SlideShare a Scribd company logo
FURD Cities Monitor Special | i
1 | FURD Cities Monitor Special
บรรณาธิการ
ยุวดี คาดการณ์ไกล
ผู้ช่วยบรรณาธิการ
อรุณ สถิตพงศ์สถาพร
กองบรรณาธิการ
ณัฐธิดา เย็นบารุง
อรุณ สถิตพงศ์สถาพร
ออกแบบและรูปเล่ม
อรุณ สถิตพงศ์สถาพร
ภาพปก
อรุณ สถิตพงศ์สถาพร
ภาพในเล่ม
ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง
Freepik.com
เผยแพร่
ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
637/1 อาคารพร้อมพันธุ์ 1 ชั้น 4 ถนนลาดพร้าว
แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
CONTACT US
www.furd-rsu.org
Tel. (+66) 2938 8826
Fax. (+66) 2938 8864
E-mail: furd_2014@gmail.com
คนไทยที่เกิดก่อนยุค 1970s อาจเคยมีประสบการณ์เห็นความยากลาบากทุรกันดารของเมืองไทย ไม่ใช่ทุกที่ที่จะมีถนนเข้าถึง แต่มาวันนี้เมืองของไทยต่าง
เชื่อมโยงกับทั้งภายในและต่างประเทศได้สะดวกรวดเร็ว ด้วยโครงสร้างพื้นฐาน ถนนทางหลวงและสนามบินที่ขยายตัวครอบคลุมค่อนประเทศ เราจึ
ความเจริญและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของคนไทย
มานาเสนอในที่นี้ ได้แก่ เมืองยะลา เมืองสายบุรี เมืองผาปัง เมืองอุดรธานี ซึ่งหลายพื้นที่กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวสาคัญ เป็นหมุดห
เสน่ห์ดึงดูงทั้งนักท่องเที่ยวไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติ
มาวันนี้ ภาคส่วนต่างๆ อาจมองว่าเมืองของไทยควรยกระดับเป็น
เทคโนโลยีที่ล้าหน้าทันสมัยมาใช้ ต้องมีงบประมาณจานวนมากมาสนับสนุน และต้องไปดูงาน
Lawrence Morgan เขากลับให้มุมมองว่า เมืองของไทยเป็นต้นแบบ
คานึงถึงไม่ใช่เทคโนโลยี ประเทศไทยของเรามีคนที่มีเมตตา โอบอ้อมอารี มีน้าใจ อยู่ร่วมกันเป็นชุมชน มีความรู้สึกถึงบ้านเมืองเป็นขอ
ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เป็นทุนทางสังคมของไทยที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งเงินทุนจานวนมากเท่าใดก็หาซื้อไม่ได้
ดังนั้น การที่คนไทยทุกคนต่างต้องการเห็นการปฏิรูปประเทศที่ล้าหน้าและมีอารยะนั้น ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ จึงเห็นว่า เรามิอาจมอ
ทางสังคมของไทย ซึ่งเราละเลยมานาน หากเราต้องใช้ท้องถิ่นและพื้นที่ที่เป็นเมือง นคร หรือกรุง มาเป็นพลัง ให้กลายเป็นกลจักรสาคัญใน
ปรากฏการณ์นคราภิวัตน์จึงเป็นโอกาสของการปฏิรูปประเทศ ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การศึกษาและการเมือง ในวันนี้และวันข้างหน้า
อาหารคนเมือง
เรามีทางเลือกแค่ไหน
เมืองไทยมีดีอะไร
ทาไม Digital Nomad
ทั่วโลกต้องมา
เมืองของไทย
ต้นแบบ Smart City ของโลก
นคราภิวัตน์
กับการปฏิรูปการเมือง
FURD Cities Monitor Special | 2
เมืองผาปัง
เมืองสุขภาพดี มีตังค์ ยั่งยืน
อุดรธานี
เมืองมี “ทุน”
มุ่งสู่เศรษฐกิจ “หลั่นล้า”
Yala Bird City
ยะลา เมืองเศรษฐกิจสร้างสรรค์
จิตวิญญาณคนสายบุรี
Spirits of Saiburi
อาจเคยมีประสบการณ์เห็นความยากลาบากทุรกันดารของเมืองไทย ไม่ใช่ทุกที่ที่จะมีถนนเข้าถึง แต่มาวันนี้เมืองของไทยต่าง
เชื่อมโยงกับทั้งภายในและต่างประเทศได้สะดวกรวดเร็ว ด้วยโครงสร้างพื้นฐาน ถนนทางหลวงและสนามบินที่ขยายตัวครอบคลุมค่อนประเทศ เราจึงมิอาจปฏิเสธถึง
ความเจริญและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของคนไทย ปรากฏการณ์ความเป็นเมืองหรือที่เรียกกันว่า นคราภิวัตน์ (Urbanization) เกิดขึ้นมากมาย ดังตัวอย่างที่ได้หยิบยก
มานาเสนอในที่นี้ ได้แก่ เมืองยะลา เมืองสายบุรี เมืองผาปัง เมืองอุดรธานี ซึ่งหลายพื้นที่กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวสาคัญ เป็นหมุดหมายที่ต้องไปเยือน และเป็น
เสน่ห์ดึงดูงทั้งนักท่องเที่ยวไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติ
มาวันนี้ ภาคส่วนต่างๆ อาจมองว่าเมืองของไทยควรยกระดับเป็น Smart City ตามแนวคิดต่างชาติ ในจินตนาการของเราหลายคนคงนึกถึงแต่การนา
เทคโนโลยีที่ล้าหน้าทันสมัยมาใช้ ต้องมีงบประมาณจานวนมากมาสนับสนุน และต้องไปดูงาน Smart City ที่เมืองนอก แต่น่าสนใจที่มีนักพัฒนาเมืองอย่าง
เขากลับให้มุมมองว่า เมืองของไทยเป็นต้นแบบ Smart City ของโลกได้ เพราะสิ่งที่เป็นหัวใจของ Smart City คือ คน อันเป็นปัจจัยแรกที่ควร
คานึงถึงไม่ใช่เทคโนโลยี ประเทศไทยของเรามีคนที่มีเมตตา โอบอ้อมอารี มีน้าใจ อยู่ร่วมกันเป็นชุมชน มีความรู้สึกถึงบ้านเมืองเป็นของส่วนรวมที่ต้องช่วยเหลือกัน
ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เป็นทุนทางสังคมของไทยที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งเงินทุนจานวนมากเท่าใดก็หาซื้อไม่ได้
ดังนั้น การที่คนไทยทุกคนต่างต้องการเห็นการปฏิรูปประเทศที่ล้าหน้าและมีอารยะนั้น ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ จึงเห็นว่า เรามิอาจมองข้ามท้องถิ่นและทุน
ทางสังคมของไทย ซึ่งเราละเลยมานาน หากเราต้องใช้ท้องถิ่นและพื้นที่ที่เป็นเมือง นคร หรือกรุง มาเป็นพลัง ให้กลายเป็นกลจักรสาคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนา
ปรากฏการณ์นคราภิวัตน์จึงเป็นโอกาสของการปฏิรูปประเทศ ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การศึกษาและการเมือง ในวันนี้และวันข้างหน้า
ยุวดี คาดการณ์ไกล
บรรณาธิการ
อาหารคนเมือง
เรามีทางเลือกแค่ไหน
เมืองไทยมีดีอะไร
Digital Nomad
ทั่วโลกต้องมา
เมืองของไทย
ของโลก
นคราภิวัตน์
กับการปฏิรูปการเมือง
1 | FURD Cities Monitor Specialสรุปความจากปาฐกถาเรื่อง นคราภิวัตน์กับการปฏิรูปการเมือง ในงานเสวนา "เมือง กิน คน : นคราภิวัตน์ การพัฒนาเมือง และสุขภาวะของคนเ FURD Cities Monitor Special | 2สรุปความจากปาฐกถาเรื่อง นคราภิวัตน์กับการปฏิรูปการเมือง ในงานเสวนา "เมือง กิน คน : นคราภิวัตน์ การพัฒนาเมือง และสุขภาวะของคนเมืองใหญ่” ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 31 ตุลาคม 2560
3 | FURD Cities Monitor Special FURD Cities Monitor Special | 4
ประเทศไทยเวลานี้มีกระบวนการที่เรียกว่า “นคราภิวัตน์”
คือ กาลังกลายเป็นเมือง นคราภิวัตน์ อาจเกิดขึ้นเมื่อเรานา
ประเทศเข้าสู่ความ “อารยะ” มีเมืองเป็นศูนย์กลาง หรือหน่วยการ
ปกครองในการบริหารประเทศ ต่อมาเมืองขยายตัวเพราะการซื้อ
ขายสินค้าเกษตร เมืองกลายเป็นโกดัง เป็นร้านค้ารับซื้อ รับขาย
สินค้าเกษตร ต่อมายังขยายตัวอีกเพราะอุตสาหกรรม กรุงเทพ
ชลบุรี นครปฐม เติบโตจากภาคอุตสาหกรรมด้วย ภาคตะวันออก
ภาคกลาง ปริมณฑลก็เติบโตด้วยภาคอุตสาหกรรมทั้งสิ้น ต่อมาอีก
ระยะหนึ่งนคราภิวัตน์ เกิดจากการท่องเที่ยว เมืองหลายเมืองโต
ขึ้นมาเพราะการท่องเที่ยว เช่น ภูเก็ต สมุย พัทยา เชียงใหม่
เชียงราย เมื่อ 10-20 ปีที่ผ่านมา นคราภิวัตน์ เกิดคู่กับการกระจาย
อานาจการพัฒนาการปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นมีบทบาทอย่างมากในการปรับปรุงเมือง และล่าสุดนี้กระแส
นคราภิวัตน์เกิดจากกระแสการท่องเที่ยวของไทย เมืองของเรา
ทั้งหมดรับแขกต่างประเทศปีละหลายสิบล้าน โดยเฉพาะกรุงเทพ
รับแขกจากต่างประเทศปีละ 20 ล้านได้
โลกของเราเป็น “เมือง” มากกว่า “ชนบท” แล้ว เวลานี้
ประชากรทั้งโลกที่อยู่ในเขตเมืองมากกว่าที่อยู่ในเขตชนบทแล้ว
ในไทยขณะนี้ เมืองกับชนบทก็น่าจะมีประชากรเท่าๆ กัน นับจาก
ประชากรที่อยู่ใน กรุงเทพฯ อยู่ในเทศบาลนคร และอยู่ในเทศบาล
เมือง กับประชากรที่อยู่ใน อบต. อยู่ในเทศบาลตาบล จานวน
ใกล้เคียงกัน และตาบลและหมู่บ้านที่เรายังไม่เต็มใจที่จะเรียกว่า
เมืองก็ไม่ใช่ชนบทอย่างเดิมแล้ว ไม่มีชนบทที่ล้าหลัง ไกลปืนเที่ยง
คนส่วนใหญ่ก็เป็นผู้ประกอบการหรือเป็นชนชั้นกลาง ไม่ใช่
5 | FURD Cities Monitor Special
วิธีที่เราบริหารเมือง นคร และมหานคร ถ้า
ถามว่าหน่วยงานไหนของราชการที่สร้างเมือง
มากที่สุด ผมคิดว่าน่าจะกรมทางหลวงและน่าจะ
เป็นการรถไฟ คือเมืองมันเกิดของมันเอง มัน
ไม่ได้มีหน่วยงานไหน สร้างอย่างมีแผน ในนานา
ประเทศที่อารยะ การบริหารเมืองเป็นเรื่องของ
การปกครองส่วนท้องถิ่น เมืองของต่างประเทศ
เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมืองวอชิงตัน
ดี.ซี. คนที่ดูแล คือเทศบาลวอชิงตัน ดี.ซี.ใน
ประเทศไทย เราบริหารเมืองโดยใช้ราชการ
ส่วนกลางน่าจะเป็นหลัก แล้วมีราชการส่วน
ภูมิภาคลงมาช่วย ท้องถิ่นมีบทบาทน้อยในการ
สร้างเมือง กล่าวโดยสรุป เราเติบโตด้วย
ส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่นนั้นมี
บทบาทเสริมเท่านั้น
นคราภิวัตน์กับการปฏิรูปการเมือง
ประเด็นที่สาคัญ คือต้องพยายามคิด พยายามทา
ให้มากขึ้น โดยให้เมือง นคร กรุง หรือพื้นที่มี
บทบาท มีความคิดริเริ่ม มีความสร้างสรรค์ให้
มากขึ้น การพัฒนาประเทศของเรา การพัฒนา
การเมืองของเรา การปฏิรูประบบราชการของเรา
น้อยครั้งที่เราจะคิดจากพื้นที่ เราจะคิดจากกรม
หรือกระทรวง คิดจากลักษณะของงานเป็นหลัก
เราต้องพยายามคิดเป็นพื้นที่ให้มากขึ้น เช่น เรา
จะปฏิรูป จะพัฒนาเมืองชายแดนอย่างไร เพราะ
เมืองชายแดนของไทยพิเศษมาก เมืองชายแดน
เติบโต และลงตัวได้เองโดยไม่ต้องมาขึ้นกับกรม
กระทรวงมากนัก วิธีคิดเดิมของเรานั้นทุกอย่าง
ขึ้นอยู่กับกรม กระทรวง พื้นที่เป็นเพียง
ภาคสนามของกรมและกระทรวง จังหวัดของเรา
ก็เป็นเพียงภาคสนามของภูมิภาคและส่วนกลาง
เมืองในฐานะหน่วยหลัก
ในการพัฒนาประเทศ
ทบทวนการบริหาร
FURD Cities Monitor Special | 6
หากไม่มองเป็นประเทศ มองเป็นเมืองแทน ผมคิดว่าอนาคตค่อนข้างจะ
สดใส แต่ถ้าผมมองประเทศไทย ผมไม่ค่อยเห็นอะไรมากนัก เพราะฉะนั้น ผมคิด
ว่าในการปฏิรูปการเมือง นคราภิวัตน์ก็เป็นความหวัง เป็นพลัง เป็นเจ้าของการ
พัฒนาและปฏิรูปที่สาคัญ
กระบวนการรักบ้านหรือ “ฮักบ้าน” กระบวนการ “สร้างบ้านแปงเมือง”
หรือกระบวนการร่วมแรงร่วมใจสร้างบ้านสร้างเมืองของเรา มันจะช่วยเสริมสร้าง
จิตใจ มันจะทาให้มีความหวัง จะยกระดับความเป็นจิตอาสา ทาคนให้เป็นคนของ
เมืองจริงๆ ถ้ากล่าวในแง่การปฏิรูปการพัฒนาการเมืองก็จะคล้ายๆ กับที่พวก
กรีกโบราณเรียกว่า เป็น Self-Government Democracy คือเป็นประชาธิปไตยที่
ประชาชนชาวเมืองปกครองตนเองมากขึ้น ต้องใช้ชุมชน ใช้องค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นทา ผลักดันการกระจายอานาจ ผลักดันองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้
พัฒนายิ่งขึ้น ในการกระจายอานาจและการปกครองส่วนท้องถิ่นจะไม่ได้ทาเพื่อ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเอง แต่จะทาเพื่อจะให้สิ่งเหล่านี้เป็นพลังไปเสริมกับ
กระบวนการสร้างบ้านสร้างเมืองของประชาชนเอง ทาให้เกิดเป็นเศรษฐกิจ เกิด
เป็นรายได้ เกิดเป็นวัฒนธรรม เกิดเป็นความภาคภูมิใจของชาติของประเทศ
เพราะฉะนั้น นคราภิวัตน์กับการปฏิรูป ส่วนหนึ่งต้องคิดว่า ต้องทาอย่างไรให้หน่วย
(Unit) ในการคิดของเราไม่จากัดแค่เพียงชาติหรือประเทศ หรือบ้านเมืองที่หมายถึงชาติ
หรือเศรษฐกิจที่หมายถึงเศรษฐกิจชาติอย่างเดียว จะต้องสนใจเมือง นคร ให้มากขึ้น
จะต้องสร้างเมืองนิยม จะต้องสร้างประวัติศาสตร์เมือง จะต้องสร้างความภูมิใจ จะต้อง
เชิดชูเมืองให้มากกว่านี้ มันจะต้องมี “ใจของเมือง” ซึ่งมันจะต้องเปลี่ยนจากภายใน (Inner
Revolution) ด้วย เป็นการปฏิรูปจากภายใน หล่อหลอมกันไปเป็นจิตใจของเมือง ชาวเมือง
ขยันพัฒนาสร้างบ้านแปงมือง ถ้าทาแบบนี้ได้ เมือง นคร มหานคร จะกลายเป็นหน่วย
สาคัญของการปฏิรูปประเทศในภาพรวมได้ ไม่ใช่แค่หน่วยงานราชการ
พลังสาคัญที่ไม่เป็นทางการ
ติดตามบทความฉบับเต็มได้ที่ นคราภิวัตน์กับการปฏิรูปการเมือง โดย ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์
(http://furd-rsu.org/?page_id=4687)
7 | FURD Cities Monitor Special
*ถอดความและเรียบเรียงจากการบรรยายเรื่อง Future of Urban Space Transformation & Utilization โดย Mr. Lawrence Morgan, CEO, Nest Global
เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2561 ณ โรงละคร K Bank สยามพิฆเณศ อาคารสยามสแควร์ วัน เขตปทุมวัน กทม.
FURD Cities Monitor Special | 8
Mr. Lawrence Morgan, CEO, Nest Global ในเวที District Summit 2018 จัดโดยสานักงานวัตกรรมแห่งชาติ
เราอยู่ในยุคแรกเริ่มของการเปลี่ยนแปลงทาง
เทคโนโลยีครั้งใหม่ คนรุ่นเรามีโอกาสเพียงครั้งเดียวที่จะ
ปฏิรูปโครงสร้างเมืองเพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรอย่าง
ยั่งยืน ในยุคที่เมืองกาลังเติบโต
ความจริงแล้ว กรุงเทพ ขอนแก่น เชียงใหม่
และเมืองอื่นๆ ของไทยนั้น อยู่ในฐานะที่จะเป็น
ตัวอย่างเมือง Smart ของโลกได้เป็นอย่างดี เพราะใน
ความเป็นจริง เทคโนโลยี ไม่ว่าจะเอามาใช้ในเมือง หรือ
เอาไปใช้ด้านอื่นๆ เป็นเพียงแค่ “เครื่องมือ” และ
“กลไกที่นำไปสู่กำรปฏิบัติ” เทคโนโลยีไม่ได้เป็น
ตัวกาหนดเป้าหมายหรือรับประกันผลสาเร็จตามที่
คาดหวัง ในแง่นี้ เทคโนโลยีก็เหมือนกับนโยบายและ
โครงสร้างทั้งหลาย ที่เป็นแค่เครื่องมือเท่านั้น
กุญแจหลักสู่การสร้างเมือง Smart ให้สาเร็จ
คือ “คน” ซึ่งเป็นสมบัติของชาติไทย คนไทยมีจิตใจ
ความมุ่งมั่น และความใฝ่ฝันที่จะสร้างให้เมืองของตนเป็น
เมืองที่ Smart ความรู้สึกว่าเราทุกคนต่างเป็นส่วน
หนึ่งของชุมชน ของบ้าน ของเมือง (sense of com-
munity) ความเมตตาอารี และน้าใจไมตรีจิตของ
ผู้คน หรือกล่าวโดยรวมก็คือ ความรู้สึกว่าบ้านเมือง
ส่วนรวมเป็นเรื่องของเราทุกๆ คน (collective own-
ership) นี้เอง ที่เป็นสิ่งที่สาคัญอย่างยิ่งในยามที่เมือง
ของเรากาลังเติบโต
เมืองในประเทศอื่นๆ ต่างทุ่มงบประมาณ
มหาศาลในการออกแคมเปญและโครงการต่างๆ เพื่อ
ปลูกฝังบรรยากาศของความแบ่งปันโอบอ้อมอารีให้
เกิดขึ้นในหมู่ผู้คนในเมือง ซึ่งมักจะไม่ค่อยประสบ
ผลสาเร็จมากนัก วัฒนธรรม ปฏิสัมพันธ์ของผู้คน ความ
เป็นชุมชน และความเป็นส่วนรวมนี้เองที่ทาให้เมือง
มีเสน่ห์ น่าเดินทางมารู้จัก มิใช่วัตถุอย่าง Science
Park มูลค่าหลายพันล้าน รถเมล์ไฟฟ้ า หรือ Smart
Building อันทันสมัย ดังนั้น วัฒนธรรมและพลัง
ชุมชนเหล่านี้จึงเป็นความภูมิใจของประเทศไทย
9 | FURD Cities Monitor Special
สาหรับคนไทยนั้น ความสาเร็จของชุมชน ของ
บ้านเมือง และของส่วนรวม ก็คือความสาเร็จส่วนบุคคล
ของคนแต่ละคนด้วย ฉะนั้น วันนี้คนไทยต้องเลือกว่าเรา
จะสร้างเมือง Smart ประเภทไหน ผมอยากจะชี้ให้เห็นว่า
ส่วนที่ทาให้สาเร็จได้ยากที่สุดในสมการนี้คือสิ่งที่
เมืองไทยมีกันอยู่แล้ว นั่นคือ ความรุ่มรวยทางวัฒนธรรม
และความโอบอ้อมอารีกันในสังคม ถ้าคนไทยกาหนด
นโยบาย ใช้เทคโนโลยี และสร้างโครงสร้างกายภาพ
ต่างๆ มาเสริม มารองรับทุนที่สังคมของเรามีอยู่แล้ว
ฉะนั้น การสร้างเมือง Smart ที่ดี ให้เป็นพื้นที่ของชีวิตที่ดี
มีสุขภาวะ สร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ก็เป็น
อันหวังได้
ที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ผมไม่ได้กล่าวเกินจริงเพื่อ
เอาใจผู้ฟัง อย่าลืมว่าที่ผ่านมา กรุงเทพฯ ได้รับการ
ลงคะแนนเสียงจากคนทั่วโลกให้เป็น “เมืองที่ดีที่สุดของ
โลก” และยังได้รับการจัดอันดับให้เป็นสุดยอดเมือง
สาหรับการเริ่มธุรกิจ Start Up เป็นเมืองอันดับหนึ่งที่เป็น
เป้าหมายของนักเดินทาง เป็นเมืองที่สะดวกสาหรับการ
ทาธุรกิจมากที่สุดในโลก ฯลฯ และรั้งอันดับหนึ่งในทุก
สถิติที่กล่าวมานี้ติดกันมาหลายปีแล้ว ซึ่งสิ่งสาคัญที่ทา
ให้กรุงเทพฯ มาอยู่ในจุดนี้ได้ก็คือ วัฒนธรรมของเมือง
ของประเทศนี้นั่นเอง
และจากการเป็นเมืองที่ดีที่สุดในโลก จะขยับไปสู่
การเป็นเมือง Smart ที่ดีที่สุดในโลกนั้น รากฐานก็ยังคง
เหมือนเดิม นั่นคือ ผู้คนในเมืองคือสิ่งที่สร้างเมือง มิใช่
