SlideShare a Scribd company logo
1 of 37
Download to read offline
อัตตชีวประวัติและผลงาน
๑. ชื่อ พระครูพนมวันจันทสาร ฉายา จน.ทสุวณ.โณ
อายุ ๔๙ พรรษา ๒๘ วิทยฐานะ นักธรรมชั้นเอก พุทธศาสตร์บัณฑิต
วัดพระพุทธบาทพนมดิน ตําบลท่าตูม อําเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
ปัจจุบันดํารงตําแหน่ง เจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทพนมดิน
๒. สถานะเดิม
ชื่อ ธีรภพ นามสกุล มาลาคํา เกิดวันจันทร์ แรม ๓ ค่ํา เดือน ๓ ปีมะแม
ตรงกับวันที่ ๒๗ เดือนกุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๑๐
บิดา นายพรม นามสกุล มาลาคํา
มารดา นางดา นามสกุล มาลาคํา (สกุลเดิม มะลิลา)
บ้านเลขที่ ๓๗ หมู่ที่ ๑๑ ตําบลหนองบัว อําเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
๓. บรรพชา
วันเสาร์ ขึ้น ๑๕ ค่ํา เดือน ๖ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ ๓๐ เดือนเมษายน พุทธศักราช ๒๕๓๑
ณ วัดจําปาหนองบัว ตําบลหนองบัว อําเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
พระอุปัชฌาย์ พระครูประภัศร์คณารักษ์ (จันทร์) วัดโพธิ์พฤกษาราม ตําบลท่าตูม
อําเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
๔. อุปสมบท
วันเสาร์ ขึ้น ๑๕ ค่ํา เดือน ๖ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ ๓๐ เดือนเมษายน พุทธศักราช ๒๕๓๑
ณ พัทธสีมา วัดจําปาหนองบัว ตําบลหนองบัว อําเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
พระอุปัชฌาย์ พระครูประภัศร์คณารักษ์ (จันทร์) วัดโพธิ์พฤกษาราม ตําบลท่าตูม
อําเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
พระกรรมวาจาจารย์ พระครูสุภัทรโพธิคุณ (เผือก) วัดโพธิ์ชัยหมากมี่ ตําบลหนองบัว
อําเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
พระอนุสาวนาจารย์ พระครูสุตโพธิสุนทร (เสวียง) วัดโพธิ์บัลลังก์ ตําบลท่าตูม
อําเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
๕. วิทยฐานะ
พุทธศักราช ๒๕๒๓ สําเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา จากโรงเรียนหนองบัวมิตรภาพที่
๘๕ ตําบลหนองบัว อําเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
พุทธศักราช ๒๕๓๔ สอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอกในสนามหลวง สํานักศาสนศึกษาวัดโพธิ์
พฤกษาราม ตําบลท่าตูม อําเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
พุทธศักราช ๒๕๓๘ สําเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จากศูนย์บริการการศึกษา
นอกโรงเรียนอําเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
พุทธศักราช ๒๕๔๓ สําเร็จการศึกษาพุทธศาสตร์บัณฑิตจากมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณ์
ราชวิทยาลัย วิทยาเขตอุบลราชธานี
การศึกษาพิเศษ
พิมพ์ดีดภาษาไทย – ภาษาอังกฤษได้ และคอมพิวเตอร์ใช้งาน จากวิทยาลัยการอาชีพท่าตูม
อําเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ผ่านการฝึกอบรมทหารกองหนุนเพื่อความมั่นคงของชาติ (ก.
น.ช.) จากกองทัพภาคที่ ๒ รุ่นที่ ๓ ของอําเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ผ่านการฝึกอบรมเกษตร
ระยะสั้น จากสถาบันเทคโนโลยีวิทยาลัยเกษตร จังหวัดสุรินทร์ ผ่านการอบรมหลักสูตรพระ
สังฆาธิการ คณะสงฆ์ ภาค ๑๐ เข้าร่วมประชุมผู้นําองค์กรพุทธศาสนาแห่งโลก (THE 3rd
WORD BUDDHIST CONERECE THE KINGDOM OF CAMBODIA PHANOMPENH,
DECEMBER 59, 2002)
ความชานาญ
การแสดงธรรม ปาฐกถาธรรม เทศน์แหล่ทํานองอิสาน งานด้านนวกรรม ช่างไม้ ช่างปูน และ
การพัฒนาชุมชน เขียนอ่านอักษรขอม อักษรธรรมได้
๖. งานปกครอง
พุทธศักราช ๒๕๓๗ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดโพธิ์พฤกษาราม ตําบลท่าตูม
อําเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
พุทธศักราช ๒๕๔๒ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดหลวง ตําบลในเมือง อําเภอ
เมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
พุทธศักราช ๒๕๔๖ ได้รับการแต่งตั้งเป็นรองเจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทพนมดิน ตําบลท่าตูม
อําเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
พุทธศักราช ๒๕๔๙ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้รักษาแทนเจ้าอาวาส วัดพระพุทธบาทพนมดิน
ตําบลท่าตูม อําเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
พุทธศักราช ๒๕๕๐ ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส วัดพระพุทธบาทพนมดิน ตําบลท่าตูม
อําเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
กิจกรรมภายในวัด
- มีการทําอุโบสถกรรม (สวดปาฏิโมกข์) ตลอดปีและมีพระภิกษุผู้ทรงจําปาฏิโมกข์ จํานวน
๑ รูป
- มีการทําวัตรเช้า – เย็น เป็นประจําทุกวันตลอดปี
- มีการนั่งสมาธิภาวนากรรมฐาน เป็นประจําทุกวันตลอดปี
มีระเบียบการปกครองของวัด ดังนี้
- เจ้าอาวาสเป็นผู้ควบคุมดูแลไม่ได้แบ่งเป็นคณะ
- มอบให้พระผู้มีพรรษาสมควรและมีความสามารถเป็นผู้ช่วยควบคุมดูแลกิจการภายในวัด
ควบคุมดูแลกิจการภายในวัด
- อบรมให้ประพฤติปฏิบัติอันดีงามตามพระธรรมวินัย
- อบรมให้รู้จักรักษา ศาสนสมบัติอันมีค่าของพระพุทธศาสนา
- อบรมชี้แจงให้รู้จักประพฤติปฏิบัติตามระเบียบ
ข้อกติกาของวัดและอาณัติของคณะสงฆ์
- อบรมให้รู้จักคุณค่าของความสะอาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณวัด
ตารางปฏิบัติศาสนกิจประจําวัน
เวลา ๐๔.๐๐ น. สัญญาณระฆังทําวัตรเช้า นั่งสมาธิ ภาวนา
เวลา ๐๕.๓๐ น. กวาดลานวัด
เวลา ๐๖.๐๐ น. ออกบิณฑบาต
เวลา ๐๗.๓๐ น. ฉันข้าวยาคู (ข้าวต้ม)
เวลา ๐๙.๐๐ น. บรรยายธรรมและเรียนปริยัติธรรม
เวลา ๑๐.๓๐ น. สัญญาณตีกลองไหว้พระฉันภัตตาหารเพล
เวลา ๑๓.๐๐ น. ปฏิบัติกรรมฐาน นั่งสมาธิภาวนา
เวลา ๑๕.๐๐ น. สัญญาณตีระฆังทําความสะอาดบริเวณวัด
เวลา ๑๖.๐๐ น. สัญญาณตีระฆังทําวัตรเย็นนั่งสมาธิภาวนา
เวลา ๑๙.๐๐ น. สัญญาณตีระฆังปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิ-เดินจงกรรม
เวลา ๒๑.๐๐ น. พักผ่อนตามอัธยาศัย
มีกติกาของวัด ดังนี้
- ผู้ที่จะเข้ามาอุปสมบท ต้องฝึกหัดอบรมให้รู้จักหลักทางพระพุทธศาสนา
- เมื่อบรรพชาอุปสมบทแล้ว ต้องปฏิบัติกิจวัตรสวดมนต์เช้าและเย็น ทุกวัน
- ในระหว่างบรรพชาอุปสมบท ต้องศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยทุกรูป
- วันสําคัญในทางพระพุทธศาสนา ต้องปฏิบัติศาสนกิจโดยพร้อมเพรียงกัน
- ต้องลงทําอุโบสถกรรมทุกกึ่งเดือน
- ถ้าภารกิจของสงฆ์เกิดขึ้นในวัดต้องช่วยกันทําตามกําลังแห่งความสามารถ เพื่อความ
พร้อมเพรียงและความเจริญของหมู่คณะ
- ต้องสอบธรรมสนามหลวงทุกรูป ยกเว้นข้าราชการลาอุปสมบท
- เมื่อจะไปค้างแรมคืนนอกวัด ต้องบอกลาเจ้าอาวาสทราบทุกครั้ง ทั้งไปและกลับ ยกเว้น
แต่ไปกลับในวันเดียว จะบอกพระรูปใดรูปหนึ่งก็ได้
๗. งานด้านการศึกษา
พุทธศักราช ๒๕๓๔ ได้รับการแต่งตั้งเป็นครูสอนพระปริยัติธรรม ประจําสํานักศาสนศึกษา
วัดโพธิ์พฤกษาราม ตําบลท่าตูม อําเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
พุทธศักราช ๒๕๓๗ ผ่านการอบรมหลักสูตรครูสอนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม ณ
วัดโพธิสมภรณ์ ตําบลหมากแข้ง อําเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี
พุทธศักราช ๒๕๔๖ เป็นเจ้าสํานักศาสนศึกษา วัดพระพุทธบาทพนมดิน สํานักเรียนคณะ
จังหวัดสุรินทร์
พุทธศักราช ๒๕๔๖ – ๒๕๕๖ ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการสอบธรรมสนามหลวง ณ
หน่วยสอบวัดปทุมทอง ตําบลท่าตูม อําเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
พุทธศักราช ๒๕๔๖ – ๒๕๕๖ เป็นกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานวิทยาลัยการอาชีพท่าตูม
อําเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
- เป็นกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์ อําเภอท่าตูม
จังหวัดสุรินทร์
- เป็นกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนสนิทราษฎร์ท่าตูมวิทยาคม อําเภอท่าตูม
จังหวัดสุรินทร์
- เป็นกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนศรีปทุมพิทยาคม ตําบลหนองบัว อําเภอ
ท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
- สอนพระปริยัติด้วยตนเอง เพื่อเป็นตัวอย่างแก่ครูสอนพระปริยัติธรรมรูปอื่นๆ
- แนะแนวและชี้นําให้เห็นถึงความสําคัญของการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกธรรมอัน
เป็นพื้นฐานแห่งการปฏิบัติธรรมขั้นสูงต่อไป
- ถวายรางวัลให้แก่นักเรียนภายในวัด ที่ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมและสอบ
สนามหลวง
- จัดหาอุปกรณ์การเรียนการสอนให้แก่ครูและนักเรียนอย่างพอเพียงตามความจําเป็น
- ส่งเสริมให้พระภิกษุสามเณรที่ประสงค์จะเรียนต่อในชั้นเรียนที่วัดพระพุทธบาทพนมดิน
ไม่สามารถจัดให้ได้ ให้ไปศึกษา ณ ต่างสํานักและอปถัมภ์ตามความเหมาะสม
๘. งานศึกษาสงเคราะห์
พุทธศักราช ๒๕๕๒ ได้จัดตั้งกองทุนการศึกษาแก่นักเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา เพื่อ
มอบให้แก่นักเรียนที่ผู้ปกครองมีรายได้น้อย แต่เรียนดี ความประพฤติดี เป็นจํานวนเงิน
๕๐,๐๐๐ บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน)
พุทธศักราช ๒๕๕๓ ได้จัดตั้งกองทุนการศึกษา มอบให้นิสิตนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ
สุรินทร์ ที่มีความประพฤติดี ขาดแคลนทุนการศึกษา เป็นจํานวนเงิน ๒๐,๐๐๐ บาท
(สองหมื่นบาทถ้วน)
พุทธศักราช ๒๕๕๔ ได้จัดตั้งกองทุนการศึกษา มอบให้ผู้อํานวยการวิทยาลัยการอาชีพท่าตูม
เพื่อนําไปช่วยเหลือนักเรียนที่ยากจน แต่ตั้งใจเรียน มีความประพฤติดี เป็นจํานวนเงิน
๑๕๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนห้าหมื่นบาทถ้วน)
ให้ความอุปถัมภ์พระภิกษุ – สามเณร นักเรียนนักศึกษาทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัด เรื่อยมา
ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๓๕ จนถึงปัจจุบัน เป็นจํานวนเงิน โดยประมาณ ๕๐๐,๐๐๐ บาท
(ห้าแสนบาทถ้วน)
- ได้อุปถัมภ์พระภิกษุ – สามเณร นักศึกษา ศึกษาอย่างต่อเนื่องจนจบระดับปริญญาตรี
ปริญญาโท และปริญญาเอก จํานวน ๓ รูป/คน เป็นจํานวนเงิน ๖๐๐,๐๐๐ บาท
(หกแสนบาทถ้วน)
๙. งานเผยแผ่
พุทธศักราช ๒๕๓๕ เป็นวิทยากรอบรมนักเรียน นักศึกษา ที่มาอบรมค่ายจริยธรรมตลอดมา
จวบจนปัจจุบัน
พุทธศักราช ๒๕๔๐ เป็นวิทยากรอบรมนักเรียน นักศึกษา ในโครงการของมหาวิทยาลัย
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตอุบลราชธานี
พุทธศักราช ๒๕๔๑ เป็นวิทยากรอบรมผู้ต้องขังในเรือนจํา จังหวัดอุบลราชธานี
พุทธศักราช ๒๕๕๐ เป็นประธานดําเนินงานโครงการอบรมคุณธรรมจริยธรรม และโครงการ
ธรรมรักษ์ – ธรรมรส นิมนต์พระมาแสดงธรรมในวันธรรมสวนะ ในฤดูพรรษาทุกปี ณ
วัดพระพุทธบาทพนมดิน ตําบลท่าตูม อําเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
- อบรมอุบาสก อุบาสิกา เกี่ยวกับศีล สมาธิ การทําจิตใจให้สงบ ประเพณีท้องถิ่น
ศาสนพิธี
- เยาวชน นักเรียน อบรมเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรม กับมารยาทไทย การต้อนรับแขก
การช่วยเหลือสังคม
มีการประกอบกิจกรรมวันสําคัญทางพระพุทธศาสนา ดังนี้
มีการประกอบพิธีวันมาฆะบูชา
- มีผู้เข้าร่วมพิธี พระภิกษุ สามเณร ๗ รูป ประชาชน ๒๕๐ คน คณะครูและนักเรียน
นักศึกษา ๑,๕๐๐ คน
มีการประกอบพิธีวันวิสาขบูชา
- มีผู้เข้าร่วมพิธี พระภิกษุ สามเณร ๑๒ รูป ประชาชน ๓๐๐ คน คณะครูและนักเรียน
นักศึกษา ๗๐๐ คน
มีการประกอบพิธีวันอัฏฐมีบูชา
- มีผู้เข้าร่วมพิธี พระภิกษุ สามเณร ๗ รูป ประชาชน ๑๒๐ คน คณะครูและนักเรียน
นักศึกษา ๑,๐๐๐ คน
มีการประกอบพิธีวันอาสาฬบูชา
- มีผู้เข้าร่วมพิธี พระภิกษุ สามเณร ๒๐ รูป ประชาชน ๓๐๐ คน คณะครูและนักเรียน
นักศึกษา ๑,๖๐๐ คน
มีการอบรมศีลธรรม คือ
- มีการอบรมศีลธรรมแก่คณะครู นักเรียนและประชาชนในวันสําคัญทางพระพุทธศาสนา
- มีการอบรมศีลธรรมแก่ประชาชนในเขตอําเภอท่าตูม
ให้ความร่วมมือกับทางคณะสงฆ์และทางราชการในการเผยแผ่ ดังนี้
- อํานวยความสะดวกในการเดินทางให้แก่พระธรรมทูตอําเภอท่าตูม
- ให้ความร่วมมือกับคณะสงฆ์ อําเภอท่าตูม ทุกครั้งที่มีกิจของสงฆ์เกิดขึ้น
- ในส่วนราชการ ทางวัดได้อนุญาตให้ใช้สถานที่ของวัด เป็นสถานที่อบรมประชุม สัมมนา
ทุกหน่วยงานของทางราชการเป็นประจํา
๑๐.งานด้านสาธารณูปการ ภายในวัดพระพุทธบาทพนมดิน
พุทธศักราช ๒๕๔๖ ดําเนินการก่อสร้างศาลาอบรมกรรมฐาน (หอธรรมวิริยาจารย์) จํานวน
๑ หลัง ขนาดกว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๒๐ เมตร เสาคอนกรีตเสริมเหล็ก ลักษณะทรงไทยประยุกต์ โครงหลังคา
เหล็ก มุงด้วยกระเบื้องติดช่อฟูาใบระกา ผนังก่อด้วยอิฐถือปูน พื้นลาดด้วยซีเมนต์ ปูด้วยกระเบื้องมีห้องน้ําใน
ตัวอาคาร ๒ ห้อง พร้อมทั้งเดินระบบน้ําประปา รวมค่าก่อสร้างเป็นเงินทั้งสิ้น ๑,๐๐๙,๕๐๒ บาท (หนึ่งล้าน
เก้าพันห้าร้อยสองบาทถ้วน)
พุทธศักราช ๒๕๔๗ ดําเนินการก่อสร้างกุฏิสงฆ์ จํานวน ๒ หลัง ขนาดกว้าง ๓ เมตร ยาว ๔
เมตร เสาคอนกรีตสําเร็จ ลักษณะทรงไทยประยุกต์ โครงหลังคาเหล็ก มุงด้วยกระเบื้อง ผนังก่อด้วยอิฐถือปูน
พื้นลาดด้วยซีเมนต์ ปูกระเบื้องรวมค่าก่อสร้างเป็นเงินทั้งสิ้น ๑๘๐,๖๕๐ บาท (หนึ่งแสนแปดหมื่นหกร้อยห้า
สิบบาทถ้วน)
พุทธศักราช ๒๕๔๘ ดําเนินการก่อสร้างห้องน้ํา จํานวน ๑ หลัง ขนาดกว้าง ๒ เมตร ยาว ๕
เมตร ๓ ห้อง เสาคอนกรีตเสริมเหล็ก โครงหลังคาไม้ มุงด้วยกระเบื้อง พื้นลาดด้วยซีเมนต์ ปูพื้นด้วยกระเบื้อง
ผนังก่อด้วยอิฐถือปูน พร้อมทั้งเดินระบบน้ําประปาและเครื่องสุขภัณฑ์ รวมค่าก่อสร้างเป็นเงินทั้งสิ้น
๑๐๙,๑๕๒ บาท (หนึ่งแสนเก้าพันหนึ่งร้อยห้าสิบสองบาทถ้วน)
พุทธศักราช ๒๕๔๙ ดําเนินการก่อสร้างกุฏิสงฆ์ จํานวน ๑ หลัง ขนาดกว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๒
เมตร เสาคอนเกรีตสําเร็จ โครงหลังคาเหล็กมุงด้วยกระเบื้อง ผนังก่อด้วยอิฐถือปูน พื้นลาดด้วยซีเมนต์ปูพื้น
ด้วยกระเบื้อง มีห้องน้ําในตัวอาคารพร้อมเดินระบบน้ําประปา เครื่องสุขภัณฑ์ ลักษณะทรงไทยประยุกต์ รวม
ค่าก่อสร้างเป็นเงินทั้งสิ้น ๒๔๖,๕๑๒ บาท (สองแสนสี่หมื่นหกพักห้าร้อยสิบสองบาทถ้วน)
พุทธศักราช ๒๕๕๐ ดําเนินการก่อสร้างกุฏิกรรมฐาน จํานวน ๑๐ หลัง ขนาดกว้าง ๔ เมตร
ยาว ๗ เมตร เสาคอนกรีตสําเร็จต่อเสาไม้โครงไม้ทั้งหมด ฝากระดานไม้ทั้งหมด มุงหลังคาด้วยกระเบื้องพื้น
ลาดด้วยซีเมนต์ รวมค่าก่อสร้างเป็นเงินทั้งสิ้น ๙๓๒,๖๐๒ บาท (เก้าแสนสามหมื่นสองพันหกร้อยสองบาท
ถ้วน)
พุทธศักราช ๒๕๔๙ – ๒๕๕๑ ดําเนินการก่อสร้างพระมหาเจดีย์พนมดินที่ค้างไว้ จํานวน ๑
องค์ ขนาดกว้าง ๑๖ x ๑๖ เมตร มีฐานรอบลักษณะ ๘ เหลี่ยม ทรงระฆังคว่ํา สูง ๓๕ เมตร เสาคอนกรีตเสริม
เหล็ก ผนังก่อด้วยอิฐถือปูนบุด้วยหินอ่อนทั้งองค์ ยอดฉัตรทองคําแท้ประมาณ ๓ กิโลกรัม ประดับด้วยเพชร
พลอยนพเก้า รวมค่าก่อสร้างเป็นเงินทั้งสิ้น ๓๕,๐๙๓,๖๕๓ บาท (สามสิบห้าล้านเก้าหมื่นสามพันหกร้อยห้าสิบ
สามบาทถ้วน)
พุทธศักราช ๒๕๕๑ ดําเนินการก่อสร้าง ซุ้มประตูด้านหน้าพระมหาเจดีย์พนมดิน จํานวน ๑
ซุ้ม ขนาดกว้าง ๖ เมตร สูง ๑๕ เมตร เสาคอนกรีตเสริมเหล็ก ก่อด้วยอิฐถือปูนประดับลายทาสียอดฉัตร ลาด
พื้นด้วยซีเมนต์ รวมค่าก่อสร้างเป็นเงินทั้งสิ้น ๑,๔๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งล้านสี่แสนบาทถ้วน)
พุทธศักราช ๒๕๕๑ ดําเนินการก่อสร้างหอพระอุปคุตกลางสระน้ํา จํานวน ๑ หอ ขนาดกว้าง
๒.๕๐ เมตร x ๒.๕๐ เมตร สูงจากพื้นของสระน้ํา ๑๐ เมตร เสาคอนกรีตเสริมเหล็ก ตกแต่งด้วยปูนติดกระจก
ลาดพื้นด้วยซีเมนต์ รวมค่าก่อสร้างเป็นเงินทั้งสิ้น ๑๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน)
พุทธศักราช ๒๕๕๑ ดําเนินการก่อสร้างศาลาราย จํานวน ๔ หลัง ขนาดกว้าง ๓x๔ เมตร เสา
