SlideShare a Scribd company logo
1 of 10
Download to read offline
แบคทีเรียแกรมบวก รูปร่างกลม
                             วงศ์ไมโครคอคเคซีอี และสเตรปโตคอคเคซีอี 
                           (Gram positive cocci: Micrococcaceae and
                                       Streptococcaceae)

                   1. ลักษณะทั่วไปของแบคทีเรียแกรมบวก รูปร่างกลม 
                               แบคทีเรียแกรมบวก รูปร่างกลม (Gram positive cocci) เป็น
                   แบคทีเรียที่มีการติดสีย้อมแกรมบวกและมีรูปร่างกลม โดยแบคทีเรีย

                   กลุ่ ม นี้ เ ป็ น แบคที เ รี ย อี ก กลุ่ ม หนึ่ ง ที่ ก่ อ โรคติ ด เชื้ อ กั บ มนุ ษ ย์ แ ละมั ก พบ

                   ในสิ่งส่งตรวจทางการแพทย์ทั่ว ๆ ไปอยู่เสมอ แต่มีลักษณะการเรียงตัว

                   ทีคอนข้างแตกต่างกันในแต่ละกลุมดังทีจะกล่าวในรายละเอียดต่อไป 
                     ่ ่                                        ่            ่
                   	       1.1		 ลักษณะของผนังเซลล์
                           				 แบคที เ รี ย แกรมบวกมี ผ นั ง เซลล์ แ ตกต่ า งจากแบคที เ รี ย

                   แกรมลบดังแสดงในรูปที่ 1 คือแบคทีเรียแกรมบวกมีปริมาณเพปทิโด-

                   ไกลแคน (Peptidoglycan) ในผนังเซลล์มากกว่าแบคทีเรียแกรมลบ 

                   แต่มีปริมาณไขมันที่เป็นส่วนประกอบของผนังเซลล์น้อยกว่าแบคทีเรีย

                   แกรมลบ ดังนั้น ความแตกต่างนี้จึงทำให้แบคทีเรียแกรมบวกติดสีม่วง
                   เมื่อมีการย้อมสีแกรม เนื่องจากในขั้นตอนที่มีการล้างสี (Decolorization) 

                   ด้วยแอลกอฮอล์ เพราะมีปริมาณเพปทิโดไกลแคนสูงและมีปริมาณไขมัน
                   น้อยจึงทำให้แอลกอฮอล์ไม่สามารถแทรกเข้าไปในผนังเซลล์ของแบคทีเรีย

                   แกรมบวกได้ จึงทำให้แบคทีเรียแกรมบวกยังคงติดสีม่วงของคริสทัล-





_11-16(001-116)P6.indd 1                                                                                             5/9/12 2:57:26 PM
การจัดจำแนกแบคทีเรียแกรมบวก รูปร่างกลม
                          วงศ์ ไมโครคอคเคซีอีและสเตรปโตคอคเคซีอี

               ไวโอเลต (Crystal violet) อยู่ในผนังเซลล์ นอกจากนั้นจากคุณสมบัติ
               ของผนังเซลล์ของแบคทีเรียแกรมบวกดังที่กล่าวมานี้จึงทำให้แบคทีเรีย
               แกรมบวกทนต่อสารดีเทอร์เจนต์ เช่น สบู่และสารประกอบฟีนอลอื่น ๆ
               รวมทั้งทนทานต่อความแห้งแล้ง (Desiccation) อุณหภูมิที่สูงขึ้นและ
               แสงแดดได้ดีกว่าแบคทีเรียแกรมลบ (Tortora et al., 1998) โดยสรุป
               แล้วแบคทีเรียแกรมบวกและแบคทีเรียแกรมลบมีความแตกต่างหลาย
               ประการ ดังแสดงในตารางที่ 1




               								รูปที่ 1		องค์ ป ระกอบของผนั ง เซลล์ แ บคที เ รี ย แกรมบวกและแบคที เ รี ย	
                                                                                                

               																		แกรมลบ (Atlas, 1995)




_11-16(001-116)P6.indd 2                                                                            5/9/12 2:30:38 PM
การจัดจำแนกแบคทีเรียแกรมบวก รูปร่างกลม
                                            วงศ์ ไมโครคอคเคซีอีและสเตรปโตคอคเคซีอี
                                                                                     

                   ตารางที่ 1 สรุ ป ความแตกต่ า งระหว่ า งแบคที เ รี ย แกรมบวกและ

                   					 แบคที เ รี ย แกรมลบ (ดั ด แปลงมาจาก Engelkirk and 

                   					 Burton, 2007; Black, 2008)
                               ลักษณะ
           แบคทีเรียแกรมบวก
 แบคทีเรียแกรมลบ
                       การติดสีของเซลล์
            น้ำเงิน-ม่วง
     ชมพู-แดง
                       Outer membrane
                  ไม่มี
             มี
                       Peptidoglycan 
                  หนา
             บาง
                       ในผนังเซลล์
                       กรด Teichoic และ                   มี
            ไม่มี
                       Lipoteichoic ในผนังเซลล์
                       Lipopolysaccharide 
             ไม่มี
             มี
                       ในผนังเซลล์
                       ความไวต่อสีย้อม
                  ไว
             ไม่ไว
                       และยาปฏิชีวนะ
                   	      1.2		 ลักษณะการเรียงตัว
                          				 แบคทีเรียแกรมบวกแต่ละชนิดมีคุณสมบัติพิเศษในการเรียง
                   ตัวแตกต่างกันออกไป ขึนอยูกบว่าแบคทีเรียชนิดดังกล่าวแบ่งเซลล์ในแนว

                                         ้ ่ั
                   ใด (Division plane) ซึ่งจะมีผลต่อการติดกันของเซลล์ โดยคุณสมบัติ

                   ดังกล่าวมีประโยชน์อย่างมากในการจำแนกเชื้อในกลุ่มแบคทีเรียแกรม
                   บวก จึงสามารถจัดเป็นกลุ่มตามลักษณะการเรียงตัวดังนี้
                         				 1.2.1 Diplococci มีลักษณะเซลล์ติดกันเป็นคู่ ๆ เกิดจาก
                   การแบ่งเซลล์ตามแนวระนาบเดียวกันกับแนวที่เซลล์มาต่อกัน ดังแสดง
                   ในรูปที่ 2 แบคทีเรียแกรมบวกรูปกลมที่มีการเรียงตัวลักษณะนี้ เช่น
                   Streptococcus pneumoniae (Pneumococcus หรื อ ชื่ อ เดิ ม คื อ
                   Diplococcus pneumoniae) (Tortora et al., 1998) 
                            



