SlideShare a Scribd company logo
1 of 11
Download to read offline
แผนงานวิจัย
การบริหารจัดการและการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเส้นทางอารยธรรมล้านนา
เชื่อมโยงกับ สปป.ลาว สหภาพเมียนม่าร์ และสาธารณรัฐประชาชนจีน(ตอนใต้)
Cultural Tourism Management and Development in Lan Na Civilization
Route Link with Lao PDR., Myanmar, and Southern China
ผู้อานวยการแผนงาน
นางสุรีย์ บุญญานุพงศ์ สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะผู้วิจัย
1. ดร.กรวรรณ สังขกร สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2. นายสามารถ สุวรรณรัตน์ สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
3. อาจารย์ใจรัตน์ จตุรภัทรพร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
4. ดร.ไพรัช พิบูลรุ่งโรจน์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
1. ความสาคัญและที่มาของปัญหา
ตลาดการท่องเที่ยวปัจจุบันให้ความสนใจการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก เนื่องจาก
นักท่องเที่ยวที่อยู่ในวัยทางานต้องการแสวงหาสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความสงบ มีบรรยากาศของวิถีชีวิต
ในอดีตที่งดงาม เรียบง่ายเพื่อชดเชยความวุ่นวายและความเคร่งเครียดในชีวิตประจาวัน ขณะเดียวกัน
การที่โลกเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ทาให้นักท่องเที่ยวสูงอายุซึ่งต้องการท่องเที่ยวเพื่อสัมผัสวิถีชีวิตและ
ความสุขในวัยเยาว์ กลายเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวเป้าหมายใหม่ในตลาดการท่องเที่ยวและเป็น
นักท่องเที่ยวกลุ่มใหญ่ที่สุดในตลาดท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
ประเทศไทยมีความได้เปรียบในตลาดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเนื่องจากมีทรัพยากรการ
ท่องเที่ยวทางวัฒ นธรรม (Cultural Resources) มากเป็นอันดับ 3 ของภูมิภาคเอเชีย
แต่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยก็มีคู่แข่งจานวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศในแถบเอเซีย
ตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งเป็นแหล่งอารยธรรมเก่าแก่ของโลก รัฐบาลจึงมีนโยบายส่งเสริมและพัฒนาการ
ท่องเที่ยวโดยใช้ฐานทางวัฒนธรรมตามแนวทางส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559) โดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้กาหนดแนว
ทางการดาเนินงานพัฒนายกระดับคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวใหม่ในเชิงกลุ่มพื้นที่ที่มีศักยภาพ
ซึ่งภาคเหนือตอนบนถูกกาหนดเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการเป็น “กลุ่มท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนา”
เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ชุมชนตั้งถิ่นฐานมายาวนานกว่า 1,300 ปี และชุมชนจานวนมากยังดารงรักษาวิถี
ชีวิตล้านนาดั้งเดิม นอกจากนี้ ยังเป็นพื้นที่ที่สามารถเชื่อมโยงการท่องเที่ยวกับประเทศข้างเคียงที่มี
วัฒนธรรมร่วมกันได้ คือ ประเทศ สปป.ลาว สหภาพเมียนม่าร์ และสาธารณรัฐประชาชนจีน
(ตอนใต้) อย่างไรก็ตาม การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของภาคเหนือตอนบนให้แข่งขันได้ใน
ตลาดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและสามารถตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวได้อย่าง
เหมาะสม ประเด็นสาคัญที่จะต้องทาความเข้าใจให้กระจ่าง คือ ผู้ประกอบการท่องเที่ยว ชุมชน
ท่องเที่ยว และแหล่งท่องเที่ยวในภาคเหนือตอนบนมีศักยภาพในการรองรับการท่องเที่ยว
เชิงวัฒนธรรมหรือไม่และในระดับใด แนวทางการบริหารจัดการและการพัฒนาการท่องเที่ยว
เชิงวัฒนธรรมในเส้นทางอารยธรรมล้านนาและการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเส้นทางอารย
ธรรมล้านนากับ สปป.ลาว สหภาพเมียนม่าร์ และสาธารณรัฐประชาชนจีน(ตอนใต้) ควรจะ
ดาเนินการอย่างไร
2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1) ศึกษาและเสนอแนวทางการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันด้านการท่องเที่ยว
เชิงวัฒนธรรมเส้นทางอารยธรรมล้านนา
2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพชุมชนในการรองรับการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม
3) ศึกษาและเสนอแผนการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเส้นทาง
อารยธรรมล้านนาในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน
4) เสนอแนวทางการเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเส้นทางอารยธรรมล้านนา
กับสปป.ลาว สหภาพเมียนม่าร์ และสาธารณรัฐประชาชนจีน(ตอนใต้)
3. ขอบเขตของการวิจัย
1) ขอบเขตเนื้อหา ดาเนินการศึกษาในขอบเขตเนื้อหาด้านอุปสงค์ และอุปทานของการ
ท่องเที่ยว โดยศึกษาศักยภาพการแข่งขันของผู้ประกอบการท่องเที่ยวในภาคเหนือตอนบน
พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวภาคเหนือตอนบน ศักยภาพการจัดการ
ท่องเที่ยวของชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ศักยภาพการรองรับการท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยวเชิง
วัฒนธรรมในภาคเหนือตอนบน
2) ขอบเขตพื้นที่ศึกษา ครอบคลุมพื้นที่“กลุ่มท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนา”
ตามแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ปีพ.ศ.2555 – 2559 และพื้นที่เกี่ยวเนื่อง ประกอบด้วย
จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดลาพูน จังหวัดลาปาง จังหวัดพะเยา จังหวัดแพร่ จังหวัดน่าน
และจังหวัดแม่ฮ่องสอน
4. วิธีการดาเนินการวิจัย
แผนงานวิจัย “การบริหารจัดการและการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเส้นทาง
อารยธรรมล้านนาเชื่อมโยงกับ สปป.ลาว สหภาพเมียนม่าร์และสาธารณรัฐประชาชนจีน(ตอนใต้)”
มีประเด็นสาคัญที่ทาการศึกษา 4 ประเด็น คือ การศึกษาศักยภาพในการแข่งขันทางการตลาดของ
ผู้ประกอบการท่องเที่ยวในภาคเหนือตอนบน การศึกษาศักยภาพการจัดการท่องเที่ยวของชุมชน
ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การประเมินศักยภาพการรองรับการท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยว
เชิงวัฒนธรรมในภาคเหนือตอนบน และการศึกษาเพื่อหาแนวทางการบริหารจัดการและ
การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในภาคเหนือตอนบนและการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวกับ สปป.
ลาว สหภาพเมียนม่าร์ และสาธารณรัฐประชาชนจีน(ตอนใต้) ดังนั้น การดาเนินงานวิจัยจึงแบ่งเป็น
4 ส่วน ประกอบด้วย 3 โครงการย่อย และ 1 แผนงานวิจัย โดยวิธีการดาเนินงานศึกษาวิจัยแต่ละ
โครงการย่อยและส่วนแผนงานวิจัย มีกระบวนการและขั้นตอนการดาเนินงานวิจัยตามแผนงานวิจัย
(Research Design) ที่แสดงใน กรอบแนวคิดแผนงานวิจัย(Research Design)
กรอบแนวคิดแผนงานวิจัย(Research Design)
สถานการณ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในระดับโลก ระดับภูมิภาค ประเทศไทย และภาคเหนือตอนบน
ย่อย 2ย่อย 1 ย่อย 3
แผนการบริหารจัดการและพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเส้นทางอารยธรรมล้านนา
สถานการณ์ตลาดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
สารวจพฤติกรรมนักท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
วิเคราะห์สภาพการแข่งขันการท่องเที่ยว
เชิงวัฒนธรรมเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน
สารวจและประเมินศักยภาพของผู้ประกอบการ
ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในภาคเหนือตอนบน
วิเคราะห์ศักยภาพและขีดความสามารถทางการ
แข่งขันของผู้ประกอบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยว
เชิงวัฒนธรรมในภาคเหนือตอนบนของ
ผู้ประกอบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
รวบรวมแนวคิดเรื่องการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
แนวคิดด้านการอนุรักษ์และจัดการมรดก
ทางวัฒนธรรม และกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน
ถอดบทเรียน สังเคราะห์ และสรุป Key Concept
ของชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่มี Best Practiceใน
ประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน
เสนอแนวทางการพัฒนาศักยภาพชุมชนเพื่อรองรับการ
ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
กาหนดเกณฑ์
การคัดเลือก
ชุมชนท่องเที่ยว
เชิงวัฒนธรรม
รวบรวมข้อมูลชุมชนท่องเที่ยว
เชิงวัฒนธรรมและคัดเลือก
ชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
เพื่อศึกษาและถอดบทเรียน
รวบรวมข้อมูล และคัดกรองแหล่งท่องเที่ยว
เชิงวัฒนธรรมในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน
พัฒนาตัวชี้วัดและเกณฑ์ประเมินศักยภาพแหล่ง
ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
สารวจประเมิน และจัดลาดับศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว
เชิงวัฒนธรรมในพื้นที่ภาคเหนือ
จัดเส้นทางท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนา
สารวจข้อมูลและเสนอแนวทางการเชื่อมโยงการ
ท่องเที่ยวกับประเทศเพื่อนบ้าน
แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิง
วัฒนธรรมเส้นทางอารยธรรมล้านนา
1) โครงการย่อยที่ 1 ดาเนินงานศึกษาศักยภาพการแข่งขันทางการตลาดการท่องเที่ยว
เชิงวัฒนธรรมเส้นทางอารยธรรมล้านนา เป็นการวิจัยเชิงสารวจเพื่อประเมินศักยภาพทางการแข่งขันของ
ผู้ประกอบการท่องเที่ยวในภาคเหนือตอนบน และสารวจพฤติกรรมนักท่องเที่ยวในพื้นที่ท่องเที่ยวอารยธรรม
ล้านนา โดยผลการศึกษาจะนาเสนอแนวทางการพัฒ นาศักยภาพและขีดความสามารถ
ในการแข่งขันของผู้ประกอบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
2) โครงการย่อยที่ 2 ดาเนินงานศึกษาศักยภาพชุมชนในการรองรับการท่องเที่ยว
เชิงวัฒนธรรม เป็นการวิจัยเชิงสารวจและการวิจัยเชิงคุณภาพโดยทาการถอดบทเรียนความสาเร็จ
ในการจัดการท่องเที่ยวของชุมชนท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม เพื่อหา Key Concept และแนวปฏิบัติที่ดี (Best
Practice) ที่สามารถนาไปใช้พัฒ นาศักยภ าพ การจัดการท่องเที่ยวของชุมชนท่องเที่ยว
เชิงวัฒนธรรม
3) โครงการย่อยที่ 3 ดาเนินงานศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเส้นทางอารยธรรม
ล้านนา เป็นการวิจัยเชิงสารวจเพื่อประเมินศักยภาพการรองรับการท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยวเชิง
วัฒนธรรมในภาคเหนือตอนบน โดยผลการศึกษาจะทาให้ทราบถึงศักยภาพการรองรับการท่องเที่ยวของแหล่ง
ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในภาคเหนือตอนบน ซึ่งเป็นข้อมูลสาคัญในการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิง
วัฒนธรรมของภาคเหนือตอนบน และการกาหนดเส้นทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมภาคเหนือตอนบนที่มี
ศักยภาพในการจัดการท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนาและการเชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยวประเทศเพื่อนบ้านใน
“กลุ่มอารยธรรมล้านนา” คือ สปป.ลาว สหภาพเมียนม่าร์ และสาธารณรัฐประชาชนจีน (ตอนใต้)
4) ส่วนแผนงานวิจัย ดาเนินงานศึกษาเพื่อหาแนวทางการบริหารจัดการและการพัฒนาการ
ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเส้นทางอารยธรรมล้านนาเชื่อมโยงกับ สปป.ลาว สหภาพเมียนม่าร์และสาธารณรัฐ
ประชาชนจีน(ตอนใต้) โดยบูรณาการข้อมูลและผลการศึกษาจากทั้ง 3 โครงการย่อยเพื่อกาหนดแนวทางการ
บริหารจัดการและการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเส้นทางอารยธรรมล้านนาและการเชื่อมโยงการ
ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเส้นทางอารยธรรมล้านนากับ สปป.ลาว สหภาพเมียนม่าร์ และสาธารณรัฐประชาชน
จีน(ตอนใต้) รวมทั้งดาเนินการพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อใช้สนับสนุนการบริหารจัดการและการพัฒนาการ
ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเส้นทางอารยธรรมล้านนา
5. สรุปผลการดาเนินงานวิจัย
แผนงานวิจัย “การบริหารจัดการและการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเส้นทางอารยธรรม
ล้านนาเชื่อมโยงกับ สปป.ลาว สหภาพเมียนม่าร์และสาธารณรัฐประชาชนจีน(ตอนใต้)”
มีประเด็นสาคัญที่ทาการศึกษา คือ การศึกษาศักยภาพในการแข่งขันทางการตลาดของผู้ประกอบการ
ท่องเที่ยวในภาคเหนือตอนบน การศึกษาศักยภาพการจัดการท่องเที่ยวของชุมชนท่องเที่ยว
เชิงวัฒนธรรม การประเมินศักยภาพการรองรับการท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในภาคเหนือ
ตอนบน และการศึกษาเพื่อหาแนวทางการบริหารจัดการและการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมใน
ภาคเหนือตอนบนและการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวกับ สปป.ลาว สหภาพเมียนม่าร์ และสาธารณรัฐประชาชน
จีน(ตอนใต้) โดยแบ่งการดาเนินงานเป็น 3 โครงการย่อย และ 1 แผนซึ่งผลการศึกษาแต่ละโครงการย่อย
รวมถึงประเด็นพบดังนี้
1) โครงการย่อยที่ 1 การศึกษาศักยภาพการแข่งขันทางการตลาดการท่ องเที่ยว
เชิงวัฒนธรรมเส้นทางอารยธรรมล้านนา พบว่า นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมีความสนใจ
แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของภาคเหนือตอนบน ด้านผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวในภาคเหนือตอนบนพบว่า
มีศักยภาพในการแข่งขันด้านการบริการท่องเที่ยวแต่การเข้าสู่ตลาดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมซึ่งเป็นตลาด
การท่องเที่ยวที่มีรูปแบบการท่องเที่ยวเฉพาะด้านและมีเป้าหมายทางการท่องเที่ยวที่แตกต่างๆ จากตลาดการ
ท่องเที่ยวที่ผู้ประกอบการในภาคเหนือตอนบนมีความคุ้นเคยทาให้ผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวในภาคเหนือ
ตอนบนมีความต้องการพัฒนาศักยภาพด้านความรู้ในการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม พัฒนาศักยภาพและ
ทักษะด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม พัฒนาศักยภาพและทักษะการใช้ระบบสารสนเทศ
เพื่อพัฒนาการบริการและการตลาด รวมถึงพัฒนาศักยภาพและทักษะบุคลากรที่ให้บริการท่องเที่ยวเชิง
วัฒนธรรม โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องให้การสนับสนุนผู้ประกอบการในการฝึกอบรมเพื่อสร้างความรู้ ความ
เข้าใจเกี่ยวกับ“ตลาดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม” และฝึกอบรมพัฒนา
ศักยภาพการจัดการท่องเที่ยวและการบริหารบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เพื่อสร้างขีด
ความสามารถในการแข่งขันให้แก่ผู้ประกอบการในตลาดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเส้นทางอารยธรรมล้านนา
