SlideShare a Scribd company logo
1 of 10
Download to read offline
เกริ่นนำ�
_14-04(001-072)P4.indd 1 1/14/58 BE 10:20 PM
2
ผู้ส่งสารคือผู้ที่ทำ�หน้าที่ส่งข้อมูล สารไปยังผู้รับสารโดยผ่านช่องทางที่เรียกว่า
สื่อ ถ้าหากเป็นการสื่อสารทางเดียว ผู้ส่งจะทำ�หน้าที่ส่งเพียงประการเดียว แต่ถ้าเป็น
การสื่อสาร 2 ทาง ผู้ส่งสารจะเป็นผู้รับในบางครั้งด้วย ผู้ส่งสารจะต้องมีทักษะในการ
สื่อสาร มีเจตคติต่อตนเอง ต่อเรื่องที่จะส่ง ต้องมีความรู้ในเนื้อหาที่จะส่ง และหากอยู่ใน
ระบบสังคมเดียวกับผู้รับก็จะทำ�ให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพ
ข่าวสารในกระบวนการติดต่อสื่อสารมีความสำ�คัญ ข่าวสารที่ดีต้องแปลเป็นรหัส
เพื่อสะดวกในการส่ง การรับ และการตีความ เนื้อหาสาระของสารและการจัดลำ�ดับเนื้อหา
ของสารจะทำ�ให้การสื่อความหมายง่ายขึ้น
สื่อหรือช่องทางในการรับสารคือประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และ
กายสัมผัส และตัวกลางที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น สิ่งพิมพ์ กราฟิก สื่ออิเล็กทรอนิกส์
ผู้รับสารคือเป้าหมายของผู้ส่งสาร การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพจะต้องมีผู้รับสารที่มี
ประสิทธิภาพในการรับรู้ มีเจตคติที่ดีต่อข้อมูลข่าวสาร ต่อผู้ส่งสาร และต่อตนเอง
ทฤษฎีการสื่อสาร
	 การสื่อสาร (Communication) คือ กระบวนการ
แลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารระหว่างบุคคลต่อบุคคล หรือ
บุคคลต่อกลุ่ม โดยใช้สัญลักษณ์ สัญญาณ หรือพฤติกรรม
ที่เข้าใจกัน โดยมีองค์ประกอบดังนี้
Model การสื่อสาร
_14-04(001-072)P4.indd 2 1/14/58 BE 10:20 PM
3
ค.ศ. 1954 ชแรมม์ กล่าวถึงพื้นฐาน
ประสบการณ์ร่วม (Field of Experience)
ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารว่าจะต้องมี
ประสบการณ์ร่วมกันเพื่อการสื่อสารที่เข้าใจ
ตรงกัน
รูปแบบจำ�ลองเชิงวงกลมชแรมม์
ดัดแปลงจาก หนังสือเทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม ของ กิดานันท์ มลิทอง
ค.ศ. 1954 วิลเบอร์ ชแรมม์ (Wilber
Schramm) และ ซีอี ออสกูด (C.E. Osgood)
ได้สร้าง Model รูปแบบจำ�ลองเชิงวงกลม
การสื่อสาร เป็นรูปแบบการสื่อสารสองทาง
(Two-way Communication)
รูปแบบจำ�ลองเชิงวงกลมของออสกูดและชแรมม์
ดัดแปลงจาก หนังสือเทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม ของ กิดานันท์ มลิทอง
_14-04(001-072)P4.indd 3 1/14/58 BE 10:20 PM
4
รูปแบบจำ�ลอง SMCR ของเบอร์โล
ดัดแปลงจาก	 หนังสือเทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม ของ กิดานันท์ มลิทอง
	 แบบจำ�ลอง SMCR ของเบอร์โล
ให้ความสำ�คัญต่อปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผล
ให้การสื่อสารประสบผลสำ�เร็จ ได้แก่
ทักษะในการสื่อสาร ทัศนคติ ระดับ
ความรู้ ระบบสังคมและวัฒนธรรม ซึ่ง
ผู้รับและผู้ส่งต้องมีตรงกันเสมอ
( )
( )
( )
แบบจำ�ลองการสื่อสารทางเดียวเชิงเส้นตรง
ของแชนนันและวีเวอร์
ดัดแปลงจาก	 หนังสือเทคโนโลยีการศึกษาและ
	 นวัตกรรม ของ กิดานันท์ มลิทอง
	 ค.ศ. 1960 แบบจำ�ลอง SMCR ของเบอร์โล (Berlo)
ได้ให้ความสำ�คัญกับสิ่งต่าง ๆ คือ
Channel ReceiverMessageSource
S M C R
ข่าวสาร
(Message)
เนื้อหา
สัญลักษณ์
และวิธีการ
ส่งสาร
ช่องทางการ
สื่อสาร
(Channel)
ช่องทางที่ใช้
ส่งสารสู่ผู้รับ
ให้ได้รับด้วย
ประสาท
สัมผัสทั้งห้า
ผู้รับสาร
(Receiver)
ผู้ที่มีความ
สามารถใน
การถอดรหัส
(Decode)
สารที่รับมา
ได้อย่างถูกต้อง
ผู้ส่งสาร
(Source)
ต้องเป็นผู้ที่มี
ความสามารถเข้า
รหัส (Encode)
เนื้อหาข่าวสารได้
มีความรู้อย่างดี
ในข้อมูลที่จะส่ง
สามารถปรับ
ระดับให้เหมาะสม
สอดคล้องกับ
ผู้รับ
_14-04(001-072)P4.indd 4 1/14/58 BE 10:20 PM
5
ตามแบบจำ�ลองของแชนนัน
และวีเวอร์ (Shannon and Weaver)
นอกจากจะมองถึงองค์ประกอบ
พื้นฐานของการสื่อสารเช่นเดียวกับ
เบอร์โลแล้ว ยังให้ความสำ�คัญกับ “สิ่ง
รบกวน (Noise)” เพราะการสื่อสาร
หากมีสิ่งรบกวนเกิดขึ้นจะเป็นอุปสรรค
ต่อการสื่อสาร เช่น ถ้าอาจารย์ใช้ภาพ
เป็นสื่อการสอนแต่ภาพนั้นไม่ชัดเจน
หรือเล็กเกินไป ผู้เรียนจะเห็นไม่ชัดเจน
ทำ�ให้ไม่เข้าใจ
จากทฤษฎีต่าง ๆ ข้างต้น
สามารถสร้างความเข้าใจพื้นฐาน
ของการสื่อสาร รวมถึงองค์ประกอบ
ที่ ทำ � ใ ห้ ก า ร สื่ อ ส า ร ส ม บู ร ณ์ ไ ด้
การสื่อสารมีความสำ�คัญต่อมนุษย์
อย่างยิ่ง โดยแบ่งความสำ�คัญออกได้
5 ประการดังนี้
1.	ความสำ�คัญ
	ต่อความเป็นสังคม
	 การที่มนุษย์จะอยู่ร่วมกันเป็น
กลุ่มเป็นสังคมได้ จำ�เป็นต้องอาศัย
การสื่อสารเป็นพื้นฐาน เพราะการ
สื่อสารทำ�ให้เกิดความเข้าใจและ
ทำ�ความตกลงกันได้ ติดต่อสื่อสาร
เพื่อสร้างระเบียบของสังคมให้
เป็นที่ยอมรับระหว่างสมาชิก เพื่อ
จะได้อยู่ร่วมกันเป็นสังคมอย่าง
สงบสุข
2.	ความสำ�คัญ
	 ต่อชีวิตประจำ�วัน
	 การสื่อสารมีบทบาทสำ�คัญต่อ
การดำ�เนินชีวิตประจำ�วัน เรียกได้ว่า
ตลอดเวลาที่ตื่นจะสื่อสารตลอด
เวลา แม้กระทั่งเวลาหลับหากฝัน
หรือละเมอเรื่องใดก็ตาม นั่นก็ถือ
ว่าเป็นการสื่อสารรูปแบบหนึ่ง คือ
การสื่อสารภายในตัวบุคคล (Intra-
personal Communication)
3.	ความสำ�คัญ
	ต่ออุตสาหกรรมและธุรกิจ
	 ปัจจุบันวงการอุตสาหกรรม
มีการปฏิวัติด้านเทคโนโลยีการ
ผลิต ตลอดจนพัฒนาประสิทธิภาพ
การทำ�งาน จึงต้องอาศัยการสื่อสาร
ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้
เพราะโรงงานอุตสาหกรรมถือ
เป็นองค์กรหรือสถาบันหนึ่งที่
ต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม
และประชาชน โดยนำ�การสื่อสาร
มาใช้สร้างความสัมพันธ์กับบุคคล
ภายนอกองค์กร เช่น ผู้บริโภค
ชุมชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้
เคียง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐบาล
ฯลฯ นั่นคือ “การประชาสัมพันธ์”
เป็นการสื่อสารที่ช่วยเผยแพร่
ข่าวสารเกี่ยวกับองค์กร ลดปัญหา
