SlideShare a Scribd company logo
1 of 17
Download to read offline
1
ลัดเลาะเส้นทางอีสานใหม่ (ตอนที่ 2)
วัฒนธรรมประชานิยมของคนอีสาน
อุกฤษฏ์ เฉลิมแสน
chalermukrit@gmail.com
แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาอนาคตของเมือง
เกริ่นนา
ตอนที่แล้วผู้ศึกษาได้อธิบายให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของภาคอีสานในแต่ละยุค เพื่อให้ภาพ
การก่อตัวของอีสานใหม่ว่า ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรในแง่มหภาค สาหรับตอนที่ 2 นี้ ผู้ศึกษาจะพาลัด
เลาะเส้นทางอีสานใหม่ต่อ และมองในแง่จุลภาค โดยเข้าสู่เส้นทางสายวัฒนธรรมประชานิยม (popular
culture) ของคนอีสานในปัจจุบัน เพื่อเข้าใจตัวตนของคนอีสานว่าเป็นอย่างไรบ้าง อย่างไรก็ตาม การ
อธิบายถึงวัฒนธรรมประชานิยมในบทความนี้คงไม่สามารถกล่าวถึงในทุกเรื่อง ดังนั้นผู้ศึกษาจึงขอเลือก
ประเด็นการบริโภควัฒนธรรมประชานิยม (popular culture) ของวัยรุ่นอีสาน ซึ่งพบว่าปรากฏการณ์
สังคมและวัฒนธรรมอีสานร่วมสมัยในขณะนี้ เริ่มเห็นชีวิตคนเมืองสมัยใหม่ของวัยรุ่นเจนวาย1
อีสาน ใน
การนาเทคโนโลยีทันสมัยและการเชื่อมต่อความเป็นสมัยใหม่มาสู่ครอบครัวและชุมชนมากขึ้น โดยที่พ่อ
แม่ให้อิสระกับลูกที่จะออกนอกวิถีชีวิตแบบเดิมๆ และก้าวทันยุคสมัยใหม่
ในยุคทุนนิยมโลกาภิวัตน์พรมแดนของประเทศต่างๆได้สลายตัวลงไปแล้วในทางกายภาพ
เช่นเดียวกับภาคอีสาน ที่หากหนุ่มอีสานตื่นขึ้นมาหลังจากนอนหลับยาวนานไปถึงหนึ่งร้อยปี ก็คงต้อง
ประหลาดใจกับการเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองตนเอง เพราะลายเส้นของหลักเขตแดนในแผนที่ประเทศ
ไทยได้สลายไปแล้ว พร้อมทดแทนด้วยลายเส้นของแผนที่การเชื่อมโยงโลกครั้งใหม่ ดังที่ผู้ศึกษาได้
กล่าวถึงเมื่อตอนที่ผ่านมา
หลักคิดของระบบทุนนิยมโลกาภิวัตน์ส่วนหนึ่งคือ การสร้างโลกให้เป็นหมู่บ้านแห่งเดียวในโลก
(global village) พร้อมกาหนดมาตรฐาน (standardize) ให้กับชีวิตผู้คน โดยมีเป้าประสงค์ให้ระบบทุนนิยมทะลุ
ทะลวงจนสร้างวิธีคิดแบบทุนนิยมแก่ผู้คนให้มากที่สุด ดังนั้นการศึกษาวัฒนธรรมประชานิยม (popular
culture) จึงน่าจะมีส่วนช่วยให้เห็นภาพการเปลี่ยนแปลงที่กล่าวถึงนี้อย่างชัดเจน โดยเนื้อหาของบทความ
นี้แบ่งเป็น 5 หัวข้อย่อย ประกอบด้วย
1. พัฒนาการของวัฒนธรรมประชานิยม (popular culture)
2. นิยามความหมายของวัฒนธรรมประชานิยม (popular culture)
3. เมืองล้อมชนบท : การขยายตัวของเมืองในภาคอีสาน
4. วัยรุ่นอีสานในวัฒนธรรมประชานิยม
5. การบริโภควัฒนธรรมประชานิยม (popular culture) ของวัยรุ่นอีสาน
1
คนที่เกิดในช่วงพ.ศ. 2523 – 2540
2
2.1 พัฒนาการของวัฒนธรรมประชานิยม (popular culture)
วัฒนธรรมประชานิยม (popular culture) เริ่มขึ้นในอารยธรรมตะวันตกและถือกาเนิดเมื่อมีการแบ่ง
วัฒนธรรมเป็นวัฒนธรรมของชนชั้นสูง (high culture ) และวัฒนธรรมของชนชั้นล่าง (low culture) ดังที่เพลโต
(Plato) เคยจัดวัฒนธรรมที่แท้จริงอยู่ในปริมณฑลของปรัชญา การศึกษา และความจริง และจัดวัฒนธรรม
ชนชั้นล่างไว้ในพื้นที่กวีนิพนธ์และภาพศิลป์ (painting) แนวคิดนี้เด่นชัดขึ้นในช่วงปลายคริสตวรรษที่ 18
เมื่อโจฮันน์ กอตต์ฟรายด์ เฮอร์เดอร์ (Johann Gottfried Herder) ได้แบ่งวัฒนธรรมชนชั้นสูง และวัฒนธรรมชน
ชั้นล่าง โดยมีเกณฑ์ทางคุณค่าและกลุ่มชนชั้นในการแบ่งแยก
ภาพที่ 1 โครงสร้างพีระมิดระบบทุนนิยม
ที่มา : http://crimethinc.com/books
ต่อมายุคปฏิวัติอุตสาหกรรมในคริสศตวรรษที่ 18 การพัฒนาอุตสาหกรรมที่กาลังเบ่งบาน
ส่งผลให้เกิดกระบวนการกลายเป็นเมือง (urbanization) และกลุ่มคนใหม่ๆคือ กลุ่มชนชั้นกลาง (bourgeoisie)
ที่อาศัยอยู่ในเมือง ทาให้เกิดวัฒนธรรมชนชั้นกลาง (bourgeoisie culture) ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นโดย
แนวคิดของระบบทุนนิยม การขยายตัวของวัฒนธรรมชนชั้นกลางทาให้เส้นแบ่งทางวัฒนธรรมชนชั้นสูง
และชนชั้นล่างจืดจางลงไป และเกิดวิถีชีวิตในรูปแบบใหม่ๆ ที่เป็นวัฒนธรรมการผลิตสาหรับคนจานวน
มาก มีระบบการค้าและการถ่ายทอดผ่านสื่อต่างๆ เกิดเป็นวัฒนธรรมประชานิยม (popular culture) ในช่วง
ปลายคริสตวรรษที่ 19 (สุธีรา สัตยพันธ์ 2551 : 31-32)
นักวิชาการที่สนใจศึกษาวัฒนธรรมประชานิยม (popular culture) ส่วนใหญ่อยู่ในสานักวัฒนธรรม
ศึกษาร่วมสมัย (The Centre for Contemporary Cultural Studies) ที่แยกตัวจากสานักแฟรงค์เฟิร์ต (Frankfurt school)
และเป็นสาขาวิชาการที่แพร่หลายอย่างมากในยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศอังกฤษ มีนักคิดที่มี
3
ชื่อเสียง อาทิ กลุ่มนักคิดแห่งมหาวิทยาลัยเบอร์มิ่งแฮม ศาสตราจารย์ สจ๊วต ฮอลล์ (Stuart Hall) และ
ศาสตราจารย์ David Hesmondhalgh แห่งมหาวิทยาลัยลีดส์ (สมบัติ กุสุมาวลี 2553)
โดยทั่วไปเรียกกลุ่มนักวิชาการที่สนใจวัฒนธรรมประชานิยม (popular culture) ว่าอยู่ในสาขาวิชา
“วัฒนธรรมศึกษา” (cultural studies) ซึ่งเป็นสาขาวิชาสหวิทยาการทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดย
ประกอบขึ้นด้วยสาขาวิชาต่างๆ ได้แก่ วรรณคดีวิจารณ์ ภาษาศาสตร์ ภาษาและวรรณคดีอังกฤษ
ประวัติศาสตร์ รัฐศาสตร์ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา เป็นต้น กลุ่มนักวิชาการสาขาวัฒนธรรมศึกษาให้
ความสาคัญกับวัฒนธรรมประชานิยม (popular culture) ซึ่งประยุกต์แนวคิดหลังสมัยใหม่นิยม
(postmodernism) รวมถึงแนวคิดหลังโครงสร้างนิยม (poststructualism) มาใช้ในการวิเคราะห์และอธิบาย
ปรากฏการณ์ทางสังคมและวัฒนธรรมของโลกสมัยใหม่ หรือยุคทุนนิยมโลกาภิวัตน์ ที่มีการแลกเปลี่ยน
และส่งอิทธิพลระหว่างกันของข้อมูลข่าวสาร อุดมการณ์ เทคโนโลยี เงินตรา และผู้คน (สุริยา สมุทคุปติ์
และคณะ 2541)
การเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบันได้สร้างวัฒนธรรมการบริโภคในรูปแบบวัฒนธรรมประชา
นิยม (popular culture) ที่มีผลให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล ดังจะเห็นได้จากวัฒนธรรม
ประชานิยม (popular culture) กลายเป็นหนึ่งในสี่ตัวแบบของเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ (creative economies) ซึ่ง
เป็นภาคเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนและสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ทรงพลังมากที่สุดในเศรษฐกิจการค้าของโลก
ทั้งในปัจจุบันและอนาคต2
ตัวแบบนี้อธิบายให้เห็นถึงกระบวนการของการก่อรูปและการแพร่กระจายทาง
วัฒนธรรมของสังคมหนึ่งๆ และจะเกิดขึ้นได้ ก็โดยผ่าน ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (industrial production) มี
การแพร่กระจาย (dissemination) และการบริโภค (consumption) ตัวบทเชิงสัญลักษณ์นี้หมายถึง ข้อความ
(message) ซึ่งจะถูกส่ง/สื่อสาร/นาความไปโดยวิธีการทางสื่อ (media) ที่หลากหลาย เช่น ผ่านทางสื่อ
สิ่งพิมพ์ ภาพยนตร์ การกระจายภาพและเสียง (broadcasting) และหนังสือพิมพ์ (the press) (สมบัติ กุสุมาวลี
2553)
2.2 นิยามความหมายของวัฒนธรรมประชานิยม (popular culture)
คนทั่วไปมองว่าวัฒนธรรมประชานิยม (popular culture) เกี่ยวกับกลุ่มของเด็กและวัยรุ่น ซึ่งนิยม
หลงใหลทาสิ่งต่างๆตามแฟชั่น เลือกที่จะเรียนรู้กระแสป๊อป (pop) หรืออินเทร็นด์ (intrend) ไม่เช่นนั้นจะ
ไม่ได้รับการยอมรับจากกลุ่มเพื่อน แต่ความจริงแล้ววัฒนธรรมประชานิยม (popular culture) มีนิยาม
ความหมายที่ค่อนข้างหลากหลาย ซึ่งสามารถพิจารณาได้จากนิยามความหมายของคานี้
คาว่าวัฒนธรรมประชานิยมเป็นศัพท์บัญญัติจากภาษาอังกฤษว่า popular culture ซึ่งแยก
ออกเป็นสองคาคือ popular และ culture ทั้งสองคานี้มีรากศัพท์จากภาษาละติน คาว่า popular มีราก
ศัพท์มาจากคาว่า populus ในภาษาละติน ซึ่งแปลว่าประชาชน ขณะที่คาว่า culture ที่แปลว่าวัฒนธรรม
มีรากศัพท์มาจากคาว่า cultura ซึ่งมีที่มาจากการเกษตร การบ่มเพาะและการพัฒนาผืนดิน ซึ่งเมื่อ
รวมกันแล้วคาว่า popular culture จึงมีความหมายที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมที่ประชาชนนิยม
2
วัฒนธรรมประชานิยม (popular culture) เป็นหนึ่งในสี่ตัวแบบเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ โดยเป็นตัวแบบของ “ตัวบทเชิงสัญลักษณ์”
(symbolic texts model) ที่คุ้นเคยรู้จักกันอย่างดีในกลุ่มแนวคิด “อุตสาหกรรมเชิงวัฒนธรรม” (cultural industries)
4
สิ่งใดที่ประชาชนนิยมมักเป็นสิ่งที่เห็นได้เกลื่อนกลาดตามท้องตลาด แตกต่างวัฒนธรรมของชน
ชั้นสูงที่มักเห็นและซื้อขายได้ยากสาหรับคนทั่วไป นิยามความหมายของวัฒนธรรมประชานิยม (popular
culture) ยังยากที่จะระบุอย่างเจาะจง เพราะมีข้อโต้แย้งของนักวิชาการที่ทาการศึกษามาโดยตลอด ดังที่
หนังสือพจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา อังกฤษ–ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2549) อธิบายว่า
วัฒนธรรมประชานิยม (popular culture) หมายถึง วัฒนธรรมของคนส่วนใหญ่
ซึ่งแพร่หลายมากกว่า และคนทั่วไปชื่นชอบ จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วัฒนธรรมมวลชน
(mass culture) มักเกี่ยวกับความบันเทิง การกีฬา โทรทัศน์ ภาพยนตร์และเพลง
สมัยใหม่ ซึ่งต่างกับวัฒนธรรมชั้นสูง (high culture) ของคนที่มีการศึกษาสูง เช่น ดนตรี
คลาสสิก นวนิยายแบบลึกซึ้ง กวีนิพนธ์ ฯลฯ
ในทัศนะของนักประเพณีนิยม วัฒนธรรมประชานิยมเป็นวัฒนธรรมชั้นต่า แต่
นักเสรีนิยมและกลุ่มหัวรุนแรงเห็นว่า วัฒนธรรมดังกล่าวสะท้อนรสนิยมที่แท้จริงของคน
ส่วนใหญ่ นักสังคมวิทยาหันมาสนใจศึกษาวัฒนธรรมประชานิยม เนื่องจากเห็นว่าเป็น
สิ่งที่แสดงถึงความเป็นตัวตนของสังคมนั้น ๆ ทั้งยังเป็นองค์ประกอบสาคัญของความ
เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชนชั้นทางสังคม และในขณะเดียวกันก็ชี้ให้เห็นความ
แตกต่างระหว่างชนชั้นด้วย ขณะเดียวกันนักสังคมวิทยาบางกลุ่มเห็นว่าไม่มีวัฒนธรรม
ประชานิยมที่ชัดเจน มีแต่ผลผลิตของนายทุนหรือบริษัทขนาดใหญ่ที่เป็นเครื่องมือใน
การครอบงาความคิดของคนในสังคม...
นิยามความหมายข้างต้นอธิบายวัฒนธรรมประชานิยม (popular culture) ในเชิงปริมาณ (คน
จานวนมากบริโภค) เป็นวัฒนธรรมที่อยู่ตรงกันข้ามกับวัฒนธรรมของชนชั้นสูง เป็นวัฒนธรรมที่แสดงถึง
ตัวตนของสังคม และยังเป็นเครื่องมือสาหรับการครอบงาผู้คน ซึ่งคล้ายกับการให้นิยามความหมายของ
วัฒนธรรมประชานิยม (popular culture) โดยจอห์น สตอเรย์ (John Storey) ที่มีผู้อ้างอิงอยู่บ่อยครั้ง
ซึ่งได้จัดหมวดหมู่ความหมายของวัฒนธรรมประชานิยม ไว้ทั้งสิ้น 6 ประการ3
3
(1) หมายถึง วัฒนธรรมที่เป็นที่ยอมรับและชื่นชอบของคนหมู่มาก นิยามข้อนี้ค่อนข้างครอบคลุม แต่มีจุดอ่อนในแง่ที่ไม่สามารถระบุ
ลักษณะเฉพาะเจาะจงของวัฒนธรรมที่มีรายละเอียดของความแตกต่างและหลากหลาย
(2) หมายถึง วัฒนธรรมที่อยู่ตรงกันข้ามกับวัฒนธรรมของชนชั้นนา หรือวัฒนธรรมหลวง (high culture) และเป็นวัฒนธรรมของคนส่วน
ใหญ่ในสังคม
(3) หมายถึง วัฒนธรรมมวลชน (mass culture) ซึ่งให้ความสาคัญกับรูปแบบของวัฒนธรรมที่ถูกผลิต เผยแพร่และโฆษณาในตลาด
สินค้าของระบบทุนนิยม เช่น แฟชั่น เสื้อผ้า ดนตรี กีฬา ภาพยนตร์ ฯลฯ ในความหมายนี้วัฒนธรรมมวลชนมักถูกตีความเชื่อมโยงกับการ
ครอบงาทางวัฒนธรรมจากประเทศตะวันตกหรือประเทศอุตสาหกรรม
(4) หมายถึง วัฒนธรรมที่มีแหล่งกาเนิดจากประชาชน เป็นวัฒนธรรมของประชาชนหรือชาวบ้านทั่วไป
(5) หมายถึง พื้นที่ของการต่อสู้ระหว่างพลังของกลุ่มคนที่ถูกเอารัดเอาเปรียบกับกลุ่มคนที่มีอานาจครอบงาสังคม วัฒนธรรมประชานิยม
ในแง่มุมนี้ไม่ใช่เป็นของชนชั้นสูง หรือชนชั้นล่าง (ผู้เสียเปรียบ) แต่เป็นวัฒนธรรมที่เกิดจากการต่อสู่ ต่อรอง และช่วงชิงทางอุดมการณ์
และผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่
5
นิยามความหมายของวัฒนธรรมประชานิยมของจอห์น สตอเรย์ (John Storey) ได้เพิ่ม
ความหมายหนึ่ง ที่น่าจะช่วยให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนอีสานในยุคปัจจุบัน นั่นคือการ
มองว่า พัฒนาการของวัฒนธรรมประชานิยม (popular culture) ที่เกิดขึ้นหลังจากการพัฒนา
อุตสาหกรรมและกระบวนการกลายเป็นเมือง (urbanization) มีส่วนเร่งให้เกิดการขยายตัวและ
เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของผู้คนจากสังคมเกษตรกรรมและวัฒนธรรมชนบทไปสู่วัฒนธรรมสมัยใหม่ ซึ่งผู้
ศึกษาเห็นว่าน่าจะเป็นกรอบแนวความคิดที่ในการศึกษาวัฒนธรรมประชานิยม (popular culture) ของ
คนอีสานในยุคปัจจุบัน
ภาพที่ 2 ภาพการ์ตูนล้อเลียนวัฒนธรรมประชานิยมในสังคมอเมริกา
ที่มา : http://studiesofamerica.files.wordpress.com/
2.3 เมืองล้อมชนบท : การขยายตัวของเมืองในภาคอีสาน
การขยายตัวของเมืองในประเทศไทยแสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจของต่างจังหวัดมีความสาคัญไม่
น้อยไปกว่ากรุงเทพมหานครอีกต่อไป งานวิจัยเรื่อง โอกาสการขยายตลาดในต่างจังหวัดและกล
ยุทธ์ของบริษัทจดทะเบียนไทย โดยสถาบันวิจัยตลาดทุน เสนอข้อมูลเศรษฐกิจของต่างจังหวัดใน
ประเทศไทยว่า มีความสาคัญต่อการเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศมากขึ้น โดยสัดส่วนมวลรวมใน
ต่างจังหวัดเพิ่มขึ้นเป็น 61.4 % ใน พ.ศ. 2553 จาก 54% ใน พ.ศ. 2544 รวมทั้งเศรษฐกิจในต่างจังหวัด
เติบโตอย่างต่อเนื่องในอัตราสูงกว่ากรุงเทพฯและปริมณฑล โดยขนาดเศรษฐกิจของต่างจังหวัดในพ.ศ.
2553 เพิ่มขึ้น 2.3 เท่าของขนาดเศรษฐกิจใน พ.ศ. 2544 มากกว่าขนาดเศรษฐกิจของกรุงเทพฯและ
ปริมณฑลที่เพิ่มขึ้นเป็น 1.7 เท่าของนาดเศรษฐกิจ พ.ศ. 2544
(6) หมายถึงวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นภายหลังการพัฒนาอุตสาหกรรมและกระบวนการกลายเป็นเมือง (urbanization) ซึ่งแสดงให้เห็นถึง
อิทธิพลของสื่อมวลชนและการคมนาคมสื่อสารของโลกสมัยใหม่ซึ่งขยายตัวและเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของผู้คนจากสังคมเกษตรกรรมและ
วัฒนธรรมชนบทไปสู่วัฒนธรรมสมัยใหม่ หรือวัฒนธรรมของคนในเมือง
6
เมื่อพิจารณาในบริบทของสังคมเศรษฐกิจอีสาน การเชื่อมโยงภาคอีสานในแผนที่โลกครั้งใหม่
ส่งผลให้ภาคอีสานเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์สาคัญ จากพื้นที่ที่ถูกมองข้ามในอดีตเปลี่ยนเป็นพื้นที่ที่สร้าง
มูลค่าทางเศรษฐกิจที่สาคัญให้แก่ประเทศไทยอย่างมหาศาล ดังกรณีที่ผู้ศึกษากล่าวถึงแล้ว
ในรอบ 20 ปีที่ผ่านมาความเหลื่อมล้าของภาคอีสานลดลงจาก พ.ศ. 2538 กล่าวคือผลิตภัณฑ์
มวลรวมของภาคอีสานน้อยกว่ากรุงเทพฯ และปริมณฑลถึง 12 เท่า แต่ปัจจุบันผลิตภัณฑ์มวลรวมภาค
อีสานน้อยกว่าภาคตะวันออก 6 เท่า ซึ่งปัจจุบันภาคตะวันออกมีการเติบโตทางเศรษฐกิจมากกว่า
กรุงเทพฯ (เดชรัต สุขกาเนิด 2557)
ผลิตภัณฑ์มวลรวมของภาคอีสาน (Gross Regional Product: GRP) พ.ศ. 2555 ณ ราคา
ประจาปี มีมูลค่า 1,281,302 ล้านบาท หรือมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 10 ของผลิตภัณฑ์มวลรวม
ภายในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) สาขาเศรษฐกิจที่สาคัญ ได้แก่ สาขาเกษตรกรรม
สัดส่วนร้อยละ 23.3 สาขาอุตสาหกรรม สัดส่วนร้อยละ 20.4 สาขาการศึกษา สัดส่วนร้อยละ 14.2 สาขา
ค้าส่งและค้าปลีก สัดส่วนร้อยละ 10.5
ถึงแม้ประชากรในเขตเมืองในภาคอีสานจะยังมีสัดส่วนต่าที่สุดในประเทศคือ ร้อยละ 29.03
(พ.ศ. 2553) แต่จานวนของเมืองในภาคอีสานก็มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ปัจจุบันภาคอีสานมี
จานวนเมืองทั้งสิ้น 364 เมือง เพิ่มขึ้นจาก พ.ศ. 2549 จานวน 10 เมือง การเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้นใน
ระหว่าง 7-8 ปีนี้ คือการเพิ่มจานวนเมืองขนาดใหญ่ ทั้งเพิ่มจานวนเทศบาลนคร 1 แห่ง เทศบาลเมือง
เพิ่มขึ้น 9 แห่ง
จากข้อมูลสานักงานสถิติแห่งชาติ ศูนย์สารสนเทศแห่งชาติ พบว่าใน พ.ศ. 2553 จังหวัดที่มี
ความเป็นเมืองมากกว่าร้อยละ 50 หากไม่รวมกรุงเทพมหานคร พบว่าอยู่ในภาคอีสานเพียง 2 จังหวัด
ได้แก่ กาฬสินธุ์ และ มุกดาหาร อย่างไรก็ตาม ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2523-2553) ภาคอีสานมี
แนวโน้มของประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาล (เมือง) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งใน พ.ศ. 2553 มี