ภาคเหนือตอนบน
2) โครงการย่อยที่ 2 การถอดบทเรียนความสาเร็จในการจัดการท่องเที่ยวของชุมชนท่องเที่ยวทาง
วัฒนธรรม เพื่อหา“ Key Concept หรือ กุญแจ” และแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ที่สามารถนาไปใช้
พัฒนาศักยภาพชุมชนในการรองรับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม พบว่า แนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ที่ส่งผล
ให้เกิดความสาเร็จในการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนมี“Key Concept หรือ กุญแจ”สาคัญ คือ
การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในชุมชนโดยมีความเข้าใจ และความต้องการที่จะร่วมกันดารงรักษามรดกทาง
วัฒนธรรมของชุมชนเป็นรากฐานการทางานตั้งแต่การริเริ่มพัฒนาการท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรท่องเที่ยว
เชิงวัฒนธรรม การบริหารจัดการการท่องเที่ยว และการมีศักยภาพในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับภาค
ส่วนต่างๆ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาการท่องเที่ยวของชุมชนด้านต่างๆ อาทิ การพัฒนาการบริการ การพัฒนา
สินค้า การวางแผนธุรกิจฯ อย่างไรก็ตาม การสร้างความยั่งยืนในการจัดการท่องเที่ยวของชุมชนจะเกิดขึ้นได้
สิ่งสาคัญที่ชุมชนต้องทาความเข้าใจ คือ วงจรของการพัฒนาการท่องเที่ยว ที่มีขั้นตอนการพัฒนา 3 ขั้นตอน
คือ ขั้นริเริ่มพัฒนา ขั้นการพัฒนา และขั้นหยุดพัฒนา ซึ่งชุมชนจะต้องประเมินตนเองอยู่ตลอดเวลาเพื่อไม่ให้
ไปสู่ขั้นตอนสุดท้ายคือการหยุดพัฒนา
3) โครงการย่อยที่ 3 มีการศึกษาวิจัยใน 3 ส่วน คือ การประเมินศักยภาพการรองรับการท่องเที่ยว
ของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเส้นทางอารยธรรมล้านนาภาคเหนือตอนบน การกาหนดเส้นทางท่องเที่ยว
อารยธรรมล้านนาภาคเหนือตอนบนเชิงวัฒนธรรมที่มีศักยภาพในการจัดการท่องเที่ยว และการเชื่อมโยง
เส้นทางท่องเที่ยวประเทศเพื่อนบ้านใน “กลุ่มอารยธรรมล้านนา” คือ สปป.ลาว สหภาพเมียนม่าร์ และ
สาธารณรัฐประชาชนจีน (ตอนใต้) โดยผลการประเมินศักยภาพการรองรับการท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยว
ทางวัฒนธรรมในภาคเหนือตอนบน พบว่า องค์ประกอบการท่องเที่ยวที่มีศักยภาพสูงที่สุด คือ การคมนาคม
เข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว และองค์ประกอบที่มีศักยภาพต่า คือ การให้ข้อมูลในแหล่งท่องเที่ยว สิ่งอานวยความ
สะดวก และการรับรองมาตรฐานการท่องเที่ยว ดังนั้น แนวทางพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเส้นทาง
อารยธรรมล้านนาภาคเหนือตอนบน จึงต้องเร่งดาเนินการสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุประสงค์และ
เป้าหมายของ “การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม” รวมถึงการพัฒนาศักยภาพด้านการจัดการท่องเที่ยวและการ
ให้บริการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมให้แก่บุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
ด้านการกาหนดเส้นทางท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนาภาคเหนือตอนบนเชิงวัฒนธรรมที่มีศักยภาพในการจัดการ
ท่องเที่ยว พบว่า เส้นทางท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนาภาคเหนือตอนบนที่มีศักยภาพสูงในการจัดการท่องเที่ยว
และสามารถ “ขายได้” ในตลาดการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม มี 6 กลุ่มเส้นทาง คือ กลุ่มเส้นทางประวัติศาสตร์
และโบราณคดี กลุ่มเส้นทางประวัติศาสตร์ร่วมสมัย กลุ่มเส้นทางสถาปัตยกรรม กลุ่มเส้นทางหัตถกรรม
ล้านนา กลุ่มเส้นทางเทศกาลงานประเพณีล้านนา และกลุ่มเส้นทางวิถีชีวิตล้านนา ส่วนเส้นทางท่องเที่ยว
อารยธรรมล้านนาเชื่อมโยงภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านใน “แหล่งอารยธรรม
ล้านนา” มี 4 กลุ่มเส้นทาง คือ เส้นทางท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ เส้นทางท่องเที่ยวหัตถกรรม เส้นทาง
ท่องเที่ยวเรียนรู้สถาปัตยกรรม และเส้นทางท่องเที่ยววิถีชีวิต ซึ่งแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิง
วัฒนธรรมเส้นทางท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนา (ภาคเหนือตอนบนและเชื่อมโยง 4 ประเทศเพื่อนบ้าน) จะต้อง
มีคณะกรรมการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม(ระดับท้องถิ่น ระดับจังหวัด และระดับประเทศ) เป็นกลไก
หลักในการประสานแผนงานพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ประสานความร่วมมือการจัดการท่องเที่ยว
สนับสนุนและพัฒนาศักยภาพการจัดการท่องเที่ยวและการบริการท่องเที่ยวที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน บริหาร
จัดการการท่องเที่ยวและจัดการหรือจัดสรรผลประโยชน์จากการท่องเที่ยวที่เป็นที่ยอมรับร่วมกัน และ ฯลฯ
4) แผนงานวิจัย การศึกษาสถานการณ์ตลาดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม แนวคิดการจัดการ
ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม นโยบายและแผนการส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศไทย และปัญหาอุปสรรคด้าน
การท่องเที่ยวของประเทศไทยและภาคเหนือตอนบน และผลการศึกษาจากทั้ง 3 โครงการย่อยในแผนงาน
เห็นได้ว่า จุดแข็งของการท่องเที่ยวประเทศไทยคือการเป็นผู้นาตลาดท่องเที่ยวในภูมิภาค แต่ข้อน่ากังวลของ
การท่องเที่ยวประเทศไทย ได้แก่ ความปลอดภัย กฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อม สุขอนามัย และการเปิดตัวของ
ตลาดประเทศเพื่อนบ้านในฐานะแหล่งท่องเที่ยวใหม่ จุดอ่อนที่สาคัญของประเทศไทยด้านการท่องเที่ยว
คือ โครงสร้างการบริหารจัดการที่ยังขาดเสถียรภาพ ขาดองค์กรกลางที่มีอานาจในการกากับการดาเนินงาน
ตามแผนพัฒนาของรัฐบาล การบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพและกฎระเบียบที่ไม่ทันการเปลี่ยนแปลง
ของตลาดการท่องเที่ยว การขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน ภาคเอกชน ผู้ประกอบการ องค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นและชุมชนยังขาดศักยภาพการบริหารจัดการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การขาด
ความเชื่อมโยงในการพัฒนาการท่องเที่ยวระหว่างท้องถิ่น จังหวัด กลุ่มจังหวัด และประเทศเพื่อนบ้าน
นอกจากนี้ประเทศไทยยังคงขาดการลงทุนระบบโลจิสติกส์ที่เพียงพอต่อการเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวทั้ง
ระหว่างเมืองท่องเที่ยวหลัก เมืองท่องเที่ยวรอง และประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งยังมีปัญหากฎระเบียบไม่เอื้อต่อ
การเชื่อมโยงการท่องเที่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านในบางเส้นทาง
สาหรับภาคเหนือตอนบนแม้จะมีทรัพยากรท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่หลากหลายแต่มีเพียงบางประเภทเท่านั้น
ที่มีศักยภาพในการสร้างรายได้ให้กับพื้นที่ ดังนั้น การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของภูมิภาคเหนือจึง
ต้องมีการรวมตัวกันเป็นเครือข่ายเพื่อเพิ่มโอกาสการพัฒนาการท่องเที่ยวและเพิ่มแรงดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มา
สัมผัสกับวัฒนธรรมที่ชุมชนภาคภูมิใจ โดยเครือข่ายจัดการการท่องเที่ยวและเส้นทางท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม
ต้องมีหน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคการท่องเที่ยว ภาควัฒนธรรม ภาควิชาการ
ภาคท้องถิ่น ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชนในชุมชนมาทางานร่วมกันภายใต้ข้อตกลงแห่งผลประโยชน์
ร่วมกัน โดยการพัฒนาการท่องเที่ยวเส้นทางอารยธรรมล้านนาจะต้องดาเนินการตามแผนการบริหารจัดการ
การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเส้นทางอารยธรรมล้านนา 3 ระยะ(รูปที่แผน: 1-2 ) คือ ระยะการพัฒนานโยบาย
และสร้างความพร้อม ระยะการพัฒนาการท่องเที่ยว และระยะการพัฒนาตลาด ซึ่งแต่ละระยะของการ
พัฒนาจะมีแผนงานย่อยและแนวปฏิบัติในการดาเนินงานที่หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องจะสามารถนาไปใช้
ปฏิบัติงานได้ทันที
กรอบการพัฒนาและการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเส้นทางอารยธรรมล้านนา
6. ผลสาเร็จและความคุ้มค่าของการวิจัย
ผลการศึกษาวิจัยทั้ง 3 โครงการย่อยในแผนงานวิจัย ทาให้มีข้อมูลและองค์ความรู้ที่ใช้ในการสนับสนุน
การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ซึ่งเป็นการท่องเที่ยวรูปแบบเฉพาะที่ทุกภาคส่วนทั้งหน่วยงานของรัฐ
ภาคเอกชน ผู้ประกอบการท่องเที่ยว และชุมชนท่องเที่ยวยังขาดความรู้ ความเข้าใจในการจัดบริการท่องเที่ยว
และการบริหารจัดการการท่องเที่ยว โดยทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องสามารถนาข้อมูล องค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจาก
การศึกษาวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการขับเคลื่อนธุรกิจท่องเที่ยวของภาคเหนือตอนบนให้มีศักยภาพและขีด
ความสามารถที่จะแข่งขันได้ในตลาดท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อการกระจายรายได้สู่ชุมชน
ท้องถิ่น การยกระดับศักยภาพบุคลากรท่องเที่ยว การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การรักษาส่วนแบ่ง
ทางการตลาดการท่องเที่ยวของภาคเหนือตอนบนและประเทศไทย รวมถึงการสร้างมูลค่าเพิ่มจากการอนุรักษ์
มรดกทางวัฒนธรรมล้านนาซึ่งจะเป็นแรงกระตุ้นให้ชุมชนท้องถิ่นเกิดความตระหนักถึงคุณค่าและการอนุรักษ์
มรดกทางวัฒนธรรม นอกจากนี้ การบูรณาการข้อมูลและผลการศึกษาของทุกโครงการย่อยและการวิเคราะห์
ศักยภาพการท่องเที่ยวของประเทศไทยและภาคเหนือตอนบน ทาให้มีข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาการ
ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของภาคเหนือตอนบนและมีแผนการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเส้นทาง
อารยธรรมล้านนาและแนวปฏิบัติที่หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องจะสามารถนาไปใช้ปฏิบัติงานได้ทันที ซึ่ง
จะทาให้เกิดการขับเคลื่อนการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและส่งผลดีโดยตรงต่อการยกระดับรายได้
ของภาคเหนือตอนบน ตั้งแต่ระดับชุมชนท่องเที่ยว ระดับจังหวัด และกลุ่มจังหวัด
นอกจากนี้ แนวทางการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวและการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนา
เชื่อมโยง 4 ประเทศในกลุ่มอารยธรรมล้านนา คือ ไทย สปป.ลาว สหภาพเมียนม่าร์ และประเทศจีนตอนใต้
เข้าด้วยกัน ซึ่งนาเสนอไว้ในรายงานวิจัยนี้เมื่อมีการนาไปใช้ปฏิบัติก็จะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมหาศาลทั้งต่อ
การพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาค การพัฒนาและขยายตลาดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและการเชื่อมโยง
วัฒนธรรมระหว่างประเทศในกลุ่มอารยธรรมล้านนา เช่นเดียวกับกลุ่มประเทศยุโรปซึ่งรวมกันเป็นสหภาพเพื่อ
พัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จนเกิดพลังดึงดูดทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่มากกว่าการนาเสนอการ
ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเพียงประเทศเดียว
ผลผลิตจากการศึกษาวิจัย ซึ่งประกอบด้วย ข้อมูลและองค์ความรู้สนับสนุนการพัฒนาการท่องเที่ยว
ฐานข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมภาคเหนือตอนบน เส้นทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ภาคเหนือตอนบน
แนวปฏิบัติที่ดีของชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และแผนการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่มี
แนวปฏิบัติสาหรับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทั้งหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ประกอบ
ธุรกิจท่องเที่ยว รวมถึงชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จะช่วยทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเกิดความเข้าใจและ
นาไปใช้ดาเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องได้ทันที ซึ่งจะเป็นผลให้การขับเคลื่อนการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมใน
ภาคเหนือตอนบนเกิดประสิทธิผลและช่วยให้ผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวรวมทั้งนักท่องเที่ยวสามารถจัดการการ
เดินทางท่องเที่ยวในเส้นทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่เสนอแนะไว้ได้โดยทันที
การนาผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติการ จะก่อให้เกิดผลประโยชน์ที่คิดเป็นมูลค่าทาง
เศรษฐกิจสูงกว่ามูลค่างบประมาณที่ใช้ในการศึกษาวิจัยนี้หลายหมื่นเท่า นอกจากนี้ การนาข้อมูล องค์ความรู้
และผลการศึกษาวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอน และศึกษาวิจัยต่อยอดจะมีส่วนสาคัญอย่างยิ่ง
ต่อการพัฒนาวิชาการด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ซึ่งจะส่งผลให้เกิดองค์ความรู้ที่สามารถสร้างมูลค่าแก่
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทยเพิ่มขึ้น
7. การนาผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์
แผนงานวิจัยฯ ได้จัดประชุมเพื่อส่งมอบผลผลิตให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภาคธุรกิจ
ผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยว วิสาหกิจชุมชน และชุมชนท่องเที่ยว เพื่อกระตุ้นให้เกิดการรับรู้เกี่ยวกับแนวคิดและ
แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของภาคเหนือตอนบนและนาผลผลิตจากการวิจัยไปใช้
ประโยชน์ โดยได้จัดประชุมในหัวข้อเรื่อง “ผลิตภัณฑ์และการทาตลาดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม:กรณีศึกษา
กลุ่มท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนา”โดยนาเสนอผลการวิจัยภายใต้แผนงานวิจัย เรื่อง “การบริหารจัดการและ
การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเส้นทางอารยธรรมล้านนาเชื่อมโยงกับสปป.ลาว สหภาพเมียนม่าร์ และ
สาธารณรัฐประชาชนจีน(ตอนใต้)” ในวันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม 2558 ณ ห้องเชียงดาว ชั้น 3 โรงแรมดวง
ตะวัน จังหวัดเชียงใหม่ นอกจากนี้ ได้จัดพิมพ์เอกสาร “เส้นทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ฯ” เผยแพร่แก่
หน่วยงานและผู้ประกอบการท่องเที่ยวรวมถึงประชาชนทั่วไป ด้วย
หมายเหตุ:
ท่านใดสนใจผลงานศึกษาวิจัยฉบับเต็ม ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการท่องเที่ยว สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
239 ถ.ห้วยแก้ว อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
Tel. 05 394 2571
Fax. 05 389 2649
Facebook: tourism.sri.cmu

