SlideShare a Scribd company logo
1 of 40
Download to read offline
VOL.3 NO.8 JANUARY-APRIL 2018
นิตยสารไอที ราย 4 เดือน
SMART THAILAND :
Thailand 4.0 Reality or Hype ...˹ŒÒ 12 ...˹ŒÒ 22
...˹ŒÒ 24
...˹ŒÒ 23
HOT ISSUE :
FinTech âÍ¡ÒÊãËÁ‹ã¹»‚ 2018
»‚ 2020 à·¤â¹âÅÂÕ¾ÅÔ¡â©ÁÊÙ‹âÅ¡ãËÁ‹
The Top Ten Cybersecurity Trends
and Threats in 2018-2020
IT Trends ฉบับขึ้นปีที่ 3 นี้ได้ปรับเปลี่ยนดีไซน์เล็กน้อย
เพื่อให้สวยงามอ่านสบายด้วยการเน้นใส่ภาพประกอบมากขึ้น
แต่ที่ส�ำคัญยิ่งกว่า คือ การเพิ่มเนื้อหาเพื่อเกาะกระแสที่ก�ำลังเป็น
ที่สนใจของคนทั่วไปในยุคนี้ ซึ่งแน่นอนว่าต้องเป็นเรื่อง Digital
Transformation และเรื่อง Thailand 4.0 จึงได้เปิดเป็นคอลัมน์
ประจ�ำที่จะน�ำเสนอในทุกๆ ฉบับนับจากนี้ไป
คอลัมน์ Digital Transformation จะน�ำเสนอบทความ
เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนองค์กร และยุทธศาสตร์ด้านดิจิทัล
ขององค์กร เพื่อให้ทันกับยุคสมัยที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาท
ส�ำคัญต่อการด�ำเนินธุรกิจหากละเลยเรื่องดิจิทัลอาจหมายความ
ถึงการนับถอยหลังเลยทีเดียว ส�ำหรับฉบับนี้พูดถึงเรื่อง “กลยุทธ์
5ด้านกับการท�ำDigitalTransformation”ซึ่งควรจะต้องมาพร้อม
กับพื้นฐานด้าน Business Backbone ที่ดี ระบบพื้นฐานได้แก่
ระบบ ERP, CRM หรือ HR ที่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลาและ
ทุกอุปกรณ์ หากขาดส่วนนี้ไปก็จะท�ำการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัล
ล�ำบาก และเมื่อต้องการท�ำ Digital Transformation แล้วจะต้อง
เพิ่ม Backbone รูปแบบใหม่ที่เรียกว่า Digital Business
Backbone ด้วย
ส่วนคอลัมน์SmartThailandจะเกาะติดนโยบายThailand
4.0 และโครงการต่างๆ ทั้งโครงการในภาครัฐและการขยับตัว
ของภาคเอกชน รวมไปถึงมุมมองความคิดเห็นจากบุคคลต่างๆ
เกี่ยวกับเรื่องนี้ และเชื่อว่านโยบายดังกล่าวจะมีความคืบหน้า
อย่างต่อเนื่อง
ซึ่งในฉบับนี้น�ำเสนอ Thailand 4.0 Reality or Hype เป็น
หัวข้อหนึ่งในงานสัมมนา IT Trends 2018 Asia's Rising Power
จัดโดยสถาบันไอเอ็มซี บรรยาโดย ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์
ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(TDRI)ท่านมอง
ในมุมนโยบายและมาตรการส่งเสริมที่จะน�ำไปสู่ผลส�ำเร็จภายใต้
โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)
ทุกท่านสามารถอ่านบทความทั้งสองได้ในฉบับนี้
นิตยสารไอที ราย 4 เดือน
VOL.3 NO.8 JANUARY-APRIL 2018
CONTENTS
EDITOR NOTE
IT Trends เพิ่มคอลัมน์เกาะติดกระแส
นัยนา แย้มอรุณ
บรรณาธิการ
IMC NEWS3
26
28
29
31
35
39
7
12
18
22
Future of Big Data on Cloud Computing
ทางเลือกที่ดีกว่า
Thailand 4.0 Reality or Hype
เจาะลึกอุตสาหกรรมเด่นขานรับโครงการ EEC
กลยุทธ์ 5 ด้านกับการท�ำ Digital Transformation
มาพร้อมพื้นฐานด้าน Business Backbone
FinTech โอกาสใหม่ในปี 2018
ปี 2020 เทคโนโลยีพลิกโฉมสู่โลกใหม่
The Top Ten Cybersecurity Trends and
Threats in 2018-2020
ถ่ายทอดความประทับใจต่อการเรียนการสอนของ
สถาบันไอเอ็มซี
เรียนรู้ MicroServices ด้วยวิธีเสริมทักษะให้แน่น
CEO เชื่อมั่นเศรษฐกิจ-รายได้ปีนี้โต
แต่ยังกังวลความเสี่ยงก่อการร้าย-ภัยคุกคาม
Hot Issue
Special Report
Impression
Highlight
Instructor
Survey
Training
IMC Upcoming Courses
Smart Thailand
Digital Transformation
VOL.3 NO.8 JANUARY-APRIL 2018
นิตยสารไอที ราย 4 เดือน
SMART THAILAND :
Thailand 4.0 Reality or Hype ...˹ŒÒ 12 ...˹ŒÒ 22
...˹ŒÒ 24
...˹ŒÒ 23
HOT ISSUE :
FinTech âÍ¡ÒÊãËÁ‹ã¹»‚ 2018
»‚ 2020 à·¤â¹âÅÂÕ¾ÅÔ¡â©ÁÊÙ‹âÅ¡ãËÁ‹
The Top Ten Cybersecurity Trends
and Threats in 2018-2020
IMC NEWS | IT TRENDS 3
เรื่อง : กองบรรณาธิการ
Azure IoT, Machine Learning and
Advanced Analytics
เมื่อเร็วๆ นี้ สถาบันไอเอ็มซีได้จัดอบรม Azure IoT, Machine
Learning and Advanced Analytics ซึ่งได้รับความสนใจ เนื่องจาก
IoT สามารถน�ำมาประยุกต์ใช้กับหลายธุรกิจ IoT การอบรมครั้งนี้เน้น
Workshop เพื่อให้เห็นว่าการเรียนรู้และใช้งาน IoT ควบคู่กับองค์
ประกอบอื่นอย่าง Machine Learning และ Data Analytics ท�ำได้
อย่างไร และสามารถน�ำมาประยุกต์เข้ากับงานของเราได้ง่ายๆ โดย
เฉพาะในเรื่องของDataAnalyticsมีการแนะน�ำไปจนถึงขั้นAdvanced
DataAnalyticsด้วยเช่นTextAnalytics,LanguageUnderstanding
หรือ Knowledge Exploration เป็นต้น
Design Patterns and
Code Architecture
หลักสูตรนี้เป็นการน�ำเสนอการประยุกต์ใช้
Design Patterns ในรูปแบบลงมือปฏิบัติจริง ซึ่ง
นอกจากจะช่วยแก้ปัญหาในการออกแบบ
ซอฟต์แวร์แล้ว ยังช่วยแก้ปัญหาในการจัดการ
และบ�ำรุงรักษา source code อีกด้วย โดยให้
ความรู้เกี่ยวกับการจัดการและบ�ำรุงรักษาsource
codeให้สามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็วตาม
การแข่งขันทางธุรกิจ ซึ่งเป็นความท้าทายใหม่
ส�ำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์
อบรมเข้มด้าน Big Data
หลักสูตร Big Data Analytics as a Service for Developer
สอนหลักการและแนวปฏิบัติในการท�ำ Big Data Analytics ผู้ที่ผ่าน
การอบรมสามารถกลับไปท�ำงานในหน่วยงานและสามารถปฏิบัติ
ได้จริง โดยสถาบันได้สอนการใช้ PublicCloud อย่าง GoogleCloud
Platform ท�ำให้องค์กรเริ่มท�ำ Big Data Project โดยมีค่าใช้จ่ายไม่สูง
มากนัก และไม่จ�ำเป็นต้องลงทุนติดตั้ง IT Infrastructure หรือติดตั้ง
HadoopCluster นอกจากนี้ผู้เรียนจะได้เรียนรู้หลักการของBigData
as a Service และเครื่องมือต่างๆ เช่น Cloud Storage, Hadoop as
aServiceอย่างDataProc,การใช้เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่
อย่าง Pig, Hive, Spark และ Google BigQuery
ระหว่างท�ำ Workshop
บรรยากาศระหว่างอบรม
บรรยากาศระหว่างอบรม
IT TRENDS | IMC NEWS4
ติวเข้มสอบใบรับรอง ISTQB
จบไปอีกรุ่นส�ำหรับหลักสูตร ISTQB- Certified Tester
Foundation Level (CTFL) Training จัดขึ้นระหว่างวันที่ 23 - 24
ธันวาคม 2017 ที่ผ่านมา ได้รับความสนใจจากหน่วยงงานต่างๆ
เป็นหลักสูตรที่ช่วยแนะแนวทางการสอบใบ Certification
ของ ISTQB (International Software Testing Qualifications
Board) ผู้เรียนได้ท�ำความเข้าใจและเรียนรู้หลักการทดสอบระบบ
ขั้นพื้นฐานและได้ทดลองท�ำแบบทดสอบก่อนสอบCertificateจริง
ในครั้งนี้ได้รับเกียรติบรรยายโดยอาจารย์ นฤภัทร ก�ำเนิดรัตน์
ก้าวสู่การเป็นนักวิเคราะห์ระบบ
การวิเคราะห์ ออกแบบ และบริหารจัดการความต้องการ
หรือ Requirement Analysis, Design and Management
ช่วยเพิ่มพูนทักษะขั้นพื้นฐานในการเตรียมตัวส�ำหรับผู้ที่ก�ำลัง
ก้าวขึ้นเป็นนักวิเคราะห์ระบบ จากข้อมูลในหลายมิติที่ต้องใช้
ประกอบกันเพื่อด�ำเนินการวิเคราะห์ออกแบบนักวิเคราะห์จึงต้อง
มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการเก็บข้อมูล และออกแบบให้ได้
ผลลัพธ์ในรูปแบบที่ต้องการซึ่งผู้เรียนได้รู้กระบวนการและขั้นตอน
ต่างๆ จนสามารถน�ำไปปฏิบัติได้จริง
Microservices with
Java Platform
	 สถาบันไอเอ็มซีเปิดสอนการ Design
Application และ Back-end API โดยใช้แนวคิด
Microservices เมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งเป็นแนวคิดที่
ได้รับความนิยม เนื่องจากเป็นการ Refactor
Applicationที่เคยมีขนาดใหญ่ออกเป็น Module
ย่อยๆ เพื่อแบ่งและแยกการบริหารจัดการ โดย
แต่ละ Module รับผิดชอบงานเฉพาะส่วนของตน
ซึ่งหลักสูตรนี้ผู้เรียนสามารถเลือกท�ำ Workshop
เป็นภาษา Java, Scala หรือ Kotlin ก็ได้
บรรยากาศระหว่างสัมมนา
เรียนอย่างตั้งใจเพิ่มความรู้สู่การเป็นนักวิเคราะห์
เก็บเกี่ยวความรู้ด้วยความตั้งใจ
IMC NEWS | IT TRENDS 5
สัมมนาใหญ่ประจ�ำปี IT Trends: Seminar 2018 : Asia’s Rising Power
เมื่อกลางเดือนธันวาคมที่ผ่านมา(พ.ศ.2560)สถาบันไอเอ็มซีได้สัมมนาใหญ่ประจ�ำปีของสถาบันในปีนี้ใช้ชื่อITTrends:Seminar2018:Asia’s
Rising Power ถ่ายทอดแนวโน้มเทคโนโลยีของปีถัดไป (พ.ศ.2561) ได้รับเกียรติจากกูรูเฉพาะด้านต่างๆ ราว 20 ท่าน ได้แก่ พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์
มะลิสุวรรณ: ประธานกทค.และรองประธานกสทช. ดร. สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) คุณธีรนันท์ ศรีหงส์
ประธานกรรมการคณะกรรมการก�ำกับส�ำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) ผศ.ดร.ภุชงค์ อุทโยภาศ: รองอธิการบดีฝ่ายสารสนเทศ มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์ ฯลฯ
สัมมนาจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-14 ธันวาคม พ.ศ.2560 มีการแสดง
เทคโนโลยีหน้าห้องสัมมนา ในปีนี้ได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมงานกว่า
200 คน โดยเนื้อหากล่าวถึงแนวโน้มการใช้เทคโนโลยีในประเทศต่างๆ
นอกจากประทศไทย เช่น จีน, ญี่ปุ่น และอินเดีย
เป็นงานที่รวบรวมกูรูทางด้านไอทีและผู้เชี่ยวชาญในวงการต่างๆที่
ยิ่งใหญ่อันดับต้นๆ ของเมืองไทย ส�ำหรับประเด็นในการบรรยายประกอบ
แนวโน้ม เช่น Artificial Intelligence, Blockchain, Big Data, Cloud
Computing, InternetofThings,ตลอดจนการกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลง
ในวงการต่างๆ อย่าง FinTech, Digital Marketing
นอกจากนี้ยังได้รับความกรุณาจากพระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต
บรรยายหัวข้อ “ธรรมะติดปีก กับ เทคโนโลยีติดจรวด” และบรรยายโดย
รศ.ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ ผู้อ�ำนวยการสถาบันไอเอ็มซี ในหัวข้อ Future of
Big Data on Cloud Computing เป็นหนึ่งในทิศทางแนวโน้มที่องค์กร
ก�ำลังให้ความส�ำคัญและต้องการเรียนรู้
ขาดไม่ได้คือเสวนา “Startup & Technology Trends” ผู้ร่วมเวที
ได้แก่ คุณไมเคิล เชน CEO & Founder, Buzzebees Co., Ltd. คุณชิตพล
มั่งพร้อม CEO & Founder, Zanroo Limited คุณพีรพัฒน์ อโศกธรรมรังสี
Head of Architecture – AVA, Head of Engineer – Billme และด�ำเนิน
รายการโดยคุณวิชัย วรธานีวงศ์ ที่ปรึกษารายการทีวี IT 24 Hours
ปิดท้ายด้วยการสรุปภาพรวมและเนื้อหาของงานโดยรศ.ดร.ธนชาติ
นุ่มนนท์ พร้อมกับกล่าวถึงแนวโน้มปี 2561บรรยากาศในงานสัมมนา
IT TRENDS | IMC NEWS6
Reunion Party Big data Certification รุ่นที่ 1-6
อีกงานหนึ่งที่เต็มเปี่ยมด้วยรอยยิ้มและความสนุกสนาน งานพบปะสังสรรค์ Reunion Party Big data Certification รุ่นที่ 1-6 จัดขึ้นเมื่อวันที่
31 มกราคมที่ผ่านมา สถาบันไอเอ็มซีเป็นสื่อกลางในการสรางเครือข่ายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นผู้ที่อยู่ในวงการ Big Data ท�ำงานในองค์กรต่างๆ
ซึ่งพบปัญหาอุปสรรคที่แตกต่างกัน สามารถน�ำมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันได้หลายแง่มุม
Reunion Party Big Data School รุ่นที่ 1-2
เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาสถาบันไอเอ็มซีได้จัดงานพบปะ
สังสรรค์ Reunion Party Big Data School รุ่นที่ 1-2 เพื่อสรางเครือข่าย
และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น โดยมีน้องๆ ที่ผ่านการอบรมทั้งสองรุ่น
เข้าร่วมงานกว่า 20 คน พร้อมกันนี้จึงถือโอกาสประชาสัมพันธ์การเปิดรับ
สมัคร Big Data School รุ่นที่ 3 มา ณ โอกาสนี้
ผู้ที่มีความสนใจเข้าอบรมสามารถกรอกใบสมัครออนไลน์พร้อมทั้ง
แนบ Transcript ในรูปแบบของไฟล์.pdf ที่ https://goo.gl/forms/
6exP9v8Lyf7Cukxz2 ภายในวันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม 2561 และจะ
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการอบรมในวันจันทร์ที่9เมษายน2561ทาง
www.facebook.com/imcinstitute (การตัดสินของคณะกรรมการถือเป็น
ที่สิ้นสุด)
้
้
IT Trends 2018 Asia's Rising Power เป็นงานสัมมนาใหญ่ประจ�ำปี 2017 ของสถาบันไอเอ็มซีที่จัดขึ้น
ในช่วงกลางเดือนธันวาคมของทุกปี โดยกล่าวถึงทิศทางแนวโน้มของเทคโนโลยี ซึ่งได้เชื้อเชิญผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญ
เฉพาะด้านต่างๆ มาร่วมบรรยายตลอด 2 วัน ส�ำหรับครั้งที่ผ่านมาล่าสุดนี้ งานสัมมนาจัดขึ้นระหว่าง
วันที่ 13-14 ธันวาคม 2560 มีวิทยากรที่มีชื่อเสียงมาบรรยายในหัวข้อต่างๆ ถึง 20 ท่าน ยกตัวอย่างเช่น
พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ, ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์, ดร.รอม หิรัญพฤกษ์, อ.ปริญญา หอมเอนก,
ผศ.ดร.ภุชงค์ อุทโยภาศ, ผศ.ดร.จิรพันธ์ แดงเดช, คุณธีรนันท์ ศรีหงส์ เป็นต้น ซึ่งเป็นอีกครั้งที่ประสบ
ความส�ำเร็จอย่างมาก
SPECIAL REPORT | IT TRENDS 7
DataSourcesสามารถรวบรวมได้จากภายในและภายนอกองค์กร
เช่น ข้อมูลจากรายงาน, ข้อมูลที่เก็บไว้แต่ไม่ได้น�ำมาใช้วิเคราะห์, ข้อมูล
บางอย่างที่ยังไม่ได้เก็บแต่สามารถน�ำมาใช้ประโยชน์ได้ และข้อมูลจาก
พาร์ทเนอร์ ข้อมูลจากสื่อโซเชียล เป็นต้น โดยในช่วงแรกของการเลือก
ข้อมูลอาจจะเริ่มจากข้อมูลภายในองค์กรในกรณีที่มีจ�ำนวนมากพอกับ
การท�ำการวิเคราะห์
ขณะที่ในมุมของเทคโนโลยีที่ควรค�ำนึงถึงได้แก่ เครื่องมือเพื่อ
การน�ำเข้าหรือเก็บข้อมูล (Data Ingestion) สตอเรจ (เป็นส่วนที่ต้องใช้
งบประมาณสูง) ระบบที่เป็นเครื่องมือในการประมวลผลและวิเคราะห์
(Processing Tools/Analyze) และเครื่องมือเพื่อการแสดงผล (Data
Visualization) ดังภาพประกอบที่ 2
ภาพประกอบที่ 1
ภาพประกอบที่ 2
ในโอกาสนี้นิตยสาร IT Trends ขอน�ำเสนอเนื้อหาบางส่วนในงาน
สัมมนาเพื่อให้ท่านผู้อ่านได้รู้ถึงความน่าสนใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีและเรื่อง
ราวที่ถูกกล่าวถึงในงาน โดยจัดท�ำเป็นบทความประกอบในคอลัมน์ Hot
Issue และ Smart Thailand ส่วนเนื้อหาเกี่ยวกับภาพรวมของ IT Trends
2018Asia'sRisingPowerได้น�ำเสนอในคอลัมน์นี้ประกอบกับเรื่องหลัก
Future of Big Data on Cloud Computing
FUTURE OF BIG DATA ON CLOUD COMPUTING
ในโอกาสนี้รศ.ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ ผู้อ�ำนวยการ สถาบันไอเอ็มซีได้
บรรยายในหัวข้อFutureofBigDataonCloudComputingในงานสัมมนา
ดังกล่าว ซึ่งเป็นแนวทางที่หลายองค์กรประสบความส�ำเร็จ และชี้ให้เห็น
ว่าการท�ำBigDataบนCloudเป็นแนวโน้มโลกที่เสมือนทางเลือกที่ดีกว่า
แต่อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะเดินหน้าโครงการ Big Data นั้น องค์กร
จ�ำเป็นต้องท�ำคววามเข้าใจให้ถูกต้องว่าBigDataคืออะไรมีองค์ประกอบ
ใดบ้าง มีกระบวนการเตรียมความพร้อมอย่างไร และกรณีศึกษาตอบ
TCO-ROI
3 องค์ประกอบของ BIG DATA
ปัจจุบันยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการท�ำ Big Data ซึ่ง
กระบวนการที่แท้จริงแล้วคือ การน�ำข้อมูลจ�ำนวนมากจัดเก็บลงใน Data
Lake เป็นข้อมูล Transaction เพื่อใช้ในการประมวลผลและวิเคราะห์ ซึ่ง
สามารถใช้ท�ำนายสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้
ส�ำหรับองค์กรใดที่จะท�ำBigDataให้คิดถึงการบริหารจัดการหรือ
Business Transformation ก่อนที่จะคิดถึงเทคโนโลยี ควรจะก�ำหนดเป้า
หมาย นโยบาย และผลลัพธ์ที่ต้องการ ซึ่งท้ายที่สุดคือ การคาดการณ์สิ่ง
ที่จะเกิดขึ้น (What Will Happen) โดยแนวทางในการด�ำเนินการให้มุ่งไป
ในทิศทางของ Data Lake และ Data Science ไม่ใช้การท�ำ Data Ware-
house และ Business Intelligence
องค์ประกอบของ Big Data มีดังนี้Data Sources, Technology
และ Analytics (ดังภาพประกอบที่ 1)
IT TRENDS | SPECIAL REPORT8
BIG DATA บน CLOUD ทางเลือกที่ดีกว่า
ในหลายองค์กรกล่าวถึงBigDataมาราวสามปีแต่จนปัจจุบันก็ยัง
ไม่ได้เริ่มต้นท�ำด้วยเพราะติดอุปสรรคด้านการลงทุนที่ต้องใช้งบประมาณ
มหาศาล และอาจจะยังหาค�ำตอบให้เกิดความคุ้มค่าได้ไม่ครอบคลุม อีก
ทั้งยังติดปัญหาว่าหากลงทุนไปแล้วเมื่อข้อมูลเติบโตขึ้นองค์กรจะต้องซื้อ
สตอเรจและเซิร์ฟเวอร์เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่งการลงทุนเทคโนโลยีเอง หรือ
On Premise อาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีนัก
ส�ำหรับทางเลือกที่ดีกว่าคือ การท�ำ Big Data บน Cloud เพราะมี
ข้อดีหลายประการ ได้แก่
1.	ไม่ต้องใช้เงินลงทุนมหาศาล การใช้งานแบบ Cloud จะมีค่าใช้
จ่ายตามการใช้งานที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งอาจจะจ่ายเพียงหลักร้อย
หรือหลักพันบาทเท่านั้น เมื่อใช้งานเสร็จแล้วก็คืนทรัพยากร
ทั้งหมดให้แก่ผู้ให้บริการ
2	ไม่ต้องเสียค่าบ�ำรุงรักษาฮาร์ดแวร์ และระบบต่างๆ
3.	ไม่ต้องจ้างพนักงานเพิ่มเพื่อท�ำหน้าที่ดูแลระบบประหยัดการใช้
พื้นที่ส�ำนักงานในกรณีที่ต้องเช่าพื้นที่เพิ่มให้กับคนและเครื่อง
4.	สามารถเริ่มท�ำ Big Data ได้ทันทีในเวลาไม่กี่นาที แต่หากจะลง
เครื่องเองต้องเสียเวลาท�ำแผน ตั้งงบประมาณ ศึกษาเทคโนโลยี
สั่งซื้อเครื่อง อิมพลีเม้นต์ระบบ กระทั่งใช้งานได้อาจต้องใช้เวลา
หลายเดือน
5.	สามารถเพิ่มพื้นที่การใช้งานและประมวลผลได้ตามต้องการใน
ทันที
BigDataบนCloudมีผู้ให้บริการหลายรายโดยมีบริการสามส่วน
คือ Big Data Infrastructure, Big Data Platform และ SaaS ส�ำหรับ
องค์กรที่มีข้อกังวลด้านความปลอดภัยของข้อมูลนั้นควรจะมองในมุมของ
การน�ำข้อมูลออกสู่ภายนอกองค์กรที่ไม่เกิดความเสียหาย เช่น ข้อมูล
การใช้จ่ายของลูกค้าโดยตัดข้อมูลส่วนบุคคลออกก่อนที่จะน�ำเข้าระบบ
Big Data บน Cloud ซึ่งจะน�ำเข้าเพียงแค่ข้อมูล Transaction ของลูกค้า
เท่านั้น
ดังนั้นBigDataบนCloudจึงเป็นทางเลือกที่ดีองค์กรธุรกิจขนาด
ใหญ่ต่างประเทศทั่วโลกต่างเลือกแนวทางนี้ โดยไม่ได้มองเพียงเรื่องของ
การลงทุนที่ต้องใช้เงินมหาศาล แต่มองว่า Big Data บน Cloud เป็น
นวัตกรรมแห่งยุคของการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
					
