SlideShare a Scribd company logo
1 of 38
Download to read offline
เอกสารประกอบการสัมมนา
เรื่อง
Basic Communication Skills
สาหรับแพทย์ประจาบ้าน
จัดโดย
คณะกรรมการ Communication Skills
ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย
2
สาส์นจากประธานราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย
ถึงแม้ว่าความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการและเทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบันจะรุดหน้าไป
อย่างรวดเร็ว ทําให้การตรวจวินิจฉัย และการดูแลรักษาผู้ป่วยดีขึ้นกว่าในอดีต แพทย์ได้พึ่งพาความรู้ใหม่ๆ
และอาศัยเทคโนโลยีเหล่านี้ในเวชปฏิบัติ สิ่งที่เปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนคือความรวดเร็วที่ผู้ป่วยได้รับจาก
การตรวจวินิจฉัย และการรักษาด้วยแนวทางใหม่ๆ ที่ทําให้ผลการรักษาดีขึ้น ผลลัพธ์ดังกล่าวนี้น่าจะทําให้
ผู้ป่วยและญาติพึงพอใจมากขึ้นและข้อร้องเรียนต่อการทํางานของแพทย์น่าจะลดลง แต่ความจริงที่พบ
กลับเป็นไปในทางตรงกันข้าม ข้อร้องเรียนที่แพทยสภาได้รับเกี่ยวกับเวชปฏิบัติของแพทย์ที่ไม่เหมาะสม
ยังคงสูง ไม่เว้นแม้แต่กุมารแพทย์ซึ่งในอดีตถูกร้องเรียนน้อยเนื่องจากได้รับความไว้วางใจเสมือนแพทย์
ประจําครอบครัว และเป็นที่น่าสนใจว่าผลการวิเคราะห์ข้อร้องเรียนพบว่าความไม่พึงพอใจของผู้ป่วยส่วน
หนึ่งเกิดจาก การที่แพทย์ไม่เปิดโอกาสให้ซักถามและขาดการสื่อสารที่ดี
บทเรียนที่กุมารแพทย์ต้องเรียนรู้จากความผิดพลาด คือ การสร้างคุณลักษณะที่จําเป็นสําหรับ
วิชาชีพได้แก่ ทักษะการใฝ่หาความรู้อย่างต่อเนื่องเพื่อให้ทันการเปลี่ยนแปลง การสร้างมีทัศนคติที่ดีต่อ
วิชาชีพโดยมีความเมตตาและปรารถนาดีต่อผู้ป่วย ทักษะการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ป่วยและญาติ
และสิ่งสําคัญที่ขาดไม่ได้และต้องนํามาใช้ตลอดเวลาคือทักษะการสื่อสารที่ดี ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯจึง
จัดการสัมมนา เรื่อง การเรียนการสอน Basic Communication Skills สําหรับแพทย์ประจําบ้าน ใ น
วันที่ 14 พฤษภาคม 2553 ขึ้น เพื่อให้ อาจารย์แพทย์ได้พัฒนาทักษะในการสอน การอบรมในครั้งนี้จะ
ประโยชน์กับผู้เข้ารับการอบรม และสามารถนําไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนแก่แพทย์ประจําบ้าน
พัฒนาการทํางานเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแพทย์และผู้ป่วย และส่งผลให้คุณภาพในการดูแล
รักษาผู้ป่วยดีขึ้น ต้องขอขอบคุณคณะกรรมการ Communication skill ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่ง
ประเทศไทย และวิทยากร ที่ทําให้การอบรมครั้งนี้สําเร็จลงได้ด้วยดี
ศาสตราจารย์.นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา
ประธานราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย
1 มีนาคม 2554
3
สาส์นจากประธานอนุกรรมการฝึกอบรม สาขากุมารเวชศาสตร์
ปัจจุบัน ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยเปลี่ยนไป ผู้ป่วยและญาติมีความคาดหวังสูงต่อการ
รักษาของแพทย์ และเป็นเหตุทําให้แพทย์ถูกฟ้องร้องบ่อยขึ้น ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศ
ไทยซึ่งรับผิดชอบคุณภาพการฝึกอบรมแพทย์ประจําบ้านสาขากุมารเวชศาสตร์ จําเป็นต้องมีการพัฒนา
และปรับปรุงกระบวนการฝึกอบรมแพทย์ประจําบ้านอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพื่อให้ได้กุมารแพทย์ที่ดี มี
ความรู้ความสามารถในการดูแลผู้ป่วยเด็ก ตลอดจนมีทักษะที่ดีในการติดต่อสื่อสารและสร้างสัมพันธภาพ
กับผู้ป่วย ญาติ บุคคลากรทางการแพทย์อื่น ๆ
การจัดการสัมมนา เรื่อง การเรียนการสอน Basic Communication Skills สําหรับแพทย์ประจํา
บ้านในครั้งนี้เพื่อเน้นให้อาจารย์เห็นความสําคัญ และมีทักษะที่ดีในการถ่ายทอดความรู้และทักษะเหล่านี้
ไปยังแพทย์ประจําบ้าน
ในปีการศึกษา 2554 จะเป็นปีที่เริ่มให้แพทย์ประจําบ้าน ปี 1-3 ได้ฝึกปฏิบัติจริงกับผู้ป่วย 2 ราย
ต่อปีภายใต้การดูแลและประเมินของอาจารย์แพทย์ โดยใช้แบบประเมินและจัดเก็บลงใน portfolio
ขอขอบคุณคณะกรรมการ Communication skills ทุกท่าน ที่ได้ร่วมแรงร่วมใจ ที่ทําให้การประชุม
ครั้งนี้สําเร็จลุล่วงเป็นอย่างดี
แพทย์หญิงศรีศุภลักษณ์ สิงคาลวณิช
ประธานอนุกรรมการฝึกอบรม สาขากุมารเวชศาสตร์
1 มีนาคม 2554
4
บทนา
การสื่อสารเป็นทักษะสําคัญในการเชื่อมโยงความเข้าใจ แลกเปลี่ยนความรู้ และปรับกระบวน
ความคิดให้ตรงกัน ส่งผลทําให้เกิดความใกล้ชิด ความเข้าใจ ความเห็นอกเห็นใจ จนผูกพันกันระหว่างคน
2 คน ทักษะในการสื่อสารทางการแพทย์ว่าจะให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยในระดับใด จะพูดกับผู้ป่วยอย่างไร เป็น
เรื่องที่ต้องคอยสังเกต เรียนรู้วิธีการจากอาจารย์ รุ่นพี่ ต้องการการฝึกฝนเพราะยิ่งฝึกบ่อยก็จะทําได้ดีขึ้น
แต่ในปัจจุบันที่กระแสโลกาภิวัฒน์รุนแรง ทําให้ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เกิด
ความเร่งรีบ ส่งผลทําให้คนหลายคนในสังคมตัดทอนการสื่อสาร 2 ทางทั้งอย่างตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ
ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมอย่างมากมายโดยเฉพาะด้านการเมือง
ในด้านการแพทย์ ปัญหาที่นําไปสู่การฟ้องร้องส่วนใหญ่เกิดจากปัญหาในการสื่อสารทั้งสิ้น
ขณะเดียวกัน ผู้ป่วยที่กําลังเพิ่มจํานวนมากขึ้นทุกปี คือ กลุ่มโรคเรื้อรัง กลุ่มโรคที่ต้องใช้แพทย์หรือสห
วิชาชีพเข้ามาร่วมกันดูแลซึ่งแต่ละคนอาจมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ความชํานาญและบทบาทของ
ผู้รักษาแต่ละคนอาจซ้อนทับกัน นํามาซึ่งความคิดเห็นที่ต่างกันในรายละเอียดของวิธีการรักษา ทั้งด้าน
ประสิทธิภาพ ความเหมาะสมต่อคนไข้แต่ละคน ปัญหาการดูแลผู้ป่วยที่พบบ่อยที่ทําให้ขั้นตอนการ
รักษามีปัญหา มักเกิดจากความไม่เข้าใจกันและสื่อสารสับสนระหว่างกลุ่มแพทย์กับญาติผู้ป่วย ระหว่าง
สหวิชาชีพทีมที่ให้การดูแลรักษาผู้ป่วย ระหว่างแพทย์ผู้รักษาหลายสาขาวิชาชีพไป ระหว่างอาจารย์แพทย์
กับแพทย์ประจําบ้านหรือนักศึกษาแพทย์ จากความคิดเห็นที่แตกต่างกันนั้นมักนําไปสู่ความขัดแย้ง ความ
ยุ่งยาก และทําให้บั่นทอนความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้รักษาที่ทํางานร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นผู้รักษาในวิชาชีพ
เดียวกัน หรือต่างวิชาชีพ
ศ.คลินิก พญ.วินัดดา ปิยะศิลป์
ประธานคณะกรรมการ Communication Skills
ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย
1 มีนาคม 2554
5
สารบัญ
หน้า
สาส์นจากประธานราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย 2
สาส์นจากประธาน อฝส 3
บทนํา 4
สารบัญ 5
กําหนดการสัมมนา 6
KAP in communication skills 7
แนวทางให้คําปรึกษา 8
ทักษะสําคัญเพื่อการสื่อสารที่ได้ผล 10
คู่มือการใช้ Medical Counseling Checklist (MCC) สําหรับอาจารย์ 12
Medical Counseling Checklist (MCC) 13
Feed back 15
แบบประเมินตนเองด้านการเรียนรู้ในสถานการณ์ต่างๆ 16
Motivational interview 18
การสื่อสารกับญาติในภาวะวิกฤต 21
ภาวะใกล้ตายและความตายในเด็ก 25
แบบฝึกหัด 3 1
รายชื่อคณะกรรมการ Communication skills พ.ศ. 2553 - 5
6
กาหนดการประชุมเชิงปฏิบัติการ
Communication skills for Resident I & Medical Student
วันที่
8.30 ‟ 9.00 น หัวใจสําคัญของการสื่อสาร VDO
9.00 ‟ 10.00 น Counseling technique and check list in communication skills
10.00 ‟ 12.00 น Case scenario 1 : Against advice for admission
Case scenario II :History taking
Case scenario III : Blood Sampling
13.00-15.00 น. Case scenario IV : Interpersonal Relationship
Case scenario V : feed back technique
15.00 ‟ 15.30 น Q & A
7
Knowledge- Attitude - Practice (KAP) in Communication Skills
ผู้ให้คําปรึกษา จะต้องเป็นผู้มีความและทักษะที่ดีพอ. มีผู้กล่าวว่า “Doctor is the drug” ซึ่งไม่เกินความ
จริง ควรมีบุคคลิกภาพที่เหมาะสม สงบ อบอุ่น เป็นมิตร สม่ําเสมอและยืดหยุ่นต่อผู้ป่วยและพ่อแม่ได้ตามความ
เหมาะสม มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ มองโลกด้านดี อยู่ในความเป็นจริงและไม่อ่อนไหวง่าย
ถ้าให้คําปรึกษาแนะนําได้ดี สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือความรู้สึกของผู้ป่วยและครอบครัวที่มีต่อปัญหาทางพันธุกรรมจะ
เปลี่ยนแปลง, จากความโศกเศร้าเสียใจสูญเสีย มาเป็นความต้องการจะต่อสู้หาทางแก้ไข, และหาทางเลือกที่
เหมาะสมให้กับตนเองได้
1. เจตคติ คือ มีใจอยากทํา มีประสบการณ์ในการให้คําปรึกษาและพัฒนาตนเอง ตั้งใจทําให้ดี นุ่มนวล เห็น
ใจ (rapport relationship) ให้โอกาสคิดไตร่ตรองและตัดสินใจด้วยตัวเอง (nondirective) เข้าใจถึงความรู้สึก อารมณ์
ความคิดของผู้ป่วย (empathy, หรืออัตตานัง อุปมัง กเร), ยอมรับได้ทั้งด้านบวกและด้านลบที่ผู้ป่วยเป็น โดยไม่มี
อคติ ไม่ลําเอียง และไม่มีอคติต่อพ่อแม่ (non-judgmental understanding) มีความจริงใจ และสนใจต่อความทุกข์และ
ปัญหาของผู้ป่วยอย่างจริงจัง.
สามารถเสริมสร้างขวัญและกําลังใจให้กับผู้รับคําปรึกษา ควบคุมอารมณ์ตนเองได้ รักษาความลับ
รับผิดชอบ ยุติธรรม ไม่ลําเอียง มีจริยธรรม เข้าใจธรรมชาติของตัวเองและผู้อื่น ไวต่อความรู้สึก เข้าใจปฏิกิริยาและ
ความลําบากของพ่อแม่ ( empathy ) เข้าใจ ความแตกต่างของบุคคล ทั้งในสิ่งที่ติดตัวมาแต่กําเนิด สถานการณ์
แวดล้อมและบุคคลรอบตัวที่มีอิทธิพล ทําให้ ความคิดความรู้สึก และ วิธีการในการแก้ปัญหาของแต่ละคนแตกต่างกัน
ความเข้าใจนี้ทําให้ผู้ให้คําปรึกษายอมรับ พร้อมจะให้เวลาและเปิดโอกาสให้ผู้รับคําปรึกษาค่อยๆเปลี่ยนแปลงตนเอง
มีความเชื่อว่าทุกคนมีศักยภาพในตัวเองที่จะต่อสู้แก้ปัญหา แต่ในภาวะที่ทําให้เกิดความรู้สึกด้อยซึ่งไม่สามารถนํา
ศักยภาพมาใช้ได้สําเร็จ เป็นผลมาจากการขาดความมั่นใจหรือขาดความภูมิใจในตัวเอง (self-confidence), ขาด
ความกระตือรือร้น, ท้อแท้ ยอมแพ้ ไม่อยากต่อสู้, ขาดขวัญกําลังใจจากบุคคลรอบตัว ทั้งในและนอกครอบครัว,
รวมทั้งขาดความรู้สึกถึงความมีคุณค่าของตนเองต่อสังคม. การให้คําปรึกษาแนะนําจะเป็นการกระตุ้นให้ศักยภาพ
ดังกล่าวนี้ถูกนําออกมใช้
2. ความรู้ คือ ต้องมีข้อมูลที่ชัดเจน เข้าใจธรรมชาติของปัญหาที่เกิดขึ้น รู้แนวทางการรักษาในด้านต่างๆ
มีความรู้ด้านจิตวิทยาดีพอควรโดยเฉพาะเกี่ยวกับเทคนิคการให้คําปรึกษา การสัมภาษณ์ พลวัตของครอบครัว
(family dynamics) และความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ป่วยและครอบครัว ความสามารถในการ
ประเมิน, ความเข้าใจถึงปฏิกิริยาทางจิตใจที่จะมีผลต่อโรคหรือภาวะทางร่างกาย รวมทั้งความคาดหวัง และความ
ต้องการของผู้ป่วยและครอบครัว
3. ทักษะ คือ ความสามารถในการรักษาเวลา มีระบบงานดี เลือกสถานที่เหมาะสม รักษาสัมพันธภาพได้
และมีเทคนิคการพูดหรือให้คําปรึกษาในขั้นตอนแม่นยํา มีทักษะการสื่อสารชัดเจน สามารถที่จะพูดได้โดยอาการ
สงบแม้เป็นการบอกข่าวร้าย ไม่พูดเร้าอารมณ์หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนก ฟังเป็น โดยฟังด้วยหู(ข้อมูลจาก
ผู้ป่วยและพ่อแม่) ฟังด้วยตา (สังเกตพฤติกรรม อารมณ์ ปฏิกิริยาที่แสดงออก ของผู้ป่วยและครอบครัวในขณะ
สัมภาษณ์หรือให้ข้อมูล), และฟังด้วยใจ (empathy)
8
แนวทางการให้คาปรึกษา
( Counselling technique)
ศ.คลินิก พญ.วินัดดา ปิยะศิลป์
สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
ความหมาย
การให้คําปรึกษา ( counseling ) คือ กระบวนการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบปัญหา โดยอาศัยปฎิสัมพันธ์
ระหว่างผู้ให้คําปรึกษา (counselor) และผู้รับการปรึกษา( client) เน้นที่ตัวผู้รับการปรึกษา(client ‟ center) โดยมีผู้ให้
คําปรึกษาเป็นผู้ช่วย ใช้เทคนิคการสื่อสาร ทําให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ถึงสาเหตุของปัญหา และใช้ศักยภาพของ
ตนเองในการคิด นําไปสู่การตัดสินใจและ แก้ปัญหาด้วยตนเอง โดยที่ผู้ให้คําปรึกษาจะไม่ใช้ความคิดของตัวเองเป็นหลัก
หรือชักจูงหรือแนะนําวิธีการแก้ปัญหา
วัตถุประสงค์
ในการใช้ชีวิต หลายครั้งที่ต้องเผชิญกับความผิดหวัง ไม่ได้ดังใจ การสูญเสีย ความโศกเศร้า เผชิญหน้ากับ
ทางเลือกที่ต้องตัดสินใจ ซึ่งส่งผลกระทบต่อความรู้สึก ก่อให้เกิดเป็นความคับข้องใจ ความกลัว กังวล ไม่แน่ใจ ซึ่ง
บางครั้งไม่สามารถจัดการกับปัญหาเหล่านั้นได้ และทําให้ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงและความเชื่อมั่นในตนเอง
การให้คําปรึกษาจึงเป็นทางเลือกหนึ่ง เพื่อให้ผู้รับการปรึกษาเกิดแรงจูงใจที่จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหา พูดคุยจนทําให้
ผู้รับการปรึกษาเข้าใจและเห็นปัญหาของตนเอง จนอยากแก้ไขปัญหา และดําเนินการแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง
ขั้นตอนในการให้คาปรึกษา
1. เริ่มต้น (opening)
ควรทําภายใต้บรรยากาศที่เงียบสงบ เป็นส่วนตัวเหมาะที่จะพูดคุยได้เปิดเผย ท่านั่งที่ไม่เผชิญหน้ากัน
ร่วมกับการทักทาย ใช้ภาษาง่ายๆ เป็นกันเองโดยแนะนําตัวว่าเป็นใคร มาจากหน่วยงานไหน มีขั้นตอนการทํางานอย่างไร
และทําไมจึงต้องมาพูดคุยกัน เพื่อสร้างความสัมพันธ์ ความคุ้นเคย ด้วยท่าทีผ่อนคลาย เอาใจใส่ต่อความ
สะดวกสบายของผู้รับคําปรึกษา จะเป็นการเริ่มต้นที่ดี มีการสอบถามความเข้าใจและให้ความมั่นใจในการรักษา
ความลับของเรื่องที่จะปรึกษากัน (confidentiality)
2. เข้าใจประเด็นปัญหา (identification of problems)
การพูดคุยจะเริ่มโดยการถามถึงปัญหาต่างๆ และทําการจัดลําดับความสําคัญของ ใช้ภาษาเข้าใจง่าย ที่มี
ประโยชน์ ถูกต้อง เหมาะสม และข้อมูลเพียงพอ พูดคุยติดตามเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับ
ปัญหาสําคัญอย่างต่อเนื่อง และซักถามลงในรายละเอียด ขณะเดียวกันมีการทบทวนปัญหาเป็นระยะเพื่อทําความ
เข้าใจสิ่งต่างๆที่เกี่ยวข้องกับปัญหาให้ชัดเจน( clarification)