More Related Content

What's hot

ใบงานที่ 1 รวมกลุ่มเศรษฐกิจฯ พร้อมเฉลย
ใบงานที่ 1 รวมกลุ่มเศรษฐกิจฯ พร้อมเฉลยใบงานที่ 1 รวมกลุ่มเศรษฐกิจฯ พร้อมเฉลย
ใบงานที่ 1 รวมกลุ่มเศรษฐกิจฯ พร้อมเฉลยthnaporn999
 
อารยธรรมกรีก-โรมัน
อารยธรรมกรีก-โรมันอารยธรรมกรีก-โรมัน
อารยธรรมกรีก-โรมันJungko
 
หลักการและการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
หลักการและการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศหลักการและการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
หลักการและการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศSomyot Ongkhluap
 
สถาบันพระมหากษัตริย์กับปวงชนชาวไทย
สถาบันพระมหากษัตริย์กับปวงชนชาวไทยสถาบันพระมหากษัตริย์กับปวงชนชาวไทย
สถาบันพระมหากษัตริย์กับปวงชนชาวไทยPadvee Academy
 
รูปเล่มรายงาน
รูปเล่มรายงานรูปเล่มรายงาน
รูปเล่มรายงานZnackiie Rn
 
โครงงานประเทศเกาหลีใต้
โครงงานประเทศเกาหลีใต้โครงงานประเทศเกาหลีใต้
โครงงานประเทศเกาหลีใต้Supisara Jaibaan
 
สังคมพหุวัฒนธรรมนำชาติมั่นคงยั่งยืน
สังคมพหุวัฒนธรรมนำชาติมั่นคงยั่งยืนสังคมพหุวัฒนธรรมนำชาติมั่นคงยั่งยืน
สังคมพหุวัฒนธรรมนำชาติมั่นคงยั่งยืนTaraya Srivilas
 
ISโครงการจิตอาสาพัฒนาวัดบ้านเรา(ใหม่)
ISโครงการจิตอาสาพัฒนาวัดบ้านเรา(ใหม่)ISโครงการจิตอาสาพัฒนาวัดบ้านเรา(ใหม่)
ISโครงการจิตอาสาพัฒนาวัดบ้านเรา(ใหม่)Iam Champooh
 
กาพย์เห่เรือ บทชมปลา ภาษาไทย ม.6
กาพย์เห่เรือ บทชมปลา ภาษาไทย ม.6 กาพย์เห่เรือ บทชมปลา ภาษาไทย ม.6
กาพย์เห่เรือ บทชมปลา ภาษาไทย ม.6 Bom Anuchit
 