IT TRENDS 2018
ASIA'S RISING
POWER
IT Trends 2018 Asia's Rising Power ได้
เผย 10 เทคโนโลยีที่มาแรง และมีผลต่อการ
ด�ำเนินธุรกิจนับจากปีนี้ไป หากองค์กรใดไม่
เรียนรู้ศึกษาเพื่อน�ำไปประยุกต์ใช้กับองค์กร
ในอนาคตอันใกล้ อาจจะต้องพลาดจากเวที
การแข่งขันทางธุรกิจก็เป็นได้
1 พบกับ AI (ARTIFICIAL INTELLIGENCE) ได้รอบตัว
หนึ่งในสิ่งที่เริ่มเกิดขึ้นแล้ว โดยที่ผู้บริโภคไม่รูตัวเลยคือ การเข้ามา
ของปัญญาประดิษฐ์ หรือAIจะมีบทบาทในการตัดสินใจมากขึ้นและช่วย
ให้ชีวิตของผู้ใช้งานสะดวกขึ้น ดังจะเห็นได้จากการที่สมาร์ทโฟนหลาย
แบรนด์เริ่มน�ำเทคโนโลยี AI เข้ามาช่วยประมวลผล เริ่มจากสิ่งที่เห็นได้
ง่ายๆ คือ โหมดกล้องในสมาร์ทโฟนที่ AI จะเข้ามาช่วยเลือกโหมดถ่าย
ภาพที่เหมาะสมที่สุดให้
อีกส่วนที่เริ่มเห็นมากขึ้นคือ การที่องค์กรเริ่มมีการพัฒนาและน�ำ
แชตบอทมาใช้งานเพื่อตอบสนองลูกค้าในการแก้ไขปัญหาเบื้องต้น และ
จะได้เห็นการพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนพื้นฐานของการน�ำAIมาใช้งานเพิ่ม
มากขึ้นในอนาคต
2. MACHINE LEARNING เร็ว-แม่นย�ำขึ้น
อีกสิ่งที่มาคู่กับ AI ก็คือ เทคโนโลยีอย่าง Machine Learning ที่
เข้ามาช่วยในการประมวลผลซึ่งแน่นอนว่ายิ่งมีข้อมูลการใช้งานเพิ่มมากขึ้น
เท่าไร การประมวลผล และความแม่นย�ำในการค�ำนวณก็จะยิ่งเพิ่มขึ้น
ตามไป
ประกอบกับการที่องค์กรธุรกิจจะเริ่มให้ความส�ำคัญกับเทคโนโลยี
ดังกล่าว และน�ำมาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลของผู้บริโภค เพื่อให้องค์กร
สามารถปรับเปลี่ยนหรือคิดค้นบริการที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า
ได้หลากหลายขึ้น
้
photo : www.freepik.com
SPECIAL REPORT | IT TRENDS 9
3. ได้เวลาใช้งาน IOT
การมาของ IoT หรือ Internet of Things จะกลายเป็นเครื่องมือ
ส�ำคัญที่ช่วยให้ทั้ง AI และ Machine Learning ท�ำงานได้ดียิ่งขึ้น จาก
ข้อมูลของผู้ใช้งานปริมาณมหาศาลที่เกิดขึ้นประกอบกับการที่โครงสร้าง
พื้นฐานในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในประเทศที่สมบูรณ์มากขึ้น จะช่วย
เร่งการมาของอุปกรณ์ IoT ให้เร็วขึ้น
โดยจะเห็นได้จากการที่ผู้ให้บริการโทรคมนาคมเริ่มส่งสัญญาณถึง
ความพร้อมต่อการให้บริการเครือข่าย IoT หรือแม้แต่แบรนด์ผู้ผลิต
คอมพิวเตอร์ ก็พร้อมจะน�ำเสนอแพลตฟอร์มในการเชื่อมต่อ IoT ที่หลาก
หลายมากยิ่งขึ้นไม่นับกับปริมาณอุปกรณ์ IoTในฝั่งของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่
จะเริ่มทยอยเข้ามาท�ำตลาดในประเทศไทย
4.
BLOCKCHAIN AN INVENTION THAT COULD
CHANGE OUR WORLD
Blockchainหรือกลไกการกระจายอ�ำนาจจากศูนย์กลางจะเข้ามา
สร้างความท้าทาย และการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการให้บริการ โดย
จะมีผู้ให้บริการใหม่ๆเกิดขึ้นมากมายโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการเงิน
โรงงานผลิต รีเทล และเฮลท์แคร์
เพียงแต่ว่าด้วยการที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นอาจจะยังต้อง
รอการพิสูจน์ และการควบคุมที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือใน
การใช้บริการ
5. เข้าสู่ยุค CLOUD 2.0
ที่ผ่านมาเมื่อพูดถึงการลงทุน Cloud หรือการใช้งานส่วนใหญ่จะ
เกิดขึ้นกับองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ ทั้งในแง่ของการหันมาใช้งาน Public
Cloud หรือลงทุนท�ำ Private Cloud มาใช้งาน
แต่ปัจจุบันCloudกลายเป็นปัจจัยที่จะช่วยให้ธุรกิจสามารถทราน
ฟอร์มสู่ดิจิทัลได้ เพียงแต่ว่าในการใช้งานCloudต้องค�ำนึงถึงผลประโยชน์
ต่อเนื่องที่ได้มา ไม่ใช่แค่การลงทุนเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการใช้งานดาต้า
เซ็นเตอร์ แต่ต้องมองถึงการน�ำระบบ Cloud มาช่วยในการประมวลผล
เพื่อท�ำให้ธุรกิจเดินหน้าไปได้
ขณะเดียวกันเมื่อการใช้งานCloudเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต
การใช้งาน Cloud ก็จะขยายสู่ธุรกิจขนาดกลางและย่อย รวมถึงผู้บริโภค
ทั่วไปที่สามารถเข้าถึงบริการ Cloud ได้ง่ายขึ้น
6. BIG DATA บน CLOUD
ต่อเนื่องจากยุคของ Cloud 2.0 ที่องค์กรธุรกิจจ�ำเป็นต้องมีการ
วางแผนเพื่อบริหารจัดการข้อมูลปริมาณมหาศาลที่เกิดขึ้นเพื่อน�ำมาใช้
ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด ดังนั้นจุดนี้ทั้ง AI และ Machine Learning จะ
เข้ามามีส่วนร่วมเป็นอย่างมากในแง่ของการจัดการข้อมูลโดยจะเน้นไปที่
การจัดการ Structured Data หรือข้อมูลที่ถูกจัดเก็บแบบมีโครงสร้าง
ชัดเจน และ Unstructured Data หรือข้อมูลประเภทอื่นๆ ที่ถูกจัดเก็บบน
Cloud ซึ่งปัจจุบันผู้ให้บริการทั้งหลาย ต่างก็มีผลิตภัณฑ์ที่มารองรับการ
ประมวลผลข้อมูลแล้ว
ปัจจุบัน CLOUD กลายเป็น
ปัจจัยที่จะช่วยให้ธุรกิจ
สามารถทรานฟอร์มสู่ดิจิทัล
ได้ เพียงแต่ว่าในการใช้งาน
CLOUD ต้องมองถึงการน�ำ
ระบบ CLOUD มาช่วยใน
การประมวลผล เพื่อท�ำให้
ธุรกิจเดินหน้าไปได้
IT TRENDS | SPECIAL REPORT10
7. HUMAN-DIGITAL (HD) INTERFACES WILL DIVERSIFY
เทคโนโลยีอย่าง AR และ VR จะเข้ามามีบทบาทในการใช้งานใน
ชีวิตประจ�ำวันมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเมื่ออุปกรณ์ และคอนเทนต์พร้อม
รองรับเช่นเดียวกับวิธีการใช้งานสมาร์ทโฟนที่จะเห็นการสั่งงานผ่านเสียง
มากขึ้น หรือการพูดคุยกับผู้ช่วยอัจฉริยะอย่าง Alexa, Siri หรือ Google
Assistance ที่ใกล้จะรองรับภาษาไทย
ไม่นับรวมรูปแบบของการยืนยันตัวตน อย่างการลงทะเบียน
ซิมการ์ดที่ปัจจุบันมีการน�ำระบบ Biometric เข้าไปใช้งาน ทั้งการลง
ทะเบียนด้วยใบหน้าและลายนิ้วมือหรือที่ใกล้ตัวคือการปลดล็อกสมาร์ท
โฟนผ่านเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือรวมทั้งปลดล็อกด้วยใบหน้าที่เริ่มมีการ
ใช้งานได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น
8. OPEN API ECOSYSTEM ช่วยให้แข่งขันได้
OpenAPIจะกลายเป็นหนึ่งในตัวแปรส�ำคัญที่ท�ำให้ผู้ให้บริการบน
โลกดิจิทัลสามารถเข้าถึงลูกค้าจ�ำนวนมากได้ ด้วยการเข้าไปเป็นพันธมิตร
ในการให้บริการแก่ผู้บริโภค ดังนั้นแนวโน้มที่เกิดขึ้นจากการคาดการณ์
ของไอดีซีระบุว่ามากกว่าหนึ่งในสามของ500บริษัทที่ใหญ่ที่สุดของไทย
จะใช้งานบริการดิจิทัลผ่านระบบ API แบบเปิด
9. HYPER-AGILE ARCHITECTURE
ที่ผ่านมาการพัฒนาแอพพลิเคชั่นขององค์กรส่วนใหญ่จะเน้น
พัฒนาบนพื้นฐานของแพลตฟอร์มหรือข้อมูลที่อยู่ภายในองค์กรเป็นหลัก
แต่จากข้อมูลของไอดีซีระบุว่า ภายในปี 2021 การพัฒนาแอพพลิเคชั่น
ส่วนใหญ่จะย้ายพื้นฐานไปอยู่บน Hyper-Agile Architecture ส่งผลให้
กว่า 80% ของแอพที่ถูกพัฒนาขึ้นจะอยู่บนแพลตฟอร์มของ Cloud ใน
รูปแบบ PaaS โดยใช้บริการ Microservice
10. CYBERSECURITY จะส�ำคัญมากขึ้น
แน่นอนว่าเมื่อมีเทคโนโลยีใหม่เข้ามา ก็ท�ำให้วิธีการรักษาความ
ปลอดภัยเดิมๆ ที่เคยใช้ไม่เพียงพออีกต่อไป ดังนั้นองค์กรธุรกิจจึงจ�ำเป็น
ที่จะต้องให้ความส�ำคัญกับการลงทุนทางด้านCybersecurityเพิ่มมากขึ้น
ทั้งในแง่ของการปกป้องข้อมูล ตรวจสอบผู้ใช้งานระบบ เพื่อเสริมสร้าง
ความเชื่อมั่นในระบบไอที
ในส่วนของผู้บริโภคก็ควรค�ำนึงถึงข้อมูลส่วนบุคคลมากยิ่งขึ้นเนื่อง
จากกปัจจุบันข้อมูลส่วนบุคคลถูกเผยแพร่ได้หลายช่องทาง โดยเฉพาะ
ผ่านโซเชียลมีเดียต่างๆ ไม่นับรวมกับการมาของอุปกรณ์ IoT ที่จะถูกน�ำ
เข้ามาใช้ภายในบ้านหรือใกล้ตัวซึ่งจะกลายเป็นอุปกรณ์ที่รูพฤติกรรมของ
ผู้ใช้งานมากที่สุด
10 Trends ที่กล่าวมานี้น่าจับตามองว่า จะเข้ามาเปลี่ยนแปลง
พฤติกรรมผู้บริโภค การด�ำเนินธุรกิจขององค์กร และการแข่งขันใน
เวทีระดับประเทศและเอเชียอย่างไร	
้
photo : www.freepik.com
SPECIAL REPORT | IT TRENDS 11
THAILAND 4.0
REALITY OR HYPE
Thailand 4.0 Reality or Hype เป็นหัวข้อหนึ่งในงานสัมมนา จัดโดยสถาบันไอเอ็มซี
บรรยายโดย ดร. สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
(TDRI) ท่านมองในมุมนโยบายและมาตรการส่งเสริมที่จะน�ำไปสู่ผลส�ำเร็จ ภายใต้
โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งเป็นแผนยุทธศาสตร์
ของนโยบาย Thailand 4.0
photo : www.freepik.com
IT TRENDS | SMART THAILAND12
ในที่นี้ ดร. สมเกียรติได้กล่าวถึง มาตรการ 3 ด้านเกี่ยวกับ
การกระตุ้นการลงทุน คือ 1. มาตรการลดหย่อนภาษี 2. มาตรการ
ที่น�ำไปสู่ความเชื่อมโยงระหว่างภาคอุตสาหกรรม ภาคการศึกษา
และการวิจัยพัฒนา และ 3.การเปิดเผยข้อมูล (Big Data) ท�ำให้
เกิดธุรกิจใหม่ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
มาตรการลดหย่อนภาษีดีจริงหรือ?
ส�ำหรับมาตรการในการลดหย่อนภาษีภายใต้โครงการพัฒนา
ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(EEC)ตามนโยบายรัฐบาล
นั้นในภาพรวมหากลดภาษีแล้วท�ำให้รายได้จากการเก็บภาษีหาย
ไป2.2แสนล้านบาทเพื่อผลักดันและกระตุ้นให้บริษัทต่างประเทศ
เข้ามาลงทุนในประเทศไทยที่คาดหวังให้เกิดการจ้างงานคนไทย
อาจต้องค�ำนึงถึงผลตอบรับ เพราะหากด้วยต้นทุนดังกล่าวแล้ว
ท�ำให้เกิดการจ้างงาน 50,000 ต�ำแหน่ง นั่นคือมีต้นทุนเฉลี่ยต่อหัว
ราว 4 ล้านบาท ในความเป็นจริงคนไทยมีรายได้ครอบคลุมหรือไม่
เป็นประเด็นที่ต้องคิดค�ำนวณ ไม่เช่นนั้นอาจท�ำให้ประเทศไทยใช้
มาตรการในการลดหย่อนภาษีที่มีราคาแพงมาก
ความเชื่อมโยงเป็นหัวใจส�ำคัญ
ในอดีตที่ผ่านมา บริษัทต่างประเทศเข้ามาลงทุนใน
ประเทศไทย แต่พบว่ายังไม่มีมาตรการที่เชื่อมโยงเพื่อให้เกิดการ
ลงทุนระยะยาว หรืออย่างยั่งยืน ปัญหาคือ ไม่มีความเชื่อมโยง
ระหว่างภาคอุตสาหกรรมจากต่างประเทศกับภาคการพัฒนา
บุคลากร รวมทั้งด้านการวิจัยและพัฒนา
มาตรการส่งเสริมต่างๆ ควรมีความเชื่อมโยงกัน กล่าวคือ
ควรมีการสนับสนุนให้เกิดความร่วมมระหว่างภาคอุตสาหกรรม
และภาคการศึกษา เพื่อให้เกิดการพัฒนาบุคลากรพรอมท�ำงาน
ทันทีที่จบการศึกษา อีกทั้งยังลดปัญหาการขาดแคลนบุคลากร
ไปด้วย หากแต่ในอดีตที่ผ่านมา สถาบันการศึกษาส่วนใหญ่
มักไม่มีความเชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรมในด้านของความ
ร่วมมือของการพัฒนาบุคลากร
ส�ำหรับด้านการวิจัยและพัฒนา เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ควร
จะได้รับการส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมเพื่อ
ให้มีการวิจัยและพัฒนาที่ตรงกับความต้องการและพร้อมที่จะน�ำ
ไปต่อยอดในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งจะได้เห็นความส�ำเร็จของการ
วิจัยและพัฒนาที่น�ำไปใช้ได้จริงดังนั้นควรมีการจัดตั้งสถาบันวิจัย
และพัฒนาที่เชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรม
ตัวอย่างมาตรการส่งเสริมการลงทุนของประเทศสิงคโปร์
มีความเชื่อมโยงกันโดยไม่ใช้มาตรการลดหย่อนภาษี คือนโยบาย
ส่งเสริมให้บริษัทต่างประเทศด้านยา ลงทุนในสิงคโปร์โดยมี
ข้อเสนอด้านความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาร่วมกันกับ
โรงพยาบาลรัฐซึ่งท�ำให้คนของสิงคโปร์มีความรู้และเก่งขึ้นอีกทั้ง
ยังเกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยี ในขณะเดียวกันรัฐยังท�ำหน้าที่
เชื่อมโยงด้านการป้อนบุคลากรให้แก่บริษัทที่ลงทุนในสิงคโปร์
ท�ำให้เกิดการเสริมทักษะให้กับบุคลากร
การเปิดเผยข้อมูลจุดประกายธุรกิจใหม่
ปัจจุบันประเทศไทยไม่ให้ความส�ำคัญกับการเปิดเผยข้อมูล
เพื่อให้เอกชนหรือภาคธุรกิจสามารถน�ำไปใช้ในการพัฒนาต่อยอด
ที่จะท�ำให้เกิดธุรกิจ และบริการใหม่ๆ หากประเทศไทยมีการ
ส่งเสริมด้วยมาตรการเปิดเผยข้อมูลเชื่อว่าเป็นแนวทางที่ดีต่อการ
พัฒนาประเทศ
ตัวอย่างในประเทศสหรัฐอเมริกา มีการเปิดเผยข้อมูลจาก
หน่วยงานต่างๆ ของรัฐในระดับพื้นฐานที่ไม่กระทบต่อสิทธิส่วน
บุคคลหรือข้อมูลความลับของรัฐบาล เช่นการเปิดเผยข้อมูลGPS
ส่งผลดีต่อการต่อยอดธุรกิจท�ำให้เกิดธุรกิจใหม่ๆ
แต่อย่างไรก็ตาม แม้จะมีความพยายามในการเปิดเผย
ข้อมูลโดยส�ำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์(องค์การมหาชน)หรือ
EGA แต่ไม่ประสบผลส�ำเร็จ เนื่องจากไม่ได้รับความร่วมมือจาก
หน่วยงานจ�ำนวนมาก
โดยสรุปหากประเทศไทยมีแผนพัฒนาที่สร้างระบบนิเวศ
คือมีการเชื่อมโยงระหว่างภาคธุรกิจภาคการศึกษาสถาบันวิจัย
และพัฒนา เชื่อว่าจะส่งเสริมนโยบาย Thailand 4.0 ได้ดี
ดร. สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์
ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)
้
SMART THAILAND | IT TRENDS 13
นอกจาก พ.ร.บ. EEC (พระราชบัญญัติการพัฒนาระเบียง
เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก) ซึ่งเป็นกรอบนโยบายการพัฒนา
แล้ว ภาครัฐยังมีการสนับสนุนโครงสรางพื้นฐานทางด้านกายภาพ
(Hard Infrastructure) และโครงสรางพื้นฐานด้านการก�ำกับดูแล
(SoftInfrastructure)โดยโครงสรางพื้นฐานด้านกายภาพส่วนใหญ่
เป็นโครงการด้านคมนาคมซึ่งครอบคลุมทุกรูปแบบในการเดินทาง
และการขนส่งสินค้าได้แก่ทางรางทางถนนทางน�้ำและทางอากาศ
รวมถึงโครงสรางพื้นฐานด้านพลังงานและสาธารณูปโภคได้แก่การ
พัฒนาระบบส่งและกระจายไฟฟ้า การพัฒนาระบบกักเก็บและส่ง
น�้ำเพื่ออุปโภคและบริโภคการพัฒนาสิ่งแวดล้อมการท่องเที่ยวและ
สาธารณสุข ส่วนในด้านการก�ำกับดูแล ภาครัฐยังมีการให้สิทธิ
พิเศษด้านภาษีทั้งภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้ส่วนบุคคล
การยกเลิกอากรเครื่องจักรน�ำเข้าและวัตถุดิบผลิตเพื่อส่งออก เงิน
ทุนสนับสนุนและการอ�ำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการที่เข้ามา
ลงทุนในบริเวณ EEC อีกด้วย
EIC ประเมินว่า ในระยะเริ่มต้น อุตสาหกรรมดิจิทัล
อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ และอุตสาหกรรมหุ่นยนต์
และระบบอัตโนมัติ เป็น 3 อุตสาหกรรมแห่งอนาคตที่มีโอกาส
จะเกิดขึ้นในบริเวณ EEC เมื่อพิจารณาจากความสามารถและ
ทักษะแรงงานผลกระทบทางเศรษฐกิจและประเภทของอุตสาหกรรม
เกี่ยวเนื่อง
อุตสาหกรรมการบิน
โอกาสที่มาพร้อมความท้าทาย
ธุรกิจศูนย์ซ่อมบ�ำรุงอากาศยาน (MRO) ที่เน้นรองรับเครื่อง
บินล�ำตัวแคบ(NarrowBody)จะสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการไทย
เข้าสู่อุตสาหกรรมการผลิตชินส่วนอากาศยานในอนาคต โดยเครื่อง
เจาะลึกอุตสาหกรรมเด่นขานรับโครงการ EEC
นโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ Eastern Economic Corridor
(EEC) เป็นเครื่องมือส�ำคัญที่ภาครัฐใช้ดึงดูดการลงทุนใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายเพื่อใช้ขับเคลื่อน
ประเทศ นโยบายดังกล่าวเป็นการก�ำหนดบทบาทและหน้าที่ของภาครัฐและกรอบในการพัฒนาพื้นที่
น�ำร่อง 3 จังหวัด ได้แก่ ระยอง ชลบุรี และฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นฐานอุตสาหกรรมการผลิตที่ส�ำคัญของ
ประเทศในปัจจุบัน เพื่อสร้างแรงดึงดูดระลอกใหม่ให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนใน 10 อุตสาหกรรม
เป้าหมาย ซึ่งแบ่งเป็น 5 อุตสาหกรรมที่มีการลงทุนและมีการด�ำเนินการแล้วในปัจจุบันหรือ
กลุ่มอุตสาหกรรม First S-Curve และ 5 อุตสาหกรรมแห่งอนาคต หรือกลุ่มอุตสาหกรรม New
S-Curve ซึ่งจะสร้างองค์ความรู้ใหม่เพื่อพัฒนาประเทศในอนาคต
เรียบเรียงจาก : วารสาร Insight ของธนาคารไทยพาณิชย์ Economic Intelligence Center (EIC)
บินล�ำตัวแคบที่สายการบินต้นทุนต�่ำเลือกใช้มีสัดส่วนกว่า 70%
ของเครื่องบินที่ผ่านสนามบินเข้าออกของไทยทั้งหมดและมี
ปริมาณจะเติบโตอีกกว่า 1.5 เท่าในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รวมถึง
การพัฒนาท่าอากาศยานอู่ตะเภาเพื่อรองรับการท่องเที่ยว จะเป็น
แรงผลักดันส�ำคัญต่อผู้ประกอบการไทยในการซ่อมบ�ำรุงอากาศยาน
และการผลิตชิ้นส่วนอากาศยานในประเภทชิ้นส่วนหลัก (กลุ่ม
Tier 2) และชิ้นส่วนรอง (กลุ่ม Tier 3) ซึ่งในปัจจุบัน ไทยมีมูลค่า
การส่งออกชิ้นส่วนอากาศยานกว่า 50,000 ล้านบาทต่อปี โดยแบ่ง
เป็นมูลค่าการส่งออกชิ้นส่วนอากาศยานราว 60% ชุดระบบสายไฟ
ราว 30% และที่เหลือเป็นส่วนประกอบเครื่องยนต์และยางล้อ
เครื่องบิน
ภาพประกอบที่ 1: 3 อุตสาหกรรมแห่งอนาคต
ภาพประกอบที่ 1 : 3 อุตสาหกรรมแห่งอนาคต
้
้
้
้
้
IT TRENDS | SMART THAILAND14
แนวโน้มอุตสาหกรรมการซ่อมบ�ำรุงอากาศยาน
ความต้องการด้านการซ่อมบ�ำรุงอากาศยานในภูมิภาคเอเชีย
แปซิฟิกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามปริมาณการเดินทางทางอากาศ
ขณะที่ขีดความสามารถในการซ่อมบ�ำรุงมีจ�ำกัดจึงเป็นโอกาสของ
ไทยในการพัฒนาอุตสาหกรรมการบิน ด้วยเศรษฐกิจในภูมิภาค
เอเชียแปซิฟิกที่มีแนวโน้มเติบโตประมาณ 4%CAGR ในอีก 20 ปี
ข้างหน้าจะส่งผลให้ภูมิภาคนี้มีการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงที่สุดใน
โลก และท�ำให้ปริมาณการเดินทางทางอากาศปรับตัวเพิ่มขึ้นตาม
ไปด้วย
การพัฒนาตามนโยบายดังกล่าว
โดยระยะแรกศูนย์MRO(ศูนย์ซ่อมบ�ำรุงอากาศยาน)จะเป็น