คอนกรีตเสริมเหล็ก ก่อด้วยอิฐถือปูน โครงหลังคาเหล็กมุงด้วยกระเบื้องติดใบระกาทรงไทยประยุกต์ ๓ มุข
ลาดพื้นด้วยซีเมนต์ปูกระเบื้อง รวมค่าก่อสร้างเป็นเงินทั้งสิ้น ๑,๔๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งล้านสี่แสนบาทถ้วน)
พุทธศักราช ๒๕๕๑ ดําเนินการก่อสร้างพญานาคกลางสระน้ําศักดิ์สิทธิ์ จํานวน ๒ นาค
ขนาดลําตัวกว้าง ๕๐ เซนติเมตร ยาว ๑๕ เมตร แผ่พังพาน ๗ เศียร สูงจากพื้นสระน้ํา ๑๐ เมตร เสาคอนกรีต
เสริมเหล็ก ก่อด้วยอิฐถือปูนแกะลายเกล็ดทาสีเขียว ลาดพื้นด้วยซีเมนต์ รวมค่าก่อสร้างเป็นเงินทั้งสิ้น
๒๕๐,๐๐๐ บาท (สองแสนห้าหมื่นบาทถ้วน)
พุทธศักราช ๒๕๕๒ ดําเนินการก่อสร้างโรงครัว จํานวน ๑ หลัง ขนาดกว้าง ๒๐ เมตร ยาว
๒๐ เมตร เสาคอนกรีตสําเร็จรูป โครงไม้หลังคามุงด้วยสังกะสี ผนังก่อด้วยอิฐถือปูน พื้นลาดด้วยซีเมนต์ พร้อม
ทั้งจัดอุปกรณ์ อาทิ หม้อ ถ้วย จาน ช้อน รวมค่าก่อสร้างเป็นเงินทั้งสิ้น ๒๓๐,๐๐๐ บาท (สองแสนสามหมื่น
บาทถ้วน)
พุทธศักราช ๒๕๕๒ ดําเนินการก่อสร้างโรงล้างจาน จํานวน ๑ หลัง ขนาดกว้าง ๕ เมตร ยาว
๕ เมตร เสาคอนกรีตสําเร็จ โครงหลังคาเหล็ก หลังคามุงด้วยสังกะสี พื้นลาดด้วยซีเมนต์ รวมค่าก่อสร้างเป็น
เงินทั้งสิ้น ๕๐,๐๐๐ บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน)
พุทธศักราช ๒๕๕๒ ดําเนินการก่อสร้างโรงจอดรถ จํานวน ๑ หลัง ขนาดกว้าง ๗ เมตร ยาว
๗ เมตร เสาคอนกรีตสําเร็จ หลังคามุงด้วยสังกะสี พื้นลาดด้วยซีเมนต์ รวมค่าก่อสร้างเป็นเงินทั้งสิ้น ๘๐,๐๐๐
บาท (แปดหมื่นบาทถ้วน)
พุทธศักราช ๒๕๕๒ ดําเนินการก่อสร้างพระพุทธรูปปางห้ามพยาธิ สูง ๑๘ เมตร พร้อมทั้ง
ทาสีทองทั้งองค์ รวมค่าก่อสร้างเป็นเงินทั้งสิ้น ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งล้านบาทถ้วน)
พุทธศักราช ๒๕๕๓ ดําเนินการก่อสร้างกุฏิสงฆ์ จํานวน ๑ หลัง ขนาดกว้าง ๕ เมตร ยาว ๑๕
เมตร ใช้เสาคอนกรีตสําเร็จรูป ลักษณะทรงไทยประยุกต์ โครงไม้ หลังคามุงด้วยสรรไท พื้นลาดด้วยซีเมนต์
ปูด้วยกระเบื้อง รวมค่าก่อสร้างเป็นเงินทั้งสิ้น ๒๓๐,๐๐๐ บาท (สองแสนสามหมื่นบาทถ้วน)
พุทธศักราช ๒๕๕๓ ดําเนินการก่อสร้างห้องน้ํา – ห้องสุขา จํานวน ๑๒ ห้อง ขนาดกว้าง
๓.๕๐ เมตร ยาว ๒๐ เมตร ใช้เสาคอนกรีตสําเร็จรูป โครงหลังคาเหล็ก หลังคามุงด้วยสรรไท พื้นลาดด้วย
ซีเมนต์ ปูพื้นด้วยกระเบื้อง พร้อมทั้งเดินระบบน้ําประปา รวมค่าก่อสร้างเป็นเงินทั้งสิ้น ๕๐๐,๐๐๐ บาท
(ห้าแสนบาทถ้วน)
พุทธศักราช ๒๕๕๓ ดําเนินการก่อสร้างอาคารที่พักสําหรับผู้ปฏิบัติธรรม จํานวน ๑ หลัง
ขนาดกว้าง ๑๕ เมตร ยาว ๓๐ เมตร ใช้เสาคอนกรีตสําเร็จรูป ผนังก่อด้วยอิฐถือปูน พื้นลาดด้วยซีเมนต์ ปูพื้น
ด้วยกระเบื้อง โครงหลังคาเหล็ก หลังคามุงด้วยสรรไท รวมค่าก่อสร้างเป็นเงินทั้งสิ้น ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สอง
ล้านบาทถ้วน)
พุทธศักราช ๒๕๕๓ ดําเนินการก่อสร้างปราสาทศิลปะขอม จํานวน ๑ หลัง ขนาดกว้า ๗
เมตร ยาว ๗ เมตร เสาคอนกรีตเสริม ผนังก่อด้วยอิฐถือปูน ประดับลวดลายขอม ทาสีโอ๊คทั้งหลัง รวมค่า
ก่อสร้างเป็นเงินทั้งสิ้น ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สองล้านบาทถ้วน)
พุทธศักราช ๒๕๕๓ ดําเนินการจัดซื้อชุดรับแขกเฟอร์นิเจอร์โซฟาไม้เนื้อแข็งสําหรับต้อนรับ
แขกอาคันตุกะ จํานวน ๑๐ ชุด/ตัว รวมค่าจัดซื้อเป็นเงินทั้งสิ้น ๑๕๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนห้าหมื่นบาทถ้วน)
พุทธศักราช ๒๕๕๔ ดําเนินการก่อสร้างพระพุทธรูปนอนปางไสยยาส ยาว ๒๐ เมตร พร้อม
ทั้งทาสีทองทั้งองค์ รวมค่าก่อสร้างเป็นเงินทั้งสิ้น ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สองล้านบาทถ้วน)
พุทธศักราช ๒๕๕๔ ดําเนินการก่อสร้างอาคารปฏิบัติธรรม จํานวน ๑ หลัง ขนาดกว้าง ๑๒
เมตร ยาว ๒๕ เมตร ลักษณะเป็นอาคารด้านทิศเหนือและทิศใต้ เปิดโล่ง ผนังด้านทิศตะวันออกและทิศ
ตะวันตก ก่อด้วยอิฐถือปูน พื้นลาดด้วยซีเมนต์ ปูพื้นด้วยหินขัด โครงหลังคาเหล็ก หลังคามุงด้วยสรรไท รวมค่า
ก่อสร้างเป็นเงินทั้งสิ้น ๑,๗๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งล้านเจ็ดแสนบาทถ้วน)
พุทธศักราช ๒๕๕๔ ดําเนินการก่อสร้างศาลาพักของผู้ปฏิบัติธรรม จํานวน ๒ หลัง ขนาด
กว้าง ๒.๕๐ เมตร ยาว ๓ เมตร เสาคอนกรีตเสริมเหล็ก ลักษณะเปิดโล่ง โครงหลังคาเหล็ก หลังคามุงด้วยสรร
ไท พื้นลาดด้วยซีเมนต์ ปูพื้นด้วยหินขัด รวมค่าก่อสร้างเป็นเงินทั้งสิ้น ๑๒๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนสองหมื่นบาท
ถ้วน)
พุทธศักราช ๒๕๕๕ ดําเนินการก่อสร้างหอระฆัง จํานวน ๑ หลัง ขนาดกว้าง ๔.๕๐ เมตร สูง
จากพื้นถึงยอด ๑๓ เมตร ลักษณะทรงไทยจัตุรมุข ติดช่อฟูาใบระกา ประดับด้วยลายไทย หลังคามุงกระเบื้อง
เกล็ดปลา พื้นลาดด้วยซีเมนต์ รวมค่าก่อสร้างเป็นเงินทั้งสิ้น ๔๕๐,๐๐๐ บาท (สี่แสนห้าหมื่นบาทถ้วน)
พุทธศักราช ๒๕๕๕ ดําเนินการก่อสร้างมณฑปสําหรับบรรจุรูปเหมือนสมเด็จพระพุทฒา
จารย์ (โต พ.รหม.ร◌
สี) จํานวน ๑ หลัง ขนาดกว้าง ๓.๕๐ x ๓.๕๐ เมตร ลักษณะทรงไทยจัตุรมุข ประดับด้วย
ใบระกา ติดลายไทย หลังคามุงกระเบื้องเกล็ดปลา พื้นลาดด้วยซีเมนต์ รวมค่าก่อสร้างเป็นเงินทั้งสิ้น
๓๗๐,๐๐๐ บาท (สามแสนเจ็ดหมื่นบาทถ้วน)
พุทธศักราช ๒๕๕๕ ดําเนินการก่อสร้างกุฏิสงฆ์ จํานวน ๑ หลัง ขนาดกว้าง ๑๓ เมตร ยาว
๑๕ เมตร เสาคอนกรีตเสริมเหล็ก ผนังก่อด้วยอิฐถือปูน โครงหลังคาเหล็ก หลังคามุงด้วยกระเบื้อง ลักษณะ
ทรงไทยประยุกต์ พื้นลาดด้วยซีเมนต์ มีห้องน้ํา – ห้องสุขา ในตัวอาคาร ๒ ห้อง พร้อมเดินระบบประปา รวม
ค่าก่อสร้างเป็นเงินทั้งสิ้น ๑,๒๑๐,๓๐๐ บาท (หนึ่งล้านสองแสนหนึ่งหมื่นสามร้อยบาทถ้วน)
พุทธศักราช ๒๕๕๕ ดําเนินการก่อสร้างกุฏิแม่ชี จํานวน ๑ หลัง ขนาดกว้าง ๗ เมตร ยาว
๒๔ เมตร จํานวน ๖ ห้อง เสาคอนกรีตสําเร็จรูป ผนังก่อด้วยอิฐถือปูน โครงหลังคาไม้ มุงหลังคาด้วยสังกะสี
พื้นลาดด้วยซีเมนต์ปูกระเบื้อง มีห้องน้ํา – ห้องสุขา พร้อมเดินระบบประปา รวมค่าก่อสร้างเป็นเงินทั้งสิ้น
๘๗๐,๕๒๗ บาท (แปดแสนเจ็ดหมื่นห้าร้อยยี่สิบเจ็ดบาทถ้วน)
งานบูรณปฏิสังขรณ์ ภายในวัดพระพุทธบาทพนมดิน
พุทธศักราช ๒๕๕๑ ดําเนินการบูรณปฏิสังขรณ์พระพุทธรูปพระประธานในศาลาการเปรียญ
จํานวน ๑ องค์ ขนาดหน้าตักกว้าง ๓ เมตร สูง ๖ เมตร ก่อด้วยอิฐถือปูน ทาสีทองทั้งองค์ สิ้นค่าปฏิสังขรณ์
เป็นเงินทั้งสิ้น ๑๓๐,๖๐๐ บาท (หนึ่งแสนสามหมื่นหกร้อยบาทถ้วน)
พุทธศักราช ๒๕๕๒ ดําเนินการบูรณปฏิสังขรณ์กุฏิแม่ชี ขนาดกว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๕๐ เมตร
โดยการเปลี่ยนโครงหลังคาจากไม้เป็นเหล็ก เปลี่ยนหลังคาจากสังกะสีเป็นสรรไท เปลี่ยนหน้าต่างที่ชํารุด พื้นปู
ด้วยกระเบื้อง สิ้นค่าปฏิสังขรณ์เป็นเงินทั้งสิ้น ๓๐๐,๐๐๐ บาท (สามแสนบาทถ้วน)
พุทธศักราช ๒๕๕๒ ดําเนินการบูรณปฏิสังขรณ์ศาลาปฏิบัติธรรมในปุาเลไลย์ ขนาดกว้าง ๒๐
เมตร ยาว ๑๐๐ เมตร โดยการเปลี่ยนโครงไม้เป็นเหล็ก เป็นหลังคาจากสังกะสีเป็นสรรไท พื้นปูด้วยกระเบื้อง
สิ้นค้าปฏิสังขรณ์เป็นเงินทั้งสิ้น ๓๐๐,๐๐๐ บาท (สามแสนบาทถ้วน)
พุทธศักราช ๒๕๕๔ ดําเนินการบูรณปฏิสังขรณ์หอฉัน ขนาดกว้าง ๑๕ เมตร ยาว ๑๐๐
เมตร โดยการเปลี่ยนโครงไม้เป็นโครงเหล็ก เปลี่ยนหลังคาจากสังกะสีเป็นสรรไท เปลี่ยนหน้าต่างที่ชํารุด พื้นปู
ด้วยกระเบื้อง สิ้นค่าปฏิสังขรณ์เป็นเงินทั้งสิ้น ๓๐๐,๐๐๐ บาท (สามแสนบาทถ้วน)
พุทธศักราช ๒๕๕๕ ดําเนินการบูรณปฏิสังขรณ์ศาลาปฏิบัติธรรมริมสระน้ํา ขนาดกว้าง ๑๐
เมตร ยาว ๓๐ เมตร โดยการเปลี่ยนจากโครงไม้เป็นโครงเหล็ก เปลี่ยนหลังคาจากสังกะสีเป็นสรรไท พื้นปูด้วย
กระเบื้อง สิ้นค่าปฏิสังขรณ์เป็นเงินทั้งสิ้น ๒๐๐,๐๐๐ บาท (สองแสนบาทถ้วน)
๑๑.งานสาธารณสงเคราะห์
พุทธศักราช ๒๕๔๗ มอบเงินสมทบทุนในการจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ โรงพยาบาลท่าตูม
อําเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ เป็นจํานวนเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน)
พุทธศักราช ๒๕๔๘ มอบเงินสมทบทุนในการจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ โรงพยาบาลท่าตูม
อําเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ เป็นจํานวนเงิน ๒๐,๐๐๐ บาท (สองหมื่นบาทถ้วน)
พุทธศักราช ๒๕๔๙ มอบเงินสมทบทุนซื้อกระเบื้องปูพื้นศาลาบําเพ็ญกุศล ที่พักสงฆ์บ้านสวน
หม่อน ตําบลเมืองแก อําเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ เป็นจํานวนเงิน ๓๐,๐๐๐ บาท (สามหมื่นบาทถ้วน)
พุทธศักราช ๒๕๕๒ มอบโต๊ะหมู่บูชา หมู่ ๙ พร้อมอาสนะพนักพิง จํานวน ๙ ชุด ให้กับ
สํานักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสุรินทร์ รวมเป็นจํานวนเงิน ๕๐,๐๐๐ บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน)
พุทธศักราช ๒๕๕๓ มอบโต๊ะหมู่บูชา หมู่ ๙ ให้ที่ว่าการอําเภอท่าตูม จํานวน ๑ ชุด รวมเป็น
จํานวนเงิน ๑๕,๐๐๐ บาท (หนึ่งหมื่นห้าพันบาทถ้วน)
พุทธศักราช ๒๕๕๓ เดินทางไปมอบข้าวสารอาหารแห้งให้แก่ผู้อพยพลี้ภัยสงคราไทย-กัมพูชา
ที่โรงเรียนนิคมปราสาท อําเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ๒ รถกระบะ รวมเป็นจํานวนเงิน ๓๐,๐๐๐ บาท
(สามหมื่นบาทถ้วน)
พุทธศักราช ๒๕๕๓ เดินทางไปมอบอาหารแก่ผู้ที่ประสบอุทกภัยน้ําท่วม ที่ตําบลไร่ขิง อ้อม
น้อย อ้อมใหญ่ จังหวัดนครปฐม ๑ รถ ๖ ล้อ รวมเป็นจํานวนเงิน ๕๐,๐๐๐ บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน)
พุทธศักราช ๒๕๕๓ ดําเนินการพร้อมเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์จังหวัด จัดหาทุนเพื่อจัดซื้อรถตู้
พร้อมทั้งเครื่องมืออํานวยความสะดวกด้านปศุสัตว์ มอบให้สํานักงานปศุสัตว์จังหวัดสุรินทร์ รวมเป็นจํานวนเงิน
๘๐๐,๐๐๐ บาท (แปดแสนบาทถ้วน)
พุทธศักราช ๒๕๕๔ ดําเนินการพร้อมเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลท่าตูม จัดหาทุน เพื่อก่อสร้าง
อาคารเก็บศพ มอบให้กับโรงพยาบาลท่าตูม อําเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ เป็นจํานวนเงิน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท
(หนึ่งล้านบาทถ้วน)
พุทธศักราช ๒๕๕๔ มอบเงินสมทบทุนในการก่อสร้างศาลาการเปรียญวัดบ้านเกษตรเทวร
ตําบลบ้านด่าน อําเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ เป็นจํานวนเงิน ๒๐๐,๐๙๙ บาท (สองแสนเก้าสิบเก้าบาทถ้วน)
พุทธศักราช ๒๕๕๔ มอบถวายพระพุทธรูปเพื่อไปประดิษฐานในศาลาการเปรียญวัดต่างๆ
หน้าตักกว้าง ๖๐ นิ้ว จํานวน ๖ องค์ เป็นจํานวนเงิน ๖๐๐,๐๐๐ บาท (หกแสนบาทถ้วน)
พุทธศักราช ๒๕๕๕ ไถ่ชีวิตโค-กระบือ จากโรงฆ่าสัตว์มอบให้เกษตรกรนําไปเลี้ยงเพื่อ
การเกษตร จํานวน ๑๘ ตัว เป็นจํานวนเงิน ๓๙๗,๖๐๕ บาท (สามแสนเก้าหมื่นเจ็ดพันหกร้อยห้าบาทถ้วน)
พุทธศักราช ๒๕๕๖ มอบเงินสมทบทุนในการจัดซื้อเครื่องมือทางการแพทย์ตึกฟอกไต
โรงพยาบาลท่าตูม อําเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ เป็นจํานวนเงิน ๓๐,๐๐๐ บาท (สามหมื่นบาทถ้วน)
๑๒.งานพิเศษ
- เข้ารับการประชุมทุกครั้งที่ผู้บังคับบัญชา หรือหน่วยงานอื่นใดอาราธนาให้เข้าร่วม เช่น
การจัดอบรมของทางราชการ มวลชนสัมพันธ์ ลูกเสือชาวบ้าน เป็นต้น
- เป็นคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานของวิทยาลัยอาชีพท่าตูมและโรงเรียนท่าตูม
ประชาเสริมวิทย์ โรงเรียนสนิทราษฏร์วิทยาคม ตําบลท่าตูม อําเภอท่าตูม จังหวัด
สุรินทร์ โรงเรียนศรีปทุมพิทยาคม ตําบลหนองบัว อําเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
- เข้าร่วมปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติของคณะสงฆ์จังหวัดสุรินทร์ เป็นประจําทุกปี
- ร่วมถวายความอุปถัมภ์กิจกรรมคณะสงฆ์ทุกครั้งที่เกิดขึ้น
๑๓.รางวัลและเกียรติคุณที่ได้รับการยกย่อง
พุทธศักราช ๒๕๔๙ ได้รับประกาศนียบัตรยกย่องให้เป็น “อุทยานการศึกษา” จากสํานักงาน
พระพุทธศาสนาแห่งชาติ
พุทธศักราช ๒๕๕๒ ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณเป็น “วัดพัฒนาตัวอย่าง” จากสํานักงาน
พระพุทธศาสนาแห่งชาติ
พุทธศักราช ๒๕๕๓ ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ เป็นวัดส่งเสริมสุขภาพดีเด่น จากกระทรวง
สาธารณสุข กรมอนามัยและผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์
พุทธศักราช ๒๕๕๖ ได้รับพัด โล่ ย่าม ประกาศเกียรติคุณเป็น“วัดพัฒนาตัวอย่างที่มีผลงาน
ดีเด่น” จากสํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
๑๔.สมณศักดิ์
พุทธศักราช ๒๕๔๘ ได้รับแต่งตั้งเป็น “พระปลัด” ฐานานุกรมในพระมงคลรังสี (สุวัฒน์)
อดีตเจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทพนมดิน
พุทธศักราช ๒๕๕๗ ได้รับแต่งตั้งเป็น “พระครูสัญญาบัตรพัดยศ” เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นโท
ที่พระครูพนมวันจันทสาร
งานด้านวิปัสสนาธุระ
พุทธศักราช ๒๕๓๕ จวบจนถึงปัจจุบัน ถือปฏิบัติธุดงค์วัตรกรรมฐานตลอดมา โดยยึดตาม
แบบหลักธรรมคําสั่งและคําสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ทรงแสดงกรรมฐาน ๒ อย่าง
สมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน และได้ศึกษาเพิ่มเติม จากที่เคยศึกษาตอนเป็นเด็ก ที่เคยอ่านจาก
หนังสืออธิบายเรื่องการนั่งสมาธิของหลวงปูุเทสก์ เทสรังสี และได้รับความเมตตาจากหลวงปูุธรรมรังสี แนะนํา
เพิ่มเติม หลวงปูุบุญมี โชติปาโล หลวงปูุเกลี้ยง เตชธม.โม ตลอดถึงแนวทางการปฏิบัติของหลวงพ่อพระครู
วิศาลเขมคุณ วัดพิชโสภาราม จังหวัดอุบลราชธานี ได้ศึกษาหลักปฏิบัติธรรมกรรมฐานของหลวงปูุมั่น หลวงปูุ
ดุล หลวงปูุชาและครูบาอาจารย์อื่นๆ อีกหลายท่าน จนมีความมั่นใจ สามารถเดินไปปักกลดตามปุาภูเขา
ตามแต่โอกาสจะอํานวย เคยเดินธุดงค์หลายครั้งไปหลายจังหวัด เช่น กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา
บุรีรัมย์ ร้อยเอ็ด ยโสธร มุกดาหาร นครพนม อุดรธานี หนองคาย หนองบัวลําภู สกลนคร มหาสารคาม เลย
ลําปาง เพชรบูรณ์ พิษณุโลก อุตรดิตถ์ เชียงใหม่ และได้นําความรู้จากการปฏิบัติมาแนะนําแก่อุบาสก อุบาสิกา
เรื่อยๆ มา
คติธรรม
มีบ่เก็บ จนบ่หา สิเต็มได้จังได๋
เรื่องเก่าอย่าเว้า เรื่องบ่ทันเกิดอย่าถาม ให้ถามในเวลานี่ เดี๋ยวนี่
คนเราสิ่งที่ผ่านมาแล้วแก้ไขไม่ได้อย่าพูดถึง
อนาคตมายังไม่ถึง อย่าเพ้อฝัน อย่าพูดบ่นหา
ให้รู้ในปัจจุบัน ทําในปัจจุบัน แก้ไขในปัจจุบัน ทุกอย่างจะดีเอง
คติธรรม
นุ่งผ้าขาด กะยังดีกว่า บ่มีผ้านุ่ง
กินข้าวแห้ง กะยังดีกว่า บ่มียังกิน
ศีลขาด กะยังดีกว่า บ่มีศีล
ทํางานลําบาก กะยังดีกว่า บ่มีงานเฮ็ด
ฮ้อนกะทนเอา ทุกข์กะทนเอา เหนื่อยกะทนเอา
อดกะทนเอา ได้ดีเพราะอดเพราะทนนี่แหละ
บ่หาว่าบ่มี บ่เฮ็ด บ่ทํา ว่าเฮ็ดบ่เป็น
หมาขี้เฮื่อน มันบ่ยอม อดตาย
คนมีมือมีตีน แต่บ่ยอมเฮ็ดอยู่เฮ็ดกิน
เคียดฮู้จักทน จนฮู้จักหา เดี๋ยวเทวดากะซ่อย.ฯ
ในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ในขณะที่นั่งสมาธิอยู่พอจิตรวมตัวเป็นอารมณ์เดียวกันก็มีสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นให้
เห็นทางสมาธิ คือ มีภาพเรื่องราวต่างๆ ปรากฏให้เห็นเหมือนนั่งดูหนัง เรื่องราวที่เห็นในสมาธินั้น คือ ใน
อดีตชาติ เคยเป็นอะไรบ้างมาปรากฏให้เห็นเป็นชาติๆ ไป ในขณะที่ดูได้เกิดความสลดสังเวชใจ จนน้ําตาไหล
เปียกผ้าจีวร หลังจากนั่งสมาธิเสร็จ แม่ชีสุนีย์ ตอรัมย์ หัวหน้าแม่ชีท่านถามว่า พระอาจารย์ทําไมถึงร้องไห้จึง
ตอบแม่ชีไปว่า ไม่ได้ร้องไห้ร้องหรอก น้ําตาไหลเอง เพราะเกิดความสลดสังเวชใจ ที่โง่เวียนว่ายตายเกิดมานับ
ชาติไม่ได้ เมื่อตะกี้ที่นั่งสมาธิ ได้เห็นอดีตชาติของตัวเองว่าเกิดเป็นอะไรบ้างก็เลยสลดใจน้ําตาก็เลยไหลหรอก
แม่ เมื่อแม่ชีเข้าใจแล้วก็ยกมือไหว้ กล่าวคําว่า “สาธุ” พร้อมกัน.
ในปีถัดไปได้มีพระมาอยู่จําพรรษากับหลวงปูุ ๒ รูป ท่านมาจากวัดเนรมิตวิปัสสนา อําเภอ
