SlideShare a Scribd company logo
1 of 16
Download to read offline
1
การจัดทําแผนปฏิบัติการประจําปี และ
การปรับและเปลี่ยนแปลงแผนปฏิบัติการประจําปี
2
การจัดทําแผนปฏิบัติการประจําปี
1. แนวคิดของการจัดทําแผนปฏิบัติการ
แผนปฏิบัติการ คือ เครื่องค้ําประกันว่าเป้าหมายในการทํางานในแต่ละปี มีโอกาสบรรลุเป้าหมาย
ตามที่กําหนดไว้ เป็นสิ่งที่ยืนยันว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้นั้นมีความเป็นไปได้ เพราะมีแผนงานรองรับที่ชัดเจน และ
ถ้าแผนปฏิบัติการดําเนินการได้สําเร็จก็จะส่งผลต่อความสําเร็จของเป้าหมายที่กําหนดไว้
2. การจัดทําแผนปฏิบัติการ
แผนปฏิบัติการประจําปี เป็นแผนปฏิบัติราชการประจําปีของส่วนราชการ (กระทรวง/กรม) ที่แสดง
ให้เห็นถึงภารกิจที่จะดําเนินการในปีใดปีหนึ่งที่กําหนด ภายใต้แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี ของส่วนราชการนั้น
โดยจะมีสาระสําคัญเช่นเดียวกับแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี แต่จัดทําแผนประจําปีที่ละเอียดและชัดเจนขึ้น เพื่อ
นําไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานและเป็นกรอบในการจัดทําคําของบประมาณรายจ่ายประจําปี รวมถึงการ
รายงานผลการปฏิบัติงานราชการเมื่อสิ้นปีงบประมาณ ซึ่งมีรายละเอียดโครงการ/กิจกรรม ผู้รับผิดชอบ
งบประมาณ ตัวบ่งชี้ความสําเร็จของการดําเนินงานตามโครงการ/กิจกรรม และค่าเป้าหมายของตัวบ่งชี้ที่
กําหนดว่าจะต้องทําให้ได้
วัตถุประสงค์ของการจัดทําแผนปฏิบัติการ
1. เพื่อให้มั่นใจว่ามีแนวทางในการสร้างความสําเร็จให้กับเป้าหมายที่กําหนดไว้ได้
2. เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในการทํางานไว้ล่วงหน้า
3. เพื่อลดความขัดแย้งในการทํางานที่ต้องเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน
4. เพื่อลดความผิดพลาดและลดความซ้ําซ้อนในการทํางาน
5. เพื่อจัดลําดับความสําคัญและเร่งด่วนของการทํางานไว้ล่วงหน้า
6. เพื่อใช้ในการมอบหมายงานให้กับผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะ
ทุกคนจะทราบว่าใครจะต้องทําอะไร เมื่อไร อย่างไร
7. เพื่อใช้ในการกําหนดงบประมาณค่าใช้จ่ายประจําปี
8. เพื่อให้แผนที่วางไว้มีความเป็นไปได้และใกล้เคียงกับการที่จะปฏิบัติจริงให้มากที่สุด
3. ขั้นตอนการจัดทําแผนปฏิบัติการ
1. วิเคราะห์ความจําเป็นของการจัดทําแผนปฏิบัติการประจําปี
ความจําเป็นในการจัดทําแผนปฏิบัติการประจําปีของแต่ละหน่วยงาน มาจากแหล่งต่าง ๆ ดังนี้
แผนปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์ประจําปีขององค์กร
โดยทั่วไปองค์การจะกําหนดเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ และมีการจัดทําแผนงาน/โครงการรองรับอยู่แล้ว และ
แผนงานเหล่านั้นจะถูกส่งไปเป็นแผนปฏิบัติการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น แผนการออกสินค้าใหม่ มักจะ
เป็นแผนปฏิบัติการของฝ่ายการตลาดและฝ่ายวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ แผนการจัดทําระบบติดตามการจัดส่ง
สินค้าโดยใช้ไอที มักจะเป็นแผนปฏิบัติการขององค์กรที่รับผิดชอบโดยหน่วยงานไอที เป็นต้น
3
เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ขององค์การ
เป้าหมายประจําปีของหน่วยงาน
2. จัดลําดับความสําคัญของแผนปฏิบัติการ
เนื่องจากในบางปีมีแผนปฏิบัติการที่ต้องทําเป็นจํานวนมาก ดังนั้นจึงควรมีการวิเคราะห์เพื่อจัดลําดับ
ความสําคัญของแผน ถ้ามีข้อจํากัดในเรื่องของเวลา จะได้ทราบว่าควรจะทําแผนไหนก่อนหรือหลัง และจะช่วย
เป็นข้อมูลในการปรับเพิ่ม/ลดงบประมาณของแต่ละแผนงานได้อีกด้วย
3. ดําเนินการจัดทําแผนปฏิบัติการ การจัดทําโครงการ/กิจกรรม
4. องค์ประกอบของโครงการ
องค์ประกอบพื้นฐานโครงการ มีดังนี้
1. ชื่อแผนงาน เป็นการกําหนดชื่อให้ครอบคลุมโครงการเดียวหรือหลายโครงการที่มีลักษณะงานไปในทิศทาง
เดียวกันเพื่อแก้ไขปัญหาหรือสนองวัตถุประสงค์หลักที่กําหนดไว้
2. ชื่อโครงการ ให้ระบุชื่อโครงการตามความเหมาะสม มีความหมายชัดเจนและเรียกเหมือนเดิมทุกครั้งจนกว่า
โครงการจะแล้วเสร็จ
3. หลักการและเหตุผล ใช้ชี้แจงรายละเอียดของปัญหาและความจําเป็นที่เกิดขึ้นที่จะต้องแก้ไข ตลอดจนชี้แจง
ถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการดําเนินงานตามโครงการ และหากเป็นโครงการที่จะดําเนินการตามนโยบาย
หรือสอดคล้องกับแผนจังหวัดหรือแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติหรือแผนอื่น ๆ ก็ควรชี้แจงด้วย
ทั้งนี้ผู้เขียนโครงการบางท่านอาจจะเพิ่มเติมข้อความว่าถ้าไม่ทําโครงการดังกล่าวผลเสียหายโดยตรง หรือ
ผลเสียหายในระยะยาวจะเป็นอย่างไร เพื่อให้ผู้อนุมัติโครงการได้เห็นประโยชน์ของโครงการกว้างขวางขึ้น
4. วัตถุประสงค์ เป็นการบอกให้ทราบว่า การดําเนินงานตามโครงการนั้นมีความต้องการให้อะไรเกิดขึ้น
วัตถุประสงค์ที่ควรจะระบุไว้ควรเป็นวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ปฏิบัติได้และวัดและประเมินผลได้ ในระยะหลัง
นี้นักเขียนโครงการที่มีผู้นิยมชมชอบมักจะเขียนวัตถุประสงค์เป็นวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม คือ เขียนให้
เป็นรูปธรรมมากกว่าเขียนเป็นนามธรรม การทําโครงการหนึ่งอาจจะมีวัตถุประสงค์มากกว่า 1 ข้อได้ แต่
ทั้งนี้การเขียนวัตถุประสงค์ไว้มาก ๆ อาจจะทําให้ผู้ปฏิบัติมองไม่ชัดเจนและอาจจะดําเนินการให้บรรลุ
วัตถุประสงค์ไม่ได้ ดังนั้นจึงนิยมเขียนวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน-ปฏิบัติได้-วัดได้ เพียง 1-3 ข้อ
5. เป้าหมาย ให้ระบุว่าจะดําเนินการสิ่งใด โดยพยายามแสดงให้ปรากฏเป็นรูปตัวเลขหรือจํานวนที่จะทําได้
ภายในระยะเวลาที่กําหนด การระบุเป้าหมาย ระบุเป็นประเภทลักษณะและปริมาณ ให้สอดคล้องกับ
วัตถุประสงค์และความสามารถในการทํางานของผู้รับผิดชอบโครงการ
6. วิธีดําเนินการหรือกิจกรรมหรือขั้นตอนการดําเนินงาน คืองานหรือภารกิจซึ่งจะต้องปฏิบัติในการดําเนิน
โครงการให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ ในระยะการเตรียมโครงการจะรวบรวมกิจกรรมทุกอย่างไว้แล้วนํามา
จัดลําดับว่าควรจะทําสิ่งใดก่อน-หลังหรือพร้อม ๆ กัน แล้วเขียนไว้ตามลําดับ จนถึงขั้นตอนสุดท้ายที่ทําให้
โครงการบรรลุวัตถุประสงค์
4
7. ระยะเวลาการดําเนินงานโครงการ คือการระบุระยะเวลาตั้งแต่เริ่มต้นโครงการจนเสร็จสิ้นโครงการ ปัจจุบัน
นิยมระบุ วัน-เดือน-ปี ที่เริ่มต้นและเสร็จสิ้น การระบุจํานวน ความยาวของโครงการเช่น 6 เดือน 2 ปี โดย
ไม่ระบุเวลาเริ่มต้น-สิ้นสุดเป็นการกําหนดระยะเวลาที่ไม่สมบูรณ์
8. งบประมาณ เป็นประมาณการค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นของโครงการ ซึ่งควรจําแนกรายการค่าใช้จ่ายได้อย่างชัดเจน
งบประมาณอาจแยกออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
- เงินงบประมาณแผ่นดิน
- เงินกู้และเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ
- เงินนอกงบประมาณอื่น ๆ เช่น เงินเอกชนหรือองค์การเอกชน เป็นต้น
การระบุยอดงบประมาณ ควรระบุแหล่งที่มาของงบประมาณด้วย นอกจากนี้หัวข้อนี้สามารถระบุทรัพยากร
อื่นที่ต้องการ เช่น คน วัสดุ ฯลฯ
9. เจ้าของโครงการหรือผู้รับผิดชอบโครงการ เป็นการระบุเพื่อให้ทราบว่าหน่วยงานใดเป็นเจ้าของหรือรับผิดชอบ
โครงการ โครงการย่อยบางโครงการระบุเป็นชื่อบุคคลผู้รับผิดชอบเป็นรายโครงการได้
10. หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน เป็นการให้แนวทางแก่ผู้อนุมัติและผู้ปฏิบัติว่าในการดําเนินการโครงการนั้น
ควรจะประสานงานและขอความร่วมมือกับหน่วยงานใดบ้าง เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
11. การประเมินผล บอกแนวทางว่าการติดตามประเมินผลควรทําอย่างไรในระยะเวลาใด และใช้วิธีการอย่างไร
จึงจะเหมาะสม ซึ่งผลของการประเมินสามารถนํามาพิจารณาประกอบการดําเนินการ เตรียมโครงการที่
คล้ายคลึงหรือเกี่ยวข้องในเวลาต่อไป
12. ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ เมื่อโครงการนั้นเสร็จสิ้นแล้ว จะเกิดผลอย่างไรบ้างใครเป็นผู้ได้รับเรื่องนี้
สามารถเขียนทั้งผลประโยชน์โดยตรงและผลประโยชน์ในด้านผลกระทบของโครงการด้วยได้
ที่มา : เทคนิคการจัดทําแผนปฏิบัติการประจําปี (Annual Action Plan) อย่างมีประสิทธิภาพ : ณรงค์วิทย์
แสนทอง อีเมล : peoplevalue@yahoo.com
5
5. ลักษณะโครงการที่ดี โครงการที่ดีมีลักษณะดังนี้
1. เป็นโครงการที่สามารถแก้ปัญหาได้
2. มีรายละเอียด เนื้อหาสาระครบถ้วน ชัดเจน และจําเพาะเจาะจง โดยสามารถตอบคําถามต่อไปนี้ได้คือ
โครงการอะไร = ชื่อโครงการ
ทําไมจึงต้องริเริ่มโครงการ = หลักการและเหตุผล
ทําเพื่ออะไร = วัตถุประสงค์
ปริมาณที่จะทําเท่าไร = เป้าหมาย
ทําอย่างไร = วิธีดําเนินการ
จะทําเมื่อไร นานเท่าใด = ระยะเวลาดําเนินการ
