SlideShare a Scribd company logo
มองข้ามผ่านวิกฤตเศรษฐกิจ
สู่อุตสาหกรรมยุคใหม่
(Creative economy)
1
2
	 จากความถดถอยทาง
เศรษฐกิจการเงินโลก สู่สภาวะ
วิกฤตของเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
อันเนื่องมาจากอุปสงค์ (De-
mand) ที่เหือดหายไปอย่าง
รวดเร็ว อุปทานที่ล้นเกินท�ำให้
วงจรการผลิตภาคอุตสาหกรรม
เผชิญกับสภาวะปั่นป่วนไปทั่วโลก
หากใครได้หยิบนิตยสาร The
Economist ฉบับปลายเดือน
กุมภาพันธ์ 2552 ขึ้นมาดู อาจจะ
รู้สึกอกสั่นขวัญผวาไปกับจั่วหัว        
ที่มา : www.economist.com
ที่พาดไว้พร้อมกับภาพประกอบที่ดูน่าสะพรึงกลัวเป็นอย่างยิ่งว่า         
“ความล่มสลายของอุตสาหกรรมการผลิต” (The Collapse of        
manufacturing) โดยนิตยสารฉบับนี้ต้องการชี้ให้เห็นว่า วิกฤตทาง       
การเงิน (Financial crisis) ที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาได้ก่อให้เกิด
วิกฤตการณ์ของภาคอุตสาหกรรมตามมาอย่างเลี่ยงไม่พ้น
	 ปรากฏการณ์ความตกต�่ำของภาคอุตสาหกรรมการผลิตมิได้
กระจุกตัวอยู่ในเฉพาะประเทศต้นเหตุแห่งปัญหาทางการเงินอย่าง
สหรัฐอเมริกาเท่านั้น แต่มันได้แผ่กระจายไปทั่วโลก เช่น ในกรณีของ
ต้นเหตุแห่งปัญหาคือประเทศสหรัฐอเมริกาจ�ำนวนการประกอบรถยนต์
ลดฮวบลงไปถึงร้อยละ 60 ต�่ำกว่าช่วงเดือนมกราคมของเมื่อปีที่แล้ว       
ในกรณีประเทศเยอรมนี ช่วงเดือนธันวาคม มีค�ำสั่งซื้อเครื่องมือ-
เครื่องจักร (Machine-tool) ลดลงไปกว่าร้อยละ 40 เมื่อเทียบกับ
3
ช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา ในกรณีของไต้หวัน การส่งออกคอมพิวเตอร์
โน้ตบุ๊กในช่วงเดือนมกราคมตกฮวบลงไป 1 ใน 3 หรือแม้แต่ในกรณี      
ของประเทศจีน ผู้ส่งออกของเล่นที่เคยมีประมาณ 9,000 ราย กลับ      
ต้องล้มหายตายจากไปกว่าครึ่งหนึ่ง
	 เมื่อมองภาพรวมใหญ่ ในกรณีของสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ         
ในช่วงไตรมาสสุดท้ายพบว่ายอดการผลิตในภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐ
อเมริกาตกลงมาถึงร้อยละ 3.6 และร้อยละ 4.4 ในอังกฤษ (ในขณะที่
หากคิดเป็นรายปี ยอดตกลงมาร้อยละ 13.8 และร้อยละ 16.4 ตาม
ล�ำดับ) บางคนอาจจะชี้นิ้วต�ำหนิไปที่ตลาดหุ้นวอลสตรีทและการ
พยายามพยุงอุ้มบริษัทยักษ์ใหญ่เจ้าปัญหาทั้งหลาย แต่น่าสังเกตว่า
ความรุนแรงของการตกต�่ำล่มสลายของภาคอุตสาหกรรมจะเกิดขึ้น  
อย่างมากในบรรดาประเทศที่เศรษฐกิจต้องพึ่งพิงการส่งออกภาค
อุตสาหกรรม เช่น การผลิตภาคอุตสาหกรรมในเยอรมนีในช่วงไตรมาส
ที่ 4 ตกต�่ำลงร้อยละ 6.8 ในไต้หวันหดตัวลงร้อยละ 21.7 ในญี่ปุ่น             
หดตัวลงร้อยละ 12 ผลที่ตามมาคือประเทศเหล่านี้จะมีการหดตัวของ
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) อย่างรวดเร็ว
	 เมื่อพิจารณาในเชิงประวัติศาสตร์ กล่าวได้ว่า การผลิตในภาค
อุตสาหกรรมได้หดตัวเหือดหายอย่างรุนแรงอย่างที่ไม่เคยปรากฏ               
มาก่อนนับจากวิกฤตน�้ำมัน (Oil crisis) เมื่อทศวรรษที่ 1970 ความล่ม