โครงการที่ได้รับการพัฒนาขึ้นก่อน จากความร่วมมือของบริษัท
การบินไทย บริษัทผู้ผลิตเครื่องบิน Airbus และหน่วยงานภาครัฐ
ธุรกิจซ่อมบ�ำรุงและการผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน
เมื่อกล่าวถึงอุตสาหกรรมการบิน ธุรกิจแรกที่คนส่วนใหญ่
นึกถึงคือสายการบินเนื่องจากเป็นธุรกิจที่ใกล้ตัวผู้บริโภคมากที่สุด
อย่างไรก็ตาม ภายในห่วงโซ่มูลค่าของอุตสาหกรรมการบินยังมี
ธุรกิจอื่นๆ ที่น่าสนใจอยู่อีกหลายธุรกิจ เช่น ธุรกิจการผลิตชิ้นส่วน
อากาศยานธุรกิจการซ่อมบ�ำรุงอากาศยาน(Maintenance,Repair
and Overhaul: MRO) ธุรกิจตัวแทนขนส่งสินค้า (freight for-
warder) ธุรกิจตัวแทนท่องเที่ยว เป็นต้น โดยห่วงโซ่มูลค่าของ
อุตสาหกรรมการบิน ประกอบด้วย 4 กลุ่มหลัก ดังภาพประกอบ 3
ส�ำหรับไทยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา การเติบโตของจ�ำนวน
นักท่องเที่ยวปรับตัวสูงกว่า 7%CAGR มาอยู่ที่ราว 35 ล้านคนใน
ปี 2017 และคาดว่าจะเติบโตต่อเนื่องกว่า 4.5%CAGR ในอีก 3 ปี
ข้างหน้าส่งผลให้มีปริมาณเครื่องบินเข้ามาในไทยเพิ่มสูงขึ้นท�ำให้
ความต้องการในการซ่อมบ�ำรุงเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วยทั้งในรูปแบบ
การซ่อมบ�ำรุงย่อยในแต่ละครั้งที่transitและการซ่อมบ�ำรุงขนาดใหญ่
ซึ่งจะเป็นโอกาสในการก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมของไทยที่จะช่วย
ประหยัดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการเดินทางเพื่อไปซ่อมที่ประเทศอื่น
ด้วยความได้เปรียบทางด้านที่ตั้งของไทยซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อการบิน
ภายในกับASEANอีกทั้งบริเวณEECยังเป็นจุดเชื่อมต่อไปยังการ
ขนส่งในรูปแบบอื่นๆทั้งทางรางทางเรือและทางถนนประกอบกับ
ฐานอุตสาหกรรมที่มีอยู่และแรงงานที่มีความสามารถ
การพัฒนาอุตสาหกรรมการบินในบริเวณ EEC
จากพลวัตที่ได้กล่าวข้างต้น ภาครัฐจึงมุ่งสร้างให้อู่ตะเภา
กลายเป็นเมืองการบินภาคตะวันออก(Aerotropolis)คล้ายคลึงกับ
Schipholเนเธอร์แลนด์,Songdoเกาหลีใต้,และZhengzhouจีน
ซึ่งกลายเป็นศูนย์กลางการขนส่งที่ส�ำคัญและก่อให้เกิดการพัฒนา
เมืองโดยรอบพื้นที่กว่า6,500ไร่ของสนามบินอู่ตะเภาจ.ชลบุรี ถูก
จัดวางให้เป็นจุดยุทธศาสตร์ใน
ภาพประกอบที่ 2 : การเติบโตของการเดินทางทางอากาศ
ภาพประกอบที่ 3: ห่วงโซ่มูลค่าอุตสาหกรรมการบิน 4 กลุ่ม
การจัดตั้งศูนย์ MRO ถือเป็นก้าวแรกของไทยในการเข้าร่วม
อุตสาหกรรมการบิน ทั้งในส่วนการซ่อมบ�ำรุงและการผลิตชิ้นส่วน
อากาศยาน อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการควรมีการปรับตัวเตรียมเข้า
สู่ห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมดังกล่าว ในส่วนการซ่อมบ�ำรุง
ผู้ประกอบการต้องมีการฝึกฝนและพัฒนาวิศวกรและช่างซ่อมบ�ำรุง
ด้านการบินเพื่อให้ผ่านหลักสูตรการซ่อมบ�ำรุงอากาศยานจาก
หน่วยงานควบคุมระดับโลกส่วนผู้ประกอบการที่ต้องการเข้าสู่ธุรกิจ
ผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน ต้องสร้างความน่าเชื่อของผลิตภัณฑ์
และเร่งพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตให้ทันเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการ
บินโลก
EIC มองว่า เงื่อนไขส�ำคัญที่จะท�ำให้เมืองการบินภาคตะวัน
ออกส�ำเร็จได้ตามแผนที่วางไว้ ประกอบด้วย ความร่วมมือจาก
ผู้เล่นชั้นน�ำการพัฒนาบุคลากรและการเป็นจุดเชื่อมต่อการขนส่ง
ขณะที่บุคลากรด้านการบินยังคงเป็นประเด็นส�ำคัญที่ภาครัฐจะ
ต้องเร่งพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการ ที่คาดว่าจะปรับ
เพิ่มขึ้นถึง 6 เท่าในอนาคต
SMART THAILAND | IT TRENDS 15
อย่างไรก็ดี ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอากาศยานยังคง
เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ส�ำคัญต่อธุรกิจ MRO และธุรกิจผลิตชิ้นส่วน
อากาศยานที่จะท�ำให้ความถี่ในการเข้าซ่อมบ�ำรุงลดลง
อุตสาหกรรมดิจิทัล
โอกาสที่มาพร้อมความเข้าใจ
โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลจะสร้างแรงดึงดูดการลงทุนด้าน
InternetofThings(IoT)ซึ่งจะสรางโอกาสต่อผู้ประกอบการในการ
พัฒนา IoT solution ในอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งปัจจุบันการใช้จ่าย
ด้าน IoT ของไทยยังกระจุกตัวอยู่ที่อุตสาหกกรรมการผลิตและ
โลจิสติกส์ขณะที่ภาคการเกษตรยังไม่มีการใช้เทคโนโลยีนี้มากนัก
สะท้อนจากสัดกส่วนการใช้ Embedded Software ซึ่งเป็น
เทคโนโลยีที่ช่วยให้อุปกรณ์ต่างๆมีความสามารถในการสื่อสารใน
การเกษตรที่มีการใช้เพียง 0.1% ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมการผลิต
มีการใช้ถึง76%ของอุปกรณ์ทั้งหมดEICประเมินว่าหากมีการใช้
IoTในการเกษตรเพื่อควบคุมการให้น�้ำการควบคุมโรคและศัตรูพืช
และการติดตามสภาพดิน จะสามารถเพิ่มผลผลิตต่อไร่ได้ถึง 30-
50%และหากน�ำไปใช้กับพืชเศรษฐกิจเช่นข้าวจะท�ำให้เกษตรกร
ไทยสามารถเพิ่มผลผลิตได้ใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยโลก ซึ่งผลผลิต
ต่อไร่ของข้าวอยู่ที่ 480 กิโลกรัมต่อไร่
อย่างไรก็ตาม พบว่าอุตสาหกรรมการเกษตรซึ่งเป็น
อุตสาหกรรมส�ำคัญของไทยมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่ต�่ำ
กว่าอุตสาหกรรมการผลิตอย่างมาก ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้ว
อย่างสหรัฐฯ และญี่ปุ่นมีการน�ำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในภาค
การเกษตรอย่างเข้มข้น ปัจจุบันกว่า 70% ของการใช้เทคโนโลยี
ดิจิทัลภาคการเกษตรทั่วโลกกระจุกตัวอยู่ในสหรัฐฯ โดยเกษตรกร
มีการน�ำ IoT, หุ่นยนต์ และเทคโนโลยี GPS มาใช้เพื่อเพิ่ม
ประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิต
ภาพประกอบ 4 : IoT กับการเกษตรไทย
ภาพประกอบที่ 5 : IoT Solution ด้านการเกษตรไทย
การเกษตรแบบแม่นย�ำ นอกจากการประยุกต์ใช้ IoT เป็นอีก
ทางเลือกหนึ่งที่จะบรรเทาปัญหาของเกษตรกรไทยในปัจจุบันทั้งนี้
3 IoT solutions ที่เกษตรกรควรน�ำมาประยุกต์ใช้ คือ
1) การควบคุมการให้น�้ำ (Water Controlling) สามารถช่วย
เกษตรกรที่ต้องเผชิญกับปัญหาภัยแล้งและการใช้น�้ำมากเกินความ
จ�ำเป็น
2) การควบคุมโรคและศัตรูพืช (Pest and Disease Control
System) ซึ่งสามารถลดต้นทุนการใช้สารเคมีก�ำจัดศัตรูพืชได้ถึง
25% และช่วยลดการน�ำเข้าสารเคมีทางการเกษตร
3) การติดตามสภาพดิน (Soil Monitoring) ส่งผลให้การ
น�ำเข้าปุ๋ ยเคมีลดลง เนื่องจาก IoT สามารถช่วยให้เกษตรกร
ประมาณการณ์การใช้ปุ๋ ยได้อย่างเหมาะสม
ภาครัฐควรส่งเสริมและให้ความรูแก่เกษตรกรและร่วมมือกับ
ผู้ประกอบการเพื่อวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางการเกษตร
EEC กับอุตสาหกรรมดิจิทัล
การปรับตัวของภาคธุรกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นสิ่งส�ำคัญ
มากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมดิจิทัลมีการประยุกต์ใช้
เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเข้มข้นซึ่งประกอบด้วยสินค้าดิจิทัลบริการ
ดิจิทัล และโครงสรางพื้นฐานดิจิทัล
้
้
้
IT TRENDS | SMART THAILAND16
อุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติผ่านมาตรการกระตุ้นทั้ง
ด้านอุปสงค์และอุปทาน
เมื่อเปรียบเทียบระหว่างประโยชน์กับต้นทุนจากการใช้งาน
หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ประกอบกับปัญหาการขาดแคลน
แรงงาน และราคาหุ่นยนต์ที่มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง EIC
ประเมินว่า การลงทุนในหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติอยู่ในระดับ
คุ้มค่าแก่การลงทุนแล้วในปัจจุบัน และคาดว่าจะส่งผลให้ความ
ต้องการใช้ระบบดังกล่าวในสายการผลิตขยายตัวอย่างต่อเนื่องใน
อนาคต ซึ่งถือเป็นโอกาสของ SI และ End-Users ขณะที่ภาครัฐ
ภาคเอกชน และหน่วยงานต่างๆ ควรมุ่งพัฒนาทักษะแรงงาน เพื่อ
บรรเทาผลกระทบจากการถูกแทนที่ด้วยหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ
ในสายการผลิต
จากนโยบายและความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน
คมนาคมและสาธารณูปโภคต่างๆ ที่กล่าวมาแล้ว ภาครัฐยัง
ควรต้องมีการสร้างความเชื่อมั่นต่อนักลงทุน การสร้าง
แรงงานที่มีทักษะเหมาะสม และการเตรียมพร้อมด้านสังคม
และสิ่งแวดล้อม การประชาสัมพันธ์ต่อนักลงทุนตั้งแต่
กระบวนการขออนุญาต จนถึงการอนุมัติการลงทุนและการ
ด�ำเนินกิจการ รวมทั้งการให้ข้อมูลทางด้านสภาพเศรษฐกิจ
กายภาพและสังคมซึ่งเป็นอีกกระบวนการหนึ่งที่ส�ำคัญที่ภาค
รัฐไม่ควรมองข้าม
ระยะเริ่มต้นDigitalParkThailandถูกก�ำหนดให้เป็นโครงการ
flagship บนพื้นที่ EEC เพื่อดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมดิจิทัล
โดยมีการก�ำหนดพื้นที่กว่า700ไร่ในบริเวณอ.ศรีราชาจ.ชลบุรีและ
แบ่งการพัฒนาเป็น 3 ส่วนหลัก ได้แก่ 1) พื้นที่สรางสรรค์นวัตกรรม
ดิจิทัล ศูนย์กลางการเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีดิจิทัล
มหาวิทยาลัยและสถาบันสร้างสรรค์นวัตกรรมดิจิทัล เช่น IoT
Institute 2) พื้นที่ลงทุนส�ำหรับธุรกิจดิจิทัลต่างประเทศที่ต้องการ
เข้ามาลงทุนในไทย และ 3) พื้นที่ที่อยู่อาศัยภายใต้ระบบอัจฉริยะ
EIC ประเมินว่าเมื่อโครงสรางพื้นฐานดิจิทัลเสร็จสมบูรณ์ การ
ลงทุนด้าน IoT (Internet of Things) มีแนวโน้มที่จะเกิดตามมา
ท่ามกลางธุรกิจดิจิทัลซึ่งประกอบด้วย1)ธุรกิจพัฒนาและให้บริการ
ซอฟต์แวร์2)ธุรกิจe-Commerce3)ธุรกิจศูนย์รวบรวมและวิเคราะห์
ข้อมูลผู้บริโภค (analytics and data center) 4) ธุรกิจให้บริการ
เกี่ยวกับหน่วยจัดเก็บข้อมูลและการประมวลผลออนไลน์ (cloud
computing) และธุรกิจป้องกันอันตรายในโลกไซเบอร์ (cyber
security) และ 5) ธุรกิจพัฒนาเทคโนโลยีเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
ของอุปกรณ์ต่างๆ (IoT) EIC มองว่าปัจจัยสนับสนุนด้านโครงสราง
พื้นฐานดิจิทัลใน Digital Park Thailand ไม่ว่าจะเป็น IoT Institute
รวมถึงการผ่อนคลายกฎระเบียบและการมีสนามทดลอง (living
lab & testbed sandbox) ล้วนสนับสนุนให้เกิดการออกแบบ วิจัย
ค้นคว้าพัฒนาที่สนับสนุนธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับIoTส่งผลให้การลงทุน
ในธุรกิจด้าน IoT มีแนวโน้มขยายตัวมากกว่าธุรกิจอื่นๆ
อุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ
โอกาสที่มาพร้อมกับความเสี่ยง
ความคุ้มค่าของการลงทุนในหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติใน
ปัจจุบันและการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุจึงเป็นโอกาสให้ผู้ประกอบการ
ไทยก้าวเข้าสู่ธุรกิจผู้ให้บริการด้านการรวมระบบ(SystemIntegra-
tor: SI) โดยเมื่อพิจารณาถึงความสามารถในการทดแทนแรงงาน
และค่าใช้จ่ายในการลงทุน EIC พบว่าการใช้ระบบหุ่นยนต์
และระบบอัตโนมัติจะคุ้มทุนภายในระยะเวลา 6-10 ปี ขณะที่
หุ่นยนต์อุตสาหกรรมในปัจจุบันมีอายุการใช้งานสูงสุดราว12ปี จะ
สรางโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยก้าวเข้าสู่ธุรกิจผู้ให้บริการด้านการ
รวมระบบ (System Integrator: SI) ซึ่งท�ำหน้าที่ให้ค�ำปรึกษา
ออกแบบและจัดหาระบบอัตโนมัติจากผู้ผลิตหุ่นยนต์และผู้พัฒนา
ซอฟต์แวร์มาติดตั้งตามความต้องการของEndUsersซึ่งในอนาคต
แรงงานกว่า6.5แสนคนมีโอกาสที่จะถูกทดแทนหากมีการน�ำระบบ
ดังกล่าวมาใช้อย่างเต็มรูปแบบ แต่ก็จะมีการสรางงานใหม่ที่
เกี่ยวข้องมากขึ้นเช่นกัน
ความต้องการใช้หุ่นยนต์ทั่วโลกมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อ
เนื่องโดยมีแรงผลักดันจากการขาดแคลนแรงงานและการปรับตัว
ลงของราคาหุ่นยนต์ส�ำหรับประเทศไทยการขาดแคลนแรงงานและ
แนวโน้มค่าแรงที่สูงขึ้น ส่งผลให้รัฐบาลไทยมีนโยบายส่งเสริม
ภาพประกอบที่ 6: อุตสาหกรรมหุ่นยนต์
้
้
้
้
้
SMART THAILAND | IT TRENDS 17
DIGITAL
TRANSFORMATION
กลยุทธ์ 5 ด้านกับการท�ำ
มาพร้อมพื้นฐานด้าน
BUSINESS BACKBONE photo : www.freepik.com
IT TRENDS | DIGITAL TRANSFORMATION18
รศ.ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์
ผู้อ�ำนวยการสถาบันไอเอ็มซี
หลายๆ ภาคส่วนเริ่มพูดถึงเรื่อง Digital Transformation กันมาก บางครั้ง
ก็เอาเทคโนโลยีเป็นตัวน�ำโดยเฉพาะเรื่อง Emerging Digital Technologies อย่าง
Internet of things (IoT), AI (Artificial Intelligence), Big Data, Social Media
หรือ Cloud Computing และพยายามที่จะให้ทีมไอที หรือผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีเป็น
คนขับเคลื่อนเรื่องนี้
แต่โดยแท้จริงแล้ว “Digital
Transformation ไม่ใช่เรื่องของ
เทคโนโลยี แต่เป็นเรื่องของกลยุทธ์
ภาวะการเป็นผู้น�ำและแนวทางในการ
คิดสิ่งใหม่ๆ” ผมเองได้อ่านหนังสือ
เรื่อง The Digital Transformation
Playbook: Rethink Your Business
for the Digital Age ของ David L.
Rogers และได้ดู YouTube ที่ผู้เขียน
บรรยายในหัวข้อDigitalTransforma-
tion:DrivingChangeinYourOrga-
nizationเขาได้น�ำเสนอโดเมน5ด้าน
ที่เป็นหลักส�ำคัญของ Digital Trans-
formationคือCustomers,Competi-
tion, Data, Innovation และ Value ที่
ก�ำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ดังนี้
•	ลูกค้า (Customer) ก�ำลังกลายเป็นเครือข่ายแบบพลวัต
(Dynamic network) มีการสื่อสารสองทาง ซึ่งมีพลังในการ
ชักจูงและตัดสินใจกันเองมากกว่าการตลาดวิธีเดิมๆ
•	การแข่งขัน (Competition) ที่คู่แข่งอาจมาจากต่าง
อุตสาหกรรม และเส้นแบ่งระหว่างความเป็นคู่แข่งกับ
คู่ค้าเริ่มไม่ชัดเจนจึงต้องสร้างความร่วมมือกับคู่แข่งมากขึ้น
ภาพปกหนังสือ The Digital
Transformation Playbook:
Rethink Your Business for the
Digital Age
•	ข้อมูล(Data)จะถูกสรางขึ้นมาอย่างต่อเนื่องและกลายเป็น
สินทรัพย์ที่ส�ำคัญขององค์กร จึงจ�ำเป็นจะต้องใช้ข้อมูลให้
เกิดคุณค่า
•	นวัตกรรม(Innovation)เป็นความท้าทายที่องค์กรต้องมีและ
ต้องเรียนรู้ในการสรางนวัตกรรมใหม่ได้อย่างรวดเร็วด้วย
ต้นทุนต�่ำ
•	คุณค่า (Value) ที่ส่งมอบให้ลูกค้าจะถูกก�ำหนดด้วยความ
ต้องการของลูกค้ามากกว่าก�ำหนดโดยกลไกของอุตสาหกรรม
ในอดีต จึงจ�ำเป็นจะต้องพัฒนาสินค้าและบริการอยู่ตลอด
เวลา
ซึ่งในหนังสือผู้เขียนได้กล่าวถึงกลยุทธ์การท�ำDigitalTransfor-
	 mation จาก 5 ด้านนี้
Customer: ใช้พลังจากเครือข่ายลูกค้า
Competition: สรางแพลตฟอร์ตไม่ใช่สรางโปรดักส์
Data: เปลี่ยนข้อมูลเป็นทรัพย์สิน
Innovation: สรางนวัตกรรมด้วยการทดลองอย่างรวดเร็ว
Value: ปรับเปลี่ยนคุณค่าที่ส่งมอบให้ลูกค้า
ผู้สนใจสามารถเข้าไปดู YouTube ตามที่ผมแนะน�ำหรือ
อาจหาหนังสือมาอ่านเพิ่มเติม ซึ่งในหนังสือก็จะมีเครื่องมือต่างๆ
ที่ช่วยท�ำให้เราพัฒนากลยุทธ์ใน 5 ด้านนี้ได้ดีขึ้น
้
้
้
้
้
DIGITAL TRANSFORMATION | IT TRENDS 19
นิตยสาร IT Trends ของ  IMC Institute  Vol. 3 No 8 ฉบับเดือนมกราคม - เมษายน 2018
นิตยสาร IT Trends ของ  IMC Institute  Vol. 3 No 8 ฉบับเดือนมกราคม - เมษายน 2018
นิตยสาร IT Trends ของ  IMC Institute  Vol. 3 No 8 ฉบับเดือนมกราคม - เมษายน 2018
นิตยสาร IT Trends ของ  IMC Institute  Vol. 3 No 8 ฉบับเดือนมกราคม - เมษายน 2018
นิตยสาร IT Trends ของ  IMC Institute  Vol. 3 No 8 ฉบับเดือนมกราคม - เมษายน 2018
นิตยสาร IT Trends ของ  IMC Institute  Vol. 3 No 8 ฉบับเดือนมกราคม - เมษายน 2018
นิตยสาร IT Trends ของ  IMC Institute  Vol. 3 No 8 ฉบับเดือนมกราคม - เมษายน 2018
นิตยสาร IT Trends ของ  IMC Institute  Vol. 3 No 8 ฉบับเดือนมกราคม - เมษายน 2018
นิตยสาร IT Trends ของ  IMC Institute  Vol. 3 No 8 ฉบับเดือนมกราคม - เมษายน 2018
นิตยสาร IT Trends ของ  IMC Institute  Vol. 3 No 8 ฉบับเดือนมกราคม - เมษายน 2018
นิตยสาร IT Trends ของ  IMC Institute  Vol. 3 No 8 ฉบับเดือนมกราคม - เมษายน 2018
นิตยสาร IT Trends ของ  IMC Institute  Vol. 3 No 8 ฉบับเดือนมกราคม - เมษายน 2018
นิตยสาร IT Trends ของ  IMC Institute  Vol. 3 No 8 ฉบับเดือนมกราคม - เมษายน 2018
นิตยสาร IT Trends ของ  IMC Institute  Vol. 3 No 8 ฉบับเดือนมกราคม - เมษายน 2018
นิตยสาร IT Trends ของ  IMC Institute  Vol. 3 No 8 ฉบับเดือนมกราคม - เมษายน 2018
นิตยสาร IT Trends ของ  IMC Institute  Vol. 3 No 8 ฉบับเดือนมกราคม - เมษายน 2018
นิตยสาร IT Trends ของ  IMC Institute  Vol. 3 No 8 ฉบับเดือนมกราคม - เมษายน 2018
นิตยสาร IT Trends ของ  IMC Institute  Vol. 3 No 8 ฉบับเดือนมกราคม - เมษายน 2018
นิตยสาร IT Trends ของ  IMC Institute  Vol. 3 No 8 ฉบับเดือนมกราคม - เมษายน 2018
นิตยสาร IT Trends ของ  IMC Institute  Vol. 3 No 8 ฉบับเดือนมกราคม - เมษายน 2018
นิตยสาร IT Trends ของ  IMC Institute  Vol. 3 No 8 ฉบับเดือนมกราคม - เมษายน 2018