ใช้ทรัพยากรเท่าไรและได้มาจากไหน = งบประมาณ แหล่งที่มา
ใครทํา = ผู้รับผิดชอบโครงการ
ต้องประสานงานกับใคร = หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน
บรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่ = การประเมินผล
เมื่อเสร็จสิ้นโครงการแล้วจะได้อะไร = ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
3. รายละเอียดของโครงการดังกล่าว ต้องมีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน เช่น วัตถุประสงค์ต้องสอดคล้องกับ
หลักการและเหตุผล วิธีดําเนินการต้องเป็นทางที่ทําให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้ เป็นต้น
4. โครงการที่ริเริ่มขึ้นมาต้องมีผลอย่างน้อยที่สุดอย่างใดอย่างหนึ่งในหัวข้อต่อไปนี้
สนองตอบ สนับสนุนต่อนโยบายระดับจังหวัดหรือนโยบายส่วนรวมของประเทศ
ก่อให้เกิดการพัฒนาทั้งเฉพาะส่วนและการพัฒนาโดยส่วนรวมของประเทศ
แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ตรงจุดตรงประเด็น
5. รายละเอียดในโครงการมีพอที่จะเป็นแนวทางให้ผู้อื่นอ่านแล้วเข้าใจและสามารถดําเนินการตามโครงการได้
6. เป็นโครงการที่ปฏิบัติได้และสามารถติดตามและประเมินผลได้
6. ปัญหาในการเขียนโครงการ
ในการเขียนโครงการนั้น เป็นการกําหนดกิจกรรมหรือกิจกรรมที่จะทําในอนาคต โดยอาศัยข้อมูลที่มี
อยู่ในปัจจุบันเป็นตัวกําหนดกิจกรรมในโครงการ เมื่อเป็นเช่นนี้หากเป็นโครงการที่ดีย่อมนํามาซึ่งคุณภาพและ
ประสิทธิภาพของหน่วยงาน โครงการบางโครงการเมื่อเขียนขึ้นมาแล้วไม่สามารถนําไปใช้ปฎิบัติได้ เนื่องจาก
ปัญหาต่าง ๆ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
1. ขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถที่แท้จริงในการเขียนโครงการ โครงการจํานวนไม่น้อยที่เขียน
ขึ้น โดยบุคคลไม่มีความรู้ความสามารถในเรื่องนั้น ขาดข้อมูลที่เป็นความจริง หรือขาดข้อมูลที่จะต้องใช้จริง
ผู้เขียนโครงการเขียนโครงการโดยได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา ผลจากการเขียนโครงการในลักษณะนี้จะ
ทําให้เกิดปัญหาแก่ผู้ปฏิบัติโครงการในการจะนําเอาโครงการไปปฏิบัติให้เกิดเป็นผลได้อย่างมีคุณภาพและ
ประสิทธิภาพ
2. ระยะเวลาที่ใช้ในการเขียนโครงการ หลายโครงการประสบปัญหาเกี่ยวกับการจัดทําโครงการใน
ระยะอันสั้น ทําให้ไม่สามารถที่จะศึกษาข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้องได้อย่างละเอียด ข้อมูลบางชนิดขาดการ
วิเคราะห์ที่ดีพอ เมื่อเขียนโครงการขึ้นมาแล้ว จึงขาดความชัดเจนของข้อมูล จึงเป็นปัญหายุ่งยากในการนําเอา
โครงการไปปฏิบัติ
6
3. ขาดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ในการเขียนโครงการบางโครงการขาดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนในการเขียน
โครงการ เป็นผลให้เกิดความยุ่งยากในการตรวจสอบ ควบคุม และติดตามการดําเนินงาน และมีผลสืบเนื่องถึง
การประเมินผลโครงการด้วย
4. การเขียนโครงการเป็นเรื่องของอนาคต ที่อาจจะมีความไม่แน่นอนเกิดขึ้น อันเป็นผลมาจากตัวแปร
ต่าง ๆ ที่ผู้เขียนโครงการไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ภัยธรรมชาติหรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด ได้แก่ การเมือง
เศรษฐกิจ สิ่งเหล่านี้ล้วนมีผลกระทบต่อการดําเนินงานทั้งสิ้นและเป็นสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้ จึงเป็นปัญหา
อย่างสําคัญของการเขียนโครงการ
5. ขาดการสนับสนุนจากผู้บริหารองค์กร ในบางครั้งการเขียนโครงการ แม้จะเขียนดีเพียงใด หาก
ผู้บริหารไม่ให้ความสนใจ ขาดการสนับสนุนในเรื่องงบประมาณ และทรัพยากรที่จําเป็นต่อการทําโครงการ
อย่างเพียงพอ ย่อมจะสร้างปัญหาให้แก่การดําเนินโครงการได้เช่นเดียวกัน
6. ขาดการประสานงานและความร่วมมือจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โครงการบางโครงการจําเป็นที่จะต้อง
มีการประสานงานกับองค์การและหน่วยงานอื่น เพื่อให้โครงการที่ทําอยู่บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ โครงการที่
จะสําเร็จได้จะต้องได้รับความร่วมมือจากองค์การหรือหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการปฏิบัติตามโครงการ
ด้วย หากขาดการประสานงานและความร่วมมือจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องแล้วจะทําให้เกิดปัญหาในการทํา
โครงการ โครงการดังกล่าวก็จะบรรลุวัตถุประสงค์ได้ยากหรืออาจจะไม่บรรลุวัตถุประสงค์ก็ได้
โครงการทุกโครงการ หากผู้เขียนโครงการสามารถตอบคําถามทุกคําถามเกี่ยวกับโครงการได้ทั้งหมด
(ชื่อโครงการ หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ เป้าหมาย วิธีดําเนินการ ระยะเวลาดําเนินการ งบประมาณ
และทรัพยากรอื่น ๆ ผู้รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานหรือบุคคลที่ให้การสนับสนุน การประเมินผล ผลที่คาด
ว่าจะได้รับ และข้อเสนอแนะ) อาจถือได้ว่าเป็นโครงการที่มีความสมบูรณ์ในรูปแบบ และหากการตอบคําถาม
ได้อย่างมีเหตุผลและหลักการ ย่อมถือได้ว่าโครงการที่เขียนขึ้นนั้นเป็นโครงการที่ดี นอกจากจะได้รับการ
พิจารณาอนุมัติโดยง่ายแล้ว ผลการดําเนินงานมักมีประสิทธิภาพด้วย
ที่มา : http://www.kiriwong.net/nakhonsawan/km5.htm 2 กรกฎาคม 2552
7
7. การจัดทําแผนปฏิบัติการประจําปี
แบบ งผง.01 แผนปฏิบัติการประจําปี ประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วน ดังนี้
(แบบฟอร์มอยู่ในภาคผนวก ก)
ส่วนที่ 1 : ข้อมูลเกี่ยวกับหน่วยงาน
ชื่อแผนปฏิบัติการประจําปี งบประมาณ พ.ศ.
ชื่อหน่วยงาน (คณะ/สถาบัน/สํานัก หรือหน่วยงานเทียบเท่า)
ชื่อหน่วยงานย่อย (ภาควิชา/โครงการ/ศูนย์/สถานี/กอง/หน่วยงานเทียบเท่า)
ชื่อแผนงาน (แผนงานจัดการเรียนการสอน แผนงานการพัฒนานิสิต แผนงานวิจัย แผนงานบริการ
วิชาการ แผนงานพัฒนาบุคลากร แผนงานประกันคุณภาพ แผนงานบริหารจัดการ และแผนงาน
ทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม)
ส่วนที่ 2 : ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดทําโครงการ/กิจกรรม
1. ชื่อโครงการ
2. ผู้รับผิดชอบ
3. วัตถุประสงค์
4. ความสอดคล้องกับนโยบายและแผนการบริหารมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ.
(โดยระบุเครื่องหมาย หน้าหัวข้อประเด็นยุทธศาสตร์ที่ต้องการ)
ระบุประเด็นยุทธศาสตร์ที่สอดคล้องกับโครงการ
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 การยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาขีดความสามารถของประเทศโดยใช้ความรู้เป็นฐาน
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาการศึกษาเพื่อความมั่นคงของรัฐ
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาระบบบริหารจัดการและกฎหมายด้านการศึกษา
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 6 การศึกษาและวิจัยเพื่อให้พัฒนามาตรฐานบริการรักษาพยาบาลและ
ส่งเสริมสุขภาพ
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 7 การศึกษาและวิจัยเพื่อทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรมไทย
ความสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกําแพงแสน ยุทธศาสตร์ที่...
5. เป้าหมาย
5.1 เชิงปริมาณ
5.2 เชิงคุณภาพ
6. งบประมาณ วงเงิน..........................บาท
แหล่งเงิน ( ) งบประมาณแผ่นดิน ( ) เงินรายได้) ( ) อื่น ๆ (ระบุ)........................
8
7. แผนการดําเนินงาน
ลําดับที่ กิจกรรม เป้าหมาย ตารางการปฏิบัติงาน ปีงบประมาณ....
หน่วยนับ จํานวน ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
8. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
9. ตัวบ่งชี้โครงการ
9.1 เชิงปริมาณ
9.2 เชิงคุณภาพ
10. ปัญหา (จากโครงการเดิม) และการปรับปรุง (ถ้ามี)
8. แผนภูมิการจัดทําแผนปฏิบัติการประจําปี
1. แผนภูมิแสดงโครงสร้างงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ ซึ่งใช้อยู่ในปัจจุบัน
ที่มา : สํานักงบประมาณ
ประเด็นยุทธศาสตร
ยุทธศาสตร
ประเด็นยุทธศาสตร
ยอย
เปาประสงค
เชิงยุทธศาสตร
เปาประสงค
เชิงยุทธศาสตร
แผนงบประมาณ
กลยุทธหลัก
แนวทาง 
แผนปฏิบัติราชการ
4 ป และประจําป
แผนปฏิบัติราชการ
4 ป และประจําป
เปาหมายการให
บริการกระทรวง
เปาหมายการให
บริการหนวยงาน
ผลผลิต/โครงการ
กองทุน/เงินทุน
ยุทธศาสตร
กระทรวง
กลยุทธหนวยงาน
กิจกรรม
งบประมาณ
MTEF (1+3 ป)
หนวยงาน
กระทรวง
ชาติ
(รัฐบาล)
9
2. แผนภูมิกระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์
กระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ
นํายุทธศาสตร
ไปปฏิบัติ ติดตามประเมินผล
วิสัยทัศน
ประเด็นยุทธศาสตร
เปาประสงค
ตัวชี้วัด/คาเปาหมาย
กลยุทธ
แผนที่ยุทธศาสตร
แผนปฏิบัติการ
กระบวนงาน
โครงสราง
เทคโนโลยี
คน
งบประมาณ