สลายของภาคอุตสาหกรรมได้ส่งผลแพร่กระจายตัวไปถึงประเทศ         
อื่น ๆ ดังเช่น ประเทศในกลุ่มยุโรปตะวันออก บราซิล ตุรกี มาเลเซีย
และรวมถึงประเทศไทยของเรา โรงงานนับพันโรงในทางใต้ของประเทศ
จีนถูกปิดตัวลงไป คนงานจ�ำนวนมากที่กลับไปเยี่ยมบ้านในช่วงตรุษจีน
นับล้านคนที่กลับแล้วกลับเลยคือไม่ได้กลับมาท�ำงานอีก
4
	 ในขณะที่โลกใบนี้ก�ำลังตื่นเต้นและขวัญผวาไปกับภาวะวิกฤติ      
ทางเศรษฐกิจซึ่งก�ำลังลุกลามระบาดไปทั่วโลก จนแม้กระทั่งนักเศรษฐ-
ศาสตร์ชื่อดังบางท่านกล่าวว่าวิกฤติเศรษฐกิจคราวนี้“เกินการควบคุม
แล้ว”แต่ขณะเดียวกันก็มีเสียงเล็กๆที่พยายามออกมาน�ำเสนอแนวคิด
ในการที่จะ “หลุดพ้น” ออกจากสภาพการที่ไม่น่าพึงประสงค์เช่นนี้
	 ในคราวนี้ ผู้เขียนใคร่ขอน�ำเสนอแนวคิดของนักคิดท่านหนึ่ง          
ซึ่ง “ถูกกล่าวถึง” จากสื่อมวลชนในหลายบทบาท เช่น บางคนเรียกว่า
ท่านเป็น “นักเศรษฐศาสตร์” แต่สื่อบางฉบับก็บอกว่าท่านเป็น “นัก
สังคมวิทยา” ฯลฯ ผู้เขียนจึงขอ
เรียกรวมว่าเป็น“นักเศรษฐศาสตร์
สังคมวิทยา” (Sociological
economist) ก็แล้วกัน ท่านผู้นี้
คือศาสตราจารย์ริชาร์ดฟลอริดา
(Richard Florida) ผู้อ�ำนวยการ       
สถาบัน The Martin Prosperity
Institute ตั้งอยู่ที่ The Rotman
School of Management แห่ง
มหาวิทยาลัยโตรอนโต ประเทศ แคนาดา
	 ศาสตราจารย์ฟลอริดาน�ำเสนอแนวคิดที่ว่า แม้วิกฤติการคราวนี้
จะหนักหนาสาหัสรุนแรงขนาดไหน แต่เรายังมี “ทางออก” เปรียบ
เสมือนกับ “แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์” นั่นคือ ท่านเสนอว่าเราสามารถ
ที่จะขับเคลื่อนออกจากภาวะวิกฤตนี้ได้ ด้วยแนวคิดว่าด้วย “การ
สร้างสรรค์”และการสร้างระบบเศรษฐกิจแบบใหม่ที่เรียกว่า“เศรษฐกิจ
สร้างสรรค์” (Creative economy)
5
	 จากมุมมองของศาสตราจารย์ฟลอริดาที่มีต่อระบบเศรษฐกิจ     
ของสหรัฐอเมริกา ท่านเห็นว่าปัจจุบันสหรัฐอเมริกาอยู่ภายใต้ช่วงการ
เปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่ จากยุคแห่ง “กล้ามเนื้อและความแข็งแกร่ง”
(Strength and muscle) สู่ยุคที่ “ความรู้และทักษะ” คือหัวใจส�ำคัญ
กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือระบบเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาในห้วงที่ผ่านมา
มักขึ้นอยู่กับระบบอุตสาหกรรมที่มุ่งใช้หยาดเหงื่อแรงงานและพลัง         
ทางกายภาพมากกว่าการใช้พลังสติปัญญา
	 ความท้าทายในปัจจุบันส�ำหรับภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐ
อเมริกาคือการต้องขับเคลื่อนจากอุตสาหกรรมที่เต็มไปด้วย “งานที่มี
ลักษณะเป็นกิจวัตร” (Routine-oriented job) ซึ่งงานเหล่านี้มักมี
ลักษณะงานที่ต้องท�ำตามมาตรฐานและเป็นการท�ำงานที่ซ�้ำ ๆ ไปตาม
มาตรฐานที่วางไว้แล้ว ดังนั้น งานพวกนี้จึงมักใช้ความแข็งแกร่งของ
“มือ” และ “ร่างกาย” มากกว่า “หัว” และ “สมอง” เคลื่อนผ่านไปสู่
อุตสาหกรรมที่เต็มไปด้วย “งานที่ขึ้นอยู่กับการใช้ความคิดสร้างสรรค์”
