SlideShare a Scribd company logo
1 of 6
Download to read offline
1
การบาเพ็ญบารมีของพระผู้มีพระภาคเจ้า ตอนที่ ๓๒ กัณหทีปายนจริยา
พลตรี มารวย ส่งทานินทร์
๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๖
เกริ่นนา
เราต้องการบุญ ได้ประพฤติพรหมจรรย์มีจิตเลื่อมใสอยู่ ๗ วันเท่านั้น. ต่อแต่นั้นมาการประพฤติ
ของเราไม่เลื่อมใส ๕๐ ปีเศษ. เราไม่ปรารถนาจะประพฤติเสียเลย ด้วยความสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่
เด็กนี้ เถิด พิษจงระงับ ยัญญทัตตกุมารจงเป็นอยู่.
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก
๑๑. กัณหทีปายนจริยา
ว่าด้วยจริยาของกัณหทีปายนดาบส
[๙๒] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลที่เราเป็นฤาษีนามว่ากัณหทีปายนะ เราไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์
เกินกว่า ๕๐ ปี
[๙๓] ใครๆ จะรู้ใจเราที่ไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์นั้นหามิได้ แม้เราก็ไม่บอกแก่ใครๆ ว่า
ความไม่ยินดี และความยินดีมีในใจของเรา
[๙๔] สหายเพื่อนพรหมจารีของเราชื่อว่ามัณฑัพยะ เป็นฤๅษีมีอานุภาพมาก ประกอบด้วยบุพ
กรรม(กรรมเก่าให้ผล) ถูกหลาวเสียบ
[๙๕] เราช่วยเหลือพยาบาลมัณฑัพยดาบสนั้นให้หายโรคแล้ว ได้อาลากลับมายังอาศรมของเรา
เอง
[๙๖] พราหมณ์ผู้เป็นสหายของเรา ได้พาภริยาและบุตรทั้ง ๓ คนพร้อมใจกันเป็นแขกของเรา
[๙๗] เรานั่งเจรจาปราศรัยกับสหาย และภรรยาของเขาอยู่ในอาศรมของตน เด็กโยนลูกข่าง
เล่นอยู่ ทาให้อสรพิษโกรธแล้ว
[๙๘] ทีนั้น เด็กนั้นใช้มือควานหาตามทางที่ลูกข่างหมุนไป มือไปถูกหัวอสรพิษเข้า
[๙๙] พอไปถูกหัวของมัน งูก็โกรธ มันเคืองจนเหลือจะอดกลั้นอาศัยกาลังพิษ ได้กัดเด็กทันที
[๑๐๐] เด็กถูกงูมีพิษกล้ากัด ล้มลงที่พื้นดิน เหตุนั้น เราเป็นผู้ได้รับทุกข์ หรือว่าทุกข์นั้น
เนื่องจากเรา
[๑๐๑] เราได้ปลอบมารดาและบิดาของเด็กนั้น ผู้มีทุกข์เศร้าโศกให้เบาใจแล้ว ได้ทาสัจจกิริยา
อันประเสริฐสุดครั้งแรกว่า
2
[๑๐๒] เราผู้ต้องการบุญ ได้ประพฤติพรหมจรรย์ มีจิตเลื่อมใสอยู่เพียง ๗ วันเท่านั้น ต่อจากนั้น
การประพฤติของเรามีมาเกิน ๕๐ ปีนี้
[๑๐๓] เราไม่ปรารถนาเลย แต่ก็ยังประพฤติอยู่ ด้วยสัจจะนี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่เด็กนี้ พิษจง
ระงับ ยัญญทัตตกุมารจงเป็นอยู่เถิด
[๑๐๔] พร้อมกับเมื่อเราทาสัจจกิริยา มาณพซึ่งสั่นเทาด้วยกาลังพิษ ก็รู้สึกตัว ลุกขึ้นได้ และหาย
โรค บุคคลมีสัจจะเสมอเราไม่มี นี้ เป็นสัจจบารมีของเรา ฉะนี้ แล
กัณหทีปายนจริยาที่ ๑๑ จบ
คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา
ขุททกนิกาย จริยาปิฎก การบาเพ็ญเนกขัมมบารมีเป็นต้น
๑๑. กัณหทีปายนจริยา
อรรถกถากัณหทีปายนจริยาที่ ๑๑
ได้ยินว่า พระโพธิสัตว์ในกาลนั้นชื่อว่าทีปายนะ เข้าไปหาดาบสมัณฑัพยะผู้เป็นสหายของตนถูก
เสียบหลาว ไม่ทอดทิ้งดาบสนั้นด้วยศีลคุณของเขา ได้ยืนพิงอยู่กับหลาวตลอด ๓ ยาม จึงได้ปรากฏชื่อ
ว่ากัณหทีปายนะ เพราะร่างกายมีสีดา ด้วยหยาดเลือดแห้งที่ไหลจากร่างกายของดาบสนั้นแล้วลงมาใส่.
เราอยู่ประพฤติพรหมจรรย์อย่างไม่ยินดี ในเสนาสนะสงัดและในธรรมอันเป็นอธิกุสล.
ครั้นบวชแล้ว พระมหาสัตว์ยินดีประพฤติพรหมจรรย์อยู่ ๗ วันเท่านั้น ต่อจากนั้นก็อยู่อย่างไม่
ยินดี.
ก็เพราะเหตุไร พระมหาบุรุษในอัตภาพหลายแสนมีอัธยาศัยในเนกขัมมะยินดีอยู่พรหมจรรย์
แต่ในจริยานี้ ไม่ยินดีพรหมจรรย์นั้น. เพราะความหวั่นไหวแห่งความเป็นปุถุชน.
ก็เพราะเหตุไร จึงไม่ครองเรือนใหม่เล่า.
เพราะครั้งแรกเห็นโทษในกามทั้งหลาย ด้วยมีอัธยาศัยในเนกขัมมะจึงบวช เมื่อเป็นดังนั้น พระ
มหาบุรุษจึงเกิดความไม่ยินดีด้วยมิได้ใส่ใจโดยแยบคาย.
พระมหาบุรุษ แม้เมื่อไม่สามารถบรรเทาความไม่ยินดีนั้นได้ จึงเชื่อกรรมและผลแห่งกรรม ละ
สมบัติใหญ่ออกจากเรือน ละสมบัติใด ก็กลับไปเพื่อสมบัตินั้นอีก. รังเกียจคาติเตียนนี้ ว่า กัณหทีปายนะนี้ บ้า
น้าลาย กลับกลอกจริงหนอ เพราะเกรงหิริโอตตัปปะของตนจะแตก.
อนึ่ง ชื่อว่าบุญในการบรรพชานี้ ท่านผู้รู้ทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นสรรเสริญแล้ว. และก็
ดารงอยู่มิได้. เพราะฉะนั้น พระมหาบุรุษแม้ร้องไห้น้าตานองหน้า ด้วยความทุกข์โทมนัส ก็ยังอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์ ไม่สละพรหมจรรย์นั้น.
สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
กัณหทีปายนะนั้นออกบวชด้วยศรัทธาแล้วก็กลับมาอีก เขารังเกียจคาพูดนี้ ว่า กัณหทีปายนะนี้
บ้าน้าลายกลับกลอกหนอ เราไม่ปรารถนาจะประพฤติพรหมจรรย์เสียเลย.
3
อนึ่ง ฐานะของสัตบุรุษอันผู้รู้สรรเสริญแล้ว เราจะเป็นผู้ทาบุญอย่างนี้ .
ในอดีตกาล พระราชาพระนามว่าโกสัมพิกะ ครองราชสมบัติอยู่ในกรุงโกสัมพี แคว้นวังสะ.
ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นบุตรของพราหมณ์มหาศาลมีสมบัติ ๘๐ โกฏิ ในนิคมแห่ง
