SlideShare a Scribd company logo
1 of 40
Download to read offline
ความตาย: พระพุทธเจา สอน - สตีฟ จอบส ปฏิบัติ 2
ส�ำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
ครอบครัว ฮ้อแสงชัย
	 เนื่องในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า
โปรดกระหม่อมพระราชทานเพลิงศพนางสาวธันฐภัทร์ ฮ้อแสงชัยซึ่งนับเป็น
พระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อม เป็นเกียรติอันสูงสุดแก่ผู้วายชนม์
และวงศ์ตระกูลอย่างหาที่สุดมิได้
	 หากความทราบโดยญาณวิถี ถึงดวงวิญญาณของ นางสาวธันฐภัทร์
ฮ้อแสงชัย ได้ด้วยประการใด ในสัมปรายภพ คงมีความปลาบปลื้ม ซาบซึ้ง
เป็นล้นพ้น ในพระมหากรุณาธิคุณ ที่ได้รับพระราชทานเกียรติยศอันสูงยิ่ง
ในวาระสุดท้ายแห่งชีวิต
	 ข้าพระพุทธเจ้า ครอบครัวฮ้อแสงชัย ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาส
กราบถวายบังคมแทบเบื้องพระยุคลบาท และขอถวายพระพรชัยมงคล ให้ทรง
พระเกษมสำ�ราญทรงมีพระชนมายุยิ่งยืนนานปราศจากโรคาพยาธิอุปัทวันตราย
ทั้งหลายทั้งปวง ด้วยสำ�นึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ และ
จะเทิดทูนไว้เหนือเกล้าเหนือกระหม่อม เป็นสรรพสิริมงคลแก่ข้าพระพุทธเจ้า
และวงศ์ตระกูลสืบไป
ความตาย: พระพุทธเจ้า สอน - สตีฟ จอบส์ ปฏิบัติ1
ขอไว้อาลัย
แด่นางสาวธันฐภัทร์ ฮ้อแสงชัย
พิมพ์แจกเป็นธรรมทาน
ความตาย: พระพุทธเจ้า สอน - สตีฟ จอบส์ ปฏิบัติ 2
หนังสือดีดี ล�ำดับที่ 1
หากท่านใดสนใจขอรับหนังสือ, เป็นเจ้าภาพพิมพ์แจกเป็นจ�ำนวนมาก
หรือร่วมท�ำบุญพิมพ์หนังสือดีดีเล่มต่อไป เพื่อแจกเป็นธรรมทาน
โทร. 08-9812-2140, e-mail : pijit24@hotmail.com
สัพพทานัง ธัมมทานัง ชินาติ
การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง
ความตาย:
พระพุทธเจ้า สอน สตีฟ จอบส์ ปฏิบัติ
พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส
พิมพ์ครั้งที่ 1	 เมษายน 2555 (3,000 เล่ม)
พิมพ์ครั้งที่ 2	 กรกฎาคม 2555 (2,000 เล่ม)
พิมพ์ครั้งที่ 3	 สิงหาคม 2555 (4,000 เล่ม)
พิมพ์ครั้งที่ 4	 ธันวาคม 2555 (4,000 เล่ม)
พิมพ์ครั้งที่ 5	 มีนาคม 2559
จ�ำนวนพิมพ์	 2,000 เล่ม
จัดพิมพ์โดย	 บริษัท ดีไซน์ ดีไลท์ จ�ำกัด
	 69/18 หมู่ 7 ต�ำบลเสาธงหิน
	 อ�ำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี 11140
	 โทร. 08-9812-2140, 08-9788-6523
แบบปกและจัดรูปเล่ม	 พิจิตร พรมลี
พิมพ์ที่	 บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จ�ำกัด
	 745 ถนนนครไชยศรี แขวงถนนนครไชยศรี 		
	 เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
ความตาย: พระพุทธเจ้า สอน - สตีฟ จอบส์ ปฏิบัติ3
ขอไว้อาลัย
แด่นางสาวธันฐภัทร์ ฮ้อแสงชัย
นิสิตปริญญาโท สาขาสันติศึกษา รุ่นที่ ๓
..................
โครงการหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ขอไว้อาลัยต่อการจากไปของ
“นางสาวธันฐภัทร์ ฮ้อแสงชัย” นิสิตปริญญาโท สาขาสันติศีกษา รุ่นที่ ๓
ที่ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์จนเสียชีวิตบนถนนพหลโยธิน
ขณะเดินทางมามหาวิทยาลัยเพื่อเตรียมการไปแสวงบุญที่ประเทศอินเดีย
ในระหว่างวันที่ ๑๙ ถึง ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๙ นี้
ในโอกาสนี้ โครงการหลักสูตรฯ ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้ง
มายัง “ครอบครัวฮ้อแสงชัย” ที่ประสบความสูญเสียบุตรหลาน
อันเป็นที่รักไปอย่างไม่มีวันกลับ พวกเราชาวครอบครัวสันติศึกษา
จะระลึกถึงมิตรภาพ และคุณงามความดีที่พวกเราได้เคย
สร้างสันติบารมีร่วมกันตลอดระยะเวลา ๑ ปีที่ผ่านมา
ขออำ�นาจแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย และบุญราศีสันติบารมีที่
“นางสาวธันฐภัทร์ ฮ้อแสงชัย” ได้บำ�เพ็ญให้เป็นไปตั้งแต่ต้นมาจนถึงวันนี้
ขอได้โปรดเป็นพลวปัจจัยนำ�ดวงวิญญาณของ “นางสาวธันฐภัทร์ ฮ้อแสงชัย”
ไปสู่สุคติในสัมปรายภพตลอดกาลนิรันดร์ฯ
..................
หลักสูตรปริญญาโท และปริญญาเอก
สาขาสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ความตาย: พระพุทธเจ้า สอน - สตีฟ จอบส์ ปฏิบัติ 4
	 ในขณะที่มนุษย์จ�ำนวนมากที่ก�ำลังเผชิญหน้ากับ “ความตาย”
เพียรพยายามจะด�ำเนินการก่อนสิ้นลมหายใจ คือ “การแบ่งมรดก
ซึ่งเป็นทรัพย์สินเงินทองให้แก่บุตรหลาน” เพื่อให้บุตรหลานได้ใช้เป็น
เครื่องมือในการด�ำเนินชีวิตต่อไป แต่พระพุทธเจ้ากลับแสดงออก
ในทิศทางที่แตกต่าง เพราะมรดกที่พระองค์ทรงมอบให้แก่ชาวโลก
ซึ่งก�ำลังมีลมหายใจนั้น คือ “มรดกธรรม” ที่ย�้ำเตือนว่า “สังขาร
มีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงด�ำเนินชีวิต
ด้วยความไม่ประมาทเถิด!!!”
	 “มรดกธรรม” ที่พระองค์น�ำเสนอนั้นเป็นการตรัสเตือนโดยการ
ชี้ให้ทุกคนเพ่งพินิจด้วยความใส่ใจต่อ “สังขาร” ของบุคคลที่ได้ชื่อว่า
เป็น “มหาบุรุษ” ของโลก ว่า “สุดท้ายแล้วก็ต้องเดินทางไปสู่
ความตายอย่างไร้เงื่อนไข และไร้การต่อรองใดๆ ทั้งสิ้น”
ในห้วงเวลาของการด�ำเนินชีวิตนั้น อาจจะมีกษัตริย์และผู้คนจ�ำนวน
มากสยบยอมและหมอบแทบพระบาทของพระองค์ แต่ในช่วงสุดท้าย
แห่งชีวิตนั้น พระองค์ได้ชี้ให้ทุกคนได้เห็นว่า “สังขารที่พระองค์
ได้อาศัย ก�ำลังสยบยอมต่อความตายอย่างนิ่งสงบ”
ค�ำปรารภ
ความตาย: พระพุทธเจ้า สอน - สตีฟ จอบส์ ปฏิบัติ5
	 ผู้คนจ�ำนวนมากอาจเข้าใจว่า ความตายเป็นจุดจบของพระองค์
แต่พระองค์ได้ให้สติว่า ความตายเป็นจุดเริ่มต้นที่ทรงคุณค่าของ
ชาวโลก โดยการย�้ำเตือนให้ผู้ใดก็ตามที่ยังมีลมหายใจอยู่ด�ำเนินชีวิต
ด้วยความไม่ประมาท จะเห็นว่า “ลมหายใจของหนุ่มสาวอาจจะมี
ราคาถูก แต่ลมหายใจของผู้ที่ก�ำลังเดินไปสู่ความตายราคากลับ
แพงยิ่ง”จุดต่างอยู่ตรงที่“คุณค่าของลมหายใจ”เพราะอีกคนไม่ค่อย
รู้จักมักคุ้นกับใบหน้าของ“ความตาย”แต่อีกคนเริ่มคุ้นเคยมากยิ่งขึ้น
เพราะความคุ้นเคยจึงน�ำไปสู่การก�ำหนดท่าทีเชิงบวกว่า “ความตาย
อยู่กับเราทุกลมหายใจ” และคอยเตือนใจมิให้เราประมาท ประดุจ
กัลยาณมิตร
	 ตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจคือ เด็กหนุ่มคนหนึ่งนาม “สตีฟ จอบส์”
ผู้มีความแตกต่างจากคนหนุ่มสาวทั่วไป เพราะพากเพียรเรียนรู้และ
เข้าใจ “กลไกของความตาย” และนั่นถือเป็นจุดเปลี่ยนที่ส�ำคัญ
เพราะเขาได้แปรเปลี่ยนและพัฒนา “กลไกของความตายไปสู่การ
สร้างกลไกในโลกวิทยาศาสตร์” ในขณะที่พุทธพจน์บทที่ว่า “ควรรีบ
ท�ำสิ่งที่เราควรจะท�ำเสียแต่วันนี้ เพราะใครเล่าจะทราบว่า
ความตายจะมีแก่เราในวันพรุ่งนี้” ได้รับการ “แปรรูป” ไปสู่
ความตาย: พระพุทธเจ้า สอน - สตีฟ จอบส์ ปฏิบัติ 6
วลีส�ำคัญที่สตีฟย�้ำเตือนตัวเองในขณะที่ส่องกระจกก่อนออกจาก
บ้านไปท�ำงานว่า “จงด�ำเนินชีวิตให้เปรียบประดุจว่า วันนี้เป็น
วันสุดท้ายที่คุณจะมีชีวิตอยู่” ประโยคทองดังกล่าวได้กลายเป็น
“แรงบันดาลใจ” ต่อการเปลี่ยนโลกทางวิทยาศาสตร์ได้อย่าง
น่าจดจ�ำและตรึงใจชาวโลกไปอีกแสนนาน
	 ณวินาทีนี้แม้ว่าร่างกายของพระพุทธเจ้าและสตีฟจอบส์จะกลับ
คืนสู่สามัญเป็น ดิน น�้ำ ลม และไฟ แต่ถึงกระนั้น ความตาย
ได้กลายเป็นพลังทะยานแห่งชีวิต ที่ท�ำให้เจ้าชายสิทธัตถะได้ใช้
เป็นหนึ่งในเครื่องมือค้นพบความเป็น “พระสัมมาสัมพุทธเจ้า”
และท�ำให้สตีฟ จอบส์ ได้ค้นพบสินค้านาม “Apple” จะเห็นว่า
“ความตายไม่ใช่จุดจบ แต่คือจุดที่น�ำไปสู่การค้นพบที่ยิ่งใหญ่”
ส่วนการที่เราจะค้นพบหรือไม่ การใส่ใจต่อความตายอาจจะเป็น
อีกหนึ่งค�ำตอบที่รอการค้นหาของพวกเราอยู่!!!
ด้วยสาราณียธรรม
พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, รศ.ดร.
ความตาย: พระพุทธเจ้า สอน - สตีฟ จอบส์ ปฏิบัติ7
“จงด�ำเนินชีวิต
ให้เปรียบประดุจว่า
วันนี้เป็นวันสุดท้าย
ที่คุณจะมีชีวิตอยู่”
ความตาย: พระพุทธเจ้า สอน - สตีฟ จอบส์ ปฏิบัติ 8
	 ในขณะที่กลุ่มคนจ�ำนวนมากในโลกนี้
ก�ำลังประหวั่นพรั่นพรึงหรือหวาดกลัวต่อ
“ความตาย”
จากมหันตภัยทางธรรมชาติ หรือวิกฤตการณ์อื่น ๆ
เพราะอาจจะไม่ประจักษ์ชัดว่า “ความตายคืออะไร”
“จะตายเมื่อใด” และ “ตายแล้วจะไปที่ไหน”
ความตาย: พระพุทธเจ้า สอน - สตีฟ จอบส์ ปฏิบัติ9
อย่างไรก็ตาม กลุ่มคนบางกลุ่มมิได้ใส่ใจต่อค�ำถามเหล่านี้
ในทางกลับกัน ได้น�ำเอา “ความตาย”
มาเป็นเครื่องมือในการสร้างแรงจูงใจ (Motivation) และแรง
บันดาลใจ (Inspiration)
ที่ส�ำคัญต่อการ “เปลี่ยนแปลงโลก”
ไม่ว่าจะเป็น “โลกภายใน”
และ “โลกเทคโนโลยี”
ความตาย: พระพุทธเจ้า สอน - สตีฟ จอบส์ ปฏิบัติ 10
บุคคลที่สามารถน�ำความตาย
มาสร้างแรงบันดาลใจ
เพื่อเปลี่ยนโลกภายในคือ
“พระพุทธเจ้า”
ความตาย: พระพุทธเจ้า สอน - สตีฟ จอบส์ ปฏิบัติ11
ส่วนบุคคลที่น�ำความตาย
มาสร้างความก้าวหน้าให้แก่
“โลกเทคโนโลยี” คือ
“สตีเวน พอล จอบส์”
(Steven Paul Jobs)
ความตาย: พระพุทธเจ้า สอน - สตีฟ จอบส์ ปฏิบัติ 12
	 เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงอยู่ในวัยเยาว์ พระเจ้าสุทโธทนะ
พระราชบิดา ได้ทรงพยายามทุกวิถีทางเพื่อให้เจ้าชายสิทธัตถะอยู่
ครองราชย์สืบต่อจากพระองค์โดยการผูกมัดด้วยความสุขใน
ทางโลกเป็นส�ำคัญ มุ่งให้เจ้าชายสิทธัตถะพบเห็นแต่สิ่งสวยงาม
เช่น การสร้างปราสาทให้ประทับทั้ง 3 ฤดู จัดให้ทรงอภิเษกสมรส
แต่ด้วยเหตุที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงเป็นนักคิดมาตั้งแต่วัยเยาว์ จึง
ไม่อาจปิดกั้นความคิดของพระองค์ได้ วันหนึ่งเจ้าชายสิทธัตถะ
ได้เสด็จประพาสนคร พระองค์ได้ทรงทอดพระเนตรเห็น คนแก่
คนเจ็บ คนตาย และสมณะ (นักบวช) เรียกว่า เทวทูต 4
ก็ทรงรู้สึกสลดหดหู่ในพระทัยยิ่งนัก จนท�ำให้พระองค์ตั้งค�ำถาม
ต่อประเด็นดังกล่าว
พระพุทธเจ้ากับความตาย
ความตาย: พระพุทธเจ้า สอน - สตีฟ จอบส์ ปฏิบัติ13
	 “แรงจูงใจและแรงบันดาลใจ”ได้เกิดขึ้นแก่เจ้าชายสิทธัตถะ