(Creativity-oriented occupations) ซึ่งคนท�ำงานจะต้องประยุกต์ใช้
ความรู้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา         
และต้องท�ำการตัดสินใจและสื่อสารตอบโต้กับสถานการณ์ได้อย่างดี
	 จากข้อมูลที่ศาสตราจารย์ฟลอริดาศึกษามาพบว่า สัดส่วนของ
คนที่ท�ำงานเชิงสร้างสรรค์ (Creative job) มีปริมาณเพิ่มมากขึ้น         
เรื่อย ๆ และได้เพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา และเชื่อว่า
จะเพิ่มมากขึ้นต่อไปแม้ในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจเช่นนี้ เนื่องจากงาน         
เชิงสร้างสรรค์จะมีความอ่อนไหวต่อความถดถอยทางเศรษฐกิจ              
น้อยกว่างานแบบกิจวัตร ศาสตราจารย์ฟลอริดาเชื่อว่า ภายในทศวรรษ
หน้างานเชิงสร้างสรรค์จะมีสัดส่วนเป็น “ครึ่งหนึ่งของงานทั้งหมด”
6
ที่มีในประเทศแคนาดาและสหรัฐอเมริกา แต่ผู้คนยังมักให้คุณค่าหรือ
มองข้ามความส�ำคัญของงานเชิงสร้างสรรค์เหล่านี้ และสิ่งที่น่าเป็นห่วง
คือการตัดลดงบประมาณด้านการวิจัยและการสร้างนวัตกรรมของ
บรรดาประเทศต่าง ๆ และรวมทั้งบรรดาบริษัทน้อยใหญ่ทั้งหลายด้วย
	 ในขณะที่เศรษฐกิจแบบอุตสาหกรรมการผลิตแบบเดิมให้ความ
ส�ำคัญกับทักษะเชิงกายภาพ แต่ในเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์จะมีทักษะ
เชิงสร้างสรรค์ที่จ�ำเป็นมาก นั่นคือ
	 •	 ทักษะเชิงวิเคราะห์ (Analytical skills) เช่น การรับรู้และ        
แก้ปัญหาอย่างมีแบบแผน (Pattern recognition and problem
solving)
	 •	 ทักษะความฉลาดทางสังคม (Social intelligence) เช่น        
การมีความรู้สึกที่ไวต่อสถานการณ์และความสามารถในการโน้มน้าว
จูงใจซึ่งเป็นฐานส�ำคัญในการสร้างการท�ำงานและการขับเคลื่อนเป็น     
ทีม
	 สาขาวิชาที่ต้องใช้ทักษะการวิเคราะห์ชั้นสูง (เช่น แพทย์และ
วิศวกรรมชีวภาพ) และสาขาวิชาที่ต้องใช้ความฉลาดทางสังคม (เช่น
จิตเวชและการบริหารจัดการ) ถือเป็นสาขาที่เติบโตอย่างรวดเร็ว
	 รายได้ส�ำหรับงานสร้างสรรค์จะมีค่าตอบแทนที่สูงกว่างานแบบ
เดิม ๆ พบว่า กระทั่งผู้ที่เคลื่อนย้ายงานจากงานที่ต้องใช้ทักษะในการ
วิเคราะห์แต่อยู่ในระดับล่าง ขึ้นไปสู่งานเชิงสร้างสรรค์ระดับบน จะมี
มูลค่าเพิ่มขึ้นอีก $18,700 หรือคนที่ย้ายงานจากงานที่ใช้ทักษะทาง
สังคมระดับต�่ำไปสู่ระดับสูง จะมีรายได้เพิ่มถึงอีก $25,100
	 สิ่งส�ำคัญส�ำหรับองค์กรต่าง ๆ ก็คือ การเพิ่มสาระของความ
สร้างสรรค์ อันได้แก่ การพัฒนาทักษะในการวิเคราะห์และทักษะความ
7
ฉลาดทางสังคมลงไปในงานทุก ๆ งาน ความท้าทายคือ ธุรกิจต่าง ๆ
จ�ำเป็นต้องมีตัวแบบทางธุรกิจที่ประณีตมากขึ้น เป็นตัวแบบซึ่งกระตุ้น
ส่งเสริมให้บุคลากรได้ใช้ทักษะที่ส�ำคัญเหล่านี้ ซึ่งจะท�ำให้งานมีผลิตภาพ
มากขึ้น ซึ่งนั่นก็น�ำมาสู่ค่าตอบแทนที่สูงขึ้นด้วย ผลก็คือเกิดวงจรแห่ง
ความรุ่งเรือง (Virtuous circle of prosperity) นั่นคือ เมื่อคนงาน          
ได้ใช้ขีดความสามารถ ความสร้างสรรค์มากขึ้น ผลิตภาพก็จะสูงขึ้น  
