SlideShare a Scribd company logo
1 of 20
Download to read offline
หน้าที่ | 1
หน่วยที่ 1
ลักษณะและการจัดระเบียบทางสังคม
ตอนที่1 ลักษณะของสังคม
ตอนที่2 ความหมาย ความสาคัญ และบรรทัดฐานของสังคม
ตอนที่3 สถานภาพ บทบาท และการควบคุมทางสังคม
ตอนที่4 ระเบียบสังคม การกระทา และกระบวนการทางสังคม
ตอนที่ 1 ลักษณะของสังคม
ความหมายของสังคม
เสถียรโกเศส ให้ความหมายไว้ว่า “มนุษย์ที่รวมกันอยู่เป็นหมู่คณะที่มีทั้งหญิงและชายตั้งภูมิลาเนา
เป็นหลักแหล่ง ณ ที่ใดที่หนึ่งเป็นประจาเป็นเวลานานพอสมควร พอเรียนรู้และปรับปรุงตนเองแต่ละคนได้
และประกอบการงานเข้ากันได้ดี มีความสนใจร่วมกันในสิ่งอันเป็นมูลฐานแห่งชีวิต มีการครองชีพ ความ
ปลอดภัยทางร่างกายก็เป็นส่วนหนึ่งของส่วนรวม มนุษย์ที่ร่วมกันเป็นคณะตามเงื่อนไขที่กล่าวมานี้ เรียกว่า
“สังคม”
ตามความเห็น ดร.ประสาท หลักศิลา “สังคม คือ การที่มนุษย์พวกหนึ่ง ๆ ที่มีอะไรส่วนใหญ่เหมือน
หรือคล้ายคลึงกัน เช่น ทัศนคติ คุณธรรม ธรรมเนียมประเพณีได้มาอยู่รวมกันด้วยความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน
มีความสัมพันธ์กันและมาอยู่ในเขต เดียวกันอย่างถาวร”
ตามความเห็น John F. Cuber “สังคมอาจให้คาจากัดความว่า ในฐานะเป็นกลุ่มของประชาชนที่อาศัย
อยู่รวมกันเป็นเวลานานพอที่มีการจัดระเบียบร่วมกันและเห็นว่าพวกเขาแตกต่างไปจากกลุ่มอื่น”
ตามความเห็นของ Gidding “สังคม คือ สมาคม, การจัดระเบียบ, ผลของความสัมพันธ์กันอย่างมี
ระเบียบที่แต่ละคนได้ก่อตั้งขึ้นร่วมกัน”
ตามความเห็นของ Mores Ginberge “สังคม คือ การรวมกลุ่มของบุคคลที่ก่อตั้งขึ้นโดยการสัมพันธ์
อันมั่นคง หรือแบบอย่างแห่งพฤติกรรมที่ทาให้พวกเขาแตกต่างไปจากลุ่มอื่นเป็นในรูปของความสัมพันธ์กัน
หรือผู้อื่นแตกต่างไปจากพวกเขาในเรื่องของพฤติกรรม”
ลักษณะทั่วไปของสังคม (General Characteristic of Society)
1. สังคมเป็นนามธรรม (Abstractness of Society) สังคมได้ถึงความสัมพันธ์ของคนในสังคม
ซึ่งเป็นเพียงชื่อ Reuter กล่าวว่า“สังคมเป็นสิ่งไม่มีชีวิต แต่เป็นแนวทางปฏิบัติของสิ่งมีชีวิต คือ วิธีการของ
การคบหาสมาคมกัน ซึ่งหมายถึงสภาพหรือความสัมพันธ์อันเหมาะสม นั่นคือ สังคมเป็นเพียงนามธรรม”
หน้าที่ | 2
2. การพึ่งพาอาศัยกันมีอยู่ในสังคม (Interdependence in Society)ในสังคมแต่ละบุคคลต้องพึ่งพา
อาศัยกันในฐานะเป็นสมาชิกของสังคม Maciverกล่าวว่า “ประวัติศาสตร์มนุษยชาติในแง่หนึ่ง คือ ประวัติ
ของความก้าวหน้าของการจัดระเบียบในการทางานร่วมกันของแต่ละคนในสังคม เพื่อความสาเร็จตาม
จุดมุ่งหมายอันเดียวกัน”
3. สังคมเกี่ยวข้องกับความเหมือนและความแตกต่างกัน (Society Involves Likeness and
Difference)สมาชิกทั้งหมดในสังคมไม่เหมือนกัน ในท้องถิ่นต่าง ๆ พวกเขามีความแตกต่างกัน ดังนั้น สังคม
จึงเกี่ยวข้องกับความเหมือนกันและความ แตกต่างกัน ตามความเห็นของ Maciverการแสดงออกที่เป็น
นามธรรมของพวกแต่ละคนที่ปรากฏชัด คือ ความเหมือนกันและแตกต่างกันทางด้านสังคมวิทยาและ
จิตวิทยา สรุปเข้าใจง่าย ๆ การพึ่งพาอาศัยกันอันหนึ่ง คือ ความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น
4. สังคมมีทั้งการร่วมกันและการขัดแย้งกัน (Society Involves Both Co-operation and Conflict)
สังคมไม่ใช่ว่าจะมีแต่การร่วมมือกันหรือขัดแย้งกันอย่างใดอย่างหนึ่ง สังคมมีทั้ง 2 อย่างทั้ง
การร่วมมือกันและการขัดแย้งกันซึ่งจะเห็นได้ชัด มองในฐานะเป็นพฤติกรรมของมนุษย์ที่แสดงในการ
ติดต่อกันและการปรับปรุงตัว Gisbertให้ข้อสังเกตว่า “การร่วมมือกันเป็นวิธีการอันสาคัญของสังคมมนุษย์
หากปราศจากการร่วมมือกันแล้ว สังคมก็อยู่ไม่ได้ในมุมกลับกัน มันก็มีการขัดแย้ง เกิดขึ้นในสังคม เมื่อสิ่งที่
คนสนใจร่วมกันถูกสรุปลงอย่างไม่กลมกลืนกัน การขัดแย้ง มีอยู่ในทุกสังคม เพราะทุกคนจะมีชีวิตอยู่ได้ก็
ด้วยการต่อสู้เท่านั้น”
หน้าที่ของสังคม
เมื่อผู้คนได้มาอยู่ร่วมกันเป็นสังคม มีการสัมพันธ์ติดต่อกันแล้ว ย่อมจะมีปัญหาเกิดขึ้นเนื่องจาก
ความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ซึ่งจะก่อความไม่สงบขึ้นในสังคม ดังนั้น สังคมในฐานะเป็นวิธีการแห่ง
ความสัมพันธ์กันของมนุษย์ในสังคมจึงต้องมีภาระหนักดังต่อไปนี้
