SlideShare a Scribd company logo
1 of 6
Download to read offline
บทนำ�
_12-23(001-006)P3.indd 1 8/1/13 8:34 AM
2	 ปลา : ชีววิทยาและอนุกรมวิธาน
ปลาเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีชีวิต ซึ่งสามารถผลิตลูกหลานมาทดแทนได้ (renewable
resource) เป็นสัตว์น�้ำที่มีความส�ำคัญยิ่งทางเศรษฐกิจ เป็นอาหารโปรตีนที่ส�ำคัญของมนุษยชาติ
มนุษย์รู้จักน�ำปลามาเป็นอาหารตั้งแต่สมัยดึกด�ำบรรพ์ จนไม่อาจประมาณได้ว่ารู้จักมานาน
เท่าใด เนื่องจากปลาอาศัยอยู่ในน�้ำและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ก็อยู่ใกล้แหล่งน�้ำ ในระยะแรก
คงเป็นปลาน�้ำจืดที่สามารถจับได้ตามแม่น�้ำ ล�ำคลอง หนอง บึงต่าง ๆ ต่อมา เมื่อมีการอพยพ
ย้ายถิ่นตามล�ำน�้ำจนถึงชายทะเล จึงได้น�ำปลาทะเลมาเป็นอาหาร ยิ่งมนุษย์ในสมัยต่อมารู้จัก
การต่อแพต่อเรือขึ้นมาใช้ การจับปลาจึงมีความส�ำคัญมากขึ้นตามล�ำดับ ดังปรากฏจากภาพ
วาดของคนโบราณ มักมีภาพปลาปรากฏอยู่ หรือจากการขุดซากมนุษย์โบราณมักพบชิ้นส่วน
โครงกระดูกปลาอยู่ในบริเวณใกล้เคียงเสมอ
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ พบว่าปลามีความเกี่ยวพันกับมนุษย์อย่างแน่นแฟ้น
เช่น เมืองส�ำคัญของชาวฟินิเชียน (Phoenician) คือเมือง “ไซดอน” (Sidon) มีความหมายว่า
“ปลา” ชาวกรีกถือว่าการประมงมีความส�ำคัญต่อปากท้องของเขาเป็นอย่างมาก เขารู้จักวิธี
ถนอมปลาโดยการตากแห้ง การท�ำเค็ม มีอยู่หลายสมัยที่ชาวกรีกและโรมันถือว่าปลาบางชนิด
เป็นอาหารชั้นเยี่ยม กฎหมายของอังกฤษสมัยหนึ่งบัญญัติไว้ว่า ปลาเป็นพระราชทรัพย์ส่วน
พระองค์ของพระมหากษัตริย์ซึ่งจะทรงให้ใครหรือเก็บภาษีอย่างไรก็ได้ ชาวจีนรู้จักเลี้ยงปลา
สวยงามมานานหลายพันปี ดังที่เห็นได้จากภาพวาดและศิลปะการเย็บปักถักร้อยมักมีรูปปลา
สวยงามอยู่ด้วยเสมอ ชาวไทยรู้จักว่า ปลาเป็นอาหารโปรตีนชั้นดีมานานแล้ว ดังค�ำกล่าว
ที่มักพูดติดปากกันอยู่เสมอ ๆ เช่น ในน�้ำมีปลาในนามีข้าว ข้าวปลาอาหาร กินข้าวกินปลา
บางครั้งเป็นค�ำพังเพยและสุภาษิต เช่น ปลาตกน�้ำตัวโต น�้ำมาปลากินมด น�้ำลดมดกินปลา
ตีปลาหน้าไซ ปลาใหญ่กินปลาเล็ก เป็นต้น นอกจากปลาจะถูกน�ำมาเป็นอาหารแล้ว ยังมี
การน�ำมาใช้ประโยชน์ในด้านอื่น ๆ อีก เช่น ในด้านนันทนาการโดยน�ำมาเลี้ยงเป็นปลา
สวยงาม ร่างกายของปลาบางชนิดมีความโปร่งใส จึงถูกน�ำมาศึกษาเพื่อดูการท�ำงานของ
ระบบอวัยวะภายใน บางชนิดน�ำมาเลี้ยงเพื่อศึกษาด้านสรีรวิทยา พฤติกรรม นิเวศวิทยา
วิวัฒนาการ พันธุกรรมและการผสมข้ามพันธุ์ บางชนิดใช้เป็นดัชนีชี้วัดภาวะมลพิษ ปลา
บางชนิดน�ำมาถ่วงดุลธรรมชาติ เช่น ช่วยกินวัชพืช กินไข่แมลง ฯลฯ ในบางครั้งมีการใช้
ปลาช่วยรักษาโรคและเป็นอาหารเสริมด้วย เช่น น�้ำมันปลา น�้ำมันจากตับปลา พิษจากปลา
บางชนิดใช้เป็นยาชาในทางการแพทย์ จากเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้งในปัจจุบัน
ประกอบกับความต้องการอาหารโปรตีนที่เพิ่มขึ้น ปลาจึงเพิ่มความส�ำคัญมากขึ้น ท�ำให้
มีการผสมเทียมและการเพาะเลี้ยงมากขึ้นเรื่อย ๆ ข้อที่ควรค�ำนึงถึงก็คือ ท�ำอย่างไรไม่ให้ปลา
ชนิดต่าง ๆ สูญพันธุ์ไปจากโลกนี้ จากผลการกระท�ำของมนุษยชาติ
_12-23(001-006)P3.indd 2 8/1/13 8:34 AM
บทนำ�	 3
ปลาคืออะไร
เมื่อเอ่ยถึงปลา ทุกคนจะทราบว่า เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในน�้ำ หายใจด้วยเหงือก ว่ายน�้ำ
โดยใช้ครีบ แต่ความหมายของศัพท์ในพจนานุกรมเก่า ๆ ปลามีความหมายมากกว่านั้น
โดยหมายถึงสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในน�้ำซึ่งสามารถน�ำมาใช้ประโยชน์ทางการประมงได้ เช่น
ปลาชนิดต่าง ๆ ปลาวาฬ แมวน�้ำ หอยนางรม ปลาหมึก ปลาดาว แมงกะพรุน ฟองน�้ำ
ตลอดจนดอกบัวและพืชน�้ำชนิดต่าง ๆ
ในภาษาอังกฤษค�ำว่า “fish” หมายถึง “ปลา” แต่อาจมีค�ำอื่นมาควบเข้ากลายเป็น
สัตว์น�้ำชนิดอื่น ซึ่งไม่ใช่ปลา เช่น
Cuttlefish หมายถึง สัตว์จ�ำพวกหมึกกระดอง
Shellfish หมายถึง สัตว์มีเปลือกประเภทกุ้ง ปู หอย ต่าง ๆ
Crayfish หมายถึง กุ้งมังกร
ในภาษาไทย สัตว์บางชนิดใช้ค�ำว่า “ปลา” น�ำหน้า แต่ความจริงสัตว์ชนิดนั้นไม่ใช่ปลา
เช่น ปลาดาว ปลาหมึก ซึ่งเป็นสัตว์ประเภทไม่มีกระดูกสันหลัง ปลาวาฬ ปลาโลมา และปลาพะยูน
คือ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน�้ำนมที่อาศัยอยู่ในน�้ำ เป็นต้น
ในวิชานี้จะเรียนเฉพาะ “ปลา” ที่อยู่ในค�ำจ�ำกัดความนี้เท่านั้น
	 ๑.	 เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในน�้ำ หรืออย่างน้อยต้องเป็นที่ชื้นแฉะ
	 ๒.	 เป็นสัตว์เลือดเย็น (poikilothermal animal)