ธุรกิจมีรายได้มากขึ้น นั่นก็ย่อมน�ำมาสู่ค่าจ้างและมาตรฐานการ         
ครองชีพที่ดีขึ้น
	 สิ่งนี้ได้เกิดขึ้นแล้วในสถานประกอบการบางแห่ง ในขณะที่คน
งานในโรงงานอุตสาหกรรมบางแห่งยังติดอยู่กับรูปแบบการท�ำงานที่
ปฏิบัติต่อบุคลากรแบบ“แรงงานไร้ความคิดจิตใจ”(Mindlesslabour)
แต่ในบางสถานประกอบการส่งเสริมให้คนงานเข้าร่วมท�ำกิจกรรม
คุณภาพ (Quality circles) มีการฝึกอบรมให้บุคลากรรู้จักใช้สถิติมา
วิเคราะห์ หรือมอบบทบาทให้บุคลากรมีอ�ำนาจบทบาทในหน้างาน        
มากขึ้น ผลก็คือบริษัทก็จะได้ประโยชน์จากผลิตภาพที่สูงขึ้น บุคลากร
ก็จะมีงานที่มั่นคงยิ่งขึ้นและมีค่าจ้างสูงขึ้น
	 หรือแม้แต่ในอุตสาหกรรมการบริการ เช่น กรณีของโรงแรม       
Four Seasons เป็นตัวอย่างของความพยายามที่จะก�ำหนดต�ำแหน่ง
ของตนเองให้เป็นเครือโรงแรมหรูชั้นน�ำของโลก โดยสามารถเพิ่มสาระ
ในเชิงสร้างสรรค์ลงไปในงานต่าง ๆ ของโรงแรม โรงแรมแห่งนี้ปฏิบัติ  
ต่อบุคลากรด้วยความเคารพในศักดิ์ศรีและช่วยยกระดับความสามารถ
ของพวกเขา ด้วยเหตุนี้ โรงแรม Four Seasons จึงสามารถให้บริการ
ที่ดีเยี่ยมอยู่ในระดับโรงแรมชั้นน�ำของโลก
8
	 ศาสตราจารย์ฟลอริดาเห็นว่าหากเราต้องการให้เกิดความจ�ำเริญ
เติบโตทางเศรษฐกิจอีกครั้งและมีระบบเศรษฐกิจที่สามารถสร้างรายได้
ในระดับสูงให้แก่ผู้คน เราก็จะต้องสร้างความมั่นใจให้ได้ว่าประเทศ       
ของเราและองค์กรของเรามีโปรแกรมการฝึกอบรมและพัฒนาที่ดีและ
มีสถานศึกษาที่ช่วยพัฒนาทักษะด้านการวิเคราะห์และทักษะทางสังคม
และมุ่งเน้นความมุ่งมั่นของเราไปที่การดึงดูดชักจูงส่งเสริมองค์กรธุรกิจ
ที่ให้ความส�ำคัญกับการลงทุนในด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ให้แก่
บุคลากร  
	 หากน�ำเอาภูมิปัญญาของ
ศาสตราจารย์ฟลอริดามาพัฒนา
เศรษฐกิจสังคมไทย ก็อาจกล่าว
ได้ว่า หากเราจะกลับมาประสบ
ความส�ำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจ
อีกครั้งได้ เราจะต้องเจาะลึก เข้า
ถึงและบริหารจัดการทรัพยากรที่ส�ำคัญที่สุดของเรา นั่นคือ “ขีด
สมรรถนะและความสามารถในเชิงสร้างสรรค์” (Creative capability)
ของคนไทยทุกคน นี่คือความท้าทายที่ส�ำคัญที่เราจะต้องฉกฉวยโอกาส
นี้ท�ำให้ได้ หรือเราจะโยนโอกาสนี้ทิ้งไป... นั่นคือทางเลือกที่เรา “ต้อง
เลือก”

More Related Content

More from CUPress

9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560
CUPress
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478
CUPress
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270
CUPress
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102
CUPress
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096
CUPress
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072
CUPress
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027
CUPress
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914
CUPress