ในทางกลับกัน
ผมอยากให้ลองจินตนาการว่า ในวันข้างหน้า
พวกคุณอยากอยู่ในเมืองแบบไหน เมืองที่คุณอยากอยู่
นั้นจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร การอยู่ในเมืองแบบนั้นจะรู้สึก
อย่างไร พวกเราจะเดินทางไปทางานกันอย่างไร หรือ
พวกเราจะเดินทางไปทางานกัน หรือไม่ ลองจินตนาการ
ถึงเมืองที่มีอากาศสะอาด สดใส และสดชื่นบริสุทธิ์เสียยิ่ง
กว่าในชนบท ลองจินตนาการถึงเมืองที่เราสามารถสั่งผัก
ผลไม้ ที่ปลูกถัดไปสองสามซอย มาส่งที่บ้านได้ ลอง
จินตนาการถึงเมืองที่เงียบสงบจนสามารถได้ยินเสียงนก
ร้องและนอนหลับได้อย่างสบายได้ยามกลางคืน สิ่งที่ทา
ให้ผมรู้สึกตื่นเต้นคือ ตัวอย่างเหล่านี้ใกล้จะกลายเป็นจริง
และสิ่งเหล่านี้ยังเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของผลที่จะเกิดขึ้น
จากการสร้างเมือง Smart และเพราะเราต่างก็อยู่ในช่วง
เริ่มต้นของความเปลี่ยนแปลงนี้ จึงไม่อาจมีเมืองใดอ้าง
ได้ว่าตนนาหน้าเมืองอื่นๆ อยู่มากนักในเรื่องเหล่านี้
FURD Cities Monitor Special | 10
แทนที่เราจะมุ่งไปที่เรื่องเทคโนโลยี ซึ่งเป็นเพียง
เครื่องมือ ผมจึงอยากจะวัดว่าเมืองใดเป็นตัวอย่างเมือง
Smart ด้วยผลที่เกิดขึ้นจริงมากกว่า เมื่อผมมานั่ง
พิจารณาว่าเมือง Smart ที่ดีและประสบความสาเร็จควรมี
ลักษณะสาคัญอะไร ผมสรุปได้อย่างน้อยสามประการ
ดังนี้
ประการแรก เมือง Smart ที่เป็นแบบอย่างได้
ต้องเป็ นเมืองที่ยั่งยืน ใ น ยุค ที่เร าก าลังเร่ง
กระบวนการ “นคราภิวัตน์” นี้ เราไม่มีทางเลือกอื่น
นอกจากการสร้างเมืองของเราให้ยั่งยืน หากเราต้องการ
ให้เมืองของเราเป็นเมืองที่น่าดึงดูดสาหรับผู้อื่น และที่
สาคัญยิ่งกว่าคือเป็นเมืองสุขภาวะดีสาหรับผู้ที่อาศัยอยู่ใน
เมืองนั้น กุญแจสาคัญในการสร้างเมืองให้ยั่งยืน อยู่ที่
การจัดการกับความท้าทายที่เรากาลังเผชิญอยู่ ทั้งเรื่อง
มลภาวะ ความแออัด อาหารในเมือง และการจัดการขยะ
และของเสียของเมือง
ประการที่สอง เมือง Smart ต้องเป็นเมืองที่มี
ความสะดวกสบาย เพราะความสะดวกสบาย
หมายถึง “ประสิทธิภาพ” ของเมืองที่ผมอยากเห็นในเมือง
Smart ของเรา เช่น เป็นเมืองที่ผู้คนใช้เวลากับการ
เดินทางสั้นลง และเป็นเมืองที่ลดการใช้ทรัพยากรอย่าง
สิ้นเปลือง
ประการสุดท้าย เมือง Smart ต้องให้
ความสาคัญกับคน เพราะผมไม่อยากเป็ นเพียง
ปัจเจกนิรนามคนหนึ่งที่อาศัยอยู่ในเมือง แต่ผมอยากเป็น
ส่วนหนึ่งของชุมชน และรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของเมืองที่ผม
อยู่
สาหรับเรื่องความยั่งยืน นับจากอดีต เมืองถูก
สร้างขึ้นเพื่อรวบรวม จัดการ และแลกเปลี่ยนทรัพยากร
จากทั่วทั้งประเทศ แต่เมืองในวันพรุ่งนี้จาเป็นจะต้องรู้จัก
ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรของเมืองนั้นเอง เราเคยพูดกัน
ถึง Green Building หรืออาคารที่ลดการใช้ทรัพยากร แต่
ตอนนี้เราจาเป็นต้องพูดถึง Carbon-Positive Building
หรืออาคารที่สามารถผลิตพลังงานได้เกินกว่าที่ตัวเอง
บริโภค เราต้องทาให้เรื่องการผลิตพลังงานที่สามารถนา
กลับมาใช้ใหม่ได้ (renewable) เข้าไปอยู่ในทุกๆ เรื่อง
ของกิจกรรมและโครงสร้างในเมืองของเรา
11 | FURD Cities Monitor Special
ในเรื่องความสะดวกสบาย เราเริ่มพูดถึงการ
ออกแบบอาคารที่ใช้งานได้หลายวัตถุประสงค์ โครงสร้าง
และส่วนประกอบของอาคารที่ก้าวหน้าในปัจจุบันทาให้
เราสร้างอาคารได้สูงและมีความยืดหยุ่นในการใช้งาน
มากขึ้น การปรับการใช้งานพื้นที่ในตัวอาคารในยุคใหม่
ทาให้เส้นแบ่งการจัดสรรพื้นที่ใช้งานที่เคยเป็นมาใน
รูปแบบดั้งเดิมเบาบางลง เช่น หันมาใช้พื้นที่โรงเรียน
อนุบาลร่วมกับศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ หรือออฟฟิศสมัยใหม่ที่
มีทั้งร้านอาหารและคลับอยู่ในนั้น สอดคล้องกับวิถีชีวิต
ของคนยุคมิลเลนเนียมและที่เด็กกว่าที่มิได้แยกส่วนเรื่อง
งาน การใช้ชีวิต และการเล่นหรือพักผ่อนออกจากกัน
เหมือนคนสมัยก่อนหน้าอีกแล้ว
เมื่อบ้านส่วนตัวของพวกเรามีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ
กิจกรรมทางสังคมส่วนใหญ่ก็จะต้องออกมาใช้พื้นที่
สาธารณะมากขึ้น ตัวอย่างเช่น ในเมืองนั้น ห้องอาหาร
ในอะพาร์ตเมนต์ถูกแทนที่ด้วยร้านอาหารมานานแล้ว
แต่เรายังสามารถเข้าครัวทาอาหารให้เพื่อนของเรา
รับประทานได้ในครัวที่เราเช่าเป็นรายชั่วโมง ลองคิดดูว่า
สวนสาธารณะของเมืองนั้นได้กลายเป็น “สวนหลังบ้าน
ร่วมกันของคนเมือง” ไปแล้ว (เช่น สวนลุมพินี)
ห้างสรรพสินค้าคือห้องนั่งเล่นของคนเมืองสมัยใหม่ และ
เหล่านายกเทศมนตรีเมืองต่างๆ ในโลกกาลัง
กระตือรือร้นในการหาวิธีที่ดีสุดในการปรับเปลี่ยนถนน
และที่จอดรถให้เป็นเลนจักรยานและฟาร์มของเมือง
หลังจากที่เศรษฐกิจแบบแบ่งปัน (shared economy)
อีกทั้งความตระหนักในวงกว้างเกี่ยวกับผลกระทบจาก
มลภาวะของเมืองและการพัฒนายานพาหนะไร้คนขับ ก็
ทาให้ถนนมีความจาเป็นน้อยลงด้วย
FURD Cities Monitor Special | 12
ในมุมของผู้คนในเมือง ในขณะที่บรรดาเมือง
ขนาดยักษ์ (Megacity) เติบโตขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต
รัศมีของชีวิตของเราแต่ละคนในเมืองจะหดเล็กลง
เมืองขนาดใหญ่จะมีลักษณะคล้ายกับหมู่บ้าน
หลายๆ หมู่บ้านที่เชื่อมต่อกันมากขึ้น และคนใน
ชุมชนใช้ชีวิตส่วนมากอยู่ในย่านของตนเอง อันมี
โครงสร้างพื้นฐานของเมืองครบครัน เช่น โรงเรียน ที่
ทางาน โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า โรงภาพยนตร์
เมืองลักษณะนี้จะมาแทนที่เมืองที่รวมบริการทุกอย่างอยู่
ในศูนย์กลางแห่งเดียว ซึ่งคนในเมืองต้องเดินทางไกล
ข้ามเมืองเพื่อเข้ามาใช้บริการต่างๆ แนวทางการพัฒนา
เมืองแบบเป็นย่านๆ (hyperlocal) นี้จะยิ่งถูกเสริมด้วย
การเติบโตของการสร้างโกดังสินค้าขนาดใหญ่สาหรับ
อีคอมเมิร์ซ ที่ตั้งอยู่ห่างออกไปนอกเมือง และขนส่งเข้า
มาในเมืองด้วยโดรนหรือ Hyperloop
เหตุใดจึงเชื่อว่า วิถีชีวิตแบบ “หมู่บ้าน” ใน
เมืองใหญ่นี้คือหนทางที่ดีสาหรับการพัฒนาเมืองใน
อนาคต? นั่นเพราะมันจะนามาซึ่งชีวิตแบบชุมชน
(community) ที่ทุกคนมีตัวตน รู้จักกัน และมีส่วนร่วมใน
กิจการของที่ที่ตนอยู่ เกิดแนวทางพัฒนาเมืองที่ยึดคน
เป็นศูนย์กลางและเกิดสานึกการเป็นส่วนหนึ่งของ
ชุมชน ของบ้านเมือง เข้ามาสู่วิถีชีวิตแบบเมือง ที่ใน
ปัจจุบันเป็นแบบปัจเจกต่างคนต่างอยู่ ใช้ชีวิตในเมือง
เดียวกันโดยไม่รู้จักกัน และไม่มีส่วนร่วมกับที่ที่ตนอยู่
(anonymity) อนึ่ง “หมู่บ้าน” ที่ว่านี้ ไม่จาเป็นต้องเป็น
แนวราบ อาจเป็น “หมู่บ้านแนวตั้ง” ก็ได้
ขณะที่เมืองในอดีตคือที่ที่ผู้คนอพยพเข้ามา
เพื่อหางานทา การพัฒนาเมืองในอนาคตจะเป็นการ
คิดใหม่เพื่อย้าเรื่องการเชื่อมโยง (connectivity) เรื่อง
ความเป็นชุมชนและบ้านเมือง (community) และ
วัฒนธรรม (culture) ให้มากที่สุด นี่คือเหตุผลที่ว่า
ทาไมกรุงเทพฯ และเมืองอื่นๆ ของไทยจึงมีศักยภาพ
อย่างยิ่งที่จะเป็นต้นแบบเมือง Smart ของโลก ที่จะ
สร้างสรรค์เมืองที่ยั่งยืน สะดวกสบาย และเหนือสิ่ง
อื่นใดคือ เมืองที่ยึดเอาผู้คนในเมืองมาเป็นหลักใน
การพัฒนาได้
13 | FURD Cities Monitor Special FURD Cities Monitor Special | 14
ในการทางานโดยทั่วไปแล้วจาเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีสถานที่ทางานเป็นหลักแหล่ง เพื่อให้ผู้ที่
เกี่ยวข้องสามารถทาและประสานงานระหว่างกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว แต่ในปัจจุบันด้วยกระแส
ของโลกาภิวัตน์ทาให้ข้อจากัดเรื่องเวลาและสถานที่ลดลงไปมาก เป็นผลจากเทคโนโลยีใหม่ ๆ
โดยเฉพาะอิทธิพลของอินเทอร์เน็ตที่นับวันจะยิ่งมีราคาถูกลงและมีคุณภาพมากขึ้น ดังที่ผู้อ่าน
หลายท่านคงเคยวิดีโอคอล หรือกระทั่งประชุมออนไลน์มาแล้ว เรียกได้ว่าทุกวันนี้เราหยิบจับ
โทรศัพท์มือถือเพื่อใช้งานอินเทอร์เน็ตมากกว่าใช้โทรหากันด้วยซ้า อีกประการคือการเดินทางมี
ราคาถูกลงจากอดีตมาก จากการเกิดขึ้นของสายการบินต้นทุนต่าทั่วโลกและการที่ประเทศต่าง ๆ
เห็นความสาคัญของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
ด้วยเหตุนี้เองทาเกิดให้รูปแบบการทางานใหม่ที่ไม่จาเป็นต้องเป็น“พนักงานออฟฟิศ”อีกแล้ว
โดยเฉพาะหากงานนั้นสามารถทาจากที่ไหนก็ได้บนโลกขอเพียงมีคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต
เท่านั้น เช่น โปรแกรมเมอร์ นักเขียน และ นักธุรกิจ E-Commerce เมื่อสามารถทางานจากที่ไหนก็ได้
ทาให้มีคนกลุ่มหนึ่งเลือกรูปแบบการใช้ชีวิตที่เดินทางเปลี่ยนที่พักอาศัยอยู่เสมอด้วยกับหลาย
เหตุผล ซึ่งคนที่ใช้ชีวิตแบบนี้มีชื่อเรียกว่า “Digital Nomad” หรือ “นักพเนจรดิจิตัล” ซึ่งในอนาคต
จะมีมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามกระแสโลกาภิวัตน์ที่ไม่หยุดยั้ง
- อุสมาน วาจิ -
15 | FURD Cities Monitor Special
แม้ในปัจจุบันรัฐบาลจะพยายาม
ยกระดับเศรษฐกิจของไทยให้มีนวัตกรรม
ใหม่มากขึ้นตามนโยบาย Thailand 4.0
อย่างไรก็ตาม ยังไม่เห็นความคืบหน้าที่
เป็นรูปธรรมเท่าที่ควร แต่ในทางกลับกัน
กลับมีชาวต่างชาติซึ่งเป็น Digital No-
mad จานวนมากที่เข้ามาใช้ชีวิตและ
ทางานในไทยโดยที่ภาครัฐไม่ต้องกระตุ้น
มากนัก เนื่องจากเหตุผลหลายประการที่
เป็นจุดเด่นของไทยอยู่แล้ว
ประการแรก คือ ค่าครองชีพที่ไม่
สูงนัก เนื่องจากชาว Digital Nomad นั้น
มักจะเปลี่ยนที่อยู่เป็นประจาทาให้มี
ค่าใช้จ่ายในการเดินทางและค่าที่พัก
มากกว่าปกติ และสาหรับ Digital Nomad
ที่เริ่มทางานในระยะแรกนั้นมักไม่
สามารถสร้างรายได้มากนักอีกทั้งอาจยัง
ต้องใช้จ่ายลงทุนเพิ่มเติม ฉะนั้น คนกลุ่ม
นี้จึงชื่นชอบเมืองที่มีค่าครองชีพไม่สูง
ด้วยค่าใช้จ่ายเฉลี่ยเพียงราย 1,000
เหรียญสหรัฐฯ ต่อเดือนในไทยก็ทาให้
พวกเขาได้รับคุณภาพชีวิตที่ดีมากแล้ว
หากต้องการอาศัยอย่างประหยัดค่าครอง
ชีพเพียง 300 เหรียญสหรัฐฯ ต่อเดือน ก็
นับว่าเพียงพอ โดยอาจต้องอาศัยในเมือง
ที่ไม่ใหญ่นักและรู้จักปรับตัวเข้ากับวิถี
ชีวิตท้องถิ่น อีกทั้งการเช่าหรือซื้อสินค้า
ต่าง ๆ นั้นมีขั้นตอนทางเอกสารที่ไม่
ยุ่งยากอีกด้วย ทาให้การตั้งถิ่นฐาน
ชั่วคราวในไทยเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้
การอาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ในสหรัฐฯ และ
ยุโรปอาจจะต้องใช้เงินมากกว่า 2 - 3 เท่า
ทีเดียว และยังมีขั้นตอนทางเอกสาร
มากมาย
FURD Cities Monitor Special | 16
ประการต่อมา คือ สถานที่ท่องเที่ยว
และพักผ่อน เหตุผลที่หลายคนโดยเฉพาะคน
รุ่นใหม่ตัดสินใจใช้ชีวิตแบบนี้เนื่องจากรักใน
การท่องเที่ยวและเดินทาง ซึ่งเมืองไทยนั้นมี
แหล่งท่องเที่ยวมากมายและหลากหลายทา
ให้สามารถท่องเที่ยวได้ตลอดปี อีกทั้งมี
วัฒนธรรมประเพณีที่เป็นที่ชื่นชอบของ
ชาวต่างชาติอีกด้วย นอกจากนี้ นิสัยของคน
ไทยที่มีความโอบอ้อมอารี ยิ้มแย้มแจ่มใส
และเป็นมิตร แม้แต่กับชาวต่างชาติที่พูด
ภาษาไทยไม่ได้ ยังเป็นเรื่องที่ชาวต่างชาติ
ประทับใจอย่างยิ่ง ทาให้ Digital Nomad บาง
คนนั้นกลายเป็น Blogger แนะนาสถานที่
ท่องเที่ยวหรืออาหารท้องถิ่นทั้งเป็นงาน
อดิเรก
คุณภาพของอินเทอร์เน็ตก็นับว่า
สาคัญไม่แพ้กัน แม้อินเทอร์เน็ตของไทยจะไม่
เร็วเท่าประเทศพัฒนาแล้วบางประเทศ แต่ถือ
ว่าอยู่ในระดับที่สามารถใช้งานได้ดีในราคาที่
ไม่สูงนัก และในปัจจุบันด้วยกระแสการ
ทางานผ่านอินเทอร์เน็ตที่มากขึ้นทาให้มี Co-
Working Space เกิดขึ้นมากมาย และหลาย
แห่งนั้นมีความพร้อมที่จะต้อนรับ Digital No-
mad ชาวต่างชาติเป็นการเฉพาะอีกด้วย
แม้แต่ตามเกาะที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวก็มี
อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและ Co-Working
Space แล้วเพื่อรองรับความต้องการจาก
ชาวต่างชาติที่มากขึ้นเรื่อย ๆ
สุดท้ายเมื่อประเทศไทยดึงดูดให้ Digi-
tal Nomad เข้ามาอย่างมากแล้วจึงกลายเป็น
ข้อดีอีกข้อหนึ่ง จริงอยู่ที่คนกลุ่มนี้จะย้ายที่
พักเป็นระยะ แต่การที่ได้พบปะสังสรรค์กับ
คนแบบเดียวกันย่อมเป็นการสร้างมิตรภาพที่
ดีได้ และหากมีสิ่งใดที่ต้องการความ
ช่วยเหลือหรือคาแนะนา หรือแม้แต่การจ้าง
งานแล้ว การมีเครือข่ายของ Digital Nomad
ที่สามารถพบปะกันได้จริง ๆ ก็ยังมีประโยชน์
มาก
ด้วยความพร้อมดังที่กล่าวมาข้างต้น
จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เว็บไซต์ Nomadlist.com
ซึ่งเป็นแหล่งรวมตัวสาคัญของ Digital No-
mad จากทั่วโลกจะเลือกให้กรุงเทพฯ และ
เชียงใหม่ติดหนึ่งในสิบของเมืองที่ดีที่สุด
สาหรับการใช้ชีวิตรูปแบบนี้ อีกทั้งมีประเทศ
ไทยและสหรัฐฯ เท่านั้นที่มีเมืองถึงสองเมือง
ติดใน 10 อันดับแรก (อันดับจะมีการ
เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตามความนิยมของ
Digital Nomad ในแต่ละช่วง โดยเฉลี่ยแล้ว
กรุงเทพฯ มักจะเป็นอันดับ 1 - 2 ของโลก
และเชียงใหม่ มักเป็นอันดับ 6 - 7 ของโลก)
17 | FURD Cities Monitor Special
ที่ผ่านมาเคยมีความไม่เข้าใจกันระหว่างภาครัฐ
และกลุ่ม Digital Nomad เนื่องจาก digital nomad ไม่ได้
มองว่าตนเข้ามาทางานเต็มรูปแบบหากแต่เป็นกึ่งการ
ทางานกึ่งการท่องเที่ยวมากกว่า จึงใช้วีซ่าสาหรับ
นักท่องเที่ยวในการเข้ามายังประเทศไทย จนบางครั้งนามา
สู่การถูกควบคุมตัวจากเจ้าหน้าที่รัฐเพราะเข้าใจผิดว่าเป็น
การทางานอย่างเต็มตัวที่ผิดจากข้อกาหนดในวีซ่าสาหรับ
การท่องเที่ยว
แต่ปัญหานี้มีแนวโน้มที่จะได้รับการแก้ไข เมื่อเดือน
สิงหาคมที่ผ่านรัฐบาลไทยได้อนุมัติ “Smart VIsa” ซึ่งจะ
เป็นประโยชน์ต่อกลุ่ม digital nomad บางส่วนมาก ความ
พิเศษของวีซ่าประเภทนี้คือผู้ถือวีซ่านั้นได้รับสิทธิขยาย
เวลามารายงานตัวจากทุก ๆ 90 วันเป็นปีละ 1 ครั้ง โดยไม่
ต้องขอ work permit และสามารถอาศัยในประเทศได้สูงสุด
ถึง 4 ปี ขึ้นกับลักษณะของงานที่ทา นอกจากนี้คู่สมรสและ
บุตรของผู้ถือวีซ่ายังได้รับสิทธิทั้งหมดเช่นเดียวกัน แม้
เบื้องต้นวีซ่าประเภทนี้จะอนุญาตเฉพาะผู้เริ่มธุรกิจใหม่โดย
เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี นักลงทุน และผู้มีทักษะ
วิชาชีพระดับสูง แต่คาดว่าในอนาคตอาจจะมีการผ่อนผัน
ให้ครอบคลุม digital nomad หลากหลายสาขาอาชีพขึ้น
FURD Cities Monitor Special | 18
ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า ไทยมีปัจจัยที่เอื้อต่อการเป็นฮับของ Digital No-
mad แต่ยังมีแง่มุมที่ไทยสามารถพัฒนาให้ดีขึ้นได้อีก ซึ่งด้านที่ควรพัฒนามากที่สุดคือ
ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน จากรายงานของ The Economist ได้จัด
อันดับให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีความปลอดภัยอยู่ในอันดับที่ 49 ในขณะที่กรุง
กัวลาลัมเปอร์ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศมาเลเซียอยู่ในอันดับที่ 31 ทั้งที่มาเลเซีย
มีความเจริญทางเศรษฐกิจไม่ต่างจากไทยมากนัก และจากการจัดอันดับขององค์การ
อนามัยโลก ไทยยังมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนมากเป็นอันดับ 2 ของโลกอีก
ด้วย ซึ่งปัจจัยสาคัญมาจากการละเลยในการบังคับใช้กฎหมายและการขาดการพัฒนา
โครงสร้างพื้นฐาน จากการแสดงความเห็นของ Digital Nomad ใน Nomadlist.com
ได้ระบุตรงกันว่าด้านที่แย่ที่สุดของไทยคือ ด้านความปลอดภัยทางถนน อย่างไรก็ตาม
เมื่อพิจารณาโดยรวมอย่างรอบด้านแล้ว ไทยก็ยังดึงดูดให้ Digital Nomad จากทั่วโลก
เข้ามามากขึ้นทุกปี ซึ่งเป็นบทบาทที่ทั้งภาครัฐและเอกชนต้องร่วมกันคิดและทาเพื่อ
รับมือแนวโน้มนี้ต่อไป
REFERENCE :
- http://safecities.economist.com/safe-cities-index-2017
- https://www.forbes.com/sites/niallmccarthy/2016/02/22/the-countries-with-the-most-
per-capita-road-deaths-infographic/#735b277b361a