3. ตั้งเป้าหมาย (goal setting)
ให้ผู้รับคําปรึกษาได้เลือกปัญหาที่แท้จริงที่ต้องการ ในกรณีผู้รับคําปรึกษาสับสน ผู้ให้คําปรึกษาอาจพูดชักจูง
เพื่อดึงให้เข้าสู่ประเด็นที่สําคัญ โดยสร้างแรงจูงใจให้เห็นความสําคัญ และกําหนดเป้าหมายร่วมกัน
4. การแก้ปัญหา (problem solving )
9
1. ให้ข้อมูลทางการแพทย์ ที่เหมาะสม ถูกต้องและทําได้จริง
2. เสนอทางเลือกที่เหมาะสม กระตุ้นให้ผู้รับคําปรึกษามีทางเลือกในการแก้ปัญหามากขึ้น ตระหนักถึงผลที่จะ
ตามมาจากการเลือกแต่ละทาง หารือข้อดีข้อเสีย สามารถพิจารณาเลือกวิธีแก้ปัญหาที่ดีขึ้นและรับผิดชอบต่อตนเองได้
โดยผู้ให้คําปรึกษาใช้วิธีต่างๆ เช่น ให้ความรู้ แนะนํา แนะแนวทาง ชักจูง การฝึกฝน การให้การบ้าน การ
ชมเชยเมื่อทําดี การกระตุ้นให้ทํา ประเมินผลและการแก้ไข การฝึกฝนทักษะต่างๆ
3. ให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมและให้ตัดสินใจด้วยตนเอง
4. ให้ความหวัง
5. สรุปเป็นระยะ (segment summary) การสรุปทวนซ้ําเป็นการแสดงถึงความสนใจและเป็นการเน้นถึงประเด็น
ที่สําคัญ ทําให้มีการสนทนาต่อในประเด็นนั้น และสรุปทั้งหมดโดยเน้นส่วนที่เป็นสาระสําคัญ
5. การยุติกระบวนการให้คาปรึกษา (closing)
เมื่อผู้รับคําปรึกษาเกิดความกระจ่างในปัญหาของตนเองอย่างแท้จริงและสามารถหาวิธีแก้ปัญหาของตนเองได้จะทําการ
ยุติการให้คําปรึกษานั้นโดยการสรุปประเด็นที่ได้พูดคุยกัน
1. เปิดโอกาสให้ถาม การซักถามสิ่งที่ยังค้างคาใจ การตรวจสอบความคิด สอบ ถามถึงความรู้สึกที่
เปลี่ยนแปลงไป
2. แสดงความชื่นชมความสามารถ ในการที่ผู้รับคําปรึกษามีความมุ่งมั่นที่อยากแก้ไขปัญหาของตนเองและ
กล้าคิด กล้าทบทวนปัญหาต่างๆ
3. นัดหมายติดตาม หรือกล่าวลาโดยมีท่าทางที่อบอุ่น เป็นมิตร เอื้อเฟื้อ ให้โอกาสที่จะพบกันอีก
ในการให้คําปรึกษาจึงเป็นเสมือนการเดินทางร่วมกันระหว่างผู้ให้คําปรึกษาและผู้รับคําปรึกษา ที่มิได้มีใครคน
ใดตนหนึ่งเป็นผู้นําหรือผู้ตาม ผู้ให้คําปรึกษาจะเป็นผู้ช่วยเหลือให้ไปถึงจุดหมายปลายทางสุดท้ายที่ผู้รับคําปรึกษาเป็นตัว
ของตัวเองและพึ่งตนเองได้
การที่ผู้ให้คําปรึกษาที่มีความตั้งใจดีในการช่วยเหลือมีท่าทีเป็นมิตรพร้อมจะรับฟัง มองโลกในแง่ดี รู้จักใช้
คําพูดที่เหมาะสม มีความอดทนใจเย็นในการช่วยแก้ปัญหา จะทําให้กระบวนการการให้คําปรึกษาบรรลุวัตถุประสงค์
ดังกล่าวข้างต้นได้ในที่สุด
10
ทักษะสําคัญเพื่อการสื่อสารที่ได้ผล
1. การสร้างความสัมพันธ์ ( relationship skills)
การมีส่วนร่วมในความรู้สึก (shares of feeling)
การสะท้อนความรู้สึก (acknowledges/ reflects the feeling) การสะท้อนความหมาย/การสะท้อนความรู้สึก เป็นวิธีที่
ผู้ให้คําปรึกษาได้สะท้อนกลับให้ผู้รับคําปรึกษาได้มองเห็นตนเองชัดเจนขึ้นและเป็นการตรวจสอบความเข้าใจของผู้ให้
คําปรึกษาว่าเข้าใจตรงกันหรือไม่
รับฟังความคิดเห็น สะท้อนความคิด(reflects the thought) และมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น (shares of
thinking) และ การให้กําลังใจ (supports)
การเข้าใจความรู้สึก (empathy) เป็นวิธีการที่ผู้ให้คําปรึกษา ฟังอย่างตั้งใจใช้คําถามเหมาะสม เข้าใจ
ความรู้สึกและสะท้อนออกมาให้ผู้รับปรึกษารู้ ท่าทีเห็นใจ ตั้งใจจะช่วยเหลือ ทําให้เกิดความผ่อนคลาย ลดความกังวล
ในการรับคําปรึกษา ทําให้บรรยากาศเป็นกันเอง เป็นกระบวนการที่ แสดงว่าผู้ให้คําปรึกษายอมรับในตัวของผู้มารับคํา
ปรึกษาจนเกิดเป็นความมั่นใจที่จะเปิดเผย ประเด็นปัญหาที่สําคัญต่อไป
ท่าทีเป็นกลาง/ไม่ตัดสินผิดถูก (nonjudgmental,neutral )
ท่าทางที่เข้าใจ(understanding)และยอมรับ(unconditional positive regard)
2. ทักษะการส่งเสริมการสื่อสาร ( facilitation skills )
ทักษะสังคม
 การสบตา (eye contact) และท่าทางใส่ใจ (posture, facial expression)
 การใช้สัมผัสที่เหมาะสม (touch)
 ใช้ภาษาเหมาะสม คือ ใช้ภาษาง่าย เป็นประโยชน์ ข้อมูลถูกต้องและเพียงพอในการตัดสินใจ
 การสื่อสารสองทาง (two way communication) ใช้ภาษาพูดที่เข้าใจง่าย เป็นประโยชน์ ข้อมูลถูกต้อง
เหมาะสม และให้ข้อมูลเพียงพอในการตัดสินใจ และให้โอกาสซักถาม หรือแก้ไขความเข้าใจผิด
 การให้กําลังใจ โดยการใช้ภาษากายและการใช้คําพูด น้ําเสียงนุ่มนวล การทวนซ้ํา การสะท้อนความรู้สึก ซึ่ง
จะช่วยให้ผู้รับคําปรึกษารับรู้ถึงความใส่ใจ และมีกําลังใจในการสนทนาต่อ
 การใช้ความเงียบ (uses silence) เพื่อเปิดโอกาสให้คิดไตร่ตรอง
 การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (mutual participation)
 การใช้คําถาม ( questioning ) การเลือกใช้คําถามปลายปิดหรือคําถามปลายเปิดอย่างเหมาะสม คําถาม
ปลายเปิดใช้ในการถามเพื่อกระตุ้นให้ผู้รับคําปรึกษาได้สํารวจและบอกเล่าความคิดความรู้สึกของตนเอง โดยไม่
เป็นการเจาะจงหรือกําหนดกรอบ แต่ให้อิสระในการตอบตามความเป็นตัวของตัวเอง มักใช้คําถามว่า “อะไร”
หรือ “อย่างไร” พยายามหลีกเลี่ยงคําถามที่ขึ้นต้นว่า “ทําไม” เพราะทําให้ผู้ฟังรู้สึกว่า
 ถูก ตําหนิ หรือกําลังถูกค้นหาความผิด ส่วนคําถามปลายปิด เป็นคําถามที่ต้องการคําตอบในเรื่องที่
เฉพาะเจาะจงคําตอบที่ได้มักเป็นคําตอบสั้นๆ เช่น คําถามเรื่อง “ใคร” “เมื่อไร” “ใช่หรือไม่”
 การฟังที่ดี ( active listening ) คือมีความตั้งใจฟัง สบตา ใช้ภาษาท่าทางและสรุปประเด็นเพื่อแสดงถึงความ
เข้าใจในสิ่งที่ได้รับ การเฝ้าสังเกตภาษากาย คําพูด น้ําเสียง ถ้อยคํา และนัยยะที่ซ่อนอยู่เบื้องหลัง ทําให้ผู้ให้
11
คําปรึกษาสามารถเข้าใจความรู้สึกของผู้พูดและสะท้อนความรู้สึก และทําให้ผู้พูดมีกําลังใจในการพูดต่อ
3. ทักษะการให้ความช่วยเหลือในการเชื่อมโยงปัญหา
การช่วยเหลือให้ผู้รับคําปรึกษาเกิดความเชื่อมโยง เข้าใจที่มาของปัญหา และยอมรับตนเองได้ โดยผู้ให้
คําปรึกษาใช้ทักษะการโต้ตอบ ดังนี้
 การให้ข้อมูล (informing) การหาผลจากการกระทํา (exploring logical consequences)
 การตีความ (interpreting) การชี้ให้เห็นเป็นเรื่องปกติ (normalizing)
 การสอบถาม (probing) การให้ข้อมูลย้อนกลับว่าผู้อื่นมองเขาอย่างไร (feedback)
 การเปลี่ยนแนวคิด (reframing) เดิมเคยคิดในมุมหนึ่งเปลี่ยนเป็นคิดได้ในอีกมุมมองหนึ่ง
 การให้ข้อสังเกตถึงความขัดแย้งกันในตัวของผู้รับคําปรึกษา (confrontation)
 การเปิดเผยตนเอง หรือยกกรณีของผู้ให้คําปรึกษาเองเป็นตัวอย่าง (self-disclosure)
 การยับยั้งตนเองของผู้ให้คําปรึกษา (refraining) เพื่อให้ผู้รับคําปรึกษามีโอกาสได้กลั่นกรอง
 และหาคําตอบด้วยตัวเอง
12
คู่มือการใช้งาน Medical Counseling Checklist (MCC)
สําหรับอาจารย์
 อธิบายให้แพทย์ประจําบ้าน เข้าใจในเนื้อหาและหัวข้อที่จะประเมิน
 สร้างแรงจูงใจให้เกิดการยอมรับการประเมิน
 สังเกตพฤติกรรมทั้งข้อดีและข้อด้อยของแพทย์ประจําบ้าน
 บันทึกพฤติกรรมของแพทย์ประจําบ้าน
 เปิดโอกาสให้แพทย์ประจําบ้าน แสดงความคิดความรู้สึกต่อการให้คําปรึกษาที่ตนเองเพิ่งทําไป
 ให้แพทย์ประจําบ้าน ลองประเมินข้อดีและ ข้อเสียของตนเอง
 ให้แพทย์ประจําบ้าน ลองคิดแก้ใขใหม่ด้วยตัวเอง (ถ้าทําใหม่ จะทําอย่างไร)
 นําเสนอข้อดีของแพทย์ประจําบ้าน และแสดงความชื่นชมในส่วนดี
 นําเสนอข้อด้อยของแพทย์ประจําบ้าน พร้อมข้อแนะนํา
 เปิดโอกาสให้แพทย์ประจําบ้าน ซักถาม
 มอบบันทึก checklist แก่แพทย์ประจําบ้าน เพื่อจัดเก็บใน Portfolio
 ให้กําลังใจ และความหวังแก่แพทย์ประจําบ้าน ในการพัฒนาตนเองต่อไป
 เปิดโอกาสให้แพทย์ประจําบ้าน ทดลองประเมินตนเองโดยใช้แบบ checklist ด้วยตนเอง
13
แบบบันทึกการสังเกตการณ์การให้คาปรึกษา
Medical Counseling Checklist
ชื่อ ‟ นามสกุลผู้ป่วย....................................................................... อายุ.............................. วันที่................................................. HN.........................................
การวินิจฉัย.....................................................WARD…........................ ชื่อ แพทย์ประจําบ้าน.........................................ปีที่.......................อาจารย์..........................
เหมาะสม ไม่เหมาะสม N/A
A. เริ่มต้น (Opening)
1. ทักทาย/สร้างความคุ้นเคย
2. แนะนําตนเองและขั้นตอน
3. ท่าทีผ่อนคลาย
4. ใส่ใจต่อความสุขสบายของผู้ป่วย
5. สิ่งแวดล้อม
6. สอบถามความเข้าใจผู้ป่วย
7. ให้ความมั่นใจในการเก็บข้อมูลเป็นความลับ (confidentiality)
B. เข้าใจประเด็นปัญหา (Identification of problem)
1. ถามถึงปัญหาต่าง ๆ (Problem survey)
2. จัดลําดับความสําคัญ
3. ติดตามเรื่องราวอย่างต่อเนื่อง
4. สํารวจลงลึก
5. ทําความเข้าใจปัญหาให้กระจ่าง
C. ตั้งเป้าหมาย (Goal setting)
1. เลือกปัญหาที่แท้จริงที่ต้องการ (Identification the problem)
1.1 การสรุปและนําสู่ประเด็น
1.2 การดึงเข้าประเด็นที่ต้องการ
2. สร้างแรงจูงใจ
3. กําหนดเป้าหมายร่วมกัน
D. การแก้ปัญหา (Problem solving)
1. การให้ข้อมูลทางการแพทย์ (Medical facts)
1.1 ใช้ภาษาง่าย
1.2 เป็นประโยชน์
1.3 ถูกต้อง
1.4 เพียงพอ
2. เสนอทางเลือกที่เหมาะสม และ. หารือข้อดีข้อเสียในแต่ละทางเลือก
14
เหมาะสม ไม่เหมาะสม N/A
3. การให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วม (Let counselee make his/her own decision)
4. การให้ความหวัง
5 สรุปเป็นระยะ (Segment Summary)
E. การจบการสนทนา (Closing)
1. เปิดโอกาสให้ถาม
2. แสดงความชื่นชม
3. การนัดหมายติดตาม
F. ทักษะตลอดกระบวนการ (Counseling techniques)
1. การส่งเสริมการสื่อสาร (Facilitation skills)
1.1 การสบตา
1.2 ท่าทาง (Posture, facial expression)
1.3 การสัมผัส
1.4 การใช้ภาษา
1.5 การใช้ความเงียบ
1.6 การสื่อสารสองทาง
1.7 การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
1.8 การใช้คําถาม (Questioning-open end)
1.9 การฟัง (Active Listening)
2. การสร้างความสัมพันธ์ (Relationship skills)
2.1 มีส่วนร่วมในความรู้สึก (Share of feeling)
2.2 การสะท้อนความรู้สึก (Acknowledges / reflection : feeling)
2.3 มีส่วนร่วมในความคิด (Share of thinking)
2.4 การสะท้อนความคิด (Reflection of thinking)
2.5 การให้กําลังใจ (Support : positive)
2.6 ความเข้าใจความรู้สึก (Empathy)
2.7 ท่าทีเป็นกลาง / ไม่ตัดสินผิดถูก (Nonjudgmental, neutral)
2.8 ท่าทางเข้าใจ (Understanding)
2.9 ยอมรับ (Unconditional positive regard, accept)
ข้อเสนอแนะ
................................................................................................................................................................................
from the “ Brown Interview Checklist” Brown University 1991 ฺฺ By Dr. Panom Ketumarn MD. and Dr. Sirirat Kooptiwut MD. Faculty of Medicine Siriraj Hospital
Mahidol university 2001
15
Feed Back
คู่มือ Medical Counseling Checklist เป็นเครื่องมือที่มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ประเมินกระบวนการ การให้
คําปรึกษา (counseling process) การประเมินสามารถทําได้สองรูปแบบ คือ การประเมินตนเอง (Self Feedback)
และการประเมินโดยวิทยากรหรือครูฝึก (Trainer’s Feedback)
การประเมินตนเอง
ผู้ประเมินใช้ MCC เป็นแนวทางในการทบทวนพฤติกรรมของตนเองในขณะให้คําปรึกษา และประเมินตาม
ความเป็นจริง และพยายามเสนอแนะตนเองในสิ่งที่คาดว่าน่าจะพัฒนาขึ้น ควรประเมินตนเองทันทีหลังจากเสร็จสิ้นการ
ให้คําปรึกษาในแต่ละครั้ง
ผู้ประเมินตนเองอาจขออนุญาตพ่อแม่เพื่อบันทึกแถบวีดิทัศน์ หรือเทปเสียงการให้คําปรึกษา และนําเทปมาดูภายหลัง
พร้อมกับประเมินตนเองตามแนวทางของ MCC
การประเมินโดยอาจารย์หรือวิทยากร
ควรเริ่มต้นดังนี้
 มีการตกลงกันก่อนกับแพทย์ประจําบ้านว่า จะมีการประเมินพฤติกรรมและ การประเมินนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของ
การฝึกอบรมเป็นการเรียนรู้ในกระบวนการให้คําปรึกษา
 อธิบายถึงประโยชน์ของการ Feedback วิธีการและเนื้อหาที่จะ Feedback เพื่อวัตถุประสงค์จะพัฒนาการให้
คําปรึกษาให้ดีขึ้น
 แจก MCC ให้ผู้ถูก Feedback ศึกษาและทําความเข้าใจ อธิบายความหมายของหัวข้อต่าง ๆ
 ผู้ประเมินสังเกตการณ์การให้คําปรึกษา จดบันทึกพฤติกรรมที่จะนํามา Feedback และประเมินใน MCC
ทันทีหลังเสร็จสิ้นกระบวนการการให้คําปรึกษา
 ผู้ประเมินให้ Feedback ทันทีหลังการให้คําปรึกษาโดยดําเนินการตามขั้นตอนดังนี้
 สอบถามแพทย์ประจําบ้านว่าคิดและรู้สึกอย่างไร ต่อการให้คําปรึกษาที่ผ่านไป ข้อดีของตนเอง และ
ข้อเสียหรือข้อบกพร่อง หรือสิ่งที่ทําได้ไม่ดี
 ถ้าแก้ไขใหม่ อยากจะกลับไปเปลี่ยนแปลงอะไร ต้องการคําแนะนําตรงไหน
 หยิบยกข้อดีของ แพทย์ประจําบ้านที่เห็นชัด 2 ‟3 ประเด็นหรือมากกว่านี้
 หยิบยกประเด็นที่น่าจะแก้ไข/พัฒนาที่ยังไม่ได้ถูกกล่าวถึงในข้อ 5.1 มา Feedback (ควรระวังในกรณี
ที่ Feedback เป็นกลุ่ม เนื่องจากบางเรื่องควร Feedback เป็นรายบุคคล)
 ให้คําแนะนําในความคิดเห็นของอาจารย์ โดยอธิบายว่าความเห็นหรือคําแนะนํานี้เป็นทางเลือกอีก
แบบหนึ่งซึ่งอาจจะเป็นประโยชน์ต่อการให้คําปรึกษาในครั้งต่อป บอก ข้อดี/เสียของทางเลือกแบบต่าง ๆ
 ยอมรับฟังเหตุผลของแพทย์ประจําบ้าน แต่หลีกเลี่ยงการโต้เถียง หรือพยายามเอาชนะกัน
 หยิบยกข้อดีของผู้ถูกประเมินมาให้กําลังใจและได้ทราบถึงศักยภาพด้านบวกของตนเอง
 แสดงความรู้สึกที่ดีต่อแพทย์ประจําบ้าน อจ.เชื่อว่าน่าจะทําได้ดียิ่งขึ้น เห็นว่ามีการเรียนรู้ และรับ
ฟัง ชื่นชมที่แสดงท่าทีที่ดีต่อการ Feedback หวังว่าจะนําสิ่งที่ได้รับจาก Feedback ไปใช้ในโอกาสต่อไป
 จบการประเมินโดยให้ MCC ที่เขียนเรียบร้อยแล้วแก่ผู้ถูกประเมินเพื่อนําไปศึกษาด้วยตนเอง
16
แบบประเมินตนเองด้านการเรียนรู้ในสถานการณ์ต่างๆ
ในวิชา communication skills สําหรับแพทย์ประจําบ้าน
(ฉบับปรับปรุง มค 2554)
ปี 1 ปี 2 ป๊ 3 Faculty
conf.
others
CommunicatingWithchildren
A. Basic communication with children and
adolescents