ประชากรอาศัยในเขตเทศบาลมากกว่าร้อยละ 40 ถึง 4 จังหวัด ได้แก่ ขอนแก่น อุดรธานี กาฬสินธุ์ และ
มุกดาหาร แต่ก็มีถึง 6 จังหวัดที่ประชากรกว่า 3 ใน 4 อาศัยอยู่ในเขตชนบท (นอกเขตเทศบาล) ได้แก่
สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ชัยภูมิ มหาสารคาม และนครพนม (อุกฤษฏ์ เฉลิมแสน 2557) กล่าวได้
ว่าแม้ความเป็นเมืองของภาคอีสานยังมีสัดส่วนที่ต่า แต่เมืองที่กาลังเติบโตในภาคอีสานนั้น มีจานวน
หลายเมือง และหากพิจารณาถึงเมืองใหญ่ในภาคอีสานก็จะเห็นการขยายตัวของเมืองที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะ
เป็น หนองคาย อุดรธานี และขอนแก่น4
(สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ม.ป.ป.)
4
หนองคายจะเป็นสถานีปลายทางของรถไฟฟ้ าความเร็วสูง เชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านในอนาคต โดยเฉพาะนครเวียงจันทน์ เมือง
หลวงของลาว ปัจจุบันหนองคายเป็นจังหวัดที่มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเข้ามามากเป็นอันดับ 1 ของภาคอีสาน มีนักท่องเที่ยวประมาณ
2 ล้านคนต่อปี
สาหรับอุดรธานีเคยผู้มีเปรียบเทียบว่า เหมือนกับ “ดูไบหรือชิคาโก” ซึ่งเป็นเมืองแห่งการค้าเพราะคนลาวสามารถขับรถเข้ามาในฝั่งไทย
ได้สะดวกเกิดธุรกิจการค้าและการใช้จ่าย นอกจากนี้เส้นทางการบินที่เปิดระหว่างเมือง เช่น เชียงใหม่-อุดรธานี หรืออุดรธานี-ภูเก็ต ทา
ให้เมืองต่างๆเติบโต ไม่เฉพาะอยู่ในกรุงเทพฯเท่านั้น
7
ภาคอีสานเป็นภาคที่มีศักยภาพเชิงพื้นที่สูง เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะลาว จึง
เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจร่วมกันในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การค้า การลงทุน รวมถึงการท่องเที่ยว เป็นต้น
ทาให้เมืองที่อยู่ติดชายแดนหลายเมืองในภาคอีสานมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างมาก การค้า
ชายแดนจึงมีบทบาทสาคัญต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจของภาค พ.ศ. 2552 มูลค่าการค้าชายแดนผ่าน
ด่านศุลกากรในภาค 72,920 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 34.7 ของการค้าของภาค หรือร้อยละ 9.2 ของ
การค้าชายแดนของประเทศ ขณะที่มูลค่าการค้าชายแดน พ.ศ. 2555 สูงถึง 202,178 ล้านบาท คิดเป็น
48% ของสาขาการค้าของภาค โดยส่งออก 157,508 ล้านบาท นาเข้า 44,670 ล้านบาท และในช่วง 5 ปี
ที่ผ่านมามีอัตราเติบโต 28.4 %
การขยายตัวของเมืองไม่จากัดตัวเฉพาะพื้นที่ดังข้างต้น เมืองได้ขยายตัวและเชื่อมต่อผ่าน
เทคโนโลยีด้านการสื่อสาร สร้างกลุ่ม “คนเมืองเสมือน” (virtual urban people) ซึ่งถึงแม้จะอาศัยในเขต
ชนบท แต่คนเหล่านี้มีความคิด พฤติกรรม รสนิยมและความเชื่อคล้ายกับคนในเมือง
ภาพที่ 3 ความเป็นไทยในวัฒนธรรมประชานิยม
ที่มา : http://www.richardbarrow.com
สานักงานสถิติแห่งชาติได้สารวจการมีและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารใน
ครัวเรือน พ.ศ. 2556 พบว่า สัดส่วนของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และโทรศัพท์มือถือของภาค
อีสาน ยังมีสัดส่วนต่าที่สุด กรณีสัดส่วนผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ภาคอีสานมีสัดส่วนผู้ใช้ 30.3 % สัดส่วนการใช้
อินเทอร์เน็ต 23.2 % และสัดส่วนการใช้โทรศัพท์มือถือ 68.6 % แต่จากการสารวจของบริษัทวิจัย GFK
ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2556 พบถึงการเติบโตของยอดขายสมาร์ทโฟนในภาคอีสานที่มากกว่าภาคอื่นๆ
โดยเพิ่มขึ้นถึง 344% ในช่วงสี่เดือนแรกของปี 2556 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
เมืองขอนแก่นที่กาลังมุ่งสู่การเป็นมหานคร ก็มีความได้เปรียบเพราะมีมหาวิทยาลัยขอนแก่นในการพัฒนาเมืองทั้งด้านการศึกษา
เทคโนโลยี สาธารณสุข และสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังเป็นจังหวัดที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัวอยู่ในลาดับที่ 1 ของภาคอีสาน
8
จากข้อมูลในข้างต้นแสดงให้เห็นถึงการขยายตัวของเมืองในภาคอีสานอย่างชัดเจน และน่าจะ
เป็นส่วนสาคัญของอธิบายการบริโภควัฒนธรรมประชานิยม (popular culture) ของคนอีสาน ดังที่จะ
กล่าวถึงต่อไป
2.4 วัยรุ่นอีสานในวัฒนธรรมประชานิยม
(1) วัยรุ่นที่ไหนก็ไม่ต่างกัน : ทบทวนงานศึกษาวัยรุ่นอีสานโดยสังเขป
“วัยรุ่นอีสานอยากขาว” “เปิบพิสดาร ! วัยรุ่นอีสานฮิตกินสมองหมา-ควาย เชื่อเป็นยาโด๊ป” “ใช้
ถุงก๊อบแก๊บแทนถุงยาง วัยรุ่นอีสานมีเซ็กส์พิศดาร” “วัยรุ่นอีสานติดเชื้อเอดส์เพิ่มขึ้น เฉลี่ยนาทีละ 2 คน
ต้องการทาสถิติ” “นอนตายตาหลับ 'บานเย็น' ปลื้ม! เด็กรุ่นใหม่สนใจสืบสาน” “ฮักนะสารคาม ฮักม่วน
ซื่นประสาวัยรุ่นอีสาน” ‚ ‘ผู้บ่าวไทบ้าน อีสานอินดี้’ หนังม้ามืดทวนกระแส ดังจากบ้านนอกเข้ากรุง”
พาดหัวข้อข่าวบางส่วนที่เกี่ยวกับวัยรุ่นอีสานข้างต้น ผสมปนเปไปด้วยด้านที่เป็น “ปัญหา”
“ความแปลกประหลาด” และด้านที่เป็น “การสืบสานรากเหง้า” “การสร้างสรรค์” ทั้งหลายเหล่านี้ไม่ได้
แตกต่างจากวัยรุ่นที่ใดในโลก โดยทั่วไปมีคาอธิบายถึงวัยรุ่นว่า เป็นวัยเปลี่ยนผ่านจากความเป็นเด็กเข้า
สู่ความเป็นผู้ใหญ่ มีนิสัยที่คล้ายคลึงกันคือชอบความเป็นอิสระ มีความเชื่อมั่นในตัวเอง ต้องการเรียนรู้
สิ่งต่างๆ รอบตัวด้วยตนเอง รักสวยรักงาม ชอบความสนุกสนาน เชื่อเพื่อนมากกว่าผู้ปกครอง
นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนเพศยังส่งผลให้วัยรุ่นมีแรงขับทางเพศสูง เช่น สนใจเพศตรงข้าม
และมีความต้องการทางเพศ แต่ในขณะเดียวกันวัยรุ่นก็ต้องการความรัก ต้องการเป็นที่รักของใครสักคน
ต้องการความอบอุ่น จากครอบครัวและบุคคลรอบข้าง (พิมพวัลย์ บุญมงคล และคณะ 2547) หากจะทา
ความเข้าใจโลกของวัยรุ่นด้วยคาอธิบายข้างต้นอาจไม่เพียงพอ ผู้ศึกษาเห็นว่างานศึกษาวัยรุ่นควรให้
ความสนใจในแง่มุมด้านสังคมวัฒนธรรม เพื่อเห็นอีกด้านที่สร้างสรรค์จากการพยายามต่อสู้และต่อรอง
ของวัยรุ่นเพื่อสร้างตัวตนในโลกของพวกเขาเอง
Paul E. Willis ผู้เขียนหนังสือ Learning to Labor: how working class kids get working
class jobs (1977) เคยศึกษาวัยรุ่นชนชั้นแรงงานในโรงเรียนในเมืองอุตสาหกรรมแห่งหนึ่งในประเทศ
อังกฤษ ได้ตั้งข้อสังเกตว่า การศึกษาวัยรุ่นคือ จุดสาคัญในการเข้าใจพลวัตของสังคมร่วมสมัย เพราะ
วัยรุ่นคือหน้าด่านของการเผชิญหน้าและการต่อรองรูปแบบใหม่ของการเปลี่ยนรูปทางเทคโนโลยีและ
มนุษย์ขนานใหญ่ ณ จุดศูนย์กลางของความทันสมัย (Dolby and Dimitriadis 2004) ซึ่งแนวคิดสาคัญที่
ได้จากงานศึกษาวัยรุ่นของ Willis นี้ เปิดช่องทางให้ผู้สนใจวัฒนธรรมของวัยรุ่นเห็นความสาคัญของการ
ที่วัยรุ่นเป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ หรือเป็นผู้กระทาการ (agency) มากกว่าจะมองไปที่ปัญหาของ
วัยรุ่นแต่เพียงเท่านั้น
เมืองในภาคอีสานกาลังขยายตัวอย่างประจักษ์ชัด สร้างผลกระทบให้แก่ทั้งคนในเมืองและคนใน
ชนบท ที่สาคัญคือการเปลี่ยนแปลงนี้มีผลกระทบต่อวิถีชีวิตของวัยรุ่นอีสาน อภิศักดิ์ ธีระวิสิษฐ์ (2553)
ศึกษาครัวเรือนอีสานใกล้เมือง ที่ได้รับอิทธิพลจากกระบวนการกลายเป็นเมืองอย่างเข้มข้น ครัวเรือน
เหล่านี้ต้องเผชิญกับความเสี่ยงและความเปราะบางในการดารงชีวิตสูงขึ้น ทั้งเกิดจากปัจจัยผลักดันจาก
การไร้ที่ดินทากิน การขาดแคลนน้าในฤดูแล้ง อีกทั้งไม่มีอาชีพเสริม และปัจจัยดึงดูดจากการที่เมืองใหญ่
9
เป็นแหล่งงาน ครัวเรือนอีสานได้ใช้กลยุทธ์เพื่อการอยู่รอด ด้วยการอพยพเป็นแรงงานราคาถูกในเมือง
ส่งผลให้ครัวเรือนในอีสานมีกาลังแรงงานลดน้อยลง
ขณะที่งานศึกษาของ Rigg และ Salamanca (2011) อธิบายถึงกระบวนการเคลื่อนย้าย
(mobility) และการอพยพของแรงงานอีสานทั้งชายและหญิง เพื่อขายแรงงานทั้งในกรุงเทพมหานครและ
ต่างประเทศ ส่งผลให้เกิดความซับซ้อนเป็นครัวเรือนแบบข้ามพื้นที่ (multi-sited household) จนสร้าง
การเปลี่ยนแปลงต่อวิถีการดาเนินชีวิตของคนอีสานในชนบท ส่วนงานศึกษาของ Maniemai
Thongyou et al. (2014) ได้สารวจการรับรู้ของหัวหน้าครัวเรือนถึงผลกระทบของกระบวนการ
กลายเป็นเมือง (urbanization) ในจังหวัดขอนแก่น ซึ่งมีทั้งด้านบวกและด้านลบ โดยผลกระทบด้านลบ
มักเป็นเรื่องพฤติกรรมของกลุ่มวัยรุ่น ทั้งเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงาน การอยู่ก่อนแต่ง และการ
แต่งตัวที่ไม่เหมาะสม
งานศึกษาข้างต้นเกี่ยวข้องกับการอธิบายวิถีชีวิตของวัยรุ่นอีสาน ทั้งรูปแบบครัวเรือนที่
เปลี่ยนแปลงไปจากการอพยพของวัยแรงงาน และความกังวลของผู้ใหญ่ต่อพฤติกรรมวัยรุ่นอีสาน ซึ่งทั้ง
สองส่วนมีความเกี่ยวพันกันอย่างแยกไม่ออก กล่าวคือการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบครัวเรือนทาให้ญาติ
เป็นผู้ดูแลวัยรุ่นอีสานแทนพ่อแม่ นับตั้งแต่ในวัยเด็ก การอยู่ร่วมกันในครัวเรือนที่มีช่วงวัยแตกต่างกันนี้
ไม่ได้ถูกหยิบยกเป็นเงื่อนไขที่มีผลต่อการดาเนินชีวิตของวัยรุ่นอีสาน นอกเหนือจากนี้ การศึกษา
ชีวิตประจาวันของวัยรุ่นไม่ควรละเลยแง่มุมการบริโภควัฒนธรรมสมัยนิยม (popular culture) ซึ่งเป็น
หัวใจสาคัญของชีวิตประจาวันวัยรุ่นในประเทศไทย โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของสังคมในยุคโลกาภิ
วัตน์ ที่ทาให้เกิดอัตราเร่งของการหลั่งไหลวัฒนธรรมประชานิยมของท้องถิ่นและข้ามชาติ (Siriyuvasak
2008)
ภาพที่ 4 มิวสิกวิดีโอเพลงผู้บ่าวเฒ่ากับสาววัยทีน ของสนุ๊ก สิงห์มาตร นักร้องชื่อดังในอีสาน
ที่มา : http://www.bsnnews.com
10
(2) ความเป็นอีสานของวัยรุ่น
ณ วันนี้ แดนดินถิ่นอีสานถูกมองใหม่ในฐานะที่มี character อันโดดเด่น
ทันสมัย และไม่จากัดอยู่ในกรอบแห่งความเปิ่นเชยอีกต่อไป กลิ่นส้มตาปลาร้า
โชยมาจากโต๊ะอาหารหรูหราบนห้างสรรพสินค้ากลางเมือง เสียงเพลงลูกทุ่ง
กรุ่นสาเนียงอีสานแว่วมาให้ได้ยินแทบทุกครั้ง เมื่อใช้บริการแท๊กซี่มิเตอร์ หรือ
แม้กระทั่งผ้าพันคอทอมือเก๋ๆ หรือกางเกงลายผ้าขาวม้าเท่ๆ ของวัยรุ่นหนุ่ม
สาวที่มักซื้อหามาใส่กันตามเทรนแฟชั่นที่กาลังอินกับกระแสสินค้าท้องถิ่น
เหล่านี้ คือ กลิ่นอายของอีสานที่มักเผยตัวตนออกมาพร้อมๆ กับการใช้
ชีวิตประจาวันของคนเมืองได้อย่างผสมกลมกลืน เพราะคาว่า 'อีสาน' ในวันนี้
ไม่ได้ถูกมองให้เป็นตัวแทนของความล้าหลัง เก่าเก็บ หรือดั้งเดิมจนเข้าไม่ถึง
แต่กลับถูกพรีเซนต์มุมใหม่ว่าเป็นวัฒนธรรมที่ยูนีค จับต้องได้ และมีเสน่ห์น่า
หลงใหลไม่แพ้ใคร…(วรุณรัตน์ คัทมาตย์ 2556)
อัตลักษณ์ของคนอีสานเผชิญกับความคลุมเครือจากการรับรู้แบบทวิภาวะ (duality) ของอัต
ลักษณ์ความเป็นไทยและความเป็นลาว ดังกรณีสาววัยรุ่นอีสานส่วนใหญ่ยอมรับว่าตัวเองไม่สวย อยากมี
ผิวขาวเหมือนดารา เนื่องจากวัยรุ่นอีสานไม่คุ้นเคยกับแนวความคิดรูปลักษณ์ความงามแบบอีสาน
(Hesse-Swan 2006) งานศึกษาของ Mccargo และ Hongladarom (2004) ได้อภิปรายถึงอัตลักษณ์
อีสานคือสิ่งสร้างทางการเมืองที่มีปัญหา สะท้อนถึงความคลุมเครือในการเข้าใจตนเองและการนาเสนอ
ตัวตนของคนอีสาน อย่างไรก็ตาม คนอีสานก็ได้เข้าร่วมกระบวนการต่อรองในความสัมพันธ์ระหว่าง
ความเป็นไทยและลาวด้วยเช่นกัน จะเห็นได้จากความคิดเกี่ยวกับความเป็นอีสานไม่ได้หยุดนิ่ง เพราะ
ผลการศึกษาพบว่าคนแต่ละกลุ่มให้ความหมายที่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาจากอายุ เพศ การศึกษา
อาชีพ และชนชั้น กลุ่มวัยรุ่นและผู้ที่มีการศึกษามองเห็นตนเองว่ามีความเป็นไทยมากกว่า คล้ายกับกลุ่ม
หญิงสาวที่มีความกระตือรือร้นพูดภาษาไทยมากกว่าสามีหรือแฟนหนุ่ม
ความเป็นอีสานได้แพร่กระจายอยู่ตามสื่อสมัยใหม่ต่างๆ ซึ่งอาจยกตัวอย่างจากการนาเสนอ
ความเป็นอีสานในภาพยนตร์ที่แสดงให้เห็นพลวัตการนาเสนอความเป็นอีสาน และเชื่อมโยงกับอัต
ลักษณ์ของวัยรุ่นอีสานในยุคปัจจุบัน
ฐนธัช กองทอง (มติชนออนไลน์ “อ่าน! ความเป็นอีสานในภาพยนตร์ไทย”) อาจารย์สาขา
ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร มหาวิทยาลัยหอการค้า กล่าวถึงความเป็นอีสานในภาพยนตร์ไทยที่
เปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด แต่การนาเสนอก็ยัง “แช่แข็ง” ความเป็นอีสาน นับตั้งแต่การเสนอความเป็น
อีสานใน “ความเป็นนักสู้มากกว่าจะพูดถึงในฐานะตลกขบขัน” เช่น “ลูกอีสาน” “หมอลาพ่อลูกอ่อน”
“หมอลาปืนโหด” ต่อมาในยุคโลกาภิวัตน์ ความเป็นอีสานได้แพร่กระจายในวงกว้างอย่างรวดเร็ว และ
ความเป็นอีสานที่ได้เสนอในภาพยนตร์ มีอยู่ 3 ลักษณะ ได้แก่
(1) ถูกสร้างจากอคติชาติพันธุ์ให้ล้าหลัง ด้อยโอกาส เปิ่นเชย เป็นตัวตลก ที่เห็นได้ชัดจาก
ภาพยนตร์เรื่อง “หนูหิ่นอินเตอร์” และ “แจ๋ว”
11
(2) การตกเป็นเหยื่อความทันสมัย จากเรื่อง “เฉิ่ม” ที่พูดถึง คนอีสานที่มาขับแท็กซี่ ที่ยังมีสานึก
ของคนชนบท ซึ่งยังไม่สามารถรับการเปลี่ยนแปลงไปตามวิถีของคนเมืองกรุงได้ รวมถึงภาพยนตร์ที่
เสนอแง่มุมชีวิตคนทางานในกรุงเทพฯ เช่น “ยอดมนุษย์เงินเดือน” ที่เสนอภาพหนุ่มอีสานที่เป็นพนักงาน
บริษัท เขามาพร้อมการแบกรับความคาดหวังจากครอบครัว การที่เขามีการศึกษา จึง “คิดไปเอง” ว่า
เรียนจบมาทางานในเมือง จะต้องประสบความสาเร็จ จึงเป็นเหตุให้โกหกแม่ไม่ได้ว่า ตนเองมีชีวิตที่
ประสบความสาเร็จเป็นอย่างดี
และ (3) ความเป็นฮีโร่ของรัฐสยาม ซึ่งเห็นชัดเจนจากเรื่อง “องค์บาก” ที่ตัวละครอย่างหม่า
จ๊กมก- เพ็ชรทาย วงษ์คาเหลา กลายเป็นผู้ช่วยของพระเอกในการเอาเศียรพระพุทธรูปกลับมา
กล่าวได้ว่าภาพที่เสนอความเป็นอีสานในภาพยนตร์ทั้งสามลักษณะยังหยุดนิ่ง ไม่ได้มองเห็น
ความเคลื่อนไหวความเป็นอีสานในโลกยุคโลกาภิวัตน์ที่ปะทะกับความเป็นท้องถิ่น ซึ่งได้เปลี่ยนแปลง
ความเป็นอีสานไปจากภาพการนาเสนอนี้
การนาเสนอความเป็นอีสานของวัยรุ่นในภาพยนตร์ที่เห็นถึงพลวัตที่น่าสนใจอาจพบในบท
วิเคราะห์ของนักวิจารณ์ภาพยนตร์ในเรื่อง “ฮักนะสารคาม” และ “ผู้บ่าวไทบ้าน”
ภาพยนตร์เรื่อง “ฮักนะ สารคาม” กล่าวถึงการเดินทางเข้าสู่ความเป็นสมัยใหม่ของวัยรุ่นอีสาน
ที่ไม่ได้ทาให้อัตลักษณ์ความเป็นอีสานถูกสลายลงไปหมด จนกลายเป็นคนในเมืองดังเช่นกรุงเทพฯ ดัง
กรณีตัวละครยังพยายามจัดการกับรากเหง้าของตนเอง ให้มีทั้งความเป็นสมัยใหม่ความเป็นอีสานไป
พร้อมๆกัน5
ดังนั้นหากสรุปว่าเมืองในภาคอีสานกาลังเจริญรอยตามการพัฒนาเมืองดังเช่นกรุงเทพฯนั้น
ก็อาจไม่จริงเสมอไป วัยรุ่นอีสานยังฟังหมอลา ลูกทุ่ง พร้อมทั้งแต่งตัวคล้ายวัยรุ่นกรุงเทพฯ
ภาพที่ 5 ปก DVD ภาพยนตร์เรื่องฮักนะสารคามและผู้บ่าวไทบ้าน
ที่มา : http://203.144.224.125 และ http://movie.mthai.com
5
เด็กหนุ่มทายาทวงหมอลาที่ปฏิเสธพื้นเพทางบ้านและปกปิดฐานะที่แท้จริงของตนเอง และเด็กสาวที่ต้องพบกับภาวะที่ต้องเลือก
ระหว่างการศึกษาและความรัก ดูเพิ่มเติมในบทความ “ปัญญา เรณู – ฮักนะ ‘สารคาม : อีสานออนซอน … เป็น
จังได๋น่อความฮัก” โดย ชญานิน เตียงพิทยากร ใน http://www.siamintelligence.com/panya-renu-hugna-and-the-northeast/
12
อีกตัวอย่างที่น่าสนใจคือ ปรากฏการณ์ผู้บ่าวไทบ้าน (ผบทบ.) ภาพยนตร์ที่ได้รับความนิยม
อย่างสูงในภาคอีสาน มีคนต่อแถวเพื่อรอชมไม่น้อยกว่าช่วงที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จัด
ฉายภาพยนตร์ตานานสมเด็จพระนเรศวร ภาคยุทธหัตถี สร้างปรากฏการณ์ในโลกออนไลน์จนเป็น
กระแสดังในสังคมไทยเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556 ที่ผ่านมา เนื้อเรื่องโดยย่อคือเรื่องราวของหนุ่ม
อีสานที่เป็น “ผู้บ่าวไทบ้าน”6
เฝ้ารอนางเอกที่ไปทางานต่างประเทศ และเคยร่วมสัญญากันว่า เมื่อ
กลับมาแล้วจะแต่งงานกัน แต่ปรากฏว่าตอนที่นางเอกกลับมา เธอมาพร้อมกับแฟนหนุ่มที่เป็น
ชาวต่างชาติ ผู้กากับภาพยนตร์เรื่องนี้นาเสนอวิถีชีวิตของวัยรุ่นอีสานกลุ่มหนึ่งที่ยังมี “วิถีชีวิตแบบ
อีสาน” ไม่ได้ดาเนินตาม “วิถีชีวิตแบบเมือง” ที่มี “ความเป็นสมัยใหม่” (modernity) ดังเช่นวัยรุ่นอีสาน
กลุ่มอื่นๆ วัยรุ่นเหล่านี้ยังคง “ความเป็นอีสาน” ในโลกที่สังคมเมืองขยายตัวอย่างรวดเร็วในยุคทุนนิยม
โลกาภิวัตน์ (สุพิเศษ ศศิวิมล 2557)
ปฐม หงษ์สุวรรณ (วรุณรัตน์ คัทมาตย์ 2556) ผู้อานวยการสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรม
อีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม อธิบายถึงอิทธิพลของสื่อสมัยใหม่ที่มีผลต่อการรับรู้ตัวตนของคนอีสาน
