกันกำจัดวัชพืชและวิธีการใช้ให้ถูกต้อง
               เหมาะสม ความเป็นพิษของสาร และข้อควรปฏิบัติในการใช้สาร ตามคำแนะนำของผู้ผลิตหรือ
               ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอัตราแนะนำการใช้สารป้องกันกำจัดวัชพืชที่ใช้ในพืชปลูกแต่ละชนิด
               เป็นอัตราที่ได้ผ่านการทดสอบมาแล้ว ผู้ใช้จึงควรใช้ให้ถูกต้องตามอัตราความเข้มข้นที่แนะนำ
               เพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนพืชปลูก และเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาสารพิษตกค้าง รวมทั้งอันตรายที่จะ
               เกิดต่อสภาพแวดล้อมหรือมนุษย์ นอกจากนี้ อาจมีส่วนในการพัฒนาความต้านทานสารของ
               วัชพืชก็ได้




_11-08(001-040)P3.indd 4                                                                                               8/9/11 5:42:07 PM
_11-08(001-040)P4.indd 5
                           ตารางที่ 1.1 ปริมาณและมูลค่าสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชประเภทต่าง ๆ ที่นำเข้าประเทศไทยในช่วงปี 2540-2544 (ที่มา : ฝ่าย
                                        วัตถุมีพิษ สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร, 2545)
                              ชนิดสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช           ปี 2540             ปี 2541             ปี 2542             ปี 2543             ปี 2544
                                  (Type of Pesticide)          ปริมาณ     มูลค่า    ปริมาณ   มูลค่า     ปริมาณ   มูลค่า     ปริมาณ   มูลค่า     ปริมาณ   มูลค่า
                            สารป้องกันกำจัดแมลง                12,543     1,645     12,823    2,044     19,525    6,589     12,533    2,001     16,674    2,553
                            (Insecticide)
                            สารป้องกันกำจัดเชื้อรา              5,820         626    3,683        579    7,204        914    7,393    1,119      7,825    1,265
                            (Fungicide)
                            สารป้องกันกำจัดวัชพืช (Herbicide) 22,459      2,472     15,108    2,216     27,639    3,260     29,715    3,841     32,423    4,502
                            สารป้องกันกำจัดไร (Acaricide)         237          42     235          47     157          33     275          72     296          83
                            สารกำจัดหนู (Rodenticide)             191          16     224          24     216          20     142          14     199          22
                            สารรมควันพิษ (Fumigant)               219          30     190          35     285          40     570          63     784         103
                            สารควบคุมการเจริญเติบโตพืช            538         96      587         88      876         132    1,162        115    1,460        170
                            (Plant growth regulator)
                            สารป้องกันกำจัดหอยทาก                  72          20      46          45     150          25     227          33     156          13
                            (Mollussicide)
                            รวม (Total)                        42,079     4,947     32,896    5,078     56,052   11,013     52,017    7,258     59,817    8,711
                           ปริมาณ : ตันสารออกฤทธิ์ และ มูลค่า : ล้านบาท
                                                                                                                                                                    แนะนำเกี่ยวกับสารป้องกันกำจัดวัชพืช
                                                                                                                                                                    
                                                                                                                                                               1




8/16/11 6:35:41 PM
ตารางที่ 1.2 ปริมาณและมูลค่าสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชประเภทต่าง ๆ ที่นำเข้าประเทศไทย ในช่วงปี 2545-2552 (ที่มา : ฝ่าย                   




_11-08(001-040)P3.indd 6
                                        วัตถุมีพิษ สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร, 2553)
                                         สารป้องกันกำจัดแมลง สารป้องกันกำจัดเชื้อรา สารป้องกันกำจัดวัชพืช สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช
                                                                                                                                              รวม
                                ปี          (Insecticide)        (Fungicide)            (Herbicide)               อื่น ๆ
                                          ปริมาณ       มูลค่า     ปริมาณ    มูลค่า    ปริมาณ       มูลค่า    ปริมาณ      มูลค่า     ปริมาณ          มูลค่า
                               2545       9,046        2,931       5,681    1,444      22,670     43,492       237        392       39,634          9,116
                               2546       9,790        3,136       6,732    1,678      31,879     61,011       930        426       50,331          11,341
                               2547       16,731       2,835      10,108    1,719      55,649     60,804       417        502       86,905          11,135
                               2548       18,529       3,322       9,052    1,716      48,841     58,063       744        516       80,166          11,360
                               2549       20,487       3,856       9,383    1,722      62,129     68,213       764        499       95,763          12,899
                               2550       21,590       3,746      10,626    1,833      79,239     89,144       869        533       116,323         15,026
                               2551       25,332       4,577      11,255    2,537      68,825     11,487      4,497       580       109,908         19,182
                               2552       19,709       3,972       8,485    2,968      85,821     93,384       137        537       118,152         16,816
                           ปริมาณ : ตันสารออกฤทธิ์ และ มูลค่า : ล้านบาท
                                                                                                                                                             หลักการและกลไกการทำลายพืช
                                                                                                                                                                           สารป้องกันกำจัดวัชพืช :




8/9/11 5:42:08 PM
แนะนำเกี่ยวกับสารป้องกันกำจัดวัชพืช   

                    ตารางที่ 1.3 ปริมาณและมูลค่าสารป้องกันกำจัดวัชพืชที่นำเข้ามาก 5 อันดับแรกของประเทศ
                                                                                                                      1
                                 ไทย ในปี 2538, 2541 และ 2545 (ที่มา : กองควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร
                                 กรมวิชาการเกษตร, 2546)
                           ปี/ลำดับที่      ชื่อสามัญ        ปริมาณสารออกฤทธิ์ (ตัน)     มูลค่า (ล้านบาท)
                            ปี 2538
                                1          glyphosate                 3,607                     645
                                2          2,4-D                      2,637                     170
                                3          atrazine                   1,536                     181
                                4          ametryn                    1,132                     208
                                5          paraquat                     244                      71
                            ปี 2541
                                1          glyphosate                 2,494                     514
                                2          2,4-D                      1,581                     180
                                3          atrazine                     602                     117
                                4          paraquat                     311                     138
                                5          ametryn                      302                     102
                            ปี 2545
                                1          glyphosate                10,133                    1,051
                                2          2,4-D                      3,003                      947
                                3          atrazine                   2,629                      258
                                4          paraquat                   1,426                      249
                                5          ametryn                    1,342                      384

                         การใช้สารป้องกันกำจัดวัชพืชให้ปลอดภัย
                         1. ควรเลือกใช้สารป้องกันกำจัดวัชพืชให้ถูกต้องตรงตามชนิดของวัชพืชและพืชปลูก (พืช
                    ปลูกบางชนิด อาจมีเรื่องพันธุ์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย)
                         2. การใช้สารป้องกันกำจัดวัชพืช ผู้ใช้ต้องมีความเข้าใจวิธีการใช้ การคิดคำนวณปริมาณ
                    สาร (การใช้สารจะต้องคิดคำนวณปริมาณสารให้แน่นอนพอดี ไม่มาก และไม่น้อยเกินไป) รู้จัก




_11-08(001-040)P3.indd 7                                                                                     8/9/11 5:42:09 PM
8                                                                           สารป้องกันกำจัดวัชพืช :
                                                                                           หลักการและกลไกการทำลายพืช

