SlideShare a Scribd company logo
1 of 29
Download to read offline
1
สิงคาลกสูตร
พลตรี มารวย ส่งทานินทร์
๒ เมษายน ๒๕๖๖
เกริ่นนา
คหบดีบุตร เธอพึงทราบทิศ ๖ นี้ พึงทราบว่า มารดาบิดาเป็นทิศเบื้องหน้า พึงทราบว่า อาจารย์
เป็นทิศเบื้องขวา พึงทราบว่า บุตรและภรรยาเป็นทิศเบื้องหลัง พึงทราบว่า มิตรสหายเป็นทิศเบื้องซ้าย พึง
ทราบว่า ทาสและกรรมกรเป็นทิศเบื้องล่าง พึงทราบว่า สมณพราหมณ์เป็นทิศเบื้องบน
สิงคาลกสูตร
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
๘. สิงคาลกสูตร
ว่าด้วยสิงคาลกมาณพ
[๒๔๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์
สมัยนั้น สิงคาลกะ คหบดีบุตร ลุกขึ้นแต่เช้า ออกจากกรุงราชคฤห์ มีผ้าเปียก มีผมเปียก ประคองอัญชลีไหว้
ทิศทั้งหลาย คือ ทิศเบื้องหน้า(ทิศตะวันออก) ทิศเบื้องขวา(ทิศใต้) ทิศเบื้องหลัง(ทิศตะวันตก) ทิศเบื้อง
ซ้าย(ทิศเหนือ) ทิศเบื้องล่าง ทิศเบื้องบน
[๒๔๓] ครั้นในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปยังกรุง
ราชคฤห์เพื่อบิณฑบาต ได้ทอดพระเนตรเห็นสิงคาลกะ คหบดีบุตร ผู้ลุกขึ้นแต่เช้า ออกจากกรุงราชคฤห์ มี
ผ้าเปียก มีผมเปียก ประคองอัญชลีไหว้ทิศทั้งหลาย คือ ทิศเบื้องหน้า ทิศเบื้องขวา ทิศเบื้องซ้าย ทิศ
เบื้องหลัง ทิศเบื้องล่าง ทิศเบื้องบนแล้ว ได้ตรัสถามสิงคาลกะ คหบดีบุตรดังนี้ ว่า “คหบดีบุตร เธอลุกขึ้นแต่
เช้า ออกจากกรุงราชคฤห์ มีผ้าเปียก มีผมเปียก ประคองอัญชลีไหว้ทิศทั้งหลาย คือ ทิศเบื้องหน้า ทิศเบื้อง
ขวา ทิศเบื้องหลัง ทิศเบื้องซ้าย ทิศเบื้องล่าง ทิศเบื้องบนอยู่ เพราะเหตุไร”
สิงคาลกะ คหบดีบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บิดาของข้าพระองค์ก่อนจะตาย ได้
กล่าวไว้อย่างนี้ ว่า ‘นี่แน่ะลูก เจ้าพึงไหว้ทิศทั้งหลาย’ ข้าพระองค์สักการะ เคารพ นับถือ บูชาคาของบิดา จึง
ลุกขึ้นแต่เช้า ออกจากกรุงราชคฤห์ มีผ้าเปียก มีผมเปียก ประคองอัญชลี ไหว้ทิศทั้งหลาย คือ ทิศเบื้องหน้า
ทิศเบื้องขวา ทิศเบื้องซ้าย ทิศเบื้องหลัง ทิศเบื้องล่าง ทิศเบื้องบนอยู่”
ทิศ ๖
[๒๔๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คหบดีบุตร ในอริยวินัย(ธรรมเนียมแบบแผนของพระอริยะ) เขา
ไม่ไหว้ทิศ ๖ กันอย่างนี้ ”
2
สิงคาลกะ คหบดีบุตรทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในอริยวินัย เขาไหว้ทิศ ๖ กันอย่างไร ขอ
ประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ ตามวิธีการไหว้ทิศ ๖ ในอริยวินัย
เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คหบดีบุตร ถ้าอย่างนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
สิงคาลกะ คหบดีบุตรทูลรับสนองพระดารัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คหบดีบุตร อริยสาวกละกรรมกิเลส (กรรมเครื่องเศร้าหมอง) ๔
ประการได้แล้ว ไม่ทาบาปกรรมโดยเหตุ ๔ ประการ และไม่ข้องแวะอบายมุข (ทางเสื่อม) ๖ ประการ แห่ง
โภคะทั้งหลาย อริยสาวกนั้นเป็นผู้ปราศจากบาปกรรม ๑๔ ประการนี้ แล้ว ชื่อว่าเป็นผู้ปิดป้องทิศ ๖ (ปิด
ป้องทิศ ในที่นี้ หมายถึงปกปิดช่องว่างระหว่างตนกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเรียกว่าทิศ ๖) ปฏิบัติเพื่อครองโลก
ทั้งสอง ทาให้เกิดความยินดีทั้งโลกนี้ และโลกหน้า หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
กรรมกิเลส ๔
[๒๔๕] กรรมกิเลส ๔ ประการที่อริยสาวกละได้แล้ว อะไรบ้าง คือ
๑. กรรมกิเลสคือปาณาติบาต
๒. กรรมกิเลสคืออทินนาทาน
๓. กรรมกิเลสคือกาเมสุมิจฉาจาร
๔. กรรมกิเลสคือมุสาวาท
กรรมกิเลส ๔ ประการนี้ ที่อริยสาวกนั้นละได้แล้ว”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้ แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีก
ว่า “การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การล่วงละเมิดภรรยาผู้อื่น และการพูดเท็จ เรียกว่า เป็นกรรมกิเลส บัณฑิต
ทั้งหลายไม่สรรเสริญ”
เหตุ ๔ ประการ
[๒๔๖] อริยสาวกไม่ทาบาปกรรมโดยเหตุ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ปุถุชน
๑. ย่อมถึงฉันทาคติ (ลาเอียงเพราะรัก) ทาบาปกรรม
๒. ย่อมถึงโทสาคติ (ลาเอียงเพราะชัง) ทาบาปกรรม
๓. ย่อมถึงโมหาคติ (ลาเอียงเพราะเขลา) ทาบาปกรรม
๔. ย่อมถึงภยาคติ (ลาเอียงเพราะกลัว) ทาบาปกรรม
ส่วนอริยสาวก
๑. ย่อมไม่ถึงฉันทาคติ
๒. ย่อมไม่ถึงโทสาคติ
๓. ย่อมไม่ถึงโมหาคติ
๔. ย่อมไม่ถึงภยาคติ
3
อริยสาวกย่อมไม่ทาบาปกรรม โดยเหตุ ๔ ประการนี้
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้ แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีก
ว่า “บุคคลใดละเมิดความชอบธรรม เพราะฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ ยศของบุคคลนั้นย่อม
เสื่อม เหมือนดวงจันทร์ข้างแรม ฉะนั้น บุคคลใดไม่ละเมิดความชอบธรรม เพราะฉันทาคติ โทสาคติ
โมหาคติ ภยาคติ ยศของบุคคลนั้นย่อมเจริญ เหมือนดวงจันทร์ข้างขึ้น ฉะนั้น”
อบายมุข ๖ ประการ
[๒๔๗] อริยสาวกไม่ข้องแวะอบายมุข ๖ ประการ แห่งโภคะทั้งหลาย อะไรบ้าง คือ
๑. การหมกมุ่นในการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท เป็น
อบายมุขแห่งโภคะทั้งหลาย
๒. การหมกมุ่นในการเที่ยวไปตามตรอกซอกซอย ในเวลากลางคืน เป็นอบายมุขแห่งโภคะ
ทั้งหลาย
๓. การเที่ยวดูมหรสพ เป็นอบายมุขแห่งโภคะทั้งหลาย
๔. การหมกมุ่นในการเล่นการพนันอันเป็นเหตุแห่งความประมาท เป็นอบายมุขแห่งโภคะ
ทั้งหลาย
๕. การหมกมุ่นในการคบคนชั่วเป็นมิตร เป็นอบายมุขแห่งโภคะทั้งหลาย
๖. การหมกมุ่นในความเกียจคร้าน เป็นอบายมุขแห่งโภคะทั้งหลาย
โทษแห่งสุราเมรัย ๖ ประการ
[๒๔๘] คหบดีบุตร การหมกมุ่นในการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความ
ประมาทมีโทษ ๖ ประการนี้ คือ
๑. เสียทรัพย์ทันตาเห็น
๒. ก่อการทะเลาะวิวาท
๓. เป็นบ่อเกิดแห่งโรค
๔. เป็นเหตุให้เสียชื่อเสียง
๕. เป็นเหตุให้ไม่รู้จักอาย
๖. เป็นเหตุทอนกาลังปัญญา
คหบดีบุตร การหมกมุ่นในการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทมี
โทษ ๖ ประการนี้ แล
โทษแห่งการเที่ยวกลางคืน ๖ ประการ
[๒๔๙] คหบดีบุตร การหมกมุ่นในการเที่ยวไปตามตรอกซอกซอย ในเวลากลางคืนมีโทษ ๖
ประการนี้ คือ
4
๑. ชื่อว่าไม่คุ้มครอง ไม่รักษาตน
๒. ชื่อว่าไม่คุ้มครอง ไม่รักษาบุตรภรรยา
๓. ชื่อว่าไม่คุ้มครอง ไม่รักษาทรัพย์สมบัติ
๔. เป็นที่สงสัย (เป็นที่สงสัยในที่นี้ หมายถึงถูกสงสัยว่าเป็นผู้ทากรรมชั่วทั้งที่ไม่มีส่วนในกรรมชั่ว
นั้น) ของคนอื่นด้วยเหตุต่างๆ
๕. มักถูกใส่ร้ายด้วยเรื่องไม่เป็นจริง
๖. ทาให้เกิดความลาบากมากหลายอย่าง
คหบดีบุตร การหมกมุ่นในการเที่ยวไปตามตรอกซอกซอย ในเวลากลางคืนมีโทษ ๖ ประการนี้
แล
โทษแห่งการเที่ยวดูมหรสพ ๖ ประการ
[๒๕๐] คหบดีบุตร การเที่ยวดูมหรสพมีโทษ ๖ ประการนี้ คือ
๑. มีการราที่ไหน (ไปที่นั่น)
๒. มีการขับร้องที่ไหน (ไปที่นั่น)
๓. มีการประโคมที่ไหน (ไปที่นั่น)
๔. มีเสภาที่ไหน (ไปที่นั่น)
๕. มีการบรรเลงที่ไหน (ไปที่นั่น)
๖. มีเถิดเทิงที่ไหน (ไปที่นั่น)
คหบดีบุตร การเที่ยวดูมหรสพมีโทษ ๖ ประการนี้ แล
โทษแห่งการเล่นการพนันอันเป็นเหตุแห่งความประมาท ๖ ประการ
[๒๕๑] คหบดีบุตร การหมกมุ่นในการเล่นการพนันอันเป็นเหตุแห่งความประมาทมีโทษ ๖
ประการนี้ คือ
๑. ผู้ชนะย่อมก่อเวร
๒. ผู้แพ้ย่อมเสียดายทรัพย์ที่เสียไป
๓. เสียทรัพย์ทันตาเห็น
๔. ถ้อยคาที่เป็นพยานในศาล ก็เชื่อถือไม่ได้
๕. ถูกมิตรอามาตย์ (มิตรอามาตย์ แยกอธิบายได้ดังนี้ มิตร ในที่นี้ หมายถึงคนที่สามารถใช้สอย
สิ่งของในบ้านเรือนของกันและกันได้ อามาตย์ ในที่นี้ หมายถึงเพื่อนร่วมงาน) ดูหมิ่น
๖. ไม่มีใครประสงค์จะแต่งงานด้วย เพราะเห็นว่าชายผู้นี้ เป็นนักเลงการพนันไม่สามารถจะเลี้ยงดู
ภรรยาได้
คหบดีบุตร การหมกมุ่นในการเล่นการพนันอันเป็นเหตุแห่งความประมาทมีโทษ ๖ ประการนี้ แล
5
โทษแห่งการคบคนชั่วเป็นมิตร ๖ ประการ
[๒๕๒] คหบดีบุตร การหมกมุ่นในการคบคนชั่วเป็นมิตรมีโทษ ๖ ประการนี้ คือ
๑. เขามีนักเลงการพนันเป็นมิตรสหาย
๒. เขามีนักเลงเจ้าชู้เป็นมิตรสหาย
๓. เขามีนักเลงเหล้าเป็นมิตรสหาย
๔. เขามีคนหลอกลวงเป็นมิตรสหาย
๕. เขามีคนโกงเป็นมิตรสหาย
๖. เขามีโจรเป็นมิตรสหาย
คหบดีบุตร การหมกมุ่นในการคบคนชั่วเป็นมิตรมีโทษ ๖ ประการนี้ แล
โทษแห่งความเกียจคร้าน ๖ ประการ
[๒๕๓] คหบดีบุตร การหมกมุ่นในความเกียจคร้านมีโทษ ๖ ประการนี้ คือ
๑. มักอ้างว่า ‘หนาวเกินไป’ แล้วไม่ทาการงาน
๒. มักอ้างว่า ‘ร้อนเกินไป’ แล้วไม่ทาการงาน
๓. มักอ้างว่า ‘เวลาเย็นเกินไป’ แล้วไม่ทาการงาน
๔. มักอ้างว่า ‘เวลายังเช้าเกินไป’ แล้วไม่ทาการงาน
๕. มักอ้างว่า ‘หิวเกินไป’ แล้วไม่ทาการงาน
๖. มักอ้างว่า ‘กระหายเกินไป’ แล้วไม่ทาการงาน
เมื่อเขามากไปด้วยการอ้างเลศ ผัดเพี้ยนการงานอยู่อย่างนี้ โภคะที่ยังไม่เกิดก็ไม่เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้น
แล้วก็ถึงความเสื่อมสิ้นไป
คหบดีบุตร การหมกมุ่นในความเกียจคร้านมีโทษ ๖ ประการนี้ แล”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้ แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีก
ว่า “เพื่อนในโรงสุราก็มี เพื่อนดีแต่พูดก็มี เมื่อมีเรื่องเกิดขึ้น ผู้ใดเป็นเพื่อนได้ ผู้นั้นจัดว่าเป็นเพื่อนแท้”
เหตุ ๖ ประการนี้ คือ
(๑) การนอนตื่นสาย (๒) การเป็นชู้กับภรรยาผู้อื่น
(๓) การผูกเวร (๔) ความเป็นผู้ก่อแต่เรื่องเสียหาย
(๕) การมีมิตรชั่ว (๖) ความตระหนี่จัด
ย่อมทาลายบุรุษให้พินาศ
คนมีมิตรชั่ว มีเพื่อนชั่ว
มีมารยาทและความประพฤติชั่ว
ย่อมเสื่อมจากโลกทั้งสอง คือ
6
จากโลกนี้ และจากโลกหน้า
เหตุ ๖ ประการนี้ คือ
(๑) นักเลงการพนันและนักเลงหญิง
(๒) นักเลงสุรา (๓) ฟ้อนราขับร้อง
(๔) นอนหลับในกลางวัน เที่ยวกลางคืน
(๕) การมีมิตรชั่ว (๖) ความตระหนี่จัด
ย่อมทาลายบุรุษให้พินาศ
ผู้ใดเล่นการพนัน ดื่มสุรา
ล่วงละเมิดหญิงผู้เป็นที่รักเสมอด้วยชีวิตของผู้อื่น
คบแต่คนเลว และไม่คบหาคนเจริญ
ผู้นั้นย่อมเสื่อมดุจดวงจันทร์ข้างแรม ฉะนั้น
ผู้ใดดื่มสุรา ไร้ทรัพย์
ไม่ทางานเลี้ยงชีพ เป็นคนขี้เมาหัวทิ่มบ่อ
ผู้นั้นจักจมลงสู่หนี้ เหมือนก้อนหินจมน้า
จักทาความมัวหมองให้แก่ตนทันที
คนชอบนอนหลับในกลางวัน
ไม่ลุกขึ้นในกลางคืน เป็นนักเลงขี้เมาประจา
ไม่สามารถครองเรือนได้
ประโยชน์ทั้งหลายย่อมล่วงเลย
หนุ่มสาวที่ละทิ้งการงาน
โดยอ้างว่า ‘เวลานี้ หนาวเกินไป
เวลานี้ ร้อนเกินไป เวลานี้ เย็นเกินไป’ เป็นต้น
ส่วนผู้ใดทาหน้าที่ของบุรุษ
ไม่ใส่ใจความหนาว ความร้อน ยิ่งไปกว่าหญ้า
ผู้นั้นย่อมไม่เสื่อมจากความสุข
มิตรเทียม
[๒๕๔] คหบดีบุตร คน ๔ จาพวกนี้ เธอพึงทราบว่า ไม่ใช่มิตรแท้ เป็นมิตรเทียม คือ
๑. คนที่ถือเอาแต่ประโยชน์จากผู้อื่นฝ่ายเดียว พึงทราบว่า ไม่ใช่มิตรแท้ เป็นมิตรเทียม
๒. คนดีแต่พูด พึงทราบว่า ไม่ใช่มิตรแท้ เป็นมิตรเทียม
๓. คนพูดประจบ พึงทราบว่า ไม่ใช่มิตรแท้ เป็นมิตรเทียม
๔. คนที่เป็นเพื่อนชักนาในทางเสื่อม พึงทราบว่า ไม่ใช่มิตรแท้ เป็นมิตรเทียม
7
[๒๕๕] คหบดีบุตร คนที่ถือเอาแต่ประโยชน์จากผู้อื่นฝ่ายเดียว เธอพึงทราบว่าไม่ใช่มิตรแท้ เป็น
มิตรเทียม โดยเหตุ ๔ ประการ คือ
(๑) เป็นผู้ถือเอาประโยชน์จากผู้อื่นฝ่ายเดียว
(๒) เสียน้อย ปรารถนาจะได้มาก
(๓) เมื่อตัวเองมีภัยจึงทากิจของเพื่อน
(๔) คบเพื่อนเพราะเห็นแก่ประโยชน์
คหบดีบุตร คนที่ถือเอาแต่ประโยชน์จากผู้อ่านฝ่ายเดียว เธอพึงทราบว่า ไม่ใช่มิตรแท้ เป็นมิตร
เทียม โดยเหตุ ๔ ประการนี้ แล
[๒๕๖] คหบดีบุตร คนดีแต่พูด เธอพึงทราบว่า ไม่ใช่มิตรแท้ เป็นมิตรเทียมโดยเหตุ ๔ ประการ
คือ
๑. กล่าวต้อนรับด้วยเรื่องที่เป็นอดีตไปแล้ว
๒. กล่าวต้อนรับด้วยเรื่องที่ยังมาไม่ถึง
๓. สงเคราะห์ด้วยสิ่งที่หาประโยชน์มิได้
๔. เมื่อมีกิจเกิดขึ้นเฉพาะหน้าก็แสดงความขัดข้อง
คหบดีบุตร คนดีแต่พูด เธอพึงทราบว่า ไม่ใช่มิตรแท้ เป็นมิตรเทียม โดยเหตุ ๔ ประการนี้ แล
[๒๕๗] คหบดีบุตร คนพูดประจบ เธอพึงทราบว่า ไม่ใช่มิตรแท้ เป็นมิตรเทียม โดยเหตุ ๔
ประการ คือ
๑. เพื่อนทาชั่ว ก็คล้อยตาม
๒. เพื่อนทาดี ก็คล้อยตาม
๓. สรรเสริญต่อหน้า
๔. นินทาลับหลัง
คหบดีบุตร คนพูดประจบ เธอพึงทราบว่า ไม่ใช่มิตรแท้ เป็นมิตรเทียมโดยเหตุ ๔ ประการนี้ แล
[๒๕๘] คหบดีบุตร คนที่เป็นเพื่อนชักชวนไปในทางเสื่อม พึงทราบว่า ไม่ใช่มิตรแท้ เป็นมิตร
เทียม โดยเหตุ ๔ ประการ คือ
๑. เป็นเพื่อนที่ชักชวนให้หมกมุ่นในการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นเหตุแห่งความ
ประมาท
๒. เป็นเพื่อนที่ชักชวนให้หมกมุ่นในการเที่ยวไปตามตรอกซอกซอยในเวลากลางคืน
๓. เป็นเพื่อนเที่ยวดูการเล่น
๔. เป็นเพื่อนที่ชักชวนให้หมกมุ่นในการเล่นการพนันอันเป็นเหตุแห่งความประมาท
คหบดีบุตร คนที่เป็นเพื่อนชักชวนไปในทางเสื่อม พึงทราบว่า ไม่ใช่มิตรแท้ เป็นมิตรเทียม โดย
เหตุ ๔ ประการนี้ แล”
[๒๕๙] พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้ แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์
ต่อไปอีกว่า
8
“บุคคลที่ไม่ใช่มิตรแท้ ๔ จาพวกนี้ คือ
(๑) มิตรที่ถือเอาแต่ประโยชน์จากผู้อื่นอย่างเดียว
(๒) มิตรดีแต่พูด (๓) มิตรพูดประจบ
(๔) มิตรชักนาในทางเสื่อม
บัณฑิตรู้อย่างนี้ แล้ว พึงเว้นเสียให้ห่างไกล
เหมือนคนเว้นทางมีภัยเฉพาะหน้าเสียฉะนั้น”
มิตรมีใจดี
[๒๖๐] คหบดีบุตร คน ๔ จาพวกนี้ เธอพึงทราบว่า เป็นมิตรมีใจดี(มิตรแท้) คือ
๑. มิตรมีอุปการะ พึงทราบว่า เป็นมิตรมีใจดี
๒. มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ พึงทราบว่า เป็นมิตรมีใจดี
๓. มิตรแนะนาประโยชน์ พึงทราบว่า เป็นมิตรมีใจดี
๔. มิตรมีความรักใคร่ พึงทราบว่า เป็นมิตรมีใจดี
[๒๖๑] คหบดีบุตร มิตรมีอุปการะ เธอพึงทราบว่า เป็นมิตรมีใจดี โดยเหตุ ๔ ประการ คือ
๑. ป้องกันเพื่อนผู้ประมาทแล้ว
๒. ป้องกันทรัพย์สมบัติของเพื่อนผู้ประมาทแล้ว
๓. เมื่อมีภัยก็เป็นที่พึ่งพานักได้
๔. เมื่อมีกิจที่จาเป็นเกิดขึ้น ก็ช่วยโภคทรัพย์ให้ ๒ เท่าของทรัพย์ที่ต้องการในกิจนั้น
คหบดีบุตร มิตรมีอุปการะ เธอพึงทราบว่า เป็นมิตรมีใจดี โดยเหตุ ๔ ประการนี้ แล
[๒๖๒] คหบดีบุตร มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ เธอพึงทราบว่า เป็นมิตรมีใจดีโดยเหตุ ๔ ประการ คือ
๑. บอกความลับแก่เพื่อน
๒. ปิดความลับของเพื่อน
๓. ไม่ละทิ้งในยามอันตราย
๔. แม้ชีวิตก็อาจจะสละเพื่อประโยชน์ของเพื่อนได้
คหบดีบุตร มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ เธอพึงทราบว่า เป็นมิตรมีใจดี โดยเหตุ ๔ ประการนี้ แล
[๒๖๓] คหบดีบุตร มิตรแนะนาประโยชน์ เธอพึงทราบว่า เป็นมิตรมีใจดีโดยเหตุ ๔ ประการ คือ
๑. ห้ามมิให้ทาความชั่ว
๒. แนะนาให้ตั้งอยู่ในความดี
๓. ให้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
๔. บอกทางสวรรค์ให้
คหบดีบุตร มิตรแนะนาประโยชน์ เธอพึงทราบว่า เป็นมิตรมีใจดี โดยเหตุ ๔ ประการนี้ แล
[๒๖๔] คหบดีบุตร มิตรมีความรักใคร่ เธอพึงทราบว่า เป็นมิตรมีใจดี โดยเหตุ ๔ ประการ คือ
๑. ไม่พอใจความเสื่อมของเพื่อน
9
๒. พอใจความเจริญของเพื่อน
๓. ห้ามปรามคนที่นินทาเพื่อน
๔. สนับสนุนคนที่สรรเสริญเพื่อน
คหบดีบุตร มิตรมีความรักใคร่ เธอพึงทราบว่า เป็นมิตรมีใจดี โดยเหตุ ๔ ประการนี้ แล”