เมื่อทรงทอดพระเนตรเห็นเทวทูต 4 ดังกล่าวนั้น ถือได้ว่าเป็น
ค�ำเตือนหรือสัญญาณเตือนมาจากธรรมชาติ ที่เป็นลักษณะ
ความเปลี่ยนแปลงของชีวิตตาม กฎไตรลักษณ์ กล่าวคือ
จนท�ำให้พระองค์ตัดสินพระทัยออกผนวชเพื่อแสวงหาความจริง
สูงสุดคือ “โมกขธรรม หรือ พระนิพพาน” อันเป็นภาวะ
ที่ไม่มี การเกิด การแก่ การเจ็บ และการตาย และสุดท้ายแล้ว
พระองค์ก็ทรงค้นพบความจริงดังกล่าว
อนิจจัง
สรรพสิ่ง
ไม่เที่ยงแท้
แน่นอน
ทนอยู่ใน
สภาพเดิมไม่ได้
ไม่สามารถบังคับ
ให้เป็นไปตามความ
ต้องการของเรา
ทุกขัง อนัตตา
ความตาย: พระพุทธเจ้า สอน - สตีฟ จอบส์ ปฏิบัติ 14
สตีฟ จอบส์ กับความตาย
	 สตีฟ จอบส์ ได้กล่าวปาฐกถาในพิธีสำ�เร็จการศึกษาของ
บัณฑิตมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ปี ค.ศ. 2005 และได้กล่าวถึง
ประสบการณ์ชีวิตที่เข้าใกล้กับความตายว่า
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
ความตาย: พระพุทธเจ้า สอน - สตีฟ จอบส์ ปฏิบัติ15
“ผมครุ่นคิดแต่เรื่องผลการตรวจตลอดทั้งวัน ในช่วงเย็นวันนั้น
ผมต้องตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ โดยการสอดกล้องเข้าทางปาก ผ่านคอ
ไปยังกระเพาะและลำ�ไส้ จากนั้นก็ใช้เข็มเจาะเข้าที่ตับอ่อนเพื่อเอา
ตัวอย่างเนื้อเยื่อจากเนื้อร้ายนั้น ผมรู้สึกสงบนิ่ง แต่ภรรยาของผม
ที่อยู่ด้วยเล่าให้ฟังว่าเมื่อคุณหมอส่องกล้องตรวจดูเนื้อเยื่อนั้นแล้ว
ก็เริ่มวิตกกังวล เพราะมันเป็นมะเร็งตับอ่อนที่ไม่แน่ใจว่าจะรักษา
ได้ด้วยการผ่าตัด ในที่สุดผมก็เข้ารับการผ่าตัด และตอนนี้ผมก็
สบายดี”
	 “เมื่อปีที่แล้ว (2004) ผมตรวจสุขภาพพบว่าเป็นมะเร็ง ผม
เข้ารับการตรวจประมาณ 7 โมงครึ่ง และผลออกมาชัดเจนว่า
มีเนื้อร้ายที่ตับอ่อนของผม ผมไม่รู้แม้กระทั่งว่าตับอ่อนคืออะไร
คุณหมอบอกกับผมว่ามะเร็งชนิดนี้รักษาไม่หาย และผมจะอยู่ได้
ไม่เกินสามถึงหกเดือน คุณหมอแนะนำ�ว่าให้กลับบ้านแล้วสะสาง
เรื่องส่วนตัวให้เรียบร้อย เหมือนเป็นสัญญาณให้ผมเตรียมตัวตาย
มันดูเหมือนจะให้ผมเล่าเรื่องราวต่างๆ ที่ผมคิดไว้สำ�หรับ 10 ปี
จากนี้ไปให้เด็กๆ ฟังให้หมดภายในสองสามเดือน มันเหมือนว่า
ให้เตรียมทุกอย่างให้พร้อมสำ�หรับครอบครัวของคุณ มันเหมือน
ให้เตรียมที่จะลาจากไป”
ความตาย: พระพุทธเจ้า สอน - สตีฟ จอบส์ ปฏิบัติ 16
จากประสบการณ์ดังกล่าว เขาได้สรุปว่า “มันเป็นช่วงเวลาที่ผม
เข้าใกล้ความตายที่สุด และผมก็หวังว่าจะไม่ใกล้ไปกว่านี้อีก
สำ�หรับอีกสิบยี่สิบปีข้างหน้า เมื่อผ่านช่วงนั้นมาได้ผมก็นำ�มาเล่า
ให้คุณฟังได้เต็มปาก มันไม่เพียงเป็นประโยชน์ มันเป็นเรื่องของ
หลักคิดดีๆอีกด้วยว่าไม่มีใครอยากตายแม้กระทั่งคนที่อยากไป
สวรรค์ก็ยังไม่อยากตายเพื่อจะไปที่นั่น อย่างไรก็ดี ความตาย
เป็นจุดหมายปลายทางที่เรามีร่วมกันไม่มีใครหลีกเลี่ยงไปได้
มันเป็นเรื่องของธรรมชาติเพราะความตายนั้นเรียกได้ว่าเป็น
สิ่งประดิษฐ์ที่วิเศษสุดของชีวิต มันเป็นเหมือนเครื่องมือเปลี่ยน
ชีวิต มันสะสางคนรุ่นเก่าเพื่อเปิดทางให้คนรุ่นใหม่ ขณะนี้พวกคุณ
นั่นเองคือคนรุ่นใหม่ แต่วันหนึ่งไม่นานจากนี้ไป คุณก็จะค่อยๆ
กลายเป็นคนรุ่นเก่าที่จะต้องถูกสะสาง ขออภัยถ้ามันดูเหมือน
หนังชีวิตไปหน่อย แต่มันเป็นเรื่องจริง”
ความตาย: พระพุทธเจ้า สอน - สตีฟ จอบส์ ปฏิบัติ17
ภาพประกอบทุกภาพจากอินเตอร์เน็ต
“ความตายนั้นเรียกได้ว่าเป็น
สิ่งประดิษฐ์ที่วิเศษสุดของชีวิต”
ความตาย: พระพุทธเจ้า สอน - สตีฟ จอบส์ ปฏิบัติ 18
	 รายงานจากหนังสือพิมพ์แทบลอยด์ National Enquirer
ได้เผยแพร่ภาพถ่ายล่าสุดของสตีฟจอบส์อัจฉริยบุรุษผู้อยู่เบื้องหลัง
ความส�ำเร็จของ iMac, iPod, iPhone และ iPad พร้อมทั้งข่าว
ที่ท�ำให้หลายคนทั่วโลกต้องรู้สึกช็อคโดยเฉพาะพนักงานในบริษัท
Apple นั่นก็คือ อาการป่วยมะเร็งที่ตับอ่อนอาจจะท�ำให้จอบส์
มีชีวิตอยู่ได้แค่6สัปดาห์เท่านั้นถึงกระนั้นความตายที่สตีฟจอบส์
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
มรณานุสติ:
จาก พระพุทธเจ้า สู่ สตีฟ จอบส์
ความตาย: พระพุทธเจ้า สอน - สตีฟ จอบส์ ปฏิบัติ19
ก�ำลังเผชิญหน้าอยู่อาจจะไม่ใช่เรื่องที่สร้างความทุกข์ทรมานให้แก่
การด�ำรงชีวิตของเขามากมายนักเพราะครั้งหนึ่ง สตีฟจอบส์ ได้เคย
เรียนรู้บทเรียนดังกล่าว และรับอิทธิพลเรื่อง “ความตาย” จาก
พระพุทธศาสนานิกายเซ็น ในประเทศสหรัฐอเมริกา
	 ในช่วงเรียนมหาวิทยาลัยจอบส์เริ่มหันมาศึกษาพุทธศาสนา
นิกายเซน เขาสนใจอ่านวรรณกรรมทางพุทธศาสนาหลายเล่ม
และหนังสือที่มีอิทธิพล สูงสุดกับเขาคือ Zen Mind, Beginner’s
Mind ซึ่งเขียนโดยชุนริวซูซุกิกล่าวกันว่าหลังการศึกษาหลักธรรม
ของเซน จอบส์เริ่มมีความเชื่อว่า การหยั่งรู้โดยสัญชาตญาณนั้น
ก่อให้เกิดปัญญา จึงเริ่มฝึกสมาธิในห้องนอนแคบๆ ที่แชร์ร่วมกับ
“แดเนียล คอตคี” เพื่อนสนิท ท่ามกลางกลิ่นธูป และเริ่มต้นศึกษา
พุทธศาสนานิกายเซนอย่างจริงจังกับ “โกบุน ชิโนะ โอโตโกวะ”
พระอาจารย์ชาวญี่ปุ่นที่ศูนย์เซน ลอส อัลทอส (ซึ่งภายหลังเมื่อ
จอบส์ เข้าพิธีแต่งงานแบบเซน กับ “ลอรีน เพาเวล” ในวันที่ 18
มีนาคม 1991 พระอาจารย์โอโตโกวะก็ได้มาเป็นประธานในพิธี)
ความตาย: พระพุทธเจ้า สอน - สตีฟ จอบส์ ปฏิบัติ 20
	 การที่สตีฟ จอบส์ได้อ่านหนังสือและเรียนรู้เรื่องราวเหล่านี้
จากหนังสือเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา รวมไปถึงการน�ำหลักการ
พระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ในชีวิตและในโลกธุรกิจอย่างจริงจัง
นั้น ท�ำให้วิธีคิดและการแสดงออกของเขาสอดรับกับแง่มุมทาง
พระพุทธศาสนา ดังจะเห็นได้จากการที่เขาได้กล่าวถึงประสบการณ์
เกี่ยวกับ “ความตาย” ในพิธีส�ำเร็จการศึกษาของบัณฑิต
มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ปี ค.ศ. 2005 ว่า
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
ความตาย: พระพุทธเจ้า สอน - สตีฟ จอบส์ ปฏิบัติ21
“เมื่อผมอายุราว 17 ปี ผมได้อ่านประโยคเด็ดในท�ำนองว่า
‘ถ้าคุณใช้ชีวิตราวกับว่าแต่ละวันนั้นเป็นวันสุดท้ายของ
ชีวิต วันหนึ่งคุณจะสมหวัง’ ผมประทับใจมาตลอด 33 ปี
ทุกเช้าผมจะมองกระจกและถามตัวเองว่า “ถ้าวันนี้เป็น
วันสุดท้าย ผมอยากท�ำอะไร และวันนี้ผมจะท�ำอะไร ?”
และเมื่อใดที่ค�ำตอบกลับมาว่าไม่อยากท�ำอะไร หลายๆ วันเข้า
คุณต้องรู้แล้วว่าคุณต้องเปลี่ยนแปลงบางอย่างในชีวิตแล้ว”
	 ในพิธีเดียวกันนี้ เขาได้ชี้ให้เห็นถึงคุณูปการของความตาย
เอาไว้อย่างน่าสนใจว่า “การใช้มรณานุสติเป็นเครื่องมือส�ำคัญ
ที่จะช่วยให้ผมตัดสินใจเรื่องใหญ่ของชีวิต เพราะสิ่งต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นความคาดหวังจากผู้คนทั้งหลาย เกียรติยศ
ชื่อเสียงทั้งปวง ความกลัวที่จะเสียหน้าหรือกลัวที่จะล้มเหลว
มันก็จะหายไปเมื่อเราตาย เหลือไว้เพียงเรื่องที่ส�ำคัญจริงๆ
มรณานุสตินี่เองที่จะช่วยให้คุณหลบหลีกกับดักทางความคิด
ที่ว่าคุณไม่อยากจะสูญเสียอะไร จริงๆ แล้วคุณไม่มีอะไร
ติดตัวเลย จึงไม่มีเหตุผลอะไรที่คุณจะไม่ท�ำอะไรตามที่
ใจคุณต้องการ”
ความตาย: พระพุทธเจ้า สอน - สตีฟ จอบส์ ปฏิบัติ 22
ความตายคือจุดเปลี่ยน
ของเจ้าชายสิทธัตถะ
และสตีฟ จอบส์
ความตาย: พระพุทธเจ้า สอน - สตีฟ จอบส์ ปฏิบัติ23
	 จะเห็นว่า การเห็นหนึ่งในเทวทูตคือ “ความตาย” ซึ่งเป็น
กฎธรรมชาติที่เดินทางมาทักทายและให้สติแก่เจ้าชายสิทธัตถะนั้น
เป็นจุดเปลี่ยนในชีวิตของเจ้าชายให้ได้พบกับค�ำว่า“พุทธะ”อันน�ำ
ไปสู่การเปลี่ยนแปลงโลกภายในจนได้รับการเรียกขานพระนามว่า
“พระพุทธเจ้า” ในที่สุด
การมีสติตระหนักรู้“ความตาย”ทุกเวลาและนาทีของสตีฟจอบส์
ท�ำให้เขาเข้าใจความจริงว่า“ชีวิตก�ำลังเดินหน้าไปสู่ปากประตูของ
ความตายอยู่ทุกวินาที” ฉะนั้นการถามและเตือนตัวเองอยู่เนืองๆ
ท�ำชาวโลกได้รู้จักกับยี่ห้อ(Brand)สินค้าชื่อ “Apple” ซึ่งเป็นที่มา
ของ “iMac, iPod, iPhone และ iPad”
การตระหนักรู้“ความตาย”น�ำไปสู่การค้นพบความสว่างไสว
ทางจิตวิญญาณ และน�ำไปสู่การค้นพบ “โลกเทคโนโลยี” ที่
ยิ่งใหญ่ การเข้าใจสัจธรรมความตายของสตีฟ จอบส์ น�ำไปสู่
การค้นพบนวัตกรรมใหม่ๆ แล้วน�ำวัฒนธรรมใหม่ๆ มาตอบสนอง
ความต้องการขั้นพื้นฐานของเพื่อนมนุษย์ หากมองในส่วนดีมีสิ่งดีๆ
มากมายที่ สตีฟ จอบส์ มอบให้แก่โลกใบนี้ แต่มนุษย์มักจะเลือก
เสพในสิ่งที่บ�ำรุงบ�ำเรอกิเลสทางอารมณ์ (Emotion) มากกว่า
การใช้ได้จริงหรือคุณค่าแท้ของสิ่งที่ได้สร้างมา (Function)
ความตาย: พระพุทธเจ้า สอน - สตีฟ จอบส์ ปฏิบัติ 24
ภาพประกอบทุกภาพจากอินเตอร์เน็ต
ความตาย
คือพลังทะยานแห่งชีวิต
ความตาย: พระพุทธเจ้า สอน - สตีฟ จอบส์ ปฏิบัติ25
	 ถ้าบริษัทหรือองค์กรของเราก�ำลังจะตาย หรือล่มสลาย
ถ้ามหาวิทยาลัยของเราก�ำลังจะตายเพราะขาดความน่าเชื่อถือ
และถ้าเราก�ำลังจะตายจากโลกนี้ หรือเราก�ำลังเผชิญหน้า
กับความตายทุกวินาที ค�ำถามแรกที่เราจะต้องตอบตัวเองคือ
“สิ่งแรกที่เราอยากจะท�ำมากที่สุดคืออะไร” ขอเพียงแค่
ตอบค�ำถามแรกให้ชัดเจนเท่านั้น ค�ำตอบที่สอง ค�ำตอบที่สาม
จะตามมาหลังจากที่เราสามารถตอบสิ่งแรกให้ชัดเจนได้
	 การอัดฉีดพลังแห่งความตายเข้าไปในจิตใจนั้นจะส่งผล
กระทบอย่างรุนแรงต่อเซลล์ประสาทให้ตื่นตัวและมุมมองต่อชีวิต
การท�ำงาน การท�ำธุรกิจ จะเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง ดังจะเห็นได้
จากบทสรุปของบุคคลต้นแบบที่ได้น�ำเสนอในเบื้องต้นว่า
การค้นพบความตาย การเข้าใจและตระหนักรู้ในความตาย
ทุกวินาทีนั้นท�ำให้เจ้าชายสิทธัตถะเปลี่ยนแปลง“โลกทางจิต”
ไปสู่ความเป็น “พระพุทธเจ้า” และเมื่อสตีฟ จอบส์ ได้เรียนรู้
และน�ำหลักการนี้มาปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง จึงท�ำให้เขาได้ค้นพบ
สัจธรรมเกี่ยวกับความตาย ซึ่งการค้นพบสัจธรรมของความตาย
ดังกล่าวท�ำให้เขาค้นพบ“iMac,iPod,iPhoneและiPad”ในที่สุด