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907
CUPress
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686
CUPress
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457
CUPress
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440
CUPress
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389
CUPress
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280
CUPress
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365
CUPress
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303
CUPress
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242
CUPress
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235
CUPress
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099
CUPress
 
9789740336419
97897403364199789740336419
9789740336419
CUPress
 

More from CUPress (20)

9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099
 
9789740336419
97897403364199789740336419
9789740336419
 

9789740333197

  • 2. 2 จากความถดถอยทาง เศรษฐกิจการเงินโลก สู่สภาวะ วิกฤตของเศรษฐกิจอุตสาหกรรม อันเนื่องมาจากอุปสงค์ (De- mand) ที่เหือดหายไปอย่าง รวดเร็ว อุปทานที่ล้นเกินท�ำให้ วงจรการผลิตภาคอุตสาหกรรม เผชิญกับสภาวะปั่นป่วนไปทั่วโลก หากใครได้หยิบนิตยสาร The Economist ฉบับปลายเดือน กุมภาพันธ์ 2552 ขึ้นมาดู อาจจะ รู้สึกอกสั่นขวัญผวาไปกับจั่วหัว ที่มา : www.economist.com ที่พาดไว้พร้อมกับภาพประกอบที่ดูน่าสะพรึงกลัวเป็นอย่างยิ่งว่า “ความล่มสลายของอุตสาหกรรมการผลิต” (The Collapse of manufacturing) โดยนิตยสารฉบับนี้ต้องการชี้ให้เห็นว่า วิกฤตทาง การเงิน (Financial crisis) ที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาได้ก่อให้เกิด วิกฤตการณ์ของภาคอุตสาหกรรมตามมาอย่างเลี่ยงไม่พ้น ปรากฏการณ์ความตกต�่ำของภาคอุตสาหกรรมการผลิตมิได้ กระจุกตัวอยู่ในเฉพาะประเทศต้นเหตุแห่งปัญหาทางการเงินอย่าง สหรัฐอเมริกาเท่านั้น แต่มันได้แผ่กระจายไปทั่วโลก เช่น ในกรณีของ ต้นเหตุแห่งปัญหาคือประเทศสหรัฐอเมริกาจ�ำนวนการประกอบรถยนต์ ลดฮวบลงไปถึงร้อยละ 60 ต�่ำกว่าช่วงเดือนมกราคมของเมื่อปีที่แล้ว ในกรณีประเทศเยอรมนี ช่วงเดือนธันวาคม มีค�ำสั่งซื้อเครื่องมือ- เครื่องจักร (Machine-tool) ลดลงไปกว่าร้อยละ 40 เมื่อเทียบกับ
  • 3. 3 ช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา ในกรณีของไต้หวัน การส่งออกคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊กในช่วงเดือนมกราคมตกฮวบลงไป 1 ใน 3 หรือแม้แต่ในกรณี ของประเทศจีน ผู้ส่งออกของเล่นที่เคยมีประมาณ 9,000 ราย กลับ ต้องล้มหายตายจากไปกว่าครึ่งหนึ่ง เมื่อมองภาพรวมใหญ่ ในกรณีของสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ ในช่วงไตรมาสสุดท้ายพบว่ายอดการผลิตในภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐ อเมริกาตกลงมาถึงร้อยละ 