ความขัดแย้ง และสร้างความเข้าใจ
ที่ถูกต้อง นอกจากนี้ยังสามารถ
ตรวจสอบประชามติหรือความ
คิดเห็นของประชาชนกลุ่มต่างๆ
ที่มีต่อองค์กรได้ด้วย
_14-04(001-072)P4.indd 5 1/14/58 BE 10:20 PM
6
วัตถุประสงค์
ของการสื่อสาร
	 กระบวนการสื่อสารไม่ว่าระดับ
ใดก็ตาม ผู้ส่งสารและผู้รับสาร
ต่างก็มีวัตถุประสงค์ในการติดต่อ
สื่อสารที่เหมือนกันหรือแตกต่าง
กัน ฉะนั้น การศึกษาวัตถุประสงค์
ของการสื่อสารจึงสามารถแยก
ออกได้เป็นวัตถุประสงค์ของ
ผู้ส่งสารกับวัตถุประสงค์ของ
ผู้รับสาร ถ้าวัตถุประสงค์ทั้ง 2
ฝ่ายเหมือนกันหรือสอดคล้อง
กัน การสื่อสารจะสัมฤทธิผลได้
ง่าย ตรงกันข้ามถ้าวัตถุประสงค์
ของทั้ง 2 ฝ่ายไม่ตรงกัน ผู้รับสาร
อาจมีปฏิกิริยาต่อสารผิดไปจาก
ความตั้งใจของผู้ส่งสารได้ ซึ่งจะ
ทำ�ให้การสื่อสารไม่บรรลุเป้าหมาย
หรือเจตนารมณ์ของผู้ส่งสาร
ทำ�ให้การสื่อสารล้มเหลว (Com-
munication Breakdown)
4.	ความสำ�คัญ
	ต่อการปกครอง
	 ไม่ว่าจะเป็นการปกครอง
รูปแบบใดก็ตาม ต้องประกอบ
ไปด้วยผู้ปกครองและผู้ถูก
ปกครองหรือประชาชน การ
ปกครองจะเป็นไปอย่างราบรื่น
หรือเป็นไปในทางที่ดีได้ทั้ง
ผู้ปกครองและผู้ถูกปกครอง
จะต้องอาศัยการสื่อสารเข้ามา
เป็นตัวช่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
สังคมระบอบประชาธิปไตย
การสื่อสารจะเป็นตัวสะท้อน
ให้ผู้ปกครองทราบความต้องการ
ของผู้ถูกปกครองและสิ่งที่
ต้องการให้ผู้ปกครองทำ� นั่นคือ
ความสำ�คัญต่อการปกครอง
5.	ความสำ�คัญ
	ต่อการเมืองระหว่าง
	ประเทศ
	 การดำ�เนินความสัมพันธ์
ระหว่างประเทศและนโยบาย
การเมืองระหว่างประเทศ
ต่าง ๆ จำ�เป็นต้องอาศัย
กระทรวงการต่างประเทศ
และสถานทูตรับผิดชอบด้าน
การสื่อสารโดยตรง เพื่อเผยแพร่
ข่าวสารเกี่ยวกับประเทศ สร้าง
ความเข้าใจอันดีกับประเทศ
อื่น ตลอดจนชักจูงให้ได้รับ
การสนับสนุนจากประเทศอื่น
และยังสามารถศึกษาความรู้สึก
นึกคิดของประชาชนในประเทศ
ต่าง ๆ ที่มีต่อประเทศของตน
อีกด้วย โดยอาศัยสื่อชนิด
ต่าง ๆ เช่น สถานีวิทยุ VOA
หรือ Voice of America ของ
ประเทศสหรัฐอเมริกา หรือ
สถานีวิทยุ BBC ของประเทศ
อังกฤษ
_14-04(001-072)P4.indd 6 1/14/58 BE 10:20 PM
7
วัตถุประสงค์ของผู้ส่งสาร
การสื่อสารแต่ละครั้งผู้ส่งสารจะมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
วัตถุประสงค์ของผู้รับสาร
โดยทั่วไปผู้รับสารจะมีวัตถุประสงค์หลัก ๆ ในการสื่อสารดังนี้
1.	 เพื่อแจ้งให้ทราบ (Inform)
	 ผู้ส่งสารต้องการจะบอกกล่าวหรือชี้แจงข่าวสาร เรื่องราว
เหตุการณ์ ข้อมูล หรือสิ่งอื่นใดให้ผู้รับสารได้รับทราบหรือเกิด
ความเข้าใจ โดยอาจผ่านทางสื่อมวลชน หนังสือพิมพ์ วิทยุ และ
โทรทัศน์ เช่น หนังสือพิมพ์รายวันตีพิมพ์ข่าวสารเพื่อรายงาน
ข่าวและเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นประจำ�วันให้ประชาชนได้
รับทราบ
2.	 เพื่อสอนหรือให้การศึกษา (Teach or Educate)
	 ผู้ส่งสารต้องการจะสอนวิชาความรู้หรือเรื่องราวที่เป็น
วิชาการให้ผู้รับสารได้รับความรู้เพิ่มเติมจากเดิม เช่น วารสาร
เพื่อสุขภาพอนามัยจะตีพิมพ์บทความต่าง ๆ เกี่ยวกับการรักษา
สุขภาพอนามัย ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคภัยต่าง ๆ อาการที่เกิดขึ้น
หรือวิธีการป้องกัน
3.	 เพื่อสร้างความพอใจ หรือให้ความบันเทิง (Please or
Entertain)
	 ผู้ส่งสารต้องการให้ผู้รับสารเกิดความบันเทิงจากสารที่ส่งออก
ไป ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของการพูด การเขียน หรือการแสดงกิริยา
ท่าทาง เช่น นวนิยาย เพลง ละคร เกมโชว์ การแสดงคอนเสิร์ต
4.	 เพื่อเสนอแนะหรือชักจูงใจ (Propose or Persuade)
	 ผู้ส่งสารได้เสนอแนะสิ่งใดสิ่งหนึ่งต่อผู้รับสาร และต้องการ
ชักจูงให้ผู้รับสารคล้อยตามหรือยอมรับปฏิบัติตามการเสนอแนะ
ของตน เช่น การโฆษณาสินค้าทางหน้าหนังสือพิมพ์ วิทยุ หรือ
โทรทัศน์
	 ส่วนใหญ่กระบวนการสื่อสารมวลชนผู้ส่งสารหรือองค์กรสื่อ
ต่างดำ�เนินการโดยมีวัตถุประสงค์ครบทั้ง 4 ประการดังกล่าว
ข้างต้น
1.	 เพื่อแจ้งให้ทราบ (Inform)
	 การเข้าร่วมกิจกรรมที่สื่อสารนั้น ผู้รับสารมีความต้องการ
ที่จะทราบเรื่องราว ข้อมูล ข่าวสาร เหตุการณ์ หรือสิ่งอื่น ๆ
ที่มีผู้แจ้ง หรือรายงาน หรือชี้แจงให้ทราบ
2.	 เพื่อสอนหรือให้การศึกษา (Teach or Educate)
	 ผู้รับสารต้องการแสวงหาความรู้จากสารที่มีเนื้อหา
สาระเกี่ยวกับวิชาความรู้และวิชาการ เป็นการหาความรู้
เพิ่มเติม และทำ�ความเข้าใจกับเนื้อหาสาระในการสอน
ของผู้ส่งสาร
3.	 เพื่อสร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิง (Please or
Entertain)
	 โดยปกติคนเรานอกจากจะต้องทราบข่าวคราว เหตุการณ์
ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม และต้องการศึกษาเพื่อหาความรู้
แล้ว ยังมีความต้องการด้านบันเทิงเพื่อการพักผ่อนหย่อน
ใจ เช่น ผู้รับสารอาจจะสื่อสารจากการฟังเพลง ละครวิทยุ
อ่านหนังสือพิมพ์หน้าบันเทิง ชมรายการโทรทัศน์ หรือ
เกมโชว์
4.	 เพื่อเสนอแนะหรือชักจูงใจ (Propose or Persuade)
	 ผู้รับสารมีการตัดสินใจ การได้รับการเสนอแนะ หรือการ
ชักจูงให้กระทำ�จากบุคคลอื่นอยู่เสมอ ดังนั้น ทางเลือกในการ
ตัดสินใจจึงขึ้นกับข้อเสนอแนะนั้นว่าจะมีความน่าเชื่อถือ
และเป็นไปได้เพียงใด นอกจากนี้ยังต้องคำ�นึงถึงการรับ
ข่าวสาร ข้อมูล ความรู้ และความเชื่อของแต่ละบุคคล
ที่ได้สั่งสมมาด้วย
_14-04(001-072)P4.indd 7 1/14/58 BE 10:20 PM
8
วิวัฒนาการของการสื่อสาร
อาริสโตเติล (Aristotle) นักปราชญ์ชาวกรีก กล่าวว่า มนุษย์เป็นสัตว์สังคม (Man is by nature a social animal)
ทั้งนี้โดยหลักการเชื่อว่า มนุษย์โดยสภาพธรรมชาติจะต้องมีชีวิตอยู่ร่วมกับบุคคลอื่น ติดต่อสัมพันธ์ ไม่สามารถ
ดำ�รงชีวิตอยู่อย่างอิสระตามลำ�พังแต่ผู้เดียวได้ เราเรียกสัตว์ที่มีการดำ�รงชีวิตอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม โดยมีการกระทำ�
