SlideShare a Scribd company logo
1 of 118
Download to read offline
คำนำ
ประสบการณ์ของการทำหน้าที่ติวอบรมก่อนสอบธรรมสนามหลวง นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก และ
การทำหน้าที่คุมสอบนักธรรม ได้มีโอกาสพูดคุยสอบถามการศึกษานักธรรมกับพระภิกษุสามเณร ผู้เข้าสอบ
นักธรรม ทำให้รับรู้ถึงสาเหตุที่ผู้เข้าสอบนักธรรมทำข้อสอบได้ และทำข้อสอบไม่ได้ พระภิกษุสามเณรที่เรียน
แต่นักธรรมอย่างเดียว ส่วนมากทำข้อสอบได้ เพราะมีเวลากับการเรียนมาก บางรูปเรียนอย่างอื่นควบคู่กัน
ด้วย จึงมีปัญหาเรื่องการอ่านท่องจำ ทำความเข้าใจในตำราเรียน หรืออาจจะมาเริ่มดูนักธรรมในช่วงที่มีการ
ติวอบรมก่อนสอบธรรมสนามหลวง
ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นโท เป็นการกำหนดขอบเขตการศึกษานักธรรม เพื่อให้
เหมาะสมกับเวลาเรียน ไม่ได้เน้นในเรื่องการอธิบาย เป็นเพียงแนวข้อสอบ ทำให้เห็นความสำคัญใน
การศึกษาในแต่ละรายวิชา สามารถนำไปประยุกต์ใช้ประกอบการเรียนการสอน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือ
เล่มนี้ จะเกิดประโยชน์แก่ผู้สนใจศึกษาทุกรูป
พระมหามนตรี กตปุญฺโ
๒๔ กรกฎาคม ๒๕๖๕
สารบัญ
หน้า
วิชาธรรมวิภาค ๑
ทุกะ หมวด ๒ ๑
อริยบุคคล ๒ ๑
กัมมัฏฐาน ๒ ๑
กาม ๒ ๓
ทิฏฐิ ๒ ๓
เทสนา ๒ ๔
ธรรม ๒ ๔
บูชา ๒ ๕
ปฏิสันถาร ๒ ๕
ปริเยสนา ๒ ๖
ปาพจน์ ๒ ๖
รูป ๒ ๖
วิมุตติ ๒ ๗
ติกะ หมวด ๓ ๘
อกุศลวิตก ๓ ๘
กุศลวิตก ๓ ๘
อัคคิ ๓ ๙
อธิปเตยยะ ๓ ๙
อภิสังขาร ๓ ๑๐
ทวาร ๓ ๑๐
ญาณ ๓ ๑๐
ปาฏิหาริย์ ๓ ๑๒
ปิฎก ๓ ๑๒
พุทธจริยา ๓ ๑๒
ภพ ๓ ๑๓
วัฏฏะ ๓ ๑๓
วิชชา ๓ ๑๔
วิโมกข์ ๓ ๑๔
วิเวก ๓ ๑๔
สังขาร ๓ ๑๔
โสดาบัน ๓ ๑๔
จตุกกะ หมวด ๔ ๑๕
อบาย ๔ ๑๕
อปัสเสนธรรม ๔ ๑๕
อัปปมัญญา ๔ ๑๖
พระอริยบุคคล ๔ ๑๖
อริยวงศ์ ๔ ๑๗
อุปาทาน ๔ ๑๗
โอฆะ ๔ ๑๘
อริยสัจ ๔ ๑๘
ทักขิณาวิสุทธิ ๔ ๑๙
โยนิ ๔ ๑๙
ปัญจกะ หมวด ๕ ๒๐
มัจฉริยะ ๕ ๒๐
มาร ๕ ๒๐
วิญญาณ ๕ ๒๒
วิมุตติ ๕ ๒๒
เวทนา ๕ ๒๒
สังวร ๕ ๒๓
สุทธาวาส ๕ ๒๓
ฉักกะ หมวด ๖ ๒๓
อภิฐาน ๖ ๒๓
จริต ๖ ๒๓
ธรรมคุณ ๖ ๒๔
ปิยรูป สาตรูป หมวดละหก ๑๐ หมวด ๒๕
สวรรค์ ๖ ชั้น ๒๕
สัตตกะ หมวด ๗ ๒๖
อนุสัย ๗ ๒๖
เมถุนสังโยค ๗ ๒๖
วิญญาณฐิติ ๗ ๒๗
วิสุทธิ ๗ ๒๗
อัฏฐกะ หมวด ๘ ๒๗
อริยบุคคล ๘ ๒๗
อวิชชา ๘ ๒๗
นวกะ หมวด ๙ ๒๘
อนุปุพพวิหาร ๙ ๒๘
พุทธคุณ ๙ ๒๘
มานะ ๙ ๓๐
ทสกะ หมวด ๑๐ ๓๑
บารมี ๑๐ ๓๑
มิจฉัตตะ ๑๐ ๓๒
เอกาทสกะ หมวด ๑๑ ๓๒
ปัจจยาการ ๑๑ ๓๒
ทวาทสกะ หมวด ๑๒ ๓๒
กรรม ๑๒ ๓๒
เตรสกะ หมวด ๑๓ ๓๔
ธุดงค์ ๑๓ ๓๔
ปัณณรสกะ หมวด ๑๕ ๓๖
จรณะ ๑๕ ๓๖
วิชาอนุพุทธประวัติ ๓๘
ประวัติพระปัญจวัคคีย์ ๔๐
ประวัติพระยสะและสหายพระยสะ ๕๔ องค์ ๔๔
ประวัติพระอุรุเวลกัสสปะ ๔๗
ประวัติพระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะ ๕๐
ประวัติพระมหากัสสปะและพระมหากัจจายนะ ๕๔
ประวัติมาณพ ๑๖ คน ๕๗
ประวัติพระราธะและพระปุณณมันตานีบุตร ๕๙
ประวัติพระราหุล พระอุบาลี พระอนุรุทธะ และพระอานนท์ ๕๙
ประวัติพระโสณโกฬิวิสะ พระรัฐบาล และพระโสณกุฏิกัณณะ ๖๑
ประวัติภิกษุณี ๖๓
ศาสนพิธี ๖๔
หมวดที่ ๑ กุศลพิธี ๖๔
พิธีเข้าพรรษา ๖๔
พิธีสามีจิกรรม ๖๕
พิธีทําวัตรสวดมนต์ ๖๖
พิธีทําสังฆอุโบสถ ๖๖
พิธีกรรมวันธรรมสวนะ ๖๖
หมวดที่ ๒ บุญพิธี ๖๗
พิธีทําบุญตักบาตรเทโวโรหณะ ๖๗
พิธีเจริญพระพุทธมนต์ ๖๘
พิธีสวดพระพุทธมนต์ ๖๘
พิธีสวดพระอภิธรรม ๖๙
พิธีสวดมาติกา ๖๙
พิธีสวดแจง ๖๙
พิธีอนุโมทนากรณีต่าง ๆ ๖๙
พิธีแสดงพระธรรมเทศนา ๖๙
หมวดที่ ๓ ทานพิธี ๗๐
พิธีถวายเสนาสนะ กุฏิ วิหาร ๗๐
พิธีถวายผ้าวัสสิกสาฎก ๗๑
พิธีถวายผ้าป่า ๗๑
หมวดที่ ๔ ปกิณกะ ๗๒
พิธีบังสุกุลเป็น ๗๒
วิชาวินัยบัญญัติ ๗๓
สิกขาบทนอกพระปาติโมกข์ ๗๓
พระวินัย ๗๓
อภิสมาจาร ๗๔
กัณฑ์ที่ ๑๑ กายบริหาร ๗๖
กัณฑ์ที่ ๑๒ บริขารบริโภค ๗๘
๑. จีวร ๗๘
๒. บาตร ๘๐
๓. เครื่องอุปโภค ๘๑
กัณฑ์ที่ ๑๓ นิสสัย ๘๑
เหตุที่นิสสัยระงับจากอุปัชฌาย์ ๕ ประการ ๘๒
เหตุที่อุปัชฌาย์ประณามสัทธิวิหาริก ๕ ประการ ๗๓
อาจารย์ตามนัยแห่งอรรถกถา มี ๔ ประเภท ๘๓
นิสสัยมุตตกะ ๘๔
กัณฑ์ที่ ๑๔ วัตร ๘๕
๑. กิจวัตร ๘๖
๒. จริยาวัตร ๘๘
๓. วิธีวัตร ๘๙
กัณฑ์ที่ ๑๕ คารวะ ๘๙
เวลาที่อนุญาตให้งดไหว้กัน มี ๘ ประการ ๘๙
การลุกรับมีงดในบางโอกาส ๙๐
การทําความเคารพที่จัดไว้อีกส่วนหนึ่ง ๙๐
กัณฑ์ที่ ๑๖ จำพรรษา ๙๑
ดิถีที่กําหนดให้เข้าพรรษา มี ๒ ช่วง ๙๑
การอธิษฐานเข้าพรรษา ๙๑
สัตตาหกรณียะ ๙๒
อานิสงส์แห่งการจำพรรษา ๕ ประการ ๙๔
กัณฑ์ที่ ๑๗ อุโบสถ ปวารณา ๙๔
อุโบสถ ๙๔
การก คือ ภิกษุผู้ทําอุโบสถ ๙๕
อาการที่ทำอุโบสถ ๙๕
บุพพกิจ มี ๕ อยาง ๙๖
สังฆอุโบสถ ๙๖
เหตุฉุกเฉินที่เรียกว่าอันตราย มี ๑๐ อย่าง ๙๗
ปวารณา ๙๘
สังฆปวารณา ๙๙
กัณฑ์ที่ ๑๘ อุปปถกิริยา ๑๐๐
๑. อนาจาร ๑๐๑
๒. ปาปสมาจาร ๑๐๑
๓. อเนสนา ๑๐๓
กัณฑ์ที่ ๑๙ กาลิก ๑๐๓
กัณฑ์ที่ ๒๐ ภัณฑะต่างเจ้าของ ๑๐๕
กัณฑ์ที่ ๒๑ วินัยกรรม ๑๐๗
กัณฑ์ที่ ๒๒ ปกิณณกะ ๑๐๕
มหาปเทส ๔ ๑๐๙
วิชาธรรมวิภาค
ทุกะ หมวด ๒
อริยบุคคล ๒
๑. พระเสขะ ผู้ยังต้องศึกษา คือศึกษาอะไร ? ชื่อว่าพระอเสขะ เพราะอะไร ? (๒๕๕๐)
ตอบ ศึกษาสิกขา ๓ คือ ๑. อธิสีลสิกขา ๒. อธิจิตตสิกขา ๓. อธิปัญญาสิกขา ฯ
เพราะเสร็จกิจอันจะต้องทำแล้ว ฯ
๒. ในอริยบุคคล ๒ พระเสขะผู้ยังต้องศึกษา คือศึกษาเรื่องอะไร ? ผู้ศึกษากำลังสอบธรรมอยู่นี้เรียกว่า
พระเสขะได้หรือไม่ ? (๒๕๕๔)
ตอบ คือ ศึกษาในอธิสีล ในอธิจิต และในอธิปัญญา
อีกอย่างหนึ่งหมายถึง ต้องศึกษาและต้องปฏิบัติเพื่อมรรคผลเบื้องสูงขึ้นไป ฯ
ยังเรียกว่าพระเสขะไม่ได้ ถ้าไม่ใช่พระอริยบุคคล ๗ จำพวกเบื้องต้น ฯ
๓. พระอริยบุคคล ๘ จำพวก จำพวกไหนชื่อว่าพระเสขะ และพระอเสขะ ? เพราะเหตุไร ? (๒๕๕๙)
ตอบ พระอริยบุคคล ๗ เบื้องต้นชื่อว่าพระเสขะ เพราะเป็นผู้ยังต้องปฏิบัติเพื่อบรรลุมรรคผลเบื้องสูง ฯ
พระอริยบุคคลผู้ต้องอยู่ในอรหัตตผล ชื่อว่าพระอเสขะ เพราะเสร็จกิจอันจะต้องทำแล้ว ฯ
กัมมัฏฐาน ๒
๑. สมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน มุ่งผลแห่งการปฏิบัติอย่างไร ? (๒๕๕๘, ๒๕๖๓)
ตอบ สมถกรรมฐานมุ่งผล คือความสงบใจ
ส่วนวิปัสสนากรรมฐานมุ่งผล คือความเรืองปัญญา ฯ
๒. ตจปัญจกกัมมัฏฐาน มีอะไรบ้าง ? เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอย่างไร ? เป็นอารมณ์ของสมถกัมมัฏฐาน
หรือของวิปัสสนากัมมัฏฐาน ? (๒๕๕๗)
ตอบ มีเกสา ผม, โลมา ขน, นขา เล็บ, ทนฺตา ฟัน และตโจ หนัง ฯ
เรียกอีกอย่างว่ามูลกัมมัฏฐาน ฯ
เป็นอารมณ์ได้ทั้งสมถกัมมัฏฐาน และวิปัสสนากัมมัฏฐาน ฯ
๒ { ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นโท วัดอนุกูลพัชรสิงหศักดาราม จังหวัดตาก
๓. ตจปัญจกกัมมัฏฐานเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอะไร ? มีอะไรบ้าง ? จัดเป็นสมถกัมมัฏฐานหรือวิปัสสนา
กัมมัฏฐาน ? (๒๕๕๒)
ตอบ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มูลกัมมัฏฐาน ฯ
มีเกสา ผม, โลมา ขน, นขา เล็บ, ทันตา ฟัน และ ตโจ หนัง ฯ
เป็นได้ทั้งสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน ฯ
๔. ตจปัญจกกัมมัฏฐานได้แก่อะไรบ้าง ? จัดเป็นสมถะหรือวิปัสสนา ? จงอธิบาย (๒๕๔๘)
ตอบ ได้แก่ เกสา โลมา นขา ทันตา และตโจ ฯ
เป็นได้ทั้งสมถะและวิปัสสนา ถ้าเพ่งกำหนดยังจิตให้สงบด้วยภาวนา เป็นสมถะ ถ้าเพ่งพิจารณา
ถึงความแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไป หรือให้เห็นว่าเป็นทุกข์ คือทนอยู่ได้ยากและทนอยู่ไม่ได้ ต้องเสื่อม
สลายไปในที่สุด หรือให้เห็นว่าเป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตน พิจารณาเช่นนี้เป็นวิปัสสนา ฯ
๕. ตจปัญจกกัมมัฏฐาน มีอะไรบ้าง ? เป็นอารมณ์ของสมถกัมมัฏฐาน หรือของวิปัสสนากัมมัฏฐาน ?
(๒๕๖๔)
ตอบ มีเกสา ผม, โลมา ขน, นขา เล็บ, ทนฺตา ฟัน และตโจ หนัง ฯ
เป็นอารมณ์ได้ทั้งสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน ฯ
๖. กัมมัฏฐานที่พระอุปัชฌาย์สอนแก่ผู้ขอบรรพชาอุปสมบทว่า เกสา โลมา นขา ทนฺตา ตโจ ตโจ ทนฺตา
นขา โลมา เกสา นั้น เรียกชื่อว่าอะไร ? เป็นสมถกัมมัฏฐานหรือวิปัสสนากัมมัฏฐาน ? (๒๕๕๕)
ตอบ ชื่อว่า ตจปัญจกกัมมัฏฐาน หรือมูลกัมมัฏฐาน ฯ
เป็นได้ทั้งสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน ฯ
๗. มูลกัมมัฏฐาน คืออะไร ? เจริญอย่างไรเป็นอารมณ์ของสมถะ ? เจริญอย่างไรเป็นอารมณ์ของวิปัสสนา ?
(๒๕๔๙)
ตอบ คือ กัมมัฏฐานเดิม ได้แก่ เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ที่พระอุปัชฌาย์สอนก่อนบรรพชา ฯ
ถ้าเพ่งกำหนดให้จิตสงบด้วยภาวนา จัดเป็นอารมณ์ของสมถะ ถ้ายกขึ้นพิจารณาแยกออกเป็น
ส่วน ๆ ให้เห็นตามความเป็นจริงโดยสามัญลักษณะ จัดเป็นอารมณ์ของวิปัสสนา ฯ
๘. การพิจารณาสังขารทั้งหลายโดยความเป็นไตรลักษณ์ จัดเป็นกัมมัฏฐานอะไร ? มีประโยชน์อย่างไร ?
(๒๕๖๐)
ตอบ จัดเป็นวิปัสสนากัมมัฏฐาน ฯ
มีประโยชน์ คือทำให้รู้จักสภาพที่เป็นจริงแห่งสังขารทั้งหลายว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
แล้วเกิดความเบื่อหน่ายในสังขารทั้งหลายเหล่านั้น ฯ
วัดอนุกูลพัชรสิงหศักดาราม จังหวัดตาก ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นโท } ๓
กาม ๒
๑. กามและกามคุณ มีอธิบายอย่างไร ? (๒๕๔๔)
ตอบ กาม ได้แก่ความใคร่ ความน่าปรารถนา ความพอใจ แบ่งเป็นกิเลสกามและวัตถุกาม
ส่วนกามคุณ ได้แก่อารมณ์ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
ซึ่งเป็นวัตถุกามนั่นเอง ฯ
๒. รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ทั้ง ๕ นี้ เพราะเหตุไรจึงเรียกว่า กามคุณ ? (๒๕๔๔)
ตอบ เพราะเป็นกลุ่มแห่งกาม และเป็นสิ่งที่ให้เกิดความสุข ความพอใจได้ ฯ
๓. ราคะ โลภะ อิสสา กลิ่น รส อย่างไหนเป็นกิเลสกาม อย่างไหนเป็นวัตถุกาม ? (๒๕๕๙, ๒๕๖๓)
ตอบ ราคะ โลภะ อิสสา เป็นกิเลสกาม
กลิ่น รส เป็นวัตถุกาม ฯ
ทิฏฐิ ๒
๑. ทิฏฐิ ที่หมายถึงความเห็นผิด ๒ อย่าง มีอะไรบ้าง ? (๒๕๕๖)
ตอบ มี ๑. สัสสตทิฏฐิ ความเห็นว่าเที่ยง
๒. อุจเฉททิฏฐิ ความเห็นว่าขาดสูญ ฯ
๒. ความเห็นว่าเที่ยงและเห็นว่าขาดสูญ คือเห็นอย่างไร ? มติในทางพระพุทธศาสนาเป็นเช่นไร จง
อธิบาย ? (๒๕๕๐)
ตอบ เห็นว่าเที่ยง คือเห็นว่า คนและสัตว์ตายแล้ว ชีวะไม่สูญ ต้องเกิดอีกต่อไป หรือเคยเป็นอะไร
ก็เป็นอย่างนั้นตลอดไปหรือมีสภาพอย่างนั้นไม่แปรผัน เป็นต้น ส่วนเห็นว่าขาดสูญ คือเห็นว่า
อัตภาพจุติแล้วเป็นอันสูญสิ้นไป หรือคนสัตว์ตายแล้วขาดสูญไปโดยประการทั้งปวง ฯ
พระพุทธศาสนาปฏิเสธความเห็นทั้ง ๒ นั้น มีความเห็นประกอบด้วยสัมมาญาณ อิงเหตุผล
ยึดเหตุผลเป็นที่ตั้ง โดยเห็นว่า คนและสัตว์ตายแล้วจะเกิดอีกหรือไม่ ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัย ฯ
๓. ความเห็นว่า “ถึงคราวเคราะห์ดีก็ดีเอง ถึงคราวเคราะห์ร้ายก็ร้ายเอง” อย่างนี้เป็นทิฏฐิอะไร ? จง
อธิบาย คติทางพระพุทธศาสนาต่างจากความเห็นนี้อย่างไร ? (๒๕๔๕)
ตอบ เป็นอเหตุกทิฏฐิ คือเห็นว่า สิ่งทั้งหลายไม่มีเหตุปัจจัย คนเราจะได้ดีหรือได้ร้าย ตามคราว
เคราะห์ ถึงคราวจะดีก็ดีเอง ถึงคราวจะร้ายก็ร้ายเอง ไม่มีเหตุปัจจัยอื่น ฯ
พระพุทธศาสนาถือว่าสังขตธรรมทั้งปวงเกิดแต่เหตุ ฯ
๔ { ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นโท วัดอนุกูลพัชรสิงหศักดาราม จังหวัดตาก
เทสนา ๒
๑. เทสนา ๒ มีอะไรบ้าง ? เทสนา ๒ อย่างนั้น ต่างกันอย่างไร ? จงอธิบาย (๒๕๔๖)
ตอบ มีปุคคลาธิฏฐานา มีบุคคลเป็นที่ตั้ง ๑ ธัมมาธิฏฐานา มีธรรมเป็นที่ตั้ง ๑ ฯ
ต่างกันอย่างนี้ การสอนที่ยกบุคคลมาเป็นตัวอย่าง เช่น ในมหาชนกชาดก สอนเรื่องความ
เพียร โดยกล่าวถึงพระมหาชนกโพธิสัตว์ว่า ทรงมีความเพียรอย่างยิ่ง พยายามว่ายน้ำในท่ามกลาง
มหาสมุทรที่กว้างใหญ่มองไม่เห็นฝั่งอย่างไม่ย่อท้อ ด้วยความุ่งมั่นที่จะถึงฝั่งให้ได้ เป็นปุคคลาธิฏฐานา
ส่วนการยกธรรมแต่ละข้อมาอธิบายความหมายอย่างเดียว เช่น สติ แปลว่าความระลึกได้
หมายความว่า ก่อนจะทำ ก่อนจะพูดอะไร ต้องคิดให้รอบคอบเสียก่อน จึงทำ จึงพูดออกไป เป็นต้น
เป็นธัมมาธิฏฐานา ฯ
๒. บุคคลาธิฏฐานาเทศนา เทศนามีบุคคลเป็นที่ตั้ง มีอธิบายว่าอย่างไร ? (๒๕๖๒)
ตอบ มีอธิบายว่า การสอนที่ยกบุคคลมาเป็นตัวอย่าง เช่น ในมหาชนกชาดก สอนเรื่องความเพียร
โดยกล่าวถึงพระมหาชนกโพธิสัตว์ว่า ทรงมีความเพียรอย่างยิ่ง พยายามว่ายน้ำในท่ามกลางมหาสมุทร
ที่กว้างใหญ่ มองไม่เห็นฝั่งอย่างไม่ย่อท้อ ด้วยความมุ่งมั่นที่จะถึงฝั่งให้ได้ และทรงถึงฝั่งได้ดังประสงค์ ฯ
ธรรม ๒
๑. สังขตธรรม คืออะไร ? มีลักษณะอย่างไร ? (๒๕๕๓, ๒๕๖๒)
ตอบ คือ ธรรมอันปัจจัยปรุงแต่ง ฯ
มีลักษณะ คือ มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น มีความแปรปรวนในท่ามกลาง และมีความดับไปใน
ที่สุด ฯ
๒. สังขตธรรมและอสังขตธรรม ต่างกันอย่างไร ? สัตว์ ต้นไม้ ภูเขา เป็นสังขตธรรม เพราะมีลักษณะ
อย่างไร ? (๒๕๕๗)
ตอบ สังขตธรรม คือธรรมอันปัจจัยปรุงแต่ง ส่วนอสังขตธรรม คือธรรมอันปัจจัยไม่ได้ปรุงแต่ง ฯ
เพราะมีลักษณะ คือมีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น มีความดับในที่สุด และเมื่อยังตั้งอยู่ความแปรผัน
ปรากฏ ฯ
๓. ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความดับไป เป็นลักษณะของธรรมอะไร ? สัตว์บุคคลมีลักษณะเช่นนั้น
หรือไม่ ? จงอธิบาย (๒๕๕๒)
ตอบ เป็นลักษณะของสังขตธรรม ฯ
มีลักษณะเช่นนั้น คือเมื่อสัตว์บุคคลเกิดมาแล้ว ก็เป็นความเกิดขึ้น ต่อมาก็เจริญเติบโตผ่านวัย
ทั้ง ๓ ก็เป็นความตั้งอยู่ เมื่อตาย ก็เป็นความดับไป ฯ
วัดอนุกูลพัชรสิงหศักดาราม จังหวัดตาก ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นโท } ๕
๔. สังขารทั้งหลายไม่เป็นอนัตตาหรือ เพราะเหตุไรในธรรมนิยามจึงใช้คำว่า ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ?
จงอธิบาย ? (๒๕๔๗)
ตอบ สังขารทั้งหลายก็เป็นอนัตตา แต่ที่ใช้คำว่า ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตานั้น เพราะธรรมนั้นหมาย
เอาธรรมคือสังขตธรรมและอสังขตธรรม สังขตธรรมได้แก่สังขารนั่นเอง อสังขตธรรมได้แก่วิสังขารคือ
พระนิพพาน ฯ
บูชา ๒
๑. บูชา ๒ คืออะไรบ้าง ? การสมาทานศีล ๕ เป็นประจำจัดเป็นบูชา ประเภทใด ? (๒๕๖๑)
ตอบ คือ อามิสบูชา บูชาด้วยอามิสสิ่งของ ๑ ปฏิบัติบูชา บูชาด้วยการปฏิบัติตาม ๑ ฯ
เป็นปฏิบัติบูชา ฯ
ปฏิสันถาร ๒
๑. ปฏิสันถาร คืออะไร ? มีอะไรบ้าง ? มีประโยชน์แก่ผู้ทำอย่างไรบ้าง ? (๒๕๔๕)
ตอบ คือ การต้อนรับแขกผู้มาถึงถิ่น ฯ
มี ๒ อย่าง ๑. อามิสปฏิสันถาร ต้อนรับด้วยสิ่งของ
๒. ธัมมปฏิสันถาร ต้อนรับโดยธรรม ฯ
อย่างนี้คือ ๑. เป็นอุบายสร้างความสามัคคีและยึดเหนี่ยวน้ำใจกัน
๒. เป็นการรักษาไมตรีจิตระหว่างกันและกันให้มั่นคงยิ่งขึ้น ฯ
๒. ปฏิสันถาร มีอะไรบ้าง ? มีประโยชน์อย่างไร ? (๒๕๖๐, ๒๕๖๔)
ตอบ มี ๑. อามิสปฏิสันถาร ต้อนรับด้วยสิ่งของ
๒. ธัมมปฏิสันถาร ต้อนรับโดยธรรม ฯ
มีประโยชน์อย่างนี้ คือ
๑. เป็นอุบายสร้างความสามัคคีและยึดเหนี่ยวน้าใจกัน
๒. เป็นการรักษาไมตรีจิตระหว่างกันและกันให้มั่นคงยิ่งขึ้น ฯ
๓. ปฏิสันถาร คืออะไร ? จงแสดงวิธีปฏิสันถารตามความรู้ที่ได้ศึกษามา (๒๕๔๙)
ตอบ คือ การต้อนรับผู้มาเยือนด้วยการพูดจาปราศรัย หรือด้วยการรับรองด้วยของ ต้อนรับตามสมควร
ด้วยไมตรีจิต ฯ
ปฏิสันถารที่ได้ศึกษามามี ๒ อย่าง คือ
๑. อามิสปฏิสันถาร ปฏิสันถารด้วยสิ่งของ ได้แก่การจัดหาวัตถุสิ่งของต้อนรับ เช่น ข้าว น้ำ
หรือที่พัก เป็นต้น
๒. ธัมมปฏิสันถาร ปฏิสันถารด้วยธรรม ได้แก่การแสดงการต้อนรับตามความเหมาะสมแก่ผู้
มาเยือน หรือการให้คำแนะนำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ เป็นต้น ฯ
๖ { ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นโท วัดอนุกูลพัชรสิงหศักดาราม จังหวัดตาก
ปริเยสนา ๒
๑. แสวงหาอะไรเป็นการแสวงหาอย่างประเสริฐ แสวงหาอะไรเป็นการแสวงหาไม่ประเสริฐ ? (๒๕๕๕)
ตอบ ในพระสูตรแสดงว่า แสวงหาสภาพอันมิใช่ของมีชรา พยาธิ มรณะ คือคุณธรรมมีพระนิพพาน