หนึ่ง. พราหมณ์กุมารได้มีสหายที่รักของเขาชื่อมัณฑัพยะ.
ต่อมา เมื่อมารดาบิดาถึงแก่กรรมทั้งสองเห็นโทษในกาม จึงบริจาคมหาทาน ละกาม เมื่อญาติ
มิตรบริวารชนร้องไห้คร่าครวญ ได้ออกไปสร้างอาศรม ณ หิมวันตประเทศ แล้วบวชเลี้ยงชีพด้วยอาหารอัน
เป็นรากไม้และผลไม้ในป่า ด้วยการเที่ยวขออยู่เกิน ๕๐ ปี.
ทั้งสองไม่สามารถข่มกามฉันทะได้. แม้เพียงฌานก็เกิดขึ้นไม่ได้.
สองดาบสเที่ยวจาริกไปยังชนบท เพื่อเสพอาหารมีรสเค็มและเปรี้ยว ถึงแคว้นกาสี. ณ แคว้นกา
สีนั้น ในนิคมหนึ่ง สหายครั้งเป็นคฤหัสถ์ของทีปายนะ ชื่อว่ามัณฑัพยะอาศัยอยู่. ทั้งสองจึงเข้าไปหามัณฑัพ
ยะนั้น.
มัณฑัพยะเห็นดาบสทั้งสองก็ดีใจสร้างบรรณศาลา บารุงด้วยปัจจัย ๔.
ดาบสทั้งสองอยู่ ณ ที่นั้นได้ ๓-๔ ปี ก็ลามัณฑัพยะนั้นเที่ยวจาริก ไปอาศัยอยู่ในป่าช้า เต็มไป
ด้วยไม้เต็งใกล้กรุงพาราณสี. ที่นั้นทีปายนะอยู่ตามความพอใจ แล้วไปหามัณฑัพยะสหายของตนในนิคมนั้น
อีก. มัณฑัพยดาบสคงอยู่ ณ ที่นั้นเอง.
อยู่มาวันหนึ่ง โจรคนหนึ่งกระทาโจรกรรมภายในเมืองลักทรัพย์หนี ถูกพวกเจ้าของเรือนและ
พวกมนุษย์ที่รักษานครติดตามออกไปทางท่อน้า รีบเข้าป่าช้าทิ้งห่อทรัพย์ไว้ที่ประตูบรรณศาลาของดาบส
แล้วหนีไป.
พวกมนุษย์เห็นห่อทรัพย์จึงคุกคามว่า เจ้าชฎิลชั่วคนร้ายทาโจรกรรมในกลางคืน กลางวันเที่ยว
ไปโดยเพศของดาบส แล้วช่วยกันทุบตีพาดาบสนั้นไปแสดงแด่พระราชา.
พระราชามิได้ทรงสอบสวนมีพระบัญชาให้เสียบบนหลาว. พวกมนุษย์นาดาบสนั้นไปยังป่าช้า
เสียบบนหลาวไม้ตะเคียน. หลาวมิได้เข้าไปในร่างกายของดาบส. แต่นั้นจึงนาหลาวไม้สะเดามา. แม้หลาว
นั้นก็มิได้เข้า. จึงนาหลาวเหล็กมา. หลาวเหล็กก็ไม่เข้า.
ดาบสคิดว่า เป็นกรรมเก่าของเรากระมังหนอ. ดาบสระลึกชาติได้ ได้เห็นกรรมเก่าด้วยเหตุนั้น.
นัยว่า ดาบสนั้นในอัตภาพก่อนเป็นบุตรของนายช่าง ไปยังที่ที่บิดาถากไม้จับแมลงวันตัวหนึ่งจึง
เอาเสี้ยนไม้ทองหลางเสียบดุจหลาว. บาปของเขาได้โอกาสที่นี้ . ดาบสรู้ว่าไม่อาจพ้นจากบาปนี้ ไปได้ จึง
กล่าวกะพวกราชบุรุษว่า หากพวกท่านประสงค์จะเสียบเราที่หลาว. พวกท่านจงนาหลาวไม้ทองหลางมาเถิด.
พวกราชบุรุษได้ทาตามนั้นแล้วเสียบดาบสที่หลาว จัดอารักขาแล้วหนีไป.
ในกาลนั้น กัณหทีปายนดาบสคิดว่า เราไม่ได้เห็นสหายมานานแล้ว จึงมาหามัณฑัพยดาบส ฟัง
เรื่องราวนั้นแล้วจึงไปยังที่นั้นยืนอยู่ข้างหนึ่ง ถามว่า สหายท่านทาอะไร เมื่อดาบสบอกว่าเราไม่ได้ทาอะไร?
กัณหทีปายนะถามว่า ท่านสามารถรักษาความประทุษร้ายทางใจได้หรือไม่ได้.
มัณฑัพยดาบสตอบว่า เราไม่มีความประทุษร้ายทางใจต่อพวกราชบุรุษและพระราชาที่จับเรา.
กัณหทีปายนดาบสกล่าวว่า เมื่อเป็นอย่างนั้น ร่มเงาของผู้มีศีลเช่นท่านเป็นความสุขของเราแล้ว
4
นั่งพิงหลาวอยู่.
พวกบุรุษที่ดูแลกราบทูลเรื่องราวนั้นแด่พระราชา.
พระราชาทรงดาริว่า เราไม่ได้สอบสวนทาลงไป จึงรีบเสด็จไป ณ ที่นั้นตรัสถามทีปายนดาบสว่า
เพราะเหตุไร พระคุณท่านจึงนั่งพิงหลาวอยู่เล่า?
ดาบสทูลว่า อาตมภาพนั่งคอยรักษาดาบสนี้ มหาราช.
พระราชาตรัสถามว่า พระคุณท่านทราบความที่ดาบสนี้ ทาแล้วหรือจึงได้ทาอย่างนี้ ? ทีปายน
ดาบสทูลถึงกรรมที่ไม่บริสุทธิ์.
ลาดับนั้น ทีปายนดาบสกล่าวคามีอาทิว่า
ธรรมดาพระราชาควรเป็นผู้ใคร่ครวญก่อนทา คฤหัสถ์เกียจคร้าน บริโภคกามไม่ดี. บรรพชิตไม่
สารวมก็ไม่ดี. พระราชาไม่ใคร่ครวญก่อนทาก็ไม่ดี. บัณฑิตมักโกรธก็ไม่ดี.
แล้วแสดงธรรมแก่พระราชา.
พระราชาทรงทราบว่า มัณฑัพยดาบสไม่ผิดจึงรับสั่งให้นาหลาวออก. พวกราชบุรุษดึงหลาวแต่
ไม่สามารถนาออกได้.
มัณฑัพยะกล่าวว่า ข้าแต่มหาราช อาตมภาพได้รับโทษเห็นปานนี้ ก็เพราะโทษของกรรมที่ทาไว้
ในชาติก่อน. ใครๆ ก็ไม่อาจดึงหลาวออกจากร่างกายของอาตมภาพได้. หากพระองค์มีพระประสงค์จะทรง
ให้ชีวิตแก่อาตมภาพ ก็ขอได้รับสั่งให้ทาหลาวนี้ เสมอกับผิวหนังแล้วเอาเลื่อยตัดเถิด.
พระราชาทรงให้ทาอย่างนั้น. หลาวได้อยู่ภายในนั่นเอง ไม่เกิดเดือดร้อนอย่างไร.
นัยว่า ในครั้งนั้น มัณฑัพยดาบสเอาเสี้ยนอย่างเล็กเสียบเข้าไปทางผิวหนังของแมลงวัน. เสี้ยน
นั้นยังอยู่ในร่างของแมลงวันนั่นเอง. แมลงวันมิได้ตายด้วยเหตุนั้น แต่ตายด้วยสิ้นอายุของมันเอง
เพราะฉะนั้น แม้มัณฑัพยดาบสนี้ จึงยังไม่ตาย.
พระราชาทรงไหว้ดาบสแล้วทรงขอขมา ทรงให้ดาบสทั้งสองอยู่ในพระราชอุทยานนั่นเอง ทรง
บารุง.
ตั้งแต่นั้น ดาบสนั้นจึงมีชื่อว่าอาณิมัณทัพยะ.
ดาบสนั้นอาศัยพระราชาอยู่ ณ พระราชอุทยานนั่นเอง.
ส่วนทีปายนดาบสชาระแผลของมัณฑัพยดาบสจนหายดีแล้ว จึงไปยังบรรณศาลาที่มัณฑัพยะผู้
เป็นสหายของตนครั้งเป็นคฤหัสถ์.
ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
สหายเพื่อนพรหมจรรย์ของเราชื่อว่ามัณฑัพยะเป็นฤๅษีมีอานุภาพมาก ประกอบด้วยบุรพกรรม
ถูกเสียบด้วยหลาวทั้งปวง. เราพยาบาลมัณฑัพยดาบสนั้นให้หายโรคแล้ว ได้อาลามาสู่บรรณศาลาอันเป็น
อาศรมของเราเอง.