ระหว่างกันทางสังคมว่า สัตว์สังคม
(Social Animals)
แนวคิดของนักสังคมวิทยา สังคม
กับมนุษย์จะแยกจากกันไม่ได้ เพราะ
มนุษย์เกิดมาต้องอาศัยสังคม ต้อง
พึ่งพาอาศัยมนุษย์ด้วยกัน ต้องมีการ
ติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ต่อ
กัน เพื่อประโยชน์แห่งตนและสังคม
หากจะพูดว่าการสื่อสารข้อมูลเกิด
ขึ้นพร้อม ๆ กับมนุษย์ก็คงจะไม่ผิด
ทั้งนี้เพราะการสื่อสารข้อมูลทำ�ให้
มนุษย์สามารถสื่อความคิดต่าง ๆ ที่
เป็นประโยชน์ในการดำ�รงชีวิตและมี
พัฒนาการเรื่อยมา ทุกวันนี้เราสามารถ
ติดต่อสื่อสารกับคนทั่วโลกได้สะดวก
มนุษย์ที่อยู่อาศัยในดินแดนที่ห่างไกล
กันถึงขั้นเป็นเมือง เป็นรัฐอันอิสระ
ต่างก็มีวิธีส่งข่าวสารข้อมูลถึงกัน
ทั้งสิ้น
ที่มา : http://history.howstuffworks.com/native-american-history/smoke-signal.htm
8
_14-04(001-072)P4.indd 8 1/14/58 BE 10:20 PM
9
1.	 การสร้างและใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ
สัญลักษณ์ (Symbol) หมายถึง
สิ่งใด ๆ ก็ตามที่ใช้แทนความหมาย
ของอีกสิ่งหนึ่ง อาจใช้แทนความหมาย
ของวัตถุ เช่น เครื่องหมายกากบาท
ในการจราจรใช้แทนความหมายของ
ถนน 2 สายที่ตัดกันเป็นสี่แยก สัญ-
ลักษณ์อาจใช้แทนความหมายของสิ่ง
ที่ไม่ใช่วัตถุ เช่น เครื่องหมายไม้กางเขน
ใช้แทนคริสต์ศาสนา สัญลักษณ์เป็น
สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในการ
ติดต่อสื่อสารระหว่างกัน อาจจำ�แนก
ได้เป็น 3 ประเภทดังนี้
-	สัญลักษณ์ภาษา เป็นสัญลักษณ์
สำ�คัญที่มนุษย์นำ�มาใช้เพื่อถ่ายทอด
ประสบการณ์ ความรู้สึกนึกคิด และ
การติดต่อสื่อสารระหว่างกัน ขณะที่
เผ่าพันธุ์มนุษย์ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น
การพัฒนาภาษาต่าง ๆ ในหมู่เหล่า
จึงถูกนำ�มาใช้เพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้คน
ในกลุ่มสังคมชนเผ่าของตน ซึ่งมีทั้ง
ภาษาพูด (Verbal Language or
Sound System) และภาษาเขียน
(Alphabetic Letters or Visual
Language System) มนุษย์สามารถ
กำ�หนดความหมายของถ้อยคำ�ต่าง ๆ
ได้มากมาย และสามารถประดิษฐ์
ภาษาเขียนซึ่งอำ�นวยประโยชน์ต่อ
การติดต่อสื่อสารระหว่างสมาชิกใน
สังคม
-	สัญลักษณ์ทางวัตถุ คือ สิ่งประดิษฐ์
ทางวัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้แทน
ความหมายของสิ่งต่าง ๆ เช่น ป้ายหน้า
ร้าน ธงชาติ อนุสาวรีย์ เครื่องหมาย
จราจร
-	สัญลักษณ์ที่เป็นการกระทำ�และ
กิริยาท่าทาง เป็นสัญลักษณ์ซึ่งใช้
การแสดงออกด้วยการเคลื่อนไหว
ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเพื่อกำ�หนด
ความหมายให้เป็นที่เข้าใจร่วมกัน
เช่น การก้ม การโค้งศีรษะ การไหว้
เป็นการแสดงการทักทาย ให้เกียรติ
และแสดงความเคารพต่อบุคคล
การเต้นรำ�บางจังหวะแสดงถึงความ
สนุกสนาน ร่าเริง ฯลฯ
วิ วั ฒ น า ก า ร
ติดต่อสื่อสาร
ของมนุษย์จาก
สมัยโบราณถึง
ปัจจุบันมีดังนี้
การสื่อสารมีวิวัฒนาการตั้งแต่ยุค
แรกของมนุษย์์ โดยในสมัยโบราณมี
วิธีการสื่อสารที่ไม่ซับซ้อนมากนัก เช่น
ระบบการวาดภาพ (Visual System)
ระบบการใช้เสียง (Sound System)
การใช้ม้าเร็ว นกพิราบสื่อสาร หรือ
สัญญาณควัน แต่เมื่อมนุษย์พัฒนา
การดำ�รงชีวิตและความเป็นอยู่อย่าง
ไม่หยุดนิ่ง เครื่องมือและอุปกรณ์ใน
การสื่อสารจึงได้รับการพัฒนาให้
ทันสมัยก้าวหน้าควบคู่กันเพื่อความ
สะดวกสบาย การสื่อสารระยะไกล
ของมนุษย์ในยุคแรก ๆ คือ ตีเกราะ
เคาะไม้ ส่งเสียงต่อเป็นทอด ๆ และ
ส่งสัญญาณควัน ใช้ม้าเร็ว นกพิราบ
สื่อสาร เปลี่ยนมาเป็นจดหมาย ป้าย
บอกทาง โทรเลข โทรศัพท์ วิทยุ
โทรทัศน์ดาวเทียมสื่อสารที่สามารถ
9
เชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารให้ได้ยินทั้ง
เสียงและได้เห็นทั้งภาพ เหล่านี้ล้วน
เป็นพัฒนาการด้านความคิดของมนุษย์
ที่คิดค้นเพื่อตอบสนองความต้องการ
ข่าวสารข้อมูลของมนุษย์ด้วยกันเอง
_14-04(001-072)P4.indd 9 1/14/58 BE 10:20 PM
10
4.	นกพิราบสื่อสาร
ในระหว่างสงครามการสื่อสาร
ระหว่างทหารที่ออกรบในสมรภูมิกับ
ศูนย์บัญชาการค่อนข้างลำ�บาก การใช้
ทหารเดินเท้าเพื่อส่งข่าวต้องเผชิญ
อุปสรรคนานัปการทั้งภูมิอากาศและ
ภูมิประเทศที่กันดาร การหลบหลีก
ให้พ้นสายตาข้าศึก นกพิราบสื่อสารจึง
ถูกนำ�มาใช้เพื่อส่งข่าวสารจากสมรภูมิ
กลับสู่ศูนย์บัญชาการ
5.	ระบบไปรษณีย์(PostalSystem)
ยุคกลางของยุโรปมีวิธีการสื่อสาร
ใหม่เกิดขึ้นจากการค้าขายที่เฟื่องฟู
โดยเฉพาะในประเทศอิตาลีที่ติดต่อส่ง
สินค้า การพาณิชย์ระหว่างเมืองใหญ่ ๆ
เช่น จากเวนิสถึงคอนสแตนติโนเปิล
ต่อมาความเจริญก้าวหน้าของระบบ
การศึกษา ตลอดจนระบบการพิมพ์ได้
พัฒนาเพิ่มยิ่งขึ้น รัฐบาลของประเทศ
ต่าง ๆ เห็นความสำ�คัญของการติดต่อ
2.	เคอร์ซัสพับลิคัส
	 (Circus Publicus)
ในยุคโรมันระบบการติดต่อส่งข่าว
สารมีความละเอียดซับซ้อน เรียกว่า
เคอร์ซัสพับลิคัส ระบบของโรมันใช้การ
ส่งเป็นทอดหรือวิ่งผลัด ทำ�ให้การส่ง
ข่าวสารผ่านตลอดทั่วแดนได้โดยง่าย
มีความสะดวก คล่องตัว รวมทั้งมีการ
ตรวจตราอย่างเข้มงวด มีเครือข่าย
โยงใยในระบบตรวจสอบของรัฐ ซึ่ง
จะรับรองเรื่องความแม่นยำ�และ
ความน่าเชื่อถือในเรื่องของรัฐ
เป็นอย่างดี แม้หลังจากอาณาจักร
โรมันล่มสลายระบบเคอร์ซัส
พับลิคัสยังยืนหยัดใช้กันอยู่พอ
สมควร
3.	ม้าเร็ว
ผู้ส่งสารในระบบ“ม้าเร็ว”นี้
ส่งข่าวได้ทันใจ ซึ่งพัฒนาโดย
ชาวจีนและชาวโรมันโบราณที่
ต้องการระบบการส่งข่าวทาง
ไกลที่คล่องตัว
สื่อสารระหว่างประเทศและข้ามทวีป
เมื่อมีการเขียนจดหมายมากขึ้นและ
มีความต้องการสื่อสารอย่างเร่งรีบ
มากขึ้น จึงมีกลุ่มบุคคลเห็นความ
สำ�คัญของการทำ�กิจการส่งข่าวสาร
เช่น ครอบครัวแท็กซิส (TAXIS Fami-
ly) ซึ่งอยู่ในเบอร์กาโม ประเทศอิตาลี
ที่มา : http://uncrate.com/stuff/curve-your-own-post-cards/
	 http://preaprez.wordpress.com/2013/03/14/good-morning-hb2404-hb3162-sb1-and-sb35-888412-6570/
10
_14-04(001-072)P4.indd 10 1/14/58 BE 10:20 PM

