SlideShare a Scribd company logo
1 of 18
Download to read offline
ค�ำน�ำ
	 หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นจากแรงจูงใจ๓ประการคือการเห็นคุณค่า
ในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การเห็นความจ�ำเป็นในการปลูกฝัง
ปรัชญานี้ให้แก่เด็กและเยาวชนของชาติ และการเห็นปัญหาของครู/         
ผู้สอนในการจัดการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้มีประสิทธิ-
ภาพและเกิดประสิทธิผลสูงตามที่คาดหวัง
	 หนังสือเล่มนี้เป็นผลงานจากความพยายามในการแสวงหาวิธี     
การจัดการเรียนรู้ที่เอื้ออ�ำนวยความสะดวก รวมทั้งเพิ่มประสิทธิผลใน
การจัดการเรียนรู้แก่ครู/ผู้สอนนวัตกรรมการสอนที่เสนอแนะจะช่วยให้
ครู/ผู้สอนมีทางเลือกในการพัฒนาผู้เรียนให้เหมาะสมกับผู้เรียน บริบท
และสถานการณ์
	 ผู้เขียนขอเชิญชวนครู/ผู้สอนในทุกระดับการศึกษา มาช่วยกัน
ปลูกฝังปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้เกิดขึ้นและเจริญงอกงามขึ้นใน
ตัวผู้เรียนโดยการพัฒนากระบวนการคิดของผู้เรียน เนื่องจากการคิด
เป็นที่มาของการกระท�ำ การรู้จักคิดตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
จึงน�ำไปสู่การกระท�ำหรือการปฏิบัติอย่างพอเพียง อันจะพัฒนาไปสู่
อุปนิสัยพอเพียงในที่สุด นวัตกรรมการสอนที่เสนอแนะในหนังสือเล่มนี้
ให้แนวทางและวิธีการที่เรียบง่ายซึ่งครู/ผู้สอนสามารถน�ำไปประยุกต์
หรือปรับใช้ในการสอนของตนได้อย่างสะดวก
	 ผู้เขียนขอขอบคุณ ดร.ปรียานุช ธรรมปิยา ผู้อ�ำนวยการกลุ่มงาน
เศรษฐกิจพอเพียง ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติ (สคช.) และหัวหน้าโครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียง
ส�ำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ที่ได้กรุณาอ่านหนังสือเล่มนี้
อย่างละเอียด และให้ข้อเสนอแนะที่ดียิ่ง ซึ่งผู้เขียนได้น�ำมาใช้ในการ
ปรับปรุงสาระส�ำคัญต่าง ๆ ให้มีความถูกต้องและสมบูรณ์ขึ้น รวมทั้ง       
ขอขอบคุณ คุณศศินี ลิ้มพงษ์ ผู้จัดการโครงการพัฒนาเยาวชนโดยการ
เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ได้สนับสนุนให้ครูน�ำแนวคิด
แนวทางจากหนังสือเล่มนี้ไปทดลองใช้
	 ด้วยความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว ผู้ได้พระราชทานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อันเป็น
แนวคิดที่มีคุณค่ามหาศาลแก่พสกนิกรชาวไทยผู้เขียนจึงขอมอบรายได้     
จากค่าลิขสิทธิ์อันพึงได้จากการจ�ำหน่ายหนังสือเรื่องนี้ให้แก่มูลนิธิ           
ชัยพัฒนา เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระองค์ท่าน ขอจงทรงพระ
เจริญยิ่งยืนนาน
ทิศนา แขมมณี
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
สารบัญ
		
					 หน้า
ค�ำน�ำ
ตอนที่ ๑
การถอดรหัสปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง	 ๑
		
บทที่ ๑	 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง : สาระส�ำคัญ	 ๒
	 •	 ความหมายและความส�ำคัญของปรัชญา	
	 	 ของเศรษฐกิจพอเพียง	 ๒
	 •	 สาระส�ำคัญของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง	 ๕
บทที่ ๒ 	การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจ	
	 พอเพียงสู่สถานศึกษา	 ๑๓
	 •	 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการศึกษา 	 ๑๓
	 •	 ยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนปรัชญาของ	
	 	 เศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา	 ๑๖
	 •	 แนวทางการขับเคลื่อนปรัชญาของ	
	 	 เศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา	 ๒๓
	 •	 ปัจจัยส�ำคัญที่จ�ำเป็นต่อความส�ำเร็จ	
	 	 ในการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
	 	 สู่สถานศึกษา	 ๓๒
•	 ปัญหาและอุปสรรคในการขับเคลื่อนปรัชญา
	 	 ของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา	 ๓๔
บทที่ ๓	 การถอดรหัสปรัชญาของเศรษฐกิจ	
	 พอเพียงเพื่อประยุกต์สู่การสอน	 ๓๗
	 •	 ความจ�ำเป็นของการถอดรหัสปรัชญาของ	
	 	 เศรษฐกิจพอเพียง	 ๓๗
	 •	 การถอดรหัสปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง	
	 	 เพื่อประยุกต์สู่การสอน	 ๔๑
	 	 -	 รหัสที่ 	๑	 : ความหมายและเป้าหมายของ	
	 	 	 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง	 ๔๒
	 	 - 	รหัสที่ 	๒ 	 : หลักคิดและหลักปฏิบัติ	
	 	 	 ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง :
	 	 	 ความพอประมาณ  	 ๕๑
	 	 -	 รหัสที่ 	๓ 	 : หลักคิดและหลักปฏิบัติ	
	 	 	 ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง :
	 	 	 ความมีเหตุผล	 ๕๘
	 	 -	 รหัสที่ 	๔ 	 : หลักคิดและหลักปฏิบัติ	
	 	 	 ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง :
	 	 	 การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี	 ๖๕
	 	 -	 รหัสที่ 	๕ 	 : เงื่อนไขของปรัชญาของ	
	 	 	 เศรษฐกิจพอเพียง : ความรู้  	 ๖๙
	 	 -	 รหัสที่ 	๖ 	 : เงื่อนไขของปรัชญาของ	
	 	 	 เศรษฐกิจพอเพียง : คุณธรรม	 ๗๙
-	 รหัสที่ 	๗ 	 : เป้าหมายของปรัชญาของ	
	 	 	 เศรษฐกิจพอเพียง : ความสมดุลและ
	 	 	 พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงใน ๔ มิติ	 ๘๔
	 	 -	 รหัสที่ 	๘ 	 : องค์รวมของปรัชญาของ	
	 	 	 เศรษฐกิจพอเพียง	 ๙๓	
ตอนที่ ๒	
การน�ำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง	
สู่การสอนกระบวนการคิด	 ๑๐๓
บทที่ ๔	 การประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง	
	 สู่การเรียนการสอน	 ๑๐๕	
	 •	 จะสอนอะไร 	 ๑๐๖
	 •	 จะสอนใคร 	 ๑๑๒
	 •	 จะสอนตรงไหน เมื่อไร 	 ๑๑๓
	 •	 จะสอนอย่างไร 	 ๑๑๔
	 •	 จะวัดและประเมินผลการเรียนรู้อย่างไร 	 ๑๑๗
บทที่ ๕	 การสอนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง	
	 แบบแยกส่วน	 ๑๒๕
	 •	 แนวการสอนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง	 ๑๒๕
	 •	 การสอนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง	
	 	 แบบแยกส่วน	 ๑๒๗
	 •	 การสอนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง	
	 	 แบบแยกส่วนโดยใช้ค�ำถาม	 ๑๒๙
•	 ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในการส่งเสริมการคิด	
	 	 ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง	 ๑๔๔
บทที่ ๖	 การสอนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 	
	 แบบเน้นกระบวนการคิด : นวัตกรรมการสอน	 ๑๔๗
	 •	 ความส�ำคัญของการพัฒนากระบวนการคิด	
	 	 การปฏิบัติตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 	 ๑๔๗
	 •	 กระบวนการคิดการปฏิบัติตามปรัชญาของ	
	 	 เศรษฐกิจพอเพียง : นวัตกรรมการสอนเสนอแนะ 	 ๑๕๑
	 •	 ชุดค�ำถามส�ำคัญเพื่อพัฒนากระบวนการคิด	
	 	 การปฏิบัติตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 	 ๑๘๔
บทที่ ๗	 หลักการสอนส�ำหรับการพัฒนาทักษะ	
	 กระบวนการคิดการปฏิบัติตามปรัชญา
	 ของเศรษฐกิจพอเพียง	 ๒๐๑
	 •	 ประเภทของสาระการเรียนรู้	 ๒๐๒
	 •	 หลักการสอนสาระประเภทความรู้	
	 	 ที่มีลักษณะเป็นกระบวนการ	 ๒๐๔	
	 •	 หลักการสอนสาระประเภททักษะกระบวนการ	 ๒๐๖
	 •	 หลักการสอนสาระประเภทความรู้สึก เจตคติ
	 	 ค่านิยม คุณธรรม คุณลักษณะ	 ๒๑๐
บรรณานุกรม			 ๒๑๓
๑
การถอดรหัส
ปรัชญาของ
เศรษฐกิจ
พอเพียง
ตอนที่
“...ความรู้ที่มีอยู่ในตัว ไม่มีใครจะขโมยจากเราได้
แล้วความรู้นี้ก็จะเป็นสิ่งที่ช่วยให้เรามีชีวิตที่ก้าวหน้าได้ ที่ได้
มีโอกาสมีความรู้ก็เพราะว่ามีโรงเรียนและมีครูที่พยายาม
สอนทุกคน...”
พระบรมราโชวาทพระราชทาน
แด่คณะกรรมการบริหารทุนพระราชทานครู-อาจารย์
และนักเรียนโรงเรียนราชวินิต ที่ได้รับพระราชทานทุน
ณ พระต�ำหนักจิตรลดารโหฐาน
วันที่ ๒๖ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๑๔
บทที่
๑.	 ความหมายและความส�ำคัญของปรัชญา
	 ของเศรษฐกิจพอเพียง
	