	 ๓.	 ร่างกายแบ่งออกเป็นส่วนหัว ล�ำตัว และหาง ชัดเจน
	 ๔.	 ร่างกายสมมาตรแบบซ้ายขวา (bilateral symmetry) ยกเว้นกลุ่มปลาซีกเดียว
	 ๕.	 ร่างกายถูกปกคลุมด้วยเกล็ด (scale) หรือมีเมือกห่อหุ้ม
	 ๖.	 มีรยางค์คู่ไม่เกิน ๒ คู่
	 ๗.	 เคลื่อนที่โดยใช้ครีบ (fin)
	 ๘.	 มีระบบอวัยวะต่าง ๆ แยกกันชัดเจน
	 ๙.	 มีโนโตคอร์ด (notochord) และถูกแทนที่ด้วยกระดูกสันหลังเมื่อเจริญวัยขึ้น
	 ๑๐.	 ระบบโครงสร้างประกอบด้วยกระดูกอ่อนและกระดูกแข็ง
	 ๑๑.	 มีฟันบนกระดูกขากรรไกร
	 ๑๒.	 หายใจด้วยเหงือก (gill) และมีช่องเปิดเหงือก (gill slit) ให้น�้ำออกสู่ภายนอก
	 ๑๓.	 ระบบทางเดินเลือดเป็นแบบวงจรปิด
	 ๑๔.	 มีหัวใจ ๒ ห้อง คือ auricle และ ventricle
	 ๑๕.	 มีท่อประสาทกลวงอยู่เหนือทางเดินอาหาร
	 ๑๖.	 มีจมูกใช้ส�ำหรับดมกลิ่นเท่านั้น
_12-23(001-006)P3.indd 3 8/1/13 8:34 AM
4	 ปลา : ชีววิทยาและอนุกรมวิธาน
	 ๑๗.	 ส่วนมากมีเส้นข้างตัว (lateral line)
	 ๑๘.	 มีรูทวารอยู่บริเวณสันท้อง
	 ๑๙.	 เพศผู้และเพศเมียแยกกันชัดเจน
	 ๒๐.	 การสืบพันธุ์มีทั้งออกไข่ (oviparous) ออกลูกเป็นตัวแบบตัวอ่อนได้รับอาหารจาก
ไข่แดง (aplacental viviparous) และแบบได้รับอาหารทางสายสะดือ (placental viviparous)
ปลามาจากไหน
สัตว์ในไฟลัมคอร์ดาต้า (Phylum Chordata) ที่เรียกว่า คอร์เดท (chordate) เป็นสัตว์
ที่มีวิวัฒนาการสูงขึ้นมาจากสัตว์จ�ำพวกไม่มีกระดูกสันหลัง (invertebrate) โดยกลุ่มที่เป็นสัตว์
ชั้นต�่ำยังคงใช้โนโตคอร์ดเป็นแกนพยุงร่างกายให้คงรูป และไม่มีกะโหลกหัว (acraniated
chordate) ได้แก่ ไฟลัมย่อยยูโรคอร์ดาต้า (Subphylum Urochordata) และไฟลัมย่อย
เซฟาโลคอร์ดาต้า (Subphylum Cephalochordata) ปลาจัดอยู่ในไฟลัมย่อยเวอร์ทีบราต้า
(Subphylum Vertebrata) ซึ่งมีลักษณะส�ำคัญ คือ ใช้กระดูกสันหลังเป็นแกนพยุงล�ำตัวและมี
กะโหลกหัว (craniated chordate) ซึ่งแตกต่างจาก ๒ ไฟลัมย่อยแรกที่ไม่มีกะโหลกหัว
Romer (1965) ได้กล่าวถึงลักษณะส�ำคัญของสัตว์ในไฟลัมย่อยเวอร์ทีบราต้าไว้ดังนี้ คือ
๑. 	การมีล�ำตัวซีกซ้ายเหมือนกับซีกขวาเหมือนภาพที่เกิดในกระจกเงาเรียกว่าการสมมาตร
แบบซ้ายขวา (bilateral symmetry) ท�ำให้เคลื่อนไหวได้คล่องตัว ต่างกับการมีล�ำตัวสมมาตร
แบบกลม (radial symmetry) ที่มีรูปร่างเทอะทะ เคลื่อนไหวช้า หรือเกาะติดอยู่กับที่
๒.		การแบ่งส่วนของล�ำตัวมองเห็นชัดเจนจากภายนอก ได้แก่ ส่วนหัว ล�ำตัว และหาง
ในส่วนของล�ำตัวอาจแบ่งเป็นส่วนอกและส่วนท้องด้วย
๓.		ใช้เหงือกในการหายใจ และเมื่อเป็นสัตว์ชั้นสูงขึ้นมาจะถูกแทนที่ด้วยปอด
๔. ใช้โนโตคอร์ดเป็นแกนพยุงล�ำตัวจากส่วนหัวจนถึงหาง ในสัตว์ชั้นสูงขึ้นมาจะถูกแทนที่
ด้วยกระดูกสันหลัง (vertebral column หรือ backbone)
๕.		ระบบประสาทอยู่เหนือโนโตคอร์ดหรือกระดูกสันหลัง ภายในกลวง ไม่มีโครงสร้าง
ของปมประสาทแต่มีของเหลวบรรจุอยู่ ทางส่วนหน้าจะโป่งออกกลายเป็นส่วนของสมองและ
อวัยวะรับความรู้สึกเป็นคู่ เช่น ตา หู จมูก เป็นต้น
๖. 	ระบบทางเดินอาหาร มีทางเข้าและออกแยกจากกัน โดยมีปากอยู่ด้านล่างของ
ส่วนหน้า (anterior) และทวารหนักอยู่ส่วนท้ายสุด (posterior) ของล�ำตัว และส่วนหาง
ซึ่งไม่มีส่วนของทางเดินอาหารอยู่ ท่อทางเดินอาหารแบ่งเป็นส่วน เพื่อท�ำหน้าที่ต่าง ๆ กัน
เช่น ปาก ช่องคอ หลอดอาหาร กระเพาะอาหารและล�ำไส้ นอกจากนี้ ตรงส่วนต้นด้านล่างของ
ทางเดินอาหารยังมีส่วนของตับด้วย
_12-23(001-006)P3.indd 4 8/1/13 8:34 AM
บทนำ�	 5
	 ๗.	ไตเป็นคู่อยู่ด้านบนของช่องว่างในส่วนล�ำตัว มีท่อไตและกระเพาะปัสสาวะ
	 ๘.	อวัยวะสืบพันธุ์ แยกเพศ แต่การผสมพันธุ์อาจจะเป็นทั้งแบบภายนอกและภายใน
ล�ำตัว
	 ๙.	ระบบทางเดินเลือดเป็นแบบวงจรปิด มีหัวใจช่วยสูบฉีดโลหิตส่งออกไปตามเส้นเลือด
ทั่วร่างกาย ภายในเม็ดเลือดมีสารประกอบของเหล็ก เรียกว่า ฮีโมโกลบิน (haemoglobin)
๑๐.	ช่องว่างภายในล�ำตัว แบ่งออกเป็นส่วนตามอวัยวะที่อยู่ เช่น ช่องว่างในส่วนท้อง
(abdominal cavity) เป็นที่อยู่ของระบบทางเดินอาหาร ช่องว่างในทรวงอก (pleural cavity)
มีปอดอยู่ และช่องว่างรอบหัวใจ (pericardial cavity)
๑๑.	มีระบบกล้ามเนื้อช่วยในการขับเคลื่อนและเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ได้แก่
กล้ามเนื้อลาย กล้ามเนื้อเรียบ และกล้ามเนื้อหัวใจ
๑๒.	ระบบโครงกระดูกยังคงเป็นกระดูกอ่อนในขณะที่เป็นตัวอ่อนและถูกแทนที่ด้วยกระดูก
แข็งเมื่อเจริญวัยขึ้น
๑๓.	มีรยางค์คู่ไม่เกิน ๒ คู่
๑๔.	การแบ่งเป็นข้อและปล้องของร่างกายเห็นไม่ชัดเจนจากภายนอก เช่น ข้อกระดูก