More Related Content

What's hot

กัณฑ์มัทรี
กัณฑ์มัทรีกัณฑ์มัทรี
กัณฑ์มัทรีMilky' __
 
1.แผนการเรียนรู้ยาเสพติดม.1
1.แผนการเรียนรู้ยาเสพติดม.11.แผนการเรียนรู้ยาเสพติดม.1
1.แผนการเรียนรู้ยาเสพติดม.1Kruthai Kidsdee
 
โครงงานคณิตบทที่ 1
โครงงานคณิตบทที่ 1โครงงานคณิตบทที่ 1
โครงงานคณิตบทที่ 1Jutarat Bussadee
 
โครงงาน เรื่อง มะพร้าว
โครงงาน เรื่อง มะพร้าวโครงงาน เรื่อง มะพร้าว
โครงงาน เรื่อง มะพร้าวsakuntra
 
Is2 การสื่อสารและการนำเสนอ กลุ่ม1
Is2  การสื่อสารและการนำเสนอ  กลุ่ม1Is2  การสื่อสารและการนำเสนอ  กลุ่ม1
Is2 การสื่อสารและการนำเสนอ กลุ่ม1พัน พัน
 
2.ส่วนคำนำ และสารบัญ
2.ส่วนคำนำ และสารบัญ2.ส่วนคำนำ และสารบัญ
2.ส่วนคำนำ และสารบัญPongpob Srisaman
 
ประวัติผู้วิจัย
ประวัติผู้วิจัยประวัติผู้วิจัย
ประวัติผู้วิจัยYanee Chaiwongsa
 
ศ.ดร นิพนธ์ ศาสตร์พระราชา
ศ.ดร นิพนธ์ ศาสตร์พระราชาศ.ดร นิพนธ์ ศาสตร์พระราชา
ศ.ดร นิพนธ์ ศาสตร์พระราชาyah2527
 
วรรณคดีและวรรณกรรม ความหมาย
วรรณคดีและวรรณกรรม ความหมายวรรณคดีและวรรณกรรม ความหมาย
วรรณคดีและวรรณกรรม ความหมายchontee55
 
การเขียนบันทึก
การเขียนบันทึกการเขียนบันทึก
การเขียนบันทึกyahapop
 
แบบฝึกทักษะการเขียนเรียงความ
แบบฝึกทักษะการเขียนเรียงความแบบฝึกทักษะการเขียนเรียงความ
แบบฝึกทักษะการเขียนเรียงความsripayom
 
21 วิธีการสอน และเอกสารฝ่ายวิชาการ
21 วิธีการสอน และเอกสารฝ่ายวิชาการ21 วิธีการสอน และเอกสารฝ่ายวิชาการ
21 วิธีการสอน และเอกสารฝ่ายวิชาการProud N. Boonrak
 
สื่อการเรียนรู้
สื่อการเรียนรู้สื่อการเรียนรู้
สื่อการเรียนรู้AomJi Math-ed
 
สร้างสื่อ Augmented Reality ง่ายๆ ด้วย Vidinoti
สร้างสื่อ Augmented Reality ง่ายๆ ด้วย Vidinotiสร้างสื่อ Augmented Reality ง่ายๆ ด้วย Vidinoti
สร้างสื่อ Augmented Reality ง่ายๆ ด้วย VidinotiDr.Kridsanapong Lertbumroongchai
 
กำหนดการโครงการต่าง ๆ
กำหนดการโครงการต่าง ๆกำหนดการโครงการต่าง ๆ
กำหนดการโครงการต่าง ๆLooktan Kp
 
ตัวอย่างการเขียนบท อาหารกลางวัน
ตัวอย่างการเขียนบท อาหารกลางวันตัวอย่างการเขียนบท อาหารกลางวัน
ตัวอย่างการเขียนบท อาหารกลางวันThe School District of Philadelphia
 
แบบประเมินโครงงาน1โดยอาจารย์ที่ปรึกษาก่อนpresent
แบบประเมินโครงงาน1โดยอาจารย์ที่ปรึกษาก่อนpresentแบบประเมินโครงงาน1โดยอาจารย์ที่ปรึกษาก่อนpresent
แบบประเมินโครงงาน1โดยอาจารย์ที่ปรึกษาก่อนpresentthanapat yeekhaday
 
แบบสอบถาม โครงการบันทึกรักการอ่าน2013
แบบสอบถาม โครงการบันทึกรักการอ่าน2013แบบสอบถาม โครงการบันทึกรักการอ่าน2013
แบบสอบถาม โครงการบันทึกรักการอ่าน2013Kruthai Kidsdee
 

What's hot (20)

กัณฑ์มัทรี
กัณฑ์มัทรีกัณฑ์มัทรี
กัณฑ์มัทรี
 
1.แผนการเรียนรู้ยาเสพติดม.1
1.แผนการเรียนรู้ยาเสพติดม.11.แผนการเรียนรู้ยาเสพติดม.1
1.แผนการเรียนรู้ยาเสพติดม.1
 