	 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวคิดใหม่ที่พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชด�ำรัสชี้แนะแก่พสกนิกร
ชาวไทย เพื่อน�ำไปใช้ในการแก้ไข ปรับปรุงและพัฒนาเศรษฐกิจของ
ประเทศและของโลก ดังพระราชด�ำรัสต่อไปนี้
“เศรษฐกิจพอเพียง แปลว่า Sufficiency Economy
... ค�ำว่า Sufficiency Economy นี้ไม่มีในต�ำราเศรษฐกิจ
จะมีได้อย่างไร เพราะว่าเป็นทฤษฎีใหม่
... Sufficiency Economy นั้น ไม่มีในต�ำรา
เพราะหมายความว่าเรามีความคิดใหม่ ...
และโดยที่ท่านผู้เชี่ยวชาญสนใจ ก็หมายความว่า
เราก็สามารถที่จะไปปรับปรุง หรือไปใช้หลักการ
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง :
สาระสำ�คัญ
๑
4
เพื่อที่จะให้เศรษฐกิจของประเทศและของโลกพัฒนา
ดีขึ้น.”
(พระราชด�ำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
๔ ธันวาคม ๒๕๔๒)
	 พระองค์ได้พระราชทานความหมายปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงไว้ว่า (จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา และปรียานุช พิบูลสราวุธ,
๒๕๕๓)
“เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการด�ำรงอยู่และปฏิบัติตนของ
ประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน
จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศ ให้
ด�ำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ
เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง
หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความ
จ�ำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อ
การมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้ง
ภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความ
รอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการน�ำวิชาการ
ต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการด�ำเนินการทุกขั้นตอน
และขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคน
ในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจ
ในทุกระดับ ให้มีส�ำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริตและ
ให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ด�ำเนินชีวิตด้วยความอดทน
5
ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุล
และพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
และกว้างขวาง ทั้งทางด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อมและ
วัฒนธรรมจากโลกภายนอก ได้เป็นอย่างดี”
	 จากความหมายข้างต้นจะเห็นได้ว่า ปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงเป็นทั้งหลักคิดและหลักปฏิบัติที่เป็นประโยชน์ต่อการด�ำรง
ชีวิตของประชาชนทุกระดับ รวมทั้งรัฐและหน่วยงานต่าง ๆ ก็สามารถ
น�ำปรัชญานี้ไปประยุกต์และใช้ในการบริหารและพัฒนาประเทศด้าน
ต่างๆได้อย่างกว้างขวางไม่ว่าจะเป็นทางด้านเศรษฐกิจธุรกิจกฎหมาย
สังคม การศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และด้านอื่น ๆ อีกมาก
ดังตัวอย่างที่เห็นได้จากเอกสารทางวิชาการที่รายงานผลการศึกษา
และพัฒนางานด้านต่าง ๆ โดยยึดหลักปรัชญาดังกล่าวของศูนย์ศึกษา
เศรษฐกิจพอเพียง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เช่น เรื่อง
แนวทางการก�ำหนดนโยบายสาธารณะเพื่อความพอเพียง เศรษฐกิจ
พอเพียงในองค์กรธุรกิจเพื่อความยั่งยืน การบริหารทรัพยากรมนุษย์ใน
องค์การเพื่อความพอเพียง การบริหารการเงินบุคคลเพื่อความพอเพียง
การวิเคราะห์ความคุ้มค่าของโครงการเพื่อความพอเพียง และเรื่อง
อื่น ๆ อีกมาก
๒.	สาระส�ำคัญของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
	
	 “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่ชี้แนวทางการ
ด�ำเนินชีวิต ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
6
มีพระราชด�ำรัสแก่ชาวไทยนับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๗ เป็นต้นมา เพื่อเป็น
แนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทยให้สามารถด�ำรงอยู่
ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลง
ต่าง ๆ เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชด�ำรัส
ชี้แนะแนวทางการด�ำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนาน
กว่า ๓๐ ปี 	
	 ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่ง
ชาติได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในทางเศรษฐกิจและสาขาอื่น ๆ มาร่วมกัน
ประมวลและกลั่นกรองพระราชด�ำรัสเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อบรรจุ
ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๙ และได้จัดท�ำ
เป็นบทความเรื่อง “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” และได้น�ำความ
กราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย เมื่อ
วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ พระองค์ทรงพระกรุณาปรับปรุงแก้ไข
พระราชทาน และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรม-
ราชานุญาตให้น�ำบทความที่ทรงแก้ไขแล้วไปเผยแพร่ เพื่อเป็นแนวทาง
ปฏิบัติของส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่ง
ชาติ และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องตลอดจนประชาชนโดยทั่วไปเมื่อวันที่๒๙
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๒
 