1. กาหนดระเบียบแบบแผน เพื่อให้ผู้คนในสังคมได้ใช้เป็นวิถีในการดาเนินชีวิตร่วมกัน เช่น
กาหนดว่าใครมีตาแหน่งหน้าที่อะไร มีกฎหมายขนบธรรมเนียมประเพณีที่จะต้องปฏิบัติหรือห้ามมิให้ปฏิบัติ
2. จัดให้มีการอบรมเรียนรู้ระเบียบแบบแผนของสังคมเพื่อให้ผู้คนในสังคมปฏิบัติตนให้ถูกต้อง
เป็นไปตามบรรทัดฐานของสังคม
3. สร้างวัฒนธรรมและพัฒนาวัฒนธรรมของสังคมทั้งในด้านที่เป็นวัตถุและวัฒนธรรมมิใช่วัตถุ
4. ผลิตสมาชิกใหม่ทดแทนสมาชิกเดิมที่ล้มตายไปเพื่อให้สังคมดารงอยู่ต่อไป
5. ผลิตแจกแจงสินค้าและบริการเพื่อสนองความต้องการของคนในสังคม
6. ให้บริการและสวัสดิการแก่สมาชิกในสังคมเช่น บริการทางด้านสุขภาพอนามัย บริการเกี่ยวกับ
สาธารณูปโภค สวัสดิการในการเลี้ยงดูผู้ที่ไม่สามารถช่วยตนเองได้ รวมทั้งการรักษาความปลอดภัย รักษา
ความสงบภายในและการป้องกันภัยจาก ภายนอกสังคม
7. การควบคุมสังคมเพื่อให้ผู้คนดาเนินไปตามบรรทัดฐานของสังคมจะได้อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
หน้าที่ | 3
8. การธารงไว้ซึ่งความหมายและมูลเหตุจูงใจคือ การเสริมสร้างให้สมาชิกของสังคมตระหนักถึง
คุณค่าแห่งความหมายของการเป็นสมาชิกของสังคม อันเป็น มูลเหตุจูงใจ กระตุ้นให้มวลสมาชิกมีความ
รับผิดชอบต่อสังคม กล่าวคือ ปลูกฝังให้เขาเหล่านั้นปฏิบัติตนในสิ่งที่เป็นประโยชน์สุขของสังคมโดย
ส่วนรวม มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงานและต่อครอบครัว
โครงสร้างทางสังคม
ศาสตราจารย์ดร. ประสาท หลักศิลา ได้เปรียบเทียบลักษณะโครงสร้างของสังคมมนุษย์ไว้
เหมือนกับลักษณะโครงสร้างของบ้านแต่ละหลัง หมายความว่า สังคมมนุษย์แต่ละแห่งย่อมประกอบด้วย
ผู้คนที่มารวมกลุ่มกันมากมายหลายกลุ่มแต่ละกลุ่มต่างก็มีหน้าที่ที่แตกต่างกัน ทานองเดียวกัน บ้านแต่ละ
หลังก็ต้องประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ คือ เสา หลังคา ฝา พื้น และอื่น ๆ ไม้แต่ละชิ้นและกระดานแต่ละแผ่น
ประกอบกันเข้าเป็นส่วนต่าง ๆ ของบ้านแต่ละหลัง เหมือนคนแต่ละคนเป็นส่วนหนึ่งของแต่ละกลุ่มลักษณะ
ความสัมพันธ์ต่อกันของไม้แต่ละชิ้น ทาให้เราทราบว่า เป็นฝาหรือเป็นพื้น เช่นเดียวกัน การมารวมของแต่ละ
คนทาให้เราทราบว่า กลุ่มใดเป็นครอบครัว เป็นโรงเรียน เป็นร้านค้า หรือเป็นวัด ลักษณะความสัมพันธ์ต่อ
กันของส่วนต่าง ๆ ของบ้านทาให้เรามองเห็นรูปโครงของบ้านแต่ละหลัง ทานองเดียวกัน โครงสร้างของ
สังคมมนุษย์แต่ละแห่งย่อมเห็นได้จากลักษณะความสัมพันธ์ต่อกันของกลุ่มต่าง ๆ ที่ประกอบกันเข้าเป็น
สังคมมนุษย์ตามทัศนะของศาสตราจารย์ดร. ประสาท หลักศิลา โครงสร้างของสังคมมนุษย์ประกอบด้วย
ส่วนที่สาคัญดังต่อไปนี้
1. คน (Population)สังคมมนุษย์ใดจะแข็งแรงเพียงไรหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่าง ๆ
ดังกล่าวมาแล้วนี้ ถ้าสังคมใดประกอบด้วยประชากรที่มีพอเหมาะกับทรัพยากรธรรมชาติ มีความขยันขันแข็ง
มานะอดทน กระตือรือร้นในการทางาน มีเหตุผลและมีความรับผิดชอบงานในหน้าที่สูง สังคมนั้นย่อมมี
โอกาสที่จะเจริญ ก้าวหน้าและผู้คนก็จะมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุข
2. กลุ่มคน (Group)ถ้าสังคมใดประกอบด้วยกลุ่มคนที่แต่ละกลุ่มต่างก็มี หน้าที่และรับผิดชอบงาน
ในหน้าที่สูง เช่น กลุ่มนักศึกษาก็พยายามค้นคว้าหาความรู้เพื่อความเจริญงอกงามในด้านต่าง ๆ กลุ่มทาง
การปกครองทาหน้าที่รับผิดชอบงานในหน้าที่ของตนเป็นอย่างดี ฯลฯ สังคมนั้นย่อมดารงอยู่เป็นปึกแผ่น
และมั่นคงถาวร
3. สถาบันสังคม (Social Institution)ถ้าสังคมใดมีสถาบันหรือมีแบบอย่างการกระทาเพื่อให้ถึงซึ่ง
จุดมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่งที่ดีและเหมาะสม ที่จะใช้กับสังคมนั้น ย่อมจะนาให้สังคมนั้น ๆ ดาเนินสู่
จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. สถานภาพและบทบาท (Status and Role)ถ้าสังคมใดมีการจัดระเบียบสังคมที่ดีมีระเบียบแบบ
แผนที่คนในสังคมยึดถือเป็นแนวปฏิบัติที่เหมาะสมและคน แต่ละสถานภาพหรือตาแหน่งปฏิบัติหน้าที่หรือ
แสดงบทบาทของตนได้ถูกต้องและเหมาะสมกับตาแหน่งของตน สังคมนั้นย่อมก้าวหน้าไปได้รวดเร็วและ
ไม่เกิดปัญหาสังคมขึ้น
หน้าที่ | 4
ดังนั้น สังคมที่จะเจริญก้าวหน้านั้น ต้องมีคนในสังคมมีคุณภาพ กลุ่มคนที่สามัคคี มีความรับผิดชอบ