[๒๖๕] พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้ แล้ว จึงได้
ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“บุคคลที่เป็นมิตรมีใจดี ๔ จาพวกนี้ คือ
(๑) มิตรมีอุปการะ (๒) มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์
(๓) มิตรแนะนาประโยชน์ (๔) มิตรมีความรักใคร่
บัณฑิตรู้อย่างนี้ แล้ว
พึงเข้าไปคบหาโดยความจริงใจ
เหมือนมารดาคบหาบุตรผู้เกิดแต่อกฉะนั้น
บัณฑิตผู้สมบูรณ์ด้วยศีล
ย่อมสว่างโชติช่วงดังดวงไฟ
เมื่อบุคคลสะสมโภคทรัพย์อยู่ดังตัวผึ้งสร้างรัง
โภคทรัพย์ของเขาก็ย่อมเพิ่มพูนขึ้น
ดุจจอมปลวกที่ตัวปลวกก่อขึ้นฉะนั้น
คฤหัสถ์ในตระกูล ผู้สามารถ
ครั้นรวบรวมโภคทรัพย์ได้อย่างนี้ แล้ว
พึงแบ่งโภคทรัพย์ออกเป็น ๔ ส่วน
คือส่วนหนึ่งใช้สอย ๒ ส่วนใช้ประกอบการงาน
ส่วนที่ ๔ เก็บไว้ด้วยหมายใจว่าจะใช้ในยามมีอันตราย
จึงผูกมิตรไว้ได้”
ฉทิสาปฏิจฉาทนกัณฑ์
ว่าด้วยการปิดป้องทิศ ๖
[๒๖๖] อริยสาวกเป็นผู้ปิดป้องทิศ ๖ เป็นอย่างไร
คหบดีบุตร เธอพึงทราบทิศ ๖ นี้ คือ พึงทราบว่า มารดาบิดาเป็นทิศเบื้องหน้า พึงทราบว่า
อาจารย์เป็นทิศเบื้องขวา พึงทราบว่า บุตรและภรรยาเป็นทิศเบื้องหลัง พึงทราบว่า มิตรสหายเป็นทิศเบื้อง
ซ้าย พึงทราบว่า ทาสและกรรมกรเป็นทิศเบื้องล่าง พึงทราบว่า สมณพราหมณ์เป็นทิศเบื้องบน
[๒๖๗] คหบดีบุตร บุตรพึงบารุงมารดาบิดาผู้เป็นทิศเบื้องหน้าโดยหน้าที่ ๕ ประการ คือ
๑. ท่านเลี้ยงเรามา เราจักเลี้ยงท่านตอบ
๒. จักทากิจของท่าน
10
๓. จักดารงวงศ์ตระกูล
๔. จักประพฤติตนให้เหมาะสมที่จะเป็นทายาท
๕. เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ทาบุญอุทิศให้ท่าน
มารดาบิดาผู้เป็นทิศเบื้องหน้า บุตรบารุงโดยหน้าที่ ๕ ประการนี้ แล ย่อมอนุเคราะห์บุตรโดย
หน้าที่ ๕ ประการ คือ
๑. ห้ามไม่ให้ทาความชั่ว
๒. ให้ตั้งอยู่ในความดี
๓. ให้ศึกษาศิลปวิทยา
๔. หาภรรยา(สามี) ที่สมควรให้
๕. มอบทรัพย์สมบัติให้ในเวลาอันสมควร
คหบดีบุตร มารดาบิดาผู้เป็นทิศเบื้องหน้า บุตรบารุงโดยหน้าที่ ๕ ประการนี้ แล ย่อมอนุเคราะห์
บุตรด้วยหน้าที่ ๕ ประการนี้ ทิศเบื้องหน้านั้นเป็นอันชื่อว่ากุลบุตรได้ปิดป้อง ทาให้เกษมปลอดภัยแล้ว ด้วย
ประการฉะนี้
[๒๖๘] คหบดีบุตร ศิษย์พึงบารุงอาจารย์ผู้เป็นทิศเบื้องขวา โดยหน้าที่ ๕ ประการ คือ
๑. ลุกขึ้นยืนรับ
๒. เข้าไปคอยรับใช้
๓. เชื่อฟัง
๔. ดูแลปรนนิบัติ
๕. เรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ
อาจารย์ผู้เป็นทิศเบื้องขวา ศิษย์บารุงด้วยหน้าที่ ๕ ประการนี้ แล ย่อมอนุเคราะห์ศิษย์ด้วยหน้าที่
๕ ประการ คือ
๑. แนะนาให้เป็นคนดี
๒. ให้เรียนดี
๓. บอกความรู้ในศิลปวิทยาทุกอย่างด้วยดี
๔. ยกย่องให้ปรากฏในมิตรสหาย
๕. ทาความป้องกันในทิศทั้งหลาย
คหบดีบุตร อาจารย์ผู้เป็นทิศเบื้องขวา ศิษย์บารุงด้วยหน้าที่ ๕ ประการนี้ แล ย่อมอนุเคราะห์ศิษย์
ด้วยหน้าที่ ๕ ประการนี้ ทิศเบื้องขวานั้นเป็นอันชื่อว่าศิษย์ได้ปิดป้อง ทาให้เกษมปลอดภัยแล้ว ด้วยประการ
ฉะนี้
[๒๖๙] คหบดีบุตร สามีพึงบารุงภรรยาผู้เป็นทิศเบื้องหลังโดยหน้าที่ ๕ ประการ คือ
๑. ให้เกียรติยกย่อง
๒. ไม่ดูหมิ่น
๓. ไม่ประพฤตินอกใจ
11
๔. มอบความเป็นใหญ่ให้
๕. ให้เครื่องแต่งตัว
ภรรยาผู้เป็นทิศเบื้องหลัง สามีบารุงด้วยหน้าที่ ๕ ประการนี้ แล ย่อมอนุเคราะห์สามีด้วยหน้าที่ ๕
ประการ คือ
๑. จัดการงานดี
๒. สงเคราะห์คนข้างเคียงดี
๓. ไม่ประพฤตินอกใจ
๔. รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้
๕. ขยันไม่เกียจคร้านในกิจทั้งปวง
คหบดีบุตร ภรรยาผู้เป็นทิศเบื้องหลัง สามีบารุงด้วยหน้าที่ ๕ ประการนี้ แล ย่อมอนุเคราะห์สามี
ด้วยหน้าที่ ๕ ประการนี้ ทิศเบื้องหลังนั้นเป็นอันชื่อว่าสามีได้ปิดป้อง ทาให้เกษมปลอดภัยแล้ว ด้วยประการ
ฉะนี้
[๒๗๐] คหบดีบุตร กุลบุตรพึงบารุงมิตรสหายผู้เป็นทิศเบื้องซ้ายโดยหน้าที่ ๕ ประการ คือ
๑. การให้ (การแบ่งปันสิ่งของให้)
๒. กล่าววาจาเป็นที่รัก
๓. ประพฤติตนให้เป็นประโยชน์
๔. วางตนสม่าเสมอ
๕. ไม่พูดจาหลอกลวงกัน
มิตรสหายผู้เป็นทิศเบื้องซ้าย กุลบุตรบารุงโดยหน้าที่ ๕ ประการนี้ แล ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตร
ด้วยหน้าที่ ๕ ประการ คือ
๑. ป้องกันมิตรผู้ประมาทแล้ว
๒. ป้องกันทรัพย์ของมิตรผู้ประมาทแล้ว
๓. เมื่อมีภัยก็เป็นที่พึ่งพานักได้
๔. ไม่ละทิ้งในยามอันตราย
๕. นับถือตลอดถึงวงศ์ตระกูลของมิตร
คหบดีบุตร มิตรผู้เป็นทิศเบื้องซ้าย กุลบุตรบารุงด้วยหน้าที่ ๕ ประการนี้ แล ย่อมอนุเคราะห์
กุลบุตรด้วยหน้าที่ ๕ ประการนี้ ทิศเบื้องซ้ายนั้นเป็นอันชื่อว่ากุลบุตรได้ปิดป้อง ทาให้เกษมปลอดภัยแล้ว
ด้วยประการฉะนี้
[๒๗๑] คหบดีบุตร นายพึงบารุงทาสกรรมกร ผู้เป็นทิศเบื้องต่าโดยหน้าที่ ๕ ประการ คือ
๑. จัดการงานให้ทาตามสมควรแก่กาลัง
๒. ให้อาหารและค่าจ้าง
๓. ดูแลรักษายามเจ็บป่วย
๔. ให้อาหารมีรสแปลก
12
๕. ให้หยุดงานตามโอกาส
ทาสกรรมกรผู้เป็นทิศเบื้องต่า นายบารุงด้วยหน้าที่ ๕ ประการนี้ แล ย่อมอนุเคราะห์นายด้วย
หน้าที่ ๕ ประการ คือ
๑. ตื่นขึ้นทางานก่อนนาย
๒. เลิกงานเข้านอนทีหลังนาย
๓. ถือเอาแต่ของที่นายให้
๔. ทางานให้ดีขึ้น
๕. นาคุณของนายไปสรรเสริญ
คหบดีบุตร ทาสกรรมกรผู้เป็นทิศเบื้องต่า นายบารุงด้วยหน้าที่ ๕ ประการนี้ แล ย่อมอนุเคราะห์
นายโดยหน้าที่ ๕ ประการนี้ ทิศเบื้องต่านั้นเป็นอันชื่อว่านายได้ปิดป้อง ทาให้เกษมปลอดภัยแล้ว ด้วย
ประการฉะนี้
[๒๗๒] คหบดีบุตร กุลบุตรพึงบารุงสมณพราหมณ์ผู้เป็นทิศเบื้องบน โดยหน้าที่ ๕ ประการ คือ
๑. จะทาสิ่งใด ก็ทาด้วยเมตตา
๒. จะพูดสิ่งใด ก็พูดด้วยเมตตา
๓. จะคิดสิ่งใด ก็คิดด้วยเมตตา
๔. เปิดประตูต้อนรับ
๕. ถวายปัจจัยเครื่องยังชีพ
สมณพราหมณ์ผู้เป็นทิศเบื้องบน กุลบุตรบารุงโดยหน้าที่ ๕ ประการนี้ แล ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตร
ด้วยหน้าที่ ๖ ประการ คือ
๑. ห้ามไม่ให้ทาความชั่ว
๒. ให้ตั้งอยู่ในความดี
๓. อนุเคราะห์ด้วยน้าใจอันดีงาม
๔. ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
๕. อธิบายสิ่งที่เคยฟังแล้วให้เข้าใจแจ่มแจ้ง
๖. บอกทางสวรรค์ให้
คหบดีบุตร สมณพราหมณ์ผู้เป็นทิศเบื้องบน กุลบุตรบารุงโดยหน้าที่ ๕ ประการนี้ แล ย่อม
อนุเคราะห์กุลบุตรโดยหน้าที่ ๖ ประการนี้ ทิศเบื้องบนนั้น เป็นอันชื่อว่ากุลบุตรได้ปิดป้อง ทาให้เกษม
ปลอดภัยแล้ว ด้วยประการฉะนี้ ”
[๒๗๓] พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้ แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์
ต่อไปอีกว่า
“มารดาบิดาเป็นทิศเบื้องหน้า
อาจารย์เป็นทิศเบื้องขวา
บุตรภรรยาเป็นทิศเบื้องหลัง
13
มิตรสหายเป็นทิศเบื้องซ้าย
ทาสกรรมกรเป็นทิศเบื้องล่าง
สมณพราหมณ์เป็นทิศเบื้องบน
คฤหัสถ์ในตระกูลผู้มีความสามารถ (ผู้มีความสามารถ ในที่นี้ หมายถึงผู้มีความสามารถที่จะครอง
เรือน คือเลี้ยงดูบุตรและภรรยาให้เป็นสุขได้) พึงไหว้ทิศเหล่านี้
บัณฑิตผู้สมบูรณ์ด้วยศีล
เป็นคนละเอียดและมีไหวพริบ (มีไหวพริบ ในที่นี้ หมายถึงมีความเฉลียวฉลาดในการไหว้ทิศ คือ
เข้าใจความหมายของการไหว้อย่างถูกต้อง)
มีความประพฤติเจียมตน
ไม่แข็งกระด้าง เช่นนั้น ย่อมได้ยศ
คนขยัน ไม่เกียจคร้าน
ย่อมไม่หวั่นไหวในอันตรายทั้งหลาย
คนมีความประพฤติไม่ขาดตอน (ประพฤติไม่ขาดตอน ในที่นี้ หมายถึงประพฤติต่อเนื่องกันไปไม่
ขาดสาย)
มีปัญญาเช่นนั้น ย่อมได้ยศ
คนชอบสงเคราะห์
ชอบสร้างไมตรี รู้เรื่องที่เขาบอก (รู้เรื่องที่เขาบอก ในที่นี้ หมายถึงรู้เรื่องที่บุพการีสั่งไว้ แล้วปฏิบัติ
ตามนั้น)
ปราศจากความตระหนี่ เป็นผู้ชอบแนะนา
ชี้แจงแสดงเหตุผล เช่นนั้น ย่อมได้ยศ
ทาน(การให้) เปยยวัชชะ(วาจาเป็นที่รัก)
อัตถจริยา(การประพฤติประโยชน์) ในโลกนี้
และสมานัตตตา(การวางตนสม่าเสมอ)
ในธรรมนั้นๆ ตามสมควร
สังคหธรรมเหล่านี้ แลช่วยอุ้มชูโลก
เหมือนลิ่มสลักเพลาคุมรถที่แล่นไปไว้ได้ฉะนั้น
ถ้าไม่มีสังคหธรรมเหล่านี้
มารดาหรือบิดาก็ไม่พึงได้การนับถือ
หรือการบูชาเพราะบุตรเป็นเหตุ
แต่เพราะบัณฑิตเล็งเห็นความสาคัญของสังคหธรรมเหล่านี้
ฉะนั้น บัณฑิตเหล่านี้ จึงถึงความเป็นใหญ่และเป็นผู้น่าสรรเสริญ”
[๒๗๔] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ แล้ว สิงคาลกะ คหบดีบุตร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
14
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการ
ต่างๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่า เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วย
ตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์นี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาค พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ว่าเป็น
สรณะ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจาข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้ เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
สิงคาลกสูตรที่ ๘ จบ
--------------------------------
คาอธิบายเพิ่มเติมนี้ นามาจากบางส่วนของอรรถกถา ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
สิงคาลกสูตร
อรรถกถาสิงคาลกสูตร
นิทานวณฺณนา
สิงคาลกสูตรมีบทเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-
ต่อไปจะพรรณนาบทที่ยาก ในสิงคาลกสูตรนั้น.
ณ พระวิหารเวฬุวัน อันเป็นที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เป็นชื่อของอุทยานนั้น. ได้ยินว่า
อุทยานนั้นได้ล้อมด้วยไม้ไผ่ ประกอบด้วยซุ้มประตูและหอคอย โดยกาแพงสูง ๑๘ ศอก มีแสงเขียว เป็นที่น่า
รื่นรมย์ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงเรียกว่า เวฬุวัน
อนึ่ง ชนทั้งหลายได้ให้เหยื่อแก่กระแตในสวนเวฬุวันนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า กลันทกนิวาป อัน
เป็นที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต.
มีเรื่องเล่าว่า ครั้งก่อน พระราชาพระองค์หนึ่งเสด็จประพาสสวน ณ ที่นั้น เสวยน้าโสมจนทรง
เมา บรรทมหลับในกลางวัน. แม้ชนบริวารของพระองค์ คิดกันว่า พระราชาบรรทมหลับแล้ว ถูกยั่วด้วย
ดอกไม้และผลไม้เป็นต้น จึงเลี่ยงออกไปจากที่นั้นๆ.
ครั้งนั้น งูเห่า เพราะได้กลิ่นเหล้าจึงเลื้อยออกจากโพรงไม้ต้นหนึ่ง มาอยู่เฉพาะพระพักตร์
พระราชา. รุกขเทวดาเห็นงูนั้นคิดว่า เราจะให้ชีวิตพระราชาดังนี้ จึงแปลงเพศเป็นกระแตมาแล้ว ทาเสียง
ใกล้พระกรรณ. พระราชาทรงตื่น. งูเห่าก็เลื้อยหนีไป.
พระราชาทอดพระเนตรกระแตนั้น ทรงพระดาริว่ากระแตนี้ ให้ชีวิตเรา จึงรับสั่งให้จัดหาเหยื่อมา
ตั้งไว้ ณ ที่นั้น รับสั่งให้ประกาศ ให้อภัยแก่กระแตทั้งหลาย. เพราะฉะนั้น ตั้งแต่นั้นมา ที่นั้นจึงถือว่าเป็นที่
พระราชทานเหยื่อแก่กระแต.
บทว่า ก็โดยสมัยนั้นแล ความว่า โดยสมัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทากรุงราชคฤห์ ให้เป็น
โคจรคามแล้ว ประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน อันเป็นที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต.
บทว่า บุตรของคฤหบดี คือ คฤหบดีบุตร.
ได้ยินว่า บิดาของคฤหบดีบุตรนั้น เป็นคฤหบดีมหาศาล. ก็คฤหบดีนั้นมีทรัพย์เก็บไว้ในเรือน
๔๐ โกฏิ. คฤหบดีนั้นถึงความเชื่อมั่นในพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นอุบาสกผู้โสดาบัน. แม้ภรรยาของเขาก็ได้
15
เป็นโสดาบันเหมือนกัน. แต่บุตรของเขาไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส.
ครั้งนั้น มารดาและบิดาย่อมสั่งสอนบุตรนั้นเนืองๆ อย่างนี้ ว่า นี่แน่ลูก ลูกจงเข้าไปเฝ้าพระ
ศาสดา เข้าไปหาพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร พระมหาโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะ พระมหาสาวก ๘๐.
บุตรนั้นกล่าวอย่างนี้ ว่า การเข้าไปหาสมณะทั้งหลายของพ่อและแม่ย่อมไม่มีแก่ฉัน เพราะการ
เข้าไปหาสมณะทั้งหลายก็ต้องไหว้ เมื่อก้มลงไหว้หลังก็เจ็บ เข่าก็ด้าน จาเป็นต้องนั่งบนพื้นดิน เมื่อนั่งบน
พื้นดินนั้น ผ้าก็จะเปื้ อนจะเก่า จาเดิมแต่เวลานั่งใกล้ ย่อมมีการสนทนา เมื่อมีการสนทนา ย่อมเกิด
ความคุ้นเคย แต่นั้นย่อมต้องนิมนต์แล้วถวายจีวรและบิณฑบาตเป็นต้น เมื่อเป็นเช่นนั้น ประโยชน์ย่อมเสื่อม
การเข้าไปหาพวกสมณะของพ่อและแม่ย่อมไม่มีแก่ฉัน ดังนี้ .
มารดาบิดา แม้สอนบุตรของเขาจนตลอดชีวิต ด้วยประการฉะนี้ ก็ไม่สามารถจะนาเข้าไปใน
ศาสนาได้. ต่อมา บิดาของเขานอนบนเตียงมรณะคิดว่า ควรจะให้โอวาทแก่บุตรของเรา แล้วคิดต่อไปว่า เรา
จักให้โอวาทแก่บุตรอย่างนี้ ว่า นี่แน่ลูก ลูกจงนอบน้อมทิศทั้งหลาย เขาไม่รู้ความหมาย จักนอบน้อมทิศ
ทั้งหลาย ลาดับนั้น พระศาสดาหรือพระสาวกทั้งหลายเห็นเขาแล้ว จักถามว่า เธอทาอะไร แต่นั้น เขาก็จัก
กล่าวว่า บิดาของข้าพเจ้าสอนไว้ว่า เจ้าจงกระทาการนอบน้อมทิศทั้งหลาย ลาดับนั้น พระศาสดาหรือพระ
สาวกทั้งหลาย จักแสดงธรรมแก่เขาว่า บิดาของเธอจักไม่ให้เธอนอบน้อมทิศทั้งหลายเหล่านั้น แต่จักให้เธอ
นอบน้อมทิศเหล่านี้ เขารู้คุณในพระพุทธศาสนาแล้วจักทาบุญดังนี้ .
ลาดับนั้น คฤหบดีให้คนเรียกบุตรมาแล้วกล่าวว่า นี่แน่ลูก ลูกควรลุกแต่เช้าตรู่ แล้วนอบน้อม
ทิศทั้งหลายดังนี้ . ธรรมดาถ้อยคาของบิดาผู้ที่นอนบนเตียงมรณะ ย่อมเป็นถ้อยคาอันบุตรพึงระลึกถึงจน
ตลอดชีวิต. เพราะฉะนั้น คฤหบดีบุตรนั้น เมื่อระลึกถึงถ้อยคาของบิดา จึงได้กระทาอย่างนั้น เพราะฉะนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า คฤหบดีบุตรลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ ออกจากกรุงราชคฤห์เป็นต้น.
บทว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปแล้ว ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ายังไม่เสด็จเข้าไปก่อน
เพราะพระองค์ทรงดาริว่า เราจักเข้าไปแล้ว เสด็จออกไป แม้เป็นไปอยู่ในระหว่างทางจึงกล่าวอย่างนี้ .
บทว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นแล้วแล ความว่า
ไม่ได้ทอดพระเนตรเห็นเดี๋ยวนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ แม้ในตอน
เช้าตรู่ ทอดพระเนตรเห็นสิงคาลกคฤหบดีบุตรนั้น กาลังนอบน้อมทิศทั้งหลายอยู่ ทรงดาริว่า วันนี้ เราจัก
กล่าวสิงคาลกสูตรอันเป็นวินัยของคฤหัสถ์แก่สิงคาลกคฤหบดีบุตร ถ้อยคานั้นจึงมีผลแก่มหาชน เราควรไป
ในที่นั้น ดังนี้ . เพราะฉะนั้น พระองค์เสด็จออกแต่เช้าตรู่ เสด็จเข้าไปยังกรุงราชคฤห์เพื่อบิณฑบาต.
อนึ่ง เมื่อเสด็จเข้าไป ได้ทอดพระเนตรเห็นสิงคาลกคฤหบดีบุตร เหมือนอย่างนั้น ด้วยเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นแล้วแล.
บทว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะสิงคาลกคฤหบดีบุตร ความว่า
นัยว่า สิงคาลกคฤหบดีบุตรนั้นไม่เห็นพระศาสดา แม้ประทับยืนอยู่ไม่ไกล ยังนอบน้อมทิศ
ทั้งหลายอยู่นั่นเอง.
ลาดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเผยพระโอฐดุจมหาปทุมกาลังแย้มโดยสัมผัสแสงพระอาทิตย์
ฉะนั้น ได้ตรัสพระวาจานี้ ว่า ดูก่อนคฤหบดีบุตร เธอทาอะไรหนอ ดังนี้ เป็นต้น.
16
ฉทิสาวณฺณนา
บทว่า ข้าแต่พระองค์ ก็ในวินัยของพระอริยเจ้าท่านนอบน้อมทิศกันอย่างไร ความว่า
นัยว่า สิงคาลกคฤหบดีบุตรสดับพระดารัสนั้นของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว คิดว่า ได้ยินว่า ทิศที่