๒.๑ 	องค์ประกอบของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
	
	 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ทรงปรับปรุงพระราชทานเป็น
ที่มาของนิยาม “๓ ห่วง ๒ เงื่อนไข” ที่คณะอนุกรรมการขับเคลื่อน
เศรษฐกิจพอเพียง ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ
7
สังคมแห่งชาติ น�ำมาใช้ในการรณรงค์เผยแพร่ปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงผ่านช่องทางสื่อต่าง ๆ อยู่ในปัจจุบัน ประกอบด้วยความ
“พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน” บนเงื่อนไข “ความรู้” และ
“คุณธรรม” โดยมีเป้าหมายคือความสมดุล และพร้อมรับการเปลี่ยน
แปลงใน ๔ มิติ ได้แก่ มิติด้านวัตถุ/เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และ
วัฒนธรรม ดังแสดงในแผนภาพต่อไปนี้ (จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา
และปรียานุช พิบูลสราวุธ, ๒๕๕๓, หน้า ซ)
 
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
แผนภาพที่ ๑ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
 
วัตถุ/สังคม/สิ่งแวดล้อม/วัฒนธรรม
สมดุล และพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง
น�ำสู่
พอประมาณ
มีเหตุผล
มี
ภูมิคุ้มกัน
ในตัวที่ดี
ทางสายกลาง ➠ พอเพียง
	 เงื่อนไขความรู้	 เงื่อนไขคุณธรรม
	 (รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง)	 (ซื่อสัตย์สุจริต ขยันอดทน
		 สติปัญญา แบ่งปัน)
8
	 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีหลักพิจารณาอยู่ด้วยกัน๕ส่วน
ดังนี้ (อนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง, ๒๕๔๕)
	 ๑)	 กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะทางการด�ำรงอยู่และ
ปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของ
สังคมไทย สามารถน�ำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลาและเป็นการมองโลก
เชิงระบบที่มีลักษณะพลวัต มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤต เพื่อ
ความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา
	 ๒)	 คุณลักษณะเศรษฐกิจพอเพียงสามารถน�ำมาประยุกต์ใช้กับ
การปฏิบัติตนได้ในทุกระดับโดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และ
การพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
	 ๓)	 ค�ำนิยาม ความพอเพียง (Sufficiency) จะต้องประกอบ
ด้วย ๓ คุณลักษณะพร้อม ๆ กัน
		 ๓.๑)	ความพอประมาณ หมายถึงความพอดีที่ไม่น้อยเกิน
ไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิต
และการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ 
		 ๓.๒)	ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับ
ของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจาก
เหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนค�ำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการ
กระท�ำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
	 	 ๓.๓)	การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี หมายถึง การเตรียมตัวให้
พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น โดย
ค�ำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นใน
อนาคตทั้งใกล้และไกล
9
	 ๔)	 เงื่อนไข การตัดสินใจและการด�ำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่
ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน
กล่าวคือ
	 	 ๔.๑)	เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วยความรอบรู้เกี่ยวกับ
วิชาการต่าง ๆ อย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะน�ำความรู้เหล่านั้น
มาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความ
ระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
		 ๔.๒)	เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย
มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน
มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการด�ำเนินชีวิต
	 ๕) 	แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการน�ำปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือการพัฒนาที่สมดุลและ
ความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม
สิ่งแวดล้อม ความรู้ และเทคโนโลยี
	 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงพัฒนา
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขึ้น เพื่อที่จะให้พสกนิกรชาวไทยได้
ใช้ชีวิตตามทางสายกลางและเพื่อน�ำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ปรัชญานี้
เป็นพื้นฐานของการด�ำรงชีวิตที่สามารถใช้ได้ทั้งในสังคมระดับท้องถิ่น
และสังคมระดับสากล
 
๒.๒	 จุดเด่นของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
	 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ชาวโลก
ทั้งนักวิชาการและนักพัฒนาก�ำลังปรึกษาหารือ ถกเถียงกันเกี่ยวกับ
10
การปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์การพัฒนาที่จะน�ำไปสู่ความยั่งยืน โดย
จุดเด่นของหลักปรัชญาที่เพิ่มวิสัยทัศน์ มุมมองใหม่ที่จ�ำเป็นในการ
ท�ำให้เกิดวิถีการพัฒนามุ่งสู่ความยั่งยืนมี ๔ ประการ คือ (จิรายุ
อิศรางกูร ณ อยุธยา และปรียานุช พิบูลสราวุธ, ๒๕๕๓)
	 ๒.๒.๑)	 การให้ความส�ำคัญกับการพัฒนาที่สมดุล โดยเสนอ
แนวทางในการตัดสินใจเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรเพื่อการพัฒนาที่
สามารถน�ำมาใช้ได้ ทั้งในระดับบุคคล องค์กร หน่วยงาน ตลอดจน
ไปถึงรัฐบาล ตั้งแต่การใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ที่มีอยู่อย่างสมดุล ทั้ง
ทรัพยากรทางกายภาพที่เป็นวัตถุ เงินทุน ระบบนิเวศต่าง ๆ ไปจนถึง
ทรัพยากรทางสังคม วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ความเป็น
อยู่ ค่านิยม และการก�ำหนดเป้าหมายการพัฒนาให้เจริญก้าวหน้าไป
พร้อมกับความสมดุล ภายใต้สภาวะการเปลี่ยนแปลง (dynamic
balance) มากกว่าการที่จะมุ่งขยายการเจริญเติบโตให้มากขึ้นเพียง
มิติเดียว ดังที่เคยด�ำเนินมาในอดีต
	 ๒.๒.๒) 	การให้ความส�ำคัญกับเป้าหมายของกิจกรรมพัฒนา
ที่มุ่งเน้นประโยชน์ส่วนรวม เนื่องจากลักษณะการมองโลกอย่างเป็น
องค์รวมของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ให้ความส�ำคัญกับความ
เชื่อมโยงสัมพันธ์ของมนุษย์กับสรรพสิ่ง (คนกับวัตถุ/คนกับคน/คนกับ
ธรรมชาติ/และคนรุ่นต่าง ๆ ที่สืบทอดชนชาติสืบต่อกันมา) จึงท�ำให้
ปรัชญานี้มองว่า การกระท�ำของแต่ละบุคคลในที่สุดแล้วย่อมส่งผล
กระทบต่อผู้อื่นและสังคมส่วนรวม ไม่ช้าก็เร็ว และไม่มากก็น้อย ฉะนั้น
แต่ละคนจึงควรใส่ใจที่จะก�ำหนดเป้าหมายย่อยส่วนบุคคลในทิศทาง
ที่สอดคล้องกับเป้าหมายที่เป็นประโยชน์ส่วนรวม และในขั้นปฏิบัติ
แต่ละบุคคลควรด�ำเนินภารกิจตนให้ดีที่สุด เพื่อบรรลุเป้าหมายนั้น ๆ
11
ภายใต้บริบทและข้อจ�ำกัดของแต่ละคน (think global, act local)
เพื่อให้เกิดทั้งประโยชน์ตนและประโยชน์ส่วนรวมไปพร้อม ๆ กัน 
	 ๒.๒.๓) 	การให้ความส�ำคัญกับการพัฒนาที่ก้าวหน้าไปอย่าง
มั่นคง โดยเริ่มจากการพัฒนาฐานรากของสังคม (foundation) คือ
การสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจในระดับครอบครัวให้เข้มแข็ง พออยู่
พอกินสามารถพึ่งตนเองได้ระดับหนึ่งก่อนแล้วจึงเพิ่มระดับการพัฒนา
อย่างเป็นขั้นเป็นตอน(step-by-stepdevelopment)เช่นการพัฒนา
กลุ่มอาชีพ การจัดการระบบการสอน และสวัสดิการชุมชนต่าง ๆ ไป
จนถึงการพัฒนาในระดับเครือข่ายที่ขยายสู่สังคมและประเทศชาติใน
ที่สุด ซึ่งการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอนโดยเริ่มจากฐานรากนี้ จะท�ำให้
ผลพวงที่เกิดจากการพัฒนาตกถึงประชาชนส่วนใหญ่โดยตรง และเป็น
แนวทางการพัฒนาที่ไม่เสี่ยงต่อการเกิดวิกฤต ล้มละลายทั้งระบบ
อย่างที่เคยเกิดขึ้นในหลาย ๆ ประเทศ
	 ๒.๒.๔) 	การให้ความส�ำคัญกับการพัฒนาคนให้มีคุณภาพ
(quality of people) โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้มีคุณธรรมก�ำกับความรู้
ในการด�ำเนินชีวิต ซึ่งจะสามารถท�ำให้เกิดวิถีการพัฒนาสู่ความยั่งยืน
ได้ เพราะคนที่มีคุณภาพจะสามารถใช้สติปัญญาในทางที่ถูกต้อง
เป็นเหตุเป็นผลและใส่ใจ เรียนรู้ คิดค้น ปรับปรุง วิธีการ แนวทาง
ในการจัดการทรัพยากรต่าง ๆ ให้เหมาะสม สมดุล และป้องกัน แก้ไข
ข้อบกพร่อง เพื่อให้เกิดผลดีขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งต่อตนเองและสังคมโดยรวม
ในขณะเดียวกัน ซึ่งในที่สุดก็จะน�ำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนนั่นเอง
“การศึกษาที่ดีด้านวิชาการ เป็นทั้งรากฐานและปัจจัย
ส�ำหรับการสร้างสรรค์ แต่การที่จะน�ำวิชาการมาสร้างสรรค์
ให้ส�ำเร็จได้นั้น จ�ำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยการศึกษาที่ดี
ด้านอื่น ๆ ประกอบด้วย การศึกษาด้านอื่น ๆ ที่กล่าวก็คือ
การศึกษาอบรมทุก ๆ อย่างที่จะท�ำให้บุคคลมีความคิด
ความฉลาด มีความหนักแน่นในเหตุผล มีความละเอียด
รอบคอบ รู้จักรับผิดชอบ รู้จักตัดสินใจตามทางที่ถูกต้อง
เป็นธรรม และไม่เป็นการท�ำลาย ผู้ให้การศึกษาจึงควร
ส�ำเหนียกอยู่เสมอที่จะต้องให้การศึกษาที่ดีให้ครบถ้วน
ทุก ๆ ด้าน
พระบรมราโชวาทพระราชทาน
แด่คณะครูและนักเรียนที่ได้รับพระราชทานรางวัล
ณ ศาลาดุสิดาลัย
วันที่ ๒๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๑๙

