SlideShare a Scribd company logo
1 of 19
Download to read offline
0
ความคิดและข้อเสนอในการขับเคลื่อนความเป็นเมือง 
ศาสตราจารย์ ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ 
อธิการวิทยาลัยบริหารรัฐกิจและรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
ผู้เขียน : ศาสตราจารย์ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ 
บรรณาธิการบริหาร : นางสาวยุวดี คาดการณ์ไกล 
บรรณาธิการฝ่ายวิชาการ : นางสาวยุวดี คาดการณ์ไกล 
ผู้ถอดความ : นายอุกฤษฏ์ เฉลิมแสน 
กองบรรณาธิการ : นายอุกฤษฏ์ เฉลิมแสน, นายฮากีม ผูหาดา, นางสาวณัฐธิดา เย็นบำรุง,นายอรุณ สถิตพงศ์สถาพร 
ปก : นายอรุณ สถิตพงศ์สถาพร 
รูปเล่ม : นายอุกฤษฏ์ เฉลิมแสน 
ปีที่เผยแพร่ : ตุลาคม 2557 
ผู้เผยแพร่ : ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง มหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมกับมูลนิธิส่งเสริมปัญ ญาสาธารณะ (CPWI) 
ภายใต้แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาอนาคตของเมือง 
ผู้สนับสนุน : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
สารบัญ 
1. ความคิดและมุมมองต่อเมืองในช่วงวัยนักศึกษา 1 
1.1 ชนบทที่มั่นของการเปลี่ยนแปลงสังคม 
1.2 พลวัตของชนบทไทย 
2. ความคิดและมุมมองต่อเมืองในช่วงวัยเริ่มทำงาน 3 
2.1 เมืองกับการตื่นตัวของชนชั้นกลาง 
2.2 เมืองกับความเหลื่อมลํ้า 
3. ความคิดและมุมมองต่อเมืองในปัจจุบัน 5 
3.1 การเปลี่ยนแปลงของเมืองในโลกตะวันออก 
3.2 ย้อนมองเมืองของไท : การสืบสานอดีตเพื่อการพัฒนาอนาคตของเมือง 
3.3 ทัศนะต่อการขับเคลื่อนความเป็นเมืองผ่านหนังสือเล่มสำคัญ 
4. บทสรุป : พัฒนาเมืองต้องพัฒนาคน 14
1 
ความคิดและข้อเสนอในการขับเคลื่อนความเป็นเมือง 
ศาสตราจารย์ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์01 
อธิการวิทยาลัยบริหารรัฐกิจและรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต 
โดยพื้นเพการศึกษาของผมไม่ได้เรียนเรื่องเมือง นคร มหานคร เลย ผมไม่ได้เรียนมาเลย ผม เรียนรัฐศาสตร์ แรกๆสนใจการเมืองของประเทศ การเมืองของชาติ ตอนทีหลังสนใจในเรื่องอื่นๆเพิ่ม คน ทั่วไปรู้จักผมว่า เป็นผู้เขียนเรื่อง สองนคราประชาธิปไตย และต่อมาเขียนเรื่องท้องถิ่น เขียนเรื่องโลก มีทั้งประวัติศาสตร์โลก คือ ตะวันออก-ตะวันตก : ใครสร้างโลกสมัยใหม่ มีทั้งปัจจุบันและอนาคตของ โลกที่เขียนหนังสือบูรพาภิวัตน์ เมื่อคุณยุวดี คาดการณ์ไกลชวนให้มาพูดในเรื่องเมือง ก็มานั่งทบทวน ว่า เราสนใจเรื่องเมืองมาได้อย่างไร จริงๆ สองนคราประชาธิปไตยก็คือ เรื่องเมืองกับชนบท เรื่อง ของคนชั้นกลางคนในเมืองกับชาวนาชาวไร่ในชนบท จึงมาคิดต่อทำไมตนเองถึงคิดเรื่องนี้ขึ้นมาได้ มันคงอยู่ในระบบคิดอะไรของตน อยู่ในสมองอะไรของตนมาก่อนแล้ว 
1. ความคิดและมุมมองต่อเมืองในช่วงวัยนักศึกษา 
1.1 ชนบทที่มั่นของการเปลี่ยนแปลงสังคม 
ถ้าถือเอาสองนคราเป็นการเริ่มประวัติความคิดของผม อะไรคือ prehistory ของมัน อะไรที่ผม คิดก่อนที่จะมาเขียน มันคงเริ่มตั้งแต่ผมอายุ 19 – 20 ปี แล้ว เริ่มจากการสนใจชนบท สนใจเกษตรกร เป็นห่วงชนบท เป็นห่วงชาวนาชาวไร่ เมื่อไปค่ายต่างๆในชนบทเวลานั้น ก็ขบวนนักศึกษาหลัง 14 ตุลาคม 2516 อาจเป็นขบวนแรกๆของสังคมไทยที่คนในเมือง คนในกรุงหันไปสนใจคนในชนบท ใน ตอนนั้นสิ่งที่ปัญ ญาชนฝ่ายซ้ายคิดตามทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองแบบเหมา เจ๋อตง คือ จะต้องเอา ชนบทไปล้อมเมือง เราจึงสนใจชนบท เศรษฐศาสตร์การเมืองแบบนี้มองว่า ชนบทคือฐานที่มั่นที่สำคัญ ของการเปลี่ยนแปลง บางคนบอกเป็นฐานที่มั่นของการปฏิวัติทีเดียว วิธีคิดแบบนี้จึงจะมองเมืองแบบลบ ชี้ว่าเมืองคือที่อยู่ของชนชั้นปกครอง เมืองคือศูนย์กลางของทุนนิยม เมืองคือที่ๆดูดซับเอาทุกอย่างไป จากชนบท มาอ่านหนังสือเพิ่มเติม ก็พบว่ามาร์กซ์เองคิดไว้ว่า ความขัดแย้งระหว่างชนบทกับเมืองจะ ดำรงอยู่ในระบอบทุนนิยม และต้องรอจนกระทั่งกลายเป็นสังคมนิยมแล้วเสียด้วยซํ้า จึงจะทำให้ชนบท กับเมืองกลายเป็นอันเดียวกัน เรียกว่าคู่ขัดแย้งจะหลอมเข้ามาหากัน แล้วกลายเป็นอะไรอีกอย่างหนึ่ง 
1 ถอดความจากการนำเสนอในที่ประชุมวิชาการเรื่อง “อุดมการณ์ในการขับเคลื่อนความเป็นเมืองในอนาคต” จัดโดย แผนงาน นโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาอนาคตของเมือง เมื่อวันอังคารที่ 17 มิถุนายน 2557 เวลา 10.00 – 16.00 น. ณ แผนงาน นโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาอนาคตของเมือง อาคารพร้อมพันธุ์ 1 ชั้น 4 จัดโดย แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาอนาคต ของเมือง ร่วมกับมูลนิธิสถาบันสร้างสรรค์ปัญญาสาธารณะ โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ไม่ใช่ทั้งเมืองหรือชนบท ด้วยคิดแบบนี้จึงสนใจเรื่องชาวนาชนบท มองประเทศไทยก็คิดถึงแต่ชนบท ไม่ ค่อยคิดถึงเมือง เมืองที่คิดถึงคือกรุงเทพฯ แต่กรุงเทพฯคือศูนย์กลางของอำนาจปกครอง คิดอย่างนั้นนะ 
ผ่านไปซักระยะหนึ่งในขบวนการปัญ ญาชนและฝ่ายซ้าย ก็มีการถกเถียงกันว่า แนวคิดที่ว่าใช้ ชนบทเป็นฐานที่มั่นยังถูกหรือไม่ เพราะหลายคนคิดว่า สังคมไทยไม่ใช่อย่างที่ปัญ ญาชนฝ่ายซ้ายบอกไว้ ว่าเป็นกึ่งศักดินา หากเป็นสังคมที่เป็นทุนนิยมไปแล้ว กลายเป็นสังคมที่เป็นทุนนิยม หมายความว่าฝ่าย ที่เสนอความคิดใหม่ มีข้อเสนอว่า ขบวนการเปลี่ยนแปลงจะต้องสนใจเมืองต่างหาก ไม่ใช่สนใจชนบท หรือถ้ายังสนใจชนบท นํ้าหนักก็น่าจะให้ที่เมืองมากกว่า น่าจะสนใจกรรมกรและคนจนในเมือง มากกว่า ที่จะสนใจชาวนา การต่อสู้การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ต้องเน้นการต่อสู้แบบสันติวิธีในเมือง ต้องสร้าง เครือข่ายสร้างฐานต่างๆในเมือง แล้วก็ถกเถียงกันอีกว่า ระหว่างกรรมกรกับชาวนาใครสำคัญกว่าใคร ใครนำใคร มองแบบการปฏิวัติจีนชาวนานั้นต้องนำกรรมกร ถ้ามองแบบอีกสายหนึ่งต้องสนใจกรรมกร ต้องสนใจคนในเมือง รวมทั้งคนชั้นกลาง ผมเองอยู่ในกระแสของการถกเถียงกัน ก็ได้คิดกับอะไรหลาย อย่าง เริ่มต้นทำวิจัยครั้งแรกอายุประมาณซัก 26 ปี ยังไม่จบอะไรเลย เรียนแพทย์ถึงปีห้า ถ้าจะนับว่าได้ ปริญญาบัตร ก็ได้ปริญญาบัตรวิทยาศาสตรบันฑิต ซึ่งไม่เกี่ยวอะไรกับที่ผมกำลังค้นคว้า 
1.2 พลวัตของชนบทไทย 
ผมคิดว่าในประเด็นแรก พลังการผลิตของไทยไม่ได้หยุดชะงัก ไม่ได้หยุดอยู่แค่เป็นกึ่งศักดินา ถ้าพลังการผลิตหยุดชะงักย่อมจะนำไปสู่การปฏิวัติ จะวัดพลังการผลิตอย่างไร ถ้าวัดง่ายๆ ก็วัดจาก อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ ผมพบว่าการผลิตของไทยเติบโตเร็วมาก 7-8 % ติดต่อกันมาซัก 20 ปี เพราะฉะนั้นพลังการผลิตของไทยไม่ได้หยุดชะงักแน่นอน แม้ว่าจะยังไม่เป็นอุตสาหกรรม แม้ว่าจะไม่ได้ ใช้เทคโนโลยีที่ลํ้าหน้าในตอนนั้น แต่ถ้านับจากอัตราการเติบโตแล้ว เป็นเศรษฐกิจที่ยังเดินยังวิ่งไป ข้างหน้าได้ แม้ว่าขณะนั้นชนบทของไทยใหญ่ แต่ในชนบทที่ผมไปเห็นเองมาแล้ว มีความเปลี่ยนแปลง ตลอดเวลา ลักษณะที่เรียกว่ากึ่งศักดินาลดลงเป็นลำดับ ยิ่งกว่านั้นศักดินาของไทยไม่ได้เป็นแบบยุโรป และจีน ในสมัยโบราณชาวนาไทยในตอนนั้นเปลี่ยนจากการปลูกกินเองมาปลูกเพื่อขายค่อนข้างชัดเจน แล้ว มีที่ปลูกเองกินเองอยู่บนภูเขาสูง เป็นของชนกลุ่มน้อย แค่คนไทยกลุ่มใหญ่ปลูกข้าวเพื่อขาย และ ชาวนาไทยถือครองที่ดินเองมากกว่าที่ผมคิด มากกว่าที่ทฤษฎีบอก มีอยู่บ้างที่เป็นชาวนาเช่า โดยเฉพาะทางภาคเหนือ แล้วก็ภาคกลางที่แม่นํ้าลำคลองอุดมสมบูรณ์ แถบทุ่งรังสิต แต่ถ้านับรวมๆ ชาวนาไทยส่วนใหญ่ครองที่ดินเอง โดยเฉพาะภาคอีสานถือครองที่ดินมาก แม้ว่าที่ดินไม่อุดมสมบูรณ์ ถ้านับเป็นไร่มากกว่าภาคเหนือมากกว่าภาคกลางเสียด้วยซํ้า ผมก็มีความเห็นว่าชนบทแปรเป็นทุนนิยม ขึ้นเรื่อยๆ ชาวนากำลังกลายเป็นนายทุนน้อย ไม่ใช่ชาวนาแบบกึ่งศักดินาแบบทำเองกินเอง แล้วส่งส่วย ให้เจ้าศักดินาอะไรแบบนี้ไม่ใช่ ในความเห็นของผมชนบทไม่น่าเป็นฐานที่มั่นของการเปลี่ยนแปลงอะไร ได้ ผมจึงหันมาให้ความสำคัญกับเมือง กรรมกร นายทุนน้อย ชนชั้นกลางมากขึ้น นี่พูดตามทฤษฎี แต่ เมื่อกวาดตามองเมืองไปจริงๆ ยังพบว่า ส่วนใหญ่ก็มีแต่พ่อค้า นายทุนใหญ่ ข้าราชการ คนจน ส่วน กรรมกรนั้นมีมากขึ้นในแถบกรุงเทพฯและปริมณฑล แต่ในจังหวัดอื่นๆก็ยังมีไม่มากนัก ที่สำคัญยังมอง ไม่เห็นคนชั้นกลาง ยกเว้นนักศึกษาและอาจารย์มหาวิทยาลัย นักหนังสือพิมพ์ ข้าราชการ แต่ว่าชนชั้น
กลางในภาคธุรกิจยังมีน้อย แล้วแบบแผนการเติบโตเมืองของไทย มีกรุงเทพฯเป็นนครโตเดี่ยว เป็น primate city นอกจากนั้น ก็ไม่ค่อยมีเมืองใหญ่ อีกเมืองหนึ่งที่สำคัญคือเชียงใหม่ แต่ผมยังคิดว่าตอนนั้น ยังไม่ถึงเป็นขั้นนคร ที่เล่ามาก็ปิดฉาก prehistory ของผมได้พอดี 
จากนั้นผมก็ไปอยู่ที่อเมริการ่วม 9 ปี สอนที่อเมริกาด้วย ผมไม่ได้เรียนกับเจ้าสำนักคนไหนอะไร ทั้งสิ้น ความคิดของผมไม่ได้เปลี่ยนแบบหน้ามือเป็นหลังมือ ฉับพลันทันที ผมไม่ได้ไปเรียนเรื่องเมือง ด้วย แต่ที่ฝัง ในความสนใจของผม อยู่ในวาระทางปัญญาของผม ซึ่งคงแรงพอสมควร แต่ว่าไม่ค่อยรู้ตัว คือ ความสำคัญของเมือง 
2. ความคิดและมุมมองต่อเมืองในช่วงวัยเริ่มทำงาน 
2.1 เมืองกับการตื่นตัวของชนชั้นกลาง 
ผมกลับมาสอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ปี 2532-2535 อ่านอะไรต่างๆของพวกที่ทำ วิจัยการตลาด พูดเรื่องคนชั้นกลาง ผู้บริโภค (consumer) ที่เป็นคนชั้นกลาง (middle class) ผมเริ่มคิด ขึ้นมาว่า เอ๊ะ มันมีชนชั้นกลางเหมือนกันนะ ใช่มั้ยครับ แน่นอนผมสงสัยว่าเขาวิจัยถูกต้องหรือเปล่า 
นักการตลาดเขาสนใจผู้บริโภคคนชั้นกลางมาก จะบอกได้เลยว่า คนชั้นกลางใช้สินค้าแบบไหน คนชั้นล่างใช้สินค้าแบบไหน สินค้าของคนชั้นกลางที่เริ่มออกมาสู่ตลาดตอนนั้น มีอะไรหลายๆอย่าง รวมทั้งรถยนต์ มือถือ ในตอนนั้นเพื่อนๆในแวดวงรัฐศาสตร์ ไม่มีใครสนใจคนชั้นกลาง ยังสนใจเรื่อง ทหารกับพลเรือนอยู่เป็นส่วนใหญ่ แต่ว่านักการตลาดสนใจเรื่องคนชั้นกลาง ซึ่งผมคิดว่าน่าจะชมเชย อย่างน้อยที่สุดทำให้ผม แต่คงไม่ใช่ผมคนเดียวที่เริ่มคิดเรื่องคนชั้นกลางในทางการเมือง ในที่สุดเมื่อเกิด การยึดอำนาจปี 2534 ซึ่งในความเห็นของผมเป็นการยึดอำนาจที่คนชั้นกลางเป็นคนเรียกร้อง แต่ว่าคน ทั่วไปไม่ได้วิเคราะห์แบบนั้น โดยวิเคราะห์ว่าทหารขัดแย้งกับนายกรัฐมนตรีชาติชาย 
แต่พอปี 2534-2535 เห็นการเคลื่อนไหวของคนชั้นกลาง เอามาเขียนเป็นหนังสือเรื่องม็อบมือ ถือ ผมเห็นพวกนี้มีรถเก๋งนั่ง อาจเป็นเงินผ่อนก็ได้ แล้วก็มีโทรศัพท์มือถือ อาจดูว่าฟุ้งเฟ้ อฟุ่มเฟือยก็ ตาม บางครั้งเรียกพวกนี้ว่าม็อบมือถือ บางครั้งก็เรียกม็อบรถเก๋ง จับตาดูคนพวกนี้ แล้วก็จะไม่เห็นแต่ กรุงเทพฯ จะเห็นเชียงใหม่ โคราช อุดร อุบล ขอนแก่น ระยอง พัทยา หัวหิน บางแสน สงขลา หาดใหญ่ สุราษฎร์ธานีขึ้นมาด้วย ผมเริ่มสังเกตว่าเมืองพวกนี้โตเร็วเหมือนกันนะ ไม่ได้โตช้าๆ ในช่วงที่ผมหายไป 8-9 ปี อาจโตขึ้นเพราะสงครามกลางเมืองระหว่างคอมมิวนิสต์กับรัฐบาลยุติลงหรือเปล่า ทำให้ที่ดิน บริเวณป่า บริเวณชนบทลึกๆนั้นมีคนเข้าถึง ทำเกษตรกรรม ทำพาณิชยกรรม ซึ่งมีต่อมาจาก เกษตรกรรม ส่วนในภาคเมืองก็เปลี่ยนจากรุ่นเถ้าแก่ไปเป็นรุ่นที่จ้างคนเข้าทำงาน เกิดคนชั้นกลางที่เป็น ลูกจ้างในภาคธุรกิจ ส่วนที่กรุงเทพฯไม่ต้องพูดถึง พวกที่เรียกว่าม็อบรถเก๋ง ม็อบมือถือ ที่จริงคือพวก ผู้บริหารและพนักงานของบริษัทต่างๆ ซึ่งคนเหล่านั้นไม่ได้เป็นเจ้าของบริษัท ไม่ใช่เถ้าแก่ แต่เป็น ลูกน้องของบริษัทผู้บริหารของบริษัท บริษัทจำนวนมากกลายเป็นบริษัทมหาชน ผมเริ่มสนใจเรื่อง เมืองขึ้นแล้ว
ในช่วงปี 2535- 2538 ที่ผมเขียนสองนคราประชาธิปไตย จริงๆผมอ่านงานของมันโร (Munro) จำชื่อจำหน้าไม่ได้ซึ่งเป็นนักวิชาการรุ่นหลังต่อจากอองรี ปิเรน (Henri Pirenne) ที่เขียนเรื่อง Medieval Cities: Their Origins and the Revival of Trade ผมเริ่มสนใจเมืองกับประชาธิปไตย เมืองกับทุน นิยม จากปิเรน ทำให้ผมสาวกลับไปอ่านไปค้นเกี่ยวกับ Polis ของกรีก เมืองที่ปกครองจัดการตนเอง เป็น city state คือเป็นทั้งรัฐ เป็นทั้งเมืองด้วย ซึ่งอริสโตเติล พลาโต ก็พูดถึงเอาไว้เยอะ 
คำว่า “การเมือง” ของตะวันตก มาจากการของเมืองจริงๆ การของ Polis จริงๆ ผมเริ่มเกิด ความคิด ประชาธิปไตยที่ปกครองตนเอง (self government democracy) โดยเฉพาะผมไปตีความว่า เป็นการปกครองท้องถิ่น เพราะว่าบังเอิญช่วงนั้นปี 2539 - 2544 ผมไปเกี่ยวข้องกับการกระจาย อำนาจ แล้วเกี่ยวข้องกับการพัฒนาท้องถิ่น ผมเป็นประธานเขียนแผนกระจายอำนาจ ฯ ฉบับแรกใน ประเทศไทย ช่วงนั้นก็ไปคิดเรื่องท้องถิ่น ทำเรื่องท้องถิ่น แต่ว่าเรื่องเมืองยังถูกกลบเอาไว้ ไม่ถูกขุด ขึ้นมา ในสมองผมมีเรื่องประชาธิปไตยท้องถิ่น ประชาธิปไตยปกครองตนเอง มีเรื่องคนชั้นกลาง แต่เรื่อง เมืองยังไม่ค่อยมี ยังถูกกลบเอาไว้ 
2.2 เมืองกับความเหลื่อมลํ้า 
พอมาปี 2546-2547 ผมก็เพิ่งมาเจอหลักฐานเมื่อวาน ช่วงนี้เองผมไปช่วยมหาวิทยาลัยราชภัฏ จันทรเกษมทำหลักสูตรปริญญาโทเรื่องเมือง ผมลืมไปหมดแล้วว่า เขียนคำนิยมให้เขาด้วยในหนังสือ เรื่อง “คนทุกข์เมือง” พอผมย้อนกลับไปอ่านบทความและบทนำ ที่สำคัญไปดูสารบัญก็จะมี เรื่องชีวิต หญิงบริการในบาร์ญี่ปุ่น คนถีบสามล้อในกระแสการพัฒนา ชีวิตแรงงานกัมพูชาในไทย เมืองพัทยากับ ความเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมสุขภาพของเยาวชนเมือง เส้นทางของชุมชนแออัดในเมือง ทำให้ผมได้คิด ย้อนหลังว่า เรื่องเมืองที่เราสนใจอยู่ นอกจากนักวางผังเมือง พวกสถาปนิกอะไรต่างๆ แล้วนัก สังคมศาสตร์ของไทยสนใจเมืองในแง่ความลำบาก ในแง่จราจรติดขัด ในแง่คนยากคนจน ในแง่คน อพยพมาลำบากในกรุงเทพฯ มันเป็นเรื่องของคนทุกข์คนยาก งานของอาจารย์อคิน รพีพัฒน์ก็เป็นเรื่อง สลัม เป็นต้น เป็นงานที่บอกถึงบรรยากาศการศึกษาเรื่องเมืองในเวลานั้นเลย งานของอาจารย์ทนงศักดิ์ วิกุล ทำ housing for the poor ก็อยู่ในบรรยากาศแบบนั้น ในหมู่นักวิชาการก็อยากเห็นเมืองให้เล็กลง มีคนเสนอให้กรุงเทพฯเล็กลง คนหนึ่งที่สมัครเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแล้วเสนอนโยบายเรื่องนี้ เลยคือ คุณอากร ฮุนตระกูล เสนอให้ทำกรุงเทพฯให้เล็กลง ผู้สมัครคนอื่นๆพูดล้วนแต่จะทำอะไรให้ กรุงเทพฯมากมาย แต่คุณอากร ฮุนตระกูลคิดว่าจะทำยังไงให้กรุงเทพฯเล็กลงให้ได้ ทำยังไงให้ประชากร ไหลคืนสู่ชนบทให้ได้ 