โครงงานคณิตบทที่ 1
โครงงานคณิตบทที่ 1โครงงานคณิตบทที่ 1
โครงงานคณิตบทที่ 1
 
คำนำ
คำนำคำนำ
คำนำ
 
โครงงาน เรื่อง มะพร้าว
โครงงาน เรื่อง มะพร้าวโครงงาน เรื่อง มะพร้าว
โครงงาน เรื่อง มะพร้าว
 
Is2 การสื่อสารและการนำเสนอ กลุ่ม1
Is2  การสื่อสารและการนำเสนอ  กลุ่ม1Is2  การสื่อสารและการนำเสนอ  กลุ่ม1
Is2 การสื่อสารและการนำเสนอ กลุ่ม1
 
2.ส่วนคำนำ และสารบัญ
2.ส่วนคำนำ และสารบัญ2.ส่วนคำนำ และสารบัญ
2.ส่วนคำนำ และสารบัญ
 
ประวัติผู้วิจัย
ประวัติผู้วิจัยประวัติผู้วิจัย
ประวัติผู้วิจัย
 
ทฤษฎีระบบ
ทฤษฎีระบบทฤษฎีระบบ
ทฤษฎีระบบ
 
ศ.ดร นิพนธ์ ศาสตร์พระราชา
ศ.ดร นิพนธ์ ศาสตร์พระราชาศ.ดร นิพนธ์ ศาสตร์พระราชา
ศ.ดร นิพนธ์ ศาสตร์พระราชา
 
วรรณคดีและวรรณกรรม ความหมาย
วรรณคดีและวรรณกรรม ความหมายวรรณคดีและวรรณกรรม ความหมาย
วรรณคดีและวรรณกรรม ความหมาย
 
การเขียนบันทึก
การเขียนบันทึกการเขียนบันทึก
การเขียนบันทึก
 
แบบฝึกทักษะการเขียนเรียงความ
แบบฝึกทักษะการเขียนเรียงความแบบฝึกทักษะการเขียนเรียงความ
แบบฝึกทักษะการเขียนเรียงความ
 
21 วิธีการสอน และเอกสารฝ่ายวิชาการ
21 วิธีการสอน และเอกสารฝ่ายวิชาการ21 วิธีการสอน และเอกสารฝ่ายวิชาการ
21 วิธีการสอน และเอกสารฝ่ายวิชาการ
 
สื่อการเรียนรู้
สื่อการเรียนรู้สื่อการเรียนรู้
สื่อการเรียนรู้
 
สร้างสื่อ Augmented Reality ง่ายๆ ด้วย Vidinoti
สร้างสื่อ Augmented Reality ง่ายๆ ด้วย Vidinotiสร้างสื่อ Augmented Reality ง่ายๆ ด้วย Vidinoti
สร้างสื่อ Augmented Reality ง่ายๆ ด้วย Vidinoti
 
กำหนดการโครงการต่าง ๆ
กำหนดการโครงการต่าง ๆกำหนดการโครงการต่าง ๆ
กำหนดการโครงการต่าง ๆ
 
ตัวอย่างการเขียนบท อาหารกลางวัน
ตัวอย่างการเขียนบท อาหารกลางวันตัวอย่างการเขียนบท อาหารกลางวัน
ตัวอย่างการเขียนบท อาหารกลางวัน
 
แบบประเมินโครงงาน1โดยอาจารย์ที่ปรึกษาก่อนpresent
แบบประเมินโครงงาน1โดยอาจารย์ที่ปรึกษาก่อนpresentแบบประเมินโครงงาน1โดยอาจารย์ที่ปรึกษาก่อนpresent
แบบประเมินโครงงาน1โดยอาจารย์ที่ปรึกษาก่อนpresent
 
แบบสอบถาม โครงการบันทึกรักการอ่าน2013
แบบสอบถาม โครงการบันทึกรักการอ่าน2013แบบสอบถาม โครงการบันทึกรักการอ่าน2013
แบบสอบถาม โครงการบันทึกรักการอ่าน2013
 

Similar to 9789740333203

9789740328926
97897403289269789740328926
9789740328926CUPress
 
ความหมายของการสื่อสาร
ความหมายของการสื่อสารความหมายของการสื่อสาร
ความหมายของการสื่อสารpeter dontoom
 
Ebook การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ กศน.
Ebook  การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ กศน.Ebook  การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ กศน.
Ebook การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ กศน.peter dontoom
 
เทคนิคการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์
เทคนิคการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์เทคนิคการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์
เทคนิคการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์pui003
 
Computer_m2_datacommunication
Computer_m2_datacommunicationComputer_m2_datacommunication
Computer_m2_datacommunicationPhuwit Innma
 

Similar to 9789740333203 (11)

Communication Process (กระบวนการการสื่อสาร) ch.5
Communication Process (กระบวนการการสื่อสาร) ch.5Communication Process (กระบวนการการสื่อสาร) ch.5
Communication Process (กระบวนการการสื่อสาร) ch.5
 
network basics
network basicsnetwork basics
network basics
 
Communication skill
Communication skillCommunication skill
Communication skill
 
9789740328926
97897403289269789740328926
9789740328926
 
ความหมายของการสื่อสาร
ความหมายของการสื่อสารความหมายของการสื่อสาร
ความหมายของการสื่อสาร
 
T1
T1T1
T1
 
Ebook การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ กศน.
Ebook  การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ กศน.Ebook  การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ กศน.
Ebook การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ กศน.
 
เทคนิคการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์
เทคนิคการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์เทคนิคการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์
เทคนิคการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์
 
Information service and dissemination
Information service and disseminationInformation service and dissemination
Information service and dissemination
 
Media reform
Media reformMedia reform
Media reform
 
Computer_m2_datacommunication
Computer_m2_datacommunicationComputer_m2_datacommunication
Computer_m2_datacommunication
 

More from CUPress

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737CUPress
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560CUPress
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478CUPress
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270CUPress
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102CUPress
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096CUPress
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072CUPress
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027CUPress
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914CUPress
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907CUPress
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686CUPress
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457CUPress
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440CUPress
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389CUPress
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280CUPress
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365CUPress
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303CUPress
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242CUPress
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235CUPress
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099CUPress
 

More from CUPress (20)

