SlideShare a Scribd company logo
1 of 32
Download to read offline
ผลการศึกษา
1. สถานภาพปะการัง
1.1 สถานภาพปะการัง อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
1.1.1 แนวปะการังบริเวณที่ตื้น สภาพแนวปะการังมีความเสื่อมโทรม บางสถานีมีพรมทะเล
(Zoanthid ; Protopalythoa sp.) และดอกไม้ทะเลเล็ก (Corallimorph ; Metarhodactis sp.)
ขึ้นปกคลุมบนซากปะการังตายเต็มพื้นที่ (ภาพที่ 11) สถานีอ่าวสุเทพมีปะการังมีชีวิตครอบคลุมพื้นที่
มากที่สุด เท่ากับ 23.81 เปอร์เซ็นต์ สถานีที่มีปะการังมีชีวิตครอบคลุมพื้นที่น้อยที่สุด คือ สถานีเกาะ
สตอร์ค เท่ากับ 0.82 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเกาะสตอร์คมีพรมทะเลขึ้นปกคลุมพื้นที่มากถึง 69.78 เปอร์เซ็นต์
(ภาพที่ 12) สิ่งมีชีวิตรูปแบบนี้จะเข้าแก่งแย่งพื้นที่ว่างบนแนวปะการัง ทําให้ตัวอ่อนปะการังในมวล
น้ําจะลงเกาะ เพื่อเติบโตทดแทนแนวปะการังเดิมที่ได้รับผลกระทบจากการฟอกขาวมีโอกาสน้อยลง
ปะการังชนิดเด่นที่พบในเส้นสํารวจ ได้แก่ ปะการังโขด (Porites lutea) ปะการังผิวยู่ยี่ (Synaraea
rus) ปะการังสีน้ําเงิน (Heliopora coerulea) และปะการังผิวเกล็ดน้ําแข็ง (Montipora sp.) จาก
การสํารวจและติดตามการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศภายหลังปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว พบ
ปะการังที่ตายโดยเฉพาะปะการังเขากวางที่ตายเริ่มเกิดการยุบตัวและสึกกร่อน บางส่วนทับถมกันอยู่
บนแนวปะการังเดิม บางส่วนแตกหักเป็นชิ้นส่วนปะการังตายอยู่ทั่วบริเวณ ปะการังที่ตายมีสาหร่าย
ปุยเขียว (Turtle weed ; Chlorodesmis hildebrandtii) ขึ้นปกคลุม รายละเอียดแต่ละสถานีมี
ดังนี้
ภาพที่ 11 สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปะการังตาย และองค์ประกอบอื่นๆ ในปะการัง
พื้นราบ
28
ภาพที่ 12 เปอร์เซ็นต์ครอบคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิตทุกสถานีสํารวจ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะ
สุรินทร์
1. เกาะสตอร์ค
จากการสํารวจพบปะการังมีชีวิตปกคลุมพื้นที่เฉลี่ยร้อยละ 0.82 ปะการังตายร้อยละ
29.19 (ตารางที่ 4) สภาพทั่วไปของแนวปะการังมีสภาพเสื่อมโทรมมาก มีพรมทะเล (Zoanthid) ขึ้น
ปกคลุมซากปะการังเขากวางตายอยู่เต็มพื้นที่ ปะการังชนิดเด่นในพื้นที่ ได้แก่ ปะการังโขด (Porites
lutea)
ตารางที่ 4 สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปะการังตาย และองค์ประกอบอื่นๆ บริเวณเกาะ
สตอร์ค อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
องค์ประกอบสิ่งมีชีวิต/ไม่มีชีวิต สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ (ร้อยละ)
ปะการังมีชีวิต 0.82
ปะการังตาย 29.19
สาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ 0.05
พรมทะเล (Zoanthid) 69.78
เศษซากปะการัง 0.16
29
2. อ่าวจาก
จากการสํารวจพบปะการังมีชีวิตปกคลุมพื้นที่เฉลี่ยร้อยละ 18.24 ปะการังตายเฉลี่ย
ร้อยละ 64.34 (ตารางที่ 5) สภาพแนวปะการังในบริเวณนี้มีสภาพเสื่อมโทรม พบปะการังเขากวาง
อายุประมาณ 1-3 ปี ลงเกาะบนพื้นผิวปะการังตาย ปะการังชนิดเด่นในพื้นที่ ได้แก่ ปะการังโขด
(Porites lutea) ปะการังสีน้ําเงิน (Heliopora coerulea) และปะการังลายดอกไม้ (Pavona sp.)
ตารางที่ 5 สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปะการังตาย และองค์ประกอบอื่นๆ บริเวณอ่าว
จาก อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
องค์ประกอบสิ่งมีชีวิต/ไม่มีชีวิต สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ (ร้อยละ)
ปะการังมีชีวิต 18.24
ปะการังตาย 64.34
กัลปังหา 0.02
สาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ 0.21
ทราย 13.47
เศษซากปะการัง 3.72
3. อ่าวแม่ยาย
จากการสํารวจพบปะการังมีชีวิตปกคลุมพื้นที่เฉลี่ยร้อยละ 9.23 ปะการังตายเฉลี่ย
ร้อยละ 66.81 (ตารางที่ 6) สภาพแนวปะการังในบริเวณนี้มีสภาพเสื่อมโทรม มีซากปะการังตายปก
คลุมอยู่ทั่วบริเวณ ปะการังเด่นในพื้นที่ได้แก่กลุ่มปะการังโขด (Porites lutea) และปะการังผิวยู่ยี่
(Synaraea rus)
ตารางที่ 6 สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปะการังตาย และองค์ประกอบอื่นๆ อ่าวแม่ยาย
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
องค์ประกอบสิ่งมีชีวิต/ไม่มีชีวิต สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ (ร้อยละ)
ปะการังมีชีวิต 9.23
ปะการังตาย 66.81
สาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ 0.17
ทราย 22.67
เศษซากปะการัง 1.08
อื่นๆ (หอยมือเสือ/ขยะ) 0.04
30
4 อ่าวเต่า
จากการสํารวจพบปะการังมีชีวิตปกคลุมพื้นที่เฉลี่ยร้อยละ 8.67 ปะการังตายเฉลี่ย
ร้อยละ 32.58 (ตารางที่ 7) แนวปะการังในบริเวณนี้มีสภาพเสื่อมโทรม ปะการังเด่นในพื้นที่ได้แก่กลุ่ม
ปะการังโขด (Porites spp.) ปะการังผิวยู่ยี่ (Synaraea rus) และปะการังเห็ด (Fungia sp.)
ตารางที่ 7 สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปะการังตาย และองค์ประกอบอื่นๆ บริเวณอ่าว
เต่า อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
องค์ประกอบสิ่งมีชีวิต/ไม่มีชีวิต สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ (ร้อยละ)
ปะการังมีชีวิต 8.67
ปะการังตาย 32.58
ฟองน้ํา 0.04
สาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ 0.23
ทราย 57.04
เศษซากปะการัง 1.41
อื่นๆ (หอยมือเสือ) 0.03
5 อ่าวผักกาด
จากการสํารวจพบปะการังมีชีวิตปกคลุมพื้นที่เฉลี่ยร้อยละ 4.84 ปะการังตายเฉลี่ย
ร้อยละ 50.08 (ตารางที่ 8) แนวปะการังในบริเวณนี้มีสภาพเสื่อมโทรม ปะการังชนิดเด่นในพื้นที่
ได้แก่ ปะการังโขด (Porites lutea)
ตารางที่ 8 สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปะการังตาย และองค์ประกอบอื่นๆ บริเวณอ่าว
ผักกาด อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
องค์ประกอบสิ่งมีชีวิต/ไม่มีชีวิต สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ (ร้อยละ)
ปะการังมีชีวิต 4.84
ปะการังตาย 50.08
สาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ 0.05
ทราย 41.34
เศษซากปะการัง 3.69
31
6 เกาะตอรินลา
จากการสํารวจพบปะการังมีชีวิตปกคลุมพื้นที่เฉลี่ยร้อยละ 1.43 ปะการังตายเฉลี่ย
ร้อยละ 27.52 (ตารางที่ 9) สภาพแนวปะการังในบริเวณนี้มีสภาพเสื่อมโทรมมาก พบชิ้นส่วนปะการัง
ตายแตกหักเสียหายเป็นจํานวนมาก มีสาหร่ายปุยเขียว (Chlorodesmis hildebrandtii) ขึ้นปกคลุม
ซากปะการังเขากวางตายอยู่ทั่วบริเวณ
ตารางที่ 9 สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปะการังตาย และองค์ประกอบอื่นๆ เกาะตอรินลา
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
องค์ประกอบสิ่งมีชีวิต/ไม่มีชีวิต สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ (ร้อยละ)
ปะการังมีชีวิต 1.43
ปะการังตาย 27.52
สาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ 4.82
ทราย 3.45
เศษซากปะการัง 62.76
อื่นๆ (หอยมือเสือ) 0.02
7 อ่าวสุเทพ
จากการสํารวจพบปะการังมีชีวิตปกคลุมพื้นที่เฉลี่ยร้อยละ 23.81 ปะการังตายเฉลี่ย
ร้อยละ 67.47 (ตารางที่ 10) แนวปะการังในบริเวณนี้มีสภาพเสื่อมโทรม ปะการังเด่นในพื้นที่ ได้แก่
กลุ่มปะการังโขด (Porites lutea) ปะการังผิวยู่ยี่ (Synaraea rus) และปะการังดาวใหญ่
(Diploastrea heliopora)
ตารางที่ 10 สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปะการังตาย และองค์ประกอบอื่นๆ บริเวณอ่าว
สุเทพ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
องค์ประกอบสิ่งมีชีวิต/ไม่มีชีวิต สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ (ร้อยละ)
ปะการังมีชีวิต 23.81
ปะการังตาย 67.47
ฟองน้ํา 0.12
พรมทะเล (Zoanthid) 0.06
สาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ 0.04
ทราย 7.27
เศษซากปะการัง 0.91
อื่นๆ (เม่นหนามดํา/หอยมือเสือ/ดาวขนนก) 0.32
32
8 เกาะปาชุมบา/มังกร
จากการสํารวจพบปะการังมีชีวิตปกคลุมพื้นที่เฉลี่ยร้อยละ 1.97 ปะการังตายเฉลี่ย
ร้อยละ 62.42 (ตารางที่ 11) แนวปะการังมีสภาพเสื่อมโทรมมาก ปะการังชนิดเด่น ได้แก่ ปะการัง
โขด (Porites lutea)
ตารางที่ 11 สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปะการังตาย และองค์ประกอบอื่นๆ บริเวณเกาะ
ปาชุมบา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
องค์ประกอบสิ่งมีชีวิต/ไม่มีชีวิต สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ (ร้อยละ)
ปะการังมีชีวิต 1.97
ปะการังตาย 62.42
ดอกไม้ทะเลเล็ก (Corallimorph) 3.63
สาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ 0.28
ทราย 27.00
เศษซากปะการัง 4.54
อื่นๆ (หอยฝาเดียว/ดอกไม้ทะเล) 0.16
9 อ่าวไม้งาม
จากการสํารวจพบปะการังมีชีวิตปกคลุมพื้นที่เฉลี่ยร้อยละ 7.76 ปะการังตายเฉลี่ย
ร้อยละ 70.03 (ตารางที่ 12) แนวปะการังในบริเวณนี้มีสภาพเสื่อมโทรม ปะการังชนิดเด่นในพื้นที่
ได้แก่ ปะการังโขด (Porites lutea) และ ปะการังเขากวาง (Acropora sp.) อายุประมาณ 1-3 ปี
ตารางที่ 12 สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปะการังตาย และองค์ประกอบอื่นๆ บริเวณอ่าว
ไม้งาม อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
องค์ประกอบสิ่งมีชีวิต/ไม่มีชีวิต สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ (ร้อยละ)
ปะการังมีชีวิต 7.76
ปะการังตาย 70.03
กัลปังหา 0.03
ฟองน้ํา 0.09
พรมทะเล (Zoanthid) 0.17
สาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ 0.03
ทราย 11.73
เศษซากปะการัง 10.00
อื่นๆ (เม่นทะเลหนามดํา/ดาวขนนก) 0.16
33
10 หินแพ/หินกอง
จากการสํารวจพบปะการังมีชีวิตปกคลุมพื้นที่เฉลี่ยร้อยละ 1.33 ปะการังตายเฉลี่ย
ร้อยละ 54.34 (ตารางที่ 13) แนวปะการังในบริเวณนี้มีสภาพเสื่อมโทรมมาก ปะการังชนิดเด่นในพื้นที่
ได้แก่ ปะการังเห็ด (Fungia sp.) และปะการังลายดอกไม้ (Pavona varians)
ตารางที่ 13 สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปะการังตาย และองค์ประกอบอื่นๆ บริเวณ
หินแพ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
องค์ประกอบสิ่งมีชีวิต/ไม่มีชีวิต สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ (ร้อยละ)
ปะการังมีชีวิต 1.33
ปะการังตาย 54.34
กัลปังหา 0.03
ฟองน้ํา 0.11
ดอกไม้ทะเลเล็ก (Corallimorph) 21.80
สาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ 0.43
ทราย 2.94
เศษซากปะการัง 18.60
อื่นๆ (ดอกไม้ทะเล/เม่นทะเลหนามดํา) 0.42
1.1.2 แนวปะการังบริเวณที่ลึกหรือบริเวณไหล่แนวปะการัง (reef edge) ต่อเนื่องลงไป
ถึงส่วนลาดชันแนวปะการัง (reef slope) พบว่า ส่วนใหญ่มีแนวโน้มการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง เมื่อ
เปรียบเทียบกับช่วงแรกที่เกิดการฟอกขาว แต่บางพื้นที่จะมี Corallimorph และสาหร่ายขึ้นปกคลุม
อยู่เต็มพื้นที่ (ภาพที่ 13) สถานีอ่าวเต่า เกาะสุรินทร์ใต้ เป็นสถานีที่มีปะการังมีชีวิตครอบคลุมพื้นที่
มากที่สุด เท่ากับ 25.93 เปอร์เซ็นต์ สถานีที่มีปะการังมีชีวิตน้อยที่สุด คือ หินแพ/หินกอง เท่ากับ
1.80 เปอร์เซ็นต์ (ภาพที่ 14) ปะการังชนิดเด่น ได้แก่ ปะการังโขด (Porites lutea) ปะการังผิวยู่ยี่
(Porites rus) ปะการังดาวใหญ่ (Diploastrea heliopora) เมื่อนําเปอร์เซ็นต์ครอบคลุมพื้นที่ของ
ปะการังมีชีวิตปี 2552 ซึ่งเป็นช่วงก่อนเกิดการฟอกขาว และปี 2553 หลังการเกิดการฟอกขาวใน
ระยะแรก มาพิจารณาเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์ครอบคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต พบมีการ
เปลี่ยนแปลงของเปอร์เซ็นต์ครอบคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิตค่อนข้างมาก หลังจากนั้นในปี 2554-
2557 เปอร์เซ็นต์ครอบคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิตส่วนใหญ่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น (ภาพที่ 15)
34
ภาพที่ 13 สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปะการังตาย และองค์ประกอบอื่นๆ ในแนว
ปะการังบริเวณที่ลึก
ภาพที่ 14 เปอร์เซ็นต์ครอบคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิตทุกสถานีสํารวจ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะ
สุรินทร์
35
ภาพที่ 15 ค่าเปอร์เซ็นต์ครอบคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปี 2552-2557 อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะ
สุรินทร์
หลังเกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว แนวปะการังได้รับความเสียหายมากบริเวณไหล่แนว
ปะการัง (reef edge) และบริเวณลาดชัน (reef slope) มากกว่าบริเวณพื้นราบ (reef flat) ทั้งนี้
เนื่องจากบริเวณไหล่แนวปะการังและบริเวณลาดชันแนวปะการัง มักมีปะการังเขากวางเป็นชนิดเด่น
ในขณะที่บริเวณพื้นราบ มักมีปะการังโขดเป็นปะการังชนิดเด่น ดังนั้นผลกระทบจึงแตกต่างกันในแต่
ละบริเวณ สําหรับในบริเวณพื้นราบแนวปะการังนั้นปะการังโขดได้รับผลกระทบและมีการตายไปใน
บางส่วนของโคโลนี บางบริเวณที่มีปะการังเขากวางหนาแน่นจะได้รับความเสียหายค่อนข้างมาก เช่น
เกาะตอรินลา บริเวณเกาะมังกร และบริเวณเกาะสตอร์ค เป็นต้น รายละเอียดแต่ละสถานีมีดังนี้
1. เกาะสตอร์ค
เกาะสตอร์คแนวปะการังกว้างประมาณ 100 เมตร ทอดตัวยาวขนานหาดทรายของ
เกาะ มีปะการังปกคลุมพื้นที่ประมาณร้อยละ 3.69 ปะการังตายร้อยละ 22.58 (ตารางที่ 14) สภาพ
ทั่วไปของแนวปะการังมีสภาพเสื่อมโทรมมาก มีซากปะการังเขากวางตายอยู่ทั่วไป ปะการังชนิดเด่น
ในพื้นที่ ได้แก่ ปะการังโขด (Porites lutea) และในบริเวณนี้มีดอกไม้ทะเลเล็ก (Corallimorph) ขึ้น
ปกคลุมซากปะการังตายค่อนข้างหนาแน่น
36
ตารางที่ 14 สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปะการังตาย และองค์ประกอบอื่นๆ บริเวณเกาะ
สตอร์ค อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
องค์ประกอบสิ่งมีชีวิต/ไม่มีชีวิต สัดส่วนปกคลุมพื้นที่
ปะการังมีชีวิต 3.69
ปะการังตาย 22.58
ดอกไม้ทะเลเล็ก (Corallimorph) 14.50
สาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ 0.30
ทราย 58.06