_11-16(001-116)P6.indd 3                                                                 5/9/12 2:30:38 PM
การจัดจำแนกแบคทีเรียแกรมบวก รูปร่างกลม
                          วงศ์ ไมโครคอคเคซีอีและสเตรปโตคอคเคซีอี

                           

               
                                                        
                                                        
                                                                                         
                                          (a)                      (b)
               รูปที่ 2	(a)	การแบ่งตัวของแบคทีเรียกลุ่ม Diplococci และ Streptococci (Black, 2008)
                       	
               									(b)	รูปเซลล์ของ Streptococcus pneumoniae ที่มีแคปซูลหุ้ม (Brock et al., 
  	
               													1994)

                      				 1.2.2		 Streptococci แบคที เ รี ย แกรมบวกที่ มี เ ซลล์ ต่ อ

               กันเป็นสาย (Chain) ดังแสดงในรูปที่ 3 เนื่องจากมีการแบ่งเซลล์ใน

               แนวเดี ย วกั น แล้ ว ไม่ ห ลุ ด ออกจากกั น ทำให้ ก ารเรี ย งตั ว อาจจะพบต่ อ

               กันเพียง 3-4 เซลล์ หรืออาจจะยาวถึง 30-40 เซลล์แล้วแต่สภาวะ

               ของอาหารเลี้ ย งเชื้ อ ที่ ใ ช้ ใ นการเจริ ญ โดยอาหารเลี้ ย งเชื้ อ แบบเหลว

               จะทำให้ เ ซลล์ ต่ อ กั น เป็ น สายที่ ย าวมากกว่ า อาหารเลี้ ย งเชื้ อ แบบแข็ ง
               (Tortora et al., 1998)
                      
                                                                                                
                           
                           

               
                                                                             
               										รูปที่ 3		ลักษณะการเรียงตัวของแบคทีเรียในกลุ่ม Streptococci

                                                                                    	
               																				(ภาพโดย พีรพัฒน์ สุพรรณพันธุ์)



_11-16(001-116)P6.indd 4                                                                               5/9/12 2:30:40 PM
การจัดจำแนกแบคทีเรียแกรมบวก รูปร่างกลม
                                                 วงศ์ ไมโครคอคเคซีอีและสเตรปโตคอคเคซีอี
                                                                                                

                          				 1.2.3		 Staphylococci แบคทีเรียแกรมบวกที่มีเซลล์อยู่
                   รวมกั น เป็ น กลุ่ ม คล้ า ยพวงองุ่ น เนื่ อ งจากมี ก ารแบ่ ง เซลล์ ใ นทุ ก แนว
                   (Tortora et al., 1998) ดังแสดงในรูปที่ 4
                           
                                                                                            
                           
                           

                   
                                                                                
                   																						รูปที่ 4		ลักษณะพวงองุ่นของ Staphylococci
                   																																(ภาพโดย พีรพัฒน์ สุพรรณพันธุ์)

                           				 1.2.4		 Gaffkya แบคทีเรียแกรมบวกที่มีเซลล์อยู่กันเป็น

                   กลุ่มที่มีระเบียบ 4 เซลล์ (Tetrad) เนื่องจากมีการแบ่งตัวติดต่อกัน 

                   2 ครั้งในแนวระนาบตั้งฉากกัน (Tortora et al., 1998) ดังแสดงใน

                   รูปที่ 5
                           
                           

                   
                           

                   															รูปที่ 5		ลักษณะการแบ่งเซลล์ของแบคทีเรียกลุ่ม Gaffkya 
                   																									(Tortora et al., 1998)




_11-16(001-116)P6.indd 5                                                                            5/9/12 2:30:42 PM
การจัดจำแนกแบคทีเรียแกรมบวก รูปร่างกลม
                          วงศ์ ไมโครคอคเคซีอีและสเตรปโตคอคเคซีอี

                      				 1.2.5		 Sarcina แบคทีเรียแกรมบวกที่มีเซลล์อยู่กันเป็น

               กลุ่ม 8 เซลล์ เนื่องจากมีการแบ่งตัวติดต่อกัน 3 ครั้งในแนวระนาบ

               ตั้งฉากกัน (Tortora et al., 1998) ดังแสดงในรูปที่ 6 
                           
                           
                           
                           
                                                                              
               																								รูปที่ 6		ลักษณะการแบ่งเซลล์ของ Sarcina 
               																																		(Black, 2008)
                           
               	      1.3		 ความไวต่อยาปฏิชีวนะ
                      				 ความแตกต่ า งขององค์ ป ระกอบของผนั ง เซลล์ แ บคที เ รี ย

               แกรมบวกและแบคทีเรียแกรมลบทำให้เกิดความแตกต่างของความไว

               ต่อยาปฏิชีวนะของแบคทีเรียแกรมบวกและแบคทีเรียแกรมลบ โดยที่

               ยาเพนิซิลลินและเซฟาโรสปอรินที่มีผลในการยับยั้งการสร้างผนังเซลล์

               จะมี ผ ลกระทบต่ อ แบคที เ รี ย แกรมบวกมากกว่ า แบคที เ รี ย แกรมลบ
               (Kaplan, 2001) 

               2. วงศ์ไมโครคอคเคซีอี (Micrococcaceae)
               	      2.1		 ลักษณะและคุณสมบัติทั่วไป
                      				 แบคทีเรียวงศ์ Micrococcaceae เป็นแบคทีเรียแกรมบวก
               รูปร่างกลม มีขนาดเซลล์ประมาณ 0.5-2.5 ไมโครเมตร การแบ่งเซลล์
               สามารถแบ่งเซลล์ได้มากกว่า 1 ระนาบ ไม่สร้างสปอร์ และส่วนใหญ่




_11-16(001-116)P6.indd 6                                                               5/9/12 2:30:42 PM
การจัดจำแนกแบคทีเรียแกรมบวก รูปร่างกลม
                                              วงศ์ ไมโครคอคเคซีอีและสเตรปโตคอคเคซีอี
                                                                                                