More Related Content

What's hot

บทความ The evolution of AI
บทความ The evolution of AIบทความ The evolution of AI
บทความ The evolution of AIIMC Institute
 
Thailand software & software market survey 2016
Thailand software & software market survey 2016Thailand software & software market survey 2016
Thailand software & software market survey 2016IMC Institute
 
แนวทางการทำ Digital transformation
แนวทางการทำ Digital transformationแนวทางการทำ Digital transformation
แนวทางการทำ Digital transformationIMC Institute
 
มูลค่าตลาดดิจิทัลไทย 3 อุตสาหกรรม
มูลค่าตลาดดิจิทัลไทย 3 อุตสาหกรรมมูลค่าตลาดดิจิทัลไทย 3 อุตสาหกรรม
มูลค่าตลาดดิจิทัลไทย 3 อุตสาหกรรมIMC Institute
 
IT Trends eMagazine Vol 4. No.11
IT Trends eMagazine  Vol 4. No.11IT Trends eMagazine  Vol 4. No.11
IT Trends eMagazine Vol 4. No.11IMC Institute
 
นิตยสาร Digital Trends ฉบับที่ 14
นิตยสาร Digital Trends ฉบับที่ 14นิตยสาร Digital Trends ฉบับที่ 14
นิตยสาร Digital Trends ฉบับที่ 14IMC Institute
 
Slide งานแถลงข่าวของ IMC Institute และ Optimus (Thailand) เรื่อง IT Trends 2018
Slide  งานแถลงข่าวของ IMC Institute และ Optimus (Thailand) เรื่อง IT Trends 2018Slide  งานแถลงข่าวของ IMC Institute และ Optimus (Thailand) เรื่อง IT Trends 2018
Slide งานแถลงข่าวของ IMC Institute และ Optimus (Thailand) เรื่อง IT Trends 2018IMC Institute
 
เพราะเหตุใด Digitization ไม่ตอบโจทย์ Digital Transformation
เพราะเหตุใด Digitization ไม่ตอบโจทย์ Digital Transformationเพราะเหตุใด Digitization ไม่ตอบโจทย์ Digital Transformation
เพราะเหตุใด Digitization ไม่ตอบโจทย์ Digital TransformationIMC Institute
 
Digital Transformation in Business_RMUTSB_28_feb2019_dr.arnut
Digital Transformation in Business_RMUTSB_28_feb2019_dr.arnutDigital Transformation in Business_RMUTSB_28_feb2019_dr.arnut
Digital Transformation in Business_RMUTSB_28_feb2019_dr.arnutAsst.Prof.Dr.Arnut Ruttanatirakul
 
Digital transformation -Management-nonthaburi_28_feb2019_dr.arnut
Digital transformation -Management-nonthaburi_28_feb2019_dr.arnutDigital transformation -Management-nonthaburi_28_feb2019_dr.arnut
Digital transformation -Management-nonthaburi_28_feb2019_dr.arnutAsst.Prof.Dr.Arnut Ruttanatirakul
 
บทความ Big Data จากบล็อก thanachart.org
บทความ Big Data จากบล็อก thanachart.orgบทความ Big Data จากบล็อก thanachart.org
บทความ Big Data จากบล็อก thanachart.orgIMC Institute
 
Ayutthaya gov project_internet_marketing_by_dr_arnut_10july2018_dr.arnut - share
Ayutthaya gov project_internet_marketing_by_dr_arnut_10july2018_dr.arnut - shareAyutthaya gov project_internet_marketing_by_dr_arnut_10july2018_dr.arnut - share
Ayutthaya gov project_internet_marketing_by_dr_arnut_10july2018_dr.arnut - shareAsst.Prof.Dr.Arnut Ruttanatirakul
 
Mobile User and App Analytics in China
Mobile User and App Analytics in ChinaMobile User and App Analytics in China
Mobile User and App Analytics in ChinaIMC Institute
 
It’s showtime! ได้เวลาแสดงแล้ว
It’s showtime! ได้เวลาแสดงแล้วIt’s showtime! ได้เวลาแสดงแล้ว
It’s showtime! ได้เวลาแสดงแล้วmaruay songtanin
 
Innovation in crisis FTPI 02072021
Innovation in crisis FTPI 02072021Innovation in crisis FTPI 02072021
Innovation in crisis FTPI 02072021pantapong
 
สรุปผลจากการเสวนา อุตสาหกรรม IT พบสื่อ: Digital Economy
สรุปผลจากการเสวนา อุตสาหกรรม IT พบสื่อ: Digital Economy สรุปผลจากการเสวนา อุตสาหกรรม IT พบสื่อ: Digital Economy
สรุปผลจากการเสวนา อุตสาหกรรม IT พบสื่อ: Digital Economy IMC Institute
 

What's hot (20)

บทความ The evolution of AI
บทความ The evolution of AIบทความ The evolution of AI
บทความ The evolution of AI
 
Thailand software & software market survey 2016
Thailand software & software market survey 2016Thailand software & software market survey 2016
Thailand software & software market survey 2016
 
แนวทางการทำ Digital transformation
แนวทางการทำ Digital transformationแนวทางการทำ Digital transformation
แนวทางการทำ Digital transformation
 
มูลค่าตลาดดิจิทัลไทย 3 อุตสาหกรรม
มูลค่าตลาดดิจิทัลไทย 3 อุตสาหกรรมมูลค่าตลาดดิจิทัลไทย 3 อุตสาหกรรม
มูลค่าตลาดดิจิทัลไทย 3 อุตสาหกรรม
 
IT Trends eMagazine Vol 4. No.11
IT Trends eMagazine  Vol 4. No.11IT Trends eMagazine  Vol 4. No.11
IT Trends eMagazine Vol 4. No.11
 
นิตยสาร Digital Trends ฉบับที่ 14
นิตยสาร Digital Trends ฉบับที่ 14นิตยสาร Digital Trends ฉบับที่ 14
นิตยสาร Digital Trends ฉบับที่ 14
 
Slide งานแถลงข่าวของ IMC Institute และ Optimus (Thailand) เรื่อง IT Trends 2018
Slide  งานแถลงข่าวของ IMC Institute และ Optimus (Thailand) เรื่อง IT Trends 2018Slide  งานแถลงข่าวของ IMC Institute และ Optimus (Thailand) เรื่อง IT Trends 2018
Slide งานแถลงข่าวของ IMC Institute และ Optimus (Thailand) เรื่อง IT Trends 2018
 
เพราะเหตุใด Digitization ไม่ตอบโจทย์ Digital Transformation
เพราะเหตุใด Digitization ไม่ตอบโจทย์ Digital Transformationเพราะเหตุใด Digitization ไม่ตอบโจทย์ Digital Transformation
เพราะเหตุใด Digitization ไม่ตอบโจทย์ Digital Transformation
 
Digital Transformation in Business_RMUTSB_28_feb2019_dr.arnut
Digital Transformation in Business_RMUTSB_28_feb2019_dr.arnutDigital Transformation in Business_RMUTSB_28_feb2019_dr.arnut
Digital Transformation in Business_RMUTSB_28_feb2019_dr.arnut
 
IoT for business huntra-seminar_26mar2019_dr.arnut
IoT for business huntra-seminar_26mar2019_dr.arnutIoT for business huntra-seminar_26mar2019_dr.arnut
IoT for business huntra-seminar_26mar2019_dr.arnut
 
Digital transformation isbc huntra 7_nov2018_dr.arnut_sh
Digital transformation isbc huntra 7_nov2018_dr.arnut_shDigital transformation isbc huntra 7_nov2018_dr.arnut_sh
Digital transformation isbc huntra 7_nov2018_dr.arnut_sh
 
Digital transformation -Management-nonthaburi_28_feb2019_dr.arnut
Digital transformation -Management-nonthaburi_28_feb2019_dr.arnutDigital transformation -Management-nonthaburi_28_feb2019_dr.arnut
Digital transformation -Management-nonthaburi_28_feb2019_dr.arnut
 
บทความ Big Data จากบล็อก thanachart.org
บทความ Big Data จากบล็อก thanachart.orgบทความ Big Data จากบล็อก thanachart.org
บทความ Big Data จากบล็อก thanachart.org
 
Ayutthaya gov project_internet_marketing_by_dr_arnut_10july2018_dr.arnut - share
Ayutthaya gov project_internet_marketing_by_dr_arnut_10july2018_dr.arnut - shareAyutthaya gov project_internet_marketing_by_dr_arnut_10july2018_dr.arnut - share
Ayutthaya gov project_internet_marketing_by_dr_arnut_10july2018_dr.arnut - share
 
Modern management techniques in digital economy
Modern management techniques in digital economyModern management techniques in digital economy
Modern management techniques in digital economy
 
IT4Life-RUS-rwasukri-24may2019_dr.arnut
IT4Life-RUS-rwasukri-24may2019_dr.arnutIT4Life-RUS-rwasukri-24may2019_dr.arnut
IT4Life-RUS-rwasukri-24may2019_dr.arnut
 
Mobile User and App Analytics in China
Mobile User and App Analytics in ChinaMobile User and App Analytics in China
Mobile User and App Analytics in China
 