เป็นอย่างสูง เป็นการแสวงหาอย่างประเสริฐ เรียกว่า อริยปริเยสนา
แสวงหาของมีชรา พยาธิ มรณะ เช่นหาของเล่น เป็นการแสวงหา ไม่ประเสริฐ เรียกว่า อนริย-
ปริเยสนา ฯ
ปาพจน์ ๒
๑. ปาพจน์ ๒ ได้แก่อะไรบ้าง ? ถ้าแจกเป็น ๓ จะได้อะไรบ้าง ? (๒๕๕๐)
ตอบ ได้แก่ พระธรรมและพระวินัย ฯ
ถ้าแจกเป็น ๓ จะได้ พระวินัย ๑ พระสูตร ๑ พระอภิธรรม ๑ ฯ
๒. ปาพจน์ ๒ คือธรรมและวินัย นั้นทราบแล้ว อยากทราบว่าความปฏิบัติอย่างไร จัดเป็นธรรม ความ
ปฏิบัติอย่างไรจัดเป็นวินัย ? (๒๕๕๘)
ตอบ ความปฏิบัติเป็นทางนำความประพฤติและอัธยาศัยให้ประณีตขึ้น จัดเป็นธรรม
ความปฏิบัติเนื่องด้วยระเบียบอันทรงตั้งไว้ด้วยพุทธอาณา เป็นสิกขาบทหรืออภิสมาจาร เป็น
ทางนำความประพฤติให้สม่ำเสมอกัน หรือเป็นเครื่องบริหารคณะ จัดเป็นวินัย ฯ
รูป ๒
๑. มหาภูตรูป คืออะไร ? มีความเกี่ยวเนื่องกับอุปาทายรูปอย่างไร ? (๒๕๔๘, ๒๕๕๗)
ตอบ คือ รูปที่เป็นใหญ่เป็นประธาน อันประกอบด้วย ธาตุ ๔ ได้แก่ ดิน น้ำ ไฟ ลม ฯ
เป็นที่ตั้งอาศัยแห่งรูปย่อยซึ่งเรียกว่าอุปาทายรูป เมื่อรูปใหญ่แตกทำลายไป อุปาทายรูปที่อิง
อาศัยมหาภูตรูปนั้นก็แตกทำลายไปด้วย ฯ
๒. มหาภูตรูปและอุปาทายรูปคืออะไร ? (๒๕๕๔)
ตอบ มหาภูตรูป คือรูปใหญ่ ได้แก่ธาตุ ๔ มีปฐวี อาโป เตโช วาโย
อุปาทายรูป คือรูปอาศัยมหาภูตรูปนั้น ฯ
๓. รูปในขันธ์ ๕ แบ่งเป็น ๒ ได้แก่อะไรบ้าง ? จงอธิบายมาสั้น ๆ พอเข้าใจ (๒๕๕๑)
ตอบ ได้แก่มหาภูตรูปและอุปาทายรูป
มหาภูตรูป คือรูปใหญ่ อันได้แก่ธาตุ ๔ มีดิน น้ำ ไฟ ลม
อุปาทายรูป คือรูปอาศัย เป็นอาการของมหาภูตรูป เช่น ประสาท ๕ มีจักขุประสาท เป็นต้น
โคจร ๕ มีรูปารมณ์ เป็นต้น ฯ
วัดอนุกูลพัชรสิงหศักดาราม จังหวัดตาก ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นโท } ๗
วิมุตติ ๒
๑. วิมุตติคืออะไร ? วิมุตติ ๒ อย่าง มีอะไรบ้าง ? (๒๕๔๕)
ตอบ คือ ความหลุดพ้น ฯ
มี ๑. เจโตวิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยอำนาจแห่งใจ
๒. ปัญญาวิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยอำนาจแห่งปัญญา ฯ
๒. วิมุตติ คืออะไร ? ตทังควิมุตติ มีอธิบายอย่างไร ? (๒๕๔๗)
ตอบ คือ ความทำจิตใจให้หลุดพ้นจากกิเลสาสวะ ฯ
มีอธิบายว่า ความพ้นจากกิเลสได้ชั่วคราว เช่นเกิดเหตุเป็นที่ตั้งแห่งสังเวชขึ้น หายกำหนัดใน
กาม เกิดเมตตาขึ้น หายโกรธ แต่ความกำหนัดและความโกรธนั้นไม่หายทีเดียว ทำในใจถึงอารมณ์
งาม ความกำหนัดกลับเกิดขึ้นอีก ทำในใจถึงวัตถุแห่งอาฆาต ความโกรธกลับเกิดขึ้นอีก อย่างนี้
จัดเป็นตทังควิมุตติ ฯ
๓. เจโตวิมุตติ กับ ปัญญาวิมุตติ ต่างกันอย่างไร ? (๒๕๕๑, ๒๕๕๙)
ตอบ เจโตวิมุตติ เป็นวิมุตติของท่านผู้ได้บรรลุฌานมาก่อนแล้ว จึงบำเพ็ญวิปัสสนาต่อ
ส่วนปัญญาวิมุตติ เป็นวิมุตติของท่านผู้ได้บรรลุด้วยลำพังบำเพ็ญวิปัสสนาล้วน
อีกนัยหนึ่ง เรียกเจโตวิมุตติเพราะพ้นจากราคะ เรียกปัญญาวิมุตติเพราะพ้นจากอวิชชา ฯ
๔. วิมุตติ ๒ กับ วิมุตติ ๕ จัดเป็นโลกิยะและโลกุตตระอย่างไร ? (๒๕๔๕)
ตอบ วิมุตติ ๒ เป็นโลกุตตระอย่างเดียว ส่วนวิมุตติ ๕ เป็นได้ทั้งโลกิยะและโลกุตตระ ฯ
๕. วิมุตติ กับ วิโมกข์ ต่างกันอย่างไร ? สมุจเฉทวิมุตติ มีอธิบายอย่างไร ? (๒๕๕๓)
ตอบ ต่างกันแต่โดยพยัญชนะ แต่ก็พ้นจากราคะ โทสะ โมหะได้เท่ากันโดยอรรถ ฯ
มีอธิบายว่า ความพ้นจากกิเลสด้วยอำนาจอริยมรรค กิเลสเหล่านั้นขาดเด็ดไป ไม่กลับเกิดอีก ฯ
๘ { ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นโท วัดอนุกูลพัชรสิงหศักดาราม จังหวัดตาก
ติกะ หมวด ๓
อกุศลวิตก ๓
๑. ความตริในฝ่ายชั่ว เรียกว่าอะไร ? มีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ? (๒๕๕๙, ๒๕๖๓)
ตอบ เรียกว่า อกุศลวิตก ฯ
มี ๓ อย่าง ฯ
คือ ๑. กามวิตก ความตริในทางกาม
๒. พยาบาทวิตก ความตริในทางพยาบาท
๓. วิหิงสาวิตก ความตริในทางเบียดเบียน ฯ
๒. ความคิดที่เป็นฝ่ายอกุศล มีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ? (๒๕๖๔)
ตอบ มี ๓ อย่าง ฯ
คือ ๑. กามวิตก ความตริในทางกาม
๒. พยาบาทวิตก ความตริในทางพยาบาท
๓. วิหิงสาวิตก ความตริในทางเบียดเบียน ฯ
๓. อกุศลวิตก ๓ มีโทษอย่างไร ? แก้ด้วยวิธีอย่างไร ? (๒๕๔๙)
ตอบ กามวิตก ทำใจให้เศร้าหมอง เป็นเหตุให้มัวเมาติดอยู่ในกามสมบัติ
พยาบาทวิตก ทำให้เดือดร้อนกระวนกระวายใจ คิดทำร้ายผู้อื่น
วิหิงสาวิตก ย่อมครอบงำจิต ให้คิดเบียดเบียนผู้อื่นโดยเห็นแก่ประโยชน์สุขส่วนตัว ฯ
กามวิตก แก้ด้วยการเจริญกายคตาสติและอสุภกัมมัฏฐาน
พยาบาทวิตก แก้ด้วยการเจริญเมตตาพรหมวิหาร
วิหิงสาวิตก แก้ด้วยการเจริญกรุณาพรหมวิหารและโยนิโสมนสิการ ฯ
กุศลวิตก ๓
๑. กุศลวิตก มีอะไรบ้าง ? สงเคราะห์เข้าในมรรคมีองค์ ๘ ข้อไหนได้ ? (๒๕๕๖)
ตอบ มี ๑. เนกขัมมวิตก ความตริในทางพรากจากกาม
๒. อพยาบาทวิตก ความตริในทางไม่พยาบาท
๓. อวิหิงสาวิตก ความตริในทางไม่เบียดเบียน ฯ
สงเคราะห์เข้าในข้อสัมมาสังกัปปะ ฯ
วัดอนุกูลพัชรสิงหศักดาราม จังหวัดตาก ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นโท } ๙
อัคคิ ๓
๑. พระพุทธเจ้าทรงอุปมากิเลสเหล่าไหนว่ามีลักษณะเหมือนกับไฟ ? ที่ทรงอุปมาเช่นนั้นเพราะเหตุไร ?
(๒๕๕๐)
ตอบ กิเลสเหล่านี้ คือ ราคะ โทสะ โมหะ ฯ
เพราะเมื่อกิเลสทั้ง ๓ กองนี้ กองใดกองหนึ่งเกิดขึ้นภายในใจของบุคคล จะแผดเผาก่อให้เกิด
ความเร่าร้อนขึ้นภายในใจ ฯ
อธิปเตยยะ ๓
๑. คำว่า อธิปเตยยะ แปลว่าอะไร ? มีอะไรบ้าง ? (๒๕๔๔)
ตอบ แปลว่า ความเป็นใหญ่ ฯ
มี ๓ คือ ๑. อัตตาธิปเตยยะ ความมีตนเป็นใหญ่
๒. โลกาธิปเตยยะ ความมีโลกเป็นใหญ่
๓. ธัมมาธิปเตยยะ ความมีธรรมเป็นใหญ่ ฯ
๒. อธิปเตยยะ ๓ มีอะไรบ้าง ? บุคคลผู้ถือความถูกต้องเป็นใหญ่ทำด้วยอำนาจเมตตา กรุณา เป็นต้น
จัดเข้าในข้อไหน ? (๒๕๖๒)
ตอบ มี ๓ คือ
๑. อัตตาธิปเตยยะ ความมีตนเป็นใหญ่
๒. โลกาธิปเตยยะ ความมีโลกเป็นใหญ่
๓. ธัมมาธิปเตยยะ ความมีธรรมเป็นใหญ่ ฯ
จัดเข้าในธัมมาธิปเตยยะได้ ฯ
๓. บุคคลผู้ถือความถูกต้องเป็นใหญ่ ทำด้วยอำนาจเมตตา กรุณา เป็นต้น จัดเข้าในอธิปเตยยะข้อไหนได้
หรือไม่ ? (๒๕๔๔)
ตอบ จัดเข้าในธัมมาธิปเตยยะได้ ฯ
๔. บุคคลผู้ถือความถูกต้องเป็นใหญ่ ทำด้วยความเมตตา กรุณา เป็นต้น จัดเข้าในอธิปเตยยะข้อไหน ?
(๒๕๖๔)
ตอบ จัดเข้าในธัมมาธิปเตยยะได้ ฯ
๕. ผู้มีอัตตาธิปเตยยะ กับ ผู้มีธัมมาธิปเตยยะ มีความมุ่งหมายในการทำงาน ต่างกันอย่างไร ? (๒๕๕๕)
ตอบ ผู้มีอัตตาธิปเตยยะปรารภภาวะของตนเป็นใหญ่ ทำด้วยมุ่งให้สมภาวะของตน ผู้ทำมุ่งผลอันจะ
ได้แก่ตน หรือมุ่งความสะดวกแห่งตน
๑๐ { ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นโท วัดอนุกูลพัชรสิงหศักดาราม จังหวัดตาก
ส่วนผู้มีธัมมาธิปเตยยะ ทำด้วยไม่มุ่งหมายอย่างอื่น เป็นแต่เห็นสมควร เห็นว่าถูกก็ทำ หรือทำ
ด้วยอำนาจเมตตากรุณาเป็นอาทิ ฯ
อภิสังขาร ๓
๑. พระบาลีว่า “อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา” เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร ดังนี้ คำว่า สังขาร
หมายถึงอะไร ? ได้แก่อะไรบ้าง ? (๒๕๕๔)
ตอบ หมายถึงสภาพผู้ปรุงแต่ง ฯ
ได้แก่ ๑. ปุญญาภิสังขาร อภิสังขารคือบุญ
๒. อปุญญาภิสังขาร อภิสังขารคือบาป
๓. อเนญชาภิสังขาร อภิสังขารคืออเนญชา
ทวาร ๓
๑. กรรมและทวาร คืออะไร ? อภิชฌาเป็นกรรมใดและเกิดทางทวารใดบ้าง จงอธิบาย (๒๕๕๐)
ตอบ กรรม คือการกระทำ ส่วนทวาร คือทางเกิดของกรรม ฯ
อภิชฌา ความอยากได้ เป็นมโนกรรมได้อย่างเดียว และเกิดได้ทั้ง ๓ ทวาร เป็นกายทวาร
เช่น มีความอยากได้แล้วลูบคลำพัสดุที่อยากได้นั้น แต่ไม่มีไถยจิต เป็นวจีทวาร เช่น มีความอยากได้
แล้วบ่นว่า ทำอย่างไรดีหนอ จักได้พัสดุนั้น และเป็นมโนทวาร เช่น มีความอยากได้แล้วรำพึงในใจ ฯ
๒. การฆ่าสัตว์ อย่างไรเกิดทางกายทวาร อย่างไรเกิดทางวจีทวาร ? (๒๕๕๖)
ตอบ ฆ่าด้วยตนเองเกิดทางกายทวาร
ใช้ให้ผู้อื่นฆ่าเกิดทางวจีทวาร ฯ
ญาณ ๓
๑. ญาณ ๓ ที่เป็นไปในจตุราริยสัจ มีอะไรบ้าง ? ญาณ ๓ ที่เป็นไปในทุกขสมุทัยมีอธิบายอย่างไร ?
(๒๕๔๕)
ตอบ ๑. สัจจญาณ ปรีชาหยั่งรู้อริยสัจ
๒. กิจจญาณ ปรีชาหยั่งรู้กิจอันควรทำ
๓. กตญาณ ปรีชาหยั่งรู้กิจอันทำแล้ว ฯ
๑. ปรีชาหยั่งรู้ว่า นี้ทุกขสมุทัย จัดเป็นสัจจญาณ
๒. ปรีชาหยั่งรู้ว่า ทุกขสมุทัย เป็นสภาพที่ควรละเสีย จัดเป็นกิจจญาณ
๓. ปรีชาหยั่งรู้ว่า ทุกขสมุทัยที่ควรละ ๆ ได้แล้ว จัดเป็นกตญาณ ฯ
วัดอนุกูลพัชรสิงหศักดาราม จังหวัดตาก ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นโท } ๑๑
๒. ญาณ ๓ ที่เป็นไปในอริยสัจ ๔ มีอะไรบ้าง ? ญาณ ๓ ที่เป็นไปในทุกขนิโรธสัจมีอธิบายอย่างไร ?
(๒๕๔๖, ๒๕๕๓)
ตอบ มี ๑. สัจจญาณ ปรีชาหยั่งรู้อริยสัจ
๒. กิจจญาณ ปรีชาหยั่งรู้กิจอันควรทำ
๓. กตญาณ ปรีชาหยั่งรู้กิจอันทำแล้ว ฯ
มีอธิบายว่า
๑. ปรีชาหยั่งรู้ว่า นี้ทุกขนิโรธสัจ จัดเป็นสัจจญาณ
๒. ปรีชาหยั่งรู้ว่า นี้ทุกขนิโรธสัจเป็นสภาพที่ควรทำให้แจ้ง จัดเป็นกิจจญาณ
๓. ปรีชาหยั่งรู้ว่า นี้ทุกขนิโรธสัจที่ควรทำให้แจ้ง ๆ แล้ว จัดเป็นกตญาณ ฯ
๓. กิจจญาณ คืออะไร ? เป็นไปในอริยสัจ ๔ อย่างไร ? (๒๕๕๑)
ตอบ คือ ปรีชาหยั่งรู้กิจอันควรทำ ฯ
ปรีชาหยั่งรู้ว่า ทุกข์เป็นธรรมชาติที่ควรกำหนดรู้ ทุกขสมุทัยเป็นธรรมชาติที่ควรละ ทุกขนิโรธ
เป็นธรรมชาติที่ควรทำให้แจ้ง ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาเป็นธรรมชาติที่ควรทำให้เกิด ฯ
๔. กตญาณ เป็นไปในอริยสัจ ๔ อย่างไร ? (๒๕๕๗)
ตอบ ปรีชาหยั่งรู้ว่า ทุกข์ควรกำหนดรู้ได้กำหนดรู้แล้ว ทุกขสมุทัยที่ควรละได้ละแล้ว ทุกขนิโรธที่ควร
ทำให้แจ้งได้ทำให้แจ้งแล้ว ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาที่ควรเจริญได้เจริญแล้ว ฯ
๕. ญาณ ๓ ที่เป็นไปในทุกขสมุทัย มีอธิบายอย่างไร ? (๒๕๕๓, ๒๕๖๑)
ตอบ มีอธิบายว่า
๑. ปรีชาหยั่งรู้ว่า นี้ทุกขสมุทัย จัดเป็นสัจจญาณ
๒. ปรีชาหยั่งรู้ว่า ทุกขสมุทัย เป็นสภาพที่ควรละ จัดเป็นกิจจญาณ
๓. ปรีชาหยั่งรู้ว่า ทุกขสมุทัย เป็นสภาพที่ละได้แล้ว จัดเป็นกตญาณ ฯ
๖. ญาณ ๓ ที่เป็นไปในทุกขสัจ มีอธิบายอย่างไร ? (๒๕๕๕)
ตอบ มีอธิบายว่า
๑. ปรีชาหยั่งรู้ว่า นี้ทุกขสัจ จัดเป็นสัจจญาณ
๒. ปรีชาหยั่งรู้ว่า นี้ทุกขสัจเป็นสภาพที่ควรกำหนดรู้ จัดเป็นกิจจญาณ
๓. ปรีชาหยั่งรู้ว่า นี้ทุกขสัจที่ควรกำหนดรู้ ได้กำหนดรู้แล้ว จัดเป็นกตญาณ ฯ
๑๒ { ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นโท วัดอนุกูลพัชรสิงหศักดาราม จังหวัดตาก
ปาฏิหาริย์ ๓
๑. ปาฏิหาริย์คืออะไร ? พระพุทธเจ้าทรงยกย่องปาฏิหาริย์อะไรว่าเป็นอัศจรรย์ยิ่งกว่าปาฏิหาริย์อื่น ?
(๒๕๔๔, ๒๕๖๒)
ตอบ คือ การกระทำที่ให้บังเกิดผลเป็นอัศจรรย์ ฯ
ทรงยกย่องอนุสาสนีปาฏิหาริย์ว่าเป็นอัศจรรย์ยิ่งกว่าปาฏิหาริย์อื่น ฯ
๒. ปาฏิหาริย์มีอะไรบ้าง ? ทำไมจึงยกย่องอนุสาสนีปาฏิหาริย์ว่าอัศจรรย์ ? (๒๕๖๐)
ตอบ มี ๑. อิทธิปาฏิหาริย์ ฤทธิ์เป็นอัศจรรย์
๒. อาเทสนาปาฏิหาริย์ รู้ใจเป็นอัศจรรย์
๓. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ คำสอนเป็นอัศจรรย์ ฯ
เพราะอาจจูงใจผู้ฟังให้เห็นคล้อยตาม ละความชั่วทำความดี ตั้งแต่ขั้นต่ำ คือการถึงสรณะและ
รักษาศีล ตลอดถึงขั้นสูงคือมรรคผลนิพพานได้ ฯ
๓. ปาฏิหาริย์ ๓ มีอะไรบ้าง ? อย่างไหนเป็นอัศจรรย์ที่สุด ? (๒๕๕๑)
ตอบ มี อิทธิปาฏิหาริย์ ฤทธิ์เป็นอัศจรรย์
อาเทสนาปาฏิหาริย์ ดักใจเป็นอัศจรรย์
อนุสาสนีปาฏิหาริย์ คำสอนเป็นอัศจรรย์ ฯ
อนุสาสนีปาฏิหาริย์ เป็นอัศจรรย์ที่สุด ฯ
ปิฎก ๓
๑. ปิฎก ๓ ได้แก่อะไร ? แต่ละปิฎก ว่าด้วยเรื่องอะไร ? (๒๕๕๒)
ตอบ ได้แก่ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก ฯ
พระวินัยปิฎก ว่าด้วยเรื่องฎกระเบียบข้อบังคับที่นำความประพฤติให้สม่ำเสมอกัน หรือ
เป็นเรื่องบริหารคณะ
พระสุตตันตปิฎก ว่าด้วยคำสอนยกบุคคลเป็นที่ตั้ง
พระอภิธรรมปิฎก ว่าด้วยคำสอนยกธรรมล้วน ๆ ไม่เจือด้วยสัตว์หรือบุคคลเป็นที่ตั้ง ฯ
พุทธจริยา ๓
๑. โลกัตถจริยา ที่พระพุทธองค์ทรงประพฤติเป็นประโยชน์แก่โลกนั้น มีอธิบายอย่างไร ? (๒๕๕๘)
ตอบ มีอธิบายว่า ทรงประพฤติเป็นประโยชน์แก่มหาชนที่นับว่าสัตว์โลกทั่วไป เช่น ทรงแผ่พระญาณ
ตรวจดูสัตว์โลกทุกเช้าค่ำ ผู้ใดปรากฏในข่ายพระญาณ เสด็จไปโปรดผู้นั้น สรุปคือ ทรงสงเคราะห์คน
ทั้งหลายโดยฐานเป็นเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ฯ
วัดอนุกูลพัชรสิงหศักดาราม จังหวัดตาก ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นโท } ๑๓
๒. พระพุทธเจ้าทรงประพฤติประโยชน์โดยฐานเป็นพระพุทธเจ้าที่เรียกว่า พุทธัตถจริยา คือทรงประพฤติ
อย่างไร ? (๒๕๔๘)
ตอบ ทรงทำหน้าที่ของพระพุทธเจ้า คือได้ทรงแสดงธรรมประกาศพระศาสนาให้บริษัททั้งคฤหัสถ์และ
บรรพชิตรู้ทั่วถึงธรรมตามภูมิชั้น และทรงบัญญัติสิกขาบท อันเป็นอาทิพรหมจรรย์และอภิสมาจาร ฯ
๓. พุทธจริยาและพุทธิจริต ต่างกันอย่างไร ? (๒๕๔๔)
ตอบ พุทธจริยา คือพระจริยาของพระพุทธเจ้า พุทธิจริต คือผู้มีความรู้เป็นปกติ ฯ
ภพ ๓
๑. ภพกับภูมิต่างกันอย่างไร ? มีอย่างละเท่าไร ? (๒๕๕๓)
ตอบ ภพ หมายถึงโลกเป็นที่อยู่ต่างชั้นแห่งหมู่สัตว์ มี ๓
ภูมิ หมายถึงภาวะอันประณีตขึ้นไปเป็นชั้น ๆ แห่งจิตและเจตสิก มี ๔ ฯ
วัฏฏะ ๓
๑. กิเลส กรรม วิบาก เรียกว่าวัฏฏะ เพราะเหตุไร ? จงอธิบาย (๒๕๕๑)
ตอบ เพราะวน คือหมุนเวียนกันไป อธิบายว่า กิเลสเกิดขึ้นแล้วให้ทำกรรม ครั้นทำกรรมแล้ว ย่อม
ได้รับวิบากแห่งกรรม เมื่อได้รับวิบาก กิเลสก็เกิดขึ้นอีก วนกันไปอย่างนี้ ฯ
๒. กิเลส กรรม วิบาก ได้ชื่อว่า วัฏฏะ เพราะเหตุไร ? จะตัดให้ขาดได้ด้วยอะไร ? (๒๕๕๗)
ตอบ เพราะหมุนเวียนกันไป คือ กิเลสเกิดขึ้นแล้วเป็นเหตุให้ทำกรรม ครั้นทำกรรมแล้ว ย่อมได้รับ
วิบากแห่งกรรม เมื่อได้รับวิบาก กิเลสเกิดขึ้นอีก วนกันไปอย่างนี้ ฯ
ด้วยอรหัตตมรรค ฯ
๓. กิเลส กรรม วิบาก ได้ชื่อว่า วัฏฏะ ที่แปลว่าความหมุนเวียน อยากทราบว่าหมุนเวียน อย่างไร ?
(๒๕๖๓)
ตอบ อย่างนี้ คือ กิเลสเกิดขึ้นแล้วเป็นเหตุให้ทํากรรม ครั้นทํากรรมแล้ว ย่อมได้รับวิบากแห่งกรรม
เมื่อได้รับวิบาก กิเลสเกิดขึ้นอีก วนกันไปอย่างนี้ ฯ
๔. ไตรวัฏฏะ อันได้แก่ กิเลสวัฏฏะ กัมมวัฏฏะ วิปากวัฏฏะ มีสภาพ เกี่ยวเนื่องวนกันไปอย่างไร ? ตัด
ให้ขาดได้ด้วยอะไร ? (๒๕๕๔)
ตอบ อย่างนี้ คือกิเลสเกิดขึ้นแล้วให้ทำกรรม ครั้นทำกรรมแล้ว ย่อมได้รับวิบากแห่งกรรม เมื่อ
ได้รับวิบาก กิเลสก็เกิดขึ้นอีก วนกันไปอย่างนี้ ฯ
ได้ด้วยอรหัตตมรรคญาณ ฯ
๑๔ { ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นโท วัดอนุกูลพัชรสิงหศักดาราม จังหวัดตาก
วิชชา ๓
๑. อาสวักขยญาณ รู้จักทำอาสวะให้สิ้น มีอธิบายอย่างไร ? (๒๕๕๒)
ตอบ มีอธิบายอย่างนี้ รู้ชัดตามจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
เหล่านี้อาสวะ นี้เหตุเกิดอาสวะ นี้ความดับอาสวะ นี้ทางไปถึงความดับอาสวะ เมื่อรู้เห็นอย่างนี้ จิต
พ้นแล้ว จากกามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ ฯ
วิโมกข์ ๓
๑. วิโมกข์ คืออะไร ? มีอะไรบ้าง ? (๒๕๕๐)
ตอบ คือ ความพ้นจากกิเลส ฯ
มีสุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์ ฯ
วิเวก ๓
๑. วิเวก ๓ คืออะไรบ้าง ? จงอธิบายแต่ละอย่างพอเข้าใจ (๒๕๕๘)
ตอบ คือ กายวิเวก สงัดกาย ได้แก่อยู่ในที่สงัด จิตตวิเวก สงัดจิต ได้แก่ทำจิตให้สงบด้วยสมถภาวนา
อุปธิวิเวก สงัดกิเลส ได้แก่ทำใจให้บริสุทธิ์จากกิเลสด้วยวิปัสสนาภาวนา ฯ
สังขาร ๓
๑. ในสังขาร ๓ อะไรชื่อว่ากายสังขารและวจีสังขาร ? เพราะเหตุไรจึงได้ชื่ออย่างนั้น ? (๒๕๕๘)
ตอบ ลมอัสสาสะปัสสาสะ ได้ชื่อว่า กายสังขาร เพราะปรนปรือกายให้เป็นอยู่วิตกกับวิจาร ได้ชื่อว่า
วจีสังขาร เพราะตริแล้วตรองแล้วจึงพูด ไม่เช่นนั้นวาจานั้นจักไม่เป็นภาษา ฯ
โสดาบัน ๓
๑. คำว่า “โสดาบัน” แปลว่าอะไร ? พระอริยบุคคลชั้นโสดาบันนี้ ท่านละกิเลสอะไรได้ขาดบ้าง ? (๒๕๔๖)
ตอบ โสดาบัน แปลว่า ผู้แรกถึงกระแสพระนิพพาน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา จะต้องตรัสรู้ใน