ที่เปลี่ยนแปลงไป ก่อนนี้ความเป็นบ้านนอกมักอยู่คู่กับคนอีสาน แต่ปัจจุบันกระแสความเป็นบ้านนอก
กลับดึงดูดกลุ่มผู้บริโภคในเมืองที่โหยหาความเป็นวิถีชีวิตที่เรียบง่ายได้เป็นอย่างดี ในอีกด้านหนึ่งความ
เป็นอีสานก็ได้พยายามปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคทุนนิยมโลกาภิวัตน์มาก
ขึ้น “แบรนด์ของความเป็นอีสาน” ได้เชื่อมโยงกับความเป็นดารานักร้องสายเลือดอีสาน หลายคนเข้า
วงการบันเทิงด้วยการประกวดความสามารถ ที่เปิดโอกาสให้คนต่างจังหวัดมีเส้นทางก้าวสู่การเป็น
ซุปเปอร์สตาร์ได้ ทาให้คนอีสานมีตัวตนในสังคม ยกตัวอย่างเช่น ณเดชน์ คูกิมิยะ โฬม-พัชฏะ ปอ-
ทฤษฎี เวียร์-ศุกลวัฒน์ นิว-วงศกร จุ๋ย-วรัทยา พีค-ภัทรศยา มิน-พีชญา อาร์ เดอะสตาร์ โตโน่ เดอะ
สตาร์ รุจ เดอะสตาร์ สิงโต เดอะสตาร์ ฯลฯ (มติชนออนไลน์ “คนมองหนัง : กองทัพดาราอีสานร่วมสมัย
กับ "พนม ยีรัมย์" ที่หายไป”)
2.5 การบริโภควัฒนธรรมประชานิยมของวัยรุ่นอีสาน
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคมอีสานเดินทางคู่ขนานไปกับความคิดฝันของวัยรุ่นอีสานยุค
ใหม่ที่กาลังเปลี่ยนแปลงเช่นกัน พัฒนา กิติอาษา (2557) อาจารย์ด้านมานุษยวิทยาที่ศึกษาสังคม
วัฒนธรรมอีสานตลอดชีวิตการทางาน จนกระทั่งท่านจากโลกนี้ไป ได้กล่าวถึงวัยรุ่นอีสานยุคใหม่อยาก
เป็น“เจ๊ก” ซึ่งพัฒนาอธิบายถึงการเปรียบเทียบให้เห็นว่า “เจ๊ก” คือ ต้นแบบของความสาเร็จในชีวิตทาง
สังคมและเศรษฐกิจที่ค่อยๆก่อรูปในสานึกของคนอีสาน ดังนั้น “เจ๊ก” จึงเป็นกรอบมโนทัศน์หรืออุดมคติ
ในการเลื่อนสถานภาพของชาวบ้านอีสานเปลี่ยนมาเป็นผู้ประกอบการ เจ้าของกิจการหรือธุรกิจต่างๆ
นอกจากนี้ ยังมีงานศึกษาการบริโภควัฒนธรรมประชานิยมของวัยรุ่นอีสาน โดยแมคแคน ทรูธ
เซ็นทรัล (สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ม.ป.ป.) ที่พบถึงความเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต
6
ผู้บ่าวไทบ้าน หมายถึง หนุ่มวัยรุ่นชาวอีสานที่ยังอาศัยอยู่ในท้องถิ่น ยังใช้ชีวิตและมีวิถีชีวิตแบบอีสาน ไม่ใช่หนุ่มอีสานที่เข้าไปอยู่ในเมืองหรือทาตัวเป็น
คนเมือง
13
วัยรุ่นอีสาน โดยเฉพาะกลุ่มเจนวายอีสาน และเลือกศึกษากลุ่มวัยรุ่นอายุระหว่าง 17 - 23 ปี ในพื้นที่
จังหวัดขอนแก่นตัวแทนภาคอีสาน โดยรายงานชิ้นนี้สรุปใน 4 ประเด็นหลัก ได้แก่
1. GEN-Y = THE URBANIZATION CATALYSTS (ทูตวัฒนธรรมยุคใหม่ จากวิถีคนเมืองสู่ชนบท)
ปัจจุบันได้เห็นอิทธิพลชีวิตคนเมืองสมัยในชนบท ผ่านลูกๆ วัยเจนวายในการนาเทคโนโลยี
ทันสมัยและการเชื่อมต่อสมัยใหม่ มาสู่ครอบครัวและชุมชน โดยที่พ่อแม่ชนบทยุคใหม่ให้อิสระกับลูกที่จะ
ออกนอกวิถีชีวิตแบบเดิมๆ และก้าวทันยุคทันสมัยมากขึ้น กระบวนการกลายเป็นเมือง (Urbanization)
กาลังแพร่กระจายในวงกว้าง
2. BUDGET SMARTPHONES, THE NEXT BIG THING (สมาร์ทโฟนราคาประหยัด ดาวเด่นในโลก
การตลาดสู่ วัยรุ่นชนบทยุคใหม่)
การพัฒนาอินเทอร์เน็ตและการเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการเชื่อมต่อผ่านโทรศัพท์มือถือ
ส่งผลให้กลุ่มเจนวายรับแนวความคิด ‚Being connected‛ ของคนยุคใหม่ทั่วโลก ก่อให้เกิด‚วัฒนธรรม
ดิจิตอล‛ ในแบบฉบับของเจนวายชนบทขึ้น ซึ่งจาแนกได้ดังนี้
 ‘Budget Smartphones are the New Motorbike’ (สมาร์ทโฟนราคาประหยัด=ร่างใหม่ไอเท็ม
คู่ใจวัยรุ่น) แต่เดิมนั้นมอเตอร์ไซค์เป็นสิ่งที่วัยรุ่นชนบททุกคนต้องการมาโดยตลอด เนื่องเพราะ
ส่วนหนึ่งคือความจาเป็นในการใช้ชีวิต และยังเป็นเครื่องหมายแสดงถึงการเติบโตจาก‚เด็ก‛ เป็น
‚วัยรุ่น‛ แต่ปัจจุบัน ‚สมาร์ทโฟน‛ ได้กลายเป็น “ไอเทมที่หนึ่ง” ในใจของวัยรุ่นอีสาน โดยทั่วไป
คือสมาร์ทโฟนราคาประหยัดที่ มีฟังก์ชั่นพื้นฐาน ในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและกล้องถ่ายรูป
สามารถตอบความต้องการหลักของกลุ่มเจนวายชนบท และยังเข้าถึงได้ง่ายกว่าเดิม
 ‘Laptops are the New Screen Addition’ (คอมพิวเตอร์แล็ปท็อป= สกรีนใหม่ ของวัยรุ่น
ชนบท) แล็ปท็อปเคยเป็นสินค้าราคาสูง แต่ปัจจุบันเมื่อวัยรุ่นเรียนในระดับมหาวิทยาลัยก็เป็น
สิ่งจาเป็นทางการศึกษาไปแล้ว
 ‘Facebook is the New TV (เฟสบุ๊ก = โฉมใหม่ของทีวี) วัยรุ่นชนบทมีทางเลือกด้านไลฟ์สไตล์
ที่จากัด‚โลกโซเชียล‛ จึงกลายเป็นตัวเลือกใหม่ในการใช้เวลาว่าง ขณะนี้ประเทศไทยได้ขยับขึ้น
เป็นอันดับที่ 6 ของโลกในการเข้าถึง Facebook เนื่องจากเป็นแพล็ตฟอร์มที่สามารถตอบสนอง
3 แรงจูงใจหลักของวัยรุ่น ดังนี้
1) เพิ่มวิธีในการแสดงออกตัวตนและความใฝ่ฝันของตนเอง
2) ขยายโอกาสสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น นอกจากวงสังคมของชีวิตในชนบท
3) เป็นศูนย์รวมในการ‚รับสื่อ‛ ใหม่ๆ ที่อินกับกระแส ทั้งสื่อบันเทิงที่กาลังฮิต หรือประเด็นร้อน
‚ทอล์ค ออฟ เดอะ ทาวน์‛ ที่ทุกคนกาลังพูดถึง จนหลายคนเลือกดู News Feed7
เป็นช่องทาง
แรกเพื่อเท่าทันว่าเพื่อนๆ กาลังสนใจอะไรกันอยู่
7
คือข้อมูลอัพเดทของ facebook
14
3. ‘LIKE-AHOLIC’, THE NEWLY DIGITIZED RURAL YOUTH INSIGHTS (เสพติด ‚ไลค์‛)
โรคระบาดทางดิจิตอลของชนบทยุคใหม่ ในยุคที่‚ใครๆ ก็โซเชียล‛ กลุ่มเจนวายในชนบทหันไป
ให้ความสาคัญกับ‚ภาพลักษณ์ภายนอก‛ มากขึ้น
 ‘I am A LIKE-aholic’ (ฉันเสพติดไลค์) ‚การสร้างภาพตัวตนออนไลน์ ‛ เป็นแนวคิดที่ดึงดูด
วัยรุ่นอีสาน สื่อสังคมออนไลน์จึงกลายเป็นพื้นที่เล่นสนุกในการทดลองสร้างเอกลักษณ์ตัวตน
ของวัยรุ่นชนบท เพื่อตอบโจทย์การแสดงออกและได้รับการยอมรับผ่านจานวน‚ไลค์‛
 ‘Edit Me to Perfection’ (ใครๆ ก็สวยได้ ด้วยแอพ) ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะได้รับ‚ไลค์ ‛ ให้
มากที่สุด สาวเจนวายชนบทนิยมปรับแต่งรูปถ่ายของพวกเธอ หรือ‚ศัลยฯ ด้วยแอพฯ‛ ครั้งละ
3-4 แอพฯ เพื่อให้ดูดีที่สุดแม้จะยอมรับว่าไม่เหมือนตัวจริงก็ตาม
4. ‘WHAT’S RURALLY TRENDING (เทรนดิ้งในดิจิตอลสไตล์ชนบท)
กระแสดิจิตอลใหม่ๆ ที่ค่อนข้างเฉพาะเจาะจงกลุ่มวัยรุ่นชนบท โดยมีมิติใหม่ ๆ ที่หลากหลาย ดังนี้
 ‘Home-grown Online Celebs’ (คนดังออนไลน์สไตล์‚บ้านๆ‛) โซเชียลมีเดียอยู่เบื้องหลังความ
โด่งดังของคนดังออนไลน์หลายคน นับตั้งแต่แอพโซเชียลแคม (Social Cam) เป็นที่นิยมในต้น
ปี 2555 วัยรุ่นชนบทเห็นคนต่างจังหวัด หน้าตาธรรมดาๆ กลายเป็นที่รู้จักและชื่นชอบในวง
กว้างจากแสนๆ ล้านๆ‚ไลค์‛ ด้วยการสร้างเนื้อหาที่ไม่ต้องสวยหล่ออย่างสมบูรณ์แบบเหมือน
ดารา แต่ให้ความรู้สึก‚จริง‛ และเข้าถึงหัวใจความเป็นชนบทของแฟนๆ
 ‘The Spotlight Is Up For Grabs’ (ดาราโด่งดัง ไม่ใช่ฝันที่ห่างไกล) เจนวายยุคใหม่ขวนขวาย
และโหยหาความโดดเด่น จึงได้ขึ้นแสดงความสามารถ ประกวดความงาม หรือแข่งขันในเรียล
ลิตี้ ทีวี เป็นที่นิยมในหมู่วัยรุ่นต่างจังหวัด ซึ่งพวกเขาจะนาผลงานความสาเร็จต่างๆ ของตนไป
ต่อยอดในโลกโซเชียล
 ‘Living the Dream (Job)’ (ความหวังสานฝันให้เป็นจริง) การสร้างรายได้สูงๆ จนสามารถ
ทดแทนบุญคุณครอบครัวได้โดยไม่ลาบากเป็นความใฝ่ ฝันในใจคนอีสานทุกคน เจนวายเริ่ม
เล็งเห็นถึงพลังโซเชียลมีเดียในการสานฝัน การ‚สร้างอะไรเป็นของตัวเอง‛ คนยุคใหม่เริ่มมอง
โซเชียลมีเดียเป็นแรงบันดาลใจเป็นความหวังและกาลังใจในการสร้างรายได้โดยไม่ต้องเข้าสู่
ฐานแรงงานอุตสาหกรรมตามเส้นทางหนุ่มสาวชนบทอย่างที่เคยเป็นมา
5. THINK RURAL, ACT DIGITAL (เข้าใจชนบท เข้าถึงดิจิตอล)
นักการตลาด และนักโฆษณา ควรคานึงถึง “ช่องว่าง” ระหว่างเอกลักษณ์ของวิถีเมืองและวิถี
ชนบท การทาแคมเปญดิจิตอล แม้ว่าจะอิงกระแสหลักที่มาแรงในกลุ่มวัยรุ่นในภาพรวม แต่ต้องใส่ใจ
รายละเอียดดิจิตอลของวัยรุ่นชนบทที่มีความเฉพาะ โดยเฉพาะการมองสื่อสังคมออนไลน์ (Social
Media) ว่า เป็นเวทีการแสดงออกและปลีกตัวออกจากชีวิตจริง อีกทั้งยังมีเนื้อหาที่น่าจับตามอง
กล่าวคือเนื้อหาที่สัมผัสได้ถึงหัวใจความเป็นบ้านๆ มีเสน่ห์ของความจริงที่เข้าถึงได้ และสร้างความหวัง
และกาลังใจให้กับชีวิตดีขึ้นในอนาคต
จากงานศึกษาข้างต้นได้แสดงให้เห็นว่า การบริโภควัฒนธรรมประชานิยมของวัยรุ่นอีสาน ไม่ได้
เป็นไปเหมือนกับวัยรุ่นในพื้นที่อื่นๆไปเสียทั้งหมด การบริโภควัฒนธรรมของวัยรุ่นอีสานได้สื่อ
15
ความหมายให้เห็นถึงการยึดโยงกับความเป็นอีสานที่เจือปน หรือมี “กลิ่นอาย” อยู่ในการบริโภคสินค้า
ทางวัฒนธรรมนั้นๆด้วย อย่างไรก็ตาม ที่แตกต่างออกไปคือ จินตนาการใหม่ๆ และความใฝ่ฝันของ
วัยรุ่นอีสานที่แตกต่างไปจากคนอีสานรุ่นก่อน จึงอาจเป็นไปได้ว่า ความเป็น“ลูกอีสาน”นั้น ยากที่แช่แข็ง
ให้เป็นไปในภาพลักษณ์ใดภาพลักษณ์หนึ่ง อีสานยุคใหม่จึงอาจเป็นอีสานที่พร้อมจะต่อรองให้ตัวตน
ความเป็นอีสานมีพื้นที่ เพื่อสร้างความแตกต่างให้สอดรับกับความต้องการของผู้บริโภคในเวลาเดียวกัน
และพร้อมที่จะผลิตความหมายใหม่ๆให้สอดคล้องไปกับโลกที่ผันแปรไปได้เช่นเดียวกัน
สรุป
การบริโภควัฒนธรรมประชานิยมของวัยรุ่นอีสานแสดงให้เห็นถึงการปรับตัวให้เข้ากับกระแสการ
เปลี่ยนแปลงของภาคอีสาน วัยรุ่นอีสานพยายามคงความเป็นอีสานไว้ในวัฒนธรรมที่พวกเขา/เธอกาลัง
บริโภค ซึ่งไม่ได้ทอดทิ้งรากเหง้าของตนเอง ดังนั้นจึงอาจไม่น่าเป็นกังวลว่าความเป็นอีสานจะจาง
หายไปแต่เพียงด้านเดียว ภาพอีสานใหม่ในแง่มุมการบริโภควัฒนธรรมประชานิยม (popular culture)
ทาให้มองเห็นภาพของการสร้างสรรค์วัฒนธรรมของคนอีสานยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นอีสาน จน
สามารถยืนเด่นในโลกแห่งการอวดโอ่ (display) ต่อความหลากหลายทางวัฒนธรรม ซึ่งได้สร้างความ
แตกต่างให้กับผู้บริโภคสินค้าทางวัฒนธรรมในปัจจุบันได้เช่นเดียวกัน ถึงแม้ “ความรุ่มรวยทาง
ศิลปวัฒนธรรมอีสาน” จะเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยจนสามารถเปลี่ยนเป็นสินค้าให้สามารถขายได้ แต่
ในท้ายที่สุดก็ไม่ได้หมายความว่าคนอีสานได้กระโจนเข้าหาการสร้าง ‚มูลค่า‛ เพื่อตอบโจทย์สาหรับ
ผู้บริโภค และสร้างผลกาไรสูงสุดตามแนวทางของระบบทุนนิยมแต่เพียงด้านเดียว จิตวิญญาณของความ
เป็นอีสานที่ยังหลงเหลืออยู่นั้น ได้ซึมซับเข้าไปอยู่ในสายเลือดคนอีสานรุ่นใหม่ ที่พร้อมเปิดรับการ
เปลี่ยนแปลง แต่ไม่ได้ยอมให้การเปลี่ยนแปลงพัดพาไปจนไร้ทิศทาง
16
เอกสารอ้างอิง
Dolby, Nadine and Greg Dimitriadis (editors). (2004). Learning to Labor in New Times.
New York: Routledge Farmer.
Hesse-Swan, Catherine.(2006). Programming beauty and the absence of Na Lao:
Popular Thai TV and identity formation among youth in Northeast Thailand, GeoJournal 66 :
257-272
Maniemai Thongyou et al. (2014). Perceptions on Urbanization Impact on the
Hinterlands: A Study of Khon Kaen City, Thailand. Asian Social Science 10(11) : 33-41
McCargo D., & Hongladarom, K. (2004). Contesting Isanness: Discourses of politics and
identity in Northeast Thailand. Asian Ethnicity, 5(2) : 219–234.
Rigg, Jonathan and Albert Salamanca. (2011). Connecting Lives, Living, And Location.
Critical Asian Studies, 43(4) : 551–575
Siriyuvasak Ubonrat. (2008). Consuming and Producing (Post)modernity Youth and
Popular Culture in Thailand. In Youna Kim (ed.) Media Consumption and Everyday Life in
Asia. New York: Routledge.
Siriyuvasak, Ubonrat. (1991). The Environment and popular culture in Thailand.
Southeast Asian Affairs, 298-308.
Sokolowski, Marek. (n.d.). Mass culture Versus Popular Culture. Retrieved December
29, 2014, from
http://llufb.llu.lv/conference/new-dimensions-develop/2011/7th-New-dimensions-development-
society-proceedings_2011-308-315.pdf
Storey, John. (2006). Cultural Theory and Popular Culture: an introduction. Harlow, England :
Pearson/Prentice Hall.
Willis, Paul E. (1977). Learning to Labor: how working class kids get working class jobs. Lexington,
Mass.: Lexington Books.
ชญานิน เตียงพิทยากร. (ม.ป.ป.) ปัญญา เรณู – ฮักนะ ‘สารคาม : อีสานออนซอน … เป็น
จังได๋น่อความฮัก. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2557, จาก
http://www.siamintelligence.com/panya-renu-hugna-and-the-northeast/
เดชรัต สุขกาเนิด. (2557). Isan Dynamics พลวัตรการเปลี่ยนผ่าน ต่อการกาหนดนโยบายสาธารณะ สู่
แผนพัฒนาภาคอีสานเพื่อสุขภาวะที่ดีของคนอีสาน. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2557, จาก
http://www.samatcha.org/areahpp/?p=2451
ปฐม หงส์สุวรรณ (บรรณาธิการ).(2555). เมื่อวัฒนธรรมอีสาน...กลายเป็นสินค้า. จดหมายข่าว
สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 1(3)
พัฒนา กิติอาษา. (2557). สู่วิถีอีสานใหม่. กรุงเทพฯ: วิภาษา.
17
พิมพวัลย์ บุญมงคล และคณะ. (2547). เพศวิถีของวัยรุ่นไทยในชนบทอีสาน. สืบค้นเมื่อวันที่
10 ธันวาคม 2557, จาก http://www.sh.mahidol.ac.th/research/content.php?id=23
มติชนออนไลน์. คนมองหนัง : กองทัพดาราอีสานร่วมสมัย กับ "พนม ยีรัมย์" ที่หายไป. สืบค้นเมื่อวันที่
12 มกราคม 2558, จาก http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1336308235
มติชนออนไลน์. อ่าน! ความเป็นอีสานในภาพยนตร์ไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2558, จาก
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1408699298
ราชบัณฑิตยสถาน. (2549). พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา อังกฤษ–ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน.
กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน.
วรุณรัตน์ คัทมาตย์. (2556). เด้อค่ะเด้อ โกอินเตอร์. สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2557, จาก
http://www.bangkokbiznews.com/mobile/xhtml/news/detail/07/515270/
สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (ม.ป.ป.). Urbanization : ธุรกิจยุคใหม่ เจาะ
วิถีคนเมืองใหม่. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม.
สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย. (ม.ป.ป.). กระบวนการกลายเป็นเมืองในประเทศไทย (Urbanisation in
Thailand). กรุงเทพฯ : สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย
สมบัติ กุสุมาวลี. (2553). อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industries), for Quality 17(153):
107-111
สุธีรา สัตยพันธ์. (2551). งานของ “ดังตฤณ” ในฐานะวรรณกรรมพุทธศาสนาแนววัฒนธรรม
ประชานิยม. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
คณะอักษรศาสตร์, สาขาวิชาภาษาไทย.
สุพิเศษ ศศิวิมล. (2557). บุคคล (ไม่) ธรรมดา : เจาะแก่นความคิด พลิกวิกฤติ ‘ผู้บ่าวไทบ้าน’.
All Magazine, สืบค้นเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2557, จาก
http://www.all-magazine.com/ColumnDetail/allColumDetail/tabid/106/articleType/ArticleView/articleId/3841/---.aspx
สุริยา สมุทคุปติ์และคณะ. (2541). แต่งองค์ทรงเครื่อง : “ลิเก” ในวัฒนธรรมประชาไทย. นครราชสีมา:
มหาวิทยาลัยสุรนารี.
สานักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). ทิศทางการพัฒนาภาคในช่วงแผนพัฒนาฯฉบับที่
๑๑. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2557, จาก
http://www.nesdb.go.th/LinkClick.aspx?fileticket=MJ78A0GJlXg%3D
สานักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2557). ผลิตภัณฑ์ภาคและจังหวัด
พ.ศ. 2555 = Gross regional and provincial products 2012. กรุงเทพฯ : สานักงานคณะกรรมการ
พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สานักงานสถิติแห่งชาติ. (2554). สามะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ :
สานักงานสถิติแห่งชาติ.
อภิศักดิ์ธีระวิสิษฐ์. (2553). การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมของครัวเรือนอีสานในยุคโลกาภิวัตน์.
วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ ม.ขอนแก่น 27(2) : 1-27
อุกฤษฏ์ เฉลิมแสน. (2557). สถานการณ์ความเป็นเมืองในภาคต่างๆ. กรุงเทพฯ :
แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาอนาคตของเมือง.