It’s showtime! ได้เวลาแสดงแล้ว
It’s showtime! ได้เวลาแสดงแล้วIt’s showtime! ได้เวลาแสดงแล้ว
It’s showtime! ได้เวลาแสดงแล้ว
 
Innovation in crisis FTPI 02072021
Innovation in crisis FTPI 02072021Innovation in crisis FTPI 02072021
Innovation in crisis FTPI 02072021
 
สรุปผลจากการเสวนา อุตสาหกรรม IT พบสื่อ: Digital Economy
สรุปผลจากการเสวนา อุตสาหกรรม IT พบสื่อ: Digital Economy สรุปผลจากการเสวนา อุตสาหกรรม IT พบสื่อ: Digital Economy
สรุปผลจากการเสวนา อุตสาหกรรม IT พบสื่อ: Digital Economy
 

Similar to นิตยสาร IT Trends ของ IMC Institute Vol. 3 No 8 ฉบับเดือนมกราคม - เมษายน 2018

e Magazine ของ IMC Institute Vol.2 No. 6; May-August 2017
e Magazine ของ IMC Institute Vol.2 No. 6; May-August 2017e Magazine ของ IMC Institute Vol.2 No. 6; May-August 2017
e Magazine ของ IMC Institute Vol.2 No. 6; May-August 2017IMC Institute
 
การบริการลูกค้าสัมพันธ์ ในงานห้องสมุด
การบริการลูกค้าสัมพันธ์ ในงานห้องสมุดการบริการลูกค้าสัมพันธ์ ในงานห้องสมุด
การบริการลูกค้าสัมพันธ์ ในงานห้องสมุดMaykin Likitboonyalit
 
Smart Industry Newsletter Vol 30/2559
Smart Industry Newsletter Vol 30/2559Smart Industry Newsletter Vol 30/2559
Smart Industry Newsletter Vol 30/2559Chanpen Thawornsak
 
Trends and Services in Modern Library
Trends and Services in Modern LibraryTrends and Services in Modern Library
Trends and Services in Modern LibraryMaykin Likitboonyalit
 
IMC Institute Press release in Thai
IMC Institute Press release in ThaiIMC Institute Press release in Thai
IMC Institute Press release in ThaiIMC Institute
 
Enterprise Architecture and Agile Organization Management v1076 Danairat
Enterprise Architecture and Agile Organization Management v1076 DanairatEnterprise Architecture and Agile Organization Management v1076 Danairat
Enterprise Architecture and Agile Organization Management v1076 DanairatDanairat Thanabodithammachari
 
Government Technology Foresight 2020
Government Technology Foresight 2020Government Technology Foresight 2020
Government Technology Foresight 2020Prachyanun Nilsook
 
FURD CITIES MONITOR VOL.3 (MAY 2017)
FURD CITIES MONITOR VOL.3 (MAY 2017)FURD CITIES MONITOR VOL.3 (MAY 2017)
FURD CITIES MONITOR VOL.3 (MAY 2017)FURD_RSU
 
Introduction to big data and analytic eakasit patcharawongsakda
Introduction to big data and analytic eakasit patcharawongsakdaIntroduction to big data and analytic eakasit patcharawongsakda
Introduction to big data and analytic eakasit patcharawongsakdaBAINIDA
 
รายงานประจำปี สพธอ. 2556; ETDA Annual Report 2016
รายงานประจำปี สพธอ. 2556; ETDA Annual Report 2016รายงานประจำปี สพธอ. 2556; ETDA Annual Report 2016
รายงานประจำปี สพธอ. 2556; ETDA Annual Report 2016คุณโจ kompat
 
การพัฒนาและการให้บริการห้องสมุดในยุค Thailand 4.0
การพัฒนาและการให้บริการห้องสมุดในยุค Thailand 4.0การพัฒนาและการให้บริการห้องสมุดในยุค Thailand 4.0
การพัฒนาและการให้บริการห้องสมุดในยุค Thailand 4.0Maykin Likitboonyalit
 

Similar to นิตยสาร IT Trends ของ IMC Institute Vol. 3 No 8 ฉบับเดือนมกราคม - เมษายน 2018 (20)

e Magazine ของ IMC Institute Vol.2 No. 6; May-August 2017
e Magazine ของ IMC Institute Vol.2 No. 6; May-August 2017e Magazine ของ IMC Institute Vol.2 No. 6; May-August 2017
e Magazine ของ IMC Institute Vol.2 No. 6; May-August 2017
 
การบริการลูกค้าสัมพันธ์ ในงานห้องสมุด
การบริการลูกค้าสัมพันธ์ ในงานห้องสมุดการบริการลูกค้าสัมพันธ์ ในงานห้องสมุด
การบริการลูกค้าสัมพันธ์ ในงานห้องสมุด
 
Smart industry vol32
Smart industry vol32 Smart industry vol32
Smart industry vol32
 
Smart Industry Newsletter Vol 30/2559
Smart Industry Newsletter Vol 30/2559Smart Industry Newsletter Vol 30/2559
Smart Industry Newsletter Vol 30/2559
 
Trends and Services in Modern Library
Trends and Services in Modern LibraryTrends and Services in Modern Library
Trends and Services in Modern Library
 
IMC Institute Press release in Thai
IMC Institute Press release in ThaiIMC Institute Press release in Thai
IMC Institute Press release in Thai
 
Technology-based Learning
Technology-based LearningTechnology-based Learning
Technology-based Learning
 
Enterprise Architecture and Agile Organization Management v1076 Danairat
Enterprise Architecture and Agile Organization Management v1076 DanairatEnterprise Architecture and Agile Organization Management v1076 Danairat
Enterprise Architecture and Agile Organization Management v1076 Danairat
 
Government Technology Foresight 2020
Government Technology Foresight 2020Government Technology Foresight 2020
Government Technology Foresight 2020
 
Profile cio world
Profile cio worldProfile cio world
Profile cio world
 
FURD CITIES MONITOR VOL.3 (MAY 2017)
FURD CITIES MONITOR VOL.3 (MAY 2017)FURD CITIES MONITOR VOL.3 (MAY 2017)
FURD CITIES MONITOR VOL.3 (MAY 2017)
 
บทที่ 2 ทวีชัย
บทที่ 2 ทวีชัยบทที่ 2 ทวีชัย
บทที่ 2 ทวีชัย
 
Introduction to big data and analytic eakasit patcharawongsakda
Introduction to big data and analytic eakasit patcharawongsakdaIntroduction to big data and analytic eakasit patcharawongsakda
Introduction to big data and analytic eakasit patcharawongsakda
 
Manpower
ManpowerManpower
Manpower
 
บทที่ 2
บทที่ 2บทที่ 2
บทที่ 2
 
Smart industry Vol.35/2562
Smart industry Vol.35/2562Smart industry Vol.35/2562
Smart industry Vol.35/2562
 
ETDA Annual Report 2016
ETDA Annual Report 2016ETDA Annual Report 2016
ETDA Annual Report 2016
 
รายงานประจำปี สพธอ. 2556; ETDA Annual Report 2016
รายงานประจำปี สพธอ. 2556; ETDA Annual Report 2016รายงานประจำปี สพธอ. 2556; ETDA Annual Report 2016
รายงานประจำปี สพธอ. 2556; ETDA Annual Report 2016
 
การพัฒนาและการให้บริการห้องสมุดในยุค Thailand 4.0
การพัฒนาและการให้บริการห้องสมุดในยุค Thailand 4.0การพัฒนาและการให้บริการห้องสมุดในยุค Thailand 4.0
การพัฒนาและการให้บริการห้องสมุดในยุค Thailand 4.0
 
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2558
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2558NSTDA Newsletter ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2558
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2558
 

More from IMC Institute

Digital trends Vol 4 No. 13 Sep-Dec 2019
Digital trends Vol 4 No. 13  Sep-Dec 2019Digital trends Vol 4 No. 13  Sep-Dec 2019
Digital trends Vol 4 No. 13 Sep-Dec 2019IMC Institute
 
IT Trends eMagazine Vol 4. No.12
IT Trends eMagazine  Vol 4. No.12IT Trends eMagazine  Vol 4. No.12
IT Trends eMagazine Vol 4. No.12IMC Institute
 
บทความ The New Silicon Valley
บทความ The New Silicon Valleyบทความ The New Silicon Valley
บทความ The New Silicon ValleyIMC Institute
 
The Power of Big Data for a new economy (Sample)
The Power of Big Data for a new economy (Sample)The Power of Big Data for a new economy (Sample)
The Power of Big Data for a new economy (Sample)IMC Institute
 
บทความ Robotics แนวโน้มใหม่สู่บริการเฉพาะทาง
บทความ Robotics แนวโน้มใหม่สู่บริการเฉพาะทาง บทความ Robotics แนวโน้มใหม่สู่บริการเฉพาะทาง
บทความ Robotics แนวโน้มใหม่สู่บริการเฉพาะทาง IMC Institute
 
Developing Business Blockchain Applications on Hyperledger
Developing Business  Blockchain Applications on Hyperledger Developing Business  Blockchain Applications on Hyperledger
Developing Business Blockchain Applications on Hyperledger IMC Institute
 
Anime recommendation (Big Data Certification#6)
Anime recommendation (Big Data Certification#6)Anime recommendation (Big Data Certification#6)
Anime recommendation (Big Data Certification#6)IMC Institute
 
Telecom Churn analysis (Big Data Certification#6)
Telecom Churn analysis (Big Data Certification#6)Telecom Churn analysis (Big Data Certification#6)
Telecom Churn analysis (Big Data Certification#6)IMC Institute
 
Crime project (Big Data Certification Course #6)
Crime project (Big Data Certification Course #6)Crime project (Big Data Certification Course #6)
Crime project (Big Data Certification Course #6)IMC Institute
 
จัดเตรียมข้อมูลอย่างไรให้เหมาะกับ Machine Learning
จัดเตรียมข้อมูลอย่างไรให้เหมาะกับ Machine Learningจัดเตรียมข้อมูลอย่างไรให้เหมาะกับ Machine Learning
จัดเตรียมข้อมูลอย่างไรให้เหมาะกับ Machine LearningIMC Institute
 
การ์ทเนอร์ คาดการณ์แนวโน้ม 10 Technology 2018
การ์ทเนอร์ คาดการณ์แนวโน้ม  10 Technology 2018การ์ทเนอร์ คาดการณ์แนวโน้ม  10 Technology 2018
การ์ทเนอร์ คาดการณ์แนวโน้ม 10 Technology 2018IMC Institute
 
Thailand IT Trends 2018
Thailand  IT Trends 2018Thailand  IT Trends 2018
Thailand IT Trends 2018IMC Institute
 
IT Trends Vol.2 No .7 นิตยสารของ IMC Institute
IT Trends Vol.2 No .7 นิตยสารของ IMC InstituteIT Trends Vol.2 No .7 นิตยสารของ IMC Institute
IT Trends Vol.2 No .7 นิตยสารของ IMC InstituteIMC Institute
 

More from IMC Institute (13)

Digital trends Vol 4 No. 13 Sep-Dec 2019
Digital trends Vol 4 No. 13  Sep-Dec 2019Digital trends Vol 4 No. 13  Sep-Dec 2019
Digital trends Vol 4 No. 13 Sep-Dec 2019
 
IT Trends eMagazine Vol 4. No.12
IT Trends eMagazine  Vol 4. No.12IT Trends eMagazine  Vol 4. No.12
IT Trends eMagazine Vol 4. No.12
 
บทความ The New Silicon Valley
บทความ The New Silicon Valleyบทความ The New Silicon Valley
บทความ The New Silicon Valley
 
The Power of Big Data for a new economy (Sample)
The Power of Big Data for a new economy (Sample)The Power of Big Data for a new economy (Sample)
The Power of Big Data for a new economy (Sample)
 
บทความ Robotics แนวโน้มใหม่สู่บริการเฉพาะทาง
บทความ Robotics แนวโน้มใหม่สู่บริการเฉพาะทาง บทความ Robotics แนวโน้มใหม่สู่บริการเฉพาะทาง
บทความ Robotics แนวโน้มใหม่สู่บริการเฉพาะทาง
 
Developing Business Blockchain Applications on Hyperledger
Developing Business  Blockchain Applications on Hyperledger Developing Business  Blockchain Applications on Hyperledger
Developing Business Blockchain Applications on Hyperledger
 
Anime recommendation (Big Data Certification#6)
Anime recommendation (Big Data Certification#6)Anime recommendation (Big Data Certification#6)
Anime recommendation (Big Data Certification#6)
 
Telecom Churn analysis (Big Data Certification#6)
Telecom Churn analysis (Big Data Certification#6)Telecom Churn analysis (Big Data Certification#6)
Telecom Churn analysis (Big Data Certification#6)
 
Crime project (Big Data Certification Course #6)
Crime project (Big Data Certification Course #6)Crime project (Big Data Certification Course #6)
Crime project (Big Data Certification Course #6)
 
จัดเตรียมข้อมูลอย่างไรให้เหมาะกับ Machine Learning
จัดเตรียมข้อมูลอย่างไรให้เหมาะกับ Machine Learningจัดเตรียมข้อมูลอย่างไรให้เหมาะกับ Machine Learning
จัดเตรียมข้อมูลอย่างไรให้เหมาะกับ Machine Learning
 
การ์ทเนอร์ คาดการณ์แนวโน้ม 10 Technology 2018
การ์ทเนอร์ คาดการณ์แนวโน้ม  10 Technology 2018การ์ทเนอร์ คาดการณ์แนวโน้ม  10 Technology 2018
การ์ทเนอร์ คาดการณ์แนวโน้ม 10 Technology 2018
 
Thailand IT Trends 2018
Thailand  IT Trends 2018Thailand  IT Trends 2018
Thailand IT Trends 2018
 
IT Trends Vol.2 No .7 นิตยสารของ IMC Institute
IT Trends Vol.2 No .7 นิตยสารของ IMC InstituteIT Trends Vol.2 No .7 นิตยสารของ IMC Institute
IT Trends Vol.2 No .7 นิตยสารของ IMC Institute
 