ภายภาคหน้า ฯ
ท่านละสังโยชน์ได้ขาด ๓ อย่าง คือ ๑. สักกายทิฏฐิ ๒. วิจิกิจฉา ๓. สีลัพพตปรามาส ฯ
๒. คำว่า “โสดาบัน” แปลว่าอะไร ? ผู้บรรลุโสดาบันนั้น ละสังโยชน์อะไรได้เด็ดขาด ? (๒๕๕๙)
ตอบ โสดาบัน แปลว่า ผู้แรกถึงกระแสพระนิพพาน ฯ
ท่านละสังโยชน์ได้เด็ดขาด ๓ อย่าง คือ
๑. สกักายทฏิฐิ
๒. วิจกิจิฉา
๓. สีลัพพตปรามาส ฯ
วัดอนุกูลพัชรสิงหศักดาราม จังหวัดตาก ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นโท } ๑๕
๓. คำว่า พระโสดาบัน และสัตตักขัตตุปรมะ มีอธิบายอย่างไร ? (๒๕๕๑)
ตอบ พระโสดาบัน คือพระอริยบุคคลผู้ได้บรรลุอริยผลขั้นแรก
สัตตักขัตตุปรมะ คือพระโสดาบันผู้จะเกิดอีก ๗ ชาติเป็นอย่างยิ่ง ฯ
จตุกกะ หมวด ๔
อบาย ๔
๑. อบาย ได้แก่อะไร ? มีอะไรบ้าง ? (๒๕๕๑)
ตอบ ได้แก่ ภูมิ กำเนิดหรือพวก อันหาความเจริญมิได้ ฯ
มี นิรยะ คือนรก
ติรัจฉานโยนิ คือกำเนิดดิรัจฉาน
ปิตติวิสัย คือภูมิแห่งเปรต
อสุรกาย คือพวกอสุระ ฯ
๒. อาหารของสัตว์นรกและเปรต คืออะไร ? คนจำพวกไหนเปรียบเหมือนอสุรกาย ในอบาย ๔ ? (๒๕๔๕)
ตอบ อาหารของสัตว์นรกคือกรรม ส่วนของเปรตคือกรรมและผลทานที่ญาติมิตรทำบุญอุทิศให้ ฯ
คนลอบทำโจรกรรม หลอกลวงฉกชิงเอาทรัพย์ของผู้อื่น เปรียบเหมือนอสุรกาย ฯ
อปัสเสนธรรม ๔
๑. ในอปัสเสนธรรม ข้อว่า “พิจารณาแล้วเสพของอย่างหนึ่ง” คำว่า “ของอย่างหนึ่ง” ในข้อนี้ได้แก่
อะไร ? ผู้พิจารณาตามนั้น ได้ประโยชน์อย่างไร ? (๒๕๔๖)
ตอบ ได้แก่ ปัจจัย ๔ บุคคลและธรรม เป็นต้น ที่ทำให้เกิดความสบาย ฯ
ได้ประโยชน์อย่างนี้ คือ ทำกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ทำกุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญยิ่งขึ้น ทำ
กิเลสและอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้เสื่อมไป ฯ
๒. อปัสเสนธรรม (ธรรมเป็นที่พิง) ข้อที่ ๒ ว่าพิจารณาแล้วอดกลั้นของ อย่างหนึ่ง นั้นมีอธิบายอย่างไร ?
(๒๕๕๕)
ตอบ มีอธิบายว่า อดกลั้นอารมณ์อันไม่เป็นที่เจริญใจ ต่างโดยหนาว ร้อน หิว กระหาย ถ้อยคำ
เสียดแทง และทุกขเวทนาอันแรงกล้า ฯ
๓. อปัสเสนธรรมข้อว่า “พิจารณาแล้วบรรเทาของอย่างหนึ่ง” ของอย่างหนึ่งนั้น คืออะไร ? (๒๕๕๘)
ตอบ คือ อกุศลวิตกอันสัมปยุตด้วยกาม พยาบาท วิหิงสา ฯ
๑๖ { ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นโท วัดอนุกูลพัชรสิงหศักดาราม จังหวัดตาก
อัปปมัญญา ๔
๑. เมตตา มีความหมายว่าอย่างไร ? เมตตาในพรหมวิหาร และในอัปปมัญญา ต่างกันอย่างไร ? (๒๕๖๑)
ตอบ มีความหมายว่า ปรารถนาความสุขความเจริญต่อผู้อื่นด้วยความจริงใจ ฯ
ต่างกันโดยวิธีแผ่ คือ
แผ่โดยเจาะจงก็ดี โดยไม่เจาะจงก็ดี จัดเป็นพรหมวิหาร
ถ้าแผ่โดยไม่เจาะจงไม่จำกัด จัดเป็นอัปปมัญญา ฯ
๒. เมตตา กับ ปรานี มีความหมายต่างกันหรือเหมือนกันอย่างไร ? และอย่างไหน กำจัดวิตกอะไร ?
(๒๕๕๔)
ตอบ เมตตา หมายถึงความรักใคร่หรือความหวังดี
ปรานี หมายถึงความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นจากความทุกข์เข้าลักษณะแห่งกรุณา ฯ
เมตตา กำจัดพยาบาทวิตก
ปรานี กำจัดวิหิงสาวิตก ฯ
๓. การแผ่เมตตาในพรหมวิหารกับในอัปปมัญญา ต่างกันอย่างไร ? (๒๕๕๗)
ตอบ ในพรหมวิหาร เป็นการแผ่เมตตาโดยเจาะจงตัว หรือเจาะจงหมู่คณะ
ส่วนในอัปปมัญญา เป็นการแผ่เมตตาโดยไม่เจาะจงตัวไม่มีจำกัด ฯ
๔. พรหมวิหารกับอัปปมัญญา ต่างกันอย่างไร ? อย่างไหนเป็นปฏิปทาโดยตรงของภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ?
(๒๕๔๙)
ตอบ ต่างกันโดยวิธีแผ่ คือแผ่โดยเจาะจงตัวก็ดี โดยไม่เจาะจงตัวก็ดี แต่ยังจำกัดหมู่นั้นหมู่นี้จัดเป็น
พรหมวิหาร ถ้าแผ่โดยไม่เจาะจงไม่จำกัด จัดเป็นอัปปมัญญา ฯ
อัปปมัญญาเป็นปฏิปทาของภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ฯ
พระอริยบุคคล ๔
๑. พระอริยบุคคล ๔ ได้แก่ใครบ้าง ? พระอริยบุคคลประเภทใด ละอวิชชาได้เด็ดขาด ? (๒๕๖๓)
ตอบ ได้แก่ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ ฯ
พระอรหันต์ละอวิชชาได้เด็ดขาด ฯ
๒. พระอริยบุคคล ๔ ได้แก่ใครบ้าง ? พระโสดาบันละสังโยชน์อะไรได้บ้าง ? (๒๕๕๐)
ตอบ ได้แก่พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ ฯ
พระโสดาบันละสังโยชน์ได้ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ฯ
วัดอนุกูลพัชรสิงหศักดาราม จังหวัดตาก ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นโท } ๑๗
อริยวงศ์ ๔
๑. อริยวงศ์ คืออะไร ? มีกี่อย่าง ? ข้อที่ ๔ ว่าอย่างไร ? (๒๕๕๕)
ตอบ คือ ปฏิปทาของพระอริยบุคคลผู้เป็นสมณะ ฯ
มี ๔ อย่าง ฯ
ข้อที่ ๔ ว่า ยินดีในการเจริญกุศลและในการละอกุศล ฯ
๒. ภิกษุผู้ได้รับการสรรเสริญว่าดำรงอยู่ในอริยวงศ์ เพราะเป็นผู้ปฏิบัติอย่างไร ? เมื่อดำรงอยู่ในอริยวงศ์
ถูกต้องดีแล้วจะได้รับผลอย่างไร ? (๒๕๔๗)
ตอบ เพราะเป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะตามมีตามได้ และยินดีในการเจริญกุศลและ
ในการละอกุศล ไม่ยกตนข่มผู้อื่น ขยัน ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติ ฯ
ย่อมได้รับผลคือความสุขใจและปลอดโปร่งใจ เพราะความประพฤติดีปฏิบัติชอบของตน และไม่
ต้องเดือดร้อนใจเพราะความเดือดร้อน เนื่องด้วยการแสวงหาไม่สมควรและประพฤติเสียหายโดย
ประการต่าง ๆ ย่อมครอบงำความยินดีและความไม่ยินดีเสียได้ ความยินดีและความไม่ยินดีก็ไม่อาจ
ครอบงำท่านได้ และใคร ๆ ก็ไม่อาจติเตียนท่านได้ ฯ
๓. ปฏิปทาของพระอริยบุคคลผู้เป็นสมณะ เรียกว่าอะไร ? มีอะไรบ้าง ? (๒๕๖๒)
ตอบ เรียกว่า อริยวงศ์ ฯ
มี ๔ คือ ๑. สันโดษด้วยจีวรตามมีตามเกิด
๒. สันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามเกิด
๓. สันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามเกิด
๔. ยินดีในการเจริญกุศลและในการละอกุศลฯ
อุปาทาน ๔
๑. อุปาทาน คืออะไร ? การถือเราถือเขาด้วยอำนาจมานะ จนเป็นเหตุถือพวก จัดเป็นอุปาทานอะไร
ในอุปาทาน ๔ ? (๒๕๕๘, ๒๕๖๔)
ตอบ คือ การถือมั่นข้างเลว ได้แก่ถือรั้น ฯ
จัดเป็นอัตตวาทุปาทาน ฯ
๒. ทิฏฐุปาทานและสีลัพพตุปาทาน คืออะไร ? (๒๕๔๘)
ตอบ ทิฏฐุปาทาน คือถือมั่นความเห็นผิดด้วยอำนาจหัวดื้อ จนเป็นเหตุเถียงกัน ทะเลาะกัน
สีลัพพตุปาทาน คือถือมั่นธรรมเนียมที่เคยประพฤติมาจนชิน ด้วยอำนาจความเชื่อว่าขลัง จน
เป็นเหตุหัวดื้องมงาย ฯ
๑๘ { ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นโท วัดอนุกูลพัชรสิงหศักดาราม จังหวัดตาก
โอฆะ ๔
๑. กิเลส ชื่อว่าโอฆะ โยคะ และอาสวะ เพราะเหตุไร ? (๒๕๕๗)
ตอบ ชื่อว่าโอฆะ เพราะดุจเป็นกระแสน้ำอันท่วมใจสัตว์
ชื่อว่าโยคะ เพราะประกอบสัตว์ไว้ในภพ
ชื่อว่าอาสวะ เพราะเป็นสภาพหมักหมมอยู่ในสันดาน ฯ
๒. ทิฏฐิ ความเห็นผิด ท่านเรียกว่า โอฆะ โยคะ อาสวะ เพราะเหตุใด ? (๒๕๖๐)
ตอบ เรียกว่าโอฆะ เพราะเป็นดุจกระแสน้ำอันท่วมใจสัตว์
เรียกว่าโยคะ เพราะประกอบสัตว์ไว้ในภพ
เรียกว่าอาสวะ เพราะเป็นสภาพหมักหมมอยู่ในกระแสจิต ฯ
๓. กาม ภพ ทิฏฐิ และอวิชชา ได้ชื่อว่า โอฆะ โยคะ และอาสวะ เพราะเหตุไร ? (๒๕๕๓)
ตอบ ได้ชื่อว่าโอฆะ เพราะเป็นดุจกระแสน้ำอันท่วมใจสัตว์
ได้ชื่อว่าโยคะ เพราะประกอบสัตว์ไว้ในภพ
ได้ชื่อว่าอาสวะ เพราะเป็นสภาพหมักหมมอยู่ในสันดาน ฯ
๔. กาม ภพ ทิฏฐิ อวิชชา เพราะเหตุไรจึงเรียกว่า โอฆะ โยคะ อาสวะ ? (๒๕๔๔)
ตอบ เรียกว่า โอฆะ เพราะเป็นดุจกระแสน้ำอันท่วมใจสัตว์ เรียกว่า โยคะ เพราะประกอบสัตว์ไว้ใน
ภพ เรียกว่า อาสวะ เพราะเป็นสภาพหมักหมมอยู่ในสันดาน
อริยสัจ ๔
๑. กิจในอริยสัจ ๔ มีอะไรบ้าง ? (๒๕๖๒)
ตอบ มี ๑. ปริญญา กำหนดรู้ทุกขสัจ
๒. ปหานะ ละสมุทัยสัจ
๓. สัจฉิกรณะ ทำให้แจ้งนิโรธสัจ
๔. ภาวนา ทำมัคคสัจให้เกิด ฯ
๒. กิจในอริยสัจแต่ละอย่างนั้นมีอะไรบ้าง ? (๒๕๔๔)
ตอบ มี ๔ คือ
๑. ปริญญา กำหนดรู้ทุกขสัจ
๒. ปหานะ ละสมุทัยสัจ
๓. สัจฉิกรณะ ทำให้แจ้งนิโรธสัจ
๔. ภาวนา ทำมัคคสัจให้เกิด ฯ
วัดอนุกูลพัชรสิงหศักดาราม จังหวัดตาก ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นโท } ๑๙
ทักขิณาวิสุทธิ ๔
๑. ทักขิณาวิสุทธิ มีอะไรบ้าง ? อย่างไหนให้อานิสงส์มากที่สุด ? (๒๕๕๖)
ตอบ ทักขิณาบางอย่าง บริสุทธิ์ฝ่ายทายก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก
ทักขิณาบางอย่าง บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก
ทักขิณาบางอย่าง ไม่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายก ทั้งฝ่ายปฏิคาหก
ทักขิณาบางอย่าง บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายก ทั้งฝ่ายปฏิคาหก ฯ
อย่างที่ ๔ คือทักขิณาที่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายก ทั้งฝ่ายปฏิคาหก ฯ
๒. ทักขิณา คืออะไร ? ทักขิณานั้น จะบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์ มีอะไรเป็นเครื่องหมาย ? (๒๕๔๙)
ตอบ คือ ของทำบุญ ฯ
มีกัลยาณธรรมของทายก หรือปฏิคาหกฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เป็นเครื่องหมายให้รู้ว่าบริสุทธิ์ และมี
ความเป็นผู้ทุศีลและอธรรม ของทายกหรือปฏิคาหกฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นเครื่องหมายให้รู้ว่าไม่บริสุทธิ์ ฯ
๓. ทักขิณา คืออะไร ? ทักขิณานั้น จะบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์ในฝ่ายทายก และในฝ่ายปฏิคาหกนั้น มี
อะไรเป็นเครื่องหมาย ? (๒๕๕๔)
ตอบ คือ ของทำบุญ ฯ
ทักขิณาจะบริสุทธิ์ มีศีลมีกัลยาณธรรมเป็นเครื่องหมาย
ทักขิณาจะไม่บริสุทธิ์ มีทุศีลมีบาปธรรมเป็นเครื่องหมาย ฯ
๔. คำว่า ทักขิณา ในทักขิณาวิสุทธินั้น หมายถึงอะไร ? ทักขิณาจะไม่บริสุทธิ์และบริสุทธิ์ กำหนดรู้ได้
อย่างไร ? (๒๕๔๖)
ตอบ หมายถึงของทำบุญ ฯ
กำหนดรู้ได้อย่างนี้ ทั้งทายก ทั้งปฏิคาหกเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ ทักขิณานั้น ชื่อว่าไม่บริสุทธิ์ทั้งสอง
ฝ่าย ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งบริสุทธิ์ ชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายเดียว ทั้งสองฝ่ายบริสุทธิ์ ชื่อว่าบริสุทธิ์ทั้งสองฝ่าย ฯ
โยนิ ๔
๑. โยนิ คืออะไร ? มีอะไรบ้าง ? เทวดา และสัตว์นรก จัดอยู่ในโยนิไหน ? (๒๕๕๐)
ตอบ คือ กำเนิด ฯ
มีชลาพุชะ เกิดในครรภ์, อัณฑชะ เกิดในไข่, สังเสทชะ เกิดในเถ้าไคล, โอปปาติกะ เกิดผุด
ขึ้น ฯ
จัดอยู่ใน โอปปาติกะ ฯ
๒๐ { ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นโท วัดอนุกูลพัชรสิงหศักดาราม จังหวัดตาก
ปัญจกะ หมวด ๕
มัจฉริยะ ๕
๑. ธรรมมัจฉริยะ ความตระหนี่ธรรม มีอธิบายอย่างไร ? (๒๕๕๘)
ตอบ มีอธิบายว่า ความหวงธรรม หวงศิลปวิทยา ไม่ปรารถนาจะแสดงจะบอกแก่คนอื่น เกรงว่าเขา
จะรู้เทียมตน ฯ
๒. กุลมัจฉริยะ ตระหนี่ตระกูล คืออย่างไร ? (๒๕๔๕)
ตอบ คือ หวงแหนตระกูลไม่ยอมให้ตระกูลอื่นมาเกี่ยวดองด้วย ถ้าเป็นบรรพชิตก็หวงอุปัฏฐาก ไม่
พอใจให้ไปบำรุงภิกษุอื่น ฯ
๓. ครูสอนศิษย์ ปิดบังอำพรางความรู้ ไม่บอกให้สิ้นเชิง จัดเข้าในมัจฉริยะข้อไหน ? (๒๕๔๕)
ตอบ ธัมมมัจฉริยะ ฯ
มาร ๕
๑. มาร คืออะไร ? เฉพาะอภิสังขารมาร หมายถึงอะไร ? (๒๕๔๙)
ตอบ คือ สิ่งที่ล้างผลาญทำลายความดี ชักนำให้ทำบาปกรรม ปิดกั้นไม่ให้ทำความดี จนถึงปิดกั้นไม่ให้
เข้าใจสรรพสิ่งตามความเป็นจริง ฯ
หมายถึงอกุศลกรรม ฯ
๒. มาร มีอะไรบ้าง ? อกุศลกรรมจัดเป็นมารประเภทใด ? (๒๕๕๒)
ตอบ มีดังนี้
๑. ขันธมาร มารคือปัญจขันธ์
๒. กิเลสมาร มารคือกิเลส
๓. อภิสังขารมาร มารคืออภิสังขาร
๔. มัจจุมาร มารคือมรณะ
๕. เทวปุตตมาร มารคือเทวบุตร ฯ
อกุศลกรรมเป็นมารประเภทอภิสังขารมาร ฯ
๓. มาร ๕ คืออะไรบ้าง ? ปัญจขันธ์ ได้ชื่อว่าเป็นมารเพราะเหตุไร ? (๒๕๖๓)
ตอบ คือ ขันธมาร กิเลสมาร อภิสังขารมาร มัจจุมาร และเทวปุตตมาร ฯ
เพราะปัญจขันธ์นั้น บางทีทําความลําบากให้ อันเป็นเหตุเบื่อหน่าย จนถึงฆ่าตัวตายเสียเองก็มี ฯ
วัดอนุกูลพัชรสิงหศักดาราม จังหวัดตาก ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นโท } ๒๑
๔. มาร ๕ คืออะไรบ้าง ? กิเลสได้ชื่อว่ามารเพราะเหตุไร ? (๒๕๖๑)
ตอบ คือ ปัญจขันธ์ กิเลส อภิสังขาร มรณะ และเทวบุตร ฯ
ได้ชื่อว่ามาร เพราะผู้ที่ตกอยู่ในอำนาจแห่งกิเลสแล้ว กิเลสย่อมผูกรัดไว้บ้าง ย่อมทำให้เสียคน
บ้าง ฯ
๕. ปัญจขันธ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเป็นมาร มีอธิบายว่าอย่างไร ? (๒๕๖๐)
ตอบ มีอธิบายว่า ปัญจขันธ์นั้น บางทีทำความลำบาก บางทีทำให้เกิดความเบื่อหน่าย จนถึงฆ่าตัว
ตายก็มี ฯ
๖. ปัญจขันธ์ ได้ชื่อว่ามาร เพราะเหตุไร ? (๒๕๕๕)
ตอบ เพราะบางทีทำความลำบากให้ อันเป็นเหตุเบื่อหน่าย จนถึงฆ่าตัวตายเสียเองก็มี ฯ
๗. ปัญจขันธ์ ได้ชื่อว่ามาร เพราะเหตุไร ? กิเลสมารและมัจจุมาร จัดเข้าในอริยสัจข้อใดได้หรือไม่ ?
เพราะเหตุไร ? (๒๕๔๖)
ตอบ เพราะบางทีทำความลำบากให้ อันเป็นเหตุเบื่อหน่าย จนถึงฆ่าตัวตายเสียเองก็มี ฯ
ได้ ฯ
กิเลสมาร จัดเข้าในทุกขสมุทัยสัจ เพราะกิเลสเป็นเหตุให้เกิดทุกข์
มัจจุมาร จัดเข้าในทุกขสัจ เพราะเป็นตัวทุกข์ ฯ
๘. มัจจุมารได้แก่อะไร ? ได้ชื่อว่าเป็นมารเพราะเหตุไร ? (๒๕๔๘, ๒๕๕๙)
ตอบ ได้แก่ความตาย ฯ
ชื่อว่าเป็นมาร เพราะเมื่อความตายเกิดขึ้น บุคคลย่อมหมดโอกาสที่จะทำประโยชน์ใด ๆ อีก
ต่อไป ฯ
๙. กรรมฝ่ายอกุศลจัดเป็นมารอะไรในมาร ๕ ? เพราะเหตุไรจึงได้ชื่อว่ามาร ? (๒๕๔๔)
ตอบ จัดเป็นอภิสังขารมาร ฯ
ที่ได้ชื่อว่ามารเพราะทำให้เป็นผู้ทุรพล ฯ
๑๐. ในพระพุทธศาสนาพูดเรื่องมารไว้มาก อยากทราบว่า คำว่า มาร หมายถึงอะไร ? กิเลสได้ชื่อว่ามาร
เพราะเหตุไร ? (๒๕๕๖)
ตอบ หมายถึงสิ่งที่ล้างผลาญทำลายความดี ชักนำให้ทำบาปกรรม ปิดกั้นไม่ให้ทำความดี จนถึงปิด
กั้น ไม่ให้เข้าใจสรรพสิ่งตามความเป็นจริง ฯ
เพราะผู้ที่ตกอยู่ในอำนาจของกิเลสแล้ว ย่อมจะถูกผูกมัดไว้บ้าง ถูกทำให้เสียคนบ้าง ฯ
๒๒ { ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นโท วัดอนุกูลพัชรสิงหศักดาราม จังหวัดตาก
วิญญาณ ๕
๑. วิญญาณกับสัญญา ทำหน้าที่ต่างกันอย่างไร ? (๒๕๔๗)
ตอบ ทำหน้าที่ต่างกันอย่างนี้ คือวิญญาณทำหน้าที่รู้แจ้งอารมณ์ที่เกิดขึ้น เมื่ออายตนะภายในและ
อายตนะภายนอกมากระทบกัน เช่น เมื่อรูปมากระทบตา เกิดการเห็นขึ้นเป็นต้น
ส่วนสัญญา ทำหน้าที่จำได้หมายรู้เท่านั้น คือหมายรู้ไว้ซึ่งรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และ
ธรรมารมณ์ ว่าเขียว ขาว ดำ แดง ดัง เบา เป็นต้น ฯ
๒. ชิวหาวิญญาณและกายวิญญาณ เกิดขึ้นได้เพราะอาศัยอะไรบ้าง ? (๒๕๕๘)
ตอบ ชิวหาวิญญาณเกิดขึ้น เพราะอาศัยลิ้นกับรส (กระทบกัน) และกายวิญญาณเกิดขึ้น เพราะ
อาศัยกายกับโผฏฐัพพะ (กระทบกัน) ฯ
วิมุตติ ๕
๑. ในวิมุตติ ๕ วิมุตติอย่างไหนเป็นโลกิยะ อย่างไหนเป็นโลกุตระ ? (๒๕๔๘, ๒๕๖๐)
ตอบ ตทังควิมุตติและวิกขัมภนวิมุตติ จัดเป็นโลกิยะ
ส่วนสมุจเฉทวิมุตติ ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ และนิสสรณวิมุตติ จัดเป็นโลกุตระ ฯ
๒. วิมุตติ ๒ กับ วิมุตติ ๕ จัดเป็นโลกิยะและโลกุตตระอย่างไร ? (๒๕๔๕)
ตอบ วิมุตติ ๒ เป็นโลกุตตระอย่างเดียว ส่วนวิมุตติ ๕ เป็นได้ทั้งโลกิยะและโลกุตตระ ฯ
เวทนา ๕
๑. ความรู้สึกเฉย ๆ ทางกาย กับความรู้สึกเฉย ๆ ทางใจ จัดเข้าในเวทนา ๕ อย่างไร ? (๒๕๕๗)
ตอบ ความรู้สึกเฉย ๆ ทางกาย จัดเป็นสุข
ความรู้สึกเฉย ๆ ทางใจ จัดเป็นอุเบกขา ฯ
๒. เวทนา ๓ และเวทนา ๕ ได้แก่อะไรบ้าง ? จัดกลุ่มเทียบกันได้อย่างไร ? (๒๕๕๐)
ตอบ เวทนา ๓ ได้แก่สุข ทุกข์ เฉย ๆ คือไม่สุขไม่ทุกข์
ส่วนเวทนา ๕ ได้แก่สุข โสมนัส ทุกข์ โทมนัส อุเบกขา ฯ
ในเวทนา ๓ สุข คือสุขกายและสุขใจ ซึ่งในเวทนา ๕ สุขกายก็คือสุข และสุขใจก็คือโสมนัส
ในเวทนา ๓ ทุกข์ คือทุกข์กายและทุกข์ใจ ซึ่งในเวทนา ๕ ทุกข์กายก็คือทุกข์ และทุกข์ใจก็คือ
โทมนัส ส่วนในเวทนา ๓ เฉย ๆ คือไม่สุขไม่ทุกข์ ในเวทนา ๕ ก็คืออุเบกขานั่นเอง ฯ
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf

More Related Content

What's hot

หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่
หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่
หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่Theeraphisith Candasaro
 
ปกิณณะวินัยที่ภิกษุควรรู้
ปกิณณะวินัยที่ภิกษุควรรู้ปกิณณะวินัยที่ภิกษุควรรู้
ปกิณณะวินัยที่ภิกษุควรรู้Kiat Chaloemkiat
 
ชีวิตและผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์
ชีวิตและผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์ชีวิตและผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์
ชีวิตและผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์Padvee Academy
 
ปริศนาธรรมในพุทธปรัชญา
ปริศนาธรรมในพุทธปรัชญาปริศนาธรรมในพุทธปรัชญา
ปริศนาธรรมในพุทธปรัชญาpentanino
 
บทที่ 7 สมถกัมมัฏฐาน
บทที่ 7 สมถกัมมัฏฐานบทที่ 7 สมถกัมมัฏฐาน
บทที่ 7 สมถกัมมัฏฐานOnpa Akaradech
 
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นโท
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นโทกระทู้ ธรรมศึกษาชั้นโท
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นโทTheeraphisith Candasaro
 
พุทธศาสนามหายาน นิกายสุขาวดี | Pure Land Buddhism
พุทธศาสนามหายาน นิกายสุขาวดี | Pure Land Buddhismพุทธศาสนามหายาน นิกายสุขาวดี | Pure Land Buddhism
พุทธศาสนามหายาน นิกายสุขาวดี | Pure Land BuddhismPadvee Academy
 
สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus of The True Law)
สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus of The True Law)สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus of The True Law)
สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus of The True Law)Padvee Academy
 
โครงสร้างและเนื้อหาสาระพระไตรปิฎก
โครงสร้างและเนื้อหาสาระพระไตรปิฎกโครงสร้างและเนื้อหาสาระพระไตรปิฎก
โครงสร้างและเนื้อหาสาระพระไตรปิฎกAnchalee BuddhaBucha
 
รายวิชา 000250 พระอภิธรรมปิฎก ชุดที่ 2 (แนวข้อสอบ)
รายวิชา  000250  พระอภิธรรมปิฎก  ชุดที่  2 (แนวข้อสอบ)รายวิชา  000250  พระอภิธรรมปิฎก  ชุดที่  2 (แนวข้อสอบ)
รายวิชา 000250 พระอภิธรรมปิฎก ชุดที่ 2 (แนวข้อสอบ)วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
บทสวดมนต์แปลภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 7 บทสำหรับแข่งทักษะ
บทสวดมนต์แปลภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 7 บทสำหรับแข่งทักษะบทสวดมนต์แปลภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 7 บทสำหรับแข่งทักษะ
บทสวดมนต์แปลภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 7 บทสำหรับแข่งทักษะอุษณีษ์ ศรีสม
 

What's hot (20)

หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่
หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่
หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่
 
สรุปนักธรรมโท _V.2565.pdf
สรุปนักธรรมโท _V.2565.pdfสรุปนักธรรมโท _V.2565.pdf
สรุปนักธรรมโท _V.2565.pdf
 
ปกิณณะวินัยที่ภิกษุควรรู้
ปกิณณะวินัยที่ภิกษุควรรู้ปกิณณะวินัยที่ภิกษุควรรู้
ปกิณณะวินัยที่ภิกษุควรรู้
 
ปฏิจจสมุปบาท
ปฏิจจสมุปบาท ปฏิจจสมุปบาท
ปฏิจจสมุปบาท
 
ชีวิตและผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์
ชีวิตและผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์ชีวิตและผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์
ชีวิตและผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์
 
ปริศนาธรรมในพุทธปรัชญา
ปริศนาธรรมในพุทธปรัชญาปริศนาธรรมในพุทธปรัชญา
ปริศนาธรรมในพุทธปรัชญา
 
ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นตรี พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdfประมวลปัญหาและเฉลย  นักธรรมชั้นตรี  พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นตรี พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf
 
บทที่ 7 สมถกัมมัฏฐาน
บทที่ 7 สมถกัมมัฏฐานบทที่ 7 สมถกัมมัฏฐาน
บทที่ 7 สมถกัมมัฏฐาน
 
สรุปนักธรรมตรี_V2565.pdf
สรุปนักธรรมตรี_V2565.pdfสรุปนักธรรมตรี_V2565.pdf
สรุปนักธรรมตรี_V2565.pdf
 
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นโท
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นโทกระทู้ ธรรมศึกษาชั้นโท
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นโท
 
บทสวดมนต์
บทสวดมนต์บทสวดมนต์
บทสวดมนต์
 
พุทธศาสนามหายาน นิกายสุขาวดี | Pure Land Buddhism
พุทธศาสนามหายาน นิกายสุขาวดี | Pure Land Buddhismพุทธศาสนามหายาน นิกายสุขาวดี | Pure Land Buddhism
พุทธศาสนามหายาน นิกายสุขาวดี | Pure Land Buddhism
 
ถาม ตอบอภิธรรมปิฎก
ถาม ตอบอภิธรรมปิฎกถาม ตอบอภิธรรมปิฎก
ถาม ตอบอภิธรรมปิฎก
 
สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus of The True Law)
สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus of The True Law)สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus of The True Law)
สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus of The True Law)
 
โครงสร้างและเนื้อหาสาระพระไตรปิฎก
โครงสร้างและเนื้อหาสาระพระไตรปิฎกโครงสร้างและเนื้อหาสาระพระไตรปิฎก
โครงสร้างและเนื้อหาสาระพระไตรปิฎก
 
รายวิชา 000250 พระอภิธรรมปิฎก ชุดที่ 2 (แนวข้อสอบ)
รายวิชา  000250  พระอภิธรรมปิฎก  ชุดที่  2 (แนวข้อสอบ)รายวิชา  000250  พระอภิธรรมปิฎก  ชุดที่  2 (แนวข้อสอบ)
รายวิชา 000250 พระอภิธรรมปิฎก ชุดที่ 2 (แนวข้อสอบ)
 
บาลีไวยากรณ์ ๔ สมาส
บาลีไวยากรณ์ ๔ สมาส บาลีไวยากรณ์ ๔ สมาส
บาลีไวยากรณ์ ๔ สมาส
 
การปกครองคณะสงฆ์
การปกครองคณะสงฆ์การปกครองคณะสงฆ์
การปกครองคณะสงฆ์
 
บทสวดมนต์แปลภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 7 บทสำหรับแข่งทักษะ
บทสวดมนต์แปลภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 7 บทสำหรับแข่งทักษะบทสวดมนต์แปลภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 7 บทสำหรับแข่งทักษะ
บทสวดมนต์แปลภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 7 บทสำหรับแข่งทักษะ
 
แปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี
แปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลีแปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี
แปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี
 

Similar to ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf

๐๕ โธตกปัญหา.pdf
๐๕ โธตกปัญหา.pdf๐๕ โธตกปัญหา.pdf
๐๕ โธตกปัญหา.pdfmaruay songtanin
 
แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นตรี ปี 2563
แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นตรี ปี 2563แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นตรี ปี 2563
แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นตรี ปี 2563Theeraphisith Candasaro
 
Blc 40หัวข้อเรื่องธรรมะบทเทศน์สอนใช้บ่อย
Blc 40หัวข้อเรื่องธรรมะบทเทศน์สอนใช้บ่อยBlc 40หัวข้อเรื่องธรรมะบทเทศน์สอนใช้บ่อย
Blc 40หัวข้อเรื่องธรรมะบทเทศน์สอนใช้บ่อยblcdhamma
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๑
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๑บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๑
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๑วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
หลักการหรือคำสอนแห่งพระพุทธศาสนา
หลักการหรือคำสอนแห่งพระพุทธศาสนาหลักการหรือคำสอนแห่งพระพุทธศาสนา
หลักการหรือคำสอนแห่งพระพุทธศาสนาNew Nan
 
อนุพุทธประวัติ เจาะลึก
อนุพุทธประวัติ  เจาะลึกอนุพุทธประวัติ  เจาะลึก
อนุพุทธประวัติ เจาะลึกWataustin Austin
 
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ariyavinaya10th
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10  ariyavinaya10th1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10  ariyavinaya10th
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ariyavinaya10thTongsamut vorasan
 
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ariyavinaya10th
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10  ariyavinaya10th1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10  ariyavinaya10th
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ariyavinaya10thTongsamut vorasan
 
พุทธวิธีในการสอน พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต)
พุทธวิธีในการสอน พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต) พุทธวิธีในการสอน พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต)
พุทธวิธีในการสอน พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต) niralai
 
สิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้
สิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้สิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้
สิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้Tongsamut vorasan
 
สุภีร์ ทุมทอง สติปัฏฐาน ๔ เสันทางตรงสู่พระนิพพาน
สุภีร์ ทุมทอง   สติปัฏฐาน ๔ เสันทางตรงสู่พระนิพพาน สุภีร์ ทุมทอง   สติปัฏฐาน ๔ เสันทางตรงสู่พระนิพพาน
สุภีร์ ทุมทอง สติปัฏฐาน ๔ เสันทางตรงสู่พระนิพพาน Tongsamut vorasan
 
พุทธวิธีในการสอน(ศึกษาวิจัยจากพระไตรปิฎก)
พุทธวิธีในการสอน(ศึกษาวิจัยจากพระไตรปิฎก)พุทธวิธีในการสอน(ศึกษาวิจัยจากพระไตรปิฎก)
พุทธวิธีในการสอน(ศึกษาวิจัยจากพระไตรปิฎก)niralai
 
เอกสารประกอบการบรรยายวิชาพระไตรปิฎกวิเคราะห์ (ตอน ๑)(1)
เอกสารประกอบการบรรยายวิชาพระไตรปิฎกวิเคราะห์ (ตอน ๑)(1)เอกสารประกอบการบรรยายวิชาพระไตรปิฎกวิเคราะห์ (ตอน ๑)(1)
เอกสารประกอบการบรรยายวิชาพระไตรปิฎกวิเคราะห์ (ตอน ๑)(1)วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
Ebook ประตูสู่ชาดก
Ebook ประตูสู่ชาดกEbook ประตูสู่ชาดก
Ebook ประตูสู่ชาดกPanda Jing
 

Similar to ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf (20)

๐๕ โธตกปัญหา.pdf
๐๕ โธตกปัญหา.pdf๐๕ โธตกปัญหา.pdf
๐๕ โธตกปัญหา.pdf
 
แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นตรี ปี 2563
แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นตรี ปี 2563แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นตรี ปี 2563
แบบฝึกหัดนักธรรมชั้นตรี ปี 2563
 
Blc 40หัวข้อเรื่องธรรมะบทเทศน์สอนใช้บ่อย
Blc 40หัวข้อเรื่องธรรมะบทเทศน์สอนใช้บ่อยBlc 40หัวข้อเรื่องธรรมะบทเทศน์สอนใช้บ่อย
Blc 40หัวข้อเรื่องธรรมะบทเทศน์สอนใช้บ่อย
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๑
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๑บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๑
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๑
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
 
หลักการหรือคำสอนแห่งพระพุทธศาสนา
หลักการหรือคำสอนแห่งพระพุทธศาสนาหลักการหรือคำสอนแห่งพระพุทธศาสนา
หลักการหรือคำสอนแห่งพระพุทธศาสนา
 
อนุพุทธประวัติ เจาะลึก
อนุพุทธประวัติ  เจาะลึกอนุพุทธประวัติ  เจาะลึก
อนุพุทธประวัติ เจาะลึก
 
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ariyavinaya10th
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10  ariyavinaya10th1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10  ariyavinaya10th
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ariyavinaya10th
 
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ariyavinaya10th
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10  ariyavinaya10th1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10  ariyavinaya10th
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ariyavinaya10th
 
พุทธวิธีในการสอน พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต)
พุทธวิธีในการสอน พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต) พุทธวิธีในการสอน พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต)
พุทธวิธีในการสอน พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต)
 
ปัญหาและเฉลยบาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 ปี ๒๕๑๑-๒๕๖๑.pdf
ปัญหาและเฉลยบาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 ปี ๒๕๑๑-๒๕๖๑.pdfปัญหาและเฉลยบาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 ปี ๒๕๑๑-๒๕๖๑.pdf
ปัญหาและเฉลยบาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 ปี ๒๕๑๑-๒๕๖๑.pdf
 
สิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้
สิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้สิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้
สิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้
 
สุภีร์ ทุมทอง สติปัฏฐาน ๔ เสันทางตรงสู่พระนิพพาน
สุภีร์ ทุมทอง   สติปัฏฐาน ๔ เสันทางตรงสู่พระนิพพาน สุภีร์ ทุมทอง   สติปัฏฐาน ๔ เสันทางตรงสู่พระนิพพาน
สุภีร์ ทุมทอง สติปัฏฐาน ๔ เสันทางตรงสู่พระนิพพาน
 
พุทธวิธีในการสอน(ศึกษาวิจัยจากพระไตรปิฎก)
พุทธวิธีในการสอน(ศึกษาวิจัยจากพระไตรปิฎก)พุทธวิธีในการสอน(ศึกษาวิจัยจากพระไตรปิฎก)
พุทธวิธีในการสอน(ศึกษาวิจัยจากพระไตรปิฎก)
 
เอกสารประกอบการบรรยายวิชาพระไตรปิฎกวิเคราะห์ (ตอน ๑)(1)
เอกสารประกอบการบรรยายวิชาพระไตรปิฎกวิเคราะห์ (ตอน ๑)(1)เอกสารประกอบการบรรยายวิชาพระไตรปิฎกวิเคราะห์ (ตอน ๑)(1)
เอกสารประกอบการบรรยายวิชาพระไตรปิฎกวิเคราะห์ (ตอน ๑)(1)
 
Ebook ประตูสู่ชาดก
Ebook ประตูสู่ชาดกEbook ประตูสู่ชาดก
Ebook ประตูสู่ชาดก
 
เอกสารประกอบการเรียนเล่ม2
เอกสารประกอบการเรียนเล่ม2เอกสารประกอบการเรียนเล่ม2
เอกสารประกอบการเรียนเล่ม2
 
แนวข้อสอบของนิสิต (อภิธรรมปิฎก)
แนวข้อสอบของนิสิต (อภิธรรมปิฎก)แนวข้อสอบของนิสิต (อภิธรรมปิฎก)
แนวข้อสอบของนิสิต (อภิธรรมปิฎก)
 

More from สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)

More from สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral) (20)

ทำตัวกิริยาศัพท์ ตามขั้นตอน อย่างง่าย _ Step By Step _Pali Verb Building
ทำตัวกิริยาศัพท์ ตามขั้นตอน อย่างง่าย _ Step By Step _Pali Verb Buildingทำตัวกิริยาศัพท์ ตามขั้นตอน อย่างง่าย _ Step By Step _Pali Verb Building
ทำตัวกิริยาศัพท์ ตามขั้นตอน อย่างง่าย _ Step By Step _Pali Verb Building
 
ประโยคโบราณ ในพระธัมมปทัฏฐกถา _ _การใช้ภาษาบาลี.pdf
ประโยคโบราณ ในพระธัมมปทัฏฐกถา _ _การใช้ภาษาบาลี.pdfประโยคโบราณ ในพระธัมมปทัฏฐกถา _ _การใช้ภาษาบาลี.pdf
ประโยคโบราณ ในพระธัมมปทัฏฐกถา _ _การใช้ภาษาบาลี.pdf
 
ประโยคแบบ ในภาษาบาลี _ _การใช้ภาษาบาลี.pdf
ประโยคแบบ ในภาษาบาลี _ _การใช้ภาษาบาลี.pdfประโยคแบบ ในภาษาบาลี _ _การใช้ภาษาบาลี.pdf
ประโยคแบบ ในภาษาบาลี _ _การใช้ภาษาบาลี.pdf
 
การใช้ สเจ ศัพท์ ในประโยคเงื่อนไข _ การใช้ภาษาบาลี
การใช้ สเจ ศัพท์ ในประโยคเงื่อนไข _ การใช้ภาษาบาลีการใช้ สเจ ศัพท์ ในประโยคเงื่อนไข _ การใช้ภาษาบาลี
การใช้ สเจ ศัพท์ ในประโยคเงื่อนไข _ การใช้ภาษาบาลี
 
การสร้างประโยคคำถามในภาษาบาลี_การใช้ภาษาบาลี
การสร้างประโยคคำถามในภาษาบาลี_การใช้ภาษาบาลีการสร้างประโยคคำถามในภาษาบาลี_การใช้ภาษาบาลี
การสร้างประโยคคำถามในภาษาบาลี_การใช้ภาษาบาลี
 
ประโยคที่กิริยาซ้อนกัน และหลักการแปลมคธเป็นไทย.pdf
ประโยคที่กิริยาซ้อนกัน และหลักการแปลมคธเป็นไทย.pdfประโยคที่กิริยาซ้อนกัน และหลักการแปลมคธเป็นไทย.pdf
ประโยคที่กิริยาซ้อนกัน และหลักการแปลมคธเป็นไทย.pdf
 
การแปลบทสมาสที่สัมพันธ์กับบทอื่นๆ_Samasa Relating To Other Words
การแปลบทสมาสที่สัมพันธ์กับบทอื่นๆ_Samasa Relating To Other Wordsการแปลบทสมาสที่สัมพันธ์กับบทอื่นๆ_Samasa Relating To Other Words
การแปลบทสมาสที่สัมพันธ์กับบทอื่นๆ_Samasa Relating To Other Words
 
คําเรียกญาติ (บาลี-ไทย-อังกฤษ)_Family Tree Pali.pdf
คําเรียกญาติ (บาลี-ไทย-อังกฤษ)_Family Tree Pali.pdfคําเรียกญาติ (บาลี-ไทย-อังกฤษ)_Family Tree Pali.pdf
คําเรียกญาติ (บาลี-ไทย-อังกฤษ)_Family Tree Pali.pdf
 
ประมวลศัพท์บาลี ตามหมวดหมู่ _ Pali_Vocab
ประมวลศัพท์บาลี ตามหมวดหมู่ _ Pali_Vocabประมวลศัพท์บาลี ตามหมวดหมู่ _ Pali_Vocab
ประมวลศัพท์บาลี ตามหมวดหมู่ _ Pali_Vocab
 
การแปล อนฺต, มาน, ต, ตฺวา ปัจจัย_Anta-Mana-Ta-Tva_Translation
การแปล  อนฺต,  มาน,  ต,  ตฺวา  ปัจจัย_Anta-Mana-Ta-Tva_Translationการแปล  อนฺต,  มาน,  ต,  ตฺวา  ปัจจัย_Anta-Mana-Ta-Tva_Translation
การแปล อนฺต, มาน, ต, ตฺวา ปัจจัย_Anta-Mana-Ta-Tva_Translation
 
ปัญหาและเฉลย วิชาบาลีไวยากรณ์ ป.ธ.3 พ.ศ.2550-2566 (17 ปี)_Pali grammar Exam A...
ปัญหาและเฉลย วิชาบาลีไวยากรณ์ ป.ธ.3 พ.ศ.2550-2566 (17 ปี)_Pali grammar Exam A...ปัญหาและเฉลย วิชาบาลีไวยากรณ์ ป.ธ.3 พ.ศ.2550-2566 (17 ปี)_Pali grammar Exam A...
ปัญหาและเฉลย วิชาบาลีไวยากรณ์ ป.ธ.3 พ.ศ.2550-2566 (17 ปี)_Pali grammar Exam A...
 
ปัญหาและเฉลย วิชาบาลีไวยากรณ์ ป.ย.1-2 พ.ศ.2511-2566 (56 ปี)_Pali grammar Exam...
ปัญหาและเฉลย วิชาบาลีไวยากรณ์ ป.ย.1-2 พ.ศ.2511-2566 (56 ปี)_Pali grammar Exam...ปัญหาและเฉลย วิชาบาลีไวยากรณ์ ป.ย.1-2 พ.ศ.2511-2566 (56 ปี)_Pali grammar Exam...
ปัญหาและเฉลย วิชาบาลีไวยากรณ์ ป.ย.1-2 พ.ศ.2511-2566 (56 ปี)_Pali grammar Exam...
 
หลักการแปลบาลี 8 ประการ _ หลักการแปลมคธเป็นไทย 8 ประการ
หลักการแปลบาลี 8 ประการ _  หลักการแปลมคธเป็นไทย 8 ประการหลักการแปลบาลี 8 ประการ _  หลักการแปลมคธเป็นไทย 8 ประการ
หลักการแปลบาลี 8 ประการ _ หลักการแปลมคธเป็นไทย 8 ประการ
 
ปัญหาและเฉลยข้อสอบ ป.ธ.3 วิชาไวยากรณ์ฉบับปรับปรุง_ปี ๒๕๑๑-๒๕๖๑.pdf
ปัญหาและเฉลยข้อสอบ ป.ธ.3 วิชาไวยากรณ์ฉบับปรับปรุง_ปี ๒๕๑๑-๒๕๖๑.pdfปัญหาและเฉลยข้อสอบ ป.ธ.3 วิชาไวยากรณ์ฉบับปรับปรุง_ปี ๒๕๑๑-๒๕๖๑.pdf
ปัญหาและเฉลยข้อสอบ ป.ธ.3 วิชาไวยากรณ์ฉบับปรับปรุง_ปี ๒๕๑๑-๒๕๖๑.pdf
 
ธมฺมปทฏฺฐกถา (๘ ภาค รวมเล่ม)_ธรรมบท ภาคที่ 1-8 รวมเล่ม ฉบับภาษาบาลี
ธมฺมปทฏฺฐกถา (๘ ภาค รวมเล่ม)_ธรรมบท ภาคที่ 1-8 รวมเล่ม  ฉบับภาษาบาลีธมฺมปทฏฺฐกถา (๘ ภาค รวมเล่ม)_ธรรมบท ภาคที่ 1-8 รวมเล่ม  ฉบับภาษาบาลี
ธมฺมปทฏฺฐกถา (๘ ภาค รวมเล่ม)_ธรรมบท ภาคที่ 1-8 รวมเล่ม ฉบับภาษาบาลี
 
อภิธานวรรณนา_พจนานุกรมว่าด้วยศัพท์ที่เป็นนามบัญญัติของเนื้อความที่มีปรากฏอยู่...
อภิธานวรรณนา_พจนานุกรมว่าด้วยศัพท์ที่เป็นนามบัญญัติของเนื้อความที่มีปรากฏอยู่...อภิธานวรรณนา_พจนานุกรมว่าด้วยศัพท์ที่เป็นนามบัญญัติของเนื้อความที่มีปรากฏอยู่...
อภิธานวรรณนา_พจนานุกรมว่าด้วยศัพท์ที่เป็นนามบัญญัติของเนื้อความที่มีปรากฏอยู่...
 
สำนวนแต่งไทยเป็นมคธ สำนักงานแม่กองบาลี & กองพุทธศาสนศึกษา (1)_(2).pdf
สำนวนแต่งไทยเป็นมคธ  สำนักงานแม่กองบาลี & กองพุทธศาสนศึกษา (1)_(2).pdfสำนวนแต่งไทยเป็นมคธ  สำนักงานแม่กองบาลี & กองพุทธศาสนศึกษา (1)_(2).pdf
สำนวนแต่งไทยเป็นมคธ สำนักงานแม่กองบาลี & กองพุทธศาสนศึกษา (1)_(2).pdf
 
จูฬธาตุปัจจยโชติกา _ พจนานุกรมบาลี-บาลี
จูฬธาตุปัจจยโชติกา  _  พจนานุกรมบาลี-บาลีจูฬธาตุปัจจยโชติกา  _  พจนานุกรมบาลี-บาลี
จูฬธาตุปัจจยโชติกา _ พจนานุกรมบาลี-บาลี
 
ธรรมบท ภาคที่ 8 แปลโดยพยัญชนะ ฉบับสองภาษา (ไทย-บาลี).pdf
ธรรมบท ภาคที่ 8 แปลโดยพยัญชนะ ฉบับสองภาษา (ไทย-บาลี).pdfธรรมบท ภาคที่ 8 แปลโดยพยัญชนะ ฉบับสองภาษา (ไทย-บาลี).pdf
ธรรมบท ภาคที่ 8 แปลโดยพยัญชนะ ฉบับสองภาษา (ไทย-บาลี).pdf
 
ธรรมบท ภาคที่ 7 แปลโดยพยัญชนะ ฉบับสองภาษา (ไทย-บาลี).pdf
ธรรมบท ภาคที่ 7 แปลโดยพยัญชนะ ฉบับสองภาษา (ไทย-บาลี).pdfธรรมบท ภาคที่ 7 แปลโดยพยัญชนะ ฉบับสองภาษา (ไทย-บาลี).pdf
ธรรมบท ภาคที่ 7 แปลโดยพยัญชนะ ฉบับสองภาษา (ไทย-บาลี).pdf
 

ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นโท พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๖๔.pdf