ความตาย: พระพุทธเจ้า สอน - สตีฟ จอบส์ ปฏิบัติ 26
	 ถึงกระนั้น พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสเตือนมนุษยชาติ
ก่อนปรินิพพาน (ตาย) ว่า
	 “สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมสูญ
ไปเป็นธรรมดา ขอท่านทั้งหลายจง
ดำ�เนินชีวิตด้วยความไม่ประมาทเถิด”
ความตาย: พระพุทธเจ้า สอน - สตีฟ จอบส์ ปฏิบัติ27
“ความเพียรเป็นสิ่งที่ต้องรีบทำ�ตั้งแต่วันนี้
(หรือแม้กระทั่งในทุกวินาทีของลมหายใจ),
ใครเล่าจะรู้ว่าเราอาจจะตายในวันพรุ่งนี้ก็ได้”
	 ความจริงคือ เราเองก็ไม่ทราบว่าเมื่อใดเราจะเดินทางไปสู่
ความเสื่อมสูญหรือจุดจบของชีวิต ด้วยเหตุนี้ เราจึงควรนำ�
“จุดจบของชีวิต” มาพัฒนาให้เป็น “จุดเริ่มต้นของชีวิต” โดย
การเตือนตัวเองตามที่พระองค์ทรงเตือนไว้ในภัทเทกรัตตคาถาว่า
พระพุทธรูปปางมหาปรินิพพาน ในพระวิหารแห่งมหาปรินิพพานสถูป กุสินารา
ความตาย: พระพุทธเจ้า สอน - สตีฟ จอบส์ ปฏิบัติ 28
	 คำ�เตือนดังกล่าวได้ส่งต่อมาถึง สตีฟ จอบส์ จนทำ�ให้เขา
ได้ตกผลึกและรับรู้บทเรียนที่ทรงคุณค่าเกี่ยวกับ “ความตาย”
จนเป็นที่มาของประโยคทองที่ว่า
	 “คุณมีเวลาจำ�กัด ดังนั้นอย่าเสียเวลาไปกับการใช้ชีวิต
แบบคนอื่น อย่าตกหลุมลัทธิความเชื่อที่ว่าต้องใช้ชีวิต
อย่างที่ผู้คนเขาคิดกันว่าควรจะเป็น อย่าปล่อยให้ความคิด
ของคนอื่นเข้ามารบกวนเสียงจากใจของคุณ (Inner Voice)
และที่สำ�คัญที่สุด คุณต้องมีความกล้าที่จะทำ�ตามหัวใจ
และการหยั่งรู้ (Intuition) ของคุณ ที่จะช่วยให้คุณบรรลุ
สิ่งที่คุณต้องการจะเป็นจริงๆ แล้วก็ปล่อยให้เรื่องอื่นๆ นั้น
เป็นเรื่องรองไป”
	 และเพื่อให้บรรลุความฝันและแรงบันดาลใจดังกล่าว
“จงกระหายที่จะเรียนรู้ และจงทำ�ตนเหมือนคนโง่”
(Stay Hungry, Stay Foolish)
ความตาย: พระพุทธเจ้า สอน - สตีฟ จอบส์ ปฏิบัติ29
	 จะเห็นว่า การมีสติระลึกนึกถึงความตายในทุกวินาที
แห่งลมหายใจนั้น นอกจากจะทำ�ให้มนุษย์ได้ตระหนักรู้
และใส่ใจต่อความจริง ความดี ความงาม และความสุขแล้ว
ความตายเป็นจุดเปลี่ยนสำ�คัญต่อการริเริ่มที่จะสร้างสรรค์
เรียนรู้ ทดลอง กล้า และเปิดทางให้เราค้นพบและทำ�สิ่งใหม่ๆ
เหมือนดังที่ สตีฟ จอบส์ ได้ใช้ความตายแหวกม่านแห่ง
“ความกลัว” ไปสู่ “ความกล้า” และท้าทายต่อความสำ�เร็จ
ตราบสิ้นลมหายใจ.
ที่มา www.wallshq.com/mobile/88-steve-jobs-apple-products-wallshq
ความตาย: พระพุทธเจ้า สอน - สตีฟ จอบส์ ปฏิบัติ 30
มรณานุสติ:
มรณานุสติ ใช้ดับทุกข์ ยามทุกข์มากๆ อับจนหนทาง
	 - มรณานุสติ ก็จะบอกกับตัวเองว่า คนเราทุกคนก็ต้องตาย
		 ต่อให้ต้องทรมานแค่ไหน ความทุกข์นี้ก็จะต้องดับไป
		 เป็นการให้กำ�ลังใจตนเอง
มรณานุสติ ใช้ดำ�รงสุข ยามสุขมากๆ
	 - มรณานุสติ ก็จะเตือนเราว่า ทุกอย่างไม่ได้อยู่กับเราตลอด
		 ทั้งทรัพย์สมบัติ ชื่อเสียง เกียรติยศ คนรัก ฯลฯ อย่าได้
		 เผลอไผลประมาทในความสุขเหล่านี้ เมื่อต้องดับไป ไม่มี
		 ใครเอาอะไรไปจากโลกนี้ได้แม้แต่อย่างเดียว
	 คือ การระลึกถึงความตายที่กำ�ลังจะมาถึงเราตลอดเวลา
เพื่อช่วยเตือนสติ ไม่ให้เราใช้ชีวิตโดยความประมาท ให้เรา
แสวงหาความดีใส่ตัว ขจัดความโลภออกจากใจของเรา และ
อาจจะเป็นแรงผลักดันให้เราทำ�สิ่งดีๆ ให้เกิดขึ้นกับโลกนี้.
บทส่งท้าย
ความตาย: พระพุทธเจ้า สอน - สตีฟ จอบส์ ปฏิบัติ31
ถ้าท�ำได้แบบนี้ทุกๆวัน เราก็จะเป็นคนที่ไม่ประมาทในชีวิต
และจะเป็นที่รักของผู้อื่นเสมอ
ถ้าทุกคนท�ำได้มากมายแบบนี้สังคมก็จะสงบสุขสมานฉันท์
มีความเมตตาและความรักให้แก่กัน มีการพัฒนาในทุกๆ ด้าน
อย่างต่อเนื่อง และจะเกิดสิ่งใหม่ๆ นวัตกรรมใหม่ๆ ที่เกิดจาก
แรงบันดาลใจของมรณานุสติ.
“ถ้าวันนี้เป็นวันสุดท้ายที่เราจะมีชีวิตอยู่ เราจะท�ำอะไร”
	 - ท�ำความดี ช่วยเหลือผู้อื่นและสังคมด้วยความเต็มใจและ
ตั้งใจ ท�ำบุญกุศล รักษาศีล ท�ำจิตใจให้บริสุทธิ์
	 - ท�ำดีกับคนที่เรารัก บอกรักคนที่เรายังไม่ได้บอกหรือคนที่
เรารัก เช่น พ่อ แม่ สามี ภรรยา หรือ ลูกๆ รวมทั้งเพื่อนร่วมงาน
หรือ ใครๆ ที่เรารัก ขอบคุณคนที่ท�ำความดีหรือช่วยเหลือเรา
	 - ขอโทษคนที่เราได้ทำ�ผิดต่อเขา ขออโหสิกรรมต่อความ
ผิดพลาดพลั้งเผลอที่เราได้กระทำ�ต่อเขา
	 - เร่งทำ�งานไม่ให้ค้าง คอยเตือนตัวเองให้พัฒนาศักยภาพ
ของตนเองอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เราเก่งขึ้นในทุกๆวัน ถามตนเอง
ว่า “วันนี้เราเรียนรู้อะไรเพิ่มขึ้นบ้างและเราบกพร่องตรงไหน”
ความตาย: พระพุทธเจ้า สอน - สตีฟ จอบส์ ปฏิบัติ 32
พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส
(นิธิบุณยากร), รศ.ดร.
ติดตามผลงานของ พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส
พร้อมทั้งประวัติและแลกเปลี่ยนความรู้ทางพระพุทธศาสนาได้ที่
http://www.gotoknow.org/profiles/users/phramahahansa
http://www.facebook.com/hansa.mcu
	 พระสงฆ์ยุคใหม่ ผู้ซึ่งเป็นนักคิดและนักวิชาการทางพระพุทธศาสนา
ที่สามารถบูรณาการความรู้ทางพระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่ต่างๆ
เผยแผ่สู่สังคมได้อย่างดีเยี่ยม เป็นผู้เชี่ยวชาญการจัดการความขัดแย้งโดย
พุทธสันติวิธี เป็นพระสงฆ์ยุคใหม่ที่กล้าเปิดรับความรู้ใหม่ๆ ช่องทางใหม่ๆ
ในการเผยแผ่ธรรมะและในอีกบทบาทหนึ่งที่เป็นนักบริหารของมหาวิทยาลัย
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยมหาวิทยาลัยแห่งคณะสงฆ์ไทยที่นำ�วิชาการ
ความรู้ทางพระพุทธศาสนาเผยแผ่สู่สังคมเป็นนักทำ�งานที่มุ่งมั่นตั้งใจได้รับ
มอบหมายให้เป็นผู้ประสานงานจัดงานประชุมวิสาขบูชาโลกในด้านวิชาการ
ท่านก็เป็นอาจารย์ประจำ�บัณฑิตวิทยาลัย เป็นพระสงฆ์นักวิชาการที่บรรยาย
ธรรม บรรยายการจัดการความขัดแย้งโดยพุทธสันติวิธี ให้แก่สถานศึกษา
องค์กร และแก่ผู้บริหารต่างๆ เป็นตัวแทนนักวิชาการทางพระพุทธศาสนา
ไปร่วมประชุมวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศอยู่เป็นประจำ�.
ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ผู้อำ�นวยการสำ�นักงานสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ
ผู้อำ�นวยการสถาบันภาษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ผู้อำ�นวยการโครงการหลักสูตรปริญญาโท-เอก สาขาสันติศึกษา มจร
อาจารย์ประจำ�บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดใหม่
ชื่อ-สกุล	 นางสาวธันฐภัทร์ ฮ้อแสงชัย
	 Miss Thantapat Horsaengchai
ชื่อเล่น	 เบนซ์
วัน/เดือน/ปี เกิด	๒๕ มกราคม ๒๕๒๕
อายุ 	 ๓๔ ปี
เป็นบุตรของ 	 คุณพ่อทิวากร ฮ้อแสงชัย และ คุณแม่กมลรัตน์ ฮ้อแสงชัย
มีพี่น้องรวม 	 ๔ คน ได้แก่
			 ๑. นางสาวธันฐภัทร์ ฮ้อแสงชัย (ผู้วายชนม์)
			 ๒. นางสาวภิญญาพัชร ฮ้อแสงชัย
			 ๓. นางสาวกัญจนา ฮ้อแสงชัย
			 ๔. นายอาภากร ฮ้อแสงชัย
ปัจจุบัน	 - นักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ตลาดวังน้อยเมืองใหม่ 		
		 อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา
	 -	นิสิตหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสันติศึกษา
		 รุ่นที่๓บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
การศึกษา	 -	จบประถมศึกษา โรงเรียนอัมพรไพศาล จังหวัดนนทบุรี
	 -	๒๕๓๗-๒๕๔๓ เข้าเรียน มัธยมศึกษาที่โรงเรียนเบญจมราชาลัย
	 -	๒๕๔๔-๒๕๔๙ เข้าศึกษาที่ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จนสำ�เร็จ
		 การศึกษาปริญญาตรี วิชาเอกการตลาด
	 - ๒๕๕๓-๒๕๕๔ เข้าศึกษาที่ Linnaeus University จนสำ�เร็จ
		 การศึกษาปริญญาโทวิชาเอกภาวะผู้นำ�(Business&Economics
		 Program; Leadership & Management in International
		 Context.) ประเทศสวีเดน
อัตชีวประวัติ
นางสาวธันฐภัทร์ ฮ้อแสงชัย
ประสบการณ์การทำ�งาน
	 -	เป็นคณะกรรมาธิการ การเงินการคลัง การธนาคาร ในตำ�แหน่ง
		 ที่ปรึกษาประธานคณะกรรมาธิการและสถาบันการเงิน สภาผู้แทน
		 ราษฎร เป็นระยะเวลา ๑ ปี
	 -	Sim Research Company Limited ตำ�แหน่ง Research Manager
		 ลักษณะงานวิจัยตลาดต่างประเทศ/ Customer Satisfaction
		 เป็นระยะเวลา ๒ ปี
	 -	ได้รับคัดเลือกจากสถาบันภาษา มจร ให้เป็นคณะทำ�งานวิสาขบูชาโลก
		 ปีพุทธชยันตี ๒๕๕๕ และงานวิสาขบูชาโลก ปี ๒๕๕๘ ในตำ�แหน่ง
		 หัวหน้าทีม (Team Leader) ต้อนรับเอกอัครราชทูต ประจำ�ประเทศไทย
การอบรม
	 -	ปี ๒๕๕๕ เข้าอบรมเชิงปฏิบัติการทิศทาง รูปแบบ ความคิด เพื่อการ
		 สนับสนุนการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ภายใต้บริบทไทยจัดโดยAPTU
		 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
	 -	ปี ๒๕๕๕ เข้าอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือ ระดับผู้นำ�ขั้นความรู้ชั้นสูง
		 รุ่นที่ ๕๗๔ จัดโดย คณะลูกเสือแห่งชาติ
	 -	ปี ๒๕๕๖ เข้าอบรมผู้นำ�ยุคใหม่ในระบอบประชาธิปไตย จัดโดย
		 สถาบันพระปกเกล้า
	 -	ได้รับเกียรติบัตรจากคณะกรรมการฝ่ายจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์
		 ครั้งที่ ๒๔
อื่นๆ	 -	เป็นกรรมการชมรมกีฬาวูซู จ.ปทุมธานี
	 -	เป็นเลขานุการและเหรัญญิก ชมรมรู้ทันกันโกง
	 -	เป็นประธานในการสร้างพระประธานที่วัดในจังหวัดสุโขทัย
	 -	เป็นประธานในการสร้างฐานพระประธานวัดโคกม่วงแร้ง จ.สระบุรี
	 -	เป็นเจ้าภาพสร้างห้องพักให้แก่ผู้มาปฏิบัติธรรมณวัดกิ่วลมจ.เชียงใหม่
	 -	เป็นเจ้าภาพในการจัดพิมพ์สื่อธรรมะเพื่อถวายแก่วัดต่างๆ
	 -	ให้การอุปถัมภ์สถานสงเคราะห์เด็กและคนชราอยู่เป็นประจำ�
	 -	เป็นจิตอาสาในกิจกรรมทางสังคมอีกมากมายซึ่งไม่อาจนำ�มา
		 กล่าวได้หมด ณ ที่นี้
		 -ฯลฯ
ถึงแก่กรรมเมื่อ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๙ เวลา ๑๑.๓๐ น. จากอุบัติเหตุทางจราจร
ความตาย: พระพุทธเจา สอน - สตีฟ จอบส ปฏิบัติ 2
ความตาย: พระพุทธเจ้าสอน สตีฟ จอบส์ ปฏิบัติ

