SlideShare a Scribd company logo
1 of 18
บทที ่ 4 สื ่ อ การเรี ย นรู ้   43




  สื ่ อ การเรี ย นรู ้


สื ่ อ การเรี ย นรู ้               บทที ่
บทที ่ 4 สื ่ อ การเรี ย นรู ้   43




                                                        4
โครงร่ า งเนื ้ อ หาของบท                     คำ า สำ า คั ญ
   1. ความหมายของสือการสอนและสือการ
                     ่            ่         • สื่อการสอน
      เรียนรู้
   2. ประเภทของสือการเรียนรู้
                  ่                         • สื่อการเรียนรู้
   3. หลักการเลือกและใช้สอการเรียนรู้
                         ื่
                                            • เครื่องมือทาง
                                              ปัญญา
วั ต ถุ ป ระสงค์ ก ารเรี ย นรู ้            • แหล่งเรียนรู้
    1. อธิบายความคิดรวบยอดของสือการ    ่    • สิ่งแวดล้อม
        สอนและสือการเรียนรูได้
                  ่        ้                  ทางการเรียน
                                              รู้
    2. วิเคราะห์ประเภทและสามารถเลือกและ • คุณลักษณะ
        ใช้สอการเรียนรูได้
            ื่         ้                      ของผู้เรียน
    3. ออกแบบสื่อการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียน
        เป็นสำาคัญได้                       • Assure Mode l
กิ จ กรรมการเรี ย นรู ้
    1. ผู้สอนให้มโนทัศน์เชิงทฤษฎี หลักการ
      เรื่อง สื่อการเรียนรู้
   2. นักศึกษาแบ่งเป็นกลุ่มย่อย กลุ่มละ 3
      คน ศึกษาจากสิ่งแวดล้อมทางการ
      เรียนรู้บนเครือข่าย
      http://ednet.kku.ac.th/~sumcha/web
      -230301/ โดยศึกษาสถานการณ์
      ปัญหาบทที่ 4 วิเคราะห์ทำาความเข้าใจ
      ค้นหาคำาตอบจากเอกสารประกอบการ
      สอนและแหล่งเรียนรู้บนเครือข่ายและ
      ร่วมกันสรุปคำาตอบ และนำาเสนอในรูป
      แบบ Power point
   3. นักศึกษาร่วมกันสะท้อนผลงานและ
      สรุปองค์ความรู้ โดยแต่ละกลุ่มต้อง
      สลับทำาหน้าที่กันสะท้อนผลได้แก่ ถาม
      คำาถาม ควบคุม ชมเชย ข้อควร
      ปรับปรุง และประเมิน ) ผู้สอนขยาย
      กรอบความคิดของผู้เรียนโดยการตั้ง
      ประเด็นถึงการนำาไปใช้ในสภาพบริบท
      จริง



สถานการณ์ ป ั ญ หา(Problem-based learning)
      สมมติว่าในขณะนี้คุณเป็นนักศึกษาฝึกสอนโดยทำาการ
บทที ่ 4 สื ่ อ การเรี ย นรู ้   43


สอนที่โรงเรียนสาระวิทยา หลังจากที่คุณสอนมาได้ระยะหนึ่งแล้ว
คุณก็สังเกตเห็นว่านักเรียนมีลักษณะต่างๆ ดังนี้
       ด.ญ.ปนั ด ดา เป็นคนขยัน ชอบอ่านหนังสือมาก เธอบอก
ว่าชอบทำาความเข้าใจเนื้อหาจากการอ่านหนังสือ หรือเอกสาร
มากกว่า ฟังครูอธิบาย
       ด.ช.เรี ย งชั ย เป็นคนที่ชอบเรียนรู้สิ่งแปลกใหม่ ชอบ
ค้นคว้า ชอบสิ่งที่ตื่นตาตื่นใจและท้าทายความสามารถ เพราะยิ่ง
ท้าทายและตื่นตามากเท่าไหร่ ยิ่งจดจ่อกับสิ่งนั้นมากและทำาให้
เกิดการเรียนรู้สิ่งเหล่านั้นได้ดี
       ด.ช. มรกต เป็นคนที่ขาดจินตนาการ ถ้าไม่ได้เรียนจาก
การมองเห็นภาพหรือของจริง เวลาครูสอนในชั้นนึกภาพตาม
ไม่ทัน ส่งผลทำาให้เขาเรียนรู้ได้ช้าและไม่ทันเพื่อน
       ด.ญ. สะรี ร ั ต น์ เป็นคนที่ไม่ชอบศึกษาจากหนังสือที่เป็น
ข้อความหรือตัวอักษร เพราะในเวลาเรียนเขาจะตั้งใจฟังครู
อธิบายเนื้อหา ทำาความเข้าใจและพยายามจับประเด็นที่สำาคัญให้
ได้ในขณะที่เรียน เช่น กระบวนการในการแก้โจทย์ เขาจะต้อง
เข้าใจตอนนั้น โดยไม่ต้องกลับไปอ่านหนังสืออีก เป็นต้น
ภารกิ จ
       1. นักศึกษาจะนำาความรู้เรื่องสื่อการสอน ไปใช้ในการ
จัดการเรียนรู้อย่างไรเพื่อสนับสนุนวิธีการเรียนรู้และพัฒนา
ศักยภาพของนักเรียนแต่ละคนให้มีประสิทธิภาพโดยสื่อที่นำามา
ใช้นั้นต้องสนองตอบต่อการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็น
ศูนย์กลาง โดยให้นักเรียนเป็นผู้สร้างความรู้เองด้วย
       2. ในปัจจุบันนี้จะพบคำาว่า "สื่อการสอน" กับคำาว่า "สื่อ
การเรียนรู้" ในฐานะที่นักศึกษาจะก้าวออกไปเป็นครูยุคใหม่ที่มี
คุณภาพ ให้อธิบายว่า สองคำานี้ เหมือนหรือมีความแตกต่างกัน
อย่างไร
       3. ออกแบบสื่อการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้
ของท่าน




   ความหมาย
   ของสื ่ อ การ                           ประเภทของสื ่ อ
   สอนและสื ่ อ                              การเรี ย นรู ้

                        สื ่ อ การ
                        เรี ย นรู ้
บทที ่ 4 สื ่ อ การเรี ย นรู ้   43




                     หลั ก การเลื อ กและ
                     ใช้ ส ื ่ อ การเรี ย นรู ้

        เมื่อกระบวนทัศน์ (Parad igm ) เกี่ยวกับการสอนเปลี่ยนมา
เป็นการเรียนรู้มาสู่การเน้น ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ดังนั้น
เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา ตลอดจนสื่อ จำาเป็นต้องปรับ
กระบวนทัศน์เพื่อให้สอดคล้องกับ ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
จากเดิมที่เป็นสื่อการสอนมาเป็นสื่อการเรียนรู้ และนวัตกรรมเพื่อ
การเรียนรู้ เพื่อที่จะนำามาใช้ในการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการ
จัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางที่ไม่ได้มุ่งเพียง เพื่อให้ผู้
เรียนสามารถจดจำาสิ่งที่เรียนรู้ได้เท่านั้น แต่ยังมุ่งพัฒนา
คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสังคมไทย ได้แก่ ความสามารถคิด
แบบองค์รวม เรียนรู้ร่วมกันและทำางานเป็นทีม ตลอดจนความ
สามารถในการแสวงหาความรู้ และสร้างความรู้ด้วยตนเอง เพื่อ
ทำาให้เป็นสังคมที่มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต เพื่อที่
สามารถแข่งขัน และร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ในสังคมและโลกต่อ
ไป
        ดังนั้นสื่อการเรียนรู้จึงรวมหมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวผู้
เรียนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เช่น วัสดุ อุปกรณ์ วิธีการ
ตลอดจน คน สัตว์ สิ่งของ ธรรมชาติ รวมถึงเหตุการณ์ หรือ แนว
ความคิด อาจอยู่ในลักษณะที่ถ่ายทอด ความรู้ ความเข้าใจ ความ
รู้สึก เพิ่มพูนทักษะและประสบการณ์ หรือเป็นเครื่องมือที่กระตุ้น
ให้เกิดศักยภาพทางความคิด (Cognitive tools) ตลอดจนสิ่งที่
กระตุ้นให้เป็นผู้แสวงหาความรู้และมีทักษะในการสร้างความรู้
ด้วยตนเอง เพื่อมุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้ด้วยตนเอง
ความหมายของสื ่ อ การสอนและสื ่ อ การเรี ย นรู ้

ความหมายของสื ่ อ การสอน
       ได้มีนักวิชาการ และนักเทคโนโลยีการศึกษา ทั้งใน
ประเทศและต่างประเทศได้ให้ความหมายของ “สื่อการสอน” ไว้
หลายท่าน พอสรุปได้ ดังนี้
              บราวน์ และคนอื่น ๆ (Brown and other, 1985) ให้
ความหมายของสื่อการสอนว่า เป็นอุปกรณ์ทั้งหลาย รวมทั้ง
กิจกรรมต่าง ๆ ไม่เฉพาะที่เป็นวัสดุหรือเครื่องมือเท่านั้น เพื่อใช้
ในการนำาเสนอข้อความรู้จากครูให้แก่ผู้เรียน จนเกิดผลการ
เรียนที่ดี
              เกอร์ลัช และอีลี (Gerlach and Ely, 1980) ได้ให้คำา
จำากัดความของสื่อการสอนไว้ว่า สื่อการสอน คือ บุคคล วัสดุหรือ
เหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งทำาให้นักเรียนได้รับความรู้ ทักษะ ทัศนคติ
ครู หนังสือ และสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนจัดเป็นสื่อการสอนทั้งสิ้น
              ไฮนิคส์ โมเลนดาและรัสเซล (Heinich, Molenda and
Russel, 1985) ให้ความหมายของสื่อการสอนไว้ว่า คือ สื่อชนิด
ใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นสไลด์โทรทัศน์วิทยุเทปบันทึกเสียงภาพถ่าย
วัสดุฉายและวัตถุสิ่งตีพิมพ์ซึ่งเป็นพาหนะในการนำาข้อมูลจาก
แหล่งข้อมูลไปยังผู้รับ เมื่อนำามาใช้กับการเรียนการสอน หรือส่ง
บทที ่ 4 สื ่ อ การเรี ย นรู ้   43


เนื้อหาความรู้ไปยังผู้เรียนในกระบวนการเรียนการสอน เรียกว่า
สื่อการสอน
                   เปรื่อง กุมุท (251 9) กล่าวว่า สื่อการสอน หมายถึง
สิ่งต่าง ๆ ที่เป็นเครื่องมือ หรือช่องทางสำาหรับทำาให้การสอนของ
ครูถึงผู้เรียน และทำาให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่ง
หมายที่วางไว้อย่างดี
                   ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2526) กล่าวว่า สื่อการสอน
หมายถึง สิ่งที่ช่วยให้การเรียนรู้ ซึ่งครูและนักเรียนเป็นผู้ใช้เพื่อ
ให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
                   ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2529) ให้ความหมายของสื่อ
การสอนว่า คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการที่ใช้สื่อกลางให้ผู้สอน
สามารถส่ง หรือถ่ายทอดความรู้ เจตคติ และทักษะไปยังผู้เรียน
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
            สื่อการสอน หมายถึง ตัวกลางที่ถ่ายทอดสารสนเทศไปสู่ผู้
เรียน ในกรณีใดกรณีหนึ่ง การเลือกสื่ออาจจะใช้วีดิทัศน์ ใน
กรณีอื่นอาจจะเลือกใช้สื่ออื่นๆ เช่น คอมพิวเตอร์ ซึ่งสื่อแต่ละ
ชนิดจะนำาเสนอ หรือเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงความสัมพันธ์
ระหว่าง ผู้เรียน ครู และการสอน ผู้ที่ต้องการใช้สื่อการสอนอาจ
พิจารณาเกี่ยวกับ การรับสารสนเทศ ของผู้เรียนจากประเด็นต่าง
ดังนี้
       • สื่อที่สามารถจัดหาได้
       • ผลของสื่อที่แตกต่างกันที่ส่งผลต่อการเรียนรู้
       • ภายใต้เงื่อนไขใดที่จะมีผลต่อความมีศักยภาพที่
            เปลี่ยนแปลงไป
       • สื่อแต่ละชนิดจะสามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพของสื่อ
            สูงสุดได้อย่างไร
       เมื่อมีการสำารวจคำาตอบของประเด็นคำาถามดังกล่าว การวิจัย
ในสาขาที่เกี่ยวข้องกับ การรับรู้ (Pe rception) การรู้คิด
(C ognition) การสื่อสาร (C om m unication) ทฤษฏีการสอน
(Ins tructional Theories) เข้ามาเกี่ยวข้อง สำาหรับผู้เรียน ครูเข้า
มาเกี่ยวข้องกับ “วิธีการที่ จัดโครงสร้างของสารสนเทศ และการ
รับรู้และประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละคน ” ผลการวิจัย แสดงให้
เห็นว่า สื่อประเภทต่าง ๆ และการเลือก และกระบวนการใช้มีผล
โดยตรงต่อ การรับรู้ของผู้เรียน และวิธีการที่ผู้เรียนจะเก็บรักษา
และระลึกเกี่ยวกับสารสนเทศนั้นได้ (Kozm a, 1 991 )
            สรุปได้ว่า สื ่ อ การสอน หมายถึ ง วั ส ดุ เครื ่ อ งมื อ และ
เทคนิ ค วิ ธ ี ก ารที ่ ผ ู ้ ส อนนำ า มาใช้ ป ระกอบการเรี ย นการ
สอนเพื ่ อ ให้ ผ ู ้ เ รี ย นเกิ ด การเรี ย นรู ้ ไ ด้ อ ย่ า งมี
ประสิ ท ธิ ภ าพ
            จากนิยามความหมายของสื่อการสอนที่กล่าวมาข้างต้น
อาจจะยังไม่สอดคล้อง กับความเปลี่ยนแปลงของกระบวนทัศน์
เกี่ยวกับการศึกษาที่เปลี่ยนไป เพราะความสำาคัญ ของสื่อการ
สอนยังเป็นเพียงตัวกลางที่ถ่ายทอดเนื้อหาหรือความรู้เท่านั้น ดัง
นั้นนิยาม ความหมายของสื่อการสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้น
พื้นฐาน ปีพุทธศักราช 2544 จะปรับเปลี่ยนเป็น “สื ่ อ การเรี ย น
รู ้ ” ซึ่งได้นิยามความหมายไว้ดังนี้ (สุมาลี ชัยเจริญ, 2547)
ความหมายของสื ่ อ การเรี ย นรู ้
บทที ่ 4 สื ่ อ การเรี ย นรู ้             43