ด่านซ้าย จังหวัดเลย ชื่อพระอาจารย์ประชา กับพระอาจารย์ กิตติศักดิ์ แต่เป็นเรื่องที่น่าแปลกก็คือ หลังจากที่
พระอาจารย์ประชา มาอยู่ได้ไม่กี่วัน ก็มีลูกงูเหลือมตัวเท่าหัวแม่มือมาอยู่ด้วยสามารถจับได้เอามาพันรอบแขน
ได้ เขาก็นอนอยู่บนกุฏิกับพระอาจารย์ประชา พระอาจารย์ประชาพูดกับงูเหลือมรู้เรื่อง ท่านพูดอะไรบอกอะไร
งูเหลือมทําตาม ในขณะที่อยู่จําพรรษา มีอยู่วันหนึ่งในขณะที่ทําวัตรเย็นเสร็จก็นั่งสมาธิต่อ ได้เกิดความสงสัย
ในใจว่าทําไมอาจารย์ประชาถึงได้พูดกับงูได้มีงูมาอยู่ด้วย พอนั่งสมาธิได้สักพักจิตรวมเป็นสมาธิ สิ่งที่เห็นก็คือ
ร่างกายของพระอาจารย์ประชาที่นั่งสมาธิอยู่ข้างๆ นั้นร่างกายของท่านที่เห็นไม่ใช่เป็นพระแต่เป็นงูขนาดใหญ่
ขดตัวอยู่ตรงที่ท่านนั่งสมาธินั้นเอง ดูแล้วดูอีก ก็เลยรู้ว่าท่านอาจารย์ประชาท่านเคยเป็นพญานาคมาก่อน งู
ที่มาอยู่กับท่านเคยเป็นบริวารของท่านนั่นเอง ท่านอยู่จนออกพรรษารับกฐินเสร็จ ท่านก็บอกงูเหลือมตัวนั้นว่า
รับกฐินเสร็จเราจะกลับจังหวัดเลย แล้วนะให้เข้าไปอยู่ในปุา อย่าให้คนเห็นเดี๋ยวคนจะทําร้ายเอา พออาจารย์
บอกได้ ๑ วัน งูเหลือมตัวนั้นก็หายจากกุฏิหลังนั้นไปตั้งแต่วันนั้นไม่เห็นมาอีกเลย ช่างน่าอัศจรรย์จริงๆ สิ่งที่
พระพุทธเจ้าตรัสมีอยู่จริง แต่คนส่วนมากไม่ค่อยเชื่อเลยไม่ทําดีกันก็แล้วแต่บุญแล้วแต่กรรมก็แล้วกัน. สาธุ....
หมายเหตุ : หลังจากออกพรรษาลูกงูเหลือมตัวนั้นตัวเท่าแขนใหญ่ๆ แล้ว
คติธรรมใจ
ให้ละทุกอย่าง ปล่อยวางทุกสิ่ง
ทําจิตให้นิ่ง แล้วจะอยู่สบาย...
บ่มีหยั่งเป็นของเฮาดอก ร่างกายสังขารกะบ่แมนของเฮา
ทรัพย์สินสมบัติกะบ่แมนของเฮา มิตรสหายกะบ่แมนของเฮา
พี่น้องลูกหลานกะบ่แมนของเฮา ของที่เป็นของเฮากะคือบุญกับบาป
ถ่อนั้นแหละเด้อหมู่เจ้าเอย....
ธีรภพ...
ข้อคิดในใจ
ยามฮักกันชั่วปานได๋กะว่าดี ยามซังกันดีปานได๋กะว่าชั่ว
ในจิตใจคนเฮาบ่มีความพอดี บ่มีความยุติธรรมดอกพี่น้องเอย...
ความดีกะบ่ทํา กรรมดีกะบ่สร้าง
บาปกะบ่ฮู้จักละ พระกะบ่ฮู้จักกราบ
สิไปเอานิพพานมาจากไสสูเอย...
ธีรภพ...
๑. แม่เล่าความฝัน (ผู้ที่อ่านต้องทําใจให้เป็นกลาง)
ก่อนตั้งท้องแม่เล่าว่าฝันเห็นผู้หญิงคนหนึ่งแต่งตัวเหมือนนางฟูา ถือปิ่นปักผมมายื่นให้แล้ว
บอกว่าให้แม่เก็บปิ่นปักผมนี้ไว้ประดับผมเอาไว้ปักผม ปิ่นอันนี้เป็นของหายาก มีคุณค่าสูงแต่ไม่ค่อยสวย แม่ยื่น
มือรับปิ่นปักผมไว้ และแม่ก็สะดุ้งตื่นขึ้นมาทันที แม่นั่งนึกถึงความฝันนอนต่อไม่หลับจนกระทั่งเช้า ก็ลุกไป
หุงข้าวทําครัวพอสายๆ แม่ก็เล่าให้คนแก่ฟัง คนแก่ท่านบอกแม่ว่า น่าจะได้ลูกหลังจากวันนั้นมาไม่นานแม่ก็ตั้ง
ท้อง แต่การอุ้มท้องในครั้งนี้ไม่เหมือนครั้งก่อนๆ ไม่อยากแต่งเนื้อแต่งตัว อยู่ง่ายๆ ไม่ยุ่งยากจนใกล้คลอด ใน
วันที่แม่ปวดท้อง พ่อเขาดีใจเขาพูดเสียงดังๆ ออกไปว่า ถ้าได้ลูกชายจะเลี้ยงคนทั้งหมู่บ้านเลย ใครอยากจะกิน
อะไรจะหามาเลี้ยง ญาติพี่น้องเขาเลยพูดว่าขอให้คลอดออกมาเป็นผู้ชายเถิดจะได้กินของแซ่บๆ สักวัน สาเหตุ
ที่พ่อเขาพูดอย่างนั้นเพราะคลอดลูกครั้งก่อนๆ ลูกเป็นหญิงทั้ง ๕ คน จนในที่สุดแม่ก็คลอดลูกออกมาเป็นผู้ชาย
พ่อเขาก็เลยทําตามคําพูด คือ เลี้ยงญาติพี่น้องทั้งหมดตามสัญญา
๒. หลังคลอด
แม่บอกว่าคลอดง่าย เลี้ยงง่าย ไม่งอแง ไม่ค่อยเจ็บปุวย กินง่ายนอนง่าย พ่อแม่เลี้ยงมาตาม
แบบวิถีชาวบ้านนอก มีอะไรก็กินหาผักตามรั้วบ้าน พ่อไปหาปลาตามห้วยหนองคลองบึงเท่าที่จะหามาได้
นํามาเลี้ยงครอบครัว ตั้งแต่วันคลอดจนเติบโตอายุได้ประมาณ ๓ ขวบ พ่อแม่บอกว่าทุกอย่างปกติดี โตขึ้นมา
เรื่อยๆ สังเกตว่า ตาข้างซ้ายจะเล็กกว่าตาข้างขวาหน่อยหนึ่ง พ่อแม่ก็ถามชาวบ้านว่าเป็นเพราะอะไร ชาวบ้าน
ก็พูดว่าไม่ใช่เป็นเพราะดูกบกินเดือนหรือเปล่า (จันทรุปราคา) พ่อไม่สบายใจ พาลูกชายไปหาหมอ หมอคนนั้น
คือ แพทย์โพธิ์อยู่บ้านโพนงอย หมอตรวจดูอย่างละเอียด เห็นว่าไม่มีอะไรหมอจึงบอกกับพ่อว่า ลุงพรมลูกชาย
ไม่ได้ปุวยเป็นอะไรหรอก คงเป็นเอกลักษณ์ประจําตัวเขาเป็นแบบนี้ ชาวบ้านญาติพี่น้องก็เลยเรียกชื่อเล่นว่า
“เอก” ตั้งแต่นั้นมา ต่อมาปูุมาเยี่ยม ปูุคนนี้เป็นญาติของคุณปูุ ท่านไปอยู่ที่อําเภอพล จังหวัดขอนแก่น กลับมา
เยี่ยมบ้าน ท่านเลยแวะมาเยี่ยม ชื่อคุณปูุทองมา (ลม) เหล่าอุดม มาที่บ้านพ่อจึงถามปูุว่า ปูุดูหลานชายหน่อย
จะเป็นอย่างไรบ้าง ปูุถามย้อนกลับคืนว่า ตอนคลอดเป็นอย่างไรบ้าง แม่บอกว่ามีสายรกพันรอบตัว เฉวียงบ่า
ข้างขวาเหมือนสะพายปืน ปูุทายว่าถ้าโตไปจะได้เป็นเจ้าเป็นนาย แต่ถ้าได้บวชจะได้เป็นสมภารวัด จนอายุพอ
เข้าเรียน พ่อจึงพาไปสมัครเข้าเรียนที่โรงเรียนประจําหมู่บ้าน
๓. ลักษณะนิสัย
เกิดมาเป็นคนมีเมตตา สงสารคน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ชอบเลี้ยงสัตว์ มีจิตใจเด็ดเดี่ยว มั่นคงทํา
อะไรทําจริง ไม่กลัวความจริง พ่อกับแม่พูดเสมอว่า อย่าปล่อยให้อยู่บ้านคนเดียว เวลาใครมาขออะไรเดี๋ยวมัน
ก็ขนของให้เขาหมด ให้โดยไม่คิดถึงตัวเอง คิดถึงแต่คนอื่น จะเป็นลักษณะแบบนี้ จนมีแต่คนพูดว่า พระ
เวสสันดรมาเกิด
๔. เรียนกัมมัฏฐาน
พออายุได้ประมาณ ๑๐ ขวบเศษๆ ได้เจอหนังสือเล่มหนึ่งเก่ามาก แต่ก็พออ่านได้ เป็น
หนังสืออธิบายเรื่องการนั่งสมาธิของพระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี ท่านได้อธิบายเรื่องการนั่งสมาธิ เมื่อครั้งท่าน
ได้เดินธุดงค์ไปภาคใต้ อ่านแล้วรู้สึกชอบ อ่านจนจําได้ (ระดับความรู้ของเด็ก) และได้ปฏิบัตินั่งสมาธิภาวนา
เป็นอารมณ์ อ่านจนแม่ถามว่าจะสอบแล้วหรือลูก ชอบหลบคน นั่งสมาธิอยู่บ่อยๆ ไม่ให้ใครรู้กลัวเขาจะด่า ทํา
จนจิตใจสงบและชอบนั่งสมาธิตั้งแต่นั้นมา
๕. เล่าเรื่องอดีตชาติ
วันนั้นเวลาประมาณ ๕ โมงเย็น ลุงสุข (โด๋ง) ปูาพิมพา (พิมพ์) สาพันธ์ กลับมาจากทํานาได้
เดินผ่านหน้าบ้านและได้เรียกชื่อว่า “เอก”ๆ หลายครั้ง แต่ก็ไม่ขานรับ ได้แต่ถามท่านว่า ทําไมไม่เรียกชื่อเดิม
บ้าง ปูาพิมพ์จึงเกิดความสงสัยเลยเดินเข้ามาถามว่า ชื่อเดิมชื่อว่าอะไร ตอบท่านว่าชื่อเดิม ชื่อว่า “ทศราช”
ปูาพิมพ์ก็ยิ่งสงสัยมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะไม่เคยได้ยินพูดแบบนี้มาก่อน ปูาจึงให้เล่าความเป็นมาให้ฟัง คนที่มานั่ง
ฟังในตอนนั้นมี ปูา ลุง พ่อ แม่ ญาติๆ พี่ๆ น้องๆ จึงได้เริ่มเล่าว่า เมื่อชาติก่อน (อดีตชาติ) เกิดอยู่ที่ จามปา
นคร
ประวัติเจ้าชายทศราช
พระเจ้าสุริยะวงศ์ (ต้นราชวงศ์บุตรของพระอาทิตย์) ทรงได้อภิเษกกับพระนางสิริปทุมวดี มี
พระราชโอรส ๒ พระองค์ คือ
๑. เจ้าชายสีหวงศ์ (จอมทัพผู้เกรียงไกรแห่งอาณาจักรจามปา)
๒. เจ้าชายทศราช (ปิ่นแห่งดวงใจ อาณาจักรจามปา)
ครั้งเมื่อพระนางสิริปทุมวดีประสูติกาล พระราชกุมารองค์เล็กแล้วได้รับขนานพระนามจาก
โหราจารย์ว่า “เจ้าชายทศราช ศรีสุริยะวงศ์ อัครขัติยชาติราชกุมาร” (ในวันประสูติพระราชกุมาร มีนายพราน
นําลูกช้างเผือกมาทูลเกล้าถวายเพื่อเป็นช้างคู่บุญบารมีของพระราชกุมาร) เมื่อเจริญวัยครบ ๗ ชันษา พระบิดา
ได้นําไปฝากศึกษาในสํานักของเทวดาบส ศึกษาจนจบหลักสูตรของสํานักและวิชาที่ได้ศึกษา คือ “เทวมนต์
ตรา” ซึ่งเป็นศาสตร์แขนงหนึ่งใน “ไตรเพท” ที่ชนชั้นวรรณะพราหมณ์นิยมศึกษา หลังจากสําเร็จการศึกษา
“เทวดาบส” ก็ได้อนุญาตให้กลับนครได้
เจ้าชายเป็นผู้มีจิตใจดีงาม อ่อนโยน มีเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์และสรรพสัตว์ ไม่ชอบการรบรา
ฆ่าฟัน ชอบช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ มีจิตอันบริสุทธิ์ บูชาพระศิวะเทพซึ่งถือว่าเป็นเทพสูงสุดในศาสนาพราหมณ์
อยู่เป็นนิตย์ เจ้าชายได้รับสมญานามว่า เป็นเจ้าชายที่มีความสง่างามที่สุดในบรรดาเจ้าชายทั้งหลาย ในสายลุ่ม
แม่น้ําโขง “เทวมนต์ตรา” ได้ทําให้เจ้าชายเป็นมิตรกับมนุษย์และเทวดาทั้งหลายเป็นอย่างดี เป็นที่รักของพระ
บิดา พระมารดา ตลอดถึงพระปยูรญาติและปวงประชาราษฎร์น้อยใหญ่ เพราะเจ้าชายเป็นผู้มีอัธยาศัยเรียบ
ง่าย จวบจวนพระชนม์มายุ ๒๔ ชันษาบริบูรณ์ ย่างเข้า ๒๕ ชันษา เกิดอาการประชวรด้วยโรคหอบหืด
ภูมิคุ้มกันบกพร่องกําเริบ เจ้าชายสิ้นพระชนม์ในเยาว์วัย (อาณาจักรจามปาอยู่ระหว่างเวียดนามและกัมพูชา
เป็นนครเก่าแก่โบราณอายุพันกว่าปี) หลังจากเล่าจบทุกคนก็ถึงกลับร้องอ๋อ ว่าเรื่องราวเป็นอย่างนี้เอง
๖. การศึกษา
ตั้งแต่เข้าเรียนหนังสือ ประถมศึกษา ๑ จนถึงชั้นประถมศึกษา ๖ เรียนหนังสือไม่เก่ง ระดับ
ปานกลาง งูๆ ปลาๆ แต่ที่โดดเด่น คือ ความสามารถเป็นนักกีฬาของโรงเรียน และอยู่ในระดับกลุ่มโรงเรียน
ด้วย และอีกหน้าที่หนึ่งก็คือ ครูให้เป็นหัวหน้าห้อง หัวหน้าลูกเสือ เป็นนักร้อง นักรํา ประจําโรงเรียน เคยได้
เป็นตัวแทนกีฬาโรงเรียนไปแข่งขันในระดับเขตด้วย ชีวิตหลังจากจบการศึกษาระดับประถมส่วนมากก็อยู่กับ
การทําไร ทํานา เลี้ยงวัว เลี้ยงควายเป็นงานประจําบ้าน
๗. สภาวะธรรมเกิดครั้งแรก
ตอนนั้นอายุประมาณ ๑๕ – ๑๖ ปี ลุงคํา ทองมาก หมู่ ๓ ได้เสียชีวิต พ่อ - แม่ บอกให้ไป
ช่วยตักน้ํา ตําข้าวช่วยงานทั่วไปภายในงาน เวลาผ่านไปจนถึงวันเผาศพ ชาวบ้านจึงนําศพลุงไปเผาที่ปุาช้าบ้าน
หนองบัว ประเพณีเผาศพจะต้องให้หนุ่มๆ สาวๆ หาบน้ําไปด้วยคนละหาบ เลยถูกทําหน้าที่หาบน้ําด้วย ๑
หาบ หลังจากที่พระท่านสวดมาติกาบังสุกุลจบแล้ว ถวายเครื่องบังสุกุลพระให้พระ ก่อนจะทําพิธีเผาศพ
จะต้องให้พระให้ลูกหลาน ญาติ พี่น้อง ล้างหน้าศพก่อน เมื่อถึงคิวหลานต้องล้างหน้าศพ ก็ได้เข้าไปล้างหน้าศพ
เหมือนคนอื่นๆ ในขณะล้างหน้าศพของลุง ก็มองดูหน้าลุงปรากฏว่าเหมือนมีแสงสีเหลือง พวยฟุูงขึ้นมาใส่หน้า
ในขณะนั้นมีสติสัมปชัญญะดี แต่ปรากฏว่าสีเหลืองที่เห็นยังอยู่ในความรู้สึกอยู่ มองเห็นอะไรก็ดูเหลืองซีดไป
หมด ทั้งคนทั้งใบไม้ต้นไม้ก็ดูเหลืองไปหมด กลับมาถึงบ้านมองดูอะไรก็เหลืองซีดไปหมด จนมองดูอะไรก็ไร้ค่า
ไปหมด ความรู้สึกเห็นเป็นบ้านร้างไปหมดไม่น่าอยู่ อยากจะไปให้ไกลๆ แต่ก็ไม่รู้จะไปไหน ในใจมีแต่ความสลด
หดหู่ใจ มองดูทุกสิ่งทุกอย่างหาแก่นสารไม่มี ไม่มีอะไรที่มีความจําเป็นกับคนเราเลย อาการแบบนี้เป็นอยู่
ประมาณ ๑ อาทิตย์ ก็ค่อยๆ จางหายไป แล้วก็เป็นปกติ
๘. ช่วงวัยรุ่น
ชอบไว้ผมยาว อยู่บ้านไม่ค่อยไปไหน ไม่เที่ยว ไม่ดื่มเหล้า ไม่สูบบุหรี่ ไม่เล่นการพนันทุกชนิด
ในช่วงนี้มีอะไรหลายๆ อย่างที่ทําให้ชีวิตไม่เหมือนคนทั่วไป ทําในสิ่งที่คนอื่นทําไม่ได้ โดยเฉพาะการสื่อสารไป
มาหาสู่กับอีกโลกหนึ่ง ซึ่งคนทั่วไปเรียกว่า โลกลี้ลับ (บังบด) ช่วยดูแลรักษาคนปุวยในความปุวยที่คุณหมอ
รักษาไม่หาย แม้แต่กอไม้ไผ่ก็ยังเคยเข้าไปนั่งอยู่กลางกอไผ่ ซึ่งเป็นเรื่องที่คนธรรมดาทําไม่ได้ ผีปุา เจ้าที่ เจ้า
ทางตรงไหนแรงๆ เช่น ดงหินอยู่ทางทิศใต้บ้านน้ําเขียว ซึ่งถือว่าแรงมาก ท่านทั้งหลายที่อยู่ที่นั่นท่านมาตามให้
ไปอยู่ด้วย ไปเป็นลูกของท่าน มีคนในภพอีกภพหนึ่งมาอยู่ด้วย (ผีปุา) เป็นคนตัวสูงใหญ่เวลาไปไหนมาไหนเขา
จะคอยติดตามไปด้วย เวลาคนจะเป็นอะไรจะรู้ก่อน เห็นก่อน สามารถมองเห็นผี (วิญญาณ) ด้วยตาธรรมดาได้
ขอยุติการเล่าไว้เท่านี้ก่อน เพราะรู้สึกว่าจะมากเกินไปแต่ที่จริงแล้วพิสดารมากกว่านี้ ถ้าใครอยากรู้ให้ลองทํา
เอาเองก็แล้วกัน พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า อย่าพึ่งเชื่อ อยากรู้ให้ทําเอง เมื่อเจอแล้วค่อยเชื่อฯ.
๙. ความใฝุฝัน
ตอนเป็นเด็กมีความใฝุฝันอยากบวชเป็นสามเณรเรียนหนังสือ เพราะมีเพื่อนหลายคนเขาบวช
เรียนกัน หลวงลุงยา ท่านเคยมาขอแม่จะพาไปบวชเรียนหนังสือ แต่แม่บอกว่าไม่มีใครช่วยงานทางบ้าน แม่ก็
เลยไม่ให้ไป หลวงลุงสงสารน้องสาวท่านเลยไม่บังคับ เพราะหลวงลุงท่านเป็นคนสุภาพอ่อนโยน ก็เคยคิดเสมอ
ว่าถ้าได้บวชจะเรียนหนังสือให้จบปริญญาให้ได้ จนถึงวัยครบบวชก็ได้บวชตามประเพณี ประจําหมู่บ้าน คือ
วันเพ็ญ เดือน ๖ เป็นงานบวชนาคประจําปีของบ้านหนองบัวทุกปี
๑๐.หลังบวช
มีศรัทธาอย่างแรงกล้า ได้มุ่งมั่นในการปฏิบัติกัมมัฏฐานอย่างจริงจัง นั่งสมาธิ เดินจงกรม
อย่างต่อเนื่อง สม่ําเสมอ ตามลําพัง ไม่หลับไม่นอนจนอายุได้ ๒๓ ปี มีอยู่วันหนึ่งเวลาประมาณ ๕ โมงเย็น ได้
ตัดสินใจเดินไปหาพ่อแม่ที่บ้าน และถามท่านว่าพ่อกับแม่รักลูกมากขนาดไหน แม่ตอบว่า รักมากเท่าชีวิตของ
พ่อของแม่นี้แหละ ถามต่อไปอีกว่าถ้ามีคนมาขอจะให้ได้ไหม แม่ถามว่าใครจะมาขอ ตอบท่านว่าลูกนี้แหละจะ
ขอ แม่ถามว่า จะขอทําไมลูกก็เป็นลูกของพ่อของแม่อยู่ตลอดไป ตอบท่านว่า ลูกจะขอลูกชายของพ่อของแม่
ถวายพระรัตนตรัย ถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมะบูชา สังฆะบูชา จะได้ไหม พ่อกับแม่ไม่ตอบท่านทั้ง ๒ นั่งนิ่ง พูด
กับท่านทั้ง ๒ ต่อว่า พ่อกับแม่มีสมบัติอะไรบ้างแบ่งให้พี่ๆ น้องๆ ให้หมดเถอะนะไม่ต้องเหลือไว้ให้อาตมา
หรอก เพราะพ่อกับแม่ได้ให้สมบัติกับอาตมาแล้วคือ บาตร พ่อให้บาตร แม่ให้ผ้าไตร นี้แหละคือสมบัติที่ล้ําค่า
ที่สุดที่พ่อกับแม่ให้ลูกมา ลูกจะขอให้สมบัติส่วนนี้เลี้ยงชีวิตต่อไป พ่อกับแม่ไม่ต้องห่วงลูกนะ ตอนนั้นพ่อกับแม่
ได้แต่นั่งนิ่ง พูดอะไรไม่ออก มีคุณปูานั่งฟังอยู่ด้วย คุณปูาทองมา ท่านพูดขึ้นว่า ลูกพูดแบบนี้ไม่ใช่ลูกจะไม่สึก
หรือหล่า (หล่า คือ ภาษาอิสาน แปลว่า น้องหล่าหรือน้องคนเล็ก) หลังจากได้พูดกับพ่อแม่จบแล้ว ก็เดินกลับ
วัด ตั้งใจปฏิบัติอย่างเอาเป็นเอาตาย ไม่ฉันอาหาร ฉันเฉพาะน้ํา จนหลวงพ่อโพธิ์ (พระครูปทุมพัฒนาภรณ์เจ้า
คณะตําบลหนองบัวในปัจจุบัน) ท่านพูดว่า หมอเลขปากแดง หมอวินัยปากแห้ง ท่านว่าปฏิบัติเคร่งเกินไป ท่าน
ถามว่า คุณไปเรียนหนังสือ คุณเอก คุณไปเรียนหนังสือไหม ถ้าคุณมาปฏิบัติแต่กัมมัฏฐานอยู่อย่างนี้ ถ้าคุณลา
สึกไปคุณจะได้อะไร ถ้าคุณไปเรียนหนังสือเวลาสึกไปคุณยังได้วุฒิทางการศึกษาไปสมัครงานทํา ด้วยความ
เคารพรักในครูบาอาจารย์เลยไม่ปฏิเสธ ไม่โต้แย้ง ไปสมัครเรียนตามคําแนะนําของท่านเรียนไปปฏิบัติไปก็ไม่
เป็นไร เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๑ มีการปฏิธรรมสัญจรในฤดูเข้าพรรษาทุกวันพระของคณะสงฆ์อําเภอท่าตูม โดยการ
นําของพระครูประภัศร์คณารักษ์ เจ้าคณะอําเภอท่าตูม มีอยู่วันหนึ่งการปฏิบัติธรรมเวียนมาจัดที่วัดจําปาหนอง
บัว ในตอนเย็นมีการทําวัตร สวดมนต์นั่งสมาธิ เจริญภาวนาและมีการเทศน์ประกอบการนั่งสมาธิไปด้วย ในวัน
นั้นเอง หลวงพ่อพระครูประภัศร์คณารักษ์ ท่านประกาศในท่ามกลางที่ประชุมสงฆ์และญาติโยมเป็นอันมาก ว่า
ในวันนี้นิมนต์ให้หลวงพี่เอกเทศน์ ความรู้สึกในตอนนั้น เหมือนฟูาผ่าลงกลางศีรษะเลย ตื่นเต้นมากเพราะเป็น
พระบวชใหม่ด้วย พอระงับจิตใจลงได้ก็กราบคารวะประธานสงฆ์พร้อมหมู่สงฆ์ทั้งมวล ในวันนั้นเทศน์เรื่อง “กา
กินซากช้าง” พอแสดงธรรมจบหลวงปูุธรรมรังสีท่านพูดว่า ได้ดีมากเหมาะกับการปฏิบัติมาก เป็นการเทศน์
ครั้งแรกในชีวิต และหลังจากนั้นมาก็ได้มีผู้มานิมนต์ไปเทศน์ในงานต่างๆ เรื่อยมาจนปัจจุบัน เทศน์คาถาพัน
เทศน์แหล่อิสาน จนเป็นที่ยอมรับของพุทธศาสนิกชน เทศน์แหล่อิสานอยู่หลายปี มีอยู่วันหนึ่งในขณะที่นั่ง
เทศน์แหล่อยู่เกิดความสลดใจน้ําตาไหลสงสารตัวเอง ทําไมเราถึงได้มาหลงอยู่กับการขับเสียงยาวทํานองแหล่
อัตตชีวประวัติพระครูพนมวันจันทสาร
อัตตชีวประวัติพระครูพนมวันจันทสาร
อัตตชีวประวัติพระครูพนมวันจันทสาร
อัตตชีวประวัติพระครูพนมวันจันทสาร
อัตตชีวประวัติพระครูพนมวันจันทสาร
อัตตชีวประวัติพระครูพนมวันจันทสาร
อัตตชีวประวัติพระครูพนมวันจันทสาร
อัตตชีวประวัติพระครูพนมวันจันทสาร
อัตตชีวประวัติพระครูพนมวันจันทสาร
อัตตชีวประวัติพระครูพนมวันจันทสาร
อัตตชีวประวัติพระครูพนมวันจันทสาร
อัตตชีวประวัติพระครูพนมวันจันทสาร
อัตตชีวประวัติพระครูพนมวันจันทสาร
อัตตชีวประวัติพระครูพนมวันจันทสาร
อัตตชีวประวัติพระครูพนมวันจันทสาร
อัตตชีวประวัติพระครูพนมวันจันทสาร
อัตตชีวประวัติพระครูพนมวันจันทสาร
อัตตชีวประวัติพระครูพนมวันจันทสาร
อัตตชีวประวัติพระครูพนมวันจันทสาร
อัตตชีวประวัติพระครูพนมวันจันทสาร
อัตตชีวประวัติพระครูพนมวันจันทสาร
อัตตชีวประวัติพระครูพนมวันจันทสาร

