SlideShare a Scribd company logo
1 of 20
Download to read offline
1



                   หน่วยการเรียนรูที่ 2
                                  ้
        เรือง วิวฒนาการของการปกครองท้องถินไทย
           ่     ั                       ่



สาระการเรียนรู้
           1. ความหมายของการปกครองท้องถิน ่
           2. หลักการปกครองท้องถิน่
           3. องค์ประกอบของการปกครองส่วนท้องถิน    ่
           4. วัตถุประสงค์ของการปกครองส่วนท้องถิน่
           5. ความสาคัญของการปกครองส่วนท้องถิน ่
           6. แนวคิดทฤษฎีการปกครองส่วนท้องถินและการกระจายอานาจ
                                             ่

ผลการเรียนรู้
           1.
           2.

จุดประสงค์การเรียนรู้
           1.
           2.
           3.
2


          ประเทศไทยมีการบริหารราชการแผ่นดิน โดยอาศัยการกระจายอานาจ
จากส่วนกลาง ไปยังส่วนท้องถิ่นเพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนชาวไทยใน
ทุกระดับ ให้ได้มีส่วนร่วม ในการดาเนินกิจกรรมของท้องถิ่น ทั้งแนวทางการบริหาร
ราชการส่วนท้องถิ่น เพื่อตอบสนองความต้องการของคนส่วนใหญ่ การบริหารจัดการ
ด้านงบประมาณ รวมตลอดถึงการดูแลประชาชนที่อาศัยอยู่ในท้องถิ่นอย่างใกล้ชิด
ข้อมูลทางประวัติศาสตร์บ่งชี้ให้เห็นการปกครองของไทยในแต่ละยุคแต่ละสมัยโดยมี
สาระสาคัญโดยสรุปดังนี้

ความเป็นมาของการบริหารราชการแผ่นดินของไทย

สมัยสุโขทัย (พ.ศ.1781 - 1893)
            การจัดระเบียบการบริหารราชการในสมัยสุโขทัยมีลักษณะเฉพาะที่เรียกกัน
ในภายหลัง ว่า เป็นการปกครองแบบ “บิดาปกครองบุตร” หรือ “พ่อปกครองลูก”
(Paternalism) พ่อขุน ซึ่งจะเป็นผู้ปกครองจะปฏิบัติต่อประชาชนผู้อยู่ใต้ปกครองใน
ลักษณะบิดากับบุตร จะให้ความคุ้มครอง ปกป้องดูแล ให้คาสอน คาแนะนาและการ
ชี้แนะให้ประชาชนประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่บิดาเห็นว่าดี ว่างาม ส่วนของประชาชนใน
ฐานะบุตร จะเป็นผู้ที่ต้องเคารพเชื่อฟังและปฏิบัติตามคาสั่งสอนชี้แนะของพ่อขุนซึ่ง
เปรียบเสมือนพ่อของตนเอง การจัดรูปแบบการปกครองของสุโขทัยที่มีลักษณะเฉพาะ
กล่าวคือมีกรุงสุโขทัยเป็นเมืองหลวง เป็นศูนย์กลางการปกครอง มีพ่อขุนซึ่งเป็น
พระมหากษัตริย์และเป็นประมุขของชาติเป็นผู้ปกครองสูงสุด ในขณะเดียวกันพ่อขุนก็
กาหนดให้จัดตั้งหัวเมืองต่าง ๆขึ้น โดยกาหนดให้อยู่รายรอบกรุงสุโขทัย เช่น
             - หัวเมืองชั้นใน หรือ เมืองหน้าด่าน ใช้สาหรับการป้องกันการโจมตีของ
ข้าศึกมิให้ล่วงล้าเข้าเมืองได้โดยง่ายและรวดเร็ว
             - หัวเมืองชั้นนอก ใช้สาหรับป้องกันพระนครไปพร้อมๆ กับเฝ้าตรวจ ตรา
เสาะหาข้อมูลของข้าศึก
             - หัวเมืองประเทศราช ซึ่งเป็นประชาชนพลเมืองต่างชาติ ต่างภาษา ต่าง
ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม หัวเมืองชั้นนี้พ่อขุนจะตั้งเชื้อพระวงศ์หรือ
เจ้านายที่เป็นชนพื้นเมืองปกครองตามเดิมโดยมิได้แทรกแซงหรือยุ่งเกี่ยวกับการ
ปกครองภายในหัวเมืองเหล่านั้น
3


แต่หัวเมืองประเทศราชเหล่านั้นจะต้องแสดงความสวามิภักดิ์โดยการส่งเครื่อง
บรรณาการให้แก่พ่อขุนตามระยะเวลาที่กาหนดและเมื่อสุโขทัยเกิดศึกสงครามก็จะต้อง
แต่งทัพมาช่วยกรุงสุโขทัยเป็นครั้งคราว

สมัยกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ.1893-2310)
          แนวคิดพื้นฐานการปกครองของอยุธยาได้เปลี่ยนแปลงไปจากสมัยสุโขทัย
เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะด้านความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์
กับประชาชนซึ่งเป็นผู้ถูกปกครอง เนื่องจากประเทศไทยได้รบอิทธิพลทางด้าน
                                                       ั
การเมืองการปกครองจากขอมและอินเดีย ที่เรียกว่า ลัทธิเทวสิทธิ์ (Divine Rights)
พระมหากษัตริย์ได้เปลี่ยนสถานะจากบิดาหรือผู้ที่ให้การอุปถัมภ์กลายเป็นสมมติเทพ
ในขณะที่ประชาชนซึ่งเป็นผู้ใต้ปกครองได้ลดฐานะกลายเป็นบ่าวไพร่ สาหรับรูปแบบ
การปกครองในสมัยอยุธยาที่แตกต่างไปจากสุโขทัย ได้แก่ รูปแบบการปกครองที่
สมเด็จพระบรมไตรโลกนารถได้สร้างขึ้นโดยพระองค์นาแนวคิดการรวมอานาจเข้าสู่
ส่วนกลางมาใช้ในการปกครองกรุงศรีอยุธยาและอีกทั้งยังได้ทรงนาเอาระบบจตุสดมภ์
มาใช้ในการบริหารราชการส่วนกลางอีกด้วย พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของรัฐ
และเป็นหัวหน้ารัฐบาล คือ เป็นศูนย์รวมของอานาจนิติบัญญัติ อานาจบริหาร และ
อานาจ ตุลาการ ทรงมีอานาจเด็ดขาดและอยู่เหนือกฎหมาย

สมัยรัตนโกสินทร์ (พ.ศ.2325-2475)
          พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5) ทรงปฏิรูประบบบริหาร
ราชการแผ่นดิน ทรงยกเลิกระบบจตุสดมภ์ และทรงปฏิรูปโครงสร้างระบบบริหาร
ราชการแผ่นดิน เพื่อพัฒนาประเทศให้ทันสมัยและมีความเป็นปึกแผ่นมั่นคง โดย
พระองค์ได้แบ่งการปกครองออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ การปกครองส่วนกลาง การ
ปกครองส่วนภูมิภาค การปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งการปกครองส่วนต่าง ๆ มี
สาระสาคัญโดยสรุปดังนี้
          1. การจัดการปกครองส่วนกลาง รัชกาลที่ 5 ได้ทรงศึกษาแบบแผนการ
จัดระเบียบการปกครองจากชาติทวีปยุโรป และเห็นว่าระเบียบการปกครองที่จัดกันใน
ประเทศยุโรปขณะนั้นจะเป็นวิธีที่จะนาไทยสูความศิวิไลซ์โดยทรงยกเลิกจตุสดมภ์ที่เต
คนใช้มาแต่เดิมทั้งหมด และมีพระบรมราชโองการตั้งกระทรวงแบบใหม่ 12
หน่วยงาน ได้แก่กรมมหาดไทย กรมพระกลาโหม กรมท่า กรมวัง กรมเมือง กรมนา
4


กรมใหม่ ประกอบด้วย กรมพระคลัง กรมยุติธรรม กรมยุทธนาธิการ กรมธรรมการ
กรมโยธาธิการ กรมมรุธาธิการ ทั้งนี้แต่หน่วยงานได้กาหนดอานาจหน้าที่ไว้อย่าง
ชัดเจนเพื่อป้องกันความสับสนและซ้าซ้อนในการทางาน
             2. การจัดการปกครองส่วนภูมิภาค ในการจัดการปกครองส่วนภูมิภาคนั้น
รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชดาริให้จัดตั้งการเทศาภิบาล เพื่อเป็นการเสริมความเป็น
ปึกแผ่นและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของราชอาณาจักรสยามโดยอนุโลมตามแบบ
แผนการปกครองที่เคยใช้มาแต่เดิมให้มากที่สุด “การเทศาภิบาล” ที่ทรงจัดตั้งขึ้นนั้น
เป็นระบบการปกครองอาณาเขตชนิดหนึ่งที่เป็นการปกครองส่วนภูมิภาค พร้อมกันนั้น
พระองค์ได้มีพระราชดาริให้จัดตั้งหน่วยราชการเพิ่มเติม ทั้งนี้เพื่อเป็นตัวแทนรัฐบาล
กลางทาหน้าที่ประสานงานระหว่างส่วนกลางกับส่วนภูมิภาค
             3. การจัดการปกครองส่วนท้องถิ่น รัชกาลที่ 5 ทรงเล็งเห็นความสาคัญ
และความจาเป็นที่จะต้องจัดทาการบริการสาธารณะเพื่อให้ราษฎรในท้องถิ่นต่างๆ มี
สภาพการดารงชีวิตที่ดีขึ้นจึงได้ตรากฎหมายเกี่ยวกับการจัดทากิจการสาหรับท้องถิ่น
พร้อมกับกาหนดให้เจ้าหน้าที่ส่วนกลางและส่วนภูมิภาครับผิดชอบดาเนินการใน
ท้องถิ่นพร้อมกันนั้นก็เปิดโอกาสให้ราษฎรสามารถเข้ามามีส่วนร่วมด้วย และถือได้ว่า
เป็นจุดเริ่มต้นของการปกครองท้องถิ่นของไทยอย่างแท้จริงและมีวิวัฒนาการต่อเนื่อง
เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน สาหรับองค์การและกฎหมายเกี่ยวกับการจัดทากิจการสาหรับ
ท้องถิ่นที่สาคัญ ได้แก่
                 3.1. การจัดตั้งสุขาภิบาลกรุงเทพ ในปี ร.ศ.116 (พ.ศ.2440) พร้อมทั้ง
ตราพระราชกาหนดสุขาภิบาลกรุงเทพฯ ร.ศ.116 ซึ่งถือได้ว่าเป็นสถาบันการปกครอง
ส่วนท้องถิ่นของไทยแห่งแรก
                 3.2. การจัดตั้งสุขาภิบาลท่าฉลอม เมื่อปี ร.ศ.124 (พ.ศ.2448) ถือได้
ว่าเป็นสุขาภิบาลในเขตหัวเมืองแห่งแรกของไทย
             ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว(ร.6) ได้ทรงตรา
ธรรมนูญลักษณะการปกครองนคราภิบาล พ.ศ.2461 และกฎธานิโยปการ พ.ศ. 2465
ซึ่งเป็นที่มาของเมืองจาลองเพื่อทดลองและฝึกสอนการปกครองท้องถิ่นในรูปของ
เทศบาลที่เรียกว่า “ดุสิตธานี” กฎหมายดังกล่าวกาหนดให้ราษฎรเลือกตั้งนคราภิบาล
และนคราภิบาลไปเลือกตั้งคณะผู้บริหารที่เรียกว่า “คณะนคราภิบาล”มีฐานะเป็นนิติ
บุคคลมีเจ้าหน้าที่ประจาของตนเองแยกต่างหากจากส่วนกลาง และกาหนดให้เทศบาล
ดุสิตธานีมีอานาจหน้าที่ดูแลทุกข์สุขตลอดจนการทามาหากินของราษฎร แต่ทว่าการ
5


ดาเนินงานของคณะนคราภิบาลต้องอยู่ภายใต้การกากับดูแลจากส่วนกลาง
       การปกครองท้องถิ่นของไทยในรูปของ “สุขาภิบาล” ดาเนินกิจการเรื่อยมา
จนถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว(ร.7) พระองค์ได้ทรง
ดาเนินการปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปของเทศบาลต่อจากรัชกาลที่ 6 แต่ทว่ายังมิได้
ดาเนินการเป็นผลสาเร็จเพราะประเทศไทยได้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองจาก
ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตยในวันที่ 24
มิถุนายน พ.ศ.2475 (เฉลิมพงศ์ มีสมนัย.2548:121-124)

การบริหารราชการแผ่นดินหลังการเปลียนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475
                                       ่
              หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ได้มีการประกาศใช้
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ.2475 วางกรอบกติกาทางการเมืองการ
ปกครอง และต่อมาจึงได้มีพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบราชการบริหารแห่ง
ราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 วางโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดินหลังจากที่มี
การเปลี่ยนระบบการปกครองใหม่ โดยเหตุผลสาคัญของการตรากฎหมายฉบับนี้คือ
เพื่อต้องการจัดล้างรูปแบบงานให้เข้าลักษณะการปกครองอย่างรัฐธรรมนูญและ
เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินรวบรัดและเร็วยิ่งขึ้น สาระสาคัญของพระราชบัญญัติ
ฉบับนี้ มีดังนี้ (ชูวงศ์ ฉายะบุตร,2539 :66-67)
             1. มีการจัดระเบียบการบริหารราชการออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ราชการ
บริหารส่วนกลาง คือ คณะรัฐมนตรี (กระทรวง ทบวง กรม) ราชการบริหารส่วน
ภูมิภาค คือ การส่งข้าราชการไปประจา และราชการบริหารส่วนท้องถิ่น คือ เทศบาล
             2. มีการกาหนดฐานะของกระทรวงให้เป็นทบวงการเมือง หมายความว่า
หน่วยงานของรัฐที่เป็นนิติบุคคลมีฐานะทางกฎหมายที่จะเป็นคู่สัญญาในทางกฎหมาย
ได้
             3. มีการปรับโอนอานาจหน้าที่ในการบริหารราชการส่วนภูมิภาคให้อยู่กับ
คณะกรมการจังหวัด และคณะกรมการอาเภอ แทนที่จะอยู่กับผู้ว่าราชการจังหวัดและ
นายอาเภอ
             4. ยกเลิกมณฑล คงเหลือแต่จังหวัด อาเภอ ที่เป็นราชการส่วนภูมิภาค
         ** 5. กาหนดราชการบริหารส่วนท้องถิ่นเพิ่มขึ้นมา คือ เทศบาล(ปธาน
สุวรรณมงคล และคณะ ,2537 :22-23)และต่อมามีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง
6


กฎหมายหลักการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินเรื่อยมา แม้จะมีรัฐบาลพลเรือน
ที่มาจากการเลือกตั้งหลายชุดแล้วก็ตาม
7


การบริหารราชการแผ่นดินในปัจจุบน   ั
           สาหรับประเทศไทยนั้น ได้ยึดหลักการรวมอานาจไว้ที่ส่วนกลางและ
หลักการแบ่งอานาจไปให้ส่วนภูมิภาคมาโดยตลอด กล่าวคือ รัฐบาลได้ใช้หลักการรวม
อานาจและหลักการแบ่งอานาจผสมผสานกันไป ทาให้รัฐบาลสามารถควบคุมได้ทุก
ส่วนของประเทศ โดยผ่านตัวแทนของตนในส่วนภูมิภาค มีผลทาให้การบริหารประเทศ
มีเอกภาพ และมีความมั่นคงจนถึงปัจจุบันนี้ ส่วนหลักการกระจายอานาจให้ประชาชน
ในท้องถิ่นปกครองกันเองนั้น เป็นหลักใหม่ตามอุดมการณ์ของประชาธิปไตยภายหลัง
การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศ เมื่อปี พ.ศ. 2475 ดังได้กล่าวมาแล้ว
(วรานนท์ สมคิด ,2547 :52-63)
             การจัดระเบียบบริหารราชการไทยในปัจจุบัน จะใช้หลักการจัดระเบียบ
บริหารราชการทั้ง 3 หลักตามที่กาหนดไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบริหารราชการ
แผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึง ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2545 กล่าวคือ
              1. ใช้หลักการรวมอานาจในการจัดระเบียบการบริหารส่วนราชการ
ส่วนกลาง อันได้แก่ กระทรวง ทบวง กรมต่างๆ
              2. ใช้หลักการแบ่งอานาจในการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมภาค
                                                                       ิ
อันได้แก่ จังหวัดและอาเภอ
              3. ใช้หลักการกระจายอานาจในการจัดระเบียบบริหารราชการส่วน
ท้องถิน หรือการปกครองส่วนท้องถิน อันได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถินประเภท
       ่                            ่                               ่
ต่างๆ
             การบริหารราชการส่วนกลาง หมายถึง ราชการบริหารอันเป็นภาระเป็น
ภาระหน้าที่ของราชการส่วนกลางซึ่งประกอบด้วยกระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ โดยมี
พนักงานเจ้าหน้าที่ของราชการบริหาร ส่วนกลางซึ่งขึ้นต่อกันตามลาดับการบังคับ
บัญชาเป็นผู้ดาเนินงานตลอดทั้งอาณาเตของรัฐหรือประเทศราชการบริหารส่วนกลาง
จึงเป็นอานาจหน้าที่และความรับผิดชอบโดยตรงของส่วนกลาง หรือรัฐบาลกลางเพื่อ
ประโยชน์ของสังคมหรือประเทศเป็นส่วนรวม มิได้มุ่งเพื่อประโยชน์ของชุมชนหรือ
ท้องถิ่นหนึ่งท้องถิ่นใดโดยเฉพาะ การบริหารราชการส่วนกลางจึงเป็นการจัดระเบียบ
ที่ยึดหลักการรวมอานาจ
             การบริหารราชการส่วนภูมิภาค หมายถึง ราชการของกระทรวง ทบวง
กรม ต่างๆ ซึ่งไดแบ่งแยกออกไปดาเนินการจัดทาตามเขตการปกครองของประเทศ
เพื่อสนองความต้องการของประชาชนในเขตการปกครองนั้นๆ โดยมีเจ้าหน้าที่ของ
8


ราชการส่วนกลาง ซึ่งได้รบการแต่งตั้งออกไปประจาตามเขตการปกครองต่างๆ ใน
                        ั
ส่วนภูมิภาคเพื่อบริหารราชการภายใจการบังคับบัญชาของราชการส่วนกลาง กล่าวอีก
นัยหนึ่งราชการส่วนภูมิภาคคือสาขาของราชการส่วนกลางที่ได้รับการแบ่งและมอบ
อานาจให้ไปดาเนินการแทน ทั้งนี้เนื่องจากราชส่วนกลางมีงานที่กว้างขวาง เพื่อ
ผลประโยชน์ของประชาชนทั่วประเทศ การให้มีสานักงานกลางที่จัดตั้งเป็นกระทรวง
ทบวง กรม อานวยการอยู่ที่เมืองหลวงแห่งเดียว ไม่อาจอานายประโยชน์ให้แก่
ประชาชนได้ทั่วถึง จึงจาเป็นต้องแยกสาขาออกไปตั้งปฏิบัติราชการอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ
(กมล และคณะ 2524: 225) การบริหารราชการส่วนภูมิภาคจังเป็นการจัดระเบียบ
การปกครองตาม หลักการแบ่งอานาจ (deconcentration)

ลักษณะสาคัญของราชการบริหารส่วนภูมิภาค
มีดงนีคือ
   ั ้
            1) การบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็นการแบ่งอานาจการปกครองจาก
ส่วนกลางแล้วมอบอานาจให้แก่ผู้แทนราชการบริหารส่วนกลางซึ่งไปประจาอยู่ในส่วน
ภูมิภาค มิใช่เป็นการกระจายอานาจการปกครอง
            2) เจ้าหน้าที่ในส่วนภูมิภาคยังอยู่ภายใต้อานาจบังคับบัญชาของส่วนกลาง
โดยเฉพาะในเรื่องการแต่งตั้งถอดถอนโดยวินัยเป็นเครื่องบังคับ และผู้มีอานาจบังคับ
บัญชามีความรับผิดชอบในราชการที่ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติไปตามคาสั่งของตนทุก
ประการ
            3) ราชการส่วนภูมิภาคไดรับมอบอานาจในการวินิจฉัยสั่งการเฉพาะบาง
เรื่องบางประการเท่านั้น ราชการส่วนกลางมีอานาจที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขวินิจฉัย
คาสั่งการของส่วนภูมิภาคได ฉะนั้นผู้มีอานาจสั่งการขั้นสุดท้ายก็คือราชการส่วนกลาง
นั่นเอง

จังหวัด
          จังหวัดเป็นหน่วยการปกครองในส่วนภูมิภาคที่ใหญ่ที่สุด จังหวัด
ประกอบด้วยอาเภอหลายๆ อาเภอ จังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล ส่วนอาเภอไม่เป็นนิติ
บุคคล
ส่วนราชการต่างๆ ที่กระทรวง ทบวง กรม ตั้งขึ้นมาประจาในจังหวัด มีหน้าที่เกี่ยวกับ
9


ราชการของกระทรวง ทบวง กรม นั้นๆ มีหัวหน้าส่วนราชการประจาจังหวัดนั้นๆ เป็น
ผู้บังคับจังหวัด การจัดตั้ง การยุบ และการเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดต้องตราเป็น
พระราชบัญญัติ
              ผู้ว่าราชการจังหวัด ในการบริหารราชการของจังหวัดนั้นมีผู้ว่าราชการ
จังหวัดรับผิดชอบการบริหารราชการ เป็นผู้รับนโยบายและคาสั่งจากนายกรัฐมนตรีใน
ฐานะหัวหน้ารัฐบาล คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม ไปปฏิบัติให้เหมาะสมกับ
สภาพท้องที่และประชาชน และเป็นหัวหน้าบังคับบัญชาบรรดาข้าราชการฝ่ายบริหาร
ส่วนภูมิภาคในเขตจังหวัด และรับผิดชอบราชการของจังหวัดและอาเภอ ผู้ว่าราชการ
จึงเป็นผู้รับผิดชอบทั้งในทางปฏิบัติและในด้านกฎหมาย ระเบียบแบบแผน กฎ
ข้อบังคับ ต่างๆ เป็นตัวแทนของรัฐบาลในอันที่จะอานวยประโยชน์สุขแก่ประชาชน
อย่างกว้างขวาง อานาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดตามที่กาหนดในกฎหมายระเบียบ
บริหารราชการแผ่นดินปัจจุบัน มีดังนี้
              1. บริหารราชการตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการ
              2. บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มอบหมาย
หรือตามทีนายกรัฐมนตรีสั่งการในฐานะหัวหน้ารัฐบาล
            ่
              3. บริหารราชการตามคาแนะนาและคาชี้แจงของผู้ตรวจราชการกระทรวง
ในเมื่อไม่ขัดต่อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับของกระทรวง ทบวง กรม หรือมติของ
คณะรัฐมนตรี หรือการสั่งการของคณะรัฐมนตรี
              4. กากับดูแลการปฏิบัติราชการอันมิใช่ราชการส่วนภูมิภาคของข้าราชการ
ซึ่งประจาอยู่ในจังหวัดนั้น ยกเว้นข้าราชการทหาร ข้าราชการฝ่ายตุลาการ ข้าราชการ
ฝ่ายอัยการ ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการครู ให้ปฏิบัติราชการให้
เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ หรือคาสั่งของกระทรวง ทบวง กรม หรือมติ
ของคณะรัฐมนตรีหรือการสั่งของ นายกรัฐมนตรีหรือยับยั้งการกระทาใดๆ ของ
ข้าราชการในจังหวัดที่ขัดต่อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคาสั่งของกระทรวง
ทบวง กรม มติคณะรัฐมนตรีหรือการสั่งการของนายกรัฐมนตรีไว้ชั่วคราว แล้ว
รายงานกระทรวง กรมที่เกี่ยวข้อง
              5. ประสานงานและร่วมมือกับข้าราชทหาร ข้าราชการฝ่ายตุลาการ
ข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการครู ผู้ตรวจ
ราชการและหัวหน้าส่วนราชการในระดับเขต หรือภาค ในการพัฒนาจังหวัดหรือ
ป้องกันภัยพิบัติสาธารณะ
10


             6. เสนองบประมาณต่อกระทรวงที่เกี่ยวข้องตามโครงการหรือแผนพัฒนา
จังหวัดและรายงานให้กระทรวงมหาดไทยทราบ
             7. ควบคุมดูแลบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในจังหวัดตามกฎหมาย
             8. กากับการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานองค์การของรัฐบาลหรือ
รัฐวิสาหกิจ ในการนี้ให้มีอานาจทารายงานหรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการ
ดาเนินงานขององค์การของรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจต่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัด องค์การของ
รัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจต่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัด องค์การของรัฐบาล หรือรัฐวิสาหกิจ
            9. บรรจุ แต่งตั้ง ให้บาเหน็จ และลงโทษข้าราชการส่วนภูมิภาคในจังหวัด
ตามกฎหมายและตามที่ปลัดกระทรวง ปลัดทบวง หรืออธิบดีมอบหมาย การยกเว้น
จากัด หรือตัดตอนอานาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการหรือให้
ข้าราชการของส่วนราชการใดมีอานาจหน้าที่ในการบริหารราชการส่วนภูมิภาค
เช่นเดียวกับผู้ว่าราชการจังหวัดจะกระทาได้โดยตรงเป็นพระราชบัญญัติ
            รองผู้ว่าราชการจังหวัด ในการบริหารราชการของจังหวัดกฎหมายระเบียบ
บริหารราชการแผ่นดินได้กาหนดให้มีตาแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ช่วยผู้ว่า
ราชการจังหวัด หรือมีทั้งรองและผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ช่วยปฏิบัติราชการ
แทนผู้ว่าราชการจังหวัดก็ได้ ตาแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้ช่วยผู้ว่าราชการ
จังหวัดเป็นข้าราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทย เช่นเดียวกับผู้ว่าราชการจังหวัด

สาหรับตาแหน่งรองผูวาราชการจังหวัดนั้น ในการพิจารณาตังตาแหน่งนี้
                       ้่                                   ้
             กระทรวงมหาดไทยพิจารณาจัดตั้งขึ้นในจังหวัดใหญ่ๆ ที่มีปริมาณงานมาก
เพื่อช่วยเหลือผู้ว่าราชการจังหวัดใน การรับผิดชอบและบริการราชการให้บังเกิดผลดี
โดยทั่วถึง ส่วนตาแหน่งผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นตาแหน่งผู้ช่วยปฏิบัติราชการ
แทนเช่นเดียวกับตาแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด
             ปลัดจังหวัด ในแต่ละจังหวัดปลัดจังหวัดเป็นผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัดใน
หน้าที่ทั่วไป ปลัดจังหวัดเป็นข้าราชการสังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
เป็นหัวหน้าส่วนราชการแผนกการปกครองของจังหวัด มีฐานะเท่าเทียมกับหัวหน้า
ส่วนราชการอื่น ใน ประชาสงเคราะห์จังหวัดซึ่งรับผิดชอบงานของกรมประสงเคราะห์
ในจังหวัดศึกษาธิการจังหวัดรับผิดชอบงานของกระทรวงศึกษาธิการในจังหวัด เป็นต้น
ปลัดจังหวัดไม่มีฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาหัวหน้าส่วนราชการต่างๆ ในจังหวัดรองลงมา
จากผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งต่างกับรองผู้ว่าราชการจังหวัด
11