ในหน้าที่ตาแหน่งของตนและมีการจัดระเบียบที่ดี
ตอนที่ 2 ความหมาย ความสาคัญ และบรรทัดฐานของสังคม
ความหมาย
การจัดระเบียบทางสังคมชี้ไปถึงการกระทาร่วมกันอย่างสงบในหมู่ชนที่แตกต่างกันในสังคม คน
ส่วนมากทางานโดยมีจุดมุ่งหมายที่เป็นอุปสรรคและการยอมรับตามบทบาทและตาแหน่งอันมีอยู่ เพื่อความ
เป็นระเบียบเรียบร้อยทางสังคม นอกจากนั้น สมาชิกของสังคมควรมีรูปแบบในจุดประสงค์ จุดมุ่งหมาย และ
แผนต่าง ๆ ร่วมกันตามความเห็นของ Ogburn and Nimkoff “การจัดระเบียบทางสังคมเป็นการรวมส่วนที่
แตกต่างกันของคนให้ปฏิบัติหน้าที่กันเป็นกลุ่ม การกระทาที่คิดขึ้นเพื่อการได้มาบางสิ่งที่เราทา”
ความสาคัญของการจัดระเบียบทางสังคม
มนุษย์กับสังคมเป็นสิ่งที่ควบคู่กันไป กล่าวคือ เมื่อมนุษย์เกิดขึ้นในโลก มนุษย์ก็ได้รวมอยู่เป็นสังคม
แต่เนื่องจากมนุษย์มีความต้องการไม่มีที่สิ้นสุด ฉะนั้น จึงมีความจาเป็นต้องมีการจัดระเบียบทางสังคม เพื่อ
ควบคุมแบบแผนแห่งพฤติกรรมของมนุษย์หากปล่อยให้มนุษย์แต่ละคนทาการตามอาเภอใจโดยปราศจาก
การควบคุมแล้ว สังคมก็ย่อมจะเกิดความปั่นป่วนยุ่งเหยิงและขาดระเบียบแบบแผน ดังนั้น จึงจาเป็นต้องมี
การจัดระเบียบทางสังคม เพื่อสังคมจะเกิดสันติสุข
สิ่งที่น่าจะนามาใช้เป็นเครื่องมือในการจัดระเบียบทางสังคม ก็คือ
1) บรรทัดฐานทางสังคม (Norm)
2) สถานภาพ (Status)
3) บทบาท (Role)
4) การควบคุมทางสังคม
บรรทัดฐานของสังคม (Norm)
ความหมาย
บรรทัดฐาน คือ ระเบียบหรือแบบแผนแห่งพฤติกรรมซึ่งเกิดจากการปฏิบัติตามนิยามของสังคมนั้น
ประเสริฐ แย้มกลิ่นฟุ้ง ได้อธิบายว่า “บรรทัดฐาน หมายถึง ระเบียบ กฎเกณฑ์ แบบพฤติกรรม หรือ
คตินิยมที่สังคมวางได้เพื่อกาหนดแนวทางสาหรับบุคคลยึดถือปฏิบัติในสถานการณ์ต่าง ๆ การที่สมาชิกใน
สังคมมีการติดต่อสัมพันธ์กันราบรื่น ก็เพราะแต่ละฝ่ายต่างปฏิบัติตามบรรทัดฐานที่ทุกคนมีความเข้าใจ
ร่วมกัน ทาให้เกิดความแน่นอนและความเป็นระเบียบในชีวิตสังคม
ตามความเห็นของ ดร.ไพฑูรย์เครือแก้ว “บรรทัดฐาน คือ ตัวกาหนด พฤติกรรมหรือกริยา (Action)
ในชีวิตประจาวันของคนในสังคม หมายความว่า บรรทัดฐานจาเป็นต้องแสดงมาตรฐานหรือบ่งบอกมาเลยว่า
หน้าที่ | 5
ในสถานการณ์หรือ เหตุการณ์เฉพาะอย่างยิ่งในชีวิตประจาวันของแต่ละบุคคลนั้น เขาควรจะปฏิบัติหรือมี
กิริยาอาการเช่นใดบ้าง”
1. ความสาคัญของบรรทัดฐาน บรรทัดฐานมีบทบาทสาคัญต่อการควบคุมสัมพันธ์ภาพของบุคคล
ในสังคมช่วยทาหน้าที่ควบคุมพฤติกรรมของบุคคลให้เป็นไปตามที่สังคมปรารถนา ทาให้เกิดแบบแผนอันดี
งาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วยกากับมนุษย์ในสังคมหนึ่งสามารถประพฤติได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องโดยไม่
ต้องเสียเวลาไตร่ตรองนึกคิดว่าในสถานการณ์เช่นนั้น ตนควรจะทาอะไรหรือทาอย่างไร
2. ที่มาของบรรทัดฐานบรรทัดฐานเกิดขึ้นจากการที่มนุษย์ในสังคมหนึ่ง ๆ ปฏิบัติหรืองดเว้น
การปฏิบัติตามคตินิยมของสังคมนั้น ๆ จนกลายเป็นระเบียบแบบแผนหรือประเพณีนิยมคตินิยม มักมี
รากฐานสาคัญมาจากลัทธิความเชื่อถือในทางศาสนา ตัวอย่างเช่น สังคมหนึ่งอาจมีประเพณีฆ่าแพะบูชาพระ
เจ้า ทาให้เกิดบรรทัดฐานดังกล่าวขึ้น นอกจากนั้น ค่านิยมก็เป็นรากฐานสาคัญอันเป็นที่มาของบรรทัดฐาน
เช่น สังคมไทยมีค่านิยมทางยกย่องเคารพนับถือผู้ใหญ่ ก็ทาให้เกิดการนับถือผู้ใหญ่ และการที่มนุษย์ปฏิบัติ
ตามบรรทัดฐานก็เพราะมนุษย์ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ได้มีชีวิตอยู่ในสังคมนั้น
3. ประเภทของบรรทัดฐาน
การจาแนกประเภทของบรรทัดฐานทางสังคมวิทยานั้น แยกเป็น 3 ประเภท คือ
1) วิถีประชา (Folkways)
2) วินัยแห่งจรรยา (Mores)
3) กฎหมาย (Laws)
1) วิถีประชา (Folkways)เป็นแนวทางสาหรับการปฏิบัติหน้าที่ ไม่ค่อยมีความสาคัญต่อการดาเนิน
ชีวิตของมนุษย์มากนัก มักเป็นเรื่องเกี่ยวกับการที่มนุษย์ในสังคมหนึ่ง ๆ ได้ปฏิบัติกันทุกวัน จนกลายเป็น
ความเคยชินและเป็นขนบธรรมเนียมประเพณี หากบุคคลใดละเมิดฝ่าฝืนก็ไม่ได้รับโทษรุนแรงแต่ประการใด
เพียงแต่ได้รับคาติฉินนินทาว่าประพฤติปฏิบัติในทางไม่ชอบไม่ควรเท่านั้น เช่น มรรยาทในการรับประทาน
อาหารบนโต๊ะ การแต่งกายไปในโอกาสต่าง ๆ โดยเหมาะสม หรือพูดภาษาที่สุภาพซึ่งบุคคลในสังคมนั้น
นิยมใช้กันวิถีประชาแบ่งออกเป็นประเภทได้ดังนี้