กํากับติดตามและ
ประเมินผล
ทบทวนสถานการณ
เพื่อวางยุทธศาสตรใหม
วางยุทธศาสตร
3. แผนภูมิกระบวนการจัดทําแผนปฏิบัติการ
วิสัยทัศน
ระดับสถาบัน
ระดับฝาย / ศูนย
ระดับหนวย / งาน /
บุคคล
แผนกลยุทธ / แผนปฏิบัติราชการ 4 ป
กลยุทธ / ผลผลิต / ตัวชี้วัด
แผนปฏิบัติการประจําป
งาน-โครงการ-กิจกรรม
โครงการ / กิจกรรมยอย
เปาหมาย / ตัวชี้วัด / งปม. / เวลา / ผูรับผิดชอบ
กรอบโครงการ
เปาหมาย / ตัวชี้วัด / งปม. / เวลา / ผูรับผิดชอบ
แผนปฏิบัติงาน
10
วิสัยทัศน
กรอบงบประมาณ แผนกลยุทธ / แผนปฏิบัติราชการ 4 ป
กลยุทธ / ผลผลิต / ตัวชี้วัด
แผนปฏิบัติการประจําป
งาน-โครงการ-กิจกรรม
โครงการ / กิจกรรมยอย
เปาหมาย / ตัวชี้วัด / งปม. / เวลา / ผูรับผิดชอบ
กรอบโครงการ
เปาหมาย / ตัวชี้วัด / งปม. / เวลา / ผูรับผิดชอบ
แผนงบประมาณ
คําของบประมาณ
แผนปฏิบัติงาน
สรุป
แผนกลยุทธ / แผนปฏิบัติราชการ 4 ป
กลยุทธ / ผลผลิต / ตัวชี้วัด
แผนปฏิบัติการประจําป
งาน-โครงการ-กิจกรรม
โครงการ / กิจกรรมยอย
เปาหมาย / ตัวชี้วัด / งปม. / เวลา / ผูรับผิดชอบ
กรอบโครงการ
แผนปฏิบัติงาน
11
4. แผนภูมิขั้นตอนการจัดทําแผนปฏิบัติการของหน่วยงาน
งานแผนงาน (กําแพงแสน)
ให้หน่วยงานจัดทําแผนปฏิบัติการประจําปี
หน่วยงานระดับคณะ
ขอให้ภาควิชา/สาขาวิชา/สํานักงานเลขานุการ
ดําเนินการจัดทําแผนปฏิบัติการประจําปี
หน่วยงานระดับคณะ
เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน
ตรวจสอบและให้คําปรึกษา
การจัดทําแผนปฏิบัติการประจําปี
ไม่ถูกต้อง/แก้ไข
หน่วยงานระดับคณะ
รวบรวบข้อมูล วิเคราะห์ และสรุปผล
การจัดทําแผนปฏิบัติการประจําปี
เสนอผู้บริหาร/คณะกรรมการประจําคณะ
หน่วยงานระดับคณะ
จัดส่งแผนปฏิบัติการประจําปี
ให้แก่งานแผนงาน (กําแพงแสน)
ปลายเดือน
ก.ย.-31 ต.ค.
12
9. การปรับและเปลี่ยนแปลงแผนปฏิบัติการประจําปี
แผนปฏิบัติการสามารถปรับได้ตามความเปลี่ยนแปลงของทรัพยากร และ/หรือสภาพแวดล้อมที่
เปลี่ยนแปลงไป การปรับแผน และเปลี่ยนแปลงแผนปฏิบัติการ สามารถดําเนินการได้ดังนี้
1. การปรับแผนปฏิบัติการในระดับกิจกรรม ของโครงการต่างๆ อาจมีการปรับปรุง เพิ่มเติมหรือ
ยกเลิกกิจกรรม แต่วัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ/กิจกรรม ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ได้แก่
1.1 การเพิ่มเติมกิจกรรม
1.2 การยกเลิกกิจกรรม
2. การปรับแผนปฏิบัติการในระดับโครงการ หมายถึง การยกเลิก หรือปรับปรุงโครงการที่มีผลทําให้
วัตถุประสงค์ เป้าหมาย หรืองบประมาณการดําเนินงานเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
2.1 การยกเลิกโครงการ
2.2 การปรับปรุงโครงการ เช่น การเพิ่มเป้าหมาย หรือการลดเป้าหมาย การเพิ่มงบประมาณ หรือ
การลดงบประมาณ
3. การเปลี่ยนแปลงแผนปฏิบัติการ โดยการขอเพิ่มโครงการใหม่
การปรับและปลี่ยนแปลงแผนปฏิบัติการ ดําเนินการดังนี้
1. หน่วยงานดําเนินการเสนอการเปลี่ยนแปลงแผนปฏิบัติการแก่คณะกรรมการบริหารหน่วยงาน
เพื่อพิจารณาดังนี้
1.1 การเพิ่มเติมกิจกรรม หรือยกเลิกกิจกรรม
1.2 การยกเลิกโครงการ หรือการปรับปรุงโครงการที่มีผลทําให้วัตถุประสงค์ หรืองบประมาณการ
ดําเนินงานเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
1.3 การขอบรรจุโครงการใหม่ในแผนปฏิบัติการประจําปีเพิ่มเติม
2. หน่วยงานที่ประสงค์จะเพิ่มโครงการใหม่ในแผนปฏิบัติการประจําปีของหน่วยงาน สามารถ
ดําเนินการได้โดยให้หน่วยงานดําเนินการจัดทําข้อมูลรายละเอียดตามแบบฟอร์มการเสนอแผนปฏิบัติการ
ประจําปีที่มหาวิทยาลัยกําหนด และเสนอผ่านคณะกรรมการบริหารคณะ มหาวิทยาลัย เพื่อพิจารณาอนุมัติ
บรรจุโครงการใหม่เข้าในแผนปฏิบัติการประจําปี
13
ขั้นตอนการปรับ/เปลี่ยนแปลงแผนปฏิบัติการ
ขั้นตอนที่ 1 ภาควิชา/สาขาวิชา/สํานักงาน เสนอขออนุมัติปรับและเปลี่ยนแปลง
แผนปฏิบัติการ (บันทึกข้อความ) พร้อมแบบฟอร์ม งผง.01 และเอกสารที่
เกี่ยวข้องได้แก่
1. กรณีปรับปรุง เพิ่มเติมระดับกิจกรรม หรือยกเลิกกิจกรรม
แบบ งผง.01 ที่มีการปรับเปลี่ยนกิจกรรม หรือยกเลิกกิจกรรม
(แนบเอกสารฉบับเดิมและฉบับใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลง)
รายงานการประชุม (ถ้ามี)
2. กรณียกเลิก หรือปรับปรุงโครงการ
แบบ งผง.01 ที่มีการยกเลิก หรือปรับปรุงโครงการ
(แนบเอกสารฉบับเดิมและฉบับใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลง)
รายงานการประชุม (ถ้ามี)
3. กรณีเพิ่มโครงการใหม่
แบบ งผง.01
รายงานการประชุม (ถ้ามี)
โครงการที่ได้รับอนุมัติ
ขั้นตอนที่ 2 ส่งเอกสารที่เสนอขออนุมัติปรับและเปลี่ยนแปลงที่สํานักงานเลขานุการ
คณะเกษตร กําแพงแสน
ขั้นตอนที่ 3 เจ้าหน้าที่นโยบายและแผนตรวจสอบเอกสาร/โครงการ และแบบฟอร์มที่
เกี่ยวข้อง
ขั้นตอนที่ 4 เสนอผู้บริหารคณะเกษตร กําแพงแสน พิจารณา เพื่อเสนอมหาวิทยาลัยฯ
พิจารณาอนุมัติ
ขั้นตอนที่ 5 คณบดีคณะเกษตร กําแพงแสน เสนอรองอธิการบดี พิจารณาอนุมัติ
14
แผนภูมิขั้นตอนการปรับ/เปลี่ยนแปลงแผนปฏิบัติการ
หน่วยงานระดับภาควิชา/สาขาวิชา/
สํานักงานเลขานุการ
จัดทําเรื่องขออนุมัติปรับ/เปลี่ยนแปลง
แผนปฏัติการประจําปี
หน่วยงานระดับคณะ
เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน
ตรวจสอบและให้คําปรึกษา
การปรับ/เปลี่ยนแปลงแผนปฏิบัติการประจําปี
ไม่ถูกต้อง/แก้ไข
หน่วยงานระดับคณะ
เสนอผู้บริหารคณะเกษตร กําแพงแสน/
คณะกรรมการประจําคณะ พิจารณา
ส่งเอกสารการขออนุมัติฯ ที่
สํานักงานเลขานุการคณะเกษตร กําแพงแสน
หน่วยงานระดับคณะ
เสนอมหาวิทยาลัยฯ รองอธิการบดี
พิจารณาอนุมัติ
หน่วยงานระดับมหาวิทยาลัย
รองอธิการบดี พิจารณาอนุมัติ
หน่วยงานระดับคณะ
ส่งฉบับจริงที่ได้รับอนุมัติให้แก่
ภาควิชา/สาขาวิชา/สํานักงานเลขานุการ
สําเนาเก็บที่หน่วยนโยบายและแผน
15
ภาคผนวก ก
แบบฟอร์ม งผง.01 และตัวอย่าง งผง.01
ตัวอยาง
แผนงาน : พัฒนาบุคลากร
1. ชื่อโครงการ โครงการสัมมนาอาจารยที่ปรึกษาคณะเกษตร กําแพงแสน
2. ผูรับผิดชอบ คณะเกษตร กําแพงแสน และสํานักงานเลขานุการ (งานการศึกษาและคณะกรรมการอาจารยที่ปรึกษาคณะเกษตร กําแพงแสน)
3. วัตถุประสงค
3.1
3.2
4. ความสอดคลองกับนโยบายและแผนการบริหารมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร พ.ศ. 2552-2555
ประเด็นยุทธศาสตรที่ 1 การสรางโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรูตลอดชีวิต
 ประเด็นยุทธศาสตรที่ 2 การยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา
ประเด็นยุทธศาสตรที่ 3 การพัฒนาขีดความสามารถของประเทศโดยใชความรูเปนฐาน
ประเด็นยุทธศาสตรที่ 4 การพัฒนาการศึกษาเพื่อความมั่นคงของรัฐ
ประเด็นยุทธศาสตรที่ 5 การพัฒนาระบบบริหารจัดการและกฎหมายดานการศึกษา
ประเด็นยุทธศาสตรที่ 6 การศึกษาและวิจัยเพื่อใหพัฒนามาตรฐานบริการรักษาพยาบาลและสงเสริมสุขภาพ
ประเด็นยุทธศาสตรที่ 7 การศึกษาและวิจัยเพื่อทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรมไทย
สอดคลองกับแผนยุทธศาสตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร วิทยาเขตกําแพงแสน ยุทธศาสตรที่ 2
5. เปาหมาย
5.1 เชิงปริมาณ อาจารยที่ปรึกษาคณะเกษตร กําแพงแสน จํานวน 100 คน
5.2 เชิงคุณภาพ ความพึงพอใจของผูเขารวมโครงการอยูในระดับดี
6. งบประมาณ วงเงิน ....6,000..........บาท
แหลงเงิน ( ) งบประมาณแผนดิน (  ) เงินรายได ( ) อื่น ๆ ระบุ ..........................
7. แผนการดําเนินงาน
ลําดับ
ที่ หนวยนับ จํานวน ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1 คน 100
1.1
1.2 จัดโครงการสัมมนาอาจารยที่ปรึกษา
1.3 ประเมินผลและสรุปโครงการ
8. ประโยชนที่คาดวาจะไดรับ
8.1
9. ตัวชี้วัดโครงการฯ/ตัวบงชี้โครงการ
9.1 จํานวนอาจารยที่ปรึกษาที่เขารวมโครงการฯ ไมนอยกวารอยละ 80 ของเปาหมายที่ตั้งไว
9.2 ผลการประเมินความพึงพอใจของผูเขารวมโครงการอยูในระดับดี หรือมีคาเฉลี่ย 3.50
10. ปญหา (จากโครงการเดิม) และการปรับปรุง (ถามี)
-
งผง.01
แผนปฏิบัติการประจําปงบประมาณ พ.ศ. 2555
หนวยงาน คณะเกษตร กําแพงแสน
เพื่อเพิ่มพูนความรู และแลกเปลี่ยนทัศนะระหวางอาจารยที่ปรึกษา เกี่ยวกับเทคนิคและทักษะตาง ๆ ในการใหคําปรึกษาแกนิสิต ตามความหลากหลายของ
นิสิตที่แตกตางกัน
กิจกรรม
เปาหมาย ตารางการปฏิบัติงาน ปงบประมาณ 2555
โครงการสัมมนาอาจารยที่ปรึกษาคณะเกษตร กําแพงแสน
จัดทําหนังสือเชิญอาจารยที่ปรึกษา
เพื่อสงเสริมใหอาจารยที่ปรึกษา สามารถนําเทคนิคการใหคําปรึกษาไปใชไดอยางมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น
อาจารยที่ปรึกษาไดเพิ่มพูนและแลกเปลี่ยนทัศนะเกี่ยวกับเทคนิคและทักษะตาง ๆ ในการใหคําปรึกษาแกนิสิต เพื่อจะไดนําความรูที่ไดรับไปใชในการให
คําปรึกษาไดอยางถูกตองและเหมาะสม ตามความหลากหลายของนิสิตที่แตกตางกันไดอยางมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