More Related Content

What's hot

โครงงาน เรื่อง ขนมวง
โครงงาน เรื่อง ขนมวงโครงงาน เรื่อง ขนมวง
โครงงาน เรื่อง ขนมวงThanakorn Chanamai
 
แบบทดสอบปลายภาควิทัศนศิลป์ ศ 31101ชั้น4
แบบทดสอบปลายภาควิทัศนศิลป์ ศ 31101ชั้น4แบบทดสอบปลายภาควิทัศนศิลป์ ศ 31101ชั้น4
แบบทดสอบปลายภาควิทัศนศิลป์ ศ 31101ชั้น4peter dontoom
 
แบบทดสอบ เรื่อง สัญกรณ์วิทยาสตร์
แบบทดสอบ เรื่อง สัญกรณ์วิทยาสตร์แบบทดสอบ เรื่อง สัญกรณ์วิทยาสตร์
แบบทดสอบ เรื่อง สัญกรณ์วิทยาสตร์ทับทิม เจริญตา
 
หลักฐานทางประวัติศาสตร์1
หลักฐานทางประวัติศาสตร์1หลักฐานทางประวัติศาสตร์1
หลักฐานทางประวัติศาสตร์1montira
 
โครงงานพัฒนาเกม 8
โครงงานพัฒนาเกม 8โครงงานพัฒนาเกม 8
โครงงานพัฒนาเกม 8Aungkana Na Na
 
การสังเกตคำที่มาจากภาษาอื่น
การสังเกตคำที่มาจากภาษาอื่นการสังเกตคำที่มาจากภาษาอื่น
การสังเกตคำที่มาจากภาษาอื่นkruthai40
 
งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1whanpree
 
โครงร่างโครงงานเรื่อง มลพิษทางน้ำ
โครงร่างโครงงานเรื่อง มลพิษทางน้ำโครงร่างโครงงานเรื่อง มลพิษทางน้ำ
โครงร่างโครงงานเรื่อง มลพิษทางน้ำSuangsamon Pankaew
 
สื่อดั้งเดิม สื่อใหม่ ความแตกต่างระหว่างสื่อดั้งเดิมและสื่อใหม่
สื่อดั้งเดิม สื่อใหม่ ความแตกต่างระหว่างสื่อดั้งเดิมและสื่อใหม่สื่อดั้งเดิม สื่อใหม่ ความแตกต่างระหว่างสื่อดั้งเดิมและสื่อใหม่
สื่อดั้งเดิม สื่อใหม่ ความแตกต่างระหว่างสื่อดั้งเดิมและสื่อใหม่Watermalon Singha
 
โครงงานรรสมุทรปราการ
โครงงานรรสมุทรปราการโครงงานรรสมุทรปราการ
โครงงานรรสมุทรปราการaispretty
 
โครงงานผักสวนครัวในขวดพลาสติก
โครงงานผักสวนครัวในขวดพลาสติกโครงงานผักสวนครัวในขวดพลาสติก
โครงงานผักสวนครัวในขวดพลาสติกFah Philip
 
หน่วยที่ 2 ค่านิยมเรื่องเพศตามวัฒนธรรม
หน่วยที่ 2 ค่านิยมเรื่องเพศตามวัฒนธรรม หน่วยที่ 2 ค่านิยมเรื่องเพศตามวัฒนธรรม
หน่วยที่ 2 ค่านิยมเรื่องเพศตามวัฒนธรรม Terapong Piriyapan
 
Globalization1
Globalization1Globalization1
Globalization1Teeranan
 
10บรรณานุกรม
10บรรณานุกรม10บรรณานุกรม
10บรรณานุกรมkrupornpana55
 
อารยธรรมจีน
อารยธรรมจีนอารยธรรมจีน
อารยธรรมจีนพัน พัน
 
เทียนหอมสมุนไพรไล่ยุง
เทียนหอมสมุนไพรไล่ยุงเทียนหอมสมุนไพรไล่ยุง
เทียนหอมสมุนไพรไล่ยุงBoomCNC
 

What's hot (20)

โครงงาน เรื่อง ขนมวง
โครงงาน เรื่อง ขนมวงโครงงาน เรื่อง ขนมวง
โครงงาน เรื่อง ขนมวง
 
แบบทดสอบปลายภาควิทัศนศิลป์ ศ 31101ชั้น4
แบบทดสอบปลายภาควิทัศนศิลป์ ศ 31101ชั้น4แบบทดสอบปลายภาควิทัศนศิลป์ ศ 31101ชั้น4
แบบทดสอบปลายภาควิทัศนศิลป์ ศ 31101ชั้น4
 
แบบทดสอบ เรื่อง สัญกรณ์วิทยาสตร์
แบบทดสอบ เรื่อง สัญกรณ์วิทยาสตร์แบบทดสอบ เรื่อง สัญกรณ์วิทยาสตร์
แบบทดสอบ เรื่อง สัญกรณ์วิทยาสตร์
 
หลักฐานทางประวัติศาสตร์1
หลักฐานทางประวัติศาสตร์1หลักฐานทางประวัติศาสตร์1
หลักฐานทางประวัติศาสตร์1
 
โครงงานพัฒนาเกม 8
โครงงานพัฒนาเกม 8โครงงานพัฒนาเกม 8
โครงงานพัฒนาเกม 8
 
หน่วย 1
หน่วย 1หน่วย 1
หน่วย 1
 
แบบฝึกหัดที่ 3 Microsoft PowerPoint
แบบฝึกหัดที่ 3 Microsoft PowerPointแบบฝึกหัดที่ 3 Microsoft PowerPoint
แบบฝึกหัดที่ 3 Microsoft PowerPoint
 
การสังเกตคำที่มาจากภาษาอื่น
การสังเกตคำที่มาจากภาษาอื่นการสังเกตคำที่มาจากภาษาอื่น
การสังเกตคำที่มาจากภาษาอื่น
 
งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1
 
โครงร่างโครงงานเรื่อง มลพิษทางน้ำ
โครงร่างโครงงานเรื่อง มลพิษทางน้ำโครงร่างโครงงานเรื่อง มลพิษทางน้ำ
โครงร่างโครงงานเรื่อง มลพิษทางน้ำ
 
สื่อดั้งเดิม สื่อใหม่ ความแตกต่างระหว่างสื่อดั้งเดิมและสื่อใหม่
สื่อดั้งเดิม สื่อใหม่ ความแตกต่างระหว่างสื่อดั้งเดิมและสื่อใหม่สื่อดั้งเดิม สื่อใหม่ ความแตกต่างระหว่างสื่อดั้งเดิมและสื่อใหม่
สื่อดั้งเดิม สื่อใหม่ ความแตกต่างระหว่างสื่อดั้งเดิมและสื่อใหม่
 
หน่วย 3
หน่วย 3 หน่วย 3
หน่วย 3
 
โครงงานรรสมุทรปราการ
โครงงานรรสมุทรปราการโครงงานรรสมุทรปราการ
โครงงานรรสมุทรปราการ
 
โครงงานผักสวนครัวในขวดพลาสติก
โครงงานผักสวนครัวในขวดพลาสติกโครงงานผักสวนครัวในขวดพลาสติก
โครงงานผักสวนครัวในขวดพลาสติก
 
หน่วยที่ 2 ค่านิยมเรื่องเพศตามวัฒนธรรม
หน่วยที่ 2 ค่านิยมเรื่องเพศตามวัฒนธรรม หน่วยที่ 2 ค่านิยมเรื่องเพศตามวัฒนธรรม
หน่วยที่ 2 ค่านิยมเรื่องเพศตามวัฒนธรรม
 
เฉลยแบบทดสอบปลายภาค ม.5
เฉลยแบบทดสอบปลายภาค ม.5เฉลยแบบทดสอบปลายภาค ม.5
เฉลยแบบทดสอบปลายภาค ม.5
 
Globalization1
Globalization1Globalization1
Globalization1
 
10บรรณานุกรม
10บรรณานุกรม10บรรณานุกรม
10บรรณานุกรม
 
อารยธรรมจีน
อารยธรรมจีนอารยธรรมจีน
อารยธรรมจีน
 
เทียนหอมสมุนไพรไล่ยุง
เทียนหอมสมุนไพรไล่ยุงเทียนหอมสมุนไพรไล่ยุง
เทียนหอมสมุนไพรไล่ยุง
 