           หัวหน้าส่วนราชการประจาจังหวัดในจังหวัดหนึ่งนอกจากจะมีผู้ว่าราชการ
จังหวัดเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดงานบริหารราชการของจังหวัด
หรือบางจังหวัดมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดและปลัดจังหวัดแล้วจะมีหัวหน้าส่วนราชการ
ประจาจังหวัดซึ่งกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ส่งมาประจาหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือผู้ว่า
ราชการจังหวัด และมีอานาจบังคับบัญชาข้าราชการส่วนภูมิภาคซึ่งสังกัดกระทรวง
ทบวง กรม นั้นๆ ในจังหวัดนั้น
อาเภอ
คือหน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาครองจากจังหวัด อาเภอแบ่งเป็นหลายตาแหน่ง
อาเภอไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล
           1. การจัดตั้ง การจัดตั้งอาเภอ ทาได้โดยรวมทั้งที่หลายๆ ตาบล ประมาณ
3 ตาบล การจัดตั้ง ยุบ และเปลี่ยนแปลงเขตอาเภอ กระทาได้โดยการตราเป็นพระ
ราชกฤษฎีกา
           2. อานาจหน้าที่และผู้รับผิดชอบบังคับบัญชา
            ในอาเภอหนึ่งมีนายอาเภอคนหนึ่งเป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชาบรรดา
ข้าราชการในอาเภอและรับผิดชอบงานบริหารราชการของอาเภอ ในอาเภอหนึ่ง
นอกจากจะมีนายอาเภอเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาและรับผิดชอบงานบริหารราชการ
ของอาเภอดังกล่าวแล้ว ให้มีปลัดอาเภอและหัวหน้าส่วนราชการประจาอาเภอซึ่ง
กระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ส่งมาประจาให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือนายอาเภอ
และมีอานาจาบังคับบัญชาข้าราชบริหารส่วนภูมิภาคซึ่งสังกัดกระทรวงทบวงกรม นั้น
ในอาเภอนั้น

อานาจหน้าทีของนายอาเภอ มีดงนี้
               ่                 ั
             1. บริหารราชการตามกฎหมายระเบียบแบบแผนของทางราชการ ถ้า
กฎหมายใดมิไดบัญญัติว่าการปฎิบัติตามกฎหมายนั้นเป็นหน้าที่ผู้ใดโดยเฉพาะให้เป็น
หน้าที่ของนายอาเภอที่จะต้องรักษาการให้เป็นไปตามกฎหมายนั้นด้วย
              2. บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มอบหมาย
หรือตามที่นายกรัฐมนตรีสั่งการในฐานะหัวหน้ารัฐบาล
              3. บริหารราชการตามคาแนะนาและคาชี้แจงของผู้ว่าราชการจังหวัด และ
ผู้มีหน้าที่ตรวจการอื่นซึ่งคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม และ
ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายในเมื่อไม่ขัดข้องต่อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือ
12


คาสั่งของกระทรวง ทบวง กรม มติของคณะรัฐมนตรี หรือการสั่งการของ
นายกรัฐมนตรี
               4. ควบคุมดูแลการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในอาเภอตามกฎหมาย
ซึ่งหน้าที่อื่นๆ ของนายอาเภอซึ่งเรียกว่า "หน้าที่เบ็ดเตล็ด" คือ
               1. จัดการทั้งปวงในอาเภอให้เรียบร้อย ถ้าเห็นว่างานใดบกพร่องก็ต้อง
รายงานต่อผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อเสนอความเห็นของปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น
               2. ช่วยราชการของอาเภออื่นที่ใกล้เคียง เช่น เกิดอัคคีภัย หรือโรคระบาด
ต้องทาการช่วยเหลือทันทีถ้ารู้เหตุการณ์ซึ่งควรจะช่วยเหลือโดยไม่ต้องรอจนอาเภอ
ใกล้เคียงนั้นขอความช่วยเหลือ แม้จะอยู่ต่างจังหวัดก็ตาม
               3. หน้าที่ของนายอาเภอ นอกจากที่กล่าวในกฎหมายลักษณะปกครอง
ท้องที่แล้วต้องทาตามความซึ่งกาหนดไว้ในพระราชกาหนดกฎหมายอื่นๆ อันกาหนดไว้
ว่าเป็นหน้าที่ของนายอาเภอ เช่น หน้าที่เกี่ยวกับการทะเบียนราษฎร การทะเบียนสัตว์
พาหนะ ทะเบียนชื่อสกุลการจดทะเบียนบุริมสิทธิ์ การทานิติกรรม การเกณฑ์ทหาร
เป็นต้น แม้กฎหมายไม่ได้ระบุว่าเป็นหน้าที่ของผู้ใดก็ให้พึงเข้าใจว่าเป็นหน้าที่ของ
นายอาเภอที่จะรักษาการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินั้นๆ


กิงอาเภอ
  ่
            กิ่งอาเภอเป็นหน่วยการปกครองซึ่งรวมหลายตาบล แต่ไม่มีลักษณะใหญ่
พอที่จะตั้งเป็นอาเภอ หนึ่งได้ กิ่งอาเภอเป็นส่วนหนึ่งของอาเภอ การจัดตั้งเป็นกิ่ง
อาเภอก็เพื่อสะดวกในการปกครองแต่ให้ตั้งขึ้นเมื่อมีความจาเป็นในการปกครองเท่านั้น
หากเจ้าหน้าที่อาเภอตรวจตราท้องที่ได้สะดวกก็ไม่จาเป็นต้องตั้งกิ่งอาเภอขึ้น ในอาเภอ
หนึ่งๆ จะมีกิ่งอาเภอเดียวหรือหลายกิ่งอาเภอก็ได้และแบ่งเขตออกเป็นตาบล
เช่นเดียวกับอาเภอ
            1. ผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบ การบริหารราชการของกิ่งอาเภอมี
ปลัดอาเภอประจากิ่งอาเภอเป็นหัวหน้า และมีปลัดอาเภออื่นๆ ตามจานวนที่จาเป็น
หัวหน้าส่วนราชการของกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ประจากิ่งอาเภอคล้ายอาเภอ
ปลัดอาเภอประจากิ่งอาเภออยู่ในบังคับบัญชาของนายอาเภอและทาการแทน
นายอาเภอ ทั้งนี้เพราะว่ากิ่งอาเภอเป็นเขตการปกครองส่วนหนึ่งซึ่งรวมอยู่ในอาเภอ
สาหรับหัวหน้าส่วนราชการของกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ประจากิ่งอาเภอนั้นก็คือ
13


เจ้าหน้าที่ซึ่งแบ่งออกจากอาเภอให้มาประจาทางานอยู่ที่กิ่งอาเภอสุดแล้วแต่ปริมาร
งานของกิ่งอาเภอนั้น เช่นศึกษาธิการกิ่งอาเภอ สมุหบัญชีกิ่งอาเภอ ป่าไม้กิ่งอาเภอ
สรรพสามิตกิ่งอาเภอ สัสดีกิ่งอาเภอ เป็นต้น
              2. กิจการที่มอบให้กิ่งอาเภอจัดทา ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้กาหนดอย่าง
ใดควรตรวจมอบให้กิ่งอาเภอจัดทาโดยความเห็นชอบจากกระทรวงมหาดไทย

ตาบล
            ตาบลไม่เป็นการบริหารส่วนภูมิภาคตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร
ราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แต่เป็นการบริหารราชการในส่วนภูมิภาคตาม
พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 ตาบลเป็นเขตปกครองย่อยของ
อาเภอหรือกิ่งอาเภอ ตาบลประกอบด้วยหมู่บ้านหลายๆ หมู่บ้าน ไม่มีฐานะเป็นนิติ
บุคคล
            1. การจัดตั้ง การจัดตั้งตาบลทาได้โดยการรวมท้องที่หลายๆ หมู่บ้านเข้า
ด้วยกัน ซึ่งตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่กาหนดว่าหลายหมู่บ้านรวมกัน
ราว 20 หมู่บ้านให้จัดเป็นตาบล ต่อมากระทรวงมหาดไทยได้กาหนดหลักเกณฑ์การ
ตั้งตาบลใหม่ นอกเหนือจากที่กฎหมายกาหนดไว้ เช่นหมู่บ้านที่รวมเป็นตาบลไม่ควร
น้อยกว่า 10 หมู่บ้านและมีพลเมืองไม่ต่ากว่า 2,000 คน ท้องที่กว่างพอที่กานันจะ
ดูแลได้ทั่วถึง แต่ละหมู่บ้านต้องติดต่อกันได้ในวันเดียว มีรายได้เหมาะสม ตาบลเดิมที่
ถูกแยกต้องมีจานวนหมู่บ้าน พลเมือง รายได้ และเนื้อที่เหลือพอที่จะคงความเป็น
ตาบลไปได้ (กมล และคณะ 2521 : 266)
            การจัดตั้งตาบลใหม่ตามหลักเกณฑ์ที่กาหนดให้นายอาเภอพิจารณา
รายงานชี้แจงเหตุผลไปยังจังหวัด เมื่อจังหวัดพิจารณาเห็นสมควรก็ให้เสนอขอจัดตั้ง
ไปยังกระทรวงมหาดไทย เมื่อกระทรวงมหาดไทยเห็นชอบแล้วก็ออกประกาศ
กระทรวงมหาดไทยจัดตั้งตาบลขึ้นและประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
            2. อานาจหน้าที่และผู้รับผิดชอบ ในตาบลหนึ่งมีกานันคนหนึ่งมีหน้าที่
ปกครองราษฎรในเขตตาบลนั้น กานันเป็น ตาแหน่งผู้ปกครองตาบลขึ้นตรงต่อ
นายอาเภออานาจหน้าที่ของกานัน กานันมีอานาจหน้าที่ตามกาหนดในกฎหมาย
ลักษณะปกครองท้องที่และรักษาความสงบเรียบร้อยในตาบลที่เป็นเขตปกครองของ
ตน นอกจากนี้ยังมีอานาจหน้าที่ที่ปรากฏในกฎหมายอื่นๆ และที่กระทรวง ทบวง
กรม ต่างๆ ขอให้ช่วยเหลือ ซึ่งงานช่วยเหลือดังกล่าวเป็นงานที่สั่งมาทางอาเภอและ
14


อาเภอสั่งให้กานันดาเนินการช่วยเหลือหรือปฏิบัติ
หมูบาน
    ่ ้
หมู่บ้านเป็นหน่วยการปกครองในส่วนภูมิภาคที่มีขนาดเล็ดที่สุด ในหมูบ้านหนึ่งจะ
                                                                      ่
ประกอบด้วยบ้านจานวนหลายๆ บ้าน
            1. การจัดตั้ง การจัดตั้งหมู่บ้านขึ้นใหม่ พระราชบัญญัติลักษณะปกครอง
ท้องที่ พ.ศ. 2457 กาหนดไว้ว่าจะต้องมีคนประมาณ 200 คน หรือถ้ามีคนน้อยและ
บ้านห่างไกลกันก็จะต้องมีบ้านไม่ต่ากว่า 5 หลัง นอกจากนั้นกระทรวงมหาดไทยยัง
กาหนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติมว่าเมื่อแยกตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่แล้วหมู่บ้านเดิมต้องมี
พลเมืองไม่น้อยกว่า 200 คน ระยะทางติดต่อระหว่างหมู่บ้านใหม่กับหมู่บ้านเก่าใช้
เวลาไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง และจะต้องมีความเหมาะสมในด้านอื่นๆ ด้วย
            ในการจัดตั้งหมู่บ้านขึ้นใหม่นายอาเภอท้องที่นั้นมีหน้าที่ตรวจสภาพท้องที่
สารวจจานวนพลเมืองและจานวนครัวเรือน แล้วจึงเสนอเรื่องและเหตุผลต่อผู้ว่า
ราชการจังหวัดเพื่อรายงานกระทรวงมหาดไทย เมื่อกระทรวงมหาดไทยเห็นชอบก็ให้
จังหวัดทาเป็นประกาศจังหวัดจัดตั้งหมู่บ้านแล้วแจ้งให้ราษฎรทราบทั่วกัน
            2. อานาจหน้าและผู้รับผิดชอบ ในหมู่บ้านหนึ่งมีผู้ใหญ่คนหนึ่งมีอานาจ
หน้าที่ปกครองราษฎรและรักษาความสงบเรียบร้อยในเขตหมู่บ้านนั้น ผู้ใหญ่เป็นผู้ที่
ราษฎรเลือกตัวขึ้นจากชายไทยเจ้าของบ้าน อายุ 25-60 ปี แต่อาจออกจากตาแหน่ง
ก่อนอายุครบ 60 ปี ได้ตามที่กฎหมายลักษณะปกครองท้องที่กาหนด เช่น ขาด
คุณสมบัติ ตาย ไดรับอนุญาตให้ลาออกหมู่บ้านที่ปกครองถูกยุบ ไปเสียจากหมู่บ้านที่
ตนปกครองเกินสามเดือน ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกผู้ใหญ่บ้านในหมู่บ้านนั้นจานวนไม่น้อย
กว่ากึ่งจานวนร้องขอให้ออกจากตาแหน่ง ผูว่าราชการจังหวัดสั่งให้ออกเพราะบกพร่อง
                                             ้
ทางความประพฤติหรือความสามารถไม่เหมาะสมกับตาแหน่ง เป็นต้น
              เจ้าหน้าที่ปกครองหมู่บ้านนอกจากผู้ใหญ่บ้านแล้วยังมีผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
ฝ่ายปกครองหมู่บ้านละ 2 คน และอาจมีผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบด้วยก็ได้
ตามทีผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นสมควรกานันและผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้พิจารณาคัดเลือกผู้ช่วย
        ่
ผู้ใหญ่บ้านทั้ง 2 ฝ่าย ดังกล่าว ผู้ใหญ่บ้านมีภาระหน้าที่อยู่มาก เช่นการรักษาความ
สงบเรียบร้อยในหมู่บ้าน เป็นสื่อกลางนาข่าวสารของราชการสู่ประชาชน ทาบัญชี
สามะโนครัว ติดตามจับกุมผู้ร้าย บารุงส่งเสริมอาชีพราษฎรป้องกันโรคติดต่อหรือโรค
ระบาด ช่วยเหลือดาเนินการแทนกระทรวง ทบวง กรม อื่น เช่น ปฏิบัติงานเกี่ยวกับ
การรังวัดที่ดินร่วมกับเจ้าหน้าที่รังวัด ช่วยเหลือส่งหมายศาล เป็นต้น
15




            การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น คือ การกระจายอานาจสู่ท้องถิ่นเพื่อให้
ประชาชนมีอานาจในการตัดสินใจเกี่ยวกับกิจการต่างๆ ที่เป็นสาธารณะของท้องถิ่น
ด้วยตนเอง ตามภารกิจหน้าที่ที่ระบุให้ดาเนินการอย่างชัดเจน มีพื้นที่รับผิดชอบชัดเจน
มีผู้บริหารที่ได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนหรืออาจจะได้รับความเห็นชอบจาก
สภาท้องถิ่น การใช้หลักการกระจายอานาจ (Decentralization) ให้กับประชาชน
โดยตรง เป็นการให้แก่ท้องถิ่น ในฐานะผู้รับมอบอานาจจะต้องมีความรับผิดชอบต่อ
การดาเนินการและการตัดสินใจของตนเอง
               การจัดระเบียบราชการบริหารส่วนท้องถิ่นในปัจจุบัน มีอยู่ 2 ระบบ คือ
ระบบทั่วไปที่ใช้แก่ท้องถินทั่วไป ซึ่งในปัจจุบันมีอยู่ 3 รูปแบบ คือ เทศบาล องค์การ
                          ่
บริหารส่วนตาบล และองค์การบริหารส่วนจังหวัด และระบบพิเศษที่ใช้เฉพาะท้องถิ่น
บางแห่งซึ่งในปัจจุบันมีอยู่ 2 รูปแบบ คือกรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา




เอกสารอ้างอิง
เอกสารการสอนวิชาการบริหารราชการไทย .มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ศิริ พรมดี .2548. การปกครองท้องถิ่นไทย.มหาวิทยาลัยราชภัฎลาปาง.
แผนปฏิบัติกาหนดขั้นตอนการกระจายอานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
สานักงานคณะกรรมการการกระจายอานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
สานักงานปลัดสานักนายกรัฐมนตรี .(2545).กรุงเทพฯ
16




                             ใบงานที่ 2

1. ให้นักเรียนยกตัวอย่าง ความหมาย ของการปกครองส่วนท้องถิ่นจาก
   นักวิชาการท่านอื่นๆอย่างน้อย 2 ความหมาย
           1.1 จอห์น เจ. คลาร์ก (John J. Clark)
               หน่วยการปกครองที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการให้บริการ
   ประชาชนในเขตพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง และหน่วยการปกครองดังกล่าวจะจัดตั้งและ
   อยู่ในความดูแลของรัฐบาลกลาง
           1.2 อุทัย หิรัญโต
              การปกครองที่รัฐบาลมอบอานาจให้ประชาชนในท้องถิ่นใดท้องถิ่น
   หนึ่งจัดการปกครอง และดาเนินกิจการบางอย่าง โดยดาเนินการกันเองเพื่อบา
   บัดความต้องการของตน
           1.3 ประทาน คงฤทธิศึกษาการ
             ระบบการปกครองที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากการกระจายอานาจ
   ทางการปกครองของรัฐ และโดยนัยนี้จะเกิดองค์การทาหน้าที่ปกครองท้องถิ่น
   โดยคนในท้องถิ่น นั้น ๆ
17




                         ทดสอบ หน่วยที่ 2
ตอนที่ 1 ให้นักเรียนเลือกคาตอบที่ถูกต้องที่สุดแล้วทาเครื่องหมาย ลงใน
         กระดาษคาตอบที่แจกให้
  1. ข้อใดให้ความหมายของ “การปกครองท้องถิ่นไทย” ได้ถูกต้องที่สุด
               ก. มีองค์กรในการปกครอง
               ข. มีอานาจปกครองตนเอง
               ค. การมีส่วนร่วมของประชาชน
               ง. รัฐจัดตั้งขึ้นและมีสิทธิตามกฎหมาย
  2. มีองข้อใดคือวัตถุประสงค์ของการปกครองท้องถิ่น
               ก. สร้างผู้นาท้องถิ่น
               ข. เพิ่มภาระให้รัฐบาล
               ค. ส่งเสริมการมีส่วนร่วม
               ง. ตอบสนองความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง
  3. ข้อใดถูกต้องที่สุด
               ก. หลักการรวมอานาจ คือการมอบอานาจการปกครอง
               ข. หลักการกระจายอานาจ คือการแบ่งอานาจวินิจฉัยสั่งการ
               ค. หลักการแบ่งอานาจ คือการมอบอานาจบางส่วนให้แก่องค์กร
               ง. หลักการกระจายอานาจ คือการมอบอานาจการปกครองบางส่วน
                   ให้แก่องค์การ
  4. การปกครองท้องถิ่นประเทศใดมีลักษณะคล้ายกับประเทศไทยมากที่สุด
               ก. ฝรั่งเศส
               ข. อังกฤษ
               ค. ญี่ปุ่น
               ง. เยอรมัน
  5. การบริหารราชการแผ่นดินของไทยในปัจจุบันมีวิวัฒนาการมาจากการปฏิรูป
       การบริหารราชการแผ่นดินในสมัยรัชกาลใด
               ก. รัชกาลที่ 5
               ข. รัชกาลที่ 6
               ค. รัชกาลที่ 7
18


           ง. รัชกาลที่ 9
6. ข้อใดไม่ใช่การจัดระเบียบการบริหารราชการไทย
           ก. การบริหารส่วนกลาง/ส่วนท้องถิ่น
           ข. การบริหารส่วนกลาง/ภูมิภาค/ท้องถิ่น
           ค. การบริหารส่วนท้องถิ่น/ส่วนภูมิภาค/ส่วนกลาง
           ง. การบริหารส่วนภูมิภาค/ ส่วนท้องถิ่น/ส่วนกลาง
7. ข้อใดเป็นหลักการ การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นของไทย
           ก. การกระจายอานาจสู่ท้องถิ่น
           ข. การใช้หลักการกระจายอานาจ
           ค. ประชาชนมีอานาจในการตัดสินใจ
           ง. การใช้หลักการกระจายอานาจให้แก่ประชาชนโดยตรง
8. ข้อใด คือรูปแบบการปกครองท้องถิ่นของไทย
           ก. มี 3 รูปแบบ
           ข. มี 4 รูปแบบ
           ค. มี 5 รูปแบบ
           ง. มี 6 รูปแบบ
9. โครงสร้างและองค์ประกอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ถูกต้องคือข้อใด
           ก. ฝ่ายบุคลากรและนิติกร
           ข. ฝ่ายบริหารและการคลัง
           ค. ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร
           ง. ฝ่ายนิติบัญญัติและสานักงานปลัด
10. การกากับดูแลขององค์การบริหารส่วนตาบล กฎหมายกาหนดให้ใครเป็นผู้
    กากับดูแล
           ก. นายกองค์การบริหารส่วนตาบล
           ข. ปลัดองค์การบริหารส่วนตาบล
           ค. นายอาเภอและผู้ว่าราชการจังหวัด
           ง. ประชาชนและข้าราชการในท้องถิ่น
19




ตอนที่ 2 ให้นักเรียนตอบคาถามต่อไปนี้
จากความหมายของการปกครองส่วนท้องถิ่น ให้นักเรียนสรุปสาระสาคัญของการ
ปกครองท้องถิ่นมาให้เข้าใจพอสังเขป
20




แนวคาตอบ
สรุปสาระสาคัญของการปกครองท้องถิ่น
    ๑.มีรูปแบบหน่วยการปกครองตามความแตกต่างของความเจริญ
ประชากร ขนาดพื้นที่ และวัฒนธรรม
    ๒.มีอานาจอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ตามความเหมาะสม
    ๓.มีสิทธิทางกฎหมายที่จะดาเนินการปกครองด้วยตัวเองโดยแบ่งเป็น
        ๓.๑.สิทธิที่จะตรากฎหมายหรือระเบียบข้องบังคับต่าง ๆ ขององค์กร
ปกครองท้องถิ่น
        ๓.๒.สิทธิในการกาหนดงบประมาณ เพื่อบริหารกิจการตามอานาจ
หน้าที่ที่มีอยู่
    ๔. มีองค์กรที่จาเป็นในการบริหารและปกครองตนเอง คือ มีองค์กรฝ่าย
บริหาร และองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติ
    ๕.ประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการปกครองท้องถิ่น

 ...................................................................................................................

More Related Content

What's hot

บทที่ 3 ปฏิรูประบบราชการ
บทที่ 3 ปฏิรูประบบราชการบทที่ 3 ปฏิรูประบบราชการ
บทที่ 3 ปฏิรูประบบราชการSaiiew
 
บริหารราชการไทย 3
บริหารราชการไทย 3บริหารราชการไทย 3
บริหารราชการไทย 3Saiiew
 
บทที่ 4สิ่งที่มีอิทธิพลต่อการบริหารราชการไทย
บทที่ 4สิ่งที่มีอิทธิพลต่อการบริหารราชการไทยบทที่ 4สิ่งที่มีอิทธิพลต่อการบริหารราชการไทย
บทที่ 4สิ่งที่มีอิทธิพลต่อการบริหารราชการไทยSaiiew
 
ภารหน้าที่
ภารหน้าที่ภารหน้าที่
ภารหน้าที่marena06008
 
ระบบต่างที่มีอิทธิพลต่อระบบราชการ
ระบบต่างที่มีอิทธิพลต่อระบบราชการระบบต่างที่มีอิทธิพลต่อระบบราชการ
ระบบต่างที่มีอิทธิพลต่อระบบราชการSaiiew
 
บริหารราชการไทย 2
บริหารราชการไทย 2บริหารราชการไทย 2
บริหารราชการไทย 2Saiiew
 
บทที่ 2 วิวัฒนาการของการบริหารราชการไทย
บทที่ 2 วิวัฒนาการของการบริหารราชการไทยบทที่ 2 วิวัฒนาการของการบริหารราชการไทย
บทที่ 2 วิวัฒนาการของการบริหารราชการไทยSaiiew
 
บทที่ 1 แนวคิดหลักการของการบริหารราชการ
บทที่ 1 แนวคิดหลักการของการบริหารราชการบทที่ 1 แนวคิดหลักการของการบริหารราชการ
บทที่ 1 แนวคิดหลักการของการบริหารราชการSaiiew
 
แผนกลยุทธ 2
แผนกลยุทธ 2แผนกลยุทธ 2
แผนกลยุทธ 2reraisararat
 
กรอบงบประมาณรายจ่ายระยะปานกลาง(ปรับปรุง)
กรอบงบประมาณรายจ่ายระยะปานกลาง(ปรับปรุง)กรอบงบประมาณรายจ่ายระยะปานกลาง(ปรับปรุง)
กรอบงบประมาณรายจ่ายระยะปานกลาง(ปรับปรุง)pomswu
 
Lesson 4 political institution
Lesson 4 political institutionLesson 4 political institution
Lesson 4 political institutionKatawutPK
 
Thai Bureaucracy
Thai BureaucracyThai Bureaucracy
Thai Bureaucracygueste51a26
 

What's hot (16)

บทที่ 3 ปฏิรูประบบราชการ
บทที่ 3 ปฏิรูประบบราชการบทที่ 3 ปฏิรูประบบราชการ
บทที่ 3 ปฏิรูประบบราชการ
 
บริหารราชการไทย 3
บริหารราชการไทย 3บริหารราชการไทย 3
บริหารราชการไทย 3
 
รายงาน หนุ่ม 702
รายงาน หนุ่ม 702รายงาน หนุ่ม 702
รายงาน หนุ่ม 702
 
บทที่ 4สิ่งที่มีอิทธิพลต่อการบริหารราชการไทย
บทที่ 4สิ่งที่มีอิทธิพลต่อการบริหารราชการไทยบทที่ 4สิ่งที่มีอิทธิพลต่อการบริหารราชการไทย
บทที่ 4สิ่งที่มีอิทธิพลต่อการบริหารราชการไทย
 
ภารหน้าที่
ภารหน้าที่ภารหน้าที่
ภารหน้าที่
 
ระบบต่างที่มีอิทธิพลต่อระบบราชการ
ระบบต่างที่มีอิทธิพลต่อระบบราชการระบบต่างที่มีอิทธิพลต่อระบบราชการ
ระบบต่างที่มีอิทธิพลต่อระบบราชการ
 
บริหารราชการไทย 2
บริหารราชการไทย 2บริหารราชการไทย 2
บริหารราชการไทย 2
 
บทที่ 2 วิวัฒนาการของการบริหารราชการไทย
บทที่ 2 วิวัฒนาการของการบริหารราชการไทยบทที่ 2 วิวัฒนาการของการบริหารราชการไทย
บทที่ 2 วิวัฒนาการของการบริหารราชการไทย
 
Unit 1
Unit 1Unit 1
Unit 1
 
บทที่ 1 แนวคิดหลักการของการบริหารราชการ
บทที่ 1 แนวคิดหลักการของการบริหารราชการบทที่ 1 แนวคิดหลักการของการบริหารราชการ
บทที่ 1 แนวคิดหลักการของการบริหารราชการ
 