More Related Content

What's hot

แผ่นพับเสนอผลงานนวัตกรรม หน้า 1
แผ่นพับเสนอผลงานนวัตกรรม หน้า 1แผ่นพับเสนอผลงานนวัตกรรม หน้า 1
แผ่นพับเสนอผลงานนวัตกรรม หน้า 1krupornpana55
 
1)หน่วยที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ppt
1)หน่วยที่  1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ppt1)หน่วยที่  1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ppt
1)หน่วยที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์pptapple_clubx
 
การบริหารแหล่งการเรียนรู้และสภาพแวดล้อม
การบริหารแหล่งการเรียนรู้และสภาพแวดล้อม การบริหารแหล่งการเรียนรู้และสภาพแวดล้อม
การบริหารแหล่งการเรียนรู้และสภาพแวดล้อม Sireetorn Buanak
 
แบบทดสอบพร้อมเฉลยรายตัวชี้วัดร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ..Docx 40 ข้อ
แบบทดสอบพร้อมเฉลยรายตัวชี้วัดร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ..Docx 40 ข้อแบบทดสอบพร้อมเฉลยรายตัวชี้วัดร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ..Docx 40 ข้อ
แบบทดสอบพร้อมเฉลยรายตัวชี้วัดร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ..Docx 40 ข้อkrupornpana55
 
16แบบทดสอบความหลากหลายทางชีวภาพ
16แบบทดสอบความหลากหลายทางชีวภาพ16แบบทดสอบความหลากหลายทางชีวภาพ
16แบบทดสอบความหลากหลายทางชีวภาพสำเร็จ นางสีคุณ
 
ใบความรู้ เรื่อง พลังงานความร้อน วิทยาศาสตร์ 2 ว 21102
ใบความรู้ เรื่อง พลังงานความร้อน วิทยาศาสตร์ 2 ว 21102ใบความรู้ เรื่อง พลังงานความร้อน วิทยาศาสตร์ 2 ว 21102
ใบความรู้ เรื่อง พลังงานความร้อน วิทยาศาสตร์ 2 ว 21102พัน พัน
 
กฎของคูลอมป์
กฎของคูลอมป์กฎของคูลอมป์
กฎของคูลอมป์Chakkrawut Mueangkhon
 
โครงการจิตอาสาเพื่อชุมชนและสังคม
โครงการจิตอาสาเพื่อชุมชนและสังคมโครงการจิตอาสาเพื่อชุมชนและสังคม
โครงการจิตอาสาเพื่อชุมชนและสังคมจตุรพล ชานันโท
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์Sup's Tueng
 
เฉลยเอกสารประกอบสื่อสังคมออนไลน์เรื่องคลื่นกลและเสียง
เฉลยเอกสารประกอบสื่อสังคมออนไลน์เรื่องคลื่นกลและเสียงเฉลยเอกสารประกอบสื่อสังคมออนไลน์เรื่องคลื่นกลและเสียง
เฉลยเอกสารประกอบสื่อสังคมออนไลน์เรื่องคลื่นกลและเสียงโรงเรียนเทพลีลา
 
Aแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การถ่ายโอนพลังงานความร้อน
Aแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การถ่ายโอนพลังงานความร้อนAแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การถ่ายโอนพลังงานความร้อน
Aแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การถ่ายโอนพลังงานความร้อนkrupornpana55
 
ฟิสิกส์อะตอม
ฟิสิกส์อะตอมฟิสิกส์อะตอม
ฟิสิกส์อะตอมWijitta DevilTeacher
 
หน่วยที่ 3 การเขียนเรื่องจากคำที่กำหนดให้
หน่วยที่ 3  การเขียนเรื่องจากคำที่กำหนดให้หน่วยที่ 3  การเขียนเรื่องจากคำที่กำหนดให้
หน่วยที่ 3 การเขียนเรื่องจากคำที่กำหนดให้ขนิษฐา ทวีศรี
 
การแยกสารเนื้อผสม
การแยกสารเนื้อผสมการแยกสารเนื้อผสม
การแยกสารเนื้อผสมmedfai
 
แบบเสนอขอรับรางวัล หนึ่งแสนครูดี
แบบเสนอขอรับรางวัล หนึ่งแสนครูดีแบบเสนอขอรับรางวัล หนึ่งแสนครูดี
แบบเสนอขอรับรางวัล หนึ่งแสนครูดีเทวัญ ภูพานทอง
 

What's hot (20)

แบบสำรวจวิธีการเรียนรู้(วิทย์)
แบบสำรวจวิธีการเรียนรู้(วิทย์)แบบสำรวจวิธีการเรียนรู้(วิทย์)
แบบสำรวจวิธีการเรียนรู้(วิทย์)
 
แผ่นพับเสนอผลงานนวัตกรรม หน้า 1
แผ่นพับเสนอผลงานนวัตกรรม หน้า 1แผ่นพับเสนอผลงานนวัตกรรม หน้า 1
แผ่นพับเสนอผลงานนวัตกรรม หน้า 1
 
1)หน่วยที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ppt
1)หน่วยที่  1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ppt1)หน่วยที่  1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ppt
1)หน่วยที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ppt
 
แรงพยุงหรือแรงลอยตัว
แรงพยุงหรือแรงลอยตัวแรงพยุงหรือแรงลอยตัว
แรงพยุงหรือแรงลอยตัว
 
การบริหารแหล่งการเรียนรู้และสภาพแวดล้อม
การบริหารแหล่งการเรียนรู้และสภาพแวดล้อม การบริหารแหล่งการเรียนรู้และสภาพแวดล้อม
การบริหารแหล่งการเรียนรู้และสภาพแวดล้อม
 
แบบทดสอบพร้อมเฉลยรายตัวชี้วัดร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ..Docx 40 ข้อ
แบบทดสอบพร้อมเฉลยรายตัวชี้วัดร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ..Docx 40 ข้อแบบทดสอบพร้อมเฉลยรายตัวชี้วัดร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ..Docx 40 ข้อ
แบบทดสอบพร้อมเฉลยรายตัวชี้วัดร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ..Docx 40 ข้อ
 
โครงงานภาษาไทย
โครงงานภาษาไทยโครงงานภาษาไทย
โครงงานภาษาไทย
 
16แบบทดสอบความหลากหลายทางชีวภาพ
16แบบทดสอบความหลากหลายทางชีวภาพ16แบบทดสอบความหลากหลายทางชีวภาพ
16แบบทดสอบความหลากหลายทางชีวภาพ
 
ใบความรู้ เรื่อง พลังงานความร้อน วิทยาศาสตร์ 2 ว 21102
ใบความรู้ เรื่อง พลังงานความร้อน วิทยาศาสตร์ 2 ว 21102ใบความรู้ เรื่อง พลังงานความร้อน วิทยาศาสตร์ 2 ว 21102
ใบความรู้ เรื่อง พลังงานความร้อน วิทยาศาสตร์ 2 ว 21102
 
กฎของคูลอมป์
กฎของคูลอมป์กฎของคูลอมป์
กฎของคูลอมป์
 
โครงการจิตอาสาเพื่อชุมชนและสังคม
โครงการจิตอาสาเพื่อชุมชนและสังคมโครงการจิตอาสาเพื่อชุมชนและสังคม
โครงการจิตอาสาเพื่อชุมชนและสังคม
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์
 
Ast.c2560.6tp
Ast.c2560.6tpAst.c2560.6tp
Ast.c2560.6tp
 
เฉลยเอกสารประกอบสื่อสังคมออนไลน์เรื่องคลื่นกลและเสียง
เฉลยเอกสารประกอบสื่อสังคมออนไลน์เรื่องคลื่นกลและเสียงเฉลยเอกสารประกอบสื่อสังคมออนไลน์เรื่องคลื่นกลและเสียง
เฉลยเอกสารประกอบสื่อสังคมออนไลน์เรื่องคลื่นกลและเสียง
 
Aแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การถ่ายโอนพลังงานความร้อน
Aแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การถ่ายโอนพลังงานความร้อนAแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การถ่ายโอนพลังงานความร้อน
Aแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การถ่ายโอนพลังงานความร้อน
 
ฟิสิกส์อะตอม
ฟิสิกส์อะตอมฟิสิกส์อะตอม
ฟิสิกส์อะตอม
 
หน่วยที่ 3 การเขียนเรื่องจากคำที่กำหนดให้
หน่วยที่ 3  การเขียนเรื่องจากคำที่กำหนดให้หน่วยที่ 3  การเขียนเรื่องจากคำที่กำหนดให้
หน่วยที่ 3 การเขียนเรื่องจากคำที่กำหนดให้
 
การแยกสารเนื้อผสม
การแยกสารเนื้อผสมการแยกสารเนื้อผสม
การแยกสารเนื้อผสม
 
พลังงาน
พลังงานพลังงาน
พลังงาน
 
แบบเสนอขอรับรางวัล หนึ่งแสนครูดี
แบบเสนอขอรับรางวัล หนึ่งแสนครูดีแบบเสนอขอรับรางวัล หนึ่งแสนครูดี
แบบเสนอขอรับรางวัล หนึ่งแสนครูดี
 

Similar to @@@การจัดทําแผนปฏิบัติการประจําปี

หลัการเขียนโครงการ
หลัการเขียนโครงการหลัการเขียนโครงการ
หลัการเขียนโครงการKaratz Mee
 
การเขียนโครงการ
การเขียนโครงการการเขียนโครงการ
การเขียนโครงการkasetpcc
 
9789740330325
97897403303259789740330325
9789740330325CUPress
 
11 การเขียนโครงการ
11 การเขียนโครงการ11 การเขียนโครงการ
11 การเขียนโครงการWatcharin Chongkonsatit
 
บรรยาย Vehicle Khaoyai 2 การเขียนโครงการ
บรรยาย Vehicle Khaoyai 2 การเขียนโครงการบรรยาย Vehicle Khaoyai 2 การเขียนโครงการ
บรรยาย Vehicle Khaoyai 2 การเขียนโครงการPhusit Dontree
 
รายงานจัดซื้อจัดจ้าง1 ตค 31 มี.ค55
รายงานจัดซื้อจัดจ้าง1 ตค 31 มี.ค55รายงานจัดซื้อจัดจ้าง1 ตค 31 มี.ค55
รายงานจัดซื้อจัดจ้าง1 ตค 31 มี.ค55Montree Jareeyanuwat
 
รายงานจัดซื้อจัดจ้าง1 ตค 31 มี.ค55
รายงานจัดซื้อจัดจ้าง1 ตค 31 มี.ค55รายงานจัดซื้อจัดจ้าง1 ตค 31 มี.ค55
รายงานจัดซื้อจัดจ้าง1 ตค 31 มี.ค55Montree Jareeyanuwat
 