More Related Content

What's hot

การบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
การบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงการบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
การบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงKroo Naja Sanphet
 
คู่มือกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
คู่มือกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้คู่มือกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
คู่มือกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ทศพล พรหมภักดี
 
รูปแบบการสอนดร.ทิศนา แขมณี
รูปแบบการสอนดร.ทิศนา แขมณีรูปแบบการสอนดร.ทิศนา แขมณี
รูปแบบการสอนดร.ทิศนา แขมณีParichart Ampon
 
ช่วงชั้นที่1
ช่วงชั้นที่1ช่วงชั้นที่1
ช่วงชั้นที่1Trai Traiphop
 
การจัดการเรียนการสอน
การจัดการเรียนการสอนการจัดการเรียนการสอน
การจัดการเรียนการสอนananphar
 
เอกสารแนวทางการจัดการเรียนรู้ สพฐ มศว
เอกสารแนวทางการจัดการเรียนรู้ สพฐ มศวเอกสารแนวทางการจัดการเรียนรู้ สพฐ มศว
เอกสารแนวทางการจัดการเรียนรู้ สพฐ มศวkomjankong
 
นโยบายลดเวลเรียนปรับเมื่อ ๗ ต.ค. ๕๘
นโยบายลดเวลเรียนปรับเมื่อ ๗ ต.ค. ๕๘นโยบายลดเวลเรียนปรับเมื่อ ๗ ต.ค. ๕๘
นโยบายลดเวลเรียนปรับเมื่อ ๗ ต.ค. ๕๘สรวิชญ์ สินสวาท
 
คู่มือบริหารจัดการเวลาเรียน (ปรับปรุงใหม่)
คู่มือบริหารจัดการเวลาเรียน (ปรับปรุงใหม่)คู่มือบริหารจัดการเวลาเรียน (ปรับปรุงใหม่)
คู่มือบริหารจัดการเวลาเรียน (ปรับปรุงใหม่)kroofon fon
 
กิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่...
กิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่...กิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่...
กิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่...Sawittri Phaisal
 
ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ กับความสำเร็จในการบริหารจัดการองค์กร
ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ กับความสำเร็จในการบริหารจัดการองค์กร ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ กับความสำเร็จในการบริหารจัดการองค์กร
ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ กับความสำเร็จในการบริหารจัดการองค์กร Punyapon Tepprasit
 
แผน10 นวัตกรรม บูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
แผน10 นวัตกรรม  บูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงแผน10 นวัตกรรม  บูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
แผน10 นวัตกรรม บูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงJirathorn Buenglee
 
ตัวอย่างแผนการเรียนรู้ BackWard Design คณิตศาสตร์
ตัวอย่างแผนการเรียนรู้ BackWard Design คณิตศาสตร์ตัวอย่างแผนการเรียนรู้ BackWard Design คณิตศาสตร์
ตัวอย่างแผนการเรียนรู้ BackWard Design คณิตศาสตร์คุณครูพี่อั๋น
 
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ Pol
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ Polเค้าโครงวิทยานิพนธ์ Pol
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ PolSamapol Klongkhoi
 
แนวทางปฏิรูปด้านการศึกษาของไทย
แนวทางปฏิรูปด้านการศึกษาของไทยแนวทางปฏิรูปด้านการศึกษาของไทย
แนวทางปฏิรูปด้านการศึกษาของไทยKlangpanya
 
ถอดบทเรียนเศรษฐกิจพอเพียง
ถอดบทเรียนเศรษฐกิจพอเพียงถอดบทเรียนเศรษฐกิจพอเพียง
ถอดบทเรียนเศรษฐกิจพอเพียงkrupornpana55
 

What's hot (20)

การบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
การบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงการบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
การบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
 
คู่มือกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
คู่มือกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้คู่มือกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
คู่มือกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
 
แนวทางลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
แนวทางลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้แนวทางลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
แนวทางลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
 
หลักสูตรแกนกลาง 51
หลักสูตรแกนกลาง 51หลักสูตรแกนกลาง 51
หลักสูตรแกนกลาง 51
 
รูปแบบการสอนดร.ทิศนา แขมณี
รูปแบบการสอนดร.ทิศนา แขมณีรูปแบบการสอนดร.ทิศนา แขมณี
รูปแบบการสอนดร.ทิศนา แขมณี
 
ช่วงชั้นที่1
ช่วงชั้นที่1ช่วงชั้นที่1
ช่วงชั้นที่1
 
การจัดการเรียนการสอน
การจัดการเรียนการสอนการจัดการเรียนการสอน
การจัดการเรียนการสอน
 
Microsoft word แผนบริหารการจัดการเรียนการสอน
Microsoft word   แผนบริหารการจัดการเรียนการสอนMicrosoft word   แผนบริหารการจัดการเรียนการสอน
Microsoft word แผนบริหารการจัดการเรียนการสอน
 
เอกสารแนวทางการจัดการเรียนรู้ สพฐ มศว
เอกสารแนวทางการจัดการเรียนรู้ สพฐ มศวเอกสารแนวทางการจัดการเรียนรู้ สพฐ มศว
เอกสารแนวทางการจัดการเรียนรู้ สพฐ มศว
 
นโยบายลดเวลเรียนปรับเมื่อ ๗ ต.ค. ๕๘
นโยบายลดเวลเรียนปรับเมื่อ ๗ ต.ค. ๕๘นโยบายลดเวลเรียนปรับเมื่อ ๗ ต.ค. ๕๘
นโยบายลดเวลเรียนปรับเมื่อ ๗ ต.ค. ๕๘
 
คู่มือบริหารจัดการเวลาเรียน (ปรับปรุงใหม่)
คู่มือบริหารจัดการเวลาเรียน (ปรับปรุงใหม่)คู่มือบริหารจัดการเวลาเรียน (ปรับปรุงใหม่)
คู่มือบริหารจัดการเวลาเรียน (ปรับปรุงใหม่)
 
กิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่...
กิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่...กิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่...
กิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่...
 
แนวทางลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
แนวทางลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้แนวทางลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
แนวทางลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
 
ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ กับความสำเร็จในการบริหารจัดการองค์กร
ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ กับความสำเร็จในการบริหารจัดการองค์กร ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ กับความสำเร็จในการบริหารจัดการองค์กร
ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ กับความสำเร็จในการบริหารจัดการองค์กร
 
แผน10 นวัตกรรม บูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
แผน10 นวัตกรรม  บูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงแผน10 นวัตกรรม  บูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
แผน10 นวัตกรรม บูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
 
Math(1)
Math(1)Math(1)
Math(1)
 
ตัวอย่างแผนการเรียนรู้ BackWard Design คณิตศาสตร์
ตัวอย่างแผนการเรียนรู้ BackWard Design คณิตศาสตร์ตัวอย่างแผนการเรียนรู้ BackWard Design คณิตศาสตร์
ตัวอย่างแผนการเรียนรู้ BackWard Design คณิตศาสตร์
 
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ Pol
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ Polเค้าโครงวิทยานิพนธ์ Pol
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ Pol
 
แนวทางปฏิรูปด้านการศึกษาของไทย
แนวทางปฏิรูปด้านการศึกษาของไทยแนวทางปฏิรูปด้านการศึกษาของไทย
แนวทางปฏิรูปด้านการศึกษาของไทย
 
ถอดบทเรียนเศรษฐกิจพอเพียง
ถอดบทเรียนเศรษฐกิจพอเพียงถอดบทเรียนเศรษฐกิจพอเพียง
ถอดบทเรียนเศรษฐกิจพอเพียง
 

Similar to 9789740333302

หัวข้อวิจัย เศรษฐกิจพอเพียงกับการเรียนรู้
หัวข้อวิจัย เศรษฐกิจพอเพียงกับการเรียนรู้หัวข้อวิจัย เศรษฐกิจพอเพียงกับการเรียนรู้
หัวข้อวิจัย เศรษฐกิจพอเพียงกับการเรียนรู้จารุ โสภาคะยัง
 
ผลการจัดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ที่มีต่อความรู้ความเข้าใจในคุณธร...
ผลการจัดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ที่มีต่อความรู้ความเข้าใจในคุณธร...ผลการจัดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ที่มีต่อความรู้ความเข้าใจในคุณธร...
ผลการจัดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ที่มีต่อความรู้ความเข้าใจในคุณธร...โรงเรียนบ้านเสาเล้าฯ สผศ
 
บทที่ 7
บทที่ 7บทที่ 7
บทที่ 7benty2443
 
บทที่ 7
บทที่ 7บทที่ 7
บทที่ 7nattawad147
 
7 170819173524
7 1708191735247 170819173524
7 170819173524gam030
 
บทที่ 7
บทที่ 7บทที่ 7
บทที่ 7wanneemayss
 
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ Pol
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ Polเค้าโครงวิทยานิพนธ์ Pol
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ PolSamapol Klongkhoi
 
ต้อนรับคณะนักศึกษา ปโท ดูงาน
ต้อนรับคณะนักศึกษา ปโท ดูงาน ต้อนรับคณะนักศึกษา ปโท ดูงาน
ต้อนรับคณะนักศึกษา ปโท ดูงาน Orange Wongwaiwit
 
งานนำเสนอ..
งานนำเสนอ..งานนำเสนอ..
งานนำเสนอ..Pornthip Tanamai
 
ปรัชญาการศึกษากับการเรียนรู้ของมนุษย์
ปรัชญาการศึกษากับการเรียนรู้ของมนุษย์ปรัชญาการศึกษากับการเรียนรู้ของมนุษย์
ปรัชญาการศึกษากับการเรียนรู้ของมนุษย์pentanino
 

Similar to 9789740333302 (20)

หัวข้อวิจัย เศรษฐกิจพอเพียงกับการเรียนรู้
หัวข้อวิจัย เศรษฐกิจพอเพียงกับการเรียนรู้หัวข้อวิจัย เศรษฐกิจพอเพียงกับการเรียนรู้
หัวข้อวิจัย เศรษฐกิจพอเพียงกับการเรียนรู้
 
ผลการจัดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ที่มีต่อความรู้ความเข้าใจในคุณธร...
ผลการจัดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ที่มีต่อความรู้ความเข้าใจในคุณธร...ผลการจัดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ที่มีต่อความรู้ความเข้าใจในคุณธร...
ผลการจัดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ที่มีต่อความรู้ความเข้าใจในคุณธร...
 
7 170819173524
7 1708191735247 170819173524
7 170819173524
 
7 170819173524
7 1708191735247 170819173524
7 170819173524
 
บทที่ 7
บทที่ 7บทที่ 7
บทที่ 7
 
บทที่ 7
บทที่ 7บทที่ 7
บทที่ 7
 
บทที่ 7
บทที่ 7บทที่ 7
บทที่ 7
 
บทที่ 7
บทที่ 7บทที่ 7
บทที่ 7
 
บทที่ 7
บทที่ 7บทที่ 7
บทที่ 7
 
7 170819173524
7 1708191735247 170819173524
7 170819173524
 
7 170819173524
7 1708191735247 170819173524
7 170819173524
 
7 170819173524
7 1708191735247 170819173524
7 170819173524
 
บทที่ 7
บทที่ 7บทที่ 7
บทที่ 7
 
7 170819173524
7 1708191735247 170819173524
7 170819173524
 
เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง
 
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ Pol
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ Polเค้าโครงวิทยานิพนธ์ Pol
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ Pol
 
ต้อนรับคณะนักศึกษา ปโท ดูงาน
ต้อนรับคณะนักศึกษา ปโท ดูงาน ต้อนรับคณะนักศึกษา ปโท ดูงาน
ต้อนรับคณะนักศึกษา ปโท ดูงาน
 
งานนำเสนอ..
งานนำเสนอ..งานนำเสนอ..
งานนำเสนอ..
 