More Related Content

What's hot

พุทธภาษิตนักเรียน
พุทธภาษิตนักเรียนพุทธภาษิตนักเรียน
พุทธภาษิตนักเรียนniralai
 
สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus of The True Law)
สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus of The True Law)สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus of The True Law)
สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus of The True Law)Padvee Academy
 
เหตุผลแห่งข้อเท็จจริงตามหลักกาลามสูตร
เหตุผลแห่งข้อเท็จจริงตามหลักกาลามสูตรเหตุผลแห่งข้อเท็จจริงตามหลักกาลามสูตร
เหตุผลแห่งข้อเท็จจริงตามหลักกาลามสูตรsolarcell2
 
ขบวนการพุทธใหม่ในโลกยุคปัจจุบัน ตอน วัดพระธรรมกาย
ขบวนการพุทธใหม่ในโลกยุคปัจจุบัน ตอน วัดพระธรรมกายขบวนการพุทธใหม่ในโลกยุคปัจจุบัน ตอน วัดพระธรรมกาย
ขบวนการพุทธใหม่ในโลกยุคปัจจุบัน ตอน วัดพระธรรมกายPadvee Academy
 
แนวคิดเรื่องการพยากรณ์ในคัมภีร์พุทธศาสนา
แนวคิดเรื่องการพยากรณ์ในคัมภีร์พุทธศาสนาแนวคิดเรื่องการพยากรณ์ในคัมภีร์พุทธศาสนา
แนวคิดเรื่องการพยากรณ์ในคัมภีร์พุทธศาสนาPadvee Academy
 
แนวคิดและอุดมคติพระโพธิสัตว์ในพุทธศาสนามหายาน
แนวคิดและอุดมคติพระโพธิสัตว์ในพุทธศาสนามหายานแนวคิดและอุดมคติพระโพธิสัตว์ในพุทธศาสนามหายาน
แนวคิดและอุดมคติพระโพธิสัตว์ในพุทธศาสนามหายานPadvee Academy
 
พระพุทธศาสนานิกายเซน
พระพุทธศาสนานิกายเซนพระพุทธศาสนานิกายเซน
พระพุทธศาสนานิกายเซนPadvee Academy
 
หนังสือ-กรณีธรรมกาย-ฉบับเพิ่มเติม-จัดลำดับใหม่-โดยพระพรหมคุณาภรณ์
 หนังสือ-กรณีธรรมกาย-ฉบับเพิ่มเติม-จัดลำดับใหม่-โดยพระพรหมคุณาภรณ์ หนังสือ-กรณีธรรมกาย-ฉบับเพิ่มเติม-จัดลำดับใหม่-โดยพระพรหมคุณาภรณ์
หนังสือ-กรณีธรรมกาย-ฉบับเพิ่มเติม-จัดลำดับใหม่-โดยพระพรหมคุณาภรณ์Bordin Kijsirijareonchai
 
พุทธวิธีในการสอน พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต)
พุทธวิธีในการสอน พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต) พุทธวิธีในการสอน พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต)
พุทธวิธีในการสอน พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต) niralai
 
พุทธศาสนามหายาน นิกายสุขาวดี | Pure Land Buddhism
พุทธศาสนามหายาน นิกายสุขาวดี | Pure Land Buddhismพุทธศาสนามหายาน นิกายสุขาวดี | Pure Land Buddhism
พุทธศาสนามหายาน นิกายสุขาวดี | Pure Land BuddhismPadvee Academy
 
รวมพระอรหันต์ที่อยู่ในประเทศไทยเวลานี้
รวมพระอรหันต์ที่อยู่ในประเทศไทยเวลานี้รวมพระอรหันต์ที่อยู่ในประเทศไทยเวลานี้
รวมพระอรหันต์ที่อยู่ในประเทศไทยเวลานี้Adisorn Tanprasert
 
รวมหลักธรรมสำหรับท่องจำแบบย่อ ธศ ตรี
รวมหลักธรรมสำหรับท่องจำแบบย่อ ธศ ตรีรวมหลักธรรมสำหรับท่องจำแบบย่อ ธศ ตรี
รวมหลักธรรมสำหรับท่องจำแบบย่อ ธศ ตรีTheeraphisith Candasaro
 
พุทธฤทธิ์ชินบัญชรและคำสอนสมเด็จโต
พุทธฤทธิ์ชินบัญชรและคำสอนสมเด็จโตพุทธฤทธิ์ชินบัญชรและคำสอนสมเด็จโต
พุทธฤทธิ์ชินบัญชรและคำสอนสมเด็จโตPatchara Kornvanich
 
ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต
ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโตประวัติและปฏิปทา หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต
ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโตTaweedham Dhamtawee
 
อัคคิวัจฉโคตตสูตร บ่อเกิดแนวคิดมหายาน
อัคคิวัจฉโคตตสูตร บ่อเกิดแนวคิดมหายานอัคคิวัจฉโคตตสูตร บ่อเกิดแนวคิดมหายาน
อัคคิวัจฉโคตตสูตร บ่อเกิดแนวคิดมหายานPadvee Academy
 
โอวาทพระอาจารย์
โอวาทพระอาจารย์โอวาทพระอาจารย์
โอวาทพระอาจารย์guest3650b2
 
สสารและ พลังงานในพุทธศาสนา
สสารและ พลังงานในพุทธศาสนาสสารและ พลังงานในพุทธศาสนา
สสารและ พลังงานในพุทธศาสนาPunya Benja
 

What's hot (18)

พุทธภาษิตนักเรียน
พุทธภาษิตนักเรียนพุทธภาษิตนักเรียน
พุทธภาษิตนักเรียน
 
สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus of The True Law)
สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus of The True Law)สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus of The True Law)
สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus of The True Law)
 
เหตุผลแห่งข้อเท็จจริงตามหลักกาลามสูตร
เหตุผลแห่งข้อเท็จจริงตามหลักกาลามสูตรเหตุผลแห่งข้อเท็จจริงตามหลักกาลามสูตร
เหตุผลแห่งข้อเท็จจริงตามหลักกาลามสูตร
 
ขบวนการพุทธใหม่ในโลกยุคปัจจุบัน ตอน วัดพระธรรมกาย
ขบวนการพุทธใหม่ในโลกยุคปัจจุบัน ตอน วัดพระธรรมกายขบวนการพุทธใหม่ในโลกยุคปัจจุบัน ตอน วัดพระธรรมกาย
ขบวนการพุทธใหม่ในโลกยุคปัจจุบัน ตอน วัดพระธรรมกาย
 
แนวคิดเรื่องการพยากรณ์ในคัมภีร์พุทธศาสนา
แนวคิดเรื่องการพยากรณ์ในคัมภีร์พุทธศาสนาแนวคิดเรื่องการพยากรณ์ในคัมภีร์พุทธศาสนา
แนวคิดเรื่องการพยากรณ์ในคัมภีร์พุทธศาสนา
 
แนวคิดและอุดมคติพระโพธิสัตว์ในพุทธศาสนามหายาน
แนวคิดและอุดมคติพระโพธิสัตว์ในพุทธศาสนามหายานแนวคิดและอุดมคติพระโพธิสัตว์ในพุทธศาสนามหายาน
แนวคิดและอุดมคติพระโพธิสัตว์ในพุทธศาสนามหายาน
 
พระพุทธศาสนานิกายเซน
พระพุทธศาสนานิกายเซนพระพุทธศาสนานิกายเซน
พระพุทธศาสนานิกายเซน
 
หนังสือ-กรณีธรรมกาย-ฉบับเพิ่มเติม-จัดลำดับใหม่-โดยพระพรหมคุณาภรณ์
 หนังสือ-กรณีธรรมกาย-ฉบับเพิ่มเติม-จัดลำดับใหม่-โดยพระพรหมคุณาภรณ์ หนังสือ-กรณีธรรมกาย-ฉบับเพิ่มเติม-จัดลำดับใหม่-โดยพระพรหมคุณาภรณ์
หนังสือ-กรณีธรรมกาย-ฉบับเพิ่มเติม-จัดลำดับใหม่-โดยพระพรหมคุณาภรณ์
 
พุทธวิธีในการสอน พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต)
พุทธวิธีในการสอน พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต) พุทธวิธีในการสอน พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต)
พุทธวิธีในการสอน พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต)
 
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ม.๒
 หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ม.๒ หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ม.๒
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ม.๒
 
พุทธศาสนามหายาน นิกายสุขาวดี | Pure Land Buddhism
พุทธศาสนามหายาน นิกายสุขาวดี | Pure Land Buddhismพุทธศาสนามหายาน นิกายสุขาวดี | Pure Land Buddhism
พุทธศาสนามหายาน นิกายสุขาวดี | Pure Land Buddhism
 
รวมพระอรหันต์ที่อยู่ในประเทศไทยเวลานี้
รวมพระอรหันต์ที่อยู่ในประเทศไทยเวลานี้รวมพระอรหันต์ที่อยู่ในประเทศไทยเวลานี้
รวมพระอรหันต์ที่อยู่ในประเทศไทยเวลานี้
 