แผนกลยุทธ 2
แผนกลยุทธ 2แผนกลยุทธ 2
แผนกลยุทธ 2reraisararat
 
Implementation_Methodology by Alex 2023 แปลโดย ธนเดช รันดิลก ณ ภูเก็ต.pdf
Implementation_Methodology by Alex 2023 แปลโดย ธนเดช รันดิลก ณ ภูเก็ต.pdfImplementation_Methodology by Alex 2023 แปลโดย ธนเดช รันดิลก ณ ภูเก็ต.pdf
Implementation_Methodology by Alex 2023 แปลโดย ธนเดช รันดิลก ณ ภูเก็ต.pdfธนเดช รัตนดิลก ณ ภูเก็ต
 
โครงการ
โครงการโครงการ
โครงการguest2824fef
 
โครงการ
โครงการโครงการ
โครงการguest3b08dd
 

Similar to @@@การจัดทําแผนปฏิบัติการประจําปี (20)

หลัการเขียนโครงการ
หลัการเขียนโครงการหลัการเขียนโครงการ
หลัการเขียนโครงการ
 
การเขียนโครงการ
การเขียนโครงการการเขียนโครงการ
การเขียนโครงการ
 
9789740330325
97897403303259789740330325
9789740330325
 
11 การเขียนโครงการ
11 การเขียนโครงการ11 การเขียนโครงการ
11 การเขียนโครงการ
 
Checklist
ChecklistChecklist
Checklist
 
บรรยาย Vehicle Khaoyai 2 การเขียนโครงการ
บรรยาย Vehicle Khaoyai 2 การเขียนโครงการบรรยาย Vehicle Khaoyai 2 การเขียนโครงการ
บรรยาย Vehicle Khaoyai 2 การเขียนโครงการ
 
รายงานจัดซื้อจัดจ้าง1 ตค 31 มี.ค55
รายงานจัดซื้อจัดจ้าง1 ตค 31 มี.ค55รายงานจัดซื้อจัดจ้าง1 ตค 31 มี.ค55
รายงานจัดซื้อจัดจ้าง1 ตค 31 มี.ค55
 
รายงานจัดซื้อจัดจ้าง1 ตค 31 มี.ค55
รายงานจัดซื้อจัดจ้าง1 ตค 31 มี.ค55รายงานจัดซื้อจัดจ้าง1 ตค 31 มี.ค55
รายงานจัดซื้อจัดจ้าง1 ตค 31 มี.ค55
 
แผนกลยุทธ 2
แผนกลยุทธ 2แผนกลยุทธ 2
แผนกลยุทธ 2
 
Implementation_Methodology by Alex 2023 แปลโดย ธนเดช รันดิลก ณ ภูเก็ต.pdf
Implementation_Methodology by Alex 2023 แปลโดย ธนเดช รันดิลก ณ ภูเก็ต.pdfImplementation_Methodology by Alex 2023 แปลโดย ธนเดช รันดิลก ณ ภูเก็ต.pdf
Implementation_Methodology by Alex 2023 แปลโดย ธนเดช รันดิลก ณ ภูเก็ต.pdf
 
โครงการ
โครงการโครงการ
โครงการ
 
Present
PresentPresent
Present
 
Present
PresentPresent
Present
 
Present
PresentPresent
Present
 
Present
PresentPresent
Present
 
Present
PresentPresent
Present
 
Present
PresentPresent
Present
 
Present
PresentPresent
Present
 
โครงการ
โครงการโครงการ
โครงการ
 
presentation
presentationpresentation
presentation
 

More from Net Thanagon

ธนากร_ใสโศก@นักวิเคราะห์นโยบายและแผน_สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน62
ธนากร_ใสโศก@นักวิเคราะห์นโยบายและแผน_สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน62ธนากร_ใสโศก@นักวิเคราะห์นโยบายและแผน_สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน62
ธนากร_ใสโศก@นักวิเคราะห์นโยบายและแผน_สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน62Net Thanagon
 
ธนากร_ใสโศก@เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน_สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต7_62
ธนากร_ใสโศก@เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน_สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต7_62ธนากร_ใสโศก@เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน_สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต7_62
ธนากร_ใสโศก@เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน_สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต7_62Net Thanagon
 
ธนากร_ใสโศก@นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ_ข้าราชการกรุงเทพ63
ธนากร_ใสโศก@นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ_ข้าราชการกรุงเทพ63ธนากร_ใสโศก@นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ_ข้าราชการกรุงเทพ63
ธนากร_ใสโศก@นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ_ข้าราชการกรุงเทพ63Net Thanagon
 
ธนากร_ใสโศก@HR_กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช62
ธนากร_ใสโศก@HR_กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช62ธนากร_ใสโศก@HR_กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช62
ธนากร_ใสโศก@HR_กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช62Net Thanagon
 
ธนากร_ใสโศก@นักจัดการงานทั่วไป_สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ62
ธนากร_ใสโศก@นักจัดการงานทั่วไป_สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ62ธนากร_ใสโศก@นักจัดการงานทั่วไป_สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ62
ธนากร_ใสโศก@นักจัดการงานทั่วไป_สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ62Net Thanagon
 
ธนากร_ใสโศก@นักพัฒนาชุมชน_ท้องถิ่น60
ธนากร_ใสโศก@นักพัฒนาชุมชน_ท้องถิ่น60ธนากร_ใสโศก@นักพัฒนาชุมชน_ท้องถิ่น60
ธนากร_ใสโศก@นักพัฒนาชุมชน_ท้องถิ่น60Net Thanagon
 
ธนากร_ใสโศก@นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ_สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน63
ธนากร_ใสโศก@นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ_สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน63ธนากร_ใสโศก@นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ_สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน63
ธนากร_ใสโศก@นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ_สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน63Net Thanagon
 
ธนากร_ใสโศก@นักจัดการงานทั่วไป_สำนักงานอัยการสูงสุด63
ธนากร_ใสโศก@นักจัดการงานทั่วไป_สำนักงานอัยการสูงสุด63ธนากร_ใสโศก@นักจัดการงานทั่วไป_สำนักงานอัยการสูงสุด63
ธนากร_ใสโศก@นักจัดการงานทั่วไป_สำนักงานอัยการสูงสุด63Net Thanagon
 
ธนากร_ใสโศก@การอบรมการใช้กัญชา_สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น_63
ธนากร_ใสโศก@การอบรมการใช้กัญชา_สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น_63ธนากร_ใสโศก@การอบรมการใช้กัญชา_สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น_63
ธนากร_ใสโศก@การอบรมการใช้กัญชา_สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น_63Net Thanagon
 
กระบวนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์
กระบวนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์กระบวนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์
กระบวนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์Net Thanagon
 
คู่มือเบื้องต้น Crusader kings2
คู่มือเบื้องต้น Crusader kings2คู่มือเบื้องต้น Crusader kings2
คู่มือเบื้องต้น Crusader kings2Net Thanagon
 
Presentation_วิทยานิพนธ์_19_09_2559_Net_Thanagon
Presentation_วิทยานิพนธ์_19_09_2559_Net_ThanagonPresentation_วิทยานิพนธ์_19_09_2559_Net_Thanagon
Presentation_วิทยานิพนธ์_19_09_2559_Net_ThanagonNet Thanagon
 
การวิเคราะห์นโยบาย รปม.21 มร.สค.
การวิเคราะห์นโยบาย รปม.21 มร.สค.การวิเคราะห์นโยบาย รปม.21 มร.สค.
การวิเคราะห์นโยบาย รปม.21 มร.สค.Net Thanagon
 

More from Net Thanagon (16)

ธนากร_ใสโศก@นักวิเคราะห์นโยบายและแผน_สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน62
ธนากร_ใสโศก@นักวิเคราะห์นโยบายและแผน_สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน62ธนากร_ใสโศก@นักวิเคราะห์นโยบายและแผน_สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน62
ธนากร_ใสโศก@นักวิเคราะห์นโยบายและแผน_สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน62
 
ธนากร_ใสโศก@เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน_สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต7_62
ธนากร_ใสโศก@เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน_สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต7_62ธนากร_ใสโศก@เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน_สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต7_62
ธนากร_ใสโศก@เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน_สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต7_62
 
ธนากร_ใสโศก@นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ_ข้าราชการกรุงเทพ63
ธนากร_ใสโศก@นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ_ข้าราชการกรุงเทพ63ธนากร_ใสโศก@นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ_ข้าราชการกรุงเทพ63
ธนากร_ใสโศก@นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ_ข้าราชการกรุงเทพ63
 
ธนากร_ใสโศก@HR_กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช62
ธนากร_ใสโศก@HR_กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช62ธนากร_ใสโศก@HR_กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช62
ธนากร_ใสโศก@HR_กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช62
 
ธนากร_ใสโศก@นักจัดการงานทั่วไป_สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ62
ธนากร_ใสโศก@นักจัดการงานทั่วไป_สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ62ธนากร_ใสโศก@นักจัดการงานทั่วไป_สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ62
ธนากร_ใสโศก@นักจัดการงานทั่วไป_สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ62
 
ธนากร_ใสโศก@นักพัฒนาชุมชน_ท้องถิ่น60
ธนากร_ใสโศก@นักพัฒนาชุมชน_ท้องถิ่น60ธนากร_ใสโศก@นักพัฒนาชุมชน_ท้องถิ่น60
ธนากร_ใสโศก@นักพัฒนาชุมชน_ท้องถิ่น60
 
ธนากร_ใสโศก@นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ_สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน63
ธนากร_ใสโศก@นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ_สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน63ธนากร_ใสโศก@นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ_สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน63
ธนากร_ใสโศก@นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ_สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน63
 
ธนากร_ใสโศก@นักจัดการงานทั่วไป_สำนักงานอัยการสูงสุด63
ธนากร_ใสโศก@นักจัดการงานทั่วไป_สำนักงานอัยการสูงสุด63ธนากร_ใสโศก@นักจัดการงานทั่วไป_สำนักงานอัยการสูงสุด63
ธนากร_ใสโศก@นักจัดการงานทั่วไป_สำนักงานอัยการสูงสุด63
 
ธนากร_ใสโศก@การอบรมการใช้กัญชา_สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น_63
ธนากร_ใสโศก@การอบรมการใช้กัญชา_สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น_63ธนากร_ใสโศก@การอบรมการใช้กัญชา_สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น_63
ธนากร_ใสโศก@การอบรมการใช้กัญชา_สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น_63
 
กระบวนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์
กระบวนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์กระบวนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์
กระบวนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์
 
คู่มือเบื้องต้น Crusader kings2
คู่มือเบื้องต้น Crusader kings2คู่มือเบื้องต้น Crusader kings2
คู่มือเบื้องต้น Crusader kings2
 
Successfulsnooker
SuccessfulsnookerSuccessfulsnooker
Successfulsnooker
 
Senior
SeniorSenior
Senior
 
Junior
JuniorJunior
Junior
 
Presentation_วิทยานิพนธ์_19_09_2559_Net_Thanagon
Presentation_วิทยานิพนธ์_19_09_2559_Net_ThanagonPresentation_วิทยานิพนธ์_19_09_2559_Net_Thanagon
Presentation_วิทยานิพนธ์_19_09_2559_Net_Thanagon
 
การวิเคราะห์นโยบาย รปม.21 มร.สค.
การวิเคราะห์นโยบาย รปม.21 มร.สค.การวิเคราะห์นโยบาย รปม.21 มร.สค.
การวิเคราะห์นโยบาย รปม.21 มร.สค.
 