นิตยสาร IT Trends ของ IMC Institute Vol. 3 No 8 ฉบับเดือนมกราคม - เมษายน 2018

  • 1. VOL.3 NO.8 JANUARY-APRIL 2018 นิตยสารไอที ราย 4 เดือน SMART THAILAND : Thailand 4.0 Reality or Hype ...˹ŒÒ 12 ...˹ŒÒ 22 ...˹ŒÒ 24 ...˹ŒÒ 23 HOT ISSUE : FinTech âÍ¡ÒÊãËÁ‹ã¹»‚ 2018 »‚ 2020 à·¤â¹âÅÂÕ¾ÅÔ¡â©ÁÊÙ‹âÅ¡ãËÁ‹ The Top Ten Cybersecurity Trends and Threats in 2018-2020
  • 2. IT Trends ฉบับขึ้นปีที่ 3 นี้ได้ปรับเปลี่ยนดีไซน์เล็กน้อย เพื่อให้สวยงามอ่านสบายด้วยการเน้นใส่ภาพประกอบมากขึ้น แต่ที่ส�ำคัญยิ่งกว่า คือ การเพิ่มเนื้อหาเพื่อเกาะกระแสที่ก�ำลังเป็น ที่สนใจของคนทั่วไปในยุคนี้ ซึ่งแน่นอนว่าต้องเป็นเรื่อง Digital Transformation และเรื่อง Thailand 4.0 จึงได้เปิดเป็นคอลัมน์ ประจ�ำที่จะน�ำเสนอในทุกๆ ฉบับนับจากนี้ไป คอลัมน์ Digital Transformation จะน�ำเสนอบทความ เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนองค์กร และยุทธศาสตร์ด้านดิจิทัล ขององค์กร เพื่อให้ทันกับยุคสมัยที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาท ส�ำคัญต่อการด�ำเนินธุรกิจหากละเลยเรื่องดิจิทัลอาจหมายความ ถึงการนับถอยหลังเลยทีเดียว ส�ำหรับฉบับนี้พูดถึงเรื่อง “กลยุทธ์ 5ด้านกับการท�ำDigitalTransformation”ซึ่งควรจะต้องมาพร้อม กับพื้นฐานด้าน Business Backbone ที่ดี ระบบพื้นฐานได้แก่ ระบบ ERP, CRM หรือ HR ที่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลาและ ทุกอุปกรณ์ หากขาดส่วนนี้ไปก็จะท�ำการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัล ล�ำบาก และเมื่อต้องการท�ำ Digital Transformation แล้วจะต้อง เพิ่ม Backbone รูปแบบใหม่ที่เรียกว่า Digital Business Backbone ด้วย ส่วนคอลัมน์SmartThailandจะเกาะติดนโยบายThailand 4.0 และโครงการต่างๆ ทั้งโครงการในภาครัฐและการขยับตัว ของภาคเอกชน รวมไปถึงมุมมองความคิดเห็นจากบุคคลต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ และเชื่อว่านโยบายดังกล่าวจะมีความคืบหน้า อย่างต่อเนื่อง ซึ่งในฉบับนี้น�ำเสนอ Thailand 4.0 Reality or Hype เป็น หัวข้อหนึ่งในงานสัมมนา IT Trends 2018 Asia's Rising Power จัดโดยสถาบันไอเอ็มซี บรรยาโดย ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(TDRI)ท่านมอง ในมุมนโยบายและมาตรการส่งเสริมที่จะน�ำไปสู่ผลส�ำเร็จภายใต้ โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ทุกท่านสามารถอ่านบทความทั้งสองได้ในฉบับนี้ นิตยสารไอที ราย 4 เดือน VOL.3 NO.8 JANUARY-APRIL 2018 CONTENTS EDITOR NOTE IT Trends เพิ่มคอลัมน์เกาะติดกระแส นัยนา แย้มอรุณ บรรณาธิการ IMC NEWS3 26 28 29 31 35 39 7 12 18 22 Future of Big Data on Cloud Computing ทางเลือกที่ดีกว่า Thailand 4.0 Reality or Hype เจาะลึกอุตสาหกรรมเด่นขานรับโครงการ EEC กลยุทธ์ 5 ด้านกับการท�ำ Digital Transformation มาพร้อมพื้นฐานด้าน Business Backbone FinTech โอกาสใหม่ในปี 2018 ปี 2020 เทคโนโลยีพลิกโฉมสู่โลกใหม่ The Top Ten Cybersecurity Trends and Threats in 2018-2020 ถ่ายทอดความประทับใจต่อการเรียนการสอนของ สถาบันไอเอ็มซี เรียนรู้ MicroServices ด้วยวิธีเสริมทักษะให้แน่น CEO เชื่อมั่นเศรษฐกิจ-รายได้ปีนี้โต แต่ยังกังวลความเสี่ยงก่อการร้าย-ภัยคุกคาม Hot Issue Special Report Impression Highlight Instructor Survey Training IMC Upcoming Courses Smart Thailand Digital Transformation VOL.3 NO.8 JANUARY-APRIL 2018 นิตยสารไอที ราย 4 เดือน SMART THAILAND : Thailand 4.0 Reality or Hype ...˹ŒÒ 12 ...˹ŒÒ 22 ...˹ŒÒ 24 ...˹ŒÒ 23 HOT ISSUE : FinTech âÍ¡ÒÊãËÁ‹ã¹»‚ 2018 »‚ 2020 à·¤â¹âÅÂÕ¾ÅÔ¡â©ÁÊÙ‹âÅ¡ãËÁ‹ The Top Ten Cybersecurity Trends and Threats in 2018-2020
  • 3. IMC NEWS | IT TRENDS 3 เรื่อง : กองบรรณาธิการ Azure IoT, Machine Learning and Advanced Analytics เมื่อเร็วๆ นี้ สถาบันไอเอ็มซีได้จัดอบรม Azure IoT, Machine Learning and Advanced Analytics ซึ่งได้รับความสนใจ เนื่องจาก IoT สามารถน�ำมาประยุกต์ใช้กับหลายธุรกิจ IoT การอบรมครั้งนี้เน้น Workshop เพื่อให้เห็นว่าการเรียนรู้และใช้งาน IoT ควบคู่กับองค์ ประกอบอื่นอย่าง Machine Learning และ Data Analytics ท�ำได้ อย่างไร และสามารถน�ำมาประยุกต์เข้ากับงานของเราได้ง่ายๆ โดย เฉพาะในเรื่องของDataAnalyticsมีการแนะน�ำไปจนถึงขั้นAdvanced DataAnalyticsด้วยเช่นTextAnalytics,LanguageUnderstanding หรือ Knowledge Exploration เป็นต้น Design Patterns and Code Architecture หลักสูตรนี้เป็นการน�ำเสนอการประยุกต์ใช้ Design Patterns ในรูปแบบลงมือปฏิบัติจริง ซึ่ง นอกจากจะช่วยแก้ปัญหาในการออกแบบ ซอฟต์แวร์แล้ว ยังช่วยแก้ปัญหาในการจัดการ และบ�ำรุงรักษา source code อีกด้วย โดยให้ ความรู้เกี่ยวกับการจัดการและบ�ำรุงรักษาsource codeให้สามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็วตาม การแข่งขันทางธุรกิจ ซึ่งเป็นความท้าทายใหม่ ส�ำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์ อบรมเข้มด้าน Big Data หลักสูตร Big Data Analytics as a Service for Developer สอนหลักการและแนวปฏิบัติในการท�ำ Big Data Analytics ผู้ที่ผ่าน การอบรมสามารถกลับไปท�ำงานในหน่วยงานและสามารถปฏิบัติ ได้จริง โดยสถาบันได้สอนการใช้ PublicCloud อย่าง GoogleCloud Platform ท�ำให้องค์กรเริ่มท�ำ Big Data Project โดยมีค่าใช้จ่ายไม่สูง มากนัก และไม่จ�ำเป็นต้องลงทุนติดตั้ง IT Infrastructure หรือติดตั้ง HadoopCluster นอกจากนี้ผู้เรียนจะได้เรียนรู้หลักการของBigData as a Service และเครื่องมือต่างๆ เช่น Cloud Storage, Hadoop as aServiceอย่างDataProc,การใช้เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ อย่าง Pig, Hive, Spark และ Google BigQuery ระหว่างท�ำ Workshop บรรยากาศระหว่างอบรม บรรยากาศระหว่างอบรม
  • 4. IT TRENDS | IMC NEWS4 ติวเข้มสอบใบรับรอง ISTQB จบไปอีกรุ่นส�ำหรับหลักสูตร ISTQB- Certified Tester Foundation Level (CTFL) Training จัดขึ้นระหว่างวันที่ 23 - 24 ธันวาคม 2017 ที่ผ่านมา ได้รับความสนใจจากหน่วยงงานต่างๆ เป็นหลักสูตรที่ช่วยแนะแนวทางการสอบใบ Certification ของ ISTQB (International Software Testing Qualifications Board) ผู้เรียนได้ท�ำความเข้าใจและเรียนรู้หลักการทดสอบระบบ ขั้นพื้นฐานและได้ทดลองท�ำแบบทดสอบก่อนสอบCertificateจริง ในครั้งนี้ได้รับเกียรติบรรยายโดยอาจารย์ นฤภัทร ก�ำเนิดรัตน์ ก้าวสู่การเป็นนักวิเคราะห์ระบบ การวิเคราะห์ ออกแบบ และบริหารจัดการความต้องการ หรือ Requirement Analysis, Design and Management ช่วยเพิ่มพูนทักษะขั้นพื้นฐานในการเตรียมตัวส�ำหรับผู้ที่ก�ำลัง ก้าวขึ้นเป็นนักวิเคราะห์ระบบ จากข้อมูลในหลายมิติที่ต้องใช้ ประกอบกันเพื่อด�ำเนินการวิเคราะห์ออกแบบนักวิเคราะห์จึงต้อง มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการเก็บข้อมูล และออกแบบให้ได้ ผลลัพธ์ในรูปแบบที่ต้องการซึ่งผู้เรียนได้รู้กระบวนการและขั้นตอน ต่างๆ จนสามารถน�ำไปปฏิบัติได้จริง Microservices with Java Platform สถาบันไอเอ็มซีเปิดสอนการ Design Application และ Back-end API โดยใช้แนวคิด Microservices เมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งเป็นแนวคิดที่ ได้รับความนิยม เนื่องจากเป็นการ Refactor Applicationที่เคยมีขนาดใหญ่ออกเป็น Module ย่อยๆ เพื่อแบ่งและแยกการบริหารจัดการ โดย แต่ละ Module รับผิดชอบงานเฉพาะส่วนของตน ซึ่งหลักสูตรนี้ผู้เรียนสามารถเลือกท�ำ Workshop เป็นภาษา Java, Scala หรือ Kotlin ก็ได้ บรรยากาศระหว่างสัมมนา เรียนอย่างตั้งใจเพิ่มความรู้สู่การเป็นนักวิเคราะห์ เก็บเกี่ยวความรู้ด้วยความตั้งใจ
  • 5. IMC NEWS | IT TRENDS 5 สัมมนาใหญ่ประจ�ำปี IT Trends: Seminar 2018 : Asia’s Rising Power เมื่อกลางเดือนธันวาคมที่ผ่านมา(พ.ศ.2560)สถาบันไอเอ็มซีได้สัมมนาใหญ่ประจ�ำปีของสถาบันในปีนี้ใช้ชื่อITTrends:Seminar2018:Asia’s Rising Power ถ่ายทอดแนวโน้มเทคโนโลยีของปีถัดไป (พ.ศ.2561) ได้รับเกียรติจากกูรูเฉพาะด้านต่างๆ ราว 20 ท่าน ได้แก่ พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ: ประธานกทค.และรองประธานกสทช. ดร. สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) คุณธีรนันท์ ศรีหงส์ ประธานกรรมการคณะกรรมการก�ำกับส�ำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) ผศ.ดร.ภุชงค์ อุทโยภาศ: รองอธิการบดีฝ่ายสารสนเทศ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ฯลฯ สัมมนาจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-14 ธันวาคม พ.ศ.2560 มีการแสดง เทคโนโลยีหน้าห้องสัมมนา ในปีนี้ได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมงานกว่า 200 คน โดยเนื้อหากล่าวถึงแนวโน้มการใช้เทคโนโลยีในประเทศต่างๆ นอกจากประทศไทย เช่น จีน, ญี่ปุ่น และอินเดีย เป็นงานที่รวบรวมกูรูทางด้านไอทีและผู้เชี่ยวชาญในวงการต่างๆที่ ยิ่งใหญ่อันดับต้นๆ ของเมืองไทย ส�ำหรับประเด็นในการบรรยายประกอบ แนวโน้ม เช่น Artificial Intelligence, Blockchain, Big Data, Cloud Computing, InternetofThings,ตลอดจนการกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลง ในวงการต่างๆ อย่าง FinTech, Digital Marketing นอกจากนี้ยังได้รับความกรุณาจากพระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต บรรยายหัวข้อ “ธรรมะติดปีก กับ เทคโนโลยีติดจรวด” และบรรยายโดย รศ.ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ ผู้อ�ำนวยการสถาบันไอเอ็มซี ในหัวข้อ Future of Big Data on Cloud Computing เป็นหนึ่งในทิศทางแนวโน้มที่องค์กร ก�ำลังให้ความส�ำคัญและต้องการเรียนรู้ ขาดไม่ได้คือเสวนา “Startup & Technology Trends” ผู้ร่วมเวที ได้แก่ คุณไมเคิล เชน CEO & Founder, Buzzebees Co., Ltd. คุณชิตพล มั่งพร้อม CEO & Founder, Zanroo Limited คุณพีรพัฒน์ อโศกธรรมรังสี Head of Architecture – AVA, Head of Engineer – Billme และด�ำเนิน รายการโดยคุณวิชัย วรธานีวงศ์ ที่ปรึกษารายการทีวี IT 24 Hours ปิดท้ายด้วยการสรุปภาพรวมและเนื้อหาของงานโดยรศ.ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ พร้อมกับกล่าวถึงแนวโน้มปี 2561บรรยากาศในงานสัมมนา
  • 6. IT TRENDS | IMC NEWS6 Reunion Party Big data Certification รุ่นที่ 1-6 อีกงานหนึ่งที่เต็มเปี่ยมด้วยรอยยิ้มและความสนุกสนาน งานพบปะสังสรรค์ Reunion Party Big data Certification รุ่นที่ 1-6 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 31 มกราคมที่ผ่านมา สถาบันไอเอ็มซีเป็นสื่อกลางในการสรางเครือข่ายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นผู้ที่อยู่ในวงการ Big Data ท�ำงานในองค์กรต่างๆ ซึ่งพบปัญหาอุปสรรคที่แตกต่างกัน สามารถน�ำมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันได้หลายแง่มุม Reunion Party Big Data School รุ่นที่ 1-2 เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาสถาบันไอเอ็มซีได้จัดงานพบปะ สังสรรค์ Reunion Party Big Data School รุ่นที่ 1-2 เพื่อสรางเครือข่าย และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น โดยมีน้องๆ ที่ผ่านการอบรมทั้งสองรุ่น เข้าร่วมงานกว่า 20 คน พร้อมกันนี้จึงถือโอกาสประชาสัมพันธ์การเปิดรับ สมัคร Big Data School รุ่นที่ 3 มา ณ โอกาสนี้ ผู้ที่มีความสนใจเข้าอบรมสามารถกรอกใบสมัครออนไลน์พร้อมทั้ง แนบ Transcript ในรูปแบบของไฟล์.pdf ที่ https://goo.gl/forms/ 6exP9v8Lyf7Cukxz2 ภายในวันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม 2561 และจะ ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการอบรมในวันจันทร์ที่9เมษายน2561ทาง www.facebook.com/imcinstitute (การตัดสินของคณะกรรมการถือเป็น ที่สิ้นสุด) ้ ้
  • 7. IT Trends 2018 Asia's Rising Power เป็นงานสัมมนาใหญ่ประจ�ำปี 2017 ของสถาบันไอเอ็มซีที่จัดขึ้น ในช่วงกลางเดือนธันวาคมของทุกปี โดยกล่าวถึงทิศทางแนวโน้มของเทคโนโลยี ซึ่งได้เชื้อเชิญผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญ เฉพาะด้านต่างๆ มาร่วมบรรยายตลอด 2 วัน ส�ำหรับครั้งที่ผ่านมาล่าสุดนี้ งานสัมมนาจัดขึ้นระหว่าง วันที่ 13-14 ธันวาคม 2560 มีวิทยากรที่มีชื่อเสียงมาบรรยายในหัวข้อต่างๆ ถึง 20 ท่าน ยกตัวอย่างเช่น พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ, ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์, ดร.รอม หิรัญพฤกษ์, อ.ปริญญา หอมเอนก, ผศ.ดร.ภุชงค์ อุทโยภาศ, ผศ.ดร.จิรพันธ์ แดงเดช, คุณธีรนันท์ ศรีหงส์ เป็นต้น ซึ่งเป็นอีกครั้งที่ประสบ ความส�ำเร็จอย่างมาก SPECIAL REPORT | IT TRENDS 7
  • 8. DataSourcesสามารถรวบรวมได้จากภายในและภายนอกองค์กร เช่น ข้อมูลจากรายงาน, ข้อมูลที่เก็บไว้แต่ไม่ได้น�ำมาใช้วิเคราะห์, ข้อมูล บางอย่างที่ยังไม่ได้เก็บแต่สามารถน�ำมาใช้ประโยชน์ได้ และข้อมูลจาก พาร์ทเนอร์ ข้อมูลจากสื่อโซเชียล เป็นต้น โดยในช่วงแรกของการเลือก ข้อมูลอาจจะเริ่มจากข้อมูลภายในองค์กรในกรณีที่มีจ�ำนวนมากพอกับ การท�ำการวิเคราะห์ ขณะที่ในมุมของเทคโนโลยีที่ควรค�ำนึงถึงได้แก่ เครื่องมือเพื่อ การน�ำเข้าหรือเก็บข้อมูล (Data Ingestion) สตอเรจ (เป็นส่วนที่ต้องใช้ งบประมาณสูง) ระบบที่เป็นเครื่องมือในการประมวลผลและวิเคราะห์ (Processing Tools/Analyze) และเครื่องมือเพื่อการแสดงผล (Data Visualization) ดังภาพประกอบที่ 2 ภาพประกอบที่ 1 ภาพประกอบที่ 2 ในโอกาสนี้นิตยสาร IT Trends ขอน�ำเสนอเนื้อหาบางส่วนในงาน สัมมนาเพื่อให้ท่านผู้อ่านได้รู้ถึงความน่าสนใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีและเรื่อง ราวที่ถูกกล่าวถึงในงาน โดยจัดท�ำเป็นบทความประกอบในคอลัมน์ Hot Issue และ Smart Thailand ส่วนเนื้อหาเกี่ยวกับภาพรวมของ IT Trends 2018Asia'sRisingPowerได้น�ำเสนอในคอลัมน์นี้ประกอบกับเรื่องหลัก Future of Big Data on Cloud Computing FUTURE OF BIG DATA ON CLOUD COMPUTING ในโอกาสนี้รศ.ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ ผู้อ�ำนวยการ สถาบันไอเอ็มซีได้ บรรยายในหัวข้อFutureofBigDataonCloudComputingในงานสัมมนา ดังกล่าว ซึ่งเป็นแนวทางที่หลายองค์กรประสบความส�ำเร็จ และชี้ให้เห็น ว่าการท�ำBigDataบนCloudเป็นแนวโน้มโลกที่เสมือนทางเลือกที่ดีกว่า แต่อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะเดินหน้าโครงการ Big Data นั้น องค์กร จ�ำเป็นต้องท�ำคววามเข้าใจให้ถูกต้องว่าBigDataคืออะไรมีองค์ประกอบ ใดบ้าง มีกระบวนการเตรียมความพร้อมอย่างไร และกรณีศึกษาตอบ TCO-ROI 3 องค์ประกอบของ BIG DATA ปัจจุบันยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการท�ำ Big Data ซึ่ง กระบวนการที่แท้จริงแล้วคือ การน�ำข้อมูลจ�ำนวนมากจัดเก็บลงใน Data Lake เป็นข้อมูล Transaction เพื่อใช้ในการประมวลผลและวิเคราะห์ ซึ่ง สามารถใช้ท�ำนายสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ส�ำหรับองค์กรใดที่จะท�ำBigDataให้คิดถึงการบริหารจัดการหรือ Business Transformation ก่อนที่จะคิดถึงเทคโนโลยี ควรจะก�ำหนดเป้า หมาย นโยบาย และผลลัพธ์ที่ต้องการ ซึ่งท้ายที่สุดคือ การคาดการณ์สิ่ง ที่จะเกิดขึ้น (What Will Happen) โดยแนวทางในการด�ำเนินการให้มุ่งไป ในทิศทางของ Data Lake และ Data Science ไม่ใช้การท�ำ Data Ware- house และ Business Intelligence องค์ประกอบของ Big Data มีดังนี้Data Sources, Technology และ Analytics (ดังภาพประกอบที่ 1) IT TRENDS | SPECIAL REPORT8