More Related Content

What's hot

การพัฒนาหลักสูตร โรงเรียนตะโหมด แก้ด่วน
การพัฒนาหลักสูตร โรงเรียนตะโหมด แก้ด่วนการพัฒนาหลักสูตร โรงเรียนตะโหมด แก้ด่วน
การพัฒนาหลักสูตร โรงเรียนตะโหมด แก้ด่วนneungzaba
 
ใบความรู้ วันสำคัญทางศาสนา วันมาฆบูชา ป.1+414+dltvsocp1+55t2soc p01 f02-1page
ใบความรู้ วันสำคัญทางศาสนา วันมาฆบูชา ป.1+414+dltvsocp1+55t2soc p01 f02-1pageใบความรู้ วันสำคัญทางศาสนา วันมาฆบูชา ป.1+414+dltvsocp1+55t2soc p01 f02-1page
ใบความรู้ วันสำคัญทางศาสนา วันมาฆบูชา ป.1+414+dltvsocp1+55t2soc p01 f02-1pagePrachoom Rangkasikorn
 
คู่มือค่ายพุทธบุตรอุ่นใจธรรม
คู่มือค่ายพุทธบุตรอุ่นใจธรรมคู่มือค่ายพุทธบุตรอุ่นใจธรรม
คู่มือค่ายพุทธบุตรอุ่นใจธรรมniralai
 
คู่มือพระวิทยากรค่ายคุณธรรม ฉบับสมบูรณ์
คู่มือพระวิทยากรค่ายคุณธรรม  ฉบับสมบูรณ์คู่มือพระวิทยากรค่ายคุณธรรม  ฉบับสมบูรณ์
คู่มือพระวิทยากรค่ายคุณธรรม ฉบับสมบูรณ์niralai
 
รายชื่อ
รายชื่อรายชื่อ
รายชื่อKruTree
 
โรงเรียนบ้านดงหวาย
โรงเรียนบ้านดงหวายโรงเรียนบ้านดงหวาย
โรงเรียนบ้านดงหวายpeerapong715
 
โรงเรียนบ้านดงหวาย
โรงเรียนบ้านดงหวายโรงเรียนบ้านดงหวาย
โรงเรียนบ้านดงหวายpeerapong715
 
โครงร างโครงงาน
โครงร างโครงงานโครงร างโครงงาน
โครงร างโครงงานDuonghthai Thaigun
 
วิจัยญี่ปุ่น
วิจัยญี่ปุ่นวิจัยญี่ปุ่น
วิจัยญี่ปุ่นKritsadin Khemtong
 
Turakarn report
Turakarn reportTurakarn report
Turakarn reportKruKaiNui
 
ศึกษาความเป็นมา วิธีการเผยแผ่ และอิทธพลขององค์กรพุทธฉือจี้
ศึกษาความเป็นมา วิธีการเผยแผ่ และอิทธพลขององค์กรพุทธฉือจี้ศึกษาความเป็นมา วิธีการเผยแผ่ และอิทธพลขององค์กรพุทธฉือจี้
ศึกษาความเป็นมา วิธีการเผยแผ่ และอิทธพลขององค์กรพุทธฉือจี้Anchalee BuddhaBucha
 

What's hot (16)

Persontalk 20121018191110
Persontalk 20121018191110Persontalk 20121018191110
Persontalk 20121018191110
 
การพัฒนาหลักสูตร โรงเรียนตะโหมด แก้ด่วน
การพัฒนาหลักสูตร โรงเรียนตะโหมด แก้ด่วนการพัฒนาหลักสูตร โรงเรียนตะโหมด แก้ด่วน
การพัฒนาหลักสูตร โรงเรียนตะโหมด แก้ด่วน
 
1
11
1
 
ใบความรู้ วันสำคัญทางศาสนา วันมาฆบูชา ป.1+414+dltvsocp1+55t2soc p01 f02-1page
ใบความรู้ วันสำคัญทางศาสนา วันมาฆบูชา ป.1+414+dltvsocp1+55t2soc p01 f02-1pageใบความรู้ วันสำคัญทางศาสนา วันมาฆบูชา ป.1+414+dltvsocp1+55t2soc p01 f02-1page
ใบความรู้ วันสำคัญทางศาสนา วันมาฆบูชา ป.1+414+dltvsocp1+55t2soc p01 f02-1page
 
คู่มือค่ายพุทธบุตรอุ่นใจธรรม
คู่มือค่ายพุทธบุตรอุ่นใจธรรมคู่มือค่ายพุทธบุตรอุ่นใจธรรม
คู่มือค่ายพุทธบุตรอุ่นใจธรรม
 
Bestmaecharao
BestmaecharaoBestmaecharao
Bestmaecharao
 
โครงงาน53
โครงงาน53โครงงาน53
โครงงาน53
 
Rt2554
Rt2554Rt2554
Rt2554
 
คู่มือพระวิทยากรค่ายคุณธรรม ฉบับสมบูรณ์
คู่มือพระวิทยากรค่ายคุณธรรม  ฉบับสมบูรณ์คู่มือพระวิทยากรค่ายคุณธรรม  ฉบับสมบูรณ์
คู่มือพระวิทยากรค่ายคุณธรรม ฉบับสมบูรณ์
 
รายชื่อ
รายชื่อรายชื่อ
รายชื่อ
 
โรงเรียนบ้านดงหวาย
โรงเรียนบ้านดงหวายโรงเรียนบ้านดงหวาย
โรงเรียนบ้านดงหวาย
 
โรงเรียนบ้านดงหวาย
โรงเรียนบ้านดงหวายโรงเรียนบ้านดงหวาย
โรงเรียนบ้านดงหวาย
 
โครงร างโครงงาน
โครงร างโครงงานโครงร างโครงงาน
โครงร างโครงงาน
 
วิจัยญี่ปุ่น
วิจัยญี่ปุ่นวิจัยญี่ปุ่น
วิจัยญี่ปุ่น
 
Turakarn report
Turakarn reportTurakarn report
Turakarn report
 
ศึกษาความเป็นมา วิธีการเผยแผ่ และอิทธพลขององค์กรพุทธฉือจี้
ศึกษาความเป็นมา วิธีการเผยแผ่ และอิทธพลขององค์กรพุทธฉือจี้ศึกษาความเป็นมา วิธีการเผยแผ่ และอิทธพลขององค์กรพุทธฉือจี้
ศึกษาความเป็นมา วิธีการเผยแผ่ และอิทธพลขององค์กรพุทธฉือจี้
 