B. History taking from children and
adolescents

C. Information giving for children
(Management plan, treatment)

D. Inform consent for procedures from
children

E. Inform consent for research studies * 
G. Involve children in decision making 
PalliativeCareIssues
A. Breaking bad news with surrogates and
patients
 
B. Communicating palliative care  
C. Understanding dying patients and
family
 
D. Respect for different values and
cultures
 
E. Advance directives with surrogates 
F. Withhold / Withdraw life-sustaining Rx
with surrogates

G. Communicating as death approach 
H. Notification of death 
I. Request for organ donation * 
J. Request for autopsy 
Communication
withparents/
caregivers
A. History taking from parents 
B. Information giving
(Treatment, management plan)

C. Inform consent/refusal for 
17
procedures/procedures
D. Inform consent/refusal for research
studies *

E. Counseling for chronic illness 
F. Counseling for genetic diseases 
G. HIV counseling 
H. Negotiating goals of care 
I. Counseling for second opinion 
J. Advice by telephone 
Communicationwithcolleagues/
teams
A. Consultation with specialists 
B. Writing referral letters 
C. Information asking from other doctors 
D. เขียนใบรับรองแพทย์ 
E. Working within multidisciplinary teams 
F. Conflict resolution with colleagues 
G. Giving supervision for junior colleagues 
ChallengingCommunications
A. Dealing with anger patients/parents 
B. Violence (Child abuse, neglect) * 
C. Specific needs patients/parents
(Handicap, MR,CP LD)

D. Handling complaints 
E. Managing unrealistic requests
(Saying no)

F. Report mistakes to parents 
Communicationwith
community
A. Giving information 
B. Program/disease champagne * 
C. Child advocacy   
D. School health   
E. Communication via medias * 
= not necessary
Adapted from Khon Kaen Medical School portfolio checklist
18
การสัมภาษณ์สร้างแรงจูงใจ
(Motivational Interviewing)
ผศ. นพ. พนม เกตุมาน
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
การสัมภาษณ์สร้างแรงจูงใจ
คือ การสื่อสารที่ถ่ายทอดข้อมูล ความคิด ความรู้สึก ทัศนคติและค่านิยมระหว่างบุคคล เพื่อให้เกิดความรู้
ความเข้าใจ เน้นให้เกิดการแรงจูงใจ เพื่อให้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
การสัมภาษณ์สร้างแรงจูงใจ ใช้การสื่อสารทางบวก (positive communication) สร้างสรรค์ สร้างความรู้สึก
ความสัมพันธ์ที่ดี เกิดความเข้าใจ เกิดแรงจูงใจ ยอมรับและเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้วยตัวเอง เหมาะสําหรับผู้ที่มี
ปัญหาพฤติกรรม แต่ไม่รู้ตัว ไม่อยากเปลี่ยนแปลง หรือไม่เปลี่ยนแปลงด้วยตักเตือน หรือวิธีอื่นๆ เช่น ผู้ป่วยหรือวัยรุ่นที่
ไม่ร่วมมือในการรักษา
ปัญหาพฤติกรรมที่เหมาะสําหรับการใช้เทคนิค การสัมภาษณ์สร้างแรงจูงใจ ได้แก่ ปัญหาพฤติกรรมที่ไม่
เหมาะสม เป็นอันตรายต่อตนเองหรือผู้อื่น แต่ตนเองพอใจ เช่น การใช้เหล้า บุหรี่ ยาเสพติด และปัญหาพฤติกรรมทาง
เพศ ปัญหาเหล่านี้วัยรุ่นมักไม่ได้ต้องการแก้ไขด้วยตัวเอง
ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงแก้ไข (Stages of Changes)
พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม สมควรแก้ไขนั้นบางครั้งไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเปลี่ยนแปลง ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลง
พฤติกรรมของคน พบว่ามี 5 ระยะ ดังนี้
1 ติด (Precontemplation)
ความคิด : ไม่เห็นว่าเป็นปัญหาพฤติกรรม ไม่เคยมีใครพูดคุยเรื่องนี้ ไม่ได้คิดอยากแก้ไขเปลี่ยนแปลง มีความ
พอใจกับพฤติกรรมนั้น ไม่รู้สึกเป็นปัญหา
ผลทางพฤติกรรม : ไม่เห็นปัญหาพฤติกรรมตนเอง หงุดหงิด ไม่พอใจที่พูดเรื่องนี้ หลีกเลี่ยงที่จะคุย
2 ไตร่ตรอง (Contemplation)
มีคนพูดถึงปัญหานี้ มีคนแสดงความห่วงใย อยากให้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม มีการตรวจสอบ ตรวจพบความ
ผิดปกติทางร่างกาย ความสูญเสีย ความเสื่อมทางหน้าที่หรือการงาน การเรียน ความรับผิดชอบ เริ่มคิดทบทวน เห็น
ข้อดีข้อเสียของพฤติกรรมนี้ เคยคิดอยากแก้ไขเปลี่ยนแปลง เคยลองแก้ไขได้ช่วงสั้นๆ
ผลทางพฤติกรรม พูดถึงปัญหาที่คนอื่นเป็นห่วงใย เดือดร้อน เริ่มพูดถึงข้อดีข้อเสียของพฤติกรรม แสดงเจตนา
อยากเปลี่ยนแปลง ถามถึงวิธีการเปลี่ยน ปัญหาของการแก้ไข ความกังวลต่อการเปลี่ยนแปลง ไม่แน่ใจต่อผลของการ
เปลี่ยนแปลง ไม่มีความหวังด้านบวกต่อการเลิกพฤติกรรมนั้น เช่น “มีคนบอกว่าเลิกบุหรี่แล้วจะอ้วน” “ผมจะทําอย่างไร
เวลาเครียด” “เลิกตอนนี้ จะป้องกันปัญหามะเร็งปอดได้หรือ”
3 เตรียมการ (Preparation)
มีแรงจูงใจบางส่วนในการเปลี่ยนแปลง มีการเตรียมการ วางแผน ที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง ตามขั้นตอน
มีการปรึกษาหารือ แสวงหาข้อมูลจากสื่อที่ถูกต้อง จัดลําดับเวลา หาผู้เชี่ยวชาญหรือแพทย์
ผลทางพฤติกรรม พูดถึงการเลิกพฤติกรรม แสดงเจตนาชัดเจน
19
4 ตั้งใจทา( Action).
แรงจูงใจมากถึงขั้นตั้งใจและลองพยายามเปลี่ยนแปลงด้วยตนเอง เข้าสู่กระบวนการช่วยเหลือ ฟื้นฟู ฝึกได้
ผลทางพฤติกรรม : เห็นพฤติกรรมเหมาะสมมากขึ้น ค้นพบปัจจัยเสี่ยงและแก้ไขได้ ค้นพบปัจจัยป้องกันและนํามาใช้ใน
การสร้างพฤติกรรมใหม่ รู้สึกมั่นใจที่ควบคุมตนเองได้ เกิดพฤติกรรมป้องกันการเกิดซ้ํา (relapse prevention) เช่น การ
จัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม การลดสิ่งกระตุ้นยั่วยุให้เกิดความอยาก การห้ามใจตนเอง การเบนความคิด ความรู้สึก
การให้กําลังใจตนเอง
5 ติดตาม (Maintenance)
การพยายามเปลี่ยนแปลงแก้ไข อยู่ในกระบวนการช่วยเหลือ ติดตามต่อเนื่อง เรียนรู้จากความสําเร็จและความ
ล้มเหลว พฤติกรรมมีการเปลี่ยนแปลงด้วยตนเอง
ผลทางพฤติกรรม : พฤติกรรมไม่ดีลดลง
ปัจจัยส่งเสริมให้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
แรงจูงใจที่ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแก้ไขพฤติกรรมได้ มี 3 ระดับ ดังนี้
ระดับที่ 1 กลัว ถ้าไม่ทําเกิดผลเสียตามมา ตามเงื่อนไข 3 ประการ ได้แก่ กลัวถูกลงโทษ ไม่เป็นที่ยอมรับ
กลัวสูญเสีย เสียความสัมพันธ์ เสียโอกาส เสียรางวัล
ระดับที่ 2 อยากทํา ตามปัจจัยส่งเสริม 4 แบบ คือ อยากได้รางวัล แรงเสริมทางบวก (positive
reinforcement or reward) อยากเป็นที่ยอมรับ (acceptance) ตระหนักถึงข้อดี ข้อเสีย (reasoning) และมีแรง
บันดาลใจ (inspiration)
ระดับที่ 3 เลียนแบบ พบปัจจัยส่งเสริม 2 ประการ คือ มีต้นแบบ (role model) สร้างความรู้สึกประทับใจ
และมีความสัมพันธ์สูง ใกล้ชิด เกิดความผูกพันทางใจสูง เกิดการเลียนแบบโดยตั้งใจและรู้ตัว (imitation) และเลียนแบบ
โดยอัตโนมัติไม่รู้ตัวในระดับจิตสํานึก (identification)
ขั้นตอนการสัมภาษณ์สร้างแรงจูงใจ
ก. การสร้างความสัมพันธ์ที่ดี
- ด้วยความเข้าใจ
- มีทัศนคติที่ดี (Good Attitudes) ความรู้สึกดีนี้ที่จะถ่ายทอดทางสีหน้า แววตา ท่าที และท่าทางที่รับรู้ได้ ทํา
ให้เกิดการยอมรับ เปิดช่องการสื่อสารสองทาง (two-way communication)
- จัดสิ่งแวดล้อมให้ดี ควรเป็นส่วนตัว สงบ ผ่อนคลาย ไม่มีการรบกวน เพื่อส่งเสริมให้เปิดเผยได้ง่าย
ท่านั่งที่ดี ทิศทางของการนั่งควรเป็นมุมฉากเยื้องกัน (square position) ไม่ควรนั่งหันหน้าชนกันตรงๆ ไม่ควรมีสิ่งของกั้น
ระหว่างกัน อยู่ในระดับเดียวกัน ไม่ควรยืนคุย หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยืน
- ทักทาย (Greeting) และเริ่มต้นจากข้อดี
ข. สารวจลงไปในปัญหา ความคิด ความรู้สึกเพื่อให้เข้าใจพฤติกรรม หาปัจจัยที่ทําให้เกิดพฤติกรรมนั้น
20
หาปัจจัยที่ทําให้พฤติกรรมนั้นยังคงอยู่ ค้นหาแรงจูงใจที่อาจเปลี่ยนพฤติกรรมนั้น ให้ข้อมูลย้อนกลับถึงพฤติกรรมนั้น โดย
ใช้เทคนิค
- การฟังอย่างตั้งใจ (Active listening) หลีกเลี่ยงการใช้คําถามที่ขึ้นต้นว่า “ทําไม”
- สร้าง Empathy มากกว่า Sympathy แสดงท่าทีเป็นกลางต่อพฤติกรรมเสี่ยง
- กระตุ้นให้คิดด้วยตนเอง
- ให้ข้อมูลย้อนกลับ(feedback) ถึงพฤติกรรมนั้น เพื่อสื่อให้เห็นว่าพฤติกรรมที่เกิดขึ้นนั้นทําเกิดผลตามมา
อย่างไร เช่น ถูกลงโทษ ไม่เป็นที่ยอมรับ มีผลต่อการเรียน การประเมิน ความคิดของคนอื่น ปัญหาที่ตามมา โดยใช้
ข้อมูลที่เกิดขึ้นจริง แสดงความห่วงใยด้วย แสดงความต้องการด้านบวก ให้ชมที่พฤติกรรม หลีกเลี่ยงการชมแบบ
ประเมิน ถ้าจะตําหนิ ให้ตําหนิที่พฤติกรรม มากกว่า ตัวบุคคล
- ใช้คําพูด I Message
- กระตุ้นให้เล่าเรื่อง (Facilitation) และให้บอกความคิด ความรู้สึก ความต้องการ และสะท้อน
- ใช้ภาษากาย (Body language) สีหน้า แววตา ท่าทาง ของผู้ใหญ่จะสื่อให้นักเรียนรู้สึกได้ดีกว่าคําพูด ทําให้
เกิดความเป็นกันเอง อยากเข้าใจ อยากช่วยเหลือ ไม่ตัดสินความผิด หรือแสดงการไม่เห็นด้วยกับพฤติกรรมหรือสิ่งที่
นักเรียนเปิดเผย เวลาคุย ไม่ควรนั่งกอดอก ซึ่งแสดงท่าทางปิด ไม่ยอมรับ สายตาควรจับที่ใบหน้า เคลื่อนไหวไปมา
ระหว่างตาและปาก พยักหน้ายอมรับตามจังหวะเหมาะสม เมื่อเห็นด้วย ยอมรับ ยิ้ม แสดงท่าชื่นชม ในสิ่งที่ดี ปิด
โทรศัพท์มือถือ หยุดการทํางานทุกอย่างระหว่างพูดคุย สัมผัสที่แขนในจังหวะที่แสดงความเข้าใจ เห็นใจ แต่ระวังการ
แตะเนื้อต้องตัวระหว่างเพศตรงข้าม
- ประคับประคองอารมณ์ (Emotional Support) คงความหวังด้านบวก (hope) และเปิดโอกาสให้ระบาย
ความรู้สึก(ventilation) และให้มีความหวังในการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น
ค. สังเกต และส่งเสริมแรงจูงใจที่จะเปลี่ยนพฤติกรรม โดยใช้เทคนิคการให้คําปรึกษา counseling
techniques โดยเน้นวิธีการต่อไปนี้
 ลดแรงต้านทาน reduce resistance
 สร้างความร่วมมือ promote collaboration
 สํารวจความคิดที่จะเปลี่ยนแปลง explore ambivalence
 สร้างความแตกต่างเมื่อเปลี่ยนพฤติกรรม develop discrepancy
 ความพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง เกิดจากความสัมพันธ์ที่ดี ทําให้เกิดการเรียนรู้และแรงจูงใจด้วยตนเอง
โดยจะเห็นการพูดที่เปลี่ยนแปลง ไปจากเดิม ตามลําดับดังนี้
4.1 ต้องการเปลี่ยนแปลง Desire to change
4.2 สามารถที่จะเปลี่ยน Ability to change
4.3 มีเหตุผลที่ตนเองจะเปลี่ยนแปลง Reasons to change
4.4 มีความจําเป็นที่ต้องเปลี่ยนแปลง Need to change
4.5 มีความตั้งใจมั่นที่จะเปลี่ยนแปลง Commitment to change
 ในช่วงท้าย ก่อนจะจบการพูดคุย ครูควรแสดงความคาดหวังด้านบวกต่อนักเรียน มองเขาในแง่ดี
และให้โอกาสเขาคิด ไตร่ตรอง ด้วยตัวเอง เช่น “ครูคาดว่านักเรียน...น่าจะทําได้สําเร็จ” “ลองคิด
ทบทวนดูก่อนนะ ครูหวังว่าเธอจะเข้าใจได้ถูกต้อง และเลือกสิ่งที่ดี”
21
ง. สานความคิดแรงจูงใจให้เป็นพฤติกรรม
เมื่อเริ่มมีแรงจูงใจที่จะเปลี่ยน ต่อไปช่วยให้เกิดพฤติกรรมโดยการวางแผนการแก้ไขเปลี่ยนแปลง ช่วยกันหาทาง
เลือก วิเคราะห์ข้อดีข้อด้อย คาดการณ์ล่วงหน้า และ ให้ทดลองทํา
หลักการ
 พฤติกรรมเป็นสิ่งที่ตนเองรับผิดชอบ
 การวางแผนแก้ไข เป็นความต้องการ และความรับผิดชอบของตนเอง คนอื่นอาจช่วยแต่การตัดสินใจ
อยู่ที่ตนเอง
 ให้คิดด้วยตัวเองก่อนเสมอ ชมที่คิดดี การวางแผนที่ดี
 ชี้แนะ ให้แนวทาง แย้งในมุมมองอื่นเพื่อกระตุ้นให้คิด หรือคาดการณ์ล่วงหน้า ระยะนี้ความสัมพันธ์ดี
มักจะรับฟัง อย่างไรก็ตามยังเคารพความคิดส่วนตัว ไม่พยายามขัดแย้งเอาชนะกันทันที เช่นอาจให้
กลับไปคิดก่อน
 ติดตามระดับแรงจูงใจอย่างต่อเนื่อง อาจมีขึ้นๆลงๆ หรือแรงต่อต้าน ให้หาสาเหตุของการต้านและ
แก้ไข
จ. ติดตามผล
หลังจากทดลองปฏิบัติแล้ว มีการติดตาม ประเมินด้วยกัน สรุปผลเป็นระยะ หาและแก้ไขข้อบกพร่อง ให้
กําลังใจ ชมเชยความก้าวหน้า
สรุป
การสัมภาษณ์สร้างแรงจูงใจ เป็นเทคนิคที่มีประสิทธิภาพสําหรับพ่อแม่ ครูอาจารย์ และผู้ให้คําปรึกษาแนะนํา
วัยรุ่น ในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ใช้หลักการให้คําแนะนําปรึกษาแบบนักเรียนเป็นศูนย์กลาง (client-centered
counseling) ให้เกิดแรงจูงใจที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้วยตัวเอง
เอกสารอ้างอิง
1. กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข คู่มือดูแลสุขภาพจิตเด็กวัยเรียน โรงพิมพ์ ร.ส.พ. กรุงเทพฯ
2. พนม เกตุมาน สุขใจกับลูกวัยรุ่น บริษัทแปลน พับลิชชิ่ง จํากัด กรุงเทพฯ 2535 ISBN 974-7020-31-9
3. Angold A. Diagnostic interviews with parents and children. In: Rutter M,Taylor E, eds. Child and Adolescent
Psychiatry.4th ed. Bath : Blackwell Science, 2002:32-51.
4. Geldard D. Basic personal counselling: a training manual for counsellors. 3rd ed. Sydney : Prentice Hall,
1998:39-168.
5. MacKinnon RA, Yudofsky SC. In: The psychiatric evaluation in clinical practice. Philadelphia :
J.B.Lippincott Company,1986:35-84.
22
การสื่อสารกับญาติในภาวะวิกฤต
Communication with family members of critically ill children
นพ.ดุสิต สถาวร
รพ.พระมงกุฎเกล้า
วัตถุประสงค์
„ สร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างทีมสุขภาพกับครอบครัวและญาติ
„ สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรค/ ความผิดปกติที่ผู้ป่วยประสบอยู่ ซึ่งครอบคลุมประเด็นเรื่องการ
วินิจฉัยโรค แผนการรักษา การประเมินผลการรักษา และการพยากรณ์โรค
„ เปิดโอกาสให้ครอบครัวและญาติมีส่วนร่วมในการกําหนดแผนการรักษาที่ดีที่สุดและสอดคล้องกับความต้องการ
ของผู้ป่วย
„ ตอบข้อซักถามและข้อสงสัยต่างๆ ของครอบครัวและญาติ
„ บําบัดดูแลด้านจิตใจ สังคม และจิตวิญญาณแก่ผู้ป่วย ครอบครัวและญาติ
แนวทางการสื่อสารเบื้องต้นในภาวะวิกฤต
แนะนําตัว สร้างความสัมพันธ์ และ เปิดโอกาสให้ครอบครัวเล่าถึงอาการเจ็บป่วยของผู้ป่วย แล้วจึงใช้คําถาม
เจาะลึกและคําถามต่อเนื่องเพื่อสอบถามถึงเรื่องที่ครอบครัววิตกกังวลมากที่สุด
สรุปประเด็นปัญหาทางการแพทย์ที่สําคัญของผู้ป่วย โดยเลือกใช้คําพูดที่ทางครอบครัวใช้ในการเล่าเรื่อง ควร
หยุดพูดและสรุปเนื้อหาที่พูดเป็นช่วงๆ เชื่อมโยงประเด็นปัญหากับแผนการรักษาที่ได้ดําเนินการอยู่
ให้เวลาครอบครัวได้คิด ย่อยข้อมูลและเปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัย ตรวจสอบความเข้าใจให้ตรงกัน
สร้างความมั่นใจว่าทีมสุขภาพเข้าใจถึงปัญหาของผู้ป่วย มีแผนการรักษาที่ครอบคลุมและเหมาะสมสําหรับทุก
ประเด็นปัญหา รวมทั้งแสดงออกว่าแพทย์เข้าใจในความรู้สึกที่ทางครอบครัวเผชิญอยู่ (เช่น กลัว กังวล โกรธ เป็นต้น) โดย
การแสดงออกอย่างเหมาะสมทั้งทางภาษาพูดและภาษากาย (รวมเรียกว่า empathy) การพูดคุยในลักษณะดังกล่าวมีส่วน
สําคัญในการบําบัดจิตใจแก่ครอบครัว
หากทีมสุขภาพคิดว่าการเจ็บป่วยของผู้ป่วยมีความรุนแรงสูงมากและมีความเป็นไปได้ว่าผู้ป่วยอาจไม่ตอบสนอง
ต่อการรักษา ส่งผลให้มีโอกาสที่จะเกิดภาวะ sudden cardiopulmonary arrest ขึ้นได้ ควรสื่อสารให้ทางครอบครัวและ
ญาติได้ทราบถึงความเป็นไปได้ดังกล่าว โดยตัวอย่างของคําพูดดังกล่าว ได้แก่
“ขณะนี้สิ่งที่ทางทีมเป็นห่วงและหนักใจ (หรือร้อนใจ) คือ การที่ผู้ป่วยยังไม่ตอบสนองต่อการรักษาที่ได้ให้อยู่ใน
ขณะนี้ (หรือ ภายหลังเริ่มให้การรักษามาตั้งแต่.......) ซึ่งบ่งชี้ถึงความรุนแรงของโรค/ ความผิดปกติที่เกิดขึ้น ทําให้มีความ
เป็นไปได้ว่าการทํางานของระบบต่างๆ ของร่างกายโดยเฉพาะหัวใจอาจแปรปรวนถึงขั้นหยุดทํางานเมื่อใดก็ได้ ซึ่งหากเกิด
เหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นโอกาสที่เราจะช่วยให้หัวใจกลับมาทํางานได้อีกครั้งเป็นไปได้น้อยมากถึงไม่มีเนื่องจากขนาดของยาที่
ใช้พยุงความดันโลหิตที่ให้อยู่ในขณะนี้สูงมาก ซึ่งทางทีมเองคงจะต้องขอให้คุณพ่อคุณแม่เผื่อใจ (ในเรื่องนี้) ไว้ด้วย”
ข้อผิดพลาดที่พบบ่อย
1. ไม่พูดคุยกับครอบครัวเกี่ยวกับความรุนแรงของการเจ็บป่วย ไม่ได้ปรับความคาดหวังให้สอดคล้องกับข้อมูล
ของทีมสุขภาพ
2. สื่อสารทางเดียว รับฟังข้อมูลจากญาติไม่มากพอหรือ ไม่เปิดโอกาสให้ซักถาม (One-way communication)
23
3. ให้การพยากรณ์โรคที่ดีเกินจริง อาจก่อให้เกิดความคาดหวังที่ไม่ถูกต้อง หลีกเลี่ยงคําพูดที่ทําให้ญาติเกิด
ความเข้าใจผิด เช่น “ลูกไม่เป็นอะไรมาก เดี๋ยวอาการก็จะดีขึ้นเอง” “พ่อแม่ไม่ต้องห่วง มีหมอดูแลอยู่แล้วหลายคน เดี๋ยว
ก็คงดีขึ้น”
การสื่อสารเมื่อผู้ป่วยมีอาการทรุดลงหรือผลการรักษาไม่เป็นไปตามที่คาดหมาย
เป้าหมายสําคัญของการสื่อสารในกรณีนี้ คือ เพื่อให้ครอบครัวเตรียมใจและยอมรับการเปลี่ยนแปลงของโรค
การสื่อสารต้องใช้ทั้งภาษาพูดและภาษากายที่สอดคล้องกัน (เน้น ความรู้สึกเห็นอกเห็นใจ และร้อนใจกับการที่เด้กมี
อาการเปลี่ยนแปลงในทางที่แย่ลง)
ควรเตรียมพร้อมที่จะรองรับอารมณ์และความรู้สึกของทางครอบครัว เนื่องจากข้อมูลที่แจ้งอาจส่งผลให้
ครอบครัวเกิดปฏิกิริยาต่อการรับรู้ข่าวร้าย (หงุดหงิด โกรธ กราดเกรี้ยว) ต้องเข้าใจและอดทนอดกลั้น ไม่โกรธตอบแต่ให้
อภัยและเห็นใจ โดยที่ความสงบและความอ่อนโยนจะช่วยให้ทางครอบครัวและญาติสงบนิ่งได้เร็วขึ้น
ตัวอย่าง ที่เป็นรูปธรรมของการสื่อสารกับครอบครัวและญาติในระยะนี้ ได้แก่
เริ่มต้นด้วยการเปิดโอกาสให้ครอบครัวและญาติได้พูดคุยถึงความรู้สึกของตนเองและการประเมินอาการเจ็บป่วย
ของผู้ป่วยจากมุมมองของครอบครัวและญาติ (ว่าผู้ป่วยดีขึ้นหรือทรุดลง) จากนั้นอาจใช้คําถามเจาะลึกและคําถาม
ต่อเนื่องเพิ่มเติมเพื่อสอบถามถึงเรื่องที่ทางครอบครัวและญาติมีความวิตกกังวลมากที่สุดในขณะนั้น
สรุปประเด็นปัญหาทางการแพทย์ที่สําคัญของผู้ป่วยที่ได้เคยแจ้งให้ทางครอบครัวและญาติทราบในครั้งก่อน
จากนั้นรายงานการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะปัญหาที่เพิ่มเติมขึ้นมา เช่น ปัญหาไตหยุดทํางาน การทํา
หน้าที่ของตับทรุดลง หรือผู้ป่วยมีอาการซึมลงมาก เป็นต้น พร้อมกับแจ้งเรื่องแนวทางการดูแลรักษาที่แตกต่างไปจากเดิม
และให้ความมั่นใจกับครอบครัวและญาติว่าเราจะพยายามให้การดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างดีที่สุด
เปิดโอกาสให้ครอบครัวและญาติได้ซักถามข้อสงสัยต่างๆ เพิ่มเติม โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวกับสิ่งที่ทางทีม
สุขภาพได้แจ้งให้ทราบ หากไม่มีข้อซักถามทางทีมสุขภาพควรสรุปหัวข้อสําคัญที่ได้พูดไปแล้วอีกครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าทาง
ครอบครัวและญาติมีความเข้าใจที่ถูกต้อง
คําถามเจาะลึกของทีมสุขภาพเพื่อประเมินความเข้าใจในสิ่งที่ได้พูดไปแล้วอาจช่วยให้ทีมสุขภาพสามารถทราบ
ได้ว่าครอบครัวและญาติมีความเข้าใจการเจ็บป่วยมากน้อยเพียงใด
ทีมสุขภาพควรแสดงถึงความเห็นอกเห็นใจในระหว่างการพูดคุยอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยบําบัดด้านจิตใจแก่ครอบครัวและ
ญาติ
หากทีมสุขภาพคิดว่าการเจ็บป่วยของผู้ป่วยมีความรุนแรงสูงมากและอาจไม่ตอบสนองต่อการรักษา ส่งผลให้มี
โอกาสเกิดภาวะ sudden cardiopulmonary arrest ขึ้นได้ ควรแจ้งให้ทางครอบครัวและญาติได้ทราบถึงความเป็นไปได้
ดังกล่าว
Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554