บรรณาธิการหนังสือ “คนทุกข์เมือง” คือ สุมาลี ไชยศุภรากุล ปัจ จุบันเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัย ราชภัฏจันทรเกษม ผมเขียนคำนิยมให้หนังสือ แต่ในบทนำเขาเขียนว่า “ขอกราบขอบคุณบุคคลสำคัญ ที่สุดที่เป็นเสมือนจอมทัพของเรา.. (ชื่อผม) อาจารย์กรุณามารับสอนในรายวิชาสัมมนาปัญ หาการวิจัย และการพัฒนาเมือง ในภาคเรียนที่ 1/45 หัวข้อวิทยานิพนธ์ของนักศึกษารุ่นแรกทั้ง 30 คนมาจากการ อ่านตรวจและแก้ไขอย่างใกล้ชิดตลอดเทอมจนนักศึกษาสามารถพัฒนาเป็นวิทยานิพนธ์ได้สำเร็จ” ผมลืม
ไปหมดแล้วเรื่องนี้ ถ้าไม่ถูกมอบหมายให้มาพูดเรื่องนี้ในวันนี้ ผมก็คงไม่ได้ไปคิดว่า ผมคิดเรื่องเมืองมา อย่างไร ผมคงลืมหนังสือเล่มนี้ไปแล้ว 
3. ความคิดและมุมมองต่อเมืองในปัจจุบัน 
3.1 การเปลี่ยนแปลงของเมืองในโลกตะวันออก 
ขอเล่าต่อว่าผมสนใจเรื่องเมืองอย่างจริงจัง ก็เมื่อกรุงเทพมหานครตั้งผมเป็นประธานสถาบัน พัฒนาเมืองเมื่อปี 2552-2553 ทำหน้าที่จัดหลักสูตรการพัฒนาเมืองให้ผู้บริหารระดับผู้ใหญ่อยู่หนึ่งปี ช่วงนี้ทำให้ผมไปอ่านเมืองของโลก (global city) เมืองของจีน และบังเอิญผมกำลังเขียนหนังสือบูรพา ภิวัฒน์อยู่ด้วยในช่วงนั้น ผมเอาข้อมูลสองทางมาประกบกัน ก็เกิดอะไรที่แปลกๆขึ้นมาในใจ อนาคตของ เมืองในโลกต้องไปดูที่จีน เอ๊ะ จีนมีเมืองอะไร จีนเป็น trend setter เป็นผู้นำแนวใหม่ๆ ผมตกใจที่ว่า เมืองของจีนที่มีคนมากกว่า 1 ล้านคนขึ้นไป มีถึงร้อยกว่าเมือง ส่วนปัก กิ่ง เซี่ยงไฮ้ไม่ต้องพูดถึงมีเมือง ละ 20 ล้านคนโดยประมาณ ช่วงนั้นผมรู้จักแผนพัฒนาฉบับที่ 12 ของจีน มีหลายอย่างที่สำคัญ จีนเห็น ว่าการแปรเปลี่ยนเป็นเมือง การสร้างเมือง การขยายเมือง การปรับปรุงเมือง เป็นหัวใจของทางรอดของ เศรษฐกิจของจีน เพราะจีนไม่สามารถปล่อยให้เศรษฐกิจเป็นการส่งออกอย่างเดียว ต้องเป็นเศรษฐกิจที่ เน้น domestic market เน้นซื้อขายภายในประเทศ ผลิตขึ้นมาแล้วต้องขายในประเทศเป็นหลัก สร้างงาน ขึ้นมาในประเทศ แต่จุดสำคัญคือว่า ถ้าคนอยู่ในชนบทเทียบกับคนอยู่ในเมือง คนที่อยู่ในเมืองมี consumption หกเท่าของคนที่อยู่ในชนบท เพราะฉะนั้นถ้าจีนจะสร้างกำลังซื้อ จีนต้องเปลี่ยนภาคชนบท เป็นเมือง การสร้างเมืองของจีนจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากต่อประเทศ 
ช่วงนั้นผมได้ไปเห็นเมืองของจีนพบว่า เมืองของจีนใช้ได้ ปรับตัวได้ สะอาด การจราจรก็ คล่องตัว ส่วนหนึ่งเพราะเขาทำรถไฟใต้ดินได้เร็วมาก ขนส่งสาธารณะของเขาก็ใช้ได้ ราคาไม่แพง คนใช้ กันเยอะ พวกอาคารที่อยู่อาศัยผุดขึ้นอย่างรวดเร็ว บางส่วนรัฐบาลเป็นคนทำ ส่วนใหญ่เอกชนเป็นคนทำ แน่นอนการพัฒนาของจีนมีจุดอ่อนข้อบกพร่อง ไม่ใช่ไม่มี แต่ผมเห็นเมืองที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เห็นความพยายามของจีน ทำจัตุรัสใหญ่ในเมือง ทำสวนสาธารณะ มีลอกคลองขุดคลอง มีสนามบิน มี การเริ่มทำเมืองให้มีหน้าตาเป็นเมืองเก่าของจีนด้วย ก็นี่แหละครับสองเรื่องประกอบกัน 
เมื่ออ่านเรื่องจีนมากเข้า ก็มาสู่ข้อสรุปว่า ในประวัติศาสตร์แล้ว เมืองใหญ่ของโลกเกิดใน ตะวันออกไม่น้อยกว่าตะวันตกแน่ๆ เผลอๆจะมากกว่า แล้วเมืองใหญ่ๆของจีน เช่น เมืองฉางอัน เมือง ไคเฟิง เมืองหางโจว มีมาเป็นพันๆปีแล้ว หรือหลายร้อยปีมาแล้ว ประชากรนับเป็นล้านทั้งนั้น เมือง หางโจว ที่มาร์โคโปโลไปเห็น มาร์โคโปโลนั้นอยู่ร่วมสมัยพ่อขุนราม เมืองหางโจวใหญ่กว่าเวนิส ที่เป็น เมืองสำคัญของอิตาลีมหาศาล มาร์โคโปโลบอกว่าเมืองของจีนที่อยู่ติดกับประตูกำแพงของจีน แต่ละ เมืองใหญ่เป็นสิบเท่าของเมืองค้าขายในอิตาลี หางโจวเมืองที่สำคัญ ใหญ่มากในเวลานั้น เป็นเมืองหลวง ของราชวงศ์ซ้งใต้ด้วย เรื่องเมืองเห็นจะไม่ใช่เรื่องของตะวันตกอย่างเดียวแล้ว เป็นของตะวันออกด้วย เมืองโอซาก้าในญี่ปุ่นก็เช่นกัน แต่รู้ตอนยุคปี 1600 1700 ก่อนญี่ปุ่น เจอฝรั่ง เมืองโอซาก้ามีคนเป็นล้าน แล้ว น่าตกใจ !
ในสมองผมเริ่มปั่นป่วน การศึกษาที่เราได้กันมาตลอด และสิ่งที่คนไทยพูดกันมาตลอด คล้ายๆ กับว่า เราไม่อยากเป็นเมือง เพราะว่าการเป็นเมืองคือการเป็นตะวันตก และเราอยากอยู่แบบไทย ความ เป็นไทยคือหมู่บ้าน ความเป็นไทยคือชนบท ความเป็นไทยคือเมืองที่เล็กๆ ผมเริ่มคิดว่า น่าจะไม่ใช่แล้ว ความเป็นไทยน่าจะมีเมืองอยู่ในนั้นด้วย 
ผมพบว่าฝรั่งเองก็บอกว่าอยุธยาสมัยก่อนกรุงแตกประชากรมีเป็นแสนแล้ว อ้าวประชากรเป็น แสน แล้วลอนดอน ยุโรป ช่วงหนึ่งที่ยาวนานมากมีประชากรแค่สามหมื่นสี่หมื่นเท่านั้น ผมเริ่มคิดว่า เอ๊ะ เรื่องเมืองก็น่าสนใจ เมืองของตะวันออกน่าสนใจ ผมได้ไปดูอินเดียประมาณสิบครั้ง พบว่าเมืองของ อินเดียใหญ่มาก กำแพงเมืองของอินเดียสูงมาก หนามาก แข็งแรงมาก เอาละในโลกที่ทำให้ผมตกตะลึง ในกำแพงเมือง นอกจากในจีนแล้วก็คืออินเดียนั่นเอง กำแพงมันใหญ่เหลือเกิน แล้วสิ่งก่อสร้างต่างๆ ไม่ ว่าพระราชวัง ไม่ว่ามัสยิด ไม่ว่าวัดของอินเดียซึ่งอยู่ในเมืองใหญ่โตมโหฬารมาก ไม่ได้เลียนแบบ ตะวันตก ไม่ว่าไม่ได้มาจากกรีก ไม่ได้มาจากโรม ไม่ได้มาจากเมโสโปเตเมีย อย่างจีนผมคิดว่าไม่ได้รับ แน่ๆ เพราะไกลกันเหลือเกิน อินเดียอาจจะได้มาจากเมโสโปเตเมียบ้าง อาจจะได้ แต่ก็ไม่แน่ ผมคิดว่า อินเดียเป็นบริเวณที่เราดูถูกดูแคลนมาก จริงๆแล้วอินเดียต่างหากอาจเป็นแม่บทของเมโสโปเตเมีย เป็น อะไรที่ผมคิดสนุกๆ แต่ในอนาคตผมจะศึกษาเรื่องพวกนี้ให้มากขึ้น 
นอกจากนั้นผมยังไปพุกาม ไปมัณฑะเลย์ พุกามถ้าเป็นเมืองที่สมบูรณ์คงใหญ่โตมาก เพราะว่า วัดของพุกามมีเป็นพันๆวัด ทำให้ผมคิดว่า ไม่ใช่นครวัด นครธมเท่านั้น ที่เป็นนครที่ยิ่งใหญ่แต่โบราณ ของเอเชียอาคเนย์เท่านั้น ยังมีพุกามด้วย พุกามมีคนเป็นแสน ก่อนที่จะถูกมองโกลตีแตก คนคงจะเป็น แสนๆ ไม่อย่างนั้นจะมีวัดจำนวนมากอย่างนั้นไม่ได้ แต่ผมไม่ได้หยุดแค่นั้น ผมไปดูเมืองอัมมาน เขา บอกว่าเป็นเมืองมาเจ็ดพันปี อัมมานที่รบกันทุกวันนี้นะ เมืองด้อยพัฒนานี้นะ ทำไมมันมีประวัติตั้งเจ็ด พันปี ผมไปดามัสกัส เขาบอกประวัติเมืองของเขาไม่ตํ่ากว่าเจ็ดพันปี บางคนบอกหมื่นปีด้วยซํ้า ดามัสกัสกับอัมมานเถียงกันว่าใครเก่ากว่ากัน แต่ทั้งอัมมานและดามัสกัสไม่ใช่ฝรั่ง ไม่ใช่ตะวันตก เยรูซาเล็มผมก็ไปมาแล้ว เยรูซาเล็มมีประวัติอย่างน้อยห้าพันปี วกกลับมาเมื่อผมพูดถึงอินเดีย นอกจาก เดลีที่ผมไปดูแล้ว คาจูราโฮผมมาดู ออร์ช่าร์ผมก็มาดู อีกเมืองที่ผมดูแล้วฝัง อยู่ในใจผมมากคือเมือง พาราณสี 
พวกเราที่ทำเรื่องเมือง ถ้าไม่สนใจเรื่องพาราณสี น่าเสียดาย อย่าไปสนใจแต่โรม ผมคิดของผม นะ คุณไม่สนใจพาราณสีได้อย่างไร พาราณสีอยู่ในหัวใจของเรานานมาก เมืองนี้อายุห้าพันปี ไฟที่เผา ศพไม่เคยมอดเลย พาราณสีเป็นนครอันศักดิ์สิทธิ์ คือเยรูซาเล็มของฝรั่ง ส่วนอิหร่านผมก็ไป ผมเห็น เมืองของมุสลิมยิ่งใหญ่สวยงาม มัสยิดไม่ได้แพ้โบสถ์ของฝรั่งเลย ยิ่งใหญ่มาก พวกเราที่ทำเรื่องเมือง น่า จะต้องสนใจเมืองเหล่านี้ด้วย 
3.2 ย้อนมองเมืองของไท : การสืบสานอดีตเพื่อการพัฒนาอนาคตของเมือง 
ผมเห็นเมืองพวกนี้แล้ว คิดว่าถ้าเมืองอยู่ในประวัติศาสตร์ตะวันออก ไม่ใช่เฉพาะหมู่บ้านเท่านั้น ในไทยก็น่าจะเป็นแบบนั้นเหมือนกัน เมืองของไทยน่าจะไม่ใช่เป็นเรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อประเทศไทยรับ แผนพัฒนามาจากสหรัฐอเมริกา แล้วสภาพัฒน์เริ่มทำแผนพัฒนาฉบับที่หนึ่งก็เลยเกิดเป็นเมือง มันไม่ใช่
เพราะเมืองคงไม่หยุดแค่กรุงรัตนโกสินทร์ เมืองมันคงไม่หยุดแค่กรุงศรีอยุธยา ถูกมั้ยครับ ผมไปอ่าน โบราณคดี อ่านประวัติศาสตร์เก่าๆพบว่า คำว่า “เมือง” เป็นคำไทยแท้ เราไม่ได้แปลมาจากคำว่า “town” หรือ “city” อะไรทั้งนั้น เมืองเป็นภาษาไทยแท้ๆ คนรัฐฉานจะออกเสียงเป็น “เมิง” คนไทยถิ่น บางที่ออกเสียงเป็น “มอง เมิง เมือง” เป็นภาษาไท ไต ลาว นั่นแหละ รวมทั้งไทยที่มี ย ด้วย จะเรียก เมืองเหมือนกันหมด 
ผมไปอ่านหนังสือที่อาจารย์ฉัตรทิพย์กรุณาให้มา จริงๆผมอ่านเรื่องพวกนี้มาหลายครั้งแล้ว แต่ ว่าไม่ต่อกัน ทฤษฎีบ้านเมืองของศาสตราจารย์คำจองกับการศึกษาชนชาติไท ศาสตราจารย์คำจองเป็น คนไทดำนะครับ อยู่เวียดนาม ท่านยังรู้ภาษาไทดำเดิมได้ดีมาก ท่านเขียนอะไรเป็นภาษาเวียดนาม แล้ว คณะอาจารย์ฉัตรทิพย์กับอีกหลายคณะได้ไปพบท่าน ได้คุยอะไรกับท่าน ได้อ่านหนังสืออะไรของท่าน อาจารย์คำจองเสนอว่าสังคมไทย ไต ลาว ที่พูดภาษาใกล้เคียงกัน มีอยู่สองอย่างคือ บ้านกับเมือง บ้าน คือสิ่งที่เราเรียกว่า หมู่บ้าน ตำบลทุกวันนี้ แต่เมืองหมายถึงอะไรที่ใหญ่กว่าตำบล เป็นเมืองขนาดเล็กๆ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของบ้านหลายๆบ้าน หรืออาจจะสูงขึ้นมาเป็นเมืองที่ใหญ่ขึ้นเป็นลำดับ อาจจะถึงขั้น หนึ่งก็มีกำแพงล้อม 
เมืองที่มีกำแพงล้อมที่ไปปรากฏในตัวหนังสือในภาษาล้านนาเรียกว่า “เวียง” เมืองบางเมือง อาจจะไม่มีกำแพงล้อม แต่ถ้าเมืองสำคัญจะมีกำแพงล้อม ในภาษาเหนือมีคำขึ้นมาอีกคำหนึ่ง ภาษาไทย ล้านนาเรียกเมืองเหล่านั้นว่า “เวียง” แล้วการปกครองของไทยเป็นการปกครองของเมือง ไม่ใช่การ ปกครองของประเทศ โดยเฉพาะในระยะต้นๆมันเป็นเรื่องของเมือง เชียงใหม่ก็ปกครองเมืองเล็กๆที่อยู่ บริเวณเชียงใหม่โดยตรง สิบกว่าเมือง ยี่สิบเมือง จากนั้นเมืองเชียงใหม่ก็มีอิทธิพลเหนือเมืองลำปาง ลำพูน พะเยา แต่ว่าไม่ได้มาปกครอง ลำปางก็มีเจ้าลำปาง กษัตริย์ลำปาง ลำพูนก็มีกษัตริย์ลำพูน เชียงรายก็มีกษัตริย์เชียงราย แต่กษัตริย์ที่ใหญ่กว่ากษัตริย์ทั้งหลายทั้งปวงในล้านนา คือ กษัตริย์ เชียงใหม่ แต่ก็เรียกเชียงใหม่ มีบางครั้งเรียกล้านนาบ้าง แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเรียกว่าเชียงใหม่ เพราะการ ปกครองของเราเป็น city state หมายความว่าเมืองมันไม่ใช่ territorial state แบบที่เราเป็นสยาม เป็น ไทยในตอนทีหลัง เราอยู่แบบนี้มาตั้งแต่สมัย ร. 5 เป็นต้นมาเท่านั้นเอง 
แต่ว่าในสมัยก่อน ตอนที่ฝรั่งเริ่มมาคุยกับเรา เราเรียกชื่อประเทศเป็นประเทศสยาม จริงๆแล้ว เราคุยกันเองเรียก “กรุงรัตนโกสินทร์” ซึ่งเป็นเมือง เพียงแต่ว่ากรุงรัตนโกสินทร์อยู่เหนือเมืองอื่นๆ แต่ ละเมืองปกครองตนเอง เราไม่มีราชการจากรัตนโกสินทร์ในสมัยก่อนไปปกครอง ตอนหลังมีข้าหลวง นายอำเภอ อะไรแบบนี้ แต่ละที่ก็มีราชการของตนเอง ปกครองตนเอง คำว่าเมืองจะเรียกเป็นเมืองก็ได้ เรียกพื้นที่ที่เมืองมีอิทธิพลแผ่คลุมไว้ก็ได้ เพราะฉะนั้นประเทศไทยจึงเรียกว่า “เมืองไทย” คำว่าเมืองเป็น ทั้งเมืองที่เป็นเมือง และเมืองที่เป็นกลุ่มเมือง ที่อยู่ภายใต้การปกครองของเมืองใหญ่เมืองหนึ่ง หรือตอน หลัง ประเทศมีเมืองหลวงแล้ว ก็ยังเรียกเมืองไทยว่าเมืองไทย ไปเรียกประเทศไทยก็มีเรียกอยู่บ้าง แต่ เป็นภาษาหลวง ถ้าภาษาคนทั่วไปเรียกเมืองไทย เมื่อสองปีที่แล้วผมไปรัฐฉาน ก็งงอีกเหมือนกัน ที่คน ไทใหญ่เรียกรัฐฉานว่า “เมิงไต” คนรัฐฉานเรียกรัฐฉานเองว่า “เมิงไต” ผมก็ถามว่าคำว่าเมิงคือเมือง ใช่มั้ย ไตนี่คนไทใหญ่ เขาเรียกตัวเองอย่างนั้น ไม่ได้เรียกไทใหญ่ แต่เขาเรียกคนไต เรียกประเทศของ
เขา หรือแคว้นของเขาว่า “เมิงไต” ผมก็มาคิดเล่นๆในใจของผม แสดงว่าในโลกนี้มีเมืองไทยอยู่สองที่ คือ เมืองไทย กับเมืองไทยที่ออกเสียงตามภาษาถิ่นว่าเมิงไต 
มาถึงตอนนี้ ผมเริ่มคิดว่าจะใช้สายตาตะวันตกอย่างเดียวมามองเมืองของเราไม่ได้ จะคิดแต่ว่า เมืองของเรามีแม่เป็นตะวันตกอย่างเดียวไม่ได้ แม้ว่าระยะหลังๆมา นักวางแผน นักวิชาการของเรา จะ เรียนมาจากตะวันตก แล้วเอาความคิดตะวันตกมาบอกว่าเมืองไทยควรเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เมืองของ ไทยไม่ได้เริ่มต้นที่เป็นเมือง ที่เป็นลูกเป็นหลานของตะวันตก เป็นเมืองที่เป็นส่วนหนึ่งของเอเชีย แล้วก็ อย่างที่ผมพูดเรื่องเมือง มอง เมิง หมายถึงบริเวณที่เป็นที่ราบลุ่มแม่นํ้า เรียกว่า เมิง มอง เมือง แล้วทำ มาหากินโดยการปลูกข้าว ผมยํ้าคำว่าที่ราบลุ่มแม่นํ้า เพราะว่าคนไทยที่เรียก มอง เมิง เมือง เดิมปลูก ข้าวทั้งนั้น แล้วก็อยู่บนที่ราบ บนที่สูงไม่ใช่เมิง มอง เมือง บนที่สูงจะเป็นอาข่า เป็นเย้า เป็นอะไรต่อ อะไร ไม่เป็นเมิง ไม่เป็นมอง ไม่เป็นเมือง แต่ถ้าเมิง มอง เมือง ก็จะต้องเป็นที่ราบลุ่มแม่นํ้า เราจะเข้าใจ ตรงนี้มากถ้าเราไปดูล้านนา เมืองในล้านนาแทบทุกเมืองในล้านนาเป็นที่ราบลุ่มแม่นํ้า แล้วล้อมรอบด้วย เขา ภูมิประเทศเดิมของที่คนไทยเคยไปอยู่ แถวเวียดนาม แถวจีน แถวอัสสัม ล้วนแต่เป็นภูเขา แต่ว่า เราจะไม่อยู่บนภูเขา เราจะเป็นชาติพันธุ์ที่อยู่ลุ่มนํ้า แล้วเราก็เรียกอาณาบริเวรเหล่านี้ว่าเมือง 
เพราะฉะนั้นมีเมืองเป็นของไทยเดิมเราด้วย ที่จะเอามาอิงมาใช้ในการทำแผนงาน FURD (Future Urban Development) ของเราด้วยก็ได้ เราไม่ควรจะทำแบบที่ว่าไปคัดลอกของฝรั่งมา แล้วก็ ทำเมืองของเราให้เป็นฝรั่ง เอาฝรั่งเป็นมาตรฐานอย่างเดียว แล้วคิดว่าเป็นเมืองคือแบบเดียวเท่านั้นคือ แบบฝรั่ง ผมคิดในใจพูดในฐานะประธาน steering ก็มีหน้าที่นำทิศนำทาง หากเราไปทำแต่เรื่องต้นแบบ ตัวแบบที่ดีๆตามตะวันตก แล้วนำมาวางทาบไป ชี้ว่าเมืองของไทยควรเป็นแบบนี้ ผมว่ามันน่าจะตื้นไป ซักหน่อย ผมคิดว่าน่าจะต้องกลับไปค้นหารากเหง้าของเมือง เมิง มอง ด้วย สนใจเมืองของตะวันออก ด้วย สนใจเมืองประวัติศาสตร์ด้วย ไม่ใช่ทำแต่เรื่องเมืองปัจ จุบันกับอนาคต 
กลับมามองว่าคนไทยคิดยังไงต่อเมือง คิดว่า opposition หรือคู่ตรงข้ามของเมืองไม่ใช่ชนบท คู่ ตรงข้ามของเมืองคือ ป่าเถื่อน แต่ว่าเมืองหมายถึง เมืองที่อยู่ในกำแพง เมืองที่อยู่นอกกำแพง และ ชนบทที่อยู่ล้อมรอบ ชนบทคือเมืองด้วย ถ้าคิดแบบไทยโบราณ ชนบทคือเมือง ชนบทคือที่ๆมีการ ปกครอง ส่วนที่พ้นไปแล้วไม่มีการปกครอง เป็นป่า เป็นเถื่อน แต่ชนบทคือเมือง เป็นส่วนหนึ่งของเมือง อย่างเมืองลำปาง ไม่ได้หมายถึงเฉพาะเมืองที่อยู่ในกำแพงเมือง ไม่ได้หมายถึงเมืองที่อยู่รอบๆเมืองข้าง นอกเท่านั้น แต่ยังหมายถึงทุ่งนา ชาวนาอีกจำนวนเป็นหมื่นๆ ที่อยู่รอบเมืองลำปาง แล้วก็ปกครองกัน แบบพึ่งพิงกัน ชนบทส่งนั่นให้เมือง เมืองส่งนั่นให้ชนบท 
3.3 ทัศนะต่อการขับเคลื่อนความเป็นเมืองผ่านหนังสือเล่มสำคัญ 
ขอพูดต่อว่า ในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมา ที่คุณยุวดีบอกว่าผมจะต้องมาพูดเรื่องเมืองนั้น ทำให้ผม ย้อนกลับมาดูว่า ตนคิดเรื่องเมืองอย่างไร ย้อนกลับไปอ่านหนังสือใหม่ๆบ้าง เก่าๆ บ้าง ก็อ่านใหม่บ้าง ผมแบ่งหนังสือเหล่านี้เป็นสองประเภทใหญ่ๆ ประเภทเมืองทั่วๆไป อีกประเภทหนึ่งคือเมืองแห่งอนาคต วันนี้ก็จะมาพูดถึงเรื่องเมืองทั่วไป ส่วนเรื่องเมืองแห่งอนาคต คราวหน้าคงมีโอกาส ขอพูดถึงหนังสือ สำคัญๆ ไม่กี่เล่มที่จะพูดถึงเรื่องเมืองทั่วไป