        นับตั้งแต่ที่ประเทศไทยได้ปฏิรูปแนวคิดเกี่ยวกับการศึกษา
ของประเทศตั้งแต่มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษา
แห่งชาติ พ.ศ. 2542 เป็นต้นมา แนวคิดเกี่ยวกับการศึกษามามุ่ง
เน้นที่การพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนเป็นสำาคัญ โดยเฉพาะอย่าง
ยิ่งการสร้างความรู้และพัฒนากระบวนการคิด ดังนั้นแนวคิดเกี่ยว
กับ”การสอนหรือการถ่ายทอด”จึงเปลี่ยนมาเป็น “การเรียนรู้” ที่
เน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ขึ้นมาด้วยตนเองโดยอาศัยแหล่ง
การเรียนรู้ต่างๆ ด้วยเหตุนี้ “ส ื ่ อ
การเรีย น รู้” เป็นเค รื่อง มื อ
ข อ ง ก า ร เ ร ี ย น ร ู ้ ที่ทำาให้ผู้เรียน
สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นสิ่ง
สำาคัญเนื่องจากในยุคปัจจุบัน
ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ การใช้
เทคโนโลยีและการสื่อสารทำาให้ผู้
เรียนจำาเป็นต้องพัฒนาตนเองให้
สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆด้วยตนเอง
ตลอดจนพัฒนาศักยภาพการคิด ได้แก่ การคิดอย่างสร้างสรรค์
การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดอย่างอย่างมีเหตุผล
นอกจากนี้ควรเป็นสิ่งที่ช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้ด้วย
ตนเอง
       ส ื ่ อ ก า ร เ ร ี ย น ร ู ้ หมายถึง ท ุ ก ส ิ ่ ง ท ุ ก อ ย ่ า ง ร อ บ ต ั ว ผ ู ้
เรียน ที่ช่ว ย ใ ห ้ ผู้เรีย นเกิ ด ก า ร เ รีย น รู้ เช่น คน สัตว์
สิ่ง ข อ ง ธร ร ม ช า ต ิ รว ม ถึ ง เ ห ต ุ ก า ร ณ ์ หรือ แน ว ค ว า ม ค ิ ด
โดยมุ่งเน้นส่งเสริมการ ค้น คว้า หรือ การแสวงหา คว าม
รู ้ ด ้ ว ย ต น เ อ ง ช ่ ว ย ใ ห ้ ผ ู ้ เ ร ี ย น ส า ม า ร ถ เ ร ี ย น ร ู ้ ไ ด ้ อ ย ่ า ง ต ่ อ
เ น ื ่ อ ง ต ล อ ด ช ี ว ิ ต (กรมวิชาการ, 2545: คู่มือการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ)
สื่อการเรียนรู้ เป็นเครื่องมือที่
ใช้ในการเรียนรู้ของผู้เรียน
อาจทำาหน้าที่
    • ถ่ายทอดความรู้ ความ
       เข้าใจ ความรู้สึก
       เพิ่มพูนทักษะและ
       ประสบการณ์
    • สร้างสถานการณ์การ
       เรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน
    • กระตุ้นให้เกิดศักยภาพ
       ทางความคิด ได้แก่ คิด
       วิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์
       คิดอย่างมีวิจารณญาณ เป็นต้น
    • กระตุ้นให้เป็นผู้แสวงหาความรู้และมีทักษะในการสร้าง
       ความรู้ด้วยตนเอง (กรมวิชาการ 2544)
      สื่อการเรียนรู้ เป็นเครื่องมือที่ใช้ถ่ายทอดความรู้ ความ
เข้าใจความรู้สึก เพิ่มพูนทักษะและประสบการณ์ สร้าง
สถานการณ์การเรียนรู้กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาศักยภาพ
ทางการคิด เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมแก่ผู้เรียน
และมุ่งเน้นการส่งเสริมผู้เรียนทางด้านการแสวงหาความรู้ด้วย
ตนเอง (กรมวิชาการ, 2545)
บทที ่ 4 สื ่ อ การเรี ย นรู ้   43




  ภ า พ ท ี ่ 4-1 แสดงการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของสื่อการสอนมา
                                    เป็นสื่อการเรียนรู้
        จากที่กล่าวมาข้างต้น อาจสรุปได้ว่า ส ื ่ อ ก า ร เ ร ี ย น ร ู ้
หมายถึง เครื่องมือที่ออกแบบโดยบูรณาการกับวิธีการจัดการ
เรียนรู้ที่กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาศักยภาพทางปัญญา (Cognitive
tools) ตลอดจนกระตุ้นให้เป็นผู้แสวงหาความรู้และมีทักษะใน
การสร้างความรู้ด้วยตนเอง เพื่อมุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนมีโอกาส
เรียนรู้ด้วยตนเอง ส่งเสริมการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ความ
รู้สึก เพิ่มพูนทักษะและประสบการณ์โดยเครื่องมือเหล่านั้นอาจ
เป็นทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวผู้เรียนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
เช่น วัสดุ อุปกรณ์ เทคโนโลยีสารสนเทศ วิธีการ ตลอดจน คน
สัตว์ สิ่งของ ธรรมชาติ ภูมิปัญญา รวมถึงเหตุการณ์ หรือ แนว
ความคิด เป็นต้น
คุณ ลั ก ษ ณ ะ ข อ ง ส ื่อ ก า ร เรี ย น รู้
     1. ช่วยส่งเสริมการสร้าง
        ความรู้ของผู้เรียน
     2. ช่วยส่งเสริมการศึกษา
        ค้นคว้าด้วยตนเอง
     3. มุ่งเน้นการพัฒนาการ
        คิดของผู้เรียน
     4. เป็นสื่อที่หลากหลาย
        ได้แก่ วัสดุ อุปกรณ์ วิธี
        การ ตลอดจน สิ่งที่มีตาม
        ธรรมชาติ
     5. เป็นสื่อที่อยู่ตามแหล่งความรู้ในระบบเทคโนโลยี
        สารสนเทศ
     6. ช่วยพัฒนาการร่วมทำางานเป็นทีม
ค ว า ม ส ำา ค ั ญ ข อ ง ส ื ่ อ ก า ร เ ร ี ย น ร ู ้
     1. ช่วยให้ผเรียนเกิดความเข้าใจและสร้างความคิดรวบยอดใน
                   ู้
        เรืองทีเรียนได้งายและรวดเร็วขึน
           ่   ่        ่               ้
     2. ช่วยให้ผู้เรียนมองเห็นสิ่งที่กำาลังเรียนรู้ได้อย่างเป็นรูป
        ธรรม
     3. ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง
บทที ่ 4 สื ่ อ การเรี ย นรู ้   43


    4. สร้างสภาพแวดล้อมและประสบการณ์การเรียนรู้ที่แปลก
       ใหม่
    5. ส่งเสริมการมีกิจกรรมร่วมกันระหว่างผู้เรียน
    6. เกื้อหนุนผู้เรียนที่มีความสนใจและความสามารถในการ
       เรียนรู้ที่แตกต่างกันให้สามารถเรียนรู้ได้ทัดเทียมกัน
    7. ช่วยเชื่อมโยงสิ่งที่ไกลตัวผู้เรียนให้เข้ามาสู่การเรียนรู้ของ
       ผู้เรียน
    8. ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วิธีการแสวงหาความรู้จากแหล่ง
       ข้อมูลต่างๆตลอดจนการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
    9. ช่วยให้ผู้เรียนได้รับการเรียนรู้ในหลายมิติจากสื่อที่หลา
       หลาย
    10.ช่วยกระตุ้นให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในเชิงเนื้อหา
       กระบวนการ และความรู้เชิงประจักษ์
    11.ส่งเสริมให้เกิดทักษะ ได้แก่ ทักษะการคิด ทักษะการ
       สื่อสาร




  ต า ร า ง ท ี ่ 4. 1 แสดงการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสื่อ
                            การสอนและสื่อการเรียนรู้
       ประเด็น                       สื่อก า ร ส อ น            สื่อการ เรีย น รู้
ลักษณะ           วัสดุ อุปกรณ์                       วัสดุ อุปกรณ์
                 เทคโนโลยี                           เทคโนโลยี
                 สารสนเทศ วิธีการ                    สารสนเทศ วิธีการ
บทบาทต่อการเรียน มุ่งเน้นการถ่ายทอด                  มุ่งเน้นการให้ผู้
รู้              เนื้อหาความรู้จากผู้                เรียนมีปฏิสัมพันธ์
                 สอนไปยังผู้เรียน                    เพื่อสร้าง
                                                     กระบวนการเรียนรู้
                                                     ด้วยตนเอง
การออกแบบ                       บรรจุเนื้อหา ความรู้ ส่งเสริมการคิด การ
                                และทักษะ รวมทั้ง     แสร้างความรู้และ
                                ประสบการณ์           การแก้ปัญหา

ป ร ะ เ ภ ท ข อ ง ส ื ่ อ ก า ร เ ร ี ย น ร ู ้

กรมวิชาการ (2545) ได้จำาแนกประเภทของสื่อการเรียนรู้ ไว้ดังนี้
สื่อสิ่ง พิ ม พ ์
       สื่อสิ่งพิมพ์ เป็น สิ่งที่พิมพ์ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแผ่นกระดาษ
หรือวัตถุใด ๆ ด้วยวิธีการต่าง ๆ อันเกิดเป็นชิ้นงานที่มีลักษณะ
เหมือน ต้นฉบับขึ้นหลายสำาเนาในปริมาณมากเพื่อเป็นสิ่ง
ที่ทำาการติดต่อ หรือชักนำาให้บุคคลอื่นได้เห็นหรือทราบ ข้อความ
ต่าง ๆ ซึ่งมีหลายลักษณะเช่น เอกสาร หนังสือ ตำารา
หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร จุลสาร ฯลฯ กระบวนการเรียนรู้
ของผู้เรียนด้วยสื่อสิ่งพิมพ์คือการอ่านและพยายามสร้างความ
เข้าใจจากสารสนเทศที่นำาเสนอ ประโยชน์ของสื่อสิ่งพิมพ์มีดังนี้
บทที ่ 4 สื ่ อ การเรี ย นรู ้   43


       - ใช้งานง่ายไม่ซับซ้อน เพราะว่าสื่อสิ่งพิมพ์มีการวาง
หัวข้อ เรื่องราวและรูปแบบที่จัดวางไว้เป็นระเบียบ
       - มีความยืดหยุ่นในการใช้ สื่อสิ่งพิมพ์สามารถใช้ได้กับ
ทุกสภาพแวดล้อมที่มีแสง สามารถพกพาติดตัวผู้ใช้ได้สะดวก
       - ประหยัด สื่อสิ่งพิมพ์สามารถนำากลับมาใช้ประกอบการ
จัดการเรียนรู้ได้ตลอด แม้ว่าจะมีผู้เรียนใช้มาหลายคนแล้วก็ตาม
สื่อเ ท ค โ น โ ล ย ี
        สื่อเทคโนโลยี เป็น สื่อที่นำาศักยภาพของเทคโนโลยี
สารสนเทศและการสื่อสารเข้ามาใช้ในการนำาเสนอเนื้อหาบท
เรียน เช่น แถบบันทึกภาพ วีดิทัศน์ เทปเสียง สไลด์ คอมพิวเตอร์
มัลติมีเดีย สื่อบนเครือข่าย อินเตอร์เน็ต การศึกษาผ่านดาวเทียม
กระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยสื่อสื่อเทคโนโลยีผู้เรียน
สามารถมีปฏิสัมพันธ์ และสร้างการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง สื่อ
จำาพวกมัลติมีเดียยังสามารถนำาเสนอภาพเคลื่อนไหว ภาพจริง ที่
แสดงความเปลี่ยนแปลง ตลอดจนเสียงประกอบที่ช่วยให้ผู้เรียน
เรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนั้นเทคโนโลยีสารสนเทศยังสนองต่อ
การเรียนรู้ของผู้เรียนได้ทุกที ทุกเวลา ประโยชน์ของสื่อ
เทคโนโลยีมีดังนี้
        - ผู้เรียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์และโต้ตอบกับสื่อได้
        - ให้ความเหมือนจริง โดยเฉพาะวีดิทัศน์ เทปเสียง สไลด์
        - ค้นหาสารสนเทศ ความรู้ได้อย่างไร้ขีดจำากัด
        - สนองตอบการเรียนรู้ระยะไกล
ส ื ่ อ ท ี ่ เ ป ็ น ก ิ จ ก ร ร ม /ก ร ะ บ ว น ก า ร
       สื่อกิจกรรม เป็น สื่อในลักษณะที่เป็นกระบวนการ กิจกรรม
ที่จดเพื่อฝึกกระบวนการคิดและการปฏิบัติ ตลอดจนทักษะต่างๆ
    ั
ให้กับผู้เรียน เช่น การร่วมมือกันแก้ปัญหา การใช้ปัญหาเป็น
ฐาน โครงงาน การสืบเสาะความรู้ การค้นพบความรู้ การแก้
ปัญหา เกม การอภิปราย การทดลอง เป็นต้น ประโยชน์ของสื่อ
กิจกรรมมีดังนี้
       - ส่งเสริมการคิดขั้นสูง เพราะผู้เรียนจะได้ใช้ทั้งการ
วิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินและตัดสินใจเกี่ยวกับสารสนเทศ
มากกว่าการจดจำาข้อมูลหรือข้อเท็จจริงต่างๆ
       - พัฒนาทักษะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
       - ส่งเสริมการเรียนรู้แบบตื่นตัว (Active le arning)
       - พัฒนากระบวนทางสังคมและการสื่อสาร
       - ฝึกการปฏิบัติเพื่อเพิ่มทักษะเฉพาะด้าน เช่น ทักษะการ
ทำางานกลุ่ม ทักษะทางวิทยาศาสตร์ ทักษะการใช้เครื่องมือ
สื่อบุ ค ค ล รวม ถึ ง ภ ู มิ ปั ญ ญ า ท ้ อ ง ถ ิ่ น
         สื่อบุคคล คือ ตัวบุคคลที่ทำาหน้าที่เป็นผู้ส่งสาร อยู่ในระบบ
การสื่อสารระหว่างบุคคล และการสื่อสารระดับกลุ่ม ภูมิปัญญา
เป็นความรู้ความสามารถ วิธีการผลงานที่คนไทยได้ค้นคว้า
รวบรวม และจัดเป็นความรู้ ถ่ายทอด ปรับปรุง จากคนรุ่นหนึ่งมา
สู่คนอีกรุ่นหนึ่ง จนเกิดผลิตผลทีดี งดงาม มีคุณค่า มีประโยชน์
                                   ่
สามารถนำามาแก้ปัญหาและพัฒนาวิถีชีวิตได้แต่ละหมู่บ้าน แต่ละ
ชุมชนไทย ล้วนมีการทำามาหากินที่สอดคล้องกับภูมิประเทศ มี
ผู้นำาที่มีความรู้ มีฝีมือทางช่าง สามารถคิดประดิษฐ์ ตัดสินใจแก้
ปัญหาของชาวบ้านได้ ผู้นำาเหล่านี้ เรียกว่า ปราชญ์ชาวบ้าน
หรือผู้ทรงภูมิปัญญาไทย ประโยชน์ของสื่อบุคคล และภูมิปัญญา
ท้องถิ่นมีดังนี้
         - การเรียนจากประสบการณ์จริง
         - พัฒนา ต่อยอดองค์ความรู้ในชุมชนท้องถิ่น
บทที ่ 4 สื ่ อ การเรี ย นรู ้       43


         - มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น
         - สร้างความสัมพันธ์ให้กับชุมชนท้องถิ่น
สื่อธ ร ร ม ช า ต ิ แ ล ะ ส ิ ่ ง แ ว ด ล ้ อ ม
       ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ชิดตัวผู้เรียน
ตังแต่ตื่นเช้าจนกระทั่งช่วงชีวิตทั้งวัน จึงถือเป็นสื่อการเรียนรู้ที่
  ้
สำาคัญอย่างยิ่ง ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้ตาม พ.ร.บ.การ
ศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 เน้นการเรียนรู้ตามสภาพจริง อันเนื่อง
มาจากต้องการให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงองค์ความรู้ต่างๆที่
เผชิญหรือพบเจอ มาใช้ในการแก้ปัญหาสำาหรับตนเองและสังคม
ได้ ธรรมชาติจึงถือเป็นแหล่งเรียนรู้ขนาดใหญ่ที่ผู้เรียนจะต้อง
แสวงหาความจริง ข้อเท็จและนำามาประมวลเป็นความรู้ของ
ตนเอง ประโยชน์ของสื่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีดังนี้
       - ให้ความเป็นจริง
       - ประหยัด ไม่ต้องลงทุนในการผลิต
       - บูรณาการลงสู่ชีวิตประจำาวัน
       - มีความหลากหลายสนองต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ส        ื่อ      ว        ัส        ด        ุอ       ุป         ก       ร       ณ          ์
       สื่อวัสดุอุปกรณ์หมายถึง วัสดุที่ประดิษฐ์ขึ้นใช้เพื่อประกอบ
การเรียนรู้ เช่น หุ่นจำาลอง แผนภูมิ แผนที่ ตาราง สถิติ รวมถึงสื่อ
ประเภทเครื่องมือและอุปกรณ์ที่จำาเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติงาน
ต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์ทดลองวิทยาศาสตร์ เครื่องมือช่าง เป็นต้น

ห ล ั ก ใ น ก า ร เ ล ื อ ก แ ล ะ ใ ช ้ ส ื ่ อ ก า ร เ ร ี ย น ร ู ้

        ในโลกปัจจุบันพบว่าความต้องการเกี่ยวกับตัวผู้เรียนเพิ่ม
มากขึ้น เพราะว่าที่ผ่านมาอาจจะมีการตอบสนองต่อการเรียน
แบบท่องจำามามากแล้ว แต่ในปัจจุบันในสภาพชีวิตจริงต้องการ
บุคคลในสังคมที่มีความสามารถในการใช้ทักษะการให้เหตุผล
ในระดับที่สูงขึ้นในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน ซึ่งพบว่าความ
สามารถในทักษะดังกล่าวที่จะนำามาใช้ในการแก้ปัญหาไม่ค่อย
ปรากฏให้เห็นหรือมีอยู่น้อยมาก
ในปัจจุบันจะพบว่าทุก ๆ คนไม่ว่า
จะเป็นผู้ที่ทำางานในโรงงาน
ประกอบเครื่องจักรตามสายพาน
หรือทำางานที่ต้องร่วมกันคิดเป็นทีม
ต่างล้วนต้องมีทักษะการแก้ปัญหา
ด้วยกันทั้งหมด ซึ่งนั่นหมายความ
ว่าแนวความคิดเกี่ยวกับการจัดการ
ศึกษาต้องเปลี่ยนไป ดังที่ Driscoll
(1994) กล่าวว่า อาจจะต้องเปลี่ยน
จากแนวคิดที่ว่า ผู้เรียนเป็นภาชนะ
ทีว่างเปล่าที่รอรับการเติมให้เต็ม มาคิดว่า ผู้เรียนเป็นสิ่งมีชีวิตที่มี
  ่
ความตื่นตัว กระฉับกระเฉงและค้นหาความหมายของสิ่งต่างๆ ซึ่ง
ขณะนี้ผู้เรียนจะถูกมองว่าเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมอย่างตื่นตัวในการ
เรียนรู้ คิดค้นหาวิธีที่จะวิเคราะห์ ตั้งคำาถาม อธิบายและทำาความ
เข้าใจต่อสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
         ในปัจจุบันเป็นยุคที่การส่งข้อมูลที่รวดเร็วมาก เทคโนโลยี
เปิดโอกาสให้แต่ละบุคคลได้รับ รวบรวม วิเคราะห์และสื่อสาร
ข้อมูลข่าวสารได้อย่างละเอียดและรวดเร็วมากกว่าที่ผ่านมา เป็น
ผลที่ทำาให้ความต้องการและขอบเขตเกี่ยวกับการศึกษาขยาย
เพิ่มมากขึ้น เพื่อที่จะช่วยผู้เรียนทุกคนได้รับทักษะที่เพิ่มมากขึ้น
บทที ่ 4 สื ่ อ การเรี ย นรู ้   43


ที่จะทำาให้ผู้เรียนเกิดความพร้อมในการวิเคราะห์ ตัดสินใจ และ
แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงที่ซับซ้อน ดังที่ Bruner (1983)
กล่ า วว่ า "ผู ้ เ รี ย นต้ อ งยกระดั บ การเรี ย นที ่ เ พิ ่ ม จาก "
การจดจำ า " ข้ อ เท็ จ จริ ง ไปสู ่ ก ารเริ ่ ม ต้ น ที ่ จ ะคิ ด อย่ า งมี
วิ จ ารณญาณและสร้ า งสรรค์ " ความจำาเป็นที่เพิ่มขึ้นเหล่านี้
นำามาสู่การเปลี่ยนแปลงวิธีการที่ครูผู้สอนจะมีปฏิสัมพันธ์กับผู้
เรียน จากเดิมจะเป็นการบอก ถ่ายทอด ความรู้จากครูไปสู่ ผู้
เรียน มาเป็น การจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ การยิ่งไป
กว่านั้นความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจำาเป็นที่ครูผู้สอนต้องมีพื้นฐาน
ของความเข้าใจอย่างดีเกี่ยวกับผู้เรียนแต่ละคนมีวิธีการเรียนรู้
อย่างไร
           ผู้สอนจึงควรศึกษาเทคนิค วิธีการ และเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่
จะนำามาใช้เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้รับความรู้ใหม่ ซึ่งแต่เดิมมัก
เป็นการสอนให้ผู้เรียนเรียนโดยเน้นการท่องจำา และปรับเปลี่ยน
มาสู่การใช้เทคนิควิธีการที่จะช่วยผู้เรียนได้รับข้อเท็จจริงได้
อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ การใช้
เทคนิคช่วยการจำา เช่น Mnemonics
เป็นต้น รวมทั้งการจัดการสอนที่
เน้นครูเป็นศูนย์กลางอาจนำาไปใช้
ให้เกิดประโยชน์ได้เช่นกัน
อย่างไรก็ตามสิ่งที่สำาคัญและเป็น
ความต้องการของการศึกษาใน
ปัจจุบัน การสอนที่ผู้เรียนควรได้
รับคือ ทักษะการคิดในระดับสูง
(Higher-order thinking skills)
ได้แก่ การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์
ตลอดจนการแก้ปัญหา และการ
ถ่ายโอน (Transfer) โดยเน้นการใช้วิธีการต่าง ๆ อาทิ
สถานการณ์จำาลอง การค้นพบ การแก้ปัญหา และการเรียนแบบ
ร่วมมือ สำาหรับผู้เรียนจะได้รับประสบการณ์การแก้ปัญหาที่
สอดคล้องกับสภาพชีวิตจริง
           ในปัจจุบันได้เปลี่ยนจากการสอน หรือการถ่ายทอดโดย
ครูผู้สอน หรือสื่อการสอนมาสู่การเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ที่ให้
ความสำาคัญต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยผ่านการปฏิบัติ ลงมือ
กระทำาด้วยตนเอง การพัฒนาศักยภาพทางการคิด ตลอดจนการ
แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ดังนั้น ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียน
วางแผน ดำาเนินการและการประเมินด้วยตนเอง ดังแสดงในภาพ
ที่ 2 ผู ้ เ รี ย นจะเป็ น ศู น ย์ ก ลางของการเรี ย นรู ้ ซึ ่ ง จะต้ อ ง
มี ป ฏิ ส ั ม พั น ธ์ ก ั บ แหล่ ง ข้ อ มู ล ที ่ ม ี ศ ั ก ยภาพ ได้แก่ ครู
เทคโนโลยี พ่ อ แม่ ภู ม ิ ป ั ญ ญาชาวบ้ า น และบุ ค คลอื ่ น ๆ
ตลอดจน สื ่ อ ต่ า งๆ เพื่อที่จะนำามาสู่การหยั่งรู้ในปัญหาและการ
แก้ปัญหา หรือการได้มาซึ่งความรู้ที่ตนเองสร้างขึ้น บทบาทของ
ครูได้เปลี่ยนแปลงมาสู่การแนะแนวทางและเป็นผู้อำานวยการ
และช่วยเหลือผู้เรียนให้สามารถบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ ดัง
แสดงในภาพข้างล่าง
บทที ่ 4 สื ่ อ การเรี ย นรู ้   43




         ภาพที ่ 4-2 แสดงการเปลี่ยนบทบาทของครู สื่อและผู้
                 เรียนจากการถ่ายทอดมาเป็น
                  ให้ผู้เรียนสร้างความรู้จากแหล่งเรียนรู้
        จากภาพจะเห็นได้ว่า ได้มีแนวคิดเปลี่ยนแปลงจากเดิมที่
ครูผู้สอนเป็นผู้ที่วางแผน และถ่ายทอดความรู้ต่างๆไปสู่ผู้เรียน
โดยตรง ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาทางด้านสื่อการสอนต่างๆ จึงมี
การใช้สื่อการสอนถ่ายทอดเนื้อหาความรู้ต่างๆ ไปยังผู้เรียน เช่น
แผ่นภาพโปร่งใส ภาพยนตร์ สไลด์ วิดีทัศน์ คอมพิวเตอร์ช่วย
สอน เพื่อช่วยเปลี่ยนสิ่งที่เป็นนามธรรม ให้เป็นรูปธรรมเพิ่มขึ้น
อีกทั้ง ยังแก้ปัญหาเกี่ยวกับจำานวนผู้เรียนเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้
ยังช่วยตอบสนองด้านความแตกต่าง ระหว่างบุคคล
        ในปัจจุบันได้เปลี่ยนจากการสอน หรือการถ่ายทอดโดย
ครูผู้สอน หรือสื่อการสอนมาสู่การ
เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางที่ให้
ความสำาคัญต่อการเรียนรู้ของผู้
เรียน โดยผ่านการปฏิบัติ ลงมือ
กระทำาด้วยตนเอง การพัฒนา
ศักยภาพทางการคิด ตลอดจนการ
แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ดัง
นั้น ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียน
วางแผน ดำาเนินการ และการ
ประเมินด้วยตนเอง
        เมื่อมีการเปลี่ยนกระบวน
ทัศน์ การสอน มาสู ่ การเรี ย นรู ้
ดังนั้นเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมที่นำามาเพิ่มประสิทธิภาพก็ต้อง
สอดรับกับแนวคิดดังกล่าว คือ มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการ
เรียนรู้ของผู้เรียน ลักษณะของการนำาเทคโนโลยี และนวัตกรรม
หรือสื่อมาใช้ที่สอดคล้องกับการปฏิรูปการเรียนรู้ เป็น "Media +
Methods" หรื อ "สื ่ อ ร่ ว มกั บ วิ ธ ี ก าร" เช่น การใช้เว็บร่วมกับ
การเรียนแบบร่วมมือเพื่อเปิดโอกาสให้ลงมือกระทำาอย่างตื่นตัว
ในกระบวนการเรียนรู้ของตนเอง และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับ
เพื่อน รวมทั้งการขยายมุมมอง แนวคิดให้กว้างขวางขึ้น อันนำา
ไปสู่การสร้างความรู้ที่มีความหมายของตนเองขึ้นมา ซึ่งจะเป็น
ความรู้ที่อยู่คงทน และสามารถถ่ายโอนไปใช้ในสถานการณ์อื่น
บทที ่ 4 สื ่ อ การเรี ย นรู ้   43


หรือนำาไปใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆในสภาพชีวิตจริงได้ ส่วนวิธี
การ (Me thods) ที่สอดรับกับสภาพปัจจุบัน ได้แก่
   • การเรียนแบบค้นพบ (D iscove ry)
   • การเรียนแบบสืบเสาะ(Inquiry)
   • การเรียนแบบแก้ปัญหา (P rob lem S olving)
   • การเรียนแบบร่วมมือ (C oope rative Le arning)
   • การเรียนโดยการสร้างความรู้ (C onstructivism )
   • สถานการณ์จำาลอง (S im ulation)
   • การสร้างโครงงาน (P ro j ct base)
                              e




    ภาพที ่ 4-3 แสดงแนวทางการออกแบบการเรียนรู้ที่ต้อง
               ประสานร่วมกันทั้งสื่อและวิธีการ
       นอกจากจะใช้สื่อร่วมกับวิธีการ ดังกล่าวมาข้างต้น อาจ
ออกแบบการจัดการเรียนรู้ โดยเปลี่ยนเป็น "การจัดสิ่งแวดล้อม
ทางการเรียนรู้" ซึ่งจะนำาพื้นฐานทางทฤษฎีการเรียนรู้ หลักการ
หรือวิธีการ มาเป็นพื้นฐานในการออกแบบสื่อ เช่น การจัดสิ่ง
แวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่าย (Web-base learning) หรือ
การจัดสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์
(Constructivism)
       ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ประสบผลสำาเร็จนั้น ครูผู้
สอนจะต้องทำาการวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ พร้อมๆไป
กับการผลิตและการใช้สื่อการเรียนรู้ แนวทางในการพัฒนาสื่อ
การเรียนรู้ มีดังต่อไปนี้
                1. วิ เ คราะห์ ว ั ต ถุ ป ระสงค์ เนื ้ อ หา
                2. วิ เ คราะห์ ก ิ จ กรรมการเรี ย นรู ้ ท ี ่ ส อดคล้ อ ง
       กั บ วั ต ถุ ป ระสงค์ เนื ้ อ หา
บทที ่ 4 สื ่ อ การเรี ย นรู ้   43


                 3. ออกแบบกิ จ กรรมการเรี ย นรู ้ ท ี ่ เ น้ น ผู ้ เ รี ย น
        เป็ น ศู น ย์ ก ลาง
ควรพิจารณาลักษณะของกิจกรรม ดังต่อไปนี้
                   • ผู้เรียนต้องลงมือปฏิบัติอย่างตื่นตัว
                   • เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษา ค้นคว้าจาก
                        แหล่งการเรียนรู้ต่างๆ
                   • เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีอิสระในการคิดแก้
                        ปัญหา หรือพัฒนาชิ้นงาน หรือ โครงการ
                   • ต้องคำานึงให้ผู้เรียนร่วมเรียนรู้ หรือทำางาน
                        เป็นกลุ่ม
        4. วิ เ คราะห์ ก ิ จ กรรมการเรี ย นรู ้ ดังกล่าวข้างต้น จะ
ต้องสื่อการเรียนรู้ประเภทใดที่ช่วยสร้างความเข้าใจในความคิด
รวบยอดนั้นได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยเน้นกิจกรรมที่ผ่านกระบวนการที่ผู้
เรียนต้องลงมือค้นหาคำาตอบ ทำาความเข้าใจด้วยตนเอง หรือ
สะท้อนการเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
        5. จั ด เตรี ย ม สื ่ อ การเรี ย นรู ้ อาจจะผลิตขึ้นมาใหม่
หรือปรับปรุงจากของเดิม อาจอยู่ในรูปของ
                   • ชุดการทดลอง
                   • ชุดกิจกรรม
                   • สิ่งตีพิมพ์ เช่น เอกสาร ตำารา วารสาร
                   • เทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ เช่น อินเตอร์เน็ต
                        อีเลิร์นนิ่ง มัลติมีเดีย การเรียนรู้บนเครือข่าย
                   • แหล่งตามธรรมชาติ
                   • แหล่งการเรียนรู้อื่นๆ
        6. นำ า ไปใช้ ต ามแผนการจั ด กิ จ กรรมการเรี ย นรู ้
โดยเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ
                   • ผู้เรียน
                   • ครูผู้สอน
                   • สถานที่และสิ่งอำานวยความสะดวก