               คุณสมบัติของสารป้องกันกำจัดวัชพืชแต่ละชนิดอย่างถูกต้อง จึงจะมีประสิทธิภาพสูงในการกำจัด
               วัชพืชและได้ประโยชน์อย่างแท้จริง
                      3. ใช้สารป้องกันกำจัดวัชพืชให้ถูกต้องตามคำแนะนำข้างผลิตภัณฑ์ ควรอ่านฉลากอย่าง
               ละเอียด และปฏิบัติตามคำแนะนำในฉลากอย่างเคร่งครัด รวมทั้งมีความระมัดระวังในขณะ
               ที่ทำการใช้สาร
                    4. ใช้สารป้องกันกำจัดวัชพืชชนิดก่อนและหลังงอกในเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้มีประสิทธิ-
               ภาพในการควบคุมวัชพืชได้ผลดี และช่วยลดปัญหาการตกค้างในผลผลิตของพืชปลูก
                         5. เลือกใช้สารป้องกันกำจัดวัชพืชที่แนะนำ โดยการเลือกใช้สลับกันเพื่อช่วยลดปัญหาการ
               เกิ ด วั ช พื ช ต้ า นทานสาร และช่ ว ยลดปั ญ หาการตกค้ า งของสารในสิ่ ง แวดล้ อ ม การปลู ก พื ช
               หมุนเวียนเป็นอีกแบบหนึ่งของการใช้สารป้องกันกำจัดวัชพืชไม่ซ้ำกัน
                           6. กำจัดภาชนะบรรจุสารเคมีให้ถูกต้อง
                           7. การล้างถังฉีดพ่น ควรสังเกตให้ดีว่าน้ำที่ล้างถังฉีดพ่นไหลลงไปถูกกับพืชปลูกหรือไม่
                    8. ช่วงเวลาการฉีดพ่นสารควรจะเป็นในช่วงเช้าหรือเย็น เพราะในช่วงกลางวันจะมีลมพัด
               แรง ไม่ควรฉีดพ่นสารในขณะที่มีลมพัดแรง

               1.2 การนำมาใช้และพัฒนาโดยลำดับของสารป้องกันกำจัดวัชพืช (Herbicide
               Development)
                       การใช้สารป้องกันกำจัดวัชพืชได้เริ่มมีการพัฒนานำมาใช้เป็นครั้งแรกในราว ค.ศ. 1840
               ซึ่งได้มีการนำเอาปูนขาว (lime) มาใช้ในการกำจัดวัชพืชบางชนิด ต่อมาใน ค.ศ. 1854 ได้
               มีการนำเอาเกลือแกง (sodium chloride) มาใช้ในการกำจัดวัชพืช หลังจากนั้นใน ค.ศ. 1895
               ได้มีการนำเอาจุนสี (copper sulfate) มาทดลองใช้เป็นสารป้องกันกำจัดวัชพืชในพืชปลูก
               ข้าวสาลี ในราว ค.ศ. 1902 ได้มีการนำเอาสารโซเดียมอาร์เซไนต์ (sodium arsenite) มาใช้ใน
               การควบคุมผักตบชวา อย่างไรก็ตาม ได้มีรายงานเกี่ยวกับความสำเร็จในการศึกษาวิจัยและ
               การพัฒนางานทางด้านสารป้องกันกำจัดวัชพืชของนักวิจัยที่ผ่าน ๆ มาเป็นลำดับ (Copping,
               1995) ดังต่อไปนี้




_11-08(001-040)P3.indd 8                                                                                               8/9/11 5:42:09 PM
แนะนำเกี่ยวกับสารป้องกันกำจัดวัชพืช   

                           ค.ศ. 1897-1900   - นักวิทยาศาสตร์ 3 ท่าน คือ Bonnet (ชาวฝรั่งเศส) Schultz (ชาว
                                                                                                                         1
                                              เยอรมัน) และ Bolley (ชาวอเมริกัน) ต่างได้ทำการวิจัยกันคนละ
                                              แห่งและพบว่าสารละลายของทองแดง (copper) และเกลือ (salts)
                                              สามารถนำไปใช้ในการเลือกทำลายวัชพืชใบกว้าง (broadleaf
                                              weeds) ในพวกธัญพืช
                           ค.ศ. 1908        - Bolley (ชาวอเมริกัน) ได้รายงานเกี่ยวกับความสำเร็จในการใช้
                                              เกลื อ แกง (common table salt) เกลื อ เหล็ ก ซั ล เฟต (iron
                                              sulfate salt) และเกลือโซเดียมอาร์เซไนต์ (sodium arsenite)
                                              ควบคุมวัชพืช wild mustard ในข้าวสาลี
                           ค.ศ. 1930        - ได้มีการนำสารประกอบที่เป็นสารอนินทรีย์ (inorganic com-
                                              pounds) เช่น copper nitrate, copper sulfate และ sulfuric
                                              acid มาใช้ ท ดสอบเป็ น สารป้ อ งกั น กำจั ด วั ช พื ช ประเภทเลื อ ก
                                              ทำลายในพวกธัญพืช
                           ค.ศ. 1940        - ได้เริ่มมีการนำสารประกอบที่เป็นสารอินทรีย์ (organic com-
                                              pounds) มาใช้ทดสอบเป็นสารป้องกันกำจัดวัชพืช
                           ค.ศ. 1941        - Pokorny (ชาวอเมริกัน) รายงานเกี่ยวกับเทคนิคการสังเคราะห์
                                              2,4-D ซึ่ ง ต่ อ มาได้ แ นะนำให้ นั ก วิ จั ย คนอื่ น ๆ นำไปทดสอบใน
                                              ลักษณะสารป้องกันกำจัดเชื้อรา (fungicide) และสารป้องกัน
                                              กำจัดแมลง (insecticide) ซึ่งไม่ประสบผลสำเร็จแต่อย่างใด
                           ค.ศ. 1942        - Zimmerman และ Hitchcock (ชาวอเมริกน) ได้รายงานว่า 2,4-D
                                                                                      ั
                                              มีคุณสมบัติเป็นสารเร่งการเจริญเติบโต (growth substance)
                           ค.ศ. 1944        - Marth และ Mitchell (ชาวอเมริ กั น ) ได้ ท ดสอบ 2,4-D ใน
                                              ลักษณะเป็นสารเลือกทำลาย พบว่าสามารถควบคุมวัชพืชพวก
                                              ใบกว้างในสนามหญ้าได้ดี
                                            - Hamner และ Turkey (ชาวอเมริกัน) ประสบผลสำเร็จในการใช้
                                              2,4-D ควบคุมวัชพืชในแปลงปลูกข้าวสาลี



_11-08(001-040)P3.indd 9                                                                                        8/9/11 5:42:10 PM
10                                                                                สารป้องกันกำจัดวัชพืช :
                                                                                                 หลักการและกลไกการทำลายพืช

                        ค.ศ. 1945          - Templeman (ชาวอังกฤษ) ได้วิจัยพบวิธีการควบคุมเมล็ดวัชพืช
                                             ในดิน (ไม่ให้งอก) โดยวิธีการเลือกทำลายได้เป็นผลสำเร็จ ซึ่งนับ
                                             ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการควบคุมวัชพืชยุคใหม่ (Modern Selective
                                             Herbicide Era)
                        ในช่ ว งที่ ผ่ า นมา ประเทศสหรั ฐ อเมริ ก าได้ มี ก ารขึ้ น ทะเบี ย นและจดสิ ท ธิ บั ต รของสาร
               ป้ อ งกั น กำจั ด วั ช พื ช ชนิ ด ต่ า ง ๆ มาเป็ น ลำดั บ ตามที่ ไ ด้ แ สดงไว้ ใ นตารางที่ 1.4 ซึ่ ง จะเห็ น
               ได้ว่าในการใช้สารป้องกันกำจัดวัชพืชในช่วงแรก ๆ นั้น ส่วนใหญ่จะเป็นการนำสารประกอบ
               ที่เป็นสารอนินทรีย์ (inorganic compounds) มาใช้ โดยที่คุณสมบัติทั่วไป ๆ ของสารดังกล่าวนี้
               จะมีข้อจำกัดอยู่มาก กล่าวคือ จะต้องใช้สารในอัตราที่ค่อนข้างสูง และจัดเป็นสารที่ค่อนข้าง
               จะเป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์เลี้ยงได้ ใน ค.ศ. 1940 เป็นต้นมา ได้เริ่มมีการพัฒนานำเอา
               สารเคมีที่เป็นสารอินทรีย์ (organic compounds) มาใช้เป็นสารป้องกันกำจัดวัชพืช ต่อมาใน
               ค.ศ. 1942 ได้มีการค้นพบสาร 2,4-D เพื่อนำไปใช้ควบคุมวัชพืชพวกใบกว้างในพืชปลูกชนิด
               ต่าง ๆ ซึ่งนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการควบคุมวัชพืชยุคใหม่มาตั้งแต่ ค.ศ. 1945 โดยเริ่ม
               จากกลุ่มสารที่มีคุณสมบัติคล้ายฮอร์โมนพืช ต่อมาได้มีการวิจัยและพัฒนาสารป้องกันกำจัด
               วัชพืชในกลุ่มต่าง ๆ มากขึ้นเรื่อยมา เช่น สารที่ยับยั้งการแบ่งเซลล์บริเวณเนื้อเยื่อเจริญของพืช
               สารที่ยับยั้งกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง สารสัมผัสทำลายเยื่อหุ้มเซลล์ สารที่ยับยั้งการ
               สังเคราะห์แคโรทีนอยด์ สารที่ยับยั้งการสังเคราะห์กรดอะมิโน และสารที่ยับยั้งการสังเคราะห์
               กรดไขมัน เป็นต้น