3.6 และร้อยละ 4.4 ในอังกฤษ (ในขณะที่ หากคิดเป็นรายปี ยอดตกลงมาร้อยละ 13.8 และร้อยละ 16.4 ตาม ล�ำดับ) บางคนอาจจะชี้นิ้วต�ำหนิไปที่ตลาดหุ้นวอลสตรีทและการ พยายามพยุงอุ้มบริษัทยักษ์ใหญ่เจ้าปัญหาทั้งหลาย แต่น่าสังเกตว่า ความรุนแรงของการตกต�่ำล่มสลายของภาคอุตสาหกรรมจะเกิดขึ้น อย่างมากในบรรดาประเทศที่เศรษฐกิจต้องพึ่งพิงการส่งออกภาค อุตสาหกรรม เช่น การผลิตภาคอุตสาหกรรมในเยอรมนีในช่วงไตรมาส ที่ 4 ตกต�่ำลงร้อยละ 6.8 ในไต้หวันหดตัวลงร้อยละ 21.7 ในญี่ปุ่น หดตัวลงร้อยละ 12 ผลที่ตามมาคือประเทศเหล่านี้จะมีการหดตัวของ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) อย่างรวดเร็ว เมื่อพิจารณาในเชิงประวัติศาสตร์ กล่าวได้ว่า การผลิตในภาค อุตสาหกรรมได้หดตัวเหือดหายอย่างรุนแรงอย่างที่ไม่เคยปรากฏ มาก่อนนับจากวิกฤตน�้ำมัน (Oil crisis) เมื่อทศวรรษที่ 1970 ความล่ม สลายของภาคอุตสาหกรรมได้ส่งผลแพร่กระจายตัวไปถึงประเทศ อื่น ๆ ดังเช่น ประเทศในกลุ่มยุโรปตะวันออก บราซิล ตุรกี มาเลเซีย และรวมถึงประเทศไทยของเรา โรงงานนับพันโรงในทางใต้ของประเทศ จีนถูกปิดตัวลงไป คนงานจ�ำนวนมากที่กลับไปเยี่ยมบ้านในช่วงตรุษจีน นับล้านคนที่กลับแล้วกลับเลยคือไม่ได้กลับมาท�ำงานอีก
  • 4. 4 ในขณะที่โลกใบนี้ก�ำลังตื่นเต้นและขวัญผวาไปกับภาวะวิกฤติ ทางเศรษฐกิจซึ่งก�ำลังลุกลามระบาดไปทั่วโลก จนแม้กระทั่งนักเศรษฐ- ศาสตร์ชื่อดังบางท่านกล่าวว่าวิกฤติเศรษฐกิจคราวนี้“เกินการควบคุม แล้ว”แต่ขณะเดียวกันก็มีเสียงเล็กๆที่พยายามออกมาน�ำเสนอแนวคิด ในการที่จะ “หลุดพ้น” ออกจากสภาพการที่ไม่น่าพึงประสงค์เช่นนี้ ในคราวนี้ ผู้เขียนใคร่ขอน�ำเสนอแนวคิดของนักคิดท่านหนึ่ง ซึ่ง “ถูกกล่าวถึง” จากสื่อมวลชนในหลายบทบาท เช่น บางคนเรียกว่า ท่านเป็น “นักเศรษฐศาสตร์” แต่สื่อบางฉบับก็บอกว่าท่านเป็น “นัก สังคมวิทยา” ฯลฯ ผู้เขียนจึงขอ เรียกรวมว่าเป็น“นักเศรษฐศาสตร์ สังคมวิทยา” (Sociological economist) ก็แล้วกัน ท่านผู้นี้ คือศาสตราจารย์ริชาร์ดฟลอริดา (Richard Florida) ผู้อ�ำนวยการ สถาบัน The Martin Prosperity Institute ตั้งอยู่ที่ The Rotman School of Management แห่ง มหาวิทยาลัยโตรอนโต ประเทศ แคนาดา ศาสตราจารย์ฟลอริดาน�ำเสนอแนวคิดที่ว่า แม้วิกฤติการคราวนี้ จะหนักหนาสาหัสรุนแรงขนาดไหน แต่เรายังมี “ทางออก” เปรียบ เสมือนกับ “แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์” นั่นคือ ท่านเสนอว่าเราสามารถ ที่จะขับเคลื่อนออกจากภาวะวิกฤตนี้ได้ ด้วยแนวคิดว่าด้วย “การ สร้างสรรค์”และการสร้างระบบเศรษฐกิจแบบใหม่ที่เรียกว่า“เศรษฐกิจ สร้างสรรค์” (Creative economy)