                   แบคทีเรียวงศ์ Micrococcaceae เป็นแบคทีเรียที่ ไม่เคลื่อนที่ ยกเว้น

                   บางชนิดที่สามารถเคลื่อนที่ได้ (Kocur, 1986) ซึ่งลักษณะของแบคทีเรีย
                   วงศ์ Micrococcaceae สามารถสรุปได้ดังตารางที่ 2
                   ตารางที่ 2		 ลั ก ษณะรวมของแบคที เ รี ย ในวงศ์ Micrococcaceae 

                   				 (Schleifer, 1986)
                                คุณสมบัติ
    ลักษณะของแบคทีเรียวงศ์ Micrococcaceae
                     การติดสีแกรม
            บวก*
                     รูปร่าง
                 กลม
                     เส้นผ่านศูนย์กลาง
       0.5-2.5 ไมโครเมตร
                     การผลิตเอนไซม์คาทาเลส
 บวก
                     สภาวะการเจริญ
           ส่วนใหญ่เป็น Aerobes หรือ Facultative
                                              anaerobes
                     การเรียงตัว
             คู่สอง (Pairs) คู่สี่ หรืออยู่เป็นกลุ่มเรียงตัวจับกัน

                   * ถ้าเลี้ยงเชื้อนาน ๆ การย้อมสีแกรมอาจเปลี่ยนไปเพราะแบคทีเรียเริ่ม
                   ขาดคุณสมบัติในการเก็บ Crystal violet-iodine complex ไว้ ในเซลล์
                   ดังนั้นจึงควรย้อมสีแกรมขณะที่เพาะเลี้ยงใหม่ ๆ
                         แบคทีเรียในวงศ์ Micrococcaceae มีสมาชิก 4 สกุล ได้แก่
                   Micrococcus, Staphylococcus, Stomatococcus และ Plano-
           	
                   coccus ดังแสดงในตารางที่ 3 แบคทีเรียสกุล Planococcus และสกุล
                   Micrococcus เป็นแบคทีเรียที่อยู่เป็นอิสระตามธรรมชาติ (Free living
                   saprophytes) (Schleifer, 1986) 




_11-16(001-116)P6.indd 7                                                                               5/9/12 2:30:43 PM
การจัดจำแนกแบคทีเรียแกรมบวก รูปร่างกลม
                          วงศ์ ไมโครคอคเคซีอีและสเตรปโตคอคเคซีอี

               ตารางที่ 3		 ลั ก ษณะสมบั ติ ข องแบคที เ รี ย ในสกุ ล Micrococcus, 

                                                                                  	
               	       	 	 	 Stomatococcus, Planococcus และ Staphylo-
           	
               	       	 	 	 coccus (ดั ด แปลงมาจาก Schleifer, 1986; Kocur, 

               				 1986; Kloos and Schleifer, 1986)
                           คุณสมบัติ
          Micro-
 Stoma-
 Plano-
 Staphy-

                                                     
        
        
        

                                               coccus
 tococcus
 coccus
 lococcus
                การเรียงตัว 4 เซลล์
             +
        -
       -
       -
                แคปซูล
                           -
       +
       -
       -
                การเคลื่อนที่
                   -*
       -
      +
        -
                การหมักน้ำตาลกลูโคส

                                                 -**
        +
          -
          +
                ภายใต้สภาวะไม่มีออกซิเจน
                การผลิตเอนไซม์ออกซิเดส
          +***
        
           
         -****
                ความสามารถทนต่อ                   R
         R
          R
          S
                Lysostaphin
                พบไกลซีน

                                                  -
         -
          -
          +
                ที่เพปทิโดไกลแคน
                พบกรดไตรโคอิก
                    -
         -
          -
          +
                ที่ผนังเซลล์
               หมายเหตุ :		 +				90% or more of strains are positive
               				 -				90% or more of strains are negative	
               				 R 		Resistant	
               				 S 		Susceptible
               				 *				ยกเว้น M. agilis
               	      	 	 	 **			ยกเว้น M. kristinae
               	      	 	 	 ***			ยกเว้น M. varians, M. roseus, M. agilis และ M. sedentarius
               				 ****		ยกเว้น S. caseolyticus, S. sciuri และ S. lentus
                    				 แรเงาในช่อง หมายถึง ปฏิกิริยาที่ใช้จำแนกแบคทีเรียสกุลต่าง ๆ
               ออกจากกัน




_11-16(001-116)P6.indd 8                                                                        5/9/12 2:30:43 PM
การจัดจำแนกแบคทีเรียแกรมบวก รูปร่างกลม
                                            วงศ์ ไมโครคอคเคซีอีและสเตรปโตคอคเคซีอี
                                                                                     
                   	       2.2		 สกุล Micrococcus 
                           				 แบคทีเรียสกุล Micrococcus พบได้บนผิวหนังหรือเยื่อบุผิว

                   ต่าง ๆ ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นอกจากนี้สามารถพบได้ ในเนื้อสัตว์
                   ผลิตภัณฑ์นม ดิน และน้ำ (Kocur, 1986) แต่ไม่ก่อโรค บางชนิดถูกนำ
                   ไปใช้ ในโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อใช้เป็นแบคทีเรียอ้างอิงหรือเชื้อควบคุม
                   ในการทดสอบความไวของยาปฏิชีวนะ โดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรม
                   เกี่ยวกับนม เครื่องสำอางและอาหารสัตว์ เดิมได้มีการพิจารณา Micro-
  	
                   coccus ให้จัดอยู่ในสกุลของ Staphylococcus แต่เมื่อศึกษาคุณสมบัติ
                   ต่าง ๆ เช่น องค์ประกอบของผนังเซลล์ คุณสมบัติทางพันธุกรรมแล้ว

                   พบว่า Micrococcus มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ Coryneform bacteria 

                   ที่พบอยู่ในดิน เช่น Arthrobacter (Koneman, 2006) โดยแบคทีเรีย

                   ในสกุล Micrococcus สามารถจัดจำแนกได้ 9 สปีชีส์ ได้แก่ M. luteus,
                   M. nishinomiyaensis, M. sedentarius, M. lylae, M. varians, M.
                   roseus, M. agilis, M. kristinae และ M. halobius (Kocur, 1986) 
                         				 ต่อมาใน ค.ศ. 1995 Stackebrandt, Koch และคณะ ได้
                   ทำการวิเคราะห์โดยใช้ 16s ribosomal DNA เพื่อใช้ ในการจัดจำแนก
                   แบคทีเรียในสกุล Micrococcus ทั้ง 9 สปีชีส์ขึ้นใหม่ จากผลการศึกษา
                   พบว่า M. luteus และ M. lylae (Koneman, 2006) ยังถูกจัดอยู่ในสกุล
                   เดิมและ Micrococcus อีก 7 สปีชีส์ได้มีการปรับเปลี่ยนชื่อสกุลใหม่ ดัง
                   แสดงในตารางที่ 4 