_11-08(001-040)P3.indd 10                                                                                                     8/9/11 5:42:10 PM

More Related Content

What's hot

การดื้อยาปฏิชีวนะ
การดื้อยาปฏิชีวนะ การดื้อยาปฏิชีวนะ
การดื้อยาปฏิชีวนะ hatsana
 
ชนิดและการกระจายพันธุ์ของพืชต่างถิ่นรุกราน พิษณุโลก
ชนิดและการกระจายพันธุ์ของพืชต่างถิ่นรุกราน พิษณุโลกชนิดและการกระจายพันธุ์ของพืชต่างถิ่นรุกราน พิษณุโลก
ชนิดและการกระจายพันธุ์ของพืชต่างถิ่นรุกราน พิษณุโลกAuraphin Phetraksa
 
Chemistry Project Slides
Chemistry Project SlidesChemistry Project Slides
Chemistry Project Slidesmkulawat
 
Chemistry Project Slides
Chemistry Project SlidesChemistry Project Slides
Chemistry Project Slidesmkulawat
 
กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิทยาศาสตร์ 58
กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิทยาศาสตร์  58กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิทยาศาสตร์  58
กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิทยาศาสตร์ 58renusaowiang
 
ภาพข้อสอบเทคโนโลยีชีวภาพ 15 มิย.
ภาพข้อสอบเทคโนโลยีชีวภาพ 15 มิย.ภาพข้อสอบเทคโนโลยีชีวภาพ 15 มิย.
ภาพข้อสอบเทคโนโลยีชีวภาพ 15 มิย.peter dontoom
 
ชนิดและการกระจายพันธุ์ของพืชต่างถิ่นรุกรานในอุทยานแห่งชาติ
ชนิดและการกระจายพันธุ์ของพืชต่างถิ่นรุกรานในอุทยานแห่งชาติชนิดและการกระจายพันธุ์ของพืชต่างถิ่นรุกรานในอุทยานแห่งชาติ
ชนิดและการกระจายพันธุ์ของพืชต่างถิ่นรุกรานในอุทยานแห่งชาติyah2527
 
อุตุนิยม
อุตุนิยมอุตุนิยม
อุตุนิยมnaeorganic
 
รายงาน
รายงานรายงาน
รายงานduckbellonly
 
การดื้อยาของแบคทีเรีย
การดื้อยาของแบคทีเรียการดื้อยาของแบคทีเรีย
การดื้อยาของแบคทีเรีย2077842018
 
เทคโนโลยีชีวภาพที่ใช้ในการขยายพันธุ์พืช
เทคโนโลยีชีวภาพที่ใช้ในการขยายพันธุ์พืชเทคโนโลยีชีวภาพที่ใช้ในการขยายพันธุ์พืช
เทคโนโลยีชีวภาพที่ใช้ในการขยายพันธุ์พืชdnavaroj
 
Postharvest Newsletter ปีที่ 11 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน 2555
Postharvest Newsletter ปีที่ 11 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน 2555Postharvest Newsletter ปีที่ 11 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน 2555
Postharvest Newsletter ปีที่ 11 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน 2555Postharvest Technology Innovation Center
 
โครงงานฉบับสมบูรณ์
โครงงานฉบับสมบูรณ์โครงงานฉบับสมบูรณ์
โครงงานฉบับสมบูรณ์0636830815
 
โครงงานฉบับสมบูรณ์
โครงงานฉบับสมบูรณ์โครงงานฉบับสมบูรณ์
โครงงานฉบับสมบูรณ์paifahnutya
 

What's hot (20)

การดื้อยาปฏิชีวนะ
การดื้อยาปฏิชีวนะ การดื้อยาปฏิชีวนะ
การดื้อยาปฏิชีวนะ
 
K 5
K 5K 5
K 5
 
ชนิดและการกระจายพันธุ์ของพืชต่างถิ่นรุกราน พิษณุโลก
ชนิดและการกระจายพันธุ์ของพืชต่างถิ่นรุกราน พิษณุโลกชนิดและการกระจายพันธุ์ของพืชต่างถิ่นรุกราน พิษณุโลก
ชนิดและการกระจายพันธุ์ของพืชต่างถิ่นรุกราน พิษณุโลก
 
Chemistry Project Slides
Chemistry Project SlidesChemistry Project Slides
Chemistry Project Slides
 
Chemistry Project Slides
Chemistry Project SlidesChemistry Project Slides
Chemistry Project Slides
 
โครงงานเปรียบเทียบการใช้ปุ๋ยน้ำ
โครงงานเปรียบเทียบการใช้ปุ๋ยน้ำโครงงานเปรียบเทียบการใช้ปุ๋ยน้ำ
โครงงานเปรียบเทียบการใช้ปุ๋ยน้ำ
 
กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิทยาศาสตร์ 58
กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิทยาศาสตร์  58กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิทยาศาสตร์  58
กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิทยาศาสตร์ 58
 
ภาพข้อสอบเทคโนโลยีชีวภาพ 15 มิย.
ภาพข้อสอบเทคโนโลยีชีวภาพ 15 มิย.ภาพข้อสอบเทคโนโลยีชีวภาพ 15 มิย.
ภาพข้อสอบเทคโนโลยีชีวภาพ 15 มิย.
 
Detailart
DetailartDetailart
Detailart
 
ชนิดและการกระจายพันธุ์ของพืชต่างถิ่นรุกรานในอุทยานแห่งชาติ
ชนิดและการกระจายพันธุ์ของพืชต่างถิ่นรุกรานในอุทยานแห่งชาติชนิดและการกระจายพันธุ์ของพืชต่างถิ่นรุกรานในอุทยานแห่งชาติ
ชนิดและการกระจายพันธุ์ของพืชต่างถิ่นรุกรานในอุทยานแห่งชาติ
 
อุตุนิยม
อุตุนิยมอุตุนิยม
อุตุนิยม
 
รายงาน
รายงานรายงาน
รายงาน
 
การดื้อยาของแบคทีเรีย
การดื้อยาของแบคทีเรียการดื้อยาของแบคทีเรีย
การดื้อยาของแบคทีเรีย
 
งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1
 
เทคโนโลยีชีวภาพที่ใช้ในการขยายพันธุ์พืช
เทคโนโลยีชีวภาพที่ใช้ในการขยายพันธุ์พืชเทคโนโลยีชีวภาพที่ใช้ในการขยายพันธุ์พืช
เทคโนโลยีชีวภาพที่ใช้ในการขยายพันธุ์พืช
 
Postharvest Newsletter ปีที่ 11 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน 2555
Postharvest Newsletter ปีที่ 11 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน 2555Postharvest Newsletter ปีที่ 11 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน 2555
Postharvest Newsletter ปีที่ 11 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน 2555
 