@@@การจัดทําแผนปฏิบัติการประจําปี

  • 2. 2 การจัดทําแผนปฏิบัติการประจําปี 1. แนวคิดของการจัดทําแผนปฏิบัติการ แผนปฏิบัติการ คือ เครื่องค้ําประกันว่าเป้าหมายในการทํางานในแต่ละปี มีโอกาสบรรลุเป้าหมาย ตามที่กําหนดไว้ เป็นสิ่งที่ยืนยันว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้นั้นมีความเป็นไปได้ เพราะมีแผนงานรองรับที่ชัดเจน และ ถ้าแผนปฏิบัติการดําเนินการได้สําเร็จก็จะส่งผลต่อความสําเร็จของเป้าหมายที่กําหนดไว้ 2. การจัดทําแผนปฏิบัติการ แผนปฏิบัติการประจําปี เป็นแผนปฏิบัติราชการประจําปีของส่วนราชการ (กระทรวง/กรม) ที่แสดง ให้เห็นถึงภารกิจที่จะดําเนินการในปีใดปีหนึ่งที่กําหนด ภายใต้แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี ของส่วนราชการนั้น โดยจะมีสาระสําคัญเช่นเดียวกับแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี แต่จัดทําแผนประจําปีที่ละเอียดและชัดเจนขึ้น เพื่อ นําไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานและเป็นกรอบในการจัดทําคําของบประมาณรายจ่ายประจําปี รวมถึงการ รายงานผลการปฏิบัติงานราชการเมื่อสิ้นปีงบประมาณ ซึ่งมีรายละเอียดโครงการ/กิจกรรม ผู้รับผิดชอบ งบประมาณ ตัวบ่งชี้ความสําเร็จของการดําเนินงานตามโครงการ/กิจกรรม และค่าเป้าหมายของตัวบ่งชี้ที่ กําหนดว่าจะต้องทําให้ได้ วัตถุประสงค์ของการจัดทําแผนปฏิบัติการ 1. เพื่อให้มั่นใจว่ามีแนวทางในการสร้างความสําเร็จให้กับเป้าหมายที่กําหนดไว้ได้ 2. เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในการทํางานไว้ล่วงหน้า 3. เพื่อลดความขัดแย้งในการทํางานที่ต้องเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน 4. เพื่อลดความผิดพลาดและลดความซ้ําซ้อนในการทํางาน 5. เพื่อจัดลําดับความสําคัญและเร่งด่วนของการทํางานไว้ล่วงหน้า 6. เพื่อใช้ในการมอบหมายงานให้กับผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะ ทุกคนจะทราบว่าใครจะต้องทําอะไร เมื่อไร อย่างไร 7. เพื่อใช้ในการกําหนดงบประมาณค่าใช้จ่ายประจําปี 8. เพื่อให้แผนที่วางไว้มีความเป็นไปได้และใกล้เคียงกับการที่จะปฏิบัติจริงให้มากที่สุด 3. ขั้นตอนการจัดทําแผนปฏิบัติการ 1. วิเคราะห์ความจําเป็นของการจัดทําแผนปฏิบัติการประจําปี ความจําเป็นในการจัดทําแผนปฏิบัติการประจําปีของแต่ละหน่วยงาน มาจากแหล่งต่าง ๆ ดังนี้ แผนปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์ประจําปีขององค์กร โดยทั่วไปองค์การจะกําหนดเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ และมีการจัดทําแผนงาน/โครงการรองรับอยู่แล้ว และ แผนงานเหล่านั้นจะถูกส่งไปเป็นแผนปฏิบัติการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น แผนการออกสินค้าใหม่ มักจะ เป็นแผนปฏิบัติการของฝ่ายการตลาดและฝ่ายวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ แผนการจัดทําระบบติดตามการจัดส่ง สินค้าโดยใช้ไอที มักจะเป็นแผนปฏิบัติการขององค์กรที่รับผิดชอบโดยหน่วยงานไอที เป็นต้น
  • 3. 3 เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ขององค์การ เป้าหมายประจําปีของหน่วยงาน 2. จัดลําดับความสําคัญของแผนปฏิบัติการ เนื่องจากในบางปีมีแผนปฏิบัติการที่ต้องทําเป็นจํานวนมาก ดังนั้นจึงควรมีการวิเคราะห์เพื่อจัดลําดับ ความสําคัญของแผน ถ้ามีข้อจํากัดในเรื่องของเวลา จะได้ทราบว่าควรจะทําแผนไหนก่อนหรือหลัง และจะช่วย เป็นข้อมูลในการปรับเพิ่ม/ลดงบประมาณของแต่ละแผนงานได้อีกด้วย 3. ดําเนินการจัดทําแผนปฏิบัติการ การจัดทําโครงการ/กิจกรรม 4. องค์ประกอบของโครงการ องค์ประกอบพื้นฐานโครงการ มีดังนี้ 1. ชื่อแผนงาน เป็นการกําหนดชื่อให้ครอบคลุมโครงการเดียวหรือหลายโครงการที่มีลักษณะงานไปในทิศทาง เดียวกันเพื่อแก้ไขปัญหาหรือสนองวัตถุประสงค์หลักที่กําหนดไว้ 2. ชื่อโครงการ ให้ระบุชื่อโครงการตามความเหมาะสม มีความหมายชัดเจนและเรียกเหมือนเดิมทุกครั้งจนกว่า โครงการจะแล้วเสร็จ 3. หลักการและเหตุผล ใช้ชี้แจงรายละเอียดของปัญหาและความจําเป็นที่เกิดขึ้นที่จะต้องแก้ไข ตลอดจนชี้แจง ถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการดําเนินงานตามโครงการ และหากเป็นโครงการที่จะดําเนินการตามนโยบาย หรือสอดคล้องกับแผนจังหวัดหรือแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติหรือแผนอื่น ๆ ก็ควรชี้แจงด้วย ทั้งนี้ผู้เขียนโครงการบางท่านอาจจะเพิ่มเติมข้อความว่าถ้าไม่ทําโครงการดังกล่าวผลเสียหายโดยตรง หรือ ผลเสียหายในระยะยาวจะเป็นอย่างไร เพื่อให้ผู้อนุมัติโครงการได้เห็นประโยชน์ของโครงการกว้างขวางขึ้น 4. วัตถุประสงค์ เป็นการบอกให้ทราบว่า การดําเนินงานตามโครงการนั้นมีความต้องการให้อะไรเกิดขึ้น วัตถุประสงค์ที่ควรจะระบุไว้ควรเป็นวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ปฏิบัติได้และวัดและประเมินผลได้ ในระยะหลัง นี้นักเขียนโครงการที่มีผู้นิยมชมชอบมักจะเขียนวัตถุประสงค์เป็นวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม คือ เขียนให้ เป็นรูปธรรมมากกว่าเขียนเป็นนามธรรม การทําโครงการหนึ่งอาจจะมีวัตถุประสงค์มากกว่า 1 ข้อได้ แต่ ทั้งนี้การเขียนวัตถุประสงค์ไว้มาก ๆ อาจจะทําให้ผู้ปฏิบัติมองไม่ชัดเจนและอาจจะดําเนินการให้บรรลุ วัตถุประสงค์ไม่ได้ ดังนั้นจึงนิยมเขียนวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน-ปฏิบัติได้-วัดได้ เพียง 1-3 ข้อ 5. เป้าหมาย ให้ระบุว่าจะดําเนินการสิ่งใด โดยพยายามแสดงให้ปรากฏเป็นรูปตัวเลขหรือจํานวนที่จะทําได้ ภายในระยะเวลาที่กําหนด การระบุเป้าหมาย ระบุเป็นประเภทลักษณะและปริมาณ ให้สอดคล้องกับ วัตถุประสงค์และความสามารถในการทํางานของผู้รับผิดชอบโครงการ 6. วิธีดําเนินการหรือกิจกรรมหรือขั้นตอนการดําเนินงาน คืองานหรือภารกิจซึ่งจะต้องปฏิบัติในการดําเนิน โครงการให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ ในระยะการเตรียมโครงการจะรวบรวมกิจกรรมทุกอย่างไว้แล้วนํามา จัดลําดับว่าควรจะทําสิ่งใดก่อน-หลังหรือพร้อม ๆ กัน แล้วเขียนไว้ตามลําดับ จนถึงขั้นตอนสุดท้ายที่ทําให้ โครงการบรรลุวัตถุประสงค์
  • 4. 4 7. ระยะเวลาการดําเนินงานโครงการ คือการระบุระยะเวลาตั้งแต่เริ่มต้นโครงการจนเสร็จสิ้นโครงการ ปัจจุบัน นิยมระบุ วัน-เดือน-ปี ที่เริ่มต้นและเสร็จสิ้น การระบุจํานวน ความยาวของโครงการเช่น 6 เดือน 2 ปี โดย ไม่ระบุเวลาเริ่มต้น-สิ้นสุดเป็นการกําหนดระยะเวลาที่ไม่สมบูรณ์ 8. งบประมาณ เป็นประมาณการค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นของโครงการ ซึ่งควรจําแนกรายการค่าใช้จ่ายได้อย่างชัดเจน งบประมาณอาจแยกออกได้เป็น 3 ประเภท คือ - เงินงบประมาณแผ่นดิน - เงินกู้และเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ - เงินนอกงบประมาณอื่น ๆ เช่น เงินเอกชนหรือองค์การเอกชน เป็นต้น การระบุยอดงบประมาณ ควรระบุแหล่งที่มาของงบประมาณด้วย นอกจากนี้หัวข้อนี้สามารถระบุทรัพยากร อื่นที่ต้องการ เช่น คน วัสดุ ฯลฯ 9. เจ้าของโครงการหรือผู้รับผิดชอบโครงการ เป็นการระบุเพื่อให้ทราบว่าหน่วยงานใดเป็นเจ้าของหรือรับผิดชอบ โครงการ โครงการย่อยบางโครงการระบุเป็นชื่อบุคคลผู้รับผิดชอบเป็นรายโครงการได้ 10. หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน เป็นการให้แนวทางแก่ผู้อนุมัติและผู้ปฏิบัติว่าในการดําเนินการโครงการนั้น ควรจะประสานงานและขอความร่วมมือกับหน่วยงานใดบ้าง เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ 11. การประเมินผล บอกแนวทางว่าการติดตามประเมินผลควรทําอย่างไรในระยะเวลาใด และใช้วิธีการอย่างไร จึงจะเหมาะสม ซึ่งผลของการประเมินสามารถนํามาพิจารณาประกอบการดําเนินการ เตรียมโครงการที่ คล้ายคลึงหรือเกี่ยวข้องในเวลาต่อไป 12. ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ เมื่อโครงการนั้นเสร็จสิ้นแล้ว จะเกิดผลอย่างไรบ้างใครเป็นผู้ได้รับเรื่องนี้ สามารถเขียนทั้งผลประโยชน์โดยตรงและผลประโยชน์ในด้านผลกระทบของโครงการด้วยได้ ที่มา : เทคนิคการจัดทําแผนปฏิบัติการประจําปี (Annual Action Plan) อย่างมีประสิทธิภาพ : ณรงค์วิทย์ แสนทอง อีเมล : peoplevalue@yahoo.com