รวมหลักธรรมสำหรับท่องจำแบบย่อ ธศ ตรี
รวมหลักธรรมสำหรับท่องจำแบบย่อ ธศ ตรีรวมหลักธรรมสำหรับท่องจำแบบย่อ ธศ ตรี
รวมหลักธรรมสำหรับท่องจำแบบย่อ ธศ ตรี
 
พุทธฤทธิ์ชินบัญชรและคำสอนสมเด็จโต
พุทธฤทธิ์ชินบัญชรและคำสอนสมเด็จโตพุทธฤทธิ์ชินบัญชรและคำสอนสมเด็จโต
พุทธฤทธิ์ชินบัญชรและคำสอนสมเด็จโต
 
ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต
ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโตประวัติและปฏิปทา หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต
ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต
 
อัคคิวัจฉโคตตสูตร บ่อเกิดแนวคิดมหายาน
อัคคิวัจฉโคตตสูตร บ่อเกิดแนวคิดมหายานอัคคิวัจฉโคตตสูตร บ่อเกิดแนวคิดมหายาน
อัคคิวัจฉโคตตสูตร บ่อเกิดแนวคิดมหายาน
 
โอวาทพระอาจารย์
โอวาทพระอาจารย์โอวาทพระอาจารย์
โอวาทพระอาจารย์
 
สสารและ พลังงานในพุทธศาสนา
สสารและ พลังงานในพุทธศาสนาสสารและ พลังงานในพุทธศาสนา
สสารและ พลังงานในพุทธศาสนา
 

Viewers also liked

'วิถีแห่งเซน' ของสตีฟ จอบส์
'วิถีแห่งเซน' ของสตีฟ จอบส์'วิถีแห่งเซน' ของสตีฟ จอบส์
'วิถีแห่งเซน' ของสตีฟ จอบส์คิดดี ทำดี
 
5 เคล็ดลับสู่การเป็น "ผู้พูด" ที่ยอดเยี่ยม!
5 เคล็ดลับสู่การเป็น "ผู้พูด" ที่ยอดเยี่ยม!5 เคล็ดลับสู่การเป็น "ผู้พูด" ที่ยอดเยี่ยม!
5 เคล็ดลับสู่การเป็น "ผู้พูด" ที่ยอดเยี่ยม!PresentationX
 
การถ่ายภาพดิจิตอลหน่วยเรียน1
การถ่ายภาพดิจิตอลหน่วยเรียน1การถ่ายภาพดิจิตอลหน่วยเรียน1
การถ่ายภาพดิจิตอลหน่วยเรียน1pattaya chantokul
 
Free eBook: BricsCAD V14 for AutoCAD Users
Free eBook: BricsCAD V14 for AutoCAD UsersFree eBook: BricsCAD V14 for AutoCAD Users
Free eBook: BricsCAD V14 for AutoCAD UsersBricsys
 
วิธีจบการนำเสนอให้คนดูไม่เงียบ!
วิธีจบการนำเสนอให้คนดูไม่เงียบ!วิธีจบการนำเสนอให้คนดูไม่เงียบ!
วิธีจบการนำเสนอให้คนดูไม่เงียบ!PresentationX
 
เพรซี่-Prezi-พิมพ์ไทยได้แล้ว
เพรซี่-Prezi-พิมพ์ไทยได้แล้ว เพรซี่-Prezi-พิมพ์ไทยได้แล้ว
เพรซี่-Prezi-พิมพ์ไทยได้แล้ว Dr Poonsri Vate-U-Lan
 

Viewers also liked (9)

'วิถีแห่งเซน' ของสตีฟ จอบส์
'วิถีแห่งเซน' ของสตีฟ จอบส์'วิถีแห่งเซน' ของสตีฟ จอบส์
'วิถีแห่งเซน' ของสตีฟ จอบส์
 
Panono กล้อง 360 องศา
Panono กล้อง 360 องศาPanono กล้อง 360 องศา
Panono กล้อง 360 องศา
 
5 เคล็ดลับสู่การเป็น "ผู้พูด" ที่ยอดเยี่ยม!
5 เคล็ดลับสู่การเป็น "ผู้พูด" ที่ยอดเยี่ยม!5 เคล็ดลับสู่การเป็น "ผู้พูด" ที่ยอดเยี่ยม!
5 เคล็ดลับสู่การเป็น "ผู้พูด" ที่ยอดเยี่ยม!
 
การถ่ายภาพดิจิตอลหน่วยเรียน1
การถ่ายภาพดิจิตอลหน่วยเรียน1การถ่ายภาพดิจิตอลหน่วยเรียน1
การถ่ายภาพดิจิตอลหน่วยเรียน1
 
Free eBook: BricsCAD V14 for AutoCAD Users
Free eBook: BricsCAD V14 for AutoCAD UsersFree eBook: BricsCAD V14 for AutoCAD Users
Free eBook: BricsCAD V14 for AutoCAD Users
 
คู่มือการใช้ Prezi
คู่มือการใช้ Preziคู่มือการใช้ Prezi
คู่มือการใช้ Prezi
 
วิธีจบการนำเสนอให้คนดูไม่เงียบ!
วิธีจบการนำเสนอให้คนดูไม่เงียบ!วิธีจบการนำเสนอให้คนดูไม่เงียบ!
วิธีจบการนำเสนอให้คนดูไม่เงียบ!
 
เพรซี่-Prezi-พิมพ์ไทยได้แล้ว
เพรซี่-Prezi-พิมพ์ไทยได้แล้ว เพรซี่-Prezi-พิมพ์ไทยได้แล้ว
เพรซี่-Prezi-พิมพ์ไทยได้แล้ว
 
การนำเสนองานวิจัย
การนำเสนองานวิจัยการนำเสนองานวิจัย
การนำเสนองานวิจัย
 

Similar to ความตาย: พระพุทธเจ้าสอน สตีฟ จอบส์ ปฏิบัติ

สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์
สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์
สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์pentanino
 
แรงบันดาลใจจากความตาย
แรงบันดาลใจจากความตาย แรงบันดาลใจจากความตาย
แรงบันดาลใจจากความตาย Maha Duangthip Dhamma
 
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 437 September 2011
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 437 September 2011 Saeng Dhamma Vol. 37 No. 437 September 2011
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 437 September 2011 Wat Thai Washington, D.C.
 
หลวงพ่อทูล วัฏฏะสงสาร
หลวงพ่อทูล วัฏฏะสงสารหลวงพ่อทูล วัฏฏะสงสาร
หลวงพ่อทูล วัฏฏะสงสารguestf16531
 
แนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชน
แนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชนแนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชน
แนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชนTongsamut vorasan
 
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒dentyomaraj
 

Similar to ความตาย: พระพุทธเจ้าสอน สตีฟ จอบส์ ปฏิบัติ (20)

Seang Dhamma Vol. 36 No. 433 May, 2011
Seang Dhamma Vol. 36 No. 433 May, 2011Seang Dhamma Vol. 36 No. 433 May, 2011
Seang Dhamma Vol. 36 No. 433 May, 2011
 
พระไตรปิฎก
พระไตรปิฎกพระไตรปิฎก
พระไตรปิฎก
 
Seangdhamma Vol. 37 No. 439 November 2011
Seangdhamma Vol. 37 No. 439 November 2011Seangdhamma Vol. 37 No. 439 November 2011
Seangdhamma Vol. 37 No. 439 November 2011
 
สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์
สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์
สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์
 
แรงบันดาลใจจากความตาย
แรงบันดาลใจจากความตาย แรงบันดาลใจจากความตาย
แรงบันดาลใจจากความตาย
 
Seang Dhamma Vol. 37 No. 443 March 2012
Seang Dhamma Vol. 37 No. 443 March 2012Seang Dhamma Vol. 37 No. 443 March 2012
Seang Dhamma Vol. 37 No. 443 March 2012
 
Saengdhamma in august 2010
Saengdhamma in august 2010Saengdhamma in august 2010
Saengdhamma in august 2010
 
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 437 September 2011
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 437 September 2011 Saeng Dhamma Vol. 37 No. 437 September 2011
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 437 September 2011
 
หลวงพ่อทูล วัฏฏะสงสาร
หลวงพ่อทูล วัฏฏะสงสารหลวงพ่อทูล วัฏฏะสงสาร
หลวงพ่อทูล วัฏฏะสงสาร
 
Seang Dhamma Vol. 37 No. 440 December 2011
Seang Dhamma Vol. 37 No. 440 December 2011Seang Dhamma Vol. 37 No. 440 December 2011
Seang Dhamma Vol. 37 No. 440 December 2011
 
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 436 August 2011
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 436 August 2011 Saeng Dhamma Vol. 37 No. 436 August 2011
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 436 August 2011
 
Saengdhamma Vol.36 No. 428 December 2010
Saengdhamma Vol.36 No. 428 December 2010Saengdhamma Vol.36 No. 428 December 2010
Saengdhamma Vol.36 No. 428 December 2010
 
แนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชน
แนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชนแนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชน
แนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชน
 
Saeng Dhamma Vol 35 No. 419 March, 2010
Saeng Dhamma Vol 35 No. 419 March, 2010Saeng Dhamma Vol 35 No. 419 March, 2010
Saeng Dhamma Vol 35 No. 419 March, 2010
 
Saeng Dhamma Vol. 30 No. 425 September 2010
Saeng Dhamma Vol. 30 No. 425 September 2010Saeng Dhamma Vol. 30 No. 425 September 2010
Saeng Dhamma Vol. 30 No. 425 September 2010
 
Saeng Dhamma June, 2010
Saeng Dhamma June, 2010Saeng Dhamma June, 2010
Saeng Dhamma June, 2010
 
590805 บทที่-3-แก้ไขแล้ว
590805 บทที่-3-แก้ไขแล้ว590805 บทที่-3-แก้ไขแล้ว
590805 บทที่-3-แก้ไขแล้ว
 
590802 บทที่-1-แก้ไขแล้ว
590802 บทที่-1-แก้ไขแล้ว590802 บทที่-1-แก้ไขแล้ว
590802 บทที่-1-แก้ไขแล้ว
 