แผนกลยุทธ 2
แผนกลยุทธ 2แผนกลยุทธ 2
แผนกลยุทธ 2
 
บทนำ แผนพัฒนา 3 ปี
บทนำ แผนพัฒนา 3 ปีบทนำ แผนพัฒนา 3 ปี
บทนำ แผนพัฒนา 3 ปี
 
กรอบงบประมาณรายจ่ายระยะปานกลาง(ปรับปรุง)
กรอบงบประมาณรายจ่ายระยะปานกลาง(ปรับปรุง)กรอบงบประมาณรายจ่ายระยะปานกลาง(ปรับปรุง)
กรอบงบประมาณรายจ่ายระยะปานกลาง(ปรับปรุง)
 
Lesson 4 political institution
Lesson 4 political institutionLesson 4 political institution
Lesson 4 political institution
 
Thai Bureaucracy
Thai BureaucracyThai Bureaucracy
Thai Bureaucracy
 
บทที่ 3
บทที่ 3บทที่ 3
บทที่ 3
 

Similar to Unit 2

รัฐเดี่ยว รัฐรวม
รัฐเดี่ยว รัฐรวมรัฐเดี่ยว รัฐรวม
รัฐเดี่ยว รัฐรวมthnaporn999
 
การปกครองของไทย
การปกครองของไทยการปกครองของไทย
การปกครองของไทยsangworn
 
การปกครองของไทย
การปกครองของไทยการปกครองของไทย
การปกครองของไทยsangworn
 
ความรู้เกี่ยวกับรัฐ2
ความรู้เกี่ยวกับรัฐ2ความรู้เกี่ยวกับรัฐ2
ความรู้เกี่ยวกับรัฐ2thnaporn999
 
การปกครองท้องถิ่นไทยกับการพัฒนา
การปกครองท้องถิ่นไทยกับการพัฒนาการปกครองท้องถิ่นไทยกับการพัฒนา
การปกครองท้องถิ่นไทยกับการพัฒนาkroobannakakok
 
พรพิมล
พรพิมลพรพิมล
พรพิมลpornpimon79
 
U2 origin of state
U2 origin of stateU2 origin of state
U2 origin of stateKatawutPK
 
ข้อ​เสนอ​การ​ปฏิรูป​โครงสร้าง​อำนาจ
ข้อ​เสนอ​การ​ปฏิรูป​โครงสร้าง​อำนาจข้อ​เสนอ​การ​ปฏิรูป​โครงสร้าง​อำนาจ
ข้อ​เสนอ​การ​ปฏิรูป​โครงสร้าง​อำนาจPoramate Minsiri
 
สมัยรัตนโกสินทร์
สมัยรัตนโกสินทร์สมัยรัตนโกสินทร์
สมัยรัตนโกสินทร์krunrita
 
ต้องทำแบบคนจน
ต้องทำแบบคนจนต้องทำแบบคนจน
ต้องทำแบบคนจนDinhin Rakpong-Asoke
 
สันติธานี
สันติธานีสันติธานี
สันติธานีTaraya Srivilas
 
บทที่1
บทที่1บทที่1
บทที่1Ziro Anu
 
15การเปลี่ยนแปลงการปกครอง2475
15การเปลี่ยนแปลงการปกครอง247515การเปลี่ยนแปลงการปกครอง2475
15การเปลี่ยนแปลงการปกครอง2475JulPcc CR
 

Similar to Unit 2 (19)

การปกครองของไทย
การปกครองของไทยการปกครองของไทย
การปกครองของไทย
 
รัฐเดี่ยว รัฐรวม
รัฐเดี่ยว รัฐรวมรัฐเดี่ยว รัฐรวม
รัฐเดี่ยว รัฐรวม
 
ผลงานนักเรียนชั้น ม.6/1
ผลงานนักเรียนชั้น ม.6/1ผลงานนักเรียนชั้น ม.6/1
ผลงานนักเรียนชั้น ม.6/1
 
การปกครองของไทย
การปกครองของไทยการปกครองของไทย
การปกครองของไทย
 
การปกครองของไทย
การปกครองของไทยการปกครองของไทย
การปกครองของไทย
 
ความรู้เกี่ยวกับรัฐ2
ความรู้เกี่ยวกับรัฐ2ความรู้เกี่ยวกับรัฐ2
ความรู้เกี่ยวกับรัฐ2
 
การปกครองท้องถิ่นไทยกับการพัฒนา
การปกครองท้องถิ่นไทยกับการพัฒนาการปกครองท้องถิ่นไทยกับการพัฒนา
การปกครองท้องถิ่นไทยกับการพัฒนา
 
พรพิมล
พรพิมลพรพิมล
พรพิมล
 
พรพิมล
พรพิมลพรพิมล
พรพิมล
 
การปกครอง 604
การปกครอง 604การปกครอง 604
การปกครอง 604
 
U2 origin of state
U2 origin of stateU2 origin of state
U2 origin of state
 
ข้อ​เสนอ​การ​ปฏิรูป​โครงสร้าง​อำนาจ
ข้อ​เสนอ​การ​ปฏิรูป​โครงสร้าง​อำนาจข้อ​เสนอ​การ​ปฏิรูป​โครงสร้าง​อำนาจ
ข้อ​เสนอ​การ​ปฏิรูป​โครงสร้าง​อำนาจ
 
G สังคมไทย social3
G สังคมไทย social3G สังคมไทย social3
G สังคมไทย social3
 
การเมืองการปกครองของไทย
การเมืองการปกครองของไทยการเมืองการปกครองของไทย
การเมืองการปกครองของไทย
 
สมัยรัตนโกสินทร์
สมัยรัตนโกสินทร์สมัยรัตนโกสินทร์
สมัยรัตนโกสินทร์
 
ต้องทำแบบคนจน
ต้องทำแบบคนจนต้องทำแบบคนจน
ต้องทำแบบคนจน
 
สันติธานี
สันติธานีสันติธานี
สันติธานี
 
บทที่1
บทที่1บทที่1
บทที่1
 
15การเปลี่ยนแปลงการปกครอง2475
15การเปลี่ยนแปลงการปกครอง247515การเปลี่ยนแปลงการปกครอง2475
15การเปลี่ยนแปลงการปกครอง2475
 