สันหลัง และมัดกล้ามเนื้อ
สัตว์ในไฟลัมย่อยนี้แบ่งออกเป็น ๕ กลุ่มใหญ่ ๆ โดยเรียงล�ำดับวิวัฒนาการจากต�่ำไปสูง
ได้แก่ ปลา (pisces) สัตว์ครึ่งบกครึ่งน�้ำ (amphibia) สัตว์เลื้อยคลาน (reptilia) นก สัตว์มีปีก
เป็นขน (aves) และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน�้ำนม (mammalia) จะเห็นว่าปลาเป็นกลุ่มของสัตว์มีกระดูก
สันหลังที่มีวิวัฒนาการต�่ำที่สุด
จ�ำนวนและความมากน้อย
ปลาเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีมากทั้งชนิดและจ�ำนวน จากการค้นพบประมาณ
กันว่ามีมากกว่าครึ่งหนึ่งของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบันทั้งหมด โดย Nelson
(2006) คาดว่ามีสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหมด ๕๔,๗๑๑ ชนิด ในจ�ำนวนนี้เป็นปลาประมาณ
๒๗,๙๗๗ ชนิด และในแต่ละปียังได้มีการค้นพบชนิดใหม่เพิ่มขึ้นอีก ในขณะที่สัตว์มีกระดูก
สันหลังชนิดอื่นมีการค้นพบชนิดใหม่น้อยกว่า ในจ�ำนวนนี้เป็นปลาที่มีชีวิตอยู่ทั้งหมด ๕๑๕
ครอบครัว พบว่า ๙ ครอบครัวมีจ�ำนวนชนิดมากกว่า ๔๐๐ ชนิด (รวมประมาณ ๙,๓๐๒ ชนิด)
ซึ่งคิดเป็นประมาณร้อยละ ๓๓ ของจ�ำนวนชนิดทั้งหมด ได้แก่ ครอบครัว Cyprinidae,
Gobiidae, Cichlidae, Characidae, Loricariidae, Balitoridae, Serranidae, Labridae และ
Scorpaenidae จะเห็นว่าใน ๙ ครอบครัวใหญ่นี้ประกอบด้วยปลาน�้ำจืดประมาณร้อยละ ๖๖
(ประมาณ ๖,๑๐๖ ชนิด)
_12-23(001-006)P3.indd 5 8/1/13 8:34 AM
6	 ปลา : ชีววิทยาและอนุกรมวิธาน
จากการจ�ำแนกพบว่า มี ๖๔ ครอบครัวที่เป็น monotypic (ร้อยละ ๓๓ มีเพียง
ครอบครัวละ ๒ ชนิดจาก ๑ หรือ ๒ สกุล) ในขณะที่อีก ๖๗ ครอบครัวมีจ�ำนวนชนิดครอบครัว
ละ ๑๐๐ ชนิดหรือมากกว่า ในจ�ำนวนนี้มี ๓ ครอบครัวที่มีจ�ำนวนชนิดครอบครัวละมากกว่า
๑,๐๐๐ ชนิด มีจ�ำนวน ๑๕๑ ครอบครัวที่มีเพียง ๑ สกุล (จ�ำนวนชนิดรวมกัน ๕๘๗ ชนิด)
มีครอบครัวที่มี ๑ สกุลและมีจ�ำนวนชนิดมากถึง ๕๔ ชนิด (Family Astroblepidae) อย่างไร
ก็ตาม โดยเฉลี่ยแล้วในแต่ละครอบครัวจะมีจ�ำนวน ๕๔ ชนิด
ความหลากหลาย
ปลาอาศัยอยู่บนผิวโลกในส่วนที่เป็นแหล่งน�้ำธรรมชาติทั้งน�้ำจืด (freshwater) น�้ำกร่อย
(brackish water) และน�้ำทะเล (saline water) ตั้งแต่บนภูเขาที่สูงจากระดับน�้ำทะเลมากกว่า
๕,๒๐๐ เมตร (ในทิเบต) จนถึงในมหาสมุทรที่มีความลึกมากกว่า ๗,๐๐๐ เมตร (ความกดจะ
เพิ่มขึ้น ๑ บรรยากาศในทุกความลึกที่เพิ่มขึ้น ๑๐ เมตร) เช่น ทะเลสาบ Titicaca ที่สูงที่สุด
ในโลก (อยู่สูงจากระดับน�้ำทะเล ๓,๘๑๑ เมตร บนเทือกเขาแอนดีสในทวีปอเมริกาใต้) ทะเลสาบ
Baikal ซึ่งเป็นทะเลสาบที่ลึกที่สุดในโลก (ลึก ๑,๗๐๐ เมตร อยู่ในทวีปเอเชีย) เกี่ยวกับความ
เค็ม บางชนิดอาศัยในน�้ำจืดที่มีความเค็มเพียง ๐.๐๑ ส่วนในพัน บางชนิดอาศัยในน�้ำที่มี
ความเค็มมากกว่า ๑๐๐ ส่วนในพัน (ความเค็มของน�้ำทะเลปกติคือ ๓๔ ถึง ๓๖ ส่วนในพัน)
เกี่ยวกับความลึก บางชนิดอาศัยที่ผิวน�้ำ (surface) บางชนิดมุดลงไปใต้พื้นดิน (subterranean
หรือ hypogean) บางชนิดอาศัยในบริเวณ deep-sea thermal vent ของมหาสมุทรแปซิฟิก
ตะวันออก เกี่ยวกับอุณหภูมิ บางชนิดอาศัยใน hot soda lake ที่มีอุณหภูมิสูงถึง ๔๒.๕
องศาเซลเซียส บางชนิดอาศัยในทะเลขั้วโลกมีแผ่นน�้ำแข็งปกคลุมอยู่ข้างบนที่อุณหภูมิ –๒
องศาเซลเซียส ปลาแต่ละชนิดมีความสามารถในการทนต่อสภาพแวดล้อมไม่เท่ากัน บางชนิด
ทนได้ในช่วงกว้าง บางชนิดสามารถทนได้ในช่วงแคบ นอกจากนี้ ยังมีปลาบางชนิดอาศัยใน
ถ�้ำ (cave) บางชนิดหลบซ่อนใต้พื้น (underground) บางชนิดอาศัยบริเวณธารน�้ำที่ไหลเชี่ยว
(torrential stream) ปลาหลายชนิดที่มีอวัยวะช่วยหายใจ (air-breathing organ) ท�ำให้สามารถ
อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอากาศจ�ำนวนน้อย เช่น ในน�้ำนิ่งตามหนองบึงต่าง ๆ ในขณะที่บางชนิด
ต้องอยู่ในที่มีปริมาณออกซิเจนเพียงพอ
จากความหลากหลายของสภาพที่อยู่อาศัย และปัจจัยด้านสภาวะแวดล้อมที่แตกต่างกัน
ท�ำให้ปลามีรูปร่างลักษณะต่างกัน ปลาขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือ ปลาฉลามวาฬ (whale
shark, Rhyncodon typus) มีความยาวมากกว่า ๑๒ เมตร ส่วนปลาขนาดเล็กที่สุดในโลก
ที่ค้นพบในปัจจุบันคือ ปลาในกลุ่มตะเพียน ชื่อว่า Paedocypris progenetica เมื่อโตเต็มที่
มีขนาดเพียง ๗.๙ มิลลิเมตรเท่านั้น ปลาชนิดนี้อาศัยในประเทศอินโดนีเซีย และถือว่าเป็นสัตว์
มีกระดูกสันหลังที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลกอีกด้วย
_12-23(001-006)P3.indd 6 8/1/13 8:34 AM