Similar to ลัดเลาะเส้นทางอีสานใหม่ (ตอนที่ 2) วัฒนธรรมประชานิยมของคนอีสาน

การสื่อสาร
การสื่อสารการสื่อสาร
การสื่อสารwasamon2531
 
การสื่อสาร
การสื่อสารการสื่อสาร
การสื่อสารmontiya2530
 
9789740329817
97897403298179789740329817
9789740329817CUPress
 
Pol 6103 สังคมวิทยาการเมืองกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ภาคเช้า
Pol 6103 สังคมวิทยาการเมืองกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ภาคเช้าPol 6103 สังคมวิทยาการเมืองกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ภาคเช้า
Pol 6103 สังคมวิทยาการเมืองกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ภาคเช้าประพันธ์ เวารัมย์
 
The role of higher education in the arts and cultural dimensions.
The role of higher education in the arts and cultural dimensions.The role of higher education in the arts and cultural dimensions.
The role of higher education in the arts and cultural dimensions.Tor Jt
 
9789740335931
97897403359319789740335931
9789740335931CUPress
 
พลวัตล้านนา: ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภาษาในมณฑลพายัพภายใต้อิทธิพลสยาม จากเอกสาร...
พลวัตล้านนา: ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภาษาในมณฑลพายัพภายใต้อิทธิพลสยาม  จากเอกสาร...พลวัตล้านนา: ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภาษาในมณฑลพายัพภายใต้อิทธิพลสยาม  จากเอกสาร...
พลวัตล้านนา: ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภาษาในมณฑลพายัพภายใต้อิทธิพลสยาม จากเอกสาร...ชัยวัฒน์ ปะสุนะ
 
แผนการจัดการเรียนรู้ ม.5 รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 4 ส32102.docx
แผนการจัดการเรียนรู้  ม.5 รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 4 ส32102.docxแผนการจัดการเรียนรู้  ม.5 รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 4 ส32102.docx
แผนการจัดการเรียนรู้ ม.5 รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 4 ส32102.docxssuser6a0d4f
 
รวมเล่มรายงานผลการดำเนินงาน/ทำเนียบบ้านหนังสือชุมชน กศน.อำเภอเมืองขอนแก่น
รวมเล่มรายงานผลการดำเนินงาน/ทำเนียบบ้านหนังสือชุมชน กศน.อำเภอเมืองขอนแก่นรวมเล่มรายงานผลการดำเนินงาน/ทำเนียบบ้านหนังสือชุมชน กศน.อำเภอเมืองขอนแก่น
รวมเล่มรายงานผลการดำเนินงาน/ทำเนียบบ้านหนังสือชุมชน กศน.อำเภอเมืองขอนแก่นreaweewan
 
กลุ่มชาวชุมชนปงสนุก
กลุ่มชาวชุมชนปงสนุกกลุ่มชาวชุมชนปงสนุก
กลุ่มชาวชุมชนปงสนุกFURD_RSU
 
สังคมโลก และ ลักษณะพื้นฐานของสังคมระหว่างประเทศ
สังคมโลก และ ลักษณะพื้นฐานของสังคมระหว่างประเทศสังคมโลก และ ลักษณะพื้นฐานของสังคมระหว่างประเทศ
สังคมโลก และ ลักษณะพื้นฐานของสังคมระหว่างประเทศChainarong Maharak
 
Chapter 1 ความหมายและองค์ประกอบของปัญญาชน
Chapter 1 ความหมายและองค์ประกอบของปัญญาชนChapter 1 ความหมายและองค์ประกอบของปัญญาชน
Chapter 1 ความหมายและองค์ประกอบของปัญญาชนjirawat_r
 

Similar to ลัดเลาะเส้นทางอีสานใหม่ (ตอนที่ 2) วัฒนธรรมประชานิยมของคนอีสาน (20)

การสื่อสาร
การสื่อสารการสื่อสาร
การสื่อสาร
 
การสื่อสาร
การสื่อสารการสื่อสาร
การสื่อสาร
 
9789740329817
97897403298179789740329817
9789740329817
 
Pol 6103 สังคมวิทยาการเมืองกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ภาคเช้า
Pol 6103 สังคมวิทยาการเมืองกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ภาคเช้าPol 6103 สังคมวิทยาการเมืองกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ภาคเช้า
Pol 6103 สังคมวิทยาการเมืองกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ภาคเช้า
 
The role of higher education in the arts and cultural dimensions.
The role of higher education in the arts and cultural dimensions.The role of higher education in the arts and cultural dimensions.
The role of higher education in the arts and cultural dimensions.
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๕
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๕แผนการจัดการเรียนรู้ที่๕
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๕
 
9789740335931
97897403359319789740335931
9789740335931
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๖
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๖แผนการจัดการเรียนรู้ที่๖
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๖
 
สังคมศึกษา ต้น
สังคมศึกษา ต้นสังคมศึกษา ต้น
สังคมศึกษา ต้น
 
สังคมศึกษา
สังคมศึกษาสังคมศึกษา
สังคมศึกษา
 
อังกฤษ ต้น
อังกฤษ ต้นอังกฤษ ต้น
อังกฤษ ต้น
 
พลวัตล้านนา: ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภาษาในมณฑลพายัพภายใต้อิทธิพลสยาม จากเอกสาร...
พลวัตล้านนา: ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภาษาในมณฑลพายัพภายใต้อิทธิพลสยาม  จากเอกสาร...พลวัตล้านนา: ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภาษาในมณฑลพายัพภายใต้อิทธิพลสยาม  จากเอกสาร...
พลวัตล้านนา: ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภาษาในมณฑลพายัพภายใต้อิทธิพลสยาม จากเอกสาร...
 
ชุมชนเข้มแข็งญี่ปุ่น in jp1
ชุมชนเข้มแข็งญี่ปุ่น in jp1ชุมชนเข้มแข็งญี่ปุ่น in jp1
ชุมชนเข้มแข็งญี่ปุ่น in jp1
 
วัฒนธรรมไทย
วัฒนธรรมไทยวัฒนธรรมไทย
วัฒนธรรมไทย
 
ประวัติศาสตร์ไทย 3
ประวัติศาสตร์ไทย 3ประวัติศาสตร์ไทย 3
ประวัติศาสตร์ไทย 3
 
แผนการจัดการเรียนรู้ ม.5 รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 4 ส32102.docx
แผนการจัดการเรียนรู้  ม.5 รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 4 ส32102.docxแผนการจัดการเรียนรู้  ม.5 รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 4 ส32102.docx
แผนการจัดการเรียนรู้ ม.5 รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 4 ส32102.docx
 
รวมเล่มรายงานผลการดำเนินงาน/ทำเนียบบ้านหนังสือชุมชน กศน.อำเภอเมืองขอนแก่น
รวมเล่มรายงานผลการดำเนินงาน/ทำเนียบบ้านหนังสือชุมชน กศน.อำเภอเมืองขอนแก่นรวมเล่มรายงานผลการดำเนินงาน/ทำเนียบบ้านหนังสือชุมชน กศน.อำเภอเมืองขอนแก่น
รวมเล่มรายงานผลการดำเนินงาน/ทำเนียบบ้านหนังสือชุมชน กศน.อำเภอเมืองขอนแก่น
 
กลุ่มชาวชุมชนปงสนุก
กลุ่มชาวชุมชนปงสนุกกลุ่มชาวชุมชนปงสนุก
กลุ่มชาวชุมชนปงสนุก
 
สังคมโลก และ ลักษณะพื้นฐานของสังคมระหว่างประเทศ
สังคมโลก และ ลักษณะพื้นฐานของสังคมระหว่างประเทศสังคมโลก และ ลักษณะพื้นฐานของสังคมระหว่างประเทศ
สังคมโลก และ ลักษณะพื้นฐานของสังคมระหว่างประเทศ
 
Chapter 1 ความหมายและองค์ประกอบของปัญญาชน
Chapter 1 ความหมายและองค์ประกอบของปัญญาชนChapter 1 ความหมายและองค์ประกอบของปัญญาชน
Chapter 1 ความหมายและองค์ประกอบของปัญญาชน
 

More from FURD_RSU

เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็กเมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็กFURD_RSU
 
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะFURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะFURD_RSU
 
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูลเมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูลFURD_RSU
 
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคมเมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคมFURD_RSU
 
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วมเมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วมFURD_RSU
 
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...FURD_RSU
 
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16FURD_RSU
 
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15FURD_RSU
 
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อมเมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อมFURD_RSU
 
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลกอี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลกFURD_RSU
 
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุขInfo graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุขFURD_RSU
 
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมืองinfo graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมืองFURD_RSU
 
info graphic นิยามของมรดกเมือง
info graphic นิยามของมรดกเมืองinfo graphic นิยามของมรดกเมือง
info graphic นิยามของมรดกเมืองFURD_RSU
 
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทยInfo graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทยFURD_RSU
 
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรังวิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรังFURD_RSU
 
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคมเมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคมFURD_RSU
 
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)FURD_RSU
 
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรีโมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรีFURD_RSU
 
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)FURD_RSU
 
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...FURD_RSU
 

More from FURD_RSU (20)

เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็กเมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
 
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะFURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
 
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูลเมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
 
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคมเมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
 
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วมเมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
 
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
 
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
 
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
 
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อมเมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
 
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลกอี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
 
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุขInfo graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
 
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมืองinfo graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
 
info graphic นิยามของมรดกเมือง
info graphic นิยามของมรดกเมืองinfo graphic นิยามของมรดกเมือง
info graphic นิยามของมรดกเมือง
 
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทยInfo graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
 
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรังวิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
 
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคมเมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
 
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
 
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรีโมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
 