Unit 2

  • 1. 1 หน่วยการเรียนรูที่ 2 ้ เรือง วิวฒนาการของการปกครองท้องถินไทย ่ ั ่ สาระการเรียนรู้ 1. ความหมายของการปกครองท้องถิน ่ 2. หลักการปกครองท้องถิน่ 3. องค์ประกอบของการปกครองส่วนท้องถิน ่ 4. วัตถุประสงค์ของการปกครองส่วนท้องถิน่ 5. ความสาคัญของการปกครองส่วนท้องถิน ่ 6. แนวคิดทฤษฎีการปกครองส่วนท้องถินและการกระจายอานาจ ่ ผลการเรียนรู้ 1. 2. จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. 2. 3.
  • 2. 2 ประเทศไทยมีการบริหารราชการแผ่นดิน โดยอาศัยการกระจายอานาจ จากส่วนกลาง ไปยังส่วนท้องถิ่นเพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนชาวไทยใน ทุกระดับ ให้ได้มีส่วนร่วม ในการดาเนินกิจกรรมของท้องถิ่น ทั้งแนวทางการบริหาร ราชการส่วนท้องถิ่น เพื่อตอบสนองความต้องการของคนส่วนใหญ่ การบริหารจัดการ ด้านงบประมาณ รวมตลอดถึงการดูแลประชาชนที่อาศัยอยู่ในท้องถิ่นอย่างใกล้ชิด ข้อมูลทางประวัติศาสตร์บ่งชี้ให้เห็นการปกครองของไทยในแต่ละยุคแต่ละสมัยโดยมี สาระสาคัญโดยสรุปดังนี้ ความเป็นมาของการบริหารราชการแผ่นดินของไทย สมัยสุโขทัย (พ.ศ.1781 - 1893) การจัดระเบียบการบริหารราชการในสมัยสุโขทัยมีลักษณะเฉพาะที่เรียกกัน ในภายหลัง ว่า เป็นการปกครองแบบ “บิดาปกครองบุตร” หรือ “พ่อปกครองลูก” (Paternalism) พ่อขุน ซึ่งจะเป็นผู้ปกครองจะปฏิบัติต่อประชาชนผู้อยู่ใต้ปกครองใน ลักษณะบิดากับบุตร จะให้ความคุ้มครอง ปกป้องดูแล ให้คาสอน คาแนะนาและการ ชี้แนะให้ประชาชนประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่บิดาเห็นว่าดี ว่างาม ส่วนของประชาชนใน ฐานะบุตร จะเป็นผู้ที่ต้องเคารพเชื่อฟังและปฏิบัติตามคาสั่งสอนชี้แนะของพ่อขุนซึ่ง เปรียบเสมือนพ่อของตนเอง การจัดรูปแบบการปกครองของสุโขทัยที่มีลักษณะเฉพาะ กล่าวคือมีกรุงสุโขทัยเป็นเมืองหลวง เป็นศูนย์กลางการปกครอง มีพ่อขุนซึ่งเป็น พระมหากษัตริย์และเป็นประมุขของชาติเป็นผู้ปกครองสูงสุด ในขณะเดียวกันพ่อขุนก็ กาหนดให้จัดตั้งหัวเมืองต่าง ๆขึ้น โดยกาหนดให้อยู่รายรอบกรุงสุโขทัย เช่น - หัวเมืองชั้นใน หรือ เมืองหน้าด่าน ใช้สาหรับการป้องกันการโจมตีของ ข้าศึกมิให้ล่วงล้าเข้าเมืองได้โดยง่ายและรวดเร็ว - หัวเมืองชั้นนอก ใช้สาหรับป้องกันพระนครไปพร้อมๆ กับเฝ้าตรวจ ตรา เสาะหาข้อมูลของข้าศึก - หัวเมืองประเทศราช ซึ่งเป็นประชาชนพลเมืองต่างชาติ ต่างภาษา ต่าง ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม หัวเมืองชั้นนี้พ่อขุนจะตั้งเชื้อพระวงศ์หรือ เจ้านายที่เป็นชนพื้นเมืองปกครองตามเดิมโดยมิได้แทรกแซงหรือยุ่งเกี่ยวกับการ ปกครองภายในหัวเมืองเหล่านั้น
  • 3. 3 แต่หัวเมืองประเทศราชเหล่านั้นจะต้องแสดงความสวามิภักดิ์โดยการส่งเครื่อง บรรณาการให้แก่พ่อขุนตามระยะเวลาที่กาหนดและเมื่อสุโขทัยเกิดศึกสงครามก็จะต้อง แต่งทัพมาช่วยกรุงสุโขทัยเป็นครั้งคราว สมัยกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ.1893-2310) แนวคิดพื้นฐานการปกครองของอยุธยาได้เปลี่ยนแปลงไปจากสมัยสุโขทัย เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะด้านความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์ กับประชาชนซึ่งเป็นผู้ถูกปกครอง เนื่องจากประเทศไทยได้รบอิทธิพลทางด้าน ั การเมืองการปกครองจากขอมและอินเดีย ที่เรียกว่า ลัทธิเทวสิทธิ์ (Divine Rights) พระมหากษัตริย์ได้เปลี่ยนสถานะจากบิดาหรือผู้ที่ให้การอุปถัมภ์กลายเป็นสมมติเทพ ในขณะที่ประชาชนซึ่งเป็นผู้ใต้ปกครองได้ลดฐานะกลายเป็นบ่าวไพร่ สาหรับรูปแบบ การปกครองในสมัยอยุธยาที่แตกต่างไปจากสุโขทัย ได้แก่ รูปแบบการปกครองที่ สมเด็จพระบรมไตรโลกนารถได้สร้างขึ้นโดยพระองค์นาแนวคิดการรวมอานาจเข้าสู่ ส่วนกลางมาใช้ในการปกครองกรุงศรีอยุธยาและอีกทั้งยังได้ทรงนาเอาระบบจตุสดมภ์ มาใช้ในการบริหารราชการส่วนกลางอีกด้วย พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของรัฐ และเป็นหัวหน้ารัฐบาล คือ เป็นศูนย์รวมของอานาจนิติบัญญัติ อานาจบริหาร และ อานาจ ตุลาการ ทรงมีอานาจเด็ดขาดและอยู่เหนือกฎหมาย สมัยรัตนโกสินทร์ (พ.ศ.2325-2475) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5) ทรงปฏิรูประบบบริหาร ราชการแผ่นดิน ทรงยกเลิกระบบจตุสดมภ์ และทรงปฏิรูปโครงสร้างระบบบริหาร ราชการแผ่นดิน เพื่อพัฒนาประเทศให้ทันสมัยและมีความเป็นปึกแผ่นมั่นคง โดย พระองค์ได้แบ่งการปกครองออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ การปกครองส่วนกลาง การ ปกครองส่วนภูมิภาค การปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งการปกครองส่วนต่าง ๆ มี สาระสาคัญโดยสรุปดังนี้ 1. การจัดการปกครองส่วนกลาง รัชกาลที่ 5 ได้ทรงศึกษาแบบแผนการ จัดระเบียบการปกครองจากชาติทวีปยุโรป และเห็นว่าระเบียบการปกครองที่จัดกันใน ประเทศยุโรปขณะนั้นจะเป็นวิธีที่จะนาไทยสูความศิวิไลซ์โดยทรงยกเลิกจตุสดมภ์ที่เต คนใช้มาแต่เดิมทั้งหมด และมีพระบรมราชโองการตั้งกระทรวงแบบใหม่ 12 หน่วยงาน ได้แก่กรมมหาดไทย กรมพระกลาโหม กรมท่า กรมวัง กรมเมือง กรมนา
  • 4. 4 กรมใหม่ ประกอบด้วย กรมพระคลัง กรมยุติธรรม กรมยุทธนาธิการ กรมธรรมการ กรมโยธาธิการ กรมมรุธาธิการ ทั้งนี้แต่หน่วยงานได้กาหนดอานาจหน้าที่ไว้อย่าง ชัดเจนเพื่อป้องกันความสับสนและซ้าซ้อนในการทางาน 2. การจัดการปกครองส่วนภูมิภาค ในการจัดการปกครองส่วนภูมิภาคนั้น รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชดาริให้จัดตั้งการเทศาภิบาล เพื่อเป็นการเสริมความเป็น ปึกแผ่นและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของราชอาณาจักรสยามโดยอนุโลมตามแบบ แผนการปกครองที่เคยใช้มาแต่เดิมให้มากที่สุด “การเทศาภิบาล” ที่ทรงจัดตั้งขึ้นนั้น เป็นระบบการปกครองอาณาเขตชนิดหนึ่งที่เป็นการปกครองส่วนภูมิภาค พร้อมกันนั้น พระองค์ได้มีพระราชดาริให้จัดตั้งหน่วยราชการเพิ่มเติม ทั้งนี้เพื่อเป็นตัวแทนรัฐบาล กลางทาหน้าที่ประสานงานระหว่างส่วนกลางกับส่วนภูมิภาค 3. การจัดการปกครองส่วนท้องถิ่น รัชกาลที่ 5 ทรงเล็งเห็นความสาคัญ และความจาเป็นที่จะต้องจัดทาการบริการสาธารณะเพื่อให้ราษฎรในท้องถิ่นต่างๆ มี สภาพการดารงชีวิตที่ดีขึ้นจึงได้ตรากฎหมายเกี่ยวกับการจัดทากิจการสาหรับท้องถิ่น พร้อมกับกาหนดให้เจ้าหน้าที่ส่วนกลางและส่วนภูมิภาครับผิดชอบดาเนินการใน ท้องถิ่นพร้อมกันนั้นก็เปิดโอกาสให้ราษฎรสามารถเข้ามามีส่วนร่วมด้วย และถือได้ว่า เป็นจุดเริ่มต้นของการปกครองท้องถิ่นของไทยอย่างแท้จริงและมีวิวัฒนาการต่อเนื่อง เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน สาหรับองค์การและกฎหมายเกี่ยวกับการจัดทากิจการสาหรับ ท้องถิ่นที่สาคัญ ได้แก่ 3.1. การจัดตั้งสุขาภิบาลกรุงเทพ ในปี ร.ศ.116 (พ.ศ.2440) พร้อมทั้ง ตราพระราชกาหนดสุขาภิบาลกรุงเทพฯ ร.ศ.116 ซึ่งถือได้ว่าเป็นสถาบันการปกครอง ส่วนท้องถิ่นของไทยแห่งแรก 3.2. การจัดตั้งสุขาภิบาลท่าฉลอม เมื่อปี ร.ศ.124 (พ.ศ.2448) ถือได้ ว่าเป็นสุขาภิบาลในเขตหัวเมืองแห่งแรกของไทย ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว(ร.6) ได้ทรงตรา ธรรมนูญลักษณะการปกครองนคราภิบาล พ.ศ.2461 และกฎธานิโยปการ พ.ศ. 2465 ซึ่งเป็นที่มาของเมืองจาลองเพื่อทดลองและฝึกสอนการปกครองท้องถิ่นในรูปของ เทศบาลที่เรียกว่า “ดุสิตธานี” กฎหมายดังกล่าวกาหนดให้ราษฎรเลือกตั้งนคราภิบาล และนคราภิบาลไปเลือกตั้งคณะผู้บริหารที่เรียกว่า “คณะนคราภิบาล”มีฐานะเป็นนิติ บุคคลมีเจ้าหน้าที่ประจาของตนเองแยกต่างหากจากส่วนกลาง และกาหนดให้เทศบาล ดุสิตธานีมีอานาจหน้าที่ดูแลทุกข์สุขตลอดจนการทามาหากินของราษฎร แต่ทว่าการ
  • 5. 5 ดาเนินงานของคณะนคราภิบาลต้องอยู่ภายใต้การกากับดูแลจากส่วนกลาง การปกครองท้องถิ่นของไทยในรูปของ “สุขาภิบาล” ดาเนินกิจการเรื่อยมา จนถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว(ร.7) พระองค์ได้ทรง ดาเนินการปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปของเทศบาลต่อจากรัชกาลที่ 6 แต่ทว่ายังมิได้ ดาเนินการเป็นผลสาเร็จเพราะประเทศไทยได้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองจาก ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตยในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 (เฉลิมพงศ์ มีสมนัย.2548:121-124) การบริหารราชการแผ่นดินหลังการเปลียนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ่ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ได้มีการประกาศใช้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ.2475 วางกรอบกติกาทางการเมืองการ ปกครอง และต่อมาจึงได้มีพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบราชการบริหารแห่ง ราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 วางโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดินหลังจากที่มี การเปลี่ยนระบบการปกครองใหม่ โดยเหตุผลสาคัญของการตรากฎหมายฉบับนี้คือ เพื่อต้องการจัดล้างรูปแบบงานให้เข้าลักษณะการปกครองอย่างรัฐธรรมนูญและ เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินรวบรัดและเร็วยิ่งขึ้น สาระสาคัญของพระราชบัญญัติ ฉบับนี้ มีดังนี้ (ชูวงศ์ ฉายะบุตร,2539 :66-67) 1. มีการจัดระเบียบการบริหารราชการออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ราชการ บริหารส่วนกลาง คือ คณะรัฐมนตรี (กระทรวง ทบวง กรม) ราชการบริหารส่วน ภูมิภาค คือ การส่งข้าราชการไปประจา และราชการบริหารส่วนท้องถิ่น คือ เทศบาล 2. มีการกาหนดฐานะของกระทรวงให้เป็นทบวงการเมือง หมายความว่า หน่วยงานของรัฐที่เป็นนิติบุคคลมีฐานะทางกฎหมายที่จะเป็นคู่สัญญาในทางกฎหมาย ได้ 3. มีการปรับโอนอานาจหน้าที่ในการบริหารราชการส่วนภูมิภาคให้อยู่กับ คณะกรมการจังหวัด และคณะกรมการอาเภอ แทนที่จะอยู่กับผู้ว่าราชการจังหวัดและ นายอาเภอ 4. ยกเลิกมณฑล คงเหลือแต่จังหวัด อาเภอ ที่เป็นราชการส่วนภูมิภาค ** 5. กาหนดราชการบริหารส่วนท้องถิ่นเพิ่มขึ้นมา คือ เทศบาล(ปธาน สุวรรณมงคล และคณะ ,2537 :22-23)และต่อมามีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง
  • 7. 7 การบริหารราชการแผ่นดินในปัจจุบน ั สาหรับประเทศไทยนั้น ได้ยึดหลักการรวมอานาจไว้ที่ส่วนกลางและ หลักการแบ่งอานาจไปให้ส่วนภูมิภาคมาโดยตลอด กล่าวคือ รัฐบาลได้ใช้หลักการรวม อานาจและหลักการแบ่งอานาจผสมผสานกันไป ทาให้รัฐบาลสามารถควบคุมได้ทุก ส่วนของประเทศ โดยผ่านตัวแทนของตนในส่วนภูมิภาค มีผลทาให้การบริหารประเทศ มีเอกภาพ และมีความมั่นคงจนถึงปัจจุบันนี้ ส่วนหลักการกระจายอานาจให้ประชาชน ในท้องถิ่นปกครองกันเองนั้น เป็นหลักใหม่ตามอุดมการณ์ของประชาธิปไตยภายหลัง การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศ เมื่อปี พ.ศ. 2475 ดังได้กล่าวมาแล้ว (วรานนท์ สมคิด ,2547 :52-63) การจัดระเบียบบริหารราชการไทยในปัจจุบัน จะใช้หลักการจัดระเบียบ บริหารราชการทั้ง 3 หลักตามที่กาหนดไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบริหารราชการ แผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึง ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2545 กล่าวคือ 1. ใช้หลักการรวมอานาจในการจัดระเบียบการบริหารส่วนราชการ ส่วนกลาง อันได้แก่ กระทรวง ทบวง กรมต่างๆ 2. ใช้หลักการแบ่งอานาจในการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมภาค ิ อันได้แก่ จังหวัดและอาเภอ 3. ใช้หลักการกระจายอานาจในการจัดระเบียบบริหารราชการส่วน ท้องถิน หรือการปกครองส่วนท้องถิน อันได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถินประเภท ่ ่ ่ ต่างๆ การบริหารราชการส่วนกลาง หมายถึง ราชการบริหารอันเป็นภาระเป็น ภาระหน้าที่ของราชการส่วนกลางซึ่งประกอบด้วยกระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ โดยมี พนักงานเจ้าหน้าที่ของราชการบริหาร ส่วนกลางซึ่งขึ้นต่อกันตามลาดับการบังคับ บัญชาเป็นผู้ดาเนินงานตลอดทั้งอาณาเตของรัฐหรือประเทศราชการบริหารส่วนกลาง จึงเป็นอานาจหน้าที่และความรับผิดชอบโดยตรงของส่วนกลาง หรือรัฐบาลกลางเพื่อ ประโยชน์ของสังคมหรือประเทศเป็นส่วนรวม มิได้มุ่งเพื่อประโยชน์ของชุมชนหรือ ท้องถิ่นหนึ่งท้องถิ่นใดโดยเฉพาะ การบริหารราชการส่วนกลางจึงเป็นการจัดระเบียบ ที่ยึดหลักการรวมอานาจ การบริหารราชการส่วนภูมิภาค หมายถึง ราชการของกระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ ซึ่งไดแบ่งแยกออกไปดาเนินการจัดทาตามเขตการปกครองของประเทศ เพื่อสนองความต้องการของประชาชนในเขตการปกครองนั้นๆ โดยมีเจ้าหน้าที่ของ