เล่มหนึ่งที่ผมกลับไปอ่าน ผมคิดว่าเราควรอ่านหนังสือเก่าๆด้วย ไม่ใช่อ่านแต่หนังสือใหม่ เท่านั้น ในทางสังคมศาสตร์นั้นหนังสือเก่าๆบางเล่มทรงคุณค่า มีวิสัยทัศน์ เป็นอะไรที่คลาสสิกลํ้าหน้า กว่าหนังสือใหม่ด้วยซํ้า Jane Jacobs เขียนเรื่อง The Economy of Cities ตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1960 Jacobs ทำให้ผมสนใจเมืองมากขึ้นเป็นทบเท่าทวีคูณ เพราะว่า Jacobs เป็นผู้หญิง เสียชีวิตไปแล้ว เธอ บอกว่าความคิดมาตรฐานของวงวิชาการ เชื่อว่าเกษตรเกิดก่อนอุตสาหกรรม ชนบทเกิดก่อนเมือง เมือง อิงอยู่บนเศรษฐกิจของชนบท เธอบอกว่าที่เห็นมาที่ค้นคว้ามาไม่ค่อยแน่ใจว่า ชนบทกับเมืองใครเกิด ก่อนใคร ที่เกิดก่อนแน่ๆคือถํ้ากับป่า ที่มนุษย์ไปล่าสัตว์เก็บพืชผักมากิน แต่ว่าหลังจากยุค hunter gatherer เธอไม่คิดว่ามันจะขับเคลื่อนโดยอัตโนมัติไปเป็นเกษตรแล้วค่อยกลายเป็นเมือง เธอพบเมือง หลายเมืองเก่าแก่มาก แล้วในเมืองนั้นมีเกษตรอยู่ด้วย แต่ที่มากกว่านั้น เธอเชื่อว่าเกษตรที่ขึ้นมาจนมี คนอยู่ในอาชีพนั้นมากมาย เกิดหลังจากที่เมืองคิดผานไถ คิดเรื่องเครื่องมือ คิดงานช่าง อะไรหลายอย่าง ขึ้นมาได้ก่อน ซึ่งชนบทถ้าเริ่มต้นทำทันทีจะเลี้ยงคนมากขนาดนั้นไม่ได้ เพราะว่าเครื่องมือการผลิตตํ่า ล้าสมัย แต่ว่าการเป็นเมืองบวกกับการไปล่าสัตว์หากิน ทำให้คนในเมืองคิดค้นเทคโนโลยีและวิทยาการ การเกษตรขึ้นมาได้ อันนี้ต่างหากที่ทำให้ชนบทเติบโตอย่างรวดเร็ว เพราะย้ายคนจากเมืองไปอยู่ใน ชนบทได้มากขึ้น เพราะเครื่องมือการผลิตสูงขึ้นมากจึงทำอย่างนั้นไม่ได้ เธอเชื่อว่าแม้แต่การฝึกม้า การ ทอผ้าต่างๆล้วนทำในเมืองขึ้นมาก่อน 
เอาละมันอาจไม่จริงทั้งหมด แต่อย่างน้อยที่สุดผมว่าทำให้เรามีสมดุลมากขึ้น ผมคิดต่อ ศาสนาที่ จริงก็เกิดในเมือง พระพุทธเจ้าทรงเป็นคนในเมือง พระเยซูก็อยู่ในเมืองเยรูซาเล็ม มูฮัมมัดเป็นพ่อค้าอยู่ ในเมืองเมดินา เพราะฉะนั้น เมื่ออ่านประวัติศาสตร์ของศาสนาคริสต์ จะพบว่าศาสนานี้เผยแพร่ในเมือง ส่วนชนบทขณะนั้นส่วนมากเป็นพวกต่อต้านศาสนา เป็นพวกนอกรีตถือผีหรืออะไรที่งมงายกว่าที่พวก บิชอปจากเมืองจะไปเผยแพร่ศาสนา เอามาเข้ารีต ต้องใช้เวลาไม่ใช่น้อย เอาละเรื่องนี้อาจเกินไปซัก หน่อย เราไม่ต้องเชื่อทั้งหมดก็ได้ แต่อย่างน้อยที่สุดเราได้เห็นคุณค่าของเมืองมากขึ้น ได้เห็นว่าเมือง ไม่ใช่เป็นเพียงที่อยู่ของคนที่ไม่ทำอะไร ในวัยหนุ่มผมเคยคิดว่าเมืองไม่มีประโยชน์อะไร เป็นเพียงที่อยู่ ของชนชั้นปกครองขูดรีดชนบท ศิลปะวิทยาการอะไรต่างๆผมไม่ได้คิดเลยว่าเมืองเป็นผู้สร้างอะไรขึ้นมา แม้กระทั่งศาสนาผมเคยคิดว่าพระป่าต้องดีกว่าพระเมืองแน่ๆ แต่จริงๆแล้ว ถ้าไม่มีเมืองก็ไม่แน่ใจว่า ศาสนาจะเกิดหรือเปล่า ถ้าไม่มีเมืองเทคโนยีการเกษตรจะเกิดหรือเปล่า เพราะฉะนั้น ในเรื่องเมืองที่เป็น พลังของประเทศ เป็นผู้นำของประเทศ เป็นที่ๆสร้างความก้าวหน้าให้ประเทศ ผมในฐานะที่เป็นประธาน steering เห็นว่าเราทิ้งไม่ได้ ต้องสนใจศึกษาและเผยแพร่ 
ก่อนที่จะเริ่มรายการคุยวันนี้ พวกเราจำนวนหนึ่งพูดกันเรื่องการศึกษาสมัยใหม่ ผมคิดว่าถ้า ต้องคิดว่าการศึกษาของเมืองจะเป็นอย่างไร แล้วผมคิดว่าจะต้องเป็นการศึกษาสมัยใหม่ที่ดีกว่าของ ประเทศเสียด้วยซํ้า เราไม่จำเป็นต้องคิดว่าเมืองต้องตามประเทศ ผมคิดว่าในหลายเรื่อง เมืองต้องนำ ประเทศ หลังจากอ่าน Jacobs แล้วผมพูดด้วยความมั่นใจยิ่งขึ้น เพราะในอดีตก็เป็นอย่างนั้นคือ เมืองนำ ชนบท เมืองนำประเทศ แต่ว่าขณะนี้เราปกครองโดยเอาประเทศเป็นหลัก เอาเมืองเป็นส่วนย่อ ส่วนย่อย ของประเทศ เราต้องทำให้เมืองของเรา ทำอะไรที่ลํ้าหน้า ทำอะไรที่ทันสมัย ต้องเกิดที่เมืองก่อน เพราะฉะนั้น ในการทำเรื่องเมืองนั้น ไม่ควรทำแต่เรื่องความสุขอย่างเดียว มันต้องทำเรื่องสติปัญ ญา
เรื่องอะไรที่ลึกซึ้งด้วย เมืองไม่ได้มีแต่บาป ชีวิตกลางคืน (night life) มีแต่คนไม่ดีมารวมกัน แล้วชนบท เป็นที่ๆมีแต่คนที่ดีอยู่ มองอย่างนี้อาจตื้นเขินไป แต่ผมก็ยํ้าอีกทีนะว่าอย่าไปสุดขั้ว มองว่าอะไรในเมืองดี ไปหมด ไม่ต้องแก้ไขแล้ว นั่นก็ไม่ควรทำ 
มีอีกเล่มหนึ่งที่ผมอ่านชื่อ Arrival City: How the Largest Migration in History Is Reshaping Our World arrival ที่แปลว่า “มาถึง” คนเขียนก็พูดถึง Jane Jacobs เอาไว้บ้าง แต่ว่าเขา พิจารณาจากสิ่งที่ร่วมสมัยของเขา เขาเปลี่ยนวิธีมอง เดิมเขาเห็นสลัมในบอมเบย์ เห็นแต่คนจนอยู่ใน บอมเบย์ เขาเห็นคนปากีสถาน อินเดีย ที่อยู่ในอังกฤษ ทีนี้จะมองแบบเป็น คนทุกข์เมือง ลำบาก ควร หาทางส่งกลับคืน อย่าให้มาอยู่ในลอนดอนเพราะสงสาร อะไรแบบนี้ แต่เวลานี้เขาบอกว่าถ้าไม่มีคน เหล่านี้ย้ายจากชนบทหรือย้ายจากเมืองในโลกที่สามเข้ามาอยู่ในลอนดอน หรือย้ายจากบริเวณที่อยู่ รอบๆบอมเบย์ เข้ามาอยู่ในบอมเบย์ หรือในกรณีของไทยผมจะเติมให้คือ ย้ายจากอำเภอ จังหวัด ที่อยู่ รอบๆกรุงเทพฯหรือที่อยู่ไกลถึงอีสานเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ ก็ทำให้ประเทศไทยเจริญขึ้นที่มีการเติบโต แบบนี้เป็นความสำเร็จของเมือง เพราะมันสามารถ accommodate คนในชนบทได้ขนาดหนัก เพราะว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะแรกนั้น เกิดจากประชากรมหาศาลเคลื่อนย้ายจากชนบทเข้ามาอยู่ใน เมืองหรือกรุงนั่นเอง 
วกมาที่กรุงเทพฯ เดิมผมไม่รักกรุงเทพฯ กรุงเทพฯนี่ว่าไปเป็นเมืองที่อาภัพไม่มีคนรัก มีแต่คนดู ถูกเหยียดหยาม เยาะเย้ย ผมคิดว่าสุ้มเสียงของเราในการทำแผนงาน FURD (นพม.) ต้องทำให้คนรัก เมือง ภูมิใจในเมือง อย่ามีแต่รักชาติ ต้องรักเมือง ต้องผูกพันกับเมืองด้วย ต้องรู้จักอะไรของเมืองให้มาก ขึ้น เมื่ออ่านหนังสือสองเล่มที่กล่าวมาแล้วบวกกับอะไรอีกหลายอย่าง ผมเริ่มมองกรุงเทพฯด้วยสายตา ใหม่ กรุงเทพฯนี่มัน “สุดยอด” มีที่อยู่ราคาถูกให้คนจากชนบท ในรูปของหอพัก ในรูปสลัมก็มี แต่ว่าเอา ละ มันก็ไม่ดีไปเสียหมด และก็ต้องปรับปรุงอีกเยอะ แต่โดยทั่วไปคนยากคนจนอยู่ในกรุงเทพฯได้ ที่เอก มัยเองก็มีคนจนอยู่ ที่ทองหล่อเองก็มีคนจนอยู่ เช้าเข้ามาทำงานในทองหล่อ เข้ามาทำงานในเอกมัย เวลาถามว่าหนูบ้านอยู่ไหน ทองหล่อค่ะ เอกมัยค่ะ อันนี้คือทำงานเป็นพนักงานนวด อีกคนหนึ่งเป็นมหา เศรษฐีที่มานวด บ้านอยู่ไหนก็อยู่เอกมัย อยู่ด้วยกันได้นะ ตามท้องถนนก็มีอาหารที่แพงลิ่วที่อยู่ในร้าน แล้วมีอาหารที่ถูกมากที่อยู่ริมถนน กระทั่งเศรษฐีหรือคนชั้นกลางก็ซื้อได้ ไก่ย่างจิระพันธุ์ไม่แพง ไก่ย่าง ห้าดาวแพงหน่อย แต่ว่าไก่ย่างที่ถูกกว่านั้นก็มี ไก่ปิ้ง ไก่ย่าง อะไรมีหมด อาหารก็มี ห้างสรรพสินค้า ใหญ่ๆ แถบสีลม บางรัก พอตกเที่ยงคนก็แห่ลงมาซื้อของข้างถนนกินกัน มันก็ทำให้ทั้งคนจน ทั้งคนชั้น กลาง สามารถที่จะกินในกรุงเทพฯได้ในราคาไม่แพง มาประกอบการหรือมาใช้แรงงานในกรุงเทพฯทำให้ กรุงเทพฯส่งสินค้าออก หรือเป็นเมืองบริการให้ประเทศได้อย่างดี 
กรุงเทพฯเป็นเมืองศูนย์กลาง ที่เป็นได้เพราะว่ากรุงเทพฯรองรับคนมหาศาลที่หลั่งไหลเข้ามาได้ ในทางจิตวิทยาใครมาจากไหนมาอยู่กรุงเทพฯจะไม่เหงา แล้วยังรักษาวัฒนธรรมเดิมของตัวเองได้ด้วย คนอีสาน คนเหนือ คนใต้ ก็ไม่ได้อยู่แบบมีปมด้อย อาจจะมีอยู่บ้าง แต่กล่าวโดยทั่วไป เราต่างฝ่ายต่าง ปรับวัฒนธรรมปรับนิสัยกันได้ดี ที่พูดอย่างนี้ได้ แม้กระทั่งอาหารการกินของกรุงเทพฯ ก็ได้รับอิทธิพล จากอาหารอีสาน เหนือและใต้ ไม่น้อย
ในแง่ความสะอาด กรุงเทพฯก็พอใช้ได้ แม้ว่าจะต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น แต่โดยทั่วไป ก็ใช้ได้ ไม่ถึงกับทำให้ต้องป่วยไข้ ความแออัดในการจราจรต่างๆก็แก้ไขได้ กรุงเทพฯทำได้ ทำให้ เศรษฐกิจของทั้งหมดผงาดขึ้นมาได้ ทีแรกจริงๆโรงงานต่างๆก็อยู่ในกรุงเทพฯแทบทั้งนั้น ต่อมาก็ย้าย ออกนอกกรุงเทพฯ แต่สำนักงานใหญ่ยังอยู่ที่กรุงเทพฯไม่น้อย งานบริการ งานการศึกษาอยู่ในกรุงเทพฯ มาก แต่ไม่เฉพาะกรุงเทพฯเท่านั้นที่ประสบความสำเร็จแบบนี้ เชียงใหม่ อุบล อุดร หาดใหญ่ กระทั่ง มหาสารคามก็สำเร็จในระดับหนึ่ง ที่มหาสารคามน่าสนใจมาก เพราะสองอำเภอที่มหาสารคาม เมืองกับ กันทรวิชัย สองเมืองนี้มีนักศึกษาอยู่เก้าหมื่นคน นักศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาสารคามอย่างเดียวหก หมื่นคน และของมหาวิทยาลัยอื่นๆอีกเกือบสี่หมื่นคน ฉะนั้น สองอำเภอนั้นควรต้องปกครองแบบพิเศษ แล้วละ ไม่ใช่ทำแบบปกครองชนบท หรือกระทั่งปกครองแบบเมืองแบบเทศบาลเท่านั้น ส่วนใหญ่คนที่ อยู่ในสองอำเภอนั้น ล้วนอยู่ในวงการศึกษา 
จากเรื่อง arrival city ผมคิดว่าน่าจะเปิดมุมอะไรใหม่ให้พวกเราได้ว่า ไม่จำเป็นต้องมองแบบหา ทุกข์เมืองอย่างเดียว แต่ก็ไม่ได้แปลว่าเราจะทิ้งคนเหล่านี้ คนเหล่านี้จะหมดไปได้ ก็ด้วยการทำ arrival city ให้ดียิ่งขึ้น ความคิดที่จะส่งคนกลับสู่ชนบทนั้นยากมาก แต่เราสามารถที่จะทำเมืองขนาดเล็กขนาด กลางขึ้นมาใกล้ๆกับชนบท ถึงระดับหนึ่งแล้วจะดึงพวกเขากลับบ้านเดิมได้ แต่ในเฉพาะหน้าวิธีแก้ด้วย การผลักดันกลับทันทีทำได้ยากมาก เมืองกรุงเทพฯล้มแน่ แค่ขนาดกัมพูชากลับบ้านแสนกว่าคน เศรษฐกิจไทยถึงกับชะงักแล้ว เพราะฉะนั้น มันเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเมืองที่น่าสนใจ 
อีกเล่มหนึ่ง Metropolitan Revolution metropolitan นั้นแปลว่า “มหานคร” มหานครในไทย มีกรุงเทพฯเป็นศูนย์กลาง แล้วมีปริมณฑลล้อมรอบ เช่น นนทบุรี สมุทรทั้งหลาย และปทุมธานี แต่ใน อเมริกา metropolis มีอยู่หลายที่ เช่น รอบๆนิวยอร์ก รอบๆวอชิงตัน รอบๆชิคาโก รวมเอาการปกครอง ส่วนท้องถิ่นจำนวนมากและหลายระดับเข้ามาอยู่รวมกัน บริเวณพวกนี้มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของ อเมริกา และเศรษฐกิจของโลกมหาศาล เกิดความคิดใหม่ที่ว่า national economy ไม่สำคัญ แต่ regional economy สำคัญกว่า อย่างญี่ปุ่นก็คือเศรษฐกิจรอบโตเกียว รอบโอซาก้า เป็นบริเวณเศรษฐกิจ ใหญ่ ซึ่งครอบคลุมหลายเขตปกครอง metropololis ของอเมริกายังรวมบริเวณที่ซิลิคอนวัลลีย์ (Silicon Valley) และแถบนอร์ธแคโรไลนา ที่เขาเรียกรวมกันไทรแองเกิล มีเมืองราลีห์ (Raleigh) เมืองเดอแรม (Durham) และเมืองแชปเปลฮิล (Chapel Hill) รวมกันเป็นพื้นที่เศรษฐกิจใหญ่ที่เดียว 
หนังสือเล่มนี้กล่าวว่าในอเมริกาตอนนี้รัฐบาลแห่งชาติทำอะไรช้าล้าหลัง แต่นาแปลก พวก metropolis ทำอะไรล้วนเข้าท่า เช่น metropolis นิวยอร์ก กำลังทำพื้นที่ใหญ่จากการรวมสลัม กึ่งสลัม ให้มาเป็นพื้นที่คล้ายๆ research triangle คล้ายๆ ซิลิคอนวัลลีย์ แต่ว่าจะทำด้าน creative industry แล้ว เอามหาวิทยาลัยที่อยู่ในนิวยอร์กทั้งหลายเข้าไปร่วม โดยเฉพาะที่เป็นหลักคือ มหาวิทยาลัยคอร์แนล จริงๆแล้วคอร์แนลห่างจากนิวยอร์กไปหลายชั่วโมง แต่เขาดึงคอร์แนลให้มาอยู่ในมหานครนิวยอร์ก จะ คิดค้นเทคโนโลยี ความรู้อะไรใหม่ๆ บริษัทยักษ์ใหญ่ก็มาอยู่แถวนั้นด้วย แล้วเอามหาวิทยาลัยนิวยอร์ก และมหาวิทยาลัยโคลัมเบียไปเสริม ซึ่งสองมหาวิทยาลัยหลังนี้อยู่ในนครนิวยอร์กเลย การทำเรื่องพวกนี้ นายกเทศมนตรีนิวยอร์กเป็นผู้นำ แล้วดึงผู้ว่าการรัฐนิวยอร์ก ผู้ว่าการรัฐนิวเจอร์ซี่มาร่วม เอาเทศบาลที่ อยู่รอบๆนิวยอร์กมาร่วม แต่เจ้าภาพหลักคือมหานครนิวยอร์ก ทำอะไรที่เกินกว่าตัวมหานครนิวยอร์ก
เยอะ มหานครนิวยอร์กอยู่ไม่ได้ หากไม่มีคนจากที่อื่นเข้ามาทำงานที่นั่นในตอนเช้า นิวยอร์กไม่เพียงพอ ในตัวมันเอง จะเพียงพอก็ต่อเมื่อรวมกับที่อื่นๆเป็น metropolis 
ผมคิดว่างานของเราน่าจะไม่หยุดที่เมืองตามที่ทางการบัญญัติมา ต้องดูเมืองที่เป็นธรรมชาติ ด้วย เช่น กรุงเทพฯและปริมณฑล ต้องสนใจศึกษามุมใหม่ๆ เช่น เชียงใหม่กับปริมณฑล หรือว่าเมือง ต่างๆรอบทะเลสาบสงขลา ซึ่งผมว่ามันเป็น metropolis เหมือนกัน ศูนย์กลางอยู่ที่สงขลา แต่ว่าจะต้อง ศึกษาลงไปถึงนครศรีธรรมราช พัทลุงอะไรด้วย ซึ่งทำอย่างนี้ก็หลุดออกจากกรอบของการปกครอง ท้องถิ่น หรือการปกครองภูมิภาค เรื่องเมืองในโครงการของเราไม่จำเป็นต้องหยุดอยู่แค่ท้องถิ่น แม้ว่าใจ ของเราอยากให้ท้องถิ่นเข้ามามีบทบาทมากขึ้น แต่ถ้าเรารอแต่ว่า ทุกเรื่องต้องให้ท้องถิ่นทำเท่านั้น จะ ไม่ทันการ บางเรื่องผมว่าเราต้องทำงานหรือคิดแบบที่ให้รัฐบาลหรือส่วนกลางเข้ามาช่วย หรือมาร่วมทำ อย่างไรจะให้ผู้นำเมืองของเราฉลาด เป็นเจ้าภาพเชิญคนที่อยู่รอบๆ รวมทั้งผู้ว่าราชการจังหวัดมาร่วม แต่ผู้ว่าราชการฯจะมาได้ก็ต่อเมื่อรัฐมนตรีมหาดไทยอนุญาต หรือเห็นชอบด้วย ก็ต้องไปเกี้ยวรัฐมนตรี มหาดไทย หรือกระทั่งนายกรัฐมนตรี แต่ถึงแม้ว่าอำนาจของเขา ทรัพยากรของเขายังมาไม่ถึง แต่ ความคิดของเขามาร่วมกับเราแล้ว 
ผมสังเกตมาหลายปีนี้ คนฉลาดๆคือพวกนายกเทศมนตรี นายกอบจ. ส่วนนักวิชาการคิดอะไร ไม่ค่อยออก ไม่เหมือนนักวิชาการในยุคที่ผมเป็นเด็ก เก่งกันเหลือเกิน ตอนนี้คนอื่นเก่งตามขึ้นมาแล้ว ความคิดดีๆเวลานี้มักจะมาจากนายกเทศมนตรี ฉะนั้นเราก็ต้องคิดใหม่ แต่ละปีอาจต้องทำ roundtable นายกเทศมนตรีทั่วประเทศ หรือว่านายกเทศมนตรีเมืองสำคัญๆ แล้วให้มาถกเถียงเรื่องปัญหาของ บ้านเมือง มาปรึกษากันเรื่องปัญ หาเศรษฐกิจ มาปรึกษากับปัญหาการลงทุน มาปรึกษากันในปัญหา สันติภาพ ผมคิดว่าหน่วยในการคิดไม่จำเป็นต้องมีแต่กระทรวง ทบวง กรม ไปเสียหมด แล้วก็มอบให้กับ นายกรัฐมนตรีคิดเท่านั้น ซึ่งอาจคิดไม่ทัน คิดไม่ออก คิดไม่เป็น สมองของเราที่อยู่ในเมืองใหญ่ๆ ที่อยู่ ใน metropolis ผมว่าเริ่มคิด คิดมาก งบประมาณของเขาที่มีอยู่ ต้องพยายามชวนเขาให้เอามาทำเรื่อง พวกนี้ให้มากขึ้น อันนี้พูดบนพื้นฐานที่ได้มาจากการอ่านหนังสือเล่มนี้นะ สรุปว่าตอนนี้ metropolis นะ ไม่ใช่ nation นะ ไม่ใช่ state นะ ที่ฉลาดที่สุด ที่ว่องไวที่สุด ในเมืองไทยจะเป็นอย่างนั้นหรือไม่ ต้องไป คิดไปลองทำดู 
อีกเล่มหนึ่งคือเล่มนี้นะครับที่ผมอ่าน ซึ่งเมื่อกี้ผมบอก มีหนังสือเก่าที่เอามาอ่านใหม่ด้วย ผู้เขียน คือ Murray Bookchin ซึ่งตายไปไม่นานนี้เองอายุร่วมร้อย ท่านพูดว่า ที่เราเห็นเป็น urbanization ยัง ไม่ได้เป็น city เพราะ city ต้องมี citizen เสมอ ถึงจะไปรอด คือเอาความคิดแบบกรีกโบราณมาใช้ มา พัฒนาเมือง ไม่สนใจแค่พียงวัสดุหรือกายภาพ ที่สำคัญเมืองจะต้องสร้างพลเมือง ถ้าพูดถึงงานของเรา คือผู้สร้างบ้านแปงเมือง ที่เรากำลังคิดจะทำนั่นแหละ คือพลเมืองอย่างที่เล่มนี้อยากให้สร้างขึ้นมา อันนี้ ถือว่าคิดแบบตะวันตก แต่เราก็ยืมเขามาใช้ได้ แต่เมืองของไทยนี่เราไม่ค่อยใช้ citizen นะ ไม่ค่อยมี citizenship มีแต่ subject เมืองของไทยไม่เหมือนเมืองของตะวันตก แต่อะไรของตะวันตกที่ดี จะต้องเอา มาใช้ การสร้าง citizenship การสร้าง citizen การสร้างพลเมือง การสร้างสำนึกของพลเมืองสำคัญ 
ย้อนกลับไปที่พูดมาเมื่อกี้ต้องทำให้คนรู้จักประวัติของเมือง โคตรเหง้าของเมือง เกียรติภูมิของ เมืองด้วย จะต้องมีวีรบุรุษของเมืองด้วย จะต้องมีเทพของเมืองด้วย ซึ่งในเมืองไทยมันหายไปหมด เหลือ
หนังสือ ความคิดและข้อเสนอในการขับเคลื่อนความเป็นเมือง
หนังสือ ความคิดและข้อเสนอในการขับเคลื่อนความเป็นเมือง
หนังสือ ความคิดและข้อเสนอในการขับเคลื่อนความเป็นเมือง