บิดาของเรากล่าวควรนอบน้อมทิศ ๖ นั้น ไม่ใช่ทิศนี้ นัยว่า พระอริยสาวกนอบน้อมทิศ ๖ อย่างอื่น ช่างเถิด
เราจะทูลถามถึงทิศที่พระอริยสาวกพึงนอบน้อมแล้ว จึงจักนอบน้อม ดังนี้ .
สิงคาลกคฤหบดีบุตรนั้น เมื่อจะทูลถามถึงทิศเหล่านั้น จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็
ในวินัยของพระอริยเจ้าท่านนอบน้อมทิศกันอย่างไรเป็นต้น.
บทว่า กรรมกิเลสทั้งหลาย ความว่า สัตว์ทั้งหลายจักเศร้าหมอง ด้วยกรรมทั้งหลายเหล่านั้น
เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า กรรมกิเลสทั้งหลาย.
บทว่า ผู้นั้น คือ พระอริยสาวกผู้เป็นโสดาบัน.
บทว่า และโลกนี้ อันพระอริยสาวกนั้นปรารภแล้ว ความว่า
จริงอยู่ เวรทั้ง ๕ ในโลกนี้ ย่อมไม่มีแก่พระอริยสาวกเห็นปานนั้น ด้วยเหตุนั้น โลกนี้ เป็นอันพระ
อริยสาวกนั้นปรารภแล้ว คือยินดีแล้ว และสาเร็จแล้ว เวรทั้งหลาย ๕ ย่อมไม่มีแม้ในโลกหน้า ด้วยเหตุนั้น
โลกหน้าเป็นอันพระอริยสาวกยินดีแล้ว.
เพราะฉะนั้น พระอริยสาวกนั้นเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.
ด้วยประการดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งแม่บทไว้โดยย่อ บัดนี้ เมื่อจะยังแม่บทนั้นให้พิสดารจึงตรัสว่า
กรรมกิเลส ๔ ที่พระอริยสาวกละได้แล้ว เป็นไฉน เป็นต้น.
จริงอยู่ คนมีกิเลสเท่านั้นย่อมฆ่าสัตว์ คนไม่มีกิเลสย่อมไม่ฆ่าสัตว์ เพราะฉะนั้น ปาณาติบาต
ท่านจึงกล่าวว่า เป็นกรรมกิเลส.
แม้ในกรรมกิเลสมีอทินนาทานเป็นต้น ก็มีนัยนี้ แล.
จตุฐานวณฺณนา
บทว่า ย่อมทากรรมอันลามก ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะเมื่อพระองค์ทรงแสดงถึง
บุคคลผู้กระทาแล้ว ผู้ไม่กระทาย่อมปรากฏ ฉะนั้น แม้ทรงตั้งแม่บทว่า พระอริยสาวกย่อมไม่ทากรรมอัน
ลามก เพราะพระองค์ทรงฉลาดในเทศนา เมื่อจะทรงแสดงบุคคลผู้กระทาก่อน จึงตรัสบทนี้ ว่า บุคคลย่อม
กระทากรรมอันลามก.
ในบททั้งหลายนั้น บทว่า ถึงฉันทาคติ ความว่า ถึงอคติด้วยความพอใจ คือด้วยความรัก กระทา
สิ่งไม่ควรทา. แม้ในบทอื่นก็มีนัยนี้ แล.
ในบททั้งหลายนั้น ผู้ใดทาผู้ไม่เป็นเจ้าของให้เป็นเจ้าของด้วยสามารถความพอใจว่า ผู้นี้ เป็นมิตร
ของเรา เป็นผู้ชอบพอกับเรา เป็นผู้คบหากันมา เป็นญาติสนิทของเรา หรือให้ของขวัญแก่เรา ดังนี้ ผู้นี้ ถึง
ฉันทาคติ ชื่อว่าย่อมทากรรมอันลามก.
ผู้ใดกระทาผู้ไม่เป็นเจ้าของให้เป็นเจ้าของด้วยสามารถมีเวรกันเป็นปกติว่า ผู้นี้ เป็นผู้มีเวรกับเรา
17
ดังนี้ หรือด้วยสามารถความโกรธอันเกิดขึ้นในขณะนั้น ผู้นี้ ถึงโทสาคติ ชื่อว่าย่อมทากรรมอันลามก.
อนึ่ง ผู้ใด เพราะความเป็นผู้มีปัญญาอ่อน เพราะความเป็นผู้โง่ทึบ พูดไม่เป็นเรื่อง กระทาผู้ไม่
เป็นเจ้าของให้เป็นเจ้าของ ผู้นี้ ถึงโมหาคติ ชื่อว่าย่อมกระทากรรมอันลามก.
อนึ่ง ผู้ใดกลัวว่า ผู้นี้ เป็นราชวัลลภหรือเป็นผู้อาศัยอยู่กับศัตรู พึงทาความฉิบหายแก่เราดังนี้
แล้วทาผู้ไม่เป็นเจ้าของให้เป็นเจ้าของ ผู้นี้ ถึงภยาคติ ชื่อว่าย่อมทากรรมอันลามก.
อนึ่ง ผู้ใด เมื่อแบ่งของอย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมให้ของเกินเป็นพิเศษ ด้วยสามารถความรักว่า ผู้นี้
เป็นเพื่อนของเราหรือร่วมกินร่วมนอนกับเรา ย่อมให้ของพร่องลงไปด้วยสามารถความโกรธว่า ผู้นี้ เป็นศัตรู
ของเราดังนี้ เพราะความโง่เขลา ไม่รู้ของที่ให้แล้วและยังไม่ให้ ย่อมให้ของพร่องแก่บางคน ให้ของมากแก่
บางคน กลัวว่าผู้นี้ เมื่อเราไม่ให้สิ่งนี้ พึงทาแม้ความฉิบหายแก่เรา ย่อมให้ของเกินเป็นพิเศษแก่บางคน ผู้นั้น
แม้เป็นผู้มีอคติ ๔ อย่างนี้ ก็ถึงอคติมีฉันทาคติเป็นต้นตามลาดับ ชื่อว่าย่อมทากรรมอันลามก.
แต่พระอริยสาวก แม้จะถึงสิ้นชีวิต ก็ไม่ถึงอคติมีฉันทาคติเป็นต้น ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าว
ว่า พระอริยสาวกย่อมไม่ทากรรมอันลามกโดยฐานะ ๔ เหล่านี้ .
บทว่า ยศของผู้นั้นย่อมเสื่อม ความว่า แม้เกียรติยศ แม้บริวารยศของผู้ถึงอคตินั้น ย่อมเสื่อม
คือย่อมเสียหาย.
ฉอปายมุขวณฺณนา
สุรา ๕ ชนิด คือ สุราทาด้วยขนม สุราทาด้วยแป้ง สุราทาด้วยข้าวสุก สุราใส่ส่าเหล้า สุรา
ประกอบด้วยเชื้อ ชื่อว่า สุรา ในบทนี้ ว่า ผู้ดื่มน้าเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทดังนี้ .
ของดอง ๕ ชนิด คือ ของดองด้วยดอกไม้ ของดองด้วยผลไม้ ของดองด้วยน้าหวาน ของดองด้วย
น้าอ้อย ของดองประกอบด้วยเชื้อ ชื่อว่า เมรัย.
แม้ทั้งหมดนั้น ชื่อว่า มัชชะ ด้วยสามารถทาให้เมา.
บทว่า ประกอบเนืองๆ อธิบายว่า ประกอบเนืองๆ คือทาบ่อย ซึ่งการดื่มน้าเมา คือสุราและ
เมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท. ก็เพราะเมื่อผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งการดื่มน้าเมานี้ โภคะทั้งหลายที่
เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมและที่ยังไม่เกิดขึ้นย่อมไม่เกิด ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะ
ทั้งหลาย.
บทว่า เที่ยวดูมหรสพ คือ ไปดูมหรสพด้วยสามารถการดูการฟ้อนเป็นต้น.
บทว่า ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเกียจคร้าน อธิบายว่า เพราะความเป็นผู้ขวนขวายในการ
ประกอบด้วยความเป็นผู้เกียจคร้านทางกาย.
สุราเมรยสฺส ฉอาทีนววณฺณน
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งแม่บทของทางแห่งความเสื่อม ๖ ประการอย่างนี้ แล้ว เมื่อทรงจาแนก
แม่บทเหล่านั้นในบัดนี้ จึงตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดีบุตร โทษ ๖ ประการเหล่านี้ แล ดังนี้ เป็นต้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อันตนเห็นเอง คือ ความเป็นอยู่ในโลกนี้ อันตนพึงเห็นเอง.
18
บทว่า ก่อการทะเลาะ ความว่า ก่อการทะเลาะด้วยวาจาและการทะเลาะด้วยการใช้มือเป็นต้น.
บทว่า น้าเมาเป็นบ่อเกิดแห่งโรคทั้งหลาย ความว่า น้าเมาเป็นเขตแดนแห่งโรคเหล่านั้น มีโรค
ตาเป็นต้น.
บทว่า น้าเมาเป็นเหตุเสียชื่อเสียง ความว่า เพราะชนดื่มน้าเมาแล้ว ย่อมประหารแม้มารดา แม้
บิดาได้ ย่อมกล่าวคาที่ไม่ควรกล่าว แม้อื่นอีกมาก ย่อมทาสิ่งที่ไม่ควรทา ด้วยเหตุนี้ ชนทั้งหลาย ถึงการติ
เตียนบ้าง ลงโทษบ้าง ตัดอวัยวะมีมือและเท้าเป็นต้นบ้าง ถึงความเสียชื่อเสียง ในโลกนี้ บ้าง ในโลกหน้าบ้าง
ด้วยประการฉะนี้ สุรานั้นจึงชื่อว่าเป็นเหตุเสียชื่อเสียงของชนเหล่านั้น.
บทว่า น้าเมาเป็นเหตุไม่รู้จักละอาย ความว่า เพราะน้าเมาย่อมยังความละอายอันเป็นที่ซึ่งควร
ซ่อนเร้น ควรปกปิด ให้กาเริบ ให้พินาศ เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ยังหิริให้กาเริบ ดังนี้ . อนึ่ง คนเมาสุรา
เปิดอวัยวะนั้นๆ แล้วเที่ยวไปได้. ด้วยเหตุนั้น สุรานั้น ท่านจึงกล่าวว่า เป็นเหตุไม่รู้จักละอาย เพราะทาหิริให้
กาเริบ.
บทว่า น้าเมาเป็นเหตุทอนกาลังปัญญา ความว่า น้าเมาย่อมทาความรู้ว่าสัตว์มีกรรมเป็นของ
ตนให้อ่อนลง เหมือนปัญญาของพระสาคตเถระฉะนั้น เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่าน้าเมาเป็นเหตุทอน
กาลังปัญญา. แต่น้าเมาไม่อาจทาให้ผู้ได้มรรคปัญญาให้อ่อนได้ เพราะสุรานั้นย่อมไม่เข้าไปภายในปากของ
ท่านที่บรรลุมรรคแล้ว.
บทว่า ชื่อว่าไม่คุ้มครอง ไม่รักษาตัว อธิบายว่า เพราะบุคคลเที่ยวไปมิใช่เวลา ย่อมเหยียบตอ
และหนามเป็นต้นบ้าง พบงูบ้าง ยักษ์เป็นต้นบ้าง แม้ศัตรูรู้ว่าจะไปยังที่นั้นๆ ก็แอบจับตัวหรือฆ่า ด้วยเหตุนี้
จึงชื่อว่าไม่คุ้มครอง ไม่รักษาตัว. แม้บุตรและภรรยาคิดว่า บิดาของเรา สามีของเรา เที่ยวในกลางคืน จะ
กล่าวไปไยถึงตัวเราดังนี้ ด้วยเหตุนี้ แม้บุตรธิดา แม้ภรรยาของเขากระทาธุรกิจนอกบ้าน เที่ยวไปใน
กลางคืน ก็ย่อมถึงความพินาศ. แม้บุตรภรรยาของเขา ก็ชื่อว่าเป็นผู้ไม่คุ้มครองตัวไม่รักษาตัว ด้วยอาการ
อย่างนี้ .
บทว่า ทรัพย์สมบัติ ความว่า พวกโจรรู้ความที่บริวารชนพร้อมด้วยบุตรภรรยานั้นเที่ยวใน
กลางคืน จะเข้าไปยังเรือนที่ว่างคน นาเอาของที่ต้องการไป. ด้วยอาการอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ไม่คุ้มครอง ไม่
รักษาแม้ทรัพย์สมบัติ.
บทว่า เป็นที่ระแวง ความว่า เป็นผู้ที่ควรระแวงว่า คนนี้ จักเป็นผู้กระทาแม้ในกรรมอันลามกที่
คนอื่นทา. เมื่อกล่าวคาว่า บุคคลไปโดยประตูเรือนของผู้ใดๆ โจรกรรมหรือปรทาริกกรรม การข่มขืนใดอัน
คนอื่นทาไว้ในที่นั้น กรรมนั้นเป็นอันว่าบุคคลผู้นี้ กระทากรรมนั้น แม้ไม่จริง ไม่มี ก็ย่อมปรากฏ คือย่อม
ตั้งอยู่ในบุคคลนั้น.
บทว่า การเที่ยวกลางคืนอันเป็นเหตุแห่งทุกข์เป็นอันมาก ความว่า ใครๆ ไม่อาจกล่าวว่าทุกข์มี
ประมาณเท่านี้ โทมนัสมีประมาณเท่านี้ ของผู้ที่ถูกเขารังเกียจในบุคคลอื่นนั้นแล. ด้วยประการดังนี้ ผู้เที่ยว
กลางคืนนั้น จึงเป็นผู้ประสบเหตุแห่งทุกข์เป็นอันมาก คือได้รับความลาบากมาก.
บทว่า ฟ้อนที่ไหน ไปที่นั้น ความว่า การฟ้อนมีราและละครเป็นต้นมีอยู่ในที่ไหน แล้วพึงไปใน
บ้านหรือนิคมที่มีการฟ้อนนั้น. เมื่อผู้ที่เตรียมผ้าของหอมและดอกไม้เป็นต้น ในวันนี้ ด้วยคิดว่า พรุ่งนี้ เราจัก
19
ไปดูการฟ้อนของเขา เป็นอันทิ้งการงานตลอดวัน ย่อมปรากฏในที่นั้นตลอดวันหนึ่งบ้าง สองวันบ้าง สามวัน
บ้าง ด้วยการดูการฟ้อน. เมื่อผู้เที่ยวกลางคืน แม้ได้การถึงพร้อมด้วยฝนเป็นต้น ก็ไม่ทาการหว่าน เมื่อถึง
กาลหว่านเป็นต้น โภคะทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิด. เมื่อเรือนไม่มีคนเฝ้าพวกโจรรู้ความที่เจ้าของบ้าน
ไปข้างนอก ย่อมลักของที่ต้องการไป. ด้วยเหตุนั้น โภคะแม้เกิดแก่เขาก็ย่อมพินาศ.
แม้ในบทว่า ขับร้องมีที่ไหน ไปในที่นั้น เป็นต้น ก็มีนัยนี้ แล.
การกระทาต่างๆ ของชนเหล่านั้น ท่านกล่าวแล้วในพรหมชาลสูตร.
บทว่า ผู้ชนะย่อมก่อเวร ความว่า ผู้ชนะย่อมถือเอาซึ่งผ้าสาฎกหรือผ้าโพกของผู้อื่น ในท่ามกลาง
ชุมชน ด้วยคิดว่า เราชนะแล้ว ดังนี้ . ผู้ชนะย่อมผูกเวรในบุคคลนั้นว่า เขาดูหมิ่นเราในท่ามกลางชุมชน ช่าง
เถิด เราจักให้บทเรียนเขาดังนี้ . เมื่อชนะอย่างนี้ ย่อมประสบเวร.
บทว่า ผู้แพ้ ความว่า ผู้แพ้ย่อมเศร้าโศกถึงผ้าโพก ผ้าสาฎกหรือทรัพย์สินมีเงินและทองเป็นต้น
อย่างอื่นของเขาที่ผู้อื่นได้ไป เขาย่อมเศร้าโศก เพราะทรัพย์นั้นเป็นเหตุว่า ทรัพย์นั้นได้มีแล้วแก่เราหนอ
ทรัพย์นั้นย่อมไม่มีแก่เราหนอ ดังนี้ ด้วยอาการอย่างนี้ ผู้แพ้ย่อมเสียดายทรัพย์.
บทว่า คาพูดของนักการพนันที่ไปพูดในที่ประชุมฟังไม่ขึ้น ความว่า เมื่อเขาถูกถามเพราะเป็น
พยานในที่วินิจฉัย ด้วยคาฟังไม่ขึ้น. ชนทั้งหลายจะพากันพูดว่า ผู้นี้ เป็นนักเลงสะกา เล่นการพนัน พวกท่าน
อย่าเชื่อคาพูดของเขา.
บทว่า ถูกมิตรอมาตย์ดูหมิ่น ความว่า จริงอยู่ พวกมิตรอมาตย์จะพูดกะเขาอย่างนี้ ว่า สหาย แม้
ท่านก็เป็นบุตรของผู้มีตระกูล เล่นการพนัน เป็นผู้ตัด เป็นผู้ทาลาย เที่ยวไปนี้ ไม่สมควรแก่ชาติและโคตรของ
ท่าน ตั้งแต่นี้ ไป ท่านไม่พึงทาอย่างนี้ . นักการพนันนั้น แม้ถูกเขากล่าวอย่างนี้ ก็ไม่เชื่อเขา. แต่นั้นพวกมิตร
และสหายเหล่านั้นไม่ยืน ไม่นั่งร่วมกับเขา. แม้พวกเขาถูกถามเป็นพยานก็ไม่ยอมพูด เพราะเหตุนักการ
พนันนั้น. ด้วยอาการอย่างนี้ นักการพนันจึงเป็นผู้ถูกมิตรและสหายดูหมิ่น.
ปาปมิตฺตตาย ฉอาทีนววณฺณนา
บทว่า นาให้เป็นนักเลงหัวไม้ ความว่า เป็นผู้ทาการงานร่วมกับผู้ที่อยู่อาคารเดียวกัน เป็นต้น.
บทว่า พวกนั้นเป็นมิตรของเขา คือ เขาไม่ยินดีกับคนอื่นที่เป็นคนดี เข้าไปหามิตรลามก
เหล่านั้นอย่างเดียว เหมือนสุกรที่เขาประดับด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น แล้วให้นอนบนที่นอนอย่างดี
ก็ยังเข้าไปสู่หลุมคูถฉะนั้น เพราะฉะนั้น ผู้คบคนชั่วเป็นมิตร ย่อมเข้าถึงความฉิบหายเป็นอันมากทั้งในภพนี้
และภพหน้า.
บทว่า อ้างว่าเย็นนักแล้วไม่ทาการงาน ความว่า พวกมนุษย์ลุกขึ้นแต่เช้าตรู่พูดว่า พ่อมหา
จาเริญ มาไปทาการงานกันเถิด คนเกียจคร้านจะพูดว่า ยังหนาวเหลือเกิน กระดูกจะแตก พวกท่านไปกัน
เถิด เราจักไปทีหลัง แล้วนั่งผิงไฟ. มนุษย์เหล่านั้นไปทาการงานกัน. การงานของคนเกียจคร้านย่อมเสื่อม.
แม้ในบททั้งหลายว่า ร้อนเหลือเกินก็มี นัยนี้ แล.
บทว่า ชื่อว่าเพื่อนดื่มก็มี ความว่า บางคนเป็นสหายกันในโรงเหล้าอันเป็นที่ดื่มนั่นแหละ.
ปาฐะว่า ปนฺนสขา ดังนี้ ก็มี. ความอย่างเดียวกัน.
20
บทว่า เพื่อนกล่าวแต่ปากว่า เพื่อนๆ ก็มี ความว่า บางคนพูดว่า เพื่อน เพื่อน เป็นเพื่อนต่อหน้า
เท่านั้น ลับหลังเป็นเช่นศัตรู ย่อมแสวงหาช่องทางอย่างเดียว.
บทว่า เมื่อประโยชน์ทั้งหลายเกิดขึ้น ความว่า เมื่อกิจเห็นปานนั้นเกิดขึ้นแล้ว.
บทว่า ความเป็นผู้ตระหนี่เหนียวแน่น ความว่า ความเป็นผู้ตระหนี่เหนียวแน่น คือความเป็นผู้
ตระหนี่จัด.
บทว่า เขาจักจมลงสู่หนี้ เหมือนก้อนหินจมน้าฉะนั้น ความว่า เขาจมลงสู่หนี้ เหมือนก้อนหิน
จมน้าฉะนั้น.
บทว่า เกลียดชังการลุกขึ้นในกลางคืน คือ ไม่ลุกขึ้นในกลางคืนเป็นปกติ.
บทว่า มักอ้างว่าเย็นเสียแล้ว คือ เขากล่าวอย่างนี้ ว่า เวลานี้ เย็นนักแล้ว ไม่ทาการงาน.
บทว่า สละการงาน คือ พูดอย่างนี้ แล้ว ไม่ทาการงาน.
บทว่า ประโยชน์ย่อมล่วงเลยมาณพทั้งหลาย ความว่า ประโยชน์ทั้งหลาย ย่อมล่วงเลยบุคคล
เห็นปานนี้ คือไม่ตั้งอยู่ในบุคคลเหล่านั้น.
บทว่า เขาย่อมไม่เสื่อมจากความสุข ความว่า บุรุษนั้นย่อมไม่ละความสุข ย่อมเป็นผู้สมบูรณ์ด้วย
ความสุขทีเดียว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเนื้ อความนี้ ด้วยกถามรรคนี้ . อันผู้ครองเรือนไม่ควรทากรรมนี้ ชื่อ
ความเจริญย่อมไม่มีแก่ผู้กระทา ผู้กระทาย่อมได้รับการติเตียนอย่างเดียวทั้งในโลกนี้ และโลกหน้า.
มิตฺตปฏิรูปกวณฺณนา
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทรงแสดงถึงผู้ไม่ใช่มิตร เป็นมิตรเทียม เป็นคนพาลว่า
ผู้ใดกระทาอย่างนี้ ความฉิบหายย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้นั้น ก็หรือภัยอย่างอื่นๆ อันตรายใดๆ อุปสรรค
ใดๆ ทั้งหมดนั้นย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยคนพาล เพราะฉะนั้น ไม่ควรคบคนพาลเห็นปานนั้นดังนี้
จึงตรัสคาเป็นต้นว่า ดูก่อนคฤหบดีบุตร คนไม่ใช่มิตรมี ๔ จาพวกเหล่านี้ ดังนี้ .
ในบทเหล่านั้น บทว่า คนปอกลอก ความว่า ตนเองมีมือเปล่ามาแล้ว นาเอาของอย่างใดอย่าง
หนึ่ง ไปโดยส่วนเดียว.
บทว่า ดีแต่พูด ความว่า เป็นดุจผู้ให้กระทา เพียงคาพูดเท่านั้น.
บทว่า คนหัวประจบ คือ ย่อมพูดคล้อยตาม.
บทว่า คนชักชวนในทางฉิบหาย คือ เป็นสหายในทางเสื่อมแห่งโภคะทั้งหลาย.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึงคนที่ไม่ใช่มิตร ๔ จาพวกอย่างนี้ แล้ว เมื่อจะทรงจาแนกเหตุ
อย่างหนึ่งๆ ในคนที่ไม่ใช่มิตรนั้นด้วยเหตุ ๔ อย่าง จึงตรัสคาเป็นต้นว่า ดูก่อนคฤหบดีบุตร ด้วยฐานะ ๔
อย่าง ดังนี้ .
ในบททั้งหลายนั้น บทว่า เป็นคนปอกลอก ความว่า เป็นผู้นาไปโดยส่วนเดียวเท่านั้น. ความว่า
เป็นผู้มีมือเปล่ามาสู่เรือนของสหายแล้วพูดถึงคุณของผ้าสาฎกที่ตนนุ่งเป็นต้น. คนปอกลอกพูดว่า ดูก่อน
สหาย คนนั้นย่อมกล่าวถึงคุณของผ้าผืนนี้ กะท่านเหลือเกินดังนี้ แล้ว นุ่งผ้าผืนอื่นให้ผืนนั้นไป.
๑๐ สิงคาลกสูตร (ทิศ ๖) มจร.pdf
๑๐ สิงคาลกสูตร (ทิศ ๖) มจร.pdf
๑๐ สิงคาลกสูตร (ทิศ ๖) มจร.pdf
๑๐ สิงคาลกสูตร (ทิศ ๖) มจร.pdf
๑๐ สิงคาลกสูตร (ทิศ ๖) มจร.pdf
๑๐ สิงคาลกสูตร (ทิศ ๖) มจร.pdf
๑๐ สิงคาลกสูตร (ทิศ ๖) มจร.pdf
๑๐ สิงคาลกสูตร (ทิศ ๖) มจร.pdf
๑๐ สิงคาลกสูตร (ทิศ ๖) มจร.pdf