คือเข้าไปอยู่ยังบรรณศาลาอันเป็นอาศรมของเราเอง ซึ่งมัณฑัพยพราหมณ์ผู้เป็นสหายของเรา
เมื่อครั้งเป็นคฤหัสถ์สร้างให้.
พวกพราหมณ์เห็นทีปายนดาบสนั้นเข้าไปยังบรรณศาลา จึงบอกแก่สหาย. สหายนั้นฟังแล้วดีใจ
5
จึงพร้อมด้วยบุตรภรรยาถือเอาของหอมดอกไม้และน้าผึ้งเป็นต้นเป็นอันมากไปยังบรรณศาลา ไหว้ทีปายน
ดาบสล้างเท้าให้ดื่มน้า นั่งฟังเรื่องราวของอาณิมัณฑัพยดาบส.
ลาดับนั้น บุตรของมัณฑัพยะพราหมณ์ ชื่อว่ายัญญทัตตกุมาร เล่นลูกข่างอยู่ที่ท้ายที่จงกรม.
ณ ที่นั้น งูเห่าอาศัยอยู่ในจอมปลวกแห่งหนึ่ง. ลูกข่างที่เด็กโยนลงไปบนพื้นได้ไปตกลงบนหัว
ของงูเห่าในปล่องจอมปลวก. เด็กไม่รู้จึงล้วงมือลงไปในปล่อง. งูโกรธเด็กจึงกัดเข้าที่มือ. เด็กล้มลง ณ ที่นั้น
ด้วยกาลังของพิษงู.
มารดาบิดารู้ว่า เด็กถูกงูกัดจึงอุ้มเด็กให้เข้าไปนอนลงแทบเท้าของดาบส กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้
เจริญ ขอพระคุณท่านได้โปรดใช้ยาหรือมนต์ทาบุตรของกระผมให้หายโรคเถิด.
ทีปายนดาบสกล่าวว่า เราไม่รู้จักยา เราไม่ใช่หมอ เราเป็นนักบวช.
มารดาบิดาของเด็กกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น ขอพระคุณท่านได้โปรดแผ่เมตตาในกุมารนี้ แล้วทาสัจ
กิริยาเถิด. ดาบสกล่าวว่า ดีแล้ว เราจักทาสัจกิริยา จึงวางมือไว้บนศีรษะของยัญญทัตตะ ได้ทาสัจกิริยา.
ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
พราหมณ์ผู้เป็นสหายของเรา ได้พาภรรยาและบุตรต่างถือสักการะสาหรับต้อนรับแขก รวม ๓
คนมาหาเรา เรานั่งเจรจาปราศัยกับสหายและภรรยาของเขาอยู่ในอาศรมของตน.
เด็กโยนลูกข่างเล่นอยู่ ทางูเห่าให้โกรธแล้ว ทีนั้น เด็กนั้นเอามือควานหาลูกข่างไปตามปล่อง
จอมปลวก ควานไปถูกเอาหัวงูเห่าเข้า พอมือไปถูกหัวของมัน งูก็โกรธอาศัยกาลังพิษ เคืองจนเหลือจะอด
กลั้น ได้กัดเด็กในทันที พร้อมกับถูกงูกัดเด็กล้มลงที่พื้นดินด้วยกาลังพิษกล้า เหตุนั้น เราเป็นผู้ได้รับทุกข์
หรือเรามีความรักจึงเป็นทุกข์ เราได้ปลอบมารดาบิดาของเด็กนั้นผู้มีทุกข์เศร้าโศกให้สร่างแล้ว ได้ทาสัจ
กิริยาอันประเสริฐสุด.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อทรงแสดงสัจจกิริยาโดยสรุป จึงตรัสคาถาว่า
เราต้องการบุญ ได้ประพฤติพรหมจรรย์มีจิตเลื่อมใสอยู่ ๗ วันเท่านั้น. ต่อแต่นั้นมาการประพฤติ
ของเราไม่เลื่อมใส ๕๐ ปีเศษ. เราไม่ปรารถนาจะประพฤติเสียเลย ด้วยความสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่
เด็กนี้ เถิด พิษจงระงับ ยัญญทัตตกุมารจงเป็นอยู่.
ก็เมื่อพระมหาสัตว์ทาสัจกิริยาอย่างนี้ แล้ว พิษตกจากสรีระของยัญญทัตตะลงไปสู่แผ่นดิน.
กุมารลืมตาแลดูมารดาบิดาแล้วลุกขึ้นเรียก แม่จ๋า พ่อจ๋า.
ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
พร้อมกับเมื่อเราทาสัจกิริยา เด็กหวั่นไหวด้วยกาลังพิษไม่รู้สึกตัวได้ฟื้ นกายหายโรค ลุกขึ้นได้.
พร้อมกับการทาสัจจะของเรา แต่นั้นเด็กหวั่นไหวด้วยกาลังพิษในกาลก่อน ไม่รู้สึกตัวเพราะสลบ
ได้ฟื้ นขึ้นเพราะปราศจากพิษลุกขึ้นทันที. กุมารนั้นได้หายโรคเพราะไม่มีกาลังพิษ.
บัดนั้น พระศาสดา เมื่อจะทรงแสดงถึงความที่สัจกิริยาของพระองค์นั้น เป็นปรมัตถบารมี. แต่
มาในอรรถกถาชาดกว่า ด้วยสัจกิริยาของพระมหาสัตว์ พิษได้ตกจากเบื้องบนถันของกุมารแล้วไหลไป. ด้วย
สัจกิริยาของบิดา พิษตกจากบนสะเอวของเด็ก. ด้วยสัจกิริยาของมารดาพิษตกจากร่างกายที่เหลือของเด็ก
แล้วไหลไป.
6
สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
บางครั้ง เราเห็นแขกมาเรือนก็ไม่ยินดีจะให้. อนึ่ง สมณพราหมณ์ผู้เป็นพหูสูตร ก็ไม่รู้ความที่เรา
ไม่รัก เราไม่ปรารถนาจะให้ ด้วยความสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่เจ้า พิษจงระงับ ขอยัญญทัตตกุมารจง
เป็นอยู่เถิด.
ดูก่อนพ่อยัญญทัตตะ อสรพิษมีพิษร้ายออกจากปล่องได้เห็นเจ้า วันนี้ ความพิเศษไรๆ ไม่มีแก่เรา
เพราะความไม่รักในอสรพิษนั้น และในบิดาของเจ้า ด้วยความสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่เจ้า พิษจงระงับ
ยัญญทัตตกุมารจงเป็นอยู่เถิด.
พระโพธิสัตว์เมื่อเด็กหายจากโรคแล้ว จึงให้บิดาของเด็กนั้นตั้งอยู่ในความเชื่อกรรมและผลของ
กรรมว่า ชื่อว่าผู้ให้ทานควรเชื่อกรรมและผลแห่งกรรมแล้ว พึงให้ดังนี้ ตนเองบรรเทาความไม่ยินดี แล้วยัง
ฌานและอภิญญา ให้เกิดครั้นสิ้นอายุก็ไปเกิดในพรหมโลก.
มัณฑัพยะในครั้งนั้น ได้เป็นพระอานนทเถระในครั้งนี้ .
ภริยาของมัณฑัพยะนั้น คือนางวิสาขา.
บุตร คือพระราหุลเถระ.
อาณิมัณฑัพยะ คือพระสารีบุตรเถระ.
กัณหทีปายนะ คือพระโลกนาถ.
ในจริยานี้ พึงเจาะจงกล่าวถึงสัจบารมี และบารมีที่เหลือของพระมหาสัตว์นั้นซึ่งท่านยกขึ้นไว้ใน
บาลีโดยนัยดังกล่าวแล้วในหนหลัง.
อนึ่ง พึงประกาศคุณานุภาพมีการบริจาคมหาโภคสมบัติจนหมดสิ้น ด้วยประการฉะนี้ .
จบอรรถกถากัณหทีปายนจริยาที่ ๑๑
-----------------------------------------------------