More Related Content

What's hot

เรียงความเรื่อง ความหลากหลาย
เรียงความเรื่อง    ความหลากหลายเรียงความเรื่อง    ความหลากหลาย
เรียงความเรื่อง ความหลากหลายMim Papatchaya
 
สังคมโลก และ ลักษณะพื้นฐานของสังคมระหว่างประเทศ
สังคมโลก และ ลักษณะพื้นฐานของสังคมระหว่างประเทศสังคมโลก และ ลักษณะพื้นฐานของสังคมระหว่างประเทศ
สังคมโลก และ ลักษณะพื้นฐานของสังคมระหว่างประเทศChainarong Maharak
 
การกลายเป็นเมืองในชนบทไทย : ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ
การกลายเป็นเมืองในชนบทไทย : ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ การกลายเป็นเมืองในชนบทไทย : ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ
การกลายเป็นเมืองในชนบทไทย : ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ FURD_RSU
 
แนวทางการตีพิมพ์บทความวิจัยระดับนานาชาติ #2
แนวทางการตีพิมพ์บทความวิจัยระดับนานาชาติ #2แนวทางการตีพิมพ์บทความวิจัยระดับนานาชาติ #2
แนวทางการตีพิมพ์บทความวิจัยระดับนานาชาติ #2Prachyanun Nilsook
 
การอ้างอิงทางวิชาการ
การอ้างอิงทางวิชาการการอ้างอิงทางวิชาการ
การอ้างอิงทางวิชาการWatcharapol Wiboolyasarin
 
เมืองยะลา กับแนวคิดการจัดการเมืองของนายกเทศมนตรี
เมืองยะลา กับแนวคิดการจัดการเมืองของนายกเทศมนตรีเมืองยะลา กับแนวคิดการจัดการเมืองของนายกเทศมนตรี
เมืองยะลา กับแนวคิดการจัดการเมืองของนายกเทศมนตรีFURD_RSU
 
โครงงานกระดาษสา
โครงงานกระดาษสาโครงงานกระดาษสา
โครงงานกระดาษสาNattarika Wonkumdang
 
บทบาทใหม่ของเมืองในยุคดิจิทัล
บทบาทใหม่ของเมืองในยุคดิจิทัลบทบาทใหม่ของเมืองในยุคดิจิทัล
บทบาทใหม่ของเมืองในยุคดิจิทัลFURD_RSU
 
กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิทยาศาสตร์ 58
กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิทยาศาสตร์  58กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิทยาศาสตร์  58
กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิทยาศาสตร์ 58renusaowiang
 
โซเชียลมีเดียกับการศึกษาไทย
โซเชียลมีเดียกับการศึกษาไทยโซเชียลมีเดียกับการศึกษาไทย
โซเชียลมีเดียกับการศึกษาไทยKruBeeKa
 
เหตุการณ์สำคัญในยุโรปสมัยกลาง
เหตุการณ์สำคัญในยุโรปสมัยกลางเหตุการณ์สำคัญในยุโรปสมัยกลาง
เหตุการณ์สำคัญในยุโรปสมัยกลางSherry Srwchrp
 
โครงงานเชียงคานในวันนี้กับวิถีที่เปลี่ยนไป ผลกระทบจากกระแสโลกาภิวัตน์
โครงงานเชียงคานในวันนี้กับวิถีที่เปลี่ยนไป ผลกระทบจากกระแสโลกาภิวัตน์โครงงานเชียงคานในวันนี้กับวิถีที่เปลี่ยนไป ผลกระทบจากกระแสโลกาภิวัตน์
โครงงานเชียงคานในวันนี้กับวิถีที่เปลี่ยนไป ผลกระทบจากกระแสโลกาภิวัตน์อนุชา โคยะทา
 
จิตรปทา ฉันท์ 8
จิตรปทา ฉันท์ 8จิตรปทา ฉันท์ 8
จิตรปทา ฉันท์ 8MilkOrapun
 
อัตชีวประวัติ อุทัยวรรณ กาญจนกามล 56 สั้น
อัตชีวประวัติ อุทัยวรรณ กาญจนกามล 56 สั้นอัตชีวประวัติ อุทัยวรรณ กาญจนกามล 56 สั้น
อัตชีวประวัติ อุทัยวรรณ กาญจนกามล 56 สั้นDental Faculty,Phayao University.
 
โครงงานวิชา Is2
โครงงานวิชา Is2โครงงานวิชา Is2
โครงงานวิชา Is2LeoBlack1017
 
เรียงความเรื่อง ความหลากหลายทางวัฒนธรรม
เรียงความเรื่อง    ความหลากหลายทางวัฒนธรรมเรียงความเรื่อง    ความหลากหลายทางวัฒนธรรม
เรียงความเรื่อง ความหลากหลายทางวัฒนธรรมMim Papatchaya
 
วิเคราะห์เรื่องสั้น
วิเคราะห์เรื่องสั้นวิเคราะห์เรื่องสั้น
วิเคราะห์เรื่องสั้นFluofern
 

What's hot (20)

เรียงความเรื่อง ความหลากหลาย
เรียงความเรื่อง    ความหลากหลายเรียงความเรื่อง    ความหลากหลาย
เรียงความเรื่อง ความหลากหลาย
 
สังคมโลก และ ลักษณะพื้นฐานของสังคมระหว่างประเทศ
สังคมโลก และ ลักษณะพื้นฐานของสังคมระหว่างประเทศสังคมโลก และ ลักษณะพื้นฐานของสังคมระหว่างประเทศ
สังคมโลก และ ลักษณะพื้นฐานของสังคมระหว่างประเทศ
 
การกลายเป็นเมืองในชนบทไทย : ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ
การกลายเป็นเมืองในชนบทไทย : ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ การกลายเป็นเมืองในชนบทไทย : ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ
การกลายเป็นเมืองในชนบทไทย : ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ
 
แนวทางการตีพิมพ์บทความวิจัยระดับนานาชาติ #2
แนวทางการตีพิมพ์บทความวิจัยระดับนานาชาติ #2แนวทางการตีพิมพ์บทความวิจัยระดับนานาชาติ #2
แนวทางการตีพิมพ์บทความวิจัยระดับนานาชาติ #2
 
การอ้างอิงทางวิชาการ
การอ้างอิงทางวิชาการการอ้างอิงทางวิชาการ
การอ้างอิงทางวิชาการ
 
03 บทที่ 3-วิธีดำเนินงานโครงงาน
03 บทที่ 3-วิธีดำเนินงานโครงงาน03 บทที่ 3-วิธีดำเนินงานโครงงาน
03 บทที่ 3-วิธีดำเนินงานโครงงาน
 
เมืองยะลา กับแนวคิดการจัดการเมืองของนายกเทศมนตรี
เมืองยะลา กับแนวคิดการจัดการเมืองของนายกเทศมนตรีเมืองยะลา กับแนวคิดการจัดการเมืองของนายกเทศมนตรี
เมืองยะลา กับแนวคิดการจัดการเมืองของนายกเทศมนตรี
 
โครงงานกระดาษสา
โครงงานกระดาษสาโครงงานกระดาษสา
โครงงานกระดาษสา
 
พลเมืองอาเซียน
พลเมืองอาเซียนพลเมืองอาเซียน
พลเมืองอาเซียน
 
บทบาทใหม่ของเมืองในยุคดิจิทัล
บทบาทใหม่ของเมืองในยุคดิจิทัลบทบาทใหม่ของเมืองในยุคดิจิทัล
บทบาทใหม่ของเมืองในยุคดิจิทัล
 
กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิทยาศาสตร์ 58
กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิทยาศาสตร์  58กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิทยาศาสตร์  58
กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิทยาศาสตร์ 58
 
โซเชียลมีเดียกับการศึกษาไทย
โซเชียลมีเดียกับการศึกษาไทยโซเชียลมีเดียกับการศึกษาไทย
โซเชียลมีเดียกับการศึกษาไทย
 
เหตุการณ์สำคัญในยุโรปสมัยกลาง
เหตุการณ์สำคัญในยุโรปสมัยกลางเหตุการณ์สำคัญในยุโรปสมัยกลาง
เหตุการณ์สำคัญในยุโรปสมัยกลาง
 
โครงงานเชียงคานในวันนี้กับวิถีที่เปลี่ยนไป ผลกระทบจากกระแสโลกาภิวัตน์
โครงงานเชียงคานในวันนี้กับวิถีที่เปลี่ยนไป ผลกระทบจากกระแสโลกาภิวัตน์โครงงานเชียงคานในวันนี้กับวิถีที่เปลี่ยนไป ผลกระทบจากกระแสโลกาภิวัตน์
โครงงานเชียงคานในวันนี้กับวิถีที่เปลี่ยนไป ผลกระทบจากกระแสโลกาภิวัตน์
 
จิตรปทา ฉันท์ 8
จิตรปทา ฉันท์ 8จิตรปทา ฉันท์ 8
จิตรปทา ฉันท์ 8
 
อัตชีวประวัติ อุทัยวรรณ กาญจนกามล 56 สั้น
อัตชีวประวัติ อุทัยวรรณ กาญจนกามล 56 สั้นอัตชีวประวัติ อุทัยวรรณ กาญจนกามล 56 สั้น
อัตชีวประวัติ อุทัยวรรณ กาญจนกามล 56 สั้น
 
สังคมประกิต
สังคมประกิตสังคมประกิต
สังคมประกิต
 
โครงงานวิชา Is2
โครงงานวิชา Is2โครงงานวิชา Is2
โครงงานวิชา Is2
 
เรียงความเรื่อง ความหลากหลายทางวัฒนธรรม
เรียงความเรื่อง    ความหลากหลายทางวัฒนธรรมเรียงความเรื่อง    ความหลากหลายทางวัฒนธรรม
เรียงความเรื่อง ความหลากหลายทางวัฒนธรรม
 
วิเคราะห์เรื่องสั้น
วิเคราะห์เรื่องสั้นวิเคราะห์เรื่องสั้น
วิเคราะห์เรื่องสั้น
 

Similar to หนังสือ ความคิดและข้อเสนอในการขับเคลื่อนความเป็นเมือง

Opening speech : Young leader role in a transition period (in Thai)
Opening speech : Young leader role in a transition period (in Thai)Opening speech : Young leader role in a transition period (in Thai)
Opening speech : Young leader role in a transition period (in Thai)Kan Yuenyong
 