1. สมัยนิยม (Fashion)เป็นวิถีประชาซึ่งแสดงออกถึงความนิยมของหมู่ชนในช่วงระยะเวลา
หนึ่ง “สมัยนิยม” อาจเกิดขึ้นแพร่หลายไปอย่างรวดเร็วและเมื่อถึงจุด ๆ หนึ่งก็จะเสื่อมความนิยมลงไป เช่น
สมัยนิยมของการแต่งกาย
2. ความนิยมชั่วครู่ (Fad)เป็นแบบของพฤติกรรมบางอย่าง ซึ่งมีลักษณะผิวเผิน คือ ไม่จริงจัง
อะไรนัก เพราะฉะนั้น “ความนิยมชั่วครู่” จึงเปลี่ยนแปลงได้ง่ายและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว กล่าวคือ
ความเป็นที่นิยมเพียงชั่วครู่ชั่วยามแล้วก็ส่างซาไป เช่น สมัยหนึ่งนิยมพูดว่า “ไม่สน” “อย่าให้เซด” หรือ
“เพลียฮาร์ด” เป็นต้น
หน้าที่ | 6
3. ความคลั่งไคล้ (Craze) เป็นเรื่องของความไม่มีเหตุผล อธิบายได้ว่า เมื่อ “ความคลั่งไคล้”
เข้าครอบงาสิงสู่ผู้ใดแล้ว ผู้นั้นมักประพฤติปฏิบัติไปในทานอง โง่เขลาปัญญา กล่าวคือ จะหมกมุ่นอยู่แต่
เรื่องที่ตนคลั่งไคล้จนไม่มีกะจิตกะใจที่จะทาอะไรอื่น เช่น คลั่งไคล้เรื่องโป่งข่ามหรือเรื่องว่านต่าง ๆ จะใช้
เวลาทั้งหมดเสาะแสวงหาโป่งข่ามหรือว่าน พบใครคุยกับใครมักจะพูดแต่เรื่องที่ตนคลั่งไคล้
4. งานพิธี (Ceremony)เป็นเรื่องที่แสดงออกซึ่งเกียรติหรือความมีหน้ามีตา (ซึ่งใครจะปฏิบัติ
หรือไม่ปฏิบัติก็ได้) เช่น งานฉลองวันเกิด พิธีฉลองวันแต่งงาน เป็นต้น
5. พิธีการ (Rites or Rituals)เป็นแบบเรื่องของกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องเท่านั้นและมักจะระบุซึ่ง
วิธีการนั้นไว้ด้วย เช่น พิธีจรดพระนังคัลล์แรกนาขวัญ หรือพิธีต้อนรับน้องใหม่ เป็นต้น พิธีการดังกล่าวมี
ส่วนสาคัญในการสร้างความศักดิ์สิทธิ์หรือเพิ่มกาลังภายในให้แก่พิธีการนั้น ๆ เป็นอย่างดี
6. มรรยาททางสังคม (Etiquette)เป็นเรื่องของการปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับกาลเทศะใน
การสมาคม เช่น มรรยาทในการรับประทานอาหารหรือการกล่าวคาขอบคุณเมื่อได้รับสิ่งของหรือ
ความช่วยเหลือจากบุคคลอื่นเหล่านี้ เป็นต้น
2) วินัยจรรยาหรือกฎศีลธรรม (Mores)เป็นแบบแผนความประพฤติ ที่ถือว่ามีความสาคัญกว่าวิถี
ประชา เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสวัสดิภาพหรือความดี ความชั่ว ซึ่งผู้ไม่ปฏิบัติตามจะได้รับปฏิกิริยาโต้ตอบ
จากสมาชิกของสังคมอย่างรุนแรงกว่าวิธีประชา ขอยกตัวอย่างเช่น คนไทยมีกฎศีลธรรมไม่บริโภคเนื้อสุนัข
และเนื้อแมว เพราะถือว่าเป็นสัตว์เลี้ยงในบ้าน หากทราบว่าบุคคลใดบริโภค ผู้นั้นจะได้รับปฏิกิริยาโต้ตอบ
ในทางลง กล่าวคือ จะไม่มีใครอยากคบค้าสมาคมด้วย โดยเกรงว่าผู้นั้นมีจิตใจขาดศีลธรรมและเหี้ยมโหด จึง
ได้บริโภคเนื้อสุนัขและเนื้อแมว
3) กฎหมาย (Laws)เนื่องจากสังคมมนุษย์มีแนวโน้มไปในเชิงซ้อน จึงเกิดปัญหาข้อโต้แย้งเกี่ยวกับ
แบบแผนพฤติกรรมของมนุษย์จึงเป็นหน้าที่ของสังคมที่จะต้องตราบทบัญญัติและกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์
อักษร เพื่อควบคุมสังคมให้มีความสงบเรียบร้อย ตลอดจนจัดเจ้าหน้าที่คอยควบคุมตรวจตราจับกุมผู้ละเมิด
ฝ่าฝืนมาลงโทษตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
ฉะนั้น กฎหมายจึงเป็นเรื่องของบ้านเมืองหรือรัฐบาล มิใช่เป็นเรื่องระหว่างปัจเจกชนต่อปัจเจกชน
อนึ่งกฎหมายที่ออกใช้บังคับแล้ว อาจถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไขหรือยกเลิกและมีการออกใช้บังคับใหม่อยู่เสมอ
ตามความเหมาะสมและจาเป็น
กฎหมายมักมีรากฐานมาจากวิถีประชาหรือวินัยแห่งจรรยา เพราะฉะนั้น กฎหมายที่ดีจึงควร
สอดคล้องหรือไม่ขัดกับวิถีประชาและวินัยแห่งจรรยา
4. การบังคับใช้ (Sanction)
การบังคับใช้บรรทัดฐานในสังคมนั้น ก็โดยมีวัตถุประสงค์จะให้นามาซึ่งการปฏิบัติตามความเป็นน้า
หนึ่งใจเดียวกันและการสืบต่อเนื่องของกลุ่มการบังคับใช้นั้นกระทาได้2 วิธี คือ
1) การให้ปูนบาเหน็จ (Reward) เช่น การยกย่องชมเชยและการให้ เหรียญตรา เป็นต้น
หน้าที่ | 7
2) การลงโทษ (Punishment) คือ มีการกาหนดโทษทัณฑ์แก่ผู้ฝ่าฝืนหรือละเมิดบรรทัดฐาน ซึ่งมี
ตั้งแต่การซุบซิบนินทา การปรับ การจองจา ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับ ความผิดอันเกิดจากการละเมิดหรือฝ่าฝืน ซึ่ง
กาหนดไว้ในวิถีประชา วินัยแห่งจรรยา หรือกฎหมายของสังคมนั้น ๆ