More Related Content

What's hot

ชีวประวัติและอุดมคติแห่งชีวิตของท่านพุทธทาสภิกขุ
ชีวประวัติและอุดมคติแห่งชีวิตของท่านพุทธทาสภิกขุชีวประวัติและอุดมคติแห่งชีวิตของท่านพุทธทาสภิกขุ
ชีวประวัติและอุดมคติแห่งชีวิตของท่านพุทธทาสภิกขุPadvee Academy
 
เอกสารประกอบการบรรยายวิชาพระไตรปิฎกวิเคราะห์ (ตอน ๓) ๑๗ พ.ย.
เอกสารประกอบการบรรยายวิชาพระไตรปิฎกวิเคราะห์ (ตอน ๓) ๑๗ พ.ย.เอกสารประกอบการบรรยายวิชาพระไตรปิฎกวิเคราะห์ (ตอน ๓) ๑๗ พ.ย.
เอกสารประกอบการบรรยายวิชาพระไตรปิฎกวิเคราะห์ (ตอน ๓) ๑๗ พ.ย.วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
ปรัชญาตะวันตก บทที่ ๖ ปรัชญากรีกสมัยเสื่อม
ปรัชญาตะวันตก บทที่ ๖ ปรัชญากรีกสมัยเสื่อมปรัชญาตะวันตก บทที่ ๖ ปรัชญากรีกสมัยเสื่อม
ปรัชญาตะวันตก บทที่ ๖ ปรัชญากรีกสมัยเสื่อมPadvee Academy
 
ความรู้พื้นฐานและบ่อเกิดพุทธศาสนามหายาน
ความรู้พื้นฐานและบ่อเกิดพุทธศาสนามหายานความรู้พื้นฐานและบ่อเกิดพุทธศาสนามหายาน
ความรู้พื้นฐานและบ่อเกิดพุทธศาสนามหายานPadvee Academy
 
ปรัชญาทั่วไป ตอน ปรัชญาอินเดีย
ปรัชญาทั่วไป ตอน ปรัชญาอินเดียปรัชญาทั่วไป ตอน ปรัชญาอินเดีย
ปรัชญาทั่วไป ตอน ปรัชญาอินเดียPadvee Academy
 
ชีวิตและผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์
ชีวิตและผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์ชีวิตและผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์
ชีวิตและผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์Padvee Academy
 
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๒ ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญา ศาสนา วิทยาศาสตร์
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๒ ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญา ศาสนา วิทยาศาสตร์ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๒ ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญา ศาสนา วิทยาศาสตร์
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๒ ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญา ศาสนา วิทยาศาสตร์Padvee Academy
 
รายวิชา 000250 พระอภิธรรมปิฎก ชุดที่ 2 (แนวข้อสอบ)
รายวิชา  000250  พระอภิธรรมปิฎก  ชุดที่  2 (แนวข้อสอบ)รายวิชา  000250  พระอภิธรรมปิฎก  ชุดที่  2 (แนวข้อสอบ)
รายวิชา 000250 พระอภิธรรมปิฎก ชุดที่ 2 (แนวข้อสอบ)วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
ปรัชญาตะวันตก ตะวันออก
ปรัชญาตะวันตก ตะวันออกปรัชญาตะวันตก ตะวันออก
ปรัชญาตะวันตก ตะวันออกรมณ รมณ
 
กัณฑ์มัทรี2๕๗
กัณฑ์มัทรี2๕๗กัณฑ์มัทรี2๕๗
กัณฑ์มัทรี2๕๗Milky' __
 
พระพุทธศาสนานิกายเซน
พระพุทธศาสนานิกายเซนพระพุทธศาสนานิกายเซน
พระพุทธศาสนานิกายเซนPadvee Academy
 
การเข้ามาและพัฒนาการพุทธศาสนาในประเทศไทย
การเข้ามาและพัฒนาการพุทธศาสนาในประเทศไทยการเข้ามาและพัฒนาการพุทธศาสนาในประเทศไทย
การเข้ามาและพัฒนาการพุทธศาสนาในประเทศไทยPadvee Academy
 
ศึกษาพระสูตรสำคัญของมหายาน
ศึกษาพระสูตรสำคัญของมหายานศึกษาพระสูตรสำคัญของมหายาน
ศึกษาพระสูตรสำคัญของมหายานAnchalee BuddhaBucha
 

What's hot (20)

พระพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย
พระพุทธศาสนาในประเทศอินเดียพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย
พระพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย
 
ปัญหาเฉลย-นักธรรมชั้นตรี (ปี 2549 - 2564).pdf
ปัญหาเฉลย-นักธรรมชั้นตรี (ปี 2549 - 2564).pdfปัญหาเฉลย-นักธรรมชั้นตรี (ปี 2549 - 2564).pdf
ปัญหาเฉลย-นักธรรมชั้นตรี (ปี 2549 - 2564).pdf
 
ชีวประวัติและอุดมคติแห่งชีวิตของท่านพุทธทาสภิกขุ
ชีวประวัติและอุดมคติแห่งชีวิตของท่านพุทธทาสภิกขุชีวประวัติและอุดมคติแห่งชีวิตของท่านพุทธทาสภิกขุ
ชีวประวัติและอุดมคติแห่งชีวิตของท่านพุทธทาสภิกขุ
 
เอกสารประกอบการบรรยายวิชาพระไตรปิฎกวิเคราะห์ (ตอน ๓) ๑๗ พ.ย.
เอกสารประกอบการบรรยายวิชาพระไตรปิฎกวิเคราะห์ (ตอน ๓) ๑๗ พ.ย.เอกสารประกอบการบรรยายวิชาพระไตรปิฎกวิเคราะห์ (ตอน ๓) ๑๗ พ.ย.
เอกสารประกอบการบรรยายวิชาพระไตรปิฎกวิเคราะห์ (ตอน ๓) ๑๗ พ.ย.
 