แนวคิด ทฤษฎีการเรียนรู้ร่วมสมัย
แนวคิด ทฤษฎีการเรียนรู้ร่วมสมัยแนวคิด ทฤษฎีการเรียนรู้ร่วมสมัย
แนวคิด ทฤษฎีการเรียนรู้ร่วมสมัยkhanidthakpt
 
สะเต็มศึกษากับชีวิตประจำวัน
สะเต็มศึกษากับชีวิตประจำวันสะเต็มศึกษากับชีวิตประจำวัน
สะเต็มศึกษากับชีวิตประจำวันSiratcha Wongkom
 
การใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551
การใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551การใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551
การใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551คน ขี้เล่า
 
1 รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์2557 สำรวจแมงมุม ศพว
1 รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์2557 สำรวจแมงมุม ศพว1 รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์2557 สำรวจแมงมุม ศพว
1 รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์2557 สำรวจแมงมุม ศพวSircom Smarnbua
 
การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์
การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์
การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์Calvinlok
 
ปรัชญาการศึกษา Philosophy of Education
ปรัชญาการศึกษา Philosophy of Education ปรัชญาการศึกษา Philosophy of Education
ปรัชญาการศึกษา Philosophy of Education Weerachat Martluplao
 
5 ทักษะการสื่อสารสำหรับบุคลากรธุรกิจท่องเที่ยว
5 ทักษะการสื่อสารสำหรับบุคลากรธุรกิจท่องเที่ยว5 ทักษะการสื่อสารสำหรับบุคลากรธุรกิจท่องเที่ยว
5 ทักษะการสื่อสารสำหรับบุคลากรธุรกิจท่องเที่ยวMint NutniCha
 
งานนำเสนอBest
งานนำเสนอBestงานนำเสนอBest
งานนำเสนอBestkrupornpana55
 

What's hot (20)

ใบงานที่ 1 รวมกลุ่มเศรษฐกิจฯ พร้อมเฉลย
ใบงานที่ 1 รวมกลุ่มเศรษฐกิจฯ พร้อมเฉลยใบงานที่ 1 รวมกลุ่มเศรษฐกิจฯ พร้อมเฉลย
ใบงานที่ 1 รวมกลุ่มเศรษฐกิจฯ พร้อมเฉลย
 
อารยธรรมกรีก-โรมัน
อารยธรรมกรีก-โรมันอารยธรรมกรีก-โรมัน
อารยธรรมกรีก-โรมัน
 
I30201 2-แผนการสอน
I30201 2-แผนการสอนI30201 2-แผนการสอน
I30201 2-แผนการสอน
 
หลักการและการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
หลักการและการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศหลักการและการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
หลักการและการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
 
สถาบันพระมหากษัตริย์กับปวงชนชาวไทย
สถาบันพระมหากษัตริย์กับปวงชนชาวไทยสถาบันพระมหากษัตริย์กับปวงชนชาวไทย
สถาบันพระมหากษัตริย์กับปวงชนชาวไทย
 
รูปเล่มรายงาน
รูปเล่มรายงานรูปเล่มรายงาน
รูปเล่มรายงาน
 
โครงงานประเทศเกาหลีใต้
โครงงานประเทศเกาหลีใต้โครงงานประเทศเกาหลีใต้
โครงงานประเทศเกาหลีใต้
 
สังคมพหุวัฒนธรรมนำชาติมั่นคงยั่งยืน
สังคมพหุวัฒนธรรมนำชาติมั่นคงยั่งยืนสังคมพหุวัฒนธรรมนำชาติมั่นคงยั่งยืน
สังคมพหุวัฒนธรรมนำชาติมั่นคงยั่งยืน
 
ISโครงการจิตอาสาพัฒนาวัดบ้านเรา(ใหม่)
ISโครงการจิตอาสาพัฒนาวัดบ้านเรา(ใหม่)ISโครงการจิตอาสาพัฒนาวัดบ้านเรา(ใหม่)
ISโครงการจิตอาสาพัฒนาวัดบ้านเรา(ใหม่)
 
กาพย์เห่เรือ บทชมปลา ภาษาไทย ม.6
กาพย์เห่เรือ บทชมปลา ภาษาไทย ม.6 กาพย์เห่เรือ บทชมปลา ภาษาไทย ม.6
กาพย์เห่เรือ บทชมปลา ภาษาไทย ม.6
 
แนวคิด ทฤษฎีการเรียนรู้ร่วมสมัย
แนวคิด ทฤษฎีการเรียนรู้ร่วมสมัยแนวคิด ทฤษฎีการเรียนรู้ร่วมสมัย
แนวคิด ทฤษฎีการเรียนรู้ร่วมสมัย
 
สะเต็มศึกษากับชีวิตประจำวัน
สะเต็มศึกษากับชีวิตประจำวันสะเต็มศึกษากับชีวิตประจำวัน
สะเต็มศึกษากับชีวิตประจำวัน
 
การใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551
การใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551การใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551
การใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551
 
เอกสารประกอบการเรียนเล่ม1
เอกสารประกอบการเรียนเล่ม1เอกสารประกอบการเรียนเล่ม1
เอกสารประกอบการเรียนเล่ม1
 
1 รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์2557 สำรวจแมงมุม ศพว
1 รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์2557 สำรวจแมงมุม ศพว1 รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์2557 สำรวจแมงมุม ศพว
1 รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์2557 สำรวจแมงมุม ศพว
 
การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์
การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์
การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์
 
ปรัชญาการศึกษา Philosophy of Education
ปรัชญาการศึกษา Philosophy of Education ปรัชญาการศึกษา Philosophy of Education
ปรัชญาการศึกษา Philosophy of Education
 
5 ทักษะการสื่อสารสำหรับบุคลากรธุรกิจท่องเที่ยว
5 ทักษะการสื่อสารสำหรับบุคลากรธุรกิจท่องเที่ยว5 ทักษะการสื่อสารสำหรับบุคลากรธุรกิจท่องเที่ยว
5 ทักษะการสื่อสารสำหรับบุคลากรธุรกิจท่องเที่ยว
 
งานนำเสนอBest
งานนำเสนอBestงานนำเสนอBest
งานนำเสนอBest
 
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ Ppt[1]
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ Ppt[1]คัมภีร์ฉันทศาสตร์ Ppt[1]
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ Ppt[1]
 

Similar to ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เส้นทางอารยธรรมล้านนา

ประวัติอไ..
ประวัติอไ..ประวัติอไ..
ประวัติอไ..Librru Phrisit
 
ประวัติอไ..
ประวัติอไ..ประวัติอไ..
ประวัติอไ..Librru Phrisit
 
ประวัติอไ..
ประวัติอไ..ประวัติอไ..
ประวัติอไ..Lib Rru
 
การพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยว ให้ตอบสนองนักท่องเที่ยว
การพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยว ให้ตอบสนองนักท่องเที่ยวการพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยว ให้ตอบสนองนักท่องเที่ยว
การพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยว ให้ตอบสนองนักท่องเที่ยวKorawan Sangkakorn
 
การศึกษาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อการศึกษาศิลปวัฒนธรรมในอู่อารยธรรม ...
การศึกษาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อการศึกษาศิลปวัฒนธรรมในอู่อารยธรรม ...การศึกษาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อการศึกษาศิลปวัฒนธรรมในอู่อารยธรรม ...
การศึกษาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อการศึกษาศิลปวัฒนธรรมในอู่อารยธรรม ...สถาบันราชบุรีศึกษา
 
กระบวนทัศน์ใหม่ของรัฐประศาสนศาสตร์ : การถอดบทเรียนจากตลาดน้ำชุมชนคลองลัดมะยม
กระบวนทัศน์ใหม่ของรัฐประศาสนศาสตร์ : การถอดบทเรียนจากตลาดน้ำชุมชนคลองลัดมะยมกระบวนทัศน์ใหม่ของรัฐประศาสนศาสตร์ : การถอดบทเรียนจากตลาดน้ำชุมชนคลองลัดมะยม
กระบวนทัศน์ใหม่ของรัฐประศาสนศาสตร์ : การถอดบทเรียนจากตลาดน้ำชุมชนคลองลัดมะยมFURD_RSU
 
ยุทธศาสตร์การพัฒนาของสิงคโปร์ในยุคบูรพาภิวัฒน์ : บทเรียนต่อประเทศไทย
ยุทธศาสตร์การพัฒนาของสิงคโปร์ในยุคบูรพาภิวัฒน์ : บทเรียนต่อประเทศไทยยุทธศาสตร์การพัฒนาของสิงคโปร์ในยุคบูรพาภิวัฒน์ : บทเรียนต่อประเทศไทย
ยุทธศาสตร์การพัฒนาของสิงคโปร์ในยุคบูรพาภิวัฒน์ : บทเรียนต่อประเทศไทยKlangpanya
 
แบบสอบถาม นักท่องเที่ยวต่างชาติ ต่อ หน้า154
แบบสอบถาม นักท่องเที่ยวต่างชาติ ต่อ หน้า154แบบสอบถาม นักท่องเที่ยวต่างชาติ ต่อ หน้า154
แบบสอบถาม นักท่องเที่ยวต่างชาติ ต่อ หน้า154สำเร็จ นางสีคุณ
 
สาขาที่สนใจ
สาขาที่สนใจสาขาที่สนใจ
สาขาที่สนใจpuppypingpong
 
2554 ค่ายคืนปัญญาสู่มาตุภูมิ ชมรมอีสาน พระนครเหนือ
2554 ค่ายคืนปัญญาสู่มาตุภูมิ ชมรมอีสาน พระนครเหนือ2554 ค่ายคืนปัญญาสู่มาตุภูมิ ชมรมอีสาน พระนครเหนือ
2554 ค่ายคืนปัญญาสู่มาตุภูมิ ชมรมอีสาน พระนครเหนือmahaoath พระมหาโอ๊ท
 
ความสำเร็จทางยุทธศาสตร์ของเศรษฐกิจจีน
ความสำเร็จทางยุทธศาสตร์ของเศรษฐกิจจีนความสำเร็จทางยุทธศาสตร์ของเศรษฐกิจจีน
ความสำเร็จทางยุทธศาสตร์ของเศรษฐกิจจีนKlangpanya
 
Good governance 3
Good governance 3Good governance 3
Good governance 3gimzui
 
ยางนาสาร-ฉบับที่-75
ยางนาสาร-ฉบับที่-75ยางนาสาร-ฉบับที่-75
ยางนาสาร-ฉบับที่-75Mr-Dusit Kreachai
 
PPT รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 แนวทางพัฒนาประชาสังคม ภาคเหนือ
PPT รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 แนวทางพัฒนาประชาสังคม ภาคเหนือPPT รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 แนวทางพัฒนาประชาสังคม ภาคเหนือ
PPT รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 แนวทางพัฒนาประชาสังคม ภาคเหนือFURD_RSU
 
รายงานโครงการกฐิน ๒๕๕๖
รายงานโครงการกฐิน ๒๕๕๖รายงานโครงการกฐิน ๒๕๕๖
รายงานโครงการกฐิน ๒๕๕๖Manoonpong Srivirat
 

Similar to ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เส้นทางอารยธรรมล้านนา (20)

ประวัติอไ..
ประวัติอไ..ประวัติอไ..
ประวัติอไ..
 