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 6 new2
แผนบริหารการสอนประจำบทที่  6 new2แผนบริหารการสอนประจำบทที่  6 new2
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 6 new2
 
ปรัชญาการศึกษากับการเรียนรู้ของมนุษย์
ปรัชญาการศึกษากับการเรียนรู้ของมนุษย์ปรัชญาการศึกษากับการเรียนรู้ของมนุษย์
ปรัชญาการศึกษากับการเรียนรู้ของมนุษย์
 

More from CUPress

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737CUPress
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560CUPress
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478CUPress
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270CUPress
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102CUPress
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096CUPress
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072CUPress
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027CUPress
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914CUPress
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907CUPress
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686CUPress
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457CUPress
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440CUPress
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389CUPress
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280CUPress
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365CUPress
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303CUPress
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242CUPress
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235CUPress
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099CUPress
 

More from CUPress (20)

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099
 

9789740333302

  • 1. ค�ำน�ำ หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นจากแรงจูงใจ๓ประการคือการเห็นคุณค่า ในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การเห็นความจ�ำเป็นในการปลูกฝัง ปรัชญานี้ให้แก่เด็กและเยาวชนของชาติ และการเห็นปัญหาของครู/ ผู้สอนในการจัดการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้มีประสิทธิ- ภาพและเกิดประสิทธิผลสูงตามที่คาดหวัง หนังสือเล่มนี้เป็นผลงานจากความพยายามในการแสวงหาวิธี การจัดการเรียนรู้ที่เอื้ออ�ำนวยความสะดวก รวมทั้งเพิ่มประสิทธิผลใน การจัดการเรียนรู้แก่ครู/ผู้สอนนวัตกรรมการสอนที่เสนอแนะจะช่วยให้ ครู/ผู้สอนมีทางเลือกในการพัฒนาผู้เรียนให้เหมาะสมกับผู้เรียน บริบท และสถานการณ์ ผู้เขียนขอเชิญชวนครู/ผู้สอนในทุกระดับการศึกษา มาช่วยกัน ปลูกฝังปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้เกิดขึ้นและเจริญงอกงามขึ้นใน ตัวผู้เรียนโดยการพัฒนากระบวนการคิดของผู้เรียน เนื่องจากการคิด เป็นที่มาของการกระท�ำ การรู้จักคิดตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จึงน�ำไปสู่การกระท�ำหรือการปฏิบัติอย่างพอเพียง อันจะพัฒนาไปสู่ อุปนิสัยพอเพียงในที่สุด นวัตกรรมการสอนที่เสนอแนะในหนังสือเล่มนี้ ให้แนวทางและวิธีการที่เรียบง่ายซึ่งครู/ผู้สอนสามารถน�ำไปประยุกต์ หรือปรับใช้ในการสอนของตนได้อย่างสะดวก ผู้เขียนขอขอบคุณ ดร.ปรียานุช ธรรมปิยา ผู้อ�ำนวยการกลุ่มงาน เศรษฐกิจพอเพียง ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ (สคช.) และหัวหน้าโครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียง
  • 2. ส�ำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ที่ได้กรุณาอ่านหนังสือเล่มนี้ อย่างละเอียด และให้ข้อเสนอแนะที่ดียิ่ง ซึ่งผู้เขียนได้น�ำมาใช้ในการ ปรับปรุงสาระส�ำคัญต่าง ๆ ให้มีความถูกต้องและสมบูรณ์ขึ้น รวมทั้ง ขอขอบคุณ คุณศศินี ลิ้มพงษ์ ผู้จัดการโครงการพัฒนาเยาวชนโดยการ เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ได้สนับสนุนให้ครูน�ำแนวคิด แนวทางจากหนังสือเล่มนี้ไปทดลองใช้ ด้วยความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ผู้ได้พระราชทานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อันเป็น แนวคิดที่มีคุณค่ามหาศาลแก่พสกนิกรชาวไทยผู้เขียนจึงขอมอบรายได้ จากค่าลิขสิทธิ์อันพึงได้จากการจ�ำหน่ายหนังสือเรื่องนี้ให้แก่มูลนิธิ ชัยพัฒนา เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระองค์ท่าน ขอจงทรงพระ เจริญยิ่งยืนนาน ทิศนา แขมมณี กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
  • 3. สารบัญ หน้า ค�ำน�ำ ตอนที่ ๑ การถอดรหัสปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๑ บทที่ ๑ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง : สาระส�ำคัญ ๒ • ความหมายและความส�ำคัญของปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง ๒ • สาระส�ำคัญของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๕ บทที่ ๒ การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงสู่สถานศึกษา ๑๓ • ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการศึกษา ๑๓ • ยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา ๑๖ • แนวทางการขับเคลื่อนปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา ๒๓ • ปัจจัยส�ำคัญที่จ�ำเป็นต่อความส�ำเร็จ ในการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สู่สถานศึกษา ๓๒
  • 4. • ปัญหาและอุปสรรคในการขับเคลื่อนปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา ๓๔ บทที่ ๓ การถอดรหัสปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงเพื่อประยุกต์สู่การสอน ๓๗ • ความจ�ำเป็นของการถอดรหัสปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง ๓๗ • การถอดรหัสปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อประยุกต์สู่การสอน ๔๑ - รหัสที่ ๑ : ความหมายและเป้าหมายของ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๔๒ - รหัสที่ ๒ : หลักคิดและหลักปฏิบัติ ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง : ความพอประมาณ ๕๑ - รหัสที่ ๓ : หลักคิดและหลักปฏิบัติ ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง : ความมีเหตุผล ๕๘ - รหัสที่ ๔ : หลักคิดและหลักปฏิบัติ ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง : การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ๖๕ - รหัสที่ ๕ : เงื่อนไขของปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง : ความรู้ ๖๙ - รหัสที่ ๖ : เงื่อนไขของปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง : คุณธรรม ๗๙
  • 5. - รหัสที่ ๗ : เป้าหมายของปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง : ความสมดุลและ พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงใน ๔ มิติ ๘๔ - รหัสที่ ๘ : องค์รวมของปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง ๙๓ ตอนที่ ๒ การน�ำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่การสอนกระบวนการคิด ๑๐๓ บทที่ ๔ การประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่การเรียนการสอน ๑๐๕ • จะสอนอะไร ๑๐๖ • จะสอนใคร ๑๑๒ • จะสอนตรงไหน เมื่อไร ๑๑๓ • จะสอนอย่างไร ๑๑๔ • จะวัดและประเมินผลการเรียนรู้อย่างไร ๑๑๗ บทที่ ๕ การสอนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แบบแยกส่วน ๑๒๕ • แนวการสอนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๑๒๕ • การสอนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แบบแยกส่วน ๑๒๗ • การสอนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แบบแยกส่วนโดยใช้ค�ำถาม ๑๒๙