Similar to อัตตชีวประวัติพระครูพนมวันจันทสาร

ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการจัดงานพระราชทานเพลิงศพ
ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการจัดงานพระราชทานเพลิงศพประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการจัดงานพระราชทานเพลิงศพ
ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการจัดงานพระราชทานเพลิงศพหนุ่มน้อย ดาร์จีลิ่ง
 
กำหนดการสวดพระอภิธรรมศพ พระเทพกิตติโสภณ
กำหนดการสวดพระอภิธรรมศพ พระเทพกิตติโสภณกำหนดการสวดพระอภิธรรมศพ พระเทพกิตติโสภณ
กำหนดการสวดพระอภิธรรมศพ พระเทพกิตติโสภณหนุ่มน้อย ดาร์จีลิ่ง
 
วัดป่าดงใหญ่
วัดป่าดงใหญ่วัดป่าดงใหญ่
วัดป่าดงใหญ่watpadongyai
 
โครงการแห่เทียนพรรษาประจำปี 2555
โครงการแห่เทียนพรรษาประจำปี 2555โครงการแห่เทียนพรรษาประจำปี 2555
โครงการแห่เทียนพรรษาประจำปี 2555pentanino
 
ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการจัดงานพระราชทานเพลิงศพ
ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการจัดงานพระราชทานเพลิงศพประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการจัดงานพระราชทานเพลิงศพ
ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการจัดงานพระราชทานเพลิงศพหนุ่มน้อย ดาร์จีลิ่ง
 
พระธรรมเทศนาสมณกถา
พระธรรมเทศนาสมณกถาพระธรรมเทศนาสมณกถา
พระธรรมเทศนาสมณกถาSamthor Dee
 
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒dentyomaraj
 
พระรัตนตรัย
พระรัตนตรัยพระรัตนตรัย
พระรัตนตรัยThanawut Rattanadon
 
โพธิยาลัย เดือน มกราคม 2555
โพธิยาลัย เดือน มกราคม 2555โพธิยาลัย เดือน มกราคม 2555
โพธิยาลัย เดือน มกราคม 2555Panda Jing
 
รายงานการประชุมสมัยวิสามัญครั้งที่ ๒๐ ณ วัดพรหมคุณาราม
รายงานการประชุมสมัยวิสามัญครั้งที่ ๒๐ ณ วัดพรหมคุณารามรายงานการประชุมสมัยวิสามัญครั้งที่ ๒๐ ณ วัดพรหมคุณาราม
รายงานการประชุมสมัยวิสามัญครั้งที่ ๒๐ ณ วัดพรหมคุณารามหนุ่มน้อย ดาร์จีลิ่ง
 
สมุดประจำตัวสำหรับผู้เขาค่ายคุณธรรม
สมุดประจำตัวสำหรับผู้เขาค่ายคุณธรรมสมุดประจำตัวสำหรับผู้เขาค่ายคุณธรรม
สมุดประจำตัวสำหรับผู้เขาค่ายคุณธรรมniralai
 

Similar to อัตตชีวประวัติพระครูพนมวันจันทสาร (20)

ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการจัดงานพระราชทานเพลิงศพ
ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการจัดงานพระราชทานเพลิงศพประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการจัดงานพระราชทานเพลิงศพ
ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการจัดงานพระราชทานเพลิงศพ
 
กำหนดการสวดพระอภิธรรมศพ พระเทพกิตติโสภณ
กำหนดการสวดพระอภิธรรมศพ พระเทพกิตติโสภณกำหนดการสวดพระอภิธรรมศพ พระเทพกิตติโสภณ
กำหนดการสวดพระอภิธรรมศพ พระเทพกิตติโสภณ
 
Saeng Dhamma Vol. 36 No. 434 June 2011
Saeng Dhamma Vol. 36 No. 434 June 2011 Saeng Dhamma Vol. 36 No. 434 June 2011
Saeng Dhamma Vol. 36 No. 434 June 2011
 
วัดป่าดงใหญ่
วัดป่าดงใหญ่วัดป่าดงใหญ่
วัดป่าดงใหญ่
 
140128 วารสารยุวพุทธสัมพันธ์
140128 วารสารยุวพุทธสัมพันธ์140128 วารสารยุวพุทธสัมพันธ์
140128 วารสารยุวพุทธสัมพันธ์
 
โครงการแห่เทียนพรรษาประจำปี 2555
โครงการแห่เทียนพรรษาประจำปี 2555โครงการแห่เทียนพรรษาประจำปี 2555
โครงการแห่เทียนพรรษาประจำปี 2555
 
Saeng Dhamma Vol.37 No. 435 July 2011
Saeng Dhamma Vol.37 No. 435 July  2011Saeng Dhamma Vol.37 No. 435 July  2011
Saeng Dhamma Vol.37 No. 435 July 2011
 
ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการจัดงานพระราชทานเพลิงศพ
ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการจัดงานพระราชทานเพลิงศพประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการจัดงานพระราชทานเพลิงศพ
ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการจัดงานพระราชทานเพลิงศพ
 
พระธรรมเทศนาสมณกถา
พระธรรมเทศนาสมณกถาพระธรรมเทศนาสมณกถา
พระธรรมเทศนาสมณกถา
 
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒
 
หนังสือแจ้งการประชุมฯสมัยสามัญ ๕๔
หนังสือแจ้งการประชุมฯสมัยสามัญ ๕๔หนังสือแจ้งการประชุมฯสมัยสามัญ ๕๔
หนังสือแจ้งการประชุมฯสมัยสามัญ ๕๔
 
แผ่นพับ พระธาตุดอยอ่างกุ้ง
แผ่นพับ พระธาตุดอยอ่างกุ้งแผ่นพับ พระธาตุดอยอ่างกุ้ง
แผ่นพับ พระธาตุดอยอ่างกุ้ง
 
ธรรมบท ภาคที่ 1 แปลโดยพยัญชนะ ฉบับสองภาษา (ไทย-บาลี).pdf
ธรรมบท ภาคที่ 1 แปลโดยพยัญชนะ ฉบับสองภาษา (ไทย-บาลี).pdfธรรมบท ภาคที่ 1 แปลโดยพยัญชนะ ฉบับสองภาษา (ไทย-บาลี).pdf
ธรรมบท ภาคที่ 1 แปลโดยพยัญชนะ ฉบับสองภาษา (ไทย-บาลี).pdf
 
200789830 katin
200789830 katin200789830 katin
200789830 katin
 
พระรัตนตรัย
พระรัตนตรัยพระรัตนตรัย
พระรัตนตรัย
 
โพธิยาลัย เดือน มกราคม 2555
โพธิยาลัย เดือน มกราคม 2555โพธิยาลัย เดือน มกราคม 2555
โพธิยาลัย เดือน มกราคม 2555
 
รายงานการประชุมสมัยวิสามัญครั้งที่ ๒๐
รายงานการประชุมสมัยวิสามัญครั้งที่ ๒๐รายงานการประชุมสมัยวิสามัญครั้งที่ ๒๐
รายงานการประชุมสมัยวิสามัญครั้งที่ ๒๐
 
รายงานการประชุมสมัยวิสามัญครั้งที่ ๒๐ ณ วัดพรหมคุณาราม
รายงานการประชุมสมัยวิสามัญครั้งที่ ๒๐ ณ วัดพรหมคุณารามรายงานการประชุมสมัยวิสามัญครั้งที่ ๒๐ ณ วัดพรหมคุณาราม
รายงานการประชุมสมัยวิสามัญครั้งที่ ๒๐ ณ วัดพรหมคุณาราม
 
สมุดประจำตัวสำหรับผู้เขาค่ายคุณธรรม
สมุดประจำตัวสำหรับผู้เขาค่ายคุณธรรมสมุดประจำตัวสำหรับผู้เขาค่ายคุณธรรม
สมุดประจำตัวสำหรับผู้เขาค่ายคุณธรรม
 
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 436 August 2011
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 436 August 2011 Saeng Dhamma Vol. 37 No. 436 August 2011
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 436 August 2011
 