อนึ่งในกลุ่มปฐมภูมินั้น การลงโทษมักเป็นแบบอรูปนัย (Informal) เช่น การซุบซิบนินทาหรือ
การไม่คบค้าสมาคมด้วย ส่วนกลุ่มทุติยภูมินั้น การลงโทษมักเป็นในแบบรูปนัย (Formal) คือ เป็นไปตาม
กฎหมายบ้านเมือง
5. การขัดกันของบรรทัดฐาน
ในบางสถานการณ์อาจเกิดการขัดกันของบรรทัดฐาน (Norm-conflict) กล่าวคือ บุคคลจะต้องเลือก
ปฏิบัติตามบรรทัดฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ขอยกตัวอย่างเช่น นาง ค. เป็นแม่ของลูก 4 คน นาง ค. มีหน้าที่ต้อง
ปฏิบัติตามบรรทัดฐานบางอย่าง เช่น ต้องเคารพในกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของผู้อื่น (คือ ต้องไม่ขโมยสิ่งของ
ของคนอื่น) ในขณะเดียวกัน นาง ค. มีหน้าที่ปฏิบัติตามบรรทัดฐานของแม่ที่พึงมีต่อลูกตน จึงต้องเลี้ยงดูลูกๆ
แต่เพราะความยากจน นาง ค. จาต้องขโมยทรัพย์สินของบุคคลอื่น เพื่อนามาเลี้ยงดูลูกของตน เป็นต้น
ตอนที่ 3 สถานภาพ บทบาท และการควบคุมทางสังคม
ปรากฏการณ์อีกอย่างหนึ่งที่มีความเกี่ยวพันกับบรรทัดฐาน ก็คือ “สถานภาพ” ทั้งนี้ก็เพราะว่า
บรรทัดฐานมิได้ลอยตัวโดยอิสระ ในสังคมหากมีความผูกพันธ์อยู่กับสถานภาพ กล่าวได้ว่า สังคมมนุษย์ก็
คือ “ตาข่ายของสถานภาพ” ซึ่งเป็นกุญแจไขทาให้ทราบถึงกิจกรรมของกลุ่มคนและสมาคม
ความหมายของสถานภาพ
เพื่อที่จะให้เข้าใจถึงความหมายของสถานภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ใคร่ขอเสนอความคิดของนักสังคม
วิทยาดังต่อไปนี้
Young and Mack อธิบายว่า “สถานภาพ คือ ตาแหน่ง (Position) ในโครงสร้างทางสังคม”
Ogburn and Nimkoffอธิบายว่า “สถานภาพ คือ ตาแหน่งของบุคคลที่ กลุ่มสังคมวางไว้ใน
การสัมพันธ์กับบุคคลอื่นในสังคม”
ประสาท หลักศิลา อธิบายว่า คือ ตาแหน่งหรือหน้าที่การงานซึ่งกาหนดขึ้นในโครงรูปหรือระบบ
ของสังคม ในแต่ละระบบของสังคมย่อมมีตาแหน่งหรือสถานภาพต่าง ๆ และมีระเบียบหรือบรรทัดฐาน
สาหรับแนวทางปฏิบัติของตาแหน่งหรือสถานภาพนั้น ๆ คู่กันไปด้วยเสมอ
ความสาคัญของสถานภาพ
สถานภาพ ก็คือ ตาแหน่งของบุคคลในสังคมหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ทุกสังคมหรือกลุ่มคนย่อมมี
ตาแหน่งมากมายและบุคคลคนเดียวอาจดารงตาแหน่งหลายตาแหน่ง เช่น นาย ก. เป็นลูกชายของพ่อ เป็น
นักศึกษา เป็นสมาชิกของชมรม เป็นต้น
หน้าที่ | 8
ในสังคมเชิงซ้อน คือ สังคมที่ประกอบด้วยคนกลุ่มใหญ่ ๆ หลายกลุ่มและคนเหล่านั้นมีความ
แตกต่างกันในด้านชีวิตความเป็นอยู่ การอาชีพ และมีอัตราการย้าย ถิ่นฐานสูงนั้น การปะทะสังสรรค์ทาง
ตาแหน่งมิใช่เป็นไปในทางส่วนตัวและนี่เองทาให้ “สถานภาพมีความสาคัญยิ่งต่อการศึกษาทางสังคมวิทยา”
ขอยกตัวอย่างเช่น นิสิตใหม่คนหนึ่งของมหาวิทยาลัยต้องติดต่อกับเจ้าหน้าที่ลงทะเบียนและอาจารย์
ผู้บรรยายต่าง ๆ โดยที่นิสิตคนนั้นไม่รู้จักหรือเห็นหน้าค่าตาของบุคคลดังกล่าวมาก่อนเลย แต่การ ดาเนินการ
ลงทะเบียนและการเข้าชั้นเรียนก็เป็นไปตามตาแหน่งซึ่งมีบรรทัดฐาน กากับไว้
เพราะฉะนั้น บรรทัดฐานหรือตาแหน่งช่วยให้นิสิตใหม่คนนั้นรู้ว่า เขาควรประพฤติหรือปฏิบัติ
อย่างไร บรรทัดฐานซึ่งเกี่ยวพันกับสถานภาพเหล่านั้นก็คือ สิทธิหน้าที่ อภิสิทธิ์ และภาวะจายอม ซึ่งวินิจฉัย
พฤติกรรมของมนุษย์ในการปะทะสังสรรค์ทางสังคม
สถานภาพและบทบาท
เมื่อบุคคลดารงตาแหน่งในสังคมหรือกลุ่มคน บุคคลนั้นย่อมแสดงบทบาท (Role) ตามตาแหน่งนั้น
ๆ เพราะฉะนั้นโดยปกติวิสัยแล้ว สถานภาพและบทบาทจึงเป็นสิ่งที่ควบคู่กันไป
อย่างไรก็ดี บทบาทหรือการปฏิบัติหน้าที่ย่อมขึ้นอยู่กับบุคคลที่เข้าดารงตาแหน่งนั้น ๆ เพราะฉะนั้น
บทบาทจึงเป็นรูปแบบที่เคลื่อนไหว หรือรูปการทางพฤติกรรมของตาแหน่ง ขอยกตัวอย่างเช่น
นายกรัฐมนตรีของประเทศไทยย่อมมี บรรทัดฐานหรือแนวทางปฏิบัติบางประการ กล่าวคือ มีสิทธิหน้าที่
และอภิสิทธิ์ต่าง ๆ แต่บทบาทหรือการปฏิบัติหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีของแต่ละคนย่อมแตกต่างกันออกไป
ความแตกต่างระหว่างบทบาทและตาแหน่งที่เกิดขึ้นนั้น ก็เพราะว่า “ตาแหน่ง” เป็นแนวความคิดทาง
สังคมวิทยา ส่วน “บทบาท” นั้น เป็นแนวความคิดทางจิตวิทยาทางสังคม เพราะฉะนั้น บทบาทจึง
เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอในเมื่อมีการ เปลี่ยนแปลงคนใหม่ที่มาดารงตาแหน่งนั้น
ตาแหน่งที่ไม่มีบทบาท