ปรัชญาตะวันตก บทที่ ๖ ปรัชญากรีกสมัยเสื่อม
ปรัชญาตะวันตก บทที่ ๖ ปรัชญากรีกสมัยเสื่อมปรัชญาตะวันตก บทที่ ๖ ปรัชญากรีกสมัยเสื่อม
ปรัชญาตะวันตก บทที่ ๖ ปรัชญากรีกสมัยเสื่อม
 
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๑) สัปดาห์ที่ ๑
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๑) สัปดาห์ที่ ๑กรรมฐาน (สื่อการสอน ๑) สัปดาห์ที่ ๑
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๑) สัปดาห์ที่ ๑
 
ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdfประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
 
ความรู้พื้นฐานและบ่อเกิดพุทธศาสนามหายาน
ความรู้พื้นฐานและบ่อเกิดพุทธศาสนามหายานความรู้พื้นฐานและบ่อเกิดพุทธศาสนามหายาน
ความรู้พื้นฐานและบ่อเกิดพุทธศาสนามหายาน
 
พระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนาพระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนา
 
ปรัชญาทั่วไป ตอน ปรัชญาอินเดีย
ปรัชญาทั่วไป ตอน ปรัชญาอินเดียปรัชญาทั่วไป ตอน ปรัชญาอินเดีย
ปรัชญาทั่วไป ตอน ปรัชญาอินเดีย
 
ชีวิตและผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์
ชีวิตและผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์ชีวิตและผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์
ชีวิตและผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์
 
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๒ ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญา ศาสนา วิทยาศาสตร์
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๒ ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญา ศาสนา วิทยาศาสตร์ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๒ ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญา ศาสนา วิทยาศาสตร์
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๒ ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญา ศาสนา วิทยาศาสตร์
 
กรรมฐาน (เอกสาร ๑)
กรรมฐาน (เอกสาร ๑)กรรมฐาน (เอกสาร ๑)
กรรมฐาน (เอกสาร ๑)
 
รายวิชา 000250 พระอภิธรรมปิฎก ชุดที่ 2 (แนวข้อสอบ)
รายวิชา  000250  พระอภิธรรมปิฎก  ชุดที่  2 (แนวข้อสอบ)รายวิชา  000250  พระอภิธรรมปิฎก  ชุดที่  2 (แนวข้อสอบ)
รายวิชา 000250 พระอภิธรรมปิฎก ชุดที่ 2 (แนวข้อสอบ)
 
ปรัชญาตะวันตก ตะวันออก
ปรัชญาตะวันตก ตะวันออกปรัชญาตะวันตก ตะวันออก
ปรัชญาตะวันตก ตะวันออก
 
บาลีไวยากรณ์ ๔ (แบบฝึกหัด ๑)
บาลีไวยากรณ์ ๔ (แบบฝึกหัด ๑)บาลีไวยากรณ์ ๔ (แบบฝึกหัด ๑)
บาลีไวยากรณ์ ๔ (แบบฝึกหัด ๑)
 
กัณฑ์มัทรี2๕๗
กัณฑ์มัทรี2๕๗กัณฑ์มัทรี2๕๗
กัณฑ์มัทรี2๕๗
 
พระพุทธศาสนานิกายเซน
พระพุทธศาสนานิกายเซนพระพุทธศาสนานิกายเซน
พระพุทธศาสนานิกายเซน
 
การเข้ามาและพัฒนาการพุทธศาสนาในประเทศไทย
การเข้ามาและพัฒนาการพุทธศาสนาในประเทศไทยการเข้ามาและพัฒนาการพุทธศาสนาในประเทศไทย
การเข้ามาและพัฒนาการพุทธศาสนาในประเทศไทย
 
ศึกษาพระสูตรสำคัญของมหายาน
ศึกษาพระสูตรสำคัญของมหายานศึกษาพระสูตรสำคัญของมหายาน
ศึกษาพระสูตรสำคัญของมหายาน
 

Similar to ๑๐ สิงคาลกสูตร (ทิศ ๖) มจร.pdf

บาลี 41 80
บาลี 41 80บาลี 41 80
บาลี 41 80Rose Banioki
 
4 41+มังคลัตถทีปนีแปล+เล่ม+๑
4 41+มังคลัตถทีปนีแปล+เล่ม+๑4 41+มังคลัตถทีปนีแปล+เล่ม+๑
4 41+มังคลัตถทีปนีแปล+เล่ม+๑Wataustin Austin
 
4 41+มังคลัตถทีปนีแปล+เล่ม+๑
4 41+มังคลัตถทีปนีแปล+เล่ม+๑4 41+มังคลัตถทีปนีแปล+เล่ม+๑
4 41+มังคลัตถทีปนีแปล+เล่ม+๑Tongsamut vorasan
 
ธรรมะเสวนา พระพุทธและพระธรรม
ธรรมะเสวนา พระพุทธและพระธรรมธรรมะเสวนา พระพุทธและพระธรรม
ธรรมะเสวนา พระพุทธและพระธรรมTaweedham Dhamtawee
 
พื้นฐานชีวิต 45.pptx
พื้นฐานชีวิต 45.pptxพื้นฐานชีวิต 45.pptx
พื้นฐานชีวิต 45.pptxSunnyStrong
 
๐๘ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร มจร.pdf
๐๘ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร มจร.pdf๐๘ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร มจร.pdf
๐๘ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร มจร.pdfmaruay songtanin
 
073หลักธรรมพื้นฐาน
073หลักธรรมพื้นฐาน073หลักธรรมพื้นฐาน
073หลักธรรมพื้นฐานniralai
 
หลักธรรม ของ นักบริหาร
หลักธรรม ของ นักบริหารหลักธรรม ของ นักบริหาร
หลักธรรม ของ นักบริหารPanuwat Beforetwo
 
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๓.pdf
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๓.pdf๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๓.pdf
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๓.pdfmaruay songtanin
 
The buddhist s_discipline
The buddhist s_disciplineThe buddhist s_discipline
The buddhist s_disciplineChawalit Jit
 
๑๖ มูลปริยายสูตร มจร.pdf
๑๖ มูลปริยายสูตร มจร.pdf๑๖ มูลปริยายสูตร มจร.pdf
๑๖ มูลปริยายสูตร มจร.pdfmaruay songtanin
 
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาmagicgirl123
 
หลักธรรมพุทธศาสนา
หลักธรรมพุทธศาสนาหลักธรรมพุทธศาสนา
หลักธรรมพุทธศาสนาkruudompcccr
 
7 ก้าวย่างอย่างพุทธะ walklikebuddha
7 ก้าวย่างอย่างพุทธะ walklikebuddha7 ก้าวย่างอย่างพุทธะ walklikebuddha
7 ก้าวย่างอย่างพุทธะ walklikebuddhaTongsamut vorasan
 

Similar to ๑๐ สิงคาลกสูตร (ทิศ ๖) มจร.pdf (16)

บาลี 41 80
บาลี 41 80บาลี 41 80
บาลี 41 80
 
4 41+มังคลัตถทีปนีแปล+เล่ม+๑
4 41+มังคลัตถทีปนีแปล+เล่ม+๑4 41+มังคลัตถทีปนีแปล+เล่ม+๑
4 41+มังคลัตถทีปนีแปล+เล่ม+๑
 
4 41+มังคลัตถทีปนีแปล+เล่ม+๑
4 41+มังคลัตถทีปนีแปล+เล่ม+๑4 41+มังคลัตถทีปนีแปล+เล่ม+๑
4 41+มังคลัตถทีปนีแปล+เล่ม+๑
 
ธรรมะเสวนา พระพุทธและพระธรรม
ธรรมะเสวนา พระพุทธและพระธรรมธรรมะเสวนา พระพุทธและพระธรรม
ธรรมะเสวนา พระพุทธและพระธรรม
 
ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นตรี พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdfประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นตรี พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
 
พื้นฐานชีวิต 45.pptx
พื้นฐานชีวิต 45.pptxพื้นฐานชีวิต 45.pptx
พื้นฐานชีวิต 45.pptx
 
๐๘ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร มจร.pdf
๐๘ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร มจร.pdf๐๘ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร มจร.pdf
๐๘ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร มจร.pdf
 
073หลักธรรมพื้นฐาน
073หลักธรรมพื้นฐาน073หลักธรรมพื้นฐาน
073หลักธรรมพื้นฐาน
 
หลักธรรม ของ นักบริหาร
หลักธรรม ของ นักบริหารหลักธรรม ของ นักบริหาร
หลักธรรม ของ นักบริหาร
 
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๓.pdf
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๓.pdf๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๓.pdf
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๓.pdf
 
นวโกวาท
นวโกวาทนวโกวาท
นวโกวาท
 
The buddhist s_discipline
The buddhist s_disciplineThe buddhist s_discipline
The buddhist s_discipline
 
๑๖ มูลปริยายสูตร มจร.pdf
๑๖ มูลปริยายสูตร มจร.pdf๑๖ มูลปริยายสูตร มจร.pdf
๑๖ มูลปริยายสูตร มจร.pdf
 
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
 
หลักธรรมพุทธศาสนา
หลักธรรมพุทธศาสนาหลักธรรมพุทธศาสนา
หลักธรรมพุทธศาสนา
 
7 ก้าวย่างอย่างพุทธะ walklikebuddha
7 ก้าวย่างอย่างพุทธะ walklikebuddha7 ก้าวย่างอย่างพุทธะ walklikebuddha
7 ก้าวย่างอย่างพุทธะ walklikebuddha
 

More from maruay songtanin

7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf
7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf
7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdfmaruay songtanin
 
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...maruay songtanin
 
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....maruay songtanin
 
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...maruay songtanin
 
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...maruay songtanin
 
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...maruay songtanin
 
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....maruay songtanin
 
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...maruay songtanin
 
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...maruay songtanin
 
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...maruay songtanin
 
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....maruay songtanin
 
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docxmaruay songtanin
 
Operational Resilience ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
Operational Resilience  ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdfOperational Resilience  ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
Operational Resilience ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdfmaruay songtanin
 
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...maruay songtanin
 
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...maruay songtanin
 
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...maruay songtanin
 
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...maruay songtanin
 
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...maruay songtanin
 
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...maruay songtanin
 
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....maruay songtanin
 

More from maruay songtanin (20)

7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf
7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf
7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf
 
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
 
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
 
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
 
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
 
Operational Resilience ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
Operational Resilience  ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdfOperational Resilience  ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
Operational Resilience ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
 