  • 6. • ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในการส่งเสริมการคิด ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๑๔๔ บทที่ ๖ การสอนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แบบเน้นกระบวนการคิด : นวัตกรรมการสอน ๑๔๗ • ความส�ำคัญของการพัฒนากระบวนการคิด การปฏิบัติตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๑๔๗ • กระบวนการคิดการปฏิบัติตามปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง : นวัตกรรมการสอนเสนอแนะ ๑๕๑ • ชุดค�ำถามส�ำคัญเพื่อพัฒนากระบวนการคิด การปฏิบัติตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๑๘๔ บทที่ ๗ หลักการสอนส�ำหรับการพัฒนาทักษะ กระบวนการคิดการปฏิบัติตามปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง ๒๐๑ • ประเภทของสาระการเรียนรู้ ๒๐๒ • หลักการสอนสาระประเภทความรู้ ที่มีลักษณะเป็นกระบวนการ ๒๐๔ • หลักการสอนสาระประเภททักษะกระบวนการ ๒๐๖ • หลักการสอนสาระประเภทความรู้สึก เจตคติ ค่านิยม คุณธรรม คุณลักษณะ ๒๑๐ บรรณานุกรม ๒๑๓
  • 8. “...ความรู้ที่มีอยู่ในตัว ไม่มีใครจะขโมยจากเราได้ แล้วความรู้นี้ก็จะเป็นสิ่งที่ช่วยให้เรามีชีวิตที่ก้าวหน้าได้ ที่ได้ มีโอกาสมีความรู้ก็เพราะว่ามีโรงเรียนและมีครูที่พยายาม สอนทุกคน...” พระบรมราโชวาทพระราชทาน แด่คณะกรรมการบริหารทุนพระราชทานครู-อาจารย์ และนักเรียนโรงเรียนราชวินิต ที่ได้รับพระราชทานทุน ณ พระต�ำหนักจิตรลดารโหฐาน วันที่ ๒๖ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๑๔
  • 9. บทที่ ๑. ความหมายและความส�ำคัญของปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวคิดใหม่ที่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชด�ำรัสชี้แนะแก่พสกนิกร ชาวไทย เพื่อน�ำไปใช้ในการแก้ไข ปรับปรุงและพัฒนาเศรษฐกิจของ ประเทศและของโลก ดังพระราชด�ำรัสต่อไปนี้ “เศรษฐกิจพอเพียง แปลว่า Sufficiency Economy ... ค�ำว่า Sufficiency Economy นี้ไม่มีในต�ำราเศรษฐกิจ จะมีได้อย่างไร เพราะว่าเป็นทฤษฎีใหม่ ... Sufficiency Economy นั้น ไม่มีในต�ำรา เพราะหมายความว่าเรามีความคิดใหม่ ... และโดยที่ท่านผู้เชี่ยวชาญสนใจ ก็หมายความว่า เราก็สามารถที่จะไปปรับปรุง หรือไปใช้หลักการ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง : สาระสำ�คัญ ๑
  • 10. 4 เพื่อที่จะให้เศรษฐกิจของประเทศและของโลกพัฒนา ดีขึ้น.” (พระราชด�ำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๔ ธันวาคม ๒๕๔๒) พระองค์ได้พระราชทานความหมายปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงไว้ว่า (จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา และปรียานุช พิบูลสราวุธ, ๒๕๕๓) “เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการด�ำรงอยู่และปฏิบัติตนของ ประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศ ให้ ด�ำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความ จ�ำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อ การมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้ง ภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความ รอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการน�ำวิชาการ ต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการด�ำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคน ในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจ ในทุกระดับ ให้มีส�ำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริตและ ให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ด�ำเนินชีวิตด้วยความอดทน
  • 11. 5 ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุล และพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และกว้างขวาง ทั้งทางด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อมและ วัฒนธรรมจากโลกภายนอก ได้เป็นอย่างดี” จากความหมายข้างต้นจะเห็นได้ว่า ปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงเป็นทั้งหลักคิดและหลักปฏิบัติที่เป็นประโยชน์ต่อการด�ำรง ชีวิตของประชาชนทุกระดับ รวมทั้งรัฐและหน่วยงานต่าง ๆ ก็สามารถ น�ำปรัชญานี้ไปประยุกต์และใช้ในการบริหารและพัฒนาประเทศด้าน ต่างๆได้อย่างกว้างขวางไม่ว่าจะเป็นทางด้านเศรษฐกิจธุรกิจกฎหมาย สังคม การศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และด้านอื่น ๆ อีกมาก ดังตัวอย่างที่เห็นได้จากเอกสารทางวิชาการที่รายงานผลการศึกษา และพัฒนางานด้านต่าง ๆ โดยยึดหลักปรัชญาดังกล่าวของศูนย์ศึกษา เศรษฐกิจพอเพียง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เช่น เรื่อง แนวทางการก�ำหนดนโยบายสาธารณะเพื่อความพอเพียง เศรษฐกิจ พอเพียงในองค์กรธุรกิจเพื่อความยั่งยืน การบริหารทรัพยากรมนุษย์ใน องค์การเพื่อความพอเพียง การบริหารการเงินบุคคลเพื่อความพอเพียง การวิเคราะห์ความคุ้มค่าของโครงการเพื่อความพอเพียง และเรื่อง อื่น ๆ อีกมาก ๒. สาระส�ำคัญของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่ชี้แนวทางการ ด�ำเนินชีวิต ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
  • 12. 6 มีพระราชด�ำรัสแก่ชาวไทยนับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๗ เป็นต้นมา เพื่อเป็น แนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทยให้สามารถด�ำรงอยู่ ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลง ต่าง ๆ เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชด�ำรัส ชี้แนะแนวทางการด�ำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนาน กว่า ๓๐ ปี ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่ง ชาติได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในทางเศรษฐกิจและสาขาอื่น ๆ มาร่วมกัน ประมวลและกลั่นกรองพระราชด�ำรัสเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อบรรจุ ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๙ และได้จัดท�ำ เป็นบทความเรื่อง “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” และได้น�ำความ กราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย เมื่อ วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ พระองค์ทรงพระกรุณาปรับปรุงแก้ไข พระราชทาน และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรม- ราชานุญาตให้น�ำบทความที่ทรงแก้ไขแล้วไปเผยแพร่ เพื่อเป็นแนวทาง ปฏิบัติของส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่ง ชาติ และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องตลอดจนประชาชนโดยทั่วไปเมื่อวันที่๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๒   ๒.๑ องค์ประกอบของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ทรงปรับปรุงพระราชทานเป็น ที่มาของนิยาม “๓ ห่วง ๒ เงื่อนไข” ที่คณะอนุกรรมการขับเคลื่อน เศรษฐกิจพอเพียง ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ
  • 13. 7 สังคมแห่งชาติ น�ำมาใช้ในการรณรงค์เผยแพร่ปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงผ่านช่องทางสื่อต่าง ๆ อยู่ในปัจจุบัน ประกอบด้วยความ “พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน” บนเงื่อนไข “ความรู้” และ “คุณธรรม” โดยมีเป้าหมายคือความสมดุล และพร้อมรับการเปลี่ยน แปลงใน ๔ มิติ ได้แก่ มิติด้านวัตถุ/เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และ วัฒนธรรม ดังแสดงในแผนภาพต่อไปนี้ (จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา และปรียานุช พิบูลสราวุธ, ๒๕๕๓, หน้า ซ)   ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แผนภาพที่ ๑ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง   วัตถุ/สังคม/สิ่งแวดล้อม/วัฒนธรรม สมดุล และพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง น�ำสู่ พอประมาณ มีเหตุผล มี ภูมิคุ้มกัน ในตัวที่ดี ทางสายกลาง ➠ พอเพียง เงื่อนไขความรู้ เงื่อนไขคุณธรรม (รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง) (ซื่อสัตย์สุจริต ขยันอดทน สติปัญญา แบ่งปัน)