More Related Content

Similar to 32 กัณหทีปายนจริยา มจร.pdf

04 กุรุธรรมจริยา มจร.pdf
04 กุรุธรรมจริยา มจร.pdf04 กุรุธรรมจริยา มจร.pdf
04 กุรุธรรมจริยา มจร.pdfmaruay songtanin
 
08 จันทกุมารจริยา มจร.pdf
08 จันทกุมารจริยา มจร.pdf08 จันทกุมารจริยา มจร.pdf
08 จันทกุมารจริยา มจร.pdfmaruay songtanin
 
๐๓ อัคคัญญสูตร มจร.pdf
๐๓ อัคคัญญสูตร มจร.pdf๐๓ อัคคัญญสูตร มจร.pdf
๐๓ อัคคัญญสูตร มจร.pdfmaruay songtanin
 
15 จูฬโพธิจริยา มจร.pdf
15 จูฬโพธิจริยา มจร.pdf15 จูฬโพธิจริยา มจร.pdf
15 จูฬโพธิจริยา มจร.pdfmaruay songtanin
 
13 ภูริทัตตจริยา มจร.pdf
13 ภูริทัตตจริยา มจร.pdf13 ภูริทัตตจริยา มจร.pdf
13 ภูริทัตตจริยา มจร.pdfmaruay songtanin
 
14 จัมเปยยจริยา มจร.pdf
14 จัมเปยยจริยา มจร.pdf14 จัมเปยยจริยา มจร.pdf
14 จัมเปยยจริยา มจร.pdfmaruay songtanin
 
11 สสปัณฑิตจริยา มจร.pdf
11 สสปัณฑิตจริยา มจร.pdf11 สสปัณฑิตจริยา มจร.pdf
11 สสปัณฑิตจริยา มจร.pdfmaruay songtanin
 
27 มูคปักขจริยา มจร.pdf
27 มูคปักขจริยา มจร.pdf27 มูคปักขจริยา มจร.pdf
27 มูคปักขจริยา มจร.pdfmaruay songtanin
 
17 รุรุราชจริยา มจร.pdf
17 รุรุราชจริยา มจร.pdf17 รุรุราชจริยา มจร.pdf
17 รุรุราชจริยา มจร.pdfmaruay songtanin
 
Tri91 21+มัชฌิมนิกาย+มัชฌิมปัณณาสก์+เล่ม+๒+ภาค+๒
Tri91 21+มัชฌิมนิกาย+มัชฌิมปัณณาสก์+เล่ม+๒+ภาค+๒Tri91 21+มัชฌิมนิกาย+มัชฌิมปัณณาสก์+เล่ม+๒+ภาค+๒
Tri91 21+มัชฌิมนิกาย+มัชฌิมปัณณาสก์+เล่ม+๒+ภาค+๒Tongsamut vorasan
 
(๑๐) พระปิณโฑลภารทวาชเถราปทาน มจร.pdf
(๑๐) พระปิณโฑลภารทวาชเถราปทาน มจร.pdf(๑๐) พระปิณโฑลภารทวาชเถราปทาน มจร.pdf
(๑๐) พระปิณโฑลภารทวาชเถราปทาน มจร.pdfmaruay songtanin
 
23 โสมนัสสจริยา มจร.pdf
23 โสมนัสสจริยา มจร.pdf23 โสมนัสสจริยา มจร.pdf
23 โสมนัสสจริยา มจร.pdfmaruay songtanin
 
36 มหาโลมหังสจริยา มจร.pdf
36 มหาโลมหังสจริยา มจร.pdf36 มหาโลมหังสจริยา มจร.pdf
36 มหาโลมหังสจริยา มจร.pdfmaruay songtanin
 
พระไตรปิฏกฉบับหลวงเล่มที่๒๕
พระไตรปิฏกฉบับหลวงเล่มที่๒๕พระไตรปิฏกฉบับหลวงเล่มที่๒๕
พระไตรปิฏกฉบับหลวงเล่มที่๒๕Rose Banioki
 
๐๒ เตวิชชสูตร มจร.pdf
๐๒ เตวิชชสูตร มจร.pdf๐๒ เตวิชชสูตร มจร.pdf
๐๒ เตวิชชสูตร มจร.pdfmaruay songtanin
 

Similar to 32 กัณหทีปายนจริยา มจร.pdf (20)

04 กุรุธรรมจริยา มจร.pdf
04 กุรุธรรมจริยา มจร.pdf04 กุรุธรรมจริยา มจร.pdf
04 กุรุธรรมจริยา มจร.pdf
 
08 จันทกุมารจริยา มจร.pdf
08 จันทกุมารจริยา มจร.pdf08 จันทกุมารจริยา มจร.pdf
08 จันทกุมารจริยา มจร.pdf
 
๐๓ อัคคัญญสูตร มจร.pdf
๐๓ อัคคัญญสูตร มจร.pdf๐๓ อัคคัญญสูตร มจร.pdf
๐๓ อัคคัญญสูตร มจร.pdf
 