19 | FURD Cities Monitor Special
อาหารคนเมือง
FURD Cities Monitor Special | 20
เรามีทางเลือกแค่ไหน?
อาหารคนเมือง
หากกล่าวถึงเสน่ห์ของเมืองไทย นอกจากสถานที่ท่องเที่ยวอันโด่ง
ดังและวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์แล้ว อีกสิ่งหนึ่งคงหนีไม่พ้นอาหารการกินที่มี
ให้เลือกสรรหลากหลายรสชาติ หลากหลายราคา และหลากหลายเวลา
โดยเฉพาะเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพมหานครที่เมื่อใดก็ตามที่เรารู้สึกหิว ก็
สามารถหากินได้อย่างง่ายดาย วิถีการบริโภคที่แสนสะดวกนี้ทาให้ชีวิตของ
คนเมืองดูเหมือนจะมีทางเลือกในการกินอาหารที่หลากหลาย แต่ในความ
เป็นจริงแล้วเป็นเช่นนั้นหรือไม่ หรือความเป็นเมืองต่างหากที่กาหนดอาหาร
การกินของเรา
เมื่อพิจารณาทางเลือกการกินของคนกรุงเทพฯ ทุกวันนี้ คาตอบที่
ได้นั้นมีแนวโน้มที่สอดคล้องกับสมมติฐานข้างต้นอยู่ไม่น้อย คนเมืองจานวน
มากกินอาหารทั้งสามมื้ออยู่ภายใต้โครงสร้างของวิถีชีวิตที่ถูกกาหนดไว้โดย
ความเป็นเมืองทั้งเรื่องของเวลา ที่อยู่อาศัย ไปจนถึงหน้าที่การงาน ซึ่งมี
ความรวบรัดจากัดมากกว่าชีวิตในชนบท ในครั้งนี้จะขอพูดถึง 5 ทางเลือก
อันเป็นที่นิยมคนกรุงโดยสรุป ดังนี้
- จุฑามาศ พูลสวัสดิ์ -
21 | FURD Cities Monitor Special
อาหารริมทาง (Street Food)
สวรรค์ของคนเดินถนน
หลายครั้งความเป็นเมืองทาให้คนต้องใช้
ชีวิตอย่างเร่งรีบ เวลาบีบให้เราต้องหาอาหารที่เหมาะ
กับรูปแบบการใช้ชีวิต ประกอบกับการเติบโต
เชิงเดี่ยวของการสร้างที่อยู่อาศัยทั้งคอนโดและบ้านที่
ปราศจากการวางแผนจัดสรรพื้นที่อย่างรอบด้าน
Street Food จึงกลายมาเป็นแหล่งอาหารที่ตอบโจทย์
คนกรุงเทพฯ ในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี และสามารถ
พบเห็นได้ทุกที่ไม่ว่าจะเดินผ่านถนนเส้นใด
โดยเฉพาะในช่วงเวลาเช้าและช่วงเย็นหลังคนเลิกงาน
ทั้งยังมีให้เลือกหลากหลายประเภท รสชาติอร่อย
ราคาถูก และมีชื่อเสียงจนสานักข่าว CNN จัดอันดับ
ให้อาหารริมทางกรุงเทพฯ เป็นร้านอาหารริมทางที่ดี
ที่สุดอันดับ 1 ของโลกติดต่อกันเป็นปีที่ 2 จาก 23
เมืองทั่วโลก แต่ในขณะเดียวกัน อาหารริมทางก็ได้
สร้างผลกระทบต่อระบบสุขาภิบาลของเมืองทั้งขยะ
น้าเสีย กลิ่น และก่อให้เกิดความไม่สะดวกเนื่องจาก
โครงสร้างพื้นฐานทางเท้ากรุงเทพฯ ไม่ได้ถูก
ออกแบบมาเพื่อรองรับกิจกรรมลักษณะนี้ จึงนามาสู่
การจัดระเบียบทางเท้าของรัฐบาลซึ่งทาให้แหล่ง
อาหารที่คนเมืองนิยมฝากท้องนี้ลดจานวนลงไป
ร้านสะดวกซื้อ
แหล่งอาหารใกล้มือ 24 ชั่วโมง
ด้วยวิถีชีวิตที่เร่งรีบ สิ่งใดก็ตามที่เร็วและ
สะดวกจึงกลายเป็นสิ่งที่ดีสาหรับคนเมืองไปโดย
อัตโนมัติ ยิ่งคนกรุงเทพฯ ที่มีเวลาในการกินอาหารแต่
ละมื้อค่อนข้างจากัด ทั้งยังขาดปัจจัยอีกหลายอย่างที่
เอื้อต่อการทาอาหารกินเอง นอกจากของริมทางแล้ว
อาหารสาเร็จรูปแช่แข็งหรืออาหารพร้อมปรุงตามร้าน
สะดวกซื้อที่กระจายตัวอยู่ในทุกย่านที่มีคนพลุกพล่าน
จึงเข้ามาทาหน้าที่เป็นแหล่งพลังงานของคนเมือง
อย่างยากที่จะปฏิเสธ โดยข้อมูลจากสานักงานสถิติ
แห่งชาติใน พ.ศ. 2556 พบว่าคนไทยบริโภคอาหาร
จากร้านสะดวกซื้อเป็นประจา 1-2 วันต่อสัปดาห์ และ
คาดว่าปัจจุบัน สัดส่วนดังกล่าวก็น่าจะเพิ่มสูงขึ้น
FURD Cities Monitor Special | 22
ตลาดนัด จุดนัดพบของคนหิว
ตลาดนัดเป็นทางเลือกที่เกิดขึ้นมาเพื่อ
ตอบสนองวิถีชีวิตของชุมชนทั้งต่างจังหวัดและใน
เมืองมาอย่างยาวนาน โดยความพิเศษของแหล่ง
อาหารประเภทนี้อยู่ตรงการที่ไม่ได้ตั้งขายทุกวัน
เหมือนอาหารริมทาง แต่จะมีเฉพาะวันใดวันหนึ่งใน
สัปดาห์ซึ่งเป็นที่รับรู้ร่วมกันระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อจน
เป็นที่มาของคาว่าตลาดนัด สาหรับกรุงเทพฯ และ
เมืองใหญ่ เรามักพบเห็นตลาดนัดได้ตามพื้นที่ว่างใน
ชุมชน รวมถึงออฟฟิศและสถานที่ราชการที่มีแหล่ง
อาหารถาวรอยู่น้อย ที่ใดที่มีตลาดนัด ที่นั่นย่อมมี
ผู้คนมาจับจ่ายเลือกซื้อทั้งอาหารสดและอาหารปรุง
สาเร็จอย่างหนาแน่นเสมอ
รถเร่ อาหารเคลื่อนที่ของคนเมือง
การขยายตัวของเมืองในปัจจุบันมาพร้อมกับ
การขยายตัวของที่อยู่อาศัยประเภทหมู่บ้านจัดสรรและ
ห้องเช่าในตึกสูงจานวนมากเพื่อรองรับประชากรที่
หลั่งไหลเข้าเมืองมาตั้งถิ่นฐาน ทว่าการเกิดขึ้นของที่
อยู่อาศัยเหล่านี้มักขาดองค์ประกอบของชุมชนแบบ
ดั้งเดิม โดยมีแต่เพียงบ้าน ไม่มีตลาด ไม่มีแหล่งอาหาร
สาหรับคนในชุมชน รถเร่จึงเกิดขึ้นมาเพื่อทดแทนสิ่งที่
ขาดหายไป ทั้งรถขายกับข้าว ของสด รวมถึงรถเข็น
ขายอาหาร ขนม ผลไม้ ซึ่งล้วนเป็นแหล่งอาหารที่
เดินทางถึงตัวผู้บริโภคเพื่ออานวยความสะดวกให้
สามารถเลือกซื้ออาหารได้ถึงหน้าบ้าน
23 | FURD Cities Monitor Special
Food Delivery ส่งถึงที่ทุกเวลา
รูปแบบการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะข้อจากัดด้านเวลา และปัญหาการจราจรที่ติดขัด
ทาให้บริการจัดส่งอาหารถึงบ้านกลายมาเป็นอีกทางเลือกที่คนกรุงเทพฯ นิยมใช้โดยการสั่งอาหารผ่าน
ช่องทางออนไลน์ มีการคาดการณ์ว่าตลาดบริการจัดส่งอาหารใน พ.ศ. 2560 จะเติบโตขึ้นถึงร้อยละ 11-15
จากปีก่อน (ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, 2560) ดังจะเห็นได้ว่าทุกวันนี้มีแอพลิเคชันสั่งอาหารเกิดขึ้นมากมาย เช่น
Lineman UberEats Food Panda ฯลฯ ซึ่งเป็นตัวกลางให้บริการส่งอาหารครอบคลุมได้เกือบทุกร้านดังใน
กรุงเทพฯ ไม่จากัดเพียงฟาสฟู้ดอีกต่อไป
อาหารแบบไหนที่เราต้องการ
การทาความเข้าใจทางเลือกในการเข้าถึงอาหารทั้ง 5 แบบของคนกรุงเทพฯ นั้น อาจทาให้สรุปได้
ว่าความสะดวกได้กลายมาปัจจัยหลักที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้ออาหารของคนเมืองมากกว่าปัจจัยอื่นๆ
เรามักเลือกอาหารรสชาติถูกปากและราคาถูกที่หาซื้อได้ง่ายจากแหล่งอาหารใกล้ตัวมากินเป็นประจาจน
บางครั้งก็ละเลยที่จะคิดว่าอาหารเหล่านั้นมีคุณภาพและความปลอดภัยเพียงพอหรือไม่ พฤติกรรมนี้ของคน
เมืองสะท้อนผ่านผลสารวจพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของประชากร พ.ศ. 2556 ในด้านการบริโภคอาหารที่
พบว่าประชากรในกรุงเทพฯ มีสัดส่วนการกินอาหารที่ปรุงโดยใช้น้ามัน ได้แก่ อาหารประเภทผัดและทอดสูง
กว่าภาคอื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 40 ซึ่งนี่เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของสุขภาวะด้านการกินที่ย่าแย่ของคนเมือง
เท่านั้น
นับเป็นเรื่องดีที่ปัจจุบันมีคนเมืองจานวนไม่
น้อยที่เริ่มตื่นตัวและหันมาให้ความสาคัญกับการเลือก
กินอาหารที่เป็นมิตรต่อสุขภาพ ดังจะเห็นได้จากการ
ถือกาเนิดขึ้นของทางเลือกใหม่อย่างกระแสอาหาร
คลีน (Clean Food) ซึ่งเน้นการปรุงแต่งน้อย ถูกหลัก
โภชนาการ มีความปลอดภัย และไม่มีสารปนเปื้อนที่
กาลังได้รับความนิยมในหมู่คนเมืองมากขึ้นอย่าง
ต่อเนื่อง หรือแม้กระทั่งการเกิดขึ้นของแนวคิดการ
สร้างแหล่งอาหารปลอดสารพิษไว้บริโภคเองอย่าง
สวนผักในเมือง (Urban Garden) ที่หลายพื้นที่ เช่น
แปลงผักสาธิตชั้นดาดฟ้าของสานักงานกองทุน
สนับสนุนการเสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสวน
เกษตรดาดฟ้าของสานักงานเขตหลักสี่ ได้พิสูจน์ให้
เห็นถึงความเป็นไปได้ว่า เราสามารถแปลงพื้นที่เหลือ
ใช้เพียงเล็กน้อยในอาคารบ้านเรือนให้เป็นพื้นที่
เกษตรกรรมได้ทั้งสิ้น
ร้อยละของประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไป จาแนกตามวิธี
ปรุงอาหารที่ทานเป็นประจาและภาค
FURD Cities Monitor Special | 24
อย่างไรก็ตาม ความมั่นคงทางด้านอาหารของคนเมืองไม่ใช่แค่เรื่องปริมาณอาหารที่
ทาให้อิ่มท้องอย่างเพียงพอ แต่ยังรวมไปถึงเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยของอาหารที่
ประชากรบริโภคด้วย จริงอยู่ที่ปัจจุบันเมืองมีแหล่งอาหารหลากหลายให้เข้าถึง ทว่า
ทางเลือกเหล่านี้ล้วนเกิดขึ้นจากการดิ้นรนปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของเมือง
โดยภาคประชาชนแต่เพียงลาพังจนหลายครั้งก็เกิดปัญหาตามมา ทั้งเรื่องการมีอยู่ของแหล่ง
อาหารเกิดขึ้นผิดที่ผิดทาง ตั้งครัวขายกันข้างถนน ปัญหาของร้านสะดวกซื้อแต่ไม่สะดวกกิน
มีอาหารมากมายแต่ไร้ที่นั่งกิน และอื่นๆ อีกนับไม่ถ้วน เหล่านี้ยากที่จะปฏิเสธได้ว่าเป็น
เพราะรัฐไม่ได้วางแผนและควบคุมเรื่องดังกล่าวอย่างครอบคลุมควบคู่ไปกับการพัฒนาเมือง
ตั้งแต่แรก เมืองของไทยซึ่งเคยได้ชื่อว่าเป็นอู่ข้าวอู่น้าจึงโตมาพร้อมกับปัญหาเรื่องการ
เข้าถึงแหล่งอาหารที่ไม่น่าจะเกิดขึ้น
ลาพังเพียงมือของประชาชนจึงอาจไม่พอ การมีแหล่งอาหารของเมืองที่เป็นธรรมต่อ
การมีสุขภาวะที่ดีได้อย่างยั่งยืนของคนเมืองนั้นจาเป็นต้องอาศัยบทบาทของรัฐและทุกฝ่ายที่
เกี่ยวข้องในการวางแผน ตรวจสอบ และจัดสรรทางเลือกที่เหมาะสมตั้งแต่แรกเริ่ม มิใช่เพียง
แก้ปัญหาที่ปลายเหตุอย่างที่ผ่านมา การขยายตัวของเมืองจะต้องมาพร้อมกับการมีแหล่ง
อาหารที่มีคุณภาพและเพียงพอต่อสัดส่วนที่อยู่อาศัยและจานวนประชากรเพื่อให้คนเมือง
สามารถบริโภคของที่ดีต่อชีวิตได้ในราคาที่สมเหตุสมผล นั่นต่างหาก น่าจะเป็นนิยามของคา
ว่าเมืองแห่งอาหารสาหรับที่แท้จริงสาหรับประเทศไทย
อ้างอิง
ฐานเศรษฐกิจ. (2559). จับตาปี’60 สั่งอาหารออนไลน์หนุนตลาด Delivery โต
ร้อยละ 11-15. ออนไลน์. สืบค้นจาก http://www.thansettakij.com/
content/118867
สานักงานสถิติแห่งชาติ. (2556). ผลสารวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารของ
ประชากร พ.ศ.2556. ออนไลน์. สืบค้นจาก http://service.nso.go.th/
nso/nsopublish/service/survey/healthCare_56.pdf
ThaiPBS. (2556). คนเดินเมือง: อาหาร. ออนไลน์. สืบค้นจาก https://
www.youtube.com/watch?v=o5bMVxPIdu4
Thaipublica. (2560). เมืองใหญ่กับปัญหาความมั่นคงทางด้านอาหาร. ออนไลน์.
สืบค้นจาก https://thaipublica.org/2017/09/landscape-architecture-
and-sustainability01/
25 | FURD Cities Monitor Special
ไ ม่ ใ ช่ เ มื อ ง ที่
ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยอุตสาหกรรมใหญ่ เศรษฐกิจ
ของยะลาพึ่งพาเกษตรกรรม และที่สาคัญคือยะลา
เป็นเมืองเดียวในสามจังหวัดภาคใต้ที่มีรถไฟเข้า
มาถึงกลางเมือง ยะลาจึงกลายเป็นศูนย์กลางด้าน
เศรษฐกิจของสามจังหวัดภาคใต้ ปัจจัยของการ
คมนาคมเป็นส่วนสาคัญที่ทาให้เศรษฐกิจยะลา
ในช่วงก่อนเกิดเหตุการณ์นั้นเติบโต มีกิจกรรมทาง
เศรษฐกิจหนาแน่น ทาให้การค้า การขาย การขนส่ง
สินค้าของยะลาค่อนข้างคึกคักไม่ต่างจากเมืองใหญ่
ของภูมิภาคอื่นๆ
ปัจจุบัน เมืองยะลาก็ยังคงเป็นเมืองที่พึ่ง
รายได้จากภาคเกษตรกรรมสูง แต่มักจะประสบ
ปัญหาเนื่องจากความผันผวนของธรรมชาติและราคา
พืชผลโลกที่ตกต่าลง กอปรกับเหตุการณ์ความ
รุนแรงในพื้นที่ที่ทาให้การค้าการลงทุนซบเซาลง เมื่อ
ความสามารถทางการแข่งขันของยะลาไม่ใช่
อุตสาหกรรม หรือเกษตรกรรม เทศบาลนครยะลาจึง
มองหาทางเลือกของการกระตุ้นและขับเคลื่อน
เศรษฐกิจแบบใหม่ มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบ
ยะลา
FURD Cities Monitor Special | 26
สร้างสรรค์ครบวงจร โดยใช้รากฐานจากต้นทุนวัฒนธรรม
ของเมืองที่ไม่มีใครเลียนแบบได้
ใครๆ ก็รู้จักยะลาในฐานะเมืองที่จัดงานมหกรรม
แข่งขันนกเขาชวาเสียงอาเซียน ที่จัดต่อเนื่องมากว่า 30
ปี ด้วยนกเขาเป็นนกที่คนมลายูและคนภาคใต้นิยมเลี้ยง
งานแข่งขันนกเขาประสบความสาเร็จในทุกปี มีนกเข้า
ร่วมกว่า 8,000 ตัว เชื่อมต่อทั้งประเทศมาเลเซีย
อินโดนีเซีย เทศบาลนครยะลามองเห็นโอกาสจึงสร้าง
แต้มต่อการแข่งขันทางเศรษฐกิจ มีการพัฒนาสร้างสรรค์
และพัฒนาสินค้าจากนกให้มีมูลค่าสูงขึ้น เกิดเป็น
เศรษฐกิจนกแบบครบวงจร
Yala Bird City กลายเป็นแบรนด์สัญลักษณ์ของ
เมืองยะลา ทุกผลิตภัณฑ์เป็นที่ยอมรับและรู้จักในวงกว้าง
จากนกกรงหัวจุกเป็นเพียงสัตว์เลี้ยงชนิดหนึ่งที่รู้จักกัน
ในวงแคบ เมื่อเทศบาลนครยะลาสร้างเศรษฐกิจแบบนก
ครบวงจร ส่งผลให้นกกรงหัวจุกของเมืองยะลาเป็น
ประสบการณ์ใหม่ (Experiences) และหวังว่าจะโอกาสที่
จะนาพาในยะลาแข่งขันทางเศรษฐกิจได้อีกครั้ง
ยะลา เมืองเศรษฐกิจสร้างสรรค์
Yala Bird City
27 | FURD Cities Monitor Special
ความสร้างสรรค์และไอเดียใหม่ๆ ก่อให้เกิดวงจร
ทางเศรษฐกิจนกที่สร้างมูลค่าได้มากมายให้กับยะลา
เริ่มตั้งแต่ธุรกิจที่ใช้ประโยชน์จากธรรมชาติโดยตรง
อย่างธุรกิจฟาร์มนกและการเพาะเลี้ยงนก ที่ตลาดเติบโต
ขึ้น มีการส่งออกไปยังต่างประเทศมากขึ้น เช่น
มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย สวนกล้วยหิน ผลไม้
พื้นเมืองจังหวัดยะลาและเป็นอาหารหลักของนกกรงหัว
จุก กลายเป็นพันธ์กล้วยที่มีมูลค่าสูงขึ้นและสามารถส่ง
ขายได้ ธุรกิจส่วนประกอบของนกก็เติบโตไม่น้อยหน้า
อย่างกลุ่มอาชีพทากรงนก เสื้อกรงนกและตะขอกรงนก
ที่อาศัยทุนทางปัญญาท้องถิ่นในด้านศิลปะ ออกแบบกรง
ด้วยความประณีต ก็เพิ่มมูลค่าและเกิดขึ้นหลายเจ้าใน
เมือง ผลทวีคูณจากเศรษฐกิจนกเป็นผลทาให้ธุรกิจด้าน
บริการของเมืองมีแนวโน้มคึกคักขึ้น ทั้งธุรกิจด้านการ
ขนส่ง การค้าปลีกและค้าส่ง ธุรกิจจาหน่ายนกและสินค้า
เกี่ยวกับนก ตลอดจนธุรกิจโรงแรม ธุรกิจขนส่ง
ร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึก หรือธุรกิจที่เกี่ยวกับการ
ท่องเที่ยว ถือเป็นกลุ่มที่ได้รับผลประโยชน์จากงาน
มหกรรมแข่งขันนกเขาชวาเสียงอาเซียน ที่ดึงดูผู้คนให้
เข้ามาท่องเที่ยวและใช้จ่ายในเมืองยะลามากขึ้น
Yala Bird City
สร้างเศรษฐกิจยะลาครบวงจร
ที่มา : ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง (2016)
FURD Cities Monitor Special | 28
จากข้อมูลข้างต้น สรุปได้ว่าโครงการ Yala
Bird City เป็นโครงการที่สามารถสร้างรายได้และ
สร้างเศรษฐกิจให้กับเมืองยะลาได้เป็นอย่างดี เพียงแค่
ต่อยอดและพัฒนาสินค้าให้เป็นที่ยอมรับและรู้จักในวง
กว้าง ก็ทาให้ผลผลิตที่เกี่ยวกับนกสามารถจัด
จาหน่ายได้ในจานวนที่มากขึ้น โดยไม่ต้องลงทุนอะไร
มากมาย เป็นไปตามแนวคิดเศรษฐกิจขาย
ประสบการณ์ (Experience Economy) ซึ่งอธิบายได้
ดังนี้
เดิมที นกกรงหัวจุกเป็นเพียงสัตว์เลี้ยงชนิด
หนึ่งที่รู้จักกันในวงแคบ ไม่ก่อให้เกิดมูลค่าทาง
เศรษฐกิจอะไรมากมาย แค่เป็นกิจกรรมจับนกที่เป็น
สัตว์ตามธรรมชาติ (Commodity) เข้ามาอยู่ในกรง จน
กลายเป็นสินค้า (Goods) หรือสัตว์เลี้ยง จนกระทั่ง
เทศบาลนครยะลาได้จัดงานมหกรรมแข่งขันนกเขา
ชวาเสียงอาเซียนขึ้น จึงเกิดเป็นบริการการแข่งขัน
(Services) ให้กับผู้เข้าแข่งขันและผู้ชม ต่อมา
เทศบาลฯ ได้ก่อตั้งแบรนด์ “Yala Bird City” พร้อมทั้ง
พัฒนาต่อยอดสินค้าและบริการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับนก
ให้มีความแปลกใหม่ ส่งผลให้นกกรงหัวจุกของเมือง
ยะลาเป็นประสบการณ์ใหม่ (Experiences) ของผู้
เลี้ยงนกและผู้ชม เมื่อแบรนด์ “Yala Bird City” เป็นที่
รู้จัก ได้รับการยอมรับและได้รับความนิยม ผู้คนจึงเริ่ม
หลั่งไหลเข้ามาท่องเที่ยวและหันมาซื้อสินค้า ซื้อ
ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับนกกรงหัวจุกมากขึ้น ทาให้
เศรษฐกิจท้องถิ่นเติบโตอย่างต่อเนื่อง
Yala Bird City
กับแนวคิดเศรษฐกิจ
ขายประสบการณ์
ที่มา : ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง (2016)
FURD Cities Monitor 1st Urban Think Tank Special Issue
FURD Cities Monitor 1st Urban Think Tank Special Issue
FURD Cities Monitor 1st Urban Think Tank Special Issue
FURD Cities Monitor 1st Urban Think Tank Special Issue
FURD Cities Monitor 1st Urban Think Tank Special Issue
FURD Cities Monitor 1st Urban Think Tank Special Issue
FURD Cities Monitor 1st Urban Think Tank Special Issue