ม.2 ภาคเรียนที่ 1
ม.2 ภาคเรียนที่ 1ม.2 ภาคเรียนที่ 1
ม.2 ภาคเรียนที่ 1
 
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒
 

ความตาย: พระพุทธเจ้าสอน สตีฟ จอบส์ ปฏิบัติ

  • 1.
  • 2. ความตาย: พระพุทธเจา สอน - สตีฟ จอบส ปฏิบัติ 2
  • 3.
  • 4. ส�ำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ ครอบครัว ฮ้อแสงชัย เนื่องในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า โปรดกระหม่อมพระราชทานเพลิงศพนางสาวธันฐภัทร์ ฮ้อแสงชัยซึ่งนับเป็น พระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อม เป็นเกียรติอันสูงสุดแก่ผู้วายชนม์ และวงศ์ตระกูลอย่างหาที่สุดมิได้ หากความทราบโดยญาณวิถี ถึงดวงวิญญาณของ นางสาวธันฐภัทร์ ฮ้อแสงชัย ได้ด้วยประการใด ในสัมปรายภพ คงมีความปลาบปลื้ม ซาบซึ้ง เป็นล้นพ้น ในพระมหากรุณาธิคุณ ที่ได้รับพระราชทานเกียรติยศอันสูงยิ่ง ในวาระสุดท้ายแห่งชีวิต ข้าพระพุทธเจ้า ครอบครัวฮ้อแสงชัย ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาส กราบถวายบังคมแทบเบื้องพระยุคลบาท และขอถวายพระพรชัยมงคล ให้ทรง พระเกษมสำ�ราญทรงมีพระชนมายุยิ่งยืนนานปราศจากโรคาพยาธิอุปัทวันตราย ทั้งหลายทั้งปวง ด้วยสำ�นึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ และ จะเทิดทูนไว้เหนือเกล้าเหนือกระหม่อม เป็นสรรพสิริมงคลแก่ข้าพระพุทธเจ้า และวงศ์ตระกูลสืบไป
  • 5. ความตาย: พระพุทธเจ้า สอน - สตีฟ จอบส์ ปฏิบัติ1 ขอไว้อาลัย แด่นางสาวธันฐภัทร์ ฮ้อแสงชัย พิมพ์แจกเป็นธรรมทาน
  • 6. ความตาย: พระพุทธเจ้า สอน - สตีฟ จอบส์ ปฏิบัติ 2 หนังสือดีดี ล�ำดับที่ 1 หากท่านใดสนใจขอรับหนังสือ, เป็นเจ้าภาพพิมพ์แจกเป็นจ�ำนวนมาก หรือร่วมท�ำบุญพิมพ์หนังสือดีดีเล่มต่อไป เพื่อแจกเป็นธรรมทาน โทร. 08-9812-2140, e-mail : pijit24@hotmail.com สัพพทานัง ธัมมทานัง ชินาติ การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง ความตาย: พระพุทธเจ้า สอน สตีฟ จอบส์ ปฏิบัติ พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส พิมพ์ครั้งที่ 1 เมษายน 2555 (3,000 เล่ม) พิมพ์ครั้งที่ 2 กรกฎาคม 2555 (2,000 เล่ม) พิมพ์ครั้งที่ 3 สิงหาคม 2555 (4,000 เล่ม) พิมพ์ครั้งที่ 4 ธันวาคม 2555 (4,000 เล่ม) พิมพ์ครั้งที่ 5 มีนาคม 2559 จ�ำนวนพิมพ์ 2,000 เล่ม จัดพิมพ์โดย บริษัท ดีไซน์ ดีไลท์ จ�ำกัด 69/18 หมู่ 7 ต�ำบลเสาธงหิน อ�ำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี 11140 โทร. 08-9812-2140, 08-9788-6523 แบบปกและจัดรูปเล่ม พิจิตร พรมลี พิมพ์ที่ บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จ�ำกัด 745 ถนนนครไชยศรี แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
  • 7. ความตาย: พระพุทธเจ้า สอน - สตีฟ จอบส์ ปฏิบัติ3 ขอไว้อาลัย แด่นางสาวธันฐภัทร์ ฮ้อแสงชัย นิสิตปริญญาโท สาขาสันติศึกษา รุ่นที่ ๓ .................. โครงการหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ขอไว้อาลัยต่อการจากไปของ “นางสาวธันฐภัทร์ ฮ้อแสงชัย” นิสิตปริญญาโท สาขาสันติศีกษา รุ่นที่ ๓ ที่ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์จนเสียชีวิตบนถนนพหลโยธิน ขณะเดินทางมามหาวิทยาลัยเพื่อเตรียมการไปแสวงบุญที่ประเทศอินเดีย ในระหว่างวันที่ ๑๙ ถึง ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๙ นี้ ในโอกาสนี้ โครงการหลักสูตรฯ ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้ง มายัง “ครอบครัวฮ้อแสงชัย” ที่ประสบความสูญเสียบุตรหลาน อันเป็นที่รักไปอย่างไม่มีวันกลับ พวกเราชาวครอบครัวสันติศึกษา จะระลึกถึงมิตรภาพ และคุณงามความดีที่พวกเราได้เคย สร้างสันติบารมีร่วมกันตลอดระยะเวลา ๑ ปีที่ผ่านมา ขออำ�นาจแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย และบุญราศีสันติบารมีที่ “นางสาวธันฐภัทร์ ฮ้อแสงชัย” ได้บำ�เพ็ญให้เป็นไปตั้งแต่ต้นมาจนถึงวันนี้ ขอได้โปรดเป็นพลวปัจจัยนำ�ดวงวิญญาณของ “นางสาวธันฐภัทร์ ฮ้อแสงชัย” ไปสู่สุคติในสัมปรายภพตลอดกาลนิรันดร์ฯ .................. หลักสูตรปริญญาโท และปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • 8. ความตาย: พระพุทธเจ้า สอน - สตีฟ จอบส์ ปฏิบัติ 4 ในขณะที่มนุษย์จ�ำนวนมากที่ก�ำลังเผชิญหน้ากับ “ความตาย” เพียรพยายามจะด�ำเนินการก่อนสิ้นลมหายใจ คือ “การแบ่งมรดก ซึ่งเป็นทรัพย์สินเงินทองให้แก่บุตรหลาน” เพื่อให้บุตรหลานได้ใช้เป็น เครื่องมือในการด�ำเนินชีวิตต่อไป แต่พระพุทธเจ้ากลับแสดงออก ในทิศทางที่แตกต่าง เพราะมรดกที่พระองค์ทรงมอบให้แก่ชาวโลก ซึ่งก�ำลังมีลมหายใจนั้น คือ “มรดกธรรม” ที่ย�้ำเตือนว่า “สังขาร มีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงด�ำเนินชีวิต ด้วยความไม่ประมาทเถิด!!!” “มรดกธรรม” ที่พระองค์น�ำเสนอนั้นเป็นการตรัสเตือนโดยการ ชี้ให้ทุกคนเพ่งพินิจด้วยความใส่ใจต่อ “สังขาร” ของบุคคลที่ได้ชื่อว่า เป็น “มหาบุรุษ” ของโลก ว่า “สุดท้ายแล้วก็ต้องเดินทางไปสู่ ความตายอย่างไร้เงื่อนไข และไร้การต่อรองใดๆ ทั้งสิ้น” ในห้วงเวลาของการด�ำเนินชีวิตนั้น อาจจะมีกษัตริย์และผู้คนจ�ำนวน มากสยบยอมและหมอบแทบพระบาทของพระองค์ แต่ในช่วงสุดท้าย แห่งชีวิตนั้น พระองค์ได้ชี้ให้ทุกคนได้เห็นว่า “สังขารที่พระองค์ ได้อาศัย ก�ำลังสยบยอมต่อความตายอย่างนิ่งสงบ” ค�ำปรารภ
  • 9. ความตาย: พระพุทธเจ้า สอน - สตีฟ จอบส์ ปฏิบัติ5 ผู้คนจ�ำนวนมากอาจเข้าใจว่า ความตายเป็นจุดจบของพระองค์ แต่พระองค์ได้ให้สติว่า ความตายเป็นจุดเริ่มต้นที่ทรงคุณค่าของ ชาวโลก โดยการย�้ำเตือนให้ผู้ใดก็ตามที่ยังมีลมหายใจอยู่ด�ำเนินชีวิต ด้วยความไม่ประมาท จะเห็นว่า “ลมหายใจของหนุ่มสาวอาจจะมี ราคาถูก แต่ลมหายใจของผู้ที่ก�ำลังเดินไปสู่ความตายราคากลับ แพงยิ่ง”จุดต่างอยู่ตรงที่“คุณค่าของลมหายใจ”เพราะอีกคนไม่ค่อย รู้จักมักคุ้นกับใบหน้าของ“ความตาย”แต่อีกคนเริ่มคุ้นเคยมากยิ่งขึ้น เพราะความคุ้นเคยจึงน�ำไปสู่การก�ำหนดท่าทีเชิงบวกว่า “ความตาย อยู่กับเราทุกลมหายใจ” และคอยเตือนใจมิให้เราประมาท ประดุจ กัลยาณมิตร ตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจคือ เด็กหนุ่มคนหนึ่งนาม “สตีฟ จอบส์” ผู้มีความแตกต่างจากคนหนุ่มสาวทั่วไป เพราะพากเพียรเรียนรู้และ เข้าใจ “กลไกของความตาย” และนั่นถือเป็นจุดเปลี่ยนที่ส�ำคัญ เพราะเขาได้แปรเปลี่ยนและพัฒนา “กลไกของความตายไปสู่การ สร้างกลไกในโลกวิทยาศาสตร์” ในขณะที่พุทธพจน์บทที่ว่า “ควรรีบ ท�ำสิ่งที่เราควรจะท�ำเสียแต่วันนี้ เพราะใครเล่าจะทราบว่า ความตายจะมีแก่เราในวันพรุ่งนี้” ได้รับการ “แปรรูป” ไปสู่
  • 10. ความตาย: พระพุทธเจ้า สอน - สตีฟ จอบส์ ปฏิบัติ 6 วลีส�ำคัญที่สตีฟย�้ำเตือนตัวเองในขณะที่ส่องกระจกก่อนออกจาก บ้านไปท�ำงานว่า “จงด�ำเนินชีวิตให้เปรียบประดุจว่า วันนี้เป็น วันสุดท้ายที่คุณจะมีชีวิตอยู่” ประโยคทองดังกล่าวได้กลายเป็น “แรงบันดาลใจ” ต่อการเปลี่ยนโลกทางวิทยาศาสตร์ได้อย่าง น่าจดจ�ำและตรึงใจชาวโลกไปอีกแสนนาน ณวินาทีนี้แม้ว่าร่างกายของพระพุทธเจ้าและสตีฟจอบส์จะกลับ คืนสู่สามัญเป็น ดิน น�้ำ ลม และไฟ แต่ถึงกระนั้น ความตาย ได้กลายเป็นพลังทะยานแห่งชีวิต ที่ท�ำให้เจ้าชายสิทธัตถะได้ใช้ เป็นหนึ่งในเครื่องมือค้นพบความเป็น “พระสัมมาสัมพุทธเจ้า” และท�ำให้สตีฟ จอบส์ ได้ค้นพบสินค้านาม “Apple” จะเห็นว่า “ความตายไม่ใช่จุดจบ แต่คือจุดที่น�ำไปสู่การค้นพบที่ยิ่งใหญ่” ส่วนการที่เราจะค้นพบหรือไม่ การใส่ใจต่อความตายอาจจะเป็น อีกหนึ่งค�ำตอบที่รอการค้นหาของพวกเราอยู่!!! ด้วยสาราณียธรรม พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, รศ.ดร.
  • 11. ความตาย: พระพุทธเจ้า สอน - สตีฟ จอบส์ ปฏิบัติ7 “จงด�ำเนินชีวิต ให้เปรียบประดุจว่า วันนี้เป็นวันสุดท้าย ที่คุณจะมีชีวิตอยู่”
  • 12. ความตาย: พระพุทธเจ้า สอน - สตีฟ จอบส์ ปฏิบัติ 8 ในขณะที่กลุ่มคนจ�ำนวนมากในโลกนี้ ก�ำลังประหวั่นพรั่นพรึงหรือหวาดกลัวต่อ “ความตาย” จากมหันตภัยทางธรรมชาติ หรือวิกฤตการณ์อื่น ๆ เพราะอาจจะไม่ประจักษ์ชัดว่า “ความตายคืออะไร” “จะตายเมื่อใด” และ “ตายแล้วจะไปที่ไหน”
  • 13. ความตาย: พระพุทธเจ้า สอน - สตีฟ จอบส์ ปฏิบัติ9 อย่างไรก็ตาม กลุ่มคนบางกลุ่มมิได้ใส่ใจต่อค�ำถามเหล่านี้ ในทางกลับกัน ได้น�ำเอา “ความตาย” มาเป็นเครื่องมือในการสร้างแรงจูงใจ (Motivation) และแรง บันดาลใจ (Inspiration) ที่ส�ำคัญต่อการ “เปลี่ยนแปลงโลก” ไม่ว่าจะเป็น “โลกภายใน” และ “โลกเทคโนโลยี”
  • 14. ความตาย: พระพุทธเจ้า สอน - สตีฟ จอบส์ ปฏิบัติ 10 บุคคลที่สามารถน�ำความตาย มาสร้างแรงบันดาลใจ เพื่อเปลี่ยนโลกภายในคือ “พระพุทธเจ้า”
  • 15. ความตาย: พระพุทธเจ้า สอน - สตีฟ จอบส์ ปฏิบัติ11 ส่วนบุคคลที่น�ำความตาย มาสร้างความก้าวหน้าให้แก่ “โลกเทคโนโลยี” คือ “สตีเวน พอล จอบส์” (Steven Paul Jobs)
  • 16. ความตาย: พระพุทธเจ้า สอน - สตีฟ จอบส์ ปฏิบัติ 12 เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงอยู่ในวัยเยาว์ พระเจ้าสุทโธทนะ พระราชบิดา ได้ทรงพยายามทุกวิถีทางเพื่อให้เจ้าชายสิทธัตถะอยู่ ครองราชย์สืบต่อจากพระองค์โดยการผูกมัดด้วยความสุขใน ทางโลกเป็นส�ำคัญ มุ่งให้เจ้าชายสิทธัตถะพบเห็นแต่สิ่งสวยงาม เช่น การสร้างปราสาทให้ประทับทั้ง 3 ฤดู จัดให้ทรงอภิเษกสมรส แต่ด้วยเหตุที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงเป็นนักคิดมาตั้งแต่วัยเยาว์ จึง ไม่อาจปิดกั้นความคิดของพระองค์ได้ วันหนึ่งเจ้าชายสิทธัตถะ ได้เสด็จประพาสนคร พระองค์ได้ทรงทอดพระเนตรเห็น คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณะ (นักบวช) เรียกว่า เทวทูต 4 ก็ทรงรู้สึกสลดหดหู่ในพระทัยยิ่งนัก จนท�ำให้พระองค์ตั้งค�ำถาม ต่อประเด็นดังกล่าว พระพุทธเจ้ากับความตาย