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
 
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
 
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
 
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
 
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 

๑๐ สิงคาลกสูตร (ทิศ ๖) มจร.pdf

  • 1. 1 สิงคาลกสูตร พลตรี มารวย ส่งทานินทร์ ๒ เมษายน ๒๕๖๖ เกริ่นนา คหบดีบุตร เธอพึงทราบทิศ ๖ นี้ พึงทราบว่า มารดาบิดาเป็นทิศเบื้องหน้า พึงทราบว่า อาจารย์ เป็นทิศเบื้องขวา พึงทราบว่า บุตรและภรรยาเป็นทิศเบื้องหลัง พึงทราบว่า มิตรสหายเป็นทิศเบื้องซ้าย พึง ทราบว่า ทาสและกรรมกรเป็นทิศเบื้องล่าง พึงทราบว่า สมณพราหมณ์เป็นทิศเบื้องบน สิงคาลกสูตร พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ๘. สิงคาลกสูตร ว่าด้วยสิงคาลกมาณพ [๒๔๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น สิงคาลกะ คหบดีบุตร ลุกขึ้นแต่เช้า ออกจากกรุงราชคฤห์ มีผ้าเปียก มีผมเปียก ประคองอัญชลีไหว้ ทิศทั้งหลาย คือ ทิศเบื้องหน้า(ทิศตะวันออก) ทิศเบื้องขวา(ทิศใต้) ทิศเบื้องหลัง(ทิศตะวันตก) ทิศเบื้อง ซ้าย(ทิศเหนือ) ทิศเบื้องล่าง ทิศเบื้องบน [๒๔๓] ครั้นในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปยังกรุง ราชคฤห์เพื่อบิณฑบาต ได้ทอดพระเนตรเห็นสิงคาลกะ คหบดีบุตร ผู้ลุกขึ้นแต่เช้า ออกจากกรุงราชคฤห์ มี ผ้าเปียก มีผมเปียก ประคองอัญชลีไหว้ทิศทั้งหลาย คือ ทิศเบื้องหน้า ทิศเบื้องขวา ทิศเบื้องซ้าย ทิศ เบื้องหลัง ทิศเบื้องล่าง ทิศเบื้องบนแล้ว ได้ตรัสถามสิงคาลกะ คหบดีบุตรดังนี้ ว่า “คหบดีบุตร เธอลุกขึ้นแต่ เช้า ออกจากกรุงราชคฤห์ มีผ้าเปียก มีผมเปียก ประคองอัญชลีไหว้ทิศทั้งหลาย คือ ทิศเบื้องหน้า ทิศเบื้อง ขวา ทิศเบื้องหลัง ทิศเบื้องซ้าย ทิศเบื้องล่าง ทิศเบื้องบนอยู่ เพราะเหตุไร” สิงคาลกะ คหบดีบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บิดาของข้าพระองค์ก่อนจะตาย ได้ กล่าวไว้อย่างนี้ ว่า ‘นี่แน่ะลูก เจ้าพึงไหว้ทิศทั้งหลาย’ ข้าพระองค์สักการะ เคารพ นับถือ บูชาคาของบิดา จึง ลุกขึ้นแต่เช้า ออกจากกรุงราชคฤห์ มีผ้าเปียก มีผมเปียก ประคองอัญชลี ไหว้ทิศทั้งหลาย คือ ทิศเบื้องหน้า ทิศเบื้องขวา ทิศเบื้องซ้าย ทิศเบื้องหลัง ทิศเบื้องล่าง ทิศเบื้องบนอยู่” ทิศ ๖ [๒๔๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คหบดีบุตร ในอริยวินัย(ธรรมเนียมแบบแผนของพระอริยะ) เขา ไม่ไหว้ทิศ ๖ กันอย่างนี้ ”
  • 2. 2 สิงคาลกะ คหบดีบุตรทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในอริยวินัย เขาไหว้ทิศ ๖ กันอย่างไร ขอ ประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ ตามวิธีการไหว้ทิศ ๖ ในอริยวินัย เถิด” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คหบดีบุตร ถ้าอย่างนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” สิงคาลกะ คหบดีบุตรทูลรับสนองพระดารัสแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คหบดีบุตร อริยสาวกละกรรมกิเลส (กรรมเครื่องเศร้าหมอง) ๔ ประการได้แล้ว ไม่ทาบาปกรรมโดยเหตุ ๔ ประการ และไม่ข้องแวะอบายมุข (ทางเสื่อม) ๖ ประการ แห่ง โภคะทั้งหลาย อริยสาวกนั้นเป็นผู้ปราศจากบาปกรรม ๑๔ ประการนี้ แล้ว ชื่อว่าเป็นผู้ปิดป้องทิศ ๖ (ปิด ป้องทิศ ในที่นี้ หมายถึงปกปิดช่องว่างระหว่างตนกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเรียกว่าทิศ ๖) ปฏิบัติเพื่อครองโลก ทั้งสอง ทาให้เกิดความยินดีทั้งโลกนี้ และโลกหน้า หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ กรรมกิเลส ๔ [๒๔๕] กรรมกิเลส ๔ ประการที่อริยสาวกละได้แล้ว อะไรบ้าง คือ ๑. กรรมกิเลสคือปาณาติบาต ๒. กรรมกิเลสคืออทินนาทาน ๓. กรรมกิเลสคือกาเมสุมิจฉาจาร ๔. กรรมกิเลสคือมุสาวาท กรรมกิเลส ๔ ประการนี้ ที่อริยสาวกนั้นละได้แล้ว” พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้ แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีก ว่า “การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การล่วงละเมิดภรรยาผู้อื่น และการพูดเท็จ เรียกว่า เป็นกรรมกิเลส บัณฑิต ทั้งหลายไม่สรรเสริญ” เหตุ ๔ ประการ [๒๔๖] อริยสาวกไม่ทาบาปกรรมโดยเหตุ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ปุถุชน ๑. ย่อมถึงฉันทาคติ (ลาเอียงเพราะรัก) ทาบาปกรรม ๒. ย่อมถึงโทสาคติ (ลาเอียงเพราะชัง) ทาบาปกรรม ๓. ย่อมถึงโมหาคติ (ลาเอียงเพราะเขลา) ทาบาปกรรม ๔. ย่อมถึงภยาคติ (ลาเอียงเพราะกลัว) ทาบาปกรรม ส่วนอริยสาวก ๑. ย่อมไม่ถึงฉันทาคติ ๒. ย่อมไม่ถึงโทสาคติ ๓. ย่อมไม่ถึงโมหาคติ ๔. ย่อมไม่ถึงภยาคติ
  • 3. 3 อริยสาวกย่อมไม่ทาบาปกรรม โดยเหตุ ๔ ประการนี้ พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้ แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีก ว่า “บุคคลใดละเมิดความชอบธรรม เพราะฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ ยศของบุคคลนั้นย่อม เสื่อม เหมือนดวงจันทร์ข้างแรม ฉะนั้น บุคคลใดไม่ละเมิดความชอบธรรม เพราะฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ ยศของบุคคลนั้นย่อมเจริญ เหมือนดวงจันทร์ข้างขึ้น ฉะนั้น” อบายมุข ๖ ประการ [๒๔๗] อริยสาวกไม่ข้องแวะอบายมุข ๖ ประการ แห่งโภคะทั้งหลาย อะไรบ้าง คือ ๑. การหมกมุ่นในการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท เป็น อบายมุขแห่งโภคะทั้งหลาย ๒. การหมกมุ่นในการเที่ยวไปตามตรอกซอกซอย ในเวลากลางคืน เป็นอบายมุขแห่งโภคะ ทั้งหลาย ๓. การเที่ยวดูมหรสพ เป็นอบายมุขแห่งโภคะทั้งหลาย ๔. การหมกมุ่นในการเล่นการพนันอันเป็นเหตุแห่งความประมาท เป็นอบายมุขแห่งโภคะ ทั้งหลาย ๕. การหมกมุ่นในการคบคนชั่วเป็นมิตร เป็นอบายมุขแห่งโภคะทั้งหลาย ๖. การหมกมุ่นในความเกียจคร้าน เป็นอบายมุขแห่งโภคะทั้งหลาย โทษแห่งสุราเมรัย ๖ ประการ [๒๔๘] คหบดีบุตร การหมกมุ่นในการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความ ประมาทมีโทษ ๖ ประการนี้ คือ ๑. เสียทรัพย์ทันตาเห็น ๒. ก่อการทะเลาะวิวาท ๓. เป็นบ่อเกิดแห่งโรค ๔. เป็นเหตุให้เสียชื่อเสียง ๕. เป็นเหตุให้ไม่รู้จักอาย ๖. เป็นเหตุทอนกาลังปัญญา คหบดีบุตร การหมกมุ่นในการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทมี โทษ ๖ ประการนี้ แล โทษแห่งการเที่ยวกลางคืน ๖ ประการ [๒๔๙] คหบดีบุตร การหมกมุ่นในการเที่ยวไปตามตรอกซอกซอย ในเวลากลางคืนมีโทษ ๖ ประการนี้ คือ
  • 4. 4 ๑. ชื่อว่าไม่คุ้มครอง ไม่รักษาตน ๒. ชื่อว่าไม่คุ้มครอง ไม่รักษาบุตรภรรยา ๓. ชื่อว่าไม่คุ้มครอง ไม่รักษาทรัพย์สมบัติ ๔. เป็นที่สงสัย (เป็นที่สงสัยในที่นี้ หมายถึงถูกสงสัยว่าเป็นผู้ทากรรมชั่วทั้งที่ไม่มีส่วนในกรรมชั่ว นั้น) ของคนอื่นด้วยเหตุต่างๆ ๕. มักถูกใส่ร้ายด้วยเรื่องไม่เป็นจริง ๖. ทาให้เกิดความลาบากมากหลายอย่าง คหบดีบุตร การหมกมุ่นในการเที่ยวไปตามตรอกซอกซอย ในเวลากลางคืนมีโทษ ๖ ประการนี้ แล โทษแห่งการเที่ยวดูมหรสพ ๖ ประการ [๒๕๐] คหบดีบุตร การเที่ยวดูมหรสพมีโทษ ๖ ประการนี้ คือ ๑. มีการราที่ไหน (ไปที่นั่น) ๒. มีการขับร้องที่ไหน (ไปที่นั่น) ๓. มีการประโคมที่ไหน (ไปที่นั่น) ๔. มีเสภาที่ไหน (ไปที่นั่น) ๕. มีการบรรเลงที่ไหน (ไปที่นั่น) ๖. มีเถิดเทิงที่ไหน (ไปที่นั่น) คหบดีบุตร การเที่ยวดูมหรสพมีโทษ ๖ ประการนี้ แล โทษแห่งการเล่นการพนันอันเป็นเหตุแห่งความประมาท ๖ ประการ [๒๕๑] คหบดีบุตร การหมกมุ่นในการเล่นการพนันอันเป็นเหตุแห่งความประมาทมีโทษ ๖ ประการนี้ คือ ๑. ผู้ชนะย่อมก่อเวร ๒. ผู้แพ้ย่อมเสียดายทรัพย์ที่เสียไป ๓. เสียทรัพย์ทันตาเห็น ๔. ถ้อยคาที่เป็นพยานในศาล ก็เชื่อถือไม่ได้ ๕. ถูกมิตรอามาตย์ (มิตรอามาตย์ แยกอธิบายได้ดังนี้ มิตร ในที่นี้ หมายถึงคนที่สามารถใช้สอย สิ่งของในบ้านเรือนของกันและกันได้ อามาตย์ ในที่นี้ หมายถึงเพื่อนร่วมงาน) ดูหมิ่น ๖. ไม่มีใครประสงค์จะแต่งงานด้วย เพราะเห็นว่าชายผู้นี้ เป็นนักเลงการพนันไม่สามารถจะเลี้ยงดู ภรรยาได้ คหบดีบุตร การหมกมุ่นในการเล่นการพนันอันเป็นเหตุแห่งความประมาทมีโทษ ๖ ประการนี้ แล
  • 5. 5 โทษแห่งการคบคนชั่วเป็นมิตร ๖ ประการ [๒๕๒] คหบดีบุตร การหมกมุ่นในการคบคนชั่วเป็นมิตรมีโทษ ๖ ประการนี้ คือ ๑. เขามีนักเลงการพนันเป็นมิตรสหาย ๒. เขามีนักเลงเจ้าชู้เป็นมิตรสหาย ๓. เขามีนักเลงเหล้าเป็นมิตรสหาย ๔. เขามีคนหลอกลวงเป็นมิตรสหาย ๕. เขามีคนโกงเป็นมิตรสหาย ๖. เขามีโจรเป็นมิตรสหาย คหบดีบุตร การหมกมุ่นในการคบคนชั่วเป็นมิตรมีโทษ ๖ ประการนี้ แล โทษแห่งความเกียจคร้าน ๖ ประการ [๒๕๓] คหบดีบุตร การหมกมุ่นในความเกียจคร้านมีโทษ ๖ ประการนี้ คือ ๑. มักอ้างว่า ‘หนาวเกินไป’ แล้วไม่ทาการงาน ๒. มักอ้างว่า ‘ร้อนเกินไป’ แล้วไม่ทาการงาน ๓. มักอ้างว่า ‘เวลาเย็นเกินไป’ แล้วไม่ทาการงาน ๔. มักอ้างว่า ‘เวลายังเช้าเกินไป’ แล้วไม่ทาการงาน ๕. มักอ้างว่า ‘หิวเกินไป’ แล้วไม่ทาการงาน ๖. มักอ้างว่า ‘กระหายเกินไป’ แล้วไม่ทาการงาน เมื่อเขามากไปด้วยการอ้างเลศ ผัดเพี้ยนการงานอยู่อย่างนี้ โภคะที่ยังไม่เกิดก็ไม่เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้น แล้วก็ถึงความเสื่อมสิ้นไป คหบดีบุตร การหมกมุ่นในความเกียจคร้านมีโทษ ๖ ประการนี้ แล” พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้ แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีก ว่า “เพื่อนในโรงสุราก็มี เพื่อนดีแต่พูดก็มี เมื่อมีเรื่องเกิดขึ้น ผู้ใดเป็นเพื่อนได้ ผู้นั้นจัดว่าเป็นเพื่อนแท้” เหตุ ๖ ประการนี้ คือ (๑) การนอนตื่นสาย (๒) การเป็นชู้กับภรรยาผู้อื่น (๓) การผูกเวร (๔) ความเป็นผู้ก่อแต่เรื่องเสียหาย (๕) การมีมิตรชั่ว (๖) ความตระหนี่จัด ย่อมทาลายบุรุษให้พินาศ คนมีมิตรชั่ว มีเพื่อนชั่ว มีมารยาทและความประพฤติชั่ว ย่อมเสื่อมจากโลกทั้งสอง คือ
  • 6. 6 จากโลกนี้ และจากโลกหน้า เหตุ ๖ ประการนี้ คือ (๑) นักเลงการพนันและนักเลงหญิง (๒) นักเลงสุรา (๓) ฟ้อนราขับร้อง (๔) นอนหลับในกลางวัน เที่ยวกลางคืน (๕) การมีมิตรชั่ว (๖) ความตระหนี่จัด ย่อมทาลายบุรุษให้พินาศ ผู้ใดเล่นการพนัน ดื่มสุรา ล่วงละเมิดหญิงผู้เป็นที่รักเสมอด้วยชีวิตของผู้อื่น คบแต่คนเลว และไม่คบหาคนเจริญ ผู้นั้นย่อมเสื่อมดุจดวงจันทร์ข้างแรม ฉะนั้น ผู้ใดดื่มสุรา ไร้ทรัพย์ ไม่ทางานเลี้ยงชีพ เป็นคนขี้เมาหัวทิ่มบ่อ ผู้นั้นจักจมลงสู่หนี้ เหมือนก้อนหินจมน้า จักทาความมัวหมองให้แก่ตนทันที คนชอบนอนหลับในกลางวัน ไม่ลุกขึ้นในกลางคืน เป็นนักเลงขี้เมาประจา ไม่สามารถครองเรือนได้ ประโยชน์ทั้งหลายย่อมล่วงเลย หนุ่มสาวที่ละทิ้งการงาน โดยอ้างว่า ‘เวลานี้ หนาวเกินไป เวลานี้ ร้อนเกินไป เวลานี้ เย็นเกินไป’ เป็นต้น ส่วนผู้ใดทาหน้าที่ของบุรุษ ไม่ใส่ใจความหนาว ความร้อน ยิ่งไปกว่าหญ้า ผู้นั้นย่อมไม่เสื่อมจากความสุข มิตรเทียม [๒๕๔] คหบดีบุตร คน ๔ จาพวกนี้ เธอพึงทราบว่า ไม่ใช่มิตรแท้ เป็นมิตรเทียม คือ ๑. คนที่ถือเอาแต่ประโยชน์จากผู้อื่นฝ่ายเดียว พึงทราบว่า ไม่ใช่มิตรแท้ เป็นมิตรเทียม ๒. คนดีแต่พูด พึงทราบว่า ไม่ใช่มิตรแท้ เป็นมิตรเทียม ๓. คนพูดประจบ พึงทราบว่า ไม่ใช่มิตรแท้ เป็นมิตรเทียม ๔. คนที่เป็นเพื่อนชักนาในทางเสื่อม พึงทราบว่า ไม่ใช่มิตรแท้ เป็นมิตรเทียม
  • 7. 7 [๒๕๕] คหบดีบุตร คนที่ถือเอาแต่ประโยชน์จากผู้อื่นฝ่ายเดียว เธอพึงทราบว่าไม่ใช่มิตรแท้ เป็น มิตรเทียม โดยเหตุ ๔ ประการ คือ (๑) เป็นผู้ถือเอาประโยชน์จากผู้อื่นฝ่ายเดียว (๒) เสียน้อย ปรารถนาจะได้มาก (๓) เมื่อตัวเองมีภัยจึงทากิจของเพื่อน (๔) คบเพื่อนเพราะเห็นแก่ประโยชน์ คหบดีบุตร คนที่ถือเอาแต่ประโยชน์จากผู้อ่านฝ่ายเดียว เธอพึงทราบว่า ไม่ใช่มิตรแท้ เป็นมิตร เทียม โดยเหตุ ๔ ประการนี้ แล [๒๕๖] คหบดีบุตร คนดีแต่พูด เธอพึงทราบว่า ไม่ใช่มิตรแท้ เป็นมิตรเทียมโดยเหตุ ๔ ประการ คือ ๑. กล่าวต้อนรับด้วยเรื่องที่เป็นอดีตไปแล้ว ๒. กล่าวต้อนรับด้วยเรื่องที่ยังมาไม่ถึง ๓. สงเคราะห์ด้วยสิ่งที่หาประโยชน์มิได้ ๔. เมื่อมีกิจเกิดขึ้นเฉพาะหน้าก็แสดงความขัดข้อง คหบดีบุตร คนดีแต่พูด เธอพึงทราบว่า ไม่ใช่มิตรแท้ เป็นมิตรเทียม โดยเหตุ ๔ ประการนี้ แล [๒๕๗] คหบดีบุตร คนพูดประจบ เธอพึงทราบว่า ไม่ใช่มิตรแท้ เป็นมิตรเทียม โดยเหตุ ๔ ประการ คือ ๑. เพื่อนทาชั่ว ก็คล้อยตาม ๒. เพื่อนทาดี ก็คล้อยตาม ๓. สรรเสริญต่อหน้า ๔. นินทาลับหลัง คหบดีบุตร คนพูดประจบ เธอพึงทราบว่า ไม่ใช่มิตรแท้ เป็นมิตรเทียมโดยเหตุ ๔ ประการนี้ แล [๒๕๘] คหบดีบุตร คนที่เป็นเพื่อนชักชวนไปในทางเสื่อม พึงทราบว่า ไม่ใช่มิตรแท้ เป็นมิตร เทียม โดยเหตุ ๔ ประการ คือ ๑. เป็นเพื่อนที่ชักชวนให้หมกมุ่นในการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นเหตุแห่งความ ประมาท ๒. เป็นเพื่อนที่ชักชวนให้หมกมุ่นในการเที่ยวไปตามตรอกซอกซอยในเวลากลางคืน ๓. เป็นเพื่อนเที่ยวดูการเล่น ๔. เป็นเพื่อนที่ชักชวนให้หมกมุ่นในการเล่นการพนันอันเป็นเหตุแห่งความประมาท คหบดีบุตร คนที่เป็นเพื่อนชักชวนไปในทางเสื่อม พึงทราบว่า ไม่ใช่มิตรแท้ เป็นมิตรเทียม โดย เหตุ ๔ ประการนี้ แล” [๒๕๙] พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้ แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ ต่อไปอีกว่า
  • 8. 8 “บุคคลที่ไม่ใช่มิตรแท้ ๔ จาพวกนี้ คือ (๑) มิตรที่ถือเอาแต่ประโยชน์จากผู้อื่นอย่างเดียว (๒) มิตรดีแต่พูด (๓) มิตรพูดประจบ (๔) มิตรชักนาในทางเสื่อม บัณฑิตรู้อย่างนี้ แล้ว พึงเว้นเสียให้ห่างไกล เหมือนคนเว้นทางมีภัยเฉพาะหน้าเสียฉะนั้น” มิตรมีใจดี [๒๖๐] คหบดีบุตร คน ๔ จาพวกนี้ เธอพึงทราบว่า เป็นมิตรมีใจดี(มิตรแท้) คือ ๑. มิตรมีอุปการะ พึงทราบว่า เป็นมิตรมีใจดี ๒. มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ พึงทราบว่า เป็นมิตรมีใจดี ๓. มิตรแนะนาประโยชน์ พึงทราบว่า เป็นมิตรมีใจดี ๔. มิตรมีความรักใคร่ พึงทราบว่า เป็นมิตรมีใจดี [๒๖๑] คหบดีบุตร มิตรมีอุปการะ เธอพึงทราบว่า เป็นมิตรมีใจดี โดยเหตุ ๔ ประการ คือ ๑. ป้องกันเพื่อนผู้ประมาทแล้ว ๒. ป้องกันทรัพย์สมบัติของเพื่อนผู้ประมาทแล้ว ๓. เมื่อมีภัยก็เป็นที่พึ่งพานักได้ ๔. เมื่อมีกิจที่จาเป็นเกิดขึ้น ก็ช่วยโภคทรัพย์ให้ ๒ เท่าของทรัพย์ที่ต้องการในกิจนั้น คหบดีบุตร มิตรมีอุปการะ เธอพึงทราบว่า เป็นมิตรมีใจดี โดยเหตุ ๔ ประการนี้ แล [๒๖๒] คหบดีบุตร มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ เธอพึงทราบว่า เป็นมิตรมีใจดีโดยเหตุ ๔ ประการ คือ ๑. บอกความลับแก่เพื่อน ๒. ปิดความลับของเพื่อน ๓. ไม่ละทิ้งในยามอันตราย ๔. แม้ชีวิตก็อาจจะสละเพื่อประโยชน์ของเพื่อนได้ คหบดีบุตร มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ เธอพึงทราบว่า เป็นมิตรมีใจดี โดยเหตุ ๔ ประการนี้ แล [๒๖๓] คหบดีบุตร มิตรแนะนาประโยชน์ เธอพึงทราบว่า เป็นมิตรมีใจดีโดยเหตุ ๔ ประการ คือ ๑. ห้ามมิให้ทาความชั่ว ๒. แนะนาให้ตั้งอยู่ในความดี ๓. ให้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง ๔. บอกทางสวรรค์ให้ คหบดีบุตร มิตรแนะนาประโยชน์ เธอพึงทราบว่า เป็นมิตรมีใจดี โดยเหตุ ๔ ประการนี้ แล [๒๖๔] คหบดีบุตร มิตรมีความรักใคร่ เธอพึงทราบว่า เป็นมิตรมีใจดี โดยเหตุ ๔ ประการ คือ ๑. ไม่พอใจความเสื่อมของเพื่อน