ประวัติพระแก้วมรกต
ประวัติพระแก้วมรกตประวัติพระแก้วมรกต
ประวัติพระแก้วมรกต
 
15 จูฬโพธิจริยา มจร.pdf
15 จูฬโพธิจริยา มจร.pdf15 จูฬโพธิจริยา มจร.pdf
15 จูฬโพธิจริยา มจร.pdf
 
13 ภูริทัตตจริยา มจร.pdf
13 ภูริทัตตจริยา มจร.pdf13 ภูริทัตตจริยา มจร.pdf
13 ภูริทัตตจริยา มจร.pdf
 
14 จัมเปยยจริยา มจร.pdf
14 จัมเปยยจริยา มจร.pdf14 จัมเปยยจริยา มจร.pdf
14 จัมเปยยจริยา มจร.pdf
 
11 สสปัณฑิตจริยา มจร.pdf
11 สสปัณฑิตจริยา มจร.pdf11 สสปัณฑิตจริยา มจร.pdf
11 สสปัณฑิตจริยา มจร.pdf
 
27 มูคปักขจริยา มจร.pdf
27 มูคปักขจริยา มจร.pdf27 มูคปักขจริยา มจร.pdf
27 มูคปักขจริยา มจร.pdf
 
17 รุรุราชจริยา มจร.pdf
17 รุรุราชจริยา มจร.pdf17 รุรุราชจริยา มจร.pdf
17 รุรุราชจริยา มจร.pdf
 
มหาเวสสันดรชาดก
มหาเวสสันดรชาดกมหาเวสสันดรชาดก
มหาเวสสันดรชาดก
 
Ppt 1
Ppt 1Ppt 1
Ppt 1
 
Tri91 21+มัชฌิมนิกาย+มัชฌิมปัณณาสก์+เล่ม+๒+ภาค+๒
Tri91 21+มัชฌิมนิกาย+มัชฌิมปัณณาสก์+เล่ม+๒+ภาค+๒Tri91 21+มัชฌิมนิกาย+มัชฌิมปัณณาสก์+เล่ม+๒+ภาค+๒
Tri91 21+มัชฌิมนิกาย+มัชฌิมปัณณาสก์+เล่ม+๒+ภาค+๒
 
(๑๐) พระปิณโฑลภารทวาชเถราปทาน มจร.pdf
(๑๐) พระปิณโฑลภารทวาชเถราปทาน มจร.pdf(๑๐) พระปิณโฑลภารทวาชเถราปทาน มจร.pdf
(๑๐) พระปิณโฑลภารทวาชเถราปทาน มจร.pdf
 
23 โสมนัสสจริยา มจร.pdf
23 โสมนัสสจริยา มจร.pdf23 โสมนัสสจริยา มจร.pdf
23 โสมนัสสจริยา มจร.pdf
 
ไตรภูมิพระร่วงสมบูรณ์
ไตรภูมิพระร่วงสมบูรณ์ไตรภูมิพระร่วงสมบูรณ์
ไตรภูมิพระร่วงสมบูรณ์
 
ไตรภูมิพระร่วงสมบูรณ์
ไตรภูมิพระร่วงสมบูรณ์ไตรภูมิพระร่วงสมบูรณ์
ไตรภูมิพระร่วงสมบูรณ์
 
36 มหาโลมหังสจริยา มจร.pdf
36 มหาโลมหังสจริยา มจร.pdf36 มหาโลมหังสจริยา มจร.pdf
36 มหาโลมหังสจริยา มจร.pdf
 
พระไตรปิฏกฉบับหลวงเล่มที่๒๕
พระไตรปิฏกฉบับหลวงเล่มที่๒๕พระไตรปิฏกฉบับหลวงเล่มที่๒๕
พระไตรปิฏกฉบับหลวงเล่มที่๒๕
 
๐๒ เตวิชชสูตร มจร.pdf
๐๒ เตวิชชสูตร มจร.pdf๐๒ เตวิชชสูตร มจร.pdf
๐๒ เตวิชชสูตร มจร.pdf
 

More from maruay songtanin

๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...maruay songtanin
 
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....maruay songtanin
 
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...maruay songtanin
 
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...maruay songtanin
 
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...maruay songtanin
 
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....maruay songtanin
 
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...maruay songtanin
 
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...maruay songtanin
 
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...maruay songtanin
 
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....maruay songtanin
 
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docxmaruay songtanin
 
Operational Resilience ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
Operational Resilience  ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdfOperational Resilience  ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
Operational Resilience ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdfmaruay songtanin
 
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...maruay songtanin
 
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...maruay songtanin
 
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...maruay songtanin
 
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...maruay songtanin
 
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...maruay songtanin
 
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...maruay songtanin
 
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....maruay songtanin
 
๗๘. สุวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๗๘. สุวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๗๘. สุวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๗๘. สุวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...maruay songtanin
 

More from maruay songtanin (20)

๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
 
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
 
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
 
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
 
Operational Resilience ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
Operational Resilience  ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdfOperational Resilience  ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
Operational Resilience ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
 
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
 
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
 
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
 
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
 
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 
๗๘. สุวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๗๘. สุวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๗๘. สุวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๗๘. สุวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 

32 กัณหทีปายนจริยา มจร.pdf

  • 1. 1 การบาเพ็ญบารมีของพระผู้มีพระภาคเจ้า ตอนที่ ๓๒ กัณหทีปายนจริยา พลตรี มารวย ส่งทานินทร์ ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ เกริ่นนา เราต้องการบุญ ได้ประพฤติพรหมจรรย์มีจิตเลื่อมใสอยู่ ๗ วันเท่านั้น. ต่อแต่นั้นมาการประพฤติ ของเราไม่เลื่อมใส ๕๐ ปีเศษ. เราไม่ปรารถนาจะประพฤติเสียเลย ด้วยความสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ เด็กนี้ เถิด พิษจงระงับ ยัญญทัตตกุมารจงเป็นอยู่. พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก ๑๑. กัณหทีปายนจริยา ว่าด้วยจริยาของกัณหทีปายนดาบส [๙๒] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลที่เราเป็นฤาษีนามว่ากัณหทีปายนะ เราไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ เกินกว่า ๕๐ ปี [๙๓] ใครๆ จะรู้ใจเราที่ไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์นั้นหามิได้ แม้เราก็ไม่บอกแก่ใครๆ ว่า ความไม่ยินดี และความยินดีมีในใจของเรา [๙๔] สหายเพื่อนพรหมจารีของเราชื่อว่ามัณฑัพยะ เป็นฤๅษีมีอานุภาพมาก ประกอบด้วยบุพ กรรม(กรรมเก่าให้ผล) ถูกหลาวเสียบ [๙๕] เราช่วยเหลือพยาบาลมัณฑัพยดาบสนั้นให้หายโรคแล้ว ได้อาลากลับมายังอาศรมของเรา เอง [๙๖] พราหมณ์ผู้เป็นสหายของเรา ได้พาภริยาและบุตรทั้ง ๓ คนพร้อมใจกันเป็นแขกของเรา [๙๗] เรานั่งเจรจาปราศรัยกับสหาย และภรรยาของเขาอยู่ในอาศรมของตน เด็กโยนลูกข่าง เล่นอยู่ ทาให้อสรพิษโกรธแล้ว [๙๘] ทีนั้น เด็กนั้นใช้มือควานหาตามทางที่ลูกข่างหมุนไป มือไปถูกหัวอสรพิษเข้า [๙๙] พอไปถูกหัวของมัน งูก็โกรธ มันเคืองจนเหลือจะอดกลั้นอาศัยกาลังพิษ ได้กัดเด็กทันที [๑๐๐] เด็กถูกงูมีพิษกล้ากัด ล้มลงที่พื้นดิน เหตุนั้น เราเป็นผู้ได้รับทุกข์ หรือว่าทุกข์นั้น เนื่องจากเรา [๑๐๑] เราได้ปลอบมารดาและบิดาของเด็กนั้น ผู้มีทุกข์เศร้าโศกให้เบาใจแล้ว ได้ทาสัจจกิริยา อันประเสริฐสุดครั้งแรกว่า
  • 2. 2 [๑๐๒] เราผู้ต้องการบุญ ได้ประพฤติพรหมจรรย์ มีจิตเลื่อมใสอยู่เพียง ๗ วันเท่านั้น ต่อจากนั้น การประพฤติของเรามีมาเกิน ๕๐ ปีนี้ [๑๐๓] เราไม่ปรารถนาเลย แต่ก็ยังประพฤติอยู่ ด้วยสัจจะนี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่เด็กนี้ พิษจง ระงับ ยัญญทัตตกุมารจงเป็นอยู่เถิด [๑๐๔] พร้อมกับเมื่อเราทาสัจจกิริยา มาณพซึ่งสั่นเทาด้วยกาลังพิษ ก็รู้สึกตัว ลุกขึ้นได้ และหาย โรค บุคคลมีสัจจะเสมอเราไม่มี นี้ เป็นสัจจบารมีของเรา ฉะนี้ แล กัณหทีปายนจริยาที่ ๑๑ จบ คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา ขุททกนิกาย จริยาปิฎก การบาเพ็ญเนกขัมมบารมีเป็นต้น ๑๑. กัณหทีปายนจริยา อรรถกถากัณหทีปายนจริยาที่ ๑๑ ได้ยินว่า พระโพธิสัตว์ในกาลนั้นชื่อว่าทีปายนะ เข้าไปหาดาบสมัณฑัพยะผู้เป็นสหายของตนถูก เสียบหลาว ไม่ทอดทิ้งดาบสนั้นด้วยศีลคุณของเขา ได้ยืนพิงอยู่กับหลาวตลอด ๓ ยาม จึงได้ปรากฏชื่อ ว่ากัณหทีปายนะ เพราะร่างกายมีสีดา ด้วยหยาดเลือดแห้งที่ไหลจากร่างกายของดาบสนั้นแล้วลงมาใส่. เราอยู่ประพฤติพรหมจรรย์อย่างไม่ยินดี ในเสนาสนะสงัดและในธรรมอันเป็นอธิกุสล. ครั้นบวชแล้ว พระมหาสัตว์ยินดีประพฤติพรหมจรรย์อยู่ ๗ วันเท่านั้น ต่อจากนั้นก็อยู่อย่างไม่ ยินดี. ก็เพราะเหตุไร พระมหาบุรุษในอัตภาพหลายแสนมีอัธยาศัยในเนกขัมมะยินดีอยู่พรหมจรรย์ แต่ในจริยานี้ ไม่ยินดีพรหมจรรย์นั้น. เพราะความหวั่นไหวแห่งความเป็นปุถุชน. ก็เพราะเหตุไร จึงไม่ครองเรือนใหม่เล่า. เพราะครั้งแรกเห็นโทษในกามทั้งหลาย ด้วยมีอัธยาศัยในเนกขัมมะจึงบวช เมื่อเป็นดังนั้น พระ มหาบุรุษจึงเกิดความไม่ยินดีด้วยมิได้ใส่ใจโดยแยบคาย. พระมหาบุรุษ แม้เมื่อไม่สามารถบรรเทาความไม่ยินดีนั้นได้ จึงเชื่อกรรมและผลแห่งกรรม ละ สมบัติใหญ่ออกจากเรือน ละสมบัติใด ก็กลับไปเพื่อสมบัตินั้นอีก. รังเกียจคาติเตียนนี้ ว่า กัณหทีปายนะนี้ บ้า น้าลาย กลับกลอกจริงหนอ เพราะเกรงหิริโอตตัปปะของตนจะแตก. อนึ่ง ชื่อว่าบุญในการบรรพชานี้ ท่านผู้รู้ทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นสรรเสริญแล้ว. และก็ ดารงอยู่มิได้. เพราะฉะนั้น พระมหาบุรุษแม้ร้องไห้น้าตานองหน้า ด้วยความทุกข์โทมนัส ก็ยังอยู่ประพฤติ พรหมจรรย์ ไม่สละพรหมจรรย์นั้น. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า กัณหทีปายนะนั้นออกบวชด้วยศรัทธาแล้วก็กลับมาอีก เขารังเกียจคาพูดนี้ ว่า กัณหทีปายนะนี้ บ้าน้าลายกลับกลอกหนอ เราไม่ปรารถนาจะประพฤติพรหมจรรย์เสียเลย.