More Related Content

Similar to FURD Cities Monitor 1st Urban Think Tank Special Issue

การกระจายตัวของความเป็นเมือง เทศบาลนครและเทศบาลเมืองที่ติดชายแดน
การกระจายตัวของความเป็นเมือง เทศบาลนครและเทศบาลเมืองที่ติดชายแดนการกระจายตัวของความเป็นเมือง เทศบาลนครและเทศบาลเมืองที่ติดชายแดน
การกระจายตัวของความเป็นเมือง เทศบาลนครและเทศบาลเมืองที่ติดชายแดน
FURD_RSU
 
การพัฒนาเมืองภายใต้นโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ: ชุมชนชายแดนด่านสะเดา
การพัฒนาเมืองภายใต้นโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ: ชุมชนชายแดนด่านสะเดาการพัฒนาเมืองภายใต้นโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ: ชุมชนชายแดนด่านสะเดา
การพัฒนาเมืองภายใต้นโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ: ชุมชนชายแดนด่านสะเดา
FURD_RSU
 
นโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาเมืองอย่างเหมาะสมและมีสุขภาวะ
นโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาเมืองอย่างเหมาะสมและมีสุขภาวะนโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาเมืองอย่างเหมาะสมและมีสุขภาวะ
นโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาเมืองอย่างเหมาะสมและมีสุขภาวะ
FURD_RSU
 
FURD SUMMIT 2016 REPORT
FURD SUMMIT 2016 REPORTFURD SUMMIT 2016 REPORT
FURD SUMMIT 2016 REPORT
FURD_RSU
 
FURD CITIES MONITOR VOL.11 (SEPTEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.11 (SEPTEMBER 2018)FURD CITIES MONITOR VOL.11 (SEPTEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.11 (SEPTEMBER 2018)
FURD_RSU
 
อนาคตของ เมือง / คน / ธุรกิจ
อนาคตของ เมือง / คน / ธุรกิจอนาคตของ เมือง / คน / ธุรกิจ
อนาคตของ เมือง / คน / ธุรกิจ
Missiontothemoon
 
นคราภิวัตน์กับการปฏิรูปการเมือง (ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์)
นคราภิวัตน์กับการปฏิรูปการเมือง (ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์)นคราภิวัตน์กับการปฏิรูปการเมือง (ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์)
นคราภิวัตน์กับการปฏิรูปการเมือง (ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์)
FURD_RSU
 
บทบาทใหม่ของเมืองในยุคดิจิทัล
บทบาทใหม่ของเมืองในยุคดิจิทัลบทบาทใหม่ของเมืองในยุคดิจิทัล
บทบาทใหม่ของเมืองในยุคดิจิทัล
FURD_RSU
 
FURD CITIES MONITOR VOL.4 (JULY 2017)
FURD CITIES MONITOR VOL.4 (JULY 2017)FURD CITIES MONITOR VOL.4 (JULY 2017)
FURD CITIES MONITOR VOL.4 (JULY 2017)
FURD_RSU
 
FURD CITIES MONITOR VOL.7 (DECEMBER 2017)
FURD CITIES MONITOR VOL.7 (DECEMBER 2017)FURD CITIES MONITOR VOL.7 (DECEMBER 2017)
FURD CITIES MONITOR VOL.7 (DECEMBER 2017)
FURD_RSU
 
สถานการณ์เมืองในภาคต่างๆ
สถานการณ์เมืองในภาคต่างๆ สถานการณ์เมืองในภาคต่างๆ
สถานการณ์เมืองในภาคต่างๆ
FURD_RSU
 
FURD CITIES MONITOR VOL.5 (SEPTEMBER 2017)
FURD CITIES MONITOR VOL.5 (SEPTEMBER 2017)FURD CITIES MONITOR VOL.5 (SEPTEMBER 2017)
FURD CITIES MONITOR VOL.5 (SEPTEMBER 2017)
FURD_RSU
 
การสร้างหลั่นล้าอีโคโนมี ด้วยการขับเคลื่อนสังคมบนฐานเศรษฐกิจวัฒนธรรมของพื้นที่
การสร้างหลั่นล้าอีโคโนมี ด้วยการขับเคลื่อนสังคมบนฐานเศรษฐกิจวัฒนธรรมของพื้นที่การสร้างหลั่นล้าอีโคโนมี ด้วยการขับเคลื่อนสังคมบนฐานเศรษฐกิจวัฒนธรรมของพื้นที่
การสร้างหลั่นล้าอีโคโนมี ด้วยการขับเคลื่อนสังคมบนฐานเศรษฐกิจวัฒนธรรมของพื้นที่
FURD_RSU
 

Similar to FURD Cities Monitor 1st Urban Think Tank Special Issue (14)

การกระจายตัวของความเป็นเมือง เทศบาลนครและเทศบาลเมืองที่ติดชายแดน
การกระจายตัวของความเป็นเมือง เทศบาลนครและเทศบาลเมืองที่ติดชายแดนการกระจายตัวของความเป็นเมือง เทศบาลนครและเทศบาลเมืองที่ติดชายแดน
การกระจายตัวของความเป็นเมือง เทศบาลนครและเทศบาลเมืองที่ติดชายแดน
 