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099
 

9789740333203

  • 2. 2 ผู้ส่งสารคือผู้ที่ทำ�หน้าที่ส่งข้อมูล สารไปยังผู้รับสารโดยผ่านช่องทางที่เรียกว่า สื่อ ถ้าหากเป็นการสื่อสารทางเดียว ผู้ส่งจะทำ�หน้าที่ส่งเพียงประการเดียว แต่ถ้าเป็น การสื่อสาร 2 ทาง ผู้ส่งสารจะเป็นผู้รับในบางครั้งด้วย ผู้ส่งสารจะต้องมีทักษะในการ สื่อสาร มีเจตคติต่อตนเอง ต่อเรื่องที่จะส่ง ต้องมีความรู้ในเนื้อหาที่จะส่ง และหากอยู่ใน ระบบสังคมเดียวกับผู้รับก็จะทำ�ให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพ ข่าวสารในกระบวนการติดต่อสื่อสารมีความสำ�คัญ ข่าวสารที่ดีต้องแปลเป็นรหัส เพื่อสะดวกในการส่ง การรับ และการตีความ เนื้อหาสาระของสารและการจัดลำ�ดับเนื้อหา ของสารจะทำ�ให้การสื่อความหมายง่ายขึ้น สื่อหรือช่องทางในการรับสารคือประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และ กายสัมผัส และตัวกลางที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น สิ่งพิมพ์ กราฟิก สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผู้รับสารคือเป้าหมายของผู้ส่งสาร การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพจะต้องมีผู้รับสารที่มี ประสิทธิภาพในการรับรู้ มีเจตคติที่ดีต่อข้อมูลข่าวสาร ต่อผู้ส่งสาร และต่อตนเอง ทฤษฎีการสื่อสาร การสื่อสาร (Communication) คือ กระบวนการ แลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารระหว่างบุคคลต่อบุคคล หรือ บุคคลต่อกลุ่ม โดยใช้สัญลักษณ์ สัญญาณ หรือพฤติกรรม ที่เข้าใจกัน โดยมีองค์ประกอบดังนี้ Model การสื่อสาร _14-04(001-072)P4.indd 2 1/14/58 BE 10:20 PM
  • 3. 3 ค.ศ. 1954 ชแรมม์ กล่าวถึงพื้นฐาน ประสบการณ์ร่วม (Field of Experience) ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารว่าจะต้องมี ประสบการณ์ร่วมกันเพื่อการสื่อสารที่เข้าใจ ตรงกัน รูปแบบจำ�ลองเชิงวงกลมชแรมม์ ดัดแปลงจาก หนังสือเทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม ของ กิดานันท์ มลิทอง ค.ศ. 1954 วิลเบอร์ ชแรมม์ (Wilber Schramm) และ ซีอี ออสกูด (C.E. Osgood) ได้สร้าง Model รูปแบบจำ�ลองเชิงวงกลม การสื่อสาร เป็นรูปแบบการสื่อสารสองทาง (Two-way Communication) รูปแบบจำ�ลองเชิงวงกลมของออสกูดและชแรมม์ ดัดแปลงจาก หนังสือเทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม ของ กิดานันท์ มลิทอง _14-04(001-072)P4.indd 3 1/14/58 BE 10:20 PM
  • 4. 4 รูปแบบจำ�ลอง SMCR ของเบอร์โล ดัดแปลงจาก หนังสือเทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม ของ กิดานันท์ มลิทอง แบบจำ�ลอง SMCR ของเบอร์โล ให้ความสำ�คัญต่อปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผล ให้การสื่อสารประสบผลสำ�เร็จ ได้แก่ ทักษะในการสื่อสาร ทัศนคติ ระดับ ความรู้ ระบบสังคมและวัฒนธรรม ซึ่ง ผู้รับและผู้ส่งต้องมีตรงกันเสมอ ( ) ( ) ( ) แบบจำ�ลองการสื่อสารทางเดียวเชิงเส้นตรง ของแชนนันและวีเวอร์ ดัดแปลงจาก หนังสือเทคโนโลยีการศึกษาและ นวัตกรรม ของ กิดานันท์ มลิทอง ค.ศ. 1960 แบบจำ�ลอง SMCR ของเบอร์โล (Berlo) ได้ให้ความสำ�คัญกับสิ่งต่าง ๆ คือ Channel ReceiverMessageSource S M C R ข่าวสาร (Message) เนื้อหา สัญลักษณ์ และวิธีการ ส่งสาร ช่องทางการ สื่อสาร (Channel) ช่องทางที่ใช้ ส่งสารสู่ผู้รับ ให้ได้รับด้วย ประสาท สัมผัสทั้งห้า ผู้รับสาร (Receiver) ผู้ที่มีความ สามารถใน การถอดรหัส (Decode) สารที่รับมา ได้อย่างถูกต้อง ผู้ส่งสาร (Source) ต้องเป็นผู้ที่มี ความสามารถเข้า รหัส (Encode) เนื้อหาข่าวสารได้ มีความรู้อย่างดี ในข้อมูลที่จะส่ง สามารถปรับ ระดับให้เหมาะสม สอดคล้องกับ ผู้รับ _14-04(001-072)P4.indd 4 1/14/58 BE 10:20 PM
  • 5. 5 ตามแบบจำ�ลองของแชนนัน และวีเวอร์ (Shannon and Weaver) นอกจากจะมองถึงองค์ประกอบ พื้นฐานของการสื่อสารเช่นเดียวกับ เบอร์โลแล้ว ยังให้ความสำ�คัญกับ “สิ่ง รบกวน (Noise)” เพราะการสื่อสาร หากมีสิ่งรบกวนเกิดขึ้นจะเป็นอุปสรรค ต่อการสื่อสาร เช่น ถ้าอาจารย์ใช้ภาพ เป็นสื่อการสอนแต่ภาพนั้นไม่ชัดเจน หรือเล็กเกินไป ผู้เรียนจะเห็นไม่ชัดเจน ทำ�ให้ไม่เข้าใจ จากทฤษฎีต่าง ๆ ข้างต้น สามารถสร้างความเข้าใจพื้นฐาน ของการสื่อสาร รวมถึงองค์ประกอบ ที่ ทำ � ใ ห้ ก า ร สื่ อ ส า ร ส ม บู ร ณ์ ไ ด้ การสื่อสารมีความสำ�คัญต่อมนุษย์ อย่างยิ่ง โดยแบ่งความสำ�คัญออกได้ 5 ประการดังนี้ 1. ความสำ�คัญ ต่อความเป็นสังคม การที่มนุษย์จะอยู่ร่วมกันเป็น กลุ่มเป็นสังคมได้ จำ�เป็นต้องอาศัย การสื่อสารเป็นพื้นฐาน เพราะการ สื่อสารทำ�ให้เกิดความเข้าใจและ ทำ�ความตกลงกันได้ ติดต่อสื่อสาร เพื่อสร้างระเบียบของสังคมให้ เป็นที่ยอมรับระหว่างสมาชิก เพื่อ จะได้อยู่ร่วมกันเป็นสังคมอย่าง สงบสุข 2. ความสำ�คัญ ต่อชีวิตประจำ�วัน การสื่อสารมีบทบาทสำ�คัญต่อ การดำ�เนินชีวิตประจำ�วัน เรียกได้ว่า ตลอดเวลาที่ตื่นจะสื่อสารตลอด เวลา แม้กระทั่งเวลาหลับหากฝัน หรือละเมอเรื่องใดก็ตาม นั่นก็ถือ ว่าเป็นการสื่อสารรูปแบบหนึ่ง คือ การสื่อสารภายในตัวบุคคล (Intra- personal Communication) 3. ความสำ�คัญ ต่ออุตสาหกรรมและธุรกิจ ปัจจุบันวงการอุตสาหกรรม มีการปฏิวัติด้านเทคโนโลยีการ ผลิต ตลอดจนพัฒนาประสิทธิภาพ การทำ�งาน จึงต้องอาศัยการสื่อสาร ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เพราะโรงงานอุตสาหกรรมถือ เป็นองค์กรหรือสถาบันหนึ่งที่ ต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม และประชาชน โดยนำ�การสื่อสาร มาใช้สร้างความสัมพันธ์กับบุคคล ภายนอกองค์กร เช่น ผู้บริโภค ชุมชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้ เคียง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐบาล ฯลฯ นั่นคือ “การประชาสัมพันธ์” เป็นการสื่อสารที่ช่วยเผยแพร่ ข่าวสารเกี่ยวกับองค์กร ลดปัญหา ความขัดแย้ง และสร้างความเข้าใจ ที่ถูกต้อง นอกจากนี้ยังสามารถ ตรวจสอบประชามติหรือความ คิดเห็นของประชาชนกลุ่มต่างๆ ที่มีต่อองค์กรได้ด้วย _14-04(001-072)P4.indd 5 1/14/58 BE 10:20 PM