  • 9. BIG DATA บน CLOUD ทางเลือกที่ดีกว่า ในหลายองค์กรกล่าวถึงBigDataมาราวสามปีแต่จนปัจจุบันก็ยัง ไม่ได้เริ่มต้นท�ำด้วยเพราะติดอุปสรรคด้านการลงทุนที่ต้องใช้งบประมาณ มหาศาล และอาจจะยังหาค�ำตอบให้เกิดความคุ้มค่าได้ไม่ครอบคลุม อีก ทั้งยังติดปัญหาว่าหากลงทุนไปแล้วเมื่อข้อมูลเติบโตขึ้นองค์กรจะต้องซื้อ สตอเรจและเซิร์ฟเวอร์เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่งการลงทุนเทคโนโลยีเอง หรือ On Premise อาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีนัก ส�ำหรับทางเลือกที่ดีกว่าคือ การท�ำ Big Data บน Cloud เพราะมี ข้อดีหลายประการ ได้แก่ 1. ไม่ต้องใช้เงินลงทุนมหาศาล การใช้งานแบบ Cloud จะมีค่าใช้ จ่ายตามการใช้งานที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งอาจจะจ่ายเพียงหลักร้อย หรือหลักพันบาทเท่านั้น เมื่อใช้งานเสร็จแล้วก็คืนทรัพยากร ทั้งหมดให้แก่ผู้ให้บริการ 2 ไม่ต้องเสียค่าบ�ำรุงรักษาฮาร์ดแวร์ และระบบต่างๆ 3. ไม่ต้องจ้างพนักงานเพิ่มเพื่อท�ำหน้าที่ดูแลระบบประหยัดการใช้ พื้นที่ส�ำนักงานในกรณีที่ต้องเช่าพื้นที่เพิ่มให้กับคนและเครื่อง 4. สามารถเริ่มท�ำ Big Data ได้ทันทีในเวลาไม่กี่นาที แต่หากจะลง เครื่องเองต้องเสียเวลาท�ำแผน ตั้งงบประมาณ ศึกษาเทคโนโลยี สั่งซื้อเครื่อง อิมพลีเม้นต์ระบบ กระทั่งใช้งานได้อาจต้องใช้เวลา หลายเดือน 5. สามารถเพิ่มพื้นที่การใช้งานและประมวลผลได้ตามต้องการใน ทันที BigDataบนCloudมีผู้ให้บริการหลายรายโดยมีบริการสามส่วน คือ Big Data Infrastructure, Big Data Platform และ SaaS ส�ำหรับ องค์กรที่มีข้อกังวลด้านความปลอดภัยของข้อมูลนั้นควรจะมองในมุมของ การน�ำข้อมูลออกสู่ภายนอกองค์กรที่ไม่เกิดความเสียหาย เช่น ข้อมูล การใช้จ่ายของลูกค้าโดยตัดข้อมูลส่วนบุคคลออกก่อนที่จะน�ำเข้าระบบ Big Data บน Cloud ซึ่งจะน�ำเข้าเพียงแค่ข้อมูล Transaction ของลูกค้า เท่านั้น ดังนั้นBigDataบนCloudจึงเป็นทางเลือกที่ดีองค์กรธุรกิจขนาด ใหญ่ต่างประเทศทั่วโลกต่างเลือกแนวทางนี้ โดยไม่ได้มองเพียงเรื่องของ การลงทุนที่ต้องใช้เงินมหาศาล แต่มองว่า Big Data บน Cloud เป็น นวัตกรรมแห่งยุคของการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี IT TRENDS 2018 ASIA'S RISING POWER IT Trends 2018 Asia's Rising Power ได้ เผย 10 เทคโนโลยีที่มาแรง และมีผลต่อการ ด�ำเนินธุรกิจนับจากปีนี้ไป หากองค์กรใดไม่ เรียนรู้ศึกษาเพื่อน�ำไปประยุกต์ใช้กับองค์กร ในอนาคตอันใกล้ อาจจะต้องพลาดจากเวที การแข่งขันทางธุรกิจก็เป็นได้ 1 พบกับ AI (ARTIFICIAL INTELLIGENCE) ได้รอบตัว หนึ่งในสิ่งที่เริ่มเกิดขึ้นแล้ว โดยที่ผู้บริโภคไม่รูตัวเลยคือ การเข้ามา ของปัญญาประดิษฐ์ หรือAIจะมีบทบาทในการตัดสินใจมากขึ้นและช่วย ให้ชีวิตของผู้ใช้งานสะดวกขึ้น ดังจะเห็นได้จากการที่สมาร์ทโฟนหลาย แบรนด์เริ่มน�ำเทคโนโลยี AI เข้ามาช่วยประมวลผล เริ่มจากสิ่งที่เห็นได้ ง่ายๆ คือ โหมดกล้องในสมาร์ทโฟนที่ AI จะเข้ามาช่วยเลือกโหมดถ่าย ภาพที่เหมาะสมที่สุดให้ อีกส่วนที่เริ่มเห็นมากขึ้นคือ การที่องค์กรเริ่มมีการพัฒนาและน�ำ แชตบอทมาใช้งานเพื่อตอบสนองลูกค้าในการแก้ไขปัญหาเบื้องต้น และ จะได้เห็นการพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนพื้นฐานของการน�ำAIมาใช้งานเพิ่ม มากขึ้นในอนาคต 2. MACHINE LEARNING เร็ว-แม่นย�ำขึ้น อีกสิ่งที่มาคู่กับ AI ก็คือ เทคโนโลยีอย่าง Machine Learning ที่ เข้ามาช่วยในการประมวลผลซึ่งแน่นอนว่ายิ่งมีข้อมูลการใช้งานเพิ่มมากขึ้น เท่าไร การประมวลผล และความแม่นย�ำในการค�ำนวณก็จะยิ่งเพิ่มขึ้น ตามไป ประกอบกับการที่องค์กรธุรกิจจะเริ่มให้ความส�ำคัญกับเทคโนโลยี ดังกล่าว และน�ำมาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลของผู้บริโภค เพื่อให้องค์กร สามารถปรับเปลี่ยนหรือคิดค้นบริการที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า ได้หลากหลายขึ้น ้ photo : www.freepik.com SPECIAL REPORT | IT TRENDS 9
  • 10. 3. ได้เวลาใช้งาน IOT การมาของ IoT หรือ Internet of Things จะกลายเป็นเครื่องมือ ส�ำคัญที่ช่วยให้ทั้ง AI และ Machine Learning ท�ำงานได้ดียิ่งขึ้น จาก ข้อมูลของผู้ใช้งานปริมาณมหาศาลที่เกิดขึ้นประกอบกับการที่โครงสร้าง พื้นฐานในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในประเทศที่สมบูรณ์มากขึ้น จะช่วย เร่งการมาของอุปกรณ์ IoT ให้เร็วขึ้น โดยจะเห็นได้จากการที่ผู้ให้บริการโทรคมนาคมเริ่มส่งสัญญาณถึง ความพร้อมต่อการให้บริการเครือข่าย IoT หรือแม้แต่แบรนด์ผู้ผลิต คอมพิวเตอร์ ก็พร้อมจะน�ำเสนอแพลตฟอร์มในการเชื่อมต่อ IoT ที่หลาก หลายมากยิ่งขึ้นไม่นับกับปริมาณอุปกรณ์ IoTในฝั่งของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ จะเริ่มทยอยเข้ามาท�ำตลาดในประเทศไทย 4. BLOCKCHAIN AN INVENTION THAT COULD CHANGE OUR WORLD Blockchainหรือกลไกการกระจายอ�ำนาจจากศูนย์กลางจะเข้ามา สร้างความท้าทาย และการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการให้บริการ โดย จะมีผู้ให้บริการใหม่ๆเกิดขึ้นมากมายโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการเงิน โรงงานผลิต รีเทล และเฮลท์แคร์ เพียงแต่ว่าด้วยการที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นอาจจะยังต้อง รอการพิสูจน์ และการควบคุมที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือใน การใช้บริการ 5. เข้าสู่ยุค CLOUD 2.0 ที่ผ่านมาเมื่อพูดถึงการลงทุน Cloud หรือการใช้งานส่วนใหญ่จะ เกิดขึ้นกับองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ ทั้งในแง่ของการหันมาใช้งาน Public Cloud หรือลงทุนท�ำ Private Cloud มาใช้งาน แต่ปัจจุบันCloudกลายเป็นปัจจัยที่จะช่วยให้ธุรกิจสามารถทราน ฟอร์มสู่ดิจิทัลได้ เพียงแต่ว่าในการใช้งานCloudต้องค�ำนึงถึงผลประโยชน์ ต่อเนื่องที่ได้มา ไม่ใช่แค่การลงทุนเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการใช้งานดาต้า เซ็นเตอร์ แต่ต้องมองถึงการน�ำระบบ Cloud มาช่วยในการประมวลผล เพื่อท�ำให้ธุรกิจเดินหน้าไปได้ ขณะเดียวกันเมื่อการใช้งานCloudเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต การใช้งาน Cloud ก็จะขยายสู่ธุรกิจขนาดกลางและย่อย รวมถึงผู้บริโภค ทั่วไปที่สามารถเข้าถึงบริการ Cloud ได้ง่ายขึ้น 6. BIG DATA บน CLOUD ต่อเนื่องจากยุคของ Cloud 2.0 ที่องค์กรธุรกิจจ�ำเป็นต้องมีการ วางแผนเพื่อบริหารจัดการข้อมูลปริมาณมหาศาลที่เกิดขึ้นเพื่อน�ำมาใช้ ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด ดังนั้นจุดนี้ทั้ง AI และ Machine Learning จะ เข้ามามีส่วนร่วมเป็นอย่างมากในแง่ของการจัดการข้อมูลโดยจะเน้นไปที่ การจัดการ Structured Data หรือข้อมูลที่ถูกจัดเก็บแบบมีโครงสร้าง ชัดเจน และ Unstructured Data หรือข้อมูลประเภทอื่นๆ ที่ถูกจัดเก็บบน Cloud ซึ่งปัจจุบันผู้ให้บริการทั้งหลาย ต่างก็มีผลิตภัณฑ์ที่มารองรับการ ประมวลผลข้อมูลแล้ว ปัจจุบัน CLOUD กลายเป็น ปัจจัยที่จะช่วยให้ธุรกิจ สามารถทรานฟอร์มสู่ดิจิทัล ได้ เพียงแต่ว่าในการใช้งาน CLOUD ต้องมองถึงการน�ำ ระบบ CLOUD มาช่วยใน การประมวลผล เพื่อท�ำให้ ธุรกิจเดินหน้าไปได้ IT TRENDS | SPECIAL REPORT10
  • 11. 7. HUMAN-DIGITAL (HD) INTERFACES WILL DIVERSIFY เทคโนโลยีอย่าง AR และ VR จะเข้ามามีบทบาทในการใช้งานใน ชีวิตประจ�ำวันมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเมื่ออุปกรณ์ และคอนเทนต์พร้อม รองรับเช่นเดียวกับวิธีการใช้งานสมาร์ทโฟนที่จะเห็นการสั่งงานผ่านเสียง มากขึ้น หรือการพูดคุยกับผู้ช่วยอัจฉริยะอย่าง Alexa, Siri หรือ Google Assistance ที่ใกล้จะรองรับภาษาไทย ไม่นับรวมรูปแบบของการยืนยันตัวตน อย่างการลงทะเบียน ซิมการ์ดที่ปัจจุบันมีการน�ำระบบ Biometric เข้าไปใช้งาน ทั้งการลง ทะเบียนด้วยใบหน้าและลายนิ้วมือหรือที่ใกล้ตัวคือการปลดล็อกสมาร์ท โฟนผ่านเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือรวมทั้งปลดล็อกด้วยใบหน้าที่เริ่มมีการ ใช้งานได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น 8. OPEN API ECOSYSTEM ช่วยให้แข่งขันได้ OpenAPIจะกลายเป็นหนึ่งในตัวแปรส�ำคัญที่ท�ำให้ผู้ให้บริการบน โลกดิจิทัลสามารถเข้าถึงลูกค้าจ�ำนวนมากได้ ด้วยการเข้าไปเป็นพันธมิตร ในการให้บริการแก่ผู้บริโภค ดังนั้นแนวโน้มที่เกิดขึ้นจากการคาดการณ์ ของไอดีซีระบุว่ามากกว่าหนึ่งในสามของ500บริษัทที่ใหญ่ที่สุดของไทย จะใช้งานบริการดิจิทัลผ่านระบบ API แบบเปิด 9. HYPER-AGILE ARCHITECTURE ที่ผ่านมาการพัฒนาแอพพลิเคชั่นขององค์กรส่วนใหญ่จะเน้น พัฒนาบนพื้นฐานของแพลตฟอร์มหรือข้อมูลที่อยู่ภายในองค์กรเป็นหลัก แต่จากข้อมูลของไอดีซีระบุว่า ภายในปี 2021 การพัฒนาแอพพลิเคชั่น ส่วนใหญ่จะย้ายพื้นฐานไปอยู่บน Hyper-Agile Architecture ส่งผลให้ กว่า 80% ของแอพที่ถูกพัฒนาขึ้นจะอยู่บนแพลตฟอร์มของ Cloud ใน รูปแบบ PaaS โดยใช้บริการ Microservice 10. CYBERSECURITY จะส�ำคัญมากขึ้น แน่นอนว่าเมื่อมีเทคโนโลยีใหม่เข้ามา ก็ท�ำให้วิธีการรักษาความ ปลอดภัยเดิมๆ ที่เคยใช้ไม่เพียงพออีกต่อไป ดังนั้นองค์กรธุรกิจจึงจ�ำเป็น ที่จะต้องให้ความส�ำคัญกับการลงทุนทางด้านCybersecurityเพิ่มมากขึ้น ทั้งในแง่ของการปกป้องข้อมูล ตรวจสอบผู้ใช้งานระบบ เพื่อเสริมสร้าง ความเชื่อมั่นในระบบไอที ในส่วนของผู้บริโภคก็ควรค�ำนึงถึงข้อมูลส่วนบุคคลมากยิ่งขึ้นเนื่อง จากกปัจจุบันข้อมูลส่วนบุคคลถูกเผยแพร่ได้หลายช่องทาง โดยเฉพาะ ผ่านโซเชียลมีเดียต่างๆ ไม่นับรวมกับการมาของอุปกรณ์ IoT ที่จะถูกน�ำ เข้ามาใช้ภายในบ้านหรือใกล้ตัวซึ่งจะกลายเป็นอุปกรณ์ที่รูพฤติกรรมของ ผู้ใช้งานมากที่สุด 10 Trends ที่กล่าวมานี้น่าจับตามองว่า จะเข้ามาเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมผู้บริโภค การด�ำเนินธุรกิจขององค์กร และการแข่งขันใน เวทีระดับประเทศและเอเชียอย่างไร ้ photo : www.freepik.com SPECIAL REPORT | IT TRENDS 11
  • 12. THAILAND 4.0 REALITY OR HYPE Thailand 4.0 Reality or Hype เป็นหัวข้อหนึ่งในงานสัมมนา จัดโดยสถาบันไอเอ็มซี บรรยายโดย ดร. สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ท่านมองในมุมนโยบายและมาตรการส่งเสริมที่จะน�ำไปสู่ผลส�ำเร็จ ภายใต้ โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งเป็นแผนยุทธศาสตร์ ของนโยบาย Thailand 4.0 photo : www.freepik.com IT TRENDS | SMART THAILAND12
  • 13. ในที่นี้ ดร. สมเกียรติได้กล่าวถึง มาตรการ 3 ด้านเกี่ยวกับ การกระตุ้นการลงทุน คือ 1. มาตรการลดหย่อนภาษี 2. มาตรการ ที่น�ำไปสู่ความเชื่อมโยงระหว่างภาคอุตสาหกรรม ภาคการศึกษา และการวิจัยพัฒนา และ 3.การเปิดเผยข้อมูล (Big Data) ท�ำให้ เกิดธุรกิจใหม่ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ มาตรการลดหย่อนภาษีดีจริงหรือ? ส�ำหรับมาตรการในการลดหย่อนภาษีภายใต้โครงการพัฒนา ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(EEC)ตามนโยบายรัฐบาล นั้นในภาพรวมหากลดภาษีแล้วท�ำให้รายได้จากการเก็บภาษีหาย ไป2.2แสนล้านบาทเพื่อผลักดันและกระตุ้นให้บริษัทต่างประเทศ เข้ามาลงทุนในประเทศไทยที่คาดหวังให้เกิดการจ้างงานคนไทย อาจต้องค�ำนึงถึงผลตอบรับ เพราะหากด้วยต้นทุนดังกล่าวแล้ว ท�ำให้เกิดการจ้างงาน 50,000 ต�ำแหน่ง นั่นคือมีต้นทุนเฉลี่ยต่อหัว ราว 4 ล้านบาท ในความเป็นจริงคนไทยมีรายได้ครอบคลุมหรือไม่ เป็นประเด็นที่ต้องคิดค�ำนวณ ไม่เช่นนั้นอาจท�ำให้ประเทศไทยใช้ มาตรการในการลดหย่อนภาษีที่มีราคาแพงมาก ความเชื่อมโยงเป็นหัวใจส�ำคัญ ในอดีตที่ผ่านมา บริษัทต่างประเทศเข้ามาลงทุนใน ประเทศไทย แต่พบว่ายังไม่มีมาตรการที่เชื่อมโยงเพื่อให้เกิดการ ลงทุนระยะยาว หรืออย่างยั่งยืน ปัญหาคือ ไม่มีความเชื่อมโยง ระหว่างภาคอุตสาหกรรมจากต่างประเทศกับภาคการพัฒนา บุคลากร รวมทั้งด้านการวิจัยและพัฒนา มาตรการส่งเสริมต่างๆ ควรมีความเชื่อมโยงกัน กล่าวคือ ควรมีการสนับสนุนให้เกิดความร่วมมระหว่างภาคอุตสาหกรรม และภาคการศึกษา เพื่อให้เกิดการพัฒนาบุคลากรพรอมท�ำงาน ทันทีที่จบการศึกษา อีกทั้งยังลดปัญหาการขาดแคลนบุคลากร ไปด้วย หากแต่ในอดีตที่ผ่านมา สถาบันการศึกษาส่วนใหญ่ มักไม่มีความเชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรมในด้านของความ ร่วมมือของการพัฒนาบุคลากร ส�ำหรับด้านการวิจัยและพัฒนา เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ควร จะได้รับการส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมเพื่อ ให้มีการวิจัยและพัฒนาที่ตรงกับความต้องการและพร้อมที่จะน�ำ ไปต่อยอดในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งจะได้เห็นความส�ำเร็จของการ วิจัยและพัฒนาที่น�ำไปใช้ได้จริงดังนั้นควรมีการจัดตั้งสถาบันวิจัย และพัฒนาที่เชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรม ตัวอย่างมาตรการส่งเสริมการลงทุนของประเทศสิงคโปร์ มีความเชื่อมโยงกันโดยไม่ใช้มาตรการลดหย่อนภาษี คือนโยบาย ส่งเสริมให้บริษัทต่างประเทศด้านยา ลงทุนในสิงคโปร์โดยมี ข้อเสนอด้านความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาร่วมกันกับ โรงพยาบาลรัฐซึ่งท�ำให้คนของสิงคโปร์มีความรู้และเก่งขึ้นอีกทั้ง ยังเกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยี ในขณะเดียวกันรัฐยังท�ำหน้าที่ เชื่อมโยงด้านการป้อนบุคลากรให้แก่บริษัทที่ลงทุนในสิงคโปร์ ท�ำให้เกิดการเสริมทักษะให้กับบุคลากร การเปิดเผยข้อมูลจุดประกายธุรกิจใหม่ ปัจจุบันประเทศไทยไม่ให้ความส�ำคัญกับการเปิดเผยข้อมูล เพื่อให้เอกชนหรือภาคธุรกิจสามารถน�ำไปใช้ในการพัฒนาต่อยอด ที่จะท�ำให้เกิดธุรกิจ และบริการใหม่ๆ หากประเทศไทยมีการ ส่งเสริมด้วยมาตรการเปิดเผยข้อมูลเชื่อว่าเป็นแนวทางที่ดีต่อการ พัฒนาประเทศ ตัวอย่างในประเทศสหรัฐอเมริกา มีการเปิดเผยข้อมูลจาก หน่วยงานต่างๆ ของรัฐในระดับพื้นฐานที่ไม่กระทบต่อสิทธิส่วน บุคคลหรือข้อมูลความลับของรัฐบาล เช่นการเปิดเผยข้อมูลGPS ส่งผลดีต่อการต่อยอดธุรกิจท�ำให้เกิดธุรกิจใหม่ๆ แต่อย่างไรก็ตาม แม้จะมีความพยายามในการเปิดเผย ข้อมูลโดยส�ำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์(องค์การมหาชน)หรือ EGA แต่ไม่ประสบผลส�ำเร็จ เนื่องจากไม่ได้รับความร่วมมือจาก หน่วยงานจ�ำนวนมาก โดยสรุปหากประเทศไทยมีแผนพัฒนาที่สร้างระบบนิเวศ คือมีการเชื่อมโยงระหว่างภาคธุรกิจภาคการศึกษาสถาบันวิจัย และพัฒนา เชื่อว่าจะส่งเสริมนโยบาย Thailand 4.0 ได้ดี ดร. สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ้ SMART THAILAND | IT TRENDS 13
  • 14. นอกจาก พ.ร.บ. EEC (พระราชบัญญัติการพัฒนาระเบียง เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก) ซึ่งเป็นกรอบนโยบายการพัฒนา แล้ว ภาครัฐยังมีการสนับสนุนโครงสรางพื้นฐานทางด้านกายภาพ (Hard Infrastructure) และโครงสรางพื้นฐานด้านการก�ำกับดูแล (SoftInfrastructure)โดยโครงสรางพื้นฐานด้านกายภาพส่วนใหญ่ เป็นโครงการด้านคมนาคมซึ่งครอบคลุมทุกรูปแบบในการเดินทาง และการขนส่งสินค้าได้แก่ทางรางทางถนนทางน�้ำและทางอากาศ รวมถึงโครงสรางพื้นฐานด้านพลังงานและสาธารณูปโภคได้แก่การ พัฒนาระบบส่งและกระจายไฟฟ้า การพัฒนาระบบกักเก็บและส่ง น�้ำเพื่ออุปโภคและบริโภคการพัฒนาสิ่งแวดล้อมการท่องเที่ยวและ สาธารณสุข ส่วนในด้านการก�ำกับดูแล ภาครัฐยังมีการให้สิทธิ พิเศษด้านภาษีทั้งภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้ส่วนบุคคล การยกเลิกอากรเครื่องจักรน�ำเข้าและวัตถุดิบผลิตเพื่อส่งออก เงิน ทุนสนับสนุนและการอ�ำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการที่เข้ามา ลงทุนในบริเวณ EEC อีกด้วย EIC ประเมินว่า ในระยะเริ่มต้น อุตสาหกรรมดิจิทัล อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ และอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติ เป็น 3 อุตสาหกรรมแห่งอนาคตที่มีโอกาส จะเกิดขึ้นในบริเวณ EEC เมื่อพิจารณาจากความสามารถและ ทักษะแรงงานผลกระทบทางเศรษฐกิจและประเภทของอุตสาหกรรม เกี่ยวเนื่อง อุตสาหกรรมการบิน โอกาสที่มาพร้อมความท้าทาย ธุรกิจศูนย์ซ่อมบ�ำรุงอากาศยาน (MRO) ที่เน้นรองรับเครื่อง บินล�ำตัวแคบ(NarrowBody)จะสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการไทย เข้าสู่อุตสาหกรรมการผลิตชินส่วนอากาศยานในอนาคต โดยเครื่อง เจาะลึกอุตสาหกรรมเด่นขานรับโครงการ EEC นโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ Eastern Economic Corridor (EEC) เป็นเครื่องมือส�ำคัญที่ภาครัฐใช้ดึงดูดการลงทุนใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายเพื่อใช้ขับเคลื่อน ประเทศ นโยบายดังกล่าวเป็นการก�ำหนดบทบาทและหน้าที่ของภาครัฐและกรอบในการพัฒนาพื้นที่ น�ำร่อง 3 จังหวัด ได้แก่ ระยอง ชลบุรี และฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นฐานอุตสาหกรรมการผลิตที่ส�ำคัญของ ประเทศในปัจจุบัน เพื่อสร้างแรงดึงดูดระลอกใหม่ให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนใน 10 อุตสาหกรรม เป้าหมาย ซึ่งแบ่งเป็น 5 อุตสาหกรรมที่มีการลงทุนและมีการด�ำเนินการแล้วในปัจจุบันหรือ กลุ่มอุตสาหกรรม First S-Curve และ 5 อุตสาหกรรมแห่งอนาคต หรือกลุ่มอุตสาหกรรม New S-Curve ซึ่งจะสร้างองค์ความรู้ใหม่เพื่อพัฒนาประเทศในอนาคต เรียบเรียงจาก : วารสาร Insight ของธนาคารไทยพาณิชย์ Economic Intelligence Center (EIC) บินล�ำตัวแคบที่สายการบินต้นทุนต�่ำเลือกใช้มีสัดส่วนกว่า 70% ของเครื่องบินที่ผ่านสนามบินเข้าออกของไทยทั้งหมดและมี ปริมาณจะเติบโตอีกกว่า 1.5 เท่าในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รวมถึง การพัฒนาท่าอากาศยานอู่ตะเภาเพื่อรองรับการท่องเที่ยว จะเป็น แรงผลักดันส�ำคัญต่อผู้ประกอบการไทยในการซ่อมบ�ำรุงอากาศยาน และการผลิตชิ้นส่วนอากาศยานในประเภทชิ้นส่วนหลัก (กลุ่ม Tier 2) และชิ้นส่วนรอง (กลุ่ม Tier 3) ซึ่งในปัจจุบัน ไทยมีมูลค่า การส่งออกชิ้นส่วนอากาศยานกว่า 50,000 ล้านบาทต่อปี โดยแบ่ง เป็นมูลค่าการส่งออกชิ้นส่วนอากาศยานราว 60% ชุดระบบสายไฟ ราว 30% และที่เหลือเป็นส่วนประกอบเครื่องยนต์และยางล้อ เครื่องบิน ภาพประกอบที่ 1: 3 อุตสาหกรรมแห่งอนาคต ภาพประกอบที่ 1 : 3 อุตสาหกรรมแห่งอนาคต ้ ้ ้ ้ ้ IT TRENDS | SMART THAILAND14