รู ป แบบการใช้ ส ื ่ อ การเรี ย นรู ้ อ ย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ
       ในการใช้สื่อการเรียนรู้นั้น ผู้สอนควรมีการวางแผนการ
ใช้สื่ออย่างเป็นระบบ สอดคล้องกับวิธีการจัดการเรียนรู้ที่วางไว้
และบรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายของการเรียนรู้ได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ ซึ่ง Heinich and other (٢٠٠٢) ได้เสนอกระบวนที่
แนะแนวทางในการวางแผนการจัดการเรียนรู้ที่มีบูรณาการ
เทคโนโลยีและสื่อลงในกระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่เรียกว่า
ASSUREMODEL ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
           • Analyze Learner
           • State Objectives
           • Select, modify, design Methods, Media, &
              Materials
           • Utilize Methods, Media, & Materials
           • Require Learner Participation
           • Evaluation and Revise
บทที ่ 4 สื ่ อ การเรี ย นรู ้   43




 ภ า พ ท ี ่ 4- 4 แสดงองค์ประกอบของ Assur e Model ของ Heinich
                             and ot her (٢٠٠٢)

ก า ร ว ิ เ ค ร า ะ ห ์ ผ ู ้ เ ร ี ย น (Analyze Leaner Char act er ist ics)
     ผู้สอนควรวิเคราะห์ผู้เรียนเพื่อเลือกใช้สื่อการเรียนรู้ให้
สอดคล้องและเหมาะสม โดยพิจารณาในประเด็นดังต่อไปนี้
  1) คุณลักษณะทั่วไป – จำานวนผู้เรียน ระดับชั้น อายุ เพศ
     สถานภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ชาติพันธุ์
     ฯลฯ
  2) สมรรถนะเฉพาะที่มีมาก่อน – ความรู้เดิมของผู้เรียน
     ทักษะทางปัญญา ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนที่เกี่ยวกับ
     เนื้อหาที่เรียน
  3) แบบการเรียน (Learning Styles) – ผู้สอนควรตรวจสอบ
     เกี่ยวกับ
      การรับรู้ของผู้เรียน ในลักษณะต่างๆ เช่น รับรู้ด้วยการ
          ฟัง การมองเห็น การสัมผัส และการเคลื่อนไหว
      กระบวนการประมวลสารสนเทศของผู้เรียนว่ามี
          ลักษณะอย่างไร
      การสร้างปัจจัยทางด้านแรงจูงใจภายในและทางด้าน
          กายภาพ เช่น ความวิตกกังวล แรงจูงใจทางด้านผล
          สัมฤทธิ์ ทางด้านสังคมหรือการแข่งขัน
ก า ร ก ำ า ห น ด ว ั ต ถ ุ ป ร ะ ส ง ค ์ (State Objectives)
     เป็นการอธิบายสิ่งที่ผู้จะต้องทำาการเรียนรู้ สิ่งที่ผู้สอนต้อง
ตระหนัก คือ
   1) มุ่งเน้นผู้เรียน(ไม่ใช่ผู้สอน)
   2) วัตถุประสงค์เป็นการอธิบายผลการเรียนรู้
บทที ่ 4 สื ่ อ การเรี ย นรู ้   43


ก า ร เ ล ื อ ก ว ิ ธ ี ก า ร ส ื ่ อ แ ล ะ ว ั ส ด ุ (Select met hod, media
and Materials)
    1) เลือกวิธีการสอนที่สามารถทำาให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้
       อย่างเหมาะสม
    2) สื่อการเรียนรู้จะต้องสอดคล้องกับวิธีการสอน วัตถุประสงค์
       และผู้เรียน อาจจะอยู่เป็น ข้อความ ภาพนิ่ง วีดิทัศน์ เสียง
       และคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย
ก า ร เ ล ื อ ก ป ร ั บ อ อ ก แ บ บ ว ิ ธ ี ก า ร ส ื ่ อ แ ล ะ ว ั ส ด ุ (Select,
m o dify, Design Methods, Media, & Materials) มีหลักใน
การพิจารณาดังนี้
  1) เลือกสื่อโดยคำานึงถึงความต้องการของผู้เรียน
  2) เลือกสื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการเรียน
  3) เลือกสื่อให้สอดคล้องกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้
  4) เลือกสื่อให้สอดคล้องกับแบบการเรียนและคุณลักษณะ
      ของผู้เรียน
  5) เลือกใช้สื่อที่หลากหลายลักษณะ/ รูปแบบ
ก า ร ใ ช ้ ว ิ ธ ี ก า ร ส ื ่ อ แ ล ะ ว ั ส ด ุ (Utilize method, Media and
Materials)
      การวางแผนเกี่ยวกับวิธีการนำาสื่อและวัสดุไปใช้ในการ
จัดการเรียนรู้ ตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่กำาหนดเพื่อให้บรรลุ
วัตถุประสงค์ในการเรียน เพื่อที่จะใช้สื่อได้อย่างถูกต้องและ
สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำาคัญ ควร
พิจารณาตามรายละเอียดต่อไปนี้
    1) ตรวจสอบสื่อ เปิดดูก่อน (Preview the material)
    2) เตรียมสื่อให้พร้อมใช้งาน (Prepare the material)
    3) เตรียมห้องเรียนและสภาพแวดล้อม (Prepare the
       environment)
    4) แนะนำาวิธีการใช้สำาหรับผู้เรียน (Prepare the learners)
    5) การให้ประสบการณ์เกี่ยวกับสื่อแก่ผู้เรียน (Provide the
       learning experience)
ส ิ ่ ง ท ี ่ ต ้ อ ง ก า ร ใ ห ้ ผ ู ้ เ ร ี ย น ต อ บ ส น อ ง (Require Learner
Response)
    1) อธิบายวิธีการที่ผู้เรียนต้องมีส่วนร่วมหรือทำาการเรียนรู้
      อย่างตื่นตัว (actively)
    2) บทบาทของผู้เรียนในชั้นเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการ
      ใช้เทคโนโลยีในการสร้างประสบการเรียนรู้
    3) กิจกรรมต่างๆควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้จัดกระทำากับ
      สารสนเทศและมีเวลาเพียงพอสำาหรับการลงมือปฏิบัติ
ก า ร ป ร ะ เ ม ิ น แ ล ะ ก า ร ป ร ั บ (Evaluation and revise)
       แนวทางการประเมินเกี่ยวกับสื่อมีลักษณะสำาคัญดังนี้
    1) การประเมินความสามารถของผู้เรียน (Evaluate student
       performance เพื่อตรวจสอบว่าผู้เรียนสามารถบรรลุตาม
                  )
บทที ่ 4 สื ่ อ การเรี ย นรู ้   43


       วัตถุประสงค์หรือไม่ การประเมินควรจะสอดคล้องกับ
       วัตถุประสงค์ (อาจเป็น Assessหรือ Evaluation)
    2) การประเมินสมรรถนะของสื่อ (Evaluate media
       components) เพื่อตรวจสอบว่าสื่อมีประสิทธิภาพหรือไม่
    3) การประเมินความสามารถของผู้สอน (Evaluate
       instructor performance) เพื่อตรวจสอบว่าผู้สอน จัดการ
       เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่
คำาถ า ม ส ะ ท ้ อ น ค ว า ม ค ิ ด

     ท่านคิดว่าลักษณะสำาคัญที่แสดงถึงความ
      แตกต่างระหว่างสื่อการสอนกับสื่อการเรียน
      รู้คืออะไร
     สื่อการเรียนรู้แต่ละประเภทมีจุดเด่นที่
      สามารถนำาไปใช้ในการจัดการเรียนรู้อย่างไร
     หลักการสำาคัญในการเลือกใช้สื่อการเรียนรู้เป็นอย่างไร

กิ จ ก ร ร ม เส น อ แ น ะ

ให้ท่านลองนำาหลักการเลือกใช้สื่อการเรียนรู้มา
เป็นพื้นฐานเพื่อพิจารณาความเหมาะสมของสื่อที่
สอดคล้องกับสาระวิชาเอกของท่าน

บรรณ านุก ร ม

กรมวิชาการ. (2545). เ อ ก ส า ร ป ร ะ ก อ บ ห ล ั ก ส ู ต ร ก า ร ศ ึ ก ษ า
        ข ั ้ น พ ื ้ น ฐ า น พ ุ ท ธ ศ ั ก ร า ช 2544 ค ู ่ ม ื อ ก า ร จ ั ด ก า ร
        เ ร ี ย น ร ู ้ ก ล ุ ่ ม ส า ร ะ ภ า ษ า ต ่ า ง ป ร ะ เ ท ศ . กรุงเทพฯ :
      องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2521). เ อ ก ส า ร ก า ร ส อ น ช ุ ด ว ิ ช า
      เ ท ค โ น โ ล ย ี แ ล ะ ส ื ่ อ ส า ร ก า ร ศ ึ ก ษ า , หน่วยที่ 1-15. กรุ
      เทพฯ: สหมิตร.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2529). เ อ ก ส า ร ก า ร ส อ น ช ุ ด ว ิ ช า ก า ร
      ส อ น ร ะ ด ั บ ช ั ้ น ม ั ธ ย ม ศ ึ ก ษ า ห น ่ ว ย ท ี ่ 11- 15 พิมพ์ครั้ง
      ที่ 5 นนทบุรี สำานักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2526). เ ท ค โ น โ ล ย ี ท า ง ก า ร ศ ึ ก ษ า :
      ห ล ั ก ก า ร แ ล ะ แ น ว ป ฏ ิ บ ั ต ิ . กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิช.
เปรื่อง กุมุท. (2519). เ ท ค น ิ ค ก า ร เ ข ี ย น บ ท เ ร ี ย น โ ป ร แ ก ร ม .
      คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย                          ศรีนครินทรวิโรฒ
      ประสานมิตร.
บทที ่ 4 สื ่ อ การเรี ย นรู ้   43


สุมาลี ชัยเจริญ. (2547). ก า ร พ ั ฒ น า ร ู ป แ บ บ ก า ร ส ร ้ า ง ค ว า ม
     ร ู ้ โ ด ย ใ ช ้ เ ท ค โ น โ ล ย ี ส า ร ส น เ ท ศ . คณะศึกษาศาสตร์
     มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Brown, Jam es W., Lewis, Richard B., and H arcle road , F red F.
     (1 985). A V Ins truc tional Tec hnology, Me dia, and
                          th
     Me thods . 6 ed. New York: McGraw-Hill Book Company,
     Inc.
Bruner, J. S. (1983). In search of mind: Essays in
     autobiography . New York: Harper & Row.
Driscoll, M. P. (1994). Psychology of learning for
     instruction . Boston: Allyn and Bacon.
Gerlach, V. S. & Ely, D. P. (1980). Teaching & Media: A
     Systematic Approach (2nd ed.). Englewood Cliffs, NJ:
     Prentice-Hall Incorporated.
Heinich, Molenda and Russell. (1985). Instructional media
     and the new technologies of instruction . Wiley :
     New York.
Heinich, R., Molenda, M., Russell, J., & Smaldino, S. (2001).
     Instructional media and technologies for learning.      th
     Journal of Marketing Education , (7 ed.). Englewood
     Cliffs, NJ: Prentice Hall.
Heinich, R., Molenda, M., Russel, J.D., Smaldino, S.E. (2002).
     Instructional Media and Technologies for learning ,
     7th edition. Merrill Prentice Hall.
Honey, M., & Moeller, B. (1990). Teachers’ beliefs and
      technology integration: Different values, different
      understanding . New York: Center for Technology in
     Education.
Kozma, R.B. (1991). The impact of computer-based tools and
     embedded prompts on writing processes and products of
     novice and advanced college writers." Cognition and
     Instruction , 8 (1), 1-27.
Levin, T., & Wadmany, R. (2006). Teachers' beliefs and
     practices in technology-based classrooms: A
     developmental view. Journal of Research on
     Technology in Education , 39(2), 157-181.

More Related Content

What's hot

Chapter 4 สื่อการเรียนรู้
Chapter 4 สื่อการเรียนรู้Chapter 4 สื่อการเรียนรู้
Chapter 4 สื่อการเรียนรู้
Wuth Chokcharoen
 
หลักสูตร Is คำอธิบายรายวิชา ม.ปลายdoc
หลักสูตร Is คำอธิบายรายวิชา ม.ปลายdocหลักสูตร Is คำอธิบายรายวิชา ม.ปลายdoc
หลักสูตร Is คำอธิบายรายวิชา ม.ปลายdoc
krupornpana55
 
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
yuapawan
 
IS1 การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ กลุ่ม1
IS1  การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ กลุ่ม1IS1  การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ กลุ่ม1
IS1 การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ กลุ่ม1
พัน พัน
 
รูปแบบการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
รูปแบบการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางรูปแบบการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
รูปแบบการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
Iaon Srichiangsa
 
วิเคราะห์ผู้เรียน
วิเคราะห์ผู้เรียนวิเคราะห์ผู้เรียน
วิเคราะห์ผู้เรียน
guestabb00
 
การจัดการเรียนรู้ Stad
การจัดการเรียนรู้ Stadการจัดการเรียนรู้ Stad
การจัดการเรียนรู้ Stad
Sandee Toearsa
 

What's hot (15)

08chap6
08chap608chap6
08chap6
 
Chapter 4 สื่อการเรียนรู้
Chapter 4 สื่อการเรียนรู้Chapter 4 สื่อการเรียนรู้
Chapter 4 สื่อการเรียนรู้
 
วิธีการสอนแบบกลุ่มย่อย
วิธีการสอนแบบกลุ่มย่อยวิธีการสอนแบบกลุ่มย่อย
วิธีการสอนแบบกลุ่มย่อย
 
บทที่ 7
บทที่ 7บทที่ 7
บทที่ 7
 
หลักสูตร Is คำอธิบายรายวิชา ม.ปลายdoc
หลักสูตร Is คำอธิบายรายวิชา ม.ปลายdocหลักสูตร Is คำอธิบายรายวิชา ม.ปลายdoc
หลักสูตร Is คำอธิบายรายวิชา ม.ปลายdoc
 
หลักสูตรเอกัตบุคคล
หลักสูตรเอกัตบุคคลหลักสูตรเอกัตบุคคล
หลักสูตรเอกัตบุคคล
 
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
 
วิเคราะห์วิธีการสอนที่เหมาะกับวิชาคณิตศาสตร์ (1)
วิเคราะห์วิธีการสอนที่เหมาะกับวิชาคณิตศาสตร์ (1)วิเคราะห์วิธีการสอนที่เหมาะกับวิชาคณิตศาสตร์ (1)
วิเคราะห์วิธีการสอนที่เหมาะกับวิชาคณิตศาสตร์ (1)
 