  • 9. 9 ๒. พอใจความเจริญของเพื่อน ๓. ห้ามปรามคนที่นินทาเพื่อน ๔. สนับสนุนคนที่สรรเสริญเพื่อน คหบดีบุตร มิตรมีความรักใคร่ เธอพึงทราบว่า เป็นมิตรมีใจดี โดยเหตุ ๔ ประการนี้ แล” [๒๖๕] พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้ แล้ว จึงได้ ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า “บุคคลที่เป็นมิตรมีใจดี ๔ จาพวกนี้ คือ (๑) มิตรมีอุปการะ (๒) มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ (๓) มิตรแนะนาประโยชน์ (๔) มิตรมีความรักใคร่ บัณฑิตรู้อย่างนี้ แล้ว พึงเข้าไปคบหาโดยความจริงใจ เหมือนมารดาคบหาบุตรผู้เกิดแต่อกฉะนั้น บัณฑิตผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมสว่างโชติช่วงดังดวงไฟ เมื่อบุคคลสะสมโภคทรัพย์อยู่ดังตัวผึ้งสร้างรัง โภคทรัพย์ของเขาก็ย่อมเพิ่มพูนขึ้น ดุจจอมปลวกที่ตัวปลวกก่อขึ้นฉะนั้น คฤหัสถ์ในตระกูล ผู้สามารถ ครั้นรวบรวมโภคทรัพย์ได้อย่างนี้ แล้ว พึงแบ่งโภคทรัพย์ออกเป็น ๔ ส่วน คือส่วนหนึ่งใช้สอย ๒ ส่วนใช้ประกอบการงาน ส่วนที่ ๔ เก็บไว้ด้วยหมายใจว่าจะใช้ในยามมีอันตราย จึงผูกมิตรไว้ได้” ฉทิสาปฏิจฉาทนกัณฑ์ ว่าด้วยการปิดป้องทิศ ๖ [๒๖๖] อริยสาวกเป็นผู้ปิดป้องทิศ ๖ เป็นอย่างไร คหบดีบุตร เธอพึงทราบทิศ ๖ นี้ คือ พึงทราบว่า มารดาบิดาเป็นทิศเบื้องหน้า พึงทราบว่า อาจารย์เป็นทิศเบื้องขวา พึงทราบว่า บุตรและภรรยาเป็นทิศเบื้องหลัง พึงทราบว่า มิตรสหายเป็นทิศเบื้อง ซ้าย พึงทราบว่า ทาสและกรรมกรเป็นทิศเบื้องล่าง พึงทราบว่า สมณพราหมณ์เป็นทิศเบื้องบน [๒๖๗] คหบดีบุตร บุตรพึงบารุงมารดาบิดาผู้เป็นทิศเบื้องหน้าโดยหน้าที่ ๕ ประการ คือ ๑. ท่านเลี้ยงเรามา เราจักเลี้ยงท่านตอบ ๒. จักทากิจของท่าน
  • 10. 10 ๓. จักดารงวงศ์ตระกูล ๔. จักประพฤติตนให้เหมาะสมที่จะเป็นทายาท ๕. เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ทาบุญอุทิศให้ท่าน มารดาบิดาผู้เป็นทิศเบื้องหน้า บุตรบารุงโดยหน้าที่ ๕ ประการนี้ แล ย่อมอนุเคราะห์บุตรโดย หน้าที่ ๕ ประการ คือ ๑. ห้ามไม่ให้ทาความชั่ว ๒. ให้ตั้งอยู่ในความดี ๓. ให้ศึกษาศิลปวิทยา ๔. หาภรรยา(สามี) ที่สมควรให้ ๕. มอบทรัพย์สมบัติให้ในเวลาอันสมควร คหบดีบุตร มารดาบิดาผู้เป็นทิศเบื้องหน้า บุตรบารุงโดยหน้าที่ ๕ ประการนี้ แล ย่อมอนุเคราะห์ บุตรด้วยหน้าที่ ๕ ประการนี้ ทิศเบื้องหน้านั้นเป็นอันชื่อว่ากุลบุตรได้ปิดป้อง ทาให้เกษมปลอดภัยแล้ว ด้วย ประการฉะนี้ [๒๖๘] คหบดีบุตร ศิษย์พึงบารุงอาจารย์ผู้เป็นทิศเบื้องขวา โดยหน้าที่ ๕ ประการ คือ ๑. ลุกขึ้นยืนรับ ๒. เข้าไปคอยรับใช้ ๓. เชื่อฟัง ๔. ดูแลปรนนิบัติ ๕. เรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ อาจารย์ผู้เป็นทิศเบื้องขวา ศิษย์บารุงด้วยหน้าที่ ๕ ประการนี้ แล ย่อมอนุเคราะห์ศิษย์ด้วยหน้าที่ ๕ ประการ คือ ๑. แนะนาให้เป็นคนดี ๒. ให้เรียนดี ๓. บอกความรู้ในศิลปวิทยาทุกอย่างด้วยดี ๔. ยกย่องให้ปรากฏในมิตรสหาย ๕. ทาความป้องกันในทิศทั้งหลาย คหบดีบุตร อาจารย์ผู้เป็นทิศเบื้องขวา ศิษย์บารุงด้วยหน้าที่ ๕ ประการนี้ แล ย่อมอนุเคราะห์ศิษย์ ด้วยหน้าที่ ๕ ประการนี้ ทิศเบื้องขวานั้นเป็นอันชื่อว่าศิษย์ได้ปิดป้อง ทาให้เกษมปลอดภัยแล้ว ด้วยประการ ฉะนี้ [๒๖๙] คหบดีบุตร สามีพึงบารุงภรรยาผู้เป็นทิศเบื้องหลังโดยหน้าที่ ๕ ประการ คือ ๑. ให้เกียรติยกย่อง ๒. ไม่ดูหมิ่น ๓. ไม่ประพฤตินอกใจ
  • 11. 11 ๔. มอบความเป็นใหญ่ให้ ๕. ให้เครื่องแต่งตัว ภรรยาผู้เป็นทิศเบื้องหลัง สามีบารุงด้วยหน้าที่ ๕ ประการนี้ แล ย่อมอนุเคราะห์สามีด้วยหน้าที่ ๕ ประการ คือ ๑. จัดการงานดี ๒. สงเคราะห์คนข้างเคียงดี ๓. ไม่ประพฤตินอกใจ ๔. รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ ๕. ขยันไม่เกียจคร้านในกิจทั้งปวง คหบดีบุตร ภรรยาผู้เป็นทิศเบื้องหลัง สามีบารุงด้วยหน้าที่ ๕ ประการนี้ แล ย่อมอนุเคราะห์สามี ด้วยหน้าที่ ๕ ประการนี้ ทิศเบื้องหลังนั้นเป็นอันชื่อว่าสามีได้ปิดป้อง ทาให้เกษมปลอดภัยแล้ว ด้วยประการ ฉะนี้ [๒๗๐] คหบดีบุตร กุลบุตรพึงบารุงมิตรสหายผู้เป็นทิศเบื้องซ้ายโดยหน้าที่ ๕ ประการ คือ ๑. การให้ (การแบ่งปันสิ่งของให้) ๒. กล่าววาจาเป็นที่รัก ๓. ประพฤติตนให้เป็นประโยชน์ ๔. วางตนสม่าเสมอ ๕. ไม่พูดจาหลอกลวงกัน มิตรสหายผู้เป็นทิศเบื้องซ้าย กุลบุตรบารุงโดยหน้าที่ ๕ ประการนี้ แล ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตร ด้วยหน้าที่ ๕ ประการ คือ ๑. ป้องกันมิตรผู้ประมาทแล้ว ๒. ป้องกันทรัพย์ของมิตรผู้ประมาทแล้ว ๓. เมื่อมีภัยก็เป็นที่พึ่งพานักได้ ๔. ไม่ละทิ้งในยามอันตราย ๕. นับถือตลอดถึงวงศ์ตระกูลของมิตร คหบดีบุตร มิตรผู้เป็นทิศเบื้องซ้าย กุลบุตรบารุงด้วยหน้าที่ ๕ ประการนี้ แล ย่อมอนุเคราะห์ กุลบุตรด้วยหน้าที่ ๕ ประการนี้ ทิศเบื้องซ้ายนั้นเป็นอันชื่อว่ากุลบุตรได้ปิดป้อง ทาให้เกษมปลอดภัยแล้ว ด้วยประการฉะนี้ [๒๗๑] คหบดีบุตร นายพึงบารุงทาสกรรมกร ผู้เป็นทิศเบื้องต่าโดยหน้าที่ ๕ ประการ คือ ๑. จัดการงานให้ทาตามสมควรแก่กาลัง ๒. ให้อาหารและค่าจ้าง ๓. ดูแลรักษายามเจ็บป่วย ๔. ให้อาหารมีรสแปลก
  • 12. 12 ๕. ให้หยุดงานตามโอกาส ทาสกรรมกรผู้เป็นทิศเบื้องต่า นายบารุงด้วยหน้าที่ ๕ ประการนี้ แล ย่อมอนุเคราะห์นายด้วย หน้าที่ ๕ ประการ คือ ๑. ตื่นขึ้นทางานก่อนนาย ๒. เลิกงานเข้านอนทีหลังนาย ๓. ถือเอาแต่ของที่นายให้ ๔. ทางานให้ดีขึ้น ๕. นาคุณของนายไปสรรเสริญ คหบดีบุตร ทาสกรรมกรผู้เป็นทิศเบื้องต่า นายบารุงด้วยหน้าที่ ๕ ประการนี้ แล ย่อมอนุเคราะห์ นายโดยหน้าที่ ๕ ประการนี้ ทิศเบื้องต่านั้นเป็นอันชื่อว่านายได้ปิดป้อง ทาให้เกษมปลอดภัยแล้ว ด้วย ประการฉะนี้ [๒๗๒] คหบดีบุตร กุลบุตรพึงบารุงสมณพราหมณ์ผู้เป็นทิศเบื้องบน โดยหน้าที่ ๕ ประการ คือ ๑. จะทาสิ่งใด ก็ทาด้วยเมตตา ๒. จะพูดสิ่งใด ก็พูดด้วยเมตตา ๓. จะคิดสิ่งใด ก็คิดด้วยเมตตา ๔. เปิดประตูต้อนรับ ๕. ถวายปัจจัยเครื่องยังชีพ สมณพราหมณ์ผู้เป็นทิศเบื้องบน กุลบุตรบารุงโดยหน้าที่ ๕ ประการนี้ แล ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตร ด้วยหน้าที่ ๖ ประการ คือ ๑. ห้ามไม่ให้ทาความชั่ว ๒. ให้ตั้งอยู่ในความดี ๓. อนุเคราะห์ด้วยน้าใจอันดีงาม ๔. ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง ๕. อธิบายสิ่งที่เคยฟังแล้วให้เข้าใจแจ่มแจ้ง ๖. บอกทางสวรรค์ให้ คหบดีบุตร สมณพราหมณ์ผู้เป็นทิศเบื้องบน กุลบุตรบารุงโดยหน้าที่ ๕ ประการนี้ แล ย่อม อนุเคราะห์กุลบุตรโดยหน้าที่ ๖ ประการนี้ ทิศเบื้องบนนั้น เป็นอันชื่อว่ากุลบุตรได้ปิดป้อง ทาให้เกษม ปลอดภัยแล้ว ด้วยประการฉะนี้ ” [๒๗๓] พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้ แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ ต่อไปอีกว่า “มารดาบิดาเป็นทิศเบื้องหน้า อาจารย์เป็นทิศเบื้องขวา บุตรภรรยาเป็นทิศเบื้องหลัง
  • 13. 13 มิตรสหายเป็นทิศเบื้องซ้าย ทาสกรรมกรเป็นทิศเบื้องล่าง สมณพราหมณ์เป็นทิศเบื้องบน คฤหัสถ์ในตระกูลผู้มีความสามารถ (ผู้มีความสามารถ ในที่นี้ หมายถึงผู้มีความสามารถที่จะครอง เรือน คือเลี้ยงดูบุตรและภรรยาให้เป็นสุขได้) พึงไหว้ทิศเหล่านี้ บัณฑิตผู้สมบูรณ์ด้วยศีล เป็นคนละเอียดและมีไหวพริบ (มีไหวพริบ ในที่นี้ หมายถึงมีความเฉลียวฉลาดในการไหว้ทิศ คือ เข้าใจความหมายของการไหว้อย่างถูกต้อง) มีความประพฤติเจียมตน ไม่แข็งกระด้าง เช่นนั้น ย่อมได้ยศ คนขยัน ไม่เกียจคร้าน ย่อมไม่หวั่นไหวในอันตรายทั้งหลาย คนมีความประพฤติไม่ขาดตอน (ประพฤติไม่ขาดตอน ในที่นี้ หมายถึงประพฤติต่อเนื่องกันไปไม่ ขาดสาย) มีปัญญาเช่นนั้น ย่อมได้ยศ คนชอบสงเคราะห์ ชอบสร้างไมตรี รู้เรื่องที่เขาบอก (รู้เรื่องที่เขาบอก ในที่นี้ หมายถึงรู้เรื่องที่บุพการีสั่งไว้ แล้วปฏิบัติ ตามนั้น) ปราศจากความตระหนี่ เป็นผู้ชอบแนะนา ชี้แจงแสดงเหตุผล เช่นนั้น ย่อมได้ยศ ทาน(การให้) เปยยวัชชะ(วาจาเป็นที่รัก) อัตถจริยา(การประพฤติประโยชน์) ในโลกนี้ และสมานัตตตา(การวางตนสม่าเสมอ) ในธรรมนั้นๆ ตามสมควร สังคหธรรมเหล่านี้ แลช่วยอุ้มชูโลก เหมือนลิ่มสลักเพลาคุมรถที่แล่นไปไว้ได้ฉะนั้น ถ้าไม่มีสังคหธรรมเหล่านี้ มารดาหรือบิดาก็ไม่พึงได้การนับถือ หรือการบูชาเพราะบุตรเป็นเหตุ แต่เพราะบัณฑิตเล็งเห็นความสาคัญของสังคหธรรมเหล่านี้ ฉะนั้น บัณฑิตเหล่านี้ จึงถึงความเป็นใหญ่และเป็นผู้น่าสรรเสริญ” [๒๗๔] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ แล้ว สิงคาลกะ คหบดีบุตร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ดังนี้ ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
  • 14. 14 พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการ ต่างๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่า เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วย ตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์นี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาค พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ว่าเป็น สรณะ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจาข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้ เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต” สิงคาลกสูตรที่ ๘ จบ -------------------------------- คาอธิบายเพิ่มเติมนี้ นามาจากบางส่วนของอรรถกถา ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค สิงคาลกสูตร อรรถกถาสิงคาลกสูตร นิทานวณฺณนา สิงคาลกสูตรมีบทเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :- ต่อไปจะพรรณนาบทที่ยาก ในสิงคาลกสูตรนั้น. ณ พระวิหารเวฬุวัน อันเป็นที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เป็นชื่อของอุทยานนั้น. ได้ยินว่า อุทยานนั้นได้ล้อมด้วยไม้ไผ่ ประกอบด้วยซุ้มประตูและหอคอย โดยกาแพงสูง ๑๘ ศอก มีแสงเขียว เป็นที่น่า รื่นรมย์ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงเรียกว่า เวฬุวัน อนึ่ง ชนทั้งหลายได้ให้เหยื่อแก่กระแตในสวนเวฬุวันนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า กลันทกนิวาป อัน เป็นที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต. มีเรื่องเล่าว่า ครั้งก่อน พระราชาพระองค์หนึ่งเสด็จประพาสสวน ณ ที่นั้น เสวยน้าโสมจนทรง เมา บรรทมหลับในกลางวัน. แม้ชนบริวารของพระองค์ คิดกันว่า พระราชาบรรทมหลับแล้ว ถูกยั่วด้วย ดอกไม้และผลไม้เป็นต้น จึงเลี่ยงออกไปจากที่นั้นๆ. ครั้งนั้น งูเห่า เพราะได้กลิ่นเหล้าจึงเลื้อยออกจากโพรงไม้ต้นหนึ่ง มาอยู่เฉพาะพระพักตร์ พระราชา. รุกขเทวดาเห็นงูนั้นคิดว่า เราจะให้ชีวิตพระราชาดังนี้ จึงแปลงเพศเป็นกระแตมาแล้ว ทาเสียง ใกล้พระกรรณ. พระราชาทรงตื่น. งูเห่าก็เลื้อยหนีไป. พระราชาทอดพระเนตรกระแตนั้น ทรงพระดาริว่ากระแตนี้ ให้ชีวิตเรา จึงรับสั่งให้จัดหาเหยื่อมา ตั้งไว้ ณ ที่นั้น รับสั่งให้ประกาศ ให้อภัยแก่กระแตทั้งหลาย. เพราะฉะนั้น ตั้งแต่นั้นมา ที่นั้นจึงถือว่าเป็นที่ พระราชทานเหยื่อแก่กระแต. บทว่า ก็โดยสมัยนั้นแล ความว่า โดยสมัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทากรุงราชคฤห์ ให้เป็น โคจรคามแล้ว ประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน อันเป็นที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต. บทว่า บุตรของคฤหบดี คือ คฤหบดีบุตร. ได้ยินว่า บิดาของคฤหบดีบุตรนั้น เป็นคฤหบดีมหาศาล. ก็คฤหบดีนั้นมีทรัพย์เก็บไว้ในเรือน ๔๐ โกฏิ. คฤหบดีนั้นถึงความเชื่อมั่นในพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นอุบาสกผู้โสดาบัน. แม้ภรรยาของเขาก็ได้
  • 15. 15 เป็นโสดาบันเหมือนกัน. แต่บุตรของเขาไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส. ครั้งนั้น มารดาและบิดาย่อมสั่งสอนบุตรนั้นเนืองๆ อย่างนี้ ว่า นี่แน่ลูก ลูกจงเข้าไปเฝ้าพระ ศาสดา เข้าไปหาพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร พระมหาโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะ พระมหาสาวก ๘๐. บุตรนั้นกล่าวอย่างนี้ ว่า การเข้าไปหาสมณะทั้งหลายของพ่อและแม่ย่อมไม่มีแก่ฉัน เพราะการ เข้าไปหาสมณะทั้งหลายก็ต้องไหว้ เมื่อก้มลงไหว้หลังก็เจ็บ เข่าก็ด้าน จาเป็นต้องนั่งบนพื้นดิน เมื่อนั่งบน พื้นดินนั้น ผ้าก็จะเปื้ อนจะเก่า จาเดิมแต่เวลานั่งใกล้ ย่อมมีการสนทนา เมื่อมีการสนทนา ย่อมเกิด ความคุ้นเคย แต่นั้นย่อมต้องนิมนต์แล้วถวายจีวรและบิณฑบาตเป็นต้น เมื่อเป็นเช่นนั้น ประโยชน์ย่อมเสื่อม การเข้าไปหาพวกสมณะของพ่อและแม่ย่อมไม่มีแก่ฉัน ดังนี้ . มารดาบิดา แม้สอนบุตรของเขาจนตลอดชีวิต ด้วยประการฉะนี้ ก็ไม่สามารถจะนาเข้าไปใน ศาสนาได้. ต่อมา บิดาของเขานอนบนเตียงมรณะคิดว่า ควรจะให้โอวาทแก่บุตรของเรา แล้วคิดต่อไปว่า เรา จักให้โอวาทแก่บุตรอย่างนี้ ว่า นี่แน่ลูก ลูกจงนอบน้อมทิศทั้งหลาย เขาไม่รู้ความหมาย จักนอบน้อมทิศ ทั้งหลาย ลาดับนั้น พระศาสดาหรือพระสาวกทั้งหลายเห็นเขาแล้ว จักถามว่า เธอทาอะไร แต่นั้น เขาก็จัก กล่าวว่า บิดาของข้าพเจ้าสอนไว้ว่า เจ้าจงกระทาการนอบน้อมทิศทั้งหลาย ลาดับนั้น พระศาสดาหรือพระ สาวกทั้งหลาย จักแสดงธรรมแก่เขาว่า บิดาของเธอจักไม่ให้เธอนอบน้อมทิศทั้งหลายเหล่านั้น แต่จักให้เธอ นอบน้อมทิศเหล่านี้ เขารู้คุณในพระพุทธศาสนาแล้วจักทาบุญดังนี้ . ลาดับนั้น คฤหบดีให้คนเรียกบุตรมาแล้วกล่าวว่า นี่แน่ลูก ลูกควรลุกแต่เช้าตรู่ แล้วนอบน้อม ทิศทั้งหลายดังนี้ . ธรรมดาถ้อยคาของบิดาผู้ที่นอนบนเตียงมรณะ ย่อมเป็นถ้อยคาอันบุตรพึงระลึกถึงจน ตลอดชีวิต. เพราะฉะนั้น คฤหบดีบุตรนั้น เมื่อระลึกถึงถ้อยคาของบิดา จึงได้กระทาอย่างนั้น เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า คฤหบดีบุตรลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ ออกจากกรุงราชคฤห์เป็นต้น. บทว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปแล้ว ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ายังไม่เสด็จเข้าไปก่อน เพราะพระองค์ทรงดาริว่า เราจักเข้าไปแล้ว เสด็จออกไป แม้เป็นไปอยู่ในระหว่างทางจึงกล่าวอย่างนี้ . บทว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นแล้วแล ความว่า ไม่ได้ทอดพระเนตรเห็นเดี๋ยวนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ แม้ในตอน เช้าตรู่ ทอดพระเนตรเห็นสิงคาลกคฤหบดีบุตรนั้น กาลังนอบน้อมทิศทั้งหลายอยู่ ทรงดาริว่า วันนี้ เราจัก กล่าวสิงคาลกสูตรอันเป็นวินัยของคฤหัสถ์แก่สิงคาลกคฤหบดีบุตร ถ้อยคานั้นจึงมีผลแก่มหาชน เราควรไป ในที่นั้น ดังนี้ . เพราะฉะนั้น พระองค์เสด็จออกแต่เช้าตรู่ เสด็จเข้าไปยังกรุงราชคฤห์เพื่อบิณฑบาต. อนึ่ง เมื่อเสด็จเข้าไป ได้ทอดพระเนตรเห็นสิงคาลกคฤหบดีบุตร เหมือนอย่างนั้น ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นแล้วแล. บทว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะสิงคาลกคฤหบดีบุตร ความว่า นัยว่า สิงคาลกคฤหบดีบุตรนั้นไม่เห็นพระศาสดา แม้ประทับยืนอยู่ไม่ไกล ยังนอบน้อมทิศ ทั้งหลายอยู่นั่นเอง. ลาดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเผยพระโอฐดุจมหาปทุมกาลังแย้มโดยสัมผัสแสงพระอาทิตย์ ฉะนั้น ได้ตรัสพระวาจานี้ ว่า ดูก่อนคฤหบดีบุตร เธอทาอะไรหนอ ดังนี้ เป็นต้น.