  • 5. 5 จากมุมมองของศาสตราจารย์ฟลอริดาที่มีต่อระบบเศรษฐกิจ ของสหรัฐอเมริกา ท่านเห็นว่าปัจจุบันสหรัฐอเมริกาอยู่ภายใต้ช่วงการ เปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่ จากยุคแห่ง “กล้ามเนื้อและความแข็งแกร่ง” (Strength and muscle) สู่ยุคที่ “ความรู้และทักษะ” คือหัวใจส�ำคัญ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือระบบเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาในห้วงที่ผ่านมา มักขึ้นอยู่กับระบบอุตสาหกรรมที่มุ่งใช้หยาดเหงื่อแรงงานและพลัง ทางกายภาพมากกว่าการใช้พลังสติปัญญา ความท้าทายในปัจจุบันส�ำหรับภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐ อเมริกาคือการต้องขับเคลื่อนจากอุตสาหกรรมที่เต็มไปด้วย “งานที่มี ลักษณะเป็นกิจวัตร” (Routine-oriented job) ซึ่งงานเหล่านี้มักมี ลักษณะงานที่ต้องท�ำตามมาตรฐานและเป็นการท�ำงานที่ซ�้ำ ๆ ไปตาม มาตรฐานที่วางไว้แล้ว ดังนั้น งานพวกนี้จึงมักใช้ความแข็งแกร่งของ “มือ” และ “ร่างกาย” มากกว่า “หัว” และ “สมอง” เคลื่อนผ่านไปสู่ อุตสาหกรรมที่เต็มไปด้วย “งานที่ขึ้นอยู่กับการใช้ความคิดสร้างสรรค์” (Creativity-oriented occupations) ซึ่งคนท�ำงานจะต้องประยุกต์ใช้ ความรู้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และต้องท�ำการตัดสินใจและสื่อสารตอบโต้กับสถานการณ์ได้อย่างดี จากข้อมูลที่ศาสตราจารย์ฟลอริดาศึกษามาพบว่า สัดส่วนของ คนที่ท�ำงานเชิงสร้างสรรค์ (Creative job) มีปริมาณเพิ่มมากขึ้น เรื่อย ๆ และได้เพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา และเชื่อว่า จะเพิ่มมากขึ้นต่อไปแม้ในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจเช่นนี้ เนื่องจากงาน เชิงสร้างสรรค์จะมีความอ่อนไหวต่อความถดถอยทางเศรษฐกิจ น้อยกว่างานแบบกิจวัตร ศาสตราจารย์ฟลอริดาเชื่อว่า ภายในทศวรรษ หน้างานเชิงสร้างสรรค์จะมีสัดส่วนเป็น “ครึ่งหนึ่งของงานทั้งหมด”
  • 6. 6 ที่มีในประเทศแคนาดาและสหรัฐอเมริกา แต่ผู้คนยังมักให้คุณค่าหรือ มองข้ามความส�ำคัญของงานเชิงสร้างสรรค์เหล่านี้ และสิ่งที่น่าเป็นห่วง คือการตัดลดงบประมาณด้านการวิจัยและการสร้างนวัตกรรมของ บรรดาประเทศต่าง ๆ และรวมทั้งบรรดาบริษัทน้อยใหญ่ทั้งหลายด้วย ในขณะที่เศรษฐกิจแบบอุตสาหกรรมการผลิตแบบเดิมให้ความ ส�ำคัญกับทักษะเชิงกายภาพ แต่ในเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์จะมีทักษะ เชิงสร้างสรรค์ที่จ�ำเป็นมาก นั่นคือ • ทักษะเชิงวิเคราะห์ (Analytical skills) เช่น การรับรู้และ แก้ปัญหาอย่างมีแบบแผน (Pattern recognition and problem solving) • ทักษะความฉลาดทางสังคม (Social intelligence) เช่น การมีความรู้สึกที่ไวต่อสถานการณ์และความสามารถในการโน้มน้าว จูงใจซึ่งเป็นฐานส�ำคัญในการสร้างการท�ำงานและการขับเคลื่อนเป็น ทีม สาขาวิชาที่ต้องใช้ทักษะการวิเคราะห์ชั้นสูง (เช่น แพทย์และ วิศวกรรมชีวภาพ) และสาขาวิชาที่ต้องใช้ความฉลาดทางสังคม (เช่น จิตเวชและการบริหารจัดการ) ถือเป็นสาขาที่เติบโตอย่างรวดเร็ว รายได้ส�ำหรับงานสร้างสรรค์จะมีค่าตอบแทนที่สูงกว่างานแบบ เดิม ๆ พบว่า กระทั่งผู้ที่เคลื่อนย้ายงานจากงานที่ต้องใช้ทักษะในการ วิเคราะห์แต่อยู่ในระดับล่าง ขึ้นไปสู่งานเชิงสร้างสรรค์ระดับบน จะมี มูลค่าเพิ่มขึ้นอีก $18,700 หรือคนที่ย้ายงานจากงานที่ใช้ทักษะทาง สังคมระดับต�่ำไปสู่ระดับสูง จะมีรายได้เพิ่มถึงอีก $25,100 สิ่งส�ำคัญส�ำหรับองค์กรต่าง ๆ ก็คือ การเพิ่มสาระของความ สร้างสรรค์ อันได้แก่ การพัฒนาทักษะในการวิเคราะห์และทักษะความ
  • 7. 7 ฉลาดทางสังคมลงไปในงานทุก ๆ งาน ความท้าทายคือ ธุรกิจต่าง ๆ จ�ำเป็นต้องมีตัวแบบทางธุรกิจที่ประณีตมากขึ้น เป็นตัวแบบซึ่งกระตุ้น ส่งเสริมให้บุคลากรได้ใช้ทักษะที่ส�ำคัญเหล่านี้ ซึ่งจะท�ำให้งานมีผลิตภาพ มากขึ้น ซึ่งนั่นก็น�ำมาสู่ค่าตอบแทนที่สูงขึ้นด้วย ผลก็คือเกิดวงจรแห่ง ความรุ่งเรือง (Virtuous circle of prosperity) นั่นคือ เมื่อคนงาน ได้ใช้ขีดความสามารถ ความสร้างสรรค์มากขึ้น ผลิตภาพก็จะสูงขึ้น ธุรกิจมีรายได้มากขึ้น นั่นก็ย่อมน�ำมาสู่ค่าจ้างและมาตรฐานการ ครองชีพที่ดีขึ้น สิ่งนี้ได้เกิดขึ้นแล้วในสถานประกอบการบางแห่ง ในขณะที่คน งานในโรงงานอุตสาหกรรมบางแห่งยังติดอยู่กับรูปแบบการท�ำงานที่ ปฏิบัติต่อบุคลากรแบบ“แรงงานไร้ความคิดจิตใจ”(Mindlesslabour) แต่ในบางสถานประกอบการส่งเสริมให้คนงานเข้าร่วมท�ำกิจกรรม คุณภาพ (Quality circles) มีการฝึกอบรมให้บุคลากรรู้จักใช้สถิติมา วิเคราะห์ หรือมอบบทบาทให้บุคลากรมีอ�ำนาจบทบาทในหน้างาน มากขึ้น ผลก็คือบริษัทก็จะได้ประโยชน์จากผลิตภาพที่สูงขึ้น บุคลากร ก็จะมีงานที่มั่นคงยิ่งขึ้นและมีค่าจ้างสูงขึ้น หรือแม้แต่ในอุตสาหกรรมการบริการ เช่น กรณีของโรงแรม Four Seasons เป็นตัวอย่างของความพยายามที่จะก�ำหนดต�ำแหน่ง ของตนเองให้เป็นเครือโรงแรมหรูชั้นน�ำของโลก โดยสามารถเพิ่มสาระ ในเชิงสร้างสรรค์ลงไปในงานต่าง ๆ ของโรงแรม โรงแรมแห่งนี้ปฏิบัติ ต่อบุคลากรด้วยความเคารพในศักดิ์ศรีและช่วยยกระดับความสามารถ ของพวกเขา ด้วยเหตุนี้ โรงแรม Four Seasons จึงสามารถให้บริการ ที่ดีเยี่ยมอยู่ในระดับโรงแรมชั้นน�ำของโลก
  • 8. 8 ศาสตราจารย์ฟลอริดาเห็นว่าหากเราต้องการให้เกิดความจ�ำเริญ เติบโตทางเศรษฐกิจอีกครั้งและมีระบบเศรษฐกิจที่สามารถสร้างรายได้ ในระดับสูงให้แก่ผู้คน เราก็จะต้องสร้างความมั่นใจให้ได้ว่าประเทศ ของเราและองค์กรของเรามีโปรแกรมการฝึกอบรมและพัฒนาที่ดีและ มีสถานศึกษาที่ช่วยพัฒนาทักษะด้านการวิเคราะห์และทักษะทางสังคม และมุ่งเน้นความมุ่งมั่นของเราไปที่การดึงดูดชักจูงส่งเสริมองค์กรธุรกิจ ที่ให้ความส�ำคัญกับการลงทุนในด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ให้แก่ บุคลากร หากน�ำเอาภูมิปัญญาของ ศาสตราจารย์ฟลอริดามาพัฒนา เศรษฐกิจสังคมไทย ก็อาจกล่าว ได้ว่า หากเราจะกลับมาประสบ ความส�ำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจ อีกครั้งได้ เราจะต้องเจาะลึก เข้า ถึงและบริหารจัดการทรัพยากรที่ส�ำคัญที่สุดของเรา นั่นคือ “ขีด สมรรถนะและความสามารถในเชิงสร้างสรรค์” (Creative capability) ของคนไทยทุกคน นี่คือความท้าทายที่ส�ำคัญที่เราจะต้องฉกฉวยโอกาส นี้ท�ำให้ได้ หรือเราจะโยนโอกาสนี้ทิ้งไป... นั่นคือทางเลือกที่เรา “ต้อง เลือก”