เศษซากปะการัง 0.45
อื่นๆ (ดาวหมอนปักเข็ม/ดาวขนนก/เม่นหนามดํา/
ดอกไม้ทะเล)
0.42
2. อ่าวจาก
อ่าวจากมีแนวปะการังกว้างประมาณ 200 เมตร จากการสํารวจพบปะการังมีชีวิต
ปกคลุมพื้นที่เฉลี่ยร้อยละ 10.03 ปะการังตายเฉลี่ยร้อยละ 48.46 (ตารางที่ 15) สภาพแนวปะการังใน
บริเวณนี้มีสภาพเสื่อมโทรม กลุ่มปะการังเด่นในพื้นที่โดยส่วนใหญ่มีรูปทรงแบบก้อนหรือโขดขนาด
ใหญ่ ได้แก่ ปะการังโขด (Porites lutea) ปะการังผิวยู่ยี่ (Synaraea rus) และพบตัวอ่อนของ
ปะการังเขากวาง (Acropora sp.) ลงเกาะบนพื้นผิวปะการังตาย
ตารางที่ 15 สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปะการังตาย และองค์ประกอบอื่นๆ บริเวณ
อ่าวจาก อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
องค์ประกอบสิ่งมีชีวิต/ไม่มีชีวิต สัดส่วนปกคลุมพื้นที่
ปะการังมีชีวิต 10.03
ปะการังตาย 48.46
ฟองน้ํา 0.30
สาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ 0.09
ทราย 6.84
เศษซากปะการัง 34.15
อื่นๆ (ดอกไม้ทะเล/ขยะ) 0.13
37
3. อ่าวแม่ยาย
จากการสํารวจสภาพแนวปะการังบริเวณอ่าวแม่ยาย พบปะการังมีชีวิตปก
คลุมพื้นที่เฉลี่ยร้อยละ 18.59 ปะการังตายเฉลี่ยร้อยละ 51.17 (ตารางที่ 16) สภาพแนวปะการังใน
บริเวณนี้มีสภาพเสื่อมโทรม มีซากปะการังตายปกคลุมอยู่ทั่วบริเวณ ปะการังเด่นในพื้นที่ ได้แก่ กลุ่ม
ปะการังโขด (Porites lutea) ปะการังลายดอกไม้ (Pavona sp.) และปะการังผิวยู่ยี่ (Synaraea
rus)
ตารางที่ 16 สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปะการังตาย และองค์ประกอบอื่นๆ อ่าวแม่ยาย
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
องค์ประกอบสิ่งมีชีวิต/ไม่มีชีวิต สัดส่วนปกคลุมพื้นที่
ปะการังมีชีวิต 18.59
ปะการังตาย 51.17
กัลปังหา 0.01
ฟองน้ํา 0.44
ทราย 14.15
เศษซากปะการัง 15.40
อื่นๆ (ดาวขนนก/หอยสองฝา/ดาวหมอนปักเข็ม/เปลือก
หอยมือเสือ)
0.24
4. อ่าวเต่า
สภาพแนวปะการังบริเวณอ่าวเต่า พบปะการังมีชีวิตปกคลุมพื้นที่เฉลี่ยร้อยละ
25.93 ปะการังตายเฉลี่ยร้อยละ 51.15 (ตารางที่ 17) แนวปะการังในบริเวณนี้มีสภาพเสื่อมโทรม
ปะการังเด่นในพื้นที่ ได้แก่กลุ่มปะการังโขด (Porites spp.) ปะการังผิวเกล็ดน้ําแข็ง (Montipora
sp.)
38
ตารางที่ 17 สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปะการังตาย และองค์ประกอบอื่นๆ บริเวณ
อ่าวเต่า อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
องค์ประกอบสิ่งมีชีวิต/ไม่มีชีวิต สัดส่วนปกคลุมพื้นที่
ปะการังมีชีวิต 25.93
ปะการังตาย 51.15
กัลปังหา 1.27
ฟองน้ํา 0.43
สาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ 0.61
ทราย 15.03
เศษซากปะการัง 5.18
อื่นๆ (ดาวขนนก/ดอกไม้ทะเล/ปลิงทะเล) 0.40
5. อ่าวผักกาด
จากการสํารวจสภาพแนวปะการังบริเวณอ่าวผักกาด พบปะการังมีชีวิตปกคลุมพื้นที่
เฉลี่ยร้อยละ 22.63 ปะการังตายเฉลี่ยร้อยละ 56.11 (ตารางที่ 18) แนวปะการังในบริเวณนี้มีสภาพ
เสื่อมโทรม ปะการังชนิดเด่นในพื้นที่ ได้แก่ ปะการังโขด (Porites lutea) ปะการังลายดอกไม้
(Pavona sp.) และปะการังดาวใหญ่ (Diploastrea heliopora)
ตารางที่ 18 สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปะการังตาย และองค์ประกอบอื่นๆ บริเวณอ่าว
ผักกาด อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
องค์ประกอบสิ่งมีชีวิต/ไม่มีชีวิต สัดส่วนปกคลุมพื้นที่
ปะการังมีชีวิต 22.63
ปะการังตาย 56.11
ฟองน้ํา 0.45
พรมทะเล (Zoanthid) 0.04
สาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ 0.42
ทราย 17.22
เศษซากปะการัง 2.79
อื่นๆ (ดาวขนนก/ทากทะเล/ปลิงทะเล/เม่น
ทะเล)
0.34
39
6 เกาะตอรินลา
จากการสํารวจสภาพแนวปะการังบริเวณเกาะตอรินลา พบปะการังมีชีวิตปกคลุม
พื้นที่เฉลี่ยร้อยละ 3.06 ปะการังตายเฉลี่ยร้อยละ 88.68 (ตารางที่ 19) สภาพแนวปะการังในบริเวณนี้
มีสภาพเสื่อมโทรมมาก มีซากปะการังเขากวางตายปกคลุมอยู่ทั่วบริเวณ ปะการังชนิดเด่นในพื้นที่
ได้แก่ ปะการังโขด (Porites lutea) และปะการังเห็ด (Fungia sp.)
ตารางที่ 19 สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปะการังตาย และองค์ประกอบอื่นๆ เกาะ
ตอรินลา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
องค์ประกอบสิ่งมีชีวิต/ไม่มีชีวิต สัดส่วนปกคลุมพื้นที่
ปะการังมีชีวิต 3.06
ปะการังตาย 88.68
ฟองน้ํา 0.19
พรมทะเล 0.03
สาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ 0.45
เศษซากปะการัง 7.50
อื่นๆ (ดอกไม้ทะเล/ดาวขนนก/หอยฝาเดียว) 0.09
7 อ่าวสุเทพ
สภาพแนวปะการังบริเวณอ่าวสุเทพ พบปะการังมีชีวิตปกคลุมพื้นที่เฉลี่ยร้อยละ
14.50ปะการังตายเฉลี่ยร้อยละ 57.11 (ตารางที่ 20) แนวปะการังในบริเวณนี้มีสภาพเสื่อมโทรม
ปะการังเด่นในพื้นที่ ได้แก่ กลุ่มปะการังโขด (Porites lutea) ปะการังผิวยู่ยี่ (Synaraea rus) และ
ปะการังเขากวาง (Acropora spp.) อายุประมาณ 1-3 ปี สภาพแนวปะการังในบริเวณนี้มีแนวโน้ม
การฟื้นตัวที่ดี เนื่องจากมีปะการังเขากวางลงเกาะบนซากปะการังตายเป็นจํานวนพอสมควร
40
ตารางที่ 20 สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปะการังตาย และองค์ประกอบอื่นๆ บริเวณอ่าว
สุเทพ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
องค์ประกอบสิ่งมีชีวิต/ไม่มีชีวิต สัดส่วนปกคลุมพื้นที่
ปะการังมีชีวิต 14.50
ปะการังตาย 57.11
กัลปังหา 0.05
ฟองน้ํา 0.25
พรมทะเล 0.01
สาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ 0.16
ทราย 13.63
เศษซากปะการัง 14.15
อื่นๆ (ดาวขนนก/ปลิงทะเล/ปลา) 0.14
8 เกาะปาชุมบา/มังกร
จากการสํารวจพบปะการังมีชีวิตปกคลุมพื้นที่เฉลี่ยร้อยละ 4.98 ปะการังตายเฉลี่ย
ร้อยละ 45.98 (ตารางที่ 21) แนวปะการังมีสภาพเสื่อมโทรมมาก ปะการังชนิดเด่น ได้แก่ ปะการังผิว
ยู่ยี่ (Porites rus) และปะการังเห็ด (Fungia sp.)
ตารางที่ 21 สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปะการังตาย และองค์ประกอบอื่นๆ บริเวณเกาะ
ปาชุมบา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
องค์ประกอบสิ่งมีชีวิต/ไม่มีชีวิต สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ (ร้อยละ)
ปะการังมีชีวิต 4.98
ปะการังตาย 45.98
ดอกไม้ทะเลเล็ก (Corallimorph) 16.97
สาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ 0.45
ทราย 25.31
เศษซากปะการัง 6.27
อื่นๆ (ดาวขนนก) 0.03
9 อ่าวไม้งาม
จากการสํารวจสภาพแนวปะการังบริเวณอ่าวไม้งาม พบปะการังมีชีวิตปกคลุมพื้นที่
เฉลี่ยร้อยละ 21.38 ปะการังตายเฉลี่ยร้อยละ 60.31 (ตารางที่ 22) แนวปะการังในบริเวณนี้มีสภาพ
เสื่อมโทรม ปะการังชนิดเด่นในพื้นที่ได้แก่ ปะการังโขด (Porites lutea) และ ปะการังผิวยู่ยี่
(Porites rus) และปะการังเห็ด (Fungia sp.)
41
ตารางที่ 22 สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปะการังตาย และองค์ประกอบอื่นๆ บริเวณอ่าว
ไม้งาม อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
องค์ประกอบสิ่งมีชีวิต/ไม่มีชีวิต สัดส่วนปกคลุมพื้นที่
ปะการังมีชีวิต 21.38
ปะการังตาย 60.31
กัลปังหา 0.02
ฟองน้ํา 0.35
พรมทะเล 0.04
สาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ 0.33
ทราย 11.57
เศษซากปะการัง 5.98
อื่นๆ (ดาวขนนก/เม่นทะเล) 0.02
10 หินแพ/หินกอง
จากการสํารวจพบปะการังมีชีวิตปกคลุมพื้นที่เฉลี่ยร้อยละ 1.80 ปะการังตายเฉลี่ย
ร้อยละ 25.47 (ตารางที่ 23) แนวปะการังในบริเวณนี้มีสภาพเสื่อมโทรมมาก ซากปะการังเขากวางที่
ตายมีดอกไม้ทะเลเล็ก (Corallimorph) ขึ้นปกคลุมอยู่เต็มพื้นที่ ปะการังชนิดเด่นในพื้นที่ ได้แก่
ปะการังเห็ด (Fungia sp.)
ตารางที่ 23 สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปะการังตาย และองค์ประกอบอื่นๆ บริเวณ
หินแพ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
องค์ประกอบสิ่งมีชีวิต/ไม่มีชีวิต สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ (ร้อยละ)
ปะการังมีชีวิต 1.80
ปะการังตาย 25.47
กัลปังหา 0.10
ฟองน้ํา 0.13
ดอกไม้ทะเลเล็ก (Corallimorph) 39.12
สาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ 1.88
ทราย 25.20
เศษซากปะการัง 6.20
อื่นๆ (ดอกไม้ทะเล) 0.10
42
ปะการังชนิดเด่นที่พบในบริเวณหมู่เกาะสุรินทร์ ได้แก่ ปะการังโขด (Porites lutea)
ปะการังผิวยู่ยี่ (Porites rus) ปะการังดาวใหญ่ (Diploastrea heliopora) ปะการังสีน้ําเงิน
(Heliopora coerulea) ปะการังดอกเห็ด (Fungia spp.) สําหรับการเปลี่ยนแปลงของสังคมปะการัง
ที่ตายจากปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว พบมีกลุ่มสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ขึ้นปกคลุมพื้นที่ ได้แก่ สาหร่ายเส้น
สาย (Algal turfs) สาหร่ายหินปูน (Crustose algae) สาหร่ายขนาดใหญ่ (Upright macroalge)
พรมทะเล (Zoanthids) และดอกไม้ทะเลเล็ก (Corallimorphs)
จากปรากฏการณ์การฟอกขาว นอกจากจะส่งผลให้เปอร์เซ็นต์ครอบคลุมพื้นที่ของปะการังมี
ชีวิตลดลง ยังส่งผลให้โครงสร้างของแนวปะการังในแต่ละสถานีเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม กรณีที่เกิด
ขึ้นกับสถานีหินกอง สถานีเกาะตอรินลา สถานีเกาะปาชุมบา สถานีเกาะสตอร์ค และสถานีอ่าวแม่
ยาย เป็นกรณีที่เห็นได้ชัดเจน จากเดิมที่สถานีเหล่านี้มีปะการังเขากวางเป็นองค์ประกอบหลัก หลัง
เกิดการฟอกขาวโครงสร้างเหล่านี้ได้เปลี่ยนแปลงไป ทุกสถานีข้างต้นที่กล่าวมาข้างต้นมีประชากร
ปะการังเขากวางน้อยมาก องค์ประกอบที่เป็นโครงสร้างที่เหลืออยู่ คือ กลุ่มปะการังที่มีรูปทรงเป็น
ก้อน ได้แก่ ปะการังโขด ปะการังดาวใหญ่ เป็นต้น ปะการังเหล่านี้ล้วนแต่มีความทนทานและสามารถ
ฟื้นตัวได้ดีหลังการฟอกขาว ผลการศึกษาพบว่า โครงสร้างส่วนใหญ่ของสังคมแนวปะการังบริเวณ
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์เปลี่ยนไปจากเดิมที่มีโครงสร้างจากปะการังเขากวาง เป็นโครงสร้างที่
เกิดจากปะการังก้อนเป็นหลัก (ภาพที่ 16-21)
หลังจากเกิดการฟอกขาวของปะการัง การเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบทางสังคมแนว
ปะการังเริ่มมีแนวโน้มคงที่ พบโคโลนีปะการังเขากวางเกิดใหม่ อายุระหว่าง 1-3 ปี เป็นจํานวนมาก
โดยเฉพาะบริเวณอ่าวสุเทพ และอ่าวไม้งาม ลักษณะที่เกิดขึ้นเป็นสัญญาณที่ดีในฟื้นตัวของแนว
ปะการัง อย่างไรก็ตามระยะเวลาที่จะใช้ในการฟื้นตัวให้กลับมามีสภาพใกล้เคียงกับในช่วงก่อนหน้า
เกิดการฟอกขาวนั้น ยังไม่สามารถคาดการณ์ได้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยร่วมหลายๆ ประการ เช่น อัตราการ
ผลิตตัวอ่อนของปะการัง อัตราการผลิตชิ้นส่วนจากโคโลนีเดิม (fragmentation) การแก่งแย่งพื้นที่กับ
สิ่งมีชีวิตอื่นๆ การรบกวนที่เกิดจากธรรมชาติและจากมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม
ภาพที่ 16 แนวปะการังบริเวณอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ปี 2552 ก่อนเกิดปรากฏการณ์
ปะการังฟอกขาว
43
ภาพที่ 17 แนวปะการังบริเวณอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ปี 2553 ระหว่างเกิดปะการังฟอก
ขาว
ภาพที่ 18 แนวปะการังบริเวณอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ปี 2554 หลังปะการังฟอกขาว
ประมาณ 1 ปี
ภาพที่ 19 แนวปะการังบริเวณอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ปี 2555 หลังปะการังฟอกขาว
ประมาณ 2 ปี
44
ภาพที่ 20 แนวปะการังบริเวณอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ปี 2556 หลังปะการังฟอกขาว
ประมาณ 3 ปี
ภาพที่ 21 แนวปะการังบริเวณอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ปี 2557 หลังปะการังฟอกขาว
ประมาณ 4 ปี
1.2 สถานภาพปะการัง อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
1.1.1. แนวปะการังบริเวณที่ตื้นหรือพื้นราบของแนวปะการัง (reef flat) สภาพ
แนวปะการังมีสถานภาพปานกลาง มีโคโลนีปะการังที่รอดจากการฟอกขาวอยู่ค่อนข้างมาก (ภาพที่
22) แต่ในขณะเดียวกันปริมาณตัวอ่อนปะการังในธรรมชาติมีไม่มากนัก ดังนั้นระยะเวลาที่จะใช้ในการ
ฟื้นตัวให้กลับมามีสภาพใกล้เคียงกับในช่วงก่อนหน้าเกิดการฟอกขาวนั้น ยังไม่สามารถคาดการณ์ได้
สถานีอ่าวด้านเหนือของเกาะปายู มีปะการังมีชีวิตครอบคลุมพื้นที่มากที่สุดเท่ากับ 29.14 เปอร์เซ็นต์
สถานีที่มีปะการังมีชีวิตครอบคลุมพื้นที่น้อยที่สุด คือ สถานีหินม้วนเดียว เกาะห้า เท่ากับ 8.07
เปอร์เซ็นต์ (ภาพที่ 23) ปะการังชนิดเด่นที่พบในเส้นสํารวจ ได้แก่ ปะการังโขด (Porites lutea)
ปะการังผิวยู่ยี่ (Synaraea rus) ปะการังสีน้ําเงิน (Heliopora coerulea) และปะการังผิวเกล็ด
น้ําแข็ง (Montipora sp.) รายละเอียดผลการสํารวจแต่ละสถานีมีดังนี้
45
ภาพที่ 22 สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปะการังตาย และองค์ประกอบอื่นๆ ในแนวพื้น
ราบ
ภาพที่ 23 เปอร์เซ็นต์ครอบคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิตทุกสถานีสํารวจ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะ
สิมิลัน
46
1 หินม้วนเดียว เกาะห้า
สภาพปะการังมีปะการังปกคลุมพื้นที่ประมาณร้อยละ 8.07 ปะการังตายร้อยละ
50.65 (ตารางที่ 24) ปะการังชนิดเด่น ได้แก่ ปะการังโขด (Porites lutea) และปะการังผิวยู่ยี่
(Synaraea rus) บริเวณหินม้วนเดียวมีทรัพยากรอื่นๆ ที่เป็นจุดน่าสนใจ คือ กลุ่มปะการังอ่อน (Soft
coral) ได้แก่ (Dendronephthy spp.) กัลปังหา (Annella sp. และ Melithaea sp.) เจริญอยู่บน
พื้นหินจํานวนมาก
ตารางที่ 24 สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปะการังตาย และองค์ประกอบอื่นๆ บริเวณหิน
ม้วนเดียว เกาะห้า อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
องค์ประกอบสิ่งมีชีวิต/ไม่มีชีวิต สัดส่วนปกคลุมพื้นที่
ปะการังมีชีวิต 8.07
ปะการังตาย 50.65
กัลปังหา 0.52
สาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ 0.22
ทราย 40.24
เศษซากปะการัง 0.21
อื่นๆ (ปลิงทะเล/หนอนฉัตร) 0.09
2 อีสออฟอีเดน เกาะปายู
จากการสํารวจสภาพแนวปะการังบริเวณอีสออฟอีเดน พบปะการังมีชีวิตปกคลุม
พื้นที่เฉลี่ยร้อยละ 17.94 ปะการังตายเฉลี่ยร้อยละ 41.28 (ตารางที่ 25) ปะการังชนิดเด่นที่พบ ได้แก่
