SlideShare a Scribd company logo
1 of 13
Download to read offline
ชัชวาล วงค์สารี, เรณู อาจสาลี / Chutchavarn Wongsaree, Renoo Assalee
132... 	 วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย ปีที่ 9 ฉ.2 ก.ค.-ธ.ค. 59
ประสบการณ์การได้รับการสนับสนุนทางสังคมในผู้ป่วยไตวาย
เรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม*
Experience of Using Social Support in End Stage
Renal Disease Patients Receiving Hemodialysis*
ชัชวาล วงค์สารี ** เรณู อาจสาลี***
Chutchavarn Wongsree**, Renoo Assalee***
* 	 การศึกษานี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจาก มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ปีการศึกษา 2557
* 	 This Study was supported by Western University, 2014
**	 Corresponding author, อาจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ กาญจนบุรี มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
	 E-mail: nutt_chut@hotmail.com
** 	Corresponding author, Instructor, Faculty of Nursing, Kanchanaburi, Western University.
	 E-mail: nutt_chut@hotmail.com
*** 	รองศาสตราจารย์, คณะพยาบาลศาสตร์ กาญจนบุรี มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
*** 	Associate Professor, Faculty of Nursing, Kanchanaburi, Western University.
บทคัดย่อ
	 การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์การได้รับการสนับสนุนทางสังคมในผู้ป่วย
ไตวายระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม การวิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบปรากฏการณ์
วิทยา ตามแนวคิดของ Edmund Husserl ผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 18 คนแบ่งเป็นผู้ป่วยที่รักษาด้วยการฟอก
เลือดด้วยเครื่องไตเทียม จำ�นวน 12 คนและญาติที่ดูแล 6 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบ
เจาะลึก ตั้งแต่ 1 สิงหาคม ถึง 31 ตุลาคม 2557 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา	
	 ผลการศึกษา พบ 3 ประเด็นหลัก ดังนี้ 1. ด้านปัญหา คือ ค่าใช้จ่ายสูงและต้องจ่ายอย่างต่อ
เนื่อง ขาดบุคคลที่ให้คำ�ชี้แนะการใช้สิทธิการรักษา ขาดผู้ดูแล ผู้ป่วยไม่ควบคุมการรับประทานอาหาร ความทน
ในการทำ�กิจกรรมลดลง 2. ด้านความต้องการ คือ การช่วยเหลือค่าใช้จ่าย การแนะนำ�วิธีการใช้สิทธิการรักษา
การให้ความรู้ทางสุขภาพ 3. ด้านการได้รับการดูแลด้านอาหารและยา 	
	 ข้อเสนอแนะ หน่วยบริการการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมควรจัดบริการให้การปรึกษาที่เป็น
รูปแบบเกี่ยวกับการเข้าถึงสิทธิการรักษาของผู้ป่วย การให้ข้อมูลอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มความรู้แก่ผู้ป่วย
และผู้ดูแล
คำ�สำ�คัญ: 	ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ประสบการณ์ การสนับสนุน
	 ทางสังคม
ประสบการณ์การได้รับการสนับสนุนทางสังคมในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
Experience of Using Social Support in End Stage Renal Disease Patients Receiving Hemodialysis
วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย ปีที่ 9 ฉ.2 ก.ค.-ธ.ค. 59 ...133
Abstract
	 This qualitative research aimed to explore experience of social support in end stage
renal disease patients receiving hemodialysis. Phenomenological method of Edmund Husseri
was applied as the research methodology. The eighteen informants comprised twelve
patients and six caregivers. Data were collected through in-depth interviews, since August
1 to October 31, 2014. Content analysis was used in this study.
	 The findings consisted of 3 major factors as follows: 1) Problems-highly cost for
hemodialysis and required a continuing heathcare costs, lack of individual guidance for
health insurance rights, lack of caregiver, uncontrol diet, and decreased endurance in activity
2) Demands- supporting healthcare cost, advising health insurance rights, and providing
comprehensive health education 3) Nutrition and medication management
	 Research suggestions are that the hemodialysis unit should provide counseling
about health insurance rights for end stage renal disease patients, and continuingly support
in formation for patients and caregivers.
Keywords: end stage renal disease, hemodialysis, experience, social support
ความเป็นมาและความสำ�คัญของปัญหา
	 โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย (End stage
renal disease) เป็นโรคที่เกิดจาการสูญเสียหน้าที่
ของไตไปอย่างช้าๆ และดำ�เนินไปอย่างต่อเนื่องจน
เกิดการสูญเสียหน้าที่อย่างถาวรของไตทั้งสองข้าง
โดยมีหลักฐานการตรวจการทำ�งานของไตว่ามี
พยาธิสภาพที่ไต โดย Glomerular filtration rate
(GFR) น้อยกว่า 15 มิลลิลิตร/นาที/1.73 ตาราง
เมตร(1)
ทำ�ให้ร่างกายไม่สามารถขับของเสียออกได้
จึงเกิดการคั่งของของเสียและภาวะน้ำ�เกินตามมา
ก่อให้เกิดความไม่สุขสบายและภาวะแทรกซ้อน
ต่างๆ กับร่างกาย อาทิ เช่น ความดันโลหิตสูง
ตัวบวม หายใจลำ�บาก คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร
จนกระทั้งเกิดการคั่งของๆ เสียอย่างรุนแรง ผู้ป่วย
จะซึม สับสน ชักและหมดสติตามมาได้(2)
การรักษา
มักเป็นการรักษาแบบประคับประคองโดยใช้
เทคโนโลยีขั้นสูงทางการแพทย์
	 โรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายเป็นปัญหาทางด้าน
สาธารณสุขที่สำ�คัญทั่วโลก ในประเทศสหรัฐอเมริกา
มีจำ�นวนผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับ
การบำ�บัดทดแทนไตจากปี 2000 ซึ่งมีจำ�นวน
340,000 ราย เพิ่มเป็น 817,100รายในปี 2009(3)
ซึ่งจำ�นวนผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับ
การบำ�บัดทดแทนไตเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดดและ
ยังพบว่าเป็นสาเหตุการตายอันดับที่ 9 ของประเทศ
อีกด้วย(1)
ในประเทศไทยพบว่ามีผู้ป่วยโรคไตวาย
เรื้อรังสะสมอยู่ 8 ล้านคน โดยมีผู้ป่วยรายใหม่
ปีละประมาณ 10,000 คน และมีแนวโน้มสูงขึ้น
อย่างต่อเนื่องทุกปี และในจำ�นวนนี้เป็นผู้ป่วยไตวาย
เรื้อรังระยะสุดท้ายที่ต้องบำ�บัดทดแทนไตจำ�นวน
ชัชวาล วงค์สารี, เรณู อาจสาลี / Chutchavarn Wongsaree, Renoo Assalee
134... 	 วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย ปีที่ 9 ฉ.2 ก.ค.-ธ.ค. 59
40,000 คน แบ่งเป็นรักษาด้วยการฟอกเลือดด้วย
เครื่องไตเทียม 30,000 คน ล้างไตทางหน้าท้อง
7,000 คน และผ่าตัดปลูกถ่ายไต 3,000 คน(4)
ซึ่ง
ค่าใช้จ่ายในกลุ่มที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมมีค่า
ใช้จ่ายค่อนข้างสูงประมาณ 300,000-350,000
บาทต่อคนต่อปี(5)
หรือปีละประมาณ 4-6 พันล้าน
จากผู้ป่วยทั่วประเทศ(4)
ในปี พ.ศ.2556 สำ�นักงาน
ประกันสุขภาพแห่งชาติได้จัดสรรงบประมาณใน
การดูแลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย จำ�นวน
4,357 ล้านบาท ซึ่งเป็นจำ�นวนเงินที่สูงมาก ข้อมูล
วันที่ 31 มกราคม 2556 มีผู้ป่วยไตวายระยะ
สุดท้ายที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมโดยใช้สิทธิ
ประกันสุขภาพถ้วนหน้า จำ�นวน 10,737 คน(6)
ซึ่ง
เป็นจำ�นวนที่สูงขึ้น จากสถิติการเกิดโรคไตเรื้อรัง
ข้างต้นเป็นที่คาดการณ์ได้ว่า ประเทศไทยซึ่งเป็น
ประเทศที่กำ�ลังพัฒนาต้องประสบกับจำ�นวนผู้ป่วย
โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายเพิ่มมากขึ้น มีผู้ป่วย
ที่ต้องฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมมากขึ้นและสูญเสีย
งบประมาณการบริหารประเทศมาจัดสรรการบริการ
สาธารณสุขด้านนี้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
	 เมื่อเข้าสู่ระยะสุดท้ายของโรคผู้ป่วยจำ�เป็น
ต้องได้รับการบำ�บัดทดแทนไตอย่างรวดเร็วและต่อ
เนื่องซึ่งเป้าหมายของการรักษาในระยะนี้ เป็นเพียง
การช่วยปรับสภาพสมดุลน้ำ�ในเซลล์และน้ำ�นอก
เซลล์ที่ผิดปกติกลับสู่ภาวะปกติให้เซลล์ทำ�หน้าที่ได้
ตามปกติ และเน้นการแก้ไขความไม่สมดุลของ
เกลือแร่ ระดับของเสียที่สะสมในร่างกาย ในผู้ป่วย
ที่ได้รับการบำ�บัดทดแทนไตไม่เพียงพอจะทำ�ให้ผู้ป่วย
มีการเจ็บป่วยรุนแรงมากขึ้นและเสียชีวิตในที่สุด(7)
อย่างไรก็ตามโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายไม่สามารถ
รักษาให้หายขาดได้ การรักษาจึงเป็นการประคับ
ประคองสภาพการทำ�งานของร่างกายให้เป็นปกติ
มากที่สุด ซึ่งในปัจจุบันมีวิธีการบำ�บัดทดแทนไต
3 วิธี ได้แก่ การผ่าตัดปลูกถ่ายไต (Renal replace-
ment therapy: KT) การล้างไตทางหน้าท้อง
(Continuous ambulatory peritoneal dialysis:
CAPD) และการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
(Hemodialysis: HD) ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับความนิยม
มากที่สุด ซึ่งเป็นวิธีแรกที่อายุรแพทย์โรคไตเลือก
ใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยหอบ บวมมาก
ของเสียคั่งจนแสดงอาการ คันตามตัว เบื่ออาหาร
คลื่นไส้อาเจียนและนอนไม่หลับ ซึ่งเป็นวิธีที่สะดวก
สำ�หรับผู้ป่วย คิดเป็นร้อยละ 75(4)
	 การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมเป็นการ
รักษาผู้ป่วยด้วยวิธีการกรองของเสียออกจากเลือด
โดยใช้เครื่องไตเทียมในการดึงน้ำ�และของเสียออก
จากตัวผู้ป่วย(8)
เป็นวิธีที่พยาบาลไตเทียมบริการให้
สะดวกในเรื่องการรับบริการของผู้ป่วยหลังการฟอก
เลือดด้วยเครื่องไตเทียมจะพบว่าระดับน้ำ�ส่วนเกิน
ในตัวผู้ป่วย ความเป็นกรดของเลือดและเกลือแร่ที่
สะสมจะลดลงอย่างชัดเจน แต่การฟอกเลือดใน
ช่วงเวลาหนึ่งจะไม่สามารถควบคุมความเป็นกรด
ของเลือด ความสมดุลของน้ำ�และเกลือแร่ใน
ร่างกายได้ตลอดไปจำ�เป็นต้องฟอกเลือดด้วยเครื่อง
ไตเทียมอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2- 3 ครั้ง ระบบต่างๆ
จึงจะคงสภาวะปกติและเกิดความเพียงพอในการ
บำ�บัดทดแทนไต(9)
การรักษาดังกล่าวช่วยให้คุณภาพ
ชีวิตผู้ป่วยดีขึ้น
	 โรคไตวายเรื้อรังเป็นภาวะคุกคามทางสุขภาพ
ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและ
เศรษฐกิจเป็นโรคที่ไม่มีทางรักษาให้หายขาด ต้อง
เสียค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง มีผลกระทบอย่างมาก
ต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ผู้ป่วยมักมีร่างกาย
ทรุดโทรมจากภาวะขาดสารอาหาร มีโอกาสเกิด
ประสบการณ์การได้รับการสนับสนุนทางสังคมในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
Experience of Using Social Support in End Stage Renal Disease Patients Receiving Hemodialysis
วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย ปีที่ 9 ฉ.2 ก.ค.-ธ.ค. 59 ...135
ภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย เช่น ภาวะน้ำ�เกิน การ
ติดเชื้อ และการอุดตันของเส้นเลือดที่ผ่าตัดต่อ
สำ�หรับการฟอกเลือด เป็นต้น(10)
ผู้ป่วยมักมี
ความเครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า ท้อแท้ สิ้นหวัง
จากการศึกษาของ เกียเซอร์และคณะ(11)
พบว่า
ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่รับการฟอกเลือดด้วย เครื่องไต
เทียมมีความเหนื่อยล้าร้อยละ 41 การดำ�เนินชีวิต
การงานเปลี่ยนไป ภาวะของโรคทำ�ให้มีข้อจำ�กัดใน
การประกอบอาชีพ ทำ�ให้ขาดรายได้หรือรายได้ลด
ลง บางรายต้องลาออกจากงาน ทำ�ให้มีปัญหาทาง
ด้านเศรษฐกิจ ในขณะที่ผู้ป่วยต้องเสียค่าใช้จ่ายใน
การรักษาสูงประมาณ 20,000-30,000 บาทต่อ
เดือนและต้องรักษาตลอดไป การคงภาวะสุขภาพ
และการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆผู้ป่วย
จำ�เป็นต้องดูแลและสนใจสุขภาพของตนเองอย่าง
สม่ำ�เสมอ ต้องมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม
ต้องมารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ต้องบรรเทา
ความเครียด และมีกำ�ลังใจในการต่อสู้กับความเจ็บ
ป่วยและปัญหาต่างๆ การได้รับการสนับสนุนจาก
ครอบครัวและสังคมจึงเป็นสิ่งสำ�คัญสำ�หรับผู้ป่วย
	 ผลการศึกษา พบว่า การได้รับแรงสนับสนุน
จากครอบครัวมีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยมีอารมณ์ที่มั่นคง
รู้สึกอบอุ่น เกิดความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง มี
กำ�ลังใจในการต่อสู้กับปัญหาและการปรับตัวในด้าน
ต่างๆ และลดความตึงเครียดจากปัญหาที่ประสบ
อยู่(12)
รวมถึงมีการประเมินปัญหาและหาหนทาง
จัดการกับปัญหาและความต้องการนั้นๆ ได้เป็น
อย่างดี และยังพบว่า การสนับสนุนทางสังคมมี
ความสัมพันธ์ทางบวกกับความรู้สึกพึงพอใจในชีวิต
ของผู้ป่วย การศึกษาในประเทศไทยให้ผลสอดคล้องกัน
คือ การที่ผู้ป่วยได้รับแรงสนับสนุนจากครอบครัว
ในการดูแลเอาใจใส่ เป็นห่วงเป็นใย ให้กำ�ลังใจ ต่อ
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ช่วยให้ผู้ป่วยเกิดความ
รู้สึกอบอุ่น ปลอดภัย คลายทุกข์ใจ(13)
ในหน่วย
ไตเทียมที่ทำ�การศึกษาครั้งนี้พบว่ามีการได้รับแรง
สนับสนุนทางสังคมหลายรูปแบบตามความแตกต่าง
ของผู้ป่วยแต่ละคน เช่น การได้รับค่าใช้จ่ายที่
เกี่ยวข้องกับการฟอกเลือด การเข้าถึงสิทธิการรักษา
การได้รับการอำ�นวยความสะดวกจากหน่วยงานที่
เกี่ยวข้อง การได้รับความรู้ที่เป็นแบบแผน ซึ่งจะ
แตกต่างกันตามประสบการณ์ของผู้ป่วยและผู้ดูแล
แต่ละคนผนวกกับการศึกษาเชิงคุณภาพที่ศึกษา
การสนับสนุนทางสังคมของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง
ระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
มีค่อนข้างน้อย ผู้วิจัยในฐานะบุคลากรทางการ
แพทย์จึงมีความสนใจที่จะศึกษาการสนับสนุนทาง
สังคมของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับ
การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ตามการรับรู้ของ
ผู้ป่วยและครอบครัว ตลอดจนปัญหาและความ
ต้องการการสนับสนุนทางสังคมของผู้ป่วย เพื่อให้
เกิดความเข้าใจและเป็นแนวทางในการส่งเสริมการ
สนับสนุนทางสังคมและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย
กลุ่มนี้ต่อไป
วัตถุประสงค์
	 เพื่อศึกษาประสบการณ์การได้รับการสนับสนุน
ทางสังคมของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้
รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
วิธีดำ�เนินการวิจัย
	 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพตามแนวคิด
ปรากฏการณ์วิทยาของ Edmund Hesserl(14)
เพราะมีความเหมาะสมกับการศึกษาประสบการณ์
ความเจ็บป่วย ที่มีข้อมูลเชิงลึกหลายแง่มุม รวมทั้ง
ชัชวาล วงค์สารี, เรณู อาจสาลี / Chutchavarn Wongsaree, Renoo Assalee
136... 	 วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย ปีที่ 9 ฉ.2 ก.ค.-ธ.ค. 59
เป็นแนวทางการศึกษาที่ทำ�ความเข้าใจความเป็น
จริงจากสิ่งที่ตัวผู้ป่วยให้ความสำ�คัญถ่ายทอดแปล
ความหมายออกให้ได้รับรู้(15)
ผู้ให้ข้อมูล
	 ผู้ให้ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้ป่วย
ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วย
เครื่องไตเทียม ที่หน่วยไตเทียม โรงพยาบาลเอกชน
แห่งหนึ่ง จำ�นวน 12 ราย และสมาชิกในครอบครัว
หรือญาติผู้ดูแลผู้ป่วย 6 ราย ดำ�เนินการวิจัยในช่วง
เวลา ตั้งแต่ 1 สิงหาคม ถึง 31 ตุลาคม 2557
เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sam-
pling) โดยกำ�หนดคุณสมบัติของกลุ่มตัวอย่างดังนี้
	 1. เป็นผู้ที่อายุรแพทย์โรคไตวินิจฉัยว่าเป็น
โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ต้องรักษาด้วยการ
ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่หน่วยไตเทียม
โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งมากกว่า 1 ปีขึ้นไป ไม่
จำ�กัดเพศและอายุ
	 2. 	เป็นสมาชิกของครอบครัวที่ดูแลผู้ป่วยโรค
ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วย
เครื่องไตเทียมมากกว่า 1 ปีขึ้นไป
	 3. 	สามารถเข้าใจภาษาไทยได้ดี ไม่มีปัญหา
ทางการได้ยิน สื่อสารได้ไม่สับสนอยู่สถานภาพที่ให้
ข้อมูลได้ และไม่มีความผิดปกติทางด้านจิตใจมาก่อน
	 4. ยินดีให้ความร่วมมือในการศึกษา
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
	 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็น
แนวคำ�ถามการสัมภาษณ์ แนวคำ�ถามการสนทนา
กลุ่ม และแบบสังเกตที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองซึ่งได้
พัฒนาขึ้นจากเอกสารและงานวิจัย และได้ผ่าน
ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่านตรวจสอบความเหมาะสม
ซึ่งมีรายละเอียดแนวคำ�ถามการสัมภาษณ์ผู้ป่วย
ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วย
เครื่องไตเทียม มี 2 ส่วน ดังนี้
	 ส่วนที่ 1	ข้อมูลทั่วไป ได้แก่ เพศ อายุ
สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้
ส่วนตัว ผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรักษา ผู้ดูแล
ขณะเจ็บป่วย ระยะเวลาที่เจ็บป่วย ระยะเวลาที่ได้
รับการรักษา ระยะห่างในการมารับการฟอกเลือด
ด้วยเครื่องไตเทียม และโรคประจำ�ตัว	
	 ส่วนที่ 2	แนวสัมภาษณ์เชิงลึก โดยมีคำ�ถาม
หลักที่สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูล คือ “ท่านได้รับการ
สนับสนุนหรือช่วยเหลือที่เกี่ยวกับการฟอกเลือด
อย่างไรบ้าง” คำ�ถามหลักที่สัมภาษณ์ผู้ดูแล คือ
“ท่านได้ให้การสนับสนุนหรือช่วยเหลือผู้ป่วยที่เกี่ยว
กับการฟอกเลือดแก่ผู้ป่วยอย่างไรบ้าง”
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลวิจัยและการ
พิทักษ์สิทธิผู้ให้ข้อมูล
	 ภายหลังได้รับการพิจารณาจริยธรรมในการ
ศึกษาวิจัยในมนุษย์ของโรงพยาบาลที่ทำ�การศึกษา
เลขที่ ท 05/2557 ผู้วิจัยได้เข้าพบผู้ให้ข้อมูลและ
ให้รายละเอียดในการทำ�วิจัยแก่ผู้ให้ข้อมูลทราบ
ให้เซ็นใบยินยอมเข้าร่วมวิจัย โดยเก็บรวบรวมข้อมูล
ตามวันและรอบของการนัดฟอกเลือดของผู้ให้ข้อมูล
แต่ละราย โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก การบันทึก
เสียงขณะสัมภาษณ์ร่วมกับการสังเกต ผู้วิจัย
สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลรายละ 1-2 ครั้งๆ ละ 30-45
นาที การสัมภาษณ์ทั้งหมดเกิดขึ้นในสถานที่สงบ
มีความเป็นส่วนตัวและสะดวกต่อผู้ให้ข้อมูล และ
ดำ�เนินการสนทนากลุ่ม ผู้เข้าร่วมกลุ่มคือผู้ดูแล
ประสบการณ์การได้รับการสนับสนุนทางสังคมในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
Experience of Using Social Support in End Stage Renal Disease Patients Receiving Hemodialysis
วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย ปีที่ 9 ฉ.2 ก.ค.-ธ.ค. 59 ...137
ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอก
เลือดด้วยเครื่องไตเทียม 6 คน โดยจะจัดให้นั่ง
สนทนาในที่ที่ไม่มีคนพลุกพล่าน ไม่เป็นที่เร้นลับ
เมื่อนั่งที่เรียบร้อยแล้ว ผู้วิจัยเริ่มต้นสนทนาโดยแจ้ง
วัตถุประสงค์ในการวิจัย ชี้แจงประเด็นคำ�ถามที่จะ
สนทนาในครั้งนี้อย่างชัดเจนพร้อมทั้งขออนุญาต
บันทึกเสียงขณะสนทนา ในกระบวนการสัมภาษณ์
ผู้วิจัยถามย้ำ�เพื่อตรวจสอบความเข้าใจของผู้วิจัย
และผู้ให้ข้อมูล เป็นระยะๆ
	 การวิเคราะห์ข้อมูล
	 1) การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นเป็นการ
วิเคราะห์ข้อมูลขณะทำ�การสัมภาษณ์เพื่อใช้สร้าง
คำ�ถามต่อเนื่องในระหว่างการสนทนา และวิเคราะห์
ความสมบูรณ์ของข้อมูลจากการถอดเทปบันทึก
เสียงทันทีภายหลังการสัมภาษณ์เสร็จสิ้น
	 2) วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสรุปประเด็นตาม
แนวคิดของ Edmund Husserl ซึ่งมีขั้นตอนโดย
สังเขป ดังนี้ จัดระบบข้อมูลและแยกประเภทของ
ข้อมูลเป็นหมวดหมู่ ทำ�ดรรชนีเชิงบรรยาย ดรรชนี
เชิงตีความ และดรรชนีเชิงอธิบาย ในสถานการณ์
ต่างๆ ปัญหาและความต้องการการสนับสนุนทาง
สังคม ใส่รหัส (code) สำ�หรับอ้างอิง หรือค้นข้อมูล
โดยให้รหัสตามประเภทของข้อมูล ตีความ (inter-
pretation) โดยดึงความหมายออกจากข้อมูลที่มีอยู่
โดยการตีความแบ่งออกเป็น การตีความเชิง
บรรยายเพื่ออธิบายองค์ประกอบ สถานการณ์
ความเป็นมาของปัญหาของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะ
สุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
และครอบครัว และการตีความแบบสร้างความ
สัมพันธ์ เป็นการให้ภาพของปรากฏการณ์ว่ามี
แบบแผนอย่างไร เกิดขึ้นได้อย่างไร และสร้างข้อ
สรุป โดยตีความจากข้อมูลที่ได้รับ หาความเชื่อม
โยง ตรวจสอบข้อสรุปให้ตรงกับข้อมูลที่สัมภาษณ์
ผลการวิจัย
	 ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ฟอกเลือด
ด้วยเครื่องไตเทียม มีอายุอยู่ในช่วง 27-42 ปี
(เฉลี่ย 36.2 ปี) เป็นเพศชาย 6 คน เพศหญิง 6
คน ระยะเวลาการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมอยู่
ระหว่าง 2-9 ปี ทั้งหมดสัญชาติไทย เชื้อชาติ
ไทยและนับถือศาสนาพุทธ ภูมิลำ�เนาอยู่ในเขต
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล การศึกษาระดับ
มัธยมศึกษา 1 ราย อนุปริญญา 5 ราย ปริญญาตรี
6 ราย ส่วนผู้ดูแลเป็นญาติที่ดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้มา
ต่อเนื่องอายุอยู่ในช่วง 25-56 ปี (เฉลี่ย 40.6 ปี)
เป็นผู้ชาย 3 คน ผู้หญิง 3 คน มีความสัมพันธ์กับ
ผู้ป่วยที่ดูแลในฐานะลูก 2 คน ฐานะภรรยา 3 คน
และฐานะแม่ 1 คน ผู้ป่วยและญาติมีการใช้มิติ
การสนับสนุนทางสังคมที่ต่อเนื่องอย่างแยกออก
จากกันไม่ได้ ซึ่งผู้ป่วยได้รับการช่วยเหลือจาก
ครอบครัวและองค์กรที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง อาจ
เกิดจากการร้องขอหรือไม่ร้องขอของผู้ป่วยก็ตาม
การดำ�เนินชีวิตของผู้ป่วยและญาติกลุ่มนี้จึงมีความ
สัมพันธ์กันในบริบทการสนับสนุนทางสังคม ซึ่งสามารถ
แบ่งข้อค้นพบออกเป็น 3 ด้าน ดังนี้ 1. ด้านปัญหา
ของผู้ป่วย 2. ด้านความต้องการ 3. ด้านการได้รับ
การดูแล ดังนี้
	 1.	ด้านปัญหาของผู้ป่วย
		 1.1	ค่าใช้จ่ายสูงและต้องจ่ายอย่างต่อ
เนื่อง ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ให้ข้อมูลว่าค่าใช้จ่ายที่
เกี่ยวเนื่องกับการรักษาด้วยการฟอกเลือดด้วย
เครื่องไตเทียมและค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งค่ายา
ที่ใช้ในการรักษา ค่าเดินทาง ในแต่ละครั้งที่มาฟอก
ไตต้องจ่ายตลอดและต่อเนื่อง ผู้ดูแลผู้ป่วยเห็นว่า
ชัชวาล วงค์สารี, เรณู อาจสาลี / Chutchavarn Wongsaree, Renoo Assalee
138... 	 วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย ปีที่ 9 ฉ.2 ก.ค.-ธ.ค. 59
ค่าใช้จ่ายค่อนข้างมากและค่อนข้างเป็นปัญหา แต่
ก็ไม่อยากให้ผู้ป่วยรับทราบเพราะจะทำ�ให้เกิดความ
กังวลใจ ดังคำ�กล่าวของผู้ให้ข้อมูลที่ว่า
	 “ผู้ป่วยคนที่ 2: ไหนค่ารถ ไหนค่าล้าง ไหน
ลางานวันๆ นี่ค่ารถแพงกว่าค่าล้างอีกนะ บ้านอยู่
พระราม 2 ไปกลับก็ 400 บาท ค่าฟอกเลือด 350
บาท/วัน ฟอกเลือด 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เดือนหนึ่งๆ
รวมค่าใช้จ่ายไม่ต่ำ�กว่า 20,000 ที่ฟอกเลือดใกล้ๆ
บ้านก็ไม่มี สถานที่บริการด้านนี้มันน้อยอ่ะ มันไม่มี
คิวฟอก รัฐบาลทุกโรงพยาบาลน่าจะเปิดบริการ มัน
ไม่สะดวกอ่ะ อย่างเดือนนึ่งๆ 12 ครั้ง 400 เดือน
นึ่งสี่พันห้าพันล้างมา 4 ปี กว่าแล้ว” (P3-2-
50*53)	
	 “ผู้ป่วยคนที่ 10: ตอนแรกที่เริ่มฟอกเลือด
ใหม่ๆ ยังพอทำ�งานได้ แต่พอฟอกมาได้ประมาณ
5 ปี เริ่มรู้สึกว่าร่างกายเหนื่อยง่าย จำ�เป็นต้องหยุด
ทำ�งานประจำ�แต่จะหยุดฟอกเลือดคงไม่ไหว
ครอบครัวจึงต้องช่วยหาเงินมาเพื่อเป็นค่าฟอก
เลือดของตน” (P12-10-25*28)
	 “ญาติคนที่ 1..............ปัญหาคือค่าใช้จ่ายที่เกิด
ขึ้นอย่างต่อเนื่องและยาวนานจ่ายเพิ่มครั้งละ
500 บาท/ครั้ง ช่วงแรกเหมือนจะสู้ไหวพักหลังต้อง
ขอเงินจากลูกๆ เพื่อเป็นค่ารักษา แต่ก็ไม่อยากจะ
ให้เขา (ผู้ป่วย) ทราบหรอกว่ามีปัญหาเรื่องนี้ ไม่
อยากให้กังวลใจ” (F1-14-407)
	 “ญาติคนที่ 3...............ค่าใช้จ่ายเยอะสิทธิที่ใช้
คือประกันสังคม จ่ายให้ 1,500 บาท แต่ก็ต้องจ่าย
ส่วนเกินอยู่ดี บางครั้งหาเงินไม่ทันต้องลดจำ�นวน
ครั้งฟอกเลือดลงเอง” (F1-5-102)
	 “ญาติคนที่ 5..............ค่าใช้จ่ายคือเรื่องใหญ่
เหนื่อยใจแต่ต้องสู้ ก็คิดว่าจะสู้ให้ถึงที่สุด”
(F1-14-411)
	 1.2	ขาดบุคคลให้คำ�ชี้แนะการใช้สิทธิ ซึ่ง
เป็นปัญหาด้านการสนับสนุนข้อมูลโดยผู้ให้ข้อมูล
ส่วนใหญ่ให้ข้อมูลว่าไม่มีหน่วยงานหรือบุคคลใน
การให้ความรู้ คำ�แนะนำ�ต่างๆ เกี่ยวกับการปฏิบัติ
ตัวและแนวทางการรับบริการ บางคนกล่าวว่าหาก
มีหน่วยงานหรือมีบุคลากรให้คำ�แนะนำ�ในเรื่อง
เหล่านี้จะช่วยได้อย่างมากไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึง
สิทธิ การเลือกช่องทางในการรับบริการที่ถูกต้อง
บางรายกล่าวว่าบางครั้งมีคำ�ถามที่ต้องขอคำ�แนะนำ�
แต่ดูเหมือนเจ้าหน้าที่ไม่ว่างจึงไม่อยากรบกวน
ด้วยดังคำ�กล่าวของผู้ให้ข้อมูลที่ว่า
	 “ผู้ป่วยคนที่ 1: ไม่มี ไม่มีเจ้าหน้าที่มาให้
ข้อมูล สำ�หรับเรานะหาแหล่งข้อมูลอ่านเอง พอมี
คอลัมน์เกี่ยวกับไตก็จะอ่านเอง เจ้าหน้าที่ก็พื้นๆ
คงไม่นั่นพอถ้าเป็นคนอื่นไม่อ่าน เจ้าหน้าที่ก็ ก็คง
ไม่มีอะไร ไม่มีอะไรพิเศษที่จะแนะนำ�เป็นพิเศษอ่ะ”
(P3-1-26*30)
	 “ผู้ป่วยคนที่ 7 : ......หากมีเจ้าหน้าที่คอยดูแล
ให้คำ�แนะนำ�อย่างต่อเนื่องคงเลือกรับบริการที่สะดวก
มากขึ้น แต่นี่ไม่มี ไม่มีเลยต้องถามโดยดูอารมณ์
ก่อน จึงจะได้คำ�ตอบมา” (P7-7-44*45)
	 “ผู้ป่วยคนที่ 5 : บางครั้งก็มีเรื่องที่อยากจะ
ถามเกี่ยวกับการปฏิบัติตัว แต่ดูเหมือนเจ้าหน้าที่
ยุ่งๆจึงไม่กล้าถาม ไม่อยากรบกวนแต่ก็มีบางครั้งที่
ตัดสินใจถามเพื่อให้ได้คำ�ตอบ......อยากให้มีหน่วยให้
คำ�แนะนำ� มีเจ้าหน้าที่ที่รู้เรื่องรับผิดชอบให้คำ�
แนะนำ�” (P8-5-36*37)
	 1.3	ขาดผู้ดูแล ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ให้ข้อมูล
ว่า ผู้ดูแล ไม่ค่อยมีเวลามาดูแลผู้ป่วย ผู้ป่วยบาง
รายบอกว่าตนไม่ได้แต่งงานก็จะดูแลตนเองเป็น
หลักและยังมีญาติอีกส่วนหนึ่งที่ดูแลบ้าง ผู้ป่วยบาง
รายกล่าวว่าหลังฟอกเลือดกลับไปก็เหนื่อยต้องดูแล
ประสบการณ์การได้รับการสนับสนุนทางสังคมในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
Experience of Using Social Support in End Stage Renal Disease Patients Receiving Hemodialysis
วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย ปีที่ 9 ฉ.2 ก.ค.-ธ.ค. 59 ...139
ตนเองบางครั้งคิดว่าเป็นเวรกรรมแต่ก็อดคิดไม่ได้
ว่าทำ�ไมไม่มีใครมาดูแลด้วย ดังคำ�กล่าวของผู้ให้
ข้อมูลที่ว่า
	 “ผู้ป่วยคนที่ 2..............ลูกไม่ค่อยมาดูหรอกเขา
มีงานของเขาไม่ค่อยจะว่าง บางครั้งก็คิดนะว่าเรา
น่าจะมีลูกมาดูแลเหมือนคนอื่นๆ เวลาเหนื่อยล้า
จะได้มีคนอยู่ใกล้ๆ คิดถึงลูก....” (P2-3-74)
	 “ผู้ป่วยคนที่ 4 ญาติอยู่คนละที่ไกลกันไม่ค่อย
ได้มาดูแล เขาจะมารับ-ส่งเฉพาะวันฟอกเลือด
ส่วนมากอยู่คนเดียวเคยคิดเหมือนกันว่าอยากให้ลูก
หลานมาอยู่ใกล้ๆ จะเป็นอะไรไปเมื่อไหร่ก็ไม่รู้”
(P4-16-270*273)
	 “ญาติคนที่ 6..............อย่างบางทีผู้ป่วยที่มารอ
ฟอกเลือดก็พูดว่าอยากตายดีกว่าจะได้ตายๆไป
หมดเวรหมดกรรม ไหนๆก็ไม่มีใครไม่รู้จะฟอกต่อ
เพื่ออะไร” (F6-18-450*453)
	 1.4		ผู้ป่วยไม่ควบคุมการรับประทานอาหาร
ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ให้ข้อมูลว่าอาหารก็พยายามที่
จะควบคุมตามที่พยาบาลบอก แต่บางครั้งต้องซื้อ
รับประทานที่ซอยหน้าบ้าน สั่งตามสูตรที่ไม่เค็ม ไม่
ใส่ผงชูรสแต่บางครั้งก็เค็มอยู่ดีแต่ต้องรับประทาน
เพื่อความอยู่รอด บางรายให้ข้อมูลว่าซื้ออาหารถุง
ที่วางขายราคาถูกดีอาหารที่พยาบาลแนะนำ�ดูแล้ว
ราคาแพงแต่หากมีโอกาสก็จะซื้อรับประทาน ดังคำ�
กล่าวของผู้ให้ข้อมูลที่ว่า
	 “ผู้ป่วย คุมฟอสเฟตไม่ได้ ชอบกินซอกโกแล็ต”
( P2-7-171)
	 “ญาติ เราก็เลี่ยงอาหารที่หมอห้ามแต่ก็ยาก
เพราะแกต้องอยู่บ้านคนเดียว บางวันต้องซื้อรับ
ประทานที่ซอยหน้าบ้านสั่งตามสูตรที่ไม่เค็ม ไม่ใส่
ผงชูรส แต่เราก็ไม่รู้ว่าเขาทำ�ยังไงบ้าง ไม่ใส่ตามที่
เราสั่งรู้เปล่า…”( F1-4-99)
	 “ญาติ เราคนปกติก็กินได้หมดเวลาเรากินเขา
ก็บอกขอซิมด้วย ซิมนั่นก็ซิมนิดๆหน่อยๆรู้ว่าเป็น
อาหารที่ห้าม” (F1-4-101)
	 “ผู้ป่วย ชอบทานผลไม้ แต่ก็รู้ว่ามันมีน้ำ�เยอะ
ก็กินเล็กน้อย …..ส่วนอาการถุงที่วางขายราคาถูก
ดีอาหารที่พยาบาลแนะนำ�ดูแล้วราคาแพงแต่หาก
มีโอกาสก็จะซื้อกินอยู่ค่ะ….” (P4-76)
	 “ญาติ เขาดื้อนะรู้ว่าหมอห้ามกิน มันดื้อกิน
ห้ามอะไรไม่ฟัง” (F1-9-263)
	 1.5		ความทนในการทำ�กิจกรรมลดลง ผู้ป่วย
สะท้อนความรู้สึกว่าในการฟอกเลือดบางครั้งก็
เหนื่อย กิจกรรมที่เคยทำ�ก็ทำ�ได้ลดลง ยิ่งฟอกนาน
ปียิ่งทำ�ไม่ไหว แม้แต่ขับรถก็ไม่ไหวในบางครั้ง การ
หลับการนอนก็หลับๆตื่นๆ ดังคำ�กล่าวของผู้ให้
ข้อมูลที่ว่า
	 “ผู้ป่วย เพลีย แขน ขา ไม่มีแรง” ( P7-*-)
	 “ผู้ป่วย ไม่ได้ทำ� ทำ�ไม่ไหว ทำ�งานไม่ได้
“(P7-*-)
	 “ผู้ป่วย ไปไหนลำ�บากขับรถได้ไม่เหมือนเดิม”
(P7-*-)
	 2. ด้านความต้องการ
	 ผู้ป่วยและญาติกลุ่มนี้ได้กล่าวถึงความต้องการ
ดังนี้
	 2.1		การช่วยเหลือค่าใช้จ่าย ผู้ให้ข้อมูลให้
ข้อมูลว่าการเดินทางมาฟอกไตค่อนข้างบ่อย และ
มีค่าใช้จ่ายมาก ดังคำ�กล่าวของผู้ให้ข้อมูลที่ว่า
	 “ผู้ป่วยอยากให้หน่วยงานช่วยเหลือเรื่องค่า
ใช้จ่ายเลยขอพูดกับหมอว่าขอเลื่อนเป็นวันศุกร์จะ
ได้ลางาน 2 วัน” ( P3-2-50)
	“ผู้ป่วย ขอให้นัดตรงกับวันที่ล้างไต” (P3-
2-50)
	“ผู้ป่วย เราพยายามบอกกับหมอว่าของเป็น
ชัชวาล วงค์สารี, เรณู อาจสาลี / Chutchavarn Wongsaree, Renoo Assalee
140... 	 วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย ปีที่ 9 ฉ.2 ก.ค.-ธ.ค. 59
วันที่ล้างไตเพราะไม่อยากเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม” (P3-
2-65-66)
	“ผู้ป่วย อยากได้ส่วนลด” (F1-8-216)
	“ผู้ป่วย อยากให้หน่วยงานช่วยเรื่องค่าใช้จ่าย
หน่อย” ( F1-15-441)
	 2.2		การแนะนำ�วิธีการใช้สิทธิ ผู้ป่วยและ
ญาติได้สะท้อนความคิดเห็นว่า อยากให้มีบุคลากร
หรือหน่วยงานที่แนะนำ�เรื่องการใช้สิทธิ เพื่อจะได้
ปรึกษาและหาช่องทางการใช้สิทธิได้อย่างถูกต้อง
เพื่อจะได้ลดค่าใช้จ่าย ดังคำ�กล่าวของผู้ให้ข้อมูลที่
ว่า
	 “..............แนะนำ�หน่อยอย่างน้อยก็ช่วยลดค่า
ฟอกเลือดถ้ามีช่องทางในการลดค่าใช้จ่ายก็ช่วย
แนะนำ�หน่อย” (F1-6-178)
	 2.3		การให้ความรู้ทางสุขภาพ ผู้ให้ข้อมูล
ส่วนใหญ่ให้ข้อมูลว่า ให้พยาบาลและแพทย์แนะนำ�
ผู้ป่วยด้วยเรื่องการรับประทานยาและปฏิบัติตนได้
ถูกต้องดังคำ�กล่าวของผู้ให้ข้อมูลที่ว่า
	 “..............ช่วยแนะนำ�หน่อยบอกอะไรได้ก็บอก
หน่อย” ( F1-13-312)
	 “..............อยากให้แนะนำ�เกี่ยวกับการกินยา”
( F1-15-364)
	 “..............ช่วยแนะนำ�หน่อยมีปัญหาอย่างนี้
ช่วยแนะนำ�หน่อย” ( F1-15-444)
	 3. ด้านการได้รับการดูแลด้านอาหารและยา
	 ญาติสะท้อนว่าต้องช่วยดูแลในเรื่องอาหารที่
ต้องเป็นไปตามแผนการรักษาของแพทย์ และการ
เรียนรู้ในการที่จะลดอาหารต้องห้ามในผู้ป่วยโรค
ไตโดยไม่ให้เกิดการทะเลาะกัน เพราะผู้ป่วยมักจะ
บอกว่าญาติหวงอาหารไม่อยากให้รับประทาน
ญาติบางคนบอกว่าต้องดูแลทุกอย่างตั้งแต่ต้นจน
จบในการดำ�เนินชีวิตประจำ�วันของผู้ป่วย ส่วนการ
รับประทานยาเนื่องจากยามีปริมาณมากทำ�ให้ผู้ป่วย
ไม่อยากรับประทานยา ญาติก็จะจัดยาเป็นกล่องๆ
ตามแพทย์สั่งและจะสังเกตการรับประทานยาตาม