  • 17. ความตาย: พระพุทธเจ้า สอน - สตีฟ จอบส์ ปฏิบัติ13 “แรงจูงใจและแรงบันดาลใจ”ได้เกิดขึ้นแก่เจ้าชายสิทธัตถะ เมื่อทรงทอดพระเนตรเห็นเทวทูต 4 ดังกล่าวนั้น ถือได้ว่าเป็น ค�ำเตือนหรือสัญญาณเตือนมาจากธรรมชาติ ที่เป็นลักษณะ ความเปลี่ยนแปลงของชีวิตตาม กฎไตรลักษณ์ กล่าวคือ จนท�ำให้พระองค์ตัดสินพระทัยออกผนวชเพื่อแสวงหาความจริง สูงสุดคือ “โมกขธรรม หรือ พระนิพพาน” อันเป็นภาวะ ที่ไม่มี การเกิด การแก่ การเจ็บ และการตาย และสุดท้ายแล้ว พระองค์ก็ทรงค้นพบความจริงดังกล่าว อนิจจัง สรรพสิ่ง ไม่เที่ยงแท้ แน่นอน ทนอยู่ใน สภาพเดิมไม่ได้ ไม่สามารถบังคับ ให้เป็นไปตามความ ต้องการของเรา ทุกขัง อนัตตา
  • 18. ความตาย: พระพุทธเจ้า สอน - สตีฟ จอบส์ ปฏิบัติ 14 สตีฟ จอบส์ กับความตาย สตีฟ จอบส์ ได้กล่าวปาฐกถาในพิธีสำ�เร็จการศึกษาของ บัณฑิตมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ปี ค.ศ. 2005 และได้กล่าวถึง ประสบการณ์ชีวิตที่เข้าใกล้กับความตายว่า ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
  • 19. ความตาย: พระพุทธเจ้า สอน - สตีฟ จอบส์ ปฏิบัติ15 “ผมครุ่นคิดแต่เรื่องผลการตรวจตลอดทั้งวัน ในช่วงเย็นวันนั้น ผมต้องตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ โดยการสอดกล้องเข้าทางปาก ผ่านคอ ไปยังกระเพาะและลำ�ไส้ จากนั้นก็ใช้เข็มเจาะเข้าที่ตับอ่อนเพื่อเอา ตัวอย่างเนื้อเยื่อจากเนื้อร้ายนั้น ผมรู้สึกสงบนิ่ง แต่ภรรยาของผม ที่อยู่ด้วยเล่าให้ฟังว่าเมื่อคุณหมอส่องกล้องตรวจดูเนื้อเยื่อนั้นแล้ว ก็เริ่มวิตกกังวล เพราะมันเป็นมะเร็งตับอ่อนที่ไม่แน่ใจว่าจะรักษา ได้ด้วยการผ่าตัด ในที่สุดผมก็เข้ารับการผ่าตัด และตอนนี้ผมก็ สบายดี” “เมื่อปีที่แล้ว (2004) ผมตรวจสุขภาพพบว่าเป็นมะเร็ง ผม เข้ารับการตรวจประมาณ 7 โมงครึ่ง และผลออกมาชัดเจนว่า มีเนื้อร้ายที่ตับอ่อนของผม ผมไม่รู้แม้กระทั่งว่าตับอ่อนคืออะไร คุณหมอบอกกับผมว่ามะเร็งชนิดนี้รักษาไม่หาย และผมจะอยู่ได้ ไม่เกินสามถึงหกเดือน คุณหมอแนะนำ�ว่าให้กลับบ้านแล้วสะสาง เรื่องส่วนตัวให้เรียบร้อย เหมือนเป็นสัญญาณให้ผมเตรียมตัวตาย มันดูเหมือนจะให้ผมเล่าเรื่องราวต่างๆ ที่ผมคิดไว้สำ�หรับ 10 ปี จากนี้ไปให้เด็กๆ ฟังให้หมดภายในสองสามเดือน มันเหมือนว่า ให้เตรียมทุกอย่างให้พร้อมสำ�หรับครอบครัวของคุณ มันเหมือน ให้เตรียมที่จะลาจากไป”
  • 20. ความตาย: พระพุทธเจ้า สอน - สตีฟ จอบส์ ปฏิบัติ 16 จากประสบการณ์ดังกล่าว เขาได้สรุปว่า “มันเป็นช่วงเวลาที่ผม เข้าใกล้ความตายที่สุด และผมก็หวังว่าจะไม่ใกล้ไปกว่านี้อีก สำ�หรับอีกสิบยี่สิบปีข้างหน้า เมื่อผ่านช่วงนั้นมาได้ผมก็นำ�มาเล่า ให้คุณฟังได้เต็มปาก มันไม่เพียงเป็นประโยชน์ มันเป็นเรื่องของ หลักคิดดีๆอีกด้วยว่าไม่มีใครอยากตายแม้กระทั่งคนที่อยากไป สวรรค์ก็ยังไม่อยากตายเพื่อจะไปที่นั่น อย่างไรก็ดี ความตาย เป็นจุดหมายปลายทางที่เรามีร่วมกันไม่มีใครหลีกเลี่ยงไปได้ มันเป็นเรื่องของธรรมชาติเพราะความตายนั้นเรียกได้ว่าเป็น สิ่งประดิษฐ์ที่วิเศษสุดของชีวิต มันเป็นเหมือนเครื่องมือเปลี่ยน ชีวิต มันสะสางคนรุ่นเก่าเพื่อเปิดทางให้คนรุ่นใหม่ ขณะนี้พวกคุณ นั่นเองคือคนรุ่นใหม่ แต่วันหนึ่งไม่นานจากนี้ไป คุณก็จะค่อยๆ กลายเป็นคนรุ่นเก่าที่จะต้องถูกสะสาง ขออภัยถ้ามันดูเหมือน หนังชีวิตไปหน่อย แต่มันเป็นเรื่องจริง”
  • 21. ความตาย: พระพุทธเจ้า สอน - สตีฟ จอบส์ ปฏิบัติ17 ภาพประกอบทุกภาพจากอินเตอร์เน็ต “ความตายนั้นเรียกได้ว่าเป็น สิ่งประดิษฐ์ที่วิเศษสุดของชีวิต”
  • 22. ความตาย: พระพุทธเจ้า สอน - สตีฟ จอบส์ ปฏิบัติ 18 รายงานจากหนังสือพิมพ์แทบลอยด์ National Enquirer ได้เผยแพร่ภาพถ่ายล่าสุดของสตีฟจอบส์อัจฉริยบุรุษผู้อยู่เบื้องหลัง ความส�ำเร็จของ iMac, iPod, iPhone และ iPad พร้อมทั้งข่าว ที่ท�ำให้หลายคนทั่วโลกต้องรู้สึกช็อคโดยเฉพาะพนักงานในบริษัท Apple นั่นก็คือ อาการป่วยมะเร็งที่ตับอ่อนอาจจะท�ำให้จอบส์ มีชีวิตอยู่ได้แค่6สัปดาห์เท่านั้นถึงกระนั้นความตายที่สตีฟจอบส์ ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต มรณานุสติ: จาก พระพุทธเจ้า สู่ สตีฟ จอบส์
  • 23. ความตาย: พระพุทธเจ้า สอน - สตีฟ จอบส์ ปฏิบัติ19 ก�ำลังเผชิญหน้าอยู่อาจจะไม่ใช่เรื่องที่สร้างความทุกข์ทรมานให้แก่ การด�ำรงชีวิตของเขามากมายนักเพราะครั้งหนึ่ง สตีฟจอบส์ ได้เคย เรียนรู้บทเรียนดังกล่าว และรับอิทธิพลเรื่อง “ความตาย” จาก พระพุทธศาสนานิกายเซ็น ในประเทศสหรัฐอเมริกา ในช่วงเรียนมหาวิทยาลัยจอบส์เริ่มหันมาศึกษาพุทธศาสนา นิกายเซน เขาสนใจอ่านวรรณกรรมทางพุทธศาสนาหลายเล่ม และหนังสือที่มีอิทธิพล สูงสุดกับเขาคือ Zen Mind, Beginner’s Mind ซึ่งเขียนโดยชุนริวซูซุกิกล่าวกันว่าหลังการศึกษาหลักธรรม ของเซน จอบส์เริ่มมีความเชื่อว่า การหยั่งรู้โดยสัญชาตญาณนั้น ก่อให้เกิดปัญญา จึงเริ่มฝึกสมาธิในห้องนอนแคบๆ ที่แชร์ร่วมกับ “แดเนียล คอตคี” เพื่อนสนิท ท่ามกลางกลิ่นธูป และเริ่มต้นศึกษา พุทธศาสนานิกายเซนอย่างจริงจังกับ “โกบุน ชิโนะ โอโตโกวะ” พระอาจารย์ชาวญี่ปุ่นที่ศูนย์เซน ลอส อัลทอส (ซึ่งภายหลังเมื่อ จอบส์ เข้าพิธีแต่งงานแบบเซน กับ “ลอรีน เพาเวล” ในวันที่ 18 มีนาคม 1991 พระอาจารย์โอโตโกวะก็ได้มาเป็นประธานในพิธี)
  • 24. ความตาย: พระพุทธเจ้า สอน - สตีฟ จอบส์ ปฏิบัติ 20 การที่สตีฟ จอบส์ได้อ่านหนังสือและเรียนรู้เรื่องราวเหล่านี้ จากหนังสือเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา รวมไปถึงการน�ำหลักการ พระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ในชีวิตและในโลกธุรกิจอย่างจริงจัง นั้น ท�ำให้วิธีคิดและการแสดงออกของเขาสอดรับกับแง่มุมทาง พระพุทธศาสนา ดังจะเห็นได้จากการที่เขาได้กล่าวถึงประสบการณ์ เกี่ยวกับ “ความตาย” ในพิธีส�ำเร็จการศึกษาของบัณฑิต มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ปี ค.ศ. 2005 ว่า ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
  • 25. ความตาย: พระพุทธเจ้า สอน - สตีฟ จอบส์ ปฏิบัติ21 “เมื่อผมอายุราว 17 ปี ผมได้อ่านประโยคเด็ดในท�ำนองว่า ‘ถ้าคุณใช้ชีวิตราวกับว่าแต่ละวันนั้นเป็นวันสุดท้ายของ ชีวิต วันหนึ่งคุณจะสมหวัง’ ผมประทับใจมาตลอด 33 ปี ทุกเช้าผมจะมองกระจกและถามตัวเองว่า “ถ้าวันนี้เป็น วันสุดท้าย ผมอยากท�ำอะไร และวันนี้ผมจะท�ำอะไร ?” และเมื่อใดที่ค�ำตอบกลับมาว่าไม่อยากท�ำอะไร หลายๆ วันเข้า คุณต้องรู้แล้วว่าคุณต้องเปลี่ยนแปลงบางอย่างในชีวิตแล้ว” ในพิธีเดียวกันนี้ เขาได้ชี้ให้เห็นถึงคุณูปการของความตาย เอาไว้อย่างน่าสนใจว่า “การใช้มรณานุสติเป็นเครื่องมือส�ำคัญ ที่จะช่วยให้ผมตัดสินใจเรื่องใหญ่ของชีวิต เพราะสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความคาดหวังจากผู้คนทั้งหลาย เกียรติยศ ชื่อเสียงทั้งปวง ความกลัวที่จะเสียหน้าหรือกลัวที่จะล้มเหลว มันก็จะหายไปเมื่อเราตาย เหลือไว้เพียงเรื่องที่ส�ำคัญจริงๆ มรณานุสตินี่เองที่จะช่วยให้คุณหลบหลีกกับดักทางความคิด ที่ว่าคุณไม่อยากจะสูญเสียอะไร จริงๆ แล้วคุณไม่มีอะไร ติดตัวเลย จึงไม่มีเหตุผลอะไรที่คุณจะไม่ท�ำอะไรตามที่ ใจคุณต้องการ”
  • 26. ความตาย: พระพุทธเจ้า สอน - สตีฟ จอบส์ ปฏิบัติ 22 ความตายคือจุดเปลี่ยน ของเจ้าชายสิทธัตถะ และสตีฟ จอบส์
  • 27. ความตาย: พระพุทธเจ้า สอน - สตีฟ จอบส์ ปฏิบัติ23 จะเห็นว่า การเห็นหนึ่งในเทวทูตคือ “ความตาย” ซึ่งเป็น กฎธรรมชาติที่เดินทางมาทักทายและให้สติแก่เจ้าชายสิทธัตถะนั้น เป็นจุดเปลี่ยนในชีวิตของเจ้าชายให้ได้พบกับค�ำว่า“พุทธะ”อันน�ำ ไปสู่การเปลี่ยนแปลงโลกภายในจนได้รับการเรียกขานพระนามว่า “พระพุทธเจ้า” ในที่สุด การมีสติตระหนักรู้“ความตาย”ทุกเวลาและนาทีของสตีฟจอบส์ ท�ำให้เขาเข้าใจความจริงว่า“ชีวิตก�ำลังเดินหน้าไปสู่ปากประตูของ ความตายอยู่ทุกวินาที” ฉะนั้นการถามและเตือนตัวเองอยู่เนืองๆ ท�ำชาวโลกได้รู้จักกับยี่ห้อ(Brand)สินค้าชื่อ “Apple” ซึ่งเป็นที่มา ของ “iMac, iPod, iPhone และ iPad” การตระหนักรู้“ความตาย”น�ำไปสู่การค้นพบความสว่างไสว ทางจิตวิญญาณ และน�ำไปสู่การค้นพบ “โลกเทคโนโลยี” ที่ ยิ่งใหญ่ การเข้าใจสัจธรรมความตายของสตีฟ จอบส์ น�ำไปสู่ การค้นพบนวัตกรรมใหม่ๆ แล้วน�ำวัฒนธรรมใหม่ๆ มาตอบสนอง ความต้องการขั้นพื้นฐานของเพื่อนมนุษย์ หากมองในส่วนดีมีสิ่งดีๆ มากมายที่ สตีฟ จอบส์ มอบให้แก่โลกใบนี้ แต่มนุษย์มักจะเลือก เสพในสิ่งที่บ�ำรุงบ�ำเรอกิเลสทางอารมณ์ (Emotion) มากกว่า การใช้ได้จริงหรือคุณค่าแท้ของสิ่งที่ได้สร้างมา (Function)
  • 28. ความตาย: พระพุทธเจ้า สอน - สตีฟ จอบส์ ปฏิบัติ 24 ภาพประกอบทุกภาพจากอินเตอร์เน็ต ความตาย คือพลังทะยานแห่งชีวิต
  • 29. ความตาย: พระพุทธเจ้า สอน - สตีฟ จอบส์ ปฏิบัติ25 ถ้าบริษัทหรือองค์กรของเราก�ำลังจะตาย หรือล่มสลาย ถ้ามหาวิทยาลัยของเราก�ำลังจะตายเพราะขาดความน่าเชื่อถือ และถ้าเราก�ำลังจะตายจากโลกนี้ หรือเราก�ำลังเผชิญหน้า กับความตายทุกวินาที ค�ำถามแรกที่เราจะต้องตอบตัวเองคือ “สิ่งแรกที่เราอยากจะท�ำมากที่สุดคืออะไร” ขอเพียงแค่ ตอบค�ำถามแรกให้ชัดเจนเท่านั้น ค�ำตอบที่สอง ค�ำตอบที่สาม จะตามมาหลังจากที่เราสามารถตอบสิ่งแรกให้ชัดเจนได้ การอัดฉีดพลังแห่งความตายเข้าไปในจิตใจนั้นจะส่งผล กระทบอย่างรุนแรงต่อเซลล์ประสาทให้ตื่นตัวและมุมมองต่อชีวิต การท�ำงาน การท�ำธุรกิจ จะเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง ดังจะเห็นได้ จากบทสรุปของบุคคลต้นแบบที่ได้น�ำเสนอในเบื้องต้นว่า การค้นพบความตาย การเข้าใจและตระหนักรู้ในความตาย ทุกวินาทีนั้นท�ำให้เจ้าชายสิทธัตถะเปลี่ยนแปลง“โลกทางจิต” ไปสู่ความเป็น “พระพุทธเจ้า” และเมื่อสตีฟ จอบส์ ได้เรียนรู้ และน�ำหลักการนี้มาปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง จึงท�ำให้เขาได้ค้นพบ สัจธรรมเกี่ยวกับความตาย ซึ่งการค้นพบสัจธรรมของความตาย ดังกล่าวท�ำให้เขาค้นพบ“iMac,iPod,iPhoneและiPad”ในที่สุด