_11-16(001-116)P6.indd 9                                                                 5/9/12 2:30:43 PM
การจัดจำแนกแบคทีเรียแกรมบวก รูปร่างกลม
                 10         วงศ์ ไมโครคอคเคซีอีและสเตรปโตคอคเคซีอี

               ตารางที่ 4		 การเปลี่ยนแปลงการจัดจำแนกแบคทีเรียในสกุล Micro-

                                                                           	
               	       	 	 	 coccus ตาม 16s ribosomal DNA (ดั ด แปลงมาจาก 

               				 Koneman, 2006)
                    การจัดจำแนกแบคทีเรียสกุล
                                                          การจัดจำแนกแบคทีเรียสกุลใหม่
                            Micrococcus
                 M. roseus
                              Kocuria roseus
                 M. varians
                             Kocuria varians
                 M. kristinae
                           Kocuria kristinae
                 M. halobius
                            Nesterenkonia halobia
                 M. nishinomiyaensis
                    Dermacoccus nishinomiyaensis
                 M. sedentarius
                         Kytococcus sedentarius
                 M. agilis
                              Arthrobacter agilis

                      				 ต่ อ มาได้ มี ก ารพบแบคที เ รี ย ในสกุ ล Nesterenkonia,
               Dermacoccus, Kytococcus เพิ่มขึ้นจากเดิมซึ่งแยกได้จากตัวอย่าง
               เลือด ดังนั้น ในปัจจุบันได้จัดแบคทีเรียสกุลดังกล่าวขึ้นเป็นวงศ์ Micro-

               coccaceae (ซึ่งประกอบด้วย Micrococcus, Arthrobacter, Kocuria
               และ Nesterenkonia) และวงศ์ Dermatophilaceae (ซึ่งประกอบด้วย
               Dermacoccus และ Kytococcus) ซึ่ ง การจำแนกแบคที เ รี ย วงศ์
               Micrococcaceae และวงศ์ Dermatophilaceae ดังแสดงในตาราง

               ที่ 5




_11-16(001-116)P6.indd 10                                                                 5/9/12 2:30:44 PM

More Related Content

What's hot

เฉลยโจทย์
เฉลยโจทย์เฉลยโจทย์
เฉลยโจทย์Pipat Chooto
 
ความแตกต่างระหว่าง Drotaverine และ hyoscine
ความแตกต่างระหว่าง Drotaverine และ hyoscineความแตกต่างระหว่าง Drotaverine และ hyoscine
ความแตกต่างระหว่าง Drotaverine และ hyoscineAiman Sadeeyamu
 
การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...
การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...
การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...Dr.Suradet Chawadet
 
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสอนแบบ 4 mat
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสอนแบบ 4 matเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสอนแบบ 4 mat
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสอนแบบ 4 matSiriphan Kristiansen
 
11แผน
11แผน11แผน
11แผนFmz Npaz
 
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอุปกรณ์ติดตัว
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอุปกรณ์ติดตัว การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอุปกรณ์ติดตัว
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอุปกรณ์ติดตัว techno UCH
 
การให้บัตรแพ้ยา
การให้บัตรแพ้ยาการให้บัตรแพ้ยา
การให้บัตรแพ้ยาRachanont Hiranwong
 
BLS การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน
BLS การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานBLS การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน
BLS การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานPaleenui Jariyakanjana
 
Drugs used in disorders of coagulation
Drugs used in disorders of coagulationDrugs used in disorders of coagulation
Drugs used in disorders of coagulationSirinoot Jantharangkul
 
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับยา
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับยาบทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับยา
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับยาPa'rig Prig
 
Psoriasis แนวทางการรักษา
Psoriasis แนวทางการรักษาPsoriasis แนวทางการรักษา
Psoriasis แนวทางการรักษาUtai Sukviwatsirikul
 
Oestrogel เอสโตรเจล ฮอร์โมนทดแทน ในเพศหญิงวัยทอง
Oestrogel  เอสโตรเจล  ฮอร์โมนทดแทน ในเพศหญิงวัยทอง Oestrogel  เอสโตรเจล  ฮอร์โมนทดแทน ในเพศหญิงวัยทอง
Oestrogel เอสโตรเจล ฮอร์โมนทดแทน ในเพศหญิงวัยทอง Utai Sukviwatsirikul
 
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 3 เซลล์พืชและเซลล์สัตว์
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 3 เซลล์พืชและเซลล์สัตว์แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 3 เซลล์พืชและเซลล์สัตว์
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 3 เซลล์พืชและเซลล์สัตว์Wann Rattiya
 
การพยาบาลDhf
การพยาบาลDhfการพยาบาลDhf
การพยาบาลDhfMaytinee Beudam
 
ประเภทสารน้ำ
ประเภทสารน้ำประเภทสารน้ำ
ประเภทสารน้ำPrathan Somrith
 

What's hot (20)

เฉลยโจทย์
เฉลยโจทย์เฉลยโจทย์
เฉลยโจทย์
 
ความแตกต่างระหว่าง Drotaverine และ hyoscine
ความแตกต่างระหว่าง Drotaverine และ hyoscineความแตกต่างระหว่าง Drotaverine และ hyoscine
ความแตกต่างระหว่าง Drotaverine และ hyoscine
 
Ppt. med error.2
Ppt. med error.2Ppt. med error.2
Ppt. med error.2
 
การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...
การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...
การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...
 