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
 
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
 

ลัดเลาะเส้นทางอีสานใหม่ (ตอนที่ 2) วัฒนธรรมประชานิยมของคนอีสาน

  • 1. 1 ลัดเลาะเส้นทางอีสานใหม่ (ตอนที่ 2) วัฒนธรรมประชานิยมของคนอีสาน อุกฤษฏ์ เฉลิมแสน chalermukrit@gmail.com แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาอนาคตของเมือง เกริ่นนา ตอนที่แล้วผู้ศึกษาได้อธิบายให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของภาคอีสานในแต่ละยุค เพื่อให้ภาพ การก่อตัวของอีสานใหม่ว่า ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรในแง่มหภาค สาหรับตอนที่ 2 นี้ ผู้ศึกษาจะพาลัด เลาะเส้นทางอีสานใหม่ต่อ และมองในแง่จุลภาค โดยเข้าสู่เส้นทางสายวัฒนธรรมประชานิยม (popular culture) ของคนอีสานในปัจจุบัน เพื่อเข้าใจตัวตนของคนอีสานว่าเป็นอย่างไรบ้าง อย่างไรก็ตาม การ อธิบายถึงวัฒนธรรมประชานิยมในบทความนี้คงไม่สามารถกล่าวถึงในทุกเรื่อง ดังนั้นผู้ศึกษาจึงขอเลือก ประเด็นการบริโภควัฒนธรรมประชานิยม (popular culture) ของวัยรุ่นอีสาน ซึ่งพบว่าปรากฏการณ์ สังคมและวัฒนธรรมอีสานร่วมสมัยในขณะนี้ เริ่มเห็นชีวิตคนเมืองสมัยใหม่ของวัยรุ่นเจนวาย1 อีสาน ใน การนาเทคโนโลยีทันสมัยและการเชื่อมต่อความเป็นสมัยใหม่มาสู่ครอบครัวและชุมชนมากขึ้น โดยที่พ่อ แม่ให้อิสระกับลูกที่จะออกนอกวิถีชีวิตแบบเดิมๆ และก้าวทันยุคสมัยใหม่ ในยุคทุนนิยมโลกาภิวัตน์พรมแดนของประเทศต่างๆได้สลายตัวลงไปแล้วในทางกายภาพ เช่นเดียวกับภาคอีสาน ที่หากหนุ่มอีสานตื่นขึ้นมาหลังจากนอนหลับยาวนานไปถึงหนึ่งร้อยปี ก็คงต้อง ประหลาดใจกับการเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองตนเอง เพราะลายเส้นของหลักเขตแดนในแผนที่ประเทศ ไทยได้สลายไปแล้ว พร้อมทดแทนด้วยลายเส้นของแผนที่การเชื่อมโยงโลกครั้งใหม่ ดังที่ผู้ศึกษาได้ กล่าวถึงเมื่อตอนที่ผ่านมา หลักคิดของระบบทุนนิยมโลกาภิวัตน์ส่วนหนึ่งคือ การสร้างโลกให้เป็นหมู่บ้านแห่งเดียวในโลก (global village) พร้อมกาหนดมาตรฐาน (standardize) ให้กับชีวิตผู้คน โดยมีเป้าประสงค์ให้ระบบทุนนิยมทะลุ ทะลวงจนสร้างวิธีคิดแบบทุนนิยมแก่ผู้คนให้มากที่สุด ดังนั้นการศึกษาวัฒนธรรมประชานิยม (popular culture) จึงน่าจะมีส่วนช่วยให้เห็นภาพการเปลี่ยนแปลงที่กล่าวถึงนี้อย่างชัดเจน โดยเนื้อหาของบทความ นี้แบ่งเป็น 5 หัวข้อย่อย ประกอบด้วย 1. พัฒนาการของวัฒนธรรมประชานิยม (popular culture) 2. นิยามความหมายของวัฒนธรรมประชานิยม (popular culture) 3. เมืองล้อมชนบท : การขยายตัวของเมืองในภาคอีสาน 4. วัยรุ่นอีสานในวัฒนธรรมประชานิยม 5. การบริโภควัฒนธรรมประชานิยม (popular culture) ของวัยรุ่นอีสาน 1 คนที่เกิดในช่วงพ.ศ. 2523 – 2540
  • 2. 2 2.1 พัฒนาการของวัฒนธรรมประชานิยม (popular culture) วัฒนธรรมประชานิยม (popular culture) เริ่มขึ้นในอารยธรรมตะวันตกและถือกาเนิดเมื่อมีการแบ่ง วัฒนธรรมเป็นวัฒนธรรมของชนชั้นสูง (high culture ) และวัฒนธรรมของชนชั้นล่าง (low culture) ดังที่เพลโต (Plato) เคยจัดวัฒนธรรมที่แท้จริงอยู่ในปริมณฑลของปรัชญา การศึกษา และความจริง และจัดวัฒนธรรม ชนชั้นล่างไว้ในพื้นที่กวีนิพนธ์และภาพศิลป์ (painting) แนวคิดนี้เด่นชัดขึ้นในช่วงปลายคริสตวรรษที่ 18 เมื่อโจฮันน์ กอตต์ฟรายด์ เฮอร์เดอร์ (Johann Gottfried Herder) ได้แบ่งวัฒนธรรมชนชั้นสูง และวัฒนธรรมชน ชั้นล่าง โดยมีเกณฑ์ทางคุณค่าและกลุ่มชนชั้นในการแบ่งแยก ภาพที่ 1 โครงสร้างพีระมิดระบบทุนนิยม ที่มา : http://crimethinc.com/books ต่อมายุคปฏิวัติอุตสาหกรรมในคริสศตวรรษที่ 18 การพัฒนาอุตสาหกรรมที่กาลังเบ่งบาน ส่งผลให้เกิดกระบวนการกลายเป็นเมือง (urbanization) และกลุ่มคนใหม่ๆคือ กลุ่มชนชั้นกลาง (bourgeoisie) ที่อาศัยอยู่ในเมือง ทาให้เกิดวัฒนธรรมชนชั้นกลาง (bourgeoisie culture) ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นโดย แนวคิดของระบบทุนนิยม การขยายตัวของวัฒนธรรมชนชั้นกลางทาให้เส้นแบ่งทางวัฒนธรรมชนชั้นสูง และชนชั้นล่างจืดจางลงไป และเกิดวิถีชีวิตในรูปแบบใหม่ๆ ที่เป็นวัฒนธรรมการผลิตสาหรับคนจานวน มาก มีระบบการค้าและการถ่ายทอดผ่านสื่อต่างๆ เกิดเป็นวัฒนธรรมประชานิยม (popular culture) ในช่วง ปลายคริสตวรรษที่ 19 (สุธีรา สัตยพันธ์ 2551 : 31-32) นักวิชาการที่สนใจศึกษาวัฒนธรรมประชานิยม (popular culture) ส่วนใหญ่อยู่ในสานักวัฒนธรรม ศึกษาร่วมสมัย (The Centre for Contemporary Cultural Studies) ที่แยกตัวจากสานักแฟรงค์เฟิร์ต (Frankfurt school) และเป็นสาขาวิชาการที่แพร่หลายอย่างมากในยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศอังกฤษ มีนักคิดที่มี
  • 3. 3 ชื่อเสียง อาทิ กลุ่มนักคิดแห่งมหาวิทยาลัยเบอร์มิ่งแฮม ศาสตราจารย์ สจ๊วต ฮอลล์ (Stuart Hall) และ ศาสตราจารย์ David Hesmondhalgh แห่งมหาวิทยาลัยลีดส์ (สมบัติ กุสุมาวลี 2553) โดยทั่วไปเรียกกลุ่มนักวิชาการที่สนใจวัฒนธรรมประชานิยม (popular culture) ว่าอยู่ในสาขาวิชา “วัฒนธรรมศึกษา” (cultural studies) ซึ่งเป็นสาขาวิชาสหวิทยาการทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดย ประกอบขึ้นด้วยสาขาวิชาต่างๆ ได้แก่ วรรณคดีวิจารณ์ ภาษาศาสตร์ ภาษาและวรรณคดีอังกฤษ ประวัติศาสตร์ รัฐศาสตร์ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา เป็นต้น กลุ่มนักวิชาการสาขาวัฒนธรรมศึกษาให้ ความสาคัญกับวัฒนธรรมประชานิยม (popular culture) ซึ่งประยุกต์แนวคิดหลังสมัยใหม่นิยม (postmodernism) รวมถึงแนวคิดหลังโครงสร้างนิยม (poststructualism) มาใช้ในการวิเคราะห์และอธิบาย ปรากฏการณ์ทางสังคมและวัฒนธรรมของโลกสมัยใหม่ หรือยุคทุนนิยมโลกาภิวัตน์ ที่มีการแลกเปลี่ยน และส่งอิทธิพลระหว่างกันของข้อมูลข่าวสาร อุดมการณ์ เทคโนโลยี เงินตรา และผู้คน (สุริยา สมุทคุปติ์ และคณะ 2541) การเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบันได้สร้างวัฒนธรรมการบริโภคในรูปแบบวัฒนธรรมประชา นิยม (popular culture) ที่มีผลให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล ดังจะเห็นได้จากวัฒนธรรม ประชานิยม (popular culture) กลายเป็นหนึ่งในสี่ตัวแบบของเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ (creative economies) ซึ่ง เป็นภาคเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนและสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ทรงพลังมากที่สุดในเศรษฐกิจการค้าของโลก ทั้งในปัจจุบันและอนาคต2 ตัวแบบนี้อธิบายให้เห็นถึงกระบวนการของการก่อรูปและการแพร่กระจายทาง วัฒนธรรมของสังคมหนึ่งๆ และจะเกิดขึ้นได้ ก็โดยผ่าน ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (industrial production) มี การแพร่กระจาย (dissemination) และการบริโภค (consumption) ตัวบทเชิงสัญลักษณ์นี้หมายถึง ข้อความ (message) ซึ่งจะถูกส่ง/สื่อสาร/นาความไปโดยวิธีการทางสื่อ (media) ที่หลากหลาย เช่น ผ่านทางสื่อ สิ่งพิมพ์ ภาพยนตร์ การกระจายภาพและเสียง (broadcasting) และหนังสือพิมพ์ (the press) (สมบัติ กุสุมาวลี 2553) 2.2 นิยามความหมายของวัฒนธรรมประชานิยม (popular culture) คนทั่วไปมองว่าวัฒนธรรมประชานิยม (popular culture) เกี่ยวกับกลุ่มของเด็กและวัยรุ่น ซึ่งนิยม หลงใหลทาสิ่งต่างๆตามแฟชั่น เลือกที่จะเรียนรู้กระแสป๊อป (pop) หรืออินเทร็นด์ (intrend) ไม่เช่นนั้นจะ ไม่ได้รับการยอมรับจากกลุ่มเพื่อน แต่ความจริงแล้ววัฒนธรรมประชานิยม (popular culture) มีนิยาม ความหมายที่ค่อนข้างหลากหลาย ซึ่งสามารถพิจารณาได้จากนิยามความหมายของคานี้ คาว่าวัฒนธรรมประชานิยมเป็นศัพท์บัญญัติจากภาษาอังกฤษว่า popular culture ซึ่งแยก ออกเป็นสองคาคือ popular และ culture ทั้งสองคานี้มีรากศัพท์จากภาษาละติน คาว่า popular มีราก ศัพท์มาจากคาว่า populus ในภาษาละติน ซึ่งแปลว่าประชาชน ขณะที่คาว่า culture ที่แปลว่าวัฒนธรรม มีรากศัพท์มาจากคาว่า cultura ซึ่งมีที่มาจากการเกษตร การบ่มเพาะและการพัฒนาผืนดิน ซึ่งเมื่อ รวมกันแล้วคาว่า popular culture จึงมีความหมายที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมที่ประชาชนนิยม 2 วัฒนธรรมประชานิยม (popular culture) เป็นหนึ่งในสี่ตัวแบบเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ โดยเป็นตัวแบบของ “ตัวบทเชิงสัญลักษณ์” (symbolic texts model) ที่คุ้นเคยรู้จักกันอย่างดีในกลุ่มแนวคิด “อุตสาหกรรมเชิงวัฒนธรรม” (cultural industries)
  • 4. 4 สิ่งใดที่ประชาชนนิยมมักเป็นสิ่งที่เห็นได้เกลื่อนกลาดตามท้องตลาด แตกต่างวัฒนธรรมของชน ชั้นสูงที่มักเห็นและซื้อขายได้ยากสาหรับคนทั่วไป นิยามความหมายของวัฒนธรรมประชานิยม (popular culture) ยังยากที่จะระบุอย่างเจาะจง เพราะมีข้อโต้แย้งของนักวิชาการที่ทาการศึกษามาโดยตลอด ดังที่ หนังสือพจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา อังกฤษ–ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2549) อธิบายว่า วัฒนธรรมประชานิยม (popular culture) หมายถึง วัฒนธรรมของคนส่วนใหญ่ ซึ่งแพร่หลายมากกว่า และคนทั่วไปชื่นชอบ จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วัฒนธรรมมวลชน (mass culture) มักเกี่ยวกับความบันเทิง การกีฬา โทรทัศน์ ภาพยนตร์และเพลง สมัยใหม่ ซึ่งต่างกับวัฒนธรรมชั้นสูง (high culture) ของคนที่มีการศึกษาสูง เช่น ดนตรี คลาสสิก นวนิยายแบบลึกซึ้ง กวีนิพนธ์ ฯลฯ ในทัศนะของนักประเพณีนิยม วัฒนธรรมประชานิยมเป็นวัฒนธรรมชั้นต่า แต่ นักเสรีนิยมและกลุ่มหัวรุนแรงเห็นว่า วัฒนธรรมดังกล่าวสะท้อนรสนิยมที่แท้จริงของคน ส่วนใหญ่ นักสังคมวิทยาหันมาสนใจศึกษาวัฒนธรรมประชานิยม เนื่องจากเห็นว่าเป็น สิ่งที่แสดงถึงความเป็นตัวตนของสังคมนั้น ๆ ทั้งยังเป็นองค์ประกอบสาคัญของความ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชนชั้นทางสังคม และในขณะเดียวกันก็ชี้ให้เห็นความ แตกต่างระหว่างชนชั้นด้วย ขณะเดียวกันนักสังคมวิทยาบางกลุ่มเห็นว่าไม่มีวัฒนธรรม ประชานิยมที่ชัดเจน มีแต่ผลผลิตของนายทุนหรือบริษัทขนาดใหญ่ที่เป็นเครื่องมือใน การครอบงาความคิดของคนในสังคม... นิยามความหมายข้างต้นอธิบายวัฒนธรรมประชานิยม (popular culture) ในเชิงปริมาณ (คน จานวนมากบริโภค) เป็นวัฒนธรรมที่อยู่ตรงกันข้ามกับวัฒนธรรมของชนชั้นสูง เป็นวัฒนธรรมที่แสดงถึง ตัวตนของสังคม และยังเป็นเครื่องมือสาหรับการครอบงาผู้คน ซึ่งคล้ายกับการให้นิยามความหมายของ วัฒนธรรมประชานิยม (popular culture) โดยจอห์น สตอเรย์ (John Storey) ที่มีผู้อ้างอิงอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งได้จัดหมวดหมู่ความหมายของวัฒนธรรมประชานิยม ไว้ทั้งสิ้น 6 ประการ3 3 (1) หมายถึง วัฒนธรรมที่เป็นที่ยอมรับและชื่นชอบของคนหมู่มาก นิยามข้อนี้ค่อนข้างครอบคลุม แต่มีจุดอ่อนในแง่ที่ไม่สามารถระบุ ลักษณะเฉพาะเจาะจงของวัฒนธรรมที่มีรายละเอียดของความแตกต่างและหลากหลาย (2) หมายถึง วัฒนธรรมที่อยู่ตรงกันข้ามกับวัฒนธรรมของชนชั้นนา หรือวัฒนธรรมหลวง (high culture) และเป็นวัฒนธรรมของคนส่วน ใหญ่ในสังคม (3) หมายถึง วัฒนธรรมมวลชน (mass culture) ซึ่งให้ความสาคัญกับรูปแบบของวัฒนธรรมที่ถูกผลิต เผยแพร่และโฆษณาในตลาด สินค้าของระบบทุนนิยม เช่น แฟชั่น เสื้อผ้า ดนตรี กีฬา ภาพยนตร์ ฯลฯ ในความหมายนี้วัฒนธรรมมวลชนมักถูกตีความเชื่อมโยงกับการ ครอบงาทางวัฒนธรรมจากประเทศตะวันตกหรือประเทศอุตสาหกรรม (4) หมายถึง วัฒนธรรมที่มีแหล่งกาเนิดจากประชาชน เป็นวัฒนธรรมของประชาชนหรือชาวบ้านทั่วไป (5) หมายถึง พื้นที่ของการต่อสู้ระหว่างพลังของกลุ่มคนที่ถูกเอารัดเอาเปรียบกับกลุ่มคนที่มีอานาจครอบงาสังคม วัฒนธรรมประชานิยม ในแง่มุมนี้ไม่ใช่เป็นของชนชั้นสูง หรือชนชั้นล่าง (ผู้เสียเปรียบ) แต่เป็นวัฒนธรรมที่เกิดจากการต่อสู่ ต่อรอง และช่วงชิงทางอุดมการณ์ และผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่
  • 5. 5 นิยามความหมายของวัฒนธรรมประชานิยมของจอห์น สตอเรย์ (John Storey) ได้เพิ่ม ความหมายหนึ่ง ที่น่าจะช่วยให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนอีสานในยุคปัจจุบัน นั่นคือการ มองว่า พัฒนาการของวัฒนธรรมประชานิยม (popular culture) ที่เกิดขึ้นหลังจากการพัฒนา อุตสาหกรรมและกระบวนการกลายเป็นเมือง (urbanization) มีส่วนเร่งให้เกิดการขยายตัวและ เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของผู้คนจากสังคมเกษตรกรรมและวัฒนธรรมชนบทไปสู่วัฒนธรรมสมัยใหม่ ซึ่งผู้ ศึกษาเห็นว่าน่าจะเป็นกรอบแนวความคิดที่ในการศึกษาวัฒนธรรมประชานิยม (popular culture) ของ คนอีสานในยุคปัจจุบัน ภาพที่ 2 ภาพการ์ตูนล้อเลียนวัฒนธรรมประชานิยมในสังคมอเมริกา ที่มา : http://studiesofamerica.files.wordpress.com/ 2.3 เมืองล้อมชนบท : การขยายตัวของเมืองในภาคอีสาน การขยายตัวของเมืองในประเทศไทยแสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจของต่างจังหวัดมีความสาคัญไม่ น้อยไปกว่ากรุงเทพมหานครอีกต่อไป งานวิจัยเรื่อง โอกาสการขยายตลาดในต่างจังหวัดและกล ยุทธ์ของบริษัทจดทะเบียนไทย โดยสถาบันวิจัยตลาดทุน เสนอข้อมูลเศรษฐกิจของต่างจังหวัดใน ประเทศไทยว่า มีความสาคัญต่อการเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศมากขึ้น โดยสัดส่วนมวลรวมใน ต่างจังหวัดเพิ่มขึ้นเป็น 61.4 % ใน พ.ศ. 2553 จาก 54% ใน พ.ศ. 2544 รวมทั้งเศรษฐกิจในต่างจังหวัด เติบโตอย่างต่อเนื่องในอัตราสูงกว่ากรุงเทพฯและปริมณฑล โดยขนาดเศรษฐกิจของต่างจังหวัดในพ.ศ. 2553 เพิ่มขึ้น 2.3 เท่าของขนาดเศรษฐกิจใน พ.ศ. 2544 มากกว่าขนาดเศรษฐกิจของกรุงเทพฯและ ปริมณฑลที่เพิ่มขึ้นเป็น 1.7 เท่าของนาดเศรษฐกิจ พ.ศ. 2544 (6) หมายถึงวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นภายหลังการพัฒนาอุตสาหกรรมและกระบวนการกลายเป็นเมือง (urbanization) ซึ่งแสดงให้เห็นถึง อิทธิพลของสื่อมวลชนและการคมนาคมสื่อสารของโลกสมัยใหม่ซึ่งขยายตัวและเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของผู้คนจากสังคมเกษตรกรรมและ วัฒนธรรมชนบทไปสู่วัฒนธรรมสมัยใหม่ หรือวัฒนธรรมของคนในเมือง
  • 6. 6 เมื่อพิจารณาในบริบทของสังคมเศรษฐกิจอีสาน การเชื่อมโยงภาคอีสานในแผนที่โลกครั้งใหม่ ส่งผลให้ภาคอีสานเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์สาคัญ จากพื้นที่ที่ถูกมองข้ามในอดีตเปลี่ยนเป็นพื้นที่ที่สร้าง มูลค่าทางเศรษฐกิจที่สาคัญให้แก่ประเทศไทยอย่างมหาศาล ดังกรณีที่ผู้ศึกษากล่าวถึงแล้ว ในรอบ 20 ปีที่ผ่านมาความเหลื่อมล้าของภาคอีสานลดลงจาก พ.ศ. 2538 กล่าวคือผลิตภัณฑ์ มวลรวมของภาคอีสานน้อยกว่ากรุงเทพฯ และปริมณฑลถึง 12 เท่า แต่ปัจจุบันผลิตภัณฑ์มวลรวมภาค อีสานน้อยกว่าภาคตะวันออก 6 เท่า ซึ่งปัจจุบันภาคตะวันออกมีการเติบโตทางเศรษฐกิจมากกว่า กรุงเทพฯ (เดชรัต สุขกาเนิด 2557) ผลิตภัณฑ์มวลรวมของภาคอีสาน (Gross Regional Product: GRP) พ.ศ. 2555 ณ ราคา ประจาปี มีมูลค่า 1,281,302 ล้านบาท หรือมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 10 ของผลิตภัณฑ์มวลรวม ภายในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) สาขาเศรษฐกิจที่สาคัญ ได้แก่ สาขาเกษตรกรรม สัดส่วนร้อยละ 23.3 สาขาอุตสาหกรรม สัดส่วนร้อยละ 20.4 สาขาการศึกษา สัดส่วนร้อยละ 14.2 สาขา ค้าส่งและค้าปลีก สัดส่วนร้อยละ 10.5 ถึงแม้ประชากรในเขตเมืองในภาคอีสานจะยังมีสัดส่วนต่าที่สุดในประเทศคือ ร้อยละ 29.03 (พ.ศ. 2553) แต่จานวนของเมืองในภาคอีสานก็มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ปัจจุบันภาคอีสานมี จานวนเมืองทั้งสิ้น 364 เมือง เพิ่มขึ้นจาก พ.ศ. 2549 จานวน 10 เมือง การเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้นใน ระหว่าง 7-8 ปีนี้ คือการเพิ่มจานวนเมืองขนาดใหญ่ ทั้งเพิ่มจานวนเทศบาลนคร 1 แห่ง เทศบาลเมือง เพิ่มขึ้น 9 แห่ง จากข้อมูลสานักงานสถิติแห่งชาติ ศูนย์สารสนเทศแห่งชาติ พบว่าใน พ.ศ. 2553 จังหวัดที่มี ความเป็นเมืองมากกว่าร้อยละ 50 หากไม่รวมกรุงเทพมหานคร พบว่าอยู่ในภาคอีสานเพียง 2 จังหวัด ได้แก่ กาฬสินธุ์ และ มุกดาหาร อย่างไรก็ตาม ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2523-2553) ภาคอีสานมี แนวโน้มของประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาล (เมือง) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งใน พ.ศ. 2553 มี ประชากรอาศัยในเขตเทศบาลมากกว่าร้อยละ 40 ถึง 4 จังหวัด ได้แก่ ขอนแก่น อุดรธานี กาฬสินธุ์ และ มุกดาหาร แต่ก็มีถึง 6 จังหวัดที่ประชากรกว่า 3 ใน 4 อาศัยอยู่ในเขตชนบท (นอกเขตเทศบาล) ได้แก่ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ชัยภูมิ มหาสารคาม และนครพนม (อุกฤษฏ์ เฉลิมแสน 2557) กล่าวได้ ว่าแม้ความเป็นเมืองของภาคอีสานยังมีสัดส่วนที่ต่า แต่เมืองที่กาลังเติบโตในภาคอีสานนั้น มีจานวน หลายเมือง และหากพิจารณาถึงเมืองใหญ่ในภาคอีสานก็จะเห็นการขยายตัวของเมืองที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะ เป็น หนองคาย อุดรธานี และขอนแก่น4 (สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ม.ป.ป.) 4 หนองคายจะเป็นสถานีปลายทางของรถไฟฟ้ าความเร็วสูง เชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านในอนาคต โดยเฉพาะนครเวียงจันทน์ เมือง หลวงของลาว ปัจจุบันหนองคายเป็นจังหวัดที่มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเข้ามามากเป็นอันดับ 1 ของภาคอีสาน มีนักท่องเที่ยวประมาณ 2 ล้านคนต่อปี สาหรับอุดรธานีเคยผู้มีเปรียบเทียบว่า เหมือนกับ “ดูไบหรือชิคาโก” ซึ่งเป็นเมืองแห่งการค้าเพราะคนลาวสามารถขับรถเข้ามาในฝั่งไทย ได้สะดวกเกิดธุรกิจการค้าและการใช้จ่าย นอกจากนี้เส้นทางการบินที่เปิดระหว่างเมือง เช่น เชียงใหม่-อุดรธานี หรืออุดรธานี-ภูเก็ต ทา ให้เมืองต่างๆเติบโต ไม่เฉพาะอยู่ในกรุงเทพฯเท่านั้น