  • 1.
  • 2. คำนำ ประสบการณ์ของการทำหน้าที่ติวอบรมก่อนสอบธรรมสนามหลวง นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก และ การทำหน้าที่คุมสอบนักธรรม ได้มีโอกาสพูดคุยสอบถามการศึกษานักธรรมกับพระภิกษุสามเณร ผู้เข้าสอบ นักธรรม ทำให้รับรู้ถึงสาเหตุที่ผู้เข้าสอบนักธรรมทำข้อสอบได้ และทำข้อสอบไม่ได้ พระภิกษุสามเณรที่เรียน แต่นักธรรมอย่างเดียว ส่วนมากทำข้อสอบได้ เพราะมีเวลากับการเรียนมาก บางรูปเรียนอย่างอื่นควบคู่กัน ด้วย จึงมีปัญหาเรื่องการอ่านท่องจำ ทำความเข้าใจในตำราเรียน หรืออาจจะมาเริ่มดูนักธรรมในช่วงที่มีการ ติวอบรมก่อนสอบธรรมสนามหลวง ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นโท เป็นการกำหนดขอบเขตการศึกษานักธรรม เพื่อให้ เหมาะสมกับเวลาเรียน ไม่ได้เน้นในเรื่องการอธิบาย เป็นเพียงแนวข้อสอบ ทำให้เห็นความสำคัญใน การศึกษาในแต่ละรายวิชา สามารถนำไปประยุกต์ใช้ประกอบการเรียนการสอน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือ เล่มนี้ จะเกิดประโยชน์แก่ผู้สนใจศึกษาทุกรูป พระมหามนตรี กตปุญฺโ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๖๕
  • 3. สารบัญ หน้า วิชาธรรมวิภาค ๑ ทุกะ หมวด ๒ ๑ อริยบุคคล ๒ ๑ กัมมัฏฐาน ๒ ๑ กาม ๒ ๓ ทิฏฐิ ๒ ๓ เทสนา ๒ ๔ ธรรม ๒ ๔ บูชา ๒ ๕ ปฏิสันถาร ๒ ๕ ปริเยสนา ๒ ๖ ปาพจน์ ๒ ๖ รูป ๒ ๖ วิมุตติ ๒ ๗ ติกะ หมวด ๓ ๘ อกุศลวิตก ๓ ๘ กุศลวิตก ๓ ๘ อัคคิ ๓ ๙ อธิปเตยยะ ๓ ๙ อภิสังขาร ๓ ๑๐ ทวาร ๓ ๑๐ ญาณ ๓ ๑๐ ปาฏิหาริย์ ๓ ๑๒ ปิฎก ๓ ๑๒ พุทธจริยา ๓ ๑๒ ภพ ๓ ๑๓ วัฏฏะ ๓ ๑๓ วิชชา ๓ ๑๔ วิโมกข์ ๓ ๑๔ วิเวก ๓ ๑๔
  • 4. สังขาร ๓ ๑๔ โสดาบัน ๓ ๑๔ จตุกกะ หมวด ๔ ๑๕ อบาย ๔ ๑๕ อปัสเสนธรรม ๔ ๑๕ อัปปมัญญา ๔ ๑๖ พระอริยบุคคล ๔ ๑๖ อริยวงศ์ ๔ ๑๗ อุปาทาน ๔ ๑๗ โอฆะ ๔ ๑๘ อริยสัจ ๔ ๑๘ ทักขิณาวิสุทธิ ๔ ๑๙ โยนิ ๔ ๑๙ ปัญจกะ หมวด ๕ ๒๐ มัจฉริยะ ๕ ๒๐ มาร ๕ ๒๐ วิญญาณ ๕ ๒๒ วิมุตติ ๕ ๒๒ เวทนา ๕ ๒๒ สังวร ๕ ๒๓ สุทธาวาส ๕ ๒๓ ฉักกะ หมวด ๖ ๒๓ อภิฐาน ๖ ๒๓ จริต ๖ ๒๓ ธรรมคุณ ๖ ๒๔ ปิยรูป สาตรูป หมวดละหก ๑๐ หมวด ๒๕ สวรรค์ ๖ ชั้น ๒๕ สัตตกะ หมวด ๗ ๒๖ อนุสัย ๗ ๒๖ เมถุนสังโยค ๗ ๒๖ วิญญาณฐิติ ๗ ๒๗ วิสุทธิ ๗ ๒๗
  • 5. อัฏฐกะ หมวด ๘ ๒๗ อริยบุคคล ๘ ๒๗ อวิชชา ๘ ๒๗ นวกะ หมวด ๙ ๒๘ อนุปุพพวิหาร ๙ ๒๘ พุทธคุณ ๙ ๒๘ มานะ ๙ ๓๐ ทสกะ หมวด ๑๐ ๓๑ บารมี ๑๐ ๓๑ มิจฉัตตะ ๑๐ ๓๒ เอกาทสกะ หมวด ๑๑ ๓๒ ปัจจยาการ ๑๑ ๓๒ ทวาทสกะ หมวด ๑๒ ๓๒ กรรม ๑๒ ๓๒ เตรสกะ หมวด ๑๓ ๓๔ ธุดงค์ ๑๓ ๓๔ ปัณณรสกะ หมวด ๑๕ ๓๖ จรณะ ๑๕ ๓๖ วิชาอนุพุทธประวัติ ๓๘ ประวัติพระปัญจวัคคีย์ ๔๐ ประวัติพระยสะและสหายพระยสะ ๕๔ องค์ ๔๔ ประวัติพระอุรุเวลกัสสปะ ๔๗ ประวัติพระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะ ๕๐ ประวัติพระมหากัสสปะและพระมหากัจจายนะ ๕๔ ประวัติมาณพ ๑๖ คน ๕๗ ประวัติพระราธะและพระปุณณมันตานีบุตร ๕๙ ประวัติพระราหุล พระอุบาลี พระอนุรุทธะ และพระอานนท์ ๕๙ ประวัติพระโสณโกฬิวิสะ พระรัฐบาล และพระโสณกุฏิกัณณะ ๖๑ ประวัติภิกษุณี ๖๓ ศาสนพิธี ๖๔
  • 6. หมวดที่ ๑ กุศลพิธี ๖๔ พิธีเข้าพรรษา ๖๔ พิธีสามีจิกรรม ๖๕ พิธีทําวัตรสวดมนต์ ๖๖ พิธีทําสังฆอุโบสถ ๖๖ พิธีกรรมวันธรรมสวนะ ๖๖ หมวดที่ ๒ บุญพิธี ๖๗ พิธีทําบุญตักบาตรเทโวโรหณะ ๖๗ พิธีเจริญพระพุทธมนต์ ๖๘ พิธีสวดพระพุทธมนต์ ๖๘ พิธีสวดพระอภิธรรม ๖๙ พิธีสวดมาติกา ๖๙ พิธีสวดแจง ๖๙ พิธีอนุโมทนากรณีต่าง ๆ ๖๙ พิธีแสดงพระธรรมเทศนา ๖๙ หมวดที่ ๓ ทานพิธี ๗๐ พิธีถวายเสนาสนะ กุฏิ วิหาร ๗๐ พิธีถวายผ้าวัสสิกสาฎก ๗๑ พิธีถวายผ้าป่า ๗๑ หมวดที่ ๔ ปกิณกะ ๗๒ พิธีบังสุกุลเป็น ๗๒ วิชาวินัยบัญญัติ ๗๓ สิกขาบทนอกพระปาติโมกข์ ๗๓ พระวินัย ๗๓ อภิสมาจาร ๗๔ กัณฑ์ที่ ๑๑ กายบริหาร ๗๖ กัณฑ์ที่ ๑๒ บริขารบริโภค ๗๘ ๑. จีวร ๗๘ ๒. บาตร ๘๐ ๓. เครื่องอุปโภค ๘๑ กัณฑ์ที่ ๑๓ นิสสัย ๘๑ เหตุที่นิสสัยระงับจากอุปัชฌาย์ ๕ ประการ ๘๒
  • 7. เหตุที่อุปัชฌาย์ประณามสัทธิวิหาริก ๕ ประการ ๗๓ อาจารย์ตามนัยแห่งอรรถกถา มี ๔ ประเภท ๘๓ นิสสัยมุตตกะ ๘๔ กัณฑ์ที่ ๑๔ วัตร ๘๕ ๑. กิจวัตร ๘๖ ๒. จริยาวัตร ๘๘ ๓. วิธีวัตร ๘๙ กัณฑ์ที่ ๑๕ คารวะ ๘๙ เวลาที่อนุญาตให้งดไหว้กัน มี ๘ ประการ ๘๙ การลุกรับมีงดในบางโอกาส ๙๐ การทําความเคารพที่จัดไว้อีกส่วนหนึ่ง ๙๐ กัณฑ์ที่ ๑๖ จำพรรษา ๙๑ ดิถีที่กําหนดให้เข้าพรรษา มี ๒ ช่วง ๙๑ การอธิษฐานเข้าพรรษา ๙๑ สัตตาหกรณียะ ๙๒ อานิสงส์แห่งการจำพรรษา ๕ ประการ ๙๔ กัณฑ์ที่ ๑๗ อุโบสถ ปวารณา ๙๔ อุโบสถ ๙๔ การก คือ ภิกษุผู้ทําอุโบสถ ๙๕ อาการที่ทำอุโบสถ ๙๕ บุพพกิจ มี ๕ อยาง ๙๖ สังฆอุโบสถ ๙๖ เหตุฉุกเฉินที่เรียกว่าอันตราย มี ๑๐ อย่าง ๙๗ ปวารณา ๙๘ สังฆปวารณา ๙๙ กัณฑ์ที่ ๑๘ อุปปถกิริยา ๑๐๐ ๑. อนาจาร ๑๐๑ ๒. ปาปสมาจาร ๑๐๑ ๓. อเนสนา ๑๐๓ กัณฑ์ที่ ๑๙ กาลิก ๑๐๓ กัณฑ์ที่ ๒๐ ภัณฑะต่างเจ้าของ ๑๐๕ กัณฑ์ที่ ๒๑ วินัยกรรม ๑๐๗
  • 8. กัณฑ์ที่ ๒๒ ปกิณณกะ ๑๐๕ มหาปเทส ๔ ๑๐๙
  • 9. วิชาธรรมวิภาค ทุกะ หมวด ๒ อริยบุคคล ๒ ๑. พระเสขะ ผู้ยังต้องศึกษา คือศึกษาอะไร ? ชื่อว่าพระอเสขะ เพราะอะไร ? (๒๕๕๐) ตอบ ศึกษาสิกขา ๓ คือ ๑. อธิสีลสิกขา ๒. อธิจิตตสิกขา ๓. อธิปัญญาสิกขา ฯ เพราะเสร็จกิจอันจะต้องทำแล้ว ฯ ๒. ในอริยบุคคล ๒ พระเสขะผู้ยังต้องศึกษา คือศึกษาเรื่องอะไร ? ผู้ศึกษากำลังสอบธรรมอยู่นี้เรียกว่า พระเสขะได้หรือไม่ ? (๒๕๕๔) ตอบ คือ ศึกษาในอธิสีล ในอธิจิต และในอธิปัญญา อีกอย่างหนึ่งหมายถึง ต้องศึกษาและต้องปฏิบัติเพื่อมรรคผลเบื้องสูงขึ้นไป ฯ ยังเรียกว่าพระเสขะไม่ได้ ถ้าไม่ใช่พระอริยบุคคล ๗ จำพวกเบื้องต้น ฯ ๓. พระอริยบุคคล ๘ จำพวก จำพวกไหนชื่อว่าพระเสขะ และพระอเสขะ ? เพราะเหตุไร ? (๒๕๕๙) ตอบ พระอริยบุคคล ๗ เบื้องต้นชื่อว่าพระเสขะ เพราะเป็นผู้ยังต้องปฏิบัติเพื่อบรรลุมรรคผลเบื้องสูง ฯ พระอริยบุคคลผู้ต้องอยู่ในอรหัตตผล ชื่อว่าพระอเสขะ เพราะเสร็จกิจอันจะต้องทำแล้ว ฯ กัมมัฏฐาน ๒ ๑. สมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน มุ่งผลแห่งการปฏิบัติอย่างไร ? (๒๕๕๘, ๒๕๖๓) ตอบ สมถกรรมฐานมุ่งผล คือความสงบใจ ส่วนวิปัสสนากรรมฐานมุ่งผล คือความเรืองปัญญา ฯ ๒. ตจปัญจกกัมมัฏฐาน มีอะไรบ้าง ? เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอย่างไร ? เป็นอารมณ์ของสมถกัมมัฏฐาน หรือของวิปัสสนากัมมัฏฐาน ? (๒๕๕๗) ตอบ มีเกสา ผม, โลมา ขน, นขา เล็บ, ทนฺตา ฟัน และตโจ หนัง ฯ เรียกอีกอย่างว่ามูลกัมมัฏฐาน ฯ เป็นอารมณ์ได้ทั้งสมถกัมมัฏฐาน และวิปัสสนากัมมัฏฐาน ฯ
  • 10. ๒ { ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นโท วัดอนุกูลพัชรสิงหศักดาราม จังหวัดตาก ๓. ตจปัญจกกัมมัฏฐานเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอะไร ? มีอะไรบ้าง ? จัดเป็นสมถกัมมัฏฐานหรือวิปัสสนา กัมมัฏฐาน ? (๒๕๕๒) ตอบ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มูลกัมมัฏฐาน ฯ มีเกสา ผม, โลมา ขน, นขา เล็บ, ทันตา ฟัน และ ตโจ หนัง ฯ เป็นได้ทั้งสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน ฯ ๔. ตจปัญจกกัมมัฏฐานได้แก่อะไรบ้าง ? จัดเป็นสมถะหรือวิปัสสนา ? จงอธิบาย (๒๕๔๘) ตอบ ได้แก่ เกสา โลมา นขา ทันตา และตโจ ฯ เป็นได้ทั้งสมถะและวิปัสสนา ถ้าเพ่งกำหนดยังจิตให้สงบด้วยภาวนา เป็นสมถะ ถ้าเพ่งพิจารณา ถึงความแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไป หรือให้เห็นว่าเป็นทุกข์ คือทนอยู่ได้ยากและทนอยู่ไม่ได้ ต้องเสื่อม สลายไปในที่สุด หรือให้เห็นว่าเป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตน พิจารณาเช่นนี้เป็นวิปัสสนา ฯ ๕. ตจปัญจกกัมมัฏฐาน มีอะไรบ้าง ? เป็นอารมณ์ของสมถกัมมัฏฐาน หรือของวิปัสสนากัมมัฏฐาน ? (๒๕๖๔) ตอบ มีเกสา ผม, โลมา ขน, นขา เล็บ, ทนฺตา ฟัน และตโจ หนัง ฯ เป็นอารมณ์ได้ทั้งสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน ฯ ๖. กัมมัฏฐานที่พระอุปัชฌาย์สอนแก่ผู้ขอบรรพชาอุปสมบทว่า เกสา โลมา นขา ทนฺตา ตโจ ตโจ ทนฺตา นขา โลมา เกสา นั้น เรียกชื่อว่าอะไร ? เป็นสมถกัมมัฏฐานหรือวิปัสสนากัมมัฏฐาน ? (๒๕๕๕) ตอบ ชื่อว่า ตจปัญจกกัมมัฏฐาน หรือมูลกัมมัฏฐาน ฯ เป็นได้ทั้งสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน ฯ ๗. มูลกัมมัฏฐาน คืออะไร ? เจริญอย่างไรเป็นอารมณ์ของสมถะ ? เจริญอย่างไรเป็นอารมณ์ของวิปัสสนา ? (๒๕๔๙) ตอบ คือ กัมมัฏฐานเดิม ได้แก่ เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ที่พระอุปัชฌาย์สอนก่อนบรรพชา ฯ ถ้าเพ่งกำหนดให้จิตสงบด้วยภาวนา จัดเป็นอารมณ์ของสมถะ ถ้ายกขึ้นพิจารณาแยกออกเป็น ส่วน ๆ ให้เห็นตามความเป็นจริงโดยสามัญลักษณะ จัดเป็นอารมณ์ของวิปัสสนา ฯ ๘. การพิจารณาสังขารทั้งหลายโดยความเป็นไตรลักษณ์ จัดเป็นกัมมัฏฐานอะไร ? มีประโยชน์อย่างไร ? (๒๕๖๐) ตอบ จัดเป็นวิปัสสนากัมมัฏฐาน ฯ มีประโยชน์ คือทำให้รู้จักสภาพที่เป็นจริงแห่งสังขารทั้งหลายว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา แล้วเกิดความเบื่อหน่ายในสังขารทั้งหลายเหล่านั้น ฯ
  • 11. วัดอนุกูลพัชรสิงหศักดาราม จังหวัดตาก ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นโท } ๓ กาม ๒ ๑. กามและกามคุณ มีอธิบายอย่างไร ? (๒๕๔๔) ตอบ กาม ได้แก่ความใคร่ ความน่าปรารถนา ความพอใจ แบ่งเป็นกิเลสกามและวัตถุกาม ส่วนกามคุณ ได้แก่อารมณ์ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ซึ่งเป็นวัตถุกามนั่นเอง ฯ ๒. รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ทั้ง ๕ นี้ เพราะเหตุไรจึงเรียกว่า กามคุณ ? (๒๕๔๔) ตอบ เพราะเป็นกลุ่มแห่งกาม และเป็นสิ่งที่ให้เกิดความสุข ความพอใจได้ ฯ ๓. ราคะ โลภะ อิสสา กลิ่น รส อย่างไหนเป็นกิเลสกาม อย่างไหนเป็นวัตถุกาม ? (๒๕๕๙, ๒๕๖๓) ตอบ ราคะ โลภะ อิสสา เป็นกิเลสกาม กลิ่น รส เป็นวัตถุกาม ฯ ทิฏฐิ ๒ ๑. ทิฏฐิ ที่หมายถึงความเห็นผิด ๒ อย่าง มีอะไรบ้าง ? (๒๕๕๖) ตอบ มี ๑. สัสสตทิฏฐิ ความเห็นว่าเที่ยง ๒. อุจเฉททิฏฐิ ความเห็นว่าขาดสูญ ฯ ๒. ความเห็นว่าเที่ยงและเห็นว่าขาดสูญ คือเห็นอย่างไร ? มติในทางพระพุทธศาสนาเป็นเช่นไร จง อธิบาย ? (๒๕๕๐) ตอบ เห็นว่าเที่ยง คือเห็นว่า คนและสัตว์ตายแล้ว ชีวะไม่สูญ ต้องเกิดอีกต่อไป หรือเคยเป็นอะไร ก็เป็นอย่างนั้นตลอดไปหรือมีสภาพอย่างนั้นไม่แปรผัน เป็นต้น ส่วนเห็นว่าขาดสูญ คือเห็นว่า อัตภาพจุติแล้วเป็นอันสูญสิ้นไป หรือคนสัตว์ตายแล้วขาดสูญไปโดยประการทั้งปวง ฯ พระพุทธศาสนาปฏิเสธความเห็นทั้ง ๒ นั้น มีความเห็นประกอบด้วยสัมมาญาณ อิงเหตุผล ยึดเหตุผลเป็นที่ตั้ง โดยเห็นว่า คนและสัตว์ตายแล้วจะเกิดอีกหรือไม่ ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัย ฯ ๓. ความเห็นว่า “ถึงคราวเคราะห์ดีก็ดีเอง ถึงคราวเคราะห์ร้ายก็ร้ายเอง” อย่างนี้เป็นทิฏฐิอะไร ? จง อธิบาย คติทางพระพุทธศาสนาต่างจากความเห็นนี้อย่างไร ? (๒๕๔๕) ตอบ เป็นอเหตุกทิฏฐิ คือเห็นว่า สิ่งทั้งหลายไม่มีเหตุปัจจัย คนเราจะได้ดีหรือได้ร้าย ตามคราว เคราะห์ ถึงคราวจะดีก็ดีเอง ถึงคราวจะร้ายก็ร้ายเอง ไม่มีเหตุปัจจัยอื่น ฯ พระพุทธศาสนาถือว่าสังขตธรรมทั้งปวงเกิดแต่เหตุ ฯ
  • 12. ๔ { ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นโท วัดอนุกูลพัชรสิงหศักดาราม จังหวัดตาก เทสนา ๒ ๑. เทสนา ๒ มีอะไรบ้าง ? เทสนา ๒ อย่างนั้น ต่างกันอย่างไร ? จงอธิบาย (๒๕๔๖) ตอบ มีปุคคลาธิฏฐานา มีบุคคลเป็นที่ตั้ง ๑ ธัมมาธิฏฐานา มีธรรมเป็นที่ตั้ง ๑ ฯ ต่างกันอย่างนี้ การสอนที่ยกบุคคลมาเป็นตัวอย่าง เช่น ในมหาชนกชาดก สอนเรื่องความ เพียร โดยกล่าวถึงพระมหาชนกโพธิสัตว์ว่า ทรงมีความเพียรอย่างยิ่ง พยายามว่ายน้ำในท่ามกลาง มหาสมุทรที่กว้างใหญ่มองไม่เห็นฝั่งอย่างไม่ย่อท้อ ด้วยความุ่งมั่นที่จะถึงฝั่งให้ได้ เป็นปุคคลาธิฏฐานา ส่วนการยกธรรมแต่ละข้อมาอธิบายความหมายอย่างเดียว เช่น สติ แปลว่าความระลึกได้ หมายความว่า ก่อนจะทำ ก่อนจะพูดอะไร ต้องคิดให้รอบคอบเสียก่อน จึงทำ จึงพูดออกไป เป็นต้น เป็นธัมมาธิฏฐานา ฯ ๒. บุคคลาธิฏฐานาเทศนา เทศนามีบุคคลเป็นที่ตั้ง มีอธิบายว่าอย่างไร ? (๒๕๖๒) ตอบ มีอธิบายว่า การสอนที่ยกบุคคลมาเป็นตัวอย่าง เช่น ในมหาชนกชาดก สอนเรื่องความเพียร โดยกล่าวถึงพระมหาชนกโพธิสัตว์ว่า ทรงมีความเพียรอย่างยิ่ง พยายามว่ายน้ำในท่ามกลางมหาสมุทร ที่กว้างใหญ่ มองไม่เห็นฝั่งอย่างไม่ย่อท้อ ด้วยความมุ่งมั่นที่จะถึงฝั่งให้ได้ และทรงถึงฝั่งได้ดังประสงค์ ฯ ธรรม ๒ ๑. สังขตธรรม คืออะไร ? มีลักษณะอย่างไร ? (๒๕๕๓, ๒๕๖๒) ตอบ คือ ธรรมอันปัจจัยปรุงแต่ง ฯ มีลักษณะ คือ มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น มีความแปรปรวนในท่ามกลาง และมีความดับไปใน ที่สุด ฯ ๒. สังขตธรรมและอสังขตธรรม ต่างกันอย่างไร ? สัตว์ ต้นไม้ ภูเขา เป็นสังขตธรรม เพราะมีลักษณะ อย่างไร ? (๒๕๕๗) ตอบ สังขตธรรม คือธรรมอันปัจจัยปรุงแต่ง ส่วนอสังขตธรรม คือธรรมอันปัจจัยไม่ได้ปรุงแต่ง ฯ เพราะมีลักษณะ คือมีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น มีความดับในที่สุด และเมื่อยังตั้งอยู่ความแปรผัน ปรากฏ ฯ ๓. ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความดับไป เป็นลักษณะของธรรมอะไร ? สัตว์บุคคลมีลักษณะเช่นนั้น หรือไม่ ? จงอธิบาย (๒๕๕๒) ตอบ เป็นลักษณะของสังขตธรรม ฯ มีลักษณะเช่นนั้น คือเมื่อสัตว์บุคคลเกิดมาแล้ว ก็เป็นความเกิดขึ้น ต่อมาก็เจริญเติบโตผ่านวัย ทั้ง ๓ ก็เป็นความตั้งอยู่ เมื่อตาย ก็เป็นความดับไป ฯ
  • 13. วัดอนุกูลพัชรสิงหศักดาราม จังหวัดตาก ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นโท } ๕ ๔. สังขารทั้งหลายไม่เป็นอนัตตาหรือ เพราะเหตุไรในธรรมนิยามจึงใช้คำว่า ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ? จงอธิบาย ? (๒๕๔๗) ตอบ สังขารทั้งหลายก็เป็นอนัตตา แต่ที่ใช้คำว่า ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตานั้น เพราะธรรมนั้นหมาย เอาธรรมคือสังขตธรรมและอสังขตธรรม สังขตธรรมได้แก่สังขารนั่นเอง อสังขตธรรมได้แก่วิสังขารคือ พระนิพพาน ฯ บูชา ๒ ๑. บูชา ๒ คืออะไรบ้าง ? การสมาทานศีล ๕ เป็นประจำจัดเป็นบูชา ประเภทใด ? (๒๕๖๑) ตอบ คือ อามิสบูชา บูชาด้วยอามิสสิ่งของ ๑ ปฏิบัติบูชา บูชาด้วยการปฏิบัติตาม ๑ ฯ เป็นปฏิบัติบูชา ฯ ปฏิสันถาร ๒ ๑. ปฏิสันถาร คืออะไร ? มีอะไรบ้าง ? มีประโยชน์แก่ผู้ทำอย่างไรบ้าง ? (๒๕๔๕) ตอบ คือ การต้อนรับแขกผู้มาถึงถิ่น ฯ มี ๒ อย่าง ๑. อามิสปฏิสันถาร ต้อนรับด้วยสิ่งของ ๒. ธัมมปฏิสันถาร ต้อนรับโดยธรรม ฯ อย่างนี้คือ ๑. เป็นอุบายสร้างความสามัคคีและยึดเหนี่ยวน้ำใจกัน ๒. เป็นการรักษาไมตรีจิตระหว่างกันและกันให้มั่นคงยิ่งขึ้น ฯ ๒. ปฏิสันถาร มีอะไรบ้าง ? มีประโยชน์อย่างไร ? (๒๕๖๐, ๒๕๖๔) ตอบ มี ๑. อามิสปฏิสันถาร ต้อนรับด้วยสิ่งของ ๒. ธัมมปฏิสันถาร ต้อนรับโดยธรรม ฯ มีประโยชน์อย่างนี้ คือ ๑. เป็นอุบายสร้างความสามัคคีและยึดเหนี่ยวน้าใจกัน ๒. เป็นการรักษาไมตรีจิตระหว่างกันและกันให้มั่นคงยิ่งขึ้น ฯ ๓. ปฏิสันถาร คืออะไร ? จงแสดงวิธีปฏิสันถารตามความรู้ที่ได้ศึกษามา (๒๕๔๙) ตอบ คือ การต้อนรับผู้มาเยือนด้วยการพูดจาปราศรัย หรือด้วยการรับรองด้วยของ ต้อนรับตามสมควร ด้วยไมตรีจิต ฯ ปฏิสันถารที่ได้ศึกษามามี ๒ อย่าง คือ ๑. อามิสปฏิสันถาร ปฏิสันถารด้วยสิ่งของ ได้แก่การจัดหาวัตถุสิ่งของต้อนรับ เช่น ข้าว น้ำ หรือที่พัก เป็นต้น ๒. ธัมมปฏิสันถาร ปฏิสันถารด้วยธรรม ได้แก่การแสดงการต้อนรับตามความเหมาะสมแก่ผู้ มาเยือน หรือการให้คำแนะนำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ เป็นต้น ฯ