IS1 การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ กลุ่ม1
IS1  การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ กลุ่ม1IS1  การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ กลุ่ม1
IS1 การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ กลุ่ม1
 
รูปแบบการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
รูปแบบการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางรูปแบบการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
รูปแบบการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
 
Chapter4 ppt
Chapter4 pptChapter4 ppt
Chapter4 ppt
 
วิธีการสอนแบบพัฒนารายบุคคล
วิธีการสอนแบบพัฒนารายบุคคลวิธีการสอนแบบพัฒนารายบุคคล
วิธีการสอนแบบพัฒนารายบุคคล
 
วิเคราะห์ผู้เรียน
วิเคราะห์ผู้เรียนวิเคราะห์ผู้เรียน
วิเคราะห์ผู้เรียน
 
การจัดการเรียนรู้ Stad
การจัดการเรียนรู้ Stadการจัดการเรียนรู้ Stad
การจัดการเรียนรู้ Stad
 
การสอนอ่านภาษาอังกฤษแบบ Mia
การสอนอ่านภาษาอังกฤษแบบ Miaการสอนอ่านภาษาอังกฤษแบบ Mia
การสอนอ่านภาษาอังกฤษแบบ Mia
 

Viewers also liked

Viewers also liked (18)

บทที่ 4
บทที่ 4 บทที่ 4
บทที่ 4
 
บทที่ 5
บทที่ 5บทที่ 5
บทที่ 5
 
บทที่ 4 new
บทที่ 4 newบทที่ 4 new
บทที่ 4 new
 
บทที่ 2
บทที่ 2บทที่ 2
บทที่ 2
 
บทที่ 6
บทที่ 6บทที่ 6
บทที่ 6
 
Story board
Story boardStory board
Story board
 
บทที่ 4 new
บทที่ 4 newบทที่ 4 new
บทที่ 4 new
 
บทที่ 3
บทที่ 3บทที่ 3
บทที่ 3
 
บทที่ 10
บทที่ 10บทที่ 10
บทที่ 10
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
 
บทที่ 3
บทที่ 3บทที่ 3
บทที่ 3
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 
บทที่ 6new
บทที่ 6newบทที่ 6new
บทที่ 6new
 
บทที่ 7
บทที่ 7บทที่ 7
บทที่ 7
 
บทที่ 9
บทที่ 9บทที่ 9
บทที่ 9
 
Constructivist theories
Constructivist  theoriesConstructivist  theories
Constructivist theories
 
บทที่ 5
บทที่ 5บทที่ 5
บทที่ 5
 
ทฤษฎีการเรียนรู้010-015-030-036
ทฤษฎีการเรียนรู้010-015-030-036ทฤษฎีการเรียนรู้010-015-030-036
ทฤษฎีการเรียนรู้010-015-030-036
 

Similar to บทที่ 4 new

Similar to บทที่ 4 new (20)

งานเมย์บทที่7นะ (1)
งานเมย์บทที่7นะ (1)งานเมย์บทที่7นะ (1)
งานเมย์บทที่7นะ (1)
 
บทที่7
บทที่7บทที่7
บทที่7
 
บทที่ 7 สื่อและแหล่งการเรียนรู้
บทที่ 7 สื่อและแหล่งการเรียนรู้บทที่ 7 สื่อและแหล่งการเรียนรู้
บทที่ 7 สื่อและแหล่งการเรียนรู้
 