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสอนแบบ 4 mat
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสอนแบบ 4 matเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสอนแบบ 4 mat
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสอนแบบ 4 mat
 
11แผน
11แผน11แผน
11แผน
 
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอุปกรณ์ติดตัว
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอุปกรณ์ติดตัว การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอุปกรณ์ติดตัว
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอุปกรณ์ติดตัว
 
หลักการใช้ยา ปี4
หลักการใช้ยา ปี4หลักการใช้ยา ปี4
หลักการใช้ยา ปี4
 
การให้บัตรแพ้ยา
การให้บัตรแพ้ยาการให้บัตรแพ้ยา
การให้บัตรแพ้ยา
 
BLS การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน
BLS การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานBLS การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน
BLS การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน
 
Drugs used in disorders of coagulation
Drugs used in disorders of coagulationDrugs used in disorders of coagulation
Drugs used in disorders of coagulation
 
Guideline for management of gout
Guideline for management of goutGuideline for management of gout
Guideline for management of gout
 
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับยา
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับยาบทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับยา
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับยา
 
Psoriasis แนวทางการรักษา
Psoriasis แนวทางการรักษาPsoriasis แนวทางการรักษา
Psoriasis แนวทางการรักษา
 
แบบทดสอบเรื่องระบบนิเวศ
แบบทดสอบเรื่องระบบนิเวศแบบทดสอบเรื่องระบบนิเวศ
แบบทดสอบเรื่องระบบนิเวศ
 
Oestrogel เอสโตรเจล ฮอร์โมนทดแทน ในเพศหญิงวัยทอง
Oestrogel  เอสโตรเจล  ฮอร์โมนทดแทน ในเพศหญิงวัยทอง Oestrogel  เอสโตรเจล  ฮอร์โมนทดแทน ในเพศหญิงวัยทอง
Oestrogel เอสโตรเจล ฮอร์โมนทดแทน ในเพศหญิงวัยทอง
 
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 3 เซลล์พืชและเซลล์สัตว์
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 3 เซลล์พืชและเซลล์สัตว์แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 3 เซลล์พืชและเซลล์สัตว์
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 3 เซลล์พืชและเซลล์สัตว์
 
Cpg copd
Cpg copdCpg copd
Cpg copd
 
การพยาบาลDhf
การพยาบาลDhfการพยาบาลDhf
การพยาบาลDhf
 
ประเภทสารน้ำ
ประเภทสารน้ำประเภทสารน้ำ
ประเภทสารน้ำ
 

Viewers also liked

Mdl 237 Staphylococci
Mdl 237 StaphylococciMdl 237 Staphylococci
Mdl 237 Staphylococciraj kumar
 
การควบคุมป้องกันแบคทีเรียดื้อยา
การควบคุมป้องกันแบคทีเรียดื้อยา การควบคุมป้องกันแบคทีเรียดื้อยา
การควบคุมป้องกันแบคทีเรียดื้อยา Utai Sukviwatsirikul
 
การควบคุมและป้องกันฟันผุ
การควบคุมและป้องกันฟันผุ การควบคุมและป้องกันฟันผุ
การควบคุมและป้องกันฟันผุ Dr.Ratchaneewan Sinawat Poomsa-ad
 
ดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต1
ดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต1ดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต1
ดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต1Tatthep Deesukon
 
บท2 ยีนเเละโครโมโซม
บท2 ยีนเเละโครโมโซมบท2 ยีนเเละโครโมโซม
บท2 ยีนเเละโครโมโซมWichai Likitponrak
 
สุขภาพในช่องปาก ตอน โรคฟันผุ
สุขภาพในช่องปาก ตอน โรคฟันผุสุขภาพในช่องปาก ตอน โรคฟันผุ
สุขภาพในช่องปาก ตอน โรคฟันผุtechno UCH
 
บทที่ 3 สารชีวโมเลกุล
บทที่ 3 สารชีวโมเลกุลบทที่ 3 สารชีวโมเลกุล
บทที่ 3 สารชีวโมเลกุลJariya Jaiyot
 
บทที่ 13 สารชีวโมเลกุล
บทที่ 13 สารชีวโมเลกุลบทที่ 13 สารชีวโมเลกุล
บทที่ 13 สารชีวโมเลกุลoraneehussem
 
Microbiology4.5
Microbiology4.5Microbiology4.5
Microbiology4.5kkrunuch
 

Viewers also liked (12)

jjjjjjj
jjjjjjjjjjjjjj
jjjjjjj
 
Mdl 237 Staphylococci
Mdl 237 StaphylococciMdl 237 Staphylococci
Mdl 237 Staphylococci
 
การควบคุมป้องกันแบคทีเรียดื้อยา
การควบคุมป้องกันแบคทีเรียดื้อยา การควบคุมป้องกันแบคทีเรียดื้อยา
การควบคุมป้องกันแบคทีเรียดื้อยา
 
4.2 การปฏิบัติงานของภาควิชาและฝ่ายต่างๆ ภาควิชาจุลชีววิทยา
4.2 การปฏิบัติงานของภาควิชาและฝ่ายต่างๆ ภาควิชาจุลชีววิทยา4.2 การปฏิบัติงานของภาควิชาและฝ่ายต่างๆ ภาควิชาจุลชีววิทยา
4.2 การปฏิบัติงานของภาควิชาและฝ่ายต่างๆ ภาควิชาจุลชีววิทยา
 
การควบคุมและป้องกันฟันผุ
การควบคุมและป้องกันฟันผุ การควบคุมและป้องกันฟันผุ
การควบคุมและป้องกันฟันผุ
 
ดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต1
ดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต1ดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต1
ดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต1
 
บท2 ยีนเเละโครโมโซม
บท2 ยีนเเละโครโมโซมบท2 ยีนเเละโครโมโซม
บท2 ยีนเเละโครโมโซม
 
ชีวเคมี
ชีวเคมีชีวเคมี
ชีวเคมี
 
สุขภาพในช่องปาก ตอน โรคฟันผุ
สุขภาพในช่องปาก ตอน โรคฟันผุสุขภาพในช่องปาก ตอน โรคฟันผุ
สุขภาพในช่องปาก ตอน โรคฟันผุ
 
บทที่ 3 สารชีวโมเลกุล
บทที่ 3 สารชีวโมเลกุลบทที่ 3 สารชีวโมเลกุล
บทที่ 3 สารชีวโมเลกุล
 
บทที่ 13 สารชีวโมเลกุล
บทที่ 13 สารชีวโมเลกุลบทที่ 13 สารชีวโมเลกุล
บทที่ 13 สารชีวโมเลกุล
 
Microbiology4.5
Microbiology4.5Microbiology4.5
Microbiology4.5
 

More from CUPress

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737CUPress
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560CUPress
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478CUPress
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270CUPress
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102CUPress
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096CUPress
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072CUPress
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027CUPress
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914CUPress
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907CUPress
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686CUPress
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457CUPress
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440CUPress
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389CUPress
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280CUPress
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365CUPress
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303CUPress
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242CUPress
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235CUPress
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099CUPress
 