  • 14. ๖ { ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นโท วัดอนุกูลพัชรสิงหศักดาราม จังหวัดตาก ปริเยสนา ๒ ๑. แสวงหาอะไรเป็นการแสวงหาอย่างประเสริฐ แสวงหาอะไรเป็นการแสวงหาไม่ประเสริฐ ? (๒๕๕๕) ตอบ ในพระสูตรแสดงว่า แสวงหาสภาพอันมิใช่ของมีชรา พยาธิ มรณะ คือคุณธรรมมีพระนิพพาน เป็นอย่างสูง เป็นการแสวงหาอย่างประเสริฐ เรียกว่า อริยปริเยสนา แสวงหาของมีชรา พยาธิ มรณะ เช่นหาของเล่น เป็นการแสวงหา ไม่ประเสริฐ เรียกว่า อนริย- ปริเยสนา ฯ ปาพจน์ ๒ ๑. ปาพจน์ ๒ ได้แก่อะไรบ้าง ? ถ้าแจกเป็น ๓ จะได้อะไรบ้าง ? (๒๕๕๐) ตอบ ได้แก่ พระธรรมและพระวินัย ฯ ถ้าแจกเป็น ๓ จะได้ พระวินัย ๑ พระสูตร ๑ พระอภิธรรม ๑ ฯ ๒. ปาพจน์ ๒ คือธรรมและวินัย นั้นทราบแล้ว อยากทราบว่าความปฏิบัติอย่างไร จัดเป็นธรรม ความ ปฏิบัติอย่างไรจัดเป็นวินัย ? (๒๕๕๘) ตอบ ความปฏิบัติเป็นทางนำความประพฤติและอัธยาศัยให้ประณีตขึ้น จัดเป็นธรรม ความปฏิบัติเนื่องด้วยระเบียบอันทรงตั้งไว้ด้วยพุทธอาณา เป็นสิกขาบทหรืออภิสมาจาร เป็น ทางนำความประพฤติให้สม่ำเสมอกัน หรือเป็นเครื่องบริหารคณะ จัดเป็นวินัย ฯ รูป ๒ ๑. มหาภูตรูป คืออะไร ? มีความเกี่ยวเนื่องกับอุปาทายรูปอย่างไร ? (๒๕๔๘, ๒๕๕๗) ตอบ คือ รูปที่เป็นใหญ่เป็นประธาน อันประกอบด้วย ธาตุ ๔ ได้แก่ ดิน น้ำ ไฟ ลม ฯ เป็นที่ตั้งอาศัยแห่งรูปย่อยซึ่งเรียกว่าอุปาทายรูป เมื่อรูปใหญ่แตกทำลายไป อุปาทายรูปที่อิง อาศัยมหาภูตรูปนั้นก็แตกทำลายไปด้วย ฯ ๒. มหาภูตรูปและอุปาทายรูปคืออะไร ? (๒๕๕๔) ตอบ มหาภูตรูป คือรูปใหญ่ ได้แก่ธาตุ ๔ มีปฐวี อาโป เตโช วาโย อุปาทายรูป คือรูปอาศัยมหาภูตรูปนั้น ฯ ๓. รูปในขันธ์ ๕ แบ่งเป็น ๒ ได้แก่อะไรบ้าง ? จงอธิบายมาสั้น ๆ พอเข้าใจ (๒๕๕๑) ตอบ ได้แก่มหาภูตรูปและอุปาทายรูป มหาภูตรูป คือรูปใหญ่ อันได้แก่ธาตุ ๔ มีดิน น้ำ ไฟ ลม อุปาทายรูป คือรูปอาศัย เป็นอาการของมหาภูตรูป เช่น ประสาท ๕ มีจักขุประสาท เป็นต้น โคจร ๕ มีรูปารมณ์ เป็นต้น ฯ
  • 15. วัดอนุกูลพัชรสิงหศักดาราม จังหวัดตาก ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นโท } ๗ วิมุตติ ๒ ๑. วิมุตติคืออะไร ? วิมุตติ ๒ อย่าง มีอะไรบ้าง ? (๒๕๔๕) ตอบ คือ ความหลุดพ้น ฯ มี ๑. เจโตวิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยอำนาจแห่งใจ ๒. ปัญญาวิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยอำนาจแห่งปัญญา ฯ ๒. วิมุตติ คืออะไร ? ตทังควิมุตติ มีอธิบายอย่างไร ? (๒๕๔๗) ตอบ คือ ความทำจิตใจให้หลุดพ้นจากกิเลสาสวะ ฯ มีอธิบายว่า ความพ้นจากกิเลสได้ชั่วคราว เช่นเกิดเหตุเป็นที่ตั้งแห่งสังเวชขึ้น หายกำหนัดใน กาม เกิดเมตตาขึ้น หายโกรธ แต่ความกำหนัดและความโกรธนั้นไม่หายทีเดียว ทำในใจถึงอารมณ์ งาม ความกำหนัดกลับเกิดขึ้นอีก ทำในใจถึงวัตถุแห่งอาฆาต ความโกรธกลับเกิดขึ้นอีก อย่างนี้ จัดเป็นตทังควิมุตติ ฯ ๓. เจโตวิมุตติ กับ ปัญญาวิมุตติ ต่างกันอย่างไร ? (๒๕๕๑, ๒๕๕๙) ตอบ เจโตวิมุตติ เป็นวิมุตติของท่านผู้ได้บรรลุฌานมาก่อนแล้ว จึงบำเพ็ญวิปัสสนาต่อ ส่วนปัญญาวิมุตติ เป็นวิมุตติของท่านผู้ได้บรรลุด้วยลำพังบำเพ็ญวิปัสสนาล้วน อีกนัยหนึ่ง เรียกเจโตวิมุตติเพราะพ้นจากราคะ เรียกปัญญาวิมุตติเพราะพ้นจากอวิชชา ฯ ๔. วิมุตติ ๒ กับ วิมุตติ ๕ จัดเป็นโลกิยะและโลกุตตระอย่างไร ? (๒๕๔๕) ตอบ วิมุตติ ๒ เป็นโลกุตตระอย่างเดียว ส่วนวิมุตติ ๕ เป็นได้ทั้งโลกิยะและโลกุตตระ ฯ ๕. วิมุตติ กับ วิโมกข์ ต่างกันอย่างไร ? สมุจเฉทวิมุตติ มีอธิบายอย่างไร ? (๒๕๕๓) ตอบ ต่างกันแต่โดยพยัญชนะ แต่ก็พ้นจากราคะ โทสะ โมหะได้เท่ากันโดยอรรถ ฯ มีอธิบายว่า ความพ้นจากกิเลสด้วยอำนาจอริยมรรค กิเลสเหล่านั้นขาดเด็ดไป ไม่กลับเกิดอีก ฯ
  • 16. ๘ { ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นโท วัดอนุกูลพัชรสิงหศักดาราม จังหวัดตาก ติกะ หมวด ๓ อกุศลวิตก ๓ ๑. ความตริในฝ่ายชั่ว เรียกว่าอะไร ? มีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ? (๒๕๕๙, ๒๕๖๓) ตอบ เรียกว่า อกุศลวิตก ฯ มี ๓ อย่าง ฯ คือ ๑. กามวิตก ความตริในทางกาม ๒. พยาบาทวิตก ความตริในทางพยาบาท ๓. วิหิงสาวิตก ความตริในทางเบียดเบียน ฯ ๒. ความคิดที่เป็นฝ่ายอกุศล มีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ? (๒๕๖๔) ตอบ มี ๓ อย่าง ฯ คือ ๑. กามวิตก ความตริในทางกาม ๒. พยาบาทวิตก ความตริในทางพยาบาท ๓. วิหิงสาวิตก ความตริในทางเบียดเบียน ฯ ๓. อกุศลวิตก ๓ มีโทษอย่างไร ? แก้ด้วยวิธีอย่างไร ? (๒๕๔๙) ตอบ กามวิตก ทำใจให้เศร้าหมอง เป็นเหตุให้มัวเมาติดอยู่ในกามสมบัติ พยาบาทวิตก ทำให้เดือดร้อนกระวนกระวายใจ คิดทำร้ายผู้อื่น วิหิงสาวิตก ย่อมครอบงำจิต ให้คิดเบียดเบียนผู้อื่นโดยเห็นแก่ประโยชน์สุขส่วนตัว ฯ กามวิตก แก้ด้วยการเจริญกายคตาสติและอสุภกัมมัฏฐาน พยาบาทวิตก แก้ด้วยการเจริญเมตตาพรหมวิหาร วิหิงสาวิตก แก้ด้วยการเจริญกรุณาพรหมวิหารและโยนิโสมนสิการ ฯ กุศลวิตก ๓ ๑. กุศลวิตก มีอะไรบ้าง ? สงเคราะห์เข้าในมรรคมีองค์ ๘ ข้อไหนได้ ? (๒๕๕๖) ตอบ มี ๑. เนกขัมมวิตก ความตริในทางพรากจากกาม ๒. อพยาบาทวิตก ความตริในทางไม่พยาบาท ๓. อวิหิงสาวิตก ความตริในทางไม่เบียดเบียน ฯ สงเคราะห์เข้าในข้อสัมมาสังกัปปะ ฯ
  • 17. วัดอนุกูลพัชรสิงหศักดาราม จังหวัดตาก ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นโท } ๙ อัคคิ ๓ ๑. พระพุทธเจ้าทรงอุปมากิเลสเหล่าไหนว่ามีลักษณะเหมือนกับไฟ ? ที่ทรงอุปมาเช่นนั้นเพราะเหตุไร ? (๒๕๕๐) ตอบ กิเลสเหล่านี้ คือ ราคะ โทสะ โมหะ ฯ เพราะเมื่อกิเลสทั้ง ๓ กองนี้ กองใดกองหนึ่งเกิดขึ้นภายในใจของบุคคล จะแผดเผาก่อให้เกิด ความเร่าร้อนขึ้นภายในใจ ฯ อธิปเตยยะ ๓ ๑. คำว่า อธิปเตยยะ แปลว่าอะไร ? มีอะไรบ้าง ? (๒๕๔๔) ตอบ แปลว่า ความเป็นใหญ่ ฯ มี ๓ คือ ๑. อัตตาธิปเตยยะ ความมีตนเป็นใหญ่ ๒. โลกาธิปเตยยะ ความมีโลกเป็นใหญ่ ๓. ธัมมาธิปเตยยะ ความมีธรรมเป็นใหญ่ ฯ ๒. อธิปเตยยะ ๓ มีอะไรบ้าง ? บุคคลผู้ถือความถูกต้องเป็นใหญ่ทำด้วยอำนาจเมตตา กรุณา เป็นต้น จัดเข้าในข้อไหน ? (๒๕๖๒) ตอบ มี ๓ คือ ๑. อัตตาธิปเตยยะ ความมีตนเป็นใหญ่ ๒. โลกาธิปเตยยะ ความมีโลกเป็นใหญ่ ๓. ธัมมาธิปเตยยะ ความมีธรรมเป็นใหญ่ ฯ จัดเข้าในธัมมาธิปเตยยะได้ ฯ ๓. บุคคลผู้ถือความถูกต้องเป็นใหญ่ ทำด้วยอำนาจเมตตา กรุณา เป็นต้น จัดเข้าในอธิปเตยยะข้อไหนได้ หรือไม่ ? (๒๕๔๔) ตอบ จัดเข้าในธัมมาธิปเตยยะได้ ฯ ๔. บุคคลผู้ถือความถูกต้องเป็นใหญ่ ทำด้วยความเมตตา กรุณา เป็นต้น จัดเข้าในอธิปเตยยะข้อไหน ? (๒๕๖๔) ตอบ จัดเข้าในธัมมาธิปเตยยะได้ ฯ ๕. ผู้มีอัตตาธิปเตยยะ กับ ผู้มีธัมมาธิปเตยยะ มีความมุ่งหมายในการทำงาน ต่างกันอย่างไร ? (๒๕๕๕) ตอบ ผู้มีอัตตาธิปเตยยะปรารภภาวะของตนเป็นใหญ่ ทำด้วยมุ่งให้สมภาวะของตน ผู้ทำมุ่งผลอันจะ ได้แก่ตน หรือมุ่งความสะดวกแห่งตน
  • 18. ๑๐ { ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นโท วัดอนุกูลพัชรสิงหศักดาราม จังหวัดตาก ส่วนผู้มีธัมมาธิปเตยยะ ทำด้วยไม่มุ่งหมายอย่างอื่น เป็นแต่เห็นสมควร เห็นว่าถูกก็ทำ หรือทำ ด้วยอำนาจเมตตากรุณาเป็นอาทิ ฯ อภิสังขาร ๓ ๑. พระบาลีว่า “อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา” เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร ดังนี้ คำว่า สังขาร หมายถึงอะไร ? ได้แก่อะไรบ้าง ? (๒๕๕๔) ตอบ หมายถึงสภาพผู้ปรุงแต่ง ฯ ได้แก่ ๑. ปุญญาภิสังขาร อภิสังขารคือบุญ ๒. อปุญญาภิสังขาร อภิสังขารคือบาป ๓. อเนญชาภิสังขาร อภิสังขารคืออเนญชา ทวาร ๓ ๑. กรรมและทวาร คืออะไร ? อภิชฌาเป็นกรรมใดและเกิดทางทวารใดบ้าง จงอธิบาย (๒๕๕๐) ตอบ กรรม คือการกระทำ ส่วนทวาร คือทางเกิดของกรรม ฯ อภิชฌา ความอยากได้ เป็นมโนกรรมได้อย่างเดียว และเกิดได้ทั้ง ๓ ทวาร เป็นกายทวาร เช่น มีความอยากได้แล้วลูบคลำพัสดุที่อยากได้นั้น แต่ไม่มีไถยจิต เป็นวจีทวาร เช่น มีความอยากได้ แล้วบ่นว่า ทำอย่างไรดีหนอ จักได้พัสดุนั้น และเป็นมโนทวาร เช่น มีความอยากได้แล้วรำพึงในใจ ฯ ๒. การฆ่าสัตว์ อย่างไรเกิดทางกายทวาร อย่างไรเกิดทางวจีทวาร ? (๒๕๕๖) ตอบ ฆ่าด้วยตนเองเกิดทางกายทวาร ใช้ให้ผู้อื่นฆ่าเกิดทางวจีทวาร ฯ ญาณ ๓ ๑. ญาณ ๓ ที่เป็นไปในจตุราริยสัจ มีอะไรบ้าง ? ญาณ ๓ ที่เป็นไปในทุกขสมุทัยมีอธิบายอย่างไร ? (๒๕๔๕) ตอบ ๑. สัจจญาณ ปรีชาหยั่งรู้อริยสัจ ๒. กิจจญาณ ปรีชาหยั่งรู้กิจอันควรทำ ๓. กตญาณ ปรีชาหยั่งรู้กิจอันทำแล้ว ฯ ๑. ปรีชาหยั่งรู้ว่า นี้ทุกขสมุทัย จัดเป็นสัจจญาณ ๒. ปรีชาหยั่งรู้ว่า ทุกขสมุทัย เป็นสภาพที่ควรละเสีย จัดเป็นกิจจญาณ ๓. ปรีชาหยั่งรู้ว่า ทุกขสมุทัยที่ควรละ ๆ ได้แล้ว จัดเป็นกตญาณ ฯ
  • 19. วัดอนุกูลพัชรสิงหศักดาราม จังหวัดตาก ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นโท } ๑๑ ๒. ญาณ ๓ ที่เป็นไปในอริยสัจ ๔ มีอะไรบ้าง ? ญาณ ๓ ที่เป็นไปในทุกขนิโรธสัจมีอธิบายอย่างไร ? (๒๕๔๖, ๒๕๕๓) ตอบ มี ๑. สัจจญาณ ปรีชาหยั่งรู้อริยสัจ ๒. กิจจญาณ ปรีชาหยั่งรู้กิจอันควรทำ ๓. กตญาณ ปรีชาหยั่งรู้กิจอันทำแล้ว ฯ มีอธิบายว่า ๑. ปรีชาหยั่งรู้ว่า นี้ทุกขนิโรธสัจ จัดเป็นสัจจญาณ ๒. ปรีชาหยั่งรู้ว่า นี้ทุกขนิโรธสัจเป็นสภาพที่ควรทำให้แจ้ง จัดเป็นกิจจญาณ ๓. ปรีชาหยั่งรู้ว่า นี้ทุกขนิโรธสัจที่ควรทำให้แจ้ง ๆ แล้ว จัดเป็นกตญาณ ฯ ๓. กิจจญาณ คืออะไร ? เป็นไปในอริยสัจ ๔ อย่างไร ? (๒๕๕๑) ตอบ คือ ปรีชาหยั่งรู้กิจอันควรทำ ฯ ปรีชาหยั่งรู้ว่า ทุกข์เป็นธรรมชาติที่ควรกำหนดรู้ ทุกขสมุทัยเป็นธรรมชาติที่ควรละ ทุกขนิโรธ เป็นธรรมชาติที่ควรทำให้แจ้ง ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาเป็นธรรมชาติที่ควรทำให้เกิด ฯ ๔. กตญาณ เป็นไปในอริยสัจ ๔ อย่างไร ? (๒๕๕๗) ตอบ ปรีชาหยั่งรู้ว่า ทุกข์ควรกำหนดรู้ได้กำหนดรู้แล้ว ทุกขสมุทัยที่ควรละได้ละแล้ว ทุกขนิโรธที่ควร ทำให้แจ้งได้ทำให้แจ้งแล้ว ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาที่ควรเจริญได้เจริญแล้ว ฯ ๕. ญาณ ๓ ที่เป็นไปในทุกขสมุทัย มีอธิบายอย่างไร ? (๒๕๕๓, ๒๕๖๑) ตอบ มีอธิบายว่า ๑. ปรีชาหยั่งรู้ว่า นี้ทุกขสมุทัย จัดเป็นสัจจญาณ ๒. ปรีชาหยั่งรู้ว่า ทุกขสมุทัย เป็นสภาพที่ควรละ จัดเป็นกิจจญาณ ๓. ปรีชาหยั่งรู้ว่า ทุกขสมุทัย เป็นสภาพที่ละได้แล้ว จัดเป็นกตญาณ ฯ ๖. ญาณ ๓ ที่เป็นไปในทุกขสัจ มีอธิบายอย่างไร ? (๒๕๕๕) ตอบ มีอธิบายว่า ๑. ปรีชาหยั่งรู้ว่า นี้ทุกขสัจ จัดเป็นสัจจญาณ ๒. ปรีชาหยั่งรู้ว่า นี้ทุกขสัจเป็นสภาพที่ควรกำหนดรู้ จัดเป็นกิจจญาณ ๓. ปรีชาหยั่งรู้ว่า นี้ทุกขสัจที่ควรกำหนดรู้ ได้กำหนดรู้แล้ว จัดเป็นกตญาณ ฯ
  • 20. ๑๒ { ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นโท วัดอนุกูลพัชรสิงหศักดาราม จังหวัดตาก ปาฏิหาริย์ ๓ ๑. ปาฏิหาริย์คืออะไร ? พระพุทธเจ้าทรงยกย่องปาฏิหาริย์อะไรว่าเป็นอัศจรรย์ยิ่งกว่าปาฏิหาริย์อื่น ? (๒๕๔๔, ๒๕๖๒) ตอบ คือ การกระทำที่ให้บังเกิดผลเป็นอัศจรรย์ ฯ ทรงยกย่องอนุสาสนีปาฏิหาริย์ว่าเป็นอัศจรรย์ยิ่งกว่าปาฏิหาริย์อื่น ฯ ๒. ปาฏิหาริย์มีอะไรบ้าง ? ทำไมจึงยกย่องอนุสาสนีปาฏิหาริย์ว่าอัศจรรย์ ? (๒๕๖๐) ตอบ มี ๑. อิทธิปาฏิหาริย์ ฤทธิ์เป็นอัศจรรย์ ๒. อาเทสนาปาฏิหาริย์ รู้ใจเป็นอัศจรรย์ ๓. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ คำสอนเป็นอัศจรรย์ ฯ เพราะอาจจูงใจผู้ฟังให้เห็นคล้อยตาม ละความชั่วทำความดี ตั้งแต่ขั้นต่ำ คือการถึงสรณะและ รักษาศีล ตลอดถึงขั้นสูงคือมรรคผลนิพพานได้ ฯ ๓. ปาฏิหาริย์ ๓ มีอะไรบ้าง ? อย่างไหนเป็นอัศจรรย์ที่สุด ? (๒๕๕๑) ตอบ มี อิทธิปาฏิหาริย์ ฤทธิ์เป็นอัศจรรย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์ ดักใจเป็นอัศจรรย์ อนุสาสนีปาฏิหาริย์ คำสอนเป็นอัศจรรย์ ฯ อนุสาสนีปาฏิหาริย์ เป็นอัศจรรย์ที่สุด ฯ ปิฎก ๓ ๑. ปิฎก ๓ ได้แก่อะไร ? แต่ละปิฎก ว่าด้วยเรื่องอะไร ? (๒๕๕๒) ตอบ ได้แก่ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก ฯ พระวินัยปิฎก ว่าด้วยเรื่องฎกระเบียบข้อบังคับที่นำความประพฤติให้สม่ำเสมอกัน หรือ เป็นเรื่องบริหารคณะ พระสุตตันตปิฎก ว่าด้วยคำสอนยกบุคคลเป็นที่ตั้ง พระอภิธรรมปิฎก ว่าด้วยคำสอนยกธรรมล้วน ๆ ไม่เจือด้วยสัตว์หรือบุคคลเป็นที่ตั้ง ฯ พุทธจริยา ๓ ๑. โลกัตถจริยา ที่พระพุทธองค์ทรงประพฤติเป็นประโยชน์แก่โลกนั้น มีอธิบายอย่างไร ? (๒๕๕๘) ตอบ มีอธิบายว่า ทรงประพฤติเป็นประโยชน์แก่มหาชนที่นับว่าสัตว์โลกทั่วไป เช่น ทรงแผ่พระญาณ ตรวจดูสัตว์โลกทุกเช้าค่ำ ผู้ใดปรากฏในข่ายพระญาณ เสด็จไปโปรดผู้นั้น สรุปคือ ทรงสงเคราะห์คน ทั้งหลายโดยฐานเป็นเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ฯ
  • 21. วัดอนุกูลพัชรสิงหศักดาราม จังหวัดตาก ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นโท } ๑๓ ๒. พระพุทธเจ้าทรงประพฤติประโยชน์โดยฐานเป็นพระพุทธเจ้าที่เรียกว่า พุทธัตถจริยา คือทรงประพฤติ อย่างไร ? (๒๕๔๘) ตอบ ทรงทำหน้าที่ของพระพุทธเจ้า คือได้ทรงแสดงธรรมประกาศพระศาสนาให้บริษัททั้งคฤหัสถ์และ บรรพชิตรู้ทั่วถึงธรรมตามภูมิชั้น และทรงบัญญัติสิกขาบท อันเป็นอาทิพรหมจรรย์และอภิสมาจาร ฯ ๓. พุทธจริยาและพุทธิจริต ต่างกันอย่างไร ? (๒๕๔๔) ตอบ พุทธจริยา คือพระจริยาของพระพุทธเจ้า พุทธิจริต คือผู้มีความรู้เป็นปกติ ฯ ภพ ๓ ๑. ภพกับภูมิต่างกันอย่างไร ? มีอย่างละเท่าไร ? (๒๕๕๓) ตอบ ภพ หมายถึงโลกเป็นที่อยู่ต่างชั้นแห่งหมู่สัตว์ มี ๓ ภูมิ หมายถึงภาวะอันประณีตขึ้นไปเป็นชั้น ๆ แห่งจิตและเจตสิก มี ๔ ฯ วัฏฏะ ๓ ๑. กิเลส กรรม วิบาก เรียกว่าวัฏฏะ เพราะเหตุไร ? จงอธิบาย (๒๕๕๑) ตอบ เพราะวน คือหมุนเวียนกันไป อธิบายว่า กิเลสเกิดขึ้นแล้วให้ทำกรรม ครั้นทำกรรมแล้ว ย่อม ได้รับวิบากแห่งกรรม เมื่อได้รับวิบาก กิเลสก็เกิดขึ้นอีก วนกันไปอย่างนี้ ฯ ๒. กิเลส กรรม วิบาก ได้ชื่อว่า วัฏฏะ เพราะเหตุไร ? จะตัดให้ขาดได้ด้วยอะไร ? (๒๕๕๗) ตอบ เพราะหมุนเวียนกันไป คือ กิเลสเกิดขึ้นแล้วเป็นเหตุให้ทำกรรม ครั้นทำกรรมแล้ว ย่อมได้รับ วิบากแห่งกรรม เมื่อได้รับวิบาก กิเลสเกิดขึ้นอีก วนกันไปอย่างนี้ ฯ ด้วยอรหัตตมรรค ฯ ๓. กิเลส กรรม วิบาก ได้ชื่อว่า วัฏฏะ ที่แปลว่าความหมุนเวียน อยากทราบว่าหมุนเวียน อย่างไร ? (๒๕๖๓) ตอบ อย่างนี้ คือ กิเลสเกิดขึ้นแล้วเป็นเหตุให้ทํากรรม ครั้นทํากรรมแล้ว ย่อมได้รับวิบากแห่งกรรม เมื่อได้รับวิบาก กิเลสเกิดขึ้นอีก วนกันไปอย่างนี้ ฯ ๔. ไตรวัฏฏะ อันได้แก่ กิเลสวัฏฏะ กัมมวัฏฏะ วิปากวัฏฏะ มีสภาพ เกี่ยวเนื่องวนกันไปอย่างไร ? ตัด ให้ขาดได้ด้วยอะไร ? (๒๕๕๔) ตอบ อย่างนี้ คือกิเลสเกิดขึ้นแล้วให้ทำกรรม ครั้นทำกรรมแล้ว ย่อมได้รับวิบากแห่งกรรม เมื่อ ได้รับวิบาก กิเลสก็เกิดขึ้นอีก วนกันไปอย่างนี้ ฯ ได้ด้วยอรหัตตมรรคญาณ ฯ
  • 22. ๑๔ { ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นโท วัดอนุกูลพัชรสิงหศักดาราม จังหวัดตาก วิชชา ๓ ๑. อาสวักขยญาณ รู้จักทำอาสวะให้สิ้น มีอธิบายอย่างไร ? (๒๕๕๒) ตอบ มีอธิบายอย่างนี้ รู้ชัดตามจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้อาสวะ นี้เหตุเกิดอาสวะ นี้ความดับอาสวะ นี้ทางไปถึงความดับอาสวะ เมื่อรู้เห็นอย่างนี้ จิต พ้นแล้ว จากกามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ ฯ วิโมกข์ ๓ ๑. วิโมกข์ คืออะไร ? มีอะไรบ้าง ? (๒๕๕๐) ตอบ คือ ความพ้นจากกิเลส ฯ มีสุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์ ฯ วิเวก ๓ ๑. วิเวก ๓ คืออะไรบ้าง ? จงอธิบายแต่ละอย่างพอเข้าใจ (๒๕๕๘) ตอบ คือ กายวิเวก สงัดกาย ได้แก่อยู่ในที่สงัด จิตตวิเวก สงัดจิต ได้แก่ทำจิตให้สงบด้วยสมถภาวนา อุปธิวิเวก สงัดกิเลส ได้แก่ทำใจให้บริสุทธิ์จากกิเลสด้วยวิปัสสนาภาวนา ฯ สังขาร ๓ ๑. ในสังขาร ๓ อะไรชื่อว่ากายสังขารและวจีสังขาร ? เพราะเหตุไรจึงได้ชื่ออย่างนั้น ? (๒๕๕๘) ตอบ ลมอัสสาสะปัสสาสะ ได้ชื่อว่า กายสังขาร เพราะปรนปรือกายให้เป็นอยู่วิตกกับวิจาร ได้ชื่อว่า วจีสังขาร เพราะตริแล้วตรองแล้วจึงพูด ไม่เช่นนั้นวาจานั้นจักไม่เป็นภาษา ฯ โสดาบัน ๓ ๑. คำว่า “โสดาบัน” แปลว่าอะไร ? พระอริยบุคคลชั้นโสดาบันนี้ ท่านละกิเลสอะไรได้ขาดบ้าง ? (๒๕๔๖) ตอบ โสดาบัน แปลว่า ผู้แรกถึงกระแสพระนิพพาน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา จะต้องตรัสรู้ใน ภายภาคหน้า ฯ ท่านละสังโยชน์ได้ขาด ๓ อย่าง คือ ๑. สักกายทิฏฐิ ๒. วิจิกิจฉา ๓. สีลัพพตปรามาส ฯ ๒. คำว่า “โสดาบัน” แปลว่าอะไร ? ผู้บรรลุโสดาบันนั้น ละสังโยชน์อะไรได้เด็ดขาด ? (๒๕๕๙) ตอบ โสดาบัน แปลว่า ผู้แรกถึงกระแสพระนิพพาน ฯ ท่านละสังโยชน์ได้เด็ดขาด ๓ อย่าง คือ ๑. สกักายทฏิฐิ ๒. วิจกิจิฉา ๓. สีลัพพตปรามาส ฯ