ปริมาณยาที่หายไปในแต่ละกล่อง บ้างก็บอกว่า
ป้อนให้และต้องทานต่อหน้า ดังคำ�กล่าวของผู้ให้
ข้อมูลที่ว่า
	 “..............ต้องคอยดูแลกินข้าวแล้วกินยา”
(F1-11-324)
	 “..............แนะนำ�จัดยาใส่ Box 3 สี” (F1-
11-326)
	 “..............ผมก็คุมทุกอย่าง” (F1-12-331)
	 “..............อย่างพ่อผมชอบกินแป๊บซี่อย่างบางที
ผมก็ซื้อมาให้กิน”(F1-12-349)
	 “..............เขาอยากกินก็จัดให้หมดแต่ต้องลด
ปริมาณ” (F1-12-355)
การอภิปรายผล
	 1.	ด้านปัญหาของผู้ป่วย
	 1.1		ค่าใช้จ่ายสูงและต้องจ่ายอย่างต่อเนื่อง	
ผู้ป่วยบางคนกล่าวว่าค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการ
รักษาด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมและค่า
ใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่ายาที่ใช้ในการรักษา
ค่าเดินทาง ในแต่ละครั้งที่มาฟอกไตต้องจ่ายตลอด
และต่อเนื่องบ้างก็ฟอก 2 ครั้งต่อสัปดาห์ บ้างก็ 3
ครั้งต่อสัปดาห์ บ้างบอกว่าฟอกมาหลายปีและต้อง
จ่ายต่อเนื่องยาวนานซึ่งเป็นปัญหาของญาติและ
ผู้ป่วยส่วนใหญ่สะท้อนความคิดเห็นมากที่สุด บาง
รายกล่าวว่าสิทธิที่ใช้รักษากับค่ารักษาที่โรงพยาบาล
เรียกเก็บไม่สมดุลกัน บางรายกล่าวว่าต้องจ่ายเพิ่ม
ครั้งละ 500 บาท บางเดือนมีการเจาะเลือดตรวจ
ต้องจ่ายครั้งละเป็น 1000 บาท บางรายบอกว่า
ประสบการณ์การได้รับการสนับสนุนทางสังคมในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
Experience of Using Social Support in End Stage Renal Disease Patients Receiving Hemodialysis
วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย ปีที่ 9 ฉ.2 ก.ค.-ธ.ค. 59 ...141
บางครั้งที่หาเงินค่าฟอกเลือดไม่ทันจำ�เป็นต้องหยุด
การฟอกเลือดเองเพราะค่าใช้จ่ายไม่เพียงพอ ผู้ดูแล
ผู้ป่วยบางรายบอกว่าค่าใช้จ่ายค่อนข้างมากและ
ค่อนข้างเป็นปัญหาแต่ก็ไม่อยากให้ผู้ป่วยรับทราบ
เพราะจะทำ�ให้เกิดความกังวลใจ ผู้ดูแลบางราย
บอกว่าเรื่องค่าใช้จ่ายบางครั้งถือเป็นปัญหาครอบครัว
บางรายบอกว่าไม่ได้จ่ายครั้งละมากแต่จ่ายยาว
นานและต่อเนื่องมาจะ 10ปีแล้วเงินเก็บก็ลดลงทุก
ปีๆ ด้วย ซึ่งมีความสอดคล้องกับแนวทางของระบบ
หลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่ได้รับบริการฟอก
เลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis: HD)
แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ ผู้ป่วยรายเก่าที่มีสิทธิ
หมายถึง ผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพแห่ง
ชาติและผู้ป่วยที่เปลี่ยนสิทธิจากระบบอื่น เช่น สิทธิ
ประกันสังคมและสิทธิสวัสดิการข้าราชการ เป็นต้น
ซึ่งได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องก่อน 1 ตุลาคม
2551 โดยผู้รับบริการที่ขึ้นทะเบียนในเขตบริการ
ของการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมกำ�หนด ให้
ผู้ป่วยต้องร่วมจ่ายเฉพาะค่าฟอกเลือดด้วยเครื่องไต
เทียมครั้งละไม่เกิน 500 บาทและ สปสช. ให้การ
สนับสุนครั้งละ 1,000 บาทหรือ 1,200 บาทและ
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องโดยตรง โดยไม่จำ�กัด
จำ�นวนครั้งต่อสัปดาห์และหลัง 1 ตุลาคม 2551
โดยผู้ป่วยไม่ต้องร่วมจ่ายซึ่ง สปสช. ให้การ
สนับสนุนค่าฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมไม่จำ�กัด
จำ�นวนครั้งละ 1,500 บาทหรือ 1,700 บาท และ
ค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องโดยตรง(16)
ส่วนผู้ป่วยที่ใช้
สิทธิประกันสังคมที่ฟอกเลือดต่อเนื่องด้วยเครื่อง
ไตเทียมจ่ายค่าฟอกเลือดในอัตรา 1,500 บาทต่อ
ครั้งและไม่เกิน 4,500 บาทต่อสัปดาห์ (17)
ซึ่งเป็น
ค่าใช้จ่ายที่สูงและยังต้องมีค่าใช้จ่ายส่วนอื่นอีก
		1.2 	ขาดบุคคลที่ให้คำ�ชี้แนะการใช้สิทธิ
ผู้ป่วยบางคนกล่าวว่าไม่มีหน่วยงานหรือบุคคลใน
การให้ความรู้ คำ�แนะนำ�ต่างๆเกี่ยวกับการปฏิบัติ
ตัวและแนวทางการรับบริการ บางคนกล่าวว่าหาก
มีหน่วยงานหรือมีบุคคลากรให้คำ�แนะนำ�ในเรื่อง
เหล่านี้จะช่วยได้อย่างมากไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึง
สิทธิ การเลือกช่องทางในการรับบริการที่ถูกต้อง
บางรายกล่าวว่าบางครั้งมีคำ�ถามที่ต้องขอคำ�แนะนำ�
แต่ดูเหมือนเจ้าหน้าที่ไม่ว่างจึงไม่อยากรบกวน ซึ่ง
สอดคล้องกับการศึกษาของจิราภรณ์ ชูวงศ์และ
เจียมจิต โสภณสุขสถิตย์(18)
พบว่าผู้ป่วยโรคไตวาย
เรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมหลัง
ได้รับความรู้และคำ�แนะนำ�ด้านสุขภาพผู้ป่วยมี
พฤติกรรมการดูแลตนเองดีขึ้น
		 1.3	ผู้ป่วยไม่ควบคุมการรับประทาน
อาหาร ผู้ป่วยบางรายให้ข้อมูลว่าอาหารก็พยายาม
ที่จะควบคุมตามที่พยาบาลบอกแต่บางครั้งต้องซื้อ
รับประทานที่ซอยหน้าบ้านสั่งตามสูตรที่ไม่เค็ม ไม่
ใส่ผงชูรสแต่บางครั้งก็เค็มอยู่ดีแต่ต้องรับประทาน
เพื่อความอยู่รอด บางรายให้ข้อมูลว่าซื้ออาการถุง
ที่วางขายราคาถูกดีอาหารที่พยาบาลแนะนำ�ดูแล้ว
ราคาแพงแต่หากมีโอกาสก็จะซื้อรับประทาน
สอดคล้องกับคำ�กล่าวของโคลีช์ซี(19)
ที่กล่าวว่าการ
ควบคุมโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายได้ดีนั้นต้อง
อาศัยการปฏิบัติตนให้ถูกต้องและต่อเนื่องของผู้ป่วย
ได้แก่ การรับประทานอาหารที่เหมาะสม การ
ควบคุมปัจจัยที่ส่งเสริมการเกิดโรค การป้องกัน
ภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่างๆ และการรับ
ประทานยาตามแผนการรักษาอย่างต่อเนื่อง
	 1.4 	ความทนในการทำ�กิจกรรมลดลง
ผู้ป่วยสะท้อนความรู้สึกว่าในการฟอกเลือดบาง
ชัชวาล วงค์สารี, เรณู อาจสาลี / Chutchavarn Wongsaree, Renoo Assalee
142... 	 วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย ปีที่ 9 ฉ.2 ก.ค.-ธ.ค. 59
ละครั้งก็เหนื่อยกิจกรรมที่เคยทำ�ก็ทำ�ได้ลดลง ยิ่งฟอก
นานปียิ่งทำ�ไม่ไหว แม้แต่ขับรถก็ไม่ไหวในบางครั้ง
การหลับการนอนก็หลับๆ ตื่นๆ สอดคล้องกับ
การศึกษาของ McCann & Boore(20)
พบว่าความ
อ่อนล้าเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยและเป็นปัญหาที่
สำ�คัญในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ได้รับ
การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม และมีการศึกษา
พบว่าผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือด ด้วย
เครื่องไตเทียมมีความอ่อนล้าร้อยละ 41-100 และ
สอดคล้องกับผลการศึกษาของบรรลือศักดิ์ ธรรม
นิตยางกูร(21)
พบว่าผู้ป่วยหลังการฟอกเลือดด้วย
เครื่องไตเทียมส่วนใหญ่มีระดับความอ่อนหล้าปาน
กลาง ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำ�เนินชีวิตประจำ�วัน
	 2. 	ด้านความต้องการ
	 ผู้ป่วยและญาติกลุ่มนี้ได้สะท้อนความต้อง
การไว้ในหลายๆ อย่าง ซึ่งคณะผู้ศึกษาได้จับ
ประเด็นและแบ่งความต้องการที่สอดคล้องกับแนว
ความคิดของผู้ให้ข้อมูลได้ ดังนี้ การช่วยเหลือค่าใช้
จ่าย ญาติและผู้ป่วยได้สะท้อนความคิดเห็นว่ าการ
เดินทางมาฟอกไต 2-3 ครั้ง/สัปดาห์ ถือว่าค่อน
ข้างบ่อยค่าใช้จ่ายแต่ละครั้งค่อนข้างเยอะ หากเป็น
ไปได้ผู้ป่วยและญาติอยากให้วันนัดมาฟอกไตและ
นัดแพทย์ที่รักษาร่วมให้เป็นวันเดียวกันจะได้ไม่ต้อง
มาหลายครั้ง และอยากจะได้ส่วนลดบางรายอยากให้
โรงพยาบาลลดค่าใช้จ่ายในการฟอกไตด้วย สอดคล้อง
กับผลการศึกษาของบรรลือศักดิ์ ธรรมนิตยางกูร(21)
พบว่าผู้ป่วยที่รักษาด้วยการฟอกเลือดมีความถี่ใน
การฟอกเลือดที่ 2-3 ครั้ง/สัปดาห์ นอกจากนี้ยัง
พบว่าผู้ป่วยต้องมารับการฟอกเลือดมีความถี่สูงสุด
6 วัน/สัปดาห์ ซึ่งเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายในการฟอก
เลือดค่าเดินทางและค่าอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องตามมา
ด้วย(22)
	 3. ด้านการได้รับการดูแลด้านอาหารและยา
	 ญาติสะท้อนว่าต้องช่วยดูแลในเรื่องอาหารที่
ต้องเป็นไปตามแผนการรักษาของแพทย์ และการ
เรียนรู้ในการที่จะลดอาหารต้องห้ามในผู้ป่วยโรคไต
ญาติบางคนบอกว่าต้องดูแลทุกอย่างตั้งแต่ต้นจน
จบในการดำ�เนินชีวิตประจำ�วันของผู้ป่วย ส่วนการ
รับประทานยาเนื่องจากยามีปริมาณมาก ผู้ป่วยเบื่อ
และบางครั้งไม่อยากรับประทาน ญาติก็จะจัดยา
เป็นกล่องๆ ตามแพทย์สั่งและจะสังเกตการรับประทาน
ยาตามปริมาณยาที่หายไปในแต่ละกล่อง บ้างก็บอก
ว่าป้อนให้และต้องทานต่อหน้า สอดคล้องกับการ
ศึกษาของชัชวาล วงค์สารี(22)
พบว่าความรู้จำ�เป็น
สำ�หรับผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่ฟอกเลือดด้วย
เครื่องไตเทียมที่พยาบาลและญาติต้องร่วมกันดูแล
มี 5 ด้าน คือ ด้านการรับประทานอาหารเฉพาะ
โรค ด้านการควบคุมน้ำ� ด้านการออกกำ�ลังกาย
ด้านการบริหารจิตใจและการมาตรวจรักษาตามนัด
ข้อเสนอแนะในการนำ�ผลการวิจัยไปใช้
	 หน่วยบริการการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
ควรจัดบริการให้การปรึกษาที่เป็นรูปแบบเกี่ยวกับ
การเข้าถึงสิทธิของผู้ป่วยและการให้ความรู้แก่ผู้ป่วย
และผู้ดูแลอย่างต่อเนื่อง
ประสบการณ์การได้รับการสนับสนุนทางสังคมในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
Experience of Using Social Support in End Stage Renal Disease Patients Receiving Hemodialysis
วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย ปีที่ 9 ฉ.2 ก.ค.-ธ.ค. 59 ...143
เอกสารอ้างอิง
1.	 National Kidney Foundation. K/DOQI: Clinical Practice Guideline for chronic kidney
disease: evaluation, classification, and stratification [Internet]. 2002 [cited 2013 Jul 27].
Available from: http://www.kidney.or/kdoqi/guideline-ckd
2.	 พรรณบุปผา ชุวิเชียร. Renal failure and indication for dialysis. ใน: ประเสริฐ ธนกิจจารุ,
สุพัฒน์ วานิชย์การ, บรรณาธิการ. ตำ�ราการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมและการพยาบาล. กรุงเทพฯ:
มูลนิธิโรคไตแห่งประเทศไทย; 2551. หน้า 1-14.
3.	 National Kidney and Urologic Diseases Information Clearinghouse. National Kidney
and Urologic Diseases Information [Internet]. 2009 [cited 2013 Jul 27]. Available from:
http://kidney.niddk.nih.
4.	 การศึกษา-สาธารณสุข. ป่วยโรคไตพุ่ง 8 ล้านเปิดรพ.เฉพาะทางรับมือ [อินเทอร์เน็ต]. คมชัดลึก.
2555 พ.ย. 14. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 14 พ.ย. 2557]. เข้าถึงได้จาก: http://www.komchadluek.net/
news/edu-health/144746
5. 	 วิชช์ เกษมทรัพย์, ภูษิต ประคองสาย, วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร. ความต้องการงบประมาณสำ�หรับ
การเข้าถึงบริการทดแทนไตอย่างถ้วนหน้าในประเทศไทย. วารสารสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย
[อินเทอร์เน็ต]. 2549 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 27 ก.ค. 2557];12(2):136-48. เข้าถึงได้จาก: http://kb.hsri.
or.th/dspace/bitstream/handle/11228/345/2006_DMJ84_
6.	 MGR Online. สปสช.หนุนตั้งคลินิกใน รพ.เพื่อดูแลผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง [อินเทอร์เน็ต]. ผู้จัดการ
Online. 2556 มี.ค. 14. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 14 พ.ย. 2557]. เข้าถึงได้จาก: http://www.manager.
co.th/qol/viewnews.aspx?NewsID=9560000031524
7.	 บุญธรรม 	จิระจันทร์. Chronic hemodialysis prescription.ใน: ประเสริฐ ธนกิจจารุ, สุพัฒน์
วานิชย์การ, บรรณาธิการ. ตำ�ราการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมและการพยาบาล. กรุงเทพฯ: มูลนิธิ
โรคไตแห่งประเทศไทย; 2551. หน้า 47-63.
8.	 Daugirdas JT, Blake PG, Ing TS. Handbook of dialysis. 4th ed. Philadelphia: Wolters
Kluwer/Lippincott Williams & Wilkins; 2007.
9.	 อุดม ไกรฤทธิชัย. Adequacy of Hemodialysis. ใน: ประเสริฐ ธนกิจจารุ, สุพัฒน์ วานิชย์การ,
บรรณาธิการ. ตำ�ราการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมและการพยาบาล. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโรคไตแห่ง
ประเทศไทย; 2551. หน้า 171-82.
10.	 บัญชา สถิระพจน์. การศึกษาความแตกต่างของลักษณะอาการทางคลินิกอกไตระหว่างผู้ป่วย.
กรุงเทพฯ: สำ�นักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ; 2550.
ชัชวาล วงค์สารี, เรณู อาจสาลี / Chutchavarn Wongsaree, Renoo Assalee
144... 	 วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย ปีที่ 9 ฉ.2 ก.ค.-ธ.ค. 59
11.	 Geiser MT, Van Dyke C, East R, Weiner M. Psychological reactions to continuous
ambulatory peritoneal dialysis. Int J Psychiatry Med 1983-1984;13(4):299-307.
12.	 Lepore SJ, Silver RC, Wortman CB, Wayment HA. Social constraints, intrusive thoughts, and
depressive symptoms among bereaved mothers. J Pers Soc Psychol 1996;70(2): 271-82.
13.	 อินทราพร พรมปราการ. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาวะสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคมกับ
พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดอ่างทอง
[วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาอนามัยครอบครัว]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2541.
14.	 Husserl E. Phenomenology and the crisis of philosophy: philosophy as rigorous
science, and Philosophy and the crisis of European man. New York: Harper & Row; 1965.
15.	 Van Manen M. Researching lived experience: human science for an action sensitive
pedagogy. New York: State University of New York Press; 1990.
16.	 สำ�นักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือแนวทางการปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการ
สาธารณสุข ปีงบประมาณ 2558. กรุงเทพฯ: สำ�นักบริหารการจัดสรรและชดเชยค่าบริการ สำ�นักงาน
หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2557.
17.	 ประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533. หลักเกณฑ์และ
อัตราสำ�หรับประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยที่มิใช่เนื่องจากการทำ�งานเรื้อรัง
[อินเทอร์เน็ต]. 2556 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 9 ก.ค. 2559]. เข้าถึงได้จาก: www.personnel.psu.ac.th/word
18.	 จิราภรณ์ ชูวงศ์, เจียมจิต โสภณสุขสถิตย์. ผลของการให้ความรู้ทางด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการ
ดูแลตนเอง ของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. วารสารวิจัยทาง
วิทยาศาสตร์สุขภาพ 2554;5(2):41-50.
19.	 Colaizzi PF. Psychological research as the phenomenologist views it. In: Valle RS,
King M, editors. Existential-phenomenological alternatives for psychology. New York:
Oxford University Press; 1978.
20.	 McCann K, Boore JR. Fatigue in persons with renal failure who require maintenance
haemodialysis. J Adv Nurs 2000;32(5):1132-42.
21.	 บรรลือศักดิ์ ธรรมนิตยางกูร, นันทรัตน์ สุขถิ่นไทย, สุมลรัตน์ กนกกวินวงศ์, วิไล คุปต์นิรัติศัยกุล,
สมเกียรติ วสุวัฏฏกุล, อัครินทร์ นิมมานนิตย์. ผลของโปรแกรมการออกกำ�ลังกายระหว่างการฟอก
เลือดด้วยเครื่องไตเทียมต่อความอ่อนล้าและคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย. วารสาร
พยาบาลศิริราช 2556;6(1):14-24.
22.	 ชัชวาล วงค์สารี. ผลของโปรแกรมการให้ความรู้แบบเข้มข้นต่อความรู้และพฤติกรรมการจำ�กัดน้ำ�
ของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร
มหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่]. สมุทรปราการ: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ; 2557.