  • 3. 3 อนึ่ง ฐานะของสัตบุรุษอันผู้รู้สรรเสริญแล้ว เราจะเป็นผู้ทาบุญอย่างนี้ . ในอดีตกาล พระราชาพระนามว่าโกสัมพิกะ ครองราชสมบัติอยู่ในกรุงโกสัมพี แคว้นวังสะ. ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นบุตรของพราหมณ์มหาศาลมีสมบัติ ๘๐ โกฏิ ในนิคมแห่ง หนึ่ง. พราหมณ์กุมารได้มีสหายที่รักของเขาชื่อมัณฑัพยะ. ต่อมา เมื่อมารดาบิดาถึงแก่กรรมทั้งสองเห็นโทษในกาม จึงบริจาคมหาทาน ละกาม เมื่อญาติ มิตรบริวารชนร้องไห้คร่าครวญ ได้ออกไปสร้างอาศรม ณ หิมวันตประเทศ แล้วบวชเลี้ยงชีพด้วยอาหารอัน เป็นรากไม้และผลไม้ในป่า ด้วยการเที่ยวขออยู่เกิน ๕๐ ปี. ทั้งสองไม่สามารถข่มกามฉันทะได้. แม้เพียงฌานก็เกิดขึ้นไม่ได้. สองดาบสเที่ยวจาริกไปยังชนบท เพื่อเสพอาหารมีรสเค็มและเปรี้ยว ถึงแคว้นกาสี. ณ แคว้นกา สีนั้น ในนิคมหนึ่ง สหายครั้งเป็นคฤหัสถ์ของทีปายนะ ชื่อว่ามัณฑัพยะอาศัยอยู่. ทั้งสองจึงเข้าไปหามัณฑัพ ยะนั้น. มัณฑัพยะเห็นดาบสทั้งสองก็ดีใจสร้างบรรณศาลา บารุงด้วยปัจจัย ๔. ดาบสทั้งสองอยู่ ณ ที่นั้นได้ ๓-๔ ปี ก็ลามัณฑัพยะนั้นเที่ยวจาริก ไปอาศัยอยู่ในป่าช้า เต็มไป ด้วยไม้เต็งใกล้กรุงพาราณสี. ที่นั้นทีปายนะอยู่ตามความพอใจ แล้วไปหามัณฑัพยะสหายของตนในนิคมนั้น อีก. มัณฑัพยดาบสคงอยู่ ณ ที่นั้นเอง. อยู่มาวันหนึ่ง โจรคนหนึ่งกระทาโจรกรรมภายในเมืองลักทรัพย์หนี ถูกพวกเจ้าของเรือนและ พวกมนุษย์ที่รักษานครติดตามออกไปทางท่อน้า รีบเข้าป่าช้าทิ้งห่อทรัพย์ไว้ที่ประตูบรรณศาลาของดาบส แล้วหนีไป. พวกมนุษย์เห็นห่อทรัพย์จึงคุกคามว่า เจ้าชฎิลชั่วคนร้ายทาโจรกรรมในกลางคืน กลางวันเที่ยว ไปโดยเพศของดาบส แล้วช่วยกันทุบตีพาดาบสนั้นไปแสดงแด่พระราชา. พระราชามิได้ทรงสอบสวนมีพระบัญชาให้เสียบบนหลาว. พวกมนุษย์นาดาบสนั้นไปยังป่าช้า เสียบบนหลาวไม้ตะเคียน. หลาวมิได้เข้าไปในร่างกายของดาบส. แต่นั้นจึงนาหลาวไม้สะเดามา. แม้หลาว นั้นก็มิได้เข้า. จึงนาหลาวเหล็กมา. หลาวเหล็กก็ไม่เข้า. ดาบสคิดว่า เป็นกรรมเก่าของเรากระมังหนอ. ดาบสระลึกชาติได้ ได้เห็นกรรมเก่าด้วยเหตุนั้น. นัยว่า ดาบสนั้นในอัตภาพก่อนเป็นบุตรของนายช่าง ไปยังที่ที่บิดาถากไม้จับแมลงวันตัวหนึ่งจึง เอาเสี้ยนไม้ทองหลางเสียบดุจหลาว. บาปของเขาได้โอกาสที่นี้ . ดาบสรู้ว่าไม่อาจพ้นจากบาปนี้ ไปได้ จึง กล่าวกะพวกราชบุรุษว่า หากพวกท่านประสงค์จะเสียบเราที่หลาว. พวกท่านจงนาหลาวไม้ทองหลางมาเถิด. พวกราชบุรุษได้ทาตามนั้นแล้วเสียบดาบสที่หลาว จัดอารักขาแล้วหนีไป. ในกาลนั้น กัณหทีปายนดาบสคิดว่า เราไม่ได้เห็นสหายมานานแล้ว จึงมาหามัณฑัพยดาบส ฟัง เรื่องราวนั้นแล้วจึงไปยังที่นั้นยืนอยู่ข้างหนึ่ง ถามว่า สหายท่านทาอะไร เมื่อดาบสบอกว่าเราไม่ได้ทาอะไร? กัณหทีปายนะถามว่า ท่านสามารถรักษาความประทุษร้ายทางใจได้หรือไม่ได้. มัณฑัพยดาบสตอบว่า เราไม่มีความประทุษร้ายทางใจต่อพวกราชบุรุษและพระราชาที่จับเรา. กัณหทีปายนดาบสกล่าวว่า เมื่อเป็นอย่างนั้น ร่มเงาของผู้มีศีลเช่นท่านเป็นความสุขของเราแล้ว
  • 4. 4 นั่งพิงหลาวอยู่. พวกบุรุษที่ดูแลกราบทูลเรื่องราวนั้นแด่พระราชา. พระราชาทรงดาริว่า เราไม่ได้สอบสวนทาลงไป จึงรีบเสด็จไป ณ ที่นั้นตรัสถามทีปายนดาบสว่า เพราะเหตุไร พระคุณท่านจึงนั่งพิงหลาวอยู่เล่า? ดาบสทูลว่า อาตมภาพนั่งคอยรักษาดาบสนี้ มหาราช. พระราชาตรัสถามว่า พระคุณท่านทราบความที่ดาบสนี้ ทาแล้วหรือจึงได้ทาอย่างนี้ ? ทีปายน ดาบสทูลถึงกรรมที่ไม่บริสุทธิ์. ลาดับนั้น ทีปายนดาบสกล่าวคามีอาทิว่า ธรรมดาพระราชาควรเป็นผู้ใคร่ครวญก่อนทา คฤหัสถ์เกียจคร้าน บริโภคกามไม่ดี. บรรพชิตไม่ สารวมก็ไม่ดี. พระราชาไม่ใคร่ครวญก่อนทาก็ไม่ดี. บัณฑิตมักโกรธก็ไม่ดี. แล้วแสดงธรรมแก่พระราชา. พระราชาทรงทราบว่า มัณฑัพยดาบสไม่ผิดจึงรับสั่งให้นาหลาวออก. พวกราชบุรุษดึงหลาวแต่ ไม่สามารถนาออกได้. มัณฑัพยะกล่าวว่า ข้าแต่มหาราช อาตมภาพได้รับโทษเห็นปานนี้ ก็เพราะโทษของกรรมที่ทาไว้ ในชาติก่อน. ใครๆ ก็ไม่อาจดึงหลาวออกจากร่างกายของอาตมภาพได้. หากพระองค์มีพระประสงค์จะทรง ให้ชีวิตแก่อาตมภาพ ก็ขอได้รับสั่งให้ทาหลาวนี้ เสมอกับผิวหนังแล้วเอาเลื่อยตัดเถิด. พระราชาทรงให้ทาอย่างนั้น. หลาวได้อยู่ภายในนั่นเอง ไม่เกิดเดือดร้อนอย่างไร. นัยว่า ในครั้งนั้น มัณฑัพยดาบสเอาเสี้ยนอย่างเล็กเสียบเข้าไปทางผิวหนังของแมลงวัน. เสี้ยน นั้นยังอยู่ในร่างของแมลงวันนั่นเอง. แมลงวันมิได้ตายด้วยเหตุนั้น แต่ตายด้วยสิ้นอายุของมันเอง เพราะฉะนั้น แม้มัณฑัพยดาบสนี้ จึงยังไม่ตาย. พระราชาทรงไหว้ดาบสแล้วทรงขอขมา ทรงให้ดาบสทั้งสองอยู่ในพระราชอุทยานนั่นเอง ทรง บารุง. ตั้งแต่นั้น ดาบสนั้นจึงมีชื่อว่าอาณิมัณทัพยะ. ดาบสนั้นอาศัยพระราชาอยู่ ณ พระราชอุทยานนั่นเอง. ส่วนทีปายนดาบสชาระแผลของมัณฑัพยดาบสจนหายดีแล้ว จึงไปยังบรรณศาลาที่มัณฑัพยะผู้ เป็นสหายของตนครั้งเป็นคฤหัสถ์. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า สหายเพื่อนพรหมจรรย์ของเราชื่อว่ามัณฑัพยะเป็นฤๅษีมีอานุภาพมาก ประกอบด้วยบุรพกรรม ถูกเสียบด้วยหลาวทั้งปวง. เราพยาบาลมัณฑัพยดาบสนั้นให้หายโรคแล้ว ได้อาลามาสู่บรรณศาลาอันเป็น อาศรมของเราเอง. คือเข้าไปอยู่ยังบรรณศาลาอันเป็นอาศรมของเราเอง ซึ่งมัณฑัพยพราหมณ์ผู้เป็นสหายของเรา เมื่อครั้งเป็นคฤหัสถ์สร้างให้. พวกพราหมณ์เห็นทีปายนดาบสนั้นเข้าไปยังบรรณศาลา จึงบอกแก่สหาย. สหายนั้นฟังแล้วดีใจ