  • 30. ความตาย: พระพุทธเจ้า สอน - สตีฟ จอบส์ ปฏิบัติ 26 ถึงกระนั้น พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสเตือนมนุษยชาติ ก่อนปรินิพพาน (ตาย) ว่า “สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมสูญ ไปเป็นธรรมดา ขอท่านทั้งหลายจง ดำ�เนินชีวิตด้วยความไม่ประมาทเถิด”
  • 31. ความตาย: พระพุทธเจ้า สอน - สตีฟ จอบส์ ปฏิบัติ27 “ความเพียรเป็นสิ่งที่ต้องรีบทำ�ตั้งแต่วันนี้ (หรือแม้กระทั่งในทุกวินาทีของลมหายใจ), ใครเล่าจะรู้ว่าเราอาจจะตายในวันพรุ่งนี้ก็ได้” ความจริงคือ เราเองก็ไม่ทราบว่าเมื่อใดเราจะเดินทางไปสู่ ความเสื่อมสูญหรือจุดจบของชีวิต ด้วยเหตุนี้ เราจึงควรนำ� “จุดจบของชีวิต” มาพัฒนาให้เป็น “จุดเริ่มต้นของชีวิต” โดย การเตือนตัวเองตามที่พระองค์ทรงเตือนไว้ในภัทเทกรัตตคาถาว่า พระพุทธรูปปางมหาปรินิพพาน ในพระวิหารแห่งมหาปรินิพพานสถูป กุสินารา
  • 32. ความตาย: พระพุทธเจ้า สอน - สตีฟ จอบส์ ปฏิบัติ 28 คำ�เตือนดังกล่าวได้ส่งต่อมาถึง สตีฟ จอบส์ จนทำ�ให้เขา ได้ตกผลึกและรับรู้บทเรียนที่ทรงคุณค่าเกี่ยวกับ “ความตาย” จนเป็นที่มาของประโยคทองที่ว่า “คุณมีเวลาจำ�กัด ดังนั้นอย่าเสียเวลาไปกับการใช้ชีวิต แบบคนอื่น อย่าตกหลุมลัทธิความเชื่อที่ว่าต้องใช้ชีวิต อย่างที่ผู้คนเขาคิดกันว่าควรจะเป็น อย่าปล่อยให้ความคิด ของคนอื่นเข้ามารบกวนเสียงจากใจของคุณ (Inner Voice) และที่สำ�คัญที่สุด คุณต้องมีความกล้าที่จะทำ�ตามหัวใจ และการหยั่งรู้ (Intuition) ของคุณ ที่จะช่วยให้คุณบรรลุ สิ่งที่คุณต้องการจะเป็นจริงๆ แล้วก็ปล่อยให้เรื่องอื่นๆ นั้น เป็นเรื่องรองไป” และเพื่อให้บรรลุความฝันและแรงบันดาลใจดังกล่าว “จงกระหายที่จะเรียนรู้ และจงทำ�ตนเหมือนคนโง่” (Stay Hungry, Stay Foolish)
  • 33. ความตาย: พระพุทธเจ้า สอน - สตีฟ จอบส์ ปฏิบัติ29 จะเห็นว่า การมีสติระลึกนึกถึงความตายในทุกวินาที แห่งลมหายใจนั้น นอกจากจะทำ�ให้มนุษย์ได้ตระหนักรู้ และใส่ใจต่อความจริง ความดี ความงาม และความสุขแล้ว ความตายเป็นจุดเปลี่ยนสำ�คัญต่อการริเริ่มที่จะสร้างสรรค์ เรียนรู้ ทดลอง กล้า และเปิดทางให้เราค้นพบและทำ�สิ่งใหม่ๆ เหมือนดังที่ สตีฟ จอบส์ ได้ใช้ความตายแหวกม่านแห่ง “ความกลัว” ไปสู่ “ความกล้า” และท้าทายต่อความสำ�เร็จ ตราบสิ้นลมหายใจ. ที่มา www.wallshq.com/mobile/88-steve-jobs-apple-products-wallshq
  • 34. ความตาย: พระพุทธเจ้า สอน - สตีฟ จอบส์ ปฏิบัติ 30 มรณานุสติ: มรณานุสติ ใช้ดับทุกข์ ยามทุกข์มากๆ อับจนหนทาง - มรณานุสติ ก็จะบอกกับตัวเองว่า คนเราทุกคนก็ต้องตาย ต่อให้ต้องทรมานแค่ไหน ความทุกข์นี้ก็จะต้องดับไป เป็นการให้กำ�ลังใจตนเอง มรณานุสติ ใช้ดำ�รงสุข ยามสุขมากๆ - มรณานุสติ ก็จะเตือนเราว่า ทุกอย่างไม่ได้อยู่กับเราตลอด ทั้งทรัพย์สมบัติ ชื่อเสียง เกียรติยศ คนรัก ฯลฯ อย่าได้ เผลอไผลประมาทในความสุขเหล่านี้ เมื่อต้องดับไป ไม่มี ใครเอาอะไรไปจากโลกนี้ได้แม้แต่อย่างเดียว คือ การระลึกถึงความตายที่กำ�ลังจะมาถึงเราตลอดเวลา เพื่อช่วยเตือนสติ ไม่ให้เราใช้ชีวิตโดยความประมาท ให้เรา แสวงหาความดีใส่ตัว ขจัดความโลภออกจากใจของเรา และ อาจจะเป็นแรงผลักดันให้เราทำ�สิ่งดีๆ ให้เกิดขึ้นกับโลกนี้. บทส่งท้าย
  • 35. ความตาย: พระพุทธเจ้า สอน - สตีฟ จอบส์ ปฏิบัติ31 ถ้าท�ำได้แบบนี้ทุกๆวัน เราก็จะเป็นคนที่ไม่ประมาทในชีวิต และจะเป็นที่รักของผู้อื่นเสมอ ถ้าทุกคนท�ำได้มากมายแบบนี้สังคมก็จะสงบสุขสมานฉันท์ มีความเมตตาและความรักให้แก่กัน มีการพัฒนาในทุกๆ ด้าน อย่างต่อเนื่อง และจะเกิดสิ่งใหม่ๆ นวัตกรรมใหม่ๆ ที่เกิดจาก แรงบันดาลใจของมรณานุสติ. “ถ้าวันนี้เป็นวันสุดท้ายที่เราจะมีชีวิตอยู่ เราจะท�ำอะไร” - ท�ำความดี ช่วยเหลือผู้อื่นและสังคมด้วยความเต็มใจและ ตั้งใจ ท�ำบุญกุศล รักษาศีล ท�ำจิตใจให้บริสุทธิ์ - ท�ำดีกับคนที่เรารัก บอกรักคนที่เรายังไม่ได้บอกหรือคนที่ เรารัก เช่น พ่อ แม่ สามี ภรรยา หรือ ลูกๆ รวมทั้งเพื่อนร่วมงาน หรือ ใครๆ ที่เรารัก ขอบคุณคนที่ท�ำความดีหรือช่วยเหลือเรา - ขอโทษคนที่เราได้ทำ�ผิดต่อเขา ขออโหสิกรรมต่อความ ผิดพลาดพลั้งเผลอที่เราได้กระทำ�ต่อเขา - เร่งทำ�งานไม่ให้ค้าง คอยเตือนตัวเองให้พัฒนาศักยภาพ ของตนเองอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เราเก่งขึ้นในทุกๆวัน ถามตนเอง ว่า “วันนี้เราเรียนรู้อะไรเพิ่มขึ้นบ้างและเราบกพร่องตรงไหน”
  • 36. ความตาย: พระพุทธเจ้า สอน - สตีฟ จอบส์ ปฏิบัติ 32 พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส (นิธิบุณยากร), รศ.ดร. ติดตามผลงานของ พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส พร้อมทั้งประวัติและแลกเปลี่ยนความรู้ทางพระพุทธศาสนาได้ที่ http://www.gotoknow.org/profiles/users/phramahahansa http://www.facebook.com/hansa.mcu พระสงฆ์ยุคใหม่ ผู้ซึ่งเป็นนักคิดและนักวิชาการทางพระพุทธศาสนา ที่สามารถบูรณาการความรู้ทางพระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่ต่างๆ เผยแผ่สู่สังคมได้อย่างดีเยี่ยม เป็นผู้เชี่ยวชาญการจัดการความขัดแย้งโดย พุทธสันติวิธี เป็นพระสงฆ์ยุคใหม่ที่กล้าเปิดรับความรู้ใหม่ๆ ช่องทางใหม่ๆ ในการเผยแผ่ธรรมะและในอีกบทบาทหนึ่งที่เป็นนักบริหารของมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยมหาวิทยาลัยแห่งคณะสงฆ์ไทยที่นำ�วิชาการ ความรู้ทางพระพุทธศาสนาเผยแผ่สู่สังคมเป็นนักทำ�งานที่มุ่งมั่นตั้งใจได้รับ มอบหมายให้เป็นผู้ประสานงานจัดงานประชุมวิสาขบูชาโลกในด้านวิชาการ ท่านก็เป็นอาจารย์ประจำ�บัณฑิตวิทยาลัย เป็นพระสงฆ์นักวิชาการที่บรรยาย ธรรม บรรยายการจัดการความขัดแย้งโดยพุทธสันติวิธี ให้แก่สถานศึกษา องค์กร และแก่ผู้บริหารต่างๆ เป็นตัวแทนนักวิชาการทางพระพุทธศาสนา ไปร่วมประชุมวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศอยู่เป็นประจำ�. ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ผู้อำ�นวยการสำ�นักงานสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ ผู้อำ�นวยการสถาบันภาษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ผู้อำ�นวยการโครงการหลักสูตรปริญญาโท-เอก สาขาสันติศึกษา มจร อาจารย์ประจำ�บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดใหม่
  • 37. ชื่อ-สกุล นางสาวธันฐภัทร์ ฮ้อแสงชัย Miss Thantapat Horsaengchai ชื่อเล่น เบนซ์ วัน/เดือน/ปี เกิด ๒๕ มกราคม ๒๕๒๕ อายุ ๓๔ ปี เป็นบุตรของ คุณพ่อทิวากร ฮ้อแสงชัย และ คุณแม่กมลรัตน์ ฮ้อแสงชัย มีพี่น้องรวม ๔ คน ได้แก่ ๑. นางสาวธันฐภัทร์ ฮ้อแสงชัย (ผู้วายชนม์) ๒. นางสาวภิญญาพัชร ฮ้อแสงชัย ๓. นางสาวกัญจนา ฮ้อแสงชัย ๔. นายอาภากร ฮ้อแสงชัย ปัจจุบัน - นักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ตลาดวังน้อยเมืองใหม่ อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา - นิสิตหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสันติศึกษา รุ่นที่๓บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย การศึกษา - จบประถมศึกษา โรงเรียนอัมพรไพศาล จังหวัดนนทบุรี - ๒๕๓๗-๒๕๔๓ เข้าเรียน มัธยมศึกษาที่โรงเรียนเบญจมราชาลัย - ๒๕๔๔-๒๕๔๙ เข้าศึกษาที่ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จนสำ�เร็จ การศึกษาปริญญาตรี วิชาเอกการตลาด - ๒๕๕๓-๒๕๕๔ เข้าศึกษาที่ Linnaeus University จนสำ�เร็จ การศึกษาปริญญาโทวิชาเอกภาวะผู้นำ�(Business&Economics Program; Leadership & Management in International Context.) ประเทศสวีเดน อัตชีวประวัติ นางสาวธันฐภัทร์ ฮ้อแสงชัย
  • 38. ประสบการณ์การทำ�งาน - เป็นคณะกรรมาธิการ การเงินการคลัง การธนาคาร ในตำ�แหน่ง ที่ปรึกษาประธานคณะกรรมาธิการและสถาบันการเงิน สภาผู้แทน ราษฎร เป็นระยะเวลา ๑ ปี - Sim Research Company Limited ตำ�แหน่ง Research Manager ลักษณะงานวิจัยตลาดต่างประเทศ/ Customer Satisfaction เป็นระยะเวลา ๒ ปี - ได้รับคัดเลือกจากสถาบันภาษา มจร ให้เป็นคณะทำ�งานวิสาขบูชาโลก ปีพุทธชยันตี ๒๕๕๕ และงานวิสาขบูชาโลก ปี ๒๕๕๘ ในตำ�แหน่ง หัวหน้าทีม (Team Leader) ต้อนรับเอกอัครราชทูต ประจำ�ประเทศไทย การอบรม - ปี ๒๕๕๕ เข้าอบรมเชิงปฏิบัติการทิศทาง รูปแบบ ความคิด เพื่อการ สนับสนุนการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ภายใต้บริบทไทยจัดโดยAPTU มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ - ปี ๒๕๕๕ เข้าอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือ ระดับผู้นำ�ขั้นความรู้ชั้นสูง รุ่นที่ ๕๗๔ จัดโดย คณะลูกเสือแห่งชาติ - ปี ๒๕๕๖ เข้าอบรมผู้นำ�ยุคใหม่ในระบอบประชาธิปไตย จัดโดย สถาบันพระปกเกล้า - ได้รับเกียรติบัตรจากคณะกรรมการฝ่ายจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ ๒๔ อื่นๆ - เป็นกรรมการชมรมกีฬาวูซู จ.ปทุมธานี - เป็นเลขานุการและเหรัญญิก ชมรมรู้ทันกันโกง - เป็นประธานในการสร้างพระประธานที่วัดในจังหวัดสุโขทัย - เป็นประธานในการสร้างฐานพระประธานวัดโคกม่วงแร้ง จ.สระบุรี - เป็นเจ้าภาพสร้างห้องพักให้แก่ผู้มาปฏิบัติธรรมณวัดกิ่วลมจ.เชียงใหม่ - เป็นเจ้าภาพในการจัดพิมพ์สื่อธรรมะเพื่อถวายแก่วัดต่างๆ - ให้การอุปถัมภ์สถานสงเคราะห์เด็กและคนชราอยู่เป็นประจำ� - เป็นจิตอาสาในกิจกรรมทางสังคมอีกมากมายซึ่งไม่อาจนำ�มา กล่าวได้หมด ณ ที่นี้ -ฯลฯ ถึงแก่กรรมเมื่อ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๙ เวลา ๑๑.๓๐ น. จากอุบัติเหตุทางจราจร
  • 39. ความตาย: พระพุทธเจา สอน - สตีฟ จอบส ปฏิบัติ 2