งานคอม
งานคอมงานคอม
งานคอม
 
โครงงานฉบับสมบูรณ์
โครงงานฉบับสมบูรณ์โครงงานฉบับสมบูรณ์
โครงงานฉบับสมบูรณ์
 
โครงงานฉบับสมบูรณ์
โครงงานฉบับสมบูรณ์โครงงานฉบับสมบูรณ์
โครงงานฉบับสมบูรณ์
 
M6 125 60_7
M6 125 60_7M6 125 60_7
M6 125 60_7
 

Viewers also liked

โครงงานใบย่านางผง
โครงงานใบย่านางผงโครงงานใบย่านางผง
โครงงานใบย่านางผงChok Ke
 
Rail Transportation Of Ethanol: Will There Be Enough Capacity?
Rail Transportation Of Ethanol: Will There Be Enough Capacity?Rail Transportation Of Ethanol: Will There Be Enough Capacity?
Rail Transportation Of Ethanol: Will There Be Enough Capacity?John Schmitter
 
Bodhi & liam.v
Bodhi & liam.vBodhi & liam.v
Bodhi & liam.vStPatricks
 
Sentinel report q4 2015
Sentinel report   q4 2015Sentinel report   q4 2015
Sentinel report q4 2015Globant
 
Prototyping ana luis
Prototyping ana luisPrototyping ana luis
Prototyping ana luisAna Luis
 
Bonnie i like book
Bonnie i like bookBonnie i like book
Bonnie i like bookbowenslide
 
Darcey me and my friends book
Darcey me and my friends bookDarcey me and my friends book
Darcey me and my friends bookbowenslide
 
Mole nikh
Mole nikhMole nikh
Mole nikhnirap61
 
15 kwaliteitsfactoren - Henk Jan Bijmolt (Cleafs)
15 kwaliteitsfactoren  -  Henk Jan Bijmolt (Cleafs)15 kwaliteitsfactoren  -  Henk Jan Bijmolt (Cleafs)
15 kwaliteitsfactoren - Henk Jan Bijmolt (Cleafs)Affiliate Dag
 
Luke Sanford " A Closer Look In How Luke Communication" 2010
Luke Sanford " A Closer Look In How Luke Communication" 2010 Luke Sanford " A Closer Look In How Luke Communication" 2010
Luke Sanford " A Closer Look In How Luke Communication" 2010 LukeFinlaySanford
 
Policy outlook march 2012 v3pdf w adp
Policy outlook march 2012 v3pdf w   adpPolicy outlook march 2012 v3pdf w   adp
Policy outlook march 2012 v3pdf w adpJenny Christopher
 
Luoghi naturali
Luoghi naturaliLuoghi naturali
Luoghi naturaliagnespina
 

Viewers also liked (20)

Rate3
Rate3Rate3
Rate3
 
โครงงานใบย่านางผง
โครงงานใบย่านางผงโครงงานใบย่านางผง
โครงงานใบย่านางผง
 
Rail Transportation Of Ethanol: Will There Be Enough Capacity?
Rail Transportation Of Ethanol: Will There Be Enough Capacity?Rail Transportation Of Ethanol: Will There Be Enough Capacity?
Rail Transportation Of Ethanol: Will There Be Enough Capacity?
 
Bodhi & liam.v
Bodhi & liam.vBodhi & liam.v
Bodhi & liam.v
 
Solution[1]
Solution[1]Solution[1]
Solution[1]
 
Sentinel report q4 2015
Sentinel report   q4 2015Sentinel report   q4 2015
Sentinel report q4 2015
 
Prototyping ana luis
Prototyping ana luisPrototyping ana luis
Prototyping ana luis
 
トラブル編
トラブル編トラブル編
トラブル編
 
강의자료8
강의자료8강의자료8
강의자료8
 
Bonnie i like book
Bonnie i like bookBonnie i like book
Bonnie i like book
 
Nueva zelanda
Nueva zelandaNueva zelanda
Nueva zelanda
 
Darcey me and my friends book
Darcey me and my friends bookDarcey me and my friends book
Darcey me and my friends book
 
Insp Butterfly
Insp ButterflyInsp Butterfly
Insp Butterfly
 
Mole nikh
Mole nikhMole nikh
Mole nikh
 
15 kwaliteitsfactoren - Henk Jan Bijmolt (Cleafs)
15 kwaliteitsfactoren  -  Henk Jan Bijmolt (Cleafs)15 kwaliteitsfactoren  -  Henk Jan Bijmolt (Cleafs)
15 kwaliteitsfactoren - Henk Jan Bijmolt (Cleafs)
 
B2B seo ian miller
B2B seo ian millerB2B seo ian miller
B2B seo ian miller
 
Dad 3
Dad 3Dad 3
Dad 3
 
Luke Sanford " A Closer Look In How Luke Communication" 2010
Luke Sanford " A Closer Look In How Luke Communication" 2010 Luke Sanford " A Closer Look In How Luke Communication" 2010
Luke Sanford " A Closer Look In How Luke Communication" 2010
 
Policy outlook march 2012 v3pdf w adp
Policy outlook march 2012 v3pdf w   adpPolicy outlook march 2012 v3pdf w   adp
Policy outlook march 2012 v3pdf w adp
 
Luoghi naturali
Luoghi naturaliLuoghi naturali
Luoghi naturali
 

Similar to 9789740328681

ใบความรู้+สารกำจัดแมลง สารกำจัดศัตรูพืช+ป.6+299+dltvscip6+55t2sci p06 f24-1page
ใบความรู้+สารกำจัดแมลง  สารกำจัดศัตรูพืช+ป.6+299+dltvscip6+55t2sci p06 f24-1pageใบความรู้+สารกำจัดแมลง  สารกำจัดศัตรูพืช+ป.6+299+dltvscip6+55t2sci p06 f24-1page
ใบความรู้+สารกำจัดแมลง สารกำจัดศัตรูพืช+ป.6+299+dltvscip6+55t2sci p06 f24-1pagePrachoom Rangkasikorn
 
ใบความรู้+สารกำจัดแมลง สารกำจัดศัตรูพืช+ป.6+299+dltvscip6+55t2sci p06 f24-4page
ใบความรู้+สารกำจัดแมลง  สารกำจัดศัตรูพืช+ป.6+299+dltvscip6+55t2sci p06 f24-4pageใบความรู้+สารกำจัดแมลง  สารกำจัดศัตรูพืช+ป.6+299+dltvscip6+55t2sci p06 f24-4page
ใบความรู้+สารกำจัดแมลง สารกำจัดศัตรูพืช+ป.6+299+dltvscip6+55t2sci p06 f24-4pagePrachoom Rangkasikorn
 
หน่วยที่ 5.3.2 การสุขาภิบาลอาหาร
หน่วยที่ 5.3.2 การสุขาภิบาลอาหารหน่วยที่ 5.3.2 การสุขาภิบาลอาหาร
หน่วยที่ 5.3.2 การสุขาภิบาลอาหารtumetr
 
Landscape maintenance and management2
Landscape maintenance and management2Landscape maintenance and management2
Landscape maintenance and management2Napalai Jaibaneum
 
8.ผลิตภัณฑ์
8.ผลิตภัณฑ์8.ผลิตภัณฑ์
8.ผลิตภัณฑ์Sathit Seethaphon
 
คู่มือนักขาย
คู่มือนักขายคู่มือนักขาย
คู่มือนักขายVirak Taratower
 
ตารางวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียเทคโนโลยีชีวภาพ
ตารางวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียเทคโนโลยีชีวภาพตารางวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียเทคโนโลยีชีวภาพ
ตารางวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียเทคโนโลยีชีวภาพKobwit Piriyawat
 
เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพเทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพweerabong
 
บทที่ 1ปรับปรุง
บทที่ 1ปรับปรุงบทที่ 1ปรับปรุง
บทที่ 1ปรับปรุงkasetpcc
 
Tobacco and galangal is pesticides
Tobacco and galangal is pesticidesTobacco and galangal is pesticides
Tobacco and galangal is pesticidesasirwa04
 