More Related Content

Viewers also liked

9789740331780
97897403317809789740331780
9789740331780CUPress
 
ตัวอย่างวิเคราะห์ Scene/Shot
ตัวอย่างวิเคราะห์ Scene/Shotตัวอย่างวิเคราะห์ Scene/Shot
ตัวอย่างวิเคราะห์ Scene/ShotApida Runvat
 
9789740330905
97897403309059789740330905
9789740330905CUPress
 
9789740329770
97897403297709789740329770
9789740329770CUPress
 
9789740331063
97897403310639789740331063
9789740331063CUPress
 
9789740330462
97897403304629789740330462
9789740330462CUPress
 
9789740331421
97897403314219789740331421
9789740331421CUPress
 
9789740333517
97897403335179789740333517
9789740333517CUPress
 
Ebook เทรด binary option
Ebook เทรด binary optionEbook เทรด binary option
Ebook เทรด binary optionNarudol Pechsook
 
ขั้นตอนการเขียนบทภาพยนตร์
ขั้นตอนการเขียนบทภาพยนตร์ขั้นตอนการเขียนบทภาพยนตร์
ขั้นตอนการเขียนบทภาพยนตร์Tuf Rio
 
หุ้นซิ่ง (รวบรวมเนื้อหาเกี่ยวกับหุ้นซิ่งจากอินเตอร์เน็ท)
หุ้นซิ่ง (รวบรวมเนื้อหาเกี่ยวกับหุ้นซิ่งจากอินเตอร์เน็ท)หุ้นซิ่ง (รวบรวมเนื้อหาเกี่ยวกับหุ้นซิ่งจากอินเตอร์เน็ท)
หุ้นซิ่ง (รวบรวมเนื้อหาเกี่ยวกับหุ้นซิ่งจากอินเตอร์เน็ท)Akarawat Thanachitnawarat
 
ทำไมเทรดโดยใช้ Indicator จึงไม่ประสบความสำเร็จ
ทำไมเทรดโดยใช้ Indicator จึงไม่ประสบความสำเร็จทำไมเทรดโดยใช้ Indicator จึงไม่ประสบความสำเร็จ
ทำไมเทรดโดยใช้ Indicator จึงไม่ประสบความสำเร็จAkarawat Thanachitnawarat
 

Viewers also liked (14)

9789740331780
97897403317809789740331780
9789740331780
 
Camera technique
Camera techniqueCamera technique
Camera technique
 
ตัวอย่างวิเคราะห์ Scene/Shot
ตัวอย่างวิเคราะห์ Scene/Shotตัวอย่างวิเคราะห์ Scene/Shot
ตัวอย่างวิเคราะห์ Scene/Shot
 
9789740330905
97897403309059789740330905
9789740330905
 
9789740329770
97897403297709789740329770
9789740329770
 
9789740331063
97897403310639789740331063
9789740331063
 
9789740330462
97897403304629789740330462
9789740330462
 
9789740331421
97897403314219789740331421
9789740331421
 
9789740333517
97897403335179789740333517
9789740333517
 
Ebook เทรด binary option
Ebook เทรด binary optionEbook เทรด binary option
Ebook เทรด binary option
 
ขั้นตอนการเขียนบทภาพยนตร์
ขั้นตอนการเขียนบทภาพยนตร์ขั้นตอนการเขียนบทภาพยนตร์
ขั้นตอนการเขียนบทภาพยนตร์
 
สรุป Master the market
สรุป  Master the marketสรุป  Master the market
สรุป Master the market
 
หุ้นซิ่ง (รวบรวมเนื้อหาเกี่ยวกับหุ้นซิ่งจากอินเตอร์เน็ท)
หุ้นซิ่ง (รวบรวมเนื้อหาเกี่ยวกับหุ้นซิ่งจากอินเตอร์เน็ท)หุ้นซิ่ง (รวบรวมเนื้อหาเกี่ยวกับหุ้นซิ่งจากอินเตอร์เน็ท)
หุ้นซิ่ง (รวบรวมเนื้อหาเกี่ยวกับหุ้นซิ่งจากอินเตอร์เน็ท)
 
ทำไมเทรดโดยใช้ Indicator จึงไม่ประสบความสำเร็จ
ทำไมเทรดโดยใช้ Indicator จึงไม่ประสบความสำเร็จทำไมเทรดโดยใช้ Indicator จึงไม่ประสบความสำเร็จ
ทำไมเทรดโดยใช้ Indicator จึงไม่ประสบความสำเร็จ
 

Similar to 9789740331315

ระบบนิเวศ
ระบบนิเวศระบบนิเวศ
ระบบนิเวศJira Boonjira
 
อาณาจักรสัตว์Science
อาณาจักรสัตว์Scienceอาณาจักรสัตว์Science
อาณาจักรสัตว์Scienceteeraya
 
ความหมายของนิเวศวิทยา
ความหมายของนิเวศวิทยาความหมายของนิเวศวิทยา
ความหมายของนิเวศวิทยาweerabong
 
การเคลื่อนที่สมช
การเคลื่อนที่สมชการเคลื่อนที่สมช
การเคลื่อนที่สมชWichai Likitponrak
 
อนุกรมวิธาน+อาณาจักรสัตว์
อนุกรมวิธาน+อาณาจักรสัตว์อนุกรมวิธาน+อาณาจักรสัตว์
อนุกรมวิธาน+อาณาจักรสัตว์feeonameray
 
ชีววิทยาเรื่องระบบขับถ่าย Excretion
ชีววิทยาเรื่องระบบขับถ่าย Excretionชีววิทยาเรื่องระบบขับถ่าย Excretion
ชีววิทยาเรื่องระบบขับถ่าย Excretionkasidid20309
 