  • 15. แนวโน้มอุตสาหกรรมการซ่อมบ�ำรุงอากาศยาน ความต้องการด้านการซ่อมบ�ำรุงอากาศยานในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามปริมาณการเดินทางทางอากาศ ขณะที่ขีดความสามารถในการซ่อมบ�ำรุงมีจ�ำกัดจึงเป็นโอกาสของ ไทยในการพัฒนาอุตสาหกรรมการบิน ด้วยเศรษฐกิจในภูมิภาค เอเชียแปซิฟิกที่มีแนวโน้มเติบโตประมาณ 4%CAGR ในอีก 20 ปี ข้างหน้าจะส่งผลให้ภูมิภาคนี้มีการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงที่สุดใน โลก และท�ำให้ปริมาณการเดินทางทางอากาศปรับตัวเพิ่มขึ้นตาม ไปด้วย การพัฒนาตามนโยบายดังกล่าว โดยระยะแรกศูนย์MRO(ศูนย์ซ่อมบ�ำรุงอากาศยาน)จะเป็น โครงการที่ได้รับการพัฒนาขึ้นก่อน จากความร่วมมือของบริษัท การบินไทย บริษัทผู้ผลิตเครื่องบิน Airbus และหน่วยงานภาครัฐ ธุรกิจซ่อมบ�ำรุงและการผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน เมื่อกล่าวถึงอุตสาหกรรมการบิน ธุรกิจแรกที่คนส่วนใหญ่ นึกถึงคือสายการบินเนื่องจากเป็นธุรกิจที่ใกล้ตัวผู้บริโภคมากที่สุด อย่างไรก็ตาม ภายในห่วงโซ่มูลค่าของอุตสาหกรรมการบินยังมี ธุรกิจอื่นๆ ที่น่าสนใจอยู่อีกหลายธุรกิจ เช่น ธุรกิจการผลิตชิ้นส่วน อากาศยานธุรกิจการซ่อมบ�ำรุงอากาศยาน(Maintenance,Repair and Overhaul: MRO) ธุรกิจตัวแทนขนส่งสินค้า (freight for- warder) ธุรกิจตัวแทนท่องเที่ยว เป็นต้น โดยห่วงโซ่มูลค่าของ อุตสาหกรรมการบิน ประกอบด้วย 4 กลุ่มหลัก ดังภาพประกอบ 3 ส�ำหรับไทยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา การเติบโตของจ�ำนวน นักท่องเที่ยวปรับตัวสูงกว่า 7%CAGR มาอยู่ที่ราว 35 ล้านคนใน ปี 2017 และคาดว่าจะเติบโตต่อเนื่องกว่า 4.5%CAGR ในอีก 3 ปี ข้างหน้าส่งผลให้มีปริมาณเครื่องบินเข้ามาในไทยเพิ่มสูงขึ้นท�ำให้ ความต้องการในการซ่อมบ�ำรุงเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วยทั้งในรูปแบบ การซ่อมบ�ำรุงย่อยในแต่ละครั้งที่transitและการซ่อมบ�ำรุงขนาดใหญ่ ซึ่งจะเป็นโอกาสในการก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมของไทยที่จะช่วย ประหยัดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการเดินทางเพื่อไปซ่อมที่ประเทศอื่น ด้วยความได้เปรียบทางด้านที่ตั้งของไทยซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อการบิน ภายในกับASEANอีกทั้งบริเวณEECยังเป็นจุดเชื่อมต่อไปยังการ ขนส่งในรูปแบบอื่นๆทั้งทางรางทางเรือและทางถนนประกอบกับ ฐานอุตสาหกรรมที่มีอยู่และแรงงานที่มีความสามารถ การพัฒนาอุตสาหกรรมการบินในบริเวณ EEC จากพลวัตที่ได้กล่าวข้างต้น ภาครัฐจึงมุ่งสร้างให้อู่ตะเภา กลายเป็นเมืองการบินภาคตะวันออก(Aerotropolis)คล้ายคลึงกับ Schipholเนเธอร์แลนด์,Songdoเกาหลีใต้,และZhengzhouจีน ซึ่งกลายเป็นศูนย์กลางการขนส่งที่ส�ำคัญและก่อให้เกิดการพัฒนา เมืองโดยรอบพื้นที่กว่า6,500ไร่ของสนามบินอู่ตะเภาจ.ชลบุรี ถูก จัดวางให้เป็นจุดยุทธศาสตร์ใน ภาพประกอบที่ 2 : การเติบโตของการเดินทางทางอากาศ ภาพประกอบที่ 3: ห่วงโซ่มูลค่าอุตสาหกรรมการบิน 4 กลุ่ม การจัดตั้งศูนย์ MRO ถือเป็นก้าวแรกของไทยในการเข้าร่วม อุตสาหกรรมการบิน ทั้งในส่วนการซ่อมบ�ำรุงและการผลิตชิ้นส่วน อากาศยาน อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการควรมีการปรับตัวเตรียมเข้า สู่ห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมดังกล่าว ในส่วนการซ่อมบ�ำรุง ผู้ประกอบการต้องมีการฝึกฝนและพัฒนาวิศวกรและช่างซ่อมบ�ำรุง ด้านการบินเพื่อให้ผ่านหลักสูตรการซ่อมบ�ำรุงอากาศยานจาก หน่วยงานควบคุมระดับโลกส่วนผู้ประกอบการที่ต้องการเข้าสู่ธุรกิจ ผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน ต้องสร้างความน่าเชื่อของผลิตภัณฑ์ และเร่งพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตให้ทันเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการ บินโลก EIC มองว่า เงื่อนไขส�ำคัญที่จะท�ำให้เมืองการบินภาคตะวัน ออกส�ำเร็จได้ตามแผนที่วางไว้ ประกอบด้วย ความร่วมมือจาก ผู้เล่นชั้นน�ำการพัฒนาบุคลากรและการเป็นจุดเชื่อมต่อการขนส่ง ขณะที่บุคลากรด้านการบินยังคงเป็นประเด็นส�ำคัญที่ภาครัฐจะ ต้องเร่งพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการ ที่คาดว่าจะปรับ เพิ่มขึ้นถึง 6 เท่าในอนาคต SMART THAILAND | IT TRENDS 15
  • 16. อย่างไรก็ดี ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอากาศยานยังคง เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ส�ำคัญต่อธุรกิจ MRO และธุรกิจผลิตชิ้นส่วน อากาศยานที่จะท�ำให้ความถี่ในการเข้าซ่อมบ�ำรุงลดลง อุตสาหกรรมดิจิทัล โอกาสที่มาพร้อมความเข้าใจ โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลจะสร้างแรงดึงดูดการลงทุนด้าน InternetofThings(IoT)ซึ่งจะสรางโอกาสต่อผู้ประกอบการในการ พัฒนา IoT solution ในอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งปัจจุบันการใช้จ่าย ด้าน IoT ของไทยยังกระจุกตัวอยู่ที่อุตสาหกกรรมการผลิตและ โลจิสติกส์ขณะที่ภาคการเกษตรยังไม่มีการใช้เทคโนโลยีนี้มากนัก สะท้อนจากสัดกส่วนการใช้ Embedded Software ซึ่งเป็น เทคโนโลยีที่ช่วยให้อุปกรณ์ต่างๆมีความสามารถในการสื่อสารใน การเกษตรที่มีการใช้เพียง 0.1% ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมการผลิต มีการใช้ถึง76%ของอุปกรณ์ทั้งหมดEICประเมินว่าหากมีการใช้ IoTในการเกษตรเพื่อควบคุมการให้น�้ำการควบคุมโรคและศัตรูพืช และการติดตามสภาพดิน จะสามารถเพิ่มผลผลิตต่อไร่ได้ถึง 30- 50%และหากน�ำไปใช้กับพืชเศรษฐกิจเช่นข้าวจะท�ำให้เกษตรกร ไทยสามารถเพิ่มผลผลิตได้ใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยโลก ซึ่งผลผลิต ต่อไร่ของข้าวอยู่ที่ 480 กิโลกรัมต่อไร่ อย่างไรก็ตาม พบว่าอุตสาหกรรมการเกษตรซึ่งเป็น อุตสาหกรรมส�ำคัญของไทยมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่ต�่ำ กว่าอุตสาหกรรมการผลิตอย่างมาก ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้ว อย่างสหรัฐฯ และญี่ปุ่นมีการน�ำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในภาค การเกษตรอย่างเข้มข้น ปัจจุบันกว่า 70% ของการใช้เทคโนโลยี ดิจิทัลภาคการเกษตรทั่วโลกกระจุกตัวอยู่ในสหรัฐฯ โดยเกษตรกร มีการน�ำ IoT, หุ่นยนต์ และเทคโนโลยี GPS มาใช้เพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิต ภาพประกอบ 4 : IoT กับการเกษตรไทย ภาพประกอบที่ 5 : IoT Solution ด้านการเกษตรไทย การเกษตรแบบแม่นย�ำ นอกจากการประยุกต์ใช้ IoT เป็นอีก ทางเลือกหนึ่งที่จะบรรเทาปัญหาของเกษตรกรไทยในปัจจุบันทั้งนี้ 3 IoT solutions ที่เกษตรกรควรน�ำมาประยุกต์ใช้ คือ 1) การควบคุมการให้น�้ำ (Water Controlling) สามารถช่วย เกษตรกรที่ต้องเผชิญกับปัญหาภัยแล้งและการใช้น�้ำมากเกินความ จ�ำเป็น 2) การควบคุมโรคและศัตรูพืช (Pest and Disease Control System) ซึ่งสามารถลดต้นทุนการใช้สารเคมีก�ำจัดศัตรูพืชได้ถึง 25% และช่วยลดการน�ำเข้าสารเคมีทางการเกษตร 3) การติดตามสภาพดิน (Soil Monitoring) ส่งผลให้การ น�ำเข้าปุ๋ ยเคมีลดลง เนื่องจาก IoT สามารถช่วยให้เกษตรกร ประมาณการณ์การใช้ปุ๋ ยได้อย่างเหมาะสม ภาครัฐควรส่งเสริมและให้ความรูแก่เกษตรกรและร่วมมือกับ ผู้ประกอบการเพื่อวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางการเกษตร EEC กับอุตสาหกรรมดิจิทัล การปรับตัวของภาคธุรกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นสิ่งส�ำคัญ มากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมดิจิทัลมีการประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเข้มข้นซึ่งประกอบด้วยสินค้าดิจิทัลบริการ ดิจิทัล และโครงสรางพื้นฐานดิจิทัล ้ ้ ้ IT TRENDS | SMART THAILAND16
  • 17. อุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติผ่านมาตรการกระตุ้นทั้ง ด้านอุปสงค์และอุปทาน เมื่อเปรียบเทียบระหว่างประโยชน์กับต้นทุนจากการใช้งาน หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ประกอบกับปัญหาการขาดแคลน แรงงาน และราคาหุ่นยนต์ที่มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง EIC ประเมินว่า การลงทุนในหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติอยู่ในระดับ คุ้มค่าแก่การลงทุนแล้วในปัจจุบัน และคาดว่าจะส่งผลให้ความ ต้องการใช้ระบบดังกล่าวในสายการผลิตขยายตัวอย่างต่อเนื่องใน อนาคต ซึ่งถือเป็นโอกาสของ SI และ End-Users ขณะที่ภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานต่างๆ ควรมุ่งพัฒนาทักษะแรงงาน เพื่อ บรรเทาผลกระทบจากการถูกแทนที่ด้วยหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ในสายการผลิต จากนโยบายและความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน คมนาคมและสาธารณูปโภคต่างๆ ที่กล่าวมาแล้ว ภาครัฐยัง ควรต้องมีการสร้างความเชื่อมั่นต่อนักลงทุน การสร้าง แรงงานที่มีทักษะเหมาะสม และการเตรียมพร้อมด้านสังคม และสิ่งแวดล้อม การประชาสัมพันธ์ต่อนักลงทุนตั้งแต่ กระบวนการขออนุญาต จนถึงการอนุมัติการลงทุนและการ ด�ำเนินกิจการ รวมทั้งการให้ข้อมูลทางด้านสภาพเศรษฐกิจ กายภาพและสังคมซึ่งเป็นอีกกระบวนการหนึ่งที่ส�ำคัญที่ภาค รัฐไม่ควรมองข้าม ระยะเริ่มต้นDigitalParkThailandถูกก�ำหนดให้เป็นโครงการ flagship บนพื้นที่ EEC เพื่อดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมดิจิทัล โดยมีการก�ำหนดพื้นที่กว่า700ไร่ในบริเวณอ.ศรีราชาจ.ชลบุรีและ แบ่งการพัฒนาเป็น 3 ส่วนหลัก ได้แก่ 1) พื้นที่สรางสรรค์นวัตกรรม ดิจิทัล ศูนย์กลางการเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยและสถาบันสร้างสรรค์นวัตกรรมดิจิทัล เช่น IoT Institute 2) พื้นที่ลงทุนส�ำหรับธุรกิจดิจิทัลต่างประเทศที่ต้องการ เข้ามาลงทุนในไทย และ 3) พื้นที่ที่อยู่อาศัยภายใต้ระบบอัจฉริยะ EIC ประเมินว่าเมื่อโครงสรางพื้นฐานดิจิทัลเสร็จสมบูรณ์ การ ลงทุนด้าน IoT (Internet of Things) มีแนวโน้มที่จะเกิดตามมา ท่ามกลางธุรกิจดิจิทัลซึ่งประกอบด้วย1)ธุรกิจพัฒนาและให้บริการ ซอฟต์แวร์2)ธุรกิจe-Commerce3)ธุรกิจศูนย์รวบรวมและวิเคราะห์ ข้อมูลผู้บริโภค (analytics and data center) 4) ธุรกิจให้บริการ เกี่ยวกับหน่วยจัดเก็บข้อมูลและการประมวลผลออนไลน์ (cloud computing) และธุรกิจป้องกันอันตรายในโลกไซเบอร์ (cyber security) และ 5) ธุรกิจพัฒนาเทคโนโลยีเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ของอุปกรณ์ต่างๆ (IoT) EIC มองว่าปัจจัยสนับสนุนด้านโครงสราง พื้นฐานดิจิทัลใน Digital Park Thailand ไม่ว่าจะเป็น IoT Institute รวมถึงการผ่อนคลายกฎระเบียบและการมีสนามทดลอง (living lab & testbed sandbox) ล้วนสนับสนุนให้เกิดการออกแบบ วิจัย ค้นคว้าพัฒนาที่สนับสนุนธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับIoTส่งผลให้การลงทุน ในธุรกิจด้าน IoT มีแนวโน้มขยายตัวมากกว่าธุรกิจอื่นๆ อุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ โอกาสที่มาพร้อมกับความเสี่ยง ความคุ้มค่าของการลงทุนในหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติใน ปัจจุบันและการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุจึงเป็นโอกาสให้ผู้ประกอบการ ไทยก้าวเข้าสู่ธุรกิจผู้ให้บริการด้านการรวมระบบ(SystemIntegra- tor: SI) โดยเมื่อพิจารณาถึงความสามารถในการทดแทนแรงงาน และค่าใช้จ่ายในการลงทุน EIC พบว่าการใช้ระบบหุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติจะคุ้มทุนภายในระยะเวลา 6-10 ปี ขณะที่ หุ่นยนต์อุตสาหกรรมในปัจจุบันมีอายุการใช้งานสูงสุดราว12ปี จะ สรางโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยก้าวเข้าสู่ธุรกิจผู้ให้บริการด้านการ รวมระบบ (System Integrator: SI) ซึ่งท�ำหน้าที่ให้ค�ำปรึกษา ออกแบบและจัดหาระบบอัตโนมัติจากผู้ผลิตหุ่นยนต์และผู้พัฒนา ซอฟต์แวร์มาติดตั้งตามความต้องการของEndUsersซึ่งในอนาคต แรงงานกว่า6.5แสนคนมีโอกาสที่จะถูกทดแทนหากมีการน�ำระบบ ดังกล่าวมาใช้อย่างเต็มรูปแบบ แต่ก็จะมีการสรางงานใหม่ที่ เกี่ยวข้องมากขึ้นเช่นกัน ความต้องการใช้หุ่นยนต์ทั่วโลกมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อ เนื่องโดยมีแรงผลักดันจากการขาดแคลนแรงงานและการปรับตัว ลงของราคาหุ่นยนต์ส�ำหรับประเทศไทยการขาดแคลนแรงงานและ แนวโน้มค่าแรงที่สูงขึ้น ส่งผลให้รัฐบาลไทยมีนโยบายส่งเสริม ภาพประกอบที่ 6: อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ ้ ้ ้ ้ ้ SMART THAILAND | IT TRENDS 17
  • 19. รศ.ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ ผู้อ�ำนวยการสถาบันไอเอ็มซี หลายๆ ภาคส่วนเริ่มพูดถึงเรื่อง Digital Transformation กันมาก บางครั้ง ก็เอาเทคโนโลยีเป็นตัวน�ำโดยเฉพาะเรื่อง Emerging Digital Technologies อย่าง Internet of things (IoT), AI (Artificial Intelligence), Big Data, Social Media หรือ Cloud Computing และพยายามที่จะให้ทีมไอที หรือผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีเป็น คนขับเคลื่อนเรื่องนี้ แต่โดยแท้จริงแล้ว “Digital Transformation ไม่ใช่เรื่องของ เทคโนโลยี แต่เป็นเรื่องของกลยุทธ์ ภาวะการเป็นผู้น�ำและแนวทางในการ คิดสิ่งใหม่ๆ” ผมเองได้อ่านหนังสือ เรื่อง The Digital Transformation Playbook: Rethink Your Business for the Digital Age ของ David L. Rogers และได้ดู YouTube ที่ผู้เขียน บรรยายในหัวข้อDigitalTransforma- tion:DrivingChangeinYourOrga- nizationเขาได้น�ำเสนอโดเมน5ด้าน ที่เป็นหลักส�ำคัญของ Digital Trans- formationคือCustomers,Competi- tion, Data, Innovation และ Value ที่ ก�ำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ดังนี้ • ลูกค้า (Customer) ก�ำลังกลายเป็นเครือข่ายแบบพลวัต (Dynamic network) มีการสื่อสารสองทาง ซึ่งมีพลังในการ ชักจูงและตัดสินใจกันเองมากกว่าการตลาดวิธีเดิมๆ • การแข่งขัน (Competition) ที่คู่แข่งอาจมาจากต่าง อุตสาหกรรม และเส้นแบ่งระหว่างความเป็นคู่แข่งกับ คู่ค้าเริ่มไม่ชัดเจนจึงต้องสร้างความร่วมมือกับคู่แข่งมากขึ้น ภาพปกหนังสือ The Digital Transformation Playbook: Rethink Your Business for the Digital Age • ข้อมูล(Data)จะถูกสรางขึ้นมาอย่างต่อเนื่องและกลายเป็น สินทรัพย์ที่ส�ำคัญขององค์กร จึงจ�ำเป็นจะต้องใช้ข้อมูลให้ เกิดคุณค่า • นวัตกรรม(Innovation)เป็นความท้าทายที่องค์กรต้องมีและ ต้องเรียนรู้ในการสรางนวัตกรรมใหม่ได้อย่างรวดเร็วด้วย ต้นทุนต�่ำ • คุณค่า (Value) ที่ส่งมอบให้ลูกค้าจะถูกก�ำหนดด้วยความ ต้องการของลูกค้ามากกว่าก�ำหนดโดยกลไกของอุตสาหกรรม ในอดีต จึงจ�ำเป็นจะต้องพัฒนาสินค้าและบริการอยู่ตลอด เวลา ซึ่งในหนังสือผู้เขียนได้กล่าวถึงกลยุทธ์การท�ำDigitalTransfor- mation จาก 5 ด้านนี้ Customer: ใช้พลังจากเครือข่ายลูกค้า Competition: สรางแพลตฟอร์ตไม่ใช่สรางโปรดักส์ Data: เปลี่ยนข้อมูลเป็นทรัพย์สิน Innovation: สรางนวัตกรรมด้วยการทดลองอย่างรวดเร็ว Value: ปรับเปลี่ยนคุณค่าที่ส่งมอบให้ลูกค้า ผู้สนใจสามารถเข้าไปดู YouTube ตามที่ผมแนะน�ำหรือ อาจหาหนังสือมาอ่านเพิ่มเติม ซึ่งในหนังสือก็จะมีเครื่องมือต่างๆ ที่ช่วยท�ำให้เราพัฒนากลยุทธ์ใน 5 ด้านนี้ได้ดีขึ้น ้ ้ ้ ้ ้ DIGITAL TRANSFORMATION | IT TRENDS 19