พยาธิวิทยาทททททททททททททททททททททททททททททททททททททททททท
พยาธิวิทยาททททททททททททททททททททททททททททททททททททททททททพยาธิวิทยาทททททททททททททททททททททททททททททททททททททททททท
พยาธิวิทยาททททททททททททททททททททททททททททททททททททททททททpakpoomounhalekjit
 
สรุปผลการประชุมวิชาการ : นโยบายและยุทธศาสตร์เรื่องพืชกระท่อม. และสารเสพติดที่...
สรุปผลการประชุมวิชาการ : นโยบายและยุทธศาสตร์เรื่องพืชกระท่อม. และสารเสพติดที่...สรุปผลการประชุมวิชาการ : นโยบายและยุทธศาสตร์เรื่องพืชกระท่อม. และสารเสพติดที่...
สรุปผลการประชุมวิชาการ : นโยบายและยุทธศาสตร์เรื่องพืชกระท่อม. และสารเสพติดที่...Utai Sukviwatsirikul
 
การดื้อยาของแบคทีเรีย
การดื้อยาของแบคทีเรียการดื้อยาของแบคทีเรีย
การดื้อยาของแบคทีเรีย2077842018
 

Similar to 9789740328681 (20)

Intro to sci
Intro to sciIntro to sci
Intro to sci
 
ใบความรู้+สารกำจัดแมลง สารกำจัดศัตรูพืช+ป.6+299+dltvscip6+55t2sci p06 f24-1page
ใบความรู้+สารกำจัดแมลง  สารกำจัดศัตรูพืช+ป.6+299+dltvscip6+55t2sci p06 f24-1pageใบความรู้+สารกำจัดแมลง  สารกำจัดศัตรูพืช+ป.6+299+dltvscip6+55t2sci p06 f24-1page
ใบความรู้+สารกำจัดแมลง สารกำจัดศัตรูพืช+ป.6+299+dltvscip6+55t2sci p06 f24-1page
 
ใบความรู้+สารกำจัดแมลง สารกำจัดศัตรูพืช+ป.6+299+dltvscip6+55t2sci p06 f24-4page
ใบความรู้+สารกำจัดแมลง  สารกำจัดศัตรูพืช+ป.6+299+dltvscip6+55t2sci p06 f24-4pageใบความรู้+สารกำจัดแมลง  สารกำจัดศัตรูพืช+ป.6+299+dltvscip6+55t2sci p06 f24-4page
ใบความรู้+สารกำจัดแมลง สารกำจัดศัตรูพืช+ป.6+299+dltvscip6+55t2sci p06 f24-4page
 
Plant Pest
Plant PestPlant Pest
Plant Pest
 
หน่วยที่ 5.3.2 การสุขาภิบาลอาหาร
หน่วยที่ 5.3.2 การสุขาภิบาลอาหารหน่วยที่ 5.3.2 การสุขาภิบาลอาหาร
หน่วยที่ 5.3.2 การสุขาภิบาลอาหาร
 
Landscape maintenance and management2
Landscape maintenance and management2Landscape maintenance and management2
Landscape maintenance and management2
 
Flora improvement
Flora improvementFlora improvement
Flora improvement
 
8.ผลิตภัณฑ์
8.ผลิตภัณฑ์8.ผลิตภัณฑ์
8.ผลิตภัณฑ์
 
คู่มือนักขาย
คู่มือนักขายคู่มือนักขาย
คู่มือนักขาย
 
โครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์โครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์
 
ตารางวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียเทคโนโลยีชีวภาพ
ตารางวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียเทคโนโลยีชีวภาพตารางวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียเทคโนโลยีชีวภาพ
ตารางวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียเทคโนโลยีชีวภาพ
 
เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพเทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ
 
บทที่ 1ปรับปรุง
บทที่ 1ปรับปรุงบทที่ 1ปรับปรุง
บทที่ 1ปรับปรุง
 
Tobacco and galangal is pesticides
Tobacco and galangal is pesticidesTobacco and galangal is pesticides
Tobacco and galangal is pesticides
 
พยาธิวิทยาทททททททททททททททททททททททททททททททททททททททททท
พยาธิวิทยาททททททททททททททททททททททททททททททททททททททททททพยาธิวิทยาทททททททททททททททททททททททททททททททททททททททททท
พยาธิวิทยาทททททททททททททททททททททททททททททททททททททททททท
 
สรุปผลการประชุมวิชาการ : นโยบายและยุทธศาสตร์เรื่องพืชกระท่อม. และสารเสพติดที่...
สรุปผลการประชุมวิชาการ : นโยบายและยุทธศาสตร์เรื่องพืชกระท่อม. และสารเสพติดที่...สรุปผลการประชุมวิชาการ : นโยบายและยุทธศาสตร์เรื่องพืชกระท่อม. และสารเสพติดที่...
สรุปผลการประชุมวิชาการ : นโยบายและยุทธศาสตร์เรื่องพืชกระท่อม. และสารเสพติดที่...
 
Gmo
GmoGmo
Gmo
 
Gmoต้นฉบับ
Gmoต้นฉบับGmoต้นฉบับ
Gmoต้นฉบับ
 
การดื้อยาของแบคทีเรีย
การดื้อยาของแบคทีเรียการดื้อยาของแบคทีเรีย
การดื้อยาของแบคทีเรีย
 
Gap
GapGap
Gap
 

More from Chirawat Wangka (7)