More from CUPress (20)

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099
 

9789740329541

  • 1. แบคทีเรียแกรมบวก รูปร่างกลม วงศ์ไมโครคอคเคซีอี และสเตรปโตคอคเคซีอี (Gram positive cocci: Micrococcaceae and Streptococcaceae) 1. ลักษณะทั่วไปของแบคทีเรียแกรมบวก รูปร่างกลม แบคทีเรียแกรมบวก รูปร่างกลม (Gram positive cocci) เป็น แบคทีเรียที่มีการติดสีย้อมแกรมบวกและมีรูปร่างกลม โดยแบคทีเรีย กลุ่ ม นี้ เ ป็ น แบคที เ รี ย อี ก กลุ่ ม หนึ่ ง ที่ ก่ อ โรคติ ด เชื้ อ กั บ มนุ ษ ย์ แ ละมั ก พบ ในสิ่งส่งตรวจทางการแพทย์ทั่ว ๆ ไปอยู่เสมอ แต่มีลักษณะการเรียงตัว ทีคอนข้างแตกต่างกันในแต่ละกลุมดังทีจะกล่าวในรายละเอียดต่อไป ่ ่ ่ ่ 1.1 ลักษณะของผนังเซลล์ แบคที เ รี ย แกรมบวกมี ผ นั ง เซลล์ แ ตกต่ า งจากแบคที เ รี ย แกรมลบดังแสดงในรูปที่ 1 คือแบคทีเรียแกรมบวกมีปริมาณเพปทิโด- ไกลแคน (Peptidoglycan) ในผนังเซลล์มากกว่าแบคทีเรียแกรมลบ แต่มีปริมาณไขมันที่เป็นส่วนประกอบของผนังเซลล์น้อยกว่าแบคทีเรีย แกรมลบ ดังนั้น ความแตกต่างนี้จึงทำให้แบคทีเรียแกรมบวกติดสีม่วง เมื่อมีการย้อมสีแกรม เนื่องจากในขั้นตอนที่มีการล้างสี (Decolorization) ด้วยแอลกอฮอล์ เพราะมีปริมาณเพปทิโดไกลแคนสูงและมีปริมาณไขมัน น้อยจึงทำให้แอลกอฮอล์ไม่สามารถแทรกเข้าไปในผนังเซลล์ของแบคทีเรีย แกรมบวกได้ จึงทำให้แบคทีเรียแกรมบวกยังคงติดสีม่วงของคริสทัล- _11-16(001-116)P6.indd 1 5/9/12 2:57:26 PM
  • 2. การจัดจำแนกแบคทีเรียแกรมบวก รูปร่างกลม วงศ์ ไมโครคอคเคซีอีและสเตรปโตคอคเคซีอี ไวโอเลต (Crystal violet) อยู่ในผนังเซลล์ นอกจากนั้นจากคุณสมบัติ ของผนังเซลล์ของแบคทีเรียแกรมบวกดังที่กล่าวมานี้จึงทำให้แบคทีเรีย แกรมบวกทนต่อสารดีเทอร์เจนต์ เช่น สบู่และสารประกอบฟีนอลอื่น ๆ รวมทั้งทนทานต่อความแห้งแล้ง (Desiccation) อุณหภูมิที่สูงขึ้นและ แสงแดดได้ดีกว่าแบคทีเรียแกรมลบ (Tortora et al., 1998) โดยสรุป แล้วแบคทีเรียแกรมบวกและแบคทีเรียแกรมลบมีความแตกต่างหลาย ประการ ดังแสดงในตารางที่ 1 รูปที่ 1 องค์ ป ระกอบของผนั ง เซลล์ แ บคที เ รี ย แกรมบวกและแบคที เ รี ย แกรมลบ (Atlas, 1995) _11-16(001-116)P6.indd 2 5/9/12 2:30:38 PM
  • 3. การจัดจำแนกแบคทีเรียแกรมบวก รูปร่างกลม วงศ์ ไมโครคอคเคซีอีและสเตรปโตคอคเคซีอี ตารางที่ 1 สรุ ป ความแตกต่ า งระหว่ า งแบคที เ รี ย แกรมบวกและ แบคที เ รี ย แกรมลบ (ดั ด แปลงมาจาก Engelkirk and Burton, 2007; Black, 2008) ลักษณะ แบคทีเรียแกรมบวก แบคทีเรียแกรมลบ การติดสีของเซลล์ น้ำเงิน-ม่วง ชมพู-แดง Outer membrane ไม่มี มี Peptidoglycan หนา บาง ในผนังเซลล์ กรด Teichoic และ มี ไม่มี Lipoteichoic ในผนังเซลล์ Lipopolysaccharide ไม่มี มี ในผนังเซลล์ ความไวต่อสีย้อม ไว ไม่ไว และยาปฏิชีวนะ 1.2 ลักษณะการเรียงตัว แบคทีเรียแกรมบวกแต่ละชนิดมีคุณสมบัติพิเศษในการเรียง ตัวแตกต่างกันออกไป ขึนอยูกบว่าแบคทีเรียชนิดดังกล่าวแบ่งเซลล์ในแนว ้ ่ั ใด (Division plane) ซึ่งจะมีผลต่อการติดกันของเซลล์ โดยคุณสมบัติ ดังกล่าวมีประโยชน์อย่างมากในการจำแนกเชื้อในกลุ่มแบคทีเรียแกรม บวก จึงสามารถจัดเป็นกลุ่มตามลักษณะการเรียงตัวดังนี้ 1.2.1 Diplococci มีลักษณะเซลล์ติดกันเป็นคู่ ๆ เกิดจาก การแบ่งเซลล์ตามแนวระนาบเดียวกันกับแนวที่เซลล์มาต่อกัน ดังแสดง ในรูปที่ 2 แบคทีเรียแกรมบวกรูปกลมที่มีการเรียงตัวลักษณะนี้ เช่น Streptococcus pneumoniae (Pneumococcus หรื อ ชื่ อ เดิ ม คื อ Diplococcus pneumoniae) (Tortora et al., 1998) _11-16(001-116)P6.indd 3 5/9/12 2:30:38 PM