สรุปบทที่ 7
สรุปบทที่ 7สรุปบทที่ 7
สรุปบทที่ 7
 
บทที่7
บทที่7บทที่7
บทที่7
 
สรุป บทที่7
สรุป บทที่7สรุป บทที่7
สรุป บทที่7
 
เบญ
เบญเบญ
เบญ
 
บทที่7
บทที่7บทที่7
บทที่7
 
บทที่7
บทที่7บทที่7
บทที่7
 
บทที่7ล่าสุด
บทที่7ล่าสุดบทที่7ล่าสุด
บทที่7ล่าสุด
 
บทที่7
บทที่7บทที่7
บทที่7
 
บทที่7new
บทที่7newบทที่7new
บทที่7new
 
ฟ้า
ฟ้าฟ้า
ฟ้า
 
อาม
อามอาม
อาม
 
บทที่7ใหม่
บทที่7ใหม่บทที่7ใหม่
บทที่7ใหม่
 
บทที่7ใหม่
บทที่7ใหม่บทที่7ใหม่
บทที่7ใหม่
 
บทที่7ใหม่ๆ
บทที่7ใหม่ๆบทที่7ใหม่ๆ
บทที่7ใหม่ๆ
 
บทที่7new
บทที่7newบทที่7new
บทที่7new
 
บทที่7
บทที่7บทที่7
บทที่7
 
บทที่7 ใหม่ๆ
บทที่7 ใหม่ๆบทที่7 ใหม่ๆ
บทที่7 ใหม่ๆ
 

บทที่ 4 new

  • 1. บทที ่ 4 สื ่ อ การเรี ย นรู ้ 43 สื ่ อ การเรี ย นรู ้ สื ่ อ การเรี ย นรู ้ บทที ่
  • 2. บทที ่ 4 สื ่ อ การเรี ย นรู ้ 43 4 โครงร่ า งเนื ้ อ หาของบท คำ า สำ า คั ญ 1. ความหมายของสือการสอนและสือการ ่ ่ • สื่อการสอน เรียนรู้ 2. ประเภทของสือการเรียนรู้ ่ • สื่อการเรียนรู้ 3. หลักการเลือกและใช้สอการเรียนรู้ ื่ • เครื่องมือทาง ปัญญา วั ต ถุ ป ระสงค์ ก ารเรี ย นรู ้ • แหล่งเรียนรู้ 1. อธิบายความคิดรวบยอดของสือการ ่ • สิ่งแวดล้อม สอนและสือการเรียนรูได้ ่ ้ ทางการเรียน รู้ 2. วิเคราะห์ประเภทและสามารถเลือกและ • คุณลักษณะ ใช้สอการเรียนรูได้ ื่ ้ ของผู้เรียน 3. ออกแบบสื่อการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียน เป็นสำาคัญได้ • Assure Mode l กิ จ กรรมการเรี ย นรู ้ 1. ผู้สอนให้มโนทัศน์เชิงทฤษฎี หลักการ เรื่อง สื่อการเรียนรู้ 2. นักศึกษาแบ่งเป็นกลุ่มย่อย กลุ่มละ 3 คน ศึกษาจากสิ่งแวดล้อมทางการ เรียนรู้บนเครือข่าย http://ednet.kku.ac.th/~sumcha/web -230301/ โดยศึกษาสถานการณ์ ปัญหาบทที่ 4 วิเคราะห์ทำาความเข้าใจ ค้นหาคำาตอบจากเอกสารประกอบการ สอนและแหล่งเรียนรู้บนเครือข่ายและ ร่วมกันสรุปคำาตอบ และนำาเสนอในรูป แบบ Power point 3. นักศึกษาร่วมกันสะท้อนผลงานและ สรุปองค์ความรู้ โดยแต่ละกลุ่มต้อง สลับทำาหน้าที่กันสะท้อนผลได้แก่ ถาม คำาถาม ควบคุม ชมเชย ข้อควร ปรับปรุง และประเมิน ) ผู้สอนขยาย กรอบความคิดของผู้เรียนโดยการตั้ง ประเด็นถึงการนำาไปใช้ในสภาพบริบท จริง สถานการณ์ ป ั ญ หา(Problem-based learning) สมมติว่าในขณะนี้คุณเป็นนักศึกษาฝึกสอนโดยทำาการ
  • 3. บทที ่ 4 สื ่ อ การเรี ย นรู ้ 43 สอนที่โรงเรียนสาระวิทยา หลังจากที่คุณสอนมาได้ระยะหนึ่งแล้ว คุณก็สังเกตเห็นว่านักเรียนมีลักษณะต่างๆ ดังนี้ ด.ญ.ปนั ด ดา เป็นคนขยัน ชอบอ่านหนังสือมาก เธอบอก ว่าชอบทำาความเข้าใจเนื้อหาจากการอ่านหนังสือ หรือเอกสาร มากกว่า ฟังครูอธิบาย ด.ช.เรี ย งชั ย เป็นคนที่ชอบเรียนรู้สิ่งแปลกใหม่ ชอบ ค้นคว้า ชอบสิ่งที่ตื่นตาตื่นใจและท้าทายความสามารถ เพราะยิ่ง ท้าทายและตื่นตามากเท่าไหร่ ยิ่งจดจ่อกับสิ่งนั้นมากและทำาให้ เกิดการเรียนรู้สิ่งเหล่านั้นได้ดี ด.ช. มรกต เป็นคนที่ขาดจินตนาการ ถ้าไม่ได้เรียนจาก การมองเห็นภาพหรือของจริง เวลาครูสอนในชั้นนึกภาพตาม ไม่ทัน ส่งผลทำาให้เขาเรียนรู้ได้ช้าและไม่ทันเพื่อน ด.ญ. สะรี ร ั ต น์ เป็นคนที่ไม่ชอบศึกษาจากหนังสือที่เป็น ข้อความหรือตัวอักษร เพราะในเวลาเรียนเขาจะตั้งใจฟังครู อธิบายเนื้อหา ทำาความเข้าใจและพยายามจับประเด็นที่สำาคัญให้ ได้ในขณะที่เรียน เช่น กระบวนการในการแก้โจทย์ เขาจะต้อง เข้าใจตอนนั้น โดยไม่ต้องกลับไปอ่านหนังสืออีก เป็นต้น ภารกิ จ 1. นักศึกษาจะนำาความรู้เรื่องสื่อการสอน ไปใช้ในการ จัดการเรียนรู้อย่างไรเพื่อสนับสนุนวิธีการเรียนรู้และพัฒนา ศักยภาพของนักเรียนแต่ละคนให้มีประสิทธิภาพโดยสื่อที่นำามา ใช้นั้นต้องสนองตอบต่อการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็น ศูนย์กลาง โดยให้นักเรียนเป็นผู้สร้างความรู้เองด้วย 2. ในปัจจุบันนี้จะพบคำาว่า "สื่อการสอน" กับคำาว่า "สื่อ การเรียนรู้" ในฐานะที่นักศึกษาจะก้าวออกไปเป็นครูยุคใหม่ที่มี คุณภาพ ให้อธิบายว่า สองคำานี้ เหมือนหรือมีความแตกต่างกัน อย่างไร 3. ออกแบบสื่อการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้ ของท่าน ความหมาย ของสื ่ อ การ ประเภทของสื ่ อ สอนและสื ่ อ การเรี ย นรู ้ สื ่ อ การ เรี ย นรู ้
  • 4. บทที ่ 4 สื ่ อ การเรี ย นรู ้ 43 หลั ก การเลื อ กและ ใช้ ส ื ่ อ การเรี ย นรู ้ เมื่อกระบวนทัศน์ (Parad igm ) เกี่ยวกับการสอนเปลี่ยนมา เป็นการเรียนรู้มาสู่การเน้น ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ดังนั้น เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา ตลอดจนสื่อ จำาเป็นต้องปรับ กระบวนทัศน์เพื่อให้สอดคล้องกับ ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จากเดิมที่เป็นสื่อการสอนมาเป็นสื่อการเรียนรู้ และนวัตกรรมเพื่อ การเรียนรู้ เพื่อที่จะนำามาใช้ในการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการ จัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางที่ไม่ได้มุ่งเพียง เพื่อให้ผู้ เรียนสามารถจดจำาสิ่งที่เรียนรู้ได้เท่านั้น แต่ยังมุ่งพัฒนา คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสังคมไทย ได้แก่ ความสามารถคิด แบบองค์รวม เรียนรู้ร่วมกันและทำางานเป็นทีม ตลอดจนความ สามารถในการแสวงหาความรู้ และสร้างความรู้ด้วยตนเอง เพื่อ ทำาให้เป็นสังคมที่มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต เพื่อที่ สามารถแข่งขัน และร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ในสังคมและโลกต่อ ไป ดังนั้นสื่อการเรียนรู้จึงรวมหมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวผู้ เรียนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เช่น วัสดุ อุปกรณ์ วิธีการ ตลอดจน คน สัตว์ สิ่งของ ธรรมชาติ รวมถึงเหตุการณ์ หรือ แนว ความคิด อาจอยู่ในลักษณะที่ถ่ายทอด ความรู้ ความเข้าใจ ความ รู้สึก เพิ่มพูนทักษะและประสบการณ์ หรือเป็นเครื่องมือที่กระตุ้น ให้เกิดศักยภาพทางความคิด (Cognitive tools) ตลอดจนสิ่งที่ กระตุ้นให้เป็นผู้แสวงหาความรู้และมีทักษะในการสร้างความรู้ ด้วยตนเอง เพื่อมุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้ด้วยตนเอง ความหมายของสื ่ อ การสอนและสื ่ อ การเรี ย นรู ้ ความหมายของสื ่ อ การสอน ได้มีนักวิชาการ และนักเทคโนโลยีการศึกษา ทั้งใน ประเทศและต่างประเทศได้ให้ความหมายของ “สื่อการสอน” ไว้ หลายท่าน พอสรุปได้ ดังนี้ บราวน์ และคนอื่น ๆ (Brown and other, 1985) ให้ ความหมายของสื่อการสอนว่า เป็นอุปกรณ์ทั้งหลาย รวมทั้ง กิจกรรมต่าง ๆ ไม่เฉพาะที่เป็นวัสดุหรือเครื่องมือเท่านั้น เพื่อใช้ ในการนำาเสนอข้อความรู้จากครูให้แก่ผู้เรียน จนเกิดผลการ เรียนที่ดี เกอร์ลัช และอีลี (Gerlach and Ely, 1980) ได้ให้คำา จำากัดความของสื่อการสอนไว้ว่า สื่อการสอน คือ บุคคล วัสดุหรือ เหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งทำาให้นักเรียนได้รับความรู้ ทักษะ ทัศนคติ ครู หนังสือ และสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนจัดเป็นสื่อการสอนทั้งสิ้น ไฮนิคส์ โมเลนดาและรัสเซล (Heinich, Molenda and Russel, 1985) ให้ความหมายของสื่อการสอนไว้ว่า คือ สื่อชนิด ใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นสไลด์โทรทัศน์วิทยุเทปบันทึกเสียงภาพถ่าย วัสดุฉายและวัตถุสิ่งตีพิมพ์ซึ่งเป็นพาหนะในการนำาข้อมูลจาก แหล่งข้อมูลไปยังผู้รับ เมื่อนำามาใช้กับการเรียนการสอน หรือส่ง
  • 5. บทที ่ 4 สื ่ อ การเรี ย นรู ้ 43 เนื้อหาความรู้ไปยังผู้เรียนในกระบวนการเรียนการสอน เรียกว่า สื่อการสอน เปรื่อง กุมุท (251 9) กล่าวว่า สื่อการสอน หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่เป็นเครื่องมือ หรือช่องทางสำาหรับทำาให้การสอนของ ครูถึงผู้เรียน และทำาให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่ง หมายที่วางไว้อย่างดี ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2526) กล่าวว่า สื่อการสอน หมายถึง สิ่งที่ช่วยให้การเรียนรู้ ซึ่งครูและนักเรียนเป็นผู้ใช้เพื่อ ให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2529) ให้ความหมายของสื่อ การสอนว่า คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการที่ใช้สื่อกลางให้ผู้สอน สามารถส่ง หรือถ่ายทอดความรู้ เจตคติ และทักษะไปยังผู้เรียน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สื่อการสอน หมายถึง ตัวกลางที่ถ่ายทอดสารสนเทศไปสู่ผู้ เรียน ในกรณีใดกรณีหนึ่ง การเลือกสื่ออาจจะใช้วีดิทัศน์ ใน กรณีอื่นอาจจะเลือกใช้สื่ออื่นๆ เช่น คอมพิวเตอร์ ซึ่งสื่อแต่ละ ชนิดจะนำาเสนอ หรือเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ ระหว่าง ผู้เรียน ครู และการสอน ผู้ที่ต้องการใช้สื่อการสอนอาจ พิจารณาเกี่ยวกับ การรับสารสนเทศ ของผู้เรียนจากประเด็นต่าง ดังนี้ • สื่อที่สามารถจัดหาได้ • ผลของสื่อที่แตกต่างกันที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ • ภายใต้เงื่อนไขใดที่จะมีผลต่อความมีศักยภาพที่ เปลี่ยนแปลงไป • สื่อแต่ละชนิดจะสามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพของสื่อ สูงสุดได้อย่างไร เมื่อมีการสำารวจคำาตอบของประเด็นคำาถามดังกล่าว การวิจัย ในสาขาที่เกี่ยวข้องกับ การรับรู้ (Pe rception) การรู้คิด (C ognition) การสื่อสาร (C om m unication) ทฤษฏีการสอน (Ins tructional Theories) เข้ามาเกี่ยวข้อง สำาหรับผู้เรียน ครูเข้า มาเกี่ยวข้องกับ “วิธีการที่ จัดโครงสร้างของสารสนเทศ และการ รับรู้และประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละคน ” ผลการวิจัย แสดงให้ เห็นว่า สื่อประเภทต่าง ๆ และการเลือก และกระบวนการใช้มีผล โดยตรงต่อ การรับรู้ของผู้เรียน และวิธีการที่ผู้เรียนจะเก็บรักษา และระลึกเกี่ยวกับสารสนเทศนั้นได้ (Kozm a, 1 991 ) สรุปได้ว่า สื ่ อ การสอน หมายถึ ง วั ส ดุ เครื ่ อ งมื อ และ เทคนิ ค วิ ธ ี ก ารที ่ ผ ู ้ ส อนนำ า มาใช้ ป ระกอบการเรี ย นการ สอนเพื ่ อ ให้ ผ ู ้ เ รี ย นเกิ ด การเรี ย นรู ้ ไ ด้ อ ย่ า งมี ประสิ ท ธิ ภ าพ จากนิยามความหมายของสื่อการสอนที่กล่าวมาข้างต้น อาจจะยังไม่สอดคล้อง กับความเปลี่ยนแปลงของกระบวนทัศน์ เกี่ยวกับการศึกษาที่เปลี่ยนไป เพราะความสำาคัญ ของสื่อการ สอนยังเป็นเพียงตัวกลางที่ถ่ายทอดเนื้อหาหรือความรู้เท่านั้น ดัง นั้นนิยาม ความหมายของสื่อการสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้น พื้นฐาน ปีพุทธศักราช 2544 จะปรับเปลี่ยนเป็น “สื ่ อ การเรี ย น รู ้ ” ซึ่งได้นิยามความหมายไว้ดังนี้ (สุมาลี ชัยเจริญ, 2547) ความหมายของสื ่ อ การเรี ย นรู ้
  • 6. บทที ่ 4 สื ่ อ การเรี ย นรู ้ 43 นับตั้งแต่ที่ประเทศไทยได้ปฏิรูปแนวคิดเกี่ยวกับการศึกษา ของประเทศตั้งแต่มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติ พ.ศ. 2542 เป็นต้นมา แนวคิดเกี่ยวกับการศึกษามามุ่ง เน้นที่การพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนเป็นสำาคัญ โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งการสร้างความรู้และพัฒนากระบวนการคิด ดังนั้นแนวคิดเกี่ยว กับ”การสอนหรือการถ่ายทอด”จึงเปลี่ยนมาเป็น “การเรียนรู้” ที่ เน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ขึ้นมาด้วยตนเองโดยอาศัยแหล่ง การเรียนรู้ต่างๆ ด้วยเหตุนี้ “ส ื ่ อ การเรีย น รู้” เป็นเค รื่อง มื อ ข อ ง ก า ร เ ร ี ย น ร ู ้ ที่ทำาให้ผู้เรียน สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นสิ่ง สำาคัญเนื่องจากในยุคปัจจุบัน ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ การใช้ เทคโนโลยีและการสื่อสารทำาให้ผู้ เรียนจำาเป็นต้องพัฒนาตนเองให้ สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆด้วยตนเอง ตลอดจนพัฒนาศักยภาพการคิด ได้แก่ การคิดอย่างสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดอย่างอย่างมีเหตุผล นอกจากนี้ควรเป็นสิ่งที่ช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้ด้วย ตนเอง ส ื ่ อ ก า ร เ ร ี ย น ร ู ้ หมายถึง ท ุ ก ส ิ ่ ง ท ุ ก อ ย ่ า ง ร อ บ ต ั ว ผ ู ้ เรียน ที่ช่ว ย ใ ห ้ ผู้เรีย นเกิ ด ก า ร เ รีย น รู้ เช่น คน สัตว์ สิ่ง ข อ ง ธร ร ม ช า ต ิ รว ม ถึ ง เ ห ต ุ ก า ร ณ ์ หรือ แน ว ค ว า ม ค ิ ด โดยมุ่งเน้นส่งเสริมการ ค้น คว้า หรือ การแสวงหา คว าม รู ้ ด ้ ว ย ต น เ อ ง ช ่ ว ย ใ ห ้ ผ ู ้ เ ร ี ย น ส า ม า ร ถ เ ร ี ย น ร ู ้ ไ ด ้ อ ย ่ า ง ต ่ อ เ น ื ่ อ ง ต ล อ ด ช ี ว ิ ต (กรมวิชาการ, 2545: คู่มือการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ) สื่อการเรียนรู้ เป็นเครื่องมือที่ ใช้ในการเรียนรู้ของผู้เรียน อาจทำาหน้าที่ • ถ่ายทอดความรู้ ความ เข้าใจ ความรู้สึก เพิ่มพูนทักษะและ ประสบการณ์ • สร้างสถานการณ์การ เรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน • กระตุ้นให้เกิดศักยภาพ ทางความคิด ได้แก่ คิด วิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ เป็นต้น • กระตุ้นให้เป็นผู้แสวงหาความรู้และมีทักษะในการสร้าง ความรู้ด้วยตนเอง (กรมวิชาการ 2544) สื่อการเรียนรู้ เป็นเครื่องมือที่ใช้ถ่ายทอดความรู้ ความ เข้าใจความรู้สึก เพิ่มพูนทักษะและประสบการณ์ สร้าง สถานการณ์การเรียนรู้กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาศักยภาพ ทางการคิด เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมแก่ผู้เรียน และมุ่งเน้นการส่งเสริมผู้เรียนทางด้านการแสวงหาความรู้ด้วย ตนเอง (กรมวิชาการ, 2545)