More Related Content

What's hot

ไข้เลือดออก
ไข้เลือดออกไข้เลือดออก
ไข้เลือดออกPrachaya Sriswang
 
อีสุก อีใส
อีสุก อีใสอีสุก อีใส
อีสุก อีใสDbeat Dong
 
Topic meningoecephalitis
Topic meningoecephalitisTopic meningoecephalitis
Topic meningoecephalitisBow Aya
 
ปัญหาท้องในวัยเรียน
ปัญหาท้องในวัยเรียนปัญหาท้องในวัยเรียน
ปัญหาท้องในวัยเรียนKornnicha Wonglai
 
คู่มือให้บริการ รพสต
คู่มือให้บริการ รพสตคู่มือให้บริการ รพสต
คู่มือให้บริการ รพสตsivapong klongpanich
 
คู่มือ Trigger tool โรงพยาบาลท่าฉาง
คู่มือ Trigger tool โรงพยาบาลท่าฉางคู่มือ Trigger tool โรงพยาบาลท่าฉาง
คู่มือ Trigger tool โรงพยาบาลท่าฉางSuradet Sriangkoon
 
Total parenteral nutrition
Total parenteral nutrition Total parenteral nutrition
Total parenteral nutrition techno UCH
 
โรคอุบัติใหม่ 1
โรคอุบัติใหม่ 1โรคอุบัติใหม่ 1
โรคอุบัติใหม่ 1Prachaya Sriswang
 
RCA แบบ ชิว ชิว
RCA แบบ ชิว ชิวRCA แบบ ชิว ชิว
RCA แบบ ชิว ชิวSuradet Sriangkoon
 
กฏหมายกับพยาบาล
กฏหมายกับพยาบาลกฏหมายกับพยาบาล
กฏหมายกับพยาบาลSutthiluck Kaewboonrurn
 
introduction : ไตของเรา เราต้องรู้
introduction : ไตของเรา เราต้องรู้introduction : ไตของเรา เราต้องรู้
introduction : ไตของเรา เราต้องรู้CAPD AngThong
 
10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัย
10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัย10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัย
10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัยSuradet Sriangkoon
 
Thai guideline on the hypertension 2015
Thai  guideline on the hypertension 2015Thai  guideline on the hypertension 2015
Thai guideline on the hypertension 2015Utai Sukviwatsirikul
 
Pdทฤษฎีการส่มเสริมสุขภาพของเพนเดอร์
Pdทฤษฎีการส่มเสริมสุขภาพของเพนเดอร์Pdทฤษฎีการส่มเสริมสุขภาพของเพนเดอร์
Pdทฤษฎีการส่มเสริมสุขภาพของเพนเดอร์Nan Natni
 
4.10 ระเบียบปฏิบัติงานพิทักษ์และคุ้มครองสิทธิผู้ป่วย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
4.10 ระเบียบปฏิบัติงานพิทักษ์และคุ้มครองสิทธิผู้ป่วย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์4.10 ระเบียบปฏิบัติงานพิทักษ์และคุ้มครองสิทธิผู้ป่วย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
4.10 ระเบียบปฏิบัติงานพิทักษ์และคุ้มครองสิทธิผู้ป่วย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์งานพัฒนาบุคลากร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
 
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction, AMI หรือ Acute c...
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction, AMI หรือ Acute c...โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction, AMI หรือ Acute c...
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction, AMI หรือ Acute c...Utai Sukviwatsirikul
 

What's hot (20)

ไข้เลือดออก
ไข้เลือดออกไข้เลือดออก
ไข้เลือดออก
 
อีสุก อีใส
อีสุก อีใสอีสุก อีใส
อีสุก อีใส
 
เศรษฐศาสตร์สุขภาพ
เศรษฐศาสตร์สุขภาพเศรษฐศาสตร์สุขภาพ
เศรษฐศาสตร์สุขภาพ
 
Topic meningoecephalitis
Topic meningoecephalitisTopic meningoecephalitis
Topic meningoecephalitis
 
Case study : dengue fever
Case study : dengue feverCase study : dengue fever
Case study : dengue fever
 
ปัญหาท้องในวัยเรียน
ปัญหาท้องในวัยเรียนปัญหาท้องในวัยเรียน
ปัญหาท้องในวัยเรียน
 
คู่มือให้บริการ รพสต
คู่มือให้บริการ รพสตคู่มือให้บริการ รพสต
คู่มือให้บริการ รพสต
 
คู่มือ Trigger tool โรงพยาบาลท่าฉาง
คู่มือ Trigger tool โรงพยาบาลท่าฉางคู่มือ Trigger tool โรงพยาบาลท่าฉาง
คู่มือ Trigger tool โรงพยาบาลท่าฉาง
 
Total parenteral nutrition
Total parenteral nutrition Total parenteral nutrition
Total parenteral nutrition
 
โรคอุบัติใหม่ 1
โรคอุบัติใหม่ 1โรคอุบัติใหม่ 1
โรคอุบัติใหม่ 1
 
RCA แบบ ชิว ชิว
RCA แบบ ชิว ชิวRCA แบบ ชิว ชิว
RCA แบบ ชิว ชิว
 
กฏหมายกับพยาบาล
กฏหมายกับพยาบาลกฏหมายกับพยาบาล
กฏหมายกับพยาบาล
 
introduction : ไตของเรา เราต้องรู้
introduction : ไตของเรา เราต้องรู้introduction : ไตของเรา เราต้องรู้
introduction : ไตของเรา เราต้องรู้
 
10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัย
10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัย10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัย
10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัย
 
Thai guideline on the hypertension 2015
Thai  guideline on the hypertension 2015Thai  guideline on the hypertension 2015
Thai guideline on the hypertension 2015
 
Pdทฤษฎีการส่มเสริมสุขภาพของเพนเดอร์
Pdทฤษฎีการส่มเสริมสุขภาพของเพนเดอร์Pdทฤษฎีการส่มเสริมสุขภาพของเพนเดอร์
Pdทฤษฎีการส่มเสริมสุขภาพของเพนเดอร์
 
Cpg alcoholism
Cpg alcoholismCpg alcoholism
Cpg alcoholism
 
อาหาร Dm
อาหาร Dmอาหาร Dm
อาหาร Dm
 
4.10 ระเบียบปฏิบัติงานพิทักษ์และคุ้มครองสิทธิผู้ป่วย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
4.10 ระเบียบปฏิบัติงานพิทักษ์และคุ้มครองสิทธิผู้ป่วย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์4.10 ระเบียบปฏิบัติงานพิทักษ์และคุ้มครองสิทธิผู้ป่วย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
4.10 ระเบียบปฏิบัติงานพิทักษ์และคุ้มครองสิทธิผู้ป่วย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
 
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction, AMI หรือ Acute c...
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction, AMI หรือ Acute c...โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction, AMI หรือ Acute c...
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction, AMI หรือ Acute c...
 

Similar to Basic communication skills 2554

เรื่องที่ 1 การประเมินทางจิตเวช
เรื่องที่ 1 การประเมินทางจิตเวชเรื่องที่ 1 การประเมินทางจิตเวช
เรื่องที่ 1 การประเมินทางจิตเวชKanti Bkk
 
PICO : ค้นข้อมูลอย่างไรให้ตรงประเด็นการรักษา
PICO : ค้นข้อมูลอย่างไรให้ตรงประเด็นการรักษาPICO : ค้นข้อมูลอย่างไรให้ตรงประเด็นการรักษา
PICO : ค้นข้อมูลอย่างไรให้ตรงประเด็นการรักษาsongsri
 
แนวทางเวชปฏิบัติโรคลมชักสำหรับแพทย์ 2015
แนวทางเวชปฏิบัติโรคลมชักสำหรับแพทย์ 2015แนวทางเวชปฏิบัติโรคลมชักสำหรับแพทย์ 2015
แนวทางเวชปฏิบัติโรคลมชักสำหรับแพทย์ 2015Pasa Sukson
 
หลักสูตรปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สำหรับ พยาบาลผู้จัดการรายกรณี
หลักสูตรปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สำหรับ พยาบาลผู้จัดการรายกรณีหลักสูตรปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สำหรับ พยาบาลผู้จัดการรายกรณี
หลักสูตรปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สำหรับ พยาบาลผู้จัดการรายกรณีTuang Thidarat Apinya
 
Adult Nursing II มโนทัศน์การพยาบาลผู้ใหญ่ที่เจ็บป่วยซับซ้อนในระยะเฉียบพลันแล...
Adult Nursing II  มโนทัศน์การพยาบาลผู้ใหญ่ที่เจ็บป่วยซับซ้อนในระยะเฉียบพลันแล...Adult Nursing II  มโนทัศน์การพยาบาลผู้ใหญ่ที่เจ็บป่วยซับซ้อนในระยะเฉียบพลันแล...
Adult Nursing II มโนทัศน์การพยาบาลผู้ใหญ่ที่เจ็บป่วยซับซ้อนในระยะเฉียบพลันแล...Chutchavarn Wongsaree
 
CPG มะเร็งเม็ดเลือดขาวและต่อมน้ำเหลืองในเด็ก
CPG มะเร็งเม็ดเลือดขาวและต่อมน้ำเหลืองในเด็กCPG มะเร็งเม็ดเลือดขาวและต่อมน้ำเหลืองในเด็ก
CPG มะเร็งเม็ดเลือดขาวและต่อมน้ำเหลืองในเด็กThorsang Chayovan
 
Prawes wasi value_quality
Prawes wasi value_qualityPrawes wasi value_quality
Prawes wasi value_qualityPattie Pattie
 
การจัดการตนเองเมื่อเป็นมะเร็ง ดร.ศุภลักษณ์ เข็มทอง
การจัดการตนเองเมื่อเป็นมะเร็ง ดร.ศุภลักษณ์ เข็มทองการจัดการตนเองเมื่อเป็นมะเร็ง ดร.ศุภลักษณ์ เข็มทอง
การจัดการตนเองเมื่อเป็นมะเร็ง ดร.ศุภลักษณ์ เข็มทองJumpon Utta
 
หมออนามัยVol.5
หมออนามัยVol.5หมออนามัยVol.5
หมออนามัยVol.5Chuchai Sornchumni
 
การจัดการข้อมูลยา
การจัดการข้อมูลยาการจัดการข้อมูลยา
การจัดการข้อมูลยาDMS Library
 
แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคสมาธิสั้น
แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคสมาธิสั้นแนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคสมาธิสั้น
แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคสมาธิสั้นUtai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการดูแลผู้ป่วยสติปัญญาบกพร่อง ออทิสติก สมาธิสั้น และภาวะบกพร่องทางการเร...
แนวทางการดูแลผู้ป่วยสติปัญญาบกพร่อง ออทิสติก สมาธิสั้น และภาวะบกพร่องทางการเร...แนวทางการดูแลผู้ป่วยสติปัญญาบกพร่อง ออทิสติก สมาธิสั้น และภาวะบกพร่องทางการเร...
แนวทางการดูแลผู้ป่วยสติปัญญาบกพร่อง ออทิสติก สมาธิสั้น และภาวะบกพร่องทางการเร...Utai Sukviwatsirikul
 
จริยธรรมทางการแพทย์ 75 ปธพ.6
จริยธรรมทางการแพทย์ 75 ปธพ.6จริยธรรมทางการแพทย์ 75 ปธพ.6
จริยธรรมทางการแพทย์ 75 ปธพ.6Taraya Srivilas
 
ทิศทางการพัฒนาด้านสารสนเทศสุขภาพ Health Information 4.0
ทิศทางการพัฒนาด้านสารสนเทศสุขภาพ Health Information 4.0ทิศทางการพัฒนาด้านสารสนเทศสุขภาพ Health Information 4.0
ทิศทางการพัฒนาด้านสารสนเทศสุขภาพ Health Information 4.0Nawanan Theera-Ampornpunt
 
บทบาทกุมารแพทย์และราชวิทยาลัยกุมารฯต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพเด็ก
บทบาทกุมารแพทย์และราชวิทยาลัยกุมารฯต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพเด็กบทบาทกุมารแพทย์และราชวิทยาลัยกุมารฯต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพเด็ก
บทบาทกุมารแพทย์และราชวิทยาลัยกุมารฯต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพเด็กcsip.org > slide ความปลอดภัยในเด็ก
 

Similar to Basic communication skills 2554 (20)

เรื่องที่ 1 การประเมินทางจิตเวช
เรื่องที่ 1 การประเมินทางจิตเวชเรื่องที่ 1 การประเมินทางจิตเวช
เรื่องที่ 1 การประเมินทางจิตเวช
 
Kanniga วพบ แพร่
Kanniga วพบ แพร่Kanniga วพบ แพร่
Kanniga วพบ แพร่
 
PICO : ค้นข้อมูลอย่างไรให้ตรงประเด็นการรักษา
PICO : ค้นข้อมูลอย่างไรให้ตรงประเด็นการรักษาPICO : ค้นข้อมูลอย่างไรให้ตรงประเด็นการรักษา
PICO : ค้นข้อมูลอย่างไรให้ตรงประเด็นการรักษา
 
แนวทางเวชปฏิบัติโรคลมชักสำหรับแพทย์ 2015
แนวทางเวชปฏิบัติโรคลมชักสำหรับแพทย์ 2015แนวทางเวชปฏิบัติโรคลมชักสำหรับแพทย์ 2015
แนวทางเวชปฏิบัติโรคลมชักสำหรับแพทย์ 2015
 
หลักสูตรปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สำหรับ พยาบาลผู้จัดการรายกรณี
หลักสูตรปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สำหรับ พยาบาลผู้จัดการรายกรณีหลักสูตรปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สำหรับ พยาบาลผู้จัดการรายกรณี
หลักสูตรปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สำหรับ พยาบาลผู้จัดการรายกรณี
 
IT and Data Management in ER
IT and Data Management in ERIT and Data Management in ER
IT and Data Management in ER
 
Adult Nursing II มโนทัศน์การพยาบาลผู้ใหญ่ที่เจ็บป่วยซับซ้อนในระยะเฉียบพลันแล...
Adult Nursing II  มโนทัศน์การพยาบาลผู้ใหญ่ที่เจ็บป่วยซับซ้อนในระยะเฉียบพลันแล...Adult Nursing II  มโนทัศน์การพยาบาลผู้ใหญ่ที่เจ็บป่วยซับซ้อนในระยะเฉียบพลันแล...
Adult Nursing II มโนทัศน์การพยาบาลผู้ใหญ่ที่เจ็บป่วยซับซ้อนในระยะเฉียบพลันแล...
 
Summary tl2019
Summary tl2019Summary tl2019
Summary tl2019
 
CPG มะเร็งเม็ดเลือดขาวและต่อมน้ำเหลืองในเด็ก
CPG มะเร็งเม็ดเลือดขาวและต่อมน้ำเหลืองในเด็กCPG มะเร็งเม็ดเลือดขาวและต่อมน้ำเหลืองในเด็ก
CPG มะเร็งเม็ดเลือดขาวและต่อมน้ำเหลืองในเด็ก
 
Prawes wasi value_quality
Prawes wasi value_qualityPrawes wasi value_quality
Prawes wasi value_quality
 
การจัดการตนเองเมื่อเป็นมะเร็ง ดร.ศุภลักษณ์ เข็มทอง
การจัดการตนเองเมื่อเป็นมะเร็ง ดร.ศุภลักษณ์ เข็มทองการจัดการตนเองเมื่อเป็นมะเร็ง ดร.ศุภลักษณ์ เข็มทอง
การจัดการตนเองเมื่อเป็นมะเร็ง ดร.ศุภลักษณ์ เข็มทอง
 
Telemed Lecture PSU Feb 20, 2023
Telemed Lecture PSU Feb 20, 2023Telemed Lecture PSU Feb 20, 2023
Telemed Lecture PSU Feb 20, 2023
 
Thailand 4.0 and Thailand's Public Health
Thailand 4.0 and Thailand's Public HealthThailand 4.0 and Thailand's Public Health
Thailand 4.0 and Thailand's Public Health
 
หมออนามัยVol.5
หมออนามัยVol.5หมออนามัยVol.5
หมออนามัยVol.5
 
การจัดการข้อมูลยา
การจัดการข้อมูลยาการจัดการข้อมูลยา
การจัดการข้อมูลยา
 
แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคสมาธิสั้น
แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคสมาธิสั้นแนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคสมาธิสั้น
แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคสมาธิสั้น
 
แนวทางการดูแลผู้ป่วยสติปัญญาบกพร่อง ออทิสติก สมาธิสั้น และภาวะบกพร่องทางการเร...
แนวทางการดูแลผู้ป่วยสติปัญญาบกพร่อง ออทิสติก สมาธิสั้น และภาวะบกพร่องทางการเร...แนวทางการดูแลผู้ป่วยสติปัญญาบกพร่อง ออทิสติก สมาธิสั้น และภาวะบกพร่องทางการเร...
แนวทางการดูแลผู้ป่วยสติปัญญาบกพร่อง ออทิสติก สมาธิสั้น และภาวะบกพร่องทางการเร...
 
จริยธรรมทางการแพทย์ 75 ปธพ.6
จริยธรรมทางการแพทย์ 75 ปธพ.6จริยธรรมทางการแพทย์ 75 ปธพ.6
จริยธรรมทางการแพทย์ 75 ปธพ.6
 
ทิศทางการพัฒนาด้านสารสนเทศสุขภาพ Health Information 4.0
ทิศทางการพัฒนาด้านสารสนเทศสุขภาพ Health Information 4.0ทิศทางการพัฒนาด้านสารสนเทศสุขภาพ Health Information 4.0
ทิศทางการพัฒนาด้านสารสนเทศสุขภาพ Health Information 4.0
 
บทบาทกุมารแพทย์และราชวิทยาลัยกุมารฯต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพเด็ก
บทบาทกุมารแพทย์และราชวิทยาลัยกุมารฯต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพเด็กบทบาทกุมารแพทย์และราชวิทยาลัยกุมารฯต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพเด็ก
บทบาทกุมารแพทย์และราชวิทยาลัยกุมารฯต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพเด็ก
 

More from Utai Sukviwatsirikul

Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนNanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนUtai Sukviwatsirikul
 
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันClinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันUtai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...Utai Sukviwatsirikul
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaSaccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaUtai Sukviwatsirikul
 
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)Utai Sukviwatsirikul
 
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaDrugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaUtai Sukviwatsirikul
 
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Utai Sukviwatsirikul
 
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Utai Sukviwatsirikul
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Utai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตUtai Sukviwatsirikul
 
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงUtai Sukviwatsirikul
 
ความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตUtai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)Utai Sukviwatsirikul
 
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการUtai Sukviwatsirikul
 
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินUtai Sukviwatsirikul
 
Clinical case emergency contraceptives
Clinical case emergency contraceptivesClinical case emergency contraceptives
Clinical case emergency contraceptivesUtai Sukviwatsirikul
 

More from Utai Sukviwatsirikul (20)

Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนNanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
 
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันClinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
 
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
 
Supply chain management
Supply chain managementSupply chain management
Supply chain management
 
Best practice in communication
Best practice in communicationBest practice in communication
Best practice in communication
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaSaccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
 
SME Handbook
SME HandbookSME Handbook
SME Handbook
 
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
 
Scientific evidence of BIOFLOR
Scientific evidence of BIOFLORScientific evidence of BIOFLOR
Scientific evidence of BIOFLOR
 
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaDrugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
 
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
 
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
 
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
 
ความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไต
 
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
 
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
 
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
 
Clinical case emergency contraceptives
Clinical case emergency contraceptivesClinical case emergency contraceptives
Clinical case emergency contraceptives
 

Basic communication skills 2554

  • 2. 2 สาส์นจากประธานราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ถึงแม้ว่าความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการและเทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบันจะรุดหน้าไป อย่างรวดเร็ว ทําให้การตรวจวินิจฉัย และการดูแลรักษาผู้ป่วยดีขึ้นกว่าในอดีต แพทย์ได้พึ่งพาความรู้ใหม่ๆ และอาศัยเทคโนโลยีเหล่านี้ในเวชปฏิบัติ สิ่งที่เปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนคือความรวดเร็วที่ผู้ป่วยได้รับจาก การตรวจวินิจฉัย และการรักษาด้วยแนวทางใหม่ๆ ที่ทําให้ผลการรักษาดีขึ้น ผลลัพธ์ดังกล่าวนี้น่าจะทําให้ ผู้ป่วยและญาติพึงพอใจมากขึ้นและข้อร้องเรียนต่อการทํางานของแพทย์น่าจะลดลง แต่ความจริงที่พบ กลับเป็นไปในทางตรงกันข้าม ข้อร้องเรียนที่แพทยสภาได้รับเกี่ยวกับเวชปฏิบัติของแพทย์ที่ไม่เหมาะสม ยังคงสูง ไม่เว้นแม้แต่กุมารแพทย์ซึ่งในอดีตถูกร้องเรียนน้อยเนื่องจากได้รับความไว้วางใจเสมือนแพทย์ ประจําครอบครัว และเป็นที่น่าสนใจว่าผลการวิเคราะห์ข้อร้องเรียนพบว่าความไม่พึงพอใจของผู้ป่วยส่วน หนึ่งเกิดจาก การที่แพทย์ไม่เปิดโอกาสให้ซักถามและขาดการสื่อสารที่ดี บทเรียนที่กุมารแพทย์ต้องเรียนรู้จากความผิดพลาด คือ การสร้างคุณลักษณะที่จําเป็นสําหรับ วิชาชีพได้แก่ ทักษะการใฝ่หาความรู้อย่างต่อเนื่องเพื่อให้ทันการเปลี่ยนแปลง การสร้างมีทัศนคติที่ดีต่อ วิชาชีพโดยมีความเมตตาและปรารถนาดีต่อผู้ป่วย ทักษะการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ป่วยและญาติ และสิ่งสําคัญที่ขาดไม่ได้และต้องนํามาใช้ตลอดเวลาคือทักษะการสื่อสารที่ดี ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯจึง จัดการสัมมนา เรื่อง การเรียนการสอน Basic Communication Skills สําหรับแพทย์ประจําบ้าน ใ น วันที่ 14 พฤษภาคม 2553 ขึ้น เพื่อให้ อาจารย์แพทย์ได้พัฒนาทักษะในการสอน การอบรมในครั้งนี้จะ ประโยชน์กับผู้เข้ารับการอบรม และสามารถนําไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนแก่แพทย์ประจําบ้าน พัฒนาการทํางานเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแพทย์และผู้ป่วย และส่งผลให้คุณภาพในการดูแล รักษาผู้ป่วยดีขึ้น ต้องขอขอบคุณคณะกรรมการ Communication skill ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่ง ประเทศไทย และวิทยากร ที่ทําให้การอบรมครั้งนี้สําเร็จลงได้ด้วยดี ศาสตราจารย์.นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา ประธานราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย 1 มีนาคม 2554
  • 3. 3 สาส์นจากประธานอนุกรรมการฝึกอบรม สาขากุมารเวชศาสตร์ ปัจจุบัน ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยเปลี่ยนไป ผู้ป่วยและญาติมีความคาดหวังสูงต่อการ รักษาของแพทย์ และเป็นเหตุทําให้แพทย์ถูกฟ้องร้องบ่อยขึ้น ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศ ไทยซึ่งรับผิดชอบคุณภาพการฝึกอบรมแพทย์ประจําบ้านสาขากุมารเวชศาสตร์ จําเป็นต้องมีการพัฒนา และปรับปรุงกระบวนการฝึกอบรมแพทย์ประจําบ้านอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพื่อให้ได้กุมารแพทย์ที่ดี มี ความรู้ความสามารถในการดูแลผู้ป่วยเด็ก ตลอดจนมีทักษะที่ดีในการติดต่อสื่อสารและสร้างสัมพันธภาพ กับผู้ป่วย ญาติ บุคคลากรทางการแพทย์อื่น ๆ การจัดการสัมมนา เรื่อง การเรียนการสอน Basic Communication Skills สําหรับแพทย์ประจํา บ้านในครั้งนี้เพื่อเน้นให้อาจารย์เห็นความสําคัญ และมีทักษะที่ดีในการถ่ายทอดความรู้และทักษะเหล่านี้ ไปยังแพทย์ประจําบ้าน ในปีการศึกษา 2554 จะเป็นปีที่เริ่มให้แพทย์ประจําบ้าน ปี 1-3 ได้ฝึกปฏิบัติจริงกับผู้ป่วย 2 ราย ต่อปีภายใต้การดูแลและประเมินของอาจารย์แพทย์ โดยใช้แบบประเมินและจัดเก็บลงใน portfolio ขอขอบคุณคณะกรรมการ Communication skills ทุกท่าน ที่ได้ร่วมแรงร่วมใจ ที่ทําให้การประชุม ครั้งนี้สําเร็จลุล่วงเป็นอย่างดี แพทย์หญิงศรีศุภลักษณ์ สิงคาลวณิช ประธานอนุกรรมการฝึกอบรม สาขากุมารเวชศาสตร์ 1 มีนาคม 2554
  • 4. 4 บทนา การสื่อสารเป็นทักษะสําคัญในการเชื่อมโยงความเข้าใจ แลกเปลี่ยนความรู้ และปรับกระบวน ความคิดให้ตรงกัน ส่งผลทําให้เกิดความใกล้ชิด ความเข้าใจ ความเห็นอกเห็นใจ จนผูกพันกันระหว่างคน 2 คน ทักษะในการสื่อสารทางการแพทย์ว่าจะให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยในระดับใด จะพูดกับผู้ป่วยอย่างไร เป็น เรื่องที่ต้องคอยสังเกต เรียนรู้วิธีการจากอาจารย์ รุ่นพี่ ต้องการการฝึกฝนเพราะยิ่งฝึกบ่อยก็จะทําได้ดีขึ้น แต่ในปัจจุบันที่กระแสโลกาภิวัฒน์รุนแรง ทําให้ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เกิด ความเร่งรีบ ส่งผลทําให้คนหลายคนในสังคมตัดทอนการสื่อสาร 2 ทางทั้งอย่างตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมอย่างมากมายโดยเฉพาะด้านการเมือง ในด้านการแพทย์ ปัญหาที่นําไปสู่การฟ้องร้องส่วนใหญ่เกิดจากปัญหาในการสื่อสารทั้งสิ้น ขณะเดียวกัน ผู้ป่วยที่กําลังเพิ่มจํานวนมากขึ้นทุกปี คือ กลุ่มโรคเรื้อรัง กลุ่มโรคที่ต้องใช้แพทย์หรือสห วิชาชีพเข้ามาร่วมกันดูแลซึ่งแต่ละคนอาจมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ความชํานาญและบทบาทของ ผู้รักษาแต่ละคนอาจซ้อนทับกัน นํามาซึ่งความคิดเห็นที่ต่างกันในรายละเอียดของวิธีการรักษา ทั้งด้าน ประสิทธิภาพ ความเหมาะสมต่อคนไข้แต่ละคน ปัญหาการดูแลผู้ป่วยที่พบบ่อยที่ทําให้ขั้นตอนการ รักษามีปัญหา มักเกิดจากความไม่เข้าใจกันและสื่อสารสับสนระหว่างกลุ่มแพทย์กับญาติผู้ป่วย ระหว่าง สหวิชาชีพทีมที่ให้การดูแลรักษาผู้ป่วย ระหว่างแพทย์ผู้รักษาหลายสาขาวิชาชีพไป ระหว่างอาจารย์แพทย์ กับแพทย์ประจําบ้านหรือนักศึกษาแพทย์ จากความคิดเห็นที่แตกต่างกันนั้นมักนําไปสู่ความขัดแย้ง ความ ยุ่งยาก และทําให้บั่นทอนความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้รักษาที่ทํางานร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นผู้รักษาในวิชาชีพ เดียวกัน หรือต่างวิชาชีพ ศ.คลินิก พญ.วินัดดา ปิยะศิลป์ ประธานคณะกรรมการ Communication Skills ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย 1 มีนาคม 2554
  • 5. 5 สารบัญ หน้า สาส์นจากประธานราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย 2 สาส์นจากประธาน อฝส 3 บทนํา 4 สารบัญ 5 กําหนดการสัมมนา 6 KAP in communication skills 7 แนวทางให้คําปรึกษา 8 ทักษะสําคัญเพื่อการสื่อสารที่ได้ผล 10 คู่มือการใช้ Medical Counseling Checklist (MCC) สําหรับอาจารย์ 12 Medical Counseling Checklist (MCC) 13 Feed back 15 แบบประเมินตนเองด้านการเรียนรู้ในสถานการณ์ต่างๆ 16 Motivational interview 18 การสื่อสารกับญาติในภาวะวิกฤต 21 ภาวะใกล้ตายและความตายในเด็ก 25 แบบฝึกหัด 3 1 รายชื่อคณะกรรมการ Communication skills พ.ศ. 2553 - 5
  • 6. 6 กาหนดการประชุมเชิงปฏิบัติการ Communication skills for Resident I & Medical Student วันที่ 8.30 ‟ 9.00 น หัวใจสําคัญของการสื่อสาร VDO 9.00 ‟ 10.00 น Counseling technique and check list in communication skills 10.00 ‟ 12.00 น Case scenario 1 : Against advice for admission Case scenario II :History taking Case scenario III : Blood Sampling 13.00-15.00 น. Case scenario IV : Interpersonal Relationship Case scenario V : feed back technique 15.00 ‟ 15.30 น Q & A
  • 7. 7 Knowledge- Attitude - Practice (KAP) in Communication Skills ผู้ให้คําปรึกษา จะต้องเป็นผู้มีความและทักษะที่ดีพอ. มีผู้กล่าวว่า “Doctor is the drug” ซึ่งไม่เกินความ จริง ควรมีบุคคลิกภาพที่เหมาะสม สงบ อบอุ่น เป็นมิตร สม่ําเสมอและยืดหยุ่นต่อผู้ป่วยและพ่อแม่ได้ตามความ เหมาะสม มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ มองโลกด้านดี อยู่ในความเป็นจริงและไม่อ่อนไหวง่าย ถ้าให้คําปรึกษาแนะนําได้ดี สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือความรู้สึกของผู้ป่วยและครอบครัวที่มีต่อปัญหาทางพันธุกรรมจะ เปลี่ยนแปลง, จากความโศกเศร้าเสียใจสูญเสีย มาเป็นความต้องการจะต่อสู้หาทางแก้ไข, และหาทางเลือกที่ เหมาะสมให้กับตนเองได้ 1. เจตคติ คือ มีใจอยากทํา มีประสบการณ์ในการให้คําปรึกษาและพัฒนาตนเอง ตั้งใจทําให้ดี นุ่มนวล เห็น ใจ (rapport relationship) ให้โอกาสคิดไตร่ตรองและตัดสินใจด้วยตัวเอง (nondirective) เข้าใจถึงความรู้สึก อารมณ์ ความคิดของผู้ป่วย (empathy, หรืออัตตานัง อุปมัง กเร), ยอมรับได้ทั้งด้านบวกและด้านลบที่ผู้ป่วยเป็น โดยไม่มี อคติ ไม่ลําเอียง และไม่มีอคติต่อพ่อแม่ (non-judgmental understanding) มีความจริงใจ และสนใจต่อความทุกข์และ ปัญหาของผู้ป่วยอย่างจริงจัง. สามารถเสริมสร้างขวัญและกําลังใจให้กับผู้รับคําปรึกษา ควบคุมอารมณ์ตนเองได้ รักษาความลับ รับผิดชอบ ยุติธรรม ไม่ลําเอียง มีจริยธรรม เข้าใจธรรมชาติของตัวเองและผู้อื่น ไวต่อความรู้สึก เข้าใจปฏิกิริยาและ ความลําบากของพ่อแม่ ( empathy ) เข้าใจ ความแตกต่างของบุคคล ทั้งในสิ่งที่ติดตัวมาแต่กําเนิด สถานการณ์ แวดล้อมและบุคคลรอบตัวที่มีอิทธิพล ทําให้ ความคิดความรู้สึก และ วิธีการในการแก้ปัญหาของแต่ละคนแตกต่างกัน ความเข้าใจนี้ทําให้ผู้ให้คําปรึกษายอมรับ พร้อมจะให้เวลาและเปิดโอกาสให้ผู้รับคําปรึกษาค่อยๆเปลี่ยนแปลงตนเอง มีความเชื่อว่าทุกคนมีศักยภาพในตัวเองที่จะต่อสู้แก้ปัญหา แต่ในภาวะที่ทําให้เกิดความรู้สึกด้อยซึ่งไม่สามารถนํา ศักยภาพมาใช้ได้สําเร็จ เป็นผลมาจากการขาดความมั่นใจหรือขาดความภูมิใจในตัวเอง (self-confidence), ขาด ความกระตือรือร้น, ท้อแท้ ยอมแพ้ ไม่อยากต่อสู้, ขาดขวัญกําลังใจจากบุคคลรอบตัว ทั้งในและนอกครอบครัว, รวมทั้งขาดความรู้สึกถึงความมีคุณค่าของตนเองต่อสังคม. การให้คําปรึกษาแนะนําจะเป็นการกระตุ้นให้ศักยภาพ ดังกล่าวนี้ถูกนําออกมใช้ 2. ความรู้ คือ ต้องมีข้อมูลที่ชัดเจน เข้าใจธรรมชาติของปัญหาที่เกิดขึ้น รู้แนวทางการรักษาในด้านต่างๆ มีความรู้ด้านจิตวิทยาดีพอควรโดยเฉพาะเกี่ยวกับเทคนิคการให้คําปรึกษา การสัมภาษณ์ พลวัตของครอบครัว (family dynamics) และความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ป่วยและครอบครัว ความสามารถในการ ประเมิน, ความเข้าใจถึงปฏิกิริยาทางจิตใจที่จะมีผลต่อโรคหรือภาวะทางร่างกาย รวมทั้งความคาดหวัง และความ ต้องการของผู้ป่วยและครอบครัว 3. ทักษะ คือ ความสามารถในการรักษาเวลา มีระบบงานดี เลือกสถานที่เหมาะสม รักษาสัมพันธภาพได้ และมีเทคนิคการพูดหรือให้คําปรึกษาในขั้นตอนแม่นยํา มีทักษะการสื่อสารชัดเจน สามารถที่จะพูดได้โดยอาการ สงบแม้เป็นการบอกข่าวร้าย ไม่พูดเร้าอารมณ์หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนก ฟังเป็น โดยฟังด้วยหู(ข้อมูลจาก ผู้ป่วยและพ่อแม่) ฟังด้วยตา (สังเกตพฤติกรรม อารมณ์ ปฏิกิริยาที่แสดงออก ของผู้ป่วยและครอบครัวในขณะ สัมภาษณ์หรือให้ข้อมูล), และฟังด้วยใจ (empathy)
  • 8. 8 แนวทางการให้คาปรึกษา ( Counselling technique) ศ.คลินิก พญ.วินัดดา ปิยะศิลป์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ความหมาย การให้คําปรึกษา ( counseling ) คือ กระบวนการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบปัญหา โดยอาศัยปฎิสัมพันธ์ ระหว่างผู้ให้คําปรึกษา (counselor) และผู้รับการปรึกษา( client) เน้นที่ตัวผู้รับการปรึกษา(client ‟ center) โดยมีผู้ให้ คําปรึกษาเป็นผู้ช่วย ใช้เทคนิคการสื่อสาร ทําให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ถึงสาเหตุของปัญหา และใช้ศักยภาพของ ตนเองในการคิด นําไปสู่การตัดสินใจและ แก้ปัญหาด้วยตนเอง โดยที่ผู้ให้คําปรึกษาจะไม่ใช้ความคิดของตัวเองเป็นหลัก หรือชักจูงหรือแนะนําวิธีการแก้ปัญหา วัตถุประสงค์ ในการใช้ชีวิต หลายครั้งที่ต้องเผชิญกับความผิดหวัง ไม่ได้ดังใจ การสูญเสีย ความโศกเศร้า เผชิญหน้ากับ ทางเลือกที่ต้องตัดสินใจ ซึ่งส่งผลกระทบต่อความรู้สึก ก่อให้เกิดเป็นความคับข้องใจ ความกลัว กังวล ไม่แน่ใจ ซึ่ง บางครั้งไม่สามารถจัดการกับปัญหาเหล่านั้นได้ และทําให้ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงและความเชื่อมั่นในตนเอง การให้คําปรึกษาจึงเป็นทางเลือกหนึ่ง เพื่อให้ผู้รับการปรึกษาเกิดแรงจูงใจที่จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหา พูดคุยจนทําให้ ผู้รับการปรึกษาเข้าใจและเห็นปัญหาของตนเอง จนอยากแก้ไขปัญหา และดําเนินการแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง ขั้นตอนในการให้คาปรึกษา 1. เริ่มต้น (opening) ควรทําภายใต้บรรยากาศที่เงียบสงบ เป็นส่วนตัวเหมาะที่จะพูดคุยได้เปิดเผย ท่านั่งที่ไม่เผชิญหน้ากัน ร่วมกับการทักทาย ใช้ภาษาง่ายๆ เป็นกันเองโดยแนะนําตัวว่าเป็นใคร มาจากหน่วยงานไหน มีขั้นตอนการทํางานอย่างไร และทําไมจึงต้องมาพูดคุยกัน เพื่อสร้างความสัมพันธ์ ความคุ้นเคย ด้วยท่าทีผ่อนคลาย เอาใจใส่ต่อความ สะดวกสบายของผู้รับคําปรึกษา จะเป็นการเริ่มต้นที่ดี มีการสอบถามความเข้าใจและให้ความมั่นใจในการรักษา ความลับของเรื่องที่จะปรึกษากัน (confidentiality) 2. เข้าใจประเด็นปัญหา (identification of problems) การพูดคุยจะเริ่มโดยการถามถึงปัญหาต่างๆ และทําการจัดลําดับความสําคัญของ ใช้ภาษาเข้าใจง่าย ที่มี ประโยชน์ ถูกต้อง เหมาะสม และข้อมูลเพียงพอ พูดคุยติดตามเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับ ปัญหาสําคัญอย่างต่อเนื่อง และซักถามลงในรายละเอียด ขณะเดียวกันมีการทบทวนปัญหาเป็นระยะเพื่อทําความ เข้าใจสิ่งต่างๆที่เกี่ยวข้องกับปัญหาให้ชัดเจน( clarification) 3. ตั้งเป้าหมาย (goal setting) ให้ผู้รับคําปรึกษาได้เลือกปัญหาที่แท้จริงที่ต้องการ ในกรณีผู้รับคําปรึกษาสับสน ผู้ให้คําปรึกษาอาจพูดชักจูง เพื่อดึงให้เข้าสู่ประเด็นที่สําคัญ โดยสร้างแรงจูงใจให้เห็นความสําคัญ และกําหนดเป้าหมายร่วมกัน 4. การแก้ปัญหา (problem solving )
  • 9. 9 1. ให้ข้อมูลทางการแพทย์ ที่เหมาะสม ถูกต้องและทําได้จริง 2. เสนอทางเลือกที่เหมาะสม กระตุ้นให้ผู้รับคําปรึกษามีทางเลือกในการแก้ปัญหามากขึ้น ตระหนักถึงผลที่จะ ตามมาจากการเลือกแต่ละทาง หารือข้อดีข้อเสีย สามารถพิจารณาเลือกวิธีแก้ปัญหาที่ดีขึ้นและรับผิดชอบต่อตนเองได้ โดยผู้ให้คําปรึกษาใช้วิธีต่างๆ เช่น ให้ความรู้ แนะนํา แนะแนวทาง ชักจูง การฝึกฝน การให้การบ้าน การ ชมเชยเมื่อทําดี การกระตุ้นให้ทํา ประเมินผลและการแก้ไข การฝึกฝนทักษะต่างๆ 3. ให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมและให้ตัดสินใจด้วยตนเอง 4. ให้ความหวัง 5. สรุปเป็นระยะ (segment summary) การสรุปทวนซ้ําเป็นการแสดงถึงความสนใจและเป็นการเน้นถึงประเด็น ที่สําคัญ ทําให้มีการสนทนาต่อในประเด็นนั้น และสรุปทั้งหมดโดยเน้นส่วนที่เป็นสาระสําคัญ 5. การยุติกระบวนการให้คาปรึกษา (closing) เมื่อผู้รับคําปรึกษาเกิดความกระจ่างในปัญหาของตนเองอย่างแท้จริงและสามารถหาวิธีแก้ปัญหาของตนเองได้จะทําการ ยุติการให้คําปรึกษานั้นโดยการสรุปประเด็นที่ได้พูดคุยกัน 1. เปิดโอกาสให้ถาม การซักถามสิ่งที่ยังค้างคาใจ การตรวจสอบความคิด สอบ ถามถึงความรู้สึกที่ เปลี่ยนแปลงไป 2. แสดงความชื่นชมความสามารถ ในการที่ผู้รับคําปรึกษามีความมุ่งมั่นที่อยากแก้ไขปัญหาของตนเองและ กล้าคิด กล้าทบทวนปัญหาต่างๆ 3. นัดหมายติดตาม หรือกล่าวลาโดยมีท่าทางที่อบอุ่น เป็นมิตร เอื้อเฟื้อ ให้โอกาสที่จะพบกันอีก ในการให้คําปรึกษาจึงเป็นเสมือนการเดินทางร่วมกันระหว่างผู้ให้คําปรึกษาและผู้รับคําปรึกษา ที่มิได้มีใครคน ใดตนหนึ่งเป็นผู้นําหรือผู้ตาม ผู้ให้คําปรึกษาจะเป็นผู้ช่วยเหลือให้ไปถึงจุดหมายปลายทางสุดท้ายที่ผู้รับคําปรึกษาเป็นตัว ของตัวเองและพึ่งตนเองได้ การที่ผู้ให้คําปรึกษาที่มีความตั้งใจดีในการช่วยเหลือมีท่าทีเป็นมิตรพร้อมจะรับฟัง มองโลกในแง่ดี รู้จักใช้ คําพูดที่เหมาะสม มีความอดทนใจเย็นในการช่วยแก้ปัญหา จะทําให้กระบวนการการให้คําปรึกษาบรรลุวัตถุประสงค์ ดังกล่าวข้างต้นได้ในที่สุด
  • 10. 10 ทักษะสําคัญเพื่อการสื่อสารที่ได้ผล 1. การสร้างความสัมพันธ์ ( relationship skills) การมีส่วนร่วมในความรู้สึก (shares of feeling) การสะท้อนความรู้สึก (acknowledges/ reflects the feeling) การสะท้อนความหมาย/การสะท้อนความรู้สึก เป็นวิธีที่ ผู้ให้คําปรึกษาได้สะท้อนกลับให้ผู้รับคําปรึกษาได้มองเห็นตนเองชัดเจนขึ้นและเป็นการตรวจสอบความเข้าใจของผู้ให้ คําปรึกษาว่าเข้าใจตรงกันหรือไม่ รับฟังความคิดเห็น สะท้อนความคิด(reflects the thought) และมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น (shares of thinking) และ การให้กําลังใจ (supports) การเข้าใจความรู้สึก (empathy) เป็นวิธีการที่ผู้ให้คําปรึกษา ฟังอย่างตั้งใจใช้คําถามเหมาะสม เข้าใจ ความรู้สึกและสะท้อนออกมาให้ผู้รับปรึกษารู้ ท่าทีเห็นใจ ตั้งใจจะช่วยเหลือ ทําให้เกิดความผ่อนคลาย ลดความกังวล ในการรับคําปรึกษา ทําให้บรรยากาศเป็นกันเอง เป็นกระบวนการที่ แสดงว่าผู้ให้คําปรึกษายอมรับในตัวของผู้มารับคํา ปรึกษาจนเกิดเป็นความมั่นใจที่จะเปิดเผย ประเด็นปัญหาที่สําคัญต่อไป ท่าทีเป็นกลาง/ไม่ตัดสินผิดถูก (nonjudgmental,neutral ) ท่าทางที่เข้าใจ(understanding)และยอมรับ(unconditional positive regard) 2. ทักษะการส่งเสริมการสื่อสาร ( facilitation skills ) ทักษะสังคม  การสบตา (eye contact) และท่าทางใส่ใจ (posture, facial expression)  การใช้สัมผัสที่เหมาะสม (touch)  ใช้ภาษาเหมาะสม คือ ใช้ภาษาง่าย เป็นประโยชน์ ข้อมูลถูกต้องและเพียงพอในการตัดสินใจ  การสื่อสารสองทาง (two way communication) ใช้ภาษาพูดที่เข้าใจง่าย เป็นประโยชน์ ข้อมูลถูกต้อง เหมาะสม และให้ข้อมูลเพียงพอในการตัดสินใจ และให้โอกาสซักถาม หรือแก้ไขความเข้าใจผิด  การให้กําลังใจ โดยการใช้ภาษากายและการใช้คําพูด น้ําเสียงนุ่มนวล การทวนซ้ํา การสะท้อนความรู้สึก ซึ่ง จะช่วยให้ผู้รับคําปรึกษารับรู้ถึงความใส่ใจ และมีกําลังใจในการสนทนาต่อ  การใช้ความเงียบ (uses silence) เพื่อเปิดโอกาสให้คิดไตร่ตรอง  การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (mutual participation)  การใช้คําถาม ( questioning ) การเลือกใช้คําถามปลายปิดหรือคําถามปลายเปิดอย่างเหมาะสม คําถาม ปลายเปิดใช้ในการถามเพื่อกระตุ้นให้ผู้รับคําปรึกษาได้สํารวจและบอกเล่าความคิดความรู้สึกของตนเอง โดยไม่ เป็นการเจาะจงหรือกําหนดกรอบ แต่ให้อิสระในการตอบตามความเป็นตัวของตัวเอง มักใช้คําถามว่า “อะไร” หรือ “อย่างไร” พยายามหลีกเลี่ยงคําถามที่ขึ้นต้นว่า “ทําไม” เพราะทําให้ผู้ฟังรู้สึกว่า  ถูก ตําหนิ หรือกําลังถูกค้นหาความผิด ส่วนคําถามปลายปิด เป็นคําถามที่ต้องการคําตอบในเรื่องที่ เฉพาะเจาะจงคําตอบที่ได้มักเป็นคําตอบสั้นๆ เช่น คําถามเรื่อง “ใคร” “เมื่อไร” “ใช่หรือไม่”  การฟังที่ดี ( active listening ) คือมีความตั้งใจฟัง สบตา ใช้ภาษาท่าทางและสรุปประเด็นเพื่อแสดงถึงความ เข้าใจในสิ่งที่ได้รับ การเฝ้าสังเกตภาษากาย คําพูด น้ําเสียง ถ้อยคํา และนัยยะที่ซ่อนอยู่เบื้องหลัง ทําให้ผู้ให้
  • 11. 11 คําปรึกษาสามารถเข้าใจความรู้สึกของผู้พูดและสะท้อนความรู้สึก และทําให้ผู้พูดมีกําลังใจในการพูดต่อ 3. ทักษะการให้ความช่วยเหลือในการเชื่อมโยงปัญหา การช่วยเหลือให้ผู้รับคําปรึกษาเกิดความเชื่อมโยง เข้าใจที่มาของปัญหา และยอมรับตนเองได้ โดยผู้ให้ คําปรึกษาใช้ทักษะการโต้ตอบ ดังนี้  การให้ข้อมูล (informing) การหาผลจากการกระทํา (exploring logical consequences)  การตีความ (interpreting) การชี้ให้เห็นเป็นเรื่องปกติ (normalizing)  การสอบถาม (probing) การให้ข้อมูลย้อนกลับว่าผู้อื่นมองเขาอย่างไร (feedback)  การเปลี่ยนแนวคิด (reframing) เดิมเคยคิดในมุมหนึ่งเปลี่ยนเป็นคิดได้ในอีกมุมมองหนึ่ง  การให้ข้อสังเกตถึงความขัดแย้งกันในตัวของผู้รับคําปรึกษา (confrontation)  การเปิดเผยตนเอง หรือยกกรณีของผู้ให้คําปรึกษาเองเป็นตัวอย่าง (self-disclosure)  การยับยั้งตนเองของผู้ให้คําปรึกษา (refraining) เพื่อให้ผู้รับคําปรึกษามีโอกาสได้กลั่นกรอง  และหาคําตอบด้วยตัวเอง
  • 12. 12 คู่มือการใช้งาน Medical Counseling Checklist (MCC) สําหรับอาจารย์  อธิบายให้แพทย์ประจําบ้าน เข้าใจในเนื้อหาและหัวข้อที่จะประเมิน  สร้างแรงจูงใจให้เกิดการยอมรับการประเมิน  สังเกตพฤติกรรมทั้งข้อดีและข้อด้อยของแพทย์ประจําบ้าน  บันทึกพฤติกรรมของแพทย์ประจําบ้าน  เปิดโอกาสให้แพทย์ประจําบ้าน แสดงความคิดความรู้สึกต่อการให้คําปรึกษาที่ตนเองเพิ่งทําไป  ให้แพทย์ประจําบ้าน ลองประเมินข้อดีและ ข้อเสียของตนเอง  ให้แพทย์ประจําบ้าน ลองคิดแก้ใขใหม่ด้วยตัวเอง (ถ้าทําใหม่ จะทําอย่างไร)  นําเสนอข้อดีของแพทย์ประจําบ้าน และแสดงความชื่นชมในส่วนดี  นําเสนอข้อด้อยของแพทย์ประจําบ้าน พร้อมข้อแนะนํา  เปิดโอกาสให้แพทย์ประจําบ้าน ซักถาม  มอบบันทึก checklist แก่แพทย์ประจําบ้าน เพื่อจัดเก็บใน Portfolio  ให้กําลังใจ และความหวังแก่แพทย์ประจําบ้าน ในการพัฒนาตนเองต่อไป  เปิดโอกาสให้แพทย์ประจําบ้าน ทดลองประเมินตนเองโดยใช้แบบ checklist ด้วยตนเอง
  • 13. 13 แบบบันทึกการสังเกตการณ์การให้คาปรึกษา Medical Counseling Checklist ชื่อ ‟ นามสกุลผู้ป่วย....................................................................... อายุ.............................. วันที่................................................. HN......................................... การวินิจฉัย.....................................................WARD…........................ ชื่อ แพทย์ประจําบ้าน.........................................ปีที่.......................อาจารย์.......................... เหมาะสม ไม่เหมาะสม N/A A. เริ่มต้น (Opening) 1. ทักทาย/สร้างความคุ้นเคย 2. แนะนําตนเองและขั้นตอน 3. ท่าทีผ่อนคลาย 4. ใส่ใจต่อความสุขสบายของผู้ป่วย 5. สิ่งแวดล้อม 6. สอบถามความเข้าใจผู้ป่วย 7. ให้ความมั่นใจในการเก็บข้อมูลเป็นความลับ (confidentiality) B. เข้าใจประเด็นปัญหา (Identification of problem) 1. ถามถึงปัญหาต่าง ๆ (Problem survey) 2. จัดลําดับความสําคัญ 3. ติดตามเรื่องราวอย่างต่อเนื่อง 4. สํารวจลงลึก 5. ทําความเข้าใจปัญหาให้กระจ่าง C. ตั้งเป้าหมาย (Goal setting) 1. เลือกปัญหาที่แท้จริงที่ต้องการ (Identification the problem) 1.1 การสรุปและนําสู่ประเด็น 1.2 การดึงเข้าประเด็นที่ต้องการ 2. สร้างแรงจูงใจ 3. กําหนดเป้าหมายร่วมกัน D. การแก้ปัญหา (Problem solving) 1. การให้ข้อมูลทางการแพทย์ (Medical facts) 1.1 ใช้ภาษาง่าย 1.2 เป็นประโยชน์ 1.3 ถูกต้อง 1.4 เพียงพอ 2. เสนอทางเลือกที่เหมาะสม และ. หารือข้อดีข้อเสียในแต่ละทางเลือก
  • 14. 14 เหมาะสม ไม่เหมาะสม N/A 3. การให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วม (Let counselee make his/her own decision) 4. การให้ความหวัง 5 สรุปเป็นระยะ (Segment Summary) E. การจบการสนทนา (Closing) 1. เปิดโอกาสให้ถาม 2. แสดงความชื่นชม 3. การนัดหมายติดตาม F. ทักษะตลอดกระบวนการ (Counseling techniques) 1. การส่งเสริมการสื่อสาร (Facilitation skills) 1.1 การสบตา 1.2 ท่าทาง (Posture, facial expression) 1.3 การสัมผัส 1.4 การใช้ภาษา 1.5 การใช้ความเงียบ 1.6 การสื่อสารสองทาง 1.7 การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ 1.8 การใช้คําถาม (Questioning-open end) 1.9 การฟัง (Active Listening) 2. การสร้างความสัมพันธ์ (Relationship skills) 2.1 มีส่วนร่วมในความรู้สึก (Share of feeling) 2.2 การสะท้อนความรู้สึก (Acknowledges / reflection : feeling) 2.3 มีส่วนร่วมในความคิด (Share of thinking) 2.4 การสะท้อนความคิด (Reflection of thinking) 2.5 การให้กําลังใจ (Support : positive) 2.6 ความเข้าใจความรู้สึก (Empathy) 2.7 ท่าทีเป็นกลาง / ไม่ตัดสินผิดถูก (Nonjudgmental, neutral) 2.8 ท่าทางเข้าใจ (Understanding) 2.9 ยอมรับ (Unconditional positive regard, accept) ข้อเสนอแนะ ................................................................................................................................................................................ from the “ Brown Interview Checklist” Brown University 1991 ฺฺ By Dr. Panom Ketumarn MD. and Dr. Sirirat Kooptiwut MD. Faculty of Medicine Siriraj Hospital Mahidol university 2001
  • 15. 15 Feed Back คู่มือ Medical Counseling Checklist เป็นเครื่องมือที่มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ประเมินกระบวนการ การให้ คําปรึกษา (counseling process) การประเมินสามารถทําได้สองรูปแบบ คือ การประเมินตนเอง (Self Feedback) และการประเมินโดยวิทยากรหรือครูฝึก (Trainer’s Feedback) การประเมินตนเอง ผู้ประเมินใช้ MCC เป็นแนวทางในการทบทวนพฤติกรรมของตนเองในขณะให้คําปรึกษา และประเมินตาม ความเป็นจริง และพยายามเสนอแนะตนเองในสิ่งที่คาดว่าน่าจะพัฒนาขึ้น ควรประเมินตนเองทันทีหลังจากเสร็จสิ้นการ ให้คําปรึกษาในแต่ละครั้ง ผู้ประเมินตนเองอาจขออนุญาตพ่อแม่เพื่อบันทึกแถบวีดิทัศน์ หรือเทปเสียงการให้คําปรึกษา และนําเทปมาดูภายหลัง พร้อมกับประเมินตนเองตามแนวทางของ MCC การประเมินโดยอาจารย์หรือวิทยากร ควรเริ่มต้นดังนี้  มีการตกลงกันก่อนกับแพทย์ประจําบ้านว่า จะมีการประเมินพฤติกรรมและ การประเมินนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของ การฝึกอบรมเป็นการเรียนรู้ในกระบวนการให้คําปรึกษา  อธิบายถึงประโยชน์ของการ Feedback วิธีการและเนื้อหาที่จะ Feedback เพื่อวัตถุประสงค์จะพัฒนาการให้ คําปรึกษาให้ดีขึ้น  แจก MCC ให้ผู้ถูก Feedback ศึกษาและทําความเข้าใจ อธิบายความหมายของหัวข้อต่าง ๆ  ผู้ประเมินสังเกตการณ์การให้คําปรึกษา จดบันทึกพฤติกรรมที่จะนํามา Feedback และประเมินใน MCC ทันทีหลังเสร็จสิ้นกระบวนการการให้คําปรึกษา  ผู้ประเมินให้ Feedback ทันทีหลังการให้คําปรึกษาโดยดําเนินการตามขั้นตอนดังนี้  สอบถามแพทย์ประจําบ้านว่าคิดและรู้สึกอย่างไร ต่อการให้คําปรึกษาที่ผ่านไป ข้อดีของตนเอง และ ข้อเสียหรือข้อบกพร่อง หรือสิ่งที่ทําได้ไม่ดี  ถ้าแก้ไขใหม่ อยากจะกลับไปเปลี่ยนแปลงอะไร ต้องการคําแนะนําตรงไหน  หยิบยกข้อดีของ แพทย์ประจําบ้านที่เห็นชัด 2 ‟3 ประเด็นหรือมากกว่านี้  หยิบยกประเด็นที่น่าจะแก้ไข/พัฒนาที่ยังไม่ได้ถูกกล่าวถึงในข้อ 5.1 มา Feedback (ควรระวังในกรณี ที่ Feedback เป็นกลุ่ม เนื่องจากบางเรื่องควร Feedback เป็นรายบุคคล)  ให้คําแนะนําในความคิดเห็นของอาจารย์ โดยอธิบายว่าความเห็นหรือคําแนะนํานี้เป็นทางเลือกอีก แบบหนึ่งซึ่งอาจจะเป็นประโยชน์ต่อการให้คําปรึกษาในครั้งต่อป บอก ข้อดี/เสียของทางเลือกแบบต่าง ๆ  ยอมรับฟังเหตุผลของแพทย์ประจําบ้าน แต่หลีกเลี่ยงการโต้เถียง หรือพยายามเอาชนะกัน  หยิบยกข้อดีของผู้ถูกประเมินมาให้กําลังใจและได้ทราบถึงศักยภาพด้านบวกของตนเอง  แสดงความรู้สึกที่ดีต่อแพทย์ประจําบ้าน อจ.เชื่อว่าน่าจะทําได้ดียิ่งขึ้น เห็นว่ามีการเรียนรู้ และรับ ฟัง ชื่นชมที่แสดงท่าทีที่ดีต่อการ Feedback หวังว่าจะนําสิ่งที่ได้รับจาก Feedback ไปใช้ในโอกาสต่อไป  จบการประเมินโดยให้ MCC ที่เขียนเรียบร้อยแล้วแก่ผู้ถูกประเมินเพื่อนําไปศึกษาด้วยตนเอง
  • 16. 16 แบบประเมินตนเองด้านการเรียนรู้ในสถานการณ์ต่างๆ ในวิชา communication skills สําหรับแพทย์ประจําบ้าน (ฉบับปรับปรุง มค 2554) ปี 1 ปี 2 ป๊ 3 Faculty conf. others CommunicatingWithchildren A. Basic communication with children and adolescents  B. History taking from children and adolescents  C. Information giving for children (Management plan, treatment)  D. Inform consent for procedures from children  E. Inform consent for research studies *  G. Involve children in decision making  PalliativeCareIssues A. Breaking bad news with surrogates and patients   B. Communicating palliative care   C. Understanding dying patients and family   D. Respect for different values and cultures   E. Advance directives with surrogates  F. Withhold / Withdraw life-sustaining Rx with surrogates  G. Communicating as death approach  H. Notification of death  I. Request for organ donation *  J. Request for autopsy  Communication withparents/ caregivers A. History taking from parents  B. Information giving (Treatment, management plan)  C. Inform consent/refusal for 
  • 17. 17 procedures/procedures D. Inform consent/refusal for research studies *  E. Counseling for chronic illness  F. Counseling for genetic diseases  G. HIV counseling  H. Negotiating goals of care  I. Counseling for second opinion  J. Advice by telephone  Communicationwithcolleagues/ teams A. Consultation with specialists  B. Writing referral letters  C. Information asking from other doctors  D. เขียนใบรับรองแพทย์  E. Working within multidisciplinary teams  F. Conflict resolution with colleagues  G. Giving supervision for junior colleagues  ChallengingCommunications A. Dealing with anger patients/parents  B. Violence (Child abuse, neglect) *  C. Specific needs patients/parents (Handicap, MR,CP LD)  D. Handling complaints  E. Managing unrealistic requests (Saying no)  F. Report mistakes to parents  Communicationwith community A. Giving information  B. Program/disease champagne *  C. Child advocacy    D. School health    E. Communication via medias *  = not necessary Adapted from Khon Kaen Medical School portfolio checklist
  • 18. 18 การสัมภาษณ์สร้างแรงจูงใจ (Motivational Interviewing) ผศ. นพ. พนม เกตุมาน ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล การสัมภาษณ์สร้างแรงจูงใจ คือ การสื่อสารที่ถ่ายทอดข้อมูล ความคิด ความรู้สึก ทัศนคติและค่านิยมระหว่างบุคคล เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ เน้นให้เกิดการแรงจูงใจ เพื่อให้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การสัมภาษณ์สร้างแรงจูงใจ ใช้การสื่อสารทางบวก (positive communication) สร้างสรรค์ สร้างความรู้สึก ความสัมพันธ์ที่ดี เกิดความเข้าใจ เกิดแรงจูงใจ ยอมรับและเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้วยตัวเอง เหมาะสําหรับผู้ที่มี ปัญหาพฤติกรรม แต่ไม่รู้ตัว ไม่อยากเปลี่ยนแปลง หรือไม่เปลี่ยนแปลงด้วยตักเตือน หรือวิธีอื่นๆ เช่น ผู้ป่วยหรือวัยรุ่นที่ ไม่ร่วมมือในการรักษา ปัญหาพฤติกรรมที่เหมาะสําหรับการใช้เทคนิค การสัมภาษณ์สร้างแรงจูงใจ ได้แก่ ปัญหาพฤติกรรมที่ไม่ เหมาะสม เป็นอันตรายต่อตนเองหรือผู้อื่น แต่ตนเองพอใจ เช่น การใช้เหล้า บุหรี่ ยาเสพติด และปัญหาพฤติกรรมทาง เพศ ปัญหาเหล่านี้วัยรุ่นมักไม่ได้ต้องการแก้ไขด้วยตัวเอง ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงแก้ไข (Stages of Changes) พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม สมควรแก้ไขนั้นบางครั้งไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเปลี่ยนแปลง ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมของคน พบว่ามี 5 ระยะ ดังนี้ 1 ติด (Precontemplation) ความคิด : ไม่เห็นว่าเป็นปัญหาพฤติกรรม ไม่เคยมีใครพูดคุยเรื่องนี้ ไม่ได้คิดอยากแก้ไขเปลี่ยนแปลง มีความ พอใจกับพฤติกรรมนั้น ไม่รู้สึกเป็นปัญหา ผลทางพฤติกรรม : ไม่เห็นปัญหาพฤติกรรมตนเอง หงุดหงิด ไม่พอใจที่พูดเรื่องนี้ หลีกเลี่ยงที่จะคุย 2 ไตร่ตรอง (Contemplation) มีคนพูดถึงปัญหานี้ มีคนแสดงความห่วงใย อยากให้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม มีการตรวจสอบ ตรวจพบความ ผิดปกติทางร่างกาย ความสูญเสีย ความเสื่อมทางหน้าที่หรือการงาน การเรียน ความรับผิดชอบ เริ่มคิดทบทวน เห็น ข้อดีข้อเสียของพฤติกรรมนี้ เคยคิดอยากแก้ไขเปลี่ยนแปลง เคยลองแก้ไขได้ช่วงสั้นๆ ผลทางพฤติกรรม พูดถึงปัญหาที่คนอื่นเป็นห่วงใย เดือดร้อน เริ่มพูดถึงข้อดีข้อเสียของพฤติกรรม แสดงเจตนา อยากเปลี่ยนแปลง ถามถึงวิธีการเปลี่ยน ปัญหาของการแก้ไข ความกังวลต่อการเปลี่ยนแปลง ไม่แน่ใจต่อผลของการ เปลี่ยนแปลง ไม่มีความหวังด้านบวกต่อการเลิกพฤติกรรมนั้น เช่น “มีคนบอกว่าเลิกบุหรี่แล้วจะอ้วน” “ผมจะทําอย่างไร เวลาเครียด” “เลิกตอนนี้ จะป้องกันปัญหามะเร็งปอดได้หรือ” 3 เตรียมการ (Preparation) มีแรงจูงใจบางส่วนในการเปลี่ยนแปลง มีการเตรียมการ วางแผน ที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง ตามขั้นตอน มีการปรึกษาหารือ แสวงหาข้อมูลจากสื่อที่ถูกต้อง จัดลําดับเวลา หาผู้เชี่ยวชาญหรือแพทย์ ผลทางพฤติกรรม พูดถึงการเลิกพฤติกรรม แสดงเจตนาชัดเจน
  • 19. 19 4 ตั้งใจทา( Action). แรงจูงใจมากถึงขั้นตั้งใจและลองพยายามเปลี่ยนแปลงด้วยตนเอง เข้าสู่กระบวนการช่วยเหลือ ฟื้นฟู ฝึกได้ ผลทางพฤติกรรม : เห็นพฤติกรรมเหมาะสมมากขึ้น ค้นพบปัจจัยเสี่ยงและแก้ไขได้ ค้นพบปัจจัยป้องกันและนํามาใช้ใน การสร้างพฤติกรรมใหม่ รู้สึกมั่นใจที่ควบคุมตนเองได้ เกิดพฤติกรรมป้องกันการเกิดซ้ํา (relapse prevention) เช่น การ จัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม การลดสิ่งกระตุ้นยั่วยุให้เกิดความอยาก การห้ามใจตนเอง การเบนความคิด ความรู้สึก การให้กําลังใจตนเอง 5 ติดตาม (Maintenance) การพยายามเปลี่ยนแปลงแก้ไข อยู่ในกระบวนการช่วยเหลือ ติดตามต่อเนื่อง เรียนรู้จากความสําเร็จและความ ล้มเหลว พฤติกรรมมีการเปลี่ยนแปลงด้วยตนเอง ผลทางพฤติกรรม : พฤติกรรมไม่ดีลดลง ปัจจัยส่งเสริมให้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม แรงจูงใจที่ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแก้ไขพฤติกรรมได้ มี 3 ระดับ ดังนี้ ระดับที่ 1 กลัว ถ้าไม่ทําเกิดผลเสียตามมา ตามเงื่อนไข 3 ประการ ได้แก่ กลัวถูกลงโทษ ไม่เป็นที่ยอมรับ กลัวสูญเสีย เสียความสัมพันธ์ เสียโอกาส เสียรางวัล ระดับที่ 2 อยากทํา ตามปัจจัยส่งเสริม 4 แบบ คือ อยากได้รางวัล แรงเสริมทางบวก (positive reinforcement or reward) อยากเป็นที่ยอมรับ (acceptance) ตระหนักถึงข้อดี ข้อเสีย (reasoning) และมีแรง บันดาลใจ (inspiration) ระดับที่ 3 เลียนแบบ พบปัจจัยส่งเสริม 2 ประการ คือ มีต้นแบบ (role model) สร้างความรู้สึกประทับใจ และมีความสัมพันธ์สูง ใกล้ชิด เกิดความผูกพันทางใจสูง เกิดการเลียนแบบโดยตั้งใจและรู้ตัว (imitation) และเลียนแบบ โดยอัตโนมัติไม่รู้ตัวในระดับจิตสํานึก (identification) ขั้นตอนการสัมภาษณ์สร้างแรงจูงใจ ก. การสร้างความสัมพันธ์ที่ดี - ด้วยความเข้าใจ - มีทัศนคติที่ดี (Good Attitudes) ความรู้สึกดีนี้ที่จะถ่ายทอดทางสีหน้า แววตา ท่าที และท่าทางที่รับรู้ได้ ทํา ให้เกิดการยอมรับ เปิดช่องการสื่อสารสองทาง (two-way communication) - จัดสิ่งแวดล้อมให้ดี ควรเป็นส่วนตัว สงบ ผ่อนคลาย ไม่มีการรบกวน เพื่อส่งเสริมให้เปิดเผยได้ง่าย ท่านั่งที่ดี ทิศทางของการนั่งควรเป็นมุมฉากเยื้องกัน (square position) ไม่ควรนั่งหันหน้าชนกันตรงๆ ไม่ควรมีสิ่งของกั้น ระหว่างกัน อยู่ในระดับเดียวกัน ไม่ควรยืนคุย หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยืน - ทักทาย (Greeting) และเริ่มต้นจากข้อดี ข. สารวจลงไปในปัญหา ความคิด ความรู้สึกเพื่อให้เข้าใจพฤติกรรม หาปัจจัยที่ทําให้เกิดพฤติกรรมนั้น
  • 20. 20 หาปัจจัยที่ทําให้พฤติกรรมนั้นยังคงอยู่ ค้นหาแรงจูงใจที่อาจเปลี่ยนพฤติกรรมนั้น ให้ข้อมูลย้อนกลับถึงพฤติกรรมนั้น โดย ใช้เทคนิค - การฟังอย่างตั้งใจ (Active listening) หลีกเลี่ยงการใช้คําถามที่ขึ้นต้นว่า “ทําไม” - สร้าง Empathy มากกว่า Sympathy แสดงท่าทีเป็นกลางต่อพฤติกรรมเสี่ยง - กระตุ้นให้คิดด้วยตนเอง - ให้ข้อมูลย้อนกลับ(feedback) ถึงพฤติกรรมนั้น เพื่อสื่อให้เห็นว่าพฤติกรรมที่เกิดขึ้นนั้นทําเกิดผลตามมา อย่างไร เช่น ถูกลงโทษ ไม่เป็นที่ยอมรับ มีผลต่อการเรียน การประเมิน ความคิดของคนอื่น ปัญหาที่ตามมา โดยใช้ ข้อมูลที่เกิดขึ้นจริง แสดงความห่วงใยด้วย แสดงความต้องการด้านบวก ให้ชมที่พฤติกรรม หลีกเลี่ยงการชมแบบ ประเมิน ถ้าจะตําหนิ ให้ตําหนิที่พฤติกรรม มากกว่า ตัวบุคคล - ใช้คําพูด I Message - กระตุ้นให้เล่าเรื่อง (Facilitation) และให้บอกความคิด ความรู้สึก ความต้องการ และสะท้อน - ใช้ภาษากาย (Body language) สีหน้า แววตา ท่าทาง ของผู้ใหญ่จะสื่อให้นักเรียนรู้สึกได้ดีกว่าคําพูด ทําให้ เกิดความเป็นกันเอง อยากเข้าใจ อยากช่วยเหลือ ไม่ตัดสินความผิด หรือแสดงการไม่เห็นด้วยกับพฤติกรรมหรือสิ่งที่ นักเรียนเปิดเผย เวลาคุย ไม่ควรนั่งกอดอก ซึ่งแสดงท่าทางปิด ไม่ยอมรับ สายตาควรจับที่ใบหน้า เคลื่อนไหวไปมา ระหว่างตาและปาก พยักหน้ายอมรับตามจังหวะเหมาะสม เมื่อเห็นด้วย ยอมรับ ยิ้ม แสดงท่าชื่นชม ในสิ่งที่ดี ปิด โทรศัพท์มือถือ หยุดการทํางานทุกอย่างระหว่างพูดคุย สัมผัสที่แขนในจังหวะที่แสดงความเข้าใจ เห็นใจ แต่ระวังการ แตะเนื้อต้องตัวระหว่างเพศตรงข้าม - ประคับประคองอารมณ์ (Emotional Support) คงความหวังด้านบวก (hope) และเปิดโอกาสให้ระบาย ความรู้สึก(ventilation) และให้มีความหวังในการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ค. สังเกต และส่งเสริมแรงจูงใจที่จะเปลี่ยนพฤติกรรม โดยใช้เทคนิคการให้คําปรึกษา counseling techniques โดยเน้นวิธีการต่อไปนี้  ลดแรงต้านทาน reduce resistance  สร้างความร่วมมือ promote collaboration  สํารวจความคิดที่จะเปลี่ยนแปลง explore ambivalence  สร้างความแตกต่างเมื่อเปลี่ยนพฤติกรรม develop discrepancy  ความพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง เกิดจากความสัมพันธ์ที่ดี ทําให้เกิดการเรียนรู้และแรงจูงใจด้วยตนเอง โดยจะเห็นการพูดที่เปลี่ยนแปลง ไปจากเดิม ตามลําดับดังนี้ 4.1 ต้องการเปลี่ยนแปลง Desire to change 4.2 สามารถที่จะเปลี่ยน Ability to change 4.3 มีเหตุผลที่ตนเองจะเปลี่ยนแปลง Reasons to change 4.4 มีความจําเป็นที่ต้องเปลี่ยนแปลง Need to change 4.5 มีความตั้งใจมั่นที่จะเปลี่ยนแปลง Commitment to change  ในช่วงท้าย ก่อนจะจบการพูดคุย ครูควรแสดงความคาดหวังด้านบวกต่อนักเรียน มองเขาในแง่ดี และให้โอกาสเขาคิด ไตร่ตรอง ด้วยตัวเอง เช่น “ครูคาดว่านักเรียน...น่าจะทําได้สําเร็จ” “ลองคิด ทบทวนดูก่อนนะ ครูหวังว่าเธอจะเข้าใจได้ถูกต้อง และเลือกสิ่งที่ดี”
  • 21. 21 ง. สานความคิดแรงจูงใจให้เป็นพฤติกรรม เมื่อเริ่มมีแรงจูงใจที่จะเปลี่ยน ต่อไปช่วยให้เกิดพฤติกรรมโดยการวางแผนการแก้ไขเปลี่ยนแปลง ช่วยกันหาทาง เลือก วิเคราะห์ข้อดีข้อด้อย คาดการณ์ล่วงหน้า และ ให้ทดลองทํา หลักการ  พฤติกรรมเป็นสิ่งที่ตนเองรับผิดชอบ  การวางแผนแก้ไข เป็นความต้องการ และความรับผิดชอบของตนเอง คนอื่นอาจช่วยแต่การตัดสินใจ อยู่ที่ตนเอง  ให้คิดด้วยตัวเองก่อนเสมอ ชมที่คิดดี การวางแผนที่ดี  ชี้แนะ ให้แนวทาง แย้งในมุมมองอื่นเพื่อกระตุ้นให้คิด หรือคาดการณ์ล่วงหน้า ระยะนี้ความสัมพันธ์ดี มักจะรับฟัง อย่างไรก็ตามยังเคารพความคิดส่วนตัว ไม่พยายามขัดแย้งเอาชนะกันทันที เช่นอาจให้ กลับไปคิดก่อน  ติดตามระดับแรงจูงใจอย่างต่อเนื่อง อาจมีขึ้นๆลงๆ หรือแรงต่อต้าน ให้หาสาเหตุของการต้านและ แก้ไข จ. ติดตามผล หลังจากทดลองปฏิบัติแล้ว มีการติดตาม ประเมินด้วยกัน สรุปผลเป็นระยะ หาและแก้ไขข้อบกพร่อง ให้ กําลังใจ ชมเชยความก้าวหน้า สรุป การสัมภาษณ์สร้างแรงจูงใจ เป็นเทคนิคที่มีประสิทธิภาพสําหรับพ่อแม่ ครูอาจารย์ และผู้ให้คําปรึกษาแนะนํา วัยรุ่น ในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ใช้หลักการให้คําแนะนําปรึกษาแบบนักเรียนเป็นศูนย์กลาง (client-centered counseling) ให้เกิดแรงจูงใจที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้วยตัวเอง เอกสารอ้างอิง 1. กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข คู่มือดูแลสุขภาพจิตเด็กวัยเรียน โรงพิมพ์ ร.ส.พ. กรุงเทพฯ 2. พนม เกตุมาน สุขใจกับลูกวัยรุ่น บริษัทแปลน พับลิชชิ่ง จํากัด กรุงเทพฯ 2535 ISBN 974-7020-31-9 3. Angold A. Diagnostic interviews with parents and children. In: Rutter M,Taylor E, eds. Child and Adolescent Psychiatry.4th ed. Bath : Blackwell Science, 2002:32-51. 4. Geldard D. Basic personal counselling: a training manual for counsellors. 3rd ed. Sydney : Prentice Hall, 1998:39-168. 5. MacKinnon RA, Yudofsky SC. In: The psychiatric evaluation in clinical practice. Philadelphia : J.B.Lippincott Company,1986:35-84.
  • 22. 22 การสื่อสารกับญาติในภาวะวิกฤต Communication with family members of critically ill children นพ.ดุสิต สถาวร รพ.พระมงกุฎเกล้า วัตถุประสงค์ „ สร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างทีมสุขภาพกับครอบครัวและญาติ „ สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรค/ ความผิดปกติที่ผู้ป่วยประสบอยู่ ซึ่งครอบคลุมประเด็นเรื่องการ วินิจฉัยโรค แผนการรักษา การประเมินผลการรักษา และการพยากรณ์โรค „ เปิดโอกาสให้ครอบครัวและญาติมีส่วนร่วมในการกําหนดแผนการรักษาที่ดีที่สุดและสอดคล้องกับความต้องการ ของผู้ป่วย „ ตอบข้อซักถามและข้อสงสัยต่างๆ ของครอบครัวและญาติ „ บําบัดดูแลด้านจิตใจ สังคม และจิตวิญญาณแก่ผู้ป่วย ครอบครัวและญาติ แนวทางการสื่อสารเบื้องต้นในภาวะวิกฤต แนะนําตัว สร้างความสัมพันธ์ และ เปิดโอกาสให้ครอบครัวเล่าถึงอาการเจ็บป่วยของผู้ป่วย แล้วจึงใช้คําถาม เจาะลึกและคําถามต่อเนื่องเพื่อสอบถามถึงเรื่องที่ครอบครัววิตกกังวลมากที่สุด สรุปประเด็นปัญหาทางการแพทย์ที่สําคัญของผู้ป่วย โดยเลือกใช้คําพูดที่ทางครอบครัวใช้ในการเล่าเรื่อง ควร หยุดพูดและสรุปเนื้อหาที่พูดเป็นช่วงๆ เชื่อมโยงประเด็นปัญหากับแผนการรักษาที่ได้ดําเนินการอยู่ ให้เวลาครอบครัวได้คิด ย่อยข้อมูลและเปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัย ตรวจสอบความเข้าใจให้ตรงกัน สร้างความมั่นใจว่าทีมสุขภาพเข้าใจถึงปัญหาของผู้ป่วย มีแผนการรักษาที่ครอบคลุมและเหมาะสมสําหรับทุก ประเด็นปัญหา รวมทั้งแสดงออกว่าแพทย์เข้าใจในความรู้สึกที่ทางครอบครัวเผชิญอยู่ (เช่น กลัว กังวล โกรธ เป็นต้น) โดย การแสดงออกอย่างเหมาะสมทั้งทางภาษาพูดและภาษากาย (รวมเรียกว่า empathy) การพูดคุยในลักษณะดังกล่าวมีส่วน สําคัญในการบําบัดจิตใจแก่ครอบครัว หากทีมสุขภาพคิดว่าการเจ็บป่วยของผู้ป่วยมีความรุนแรงสูงมากและมีความเป็นไปได้ว่าผู้ป่วยอาจไม่ตอบสนอง ต่อการรักษา ส่งผลให้มีโอกาสที่จะเกิดภาวะ sudden cardiopulmonary arrest ขึ้นได้ ควรสื่อสารให้ทางครอบครัวและ ญาติได้ทราบถึงความเป็นไปได้ดังกล่าว โดยตัวอย่างของคําพูดดังกล่าว ได้แก่ “ขณะนี้สิ่งที่ทางทีมเป็นห่วงและหนักใจ (หรือร้อนใจ) คือ การที่ผู้ป่วยยังไม่ตอบสนองต่อการรักษาที่ได้ให้อยู่ใน ขณะนี้ (หรือ ภายหลังเริ่มให้การรักษามาตั้งแต่.......) ซึ่งบ่งชี้ถึงความรุนแรงของโรค/ ความผิดปกติที่เกิดขึ้น ทําให้มีความ เป็นไปได้ว่าการทํางานของระบบต่างๆ ของร่างกายโดยเฉพาะหัวใจอาจแปรปรวนถึงขั้นหยุดทํางานเมื่อใดก็ได้ ซึ่งหากเกิด เหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นโอกาสที่เราจะช่วยให้หัวใจกลับมาทํางานได้อีกครั้งเป็นไปได้น้อยมากถึงไม่มีเนื่องจากขนาดของยาที่ ใช้พยุงความดันโลหิตที่ให้อยู่ในขณะนี้สูงมาก ซึ่งทางทีมเองคงจะต้องขอให้คุณพ่อคุณแม่เผื่อใจ (ในเรื่องนี้) ไว้ด้วย” ข้อผิดพลาดที่พบบ่อย 1. ไม่พูดคุยกับครอบครัวเกี่ยวกับความรุนแรงของการเจ็บป่วย ไม่ได้ปรับความคาดหวังให้สอดคล้องกับข้อมูล ของทีมสุขภาพ 2. สื่อสารทางเดียว รับฟังข้อมูลจากญาติไม่มากพอหรือ ไม่เปิดโอกาสให้ซักถาม (One-way communication)
  • 23. 23 3. ให้การพยากรณ์โรคที่ดีเกินจริง อาจก่อให้เกิดความคาดหวังที่ไม่ถูกต้อง หลีกเลี่ยงคําพูดที่ทําให้ญาติเกิด ความเข้าใจผิด เช่น “ลูกไม่เป็นอะไรมาก เดี๋ยวอาการก็จะดีขึ้นเอง” “พ่อแม่ไม่ต้องห่วง มีหมอดูแลอยู่แล้วหลายคน เดี๋ยว ก็คงดีขึ้น” การสื่อสารเมื่อผู้ป่วยมีอาการทรุดลงหรือผลการรักษาไม่เป็นไปตามที่คาดหมาย เป้าหมายสําคัญของการสื่อสารในกรณีนี้ คือ เพื่อให้ครอบครัวเตรียมใจและยอมรับการเปลี่ยนแปลงของโรค การสื่อสารต้องใช้ทั้งภาษาพูดและภาษากายที่สอดคล้องกัน (เน้น ความรู้สึกเห็นอกเห็นใจ และร้อนใจกับการที่เด้กมี อาการเปลี่ยนแปลงในทางที่แย่ลง) ควรเตรียมพร้อมที่จะรองรับอารมณ์และความรู้สึกของทางครอบครัว เนื่องจากข้อมูลที่แจ้งอาจส่งผลให้ ครอบครัวเกิดปฏิกิริยาต่อการรับรู้ข่าวร้าย (หงุดหงิด โกรธ กราดเกรี้ยว) ต้องเข้าใจและอดทนอดกลั้น ไม่โกรธตอบแต่ให้ อภัยและเห็นใจ โดยที่ความสงบและความอ่อนโยนจะช่วยให้ทางครอบครัวและญาติสงบนิ่งได้เร็วขึ้น ตัวอย่าง ที่เป็นรูปธรรมของการสื่อสารกับครอบครัวและญาติในระยะนี้ ได้แก่ เริ่มต้นด้วยการเปิดโอกาสให้ครอบครัวและญาติได้พูดคุยถึงความรู้สึกของตนเองและการประเมินอาการเจ็บป่วย ของผู้ป่วยจากมุมมองของครอบครัวและญาติ (ว่าผู้ป่วยดีขึ้นหรือทรุดลง) จากนั้นอาจใช้คําถามเจาะลึกและคําถาม ต่อเนื่องเพิ่มเติมเพื่อสอบถามถึงเรื่องที่ทางครอบครัวและญาติมีความวิตกกังวลมากที่สุดในขณะนั้น สรุปประเด็นปัญหาทางการแพทย์ที่สําคัญของผู้ป่วยที่ได้เคยแจ้งให้ทางครอบครัวและญาติทราบในครั้งก่อน จากนั้นรายงานการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะปัญหาที่เพิ่มเติมขึ้นมา เช่น ปัญหาไตหยุดทํางาน การทํา หน้าที่ของตับทรุดลง หรือผู้ป่วยมีอาการซึมลงมาก เป็นต้น พร้อมกับแจ้งเรื่องแนวทางการดูแลรักษาที่แตกต่างไปจากเดิม และให้ความมั่นใจกับครอบครัวและญาติว่าเราจะพยายามให้การดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างดีที่สุด เปิดโอกาสให้ครอบครัวและญาติได้ซักถามข้อสงสัยต่างๆ เพิ่มเติม โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวกับสิ่งที่ทางทีม สุขภาพได้แจ้งให้ทราบ หากไม่มีข้อซักถามทางทีมสุขภาพควรสรุปหัวข้อสําคัญที่ได้พูดไปแล้วอีกครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าทาง ครอบครัวและญาติมีความเข้าใจที่ถูกต้อง คําถามเจาะลึกของทีมสุขภาพเพื่อประเมินความเข้าใจในสิ่งที่ได้พูดไปแล้วอาจช่วยให้ทีมสุขภาพสามารถทราบ ได้ว่าครอบครัวและญาติมีความเข้าใจการเจ็บป่วยมากน้อยเพียงใด ทีมสุขภาพควรแสดงถึงความเห็นอกเห็นใจในระหว่างการพูดคุยอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยบําบัดด้านจิตใจแก่ครอบครัวและ ญาติ หากทีมสุขภาพคิดว่าการเจ็บป่วยของผู้ป่วยมีความรุนแรงสูงมากและอาจไม่ตอบสนองต่อการรักษา ส่งผลให้มี โอกาสเกิดภาวะ sudden cardiopulmonary arrest ขึ้นได้ ควรแจ้งให้ทางครอบครัวและญาติได้ทราบถึงความเป็นไปได้ ดังกล่าว