  • 5. 5 5. ลักษณะโครงการที่ดี โครงการที่ดีมีลักษณะดังนี้ 1. เป็นโครงการที่สามารถแก้ปัญหาได้ 2. มีรายละเอียด เนื้อหาสาระครบถ้วน ชัดเจน และจําเพาะเจาะจง โดยสามารถตอบคําถามต่อไปนี้ได้คือ โครงการอะไร = ชื่อโครงการ ทําไมจึงต้องริเริ่มโครงการ = หลักการและเหตุผล ทําเพื่ออะไร = วัตถุประสงค์ ปริมาณที่จะทําเท่าไร = เป้าหมาย ทําอย่างไร = วิธีดําเนินการ จะทําเมื่อไร นานเท่าใด = ระยะเวลาดําเนินการ ใช้ทรัพยากรเท่าไรและได้มาจากไหน = งบประมาณ แหล่งที่มา ใครทํา = ผู้รับผิดชอบโครงการ ต้องประสานงานกับใคร = หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน บรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่ = การประเมินผล เมื่อเสร็จสิ้นโครงการแล้วจะได้อะไร = ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 3. รายละเอียดของโครงการดังกล่าว ต้องมีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน เช่น วัตถุประสงค์ต้องสอดคล้องกับ หลักการและเหตุผล วิธีดําเนินการต้องเป็นทางที่ทําให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้ เป็นต้น 4. โครงการที่ริเริ่มขึ้นมาต้องมีผลอย่างน้อยที่สุดอย่างใดอย่างหนึ่งในหัวข้อต่อไปนี้ สนองตอบ สนับสนุนต่อนโยบายระดับจังหวัดหรือนโยบายส่วนรวมของประเทศ ก่อให้เกิดการพัฒนาทั้งเฉพาะส่วนและการพัฒนาโดยส่วนรวมของประเทศ แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ตรงจุดตรงประเด็น 5. รายละเอียดในโครงการมีพอที่จะเป็นแนวทางให้ผู้อื่นอ่านแล้วเข้าใจและสามารถดําเนินการตามโครงการได้ 6. เป็นโครงการที่ปฏิบัติได้และสามารถติดตามและประเมินผลได้ 6. ปัญหาในการเขียนโครงการ ในการเขียนโครงการนั้น เป็นการกําหนดกิจกรรมหรือกิจกรรมที่จะทําในอนาคต โดยอาศัยข้อมูลที่มี อยู่ในปัจจุบันเป็นตัวกําหนดกิจกรรมในโครงการ เมื่อเป็นเช่นนี้หากเป็นโครงการที่ดีย่อมนํามาซึ่งคุณภาพและ ประสิทธิภาพของหน่วยงาน โครงการบางโครงการเมื่อเขียนขึ้นมาแล้วไม่สามารถนําไปใช้ปฎิบัติได้ เนื่องจาก ปัญหาต่าง ๆ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้ 1. ขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถที่แท้จริงในการเขียนโครงการ โครงการจํานวนไม่น้อยที่เขียน ขึ้น โดยบุคคลไม่มีความรู้ความสามารถในเรื่องนั้น ขาดข้อมูลที่เป็นความจริง หรือขาดข้อมูลที่จะต้องใช้จริง ผู้เขียนโครงการเขียนโครงการโดยได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา ผลจากการเขียนโครงการในลักษณะนี้จะ ทําให้เกิดปัญหาแก่ผู้ปฏิบัติโครงการในการจะนําเอาโครงการไปปฏิบัติให้เกิดเป็นผลได้อย่างมีคุณภาพและ ประสิทธิภาพ 2. ระยะเวลาที่ใช้ในการเขียนโครงการ หลายโครงการประสบปัญหาเกี่ยวกับการจัดทําโครงการใน ระยะอันสั้น ทําให้ไม่สามารถที่จะศึกษาข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้องได้อย่างละเอียด ข้อมูลบางชนิดขาดการ วิเคราะห์ที่ดีพอ เมื่อเขียนโครงการขึ้นมาแล้ว จึงขาดความชัดเจนของข้อมูล จึงเป็นปัญหายุ่งยากในการนําเอา โครงการไปปฏิบัติ
  • 6. 6 3. ขาดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ในการเขียนโครงการบางโครงการขาดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนในการเขียน โครงการ เป็นผลให้เกิดความยุ่งยากในการตรวจสอบ ควบคุม และติดตามการดําเนินงาน และมีผลสืบเนื่องถึง การประเมินผลโครงการด้วย 4. การเขียนโครงการเป็นเรื่องของอนาคต ที่อาจจะมีความไม่แน่นอนเกิดขึ้น อันเป็นผลมาจากตัวแปร ต่าง ๆ ที่ผู้เขียนโครงการไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ภัยธรรมชาติหรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด ได้แก่ การเมือง เศรษฐกิจ สิ่งเหล่านี้ล้วนมีผลกระทบต่อการดําเนินงานทั้งสิ้นและเป็นสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้ จึงเป็นปัญหา อย่างสําคัญของการเขียนโครงการ 5. ขาดการสนับสนุนจากผู้บริหารองค์กร ในบางครั้งการเขียนโครงการ แม้จะเขียนดีเพียงใด หาก ผู้บริหารไม่ให้ความสนใจ ขาดการสนับสนุนในเรื่องงบประมาณ และทรัพยากรที่จําเป็นต่อการทําโครงการ อย่างเพียงพอ ย่อมจะสร้างปัญหาให้แก่การดําเนินโครงการได้เช่นเดียวกัน 6. ขาดการประสานงานและความร่วมมือจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โครงการบางโครงการจําเป็นที่จะต้อง มีการประสานงานกับองค์การและหน่วยงานอื่น เพื่อให้โครงการที่ทําอยู่บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ โครงการที่ จะสําเร็จได้จะต้องได้รับความร่วมมือจากองค์การหรือหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการปฏิบัติตามโครงการ ด้วย หากขาดการประสานงานและความร่วมมือจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องแล้วจะทําให้เกิดปัญหาในการทํา โครงการ โครงการดังกล่าวก็จะบรรลุวัตถุประสงค์ได้ยากหรืออาจจะไม่บรรลุวัตถุประสงค์ก็ได้ โครงการทุกโครงการ หากผู้เขียนโครงการสามารถตอบคําถามทุกคําถามเกี่ยวกับโครงการได้ทั้งหมด (ชื่อโครงการ หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ เป้าหมาย วิธีดําเนินการ ระยะเวลาดําเนินการ งบประมาณ และทรัพยากรอื่น ๆ ผู้รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานหรือบุคคลที่ให้การสนับสนุน การประเมินผล ผลที่คาด ว่าจะได้รับ และข้อเสนอแนะ) อาจถือได้ว่าเป็นโครงการที่มีความสมบูรณ์ในรูปแบบ และหากการตอบคําถาม ได้อย่างมีเหตุผลและหลักการ ย่อมถือได้ว่าโครงการที่เขียนขึ้นนั้นเป็นโครงการที่ดี นอกจากจะได้รับการ พิจารณาอนุมัติโดยง่ายแล้ว ผลการดําเนินงานมักมีประสิทธิภาพด้วย ที่มา : http://www.kiriwong.net/nakhonsawan/km5.htm 2 กรกฎาคม 2552
  • 7. 7 7. การจัดทําแผนปฏิบัติการประจําปี แบบ งผง.01 แผนปฏิบัติการประจําปี ประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วน ดังนี้ (แบบฟอร์มอยู่ในภาคผนวก ก) ส่วนที่ 1 : ข้อมูลเกี่ยวกับหน่วยงาน ชื่อแผนปฏิบัติการประจําปี งบประมาณ พ.ศ. ชื่อหน่วยงาน (คณะ/สถาบัน/สํานัก หรือหน่วยงานเทียบเท่า) ชื่อหน่วยงานย่อย (ภาควิชา/โครงการ/ศูนย์/สถานี/กอง/หน่วยงานเทียบเท่า) ชื่อแผนงาน (แผนงานจัดการเรียนการสอน แผนงานการพัฒนานิสิต แผนงานวิจัย แผนงานบริการ วิชาการ แผนงานพัฒนาบุคลากร แผนงานประกันคุณภาพ แผนงานบริหารจัดการ และแผนงาน ทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม) ส่วนที่ 2 : ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดทําโครงการ/กิจกรรม 1. ชื่อโครงการ 2. ผู้รับผิดชอบ 3. วัตถุประสงค์ 4. ความสอดคล้องกับนโยบายและแผนการบริหารมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. (โดยระบุเครื่องหมาย หน้าหัวข้อประเด็นยุทธศาสตร์ที่ต้องการ) ระบุประเด็นยุทธศาสตร์ที่สอดคล้องกับโครงการ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 การยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาขีดความสามารถของประเทศโดยใช้ความรู้เป็นฐาน ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาการศึกษาเพื่อความมั่นคงของรัฐ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาระบบบริหารจัดการและกฎหมายด้านการศึกษา ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 6 การศึกษาและวิจัยเพื่อให้พัฒนามาตรฐานบริการรักษาพยาบาลและ ส่งเสริมสุขภาพ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 7 การศึกษาและวิจัยเพื่อทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรมไทย ความสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกําแพงแสน ยุทธศาสตร์ที่... 5. เป้าหมาย 5.1 เชิงปริมาณ 5.2 เชิงคุณภาพ 6. งบประมาณ วงเงิน..........................บาท แหล่งเงิน ( ) งบประมาณแผ่นดิน ( ) เงินรายได้) ( ) อื่น ๆ (ระบุ)........................
  • 8. 8 7. แผนการดําเนินงาน ลําดับที่ กิจกรรม เป้าหมาย ตารางการปฏิบัติงาน ปีงบประมาณ.... หน่วยนับ จํานวน ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. 8. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 9. ตัวบ่งชี้โครงการ 9.1 เชิงปริมาณ 9.2 เชิงคุณภาพ 10. ปัญหา (จากโครงการเดิม) และการปรับปรุง (ถ้ามี) 8. แผนภูมิการจัดทําแผนปฏิบัติการประจําปี 1. แผนภูมิแสดงโครงสร้างงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ ซึ่งใช้อยู่ในปัจจุบัน ที่มา : สํานักงบประมาณ ประเด็นยุทธศาสตร ยุทธศาสตร ประเด็นยุทธศาสตร ยอย เปาประสงค เชิงยุทธศาสตร เปาประสงค เชิงยุทธศาสตร แผนงบประมาณ กลยุทธหลัก แนวทาง  แผนปฏิบัติราชการ 4 ป และประจําป แผนปฏิบัติราชการ 4 ป และประจําป เปาหมายการให บริการกระทรวง เปาหมายการให บริการหนวยงาน ผลผลิต/โครงการ กองทุน/เงินทุน ยุทธศาสตร กระทรวง กลยุทธหนวยงาน กิจกรรม งบประมาณ MTEF (1+3 ป) หนวยงาน กระทรวง ชาติ (รัฐบาล)
  • 9. 9 2. แผนภูมิกระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์ กระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ นํายุทธศาสตร ไปปฏิบัติ ติดตามประเมินผล วิสัยทัศน ประเด็นยุทธศาสตร เปาประสงค ตัวชี้วัด/คาเปาหมาย กลยุทธ แผนที่ยุทธศาสตร แผนปฏิบัติการ กระบวนงาน โครงสราง เทคโนโลยี คน งบประมาณ กํากับติดตามและ ประเมินผล ทบทวนสถานการณ เพื่อวางยุทธศาสตรใหม วางยุทธศาสตร 3. แผนภูมิกระบวนการจัดทําแผนปฏิบัติการ วิสัยทัศน ระดับสถาบัน ระดับฝาย / ศูนย ระดับหนวย / งาน / บุคคล แผนกลยุทธ / แผนปฏิบัติราชการ 4 ป กลยุทธ / ผลผลิต / ตัวชี้วัด แผนปฏิบัติการประจําป งาน-โครงการ-กิจกรรม โครงการ / กิจกรรมยอย เปาหมาย / ตัวชี้วัด / งปม. / เวลา / ผูรับผิดชอบ กรอบโครงการ เปาหมาย / ตัวชี้วัด / งปม. / เวลา / ผูรับผิดชอบ แผนปฏิบัติงาน
