SlideShare a Scribd company logo
1 of 4
Download to read offline
1
การบาเพ็ญบารมีของพระผู้มีพระภาคเจ้า ตอนที่ ๓๖ มหาโลมหังสจริยา
พลตรี มารวย ส่งทานินทร์
๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๖
เกริ่นนา
เราเป็นผู้วางเฉยในสุขและทุกข์ ในยศและความเสื่อมยศ เป็นผู้มีใจเสมอในสิ่งทั้งปวง นี้ เป็น
อุเบกขาบารมีของเรา.
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก
๑๕. มหาโลมหังสจริยา
ว่าด้วยจริยาของมหาโลมหังสบัณฑิต
[๑๑๙] เรานอนอยู่ในป่าช้า เอาซากศพซึ่งมีแต่กระดูกทาเป็นหมอนหนุน เด็กชาวบ้านพวกหนึ่ง
พากันแสดงอาการหยาบช้าร้ายกาจนานัปการ
[๑๒๐] อีกพวกหนึ่งร่าเริงดีใจ พากันนาของหอม ดอกไม้ อาหาร และเครื่องบรรณาการต่างๆ
เป็นอันมากมาให้เรา
[๑๒๑] พวกใดนาทุกข์มาให้เรา และพวกใดนาสุขมาให้เรา เราเป็นผู้เสมอแก่เขาทั้งหมด ไม่มี
ความเอ็นดู ไม่มีความโกรธ
[๑๒๒] เราเป็นผู้วางเฉยในสุขและทุกข์ ในยศและความเสื่อมยศ เป็นผู้เสมอในสิ่งทั้งปวง นี้ เป็น
อุเบกขาบารมีของเรา ฉะนี้ แล
มหาโลมหังสจริยาที่ ๑๕ จบ
คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา
ขุททกนิกาย จริยาปิฎก การบาเพ็ญเนกขัมมบารมีเป็นต้น
๑๕. มหาโลมหังสจริยา
อรรถกถามหาโลมหังสจริยาที่ ๑๕
ในครั้งนั้น พระมหาสัตว์บังเกิดในตระกูลมีโภคะยิ่งใหญ่ อาศัยความเจริญอยู่กับครูในสานัก
อาจารย์ทิศาปาโมกข์ สาเร็จศิลปะทุกแขนง มายังเรือนของตระกูล.
เมื่อมารดาบิดาล่วงลับไปแล้ว แม้พวกญาติขอร้องให้ครอบครองทรัพย์สมบัติ เป็นผู้เกิดความ
สังเวชในภาวะทั้งปวงด้วยมนสิการถึงความเป็นของไม่เที่ยง ได้อสุภสัญญาในกาย ไม่ยึดถือกิเลสอันทาให้มี
2
ความกังวลในการครองเรือน เพิ่มพูนอัธยาศัยในเนกขัมมะที่สะสมมาช้านาน ประสงค์ละกองโภคะใหญ่ออก
บวช จึงคิดต่อไปว่า หากเราบวชจักเป็นผู้ไม่ปรากฏด้วยการยกย่องทางคุณธรรม.
พระมหาสัตว์รังเกียจลาภและสักการะ ไม่เข้าไปบวชตรึกถึงตนว่า เราเพียงพอเพื่อไม่เป็นผู้
ผิดปกติในลาภและเสื่อมลาภเป็นต้น จึงคิดว่าเราบาเพ็ญปฏิปทามีความอดทนคาเย้ยหยันของผู้อื่นเป็นต้น
อย่างวิเศษ จักยังอุเบกขาบารมีให้ถึงที่สุดได้ จึงออกจากเรือนด้วยผ้าผืนที่นุ่งอยู่นั่นแหละ.
เป็นผู้ประพฤติขัดเขลากิเลสอย่างยิ่ง หมดกาลังก็ทาเป็นมีกาลัง ไม่โง่ก็ทาเป็นโง่ ถูกคนอื่นเยาะ
เย้ย เย้ยหยันด้วยรูปร่างอันไร้จิตใจ เที่ยวไปในหมู่บ้าน นิคมและราชธานีโดยอยู่เพียงคืนเดียวเท่านั้น.
ในที่ใดได้รับการเย้ยหยันมาก ก็อยู่ในที่นั้นนาน.
เมื่อผ้าที่นุ่งเก่า แม้ผ้านั้นจะเก่าจนเป็นผ้าขี้ริ้วก็ไม่รับผ้าที่ใครๆ ให้ เที่ยวไปเพียงปกปิดอวัยวะยัง
หิริให้กาเริบเท่านั้น.
เมื่อกาลผ่านไปอย่างนี้ เขาได้ไปถึงบ้านและนิคมแห่งหนึ่ง.
ณ ที่นั้น เด็กชาวบ้านนิสัยนักเลงชอบตีรันฟันแทง บางคนก็เป็นบุตรหลานและทาสเป็นต้น ของ
พวกราชวัลลภ หยิ่ง ทะลึ่ง ล่อกแล่ก ปากจัด พูดจาสามหาว เที่ยวเล่นตลอดเวลาเสียแหละมาก.