ในบางสถานการณ์จะมีแต่ตาแหน่ง แต่ไม่มีบทบาท ขอยกตัวอย่างเช่น ในสหรัฐอเมริกา รัฐธรรมนูญ
กาหนดให้รองประธานาธิบดีเข้าดารงตาแหน่งแทนประธานาธิบดีในกรณีที่ประธานาธิบดีถึงแก่อสัญกรรม
ในระหว่างดารงตาแหน่งอยู่ เมื่อรองประธานาธิบดีเข้าดารงตาแหน่งสืบแทนตาแหน่งประธานาธิบดีในกรณี
ดังกล่าว ทาให้ตาแหน่งรองประธานาธิบดีว่างลง กล่าวได้ว่า ตาแหน่งรองประธานาธิบดีว่างลงโดยไม่มี
บทบาท
บทบาทที่ไม่มีตาแหน่ง
ในทานองเดียวกัน อาจมีบทบาทแต่ไม่มีตาแหน่ง เช่น ในกรณีผู้หญิง (ซึ่งมิใช่พยาบาล) แสดง
บทบาทของนางพยาบาลในเมื่อสมาชิกคนใดคนหนึ่งในครอบครัวเจ็บป่วย (นางพยาบาลเป็นตาแหน่งใน
โรงพยาบาล แต่ก็อาจจะมีบทบาทของนางพยาบาลภายในบ้านดังกล่าว)
หน้าที่ | 9
สถานภาพโดยกาเนิดและสถานภาพโดยการกระทา
สังคมวิทยาได้แบ่งสถานภาพออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1) สถานภาพโดยกาเนิด (Ascribed status)
2) สถานภาพโดยการกระทา (Achieved status)
1) สถานภาพโดยกาเนิดเป็นเรื่องของการที่บุคคลนั้นได้รับสถานภาพมาโดยเงื่อนไขทาง
ชีวภาพ นั่นคือ พอเกิดขึ้นมาในโลกก็ได้รับเลย ซึ่งพอแยกอธิบาย ดังต่อไปนี้
1. สถานภาพทางวงศาคณาญาติ (Kinship Status) คือ บุคคลย่อมมีความผูกพันกับ
ครอบครัว เช่น เป็นลูกของพ่อแม่ เป็นพี่ของน้อง เป็นต้น
2. สถานภาพทางเพศ (Sex Status)คือ บุคคลเกิดมาเป็นเพศใด เป็นชายหรือหญิง บุคคล
นั้นก็จะย่อมได้รับสถานภาพทางเพศ ซึ่งย่อมมีบทบาท (สิทธิหน้าที่)ที่ต่างกัน
3. สถานภาพทางอายุ (Age Status)คือ บุคคลได้รับสถานภาพตามเกณฑ์อายุของตน เช่น
กฎหมายไทยบัญญัติไว้ว่า ชายและหญิงจะบรรลุนิติภาวะเมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ เพราะฉะนั้นสิทธิและ
หน้าที่ของบุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้ว กับบุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะย่อมแตกต่างกัน
4. สถานภาพทางเชื้อชาติ (Race Status)คือ บุคคลที่เกิดมาจากชาติใดก็มีสถานภาพตาม
บรรทัดฐานของเชื้อชาตินั้น ๆ เช่น เชื้อชาติไทยและเชื้อชาติจีน เป็นต้น
5. สถานภาพทางท้องถิ่น (Regional Status)คือ บุคคลที่เกิดมาใน ถิ่นฐานใด เช่น คนที่
เกิดทางภาคเหนือของไทยก็ได้รับสถานภาพเป็นคนเหนือ เกิดที่ภาคใต้ก็ ได้รับสถานภาพเป็นคนใต้เป็นต้น
6. สถานภาพทางชนชั้น (Class Status)บุคคลที่เกิดมาจากครอบครัวของชนชั้นสูง คือ มี
ฐานะดี ย่อมได้รับการศึกษาสูงอีกด้วย และได้รับสถานภาพเป็นชนชั้นสูง
2) สถานภาพโดยการกระทาสถานภาพประเภทนี้เป็นสถานภาพที่ได้มาภายหลังอันเป็นผล
สืบเนื่องมาจากความสาเร็จของการกระทาของตน ดังจะอธิบาย ดังต่อไปนี้
1. สถานภาพทางสมรส (Marital Status)คือ บุคคลจะได้รับสถานภาพของความเป็นสามี
– ภรรยาภายหลังที่ได้ทาการสมรสแล้ว
2. สถานภาพทางบิดามารดา (Parental Status)บุคคลจะได้รับ สถานภาพของ
ความเป็นบิดา – มารดา ก็ต่อเมื่อบุคคลนั้น ๆ มีบุตร
3. สถานภาพทางการศึกษา (Educational Status)บุคคลที่ได้รับ การศึกษาสูงๆ เช่น ใน
ชั้นอุดมศึกษา ย่อมได้รับสถานภาพทางการศึกษาตามวุฒิที่ตน ได้มา เช่น เป็นบัณฑิต เป็นมหาบัณฑิต หรือ
ดุษฎีบัณฑิต
4. สถานภาพทางอาชีพ (Occupational Status)สังคมประชาธิปไตยเปิดโอกาสให้บุคคล
ได้มีโอกาสแข่งขันกันในด้านความสามารถเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ บุคคลย่อมได้รับสถานภาพตาม
ประเภทอาชีพ เช่น ช่างฝีมือ ความเป็นหมอ
หน้าที่ | 10
5. สถานภาพทางการเมือง (Political Status)บุคคลที่สนใจและอยู่ในวงการเมือง ย่อม
ได้รับสถานภาพทางการเมือง เช่น เป็นสมาชิกของพรรค
ตาแหน่งขัดกัน (Status conflict)
ในบางสถานการณ์อาจเกิดตาแหน่งขัดกันได้เช่น นาย ก. เป็นตารวจมี หน้าที่ต้องจับกุมผู้กระทาผิด
ตามกฎหมาย แต่ นาย ข. ซึ่งเป็นผู้ต้องหานั้น เป็นเพื่อนสนิทของนาย ก. ต้องเลือกปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง
(คือ จับหรือไม่จับ) ทาให้เกิดบทบาท ขัดกัน (Role conflict)
สัญลักษณ์ของตาแหน่ง
ตาแหน่งบางตาแหน่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวกับอายุ เพศ และ สีของผิว ซึ่งเป็นสัญลักษณ์
ของตาแหน่งและสามารถมองเห็นได้อย่างชัดแจ้ง กล่าวคือ พอเห็นก็ทราบได้ทันทีว่าเป็นคนหนุ่มหรือคนแก่
เป็นผู้ชายหรือผู้หญิง เป็นฝรั่งหรือแขก
การควบคุมทางสังคม (Social control)