  • 7. 7 ภาคอีสานเป็นภาคที่มีศักยภาพเชิงพื้นที่สูง เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะลาว จึง เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจร่วมกันในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การค้า การลงทุน รวมถึงการท่องเที่ยว เป็นต้น ทาให้เมืองที่อยู่ติดชายแดนหลายเมืองในภาคอีสานมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างมาก การค้า ชายแดนจึงมีบทบาทสาคัญต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจของภาค พ.ศ. 2552 มูลค่าการค้าชายแดนผ่าน ด่านศุลกากรในภาค 72,920 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 34.7 ของการค้าของภาค หรือร้อยละ 9.2 ของ การค้าชายแดนของประเทศ ขณะที่มูลค่าการค้าชายแดน พ.ศ. 2555 สูงถึง 202,178 ล้านบาท คิดเป็น 48% ของสาขาการค้าของภาค โดยส่งออก 157,508 ล้านบาท นาเข้า 44,670 ล้านบาท และในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมามีอัตราเติบโต 28.4 % การขยายตัวของเมืองไม่จากัดตัวเฉพาะพื้นที่ดังข้างต้น เมืองได้ขยายตัวและเชื่อมต่อผ่าน เทคโนโลยีด้านการสื่อสาร สร้างกลุ่ม “คนเมืองเสมือน” (virtual urban people) ซึ่งถึงแม้จะอาศัยในเขต ชนบท แต่คนเหล่านี้มีความคิด พฤติกรรม รสนิยมและความเชื่อคล้ายกับคนในเมือง ภาพที่ 3 ความเป็นไทยในวัฒนธรรมประชานิยม ที่มา : http://www.richardbarrow.com สานักงานสถิติแห่งชาติได้สารวจการมีและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารใน ครัวเรือน พ.ศ. 2556 พบว่า สัดส่วนของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และโทรศัพท์มือถือของภาค อีสาน ยังมีสัดส่วนต่าที่สุด กรณีสัดส่วนผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ภาคอีสานมีสัดส่วนผู้ใช้ 30.3 % สัดส่วนการใช้ อินเทอร์เน็ต 23.2 % และสัดส่วนการใช้โทรศัพท์มือถือ 68.6 % แต่จากการสารวจของบริษัทวิจัย GFK ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2556 พบถึงการเติบโตของยอดขายสมาร์ทโฟนในภาคอีสานที่มากกว่าภาคอื่นๆ โดยเพิ่มขึ้นถึง 344% ในช่วงสี่เดือนแรกของปี 2556 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน เมืองขอนแก่นที่กาลังมุ่งสู่การเป็นมหานคร ก็มีความได้เปรียบเพราะมีมหาวิทยาลัยขอนแก่นในการพัฒนาเมืองทั้งด้านการศึกษา เทคโนโลยี สาธารณสุข และสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังเป็นจังหวัดที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัวอยู่ในลาดับที่ 1 ของภาคอีสาน
  • 8. 8 จากข้อมูลในข้างต้นแสดงให้เห็นถึงการขยายตัวของเมืองในภาคอีสานอย่างชัดเจน และน่าจะ เป็นส่วนสาคัญของอธิบายการบริโภควัฒนธรรมประชานิยม (popular culture) ของคนอีสาน ดังที่จะ กล่าวถึงต่อไป 2.4 วัยรุ่นอีสานในวัฒนธรรมประชานิยม (1) วัยรุ่นที่ไหนก็ไม่ต่างกัน : ทบทวนงานศึกษาวัยรุ่นอีสานโดยสังเขป “วัยรุ่นอีสานอยากขาว” “เปิบพิสดาร ! วัยรุ่นอีสานฮิตกินสมองหมา-ควาย เชื่อเป็นยาโด๊ป” “ใช้ ถุงก๊อบแก๊บแทนถุงยาง วัยรุ่นอีสานมีเซ็กส์พิศดาร” “วัยรุ่นอีสานติดเชื้อเอดส์เพิ่มขึ้น เฉลี่ยนาทีละ 2 คน ต้องการทาสถิติ” “นอนตายตาหลับ 'บานเย็น' ปลื้ม! เด็กรุ่นใหม่สนใจสืบสาน” “ฮักนะสารคาม ฮักม่วน ซื่นประสาวัยรุ่นอีสาน” ‚ ‘ผู้บ่าวไทบ้าน อีสานอินดี้’ หนังม้ามืดทวนกระแส ดังจากบ้านนอกเข้ากรุง” พาดหัวข้อข่าวบางส่วนที่เกี่ยวกับวัยรุ่นอีสานข้างต้น ผสมปนเปไปด้วยด้านที่เป็น “ปัญหา” “ความแปลกประหลาด” และด้านที่เป็น “การสืบสานรากเหง้า” “การสร้างสรรค์” ทั้งหลายเหล่านี้ไม่ได้ แตกต่างจากวัยรุ่นที่ใดในโลก โดยทั่วไปมีคาอธิบายถึงวัยรุ่นว่า เป็นวัยเปลี่ยนผ่านจากความเป็นเด็กเข้า สู่ความเป็นผู้ใหญ่ มีนิสัยที่คล้ายคลึงกันคือชอบความเป็นอิสระ มีความเชื่อมั่นในตัวเอง ต้องการเรียนรู้ สิ่งต่างๆ รอบตัวด้วยตนเอง รักสวยรักงาม ชอบความสนุกสนาน เชื่อเพื่อนมากกว่าผู้ปกครอง นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนเพศยังส่งผลให้วัยรุ่นมีแรงขับทางเพศสูง เช่น สนใจเพศตรงข้าม และมีความต้องการทางเพศ แต่ในขณะเดียวกันวัยรุ่นก็ต้องการความรัก ต้องการเป็นที่รักของใครสักคน ต้องการความอบอุ่น จากครอบครัวและบุคคลรอบข้าง (พิมพวัลย์ บุญมงคล และคณะ 2547) หากจะทา ความเข้าใจโลกของวัยรุ่นด้วยคาอธิบายข้างต้นอาจไม่เพียงพอ ผู้ศึกษาเห็นว่างานศึกษาวัยรุ่นควรให้ ความสนใจในแง่มุมด้านสังคมวัฒนธรรม เพื่อเห็นอีกด้านที่สร้างสรรค์จากการพยายามต่อสู้และต่อรอง ของวัยรุ่นเพื่อสร้างตัวตนในโลกของพวกเขาเอง Paul E. Willis ผู้เขียนหนังสือ Learning to Labor: how working class kids get working class jobs (1977) เคยศึกษาวัยรุ่นชนชั้นแรงงานในโรงเรียนในเมืองอุตสาหกรรมแห่งหนึ่งในประเทศ อังกฤษ ได้ตั้งข้อสังเกตว่า การศึกษาวัยรุ่นคือ จุดสาคัญในการเข้าใจพลวัตของสังคมร่วมสมัย เพราะ วัยรุ่นคือหน้าด่านของการเผชิญหน้าและการต่อรองรูปแบบใหม่ของการเปลี่ยนรูปทางเทคโนโลยีและ มนุษย์ขนานใหญ่ ณ จุดศูนย์กลางของความทันสมัย (Dolby and Dimitriadis 2004) ซึ่งแนวคิดสาคัญที่ ได้จากงานศึกษาวัยรุ่นของ Willis นี้ เปิดช่องทางให้ผู้สนใจวัฒนธรรมของวัยรุ่นเห็นความสาคัญของการ ที่วัยรุ่นเป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ หรือเป็นผู้กระทาการ (agency) มากกว่าจะมองไปที่ปัญหาของ วัยรุ่นแต่เพียงเท่านั้น เมืองในภาคอีสานกาลังขยายตัวอย่างประจักษ์ชัด สร้างผลกระทบให้แก่ทั้งคนในเมืองและคนใน ชนบท ที่สาคัญคือการเปลี่ยนแปลงนี้มีผลกระทบต่อวิถีชีวิตของวัยรุ่นอีสาน อภิศักดิ์ ธีระวิสิษฐ์ (2553) ศึกษาครัวเรือนอีสานใกล้เมือง ที่ได้รับอิทธิพลจากกระบวนการกลายเป็นเมืองอย่างเข้มข้น ครัวเรือน เหล่านี้ต้องเผชิญกับความเสี่ยงและความเปราะบางในการดารงชีวิตสูงขึ้น ทั้งเกิดจากปัจจัยผลักดันจาก การไร้ที่ดินทากิน การขาดแคลนน้าในฤดูแล้ง อีกทั้งไม่มีอาชีพเสริม และปัจจัยดึงดูดจากการที่เมืองใหญ่
  • 9. 9 เป็นแหล่งงาน ครัวเรือนอีสานได้ใช้กลยุทธ์เพื่อการอยู่รอด ด้วยการอพยพเป็นแรงงานราคาถูกในเมือง ส่งผลให้ครัวเรือนในอีสานมีกาลังแรงงานลดน้อยลง ขณะที่งานศึกษาของ Rigg และ Salamanca (2011) อธิบายถึงกระบวนการเคลื่อนย้าย (mobility) และการอพยพของแรงงานอีสานทั้งชายและหญิง เพื่อขายแรงงานทั้งในกรุงเทพมหานครและ ต่างประเทศ ส่งผลให้เกิดความซับซ้อนเป็นครัวเรือนแบบข้ามพื้นที่ (multi-sited household) จนสร้าง การเปลี่ยนแปลงต่อวิถีการดาเนินชีวิตของคนอีสานในชนบท ส่วนงานศึกษาของ Maniemai Thongyou et al. (2014) ได้สารวจการรับรู้ของหัวหน้าครัวเรือนถึงผลกระทบของกระบวนการ กลายเป็นเมือง (urbanization) ในจังหวัดขอนแก่น ซึ่งมีทั้งด้านบวกและด้านลบ โดยผลกระทบด้านลบ มักเป็นเรื่องพฤติกรรมของกลุ่มวัยรุ่น ทั้งเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงาน การอยู่ก่อนแต่ง และการ แต่งตัวที่ไม่เหมาะสม งานศึกษาข้างต้นเกี่ยวข้องกับการอธิบายวิถีชีวิตของวัยรุ่นอีสาน ทั้งรูปแบบครัวเรือนที่ เปลี่ยนแปลงไปจากการอพยพของวัยแรงงาน และความกังวลของผู้ใหญ่ต่อพฤติกรรมวัยรุ่นอีสาน ซึ่งทั้ง สองส่วนมีความเกี่ยวพันกันอย่างแยกไม่ออก กล่าวคือการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบครัวเรือนทาให้ญาติ เป็นผู้ดูแลวัยรุ่นอีสานแทนพ่อแม่ นับตั้งแต่ในวัยเด็ก การอยู่ร่วมกันในครัวเรือนที่มีช่วงวัยแตกต่างกันนี้ ไม่ได้ถูกหยิบยกเป็นเงื่อนไขที่มีผลต่อการดาเนินชีวิตของวัยรุ่นอีสาน นอกเหนือจากนี้ การศึกษา ชีวิตประจาวันของวัยรุ่นไม่ควรละเลยแง่มุมการบริโภควัฒนธรรมสมัยนิยม (popular culture) ซึ่งเป็น หัวใจสาคัญของชีวิตประจาวันวัยรุ่นในประเทศไทย โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของสังคมในยุคโลกาภิ วัตน์ ที่ทาให้เกิดอัตราเร่งของการหลั่งไหลวัฒนธรรมประชานิยมของท้องถิ่นและข้ามชาติ (Siriyuvasak 2008) ภาพที่ 4 มิวสิกวิดีโอเพลงผู้บ่าวเฒ่ากับสาววัยทีน ของสนุ๊ก สิงห์มาตร นักร้องชื่อดังในอีสาน ที่มา : http://www.bsnnews.com
  • 10. 10 (2) ความเป็นอีสานของวัยรุ่น ณ วันนี้ แดนดินถิ่นอีสานถูกมองใหม่ในฐานะที่มี character อันโดดเด่น ทันสมัย และไม่จากัดอยู่ในกรอบแห่งความเปิ่นเชยอีกต่อไป กลิ่นส้มตาปลาร้า โชยมาจากโต๊ะอาหารหรูหราบนห้างสรรพสินค้ากลางเมือง เสียงเพลงลูกทุ่ง กรุ่นสาเนียงอีสานแว่วมาให้ได้ยินแทบทุกครั้ง เมื่อใช้บริการแท๊กซี่มิเตอร์ หรือ แม้กระทั่งผ้าพันคอทอมือเก๋ๆ หรือกางเกงลายผ้าขาวม้าเท่ๆ ของวัยรุ่นหนุ่ม สาวที่มักซื้อหามาใส่กันตามเทรนแฟชั่นที่กาลังอินกับกระแสสินค้าท้องถิ่น เหล่านี้ คือ กลิ่นอายของอีสานที่มักเผยตัวตนออกมาพร้อมๆ กับการใช้ ชีวิตประจาวันของคนเมืองได้อย่างผสมกลมกลืน เพราะคาว่า 'อีสาน' ในวันนี้ ไม่ได้ถูกมองให้เป็นตัวแทนของความล้าหลัง เก่าเก็บ หรือดั้งเดิมจนเข้าไม่ถึง แต่กลับถูกพรีเซนต์มุมใหม่ว่าเป็นวัฒนธรรมที่ยูนีค จับต้องได้ และมีเสน่ห์น่า หลงใหลไม่แพ้ใคร…(วรุณรัตน์ คัทมาตย์ 2556) อัตลักษณ์ของคนอีสานเผชิญกับความคลุมเครือจากการรับรู้แบบทวิภาวะ (duality) ของอัต ลักษณ์ความเป็นไทยและความเป็นลาว ดังกรณีสาววัยรุ่นอีสานส่วนใหญ่ยอมรับว่าตัวเองไม่สวย อยากมี ผิวขาวเหมือนดารา เนื่องจากวัยรุ่นอีสานไม่คุ้นเคยกับแนวความคิดรูปลักษณ์ความงามแบบอีสาน (Hesse-Swan 2006) งานศึกษาของ Mccargo และ Hongladarom (2004) ได้อภิปรายถึงอัตลักษณ์ อีสานคือสิ่งสร้างทางการเมืองที่มีปัญหา สะท้อนถึงความคลุมเครือในการเข้าใจตนเองและการนาเสนอ ตัวตนของคนอีสาน อย่างไรก็ตาม คนอีสานก็ได้เข้าร่วมกระบวนการต่อรองในความสัมพันธ์ระหว่าง ความเป็นไทยและลาวด้วยเช่นกัน จะเห็นได้จากความคิดเกี่ยวกับความเป็นอีสานไม่ได้หยุดนิ่ง เพราะ ผลการศึกษาพบว่าคนแต่ละกลุ่มให้ความหมายที่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาจากอายุ เพศ การศึกษา อาชีพ และชนชั้น กลุ่มวัยรุ่นและผู้ที่มีการศึกษามองเห็นตนเองว่ามีความเป็นไทยมากกว่า คล้ายกับกลุ่ม หญิงสาวที่มีความกระตือรือร้นพูดภาษาไทยมากกว่าสามีหรือแฟนหนุ่ม ความเป็นอีสานได้แพร่กระจายอยู่ตามสื่อสมัยใหม่ต่างๆ ซึ่งอาจยกตัวอย่างจากการนาเสนอ ความเป็นอีสานในภาพยนตร์ที่แสดงให้เห็นพลวัตการนาเสนอความเป็นอีสาน และเชื่อมโยงกับอัต ลักษณ์ของวัยรุ่นอีสานในยุคปัจจุบัน ฐนธัช กองทอง (มติชนออนไลน์ “อ่าน! ความเป็นอีสานในภาพยนตร์ไทย”) อาจารย์สาขา ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร มหาวิทยาลัยหอการค้า กล่าวถึงความเป็นอีสานในภาพยนตร์ไทยที่ เปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด แต่การนาเสนอก็ยัง “แช่แข็ง” ความเป็นอีสาน นับตั้งแต่การเสนอความเป็น อีสานใน “ความเป็นนักสู้มากกว่าจะพูดถึงในฐานะตลกขบขัน” เช่น “ลูกอีสาน” “หมอลาพ่อลูกอ่อน” “หมอลาปืนโหด” ต่อมาในยุคโลกาภิวัตน์ ความเป็นอีสานได้แพร่กระจายในวงกว้างอย่างรวดเร็ว และ ความเป็นอีสานที่ได้เสนอในภาพยนตร์ มีอยู่ 3 ลักษณะ ได้แก่ (1) ถูกสร้างจากอคติชาติพันธุ์ให้ล้าหลัง ด้อยโอกาส เปิ่นเชย เป็นตัวตลก ที่เห็นได้ชัดจาก ภาพยนตร์เรื่อง “หนูหิ่นอินเตอร์” และ “แจ๋ว”
  • 11. 11 (2) การตกเป็นเหยื่อความทันสมัย จากเรื่อง “เฉิ่ม” ที่พูดถึง คนอีสานที่มาขับแท็กซี่ ที่ยังมีสานึก ของคนชนบท ซึ่งยังไม่สามารถรับการเปลี่ยนแปลงไปตามวิถีของคนเมืองกรุงได้ รวมถึงภาพยนตร์ที่ เสนอแง่มุมชีวิตคนทางานในกรุงเทพฯ เช่น “ยอดมนุษย์เงินเดือน” ที่เสนอภาพหนุ่มอีสานที่เป็นพนักงาน บริษัท เขามาพร้อมการแบกรับความคาดหวังจากครอบครัว การที่เขามีการศึกษา จึง “คิดไปเอง” ว่า เรียนจบมาทางานในเมือง จะต้องประสบความสาเร็จ จึงเป็นเหตุให้โกหกแม่ไม่ได้ว่า ตนเองมีชีวิตที่ ประสบความสาเร็จเป็นอย่างดี และ (3) ความเป็นฮีโร่ของรัฐสยาม ซึ่งเห็นชัดเจนจากเรื่อง “องค์บาก” ที่ตัวละครอย่างหม่า จ๊กมก- เพ็ชรทาย วงษ์คาเหลา กลายเป็นผู้ช่วยของพระเอกในการเอาเศียรพระพุทธรูปกลับมา กล่าวได้ว่าภาพที่เสนอความเป็นอีสานในภาพยนตร์ทั้งสามลักษณะยังหยุดนิ่ง ไม่ได้มองเห็น ความเคลื่อนไหวความเป็นอีสานในโลกยุคโลกาภิวัตน์ที่ปะทะกับความเป็นท้องถิ่น ซึ่งได้เปลี่ยนแปลง ความเป็นอีสานไปจากภาพการนาเสนอนี้ การนาเสนอความเป็นอีสานของวัยรุ่นในภาพยนตร์ที่เห็นถึงพลวัตที่น่าสนใจอาจพบในบท วิเคราะห์ของนักวิจารณ์ภาพยนตร์ในเรื่อง “ฮักนะสารคาม” และ “ผู้บ่าวไทบ้าน” ภาพยนตร์เรื่อง “ฮักนะ สารคาม” กล่าวถึงการเดินทางเข้าสู่ความเป็นสมัยใหม่ของวัยรุ่นอีสาน ที่ไม่ได้ทาให้อัตลักษณ์ความเป็นอีสานถูกสลายลงไปหมด จนกลายเป็นคนในเมืองดังเช่นกรุงเทพฯ ดัง กรณีตัวละครยังพยายามจัดการกับรากเหง้าของตนเอง ให้มีทั้งความเป็นสมัยใหม่ความเป็นอีสานไป พร้อมๆกัน5 ดังนั้นหากสรุปว่าเมืองในภาคอีสานกาลังเจริญรอยตามการพัฒนาเมืองดังเช่นกรุงเทพฯนั้น ก็อาจไม่จริงเสมอไป วัยรุ่นอีสานยังฟังหมอลา ลูกทุ่ง พร้อมทั้งแต่งตัวคล้ายวัยรุ่นกรุงเทพฯ ภาพที่ 5 ปก DVD ภาพยนตร์เรื่องฮักนะสารคามและผู้บ่าวไทบ้าน ที่มา : http://203.144.224.125 และ http://movie.mthai.com 5 เด็กหนุ่มทายาทวงหมอลาที่ปฏิเสธพื้นเพทางบ้านและปกปิดฐานะที่แท้จริงของตนเอง และเด็กสาวที่ต้องพบกับภาวะที่ต้องเลือก ระหว่างการศึกษาและความรัก ดูเพิ่มเติมในบทความ “ปัญญา เรณู – ฮักนะ ‘สารคาม : อีสานออนซอน … เป็น จังได๋น่อความฮัก” โดย ชญานิน เตียงพิทยากร ใน http://www.siamintelligence.com/panya-renu-hugna-and-the-northeast/