  • 7. บทที ่ 4 สื ่ อ การเรี ย นรู ้ 43 ภ า พ ท ี ่ 4-1 แสดงการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของสื่อการสอนมา เป็นสื่อการเรียนรู้ จากที่กล่าวมาข้างต้น อาจสรุปได้ว่า ส ื ่ อ ก า ร เ ร ี ย น ร ู ้ หมายถึง เครื่องมือที่ออกแบบโดยบูรณาการกับวิธีการจัดการ เรียนรู้ที่กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาศักยภาพทางปัญญา (Cognitive tools) ตลอดจนกระตุ้นให้เป็นผู้แสวงหาความรู้และมีทักษะใน การสร้างความรู้ด้วยตนเอง เพื่อมุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนมีโอกาส เรียนรู้ด้วยตนเอง ส่งเสริมการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ความ รู้สึก เพิ่มพูนทักษะและประสบการณ์โดยเครื่องมือเหล่านั้นอาจ เป็นทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวผู้เรียนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เช่น วัสดุ อุปกรณ์ เทคโนโลยีสารสนเทศ วิธีการ ตลอดจน คน สัตว์ สิ่งของ ธรรมชาติ ภูมิปัญญา รวมถึงเหตุการณ์ หรือ แนว ความคิด เป็นต้น คุณ ลั ก ษ ณ ะ ข อ ง ส ื่อ ก า ร เรี ย น รู้ 1. ช่วยส่งเสริมการสร้าง ความรู้ของผู้เรียน 2. ช่วยส่งเสริมการศึกษา ค้นคว้าด้วยตนเอง 3. มุ่งเน้นการพัฒนาการ คิดของผู้เรียน 4. เป็นสื่อที่หลากหลาย ได้แก่ วัสดุ อุปกรณ์ วิธี การ ตลอดจน สิ่งที่มีตาม ธรรมชาติ 5. เป็นสื่อที่อยู่ตามแหล่งความรู้ในระบบเทคโนโลยี สารสนเทศ 6. ช่วยพัฒนาการร่วมทำางานเป็นทีม ค ว า ม ส ำา ค ั ญ ข อ ง ส ื ่ อ ก า ร เ ร ี ย น ร ู ้ 1. ช่วยให้ผเรียนเกิดความเข้าใจและสร้างความคิดรวบยอดใน ู้ เรืองทีเรียนได้งายและรวดเร็วขึน ่ ่ ่ ้ 2. ช่วยให้ผู้เรียนมองเห็นสิ่งที่กำาลังเรียนรู้ได้อย่างเป็นรูป ธรรม 3. ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง
  • 8. บทที ่ 4 สื ่ อ การเรี ย นรู ้ 43 4. สร้างสภาพแวดล้อมและประสบการณ์การเรียนรู้ที่แปลก ใหม่ 5. ส่งเสริมการมีกิจกรรมร่วมกันระหว่างผู้เรียน 6. เกื้อหนุนผู้เรียนที่มีความสนใจและความสามารถในการ เรียนรู้ที่แตกต่างกันให้สามารถเรียนรู้ได้ทัดเทียมกัน 7. ช่วยเชื่อมโยงสิ่งที่ไกลตัวผู้เรียนให้เข้ามาสู่การเรียนรู้ของ ผู้เรียน 8. ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วิธีการแสวงหาความรู้จากแหล่ง ข้อมูลต่างๆตลอดจนการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง 9. ช่วยให้ผู้เรียนได้รับการเรียนรู้ในหลายมิติจากสื่อที่หลา หลาย 10.ช่วยกระตุ้นให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในเชิงเนื้อหา กระบวนการ และความรู้เชิงประจักษ์ 11.ส่งเสริมให้เกิดทักษะ ได้แก่ ทักษะการคิด ทักษะการ สื่อสาร ต า ร า ง ท ี ่ 4. 1 แสดงการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสื่อ การสอนและสื่อการเรียนรู้ ประเด็น สื่อก า ร ส อ น สื่อการ เรีย น รู้ ลักษณะ วัสดุ อุปกรณ์ วัสดุ อุปกรณ์ เทคโนโลยี เทคโนโลยี สารสนเทศ วิธีการ สารสนเทศ วิธีการ บทบาทต่อการเรียน มุ่งเน้นการถ่ายทอด มุ่งเน้นการให้ผู้ รู้ เนื้อหาความรู้จากผู้ เรียนมีปฏิสัมพันธ์ สอนไปยังผู้เรียน เพื่อสร้าง กระบวนการเรียนรู้ ด้วยตนเอง การออกแบบ บรรจุเนื้อหา ความรู้ ส่งเสริมการคิด การ และทักษะ รวมทั้ง แสร้างความรู้และ ประสบการณ์ การแก้ปัญหา ป ร ะ เ ภ ท ข อ ง ส ื ่ อ ก า ร เ ร ี ย น ร ู ้ กรมวิชาการ (2545) ได้จำาแนกประเภทของสื่อการเรียนรู้ ไว้ดังนี้ สื่อสิ่ง พิ ม พ ์ สื่อสิ่งพิมพ์ เป็น สิ่งที่พิมพ์ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแผ่นกระดาษ หรือวัตถุใด ๆ ด้วยวิธีการต่าง ๆ อันเกิดเป็นชิ้นงานที่มีลักษณะ เหมือน ต้นฉบับขึ้นหลายสำาเนาในปริมาณมากเพื่อเป็นสิ่ง ที่ทำาการติดต่อ หรือชักนำาให้บุคคลอื่นได้เห็นหรือทราบ ข้อความ ต่าง ๆ ซึ่งมีหลายลักษณะเช่น เอกสาร หนังสือ ตำารา หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร จุลสาร ฯลฯ กระบวนการเรียนรู้ ของผู้เรียนด้วยสื่อสิ่งพิมพ์คือการอ่านและพยายามสร้างความ เข้าใจจากสารสนเทศที่นำาเสนอ ประโยชน์ของสื่อสิ่งพิมพ์มีดังนี้
  • 9. บทที ่ 4 สื ่ อ การเรี ย นรู ้ 43 - ใช้งานง่ายไม่ซับซ้อน เพราะว่าสื่อสิ่งพิมพ์มีการวาง หัวข้อ เรื่องราวและรูปแบบที่จัดวางไว้เป็นระเบียบ - มีความยืดหยุ่นในการใช้ สื่อสิ่งพิมพ์สามารถใช้ได้กับ ทุกสภาพแวดล้อมที่มีแสง สามารถพกพาติดตัวผู้ใช้ได้สะดวก - ประหยัด สื่อสิ่งพิมพ์สามารถนำากลับมาใช้ประกอบการ จัดการเรียนรู้ได้ตลอด แม้ว่าจะมีผู้เรียนใช้มาหลายคนแล้วก็ตาม สื่อเ ท ค โ น โ ล ย ี สื่อเทคโนโลยี เป็น สื่อที่นำาศักยภาพของเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารเข้ามาใช้ในการนำาเสนอเนื้อหาบท เรียน เช่น แถบบันทึกภาพ วีดิทัศน์ เทปเสียง สไลด์ คอมพิวเตอร์ มัลติมีเดีย สื่อบนเครือข่าย อินเตอร์เน็ต การศึกษาผ่านดาวเทียม กระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยสื่อสื่อเทคโนโลยีผู้เรียน สามารถมีปฏิสัมพันธ์ และสร้างการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง สื่อ จำาพวกมัลติมีเดียยังสามารถนำาเสนอภาพเคลื่อนไหว ภาพจริง ที่ แสดงความเปลี่ยนแปลง ตลอดจนเสียงประกอบที่ช่วยให้ผู้เรียน เรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนั้นเทคโนโลยีสารสนเทศยังสนองต่อ การเรียนรู้ของผู้เรียนได้ทุกที ทุกเวลา ประโยชน์ของสื่อ เทคโนโลยีมีดังนี้ - ผู้เรียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์และโต้ตอบกับสื่อได้ - ให้ความเหมือนจริง โดยเฉพาะวีดิทัศน์ เทปเสียง สไลด์ - ค้นหาสารสนเทศ ความรู้ได้อย่างไร้ขีดจำากัด - สนองตอบการเรียนรู้ระยะไกล ส ื ่ อ ท ี ่ เ ป ็ น ก ิ จ ก ร ร ม /ก ร ะ บ ว น ก า ร สื่อกิจกรรม เป็น สื่อในลักษณะที่เป็นกระบวนการ กิจกรรม ที่จดเพื่อฝึกกระบวนการคิดและการปฏิบัติ ตลอดจนทักษะต่างๆ ั ให้กับผู้เรียน เช่น การร่วมมือกันแก้ปัญหา การใช้ปัญหาเป็น ฐาน โครงงาน การสืบเสาะความรู้ การค้นพบความรู้ การแก้ ปัญหา เกม การอภิปราย การทดลอง เป็นต้น ประโยชน์ของสื่อ กิจกรรมมีดังนี้ - ส่งเสริมการคิดขั้นสูง เพราะผู้เรียนจะได้ใช้ทั้งการ วิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินและตัดสินใจเกี่ยวกับสารสนเทศ มากกว่าการจดจำาข้อมูลหรือข้อเท็จจริงต่างๆ - พัฒนาทักษะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน - ส่งเสริมการเรียนรู้แบบตื่นตัว (Active le arning) - พัฒนากระบวนทางสังคมและการสื่อสาร - ฝึกการปฏิบัติเพื่อเพิ่มทักษะเฉพาะด้าน เช่น ทักษะการ ทำางานกลุ่ม ทักษะทางวิทยาศาสตร์ ทักษะการใช้เครื่องมือ สื่อบุ ค ค ล รวม ถึ ง ภ ู มิ ปั ญ ญ า ท ้ อ ง ถ ิ่ น สื่อบุคคล คือ ตัวบุคคลที่ทำาหน้าที่เป็นผู้ส่งสาร อยู่ในระบบ การสื่อสารระหว่างบุคคล และการสื่อสารระดับกลุ่ม ภูมิปัญญา เป็นความรู้ความสามารถ วิธีการผลงานที่คนไทยได้ค้นคว้า รวบรวม และจัดเป็นความรู้ ถ่ายทอด ปรับปรุง จากคนรุ่นหนึ่งมา สู่คนอีกรุ่นหนึ่ง จนเกิดผลิตผลทีดี งดงาม มีคุณค่า มีประโยชน์ ่ สามารถนำามาแก้ปัญหาและพัฒนาวิถีชีวิตได้แต่ละหมู่บ้าน แต่ละ ชุมชนไทย ล้วนมีการทำามาหากินที่สอดคล้องกับภูมิประเทศ มี ผู้นำาที่มีความรู้ มีฝีมือทางช่าง สามารถคิดประดิษฐ์ ตัดสินใจแก้ ปัญหาของชาวบ้านได้ ผู้นำาเหล่านี้ เรียกว่า ปราชญ์ชาวบ้าน หรือผู้ทรงภูมิปัญญาไทย ประโยชน์ของสื่อบุคคล และภูมิปัญญา ท้องถิ่นมีดังนี้ - การเรียนจากประสบการณ์จริง - พัฒนา ต่อยอดองค์ความรู้ในชุมชนท้องถิ่น
  • 10. บทที ่ 4 สื ่ อ การเรี ย นรู ้ 43 - มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น - สร้างความสัมพันธ์ให้กับชุมชนท้องถิ่น สื่อธ ร ร ม ช า ต ิ แ ล ะ ส ิ ่ ง แ ว ด ล ้ อ ม ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ชิดตัวผู้เรียน ตังแต่ตื่นเช้าจนกระทั่งช่วงชีวิตทั้งวัน จึงถือเป็นสื่อการเรียนรู้ที่ ้ สำาคัญอย่างยิ่ง ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้ตาม พ.ร.บ.การ ศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 เน้นการเรียนรู้ตามสภาพจริง อันเนื่อง มาจากต้องการให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงองค์ความรู้ต่างๆที่ เผชิญหรือพบเจอ มาใช้ในการแก้ปัญหาสำาหรับตนเองและสังคม ได้ ธรรมชาติจึงถือเป็นแหล่งเรียนรู้ขนาดใหญ่ที่ผู้เรียนจะต้อง แสวงหาความจริง ข้อเท็จและนำามาประมวลเป็นความรู้ของ ตนเอง ประโยชน์ของสื่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีดังนี้ - ให้ความเป็นจริง - ประหยัด ไม่ต้องลงทุนในการผลิต - บูรณาการลงสู่ชีวิตประจำาวัน - มีความหลากหลายสนองต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ส ื่อ ว ัส ด ุอ ุป ก ร ณ ์ สื่อวัสดุอุปกรณ์หมายถึง วัสดุที่ประดิษฐ์ขึ้นใช้เพื่อประกอบ การเรียนรู้ เช่น หุ่นจำาลอง แผนภูมิ แผนที่ ตาราง สถิติ รวมถึงสื่อ ประเภทเครื่องมือและอุปกรณ์ที่จำาเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติงาน ต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์ทดลองวิทยาศาสตร์ เครื่องมือช่าง เป็นต้น ห ล ั ก ใ น ก า ร เ ล ื อ ก แ ล ะ ใ ช ้ ส ื ่ อ ก า ร เ ร ี ย น ร ู ้ ในโลกปัจจุบันพบว่าความต้องการเกี่ยวกับตัวผู้เรียนเพิ่ม มากขึ้น เพราะว่าที่ผ่านมาอาจจะมีการตอบสนองต่อการเรียน แบบท่องจำามามากแล้ว แต่ในปัจจุบันในสภาพชีวิตจริงต้องการ บุคคลในสังคมที่มีความสามารถในการใช้ทักษะการให้เหตุผล ในระดับที่สูงขึ้นในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน ซึ่งพบว่าความ สามารถในทักษะดังกล่าวที่จะนำามาใช้ในการแก้ปัญหาไม่ค่อย ปรากฏให้เห็นหรือมีอยู่น้อยมาก ในปัจจุบันจะพบว่าทุก ๆ คนไม่ว่า จะเป็นผู้ที่ทำางานในโรงงาน ประกอบเครื่องจักรตามสายพาน หรือทำางานที่ต้องร่วมกันคิดเป็นทีม ต่างล้วนต้องมีทักษะการแก้ปัญหา ด้วยกันทั้งหมด ซึ่งนั่นหมายความ ว่าแนวความคิดเกี่ยวกับการจัดการ ศึกษาต้องเปลี่ยนไป ดังที่ Driscoll (1994) กล่าวว่า อาจจะต้องเปลี่ยน จากแนวคิดที่ว่า ผู้เรียนเป็นภาชนะ ทีว่างเปล่าที่รอรับการเติมให้เต็ม มาคิดว่า ผู้เรียนเป็นสิ่งมีชีวิตที่มี ่ ความตื่นตัว กระฉับกระเฉงและค้นหาความหมายของสิ่งต่างๆ ซึ่ง ขณะนี้ผู้เรียนจะถูกมองว่าเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมอย่างตื่นตัวในการ เรียนรู้ คิดค้นหาวิธีที่จะวิเคราะห์ ตั้งคำาถาม อธิบายและทำาความ เข้าใจต่อสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ในปัจจุบันเป็นยุคที่การส่งข้อมูลที่รวดเร็วมาก เทคโนโลยี เปิดโอกาสให้แต่ละบุคคลได้รับ รวบรวม วิเคราะห์และสื่อสาร ข้อมูลข่าวสารได้อย่างละเอียดและรวดเร็วมากกว่าที่ผ่านมา เป็น ผลที่ทำาให้ความต้องการและขอบเขตเกี่ยวกับการศึกษาขยาย เพิ่มมากขึ้น เพื่อที่จะช่วยผู้เรียนทุกคนได้รับทักษะที่เพิ่มมากขึ้น
  • 11. บทที ่ 4 สื ่ อ การเรี ย นรู ้ 43 ที่จะทำาให้ผู้เรียนเกิดความพร้อมในการวิเคราะห์ ตัดสินใจ และ แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงที่ซับซ้อน ดังที่ Bruner (1983) กล่ า วว่ า "ผู ้ เ รี ย นต้ อ งยกระดั บ การเรี ย นที ่ เ พิ ่ ม จาก " การจดจำ า " ข้ อ เท็ จ จริ ง ไปสู ่ ก ารเริ ่ ม ต้ น ที ่ จ ะคิ ด อย่ า งมี วิ จ ารณญาณและสร้ า งสรรค์ " ความจำาเป็นที่เพิ่มขึ้นเหล่านี้ นำามาสู่การเปลี่ยนแปลงวิธีการที่ครูผู้สอนจะมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ เรียน จากเดิมจะเป็นการบอก ถ่ายทอด ความรู้จากครูไปสู่ ผู้ เรียน มาเป็น การจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ การยิ่งไป กว่านั้นความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจำาเป็นที่ครูผู้สอนต้องมีพื้นฐาน ของความเข้าใจอย่างดีเกี่ยวกับผู้เรียนแต่ละคนมีวิธีการเรียนรู้ อย่างไร ผู้สอนจึงควรศึกษาเทคนิค วิธีการ และเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ จะนำามาใช้เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้รับความรู้ใหม่ ซึ่งแต่เดิมมัก เป็นการสอนให้ผู้เรียนเรียนโดยเน้นการท่องจำา และปรับเปลี่ยน มาสู่การใช้เทคนิควิธีการที่จะช่วยผู้เรียนได้รับข้อเท็จจริงได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ การใช้ เทคนิคช่วยการจำา เช่น Mnemonics เป็นต้น รวมทั้งการจัดการสอนที่ เน้นครูเป็นศูนย์กลางอาจนำาไปใช้ ให้เกิดประโยชน์ได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามสิ่งที่สำาคัญและเป็น ความต้องการของการศึกษาใน ปัจจุบัน การสอนที่ผู้เรียนควรได้ รับคือ ทักษะการคิดในระดับสูง (Higher-order thinking skills) ได้แก่ การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตลอดจนการแก้ปัญหา และการ ถ่ายโอน (Transfer) โดยเน้นการใช้วิธีการต่าง ๆ อาทิ สถานการณ์จำาลอง การค้นพบ การแก้ปัญหา และการเรียนแบบ ร่วมมือ สำาหรับผู้เรียนจะได้รับประสบการณ์การแก้ปัญหาที่ สอดคล้องกับสภาพชีวิตจริง ในปัจจุบันได้เปลี่ยนจากการสอน หรือการถ่ายทอดโดย ครูผู้สอน หรือสื่อการสอนมาสู่การเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ที่ให้ ความสำาคัญต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยผ่านการปฏิบัติ ลงมือ กระทำาด้วยตนเอง การพัฒนาศักยภาพทางการคิด ตลอดจนการ แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ดังนั้น ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียน วางแผน ดำาเนินการและการประเมินด้วยตนเอง ดังแสดงในภาพ ที่ 2 ผู ้ เ รี ย นจะเป็ น ศู น ย์ ก ลางของการเรี ย นรู ้ ซึ ่ ง จะต้ อ ง มี ป ฏิ ส ั ม พั น ธ์ ก ั บ แหล่ ง ข้ อ มู ล ที ่ ม ี ศ ั ก ยภาพ ได้แก่ ครู เทคโนโลยี พ่ อ แม่ ภู ม ิ ป ั ญ ญาชาวบ้ า น และบุ ค คลอื ่ น ๆ ตลอดจน สื ่ อ ต่ า งๆ เพื่อที่จะนำามาสู่การหยั่งรู้ในปัญหาและการ แก้ปัญหา หรือการได้มาซึ่งความรู้ที่ตนเองสร้างขึ้น บทบาทของ ครูได้เปลี่ยนแปลงมาสู่การแนะแนวทางและเป็นผู้อำานวยการ และช่วยเหลือผู้เรียนให้สามารถบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ ดัง แสดงในภาพข้างล่าง