  • 4. การจัดจำแนกแบคทีเรียแกรมบวก รูปร่างกลม วงศ์ ไมโครคอคเคซีอีและสเตรปโตคอคเคซีอี (a) (b) รูปที่ 2 (a) การแบ่งตัวของแบคทีเรียกลุ่ม Diplococci และ Streptococci (Black, 2008) (b) รูปเซลล์ของ Streptococcus pneumoniae ที่มีแคปซูลหุ้ม (Brock et al., 1994) 1.2.2 Streptococci แบคที เ รี ย แกรมบวกที่ มี เ ซลล์ ต่ อ กันเป็นสาย (Chain) ดังแสดงในรูปที่ 3 เนื่องจากมีการแบ่งเซลล์ใน แนวเดี ย วกั น แล้ ว ไม่ ห ลุ ด ออกจากกั น ทำให้ ก ารเรี ย งตั ว อาจจะพบต่ อ กันเพียง 3-4 เซลล์ หรืออาจจะยาวถึง 30-40 เซลล์แล้วแต่สภาวะ ของอาหารเลี้ ย งเชื้ อ ที่ ใ ช้ ใ นการเจริ ญ โดยอาหารเลี้ ย งเชื้ อ แบบเหลว จะทำให้ เ ซลล์ ต่ อ กั น เป็ น สายที่ ย าวมากกว่ า อาหารเลี้ ย งเชื้ อ แบบแข็ ง (Tortora et al., 1998) รูปที่ 3 ลักษณะการเรียงตัวของแบคทีเรียในกลุ่ม Streptococci (ภาพโดย พีรพัฒน์ สุพรรณพันธุ์) _11-16(001-116)P6.indd 4 5/9/12 2:30:40 PM
  • 5. การจัดจำแนกแบคทีเรียแกรมบวก รูปร่างกลม วงศ์ ไมโครคอคเคซีอีและสเตรปโตคอคเคซีอี 1.2.3 Staphylococci แบคทีเรียแกรมบวกที่มีเซลล์อยู่ รวมกั น เป็ น กลุ่ ม คล้ า ยพวงองุ่ น เนื่ อ งจากมี ก ารแบ่ ง เซลล์ ใ นทุ ก แนว (Tortora et al., 1998) ดังแสดงในรูปที่ 4 รูปที่ 4 ลักษณะพวงองุ่นของ Staphylococci (ภาพโดย พีรพัฒน์ สุพรรณพันธุ์) 1.2.4 Gaffkya แบคทีเรียแกรมบวกที่มีเซลล์อยู่กันเป็น กลุ่มที่มีระเบียบ 4 เซลล์ (Tetrad) เนื่องจากมีการแบ่งตัวติดต่อกัน 2 ครั้งในแนวระนาบตั้งฉากกัน (Tortora et al., 1998) ดังแสดงใน รูปที่ 5 รูปที่ 5 ลักษณะการแบ่งเซลล์ของแบคทีเรียกลุ่ม Gaffkya (Tortora et al., 1998) _11-16(001-116)P6.indd 5 5/9/12 2:30:42 PM
  • 6. การจัดจำแนกแบคทีเรียแกรมบวก รูปร่างกลม วงศ์ ไมโครคอคเคซีอีและสเตรปโตคอคเคซีอี 1.2.5 Sarcina แบคทีเรียแกรมบวกที่มีเซลล์อยู่กันเป็น กลุ่ม 8 เซลล์ เนื่องจากมีการแบ่งตัวติดต่อกัน 3 ครั้งในแนวระนาบ ตั้งฉากกัน (Tortora et al., 1998) ดังแสดงในรูปที่ 6 รูปที่ 6 ลักษณะการแบ่งเซลล์ของ Sarcina (Black, 2008) 1.3 ความไวต่อยาปฏิชีวนะ ความแตกต่ า งขององค์ ป ระกอบของผนั ง เซลล์ แ บคที เ รี ย แกรมบวกและแบคทีเรียแกรมลบทำให้เกิดความแตกต่างของความไว ต่อยาปฏิชีวนะของแบคทีเรียแกรมบวกและแบคทีเรียแกรมลบ โดยที่ ยาเพนิซิลลินและเซฟาโรสปอรินที่มีผลในการยับยั้งการสร้างผนังเซลล์ จะมี ผ ลกระทบต่ อ แบคที เ รี ย แกรมบวกมากกว่ า แบคที เ รี ย แกรมลบ (Kaplan, 2001) 2. วงศ์ไมโครคอคเคซีอี (Micrococcaceae) 2.1 ลักษณะและคุณสมบัติทั่วไป แบคทีเรียวงศ์ Micrococcaceae เป็นแบคทีเรียแกรมบวก รูปร่างกลม มีขนาดเซลล์ประมาณ 0.5-2.5 ไมโครเมตร การแบ่งเซลล์ สามารถแบ่งเซลล์ได้มากกว่า 1 ระนาบ ไม่สร้างสปอร์ และส่วนใหญ่ _11-16(001-116)P6.indd 6 5/9/12 2:30:42 PM
  • 7. การจัดจำแนกแบคทีเรียแกรมบวก รูปร่างกลม วงศ์ ไมโครคอคเคซีอีและสเตรปโตคอคเคซีอี แบคทีเรียวงศ์ Micrococcaceae เป็นแบคทีเรียที่ ไม่เคลื่อนที่ ยกเว้น บางชนิดที่สามารถเคลื่อนที่ได้ (Kocur, 1986) ซึ่งลักษณะของแบคทีเรีย วงศ์ Micrococcaceae สามารถสรุปได้ดังตารางที่ 2 ตารางที่ 2 ลั ก ษณะรวมของแบคที เ รี ย ในวงศ์ Micrococcaceae (Schleifer, 1986) คุณสมบัติ ลักษณะของแบคทีเรียวงศ์ Micrococcaceae การติดสีแกรม บวก* รูปร่าง กลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5-2.5 ไมโครเมตร การผลิตเอนไซม์คาทาเลส บวก สภาวะการเจริญ ส่วนใหญ่เป็น Aerobes หรือ Facultative anaerobes การเรียงตัว คู่สอง (Pairs) คู่สี่ หรืออยู่เป็นกลุ่มเรียงตัวจับกัน * ถ้าเลี้ยงเชื้อนาน ๆ การย้อมสีแกรมอาจเปลี่ยนไปเพราะแบคทีเรียเริ่ม ขาดคุณสมบัติในการเก็บ Crystal violet-iodine complex ไว้ ในเซลล์ ดังนั้นจึงควรย้อมสีแกรมขณะที่เพาะเลี้ยงใหม่ ๆ แบคทีเรียในวงศ์ Micrococcaceae มีสมาชิก 4 สกุล ได้แก่ Micrococcus, Staphylococcus, Stomatococcus และ Plano- coccus ดังแสดงในตารางที่ 3 แบคทีเรียสกุล Planococcus และสกุล Micrococcus เป็นแบคทีเรียที่อยู่เป็นอิสระตามธรรมชาติ (Free living saprophytes) (Schleifer, 1986) _11-16(001-116)P6.indd 7 5/9/12 2:30:43 PM