เด็กชาวบ้านเหล่านั้นเห็นชายและหญิงที่เป็นคนแก่เข็ญใจก็เอาฝุ่นละอองโปรยไปบนหลัง ห้อย
ใบลาเจียกไว้ในระหว่างรักแร้ แสดงการเล่นด้วยท่าทางอันไม่เหมาะสมน่าตาหนิ ก็หัวเราะใส่คนที่กาลังดู.
พระมหาบุรุษเห็นพวกเด็กนักเลงเหล่านั้นเที่ยวไปในนิคมนั้น จึงคิดว่า บัดนี้ เราได้อุบายเครื่อง
บาเพ็ญอุเบกขาบารมี แล้วจึงอยู่ ณ ที่นั้น.
พวกเด็กนักเลงเห็นพระมหาบุรุษนั้น จึงเริ่มที่จะทาความไม่เหมาะสม.
พระมหาสัตว์ลุกขึ้นเดินไปทาคล้ายกับทนไม่ได้ และทาคล้ายกลัวเด็กพวกนั้น. พวกเด็กเหล่านั้น
ก็ตามพระโพธิสัตว์ไป. พระโพธิสัตว์เมื่อถูกพวกเด็กตามไป จึงไปป่าช้าด้วยเห็นว่าที่ป่าช้านี้ คงไม่มีใครขัดคอ
เอาโครงกระดูกทาเป็นหมอนหนุนแล้วนอน. พวกเด็กนักเลงก็พากันไปที่ป่าช้านั้น ทาความไม่เหมาะสม
หลายๆ อย่างมีการถ่มน้าลายเป็นต้น แล้วก็กลับไป. พวกเด็กนักเลงทาอย่างนี้ ทุกๆ วัน.
พวกที่เป็นวิญญูชนเห็นเด็กๆ ทาอย่างนั้น ก็ห้าม รู้ว่าท่านผู้นี้ มีอานุภาพมาก มีตบะเป็นมหา
โยคี จึงพากันกระทาสักการสัมมานะอย่างมากมาย.
ฝ่ายพระมหาสัตว์เป็นเช่นเดียว คือเป็นกลางในทุกอย่าง.
เรานอนอยู่ในป่าช้านั้น เพราะเรามีจิตเสมอกันในสิ่งที่สะอาดและไม่สะอาด จึงเอาบรรดา
กระดูกที่กระจัดกระจายอยู่ในที่นั้น จากซากที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้าผีดิบมีสุนัขบ้านและสุนัขจิ้งจอกเป็นต้น
กระดูกชิ้นหนึ่งเป็นหมอนหนุน.
เด็กชาวบ้านเหล่านั้นกระทาความไม่เหมาะสม ความหยาบช้าหลายอย่างด้วยการถ่มน้าลาย
หัวเราะเยาะและถ่ายปัสสาวะเป็นต้น และด้วยการแยงเส้นหญ้าเป็นต้นเข้าไปในช่องหู เพราะเล่นได้ตาม
ความพอใจ.
เด็กชาวบ้านพวกนั้นสังเกตดูว่า ท่านผู้นี้ เมื่อเด็กเหล่านี้ ทาความไม่เหมาะสม เห็นปานนี้ ด้วย
การเยาะเย้ยยังไม่แสดงความผิดปกติไรๆ เลย จึงพากันนาของหอม ดอกไม้ อาหารหลายอย่างและเครื่อง
3
บรรณาการอย่างอื่นมาให้.
หรือว่า มนุษย์ผู้เป็นวิญญูชนเหล่าอื่น นอกจากเด็กชาวบ้านไร้มารยาทเหล่านั้น ร่าเริงว่า ท่านผู้
นี้ เมื่อเด็กเหล่านี้ ทาความไม่เหมาะสมหลายอย่างอย่างนี้ ก็ไม่โกรธ กลับเข้าไปตั้งขันติ เมตตาและความ
เอ็นดูในเด็กเหล่านั้นอีก. โอ อัจฉริยบุรุษ. มีใจสังเวชว่า เด็กพวกนี้ ปฏิบัติผิดในท่านผู้นี้ เป็นผู้ขวนขวายบาป
เป็นอันมาก จึงนาของหอม ดอกไม้เป็นอันมาก อาหารหลายอย่างและเครื่องสักการะอื่นเข้ามาให้.
เราเป็นผู้มีจิตเสมอ คือเป็นเช่นเดียวกันแก่ชนเหล่านั้น เพราะเรามีจิตเสมอโดยไม่เกิดความ
ผิดปกติในที่ไหนๆ. กล่าวคือความมีจิตเมตตาในผู้ทาอุปการะไม่มีแก่เรา. แม้ความโกรธ กล่าวคือความ
ประทุษร้ายทางใจในผู้ไม่ทาอุปการะก็ไม่มี ฉะนั้น เราจึงเป็นผู้มีใจเสมอแก่ชนทั้งปวง. ท่านแสดงไว้ด้วย
ประการฉะนี้ .
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ในกาลนั้น เพื่อทรงแสดงถึงความไม่มีผิดปกติ และความไม่ติดอยู่ใน