More Related Content

Viewers also liked

บทบาทพยาบาลกับการดูแลหญิงตั้งครรภ์ในภาวะไตวายเฉียบพลัน
 บทบาทพยาบาลกับการดูแลหญิงตั้งครรภ์ในภาวะไตวายเฉียบพลัน บทบาทพยาบาลกับการดูแลหญิงตั้งครรภ์ในภาวะไตวายเฉียบพลัน
บทบาทพยาบาลกับการดูแลหญิงตั้งครรภ์ในภาวะไตวายเฉียบพลันChutchavarn Wongsaree
 
NCompass Live: Planning for Successfull Internships
NCompass Live: Planning for Successfull InternshipsNCompass Live: Planning for Successfull Internships
NCompass Live: Planning for Successfull InternshipsNebraska Library Commission
 
บทบาทพยาบาลกับการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีปัญหาเพศสัมพันธ์
บทบาทพยาบาลกับการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีปัญหาเพศสัมพันธ์บทบาทพยาบาลกับการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีปัญหาเพศสัมพันธ์
บทบาทพยาบาลกับการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีปัญหาเพศสัมพันธ์Chutchavarn Wongsaree
 
การจัดการเรียนการสอนสาขาพยาบาลศาสตร์ในศตวรรษ 21
การจัดการเรียนการสอนสาขาพยาบาลศาสตร์ในศตวรรษ 21การจัดการเรียนการสอนสาขาพยาบาลศาสตร์ในศตวรรษ 21
การจัดการเรียนการสอนสาขาพยาบาลศาสตร์ในศตวรรษ 21Chutchavarn Wongsaree
 
TRABAJO INTEGRADOR ETICA
TRABAJO INTEGRADOR ETICATRABAJO INTEGRADOR ETICA
TRABAJO INTEGRADOR ETICAJulady Vargas
 
دليل استخدام المدونة
دليل استخدام  المدونةدليل استخدام  المدونة
دليل استخدام المدونةmahmoud mahmoud
 
Modelo de Examen de Reparación de Lengua y Literatura, Matemáticas y Sociales...
Modelo de Examen de Reparación de Lengua y Literatura, Matemáticas y Sociales...Modelo de Examen de Reparación de Lengua y Literatura, Matemáticas y Sociales...
Modelo de Examen de Reparación de Lengua y Literatura, Matemáticas y Sociales...Cliffor Jerry Herrera Castrillo
 
Rainwater harvesting
Rainwater harvestingRainwater harvesting
Rainwater harvestinggaurav bhatt
 
สรุป ผลของฮอร์โมนต่อการเกิดประจำเดือน
สรุป ผลของฮอร์โมนต่อการเกิดประจำเดือนสรุป ผลของฮอร์โมนต่อการเกิดประจำเดือน
สรุป ผลของฮอร์โมนต่อการเกิดประจำเดือนChutchavarn Wongsaree
 
การให้การพยาบาลผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมด้วยการสอนสุขภาพ
การให้การพยาบาลผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมด้วยการสอนสุขภาพการให้การพยาบาลผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมด้วยการสอนสุขภาพ
การให้การพยาบาลผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมด้วยการสอนสุขภาพChutchavarn Wongsaree
 
โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ บทบาทพยาบาล
โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ บทบาทพยาบาลโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ บทบาทพยาบาล
โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ บทบาทพยาบาลChutchavarn Wongsaree
 
การสอนบนคลินิกในรายวิาการปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่สำหรับนิสิต Gen. Z
การสอนบนคลินิกในรายวิาการปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่สำหรับนิสิต Gen. Zการสอนบนคลินิกในรายวิาการปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่สำหรับนิสิต Gen. Z
การสอนบนคลินิกในรายวิาการปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่สำหรับนิสิต Gen. ZChutchavarn Wongsaree
 
การใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย โดย ชัชวาล วงค์สารี
การใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย โดย ชัชวาล  วงค์สารีการใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย โดย ชัชวาล  วงค์สารี
การใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย โดย ชัชวาล วงค์สารีChutchavarn Wongsaree
 
สรุปการติดเชื้อทางนรีเวชวิทยา
สรุปการติดเชื้อทางนรีเวชวิทยาสรุปการติดเชื้อทางนรีเวชวิทยา
สรุปการติดเชื้อทางนรีเวชวิทยาChutchavarn Wongsaree
 
Alla scoperta dell'acqua - didattica differenziata
Alla scoperta dell'acqua - didattica differenziataAlla scoperta dell'acqua - didattica differenziata
Alla scoperta dell'acqua - didattica differenziataIacopo Pappalardo
 
Aca 01 05 wizard_klantdossier_v1_20170213.03032017
Aca 01 05 wizard_klantdossier_v1_20170213.03032017Aca 01 05 wizard_klantdossier_v1_20170213.03032017
Aca 01 05 wizard_klantdossier_v1_20170213.03032017Evelien Verkade
 

Viewers also liked (20)

บทบาทพยาบาลกับการดูแลหญิงตั้งครรภ์ในภาวะไตวายเฉียบพลัน
 บทบาทพยาบาลกับการดูแลหญิงตั้งครรภ์ในภาวะไตวายเฉียบพลัน บทบาทพยาบาลกับการดูแลหญิงตั้งครรภ์ในภาวะไตวายเฉียบพลัน
บทบาทพยาบาลกับการดูแลหญิงตั้งครรภ์ในภาวะไตวายเฉียบพลัน
 
NCompass Live: Planning for Successfull Internships
NCompass Live: Planning for Successfull InternshipsNCompass Live: Planning for Successfull Internships
NCompass Live: Planning for Successfull Internships
 
บทบาทพยาบาลกับการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีปัญหาเพศสัมพันธ์
บทบาทพยาบาลกับการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีปัญหาเพศสัมพันธ์บทบาทพยาบาลกับการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีปัญหาเพศสัมพันธ์
บทบาทพยาบาลกับการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีปัญหาเพศสัมพันธ์
 
การจัดการเรียนการสอนสาขาพยาบาลศาสตร์ในศตวรรษ 21
การจัดการเรียนการสอนสาขาพยาบาลศาสตร์ในศตวรรษ 21การจัดการเรียนการสอนสาขาพยาบาลศาสตร์ในศตวรรษ 21
การจัดการเรียนการสอนสาขาพยาบาลศาสตร์ในศตวรรษ 21
 
TRABAJO INTEGRADOR ETICA
TRABAJO INTEGRADOR ETICATRABAJO INTEGRADOR ETICA
TRABAJO INTEGRADOR ETICA
 
Lesson 02
Lesson 02Lesson 02
Lesson 02
 
Pipeline Computing by S. M. Risalat Hasan Chowdhury
Pipeline Computing by S. M. Risalat Hasan ChowdhuryPipeline Computing by S. M. Risalat Hasan Chowdhury
Pipeline Computing by S. M. Risalat Hasan Chowdhury
 
دليل استخدام المدونة
دليل استخدام  المدونةدليل استخدام  المدونة
دليل استخدام المدونة
 
Modelo de Examen de Reparación de Lengua y Literatura, Matemáticas y Sociales...
Modelo de Examen de Reparación de Lengua y Literatura, Matemáticas y Sociales...Modelo de Examen de Reparación de Lengua y Literatura, Matemáticas y Sociales...
Modelo de Examen de Reparación de Lengua y Literatura, Matemáticas y Sociales...
 
Diclofenac
DiclofenacDiclofenac
Diclofenac
 
Rainwater harvesting
Rainwater harvestingRainwater harvesting
Rainwater harvesting
 
¿Es segura la nube?
¿Es segura la nube?¿Es segura la nube?
¿Es segura la nube?
 
สรุป ผลของฮอร์โมนต่อการเกิดประจำเดือน
สรุป ผลของฮอร์โมนต่อการเกิดประจำเดือนสรุป ผลของฮอร์โมนต่อการเกิดประจำเดือน
สรุป ผลของฮอร์โมนต่อการเกิดประจำเดือน
 
การให้การพยาบาลผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมด้วยการสอนสุขภาพ
การให้การพยาบาลผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมด้วยการสอนสุขภาพการให้การพยาบาลผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมด้วยการสอนสุขภาพ
การให้การพยาบาลผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมด้วยการสอนสุขภาพ
 
โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ บทบาทพยาบาล
โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ บทบาทพยาบาลโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ บทบาทพยาบาล
โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ บทบาทพยาบาล
 
การสอนบนคลินิกในรายวิาการปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่สำหรับนิสิต Gen. Z
การสอนบนคลินิกในรายวิาการปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่สำหรับนิสิต Gen. Zการสอนบนคลินิกในรายวิาการปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่สำหรับนิสิต Gen. Z
การสอนบนคลินิกในรายวิาการปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่สำหรับนิสิต Gen. Z
 
การใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย โดย ชัชวาล วงค์สารี
การใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย โดย ชัชวาล  วงค์สารีการใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย โดย ชัชวาล  วงค์สารี
การใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย โดย ชัชวาล วงค์สารี
 
สรุปการติดเชื้อทางนรีเวชวิทยา
สรุปการติดเชื้อทางนรีเวชวิทยาสรุปการติดเชื้อทางนรีเวชวิทยา
สรุปการติดเชื้อทางนรีเวชวิทยา
 
Alla scoperta dell'acqua - didattica differenziata
Alla scoperta dell'acqua - didattica differenziataAlla scoperta dell'acqua - didattica differenziata
Alla scoperta dell'acqua - didattica differenziata
 
Aca 01 05 wizard_klantdossier_v1_20170213.03032017
Aca 01 05 wizard_klantdossier_v1_20170213.03032017Aca 01 05 wizard_klantdossier_v1_20170213.03032017
Aca 01 05 wizard_klantdossier_v1_20170213.03032017
 

Similar to ประสบการณ์การได้รับการสนับสนุนทางสังคมในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม

บทบาทพยาบาลไตเทียมกับการป้องกันและการจัดการภาวะน้ำเกินของผู้ป่วย
บทบาทพยาบาลไตเทียมกับการป้องกันและการจัดการภาวะน้ำเกินของผู้ป่วยบทบาทพยาบาลไตเทียมกับการป้องกันและการจัดการภาวะน้ำเกินของผู้ป่วย
บทบาทพยาบาลไตเทียมกับการป้องกันและการจัดการภาวะน้ำเกินของผู้ป่วยChutchavarn Wongsaree
 
แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบ ซี เรื้อรัง ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559
แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบ ซี เรื้อรัง ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบ ซี เรื้อรัง ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559
แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบ ซี เรื้อรัง ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559Utai Sukviwatsirikul
 
Thailand practice hep c guideline 2016
Thailand practice hep c guideline 2016Thailand practice hep c guideline 2016
Thailand practice hep c guideline 2016Utai Sukviwatsirikul
 
คู่มือผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง
คู่มือผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังคู่มือผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง
คู่มือผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังUtai Sukviwatsirikul
 
Functional dyspepsia its causes and therapies
Functional dyspepsia  its causes and therapies Functional dyspepsia  its causes and therapies
Functional dyspepsia its causes and therapies Utai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตUtai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตTuang Thidarat Apinya
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาโรคไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาโรคไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาโรคไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาโรคไตUtai Sukviwatsirikul
 
การพยาบาลผู้ป่วยโรคไตเเละระบบทางเดินปัสสาวะที่มีปัญหาซับซ้อนในระยะเฉียบพลันแล...
การพยาบาลผู้ป่วยโรคไตเเละระบบทางเดินปัสสาวะที่มีปัญหาซับซ้อนในระยะเฉียบพลันแล...การพยาบาลผู้ป่วยโรคไตเเละระบบทางเดินปัสสาวะที่มีปัญหาซับซ้อนในระยะเฉียบพลันแล...
การพยาบาลผู้ป่วยโรคไตเเละระบบทางเดินปัสสาวะที่มีปัญหาซับซ้อนในระยะเฉียบพลันแล...Chutchavarn Wongsaree
 
Hand out km & best practice อุดรธานี พฤศจิกายน 2557
Hand out km & best practice อุดรธานี พฤศจิกายน 2557Hand out km & best practice อุดรธานี พฤศจิกายน 2557
Hand out km & best practice อุดรธานี พฤศจิกายน 2557Kamol Khositrangsikun
 
Improvement of clinical outcome in kidney diseases via on line thai glomerula...
Improvement of clinical outcome in kidney diseases via on line thai glomerula...Improvement of clinical outcome in kidney diseases via on line thai glomerula...
Improvement of clinical outcome in kidney diseases via on line thai glomerula...Boonyarit Cheunsuchon
 
แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีและซีเรื้อรัง
แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีและซีเรื้อรังแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีและซีเรื้อรัง
แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีและซีเรื้อรังUtai Sukviwatsirikul
 
คู่มือการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องสำหรับประชาชน 2557
คู่มือการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องสำหรับประชาชน 2557คู่มือการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องสำหรับประชาชน 2557
คู่มือการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องสำหรับประชาชน 2557Utai Sukviwatsirikul
 
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014Utai Sukviwatsirikul
 
Clinical practice guidelines for epilepsy
Clinical practice guidelines for epilepsy Clinical practice guidelines for epilepsy
Clinical practice guidelines for epilepsy Utai Sukviwatsirikul
 
tapanee2500,+Journal+manager,+Aw+CVT+journal+No27-2-4.pdf
tapanee2500,+Journal+manager,+Aw+CVT+journal+No27-2-4.pdftapanee2500,+Journal+manager,+Aw+CVT+journal+No27-2-4.pdf
tapanee2500,+Journal+manager,+Aw+CVT+journal+No27-2-4.pdf60941
 

Similar to ประสบการณ์การได้รับการสนับสนุนทางสังคมในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (20)

บทบาทพยาบาลไตเทียมกับการป้องกันและการจัดการภาวะน้ำเกินของผู้ป่วย
บทบาทพยาบาลไตเทียมกับการป้องกันและการจัดการภาวะน้ำเกินของผู้ป่วยบทบาทพยาบาลไตเทียมกับการป้องกันและการจัดการภาวะน้ำเกินของผู้ป่วย
บทบาทพยาบาลไตเทียมกับการป้องกันและการจัดการภาวะน้ำเกินของผู้ป่วย
 
Hep c guideline 2016
Hep c guideline 2016Hep c guideline 2016
Hep c guideline 2016
 
แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบ ซี เรื้อรัง ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559
แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบ ซี เรื้อรัง ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบ ซี เรื้อรัง ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559
แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบ ซี เรื้อรัง ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559
 
Thailand practice hep c guideline 2016
Thailand practice hep c guideline 2016Thailand practice hep c guideline 2016
Thailand practice hep c guideline 2016
 
คู่มือผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง
คู่มือผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังคู่มือผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง
คู่มือผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง
 
Functional dyspepsia its causes and therapies
Functional dyspepsia  its causes and therapies Functional dyspepsia  its causes and therapies
Functional dyspepsia its causes and therapies
 
Cpg copd
Cpg copdCpg copd
Cpg copd
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาโรคไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาโรคไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาโรคไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาโรคไต
 
การพยาบาลผู้ป่วยโรคไตเเละระบบทางเดินปัสสาวะที่มีปัญหาซับซ้อนในระยะเฉียบพลันแล...
การพยาบาลผู้ป่วยโรคไตเเละระบบทางเดินปัสสาวะที่มีปัญหาซับซ้อนในระยะเฉียบพลันแล...การพยาบาลผู้ป่วยโรคไตเเละระบบทางเดินปัสสาวะที่มีปัญหาซับซ้อนในระยะเฉียบพลันแล...
การพยาบาลผู้ป่วยโรคไตเเละระบบทางเดินปัสสาวะที่มีปัญหาซับซ้อนในระยะเฉียบพลันแล...
 