  • 14. 8 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีหลักพิจารณาอยู่ด้วยกัน๕ส่วน ดังนี้ (อนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง, ๒๕๔๕) ๑) กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะทางการด�ำรงอยู่และ ปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของ สังคมไทย สามารถน�ำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลาและเป็นการมองโลก เชิงระบบที่มีลักษณะพลวัต มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤต เพื่อ ความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา ๒) คุณลักษณะเศรษฐกิจพอเพียงสามารถน�ำมาประยุกต์ใช้กับ การปฏิบัติตนได้ในทุกระดับโดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และ การพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน ๓) ค�ำนิยาม ความพอเพียง (Sufficiency) จะต้องประกอบ ด้วย ๓ คุณลักษณะพร้อม ๆ กัน ๓.๑) ความพอประมาณ หมายถึงความพอดีที่ไม่น้อยเกิน ไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิต และการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ  ๓.๒) ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับ ของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจาก เหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนค�ำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการ กระท�ำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ ๓.๓) การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี หมายถึง การเตรียมตัวให้ พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น โดย ค�ำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นใน อนาคตทั้งใกล้และไกล
  • 15. 9 ๔) เงื่อนไข การตัดสินใจและการด�ำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ ๔.๑) เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วยความรอบรู้เกี่ยวกับ วิชาการต่าง ๆ อย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะน�ำความรู้เหล่านั้น มาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความ ระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ ๔.๒) เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการด�ำเนินชีวิต ๕) แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการน�ำปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือการพัฒนาที่สมดุลและ ความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้ และเทคโนโลยี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงพัฒนา หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขึ้น เพื่อที่จะให้พสกนิกรชาวไทยได้ ใช้ชีวิตตามทางสายกลางและเพื่อน�ำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ปรัชญานี้ เป็นพื้นฐานของการด�ำรงชีวิตที่สามารถใช้ได้ทั้งในสังคมระดับท้องถิ่น และสังคมระดับสากล   ๒.๒ จุดเด่นของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ชาวโลก ทั้งนักวิชาการและนักพัฒนาก�ำลังปรึกษาหารือ ถกเถียงกันเกี่ยวกับ
  • 16. 10 การปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์การพัฒนาที่จะน�ำไปสู่ความยั่งยืน โดย จุดเด่นของหลักปรัชญาที่เพิ่มวิสัยทัศน์ มุมมองใหม่ที่จ�ำเป็นในการ ท�ำให้เกิดวิถีการพัฒนามุ่งสู่ความยั่งยืนมี ๔ ประการ คือ (จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา และปรียานุช พิบูลสราวุธ, ๒๕๕๓) ๒.๒.๑) การให้ความส�ำคัญกับการพัฒนาที่สมดุล โดยเสนอ แนวทางในการตัดสินใจเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรเพื่อการพัฒนาที่ สามารถน�ำมาใช้ได้ ทั้งในระดับบุคคล องค์กร หน่วยงาน ตลอดจน ไปถึงรัฐบาล ตั้งแต่การใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ที่มีอยู่อย่างสมดุล ทั้ง ทรัพยากรทางกายภาพที่เป็นวัตถุ เงินทุน ระบบนิเวศต่าง ๆ ไปจนถึง ทรัพยากรทางสังคม วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ความเป็น อยู่ ค่านิยม และการก�ำหนดเป้าหมายการพัฒนาให้เจริญก้าวหน้าไป พร้อมกับความสมดุล ภายใต้สภาวะการเปลี่ยนแปลง (dynamic balance) มากกว่าการที่จะมุ่งขยายการเจริญเติบโตให้มากขึ้นเพียง มิติเดียว ดังที่เคยด�ำเนินมาในอดีต ๒.๒.๒) การให้ความส�ำคัญกับเป้าหมายของกิจกรรมพัฒนา ที่มุ่งเน้นประโยชน์ส่วนรวม เนื่องจากลักษณะการมองโลกอย่างเป็น องค์รวมของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ให้ความส�ำคัญกับความ เชื่อมโยงสัมพันธ์ของมนุษย์กับสรรพสิ่ง (คนกับวัตถุ/คนกับคน/คนกับ ธรรมชาติ/และคนรุ่นต่าง ๆ ที่สืบทอดชนชาติสืบต่อกันมา) จึงท�ำให้ ปรัชญานี้มองว่า การกระท�ำของแต่ละบุคคลในที่สุดแล้วย่อมส่งผล กระทบต่อผู้อื่นและสังคมส่วนรวม ไม่ช้าก็เร็ว และไม่มากก็น้อย ฉะนั้น แต่ละคนจึงควรใส่ใจที่จะก�ำหนดเป้าหมายย่อยส่วนบุคคลในทิศทาง ที่สอดคล้องกับเป้าหมายที่เป็นประโยชน์ส่วนรวม และในขั้นปฏิบัติ แต่ละบุคคลควรด�ำเนินภารกิจตนให้ดีที่สุด เพื่อบรรลุเป้าหมายนั้น ๆ
  • 17. 11 ภายใต้บริบทและข้อจ�ำกัดของแต่ละคน (think global, act local) เพื่อให้เกิดทั้งประโยชน์ตนและประโยชน์ส่วนรวมไปพร้อม ๆ กัน  ๒.๒.๓) การให้ความส�ำคัญกับการพัฒนาที่ก้าวหน้าไปอย่าง มั่นคง โดยเริ่มจากการพัฒนาฐานรากของสังคม (foundation) คือ การสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจในระดับครอบครัวให้เข้มแข็ง พออยู่ พอกินสามารถพึ่งตนเองได้ระดับหนึ่งก่อนแล้วจึงเพิ่มระดับการพัฒนา อย่างเป็นขั้นเป็นตอน(step-by-stepdevelopment)เช่นการพัฒนา กลุ่มอาชีพ การจัดการระบบการสอน และสวัสดิการชุมชนต่าง ๆ ไป จนถึงการพัฒนาในระดับเครือข่ายที่ขยายสู่สังคมและประเทศชาติใน ที่สุด ซึ่งการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอนโดยเริ่มจากฐานรากนี้ จะท�ำให้ ผลพวงที่เกิดจากการพัฒนาตกถึงประชาชนส่วนใหญ่โดยตรง และเป็น แนวทางการพัฒนาที่ไม่เสี่ยงต่อการเกิดวิกฤต ล้มละลายทั้งระบบ อย่างที่เคยเกิดขึ้นในหลาย ๆ ประเทศ ๒.๒.๔) การให้ความส�ำคัญกับการพัฒนาคนให้มีคุณภาพ (quality of people) โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้มีคุณธรรมก�ำกับความรู้ ในการด�ำเนินชีวิต ซึ่งจะสามารถท�ำให้เกิดวิถีการพัฒนาสู่ความยั่งยืน ได้ เพราะคนที่มีคุณภาพจะสามารถใช้สติปัญญาในทางที่ถูกต้อง เป็นเหตุเป็นผลและใส่ใจ เรียนรู้ คิดค้น ปรับปรุง วิธีการ แนวทาง ในการจัดการทรัพยากรต่าง ๆ ให้เหมาะสม สมดุล และป้องกัน แก้ไข ข้อบกพร่อง เพื่อให้เกิดผลดีขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งต่อตนเองและสังคมโดยรวม ในขณะเดียวกัน ซึ่งในที่สุดก็จะน�ำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนนั่นเอง
  • 18. “การศึกษาที่ดีด้านวิชาการ เป็นทั้งรากฐานและปัจจัย ส�ำหรับการสร้างสรรค์ แต่การที่จะน�ำวิชาการมาสร้างสรรค์ ให้ส�ำเร็จได้นั้น จ�ำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยการศึกษาที่ดี ด้านอื่น ๆ ประกอบด้วย การศึกษาด้านอื่น ๆ ที่กล่าวก็คือ การศึกษาอบรมทุก ๆ อย่างที่จะท�ำให้บุคคลมีความคิด ความฉลาด มีความหนักแน่นในเหตุผล มีความละเอียด รอบคอบ รู้จักรับผิดชอบ รู้จักตัดสินใจตามทางที่ถูกต้อง เป็นธรรม และไม่เป็นการท�ำลาย ผู้ให้การศึกษาจึงควร ส�ำเหนียกอยู่เสมอที่จะต้องให้การศึกษาที่ดีให้ครบถ้วน ทุก ๆ ด้าน พระบรมราโชวาทพระราชทาน แด่คณะครูและนักเรียนที่ได้รับพระราชทานรางวัล ณ ศาลาดุสิดาลัย วันที่ ๒๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๑๙