การพัฒนาเมืองภายใต้นโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ: ชุมชนชายแดนด่านสะเดา
การพัฒนาเมืองภายใต้นโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ: ชุมชนชายแดนด่านสะเดาการพัฒนาเมืองภายใต้นโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ: ชุมชนชายแดนด่านสะเดา
การพัฒนาเมืองภายใต้นโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ: ชุมชนชายแดนด่านสะเดา
 
นโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาเมืองอย่างเหมาะสมและมีสุขภาวะ
นโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาเมืองอย่างเหมาะสมและมีสุขภาวะนโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาเมืองอย่างเหมาะสมและมีสุขภาวะ
นโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาเมืองอย่างเหมาะสมและมีสุขภาวะ
 
FURD SUMMIT 2016 REPORT
FURD SUMMIT 2016 REPORTFURD SUMMIT 2016 REPORT
FURD SUMMIT 2016 REPORT
 
ธุรกิจการท่องเที่ยว
ธุรกิจการท่องเที่ยวธุรกิจการท่องเที่ยว
ธุรกิจการท่องเที่ยว
 
FURD CITIES MONITOR VOL.11 (SEPTEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.11 (SEPTEMBER 2018)FURD CITIES MONITOR VOL.11 (SEPTEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.11 (SEPTEMBER 2018)
 
อนาคตของ เมือง / คน / ธุรกิจ
อนาคตของ เมือง / คน / ธุรกิจอนาคตของ เมือง / คน / ธุรกิจ
อนาคตของ เมือง / คน / ธุรกิจ
 
นคราภิวัตน์กับการปฏิรูปการเมือง (ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์)
นคราภิวัตน์กับการปฏิรูปการเมือง (ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์)นคราภิวัตน์กับการปฏิรูปการเมือง (ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์)
นคราภิวัตน์กับการปฏิรูปการเมือง (ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์)
 
บทบาทใหม่ของเมืองในยุคดิจิทัล
บทบาทใหม่ของเมืองในยุคดิจิทัลบทบาทใหม่ของเมืองในยุคดิจิทัล
บทบาทใหม่ของเมืองในยุคดิจิทัล
 
FURD CITIES MONITOR VOL.4 (JULY 2017)
FURD CITIES MONITOR VOL.4 (JULY 2017)FURD CITIES MONITOR VOL.4 (JULY 2017)
FURD CITIES MONITOR VOL.4 (JULY 2017)
 
FURD CITIES MONITOR VOL.7 (DECEMBER 2017)
FURD CITIES MONITOR VOL.7 (DECEMBER 2017)FURD CITIES MONITOR VOL.7 (DECEMBER 2017)
FURD CITIES MONITOR VOL.7 (DECEMBER 2017)
 
สถานการณ์เมืองในภาคต่างๆ
สถานการณ์เมืองในภาคต่างๆ สถานการณ์เมืองในภาคต่างๆ
สถานการณ์เมืองในภาคต่างๆ
 
FURD CITIES MONITOR VOL.5 (SEPTEMBER 2017)
FURD CITIES MONITOR VOL.5 (SEPTEMBER 2017)FURD CITIES MONITOR VOL.5 (SEPTEMBER 2017)
FURD CITIES MONITOR VOL.5 (SEPTEMBER 2017)
 
การสร้างหลั่นล้าอีโคโนมี ด้วยการขับเคลื่อนสังคมบนฐานเศรษฐกิจวัฒนธรรมของพื้นที่
การสร้างหลั่นล้าอีโคโนมี ด้วยการขับเคลื่อนสังคมบนฐานเศรษฐกิจวัฒนธรรมของพื้นที่การสร้างหลั่นล้าอีโคโนมี ด้วยการขับเคลื่อนสังคมบนฐานเศรษฐกิจวัฒนธรรมของพื้นที่
การสร้างหลั่นล้าอีโคโนมี ด้วยการขับเคลื่อนสังคมบนฐานเศรษฐกิจวัฒนธรรมของพื้นที่
 

More from FURD_RSU

เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็กเมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
FURD_RSU
 
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูลเมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
FURD_RSU
 
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคมเมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
FURD_RSU
 
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วมเมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
FURD_RSU
 
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
FURD_RSU
 
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
FURD_RSU
 
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
FURD_RSU
 
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อมเมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
FURD_RSU
 
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลกอี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
FURD_RSU
 
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุขInfo graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
FURD_RSU
 
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมืองinfo graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
FURD_RSU
 
info graphic นิยามของมรดกเมือง
info graphic นิยามของมรดกเมืองinfo graphic นิยามของมรดกเมือง
info graphic นิยามของมรดกเมือง
FURD_RSU
 
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทยInfo graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
FURD_RSU
 
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรังวิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
FURD_RSU
 
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคมเมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
FURD_RSU
 
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรีโมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
FURD_RSU
 
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
FURD_RSU
 
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
FURD_RSU
 
การสร้างเศรษฐกิจ ด้วยแนวคิดการผูกขาดของธรรมชาติ (Monopoly by Nature)
การสร้างเศรษฐกิจ ด้วยแนวคิดการผูกขาดของธรรมชาติ (Monopoly by Nature)การสร้างเศรษฐกิจ ด้วยแนวคิดการผูกขาดของธรรมชาติ (Monopoly by Nature)
การสร้างเศรษฐกิจ ด้วยแนวคิดการผูกขาดของธรรมชาติ (Monopoly by Nature)
FURD_RSU
 
FURD CITIES MONITOR VOL.12 (NOVEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.12 (NOVEMBER 2018)FURD CITIES MONITOR VOL.12 (NOVEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.12 (NOVEMBER 2018)
FURD_RSU
 

More from FURD_RSU (20)

เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็กเมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
 
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูลเมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
 
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคมเมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
 
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วมเมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
 
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
 
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
 
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
 
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อมเมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
 
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลกอี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
 
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุขInfo graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
 
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมืองinfo graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
 
info graphic นิยามของมรดกเมือง
info graphic นิยามของมรดกเมืองinfo graphic นิยามของมรดกเมือง
info graphic นิยามของมรดกเมือง
 
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทยInfo graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
 
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรังวิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
 
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคมเมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
 
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรีโมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
 
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
 
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
 
การสร้างเศรษฐกิจ ด้วยแนวคิดการผูกขาดของธรรมชาติ (Monopoly by Nature)
การสร้างเศรษฐกิจ ด้วยแนวคิดการผูกขาดของธรรมชาติ (Monopoly by Nature)การสร้างเศรษฐกิจ ด้วยแนวคิดการผูกขาดของธรรมชาติ (Monopoly by Nature)
การสร้างเศรษฐกิจ ด้วยแนวคิดการผูกขาดของธรรมชาติ (Monopoly by Nature)
 
FURD CITIES MONITOR VOL.12 (NOVEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.12 (NOVEMBER 2018)FURD CITIES MONITOR VOL.12 (NOVEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.12 (NOVEMBER 2018)
 