9789740328766
97897403287669789740328766
9789740328766
 
9789740328735
97897403287359789740328735
9789740328735
 
9789740328698
97897403286989789740328698
9789740328698
 
9789740328698
97897403286989789740328698
9789740328698
 
9789740328667
97897403286679789740328667
9789740328667
 
9789740328018
97897403280189789740328018
9789740328018
 
9789740328049
97897403280499789740328049
9789740328049
 

9789740328681

  • 1. บทที่ 1 แนะนำเกี่ยวกับสารป้องกันกำจัดวัชพืช (Introduction to Herbicides) _11-08(001-040)P3.indd 1 8/9/11 5:42:06 PM
  • 2. สารป้องกันกำจัดวัชพืช : หลักการและกลไกการทำลายพืช 1.1 สารป้องกันกำจัดวัชพืช (Herbicide) สารป้องกันกำจัดวัชพืช หรือที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า “herbicide” นั้น โดยทั่วไปอาจ จะเรียกเป็นภาษาไทยที่แตกต่างกันไป เช่น ยาฆ่าหญ้า ยาปราบหญ้า ยากำจัดวัชพืช สารเคมี กำจัดวัชพืช หรือสารกำจัดวัชพืช ซึ่งทั้งหมดนี้การใช้คำว่า “สารป้องกันกำจัดวัชพืช” เป็นชื่อ เรียกที่เหมาะสมที่สุด เพราะเป็นได้ทั้งคุมไม่ให้วัชพืชงอกและฆ่าวัชพืชที่งอกขึ้นมาแล้ว สารป้องกันกำจัดวัชพืช หมายถึง สารเคมีชนิดใด ๆ ก็ตามที่นำมาใช้เพื่อฆ่าทำลายหรือ ยับยั้งการเจริญเติบโตของวัชพืช ไม่ว่าจะเป็นในขณะที่วัชพืชงอกขึ้นมาแล้วหรือยังเป็นเมล็ดอยู่ ตลอดจนชิ้นส่วนต่าง ๆ ของวัชพืชที่ขยายพันธุ์ได้ที่อยู่บนดินหรืออยู่ในดิน สถานการณ์การทำการเกษตรของประเทศไทยในปัจจุบันนี้ การควบคุมวัชพืชโดยการใช้ สารป้องกันกำจัดวัชพืช นับว่าเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่มีประสิทธิภาพสูงในการกำจัดวัชพืช ซึ่งมี บทบาทสำคัญอย่างยิ่งในทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้เนื่องจากการปรับปรุงใน การเขตกรรม วิธีการปลูก การขยายพื้นที่เพาะปลูก ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงจากสังคมภาค เกษตรไปเป็นสังคมภาคกึ่งอุตสาหกรรม ทำให้แรงงานในภาคเกษตรขาดแคลน ไม่สามารถทำงาน ได้ทันเวลากับการเจริญเติบโตของพืชปลูก นอกจากนี้ค่าแรงที่สูงขึ้นทำให้ต้นทุนการผลิตยิ่งสูง ขึ้นไปอีก ปัจจุบันมีการจำหน่ายสารป้องกันกำจัดวัชพืชทั้งตลาดต่างประเทศและภายในประเทศ ไทย (รูปที่ 1.1 และตารางที่ 1.1 และ 1.2) สำหรับในประเทศไทยสารป้องกันกำจัดวัชพืช มีการใช้มากกว่าสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชชนิดอื่น ๆ เช่น สารป้องกันกำจัดแมลง ไร และสัตว์ ศัตรูพืช สารป้องกันกำจัดโรคพืช ตลอดจนสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช เหตุผลอีก อันหนึ่ง คือ ทุกครั้งที่ปลูกพืชจะมีวัชพืชขึ้นอยู่เสมอ ยกเว้นการปลูกพืชในสารละลายธาตุอาหาร (hydroponic) การป้องกันกำจัดวัชพืชโดยการใช้สารเคมีนั้น เป็นวิธีที่กำลังได้รับความนิยมและ ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ทั้งนี้นอกจากจะสามารถใช้ได้อย่างสะดวกรวดเร็วแล้ว ในหลาย กรณียังใช้ต้นทุนที่ต่ำกว่าวิธีอื่น โดยเฉพาะในสภาพที่แรงงานหายากและราคาค่าแรงแพง การใช้ สารป้องกันกำจัดวัชพืชให้ได้ประสิทธิผลนั้น ผู้ใช้จะต้องมีความรู้ที่ดีพอ ทั้งนี้เนื่องจากสารป้องกัน กำจั ด วั ช พื ช นั้ น เปรี ย บเสมื อ นดาบสองคม ซึ่ ง จะต้ อ งใช้ ใ ห้ ถู ก ต้ อ งและด้ ว ยความระมั ด ระวั ง มิฉะนั้นแล้วสารป้องกันกำจัดวัชพืชที่ใช้อาจจะเป็นอันตรายต่อพืชปลูก พืชชนิดอื่น มนุษย์ และ สัตว์ตาง ๆ ตลอดจนสิงแวดล้อมได้เช่นกัน ่ ่ _11-08(001-040)P3.indd 2 8/9/11 5:42:06 PM
  • 3. แนะนำเกี่ยวกับสารป้องกันกำจัดวัชพืช สารปองกันกำจัดศัตรูพืชอ�น ๆ 6% สารปองกันกำจัดศัตรูพืชอ�น ๆ 4% 1 สารปองกันกำจัดโรคพืช สารปองกันกำจัดโรคพืช 8% 7% สารปองกันกำจัดแมลง สารปองกันกำจัดแมลง 28% 17% สารปองกันกำจัดวัชพืช (A) สารปองกันกำจัดวัชพืช (B) 58% 72% รูปที่ 1.1 ปริมาณการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชชนิดต่าง ๆ (A) ในประเทศสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2544 (ที่มา : U.S. Environmental Protection Agency, 2001) และ (B) ในประเทศไทย พ.ศ. 2553 (ที่มา : ฝ่ายวัตถุมีพิษ สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร, 2553) ปริ ม าณการใช้ ส ารป้ อ งกั น กำจั ด ศั ต รู พื ช ทางการเกษตรของประเทศไทยทั้ ง หมดนั้ น สารป้องกันกำจัดวัชพืชเป็นกลุ่มที่มีทั้งปริมาณและมูลค่าการนำเข้ามากที่สุด โดยใน พ.ศ. 2540 มีปริมาณ 22,459 ตันของสารออกฤทธิ์ คิดเป็นมูลค่า 2,472 ล้านบาท และในปีต่อ ๆ มาปริมาณ และมูลค่าการนำเข้าก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ (ตารางที่ 1.1) ต่อมาใน พ.ศ. 2552 มีปริมาณ 85,821 ตัน ของสารออกฤทธิ์ คิดเป็นมูลค่า 93,384 ล้านบาท (ตารางที่ 1.2) ทั้งนี้เพราะแรงงานในภาค เกษตรกรรมขาดแคลน เกษตรกรจึงนิยมเปลี่ยนมาใช้สารป้องกันกำจัดวัชพืชแทนกันมากขึ้น จากการรายงานปริมาณและมูลค่าของสารป้องกันกำจัดวัชพืชที่มีการนำเข้ามาก 5 อันดับ แรกของประเทศไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2538 ได้แก่ glyphosate, 2,4-D, atrazine, ametryn และ paraquat ซึ่งมีปริมาณการนำเข้า 3,607, 2,637, 1,536, 1,132 และ 244 ตันสารออกฤทธิ์ (ตารางที่ 1.3) ต่อมาในปี พ.ศ. 2541 และ 2545 สารป้องกันกำจัดวัชพืชที่มีการนำเข้ามากเป็น 5 อันดับแรกก็ยังเป็นกลุ่มเดิมเพียงแต่มีปริมาณและมูลค่าการนำเข้าเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วงระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมาได้มีการนำเข้าของสารป้องกันกำจัดวัชพืชสูงที่สุดถึง ร้อยละ 9.1 ส่วนการนำเข้าของสารป้องกันกำจัดโรคพืช และสารป้องกันกำจัดแมลงเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.9 และ 1.0 ต่อปี ตามลำดับ ซึ่งคาดว่าแนวโน้มของการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช _11-08(001-040)P3.indd 3 8/9/11 5:42:06 PM