  • 5. 5 จึงพร้อมด้วยบุตรภรรยาถือเอาของหอมดอกไม้และน้าผึ้งเป็นต้นเป็นอันมากไปยังบรรณศาลา ไหว้ทีปายน ดาบสล้างเท้าให้ดื่มน้า นั่งฟังเรื่องราวของอาณิมัณฑัพยดาบส. ลาดับนั้น บุตรของมัณฑัพยะพราหมณ์ ชื่อว่ายัญญทัตตกุมาร เล่นลูกข่างอยู่ที่ท้ายที่จงกรม. ณ ที่นั้น งูเห่าอาศัยอยู่ในจอมปลวกแห่งหนึ่ง. ลูกข่างที่เด็กโยนลงไปบนพื้นได้ไปตกลงบนหัว ของงูเห่าในปล่องจอมปลวก. เด็กไม่รู้จึงล้วงมือลงไปในปล่อง. งูโกรธเด็กจึงกัดเข้าที่มือ. เด็กล้มลง ณ ที่นั้น ด้วยกาลังของพิษงู. มารดาบิดารู้ว่า เด็กถูกงูกัดจึงอุ้มเด็กให้เข้าไปนอนลงแทบเท้าของดาบส กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้ เจริญ ขอพระคุณท่านได้โปรดใช้ยาหรือมนต์ทาบุตรของกระผมให้หายโรคเถิด. ทีปายนดาบสกล่าวว่า เราไม่รู้จักยา เราไม่ใช่หมอ เราเป็นนักบวช. มารดาบิดาของเด็กกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น ขอพระคุณท่านได้โปรดแผ่เมตตาในกุมารนี้ แล้วทาสัจ กิริยาเถิด. ดาบสกล่าวว่า ดีแล้ว เราจักทาสัจกิริยา จึงวางมือไว้บนศีรษะของยัญญทัตตะ ได้ทาสัจกิริยา. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า พราหมณ์ผู้เป็นสหายของเรา ได้พาภรรยาและบุตรต่างถือสักการะสาหรับต้อนรับแขก รวม ๓ คนมาหาเรา เรานั่งเจรจาปราศัยกับสหายและภรรยาของเขาอยู่ในอาศรมของตน. เด็กโยนลูกข่างเล่นอยู่ ทางูเห่าให้โกรธแล้ว ทีนั้น เด็กนั้นเอามือควานหาลูกข่างไปตามปล่อง จอมปลวก ควานไปถูกเอาหัวงูเห่าเข้า พอมือไปถูกหัวของมัน งูก็โกรธอาศัยกาลังพิษ เคืองจนเหลือจะอด กลั้น ได้กัดเด็กในทันที พร้อมกับถูกงูกัดเด็กล้มลงที่พื้นดินด้วยกาลังพิษกล้า เหตุนั้น เราเป็นผู้ได้รับทุกข์ หรือเรามีความรักจึงเป็นทุกข์ เราได้ปลอบมารดาบิดาของเด็กนั้นผู้มีทุกข์เศร้าโศกให้สร่างแล้ว ได้ทาสัจ กิริยาอันประเสริฐสุด. บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อทรงแสดงสัจจกิริยาโดยสรุป จึงตรัสคาถาว่า เราต้องการบุญ ได้ประพฤติพรหมจรรย์มีจิตเลื่อมใสอยู่ ๗ วันเท่านั้น. ต่อแต่นั้นมาการประพฤติ ของเราไม่เลื่อมใส ๕๐ ปีเศษ. เราไม่ปรารถนาจะประพฤติเสียเลย ด้วยความสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ เด็กนี้ เถิด พิษจงระงับ ยัญญทัตตกุมารจงเป็นอยู่. ก็เมื่อพระมหาสัตว์ทาสัจกิริยาอย่างนี้ แล้ว พิษตกจากสรีระของยัญญทัตตะลงไปสู่แผ่นดิน. กุมารลืมตาแลดูมารดาบิดาแล้วลุกขึ้นเรียก แม่จ๋า พ่อจ๋า. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า พร้อมกับเมื่อเราทาสัจกิริยา เด็กหวั่นไหวด้วยกาลังพิษไม่รู้สึกตัวได้ฟื้ นกายหายโรค ลุกขึ้นได้. พร้อมกับการทาสัจจะของเรา แต่นั้นเด็กหวั่นไหวด้วยกาลังพิษในกาลก่อน ไม่รู้สึกตัวเพราะสลบ ได้ฟื้ นขึ้นเพราะปราศจากพิษลุกขึ้นทันที. กุมารนั้นได้หายโรคเพราะไม่มีกาลังพิษ. บัดนั้น พระศาสดา เมื่อจะทรงแสดงถึงความที่สัจกิริยาของพระองค์นั้น เป็นปรมัตถบารมี. แต่ มาในอรรถกถาชาดกว่า ด้วยสัจกิริยาของพระมหาสัตว์ พิษได้ตกจากเบื้องบนถันของกุมารแล้วไหลไป. ด้วย สัจกิริยาของบิดา พิษตกจากบนสะเอวของเด็ก. ด้วยสัจกิริยาของมารดาพิษตกจากร่างกายที่เหลือของเด็ก แล้วไหลไป.
  • 6. 6 สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า บางครั้ง เราเห็นแขกมาเรือนก็ไม่ยินดีจะให้. อนึ่ง สมณพราหมณ์ผู้เป็นพหูสูตร ก็ไม่รู้ความที่เรา ไม่รัก เราไม่ปรารถนาจะให้ ด้วยความสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่เจ้า พิษจงระงับ ขอยัญญทัตตกุมารจง เป็นอยู่เถิด. ดูก่อนพ่อยัญญทัตตะ อสรพิษมีพิษร้ายออกจากปล่องได้เห็นเจ้า วันนี้ ความพิเศษไรๆ ไม่มีแก่เรา เพราะความไม่รักในอสรพิษนั้น และในบิดาของเจ้า ด้วยความสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่เจ้า พิษจงระงับ ยัญญทัตตกุมารจงเป็นอยู่เถิด. พระโพธิสัตว์เมื่อเด็กหายจากโรคแล้ว จึงให้บิดาของเด็กนั้นตั้งอยู่ในความเชื่อกรรมและผลของ กรรมว่า ชื่อว่าผู้ให้ทานควรเชื่อกรรมและผลแห่งกรรมแล้ว พึงให้ดังนี้ ตนเองบรรเทาความไม่ยินดี แล้วยัง ฌานและอภิญญา ให้เกิดครั้นสิ้นอายุก็ไปเกิดในพรหมโลก. มัณฑัพยะในครั้งนั้น ได้เป็นพระอานนทเถระในครั้งนี้ . ภริยาของมัณฑัพยะนั้น คือนางวิสาขา. บุตร คือพระราหุลเถระ. อาณิมัณฑัพยะ คือพระสารีบุตรเถระ. กัณหทีปายนะ คือพระโลกนาถ. ในจริยานี้ พึงเจาะจงกล่าวถึงสัจบารมี และบารมีที่เหลือของพระมหาสัตว์นั้นซึ่งท่านยกขึ้นไว้ใน บาลีโดยนัยดังกล่าวแล้วในหนหลัง. อนึ่ง พึงประกาศคุณานุภาพมีการบริจาคมหาโภคสมบัติจนหมดสิ้น ด้วยประการฉะนี้ . จบอรรถกถากัณหทีปายนจริยาที่ ๑๑ -----------------------------------------------------