ประวัติอไ..
ประวัติอไ..ประวัติอไ..
ประวัติอไ..
 
ประวัติอไ..
ประวัติอไ..ประวัติอไ..
ประวัติอไ..
 
บทที่ 4 การจัดการสารสนเทศท้องถิ่น
บทที่ 4 การจัดการสารสนเทศท้องถิ่นบทที่ 4 การจัดการสารสนเทศท้องถิ่น
บทที่ 4 การจัดการสารสนเทศท้องถิ่น
 
การพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยว ให้ตอบสนองนักท่องเที่ยว
การพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยว ให้ตอบสนองนักท่องเที่ยวการพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยว ให้ตอบสนองนักท่องเที่ยว
การพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยว ให้ตอบสนองนักท่องเที่ยว
 
การศึกษาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อการศึกษาศิลปวัฒนธรรมในอู่อารยธรรม ...
การศึกษาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อการศึกษาศิลปวัฒนธรรมในอู่อารยธรรม ...การศึกษาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อการศึกษาศิลปวัฒนธรรมในอู่อารยธรรม ...
การศึกษาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อการศึกษาศิลปวัฒนธรรมในอู่อารยธรรม ...
 
V 293
V 293V 293
V 293
 
กระบวนทัศน์ใหม่ของรัฐประศาสนศาสตร์ : การถอดบทเรียนจากตลาดน้ำชุมชนคลองลัดมะยม
กระบวนทัศน์ใหม่ของรัฐประศาสนศาสตร์ : การถอดบทเรียนจากตลาดน้ำชุมชนคลองลัดมะยมกระบวนทัศน์ใหม่ของรัฐประศาสนศาสตร์ : การถอดบทเรียนจากตลาดน้ำชุมชนคลองลัดมะยม
กระบวนทัศน์ใหม่ของรัฐประศาสนศาสตร์ : การถอดบทเรียนจากตลาดน้ำชุมชนคลองลัดมะยม
 
ยุทธศาสตร์การพัฒนาของสิงคโปร์ในยุคบูรพาภิวัฒน์ : บทเรียนต่อประเทศไทย
ยุทธศาสตร์การพัฒนาของสิงคโปร์ในยุคบูรพาภิวัฒน์ : บทเรียนต่อประเทศไทยยุทธศาสตร์การพัฒนาของสิงคโปร์ในยุคบูรพาภิวัฒน์ : บทเรียนต่อประเทศไทย
ยุทธศาสตร์การพัฒนาของสิงคโปร์ในยุคบูรพาภิวัฒน์ : บทเรียนต่อประเทศไทย
 
V 254
V 254V 254
V 254
 
แบบสอบถาม นักท่องเที่ยวต่างชาติ ต่อ หน้า154
แบบสอบถาม นักท่องเที่ยวต่างชาติ ต่อ หน้า154แบบสอบถาม นักท่องเที่ยวต่างชาติ ต่อ หน้า154
แบบสอบถาม นักท่องเที่ยวต่างชาติ ต่อ หน้า154
 
V 263
V 263V 263
V 263
 
สาขาที่สนใจ
สาขาที่สนใจสาขาที่สนใจ
สาขาที่สนใจ
 
2554 ค่ายคืนปัญญาสู่มาตุภูมิ ชมรมอีสาน พระนครเหนือ
2554 ค่ายคืนปัญญาสู่มาตุภูมิ ชมรมอีสาน พระนครเหนือ2554 ค่ายคืนปัญญาสู่มาตุภูมิ ชมรมอีสาน พระนครเหนือ
2554 ค่ายคืนปัญญาสู่มาตุภูมิ ชมรมอีสาน พระนครเหนือ
 
V 302
V 302V 302
V 302
 
ความสำเร็จทางยุทธศาสตร์ของเศรษฐกิจจีน
ความสำเร็จทางยุทธศาสตร์ของเศรษฐกิจจีนความสำเร็จทางยุทธศาสตร์ของเศรษฐกิจจีน
ความสำเร็จทางยุทธศาสตร์ของเศรษฐกิจจีน
 
Good governance 3
Good governance 3Good governance 3
Good governance 3
 
ยางนาสาร-ฉบับที่-75
ยางนาสาร-ฉบับที่-75ยางนาสาร-ฉบับที่-75
ยางนาสาร-ฉบับที่-75
 
PPT รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 แนวทางพัฒนาประชาสังคม ภาคเหนือ
PPT รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 แนวทางพัฒนาประชาสังคม ภาคเหนือPPT รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 แนวทางพัฒนาประชาสังคม ภาคเหนือ
PPT รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 แนวทางพัฒนาประชาสังคม ภาคเหนือ
 
รายงานโครงการกฐิน ๒๕๕๖
รายงานโครงการกฐิน ๒๕๕๖รายงานโครงการกฐิน ๒๕๕๖
รายงานโครงการกฐิน ๒๕๕๖
 

More from Korawan Sangkakorn

ยกระดับคุณภาพอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย
ยกระดับคุณภาพอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยยกระดับคุณภาพอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย
ยกระดับคุณภาพอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยKorawan Sangkakorn
 
การพัฒนาการท่องเที่ยวยุคใหม่
การพัฒนาการท่องเที่ยวยุคใหม่การพัฒนาการท่องเที่ยวยุคใหม่
การพัฒนาการท่องเที่ยวยุคใหม่Korawan Sangkakorn
 
ทำอย่างไร ให้รู้ใจนักท่องเที่ยว
ทำอย่างไร ให้รู้ใจนักท่องเที่ยวทำอย่างไร ให้รู้ใจนักท่องเที่ยว
ทำอย่างไร ให้รู้ใจนักท่องเที่ยวKorawan Sangkakorn
 
แผนแม่บทพัฒนาธุรกิจ Long stay ปี พ.ศ.2560-2564 (กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1)
แผนแม่บทพัฒนาธุรกิจ Long stay ปี พ.ศ.2560-2564 (กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1)แผนแม่บทพัฒนาธุรกิจ Long stay ปี พ.ศ.2560-2564 (กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1)
แผนแม่บทพัฒนาธุรกิจ Long stay ปี พ.ศ.2560-2564 (กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1)Korawan Sangkakorn
 
การศึกษาโอกาส และศักยภาพการแข่งขันด้านธุรกิจ Long stay
การศึกษาโอกาส และศักยภาพการแข่งขันด้านธุรกิจ Long stayการศึกษาโอกาส และศักยภาพการแข่งขันด้านธุรกิจ Long stay
การศึกษาโอกาส และศักยภาพการแข่งขันด้านธุรกิจ Long stayKorawan Sangkakorn
 
อนาคตภาคเหนือ สู่ศูนย์กลาง Long Stay ระดับนานาชาติ
อนาคตภาคเหนือ สู่ศูนย์กลาง Long Stay ระดับนานาชาติอนาคตภาคเหนือ สู่ศูนย์กลาง Long Stay ระดับนานาชาติ
อนาคตภาคเหนือ สู่ศูนย์กลาง Long Stay ระดับนานาชาติKorawan Sangkakorn
 
การท่องเที่ยวเพื่อผู้สูงอายุ ลู่ทางใหม่สำหรับผู้ประกอบการ
การท่องเที่ยวเพื่อผู้สูงอายุ ลู่ทางใหม่สำหรับผู้ประกอบการ การท่องเที่ยวเพื่อผู้สูงอายุ ลู่ทางใหม่สำหรับผู้ประกอบการ
การท่องเที่ยวเพื่อผู้สูงอายุ ลู่ทางใหม่สำหรับผู้ประกอบการ Korawan Sangkakorn
 
ผู้สูงอายุชอบท่องเที่ยวแบบไหน
ผู้สูงอายุชอบท่องเที่ยวแบบไหนผู้สูงอายุชอบท่องเที่ยวแบบไหน
ผู้สูงอายุชอบท่องเที่ยวแบบไหนKorawan Sangkakorn
 
การท่องเที่ยวแบบ Slow Tourism สำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ
การท่องเที่ยวแบบ Slow Tourism สำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุการท่องเที่ยวแบบ Slow Tourism สำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ
การท่องเที่ยวแบบ Slow Tourism สำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุKorawan Sangkakorn
 
Chinese tourist behavior in chiang mai
Chinese tourist behavior in chiang maiChinese tourist behavior in chiang mai
Chinese tourist behavior in chiang maiKorawan Sangkakorn
 
การพัฒนาเครือข่ายเฝ้าระวังปัญหาการท่องเที่ยวที่้แสวงประโยชน์ทางเพศจากเด็ก
การพัฒนาเครือข่ายเฝ้าระวังปัญหาการท่องเที่ยวที่้แสวงประโยชน์ทางเพศจากเด็กการพัฒนาเครือข่ายเฝ้าระวังปัญหาการท่องเที่ยวที่้แสวงประโยชน์ทางเพศจากเด็ก
การพัฒนาเครือข่ายเฝ้าระวังปัญหาการท่องเที่ยวที่้แสวงประโยชน์ทางเพศจากเด็กKorawan Sangkakorn
 
Long stay การท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาว
Long stay การท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวLong stay การท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาว
Long stay การท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวKorawan Sangkakorn
 
Publishing Research by Dr.Marta Elliot
Publishing Research by Dr.Marta ElliotPublishing Research by Dr.Marta Elliot
Publishing Research by Dr.Marta ElliotKorawan Sangkakorn
 
การถอดบทเรียนจากการทำงานร่วมกับชุมชน
การถอดบทเรียนจากการทำงานร่วมกับชุมชนการถอดบทเรียนจากการทำงานร่วมกับชุมชน
การถอดบทเรียนจากการทำงานร่วมกับชุมชนKorawan Sangkakorn
 

More from Korawan Sangkakorn (20)

Lanna longstay
Lanna longstayLanna longstay
Lanna longstay
 
ยกระดับคุณภาพอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย
ยกระดับคุณภาพอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยยกระดับคุณภาพอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย
ยกระดับคุณภาพอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย
 
การพัฒนาการท่องเที่ยวยุคใหม่
การพัฒนาการท่องเที่ยวยุคใหม่การพัฒนาการท่องเที่ยวยุคใหม่
การพัฒนาการท่องเที่ยวยุคใหม่
 
ทำอย่างไร ให้รู้ใจนักท่องเที่ยว
ทำอย่างไร ให้รู้ใจนักท่องเที่ยวทำอย่างไร ให้รู้ใจนักท่องเที่ยว
ทำอย่างไร ให้รู้ใจนักท่องเที่ยว
 
LPB city plan
LPB city planLPB city plan
LPB city plan
 
Tourism Behavior in LPB
Tourism Behavior in LPBTourism Behavior in LPB
Tourism Behavior in LPB
 
CNX Tourism Situation
CNX Tourism SituationCNX Tourism Situation
CNX Tourism Situation
 
LPB Tourism Situation
LPB Tourism SituationLPB Tourism Situation
LPB Tourism Situation
 
CBT in Chiang Mai & Lamphoon
CBT in Chiang Mai & LamphoonCBT in Chiang Mai & Lamphoon
CBT in Chiang Mai & Lamphoon
 