การพัฒนาเมืองยะลา : สิงคโปร์แห่งที่ 2
การพัฒนาเมืองยะลา : สิงคโปร์แห่งที่ 2การพัฒนาเมืองยะลา : สิงคโปร์แห่งที่ 2
การพัฒนาเมืองยะลา : สิงคโปร์แห่งที่ 2FURD_RSU
 
ทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมือง โดย ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์
ทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมือง โดย ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์ทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมือง โดย ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์
ทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมือง โดย ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์FURD_RSU
 
กลุ่มตนเป็นที่พึ่งแห่งตน --นิเวศวิทยากับศาสนา
กลุ่มตนเป็นที่พึ่งแห่งตน --นิเวศวิทยากับศาสนากลุ่มตนเป็นที่พึ่งแห่งตน --นิเวศวิทยากับศาสนา
กลุ่มตนเป็นที่พึ่งแห่งตน --นิเวศวิทยากับศาสนาfreelance
 
การพัฒนาเมืองน่านสู่สังคมคุณภาพ
การพัฒนาเมืองน่านสู่สังคมคุณภาพการพัฒนาเมืองน่านสู่สังคมคุณภาพ
การพัฒนาเมืองน่านสู่สังคมคุณภาพFURD_RSU
 
10 เป้าหมายปฏิรูปการเมือง พลิกโฉมประเทศ
 10 เป้าหมายปฏิรูปการเมือง พลิกโฉมประเทศ 10 เป้าหมายปฏิรูปการเมือง พลิกโฉมประเทศ
10 เป้าหมายปฏิรูปการเมือง พลิกโฉมประเทศKlangpanya
 
การสร้างหลั่นล้าอีโคโนมี ด้วยการขับเคลื่อนสังคมบนฐานเศรษฐกิจวัฒนธรรมของพื้นที่
การสร้างหลั่นล้าอีโคโนมี ด้วยการขับเคลื่อนสังคมบนฐานเศรษฐกิจวัฒนธรรมของพื้นที่การสร้างหลั่นล้าอีโคโนมี ด้วยการขับเคลื่อนสังคมบนฐานเศรษฐกิจวัฒนธรรมของพื้นที่
การสร้างหลั่นล้าอีโคโนมี ด้วยการขับเคลื่อนสังคมบนฐานเศรษฐกิจวัฒนธรรมของพื้นที่FURD_RSU
 
โครงงานหนูชื่ออาเซียน
โครงงานหนูชื่ออาเซียนโครงงานหนูชื่ออาเซียน
โครงงานหนูชื่ออาเซียนJar 'zzJuratip
 
ใบงานที่ประเด็นโลก 8 ด้าน
ใบงานที่ประเด็นโลก 8 ด้านใบงานที่ประเด็นโลก 8 ด้าน
ใบงานที่ประเด็นโลก 8 ด้านprincess Thirteenpai
 
03 แบบ ว-1ด-วณิชชาv3
03 แบบ ว-1ด-วณิชชาv303 แบบ ว-1ด-วณิชชาv3
03 แบบ ว-1ด-วณิชชาv3KruBeeKa
 
เมืองขอนแก่นกับนวัตกรรมการพัฒนา
เมืองขอนแก่นกับนวัตกรรมการพัฒนาเมืองขอนแก่นกับนวัตกรรมการพัฒนา
เมืองขอนแก่นกับนวัตกรรมการพัฒนาFURD_RSU
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027CUPress
 
โครงงานหนึ่งเสียงเปิดโลกกว้าง
โครงงานหนึ่งเสียงเปิดโลกกว้างโครงงานหนึ่งเสียงเปิดโลกกว้าง
โครงงานหนึ่งเสียงเปิดโลกกว้างPz'Peem Kanyakamon
 
โครงการรักชาติถูกทางสร้างเสริมความซื่อสัตย์สุจริต ประจำปี 2557
โครงการรักชาติถูกทางสร้างเสริมความซื่อสัตย์สุจริต ประจำปี 2557 โครงการรักชาติถูกทางสร้างเสริมความซื่อสัตย์สุจริต ประจำปี 2557
โครงการรักชาติถูกทางสร้างเสริมความซื่อสัตย์สุจริต ประจำปี 2557 พงษ์ขจร บุญพงษ์
 

Similar to หนังสือ ความคิดและข้อเสนอในการขับเคลื่อนความเป็นเมือง (20)

Varasan
VarasanVarasan
Varasan
 
รวมเล่ม (1)
รวมเล่ม (1)รวมเล่ม (1)
รวมเล่ม (1)
 
Opening speech : Young leader role in a transition period (in Thai)
Opening speech : Young leader role in a transition period (in Thai)Opening speech : Young leader role in a transition period (in Thai)
Opening speech : Young leader role in a transition period (in Thai)
 
การพัฒนาเมืองยะลา : สิงคโปร์แห่งที่ 2
การพัฒนาเมืองยะลา : สิงคโปร์แห่งที่ 2การพัฒนาเมืองยะลา : สิงคโปร์แห่งที่ 2
การพัฒนาเมืองยะลา : สิงคโปร์แห่งที่ 2
 
ทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมือง โดย ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์
ทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมือง โดย ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์ทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมือง โดย ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์
ทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมือง โดย ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์
 
กลุ่มตนเป็นที่พึ่งแห่งตน --นิเวศวิทยากับศาสนา
กลุ่มตนเป็นที่พึ่งแห่งตน --นิเวศวิทยากับศาสนากลุ่มตนเป็นที่พึ่งแห่งตน --นิเวศวิทยากับศาสนา
กลุ่มตนเป็นที่พึ่งแห่งตน --นิเวศวิทยากับศาสนา
 
การพัฒนาเมืองน่านสู่สังคมคุณภาพ
การพัฒนาเมืองน่านสู่สังคมคุณภาพการพัฒนาเมืองน่านสู่สังคมคุณภาพ
การพัฒนาเมืองน่านสู่สังคมคุณภาพ
 
V 283
V 283V 283
V 283
 
10 เป้าหมายปฏิรูปการเมือง พลิกโฉมประเทศ
 10 เป้าหมายปฏิรูปการเมือง พลิกโฉมประเทศ 10 เป้าหมายปฏิรูปการเมือง พลิกโฉมประเทศ
10 เป้าหมายปฏิรูปการเมือง พลิกโฉมประเทศ
 
การสร้างหลั่นล้าอีโคโนมี ด้วยการขับเคลื่อนสังคมบนฐานเศรษฐกิจวัฒนธรรมของพื้นที่
การสร้างหลั่นล้าอีโคโนมี ด้วยการขับเคลื่อนสังคมบนฐานเศรษฐกิจวัฒนธรรมของพื้นที่การสร้างหลั่นล้าอีโคโนมี ด้วยการขับเคลื่อนสังคมบนฐานเศรษฐกิจวัฒนธรรมของพื้นที่
การสร้างหลั่นล้าอีโคโนมี ด้วยการขับเคลื่อนสังคมบนฐานเศรษฐกิจวัฒนธรรมของพื้นที่
 
V 293
V 293V 293
V 293
 
โครงงานหนูชื่ออาเซียน
โครงงานหนูชื่ออาเซียนโครงงานหนูชื่ออาเซียน
โครงงานหนูชื่ออาเซียน
 
ใบงานที่ประเด็นโลก 8 ด้าน
ใบงานที่ประเด็นโลก 8 ด้านใบงานที่ประเด็นโลก 8 ด้าน
ใบงานที่ประเด็นโลก 8 ด้าน
 
03 แบบ ว-1ด-วณิชชาv3
03 แบบ ว-1ด-วณิชชาv303 แบบ ว-1ด-วณิชชาv3
03 แบบ ว-1ด-วณิชชาv3
 
Tsmt vol16
Tsmt vol16Tsmt vol16
Tsmt vol16
 
เมืองขอนแก่นกับนวัตกรรมการพัฒนา
เมืองขอนแก่นกับนวัตกรรมการพัฒนาเมืองขอนแก่นกับนวัตกรรมการพัฒนา
เมืองขอนแก่นกับนวัตกรรมการพัฒนา
 
Library for AEC
Library for AECLibrary for AEC
Library for AEC
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027
 
โครงงานหนึ่งเสียงเปิดโลกกว้าง
โครงงานหนึ่งเสียงเปิดโลกกว้างโครงงานหนึ่งเสียงเปิดโลกกว้าง
โครงงานหนึ่งเสียงเปิดโลกกว้าง
 
โครงการรักชาติถูกทางสร้างเสริมความซื่อสัตย์สุจริต ประจำปี 2557
โครงการรักชาติถูกทางสร้างเสริมความซื่อสัตย์สุจริต ประจำปี 2557 โครงการรักชาติถูกทางสร้างเสริมความซื่อสัตย์สุจริต ประจำปี 2557
โครงการรักชาติถูกทางสร้างเสริมความซื่อสัตย์สุจริต ประจำปี 2557
 

More from FURD_RSU

เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็กเมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็กFURD_RSU
 
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะFURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะFURD_RSU
 
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูลเมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูลFURD_RSU
 
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคมเมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคมFURD_RSU
 
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วมเมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วมFURD_RSU
 
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...FURD_RSU
 
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16FURD_RSU
 
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15FURD_RSU
 
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อมเมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อมFURD_RSU
 
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลกอี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลกFURD_RSU
 
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุขInfo graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุขFURD_RSU
 
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมืองinfo graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมืองFURD_RSU
 
info graphic นิยามของมรดกเมือง
info graphic นิยามของมรดกเมืองinfo graphic นิยามของมรดกเมือง
info graphic นิยามของมรดกเมืองFURD_RSU
 
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทยInfo graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทยFURD_RSU
 
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรังวิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรังFURD_RSU
 
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคมเมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคมFURD_RSU
 
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)FURD_RSU
 
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรีโมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรีFURD_RSU
 
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)FURD_RSU
 
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...FURD_RSU
 

More from FURD_RSU (20)

เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็กเมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
 
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะFURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
 
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูลเมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
 
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคมเมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
 
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วมเมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
 
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
 
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
 
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
 
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อมเมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
 
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลกอี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
 
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุขInfo graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
 
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมืองinfo graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
 
info graphic นิยามของมรดกเมือง
info graphic นิยามของมรดกเมืองinfo graphic นิยามของมรดกเมือง
info graphic นิยามของมรดกเมือง
 
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทยInfo graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
 
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรังวิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
 
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคมเมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
 
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
 
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรีโมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
 