  • 8. 8 ราชการส่วนกลาง ซึ่งได้รบการแต่งตั้งออกไปประจาตามเขตการปกครองต่างๆ ใน ั ส่วนภูมิภาคเพื่อบริหารราชการภายใจการบังคับบัญชาของราชการส่วนกลาง กล่าวอีก นัยหนึ่งราชการส่วนภูมิภาคคือสาขาของราชการส่วนกลางที่ได้รับการแบ่งและมอบ อานาจให้ไปดาเนินการแทน ทั้งนี้เนื่องจากราชส่วนกลางมีงานที่กว้างขวาง เพื่อ ผลประโยชน์ของประชาชนทั่วประเทศ การให้มีสานักงานกลางที่จัดตั้งเป็นกระทรวง ทบวง กรม อานวยการอยู่ที่เมืองหลวงแห่งเดียว ไม่อาจอานายประโยชน์ให้แก่ ประชาชนได้ทั่วถึง จึงจาเป็นต้องแยกสาขาออกไปตั้งปฏิบัติราชการอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ (กมล และคณะ 2524: 225) การบริหารราชการส่วนภูมิภาคจังเป็นการจัดระเบียบ การปกครองตาม หลักการแบ่งอานาจ (deconcentration) ลักษณะสาคัญของราชการบริหารส่วนภูมิภาค มีดงนีคือ ั ้ 1) การบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็นการแบ่งอานาจการปกครองจาก ส่วนกลางแล้วมอบอานาจให้แก่ผู้แทนราชการบริหารส่วนกลางซึ่งไปประจาอยู่ในส่วน ภูมิภาค มิใช่เป็นการกระจายอานาจการปกครอง 2) เจ้าหน้าที่ในส่วนภูมิภาคยังอยู่ภายใต้อานาจบังคับบัญชาของส่วนกลาง โดยเฉพาะในเรื่องการแต่งตั้งถอดถอนโดยวินัยเป็นเครื่องบังคับ และผู้มีอานาจบังคับ บัญชามีความรับผิดชอบในราชการที่ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติไปตามคาสั่งของตนทุก ประการ 3) ราชการส่วนภูมิภาคไดรับมอบอานาจในการวินิจฉัยสั่งการเฉพาะบาง เรื่องบางประการเท่านั้น ราชการส่วนกลางมีอานาจที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขวินิจฉัย คาสั่งการของส่วนภูมิภาคได ฉะนั้นผู้มีอานาจสั่งการขั้นสุดท้ายก็คือราชการส่วนกลาง นั่นเอง จังหวัด จังหวัดเป็นหน่วยการปกครองในส่วนภูมิภาคที่ใหญ่ที่สุด จังหวัด ประกอบด้วยอาเภอหลายๆ อาเภอ จังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล ส่วนอาเภอไม่เป็นนิติ บุคคล ส่วนราชการต่างๆ ที่กระทรวง ทบวง กรม ตั้งขึ้นมาประจาในจังหวัด มีหน้าที่เกี่ยวกับ
  • 9. 9 ราชการของกระทรวง ทบวง กรม นั้นๆ มีหัวหน้าส่วนราชการประจาจังหวัดนั้นๆ เป็น ผู้บังคับจังหวัด การจัดตั้ง การยุบ และการเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดต้องตราเป็น พระราชบัญญัติ ผู้ว่าราชการจังหวัด ในการบริหารราชการของจังหวัดนั้นมีผู้ว่าราชการ จังหวัดรับผิดชอบการบริหารราชการ เป็นผู้รับนโยบายและคาสั่งจากนายกรัฐมนตรีใน ฐานะหัวหน้ารัฐบาล คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม ไปปฏิบัติให้เหมาะสมกับ สภาพท้องที่และประชาชน และเป็นหัวหน้าบังคับบัญชาบรรดาข้าราชการฝ่ายบริหาร ส่วนภูมิภาคในเขตจังหวัด และรับผิดชอบราชการของจังหวัดและอาเภอ ผู้ว่าราชการ จึงเป็นผู้รับผิดชอบทั้งในทางปฏิบัติและในด้านกฎหมาย ระเบียบแบบแผน กฎ ข้อบังคับ ต่างๆ เป็นตัวแทนของรัฐบาลในอันที่จะอานวยประโยชน์สุขแก่ประชาชน อย่างกว้างขวาง อานาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดตามที่กาหนดในกฎหมายระเบียบ บริหารราชการแผ่นดินปัจจุบัน มีดังนี้ 1. บริหารราชการตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการ 2. บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มอบหมาย หรือตามทีนายกรัฐมนตรีสั่งการในฐานะหัวหน้ารัฐบาล ่ 3. บริหารราชการตามคาแนะนาและคาชี้แจงของผู้ตรวจราชการกระทรวง ในเมื่อไม่ขัดต่อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับของกระทรวง ทบวง กรม หรือมติของ คณะรัฐมนตรี หรือการสั่งการของคณะรัฐมนตรี 4. กากับดูแลการปฏิบัติราชการอันมิใช่ราชการส่วนภูมิภาคของข้าราชการ ซึ่งประจาอยู่ในจังหวัดนั้น ยกเว้นข้าราชการทหาร ข้าราชการฝ่ายตุลาการ ข้าราชการ ฝ่ายอัยการ ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการครู ให้ปฏิบัติราชการให้ เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ หรือคาสั่งของกระทรวง ทบวง กรม หรือมติ ของคณะรัฐมนตรีหรือการสั่งของ นายกรัฐมนตรีหรือยับยั้งการกระทาใดๆ ของ ข้าราชการในจังหวัดที่ขัดต่อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคาสั่งของกระทรวง ทบวง กรม มติคณะรัฐมนตรีหรือการสั่งการของนายกรัฐมนตรีไว้ชั่วคราว แล้ว รายงานกระทรวง กรมที่เกี่ยวข้อง 5. ประสานงานและร่วมมือกับข้าราชทหาร ข้าราชการฝ่ายตุลาการ ข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการครู ผู้ตรวจ ราชการและหัวหน้าส่วนราชการในระดับเขต หรือภาค ในการพัฒนาจังหวัดหรือ ป้องกันภัยพิบัติสาธารณะ
  • 10. 10 6. เสนองบประมาณต่อกระทรวงที่เกี่ยวข้องตามโครงการหรือแผนพัฒนา จังหวัดและรายงานให้กระทรวงมหาดไทยทราบ 7. ควบคุมดูแลบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในจังหวัดตามกฎหมาย 8. กากับการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานองค์การของรัฐบาลหรือ รัฐวิสาหกิจ ในการนี้ให้มีอานาจทารายงานหรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการ ดาเนินงานขององค์การของรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจต่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัด องค์การของ รัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจต่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัด องค์การของรัฐบาล หรือรัฐวิสาหกิจ 9. บรรจุ แต่งตั้ง ให้บาเหน็จ และลงโทษข้าราชการส่วนภูมิภาคในจังหวัด ตามกฎหมายและตามที่ปลัดกระทรวง ปลัดทบวง หรืออธิบดีมอบหมาย การยกเว้น จากัด หรือตัดตอนอานาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการหรือให้ ข้าราชการของส่วนราชการใดมีอานาจหน้าที่ในการบริหารราชการส่วนภูมิภาค เช่นเดียวกับผู้ว่าราชการจังหวัดจะกระทาได้โดยตรงเป็นพระราชบัญญัติ รองผู้ว่าราชการจังหวัด ในการบริหารราชการของจังหวัดกฎหมายระเบียบ บริหารราชการแผ่นดินได้กาหนดให้มีตาแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ช่วยผู้ว่า ราชการจังหวัด หรือมีทั้งรองและผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ช่วยปฏิบัติราชการ แทนผู้ว่าราชการจังหวัดก็ได้ ตาแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้ช่วยผู้ว่าราชการ จังหวัดเป็นข้าราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทย เช่นเดียวกับผู้ว่าราชการจังหวัด สาหรับตาแหน่งรองผูวาราชการจังหวัดนั้น ในการพิจารณาตังตาแหน่งนี้ ้่ ้ กระทรวงมหาดไทยพิจารณาจัดตั้งขึ้นในจังหวัดใหญ่ๆ ที่มีปริมาณงานมาก เพื่อช่วยเหลือผู้ว่าราชการจังหวัดใน การรับผิดชอบและบริการราชการให้บังเกิดผลดี โดยทั่วถึง ส่วนตาแหน่งผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นตาแหน่งผู้ช่วยปฏิบัติราชการ แทนเช่นเดียวกับตาแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดจังหวัด ในแต่ละจังหวัดปลัดจังหวัดเป็นผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัดใน หน้าที่ทั่วไป ปลัดจังหวัดเป็นข้าราชการสังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เป็นหัวหน้าส่วนราชการแผนกการปกครองของจังหวัด มีฐานะเท่าเทียมกับหัวหน้า ส่วนราชการอื่น ใน ประชาสงเคราะห์จังหวัดซึ่งรับผิดชอบงานของกรมประสงเคราะห์ ในจังหวัดศึกษาธิการจังหวัดรับผิดชอบงานของกระทรวงศึกษาธิการในจังหวัด เป็นต้น ปลัดจังหวัดไม่มีฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาหัวหน้าส่วนราชการต่างๆ ในจังหวัดรองลงมา จากผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งต่างกับรองผู้ว่าราชการจังหวัด
  • 11. 11 หัวหน้าส่วนราชการประจาจังหวัดในจังหวัดหนึ่งนอกจากจะมีผู้ว่าราชการ จังหวัดเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดงานบริหารราชการของจังหวัด หรือบางจังหวัดมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดและปลัดจังหวัดแล้วจะมีหัวหน้าส่วนราชการ ประจาจังหวัดซึ่งกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ส่งมาประจาหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือผู้ว่า ราชการจังหวัด และมีอานาจบังคับบัญชาข้าราชการส่วนภูมิภาคซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรม นั้นๆ ในจังหวัดนั้น อาเภอ คือหน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาครองจากจังหวัด อาเภอแบ่งเป็นหลายตาแหน่ง อาเภอไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล 1. การจัดตั้ง การจัดตั้งอาเภอ ทาได้โดยรวมทั้งที่หลายๆ ตาบล ประมาณ 3 ตาบล การจัดตั้ง ยุบ และเปลี่ยนแปลงเขตอาเภอ กระทาได้โดยการตราเป็นพระ ราชกฤษฎีกา 2. อานาจหน้าที่และผู้รับผิดชอบบังคับบัญชา ในอาเภอหนึ่งมีนายอาเภอคนหนึ่งเป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชาบรรดา ข้าราชการในอาเภอและรับผิดชอบงานบริหารราชการของอาเภอ ในอาเภอหนึ่ง นอกจากจะมีนายอาเภอเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาและรับผิดชอบงานบริหารราชการ ของอาเภอดังกล่าวแล้ว ให้มีปลัดอาเภอและหัวหน้าส่วนราชการประจาอาเภอซึ่ง กระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ส่งมาประจาให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือนายอาเภอ และมีอานาจาบังคับบัญชาข้าราชบริหารส่วนภูมิภาคซึ่งสังกัดกระทรวงทบวงกรม นั้น ในอาเภอนั้น อานาจหน้าทีของนายอาเภอ มีดงนี้ ่ ั 1. บริหารราชการตามกฎหมายระเบียบแบบแผนของทางราชการ ถ้า กฎหมายใดมิไดบัญญัติว่าการปฎิบัติตามกฎหมายนั้นเป็นหน้าที่ผู้ใดโดยเฉพาะให้เป็น หน้าที่ของนายอาเภอที่จะต้องรักษาการให้เป็นไปตามกฎหมายนั้นด้วย 2. บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มอบหมาย หรือตามที่นายกรัฐมนตรีสั่งการในฐานะหัวหน้ารัฐบาล 3. บริหารราชการตามคาแนะนาและคาชี้แจงของผู้ว่าราชการจังหวัด และ ผู้มีหน้าที่ตรวจการอื่นซึ่งคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม และ ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายในเมื่อไม่ขัดข้องต่อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือ
  • 12. 12 คาสั่งของกระทรวง ทบวง กรม มติของคณะรัฐมนตรี หรือการสั่งการของ นายกรัฐมนตรี 4. ควบคุมดูแลการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในอาเภอตามกฎหมาย ซึ่งหน้าที่อื่นๆ ของนายอาเภอซึ่งเรียกว่า "หน้าที่เบ็ดเตล็ด" คือ 1. จัดการทั้งปวงในอาเภอให้เรียบร้อย ถ้าเห็นว่างานใดบกพร่องก็ต้อง รายงานต่อผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อเสนอความเห็นของปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น 2. ช่วยราชการของอาเภออื่นที่ใกล้เคียง เช่น เกิดอัคคีภัย หรือโรคระบาด ต้องทาการช่วยเหลือทันทีถ้ารู้เหตุการณ์ซึ่งควรจะช่วยเหลือโดยไม่ต้องรอจนอาเภอ ใกล้เคียงนั้นขอความช่วยเหลือ แม้จะอยู่ต่างจังหวัดก็ตาม 3. หน้าที่ของนายอาเภอ นอกจากที่กล่าวในกฎหมายลักษณะปกครอง ท้องที่แล้วต้องทาตามความซึ่งกาหนดไว้ในพระราชกาหนดกฎหมายอื่นๆ อันกาหนดไว้ ว่าเป็นหน้าที่ของนายอาเภอ เช่น หน้าที่เกี่ยวกับการทะเบียนราษฎร การทะเบียนสัตว์ พาหนะ ทะเบียนชื่อสกุลการจดทะเบียนบุริมสิทธิ์ การทานิติกรรม การเกณฑ์ทหาร เป็นต้น แม้กฎหมายไม่ได้ระบุว่าเป็นหน้าที่ของผู้ใดก็ให้พึงเข้าใจว่าเป็นหน้าที่ของ นายอาเภอที่จะรักษาการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินั้นๆ กิงอาเภอ ่ กิ่งอาเภอเป็นหน่วยการปกครองซึ่งรวมหลายตาบล แต่ไม่มีลักษณะใหญ่ พอที่จะตั้งเป็นอาเภอ หนึ่งได้ กิ่งอาเภอเป็นส่วนหนึ่งของอาเภอ การจัดตั้งเป็นกิ่ง อาเภอก็เพื่อสะดวกในการปกครองแต่ให้ตั้งขึ้นเมื่อมีความจาเป็นในการปกครองเท่านั้น หากเจ้าหน้าที่อาเภอตรวจตราท้องที่ได้สะดวกก็ไม่จาเป็นต้องตั้งกิ่งอาเภอขึ้น ในอาเภอ หนึ่งๆ จะมีกิ่งอาเภอเดียวหรือหลายกิ่งอาเภอก็ได้และแบ่งเขตออกเป็นตาบล เช่นเดียวกับอาเภอ 1. ผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบ การบริหารราชการของกิ่งอาเภอมี ปลัดอาเภอประจากิ่งอาเภอเป็นหัวหน้า และมีปลัดอาเภออื่นๆ ตามจานวนที่จาเป็น หัวหน้าส่วนราชการของกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ประจากิ่งอาเภอคล้ายอาเภอ ปลัดอาเภอประจากิ่งอาเภออยู่ในบังคับบัญชาของนายอาเภอและทาการแทน นายอาเภอ ทั้งนี้เพราะว่ากิ่งอาเภอเป็นเขตการปกครองส่วนหนึ่งซึ่งรวมอยู่ในอาเภอ สาหรับหัวหน้าส่วนราชการของกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ประจากิ่งอาเภอนั้นก็คือ