  • 4. สารป้องกันกำจัดวัชพืช : หลักการและกลไกการทำลายพืช ทางการเกษตรในประเทศไทยและทั่วโลก จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอัตราร้อยละ 3-5 ต่อปี โดยที่ในแถบอเมริกาเหนือมีการใช้สูงที่สุดถึงร้อยละ 27 ประเทศในแถบภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีการใช้ร้อยละ 24 ประเทศในแถบอเมริกากลางและใต้มีการใช้ร้อยละ 19 ประเทศในแถบ ภูมิภาคยุโรปตะวันตกมีการใช้ร้อยละ 17 และประเทศในแถบภูมิภาคอื่น ๆ มีการใช้ร้อยละ 13 ตามลำดับ ปัจจุบันนี้ในประเทศไทยได้มีผู้แทนจากภาคเอกชน (business and trade sector) ที่ ประกอบธุรกิจทางด้านสารเคมีเกษตร โดยมี 2 สมาคมหลัก ได้แก่ สมาคมอารักขาพืชไทย (Thai Crop Protection Association) และสมาคมคนไทย-ผู้ประกอบธุรกิจสารเคมีเกษตร (Thai Agri-Business Association) ซึ่งทำหน้าที่ประสานงานระหว่างหน่วยงานจากภาครัฐบาลและ ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบธุรกิจทางด้านสารเคมีเกษตร ซึ่งในประเทศไทยได้มีบริษัท เอกชนต่าง ๆ ที่ประกอบธุรกิจสารเคมีเกษตรที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้า การส่งออก การผลิต และการกระจายผลิ ต ภั ณ ฑ์ ข องสารเคมี เ กษตร ซึ่ ง ส่ ว นใหญ่ จ ะเป็ น ธุ ร กิ จ สารเคมี เ กษตรที่ มี การนำเข้ามาจำหน่ายจากต่างประเทศ วิธีการควบคุมวัชพืชโดยการใช้สารป้องกันกำจัดวัชพืช มักจะเป็นวิธีการเริ่มต้นแรก ๆ ที่เกษตรกรเลือกนำมาใช้ในการควบคุมวัชพืช ด้วยเหตุผลที่ว่าเป็นวิธีการที่ช่วยในการกำจัดวัชพืช ได้ง่าย สะดวก และรวดเร็วกว่าการใช้วิธีการอื่น ๆ แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า จะเป็นวิธี ที่เหมาะสมที่สุด การใช้สารป้องกันกำจัดวัชพืชที่ไม่ถูกต้องอาจจะส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม และผู้ใช้ได้ ดังนั้น จึงควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับสารป้องกันกำจัดวัชพืชและวิธีการใช้ให้ถูกต้อง เหมาะสม ความเป็นพิษของสาร และข้อควรปฏิบัติในการใช้สาร ตามคำแนะนำของผู้ผลิตหรือ ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอัตราแนะนำการใช้สารป้องกันกำจัดวัชพืชที่ใช้ในพืชปลูกแต่ละชนิด เป็นอัตราที่ได้ผ่านการทดสอบมาแล้ว ผู้ใช้จึงควรใช้ให้ถูกต้องตามอัตราความเข้มข้นที่แนะนำ เพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนพืชปลูก และเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาสารพิษตกค้าง รวมทั้งอันตรายที่จะ เกิดต่อสภาพแวดล้อมหรือมนุษย์ นอกจากนี้ อาจมีส่วนในการพัฒนาความต้านทานสารของ วัชพืชก็ได้ _11-08(001-040)P3.indd 4 8/9/11 5:42:07 PM
  • 5. _11-08(001-040)P4.indd 5 ตารางที่ 1.1 ปริมาณและมูลค่าสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชประเภทต่าง ๆ ที่นำเข้าประเทศไทยในช่วงปี 2540-2544 (ที่มา : ฝ่าย วัตถุมีพิษ สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร, 2545) ชนิดสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ปี 2540 ปี 2541 ปี 2542 ปี 2543 ปี 2544 (Type of Pesticide) ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า สารป้องกันกำจัดแมลง 12,543 1,645 12,823 2,044 19,525 6,589 12,533 2,001 16,674 2,553 (Insecticide) สารป้องกันกำจัดเชื้อรา 5,820 626 3,683 579 7,204 914 7,393 1,119 7,825 1,265 (Fungicide) สารป้องกันกำจัดวัชพืช (Herbicide) 22,459 2,472 15,108 2,216 27,639 3,260 29,715 3,841 32,423 4,502 สารป้องกันกำจัดไร (Acaricide) 237 42 235 47 157 33 275 72 296 83 สารกำจัดหนู (Rodenticide) 191 16 224 24 216 20 142 14 199 22 สารรมควันพิษ (Fumigant) 219 30 190 35 285 40 570 63 784 103 สารควบคุมการเจริญเติบโตพืช 538 96 587 88 876 132 1,162 115 1,460 170 (Plant growth regulator) สารป้องกันกำจัดหอยทาก 72 20 46 45 150 25 227 33 156 13 (Mollussicide) รวม (Total) 42,079 4,947 32,896 5,078 56,052 11,013 52,017 7,258 59,817 8,711 ปริมาณ : ตันสารออกฤทธิ์ และ มูลค่า : ล้านบาท แนะนำเกี่ยวกับสารป้องกันกำจัดวัชพืช 1 8/16/11 6:35:41 PM
  • 6. ตารางที่ 1.2 ปริมาณและมูลค่าสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชประเภทต่าง ๆ ที่นำเข้าประเทศไทย ในช่วงปี 2545-2552 (ที่มา : ฝ่าย _11-08(001-040)P3.indd 6 วัตถุมีพิษ สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร, 2553) สารป้องกันกำจัดแมลง สารป้องกันกำจัดเชื้อรา สารป้องกันกำจัดวัชพืช สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช รวม ปี (Insecticide) (Fungicide) (Herbicide) อื่น ๆ ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า 2545 9,046 2,931 5,681 1,444 22,670 43,492 237 392 39,634 9,116 2546 9,790 3,136 6,732 1,678 31,879 61,011 930 426 50,331 11,341 2547 16,731 2,835 10,108 1,719 55,649 60,804 417 502 86,905 11,135 2548 18,529 3,322 9,052 1,716 48,841 58,063 744 516 80,166 11,360 2549 20,487 3,856 9,383 1,722 62,129 68,213 764 499 95,763 12,899 2550 21,590 3,746 10,626 1,833 79,239 89,144 869 533 116,323 15,026 2551 25,332 4,577 11,255 2,537 68,825 11,487 4,497 580 109,908 19,182 2552 19,709 3,972 8,485 2,968 85,821 93,384 137 537 118,152 16,816 ปริมาณ : ตันสารออกฤทธิ์ และ มูลค่า : ล้านบาท หลักการและกลไกการทำลายพืช สารป้องกันกำจัดวัชพืช : 8/9/11 5:42:08 PM
  • 7. แนะนำเกี่ยวกับสารป้องกันกำจัดวัชพืช ตารางที่ 1.3 ปริมาณและมูลค่าสารป้องกันกำจัดวัชพืชที่นำเข้ามาก 5 อันดับแรกของประเทศ 1 ไทย ในปี 2538, 2541 และ 2545 (ที่มา : กองควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร, 2546) ปี/ลำดับที่ ชื่อสามัญ ปริมาณสารออกฤทธิ์ (ตัน) มูลค่า (ล้านบาท) ปี 2538 1 glyphosate 3,607 645 2 2,4-D 2,637 170 3 atrazine 1,536 181 4 ametryn 1,132 208 5 paraquat 244 71 ปี 2541 1 glyphosate 2,494 514 2 2,4-D 1,581 180 3 atrazine 602 117 4 paraquat 311 138 5 ametryn 302 102 ปี 2545 1 glyphosate 10,133 1,051 2 2,4-D 3,003 947 3 atrazine 2,629 258 4 paraquat 1,426 249 5 ametryn 1,342 384 การใช้สารป้องกันกำจัดวัชพืชให้ปลอดภัย 1. ควรเลือกใช้สารป้องกันกำจัดวัชพืชให้ถูกต้องตรงตามชนิดของวัชพืชและพืชปลูก (พืช ปลูกบางชนิด อาจมีเรื่องพันธุ์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย) 2. การใช้สารป้องกันกำจัดวัชพืช ผู้ใช้ต้องมีความเข้าใจวิธีการใช้ การคิดคำนวณปริมาณ สาร (การใช้สารจะต้องคิดคำนวณปริมาณสารให้แน่นอนพอดี ไม่มาก และไม่น้อยเกินไป) รู้จัก _11-08(001-040)P3.indd 7 8/9/11 5:42:09 PM