ปะการังผิวเกล็ดน้ําแข็ง (Montipora monasteriata)
ตารางที่ 25 สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปะการังตาย และองค์ประกอบอื่นๆ บริเวณอีส
ออฟอีเดน เกาะปายู อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
องค์ประกอบสิ่งมีชีวิต/ไม่มีชีวิต สัดส่วนปกคลุมพื้นที่
ปะการังมีชีวิต 17.94
ปะการังตาย 41.28
กัลปังหา 0.79
ฟองน้ํา 0.47
สาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ 0.41
ทราย 37.62
เศษซากปะการัง 1.26
อื่นๆ (ดาวขนนก/ไฮดรอยด์) 0.23
47
3 เวสออฟอีเดน เกาะปายู
จากการสํารวจสภาพแนวปะการังบริเวณเวสออฟอีเดน พบปะการังมีชีวิตปกคลุม
พื้นที่เฉลี่ยร้อยละ 21.32 ปะการังตายเฉลี่ยร้อยละ 53.18 (ตารางที่ 26) บริเวณเวสออฟอีเดน มี
ทรัพยากรอื่นๆ ในพื้นที่ส่วนใหญ่ที่เป็นปะการังอ่อน ได้แก่ Lobophytum sp. และ
Dendronephthy spp. กัลปังหา (Annella sp. และ Melithaea sp.) เจริญอยู่บนพื้นหินจํานวน
มาก ปะการังชนิดเด่นที่พบ ได้แก่ ปะการังโขด (Porites lutea) ปะการังผิวยู่ยี่ (Synaraea rus)
และปะการังดอกกะหล่ํา (Pocillopora sp.)
ตารางที่ 26 สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปะการังตาย และองค์ประกอบอื่นๆ บริเวณ
เวสออฟอีเดน เกาะปายู อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
องค์ประกอบสิ่งมีชีวิต/ไม่มีชีวิต สัดส่วนปกคลุมพื้นที่
ปะการังมีชีวิต 21.32
ปะการังตาย 53.18
กัลปังหา 0.02
ฟองน้ํา 0.92
พรมทะเล 0.02
สาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ 1.24
ทราย 22.18
เศษซากปะการัง 1.01
อื่นๆ (หนอนฉัตร/หอยฝาเดียว) 0.11
4 อ่าวด้านเหนือ เกาะปายู
สภาพแนวปะการังบริเวณอ่าวด้านเหนือของเกาะปายู มีปะการังปกคลุมพื้นที่
ประมาณร้อยละ 29.14 ปะการังตายเฉลี่ยร้อยละ 20.22 (ตารางที่ 27) ปะการังชนิดเด่นในพื้นที่ คือ
ปะการังสีน้ําเงิน (Heliopora coerulea) และเป็นชนิดที่ได้รับผลกระทบจากฟอกขาวเพียงเล็กน้อย
แต่สภาพของปะการังทั้งแนวในปัจจุบันเกิดการแตกหัก (fragment) เสียหายเป็นจํานวนมาก ซึ่ง
สาเหตุน่าจะเกิดจากคลื่นลมตามธรรมชาติ
48
ตารางที่ 27 สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปะการังตาย และองค์ประกอบอื่นๆ บริเวณอ่าว
ด้านเหนือ เกาะปายู อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
องค์ประกอบสิ่งมีชีวิต/ไม่มีชีวิต สัดส่วนปกคลุมพื้นที่
ปะการังมีชีวิต 29.14
ปะการังตาย 20.22
ฟองน้ํา 1.17
สาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ 1.09
ทราย 37.39
เศษซากปะการัง 10.98
อื่นๆ (ดาวขนนก) 0.01
5 อ่าวไฟแวบ เกาะสิมิลัน
จากการสํารวจสภาพแนวปะการังบริเวณอ่าวไฟแวบ สภาพทั่วไปของแนวปะการัง
เสื่อมโทรมมาก พบปะการังมีชีวิตปกคลุมพื้นที่เฉลี่ยร้อยละ 9.34 ปะการังตายเฉลี่ยร้อยละ 47.19
(ตารางที่ 28) ปะการังชนิดเด่น ได้แก่ ปะการังโขด (Porites lutea) ปะการังผิวยู่ยี่ (Synaraea rus)
และปะการังลายดอกไม้ (Pavona sp.)
ตารางที่ 28 สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปะการังตาย และองค์ประกอบอื่นๆ บริเวณอ่าว
ไฟแวบ เกาะสิมิลัน อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
องค์ประกอบสิ่งมีชีวิต/ไม่มีชีวิต สัดส่วนปกคลุมพื้นที่
ปะการังมีชีวิต 9.34
ปะการังตาย 47.19
ฟองน้ํา 0.07
สาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ 0.61
ทราย 42.1
เศษซากปะการัง 0.52
อื่นๆ (ปลา) 0.17
6 หาดเล็ก เกาะเมียง
สภาพแนวปะการังบริเวณหาดเล็ก มีปะการังปกคลุมพื้นที่ประมาณร้อยละ
28.09 ปะการังตายเฉลี่ยร้อยละ 22.61 (ตารางที่ 29) ปะการังชนิดเด่นในพื้นที่ คือ ปะการังลาย
ดอกไม้ (Pavona sp.) และปะการังเห็ด (Fungia sp.)
49
ตารางที่ 29 สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปะการังตาย และองค์ประกอบอื่นๆ บริเวณ
หาดเล็ก อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
องค์ประกอบสิ่งมีชีวิต/ไม่มีชีวิต สัดส่วนปกคลุมพื้นที่
ปะการังมีชีวิต 28.09
ปะการังตาย 22.61
ฟองน้ํา 1.06
สาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ 0.25
ทราย 47.23
เศษซากปะการัง 0.76
7 อ่าวนําชัย เกาะบางู
จากการสํารวจสภาพแนวปะการังบริเวณอ่าวนําชัย พบปะการังมีชีวิตปกคลุมพื้นที่
เฉลี่ยร้อยละ 9.34 ปะการังตายเฉลี่ยร้อยละ 47.19 (ตารางที่ 30) ปะการังชนิดเด่น ได้แก่ ปะการัง
โขด (Porites lutea) ปะการังผิวยู่ยี่ (Synaraea rus) และปะการังลายดอกไม้ (Pavona sp.)
ตารางที่ 30 สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปะการังตาย และองค์ประกอบอื่นๆ บริเวณอ่าว
นําชัย เกาะบางู อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
องค์ประกอบสิ่งมีชีวิต/ไม่มีชีวิต สัดส่วนปกคลุมพื้นที่
ปะการังมีชีวิต 14.06
ปะการังตาย 65.01
ฟองน้ํา 0.80
พรมทะเล 0.07
สาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ 1.39
ทราย 15.07
เศษซากปะการัง 3.56
อื่นๆ (ทากทะเล/หนอนฉัตร) 0.04
1.2.2 แนวลึก หรือบริเวณไหล่แนวปะการัง (reef edge) ต่อเนื่องลงไปถึงส่วนลาดชันแนว
ปะการัง (reef slope) พบว่า สภาพแนวปะการังมีความเสื่อมโทรมบางสถานี (ภาพที่ 24) แต่ก็มี
แนวโน้มในการฟื้นตัวของปะการังมีชีวิตดีขึ้น สถานีอีสออฟอีเดน (East of Eden) มีปะการังมีชีวิต
ครอบคลุมพื้นที่มากที่สุด เท่ากับ 34.47 เปอร์เซ็นต์ สถานีที่มีปะการังมีชีวิตน้อยที่สุด คือ หินม้วน
เดียว เกาะห้า เท่ากับ 6.85 เปอร์เซ็นต์ (ภาพที่ 25)
50
ภาพที่ 24 สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปะการังตาย และองค์ประกอบอื่นๆ ในแนวลึก
ภาพที่ 25 เปอร์เซ็นต์ครอบคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิตทุกสถานีสํารวจ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะ
สิมิลัน
ปะการังชนิดเด่น ได้แก่ ปะการังโขด (Porites lutea) ปะการังแผ่นเคลือบ (Porites
monticulosa) ปะการังผิวเกล็ดน้ําแข็ง (Montipora aequituberculata) ปะการังสีน้ําเงิน
51
(Heliopora coerulea) จากการติดตามการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศภายหลังปรากฏการณ์
ปะการังฟอกขาว พบการปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย (ภาพที่ 26)
ปะการังที่ตายจากการฟอกขาวมีสาหร่าย และฟองน้ําขึ้นปกคลุม บางส่วนแตกหักกระจายบนพื้น
ทราย รายละเอียดผลการสํารวจแต่ละสถานีมีดังนี้
ภาพที่ 26 ค่าเปอร์เซ็นต์ครอบคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปี 2552-2557 อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะ
สิมิลัน
1 หินม้วนเดียว เกาะห้า
สภาพปะการังมีปะการังปกคลุมพื้นที่ประมาณร้อยละ 6.85 ปะการังตายร้อยละ
45.47 (ตารางที่ 31) ปะการังชนิดเด่น ได้แก่ ปะการังโขด (Porites lutea)
52
ตารางที่ 31 สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปะการังตาย และองค์ประกอบอื่นๆ บริเวณหิน
ม้วนเดียว เกาะห้า อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
องค์ประกอบสิ่งมีชีวิต/ไม่มีชีวิต สัดส่วนปกคลุมพื้นที่
ปะการังมีชีวิต 6.85
ปะการังตาย 45.47
กัลปังหา 0.27
พรมทะเล 0.09
สาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ 0.79
ทราย 43.83
เศษซากปะการัง 2.68
อื่นๆ (หนอนฉัตร) 0.02
2 อีสออฟอีเดน เกาะปายู
จากการสํารวจสภาพแนวปะการังบริเวณอีสออฟอีเดน พบปะการังมีชีวิตปกคลุม
พื้นที่เฉลี่ยร้อยละ 34.47 ปะการังตายเฉลี่ยร้อยละ 29.34 (ตารางที่ 32) ปะการังชนิดเด่นที่พบ ได้แก่
ปะการังผิวเกล็ดน้ําแข็ง (Montipora sp.)
ตารางที่ 32 สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปะการังตาย และองค์ประกอบอื่นๆ บริเวณ
อีสออฟอีเดน เกาะปายู อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
องค์ประกอบสิ่งมีชีวิต/ไม่มีชีวิต สัดส่วนปกคลุมพื้นที่
ปะการังมีชีวิต 34.47
ปะการังตาย 29.34
กัลปังหา 0.55
ฟองน้ํา 0.66
พรมทะเล 0.02
สาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ 0.26
ทราย 32.65
เศษซากปะการัง 1.65
อื่นๆ (ดาวขนนก) 0.40
53
3 เวสออฟอีเดน เกาะปายู
สภาพแนวปะการังบริเวณเวสออฟอีเดน พื้นทะเลส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นพื้นหิน
แนวปะการังสิ้นสุดที่ระดับความลึกประมาณ 35 เมตร พบปะการังมีชีวิตปกคลุมพื้นที่เฉลี่ยร้อยละ
16.04 ปะการังตายเฉลี่ยร้อยละ 61.55 (ตารางที่ 33) บริเวณเวสออฟอีเดน มีทรัพยากรอื่นๆ ในพื้นที่
ส่วนใหญ่ที่เป็นปะการังอ่อน ได้แก่ Lobophytum sp. และ Dendronephthy spp. กัลปังหา
(Annella sp. และ Melithaea sp.) เจริญอยู่บนพื้นหินจํานวนมาก ปะการังชนิดเด่นที่พบ ได้แก่
ปะการังดอกกะหล่ํา (Pocilopora sp.)
ตารางที่ 33 สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปะการังตาย และองค์ประกอบอื่นๆ บริเวณ
เวสออฟอีเดน เกาะปายู อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
องค์ประกอบสิ่งมีชีวิต/ไม่มีชีวิต สัดส่วนปกคลุมพื้นที่
ปะการังมีชีวิต 16.04
ปะการังตาย 61.55
กัลปังหา 4.48
ฟองน้ํา 4.09
สาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ 1.11
ทราย 10.79
เศษซากปะการัง 1.72
อื่นๆ (ดาวขนนก/ปลิงทะเล) 0.22
4 อ่าวไฟแวบ เกาะสิมิลัน
จากการสํารวจสภาพแนวปะการังบริเวณอ่าวไฟแวบ พบปะการังมีชีวิตปกคลุมพื้นที่
เฉลี่ยร้อยละ 15.23 ปะการังตายเฉลี่ยร้อยละ 38.66 (ตารางที่ 34) ปะการังชนิดเด่น ได้แก่ ปะการัง
ผิวเกล็ดน้ําแข็ง (Montipora sp.)
ตารางที่ 34 สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปะการังตาย และองค์ประกอบอื่นๆ บริเวณอ่าว
ไฟแวบ เกาะสิมิลัน อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
องค์ประกอบสิ่งมีชีวิต/ไม่มีชีวิต สัดส่วนปกคลุมพื้นที่
ปะการังมีชีวิต 15.23
ปะการังตาย 38.66
ฟองน้ํา 0.31
ทราย 44.52
เศษซากปะการัง 1.07
อื่นๆ (ดาวขนนก) 0.21
54
5 หาดเล็ก เกาะเมียง
สภาพแนวปะการังบริเวณหาดเล็ก มีปะการังปกคลุมพื้นที่ประมาณร้อยละ 23.45
ปะการังตายเฉลี่ยร้อยละ 23.12 (ตารางที่ 35) ปะการังชนิดเด่นในพื้นที่ ได้แก่ ปะการังดอกไม้ทะเล
(Goniopora sp.) และปะการังโขด (Porites lutea)
ตารางที่ 35 สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปะการังตาย และองค์ประกอบอื่นๆ บริเวณหาด
เล็ก เกาะเมียง อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
องค์ประกอบสิ่งมีชีวิต/ไม่มีชีวิต สัดส่วนปกคลุมพื้นที่
ปะการังมีชีวิต 23.45
ปะการังตาย 23.12
ฟองน้ํา 0.74
สาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ 1.17
ทราย 47.25
เศษซากปะการัง 4.15
อื่นๆ (ดาวขนนก/ปลา) 0.12
ปะการังชนิดเด่นที่พบในบริเวณหมู่เกาะสิมิลัน ได้แก่ ปะการังโขด (Porites lutea)
ปะการังแผ่นเคลือบ (P. monticulosa) ปะการังผิวยู่ยี่ (P. rus) ปะการังผิวเกล็ดน้ําแข็ง (Montipora
aequituberculata) ปะการังสีน้ําเงิน (Heliopora coerulea) ปะการังดอกไม้ทะเล (Goniopora
sp.) ปะการังเขากวาง (Acropora palifera, A. intermedia, A. microphthalma, A. elseyi)
ปะการังดอกกะหล่ํา (Pocillopora eydouxi) สําหรับการเปลี่ยนแปลงของสังคมปะการังที่ตายจาก
ปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว พบว่ามีกลุ่มสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ขึ้นปกคลุมพื้นที่ ได้แก่ สาหร่ายเส้นสาย
(Algal turfs) สาหร่ายหินปูน (Crustose algae) สาหร่ายขนาดใหญ่ (Upright macroalgae)
ดอกไม้ทะเลเล็ก (Corallimorphs) และฟองน้ํา (Sponges) (ภาพที่ 27-33)
ภาพที่ 27 แนวปะการังบริเวณอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ปี 2553
55
ภาพที่ 28 แนวปะการังบริเวณอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ปี 2554 หลังปะการังฟอกขาว
ประมาณ 1 ปี
ภาพที่ 29 แนวปะการังบริเวณอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ปี 2555 หลังปะการังฟอกขาว
ประมาณ 2 ปี
ภาพที่ 30 แนวปะการังบริเวณอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ปี 2556 หลังปะการังฟอกขาว
ประมาณ 3 ปี
56
ภาพที่ 31 แนวปะการังบริเวณอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ปี 2557 หลังปะการังฟอกขาว
ประมาณ 4 ปี
ภาพที่ 32 ตัวอ่อนปะการังที่ลงเกาะบนพื้นธรรมชาติในพื้นที่ศึกษาของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะ
สิมิลัน
ภาพที่ 33 ตัวอ่อนปะการังที่ลงเกาะบนพื้นธรรมชาติในพื้นที่ศึกษาของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะ
สิมิลัน
2. สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในแนวปะการังอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ (ตารางที่ 36) และอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน (ตารางที่ 37) รายละเอียดแยก
ตามสถานีดังนี้
ตารางที่ 36 ตารางแสดงจํานวนกลุ่มสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในแนวปะการังที่พบในแปลงสํารวจบริเวณแนวปะการังอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
สัตว์ไม่มีกระดูก
สันหลัง
สถานี
เกาะสตอร์ค อ่าวจาก อ่าวแม่ยาย อ่าวเต่า อ่าวผักกาด เกาะตอรินลา อ่าวสุเทพ เกาะมังกร อ่าวไม้งาม หินแพ
แนว
ตื้น
แนว
ลึก
แนว
ตื้น
แนว
ลึก
แนว
ตื้น
แนว
ลึก
แนว
ตื้น
แนว
ลึก
แนว
ตื้น
แนว
ลึก
แนว
ตื้น
แนว
ลึก
แนว
ตื้น
แนว
ลึก
แนว
ตื้น
แนว
ลึก
แนว
ตื้น
แนว
ลึก
แนว
ตื้น
แนว
ลึก
เม่นหนามดํา 12.67 56.67 2.67 16.33 1.33 1.67 0.67 0.67 0.67 4.33 16.00 27.67 0.67 0.33 6.33 9.67 1.67
ปลิงทะเล 0.67 2.00 1.00 0.33 3.67
หอยมือเสือ 3.00 0.67 3.00 2.33 2.33 3.33 0.67 0.67 0.33 2.33 1.00 0.67 0.67 1.33
กุ้งมังกร 0.67
58
ตารางที่ 37 ตารางแสดงจํานวนกลุ่มสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในแนวปะการังที่พบในแปลงสํารวจบริเวณแนวปะการังอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
สัตว์ไม่มีกระดูก
สันหลัง
สถานี
หินม้วนเดียว อีสออฟอีเดน เวสออฟอีเดน อ่าวไฟแวบ หาดเล็ก อ่านด้านเหนือ อ่าวนําชัย
แนวตื้น แนวลึก แนวตื้น แนวลึก แนวตื้น แนวลึก แนวตื้น แนวลึก แนวตื้น แนวลึก แนวตื้น แนวตื้น
เม่นหนามดํา 1.67 7.67 0.00 2.33 3.67
ปลิงทะเล 0.33 3.00 0.33 0.67 1.00 0.33
หอยมือเสือ 2.33 2.33 0.33

More Related Content

What's hot

ความหลากหลายของระบบนิเวศ
ความหลากหลายของระบบนิเวศความหลากหลายของระบบนิเวศ
ความหลากหลายของระบบนิเวศ
Kittiya GenEnjoy
 
การศึกษาคุณภาพน้ำบริเวณแม่น้ำน่านโดยใช้สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเป็นตัวบ่งชี้
การศึกษาคุณภาพน้ำบริเวณแม่น้ำน่านโดยใช้สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเป็นตัวบ่งชี้การศึกษาคุณภาพน้ำบริเวณแม่น้ำน่านโดยใช้สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเป็นตัวบ่งชี้
การศึกษาคุณภาพน้ำบริเวณแม่น้ำน่านโดยใช้สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเป็นตัวบ่งชี้
praewdao
 
โครงการปลูกป่าชายเลน
โครงการปลูกป่าชายเลนโครงการปลูกป่าชายเลน
โครงการปลูกป่าชายเลน
MaiiTy
 
ติวสอบเตรียมนิเวศสิ่งแวดล้อม
ติวสอบเตรียมนิเวศสิ่งแวดล้อมติวสอบเตรียมนิเวศสิ่งแวดล้อม
ติวสอบเตรียมนิเวศสิ่งแวดล้อม
Wichai Likitponrak
 
โครงการปลูกป่าชายเลน1
โครงการปลูกป่าชายเลน1โครงการปลูกป่าชายเลน1
โครงการปลูกป่าชายเลน1
nananattie
 
5.แหล่งน้ำgs ผิวดินบาดาลใช้ประโยชน์
5.แหล่งน้ำgs ผิวดินบาดาลใช้ประโยชน์5.แหล่งน้ำgs ผิวดินบาดาลใช้ประโยชน์
5.แหล่งน้ำgs ผิวดินบาดาลใช้ประโยชน์
Wichai Likitponrak
 

What's hot (17)

หน่วยที่2สิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตบริเวณชายหาด
หน่วยที่2สิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตบริเวณชายหาดหน่วยที่2สิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตบริเวณชายหาด
หน่วยที่2สิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตบริเวณชายหาด
 
ชนิดและความชุกชุมของปลาแนวปะการัง อาดัง ราวี ตรัง
ชนิดและความชุกชุมของปลาแนวปะการัง อาดัง ราวี ตรังชนิดและความชุกชุมของปลาแนวปะการัง อาดัง ราวี ตรัง
ชนิดและความชุกชุมของปลาแนวปะการัง อาดัง ราวี ตรัง
 
ความหลากหลายของระบบนิเวศ
ความหลากหลายของระบบนิเวศความหลากหลายของระบบนิเวศ
ความหลากหลายของระบบนิเวศ
 
1.บทคัดย่อ
1.บทคัดย่อ1.บทคัดย่อ
1.บทคัดย่อ
 
การเปลี่ยนแปลงสภาพชายหาด
การเปลี่ยนแปลงสภาพชายหาดการเปลี่ยนแปลงสภาพชายหาด
การเปลี่ยนแปลงสภาพชายหาด
 
Biohmes55
Biohmes55Biohmes55
Biohmes55
 
Corridor prograss july 2014_rama_ภูเก็ต
Corridor prograss july 2014_rama_ภูเก็ตCorridor prograss july 2014_rama_ภูเก็ต
Corridor prograss july 2014_rama_ภูเก็ต
 
ผลกระทบจากการทำลายป่าต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำในอุทยานแห่งชาติกุยบุรี
ผลกระทบจากการทำลายป่าต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำในอุทยานแห่งชาติกุยบุรีผลกระทบจากการทำลายป่าต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำในอุทยานแห่งชาติกุยบุรี
ผลกระทบจากการทำลายป่าต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำในอุทยานแห่งชาติกุยบุรี
 
การศึกษาคุณภาพน้ำบริเวณแม่น้ำน่านโดยใช้สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเป็นตัวบ่งชี้
การศึกษาคุณภาพน้ำบริเวณแม่น้ำน่านโดยใช้สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเป็นตัวบ่งชี้การศึกษาคุณภาพน้ำบริเวณแม่น้ำน่านโดยใช้สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเป็นตัวบ่งชี้
การศึกษาคุณภาพน้ำบริเวณแม่น้ำน่านโดยใช้สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเป็นตัวบ่งชี้
 
น้ำ (Water) m2
น้ำ (Water) m2น้ำ (Water) m2
น้ำ (Water) m2
 
ข้อดีและข้อเสียของการสร้างเขื่อนแม่วงก์
ข้อดีและข้อเสียของการสร้างเขื่อนแม่วงก์ข้อดีและข้อเสียของการสร้างเขื่อนแม่วงก์
ข้อดีและข้อเสียของการสร้างเขื่อนแม่วงก์
 
ศูนย์ชุมพร
ศูนย์ชุมพรศูนย์ชุมพร
ศูนย์ชุมพร
 
9789740333616
97897403336169789740333616
9789740333616
 
โครงการปลูกป่าชายเลน
โครงการปลูกป่าชายเลนโครงการปลูกป่าชายเลน
โครงการปลูกป่าชายเลน
 
ติวสอบเตรียมนิเวศสิ่งแวดล้อม
ติวสอบเตรียมนิเวศสิ่งแวดล้อมติวสอบเตรียมนิเวศสิ่งแวดล้อม
ติวสอบเตรียมนิเวศสิ่งแวดล้อม
 
โครงการปลูกป่าชายเลน1
โครงการปลูกป่าชายเลน1โครงการปลูกป่าชายเลน1
โครงการปลูกป่าชายเลน1
 
5.แหล่งน้ำgs ผิวดินบาดาลใช้ประโยชน์
5.แหล่งน้ำgs ผิวดินบาดาลใช้ประโยชน์5.แหล่งน้ำgs ผิวดินบาดาลใช้ประโยชน์
5.แหล่งน้ำgs ผิวดินบาดาลใช้ประโยชน์
 

More from PinNii Natthaya

More from PinNii Natthaya (13)

carrying capacity
carrying capacitycarrying capacity
carrying capacity
 
Caral tachai mar2015
Caral tachai mar2015Caral tachai mar2015
Caral tachai mar2015
 
ปกหลัง
ปกหลังปกหลัง
ปกหลัง
 
9.ภาคผนวก
9.ภาคผนวก9.ภาคผนวก
9.ภาคผนวก
 
ปกหน้า
ปกหน้าปกหน้า
ปกหน้า
 
8.เอกสารอ้างอิง
8.เอกสารอ้างอิง8.เอกสารอ้างอิง
8.เอกสารอ้างอิง
 
6.2ผลการศึกษา
6.2ผลการศึกษา6.2ผลการศึกษา
6.2ผลการศึกษา
 
5.อุปกรณ์และวิธีการ
5.อุปกรณ์และวิธีการ5.อุปกรณ์และวิธีการ
5.อุปกรณ์และวิธีการ
 
4.ตรวจเอกสาร
4.ตรวจเอกสาร4.ตรวจเอกสาร
4.ตรวจเอกสาร
 
3.คำนำ
3.คำนำ3.คำนำ
3.คำนำ
 
2.สารบัญ
2.สารบัญ2.สารบัญ
2.สารบัญ
 
การเขียนรายงานผลการวิจัย
การเขียนรายงานผลการวิจัยการเขียนรายงานผลการวิจัย
การเขียนรายงานผลการวิจัย
 
การเขียนชื่อวิทยาศาสตร์
การเขียนชื่อวิทยาศาสตร์การเขียนชื่อวิทยาศาสตร์
การเขียนชื่อวิทยาศาสตร์
 

6.ผลการศึกษา

  • 1. ผลการศึกษา 1. สถานภาพปะการัง 1.1 สถานภาพปะการัง อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ 1.1.1 แนวปะการังบริเวณที่ตื้น สภาพแนวปะการังมีความเสื่อมโทรม บางสถานีมีพรมทะเล (Zoanthid ; Protopalythoa sp.) และดอกไม้ทะเลเล็ก (Corallimorph ; Metarhodactis sp.) ขึ้นปกคลุมบนซากปะการังตายเต็มพื้นที่ (ภาพที่ 11) สถานีอ่าวสุเทพมีปะการังมีชีวิตครอบคลุมพื้นที่ มากที่สุด เท่ากับ 23.81 เปอร์เซ็นต์ สถานีที่มีปะการังมีชีวิตครอบคลุมพื้นที่น้อยที่สุด คือ สถานีเกาะ สตอร์ค เท่ากับ 0.82 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเกาะสตอร์คมีพรมทะเลขึ้นปกคลุมพื้นที่มากถึง 69.78 เปอร์เซ็นต์ (ภาพที่ 12) สิ่งมีชีวิตรูปแบบนี้จะเข้าแก่งแย่งพื้นที่ว่างบนแนวปะการัง ทําให้ตัวอ่อนปะการังในมวล น้ําจะลงเกาะ เพื่อเติบโตทดแทนแนวปะการังเดิมที่ได้รับผลกระทบจากการฟอกขาวมีโอกาสน้อยลง ปะการังชนิดเด่นที่พบในเส้นสํารวจ ได้แก่ ปะการังโขด (Porites lutea) ปะการังผิวยู่ยี่ (Synaraea rus) ปะการังสีน้ําเงิน (Heliopora coerulea) และปะการังผิวเกล็ดน้ําแข็ง (Montipora sp.) จาก การสํารวจและติดตามการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศภายหลังปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว พบ ปะการังที่ตายโดยเฉพาะปะการังเขากวางที่ตายเริ่มเกิดการยุบตัวและสึกกร่อน บางส่วนทับถมกันอยู่ บนแนวปะการังเดิม บางส่วนแตกหักเป็นชิ้นส่วนปะการังตายอยู่ทั่วบริเวณ ปะการังที่ตายมีสาหร่าย ปุยเขียว (Turtle weed ; Chlorodesmis hildebrandtii) ขึ้นปกคลุม รายละเอียดแต่ละสถานีมี ดังนี้ ภาพที่ 11 สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปะการังตาย และองค์ประกอบอื่นๆ ในปะการัง พื้นราบ
  • 2. 28 ภาพที่ 12 เปอร์เซ็นต์ครอบคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิตทุกสถานีสํารวจ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะ สุรินทร์ 1. เกาะสตอร์ค จากการสํารวจพบปะการังมีชีวิตปกคลุมพื้นที่เฉลี่ยร้อยละ 0.82 ปะการังตายร้อยละ 29.19 (ตารางที่ 4) สภาพทั่วไปของแนวปะการังมีสภาพเสื่อมโทรมมาก มีพรมทะเล (Zoanthid) ขึ้น ปกคลุมซากปะการังเขากวางตายอยู่เต็มพื้นที่ ปะการังชนิดเด่นในพื้นที่ ได้แก่ ปะการังโขด (Porites lutea) ตารางที่ 4 สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปะการังตาย และองค์ประกอบอื่นๆ บริเวณเกาะ สตอร์ค อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ องค์ประกอบสิ่งมีชีวิต/ไม่มีชีวิต สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ (ร้อยละ) ปะการังมีชีวิต 0.82 ปะการังตาย 29.19 สาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ 0.05 พรมทะเล (Zoanthid) 69.78 เศษซากปะการัง 0.16
  • 3. 29 2. อ่าวจาก จากการสํารวจพบปะการังมีชีวิตปกคลุมพื้นที่เฉลี่ยร้อยละ 18.24 ปะการังตายเฉลี่ย ร้อยละ 64.34 (ตารางที่ 5) สภาพแนวปะการังในบริเวณนี้มีสภาพเสื่อมโทรม พบปะการังเขากวาง อายุประมาณ 1-3 ปี ลงเกาะบนพื้นผิวปะการังตาย ปะการังชนิดเด่นในพื้นที่ ได้แก่ ปะการังโขด (Porites lutea) ปะการังสีน้ําเงิน (Heliopora coerulea) และปะการังลายดอกไม้ (Pavona sp.) ตารางที่ 5 สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปะการังตาย และองค์ประกอบอื่นๆ บริเวณอ่าว จาก อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ องค์ประกอบสิ่งมีชีวิต/ไม่มีชีวิต สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ (ร้อยละ) ปะการังมีชีวิต 18.24 ปะการังตาย 64.34 กัลปังหา 0.02 สาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ 0.21 ทราย 13.47 เศษซากปะการัง 3.72 3. อ่าวแม่ยาย จากการสํารวจพบปะการังมีชีวิตปกคลุมพื้นที่เฉลี่ยร้อยละ 9.23 ปะการังตายเฉลี่ย ร้อยละ 66.81 (ตารางที่ 6) สภาพแนวปะการังในบริเวณนี้มีสภาพเสื่อมโทรม มีซากปะการังตายปก คลุมอยู่ทั่วบริเวณ ปะการังเด่นในพื้นที่ได้แก่กลุ่มปะการังโขด (Porites lutea) และปะการังผิวยู่ยี่ (Synaraea rus) ตารางที่ 6 สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปะการังตาย และองค์ประกอบอื่นๆ อ่าวแม่ยาย อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ องค์ประกอบสิ่งมีชีวิต/ไม่มีชีวิต สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ (ร้อยละ) ปะการังมีชีวิต 9.23 ปะการังตาย 66.81 สาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ 0.17 ทราย 22.67 เศษซากปะการัง 1.08 อื่นๆ (หอยมือเสือ/ขยะ) 0.04
  • 4. 30 4 อ่าวเต่า จากการสํารวจพบปะการังมีชีวิตปกคลุมพื้นที่เฉลี่ยร้อยละ 8.67 ปะการังตายเฉลี่ย ร้อยละ 32.58 (ตารางที่ 7) แนวปะการังในบริเวณนี้มีสภาพเสื่อมโทรม ปะการังเด่นในพื้นที่ได้แก่กลุ่ม ปะการังโขด (Porites spp.) ปะการังผิวยู่ยี่ (Synaraea rus) และปะการังเห็ด (Fungia sp.) ตารางที่ 7 สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปะการังตาย และองค์ประกอบอื่นๆ บริเวณอ่าว เต่า อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ องค์ประกอบสิ่งมีชีวิต/ไม่มีชีวิต สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ (ร้อยละ) ปะการังมีชีวิต 8.67 ปะการังตาย 32.58 ฟองน้ํา 0.04 สาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ 0.23 ทราย 57.04 เศษซากปะการัง 1.41 อื่นๆ (หอยมือเสือ) 0.03 5 อ่าวผักกาด จากการสํารวจพบปะการังมีชีวิตปกคลุมพื้นที่เฉลี่ยร้อยละ 4.84 ปะการังตายเฉลี่ย ร้อยละ 50.08 (ตารางที่ 8) แนวปะการังในบริเวณนี้มีสภาพเสื่อมโทรม ปะการังชนิดเด่นในพื้นที่ ได้แก่ ปะการังโขด (Porites lutea) ตารางที่ 8 สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปะการังตาย และองค์ประกอบอื่นๆ บริเวณอ่าว ผักกาด อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ องค์ประกอบสิ่งมีชีวิต/ไม่มีชีวิต สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ (ร้อยละ) ปะการังมีชีวิต 4.84 ปะการังตาย 50.08 สาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ 0.05 ทราย 41.34 เศษซากปะการัง 3.69
  • 5. 31 6 เกาะตอรินลา จากการสํารวจพบปะการังมีชีวิตปกคลุมพื้นที่เฉลี่ยร้อยละ 1.43 ปะการังตายเฉลี่ย ร้อยละ 27.52 (ตารางที่ 9) สภาพแนวปะการังในบริเวณนี้มีสภาพเสื่อมโทรมมาก พบชิ้นส่วนปะการัง ตายแตกหักเสียหายเป็นจํานวนมาก มีสาหร่ายปุยเขียว (Chlorodesmis hildebrandtii) ขึ้นปกคลุม ซากปะการังเขากวางตายอยู่ทั่วบริเวณ ตารางที่ 9 สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปะการังตาย และองค์ประกอบอื่นๆ เกาะตอรินลา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ องค์ประกอบสิ่งมีชีวิต/ไม่มีชีวิต สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ (ร้อยละ) ปะการังมีชีวิต 1.43 ปะการังตาย 27.52 สาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ 4.82 ทราย 3.45 เศษซากปะการัง 62.76 อื่นๆ (หอยมือเสือ) 0.02 7 อ่าวสุเทพ จากการสํารวจพบปะการังมีชีวิตปกคลุมพื้นที่เฉลี่ยร้อยละ 23.81 ปะการังตายเฉลี่ย ร้อยละ 67.47 (ตารางที่ 10) แนวปะการังในบริเวณนี้มีสภาพเสื่อมโทรม ปะการังเด่นในพื้นที่ ได้แก่ กลุ่มปะการังโขด (Porites lutea) ปะการังผิวยู่ยี่ (Synaraea rus) และปะการังดาวใหญ่ (Diploastrea heliopora) ตารางที่ 10 สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปะการังตาย และองค์ประกอบอื่นๆ บริเวณอ่าว สุเทพ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ องค์ประกอบสิ่งมีชีวิต/ไม่มีชีวิต สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ (ร้อยละ) ปะการังมีชีวิต 23.81 ปะการังตาย 67.47 ฟองน้ํา 0.12 พรมทะเล (Zoanthid) 0.06 สาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ 0.04 ทราย 7.27 เศษซากปะการัง 0.91 อื่นๆ (เม่นหนามดํา/หอยมือเสือ/ดาวขนนก) 0.32
  • 6. 32 8 เกาะปาชุมบา/มังกร จากการสํารวจพบปะการังมีชีวิตปกคลุมพื้นที่เฉลี่ยร้อยละ 1.97 ปะการังตายเฉลี่ย ร้อยละ 62.42 (ตารางที่ 11) แนวปะการังมีสภาพเสื่อมโทรมมาก ปะการังชนิดเด่น ได้แก่ ปะการัง โขด (Porites lutea) ตารางที่ 11 สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปะการังตาย และองค์ประกอบอื่นๆ บริเวณเกาะ ปาชุมบา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ องค์ประกอบสิ่งมีชีวิต/ไม่มีชีวิต สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ (ร้อยละ) ปะการังมีชีวิต 1.97 ปะการังตาย 62.42 ดอกไม้ทะเลเล็ก (Corallimorph) 3.63 สาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ 0.28 ทราย 27.00 เศษซากปะการัง 4.54 อื่นๆ (หอยฝาเดียว/ดอกไม้ทะเล) 0.16 9 อ่าวไม้งาม จากการสํารวจพบปะการังมีชีวิตปกคลุมพื้นที่เฉลี่ยร้อยละ 7.76 ปะการังตายเฉลี่ย ร้อยละ 70.03 (ตารางที่ 12) แนวปะการังในบริเวณนี้มีสภาพเสื่อมโทรม ปะการังชนิดเด่นในพื้นที่ ได้แก่ ปะการังโขด (Porites lutea) และ ปะการังเขากวาง (Acropora sp.) อายุประมาณ 1-3 ปี ตารางที่ 12 สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปะการังตาย และองค์ประกอบอื่นๆ บริเวณอ่าว ไม้งาม อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ องค์ประกอบสิ่งมีชีวิต/ไม่มีชีวิต สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ (ร้อยละ) ปะการังมีชีวิต 7.76 ปะการังตาย 70.03 กัลปังหา 0.03 ฟองน้ํา 0.09 พรมทะเล (Zoanthid) 0.17 สาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ 0.03 ทราย 11.73 เศษซากปะการัง 10.00 อื่นๆ (เม่นทะเลหนามดํา/ดาวขนนก) 0.16
  • 7. 33 10 หินแพ/หินกอง จากการสํารวจพบปะการังมีชีวิตปกคลุมพื้นที่เฉลี่ยร้อยละ 1.33 ปะการังตายเฉลี่ย ร้อยละ 54.34 (ตารางที่ 13) แนวปะการังในบริเวณนี้มีสภาพเสื่อมโทรมมาก ปะการังชนิดเด่นในพื้นที่ ได้แก่ ปะการังเห็ด (Fungia sp.) และปะการังลายดอกไม้ (Pavona varians) ตารางที่ 13 สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปะการังตาย และองค์ประกอบอื่นๆ บริเวณ หินแพ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ องค์ประกอบสิ่งมีชีวิต/ไม่มีชีวิต สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ (ร้อยละ) ปะการังมีชีวิต 1.33 ปะการังตาย 54.34 กัลปังหา 0.03 ฟองน้ํา 0.11 ดอกไม้ทะเลเล็ก (Corallimorph) 21.80 สาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ 0.43 ทราย 2.94 เศษซากปะการัง 18.60 อื่นๆ (ดอกไม้ทะเล/เม่นทะเลหนามดํา) 0.42 1.1.2 แนวปะการังบริเวณที่ลึกหรือบริเวณไหล่แนวปะการัง (reef edge) ต่อเนื่องลงไป ถึงส่วนลาดชันแนวปะการัง (reef slope) พบว่า ส่วนใหญ่มีแนวโน้มการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง เมื่อ เปรียบเทียบกับช่วงแรกที่เกิดการฟอกขาว แต่บางพื้นที่จะมี Corallimorph และสาหร่ายขึ้นปกคลุม อยู่เต็มพื้นที่ (ภาพที่ 13) สถานีอ่าวเต่า เกาะสุรินทร์ใต้ เป็นสถานีที่มีปะการังมีชีวิตครอบคลุมพื้นที่ มากที่สุด เท่ากับ 25.93 เปอร์เซ็นต์ สถานีที่มีปะการังมีชีวิตน้อยที่สุด คือ หินแพ/หินกอง เท่ากับ 1.80 เปอร์เซ็นต์ (ภาพที่ 14) ปะการังชนิดเด่น ได้แก่ ปะการังโขด (Porites lutea) ปะการังผิวยู่ยี่ (Porites rus) ปะการังดาวใหญ่ (Diploastrea heliopora) เมื่อนําเปอร์เซ็นต์ครอบคลุมพื้นที่ของ ปะการังมีชีวิตปี 2552 ซึ่งเป็นช่วงก่อนเกิดการฟอกขาว และปี 2553 หลังการเกิดการฟอกขาวใน ระยะแรก มาพิจารณาเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์ครอบคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต พบมีการ เปลี่ยนแปลงของเปอร์เซ็นต์ครอบคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิตค่อนข้างมาก หลังจากนั้นในปี 2554- 2557 เปอร์เซ็นต์ครอบคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิตส่วนใหญ่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น (ภาพที่ 15)
  • 8. 34 ภาพที่ 13 สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปะการังตาย และองค์ประกอบอื่นๆ ในแนว ปะการังบริเวณที่ลึก ภาพที่ 14 เปอร์เซ็นต์ครอบคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิตทุกสถานีสํารวจ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะ สุรินทร์
  • 9. 35 ภาพที่ 15 ค่าเปอร์เซ็นต์ครอบคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปี 2552-2557 อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะ สุรินทร์ หลังเกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว แนวปะการังได้รับความเสียหายมากบริเวณไหล่แนว ปะการัง (reef edge) และบริเวณลาดชัน (reef slope) มากกว่าบริเวณพื้นราบ (reef flat) ทั้งนี้ เนื่องจากบริเวณไหล่แนวปะการังและบริเวณลาดชันแนวปะการัง มักมีปะการังเขากวางเป็นชนิดเด่น ในขณะที่บริเวณพื้นราบ มักมีปะการังโขดเป็นปะการังชนิดเด่น ดังนั้นผลกระทบจึงแตกต่างกันในแต่ ละบริเวณ สําหรับในบริเวณพื้นราบแนวปะการังนั้นปะการังโขดได้รับผลกระทบและมีการตายไปใน บางส่วนของโคโลนี บางบริเวณที่มีปะการังเขากวางหนาแน่นจะได้รับความเสียหายค่อนข้างมาก เช่น เกาะตอรินลา บริเวณเกาะมังกร และบริเวณเกาะสตอร์ค เป็นต้น รายละเอียดแต่ละสถานีมีดังนี้ 1. เกาะสตอร์ค เกาะสตอร์คแนวปะการังกว้างประมาณ 100 เมตร ทอดตัวยาวขนานหาดทรายของ เกาะ มีปะการังปกคลุมพื้นที่ประมาณร้อยละ 3.69 ปะการังตายร้อยละ 22.58 (ตารางที่ 14) สภาพ ทั่วไปของแนวปะการังมีสภาพเสื่อมโทรมมาก มีซากปะการังเขากวางตายอยู่ทั่วไป ปะการังชนิดเด่น ในพื้นที่ ได้แก่ ปะการังโขด (Porites lutea) และในบริเวณนี้มีดอกไม้ทะเลเล็ก (Corallimorph) ขึ้น ปกคลุมซากปะการังตายค่อนข้างหนาแน่น
  • 10. 36 ตารางที่ 14 สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปะการังตาย และองค์ประกอบอื่นๆ บริเวณเกาะ สตอร์ค อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ องค์ประกอบสิ่งมีชีวิต/ไม่มีชีวิต สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ ปะการังมีชีวิต 3.69 ปะการังตาย 22.58 ดอกไม้ทะเลเล็ก (Corallimorph) 14.50 สาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ 0.30 ทราย 58.06 เศษซากปะการัง 0.45 อื่นๆ (ดาวหมอนปักเข็ม/ดาวขนนก/เม่นหนามดํา/ ดอกไม้ทะเล) 0.42 2. อ่าวจาก อ่าวจากมีแนวปะการังกว้างประมาณ 200 เมตร จากการสํารวจพบปะการังมีชีวิต ปกคลุมพื้นที่เฉลี่ยร้อยละ 10.03 ปะการังตายเฉลี่ยร้อยละ 48.46 (ตารางที่ 15) สภาพแนวปะการังใน บริเวณนี้มีสภาพเสื่อมโทรม กลุ่มปะการังเด่นในพื้นที่โดยส่วนใหญ่มีรูปทรงแบบก้อนหรือโขดขนาด ใหญ่ ได้แก่ ปะการังโขด (Porites lutea) ปะการังผิวยู่ยี่ (Synaraea rus) และพบตัวอ่อนของ ปะการังเขากวาง (Acropora sp.) ลงเกาะบนพื้นผิวปะการังตาย ตารางที่ 15 สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปะการังตาย และองค์ประกอบอื่นๆ บริเวณ อ่าวจาก อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ องค์ประกอบสิ่งมีชีวิต/ไม่มีชีวิต สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ ปะการังมีชีวิต 10.03 ปะการังตาย 48.46 ฟองน้ํา 0.30 สาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ 0.09 ทราย 6.84 เศษซากปะการัง 34.15 อื่นๆ (ดอกไม้ทะเล/ขยะ) 0.13
  • 11. 37 3. อ่าวแม่ยาย จากการสํารวจสภาพแนวปะการังบริเวณอ่าวแม่ยาย พบปะการังมีชีวิตปก คลุมพื้นที่เฉลี่ยร้อยละ 18.59 ปะการังตายเฉลี่ยร้อยละ 51.17 (ตารางที่ 16) สภาพแนวปะการังใน บริเวณนี้มีสภาพเสื่อมโทรม มีซากปะการังตายปกคลุมอยู่ทั่วบริเวณ ปะการังเด่นในพื้นที่ ได้แก่ กลุ่ม ปะการังโขด (Porites lutea) ปะการังลายดอกไม้ (Pavona sp.) และปะการังผิวยู่ยี่ (Synaraea rus) ตารางที่ 16 สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปะการังตาย และองค์ประกอบอื่นๆ อ่าวแม่ยาย อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ องค์ประกอบสิ่งมีชีวิต/ไม่มีชีวิต สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ ปะการังมีชีวิต 18.59 ปะการังตาย 51.17 กัลปังหา 0.01 ฟองน้ํา 0.44 ทราย 14.15 เศษซากปะการัง 15.40 อื่นๆ (ดาวขนนก/หอยสองฝา/ดาวหมอนปักเข็ม/เปลือก หอยมือเสือ) 0.24 4. อ่าวเต่า สภาพแนวปะการังบริเวณอ่าวเต่า พบปะการังมีชีวิตปกคลุมพื้นที่เฉลี่ยร้อยละ 25.93 ปะการังตายเฉลี่ยร้อยละ 51.15 (ตารางที่ 17) แนวปะการังในบริเวณนี้มีสภาพเสื่อมโทรม ปะการังเด่นในพื้นที่ ได้แก่กลุ่มปะการังโขด (Porites spp.) ปะการังผิวเกล็ดน้ําแข็ง (Montipora sp.)
  • 12. 38 ตารางที่ 17 สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปะการังตาย และองค์ประกอบอื่นๆ บริเวณ อ่าวเต่า อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ องค์ประกอบสิ่งมีชีวิต/ไม่มีชีวิต สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ ปะการังมีชีวิต 25.93 ปะการังตาย 51.15 กัลปังหา 1.27 ฟองน้ํา 0.43 สาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ 0.61 ทราย 15.03 เศษซากปะการัง 5.18 อื่นๆ (ดาวขนนก/ดอกไม้ทะเล/ปลิงทะเล) 0.40 5. อ่าวผักกาด จากการสํารวจสภาพแนวปะการังบริเวณอ่าวผักกาด พบปะการังมีชีวิตปกคลุมพื้นที่ เฉลี่ยร้อยละ 22.63 ปะการังตายเฉลี่ยร้อยละ 56.11 (ตารางที่ 18) แนวปะการังในบริเวณนี้มีสภาพ เสื่อมโทรม ปะการังชนิดเด่นในพื้นที่ ได้แก่ ปะการังโขด (Porites lutea) ปะการังลายดอกไม้ (Pavona sp.) และปะการังดาวใหญ่ (Diploastrea heliopora) ตารางที่ 18 สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปะการังตาย และองค์ประกอบอื่นๆ บริเวณอ่าว ผักกาด อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ องค์ประกอบสิ่งมีชีวิต/ไม่มีชีวิต สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ ปะการังมีชีวิต 22.63 ปะการังตาย 56.11 ฟองน้ํา 0.45 พรมทะเล (Zoanthid) 0.04 สาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ 0.42 ทราย 17.22 เศษซากปะการัง 2.79 อื่นๆ (ดาวขนนก/ทากทะเล/ปลิงทะเล/เม่น ทะเล) 0.34
  • 13. 39 6 เกาะตอรินลา จากการสํารวจสภาพแนวปะการังบริเวณเกาะตอรินลา พบปะการังมีชีวิตปกคลุม พื้นที่เฉลี่ยร้อยละ 3.06 ปะการังตายเฉลี่ยร้อยละ 88.68 (ตารางที่ 19) สภาพแนวปะการังในบริเวณนี้ มีสภาพเสื่อมโทรมมาก มีซากปะการังเขากวางตายปกคลุมอยู่ทั่วบริเวณ ปะการังชนิดเด่นในพื้นที่ ได้แก่ ปะการังโขด (Porites lutea) และปะการังเห็ด (Fungia sp.) ตารางที่ 19 สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปะการังตาย และองค์ประกอบอื่นๆ เกาะ ตอรินลา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ องค์ประกอบสิ่งมีชีวิต/ไม่มีชีวิต สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ ปะการังมีชีวิต 3.06 ปะการังตาย 88.68 ฟองน้ํา 0.19 พรมทะเล 0.03 สาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ 0.45 เศษซากปะการัง 7.50 อื่นๆ (ดอกไม้ทะเล/ดาวขนนก/หอยฝาเดียว) 0.09 7 อ่าวสุเทพ สภาพแนวปะการังบริเวณอ่าวสุเทพ พบปะการังมีชีวิตปกคลุมพื้นที่เฉลี่ยร้อยละ 14.50ปะการังตายเฉลี่ยร้อยละ 57.11 (ตารางที่ 20) แนวปะการังในบริเวณนี้มีสภาพเสื่อมโทรม ปะการังเด่นในพื้นที่ ได้แก่ กลุ่มปะการังโขด (Porites lutea) ปะการังผิวยู่ยี่ (Synaraea rus) และ ปะการังเขากวาง (Acropora spp.) อายุประมาณ 1-3 ปี สภาพแนวปะการังในบริเวณนี้มีแนวโน้ม การฟื้นตัวที่ดี เนื่องจากมีปะการังเขากวางลงเกาะบนซากปะการังตายเป็นจํานวนพอสมควร
  • 14. 40 ตารางที่ 20 สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปะการังตาย และองค์ประกอบอื่นๆ บริเวณอ่าว สุเทพ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ องค์ประกอบสิ่งมีชีวิต/ไม่มีชีวิต สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ ปะการังมีชีวิต 14.50 ปะการังตาย 57.11 กัลปังหา 0.05 ฟองน้ํา 0.25 พรมทะเล 0.01 สาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ 0.16 ทราย 13.63 เศษซากปะการัง 14.15 อื่นๆ (ดาวขนนก/ปลิงทะเล/ปลา) 0.14 8 เกาะปาชุมบา/มังกร จากการสํารวจพบปะการังมีชีวิตปกคลุมพื้นที่เฉลี่ยร้อยละ 4.98 ปะการังตายเฉลี่ย ร้อยละ 45.98 (ตารางที่ 21) แนวปะการังมีสภาพเสื่อมโทรมมาก ปะการังชนิดเด่น ได้แก่ ปะการังผิว ยู่ยี่ (Porites rus) และปะการังเห็ด (Fungia sp.) ตารางที่ 21 สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปะการังตาย และองค์ประกอบอื่นๆ บริเวณเกาะ ปาชุมบา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ องค์ประกอบสิ่งมีชีวิต/ไม่มีชีวิต สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ (ร้อยละ) ปะการังมีชีวิต 4.98 ปะการังตาย 45.98 ดอกไม้ทะเลเล็ก (Corallimorph) 16.97 สาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ 0.45 ทราย 25.31 เศษซากปะการัง 6.27 อื่นๆ (ดาวขนนก) 0.03 9 อ่าวไม้งาม จากการสํารวจสภาพแนวปะการังบริเวณอ่าวไม้งาม พบปะการังมีชีวิตปกคลุมพื้นที่ เฉลี่ยร้อยละ 21.38 ปะการังตายเฉลี่ยร้อยละ 60.31 (ตารางที่ 22) แนวปะการังในบริเวณนี้มีสภาพ เสื่อมโทรม ปะการังชนิดเด่นในพื้นที่ได้แก่ ปะการังโขด (Porites lutea) และ ปะการังผิวยู่ยี่ (Porites rus) และปะการังเห็ด (Fungia sp.)
  • 15. 41 ตารางที่ 22 สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปะการังตาย และองค์ประกอบอื่นๆ บริเวณอ่าว ไม้งาม อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ องค์ประกอบสิ่งมีชีวิต/ไม่มีชีวิต สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ ปะการังมีชีวิต 21.38 ปะการังตาย 60.31 กัลปังหา 0.02 ฟองน้ํา 0.35 พรมทะเล 0.04 สาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ 0.33 ทราย 11.57 เศษซากปะการัง 5.98 อื่นๆ (ดาวขนนก/เม่นทะเล) 0.02 10 หินแพ/หินกอง จากการสํารวจพบปะการังมีชีวิตปกคลุมพื้นที่เฉลี่ยร้อยละ 1.80 ปะการังตายเฉลี่ย ร้อยละ 25.47 (ตารางที่ 23) แนวปะการังในบริเวณนี้มีสภาพเสื่อมโทรมมาก ซากปะการังเขากวางที่ ตายมีดอกไม้ทะเลเล็ก (Corallimorph) ขึ้นปกคลุมอยู่เต็มพื้นที่ ปะการังชนิดเด่นในพื้นที่ ได้แก่ ปะการังเห็ด (Fungia sp.) ตารางที่ 23 สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปะการังตาย และองค์ประกอบอื่นๆ บริเวณ หินแพ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ องค์ประกอบสิ่งมีชีวิต/ไม่มีชีวิต สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ (ร้อยละ) ปะการังมีชีวิต 1.80 ปะการังตาย 25.47 กัลปังหา 0.10 ฟองน้ํา 0.13 ดอกไม้ทะเลเล็ก (Corallimorph) 39.12 สาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ 1.88 ทราย 25.20 เศษซากปะการัง 6.20 อื่นๆ (ดอกไม้ทะเล) 0.10
  • 16. 42 ปะการังชนิดเด่นที่พบในบริเวณหมู่เกาะสุรินทร์ ได้แก่ ปะการังโขด (Porites lutea) ปะการังผิวยู่ยี่ (Porites rus) ปะการังดาวใหญ่ (Diploastrea heliopora) ปะการังสีน้ําเงิน (Heliopora coerulea) ปะการังดอกเห็ด (Fungia spp.) สําหรับการเปลี่ยนแปลงของสังคมปะการัง ที่ตายจากปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว พบมีกลุ่มสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ขึ้นปกคลุมพื้นที่ ได้แก่ สาหร่ายเส้น สาย (Algal turfs) สาหร่ายหินปูน (Crustose algae) สาหร่ายขนาดใหญ่ (Upright macroalge) พรมทะเล (Zoanthids) และดอกไม้ทะเลเล็ก (Corallimorphs) จากปรากฏการณ์การฟอกขาว นอกจากจะส่งผลให้เปอร์เซ็นต์ครอบคลุมพื้นที่ของปะการังมี ชีวิตลดลง ยังส่งผลให้โครงสร้างของแนวปะการังในแต่ละสถานีเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม กรณีที่เกิด ขึ้นกับสถานีหินกอง สถานีเกาะตอรินลา สถานีเกาะปาชุมบา สถานีเกาะสตอร์ค และสถานีอ่าวแม่ ยาย เป็นกรณีที่เห็นได้ชัดเจน จากเดิมที่สถานีเหล่านี้มีปะการังเขากวางเป็นองค์ประกอบหลัก หลัง เกิดการฟอกขาวโครงสร้างเหล่านี้ได้เปลี่ยนแปลงไป ทุกสถานีข้างต้นที่กล่าวมาข้างต้นมีประชากร ปะการังเขากวางน้อยมาก องค์ประกอบที่เป็นโครงสร้างที่เหลืออยู่ คือ กลุ่มปะการังที่มีรูปทรงเป็น ก้อน ได้แก่ ปะการังโขด ปะการังดาวใหญ่ เป็นต้น ปะการังเหล่านี้ล้วนแต่มีความทนทานและสามารถ ฟื้นตัวได้ดีหลังการฟอกขาว ผลการศึกษาพบว่า โครงสร้างส่วนใหญ่ของสังคมแนวปะการังบริเวณ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์เปลี่ยนไปจากเดิมที่มีโครงสร้างจากปะการังเขากวาง เป็นโครงสร้างที่ เกิดจากปะการังก้อนเป็นหลัก (ภาพที่ 16-21) หลังจากเกิดการฟอกขาวของปะการัง การเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบทางสังคมแนว ปะการังเริ่มมีแนวโน้มคงที่ พบโคโลนีปะการังเขากวางเกิดใหม่ อายุระหว่าง 1-3 ปี เป็นจํานวนมาก โดยเฉพาะบริเวณอ่าวสุเทพ และอ่าวไม้งาม ลักษณะที่เกิดขึ้นเป็นสัญญาณที่ดีในฟื้นตัวของแนว ปะการัง อย่างไรก็ตามระยะเวลาที่จะใช้ในการฟื้นตัวให้กลับมามีสภาพใกล้เคียงกับในช่วงก่อนหน้า เกิดการฟอกขาวนั้น ยังไม่สามารถคาดการณ์ได้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยร่วมหลายๆ ประการ เช่น อัตราการ ผลิตตัวอ่อนของปะการัง อัตราการผลิตชิ้นส่วนจากโคโลนีเดิม (fragmentation) การแก่งแย่งพื้นที่กับ สิ่งมีชีวิตอื่นๆ การรบกวนที่เกิดจากธรรมชาติและจากมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ภาพที่ 16 แนวปะการังบริเวณอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ปี 2552 ก่อนเกิดปรากฏการณ์ ปะการังฟอกขาว
  • 17. 43 ภาพที่ 17 แนวปะการังบริเวณอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ปี 2553 ระหว่างเกิดปะการังฟอก ขาว ภาพที่ 18 แนวปะการังบริเวณอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ปี 2554 หลังปะการังฟอกขาว ประมาณ 1 ปี ภาพที่ 19 แนวปะการังบริเวณอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ปี 2555 หลังปะการังฟอกขาว ประมาณ 2 ปี
  • 18. 44 ภาพที่ 20 แนวปะการังบริเวณอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ปี 2556 หลังปะการังฟอกขาว ประมาณ 3 ปี ภาพที่ 21 แนวปะการังบริเวณอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ปี 2557 หลังปะการังฟอกขาว ประมาณ 4 ปี 1.2 สถานภาพปะการัง อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน 1.1.1. แนวปะการังบริเวณที่ตื้นหรือพื้นราบของแนวปะการัง (reef flat) สภาพ แนวปะการังมีสถานภาพปานกลาง มีโคโลนีปะการังที่รอดจากการฟอกขาวอยู่ค่อนข้างมาก (ภาพที่ 22) แต่ในขณะเดียวกันปริมาณตัวอ่อนปะการังในธรรมชาติมีไม่มากนัก ดังนั้นระยะเวลาที่จะใช้ในการ ฟื้นตัวให้กลับมามีสภาพใกล้เคียงกับในช่วงก่อนหน้าเกิดการฟอกขาวนั้น ยังไม่สามารถคาดการณ์ได้ สถานีอ่าวด้านเหนือของเกาะปายู มีปะการังมีชีวิตครอบคลุมพื้นที่มากที่สุดเท่ากับ 29.14 เปอร์เซ็นต์ สถานีที่มีปะการังมีชีวิตครอบคลุมพื้นที่น้อยที่สุด คือ สถานีหินม้วนเดียว เกาะห้า เท่ากับ 8.07 เปอร์เซ็นต์ (ภาพที่ 23) ปะการังชนิดเด่นที่พบในเส้นสํารวจ ได้แก่ ปะการังโขด (Porites lutea) ปะการังผิวยู่ยี่ (Synaraea rus) ปะการังสีน้ําเงิน (Heliopora coerulea) และปะการังผิวเกล็ด น้ําแข็ง (Montipora sp.) รายละเอียดผลการสํารวจแต่ละสถานีมีดังนี้
  • 19. 45 ภาพที่ 22 สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปะการังตาย และองค์ประกอบอื่นๆ ในแนวพื้น ราบ ภาพที่ 23 เปอร์เซ็นต์ครอบคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิตทุกสถานีสํารวจ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะ สิมิลัน
  • 20. 46 1 หินม้วนเดียว เกาะห้า สภาพปะการังมีปะการังปกคลุมพื้นที่ประมาณร้อยละ 8.07 ปะการังตายร้อยละ 50.65 (ตารางที่ 24) ปะการังชนิดเด่น ได้แก่ ปะการังโขด (Porites lutea) และปะการังผิวยู่ยี่ (Synaraea rus) บริเวณหินม้วนเดียวมีทรัพยากรอื่นๆ ที่เป็นจุดน่าสนใจ คือ กลุ่มปะการังอ่อน (Soft coral) ได้แก่ (Dendronephthy spp.) กัลปังหา (Annella sp. และ Melithaea sp.) เจริญอยู่บน พื้นหินจํานวนมาก ตารางที่ 24 สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปะการังตาย และองค์ประกอบอื่นๆ บริเวณหิน ม้วนเดียว เกาะห้า อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน องค์ประกอบสิ่งมีชีวิต/ไม่มีชีวิต สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ ปะการังมีชีวิต 8.07 ปะการังตาย 50.65 กัลปังหา 0.52 สาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ 0.22 ทราย 40.24 เศษซากปะการัง 0.21 อื่นๆ (ปลิงทะเล/หนอนฉัตร) 0.09 2 อีสออฟอีเดน เกาะปายู จากการสํารวจสภาพแนวปะการังบริเวณอีสออฟอีเดน พบปะการังมีชีวิตปกคลุม พื้นที่เฉลี่ยร้อยละ 17.94 ปะการังตายเฉลี่ยร้อยละ 41.28 (ตารางที่ 25) ปะการังชนิดเด่นที่พบ ได้แก่ ปะการังผิวเกล็ดน้ําแข็ง (Montipora monasteriata) ตารางที่ 25 สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปะการังตาย และองค์ประกอบอื่นๆ บริเวณอีส ออฟอีเดน เกาะปายู อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน องค์ประกอบสิ่งมีชีวิต/ไม่มีชีวิต สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ ปะการังมีชีวิต 17.94 ปะการังตาย 41.28 กัลปังหา 0.79 ฟองน้ํา 0.47 สาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ 0.41 ทราย 37.62 เศษซากปะการัง 1.26 อื่นๆ (ดาวขนนก/ไฮดรอยด์) 0.23
  • 21. 47 3 เวสออฟอีเดน เกาะปายู จากการสํารวจสภาพแนวปะการังบริเวณเวสออฟอีเดน พบปะการังมีชีวิตปกคลุม พื้นที่เฉลี่ยร้อยละ 21.32 ปะการังตายเฉลี่ยร้อยละ 53.18 (ตารางที่ 26) บริเวณเวสออฟอีเดน มี ทรัพยากรอื่นๆ ในพื้นที่ส่วนใหญ่ที่เป็นปะการังอ่อน ได้แก่ Lobophytum sp. และ Dendronephthy spp. กัลปังหา (Annella sp. และ Melithaea sp.) เจริญอยู่บนพื้นหินจํานวน มาก ปะการังชนิดเด่นที่พบ ได้แก่ ปะการังโขด (Porites lutea) ปะการังผิวยู่ยี่ (Synaraea rus) และปะการังดอกกะหล่ํา (Pocillopora sp.) ตารางที่ 26 สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปะการังตาย และองค์ประกอบอื่นๆ บริเวณ เวสออฟอีเดน เกาะปายู อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน องค์ประกอบสิ่งมีชีวิต/ไม่มีชีวิต สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ ปะการังมีชีวิต 21.32 ปะการังตาย 53.18 กัลปังหา 0.02 ฟองน้ํา 0.92 พรมทะเล 0.02 สาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ 1.24 ทราย 22.18 เศษซากปะการัง 1.01 อื่นๆ (หนอนฉัตร/หอยฝาเดียว) 0.11 4 อ่าวด้านเหนือ เกาะปายู สภาพแนวปะการังบริเวณอ่าวด้านเหนือของเกาะปายู มีปะการังปกคลุมพื้นที่ ประมาณร้อยละ 29.14 ปะการังตายเฉลี่ยร้อยละ 20.22 (ตารางที่ 27) ปะการังชนิดเด่นในพื้นที่ คือ ปะการังสีน้ําเงิน (Heliopora coerulea) และเป็นชนิดที่ได้รับผลกระทบจากฟอกขาวเพียงเล็กน้อย แต่สภาพของปะการังทั้งแนวในปัจจุบันเกิดการแตกหัก (fragment) เสียหายเป็นจํานวนมาก ซึ่ง สาเหตุน่าจะเกิดจากคลื่นลมตามธรรมชาติ
  • 22. 48 ตารางที่ 27 สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปะการังตาย และองค์ประกอบอื่นๆ บริเวณอ่าว ด้านเหนือ เกาะปายู อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน องค์ประกอบสิ่งมีชีวิต/ไม่มีชีวิต สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ ปะการังมีชีวิต 29.14 ปะการังตาย 20.22 ฟองน้ํา 1.17 สาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ 1.09 ทราย 37.39 เศษซากปะการัง 10.98 อื่นๆ (ดาวขนนก) 0.01 5 อ่าวไฟแวบ เกาะสิมิลัน จากการสํารวจสภาพแนวปะการังบริเวณอ่าวไฟแวบ สภาพทั่วไปของแนวปะการัง เสื่อมโทรมมาก พบปะการังมีชีวิตปกคลุมพื้นที่เฉลี่ยร้อยละ 9.34 ปะการังตายเฉลี่ยร้อยละ 47.19 (ตารางที่ 28) ปะการังชนิดเด่น ได้แก่ ปะการังโขด (Porites lutea) ปะการังผิวยู่ยี่ (Synaraea rus) และปะการังลายดอกไม้ (Pavona sp.) ตารางที่ 28 สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปะการังตาย และองค์ประกอบอื่นๆ บริเวณอ่าว ไฟแวบ เกาะสิมิลัน อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน องค์ประกอบสิ่งมีชีวิต/ไม่มีชีวิต สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ ปะการังมีชีวิต 9.34 ปะการังตาย 47.19 ฟองน้ํา 0.07 สาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ 0.61 ทราย 42.1 เศษซากปะการัง 0.52 อื่นๆ (ปลา) 0.17 6 หาดเล็ก เกาะเมียง สภาพแนวปะการังบริเวณหาดเล็ก มีปะการังปกคลุมพื้นที่ประมาณร้อยละ 28.09 ปะการังตายเฉลี่ยร้อยละ 22.61 (ตารางที่ 29) ปะการังชนิดเด่นในพื้นที่ คือ ปะการังลาย ดอกไม้ (Pavona sp.) และปะการังเห็ด (Fungia sp.)
  • 23. 49 ตารางที่ 29 สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปะการังตาย และองค์ประกอบอื่นๆ บริเวณ หาดเล็ก อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน องค์ประกอบสิ่งมีชีวิต/ไม่มีชีวิต สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ ปะการังมีชีวิต 28.09 ปะการังตาย 22.61 ฟองน้ํา 1.06 สาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ 0.25 ทราย 47.23 เศษซากปะการัง 0.76 7 อ่าวนําชัย เกาะบางู จากการสํารวจสภาพแนวปะการังบริเวณอ่าวนําชัย พบปะการังมีชีวิตปกคลุมพื้นที่ เฉลี่ยร้อยละ 9.34 ปะการังตายเฉลี่ยร้อยละ 47.19 (ตารางที่ 30) ปะการังชนิดเด่น ได้แก่ ปะการัง โขด (Porites lutea) ปะการังผิวยู่ยี่ (Synaraea rus) และปะการังลายดอกไม้ (Pavona sp.) ตารางที่ 30 สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปะการังตาย และองค์ประกอบอื่นๆ บริเวณอ่าว นําชัย เกาะบางู อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน องค์ประกอบสิ่งมีชีวิต/ไม่มีชีวิต สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ ปะการังมีชีวิต 14.06 ปะการังตาย 65.01 ฟองน้ํา 0.80 พรมทะเล 0.07 สาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ 1.39 ทราย 15.07 เศษซากปะการัง 3.56 อื่นๆ (ทากทะเล/หนอนฉัตร) 0.04 1.2.2 แนวลึก หรือบริเวณไหล่แนวปะการัง (reef edge) ต่อเนื่องลงไปถึงส่วนลาดชันแนว ปะการัง (reef slope) พบว่า สภาพแนวปะการังมีความเสื่อมโทรมบางสถานี (ภาพที่ 24) แต่ก็มี แนวโน้มในการฟื้นตัวของปะการังมีชีวิตดีขึ้น สถานีอีสออฟอีเดน (East of Eden) มีปะการังมีชีวิต ครอบคลุมพื้นที่มากที่สุด เท่ากับ 34.47 เปอร์เซ็นต์ สถานีที่มีปะการังมีชีวิตน้อยที่สุด คือ หินม้วน เดียว เกาะห้า เท่ากับ 6.85 เปอร์เซ็นต์ (ภาพที่ 25)
  • 24. 50 ภาพที่ 24 สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปะการังตาย และองค์ประกอบอื่นๆ ในแนวลึก ภาพที่ 25 เปอร์เซ็นต์ครอบคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิตทุกสถานีสํารวจ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะ สิมิลัน ปะการังชนิดเด่น ได้แก่ ปะการังโขด (Porites lutea) ปะการังแผ่นเคลือบ (Porites monticulosa) ปะการังผิวเกล็ดน้ําแข็ง (Montipora aequituberculata) ปะการังสีน้ําเงิน
  • 25. 51 (Heliopora coerulea) จากการติดตามการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศภายหลังปรากฏการณ์ ปะการังฟอกขาว พบการปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย (ภาพที่ 26) ปะการังที่ตายจากการฟอกขาวมีสาหร่าย และฟองน้ําขึ้นปกคลุม บางส่วนแตกหักกระจายบนพื้น ทราย รายละเอียดผลการสํารวจแต่ละสถานีมีดังนี้ ภาพที่ 26 ค่าเปอร์เซ็นต์ครอบคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปี 2552-2557 อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะ สิมิลัน 1 หินม้วนเดียว เกาะห้า สภาพปะการังมีปะการังปกคลุมพื้นที่ประมาณร้อยละ 6.85 ปะการังตายร้อยละ 45.47 (ตารางที่ 31) ปะการังชนิดเด่น ได้แก่ ปะการังโขด (Porites lutea)
  • 26. 52 ตารางที่ 31 สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปะการังตาย และองค์ประกอบอื่นๆ บริเวณหิน ม้วนเดียว เกาะห้า อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน องค์ประกอบสิ่งมีชีวิต/ไม่มีชีวิต สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ ปะการังมีชีวิต 6.85 ปะการังตาย 45.47 กัลปังหา 0.27 พรมทะเล 0.09 สาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ 0.79 ทราย 43.83 เศษซากปะการัง 2.68 อื่นๆ (หนอนฉัตร) 0.02 2 อีสออฟอีเดน เกาะปายู จากการสํารวจสภาพแนวปะการังบริเวณอีสออฟอีเดน พบปะการังมีชีวิตปกคลุม พื้นที่เฉลี่ยร้อยละ 34.47 ปะการังตายเฉลี่ยร้อยละ 29.34 (ตารางที่ 32) ปะการังชนิดเด่นที่พบ ได้แก่ ปะการังผิวเกล็ดน้ําแข็ง (Montipora sp.) ตารางที่ 32 สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปะการังตาย และองค์ประกอบอื่นๆ บริเวณ อีสออฟอีเดน เกาะปายู อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน องค์ประกอบสิ่งมีชีวิต/ไม่มีชีวิต สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ ปะการังมีชีวิต 34.47 ปะการังตาย 29.34 กัลปังหา 0.55 ฟองน้ํา 0.66 พรมทะเล 0.02 สาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ 0.26 ทราย 32.65 เศษซากปะการัง 1.65 อื่นๆ (ดาวขนนก) 0.40
  • 27. 53 3 เวสออฟอีเดน เกาะปายู สภาพแนวปะการังบริเวณเวสออฟอีเดน พื้นทะเลส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นพื้นหิน แนวปะการังสิ้นสุดที่ระดับความลึกประมาณ 35 เมตร พบปะการังมีชีวิตปกคลุมพื้นที่เฉลี่ยร้อยละ 16.04 ปะการังตายเฉลี่ยร้อยละ 61.55 (ตารางที่ 33) บริเวณเวสออฟอีเดน มีทรัพยากรอื่นๆ ในพื้นที่ ส่วนใหญ่ที่เป็นปะการังอ่อน ได้แก่ Lobophytum sp. และ Dendronephthy spp. กัลปังหา (Annella sp. และ Melithaea sp.) เจริญอยู่บนพื้นหินจํานวนมาก ปะการังชนิดเด่นที่พบ ได้แก่ ปะการังดอกกะหล่ํา (Pocilopora sp.) ตารางที่ 33 สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปะการังตาย และองค์ประกอบอื่นๆ บริเวณ เวสออฟอีเดน เกาะปายู อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน องค์ประกอบสิ่งมีชีวิต/ไม่มีชีวิต สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ ปะการังมีชีวิต 16.04 ปะการังตาย 61.55 กัลปังหา 4.48 ฟองน้ํา 4.09 สาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ 1.11 ทราย 10.79 เศษซากปะการัง 1.72 อื่นๆ (ดาวขนนก/ปลิงทะเล) 0.22 4 อ่าวไฟแวบ เกาะสิมิลัน จากการสํารวจสภาพแนวปะการังบริเวณอ่าวไฟแวบ พบปะการังมีชีวิตปกคลุมพื้นที่ เฉลี่ยร้อยละ 15.23 ปะการังตายเฉลี่ยร้อยละ 38.66 (ตารางที่ 34) ปะการังชนิดเด่น ได้แก่ ปะการัง ผิวเกล็ดน้ําแข็ง (Montipora sp.) ตารางที่ 34 สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปะการังตาย และองค์ประกอบอื่นๆ บริเวณอ่าว ไฟแวบ เกาะสิมิลัน อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน องค์ประกอบสิ่งมีชีวิต/ไม่มีชีวิต สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ ปะการังมีชีวิต 15.23 ปะการังตาย 38.66 ฟองน้ํา 0.31 ทราย 44.52 เศษซากปะการัง 1.07 อื่นๆ (ดาวขนนก) 0.21
  • 28. 54 5 หาดเล็ก เกาะเมียง สภาพแนวปะการังบริเวณหาดเล็ก มีปะการังปกคลุมพื้นที่ประมาณร้อยละ 23.45 ปะการังตายเฉลี่ยร้อยละ 23.12 (ตารางที่ 35) ปะการังชนิดเด่นในพื้นที่ ได้แก่ ปะการังดอกไม้ทะเล (Goniopora sp.) และปะการังโขด (Porites lutea) ตารางที่ 35 สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิต ปะการังตาย และองค์ประกอบอื่นๆ บริเวณหาด เล็ก เกาะเมียง อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน องค์ประกอบสิ่งมีชีวิต/ไม่มีชีวิต สัดส่วนปกคลุมพื้นที่ ปะการังมีชีวิต 23.45 ปะการังตาย 23.12 ฟองน้ํา 0.74 สาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ 1.17 ทราย 47.25 เศษซากปะการัง 4.15 อื่นๆ (ดาวขนนก/ปลา) 0.12 ปะการังชนิดเด่นที่พบในบริเวณหมู่เกาะสิมิลัน ได้แก่ ปะการังโขด (Porites lutea) ปะการังแผ่นเคลือบ (P. monticulosa) ปะการังผิวยู่ยี่ (P. rus) ปะการังผิวเกล็ดน้ําแข็ง (Montipora aequituberculata) ปะการังสีน้ําเงิน (Heliopora coerulea) ปะการังดอกไม้ทะเล (Goniopora sp.) ปะการังเขากวาง (Acropora palifera, A. intermedia, A. microphthalma, A. elseyi) ปะการังดอกกะหล่ํา (Pocillopora eydouxi) สําหรับการเปลี่ยนแปลงของสังคมปะการังที่ตายจาก ปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว พบว่ามีกลุ่มสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ขึ้นปกคลุมพื้นที่ ได้แก่ สาหร่ายเส้นสาย (Algal turfs) สาหร่ายหินปูน (Crustose algae) สาหร่ายขนาดใหญ่ (Upright macroalgae) ดอกไม้ทะเลเล็ก (Corallimorphs) และฟองน้ํา (Sponges) (ภาพที่ 27-33) ภาพที่ 27 แนวปะการังบริเวณอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ปี 2553
  • 29. 55 ภาพที่ 28 แนวปะการังบริเวณอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ปี 2554 หลังปะการังฟอกขาว ประมาณ 1 ปี ภาพที่ 29 แนวปะการังบริเวณอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ปี 2555 หลังปะการังฟอกขาว ประมาณ 2 ปี ภาพที่ 30 แนวปะการังบริเวณอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ปี 2556 หลังปะการังฟอกขาว ประมาณ 3 ปี
  • 30. 56 ภาพที่ 31 แนวปะการังบริเวณอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ปี 2557 หลังปะการังฟอกขาว ประมาณ 4 ปี ภาพที่ 32 ตัวอ่อนปะการังที่ลงเกาะบนพื้นธรรมชาติในพื้นที่ศึกษาของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะ สิมิลัน ภาพที่ 33 ตัวอ่อนปะการังที่ลงเกาะบนพื้นธรรมชาติในพื้นที่ศึกษาของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะ สิมิลัน
  • 31. 2. สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในแนวปะการังอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ (ตารางที่ 36) และอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน (ตารางที่ 37) รายละเอียดแยก ตามสถานีดังนี้ ตารางที่ 36 ตารางแสดงจํานวนกลุ่มสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในแนวปะการังที่พบในแปลงสํารวจบริเวณแนวปะการังอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ สัตว์ไม่มีกระดูก สันหลัง สถานี เกาะสตอร์ค อ่าวจาก อ่าวแม่ยาย อ่าวเต่า อ่าวผักกาด เกาะตอรินลา อ่าวสุเทพ เกาะมังกร อ่าวไม้งาม หินแพ แนว ตื้น แนว ลึก แนว ตื้น แนว ลึก แนว ตื้น แนว ลึก แนว ตื้น แนว ลึก แนว ตื้น แนว ลึก แนว ตื้น แนว ลึก แนว ตื้น แนว ลึก แนว ตื้น แนว ลึก แนว ตื้น แนว ลึก แนว ตื้น แนว ลึก เม่นหนามดํา 12.67 56.67 2.67 16.33 1.33 1.67 0.67 0.67 0.67 4.33 16.00 27.67 0.67 0.33 6.33 9.67 1.67 ปลิงทะเล 0.67 2.00 1.00 0.33 3.67 หอยมือเสือ 3.00 0.67 3.00 2.33 2.33 3.33 0.67 0.67 0.33 2.33 1.00 0.67 0.67 1.33 กุ้งมังกร 0.67
  • 32. 58 ตารางที่ 37 ตารางแสดงจํานวนกลุ่มสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในแนวปะการังที่พบในแปลงสํารวจบริเวณแนวปะการังอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน สัตว์ไม่มีกระดูก สันหลัง สถานี หินม้วนเดียว อีสออฟอีเดน เวสออฟอีเดน อ่าวไฟแวบ หาดเล็ก อ่านด้านเหนือ อ่าวนําชัย แนวตื้น แนวลึก แนวตื้น แนวลึก แนวตื้น แนวลึก แนวตื้น แนวลึก แนวตื้น แนวลึก แนวตื้น แนวตื้น เม่นหนามดํา 1.67 7.67 0.00 2.33 3.67 ปลิงทะเล 0.33 3.00 0.33 0.67 1.00 0.33 หอยมือเสือ 2.33 2.33 0.33