  • 16. 16 ฉทิสาวณฺณนา บทว่า ข้าแต่พระองค์ ก็ในวินัยของพระอริยเจ้าท่านนอบน้อมทิศกันอย่างไร ความว่า นัยว่า สิงคาลกคฤหบดีบุตรสดับพระดารัสนั้นของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว คิดว่า ได้ยินว่า ทิศที่ บิดาของเรากล่าวควรนอบน้อมทิศ ๖ นั้น ไม่ใช่ทิศนี้ นัยว่า พระอริยสาวกนอบน้อมทิศ ๖ อย่างอื่น ช่างเถิด เราจะทูลถามถึงทิศที่พระอริยสาวกพึงนอบน้อมแล้ว จึงจักนอบน้อม ดังนี้ . สิงคาลกคฤหบดีบุตรนั้น เมื่อจะทูลถามถึงทิศเหล่านั้น จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ ในวินัยของพระอริยเจ้าท่านนอบน้อมทิศกันอย่างไรเป็นต้น. บทว่า กรรมกิเลสทั้งหลาย ความว่า สัตว์ทั้งหลายจักเศร้าหมอง ด้วยกรรมทั้งหลายเหล่านั้น เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า กรรมกิเลสทั้งหลาย. บทว่า ผู้นั้น คือ พระอริยสาวกผู้เป็นโสดาบัน. บทว่า และโลกนี้ อันพระอริยสาวกนั้นปรารภแล้ว ความว่า จริงอยู่ เวรทั้ง ๕ ในโลกนี้ ย่อมไม่มีแก่พระอริยสาวกเห็นปานนั้น ด้วยเหตุนั้น โลกนี้ เป็นอันพระ อริยสาวกนั้นปรารภแล้ว คือยินดีแล้ว และสาเร็จแล้ว เวรทั้งหลาย ๕ ย่อมไม่มีแม้ในโลกหน้า ด้วยเหตุนั้น โลกหน้าเป็นอันพระอริยสาวกยินดีแล้ว. เพราะฉะนั้น พระอริยสาวกนั้นเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์. ด้วยประการดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งแม่บทไว้โดยย่อ บัดนี้ เมื่อจะยังแม่บทนั้นให้พิสดารจึงตรัสว่า กรรมกิเลส ๔ ที่พระอริยสาวกละได้แล้ว เป็นไฉน เป็นต้น. จริงอยู่ คนมีกิเลสเท่านั้นย่อมฆ่าสัตว์ คนไม่มีกิเลสย่อมไม่ฆ่าสัตว์ เพราะฉะนั้น ปาณาติบาต ท่านจึงกล่าวว่า เป็นกรรมกิเลส. แม้ในกรรมกิเลสมีอทินนาทานเป็นต้น ก็มีนัยนี้ แล. จตุฐานวณฺณนา บทว่า ย่อมทากรรมอันลามก ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะเมื่อพระองค์ทรงแสดงถึง บุคคลผู้กระทาแล้ว ผู้ไม่กระทาย่อมปรากฏ ฉะนั้น แม้ทรงตั้งแม่บทว่า พระอริยสาวกย่อมไม่ทากรรมอัน ลามก เพราะพระองค์ทรงฉลาดในเทศนา เมื่อจะทรงแสดงบุคคลผู้กระทาก่อน จึงตรัสบทนี้ ว่า บุคคลย่อม กระทากรรมอันลามก. ในบททั้งหลายนั้น บทว่า ถึงฉันทาคติ ความว่า ถึงอคติด้วยความพอใจ คือด้วยความรัก กระทา สิ่งไม่ควรทา. แม้ในบทอื่นก็มีนัยนี้ แล. ในบททั้งหลายนั้น ผู้ใดทาผู้ไม่เป็นเจ้าของให้เป็นเจ้าของด้วยสามารถความพอใจว่า ผู้นี้ เป็นมิตร ของเรา เป็นผู้ชอบพอกับเรา เป็นผู้คบหากันมา เป็นญาติสนิทของเรา หรือให้ของขวัญแก่เรา ดังนี้ ผู้นี้ ถึง ฉันทาคติ ชื่อว่าย่อมทากรรมอันลามก. ผู้ใดกระทาผู้ไม่เป็นเจ้าของให้เป็นเจ้าของด้วยสามารถมีเวรกันเป็นปกติว่า ผู้นี้ เป็นผู้มีเวรกับเรา
  • 17. 17 ดังนี้ หรือด้วยสามารถความโกรธอันเกิดขึ้นในขณะนั้น ผู้นี้ ถึงโทสาคติ ชื่อว่าย่อมทากรรมอันลามก. อนึ่ง ผู้ใด เพราะความเป็นผู้มีปัญญาอ่อน เพราะความเป็นผู้โง่ทึบ พูดไม่เป็นเรื่อง กระทาผู้ไม่ เป็นเจ้าของให้เป็นเจ้าของ ผู้นี้ ถึงโมหาคติ ชื่อว่าย่อมกระทากรรมอันลามก. อนึ่ง ผู้ใดกลัวว่า ผู้นี้ เป็นราชวัลลภหรือเป็นผู้อาศัยอยู่กับศัตรู พึงทาความฉิบหายแก่เราดังนี้ แล้วทาผู้ไม่เป็นเจ้าของให้เป็นเจ้าของ ผู้นี้ ถึงภยาคติ ชื่อว่าย่อมทากรรมอันลามก. อนึ่ง ผู้ใด เมื่อแบ่งของอย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมให้ของเกินเป็นพิเศษ ด้วยสามารถความรักว่า ผู้นี้ เป็นเพื่อนของเราหรือร่วมกินร่วมนอนกับเรา ย่อมให้ของพร่องลงไปด้วยสามารถความโกรธว่า ผู้นี้ เป็นศัตรู ของเราดังนี้ เพราะความโง่เขลา ไม่รู้ของที่ให้แล้วและยังไม่ให้ ย่อมให้ของพร่องแก่บางคน ให้ของมากแก่ บางคน กลัวว่าผู้นี้ เมื่อเราไม่ให้สิ่งนี้ พึงทาแม้ความฉิบหายแก่เรา ย่อมให้ของเกินเป็นพิเศษแก่บางคน ผู้นั้น แม้เป็นผู้มีอคติ ๔ อย่างนี้ ก็ถึงอคติมีฉันทาคติเป็นต้นตามลาดับ ชื่อว่าย่อมทากรรมอันลามก. แต่พระอริยสาวก แม้จะถึงสิ้นชีวิต ก็ไม่ถึงอคติมีฉันทาคติเป็นต้น ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าว ว่า พระอริยสาวกย่อมไม่ทากรรมอันลามกโดยฐานะ ๔ เหล่านี้ . บทว่า ยศของผู้นั้นย่อมเสื่อม ความว่า แม้เกียรติยศ แม้บริวารยศของผู้ถึงอคตินั้น ย่อมเสื่อม คือย่อมเสียหาย. ฉอปายมุขวณฺณนา สุรา ๕ ชนิด คือ สุราทาด้วยขนม สุราทาด้วยแป้ง สุราทาด้วยข้าวสุก สุราใส่ส่าเหล้า สุรา ประกอบด้วยเชื้อ ชื่อว่า สุรา ในบทนี้ ว่า ผู้ดื่มน้าเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทดังนี้ . ของดอง ๕ ชนิด คือ ของดองด้วยดอกไม้ ของดองด้วยผลไม้ ของดองด้วยน้าหวาน ของดองด้วย น้าอ้อย ของดองประกอบด้วยเชื้อ ชื่อว่า เมรัย. แม้ทั้งหมดนั้น ชื่อว่า มัชชะ ด้วยสามารถทาให้เมา. บทว่า ประกอบเนืองๆ อธิบายว่า ประกอบเนืองๆ คือทาบ่อย ซึ่งการดื่มน้าเมา คือสุราและ เมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท. ก็เพราะเมื่อผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งการดื่มน้าเมานี้ โภคะทั้งหลายที่ เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมและที่ยังไม่เกิดขึ้นย่อมไม่เกิด ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะ ทั้งหลาย. บทว่า เที่ยวดูมหรสพ คือ ไปดูมหรสพด้วยสามารถการดูการฟ้อนเป็นต้น. บทว่า ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเกียจคร้าน อธิบายว่า เพราะความเป็นผู้ขวนขวายในการ ประกอบด้วยความเป็นผู้เกียจคร้านทางกาย. สุราเมรยสฺส ฉอาทีนววณฺณน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งแม่บทของทางแห่งความเสื่อม ๖ ประการอย่างนี้ แล้ว เมื่อทรงจาแนก แม่บทเหล่านั้นในบัดนี้ จึงตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดีบุตร โทษ ๖ ประการเหล่านี้ แล ดังนี้ เป็นต้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า อันตนเห็นเอง คือ ความเป็นอยู่ในโลกนี้ อันตนพึงเห็นเอง.
  • 18. 18 บทว่า ก่อการทะเลาะ ความว่า ก่อการทะเลาะด้วยวาจาและการทะเลาะด้วยการใช้มือเป็นต้น. บทว่า น้าเมาเป็นบ่อเกิดแห่งโรคทั้งหลาย ความว่า น้าเมาเป็นเขตแดนแห่งโรคเหล่านั้น มีโรค ตาเป็นต้น. บทว่า น้าเมาเป็นเหตุเสียชื่อเสียง ความว่า เพราะชนดื่มน้าเมาแล้ว ย่อมประหารแม้มารดา แม้ บิดาได้ ย่อมกล่าวคาที่ไม่ควรกล่าว แม้อื่นอีกมาก ย่อมทาสิ่งที่ไม่ควรทา ด้วยเหตุนี้ ชนทั้งหลาย ถึงการติ เตียนบ้าง ลงโทษบ้าง ตัดอวัยวะมีมือและเท้าเป็นต้นบ้าง ถึงความเสียชื่อเสียง ในโลกนี้ บ้าง ในโลกหน้าบ้าง ด้วยประการฉะนี้ สุรานั้นจึงชื่อว่าเป็นเหตุเสียชื่อเสียงของชนเหล่านั้น. บทว่า น้าเมาเป็นเหตุไม่รู้จักละอาย ความว่า เพราะน้าเมาย่อมยังความละอายอันเป็นที่ซึ่งควร ซ่อนเร้น ควรปกปิด ให้กาเริบ ให้พินาศ เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ยังหิริให้กาเริบ ดังนี้ . อนึ่ง คนเมาสุรา เปิดอวัยวะนั้นๆ แล้วเที่ยวไปได้. ด้วยเหตุนั้น สุรานั้น ท่านจึงกล่าวว่า เป็นเหตุไม่รู้จักละอาย เพราะทาหิริให้ กาเริบ. บทว่า น้าเมาเป็นเหตุทอนกาลังปัญญา ความว่า น้าเมาย่อมทาความรู้ว่าสัตว์มีกรรมเป็นของ ตนให้อ่อนลง เหมือนปัญญาของพระสาคตเถระฉะนั้น เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่าน้าเมาเป็นเหตุทอน กาลังปัญญา. แต่น้าเมาไม่อาจทาให้ผู้ได้มรรคปัญญาให้อ่อนได้ เพราะสุรานั้นย่อมไม่เข้าไปภายในปากของ ท่านที่บรรลุมรรคแล้ว. บทว่า ชื่อว่าไม่คุ้มครอง ไม่รักษาตัว อธิบายว่า เพราะบุคคลเที่ยวไปมิใช่เวลา ย่อมเหยียบตอ และหนามเป็นต้นบ้าง พบงูบ้าง ยักษ์เป็นต้นบ้าง แม้ศัตรูรู้ว่าจะไปยังที่นั้นๆ ก็แอบจับตัวหรือฆ่า ด้วยเหตุนี้ จึงชื่อว่าไม่คุ้มครอง ไม่รักษาตัว. แม้บุตรและภรรยาคิดว่า บิดาของเรา สามีของเรา เที่ยวในกลางคืน จะ กล่าวไปไยถึงตัวเราดังนี้ ด้วยเหตุนี้ แม้บุตรธิดา แม้ภรรยาของเขากระทาธุรกิจนอกบ้าน เที่ยวไปใน กลางคืน ก็ย่อมถึงความพินาศ. แม้บุตรภรรยาของเขา ก็ชื่อว่าเป็นผู้ไม่คุ้มครองตัวไม่รักษาตัว ด้วยอาการ อย่างนี้ . บทว่า ทรัพย์สมบัติ ความว่า พวกโจรรู้ความที่บริวารชนพร้อมด้วยบุตรภรรยานั้นเที่ยวใน กลางคืน จะเข้าไปยังเรือนที่ว่างคน นาเอาของที่ต้องการไป. ด้วยอาการอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ไม่คุ้มครอง ไม่ รักษาแม้ทรัพย์สมบัติ. บทว่า เป็นที่ระแวง ความว่า เป็นผู้ที่ควรระแวงว่า คนนี้ จักเป็นผู้กระทาแม้ในกรรมอันลามกที่ คนอื่นทา. เมื่อกล่าวคาว่า บุคคลไปโดยประตูเรือนของผู้ใดๆ โจรกรรมหรือปรทาริกกรรม การข่มขืนใดอัน คนอื่นทาไว้ในที่นั้น กรรมนั้นเป็นอันว่าบุคคลผู้นี้ กระทากรรมนั้น แม้ไม่จริง ไม่มี ก็ย่อมปรากฏ คือย่อม ตั้งอยู่ในบุคคลนั้น. บทว่า การเที่ยวกลางคืนอันเป็นเหตุแห่งทุกข์เป็นอันมาก ความว่า ใครๆ ไม่อาจกล่าวว่าทุกข์มี ประมาณเท่านี้ โทมนัสมีประมาณเท่านี้ ของผู้ที่ถูกเขารังเกียจในบุคคลอื่นนั้นแล. ด้วยประการดังนี้ ผู้เที่ยว กลางคืนนั้น จึงเป็นผู้ประสบเหตุแห่งทุกข์เป็นอันมาก คือได้รับความลาบากมาก. บทว่า ฟ้อนที่ไหน ไปที่นั้น ความว่า การฟ้อนมีราและละครเป็นต้นมีอยู่ในที่ไหน แล้วพึงไปใน บ้านหรือนิคมที่มีการฟ้อนนั้น. เมื่อผู้ที่เตรียมผ้าของหอมและดอกไม้เป็นต้น ในวันนี้ ด้วยคิดว่า พรุ่งนี้ เราจัก
  • 19. 19 ไปดูการฟ้อนของเขา เป็นอันทิ้งการงานตลอดวัน ย่อมปรากฏในที่นั้นตลอดวันหนึ่งบ้าง สองวันบ้าง สามวัน บ้าง ด้วยการดูการฟ้อน. เมื่อผู้เที่ยวกลางคืน แม้ได้การถึงพร้อมด้วยฝนเป็นต้น ก็ไม่ทาการหว่าน เมื่อถึง กาลหว่านเป็นต้น โภคะทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิด. เมื่อเรือนไม่มีคนเฝ้าพวกโจรรู้ความที่เจ้าของบ้าน ไปข้างนอก ย่อมลักของที่ต้องการไป. ด้วยเหตุนั้น โภคะแม้เกิดแก่เขาก็ย่อมพินาศ. แม้ในบทว่า ขับร้องมีที่ไหน ไปในที่นั้น เป็นต้น ก็มีนัยนี้ แล. การกระทาต่างๆ ของชนเหล่านั้น ท่านกล่าวแล้วในพรหมชาลสูตร. บทว่า ผู้ชนะย่อมก่อเวร ความว่า ผู้ชนะย่อมถือเอาซึ่งผ้าสาฎกหรือผ้าโพกของผู้อื่น ในท่ามกลาง ชุมชน ด้วยคิดว่า เราชนะแล้ว ดังนี้ . ผู้ชนะย่อมผูกเวรในบุคคลนั้นว่า เขาดูหมิ่นเราในท่ามกลางชุมชน ช่าง เถิด เราจักให้บทเรียนเขาดังนี้ . เมื่อชนะอย่างนี้ ย่อมประสบเวร. บทว่า ผู้แพ้ ความว่า ผู้แพ้ย่อมเศร้าโศกถึงผ้าโพก ผ้าสาฎกหรือทรัพย์สินมีเงินและทองเป็นต้น อย่างอื่นของเขาที่ผู้อื่นได้ไป เขาย่อมเศร้าโศก เพราะทรัพย์นั้นเป็นเหตุว่า ทรัพย์นั้นได้มีแล้วแก่เราหนอ ทรัพย์นั้นย่อมไม่มีแก่เราหนอ ดังนี้ ด้วยอาการอย่างนี้ ผู้แพ้ย่อมเสียดายทรัพย์. บทว่า คาพูดของนักการพนันที่ไปพูดในที่ประชุมฟังไม่ขึ้น ความว่า เมื่อเขาถูกถามเพราะเป็น พยานในที่วินิจฉัย ด้วยคาฟังไม่ขึ้น. ชนทั้งหลายจะพากันพูดว่า ผู้นี้ เป็นนักเลงสะกา เล่นการพนัน พวกท่าน อย่าเชื่อคาพูดของเขา. บทว่า ถูกมิตรอมาตย์ดูหมิ่น ความว่า จริงอยู่ พวกมิตรอมาตย์จะพูดกะเขาอย่างนี้ ว่า สหาย แม้ ท่านก็เป็นบุตรของผู้มีตระกูล เล่นการพนัน เป็นผู้ตัด เป็นผู้ทาลาย เที่ยวไปนี้ ไม่สมควรแก่ชาติและโคตรของ ท่าน ตั้งแต่นี้ ไป ท่านไม่พึงทาอย่างนี้ . นักการพนันนั้น แม้ถูกเขากล่าวอย่างนี้ ก็ไม่เชื่อเขา. แต่นั้นพวกมิตร และสหายเหล่านั้นไม่ยืน ไม่นั่งร่วมกับเขา. แม้พวกเขาถูกถามเป็นพยานก็ไม่ยอมพูด เพราะเหตุนักการ พนันนั้น. ด้วยอาการอย่างนี้ นักการพนันจึงเป็นผู้ถูกมิตรและสหายดูหมิ่น. ปาปมิตฺตตาย ฉอาทีนววณฺณนา บทว่า นาให้เป็นนักเลงหัวไม้ ความว่า เป็นผู้ทาการงานร่วมกับผู้ที่อยู่อาคารเดียวกัน เป็นต้น. บทว่า พวกนั้นเป็นมิตรของเขา คือ เขาไม่ยินดีกับคนอื่นที่เป็นคนดี เข้าไปหามิตรลามก เหล่านั้นอย่างเดียว เหมือนสุกรที่เขาประดับด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น แล้วให้นอนบนที่นอนอย่างดี ก็ยังเข้าไปสู่หลุมคูถฉะนั้น เพราะฉะนั้น ผู้คบคนชั่วเป็นมิตร ย่อมเข้าถึงความฉิบหายเป็นอันมากทั้งในภพนี้ และภพหน้า. บทว่า อ้างว่าเย็นนักแล้วไม่ทาการงาน ความว่า พวกมนุษย์ลุกขึ้นแต่เช้าตรู่พูดว่า พ่อมหา จาเริญ มาไปทาการงานกันเถิด คนเกียจคร้านจะพูดว่า ยังหนาวเหลือเกิน กระดูกจะแตก พวกท่านไปกัน เถิด เราจักไปทีหลัง แล้วนั่งผิงไฟ. มนุษย์เหล่านั้นไปทาการงานกัน. การงานของคนเกียจคร้านย่อมเสื่อม. แม้ในบททั้งหลายว่า ร้อนเหลือเกินก็มี นัยนี้ แล. บทว่า ชื่อว่าเพื่อนดื่มก็มี ความว่า บางคนเป็นสหายกันในโรงเหล้าอันเป็นที่ดื่มนั่นแหละ. ปาฐะว่า ปนฺนสขา ดังนี้ ก็มี. ความอย่างเดียวกัน.
  • 20. 20 บทว่า เพื่อนกล่าวแต่ปากว่า เพื่อนๆ ก็มี ความว่า บางคนพูดว่า เพื่อน เพื่อน เป็นเพื่อนต่อหน้า เท่านั้น ลับหลังเป็นเช่นศัตรู ย่อมแสวงหาช่องทางอย่างเดียว. บทว่า เมื่อประโยชน์ทั้งหลายเกิดขึ้น ความว่า เมื่อกิจเห็นปานนั้นเกิดขึ้นแล้ว. บทว่า ความเป็นผู้ตระหนี่เหนียวแน่น ความว่า ความเป็นผู้ตระหนี่เหนียวแน่น คือความเป็นผู้ ตระหนี่จัด. บทว่า เขาจักจมลงสู่หนี้ เหมือนก้อนหินจมน้าฉะนั้น ความว่า เขาจมลงสู่หนี้ เหมือนก้อนหิน จมน้าฉะนั้น. บทว่า เกลียดชังการลุกขึ้นในกลางคืน คือ ไม่ลุกขึ้นในกลางคืนเป็นปกติ. บทว่า มักอ้างว่าเย็นเสียแล้ว คือ เขากล่าวอย่างนี้ ว่า เวลานี้ เย็นนักแล้ว ไม่ทาการงาน. บทว่า สละการงาน คือ พูดอย่างนี้ แล้ว ไม่ทาการงาน. บทว่า ประโยชน์ย่อมล่วงเลยมาณพทั้งหลาย ความว่า ประโยชน์ทั้งหลาย ย่อมล่วงเลยบุคคล เห็นปานนี้ คือไม่ตั้งอยู่ในบุคคลเหล่านั้น. บทว่า เขาย่อมไม่เสื่อมจากความสุข ความว่า บุรุษนั้นย่อมไม่ละความสุข ย่อมเป็นผู้สมบูรณ์ด้วย ความสุขทีเดียว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเนื้ อความนี้ ด้วยกถามรรคนี้ . อันผู้ครองเรือนไม่ควรทากรรมนี้ ชื่อ ความเจริญย่อมไม่มีแก่ผู้กระทา ผู้กระทาย่อมได้รับการติเตียนอย่างเดียวทั้งในโลกนี้ และโลกหน้า. มิตฺตปฏิรูปกวณฺณนา บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทรงแสดงถึงผู้ไม่ใช่มิตร เป็นมิตรเทียม เป็นคนพาลว่า ผู้ใดกระทาอย่างนี้ ความฉิบหายย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้นั้น ก็หรือภัยอย่างอื่นๆ อันตรายใดๆ อุปสรรค ใดๆ ทั้งหมดนั้นย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยคนพาล เพราะฉะนั้น ไม่ควรคบคนพาลเห็นปานนั้นดังนี้ จึงตรัสคาเป็นต้นว่า ดูก่อนคฤหบดีบุตร คนไม่ใช่มิตรมี ๔ จาพวกเหล่านี้ ดังนี้ . ในบทเหล่านั้น บทว่า คนปอกลอก ความว่า ตนเองมีมือเปล่ามาแล้ว นาเอาของอย่างใดอย่าง หนึ่ง ไปโดยส่วนเดียว. บทว่า ดีแต่พูด ความว่า เป็นดุจผู้ให้กระทา เพียงคาพูดเท่านั้น. บทว่า คนหัวประจบ คือ ย่อมพูดคล้อยตาม. บทว่า คนชักชวนในทางฉิบหาย คือ เป็นสหายในทางเสื่อมแห่งโภคะทั้งหลาย. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึงคนที่ไม่ใช่มิตร ๔ จาพวกอย่างนี้ แล้ว เมื่อจะทรงจาแนกเหตุ อย่างหนึ่งๆ ในคนที่ไม่ใช่มิตรนั้นด้วยเหตุ ๔ อย่าง จึงตรัสคาเป็นต้นว่า ดูก่อนคฤหบดีบุตร ด้วยฐานะ ๔ อย่าง ดังนี้ . ในบททั้งหลายนั้น บทว่า เป็นคนปอกลอก ความว่า เป็นผู้นาไปโดยส่วนเดียวเท่านั้น. ความว่า เป็นผู้มีมือเปล่ามาสู่เรือนของสหายแล้วพูดถึงคุณของผ้าสาฎกที่ตนนุ่งเป็นต้น. คนปอกลอกพูดว่า ดูก่อน สหาย คนนั้นย่อมกล่าวถึงคุณของผ้าผืนนี้ กะท่านเหลือเกินดังนี้ แล้ว นุ่งผ้าผืนอื่นให้ผืนนั้นไป.