FURD Cities Monitor 1st Urban Think Tank Special Issue

  • 1. FURD Cities Monitor Special | i
  • 2. 1 | FURD Cities Monitor Special บรรณาธิการ ยุวดี คาดการณ์ไกล ผู้ช่วยบรรณาธิการ อรุณ สถิตพงศ์สถาพร กองบรรณาธิการ ณัฐธิดา เย็นบารุง อรุณ สถิตพงศ์สถาพร ออกแบบและรูปเล่ม อรุณ สถิตพงศ์สถาพร ภาพปก อรุณ สถิตพงศ์สถาพร ภาพในเล่ม ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง Freepik.com เผยแพร่ ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต 637/1 อาคารพร้อมพันธุ์ 1 ชั้น 4 ถนนลาดพร้าว แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 CONTACT US www.furd-rsu.org Tel. (+66) 2938 8826 Fax. (+66) 2938 8864 E-mail: furd_2014@gmail.com คนไทยที่เกิดก่อนยุค 1970s อาจเคยมีประสบการณ์เห็นความยากลาบากทุรกันดารของเมืองไทย ไม่ใช่ทุกที่ที่จะมีถนนเข้าถึง แต่มาวันนี้เมืองของไทยต่าง เชื่อมโยงกับทั้งภายในและต่างประเทศได้สะดวกรวดเร็ว ด้วยโครงสร้างพื้นฐาน ถนนทางหลวงและสนามบินที่ขยายตัวครอบคลุมค่อนประเทศ เราจึ ความเจริญและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของคนไทย มานาเสนอในที่นี้ ได้แก่ เมืองยะลา เมืองสายบุรี เมืองผาปัง เมืองอุดรธานี ซึ่งหลายพื้นที่กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวสาคัญ เป็นหมุดห เสน่ห์ดึงดูงทั้งนักท่องเที่ยวไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติ มาวันนี้ ภาคส่วนต่างๆ อาจมองว่าเมืองของไทยควรยกระดับเป็น เทคโนโลยีที่ล้าหน้าทันสมัยมาใช้ ต้องมีงบประมาณจานวนมากมาสนับสนุน และต้องไปดูงาน Lawrence Morgan เขากลับให้มุมมองว่า เมืองของไทยเป็นต้นแบบ คานึงถึงไม่ใช่เทคโนโลยี ประเทศไทยของเรามีคนที่มีเมตตา โอบอ้อมอารี มีน้าใจ อยู่ร่วมกันเป็นชุมชน มีความรู้สึกถึงบ้านเมืองเป็นขอ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เป็นทุนทางสังคมของไทยที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งเงินทุนจานวนมากเท่าใดก็หาซื้อไม่ได้ ดังนั้น การที่คนไทยทุกคนต่างต้องการเห็นการปฏิรูปประเทศที่ล้าหน้าและมีอารยะนั้น ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ จึงเห็นว่า เรามิอาจมอ ทางสังคมของไทย ซึ่งเราละเลยมานาน หากเราต้องใช้ท้องถิ่นและพื้นที่ที่เป็นเมือง นคร หรือกรุง มาเป็นพลัง ให้กลายเป็นกลจักรสาคัญใน ปรากฏการณ์นคราภิวัตน์จึงเป็นโอกาสของการปฏิรูปประเทศ ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การศึกษาและการเมือง ในวันนี้และวันข้างหน้า อาหารคนเมือง เรามีทางเลือกแค่ไหน เมืองไทยมีดีอะไร ทาไม Digital Nomad ทั่วโลกต้องมา เมืองของไทย ต้นแบบ Smart City ของโลก นคราภิวัตน์ กับการปฏิรูปการเมือง FURD Cities Monitor Special | 2 เมืองผาปัง เมืองสุขภาพดี มีตังค์ ยั่งยืน อุดรธานี เมืองมี “ทุน” มุ่งสู่เศรษฐกิจ “หลั่นล้า” Yala Bird City ยะลา เมืองเศรษฐกิจสร้างสรรค์ จิตวิญญาณคนสายบุรี Spirits of Saiburi อาจเคยมีประสบการณ์เห็นความยากลาบากทุรกันดารของเมืองไทย ไม่ใช่ทุกที่ที่จะมีถนนเข้าถึง แต่มาวันนี้เมืองของไทยต่าง เชื่อมโยงกับทั้งภายในและต่างประเทศได้สะดวกรวดเร็ว ด้วยโครงสร้างพื้นฐาน ถนนทางหลวงและสนามบินที่ขยายตัวครอบคลุมค่อนประเทศ เราจึงมิอาจปฏิเสธถึง ความเจริญและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของคนไทย ปรากฏการณ์ความเป็นเมืองหรือที่เรียกกันว่า นคราภิวัตน์ (Urbanization) เกิดขึ้นมากมาย ดังตัวอย่างที่ได้หยิบยก มานาเสนอในที่นี้ ได้แก่ เมืองยะลา เมืองสายบุรี เมืองผาปัง เมืองอุดรธานี ซึ่งหลายพื้นที่กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวสาคัญ เป็นหมุดหมายที่ต้องไปเยือน และเป็น เสน่ห์ดึงดูงทั้งนักท่องเที่ยวไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติ มาวันนี้ ภาคส่วนต่างๆ อาจมองว่าเมืองของไทยควรยกระดับเป็น Smart City ตามแนวคิดต่างชาติ ในจินตนาการของเราหลายคนคงนึกถึงแต่การนา เทคโนโลยีที่ล้าหน้าทันสมัยมาใช้ ต้องมีงบประมาณจานวนมากมาสนับสนุน และต้องไปดูงาน Smart City ที่เมืองนอก แต่น่าสนใจที่มีนักพัฒนาเมืองอย่าง เขากลับให้มุมมองว่า เมืองของไทยเป็นต้นแบบ Smart City ของโลกได้ เพราะสิ่งที่เป็นหัวใจของ Smart City คือ คน อันเป็นปัจจัยแรกที่ควร คานึงถึงไม่ใช่เทคโนโลยี ประเทศไทยของเรามีคนที่มีเมตตา โอบอ้อมอารี มีน้าใจ อยู่ร่วมกันเป็นชุมชน มีความรู้สึกถึงบ้านเมืองเป็นของส่วนรวมที่ต้องช่วยเหลือกัน ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เป็นทุนทางสังคมของไทยที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งเงินทุนจานวนมากเท่าใดก็หาซื้อไม่ได้ ดังนั้น การที่คนไทยทุกคนต่างต้องการเห็นการปฏิรูปประเทศที่ล้าหน้าและมีอารยะนั้น ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ จึงเห็นว่า เรามิอาจมองข้ามท้องถิ่นและทุน ทางสังคมของไทย ซึ่งเราละเลยมานาน หากเราต้องใช้ท้องถิ่นและพื้นที่ที่เป็นเมือง นคร หรือกรุง มาเป็นพลัง ให้กลายเป็นกลจักรสาคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนา ปรากฏการณ์นคราภิวัตน์จึงเป็นโอกาสของการปฏิรูปประเทศ ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การศึกษาและการเมือง ในวันนี้และวันข้างหน้า ยุวดี คาดการณ์ไกล บรรณาธิการ อาหารคนเมือง เรามีทางเลือกแค่ไหน เมืองไทยมีดีอะไร Digital Nomad ทั่วโลกต้องมา เมืองของไทย ของโลก นคราภิวัตน์ กับการปฏิรูปการเมือง
  • 3. 1 | FURD Cities Monitor Specialสรุปความจากปาฐกถาเรื่อง นคราภิวัตน์กับการปฏิรูปการเมือง ในงานเสวนา "เมือง กิน คน : นคราภิวัตน์ การพัฒนาเมือง และสุขภาวะของคนเ FURD Cities Monitor Special | 2สรุปความจากปาฐกถาเรื่อง นคราภิวัตน์กับการปฏิรูปการเมือง ในงานเสวนา "เมือง กิน คน : นคราภิวัตน์ การพัฒนาเมือง และสุขภาวะของคนเมืองใหญ่” ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 31 ตุลาคม 2560
  • 4. 3 | FURD Cities Monitor Special FURD Cities Monitor Special | 4 ประเทศไทยเวลานี้มีกระบวนการที่เรียกว่า “นคราภิวัตน์” คือ กาลังกลายเป็นเมือง นคราภิวัตน์ อาจเกิดขึ้นเมื่อเรานา ประเทศเข้าสู่ความ “อารยะ” มีเมืองเป็นศูนย์กลาง หรือหน่วยการ ปกครองในการบริหารประเทศ ต่อมาเมืองขยายตัวเพราะการซื้อ ขายสินค้าเกษตร เมืองกลายเป็นโกดัง เป็นร้านค้ารับซื้อ รับขาย สินค้าเกษตร ต่อมายังขยายตัวอีกเพราะอุตสาหกรรม กรุงเทพ ชลบุรี นครปฐม เติบโตจากภาคอุตสาหกรรมด้วย ภาคตะวันออก ภาคกลาง ปริมณฑลก็เติบโตด้วยภาคอุตสาหกรรมทั้งสิ้น ต่อมาอีก ระยะหนึ่งนคราภิวัตน์ เกิดจากการท่องเที่ยว เมืองหลายเมืองโต ขึ้นมาเพราะการท่องเที่ยว เช่น ภูเก็ต สมุย พัทยา เชียงใหม่ เชียงราย เมื่อ 10-20 ปีที่ผ่านมา นคราภิวัตน์ เกิดคู่กับการกระจาย อานาจการพัฒนาการปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นมีบทบาทอย่างมากในการปรับปรุงเมือง และล่าสุดนี้กระแส นคราภิวัตน์เกิดจากกระแสการท่องเที่ยวของไทย เมืองของเรา ทั้งหมดรับแขกต่างประเทศปีละหลายสิบล้าน โดยเฉพาะกรุงเทพ รับแขกจากต่างประเทศปีละ 20 ล้านได้ โลกของเราเป็น “เมือง” มากกว่า “ชนบท” แล้ว เวลานี้ ประชากรทั้งโลกที่อยู่ในเขตเมืองมากกว่าที่อยู่ในเขตชนบทแล้ว ในไทยขณะนี้ เมืองกับชนบทก็น่าจะมีประชากรเท่าๆ กัน นับจาก ประชากรที่อยู่ใน กรุงเทพฯ อยู่ในเทศบาลนคร และอยู่ในเทศบาล เมือง กับประชากรที่อยู่ใน อบต. อยู่ในเทศบาลตาบล จานวน ใกล้เคียงกัน และตาบลและหมู่บ้านที่เรายังไม่เต็มใจที่จะเรียกว่า เมืองก็ไม่ใช่ชนบทอย่างเดิมแล้ว ไม่มีชนบทที่ล้าหลัง ไกลปืนเที่ยง คนส่วนใหญ่ก็เป็นผู้ประกอบการหรือเป็นชนชั้นกลาง ไม่ใช่
  • 5. 5 | FURD Cities Monitor Special วิธีที่เราบริหารเมือง นคร และมหานคร ถ้า ถามว่าหน่วยงานไหนของราชการที่สร้างเมือง มากที่สุด ผมคิดว่าน่าจะกรมทางหลวงและน่าจะ เป็นการรถไฟ คือเมืองมันเกิดของมันเอง มัน ไม่ได้มีหน่วยงานไหน สร้างอย่างมีแผน ในนานา ประเทศที่อารยะ การบริหารเมืองเป็นเรื่องของ การปกครองส่วนท้องถิ่น เมืองของต่างประเทศ เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมืองวอชิงตัน ดี.ซี. คนที่ดูแล คือเทศบาลวอชิงตัน ดี.ซี.ใน ประเทศไทย เราบริหารเมืองโดยใช้ราชการ ส่วนกลางน่าจะเป็นหลัก แล้วมีราชการส่วน ภูมิภาคลงมาช่วย ท้องถิ่นมีบทบาทน้อยในการ สร้างเมือง กล่าวโดยสรุป เราเติบโตด้วย ส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่นนั้นมี บทบาทเสริมเท่านั้น นคราภิวัตน์กับการปฏิรูปการเมือง ประเด็นที่สาคัญ คือต้องพยายามคิด พยายามทา ให้มากขึ้น โดยให้เมือง นคร กรุง หรือพื้นที่มี บทบาท มีความคิดริเริ่ม มีความสร้างสรรค์ให้ มากขึ้น การพัฒนาประเทศของเรา การพัฒนา การเมืองของเรา การปฏิรูประบบราชการของเรา น้อยครั้งที่เราจะคิดจากพื้นที่ เราจะคิดจากกรม หรือกระทรวง คิดจากลักษณะของงานเป็นหลัก เราต้องพยายามคิดเป็นพื้นที่ให้มากขึ้น เช่น เรา จะปฏิรูป จะพัฒนาเมืองชายแดนอย่างไร เพราะ เมืองชายแดนของไทยพิเศษมาก เมืองชายแดน เติบโต และลงตัวได้เองโดยไม่ต้องมาขึ้นกับกรม กระทรวงมากนัก วิธีคิดเดิมของเรานั้นทุกอย่าง ขึ้นอยู่กับกรม กระทรวง พื้นที่เป็นเพียง ภาคสนามของกรมและกระทรวง จังหวัดของเรา ก็เป็นเพียงภาคสนามของภูมิภาคและส่วนกลาง เมืองในฐานะหน่วยหลัก ในการพัฒนาประเทศ ทบทวนการบริหาร FURD Cities Monitor Special | 6 หากไม่มองเป็นประเทศ มองเป็นเมืองแทน ผมคิดว่าอนาคตค่อนข้างจะ สดใส แต่ถ้าผมมองประเทศไทย ผมไม่ค่อยเห็นอะไรมากนัก เพราะฉะนั้น ผมคิด ว่าในการปฏิรูปการเมือง นคราภิวัตน์ก็เป็นความหวัง เป็นพลัง เป็นเจ้าของการ พัฒนาและปฏิรูปที่สาคัญ กระบวนการรักบ้านหรือ “ฮักบ้าน” กระบวนการ “สร้างบ้านแปงเมือง” หรือกระบวนการร่วมแรงร่วมใจสร้างบ้านสร้างเมืองของเรา มันจะช่วยเสริมสร้าง จิตใจ มันจะทาให้มีความหวัง จะยกระดับความเป็นจิตอาสา ทาคนให้เป็นคนของ เมืองจริงๆ ถ้ากล่าวในแง่การปฏิรูปการพัฒนาการเมืองก็จะคล้ายๆ กับที่พวก กรีกโบราณเรียกว่า เป็น Self-Government Democracy คือเป็นประชาธิปไตยที่ ประชาชนชาวเมืองปกครองตนเองมากขึ้น ต้องใช้ชุมชน ใช้องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นทา ผลักดันการกระจายอานาจ ผลักดันองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ พัฒนายิ่งขึ้น ในการกระจายอานาจและการปกครองส่วนท้องถิ่นจะไม่ได้ทาเพื่อ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเอง แต่จะทาเพื่อจะให้สิ่งเหล่านี้เป็นพลังไปเสริมกับ กระบวนการสร้างบ้านสร้างเมืองของประชาชนเอง ทาให้เกิดเป็นเศรษฐกิจ เกิด เป็นรายได้ เกิดเป็นวัฒนธรรม เกิดเป็นความภาคภูมิใจของชาติของประเทศ เพราะฉะนั้น นคราภิวัตน์กับการปฏิรูป ส่วนหนึ่งต้องคิดว่า ต้องทาอย่างไรให้หน่วย (Unit) ในการคิดของเราไม่จากัดแค่เพียงชาติหรือประเทศ หรือบ้านเมืองที่หมายถึงชาติ หรือเศรษฐกิจที่หมายถึงเศรษฐกิจชาติอย่างเดียว จะต้องสนใจเมือง นคร ให้มากขึ้น จะต้องสร้างเมืองนิยม จะต้องสร้างประวัติศาสตร์เมือง จะต้องสร้างความภูมิใจ จะต้อง เชิดชูเมืองให้มากกว่านี้ มันจะต้องมี “ใจของเมือง” ซึ่งมันจะต้องเปลี่ยนจากภายใน (Inner Revolution) ด้วย เป็นการปฏิรูปจากภายใน หล่อหลอมกันไปเป็นจิตใจของเมือง ชาวเมือง ขยันพัฒนาสร้างบ้านแปงมือง ถ้าทาแบบนี้ได้ เมือง นคร มหานคร จะกลายเป็นหน่วย สาคัญของการปฏิรูปประเทศในภาพรวมได้ ไม่ใช่แค่หน่วยงานราชการ พลังสาคัญที่ไม่เป็นทางการ ติดตามบทความฉบับเต็มได้ที่ นคราภิวัตน์กับการปฏิรูปการเมือง โดย ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ (http://furd-rsu.org/?page_id=4687)
  • 6. 7 | FURD Cities Monitor Special *ถอดความและเรียบเรียงจากการบรรยายเรื่อง Future of Urban Space Transformation & Utilization โดย Mr. Lawrence Morgan, CEO, Nest Global เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2561 ณ โรงละคร K Bank สยามพิฆเณศ อาคารสยามสแควร์ วัน เขตปทุมวัน กทม. FURD Cities Monitor Special | 8 Mr. Lawrence Morgan, CEO, Nest Global ในเวที District Summit 2018 จัดโดยสานักงานวัตกรรมแห่งชาติ เราอยู่ในยุคแรกเริ่มของการเปลี่ยนแปลงทาง เทคโนโลยีครั้งใหม่ คนรุ่นเรามีโอกาสเพียงครั้งเดียวที่จะ ปฏิรูปโครงสร้างเมืองเพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรอย่าง ยั่งยืน ในยุคที่เมืองกาลังเติบโต ความจริงแล้ว กรุงเทพ ขอนแก่น เชียงใหม่ และเมืองอื่นๆ ของไทยนั้น อยู่ในฐานะที่จะเป็น ตัวอย่างเมือง Smart ของโลกได้เป็นอย่างดี เพราะใน ความเป็นจริง เทคโนโลยี ไม่ว่าจะเอามาใช้ในเมือง หรือ เอาไปใช้ด้านอื่นๆ เป็นเพียงแค่ “เครื่องมือ” และ “กลไกที่นำไปสู่กำรปฏิบัติ” เทคโนโลยีไม่ได้เป็น ตัวกาหนดเป้าหมายหรือรับประกันผลสาเร็จตามที่ คาดหวัง ในแง่นี้ เทคโนโลยีก็เหมือนกับนโยบายและ โครงสร้างทั้งหลาย ที่เป็นแค่เครื่องมือเท่านั้น กุญแจหลักสู่การสร้างเมือง Smart ให้สาเร็จ คือ “คน” ซึ่งเป็นสมบัติของชาติไทย คนไทยมีจิตใจ ความมุ่งมั่น และความใฝ่ฝันที่จะสร้างให้เมืองของตนเป็น เมืองที่ Smart ความรู้สึกว่าเราทุกคนต่างเป็นส่วน หนึ่งของชุมชน ของบ้าน ของเมือง (sense of com- munity) ความเมตตาอารี และน้าใจไมตรีจิตของ ผู้คน หรือกล่าวโดยรวมก็คือ ความรู้สึกว่าบ้านเมือง ส่วนรวมเป็นเรื่องของเราทุกๆ คน (collective own- ership) นี้เอง ที่เป็นสิ่งที่สาคัญอย่างยิ่งในยามที่เมือง ของเรากาลังเติบโต เมืองในประเทศอื่นๆ ต่างทุ่มงบประมาณ มหาศาลในการออกแคมเปญและโครงการต่างๆ เพื่อ ปลูกฝังบรรยากาศของความแบ่งปันโอบอ้อมอารีให้ เกิดขึ้นในหมู่ผู้คนในเมือง ซึ่งมักจะไม่ค่อยประสบ ผลสาเร็จมากนัก วัฒนธรรม ปฏิสัมพันธ์ของผู้คน ความ เป็นชุมชน และความเป็นส่วนรวมนี้เองที่ทาให้เมือง มีเสน่ห์ น่าเดินทางมารู้จัก มิใช่วัตถุอย่าง Science Park มูลค่าหลายพันล้าน รถเมล์ไฟฟ้ า หรือ Smart Building อันทันสมัย ดังนั้น วัฒนธรรมและพลัง ชุมชนเหล่านี้จึงเป็นความภูมิใจของประเทศไทย