  • 10. 10 วิสัยทัศน กรอบงบประมาณ แผนกลยุทธ / แผนปฏิบัติราชการ 4 ป กลยุทธ / ผลผลิต / ตัวชี้วัด แผนปฏิบัติการประจําป งาน-โครงการ-กิจกรรม โครงการ / กิจกรรมยอย เปาหมาย / ตัวชี้วัด / งปม. / เวลา / ผูรับผิดชอบ กรอบโครงการ เปาหมาย / ตัวชี้วัด / งปม. / เวลา / ผูรับผิดชอบ แผนงบประมาณ คําของบประมาณ แผนปฏิบัติงาน สรุป แผนกลยุทธ / แผนปฏิบัติราชการ 4 ป กลยุทธ / ผลผลิต / ตัวชี้วัด แผนปฏิบัติการประจําป งาน-โครงการ-กิจกรรม โครงการ / กิจกรรมยอย เปาหมาย / ตัวชี้วัด / งปม. / เวลา / ผูรับผิดชอบ กรอบโครงการ แผนปฏิบัติงาน
  • 11. 11 4. แผนภูมิขั้นตอนการจัดทําแผนปฏิบัติการของหน่วยงาน งานแผนงาน (กําแพงแสน) ให้หน่วยงานจัดทําแผนปฏิบัติการประจําปี หน่วยงานระดับคณะ ขอให้ภาควิชา/สาขาวิชา/สํานักงานเลขานุการ ดําเนินการจัดทําแผนปฏิบัติการประจําปี หน่วยงานระดับคณะ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน ตรวจสอบและให้คําปรึกษา การจัดทําแผนปฏิบัติการประจําปี ไม่ถูกต้อง/แก้ไข หน่วยงานระดับคณะ รวบรวบข้อมูล วิเคราะห์ และสรุปผล การจัดทําแผนปฏิบัติการประจําปี เสนอผู้บริหาร/คณะกรรมการประจําคณะ หน่วยงานระดับคณะ จัดส่งแผนปฏิบัติการประจําปี ให้แก่งานแผนงาน (กําแพงแสน) ปลายเดือน ก.ย.-31 ต.ค.
  • 12. 12 9. การปรับและเปลี่ยนแปลงแผนปฏิบัติการประจําปี แผนปฏิบัติการสามารถปรับได้ตามความเปลี่ยนแปลงของทรัพยากร และ/หรือสภาพแวดล้อมที่ เปลี่ยนแปลงไป การปรับแผน และเปลี่ยนแปลงแผนปฏิบัติการ สามารถดําเนินการได้ดังนี้ 1. การปรับแผนปฏิบัติการในระดับกิจกรรม ของโครงการต่างๆ อาจมีการปรับปรุง เพิ่มเติมหรือ ยกเลิกกิจกรรม แต่วัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ/กิจกรรม ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ 1.1 การเพิ่มเติมกิจกรรม 1.2 การยกเลิกกิจกรรม 2. การปรับแผนปฏิบัติการในระดับโครงการ หมายถึง การยกเลิก หรือปรับปรุงโครงการที่มีผลทําให้ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย หรืองบประมาณการดําเนินงานเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม 2.1 การยกเลิกโครงการ 2.2 การปรับปรุงโครงการ เช่น การเพิ่มเป้าหมาย หรือการลดเป้าหมาย การเพิ่มงบประมาณ หรือ การลดงบประมาณ 3. การเปลี่ยนแปลงแผนปฏิบัติการ โดยการขอเพิ่มโครงการใหม่ การปรับและปลี่ยนแปลงแผนปฏิบัติการ ดําเนินการดังนี้ 1. หน่วยงานดําเนินการเสนอการเปลี่ยนแปลงแผนปฏิบัติการแก่คณะกรรมการบริหารหน่วยงาน เพื่อพิจารณาดังนี้ 1.1 การเพิ่มเติมกิจกรรม หรือยกเลิกกิจกรรม 1.2 การยกเลิกโครงการ หรือการปรับปรุงโครงการที่มีผลทําให้วัตถุประสงค์ หรืองบประมาณการ ดําเนินงานเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม 1.3 การขอบรรจุโครงการใหม่ในแผนปฏิบัติการประจําปีเพิ่มเติม 2. หน่วยงานที่ประสงค์จะเพิ่มโครงการใหม่ในแผนปฏิบัติการประจําปีของหน่วยงาน สามารถ ดําเนินการได้โดยให้หน่วยงานดําเนินการจัดทําข้อมูลรายละเอียดตามแบบฟอร์มการเสนอแผนปฏิบัติการ ประจําปีที่มหาวิทยาลัยกําหนด และเสนอผ่านคณะกรรมการบริหารคณะ มหาวิทยาลัย เพื่อพิจารณาอนุมัติ บรรจุโครงการใหม่เข้าในแผนปฏิบัติการประจําปี
  • 13. 13 ขั้นตอนการปรับ/เปลี่ยนแปลงแผนปฏิบัติการ ขั้นตอนที่ 1 ภาควิชา/สาขาวิชา/สํานักงาน เสนอขออนุมัติปรับและเปลี่ยนแปลง แผนปฏิบัติการ (บันทึกข้อความ) พร้อมแบบฟอร์ม งผง.01 และเอกสารที่ เกี่ยวข้องได้แก่ 1. กรณีปรับปรุง เพิ่มเติมระดับกิจกรรม หรือยกเลิกกิจกรรม แบบ งผง.01 ที่มีการปรับเปลี่ยนกิจกรรม หรือยกเลิกกิจกรรม (แนบเอกสารฉบับเดิมและฉบับใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลง) รายงานการประชุม (ถ้ามี) 2. กรณียกเลิก หรือปรับปรุงโครงการ แบบ งผง.01 ที่มีการยกเลิก หรือปรับปรุงโครงการ (แนบเอกสารฉบับเดิมและฉบับใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลง) รายงานการประชุม (ถ้ามี) 3. กรณีเพิ่มโครงการใหม่ แบบ งผง.01 รายงานการประชุม (ถ้ามี) โครงการที่ได้รับอนุมัติ ขั้นตอนที่ 2 ส่งเอกสารที่เสนอขออนุมัติปรับและเปลี่ยนแปลงที่สํานักงานเลขานุการ คณะเกษตร กําแพงแสน ขั้นตอนที่ 3 เจ้าหน้าที่นโยบายและแผนตรวจสอบเอกสาร/โครงการ และแบบฟอร์มที่ เกี่ยวข้อง ขั้นตอนที่ 4 เสนอผู้บริหารคณะเกษตร กําแพงแสน พิจารณา เพื่อเสนอมหาวิทยาลัยฯ พิจารณาอนุมัติ ขั้นตอนที่ 5 คณบดีคณะเกษตร กําแพงแสน เสนอรองอธิการบดี พิจารณาอนุมัติ
  • 14. 14 แผนภูมิขั้นตอนการปรับ/เปลี่ยนแปลงแผนปฏิบัติการ หน่วยงานระดับภาควิชา/สาขาวิชา/ สํานักงานเลขานุการ จัดทําเรื่องขออนุมัติปรับ/เปลี่ยนแปลง แผนปฏัติการประจําปี หน่วยงานระดับคณะ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน ตรวจสอบและให้คําปรึกษา การปรับ/เปลี่ยนแปลงแผนปฏิบัติการประจําปี ไม่ถูกต้อง/แก้ไข หน่วยงานระดับคณะ เสนอผู้บริหารคณะเกษตร กําแพงแสน/ คณะกรรมการประจําคณะ พิจารณา ส่งเอกสารการขออนุมัติฯ ที่ สํานักงานเลขานุการคณะเกษตร กําแพงแสน หน่วยงานระดับคณะ เสนอมหาวิทยาลัยฯ รองอธิการบดี พิจารณาอนุมัติ หน่วยงานระดับมหาวิทยาลัย รองอธิการบดี พิจารณาอนุมัติ หน่วยงานระดับคณะ ส่งฉบับจริงที่ได้รับอนุมัติให้แก่ ภาควิชา/สาขาวิชา/สํานักงานเลขานุการ สําเนาเก็บที่หน่วยนโยบายและแผน
  • 15. 15 ภาคผนวก ก แบบฟอร์ม งผง.01 และตัวอย่าง งผง.01
  • 16. ตัวอยาง แผนงาน : พัฒนาบุคลากร 1. ชื่อโครงการ โครงการสัมมนาอาจารยที่ปรึกษาคณะเกษตร กําแพงแสน 2. ผูรับผิดชอบ คณะเกษตร กําแพงแสน และสํานักงานเลขานุการ (งานการศึกษาและคณะกรรมการอาจารยที่ปรึกษาคณะเกษตร กําแพงแสน) 3. วัตถุประสงค 3.1 3.2 4. ความสอดคลองกับนโยบายและแผนการบริหารมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร พ.ศ. 2552-2555 ประเด็นยุทธศาสตรที่ 1 การสรางโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรูตลอดชีวิต  ประเด็นยุทธศาสตรที่ 2 การยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา ประเด็นยุทธศาสตรที่ 3 การพัฒนาขีดความสามารถของประเทศโดยใชความรูเปนฐาน ประเด็นยุทธศาสตรที่ 4 การพัฒนาการศึกษาเพื่อความมั่นคงของรัฐ ประเด็นยุทธศาสตรที่ 5 การพัฒนาระบบบริหารจัดการและกฎหมายดานการศึกษา ประเด็นยุทธศาสตรที่ 6 การศึกษาและวิจัยเพื่อใหพัฒนามาตรฐานบริการรักษาพยาบาลและสงเสริมสุขภาพ ประเด็นยุทธศาสตรที่ 7 การศึกษาและวิจัยเพื่อทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรมไทย สอดคลองกับแผนยุทธศาสตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร วิทยาเขตกําแพงแสน ยุทธศาสตรที่ 2 5. เปาหมาย 5.1 เชิงปริมาณ อาจารยที่ปรึกษาคณะเกษตร กําแพงแสน จํานวน 100 คน 5.2 เชิงคุณภาพ ความพึงพอใจของผูเขารวมโครงการอยูในระดับดี 6. งบประมาณ วงเงิน ....6,000..........บาท แหลงเงิน ( ) งบประมาณแผนดิน (  ) เงินรายได ( ) อื่น ๆ ระบุ .......................... 7. แผนการดําเนินงาน ลําดับ ที่ หนวยนับ จํานวน ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. 1 คน 100 1.1 1.2 จัดโครงการสัมมนาอาจารยที่ปรึกษา 1.3 ประเมินผลและสรุปโครงการ 8. ประโยชนที่คาดวาจะไดรับ 8.1 9. ตัวชี้วัดโครงการฯ/ตัวบงชี้โครงการ 9.1 จํานวนอาจารยที่ปรึกษาที่เขารวมโครงการฯ ไมนอยกวารอยละ 80 ของเปาหมายที่ตั้งไว 9.2 ผลการประเมินความพึงพอใจของผูเขารวมโครงการอยูในระดับดี หรือมีคาเฉลี่ย 3.50 10. ปญหา (จากโครงการเดิม) และการปรับปรุง (ถามี) - งผง.01 แผนปฏิบัติการประจําปงบประมาณ พ.ศ. 2555 หนวยงาน คณะเกษตร กําแพงแสน เพื่อเพิ่มพูนความรู และแลกเปลี่ยนทัศนะระหวางอาจารยที่ปรึกษา เกี่ยวกับเทคนิคและทักษะตาง ๆ ในการใหคําปรึกษาแกนิสิต ตามความหลากหลายของ นิสิตที่แตกตางกัน กิจกรรม เปาหมาย ตารางการปฏิบัติงาน ปงบประมาณ 2555 โครงการสัมมนาอาจารยที่ปรึกษาคณะเกษตร กําแพงแสน จัดทําหนังสือเชิญอาจารยที่ปรึกษา เพื่อสงเสริมใหอาจารยที่ปรึกษา สามารถนําเทคนิคการใหคําปรึกษาไปใชไดอยางมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น อาจารยที่ปรึกษาไดเพิ่มพูนและแลกเปลี่ยนทัศนะเกี่ยวกับเทคนิคและทักษะตาง ๆ ในการใหคําปรึกษาแกนิสิต เพื่อจะไดนําความรูที่ไดรับไปใชในการให คําปรึกษาไดอยางถูกตองและเหมาะสม ตามความหลากหลายของนิสิตที่แตกตางกันไดอยางมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล