SlideShare a Scribd company logo
1 of 19
Download to read offline
หน้าที่ | 21
หน่วยที่ 2
กลุ่มสังคม สถาบันและการจัดลาดับช่วงชั้นทางสังคม
ตอนที่ 1 กลุ่มสังคม
ตอนที่ 2 สถาบันทางสังคม
ตอนที่ 3 การจัดลาดับช่วงชั้นทางสังคม
ตอนที่ 1 กลุ่มสังคม
1. ความหมายของกลุ่ม
ตามความเห็นของ Maciver and Page ได้อธิบายว่า กลุ่ม หมายถึง การรวมตัวของมนุษย์ชาติที่ต้อง
สัมพันธ์ติดต่อกับบุคคลอื่น เมื่อไม่มีความสัมพันธ์ติดต่อกับการรวมตัวของมนุษย์จะไม่เรียกว่า กลุ่ม แบบ
ของการรวมกลุ่มมีความสัมพันธ์ทางสังคมเป็นพื้นฐาน เท่านั้น
ตามความเห็นของ Ogburn and Nimkoffเขาอธิบายว่า “บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปอยู่ร่วมกันและ
สัมพันธ์กับบุคคลอื่น เรียกว่า กลุ่มสังคม”
นักสังคมวิทยาบางท่านให้ความหมายว่า “กลุ่ม คือ คนจานวนหนึ่งมาอยู่รวมกันหรือกาลังรอคอยสิ่ง
ใดสิ่งหนึ่ง” หรือ “คนจานวนหนึ่งที่มีลักษณะบางอย่างเหมือนกัน” หรือ “คนจานวนหนึ่งซึ่งมีแบบแผน
บางอย่างร่วมกันและมีการตอบโต้ซึ่งกันและกัน” หรือ “กลุ่มคนจานวนหนึ่งซึ่งมีความรู้สึกนึกคิดเป็นพวก
เดียวกันและมีการกระทา โต้ตอบซึ่งกันและกัน”
สรุปความหมายของกลุ่ม คือ กลุ่มคนที่มิใช่มีความใกล้ชิดกันทางร่างกายเท่านั้น แต่จะต้องมีการ
กระทาโต้ตอบซึ่งกันและกัน มีการติดต่อสัมพันธ์กันตามสถานภาพและบทบาท มีความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน
มีความเชื่อในด้านคุณค่าร่วมกันหรือคล้ายคลึงกัน กลุ่มสังคม ได้แก่ ครอบครัว กลุ่มเพื่อน กลุ่มอาชีพ
กลุ่มเชื้อชาติ กลุ่มประชาชนของประเทศ เป็นต้น
2. การจาแนกประเภทของกลุ่มทางสังคมวิทยา
เราเป็นสมาชิกของกลุ่ม ซึ่งอาจเป็นด้วยสถานการณ์ของการจัดการทางสถิติ เราเป็นสมาชิกของกลุ่ม
อื่น ก็เพราะว่าเรามีความรู้สึกว่ามีบางสิ่งบางอย่างร่วมกันกับกลุ่มนั้น เราเป็นสมาชิกของอีกกลุ่ม เพราะเรามี
ความสัมพันธ์ทางสังคมกับกลุ่มนั้น เราเป็นสมาชิกของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เพราะว่าเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ
กลุ่มและมีชื่อปรากฏเป็นสมาชิกของกลุ่มนั้น เพราะฉะนั้น จึงอาจจัดกลุ่มออกได้เป็น 4 กลุ่ม ดังต่อไปนี้
1) กลุ่มทางสถิติ (Statistical Group)
2) กลุ่มคนพวกเดียวกัน (Societal Group)
3) กลุ่มทางสังคม (Social Group)
4) กลุ่มสมาคม (Associational Group)
หน้าที่ | 22
อย่างไรก็ดี ชื่อทั้งสี่ข้างต้นอาจจะไม่ใช่ชื่อที่ดีหรือเหมาะที่สุด แต่เมื่อไม่สามารถจะแสวงหาชื่อที่
ดีกว่านี้ ชื่อทั้งสี่ก็น่าจะเป็นประโยชน์อยู่บ้างและก่อนอื่น เราควรจะได้ทราบว่าการจัดกลุ่มดังกล่าวนั้น ขึ้นอยู่
กับลักษณะที่สาคัญอยู่ 3 ประการ กล่าวคือ
1.ความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน
2.การปะทะสังสรรค์ทางสังคม
3.การจัดระเบียบทางสังคม
1) กลุ่มทางสถิติ (Statistical Group)เป็นกลุ่มที่สมาชิกมิได้จัดขึ้นด้วยตนเอง หากเป็นการจัดขึ้น
โดยนักสังคมวิทยาและนักสถิติ โดยปกติแล้ว สมาชิกของกลุ่มไม่มีความรู้สึกว่าเป็นสมาชิกของกลุ่มและไม่มี
สิทธิหรือพันธะต่อกลุ่มแต่อย่างใด ขอยกตัวอย่างเช่น กลุ่มคนที่เกิดในโรงพยาบาลและกลุ่มคนที่เกิดนอก
โรงพยาบาล เหล่านี้เป็นต้น การจัดกลุ่มทางสถิติขึ้นนั้นก็เพื่อความมุ่งหมายของสถิติ จึงไม่สู้สาคัญในทาง
สังคมวิทยานัก
ประโยชน์ที่ได้รับจากกลุ่มทางสถิติ คือ ช่วยให้ทราบถึงลักษณะสาคัญบางประการของชุมชน
ได้เช่น ชุมชนที่เกิดในโรงพยาบาลร้อยละ 10 ย่อมแตกต่างจากชุมชนที่ไม่เกิดในโรงพยาบาลร้อยละ90 เป็น
ต้น
2) กลุ่มคนพวกเดียวกัน (Societal Group)กลุ่มคนประเภทนี้มีลักษณะแตกต่างไปจากกลุ่มทาง
สถิติ คือ สมาชิกของกลุ่มคนพวกเดียวกันมีความรู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกันซึ่งมีเครื่องแต่งกายเหมือนกันหรือมี
ภาษาเดียวกัน กลุ่มนี้มีความรู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกันทั้ง ๆ ที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อนและไม่มีการปะทะสังสรรค์
กัน ตลอดทั้งไม่มีการจัดระเบียบทางสังคม เช่น กลุ่มที่มีภาษาเดียวกัน ตัวอย่างเช่น ภาษาชาวเหนือ คนที่พูด
ภาษาเหนืออาจไม่รู้จักกันก็ได้แต่พอพูดออกมาก็รู้ได้ว่าเป็นพวกเดียวกัน
3) กลุ่มทางสังคม (Social Group)การใช้คาว่า “สังคม” ก็เพื่ออธิบายว่า มีการติดต่อกัน
ทางสังคมและมีการปะทะสังสรรค์กันทางสังคม สมาชิกของกลุ่มประเภทนี้ นอกจากจะมีความรู้สึกเป็น
พวกเดียวกันแล้ว ยังมีการปะทะสังสรรค์ทางสังคมอีกด้วย กลุ่มทางสังคมนี้ก็ได้แก่ กลุ่มเพื่อนเล่นกลุ่มเพื่อ
นักเรียนร่วมชั้นเดียวกัน เป็นต้น
4) กลุ่มสมาคม (Associational Group)กล่าวได้ว่า กลุ่มประเภทนี้เป็นกลุ่มที่มีความสาคัญที่สุด
ในสังคมเชิงซ้อนสมัยใหม่ ทั้งนี้เพราะว่า กลุ่มสมาคม (หรือสมาคม) เป็นกลุ่มที่ได้มีการจัดระเบียบหรือ
องค์การ เป็นกลุ่มที่มีโครงสร้างอย่างเป็นทางการ เพราะฉะนั้น กลุ่มสมาคมจึงมีลักษณะครอบถ้วนใน
ความหมายทางสังคมวิทยา กล่าวคือ มีความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน มีการปะทะสังสรรค์ทางสังคม และมีการ
จัดกลุ่มอย่างมีระเบียบเพื่อรักษาผลประโยชน์ของกลุ่ม
3. แบบของกลุ่มคน
กลุ่มคนย่อมมีคุณสมบัติแบบฉบับและด้วยคุณสมบัติดังกล่าวนี้เอง ช่วยให้เข้าใจถึงรากฐานของ
ทฤษฎีของกลุ่มตามความหมายของสังคมวิทยาเป็น 2 พวกหรือคู่กันดังจะได้อธิบายต่อไปนี้
หน้าที่ | 23
1) แบบกลุ่มปฐมภูมิและทุติยภูมิ (Primary Groups and Secondary Groups)กลุ่มปฐมภูมิ ได้แก่
กลุ่มบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดและมีความรู้สึกเป็น พวกเรา มีการติดต่อกันอยู่เสมอและเป็น
เวลาอันยาวนาน ซึ่งจะพอสรุปลักษณะของกลุ่มปฐมภูมิได้ดังนี้
1. เป็นกลุ่มขนาดเล็ก
2. มีการติดต่อใกล้ชิดกันและเป็นไปโดยตรง
3. มีความสนิทสนมใกล้ชิดเป็นการส่วนตัว
4. มีการติดต่อกันเป็นระยะยาว
5. กระทากิจกรรมต่าง ๆ โดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกัน ช่วยเหลือกัน
6. การตัดสินใจของกลุ่มใช้ความรู้สึก อารมณ์มากกว่าเหตุผล
กลุ่มปฐมภูมิมีประโยชน์ในการช่วยให้สมาชิกได้เรียนรู้ระเบียบของสังคมอย่างใกล้ชิด มีความ
เมตตาธรรมรักใคร่กันอย่างพี่น้องเพื่อนฝูงโดยไม่มีอะไรแอบแฝง
ข้อเสียของกลุ่มปฐมภูมิมีอยู่บ้าง คือ สมาชิกกลุ่มรักพวกรักพ้องจนอาจทาให้เสียความยุติธรรม
หรือบางกรณีและบางเหตุการณ์ สมาชิกจะรู้สึกขาดความเป็นตัวของตัวเอง เพราะเอาใจสมาชิกกลุ่มมาก
เกินไป
กลุ่มทุติยภูมิ สมาชิกกลุ่มมีความผูกพันมิใช่เป็นการส่วนตัว มีความสัมพันธ์กันเป็นไปตาม
ระเบียบกฎเกณฑ์มีแบบแผน ซึ่งพอสรุปลักษณะของกลุ่มทุติยภูมิดังนี้
1. มีการแบ่งงานกันทาตามความสามารถเฉพาะสาขาเพื่อประสิทธิภาพของงาน
2. มีการมอบหมายอานาจ
3. มีสายการติดต่องานเป็นไปตามลาดับขั้นตอนไม่ก้าวก่ายข้ามหน้าข้ามตากัน
4. มีการประสานงานเพื่อผลงานมีประสิทธิภาพ
กลุ่มทุติยภูมิมีประโยชน์ในการดาเนินชีวิตในสังคมอุตสาหกรรม เพราะสมาชิกจะได้ทราบถึง
สิทธิหน้าที่อย่างแจ้งชัด การปฏิบัติงานของสมาชิกเป็นไปอย่างมีระเบียบและระบบ โดยไม่นาเรื่องส่วนตัว
เข้ามาปะปน ทาให้เกิดความยุติธรรมและความเป็นระเบียบเสมอหน้ากัน นอกจากนั้นการวางตัวในหมู่
สมาชิกก็กระทาได้ง่าย กล่าวคือ เมื่อหมดหน้าที่แล้ว ต่างคนต่างมีอิสระไม่ต้องคอยระมัดระวังในเรื่องส่วนตัว
ข้อเสียของกลุ่มทุติยภูมิก็มีอยู่เช่นเดียวกัน คือ สมาชิกของกลุ่มขาดความ อบอุ่น เพราะทุกคนมุ่ง
แต่งานและระเบียบ เมื่อเกิดการผิดพลาดในการงานบุคคล ผู้กระทาผิดย่อมได้รับการตาหนิหรือลงโทษทาให้
เกิดความรู้สึกว่าตนขาดที่พึ่งพาอาศัยและไม่มีใครเห็นอกเห็นใจหรือยอมเข้าใจรับรู้ข้อเท็จจริงในข้อผิดพลาด
ดังกล่าว ดังนั้น สมาชิกของกลุ่มทุติยภูมิจึงได้หาทางออกโดยการสร้างกลุ่มปฐมภูมิขึ้น เช่น นัดพบปะเพื่อน
ร่วมงานที่ใกล้ชิดและที่มีความเห็นอกเห็นใจ นัดสังสรรค์ระหว่างเพื่อนโรงเรียนเก่า หรือนัดสังสรรค์ระหว่าง
กลุ่มบุคคลที่มาจากจังหวัดเดียวกัน เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อเป็นการทดแทนความต้องการทางจิตใจ
2) กลุ่มพวกเราและกลุ่มพวกเขา (In – Group and Out – Group or We – Group and They –
Group)กลุ่มพวกเรา หมายถึง บุคคลที่เราใช้สรรพนาม “เรา” คาว่า “เรา” อาจหมายถึง กลุ่มบุคคลขนาดเล็ก
หน้าที่ | 24
เช่น สมาชิกในครอบครัวหรือกลุ่มบุคคลขนาดใหญ่ เช่นทุกคนในโลกนี้ก็ได้ลักษณะของกลุ่มพวกเรา จึง
หมายถึง “ความเป็นพวกเดียวกัน” ส่วนกลุ่มพวกเขา หมายถึงกลุ่มไหนที่มิใช่พวกเราคือเป็นพวกเขา
อาจกล่าวได้ว่า กลุ่มพวกเราและกลุ่มพวกเขานั้น มิใช่เป็นกลุ่มจริงเป็นเรื่องของการสร้างขึ้นด้วย
การใช้สรรพนาม “เรา” และ “เขา” เท่านั้นเอง และความแตกต่างระหว่างกลุ่มทั้งสองข้างต้นอยู่ที่การสร้าง
หลักความสัมพันธ์ทางสังคม 2 ประการด้วยกัน
1. หลักประการแรก สมาชิกของกลุ่มพวกเราโน้มเอียงที่จะประเมินค่าของพวกเดียวกับตนเป็น
รายบุคคลและจะประเมินค่าของบุคคลกลุ่มอื่นรวม ๆ กัน เช่นชาวอาเซียนเห็นชาวยุโรปและชาวอเมริกัน
รวมๆ กันว่า “ฝรั่ง” ซึ่งตามความเป็นจริงแล้ว ชาวยุโรปกับชาวอเมริกันมีความแตกต่างกันหลายประการ เช่น
ชาวอังกฤษเป็นคนเงียบ ฝรั่งเศสนิยมดื่มเหล้าองุ่น เยอรมันนิยมดื่มเบียร์ และคนอเมริกันนิยมดื่มกาแฟ
เหล่านี้เป็นต้น คือ พิจารณาโดยถือลักษณะโดยรวมอันเป็นลักษณะที่แปลกไปจาก“ชาวอาเซียน” หรือ “พวก
เรา”
2. หลักประการที่สอง ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากความแตกต่างระหว่างกลุ่มพวกเราและกลุ่มพวก
เขา ก็คือ การคุกคามใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโกหกหรือเรื่อง จริง ๆ ซึ่งเกิดจากกลุ่มพวกเขาย่อมก่อให้เกิด
สามัคคีธรรมหรือความเป็นน้าหนึ่งใจเดียวกันภายในกลุ่มพวกเรา เช่น ครอบครัวหนึ่งญาติพี่น้องทะเลาะ
เบาะแว้งกันนัวเนีย แต่เมื่อคนภายนอก “หรือกลุ่มพวกเขา” ไปวิพากษ์วิจารณ์เข้า ประดาญาติพี่น้องที่ทะเลาะ
กันอุตลุดจะหยุดทันทีและจะหันหน้าคืนดีกันเพื่อต่อต้านบุคคลภายนอกหรือกลุ่มพวกเขา จึงเป็นอุทาหรณ์ว่า
ผัวเมียทะเลาะกัน บุคคลอื่นอย่าเข้าไปเกี่ยวข้องเป็นอันขาด
3) ชนกลุ่มใหญ่และชนกลุ่มน้อย (Majority – Group and Minority – Group)ในแต่ละกลุ่มนั้น
อาจมีการแบ่งเป็นกลุ่มย่อยอีกสองกลุ่ม กลุ่มใหญ่ เราก็เรียกว่า “ชนกลุ่มใหญ่” กลุ่มเล็กกว่า เราก็เรียกว่า “ชน
กลุ่มน้อย”
การแบ่งกลุ่มคนออกเป็นสองกลุ่มดังกล่าวนั้น ไม่มีข้อจากัดในเรื่องจานวนแต่ประการใด เช่น
คนสองคนเป็นคนกลุ่มใหญ่ในเมื่อคนกลุ่มนั้นทั้งหมดมีสามคน นอกจากนั้น ภายในกลุ่มเดียวกัน ชนกลุ่ม
ใหญ่อาจจะมีอานาจมากหรือน้อยก็ได้เช่น กลุ่มคนจานวน 100 คน ชนกลุ่มใหญ่อาจจะมีจานวนตั้งแต่ 51
คน ถึง 90 คน ก็ได้
คุณสมบัติของชนกลุ่มใหญ่หรือชนกลุ่มน้อยย่อมส่งผลกระทบถึงชีวิตในสังคม โดยเฉพาะอย่าง
ยิ่งในทางการเมือง ความตึงเครียดหรือการขัดกันของกลุ่มคนของเชื้อชาติย่อมจะมีน้อย ในเมื่อชนกลุ่มใหญ่มี
จานวนมากกว่าชนกลุ่มน้อยอย่างมากมาย แต่ในทางตรงกันข้าม ความตึงเครียดหรือการขัดกันจะมีมากขึ้น
ในเมื่อชนกลุ่มน้อยมีจานวนมากขึ้น
4) กลุ่มสมัครใจและกลุ่มไม่สมัครใจ (Voluntary – Group and Involuntary – Group) กลุ่มสมัคร
ใจ หมายถึง สมาชิกของกลุ่มเข้ามารวมกันโดยความสมัครใจ เช่น กลุ่มอาชีพเดียวกัน กลุ่มที่มีผลประโยชน์
ร่วมกัน กลุ่มที่มีความสนใจ ร่วมมือกัน เช่น สมาคมพ่อค้า สมาคมผู้ปกครองนักเรียน สมาคมกล้วยไม้เป็น
ต้น
หน้าที่ | 25
ส่วนกลุ่มไม่สมัครใจ หมายถึง สมาชิกของกลุ่มเข้ามารวมกันโดยไม่มีทางเลือกเป็นอย่างอื่น เช่น
กลุ่มเพศชาย กลุ่มเพศหญิง กลุ่มเชื้อชาติ กลุ่มศาสนา เป็นต้น
อนึ่ง ความแตกต่างระหว่างกลุ่มสมัครใจและกลุ่มไม่สมัครใจนี้จะพิจารณาได้จากสถานภาพ
กล่าวคือ สถานภาพโดยการกระทาย่อมเกิดขึ้นในกลุ่มสมัครใจ ส่วนกลุ่มไม่สมัครใจจะเป็นสถานภาพโดย
กาเนิด
5) กลุ่มระดับเดียวกันและกลุ่มหลายระดับ (Horizontal Group and Vertical Group)กลุ่มบางกลุ่ม
รับสมาชิกเฉพาะบางลาดับ คือ เลือกจากในลาดับเดียวกันเป็นสมาชิกของกลุ่ม เช่น สมาคมแพทย์ก็รับเฉพาะ
ผู้มีอาชีพเป็นแพทย์สมาชิกสมาคมทหารผ่านศึก เป็นต้น กลุ่มดังกล่าวนี้ เรียกว่า “กลุ่มระดับเดียวกัน”
ส่วนกลุ่มหลายระดับนั้น ประกอบด้วย คนจากทุกระดับชั้น เช่น พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย
กลุ่มผู้บาเพ็ญประโยชน์ซึ่งรับสมาชิกทุกชนชั้น
6) กลุ่มที่มีการจัดระเบียบและกลุ่มที่มิได้มีการจัดระเบียบ (Organize Group and Unorganized
Group)กลุ่มบางกลุ่มที่เกิดขึ้นเองโดยไม่มีการจัดระเบียบ เช่น กลุ่มทางสถิติ กลุ่มพวกเดียวกัน และกลุ่มทาง
สังคม ล้วนเป็นกลุ่มที่เกิดขึ้นมาโดยไม่มีการจัดระเบียบ
แต่กลุ่มบางกลุ่มจะเกิดขึ้นมาได้ต้องมีการจัดระเบียบ เช่น กลุ่มสมาคมหรือองค์การ เป็นกลุ่มที่มี
การจัดระเบียบ คือ มีสานักงาน มีระเบียบกฎเกณฑ์กาหนดถึงหน้าที่และสิทธิของสมาชิก กลุ่มที่มีการจัด
ระเบียบนี้ถือได้ว่า เป็นกลุ่มที่มีความสาคัญยิ่งในการจัดรูปความสัมพันธ์และการติดต่อของสมาชิกของสังคม
อันทาให้เกิดการกาหนด ในเรื่องอานาจและสิทธิว่า ใครควรจะปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติในการมี
ความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น เพราะฉะนั้น กลุ่มที่มีการจัดระเบียบจึงเป็นสิ่งจาเป็นในสังคมเชิงซ้อน เพราะจะ
ช่วยให้การดาเนินชีวิตและกิจกรรมต่าง ๆ ของสังคมดาเนินไปได้อย่างมีระเบียบแบบแผนและกฎเกณฑ์ตาม
สถานภาพ
ตอนที่ 2 สถาบันทางสังคม
1. ความหมายของสถาบันทางสังคม
คาว่า Institution ซึ่งแปลว่า “สถาบัน” นั้น มีความหมายจาแนกออกได้เป็น 2 นัย ได้แก่
1) แบบอย่างพฤติกรรที่มีระเบียบแบบแผนและปฏิบัติสืบต่อกันมาจนเป็นที่ ยอมรับกันทั่วไป
เรียกว่า สถาบัน การกระทาบางอย่างลาพังแต่ปฏิบัติโดยไม่มีระเบียบ ไม่มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอน แม้จะกระทา
กันทั่วไปและยอมรับกันทั่วไป ก็หาเรียกว่าเป็นสถาบันไม่ เช่น การสอนให้เด็กทาอะไรจะเป็นการพูดก็ดี การ
รับประทานอาหารก็ดี การอ่านหนังสือก็ดี แต่การสอนดังกล่าวนี้ ไม่เฉพาะในสังคมบางแห่งเท่านั้น จึงนับว่า
เป็นสถาบัน
ซึ่งได้แก่ โรงเรียน การสอนการเรียนที่บ้านหรือนอกห้องเรียนที่มิได้จัดตั้งขึ้นเป็นแบบแผนเป็นทางการ
ไม่เรียกว่าเป็นสถาบัน
หน้าที่ | 26
2) องค์การที่จัดตั้งขึ้น ซึ่งอาจเป็นโรงเรียน โรงพยาบาล ทีมฟุตบอล วัด บริษัท ห้างร้าน กระทรวง
ทบวง กรม สถาบันในแง่นี้ ก็คือ องค์การ นั่นเอง ซึ่งจะต้องมีการจัดตั้งขึ้น ถ้าไม่มีการจัดตั้งเป็นองค์การขึ้น
ก่อน สถาบันก็เกิดขึ้นไม่ได้หรือสถาบันจะมีขึ้นไม่ได้ถ้าไม่มีองค์การรับรอง เช่น สถาบันการศึกษาจะมี
ไม่ได้หากไม่มีโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย บริษัทห้างร้านต่าง ๆ จะมีไม่ได้หากไม่มีการประกอบธุรกิจ
การค้า เป็นต้น
“สถาบัน” ในความหมายทางสังคมวิทยา มุ่งเน้นถึงสถาบันที่เป็นนามธรรม คือ ระเบียบหรือ
แนวทางปฏิบัติที่ทากันมาจนชาชินและเป็นที่ยอมรับกันทางสังคม ลักษณะทั่วไปของสถาบันนอกจากจะเป็น
ดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีลักษณะเฉพาะอีก 4 ประการ คือ
1) สถาบันมีชีวิตยืนยาวไม่มีที่สิ้นสุด องค์การอาจแตกสลายได้แต่สถาบัน อันเป็นแนวทางปฏิบัติ
จะมีความยั่งยืน เพราะสถาบันค่อย ๆ เจริญตัวและปลูกฝังลงในอุปนิสัย จนยากที่จะเปลี่ยนแปลงได้
2) การปฏิบัติอยู่ในวงกว้างไม่ใช่เฉพาะกลุ่มสถาบันนั้น มีอาณาเขตเป็นสากลปรากฏอยู่ทั่วไปทุก
หนทุกแห่ง เช่น การศึกษา การศาสนา การเศรษฐกิจ การปกครอง ทุกสังคมจะมีสถาบันดังกล่าว
3) ดารงอยู่และถือปฏิบัติในทุกชั้นวรรณะไม่ว่าคนยากดีมีจน คนฉลาดคนโง่ ทุกคนจะต้องปฏิบัติ
ตนตามสถาบันนั้น ๆ เสมอเหมือนกัน จะลดหย่อนกว่ากันก็น้อยที่สุด ระบบการทั้งหลายของสถาบันย่อม
ให้ผลต่อชนทุกชั้นทั่วถึงกันและทุกระยะแห่งชีวิตของมนุษย์
4) มีความสัมพันธ์กันระหว่างสถาบันต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการศึกษา การเศรษฐกิจ
การเมืองการปกครอง ตลอดจนสถาบันครอบครัวจะมีความสัมพันธ์และเกื้อกูลซึ่งกันและกันและมีผลต่อ
บุคคลทุกคนและส่วนรวมด้วยเสมอ
ตามความเห็นของ ดร.สนอง บุณโยทยาน กล่าวไว้ว่า สถาบันทางสังคม หมายถึงทั้งสิ่งที่เป็น
รูปธรรม สังเกตเห็นได้และที่เป็นนามธรรม มองเห็นไม่ได้ แต่เป็นสิ่งที่มีอยู่ รูปธรรม เช่นการประกอบ
พิธีกรรมทางศาสนา การสมรส การดาเนินในด้านการปกครองและการเมือง (การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
การเปลี่ยนรัฐบาล และอื่น ๆ) ส่วนในด้านที่เป็นนามธรรมนั้น ก็คือ สิ่งที่เป็นบรรทัดฐานสังคมต่าง ๆ ซึ่ง
มนุษย์รู้อยู่แน่นอนว่ามีอยู่ แม้จะมิได้บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรก็ตาม สถาบันในวิชาสังคมวิทยา หมายถึง
ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีลักษณะแสดงให้เห็นว่า พฤติกรรมของมนุษย์ที่เกี่ยวกับสิ่งนั้นเป็นไปในแบบของการ
ร่วมมือกัน โดยการร่วมมือกันอย่างถาวรและเป็นการร่วมมือภายใต้กฎเกณฑ์ใดกฎเกณฑ์หนึ่ง นอกจากนั้น
การที่พฤติกรรมชุดใดชุดหนึ่งของมนุษย์จะเป็นพฤติกรรมที่เรียกว่า สถาบันได้พฤติกรรมนั้นจะต้องมี
ลักษณะ เฉพาะตัวและเปลี่ยนแปลงยาก มนุษย์ที่จะประพฤติปฏิบัติร่วมมือกันโดยมีกฎเกณฑ์และเป็นระยะ
เวลานานนี้ ต้องประพฤติร่วมกันโดยรู้ตัว ถึงแม้ว่าจะประพฤติปฏิบัติในสังคมที่จะเป็นสถาบันได้ต้องเป็นไป
อย่างเป็นกิจลักษณะ ไม่ใช่เป็นการปฏิบัติอย่างกันเอง
ตามความเห็นของประสาท หลักศิลา “สถาบัน หมายถึง ระบบทางสังคมอย่างหนึ่ง หมายถึง
ความสัมพันธ์ของพฤติกรรมต่าง ๆ ที่มาประกอบเป็นสถาบันนั้น ๆ และคนที่อยู่ร่วมกันในสังคมหนึ่งๆ ยอม
ปฏิบัติกันเช่นนั้น”
หน้าที่ | 27
จากการอธิบายข้างต้น พอสรุปได้ว่า สถาบันทางสังคม หมายถึง แนวทางการปฏิบัติอย่างมีระเบียบ
และระบบ ซึ่งบุคคลส่วนใหญ่ในสังคมนั้นยอมรับปฏิบัติ เพื่อประโยชน์ส่วนรวมในสังคม
2. สถาบันทางสังคมที่สาคัญ
นักสังคมวิทยาได้อธิบายจาแนกสถาบันทางสังคมที่สาคัญเป็น 6 สถาบัน คือ
1) สถาบันทางครอบครัว (Family Institution)
2) สถาบันทางการศึกษา (Educational Institution)
3) สถาบันทางศาสนา (Religious Institution)
4) สถาบันทางการเมือง (Political Institution)
5) สถาบันทางเศรษฐกิจ (Economic Institution)
6) สถาบันทางนันทนาการ (Recreational Institution)
3. หน้าที่และความสาคัญของสถาบัน มีดังต่อไปนี้
1) สถาบันทางครอบครัว
สถาบันทางครอบครัว คือ สถาบันที่ชายหญิงอยู่กินกันเป็นครอบครัวและเป็นสถาบันที่จะ
ยังให้สังคมดารงอยู่ได้ตลอดไป ยอมรับกันว่า สถาบันครอบครัวเป็นสถาบันพื้นฐานของสังคม ซึ่งทาหน้าที่
ควบคุมความสัมพันธ์ทางเพศ การมีบุตรการอบรมเลี้ยงดู ตลอดถึงการสร้างระบบเครือญาติ แต่เดิมมานั้น
ครอบครัวทาหน้าที่เป็นสถาบันเบ็ดเสร็จ กล่าวคือ กิจกรรมทั้งปวงของบุคคลมีศูนย์กลางอยู่ที่ครอบครัวไม่ว่า
จะเป็นการศึกษา การแพทย์การสังคมสงเคราะห์ ตลอดจนพิธีกรรมต่าง ๆ ในสมัยหลังจึงได้มีองค์การอื่นๆ
รับไปปฏิบัติแทนครอบครัว การอยู่กันเป็นครอบครัวมีระเบียบปฏิบัติซึ่งตั้งขึ้นเป็นแบบแผนเป็นมาตรฐาน
ในเรื่องการสืบพันธุ์และการเลี้ยงดูบุตร ครอบครัวปฏิบัติหน้าที่ทั้งในด้านเฉพาะตัวและหน้าที่ของสังคมเป็น
ส่วนรวม และหน้าที่อันสาคัญยิ่งของครอบครัว คือ การสร้างคน การที่สังคมจะดารงอยู่ได้ก็ต้องมีสมาชิกมา
แทนที่สมาชิกเดิมที่ล้มตายไป การสร้างคนจึงเป็นสถาบันขึ้นมา เรียกว่า สถาบันครอบครัว
ประวัติความเป็นมาของครอบครัว
ดร.ไพฑูรย์เครือแก้ว ได้กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของครอบครัวไว้โดยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ
ด้วยกัน คือ
- ระยะที่หนึ่ง เรียกว่า ระยะเสน่หาก่อนแต่งงาน (Prenuptial Stage) ซึ่งเริ่มตั้งแต่หนุ่มสาว
พบปะกันครั้งแรก มีการถูกตาต้องใจกันไปจนกระทั่งถึงการตกลงปลงใจจนแต่งงาน ระยะนี้เป็นระยะที่
เรียกว่า “Romantic Love” ซึ่งเป็นความรักที่มีความเสน่หาทางกายและใจอย่างรุนแรงห้ามกันไม่ได้
- ระยะที่สอง เรียกว่า ระยะข้าวใหม่ปลามัน (Nuptial Stage) ระยะนี้เริ่มตั้งแต่คู่หนุ่มสาว
ร่วมชีวิตกันตั้งแต่ต้นจนเข้าหอแต่งงาน จนกระทั่งถึงตอนเริ่มจะคลอดบุตรคนแรก เป็นระยะของความหวาน
หน้าที่ | 28
ชื่น หรือระยะนี้ อาจเรียกว่า “Honey Moon” เป็นระยะเริ่มครอบครัว เริ่มอยู่ด้วยกัน มีความรับผิดชอบทุก ๆ
ด้าน นับตั้งแต่แต่งงาน อาชีพ ความเป็นไปในครอบครัว การสร้างอนาคต
- ระยะที่สาม เรียกว่า ระยะมีบุตรสืบสกุล (Child Bearing Stage) เริ่มจากหญิงเริ่มต้นตั้งครรภ์
จนกระทั่งคลอดบุตรคนแรก ซึ่งระยะนี้ถือว่าทวีความรู้สึกสัมพันธ์ต่อกันยิ่งขึ้น รวมทั้งความตื่นเต้นดีใจ การ
มีบุตรถือว่าเป็นผลิตผลของความสัมพันธ์ทางเพศ ในระยะนี้ เป็นระยะที่ต่างฝ่ายต่างหันเหความสนใจและ
ความชื่นชมมาสู่บุตรของตน ซึ่งจะทาให้พ่อแม่มีความกระตือรือร้นในการประกอบภาระกิจของตน
ตลอดจนสานึกในความรับผิดชอบต่อชีวิตครอบครัวเพิ่มขึ้น
- ระยะที่สี่ เป็นระยะที่ลูก ๆ ได้พ้นอกพ่อแม่ (Maturity Stage) เริ่มจากบรรดาลูก ๆ มีอายุโต
พอสมควร พ้นภาระความรับผิดชอบของพ่อแม่แล้ว ภาระของพ่อแม่ก็ย่อมลดน้อยลงไปด้วย พ่อแม่จะหัน
ความสนใจมาสู่กันอีกครั้งหนึ่งและหวนราลึกถึงความสดชื่นแต่หนหลัง ทาให้เกิดความรักความเข้าใจห่วงใย
ต่อกันและมีความหวังที่จะอยู่ร่วมกันตราบเท่าชีวิต โดยมีบุตรเป็นหลักและที่พึ่งของตน เมื่อยาม แก่เฒ่าด้วย
หน้าที่ของครอบครัว
หน้าที่อันสาคัญของครอบครัว พอจะแบ่งได้ดังต่อไปนี้
1. สร้างสรรค์สมาชิกใหม่ (Reproduction)เพื่อให้สังคมอยู่ได้เพราะสังคมจะต้องมีสมาชิก
ใหม่แทนที่สมาชิกเดิมที่ตายไป
2. บาบัดความต้องการทางเพศ (Sexual Gratification)ซึ่งออกมาในรูปของการสมรส
เป็นการลดปัญหาทางเพศบางอย่าง เช่น การข่มขืนกระทาชาเรา การสมรสเป็นสิ่งจาเป็นในสังคมที่มี
การจัดระเบียบ
3. เลี้ยงดูผู้เยาว์ให้เจริญเติบโตขึ้นในสังคม (Maintenance of Immature Children or Raising
the Young)เราจะเห็นได้ว่า ไม่มีสถาบันใดทาหน้าที่ได้ดีกว่าสถาบันนี้ เพราะความรักความอบอุ่น เด็กจะหา
ที่อื่นใดเสมือนครอบครัวนั้นยากมาก พ่อแม่ส่วนใหญ่มีความรักลูกย่อมประคับประคองเลี้ยงดูลูกของตนเป็น
อย่างดี แม้จะยากดีมีจนก็ตามครอบครัวจะเลี้ยงดูบุตรตั้งแต่เกิดจนกระทั่งเติบโต
4. ให้การอบรมสั่งสอนแก่เด็กให้รู้จักระเบียบของสังคม (Socialization)ครอบครัวเป็นแหล่ง
การอบรมเบื้องต้นที่มีอิทธิพลต่อเด็กมาก เป็นสถาบันที่เตรียมเด็กให้ออกไปเผชิญกับสิ่งที่พ้นออกไปจาก
บ้าน ครอบครัวช่วยอบรมเด็กให้รู้จักกฎเกณฑ์ คุณค่า แบบของความประพฤติ ฯลฯ สอนให้เด็กปรับตัวเข้า
กับสิ่งแวดล้อมในสังคม
5. กาหนดสถานภาพ (Social Placement)เราได้ชื่อสกุลจากครอบครัว ซึ่งส่วนมากก็เปลี่ยนได้
ในเวลาต่อมาโดยเฉพาะเป็นหญิง แต่งงานแล้วก็เปลี่ยนตาม ชื่อสกุลของสามี สถานภาพที่ครอบครัวให้นี้ทา
ให้เรารู้ว่าเราเป็นใครอยู่กับคนกลุ่มไหน
6. ให้ความรักและความอบอุ่น (Affection)ครอบครัวเป็นแหล่งที่สมาชิกได้รับความรักความ
อบอุ่นอย่างบริสุทธิ์ใจ เป็นแหล่งที่ให้ประกันว่าจะมีคนที่เรารักและคนที่รักเราเสมอ เช่น ความรักของสามี
หน้าที่ | 29
ภรรยา ความรักของพ่อแม่ที่มีต่อลูก นอกจากนั้น ถ้าสมาชิกคนใดประสบกับความผิดหวัง ครอบครัวจะเป็น
แหล่งให้กาลังใจและปลุกปลอบใจเพื่อให้สามารถผ่านอุปสรรคไปได้
2) สถาบันทางการศึกษา
ความหมายของการศึกษา
ตามความเห็นของ Aristotle ว่า “การศึกษา คือ การอบรมคนให้เป็นพลเมืองดีและดาเนินชีวิต
ด้วยการกระทาดี”
Rousseanกล่าวว่า “การศึกษา หมายถึง การปรับตัวให้เหมาะสมกับโอกาสและสิ่งแวดล้อมที่
เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ”
John Locke กล่าวว่า “การศึกษาประกอบด้วยองค์ 3 คือ พุทธศึกษา จริยศึกษา และพลศึกษา”
John Dewey กล่าวว่า “การศึกษา หมายถึงกระบวนการแห่งการดารงชีวิต มิใช่ว่า
การเตรียมตัวเด็กเพื่อการดารงชีวิตในวันข้างหน้า”
จากคาจากัดความของนักปราชญ์เหล่านี้ พอจะอธิบายความหมายของ การศึกษาได้ว่า
“การศึกษา คือ การส่งเสริมความเจริญงอกงามของบุคคลในทางร่างกาย สติปัญญา ความประพฤติ และสังคม
เพื่อให้เขาสามารถปรับตัวให้เหมาะสมกับ สิ่งแวดล้อมและดารงอยู่ได้ด้วยดี”
ฉะนั้น การศึกษาจึงมิใช่หมายความถึงเฉพาะการเรียนจบจากโรงเรียนเท่านั้น แต่ยังมี
ความหมายกว้างขวางครอบคลุมไปถึงการขจัดปัญหาที่อาจบังเกิดขึ้นในชีวิต เพื่อให้ตนสามารถดารงชีวิตอยู่
ได้ในสังคมด้วยความสุข การศึกษาจึงมีอยู่ในทุกสถานที่และทุกกาล บุคคลที่มีการศึกษาดีนั้น ย่อมหมายถึง
บุคคลที่สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ และประสบความสาเร็จในการดาเนินชีวิตในสังคม
รูปแบบของการศึกษา
เราอาจจะสรุปรูปแบบของการศึกษาออกได้เป็น 2 ประการ ดังต่อไปนี้
1. การศึกษาแบบอรูปนัย (Informal Education)ได้แก่ การเรียนรู้จาก การอบรมสั่งสอนของ
บิดามารดาและญาติพี่น้องในครอบครัว หรือการเลียนแบบจากเพื่อเล่นที่โตกว่าในกลุ่มเดียวกันจนกลายเป็น
ความรู้ความชานาญถ่ายทอดสืบต่อกันมาแบบอรูปนัยและโดยมิได้ตั้งใจ เช่น เด็กเล็ก ๆ ทั่วไปย่อมมีความ
ใกล้ชิดกับมารดา มากกว่าบุคคลอื่น มารดาจึงเป็นบุคคลแรกที่เลี้ยงดูและบารุงรักษาบุตรตั้งแต่ยังเป็นทารก
เป็นผู้สอนให้บุตรรู้จักการเดิน การพูด ตลอดจนอบรมความประพฤติและมรรยาทต่าง ๆ
ในสังคมที่ไม่มีผู้รู้หนังสือ หน้าที่การอบรมสั่งสอนและถ่ายทอดวิชาความรู้ตกเป็นภาระกิจของ
ครอบครัว สถานฝึกอาชีพและสถาบันทางศาสนา ส่วนแนวการอบรมสั่งสอนนั้นก็สุดแต่ผู้ใหญ่จะ
เห็นสมควรว่า เหมาะสมประการใด โดยคานึงถึงความนิยมหรือขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่นเป็น
สาคัญ
2. การศึกษารูปนัย (Formal Education)ได้แก่ การศึกษาซึ่งตกเป็นหน้าที่ของกลุ่มบุคคลหรือ
ตัวแทนของสังคม การศึกษาแบบนี้ได้เกิดขึ้นในสมัยที่มนุษย์รู้จักประดิษฐ์ตัวอักษร คิดค้นวิชาคานวณมี
ความก้าวหน้าทางเกษตรกรรม รู้จักใช้แร่ธาตุให้เป็นประโยชน์ ดังปรากฏในอารยธรรมโบราณอียิปต์บาบิโล
หน้าที่ | 30
เนีย กรีก อินเดีย จีน และโรมัน แต่ในระยะเริ่มแรก การศึกษาแบบนี้มักจะจากัดอยู่ในกลุ่มอภิสิทธิ์ชนหรือชน
ชั้นที่มั่งคั่งร่ารวยเท่านั้น และการศึกษาก็เน้นถึงปรัชญา จริยศาสตร์ ศิลปะ วาทศิลป์ คณิตศาสตร์ พลศึกษา
และการทหาร ซึ่งวิชาเหล่านี้ เห็นว่าเหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อชนชั้นปกครอง
การศึกษาแบบรูปนัยนี้ได้วิวัฒนาการมาเรื่อย ๆ ดังเช่นปัจจุบันนี้ สังคมมีอุปกรณ์ที่ช่วยใน
การศึกษามากมาย เช่น มีหลักสูตรที่กว้างขวางและวิธีการสอนที่ ทันสมัย บุคคลผู้มีหน้าที่บริหารงานเกี่ยวกับ
การศึกษาก็ได้รับการศึกษาอบรมเป็นอย่างดี
ความมุ่งหมายของการศึกษา
เราพอสรุปความมุ่งหมายของการศึกษาออกได้เป็น 6 ประการ คือ
1. ส่งเสริมสุขภาพทั้งทางกายและจิตใจ
2. ส่งเสริมความรู้สามัญทั่วไป
3. ส่งเสริมความเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว
4. เตรียมตัวเพื่อชีวกิจ
5. สร้างคนให้เป็นพลเมืองดี
6. สร้างคนให้มีอัธยาศัยและมีความประพฤติที่ดีงาม
หน้าที่ที่สาคัญของสถาบันการศึกษา
เราอาจสรุปหน้าที่ของสถาบันการศึกษาได้เป็นข้อ ๆ ดังนี้
1. อบรมให้เรียนรู้ระเบียบแบบแผนของสังคม สอนให้สมาชิกในสังคมได้พัฒนาบุคลิกภาพ
มีกิริยามรรยาท มีจริยธรรม คุณธรรม เคารพในสิทธิของผู้อื่น ปฏิบัติตามหน้าที่ของตน
2. อบรมให้สมาชิกได้เรียนรู้เกี่ยวกับอาชีพ เพื่อการดารงชีวิตเพื่อเพิ่มผลผลิตใน
ภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การบริการ นอกจากสอนให้ผู้คนได้เรียนรู้ในการประกอบอาชีพแล้ว
สถาบันการศึกษายังมีหน้าที่ในการพัฒนาอาชีพ ริเริ่มสร้างสรรค์อาชีพ เพื่อผลผลิตใหม่ที่จะสนองความ
ต้องการของสังคม
3. จัดสรรตาแหน่งและกาหนดหน้าที่การงานให้แก่บุคคล เพื่อบุคคลได้เรียนรู้ในอาชีพใด มี
ความสามารถในทางใด ก็จะไปทางานในอาชีพนั้น
4. ช่วยให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ในสังคม เมื่อการศึกษาเจริญก้าวหน้าขึ้น ก่อให้เกิดความรู้
แนวคิด เทคนิคใหม่ ๆ การค้นพบต่าง ๆ ทาให้เกิดการประดิษฐ์สิ่งของอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ และมีการ
พัฒนาสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
5. ช่วยให้สังคมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ผลจากการศึกษาอบรมให้เรียนรู้ระเบียบแบบแผน
วัฒนธรรมเดียวกัน ยิ่งถ้ามีการใช้ภาษาเดียวกันในการติดต่อสื่อสารจะทาให้เกิดความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน มี
ความผูกพันกันดีขึ้น
6. ช่วยให้เกิดการเลื่อนชั้นทางสังคม ในทุกสังคมย่อมประกอบด้วยชนชั้นและจากการมีชน
ชั้น ซึ่งจัดว่าเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมนั้น สมาชิกส่วนหนึ่งย่อมจะมีความต้องการเลื่อนชั้นทางสังคมและ
หน้าที่ | 31
ปัจจัยหนึ่งจะช่วยได้ก็คือ การศึกษา เพราะการศึกษาจะช่วยเพิ่มโอกาสในการได้รับตาแหน่งหน้าที่การงานที่
สูงขึ้นมีเกียรติได้รับการยกย่อง
7. ช่วยพัฒนาบุคลิกภาพเฉพาะของสมาชิกจากการเรียนรู้ในวิชาต่าง ๆ เขาอาจสนใจในเรื่อง
ใดเรื่องหนึ่งหรือหลายเรื่องและกลายมาเป็นคุณสมบัติประจาตัวเขา เช่น ความรักในศิลปะและดนตรีหรือ
ความซาบซึ้งในวรรณกรรม ความสนใจทางการเมือง ฯลฯ
3) สถาบันศาสนา
ความหมายของศาสนา
คาว่า “ศาสนา” มาจากศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Religion ซึ่งมาจากภาษาลาติน คาว่า Religareหรือ
Religereซึ่งแปลว่า การรวมเข้าด้วยกันระหว่างสิ่งหนึ่งกับอีกสิ่งหนึ่งโดยอธิบายว่าเป็นความสัมพันธ์ระหว่าง
มนุษย์กับอานาจเหนือมนุษย์(พระเจ้า)
ในทัศนะของชาวตะวันตก คาว่า “ศาสนา” ต้องมีลักษณะ ดังนี้
1. มีลักษณะความเชื่อที่ว่า พระเจ้าเป็นผู้สร้างโลกและสรรพสิ่งในโลก
2. มีลักษณะความเชื่อว่า คาสอนต่าง ๆ มาจากพระเจ้า
3. มีหลักความเชื่อในคาสอนโดยไม่คานึงถึงข้อพิสูจน์ แต่อาศัยอานุภาพของพระเจ้าเป็น
เกณฑ์
4. มีหลักยอมมอบตนด้วยความจงรักภักดีต่อพระเจ้า
ตามข้อตกลงของกลุ่มผู้วิจัยและเชื่อถือตามโครงสร้างพื้นฐานจิตใจของประชาชนชาวไทย
สาขาปรัชญา สภาวิจัยแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2506 กาหนดว่า ศาสนาต้องประกอบด้วยลักษณะดังต่อไปนี้
1. มีศาสดาผู้ตั้ง 2. มีหลักคาสอน
3. มีศาสนิก 4. มีพิธีกรรม
5. มีศาสนสถาน 6. มีสัญลักษณ์
หน้าที่ของสถาบันศาสนา
หน้าที่ของสถาบันทางศาสนานั้น มีทั้งสนองความต้องการเฉพาะบุคคลและต่อสังคม หน้าที่
ของศาสนาที่มีต่อเฉพาะบุคคล เน้นที่ให้ความมั่นคงในชีวิตและมีความหมายเกี่ยวกับสิ่งต่อไปนี้
1. เป็นปัจจัยช่วยให้เกิดความสงบทางจิตใจและนาไปสู่สุขภาพจิตที่ดี อันจะมีผลต่อสุขภาพ
ร่างกายด้วย
2. ให้ความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยจากความกลัวและปลอดจากความวิตกกังวล
3. ให้พลังใจ เพราะเชื่อว่า มีสิ่งที่จะให้ความช่วยเหลือเป็นปัจจัยเสริมให้เกิดกิจกรรมทั้งปวง
ทาให้มีโอกาสเอาชนะความลาบาก อุปสรรคต่าง ๆ ได้
4. เป็นปัจจัยช่วยให้คนจัดระเบียบชีวิตและมีโอกาสประสบความสาเร็จและความสุขสูงสุด
ได้
หน้าที่ | 32
หน้าที่ของศาสนาต่อสังคมนั้น มีดังต่อไปนี้
1. ช่วยในการควบคุมสังคมและจัดระเบียบสังคม
2. กาหนดศีลธรรมของสังคม
3. ช่วยสร้างค่านิยมและบรรทัดฐานของสังคม
4. ยึดเหนี่ยงสังคมให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
4) สถาบันทางการเมืองการปกครอง
ความหมายของการปกครอง การปกครอง คือ การใช้อานาจอธิปไตยในการบริหารรัฐ เพื่อ
ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและความสงบสุขแห่งรัฐนั้น
ความหมายของรัฐ รัฐเป็นชุมชนทางการเมืองที่มีอธิปไตย อิสระภาพ มีอานาจบริหารภายในรัฐ
และยังมีอานาจต่อต้านอานาจภายนอกที่เข้ามาเกี่ยวข้องก้าวก่ายภายในรัฐนั้น ๆ
องค์ประกอบของรัฐ คือ
- ประชากรที่มีจานวนพอสมควรและอาศัยอยู่ในดินแดนที่แน่นอน
- ดินแดนอันมีอาณาเขตแน่นอนมั่นคง
- รัฐบาลเป็นหน่วยงานกาหนดนโยบายปกครองและนานโยบายที่มีอยู่ ไปใช้ให้ได้ผล
รูปแบบของการปกครอง
รูปแบบของการปกครองพอจะแยกได้เป็น 2 รูปแบบ ดังนี้
1. การปกครองแบบเผด็จการหมายถึง การปกครองที่กาหนดและจากัดอานาจอธิปไตยของ
รัฐโดยบุคคลหรือคณะบุคคลที่เข้ามาดาเนินการบริหารรัฐนั้น ๆ แบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ คือ
1.1 แบบอัตตาธิปไตย (Autocracy)เป็นการปกครองที่ผูกขาดการมีการใช้อานาจ
อธิปไตยไว้ที่บุคคลคนเดียวและผู้เผด็จการมักอ้างงานหรือประโยชน์ของรัฐเป็นสิ่งสาคัญเหนือกว่า
ความสาคัญของศักดิ์ศรีและคุณค่าของมนุษย์เช่น ราชาธิปไตย และฟาสซิสม์
1.2 แบบคณาธิปไตย (Oligarchy)เป็นการปกครองจากกลุ่มคนที่มีและใช้อานาจ
อธิปไตยแบบผูกขาดโดยคณะบุคคล เช่น อภิชนาธิปไตย และคอมมิวนิสต์
2. การปกครองแบบประชาธิปไตยหมายถึง การปกครองที่อานาจอธิปไตยมาจากประชาชน
โดยประชาชนและเพื่อประชาชน แบ่งออกได้ดังนี้
2.1 ประชาธิปไตยแบบบริสุทธิ์หรือโดยตรง (Pure Democracy)สาหรับรัฐที่มี
ประชากรมาก ๆ จึงต้องพยายามให้ประชาชนส่วนใหญ่มีโอกาสปกครองตนเองเต็มที่ ด้วยการเลือกผู้แทนเข้า
ไปมีอานาจตัดสินใจแทนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม โดยแบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ
1) ระบบรัฐสภาผู้แทนราษฎรใช้อานาจโดยทางรัฐสภา เพื่อเลือกคณะรัฐบาล
ขึ้นมาบริการรัฐและควบคุมการดาเนินงานของรัฐบาล
หน้าที่ | 33
2) ระบบประธานาธิบดีประชาชนเลือกตั้งประธานาธิบดีหรือผู้แทนราษฎรเลือก
ประธานาธิบดีขึ้นมาเป็นผู้นาทางการเมืองของรัฐ ดาเนินการบริหารรัฐ อานาจนิติบัญญัติ อานาจ
ประธานาธิบดี และศาล แยกจากกันและเท่าเทียมกัน
หน้าที่ของสถาบันการปกครอง
1. เพื่อระงับข้อขัดแย้งระหว่างบุคคล ความขัดแย้งมักจะเกิดขึ้นอยู่เสมอในสังคมมนุษย์
ซึ่งอาจจะเนื่องมาจากความแตกต่างระหว่างคุณค่าหรือจุดหมายปลายทางหรืออาจจะเกิดจากพฤติกรรมที่ขัด
ต่อสังคมจนกระทั่งเป็นอันตรายต่อบุคคลอื่น ๆ
2. เพื่อคุ้มครองบุคคลให้ปลอดภัยพ้นจากการละเมิดใด ๆ และได้รับหลักประกันในสิทธิ
เสรีภาพ
3. รักษาความสงบเรียบร้อยส่งเสริมความมั่นคงและสวัสดิการทางสังคมโดยวิธีบัญญัติ
กฎหมายขึ้นใช้และควบคุมให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย
4.
5) สถาบันทางเศรษฐกิจ
ความหมาย “เศรษฐกิจ” เป็นเรื่องของการครองชีพหรือมาตรฐานการครองชีพของมนุษย์หรือ
เป็นเรื่องการเป็นอยู่ของมนุษย์ในสังคม
ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้คานิยามคาว่า “เศรษฐกิจ” หมายถึง งานเกี่ยวกับ
การผลิต การจาหน่ายจ่ายแจก และการบริโภคใช้สอยต่าง ๆ ของชุมชน
สถาบันเศรษฐกิจมีเป้าหมายอยู่ที่การอยู่ดีกินดีของประชาชน ดังนั้น กิจกรรมทางเศรษฐกิจจึง
เกี่ยวข้องกับกรรมวิธีที่จะก่อให้เกิดความมั่งมี การอยู่ดีกินดี หรืออย่างน้อยก็เพื่อการมีกินมีใช้ของประชาชน
กรรมวิธีที่ดาเนินการมักขึ้นอยู่กับปรัชญาทางเศรษฐกิจของผู้มีบทบาทอานาจหน้าที่ทางเศรษฐกิจของสังคม
นั้น ๆ เพื่อจะกาหนดว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจควรจะดาเนินไปในรูปแบบใด จะให้ประชาชนมีสิทธิในการ
ดาเนิน
การผลิตเอง มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน รัฐจะเข้าควบคุมหรือปล่อยให้ เอกชนดาเนินงานอย่างเสรี ฯลฯ เหล่านี้
เป็นวิธีการซึ่งเป้าหมาย คือ การมีกินมีใช้
ระบบเศรษฐกิจ
ระบบเศรษฐกิจ ซึ่งพอจะจาแนกออกได้เป็น 3 ระบบใหญ่ๆ ดังนี้
1. เศรษฐกิจแบบทุนนิยม (Capitalism)เป็นระบบเศรษฐกิจที่ยึดถือปรัชญาที่ว่า ประชาชนควร
มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินต่าง ๆ รัฐเปิดโอกาสให้เอกชน ลงทุนประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เปิดโอกาสให้
ประชาชนมีเสรีภาพในการผลิตและแข่งขันกันอย่างเสรี
เศรษฐกิจแบบทุนนิยมเน้นในเรื่องการใช้เงินตราแลกเปลี่ยนและการเป็นเจ้าของกิจการหรือ
นายทุน ซึ่งนายทุนนั้น คือ ประชาชน มิใช่รัฐบาล
หน้าที่ | 34
ทรัพย์สินต่าง ๆ ที่ประชาชนจะมีกรรมสิทธิ์ได้นั้น รวมทั้งถนนหนทาง โรงเรียน
ระบบสื่อสารไปรษณีย์ฯลฯ
2. เศรษฐกิจแบบสังคมนิยม (Socialism)ระบบเศรษฐกิจแบบนี้ยังคง ยอมรับสิทธิในการถือ
ครองกรรมสิทธิ์ของประชาชนอยู่ แต่มีลักษณะที่แตกต่างไปจากระบบทุนนิยม คือ กิจกรรมหลักทาง
เศรษฐกิจ เชน อุตสาหกรรมพื้นฐานและปัจจัยการผลิต รวมทั้งทรัพยากรธรรมชาติ เป็นภาระหน้าที่ของ
รัฐบาลที่จะดาเนินการ เพื่อสนองความต้องการของประชาชน นอกจากนั้น กิจกรรมพื้นฐานที่รัฐไม่ได้
ดาเนินการเอง เช่น การขนส่ง การสื่อสาร การอุตสาหกรรมบางประเภทที่จาเป็นสาหรับการดาเนินชีวิตของ
สาธารณชน รัฐบาลจะเป็นฝ่ายกาหนดกฎเกณฑ์และตรวจตราเพื่อให้เจ้าของหรือผู้รับสัมปทานดาเนินตาม
3. เศรษฐกิจระบบคอมมิวนิสต์ (Communism)เป็นระบบเศรษฐกิจที่มีปรัชญาว่า ไม่มี
กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนบุคคล ทรัพย์สินทั้งหมดเป็นของรัฐ จุดมุ่งหมายก็เพื่อให้มีการแบ่งสรรปันส่วน
ความร่ารวย การอยู่ดีกินดีอย่างเท่าเทียมกัน ไม่มีใครมีสิทธิพิเศษ รัฐเป็นผู้ดาเนินการในการผลิตทั้งหมดเพื่อ
ประชาชนทั้งมวล
หน้าที่ของสถาบันเศรษฐกิจ
หน้าที่สาคัญของสถาบันเศรษฐกิจมีดังนี้ คือ
1. บาบัดความต้องการทางเศรษฐกิจ เช่น มีการผลิต การแบ่งเป็นวัตถุหรือบริการที่มนุษย์มี
ความต้องการบริโภค
2. ให้ความสะดวกแก่มนุษย์ในการใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เช่น ระบบเงินเชื่อ การใช้
เงินตราจัดให้มีการแบ่งงานตลอดระบบผลกาไร ค่าจ้าง และดอกเบี้ย
3. พัฒนาและสร้างความเจริญก้าวหน้าในทางเศรษฐกิจ เพื่อความอุดมสมบูรณ์และความมั่นคง
ในด้านนี้แก่สมาชิกในสังคม
4. ช่วยเหลือในการบริโภคให้เป็นไปได้อย่างเพียงพอและทั่วถึงให้ มากที่สุด
6) สถาบันนันทนาการ
ความหมายคาว่า นันทนาการ หมายถึง ที่คนเราใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและ
ส่วนรวม เช่น การชมภาพยนต์ การเล่นกีฬา การทางานอดิเรกที่ตนชอบ หรือการร่วมพัฒนาชุมชน เป็นต้น
“นันทนาการ” ในความหมายทางสังคมศาสตร์ หมายถึง “กิจกรรมใดที่บุคคลเข้าร่วมทาเพื่อใช้
เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ด้วยความสมัครใจและเมื่อกระทาแล้วเกิดความสุขกายสบายใจสนุกสนานร่าเริง”
กล่าวได้ว่า สถาบันการนันทนาการมีบทบาทสาคัญในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อประโยชน์ใน
การพักผ่อนหย่อนใจของประชาชนในรูปของการกีฬาและการบันเทิงในสังคม
หน้าที่ | 35
ตอนที่ 3 การจัดลาดับช่วงชั้นทางสังคม
1. ความหมายของการจัดลาดับช่วงชั้นทางสังคม
การจัดลาดับช่วงชั้นทางสังคม หมายถึง การที่บุคคลในสังคมได้ถูกจัดแบ่งเป็นชั้น ๆ โดยมีระบบ
ของอันดับชี้ให้เห็นว่า คนที่อยู่ในตาแหน่งหรือฐานะนั้น ๆ มีเกียรติหรือได้รับการยกย่องอยู่ในอันดับที่สูง
กว่า เท่ากัน หรือต่ากว่าบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ อยู่ในฐานะอื่น ๆ ในสังคมเดียวกัน ชั้นของบุคคลแสดงให้
เห็นถึง
ความแตกต่างของบุคคลหรือของกลุ่มบุคคลที่อยู่ในสังคม บุคคลที่มีฐานะทางสังคมคนละชั้นจะมีความเท่า
เทียมกันในสิทธิหน้าที่ ความรับผิดชอบ อานาจ อิทธิพล แบบแผนชีวิต ตลอดจนความสะดวกสบาย
ความมีหน้ามีตาในสังคมแตกต่างกัน
บุคคลที่เกิดมาและมีชีวิตอยู่ในสังคมจะต้องเป็นสมาชิกของชนชั้นใดชนชั้นหนึ่งเสมอ แต่บุคคล
อาจเปลี่ยนฐานะของตนได้กล่าวคือ เริ่มแรกอาจเป็นคนชั้นต่า แต่ได้รับการศึกษาเล่าเรียนและรับราชการ
ดารงตาแหน่งสูง เขาก็จะเป็นคนชั้นสูงของสังคมได้แต่บุคคลดังที่กล่าวนี้ พบเห็นได้ยากส่วนมากแล้วบุคคล
ที่เป็นสมาชิกของชนชั้นใด มักจะเป็นสมาชิกของชนชั้นนั้นไปชั่วชีวิตของเขา
2. รูปแบบของการจัดลาดับช่วงชั้นทางสังคม
การจัดลาดับชนชั้นทางสังคมเป็นระบบซึ่งใช้แบ่งแยกระดับความแตกต่างของตาแหน่งของแต่
ละบุคคล ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงระดับของคนในแต่ละสังคม แต่ละบุคคล แต่ละกลุ่ม การจัดลาดับชนชั้น
ทางสังคม แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1) วรรณะ (Caste)
2) ฐานันดร (Estate)
3) ชนชั้น (Class)
1) วรรณะเป็นระบบการจัดลาดับช่วงชั้นทางสังคม โดยเน้นถึงความสัมพันธ์ของสถานภาพ ซึ่ง
จากัดบุคคลที่จะให้ได้รับสถานภาพสูงขึ้นกว่า เมื่อเขาเกิดระบบวรรณะเป็นระบบช่วงชั้น ซึ่งมีรูปแบบที่
แน่นอน
ลักษณะบางอย่างของวรรณะ
1. เจาะจงถึงความสัมพันธ์ของบุคคลในสังคม
2. สมาชิกในวรรณะหนึ่งสืบทอดคนในวรรณะเดียวกัน โดยสมาชิกมีแบบแผนแห่งชีวิตที่
แน่นอน โดยการเกิดอยู่ในครอบครัวในวรรณะนั้น ๆ สมาชิกใหม่จะเป็นส่วนหนึ่งแห่งวรรณะนั้นด้วย
3. ถ้าประพฤติผิดกฎเกณฑ์ข้อบังคับของวรรณะนั้น ๆ จะถูกขับออกจากวรรณะ เรียกว่า
จัณฑาล
หน้าที่ | 36
4. วรรณะจะมีการเขยิบขึ้นหรือลงได้โดยเป็นไปทั้งวรรณะ แต่มิใช่บุคคลใดบุคคลหนึ่งใน
วรรณะตัวอย่างของระบบวรรณะที่เห็นได้ชัด ได้แก่ อินเดีย ซึ่งมีการแบ่งวรรณะออกเป็นวรรณะใหญ่ 4
วรรณะ คือ
1. พราหมณ์ ได้แก่ พวกนักบวชซึ่งได้รับการยกย่อง
2. กษัตริย์ได้แก่ พวกนักรบ
3. แพศย์ได้แก่ พ่อค้า
4. ศูทร ได้แก่ กรรมกร
2) ฐานันดร
เป็นระบบการแบ่งช่วงชั้นซึ่งเข้มงวดน้อยกว่าวรรณะ แต่ก็ยังเกี่ยวข้องกับประเพณีและความไม่
เปลี่ยนแปลง ซึ่งขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ของบุคคลต่อที่ดิน การเขยิบฐานะเป็นไปได้และมีศาสนาค้าจุน
เหมือนระบบวรรณะ ระบบฐานันดรเป็นระบบที่มีกฎหมายกาหนดสิทธิหน้าที่ของคนแตกต่างกันไป เช่น
พวกขุนนางและพระ มีอภิสิทธิมาก ชาวนาต้องแบกภาระหน้าที่หนัก ฐานันดรมีใช้กันตั้งแต่สมัยกลางของ
ยุโรป เดิมมีเพียงสองฐานันดร ได้แก่ ฐานันดรนักบวชและฐานันดรขุนนาง ต่อมามีเพิ่มขึ้นอีก เช่น ฐานันดร
พ่อค้า สามัญชน
3) ชนชั้น
เป็นระบบที่มีอยู่ในสังคมอุตสาหกรรมสมัยใหม่ ทั้งนี้ เพราะกฎเกณฑ์ในการแบ่งชนชั้นนั้นมี
แนวโน้มเป็นกฎเกณฑ์ในทางเศรษฐกิจมากกว่ากฎเกณฑ์ในด้านอื่น ๆ อนึ่ง บางสังคมนั้น ความมั่นคง
ทางเศรษฐกิจเป็นสิ่งเดียวที่สังคมใช้เป็นมาตรฐาน ในการจัดและกาหนดชั้นระหว่างบุคคล ในระบบดังกล่าว
นี้ เรียกกันว่า เป็นการแบ่งชั้นทางสังคม โดยกฎเกณฑ์ที่มีมติเดียว ซึ่งอาจแบ่งออกได้โดยทั่วไปเป็น 3 ชั้น คือ
1. ชนชั้นสูง ได้แก่ กลุ่มบุคคลที่มีหลักทรัพย์และรายได้สูง
2. ชนชั้นกลาง ได้แก่ กลุ่มบุคคลที่มีหลักทรัพย์และรายได้ปานกลาง
3. ชนชั้นต่า ได้แก่ กลุ่มบุคคลที่มีหลักทรัพย์และรายได้ต่า
วอร์เนอร์ นักสังคมวิทยาชาวอเมริกันได้ทาการศึกษาเรื่องช่วงชั้นทางสังคมในแนวใหม่
ชนชั้นในความหมายของวอร์เนอร์เห็นว่า เป็นการแบ่งโดยดูถึงความเหนือกว่าและด้อยกว่าของสมาชิกของ
ชุมชน การแจกแจงตาแหน่งขึ้นกับเกณฑ์ เช่น รายได้ความมั่นคง การศึกษา อาชีพ ฯลฯ ซึ่งวอร์เนอร์ ได้แบ่ง
ไว้เป็น 6 ระดับ คือ
1. ชนชั้นสูระดับสูง (Upper-upper Class) กลุ่มนี้จะเป็นพวกปัญญาชนที่มีตระกูลเก่าแก่ขึ้นกับ
การมีความมั่งคั่ง ผู้ดีเก่า
2. ชนชั้นสูงระดับต่า (Lower-upper Class) กลุ่มนี้อาจจะรวยกว่าพวกชนชั้นสูงระดับสูง แต่
เป็นพวกใหม่ กิริยามารยาทยังไม่สุภาพนัก มีการศึกษาไม่สูงนัก
3. ชนชั้นกลางระดับสูง (Upper-middle Class) เป็นครอบครัวที่ประสบความสาเร็จในอาชีพ
ปานกลาง
หน่วยที่ 2 วิชา สังคมเศรษฐกิจ..
หน่วยที่ 2 วิชา สังคมเศรษฐกิจ..
หน่วยที่ 2 วิชา สังคมเศรษฐกิจ..

More Related Content

Similar to หน่วยที่ 2 วิชา สังคมเศรษฐกิจ..

บทที่5 ส่วนที่ ๑
บทที่5 ส่วนที่ ๑บทที่5 ส่วนที่ ๑
บทที่5 ส่วนที่ ๑
Tuk Diving
 
L3การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง da
L3การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม  และการเมือง daL3การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม  และการเมือง da
L3การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง da
Saiiew
 
หลักสูตรที่ 1 หน่วยที่ 3: ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน และการพัฒนาชุมชน
หลักสูตรที่ 1 หน่วยที่ 3: ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน และการพัฒนาชุมชนหลักสูตรที่ 1 หน่วยที่ 3: ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน และการพัฒนาชุมชน
หลักสูตรที่ 1 หน่วยที่ 3: ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน และการพัฒนาชุมชน
thanathip
 
สังคมไทย
สังคมไทยสังคมไทย
สังคมไทย
siriwan
 
โครงสร้างทางสังคม0
โครงสร้างทางสังคม0โครงสร้างทางสังคม0
โครงสร้างทางสังคม0
Parn Nichakorn
 
บทที่ 2-แก้ใหม่ครั้งที่
บทที่ 2-แก้ใหม่ครั้งที่บทที่ 2-แก้ใหม่ครั้งที่
บทที่ 2-แก้ใหม่ครั้งที่
T Ton Ton
 
โครงสร้างสังคม
โครงสร้างสังคมโครงสร้างสังคม
โครงสร้างสังคม
thnaporn999
 
ชวนถกแถลงประเด็นต่างๆ
ชวนถกแถลงประเด็นต่างๆ ชวนถกแถลงประเด็นต่างๆ
ชวนถกแถลงประเด็นต่างๆ
weeraboon wisartsakul
 
ชวนถกประเด็นต่างๆ ในกระบวนการประชาธิปไตยที่ใช้วิจารณญาณ
ชวนถกประเด็นต่างๆ ในกระบวนการประชาธิปไตยที่ใช้วิจารณญาณชวนถกประเด็นต่างๆ ในกระบวนการประชาธิปไตยที่ใช้วิจารณญาณ
ชวนถกประเด็นต่างๆ ในกระบวนการประชาธิปไตยที่ใช้วิจารณญาณ
weeraboon wisartsakul
 
ชวนถกประเด็นต่างๆ ในกระบวนการประชาธิปไตยที่ใช้วิจารณญาณ
ชวนถกประเด็นต่างๆ ในกระบวนการประชาธิปไตยที่ใช้วิจารณญาณชวนถกประเด็นต่างๆ ในกระบวนการประชาธิปไตยที่ใช้วิจารณญาณ
ชวนถกประเด็นต่างๆ ในกระบวนการประชาธิปไตยที่ใช้วิจารณญาณ
weeraboon wisartsakul
 
หน่วยที่ ๑ สังคมไทย ปวสใหม่
หน่วยที่  ๑ สังคมไทย ปวสใหม่หน่วยที่  ๑ สังคมไทย ปวสใหม่
หน่วยที่ ๑ สังคมไทย ปวสใหม่
Sansanee Tooksoon
 
การเรียนรู้แบบร่วมมือ
การเรียนรู้แบบร่วมมือการเรียนรู้แบบร่วมมือ
การเรียนรู้แบบร่วมมือ
Sukanya Burana
 
การเรียนรู้แบบร่วมมือ
การเรียนรู้แบบร่วมมือการเรียนรู้แบบร่วมมือ
การเรียนรู้แบบร่วมมือ
Sukanya Burana
 

Similar to หน่วยที่ 2 วิชา สังคมเศรษฐกิจ.. (20)

บทที่5 ส่วนที่ ๑
บทที่5 ส่วนที่ ๑บทที่5 ส่วนที่ ๑
บทที่5 ส่วนที่ ๑
 
51105
5110551105
51105
 
L3การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง da
L3การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม  และการเมือง daL3การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม  และการเมือง da
L3การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง da
 
Prigkeenu
PrigkeenuPrigkeenu
Prigkeenu
 
หลักสูตรที่ 1 หน่วยที่ 3: ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน และการพัฒนาชุมชน
หลักสูตรที่ 1 หน่วยที่ 3: ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน และการพัฒนาชุมชนหลักสูตรที่ 1 หน่วยที่ 3: ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน และการพัฒนาชุมชน
หลักสูตรที่ 1 หน่วยที่ 3: ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน และการพัฒนาชุมชน
 
บทความการเรียนแบบร่วมมือ
บทความการเรียนแบบร่วมมือบทความการเรียนแบบร่วมมือ
บทความการเรียนแบบร่วมมือ
 
โครงสร้างสังคม
โครงสร้างสังคมโครงสร้างสังคม
โครงสร้างสังคม
 
สังคมไทย
สังคมไทยสังคมไทย
สังคมไทย
 
เรื่องสถาบันทางสังคม
เรื่องสถาบันทางสังคมเรื่องสถาบันทางสังคม
เรื่องสถาบันทางสังคม
 
โครงสร้างทางสังคม0
โครงสร้างทางสังคม0โครงสร้างทางสังคม0
โครงสร้างทางสังคม0
 
ภาวะผู้นำการศึกษากับชุมชน
ภาวะผู้นำการศึกษากับชุมชนภาวะผู้นำการศึกษากับชุมชน
ภาวะผู้นำการศึกษากับชุมชน
 
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชนสัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
สัปดาห์ที่1 ความหมาย ประเภทและลำดับกิจกรรมขององค์กรพัฒนาเอกชน
 
บทที่ 2-แก้ใหม่ครั้งที่
บทที่ 2-แก้ใหม่ครั้งที่บทที่ 2-แก้ใหม่ครั้งที่
บทที่ 2-แก้ใหม่ครั้งที่
 
โครงสร้างสังคม
โครงสร้างสังคมโครงสร้างสังคม
โครงสร้างสังคม
 
ชวนถกแถลงประเด็นต่างๆ
ชวนถกแถลงประเด็นต่างๆ ชวนถกแถลงประเด็นต่างๆ
ชวนถกแถลงประเด็นต่างๆ
 
ชวนถกประเด็นต่างๆ ในกระบวนการประชาธิปไตยที่ใช้วิจารณญาณ
ชวนถกประเด็นต่างๆ ในกระบวนการประชาธิปไตยที่ใช้วิจารณญาณชวนถกประเด็นต่างๆ ในกระบวนการประชาธิปไตยที่ใช้วิจารณญาณ
ชวนถกประเด็นต่างๆ ในกระบวนการประชาธิปไตยที่ใช้วิจารณญาณ
 
ชวนถกประเด็นต่างๆ ในกระบวนการประชาธิปไตยที่ใช้วิจารณญาณ
ชวนถกประเด็นต่างๆ ในกระบวนการประชาธิปไตยที่ใช้วิจารณญาณชวนถกประเด็นต่างๆ ในกระบวนการประชาธิปไตยที่ใช้วิจารณญาณ
ชวนถกประเด็นต่างๆ ในกระบวนการประชาธิปไตยที่ใช้วิจารณญาณ
 
หน่วยที่ ๑ สังคมไทย ปวสใหม่
หน่วยที่  ๑ สังคมไทย ปวสใหม่หน่วยที่  ๑ สังคมไทย ปวสใหม่
หน่วยที่ ๑ สังคมไทย ปวสใหม่
 
การเรียนรู้แบบร่วมมือ
การเรียนรู้แบบร่วมมือการเรียนรู้แบบร่วมมือ
การเรียนรู้แบบร่วมมือ
 
การเรียนรู้แบบร่วมมือ
การเรียนรู้แบบร่วมมือการเรียนรู้แบบร่วมมือ
การเรียนรู้แบบร่วมมือ
 

หน่วยที่ 2 วิชา สังคมเศรษฐกิจ..

  • 1. หน้าที่ | 21 หน่วยที่ 2 กลุ่มสังคม สถาบันและการจัดลาดับช่วงชั้นทางสังคม ตอนที่ 1 กลุ่มสังคม ตอนที่ 2 สถาบันทางสังคม ตอนที่ 3 การจัดลาดับช่วงชั้นทางสังคม ตอนที่ 1 กลุ่มสังคม 1. ความหมายของกลุ่ม ตามความเห็นของ Maciver and Page ได้อธิบายว่า กลุ่ม หมายถึง การรวมตัวของมนุษย์ชาติที่ต้อง สัมพันธ์ติดต่อกับบุคคลอื่น เมื่อไม่มีความสัมพันธ์ติดต่อกับการรวมตัวของมนุษย์จะไม่เรียกว่า กลุ่ม แบบ ของการรวมกลุ่มมีความสัมพันธ์ทางสังคมเป็นพื้นฐาน เท่านั้น ตามความเห็นของ Ogburn and Nimkoffเขาอธิบายว่า “บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปอยู่ร่วมกันและ สัมพันธ์กับบุคคลอื่น เรียกว่า กลุ่มสังคม” นักสังคมวิทยาบางท่านให้ความหมายว่า “กลุ่ม คือ คนจานวนหนึ่งมาอยู่รวมกันหรือกาลังรอคอยสิ่ง ใดสิ่งหนึ่ง” หรือ “คนจานวนหนึ่งที่มีลักษณะบางอย่างเหมือนกัน” หรือ “คนจานวนหนึ่งซึ่งมีแบบแผน บางอย่างร่วมกันและมีการตอบโต้ซึ่งกันและกัน” หรือ “กลุ่มคนจานวนหนึ่งซึ่งมีความรู้สึกนึกคิดเป็นพวก เดียวกันและมีการกระทา โต้ตอบซึ่งกันและกัน” สรุปความหมายของกลุ่ม คือ กลุ่มคนที่มิใช่มีความใกล้ชิดกันทางร่างกายเท่านั้น แต่จะต้องมีการ กระทาโต้ตอบซึ่งกันและกัน มีการติดต่อสัมพันธ์กันตามสถานภาพและบทบาท มีความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน มีความเชื่อในด้านคุณค่าร่วมกันหรือคล้ายคลึงกัน กลุ่มสังคม ได้แก่ ครอบครัว กลุ่มเพื่อน กลุ่มอาชีพ กลุ่มเชื้อชาติ กลุ่มประชาชนของประเทศ เป็นต้น 2. การจาแนกประเภทของกลุ่มทางสังคมวิทยา เราเป็นสมาชิกของกลุ่ม ซึ่งอาจเป็นด้วยสถานการณ์ของการจัดการทางสถิติ เราเป็นสมาชิกของกลุ่ม อื่น ก็เพราะว่าเรามีความรู้สึกว่ามีบางสิ่งบางอย่างร่วมกันกับกลุ่มนั้น เราเป็นสมาชิกของอีกกลุ่ม เพราะเรามี ความสัมพันธ์ทางสังคมกับกลุ่มนั้น เราเป็นสมาชิกของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เพราะว่าเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ กลุ่มและมีชื่อปรากฏเป็นสมาชิกของกลุ่มนั้น เพราะฉะนั้น จึงอาจจัดกลุ่มออกได้เป็น 4 กลุ่ม ดังต่อไปนี้ 1) กลุ่มทางสถิติ (Statistical Group) 2) กลุ่มคนพวกเดียวกัน (Societal Group) 3) กลุ่มทางสังคม (Social Group) 4) กลุ่มสมาคม (Associational Group)
  • 2. หน้าที่ | 22 อย่างไรก็ดี ชื่อทั้งสี่ข้างต้นอาจจะไม่ใช่ชื่อที่ดีหรือเหมาะที่สุด แต่เมื่อไม่สามารถจะแสวงหาชื่อที่ ดีกว่านี้ ชื่อทั้งสี่ก็น่าจะเป็นประโยชน์อยู่บ้างและก่อนอื่น เราควรจะได้ทราบว่าการจัดกลุ่มดังกล่าวนั้น ขึ้นอยู่ กับลักษณะที่สาคัญอยู่ 3 ประการ กล่าวคือ 1.ความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน 2.การปะทะสังสรรค์ทางสังคม 3.การจัดระเบียบทางสังคม 1) กลุ่มทางสถิติ (Statistical Group)เป็นกลุ่มที่สมาชิกมิได้จัดขึ้นด้วยตนเอง หากเป็นการจัดขึ้น โดยนักสังคมวิทยาและนักสถิติ โดยปกติแล้ว สมาชิกของกลุ่มไม่มีความรู้สึกว่าเป็นสมาชิกของกลุ่มและไม่มี สิทธิหรือพันธะต่อกลุ่มแต่อย่างใด ขอยกตัวอย่างเช่น กลุ่มคนที่เกิดในโรงพยาบาลและกลุ่มคนที่เกิดนอก โรงพยาบาล เหล่านี้เป็นต้น การจัดกลุ่มทางสถิติขึ้นนั้นก็เพื่อความมุ่งหมายของสถิติ จึงไม่สู้สาคัญในทาง สังคมวิทยานัก ประโยชน์ที่ได้รับจากกลุ่มทางสถิติ คือ ช่วยให้ทราบถึงลักษณะสาคัญบางประการของชุมชน ได้เช่น ชุมชนที่เกิดในโรงพยาบาลร้อยละ 10 ย่อมแตกต่างจากชุมชนที่ไม่เกิดในโรงพยาบาลร้อยละ90 เป็น ต้น 2) กลุ่มคนพวกเดียวกัน (Societal Group)กลุ่มคนประเภทนี้มีลักษณะแตกต่างไปจากกลุ่มทาง สถิติ คือ สมาชิกของกลุ่มคนพวกเดียวกันมีความรู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกันซึ่งมีเครื่องแต่งกายเหมือนกันหรือมี ภาษาเดียวกัน กลุ่มนี้มีความรู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกันทั้ง ๆ ที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อนและไม่มีการปะทะสังสรรค์ กัน ตลอดทั้งไม่มีการจัดระเบียบทางสังคม เช่น กลุ่มที่มีภาษาเดียวกัน ตัวอย่างเช่น ภาษาชาวเหนือ คนที่พูด ภาษาเหนืออาจไม่รู้จักกันก็ได้แต่พอพูดออกมาก็รู้ได้ว่าเป็นพวกเดียวกัน 3) กลุ่มทางสังคม (Social Group)การใช้คาว่า “สังคม” ก็เพื่ออธิบายว่า มีการติดต่อกัน ทางสังคมและมีการปะทะสังสรรค์กันทางสังคม สมาชิกของกลุ่มประเภทนี้ นอกจากจะมีความรู้สึกเป็น พวกเดียวกันแล้ว ยังมีการปะทะสังสรรค์ทางสังคมอีกด้วย กลุ่มทางสังคมนี้ก็ได้แก่ กลุ่มเพื่อนเล่นกลุ่มเพื่อ นักเรียนร่วมชั้นเดียวกัน เป็นต้น 4) กลุ่มสมาคม (Associational Group)กล่าวได้ว่า กลุ่มประเภทนี้เป็นกลุ่มที่มีความสาคัญที่สุด ในสังคมเชิงซ้อนสมัยใหม่ ทั้งนี้เพราะว่า กลุ่มสมาคม (หรือสมาคม) เป็นกลุ่มที่ได้มีการจัดระเบียบหรือ องค์การ เป็นกลุ่มที่มีโครงสร้างอย่างเป็นทางการ เพราะฉะนั้น กลุ่มสมาคมจึงมีลักษณะครอบถ้วนใน ความหมายทางสังคมวิทยา กล่าวคือ มีความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน มีการปะทะสังสรรค์ทางสังคม และมีการ จัดกลุ่มอย่างมีระเบียบเพื่อรักษาผลประโยชน์ของกลุ่ม 3. แบบของกลุ่มคน กลุ่มคนย่อมมีคุณสมบัติแบบฉบับและด้วยคุณสมบัติดังกล่าวนี้เอง ช่วยให้เข้าใจถึงรากฐานของ ทฤษฎีของกลุ่มตามความหมายของสังคมวิทยาเป็น 2 พวกหรือคู่กันดังจะได้อธิบายต่อไปนี้
  • 3. หน้าที่ | 23 1) แบบกลุ่มปฐมภูมิและทุติยภูมิ (Primary Groups and Secondary Groups)กลุ่มปฐมภูมิ ได้แก่ กลุ่มบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดและมีความรู้สึกเป็น พวกเรา มีการติดต่อกันอยู่เสมอและเป็น เวลาอันยาวนาน ซึ่งจะพอสรุปลักษณะของกลุ่มปฐมภูมิได้ดังนี้ 1. เป็นกลุ่มขนาดเล็ก 2. มีการติดต่อใกล้ชิดกันและเป็นไปโดยตรง 3. มีความสนิทสนมใกล้ชิดเป็นการส่วนตัว 4. มีการติดต่อกันเป็นระยะยาว 5. กระทากิจกรรมต่าง ๆ โดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกัน ช่วยเหลือกัน 6. การตัดสินใจของกลุ่มใช้ความรู้สึก อารมณ์มากกว่าเหตุผล กลุ่มปฐมภูมิมีประโยชน์ในการช่วยให้สมาชิกได้เรียนรู้ระเบียบของสังคมอย่างใกล้ชิด มีความ เมตตาธรรมรักใคร่กันอย่างพี่น้องเพื่อนฝูงโดยไม่มีอะไรแอบแฝง ข้อเสียของกลุ่มปฐมภูมิมีอยู่บ้าง คือ สมาชิกกลุ่มรักพวกรักพ้องจนอาจทาให้เสียความยุติธรรม หรือบางกรณีและบางเหตุการณ์ สมาชิกจะรู้สึกขาดความเป็นตัวของตัวเอง เพราะเอาใจสมาชิกกลุ่มมาก เกินไป กลุ่มทุติยภูมิ สมาชิกกลุ่มมีความผูกพันมิใช่เป็นการส่วนตัว มีความสัมพันธ์กันเป็นไปตาม ระเบียบกฎเกณฑ์มีแบบแผน ซึ่งพอสรุปลักษณะของกลุ่มทุติยภูมิดังนี้ 1. มีการแบ่งงานกันทาตามความสามารถเฉพาะสาขาเพื่อประสิทธิภาพของงาน 2. มีการมอบหมายอานาจ 3. มีสายการติดต่องานเป็นไปตามลาดับขั้นตอนไม่ก้าวก่ายข้ามหน้าข้ามตากัน 4. มีการประสานงานเพื่อผลงานมีประสิทธิภาพ กลุ่มทุติยภูมิมีประโยชน์ในการดาเนินชีวิตในสังคมอุตสาหกรรม เพราะสมาชิกจะได้ทราบถึง สิทธิหน้าที่อย่างแจ้งชัด การปฏิบัติงานของสมาชิกเป็นไปอย่างมีระเบียบและระบบ โดยไม่นาเรื่องส่วนตัว เข้ามาปะปน ทาให้เกิดความยุติธรรมและความเป็นระเบียบเสมอหน้ากัน นอกจากนั้นการวางตัวในหมู่ สมาชิกก็กระทาได้ง่าย กล่าวคือ เมื่อหมดหน้าที่แล้ว ต่างคนต่างมีอิสระไม่ต้องคอยระมัดระวังในเรื่องส่วนตัว ข้อเสียของกลุ่มทุติยภูมิก็มีอยู่เช่นเดียวกัน คือ สมาชิกของกลุ่มขาดความ อบอุ่น เพราะทุกคนมุ่ง แต่งานและระเบียบ เมื่อเกิดการผิดพลาดในการงานบุคคล ผู้กระทาผิดย่อมได้รับการตาหนิหรือลงโทษทาให้ เกิดความรู้สึกว่าตนขาดที่พึ่งพาอาศัยและไม่มีใครเห็นอกเห็นใจหรือยอมเข้าใจรับรู้ข้อเท็จจริงในข้อผิดพลาด ดังกล่าว ดังนั้น สมาชิกของกลุ่มทุติยภูมิจึงได้หาทางออกโดยการสร้างกลุ่มปฐมภูมิขึ้น เช่น นัดพบปะเพื่อน ร่วมงานที่ใกล้ชิดและที่มีความเห็นอกเห็นใจ นัดสังสรรค์ระหว่างเพื่อนโรงเรียนเก่า หรือนัดสังสรรค์ระหว่าง กลุ่มบุคคลที่มาจากจังหวัดเดียวกัน เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อเป็นการทดแทนความต้องการทางจิตใจ 2) กลุ่มพวกเราและกลุ่มพวกเขา (In – Group and Out – Group or We – Group and They – Group)กลุ่มพวกเรา หมายถึง บุคคลที่เราใช้สรรพนาม “เรา” คาว่า “เรา” อาจหมายถึง กลุ่มบุคคลขนาดเล็ก
  • 4. หน้าที่ | 24 เช่น สมาชิกในครอบครัวหรือกลุ่มบุคคลขนาดใหญ่ เช่นทุกคนในโลกนี้ก็ได้ลักษณะของกลุ่มพวกเรา จึง หมายถึง “ความเป็นพวกเดียวกัน” ส่วนกลุ่มพวกเขา หมายถึงกลุ่มไหนที่มิใช่พวกเราคือเป็นพวกเขา อาจกล่าวได้ว่า กลุ่มพวกเราและกลุ่มพวกเขานั้น มิใช่เป็นกลุ่มจริงเป็นเรื่องของการสร้างขึ้นด้วย การใช้สรรพนาม “เรา” และ “เขา” เท่านั้นเอง และความแตกต่างระหว่างกลุ่มทั้งสองข้างต้นอยู่ที่การสร้าง หลักความสัมพันธ์ทางสังคม 2 ประการด้วยกัน 1. หลักประการแรก สมาชิกของกลุ่มพวกเราโน้มเอียงที่จะประเมินค่าของพวกเดียวกับตนเป็น รายบุคคลและจะประเมินค่าของบุคคลกลุ่มอื่นรวม ๆ กัน เช่นชาวอาเซียนเห็นชาวยุโรปและชาวอเมริกัน รวมๆ กันว่า “ฝรั่ง” ซึ่งตามความเป็นจริงแล้ว ชาวยุโรปกับชาวอเมริกันมีความแตกต่างกันหลายประการ เช่น ชาวอังกฤษเป็นคนเงียบ ฝรั่งเศสนิยมดื่มเหล้าองุ่น เยอรมันนิยมดื่มเบียร์ และคนอเมริกันนิยมดื่มกาแฟ เหล่านี้เป็นต้น คือ พิจารณาโดยถือลักษณะโดยรวมอันเป็นลักษณะที่แปลกไปจาก“ชาวอาเซียน” หรือ “พวก เรา” 2. หลักประการที่สอง ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากความแตกต่างระหว่างกลุ่มพวกเราและกลุ่มพวก เขา ก็คือ การคุกคามใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโกหกหรือเรื่อง จริง ๆ ซึ่งเกิดจากกลุ่มพวกเขาย่อมก่อให้เกิด สามัคคีธรรมหรือความเป็นน้าหนึ่งใจเดียวกันภายในกลุ่มพวกเรา เช่น ครอบครัวหนึ่งญาติพี่น้องทะเลาะ เบาะแว้งกันนัวเนีย แต่เมื่อคนภายนอก “หรือกลุ่มพวกเขา” ไปวิพากษ์วิจารณ์เข้า ประดาญาติพี่น้องที่ทะเลาะ กันอุตลุดจะหยุดทันทีและจะหันหน้าคืนดีกันเพื่อต่อต้านบุคคลภายนอกหรือกลุ่มพวกเขา จึงเป็นอุทาหรณ์ว่า ผัวเมียทะเลาะกัน บุคคลอื่นอย่าเข้าไปเกี่ยวข้องเป็นอันขาด 3) ชนกลุ่มใหญ่และชนกลุ่มน้อย (Majority – Group and Minority – Group)ในแต่ละกลุ่มนั้น อาจมีการแบ่งเป็นกลุ่มย่อยอีกสองกลุ่ม กลุ่มใหญ่ เราก็เรียกว่า “ชนกลุ่มใหญ่” กลุ่มเล็กกว่า เราก็เรียกว่า “ชน กลุ่มน้อย” การแบ่งกลุ่มคนออกเป็นสองกลุ่มดังกล่าวนั้น ไม่มีข้อจากัดในเรื่องจานวนแต่ประการใด เช่น คนสองคนเป็นคนกลุ่มใหญ่ในเมื่อคนกลุ่มนั้นทั้งหมดมีสามคน นอกจากนั้น ภายในกลุ่มเดียวกัน ชนกลุ่ม ใหญ่อาจจะมีอานาจมากหรือน้อยก็ได้เช่น กลุ่มคนจานวน 100 คน ชนกลุ่มใหญ่อาจจะมีจานวนตั้งแต่ 51 คน ถึง 90 คน ก็ได้ คุณสมบัติของชนกลุ่มใหญ่หรือชนกลุ่มน้อยย่อมส่งผลกระทบถึงชีวิตในสังคม โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งในทางการเมือง ความตึงเครียดหรือการขัดกันของกลุ่มคนของเชื้อชาติย่อมจะมีน้อย ในเมื่อชนกลุ่มใหญ่มี จานวนมากกว่าชนกลุ่มน้อยอย่างมากมาย แต่ในทางตรงกันข้าม ความตึงเครียดหรือการขัดกันจะมีมากขึ้น ในเมื่อชนกลุ่มน้อยมีจานวนมากขึ้น 4) กลุ่มสมัครใจและกลุ่มไม่สมัครใจ (Voluntary – Group and Involuntary – Group) กลุ่มสมัคร ใจ หมายถึง สมาชิกของกลุ่มเข้ามารวมกันโดยความสมัครใจ เช่น กลุ่มอาชีพเดียวกัน กลุ่มที่มีผลประโยชน์ ร่วมกัน กลุ่มที่มีความสนใจ ร่วมมือกัน เช่น สมาคมพ่อค้า สมาคมผู้ปกครองนักเรียน สมาคมกล้วยไม้เป็น ต้น
  • 5. หน้าที่ | 25 ส่วนกลุ่มไม่สมัครใจ หมายถึง สมาชิกของกลุ่มเข้ามารวมกันโดยไม่มีทางเลือกเป็นอย่างอื่น เช่น กลุ่มเพศชาย กลุ่มเพศหญิง กลุ่มเชื้อชาติ กลุ่มศาสนา เป็นต้น อนึ่ง ความแตกต่างระหว่างกลุ่มสมัครใจและกลุ่มไม่สมัครใจนี้จะพิจารณาได้จากสถานภาพ กล่าวคือ สถานภาพโดยการกระทาย่อมเกิดขึ้นในกลุ่มสมัครใจ ส่วนกลุ่มไม่สมัครใจจะเป็นสถานภาพโดย กาเนิด 5) กลุ่มระดับเดียวกันและกลุ่มหลายระดับ (Horizontal Group and Vertical Group)กลุ่มบางกลุ่ม รับสมาชิกเฉพาะบางลาดับ คือ เลือกจากในลาดับเดียวกันเป็นสมาชิกของกลุ่ม เช่น สมาคมแพทย์ก็รับเฉพาะ ผู้มีอาชีพเป็นแพทย์สมาชิกสมาคมทหารผ่านศึก เป็นต้น กลุ่มดังกล่าวนี้ เรียกว่า “กลุ่มระดับเดียวกัน” ส่วนกลุ่มหลายระดับนั้น ประกอบด้วย คนจากทุกระดับชั้น เช่น พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย กลุ่มผู้บาเพ็ญประโยชน์ซึ่งรับสมาชิกทุกชนชั้น 6) กลุ่มที่มีการจัดระเบียบและกลุ่มที่มิได้มีการจัดระเบียบ (Organize Group and Unorganized Group)กลุ่มบางกลุ่มที่เกิดขึ้นเองโดยไม่มีการจัดระเบียบ เช่น กลุ่มทางสถิติ กลุ่มพวกเดียวกัน และกลุ่มทาง สังคม ล้วนเป็นกลุ่มที่เกิดขึ้นมาโดยไม่มีการจัดระเบียบ แต่กลุ่มบางกลุ่มจะเกิดขึ้นมาได้ต้องมีการจัดระเบียบ เช่น กลุ่มสมาคมหรือองค์การ เป็นกลุ่มที่มี การจัดระเบียบ คือ มีสานักงาน มีระเบียบกฎเกณฑ์กาหนดถึงหน้าที่และสิทธิของสมาชิก กลุ่มที่มีการจัด ระเบียบนี้ถือได้ว่า เป็นกลุ่มที่มีความสาคัญยิ่งในการจัดรูปความสัมพันธ์และการติดต่อของสมาชิกของสังคม อันทาให้เกิดการกาหนด ในเรื่องอานาจและสิทธิว่า ใครควรจะปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติในการมี ความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น เพราะฉะนั้น กลุ่มที่มีการจัดระเบียบจึงเป็นสิ่งจาเป็นในสังคมเชิงซ้อน เพราะจะ ช่วยให้การดาเนินชีวิตและกิจกรรมต่าง ๆ ของสังคมดาเนินไปได้อย่างมีระเบียบแบบแผนและกฎเกณฑ์ตาม สถานภาพ ตอนที่ 2 สถาบันทางสังคม 1. ความหมายของสถาบันทางสังคม คาว่า Institution ซึ่งแปลว่า “สถาบัน” นั้น มีความหมายจาแนกออกได้เป็น 2 นัย ได้แก่ 1) แบบอย่างพฤติกรรที่มีระเบียบแบบแผนและปฏิบัติสืบต่อกันมาจนเป็นที่ ยอมรับกันทั่วไป เรียกว่า สถาบัน การกระทาบางอย่างลาพังแต่ปฏิบัติโดยไม่มีระเบียบ ไม่มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอน แม้จะกระทา กันทั่วไปและยอมรับกันทั่วไป ก็หาเรียกว่าเป็นสถาบันไม่ เช่น การสอนให้เด็กทาอะไรจะเป็นการพูดก็ดี การ รับประทานอาหารก็ดี การอ่านหนังสือก็ดี แต่การสอนดังกล่าวนี้ ไม่เฉพาะในสังคมบางแห่งเท่านั้น จึงนับว่า เป็นสถาบัน ซึ่งได้แก่ โรงเรียน การสอนการเรียนที่บ้านหรือนอกห้องเรียนที่มิได้จัดตั้งขึ้นเป็นแบบแผนเป็นทางการ ไม่เรียกว่าเป็นสถาบัน
  • 6. หน้าที่ | 26 2) องค์การที่จัดตั้งขึ้น ซึ่งอาจเป็นโรงเรียน โรงพยาบาล ทีมฟุตบอล วัด บริษัท ห้างร้าน กระทรวง ทบวง กรม สถาบันในแง่นี้ ก็คือ องค์การ นั่นเอง ซึ่งจะต้องมีการจัดตั้งขึ้น ถ้าไม่มีการจัดตั้งเป็นองค์การขึ้น ก่อน สถาบันก็เกิดขึ้นไม่ได้หรือสถาบันจะมีขึ้นไม่ได้ถ้าไม่มีองค์การรับรอง เช่น สถาบันการศึกษาจะมี ไม่ได้หากไม่มีโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย บริษัทห้างร้านต่าง ๆ จะมีไม่ได้หากไม่มีการประกอบธุรกิจ การค้า เป็นต้น “สถาบัน” ในความหมายทางสังคมวิทยา มุ่งเน้นถึงสถาบันที่เป็นนามธรรม คือ ระเบียบหรือ แนวทางปฏิบัติที่ทากันมาจนชาชินและเป็นที่ยอมรับกันทางสังคม ลักษณะทั่วไปของสถาบันนอกจากจะเป็น ดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีลักษณะเฉพาะอีก 4 ประการ คือ 1) สถาบันมีชีวิตยืนยาวไม่มีที่สิ้นสุด องค์การอาจแตกสลายได้แต่สถาบัน อันเป็นแนวทางปฏิบัติ จะมีความยั่งยืน เพราะสถาบันค่อย ๆ เจริญตัวและปลูกฝังลงในอุปนิสัย จนยากที่จะเปลี่ยนแปลงได้ 2) การปฏิบัติอยู่ในวงกว้างไม่ใช่เฉพาะกลุ่มสถาบันนั้น มีอาณาเขตเป็นสากลปรากฏอยู่ทั่วไปทุก หนทุกแห่ง เช่น การศึกษา การศาสนา การเศรษฐกิจ การปกครอง ทุกสังคมจะมีสถาบันดังกล่าว 3) ดารงอยู่และถือปฏิบัติในทุกชั้นวรรณะไม่ว่าคนยากดีมีจน คนฉลาดคนโง่ ทุกคนจะต้องปฏิบัติ ตนตามสถาบันนั้น ๆ เสมอเหมือนกัน จะลดหย่อนกว่ากันก็น้อยที่สุด ระบบการทั้งหลายของสถาบันย่อม ให้ผลต่อชนทุกชั้นทั่วถึงกันและทุกระยะแห่งชีวิตของมนุษย์ 4) มีความสัมพันธ์กันระหว่างสถาบันต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการศึกษา การเศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง ตลอดจนสถาบันครอบครัวจะมีความสัมพันธ์และเกื้อกูลซึ่งกันและกันและมีผลต่อ บุคคลทุกคนและส่วนรวมด้วยเสมอ ตามความเห็นของ ดร.สนอง บุณโยทยาน กล่าวไว้ว่า สถาบันทางสังคม หมายถึงทั้งสิ่งที่เป็น รูปธรรม สังเกตเห็นได้และที่เป็นนามธรรม มองเห็นไม่ได้ แต่เป็นสิ่งที่มีอยู่ รูปธรรม เช่นการประกอบ พิธีกรรมทางศาสนา การสมรส การดาเนินในด้านการปกครองและการเมือง (การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง การเปลี่ยนรัฐบาล และอื่น ๆ) ส่วนในด้านที่เป็นนามธรรมนั้น ก็คือ สิ่งที่เป็นบรรทัดฐานสังคมต่าง ๆ ซึ่ง มนุษย์รู้อยู่แน่นอนว่ามีอยู่ แม้จะมิได้บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรก็ตาม สถาบันในวิชาสังคมวิทยา หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีลักษณะแสดงให้เห็นว่า พฤติกรรมของมนุษย์ที่เกี่ยวกับสิ่งนั้นเป็นไปในแบบของการ ร่วมมือกัน โดยการร่วมมือกันอย่างถาวรและเป็นการร่วมมือภายใต้กฎเกณฑ์ใดกฎเกณฑ์หนึ่ง นอกจากนั้น การที่พฤติกรรมชุดใดชุดหนึ่งของมนุษย์จะเป็นพฤติกรรมที่เรียกว่า สถาบันได้พฤติกรรมนั้นจะต้องมี ลักษณะ เฉพาะตัวและเปลี่ยนแปลงยาก มนุษย์ที่จะประพฤติปฏิบัติร่วมมือกันโดยมีกฎเกณฑ์และเป็นระยะ เวลานานนี้ ต้องประพฤติร่วมกันโดยรู้ตัว ถึงแม้ว่าจะประพฤติปฏิบัติในสังคมที่จะเป็นสถาบันได้ต้องเป็นไป อย่างเป็นกิจลักษณะ ไม่ใช่เป็นการปฏิบัติอย่างกันเอง ตามความเห็นของประสาท หลักศิลา “สถาบัน หมายถึง ระบบทางสังคมอย่างหนึ่ง หมายถึง ความสัมพันธ์ของพฤติกรรมต่าง ๆ ที่มาประกอบเป็นสถาบันนั้น ๆ และคนที่อยู่ร่วมกันในสังคมหนึ่งๆ ยอม ปฏิบัติกันเช่นนั้น”
  • 7. หน้าที่ | 27 จากการอธิบายข้างต้น พอสรุปได้ว่า สถาบันทางสังคม หมายถึง แนวทางการปฏิบัติอย่างมีระเบียบ และระบบ ซึ่งบุคคลส่วนใหญ่ในสังคมนั้นยอมรับปฏิบัติ เพื่อประโยชน์ส่วนรวมในสังคม 2. สถาบันทางสังคมที่สาคัญ นักสังคมวิทยาได้อธิบายจาแนกสถาบันทางสังคมที่สาคัญเป็น 6 สถาบัน คือ 1) สถาบันทางครอบครัว (Family Institution) 2) สถาบันทางการศึกษา (Educational Institution) 3) สถาบันทางศาสนา (Religious Institution) 4) สถาบันทางการเมือง (Political Institution) 5) สถาบันทางเศรษฐกิจ (Economic Institution) 6) สถาบันทางนันทนาการ (Recreational Institution) 3. หน้าที่และความสาคัญของสถาบัน มีดังต่อไปนี้ 1) สถาบันทางครอบครัว สถาบันทางครอบครัว คือ สถาบันที่ชายหญิงอยู่กินกันเป็นครอบครัวและเป็นสถาบันที่จะ ยังให้สังคมดารงอยู่ได้ตลอดไป ยอมรับกันว่า สถาบันครอบครัวเป็นสถาบันพื้นฐานของสังคม ซึ่งทาหน้าที่ ควบคุมความสัมพันธ์ทางเพศ การมีบุตรการอบรมเลี้ยงดู ตลอดถึงการสร้างระบบเครือญาติ แต่เดิมมานั้น ครอบครัวทาหน้าที่เป็นสถาบันเบ็ดเสร็จ กล่าวคือ กิจกรรมทั้งปวงของบุคคลมีศูนย์กลางอยู่ที่ครอบครัวไม่ว่า จะเป็นการศึกษา การแพทย์การสังคมสงเคราะห์ ตลอดจนพิธีกรรมต่าง ๆ ในสมัยหลังจึงได้มีองค์การอื่นๆ รับไปปฏิบัติแทนครอบครัว การอยู่กันเป็นครอบครัวมีระเบียบปฏิบัติซึ่งตั้งขึ้นเป็นแบบแผนเป็นมาตรฐาน ในเรื่องการสืบพันธุ์และการเลี้ยงดูบุตร ครอบครัวปฏิบัติหน้าที่ทั้งในด้านเฉพาะตัวและหน้าที่ของสังคมเป็น ส่วนรวม และหน้าที่อันสาคัญยิ่งของครอบครัว คือ การสร้างคน การที่สังคมจะดารงอยู่ได้ก็ต้องมีสมาชิกมา แทนที่สมาชิกเดิมที่ล้มตายไป การสร้างคนจึงเป็นสถาบันขึ้นมา เรียกว่า สถาบันครอบครัว ประวัติความเป็นมาของครอบครัว ดร.ไพฑูรย์เครือแก้ว ได้กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของครอบครัวไว้โดยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ด้วยกัน คือ - ระยะที่หนึ่ง เรียกว่า ระยะเสน่หาก่อนแต่งงาน (Prenuptial Stage) ซึ่งเริ่มตั้งแต่หนุ่มสาว พบปะกันครั้งแรก มีการถูกตาต้องใจกันไปจนกระทั่งถึงการตกลงปลงใจจนแต่งงาน ระยะนี้เป็นระยะที่ เรียกว่า “Romantic Love” ซึ่งเป็นความรักที่มีความเสน่หาทางกายและใจอย่างรุนแรงห้ามกันไม่ได้ - ระยะที่สอง เรียกว่า ระยะข้าวใหม่ปลามัน (Nuptial Stage) ระยะนี้เริ่มตั้งแต่คู่หนุ่มสาว ร่วมชีวิตกันตั้งแต่ต้นจนเข้าหอแต่งงาน จนกระทั่งถึงตอนเริ่มจะคลอดบุตรคนแรก เป็นระยะของความหวาน
  • 8. หน้าที่ | 28 ชื่น หรือระยะนี้ อาจเรียกว่า “Honey Moon” เป็นระยะเริ่มครอบครัว เริ่มอยู่ด้วยกัน มีความรับผิดชอบทุก ๆ ด้าน นับตั้งแต่แต่งงาน อาชีพ ความเป็นไปในครอบครัว การสร้างอนาคต - ระยะที่สาม เรียกว่า ระยะมีบุตรสืบสกุล (Child Bearing Stage) เริ่มจากหญิงเริ่มต้นตั้งครรภ์ จนกระทั่งคลอดบุตรคนแรก ซึ่งระยะนี้ถือว่าทวีความรู้สึกสัมพันธ์ต่อกันยิ่งขึ้น รวมทั้งความตื่นเต้นดีใจ การ มีบุตรถือว่าเป็นผลิตผลของความสัมพันธ์ทางเพศ ในระยะนี้ เป็นระยะที่ต่างฝ่ายต่างหันเหความสนใจและ ความชื่นชมมาสู่บุตรของตน ซึ่งจะทาให้พ่อแม่มีความกระตือรือร้นในการประกอบภาระกิจของตน ตลอดจนสานึกในความรับผิดชอบต่อชีวิตครอบครัวเพิ่มขึ้น - ระยะที่สี่ เป็นระยะที่ลูก ๆ ได้พ้นอกพ่อแม่ (Maturity Stage) เริ่มจากบรรดาลูก ๆ มีอายุโต พอสมควร พ้นภาระความรับผิดชอบของพ่อแม่แล้ว ภาระของพ่อแม่ก็ย่อมลดน้อยลงไปด้วย พ่อแม่จะหัน ความสนใจมาสู่กันอีกครั้งหนึ่งและหวนราลึกถึงความสดชื่นแต่หนหลัง ทาให้เกิดความรักความเข้าใจห่วงใย ต่อกันและมีความหวังที่จะอยู่ร่วมกันตราบเท่าชีวิต โดยมีบุตรเป็นหลักและที่พึ่งของตน เมื่อยาม แก่เฒ่าด้วย หน้าที่ของครอบครัว หน้าที่อันสาคัญของครอบครัว พอจะแบ่งได้ดังต่อไปนี้ 1. สร้างสรรค์สมาชิกใหม่ (Reproduction)เพื่อให้สังคมอยู่ได้เพราะสังคมจะต้องมีสมาชิก ใหม่แทนที่สมาชิกเดิมที่ตายไป 2. บาบัดความต้องการทางเพศ (Sexual Gratification)ซึ่งออกมาในรูปของการสมรส เป็นการลดปัญหาทางเพศบางอย่าง เช่น การข่มขืนกระทาชาเรา การสมรสเป็นสิ่งจาเป็นในสังคมที่มี การจัดระเบียบ 3. เลี้ยงดูผู้เยาว์ให้เจริญเติบโตขึ้นในสังคม (Maintenance of Immature Children or Raising the Young)เราจะเห็นได้ว่า ไม่มีสถาบันใดทาหน้าที่ได้ดีกว่าสถาบันนี้ เพราะความรักความอบอุ่น เด็กจะหา ที่อื่นใดเสมือนครอบครัวนั้นยากมาก พ่อแม่ส่วนใหญ่มีความรักลูกย่อมประคับประคองเลี้ยงดูลูกของตนเป็น อย่างดี แม้จะยากดีมีจนก็ตามครอบครัวจะเลี้ยงดูบุตรตั้งแต่เกิดจนกระทั่งเติบโต 4. ให้การอบรมสั่งสอนแก่เด็กให้รู้จักระเบียบของสังคม (Socialization)ครอบครัวเป็นแหล่ง การอบรมเบื้องต้นที่มีอิทธิพลต่อเด็กมาก เป็นสถาบันที่เตรียมเด็กให้ออกไปเผชิญกับสิ่งที่พ้นออกไปจาก บ้าน ครอบครัวช่วยอบรมเด็กให้รู้จักกฎเกณฑ์ คุณค่า แบบของความประพฤติ ฯลฯ สอนให้เด็กปรับตัวเข้า กับสิ่งแวดล้อมในสังคม 5. กาหนดสถานภาพ (Social Placement)เราได้ชื่อสกุลจากครอบครัว ซึ่งส่วนมากก็เปลี่ยนได้ ในเวลาต่อมาโดยเฉพาะเป็นหญิง แต่งงานแล้วก็เปลี่ยนตาม ชื่อสกุลของสามี สถานภาพที่ครอบครัวให้นี้ทา ให้เรารู้ว่าเราเป็นใครอยู่กับคนกลุ่มไหน 6. ให้ความรักและความอบอุ่น (Affection)ครอบครัวเป็นแหล่งที่สมาชิกได้รับความรักความ อบอุ่นอย่างบริสุทธิ์ใจ เป็นแหล่งที่ให้ประกันว่าจะมีคนที่เรารักและคนที่รักเราเสมอ เช่น ความรักของสามี
  • 9. หน้าที่ | 29 ภรรยา ความรักของพ่อแม่ที่มีต่อลูก นอกจากนั้น ถ้าสมาชิกคนใดประสบกับความผิดหวัง ครอบครัวจะเป็น แหล่งให้กาลังใจและปลุกปลอบใจเพื่อให้สามารถผ่านอุปสรรคไปได้ 2) สถาบันทางการศึกษา ความหมายของการศึกษา ตามความเห็นของ Aristotle ว่า “การศึกษา คือ การอบรมคนให้เป็นพลเมืองดีและดาเนินชีวิต ด้วยการกระทาดี” Rousseanกล่าวว่า “การศึกษา หมายถึง การปรับตัวให้เหมาะสมกับโอกาสและสิ่งแวดล้อมที่ เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ” John Locke กล่าวว่า “การศึกษาประกอบด้วยองค์ 3 คือ พุทธศึกษา จริยศึกษา และพลศึกษา” John Dewey กล่าวว่า “การศึกษา หมายถึงกระบวนการแห่งการดารงชีวิต มิใช่ว่า การเตรียมตัวเด็กเพื่อการดารงชีวิตในวันข้างหน้า” จากคาจากัดความของนักปราชญ์เหล่านี้ พอจะอธิบายความหมายของ การศึกษาได้ว่า “การศึกษา คือ การส่งเสริมความเจริญงอกงามของบุคคลในทางร่างกาย สติปัญญา ความประพฤติ และสังคม เพื่อให้เขาสามารถปรับตัวให้เหมาะสมกับ สิ่งแวดล้อมและดารงอยู่ได้ด้วยดี” ฉะนั้น การศึกษาจึงมิใช่หมายความถึงเฉพาะการเรียนจบจากโรงเรียนเท่านั้น แต่ยังมี ความหมายกว้างขวางครอบคลุมไปถึงการขจัดปัญหาที่อาจบังเกิดขึ้นในชีวิต เพื่อให้ตนสามารถดารงชีวิตอยู่ ได้ในสังคมด้วยความสุข การศึกษาจึงมีอยู่ในทุกสถานที่และทุกกาล บุคคลที่มีการศึกษาดีนั้น ย่อมหมายถึง บุคคลที่สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ และประสบความสาเร็จในการดาเนินชีวิตในสังคม รูปแบบของการศึกษา เราอาจจะสรุปรูปแบบของการศึกษาออกได้เป็น 2 ประการ ดังต่อไปนี้ 1. การศึกษาแบบอรูปนัย (Informal Education)ได้แก่ การเรียนรู้จาก การอบรมสั่งสอนของ บิดามารดาและญาติพี่น้องในครอบครัว หรือการเลียนแบบจากเพื่อเล่นที่โตกว่าในกลุ่มเดียวกันจนกลายเป็น ความรู้ความชานาญถ่ายทอดสืบต่อกันมาแบบอรูปนัยและโดยมิได้ตั้งใจ เช่น เด็กเล็ก ๆ ทั่วไปย่อมมีความ ใกล้ชิดกับมารดา มากกว่าบุคคลอื่น มารดาจึงเป็นบุคคลแรกที่เลี้ยงดูและบารุงรักษาบุตรตั้งแต่ยังเป็นทารก เป็นผู้สอนให้บุตรรู้จักการเดิน การพูด ตลอดจนอบรมความประพฤติและมรรยาทต่าง ๆ ในสังคมที่ไม่มีผู้รู้หนังสือ หน้าที่การอบรมสั่งสอนและถ่ายทอดวิชาความรู้ตกเป็นภาระกิจของ ครอบครัว สถานฝึกอาชีพและสถาบันทางศาสนา ส่วนแนวการอบรมสั่งสอนนั้นก็สุดแต่ผู้ใหญ่จะ เห็นสมควรว่า เหมาะสมประการใด โดยคานึงถึงความนิยมหรือขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่นเป็น สาคัญ 2. การศึกษารูปนัย (Formal Education)ได้แก่ การศึกษาซึ่งตกเป็นหน้าที่ของกลุ่มบุคคลหรือ ตัวแทนของสังคม การศึกษาแบบนี้ได้เกิดขึ้นในสมัยที่มนุษย์รู้จักประดิษฐ์ตัวอักษร คิดค้นวิชาคานวณมี ความก้าวหน้าทางเกษตรกรรม รู้จักใช้แร่ธาตุให้เป็นประโยชน์ ดังปรากฏในอารยธรรมโบราณอียิปต์บาบิโล
  • 10. หน้าที่ | 30 เนีย กรีก อินเดีย จีน และโรมัน แต่ในระยะเริ่มแรก การศึกษาแบบนี้มักจะจากัดอยู่ในกลุ่มอภิสิทธิ์ชนหรือชน ชั้นที่มั่งคั่งร่ารวยเท่านั้น และการศึกษาก็เน้นถึงปรัชญา จริยศาสตร์ ศิลปะ วาทศิลป์ คณิตศาสตร์ พลศึกษา และการทหาร ซึ่งวิชาเหล่านี้ เห็นว่าเหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อชนชั้นปกครอง การศึกษาแบบรูปนัยนี้ได้วิวัฒนาการมาเรื่อย ๆ ดังเช่นปัจจุบันนี้ สังคมมีอุปกรณ์ที่ช่วยใน การศึกษามากมาย เช่น มีหลักสูตรที่กว้างขวางและวิธีการสอนที่ ทันสมัย บุคคลผู้มีหน้าที่บริหารงานเกี่ยวกับ การศึกษาก็ได้รับการศึกษาอบรมเป็นอย่างดี ความมุ่งหมายของการศึกษา เราพอสรุปความมุ่งหมายของการศึกษาออกได้เป็น 6 ประการ คือ 1. ส่งเสริมสุขภาพทั้งทางกายและจิตใจ 2. ส่งเสริมความรู้สามัญทั่วไป 3. ส่งเสริมความเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว 4. เตรียมตัวเพื่อชีวกิจ 5. สร้างคนให้เป็นพลเมืองดี 6. สร้างคนให้มีอัธยาศัยและมีความประพฤติที่ดีงาม หน้าที่ที่สาคัญของสถาบันการศึกษา เราอาจสรุปหน้าที่ของสถาบันการศึกษาได้เป็นข้อ ๆ ดังนี้ 1. อบรมให้เรียนรู้ระเบียบแบบแผนของสังคม สอนให้สมาชิกในสังคมได้พัฒนาบุคลิกภาพ มีกิริยามรรยาท มีจริยธรรม คุณธรรม เคารพในสิทธิของผู้อื่น ปฏิบัติตามหน้าที่ของตน 2. อบรมให้สมาชิกได้เรียนรู้เกี่ยวกับอาชีพ เพื่อการดารงชีวิตเพื่อเพิ่มผลผลิตใน ภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การบริการ นอกจากสอนให้ผู้คนได้เรียนรู้ในการประกอบอาชีพแล้ว สถาบันการศึกษายังมีหน้าที่ในการพัฒนาอาชีพ ริเริ่มสร้างสรรค์อาชีพ เพื่อผลผลิตใหม่ที่จะสนองความ ต้องการของสังคม 3. จัดสรรตาแหน่งและกาหนดหน้าที่การงานให้แก่บุคคล เพื่อบุคคลได้เรียนรู้ในอาชีพใด มี ความสามารถในทางใด ก็จะไปทางานในอาชีพนั้น 4. ช่วยให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ในสังคม เมื่อการศึกษาเจริญก้าวหน้าขึ้น ก่อให้เกิดความรู้ แนวคิด เทคนิคใหม่ ๆ การค้นพบต่าง ๆ ทาให้เกิดการประดิษฐ์สิ่งของอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ และมีการ พัฒนาสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น 5. ช่วยให้สังคมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ผลจากการศึกษาอบรมให้เรียนรู้ระเบียบแบบแผน วัฒนธรรมเดียวกัน ยิ่งถ้ามีการใช้ภาษาเดียวกันในการติดต่อสื่อสารจะทาให้เกิดความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน มี ความผูกพันกันดีขึ้น 6. ช่วยให้เกิดการเลื่อนชั้นทางสังคม ในทุกสังคมย่อมประกอบด้วยชนชั้นและจากการมีชน ชั้น ซึ่งจัดว่าเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมนั้น สมาชิกส่วนหนึ่งย่อมจะมีความต้องการเลื่อนชั้นทางสังคมและ