  • 7. 9 | FURD Cities Monitor Special สาหรับคนไทยนั้น ความสาเร็จของชุมชน ของ บ้านเมือง และของส่วนรวม ก็คือความสาเร็จส่วนบุคคล ของคนแต่ละคนด้วย ฉะนั้น วันนี้คนไทยต้องเลือกว่าเรา จะสร้างเมือง Smart ประเภทไหน ผมอยากจะชี้ให้เห็นว่า ส่วนที่ทาให้สาเร็จได้ยากที่สุดในสมการนี้คือสิ่งที่ เมืองไทยมีกันอยู่แล้ว นั่นคือ ความรุ่มรวยทางวัฒนธรรม และความโอบอ้อมอารีกันในสังคม ถ้าคนไทยกาหนด นโยบาย ใช้เทคโนโลยี และสร้างโครงสร้างกายภาพ ต่างๆ มาเสริม มารองรับทุนที่สังคมของเรามีอยู่แล้ว ฉะนั้น การสร้างเมือง Smart ที่ดี ให้เป็นพื้นที่ของชีวิตที่ดี มีสุขภาวะ สร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ก็เป็น อันหวังได้ ที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ผมไม่ได้กล่าวเกินจริงเพื่อ เอาใจผู้ฟัง อย่าลืมว่าที่ผ่านมา กรุงเทพฯ ได้รับการ ลงคะแนนเสียงจากคนทั่วโลกให้เป็น “เมืองที่ดีที่สุดของ โลก” และยังได้รับการจัดอันดับให้เป็นสุดยอดเมือง สาหรับการเริ่มธุรกิจ Start Up เป็นเมืองอันดับหนึ่งที่เป็น เป้าหมายของนักเดินทาง เป็นเมืองที่สะดวกสาหรับการ ทาธุรกิจมากที่สุดในโลก ฯลฯ และรั้งอันดับหนึ่งในทุก สถิติที่กล่าวมานี้ติดกันมาหลายปีแล้ว ซึ่งสิ่งสาคัญที่ทา ให้กรุงเทพฯ มาอยู่ในจุดนี้ได้ก็คือ วัฒนธรรมของเมือง ของประเทศนี้นั่นเอง และจากการเป็นเมืองที่ดีที่สุดในโลก จะขยับไปสู่ การเป็นเมือง Smart ที่ดีที่สุดในโลกนั้น รากฐานก็ยังคง เหมือนเดิม นั่นคือ ผู้คนในเมืองคือสิ่งที่สร้างเมือง มิใช่ ในทางกลับกัน ผมอยากให้ลองจินตนาการว่า ในวันข้างหน้า พวกคุณอยากอยู่ในเมืองแบบไหน เมืองที่คุณอยากอยู่ นั้นจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร การอยู่ในเมืองแบบนั้นจะรู้สึก อย่างไร พวกเราจะเดินทางไปทางานกันอย่างไร หรือ พวกเราจะเดินทางไปทางานกัน หรือไม่ ลองจินตนาการ ถึงเมืองที่มีอากาศสะอาด สดใส และสดชื่นบริสุทธิ์เสียยิ่ง กว่าในชนบท ลองจินตนาการถึงเมืองที่เราสามารถสั่งผัก ผลไม้ ที่ปลูกถัดไปสองสามซอย มาส่งที่บ้านได้ ลอง จินตนาการถึงเมืองที่เงียบสงบจนสามารถได้ยินเสียงนก ร้องและนอนหลับได้อย่างสบายได้ยามกลางคืน สิ่งที่ทา ให้ผมรู้สึกตื่นเต้นคือ ตัวอย่างเหล่านี้ใกล้จะกลายเป็นจริง และสิ่งเหล่านี้ยังเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของผลที่จะเกิดขึ้น จากการสร้างเมือง Smart และเพราะเราต่างก็อยู่ในช่วง เริ่มต้นของความเปลี่ยนแปลงนี้ จึงไม่อาจมีเมืองใดอ้าง ได้ว่าตนนาหน้าเมืองอื่นๆ อยู่มากนักในเรื่องเหล่านี้ FURD Cities Monitor Special | 10 แทนที่เราจะมุ่งไปที่เรื่องเทคโนโลยี ซึ่งเป็นเพียง เครื่องมือ ผมจึงอยากจะวัดว่าเมืองใดเป็นตัวอย่างเมือง Smart ด้วยผลที่เกิดขึ้นจริงมากกว่า เมื่อผมมานั่ง พิจารณาว่าเมือง Smart ที่ดีและประสบความสาเร็จควรมี ลักษณะสาคัญอะไร ผมสรุปได้อย่างน้อยสามประการ ดังนี้ ประการแรก เมือง Smart ที่เป็นแบบอย่างได้ ต้องเป็ นเมืองที่ยั่งยืน ใ น ยุค ที่เร าก าลังเร่ง กระบวนการ “นคราภิวัตน์” นี้ เราไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากการสร้างเมืองของเราให้ยั่งยืน หากเราต้องการ ให้เมืองของเราเป็นเมืองที่น่าดึงดูดสาหรับผู้อื่น และที่ สาคัญยิ่งกว่าคือเป็นเมืองสุขภาวะดีสาหรับผู้ที่อาศัยอยู่ใน เมืองนั้น กุญแจสาคัญในการสร้างเมืองให้ยั่งยืน อยู่ที่ การจัดการกับความท้าทายที่เรากาลังเผชิญอยู่ ทั้งเรื่อง มลภาวะ ความแออัด อาหารในเมือง และการจัดการขยะ และของเสียของเมือง ประการที่สอง เมือง Smart ต้องเป็นเมืองที่มี ความสะดวกสบาย เพราะความสะดวกสบาย หมายถึง “ประสิทธิภาพ” ของเมืองที่ผมอยากเห็นในเมือง Smart ของเรา เช่น เป็นเมืองที่ผู้คนใช้เวลากับการ เดินทางสั้นลง และเป็นเมืองที่ลดการใช้ทรัพยากรอย่าง สิ้นเปลือง ประการสุดท้าย เมือง Smart ต้องให้ ความสาคัญกับคน เพราะผมไม่อยากเป็ นเพียง ปัจเจกนิรนามคนหนึ่งที่อาศัยอยู่ในเมือง แต่ผมอยากเป็น ส่วนหนึ่งของชุมชน และรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของเมืองที่ผม อยู่ สาหรับเรื่องความยั่งยืน นับจากอดีต เมืองถูก สร้างขึ้นเพื่อรวบรวม จัดการ และแลกเปลี่ยนทรัพยากร จากทั่วทั้งประเทศ แต่เมืองในวันพรุ่งนี้จาเป็นจะต้องรู้จัก ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรของเมืองนั้นเอง เราเคยพูดกัน ถึง Green Building หรืออาคารที่ลดการใช้ทรัพยากร แต่ ตอนนี้เราจาเป็นต้องพูดถึง Carbon-Positive Building หรืออาคารที่สามารถผลิตพลังงานได้เกินกว่าที่ตัวเอง บริโภค เราต้องทาให้เรื่องการผลิตพลังงานที่สามารถนา กลับมาใช้ใหม่ได้ (renewable) เข้าไปอยู่ในทุกๆ เรื่อง ของกิจกรรมและโครงสร้างในเมืองของเรา
  • 8. 11 | FURD Cities Monitor Special ในเรื่องความสะดวกสบาย เราเริ่มพูดถึงการ ออกแบบอาคารที่ใช้งานได้หลายวัตถุประสงค์ โครงสร้าง และส่วนประกอบของอาคารที่ก้าวหน้าในปัจจุบันทาให้ เราสร้างอาคารได้สูงและมีความยืดหยุ่นในการใช้งาน มากขึ้น การปรับการใช้งานพื้นที่ในตัวอาคารในยุคใหม่ ทาให้เส้นแบ่งการจัดสรรพื้นที่ใช้งานที่เคยเป็นมาใน รูปแบบดั้งเดิมเบาบางลง เช่น หันมาใช้พื้นที่โรงเรียน อนุบาลร่วมกับศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ หรือออฟฟิศสมัยใหม่ที่ มีทั้งร้านอาหารและคลับอยู่ในนั้น สอดคล้องกับวิถีชีวิต ของคนยุคมิลเลนเนียมและที่เด็กกว่าที่มิได้แยกส่วนเรื่อง งาน การใช้ชีวิต และการเล่นหรือพักผ่อนออกจากกัน เหมือนคนสมัยก่อนหน้าอีกแล้ว เมื่อบ้านส่วนตัวของพวกเรามีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ กิจกรรมทางสังคมส่วนใหญ่ก็จะต้องออกมาใช้พื้นที่ สาธารณะมากขึ้น ตัวอย่างเช่น ในเมืองนั้น ห้องอาหาร ในอะพาร์ตเมนต์ถูกแทนที่ด้วยร้านอาหารมานานแล้ว แต่เรายังสามารถเข้าครัวทาอาหารให้เพื่อนของเรา รับประทานได้ในครัวที่เราเช่าเป็นรายชั่วโมง ลองคิดดูว่า สวนสาธารณะของเมืองนั้นได้กลายเป็น “สวนหลังบ้าน ร่วมกันของคนเมือง” ไปแล้ว (เช่น สวนลุมพินี) ห้างสรรพสินค้าคือห้องนั่งเล่นของคนเมืองสมัยใหม่ และ เหล่านายกเทศมนตรีเมืองต่างๆ ในโลกกาลัง กระตือรือร้นในการหาวิธีที่ดีสุดในการปรับเปลี่ยนถนน และที่จอดรถให้เป็นเลนจักรยานและฟาร์มของเมือง หลังจากที่เศรษฐกิจแบบแบ่งปัน (shared economy) อีกทั้งความตระหนักในวงกว้างเกี่ยวกับผลกระทบจาก มลภาวะของเมืองและการพัฒนายานพาหนะไร้คนขับ ก็ ทาให้ถนนมีความจาเป็นน้อยลงด้วย FURD Cities Monitor Special | 12 ในมุมของผู้คนในเมือง ในขณะที่บรรดาเมือง ขนาดยักษ์ (Megacity) เติบโตขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต รัศมีของชีวิตของเราแต่ละคนในเมืองจะหดเล็กลง เมืองขนาดใหญ่จะมีลักษณะคล้ายกับหมู่บ้าน หลายๆ หมู่บ้านที่เชื่อมต่อกันมากขึ้น และคนใน ชุมชนใช้ชีวิตส่วนมากอยู่ในย่านของตนเอง อันมี โครงสร้างพื้นฐานของเมืองครบครัน เช่น โรงเรียน ที่ ทางาน โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า โรงภาพยนตร์ เมืองลักษณะนี้จะมาแทนที่เมืองที่รวมบริการทุกอย่างอยู่ ในศูนย์กลางแห่งเดียว ซึ่งคนในเมืองต้องเดินทางไกล ข้ามเมืองเพื่อเข้ามาใช้บริการต่างๆ แนวทางการพัฒนา เมืองแบบเป็นย่านๆ (hyperlocal) นี้จะยิ่งถูกเสริมด้วย การเติบโตของการสร้างโกดังสินค้าขนาดใหญ่สาหรับ อีคอมเมิร์ซ ที่ตั้งอยู่ห่างออกไปนอกเมือง และขนส่งเข้า มาในเมืองด้วยโดรนหรือ Hyperloop เหตุใดจึงเชื่อว่า วิถีชีวิตแบบ “หมู่บ้าน” ใน เมืองใหญ่นี้คือหนทางที่ดีสาหรับการพัฒนาเมืองใน อนาคต? นั่นเพราะมันจะนามาซึ่งชีวิตแบบชุมชน (community) ที่ทุกคนมีตัวตน รู้จักกัน และมีส่วนร่วมใน กิจการของที่ที่ตนอยู่ เกิดแนวทางพัฒนาเมืองที่ยึดคน เป็นศูนย์กลางและเกิดสานึกการเป็นส่วนหนึ่งของ ชุมชน ของบ้านเมือง เข้ามาสู่วิถีชีวิตแบบเมือง ที่ใน ปัจจุบันเป็นแบบปัจเจกต่างคนต่างอยู่ ใช้ชีวิตในเมือง เดียวกันโดยไม่รู้จักกัน และไม่มีส่วนร่วมกับที่ที่ตนอยู่ (anonymity) อนึ่ง “หมู่บ้าน” ที่ว่านี้ ไม่จาเป็นต้องเป็น แนวราบ อาจเป็น “หมู่บ้านแนวตั้ง” ก็ได้ ขณะที่เมืองในอดีตคือที่ที่ผู้คนอพยพเข้ามา เพื่อหางานทา การพัฒนาเมืองในอนาคตจะเป็นการ คิดใหม่เพื่อย้าเรื่องการเชื่อมโยง (connectivity) เรื่อง ความเป็นชุมชนและบ้านเมือง (community) และ วัฒนธรรม (culture) ให้มากที่สุด นี่คือเหตุผลที่ว่า ทาไมกรุงเทพฯ และเมืองอื่นๆ ของไทยจึงมีศักยภาพ อย่างยิ่งที่จะเป็นต้นแบบเมือง Smart ของโลก ที่จะ สร้างสรรค์เมืองที่ยั่งยืน สะดวกสบาย และเหนือสิ่ง อื่นใดคือ เมืองที่ยึดเอาผู้คนในเมืองมาเป็นหลักใน การพัฒนาได้
  • 9. 13 | FURD Cities Monitor Special FURD Cities Monitor Special | 14 ในการทางานโดยทั่วไปแล้วจาเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีสถานที่ทางานเป็นหลักแหล่ง เพื่อให้ผู้ที่ เกี่ยวข้องสามารถทาและประสานงานระหว่างกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว แต่ในปัจจุบันด้วยกระแส ของโลกาภิวัตน์ทาให้ข้อจากัดเรื่องเวลาและสถานที่ลดลงไปมาก เป็นผลจากเทคโนโลยีใหม่ ๆ โดยเฉพาะอิทธิพลของอินเทอร์เน็ตที่นับวันจะยิ่งมีราคาถูกลงและมีคุณภาพมากขึ้น ดังที่ผู้อ่าน หลายท่านคงเคยวิดีโอคอล หรือกระทั่งประชุมออนไลน์มาแล้ว เรียกได้ว่าทุกวันนี้เราหยิบจับ โทรศัพท์มือถือเพื่อใช้งานอินเทอร์เน็ตมากกว่าใช้โทรหากันด้วยซ้า อีกประการคือการเดินทางมี ราคาถูกลงจากอดีตมาก จากการเกิดขึ้นของสายการบินต้นทุนต่าทั่วโลกและการที่ประเทศต่าง ๆ เห็นความสาคัญของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้วยเหตุนี้เองทาเกิดให้รูปแบบการทางานใหม่ที่ไม่จาเป็นต้องเป็น“พนักงานออฟฟิศ”อีกแล้ว โดยเฉพาะหากงานนั้นสามารถทาจากที่ไหนก็ได้บนโลกขอเพียงมีคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต เท่านั้น เช่น โปรแกรมเมอร์ นักเขียน และ นักธุรกิจ E-Commerce เมื่อสามารถทางานจากที่ไหนก็ได้ ทาให้มีคนกลุ่มหนึ่งเลือกรูปแบบการใช้ชีวิตที่เดินทางเปลี่ยนที่พักอาศัยอยู่เสมอด้วยกับหลาย เหตุผล ซึ่งคนที่ใช้ชีวิตแบบนี้มีชื่อเรียกว่า “Digital Nomad” หรือ “นักพเนจรดิจิตัล” ซึ่งในอนาคต จะมีมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามกระแสโลกาภิวัตน์ที่ไม่หยุดยั้ง - อุสมาน วาจิ -
  • 10. 15 | FURD Cities Monitor Special แม้ในปัจจุบันรัฐบาลจะพยายาม ยกระดับเศรษฐกิจของไทยให้มีนวัตกรรม ใหม่มากขึ้นตามนโยบาย Thailand 4.0 อย่างไรก็ตาม ยังไม่เห็นความคืบหน้าที่ เป็นรูปธรรมเท่าที่ควร แต่ในทางกลับกัน กลับมีชาวต่างชาติซึ่งเป็น Digital No- mad จานวนมากที่เข้ามาใช้ชีวิตและ ทางานในไทยโดยที่ภาครัฐไม่ต้องกระตุ้น มากนัก เนื่องจากเหตุผลหลายประการที่ เป็นจุดเด่นของไทยอยู่แล้ว ประการแรก คือ ค่าครองชีพที่ไม่ สูงนัก เนื่องจากชาว Digital Nomad นั้น มักจะเปลี่ยนที่อยู่เป็นประจาทาให้มี ค่าใช้จ่ายในการเดินทางและค่าที่พัก มากกว่าปกติ และสาหรับ Digital Nomad ที่เริ่มทางานในระยะแรกนั้นมักไม่ สามารถสร้างรายได้มากนักอีกทั้งอาจยัง ต้องใช้จ่ายลงทุนเพิ่มเติม ฉะนั้น คนกลุ่ม นี้จึงชื่นชอบเมืองที่มีค่าครองชีพไม่สูง ด้วยค่าใช้จ่ายเฉลี่ยเพียงราย 1,000 เหรียญสหรัฐฯ ต่อเดือนในไทยก็ทาให้ พวกเขาได้รับคุณภาพชีวิตที่ดีมากแล้ว หากต้องการอาศัยอย่างประหยัดค่าครอง ชีพเพียง 300 เหรียญสหรัฐฯ ต่อเดือน ก็ นับว่าเพียงพอ โดยอาจต้องอาศัยในเมือง ที่ไม่ใหญ่นักและรู้จักปรับตัวเข้ากับวิถี ชีวิตท้องถิ่น อีกทั้งการเช่าหรือซื้อสินค้า ต่าง ๆ นั้นมีขั้นตอนทางเอกสารที่ไม่ ยุ่งยากอีกด้วย ทาให้การตั้งถิ่นฐาน ชั่วคราวในไทยเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ การอาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ในสหรัฐฯ และ ยุโรปอาจจะต้องใช้เงินมากกว่า 2 - 3 เท่า ทีเดียว และยังมีขั้นตอนทางเอกสาร มากมาย FURD Cities Monitor Special | 16 ประการต่อมา คือ สถานที่ท่องเที่ยว และพักผ่อน เหตุผลที่หลายคนโดยเฉพาะคน รุ่นใหม่ตัดสินใจใช้ชีวิตแบบนี้เนื่องจากรักใน การท่องเที่ยวและเดินทาง ซึ่งเมืองไทยนั้นมี แหล่งท่องเที่ยวมากมายและหลากหลายทา ให้สามารถท่องเที่ยวได้ตลอดปี อีกทั้งมี วัฒนธรรมประเพณีที่เป็นที่ชื่นชอบของ ชาวต่างชาติอีกด้วย นอกจากนี้ นิสัยของคน ไทยที่มีความโอบอ้อมอารี ยิ้มแย้มแจ่มใส และเป็นมิตร แม้แต่กับชาวต่างชาติที่พูด ภาษาไทยไม่ได้ ยังเป็นเรื่องที่ชาวต่างชาติ ประทับใจอย่างยิ่ง ทาให้ Digital Nomad บาง คนนั้นกลายเป็น Blogger แนะนาสถานที่ ท่องเที่ยวหรืออาหารท้องถิ่นทั้งเป็นงาน อดิเรก คุณภาพของอินเทอร์เน็ตก็นับว่า สาคัญไม่แพ้กัน แม้อินเทอร์เน็ตของไทยจะไม่ เร็วเท่าประเทศพัฒนาแล้วบางประเทศ แต่ถือ ว่าอยู่ในระดับที่สามารถใช้งานได้ดีในราคาที่ ไม่สูงนัก และในปัจจุบันด้วยกระแสการ ทางานผ่านอินเทอร์เน็ตที่มากขึ้นทาให้มี Co- Working Space เกิดขึ้นมากมาย และหลาย แห่งนั้นมีความพร้อมที่จะต้อนรับ Digital No- mad ชาวต่างชาติเป็นการเฉพาะอีกด้วย แม้แต่ตามเกาะที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวก็มี อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและ Co-Working Space แล้วเพื่อรองรับความต้องการจาก ชาวต่างชาติที่มากขึ้นเรื่อย ๆ สุดท้ายเมื่อประเทศไทยดึงดูดให้ Digi- tal Nomad เข้ามาอย่างมากแล้วจึงกลายเป็น ข้อดีอีกข้อหนึ่ง จริงอยู่ที่คนกลุ่มนี้จะย้ายที่ พักเป็นระยะ แต่การที่ได้พบปะสังสรรค์กับ คนแบบเดียวกันย่อมเป็นการสร้างมิตรภาพที่ ดีได้ และหากมีสิ่งใดที่ต้องการความ ช่วยเหลือหรือคาแนะนา หรือแม้แต่การจ้าง งานแล้ว การมีเครือข่ายของ Digital Nomad ที่สามารถพบปะกันได้จริง ๆ ก็ยังมีประโยชน์ มาก ด้วยความพร้อมดังที่กล่าวมาข้างต้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เว็บไซต์ Nomadlist.com ซึ่งเป็นแหล่งรวมตัวสาคัญของ Digital No- mad จากทั่วโลกจะเลือกให้กรุงเทพฯ และ เชียงใหม่ติดหนึ่งในสิบของเมืองที่ดีที่สุด สาหรับการใช้ชีวิตรูปแบบนี้ อีกทั้งมีประเทศ ไทยและสหรัฐฯ เท่านั้นที่มีเมืองถึงสองเมือง ติดใน 10 อันดับแรก (อันดับจะมีการ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตามความนิยมของ Digital Nomad ในแต่ละช่วง โดยเฉลี่ยแล้ว กรุงเทพฯ มักจะเป็นอันดับ 1 - 2 ของโลก และเชียงใหม่ มักเป็นอันดับ 6 - 7 ของโลก)
  • 11. 17 | FURD Cities Monitor Special ที่ผ่านมาเคยมีความไม่เข้าใจกันระหว่างภาครัฐ และกลุ่ม Digital Nomad เนื่องจาก digital nomad ไม่ได้ มองว่าตนเข้ามาทางานเต็มรูปแบบหากแต่เป็นกึ่งการ ทางานกึ่งการท่องเที่ยวมากกว่า จึงใช้วีซ่าสาหรับ นักท่องเที่ยวในการเข้ามายังประเทศไทย จนบางครั้งนามา สู่การถูกควบคุมตัวจากเจ้าหน้าที่รัฐเพราะเข้าใจผิดว่าเป็น การทางานอย่างเต็มตัวที่ผิดจากข้อกาหนดในวีซ่าสาหรับ การท่องเที่ยว แต่ปัญหานี้มีแนวโน้มที่จะได้รับการแก้ไข เมื่อเดือน สิงหาคมที่ผ่านรัฐบาลไทยได้อนุมัติ “Smart VIsa” ซึ่งจะ เป็นประโยชน์ต่อกลุ่ม digital nomad บางส่วนมาก ความ พิเศษของวีซ่าประเภทนี้คือผู้ถือวีซ่านั้นได้รับสิทธิขยาย เวลามารายงานตัวจากทุก ๆ 90 วันเป็นปีละ 1 ครั้ง โดยไม่ ต้องขอ work permit และสามารถอาศัยในประเทศได้สูงสุด ถึง 4 ปี ขึ้นกับลักษณะของงานที่ทา นอกจากนี้คู่สมรสและ บุตรของผู้ถือวีซ่ายังได้รับสิทธิทั้งหมดเช่นเดียวกัน แม้ เบื้องต้นวีซ่าประเภทนี้จะอนุญาตเฉพาะผู้เริ่มธุรกิจใหม่โดย เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี นักลงทุน และผู้มีทักษะ วิชาชีพระดับสูง แต่คาดว่าในอนาคตอาจจะมีการผ่อนผัน ให้ครอบคลุม digital nomad หลากหลายสาขาอาชีพขึ้น FURD Cities Monitor Special | 18 ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า ไทยมีปัจจัยที่เอื้อต่อการเป็นฮับของ Digital No- mad แต่ยังมีแง่มุมที่ไทยสามารถพัฒนาให้ดีขึ้นได้อีก ซึ่งด้านที่ควรพัฒนามากที่สุดคือ ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน จากรายงานของ The Economist ได้จัด อันดับให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีความปลอดภัยอยู่ในอันดับที่ 49 ในขณะที่กรุง กัวลาลัมเปอร์ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศมาเลเซียอยู่ในอันดับที่ 31 ทั้งที่มาเลเซีย มีความเจริญทางเศรษฐกิจไม่ต่างจากไทยมากนัก และจากการจัดอันดับขององค์การ อนามัยโลก ไทยยังมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนมากเป็นอันดับ 2 ของโลกอีก ด้วย ซึ่งปัจจัยสาคัญมาจากการละเลยในการบังคับใช้กฎหมายและการขาดการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐาน จากการแสดงความเห็นของ Digital Nomad ใน Nomadlist.com ได้ระบุตรงกันว่าด้านที่แย่ที่สุดของไทยคือ ด้านความปลอดภัยทางถนน อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาโดยรวมอย่างรอบด้านแล้ว ไทยก็ยังดึงดูดให้ Digital Nomad จากทั่วโลก เข้ามามากขึ้นทุกปี ซึ่งเป็นบทบาทที่ทั้งภาครัฐและเอกชนต้องร่วมกันคิดและทาเพื่อ รับมือแนวโน้มนี้ต่อไป REFERENCE : - http://safecities.economist.com/safe-cities-index-2017 - https://www.forbes.com/sites/niallmccarthy/2016/02/22/the-countries-with-the-most- per-capita-road-deaths-infographic/#735b277b361a