แผนแม่บทพัฒนาธุรกิจ Long stay ปี พ.ศ.2560-2564 (กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1)
แผนแม่บทพัฒนาธุรกิจ Long stay ปี พ.ศ.2560-2564 (กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1)แผนแม่บทพัฒนาธุรกิจ Long stay ปี พ.ศ.2560-2564 (กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1)
แผนแม่บทพัฒนาธุรกิจ Long stay ปี พ.ศ.2560-2564 (กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1)
 
การศึกษาโอกาส และศักยภาพการแข่งขันด้านธุรกิจ Long stay
การศึกษาโอกาส และศักยภาพการแข่งขันด้านธุรกิจ Long stayการศึกษาโอกาส และศักยภาพการแข่งขันด้านธุรกิจ Long stay
การศึกษาโอกาส และศักยภาพการแข่งขันด้านธุรกิจ Long stay
 
อนาคตภาคเหนือ สู่ศูนย์กลาง Long Stay ระดับนานาชาติ
อนาคตภาคเหนือ สู่ศูนย์กลาง Long Stay ระดับนานาชาติอนาคตภาคเหนือ สู่ศูนย์กลาง Long Stay ระดับนานาชาติ
อนาคตภาคเหนือ สู่ศูนย์กลาง Long Stay ระดับนานาชาติ
 
การท่องเที่ยวเพื่อผู้สูงอายุ ลู่ทางใหม่สำหรับผู้ประกอบการ
การท่องเที่ยวเพื่อผู้สูงอายุ ลู่ทางใหม่สำหรับผู้ประกอบการ การท่องเที่ยวเพื่อผู้สูงอายุ ลู่ทางใหม่สำหรับผู้ประกอบการ
การท่องเที่ยวเพื่อผู้สูงอายุ ลู่ทางใหม่สำหรับผู้ประกอบการ
 
ผู้สูงอายุชอบท่องเที่ยวแบบไหน
ผู้สูงอายุชอบท่องเที่ยวแบบไหนผู้สูงอายุชอบท่องเที่ยวแบบไหน
ผู้สูงอายุชอบท่องเที่ยวแบบไหน
 
การท่องเที่ยวแบบ Slow Tourism สำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ
การท่องเที่ยวแบบ Slow Tourism สำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุการท่องเที่ยวแบบ Slow Tourism สำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ
การท่องเที่ยวแบบ Slow Tourism สำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ
 
Chinese tourist behavior in chiang mai
Chinese tourist behavior in chiang maiChinese tourist behavior in chiang mai
Chinese tourist behavior in chiang mai
 
การพัฒนาเครือข่ายเฝ้าระวังปัญหาการท่องเที่ยวที่้แสวงประโยชน์ทางเพศจากเด็ก
การพัฒนาเครือข่ายเฝ้าระวังปัญหาการท่องเที่ยวที่้แสวงประโยชน์ทางเพศจากเด็กการพัฒนาเครือข่ายเฝ้าระวังปัญหาการท่องเที่ยวที่้แสวงประโยชน์ทางเพศจากเด็ก
การพัฒนาเครือข่ายเฝ้าระวังปัญหาการท่องเที่ยวที่้แสวงประโยชน์ทางเพศจากเด็ก
 
Long stay การท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาว
Long stay การท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวLong stay การท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาว
Long stay การท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาว
 
Publishing Research by Dr.Marta Elliot
Publishing Research by Dr.Marta ElliotPublishing Research by Dr.Marta Elliot
Publishing Research by Dr.Marta Elliot
 
การถอดบทเรียนจากการทำงานร่วมกับชุมชน
การถอดบทเรียนจากการทำงานร่วมกับชุมชนการถอดบทเรียนจากการทำงานร่วมกับชุมชน
การถอดบทเรียนจากการทำงานร่วมกับชุมชน
 

ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เส้นทางอารยธรรมล้านนา

  • 1.
  • 2. แผนงานวิจัย การบริหารจัดการและการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเส้นทางอารยธรรมล้านนา เชื่อมโยงกับ สปป.ลาว สหภาพเมียนม่าร์ และสาธารณรัฐประชาชนจีน(ตอนใต้) Cultural Tourism Management and Development in Lan Na Civilization Route Link with Lao PDR., Myanmar, and Southern China ผู้อานวยการแผนงาน นางสุรีย์ บุญญานุพงศ์ สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะผู้วิจัย 1. ดร.กรวรรณ สังขกร สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2. นายสามารถ สุวรรณรัตน์ สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 3. อาจารย์ใจรัตน์ จตุรภัทรพร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 4. ดร.ไพรัช พิบูลรุ่งโรจน์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 1. ความสาคัญและที่มาของปัญหา ตลาดการท่องเที่ยวปัจจุบันให้ความสนใจการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก เนื่องจาก นักท่องเที่ยวที่อยู่ในวัยทางานต้องการแสวงหาสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความสงบ มีบรรยากาศของวิถีชีวิต ในอดีตที่งดงาม เรียบง่ายเพื่อชดเชยความวุ่นวายและความเคร่งเครียดในชีวิตประจาวัน ขณะเดียวกัน การที่โลกเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ทาให้นักท่องเที่ยวสูงอายุซึ่งต้องการท่องเที่ยวเพื่อสัมผัสวิถีชีวิตและ ความสุขในวัยเยาว์ กลายเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวเป้าหมายใหม่ในตลาดการท่องเที่ยวและเป็น นักท่องเที่ยวกลุ่มใหญ่ที่สุดในตลาดท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ประเทศไทยมีความได้เปรียบในตลาดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเนื่องจากมีทรัพยากรการ ท่องเที่ยวทางวัฒ นธรรม (Cultural Resources) มากเป็นอันดับ 3 ของภูมิภาคเอเชีย แต่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยก็มีคู่แข่งจานวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศในแถบเอเซีย ตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งเป็นแหล่งอารยธรรมเก่าแก่ของโลก รัฐบาลจึงมีนโยบายส่งเสริมและพัฒนาการ ท่องเที่ยวโดยใช้ฐานทางวัฒนธรรมตามแนวทางส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559) โดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้กาหนดแนว ทางการดาเนินงานพัฒนายกระดับคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวใหม่ในเชิงกลุ่มพื้นที่ที่มีศักยภาพ ซึ่งภาคเหนือตอนบนถูกกาหนดเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการเป็น “กลุ่มท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนา” เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ชุมชนตั้งถิ่นฐานมายาวนานกว่า 1,300 ปี และชุมชนจานวนมากยังดารงรักษาวิถี ชีวิตล้านนาดั้งเดิม นอกจากนี้ ยังเป็นพื้นที่ที่สามารถเชื่อมโยงการท่องเที่ยวกับประเทศข้างเคียงที่มี วัฒนธรรมร่วมกันได้ คือ ประเทศ สปป.ลาว สหภาพเมียนม่าร์ และสาธารณรัฐประชาชนจีน (ตอนใต้) อย่างไรก็ตาม การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของภาคเหนือตอนบนให้แข่งขันได้ใน
  • 3. ตลาดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและสามารถตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวได้อย่าง เหมาะสม ประเด็นสาคัญที่จะต้องทาความเข้าใจให้กระจ่าง คือ ผู้ประกอบการท่องเที่ยว ชุมชน ท่องเที่ยว และแหล่งท่องเที่ยวในภาคเหนือตอนบนมีศักยภาพในการรองรับการท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรมหรือไม่และในระดับใด แนวทางการบริหารจัดการและการพัฒนาการท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรมในเส้นทางอารยธรรมล้านนาและการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเส้นทางอารย ธรรมล้านนากับ สปป.ลาว สหภาพเมียนม่าร์ และสาธารณรัฐประชาชนจีน(ตอนใต้) ควรจะ ดาเนินการอย่างไร 2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) ศึกษาและเสนอแนวทางการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันด้านการท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรมเส้นทางอารยธรรมล้านนา 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพชุมชนในการรองรับการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม 3) ศึกษาและเสนอแผนการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเส้นทาง อารยธรรมล้านนาในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 4) เสนอแนวทางการเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเส้นทางอารยธรรมล้านนา กับสปป.ลาว สหภาพเมียนม่าร์ และสาธารณรัฐประชาชนจีน(ตอนใต้) 3. ขอบเขตของการวิจัย 1) ขอบเขตเนื้อหา ดาเนินการศึกษาในขอบเขตเนื้อหาด้านอุปสงค์ และอุปทานของการ ท่องเที่ยว โดยศึกษาศักยภาพการแข่งขันของผู้ประกอบการท่องเที่ยวในภาคเหนือตอนบน พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวภาคเหนือตอนบน ศักยภาพการจัดการ ท่องเที่ยวของชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ศักยภาพการรองรับการท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยวเชิง วัฒนธรรมในภาคเหนือตอนบน 2) ขอบเขตพื้นที่ศึกษา ครอบคลุมพื้นที่“กลุ่มท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนา” ตามแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ปีพ.ศ.2555 – 2559 และพื้นที่เกี่ยวเนื่อง ประกอบด้วย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดลาพูน จังหวัดลาปาง จังหวัดพะเยา จังหวัดแพร่ จังหวัดน่าน และจังหวัดแม่ฮ่องสอน 4. วิธีการดาเนินการวิจัย แผนงานวิจัย “การบริหารจัดการและการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเส้นทาง อารยธรรมล้านนาเชื่อมโยงกับ สปป.ลาว สหภาพเมียนม่าร์และสาธารณรัฐประชาชนจีน(ตอนใต้)” มีประเด็นสาคัญที่ทาการศึกษา 4 ประเด็น คือ การศึกษาศักยภาพในการแข่งขันทางการตลาดของ ผู้ประกอบการท่องเที่ยวในภาคเหนือตอนบน การศึกษาศักยภาพการจัดการท่องเที่ยวของชุมชน
  • 4. ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การประเมินศักยภาพการรองรับการท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรมในภาคเหนือตอนบน และการศึกษาเพื่อหาแนวทางการบริหารจัดการและ การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในภาคเหนือตอนบนและการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวกับ สปป. ลาว สหภาพเมียนม่าร์ และสาธารณรัฐประชาชนจีน(ตอนใต้) ดังนั้น การดาเนินงานวิจัยจึงแบ่งเป็น 4 ส่วน ประกอบด้วย 3 โครงการย่อย และ 1 แผนงานวิจัย โดยวิธีการดาเนินงานศึกษาวิจัยแต่ละ โครงการย่อยและส่วนแผนงานวิจัย มีกระบวนการและขั้นตอนการดาเนินงานวิจัยตามแผนงานวิจัย (Research Design) ที่แสดงใน กรอบแนวคิดแผนงานวิจัย(Research Design)
  • 5. กรอบแนวคิดแผนงานวิจัย(Research Design) สถานการณ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในระดับโลก ระดับภูมิภาค ประเทศไทย และภาคเหนือตอนบน ย่อย 2ย่อย 1 ย่อย 3 แผนการบริหารจัดการและพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเส้นทางอารยธรรมล้านนา สถานการณ์ตลาดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สารวจพฤติกรรมนักท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม วิเคราะห์สภาพการแข่งขันการท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรมเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน สารวจและประเมินศักยภาพของผู้ประกอบการ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในภาคเหนือตอนบน วิเคราะห์ศักยภาพและขีดความสามารถทางการ แข่งขันของผู้ประกอบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรมในภาคเหนือตอนบนของ ผู้ประกอบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม รวบรวมแนวคิดเรื่องการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม แนวคิดด้านการอนุรักษ์และจัดการมรดก ทางวัฒนธรรม และกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ถอดบทเรียน สังเคราะห์ และสรุป Key Concept ของชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่มี Best Practiceใน ประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน เสนอแนวทางการพัฒนาศักยภาพชุมชนเพื่อรองรับการ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กาหนดเกณฑ์ การคัดเลือก ชุมชนท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรม รวบรวมข้อมูลชุมชนท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรมและคัดเลือก ชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เพื่อศึกษาและถอดบทเรียน รวบรวมข้อมูล และคัดกรองแหล่งท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรมในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน พัฒนาตัวชี้วัดและเกณฑ์ประเมินศักยภาพแหล่ง ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สารวจประเมิน และจัดลาดับศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรมในพื้นที่ภาคเหนือ จัดเส้นทางท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนา สารวจข้อมูลและเสนอแนวทางการเชื่อมโยงการ ท่องเที่ยวกับประเทศเพื่อนบ้าน แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิง วัฒนธรรมเส้นทางอารยธรรมล้านนา
  • 6. 1) โครงการย่อยที่ 1 ดาเนินงานศึกษาศักยภาพการแข่งขันทางการตลาดการท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรมเส้นทางอารยธรรมล้านนา เป็นการวิจัยเชิงสารวจเพื่อประเมินศักยภาพทางการแข่งขันของ ผู้ประกอบการท่องเที่ยวในภาคเหนือตอนบน และสารวจพฤติกรรมนักท่องเที่ยวในพื้นที่ท่องเที่ยวอารยธรรม ล้านนา โดยผลการศึกษาจะนาเสนอแนวทางการพัฒ นาศักยภาพและขีดความสามารถ ในการแข่งขันของผู้ประกอบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 2) โครงการย่อยที่ 2 ดาเนินงานศึกษาศักยภาพชุมชนในการรองรับการท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรม เป็นการวิจัยเชิงสารวจและการวิจัยเชิงคุณภาพโดยทาการถอดบทเรียนความสาเร็จ ในการจัดการท่องเที่ยวของชุมชนท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม เพื่อหา Key Concept และแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ที่สามารถนาไปใช้พัฒ นาศักยภ าพ การจัดการท่องเที่ยวของชุมชนท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรม 3) โครงการย่อยที่ 3 ดาเนินงานศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเส้นทางอารยธรรม ล้านนา เป็นการวิจัยเชิงสารวจเพื่อประเมินศักยภาพการรองรับการท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยวเชิง วัฒนธรรมในภาคเหนือตอนบน โดยผลการศึกษาจะทาให้ทราบถึงศักยภาพการรองรับการท่องเที่ยวของแหล่ง ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในภาคเหนือตอนบน ซึ่งเป็นข้อมูลสาคัญในการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิง วัฒนธรรมของภาคเหนือตอนบน และการกาหนดเส้นทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมภาคเหนือตอนบนที่มี ศักยภาพในการจัดการท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนาและการเชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยวประเทศเพื่อนบ้านใน “กลุ่มอารยธรรมล้านนา” คือ สปป.ลาว สหภาพเมียนม่าร์ และสาธารณรัฐประชาชนจีน (ตอนใต้) 4) ส่วนแผนงานวิจัย ดาเนินงานศึกษาเพื่อหาแนวทางการบริหารจัดการและการพัฒนาการ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเส้นทางอารยธรรมล้านนาเชื่อมโยงกับ สปป.ลาว สหภาพเมียนม่าร์และสาธารณรัฐ ประชาชนจีน(ตอนใต้) โดยบูรณาการข้อมูลและผลการศึกษาจากทั้ง 3 โครงการย่อยเพื่อกาหนดแนวทางการ บริหารจัดการและการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเส้นทางอารยธรรมล้านนาและการเชื่อมโยงการ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเส้นทางอารยธรรมล้านนากับ สปป.ลาว สหภาพเมียนม่าร์ และสาธารณรัฐประชาชน จีน(ตอนใต้) รวมทั้งดาเนินการพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อใช้สนับสนุนการบริหารจัดการและการพัฒนาการ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเส้นทางอารยธรรมล้านนา 5. สรุปผลการดาเนินงานวิจัย แผนงานวิจัย “การบริหารจัดการและการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเส้นทางอารยธรรม ล้านนาเชื่อมโยงกับ สปป.ลาว สหภาพเมียนม่าร์และสาธารณรัฐประชาชนจีน(ตอนใต้)” มีประเด็นสาคัญที่ทาการศึกษา คือ การศึกษาศักยภาพในการแข่งขันทางการตลาดของผู้ประกอบการ ท่องเที่ยวในภาคเหนือตอนบน การศึกษาศักยภาพการจัดการท่องเที่ยวของชุมชนท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรม การประเมินศักยภาพการรองรับการท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในภาคเหนือ ตอนบน และการศึกษาเพื่อหาแนวทางการบริหารจัดการและการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมใน
  • 7. ภาคเหนือตอนบนและการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวกับ สปป.ลาว สหภาพเมียนม่าร์ และสาธารณรัฐประชาชน จีน(ตอนใต้) โดยแบ่งการดาเนินงานเป็น 3 โครงการย่อย และ 1 แผนซึ่งผลการศึกษาแต่ละโครงการย่อย รวมถึงประเด็นพบดังนี้ 1) โครงการย่อยที่ 1 การศึกษาศักยภาพการแข่งขันทางการตลาดการท่ องเที่ยว เชิงวัฒนธรรมเส้นทางอารยธรรมล้านนา พบว่า นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมีความสนใจ แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของภาคเหนือตอนบน ด้านผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวในภาคเหนือตอนบนพบว่า มีศักยภาพในการแข่งขันด้านการบริการท่องเที่ยวแต่การเข้าสู่ตลาดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมซึ่งเป็นตลาด การท่องเที่ยวที่มีรูปแบบการท่องเที่ยวเฉพาะด้านและมีเป้าหมายทางการท่องเที่ยวที่แตกต่างๆ จากตลาดการ ท่องเที่ยวที่ผู้ประกอบการในภาคเหนือตอนบนมีความคุ้นเคยทาให้ผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวในภาคเหนือ ตอนบนมีความต้องการพัฒนาศักยภาพด้านความรู้ในการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม พัฒนาศักยภาพและ ทักษะด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม พัฒนาศักยภาพและทักษะการใช้ระบบสารสนเทศ เพื่อพัฒนาการบริการและการตลาด รวมถึงพัฒนาศักยภาพและทักษะบุคลากรที่ให้บริการท่องเที่ยวเชิง วัฒนธรรม โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องให้การสนับสนุนผู้ประกอบการในการฝึกอบรมเพื่อสร้างความรู้ ความ เข้าใจเกี่ยวกับ“ตลาดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม” และฝึกอบรมพัฒนา ศักยภาพการจัดการท่องเที่ยวและการบริหารบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เพื่อสร้างขีด ความสามารถในการแข่งขันให้แก่ผู้ประกอบการในตลาดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเส้นทางอารยธรรมล้านนา ภาคเหนือตอนบน 2) โครงการย่อยที่ 2 การถอดบทเรียนความสาเร็จในการจัดการท่องเที่ยวของชุมชนท่องเที่ยวทาง วัฒนธรรม เพื่อหา“ Key Concept หรือ กุญแจ” และแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ที่สามารถนาไปใช้ พัฒนาศักยภาพชุมชนในการรองรับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม พบว่า แนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ที่ส่งผล ให้เกิดความสาเร็จในการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนมี“Key Concept หรือ กุญแจ”สาคัญ คือ การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในชุมชนโดยมีความเข้าใจ และความต้องการที่จะร่วมกันดารงรักษามรดกทาง วัฒนธรรมของชุมชนเป็นรากฐานการทางานตั้งแต่การริเริ่มพัฒนาการท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรม การบริหารจัดการการท่องเที่ยว และการมีศักยภาพในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับภาค ส่วนต่างๆ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาการท่องเที่ยวของชุมชนด้านต่างๆ อาทิ การพัฒนาการบริการ การพัฒนา สินค้า การวางแผนธุรกิจฯ อย่างไรก็ตาม การสร้างความยั่งยืนในการจัดการท่องเที่ยวของชุมชนจะเกิดขึ้นได้ สิ่งสาคัญที่ชุมชนต้องทาความเข้าใจ คือ วงจรของการพัฒนาการท่องเที่ยว ที่มีขั้นตอนการพัฒนา 3 ขั้นตอน คือ ขั้นริเริ่มพัฒนา ขั้นการพัฒนา และขั้นหยุดพัฒนา ซึ่งชุมชนจะต้องประเมินตนเองอยู่ตลอดเวลาเพื่อไม่ให้ ไปสู่ขั้นตอนสุดท้ายคือการหยุดพัฒนา 3) โครงการย่อยที่ 3 มีการศึกษาวิจัยใน 3 ส่วน คือ การประเมินศักยภาพการรองรับการท่องเที่ยว ของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเส้นทางอารยธรรมล้านนาภาคเหนือตอนบน การกาหนดเส้นทางท่องเที่ยว อารยธรรมล้านนาภาคเหนือตอนบนเชิงวัฒนธรรมที่มีศักยภาพในการจัดการท่องเที่ยว และการเชื่อมโยง เส้นทางท่องเที่ยวประเทศเพื่อนบ้านใน “กลุ่มอารยธรรมล้านนา” คือ สปป.ลาว สหภาพเมียนม่าร์ และ
  • 8. สาธารณรัฐประชาชนจีน (ตอนใต้) โดยผลการประเมินศักยภาพการรองรับการท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยว ทางวัฒนธรรมในภาคเหนือตอนบน พบว่า องค์ประกอบการท่องเที่ยวที่มีศักยภาพสูงที่สุด คือ การคมนาคม เข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว และองค์ประกอบที่มีศักยภาพต่า คือ การให้ข้อมูลในแหล่งท่องเที่ยว สิ่งอานวยความ สะดวก และการรับรองมาตรฐานการท่องเที่ยว ดังนั้น แนวทางพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเส้นทาง อารยธรรมล้านนาภาคเหนือตอนบน จึงต้องเร่งดาเนินการสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุประสงค์และ เป้าหมายของ “การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม” รวมถึงการพัฒนาศักยภาพด้านการจัดการท่องเที่ยวและการ ให้บริการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมให้แก่บุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ด้านการกาหนดเส้นทางท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนาภาคเหนือตอนบนเชิงวัฒนธรรมที่มีศักยภาพในการจัดการ ท่องเที่ยว พบว่า เส้นทางท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนาภาคเหนือตอนบนที่มีศักยภาพสูงในการจัดการท่องเที่ยว และสามารถ “ขายได้” ในตลาดการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม มี 6 กลุ่มเส้นทาง คือ กลุ่มเส้นทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดี กลุ่มเส้นทางประวัติศาสตร์ร่วมสมัย กลุ่มเส้นทางสถาปัตยกรรม กลุ่มเส้นทางหัตถกรรม ล้านนา กลุ่มเส้นทางเทศกาลงานประเพณีล้านนา และกลุ่มเส้นทางวิถีชีวิตล้านนา ส่วนเส้นทางท่องเที่ยว อารยธรรมล้านนาเชื่อมโยงภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านใน “แหล่งอารยธรรม ล้านนา” มี 4 กลุ่มเส้นทาง คือ เส้นทางท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ เส้นทางท่องเที่ยวหัตถกรรม เส้นทาง ท่องเที่ยวเรียนรู้สถาปัตยกรรม และเส้นทางท่องเที่ยววิถีชีวิต ซึ่งแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิง วัฒนธรรมเส้นทางท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนา (ภาคเหนือตอนบนและเชื่อมโยง 4 ประเทศเพื่อนบ้าน) จะต้อง มีคณะกรรมการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม(ระดับท้องถิ่น ระดับจังหวัด และระดับประเทศ) เป็นกลไก หลักในการประสานแผนงานพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ประสานความร่วมมือการจัดการท่องเที่ยว สนับสนุนและพัฒนาศักยภาพการจัดการท่องเที่ยวและการบริการท่องเที่ยวที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน บริหาร จัดการการท่องเที่ยวและจัดการหรือจัดสรรผลประโยชน์จากการท่องเที่ยวที่เป็นที่ยอมรับร่วมกัน และ ฯลฯ 4) แผนงานวิจัย การศึกษาสถานการณ์ตลาดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม แนวคิดการจัดการ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม นโยบายและแผนการส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศไทย และปัญหาอุปสรรคด้าน การท่องเที่ยวของประเทศไทยและภาคเหนือตอนบน และผลการศึกษาจากทั้ง 3 โครงการย่อยในแผนงาน เห็นได้ว่า จุดแข็งของการท่องเที่ยวประเทศไทยคือการเป็นผู้นาตลาดท่องเที่ยวในภูมิภาค แต่ข้อน่ากังวลของ การท่องเที่ยวประเทศไทย ได้แก่ ความปลอดภัย กฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อม สุขอนามัย และการเปิดตัวของ ตลาดประเทศเพื่อนบ้านในฐานะแหล่งท่องเที่ยวใหม่ จุดอ่อนที่สาคัญของประเทศไทยด้านการท่องเที่ยว คือ โครงสร้างการบริหารจัดการที่ยังขาดเสถียรภาพ ขาดองค์กรกลางที่มีอานาจในการกากับการดาเนินงาน ตามแผนพัฒนาของรัฐบาล การบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพและกฎระเบียบที่ไม่ทันการเปลี่ยนแปลง ของตลาดการท่องเที่ยว การขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน ภาคเอกชน ผู้ประกอบการ องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นและชุมชนยังขาดศักยภาพการบริหารจัดการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การขาด ความเชื่อมโยงในการพัฒนาการท่องเที่ยวระหว่างท้องถิ่น จังหวัด กลุ่มจังหวัด และประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้ประเทศไทยยังคงขาดการลงทุนระบบโลจิสติกส์ที่เพียงพอต่อการเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวทั้ง
  • 9. ระหว่างเมืองท่องเที่ยวหลัก เมืองท่องเที่ยวรอง และประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งยังมีปัญหากฎระเบียบไม่เอื้อต่อ การเชื่อมโยงการท่องเที่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านในบางเส้นทาง สาหรับภาคเหนือตอนบนแม้จะมีทรัพยากรท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่หลากหลายแต่มีเพียงบางประเภทเท่านั้น ที่มีศักยภาพในการสร้างรายได้ให้กับพื้นที่ ดังนั้น การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของภูมิภาคเหนือจึง ต้องมีการรวมตัวกันเป็นเครือข่ายเพื่อเพิ่มโอกาสการพัฒนาการท่องเที่ยวและเพิ่มแรงดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มา สัมผัสกับวัฒนธรรมที่ชุมชนภาคภูมิใจ โดยเครือข่ายจัดการการท่องเที่ยวและเส้นทางท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ต้องมีหน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคการท่องเที่ยว ภาควัฒนธรรม ภาควิชาการ ภาคท้องถิ่น ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชนในชุมชนมาทางานร่วมกันภายใต้ข้อตกลงแห่งผลประโยชน์ ร่วมกัน โดยการพัฒนาการท่องเที่ยวเส้นทางอารยธรรมล้านนาจะต้องดาเนินการตามแผนการบริหารจัดการ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเส้นทางอารยธรรมล้านนา 3 ระยะ(รูปที่แผน: 1-2 ) คือ ระยะการพัฒนานโยบาย และสร้างความพร้อม ระยะการพัฒนาการท่องเที่ยว และระยะการพัฒนาตลาด ซึ่งแต่ละระยะของการ พัฒนาจะมีแผนงานย่อยและแนวปฏิบัติในการดาเนินงานที่หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องจะสามารถนาไปใช้ ปฏิบัติงานได้ทันที กรอบการพัฒนาและการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเส้นทางอารยธรรมล้านนา 6. ผลสาเร็จและความคุ้มค่าของการวิจัย ผลการศึกษาวิจัยทั้ง 3 โครงการย่อยในแผนงานวิจัย ทาให้มีข้อมูลและองค์ความรู้ที่ใช้ในการสนับสนุน การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ซึ่งเป็นการท่องเที่ยวรูปแบบเฉพาะที่ทุกภาคส่วนทั้งหน่วยงานของรัฐ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการท่องเที่ยว และชุมชนท่องเที่ยวยังขาดความรู้ ความเข้าใจในการจัดบริการท่องเที่ยว และการบริหารจัดการการท่องเที่ยว โดยทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องสามารถนาข้อมูล องค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจาก
  • 10. การศึกษาวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการขับเคลื่อนธุรกิจท่องเที่ยวของภาคเหนือตอนบนให้มีศักยภาพและขีด ความสามารถที่จะแข่งขันได้ในตลาดท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อการกระจายรายได้สู่ชุมชน ท้องถิ่น การยกระดับศักยภาพบุคลากรท่องเที่ยว การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การรักษาส่วนแบ่ง ทางการตลาดการท่องเที่ยวของภาคเหนือตอนบนและประเทศไทย รวมถึงการสร้างมูลค่าเพิ่มจากการอนุรักษ์ มรดกทางวัฒนธรรมล้านนาซึ่งจะเป็นแรงกระตุ้นให้ชุมชนท้องถิ่นเกิดความตระหนักถึงคุณค่าและการอนุรักษ์ มรดกทางวัฒนธรรม นอกจากนี้ การบูรณาการข้อมูลและผลการศึกษาของทุกโครงการย่อยและการวิเคราะห์ ศักยภาพการท่องเที่ยวของประเทศไทยและภาคเหนือตอนบน ทาให้มีข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาการ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของภาคเหนือตอนบนและมีแผนการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเส้นทาง อารยธรรมล้านนาและแนวปฏิบัติที่หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องจะสามารถนาไปใช้ปฏิบัติงานได้ทันที ซึ่ง จะทาให้เกิดการขับเคลื่อนการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและส่งผลดีโดยตรงต่อการยกระดับรายได้ ของภาคเหนือตอนบน ตั้งแต่ระดับชุมชนท่องเที่ยว ระดับจังหวัด และกลุ่มจังหวัด นอกจากนี้ แนวทางการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวและการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนา เชื่อมโยง 4 ประเทศในกลุ่มอารยธรรมล้านนา คือ ไทย สปป.ลาว สหภาพเมียนม่าร์ และประเทศจีนตอนใต้ เข้าด้วยกัน ซึ่งนาเสนอไว้ในรายงานวิจัยนี้เมื่อมีการนาไปใช้ปฏิบัติก็จะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมหาศาลทั้งต่อ การพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาค การพัฒนาและขยายตลาดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและการเชื่อมโยง วัฒนธรรมระหว่างประเทศในกลุ่มอารยธรรมล้านนา เช่นเดียวกับกลุ่มประเทศยุโรปซึ่งรวมกันเป็นสหภาพเพื่อ พัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จนเกิดพลังดึงดูดทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่มากกว่าการนาเสนอการ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเพียงประเทศเดียว ผลผลิตจากการศึกษาวิจัย ซึ่งประกอบด้วย ข้อมูลและองค์ความรู้สนับสนุนการพัฒนาการท่องเที่ยว ฐานข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมภาคเหนือตอนบน เส้นทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ภาคเหนือตอนบน แนวปฏิบัติที่ดีของชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และแผนการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่มี แนวปฏิบัติสาหรับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทั้งหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ประกอบ ธุรกิจท่องเที่ยว รวมถึงชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จะช่วยทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเกิดความเข้าใจและ นาไปใช้ดาเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องได้ทันที ซึ่งจะเป็นผลให้การขับเคลื่อนการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมใน ภาคเหนือตอนบนเกิดประสิทธิผลและช่วยให้ผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวรวมทั้งนักท่องเที่ยวสามารถจัดการการ เดินทางท่องเที่ยวในเส้นทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่เสนอแนะไว้ได้โดยทันที การนาผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติการ จะก่อให้เกิดผลประโยชน์ที่คิดเป็นมูลค่าทาง เศรษฐกิจสูงกว่ามูลค่างบประมาณที่ใช้ในการศึกษาวิจัยนี้หลายหมื่นเท่า นอกจากนี้ การนาข้อมูล องค์ความรู้ และผลการศึกษาวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอน และศึกษาวิจัยต่อยอดจะมีส่วนสาคัญอย่างยิ่ง ต่อการพัฒนาวิชาการด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ซึ่งจะส่งผลให้เกิดองค์ความรู้ที่สามารถสร้างมูลค่าแก่ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทยเพิ่มขึ้น
  • 11. 7. การนาผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ แผนงานวิจัยฯ ได้จัดประชุมเพื่อส่งมอบผลผลิตให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภาคธุรกิจ ผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยว วิสาหกิจชุมชน และชุมชนท่องเที่ยว เพื่อกระตุ้นให้เกิดการรับรู้เกี่ยวกับแนวคิดและ แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของภาคเหนือตอนบนและนาผลผลิตจากการวิจัยไปใช้ ประโยชน์ โดยได้จัดประชุมในหัวข้อเรื่อง “ผลิตภัณฑ์และการทาตลาดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม:กรณีศึกษา กลุ่มท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนา”โดยนาเสนอผลการวิจัยภายใต้แผนงานวิจัย เรื่อง “การบริหารจัดการและ การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเส้นทางอารยธรรมล้านนาเชื่อมโยงกับสปป.ลาว สหภาพเมียนม่าร์ และ สาธารณรัฐประชาชนจีน(ตอนใต้)” ในวันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม 2558 ณ ห้องเชียงดาว ชั้น 3 โรงแรมดวง ตะวัน จังหวัดเชียงใหม่ นอกจากนี้ ได้จัดพิมพ์เอกสาร “เส้นทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ฯ” เผยแพร่แก่ หน่วยงานและผู้ประกอบการท่องเที่ยวรวมถึงประชาชนทั่วไป ด้วย หมายเหตุ: ท่านใดสนใจผลงานศึกษาวิจัยฉบับเต็ม ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการท่องเที่ยว สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 239 ถ.ห้วยแก้ว อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200 Tel. 05 394 2571 Fax. 05 389 2649 Facebook: tourism.sri.cmu