  • 6. 6 วัตถุประสงค์ ของการสื่อสาร กระบวนการสื่อสารไม่ว่าระดับ ใดก็ตาม ผู้ส่งสารและผู้รับสาร ต่างก็มีวัตถุประสงค์ในการติดต่อ สื่อสารที่เหมือนกันหรือแตกต่าง กัน ฉะนั้น การศึกษาวัตถุประสงค์ ของการสื่อสารจึงสามารถแยก ออกได้เป็นวัตถุประสงค์ของ ผู้ส่งสารกับวัตถุประสงค์ของ ผู้รับสาร ถ้าวัตถุประสงค์ทั้ง 2 ฝ่ายเหมือนกันหรือสอดคล้อง กัน การสื่อสารจะสัมฤทธิผลได้ ง่าย ตรงกันข้ามถ้าวัตถุประสงค์ ของทั้ง 2 ฝ่ายไม่ตรงกัน ผู้รับสาร อาจมีปฏิกิริยาต่อสารผิดไปจาก ความตั้งใจของผู้ส่งสารได้ ซึ่งจะ ทำ�ให้การสื่อสารไม่บรรลุเป้าหมาย หรือเจตนารมณ์ของผู้ส่งสาร ทำ�ให้การสื่อสารล้มเหลว (Com- munication Breakdown) 4. ความสำ�คัญ ต่อการปกครอง ไม่ว่าจะเป็นการปกครอง รูปแบบใดก็ตาม ต้องประกอบ ไปด้วยผู้ปกครองและผู้ถูก ปกครองหรือประชาชน การ ปกครองจะเป็นไปอย่างราบรื่น หรือเป็นไปในทางที่ดีได้ทั้ง ผู้ปกครองและผู้ถูกปกครอง จะต้องอาศัยการสื่อสารเข้ามา เป็นตัวช่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สังคมระบอบประชาธิปไตย การสื่อสารจะเป็นตัวสะท้อน ให้ผู้ปกครองทราบความต้องการ ของผู้ถูกปกครองและสิ่งที่ ต้องการให้ผู้ปกครองทำ� นั่นคือ ความสำ�คัญต่อการปกครอง 5. ความสำ�คัญ ต่อการเมืองระหว่าง ประเทศ การดำ�เนินความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศและนโยบาย การเมืองระหว่างประเทศ ต่าง ๆ จำ�เป็นต้องอาศัย กระทรวงการต่างประเทศ และสถานทูตรับผิดชอบด้าน การสื่อสารโดยตรง เพื่อเผยแพร่ ข่าวสารเกี่ยวกับประเทศ สร้าง ความเข้าใจอันดีกับประเทศ อื่น ตลอดจนชักจูงให้ได้รับ การสนับสนุนจากประเทศอื่น และยังสามารถศึกษาความรู้สึก นึกคิดของประชาชนในประเทศ ต่าง ๆ ที่มีต่อประเทศของตน อีกด้วย โดยอาศัยสื่อชนิด ต่าง ๆ เช่น สถานีวิทยุ VOA หรือ Voice of America ของ ประเทศสหรัฐอเมริกา หรือ สถานีวิทยุ BBC ของประเทศ อังกฤษ _14-04(001-072)P4.indd 6 1/14/58 BE 10:20 PM
  • 7. 7 วัตถุประสงค์ของผู้ส่งสาร การสื่อสารแต่ละครั้งผู้ส่งสารจะมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ วัตถุประสงค์ของผู้รับสาร โดยทั่วไปผู้รับสารจะมีวัตถุประสงค์หลัก ๆ ในการสื่อสารดังนี้ 1. เพื่อแจ้งให้ทราบ (Inform) ผู้ส่งสารต้องการจะบอกกล่าวหรือชี้แจงข่าวสาร เรื่องราว เหตุการณ์ ข้อมูล หรือสิ่งอื่นใดให้ผู้รับสารได้รับทราบหรือเกิด ความเข้าใจ โดยอาจผ่านทางสื่อมวลชน หนังสือพิมพ์ วิทยุ และ โทรทัศน์ เช่น หนังสือพิมพ์รายวันตีพิมพ์ข่าวสารเพื่อรายงาน ข่าวและเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นประจำ�วันให้ประชาชนได้ รับทราบ 2. เพื่อสอนหรือให้การศึกษา (Teach or Educate) ผู้ส่งสารต้องการจะสอนวิชาความรู้หรือเรื่องราวที่เป็น วิชาการให้ผู้รับสารได้รับความรู้เพิ่มเติมจากเดิม เช่น วารสาร เพื่อสุขภาพอนามัยจะตีพิมพ์บทความต่าง ๆ เกี่ยวกับการรักษา สุขภาพอนามัย ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคภัยต่าง ๆ อาการที่เกิดขึ้น หรือวิธีการป้องกัน 3. เพื่อสร้างความพอใจ หรือให้ความบันเทิง (Please or Entertain) ผู้ส่งสารต้องการให้ผู้รับสารเกิดความบันเทิงจากสารที่ส่งออก ไป ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของการพูด การเขียน หรือการแสดงกิริยา ท่าทาง เช่น นวนิยาย เพลง ละคร เกมโชว์ การแสดงคอนเสิร์ต 4. เพื่อเสนอแนะหรือชักจูงใจ (Propose or Persuade) ผู้ส่งสารได้เสนอแนะสิ่งใดสิ่งหนึ่งต่อผู้รับสาร และต้องการ ชักจูงให้ผู้รับสารคล้อยตามหรือยอมรับปฏิบัติตามการเสนอแนะ ของตน เช่น การโฆษณาสินค้าทางหน้าหนังสือพิมพ์ วิทยุ หรือ โทรทัศน์ ส่วนใหญ่กระบวนการสื่อสารมวลชนผู้ส่งสารหรือองค์กรสื่อ ต่างดำ�เนินการโดยมีวัตถุประสงค์ครบทั้ง 4 ประการดังกล่าว ข้างต้น 1. เพื่อแจ้งให้ทราบ (Inform) การเข้าร่วมกิจกรรมที่สื่อสารนั้น ผู้รับสารมีความต้องการ ที่จะทราบเรื่องราว ข้อมูล ข่าวสาร เหตุการณ์ หรือสิ่งอื่น ๆ ที่มีผู้แจ้ง หรือรายงาน หรือชี้แจงให้ทราบ 2. เพื่อสอนหรือให้การศึกษา (Teach or Educate) ผู้รับสารต้องการแสวงหาความรู้จากสารที่มีเนื้อหา สาระเกี่ยวกับวิชาความรู้และวิชาการ เป็นการหาความรู้ เพิ่มเติม และทำ�ความเข้าใจกับเนื้อหาสาระในการสอน ของผู้ส่งสาร 3. เพื่อสร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิง (Please or Entertain) โดยปกติคนเรานอกจากจะต้องทราบข่าวคราว เหตุการณ์ ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม และต้องการศึกษาเพื่อหาความรู้ แล้ว ยังมีความต้องการด้านบันเทิงเพื่อการพักผ่อนหย่อน ใจ เช่น ผู้รับสารอาจจะสื่อสารจากการฟังเพลง ละครวิทยุ อ่านหนังสือพิมพ์หน้าบันเทิง ชมรายการโทรทัศน์ หรือ เกมโชว์ 4. เพื่อเสนอแนะหรือชักจูงใจ (Propose or Persuade) ผู้รับสารมีการตัดสินใจ การได้รับการเสนอแนะ หรือการ ชักจูงให้กระทำ�จากบุคคลอื่นอยู่เสมอ ดังนั้น ทางเลือกในการ ตัดสินใจจึงขึ้นกับข้อเสนอแนะนั้นว่าจะมีความน่าเชื่อถือ และเป็นไปได้เพียงใด นอกจากนี้ยังต้องคำ�นึงถึงการรับ ข่าวสาร ข้อมูล ความรู้ และความเชื่อของแต่ละบุคคล ที่ได้สั่งสมมาด้วย _14-04(001-072)P4.indd 7 1/14/58 BE 10:20 PM