  • 12. 19 | FURD Cities Monitor Special อาหารคนเมือง FURD Cities Monitor Special | 20 เรามีทางเลือกแค่ไหน? อาหารคนเมือง หากกล่าวถึงเสน่ห์ของเมืองไทย นอกจากสถานที่ท่องเที่ยวอันโด่ง ดังและวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์แล้ว อีกสิ่งหนึ่งคงหนีไม่พ้นอาหารการกินที่มี ให้เลือกสรรหลากหลายรสชาติ หลากหลายราคา และหลากหลายเวลา โดยเฉพาะเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพมหานครที่เมื่อใดก็ตามที่เรารู้สึกหิว ก็ สามารถหากินได้อย่างง่ายดาย วิถีการบริโภคที่แสนสะดวกนี้ทาให้ชีวิตของ คนเมืองดูเหมือนจะมีทางเลือกในการกินอาหารที่หลากหลาย แต่ในความ เป็นจริงแล้วเป็นเช่นนั้นหรือไม่ หรือความเป็นเมืองต่างหากที่กาหนดอาหาร การกินของเรา เมื่อพิจารณาทางเลือกการกินของคนกรุงเทพฯ ทุกวันนี้ คาตอบที่ ได้นั้นมีแนวโน้มที่สอดคล้องกับสมมติฐานข้างต้นอยู่ไม่น้อย คนเมืองจานวน มากกินอาหารทั้งสามมื้ออยู่ภายใต้โครงสร้างของวิถีชีวิตที่ถูกกาหนดไว้โดย ความเป็นเมืองทั้งเรื่องของเวลา ที่อยู่อาศัย ไปจนถึงหน้าที่การงาน ซึ่งมี ความรวบรัดจากัดมากกว่าชีวิตในชนบท ในครั้งนี้จะขอพูดถึง 5 ทางเลือก อันเป็นที่นิยมคนกรุงโดยสรุป ดังนี้ - จุฑามาศ พูลสวัสดิ์ -
  • 13. 21 | FURD Cities Monitor Special อาหารริมทาง (Street Food) สวรรค์ของคนเดินถนน หลายครั้งความเป็นเมืองทาให้คนต้องใช้ ชีวิตอย่างเร่งรีบ เวลาบีบให้เราต้องหาอาหารที่เหมาะ กับรูปแบบการใช้ชีวิต ประกอบกับการเติบโต เชิงเดี่ยวของการสร้างที่อยู่อาศัยทั้งคอนโดและบ้านที่ ปราศจากการวางแผนจัดสรรพื้นที่อย่างรอบด้าน Street Food จึงกลายมาเป็นแหล่งอาหารที่ตอบโจทย์ คนกรุงเทพฯ ในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี และสามารถ พบเห็นได้ทุกที่ไม่ว่าจะเดินผ่านถนนเส้นใด โดยเฉพาะในช่วงเวลาเช้าและช่วงเย็นหลังคนเลิกงาน ทั้งยังมีให้เลือกหลากหลายประเภท รสชาติอร่อย ราคาถูก และมีชื่อเสียงจนสานักข่าว CNN จัดอันดับ ให้อาหารริมทางกรุงเทพฯ เป็นร้านอาหารริมทางที่ดี ที่สุดอันดับ 1 ของโลกติดต่อกันเป็นปีที่ 2 จาก 23 เมืองทั่วโลก แต่ในขณะเดียวกัน อาหารริมทางก็ได้ สร้างผลกระทบต่อระบบสุขาภิบาลของเมืองทั้งขยะ น้าเสีย กลิ่น และก่อให้เกิดความไม่สะดวกเนื่องจาก โครงสร้างพื้นฐานทางเท้ากรุงเทพฯ ไม่ได้ถูก ออกแบบมาเพื่อรองรับกิจกรรมลักษณะนี้ จึงนามาสู่ การจัดระเบียบทางเท้าของรัฐบาลซึ่งทาให้แหล่ง อาหารที่คนเมืองนิยมฝากท้องนี้ลดจานวนลงไป ร้านสะดวกซื้อ แหล่งอาหารใกล้มือ 24 ชั่วโมง ด้วยวิถีชีวิตที่เร่งรีบ สิ่งใดก็ตามที่เร็วและ สะดวกจึงกลายเป็นสิ่งที่ดีสาหรับคนเมืองไปโดย อัตโนมัติ ยิ่งคนกรุงเทพฯ ที่มีเวลาในการกินอาหารแต่ ละมื้อค่อนข้างจากัด ทั้งยังขาดปัจจัยอีกหลายอย่างที่ เอื้อต่อการทาอาหารกินเอง นอกจากของริมทางแล้ว อาหารสาเร็จรูปแช่แข็งหรืออาหารพร้อมปรุงตามร้าน สะดวกซื้อที่กระจายตัวอยู่ในทุกย่านที่มีคนพลุกพล่าน จึงเข้ามาทาหน้าที่เป็นแหล่งพลังงานของคนเมือง อย่างยากที่จะปฏิเสธ โดยข้อมูลจากสานักงานสถิติ แห่งชาติใน พ.ศ. 2556 พบว่าคนไทยบริโภคอาหาร จากร้านสะดวกซื้อเป็นประจา 1-2 วันต่อสัปดาห์ และ คาดว่าปัจจุบัน สัดส่วนดังกล่าวก็น่าจะเพิ่มสูงขึ้น FURD Cities Monitor Special | 22 ตลาดนัด จุดนัดพบของคนหิว ตลาดนัดเป็นทางเลือกที่เกิดขึ้นมาเพื่อ ตอบสนองวิถีชีวิตของชุมชนทั้งต่างจังหวัดและใน เมืองมาอย่างยาวนาน โดยความพิเศษของแหล่ง อาหารประเภทนี้อยู่ตรงการที่ไม่ได้ตั้งขายทุกวัน เหมือนอาหารริมทาง แต่จะมีเฉพาะวันใดวันหนึ่งใน สัปดาห์ซึ่งเป็นที่รับรู้ร่วมกันระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อจน เป็นที่มาของคาว่าตลาดนัด สาหรับกรุงเทพฯ และ เมืองใหญ่ เรามักพบเห็นตลาดนัดได้ตามพื้นที่ว่างใน ชุมชน รวมถึงออฟฟิศและสถานที่ราชการที่มีแหล่ง อาหารถาวรอยู่น้อย ที่ใดที่มีตลาดนัด ที่นั่นย่อมมี ผู้คนมาจับจ่ายเลือกซื้อทั้งอาหารสดและอาหารปรุง สาเร็จอย่างหนาแน่นเสมอ รถเร่ อาหารเคลื่อนที่ของคนเมือง การขยายตัวของเมืองในปัจจุบันมาพร้อมกับ การขยายตัวของที่อยู่อาศัยประเภทหมู่บ้านจัดสรรและ ห้องเช่าในตึกสูงจานวนมากเพื่อรองรับประชากรที่ หลั่งไหลเข้าเมืองมาตั้งถิ่นฐาน ทว่าการเกิดขึ้นของที่ อยู่อาศัยเหล่านี้มักขาดองค์ประกอบของชุมชนแบบ ดั้งเดิม โดยมีแต่เพียงบ้าน ไม่มีตลาด ไม่มีแหล่งอาหาร สาหรับคนในชุมชน รถเร่จึงเกิดขึ้นมาเพื่อทดแทนสิ่งที่ ขาดหายไป ทั้งรถขายกับข้าว ของสด รวมถึงรถเข็น ขายอาหาร ขนม ผลไม้ ซึ่งล้วนเป็นแหล่งอาหารที่ เดินทางถึงตัวผู้บริโภคเพื่ออานวยความสะดวกให้ สามารถเลือกซื้ออาหารได้ถึงหน้าบ้าน
  • 14. 23 | FURD Cities Monitor Special Food Delivery ส่งถึงที่ทุกเวลา รูปแบบการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะข้อจากัดด้านเวลา และปัญหาการจราจรที่ติดขัด ทาให้บริการจัดส่งอาหารถึงบ้านกลายมาเป็นอีกทางเลือกที่คนกรุงเทพฯ นิยมใช้โดยการสั่งอาหารผ่าน ช่องทางออนไลน์ มีการคาดการณ์ว่าตลาดบริการจัดส่งอาหารใน พ.ศ. 2560 จะเติบโตขึ้นถึงร้อยละ 11-15 จากปีก่อน (ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, 2560) ดังจะเห็นได้ว่าทุกวันนี้มีแอพลิเคชันสั่งอาหารเกิดขึ้นมากมาย เช่น Lineman UberEats Food Panda ฯลฯ ซึ่งเป็นตัวกลางให้บริการส่งอาหารครอบคลุมได้เกือบทุกร้านดังใน กรุงเทพฯ ไม่จากัดเพียงฟาสฟู้ดอีกต่อไป อาหารแบบไหนที่เราต้องการ การทาความเข้าใจทางเลือกในการเข้าถึงอาหารทั้ง 5 แบบของคนกรุงเทพฯ นั้น อาจทาให้สรุปได้ ว่าความสะดวกได้กลายมาปัจจัยหลักที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้ออาหารของคนเมืองมากกว่าปัจจัยอื่นๆ เรามักเลือกอาหารรสชาติถูกปากและราคาถูกที่หาซื้อได้ง่ายจากแหล่งอาหารใกล้ตัวมากินเป็นประจาจน บางครั้งก็ละเลยที่จะคิดว่าอาหารเหล่านั้นมีคุณภาพและความปลอดภัยเพียงพอหรือไม่ พฤติกรรมนี้ของคน เมืองสะท้อนผ่านผลสารวจพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของประชากร พ.ศ. 2556 ในด้านการบริโภคอาหารที่ พบว่าประชากรในกรุงเทพฯ มีสัดส่วนการกินอาหารที่ปรุงโดยใช้น้ามัน ได้แก่ อาหารประเภทผัดและทอดสูง กว่าภาคอื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 40 ซึ่งนี่เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของสุขภาวะด้านการกินที่ย่าแย่ของคนเมือง เท่านั้น นับเป็นเรื่องดีที่ปัจจุบันมีคนเมืองจานวนไม่ น้อยที่เริ่มตื่นตัวและหันมาให้ความสาคัญกับการเลือก กินอาหารที่เป็นมิตรต่อสุขภาพ ดังจะเห็นได้จากการ ถือกาเนิดขึ้นของทางเลือกใหม่อย่างกระแสอาหาร คลีน (Clean Food) ซึ่งเน้นการปรุงแต่งน้อย ถูกหลัก โภชนาการ มีความปลอดภัย และไม่มีสารปนเปื้อนที่ กาลังได้รับความนิยมในหมู่คนเมืองมากขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง หรือแม้กระทั่งการเกิดขึ้นของแนวคิดการ สร้างแหล่งอาหารปลอดสารพิษไว้บริโภคเองอย่าง สวนผักในเมือง (Urban Garden) ที่หลายพื้นที่ เช่น แปลงผักสาธิตชั้นดาดฟ้าของสานักงานกองทุน สนับสนุนการเสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสวน เกษตรดาดฟ้าของสานักงานเขตหลักสี่ ได้พิสูจน์ให้ เห็นถึงความเป็นไปได้ว่า เราสามารถแปลงพื้นที่เหลือ ใช้เพียงเล็กน้อยในอาคารบ้านเรือนให้เป็นพื้นที่ เกษตรกรรมได้ทั้งสิ้น ร้อยละของประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไป จาแนกตามวิธี ปรุงอาหารที่ทานเป็นประจาและภาค FURD Cities Monitor Special | 24 อย่างไรก็ตาม ความมั่นคงทางด้านอาหารของคนเมืองไม่ใช่แค่เรื่องปริมาณอาหารที่ ทาให้อิ่มท้องอย่างเพียงพอ แต่ยังรวมไปถึงเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยของอาหารที่ ประชากรบริโภคด้วย จริงอยู่ที่ปัจจุบันเมืองมีแหล่งอาหารหลากหลายให้เข้าถึง ทว่า ทางเลือกเหล่านี้ล้วนเกิดขึ้นจากการดิ้นรนปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของเมือง โดยภาคประชาชนแต่เพียงลาพังจนหลายครั้งก็เกิดปัญหาตามมา ทั้งเรื่องการมีอยู่ของแหล่ง อาหารเกิดขึ้นผิดที่ผิดทาง ตั้งครัวขายกันข้างถนน ปัญหาของร้านสะดวกซื้อแต่ไม่สะดวกกิน มีอาหารมากมายแต่ไร้ที่นั่งกิน และอื่นๆ อีกนับไม่ถ้วน เหล่านี้ยากที่จะปฏิเสธได้ว่าเป็น เพราะรัฐไม่ได้วางแผนและควบคุมเรื่องดังกล่าวอย่างครอบคลุมควบคู่ไปกับการพัฒนาเมือง ตั้งแต่แรก เมืองของไทยซึ่งเคยได้ชื่อว่าเป็นอู่ข้าวอู่น้าจึงโตมาพร้อมกับปัญหาเรื่องการ เข้าถึงแหล่งอาหารที่ไม่น่าจะเกิดขึ้น ลาพังเพียงมือของประชาชนจึงอาจไม่พอ การมีแหล่งอาหารของเมืองที่เป็นธรรมต่อ การมีสุขภาวะที่ดีได้อย่างยั่งยืนของคนเมืองนั้นจาเป็นต้องอาศัยบทบาทของรัฐและทุกฝ่ายที่ เกี่ยวข้องในการวางแผน ตรวจสอบ และจัดสรรทางเลือกที่เหมาะสมตั้งแต่แรกเริ่ม มิใช่เพียง แก้ปัญหาที่ปลายเหตุอย่างที่ผ่านมา การขยายตัวของเมืองจะต้องมาพร้อมกับการมีแหล่ง อาหารที่มีคุณภาพและเพียงพอต่อสัดส่วนที่อยู่อาศัยและจานวนประชากรเพื่อให้คนเมือง สามารถบริโภคของที่ดีต่อชีวิตได้ในราคาที่สมเหตุสมผล นั่นต่างหาก น่าจะเป็นนิยามของคา ว่าเมืองแห่งอาหารสาหรับที่แท้จริงสาหรับประเทศไทย อ้างอิง ฐานเศรษฐกิจ. (2559). จับตาปี’60 สั่งอาหารออนไลน์หนุนตลาด Delivery โต ร้อยละ 11-15. ออนไลน์. สืบค้นจาก http://www.thansettakij.com/ content/118867 สานักงานสถิติแห่งชาติ. (2556). ผลสารวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารของ ประชากร พ.ศ.2556. ออนไลน์. สืบค้นจาก http://service.nso.go.th/ nso/nsopublish/service/survey/healthCare_56.pdf ThaiPBS. (2556). คนเดินเมือง: อาหาร. ออนไลน์. สืบค้นจาก https:// www.youtube.com/watch?v=o5bMVxPIdu4 Thaipublica. (2560). เมืองใหญ่กับปัญหาความมั่นคงทางด้านอาหาร. ออนไลน์. สืบค้นจาก https://thaipublica.org/2017/09/landscape-architecture- and-sustainability01/
  • 15. 25 | FURD Cities Monitor Special ไ ม่ ใ ช่ เ มื อ ง ที่ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยอุตสาหกรรมใหญ่ เศรษฐกิจ ของยะลาพึ่งพาเกษตรกรรม และที่สาคัญคือยะลา เป็นเมืองเดียวในสามจังหวัดภาคใต้ที่มีรถไฟเข้า มาถึงกลางเมือง ยะลาจึงกลายเป็นศูนย์กลางด้าน เศรษฐกิจของสามจังหวัดภาคใต้ ปัจจัยของการ คมนาคมเป็นส่วนสาคัญที่ทาให้เศรษฐกิจยะลา ในช่วงก่อนเกิดเหตุการณ์นั้นเติบโต มีกิจกรรมทาง เศรษฐกิจหนาแน่น ทาให้การค้า การขาย การขนส่ง สินค้าของยะลาค่อนข้างคึกคักไม่ต่างจากเมืองใหญ่ ของภูมิภาคอื่นๆ ปัจจุบัน เมืองยะลาก็ยังคงเป็นเมืองที่พึ่ง รายได้จากภาคเกษตรกรรมสูง แต่มักจะประสบ ปัญหาเนื่องจากความผันผวนของธรรมชาติและราคา พืชผลโลกที่ตกต่าลง กอปรกับเหตุการณ์ความ รุนแรงในพื้นที่ที่ทาให้การค้าการลงทุนซบเซาลง เมื่อ ความสามารถทางการแข่งขันของยะลาไม่ใช่ อุตสาหกรรม หรือเกษตรกรรม เทศบาลนครยะลาจึง มองหาทางเลือกของการกระตุ้นและขับเคลื่อน เศรษฐกิจแบบใหม่ มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบ ยะลา FURD Cities Monitor Special | 26 สร้างสรรค์ครบวงจร โดยใช้รากฐานจากต้นทุนวัฒนธรรม ของเมืองที่ไม่มีใครเลียนแบบได้ ใครๆ ก็รู้จักยะลาในฐานะเมืองที่จัดงานมหกรรม แข่งขันนกเขาชวาเสียงอาเซียน ที่จัดต่อเนื่องมากว่า 30 ปี ด้วยนกเขาเป็นนกที่คนมลายูและคนภาคใต้นิยมเลี้ยง งานแข่งขันนกเขาประสบความสาเร็จในทุกปี มีนกเข้า ร่วมกว่า 8,000 ตัว เชื่อมต่อทั้งประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย เทศบาลนครยะลามองเห็นโอกาสจึงสร้าง แต้มต่อการแข่งขันทางเศรษฐกิจ มีการพัฒนาสร้างสรรค์ และพัฒนาสินค้าจากนกให้มีมูลค่าสูงขึ้น เกิดเป็น เศรษฐกิจนกแบบครบวงจร Yala Bird City กลายเป็นแบรนด์สัญลักษณ์ของ เมืองยะลา ทุกผลิตภัณฑ์เป็นที่ยอมรับและรู้จักในวงกว้าง จากนกกรงหัวจุกเป็นเพียงสัตว์เลี้ยงชนิดหนึ่งที่รู้จักกัน ในวงแคบ เมื่อเทศบาลนครยะลาสร้างเศรษฐกิจแบบนก ครบวงจร ส่งผลให้นกกรงหัวจุกของเมืองยะลาเป็น ประสบการณ์ใหม่ (Experiences) และหวังว่าจะโอกาสที่ จะนาพาในยะลาแข่งขันทางเศรษฐกิจได้อีกครั้ง ยะลา เมืองเศรษฐกิจสร้างสรรค์ Yala Bird City
  • 16. 27 | FURD Cities Monitor Special ความสร้างสรรค์และไอเดียใหม่ๆ ก่อให้เกิดวงจร ทางเศรษฐกิจนกที่สร้างมูลค่าได้มากมายให้กับยะลา เริ่มตั้งแต่ธุรกิจที่ใช้ประโยชน์จากธรรมชาติโดยตรง อย่างธุรกิจฟาร์มนกและการเพาะเลี้ยงนก ที่ตลาดเติบโต ขึ้น มีการส่งออกไปยังต่างประเทศมากขึ้น เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย สวนกล้วยหิน ผลไม้ พื้นเมืองจังหวัดยะลาและเป็นอาหารหลักของนกกรงหัว จุก กลายเป็นพันธ์กล้วยที่มีมูลค่าสูงขึ้นและสามารถส่ง ขายได้ ธุรกิจส่วนประกอบของนกก็เติบโตไม่น้อยหน้า อย่างกลุ่มอาชีพทากรงนก เสื้อกรงนกและตะขอกรงนก ที่อาศัยทุนทางปัญญาท้องถิ่นในด้านศิลปะ ออกแบบกรง ด้วยความประณีต ก็เพิ่มมูลค่าและเกิดขึ้นหลายเจ้าใน เมือง ผลทวีคูณจากเศรษฐกิจนกเป็นผลทาให้ธุรกิจด้าน บริการของเมืองมีแนวโน้มคึกคักขึ้น ทั้งธุรกิจด้านการ ขนส่ง การค้าปลีกและค้าส่ง ธุรกิจจาหน่ายนกและสินค้า เกี่ยวกับนก ตลอดจนธุรกิจโรงแรม ธุรกิจขนส่ง ร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึก หรือธุรกิจที่เกี่ยวกับการ ท่องเที่ยว ถือเป็นกลุ่มที่ได้รับผลประโยชน์จากงาน มหกรรมแข่งขันนกเขาชวาเสียงอาเซียน ที่ดึงดูผู้คนให้ เข้ามาท่องเที่ยวและใช้จ่ายในเมืองยะลามากขึ้น Yala Bird City สร้างเศรษฐกิจยะลาครบวงจร ที่มา : ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง (2016) FURD Cities Monitor Special | 28 จากข้อมูลข้างต้น สรุปได้ว่าโครงการ Yala Bird City เป็นโครงการที่สามารถสร้างรายได้และ สร้างเศรษฐกิจให้กับเมืองยะลาได้เป็นอย่างดี เพียงแค่ ต่อยอดและพัฒนาสินค้าให้เป็นที่ยอมรับและรู้จักในวง กว้าง ก็ทาให้ผลผลิตที่เกี่ยวกับนกสามารถจัด จาหน่ายได้ในจานวนที่มากขึ้น โดยไม่ต้องลงทุนอะไร มากมาย เป็นไปตามแนวคิดเศรษฐกิจขาย ประสบการณ์ (Experience Economy) ซึ่งอธิบายได้ ดังนี้ เดิมที นกกรงหัวจุกเป็นเพียงสัตว์เลี้ยงชนิด หนึ่งที่รู้จักกันในวงแคบ ไม่ก่อให้เกิดมูลค่าทาง เศรษฐกิจอะไรมากมาย แค่เป็นกิจกรรมจับนกที่เป็น สัตว์ตามธรรมชาติ (Commodity) เข้ามาอยู่ในกรง จน กลายเป็นสินค้า (Goods) หรือสัตว์เลี้ยง จนกระทั่ง เทศบาลนครยะลาได้จัดงานมหกรรมแข่งขันนกเขา ชวาเสียงอาเซียนขึ้น จึงเกิดเป็นบริการการแข่งขัน (Services) ให้กับผู้เข้าแข่งขันและผู้ชม ต่อมา เทศบาลฯ ได้ก่อตั้งแบรนด์ “Yala Bird City” พร้อมทั้ง พัฒนาต่อยอดสินค้าและบริการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับนก ให้มีความแปลกใหม่ ส่งผลให้นกกรงหัวจุกของเมือง ยะลาเป็นประสบการณ์ใหม่ (Experiences) ของผู้ เลี้ยงนกและผู้ชม เมื่อแบรนด์ “Yala Bird City” เป็นที่ รู้จัก ได้รับการยอมรับและได้รับความนิยม ผู้คนจึงเริ่ม หลั่งไหลเข้ามาท่องเที่ยวและหันมาซื้อสินค้า ซื้อ ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับนกกรงหัวจุกมากขึ้น ทาให้ เศรษฐกิจท้องถิ่นเติบโตอย่างต่อเนื่อง Yala Bird City กับแนวคิดเศรษฐกิจ ขายประสบการณ์ ที่มา : ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง (2016)