  • 8. การจัดจำแนกแบคทีเรียแกรมบวก รูปร่างกลม วงศ์ ไมโครคอคเคซีอีและสเตรปโตคอคเคซีอี ตารางที่ 3 ลั ก ษณะสมบั ติ ข องแบคที เ รี ย ในสกุ ล Micrococcus, Stomatococcus, Planococcus และ Staphylo- coccus (ดั ด แปลงมาจาก Schleifer, 1986; Kocur, 1986; Kloos and Schleifer, 1986) คุณสมบัติ Micro- Stoma- Plano- Staphy- coccus tococcus coccus lococcus การเรียงตัว 4 เซลล์ + - - - แคปซูล - + - - การเคลื่อนที่ -* - + - การหมักน้ำตาลกลูโคส -** + - + ภายใต้สภาวะไม่มีออกซิเจน การผลิตเอนไซม์ออกซิเดส +*** -**** ความสามารถทนต่อ R R R S Lysostaphin พบไกลซีน - - - + ที่เพปทิโดไกลแคน พบกรดไตรโคอิก - - - + ที่ผนังเซลล์ หมายเหตุ : + 90% or more of strains are positive - 90% or more of strains are negative R Resistant S Susceptible * ยกเว้น M. agilis ** ยกเว้น M. kristinae *** ยกเว้น M. varians, M. roseus, M. agilis และ M. sedentarius **** ยกเว้น S. caseolyticus, S. sciuri และ S. lentus แรเงาในช่อง หมายถึง ปฏิกิริยาที่ใช้จำแนกแบคทีเรียสกุลต่าง ๆ ออกจากกัน _11-16(001-116)P6.indd 8 5/9/12 2:30:43 PM
  • 9. การจัดจำแนกแบคทีเรียแกรมบวก รูปร่างกลม วงศ์ ไมโครคอคเคซีอีและสเตรปโตคอคเคซีอี 2.2 สกุล Micrococcus แบคทีเรียสกุล Micrococcus พบได้บนผิวหนังหรือเยื่อบุผิว ต่าง ๆ ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นอกจากนี้สามารถพบได้ ในเนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์นม ดิน และน้ำ (Kocur, 1986) แต่ไม่ก่อโรค บางชนิดถูกนำ ไปใช้ ในโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อใช้เป็นแบคทีเรียอ้างอิงหรือเชื้อควบคุม ในการทดสอบความไวของยาปฏิชีวนะ โดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรม เกี่ยวกับนม เครื่องสำอางและอาหารสัตว์ เดิมได้มีการพิจารณา Micro- coccus ให้จัดอยู่ในสกุลของ Staphylococcus แต่เมื่อศึกษาคุณสมบัติ ต่าง ๆ เช่น องค์ประกอบของผนังเซลล์ คุณสมบัติทางพันธุกรรมแล้ว พบว่า Micrococcus มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ Coryneform bacteria ที่พบอยู่ในดิน เช่น Arthrobacter (Koneman, 2006) โดยแบคทีเรีย ในสกุล Micrococcus สามารถจัดจำแนกได้ 9 สปีชีส์ ได้แก่ M. luteus, M. nishinomiyaensis, M. sedentarius, M. lylae, M. varians, M. roseus, M. agilis, M. kristinae และ M. halobius (Kocur, 1986) ต่อมาใน ค.ศ. 1995 Stackebrandt, Koch และคณะ ได้ ทำการวิเคราะห์โดยใช้ 16s ribosomal DNA เพื่อใช้ ในการจัดจำแนก แบคทีเรียในสกุล Micrococcus ทั้ง 9 สปีชีส์ขึ้นใหม่ จากผลการศึกษา พบว่า M. luteus และ M. lylae (Koneman, 2006) ยังถูกจัดอยู่ในสกุล เดิมและ Micrococcus อีก 7 สปีชีส์ได้มีการปรับเปลี่ยนชื่อสกุลใหม่ ดัง แสดงในตารางที่ 4 _11-16(001-116)P6.indd 9 5/9/12 2:30:43 PM
  • 10. การจัดจำแนกแบคทีเรียแกรมบวก รูปร่างกลม 10 วงศ์ ไมโครคอคเคซีอีและสเตรปโตคอคเคซีอี ตารางที่ 4 การเปลี่ยนแปลงการจัดจำแนกแบคทีเรียในสกุล Micro- coccus ตาม 16s ribosomal DNA (ดั ด แปลงมาจาก Koneman, 2006) การจัดจำแนกแบคทีเรียสกุล การจัดจำแนกแบคทีเรียสกุลใหม่ Micrococcus M. roseus Kocuria roseus M. varians Kocuria varians M. kristinae Kocuria kristinae M. halobius Nesterenkonia halobia M. nishinomiyaensis Dermacoccus nishinomiyaensis M. sedentarius Kytococcus sedentarius M. agilis Arthrobacter agilis ต่ อ มาได้ มี ก ารพบแบคที เ รี ย ในสกุ ล Nesterenkonia, Dermacoccus, Kytococcus เพิ่มขึ้นจากเดิมซึ่งแยกได้จากตัวอย่าง เลือด ดังนั้น ในปัจจุบันได้จัดแบคทีเรียสกุลดังกล่าวขึ้นเป็นวงศ์ Micro- coccaceae (ซึ่งประกอบด้วย Micrococcus, Arthrobacter, Kocuria และ Nesterenkonia) และวงศ์ Dermatophilaceae (ซึ่งประกอบด้วย Dermacoccus และ Kytococcus) ซึ่ ง การจำแนกแบคที เ รี ย วงศ์ Micrococcaceae และวงศ์ Dermatophilaceae ดังแสดงในตาราง ที่ 5 _11-16(001-116)P6.indd 10 5/9/12 2:30:44 PM