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
 
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
 

หนังสือ ความคิดและข้อเสนอในการขับเคลื่อนความเป็นเมือง

  • 1. 0
  • 2. ความคิดและข้อเสนอในการขับเคลื่อนความเป็นเมือง ศาสตราจารย์ ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ อธิการวิทยาลัยบริหารรัฐกิจและรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • 3. ผู้เขียน : ศาสตราจารย์ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ บรรณาธิการบริหาร : นางสาวยุวดี คาดการณ์ไกล บรรณาธิการฝ่ายวิชาการ : นางสาวยุวดี คาดการณ์ไกล ผู้ถอดความ : นายอุกฤษฏ์ เฉลิมแสน กองบรรณาธิการ : นายอุกฤษฏ์ เฉลิมแสน, นายฮากีม ผูหาดา, นางสาวณัฐธิดา เย็นบำรุง,นายอรุณ สถิตพงศ์สถาพร ปก : นายอรุณ สถิตพงศ์สถาพร รูปเล่ม : นายอุกฤษฏ์ เฉลิมแสน ปีที่เผยแพร่ : ตุลาคม 2557 ผู้เผยแพร่ : ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง มหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมกับมูลนิธิส่งเสริมปัญ ญาสาธารณะ (CPWI) ภายใต้แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาอนาคตของเมือง ผู้สนับสนุน : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
  • 4. สารบัญ 1. ความคิดและมุมมองต่อเมืองในช่วงวัยนักศึกษา 1 1.1 ชนบทที่มั่นของการเปลี่ยนแปลงสังคม 1.2 พลวัตของชนบทไทย 2. ความคิดและมุมมองต่อเมืองในช่วงวัยเริ่มทำงาน 3 2.1 เมืองกับการตื่นตัวของชนชั้นกลาง 2.2 เมืองกับความเหลื่อมลํ้า 3. ความคิดและมุมมองต่อเมืองในปัจจุบัน 5 3.1 การเปลี่ยนแปลงของเมืองในโลกตะวันออก 3.2 ย้อนมองเมืองของไท : การสืบสานอดีตเพื่อการพัฒนาอนาคตของเมือง 3.3 ทัศนะต่อการขับเคลื่อนความเป็นเมืองผ่านหนังสือเล่มสำคัญ 4. บทสรุป : พัฒนาเมืองต้องพัฒนาคน 14
  • 5. 1 ความคิดและข้อเสนอในการขับเคลื่อนความเป็นเมือง ศาสตราจารย์ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์01 อธิการวิทยาลัยบริหารรัฐกิจและรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต โดยพื้นเพการศึกษาของผมไม่ได้เรียนเรื่องเมือง นคร มหานคร เลย ผมไม่ได้เรียนมาเลย ผม เรียนรัฐศาสตร์ แรกๆสนใจการเมืองของประเทศ การเมืองของชาติ ตอนทีหลังสนใจในเรื่องอื่นๆเพิ่ม คน ทั่วไปรู้จักผมว่า เป็นผู้เขียนเรื่อง สองนคราประชาธิปไตย และต่อมาเขียนเรื่องท้องถิ่น เขียนเรื่องโลก มีทั้งประวัติศาสตร์โลก คือ ตะวันออก-ตะวันตก : ใครสร้างโลกสมัยใหม่ มีทั้งปัจจุบันและอนาคตของ โลกที่เขียนหนังสือบูรพาภิวัตน์ เมื่อคุณยุวดี คาดการณ์ไกลชวนให้มาพูดในเรื่องเมือง ก็มานั่งทบทวน ว่า เราสนใจเรื่องเมืองมาได้อย่างไร จริงๆ สองนคราประชาธิปไตยก็คือ เรื่องเมืองกับชนบท เรื่อง ของคนชั้นกลางคนในเมืองกับชาวนาชาวไร่ในชนบท จึงมาคิดต่อทำไมตนเองถึงคิดเรื่องนี้ขึ้นมาได้ มันคงอยู่ในระบบคิดอะไรของตน อยู่ในสมองอะไรของตนมาก่อนแล้ว 1. ความคิดและมุมมองต่อเมืองในช่วงวัยนักศึกษา 1.1 ชนบทที่มั่นของการเปลี่ยนแปลงสังคม ถ้าถือเอาสองนคราเป็นการเริ่มประวัติความคิดของผม อะไรคือ prehistory ของมัน อะไรที่ผม คิดก่อนที่จะมาเขียน มันคงเริ่มตั้งแต่ผมอายุ 19 – 20 ปี แล้ว เริ่มจากการสนใจชนบท สนใจเกษตรกร เป็นห่วงชนบท เป็นห่วงชาวนาชาวไร่ เมื่อไปค่ายต่างๆในชนบทเวลานั้น ก็ขบวนนักศึกษาหลัง 14 ตุลาคม 2516 อาจเป็นขบวนแรกๆของสังคมไทยที่คนในเมือง คนในกรุงหันไปสนใจคนในชนบท ใน ตอนนั้นสิ่งที่ปัญ ญาชนฝ่ายซ้ายคิดตามทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองแบบเหมา เจ๋อตง คือ จะต้องเอา ชนบทไปล้อมเมือง เราจึงสนใจชนบท เศรษฐศาสตร์การเมืองแบบนี้มองว่า ชนบทคือฐานที่มั่นที่สำคัญ ของการเปลี่ยนแปลง บางคนบอกเป็นฐานที่มั่นของการปฏิวัติทีเดียว วิธีคิดแบบนี้จึงจะมองเมืองแบบลบ ชี้ว่าเมืองคือที่อยู่ของชนชั้นปกครอง เมืองคือศูนย์กลางของทุนนิยม เมืองคือที่ๆดูดซับเอาทุกอย่างไป จากชนบท มาอ่านหนังสือเพิ่มเติม ก็พบว่ามาร์กซ์เองคิดไว้ว่า ความขัดแย้งระหว่างชนบทกับเมืองจะ ดำรงอยู่ในระบอบทุนนิยม และต้องรอจนกระทั่งกลายเป็นสังคมนิยมแล้วเสียด้วยซํ้า จึงจะทำให้ชนบท กับเมืองกลายเป็นอันเดียวกัน เรียกว่าคู่ขัดแย้งจะหลอมเข้ามาหากัน แล้วกลายเป็นอะไรอีกอย่างหนึ่ง 1 ถอดความจากการนำเสนอในที่ประชุมวิชาการเรื่อง “อุดมการณ์ในการขับเคลื่อนความเป็นเมืองในอนาคต” จัดโดย แผนงาน นโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาอนาคตของเมือง เมื่อวันอังคารที่ 17 มิถุนายน 2557 เวลา 10.00 – 16.00 น. ณ แผนงาน นโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาอนาคตของเมือง อาคารพร้อมพันธุ์ 1 ชั้น 4 จัดโดย แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาอนาคต ของเมือง ร่วมกับมูลนิธิสถาบันสร้างสรรค์ปัญญาสาธารณะ โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
  • 6. ไม่ใช่ทั้งเมืองหรือชนบท ด้วยคิดแบบนี้จึงสนใจเรื่องชาวนาชนบท มองประเทศไทยก็คิดถึงแต่ชนบท ไม่ ค่อยคิดถึงเมือง เมืองที่คิดถึงคือกรุงเทพฯ แต่กรุงเทพฯคือศูนย์กลางของอำนาจปกครอง คิดอย่างนั้นนะ ผ่านไปซักระยะหนึ่งในขบวนการปัญ ญาชนและฝ่ายซ้าย ก็มีการถกเถียงกันว่า แนวคิดที่ว่าใช้ ชนบทเป็นฐานที่มั่นยังถูกหรือไม่ เพราะหลายคนคิดว่า สังคมไทยไม่ใช่อย่างที่ปัญ ญาชนฝ่ายซ้ายบอกไว้ ว่าเป็นกึ่งศักดินา หากเป็นสังคมที่เป็นทุนนิยมไปแล้ว กลายเป็นสังคมที่เป็นทุนนิยม หมายความว่าฝ่าย ที่เสนอความคิดใหม่ มีข้อเสนอว่า ขบวนการเปลี่ยนแปลงจะต้องสนใจเมืองต่างหาก ไม่ใช่สนใจชนบท หรือถ้ายังสนใจชนบท นํ้าหนักก็น่าจะให้ที่เมืองมากกว่า น่าจะสนใจกรรมกรและคนจนในเมือง มากกว่า ที่จะสนใจชาวนา การต่อสู้การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ต้องเน้นการต่อสู้แบบสันติวิธีในเมือง ต้องสร้าง เครือข่ายสร้างฐานต่างๆในเมือง แล้วก็ถกเถียงกันอีกว่า ระหว่างกรรมกรกับชาวนาใครสำคัญกว่าใคร ใครนำใคร มองแบบการปฏิวัติจีนชาวนานั้นต้องนำกรรมกร ถ้ามองแบบอีกสายหนึ่งต้องสนใจกรรมกร ต้องสนใจคนในเมือง รวมทั้งคนชั้นกลาง ผมเองอยู่ในกระแสของการถกเถียงกัน ก็ได้คิดกับอะไรหลาย อย่าง เริ่มต้นทำวิจัยครั้งแรกอายุประมาณซัก 26 ปี ยังไม่จบอะไรเลย เรียนแพทย์ถึงปีห้า ถ้าจะนับว่าได้ ปริญญาบัตร ก็ได้ปริญญาบัตรวิทยาศาสตรบันฑิต ซึ่งไม่เกี่ยวอะไรกับที่ผมกำลังค้นคว้า 1.2 พลวัตของชนบทไทย ผมคิดว่าในประเด็นแรก พลังการผลิตของไทยไม่ได้หยุดชะงัก ไม่ได้หยุดอยู่แค่เป็นกึ่งศักดินา ถ้าพลังการผลิตหยุดชะงักย่อมจะนำไปสู่การปฏิวัติ จะวัดพลังการผลิตอย่างไร ถ้าวัดง่ายๆ ก็วัดจาก อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ ผมพบว่าการผลิตของไทยเติบโตเร็วมาก 7-8 % ติดต่อกันมาซัก 20 ปี เพราะฉะนั้นพลังการผลิตของไทยไม่ได้หยุดชะงักแน่นอน แม้ว่าจะยังไม่เป็นอุตสาหกรรม แม้ว่าจะไม่ได้ ใช้เทคโนโลยีที่ลํ้าหน้าในตอนนั้น แต่ถ้านับจากอัตราการเติบโตแล้ว เป็นเศรษฐกิจที่ยังเดินยังวิ่งไป ข้างหน้าได้ แม้ว่าขณะนั้นชนบทของไทยใหญ่ แต่ในชนบทที่ผมไปเห็นเองมาแล้ว มีความเปลี่ยนแปลง ตลอดเวลา ลักษณะที่เรียกว่ากึ่งศักดินาลดลงเป็นลำดับ ยิ่งกว่านั้นศักดินาของไทยไม่ได้เป็นแบบยุโรป และจีน ในสมัยโบราณชาวนาไทยในตอนนั้นเปลี่ยนจากการปลูกกินเองมาปลูกเพื่อขายค่อนข้างชัดเจน แล้ว มีที่ปลูกเองกินเองอยู่บนภูเขาสูง เป็นของชนกลุ่มน้อย แค่คนไทยกลุ่มใหญ่ปลูกข้าวเพื่อขาย และ ชาวนาไทยถือครองที่ดินเองมากกว่าที่ผมคิด มากกว่าที่ทฤษฎีบอก มีอยู่บ้างที่เป็นชาวนาเช่า โดยเฉพาะทางภาคเหนือ แล้วก็ภาคกลางที่แม่นํ้าลำคลองอุดมสมบูรณ์ แถบทุ่งรังสิต แต่ถ้านับรวมๆ ชาวนาไทยส่วนใหญ่ครองที่ดินเอง โดยเฉพาะภาคอีสานถือครองที่ดินมาก แม้ว่าที่ดินไม่อุดมสมบูรณ์ ถ้านับเป็นไร่มากกว่าภาคเหนือมากกว่าภาคกลางเสียด้วยซํ้า ผมก็มีความเห็นว่าชนบทแปรเป็นทุนนิยม ขึ้นเรื่อยๆ ชาวนากำลังกลายเป็นนายทุนน้อย ไม่ใช่ชาวนาแบบกึ่งศักดินาแบบทำเองกินเอง แล้วส่งส่วย ให้เจ้าศักดินาอะไรแบบนี้ไม่ใช่ ในความเห็นของผมชนบทไม่น่าเป็นฐานที่มั่นของการเปลี่ยนแปลงอะไร ได้ ผมจึงหันมาให้ความสำคัญกับเมือง กรรมกร นายทุนน้อย ชนชั้นกลางมากขึ้น นี่พูดตามทฤษฎี แต่ เมื่อกวาดตามองเมืองไปจริงๆ ยังพบว่า ส่วนใหญ่ก็มีแต่พ่อค้า นายทุนใหญ่ ข้าราชการ คนจน ส่วน กรรมกรนั้นมีมากขึ้นในแถบกรุงเทพฯและปริมณฑล แต่ในจังหวัดอื่นๆก็ยังมีไม่มากนัก ที่สำคัญยังมอง ไม่เห็นคนชั้นกลาง ยกเว้นนักศึกษาและอาจารย์มหาวิทยาลัย นักหนังสือพิมพ์ ข้าราชการ แต่ว่าชนชั้น
  • 7. กลางในภาคธุรกิจยังมีน้อย แล้วแบบแผนการเติบโตเมืองของไทย มีกรุงเทพฯเป็นนครโตเดี่ยว เป็น primate city นอกจากนั้น ก็ไม่ค่อยมีเมืองใหญ่ อีกเมืองหนึ่งที่สำคัญคือเชียงใหม่ แต่ผมยังคิดว่าตอนนั้น ยังไม่ถึงเป็นขั้นนคร ที่เล่ามาก็ปิดฉาก prehistory ของผมได้พอดี จากนั้นผมก็ไปอยู่ที่อเมริการ่วม 9 ปี สอนที่อเมริกาด้วย ผมไม่ได้เรียนกับเจ้าสำนักคนไหนอะไร ทั้งสิ้น ความคิดของผมไม่ได้เปลี่ยนแบบหน้ามือเป็นหลังมือ ฉับพลันทันที ผมไม่ได้ไปเรียนเรื่องเมือง ด้วย แต่ที่ฝัง ในความสนใจของผม อยู่ในวาระทางปัญญาของผม ซึ่งคงแรงพอสมควร แต่ว่าไม่ค่อยรู้ตัว คือ ความสำคัญของเมือง 2. ความคิดและมุมมองต่อเมืองในช่วงวัยเริ่มทำงาน 2.1 เมืองกับการตื่นตัวของชนชั้นกลาง ผมกลับมาสอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ปี 2532-2535 อ่านอะไรต่างๆของพวกที่ทำ วิจัยการตลาด พูดเรื่องคนชั้นกลาง ผู้บริโภค (consumer) ที่เป็นคนชั้นกลาง (middle class) ผมเริ่มคิด ขึ้นมาว่า เอ๊ะ มันมีชนชั้นกลางเหมือนกันนะ ใช่มั้ยครับ แน่นอนผมสงสัยว่าเขาวิจัยถูกต้องหรือเปล่า นักการตลาดเขาสนใจผู้บริโภคคนชั้นกลางมาก จะบอกได้เลยว่า คนชั้นกลางใช้สินค้าแบบไหน คนชั้นล่างใช้สินค้าแบบไหน สินค้าของคนชั้นกลางที่เริ่มออกมาสู่ตลาดตอนนั้น มีอะไรหลายๆอย่าง รวมทั้งรถยนต์ มือถือ ในตอนนั้นเพื่อนๆในแวดวงรัฐศาสตร์ ไม่มีใครสนใจคนชั้นกลาง ยังสนใจเรื่อง ทหารกับพลเรือนอยู่เป็นส่วนใหญ่ แต่ว่านักการตลาดสนใจเรื่องคนชั้นกลาง ซึ่งผมคิดว่าน่าจะชมเชย อย่างน้อยที่สุดทำให้ผม แต่คงไม่ใช่ผมคนเดียวที่เริ่มคิดเรื่องคนชั้นกลางในทางการเมือง ในที่สุดเมื่อเกิด การยึดอำนาจปี 2534 ซึ่งในความเห็นของผมเป็นการยึดอำนาจที่คนชั้นกลางเป็นคนเรียกร้อง แต่ว่าคน ทั่วไปไม่ได้วิเคราะห์แบบนั้น โดยวิเคราะห์ว่าทหารขัดแย้งกับนายกรัฐมนตรีชาติชาย แต่พอปี 2534-2535 เห็นการเคลื่อนไหวของคนชั้นกลาง เอามาเขียนเป็นหนังสือเรื่องม็อบมือ ถือ ผมเห็นพวกนี้มีรถเก๋งนั่ง อาจเป็นเงินผ่อนก็ได้ แล้วก็มีโทรศัพท์มือถือ อาจดูว่าฟุ้งเฟ้ อฟุ่มเฟือยก็ ตาม บางครั้งเรียกพวกนี้ว่าม็อบมือถือ บางครั้งก็เรียกม็อบรถเก๋ง จับตาดูคนพวกนี้ แล้วก็จะไม่เห็นแต่ กรุงเทพฯ จะเห็นเชียงใหม่ โคราช อุดร อุบล ขอนแก่น ระยอง พัทยา หัวหิน บางแสน สงขลา หาดใหญ่ สุราษฎร์ธานีขึ้นมาด้วย ผมเริ่มสังเกตว่าเมืองพวกนี้โตเร็วเหมือนกันนะ ไม่ได้โตช้าๆ ในช่วงที่ผมหายไป 8-9 ปี อาจโตขึ้นเพราะสงครามกลางเมืองระหว่างคอมมิวนิสต์กับรัฐบาลยุติลงหรือเปล่า ทำให้ที่ดิน บริเวณป่า บริเวณชนบทลึกๆนั้นมีคนเข้าถึง ทำเกษตรกรรม ทำพาณิชยกรรม ซึ่งมีต่อมาจาก เกษตรกรรม ส่วนในภาคเมืองก็เปลี่ยนจากรุ่นเถ้าแก่ไปเป็นรุ่นที่จ้างคนเข้าทำงาน เกิดคนชั้นกลางที่เป็น ลูกจ้างในภาคธุรกิจ ส่วนที่กรุงเทพฯไม่ต้องพูดถึง พวกที่เรียกว่าม็อบรถเก๋ง ม็อบมือถือ ที่จริงคือพวก ผู้บริหารและพนักงานของบริษัทต่างๆ ซึ่งคนเหล่านั้นไม่ได้เป็นเจ้าของบริษัท ไม่ใช่เถ้าแก่ แต่เป็น ลูกน้องของบริษัทผู้บริหารของบริษัท บริษัทจำนวนมากกลายเป็นบริษัทมหาชน ผมเริ่มสนใจเรื่อง เมืองขึ้นแล้ว
  • 8. ในช่วงปี 2535- 2538 ที่ผมเขียนสองนคราประชาธิปไตย จริงๆผมอ่านงานของมันโร (Munro) จำชื่อจำหน้าไม่ได้ซึ่งเป็นนักวิชาการรุ่นหลังต่อจากอองรี ปิเรน (Henri Pirenne) ที่เขียนเรื่อง Medieval Cities: Their Origins and the Revival of Trade ผมเริ่มสนใจเมืองกับประชาธิปไตย เมืองกับทุน นิยม จากปิเรน ทำให้ผมสาวกลับไปอ่านไปค้นเกี่ยวกับ Polis ของกรีก เมืองที่ปกครองจัดการตนเอง เป็น city state คือเป็นทั้งรัฐ เป็นทั้งเมืองด้วย ซึ่งอริสโตเติล พลาโต ก็พูดถึงเอาไว้เยอะ คำว่า “การเมือง” ของตะวันตก มาจากการของเมืองจริงๆ การของ Polis จริงๆ ผมเริ่มเกิด ความคิด ประชาธิปไตยที่ปกครองตนเอง (self government democracy) โดยเฉพาะผมไปตีความว่า เป็นการปกครองท้องถิ่น เพราะว่าบังเอิญช่วงนั้นปี 2539 - 2544 ผมไปเกี่ยวข้องกับการกระจาย อำนาจ แล้วเกี่ยวข้องกับการพัฒนาท้องถิ่น ผมเป็นประธานเขียนแผนกระจายอำนาจ ฯ ฉบับแรกใน ประเทศไทย ช่วงนั้นก็ไปคิดเรื่องท้องถิ่น ทำเรื่องท้องถิ่น แต่ว่าเรื่องเมืองยังถูกกลบเอาไว้ ไม่ถูกขุด ขึ้นมา ในสมองผมมีเรื่องประชาธิปไตยท้องถิ่น ประชาธิปไตยปกครองตนเอง มีเรื่องคนชั้นกลาง แต่เรื่อง เมืองยังไม่ค่อยมี ยังถูกกลบเอาไว้ 2.2 เมืองกับความเหลื่อมลํ้า พอมาปี 2546-2547 ผมก็เพิ่งมาเจอหลักฐานเมื่อวาน ช่วงนี้เองผมไปช่วยมหาวิทยาลัยราชภัฏ จันทรเกษมทำหลักสูตรปริญญาโทเรื่องเมือง ผมลืมไปหมดแล้วว่า เขียนคำนิยมให้เขาด้วยในหนังสือ เรื่อง “คนทุกข์เมือง” พอผมย้อนกลับไปอ่านบทความและบทนำ ที่สำคัญไปดูสารบัญก็จะมี เรื่องชีวิต หญิงบริการในบาร์ญี่ปุ่น คนถีบสามล้อในกระแสการพัฒนา ชีวิตแรงงานกัมพูชาในไทย เมืองพัทยากับ ความเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมสุขภาพของเยาวชนเมือง เส้นทางของชุมชนแออัดในเมือง ทำให้ผมได้คิด ย้อนหลังว่า เรื่องเมืองที่เราสนใจอยู่ นอกจากนักวางผังเมือง พวกสถาปนิกอะไรต่างๆ แล้วนัก สังคมศาสตร์ของไทยสนใจเมืองในแง่ความลำบาก ในแง่จราจรติดขัด ในแง่คนยากคนจน ในแง่คน อพยพมาลำบากในกรุงเทพฯ มันเป็นเรื่องของคนทุกข์คนยาก งานของอาจารย์อคิน รพีพัฒน์ก็เป็นเรื่อง สลัม เป็นต้น เป็นงานที่บอกถึงบรรยากาศการศึกษาเรื่องเมืองในเวลานั้นเลย งานของอาจารย์ทนงศักดิ์ วิกุล ทำ housing for the poor ก็อยู่ในบรรยากาศแบบนั้น ในหมู่นักวิชาการก็อยากเห็นเมืองให้เล็กลง มีคนเสนอให้กรุงเทพฯเล็กลง คนหนึ่งที่สมัครเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแล้วเสนอนโยบายเรื่องนี้ เลยคือ คุณอากร ฮุนตระกูล เสนอให้ทำกรุงเทพฯให้เล็กลง ผู้สมัครคนอื่นๆพูดล้วนแต่จะทำอะไรให้ กรุงเทพฯมากมาย แต่คุณอากร ฮุนตระกูลคิดว่าจะทำยังไงให้กรุงเทพฯเล็กลงให้ได้ ทำยังไงให้ประชากร ไหลคืนสู่ชนบทให้ได้ บรรณาธิการหนังสือ “คนทุกข์เมือง” คือ สุมาลี ไชยศุภรากุล ปัจ จุบันเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัย ราชภัฏจันทรเกษม ผมเขียนคำนิยมให้หนังสือ แต่ในบทนำเขาเขียนว่า “ขอกราบขอบคุณบุคคลสำคัญ ที่สุดที่เป็นเสมือนจอมทัพของเรา.. (ชื่อผม) อาจารย์กรุณามารับสอนในรายวิชาสัมมนาปัญ หาการวิจัย และการพัฒนาเมือง ในภาคเรียนที่ 1/45 หัวข้อวิทยานิพนธ์ของนักศึกษารุ่นแรกทั้ง 30 คนมาจากการ อ่านตรวจและแก้ไขอย่างใกล้ชิดตลอดเทอมจนนักศึกษาสามารถพัฒนาเป็นวิทยานิพนธ์ได้สำเร็จ” ผมลืม