สิ่งมีชีวิต
สิ่งมีชีวิตสิ่งมีชีวิต
สิ่งมีชีวิตtarcharee1980
 
ชีวะวิทยา.pdf
ชีวะวิทยา.pdfชีวะวิทยา.pdf
ชีวะวิทยา.pdfssuser09955f
 
ชีวะวิทยา.pdf
ชีวะวิทยา.pdfชีวะวิทยา.pdf
ชีวะวิทยา.pdfssuser09955f
 
1วิวัฒนาการ
1วิวัฒนาการ1วิวัฒนาการ
1วิวัฒนาการWan Ngamwongwan
 
4.ตรวจเอกสาร
4.ตรวจเอกสาร4.ตรวจเอกสาร
4.ตรวจเอกสารPinNii Natthaya
 
พันธุ์ปลาน้ำจืดในประเทศไทย
พันธุ์ปลาน้ำจืดในประเทศไทยพันธุ์ปลาน้ำจืดในประเทศไทย
พันธุ์ปลาน้ำจืดในประเทศไทยcahtchai
 
พันธุ์ปลาน้ำจืดในประเทศไทย
พันธุ์ปลาน้ำจืดในประเทศไทยพันธุ์ปลาน้ำจืดในประเทศไทย
พันธุ์ปลาน้ำจืดในประเทศไทยcahtchai
 
พันธุ์ปลาน้ำจืดในประเทศไทย
พันธุ์ปลาน้ำจืดในประเทศไทยพันธุ์ปลาน้ำจืดในประเทศไทย
พันธุ์ปลาน้ำจืดในประเทศไทยcahtchai
 
Hr1 Type And Physical Prop Fth 467
Hr1 Type And Physical Prop Fth 467Hr1 Type And Physical Prop Fth 467
Hr1 Type And Physical Prop Fth 467off5230
 
ทิ้งถ่วง หรือ หิ่งห้อย
ทิ้งถ่วง หรือ หิ่งห้อยทิ้งถ่วง หรือ หิ่งห้อย
ทิ้งถ่วง หรือ หิ่งห้อยNassaree Jeh-uma
 
การเคลื่อนที่ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
การเคลื่อนที่ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังการเคลื่อนที่ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
การเคลื่อนที่ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังnokbiology
 

Similar to 9789740331315 (20)

ระบบนิเวศ
ระบบนิเวศระบบนิเวศ
ระบบนิเวศ
 
อาณาจักรสัตว์Science
อาณาจักรสัตว์Scienceอาณาจักรสัตว์Science
อาณาจักรสัตว์Science
 
ความหมายของนิเวศวิทยา
ความหมายของนิเวศวิทยาความหมายของนิเวศวิทยา
ความหมายของนิเวศวิทยา
 
การเคลื่อนที่สมช
การเคลื่อนที่สมชการเคลื่อนที่สมช
การเคลื่อนที่สมช
 
ธรณีประวัติ
ธรณีประวัติธรณีประวัติ
ธรณีประวัติ
 
อนุกรมวิธาน+อาณาจักรสัตว์
อนุกรมวิธาน+อาณาจักรสัตว์อนุกรมวิธาน+อาณาจักรสัตว์
อนุกรมวิธาน+อาณาจักรสัตว์
 
Kingdom protista
Kingdom protistaKingdom protista
Kingdom protista
 
ชีววิทยาเรื่องระบบขับถ่าย Excretion
ชีววิทยาเรื่องระบบขับถ่าย Excretionชีววิทยาเรื่องระบบขับถ่าย Excretion
ชีววิทยาเรื่องระบบขับถ่าย Excretion
 
สิ่งมีชีวิต
สิ่งมีชีวิตสิ่งมีชีวิต
สิ่งมีชีวิต
 
ชีวะวิทยา.pdf
ชีวะวิทยา.pdfชีวะวิทยา.pdf
ชีวะวิทยา.pdf
 
ชีวะวิทยา.pdf
ชีวะวิทยา.pdfชีวะวิทยา.pdf
ชีวะวิทยา.pdf
 
1วิวัฒนาการ
1วิวัฒนาการ1วิวัฒนาการ
1วิวัฒนาการ
 
4.ตรวจเอกสาร
4.ตรวจเอกสาร4.ตรวจเอกสาร
4.ตรวจเอกสาร
 
พันธุ์ปลาน้ำจืดในประเทศไทย
พันธุ์ปลาน้ำจืดในประเทศไทยพันธุ์ปลาน้ำจืดในประเทศไทย
พันธุ์ปลาน้ำจืดในประเทศไทย
 
พันธุ์ปลาน้ำจืดในประเทศไทย
พันธุ์ปลาน้ำจืดในประเทศไทยพันธุ์ปลาน้ำจืดในประเทศไทย
พันธุ์ปลาน้ำจืดในประเทศไทย
 
พันธุ์ปลาน้ำจืดในประเทศไทย
พันธุ์ปลาน้ำจืดในประเทศไทยพันธุ์ปลาน้ำจืดในประเทศไทย
พันธุ์ปลาน้ำจืดในประเทศไทย
 
Hr1 Type And Physical Prop Fth 467
Hr1 Type And Physical Prop Fth 467Hr1 Type And Physical Prop Fth 467
Hr1 Type And Physical Prop Fth 467
 
ทิ้งถ่วง หรือ หิ่งห้อย
ทิ้งถ่วง หรือ หิ่งห้อยทิ้งถ่วง หรือ หิ่งห้อย
ทิ้งถ่วง หรือ หิ่งห้อย
 
Sst primate
Sst primateSst primate
Sst primate
 
การเคลื่อนที่ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
การเคลื่อนที่ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังการเคลื่อนที่ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
การเคลื่อนที่ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
 

More from CUPress

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737CUPress
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560CUPress
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478CUPress
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270CUPress
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102CUPress
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096CUPress
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072CUPress
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027CUPress
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914CUPress
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907CUPress
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686CUPress
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457CUPress
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440CUPress
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389CUPress
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280CUPress
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365CUPress
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303CUPress
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242CUPress
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235CUPress
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099CUPress
 

More from CUPress (20)

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099
 

9789740331315

  • 2. 2 ปลา : ชีววิทยาและอนุกรมวิธาน ปลาเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีชีวิต ซึ่งสามารถผลิตลูกหลานมาทดแทนได้ (renewable resource) เป็นสัตว์น�้ำที่มีความส�ำคัญยิ่งทางเศรษฐกิจ เป็นอาหารโปรตีนที่ส�ำคัญของมนุษยชาติ มนุษย์รู้จักน�ำปลามาเป็นอาหารตั้งแต่สมัยดึกด�ำบรรพ์ จนไม่อาจประมาณได้ว่ารู้จักมานาน เท่าใด เนื่องจากปลาอาศัยอยู่ในน�้ำและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ก็อยู่ใกล้แหล่งน�้ำ ในระยะแรก คงเป็นปลาน�้ำจืดที่สามารถจับได้ตามแม่น�้ำ ล�ำคลอง หนอง บึงต่าง ๆ ต่อมา เมื่อมีการอพยพ ย้ายถิ่นตามล�ำน�้ำจนถึงชายทะเล จึงได้น�ำปลาทะเลมาเป็นอาหาร ยิ่งมนุษย์ในสมัยต่อมารู้จัก การต่อแพต่อเรือขึ้นมาใช้ การจับปลาจึงมีความส�ำคัญมากขึ้นตามล�ำดับ ดังปรากฏจากภาพ วาดของคนโบราณ มักมีภาพปลาปรากฏอยู่ หรือจากการขุดซากมนุษย์โบราณมักพบชิ้นส่วน โครงกระดูกปลาอยู่ในบริเวณใกล้เคียงเสมอ จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ พบว่าปลามีความเกี่ยวพันกับมนุษย์อย่างแน่นแฟ้น เช่น เมืองส�ำคัญของชาวฟินิเชียน (Phoenician) คือเมือง “ไซดอน” (Sidon) มีความหมายว่า “ปลา” ชาวกรีกถือว่าการประมงมีความส�ำคัญต่อปากท้องของเขาเป็นอย่างมาก เขารู้จักวิธี ถนอมปลาโดยการตากแห้ง การท�ำเค็ม มีอยู่หลายสมัยที่ชาวกรีกและโรมันถือว่าปลาบางชนิด เป็นอาหารชั้นเยี่ยม กฎหมายของอังกฤษสมัยหนึ่งบัญญัติไว้ว่า ปลาเป็นพระราชทรัพย์ส่วน พระองค์ของพระมหากษัตริย์ซึ่งจะทรงให้ใครหรือเก็บภาษีอย่างไรก็ได้ ชาวจีนรู้จักเลี้ยงปลา สวยงามมานานหลายพันปี ดังที่เห็นได้จากภาพวาดและศิลปะการเย็บปักถักร้อยมักมีรูปปลา สวยงามอยู่ด้วยเสมอ ชาวไทยรู้จักว่า ปลาเป็นอาหารโปรตีนชั้นดีมานานแล้ว ดังค�ำกล่าว ที่มักพูดติดปากกันอยู่เสมอ ๆ เช่น ในน�้ำมีปลาในนามีข้าว ข้าวปลาอาหาร กินข้าวกินปลา บางครั้งเป็นค�ำพังเพยและสุภาษิต เช่น ปลาตกน�้ำตัวโต น�้ำมาปลากินมด น�้ำลดมดกินปลา ตีปลาหน้าไซ ปลาใหญ่กินปลาเล็ก เป็นต้น นอกจากปลาจะถูกน�ำมาเป็นอาหารแล้ว ยังมี การน�ำมาใช้ประโยชน์ในด้านอื่น ๆ อีก เช่น ในด้านนันทนาการโดยน�ำมาเลี้ยงเป็นปลา สวยงาม ร่างกายของปลาบางชนิดมีความโปร่งใส จึงถูกน�ำมาศึกษาเพื่อดูการท�ำงานของ ระบบอวัยวะภายใน บางชนิดน�ำมาเลี้ยงเพื่อศึกษาด้านสรีรวิทยา พฤติกรรม นิเวศวิทยา วิวัฒนาการ พันธุกรรมและการผสมข้ามพันธุ์ บางชนิดใช้เป็นดัชนีชี้วัดภาวะมลพิษ ปลา บางชนิดน�ำมาถ่วงดุลธรรมชาติ เช่น ช่วยกินวัชพืช กินไข่แมลง ฯลฯ ในบางครั้งมีการใช้ ปลาช่วยรักษาโรคและเป็นอาหารเสริมด้วย เช่น น�้ำมันปลา น�้ำมันจากตับปลา พิษจากปลา บางชนิดใช้เป็นยาชาในทางการแพทย์ จากเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้งในปัจจุบัน ประกอบกับความต้องการอาหารโปรตีนที่เพิ่มขึ้น ปลาจึงเพิ่มความส�ำคัญมากขึ้น ท�ำให้ มีการผสมเทียมและการเพาะเลี้ยงมากขึ้นเรื่อย ๆ ข้อที่ควรค�ำนึงถึงก็คือ ท�ำอย่างไรไม่ให้ปลา ชนิดต่าง ๆ สูญพันธุ์ไปจากโลกนี้ จากผลการกระท�ำของมนุษยชาติ _12-23(001-006)P3.indd 2 8/1/13 8:34 AM
  • 3. บทนำ� 3 ปลาคืออะไร เมื่อเอ่ยถึงปลา ทุกคนจะทราบว่า เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในน�้ำ หายใจด้วยเหงือก ว่ายน�้ำ โดยใช้ครีบ แต่ความหมายของศัพท์ในพจนานุกรมเก่า ๆ ปลามีความหมายมากกว่านั้น โดยหมายถึงสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในน�้ำซึ่งสามารถน�ำมาใช้ประโยชน์ทางการประมงได้ เช่น ปลาชนิดต่าง ๆ ปลาวาฬ แมวน�้ำ หอยนางรม ปลาหมึก ปลาดาว แมงกะพรุน ฟองน�้ำ ตลอดจนดอกบัวและพืชน�้ำชนิดต่าง ๆ ในภาษาอังกฤษค�ำว่า “fish” หมายถึง “ปลา” แต่อาจมีค�ำอื่นมาควบเข้ากลายเป็น สัตว์น�้ำชนิดอื่น ซึ่งไม่ใช่ปลา เช่น Cuttlefish หมายถึง สัตว์จ�ำพวกหมึกกระดอง Shellfish หมายถึง สัตว์มีเปลือกประเภทกุ้ง ปู หอย ต่าง ๆ Crayfish หมายถึง กุ้งมังกร ในภาษาไทย สัตว์บางชนิดใช้ค�ำว่า “ปลา” น�ำหน้า แต่ความจริงสัตว์ชนิดนั้นไม่ใช่ปลา เช่น ปลาดาว ปลาหมึก ซึ่งเป็นสัตว์ประเภทไม่มีกระดูกสันหลัง ปลาวาฬ ปลาโลมา และปลาพะยูน คือ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน�้ำนมที่อาศัยอยู่ในน�้ำ เป็นต้น ในวิชานี้จะเรียนเฉพาะ “ปลา” ที่อยู่ในค�ำจ�ำกัดความนี้เท่านั้น ๑. เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในน�้ำ หรืออย่างน้อยต้องเป็นที่ชื้นแฉะ ๒. เป็นสัตว์เลือดเย็น (poikilothermal animal) ๓. ร่างกายแบ่งออกเป็นส่วนหัว ล�ำตัว และหาง ชัดเจน ๔. ร่างกายสมมาตรแบบซ้ายขวา (bilateral symmetry) ยกเว้นกลุ่มปลาซีกเดียว ๕. ร่างกายถูกปกคลุมด้วยเกล็ด (scale) หรือมีเมือกห่อหุ้ม ๖. มีรยางค์คู่ไม่เกิน ๒ คู่ ๗. เคลื่อนที่โดยใช้ครีบ (fin) ๘. มีระบบอวัยวะต่าง ๆ แยกกันชัดเจน ๙. มีโนโตคอร์ด (notochord) และถูกแทนที่ด้วยกระดูกสันหลังเมื่อเจริญวัยขึ้น ๑๐. ระบบโครงสร้างประกอบด้วยกระดูกอ่อนและกระดูกแข็ง ๑๑. มีฟันบนกระดูกขากรรไกร ๑๒. หายใจด้วยเหงือก (gill) และมีช่องเปิดเหงือก (gill slit) ให้น�้ำออกสู่ภายนอก ๑๓. ระบบทางเดินเลือดเป็นแบบวงจรปิด ๑๔. มีหัวใจ ๒ ห้อง คือ auricle และ ventricle ๑๕. มีท่อประสาทกลวงอยู่เหนือทางเดินอาหาร ๑๖. มีจมูกใช้ส�ำหรับดมกลิ่นเท่านั้น _12-23(001-006)P3.indd 3 8/1/13 8:34 AM
  • 4. 4 ปลา : ชีววิทยาและอนุกรมวิธาน ๑๗. ส่วนมากมีเส้นข้างตัว (lateral line) ๑๘. มีรูทวารอยู่บริเวณสันท้อง ๑๙. เพศผู้และเพศเมียแยกกันชัดเจน ๒๐. การสืบพันธุ์มีทั้งออกไข่ (oviparous) ออกลูกเป็นตัวแบบตัวอ่อนได้รับอาหารจาก ไข่แดง (aplacental viviparous) และแบบได้รับอาหารทางสายสะดือ (placental viviparous) ปลามาจากไหน สัตว์ในไฟลัมคอร์ดาต้า (Phylum Chordata) ที่เรียกว่า คอร์เดท (chordate) เป็นสัตว์ ที่มีวิวัฒนาการสูงขึ้นมาจากสัตว์จ�ำพวกไม่มีกระดูกสันหลัง (invertebrate) โดยกลุ่มที่เป็นสัตว์ ชั้นต�่ำยังคงใช้โนโตคอร์ดเป็นแกนพยุงร่างกายให้คงรูป และไม่มีกะโหลกหัว (acraniated chordate) ได้แก่ ไฟลัมย่อยยูโรคอร์ดาต้า (Subphylum Urochordata) และไฟลัมย่อย เซฟาโลคอร์ดาต้า (Subphylum Cephalochordata) ปลาจัดอยู่ในไฟลัมย่อยเวอร์ทีบราต้า (Subphylum Vertebrata) ซึ่งมีลักษณะส�ำคัญ คือ ใช้กระดูกสันหลังเป็นแกนพยุงล�ำตัวและมี กะโหลกหัว (craniated chordate) ซึ่งแตกต่างจาก ๒ ไฟลัมย่อยแรกที่ไม่มีกะโหลกหัว Romer (1965) ได้กล่าวถึงลักษณะส�ำคัญของสัตว์ในไฟลัมย่อยเวอร์ทีบราต้าไว้ดังนี้ คือ ๑. การมีล�ำตัวซีกซ้ายเหมือนกับซีกขวาเหมือนภาพที่เกิดในกระจกเงาเรียกว่าการสมมาตร แบบซ้ายขวา (bilateral symmetry) ท�ำให้เคลื่อนไหวได้คล่องตัว ต่างกับการมีล�ำตัวสมมาตร แบบกลม (radial symmetry) ที่มีรูปร่างเทอะทะ เคลื่อนไหวช้า หรือเกาะติดอยู่กับที่ ๒. การแบ่งส่วนของล�ำตัวมองเห็นชัดเจนจากภายนอก ได้แก่ ส่วนหัว ล�ำตัว และหาง ในส่วนของล�ำตัวอาจแบ่งเป็นส่วนอกและส่วนท้องด้วย ๓. ใช้เหงือกในการหายใจ และเมื่อเป็นสัตว์ชั้นสูงขึ้นมาจะถูกแทนที่ด้วยปอด ๔. ใช้โนโตคอร์ดเป็นแกนพยุงล�ำตัวจากส่วนหัวจนถึงหาง ในสัตว์ชั้นสูงขึ้นมาจะถูกแทนที่ ด้วยกระดูกสันหลัง (vertebral column หรือ backbone) ๕. ระบบประสาทอยู่เหนือโนโตคอร์ดหรือกระดูกสันหลัง ภายในกลวง ไม่มีโครงสร้าง ของปมประสาทแต่มีของเหลวบรรจุอยู่ ทางส่วนหน้าจะโป่งออกกลายเป็นส่วนของสมองและ อวัยวะรับความรู้สึกเป็นคู่ เช่น ตา หู จมูก เป็นต้น ๖. ระบบทางเดินอาหาร มีทางเข้าและออกแยกจากกัน โดยมีปากอยู่ด้านล่างของ ส่วนหน้า (anterior) และทวารหนักอยู่ส่วนท้ายสุด (posterior) ของล�ำตัว และส่วนหาง ซึ่งไม่มีส่วนของทางเดินอาหารอยู่ ท่อทางเดินอาหารแบ่งเป็นส่วน เพื่อท�ำหน้าที่ต่าง ๆ กัน เช่น ปาก ช่องคอ หลอดอาหาร กระเพาะอาหารและล�ำไส้ นอกจากนี้ ตรงส่วนต้นด้านล่างของ ทางเดินอาหารยังมีส่วนของตับด้วย _12-23(001-006)P3.indd 4 8/1/13 8:34 AM
  • 5. บทนำ� 5 ๗. ไตเป็นคู่อยู่ด้านบนของช่องว่างในส่วนล�ำตัว มีท่อไตและกระเพาะปัสสาวะ ๘. อวัยวะสืบพันธุ์ แยกเพศ แต่การผสมพันธุ์อาจจะเป็นทั้งแบบภายนอกและภายใน ล�ำตัว ๙. ระบบทางเดินเลือดเป็นแบบวงจรปิด มีหัวใจช่วยสูบฉีดโลหิตส่งออกไปตามเส้นเลือด ทั่วร่างกาย ภายในเม็ดเลือดมีสารประกอบของเหล็ก เรียกว่า ฮีโมโกลบิน (haemoglobin) ๑๐. ช่องว่างภายในล�ำตัว แบ่งออกเป็นส่วนตามอวัยวะที่อยู่ เช่น ช่องว่างในส่วนท้อง (abdominal cavity) เป็นที่อยู่ของระบบทางเดินอาหาร ช่องว่างในทรวงอก (pleural cavity) มีปอดอยู่ และช่องว่างรอบหัวใจ (pericardial cavity) ๑๑. มีระบบกล้ามเนื้อช่วยในการขับเคลื่อนและเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ได้แก่ กล้ามเนื้อลาย กล้ามเนื้อเรียบ และกล้ามเนื้อหัวใจ ๑๒. ระบบโครงกระดูกยังคงเป็นกระดูกอ่อนในขณะที่เป็นตัวอ่อนและถูกแทนที่ด้วยกระดูก แข็งเมื่อเจริญวัยขึ้น ๑๓. มีรยางค์คู่ไม่เกิน ๒ คู่ ๑๔. การแบ่งเป็นข้อและปล้องของร่างกายเห็นไม่ชัดเจนจากภายนอก เช่น ข้อกระดูก สันหลัง และมัดกล้ามเนื้อ สัตว์ในไฟลัมย่อยนี้แบ่งออกเป็น ๕ กลุ่มใหญ่ ๆ โดยเรียงล�ำดับวิวัฒนาการจากต�่ำไปสูง ได้แก่ ปลา (pisces) สัตว์ครึ่งบกครึ่งน�้ำ (amphibia) สัตว์เลื้อยคลาน (reptilia) นก สัตว์มีปีก เป็นขน (aves) และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน�้ำนม (mammalia) จะเห็นว่าปลาเป็นกลุ่มของสัตว์มีกระดูก สันหลังที่มีวิวัฒนาการต�่ำที่สุด จ�ำนวนและความมากน้อย ปลาเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีมากทั้งชนิดและจ�ำนวน จากการค้นพบประมาณ กันว่ามีมากกว่าครึ่งหนึ่งของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบันทั้งหมด โดย Nelson (2006) คาดว่ามีสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหมด ๕๔,๗๑๑ ชนิด ในจ�ำนวนนี้เป็นปลาประมาณ ๒๗,๙๗๗ ชนิด และในแต่ละปียังได้มีการค้นพบชนิดใหม่เพิ่มขึ้นอีก ในขณะที่สัตว์มีกระดูก สันหลังชนิดอื่นมีการค้นพบชนิดใหม่น้อยกว่า ในจ�ำนวนนี้เป็นปลาที่มีชีวิตอยู่ทั้งหมด ๕๑๕ ครอบครัว พบว่า ๙ ครอบครัวมีจ�ำนวนชนิดมากกว่า ๔๐๐ ชนิด (รวมประมาณ ๙,๓๐๒ ชนิด) ซึ่งคิดเป็นประมาณร้อยละ ๓๓ ของจ�ำนวนชนิดทั้งหมด ได้แก่ ครอบครัว Cyprinidae, Gobiidae, Cichlidae, Characidae, Loricariidae, Balitoridae, Serranidae, Labridae และ Scorpaenidae จะเห็นว่าใน ๙ ครอบครัวใหญ่นี้ประกอบด้วยปลาน�้ำจืดประมาณร้อยละ ๖๖ (ประมาณ ๖,๑๐๖ ชนิด) _12-23(001-006)P3.indd 5 8/1/13 8:34 AM
  • 6. 6 ปลา : ชีววิทยาและอนุกรมวิธาน จากการจ�ำแนกพบว่า มี ๖๔ ครอบครัวที่เป็น monotypic (ร้อยละ ๓๓ มีเพียง ครอบครัวละ ๒ ชนิดจาก ๑ หรือ ๒ สกุล) ในขณะที่อีก ๖๗ ครอบครัวมีจ�ำนวนชนิดครอบครัว ละ ๑๐๐ ชนิดหรือมากกว่า ในจ�ำนวนนี้มี ๓ ครอบครัวที่มีจ�ำนวนชนิดครอบครัวละมากกว่า ๑,๐๐๐ ชนิด มีจ�ำนวน ๑๕๑ ครอบครัวที่มีเพียง ๑ สกุล (จ�ำนวนชนิดรวมกัน ๕๘๗ ชนิด) มีครอบครัวที่มี ๑ สกุลและมีจ�ำนวนชนิดมากถึง ๕๔ ชนิด (Family Astroblepidae) อย่างไร ก็ตาม โดยเฉลี่ยแล้วในแต่ละครอบครัวจะมีจ�ำนวน ๕๔ ชนิด ความหลากหลาย ปลาอาศัยอยู่บนผิวโลกในส่วนที่เป็นแหล่งน�้ำธรรมชาติทั้งน�้ำจืด (freshwater) น�้ำกร่อย (brackish water) และน�้ำทะเล (saline water) ตั้งแต่บนภูเขาที่สูงจากระดับน�้ำทะเลมากกว่า ๕,๒๐๐ เมตร (ในทิเบต) จนถึงในมหาสมุทรที่มีความลึกมากกว่า ๗,๐๐๐ เมตร (ความกดจะ เพิ่มขึ้น ๑ บรรยากาศในทุกความลึกที่เพิ่มขึ้น ๑๐ เมตร) เช่น ทะเลสาบ Titicaca ที่สูงที่สุด ในโลก (อยู่สูงจากระดับน�้ำทะเล ๓,๘๑๑ เมตร บนเทือกเขาแอนดีสในทวีปอเมริกาใต้) ทะเลสาบ Baikal ซึ่งเป็นทะเลสาบที่ลึกที่สุดในโลก (ลึก ๑,๗๐๐ เมตร อยู่ในทวีปเอเชีย) เกี่ยวกับความ เค็ม บางชนิดอาศัยในน�้ำจืดที่มีความเค็มเพียง ๐.๐๑ ส่วนในพัน บางชนิดอาศัยในน�้ำที่มี ความเค็มมากกว่า ๑๐๐ ส่วนในพัน (ความเค็มของน�้ำทะเลปกติคือ ๓๔ ถึง ๓๖ ส่วนในพัน) เกี่ยวกับความลึก บางชนิดอาศัยที่ผิวน�้ำ (surface) บางชนิดมุดลงไปใต้พื้นดิน (subterranean หรือ hypogean) บางชนิดอาศัยในบริเวณ deep-sea thermal vent ของมหาสมุทรแปซิฟิก ตะวันออก เกี่ยวกับอุณหภูมิ บางชนิดอาศัยใน hot soda lake ที่มีอุณหภูมิสูงถึง ๔๒.๕ องศาเซลเซียส บางชนิดอาศัยในทะเลขั้วโลกมีแผ่นน�้ำแข็งปกคลุมอยู่ข้างบนที่อุณหภูมิ –๒ องศาเซลเซียส ปลาแต่ละชนิดมีความสามารถในการทนต่อสภาพแวดล้อมไม่เท่ากัน บางชนิด ทนได้ในช่วงกว้าง บางชนิดสามารถทนได้ในช่วงแคบ นอกจากนี้ ยังมีปลาบางชนิดอาศัยใน ถ�้ำ (cave) บางชนิดหลบซ่อนใต้พื้น (underground) บางชนิดอาศัยบริเวณธารน�้ำที่ไหลเชี่ยว (torrential stream) ปลาหลายชนิดที่มีอวัยวะช่วยหายใจ (air-breathing organ) ท�ำให้สามารถ อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอากาศจ�ำนวนน้อย เช่น ในน�้ำนิ่งตามหนองบึงต่าง ๆ ในขณะที่บางชนิด ต้องอยู่ในที่มีปริมาณออกซิเจนเพียงพอ จากความหลากหลายของสภาพที่อยู่อาศัย และปัจจัยด้านสภาวะแวดล้อมที่แตกต่างกัน ท�ำให้ปลามีรูปร่างลักษณะต่างกัน ปลาขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือ ปลาฉลามวาฬ (whale shark, Rhyncodon typus) มีความยาวมากกว่า ๑๒ เมตร ส่วนปลาขนาดเล็กที่สุดในโลก ที่ค้นพบในปัจจุบันคือ ปลาในกลุ่มตะเพียน ชื่อว่า Paedocypris progenetica เมื่อโตเต็มที่ มีขนาดเพียง ๗.๙ มิลลิเมตรเท่านั้น ปลาชนิดนี้อาศัยในประเทศอินโดนีเซีย และถือว่าเป็นสัตว์ มีกระดูกสันหลังที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลกอีกด้วย _12-23(001-006)P3.indd 6 8/1/13 8:34 AM