ความหมาย
ตามความเห็นของGillin and Gillinการควบคุมทางสังคมเป็นเรื่องของ การบังคับให้สังคม (คน) ได้
พยายามปฏิบัติตามคาสั่งหรือระเบียบที่สังคมวางไว้
Gillin and Gillinอธิบายว่า การควบคุมทางสังคมเป็นระบบของมาตรการ ข้อแนะนา ข้อโอ้โรม
ข้อห้ามปราม และข้อบังคับ ซึ่งพฤติกรรมหรือกลุ่มย่อยจะเป็น การบังคับทางพลังกายหรือบังคับทางสังคมก็
ตามให้ยอมรับกฎเกณฑ์ที่สมาชิกของสังคมกาหนดขึ้น
ตามความเห็นของผู้เขียน การควบคุมทางสังคมน่าจะเป็นวิธีการใดวิธีการหนึ่ง บังคับให้คนในสังคม
กระทาตามบรรทัดฐานของสังคม
เครื่องมือในการควบคุมทางสังคม (Agencies of social control)
การอยู่ร่วมกันเป็นสังคมมนุษย์และมีการวางระเบียบกฎเกณฑ์ขึ้นเป็น แนวทางสาหรับทุกคนใน
สังคมปฏิบัติตามเพื่อความสงบสุข ความราบรื่นตลอดถึง ความมั่นคงของสังคมนั้น ก็มิได้หมายความว่า ทุก
คนในสังคมจะปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนนี้อย่างเข้มงวดจริงจังปกติมักจะมีผู้ฝ่าฝืนและหลีกเลี่ยงกฎเกณฑ์
ต่าง ๆ ของสังคมอยู่เสมอ จาเป็นที่สังคมต้องหาทางบังคับควบคุมให้บุคคลรักษาระเบียบของสังคมให้ได้
การที่จะควบคุมสังคมให้ได้นั้นต้องมีเครื่องมือหรือตัวแทนของการควบคุมสังคมดังต่อไปนี้
1) การควบคุมโดยผ่านความเชื่อ (Control Through Belief)ในสังคม หนึ่ง ๆ ย่อมมีความ
เชื่อถือไม่เหมือนกัน เช่น ในเรื่องความเชื่อต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ไม่มี ตัวตน แต่คนก็ย่อมเกรงกลัวในอิทธิฤทธิ์
อภินิหารของสิ่งเหล่านั้น เช่น เทพเจ้า เจ้าพ่อ เจ้าแม่ศพพระภูมิ รวมทั้งต้นโพธิ์ ต้นไม้ใหญ่ หรือคนกราบไหว้
บูชา ความเชื่อใน สิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้ อาจทาให้คนเกรงกลัวไม่กล้ากระทาผิดได้
หน้าที่ | 11
2) การควบคุมโดยการเสนอแนะแนวทาง (Control by Social Suggestion)การเสนอแนะเป็น
มาตรการอันหนึ่งในการควบคุมสังคม เมื่อผู้เสนอแนะเป็นผู้มีชื่อเสียงหรือผู้ที่สังคมเคารพนับถือ
3) การควบคุมโดยศาสนา (Control by Religion) ศาสนากับการบังคับแบบเหนือธรรมชาติได้
เป็นปัจจัยอันสาคัญในการควบคุมสังคม ศาสนาได้โยงความสัมพันธ์ของมนุษย์เข้ากับพลังเหนือธรรมชาติที่
รู้กันในฐานะพระเจ้า และแนะนามนุษย์ให้กระทาตามจุดมุ่งหมายหรือกฎเพื่อเข้าถึงพระเจ้า แบบอย่างของ
สังคมส่วนมากจะค้านศีลธรรมหรือพฤติกรรมอันมีส่วนสร้างขึ้นมาโดยศาสนา สถาบันทางศาสนาจึงเป็น สิ่ง
สาคัญในการควบคุมทางสังคม
4) การควบคุมโดยอุดมคติทางสังคม (Control by Social Ideals)อุดมคติทางสังคมก็เป็น
มาตรการอันหนึ่งที่จะควบคุมสังคมได้ในเมื่อผู้นาของประเทศได้ปลุกระดมให้ประชาชนของประเทศมีอุดม
คติอันแน่วแน่ เช่น ฮิตเลอร์ เลนิน และคานธี เป็นต้น
5) การควบคุมโดยงานพิธี (Control of Ceremony)ในชีวิตของมนุษย์ได้เกี่ยวข้องกับงานพิธี
ต่าง ๆ มากมาย เช่น งานวันเกิด งานแต่งงาน หรือแม้แต่งานพิธีของคนตาย Maciver and Page เชื่อว่า
“รูปแบบงานพิธี เป็นงานการสร้างวิธีการอย่างมี รูปแบบให้มนุษย์ประทับใจถึงความสาคัญของเรื่องราวหรือ
โอกาสแห่งการประกอบ พิธีการนั้น พิธีกรรมยังเร่งเร้าความรู้สึกในหัวใจของมนุษย์ทั้งหมดให้มีความ
ปรารถนาอันสูงส่งจนกระทั่งกลายมาเป็นสัญลักษณ์แห่งคุณค่าของชีวิต ซึ่งก็เป็นวิธีการอย่างหนึ่งที่จะ
ควบคุมสังคมได้
6) การควบคุมโดยศิลปะ (Control by Arts)ความเป็นศิลปะต่าง ๆ เป็นเครื่องมือควบคุมทาง
สังคมชนิดหนึ่ง เพราะศิลปะมีรูปแบบของการกระทาของคน เช่น ในชีวิตประจาวันของพวกเรา ศิลปะได้
แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของกันอย่างลึกซึ้ง เมื่อเสียงดนตรีทาให้กลายเป็นเครื่องผ่อนคลายอารมณ์ได้อีกอย่าง
หนึ่ง เพลงมาร์ชในยามสงครามยังเร่งเร้าปลุกอารมณ์ให้คิดที่จะฆ่ากันได้
7) การควบคุมโดยผ่านความเป็นผู้นา (Control Through Leadership)ความสามารถในการ
ให้การแนะนาเรื่องคุณภาพส่วนบุคคลตามสถานที่ทางานต่าง ๆ สมาคมหรือบริษัทจะใหญ่หรือเล็กมีความ
จาเป็น ผู้นาที่มีความสามารถในหน้าที่การงาน ยิ่งในสังคมสมัยใหม่อันสลับซับซ้อน ความเป็นผู้นามีความ
จาเป็นอย่างยิ่งที่จะควบคุมสังคมให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
8) การควบคุมทางสังคมโดยผ่านกฎหมายและการบริหารงาน (Social Control Through Law