  • 9. ไปหมดแล้วเรื่องนี้ ถ้าไม่ถูกมอบหมายให้มาพูดเรื่องนี้ในวันนี้ ผมก็คงไม่ได้ไปคิดว่า ผมคิดเรื่องเมืองมา อย่างไร ผมคงลืมหนังสือเล่มนี้ไปแล้ว 3. ความคิดและมุมมองต่อเมืองในปัจจุบัน 3.1 การเปลี่ยนแปลงของเมืองในโลกตะวันออก ขอเล่าต่อว่าผมสนใจเรื่องเมืองอย่างจริงจัง ก็เมื่อกรุงเทพมหานครตั้งผมเป็นประธานสถาบัน พัฒนาเมืองเมื่อปี 2552-2553 ทำหน้าที่จัดหลักสูตรการพัฒนาเมืองให้ผู้บริหารระดับผู้ใหญ่อยู่หนึ่งปี ช่วงนี้ทำให้ผมไปอ่านเมืองของโลก (global city) เมืองของจีน และบังเอิญผมกำลังเขียนหนังสือบูรพา ภิวัฒน์อยู่ด้วยในช่วงนั้น ผมเอาข้อมูลสองทางมาประกบกัน ก็เกิดอะไรที่แปลกๆขึ้นมาในใจ อนาคตของ เมืองในโลกต้องไปดูที่จีน เอ๊ะ จีนมีเมืองอะไร จีนเป็น trend setter เป็นผู้นำแนวใหม่ๆ ผมตกใจที่ว่า เมืองของจีนที่มีคนมากกว่า 1 ล้านคนขึ้นไป มีถึงร้อยกว่าเมือง ส่วนปัก กิ่ง เซี่ยงไฮ้ไม่ต้องพูดถึงมีเมือง ละ 20 ล้านคนโดยประมาณ ช่วงนั้นผมรู้จักแผนพัฒนาฉบับที่ 12 ของจีน มีหลายอย่างที่สำคัญ จีนเห็น ว่าการแปรเปลี่ยนเป็นเมือง การสร้างเมือง การขยายเมือง การปรับปรุงเมือง เป็นหัวใจของทางรอดของ เศรษฐกิจของจีน เพราะจีนไม่สามารถปล่อยให้เศรษฐกิจเป็นการส่งออกอย่างเดียว ต้องเป็นเศรษฐกิจที่ เน้น domestic market เน้นซื้อขายภายในประเทศ ผลิตขึ้นมาแล้วต้องขายในประเทศเป็นหลัก สร้างงาน ขึ้นมาในประเทศ แต่จุดสำคัญคือว่า ถ้าคนอยู่ในชนบทเทียบกับคนอยู่ในเมือง คนที่อยู่ในเมืองมี consumption หกเท่าของคนที่อยู่ในชนบท เพราะฉะนั้นถ้าจีนจะสร้างกำลังซื้อ จีนต้องเปลี่ยนภาคชนบท เป็นเมือง การสร้างเมืองของจีนจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากต่อประเทศ ช่วงนั้นผมได้ไปเห็นเมืองของจีนพบว่า เมืองของจีนใช้ได้ ปรับตัวได้ สะอาด การจราจรก็ คล่องตัว ส่วนหนึ่งเพราะเขาทำรถไฟใต้ดินได้เร็วมาก ขนส่งสาธารณะของเขาก็ใช้ได้ ราคาไม่แพง คนใช้ กันเยอะ พวกอาคารที่อยู่อาศัยผุดขึ้นอย่างรวดเร็ว บางส่วนรัฐบาลเป็นคนทำ ส่วนใหญ่เอกชนเป็นคนทำ แน่นอนการพัฒนาของจีนมีจุดอ่อนข้อบกพร่อง ไม่ใช่ไม่มี แต่ผมเห็นเมืองที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เห็นความพยายามของจีน ทำจัตุรัสใหญ่ในเมือง ทำสวนสาธารณะ มีลอกคลองขุดคลอง มีสนามบิน มี การเริ่มทำเมืองให้มีหน้าตาเป็นเมืองเก่าของจีนด้วย ก็นี่แหละครับสองเรื่องประกอบกัน เมื่ออ่านเรื่องจีนมากเข้า ก็มาสู่ข้อสรุปว่า ในประวัติศาสตร์แล้ว เมืองใหญ่ของโลกเกิดใน ตะวันออกไม่น้อยกว่าตะวันตกแน่ๆ เผลอๆจะมากกว่า แล้วเมืองใหญ่ๆของจีน เช่น เมืองฉางอัน เมือง ไคเฟิง เมืองหางโจว มีมาเป็นพันๆปีแล้ว หรือหลายร้อยปีมาแล้ว ประชากรนับเป็นล้านทั้งนั้น เมือง หางโจว ที่มาร์โคโปโลไปเห็น มาร์โคโปโลนั้นอยู่ร่วมสมัยพ่อขุนราม เมืองหางโจวใหญ่กว่าเวนิส ที่เป็น เมืองสำคัญของอิตาลีมหาศาล มาร์โคโปโลบอกว่าเมืองของจีนที่อยู่ติดกับประตูกำแพงของจีน แต่ละ เมืองใหญ่เป็นสิบเท่าของเมืองค้าขายในอิตาลี หางโจวเมืองที่สำคัญ ใหญ่มากในเวลานั้น เป็นเมืองหลวง ของราชวงศ์ซ้งใต้ด้วย เรื่องเมืองเห็นจะไม่ใช่เรื่องของตะวันตกอย่างเดียวแล้ว เป็นของตะวันออกด้วย เมืองโอซาก้าในญี่ปุ่นก็เช่นกัน แต่รู้ตอนยุคปี 1600 1700 ก่อนญี่ปุ่น เจอฝรั่ง เมืองโอซาก้ามีคนเป็นล้าน แล้ว น่าตกใจ !
  • 10. ในสมองผมเริ่มปั่นป่วน การศึกษาที่เราได้กันมาตลอด และสิ่งที่คนไทยพูดกันมาตลอด คล้ายๆ กับว่า เราไม่อยากเป็นเมือง เพราะว่าการเป็นเมืองคือการเป็นตะวันตก และเราอยากอยู่แบบไทย ความ เป็นไทยคือหมู่บ้าน ความเป็นไทยคือชนบท ความเป็นไทยคือเมืองที่เล็กๆ ผมเริ่มคิดว่า น่าจะไม่ใช่แล้ว ความเป็นไทยน่าจะมีเมืองอยู่ในนั้นด้วย ผมพบว่าฝรั่งเองก็บอกว่าอยุธยาสมัยก่อนกรุงแตกประชากรมีเป็นแสนแล้ว อ้าวประชากรเป็น แสน แล้วลอนดอน ยุโรป ช่วงหนึ่งที่ยาวนานมากมีประชากรแค่สามหมื่นสี่หมื่นเท่านั้น ผมเริ่มคิดว่า เอ๊ะ เรื่องเมืองก็น่าสนใจ เมืองของตะวันออกน่าสนใจ ผมได้ไปดูอินเดียประมาณสิบครั้ง พบว่าเมืองของ อินเดียใหญ่มาก กำแพงเมืองของอินเดียสูงมาก หนามาก แข็งแรงมาก เอาละในโลกที่ทำให้ผมตกตะลึง ในกำแพงเมือง นอกจากในจีนแล้วก็คืออินเดียนั่นเอง กำแพงมันใหญ่เหลือเกิน แล้วสิ่งก่อสร้างต่างๆ ไม่ ว่าพระราชวัง ไม่ว่ามัสยิด ไม่ว่าวัดของอินเดียซึ่งอยู่ในเมืองใหญ่โตมโหฬารมาก ไม่ได้เลียนแบบ ตะวันตก ไม่ว่าไม่ได้มาจากกรีก ไม่ได้มาจากโรม ไม่ได้มาจากเมโสโปเตเมีย อย่างจีนผมคิดว่าไม่ได้รับ แน่ๆ เพราะไกลกันเหลือเกิน อินเดียอาจจะได้มาจากเมโสโปเตเมียบ้าง อาจจะได้ แต่ก็ไม่แน่ ผมคิดว่า อินเดียเป็นบริเวณที่เราดูถูกดูแคลนมาก จริงๆแล้วอินเดียต่างหากอาจเป็นแม่บทของเมโสโปเตเมีย เป็น อะไรที่ผมคิดสนุกๆ แต่ในอนาคตผมจะศึกษาเรื่องพวกนี้ให้มากขึ้น นอกจากนั้นผมยังไปพุกาม ไปมัณฑะเลย์ พุกามถ้าเป็นเมืองที่สมบูรณ์คงใหญ่โตมาก เพราะว่า วัดของพุกามมีเป็นพันๆวัด ทำให้ผมคิดว่า ไม่ใช่นครวัด นครธมเท่านั้น ที่เป็นนครที่ยิ่งใหญ่แต่โบราณ ของเอเชียอาคเนย์เท่านั้น ยังมีพุกามด้วย พุกามมีคนเป็นแสน ก่อนที่จะถูกมองโกลตีแตก คนคงจะเป็น แสนๆ ไม่อย่างนั้นจะมีวัดจำนวนมากอย่างนั้นไม่ได้ แต่ผมไม่ได้หยุดแค่นั้น ผมไปดูเมืองอัมมาน เขา บอกว่าเป็นเมืองมาเจ็ดพันปี อัมมานที่รบกันทุกวันนี้นะ เมืองด้อยพัฒนานี้นะ ทำไมมันมีประวัติตั้งเจ็ด พันปี ผมไปดามัสกัส เขาบอกประวัติเมืองของเขาไม่ตํ่ากว่าเจ็ดพันปี บางคนบอกหมื่นปีด้วยซํ้า ดามัสกัสกับอัมมานเถียงกันว่าใครเก่ากว่ากัน แต่ทั้งอัมมานและดามัสกัสไม่ใช่ฝรั่ง ไม่ใช่ตะวันตก เยรูซาเล็มผมก็ไปมาแล้ว เยรูซาเล็มมีประวัติอย่างน้อยห้าพันปี วกกลับมาเมื่อผมพูดถึงอินเดีย นอกจาก เดลีที่ผมไปดูแล้ว คาจูราโฮผมมาดู ออร์ช่าร์ผมก็มาดู อีกเมืองที่ผมดูแล้วฝัง อยู่ในใจผมมากคือเมือง พาราณสี พวกเราที่ทำเรื่องเมือง ถ้าไม่สนใจเรื่องพาราณสี น่าเสียดาย อย่าไปสนใจแต่โรม ผมคิดของผม นะ คุณไม่สนใจพาราณสีได้อย่างไร พาราณสีอยู่ในหัวใจของเรานานมาก เมืองนี้อายุห้าพันปี ไฟที่เผา ศพไม่เคยมอดเลย พาราณสีเป็นนครอันศักดิ์สิทธิ์ คือเยรูซาเล็มของฝรั่ง ส่วนอิหร่านผมก็ไป ผมเห็น เมืองของมุสลิมยิ่งใหญ่สวยงาม มัสยิดไม่ได้แพ้โบสถ์ของฝรั่งเลย ยิ่งใหญ่มาก พวกเราที่ทำเรื่องเมือง น่า จะต้องสนใจเมืองเหล่านี้ด้วย 3.2 ย้อนมองเมืองของไท : การสืบสานอดีตเพื่อการพัฒนาอนาคตของเมือง ผมเห็นเมืองพวกนี้แล้ว คิดว่าถ้าเมืองอยู่ในประวัติศาสตร์ตะวันออก ไม่ใช่เฉพาะหมู่บ้านเท่านั้น ในไทยก็น่าจะเป็นแบบนั้นเหมือนกัน เมืองของไทยน่าจะไม่ใช่เป็นเรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อประเทศไทยรับ แผนพัฒนามาจากสหรัฐอเมริกา แล้วสภาพัฒน์เริ่มทำแผนพัฒนาฉบับที่หนึ่งก็เลยเกิดเป็นเมือง มันไม่ใช่
  • 11. เพราะเมืองคงไม่หยุดแค่กรุงรัตนโกสินทร์ เมืองมันคงไม่หยุดแค่กรุงศรีอยุธยา ถูกมั้ยครับ ผมไปอ่าน โบราณคดี อ่านประวัติศาสตร์เก่าๆพบว่า คำว่า “เมือง” เป็นคำไทยแท้ เราไม่ได้แปลมาจากคำว่า “town” หรือ “city” อะไรทั้งนั้น เมืองเป็นภาษาไทยแท้ๆ คนรัฐฉานจะออกเสียงเป็น “เมิง” คนไทยถิ่น บางที่ออกเสียงเป็น “มอง เมิง เมือง” เป็นภาษาไท ไต ลาว นั่นแหละ รวมทั้งไทยที่มี ย ด้วย จะเรียก เมืองเหมือนกันหมด ผมไปอ่านหนังสือที่อาจารย์ฉัตรทิพย์กรุณาให้มา จริงๆผมอ่านเรื่องพวกนี้มาหลายครั้งแล้ว แต่ ว่าไม่ต่อกัน ทฤษฎีบ้านเมืองของศาสตราจารย์คำจองกับการศึกษาชนชาติไท ศาสตราจารย์คำจองเป็น คนไทดำนะครับ อยู่เวียดนาม ท่านยังรู้ภาษาไทดำเดิมได้ดีมาก ท่านเขียนอะไรเป็นภาษาเวียดนาม แล้ว คณะอาจารย์ฉัตรทิพย์กับอีกหลายคณะได้ไปพบท่าน ได้คุยอะไรกับท่าน ได้อ่านหนังสืออะไรของท่าน อาจารย์คำจองเสนอว่าสังคมไทย ไต ลาว ที่พูดภาษาใกล้เคียงกัน มีอยู่สองอย่างคือ บ้านกับเมือง บ้าน คือสิ่งที่เราเรียกว่า หมู่บ้าน ตำบลทุกวันนี้ แต่เมืองหมายถึงอะไรที่ใหญ่กว่าตำบล เป็นเมืองขนาดเล็กๆ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของบ้านหลายๆบ้าน หรืออาจจะสูงขึ้นมาเป็นเมืองที่ใหญ่ขึ้นเป็นลำดับ อาจจะถึงขั้น หนึ่งก็มีกำแพงล้อม เมืองที่มีกำแพงล้อมที่ไปปรากฏในตัวหนังสือในภาษาล้านนาเรียกว่า “เวียง” เมืองบางเมือง อาจจะไม่มีกำแพงล้อม แต่ถ้าเมืองสำคัญจะมีกำแพงล้อม ในภาษาเหนือมีคำขึ้นมาอีกคำหนึ่ง ภาษาไทย ล้านนาเรียกเมืองเหล่านั้นว่า “เวียง” แล้วการปกครองของไทยเป็นการปกครองของเมือง ไม่ใช่การ ปกครองของประเทศ โดยเฉพาะในระยะต้นๆมันเป็นเรื่องของเมือง เชียงใหม่ก็ปกครองเมืองเล็กๆที่อยู่ บริเวณเชียงใหม่โดยตรง สิบกว่าเมือง ยี่สิบเมือง จากนั้นเมืองเชียงใหม่ก็มีอิทธิพลเหนือเมืองลำปาง ลำพูน พะเยา แต่ว่าไม่ได้มาปกครอง ลำปางก็มีเจ้าลำปาง กษัตริย์ลำปาง ลำพูนก็มีกษัตริย์ลำพูน เชียงรายก็มีกษัตริย์เชียงราย แต่กษัตริย์ที่ใหญ่กว่ากษัตริย์ทั้งหลายทั้งปวงในล้านนา คือ กษัตริย์ เชียงใหม่ แต่ก็เรียกเชียงใหม่ มีบางครั้งเรียกล้านนาบ้าง แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเรียกว่าเชียงใหม่ เพราะการ ปกครองของเราเป็น city state หมายความว่าเมืองมันไม่ใช่ territorial state แบบที่เราเป็นสยาม เป็น ไทยในตอนทีหลัง เราอยู่แบบนี้มาตั้งแต่สมัย ร. 5 เป็นต้นมาเท่านั้นเอง แต่ว่าในสมัยก่อน ตอนที่ฝรั่งเริ่มมาคุยกับเรา เราเรียกชื่อประเทศเป็นประเทศสยาม จริงๆแล้ว เราคุยกันเองเรียก “กรุงรัตนโกสินทร์” ซึ่งเป็นเมือง เพียงแต่ว่ากรุงรัตนโกสินทร์อยู่เหนือเมืองอื่นๆ แต่ ละเมืองปกครองตนเอง เราไม่มีราชการจากรัตนโกสินทร์ในสมัยก่อนไปปกครอง ตอนหลังมีข้าหลวง นายอำเภอ อะไรแบบนี้ แต่ละที่ก็มีราชการของตนเอง ปกครองตนเอง คำว่าเมืองจะเรียกเป็นเมืองก็ได้ เรียกพื้นที่ที่เมืองมีอิทธิพลแผ่คลุมไว้ก็ได้ เพราะฉะนั้นประเทศไทยจึงเรียกว่า “เมืองไทย” คำว่าเมืองเป็น ทั้งเมืองที่เป็นเมือง และเมืองที่เป็นกลุ่มเมือง ที่อยู่ภายใต้การปกครองของเมืองใหญ่เมืองหนึ่ง หรือตอน หลัง ประเทศมีเมืองหลวงแล้ว ก็ยังเรียกเมืองไทยว่าเมืองไทย ไปเรียกประเทศไทยก็มีเรียกอยู่บ้าง แต่ เป็นภาษาหลวง ถ้าภาษาคนทั่วไปเรียกเมืองไทย เมื่อสองปีที่แล้วผมไปรัฐฉาน ก็งงอีกเหมือนกัน ที่คน ไทใหญ่เรียกรัฐฉานว่า “เมิงไต” คนรัฐฉานเรียกรัฐฉานเองว่า “เมิงไต” ผมก็ถามว่าคำว่าเมิงคือเมือง ใช่มั้ย ไตนี่คนไทใหญ่ เขาเรียกตัวเองอย่างนั้น ไม่ได้เรียกไทใหญ่ แต่เขาเรียกคนไต เรียกประเทศของ
  • 12. เขา หรือแคว้นของเขาว่า “เมิงไต” ผมก็มาคิดเล่นๆในใจของผม แสดงว่าในโลกนี้มีเมืองไทยอยู่สองที่ คือ เมืองไทย กับเมืองไทยที่ออกเสียงตามภาษาถิ่นว่าเมิงไต มาถึงตอนนี้ ผมเริ่มคิดว่าจะใช้สายตาตะวันตกอย่างเดียวมามองเมืองของเราไม่ได้ จะคิดแต่ว่า เมืองของเรามีแม่เป็นตะวันตกอย่างเดียวไม่ได้ แม้ว่าระยะหลังๆมา นักวางแผน นักวิชาการของเรา จะ เรียนมาจากตะวันตก แล้วเอาความคิดตะวันตกมาบอกว่าเมืองไทยควรเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เมืองของ ไทยไม่ได้เริ่มต้นที่เป็นเมือง ที่เป็นลูกเป็นหลานของตะวันตก เป็นเมืองที่เป็นส่วนหนึ่งของเอเชีย แล้วก็ อย่างที่ผมพูดเรื่องเมือง มอง เมิง หมายถึงบริเวณที่เป็นที่ราบลุ่มแม่นํ้า เรียกว่า เมิง มอง เมือง แล้วทำ มาหากินโดยการปลูกข้าว ผมยํ้าคำว่าที่ราบลุ่มแม่นํ้า เพราะว่าคนไทยที่เรียก มอง เมิง เมือง เดิมปลูก ข้าวทั้งนั้น แล้วก็อยู่บนที่ราบ บนที่สูงไม่ใช่เมิง มอง เมือง บนที่สูงจะเป็นอาข่า เป็นเย้า เป็นอะไรต่อ อะไร ไม่เป็นเมิง ไม่เป็นมอง ไม่เป็นเมือง แต่ถ้าเมิง มอง เมือง ก็จะต้องเป็นที่ราบลุ่มแม่นํ้า เราจะเข้าใจ ตรงนี้มากถ้าเราไปดูล้านนา เมืองในล้านนาแทบทุกเมืองในล้านนาเป็นที่ราบลุ่มแม่นํ้า แล้วล้อมรอบด้วย เขา ภูมิประเทศเดิมของที่คนไทยเคยไปอยู่ แถวเวียดนาม แถวจีน แถวอัสสัม ล้วนแต่เป็นภูเขา แต่ว่า เราจะไม่อยู่บนภูเขา เราจะเป็นชาติพันธุ์ที่อยู่ลุ่มนํ้า แล้วเราก็เรียกอาณาบริเวรเหล่านี้ว่าเมือง เพราะฉะนั้นมีเมืองเป็นของไทยเดิมเราด้วย ที่จะเอามาอิงมาใช้ในการทำแผนงาน FURD (Future Urban Development) ของเราด้วยก็ได้ เราไม่ควรจะทำแบบที่ว่าไปคัดลอกของฝรั่งมา แล้วก็ ทำเมืองของเราให้เป็นฝรั่ง เอาฝรั่งเป็นมาตรฐานอย่างเดียว แล้วคิดว่าเป็นเมืองคือแบบเดียวเท่านั้นคือ แบบฝรั่ง ผมคิดในใจพูดในฐานะประธาน steering ก็มีหน้าที่นำทิศนำทาง หากเราไปทำแต่เรื่องต้นแบบ ตัวแบบที่ดีๆตามตะวันตก แล้วนำมาวางทาบไป ชี้ว่าเมืองของไทยควรเป็นแบบนี้ ผมว่ามันน่าจะตื้นไป ซักหน่อย ผมคิดว่าน่าจะต้องกลับไปค้นหารากเหง้าของเมือง เมิง มอง ด้วย สนใจเมืองของตะวันออก ด้วย สนใจเมืองประวัติศาสตร์ด้วย ไม่ใช่ทำแต่เรื่องเมืองปัจ จุบันกับอนาคต กลับมามองว่าคนไทยคิดยังไงต่อเมือง คิดว่า opposition หรือคู่ตรงข้ามของเมืองไม่ใช่ชนบท คู่ ตรงข้ามของเมืองคือ ป่าเถื่อน แต่ว่าเมืองหมายถึง เมืองที่อยู่ในกำแพง เมืองที่อยู่นอกกำแพง และ ชนบทที่อยู่ล้อมรอบ ชนบทคือเมืองด้วย ถ้าคิดแบบไทยโบราณ ชนบทคือเมือง ชนบทคือที่ๆมีการ ปกครอง ส่วนที่พ้นไปแล้วไม่มีการปกครอง เป็นป่า เป็นเถื่อน แต่ชนบทคือเมือง เป็นส่วนหนึ่งของเมือง อย่างเมืองลำปาง ไม่ได้หมายถึงเฉพาะเมืองที่อยู่ในกำแพงเมือง ไม่ได้หมายถึงเมืองที่อยู่รอบๆเมืองข้าง นอกเท่านั้น แต่ยังหมายถึงทุ่งนา ชาวนาอีกจำนวนเป็นหมื่นๆ ที่อยู่รอบเมืองลำปาง แล้วก็ปกครองกัน แบบพึ่งพิงกัน ชนบทส่งนั่นให้เมือง เมืองส่งนั่นให้ชนบท 3.3 ทัศนะต่อการขับเคลื่อนความเป็นเมืองผ่านหนังสือเล่มสำคัญ ขอพูดต่อว่า ในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมา ที่คุณยุวดีบอกว่าผมจะต้องมาพูดเรื่องเมืองนั้น ทำให้ผม ย้อนกลับมาดูว่า ตนคิดเรื่องเมืองอย่างไร ย้อนกลับไปอ่านหนังสือใหม่ๆบ้าง เก่าๆ บ้าง ก็อ่านใหม่บ้าง ผมแบ่งหนังสือเหล่านี้เป็นสองประเภทใหญ่ๆ ประเภทเมืองทั่วๆไป อีกประเภทหนึ่งคือเมืองแห่งอนาคต วันนี้ก็จะมาพูดถึงเรื่องเมืองทั่วไป ส่วนเรื่องเมืองแห่งอนาคต คราวหน้าคงมีโอกาส ขอพูดถึงหนังสือ สำคัญๆ ไม่กี่เล่มที่จะพูดถึงเรื่องเมืองทั่วไป