  • 8. 8 สารป้องกันกำจัดวัชพืช : หลักการและกลไกการทำลายพืช คุณสมบัติของสารป้องกันกำจัดวัชพืชแต่ละชนิดอย่างถูกต้อง จึงจะมีประสิทธิภาพสูงในการกำจัด วัชพืชและได้ประโยชน์อย่างแท้จริง 3. ใช้สารป้องกันกำจัดวัชพืชให้ถูกต้องตามคำแนะนำข้างผลิตภัณฑ์ ควรอ่านฉลากอย่าง ละเอียด และปฏิบัติตามคำแนะนำในฉลากอย่างเคร่งครัด รวมทั้งมีความระมัดระวังในขณะ ที่ทำการใช้สาร 4. ใช้สารป้องกันกำจัดวัชพืชชนิดก่อนและหลังงอกในเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้มีประสิทธิ- ภาพในการควบคุมวัชพืชได้ผลดี และช่วยลดปัญหาการตกค้างในผลผลิตของพืชปลูก 5. เลือกใช้สารป้องกันกำจัดวัชพืชที่แนะนำ โดยการเลือกใช้สลับกันเพื่อช่วยลดปัญหาการ เกิ ด วั ช พื ช ต้ า นทานสาร และช่ ว ยลดปั ญ หาการตกค้ า งของสารในสิ่ ง แวดล้ อ ม การปลู ก พื ช หมุนเวียนเป็นอีกแบบหนึ่งของการใช้สารป้องกันกำจัดวัชพืชไม่ซ้ำกัน 6. กำจัดภาชนะบรรจุสารเคมีให้ถูกต้อง 7. การล้างถังฉีดพ่น ควรสังเกตให้ดีว่าน้ำที่ล้างถังฉีดพ่นไหลลงไปถูกกับพืชปลูกหรือไม่ 8. ช่วงเวลาการฉีดพ่นสารควรจะเป็นในช่วงเช้าหรือเย็น เพราะในช่วงกลางวันจะมีลมพัด แรง ไม่ควรฉีดพ่นสารในขณะที่มีลมพัดแรง 1.2 การนำมาใช้และพัฒนาโดยลำดับของสารป้องกันกำจัดวัชพืช (Herbicide Development) การใช้สารป้องกันกำจัดวัชพืชได้เริ่มมีการพัฒนานำมาใช้เป็นครั้งแรกในราว ค.ศ. 1840 ซึ่งได้มีการนำเอาปูนขาว (lime) มาใช้ในการกำจัดวัชพืชบางชนิด ต่อมาใน ค.ศ. 1854 ได้ มีการนำเอาเกลือแกง (sodium chloride) มาใช้ในการกำจัดวัชพืช หลังจากนั้นใน ค.ศ. 1895 ได้มีการนำเอาจุนสี (copper sulfate) มาทดลองใช้เป็นสารป้องกันกำจัดวัชพืชในพืชปลูก ข้าวสาลี ในราว ค.ศ. 1902 ได้มีการนำเอาสารโซเดียมอาร์เซไนต์ (sodium arsenite) มาใช้ใน การควบคุมผักตบชวา อย่างไรก็ตาม ได้มีรายงานเกี่ยวกับความสำเร็จในการศึกษาวิจัยและ การพัฒนางานทางด้านสารป้องกันกำจัดวัชพืชของนักวิจัยที่ผ่าน ๆ มาเป็นลำดับ (Copping, 1995) ดังต่อไปนี้ _11-08(001-040)P3.indd 8 8/9/11 5:42:09 PM
  • 9. แนะนำเกี่ยวกับสารป้องกันกำจัดวัชพืช ค.ศ. 1897-1900 - นักวิทยาศาสตร์ 3 ท่าน คือ Bonnet (ชาวฝรั่งเศส) Schultz (ชาว 1 เยอรมัน) และ Bolley (ชาวอเมริกัน) ต่างได้ทำการวิจัยกันคนละ แห่งและพบว่าสารละลายของทองแดง (copper) และเกลือ (salts) สามารถนำไปใช้ในการเลือกทำลายวัชพืชใบกว้าง (broadleaf weeds) ในพวกธัญพืช ค.ศ. 1908 - Bolley (ชาวอเมริกัน) ได้รายงานเกี่ยวกับความสำเร็จในการใช้ เกลื อ แกง (common table salt) เกลื อ เหล็ ก ซั ล เฟต (iron sulfate salt) และเกลือโซเดียมอาร์เซไนต์ (sodium arsenite) ควบคุมวัชพืช wild mustard ในข้าวสาลี ค.ศ. 1930 - ได้มีการนำสารประกอบที่เป็นสารอนินทรีย์ (inorganic com- pounds) เช่น copper nitrate, copper sulfate และ sulfuric acid มาใช้ ท ดสอบเป็ น สารป้ อ งกั น กำจั ด วั ช พื ช ประเภทเลื อ ก ทำลายในพวกธัญพืช ค.ศ. 1940 - ได้เริ่มมีการนำสารประกอบที่เป็นสารอินทรีย์ (organic com- pounds) มาใช้ทดสอบเป็นสารป้องกันกำจัดวัชพืช ค.ศ. 1941 - Pokorny (ชาวอเมริกัน) รายงานเกี่ยวกับเทคนิคการสังเคราะห์ 2,4-D ซึ่ ง ต่ อ มาได้ แ นะนำให้ นั ก วิ จั ย คนอื่ น ๆ นำไปทดสอบใน ลักษณะสารป้องกันกำจัดเชื้อรา (fungicide) และสารป้องกัน กำจัดแมลง (insecticide) ซึ่งไม่ประสบผลสำเร็จแต่อย่างใด ค.ศ. 1942 - Zimmerman และ Hitchcock (ชาวอเมริกน) ได้รายงานว่า 2,4-D ั มีคุณสมบัติเป็นสารเร่งการเจริญเติบโต (growth substance) ค.ศ. 1944 - Marth และ Mitchell (ชาวอเมริ กั น ) ได้ ท ดสอบ 2,4-D ใน ลักษณะเป็นสารเลือกทำลาย พบว่าสามารถควบคุมวัชพืชพวก ใบกว้างในสนามหญ้าได้ดี - Hamner และ Turkey (ชาวอเมริกัน) ประสบผลสำเร็จในการใช้ 2,4-D ควบคุมวัชพืชในแปลงปลูกข้าวสาลี _11-08(001-040)P3.indd 9 8/9/11 5:42:10 PM
  • 10. 10 สารป้องกันกำจัดวัชพืช : หลักการและกลไกการทำลายพืช ค.ศ. 1945 - Templeman (ชาวอังกฤษ) ได้วิจัยพบวิธีการควบคุมเมล็ดวัชพืช ในดิน (ไม่ให้งอก) โดยวิธีการเลือกทำลายได้เป็นผลสำเร็จ ซึ่งนับ ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการควบคุมวัชพืชยุคใหม่ (Modern Selective Herbicide Era) ในช่ ว งที่ ผ่ า นมา ประเทศสหรั ฐ อเมริ ก าได้ มี ก ารขึ้ น ทะเบี ย นและจดสิ ท ธิ บั ต รของสาร ป้ อ งกั น กำจั ด วั ช พื ช ชนิ ด ต่ า ง ๆ มาเป็ น ลำดั บ ตามที่ ไ ด้ แ สดงไว้ ใ นตารางที่ 1.4 ซึ่ ง จะเห็ น ได้ว่าในการใช้สารป้องกันกำจัดวัชพืชในช่วงแรก ๆ นั้น ส่วนใหญ่จะเป็นการนำสารประกอบ ที่เป็นสารอนินทรีย์ (inorganic compounds) มาใช้ โดยที่คุณสมบัติทั่วไป ๆ ของสารดังกล่าวนี้ จะมีข้อจำกัดอยู่มาก กล่าวคือ จะต้องใช้สารในอัตราที่ค่อนข้างสูง และจัดเป็นสารที่ค่อนข้าง จะเป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์เลี้ยงได้ ใน ค.ศ. 1940 เป็นต้นมา ได้เริ่มมีการพัฒนานำเอา สารเคมีที่เป็นสารอินทรีย์ (organic compounds) มาใช้เป็นสารป้องกันกำจัดวัชพืช ต่อมาใน ค.ศ. 1942 ได้มีการค้นพบสาร 2,4-D เพื่อนำไปใช้ควบคุมวัชพืชพวกใบกว้างในพืชปลูกชนิด ต่าง ๆ ซึ่งนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการควบคุมวัชพืชยุคใหม่มาตั้งแต่ ค.ศ. 1945 โดยเริ่ม จากกลุ่มสารที่มีคุณสมบัติคล้ายฮอร์โมนพืช ต่อมาได้มีการวิจัยและพัฒนาสารป้องกันกำจัด วัชพืชในกลุ่มต่าง ๆ มากขึ้นเรื่อยมา เช่น สารที่ยับยั้งการแบ่งเซลล์บริเวณเนื้อเยื่อเจริญของพืช สารที่ยับยั้งกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง สารสัมผัสทำลายเยื่อหุ้มเซลล์ สารที่ยับยั้งการ สังเคราะห์แคโรทีนอยด์ สารที่ยับยั้งการสังเคราะห์กรดอะมิโน และสารที่ยับยั้งการสังเคราะห์ กรดไขมัน เป็นต้น _11-08(001-040)P3.indd 10 8/9/11 5:42:10 PM