  • 8. 8 วิวัฒนาการของการสื่อสาร อาริสโตเติล (Aristotle) นักปราชญ์ชาวกรีก กล่าวว่า มนุษย์เป็นสัตว์สังคม (Man is by nature a social animal) ทั้งนี้โดยหลักการเชื่อว่า มนุษย์โดยสภาพธรรมชาติจะต้องมีชีวิตอยู่ร่วมกับบุคคลอื่น ติดต่อสัมพันธ์ ไม่สามารถ ดำ�รงชีวิตอยู่อย่างอิสระตามลำ�พังแต่ผู้เดียวได้ เราเรียกสัตว์ที่มีการดำ�รงชีวิตอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม โดยมีการกระทำ� ระหว่างกันทางสังคมว่า สัตว์สังคม (Social Animals) แนวคิดของนักสังคมวิทยา สังคม กับมนุษย์จะแยกจากกันไม่ได้ เพราะ มนุษย์เกิดมาต้องอาศัยสังคม ต้อง พึ่งพาอาศัยมนุษย์ด้วยกัน ต้องมีการ ติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ต่อ กัน เพื่อประโยชน์แห่งตนและสังคม หากจะพูดว่าการสื่อสารข้อมูลเกิด ขึ้นพร้อม ๆ กับมนุษย์ก็คงจะไม่ผิด ทั้งนี้เพราะการสื่อสารข้อมูลทำ�ให้ มนุษย์สามารถสื่อความคิดต่าง ๆ ที่ เป็นประโยชน์ในการดำ�รงชีวิตและมี พัฒนาการเรื่อยมา ทุกวันนี้เราสามารถ ติดต่อสื่อสารกับคนทั่วโลกได้สะดวก มนุษย์ที่อยู่อาศัยในดินแดนที่ห่างไกล กันถึงขั้นเป็นเมือง เป็นรัฐอันอิสระ ต่างก็มีวิธีส่งข่าวสารข้อมูลถึงกัน ทั้งสิ้น ที่มา : http://history.howstuffworks.com/native-american-history/smoke-signal.htm 8 _14-04(001-072)P4.indd 8 1/14/58 BE 10:20 PM
  • 9. 9 1. การสร้างและใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ สัญลักษณ์ (Symbol) หมายถึง สิ่งใด ๆ ก็ตามที่ใช้แทนความหมาย ของอีกสิ่งหนึ่ง อาจใช้แทนความหมาย ของวัตถุ เช่น เครื่องหมายกากบาท ในการจราจรใช้แทนความหมายของ ถนน 2 สายที่ตัดกันเป็นสี่แยก สัญ- ลักษณ์อาจใช้แทนความหมายของสิ่ง ที่ไม่ใช่วัตถุ เช่น เครื่องหมายไม้กางเขน ใช้แทนคริสต์ศาสนา สัญลักษณ์เป็น สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในการ ติดต่อสื่อสารระหว่างกัน อาจจำ�แนก ได้เป็น 3 ประเภทดังนี้ - สัญลักษณ์ภาษา เป็นสัญลักษณ์ สำ�คัญที่มนุษย์นำ�มาใช้เพื่อถ่ายทอด ประสบการณ์ ความรู้สึกนึกคิด และ การติดต่อสื่อสารระหว่างกัน ขณะที่ เผ่าพันธุ์มนุษย์ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น การพัฒนาภาษาต่าง ๆ ในหมู่เหล่า จึงถูกนำ�มาใช้เพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้คน ในกลุ่มสังคมชนเผ่าของตน ซึ่งมีทั้ง ภาษาพูด (Verbal Language or Sound System) และภาษาเขียน (Alphabetic Letters or Visual Language System) มนุษย์สามารถ กำ�หนดความหมายของถ้อยคำ�ต่าง ๆ ได้มากมาย และสามารถประดิษฐ์ ภาษาเขียนซึ่งอำ�นวยประโยชน์ต่อ การติดต่อสื่อสารระหว่างสมาชิกใน สังคม - สัญลักษณ์ทางวัตถุ คือ สิ่งประดิษฐ์ ทางวัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้แทน ความหมายของสิ่งต่าง ๆ เช่น ป้ายหน้า ร้าน ธงชาติ อนุสาวรีย์ เครื่องหมาย จราจร - สัญลักษณ์ที่เป็นการกระทำ�และ กิริยาท่าทาง เป็นสัญลักษณ์ซึ่งใช้ การแสดงออกด้วยการเคลื่อนไหว ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเพื่อกำ�หนด ความหมายให้เป็นที่เข้าใจร่วมกัน เช่น การก้ม การโค้งศีรษะ การไหว้ เป็นการแสดงการทักทาย ให้เกียรติ และแสดงความเคารพต่อบุคคล การเต้นรำ�บางจังหวะแสดงถึงความ สนุกสนาน ร่าเริง ฯลฯ วิ วั ฒ น า ก า ร ติดต่อสื่อสาร ของมนุษย์จาก สมัยโบราณถึง ปัจจุบันมีดังนี้ การสื่อสารมีวิวัฒนาการตั้งแต่ยุค แรกของมนุษย์์ โดยในสมัยโบราณมี วิธีการสื่อสารที่ไม่ซับซ้อนมากนัก เช่น ระบบการวาดภาพ (Visual System) ระบบการใช้เสียง (Sound System) การใช้ม้าเร็ว นกพิราบสื่อสาร หรือ สัญญาณควัน แต่เมื่อมนุษย์พัฒนา การดำ�รงชีวิตและความเป็นอยู่อย่าง ไม่หยุดนิ่ง เครื่องมือและอุปกรณ์ใน การสื่อสารจึงได้รับการพัฒนาให้ ทันสมัยก้าวหน้าควบคู่กันเพื่อความ สะดวกสบาย การสื่อสารระยะไกล ของมนุษย์ในยุคแรก ๆ คือ ตีเกราะ เคาะไม้ ส่งเสียงต่อเป็นทอด ๆ และ ส่งสัญญาณควัน ใช้ม้าเร็ว นกพิราบ สื่อสาร เปลี่ยนมาเป็นจดหมาย ป้าย บอกทาง โทรเลข โทรศัพท์ วิทยุ โทรทัศน์ดาวเทียมสื่อสารที่สามารถ 9 เชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารให้ได้ยินทั้ง เสียงและได้เห็นทั้งภาพ เหล่านี้ล้วน เป็นพัฒนาการด้านความคิดของมนุษย์ ที่คิดค้นเพื่อตอบสนองความต้องการ ข่าวสารข้อมูลของมนุษย์ด้วยกันเอง _14-04(001-072)P4.indd 9 1/14/58 BE 10:20 PM
  • 10. 10 4. นกพิราบสื่อสาร ในระหว่างสงครามการสื่อสาร ระหว่างทหารที่ออกรบในสมรภูมิกับ ศูนย์บัญชาการค่อนข้างลำ�บาก การใช้ ทหารเดินเท้าเพื่อส่งข่าวต้องเผชิญ อุปสรรคนานัปการทั้งภูมิอากาศและ ภูมิประเทศที่กันดาร การหลบหลีก ให้พ้นสายตาข้าศึก นกพิราบสื่อสารจึง ถูกนำ�มาใช้เพื่อส่งข่าวสารจากสมรภูมิ กลับสู่ศูนย์บัญชาการ 5. ระบบไปรษณีย์(PostalSystem) ยุคกลางของยุโรปมีวิธีการสื่อสาร ใหม่เกิดขึ้นจากการค้าขายที่เฟื่องฟู โดยเฉพาะในประเทศอิตาลีที่ติดต่อส่ง สินค้า การพาณิชย์ระหว่างเมืองใหญ่ ๆ เช่น จากเวนิสถึงคอนสแตนติโนเปิล ต่อมาความเจริญก้าวหน้าของระบบ การศึกษา ตลอดจนระบบการพิมพ์ได้ พัฒนาเพิ่มยิ่งขึ้น รัฐบาลของประเทศ ต่าง ๆ เห็นความสำ�คัญของการติดต่อ 2. เคอร์ซัสพับลิคัส (Circus Publicus) ในยุคโรมันระบบการติดต่อส่งข่าว สารมีความละเอียดซับซ้อน เรียกว่า เคอร์ซัสพับลิคัส ระบบของโรมันใช้การ ส่งเป็นทอดหรือวิ่งผลัด ทำ�ให้การส่ง ข่าวสารผ่านตลอดทั่วแดนได้โดยง่าย มีความสะดวก คล่องตัว รวมทั้งมีการ ตรวจตราอย่างเข้มงวด มีเครือข่าย โยงใยในระบบตรวจสอบของรัฐ ซึ่ง จะรับรองเรื่องความแม่นยำ�และ ความน่าเชื่อถือในเรื่องของรัฐ เป็นอย่างดี แม้หลังจากอาณาจักร โรมันล่มสลายระบบเคอร์ซัส พับลิคัสยังยืนหยัดใช้กันอยู่พอ สมควร 3. ม้าเร็ว ผู้ส่งสารในระบบ“ม้าเร็ว”นี้ ส่งข่าวได้ทันใจ ซึ่งพัฒนาโดย ชาวจีนและชาวโรมันโบราณที่ ต้องการระบบการส่งข่าวทาง ไกลที่คล่องตัว สื่อสารระหว่างประเทศและข้ามทวีป เมื่อมีการเขียนจดหมายมากขึ้นและ มีความต้องการสื่อสารอย่างเร่งรีบ มากขึ้น จึงมีกลุ่มบุคคลเห็นความ สำ�คัญของการทำ�กิจการส่งข่าวสาร เช่น ครอบครัวแท็กซิส (TAXIS Fami- ly) ซึ่งอยู่ในเบอร์กาโม ประเทศอิตาลี ที่มา : http://uncrate.com/stuff/curve-your-own-post-cards/ http://preaprez.wordpress.com/2013/03/14/good-morning-hb2404-hb3162-sb1-and-sb35-888412-6570/ 10 _14-04(001-072)P4.indd 10 1/14/58 BE 10:20 PM