  • 13. 13 เจ้าหน้าที่ซึ่งแบ่งออกจากอาเภอให้มาประจาทางานอยู่ที่กิ่งอาเภอสุดแล้วแต่ปริมาร งานของกิ่งอาเภอนั้น เช่นศึกษาธิการกิ่งอาเภอ สมุหบัญชีกิ่งอาเภอ ป่าไม้กิ่งอาเภอ สรรพสามิตกิ่งอาเภอ สัสดีกิ่งอาเภอ เป็นต้น 2. กิจการที่มอบให้กิ่งอาเภอจัดทา ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้กาหนดอย่าง ใดควรตรวจมอบให้กิ่งอาเภอจัดทาโดยความเห็นชอบจากกระทรวงมหาดไทย ตาบล ตาบลไม่เป็นการบริหารส่วนภูมิภาคตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร ราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แต่เป็นการบริหารราชการในส่วนภูมิภาคตาม พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 ตาบลเป็นเขตปกครองย่อยของ อาเภอหรือกิ่งอาเภอ ตาบลประกอบด้วยหมู่บ้านหลายๆ หมู่บ้าน ไม่มีฐานะเป็นนิติ บุคคล 1. การจัดตั้ง การจัดตั้งตาบลทาได้โดยการรวมท้องที่หลายๆ หมู่บ้านเข้า ด้วยกัน ซึ่งตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่กาหนดว่าหลายหมู่บ้านรวมกัน ราว 20 หมู่บ้านให้จัดเป็นตาบล ต่อมากระทรวงมหาดไทยได้กาหนดหลักเกณฑ์การ ตั้งตาบลใหม่ นอกเหนือจากที่กฎหมายกาหนดไว้ เช่นหมู่บ้านที่รวมเป็นตาบลไม่ควร น้อยกว่า 10 หมู่บ้านและมีพลเมืองไม่ต่ากว่า 2,000 คน ท้องที่กว่างพอที่กานันจะ ดูแลได้ทั่วถึง แต่ละหมู่บ้านต้องติดต่อกันได้ในวันเดียว มีรายได้เหมาะสม ตาบลเดิมที่ ถูกแยกต้องมีจานวนหมู่บ้าน พลเมือง รายได้ และเนื้อที่เหลือพอที่จะคงความเป็น ตาบลไปได้ (กมล และคณะ 2521 : 266) การจัดตั้งตาบลใหม่ตามหลักเกณฑ์ที่กาหนดให้นายอาเภอพิจารณา รายงานชี้แจงเหตุผลไปยังจังหวัด เมื่อจังหวัดพิจารณาเห็นสมควรก็ให้เสนอขอจัดตั้ง ไปยังกระทรวงมหาดไทย เมื่อกระทรวงมหาดไทยเห็นชอบแล้วก็ออกประกาศ กระทรวงมหาดไทยจัดตั้งตาบลขึ้นและประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป 2. อานาจหน้าที่และผู้รับผิดชอบ ในตาบลหนึ่งมีกานันคนหนึ่งมีหน้าที่ ปกครองราษฎรในเขตตาบลนั้น กานันเป็น ตาแหน่งผู้ปกครองตาบลขึ้นตรงต่อ นายอาเภออานาจหน้าที่ของกานัน กานันมีอานาจหน้าที่ตามกาหนดในกฎหมาย ลักษณะปกครองท้องที่และรักษาความสงบเรียบร้อยในตาบลที่เป็นเขตปกครองของ ตน นอกจากนี้ยังมีอานาจหน้าที่ที่ปรากฏในกฎหมายอื่นๆ และที่กระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ ขอให้ช่วยเหลือ ซึ่งงานช่วยเหลือดังกล่าวเป็นงานที่สั่งมาทางอาเภอและ
  • 14. 14 อาเภอสั่งให้กานันดาเนินการช่วยเหลือหรือปฏิบัติ หมูบาน ่ ้ หมู่บ้านเป็นหน่วยการปกครองในส่วนภูมิภาคที่มีขนาดเล็ดที่สุด ในหมูบ้านหนึ่งจะ ่ ประกอบด้วยบ้านจานวนหลายๆ บ้าน 1. การจัดตั้ง การจัดตั้งหมู่บ้านขึ้นใหม่ พระราชบัญญัติลักษณะปกครอง ท้องที่ พ.ศ. 2457 กาหนดไว้ว่าจะต้องมีคนประมาณ 200 คน หรือถ้ามีคนน้อยและ บ้านห่างไกลกันก็จะต้องมีบ้านไม่ต่ากว่า 5 หลัง นอกจากนั้นกระทรวงมหาดไทยยัง กาหนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติมว่าเมื่อแยกตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่แล้วหมู่บ้านเดิมต้องมี พลเมืองไม่น้อยกว่า 200 คน ระยะทางติดต่อระหว่างหมู่บ้านใหม่กับหมู่บ้านเก่าใช้ เวลาไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง และจะต้องมีความเหมาะสมในด้านอื่นๆ ด้วย ในการจัดตั้งหมู่บ้านขึ้นใหม่นายอาเภอท้องที่นั้นมีหน้าที่ตรวจสภาพท้องที่ สารวจจานวนพลเมืองและจานวนครัวเรือน แล้วจึงเสนอเรื่องและเหตุผลต่อผู้ว่า ราชการจังหวัดเพื่อรายงานกระทรวงมหาดไทย เมื่อกระทรวงมหาดไทยเห็นชอบก็ให้ จังหวัดทาเป็นประกาศจังหวัดจัดตั้งหมู่บ้านแล้วแจ้งให้ราษฎรทราบทั่วกัน 2. อานาจหน้าและผู้รับผิดชอบ ในหมู่บ้านหนึ่งมีผู้ใหญ่คนหนึ่งมีอานาจ หน้าที่ปกครองราษฎรและรักษาความสงบเรียบร้อยในเขตหมู่บ้านนั้น ผู้ใหญ่เป็นผู้ที่ ราษฎรเลือกตัวขึ้นจากชายไทยเจ้าของบ้าน อายุ 25-60 ปี แต่อาจออกจากตาแหน่ง ก่อนอายุครบ 60 ปี ได้ตามที่กฎหมายลักษณะปกครองท้องที่กาหนด เช่น ขาด คุณสมบัติ ตาย ไดรับอนุญาตให้ลาออกหมู่บ้านที่ปกครองถูกยุบ ไปเสียจากหมู่บ้านที่ ตนปกครองเกินสามเดือน ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกผู้ใหญ่บ้านในหมู่บ้านนั้นจานวนไม่น้อย กว่ากึ่งจานวนร้องขอให้ออกจากตาแหน่ง ผูว่าราชการจังหวัดสั่งให้ออกเพราะบกพร่อง ้ ทางความประพฤติหรือความสามารถไม่เหมาะสมกับตาแหน่ง เป็นต้น เจ้าหน้าที่ปกครองหมู่บ้านนอกจากผู้ใหญ่บ้านแล้วยังมีผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ฝ่ายปกครองหมู่บ้านละ 2 คน และอาจมีผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบด้วยก็ได้ ตามทีผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นสมควรกานันและผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้พิจารณาคัดเลือกผู้ช่วย ่ ผู้ใหญ่บ้านทั้ง 2 ฝ่าย ดังกล่าว ผู้ใหญ่บ้านมีภาระหน้าที่อยู่มาก เช่นการรักษาความ สงบเรียบร้อยในหมู่บ้าน เป็นสื่อกลางนาข่าวสารของราชการสู่ประชาชน ทาบัญชี สามะโนครัว ติดตามจับกุมผู้ร้าย บารุงส่งเสริมอาชีพราษฎรป้องกันโรคติดต่อหรือโรค ระบาด ช่วยเหลือดาเนินการแทนกระทรวง ทบวง กรม อื่น เช่น ปฏิบัติงานเกี่ยวกับ การรังวัดที่ดินร่วมกับเจ้าหน้าที่รังวัด ช่วยเหลือส่งหมายศาล เป็นต้น
  • 15. 15 การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น คือ การกระจายอานาจสู่ท้องถิ่นเพื่อให้ ประชาชนมีอานาจในการตัดสินใจเกี่ยวกับกิจการต่างๆ ที่เป็นสาธารณะของท้องถิ่น ด้วยตนเอง ตามภารกิจหน้าที่ที่ระบุให้ดาเนินการอย่างชัดเจน มีพื้นที่รับผิดชอบชัดเจน มีผู้บริหารที่ได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนหรืออาจจะได้รับความเห็นชอบจาก สภาท้องถิ่น การใช้หลักการกระจายอานาจ (Decentralization) ให้กับประชาชน โดยตรง เป็นการให้แก่ท้องถิ่น ในฐานะผู้รับมอบอานาจจะต้องมีความรับผิดชอบต่อ การดาเนินการและการตัดสินใจของตนเอง การจัดระเบียบราชการบริหารส่วนท้องถิ่นในปัจจุบัน มีอยู่ 2 ระบบ คือ ระบบทั่วไปที่ใช้แก่ท้องถินทั่วไป ซึ่งในปัจจุบันมีอยู่ 3 รูปแบบ คือ เทศบาล องค์การ ่ บริหารส่วนตาบล และองค์การบริหารส่วนจังหวัด และระบบพิเศษที่ใช้เฉพาะท้องถิ่น บางแห่งซึ่งในปัจจุบันมีอยู่ 2 รูปแบบ คือกรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา เอกสารอ้างอิง เอกสารการสอนวิชาการบริหารราชการไทย .มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ศิริ พรมดี .2548. การปกครองท้องถิ่นไทย.มหาวิทยาลัยราชภัฎลาปาง. แผนปฏิบัติกาหนดขั้นตอนการกระจายอานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สานักงานคณะกรรมการการกระจายอานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สานักงานปลัดสานักนายกรัฐมนตรี .(2545).กรุงเทพฯ
  • 16. 16 ใบงานที่ 2 1. ให้นักเรียนยกตัวอย่าง ความหมาย ของการปกครองส่วนท้องถิ่นจาก นักวิชาการท่านอื่นๆอย่างน้อย 2 ความหมาย 1.1 จอห์น เจ. คลาร์ก (John J. Clark) หน่วยการปกครองที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการให้บริการ ประชาชนในเขตพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง และหน่วยการปกครองดังกล่าวจะจัดตั้งและ อยู่ในความดูแลของรัฐบาลกลาง 1.2 อุทัย หิรัญโต การปกครองที่รัฐบาลมอบอานาจให้ประชาชนในท้องถิ่นใดท้องถิ่น หนึ่งจัดการปกครอง และดาเนินกิจการบางอย่าง โดยดาเนินการกันเองเพื่อบา บัดความต้องการของตน 1.3 ประทาน คงฤทธิศึกษาการ ระบบการปกครองที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากการกระจายอานาจ ทางการปกครองของรัฐ และโดยนัยนี้จะเกิดองค์การทาหน้าที่ปกครองท้องถิ่น โดยคนในท้องถิ่น นั้น ๆ
  • 17. 17 ทดสอบ หน่วยที่ 2 ตอนที่ 1 ให้นักเรียนเลือกคาตอบที่ถูกต้องที่สุดแล้วทาเครื่องหมาย ลงใน กระดาษคาตอบที่แจกให้ 1. ข้อใดให้ความหมายของ “การปกครองท้องถิ่นไทย” ได้ถูกต้องที่สุด ก. มีองค์กรในการปกครอง ข. มีอานาจปกครองตนเอง ค. การมีส่วนร่วมของประชาชน ง. รัฐจัดตั้งขึ้นและมีสิทธิตามกฎหมาย 2. มีองข้อใดคือวัตถุประสงค์ของการปกครองท้องถิ่น ก. สร้างผู้นาท้องถิ่น ข. เพิ่มภาระให้รัฐบาล ค. ส่งเสริมการมีส่วนร่วม ง. ตอบสนองความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง 3. ข้อใดถูกต้องที่สุด ก. หลักการรวมอานาจ คือการมอบอานาจการปกครอง ข. หลักการกระจายอานาจ คือการแบ่งอานาจวินิจฉัยสั่งการ ค. หลักการแบ่งอานาจ คือการมอบอานาจบางส่วนให้แก่องค์กร ง. หลักการกระจายอานาจ คือการมอบอานาจการปกครองบางส่วน ให้แก่องค์การ 4. การปกครองท้องถิ่นประเทศใดมีลักษณะคล้ายกับประเทศไทยมากที่สุด ก. ฝรั่งเศส ข. อังกฤษ ค. ญี่ปุ่น ง. เยอรมัน 5. การบริหารราชการแผ่นดินของไทยในปัจจุบันมีวิวัฒนาการมาจากการปฏิรูป การบริหารราชการแผ่นดินในสมัยรัชกาลใด ก. รัชกาลที่ 5 ข. รัชกาลที่ 6 ค. รัชกาลที่ 7
  • 18. 18 ง. รัชกาลที่ 9 6. ข้อใดไม่ใช่การจัดระเบียบการบริหารราชการไทย ก. การบริหารส่วนกลาง/ส่วนท้องถิ่น ข. การบริหารส่วนกลาง/ภูมิภาค/ท้องถิ่น ค. การบริหารส่วนท้องถิ่น/ส่วนภูมิภาค/ส่วนกลาง ง. การบริหารส่วนภูมิภาค/ ส่วนท้องถิ่น/ส่วนกลาง 7. ข้อใดเป็นหลักการ การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นของไทย ก. การกระจายอานาจสู่ท้องถิ่น ข. การใช้หลักการกระจายอานาจ ค. ประชาชนมีอานาจในการตัดสินใจ ง. การใช้หลักการกระจายอานาจให้แก่ประชาชนโดยตรง 8. ข้อใด คือรูปแบบการปกครองท้องถิ่นของไทย ก. มี 3 รูปแบบ ข. มี 4 รูปแบบ ค. มี 5 รูปแบบ ง. มี 6 รูปแบบ 9. โครงสร้างและองค์ประกอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ถูกต้องคือข้อใด ก. ฝ่ายบุคลากรและนิติกร ข. ฝ่ายบริหารและการคลัง ค. ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ง. ฝ่ายนิติบัญญัติและสานักงานปลัด 10. การกากับดูแลขององค์การบริหารส่วนตาบล กฎหมายกาหนดให้ใครเป็นผู้ กากับดูแล ก. นายกองค์การบริหารส่วนตาบล ข. ปลัดองค์การบริหารส่วนตาบล ค. นายอาเภอและผู้ว่าราชการจังหวัด ง. ประชาชนและข้าราชการในท้องถิ่น
  • 19. 19 ตอนที่ 2 ให้นักเรียนตอบคาถามต่อไปนี้ จากความหมายของการปกครองส่วนท้องถิ่น ให้นักเรียนสรุปสาระสาคัญของการ ปกครองท้องถิ่นมาให้เข้าใจพอสังเขป
  • 20. 20 แนวคาตอบ สรุปสาระสาคัญของการปกครองท้องถิ่น ๑.มีรูปแบบหน่วยการปกครองตามความแตกต่างของความเจริญ ประชากร ขนาดพื้นที่ และวัฒนธรรม ๒.มีอานาจอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ตามความเหมาะสม ๓.มีสิทธิทางกฎหมายที่จะดาเนินการปกครองด้วยตัวเองโดยแบ่งเป็น ๓.๑.สิทธิที่จะตรากฎหมายหรือระเบียบข้องบังคับต่าง ๆ ขององค์กร ปกครองท้องถิ่น ๓.๒.สิทธิในการกาหนดงบประมาณ เพื่อบริหารกิจการตามอานาจ หน้าที่ที่มีอยู่ ๔. มีองค์กรที่จาเป็นในการบริหารและปกครองตนเอง คือ มีองค์กรฝ่าย บริหาร และองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติ ๕.ประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการปกครองท้องถิ่น ...................................................................................................................