อัตตชีวประวัติพระครูพนมวันจันทสาร

  • 1.
  • 2. อัตตชีวประวัติและผลงาน ๑. ชื่อ พระครูพนมวันจันทสาร ฉายา จน.ทสุวณ.โณ อายุ ๔๙ พรรษา ๒๘ วิทยฐานะ นักธรรมชั้นเอก พุทธศาสตร์บัณฑิต วัดพระพุทธบาทพนมดิน ตําบลท่าตูม อําเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ปัจจุบันดํารงตําแหน่ง เจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทพนมดิน ๒. สถานะเดิม ชื่อ ธีรภพ นามสกุล มาลาคํา เกิดวันจันทร์ แรม ๓ ค่ํา เดือน ๓ ปีมะแม ตรงกับวันที่ ๒๗ เดือนกุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๑๐ บิดา นายพรม นามสกุล มาลาคํา มารดา นางดา นามสกุล มาลาคํา (สกุลเดิม มะลิลา) บ้านเลขที่ ๓๗ หมู่ที่ ๑๑ ตําบลหนองบัว อําเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ๓. บรรพชา วันเสาร์ ขึ้น ๑๕ ค่ํา เดือน ๖ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ ๓๐ เดือนเมษายน พุทธศักราช ๒๕๓๑ ณ วัดจําปาหนองบัว ตําบลหนองบัว อําเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ พระอุปัชฌาย์ พระครูประภัศร์คณารักษ์ (จันทร์) วัดโพธิ์พฤกษาราม ตําบลท่าตูม อําเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ๔. อุปสมบท วันเสาร์ ขึ้น ๑๕ ค่ํา เดือน ๖ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ ๓๐ เดือนเมษายน พุทธศักราช ๒๕๓๑ ณ พัทธสีมา วัดจําปาหนองบัว ตําบลหนองบัว อําเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ พระอุปัชฌาย์ พระครูประภัศร์คณารักษ์ (จันทร์) วัดโพธิ์พฤกษาราม ตําบลท่าตูม อําเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ พระกรรมวาจาจารย์ พระครูสุภัทรโพธิคุณ (เผือก) วัดโพธิ์ชัยหมากมี่ ตําบลหนองบัว อําเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ พระอนุสาวนาจารย์ พระครูสุตโพธิสุนทร (เสวียง) วัดโพธิ์บัลลังก์ ตําบลท่าตูม อําเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ๕. วิทยฐานะ พุทธศักราช ๒๕๒๓ สําเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา จากโรงเรียนหนองบัวมิตรภาพที่ ๘๕ ตําบลหนองบัว อําเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ พุทธศักราช ๒๕๓๔ สอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอกในสนามหลวง สํานักศาสนศึกษาวัดโพธิ์ พฤกษาราม ตําบลท่าตูม อําเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ พุทธศักราช ๒๕๓๘ สําเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จากศูนย์บริการการศึกษา นอกโรงเรียนอําเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ พุทธศักราช ๒๕๔๓ สําเร็จการศึกษาพุทธศาสตร์บัณฑิตจากมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณ์ ราชวิทยาลัย วิทยาเขตอุบลราชธานี
  • 3. การศึกษาพิเศษ พิมพ์ดีดภาษาไทย – ภาษาอังกฤษได้ และคอมพิวเตอร์ใช้งาน จากวิทยาลัยการอาชีพท่าตูม อําเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ผ่านการฝึกอบรมทหารกองหนุนเพื่อความมั่นคงของชาติ (ก. น.ช.) จากกองทัพภาคที่ ๒ รุ่นที่ ๓ ของอําเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ผ่านการฝึกอบรมเกษตร ระยะสั้น จากสถาบันเทคโนโลยีวิทยาลัยเกษตร จังหวัดสุรินทร์ ผ่านการอบรมหลักสูตรพระ สังฆาธิการ คณะสงฆ์ ภาค ๑๐ เข้าร่วมประชุมผู้นําองค์กรพุทธศาสนาแห่งโลก (THE 3rd WORD BUDDHIST CONERECE THE KINGDOM OF CAMBODIA PHANOMPENH, DECEMBER 59, 2002) ความชานาญ การแสดงธรรม ปาฐกถาธรรม เทศน์แหล่ทํานองอิสาน งานด้านนวกรรม ช่างไม้ ช่างปูน และ การพัฒนาชุมชน เขียนอ่านอักษรขอม อักษรธรรมได้ ๖. งานปกครอง พุทธศักราช ๒๕๓๗ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดโพธิ์พฤกษาราม ตําบลท่าตูม อําเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ พุทธศักราช ๒๕๔๒ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดหลวง ตําบลในเมือง อําเภอ เมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี พุทธศักราช ๒๕๔๖ ได้รับการแต่งตั้งเป็นรองเจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทพนมดิน ตําบลท่าตูม อําเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ พุทธศักราช ๒๕๔๙ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้รักษาแทนเจ้าอาวาส วัดพระพุทธบาทพนมดิน ตําบลท่าตูม อําเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ พุทธศักราช ๒๕๕๐ ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส วัดพระพุทธบาทพนมดิน ตําบลท่าตูม อําเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ กิจกรรมภายในวัด - มีการทําอุโบสถกรรม (สวดปาฏิโมกข์) ตลอดปีและมีพระภิกษุผู้ทรงจําปาฏิโมกข์ จํานวน ๑ รูป - มีการทําวัตรเช้า – เย็น เป็นประจําทุกวันตลอดปี - มีการนั่งสมาธิภาวนากรรมฐาน เป็นประจําทุกวันตลอดปี มีระเบียบการปกครองของวัด ดังนี้ - เจ้าอาวาสเป็นผู้ควบคุมดูแลไม่ได้แบ่งเป็นคณะ - มอบให้พระผู้มีพรรษาสมควรและมีความสามารถเป็นผู้ช่วยควบคุมดูแลกิจการภายในวัด ควบคุมดูแลกิจการภายในวัด - อบรมให้ประพฤติปฏิบัติอันดีงามตามพระธรรมวินัย - อบรมให้รู้จักรักษา ศาสนสมบัติอันมีค่าของพระพุทธศาสนา - อบรมชี้แจงให้รู้จักประพฤติปฏิบัติตามระเบียบ ข้อกติกาของวัดและอาณัติของคณะสงฆ์ - อบรมให้รู้จักคุณค่าของความสะอาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณวัด
  • 4. ตารางปฏิบัติศาสนกิจประจําวัน เวลา ๐๔.๐๐ น. สัญญาณระฆังทําวัตรเช้า นั่งสมาธิ ภาวนา เวลา ๐๕.๓๐ น. กวาดลานวัด เวลา ๐๖.๐๐ น. ออกบิณฑบาต เวลา ๐๗.๓๐ น. ฉันข้าวยาคู (ข้าวต้ม) เวลา ๐๙.๐๐ น. บรรยายธรรมและเรียนปริยัติธรรม เวลา ๑๐.๓๐ น. สัญญาณตีกลองไหว้พระฉันภัตตาหารเพล เวลา ๑๓.๐๐ น. ปฏิบัติกรรมฐาน นั่งสมาธิภาวนา เวลา ๑๕.๐๐ น. สัญญาณตีระฆังทําความสะอาดบริเวณวัด เวลา ๑๖.๐๐ น. สัญญาณตีระฆังทําวัตรเย็นนั่งสมาธิภาวนา เวลา ๑๙.๐๐ น. สัญญาณตีระฆังปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิ-เดินจงกรรม เวลา ๒๑.๐๐ น. พักผ่อนตามอัธยาศัย มีกติกาของวัด ดังนี้ - ผู้ที่จะเข้ามาอุปสมบท ต้องฝึกหัดอบรมให้รู้จักหลักทางพระพุทธศาสนา - เมื่อบรรพชาอุปสมบทแล้ว ต้องปฏิบัติกิจวัตรสวดมนต์เช้าและเย็น ทุกวัน - ในระหว่างบรรพชาอุปสมบท ต้องศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยทุกรูป - วันสําคัญในทางพระพุทธศาสนา ต้องปฏิบัติศาสนกิจโดยพร้อมเพรียงกัน - ต้องลงทําอุโบสถกรรมทุกกึ่งเดือน - ถ้าภารกิจของสงฆ์เกิดขึ้นในวัดต้องช่วยกันทําตามกําลังแห่งความสามารถ เพื่อความ พร้อมเพรียงและความเจริญของหมู่คณะ - ต้องสอบธรรมสนามหลวงทุกรูป ยกเว้นข้าราชการลาอุปสมบท - เมื่อจะไปค้างแรมคืนนอกวัด ต้องบอกลาเจ้าอาวาสทราบทุกครั้ง ทั้งไปและกลับ ยกเว้น แต่ไปกลับในวันเดียว จะบอกพระรูปใดรูปหนึ่งก็ได้ ๗. งานด้านการศึกษา พุทธศักราช ๒๕๓๔ ได้รับการแต่งตั้งเป็นครูสอนพระปริยัติธรรม ประจําสํานักศาสนศึกษา วัดโพธิ์พฤกษาราม ตําบลท่าตูม อําเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ พุทธศักราช ๒๕๓๗ ผ่านการอบรมหลักสูตรครูสอนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม ณ วัดโพธิสมภรณ์ ตําบลหมากแข้ง อําเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี พุทธศักราช ๒๕๔๖ เป็นเจ้าสํานักศาสนศึกษา วัดพระพุทธบาทพนมดิน สํานักเรียนคณะ จังหวัดสุรินทร์ พุทธศักราช ๒๕๔๖ – ๒๕๕๖ ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการสอบธรรมสนามหลวง ณ หน่วยสอบวัดปทุมทอง ตําบลท่าตูม อําเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ พุทธศักราช ๒๕๔๖ – ๒๕๕๖ เป็นกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานวิทยาลัยการอาชีพท่าตูม อําเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ - เป็นกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์ อําเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ - เป็นกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนสนิทราษฎร์ท่าตูมวิทยาคม อําเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
  • 5. - เป็นกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนศรีปทุมพิทยาคม ตําบลหนองบัว อําเภอ ท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ - สอนพระปริยัติด้วยตนเอง เพื่อเป็นตัวอย่างแก่ครูสอนพระปริยัติธรรมรูปอื่นๆ - แนะแนวและชี้นําให้เห็นถึงความสําคัญของการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกธรรมอัน เป็นพื้นฐานแห่งการปฏิบัติธรรมขั้นสูงต่อไป - ถวายรางวัลให้แก่นักเรียนภายในวัด ที่ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมและสอบ สนามหลวง - จัดหาอุปกรณ์การเรียนการสอนให้แก่ครูและนักเรียนอย่างพอเพียงตามความจําเป็น - ส่งเสริมให้พระภิกษุสามเณรที่ประสงค์จะเรียนต่อในชั้นเรียนที่วัดพระพุทธบาทพนมดิน ไม่สามารถจัดให้ได้ ให้ไปศึกษา ณ ต่างสํานักและอปถัมภ์ตามความเหมาะสม ๘. งานศึกษาสงเคราะห์ พุทธศักราช ๒๕๕๒ ได้จัดตั้งกองทุนการศึกษาแก่นักเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา เพื่อ มอบให้แก่นักเรียนที่ผู้ปกครองมีรายได้น้อย แต่เรียนดี ความประพฤติดี เป็นจํานวนเงิน ๕๐,๐๐๐ บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) พุทธศักราช ๒๕๕๓ ได้จัดตั้งกองทุนการศึกษา มอบให้นิสิตนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ สุรินทร์ ที่มีความประพฤติดี ขาดแคลนทุนการศึกษา เป็นจํานวนเงิน ๒๐,๐๐๐ บาท (สองหมื่นบาทถ้วน) พุทธศักราช ๒๕๕๔ ได้จัดตั้งกองทุนการศึกษา มอบให้ผู้อํานวยการวิทยาลัยการอาชีพท่าตูม เพื่อนําไปช่วยเหลือนักเรียนที่ยากจน แต่ตั้งใจเรียน มีความประพฤติดี เป็นจํานวนเงิน ๑๕๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนห้าหมื่นบาทถ้วน) ให้ความอุปถัมภ์พระภิกษุ – สามเณร นักเรียนนักศึกษาทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัด เรื่อยมา ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๓๕ จนถึงปัจจุบัน เป็นจํานวนเงิน โดยประมาณ ๕๐๐,๐๐๐ บาท (ห้าแสนบาทถ้วน) - ได้อุปถัมภ์พระภิกษุ – สามเณร นักศึกษา ศึกษาอย่างต่อเนื่องจนจบระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก จํานวน ๓ รูป/คน เป็นจํานวนเงิน ๖๐๐,๐๐๐ บาท (หกแสนบาทถ้วน) ๙. งานเผยแผ่ พุทธศักราช ๒๕๓๕ เป็นวิทยากรอบรมนักเรียน นักศึกษา ที่มาอบรมค่ายจริยธรรมตลอดมา จวบจนปัจจุบัน พุทธศักราช ๒๕๔๐ เป็นวิทยากรอบรมนักเรียน นักศึกษา ในโครงการของมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตอุบลราชธานี พุทธศักราช ๒๕๔๑ เป็นวิทยากรอบรมผู้ต้องขังในเรือนจํา จังหวัดอุบลราชธานี พุทธศักราช ๒๕๕๐ เป็นประธานดําเนินงานโครงการอบรมคุณธรรมจริยธรรม และโครงการ ธรรมรักษ์ – ธรรมรส นิมนต์พระมาแสดงธรรมในวันธรรมสวนะ ในฤดูพรรษาทุกปี ณ วัดพระพุทธบาทพนมดิน ตําบลท่าตูม อําเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ - อบรมอุบาสก อุบาสิกา เกี่ยวกับศีล สมาธิ การทําจิตใจให้สงบ ประเพณีท้องถิ่น ศาสนพิธี
  • 6. - เยาวชน นักเรียน อบรมเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรม กับมารยาทไทย การต้อนรับแขก การช่วยเหลือสังคม มีการประกอบกิจกรรมวันสําคัญทางพระพุทธศาสนา ดังนี้ มีการประกอบพิธีวันมาฆะบูชา - มีผู้เข้าร่วมพิธี พระภิกษุ สามเณร ๗ รูป ประชาชน ๒๕๐ คน คณะครูและนักเรียน นักศึกษา ๑,๕๐๐ คน มีการประกอบพิธีวันวิสาขบูชา - มีผู้เข้าร่วมพิธี พระภิกษุ สามเณร ๑๒ รูป ประชาชน ๓๐๐ คน คณะครูและนักเรียน นักศึกษา ๗๐๐ คน มีการประกอบพิธีวันอัฏฐมีบูชา - มีผู้เข้าร่วมพิธี พระภิกษุ สามเณร ๗ รูป ประชาชน ๑๒๐ คน คณะครูและนักเรียน นักศึกษา ๑,๐๐๐ คน มีการประกอบพิธีวันอาสาฬบูชา - มีผู้เข้าร่วมพิธี พระภิกษุ สามเณร ๒๐ รูป ประชาชน ๓๐๐ คน คณะครูและนักเรียน นักศึกษา ๑,๖๐๐ คน มีการอบรมศีลธรรม คือ - มีการอบรมศีลธรรมแก่คณะครู นักเรียนและประชาชนในวันสําคัญทางพระพุทธศาสนา - มีการอบรมศีลธรรมแก่ประชาชนในเขตอําเภอท่าตูม ให้ความร่วมมือกับทางคณะสงฆ์และทางราชการในการเผยแผ่ ดังนี้ - อํานวยความสะดวกในการเดินทางให้แก่พระธรรมทูตอําเภอท่าตูม - ให้ความร่วมมือกับคณะสงฆ์ อําเภอท่าตูม ทุกครั้งที่มีกิจของสงฆ์เกิดขึ้น - ในส่วนราชการ ทางวัดได้อนุญาตให้ใช้สถานที่ของวัด เป็นสถานที่อบรมประชุม สัมมนา ทุกหน่วยงานของทางราชการเป็นประจํา ๑๐.งานด้านสาธารณูปการ ภายในวัดพระพุทธบาทพนมดิน พุทธศักราช ๒๕๔๖ ดําเนินการก่อสร้างศาลาอบรมกรรมฐาน (หอธรรมวิริยาจารย์) จํานวน ๑ หลัง ขนาดกว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๒๐ เมตร เสาคอนกรีตเสริมเหล็ก ลักษณะทรงไทยประยุกต์ โครงหลังคา เหล็ก มุงด้วยกระเบื้องติดช่อฟูาใบระกา ผนังก่อด้วยอิฐถือปูน พื้นลาดด้วยซีเมนต์ ปูด้วยกระเบื้องมีห้องน้ําใน ตัวอาคาร ๒ ห้อง พร้อมทั้งเดินระบบน้ําประปา รวมค่าก่อสร้างเป็นเงินทั้งสิ้น ๑,๐๐๙,๕๐๒ บาท (หนึ่งล้าน เก้าพันห้าร้อยสองบาทถ้วน) พุทธศักราช ๒๕๔๗ ดําเนินการก่อสร้างกุฏิสงฆ์ จํานวน ๒ หลัง ขนาดกว้าง ๓ เมตร ยาว ๔ เมตร เสาคอนกรีตสําเร็จ ลักษณะทรงไทยประยุกต์ โครงหลังคาเหล็ก มุงด้วยกระเบื้อง ผนังก่อด้วยอิฐถือปูน พื้นลาดด้วยซีเมนต์ ปูกระเบื้องรวมค่าก่อสร้างเป็นเงินทั้งสิ้น ๑๘๐,๖๕๐ บาท (หนึ่งแสนแปดหมื่นหกร้อยห้า สิบบาทถ้วน) พุทธศักราช ๒๕๔๘ ดําเนินการก่อสร้างห้องน้ํา จํานวน ๑ หลัง ขนาดกว้าง ๒ เมตร ยาว ๕ เมตร ๓ ห้อง เสาคอนกรีตเสริมเหล็ก โครงหลังคาไม้ มุงด้วยกระเบื้อง พื้นลาดด้วยซีเมนต์ ปูพื้นด้วยกระเบื้อง ผนังก่อด้วยอิฐถือปูน พร้อมทั้งเดินระบบน้ําประปาและเครื่องสุขภัณฑ์ รวมค่าก่อสร้างเป็นเงินทั้งสิ้น ๑๐๙,๑๕๒ บาท (หนึ่งแสนเก้าพันหนึ่งร้อยห้าสิบสองบาทถ้วน)
  • 7. พุทธศักราช ๒๕๔๙ ดําเนินการก่อสร้างกุฏิสงฆ์ จํานวน ๑ หลัง ขนาดกว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๒ เมตร เสาคอนเกรีตสําเร็จ โครงหลังคาเหล็กมุงด้วยกระเบื้อง ผนังก่อด้วยอิฐถือปูน พื้นลาดด้วยซีเมนต์ปูพื้น ด้วยกระเบื้อง มีห้องน้ําในตัวอาคารพร้อมเดินระบบน้ําประปา เครื่องสุขภัณฑ์ ลักษณะทรงไทยประยุกต์ รวม ค่าก่อสร้างเป็นเงินทั้งสิ้น ๒๔๖,๕๑๒ บาท (สองแสนสี่หมื่นหกพักห้าร้อยสิบสองบาทถ้วน) พุทธศักราช ๒๕๕๐ ดําเนินการก่อสร้างกุฏิกรรมฐาน จํานวน ๑๐ หลัง ขนาดกว้าง ๔ เมตร ยาว ๗ เมตร เสาคอนกรีตสําเร็จต่อเสาไม้โครงไม้ทั้งหมด ฝากระดานไม้ทั้งหมด มุงหลังคาด้วยกระเบื้องพื้น ลาดด้วยซีเมนต์ รวมค่าก่อสร้างเป็นเงินทั้งสิ้น ๙๓๒,๖๐๒ บาท (เก้าแสนสามหมื่นสองพันหกร้อยสองบาท ถ้วน) พุทธศักราช ๒๕๔๙ – ๒๕๕๑ ดําเนินการก่อสร้างพระมหาเจดีย์พนมดินที่ค้างไว้ จํานวน ๑ องค์ ขนาดกว้าง ๑๖ x ๑๖ เมตร มีฐานรอบลักษณะ ๘ เหลี่ยม ทรงระฆังคว่ํา สูง ๓๕ เมตร เสาคอนกรีตเสริม เหล็ก ผนังก่อด้วยอิฐถือปูนบุด้วยหินอ่อนทั้งองค์ ยอดฉัตรทองคําแท้ประมาณ ๓ กิโลกรัม ประดับด้วยเพชร พลอยนพเก้า รวมค่าก่อสร้างเป็นเงินทั้งสิ้น ๓๕,๐๙๓,๖๕๓ บาท (สามสิบห้าล้านเก้าหมื่นสามพันหกร้อยห้าสิบ สามบาทถ้วน) พุทธศักราช ๒๕๕๑ ดําเนินการก่อสร้าง ซุ้มประตูด้านหน้าพระมหาเจดีย์พนมดิน จํานวน ๑ ซุ้ม ขนาดกว้าง ๖ เมตร สูง ๑๕ เมตร เสาคอนกรีตเสริมเหล็ก ก่อด้วยอิฐถือปูนประดับลายทาสียอดฉัตร ลาด พื้นด้วยซีเมนต์ รวมค่าก่อสร้างเป็นเงินทั้งสิ้น ๑,๔๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งล้านสี่แสนบาทถ้วน) พุทธศักราช ๒๕๕๑ ดําเนินการก่อสร้างหอพระอุปคุตกลางสระน้ํา จํานวน ๑ หอ ขนาดกว้าง ๒.๕๐ เมตร x ๒.๕๐ เมตร สูงจากพื้นของสระน้ํา ๑๐ เมตร เสาคอนกรีตเสริมเหล็ก ตกแต่งด้วยปูนติดกระจก ลาดพื้นด้วยซีเมนต์ รวมค่าก่อสร้างเป็นเงินทั้งสิ้น ๑๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน) พุทธศักราช ๒๕๕๑ ดําเนินการก่อสร้างศาลาราย จํานวน ๔ หลัง ขนาดกว้าง ๓x๔ เมตร เสา คอนกรีตเสริมเหล็ก ก่อด้วยอิฐถือปูน โครงหลังคาเหล็กมุงด้วยกระเบื้องติดใบระกาทรงไทยประยุกต์ ๓ มุข ลาดพื้นด้วยซีเมนต์ปูกระเบื้อง รวมค่าก่อสร้างเป็นเงินทั้งสิ้น ๑,๔๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งล้านสี่แสนบาทถ้วน) พุทธศักราช ๒๕๕๑ ดําเนินการก่อสร้างพญานาคกลางสระน้ําศักดิ์สิทธิ์ จํานวน ๒ นาค ขนาดลําตัวกว้าง ๕๐ เซนติเมตร ยาว ๑๕ เมตร แผ่พังพาน ๗ เศียร สูงจากพื้นสระน้ํา ๑๐ เมตร เสาคอนกรีต เสริมเหล็ก ก่อด้วยอิฐถือปูนแกะลายเกล็ดทาสีเขียว ลาดพื้นด้วยซีเมนต์ รวมค่าก่อสร้างเป็นเงินทั้งสิ้น ๒๕๐,๐๐๐ บาท (สองแสนห้าหมื่นบาทถ้วน) พุทธศักราช ๒๕๕๒ ดําเนินการก่อสร้างโรงครัว จํานวน ๑ หลัง ขนาดกว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๒๐ เมตร เสาคอนกรีตสําเร็จรูป โครงไม้หลังคามุงด้วยสังกะสี ผนังก่อด้วยอิฐถือปูน พื้นลาดด้วยซีเมนต์ พร้อม ทั้งจัดอุปกรณ์ อาทิ หม้อ ถ้วย จาน ช้อน รวมค่าก่อสร้างเป็นเงินทั้งสิ้น ๒๓๐,๐๐๐ บาท (สองแสนสามหมื่น บาทถ้วน) พุทธศักราช ๒๕๕๒ ดําเนินการก่อสร้างโรงล้างจาน จํานวน ๑ หลัง ขนาดกว้าง ๕ เมตร ยาว ๕ เมตร เสาคอนกรีตสําเร็จ โครงหลังคาเหล็ก หลังคามุงด้วยสังกะสี พื้นลาดด้วยซีเมนต์ รวมค่าก่อสร้างเป็น เงินทั้งสิ้น ๕๐,๐๐๐ บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) พุทธศักราช ๒๕๕๒ ดําเนินการก่อสร้างโรงจอดรถ จํานวน ๑ หลัง ขนาดกว้าง ๗ เมตร ยาว ๗ เมตร เสาคอนกรีตสําเร็จ หลังคามุงด้วยสังกะสี พื้นลาดด้วยซีเมนต์ รวมค่าก่อสร้างเป็นเงินทั้งสิ้น ๘๐,๐๐๐ บาท (แปดหมื่นบาทถ้วน) พุทธศักราช ๒๕๕๒ ดําเนินการก่อสร้างพระพุทธรูปปางห้ามพยาธิ สูง ๑๘ เมตร พร้อมทั้ง ทาสีทองทั้งองค์ รวมค่าก่อสร้างเป็นเงินทั้งสิ้น ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งล้านบาทถ้วน)
  • 8. พุทธศักราช ๒๕๕๓ ดําเนินการก่อสร้างกุฏิสงฆ์ จํานวน ๑ หลัง ขนาดกว้าง ๕ เมตร ยาว ๑๕ เมตร ใช้เสาคอนกรีตสําเร็จรูป ลักษณะทรงไทยประยุกต์ โครงไม้ หลังคามุงด้วยสรรไท พื้นลาดด้วยซีเมนต์ ปูด้วยกระเบื้อง รวมค่าก่อสร้างเป็นเงินทั้งสิ้น ๒๓๐,๐๐๐ บาท (สองแสนสามหมื่นบาทถ้วน) พุทธศักราช ๒๕๕๓ ดําเนินการก่อสร้างห้องน้ํา – ห้องสุขา จํานวน ๑๒ ห้อง ขนาดกว้าง ๓.๕๐ เมตร ยาว ๒๐ เมตร ใช้เสาคอนกรีตสําเร็จรูป โครงหลังคาเหล็ก หลังคามุงด้วยสรรไท พื้นลาดด้วย ซีเมนต์ ปูพื้นด้วยกระเบื้อง พร้อมทั้งเดินระบบน้ําประปา รวมค่าก่อสร้างเป็นเงินทั้งสิ้น ๕๐๐,๐๐๐ บาท (ห้าแสนบาทถ้วน) พุทธศักราช ๒๕๕๓ ดําเนินการก่อสร้างอาคารที่พักสําหรับผู้ปฏิบัติธรรม จํานวน ๑ หลัง ขนาดกว้าง ๑๕ เมตร ยาว ๓๐ เมตร ใช้เสาคอนกรีตสําเร็จรูป ผนังก่อด้วยอิฐถือปูน พื้นลาดด้วยซีเมนต์ ปูพื้น ด้วยกระเบื้อง โครงหลังคาเหล็ก หลังคามุงด้วยสรรไท รวมค่าก่อสร้างเป็นเงินทั้งสิ้น ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สอง ล้านบาทถ้วน) พุทธศักราช ๒๕๕๓ ดําเนินการก่อสร้างปราสาทศิลปะขอม จํานวน ๑ หลัง ขนาดกว้า ๗ เมตร ยาว ๗ เมตร เสาคอนกรีตเสริม ผนังก่อด้วยอิฐถือปูน ประดับลวดลายขอม ทาสีโอ๊คทั้งหลัง รวมค่า ก่อสร้างเป็นเงินทั้งสิ้น ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สองล้านบาทถ้วน) พุทธศักราช ๒๕๕๓ ดําเนินการจัดซื้อชุดรับแขกเฟอร์นิเจอร์โซฟาไม้เนื้อแข็งสําหรับต้อนรับ แขกอาคันตุกะ จํานวน ๑๐ ชุด/ตัว รวมค่าจัดซื้อเป็นเงินทั้งสิ้น ๑๕๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนห้าหมื่นบาทถ้วน) พุทธศักราช ๒๕๕๔ ดําเนินการก่อสร้างพระพุทธรูปนอนปางไสยยาส ยาว ๒๐ เมตร พร้อม ทั้งทาสีทองทั้งองค์ รวมค่าก่อสร้างเป็นเงินทั้งสิ้น ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สองล้านบาทถ้วน) พุทธศักราช ๒๕๕๔ ดําเนินการก่อสร้างอาคารปฏิบัติธรรม จํานวน ๑ หลัง ขนาดกว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๒๕ เมตร ลักษณะเป็นอาคารด้านทิศเหนือและทิศใต้ เปิดโล่ง ผนังด้านทิศตะวันออกและทิศ ตะวันตก ก่อด้วยอิฐถือปูน พื้นลาดด้วยซีเมนต์ ปูพื้นด้วยหินขัด โครงหลังคาเหล็ก หลังคามุงด้วยสรรไท รวมค่า ก่อสร้างเป็นเงินทั้งสิ้น ๑,๗๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งล้านเจ็ดแสนบาทถ้วน) พุทธศักราช ๒๕๕๔ ดําเนินการก่อสร้างศาลาพักของผู้ปฏิบัติธรรม จํานวน ๒ หลัง ขนาด กว้าง ๒.๕๐ เมตร ยาว ๓ เมตร เสาคอนกรีตเสริมเหล็ก ลักษณะเปิดโล่ง โครงหลังคาเหล็ก หลังคามุงด้วยสรร ไท พื้นลาดด้วยซีเมนต์ ปูพื้นด้วยหินขัด รวมค่าก่อสร้างเป็นเงินทั้งสิ้น ๑๒๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนสองหมื่นบาท ถ้วน) พุทธศักราช ๒๕๕๕ ดําเนินการก่อสร้างหอระฆัง จํานวน ๑ หลัง ขนาดกว้าง ๔.๕๐ เมตร สูง จากพื้นถึงยอด ๑๓ เมตร ลักษณะทรงไทยจัตุรมุข ติดช่อฟูาใบระกา ประดับด้วยลายไทย หลังคามุงกระเบื้อง เกล็ดปลา พื้นลาดด้วยซีเมนต์ รวมค่าก่อสร้างเป็นเงินทั้งสิ้น ๔๕๐,๐๐๐ บาท (สี่แสนห้าหมื่นบาทถ้วน) พุทธศักราช ๒๕๕๕ ดําเนินการก่อสร้างมณฑปสําหรับบรรจุรูปเหมือนสมเด็จพระพุทฒา จารย์ (โต พ.รหม.ร◌ สี) จํานวน ๑ หลัง ขนาดกว้าง ๓.๕๐ x ๓.๕๐ เมตร ลักษณะทรงไทยจัตุรมุข ประดับด้วย ใบระกา ติดลายไทย หลังคามุงกระเบื้องเกล็ดปลา พื้นลาดด้วยซีเมนต์ รวมค่าก่อสร้างเป็นเงินทั้งสิ้น ๓๗๐,๐๐๐ บาท (สามแสนเจ็ดหมื่นบาทถ้วน) พุทธศักราช ๒๕๕๕ ดําเนินการก่อสร้างกุฏิสงฆ์ จํานวน ๑ หลัง ขนาดกว้าง ๑๓ เมตร ยาว ๑๕ เมตร เสาคอนกรีตเสริมเหล็ก ผนังก่อด้วยอิฐถือปูน โครงหลังคาเหล็ก หลังคามุงด้วยกระเบื้อง ลักษณะ ทรงไทยประยุกต์ พื้นลาดด้วยซีเมนต์ มีห้องน้ํา – ห้องสุขา ในตัวอาคาร ๒ ห้อง พร้อมเดินระบบประปา รวม ค่าก่อสร้างเป็นเงินทั้งสิ้น ๑,๒๑๐,๓๐๐ บาท (หนึ่งล้านสองแสนหนึ่งหมื่นสามร้อยบาทถ้วน)
  • 9. พุทธศักราช ๒๕๕๕ ดําเนินการก่อสร้างกุฏิแม่ชี จํานวน ๑ หลัง ขนาดกว้าง ๗ เมตร ยาว ๒๔ เมตร จํานวน ๖ ห้อง เสาคอนกรีตสําเร็จรูป ผนังก่อด้วยอิฐถือปูน โครงหลังคาไม้ มุงหลังคาด้วยสังกะสี พื้นลาดด้วยซีเมนต์ปูกระเบื้อง มีห้องน้ํา – ห้องสุขา พร้อมเดินระบบประปา รวมค่าก่อสร้างเป็นเงินทั้งสิ้น ๘๗๐,๕๒๗ บาท (แปดแสนเจ็ดหมื่นห้าร้อยยี่สิบเจ็ดบาทถ้วน) งานบูรณปฏิสังขรณ์ ภายในวัดพระพุทธบาทพนมดิน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ดําเนินการบูรณปฏิสังขรณ์พระพุทธรูปพระประธานในศาลาการเปรียญ จํานวน ๑ องค์ ขนาดหน้าตักกว้าง ๓ เมตร สูง ๖ เมตร ก่อด้วยอิฐถือปูน ทาสีทองทั้งองค์ สิ้นค่าปฏิสังขรณ์ เป็นเงินทั้งสิ้น ๑๓๐,๖๐๐ บาท (หนึ่งแสนสามหมื่นหกร้อยบาทถ้วน) พุทธศักราช ๒๕๕๒ ดําเนินการบูรณปฏิสังขรณ์กุฏิแม่ชี ขนาดกว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๕๐ เมตร โดยการเปลี่ยนโครงหลังคาจากไม้เป็นเหล็ก เปลี่ยนหลังคาจากสังกะสีเป็นสรรไท เปลี่ยนหน้าต่างที่ชํารุด พื้นปู ด้วยกระเบื้อง สิ้นค่าปฏิสังขรณ์เป็นเงินทั้งสิ้น ๓๐๐,๐๐๐ บาท (สามแสนบาทถ้วน) พุทธศักราช ๒๕๕๒ ดําเนินการบูรณปฏิสังขรณ์ศาลาปฏิบัติธรรมในปุาเลไลย์ ขนาดกว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๑๐๐ เมตร โดยการเปลี่ยนโครงไม้เป็นเหล็ก เป็นหลังคาจากสังกะสีเป็นสรรไท พื้นปูด้วยกระเบื้อง สิ้นค้าปฏิสังขรณ์เป็นเงินทั้งสิ้น ๓๐๐,๐๐๐ บาท (สามแสนบาทถ้วน) พุทธศักราช ๒๕๕๔ ดําเนินการบูรณปฏิสังขรณ์หอฉัน ขนาดกว้าง ๑๕ เมตร ยาว ๑๐๐ เมตร โดยการเปลี่ยนโครงไม้เป็นโครงเหล็ก เปลี่ยนหลังคาจากสังกะสีเป็นสรรไท เปลี่ยนหน้าต่างที่ชํารุด พื้นปู ด้วยกระเบื้อง สิ้นค่าปฏิสังขรณ์เป็นเงินทั้งสิ้น ๓๐๐,๐๐๐ บาท (สามแสนบาทถ้วน) พุทธศักราช ๒๕๕๕ ดําเนินการบูรณปฏิสังขรณ์ศาลาปฏิบัติธรรมริมสระน้ํา ขนาดกว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๓๐ เมตร โดยการเปลี่ยนจากโครงไม้เป็นโครงเหล็ก เปลี่ยนหลังคาจากสังกะสีเป็นสรรไท พื้นปูด้วย กระเบื้อง สิ้นค่าปฏิสังขรณ์เป็นเงินทั้งสิ้น ๒๐๐,๐๐๐ บาท (สองแสนบาทถ้วน) ๑๑.งานสาธารณสงเคราะห์ พุทธศักราช ๒๕๔๗ มอบเงินสมทบทุนในการจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ โรงพยาบาลท่าตูม อําเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ เป็นจํานวนเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) พุทธศักราช ๒๕๔๘ มอบเงินสมทบทุนในการจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ โรงพยาบาลท่าตูม อําเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ เป็นจํานวนเงิน ๒๐,๐๐๐ บาท (สองหมื่นบาทถ้วน) พุทธศักราช ๒๕๔๙ มอบเงินสมทบทุนซื้อกระเบื้องปูพื้นศาลาบําเพ็ญกุศล ที่พักสงฆ์บ้านสวน หม่อน ตําบลเมืองแก อําเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ เป็นจํานวนเงิน ๓๐,๐๐๐ บาท (สามหมื่นบาทถ้วน) พุทธศักราช ๒๕๕๒ มอบโต๊ะหมู่บูชา หมู่ ๙ พร้อมอาสนะพนักพิง จํานวน ๙ ชุด ให้กับ สํานักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสุรินทร์ รวมเป็นจํานวนเงิน ๕๐,๐๐๐ บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) พุทธศักราช ๒๕๕๓ มอบโต๊ะหมู่บูชา หมู่ ๙ ให้ที่ว่าการอําเภอท่าตูม จํานวน ๑ ชุด รวมเป็น จํานวนเงิน ๑๕,๐๐๐ บาท (หนึ่งหมื่นห้าพันบาทถ้วน) พุทธศักราช ๒๕๕๓ เดินทางไปมอบข้าวสารอาหารแห้งให้แก่ผู้อพยพลี้ภัยสงคราไทย-กัมพูชา ที่โรงเรียนนิคมปราสาท อําเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ๒ รถกระบะ รวมเป็นจํานวนเงิน ๓๐,๐๐๐ บาท (สามหมื่นบาทถ้วน) พุทธศักราช ๒๕๕๓ เดินทางไปมอบอาหารแก่ผู้ที่ประสบอุทกภัยน้ําท่วม ที่ตําบลไร่ขิง อ้อม น้อย อ้อมใหญ่ จังหวัดนครปฐม ๑ รถ ๖ ล้อ รวมเป็นจํานวนเงิน ๕๐,๐๐๐ บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน)
  • 10. พุทธศักราช ๒๕๕๓ ดําเนินการพร้อมเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์จังหวัด จัดหาทุนเพื่อจัดซื้อรถตู้ พร้อมทั้งเครื่องมืออํานวยความสะดวกด้านปศุสัตว์ มอบให้สํานักงานปศุสัตว์จังหวัดสุรินทร์ รวมเป็นจํานวนเงิน ๘๐๐,๐๐๐ บาท (แปดแสนบาทถ้วน) พุทธศักราช ๒๕๕๔ ดําเนินการพร้อมเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลท่าตูม จัดหาทุน เพื่อก่อสร้าง อาคารเก็บศพ มอบให้กับโรงพยาบาลท่าตูม อําเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ เป็นจํานวนเงิน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งล้านบาทถ้วน) พุทธศักราช ๒๕๕๔ มอบเงินสมทบทุนในการก่อสร้างศาลาการเปรียญวัดบ้านเกษตรเทวร ตําบลบ้านด่าน อําเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ เป็นจํานวนเงิน ๒๐๐,๐๙๙ บาท (สองแสนเก้าสิบเก้าบาทถ้วน) พุทธศักราช ๒๕๕๔ มอบถวายพระพุทธรูปเพื่อไปประดิษฐานในศาลาการเปรียญวัดต่างๆ หน้าตักกว้าง ๖๐ นิ้ว จํานวน ๖ องค์ เป็นจํานวนเงิน ๖๐๐,๐๐๐ บาท (หกแสนบาทถ้วน) พุทธศักราช ๒๕๕๕ ไถ่ชีวิตโค-กระบือ จากโรงฆ่าสัตว์มอบให้เกษตรกรนําไปเลี้ยงเพื่อ การเกษตร จํานวน ๑๘ ตัว เป็นจํานวนเงิน ๓๙๗,๖๐๕ บาท (สามแสนเก้าหมื่นเจ็ดพันหกร้อยห้าบาทถ้วน) พุทธศักราช ๒๕๕๖ มอบเงินสมทบทุนในการจัดซื้อเครื่องมือทางการแพทย์ตึกฟอกไต โรงพยาบาลท่าตูม อําเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ เป็นจํานวนเงิน ๓๐,๐๐๐ บาท (สามหมื่นบาทถ้วน) ๑๒.งานพิเศษ - เข้ารับการประชุมทุกครั้งที่ผู้บังคับบัญชา หรือหน่วยงานอื่นใดอาราธนาให้เข้าร่วม เช่น การจัดอบรมของทางราชการ มวลชนสัมพันธ์ ลูกเสือชาวบ้าน เป็นต้น - เป็นคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานของวิทยาลัยอาชีพท่าตูมและโรงเรียนท่าตูม ประชาเสริมวิทย์ โรงเรียนสนิทราษฏร์วิทยาคม ตําบลท่าตูม อําเภอท่าตูม จังหวัด สุรินทร์ โรงเรียนศรีปทุมพิทยาคม ตําบลหนองบัว อําเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ - เข้าร่วมปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติของคณะสงฆ์จังหวัดสุรินทร์ เป็นประจําทุกปี - ร่วมถวายความอุปถัมภ์กิจกรรมคณะสงฆ์ทุกครั้งที่เกิดขึ้น ๑๓.รางวัลและเกียรติคุณที่ได้รับการยกย่อง พุทธศักราช ๒๕๔๙ ได้รับประกาศนียบัตรยกย่องให้เป็น “อุทยานการศึกษา” จากสํานักงาน พระพุทธศาสนาแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๕๒ ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณเป็น “วัดพัฒนาตัวอย่าง” จากสํานักงาน พระพุทธศาสนาแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๕๓ ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ เป็นวัดส่งเสริมสุขภาพดีเด่น จากกระทรวง สาธารณสุข กรมอนามัยและผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ พุทธศักราช ๒๕๕๖ ได้รับพัด โล่ ย่าม ประกาศเกียรติคุณเป็น“วัดพัฒนาตัวอย่างที่มีผลงาน ดีเด่น” จากสํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ๑๔.สมณศักดิ์ พุทธศักราช ๒๕๔๘ ได้รับแต่งตั้งเป็น “พระปลัด” ฐานานุกรมในพระมงคลรังสี (สุวัฒน์) อดีตเจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทพนมดิน พุทธศักราช ๒๕๕๗ ได้รับแต่งตั้งเป็น “พระครูสัญญาบัตรพัดยศ” เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นโท ที่พระครูพนมวันจันทสาร
  • 11. งานด้านวิปัสสนาธุระ พุทธศักราช ๒๕๓๕ จวบจนถึงปัจจุบัน ถือปฏิบัติธุดงค์วัตรกรรมฐานตลอดมา โดยยึดตาม แบบหลักธรรมคําสั่งและคําสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ทรงแสดงกรรมฐาน ๒ อย่าง สมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน และได้ศึกษาเพิ่มเติม จากที่เคยศึกษาตอนเป็นเด็ก ที่เคยอ่านจาก หนังสืออธิบายเรื่องการนั่งสมาธิของหลวงปูุเทสก์ เทสรังสี และได้รับความเมตตาจากหลวงปูุธรรมรังสี แนะนํา เพิ่มเติม หลวงปูุบุญมี โชติปาโล หลวงปูุเกลี้ยง เตชธม.โม ตลอดถึงแนวทางการปฏิบัติของหลวงพ่อพระครู วิศาลเขมคุณ วัดพิชโสภาราม จังหวัดอุบลราชธานี ได้ศึกษาหลักปฏิบัติธรรมกรรมฐานของหลวงปูุมั่น หลวงปูุ ดุล หลวงปูุชาและครูบาอาจารย์อื่นๆ อีกหลายท่าน จนมีความมั่นใจ สามารถเดินไปปักกลดตามปุาภูเขา ตามแต่โอกาสจะอํานวย เคยเดินธุดงค์หลายครั้งไปหลายจังหวัด เช่น กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ ร้อยเอ็ด ยโสธร มุกดาหาร นครพนม อุดรธานี หนองคาย หนองบัวลําภู สกลนคร มหาสารคาม เลย ลําปาง เพชรบูรณ์ พิษณุโลก อุตรดิตถ์ เชียงใหม่ และได้นําความรู้จากการปฏิบัติมาแนะนําแก่อุบาสก อุบาสิกา เรื่อยๆ มา คติธรรม มีบ่เก็บ จนบ่หา สิเต็มได้จังได๋ เรื่องเก่าอย่าเว้า เรื่องบ่ทันเกิดอย่าถาม ให้ถามในเวลานี่ เดี๋ยวนี่ คนเราสิ่งที่ผ่านมาแล้วแก้ไขไม่ได้อย่าพูดถึง อนาคตมายังไม่ถึง อย่าเพ้อฝัน อย่าพูดบ่นหา ให้รู้ในปัจจุบัน ทําในปัจจุบัน แก้ไขในปัจจุบัน ทุกอย่างจะดีเอง คติธรรม นุ่งผ้าขาด กะยังดีกว่า บ่มีผ้านุ่ง กินข้าวแห้ง กะยังดีกว่า บ่มียังกิน ศีลขาด กะยังดีกว่า บ่มีศีล ทํางานลําบาก กะยังดีกว่า บ่มีงานเฮ็ด ฮ้อนกะทนเอา ทุกข์กะทนเอา เหนื่อยกะทนเอา อดกะทนเอา ได้ดีเพราะอดเพราะทนนี่แหละ บ่หาว่าบ่มี บ่เฮ็ด บ่ทํา ว่าเฮ็ดบ่เป็น หมาขี้เฮื่อน มันบ่ยอม อดตาย คนมีมือมีตีน แต่บ่ยอมเฮ็ดอยู่เฮ็ดกิน เคียดฮู้จักทน จนฮู้จักหา เดี๋ยวเทวดากะซ่อย.ฯ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ในขณะที่นั่งสมาธิอยู่พอจิตรวมตัวเป็นอารมณ์เดียวกันก็มีสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นให้ เห็นทางสมาธิ คือ มีภาพเรื่องราวต่างๆ ปรากฏให้เห็นเหมือนนั่งดูหนัง เรื่องราวที่เห็นในสมาธินั้น คือ ใน อดีตชาติ เคยเป็นอะไรบ้างมาปรากฏให้เห็นเป็นชาติๆ ไป ในขณะที่ดูได้เกิดความสลดสังเวชใจ จนน้ําตาไหล เปียกผ้าจีวร หลังจากนั่งสมาธิเสร็จ แม่ชีสุนีย์ ตอรัมย์ หัวหน้าแม่ชีท่านถามว่า พระอาจารย์ทําไมถึงร้องไห้จึง ตอบแม่ชีไปว่า ไม่ได้ร้องไห้ร้องหรอก น้ําตาไหลเอง เพราะเกิดความสลดสังเวชใจ ที่โง่เวียนว่ายตายเกิดมานับ ชาติไม่ได้ เมื่อตะกี้ที่นั่งสมาธิ ได้เห็นอดีตชาติของตัวเองว่าเกิดเป็นอะไรบ้างก็เลยสลดใจน้ําตาก็เลยไหลหรอก แม่ เมื่อแม่ชีเข้าใจแล้วก็ยกมือไหว้ กล่าวคําว่า “สาธุ” พร้อมกัน.
  • 12. ในปีถัดไปได้มีพระมาอยู่จําพรรษากับหลวงปูุ ๒ รูป ท่านมาจากวัดเนรมิตวิปัสสนา อําเภอ ด่านซ้าย จังหวัดเลย ชื่อพระอาจารย์ประชา กับพระอาจารย์ กิตติศักดิ์ แต่เป็นเรื่องที่น่าแปลกก็คือ หลังจากที่ พระอาจารย์ประชา มาอยู่ได้ไม่กี่วัน ก็มีลูกงูเหลือมตัวเท่าหัวแม่มือมาอยู่ด้วยสามารถจับได้เอามาพันรอบแขน ได้ เขาก็นอนอยู่บนกุฏิกับพระอาจารย์ประชา พระอาจารย์ประชาพูดกับงูเหลือมรู้เรื่อง ท่านพูดอะไรบอกอะไร งูเหลือมทําตาม ในขณะที่อยู่จําพรรษา มีอยู่วันหนึ่งในขณะที่ทําวัตรเย็นเสร็จก็นั่งสมาธิต่อ ได้เกิดความสงสัย ในใจว่าทําไมอาจารย์ประชาถึงได้พูดกับงูได้มีงูมาอยู่ด้วย พอนั่งสมาธิได้สักพักจิตรวมเป็นสมาธิ สิ่งที่เห็นก็คือ ร่างกายของพระอาจารย์ประชาที่นั่งสมาธิอยู่ข้างๆ นั้นร่างกายของท่านที่เห็นไม่ใช่เป็นพระแต่เป็นงูขนาดใหญ่ ขดตัวอยู่ตรงที่ท่านนั่งสมาธินั้นเอง ดูแล้วดูอีก ก็เลยรู้ว่าท่านอาจารย์ประชาท่านเคยเป็นพญานาคมาก่อน งู ที่มาอยู่กับท่านเคยเป็นบริวารของท่านนั่นเอง ท่านอยู่จนออกพรรษารับกฐินเสร็จ ท่านก็บอกงูเหลือมตัวนั้นว่า รับกฐินเสร็จเราจะกลับจังหวัดเลย แล้วนะให้เข้าไปอยู่ในปุา อย่าให้คนเห็นเดี๋ยวคนจะทําร้ายเอา พออาจารย์ บอกได้ ๑ วัน งูเหลือมตัวนั้นก็หายจากกุฏิหลังนั้นไปตั้งแต่วันนั้นไม่เห็นมาอีกเลย ช่างน่าอัศจรรย์จริงๆ สิ่งที่ พระพุทธเจ้าตรัสมีอยู่จริง แต่คนส่วนมากไม่ค่อยเชื่อเลยไม่ทําดีกันก็แล้วแต่บุญแล้วแต่กรรมก็แล้วกัน. สาธุ.... หมายเหตุ : หลังจากออกพรรษาลูกงูเหลือมตัวนั้นตัวเท่าแขนใหญ่ๆ แล้ว คติธรรมใจ ให้ละทุกอย่าง ปล่อยวางทุกสิ่ง ทําจิตให้นิ่ง แล้วจะอยู่สบาย... บ่มีหยั่งเป็นของเฮาดอก ร่างกายสังขารกะบ่แมนของเฮา ทรัพย์สินสมบัติกะบ่แมนของเฮา มิตรสหายกะบ่แมนของเฮา พี่น้องลูกหลานกะบ่แมนของเฮา ของที่เป็นของเฮากะคือบุญกับบาป ถ่อนั้นแหละเด้อหมู่เจ้าเอย.... ธีรภพ... ข้อคิดในใจ ยามฮักกันชั่วปานได๋กะว่าดี ยามซังกันดีปานได๋กะว่าชั่ว ในจิตใจคนเฮาบ่มีความพอดี บ่มีความยุติธรรมดอกพี่น้องเอย... ความดีกะบ่ทํา กรรมดีกะบ่สร้าง บาปกะบ่ฮู้จักละ พระกะบ่ฮู้จักกราบ สิไปเอานิพพานมาจากไสสูเอย... ธีรภพ... ๑. แม่เล่าความฝัน (ผู้ที่อ่านต้องทําใจให้เป็นกลาง) ก่อนตั้งท้องแม่เล่าว่าฝันเห็นผู้หญิงคนหนึ่งแต่งตัวเหมือนนางฟูา ถือปิ่นปักผมมายื่นให้แล้ว บอกว่าให้แม่เก็บปิ่นปักผมนี้ไว้ประดับผมเอาไว้ปักผม ปิ่นอันนี้เป็นของหายาก มีคุณค่าสูงแต่ไม่ค่อยสวย แม่ยื่น มือรับปิ่นปักผมไว้ และแม่ก็สะดุ้งตื่นขึ้นมาทันที แม่นั่งนึกถึงความฝันนอนต่อไม่หลับจนกระทั่งเช้า ก็ลุกไป หุงข้าวทําครัวพอสายๆ แม่ก็เล่าให้คนแก่ฟัง คนแก่ท่านบอกแม่ว่า น่าจะได้ลูกหลังจากวันนั้นมาไม่นานแม่ก็ตั้ง ท้อง แต่การอุ้มท้องในครั้งนี้ไม่เหมือนครั้งก่อนๆ ไม่อยากแต่งเนื้อแต่งตัว อยู่ง่ายๆ ไม่ยุ่งยากจนใกล้คลอด ใน วันที่แม่ปวดท้อง พ่อเขาดีใจเขาพูดเสียงดังๆ ออกไปว่า ถ้าได้ลูกชายจะเลี้ยงคนทั้งหมู่บ้านเลย ใครอยากจะกิน อะไรจะหามาเลี้ยง ญาติพี่น้องเขาเลยพูดว่าขอให้คลอดออกมาเป็นผู้ชายเถิดจะได้กินของแซ่บๆ สักวัน สาเหตุ
  • 13. ที่พ่อเขาพูดอย่างนั้นเพราะคลอดลูกครั้งก่อนๆ ลูกเป็นหญิงทั้ง ๕ คน จนในที่สุดแม่ก็คลอดลูกออกมาเป็นผู้ชาย พ่อเขาก็เลยทําตามคําพูด คือ เลี้ยงญาติพี่น้องทั้งหมดตามสัญญา ๒. หลังคลอด แม่บอกว่าคลอดง่าย เลี้ยงง่าย ไม่งอแง ไม่ค่อยเจ็บปุวย กินง่ายนอนง่าย พ่อแม่เลี้ยงมาตาม แบบวิถีชาวบ้านนอก มีอะไรก็กินหาผักตามรั้วบ้าน พ่อไปหาปลาตามห้วยหนองคลองบึงเท่าที่จะหามาได้ นํามาเลี้ยงครอบครัว ตั้งแต่วันคลอดจนเติบโตอายุได้ประมาณ ๓ ขวบ พ่อแม่บอกว่าทุกอย่างปกติดี โตขึ้นมา เรื่อยๆ สังเกตว่า ตาข้างซ้ายจะเล็กกว่าตาข้างขวาหน่อยหนึ่ง พ่อแม่ก็ถามชาวบ้านว่าเป็นเพราะอะไร ชาวบ้าน ก็พูดว่าไม่ใช่เป็นเพราะดูกบกินเดือนหรือเปล่า (จันทรุปราคา) พ่อไม่สบายใจ พาลูกชายไปหาหมอ หมอคนนั้น คือ แพทย์โพธิ์อยู่บ้านโพนงอย หมอตรวจดูอย่างละเอียด เห็นว่าไม่มีอะไรหมอจึงบอกกับพ่อว่า ลุงพรมลูกชาย ไม่ได้ปุวยเป็นอะไรหรอก คงเป็นเอกลักษณ์ประจําตัวเขาเป็นแบบนี้ ชาวบ้านญาติพี่น้องก็เลยเรียกชื่อเล่นว่า “เอก” ตั้งแต่นั้นมา ต่อมาปูุมาเยี่ยม ปูุคนนี้เป็นญาติของคุณปูุ ท่านไปอยู่ที่อําเภอพล จังหวัดขอนแก่น กลับมา เยี่ยมบ้าน ท่านเลยแวะมาเยี่ยม ชื่อคุณปูุทองมา (ลม) เหล่าอุดม มาที่บ้านพ่อจึงถามปูุว่า ปูุดูหลานชายหน่อย จะเป็นอย่างไรบ้าง ปูุถามย้อนกลับคืนว่า ตอนคลอดเป็นอย่างไรบ้าง แม่บอกว่ามีสายรกพันรอบตัว เฉวียงบ่า ข้างขวาเหมือนสะพายปืน ปูุทายว่าถ้าโตไปจะได้เป็นเจ้าเป็นนาย แต่ถ้าได้บวชจะได้เป็นสมภารวัด จนอายุพอ เข้าเรียน พ่อจึงพาไปสมัครเข้าเรียนที่โรงเรียนประจําหมู่บ้าน ๓. ลักษณะนิสัย เกิดมาเป็นคนมีเมตตา สงสารคน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ชอบเลี้ยงสัตว์ มีจิตใจเด็ดเดี่ยว มั่นคงทํา อะไรทําจริง ไม่กลัวความจริง พ่อกับแม่พูดเสมอว่า อย่าปล่อยให้อยู่บ้านคนเดียว เวลาใครมาขออะไรเดี๋ยวมัน ก็ขนของให้เขาหมด ให้โดยไม่คิดถึงตัวเอง คิดถึงแต่คนอื่น จะเป็นลักษณะแบบนี้ จนมีแต่คนพูดว่า พระ เวสสันดรมาเกิด ๔. เรียนกัมมัฏฐาน พออายุได้ประมาณ ๑๐ ขวบเศษๆ ได้เจอหนังสือเล่มหนึ่งเก่ามาก แต่ก็พออ่านได้ เป็น หนังสืออธิบายเรื่องการนั่งสมาธิของพระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี ท่านได้อธิบายเรื่องการนั่งสมาธิ เมื่อครั้งท่าน ได้เดินธุดงค์ไปภาคใต้ อ่านแล้วรู้สึกชอบ อ่านจนจําได้ (ระดับความรู้ของเด็ก) และได้ปฏิบัตินั่งสมาธิภาวนา เป็นอารมณ์ อ่านจนแม่ถามว่าจะสอบแล้วหรือลูก ชอบหลบคน นั่งสมาธิอยู่บ่อยๆ ไม่ให้ใครรู้กลัวเขาจะด่า ทํา จนจิตใจสงบและชอบนั่งสมาธิตั้งแต่นั้นมา ๕. เล่าเรื่องอดีตชาติ วันนั้นเวลาประมาณ ๕ โมงเย็น ลุงสุข (โด๋ง) ปูาพิมพา (พิมพ์) สาพันธ์ กลับมาจากทํานาได้ เดินผ่านหน้าบ้านและได้เรียกชื่อว่า “เอก”ๆ หลายครั้ง แต่ก็ไม่ขานรับ ได้แต่ถามท่านว่า ทําไมไม่เรียกชื่อเดิม บ้าง ปูาพิมพ์จึงเกิดความสงสัยเลยเดินเข้ามาถามว่า ชื่อเดิมชื่อว่าอะไร ตอบท่านว่าชื่อเดิม ชื่อว่า “ทศราช” ปูาพิมพ์ก็ยิ่งสงสัยมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะไม่เคยได้ยินพูดแบบนี้มาก่อน ปูาจึงให้เล่าความเป็นมาให้ฟัง คนที่มานั่ง ฟังในตอนนั้นมี ปูา ลุง พ่อ แม่ ญาติๆ พี่ๆ น้องๆ จึงได้เริ่มเล่าว่า เมื่อชาติก่อน (อดีตชาติ) เกิดอยู่ที่ จามปา นคร ประวัติเจ้าชายทศราช พระเจ้าสุริยะวงศ์ (ต้นราชวงศ์บุตรของพระอาทิตย์) ทรงได้อภิเษกกับพระนางสิริปทุมวดี มี พระราชโอรส ๒ พระองค์ คือ ๑. เจ้าชายสีหวงศ์ (จอมทัพผู้เกรียงไกรแห่งอาณาจักรจามปา) ๒. เจ้าชายทศราช (ปิ่นแห่งดวงใจ อาณาจักรจามปา)
  • 14. ครั้งเมื่อพระนางสิริปทุมวดีประสูติกาล พระราชกุมารองค์เล็กแล้วได้รับขนานพระนามจาก โหราจารย์ว่า “เจ้าชายทศราช ศรีสุริยะวงศ์ อัครขัติยชาติราชกุมาร” (ในวันประสูติพระราชกุมาร มีนายพราน นําลูกช้างเผือกมาทูลเกล้าถวายเพื่อเป็นช้างคู่บุญบารมีของพระราชกุมาร) เมื่อเจริญวัยครบ ๗ ชันษา พระบิดา ได้นําไปฝากศึกษาในสํานักของเทวดาบส ศึกษาจนจบหลักสูตรของสํานักและวิชาที่ได้ศึกษา คือ “เทวมนต์ ตรา” ซึ่งเป็นศาสตร์แขนงหนึ่งใน “ไตรเพท” ที่ชนชั้นวรรณะพราหมณ์นิยมศึกษา หลังจากสําเร็จการศึกษา “เทวดาบส” ก็ได้อนุญาตให้กลับนครได้ เจ้าชายเป็นผู้มีจิตใจดีงาม อ่อนโยน มีเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์และสรรพสัตว์ ไม่ชอบการรบรา ฆ่าฟัน ชอบช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ มีจิตอันบริสุทธิ์ บูชาพระศิวะเทพซึ่งถือว่าเป็นเทพสูงสุดในศาสนาพราหมณ์ อยู่เป็นนิตย์ เจ้าชายได้รับสมญานามว่า เป็นเจ้าชายที่มีความสง่างามที่สุดในบรรดาเจ้าชายทั้งหลาย ในสายลุ่ม แม่น้ําโขง “เทวมนต์ตรา” ได้ทําให้เจ้าชายเป็นมิตรกับมนุษย์และเทวดาทั้งหลายเป็นอย่างดี เป็นที่รักของพระ บิดา พระมารดา ตลอดถึงพระปยูรญาติและปวงประชาราษฎร์น้อยใหญ่ เพราะเจ้าชายเป็นผู้มีอัธยาศัยเรียบ ง่าย จวบจวนพระชนม์มายุ ๒๔ ชันษาบริบูรณ์ ย่างเข้า ๒๕ ชันษา เกิดอาการประชวรด้วยโรคหอบหืด ภูมิคุ้มกันบกพร่องกําเริบ เจ้าชายสิ้นพระชนม์ในเยาว์วัย (อาณาจักรจามปาอยู่ระหว่างเวียดนามและกัมพูชา เป็นนครเก่าแก่โบราณอายุพันกว่าปี) หลังจากเล่าจบทุกคนก็ถึงกลับร้องอ๋อ ว่าเรื่องราวเป็นอย่างนี้เอง ๖. การศึกษา ตั้งแต่เข้าเรียนหนังสือ ประถมศึกษา ๑ จนถึงชั้นประถมศึกษา ๖ เรียนหนังสือไม่เก่ง ระดับ ปานกลาง งูๆ ปลาๆ แต่ที่โดดเด่น คือ ความสามารถเป็นนักกีฬาของโรงเรียน และอยู่ในระดับกลุ่มโรงเรียน ด้วย และอีกหน้าที่หนึ่งก็คือ ครูให้เป็นหัวหน้าห้อง หัวหน้าลูกเสือ เป็นนักร้อง นักรํา ประจําโรงเรียน เคยได้ เป็นตัวแทนกีฬาโรงเรียนไปแข่งขันในระดับเขตด้วย ชีวิตหลังจากจบการศึกษาระดับประถมส่วนมากก็อยู่กับ การทําไร ทํานา เลี้ยงวัว เลี้ยงควายเป็นงานประจําบ้าน ๗. สภาวะธรรมเกิดครั้งแรก ตอนนั้นอายุประมาณ ๑๕ – ๑๖ ปี ลุงคํา ทองมาก หมู่ ๓ ได้เสียชีวิต พ่อ - แม่ บอกให้ไป ช่วยตักน้ํา ตําข้าวช่วยงานทั่วไปภายในงาน เวลาผ่านไปจนถึงวันเผาศพ ชาวบ้านจึงนําศพลุงไปเผาที่ปุาช้าบ้าน หนองบัว ประเพณีเผาศพจะต้องให้หนุ่มๆ สาวๆ หาบน้ําไปด้วยคนละหาบ เลยถูกทําหน้าที่หาบน้ําด้วย ๑ หาบ หลังจากที่พระท่านสวดมาติกาบังสุกุลจบแล้ว ถวายเครื่องบังสุกุลพระให้พระ ก่อนจะทําพิธีเผาศพ จะต้องให้พระให้ลูกหลาน ญาติ พี่น้อง ล้างหน้าศพก่อน เมื่อถึงคิวหลานต้องล้างหน้าศพ ก็ได้เข้าไปล้างหน้าศพ เหมือนคนอื่นๆ ในขณะล้างหน้าศพของลุง ก็มองดูหน้าลุงปรากฏว่าเหมือนมีแสงสีเหลือง พวยฟุูงขึ้นมาใส่หน้า ในขณะนั้นมีสติสัมปชัญญะดี แต่ปรากฏว่าสีเหลืองที่เห็นยังอยู่ในความรู้สึกอยู่ มองเห็นอะไรก็ดูเหลืองซีดไป หมด ทั้งคนทั้งใบไม้ต้นไม้ก็ดูเหลืองไปหมด กลับมาถึงบ้านมองดูอะไรก็เหลืองซีดไปหมด จนมองดูอะไรก็ไร้ค่า ไปหมด ความรู้สึกเห็นเป็นบ้านร้างไปหมดไม่น่าอยู่ อยากจะไปให้ไกลๆ แต่ก็ไม่รู้จะไปไหน ในใจมีแต่ความสลด หดหู่ใจ มองดูทุกสิ่งทุกอย่างหาแก่นสารไม่มี ไม่มีอะไรที่มีความจําเป็นกับคนเราเลย อาการแบบนี้เป็นอยู่ ประมาณ ๑ อาทิตย์ ก็ค่อยๆ จางหายไป แล้วก็เป็นปกติ ๘. ช่วงวัยรุ่น ชอบไว้ผมยาว อยู่บ้านไม่ค่อยไปไหน ไม่เที่ยว ไม่ดื่มเหล้า ไม่สูบบุหรี่ ไม่เล่นการพนันทุกชนิด ในช่วงนี้มีอะไรหลายๆ อย่างที่ทําให้ชีวิตไม่เหมือนคนทั่วไป ทําในสิ่งที่คนอื่นทําไม่ได้ โดยเฉพาะการสื่อสารไป มาหาสู่กับอีกโลกหนึ่ง ซึ่งคนทั่วไปเรียกว่า โลกลี้ลับ (บังบด) ช่วยดูแลรักษาคนปุวยในความปุวยที่คุณหมอ รักษาไม่หาย แม้แต่กอไม้ไผ่ก็ยังเคยเข้าไปนั่งอยู่กลางกอไผ่ ซึ่งเป็นเรื่องที่คนธรรมดาทําไม่ได้ ผีปุา เจ้าที่ เจ้า ทางตรงไหนแรงๆ เช่น ดงหินอยู่ทางทิศใต้บ้านน้ําเขียว ซึ่งถือว่าแรงมาก ท่านทั้งหลายที่อยู่ที่นั่นท่านมาตามให้
  • 15. ไปอยู่ด้วย ไปเป็นลูกของท่าน มีคนในภพอีกภพหนึ่งมาอยู่ด้วย (ผีปุา) เป็นคนตัวสูงใหญ่เวลาไปไหนมาไหนเขา จะคอยติดตามไปด้วย เวลาคนจะเป็นอะไรจะรู้ก่อน เห็นก่อน สามารถมองเห็นผี (วิญญาณ) ด้วยตาธรรมดาได้ ขอยุติการเล่าไว้เท่านี้ก่อน เพราะรู้สึกว่าจะมากเกินไปแต่ที่จริงแล้วพิสดารมากกว่านี้ ถ้าใครอยากรู้ให้ลองทํา เอาเองก็แล้วกัน พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า อย่าพึ่งเชื่อ อยากรู้ให้ทําเอง เมื่อเจอแล้วค่อยเชื่อฯ. ๙. ความใฝุฝัน ตอนเป็นเด็กมีความใฝุฝันอยากบวชเป็นสามเณรเรียนหนังสือ เพราะมีเพื่อนหลายคนเขาบวช เรียนกัน หลวงลุงยา ท่านเคยมาขอแม่จะพาไปบวชเรียนหนังสือ แต่แม่บอกว่าไม่มีใครช่วยงานทางบ้าน แม่ก็ เลยไม่ให้ไป หลวงลุงสงสารน้องสาวท่านเลยไม่บังคับ เพราะหลวงลุงท่านเป็นคนสุภาพอ่อนโยน ก็เคยคิดเสมอ ว่าถ้าได้บวชจะเรียนหนังสือให้จบปริญญาให้ได้ จนถึงวัยครบบวชก็ได้บวชตามประเพณี ประจําหมู่บ้าน คือ วันเพ็ญ เดือน ๖ เป็นงานบวชนาคประจําปีของบ้านหนองบัวทุกปี ๑๐.หลังบวช มีศรัทธาอย่างแรงกล้า ได้มุ่งมั่นในการปฏิบัติกัมมัฏฐานอย่างจริงจัง นั่งสมาธิ เดินจงกรม อย่างต่อเนื่อง สม่ําเสมอ ตามลําพัง ไม่หลับไม่นอนจนอายุได้ ๒๓ ปี มีอยู่วันหนึ่งเวลาประมาณ ๕ โมงเย็น ได้ ตัดสินใจเดินไปหาพ่อแม่ที่บ้าน และถามท่านว่าพ่อกับแม่รักลูกมากขนาดไหน แม่ตอบว่า รักมากเท่าชีวิตของ พ่อของแม่นี้แหละ ถามต่อไปอีกว่าถ้ามีคนมาขอจะให้ได้ไหม แม่ถามว่าใครจะมาขอ ตอบท่านว่าลูกนี้แหละจะ ขอ แม่ถามว่า จะขอทําไมลูกก็เป็นลูกของพ่อของแม่อยู่ตลอดไป ตอบท่านว่า ลูกจะขอลูกชายของพ่อของแม่ ถวายพระรัตนตรัย ถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมะบูชา สังฆะบูชา จะได้ไหม พ่อกับแม่ไม่ตอบท่านทั้ง ๒ นั่งนิ่ง พูด กับท่านทั้ง ๒ ต่อว่า พ่อกับแม่มีสมบัติอะไรบ้างแบ่งให้พี่ๆ น้องๆ ให้หมดเถอะนะไม่ต้องเหลือไว้ให้อาตมา หรอก เพราะพ่อกับแม่ได้ให้สมบัติกับอาตมาแล้วคือ บาตร พ่อให้บาตร แม่ให้ผ้าไตร นี้แหละคือสมบัติที่ล้ําค่า ที่สุดที่พ่อกับแม่ให้ลูกมา ลูกจะขอให้สมบัติส่วนนี้เลี้ยงชีวิตต่อไป พ่อกับแม่ไม่ต้องห่วงลูกนะ ตอนนั้นพ่อกับแม่ ได้แต่นั่งนิ่ง พูดอะไรไม่ออก มีคุณปูานั่งฟังอยู่ด้วย คุณปูาทองมา ท่านพูดขึ้นว่า ลูกพูดแบบนี้ไม่ใช่ลูกจะไม่สึก หรือหล่า (หล่า คือ ภาษาอิสาน แปลว่า น้องหล่าหรือน้องคนเล็ก) หลังจากได้พูดกับพ่อแม่จบแล้ว ก็เดินกลับ วัด ตั้งใจปฏิบัติอย่างเอาเป็นเอาตาย ไม่ฉันอาหาร ฉันเฉพาะน้ํา จนหลวงพ่อโพธิ์ (พระครูปทุมพัฒนาภรณ์เจ้า คณะตําบลหนองบัวในปัจจุบัน) ท่านพูดว่า หมอเลขปากแดง หมอวินัยปากแห้ง ท่านว่าปฏิบัติเคร่งเกินไป ท่าน ถามว่า คุณไปเรียนหนังสือ คุณเอก คุณไปเรียนหนังสือไหม ถ้าคุณมาปฏิบัติแต่กัมมัฏฐานอยู่อย่างนี้ ถ้าคุณลา สึกไปคุณจะได้อะไร ถ้าคุณไปเรียนหนังสือเวลาสึกไปคุณยังได้วุฒิทางการศึกษาไปสมัครงานทํา ด้วยความ เคารพรักในครูบาอาจารย์เลยไม่ปฏิเสธ ไม่โต้แย้ง ไปสมัครเรียนตามคําแนะนําของท่านเรียนไปปฏิบัติไปก็ไม่ เป็นไร เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๑ มีการปฏิธรรมสัญจรในฤดูเข้าพรรษาทุกวันพระของคณะสงฆ์อําเภอท่าตูม โดยการ นําของพระครูประภัศร์คณารักษ์ เจ้าคณะอําเภอท่าตูม มีอยู่วันหนึ่งการปฏิบัติธรรมเวียนมาจัดที่วัดจําปาหนอง บัว ในตอนเย็นมีการทําวัตร สวดมนต์นั่งสมาธิ เจริญภาวนาและมีการเทศน์ประกอบการนั่งสมาธิไปด้วย ในวัน นั้นเอง หลวงพ่อพระครูประภัศร์คณารักษ์ ท่านประกาศในท่ามกลางที่ประชุมสงฆ์และญาติโยมเป็นอันมาก ว่า ในวันนี้นิมนต์ให้หลวงพี่เอกเทศน์ ความรู้สึกในตอนนั้น เหมือนฟูาผ่าลงกลางศีรษะเลย ตื่นเต้นมากเพราะเป็น พระบวชใหม่ด้วย พอระงับจิตใจลงได้ก็กราบคารวะประธานสงฆ์พร้อมหมู่สงฆ์ทั้งมวล ในวันนั้นเทศน์เรื่อง “กา กินซากช้าง” พอแสดงธรรมจบหลวงปูุธรรมรังสีท่านพูดว่า ได้ดีมากเหมาะกับการปฏิบัติมาก เป็นการเทศน์ ครั้งแรกในชีวิต และหลังจากนั้นมาก็ได้มีผู้มานิมนต์ไปเทศน์ในงานต่างๆ เรื่อยมาจนปัจจุบัน เทศน์คาถาพัน เทศน์แหล่อิสาน จนเป็นที่ยอมรับของพุทธศาสนิกชน เทศน์แหล่อิสานอยู่หลายปี มีอยู่วันหนึ่งในขณะที่นั่ง เทศน์แหล่อยู่เกิดความสลดใจน้ําตาไหลสงสารตัวเอง ทําไมเราถึงได้มาหลงอยู่กับการขับเสียงยาวทํานองแหล่