  • 13. เล่มหนึ่งที่ผมกลับไปอ่าน ผมคิดว่าเราควรอ่านหนังสือเก่าๆด้วย ไม่ใช่อ่านแต่หนังสือใหม่ เท่านั้น ในทางสังคมศาสตร์นั้นหนังสือเก่าๆบางเล่มทรงคุณค่า มีวิสัยทัศน์ เป็นอะไรที่คลาสสิกลํ้าหน้า กว่าหนังสือใหม่ด้วยซํ้า Jane Jacobs เขียนเรื่อง The Economy of Cities ตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1960 Jacobs ทำให้ผมสนใจเมืองมากขึ้นเป็นทบเท่าทวีคูณ เพราะว่า Jacobs เป็นผู้หญิง เสียชีวิตไปแล้ว เธอ บอกว่าความคิดมาตรฐานของวงวิชาการ เชื่อว่าเกษตรเกิดก่อนอุตสาหกรรม ชนบทเกิดก่อนเมือง เมือง อิงอยู่บนเศรษฐกิจของชนบท เธอบอกว่าที่เห็นมาที่ค้นคว้ามาไม่ค่อยแน่ใจว่า ชนบทกับเมืองใครเกิด ก่อนใคร ที่เกิดก่อนแน่ๆคือถํ้ากับป่า ที่มนุษย์ไปล่าสัตว์เก็บพืชผักมากิน แต่ว่าหลังจากยุค hunter gatherer เธอไม่คิดว่ามันจะขับเคลื่อนโดยอัตโนมัติไปเป็นเกษตรแล้วค่อยกลายเป็นเมือง เธอพบเมือง หลายเมืองเก่าแก่มาก แล้วในเมืองนั้นมีเกษตรอยู่ด้วย แต่ที่มากกว่านั้น เธอเชื่อว่าเกษตรที่ขึ้นมาจนมี คนอยู่ในอาชีพนั้นมากมาย เกิดหลังจากที่เมืองคิดผานไถ คิดเรื่องเครื่องมือ คิดงานช่าง อะไรหลายอย่าง ขึ้นมาได้ก่อน ซึ่งชนบทถ้าเริ่มต้นทำทันทีจะเลี้ยงคนมากขนาดนั้นไม่ได้ เพราะว่าเครื่องมือการผลิตตํ่า ล้าสมัย แต่ว่าการเป็นเมืองบวกกับการไปล่าสัตว์หากิน ทำให้คนในเมืองคิดค้นเทคโนโลยีและวิทยาการ การเกษตรขึ้นมาได้ อันนี้ต่างหากที่ทำให้ชนบทเติบโตอย่างรวดเร็ว เพราะย้ายคนจากเมืองไปอยู่ใน ชนบทได้มากขึ้น เพราะเครื่องมือการผลิตสูงขึ้นมากจึงทำอย่างนั้นไม่ได้ เธอเชื่อว่าแม้แต่การฝึกม้า การ ทอผ้าต่างๆล้วนทำในเมืองขึ้นมาก่อน เอาละมันอาจไม่จริงทั้งหมด แต่อย่างน้อยที่สุดผมว่าทำให้เรามีสมดุลมากขึ้น ผมคิดต่อ ศาสนาที่ จริงก็เกิดในเมือง พระพุทธเจ้าทรงเป็นคนในเมือง พระเยซูก็อยู่ในเมืองเยรูซาเล็ม มูฮัมมัดเป็นพ่อค้าอยู่ ในเมืองเมดินา เพราะฉะนั้น เมื่ออ่านประวัติศาสตร์ของศาสนาคริสต์ จะพบว่าศาสนานี้เผยแพร่ในเมือง ส่วนชนบทขณะนั้นส่วนมากเป็นพวกต่อต้านศาสนา เป็นพวกนอกรีตถือผีหรืออะไรที่งมงายกว่าที่พวก บิชอปจากเมืองจะไปเผยแพร่ศาสนา เอามาเข้ารีต ต้องใช้เวลาไม่ใช่น้อย เอาละเรื่องนี้อาจเกินไปซัก หน่อย เราไม่ต้องเชื่อทั้งหมดก็ได้ แต่อย่างน้อยที่สุดเราได้เห็นคุณค่าของเมืองมากขึ้น ได้เห็นว่าเมือง ไม่ใช่เป็นเพียงที่อยู่ของคนที่ไม่ทำอะไร ในวัยหนุ่มผมเคยคิดว่าเมืองไม่มีประโยชน์อะไร เป็นเพียงที่อยู่ ของชนชั้นปกครองขูดรีดชนบท ศิลปะวิทยาการอะไรต่างๆผมไม่ได้คิดเลยว่าเมืองเป็นผู้สร้างอะไรขึ้นมา แม้กระทั่งศาสนาผมเคยคิดว่าพระป่าต้องดีกว่าพระเมืองแน่ๆ แต่จริงๆแล้ว ถ้าไม่มีเมืองก็ไม่แน่ใจว่า ศาสนาจะเกิดหรือเปล่า ถ้าไม่มีเมืองเทคโนยีการเกษตรจะเกิดหรือเปล่า เพราะฉะนั้น ในเรื่องเมืองที่เป็น พลังของประเทศ เป็นผู้นำของประเทศ เป็นที่ๆสร้างความก้าวหน้าให้ประเทศ ผมในฐานะที่เป็นประธาน steering เห็นว่าเราทิ้งไม่ได้ ต้องสนใจศึกษาและเผยแพร่ ก่อนที่จะเริ่มรายการคุยวันนี้ พวกเราจำนวนหนึ่งพูดกันเรื่องการศึกษาสมัยใหม่ ผมคิดว่าถ้า ต้องคิดว่าการศึกษาของเมืองจะเป็นอย่างไร แล้วผมคิดว่าจะต้องเป็นการศึกษาสมัยใหม่ที่ดีกว่าของ ประเทศเสียด้วยซํ้า เราไม่จำเป็นต้องคิดว่าเมืองต้องตามประเทศ ผมคิดว่าในหลายเรื่อง เมืองต้องนำ ประเทศ หลังจากอ่าน Jacobs แล้วผมพูดด้วยความมั่นใจยิ่งขึ้น เพราะในอดีตก็เป็นอย่างนั้นคือ เมืองนำ ชนบท เมืองนำประเทศ แต่ว่าขณะนี้เราปกครองโดยเอาประเทศเป็นหลัก เอาเมืองเป็นส่วนย่อ ส่วนย่อย ของประเทศ เราต้องทำให้เมืองของเรา ทำอะไรที่ลํ้าหน้า ทำอะไรที่ทันสมัย ต้องเกิดที่เมืองก่อน เพราะฉะนั้น ในการทำเรื่องเมืองนั้น ไม่ควรทำแต่เรื่องความสุขอย่างเดียว มันต้องทำเรื่องสติปัญ ญา
  • 14. เรื่องอะไรที่ลึกซึ้งด้วย เมืองไม่ได้มีแต่บาป ชีวิตกลางคืน (night life) มีแต่คนไม่ดีมารวมกัน แล้วชนบท เป็นที่ๆมีแต่คนที่ดีอยู่ มองอย่างนี้อาจตื้นเขินไป แต่ผมก็ยํ้าอีกทีนะว่าอย่าไปสุดขั้ว มองว่าอะไรในเมืองดี ไปหมด ไม่ต้องแก้ไขแล้ว นั่นก็ไม่ควรทำ มีอีกเล่มหนึ่งที่ผมอ่านชื่อ Arrival City: How the Largest Migration in History Is Reshaping Our World arrival ที่แปลว่า “มาถึง” คนเขียนก็พูดถึง Jane Jacobs เอาไว้บ้าง แต่ว่าเขา พิจารณาจากสิ่งที่ร่วมสมัยของเขา เขาเปลี่ยนวิธีมอง เดิมเขาเห็นสลัมในบอมเบย์ เห็นแต่คนจนอยู่ใน บอมเบย์ เขาเห็นคนปากีสถาน อินเดีย ที่อยู่ในอังกฤษ ทีนี้จะมองแบบเป็น คนทุกข์เมือง ลำบาก ควร หาทางส่งกลับคืน อย่าให้มาอยู่ในลอนดอนเพราะสงสาร อะไรแบบนี้ แต่เวลานี้เขาบอกว่าถ้าไม่มีคน เหล่านี้ย้ายจากชนบทหรือย้ายจากเมืองในโลกที่สามเข้ามาอยู่ในลอนดอน หรือย้ายจากบริเวณที่อยู่ รอบๆบอมเบย์ เข้ามาอยู่ในบอมเบย์ หรือในกรณีของไทยผมจะเติมให้คือ ย้ายจากอำเภอ จังหวัด ที่อยู่ รอบๆกรุงเทพฯหรือที่อยู่ไกลถึงอีสานเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ ก็ทำให้ประเทศไทยเจริญขึ้นที่มีการเติบโต แบบนี้เป็นความสำเร็จของเมือง เพราะมันสามารถ accommodate คนในชนบทได้ขนาดหนัก เพราะว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะแรกนั้น เกิดจากประชากรมหาศาลเคลื่อนย้ายจากชนบทเข้ามาอยู่ใน เมืองหรือกรุงนั่นเอง วกมาที่กรุงเทพฯ เดิมผมไม่รักกรุงเทพฯ กรุงเทพฯนี่ว่าไปเป็นเมืองที่อาภัพไม่มีคนรัก มีแต่คนดู ถูกเหยียดหยาม เยาะเย้ย ผมคิดว่าสุ้มเสียงของเราในการทำแผนงาน FURD (นพม.) ต้องทำให้คนรัก เมือง ภูมิใจในเมือง อย่ามีแต่รักชาติ ต้องรักเมือง ต้องผูกพันกับเมืองด้วย ต้องรู้จักอะไรของเมืองให้มาก ขึ้น เมื่ออ่านหนังสือสองเล่มที่กล่าวมาแล้วบวกกับอะไรอีกหลายอย่าง ผมเริ่มมองกรุงเทพฯด้วยสายตา ใหม่ กรุงเทพฯนี่มัน “สุดยอด” มีที่อยู่ราคาถูกให้คนจากชนบท ในรูปของหอพัก ในรูปสลัมก็มี แต่ว่าเอา ละ มันก็ไม่ดีไปเสียหมด และก็ต้องปรับปรุงอีกเยอะ แต่โดยทั่วไปคนยากคนจนอยู่ในกรุงเทพฯได้ ที่เอก มัยเองก็มีคนจนอยู่ ที่ทองหล่อเองก็มีคนจนอยู่ เช้าเข้ามาทำงานในทองหล่อ เข้ามาทำงานในเอกมัย เวลาถามว่าหนูบ้านอยู่ไหน ทองหล่อค่ะ เอกมัยค่ะ อันนี้คือทำงานเป็นพนักงานนวด อีกคนหนึ่งเป็นมหา เศรษฐีที่มานวด บ้านอยู่ไหนก็อยู่เอกมัย อยู่ด้วยกันได้นะ ตามท้องถนนก็มีอาหารที่แพงลิ่วที่อยู่ในร้าน แล้วมีอาหารที่ถูกมากที่อยู่ริมถนน กระทั่งเศรษฐีหรือคนชั้นกลางก็ซื้อได้ ไก่ย่างจิระพันธุ์ไม่แพง ไก่ย่าง ห้าดาวแพงหน่อย แต่ว่าไก่ย่างที่ถูกกว่านั้นก็มี ไก่ปิ้ง ไก่ย่าง อะไรมีหมด อาหารก็มี ห้างสรรพสินค้า ใหญ่ๆ แถบสีลม บางรัก พอตกเที่ยงคนก็แห่ลงมาซื้อของข้างถนนกินกัน มันก็ทำให้ทั้งคนจน ทั้งคนชั้น กลาง สามารถที่จะกินในกรุงเทพฯได้ในราคาไม่แพง มาประกอบการหรือมาใช้แรงงานในกรุงเทพฯทำให้ กรุงเทพฯส่งสินค้าออก หรือเป็นเมืองบริการให้ประเทศได้อย่างดี กรุงเทพฯเป็นเมืองศูนย์กลาง ที่เป็นได้เพราะว่ากรุงเทพฯรองรับคนมหาศาลที่หลั่งไหลเข้ามาได้ ในทางจิตวิทยาใครมาจากไหนมาอยู่กรุงเทพฯจะไม่เหงา แล้วยังรักษาวัฒนธรรมเดิมของตัวเองได้ด้วย คนอีสาน คนเหนือ คนใต้ ก็ไม่ได้อยู่แบบมีปมด้อย อาจจะมีอยู่บ้าง แต่กล่าวโดยทั่วไป เราต่างฝ่ายต่าง ปรับวัฒนธรรมปรับนิสัยกันได้ดี ที่พูดอย่างนี้ได้ แม้กระทั่งอาหารการกินของกรุงเทพฯ ก็ได้รับอิทธิพล จากอาหารอีสาน เหนือและใต้ ไม่น้อย
  • 15. ในแง่ความสะอาด กรุงเทพฯก็พอใช้ได้ แม้ว่าจะต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น แต่โดยทั่วไป ก็ใช้ได้ ไม่ถึงกับทำให้ต้องป่วยไข้ ความแออัดในการจราจรต่างๆก็แก้ไขได้ กรุงเทพฯทำได้ ทำให้ เศรษฐกิจของทั้งหมดผงาดขึ้นมาได้ ทีแรกจริงๆโรงงานต่างๆก็อยู่ในกรุงเทพฯแทบทั้งนั้น ต่อมาก็ย้าย ออกนอกกรุงเทพฯ แต่สำนักงานใหญ่ยังอยู่ที่กรุงเทพฯไม่น้อย งานบริการ งานการศึกษาอยู่ในกรุงเทพฯ มาก แต่ไม่เฉพาะกรุงเทพฯเท่านั้นที่ประสบความสำเร็จแบบนี้ เชียงใหม่ อุบล อุดร หาดใหญ่ กระทั่ง มหาสารคามก็สำเร็จในระดับหนึ่ง ที่มหาสารคามน่าสนใจมาก เพราะสองอำเภอที่มหาสารคาม เมืองกับ กันทรวิชัย สองเมืองนี้มีนักศึกษาอยู่เก้าหมื่นคน นักศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาสารคามอย่างเดียวหก หมื่นคน และของมหาวิทยาลัยอื่นๆอีกเกือบสี่หมื่นคน ฉะนั้น สองอำเภอนั้นควรต้องปกครองแบบพิเศษ แล้วละ ไม่ใช่ทำแบบปกครองชนบท หรือกระทั่งปกครองแบบเมืองแบบเทศบาลเท่านั้น ส่วนใหญ่คนที่ อยู่ในสองอำเภอนั้น ล้วนอยู่ในวงการศึกษา จากเรื่อง arrival city ผมคิดว่าน่าจะเปิดมุมอะไรใหม่ให้พวกเราได้ว่า ไม่จำเป็นต้องมองแบบหา ทุกข์เมืองอย่างเดียว แต่ก็ไม่ได้แปลว่าเราจะทิ้งคนเหล่านี้ คนเหล่านี้จะหมดไปได้ ก็ด้วยการทำ arrival city ให้ดียิ่งขึ้น ความคิดที่จะส่งคนกลับสู่ชนบทนั้นยากมาก แต่เราสามารถที่จะทำเมืองขนาดเล็กขนาด กลางขึ้นมาใกล้ๆกับชนบท ถึงระดับหนึ่งแล้วจะดึงพวกเขากลับบ้านเดิมได้ แต่ในเฉพาะหน้าวิธีแก้ด้วย การผลักดันกลับทันทีทำได้ยากมาก เมืองกรุงเทพฯล้มแน่ แค่ขนาดกัมพูชากลับบ้านแสนกว่าคน เศรษฐกิจไทยถึงกับชะงักแล้ว เพราะฉะนั้น มันเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเมืองที่น่าสนใจ อีกเล่มหนึ่ง Metropolitan Revolution metropolitan นั้นแปลว่า “มหานคร” มหานครในไทย มีกรุงเทพฯเป็นศูนย์กลาง แล้วมีปริมณฑลล้อมรอบ เช่น นนทบุรี สมุทรทั้งหลาย และปทุมธานี แต่ใน อเมริกา metropolis มีอยู่หลายที่ เช่น รอบๆนิวยอร์ก รอบๆวอชิงตัน รอบๆชิคาโก รวมเอาการปกครอง ส่วนท้องถิ่นจำนวนมากและหลายระดับเข้ามาอยู่รวมกัน บริเวณพวกนี้มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของ อเมริกา และเศรษฐกิจของโลกมหาศาล เกิดความคิดใหม่ที่ว่า national economy ไม่สำคัญ แต่ regional economy สำคัญกว่า อย่างญี่ปุ่นก็คือเศรษฐกิจรอบโตเกียว รอบโอซาก้า เป็นบริเวณเศรษฐกิจ ใหญ่ ซึ่งครอบคลุมหลายเขตปกครอง metropololis ของอเมริกายังรวมบริเวณที่ซิลิคอนวัลลีย์ (Silicon Valley) และแถบนอร์ธแคโรไลนา ที่เขาเรียกรวมกันไทรแองเกิล มีเมืองราลีห์ (Raleigh) เมืองเดอแรม (Durham) และเมืองแชปเปลฮิล (Chapel Hill) รวมกันเป็นพื้นที่เศรษฐกิจใหญ่ที่เดียว หนังสือเล่มนี้กล่าวว่าในอเมริกาตอนนี้รัฐบาลแห่งชาติทำอะไรช้าล้าหลัง แต่นาแปลก พวก metropolis ทำอะไรล้วนเข้าท่า เช่น metropolis นิวยอร์ก กำลังทำพื้นที่ใหญ่จากการรวมสลัม กึ่งสลัม ให้มาเป็นพื้นที่คล้ายๆ research triangle คล้ายๆ ซิลิคอนวัลลีย์ แต่ว่าจะทำด้าน creative industry แล้ว เอามหาวิทยาลัยที่อยู่ในนิวยอร์กทั้งหลายเข้าไปร่วม โดยเฉพาะที่เป็นหลักคือ มหาวิทยาลัยคอร์แนล จริงๆแล้วคอร์แนลห่างจากนิวยอร์กไปหลายชั่วโมง แต่เขาดึงคอร์แนลให้มาอยู่ในมหานครนิวยอร์ก จะ คิดค้นเทคโนโลยี ความรู้อะไรใหม่ๆ บริษัทยักษ์ใหญ่ก็มาอยู่แถวนั้นด้วย แล้วเอามหาวิทยาลัยนิวยอร์ก และมหาวิทยาลัยโคลัมเบียไปเสริม ซึ่งสองมหาวิทยาลัยหลังนี้อยู่ในนครนิวยอร์กเลย การทำเรื่องพวกนี้ นายกเทศมนตรีนิวยอร์กเป็นผู้นำ แล้วดึงผู้ว่าการรัฐนิวยอร์ก ผู้ว่าการรัฐนิวเจอร์ซี่มาร่วม เอาเทศบาลที่ อยู่รอบๆนิวยอร์กมาร่วม แต่เจ้าภาพหลักคือมหานครนิวยอร์ก ทำอะไรที่เกินกว่าตัวมหานครนิวยอร์ก
  • 16. เยอะ มหานครนิวยอร์กอยู่ไม่ได้ หากไม่มีคนจากที่อื่นเข้ามาทำงานที่นั่นในตอนเช้า นิวยอร์กไม่เพียงพอ ในตัวมันเอง จะเพียงพอก็ต่อเมื่อรวมกับที่อื่นๆเป็น metropolis ผมคิดว่างานของเราน่าจะไม่หยุดที่เมืองตามที่ทางการบัญญัติมา ต้องดูเมืองที่เป็นธรรมชาติ ด้วย เช่น กรุงเทพฯและปริมณฑล ต้องสนใจศึกษามุมใหม่ๆ เช่น เชียงใหม่กับปริมณฑล หรือว่าเมือง ต่างๆรอบทะเลสาบสงขลา ซึ่งผมว่ามันเป็น metropolis เหมือนกัน ศูนย์กลางอยู่ที่สงขลา แต่ว่าจะต้อง ศึกษาลงไปถึงนครศรีธรรมราช พัทลุงอะไรด้วย ซึ่งทำอย่างนี้ก็หลุดออกจากกรอบของการปกครอง ท้องถิ่น หรือการปกครองภูมิภาค เรื่องเมืองในโครงการของเราไม่จำเป็นต้องหยุดอยู่แค่ท้องถิ่น แม้ว่าใจ ของเราอยากให้ท้องถิ่นเข้ามามีบทบาทมากขึ้น แต่ถ้าเรารอแต่ว่า ทุกเรื่องต้องให้ท้องถิ่นทำเท่านั้น จะ ไม่ทันการ บางเรื่องผมว่าเราต้องทำงานหรือคิดแบบที่ให้รัฐบาลหรือส่วนกลางเข้ามาช่วย หรือมาร่วมทำ อย่างไรจะให้ผู้นำเมืองของเราฉลาด เป็นเจ้าภาพเชิญคนที่อยู่รอบๆ รวมทั้งผู้ว่าราชการจังหวัดมาร่วม แต่ผู้ว่าราชการฯจะมาได้ก็ต่อเมื่อรัฐมนตรีมหาดไทยอนุญาต หรือเห็นชอบด้วย ก็ต้องไปเกี้ยวรัฐมนตรี มหาดไทย หรือกระทั่งนายกรัฐมนตรี แต่ถึงแม้ว่าอำนาจของเขา ทรัพยากรของเขายังมาไม่ถึง แต่ ความคิดของเขามาร่วมกับเราแล้ว ผมสังเกตมาหลายปีนี้ คนฉลาดๆคือพวกนายกเทศมนตรี นายกอบจ. ส่วนนักวิชาการคิดอะไร ไม่ค่อยออก ไม่เหมือนนักวิชาการในยุคที่ผมเป็นเด็ก เก่งกันเหลือเกิน ตอนนี้คนอื่นเก่งตามขึ้นมาแล้ว ความคิดดีๆเวลานี้มักจะมาจากนายกเทศมนตรี ฉะนั้นเราก็ต้องคิดใหม่ แต่ละปีอาจต้องทำ roundtable นายกเทศมนตรีทั่วประเทศ หรือว่านายกเทศมนตรีเมืองสำคัญๆ แล้วให้มาถกเถียงเรื่องปัญหาของ บ้านเมือง มาปรึกษากันเรื่องปัญ หาเศรษฐกิจ มาปรึกษากับปัญหาการลงทุน มาปรึกษากันในปัญหา สันติภาพ ผมคิดว่าหน่วยในการคิดไม่จำเป็นต้องมีแต่กระทรวง ทบวง กรม ไปเสียหมด แล้วก็มอบให้กับ นายกรัฐมนตรีคิดเท่านั้น ซึ่งอาจคิดไม่ทัน คิดไม่ออก คิดไม่เป็น สมองของเราที่อยู่ในเมืองใหญ่ๆ ที่อยู่ ใน metropolis ผมว่าเริ่มคิด คิดมาก งบประมาณของเขาที่มีอยู่ ต้องพยายามชวนเขาให้เอามาทำเรื่อง พวกนี้ให้มากขึ้น อันนี้พูดบนพื้นฐานที่ได้มาจากการอ่านหนังสือเล่มนี้นะ สรุปว่าตอนนี้ metropolis นะ ไม่ใช่ nation นะ ไม่ใช่ state นะ ที่ฉลาดที่สุด ที่ว่องไวที่สุด ในเมืองไทยจะเป็นอย่างนั้นหรือไม่ ต้องไป คิดไปลองทำดู อีกเล่มหนึ่งคือเล่มนี้นะครับที่ผมอ่าน ซึ่งเมื่อกี้ผมบอก มีหนังสือเก่าที่เอามาอ่านใหม่ด้วย ผู้เขียน คือ Murray Bookchin ซึ่งตายไปไม่นานนี้เองอายุร่วมร้อย ท่านพูดว่า ที่เราเห็นเป็น urbanization ยัง ไม่ได้เป็น city เพราะ city ต้องมี citizen เสมอ ถึงจะไปรอด คือเอาความคิดแบบกรีกโบราณมาใช้ มา พัฒนาเมือง ไม่สนใจแค่พียงวัสดุหรือกายภาพ ที่สำคัญเมืองจะต้องสร้างพลเมือง ถ้าพูดถึงงานของเรา คือผู้สร้างบ้านแปงเมือง ที่เรากำลังคิดจะทำนั่นแหละ คือพลเมืองอย่างที่เล่มนี้อยากให้สร้างขึ้นมา อันนี้ ถือว่าคิดแบบตะวันตก แต่เราก็ยืมเขามาใช้ได้ แต่เมืองของไทยนี่เราไม่ค่อยใช้ citizen นะ ไม่ค่อยมี citizenship มีแต่ subject เมืองของไทยไม่เหมือนเมืองของตะวันตก แต่อะไรของตะวันตกที่ดี จะต้องเอา มาใช้ การสร้าง citizenship การสร้าง citizen การสร้างพลเมือง การสร้างสำนึกของพลเมืองสำคัญ ย้อนกลับไปที่พูดมาเมื่อกี้ต้องทำให้คนรู้จักประวัติของเมือง โคตรเหง้าของเมือง เกียรติภูมิของ เมืองด้วย จะต้องมีวีรบุรุษของเมืองด้วย จะต้องมีเทพของเมืองด้วย ซึ่งในเมืองไทยมันหายไปหมด เหลือ