  • 11. หน้าที่ | 31 ปัจจัยหนึ่งจะช่วยได้ก็คือ การศึกษา เพราะการศึกษาจะช่วยเพิ่มโอกาสในการได้รับตาแหน่งหน้าที่การงานที่ สูงขึ้นมีเกียรติได้รับการยกย่อง 7. ช่วยพัฒนาบุคลิกภาพเฉพาะของสมาชิกจากการเรียนรู้ในวิชาต่าง ๆ เขาอาจสนใจในเรื่อง ใดเรื่องหนึ่งหรือหลายเรื่องและกลายมาเป็นคุณสมบัติประจาตัวเขา เช่น ความรักในศิลปะและดนตรีหรือ ความซาบซึ้งในวรรณกรรม ความสนใจทางการเมือง ฯลฯ 3) สถาบันศาสนา ความหมายของศาสนา คาว่า “ศาสนา” มาจากศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Religion ซึ่งมาจากภาษาลาติน คาว่า Religareหรือ Religereซึ่งแปลว่า การรวมเข้าด้วยกันระหว่างสิ่งหนึ่งกับอีกสิ่งหนึ่งโดยอธิบายว่าเป็นความสัมพันธ์ระหว่าง มนุษย์กับอานาจเหนือมนุษย์(พระเจ้า) ในทัศนะของชาวตะวันตก คาว่า “ศาสนา” ต้องมีลักษณะ ดังนี้ 1. มีลักษณะความเชื่อที่ว่า พระเจ้าเป็นผู้สร้างโลกและสรรพสิ่งในโลก 2. มีลักษณะความเชื่อว่า คาสอนต่าง ๆ มาจากพระเจ้า 3. มีหลักความเชื่อในคาสอนโดยไม่คานึงถึงข้อพิสูจน์ แต่อาศัยอานุภาพของพระเจ้าเป็น เกณฑ์ 4. มีหลักยอมมอบตนด้วยความจงรักภักดีต่อพระเจ้า ตามข้อตกลงของกลุ่มผู้วิจัยและเชื่อถือตามโครงสร้างพื้นฐานจิตใจของประชาชนชาวไทย สาขาปรัชญา สภาวิจัยแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2506 กาหนดว่า ศาสนาต้องประกอบด้วยลักษณะดังต่อไปนี้ 1. มีศาสดาผู้ตั้ง 2. มีหลักคาสอน 3. มีศาสนิก 4. มีพิธีกรรม 5. มีศาสนสถาน 6. มีสัญลักษณ์ หน้าที่ของสถาบันศาสนา หน้าที่ของสถาบันทางศาสนานั้น มีทั้งสนองความต้องการเฉพาะบุคคลและต่อสังคม หน้าที่ ของศาสนาที่มีต่อเฉพาะบุคคล เน้นที่ให้ความมั่นคงในชีวิตและมีความหมายเกี่ยวกับสิ่งต่อไปนี้ 1. เป็นปัจจัยช่วยให้เกิดความสงบทางจิตใจและนาไปสู่สุขภาพจิตที่ดี อันจะมีผลต่อสุขภาพ ร่างกายด้วย 2. ให้ความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยจากความกลัวและปลอดจากความวิตกกังวล 3. ให้พลังใจ เพราะเชื่อว่า มีสิ่งที่จะให้ความช่วยเหลือเป็นปัจจัยเสริมให้เกิดกิจกรรมทั้งปวง ทาให้มีโอกาสเอาชนะความลาบาก อุปสรรคต่าง ๆ ได้ 4. เป็นปัจจัยช่วยให้คนจัดระเบียบชีวิตและมีโอกาสประสบความสาเร็จและความสุขสูงสุด ได้
  • 12. หน้าที่ | 32 หน้าที่ของศาสนาต่อสังคมนั้น มีดังต่อไปนี้ 1. ช่วยในการควบคุมสังคมและจัดระเบียบสังคม 2. กาหนดศีลธรรมของสังคม 3. ช่วยสร้างค่านิยมและบรรทัดฐานของสังคม 4. ยึดเหนี่ยงสังคมให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน 4) สถาบันทางการเมืองการปกครอง ความหมายของการปกครอง การปกครอง คือ การใช้อานาจอธิปไตยในการบริหารรัฐ เพื่อ ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและความสงบสุขแห่งรัฐนั้น ความหมายของรัฐ รัฐเป็นชุมชนทางการเมืองที่มีอธิปไตย อิสระภาพ มีอานาจบริหารภายในรัฐ และยังมีอานาจต่อต้านอานาจภายนอกที่เข้ามาเกี่ยวข้องก้าวก่ายภายในรัฐนั้น ๆ องค์ประกอบของรัฐ คือ - ประชากรที่มีจานวนพอสมควรและอาศัยอยู่ในดินแดนที่แน่นอน - ดินแดนอันมีอาณาเขตแน่นอนมั่นคง - รัฐบาลเป็นหน่วยงานกาหนดนโยบายปกครองและนานโยบายที่มีอยู่ ไปใช้ให้ได้ผล รูปแบบของการปกครอง รูปแบบของการปกครองพอจะแยกได้เป็น 2 รูปแบบ ดังนี้ 1. การปกครองแบบเผด็จการหมายถึง การปกครองที่กาหนดและจากัดอานาจอธิปไตยของ รัฐโดยบุคคลหรือคณะบุคคลที่เข้ามาดาเนินการบริหารรัฐนั้น ๆ แบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ คือ 1.1 แบบอัตตาธิปไตย (Autocracy)เป็นการปกครองที่ผูกขาดการมีการใช้อานาจ อธิปไตยไว้ที่บุคคลคนเดียวและผู้เผด็จการมักอ้างงานหรือประโยชน์ของรัฐเป็นสิ่งสาคัญเหนือกว่า ความสาคัญของศักดิ์ศรีและคุณค่าของมนุษย์เช่น ราชาธิปไตย และฟาสซิสม์ 1.2 แบบคณาธิปไตย (Oligarchy)เป็นการปกครองจากกลุ่มคนที่มีและใช้อานาจ อธิปไตยแบบผูกขาดโดยคณะบุคคล เช่น อภิชนาธิปไตย และคอมมิวนิสต์ 2. การปกครองแบบประชาธิปไตยหมายถึง การปกครองที่อานาจอธิปไตยมาจากประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชน แบ่งออกได้ดังนี้ 2.1 ประชาธิปไตยแบบบริสุทธิ์หรือโดยตรง (Pure Democracy)สาหรับรัฐที่มี ประชากรมาก ๆ จึงต้องพยายามให้ประชาชนส่วนใหญ่มีโอกาสปกครองตนเองเต็มที่ ด้วยการเลือกผู้แทนเข้า ไปมีอานาจตัดสินใจแทนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม โดยแบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ 1) ระบบรัฐสภาผู้แทนราษฎรใช้อานาจโดยทางรัฐสภา เพื่อเลือกคณะรัฐบาล ขึ้นมาบริการรัฐและควบคุมการดาเนินงานของรัฐบาล
  • 13. หน้าที่ | 33 2) ระบบประธานาธิบดีประชาชนเลือกตั้งประธานาธิบดีหรือผู้แทนราษฎรเลือก ประธานาธิบดีขึ้นมาเป็นผู้นาทางการเมืองของรัฐ ดาเนินการบริหารรัฐ อานาจนิติบัญญัติ อานาจ ประธานาธิบดี และศาล แยกจากกันและเท่าเทียมกัน หน้าที่ของสถาบันการปกครอง 1. เพื่อระงับข้อขัดแย้งระหว่างบุคคล ความขัดแย้งมักจะเกิดขึ้นอยู่เสมอในสังคมมนุษย์ ซึ่งอาจจะเนื่องมาจากความแตกต่างระหว่างคุณค่าหรือจุดหมายปลายทางหรืออาจจะเกิดจากพฤติกรรมที่ขัด ต่อสังคมจนกระทั่งเป็นอันตรายต่อบุคคลอื่น ๆ 2. เพื่อคุ้มครองบุคคลให้ปลอดภัยพ้นจากการละเมิดใด ๆ และได้รับหลักประกันในสิทธิ เสรีภาพ 3. รักษาความสงบเรียบร้อยส่งเสริมความมั่นคงและสวัสดิการทางสังคมโดยวิธีบัญญัติ กฎหมายขึ้นใช้และควบคุมให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย 4. 5) สถาบันทางเศรษฐกิจ ความหมาย “เศรษฐกิจ” เป็นเรื่องของการครองชีพหรือมาตรฐานการครองชีพของมนุษย์หรือ เป็นเรื่องการเป็นอยู่ของมนุษย์ในสังคม ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้คานิยามคาว่า “เศรษฐกิจ” หมายถึง งานเกี่ยวกับ การผลิต การจาหน่ายจ่ายแจก และการบริโภคใช้สอยต่าง ๆ ของชุมชน สถาบันเศรษฐกิจมีเป้าหมายอยู่ที่การอยู่ดีกินดีของประชาชน ดังนั้น กิจกรรมทางเศรษฐกิจจึง เกี่ยวข้องกับกรรมวิธีที่จะก่อให้เกิดความมั่งมี การอยู่ดีกินดี หรืออย่างน้อยก็เพื่อการมีกินมีใช้ของประชาชน กรรมวิธีที่ดาเนินการมักขึ้นอยู่กับปรัชญาทางเศรษฐกิจของผู้มีบทบาทอานาจหน้าที่ทางเศรษฐกิจของสังคม นั้น ๆ เพื่อจะกาหนดว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจควรจะดาเนินไปในรูปแบบใด จะให้ประชาชนมีสิทธิในการ ดาเนิน การผลิตเอง มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน รัฐจะเข้าควบคุมหรือปล่อยให้ เอกชนดาเนินงานอย่างเสรี ฯลฯ เหล่านี้ เป็นวิธีการซึ่งเป้าหมาย คือ การมีกินมีใช้ ระบบเศรษฐกิจ ระบบเศรษฐกิจ ซึ่งพอจะจาแนกออกได้เป็น 3 ระบบใหญ่ๆ ดังนี้ 1. เศรษฐกิจแบบทุนนิยม (Capitalism)เป็นระบบเศรษฐกิจที่ยึดถือปรัชญาที่ว่า ประชาชนควร มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินต่าง ๆ รัฐเปิดโอกาสให้เอกชน ลงทุนประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เปิดโอกาสให้ ประชาชนมีเสรีภาพในการผลิตและแข่งขันกันอย่างเสรี เศรษฐกิจแบบทุนนิยมเน้นในเรื่องการใช้เงินตราแลกเปลี่ยนและการเป็นเจ้าของกิจการหรือ นายทุน ซึ่งนายทุนนั้น คือ ประชาชน มิใช่รัฐบาล
  • 14. หน้าที่ | 34 ทรัพย์สินต่าง ๆ ที่ประชาชนจะมีกรรมสิทธิ์ได้นั้น รวมทั้งถนนหนทาง โรงเรียน ระบบสื่อสารไปรษณีย์ฯลฯ 2. เศรษฐกิจแบบสังคมนิยม (Socialism)ระบบเศรษฐกิจแบบนี้ยังคง ยอมรับสิทธิในการถือ ครองกรรมสิทธิ์ของประชาชนอยู่ แต่มีลักษณะที่แตกต่างไปจากระบบทุนนิยม คือ กิจกรรมหลักทาง เศรษฐกิจ เชน อุตสาหกรรมพื้นฐานและปัจจัยการผลิต รวมทั้งทรัพยากรธรรมชาติ เป็นภาระหน้าที่ของ รัฐบาลที่จะดาเนินการ เพื่อสนองความต้องการของประชาชน นอกจากนั้น กิจกรรมพื้นฐานที่รัฐไม่ได้ ดาเนินการเอง เช่น การขนส่ง การสื่อสาร การอุตสาหกรรมบางประเภทที่จาเป็นสาหรับการดาเนินชีวิตของ สาธารณชน รัฐบาลจะเป็นฝ่ายกาหนดกฎเกณฑ์และตรวจตราเพื่อให้เจ้าของหรือผู้รับสัมปทานดาเนินตาม 3. เศรษฐกิจระบบคอมมิวนิสต์ (Communism)เป็นระบบเศรษฐกิจที่มีปรัชญาว่า ไม่มี กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนบุคคล ทรัพย์สินทั้งหมดเป็นของรัฐ จุดมุ่งหมายก็เพื่อให้มีการแบ่งสรรปันส่วน ความร่ารวย การอยู่ดีกินดีอย่างเท่าเทียมกัน ไม่มีใครมีสิทธิพิเศษ รัฐเป็นผู้ดาเนินการในการผลิตทั้งหมดเพื่อ ประชาชนทั้งมวล หน้าที่ของสถาบันเศรษฐกิจ หน้าที่สาคัญของสถาบันเศรษฐกิจมีดังนี้ คือ 1. บาบัดความต้องการทางเศรษฐกิจ เช่น มีการผลิต การแบ่งเป็นวัตถุหรือบริการที่มนุษย์มี ความต้องการบริโภค 2. ให้ความสะดวกแก่มนุษย์ในการใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เช่น ระบบเงินเชื่อ การใช้ เงินตราจัดให้มีการแบ่งงานตลอดระบบผลกาไร ค่าจ้าง และดอกเบี้ย 3. พัฒนาและสร้างความเจริญก้าวหน้าในทางเศรษฐกิจ เพื่อความอุดมสมบูรณ์และความมั่นคง ในด้านนี้แก่สมาชิกในสังคม 4. ช่วยเหลือในการบริโภคให้เป็นไปได้อย่างเพียงพอและทั่วถึงให้ มากที่สุด 6) สถาบันนันทนาการ ความหมายคาว่า นันทนาการ หมายถึง ที่คนเราใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและ ส่วนรวม เช่น การชมภาพยนต์ การเล่นกีฬา การทางานอดิเรกที่ตนชอบ หรือการร่วมพัฒนาชุมชน เป็นต้น “นันทนาการ” ในความหมายทางสังคมศาสตร์ หมายถึง “กิจกรรมใดที่บุคคลเข้าร่วมทาเพื่อใช้ เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ด้วยความสมัครใจและเมื่อกระทาแล้วเกิดความสุขกายสบายใจสนุกสนานร่าเริง” กล่าวได้ว่า สถาบันการนันทนาการมีบทบาทสาคัญในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อประโยชน์ใน การพักผ่อนหย่อนใจของประชาชนในรูปของการกีฬาและการบันเทิงในสังคม
  • 15. หน้าที่ | 35 ตอนที่ 3 การจัดลาดับช่วงชั้นทางสังคม 1. ความหมายของการจัดลาดับช่วงชั้นทางสังคม การจัดลาดับช่วงชั้นทางสังคม หมายถึง การที่บุคคลในสังคมได้ถูกจัดแบ่งเป็นชั้น ๆ โดยมีระบบ ของอันดับชี้ให้เห็นว่า คนที่อยู่ในตาแหน่งหรือฐานะนั้น ๆ มีเกียรติหรือได้รับการยกย่องอยู่ในอันดับที่สูง กว่า เท่ากัน หรือต่ากว่าบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ อยู่ในฐานะอื่น ๆ ในสังคมเดียวกัน ชั้นของบุคคลแสดงให้ เห็นถึง ความแตกต่างของบุคคลหรือของกลุ่มบุคคลที่อยู่ในสังคม บุคคลที่มีฐานะทางสังคมคนละชั้นจะมีความเท่า เทียมกันในสิทธิหน้าที่ ความรับผิดชอบ อานาจ อิทธิพล แบบแผนชีวิต ตลอดจนความสะดวกสบาย ความมีหน้ามีตาในสังคมแตกต่างกัน บุคคลที่เกิดมาและมีชีวิตอยู่ในสังคมจะต้องเป็นสมาชิกของชนชั้นใดชนชั้นหนึ่งเสมอ แต่บุคคล อาจเปลี่ยนฐานะของตนได้กล่าวคือ เริ่มแรกอาจเป็นคนชั้นต่า แต่ได้รับการศึกษาเล่าเรียนและรับราชการ ดารงตาแหน่งสูง เขาก็จะเป็นคนชั้นสูงของสังคมได้แต่บุคคลดังที่กล่าวนี้ พบเห็นได้ยากส่วนมากแล้วบุคคล ที่เป็นสมาชิกของชนชั้นใด มักจะเป็นสมาชิกของชนชั้นนั้นไปชั่วชีวิตของเขา 2. รูปแบบของการจัดลาดับช่วงชั้นทางสังคม การจัดลาดับชนชั้นทางสังคมเป็นระบบซึ่งใช้แบ่งแยกระดับความแตกต่างของตาแหน่งของแต่ ละบุคคล ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงระดับของคนในแต่ละสังคม แต่ละบุคคล แต่ละกลุ่ม การจัดลาดับชนชั้น ทางสังคม แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1) วรรณะ (Caste) 2) ฐานันดร (Estate) 3) ชนชั้น (Class) 1) วรรณะเป็นระบบการจัดลาดับช่วงชั้นทางสังคม โดยเน้นถึงความสัมพันธ์ของสถานภาพ ซึ่ง จากัดบุคคลที่จะให้ได้รับสถานภาพสูงขึ้นกว่า เมื่อเขาเกิดระบบวรรณะเป็นระบบช่วงชั้น ซึ่งมีรูปแบบที่ แน่นอน ลักษณะบางอย่างของวรรณะ 1. เจาะจงถึงความสัมพันธ์ของบุคคลในสังคม 2. สมาชิกในวรรณะหนึ่งสืบทอดคนในวรรณะเดียวกัน โดยสมาชิกมีแบบแผนแห่งชีวิตที่ แน่นอน โดยการเกิดอยู่ในครอบครัวในวรรณะนั้น ๆ สมาชิกใหม่จะเป็นส่วนหนึ่งแห่งวรรณะนั้นด้วย 3. ถ้าประพฤติผิดกฎเกณฑ์ข้อบังคับของวรรณะนั้น ๆ จะถูกขับออกจากวรรณะ เรียกว่า จัณฑาล
  • 16. หน้าที่ | 36 4. วรรณะจะมีการเขยิบขึ้นหรือลงได้โดยเป็นไปทั้งวรรณะ แต่มิใช่บุคคลใดบุคคลหนึ่งใน วรรณะตัวอย่างของระบบวรรณะที่เห็นได้ชัด ได้แก่ อินเดีย ซึ่งมีการแบ่งวรรณะออกเป็นวรรณะใหญ่ 4 วรรณะ คือ 1. พราหมณ์ ได้แก่ พวกนักบวชซึ่งได้รับการยกย่อง 2. กษัตริย์ได้แก่ พวกนักรบ 3. แพศย์ได้แก่ พ่อค้า 4. ศูทร ได้แก่ กรรมกร 2) ฐานันดร เป็นระบบการแบ่งช่วงชั้นซึ่งเข้มงวดน้อยกว่าวรรณะ แต่ก็ยังเกี่ยวข้องกับประเพณีและความไม่ เปลี่ยนแปลง ซึ่งขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ของบุคคลต่อที่ดิน การเขยิบฐานะเป็นไปได้และมีศาสนาค้าจุน เหมือนระบบวรรณะ ระบบฐานันดรเป็นระบบที่มีกฎหมายกาหนดสิทธิหน้าที่ของคนแตกต่างกันไป เช่น พวกขุนนางและพระ มีอภิสิทธิมาก ชาวนาต้องแบกภาระหน้าที่หนัก ฐานันดรมีใช้กันตั้งแต่สมัยกลางของ ยุโรป เดิมมีเพียงสองฐานันดร ได้แก่ ฐานันดรนักบวชและฐานันดรขุนนาง ต่อมามีเพิ่มขึ้นอีก เช่น ฐานันดร พ่อค้า สามัญชน 3) ชนชั้น เป็นระบบที่มีอยู่ในสังคมอุตสาหกรรมสมัยใหม่ ทั้งนี้ เพราะกฎเกณฑ์ในการแบ่งชนชั้นนั้นมี แนวโน้มเป็นกฎเกณฑ์ในทางเศรษฐกิจมากกว่ากฎเกณฑ์ในด้านอื่น ๆ อนึ่ง บางสังคมนั้น ความมั่นคง ทางเศรษฐกิจเป็นสิ่งเดียวที่สังคมใช้เป็นมาตรฐาน ในการจัดและกาหนดชั้นระหว่างบุคคล ในระบบดังกล่าว นี้ เรียกกันว่า เป็นการแบ่งชั้นทางสังคม โดยกฎเกณฑ์ที่มีมติเดียว ซึ่งอาจแบ่งออกได้โดยทั่วไปเป็น 3 ชั้น คือ 1. ชนชั้นสูง ได้แก่ กลุ่มบุคคลที่มีหลักทรัพย์และรายได้สูง 2. ชนชั้นกลาง ได้แก่ กลุ่มบุคคลที่มีหลักทรัพย์และรายได้ปานกลาง 3. ชนชั้นต่า ได้แก่ กลุ่มบุคคลที่มีหลักทรัพย์และรายได้ต่า วอร์เนอร์ นักสังคมวิทยาชาวอเมริกันได้ทาการศึกษาเรื่องช่วงชั้นทางสังคมในแนวใหม่ ชนชั้นในความหมายของวอร์เนอร์เห็นว่า เป็นการแบ่งโดยดูถึงความเหนือกว่าและด้อยกว่าของสมาชิกของ ชุมชน การแจกแจงตาแหน่งขึ้นกับเกณฑ์ เช่น รายได้ความมั่นคง การศึกษา อาชีพ ฯลฯ ซึ่งวอร์เนอร์ ได้แบ่ง ไว้เป็น 6 ระดับ คือ 1. ชนชั้นสูระดับสูง (Upper-upper Class) กลุ่มนี้จะเป็นพวกปัญญาชนที่มีตระกูลเก่าแก่ขึ้นกับ การมีความมั่งคั่ง ผู้ดีเก่า 2. ชนชั้นสูงระดับต่า (Lower-upper Class) กลุ่มนี้อาจจะรวยกว่าพวกชนชั้นสูงระดับสูง แต่ เป็นพวกใหม่ กิริยามารยาทยังไม่สุภาพนัก มีการศึกษาไม่สูงนัก 3. ชนชั้นกลางระดับสูง (Upper-middle Class) เป็นครอบครัวที่ประสบความสาเร็จในอาชีพ ปานกลาง