  • 12. 12 อีกตัวอย่างที่น่าสนใจคือ ปรากฏการณ์ผู้บ่าวไทบ้าน (ผบทบ.) ภาพยนตร์ที่ได้รับความนิยม อย่างสูงในภาคอีสาน มีคนต่อแถวเพื่อรอชมไม่น้อยกว่าช่วงที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จัด ฉายภาพยนตร์ตานานสมเด็จพระนเรศวร ภาคยุทธหัตถี สร้างปรากฏการณ์ในโลกออนไลน์จนเป็น กระแสดังในสังคมไทยเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556 ที่ผ่านมา เนื้อเรื่องโดยย่อคือเรื่องราวของหนุ่ม อีสานที่เป็น “ผู้บ่าวไทบ้าน”6 เฝ้ารอนางเอกที่ไปทางานต่างประเทศ และเคยร่วมสัญญากันว่า เมื่อ กลับมาแล้วจะแต่งงานกัน แต่ปรากฏว่าตอนที่นางเอกกลับมา เธอมาพร้อมกับแฟนหนุ่มที่เป็น ชาวต่างชาติ ผู้กากับภาพยนตร์เรื่องนี้นาเสนอวิถีชีวิตของวัยรุ่นอีสานกลุ่มหนึ่งที่ยังมี “วิถีชีวิตแบบ อีสาน” ไม่ได้ดาเนินตาม “วิถีชีวิตแบบเมือง” ที่มี “ความเป็นสมัยใหม่” (modernity) ดังเช่นวัยรุ่นอีสาน กลุ่มอื่นๆ วัยรุ่นเหล่านี้ยังคง “ความเป็นอีสาน” ในโลกที่สังคมเมืองขยายตัวอย่างรวดเร็วในยุคทุนนิยม โลกาภิวัตน์ (สุพิเศษ ศศิวิมล 2557) ปฐม หงษ์สุวรรณ (วรุณรัตน์ คัทมาตย์ 2556) ผู้อานวยการสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรม อีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม อธิบายถึงอิทธิพลของสื่อสมัยใหม่ที่มีผลต่อการรับรู้ตัวตนของคนอีสาน ที่เปลี่ยนแปลงไป ก่อนนี้ความเป็นบ้านนอกมักอยู่คู่กับคนอีสาน แต่ปัจจุบันกระแสความเป็นบ้านนอก กลับดึงดูดกลุ่มผู้บริโภคในเมืองที่โหยหาความเป็นวิถีชีวิตที่เรียบง่ายได้เป็นอย่างดี ในอีกด้านหนึ่งความ เป็นอีสานก็ได้พยายามปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคทุนนิยมโลกาภิวัตน์มาก ขึ้น “แบรนด์ของความเป็นอีสาน” ได้เชื่อมโยงกับความเป็นดารานักร้องสายเลือดอีสาน หลายคนเข้า วงการบันเทิงด้วยการประกวดความสามารถ ที่เปิดโอกาสให้คนต่างจังหวัดมีเส้นทางก้าวสู่การเป็น ซุปเปอร์สตาร์ได้ ทาให้คนอีสานมีตัวตนในสังคม ยกตัวอย่างเช่น ณเดชน์ คูกิมิยะ โฬม-พัชฏะ ปอ- ทฤษฎี เวียร์-ศุกลวัฒน์ นิว-วงศกร จุ๋ย-วรัทยา พีค-ภัทรศยา มิน-พีชญา อาร์ เดอะสตาร์ โตโน่ เดอะ สตาร์ รุจ เดอะสตาร์ สิงโต เดอะสตาร์ ฯลฯ (มติชนออนไลน์ “คนมองหนัง : กองทัพดาราอีสานร่วมสมัย กับ "พนม ยีรัมย์" ที่หายไป”) 2.5 การบริโภควัฒนธรรมประชานิยมของวัยรุ่นอีสาน การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคมอีสานเดินทางคู่ขนานไปกับความคิดฝันของวัยรุ่นอีสานยุค ใหม่ที่กาลังเปลี่ยนแปลงเช่นกัน พัฒนา กิติอาษา (2557) อาจารย์ด้านมานุษยวิทยาที่ศึกษาสังคม วัฒนธรรมอีสานตลอดชีวิตการทางาน จนกระทั่งท่านจากโลกนี้ไป ได้กล่าวถึงวัยรุ่นอีสานยุคใหม่อยาก เป็น“เจ๊ก” ซึ่งพัฒนาอธิบายถึงการเปรียบเทียบให้เห็นว่า “เจ๊ก” คือ ต้นแบบของความสาเร็จในชีวิตทาง สังคมและเศรษฐกิจที่ค่อยๆก่อรูปในสานึกของคนอีสาน ดังนั้น “เจ๊ก” จึงเป็นกรอบมโนทัศน์หรืออุดมคติ ในการเลื่อนสถานภาพของชาวบ้านอีสานเปลี่ยนมาเป็นผู้ประกอบการ เจ้าของกิจการหรือธุรกิจต่างๆ นอกจากนี้ ยังมีงานศึกษาการบริโภควัฒนธรรมประชานิยมของวัยรุ่นอีสาน โดยแมคแคน ทรูธ เซ็นทรัล (สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ม.ป.ป.) ที่พบถึงความเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต 6 ผู้บ่าวไทบ้าน หมายถึง หนุ่มวัยรุ่นชาวอีสานที่ยังอาศัยอยู่ในท้องถิ่น ยังใช้ชีวิตและมีวิถีชีวิตแบบอีสาน ไม่ใช่หนุ่มอีสานที่เข้าไปอยู่ในเมืองหรือทาตัวเป็น คนเมือง
  • 13. 13 วัยรุ่นอีสาน โดยเฉพาะกลุ่มเจนวายอีสาน และเลือกศึกษากลุ่มวัยรุ่นอายุระหว่าง 17 - 23 ปี ในพื้นที่ จังหวัดขอนแก่นตัวแทนภาคอีสาน โดยรายงานชิ้นนี้สรุปใน 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1. GEN-Y = THE URBANIZATION CATALYSTS (ทูตวัฒนธรรมยุคใหม่ จากวิถีคนเมืองสู่ชนบท) ปัจจุบันได้เห็นอิทธิพลชีวิตคนเมืองสมัยในชนบท ผ่านลูกๆ วัยเจนวายในการนาเทคโนโลยี ทันสมัยและการเชื่อมต่อสมัยใหม่ มาสู่ครอบครัวและชุมชน โดยที่พ่อแม่ชนบทยุคใหม่ให้อิสระกับลูกที่จะ ออกนอกวิถีชีวิตแบบเดิมๆ และก้าวทันยุคทันสมัยมากขึ้น กระบวนการกลายเป็นเมือง (Urbanization) กาลังแพร่กระจายในวงกว้าง 2. BUDGET SMARTPHONES, THE NEXT BIG THING (สมาร์ทโฟนราคาประหยัด ดาวเด่นในโลก การตลาดสู่ วัยรุ่นชนบทยุคใหม่) การพัฒนาอินเทอร์เน็ตและการเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการเชื่อมต่อผ่านโทรศัพท์มือถือ ส่งผลให้กลุ่มเจนวายรับแนวความคิด ‚Being connected‛ ของคนยุคใหม่ทั่วโลก ก่อให้เกิด‚วัฒนธรรม ดิจิตอล‛ ในแบบฉบับของเจนวายชนบทขึ้น ซึ่งจาแนกได้ดังนี้  ‘Budget Smartphones are the New Motorbike’ (สมาร์ทโฟนราคาประหยัด=ร่างใหม่ไอเท็ม คู่ใจวัยรุ่น) แต่เดิมนั้นมอเตอร์ไซค์เป็นสิ่งที่วัยรุ่นชนบททุกคนต้องการมาโดยตลอด เนื่องเพราะ ส่วนหนึ่งคือความจาเป็นในการใช้ชีวิต และยังเป็นเครื่องหมายแสดงถึงการเติบโตจาก‚เด็ก‛ เป็น ‚วัยรุ่น‛ แต่ปัจจุบัน ‚สมาร์ทโฟน‛ ได้กลายเป็น “ไอเทมที่หนึ่ง” ในใจของวัยรุ่นอีสาน โดยทั่วไป คือสมาร์ทโฟนราคาประหยัดที่ มีฟังก์ชั่นพื้นฐาน ในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและกล้องถ่ายรูป สามารถตอบความต้องการหลักของกลุ่มเจนวายชนบท และยังเข้าถึงได้ง่ายกว่าเดิม  ‘Laptops are the New Screen Addition’ (คอมพิวเตอร์แล็ปท็อป= สกรีนใหม่ ของวัยรุ่น ชนบท) แล็ปท็อปเคยเป็นสินค้าราคาสูง แต่ปัจจุบันเมื่อวัยรุ่นเรียนในระดับมหาวิทยาลัยก็เป็น สิ่งจาเป็นทางการศึกษาไปแล้ว  ‘Facebook is the New TV (เฟสบุ๊ก = โฉมใหม่ของทีวี) วัยรุ่นชนบทมีทางเลือกด้านไลฟ์สไตล์ ที่จากัด‚โลกโซเชียล‛ จึงกลายเป็นตัวเลือกใหม่ในการใช้เวลาว่าง ขณะนี้ประเทศไทยได้ขยับขึ้น เป็นอันดับที่ 6 ของโลกในการเข้าถึง Facebook เนื่องจากเป็นแพล็ตฟอร์มที่สามารถตอบสนอง 3 แรงจูงใจหลักของวัยรุ่น ดังนี้ 1) เพิ่มวิธีในการแสดงออกตัวตนและความใฝ่ฝันของตนเอง 2) ขยายโอกาสสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น นอกจากวงสังคมของชีวิตในชนบท 3) เป็นศูนย์รวมในการ‚รับสื่อ‛ ใหม่ๆ ที่อินกับกระแส ทั้งสื่อบันเทิงที่กาลังฮิต หรือประเด็นร้อน ‚ทอล์ค ออฟ เดอะ ทาวน์‛ ที่ทุกคนกาลังพูดถึง จนหลายคนเลือกดู News Feed7 เป็นช่องทาง แรกเพื่อเท่าทันว่าเพื่อนๆ กาลังสนใจอะไรกันอยู่ 7 คือข้อมูลอัพเดทของ facebook
  • 14. 14 3. ‘LIKE-AHOLIC’, THE NEWLY DIGITIZED RURAL YOUTH INSIGHTS (เสพติด ‚ไลค์‛) โรคระบาดทางดิจิตอลของชนบทยุคใหม่ ในยุคที่‚ใครๆ ก็โซเชียล‛ กลุ่มเจนวายในชนบทหันไป ให้ความสาคัญกับ‚ภาพลักษณ์ภายนอก‛ มากขึ้น  ‘I am A LIKE-aholic’ (ฉันเสพติดไลค์) ‚การสร้างภาพตัวตนออนไลน์ ‛ เป็นแนวคิดที่ดึงดูด วัยรุ่นอีสาน สื่อสังคมออนไลน์จึงกลายเป็นพื้นที่เล่นสนุกในการทดลองสร้างเอกลักษณ์ตัวตน ของวัยรุ่นชนบท เพื่อตอบโจทย์การแสดงออกและได้รับการยอมรับผ่านจานวน‚ไลค์‛  ‘Edit Me to Perfection’ (ใครๆ ก็สวยได้ ด้วยแอพ) ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะได้รับ‚ไลค์ ‛ ให้ มากที่สุด สาวเจนวายชนบทนิยมปรับแต่งรูปถ่ายของพวกเธอ หรือ‚ศัลยฯ ด้วยแอพฯ‛ ครั้งละ 3-4 แอพฯ เพื่อให้ดูดีที่สุดแม้จะยอมรับว่าไม่เหมือนตัวจริงก็ตาม 4. ‘WHAT’S RURALLY TRENDING (เทรนดิ้งในดิจิตอลสไตล์ชนบท) กระแสดิจิตอลใหม่ๆ ที่ค่อนข้างเฉพาะเจาะจงกลุ่มวัยรุ่นชนบท โดยมีมิติใหม่ ๆ ที่หลากหลาย ดังนี้  ‘Home-grown Online Celebs’ (คนดังออนไลน์สไตล์‚บ้านๆ‛) โซเชียลมีเดียอยู่เบื้องหลังความ โด่งดังของคนดังออนไลน์หลายคน นับตั้งแต่แอพโซเชียลแคม (Social Cam) เป็นที่นิยมในต้น ปี 2555 วัยรุ่นชนบทเห็นคนต่างจังหวัด หน้าตาธรรมดาๆ กลายเป็นที่รู้จักและชื่นชอบในวง กว้างจากแสนๆ ล้านๆ‚ไลค์‛ ด้วยการสร้างเนื้อหาที่ไม่ต้องสวยหล่ออย่างสมบูรณ์แบบเหมือน ดารา แต่ให้ความรู้สึก‚จริง‛ และเข้าถึงหัวใจความเป็นชนบทของแฟนๆ  ‘The Spotlight Is Up For Grabs’ (ดาราโด่งดัง ไม่ใช่ฝันที่ห่างไกล) เจนวายยุคใหม่ขวนขวาย และโหยหาความโดดเด่น จึงได้ขึ้นแสดงความสามารถ ประกวดความงาม หรือแข่งขันในเรียล ลิตี้ ทีวี เป็นที่นิยมในหมู่วัยรุ่นต่างจังหวัด ซึ่งพวกเขาจะนาผลงานความสาเร็จต่างๆ ของตนไป ต่อยอดในโลกโซเชียล  ‘Living the Dream (Job)’ (ความหวังสานฝันให้เป็นจริง) การสร้างรายได้สูงๆ จนสามารถ ทดแทนบุญคุณครอบครัวได้โดยไม่ลาบากเป็นความใฝ่ ฝันในใจคนอีสานทุกคน เจนวายเริ่ม เล็งเห็นถึงพลังโซเชียลมีเดียในการสานฝัน การ‚สร้างอะไรเป็นของตัวเอง‛ คนยุคใหม่เริ่มมอง โซเชียลมีเดียเป็นแรงบันดาลใจเป็นความหวังและกาลังใจในการสร้างรายได้โดยไม่ต้องเข้าสู่ ฐานแรงงานอุตสาหกรรมตามเส้นทางหนุ่มสาวชนบทอย่างที่เคยเป็นมา 5. THINK RURAL, ACT DIGITAL (เข้าใจชนบท เข้าถึงดิจิตอล) นักการตลาด และนักโฆษณา ควรคานึงถึง “ช่องว่าง” ระหว่างเอกลักษณ์ของวิถีเมืองและวิถี ชนบท การทาแคมเปญดิจิตอล แม้ว่าจะอิงกระแสหลักที่มาแรงในกลุ่มวัยรุ่นในภาพรวม แต่ต้องใส่ใจ รายละเอียดดิจิตอลของวัยรุ่นชนบทที่มีความเฉพาะ โดยเฉพาะการมองสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ว่า เป็นเวทีการแสดงออกและปลีกตัวออกจากชีวิตจริง อีกทั้งยังมีเนื้อหาที่น่าจับตามอง กล่าวคือเนื้อหาที่สัมผัสได้ถึงหัวใจความเป็นบ้านๆ มีเสน่ห์ของความจริงที่เข้าถึงได้ และสร้างความหวัง และกาลังใจให้กับชีวิตดีขึ้นในอนาคต จากงานศึกษาข้างต้นได้แสดงให้เห็นว่า การบริโภควัฒนธรรมประชานิยมของวัยรุ่นอีสาน ไม่ได้ เป็นไปเหมือนกับวัยรุ่นในพื้นที่อื่นๆไปเสียทั้งหมด การบริโภควัฒนธรรมของวัยรุ่นอีสานได้สื่อ
  • 15. 15 ความหมายให้เห็นถึงการยึดโยงกับความเป็นอีสานที่เจือปน หรือมี “กลิ่นอาย” อยู่ในการบริโภคสินค้า ทางวัฒนธรรมนั้นๆด้วย อย่างไรก็ตาม ที่แตกต่างออกไปคือ จินตนาการใหม่ๆ และความใฝ่ฝันของ วัยรุ่นอีสานที่แตกต่างไปจากคนอีสานรุ่นก่อน จึงอาจเป็นไปได้ว่า ความเป็น“ลูกอีสาน”นั้น ยากที่แช่แข็ง ให้เป็นไปในภาพลักษณ์ใดภาพลักษณ์หนึ่ง อีสานยุคใหม่จึงอาจเป็นอีสานที่พร้อมจะต่อรองให้ตัวตน ความเป็นอีสานมีพื้นที่ เพื่อสร้างความแตกต่างให้สอดรับกับความต้องการของผู้บริโภคในเวลาเดียวกัน และพร้อมที่จะผลิตความหมายใหม่ๆให้สอดคล้องไปกับโลกที่ผันแปรไปได้เช่นเดียวกัน สรุป การบริโภควัฒนธรรมประชานิยมของวัยรุ่นอีสานแสดงให้เห็นถึงการปรับตัวให้เข้ากับกระแสการ เปลี่ยนแปลงของภาคอีสาน วัยรุ่นอีสานพยายามคงความเป็นอีสานไว้ในวัฒนธรรมที่พวกเขา/เธอกาลัง บริโภค ซึ่งไม่ได้ทอดทิ้งรากเหง้าของตนเอง ดังนั้นจึงอาจไม่น่าเป็นกังวลว่าความเป็นอีสานจะจาง หายไปแต่เพียงด้านเดียว ภาพอีสานใหม่ในแง่มุมการบริโภควัฒนธรรมประชานิยม (popular culture) ทาให้มองเห็นภาพของการสร้างสรรค์วัฒนธรรมของคนอีสานยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นอีสาน จน สามารถยืนเด่นในโลกแห่งการอวดโอ่ (display) ต่อความหลากหลายทางวัฒนธรรม ซึ่งได้สร้างความ แตกต่างให้กับผู้บริโภคสินค้าทางวัฒนธรรมในปัจจุบันได้เช่นเดียวกัน ถึงแม้ “ความรุ่มรวยทาง ศิลปวัฒนธรรมอีสาน” จะเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยจนสามารถเปลี่ยนเป็นสินค้าให้สามารถขายได้ แต่ ในท้ายที่สุดก็ไม่ได้หมายความว่าคนอีสานได้กระโจนเข้าหาการสร้าง ‚มูลค่า‛ เพื่อตอบโจทย์สาหรับ ผู้บริโภค และสร้างผลกาไรสูงสุดตามแนวทางของระบบทุนนิยมแต่เพียงด้านเดียว จิตวิญญาณของความ เป็นอีสานที่ยังหลงเหลืออยู่นั้น ได้ซึมซับเข้าไปอยู่ในสายเลือดคนอีสานรุ่นใหม่ ที่พร้อมเปิดรับการ เปลี่ยนแปลง แต่ไม่ได้ยอมให้การเปลี่ยนแปลงพัดพาไปจนไร้ทิศทาง
  • 16. 16 เอกสารอ้างอิง Dolby, Nadine and Greg Dimitriadis (editors). (2004). Learning to Labor in New Times. New York: Routledge Farmer. Hesse-Swan, Catherine.(2006). Programming beauty and the absence of Na Lao: Popular Thai TV and identity formation among youth in Northeast Thailand, GeoJournal 66 : 257-272 Maniemai Thongyou et al. (2014). Perceptions on Urbanization Impact on the Hinterlands: A Study of Khon Kaen City, Thailand. Asian Social Science 10(11) : 33-41 McCargo D., & Hongladarom, K. (2004). Contesting Isanness: Discourses of politics and identity in Northeast Thailand. Asian Ethnicity, 5(2) : 219–234. Rigg, Jonathan and Albert Salamanca. (2011). Connecting Lives, Living, And Location. Critical Asian Studies, 43(4) : 551–575 Siriyuvasak Ubonrat. (2008). Consuming and Producing (Post)modernity Youth and Popular Culture in Thailand. In Youna Kim (ed.) Media Consumption and Everyday Life in Asia. New York: Routledge. Siriyuvasak, Ubonrat. (1991). The Environment and popular culture in Thailand. Southeast Asian Affairs, 298-308. Sokolowski, Marek. (n.d.). Mass culture Versus Popular Culture. Retrieved December 29, 2014, from http://llufb.llu.lv/conference/new-dimensions-develop/2011/7th-New-dimensions-development- society-proceedings_2011-308-315.pdf Storey, John. (2006). Cultural Theory and Popular Culture: an introduction. Harlow, England : Pearson/Prentice Hall. Willis, Paul E. (1977). Learning to Labor: how working class kids get working class jobs. Lexington, Mass.: Lexington Books. ชญานิน เตียงพิทยากร. (ม.ป.ป.) ปัญญา เรณู – ฮักนะ ‘สารคาม : อีสานออนซอน … เป็น จังได๋น่อความฮัก. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2557, จาก http://www.siamintelligence.com/panya-renu-hugna-and-the-northeast/ เดชรัต สุขกาเนิด. (2557). Isan Dynamics พลวัตรการเปลี่ยนผ่าน ต่อการกาหนดนโยบายสาธารณะ สู่ แผนพัฒนาภาคอีสานเพื่อสุขภาวะที่ดีของคนอีสาน. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2557, จาก http://www.samatcha.org/areahpp/?p=2451 ปฐม หงส์สุวรรณ (บรรณาธิการ).(2555). เมื่อวัฒนธรรมอีสาน...กลายเป็นสินค้า. จดหมายข่าว สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 1(3) พัฒนา กิติอาษา. (2557). สู่วิถีอีสานใหม่. กรุงเทพฯ: วิภาษา.
  • 17. 17 พิมพวัลย์ บุญมงคล และคณะ. (2547). เพศวิถีของวัยรุ่นไทยในชนบทอีสาน. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2557, จาก http://www.sh.mahidol.ac.th/research/content.php?id=23 มติชนออนไลน์. คนมองหนัง : กองทัพดาราอีสานร่วมสมัย กับ "พนม ยีรัมย์" ที่หายไป. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2558, จาก http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1336308235 มติชนออนไลน์. อ่าน! ความเป็นอีสานในภาพยนตร์ไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2558, จาก http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1408699298 ราชบัณฑิตยสถาน. (2549). พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา อังกฤษ–ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน. วรุณรัตน์ คัทมาตย์. (2556). เด้อค่ะเด้อ โกอินเตอร์. สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2557, จาก http://www.bangkokbiznews.com/mobile/xhtml/news/detail/07/515270/ สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (ม.ป.ป.). Urbanization : ธุรกิจยุคใหม่ เจาะ วิถีคนเมืองใหม่. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย. (ม.ป.ป.). กระบวนการกลายเป็นเมืองในประเทศไทย (Urbanisation in Thailand). กรุงเทพฯ : สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย สมบัติ กุสุมาวลี. (2553). อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industries), for Quality 17(153): 107-111 สุธีรา สัตยพันธ์. (2551). งานของ “ดังตฤณ” ในฐานะวรรณกรรมพุทธศาสนาแนววัฒนธรรม ประชานิยม. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะอักษรศาสตร์, สาขาวิชาภาษาไทย. สุพิเศษ ศศิวิมล. (2557). บุคคล (ไม่) ธรรมดา : เจาะแก่นความคิด พลิกวิกฤติ ‘ผู้บ่าวไทบ้าน’. All Magazine, สืบค้นเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2557, จาก http://www.all-magazine.com/ColumnDetail/allColumDetail/tabid/106/articleType/ArticleView/articleId/3841/---.aspx สุริยา สมุทคุปติ์และคณะ. (2541). แต่งองค์ทรงเครื่อง : “ลิเก” ในวัฒนธรรมประชาไทย. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยสุรนารี. สานักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). ทิศทางการพัฒนาภาคในช่วงแผนพัฒนาฯฉบับที่ ๑๑. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2557, จาก http://www.nesdb.go.th/LinkClick.aspx?fileticket=MJ78A0GJlXg%3D สานักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2557). ผลิตภัณฑ์ภาคและจังหวัด พ.ศ. 2555 = Gross regional and provincial products 2012. กรุงเทพฯ : สานักงานคณะกรรมการ พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. สานักงานสถิติแห่งชาติ. (2554). สามะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ : สานักงานสถิติแห่งชาติ. อภิศักดิ์ธีระวิสิษฐ์. (2553). การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมของครัวเรือนอีสานในยุคโลกาภิวัตน์. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ ม.ขอนแก่น 27(2) : 1-27 อุกฤษฏ์ เฉลิมแสน. (2557). สถานการณ์ความเป็นเมืองในภาคต่างๆ. กรุงเทพฯ : แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาอนาคตของเมือง.