SlideShare a Scribd company logo
1 of 13
Download to read offline
การตรวจเอกสาร
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับแนวปะการัง
ปะการัง (coral) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอยู่ในกลุ่มเดียวกับแมงกะพรุน ดอกไม้ทะเล
กัลปังหา โดยจัดอยู่ใน Phylum Cnidaria ปะการังสามารถจัดจําแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. ปะการังที่สร้างหินปูนได้ช้าหรือไม่มีการสร้างหินปูนเลย เรียกปะการังกลุ่มนี้ว่า
ahermatypic coral เป็นปะการังที่ไม่มีโครงสร้างแข็งและมีการเจริญเติบโตช้า จึงไม่สามารถสร้าง
เป็นแนวปะการังได้
2. ปะการังที่สามารถสร้างหินปูนเป็นโครงสร้างภายนอกได้โดยอาศัยแคลเซียมจากน้ํา
ทะเลและจากสาหร่ายซูซานเทลเล ซึ่งเป็นสาหร่ายในกลุ่มไดโนแฟลกเจลเลทที่อาศัยอยู่ในเนื้อเยื่อของ
ปะการังโดยมีความสัมพันธ์กันแบบพึ่งพาอาศัยกัน ปะการังกลุ่มนี้จะมีการเจริญเติบโตได้ดี สามารถ
เจริญสร้างเป็นแนวปะการังขนาดใหญ่ได้ เรียกปะการังกลุ่มนี้ว่า hermatypic coral ซึ่งแพร่กระจาย
ในเขตร้อนและเขตกึ่งร้อนในบริเวณที่มีความลึกของน้ําทะเลไม่ลึกนักเนื่องจากสาหร่ายซูซานเทลเล
ต้องการแสงในการสังเคราะห์แสง ปะการังในกลุ่มนี้มีรูปร่างหลายแบบ ได้แก่ ภาพร่างเป็นแท่ง
ทรงกระบอก (columnar) กิ่งก้าน (branching) แผ่แบนเป็นแผ่นคล้ายโต๊ะ (laminar หรือ plate-
like) ทรงกลมเป็นก้อน (massive) แผ่เป็นแผ่นซ้อนกันคล้ายดอกกะหล่ํา (fallacious) แผ่เป็นแผ่น
กว้างเคลือบอยู่บนหิน (encrusting) และอยู่โดดเดี่ยวเป็นอิสระ (solitary หรือ free-living) มีรูปร่าง
คล้ายเห็ด ในประเทศไทยมีรายงานการพบปะการังในกลุ่มนี้มากกว่า 250 ชนิด ดังนั้นลักษณะและ
รายละเอียดทางชีววิทยาส่วนใหญ่จึงหมายถึงปะการังในประเภทนี้ที่สามารถสร้างเป็นแนวปะการังได้
ชีววิทยาปะการัง
ปะการัง (Coral) คือ สัตว์ชนิดหนึ่งในไฟลัมไนดราเรีย (Cnidaria) อยู่ในกลุ่ม Zoantharia
ซึ่งเป็นพวกปะการังแข็งที่แท้จริง (Sclractinian coral) รวมถึงปะการังสีดํา (Black coral) ปะการัง
ประกอบด้วยโพลิป (Polyp) ที่สร้างขึ้นมาช่องกลางระหว่างตัวมีผนังกั้นเป็น 6 หรือทวีคูณของ 6 มี
หนวดรอบปากปะการังที่สร้างแนวปะการัง (Hermatypic coral) ทุกชนิดมีสาหร่าย (algae) อยู่ร่วม
ด้วย คือ Zooxanthelae ในแวคิวโอลของเซลล์ในแกสโตรเดิร์ม เป็นระยะพักตัวชนิดที่พบมากที่สุดที่
อยู่ร่วมกับปะการังคือ Symbiodinium microadriaticum ซึ่งพบในสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นด้วย
ปะการังเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จัดอยู่ใน
Phylum Cnidaria
Class Anthozoa
Subclass Zoantharia
Order Scleractinia
5
ปะการังโดยมากจะอยู่ร่วมกับสาหร่าย Zooxenthellae สามารถสร้างโครงสร้างหินปูนซึ่ง
เป็นลักษณะเด่นที่ใช้ในการจําแนกชนิดของปะการังและอยู่รวมกันเป็นโคโลนี แต่ในบางชนิดอาจอยู่
เดี่ยวๆ ปะการังสืบพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศขึ้นอยู่กับการปรับตัวต่อภาพแวดล้อม ตัว
ของปะการัง ซึ่งเรียกว่า โพลิป อาศัยอยู่ในโครงสร้างหินปูนและมักจะมีถ้วยเล็กๆ โพลิปของปะการัง
แต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน เป็นผลให้รูปร่างของโครงสร้างหินปูน ซึ่งปะการังสร้างขึ้นแตกต่างกันไป
ด้วย ปะการังประกอบด้วยส่วนสําคัญ 2 ส่วน ได้แก่ โพลิป (Polyp) และโครงสร้างหินปูน
1. โพลิป
โพลิปมักมีรูปร่างของลําตัวเป็นทรงกระบอก ตรงปลายสุดเป็นหนวด (Tentacle) เรียง
อยู่รอบปาก ส่วนประกอบที่สําคัญของโพลิปแบ่งได้เป็น 2 ส่วนคือ Oral disc และ Column
(ภาพที่ 1)
Oral disc เป็นส่วนบน ประกอบด้วยปากซึ่งเป็นช่องเปิดเข้าไปในช่องว่างภายในลําตัว
รอบปากเป็นแผ่นแบบ เรียกว่า peristome ซึ่งตอนบนประกอบด้วยหนวดเรียงกันเป็นวง แต่ละวงมี
6 เส้น หรือเป็นทวีคูณของ 6 ลักษณะของหนวดโดยปกติเป็นเส้นยาวตรงปลายพองเป็นตุ่ม และมี
nematocyst ใน cnidocyte cell
Column เป็นส่วนที่มีรูปร่างคล้ายทรงกระบอก ภายในประกอบด้วย stomodaeum
และ mesenteries
Stomodaeum มีลักษณะเป็นหลอดขนาดสั้น ทําหน้าที่คล้าย Esophagus คือ
เป็นทางติดต่อระหว่างปากและ gastrovascular cavity
Mesenteries เป็นแผ่นเนื้อเยื่อแบนๆ ที่ตั้งเรียงกันเป็นฉากในแนวรัศมีรอบๆ
gastrovascular cavity ด้านบนของ Mesenteries ติดอยู่กับส่วนล่างของ oral disc อีกด้านหนึ่งติด
กับผนังส่วนในของ Column ด้านล่างไม่ติดกับส่วนใดเลย ด้านในของ Mesenteries ที่อยู่ข้างใต้
Stomodaeum ลงมาประกอบด้วย Mesenteries filament ซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นแบนยาวคล้าย
ริบบิ้นที่ขดไปมา ทําหน้าที่ช่วยในการย่อยอาหารและขับถ่ายของเสีย
ส่วนประกอบอื่นของโพลิป ได้แก่ Edge zone, coenosarc และ basal disc
Edge zone เป็นส่วนของ colum ของโพลิปที่ยื่นขยายออกไปในแนวนอนนอกผนัง
ของโครงสร้างหินปูนและพบในปะการังชนิดที่อยู่ตัวคนเดียว
Coenosarc พบในปะการังที่อยู่เป็นกลุ่ม เกิดจาก edge zone ของโพลิปที่อยู่ใกล้
กันมาเชื่อม
Basal disc เป็นส่วนที่อยู่ข้างล่าง column ทําหน้าที่ในการยึดเกาะ substrat
6
ภาพที่ 1 ลักษณะของโฟลิป
ที่มา : http://home.psu.ac.th/~4823002/coral_bio.htm
2. โครงสร้างหินปูน (Skeleton)
โครงร่างแข็งที่เป็นหินปูนทั้งหมดของปะการังซึ่งเกิดจากการสร้างขึ้นของปะการัง โฟลิป
เดียวหรือทั้งโคโลนีเรียกว่า Corallum ส่วน Corallite เป็นโครงสร้างหินปูนภายนอก ซึ่งเป็นที่อยู่ของ
ปะการังหนึ่งตัวภายใน Corallum ของปะการังเดี่ยวจะมีรูปร่างตามลักษณะของโพลิปซึ่งมี
ความสัมพันธ์กับอัตราการเจริญเติบโตในแนวยืนและแนวนอนของแต่ละส่วน แต่รูปร่างของปะการังที่
อยู่รวมกันเป็นโคโลนียังขึ้นกับแบบของวิธีการเพิ่มจํานวนโดยไม่ใช้เพศอีกด้วย (ภาพที่ 2)
7
ภาพที่ 2 ลักษณะโครงสร้างหินปูนของปะการัง
ที่มา : http://home.psu.ac.th/~4823002/coral_bio.htm
ลักษณะทางชีววิทยาของปะการัง
1. การกินอาหาร ปะการังเป็นพวกสัตว์ประเภทกินสัตว์ขนาดเล็กกว่าเป็นอาหาร (micro-
carnivores) หนวดรอบๆ ปากของปะการังมีหน้าที่จับเหยื่อ หรืออาหารพวกแพลงก์ตอนสัตว์ในน้ํา ที่
ปลายหนวดจะมีเซลล์ซึ่งมีโครงสร้างที่มีสารพิษอยู่ (nematocyst) ซึ่งทําหน้าที่ฆ่าแล้วหนวดจะส่ง
อาหารที่จับได้ไปยังปากซึ่งจะมีขน (cilia) และกล้ามเนื้อส่งอาหารผ่านต่อไปยังหลอดอาหาร
(esophagus) และผนังลําไส้ก็จะส่งน้ําย่อยออกมาย่อยเหยื่อต่อไป แล้วจึงดูดซึมอาหารไปใช้
2. การขับถ่ายของเสีย ปะการังเมื่อกินอาหารแล้วจะขับของเสีย ได้แก่ พวกไนเตรท และ
ฟอสเฟตออกมา ซึ่งของเสียเหล่านี้ถูกสาหร่ายที่ฝังตัวอยู่ในชั้นแกสโตรเดอร์มิส (gastrodermis)
นําไปใช้ในการสังเคราะห์แสง จึงมักพบว่าสารพวกไนเตรทและฟอสเฟต เหนือแนวปะการังมีน้อยกว่า
ในบริเวณใกล้เคียงอย่างเห็นได้ชัดเจน
3. การสืบพันธุ์ การสืบพันธุ์ของปะการังเป็นได้ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ แบบไม่
อาศัยเพศโดยการแตกหน่อ (budding) ปะการังหลายชนิดมีสองเพศ (hermaphrodite) ในบางชนิด
จะมีเพศเดียวแต่เพศสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามอายุ ปกติทั่วไปการสืบพันธุ์ของปะการังจะเป็นการ
ผสมพันธุ์กันภายในตัว มีส่วนน้อยที่ปล่อยไข่ออกมาผสมภายนอกตัวเองระหว่างชนิดเดียวกัน การ
สืบพันธุ์นี้อาจขึ้นอยู่กับฤดูกาลหรือไม่ก็ได้ ภายหลังการผสมพันธุ์แล้ว ไข่ที่ถูกผสมแล้วจะเจริญอยู่ใน
ช่องแกสโตรวาสคิวลาร์ (gastrovascular cavity) ของตัวพ่อแม่ จนเป็นตัวอ่อนซึ่งจะถูกปล่อยออกมา
ทางปาก ตัวอ่อนนี้จะว่ายน้ําอยู่ระยะหนึ่งจนในที่สุดจะจมตัวลงสู่พื้นทะเล เพื่อหาที่เกาะแล้วจึงเจริญ
8
ต่อไปโดยจะมีการสืบพันธุ์แบบไม่มีเพศ เพื่อสร้างกลุ่มขึ้นมาใหม่รวมทั้งสร้างขนาดให้ใหญ่ขึ้น การ
สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ เป็นการสืบพันธุ์ที่เกิดโพลิปใหม่โดยไม่ได้อาศัยเซลล์สืบพันธุ์ พบ 2 แบบ
ได้แก่
1. Intratentacular budding เป็นการเกิดโพลิปใหม่ที่เกิดขึ้นจากการแยกออกของ
โพลิปเดิม
2. Extratentacular budding เป็นการแยกตัวใหม่ที่เกิดขึ้นภายนอกวงของหนวดของ
ตัวเดิม
4. การเจริญเติบโตของปะการัง ขึ้นอยู่กับตัวปะการังแต่ละกลุ่ม หมายถึงการสะสม
แคลเซียมคาร์บอเนตในตัวปะการังเอง จากการทดลองศึกษาเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของปะการัง
พบว่า พวกปะการังเขากวาง Acropora formosa ทางฝั่งตะวันตกของเกาะภูเก็ตยาวขึ้นประมาณปี
ละ 8 ซม. ส่วนพวกที่เป็นหัว ได้แก่ Porites lutea โตขึ้นประมาณปีละ 1-2 ซม. แต่เมื่อนํามาเทียบ
เป็นน้ําหนักของแคลเซียมคาร์บอเนตที่เพิ่มขึ้นแล้ว จะพบว่าพวกหัวมีน้ําหนักของแคลเซียม
คาร์บอเนตมากว่าพวกที่เป็นกิ่งก้าน การเจริญเติบโตของปะการัง มีรูปร่างต่างกันออกไปทั้งที่บางชนิด
เป็นชนิดเดียวกัน อาจเนื่องจากสาเหตุหลายประการ (กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม, 2553) เช่น
- บริเวณที่รับการกระแทกของน้ํา หรือบริเวณที่มีกระแสน้ําไหลแรง
- เนื่องจากความต้องการแสงสว่าง
- เนื่องจากความขุ่นของน้ําหรือมีปริมาณตะกอนในน้ํามาก
ประเภทของแนวปะการัง
การจัดจําแนกประเภทของแนวปะการังอาศัยสภาพสถานที่ของแนวปะการัง ภาพร่างของ
แนวปะการัง โดยสามารถจัดจําแนกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. แนวปะการังบริเวณชายฝั่ง (fringing reefs) เป็นแนวปะการังที่พบบริเวณชายฝั่งทะเล
มักอยู่ที่ระดับความลึกไม่มากนัก อาจจะเจริญอยู่รอบเกาะหรือติดกับแผ่นดิน ทําให้ได้รับผลกระทบ
จากความขุ่นของน้ําและตะกอนต่างๆซึ่งไหลลงสู่ทะเล เป็นรูปแบบที่สามารถพบได้โดยทั่วไปในบริเวณ
ที่มีพื้นทะเลแข็งเหมาะต่อการลงเกาะของตัวอ่อนปะการัง แนวปะการังจะมีลักษณะแคบ เจริญขนาน
กับชายฝั่งทะเล โดยแนวปะการังที่มีขนาดยาวที่สุดคือแนวปะการังซึ่งขนานกับชายฝั่งของทะเลแดงซึ่ง
มีความยาว 4,000 กิโลเมตร
2. แนวปะการังแบบกําแพง (barrier reefs) เป็นแนวปะการังที่ขนานกับชายฝั่ง
เช่นเดียวกับแนวปะการังบริเวณชายฝั่งแต่ห่างออกมาจากแผ่นดินหรือเกาะโดยมีทะเลสาบน้ําเค็มหรือ
มีร่องน้ําลึกกั้นระหว่างชายฝั่งกับแนวปะการัง แนวปะการังแบบกําแพงที่มีความงามและมีชื่อเสียง
ที่สุดคือ เกรทแบริเออร์รีฟ (Great Barrier Reef) อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ
ออสเตรเลีย โดยอยู่ห่างจากแผ่นดินใหญ่ประมาณ 100 กิโลเมตร ประกอบไปด้วยแนวปะการังย่อย
กว่า 2,500 แห่ง โดยรวมมีความยาวกว่า 2,000 กิโลเมตร ซึ่งสั้นกว่าแนวปะการังทะเลแดง อย่างไรก็
ตาม แนวปะการังเกรทแบริเออร์รีฟมีความกว้าง 15-350 กิโลเมตร คิดเป็นพื้นที่ทั้งสิ้น 225,000
ตารางกิโลเมตร จึงนับเป็นแนวปะการังที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
9
3. แนวปะการังแบบวงแหวนหรือเกือกม้า (atoll reefs) เป็นแนวปะการังซึ่งอยู่ห่างจาก
แผ่นดินอยู่กลางทะเลลึก มักพบบริเวณหมู่เกาะในเขตอินโดแปซิฟิกใต้ น้ําทะเลบริเวณนี้จะใส
เนื่องจากไม่ได้รับตะกอนจากแม่น้ําและแผ่นดิน แนวปะการังมีการก่อตัวเป็นรูปวงแหวนยกตัวขึ้นมา
จากพื้นทะเลที่มีความลึกมาก โดยมีทะเลสาบน้ําเค็มอยู่ตรงกลาง ความกว้างของแนวปะการังอาจเล็ก
กว่า 1.5 กิโลเมตร จนมีความกว้างถึง 30 กิโลเมตร แนวปะการังรูปวงแหวนที่มีขนาดใหญ่ที่สุด 2
แห่งคือ แนวปะการัง Suvadiva ในหมู่เกาะมัลดีฟ มหาสมุทรอินเดีย และแนวปะการัง Kwajalein ใน
หมู่เกาะมาร์แชลล์ มหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งมีพื้นที่มากกว่า 1,200 ตารางกิโลเมตร ในอดีตมีผู้สงสัยการ
กําเนิดของแนวปะการังแบบวงแหวน ต่อมา ในปี ค.ศ.1842 Charles Darwin ได้อธิบายการเกิดแนว
ปะการังแบบวงแหวนและได้รับการยอมรับโดยหลักทฤษฎีและหลักฐานกล่าวคือ แนวปะการังแบบวง
แหวนเกิดจากภูเขาไฟในทะเลลึกยกตัวขึ้นมาสู่ผิวน้ํา ต่อมาได้เกิดแนวปะการังชายฝั่งเจริญรอบเกาะ
ภูเขาไฟ ต่อมาเมื่อเกาะจมตัวลง แนวปะการังรอบเกาะยังคงสามารถเจริญเติบโตสูงขึ้นและมีการ
สะสมแคลเซียมคาร์บอเนตไว้ จนในที่สุดส่วนสูงสุดของเกาะจมลงสู่ทะเล แนวปะการังโดยรอบยังคง
เจริญเติบโตได้จนมีลักษณะคล้ายวงแหวนโดยมีทะเลสาบอยู่ตรงกลาง โดยทฤษฎีนี้รับการยอมรับและ
คัดค้านมาโดยตลอดจนกระทั่ง ในปี ค.ศ.1953 The United States Geological Survey ได้เก็บ
ตัวอย่างของพื้นแนวปะการังวงแหวน Enewetak ในหมู่เกาะมาร์แชลล์ โดยเจาะเป็นรูลึกลงไป 1,400
เมตร ผ่านชั้นแคลเซียมคาร์บอเนตจนพบส่วนที่เป็นพื้นของเกาะภูเขาไฟเดิมและพบว่าแนวปะการัง
แห่งนี้เริ่มเกิดตั้งแต่สมัยอีโอซีน (Eocene) หรือประมาณ 65 ล้านปีมาแล้ว และมีขั้นตอนการพัฒนา
ตามทฤษฎีของ Charles Darwin (กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, 2553)
ปะการังฟอกขาว
ปะการังฟอกขาว เป็นสภาวะที่ปะการังสูญเสียสาหร่ายเซลเดียวที่อาศัยอยู่ภายในเนื้อเยื่อ ทํา
ให้ปะการังอ่อนแอ เพราะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอแลปะการังอาจตายไปในที่สุดหากไม่สามารถทน
ต่อสภาวะนี้ได้ สาเหตุที่ทําให้ปะการังฟอกขาวเป็นพื้นที่กว้างครอบคลุมพื้นที่น่านน้ําในระดับประเทศ
หรือกินอาณาเขตกว้างในระดับภูมิภาคได้คือ อุณหภูมิน้ําทะเลที่สูงขึ้นอย่างผิดปกติ ซึ่งในน่านน้ําไทย
เคยได้รับผลกระทบเช่นนี้เมื่อปี พ.ศ. 2534 2538 2541 2546 2548 และ 2550 โดยปีใน 2534 และ
2538 แนวปะการังทางฝั่งทะเลอันดามันได้รับความเสียหายมาก พบว่าปะการังตายประมาณ 10-20
เปอร์เซ็นต์ ส่วนในปี 2541 ก่อให้เกิดความเสียหายมากทางฝั่งอ่าวไทย แต่ปีต่อๆ มาเกิดทางฝั่งอันดา
มันแต่ไม่พบความเสียหายมากนัก เพราะปะการังสามารถฟื้นตัวกลับคืนสู่สภาพปกติได้ เนื่องจากลม
มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งมาเร็วในตอนต้นฤดู ช่วยบรรเทาทําให้อุณหภูมิน้ําทะเลลดลงได้ (นิพนธ์,
2554)
ปี 2553 นับเป็นปีที่แนวปะการังเสียหายมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ อุณหภูมิน้ําทะเลจาก
ปกติ 29 องศาเซลเซียสได้เริ่มสูงขึ้นเป็น 30 องศาเซลเซียส ตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม 2553 (ภาพที่
3) ระยะเวลาสามสัปดาห์ต่อมาปะการังได้เริ่มฟอกขาวแผ่พื้นที่เป็นวงกว้างคลุมทะเลทั่วทั้งฝั่งอันดา
มันและอ่าวไทย จากการรวบรวมข้อมูล พบว่าในแต่ละพื้นที่มีปะการังฟอกขาวมากน้อยต่างกันไป
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าบริเวณนั้นมีปะการังชนิดใดครอบคลุมพื้นที่มาก (dominant group) หากพื้นที่ที่คลุม
10
ด้วยปะการังที้ไวต่อการฟอกขาว พื้นที่นั้นก็จะได้รับผลกระทบมาก เช่น แนวปะการังที่มีปะการังเขา
กวาง (Acropora spp.) ขึ้นเป็นดงกว้างใหญ่ พื้นที่นั้นก็จะได้รับผลกระทบมาก นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่
กับชายฝั่งที่แนวปะกรังขึ้นอยู่นั้นได้รับอิทธิพลจากคลื่นลมมากน้อยเพียงไรด้วย ด้านที่รับแรงจากคลื่น
ลมตลอดเวลาจะมีอุณหภูมิไม่สูง เช่น ด้านตะวันตกของเกาะต่างๆ ทางฝั่งทะเลอันดามัน ปะการังจึง
ฟอกขาวน้อยกว่าด้านอื่น เมื่อประมาณโดยภาพรวมทั่วประเทศแล้ว พบว่า ปะการังฟอกขาวมากถึง
30-95 เปอร์เซ็นต์ ปะการังทุกชนิดฟอกขาวเกือบทั้งหมด ยกเว้นเพียง 3-4 ชนิดเท่านั้นที่ยังคงต้านอยู่
ได้ เช่น ปะการังสีน้ําเงิน (Heliopora coerulea) ปะการังลายดอกไม้ (Pavona decussata) และ
ปะการังดาวใหญ่ (Diploastrea heliopora)
ภาพที่ 3 อุณหภูมิน้ําทะเลในแนวปะการังบริเวณเกาะภูเก็ตตั้งแต่ มกราคม 2552 – กันยายน 2553
กรอบสีแดงเป็นช่วงที่อุณหภูมิน้ําทะเลขึ้นสูงกว่า 30 องศาเซลเซียสต่อเนื่องกันเป็นเวลา
ประมาณ 3 เดือน ทั้งนี้ประมาณไว้ว่า ณ อุณหภูมิตั้งแต่ 30 องศาเซลเซียสขึ้นไป เป็นจุด
วิกฤตที่กระตุ้นให้เกิดการฟอกขาวของปะการัง ทั้งนี้ขึ้นกับองค์ประกอบอื่นด้วยที่เป็น
ตัวกระตุ้นร่วม โดยเฉพาะความเข้มของแสงแดด
ที่มา: นิพนธ์ (2554)
การฟอกขาวของปะการัง (Coral bleaching) โดยปกติแล้วปะการังที่มีโครงร่างหินปูนหรือ
ปะการังแข็งจะมีสาหร่ายเซลเดียวที่มีชื่อว่า Zooxanthellae อยู่ในเนื้อเยื่อ ซึ่งปะการังจะได้อาหาร
จากการสังเคราะห์แสงของสาหร่ายนี้ถึงกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ การที่ปะการังเป็นสีต่างๆ นอกจากรงค
วัตถุของปะการังเองแล้ว ก็ยังเป็นเพราะรงควัตถุของสาหร่ายซูแซนเทลลี่ด้วย ส่วนสาหร่ายได้ธาตุ
อาหารจากการขับของเสียและคาร์บอนไดออกไซด์จากการหายใจของปะการังมาใช้ในการสังเคราะห์
แสง ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างปะการังและสาหร่ายซูแซนเทลลี่นี้ เป็นความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัย
(symbiosis) แต่หากปะการังเกิดความเครียดขึ้น เช่น หากอุณหภูมิและแสงมากเกินไป สาหร่ายจะ
ผลิตอนุมูลอิสระของออกซิเจน (free radical oxygen) ซึ่งเป็นพิษต่อเนื้อเยื่อของปะการังขึ้น ปะการัง
จึงขับเอาสาหร่ายชนิดนี้ออกจากเซลล์ จึงเห็นปะการังกลายเป็นสีขาว (ภาพที่ 4) เนื่องจากสามารถ
มองผ่านตัวใสๆ ของปะการังผ่านลงไปถึงโครงร่างหินปูนที่รองรับตัวปะการังอยู่ด้านล่าง สาเหตุของ
11
ความเครียดของปะการังก็เกิดจากหลายประการ ส่วนใหญ่เกิดจากสิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสม เช่น ความ
เค็ม สารเคมี ตะกอน อุณหภูมิ ในระดับที่ไม่เหมาะสมกับการดํารงชีวิตของปะการัง
ภาพที่ 4 ปะการังฟอกขาวที่ยังไม่ตาย สามารถมองเห็นเนื้อเยื่อของตัวปะการังซึ่งมีลักษณะขาวใส ลง
ไปจนถึงชั้นหินปูนซึ่งเป็นที่อยู่ของตัวปะการัง
หากอยู่ในสภาพนี้นานๆ ปะการังก็จะตายในที่สุด แต่หากสภาพแวดล้อมกลับมาเป็นปกติใน
เวลาไม่นานนักสาหร่ายก็ยังจะกลับเข้ามาอยู่ร่วมกับปะการังเหมือนเดิม และปะการังก็กลับมามีชีวิต
อยู่ได้ ทั้งนี้ปะการังแต่ละชนิดมีความต้านทาน (resistance) หรือทนทาน (tolerance) ต่อการ
เปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมแตกต่างกันไป กลุ่มที่มีความต้านทาน คือ ปะการังที่ไม่เกิดการฟอก
ขาว ส่วนกลุ่มที่ทนทาน คือปะการังที่เกิดการฟอกขาวแล้วยังไม่ตาย จะสามารถมองเห็นเนื้อเยื่อของ
ตัวปะการังซึ่งมีลักษณะขาวใส ลงไปจนถึงชั้นหินปูนซึ่งเป็นที่อยู่ของตัวปะการัง แต่สามารถฟื้นตัวได้
หลังจากที่สิ่งแวดล้อมกลับสู่สภาพปกติ พบว่าปะการังในกลุ่มเขากวาง (Acropora spp.) มีความไว
ต่อการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะอุณหภูมิค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับปะการังชนิดอื่นๆ ดังนั้น
ปะการังชนิดนี้จึงเกิดการฟอกขาวได้เร็ว รุนแรง และมีโอกาสสูงที่จะตายเนื่องจากปรากฏการณ์นี้
(สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน, 2554)
ข้อสังเกตที่พบจากการสํารวจและประมวลสถานการณ์ความรุนแรงในเดือนพฤษภาคม
2553 ดังต่อไปนี้
1. บริเวณที่สิ่งแวดล้อมดี มีปะการังที่หลากหลายทั้งในแง่ของชนิดและจํานวนโคโลนี เช่น
บริเวณเกาะไม้ท่อนด้านตะวันออกจะมีปะการังที่ฟอกขาวบางส่วนมากกว่าบริเวณที่ตื้นและน้ําขุ่น
2. บริเวณที่มีสิ่งแวดล้อมดีในน้ําลึกจะมีการฟอกขาวของปะการังมีแนวโน้มเกิดขึ้นน้อยกว่า
เมื่อเทียบกับในบริเวณน้ําตื้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับที่ตั้งของแนวปะการังในแต่ละบริเวณด้วย
3. บริเวณน้ําขุ่นแม้จะมีจํานวนชนิดและโคโลนีน้อยกว่า แต่ก็พบว่ามีปะการังหลายโคโลนี
และหลายชนิดที่ไม่ฟอกขาวเลย ซึ่งน่าจะเกิดจากปัจจัยด้านพันธุกรรม ความทนทานต่อสิ่งแวดล้อม
รวมทั้งการปรับตัวของปะการังจากการฟอกขาวหลายๆ ครั้งที่เคยเกิดขึ้น
12
4. แนวปะการังที่ได้รับผลกระทบจากกิจกรรมของมนุษย์มีเปอร์เซ็นต์การฟอกขาวของ
ปะการังมากกว่าบริเวณที่มีสิ่งแวดล้อมดีหรือไม่ได้รับอิทธิพลจากมนุษย์ ทั้งนี้อาจเนื่องจากปะการัง
อ่อนแอจากสภาพสิ่งแวดล้อมอยู่แล้ว จึงทําให้ความทนทานต่อการฟอกขาวน้อยลง
5. แนวปะการังบริเวณฝั่งตะวันตกของพื้นที่ทางฝั่งทะเลอันดามันมีการเกิดฟอกขาวน้อย
กว่าด้านอื่นของเกาะ ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากสภาพแสง หรือการเคลื่อนที่ของมวลน้ําที่เข้ามาช่วย
บรรเทาผลของอุณหภูมิน้ําทะเล (สถานวิจัยความเป็นเลิศความหลากหลายทางชีวภาพแห่งคาบสมุทร
ไทย, 2555)
ผลกระทบจากปะการังฟอกขาว
แนวปะการังเป็นบริเวณที่มีความอุดมสมบูรณ์หลากหลายของสัตว์น้ํา และมีความสําคัญต่อ
สิ่งมีชีวิตทั้งในทะเลและต่อวิถีชีวิตชายฝั่ง รวมทั้งเป็นแหล่งที่มาของรายได้จากการท่องเที่ยวและธุรกิจ
จํานวนมาก และมีผลต่อเนื่องไปถึงรายได้ของประเทศ ปรากฏการณ์ฟอกขาวที่เกิดขึ้นจึงทําให้เกิดผล
กระทบในแง่ต่างๆ ดังนี้
1. การลดลงของความหลากหลายของชนิดและจํานวนปะการัง ตลอดจนสัตว์น้ําในแนว
ปะการัง ทั้งชนิดที่มีความสําคัญทางเศรษฐกิจ ความสําคัญในระบบห่วงโซ่อาหารและความสมบูรณ์
ของแนวปะการัง
2. ระบบนิเวศแนวปะการังมีหน้าที่เชิงนิเวศ และโครงสร้างที่เปราะบางมากขึ้น มีความเสี่ยง
ต่อการถูกทําลายมากขึ้น ทั้งจากกิจกรรมการใช้ประโยชน์โดยตรงของมนุษย์ การพัฒนาชายฝั่ง และ
ความอ่อนแอต่อปัจจัยทางธรรมชาติ เช่น เชื้อโรค หรือศัตรูตามธรรมชาติ
3. ทรัพยากรสัตว์น้ําที่มีวงชีวิตพึ่งพาแนวปะการังในการเป็นแหล่งอนุบาลวัยอ่อน และเป็น
แหล่งอาหารมีความสมบูรณ์ลดลง
4. ความเสื่อมโทรมของแนวปะการังที่เกิดขึ้น ทําให้เกิดผลกระทบต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่
และรายได้ของชุมชนชายฝั่ง เช่น ชาวประมง และผู้ประกอบการท่องเที่ยว ซึ่งส่งผลต่อเนื่องไปยัง
สภาพเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
5. พื้นที่การใช้ประโยชน์ของแนวปะการังลดลงอาจส่งผลให้เกิดความขัดแย้งด้านการใช้
ประโยชน์ในพื้นที่ระหว่างการท่องเที่ยว การประมงและความจําเป็นในการอนุรักษ์และฟื้นฟูแนว
ปะการัง หากขาดการจัดการที่ดีจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
6. มีผลกระทบต่อชื่อเสียงของประเทศไทยในฐานะของการเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลที่
สวยงามติดอันดับโลก โดยเฉพาะหากขาดการจัดการพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบอย่างเหมาะสม
ข้อมูลทั่วไปของพื้นที่ศึกษา
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ตั้งอยู่ในทะเลอันดามันเขตอําเภอคุระบุรี จังหวัด
พังงา ระหว่างเส้นลองติจูด 090 21’ 50” ถึง 090 30’ 30” เหนือ และละติจูดที่ 970 48’ 00”
13
ถึง 970 54’ 25” ตะวันออก มีเนื้อที่ 135 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นน้ําประมาณ 102 ตาราง
กิโลเมตร และพื้นดินประมาณร้อยละ 24 ของพื้นที่ทั้งหมด โดยมีอาณาเขตด้านทิศเหนืออยู่ติด
ชายแดนประเทศสหภาพพม่า และทิศใต้ในระยะประมาณ 8 กิโลเมตร ติดเขตอุทยานแห่งชาติหมู่
เกาะสิมิลัน และครอบคลุมพื้นที่เกาะต่างๆ 5 เกาะ โดยมีเกาะขนาดใหญ่สองเกาะวางตัวในแนวทิศ
เหนือ-ใต้ คั่นด้วยช่องแคบขนาดประมาณ 200 เมตร ซึ่งสามารถเดินถึงกันได้เมื่อน้ําลงต่ําสุด ได้แก่
เกาะสุรินทร์เหนือ มีขนาดพื้นที่ 18.7 ตารางกิโลเมตร และเกาะสุรินทร์ใต้ มีขนาดพื้นที่ 11.6 ตาราง
กิโลเมตร และเกาะเล็กๆ โดยรอบ อีก 3 เกาะด้วยกัน คือ เกาะสต็อร์ค เกาะตอรินลา และเกาะปาจุม
บา
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ มีลักษณะภูมิประเทศที่กําบังคลื่นลมทั้งสองฤดูกาล
เนื่องจากเกาะวางตัวอยู่เป็นกลุ่มและมีอ่าวขนาดใหญ่ ทําให้เกิดแนวปะการังริมฝั่งอยู่รอบเกาะสุรินทร์
เหนือ เกาะสุรินทร์ใต้ และเกาะบริวาร นอกเหนือจากการรับอิทธิพลจากคลื่นลม สภาพแวดล้อมทาง
สมุทรศาสตร์เหมาะต่อการพัฒนาของแนวปะการัง คือ น้ําใส อุณหภูมิพอเหมาะ และมีการผสมผสาน
ของน้ําที่ได้รับสารอาหารจากมวลน้ําเบื้องล่างที่ปะทะเกาะ ความอุดมสมบูรณ์ของแพลงก์ตอน ซึ่งเป็น
อาหารสําหรับปลาและสัตว์อื่นๆ ปัจจัยทางสมุทรศาสตร์ที่สําคัญอีกประการหนึ่งคือ ลักษณะของน้ํา
ขึ้นน้ําลงในทะเลอันดามัน ซึ่งเป็นแบบ Semidiurnal คือ น้ําขึ้นและน้ําลง 2 ครั้ง ใน 24 ชั่วโมง และ
ความแตกต่างระหว่างน้ําขึ้นสูงสุดและต่ําสุดอาจถึง 3 เมตร ทําให้มีกระแสน้ําเลียบฝั่งค่อนข้างแรง
เกาะสุรินทร์เหนือ และเกาะสุรินทร์ใต้ ตั้งอยู่ชิดกันคล้ายเกาะแฝด โดยมีพื้นน้ําตื้นๆ กั้นอยู่ เรียกว่า
อ่าวช่องขาด พืชพรรณที่พบเป็นพืชป่าดิบชื้น เป็นแหล่งกําเนิดของแนวปะการังน้ําตื้นขนาดใหญ่และ
สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย
แนวปะการังที่พบทั่วไปที่หมู่เกาะสุรินทร์ เป็นแนวปะการังริมฝั่งหรือเรียกว่า
fringing reef ปะการังที่พบได้มาก ได้แก่ ปะการังดอกกะหล่ํา (Pocillopora verrucosa) ปะการัง
นิ้วมือผิวเรียบ (Porites cylindrical) ปะการังเขากวาง (Acropora nobilis) ปะการังโขด (Porites
lutea) ปะการังดอกเห็ด (Fungia sp.) ปะการังกาแล็กซี่ (Galaxea spp.) ปะการังแผ่นเปลวไฟ หรือ
ปะการังดอกจอก (Pectinia spp.) ปะการังสมอง (Oulophyllia crispa) ปะการังจาน (Turbinaria
frondens) ปะการังไฟ (Mileoora sp.) เป็นต้น
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
ทิศตะวันออก ลักษณะการก่อตัวของแนวปะการังทางฝั่งทิศตะวันออกของหมู่เกาะสิ
มิลันเหมือนกับแนวปะการังในหมู่เกาะอื่นๆ ของฝั่งทะเลอันดามัน ทั้งนี้เนื่องจากได้รับอิทธิพลของ
คลื่นลมที่รุนแรงในช่วงมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทําให้ชายฝั่งด้านตะวันตกของเกาะมีลักษณะเป็นโขด
หินริมฝั่ง ดังนั้นแนวปะการังจึงมักก่อตัวและพัฒนาได้ดีทางทิศตะวันออกของเกาะมากกว่า มีการ
สะสมของทรายที่เกิดจากซากปะการัง ส่งผลให้แนวปะการังเจริญเติบโตอยู่บนพื้นทราย ส่วนพื้นราบ
ของแนวปะการัง (reef flat) จมอยู่ใต้น้ําตลอดเวลา ปกติจะได้รับผลกระทบจากการขึ้นลงของน้ํา
ทะเลน้อย ส่งผลให้เกิดแนวปะการังพัฒนาขึ้นมาบนพื้นทราย บนพื้นราบแนวปะการังโดยส่วนมากพบ
ปะการังชนิด Porites cylindrica และ Porites lutea ในบางพื้นที่บริเวณพื้นราบแนวปะการังมี
ปะการังอ่อนชนิดที่มีสาหร่ายเซลล์เดียว (zooxanthellae species) กระจายตัวอย่างหนาแน่นและ
14
ครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง เช่น บริเวณทิศใต้เกาะปายูพบปะการังอ่อนชนิด Sarcophyton
spp. ในบริเวณไหล่แนวปะการัง (reef edge) ต่อเนื่องลงไปถึงส่วนลาดชันแนวปะการัง (reef slope)
จัดเป็นพื้นที่ที่มีปะการังครอบคลุมพื้นที่มาก มีปะการังแข็งเป็นสิ่งมีชีวิตเด่นในพื้นที่ ส่วนพื้นทราย
นอกแนวปะการังที่มีความลึกประมาณ 40 เมตร เป็นต้นไป ส่วนมากมีปะการังแข็งก่อตัวเป็นหย่อม ๆ
กระจายอยู่ทั่วไป บริเวณนี้มีกัลปังหาและปะการังอ่อนเป็นชนิดเด่นในพื้นที่ (ภาพที่ 5)
ความกว้างของแนวปะการังทางฝั่งตะวันออกของหมู่เกาะสิมิลันโดยส่วนมากอยู่
ในช่วง 100-300 เมตร ยกเว้นฝั่งตะวันออกของเกาะสิมิลัน (เกาะแปด) ที่แนวปะการังมีความกว้าง
ค่อนข้างมากอยู่ในช่วง 400-600 เมตร ในช่วงตอนกลางของเกาะมีลักษณะเป็นหลุมใหญ่ที่เรียกว่า
“ลากูน” (lagoon) บริเวณนี้มีความลึกของน้ําเปลี่ยนไปค่อนข้างมากในบางแห่งอาจมีความลึกถึง 30
เมตร แนวปะการังมีการก่อตัวและพัฒนาได้ดีจนถึงระดับความลึก 30-40 เมตร (ภาพที่ 5) ทั้งนี้
เนื่องจากคุณสมบัติของน้ําทะเลที่มีความโปร่งใสมากถึง 25-30 เมตร ทําให้แสงสามารถส่องลงใต้น้ํา
ได้ดีซึ่งแสงจัดเป็นปัจจัยสําคัญในการกําหนดช่วงการแพร่กระจายของปะการังในแนวปะการัง
แนวปะการังทางฝั่งตะวันออกของหมู่เกาะสิมิลันมีปะการังมีชีวิตเจริญเติบโตอยู่บน
พื้นทราย ครอบคลุมพื้นที่อยู่ในช่วง 20-40 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่มีปะการังตายอยู่ในช่วง 30-50
เปอร์เซ็นต์ โดยบริเวณที่มีเปอร์เซ็นต์ครอบคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิตในปริมาณที่มากได้แก่ บริเวณ
ทิศตะวันออกของเกาะสิมิลัน (เกาะแปด) ทิศตะวันออกของเกาะปายู (เกาะเจ็ด) และทิศตะวันออก
ของเกาะบางู (เกาะเก้า) พบปะการังมีชีวิตครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ในอ่าว
เกือกของเกาะสิมิลัน (เกาะแปด) จัดเป็นพื้นที่ที่มีปะการังมีชีวิตครอบคลุมพื้นที่น้อยที่สุดและมีเศษ
ปะการังครอบคลุมพื้นที่มากที่สุด ชนิดของปะการังที่มีเปอร์เซ็นต์ครอบคลุมพื้นที่มากและเป็นชนิดที่
เป็นโครงสร้างหลักของแนวปะการัง ได้แก่ ปะการังชนิด Porites lutea, Synaraea rus และ
P. cylindrica (กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, 2553)
ภาพที่ 5 การกระจายตัวของชนิดปะการัง
ที่มา : สถานวิจัยความเป็นเลิศความหลากหลายทางชีวภาพแห่งคาบสมุทรไทย (2555)
15
ประโยชน์ของแนวปะการัง
1. เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหลบภัยและแหล่งหากินของสิ่งมีชีวิตนานาชนิด เป็นระบบนิเวศที่มี
ความหลากหลายทางชีวภาพสูงแห่งหนึ่ง มีสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์อาศัยอยู่ร่วมกันจํานวนมาก โดยจะ
พบว่ามีสัตว์และพืชที่เราสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่ามากกว่า 2,000 ชนิด ปะการังที่พบในเขตอิน
โดแปซิฟิคมีประมาณ 400 ชนิด ในขณะที่พบในน่านน้ําไทยฝั่งทะเลอันดามันประมาณ 240 ชนิด
สัตว์ที่มีความหลากหลายในแนวปะการังอีกกลุ่ม คือ ปลา มีการรายงานพบปลาประมาณ 4,000 ชนิด
ในแนวปะการัง โดยมีการพบปลาถึง 2,500 ชนิด ในบริเวณแนวปะการังเกรทแบริเออร์รีฟ ประเทศ
ออสเตรเลีย และคาดว่าสามารถพบปลาในแนวปะการังทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทยได้ไม่ต่ํา
กว่า 800 ชนิด (สถาบันวิจัยชีววิทยาและประมงทะเลภูเก็ต, 2538)
2. เป็นแหล่งที่มีความสําคัญต่อการเกิดสมดุลทางเคมีของมหาสมุทรและของโลก แนว
ปะการังมีส่วนทําให้น้ําทะเลมีความสมดุลทางเคมีและอยู่ในสภาพที่ดี ปะการังและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ใน
แนวปะการัง เช่น สาหร่ายที่มีหินปูนเป็นองค์ประกอบ ฟองน้ํา ฟอรามินิเฟอแรน เป็นต้น สามารถ
ผลิตหินปูนหรือแคลเซียมคาร์บอเนตจากน้ําทะเล คาดว่าครึ่งหนึ่งของปริมาณแคลเซียมทั่วโลกที่ไหล
ลงสู่ทะเลจะถูกแนวปะการังดูดซับเอาไว้ โดยพร้อมกันนั้นคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ก็จะถูกดึงมาใช้
เพื่อผลิตเป็นแคลเซียมคาร์บอเนต ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกตรึงภายในแนวปะการังทั่วโลกคิด
เป็น 70 ล้านตันคาร์บอนต่อปี
3. เป็นแหล่งอาหารของมนุษย์ เนื่องจากแนวปะการังเป็นระบบนิเวศที่มีกําลังผลิตทาง
ชีวภาพสูงที่สุด ปริมาณสิ่งมีชีวิตที่มีการทําการประมงในแนวปะการังคิดเป็น 9 ล้านตันต่อปี เมื่อ
เปรียบเทียบกับปริมาณการทําการประมงในมหาสมุทรทั่วโลกประมาณ 75-100 ล้านตัน นอกจากนี้
ความหนาแน่นของปลาในแนวปะการัง คิดเป็น 30-40 เท่าของความหนาแน่นของปลาในทะเลเปิด
ทั่วไป นอกจากนี้แนวปะการังยังเป็นแหล่งผลิตสัตว์ทะเลที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจนานาชนิด เช่น หอย
หมึก กุ้ง เป็นต้น จึงนับว่าแนวปะการังเป็นแหล่งผลิตอาหารที่สําคัญสําหรับมนุษย์
4. เป็นแนวป้องกันการกัดเซาะและพังทลายของชายฝั่งทะเล แนวปะการังจะช่วยลดแรง
ปะทะและลดความรุนแรงของคลื่นก่อนที่จะวิ่งเข้าสู่ชายฝั่ง ในเกาะกวม แนวปะการังสามารถป้องกัน
ความเสียหายที่เกิดจากพายุได้ ในขณะที่บางเกาะซึ่งมีแนวปะการังแคบๆ หรือไม่มีแนวปะการังกลับ
ได้รับความเสียหายจากพายุอย่างรุนแรง
5. เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สําคัญ โดยนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มีความต้องการที่จะชมความงาม
ของแนวปะการัง ปัจจุบันการดําน้ําลึกและการดําน้ําผิวน้ําเป็นกิจกรรมหนึ่งที่เป็นที่นิยมของ
นักท่องเที่ยวและสามารถทํารายได้มหาศาลให้แก่บางประเทศ เช่น หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิคได้
รายได้จากการท่องเที่ยวในแนวปะการังมากกว่า 21 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี ในขณะที่สหรัฐอเมริกามี
รายได้จากการท่องเที่ยวดําน้ําบริเวณรัฐฟลอริดาจํานวนมากกว่า 1.6 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี
6. เป็นแหล่งผลิตสารที่มีความสําคัญในทางการแพทย์ แนวปะการังเป็นแหล่งที่มีความ
หลากหลายทางชีวภาพสูงแห่งหนึ่ง ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ในการที่จะสกัดสารทางชีวภาพจาก
สิ่งมีชีวิตต่างๆสําหรับนํามาใช้ในทางการแพทย์ เช่น สารสกัดจากฟองน้ําและปะการังอ่อนหลายชนิดมี
ฤทธิ์ต้านจุลชีพ ยับยั้งโรคลิวคีเมีย สารสกัด Prostaglandin จากกัลปังหาบางชนิด นํามาใช้ในทาง
16
การแพทย์เนื่องจากสารชนิดนี้มีความสําคัญต่อกระบวนการตั้งครรภ์และการคลอด การรักษาอาการ
หมุนเวียนเลือดในหัวใจผิดปกติ อาการหอบ สารสกัดจากสาหร่ายสีแดงบางชนิดมีฤทธิ์ต้านการสร้าง
เนื้องอก สาร Didemnin B ซึ่งสกัดจากเพรียงหัวหอมบางชนิดออกฤทธิ์ต้านโรคลิวคีเมีย การเกิดเนื้อ
งอก การเจริญเติบโตของไวรัส Bryostatin ซึ่งสกัดจากไบรโอซัวเป็นส่วนผสมในยาที่ใช้ในการรักษา
โรคมะเร็ง สาร Squalamine ในเลือดปลาฉลาม มีฤทธิ์ต้านจุลชีพ นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์ยัง
พบว่า เมือกที่แบคทีเรียบางชนิดซึ่งเกาะติดอยู่บนหินในแนวปะการังสร้างขึ้นมา อาจนํามาใช้ในการ
รักษาและเชื่อมเนื้อเยื่อของมนุษย์ แคลเซียมคาร์บอเนตซึ่งผลิตจากปะการังยังนํามาใช้ในการปลูกถ่าย
ไขสันหลัง นอกจากนี้สารพิษที่พบในปลาปักเป้ายังนํามาใช้ในการบรรเทาอาการเจ็บปวดของผู้ป่วย
มะเร็งระยะสุดท้าย เป็นต้น (กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, 2553)

More Related Content

What's hot

อาณาจักรมอเนอรา
อาณาจักรมอเนอราอาณาจักรมอเนอรา
อาณาจักรมอเนอราพัน พัน
 
อาณาจักรโพรติสตา
อาณาจักรโพรติสตาอาณาจักรโพรติสตา
อาณาจักรโพรติสตาPinutchaya Nakchumroon
 
อาณาจักรสิ่งมีชีวิต1
อาณาจักรสิ่งมีชีวิต1อาณาจักรสิ่งมีชีวิต1
อาณาจักรสิ่งมีชีวิต1tarcharee1980
 
อาณาจักรโพรติสตา Protista-kingdom
อาณาจักรโพรติสตา Protista-kingdomอาณาจักรโพรติสตา Protista-kingdom
อาณาจักรโพรติสตา Protista-kingdomPl'nice Destiny
 
ฟองน้ำทะเล (IS-2)
ฟองน้ำทะเล (IS-2)ฟองน้ำทะเล (IS-2)
ฟองน้ำทะเล (IS-2)AmmyMoreen
 
อาณาจักรโพรทิสตา
อาณาจักรโพรทิสตาอาณาจักรโพรทิสตา
อาณาจักรโพรทิสตาพัน พัน
 
งานเนย์น้ะ
งานเนย์น้ะงานเนย์น้ะ
งานเนย์น้ะNoramon Sangmanee
 

What's hot (10)

อาณาจักรมอเนอรา
อาณาจักรมอเนอราอาณาจักรมอเนอรา
อาณาจักรมอเนอรา
 
Animalia kingdom
Animalia kingdomAnimalia kingdom
Animalia kingdom
 
Kingdom Animalia
Kingdom AnimaliaKingdom Animalia
Kingdom Animalia
 
อาณาจักรโพรติสตา
อาณาจักรโพรติสตาอาณาจักรโพรติสตา
อาณาจักรโพรติสตา
 
Animal55
Animal55Animal55
Animal55
 
อาณาจักรสิ่งมีชีวิต1
อาณาจักรสิ่งมีชีวิต1อาณาจักรสิ่งมีชีวิต1
อาณาจักรสิ่งมีชีวิต1
 
อาณาจักรโพรติสตา Protista-kingdom
อาณาจักรโพรติสตา Protista-kingdomอาณาจักรโพรติสตา Protista-kingdom
อาณาจักรโพรติสตา Protista-kingdom
 
ฟองน้ำทะเล (IS-2)
ฟองน้ำทะเล (IS-2)ฟองน้ำทะเล (IS-2)
ฟองน้ำทะเล (IS-2)
 
อาณาจักรโพรทิสตา
อาณาจักรโพรทิสตาอาณาจักรโพรทิสตา
อาณาจักรโพรทิสตา
 
งานเนย์น้ะ
งานเนย์น้ะงานเนย์น้ะ
งานเนย์น้ะ
 

Similar to 4.ตรวจเอกสาร

ปลูกปะการัง
ปลูกปะการังปลูกปะการัง
ปลูกปะการังsuphakrit
 
หน่วยที่2สิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตบริเวณชายหาด
หน่วยที่2สิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตบริเวณชายหาดหน่วยที่2สิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตบริเวณชายหาด
หน่วยที่2สิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตบริเวณชายหาดWan Ngamwongwan
 
เนื้อเยื่อ
เนื้อเยื่อเนื้อเยื่อ
เนื้อเยื่อOui Nuchanart
 
ไฟลัมพอริเฟอรา
ไฟลัมพอริเฟอราไฟลัมพอริเฟอรา
ไฟลัมพอริเฟอราPannee Ponlawat
 
ปลาฉลามขาว
ปลาฉลามขาวปลาฉลามขาว
ปลาฉลามขาวpeetchinnathan
 
อาณาจักรมอเนอรา โปรติสตา ฟังไจ
อาณาจักรมอเนอรา โปรติสตา ฟังไจอาณาจักรมอเนอรา โปรติสตา ฟังไจ
อาณาจักรมอเนอรา โปรติสตา ฟังไจkrunidhswk
 
9789740331315
97897403313159789740331315
9789740331315CUPress
 
ระบบนิเวศ
ระบบนิเวศระบบนิเวศ
ระบบนิเวศJira Boonjira
 
อนุกรมวิธาน+อาณาจักรสัตว์
อนุกรมวิธาน+อาณาจักรสัตว์อนุกรมวิธาน+อาณาจักรสัตว์
อนุกรมวิธาน+อาณาจักรสัตว์feeonameray
 
1วิวัฒนาการ
1วิวัฒนาการ1วิวัฒนาการ
1วิวัฒนาการWan Ngamwongwan
 
หน่วยที่2
หน่วยที่2หน่วยที่2
หน่วยที่2Wan Ngamwongwan
 
Sea turtles preservation
Sea turtles preservationSea turtles preservation
Sea turtles preservationaunun
 
คู่มือการจำแนกชนิดสัตว์ทะเล เลี้ยงลูกด้วยนมและเต่าทะเลในประเทศไทย
คู่มือการจำแนกชนิดสัตว์ทะเล เลี้ยงลูกด้วยนมและเต่าทะเลในประเทศไทยคู่มือการจำแนกชนิดสัตว์ทะเล เลี้ยงลูกด้วยนมและเต่าทะเลในประเทศไทย
คู่มือการจำแนกชนิดสัตว์ทะเล เลี้ยงลูกด้วยนมและเต่าทะเลในประเทศไทยUtai Sukviwatsirikul
 
ระบบขับถ่าย
ระบบขับถ่ายระบบขับถ่าย
ระบบขับถ่ายWan Ngamwongwan
 

Similar to 4.ตรวจเอกสาร (20)

ปลูกปะการัง
ปลูกปะการังปลูกปะการัง
ปลูกปะการัง
 
หน่วยที่2สิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตบริเวณชายหาด
หน่วยที่2สิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตบริเวณชายหาดหน่วยที่2สิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตบริเวณชายหาด
หน่วยที่2สิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตบริเวณชายหาด
 
เนื้อเยื่อ
เนื้อเยื่อเนื้อเยื่อ
เนื้อเยื่อ
 
ไฟลัมพอริเฟอรา
ไฟลัมพอริเฟอราไฟลัมพอริเฟอรา
ไฟลัมพอริเฟอรา
 
Animal55
Animal55Animal55
Animal55
 
ปลาฉลามขาว
ปลาฉลามขาวปลาฉลามขาว
ปลาฉลามขาว
 
ความหลากหลายทางชีวภาพ
 ความหลากหลายทางชีวภาพ ความหลากหลายทางชีวภาพ
ความหลากหลายทางชีวภาพ
 
ความหลากหลายของชีวิต
ความหลากหลายของชีวิตความหลากหลายของชีวิต
ความหลากหลายของชีวิต
 
อาณาจักรมอเนอรา โปรติสตา ฟังไจ
อาณาจักรมอเนอรา โปรติสตา ฟังไจอาณาจักรมอเนอรา โปรติสตา ฟังไจ
อาณาจักรมอเนอรา โปรติสตา ฟังไจ
 
9789740331315
97897403313159789740331315
9789740331315
 
ระบบนิเวศ
ระบบนิเวศระบบนิเวศ
ระบบนิเวศ
 
04 017 p51
04 017 p5104 017 p51
04 017 p51
 
อนุกรมวิธาน+อาณาจักรสัตว์
อนุกรมวิธาน+อาณาจักรสัตว์อนุกรมวิธาน+อาณาจักรสัตว์
อนุกรมวิธาน+อาณาจักรสัตว์
 
1วิวัฒนาการ
1วิวัฒนาการ1วิวัฒนาการ
1วิวัฒนาการ
 
Kingdom protista
Kingdom protistaKingdom protista
Kingdom protista
 
หน่วยที่2
หน่วยที่2หน่วยที่2
หน่วยที่2
 
Sea turtles preservation
Sea turtles preservationSea turtles preservation
Sea turtles preservation
 
Animalia
AnimaliaAnimalia
Animalia
 
คู่มือการจำแนกชนิดสัตว์ทะเล เลี้ยงลูกด้วยนมและเต่าทะเลในประเทศไทย
คู่มือการจำแนกชนิดสัตว์ทะเล เลี้ยงลูกด้วยนมและเต่าทะเลในประเทศไทยคู่มือการจำแนกชนิดสัตว์ทะเล เลี้ยงลูกด้วยนมและเต่าทะเลในประเทศไทย
คู่มือการจำแนกชนิดสัตว์ทะเล เลี้ยงลูกด้วยนมและเต่าทะเลในประเทศไทย
 
ระบบขับถ่าย
ระบบขับถ่ายระบบขับถ่าย
ระบบขับถ่าย
 

More from PinNii Natthaya

8.เอกสารอ้างอิง
8.เอกสารอ้างอิง8.เอกสารอ้างอิง
8.เอกสารอ้างอิงPinNii Natthaya
 
7.สรุปและข้อเสนอแนะ
7.สรุปและข้อเสนอแนะ7.สรุปและข้อเสนอแนะ
7.สรุปและข้อเสนอแนะPinNii Natthaya
 
6.ผลการศึกษา
6.ผลการศึกษา6.ผลการศึกษา
6.ผลการศึกษาPinNii Natthaya
 
6.2ผลการศึกษา
6.2ผลการศึกษา6.2ผลการศึกษา
6.2ผลการศึกษาPinNii Natthaya
 
5.อุปกรณ์และวิธีการ
5.อุปกรณ์และวิธีการ5.อุปกรณ์และวิธีการ
5.อุปกรณ์และวิธีการPinNii Natthaya
 
1.บทคัดย่อ
1.บทคัดย่อ1.บทคัดย่อ
1.บทคัดย่อPinNii Natthaya
 
การเขียนรายงานผลการวิจัย
การเขียนรายงานผลการวิจัยการเขียนรายงานผลการวิจัย
การเขียนรายงานผลการวิจัยPinNii Natthaya
 
การเขียนชื่อวิทยาศาสตร์
การเขียนชื่อวิทยาศาสตร์การเขียนชื่อวิทยาศาสตร์
การเขียนชื่อวิทยาศาสตร์PinNii Natthaya
 

More from PinNii Natthaya (15)

carrying capacity
carrying capacitycarrying capacity
carrying capacity
 
Caral tachai mar2015
Caral tachai mar2015Caral tachai mar2015
Caral tachai mar2015
 
ปกหลัง
ปกหลังปกหลัง
ปกหลัง
 
9.ภาคผนวก
9.ภาคผนวก9.ภาคผนวก
9.ภาคผนวก
 
ปกหน้า
ปกหน้าปกหน้า
ปกหน้า
 
8.เอกสารอ้างอิง
8.เอกสารอ้างอิง8.เอกสารอ้างอิง
8.เอกสารอ้างอิง
 
7.สรุปและข้อเสนอแนะ
7.สรุปและข้อเสนอแนะ7.สรุปและข้อเสนอแนะ
7.สรุปและข้อเสนอแนะ
 
6.ผลการศึกษา
6.ผลการศึกษา6.ผลการศึกษา
6.ผลการศึกษา
 
6.2ผลการศึกษา
6.2ผลการศึกษา6.2ผลการศึกษา
6.2ผลการศึกษา
 
5.อุปกรณ์และวิธีการ
5.อุปกรณ์และวิธีการ5.อุปกรณ์และวิธีการ
5.อุปกรณ์และวิธีการ
 
3.คำนำ
3.คำนำ3.คำนำ
3.คำนำ
 
2.สารบัญ
2.สารบัญ2.สารบัญ
2.สารบัญ
 
1.บทคัดย่อ
1.บทคัดย่อ1.บทคัดย่อ
1.บทคัดย่อ
 
การเขียนรายงานผลการวิจัย
การเขียนรายงานผลการวิจัยการเขียนรายงานผลการวิจัย
การเขียนรายงานผลการวิจัย
 
การเขียนชื่อวิทยาศาสตร์
การเขียนชื่อวิทยาศาสตร์การเขียนชื่อวิทยาศาสตร์
การเขียนชื่อวิทยาศาสตร์
 

4.ตรวจเอกสาร

  • 1. การตรวจเอกสาร ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับแนวปะการัง ปะการัง (coral) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอยู่ในกลุ่มเดียวกับแมงกะพรุน ดอกไม้ทะเล กัลปังหา โดยจัดอยู่ใน Phylum Cnidaria ปะการังสามารถจัดจําแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ 1. ปะการังที่สร้างหินปูนได้ช้าหรือไม่มีการสร้างหินปูนเลย เรียกปะการังกลุ่มนี้ว่า ahermatypic coral เป็นปะการังที่ไม่มีโครงสร้างแข็งและมีการเจริญเติบโตช้า จึงไม่สามารถสร้าง เป็นแนวปะการังได้ 2. ปะการังที่สามารถสร้างหินปูนเป็นโครงสร้างภายนอกได้โดยอาศัยแคลเซียมจากน้ํา ทะเลและจากสาหร่ายซูซานเทลเล ซึ่งเป็นสาหร่ายในกลุ่มไดโนแฟลกเจลเลทที่อาศัยอยู่ในเนื้อเยื่อของ ปะการังโดยมีความสัมพันธ์กันแบบพึ่งพาอาศัยกัน ปะการังกลุ่มนี้จะมีการเจริญเติบโตได้ดี สามารถ เจริญสร้างเป็นแนวปะการังขนาดใหญ่ได้ เรียกปะการังกลุ่มนี้ว่า hermatypic coral ซึ่งแพร่กระจาย ในเขตร้อนและเขตกึ่งร้อนในบริเวณที่มีความลึกของน้ําทะเลไม่ลึกนักเนื่องจากสาหร่ายซูซานเทลเล ต้องการแสงในการสังเคราะห์แสง ปะการังในกลุ่มนี้มีรูปร่างหลายแบบ ได้แก่ ภาพร่างเป็นแท่ง ทรงกระบอก (columnar) กิ่งก้าน (branching) แผ่แบนเป็นแผ่นคล้ายโต๊ะ (laminar หรือ plate- like) ทรงกลมเป็นก้อน (massive) แผ่เป็นแผ่นซ้อนกันคล้ายดอกกะหล่ํา (fallacious) แผ่เป็นแผ่น กว้างเคลือบอยู่บนหิน (encrusting) และอยู่โดดเดี่ยวเป็นอิสระ (solitary หรือ free-living) มีรูปร่าง คล้ายเห็ด ในประเทศไทยมีรายงานการพบปะการังในกลุ่มนี้มากกว่า 250 ชนิด ดังนั้นลักษณะและ รายละเอียดทางชีววิทยาส่วนใหญ่จึงหมายถึงปะการังในประเภทนี้ที่สามารถสร้างเป็นแนวปะการังได้ ชีววิทยาปะการัง ปะการัง (Coral) คือ สัตว์ชนิดหนึ่งในไฟลัมไนดราเรีย (Cnidaria) อยู่ในกลุ่ม Zoantharia ซึ่งเป็นพวกปะการังแข็งที่แท้จริง (Sclractinian coral) รวมถึงปะการังสีดํา (Black coral) ปะการัง ประกอบด้วยโพลิป (Polyp) ที่สร้างขึ้นมาช่องกลางระหว่างตัวมีผนังกั้นเป็น 6 หรือทวีคูณของ 6 มี หนวดรอบปากปะการังที่สร้างแนวปะการัง (Hermatypic coral) ทุกชนิดมีสาหร่าย (algae) อยู่ร่วม ด้วย คือ Zooxanthelae ในแวคิวโอลของเซลล์ในแกสโตรเดิร์ม เป็นระยะพักตัวชนิดที่พบมากที่สุดที่ อยู่ร่วมกับปะการังคือ Symbiodinium microadriaticum ซึ่งพบในสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นด้วย ปะการังเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จัดอยู่ใน Phylum Cnidaria Class Anthozoa Subclass Zoantharia Order Scleractinia
  • 2. 5 ปะการังโดยมากจะอยู่ร่วมกับสาหร่าย Zooxenthellae สามารถสร้างโครงสร้างหินปูนซึ่ง เป็นลักษณะเด่นที่ใช้ในการจําแนกชนิดของปะการังและอยู่รวมกันเป็นโคโลนี แต่ในบางชนิดอาจอยู่ เดี่ยวๆ ปะการังสืบพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศขึ้นอยู่กับการปรับตัวต่อภาพแวดล้อม ตัว ของปะการัง ซึ่งเรียกว่า โพลิป อาศัยอยู่ในโครงสร้างหินปูนและมักจะมีถ้วยเล็กๆ โพลิปของปะการัง แต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน เป็นผลให้รูปร่างของโครงสร้างหินปูน ซึ่งปะการังสร้างขึ้นแตกต่างกันไป ด้วย ปะการังประกอบด้วยส่วนสําคัญ 2 ส่วน ได้แก่ โพลิป (Polyp) และโครงสร้างหินปูน 1. โพลิป โพลิปมักมีรูปร่างของลําตัวเป็นทรงกระบอก ตรงปลายสุดเป็นหนวด (Tentacle) เรียง อยู่รอบปาก ส่วนประกอบที่สําคัญของโพลิปแบ่งได้เป็น 2 ส่วนคือ Oral disc และ Column (ภาพที่ 1) Oral disc เป็นส่วนบน ประกอบด้วยปากซึ่งเป็นช่องเปิดเข้าไปในช่องว่างภายในลําตัว รอบปากเป็นแผ่นแบบ เรียกว่า peristome ซึ่งตอนบนประกอบด้วยหนวดเรียงกันเป็นวง แต่ละวงมี 6 เส้น หรือเป็นทวีคูณของ 6 ลักษณะของหนวดโดยปกติเป็นเส้นยาวตรงปลายพองเป็นตุ่ม และมี nematocyst ใน cnidocyte cell Column เป็นส่วนที่มีรูปร่างคล้ายทรงกระบอก ภายในประกอบด้วย stomodaeum และ mesenteries Stomodaeum มีลักษณะเป็นหลอดขนาดสั้น ทําหน้าที่คล้าย Esophagus คือ เป็นทางติดต่อระหว่างปากและ gastrovascular cavity Mesenteries เป็นแผ่นเนื้อเยื่อแบนๆ ที่ตั้งเรียงกันเป็นฉากในแนวรัศมีรอบๆ gastrovascular cavity ด้านบนของ Mesenteries ติดอยู่กับส่วนล่างของ oral disc อีกด้านหนึ่งติด กับผนังส่วนในของ Column ด้านล่างไม่ติดกับส่วนใดเลย ด้านในของ Mesenteries ที่อยู่ข้างใต้ Stomodaeum ลงมาประกอบด้วย Mesenteries filament ซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นแบนยาวคล้าย ริบบิ้นที่ขดไปมา ทําหน้าที่ช่วยในการย่อยอาหารและขับถ่ายของเสีย ส่วนประกอบอื่นของโพลิป ได้แก่ Edge zone, coenosarc และ basal disc Edge zone เป็นส่วนของ colum ของโพลิปที่ยื่นขยายออกไปในแนวนอนนอกผนัง ของโครงสร้างหินปูนและพบในปะการังชนิดที่อยู่ตัวคนเดียว Coenosarc พบในปะการังที่อยู่เป็นกลุ่ม เกิดจาก edge zone ของโพลิปที่อยู่ใกล้ กันมาเชื่อม Basal disc เป็นส่วนที่อยู่ข้างล่าง column ทําหน้าที่ในการยึดเกาะ substrat
  • 3. 6 ภาพที่ 1 ลักษณะของโฟลิป ที่มา : http://home.psu.ac.th/~4823002/coral_bio.htm 2. โครงสร้างหินปูน (Skeleton) โครงร่างแข็งที่เป็นหินปูนทั้งหมดของปะการังซึ่งเกิดจากการสร้างขึ้นของปะการัง โฟลิป เดียวหรือทั้งโคโลนีเรียกว่า Corallum ส่วน Corallite เป็นโครงสร้างหินปูนภายนอก ซึ่งเป็นที่อยู่ของ ปะการังหนึ่งตัวภายใน Corallum ของปะการังเดี่ยวจะมีรูปร่างตามลักษณะของโพลิปซึ่งมี ความสัมพันธ์กับอัตราการเจริญเติบโตในแนวยืนและแนวนอนของแต่ละส่วน แต่รูปร่างของปะการังที่ อยู่รวมกันเป็นโคโลนียังขึ้นกับแบบของวิธีการเพิ่มจํานวนโดยไม่ใช้เพศอีกด้วย (ภาพที่ 2)
  • 4. 7 ภาพที่ 2 ลักษณะโครงสร้างหินปูนของปะการัง ที่มา : http://home.psu.ac.th/~4823002/coral_bio.htm ลักษณะทางชีววิทยาของปะการัง 1. การกินอาหาร ปะการังเป็นพวกสัตว์ประเภทกินสัตว์ขนาดเล็กกว่าเป็นอาหาร (micro- carnivores) หนวดรอบๆ ปากของปะการังมีหน้าที่จับเหยื่อ หรืออาหารพวกแพลงก์ตอนสัตว์ในน้ํา ที่ ปลายหนวดจะมีเซลล์ซึ่งมีโครงสร้างที่มีสารพิษอยู่ (nematocyst) ซึ่งทําหน้าที่ฆ่าแล้วหนวดจะส่ง อาหารที่จับได้ไปยังปากซึ่งจะมีขน (cilia) และกล้ามเนื้อส่งอาหารผ่านต่อไปยังหลอดอาหาร (esophagus) และผนังลําไส้ก็จะส่งน้ําย่อยออกมาย่อยเหยื่อต่อไป แล้วจึงดูดซึมอาหารไปใช้ 2. การขับถ่ายของเสีย ปะการังเมื่อกินอาหารแล้วจะขับของเสีย ได้แก่ พวกไนเตรท และ ฟอสเฟตออกมา ซึ่งของเสียเหล่านี้ถูกสาหร่ายที่ฝังตัวอยู่ในชั้นแกสโตรเดอร์มิส (gastrodermis) นําไปใช้ในการสังเคราะห์แสง จึงมักพบว่าสารพวกไนเตรทและฟอสเฟต เหนือแนวปะการังมีน้อยกว่า ในบริเวณใกล้เคียงอย่างเห็นได้ชัดเจน 3. การสืบพันธุ์ การสืบพันธุ์ของปะการังเป็นได้ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ แบบไม่ อาศัยเพศโดยการแตกหน่อ (budding) ปะการังหลายชนิดมีสองเพศ (hermaphrodite) ในบางชนิด จะมีเพศเดียวแต่เพศสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามอายุ ปกติทั่วไปการสืบพันธุ์ของปะการังจะเป็นการ ผสมพันธุ์กันภายในตัว มีส่วนน้อยที่ปล่อยไข่ออกมาผสมภายนอกตัวเองระหว่างชนิดเดียวกัน การ สืบพันธุ์นี้อาจขึ้นอยู่กับฤดูกาลหรือไม่ก็ได้ ภายหลังการผสมพันธุ์แล้ว ไข่ที่ถูกผสมแล้วจะเจริญอยู่ใน ช่องแกสโตรวาสคิวลาร์ (gastrovascular cavity) ของตัวพ่อแม่ จนเป็นตัวอ่อนซึ่งจะถูกปล่อยออกมา ทางปาก ตัวอ่อนนี้จะว่ายน้ําอยู่ระยะหนึ่งจนในที่สุดจะจมตัวลงสู่พื้นทะเล เพื่อหาที่เกาะแล้วจึงเจริญ
  • 5. 8 ต่อไปโดยจะมีการสืบพันธุ์แบบไม่มีเพศ เพื่อสร้างกลุ่มขึ้นมาใหม่รวมทั้งสร้างขนาดให้ใหญ่ขึ้น การ สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ เป็นการสืบพันธุ์ที่เกิดโพลิปใหม่โดยไม่ได้อาศัยเซลล์สืบพันธุ์ พบ 2 แบบ ได้แก่ 1. Intratentacular budding เป็นการเกิดโพลิปใหม่ที่เกิดขึ้นจากการแยกออกของ โพลิปเดิม 2. Extratentacular budding เป็นการแยกตัวใหม่ที่เกิดขึ้นภายนอกวงของหนวดของ ตัวเดิม 4. การเจริญเติบโตของปะการัง ขึ้นอยู่กับตัวปะการังแต่ละกลุ่ม หมายถึงการสะสม แคลเซียมคาร์บอเนตในตัวปะการังเอง จากการทดลองศึกษาเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของปะการัง พบว่า พวกปะการังเขากวาง Acropora formosa ทางฝั่งตะวันตกของเกาะภูเก็ตยาวขึ้นประมาณปี ละ 8 ซม. ส่วนพวกที่เป็นหัว ได้แก่ Porites lutea โตขึ้นประมาณปีละ 1-2 ซม. แต่เมื่อนํามาเทียบ เป็นน้ําหนักของแคลเซียมคาร์บอเนตที่เพิ่มขึ้นแล้ว จะพบว่าพวกหัวมีน้ําหนักของแคลเซียม คาร์บอเนตมากว่าพวกที่เป็นกิ่งก้าน การเจริญเติบโตของปะการัง มีรูปร่างต่างกันออกไปทั้งที่บางชนิด เป็นชนิดเดียวกัน อาจเนื่องจากสาเหตุหลายประการ (กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม, 2553) เช่น - บริเวณที่รับการกระแทกของน้ํา หรือบริเวณที่มีกระแสน้ําไหลแรง - เนื่องจากความต้องการแสงสว่าง - เนื่องจากความขุ่นของน้ําหรือมีปริมาณตะกอนในน้ํามาก ประเภทของแนวปะการัง การจัดจําแนกประเภทของแนวปะการังอาศัยสภาพสถานที่ของแนวปะการัง ภาพร่างของ แนวปะการัง โดยสามารถจัดจําแนกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้ 1. แนวปะการังบริเวณชายฝั่ง (fringing reefs) เป็นแนวปะการังที่พบบริเวณชายฝั่งทะเล มักอยู่ที่ระดับความลึกไม่มากนัก อาจจะเจริญอยู่รอบเกาะหรือติดกับแผ่นดิน ทําให้ได้รับผลกระทบ จากความขุ่นของน้ําและตะกอนต่างๆซึ่งไหลลงสู่ทะเล เป็นรูปแบบที่สามารถพบได้โดยทั่วไปในบริเวณ ที่มีพื้นทะเลแข็งเหมาะต่อการลงเกาะของตัวอ่อนปะการัง แนวปะการังจะมีลักษณะแคบ เจริญขนาน กับชายฝั่งทะเล โดยแนวปะการังที่มีขนาดยาวที่สุดคือแนวปะการังซึ่งขนานกับชายฝั่งของทะเลแดงซึ่ง มีความยาว 4,000 กิโลเมตร 2. แนวปะการังแบบกําแพง (barrier reefs) เป็นแนวปะการังที่ขนานกับชายฝั่ง เช่นเดียวกับแนวปะการังบริเวณชายฝั่งแต่ห่างออกมาจากแผ่นดินหรือเกาะโดยมีทะเลสาบน้ําเค็มหรือ มีร่องน้ําลึกกั้นระหว่างชายฝั่งกับแนวปะการัง แนวปะการังแบบกําแพงที่มีความงามและมีชื่อเสียง ที่สุดคือ เกรทแบริเออร์รีฟ (Great Barrier Reef) อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ออสเตรเลีย โดยอยู่ห่างจากแผ่นดินใหญ่ประมาณ 100 กิโลเมตร ประกอบไปด้วยแนวปะการังย่อย กว่า 2,500 แห่ง โดยรวมมีความยาวกว่า 2,000 กิโลเมตร ซึ่งสั้นกว่าแนวปะการังทะเลแดง อย่างไรก็ ตาม แนวปะการังเกรทแบริเออร์รีฟมีความกว้าง 15-350 กิโลเมตร คิดเป็นพื้นที่ทั้งสิ้น 225,000 ตารางกิโลเมตร จึงนับเป็นแนวปะการังที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
  • 6. 9 3. แนวปะการังแบบวงแหวนหรือเกือกม้า (atoll reefs) เป็นแนวปะการังซึ่งอยู่ห่างจาก แผ่นดินอยู่กลางทะเลลึก มักพบบริเวณหมู่เกาะในเขตอินโดแปซิฟิกใต้ น้ําทะเลบริเวณนี้จะใส เนื่องจากไม่ได้รับตะกอนจากแม่น้ําและแผ่นดิน แนวปะการังมีการก่อตัวเป็นรูปวงแหวนยกตัวขึ้นมา จากพื้นทะเลที่มีความลึกมาก โดยมีทะเลสาบน้ําเค็มอยู่ตรงกลาง ความกว้างของแนวปะการังอาจเล็ก กว่า 1.5 กิโลเมตร จนมีความกว้างถึง 30 กิโลเมตร แนวปะการังรูปวงแหวนที่มีขนาดใหญ่ที่สุด 2 แห่งคือ แนวปะการัง Suvadiva ในหมู่เกาะมัลดีฟ มหาสมุทรอินเดีย และแนวปะการัง Kwajalein ใน หมู่เกาะมาร์แชลล์ มหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งมีพื้นที่มากกว่า 1,200 ตารางกิโลเมตร ในอดีตมีผู้สงสัยการ กําเนิดของแนวปะการังแบบวงแหวน ต่อมา ในปี ค.ศ.1842 Charles Darwin ได้อธิบายการเกิดแนว ปะการังแบบวงแหวนและได้รับการยอมรับโดยหลักทฤษฎีและหลักฐานกล่าวคือ แนวปะการังแบบวง แหวนเกิดจากภูเขาไฟในทะเลลึกยกตัวขึ้นมาสู่ผิวน้ํา ต่อมาได้เกิดแนวปะการังชายฝั่งเจริญรอบเกาะ ภูเขาไฟ ต่อมาเมื่อเกาะจมตัวลง แนวปะการังรอบเกาะยังคงสามารถเจริญเติบโตสูงขึ้นและมีการ สะสมแคลเซียมคาร์บอเนตไว้ จนในที่สุดส่วนสูงสุดของเกาะจมลงสู่ทะเล แนวปะการังโดยรอบยังคง เจริญเติบโตได้จนมีลักษณะคล้ายวงแหวนโดยมีทะเลสาบอยู่ตรงกลาง โดยทฤษฎีนี้รับการยอมรับและ คัดค้านมาโดยตลอดจนกระทั่ง ในปี ค.ศ.1953 The United States Geological Survey ได้เก็บ ตัวอย่างของพื้นแนวปะการังวงแหวน Enewetak ในหมู่เกาะมาร์แชลล์ โดยเจาะเป็นรูลึกลงไป 1,400 เมตร ผ่านชั้นแคลเซียมคาร์บอเนตจนพบส่วนที่เป็นพื้นของเกาะภูเขาไฟเดิมและพบว่าแนวปะการัง แห่งนี้เริ่มเกิดตั้งแต่สมัยอีโอซีน (Eocene) หรือประมาณ 65 ล้านปีมาแล้ว และมีขั้นตอนการพัฒนา ตามทฤษฎีของ Charles Darwin (กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, 2553) ปะการังฟอกขาว ปะการังฟอกขาว เป็นสภาวะที่ปะการังสูญเสียสาหร่ายเซลเดียวที่อาศัยอยู่ภายในเนื้อเยื่อ ทํา ให้ปะการังอ่อนแอ เพราะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอแลปะการังอาจตายไปในที่สุดหากไม่สามารถทน ต่อสภาวะนี้ได้ สาเหตุที่ทําให้ปะการังฟอกขาวเป็นพื้นที่กว้างครอบคลุมพื้นที่น่านน้ําในระดับประเทศ หรือกินอาณาเขตกว้างในระดับภูมิภาคได้คือ อุณหภูมิน้ําทะเลที่สูงขึ้นอย่างผิดปกติ ซึ่งในน่านน้ําไทย เคยได้รับผลกระทบเช่นนี้เมื่อปี พ.ศ. 2534 2538 2541 2546 2548 และ 2550 โดยปีใน 2534 และ 2538 แนวปะการังทางฝั่งทะเลอันดามันได้รับความเสียหายมาก พบว่าปะการังตายประมาณ 10-20 เปอร์เซ็นต์ ส่วนในปี 2541 ก่อให้เกิดความเสียหายมากทางฝั่งอ่าวไทย แต่ปีต่อๆ มาเกิดทางฝั่งอันดา มันแต่ไม่พบความเสียหายมากนัก เพราะปะการังสามารถฟื้นตัวกลับคืนสู่สภาพปกติได้ เนื่องจากลม มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งมาเร็วในตอนต้นฤดู ช่วยบรรเทาทําให้อุณหภูมิน้ําทะเลลดลงได้ (นิพนธ์, 2554) ปี 2553 นับเป็นปีที่แนวปะการังเสียหายมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ อุณหภูมิน้ําทะเลจาก ปกติ 29 องศาเซลเซียสได้เริ่มสูงขึ้นเป็น 30 องศาเซลเซียส ตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม 2553 (ภาพที่ 3) ระยะเวลาสามสัปดาห์ต่อมาปะการังได้เริ่มฟอกขาวแผ่พื้นที่เป็นวงกว้างคลุมทะเลทั่วทั้งฝั่งอันดา มันและอ่าวไทย จากการรวบรวมข้อมูล พบว่าในแต่ละพื้นที่มีปะการังฟอกขาวมากน้อยต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าบริเวณนั้นมีปะการังชนิดใดครอบคลุมพื้นที่มาก (dominant group) หากพื้นที่ที่คลุม
  • 7. 10 ด้วยปะการังที้ไวต่อการฟอกขาว พื้นที่นั้นก็จะได้รับผลกระทบมาก เช่น แนวปะการังที่มีปะการังเขา กวาง (Acropora spp.) ขึ้นเป็นดงกว้างใหญ่ พื้นที่นั้นก็จะได้รับผลกระทบมาก นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่ กับชายฝั่งที่แนวปะกรังขึ้นอยู่นั้นได้รับอิทธิพลจากคลื่นลมมากน้อยเพียงไรด้วย ด้านที่รับแรงจากคลื่น ลมตลอดเวลาจะมีอุณหภูมิไม่สูง เช่น ด้านตะวันตกของเกาะต่างๆ ทางฝั่งทะเลอันดามัน ปะการังจึง ฟอกขาวน้อยกว่าด้านอื่น เมื่อประมาณโดยภาพรวมทั่วประเทศแล้ว พบว่า ปะการังฟอกขาวมากถึง 30-95 เปอร์เซ็นต์ ปะการังทุกชนิดฟอกขาวเกือบทั้งหมด ยกเว้นเพียง 3-4 ชนิดเท่านั้นที่ยังคงต้านอยู่ ได้ เช่น ปะการังสีน้ําเงิน (Heliopora coerulea) ปะการังลายดอกไม้ (Pavona decussata) และ ปะการังดาวใหญ่ (Diploastrea heliopora) ภาพที่ 3 อุณหภูมิน้ําทะเลในแนวปะการังบริเวณเกาะภูเก็ตตั้งแต่ มกราคม 2552 – กันยายน 2553 กรอบสีแดงเป็นช่วงที่อุณหภูมิน้ําทะเลขึ้นสูงกว่า 30 องศาเซลเซียสต่อเนื่องกันเป็นเวลา ประมาณ 3 เดือน ทั้งนี้ประมาณไว้ว่า ณ อุณหภูมิตั้งแต่ 30 องศาเซลเซียสขึ้นไป เป็นจุด วิกฤตที่กระตุ้นให้เกิดการฟอกขาวของปะการัง ทั้งนี้ขึ้นกับองค์ประกอบอื่นด้วยที่เป็น ตัวกระตุ้นร่วม โดยเฉพาะความเข้มของแสงแดด ที่มา: นิพนธ์ (2554) การฟอกขาวของปะการัง (Coral bleaching) โดยปกติแล้วปะการังที่มีโครงร่างหินปูนหรือ ปะการังแข็งจะมีสาหร่ายเซลเดียวที่มีชื่อว่า Zooxanthellae อยู่ในเนื้อเยื่อ ซึ่งปะการังจะได้อาหาร จากการสังเคราะห์แสงของสาหร่ายนี้ถึงกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ การที่ปะการังเป็นสีต่างๆ นอกจากรงค วัตถุของปะการังเองแล้ว ก็ยังเป็นเพราะรงควัตถุของสาหร่ายซูแซนเทลลี่ด้วย ส่วนสาหร่ายได้ธาตุ อาหารจากการขับของเสียและคาร์บอนไดออกไซด์จากการหายใจของปะการังมาใช้ในการสังเคราะห์ แสง ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างปะการังและสาหร่ายซูแซนเทลลี่นี้ เป็นความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัย (symbiosis) แต่หากปะการังเกิดความเครียดขึ้น เช่น หากอุณหภูมิและแสงมากเกินไป สาหร่ายจะ ผลิตอนุมูลอิสระของออกซิเจน (free radical oxygen) ซึ่งเป็นพิษต่อเนื้อเยื่อของปะการังขึ้น ปะการัง จึงขับเอาสาหร่ายชนิดนี้ออกจากเซลล์ จึงเห็นปะการังกลายเป็นสีขาว (ภาพที่ 4) เนื่องจากสามารถ มองผ่านตัวใสๆ ของปะการังผ่านลงไปถึงโครงร่างหินปูนที่รองรับตัวปะการังอยู่ด้านล่าง สาเหตุของ
  • 8. 11 ความเครียดของปะการังก็เกิดจากหลายประการ ส่วนใหญ่เกิดจากสิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสม เช่น ความ เค็ม สารเคมี ตะกอน อุณหภูมิ ในระดับที่ไม่เหมาะสมกับการดํารงชีวิตของปะการัง ภาพที่ 4 ปะการังฟอกขาวที่ยังไม่ตาย สามารถมองเห็นเนื้อเยื่อของตัวปะการังซึ่งมีลักษณะขาวใส ลง ไปจนถึงชั้นหินปูนซึ่งเป็นที่อยู่ของตัวปะการัง หากอยู่ในสภาพนี้นานๆ ปะการังก็จะตายในที่สุด แต่หากสภาพแวดล้อมกลับมาเป็นปกติใน เวลาไม่นานนักสาหร่ายก็ยังจะกลับเข้ามาอยู่ร่วมกับปะการังเหมือนเดิม และปะการังก็กลับมามีชีวิต อยู่ได้ ทั้งนี้ปะการังแต่ละชนิดมีความต้านทาน (resistance) หรือทนทาน (tolerance) ต่อการ เปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมแตกต่างกันไป กลุ่มที่มีความต้านทาน คือ ปะการังที่ไม่เกิดการฟอก ขาว ส่วนกลุ่มที่ทนทาน คือปะการังที่เกิดการฟอกขาวแล้วยังไม่ตาย จะสามารถมองเห็นเนื้อเยื่อของ ตัวปะการังซึ่งมีลักษณะขาวใส ลงไปจนถึงชั้นหินปูนซึ่งเป็นที่อยู่ของตัวปะการัง แต่สามารถฟื้นตัวได้ หลังจากที่สิ่งแวดล้อมกลับสู่สภาพปกติ พบว่าปะการังในกลุ่มเขากวาง (Acropora spp.) มีความไว ต่อการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะอุณหภูมิค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับปะการังชนิดอื่นๆ ดังนั้น ปะการังชนิดนี้จึงเกิดการฟอกขาวได้เร็ว รุนแรง และมีโอกาสสูงที่จะตายเนื่องจากปรากฏการณ์นี้ (สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน, 2554) ข้อสังเกตที่พบจากการสํารวจและประมวลสถานการณ์ความรุนแรงในเดือนพฤษภาคม 2553 ดังต่อไปนี้ 1. บริเวณที่สิ่งแวดล้อมดี มีปะการังที่หลากหลายทั้งในแง่ของชนิดและจํานวนโคโลนี เช่น บริเวณเกาะไม้ท่อนด้านตะวันออกจะมีปะการังที่ฟอกขาวบางส่วนมากกว่าบริเวณที่ตื้นและน้ําขุ่น 2. บริเวณที่มีสิ่งแวดล้อมดีในน้ําลึกจะมีการฟอกขาวของปะการังมีแนวโน้มเกิดขึ้นน้อยกว่า เมื่อเทียบกับในบริเวณน้ําตื้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับที่ตั้งของแนวปะการังในแต่ละบริเวณด้วย 3. บริเวณน้ําขุ่นแม้จะมีจํานวนชนิดและโคโลนีน้อยกว่า แต่ก็พบว่ามีปะการังหลายโคโลนี และหลายชนิดที่ไม่ฟอกขาวเลย ซึ่งน่าจะเกิดจากปัจจัยด้านพันธุกรรม ความทนทานต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการปรับตัวของปะการังจากการฟอกขาวหลายๆ ครั้งที่เคยเกิดขึ้น
  • 9. 12 4. แนวปะการังที่ได้รับผลกระทบจากกิจกรรมของมนุษย์มีเปอร์เซ็นต์การฟอกขาวของ ปะการังมากกว่าบริเวณที่มีสิ่งแวดล้อมดีหรือไม่ได้รับอิทธิพลจากมนุษย์ ทั้งนี้อาจเนื่องจากปะการัง อ่อนแอจากสภาพสิ่งแวดล้อมอยู่แล้ว จึงทําให้ความทนทานต่อการฟอกขาวน้อยลง 5. แนวปะการังบริเวณฝั่งตะวันตกของพื้นที่ทางฝั่งทะเลอันดามันมีการเกิดฟอกขาวน้อย กว่าด้านอื่นของเกาะ ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากสภาพแสง หรือการเคลื่อนที่ของมวลน้ําที่เข้ามาช่วย บรรเทาผลของอุณหภูมิน้ําทะเล (สถานวิจัยความเป็นเลิศความหลากหลายทางชีวภาพแห่งคาบสมุทร ไทย, 2555) ผลกระทบจากปะการังฟอกขาว แนวปะการังเป็นบริเวณที่มีความอุดมสมบูรณ์หลากหลายของสัตว์น้ํา และมีความสําคัญต่อ สิ่งมีชีวิตทั้งในทะเลและต่อวิถีชีวิตชายฝั่ง รวมทั้งเป็นแหล่งที่มาของรายได้จากการท่องเที่ยวและธุรกิจ จํานวนมาก และมีผลต่อเนื่องไปถึงรายได้ของประเทศ ปรากฏการณ์ฟอกขาวที่เกิดขึ้นจึงทําให้เกิดผล กระทบในแง่ต่างๆ ดังนี้ 1. การลดลงของความหลากหลายของชนิดและจํานวนปะการัง ตลอดจนสัตว์น้ําในแนว ปะการัง ทั้งชนิดที่มีความสําคัญทางเศรษฐกิจ ความสําคัญในระบบห่วงโซ่อาหารและความสมบูรณ์ ของแนวปะการัง 2. ระบบนิเวศแนวปะการังมีหน้าที่เชิงนิเวศ และโครงสร้างที่เปราะบางมากขึ้น มีความเสี่ยง ต่อการถูกทําลายมากขึ้น ทั้งจากกิจกรรมการใช้ประโยชน์โดยตรงของมนุษย์ การพัฒนาชายฝั่ง และ ความอ่อนแอต่อปัจจัยทางธรรมชาติ เช่น เชื้อโรค หรือศัตรูตามธรรมชาติ 3. ทรัพยากรสัตว์น้ําที่มีวงชีวิตพึ่งพาแนวปะการังในการเป็นแหล่งอนุบาลวัยอ่อน และเป็น แหล่งอาหารมีความสมบูรณ์ลดลง 4. ความเสื่อมโทรมของแนวปะการังที่เกิดขึ้น ทําให้เกิดผลกระทบต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ และรายได้ของชุมชนชายฝั่ง เช่น ชาวประมง และผู้ประกอบการท่องเที่ยว ซึ่งส่งผลต่อเนื่องไปยัง สภาพเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ 5. พื้นที่การใช้ประโยชน์ของแนวปะการังลดลงอาจส่งผลให้เกิดความขัดแย้งด้านการใช้ ประโยชน์ในพื้นที่ระหว่างการท่องเที่ยว การประมงและความจําเป็นในการอนุรักษ์และฟื้นฟูแนว ปะการัง หากขาดการจัดการที่ดีจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 6. มีผลกระทบต่อชื่อเสียงของประเทศไทยในฐานะของการเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลที่ สวยงามติดอันดับโลก โดยเฉพาะหากขาดการจัดการพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบอย่างเหมาะสม ข้อมูลทั่วไปของพื้นที่ศึกษา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ตั้งอยู่ในทะเลอันดามันเขตอําเภอคุระบุรี จังหวัด พังงา ระหว่างเส้นลองติจูด 090 21’ 50” ถึง 090 30’ 30” เหนือ และละติจูดที่ 970 48’ 00”
  • 10. 13 ถึง 970 54’ 25” ตะวันออก มีเนื้อที่ 135 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นน้ําประมาณ 102 ตาราง กิโลเมตร และพื้นดินประมาณร้อยละ 24 ของพื้นที่ทั้งหมด โดยมีอาณาเขตด้านทิศเหนืออยู่ติด ชายแดนประเทศสหภาพพม่า และทิศใต้ในระยะประมาณ 8 กิโลเมตร ติดเขตอุทยานแห่งชาติหมู่ เกาะสิมิลัน และครอบคลุมพื้นที่เกาะต่างๆ 5 เกาะ โดยมีเกาะขนาดใหญ่สองเกาะวางตัวในแนวทิศ เหนือ-ใต้ คั่นด้วยช่องแคบขนาดประมาณ 200 เมตร ซึ่งสามารถเดินถึงกันได้เมื่อน้ําลงต่ําสุด ได้แก่ เกาะสุรินทร์เหนือ มีขนาดพื้นที่ 18.7 ตารางกิโลเมตร และเกาะสุรินทร์ใต้ มีขนาดพื้นที่ 11.6 ตาราง กิโลเมตร และเกาะเล็กๆ โดยรอบ อีก 3 เกาะด้วยกัน คือ เกาะสต็อร์ค เกาะตอรินลา และเกาะปาจุม บา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ มีลักษณะภูมิประเทศที่กําบังคลื่นลมทั้งสองฤดูกาล เนื่องจากเกาะวางตัวอยู่เป็นกลุ่มและมีอ่าวขนาดใหญ่ ทําให้เกิดแนวปะการังริมฝั่งอยู่รอบเกาะสุรินทร์ เหนือ เกาะสุรินทร์ใต้ และเกาะบริวาร นอกเหนือจากการรับอิทธิพลจากคลื่นลม สภาพแวดล้อมทาง สมุทรศาสตร์เหมาะต่อการพัฒนาของแนวปะการัง คือ น้ําใส อุณหภูมิพอเหมาะ และมีการผสมผสาน ของน้ําที่ได้รับสารอาหารจากมวลน้ําเบื้องล่างที่ปะทะเกาะ ความอุดมสมบูรณ์ของแพลงก์ตอน ซึ่งเป็น อาหารสําหรับปลาและสัตว์อื่นๆ ปัจจัยทางสมุทรศาสตร์ที่สําคัญอีกประการหนึ่งคือ ลักษณะของน้ํา ขึ้นน้ําลงในทะเลอันดามัน ซึ่งเป็นแบบ Semidiurnal คือ น้ําขึ้นและน้ําลง 2 ครั้ง ใน 24 ชั่วโมง และ ความแตกต่างระหว่างน้ําขึ้นสูงสุดและต่ําสุดอาจถึง 3 เมตร ทําให้มีกระแสน้ําเลียบฝั่งค่อนข้างแรง เกาะสุรินทร์เหนือ และเกาะสุรินทร์ใต้ ตั้งอยู่ชิดกันคล้ายเกาะแฝด โดยมีพื้นน้ําตื้นๆ กั้นอยู่ เรียกว่า อ่าวช่องขาด พืชพรรณที่พบเป็นพืชป่าดิบชื้น เป็นแหล่งกําเนิดของแนวปะการังน้ําตื้นขนาดใหญ่และ สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย แนวปะการังที่พบทั่วไปที่หมู่เกาะสุรินทร์ เป็นแนวปะการังริมฝั่งหรือเรียกว่า fringing reef ปะการังที่พบได้มาก ได้แก่ ปะการังดอกกะหล่ํา (Pocillopora verrucosa) ปะการัง นิ้วมือผิวเรียบ (Porites cylindrical) ปะการังเขากวาง (Acropora nobilis) ปะการังโขด (Porites lutea) ปะการังดอกเห็ด (Fungia sp.) ปะการังกาแล็กซี่ (Galaxea spp.) ปะการังแผ่นเปลวไฟ หรือ ปะการังดอกจอก (Pectinia spp.) ปะการังสมอง (Oulophyllia crispa) ปะการังจาน (Turbinaria frondens) ปะการังไฟ (Mileoora sp.) เป็นต้น อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ทิศตะวันออก ลักษณะการก่อตัวของแนวปะการังทางฝั่งทิศตะวันออกของหมู่เกาะสิ มิลันเหมือนกับแนวปะการังในหมู่เกาะอื่นๆ ของฝั่งทะเลอันดามัน ทั้งนี้เนื่องจากได้รับอิทธิพลของ คลื่นลมที่รุนแรงในช่วงมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทําให้ชายฝั่งด้านตะวันตกของเกาะมีลักษณะเป็นโขด หินริมฝั่ง ดังนั้นแนวปะการังจึงมักก่อตัวและพัฒนาได้ดีทางทิศตะวันออกของเกาะมากกว่า มีการ สะสมของทรายที่เกิดจากซากปะการัง ส่งผลให้แนวปะการังเจริญเติบโตอยู่บนพื้นทราย ส่วนพื้นราบ ของแนวปะการัง (reef flat) จมอยู่ใต้น้ําตลอดเวลา ปกติจะได้รับผลกระทบจากการขึ้นลงของน้ํา ทะเลน้อย ส่งผลให้เกิดแนวปะการังพัฒนาขึ้นมาบนพื้นทราย บนพื้นราบแนวปะการังโดยส่วนมากพบ ปะการังชนิด Porites cylindrica และ Porites lutea ในบางพื้นที่บริเวณพื้นราบแนวปะการังมี ปะการังอ่อนชนิดที่มีสาหร่ายเซลล์เดียว (zooxanthellae species) กระจายตัวอย่างหนาแน่นและ
  • 11. 14 ครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง เช่น บริเวณทิศใต้เกาะปายูพบปะการังอ่อนชนิด Sarcophyton spp. ในบริเวณไหล่แนวปะการัง (reef edge) ต่อเนื่องลงไปถึงส่วนลาดชันแนวปะการัง (reef slope) จัดเป็นพื้นที่ที่มีปะการังครอบคลุมพื้นที่มาก มีปะการังแข็งเป็นสิ่งมีชีวิตเด่นในพื้นที่ ส่วนพื้นทราย นอกแนวปะการังที่มีความลึกประมาณ 40 เมตร เป็นต้นไป ส่วนมากมีปะการังแข็งก่อตัวเป็นหย่อม ๆ กระจายอยู่ทั่วไป บริเวณนี้มีกัลปังหาและปะการังอ่อนเป็นชนิดเด่นในพื้นที่ (ภาพที่ 5) ความกว้างของแนวปะการังทางฝั่งตะวันออกของหมู่เกาะสิมิลันโดยส่วนมากอยู่ ในช่วง 100-300 เมตร ยกเว้นฝั่งตะวันออกของเกาะสิมิลัน (เกาะแปด) ที่แนวปะการังมีความกว้าง ค่อนข้างมากอยู่ในช่วง 400-600 เมตร ในช่วงตอนกลางของเกาะมีลักษณะเป็นหลุมใหญ่ที่เรียกว่า “ลากูน” (lagoon) บริเวณนี้มีความลึกของน้ําเปลี่ยนไปค่อนข้างมากในบางแห่งอาจมีความลึกถึง 30 เมตร แนวปะการังมีการก่อตัวและพัฒนาได้ดีจนถึงระดับความลึก 30-40 เมตร (ภาพที่ 5) ทั้งนี้ เนื่องจากคุณสมบัติของน้ําทะเลที่มีความโปร่งใสมากถึง 25-30 เมตร ทําให้แสงสามารถส่องลงใต้น้ํา ได้ดีซึ่งแสงจัดเป็นปัจจัยสําคัญในการกําหนดช่วงการแพร่กระจายของปะการังในแนวปะการัง แนวปะการังทางฝั่งตะวันออกของหมู่เกาะสิมิลันมีปะการังมีชีวิตเจริญเติบโตอยู่บน พื้นทราย ครอบคลุมพื้นที่อยู่ในช่วง 20-40 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่มีปะการังตายอยู่ในช่วง 30-50 เปอร์เซ็นต์ โดยบริเวณที่มีเปอร์เซ็นต์ครอบคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิตในปริมาณที่มากได้แก่ บริเวณ ทิศตะวันออกของเกาะสิมิลัน (เกาะแปด) ทิศตะวันออกของเกาะปายู (เกาะเจ็ด) และทิศตะวันออก ของเกาะบางู (เกาะเก้า) พบปะการังมีชีวิตครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ในอ่าว เกือกของเกาะสิมิลัน (เกาะแปด) จัดเป็นพื้นที่ที่มีปะการังมีชีวิตครอบคลุมพื้นที่น้อยที่สุดและมีเศษ ปะการังครอบคลุมพื้นที่มากที่สุด ชนิดของปะการังที่มีเปอร์เซ็นต์ครอบคลุมพื้นที่มากและเป็นชนิดที่ เป็นโครงสร้างหลักของแนวปะการัง ได้แก่ ปะการังชนิด Porites lutea, Synaraea rus และ P. cylindrica (กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, 2553) ภาพที่ 5 การกระจายตัวของชนิดปะการัง ที่มา : สถานวิจัยความเป็นเลิศความหลากหลายทางชีวภาพแห่งคาบสมุทรไทย (2555)
  • 12. 15 ประโยชน์ของแนวปะการัง 1. เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหลบภัยและแหล่งหากินของสิ่งมีชีวิตนานาชนิด เป็นระบบนิเวศที่มี ความหลากหลายทางชีวภาพสูงแห่งหนึ่ง มีสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์อาศัยอยู่ร่วมกันจํานวนมาก โดยจะ พบว่ามีสัตว์และพืชที่เราสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่ามากกว่า 2,000 ชนิด ปะการังที่พบในเขตอิน โดแปซิฟิคมีประมาณ 400 ชนิด ในขณะที่พบในน่านน้ําไทยฝั่งทะเลอันดามันประมาณ 240 ชนิด สัตว์ที่มีความหลากหลายในแนวปะการังอีกกลุ่ม คือ ปลา มีการรายงานพบปลาประมาณ 4,000 ชนิด ในแนวปะการัง โดยมีการพบปลาถึง 2,500 ชนิด ในบริเวณแนวปะการังเกรทแบริเออร์รีฟ ประเทศ ออสเตรเลีย และคาดว่าสามารถพบปลาในแนวปะการังทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทยได้ไม่ต่ํา กว่า 800 ชนิด (สถาบันวิจัยชีววิทยาและประมงทะเลภูเก็ต, 2538) 2. เป็นแหล่งที่มีความสําคัญต่อการเกิดสมดุลทางเคมีของมหาสมุทรและของโลก แนว ปะการังมีส่วนทําให้น้ําทะเลมีความสมดุลทางเคมีและอยู่ในสภาพที่ดี ปะการังและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ใน แนวปะการัง เช่น สาหร่ายที่มีหินปูนเป็นองค์ประกอบ ฟองน้ํา ฟอรามินิเฟอแรน เป็นต้น สามารถ ผลิตหินปูนหรือแคลเซียมคาร์บอเนตจากน้ําทะเล คาดว่าครึ่งหนึ่งของปริมาณแคลเซียมทั่วโลกที่ไหล ลงสู่ทะเลจะถูกแนวปะการังดูดซับเอาไว้ โดยพร้อมกันนั้นคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ก็จะถูกดึงมาใช้ เพื่อผลิตเป็นแคลเซียมคาร์บอเนต ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกตรึงภายในแนวปะการังทั่วโลกคิด เป็น 70 ล้านตันคาร์บอนต่อปี 3. เป็นแหล่งอาหารของมนุษย์ เนื่องจากแนวปะการังเป็นระบบนิเวศที่มีกําลังผลิตทาง ชีวภาพสูงที่สุด ปริมาณสิ่งมีชีวิตที่มีการทําการประมงในแนวปะการังคิดเป็น 9 ล้านตันต่อปี เมื่อ เปรียบเทียบกับปริมาณการทําการประมงในมหาสมุทรทั่วโลกประมาณ 75-100 ล้านตัน นอกจากนี้ ความหนาแน่นของปลาในแนวปะการัง คิดเป็น 30-40 เท่าของความหนาแน่นของปลาในทะเลเปิด ทั่วไป นอกจากนี้แนวปะการังยังเป็นแหล่งผลิตสัตว์ทะเลที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจนานาชนิด เช่น หอย หมึก กุ้ง เป็นต้น จึงนับว่าแนวปะการังเป็นแหล่งผลิตอาหารที่สําคัญสําหรับมนุษย์ 4. เป็นแนวป้องกันการกัดเซาะและพังทลายของชายฝั่งทะเล แนวปะการังจะช่วยลดแรง ปะทะและลดความรุนแรงของคลื่นก่อนที่จะวิ่งเข้าสู่ชายฝั่ง ในเกาะกวม แนวปะการังสามารถป้องกัน ความเสียหายที่เกิดจากพายุได้ ในขณะที่บางเกาะซึ่งมีแนวปะการังแคบๆ หรือไม่มีแนวปะการังกลับ ได้รับความเสียหายจากพายุอย่างรุนแรง 5. เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สําคัญ โดยนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มีความต้องการที่จะชมความงาม ของแนวปะการัง ปัจจุบันการดําน้ําลึกและการดําน้ําผิวน้ําเป็นกิจกรรมหนึ่งที่เป็นที่นิยมของ นักท่องเที่ยวและสามารถทํารายได้มหาศาลให้แก่บางประเทศ เช่น หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิคได้ รายได้จากการท่องเที่ยวในแนวปะการังมากกว่า 21 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี ในขณะที่สหรัฐอเมริกามี รายได้จากการท่องเที่ยวดําน้ําบริเวณรัฐฟลอริดาจํานวนมากกว่า 1.6 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี 6. เป็นแหล่งผลิตสารที่มีความสําคัญในทางการแพทย์ แนวปะการังเป็นแหล่งที่มีความ หลากหลายทางชีวภาพสูงแห่งหนึ่ง ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ในการที่จะสกัดสารทางชีวภาพจาก สิ่งมีชีวิตต่างๆสําหรับนํามาใช้ในทางการแพทย์ เช่น สารสกัดจากฟองน้ําและปะการังอ่อนหลายชนิดมี ฤทธิ์ต้านจุลชีพ ยับยั้งโรคลิวคีเมีย สารสกัด Prostaglandin จากกัลปังหาบางชนิด นํามาใช้ในทาง
  • 13. 16 การแพทย์เนื่องจากสารชนิดนี้มีความสําคัญต่อกระบวนการตั้งครรภ์และการคลอด การรักษาอาการ หมุนเวียนเลือดในหัวใจผิดปกติ อาการหอบ สารสกัดจากสาหร่ายสีแดงบางชนิดมีฤทธิ์ต้านการสร้าง เนื้องอก สาร Didemnin B ซึ่งสกัดจากเพรียงหัวหอมบางชนิดออกฤทธิ์ต้านโรคลิวคีเมีย การเกิดเนื้อ งอก การเจริญเติบโตของไวรัส Bryostatin ซึ่งสกัดจากไบรโอซัวเป็นส่วนผสมในยาที่ใช้ในการรักษา โรคมะเร็ง สาร Squalamine ในเลือดปลาฉลาม มีฤทธิ์ต้านจุลชีพ นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์ยัง พบว่า เมือกที่แบคทีเรียบางชนิดซึ่งเกาะติดอยู่บนหินในแนวปะการังสร้างขึ้นมา อาจนํามาใช้ในการ รักษาและเชื่อมเนื้อเยื่อของมนุษย์ แคลเซียมคาร์บอเนตซึ่งผลิตจากปะการังยังนํามาใช้ในการปลูกถ่าย ไขสันหลัง นอกจากนี้สารพิษที่พบในปลาปักเป้ายังนํามาใช้ในการบรรเทาอาการเจ็บปวดของผู้ป่วย มะเร็งระยะสุดท้าย เป็นต้น (กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, 2553)