โลกธรรมทั้งหลาย เพราะพระองค์ทรงสะสมญาณสัมภารไว้ จึงมีพระทัยเสมอในสัตว์ทั้งหลายทั้งที่มีอุปการะ
และไม่มีอุปการะ จึงตรัสคาถาสุดท้ายว่า
เราเป็นผู้วางเฉยในสุขและทุกข์ ในยศและความเสื่อมยศ เป็นผู้มีใจเสมอในสิ่งทั้งปวง นี้ เป็น
อุเบกขาบารมีของเรา.
ด้วยประการฉะนี้ ในครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นแสดงความที่พระองค์เป็นกลางในสรรพ
สัตว์ และในโลกธรรมทั้งปวง ไม่ทั่วไปแก่ผู้อื่น แล้วเมื่อจะทรงประกาศความที่พระองค์ถึงยอดแห่งอุเบกขา
บารมี ในอัตภาพนั้นด้วยบทนั้น ดังนี้ .
แม้ในจริยานี้ พระมหาสัตว์ย่อมได้บารมี ๑๐ ครบโดยเฉพาะทานบารมีก่อน.
การบริจาคสมบัติทั้งปวงและการบริจาคอัตภาพของตนโดยไม่คานึงว่าใครๆ ถือเอาสรีระนี้ แล้ว
จงทาอย่างใดอย่างหนึ่งที่ตนปรารถนา เป็นทานบารมี.
การไม่ทาสิ่งไม่ควรทาทั้งปวงมีความเลวเป็นต้น เป็นศีลบารมี.
การเพิ่มพูนอสุภสัญญาในกายของพระโพธิสัตว์ผู้หันหลังให้ความยินดีในกาม ออกจากเรือน
เป็นเนกขัมมบารมี.
ความเป็นผู้ฉลาดในการกาหนดธรรมเป็นอุปการะแก่สัมโพธิสมภาร และในการละธรรมอันเป็น
ปฏิปักษ์ต่ออุปการะธรรมนั้น และการคิดถึงสภาวธรรมจากธรรมอันไม่วิปริต เป็นปัญญาบารมี.
การบรรเทากามวิตกเป็นต้น และการพยายามอดกลั้นความทุกข์ เป็นวีริยบารมี.
ความอดทนด้วยความอดกลั้น เป็นขันติบารมี.
จริงวาจา และจริงด้วยการเว้นโดยไม่ผิดสมาทาน เป็นสัจบารมี.
การตั้งใจสมาทานไม่หวั่นไหวในธรรมอันไม่มีโทษ เป็นอธิษฐานบารมี.
ความเป็นผู้มีเมตตา และความเอ็นดูในสรรพสัตว์โดยไม่เจาะจง เป็นเมตตาบารมี.
ส่วนอุเบกขาบารมีของพระโพธิสัตว์นั้นพึงทราบตามที่กล่าวแล้วนั่นแล.
อนึ่ง ในจริยานี้ ท่านทาอุเบกขาบารมีให้เป็นบารมียอดเยี่ยมอย่างยิ่ง จึงยกอุเบกขาบารมีนั้นขึ้น
สู่เทศนา.
4
อนึ่ง ในจริยานี้ พึงประกาศคุณานุภาพของพระมหาสัตว์มีอาทิอย่างนี้ คือ
การละกองโภคสมบัติใหญ่และวงศ์ญาติใหญ่ แล้วออกจากเรือนเช่นกับการออกบวช.
การไม่ถือเพศบรรพชิตของพระมหาสัตว์ผู้ออกไปอย่างนั้นแล้ว รังเกียจลาภและสักการะประสงค์
จะรักษาความนับถือของผู้อื่น แล้วอธิษฐานคุณของบรรพชาไม่ให้มีเหลือด้วยจิตเท่านั้น แล้วอยู่เป็นสุขอย่าง
ยิ่ง.
ความเป็นผู้มักน้อยอย่างยิ่ง. ความยินดีในความสงัด การไม่คานึงถึงกายและชีวิตของตนด้วย
ประสงค์จะวางเฉย.
การประพฤติขัดเกลากิเลสถึงขั้นอุกฤษฏ์ อดกลั้นความน่าเกลียดที่ผู้อื่นทาเบื้องบนของตน.
การยังตนให้ตั้งมั่นด้วยความที่กิเลสอันเป็นปฏิปักษ์ต่อโพธิสมภารมีน้อย ด้วยความเป็นกลาง
ในที่ทั้งปวง อันเป็นเหตุแห่งความไม่ผิดปกติในผู้มีอุปการะและไม่มีอุปการะของคนอื่น ดุจพระขีณาสพ
ฉะนั้น แล้วไม่ติดด้วยโลกธรรมทั้งหลาย.
การถึงยอดแห่งอุเบกขาบารมี อันเป็นพุทธบารมีของบารมีทั้งปวง.
จบอรรถกถามหาโลมหังสจริยาที่ ๑๕
-----------------------------------------------------