  • 23. วัดอนุกูลพัชรสิงหศักดาราม จังหวัดตาก ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นโท } ๑๕ ๓. คำว่า พระโสดาบัน และสัตตักขัตตุปรมะ มีอธิบายอย่างไร ? (๒๕๕๑) ตอบ พระโสดาบัน คือพระอริยบุคคลผู้ได้บรรลุอริยผลขั้นแรก สัตตักขัตตุปรมะ คือพระโสดาบันผู้จะเกิดอีก ๗ ชาติเป็นอย่างยิ่ง ฯ จตุกกะ หมวด ๔ อบาย ๔ ๑. อบาย ได้แก่อะไร ? มีอะไรบ้าง ? (๒๕๕๑) ตอบ ได้แก่ ภูมิ กำเนิดหรือพวก อันหาความเจริญมิได้ ฯ มี นิรยะ คือนรก ติรัจฉานโยนิ คือกำเนิดดิรัจฉาน ปิตติวิสัย คือภูมิแห่งเปรต อสุรกาย คือพวกอสุระ ฯ ๒. อาหารของสัตว์นรกและเปรต คืออะไร ? คนจำพวกไหนเปรียบเหมือนอสุรกาย ในอบาย ๔ ? (๒๕๔๕) ตอบ อาหารของสัตว์นรกคือกรรม ส่วนของเปรตคือกรรมและผลทานที่ญาติมิตรทำบุญอุทิศให้ ฯ คนลอบทำโจรกรรม หลอกลวงฉกชิงเอาทรัพย์ของผู้อื่น เปรียบเหมือนอสุรกาย ฯ อปัสเสนธรรม ๔ ๑. ในอปัสเสนธรรม ข้อว่า “พิจารณาแล้วเสพของอย่างหนึ่ง” คำว่า “ของอย่างหนึ่ง” ในข้อนี้ได้แก่ อะไร ? ผู้พิจารณาตามนั้น ได้ประโยชน์อย่างไร ? (๒๕๔๖) ตอบ ได้แก่ ปัจจัย ๔ บุคคลและธรรม เป็นต้น ที่ทำให้เกิดความสบาย ฯ ได้ประโยชน์อย่างนี้ คือ ทำกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ทำกุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญยิ่งขึ้น ทำ กิเลสและอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้เสื่อมไป ฯ ๒. อปัสเสนธรรม (ธรรมเป็นที่พิง) ข้อที่ ๒ ว่าพิจารณาแล้วอดกลั้นของ อย่างหนึ่ง นั้นมีอธิบายอย่างไร ? (๒๕๕๕) ตอบ มีอธิบายว่า อดกลั้นอารมณ์อันไม่เป็นที่เจริญใจ ต่างโดยหนาว ร้อน หิว กระหาย ถ้อยคำ เสียดแทง และทุกขเวทนาอันแรงกล้า ฯ ๓. อปัสเสนธรรมข้อว่า “พิจารณาแล้วบรรเทาของอย่างหนึ่ง” ของอย่างหนึ่งนั้น คืออะไร ? (๒๕๕๘) ตอบ คือ อกุศลวิตกอันสัมปยุตด้วยกาม พยาบาท วิหิงสา ฯ
  • 24. ๑๖ { ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นโท วัดอนุกูลพัชรสิงหศักดาราม จังหวัดตาก อัปปมัญญา ๔ ๑. เมตตา มีความหมายว่าอย่างไร ? เมตตาในพรหมวิหาร และในอัปปมัญญา ต่างกันอย่างไร ? (๒๕๖๑) ตอบ มีความหมายว่า ปรารถนาความสุขความเจริญต่อผู้อื่นด้วยความจริงใจ ฯ ต่างกันโดยวิธีแผ่ คือ แผ่โดยเจาะจงก็ดี โดยไม่เจาะจงก็ดี จัดเป็นพรหมวิหาร ถ้าแผ่โดยไม่เจาะจงไม่จำกัด จัดเป็นอัปปมัญญา ฯ ๒. เมตตา กับ ปรานี มีความหมายต่างกันหรือเหมือนกันอย่างไร ? และอย่างไหน กำจัดวิตกอะไร ? (๒๕๕๔) ตอบ เมตตา หมายถึงความรักใคร่หรือความหวังดี ปรานี หมายถึงความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นจากความทุกข์เข้าลักษณะแห่งกรุณา ฯ เมตตา กำจัดพยาบาทวิตก ปรานี กำจัดวิหิงสาวิตก ฯ ๓. การแผ่เมตตาในพรหมวิหารกับในอัปปมัญญา ต่างกันอย่างไร ? (๒๕๕๗) ตอบ ในพรหมวิหาร เป็นการแผ่เมตตาโดยเจาะจงตัว หรือเจาะจงหมู่คณะ ส่วนในอัปปมัญญา เป็นการแผ่เมตตาโดยไม่เจาะจงตัวไม่มีจำกัด ฯ ๔. พรหมวิหารกับอัปปมัญญา ต่างกันอย่างไร ? อย่างไหนเป็นปฏิปทาโดยตรงของภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ? (๒๕๔๙) ตอบ ต่างกันโดยวิธีแผ่ คือแผ่โดยเจาะจงตัวก็ดี โดยไม่เจาะจงตัวก็ดี แต่ยังจำกัดหมู่นั้นหมู่นี้จัดเป็น พรหมวิหาร ถ้าแผ่โดยไม่เจาะจงไม่จำกัด จัดเป็นอัปปมัญญา ฯ อัปปมัญญาเป็นปฏิปทาของภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ฯ พระอริยบุคคล ๔ ๑. พระอริยบุคคล ๔ ได้แก่ใครบ้าง ? พระอริยบุคคลประเภทใด ละอวิชชาได้เด็ดขาด ? (๒๕๖๓) ตอบ ได้แก่ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ ฯ พระอรหันต์ละอวิชชาได้เด็ดขาด ฯ ๒. พระอริยบุคคล ๔ ได้แก่ใครบ้าง ? พระโสดาบันละสังโยชน์อะไรได้บ้าง ? (๒๕๕๐) ตอบ ได้แก่พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ ฯ พระโสดาบันละสังโยชน์ได้ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ฯ
  • 25. วัดอนุกูลพัชรสิงหศักดาราม จังหวัดตาก ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นโท } ๑๗ อริยวงศ์ ๔ ๑. อริยวงศ์ คืออะไร ? มีกี่อย่าง ? ข้อที่ ๔ ว่าอย่างไร ? (๒๕๕๕) ตอบ คือ ปฏิปทาของพระอริยบุคคลผู้เป็นสมณะ ฯ มี ๔ อย่าง ฯ ข้อที่ ๔ ว่า ยินดีในการเจริญกุศลและในการละอกุศล ฯ ๒. ภิกษุผู้ได้รับการสรรเสริญว่าดำรงอยู่ในอริยวงศ์ เพราะเป็นผู้ปฏิบัติอย่างไร ? เมื่อดำรงอยู่ในอริยวงศ์ ถูกต้องดีแล้วจะได้รับผลอย่างไร ? (๒๕๔๗) ตอบ เพราะเป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะตามมีตามได้ และยินดีในการเจริญกุศลและ ในการละอกุศล ไม่ยกตนข่มผู้อื่น ขยัน ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติ ฯ ย่อมได้รับผลคือความสุขใจและปลอดโปร่งใจ เพราะความประพฤติดีปฏิบัติชอบของตน และไม่ ต้องเดือดร้อนใจเพราะความเดือดร้อน เนื่องด้วยการแสวงหาไม่สมควรและประพฤติเสียหายโดย ประการต่าง ๆ ย่อมครอบงำความยินดีและความไม่ยินดีเสียได้ ความยินดีและความไม่ยินดีก็ไม่อาจ ครอบงำท่านได้ และใคร ๆ ก็ไม่อาจติเตียนท่านได้ ฯ ๓. ปฏิปทาของพระอริยบุคคลผู้เป็นสมณะ เรียกว่าอะไร ? มีอะไรบ้าง ? (๒๕๖๒) ตอบ เรียกว่า อริยวงศ์ ฯ มี ๔ คือ ๑. สันโดษด้วยจีวรตามมีตามเกิด ๒. สันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามเกิด ๓. สันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามเกิด ๔. ยินดีในการเจริญกุศลและในการละอกุศลฯ อุปาทาน ๔ ๑. อุปาทาน คืออะไร ? การถือเราถือเขาด้วยอำนาจมานะ จนเป็นเหตุถือพวก จัดเป็นอุปาทานอะไร ในอุปาทาน ๔ ? (๒๕๕๘, ๒๕๖๔) ตอบ คือ การถือมั่นข้างเลว ได้แก่ถือรั้น ฯ จัดเป็นอัตตวาทุปาทาน ฯ ๒. ทิฏฐุปาทานและสีลัพพตุปาทาน คืออะไร ? (๒๕๔๘) ตอบ ทิฏฐุปาทาน คือถือมั่นความเห็นผิดด้วยอำนาจหัวดื้อ จนเป็นเหตุเถียงกัน ทะเลาะกัน สีลัพพตุปาทาน คือถือมั่นธรรมเนียมที่เคยประพฤติมาจนชิน ด้วยอำนาจความเชื่อว่าขลัง จน เป็นเหตุหัวดื้องมงาย ฯ
  • 26. ๑๘ { ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นโท วัดอนุกูลพัชรสิงหศักดาราม จังหวัดตาก โอฆะ ๔ ๑. กิเลส ชื่อว่าโอฆะ โยคะ และอาสวะ เพราะเหตุไร ? (๒๕๕๗) ตอบ ชื่อว่าโอฆะ เพราะดุจเป็นกระแสน้ำอันท่วมใจสัตว์ ชื่อว่าโยคะ เพราะประกอบสัตว์ไว้ในภพ ชื่อว่าอาสวะ เพราะเป็นสภาพหมักหมมอยู่ในสันดาน ฯ ๒. ทิฏฐิ ความเห็นผิด ท่านเรียกว่า โอฆะ โยคะ อาสวะ เพราะเหตุใด ? (๒๕๖๐) ตอบ เรียกว่าโอฆะ เพราะเป็นดุจกระแสน้ำอันท่วมใจสัตว์ เรียกว่าโยคะ เพราะประกอบสัตว์ไว้ในภพ เรียกว่าอาสวะ เพราะเป็นสภาพหมักหมมอยู่ในกระแสจิต ฯ ๓. กาม ภพ ทิฏฐิ และอวิชชา ได้ชื่อว่า โอฆะ โยคะ และอาสวะ เพราะเหตุไร ? (๒๕๕๓) ตอบ ได้ชื่อว่าโอฆะ เพราะเป็นดุจกระแสน้ำอันท่วมใจสัตว์ ได้ชื่อว่าโยคะ เพราะประกอบสัตว์ไว้ในภพ ได้ชื่อว่าอาสวะ เพราะเป็นสภาพหมักหมมอยู่ในสันดาน ฯ ๔. กาม ภพ ทิฏฐิ อวิชชา เพราะเหตุไรจึงเรียกว่า โอฆะ โยคะ อาสวะ ? (๒๕๔๔) ตอบ เรียกว่า โอฆะ เพราะเป็นดุจกระแสน้ำอันท่วมใจสัตว์ เรียกว่า โยคะ เพราะประกอบสัตว์ไว้ใน ภพ เรียกว่า อาสวะ เพราะเป็นสภาพหมักหมมอยู่ในสันดาน อริยสัจ ๔ ๑. กิจในอริยสัจ ๔ มีอะไรบ้าง ? (๒๕๖๒) ตอบ มี ๑. ปริญญา กำหนดรู้ทุกขสัจ ๒. ปหานะ ละสมุทัยสัจ ๓. สัจฉิกรณะ ทำให้แจ้งนิโรธสัจ ๔. ภาวนา ทำมัคคสัจให้เกิด ฯ ๒. กิจในอริยสัจแต่ละอย่างนั้นมีอะไรบ้าง ? (๒๕๔๔) ตอบ มี ๔ คือ ๑. ปริญญา กำหนดรู้ทุกขสัจ ๒. ปหานะ ละสมุทัยสัจ ๓. สัจฉิกรณะ ทำให้แจ้งนิโรธสัจ ๔. ภาวนา ทำมัคคสัจให้เกิด ฯ
  • 27. วัดอนุกูลพัชรสิงหศักดาราม จังหวัดตาก ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นโท } ๑๙ ทักขิณาวิสุทธิ ๔ ๑. ทักขิณาวิสุทธิ มีอะไรบ้าง ? อย่างไหนให้อานิสงส์มากที่สุด ? (๒๕๕๖) ตอบ ทักขิณาบางอย่าง บริสุทธิ์ฝ่ายทายก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ทักขิณาบางอย่าง บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก ทักขิณาบางอย่าง ไม่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายก ทั้งฝ่ายปฏิคาหก ทักขิณาบางอย่าง บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายก ทั้งฝ่ายปฏิคาหก ฯ อย่างที่ ๔ คือทักขิณาที่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายก ทั้งฝ่ายปฏิคาหก ฯ ๒. ทักขิณา คืออะไร ? ทักขิณานั้น จะบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์ มีอะไรเป็นเครื่องหมาย ? (๒๕๔๙) ตอบ คือ ของทำบุญ ฯ มีกัลยาณธรรมของทายก หรือปฏิคาหกฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เป็นเครื่องหมายให้รู้ว่าบริสุทธิ์ และมี ความเป็นผู้ทุศีลและอธรรม ของทายกหรือปฏิคาหกฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นเครื่องหมายให้รู้ว่าไม่บริสุทธิ์ ฯ ๓. ทักขิณา คืออะไร ? ทักขิณานั้น จะบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์ในฝ่ายทายก และในฝ่ายปฏิคาหกนั้น มี อะไรเป็นเครื่องหมาย ? (๒๕๕๔) ตอบ คือ ของทำบุญ ฯ ทักขิณาจะบริสุทธิ์ มีศีลมีกัลยาณธรรมเป็นเครื่องหมาย ทักขิณาจะไม่บริสุทธิ์ มีทุศีลมีบาปธรรมเป็นเครื่องหมาย ฯ ๔. คำว่า ทักขิณา ในทักขิณาวิสุทธินั้น หมายถึงอะไร ? ทักขิณาจะไม่บริสุทธิ์และบริสุทธิ์ กำหนดรู้ได้ อย่างไร ? (๒๕๔๖) ตอบ หมายถึงของทำบุญ ฯ กำหนดรู้ได้อย่างนี้ ทั้งทายก ทั้งปฏิคาหกเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ ทักขิณานั้น ชื่อว่าไม่บริสุทธิ์ทั้งสอง ฝ่าย ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งบริสุทธิ์ ชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายเดียว ทั้งสองฝ่ายบริสุทธิ์ ชื่อว่าบริสุทธิ์ทั้งสองฝ่าย ฯ โยนิ ๔ ๑. โยนิ คืออะไร ? มีอะไรบ้าง ? เทวดา และสัตว์นรก จัดอยู่ในโยนิไหน ? (๒๕๕๐) ตอบ คือ กำเนิด ฯ มีชลาพุชะ เกิดในครรภ์, อัณฑชะ เกิดในไข่, สังเสทชะ เกิดในเถ้าไคล, โอปปาติกะ เกิดผุด ขึ้น ฯ จัดอยู่ใน โอปปาติกะ ฯ
  • 28. ๒๐ { ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นโท วัดอนุกูลพัชรสิงหศักดาราม จังหวัดตาก ปัญจกะ หมวด ๕ มัจฉริยะ ๕ ๑. ธรรมมัจฉริยะ ความตระหนี่ธรรม มีอธิบายอย่างไร ? (๒๕๕๘) ตอบ มีอธิบายว่า ความหวงธรรม หวงศิลปวิทยา ไม่ปรารถนาจะแสดงจะบอกแก่คนอื่น เกรงว่าเขา จะรู้เทียมตน ฯ ๒. กุลมัจฉริยะ ตระหนี่ตระกูล คืออย่างไร ? (๒๕๔๕) ตอบ คือ หวงแหนตระกูลไม่ยอมให้ตระกูลอื่นมาเกี่ยวดองด้วย ถ้าเป็นบรรพชิตก็หวงอุปัฏฐาก ไม่ พอใจให้ไปบำรุงภิกษุอื่น ฯ ๓. ครูสอนศิษย์ ปิดบังอำพรางความรู้ ไม่บอกให้สิ้นเชิง จัดเข้าในมัจฉริยะข้อไหน ? (๒๕๔๕) ตอบ ธัมมมัจฉริยะ ฯ มาร ๕ ๑. มาร คืออะไร ? เฉพาะอภิสังขารมาร หมายถึงอะไร ? (๒๕๔๙) ตอบ คือ สิ่งที่ล้างผลาญทำลายความดี ชักนำให้ทำบาปกรรม ปิดกั้นไม่ให้ทำความดี จนถึงปิดกั้นไม่ให้ เข้าใจสรรพสิ่งตามความเป็นจริง ฯ หมายถึงอกุศลกรรม ฯ ๒. มาร มีอะไรบ้าง ? อกุศลกรรมจัดเป็นมารประเภทใด ? (๒๕๕๒) ตอบ มีดังนี้ ๑. ขันธมาร มารคือปัญจขันธ์ ๒. กิเลสมาร มารคือกิเลส ๓. อภิสังขารมาร มารคืออภิสังขาร ๔. มัจจุมาร มารคือมรณะ ๕. เทวปุตตมาร มารคือเทวบุตร ฯ อกุศลกรรมเป็นมารประเภทอภิสังขารมาร ฯ ๓. มาร ๕ คืออะไรบ้าง ? ปัญจขันธ์ ได้ชื่อว่าเป็นมารเพราะเหตุไร ? (๒๕๖๓) ตอบ คือ ขันธมาร กิเลสมาร อภิสังขารมาร มัจจุมาร และเทวปุตตมาร ฯ เพราะปัญจขันธ์นั้น บางทีทําความลําบากให้ อันเป็นเหตุเบื่อหน่าย จนถึงฆ่าตัวตายเสียเองก็มี ฯ
  • 29. วัดอนุกูลพัชรสิงหศักดาราม จังหวัดตาก ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นโท } ๒๑ ๔. มาร ๕ คืออะไรบ้าง ? กิเลสได้ชื่อว่ามารเพราะเหตุไร ? (๒๕๖๑) ตอบ คือ ปัญจขันธ์ กิเลส อภิสังขาร มรณะ และเทวบุตร ฯ ได้ชื่อว่ามาร เพราะผู้ที่ตกอยู่ในอำนาจแห่งกิเลสแล้ว กิเลสย่อมผูกรัดไว้บ้าง ย่อมทำให้เสียคน บ้าง ฯ ๕. ปัญจขันธ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเป็นมาร มีอธิบายว่าอย่างไร ? (๒๕๖๐) ตอบ มีอธิบายว่า ปัญจขันธ์นั้น บางทีทำความลำบาก บางทีทำให้เกิดความเบื่อหน่าย จนถึงฆ่าตัว ตายก็มี ฯ ๖. ปัญจขันธ์ ได้ชื่อว่ามาร เพราะเหตุไร ? (๒๕๕๕) ตอบ เพราะบางทีทำความลำบากให้ อันเป็นเหตุเบื่อหน่าย จนถึงฆ่าตัวตายเสียเองก็มี ฯ ๗. ปัญจขันธ์ ได้ชื่อว่ามาร เพราะเหตุไร ? กิเลสมารและมัจจุมาร จัดเข้าในอริยสัจข้อใดได้หรือไม่ ? เพราะเหตุไร ? (๒๕๔๖) ตอบ เพราะบางทีทำความลำบากให้ อันเป็นเหตุเบื่อหน่าย จนถึงฆ่าตัวตายเสียเองก็มี ฯ ได้ ฯ กิเลสมาร จัดเข้าในทุกขสมุทัยสัจ เพราะกิเลสเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ มัจจุมาร จัดเข้าในทุกขสัจ เพราะเป็นตัวทุกข์ ฯ ๘. มัจจุมารได้แก่อะไร ? ได้ชื่อว่าเป็นมารเพราะเหตุไร ? (๒๕๔๘, ๒๕๕๙) ตอบ ได้แก่ความตาย ฯ ชื่อว่าเป็นมาร เพราะเมื่อความตายเกิดขึ้น บุคคลย่อมหมดโอกาสที่จะทำประโยชน์ใด ๆ อีก ต่อไป ฯ ๙. กรรมฝ่ายอกุศลจัดเป็นมารอะไรในมาร ๕ ? เพราะเหตุไรจึงได้ชื่อว่ามาร ? (๒๕๔๔) ตอบ จัดเป็นอภิสังขารมาร ฯ ที่ได้ชื่อว่ามารเพราะทำให้เป็นผู้ทุรพล ฯ ๑๐. ในพระพุทธศาสนาพูดเรื่องมารไว้มาก อยากทราบว่า คำว่า มาร หมายถึงอะไร ? กิเลสได้ชื่อว่ามาร เพราะเหตุไร ? (๒๕๕๖) ตอบ หมายถึงสิ่งที่ล้างผลาญทำลายความดี ชักนำให้ทำบาปกรรม ปิดกั้นไม่ให้ทำความดี จนถึงปิด กั้น ไม่ให้เข้าใจสรรพสิ่งตามความเป็นจริง ฯ เพราะผู้ที่ตกอยู่ในอำนาจของกิเลสแล้ว ย่อมจะถูกผูกมัดไว้บ้าง ถูกทำให้เสียคนบ้าง ฯ
  • 30. ๒๒ { ประมวลปัญหาและเฉลย นักธรรมชั้นโท วัดอนุกูลพัชรสิงหศักดาราม จังหวัดตาก วิญญาณ ๕ ๑. วิญญาณกับสัญญา ทำหน้าที่ต่างกันอย่างไร ? (๒๕๔๗) ตอบ ทำหน้าที่ต่างกันอย่างนี้ คือวิญญาณทำหน้าที่รู้แจ้งอารมณ์ที่เกิดขึ้น เมื่ออายตนะภายในและ อายตนะภายนอกมากระทบกัน เช่น เมื่อรูปมากระทบตา เกิดการเห็นขึ้นเป็นต้น ส่วนสัญญา ทำหน้าที่จำได้หมายรู้เท่านั้น คือหมายรู้ไว้ซึ่งรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และ ธรรมารมณ์ ว่าเขียว ขาว ดำ แดง ดัง เบา เป็นต้น ฯ ๒. ชิวหาวิญญาณและกายวิญญาณ เกิดขึ้นได้เพราะอาศัยอะไรบ้าง ? (๒๕๕๘) ตอบ ชิวหาวิญญาณเกิดขึ้น เพราะอาศัยลิ้นกับรส (กระทบกัน) และกายวิญญาณเกิดขึ้น เพราะ อาศัยกายกับโผฏฐัพพะ (กระทบกัน) ฯ วิมุตติ ๕ ๑. ในวิมุตติ ๕ วิมุตติอย่างไหนเป็นโลกิยะ อย่างไหนเป็นโลกุตระ ? (๒๕๔๘, ๒๕๖๐) ตอบ ตทังควิมุตติและวิกขัมภนวิมุตติ จัดเป็นโลกิยะ ส่วนสมุจเฉทวิมุตติ ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ และนิสสรณวิมุตติ จัดเป็นโลกุตระ ฯ ๒. วิมุตติ ๒ กับ วิมุตติ ๕ จัดเป็นโลกิยะและโลกุตตระอย่างไร ? (๒๕๔๕) ตอบ วิมุตติ ๒ เป็นโลกุตตระอย่างเดียว ส่วนวิมุตติ ๕ เป็นได้ทั้งโลกิยะและโลกุตตระ ฯ เวทนา ๕ ๑. ความรู้สึกเฉย ๆ ทางกาย กับความรู้สึกเฉย ๆ ทางใจ จัดเข้าในเวทนา ๕ อย่างไร ? (๒๕๕๗) ตอบ ความรู้สึกเฉย ๆ ทางกาย จัดเป็นสุข ความรู้สึกเฉย ๆ ทางใจ จัดเป็นอุเบกขา ฯ ๒. เวทนา ๓ และเวทนา ๕ ได้แก่อะไรบ้าง ? จัดกลุ่มเทียบกันได้อย่างไร ? (๒๕๕๐) ตอบ เวทนา ๓ ได้แก่สุข ทุกข์ เฉย ๆ คือไม่สุขไม่ทุกข์ ส่วนเวทนา ๕ ได้แก่สุข โสมนัส ทุกข์ โทมนัส อุเบกขา ฯ ในเวทนา ๓ สุข คือสุขกายและสุขใจ ซึ่งในเวทนา ๕ สุขกายก็คือสุข และสุขใจก็คือโสมนัส ในเวทนา ๓ ทุกข์ คือทุกข์กายและทุกข์ใจ ซึ่งในเวทนา ๕ ทุกข์กายก็คือทุกข์ และทุกข์ใจก็คือ โทมนัส ส่วนในเวทนา ๓ เฉย ๆ คือไม่สุขไม่ทุกข์ ในเวทนา ๕ ก็คืออุเบกขานั่นเอง ฯ