  • 12. บทที ่ 4 สื ่ อ การเรี ย นรู ้ 43 ภาพที ่ 4-2 แสดงการเปลี่ยนบทบาทของครู สื่อและผู้ เรียนจากการถ่ายทอดมาเป็น ให้ผู้เรียนสร้างความรู้จากแหล่งเรียนรู้ จากภาพจะเห็นได้ว่า ได้มีแนวคิดเปลี่ยนแปลงจากเดิมที่ ครูผู้สอนเป็นผู้ที่วางแผน และถ่ายทอดความรู้ต่างๆไปสู่ผู้เรียน โดยตรง ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาทางด้านสื่อการสอนต่างๆ จึงมี การใช้สื่อการสอนถ่ายทอดเนื้อหาความรู้ต่างๆ ไปยังผู้เรียน เช่น แผ่นภาพโปร่งใส ภาพยนตร์ สไลด์ วิดีทัศน์ คอมพิวเตอร์ช่วย สอน เพื่อช่วยเปลี่ยนสิ่งที่เป็นนามธรรม ให้เป็นรูปธรรมเพิ่มขึ้น อีกทั้ง ยังแก้ปัญหาเกี่ยวกับจำานวนผู้เรียนเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ ยังช่วยตอบสนองด้านความแตกต่าง ระหว่างบุคคล ในปัจจุบันได้เปลี่ยนจากการสอน หรือการถ่ายทอดโดย ครูผู้สอน หรือสื่อการสอนมาสู่การ เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางที่ให้ ความสำาคัญต่อการเรียนรู้ของผู้ เรียน โดยผ่านการปฏิบัติ ลงมือ กระทำาด้วยตนเอง การพัฒนา ศักยภาพทางการคิด ตลอดจนการ แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ดัง นั้น ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียน วางแผน ดำาเนินการ และการ ประเมินด้วยตนเอง เมื่อมีการเปลี่ยนกระบวน ทัศน์ การสอน มาสู ่ การเรี ย นรู ้ ดังนั้นเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมที่นำามาเพิ่มประสิทธิภาพก็ต้อง สอดรับกับแนวคิดดังกล่าว คือ มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการ เรียนรู้ของผู้เรียน ลักษณะของการนำาเทคโนโลยี และนวัตกรรม หรือสื่อมาใช้ที่สอดคล้องกับการปฏิรูปการเรียนรู้ เป็น "Media + Methods" หรื อ "สื ่ อ ร่ ว มกั บ วิ ธ ี ก าร" เช่น การใช้เว็บร่วมกับ การเรียนแบบร่วมมือเพื่อเปิดโอกาสให้ลงมือกระทำาอย่างตื่นตัว ในกระบวนการเรียนรู้ของตนเอง และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับ เพื่อน รวมทั้งการขยายมุมมอง แนวคิดให้กว้างขวางขึ้น อันนำา ไปสู่การสร้างความรู้ที่มีความหมายของตนเองขึ้นมา ซึ่งจะเป็น ความรู้ที่อยู่คงทน และสามารถถ่ายโอนไปใช้ในสถานการณ์อื่น
  • 13. บทที ่ 4 สื ่ อ การเรี ย นรู ้ 43 หรือนำาไปใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆในสภาพชีวิตจริงได้ ส่วนวิธี การ (Me thods) ที่สอดรับกับสภาพปัจจุบัน ได้แก่ • การเรียนแบบค้นพบ (D iscove ry) • การเรียนแบบสืบเสาะ(Inquiry) • การเรียนแบบแก้ปัญหา (P rob lem S olving) • การเรียนแบบร่วมมือ (C oope rative Le arning) • การเรียนโดยการสร้างความรู้ (C onstructivism ) • สถานการณ์จำาลอง (S im ulation) • การสร้างโครงงาน (P ro j ct base) e ภาพที ่ 4-3 แสดงแนวทางการออกแบบการเรียนรู้ที่ต้อง ประสานร่วมกันทั้งสื่อและวิธีการ นอกจากจะใช้สื่อร่วมกับวิธีการ ดังกล่าวมาข้างต้น อาจ ออกแบบการจัดการเรียนรู้ โดยเปลี่ยนเป็น "การจัดสิ่งแวดล้อม ทางการเรียนรู้" ซึ่งจะนำาพื้นฐานทางทฤษฎีการเรียนรู้ หลักการ หรือวิธีการ มาเป็นพื้นฐานในการออกแบบสื่อ เช่น การจัดสิ่ง แวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่าย (Web-base learning) หรือ การจัดสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivism) ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ประสบผลสำาเร็จนั้น ครูผู้ สอนจะต้องทำาการวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ พร้อมๆไป กับการผลิตและการใช้สื่อการเรียนรู้ แนวทางในการพัฒนาสื่อ การเรียนรู้ มีดังต่อไปนี้ 1. วิ เ คราะห์ ว ั ต ถุ ป ระสงค์ เนื ้ อ หา 2. วิ เ คราะห์ ก ิ จ กรรมการเรี ย นรู ้ ท ี ่ ส อดคล้ อ ง กั บ วั ต ถุ ป ระสงค์ เนื ้ อ หา
  • 14. บทที ่ 4 สื ่ อ การเรี ย นรู ้ 43 3. ออกแบบกิ จ กรรมการเรี ย นรู ้ ท ี ่ เ น้ น ผู ้ เ รี ย น เป็ น ศู น ย์ ก ลาง ควรพิจารณาลักษณะของกิจกรรม ดังต่อไปนี้ • ผู้เรียนต้องลงมือปฏิบัติอย่างตื่นตัว • เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษา ค้นคว้าจาก แหล่งการเรียนรู้ต่างๆ • เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีอิสระในการคิดแก้ ปัญหา หรือพัฒนาชิ้นงาน หรือ โครงการ • ต้องคำานึงให้ผู้เรียนร่วมเรียนรู้ หรือทำางาน เป็นกลุ่ม 4. วิ เ คราะห์ ก ิ จ กรรมการเรี ย นรู ้ ดังกล่าวข้างต้น จะ ต้องสื่อการเรียนรู้ประเภทใดที่ช่วยสร้างความเข้าใจในความคิด รวบยอดนั้นได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยเน้นกิจกรรมที่ผ่านกระบวนการที่ผู้ เรียนต้องลงมือค้นหาคำาตอบ ทำาความเข้าใจด้วยตนเอง หรือ สะท้อนการเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง 5. จั ด เตรี ย ม สื ่ อ การเรี ย นรู ้ อาจจะผลิตขึ้นมาใหม่ หรือปรับปรุงจากของเดิม อาจอยู่ในรูปของ • ชุดการทดลอง • ชุดกิจกรรม • สิ่งตีพิมพ์ เช่น เอกสาร ตำารา วารสาร • เทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ เช่น อินเตอร์เน็ต อีเลิร์นนิ่ง มัลติมีเดีย การเรียนรู้บนเครือข่าย • แหล่งตามธรรมชาติ • แหล่งการเรียนรู้อื่นๆ 6. นำ า ไปใช้ ต ามแผนการจั ด กิ จ กรรมการเรี ย นรู ้ โดยเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ • ผู้เรียน • ครูผู้สอน • สถานที่และสิ่งอำานวยความสะดวก รู ป แบบการใช้ ส ื ่ อ การเรี ย นรู ้ อ ย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ ในการใช้สื่อการเรียนรู้นั้น ผู้สอนควรมีการวางแผนการ ใช้สื่ออย่างเป็นระบบ สอดคล้องกับวิธีการจัดการเรียนรู้ที่วางไว้ และบรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายของการเรียนรู้ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ซึ่ง Heinich and other (٢٠٠٢) ได้เสนอกระบวนที่ แนะแนวทางในการวางแผนการจัดการเรียนรู้ที่มีบูรณาการ เทคโนโลยีและสื่อลงในกระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่เรียกว่า ASSUREMODEL ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ • Analyze Learner • State Objectives • Select, modify, design Methods, Media, & Materials • Utilize Methods, Media, & Materials • Require Learner Participation • Evaluation and Revise
  • 15. บทที ่ 4 สื ่ อ การเรี ย นรู ้ 43 ภ า พ ท ี ่ 4- 4 แสดงองค์ประกอบของ Assur e Model ของ Heinich and ot her (٢٠٠٢) ก า ร ว ิ เ ค ร า ะ ห ์ ผ ู ้ เ ร ี ย น (Analyze Leaner Char act er ist ics) ผู้สอนควรวิเคราะห์ผู้เรียนเพื่อเลือกใช้สื่อการเรียนรู้ให้ สอดคล้องและเหมาะสม โดยพิจารณาในประเด็นดังต่อไปนี้ 1) คุณลักษณะทั่วไป – จำานวนผู้เรียน ระดับชั้น อายุ เพศ สถานภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ชาติพันธุ์ ฯลฯ 2) สมรรถนะเฉพาะที่มีมาก่อน – ความรู้เดิมของผู้เรียน ทักษะทางปัญญา ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนที่เกี่ยวกับ เนื้อหาที่เรียน 3) แบบการเรียน (Learning Styles) – ผู้สอนควรตรวจสอบ เกี่ยวกับ  การรับรู้ของผู้เรียน ในลักษณะต่างๆ เช่น รับรู้ด้วยการ ฟัง การมองเห็น การสัมผัส และการเคลื่อนไหว  กระบวนการประมวลสารสนเทศของผู้เรียนว่ามี ลักษณะอย่างไร  การสร้างปัจจัยทางด้านแรงจูงใจภายในและทางด้าน กายภาพ เช่น ความวิตกกังวล แรงจูงใจทางด้านผล สัมฤทธิ์ ทางด้านสังคมหรือการแข่งขัน ก า ร ก ำ า ห น ด ว ั ต ถ ุ ป ร ะ ส ง ค ์ (State Objectives) เป็นการอธิบายสิ่งที่ผู้จะต้องทำาการเรียนรู้ สิ่งที่ผู้สอนต้อง ตระหนัก คือ 1) มุ่งเน้นผู้เรียน(ไม่ใช่ผู้สอน) 2) วัตถุประสงค์เป็นการอธิบายผลการเรียนรู้
  • 16. บทที ่ 4 สื ่ อ การเรี ย นรู ้ 43 ก า ร เ ล ื อ ก ว ิ ธ ี ก า ร ส ื ่ อ แ ล ะ ว ั ส ด ุ (Select met hod, media and Materials) 1) เลือกวิธีการสอนที่สามารถทำาให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้ อย่างเหมาะสม 2) สื่อการเรียนรู้จะต้องสอดคล้องกับวิธีการสอน วัตถุประสงค์ และผู้เรียน อาจจะอยู่เป็น ข้อความ ภาพนิ่ง วีดิทัศน์ เสียง และคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย ก า ร เ ล ื อ ก ป ร ั บ อ อ ก แ บ บ ว ิ ธ ี ก า ร ส ื ่ อ แ ล ะ ว ั ส ด ุ (Select, m o dify, Design Methods, Media, & Materials) มีหลักใน การพิจารณาดังนี้ 1) เลือกสื่อโดยคำานึงถึงความต้องการของผู้เรียน 2) เลือกสื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการเรียน 3) เลือกสื่อให้สอดคล้องกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 4) เลือกสื่อให้สอดคล้องกับแบบการเรียนและคุณลักษณะ ของผู้เรียน 5) เลือกใช้สื่อที่หลากหลายลักษณะ/ รูปแบบ ก า ร ใ ช ้ ว ิ ธ ี ก า ร ส ื ่ อ แ ล ะ ว ั ส ด ุ (Utilize method, Media and Materials) การวางแผนเกี่ยวกับวิธีการนำาสื่อและวัสดุไปใช้ในการ จัดการเรียนรู้ ตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่กำาหนดเพื่อให้บรรลุ วัตถุประสงค์ในการเรียน เพื่อที่จะใช้สื่อได้อย่างถูกต้องและ สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำาคัญ ควร พิจารณาตามรายละเอียดต่อไปนี้ 1) ตรวจสอบสื่อ เปิดดูก่อน (Preview the material) 2) เตรียมสื่อให้พร้อมใช้งาน (Prepare the material) 3) เตรียมห้องเรียนและสภาพแวดล้อม (Prepare the environment) 4) แนะนำาวิธีการใช้สำาหรับผู้เรียน (Prepare the learners) 5) การให้ประสบการณ์เกี่ยวกับสื่อแก่ผู้เรียน (Provide the learning experience) ส ิ ่ ง ท ี ่ ต ้ อ ง ก า ร ใ ห ้ ผ ู ้ เ ร ี ย น ต อ บ ส น อ ง (Require Learner Response) 1) อธิบายวิธีการที่ผู้เรียนต้องมีส่วนร่วมหรือทำาการเรียนรู้ อย่างตื่นตัว (actively) 2) บทบาทของผู้เรียนในชั้นเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการ ใช้เทคโนโลยีในการสร้างประสบการเรียนรู้ 3) กิจกรรมต่างๆควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้จัดกระทำากับ สารสนเทศและมีเวลาเพียงพอสำาหรับการลงมือปฏิบัติ ก า ร ป ร ะ เ ม ิ น แ ล ะ ก า ร ป ร ั บ (Evaluation and revise) แนวทางการประเมินเกี่ยวกับสื่อมีลักษณะสำาคัญดังนี้ 1) การประเมินความสามารถของผู้เรียน (Evaluate student performance เพื่อตรวจสอบว่าผู้เรียนสามารถบรรลุตาม )
  • 17. บทที ่ 4 สื ่ อ การเรี ย นรู ้ 43 วัตถุประสงค์หรือไม่ การประเมินควรจะสอดคล้องกับ วัตถุประสงค์ (อาจเป็น Assessหรือ Evaluation) 2) การประเมินสมรรถนะของสื่อ (Evaluate media components) เพื่อตรวจสอบว่าสื่อมีประสิทธิภาพหรือไม่ 3) การประเมินความสามารถของผู้สอน (Evaluate instructor performance) เพื่อตรวจสอบว่าผู้สอน จัดการ เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ คำาถ า ม ส ะ ท ้ อ น ค ว า ม ค ิ ด  ท่านคิดว่าลักษณะสำาคัญที่แสดงถึงความ แตกต่างระหว่างสื่อการสอนกับสื่อการเรียน รู้คืออะไร  สื่อการเรียนรู้แต่ละประเภทมีจุดเด่นที่ สามารถนำาไปใช้ในการจัดการเรียนรู้อย่างไร  หลักการสำาคัญในการเลือกใช้สื่อการเรียนรู้เป็นอย่างไร กิ จ ก ร ร ม เส น อ แ น ะ ให้ท่านลองนำาหลักการเลือกใช้สื่อการเรียนรู้มา เป็นพื้นฐานเพื่อพิจารณาความเหมาะสมของสื่อที่ สอดคล้องกับสาระวิชาเอกของท่าน บรรณ านุก ร ม กรมวิชาการ. (2545). เ อ ก ส า ร ป ร ะ ก อ บ ห ล ั ก ส ู ต ร ก า ร ศ ึ ก ษ า ข ั ้ น พ ื ้ น ฐ า น พ ุ ท ธ ศ ั ก ร า ช 2544 ค ู ่ ม ื อ ก า ร จ ั ด ก า ร เ ร ี ย น ร ู ้ ก ล ุ ่ ม ส า ร ะ ภ า ษ า ต ่ า ง ป ร ะ เ ท ศ . กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2521). เ อ ก ส า ร ก า ร ส อ น ช ุ ด ว ิ ช า เ ท ค โ น โ ล ย ี แ ล ะ ส ื ่ อ ส า ร ก า ร ศ ึ ก ษ า , หน่วยที่ 1-15. กรุ เทพฯ: สหมิตร. ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2529). เ อ ก ส า ร ก า ร ส อ น ช ุ ด ว ิ ช า ก า ร ส อ น ร ะ ด ั บ ช ั ้ น ม ั ธ ย ม ศ ึ ก ษ า ห น ่ ว ย ท ี ่ 11- 15 พิมพ์ครั้ง ที่ 5 นนทบุรี สำานักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2526). เ ท ค โ น โ ล ย ี ท า ง ก า ร ศ ึ ก ษ า : ห ล ั ก ก า ร แ ล ะ แ น ว ป ฏ ิ บ ั ต ิ . กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิช. เปรื่อง กุมุท. (2519). เ ท ค น ิ ค ก า ร เ ข ี ย น บ ท เ ร ี ย น โ ป ร แ ก ร ม . คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
  • 18. บทที ่ 4 สื ่ อ การเรี ย นรู ้ 43 สุมาลี ชัยเจริญ. (2547). ก า ร พ ั ฒ น า ร ู ป แ บ บ ก า ร ส ร ้ า ง ค ว า ม ร ู ้ โ ด ย ใ ช ้ เ ท ค โ น โ ล ย ี ส า ร ส น เ ท ศ . คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. Brown, Jam es W., Lewis, Richard B., and H arcle road , F red F. (1 985). A V Ins truc tional Tec hnology, Me dia, and th Me thods . 6 ed. New York: McGraw-Hill Book Company, Inc. Bruner, J. S. (1983). In search of mind: Essays in autobiography . New York: Harper & Row. Driscoll, M. P. (1994). Psychology of learning for instruction . Boston: Allyn and Bacon. Gerlach, V. S. & Ely, D. P. (1980). Teaching & Media: A Systematic Approach (2nd ed.). Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall Incorporated. Heinich, Molenda and Russell. (1985). Instructional media and the new technologies of instruction . Wiley : New York. Heinich, R., Molenda, M., Russell, J., & Smaldino, S. (2001). Instructional media and technologies for learning. th Journal of Marketing Education , (7 ed.). Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall. Heinich, R., Molenda, M., Russel, J.D., Smaldino, S.E. (2002). Instructional Media and Technologies for learning , 7th edition. Merrill Prentice Hall. Honey, M., & Moeller, B. (1990). Teachers’ beliefs and technology integration: Different values, different understanding . New York: Center for Technology in Education. Kozma, R.B. (1991). The impact of computer-based tools and embedded prompts on writing processes and products of novice and advanced college writers." Cognition and Instruction , 8 (1), 1-27. Levin, T., & Wadmany, R. (2006). Teachers' beliefs and practices in technology-based classrooms: A developmental view. Journal of Research on Technology in Education , 39(2), 157-181.