More Related Content

Similar to 36 มหาโลมหังสจริยา มจร.pdf

34 สุวัณณสามจริยา มจร.pdf
34 สุวัณณสามจริยา มจร.pdf34 สุวัณณสามจริยา มจร.pdf
34 สุวัณณสามจริยา มจร.pdfmaruay songtanin
 
28 กปิลราชจริยา มจร.pdf
28 กปิลราชจริยา มจร.pdf28 กปิลราชจริยา มจร.pdf
28 กปิลราชจริยา มจร.pdfmaruay songtanin
 
(๑๑) พระเรวตเถราปทาน มจร.pdf
(๑๑) พระเรวตเถราปทาน มจร.pdf(๑๑) พระเรวตเถราปทาน มจร.pdf
(๑๑) พระเรวตเถราปทาน มจร.pdfmaruay songtanin
 
32 กัณหทีปายนจริยา มจร.pdf
32 กัณหทีปายนจริยา มจร.pdf32 กัณหทีปายนจริยา มจร.pdf
32 กัณหทีปายนจริยา มจร.pdfmaruay songtanin
 
25 ภิงสจริยา มจร.pdf
25 ภิงสจริยา มจร.pdf25 ภิงสจริยา มจร.pdf
25 ภิงสจริยา มจร.pdfmaruay songtanin
 
13 ภูริทัตตจริยา มจร.pdf
13 ภูริทัตตจริยา มจร.pdf13 ภูริทัตตจริยา มจร.pdf
13 ภูริทัตตจริยา มจร.pdfmaruay songtanin
 
08 จันทกุมารจริยา มจร.pdf
08 จันทกุมารจริยา มจร.pdf08 จันทกุมารจริยา มจร.pdf
08 จันทกุมารจริยา มจร.pdfmaruay songtanin
 
02 อกิตติจริยา มจร.pdf
02 อกิตติจริยา มจร.pdf02 อกิตติจริยา มจร.pdf
02 อกิตติจริยา มจร.pdfmaruay songtanin
 
17 รุรุราชจริยา มจร.pdf
17 รุรุราชจริยา มจร.pdf17 รุรุราชจริยา มจร.pdf
17 รุรุราชจริยา มจร.pdfmaruay songtanin
 

Similar to 36 มหาโลมหังสจริยา มจร.pdf (9)

34 สุวัณณสามจริยา มจร.pdf
34 สุวัณณสามจริยา มจร.pdf34 สุวัณณสามจริยา มจร.pdf
34 สุวัณณสามจริยา มจร.pdf
 
28 กปิลราชจริยา มจร.pdf
28 กปิลราชจริยา มจร.pdf28 กปิลราชจริยา มจร.pdf
28 กปิลราชจริยา มจร.pdf
 
(๑๑) พระเรวตเถราปทาน มจร.pdf
(๑๑) พระเรวตเถราปทาน มจร.pdf(๑๑) พระเรวตเถราปทาน มจร.pdf
(๑๑) พระเรวตเถราปทาน มจร.pdf
 
32 กัณหทีปายนจริยา มจร.pdf
32 กัณหทีปายนจริยา มจร.pdf32 กัณหทีปายนจริยา มจร.pdf
32 กัณหทีปายนจริยา มจร.pdf
 
25 ภิงสจริยา มจร.pdf
25 ภิงสจริยา มจร.pdf25 ภิงสจริยา มจร.pdf
25 ภิงสจริยา มจร.pdf
 
13 ภูริทัตตจริยา มจร.pdf
13 ภูริทัตตจริยา มจร.pdf13 ภูริทัตตจริยา มจร.pdf
13 ภูริทัตตจริยา มจร.pdf
 
08 จันทกุมารจริยา มจร.pdf
08 จันทกุมารจริยา มจร.pdf08 จันทกุมารจริยา มจร.pdf
08 จันทกุมารจริยา มจร.pdf
 
02 อกิตติจริยา มจร.pdf
02 อกิตติจริยา มจร.pdf02 อกิตติจริยา มจร.pdf
02 อกิตติจริยา มจร.pdf
 
17 รุรุราชจริยา มจร.pdf
17 รุรุราชจริยา มจร.pdf17 รุรุราชจริยา มจร.pdf
17 รุรุราชจริยา มจร.pdf
 

More from maruay songtanin

๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...maruay songtanin
 
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....maruay songtanin
 
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...maruay songtanin
 
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...maruay songtanin
 
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...maruay songtanin
 
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....maruay songtanin
 
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...maruay songtanin
 
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...maruay songtanin
 
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...maruay songtanin
 
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....maruay songtanin
 
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docxmaruay songtanin
 
Operational Resilience ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
Operational Resilience  ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdfOperational Resilience  ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
Operational Resilience ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdfmaruay songtanin
 
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...maruay songtanin
 
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...maruay songtanin
 
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...maruay songtanin
 
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...maruay songtanin
 
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...maruay songtanin
 
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...maruay songtanin
 
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....maruay songtanin
 
๗๘. สุวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๗๘. สุวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๗๘. สุวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๗๘. สุวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...maruay songtanin
 

More from maruay songtanin (20)

๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
 
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
 
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
 
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
 
Operational Resilience ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
Operational Resilience  ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdfOperational Resilience  ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
Operational Resilience ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
 
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
 
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
 
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
 
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
 
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 
๗๘. สุวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๗๘. สุวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๗๘. สุวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๗๘. สุวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 

36 มหาโลมหังสจริยา มจร.pdf

  • 1. 1 การบาเพ็ญบารมีของพระผู้มีพระภาคเจ้า ตอนที่ ๓๖ มหาโลมหังสจริยา พลตรี มารวย ส่งทานินทร์ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ เกริ่นนา เราเป็นผู้วางเฉยในสุขและทุกข์ ในยศและความเสื่อมยศ เป็นผู้มีใจเสมอในสิ่งทั้งปวง นี้ เป็น อุเบกขาบารมีของเรา. พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก ๑๕. มหาโลมหังสจริยา ว่าด้วยจริยาของมหาโลมหังสบัณฑิต [๑๑๙] เรานอนอยู่ในป่าช้า เอาซากศพซึ่งมีแต่กระดูกทาเป็นหมอนหนุน เด็กชาวบ้านพวกหนึ่ง พากันแสดงอาการหยาบช้าร้ายกาจนานัปการ [๑๒๐] อีกพวกหนึ่งร่าเริงดีใจ พากันนาของหอม ดอกไม้ อาหาร และเครื่องบรรณาการต่างๆ เป็นอันมากมาให้เรา [๑๒๑] พวกใดนาทุกข์มาให้เรา และพวกใดนาสุขมาให้เรา เราเป็นผู้เสมอแก่เขาทั้งหมด ไม่มี ความเอ็นดู ไม่มีความโกรธ [๑๒๒] เราเป็นผู้วางเฉยในสุขและทุกข์ ในยศและความเสื่อมยศ เป็นผู้เสมอในสิ่งทั้งปวง นี้ เป็น อุเบกขาบารมีของเรา ฉะนี้ แล มหาโลมหังสจริยาที่ ๑๕ จบ คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา ขุททกนิกาย จริยาปิฎก การบาเพ็ญเนกขัมมบารมีเป็นต้น ๑๕. มหาโลมหังสจริยา อรรถกถามหาโลมหังสจริยาที่ ๑๕ ในครั้งนั้น พระมหาสัตว์บังเกิดในตระกูลมีโภคะยิ่งใหญ่ อาศัยความเจริญอยู่กับครูในสานัก อาจารย์ทิศาปาโมกข์ สาเร็จศิลปะทุกแขนง มายังเรือนของตระกูล. เมื่อมารดาบิดาล่วงลับไปแล้ว แม้พวกญาติขอร้องให้ครอบครองทรัพย์สมบัติ เป็นผู้เกิดความ สังเวชในภาวะทั้งปวงด้วยมนสิการถึงความเป็นของไม่เที่ยง ได้อสุภสัญญาในกาย ไม่ยึดถือกิเลสอันทาให้มี
  • 2. 2 ความกังวลในการครองเรือน เพิ่มพูนอัธยาศัยในเนกขัมมะที่สะสมมาช้านาน ประสงค์ละกองโภคะใหญ่ออก บวช จึงคิดต่อไปว่า หากเราบวชจักเป็นผู้ไม่ปรากฏด้วยการยกย่องทางคุณธรรม. พระมหาสัตว์รังเกียจลาภและสักการะ ไม่เข้าไปบวชตรึกถึงตนว่า เราเพียงพอเพื่อไม่เป็นผู้ ผิดปกติในลาภและเสื่อมลาภเป็นต้น จึงคิดว่าเราบาเพ็ญปฏิปทามีความอดทนคาเย้ยหยันของผู้อื่นเป็นต้น อย่างวิเศษ จักยังอุเบกขาบารมีให้ถึงที่สุดได้ จึงออกจากเรือนด้วยผ้าผืนที่นุ่งอยู่นั่นแหละ. เป็นผู้ประพฤติขัดเขลากิเลสอย่างยิ่ง หมดกาลังก็ทาเป็นมีกาลัง ไม่โง่ก็ทาเป็นโง่ ถูกคนอื่นเยาะ เย้ย เย้ยหยันด้วยรูปร่างอันไร้จิตใจ เที่ยวไปในหมู่บ้าน นิคมและราชธานีโดยอยู่เพียงคืนเดียวเท่านั้น. ในที่ใดได้รับการเย้ยหยันมาก ก็อยู่ในที่นั้นนาน. เมื่อผ้าที่นุ่งเก่า แม้ผ้านั้นจะเก่าจนเป็นผ้าขี้ริ้วก็ไม่รับผ้าที่ใครๆ ให้ เที่ยวไปเพียงปกปิดอวัยวะยัง หิริให้กาเริบเท่านั้น. เมื่อกาลผ่านไปอย่างนี้ เขาได้ไปถึงบ้านและนิคมแห่งหนึ่ง. ณ ที่นั้น เด็กชาวบ้านนิสัยนักเลงชอบตีรันฟันแทง บางคนก็เป็นบุตรหลานและทาสเป็นต้น ของ พวกราชวัลลภ หยิ่ง ทะลึ่ง ล่อกแล่ก ปากจัด พูดจาสามหาว เที่ยวเล่นตลอดเวลาเสียแหละมาก. เด็กชาวบ้านเหล่านั้นเห็นชายและหญิงที่เป็นคนแก่เข็ญใจก็เอาฝุ่นละอองโปรยไปบนหลัง ห้อย ใบลาเจียกไว้ในระหว่างรักแร้ แสดงการเล่นด้วยท่าทางอันไม่เหมาะสมน่าตาหนิ ก็หัวเราะใส่คนที่กาลังดู. พระมหาบุรุษเห็นพวกเด็กนักเลงเหล่านั้นเที่ยวไปในนิคมนั้น จึงคิดว่า บัดนี้ เราได้อุบายเครื่อง บาเพ็ญอุเบกขาบารมี แล้วจึงอยู่ ณ ที่นั้น. พวกเด็กนักเลงเห็นพระมหาบุรุษนั้น จึงเริ่มที่จะทาความไม่เหมาะสม. พระมหาสัตว์ลุกขึ้นเดินไปทาคล้ายกับทนไม่ได้ และทาคล้ายกลัวเด็กพวกนั้น. พวกเด็กเหล่านั้น ก็ตามพระโพธิสัตว์ไป. พระโพธิสัตว์เมื่อถูกพวกเด็กตามไป จึงไปป่าช้าด้วยเห็นว่าที่ป่าช้านี้ คงไม่มีใครขัดคอ เอาโครงกระดูกทาเป็นหมอนหนุนแล้วนอน. พวกเด็กนักเลงก็พากันไปที่ป่าช้านั้น ทาความไม่เหมาะสม หลายๆ อย่างมีการถ่มน้าลายเป็นต้น แล้วก็กลับไป. พวกเด็กนักเลงทาอย่างนี้ ทุกๆ วัน. พวกที่เป็นวิญญูชนเห็นเด็กๆ ทาอย่างนั้น ก็ห้าม รู้ว่าท่านผู้นี้ มีอานุภาพมาก มีตบะเป็นมหา โยคี จึงพากันกระทาสักการสัมมานะอย่างมากมาย. ฝ่ายพระมหาสัตว์เป็นเช่นเดียว คือเป็นกลางในทุกอย่าง. เรานอนอยู่ในป่าช้านั้น เพราะเรามีจิตเสมอกันในสิ่งที่สะอาดและไม่สะอาด จึงเอาบรรดา กระดูกที่กระจัดกระจายอยู่ในที่นั้น จากซากที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้าผีดิบมีสุนัขบ้านและสุนัขจิ้งจอกเป็นต้น กระดูกชิ้นหนึ่งเป็นหมอนหนุน. เด็กชาวบ้านเหล่านั้นกระทาความไม่เหมาะสม ความหยาบช้าหลายอย่างด้วยการถ่มน้าลาย หัวเราะเยาะและถ่ายปัสสาวะเป็นต้น และด้วยการแยงเส้นหญ้าเป็นต้นเข้าไปในช่องหู เพราะเล่นได้ตาม ความพอใจ. เด็กชาวบ้านพวกนั้นสังเกตดูว่า ท่านผู้นี้ เมื่อเด็กเหล่านี้ ทาความไม่เหมาะสม เห็นปานนี้ ด้วย การเยาะเย้ยยังไม่แสดงความผิดปกติไรๆ เลย จึงพากันนาของหอม ดอกไม้ อาหารหลายอย่างและเครื่อง
  • 3. 3 บรรณาการอย่างอื่นมาให้. หรือว่า มนุษย์ผู้เป็นวิญญูชนเหล่าอื่น นอกจากเด็กชาวบ้านไร้มารยาทเหล่านั้น ร่าเริงว่า ท่านผู้ นี้ เมื่อเด็กเหล่านี้ ทาความไม่เหมาะสมหลายอย่างอย่างนี้ ก็ไม่โกรธ กลับเข้าไปตั้งขันติ เมตตาและความ เอ็นดูในเด็กเหล่านั้นอีก. โอ อัจฉริยบุรุษ. มีใจสังเวชว่า เด็กพวกนี้ ปฏิบัติผิดในท่านผู้นี้ เป็นผู้ขวนขวายบาป เป็นอันมาก จึงนาของหอม ดอกไม้เป็นอันมาก อาหารหลายอย่างและเครื่องสักการะอื่นเข้ามาให้. เราเป็นผู้มีจิตเสมอ คือเป็นเช่นเดียวกันแก่ชนเหล่านั้น เพราะเรามีจิตเสมอโดยไม่เกิดความ ผิดปกติในที่ไหนๆ. กล่าวคือความมีจิตเมตตาในผู้ทาอุปการะไม่มีแก่เรา. แม้ความโกรธ กล่าวคือความ ประทุษร้ายทางใจในผู้ไม่ทาอุปการะก็ไม่มี ฉะนั้น เราจึงเป็นผู้มีใจเสมอแก่ชนทั้งปวง. ท่านแสดงไว้ด้วย ประการฉะนี้ . บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ในกาลนั้น เพื่อทรงแสดงถึงความไม่มีผิดปกติ และความไม่ติดอยู่ใน โลกธรรมทั้งหลาย เพราะพระองค์ทรงสะสมญาณสัมภารไว้ จึงมีพระทัยเสมอในสัตว์ทั้งหลายทั้งที่มีอุปการะ และไม่มีอุปการะ จึงตรัสคาถาสุดท้ายว่า เราเป็นผู้วางเฉยในสุขและทุกข์ ในยศและความเสื่อมยศ เป็นผู้มีใจเสมอในสิ่งทั้งปวง นี้ เป็น อุเบกขาบารมีของเรา. ด้วยประการฉะนี้ ในครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นแสดงความที่พระองค์เป็นกลางในสรรพ สัตว์ และในโลกธรรมทั้งปวง ไม่ทั่วไปแก่ผู้อื่น แล้วเมื่อจะทรงประกาศความที่พระองค์ถึงยอดแห่งอุเบกขา บารมี ในอัตภาพนั้นด้วยบทนั้น ดังนี้ . แม้ในจริยานี้ พระมหาสัตว์ย่อมได้บารมี ๑๐ ครบโดยเฉพาะทานบารมีก่อน. การบริจาคสมบัติทั้งปวงและการบริจาคอัตภาพของตนโดยไม่คานึงว่าใครๆ ถือเอาสรีระนี้ แล้ว จงทาอย่างใดอย่างหนึ่งที่ตนปรารถนา เป็นทานบารมี. การไม่ทาสิ่งไม่ควรทาทั้งปวงมีความเลวเป็นต้น เป็นศีลบารมี. การเพิ่มพูนอสุภสัญญาในกายของพระโพธิสัตว์ผู้หันหลังให้ความยินดีในกาม ออกจากเรือน เป็นเนกขัมมบารมี. ความเป็นผู้ฉลาดในการกาหนดธรรมเป็นอุปการะแก่สัมโพธิสมภาร และในการละธรรมอันเป็น ปฏิปักษ์ต่ออุปการะธรรมนั้น และการคิดถึงสภาวธรรมจากธรรมอันไม่วิปริต เป็นปัญญาบารมี. การบรรเทากามวิตกเป็นต้น และการพยายามอดกลั้นความทุกข์ เป็นวีริยบารมี. ความอดทนด้วยความอดกลั้น เป็นขันติบารมี. จริงวาจา และจริงด้วยการเว้นโดยไม่ผิดสมาทาน เป็นสัจบารมี. การตั้งใจสมาทานไม่หวั่นไหวในธรรมอันไม่มีโทษ เป็นอธิษฐานบารมี. ความเป็นผู้มีเมตตา และความเอ็นดูในสรรพสัตว์โดยไม่เจาะจง เป็นเมตตาบารมี. ส่วนอุเบกขาบารมีของพระโพธิสัตว์นั้นพึงทราบตามที่กล่าวแล้วนั่นแล. อนึ่ง ในจริยานี้ ท่านทาอุเบกขาบารมีให้เป็นบารมียอดเยี่ยมอย่างยิ่ง จึงยกอุเบกขาบารมีนั้นขึ้น สู่เทศนา.
  • 4. 4 อนึ่ง ในจริยานี้ พึงประกาศคุณานุภาพของพระมหาสัตว์มีอาทิอย่างนี้ คือ การละกองโภคสมบัติใหญ่และวงศ์ญาติใหญ่ แล้วออกจากเรือนเช่นกับการออกบวช. การไม่ถือเพศบรรพชิตของพระมหาสัตว์ผู้ออกไปอย่างนั้นแล้ว รังเกียจลาภและสักการะประสงค์ จะรักษาความนับถือของผู้อื่น แล้วอธิษฐานคุณของบรรพชาไม่ให้มีเหลือด้วยจิตเท่านั้น แล้วอยู่เป็นสุขอย่าง ยิ่ง. ความเป็นผู้มักน้อยอย่างยิ่ง. ความยินดีในความสงัด การไม่คานึงถึงกายและชีวิตของตนด้วย ประสงค์จะวางเฉย. การประพฤติขัดเกลากิเลสถึงขั้นอุกฤษฏ์ อดกลั้นความน่าเกลียดที่ผู้อื่นทาเบื้องบนของตน. การยังตนให้ตั้งมั่นด้วยความที่กิเลสอันเป็นปฏิปักษ์ต่อโพธิสมภารมีน้อย ด้วยความเป็นกลาง ในที่ทั้งปวง อันเป็นเหตุแห่งความไม่ผิดปกติในผู้มีอุปการะและไม่มีอุปการะของคนอื่น ดุจพระขีณาสพ ฉะนั้น แล้วไม่ติดด้วยโลกธรรมทั้งหลาย. การถึงยอดแห่งอุเบกขาบารมี อันเป็นพุทธบารมีของบารมีทั้งปวง. จบอรรถกถามหาโลมหังสจริยาที่ ๑๕ -----------------------------------------------------