Hand out km & best practice อุดรธานี พฤศจิกายน 2557
Hand out km & best practice อุดรธานี พฤศจิกายน 2557Hand out km & best practice อุดรธานี พฤศจิกายน 2557
Hand out km & best practice อุดรธานี พฤศจิกายน 2557
 
Improvement of clinical outcome in kidney diseases via on line thai glomerula...
Improvement of clinical outcome in kidney diseases via on line thai glomerula...Improvement of clinical outcome in kidney diseases via on line thai glomerula...
Improvement of clinical outcome in kidney diseases via on line thai glomerula...
 
Chf guideline
Chf guidelineChf guideline
Chf guideline
 
แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีและซีเรื้อรัง
แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีและซีเรื้อรังแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีและซีเรื้อรัง
แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีและซีเรื้อรัง
 
คู่มือการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องสำหรับประชาชน 2557
คู่มือการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องสำหรับประชาชน 2557คู่มือการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องสำหรับประชาชน 2557
คู่มือการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องสำหรับประชาชน 2557
 
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
Hemodialysis Clinical Practice Recommendation 2014
 
Clinical practice guidelines for epilepsy
Clinical practice guidelines for epilepsy Clinical practice guidelines for epilepsy
Clinical practice guidelines for epilepsy
 
tapanee2500,+Journal+manager,+Aw+CVT+journal+No27-2-4.pdf
tapanee2500,+Journal+manager,+Aw+CVT+journal+No27-2-4.pdftapanee2500,+Journal+manager,+Aw+CVT+journal+No27-2-4.pdf
tapanee2500,+Journal+manager,+Aw+CVT+journal+No27-2-4.pdf
 
Rr rx
Rr rxRr rx
Rr rx
 

More from Chutchavarn Wongsaree

Effect of dementia on older adult in thailand
Effect of  dementia on older adult in thailandEffect of  dementia on older adult in thailand
Effect of dementia on older adult in thailandChutchavarn Wongsaree
 
Current situation in dementia syndrome on older person in thailand issues and...
Current situation in dementia syndrome on older person in thailand issues and...Current situation in dementia syndrome on older person in thailand issues and...
Current situation in dementia syndrome on older person in thailand issues and...Chutchavarn Wongsaree
 
การเรียนรู้เชิงรุกทางคลินิก ด้วยนวัตกรรมทางการพยาบาล
การเรียนรู้เชิงรุกทางคลินิก ด้วยนวัตกรรมทางการพยาบาลการเรียนรู้เชิงรุกทางคลินิก ด้วยนวัตกรรมทางการพยาบาล
การเรียนรู้เชิงรุกทางคลินิก ด้วยนวัตกรรมทางการพยาบาลChutchavarn Wongsaree
 
การศึกษาเเบบผู้ใหญ่ : การเรียนรู้และเข้าใจนักศึกษาพยาบาลยุค generation z
การศึกษาเเบบผู้ใหญ่ : การเรียนรู้และเข้าใจนักศึกษาพยาบาลยุค generation zการศึกษาเเบบผู้ใหญ่ : การเรียนรู้และเข้าใจนักศึกษาพยาบาลยุค generation z
การศึกษาเเบบผู้ใหญ่ : การเรียนรู้และเข้าใจนักศึกษาพยาบาลยุค generation zChutchavarn Wongsaree
 
การพยาบาลผู้ป่วยโรคผิวหนัง
การพยาบาลผู้ป่วยโรคผิวหนังการพยาบาลผู้ป่วยโรคผิวหนัง
การพยาบาลผู้ป่วยโรคผิวหนังChutchavarn Wongsaree
 
ทฤษฏีการสูงอายุและการประยุกต์ใช้ทางการพยาบาล
ทฤษฏีการสูงอายุและการประยุกต์ใช้ทางการพยาบาลทฤษฏีการสูงอายุและการประยุกต์ใช้ทางการพยาบาล
ทฤษฏีการสูงอายุและการประยุกต์ใช้ทางการพยาบาลChutchavarn Wongsaree
 
มโนทัศน์การพยาบาลผู้สูงอายุ
มโนทัศน์การพยาบาลผู้สูงอายุมโนทัศน์การพยาบาลผู้สูงอายุ
มโนทัศน์การพยาบาลผู้สูงอายุChutchavarn Wongsaree
 
การพยาบาลผู้ป่วยหลอดเลือดเอ-ออร์ตาในช่องท้องโป่งพอง
การพยาบาลผู้ป่วยหลอดเลือดเอ-ออร์ตาในช่องท้องโป่งพองการพยาบาลผู้ป่วยหลอดเลือดเอ-ออร์ตาในช่องท้องโป่งพอง
การพยาบาลผู้ป่วยหลอดเลือดเอ-ออร์ตาในช่องท้องโป่งพองChutchavarn Wongsaree
 
ความเครียดก่อนการสอบขึ้นทะเบียนใบประกอบวิชาชีพการพยาบาลครั้งแรกของบัณฑิตใหม่ ...
ความเครียดก่อนการสอบขึ้นทะเบียนใบประกอบวิชาชีพการพยาบาลครั้งแรกของบัณฑิตใหม่ ...ความเครียดก่อนการสอบขึ้นทะเบียนใบประกอบวิชาชีพการพยาบาลครั้งแรกของบัณฑิตใหม่ ...
ความเครียดก่อนการสอบขึ้นทะเบียนใบประกอบวิชาชีพการพยาบาลครั้งแรกของบัณฑิตใหม่ ...Chutchavarn Wongsaree
 
Update การพยาบาลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันเเละเรื้อรัง
Update การพยาบาลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันเเละเรื้อรังUpdate การพยาบาลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันเเละเรื้อรัง
Update การพยาบาลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันเเละเรื้อรังChutchavarn Wongsaree
 
การอ่านเเละเเปลผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่เต้นผิดจังหวะสำหรับพยาบาล
การอ่านเเละเเปลผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่เต้นผิดจังหวะสำหรับพยาบาลการอ่านเเละเเปลผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่เต้นผิดจังหวะสำหรับพยาบาล
การอ่านเเละเเปลผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่เต้นผิดจังหวะสำหรับพยาบาลChutchavarn Wongsaree
 
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคของหลอดเลือดโคโรนารี
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคของหลอดเลือดโคโรนารี การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคของหลอดเลือดโคโรนารี
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคของหลอดเลือดโคโรนารี Chutchavarn Wongsaree
 
การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดรักษาด้วยเครื่องช่วยหายใจ
การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดรักษาด้วยเครื่องช่วยหายใจการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดรักษาด้วยเครื่องช่วยหายใจ
การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดรักษาด้วยเครื่องช่วยหายใจChutchavarn Wongsaree
 
nursing Care patients on ventilator
 nursing  Care patients on   ventilator nursing  Care patients on   ventilator
nursing Care patients on ventilatorChutchavarn Wongsaree
 
การประเมินระบบไหลเวียนเลือดและความดันโลหิตในผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉินระยะเฉียบพลันเ...
การประเมินระบบไหลเวียนเลือดและความดันโลหิตในผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉินระยะเฉียบพลันเ...การประเมินระบบไหลเวียนเลือดและความดันโลหิตในผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉินระยะเฉียบพลันเ...
การประเมินระบบไหลเวียนเลือดและความดันโลหิตในผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉินระยะเฉียบพลันเ...Chutchavarn Wongsaree
 
Adult Nursing II มโนทัศน์การพยาบาลผู้ใหญ่ที่เจ็บป่วยซับซ้อนในระยะเฉียบพลันแล...
Adult Nursing II  มโนทัศน์การพยาบาลผู้ใหญ่ที่เจ็บป่วยซับซ้อนในระยะเฉียบพลันแล...Adult Nursing II  มโนทัศน์การพยาบาลผู้ใหญ่ที่เจ็บป่วยซับซ้อนในระยะเฉียบพลันแล...
Adult Nursing II มโนทัศน์การพยาบาลผู้ใหญ่ที่เจ็บป่วยซับซ้อนในระยะเฉียบพลันแล...Chutchavarn Wongsaree
 
ประสบการณ์การรับรู้และการจัดการปัญหาด้านเพศสัมพันธ์ของผู้ป่วยเพศชายโรคไตวายเร...
ประสบการณ์การรับรู้และการจัดการปัญหาด้านเพศสัมพันธ์ของผู้ป่วยเพศชายโรคไตวายเร...ประสบการณ์การรับรู้และการจัดการปัญหาด้านเพศสัมพันธ์ของผู้ป่วยเพศชายโรคไตวายเร...
ประสบการณ์การรับรู้และการจัดการปัญหาด้านเพศสัมพันธ์ของผู้ป่วยเพศชายโรคไตวายเร...Chutchavarn Wongsaree
 
การพยาบาลโรคต่อมไร้ท่อที่ซับซ้อน
การพยาบาลโรคต่อมไร้ท่อที่ซับซ้อนการพยาบาลโรคต่อมไร้ท่อที่ซับซ้อน
การพยาบาลโรคต่อมไร้ท่อที่ซับซ้อนChutchavarn Wongsaree
 
บทบาทพยาบาลในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่ประสบอุบัติเหตุฉุกเฉิน
บทบาทพยาบาลในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่ประสบอุบัติเหตุฉุกเฉินบทบาทพยาบาลในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่ประสบอุบัติเหตุฉุกเฉิน
บทบาทพยาบาลในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่ประสบอุบัติเหตุฉุกเฉินChutchavarn Wongsaree
 
แนวคิดร่วมสมัยในการจัดการเรียนการสอนสาขาพยาบาลศาสตร์
แนวคิดร่วมสมัยในการจัดการเรียนการสอนสาขาพยาบาลศาสตร์แนวคิดร่วมสมัยในการจัดการเรียนการสอนสาขาพยาบาลศาสตร์
แนวคิดร่วมสมัยในการจัดการเรียนการสอนสาขาพยาบาลศาสตร์Chutchavarn Wongsaree
 

More from Chutchavarn Wongsaree (20)

Effect of dementia on older adult in thailand
Effect of  dementia on older adult in thailandEffect of  dementia on older adult in thailand
Effect of dementia on older adult in thailand
 
Current situation in dementia syndrome on older person in thailand issues and...
Current situation in dementia syndrome on older person in thailand issues and...Current situation in dementia syndrome on older person in thailand issues and...
Current situation in dementia syndrome on older person in thailand issues and...
 
การเรียนรู้เชิงรุกทางคลินิก ด้วยนวัตกรรมทางการพยาบาล
การเรียนรู้เชิงรุกทางคลินิก ด้วยนวัตกรรมทางการพยาบาลการเรียนรู้เชิงรุกทางคลินิก ด้วยนวัตกรรมทางการพยาบาล
การเรียนรู้เชิงรุกทางคลินิก ด้วยนวัตกรรมทางการพยาบาล
 
การศึกษาเเบบผู้ใหญ่ : การเรียนรู้และเข้าใจนักศึกษาพยาบาลยุค generation z
การศึกษาเเบบผู้ใหญ่ : การเรียนรู้และเข้าใจนักศึกษาพยาบาลยุค generation zการศึกษาเเบบผู้ใหญ่ : การเรียนรู้และเข้าใจนักศึกษาพยาบาลยุค generation z
การศึกษาเเบบผู้ใหญ่ : การเรียนรู้และเข้าใจนักศึกษาพยาบาลยุค generation z
 
การพยาบาลผู้ป่วยโรคผิวหนัง
การพยาบาลผู้ป่วยโรคผิวหนังการพยาบาลผู้ป่วยโรคผิวหนัง
การพยาบาลผู้ป่วยโรคผิวหนัง
 
ทฤษฏีการสูงอายุและการประยุกต์ใช้ทางการพยาบาล
ทฤษฏีการสูงอายุและการประยุกต์ใช้ทางการพยาบาลทฤษฏีการสูงอายุและการประยุกต์ใช้ทางการพยาบาล
ทฤษฏีการสูงอายุและการประยุกต์ใช้ทางการพยาบาล
 
มโนทัศน์การพยาบาลผู้สูงอายุ
มโนทัศน์การพยาบาลผู้สูงอายุมโนทัศน์การพยาบาลผู้สูงอายุ
มโนทัศน์การพยาบาลผู้สูงอายุ
 
การพยาบาลผู้ป่วยหลอดเลือดเอ-ออร์ตาในช่องท้องโป่งพอง
การพยาบาลผู้ป่วยหลอดเลือดเอ-ออร์ตาในช่องท้องโป่งพองการพยาบาลผู้ป่วยหลอดเลือดเอ-ออร์ตาในช่องท้องโป่งพอง
การพยาบาลผู้ป่วยหลอดเลือดเอ-ออร์ตาในช่องท้องโป่งพอง
 
ความเครียดก่อนการสอบขึ้นทะเบียนใบประกอบวิชาชีพการพยาบาลครั้งแรกของบัณฑิตใหม่ ...
ความเครียดก่อนการสอบขึ้นทะเบียนใบประกอบวิชาชีพการพยาบาลครั้งแรกของบัณฑิตใหม่ ...ความเครียดก่อนการสอบขึ้นทะเบียนใบประกอบวิชาชีพการพยาบาลครั้งแรกของบัณฑิตใหม่ ...
ความเครียดก่อนการสอบขึ้นทะเบียนใบประกอบวิชาชีพการพยาบาลครั้งแรกของบัณฑิตใหม่ ...
 
Update การพยาบาลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันเเละเรื้อรัง
Update การพยาบาลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันเเละเรื้อรังUpdate การพยาบาลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันเเละเรื้อรัง
Update การพยาบาลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันเเละเรื้อรัง
 
การอ่านเเละเเปลผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่เต้นผิดจังหวะสำหรับพยาบาล
การอ่านเเละเเปลผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่เต้นผิดจังหวะสำหรับพยาบาลการอ่านเเละเเปลผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่เต้นผิดจังหวะสำหรับพยาบาล
การอ่านเเละเเปลผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่เต้นผิดจังหวะสำหรับพยาบาล
 
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคของหลอดเลือดโคโรนารี
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคของหลอดเลือดโคโรนารี การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคของหลอดเลือดโคโรนารี
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคของหลอดเลือดโคโรนารี
 
การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดรักษาด้วยเครื่องช่วยหายใจ
การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดรักษาด้วยเครื่องช่วยหายใจการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดรักษาด้วยเครื่องช่วยหายใจ
การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดรักษาด้วยเครื่องช่วยหายใจ
 
nursing Care patients on ventilator
 nursing  Care patients on   ventilator nursing  Care patients on   ventilator
nursing Care patients on ventilator
 
การประเมินระบบไหลเวียนเลือดและความดันโลหิตในผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉินระยะเฉียบพลันเ...
การประเมินระบบไหลเวียนเลือดและความดันโลหิตในผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉินระยะเฉียบพลันเ...การประเมินระบบไหลเวียนเลือดและความดันโลหิตในผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉินระยะเฉียบพลันเ...
การประเมินระบบไหลเวียนเลือดและความดันโลหิตในผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉินระยะเฉียบพลันเ...
 
Adult Nursing II มโนทัศน์การพยาบาลผู้ใหญ่ที่เจ็บป่วยซับซ้อนในระยะเฉียบพลันแล...
Adult Nursing II  มโนทัศน์การพยาบาลผู้ใหญ่ที่เจ็บป่วยซับซ้อนในระยะเฉียบพลันแล...Adult Nursing II  มโนทัศน์การพยาบาลผู้ใหญ่ที่เจ็บป่วยซับซ้อนในระยะเฉียบพลันแล...
Adult Nursing II มโนทัศน์การพยาบาลผู้ใหญ่ที่เจ็บป่วยซับซ้อนในระยะเฉียบพลันแล...
 
ประสบการณ์การรับรู้และการจัดการปัญหาด้านเพศสัมพันธ์ของผู้ป่วยเพศชายโรคไตวายเร...
ประสบการณ์การรับรู้และการจัดการปัญหาด้านเพศสัมพันธ์ของผู้ป่วยเพศชายโรคไตวายเร...ประสบการณ์การรับรู้และการจัดการปัญหาด้านเพศสัมพันธ์ของผู้ป่วยเพศชายโรคไตวายเร...
ประสบการณ์การรับรู้และการจัดการปัญหาด้านเพศสัมพันธ์ของผู้ป่วยเพศชายโรคไตวายเร...
 
การพยาบาลโรคต่อมไร้ท่อที่ซับซ้อน
การพยาบาลโรคต่อมไร้ท่อที่ซับซ้อนการพยาบาลโรคต่อมไร้ท่อที่ซับซ้อน
การพยาบาลโรคต่อมไร้ท่อที่ซับซ้อน
 
บทบาทพยาบาลในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่ประสบอุบัติเหตุฉุกเฉิน
บทบาทพยาบาลในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่ประสบอุบัติเหตุฉุกเฉินบทบาทพยาบาลในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่ประสบอุบัติเหตุฉุกเฉิน
บทบาทพยาบาลในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่ประสบอุบัติเหตุฉุกเฉิน
 
แนวคิดร่วมสมัยในการจัดการเรียนการสอนสาขาพยาบาลศาสตร์
แนวคิดร่วมสมัยในการจัดการเรียนการสอนสาขาพยาบาลศาสตร์แนวคิดร่วมสมัยในการจัดการเรียนการสอนสาขาพยาบาลศาสตร์
แนวคิดร่วมสมัยในการจัดการเรียนการสอนสาขาพยาบาลศาสตร์
 

ประสบการณ์การได้รับการสนับสนุนทางสังคมในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม

  • 1. ชัชวาล วงค์สารี, เรณู อาจสาลี / Chutchavarn Wongsaree, Renoo Assalee 132... วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย ปีที่ 9 ฉ.2 ก.ค.-ธ.ค. 59 ประสบการณ์การได้รับการสนับสนุนทางสังคมในผู้ป่วยไตวาย เรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม* Experience of Using Social Support in End Stage Renal Disease Patients Receiving Hemodialysis* ชัชวาล วงค์สารี ** เรณู อาจสาลี*** Chutchavarn Wongsree**, Renoo Assalee*** * การศึกษานี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจาก มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ปีการศึกษา 2557 * This Study was supported by Western University, 2014 ** Corresponding author, อาจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ กาญจนบุรี มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น E-mail: nutt_chut@hotmail.com ** Corresponding author, Instructor, Faculty of Nursing, Kanchanaburi, Western University. E-mail: nutt_chut@hotmail.com *** รองศาสตราจารย์, คณะพยาบาลศาสตร์ กาญจนบุรี มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น *** Associate Professor, Faculty of Nursing, Kanchanaburi, Western University. บทคัดย่อ การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์การได้รับการสนับสนุนทางสังคมในผู้ป่วย ไตวายระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม การวิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบปรากฏการณ์ วิทยา ตามแนวคิดของ Edmund Husserl ผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 18 คนแบ่งเป็นผู้ป่วยที่รักษาด้วยการฟอก เลือดด้วยเครื่องไตเทียม จำ�นวน 12 คนและญาติที่ดูแล 6 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบ เจาะลึก ตั้งแต่ 1 สิงหาคม ถึง 31 ตุลาคม 2557 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา พบ 3 ประเด็นหลัก ดังนี้ 1. ด้านปัญหา คือ ค่าใช้จ่ายสูงและต้องจ่ายอย่างต่อ เนื่อง ขาดบุคคลที่ให้คำ�ชี้แนะการใช้สิทธิการรักษา ขาดผู้ดูแล ผู้ป่วยไม่ควบคุมการรับประทานอาหาร ความทน ในการทำ�กิจกรรมลดลง 2. ด้านความต้องการ คือ การช่วยเหลือค่าใช้จ่าย การแนะนำ�วิธีการใช้สิทธิการรักษา การให้ความรู้ทางสุขภาพ 3. ด้านการได้รับการดูแลด้านอาหารและยา ข้อเสนอแนะ หน่วยบริการการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมควรจัดบริการให้การปรึกษาที่เป็น รูปแบบเกี่ยวกับการเข้าถึงสิทธิการรักษาของผู้ป่วย การให้ข้อมูลอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มความรู้แก่ผู้ป่วย และผู้ดูแล คำ�สำ�คัญ: ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ประสบการณ์ การสนับสนุน ทางสังคม
  • 2. ประสบการณ์การได้รับการสนับสนุนทางสังคมในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม Experience of Using Social Support in End Stage Renal Disease Patients Receiving Hemodialysis วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย ปีที่ 9 ฉ.2 ก.ค.-ธ.ค. 59 ...133 Abstract This qualitative research aimed to explore experience of social support in end stage renal disease patients receiving hemodialysis. Phenomenological method of Edmund Husseri was applied as the research methodology. The eighteen informants comprised twelve patients and six caregivers. Data were collected through in-depth interviews, since August 1 to October 31, 2014. Content analysis was used in this study. The findings consisted of 3 major factors as follows: 1) Problems-highly cost for hemodialysis and required a continuing heathcare costs, lack of individual guidance for health insurance rights, lack of caregiver, uncontrol diet, and decreased endurance in activity 2) Demands- supporting healthcare cost, advising health insurance rights, and providing comprehensive health education 3) Nutrition and medication management Research suggestions are that the hemodialysis unit should provide counseling about health insurance rights for end stage renal disease patients, and continuingly support in formation for patients and caregivers. Keywords: end stage renal disease, hemodialysis, experience, social support ความเป็นมาและความสำ�คัญของปัญหา โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย (End stage renal disease) เป็นโรคที่เกิดจาการสูญเสียหน้าที่ ของไตไปอย่างช้าๆ และดำ�เนินไปอย่างต่อเนื่องจน เกิดการสูญเสียหน้าที่อย่างถาวรของไตทั้งสองข้าง โดยมีหลักฐานการตรวจการทำ�งานของไตว่ามี พยาธิสภาพที่ไต โดย Glomerular filtration rate (GFR) น้อยกว่า 15 มิลลิลิตร/นาที/1.73 ตาราง เมตร(1) ทำ�ให้ร่างกายไม่สามารถขับของเสียออกได้ จึงเกิดการคั่งของของเสียและภาวะน้ำ�เกินตามมา ก่อให้เกิดความไม่สุขสบายและภาวะแทรกซ้อน ต่างๆ กับร่างกาย อาทิ เช่น ความดันโลหิตสูง ตัวบวม หายใจลำ�บาก คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร จนกระทั้งเกิดการคั่งของๆ เสียอย่างรุนแรง ผู้ป่วย จะซึม สับสน ชักและหมดสติตามมาได้(2) การรักษา มักเป็นการรักษาแบบประคับประคองโดยใช้ เทคโนโลยีขั้นสูงทางการแพทย์ โรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายเป็นปัญหาทางด้าน สาธารณสุขที่สำ�คัญทั่วโลก ในประเทศสหรัฐอเมริกา มีจำ�นวนผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับ การบำ�บัดทดแทนไตจากปี 2000 ซึ่งมีจำ�นวน 340,000 ราย เพิ่มเป็น 817,100รายในปี 2009(3) ซึ่งจำ�นวนผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับ การบำ�บัดทดแทนไตเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดดและ ยังพบว่าเป็นสาเหตุการตายอันดับที่ 9 ของประเทศ อีกด้วย(1) ในประเทศไทยพบว่ามีผู้ป่วยโรคไตวาย เรื้อรังสะสมอยู่ 8 ล้านคน โดยมีผู้ป่วยรายใหม่ ปีละประมาณ 10,000 คน และมีแนวโน้มสูงขึ้น อย่างต่อเนื่องทุกปี และในจำ�นวนนี้เป็นผู้ป่วยไตวาย เรื้อรังระยะสุดท้ายที่ต้องบำ�บัดทดแทนไตจำ�นวน
  • 3. ชัชวาล วงค์สารี, เรณู อาจสาลี / Chutchavarn Wongsaree, Renoo Assalee 134... วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย ปีที่ 9 ฉ.2 ก.ค.-ธ.ค. 59 40,000 คน แบ่งเป็นรักษาด้วยการฟอกเลือดด้วย เครื่องไตเทียม 30,000 คน ล้างไตทางหน้าท้อง 7,000 คน และผ่าตัดปลูกถ่ายไต 3,000 คน(4) ซึ่ง ค่าใช้จ่ายในกลุ่มที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมมีค่า ใช้จ่ายค่อนข้างสูงประมาณ 300,000-350,000 บาทต่อคนต่อปี(5) หรือปีละประมาณ 4-6 พันล้าน จากผู้ป่วยทั่วประเทศ(4) ในปี พ.ศ.2556 สำ�นักงาน ประกันสุขภาพแห่งชาติได้จัดสรรงบประมาณใน การดูแลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย จำ�นวน 4,357 ล้านบาท ซึ่งเป็นจำ�นวนเงินที่สูงมาก ข้อมูล วันที่ 31 มกราคม 2556 มีผู้ป่วยไตวายระยะ สุดท้ายที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมโดยใช้สิทธิ ประกันสุขภาพถ้วนหน้า จำ�นวน 10,737 คน(6) ซึ่ง เป็นจำ�นวนที่สูงขึ้น จากสถิติการเกิดโรคไตเรื้อรัง ข้างต้นเป็นที่คาดการณ์ได้ว่า ประเทศไทยซึ่งเป็น ประเทศที่กำ�ลังพัฒนาต้องประสบกับจำ�นวนผู้ป่วย โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายเพิ่มมากขึ้น มีผู้ป่วย ที่ต้องฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมมากขึ้นและสูญเสีย งบประมาณการบริหารประเทศมาจัดสรรการบริการ สาธารณสุขด้านนี้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อเข้าสู่ระยะสุดท้ายของโรคผู้ป่วยจำ�เป็น ต้องได้รับการบำ�บัดทดแทนไตอย่างรวดเร็วและต่อ เนื่องซึ่งเป้าหมายของการรักษาในระยะนี้ เป็นเพียง การช่วยปรับสภาพสมดุลน้ำ�ในเซลล์และน้ำ�นอก เซลล์ที่ผิดปกติกลับสู่ภาวะปกติให้เซลล์ทำ�หน้าที่ได้ ตามปกติ และเน้นการแก้ไขความไม่สมดุลของ เกลือแร่ ระดับของเสียที่สะสมในร่างกาย ในผู้ป่วย ที่ได้รับการบำ�บัดทดแทนไตไม่เพียงพอจะทำ�ให้ผู้ป่วย มีการเจ็บป่วยรุนแรงมากขึ้นและเสียชีวิตในที่สุด(7) อย่างไรก็ตามโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายไม่สามารถ รักษาให้หายขาดได้ การรักษาจึงเป็นการประคับ ประคองสภาพการทำ�งานของร่างกายให้เป็นปกติ มากที่สุด ซึ่งในปัจจุบันมีวิธีการบำ�บัดทดแทนไต 3 วิธี ได้แก่ การผ่าตัดปลูกถ่ายไต (Renal replace- ment therapy: KT) การล้างไตทางหน้าท้อง (Continuous ambulatory peritoneal dialysis: CAPD) และการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis: HD) ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับความนิยม มากที่สุด ซึ่งเป็นวิธีแรกที่อายุรแพทย์โรคไตเลือก ใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยหอบ บวมมาก ของเสียคั่งจนแสดงอาการ คันตามตัว เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียนและนอนไม่หลับ ซึ่งเป็นวิธีที่สะดวก สำ�หรับผู้ป่วย คิดเป็นร้อยละ 75(4) การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมเป็นการ รักษาผู้ป่วยด้วยวิธีการกรองของเสียออกจากเลือด โดยใช้เครื่องไตเทียมในการดึงน้ำ�และของเสียออก จากตัวผู้ป่วย(8) เป็นวิธีที่พยาบาลไตเทียมบริการให้ สะดวกในเรื่องการรับบริการของผู้ป่วยหลังการฟอก เลือดด้วยเครื่องไตเทียมจะพบว่าระดับน้ำ�ส่วนเกิน ในตัวผู้ป่วย ความเป็นกรดของเลือดและเกลือแร่ที่ สะสมจะลดลงอย่างชัดเจน แต่การฟอกเลือดใน ช่วงเวลาหนึ่งจะไม่สามารถควบคุมความเป็นกรด ของเลือด ความสมดุลของน้ำ�และเกลือแร่ใน ร่างกายได้ตลอดไปจำ�เป็นต้องฟอกเลือดด้วยเครื่อง ไตเทียมอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2- 3 ครั้ง ระบบต่างๆ จึงจะคงสภาวะปกติและเกิดความเพียงพอในการ บำ�บัดทดแทนไต(9) การรักษาดังกล่าวช่วยให้คุณภาพ ชีวิตผู้ป่วยดีขึ้น โรคไตวายเรื้อรังเป็นภาวะคุกคามทางสุขภาพ ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและ เศรษฐกิจเป็นโรคที่ไม่มีทางรักษาให้หายขาด ต้อง เสียค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง มีผลกระทบอย่างมาก ต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ผู้ป่วยมักมีร่างกาย ทรุดโทรมจากภาวะขาดสารอาหาร มีโอกาสเกิด
  • 4. ประสบการณ์การได้รับการสนับสนุนทางสังคมในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม Experience of Using Social Support in End Stage Renal Disease Patients Receiving Hemodialysis วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย ปีที่ 9 ฉ.2 ก.ค.-ธ.ค. 59 ...135 ภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย เช่น ภาวะน้ำ�เกิน การ ติดเชื้อ และการอุดตันของเส้นเลือดที่ผ่าตัดต่อ สำ�หรับการฟอกเลือด เป็นต้น(10) ผู้ป่วยมักมี ความเครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า ท้อแท้ สิ้นหวัง จากการศึกษาของ เกียเซอร์และคณะ(11) พบว่า ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่รับการฟอกเลือดด้วย เครื่องไต เทียมมีความเหนื่อยล้าร้อยละ 41 การดำ�เนินชีวิต การงานเปลี่ยนไป ภาวะของโรคทำ�ให้มีข้อจำ�กัดใน การประกอบอาชีพ ทำ�ให้ขาดรายได้หรือรายได้ลด ลง บางรายต้องลาออกจากงาน ทำ�ให้มีปัญหาทาง ด้านเศรษฐกิจ ในขณะที่ผู้ป่วยต้องเสียค่าใช้จ่ายใน การรักษาสูงประมาณ 20,000-30,000 บาทต่อ เดือนและต้องรักษาตลอดไป การคงภาวะสุขภาพ และการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆผู้ป่วย จำ�เป็นต้องดูแลและสนใจสุขภาพของตนเองอย่าง สม่ำ�เสมอ ต้องมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม ต้องมารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ต้องบรรเทา ความเครียด และมีกำ�ลังใจในการต่อสู้กับความเจ็บ ป่วยและปัญหาต่างๆ การได้รับการสนับสนุนจาก ครอบครัวและสังคมจึงเป็นสิ่งสำ�คัญสำ�หรับผู้ป่วย ผลการศึกษา พบว่า การได้รับแรงสนับสนุน จากครอบครัวมีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยมีอารมณ์ที่มั่นคง รู้สึกอบอุ่น เกิดความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง มี กำ�ลังใจในการต่อสู้กับปัญหาและการปรับตัวในด้าน ต่างๆ และลดความตึงเครียดจากปัญหาที่ประสบ อยู่(12) รวมถึงมีการประเมินปัญหาและหาหนทาง จัดการกับปัญหาและความต้องการนั้นๆ ได้เป็น อย่างดี และยังพบว่า การสนับสนุนทางสังคมมี ความสัมพันธ์ทางบวกกับความรู้สึกพึงพอใจในชีวิต ของผู้ป่วย การศึกษาในประเทศไทยให้ผลสอดคล้องกัน คือ การที่ผู้ป่วยได้รับแรงสนับสนุนจากครอบครัว ในการดูแลเอาใจใส่ เป็นห่วงเป็นใย ให้กำ�ลังใจ ต่อ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ช่วยให้ผู้ป่วยเกิดความ รู้สึกอบอุ่น ปลอดภัย คลายทุกข์ใจ(13) ในหน่วย ไตเทียมที่ทำ�การศึกษาครั้งนี้พบว่ามีการได้รับแรง สนับสนุนทางสังคมหลายรูปแบบตามความแตกต่าง ของผู้ป่วยแต่ละคน เช่น การได้รับค่าใช้จ่ายที่ เกี่ยวข้องกับการฟอกเลือด การเข้าถึงสิทธิการรักษา การได้รับการอำ�นวยความสะดวกจากหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง การได้รับความรู้ที่เป็นแบบแผน ซึ่งจะ แตกต่างกันตามประสบการณ์ของผู้ป่วยและผู้ดูแล แต่ละคนผนวกกับการศึกษาเชิงคุณภาพที่ศึกษา การสนับสนุนทางสังคมของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง ระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม มีค่อนข้างน้อย ผู้วิจัยในฐานะบุคลากรทางการ แพทย์จึงมีความสนใจที่จะศึกษาการสนับสนุนทาง สังคมของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ตามการรับรู้ของ ผู้ป่วยและครอบครัว ตลอดจนปัญหาและความ ต้องการการสนับสนุนทางสังคมของผู้ป่วย เพื่อให้ เกิดความเข้าใจและเป็นแนวทางในการส่งเสริมการ สนับสนุนทางสังคมและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย กลุ่มนี้ต่อไป วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสบการณ์การได้รับการสนับสนุน ทางสังคมของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้ รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม วิธีดำ�เนินการวิจัย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพตามแนวคิด ปรากฏการณ์วิทยาของ Edmund Hesserl(14) เพราะมีความเหมาะสมกับการศึกษาประสบการณ์ ความเจ็บป่วย ที่มีข้อมูลเชิงลึกหลายแง่มุม รวมทั้ง
  • 5. ชัชวาล วงค์สารี, เรณู อาจสาลี / Chutchavarn Wongsaree, Renoo Assalee 136... วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย ปีที่ 9 ฉ.2 ก.ค.-ธ.ค. 59 เป็นแนวทางการศึกษาที่ทำ�ความเข้าใจความเป็น จริงจากสิ่งที่ตัวผู้ป่วยให้ความสำ�คัญถ่ายทอดแปล ความหมายออกให้ได้รับรู้(15) ผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้ป่วย ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วย เครื่องไตเทียม ที่หน่วยไตเทียม โรงพยาบาลเอกชน แห่งหนึ่ง จำ�นวน 12 ราย และสมาชิกในครอบครัว หรือญาติผู้ดูแลผู้ป่วย 6 ราย ดำ�เนินการวิจัยในช่วง เวลา ตั้งแต่ 1 สิงหาคม ถึง 31 ตุลาคม 2557 เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sam- pling) โดยกำ�หนดคุณสมบัติของกลุ่มตัวอย่างดังนี้ 1. เป็นผู้ที่อายุรแพทย์โรคไตวินิจฉัยว่าเป็น โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ต้องรักษาด้วยการ ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่หน่วยไตเทียม โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งมากกว่า 1 ปีขึ้นไป ไม่ จำ�กัดเพศและอายุ 2. เป็นสมาชิกของครอบครัวที่ดูแลผู้ป่วยโรค ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วย เครื่องไตเทียมมากกว่า 1 ปีขึ้นไป 3. สามารถเข้าใจภาษาไทยได้ดี ไม่มีปัญหา ทางการได้ยิน สื่อสารได้ไม่สับสนอยู่สถานภาพที่ให้ ข้อมูลได้ และไม่มีความผิดปกติทางด้านจิตใจมาก่อน 4. ยินดีให้ความร่วมมือในการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็น แนวคำ�ถามการสัมภาษณ์ แนวคำ�ถามการสนทนา กลุ่ม และแบบสังเกตที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองซึ่งได้ พัฒนาขึ้นจากเอกสารและงานวิจัย และได้ผ่าน ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่านตรวจสอบความเหมาะสม ซึ่งมีรายละเอียดแนวคำ�ถามการสัมภาษณ์ผู้ป่วย ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วย เครื่องไตเทียม มี 2 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ ส่วนตัว ผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรักษา ผู้ดูแล ขณะเจ็บป่วย ระยะเวลาที่เจ็บป่วย ระยะเวลาที่ได้ รับการรักษา ระยะห่างในการมารับการฟอกเลือด ด้วยเครื่องไตเทียม และโรคประจำ�ตัว ส่วนที่ 2 แนวสัมภาษณ์เชิงลึก โดยมีคำ�ถาม หลักที่สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูล คือ “ท่านได้รับการ สนับสนุนหรือช่วยเหลือที่เกี่ยวกับการฟอกเลือด อย่างไรบ้าง” คำ�ถามหลักที่สัมภาษณ์ผู้ดูแล คือ “ท่านได้ให้การสนับสนุนหรือช่วยเหลือผู้ป่วยที่เกี่ยว กับการฟอกเลือดแก่ผู้ป่วยอย่างไรบ้าง” วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลวิจัยและการ พิทักษ์สิทธิผู้ให้ข้อมูล ภายหลังได้รับการพิจารณาจริยธรรมในการ ศึกษาวิจัยในมนุษย์ของโรงพยาบาลที่ทำ�การศึกษา เลขที่ ท 05/2557 ผู้วิจัยได้เข้าพบผู้ให้ข้อมูลและ ให้รายละเอียดในการทำ�วิจัยแก่ผู้ให้ข้อมูลทราบ ให้เซ็นใบยินยอมเข้าร่วมวิจัย โดยเก็บรวบรวมข้อมูล ตามวันและรอบของการนัดฟอกเลือดของผู้ให้ข้อมูล แต่ละราย โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก การบันทึก เสียงขณะสัมภาษณ์ร่วมกับการสังเกต ผู้วิจัย สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลรายละ 1-2 ครั้งๆ ละ 30-45 นาที การสัมภาษณ์ทั้งหมดเกิดขึ้นในสถานที่สงบ มีความเป็นส่วนตัวและสะดวกต่อผู้ให้ข้อมูล และ ดำ�เนินการสนทนากลุ่ม ผู้เข้าร่วมกลุ่มคือผู้ดูแล
  • 6. ประสบการณ์การได้รับการสนับสนุนทางสังคมในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม Experience of Using Social Support in End Stage Renal Disease Patients Receiving Hemodialysis วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย ปีที่ 9 ฉ.2 ก.ค.-ธ.ค. 59 ...137 ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอก เลือดด้วยเครื่องไตเทียม 6 คน โดยจะจัดให้นั่ง สนทนาในที่ที่ไม่มีคนพลุกพล่าน ไม่เป็นที่เร้นลับ เมื่อนั่งที่เรียบร้อยแล้ว ผู้วิจัยเริ่มต้นสนทนาโดยแจ้ง วัตถุประสงค์ในการวิจัย ชี้แจงประเด็นคำ�ถามที่จะ สนทนาในครั้งนี้อย่างชัดเจนพร้อมทั้งขออนุญาต บันทึกเสียงขณะสนทนา ในกระบวนการสัมภาษณ์ ผู้วิจัยถามย้ำ�เพื่อตรวจสอบความเข้าใจของผู้วิจัย และผู้ให้ข้อมูล เป็นระยะๆ การวิเคราะห์ข้อมูล 1) การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นเป็นการ วิเคราะห์ข้อมูลขณะทำ�การสัมภาษณ์เพื่อใช้สร้าง คำ�ถามต่อเนื่องในระหว่างการสนทนา และวิเคราะห์ ความสมบูรณ์ของข้อมูลจากการถอดเทปบันทึก เสียงทันทีภายหลังการสัมภาษณ์เสร็จสิ้น 2) วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสรุปประเด็นตาม แนวคิดของ Edmund Husserl ซึ่งมีขั้นตอนโดย สังเขป ดังนี้ จัดระบบข้อมูลและแยกประเภทของ ข้อมูลเป็นหมวดหมู่ ทำ�ดรรชนีเชิงบรรยาย ดรรชนี เชิงตีความ และดรรชนีเชิงอธิบาย ในสถานการณ์ ต่างๆ ปัญหาและความต้องการการสนับสนุนทาง สังคม ใส่รหัส (code) สำ�หรับอ้างอิง หรือค้นข้อมูล โดยให้รหัสตามประเภทของข้อมูล ตีความ (inter- pretation) โดยดึงความหมายออกจากข้อมูลที่มีอยู่ โดยการตีความแบ่งออกเป็น การตีความเชิง บรรยายเพื่ออธิบายองค์ประกอบ สถานการณ์ ความเป็นมาของปัญหาของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะ สุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม และครอบครัว และการตีความแบบสร้างความ สัมพันธ์ เป็นการให้ภาพของปรากฏการณ์ว่ามี แบบแผนอย่างไร เกิดขึ้นได้อย่างไร และสร้างข้อ สรุป โดยตีความจากข้อมูลที่ได้รับ หาความเชื่อม โยง ตรวจสอบข้อสรุปให้ตรงกับข้อมูลที่สัมภาษณ์ ผลการวิจัย ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ฟอกเลือด ด้วยเครื่องไตเทียม มีอายุอยู่ในช่วง 27-42 ปี (เฉลี่ย 36.2 ปี) เป็นเพศชาย 6 คน เพศหญิง 6 คน ระยะเวลาการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมอยู่ ระหว่าง 2-9 ปี ทั้งหมดสัญชาติไทย เชื้อชาติ ไทยและนับถือศาสนาพุทธ ภูมิลำ�เนาอยู่ในเขต กรุงเทพมหานครและปริมณฑล การศึกษาระดับ มัธยมศึกษา 1 ราย อนุปริญญา 5 ราย ปริญญาตรี 6 ราย ส่วนผู้ดูแลเป็นญาติที่ดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้มา ต่อเนื่องอายุอยู่ในช่วง 25-56 ปี (เฉลี่ย 40.6 ปี) เป็นผู้ชาย 3 คน ผู้หญิง 3 คน มีความสัมพันธ์กับ ผู้ป่วยที่ดูแลในฐานะลูก 2 คน ฐานะภรรยา 3 คน และฐานะแม่ 1 คน ผู้ป่วยและญาติมีการใช้มิติ การสนับสนุนทางสังคมที่ต่อเนื่องอย่างแยกออก จากกันไม่ได้ ซึ่งผู้ป่วยได้รับการช่วยเหลือจาก ครอบครัวและองค์กรที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง อาจ เกิดจากการร้องขอหรือไม่ร้องขอของผู้ป่วยก็ตาม การดำ�เนินชีวิตของผู้ป่วยและญาติกลุ่มนี้จึงมีความ สัมพันธ์กันในบริบทการสนับสนุนทางสังคม ซึ่งสามารถ แบ่งข้อค้นพบออกเป็น 3 ด้าน ดังนี้ 1. ด้านปัญหา ของผู้ป่วย 2. ด้านความต้องการ 3. ด้านการได้รับ การดูแล ดังนี้ 1. ด้านปัญหาของผู้ป่วย 1.1 ค่าใช้จ่ายสูงและต้องจ่ายอย่างต่อ เนื่อง ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ให้ข้อมูลว่าค่าใช้จ่ายที่ เกี่ยวเนื่องกับการรักษาด้วยการฟอกเลือดด้วย เครื่องไตเทียมและค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งค่ายา ที่ใช้ในการรักษา ค่าเดินทาง ในแต่ละครั้งที่มาฟอก ไตต้องจ่ายตลอดและต่อเนื่อง ผู้ดูแลผู้ป่วยเห็นว่า
  • 7. ชัชวาล วงค์สารี, เรณู อาจสาลี / Chutchavarn Wongsaree, Renoo Assalee 138... วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย ปีที่ 9 ฉ.2 ก.ค.-ธ.ค. 59 ค่าใช้จ่ายค่อนข้างมากและค่อนข้างเป็นปัญหา แต่ ก็ไม่อยากให้ผู้ป่วยรับทราบเพราะจะทำ�ให้เกิดความ กังวลใจ ดังคำ�กล่าวของผู้ให้ข้อมูลที่ว่า “ผู้ป่วยคนที่ 2: ไหนค่ารถ ไหนค่าล้าง ไหน ลางานวันๆ นี่ค่ารถแพงกว่าค่าล้างอีกนะ บ้านอยู่ พระราม 2 ไปกลับก็ 400 บาท ค่าฟอกเลือด 350 บาท/วัน ฟอกเลือด 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เดือนหนึ่งๆ รวมค่าใช้จ่ายไม่ต่ำ�กว่า 20,000 ที่ฟอกเลือดใกล้ๆ บ้านก็ไม่มี สถานที่บริการด้านนี้มันน้อยอ่ะ มันไม่มี คิวฟอก รัฐบาลทุกโรงพยาบาลน่าจะเปิดบริการ มัน ไม่สะดวกอ่ะ อย่างเดือนนึ่งๆ 12 ครั้ง 400 เดือน นึ่งสี่พันห้าพันล้างมา 4 ปี กว่าแล้ว” (P3-2- 50*53) “ผู้ป่วยคนที่ 10: ตอนแรกที่เริ่มฟอกเลือด ใหม่ๆ ยังพอทำ�งานได้ แต่พอฟอกมาได้ประมาณ 5 ปี เริ่มรู้สึกว่าร่างกายเหนื่อยง่าย จำ�เป็นต้องหยุด ทำ�งานประจำ�แต่จะหยุดฟอกเลือดคงไม่ไหว ครอบครัวจึงต้องช่วยหาเงินมาเพื่อเป็นค่าฟอก เลือดของตน” (P12-10-25*28) “ญาติคนที่ 1..............ปัญหาคือค่าใช้จ่ายที่เกิด ขึ้นอย่างต่อเนื่องและยาวนานจ่ายเพิ่มครั้งละ 500 บาท/ครั้ง ช่วงแรกเหมือนจะสู้ไหวพักหลังต้อง ขอเงินจากลูกๆ เพื่อเป็นค่ารักษา แต่ก็ไม่อยากจะ ให้เขา (ผู้ป่วย) ทราบหรอกว่ามีปัญหาเรื่องนี้ ไม่ อยากให้กังวลใจ” (F1-14-407) “ญาติคนที่ 3...............ค่าใช้จ่ายเยอะสิทธิที่ใช้ คือประกันสังคม จ่ายให้ 1,500 บาท แต่ก็ต้องจ่าย ส่วนเกินอยู่ดี บางครั้งหาเงินไม่ทันต้องลดจำ�นวน ครั้งฟอกเลือดลงเอง” (F1-5-102) “ญาติคนที่ 5..............ค่าใช้จ่ายคือเรื่องใหญ่ เหนื่อยใจแต่ต้องสู้ ก็คิดว่าจะสู้ให้ถึงที่สุด” (F1-14-411) 1.2 ขาดบุคคลให้คำ�ชี้แนะการใช้สิทธิ ซึ่ง เป็นปัญหาด้านการสนับสนุนข้อมูลโดยผู้ให้ข้อมูล ส่วนใหญ่ให้ข้อมูลว่าไม่มีหน่วยงานหรือบุคคลใน การให้ความรู้ คำ�แนะนำ�ต่างๆ เกี่ยวกับการปฏิบัติ ตัวและแนวทางการรับบริการ บางคนกล่าวว่าหาก มีหน่วยงานหรือมีบุคลากรให้คำ�แนะนำ�ในเรื่อง เหล่านี้จะช่วยได้อย่างมากไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึง สิทธิ การเลือกช่องทางในการรับบริการที่ถูกต้อง บางรายกล่าวว่าบางครั้งมีคำ�ถามที่ต้องขอคำ�แนะนำ� แต่ดูเหมือนเจ้าหน้าที่ไม่ว่างจึงไม่อยากรบกวน ด้วยดังคำ�กล่าวของผู้ให้ข้อมูลที่ว่า “ผู้ป่วยคนที่ 1: ไม่มี ไม่มีเจ้าหน้าที่มาให้ ข้อมูล สำ�หรับเรานะหาแหล่งข้อมูลอ่านเอง พอมี คอลัมน์เกี่ยวกับไตก็จะอ่านเอง เจ้าหน้าที่ก็พื้นๆ คงไม่นั่นพอถ้าเป็นคนอื่นไม่อ่าน เจ้าหน้าที่ก็ ก็คง ไม่มีอะไร ไม่มีอะไรพิเศษที่จะแนะนำ�เป็นพิเศษอ่ะ” (P3-1-26*30) “ผู้ป่วยคนที่ 7 : ......หากมีเจ้าหน้าที่คอยดูแล ให้คำ�แนะนำ�อย่างต่อเนื่องคงเลือกรับบริการที่สะดวก มากขึ้น แต่นี่ไม่มี ไม่มีเลยต้องถามโดยดูอารมณ์ ก่อน จึงจะได้คำ�ตอบมา” (P7-7-44*45) “ผู้ป่วยคนที่ 5 : บางครั้งก็มีเรื่องที่อยากจะ ถามเกี่ยวกับการปฏิบัติตัว แต่ดูเหมือนเจ้าหน้าที่ ยุ่งๆจึงไม่กล้าถาม ไม่อยากรบกวนแต่ก็มีบางครั้งที่ ตัดสินใจถามเพื่อให้ได้คำ�ตอบ......อยากให้มีหน่วยให้ คำ�แนะนำ� มีเจ้าหน้าที่ที่รู้เรื่องรับผิดชอบให้คำ� แนะนำ�” (P8-5-36*37) 1.3 ขาดผู้ดูแล ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ให้ข้อมูล ว่า ผู้ดูแล ไม่ค่อยมีเวลามาดูแลผู้ป่วย ผู้ป่วยบาง รายบอกว่าตนไม่ได้แต่งงานก็จะดูแลตนเองเป็น หลักและยังมีญาติอีกส่วนหนึ่งที่ดูแลบ้าง ผู้ป่วยบาง รายกล่าวว่าหลังฟอกเลือดกลับไปก็เหนื่อยต้องดูแล
  • 8. ประสบการณ์การได้รับการสนับสนุนทางสังคมในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม Experience of Using Social Support in End Stage Renal Disease Patients Receiving Hemodialysis วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย ปีที่ 9 ฉ.2 ก.ค.-ธ.ค. 59 ...139 ตนเองบางครั้งคิดว่าเป็นเวรกรรมแต่ก็อดคิดไม่ได้ ว่าทำ�ไมไม่มีใครมาดูแลด้วย ดังคำ�กล่าวของผู้ให้ ข้อมูลที่ว่า “ผู้ป่วยคนที่ 2..............ลูกไม่ค่อยมาดูหรอกเขา มีงานของเขาไม่ค่อยจะว่าง บางครั้งก็คิดนะว่าเรา น่าจะมีลูกมาดูแลเหมือนคนอื่นๆ เวลาเหนื่อยล้า จะได้มีคนอยู่ใกล้ๆ คิดถึงลูก....” (P2-3-74) “ผู้ป่วยคนที่ 4 ญาติอยู่คนละที่ไกลกันไม่ค่อย ได้มาดูแล เขาจะมารับ-ส่งเฉพาะวันฟอกเลือด ส่วนมากอยู่คนเดียวเคยคิดเหมือนกันว่าอยากให้ลูก หลานมาอยู่ใกล้ๆ จะเป็นอะไรไปเมื่อไหร่ก็ไม่รู้” (P4-16-270*273) “ญาติคนที่ 6..............อย่างบางทีผู้ป่วยที่มารอ ฟอกเลือดก็พูดว่าอยากตายดีกว่าจะได้ตายๆไป หมดเวรหมดกรรม ไหนๆก็ไม่มีใครไม่รู้จะฟอกต่อ เพื่ออะไร” (F6-18-450*453) 1.4 ผู้ป่วยไม่ควบคุมการรับประทานอาหาร ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ให้ข้อมูลว่าอาหารก็พยายามที่ จะควบคุมตามที่พยาบาลบอก แต่บางครั้งต้องซื้อ รับประทานที่ซอยหน้าบ้าน สั่งตามสูตรที่ไม่เค็ม ไม่ ใส่ผงชูรสแต่บางครั้งก็เค็มอยู่ดีแต่ต้องรับประทาน เพื่อความอยู่รอด บางรายให้ข้อมูลว่าซื้ออาหารถุง ที่วางขายราคาถูกดีอาหารที่พยาบาลแนะนำ�ดูแล้ว ราคาแพงแต่หากมีโอกาสก็จะซื้อรับประทาน ดังคำ� กล่าวของผู้ให้ข้อมูลที่ว่า “ผู้ป่วย คุมฟอสเฟตไม่ได้ ชอบกินซอกโกแล็ต” ( P2-7-171) “ญาติ เราก็เลี่ยงอาหารที่หมอห้ามแต่ก็ยาก เพราะแกต้องอยู่บ้านคนเดียว บางวันต้องซื้อรับ ประทานที่ซอยหน้าบ้านสั่งตามสูตรที่ไม่เค็ม ไม่ใส่ ผงชูรส แต่เราก็ไม่รู้ว่าเขาทำ�ยังไงบ้าง ไม่ใส่ตามที่ เราสั่งรู้เปล่า…”( F1-4-99) “ญาติ เราคนปกติก็กินได้หมดเวลาเรากินเขา ก็บอกขอซิมด้วย ซิมนั่นก็ซิมนิดๆหน่อยๆรู้ว่าเป็น อาหารที่ห้าม” (F1-4-101) “ผู้ป่วย ชอบทานผลไม้ แต่ก็รู้ว่ามันมีน้ำ�เยอะ ก็กินเล็กน้อย …..ส่วนอาการถุงที่วางขายราคาถูก ดีอาหารที่พยาบาลแนะนำ�ดูแล้วราคาแพงแต่หาก มีโอกาสก็จะซื้อกินอยู่ค่ะ….” (P4-76) “ญาติ เขาดื้อนะรู้ว่าหมอห้ามกิน มันดื้อกิน ห้ามอะไรไม่ฟัง” (F1-9-263) 1.5 ความทนในการทำ�กิจกรรมลดลง ผู้ป่วย สะท้อนความรู้สึกว่าในการฟอกเลือดบางครั้งก็ เหนื่อย กิจกรรมที่เคยทำ�ก็ทำ�ได้ลดลง ยิ่งฟอกนาน ปียิ่งทำ�ไม่ไหว แม้แต่ขับรถก็ไม่ไหวในบางครั้ง การ หลับการนอนก็หลับๆตื่นๆ ดังคำ�กล่าวของผู้ให้ ข้อมูลที่ว่า “ผู้ป่วย เพลีย แขน ขา ไม่มีแรง” ( P7-*-) “ผู้ป่วย ไม่ได้ทำ� ทำ�ไม่ไหว ทำ�งานไม่ได้ “(P7-*-) “ผู้ป่วย ไปไหนลำ�บากขับรถได้ไม่เหมือนเดิม” (P7-*-) 2. ด้านความต้องการ ผู้ป่วยและญาติกลุ่มนี้ได้กล่าวถึงความต้องการ ดังนี้ 2.1 การช่วยเหลือค่าใช้จ่าย ผู้ให้ข้อมูลให้ ข้อมูลว่าการเดินทางมาฟอกไตค่อนข้างบ่อย และ มีค่าใช้จ่ายมาก ดังคำ�กล่าวของผู้ให้ข้อมูลที่ว่า “ผู้ป่วยอยากให้หน่วยงานช่วยเหลือเรื่องค่า ใช้จ่ายเลยขอพูดกับหมอว่าขอเลื่อนเป็นวันศุกร์จะ ได้ลางาน 2 วัน” ( P3-2-50) “ผู้ป่วย ขอให้นัดตรงกับวันที่ล้างไต” (P3- 2-50) “ผู้ป่วย เราพยายามบอกกับหมอว่าของเป็น
  • 9. ชัชวาล วงค์สารี, เรณู อาจสาลี / Chutchavarn Wongsaree, Renoo Assalee 140... วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย ปีที่ 9 ฉ.2 ก.ค.-ธ.ค. 59 วันที่ล้างไตเพราะไม่อยากเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม” (P3- 2-65-66) “ผู้ป่วย อยากได้ส่วนลด” (F1-8-216) “ผู้ป่วย อยากให้หน่วยงานช่วยเรื่องค่าใช้จ่าย หน่อย” ( F1-15-441) 2.2 การแนะนำ�วิธีการใช้สิทธิ ผู้ป่วยและ ญาติได้สะท้อนความคิดเห็นว่า อยากให้มีบุคลากร หรือหน่วยงานที่แนะนำ�เรื่องการใช้สิทธิ เพื่อจะได้ ปรึกษาและหาช่องทางการใช้สิทธิได้อย่างถูกต้อง เพื่อจะได้ลดค่าใช้จ่าย ดังคำ�กล่าวของผู้ให้ข้อมูลที่ ว่า “..............แนะนำ�หน่อยอย่างน้อยก็ช่วยลดค่า ฟอกเลือดถ้ามีช่องทางในการลดค่าใช้จ่ายก็ช่วย แนะนำ�หน่อย” (F1-6-178) 2.3 การให้ความรู้ทางสุขภาพ ผู้ให้ข้อมูล ส่วนใหญ่ให้ข้อมูลว่า ให้พยาบาลและแพทย์แนะนำ� ผู้ป่วยด้วยเรื่องการรับประทานยาและปฏิบัติตนได้ ถูกต้องดังคำ�กล่าวของผู้ให้ข้อมูลที่ว่า “..............ช่วยแนะนำ�หน่อยบอกอะไรได้ก็บอก หน่อย” ( F1-13-312) “..............อยากให้แนะนำ�เกี่ยวกับการกินยา” ( F1-15-364) “..............ช่วยแนะนำ�หน่อยมีปัญหาอย่างนี้ ช่วยแนะนำ�หน่อย” ( F1-15-444) 3. ด้านการได้รับการดูแลด้านอาหารและยา ญาติสะท้อนว่าต้องช่วยดูแลในเรื่องอาหารที่ ต้องเป็นไปตามแผนการรักษาของแพทย์ และการ เรียนรู้ในการที่จะลดอาหารต้องห้ามในผู้ป่วยโรค ไตโดยไม่ให้เกิดการทะเลาะกัน เพราะผู้ป่วยมักจะ บอกว่าญาติหวงอาหารไม่อยากให้รับประทาน ญาติบางคนบอกว่าต้องดูแลทุกอย่างตั้งแต่ต้นจน จบในการดำ�เนินชีวิตประจำ�วันของผู้ป่วย ส่วนการ รับประทานยาเนื่องจากยามีปริมาณมากทำ�ให้ผู้ป่วย ไม่อยากรับประทานยา ญาติก็จะจัดยาเป็นกล่องๆ ตามแพทย์สั่งและจะสังเกตการรับประทานยาตาม ปริมาณยาที่หายไปในแต่ละกล่อง บ้างก็บอกว่า ป้อนให้และต้องทานต่อหน้า ดังคำ�กล่าวของผู้ให้ ข้อมูลที่ว่า “..............ต้องคอยดูแลกินข้าวแล้วกินยา” (F1-11-324) “..............แนะนำ�จัดยาใส่ Box 3 สี” (F1- 11-326) “..............ผมก็คุมทุกอย่าง” (F1-12-331) “..............อย่างพ่อผมชอบกินแป๊บซี่อย่างบางที ผมก็ซื้อมาให้กิน”(F1-12-349) “..............เขาอยากกินก็จัดให้หมดแต่ต้องลด ปริมาณ” (F1-12-355) การอภิปรายผล 1. ด้านปัญหาของผู้ป่วย 1.1 ค่าใช้จ่ายสูงและต้องจ่ายอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยบางคนกล่าวว่าค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการ รักษาด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมและค่า ใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่ายาที่ใช้ในการรักษา ค่าเดินทาง ในแต่ละครั้งที่มาฟอกไตต้องจ่ายตลอด และต่อเนื่องบ้างก็ฟอก 2 ครั้งต่อสัปดาห์ บ้างก็ 3 ครั้งต่อสัปดาห์ บ้างบอกว่าฟอกมาหลายปีและต้อง จ่ายต่อเนื่องยาวนานซึ่งเป็นปัญหาของญาติและ ผู้ป่วยส่วนใหญ่สะท้อนความคิดเห็นมากที่สุด บาง รายกล่าวว่าสิทธิที่ใช้รักษากับค่ารักษาที่โรงพยาบาล เรียกเก็บไม่สมดุลกัน บางรายกล่าวว่าต้องจ่ายเพิ่ม ครั้งละ 500 บาท บางเดือนมีการเจาะเลือดตรวจ ต้องจ่ายครั้งละเป็น 1000 บาท บางรายบอกว่า
  • 10. ประสบการณ์การได้รับการสนับสนุนทางสังคมในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม Experience of Using Social Support in End Stage Renal Disease Patients Receiving Hemodialysis วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย ปีที่ 9 ฉ.2 ก.ค.-ธ.ค. 59 ...141 บางครั้งที่หาเงินค่าฟอกเลือดไม่ทันจำ�เป็นต้องหยุด การฟอกเลือดเองเพราะค่าใช้จ่ายไม่เพียงพอ ผู้ดูแล ผู้ป่วยบางรายบอกว่าค่าใช้จ่ายค่อนข้างมากและ ค่อนข้างเป็นปัญหาแต่ก็ไม่อยากให้ผู้ป่วยรับทราบ เพราะจะทำ�ให้เกิดความกังวลใจ ผู้ดูแลบางราย บอกว่าเรื่องค่าใช้จ่ายบางครั้งถือเป็นปัญหาครอบครัว บางรายบอกว่าไม่ได้จ่ายครั้งละมากแต่จ่ายยาว นานและต่อเนื่องมาจะ 10ปีแล้วเงินเก็บก็ลดลงทุก ปีๆ ด้วย ซึ่งมีความสอดคล้องกับแนวทางของระบบ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่ได้รับบริการฟอก เลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis: HD) แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ ผู้ป่วยรายเก่าที่มีสิทธิ หมายถึง ผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพแห่ง ชาติและผู้ป่วยที่เปลี่ยนสิทธิจากระบบอื่น เช่น สิทธิ ประกันสังคมและสิทธิสวัสดิการข้าราชการ เป็นต้น ซึ่งได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องก่อน 1 ตุลาคม 2551 โดยผู้รับบริการที่ขึ้นทะเบียนในเขตบริการ ของการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมกำ�หนด ให้ ผู้ป่วยต้องร่วมจ่ายเฉพาะค่าฟอกเลือดด้วยเครื่องไต เทียมครั้งละไม่เกิน 500 บาทและ สปสช. ให้การ สนับสุนครั้งละ 1,000 บาทหรือ 1,200 บาทและ ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องโดยตรง โดยไม่จำ�กัด จำ�นวนครั้งต่อสัปดาห์และหลัง 1 ตุลาคม 2551 โดยผู้ป่วยไม่ต้องร่วมจ่ายซึ่ง สปสช. ให้การ สนับสนุนค่าฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมไม่จำ�กัด จำ�นวนครั้งละ 1,500 บาทหรือ 1,700 บาท และ ค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องโดยตรง(16) ส่วนผู้ป่วยที่ใช้ สิทธิประกันสังคมที่ฟอกเลือดต่อเนื่องด้วยเครื่อง ไตเทียมจ่ายค่าฟอกเลือดในอัตรา 1,500 บาทต่อ ครั้งและไม่เกิน 4,500 บาทต่อสัปดาห์ (17) ซึ่งเป็น ค่าใช้จ่ายที่สูงและยังต้องมีค่าใช้จ่ายส่วนอื่นอีก 1.2 ขาดบุคคลที่ให้คำ�ชี้แนะการใช้สิทธิ ผู้ป่วยบางคนกล่าวว่าไม่มีหน่วยงานหรือบุคคลใน การให้ความรู้ คำ�แนะนำ�ต่างๆเกี่ยวกับการปฏิบัติ ตัวและแนวทางการรับบริการ บางคนกล่าวว่าหาก มีหน่วยงานหรือมีบุคคลากรให้คำ�แนะนำ�ในเรื่อง เหล่านี้จะช่วยได้อย่างมากไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึง สิทธิ การเลือกช่องทางในการรับบริการที่ถูกต้อง บางรายกล่าวว่าบางครั้งมีคำ�ถามที่ต้องขอคำ�แนะนำ� แต่ดูเหมือนเจ้าหน้าที่ไม่ว่างจึงไม่อยากรบกวน ซึ่ง สอดคล้องกับการศึกษาของจิราภรณ์ ชูวงศ์และ เจียมจิต โสภณสุขสถิตย์(18) พบว่าผู้ป่วยโรคไตวาย เรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมหลัง ได้รับความรู้และคำ�แนะนำ�ด้านสุขภาพผู้ป่วยมี พฤติกรรมการดูแลตนเองดีขึ้น 1.3 ผู้ป่วยไม่ควบคุมการรับประทาน อาหาร ผู้ป่วยบางรายให้ข้อมูลว่าอาหารก็พยายาม ที่จะควบคุมตามที่พยาบาลบอกแต่บางครั้งต้องซื้อ รับประทานที่ซอยหน้าบ้านสั่งตามสูตรที่ไม่เค็ม ไม่ ใส่ผงชูรสแต่บางครั้งก็เค็มอยู่ดีแต่ต้องรับประทาน เพื่อความอยู่รอด บางรายให้ข้อมูลว่าซื้ออาการถุง ที่วางขายราคาถูกดีอาหารที่พยาบาลแนะนำ�ดูแล้ว ราคาแพงแต่หากมีโอกาสก็จะซื้อรับประทาน สอดคล้องกับคำ�กล่าวของโคลีช์ซี(19) ที่กล่าวว่าการ ควบคุมโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายได้ดีนั้นต้อง อาศัยการปฏิบัติตนให้ถูกต้องและต่อเนื่องของผู้ป่วย ได้แก่ การรับประทานอาหารที่เหมาะสม การ ควบคุมปัจจัยที่ส่งเสริมการเกิดโรค การป้องกัน ภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่างๆ และการรับ ประทานยาตามแผนการรักษาอย่างต่อเนื่อง 1.4 ความทนในการทำ�กิจกรรมลดลง ผู้ป่วยสะท้อนความรู้สึกว่าในการฟอกเลือดบาง
  • 11. ชัชวาล วงค์สารี, เรณู อาจสาลี / Chutchavarn Wongsaree, Renoo Assalee 142... วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย ปีที่ 9 ฉ.2 ก.ค.-ธ.ค. 59 ละครั้งก็เหนื่อยกิจกรรมที่เคยทำ�ก็ทำ�ได้ลดลง ยิ่งฟอก นานปียิ่งทำ�ไม่ไหว แม้แต่ขับรถก็ไม่ไหวในบางครั้ง การหลับการนอนก็หลับๆ ตื่นๆ สอดคล้องกับ การศึกษาของ McCann & Boore(20) พบว่าความ อ่อนล้าเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยและเป็นปัญหาที่ สำ�คัญในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ได้รับ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม และมีการศึกษา พบว่าผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือด ด้วย เครื่องไตเทียมมีความอ่อนล้าร้อยละ 41-100 และ สอดคล้องกับผลการศึกษาของบรรลือศักดิ์ ธรรม นิตยางกูร(21) พบว่าผู้ป่วยหลังการฟอกเลือดด้วย เครื่องไตเทียมส่วนใหญ่มีระดับความอ่อนหล้าปาน กลาง ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำ�เนินชีวิตประจำ�วัน 2. ด้านความต้องการ ผู้ป่วยและญาติกลุ่มนี้ได้สะท้อนความต้อง การไว้ในหลายๆ อย่าง ซึ่งคณะผู้ศึกษาได้จับ ประเด็นและแบ่งความต้องการที่สอดคล้องกับแนว ความคิดของผู้ให้ข้อมูลได้ ดังนี้ การช่วยเหลือค่าใช้ จ่าย ญาติและผู้ป่วยได้สะท้อนความคิดเห็นว่ าการ เดินทางมาฟอกไต 2-3 ครั้ง/สัปดาห์ ถือว่าค่อน ข้างบ่อยค่าใช้จ่ายแต่ละครั้งค่อนข้างเยอะ หากเป็น ไปได้ผู้ป่วยและญาติอยากให้วันนัดมาฟอกไตและ นัดแพทย์ที่รักษาร่วมให้เป็นวันเดียวกันจะได้ไม่ต้อง มาหลายครั้ง และอยากจะได้ส่วนลดบางรายอยากให้ โรงพยาบาลลดค่าใช้จ่ายในการฟอกไตด้วย สอดคล้อง กับผลการศึกษาของบรรลือศักดิ์ ธรรมนิตยางกูร(21) พบว่าผู้ป่วยที่รักษาด้วยการฟอกเลือดมีความถี่ใน การฟอกเลือดที่ 2-3 ครั้ง/สัปดาห์ นอกจากนี้ยัง พบว่าผู้ป่วยต้องมารับการฟอกเลือดมีความถี่สูงสุด 6 วัน/สัปดาห์ ซึ่งเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายในการฟอก เลือดค่าเดินทางและค่าอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องตามมา ด้วย(22) 3. ด้านการได้รับการดูแลด้านอาหารและยา ญาติสะท้อนว่าต้องช่วยดูแลในเรื่องอาหารที่ ต้องเป็นไปตามแผนการรักษาของแพทย์ และการ เรียนรู้ในการที่จะลดอาหารต้องห้ามในผู้ป่วยโรคไต ญาติบางคนบอกว่าต้องดูแลทุกอย่างตั้งแต่ต้นจน จบในการดำ�เนินชีวิตประจำ�วันของผู้ป่วย ส่วนการ รับประทานยาเนื่องจากยามีปริมาณมาก ผู้ป่วยเบื่อ และบางครั้งไม่อยากรับประทาน ญาติก็จะจัดยา เป็นกล่องๆ ตามแพทย์สั่งและจะสังเกตการรับประทาน ยาตามปริมาณยาที่หายไปในแต่ละกล่อง บ้างก็บอก ว่าป้อนให้และต้องทานต่อหน้า สอดคล้องกับการ ศึกษาของชัชวาล วงค์สารี(22) พบว่าความรู้จำ�เป็น สำ�หรับผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่ฟอกเลือดด้วย เครื่องไตเทียมที่พยาบาลและญาติต้องร่วมกันดูแล มี 5 ด้าน คือ ด้านการรับประทานอาหารเฉพาะ โรค ด้านการควบคุมน้ำ� ด้านการออกกำ�ลังกาย ด้านการบริหารจิตใจและการมาตรวจรักษาตามนัด ข้อเสนอแนะในการนำ�ผลการวิจัยไปใช้ หน่วยบริการการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ควรจัดบริการให้การปรึกษาที่เป็นรูปแบบเกี่ยวกับ การเข้าถึงสิทธิของผู้ป่วยและการให้ความรู้แก่ผู้ป่วย และผู้ดูแลอย่างต่อเนื่อง
  • 12. ประสบการณ์การได้รับการสนับสนุนทางสังคมในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม Experience of Using Social Support in End Stage Renal Disease Patients Receiving Hemodialysis วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย ปีที่ 9 ฉ.2 ก.ค.-ธ.ค. 59 ...143 เอกสารอ้างอิง 1. National Kidney Foundation. K/DOQI: Clinical Practice Guideline for chronic kidney disease: evaluation, classification, and stratification [Internet]. 2002 [cited 2013 Jul 27]. Available from: http://www.kidney.or/kdoqi/guideline-ckd 2. พรรณบุปผา ชุวิเชียร. Renal failure and indication for dialysis. ใน: ประเสริฐ ธนกิจจารุ, สุพัฒน์ วานิชย์การ, บรรณาธิการ. ตำ�ราการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมและการพยาบาล. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโรคไตแห่งประเทศไทย; 2551. หน้า 1-14. 3. National Kidney and Urologic Diseases Information Clearinghouse. National Kidney and Urologic Diseases Information [Internet]. 2009 [cited 2013 Jul 27]. Available from: http://kidney.niddk.nih. 4. การศึกษา-สาธารณสุข. ป่วยโรคไตพุ่ง 8 ล้านเปิดรพ.เฉพาะทางรับมือ [อินเทอร์เน็ต]. คมชัดลึก. 2555 พ.ย. 14. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 14 พ.ย. 2557]. เข้าถึงได้จาก: http://www.komchadluek.net/ news/edu-health/144746 5. วิชช์ เกษมทรัพย์, ภูษิต ประคองสาย, วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร. ความต้องการงบประมาณสำ�หรับ การเข้าถึงบริการทดแทนไตอย่างถ้วนหน้าในประเทศไทย. วารสารสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2549 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 27 ก.ค. 2557];12(2):136-48. เข้าถึงได้จาก: http://kb.hsri. or.th/dspace/bitstream/handle/11228/345/2006_DMJ84_ 6. MGR Online. สปสช.หนุนตั้งคลินิกใน รพ.เพื่อดูแลผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง [อินเทอร์เน็ต]. ผู้จัดการ Online. 2556 มี.ค. 14. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 14 พ.ย. 2557]. เข้าถึงได้จาก: http://www.manager. co.th/qol/viewnews.aspx?NewsID=9560000031524 7. บุญธรรม จิระจันทร์. Chronic hemodialysis prescription.ใน: ประเสริฐ ธนกิจจารุ, สุพัฒน์ วานิชย์การ, บรรณาธิการ. ตำ�ราการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมและการพยาบาล. กรุงเทพฯ: มูลนิธิ โรคไตแห่งประเทศไทย; 2551. หน้า 47-63. 8. Daugirdas JT, Blake PG, Ing TS. Handbook of dialysis. 4th ed. Philadelphia: Wolters Kluwer/Lippincott Williams & Wilkins; 2007. 9. อุดม ไกรฤทธิชัย. Adequacy of Hemodialysis. ใน: ประเสริฐ ธนกิจจารุ, สุพัฒน์ วานิชย์การ, บรรณาธิการ. ตำ�ราการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมและการพยาบาล. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโรคไตแห่ง ประเทศไทย; 2551. หน้า 171-82. 10. บัญชา สถิระพจน์. การศึกษาความแตกต่างของลักษณะอาการทางคลินิกอกไตระหว่างผู้ป่วย. กรุงเทพฯ: สำ�นักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ; 2550.
  • 13. ชัชวาล วงค์สารี, เรณู อาจสาลี / Chutchavarn Wongsaree, Renoo Assalee 144... วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย ปีที่ 9 ฉ.2 ก.ค.-ธ.ค. 59 11. Geiser MT, Van Dyke C, East R, Weiner M. Psychological reactions to continuous ambulatory peritoneal dialysis. Int J Psychiatry Med 1983-1984;13(4):299-307. 12. Lepore SJ, Silver RC, Wortman CB, Wayment HA. Social constraints, intrusive thoughts, and depressive symptoms among bereaved mothers. J Pers Soc Psychol 1996;70(2): 271-82. 13. อินทราพร พรมปราการ. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาวะสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคมกับ พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดอ่างทอง [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาอนามัยครอบครัว]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2541. 14. Husserl E. Phenomenology and the crisis of philosophy: philosophy as rigorous science, and Philosophy and the crisis of European man. New York: Harper & Row; 1965. 15. Van Manen M. Researching lived experience: human science for an action sensitive pedagogy. New York: State University of New York Press; 1990. 16. สำ�นักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือแนวทางการปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการ สาธารณสุข ปีงบประมาณ 2558. กรุงเทพฯ: สำ�นักบริหารการจัดสรรและชดเชยค่าบริการ สำ�นักงาน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2557. 17. ประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533. หลักเกณฑ์และ อัตราสำ�หรับประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยที่มิใช่เนื่องจากการทำ�งานเรื้อรัง [อินเทอร์เน็ต]. 2556 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 9 ก.ค. 2559]. เข้าถึงได้จาก: www.personnel.psu.ac.th/word 18. จิราภรณ์ ชูวงศ์, เจียมจิต โสภณสุขสถิตย์. ผลของการให้ความรู้ทางด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการ ดูแลตนเอง ของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. วารสารวิจัยทาง วิทยาศาสตร์สุขภาพ 2554;5(2):41-50. 19. Colaizzi PF. Psychological research as the phenomenologist views it. In: Valle RS, King M, editors. Existential-phenomenological alternatives for psychology. New York: Oxford University Press; 1978. 20. McCann K, Boore JR. Fatigue in persons with renal failure who require maintenance haemodialysis. J Adv Nurs 2000;32(5):1132-42. 21. บรรลือศักดิ์ ธรรมนิตยางกูร, นันทรัตน์ สุขถิ่นไทย, สุมลรัตน์ กนกกวินวงศ์, วิไล คุปต์นิรัติศัยกุล, สมเกียรติ วสุวัฏฏกุล, อัครินทร์ นิมมานนิตย์. ผลของโปรแกรมการออกกำ�ลังกายระหว่างการฟอก เลือดด้วยเครื่องไตเทียมต่อความอ่อนล้าและคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย. วารสาร พยาบาลศิริราช 2556;6(1):14-24. 22. ชัชวาล วงค์สารี. ผลของโปรแกรมการให้ความรู้แบบเข้มข้นต่อความรู้และพฤติกรรมการจำ�กัดน้ำ� ของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่]. สมุทรปราการ: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ; 2557.