and Administration)กฎหมายเป็นเรื่องกฎข้อบังคับให้บุคคลยอมรับการปฏิบัติตาม หากใครฝ่าฝืนหรือ
ละเมิดกฎหมายย่อมได้รับโทษานุโทษ บุคคลมีความเกรงกลัวกฎหมาย
นอกจากนั้น กฎหมายยังอ้างถึงตัวแทนพลังอีกอย่างหนึ่ง นั่นคือ กลไกการบริหารของรัฐ ซึ่งก็ใช้
บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนทางสังคมได้ด้วย
9) การควบคุมโดยผ่านศีลธรรม (Control Through Morals) การที่บุคคลมีความรับผิดชอบ
ในหน้าที่จะทาอะไรลงไปก็รู้ว่าสิ่งนั้นดี สิ่งนั้นไม่ดี ทุกคนตั้งอยู่ในศีลธรรมอันดี ย่อมก่อให้เกิดความเป็น
ระเบียบเรียบร้อย นั่นคือ การควบคุมทางสังคมอย่างหนึ่งนั่นเอง
หน้าที่ | 12
การอบรมให้เรียนรู้ระเบียบของสังคม (Socialization)
ความหมาย
ตามความหมายของ Bogadus การอบรมให้เรียนรู้ระเบียบของสังคมเป็นกระบวนการการทางาน
ร่วมกันหรือเป็นกระบวนการกลุ่มที่พัฒนาความรับผิดชอบ ให้กับคนในสังคม เพื่อความอยู่รอดในการ
ดาเนินชีวิต
ประสาท หลักศิลา ได้อธิบายไว้ว่า “เป็นกระบวนการที่ทาให้คนซึ่งใน ตอนแรกมีสภาพเป็นอินทรีย์
ทางชีววิทยาเปลี่ยนแปลงมาเป็นคนซึ่งมีความรู้สึกในเรื่องพวกเดียวกัน มีความสามารถในการอยู่เป็นระเบียบ
มีคุณธรรมต่าง ๆ และมีความทะเยอทะยาน
เมื่อมองในแง่ของสังคมแล้ว การอบรมให้เรียนรู้ระเบียบสังคม ก็คือ การถ่ายทอดวิถีวัฒนธรรมและ
การทาให้ปัจเจกชน สามารถดาเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสมในสังคมที่ได้มีการจัดระเบียบอย่างดีแล้ว การ
อบรมให้เรียนรู้ระเบียบของสังคมเป็นกระบวนการที่จะต้องกระทาตลอดอายุขัยของชีวิตมนุษย์เลยทีเดียว คือ
เริ่มตั้งแต่วัยเด็กจนถึงผู้ใหญ่ นอกจากนั้นในขณะที่ปัจเจกชนเข้าไปมีส่วนร่วมในรูปของสังคมใหม่และ
สถาบันใหม่ เขาก็จะต้องเรียนรู้กฎเกณฑ์ใหม่และยอมรับค่านิยมใหม่และในขณะเดียวกับที่พ่อแม่ทาหน้าที่
เป็นตัวแทนสาคัญในการเลี้ยงดูเด็ก ตัวพ่อแม่เองก็ต้องได้รับการเรียนรู้ในบทบาทของพ่อแม่และคุณค่าของ
ความเป็นพ่อแม่อีกด้วย
จุดมุ่งหมายของการอบรมให้เรียนรู้ระเบียบของสังคม
1) เพื่อให้มวลสมาชิกได้รู้จักปฏิบัติตนตามบรรทัดฐานและตระหนักถึงสถานภาพและบทบาท
อย่างถูกต้อง เพื่อจะได้ปฏิบัติตนในฐานะสมาชิกที่ดีของสังคม
2) เพื่อปลูกฝังทักษะที่จะร่วมกิจกรรมกับผู้อื่นในสังคม เช่น การมี มนุษยสัมพันธ์
3) เพื่อปลูกฝังระเบียบวินัยหรือพฤติกรรมที่จากัดความพอในปัจจุบัน เพื่อการยอมรับของ
สังคม เช่น วิธีการรับประทานอาหาร นิสัยการอาบน้าชาระร่างกาย
4) ปลูกฝังความมุ่งหวังและค่านิยมแก่สมาชิกในสังคม เช่น แรงจูงใจในความสาเร็จใน
การประกอบอาชีพ ซึ่งจะทาให้บุคคลยอมรับที่จะดาเนินชีวิตตามกติกาและปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของ
สังคมที่ได้วางไว้
องค์กรที่อบรมให้เรียนรู้ระเบียบแบบแผนของสังคม
1) ครอบครัวครอบครัวจัดเป็นองค์กรในการให้การอบรมให้เรียนรู้ระเบียบของสังคมที่สาคัญ
ทั้งนี้เพราะมีความใกล้ชิดกับเด็กและสมาชิกของครอบครัวและอยู่ร่วมกันเป็นเวลานาน จึงทาหน้าที่อบรมสั่ง
สอนได้ตลอดเวลา ประกอบกับ ครอบครัวมีหน้าที่สาคัญในการอบรมเลี้ยงดูเด็กอยู่ด้วยและวัยเด็กเป็นวัยที่มี
ผลมาก ต่อการสร้างบุคลิกภาพรวมทั้งอารมณ์และจิตใจของเด็กครอบครัวจะเป็นแหล่งอบรมสั่งสอน
ถ่ายทอดวัฒนธรรม ค่านิยม ทัศนคติ และหลักการดาเนินชีวิตเบื้องต้น
2) กลุ่มเพื่อนเมื่อเด็กโตขึ้นก็จะเข้าร่วมสังคมกับเพื่อน ๆ เช่น กับเพื่อนบ้าน เพื่อนที่สนามเด็ก
เล่น เพื่อนที่โรงเรียน กลุ่มเพื่อนมีอิทธิพลสาคัญต่อพฤติกรรมของเด็กเช่นกัน เด็กอาจเรียนแบบอย่างเพื่อน
หน้าที่ | 13
ดังนั้น ถ้าเด็กได้คบกับเพื่อนดีจะได้รับ แบบอย่างที่ดี ในทางตรงกันข้าม หากคบเพื่อนไม่ดีย่อมมีพฤติกรรม
ไม่ดีด้วย กลุ่มเพื่อนจะช่วยให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ที่อาจไม่ได้รับจากครอบครัวหรือผู้ใหญ่ เช่น เพศศึกษา
ความเสมอภาค ความเป็นตัวของตัวเอง ความเป็นผู้นา ซึ่งเด็กอาจนาเอาพฤติกรรมต่าง ๆ ของเพื่อนมาใช้เป็น
แนวทางปฏิบัติของตนเอง
3) โรงเรียนโรงเรียนเป็นหน่วยอบรมสั่งสอนระเบียบแบบแผนของสังคมอย่างเป็นทางการ
ปัจจุบันโรงเรียนมีอิทธิพลต่อการพัฒนาบุคลิกภาพของเด็กมาก เพราะเด็กในปัจจุบันนี้มีชีวิตอยู่ในโรงเรียน
เป็นเวลานาน วันละหลาย ๆ ชั่วโมงและหลายปี
เมื่อพิจารณาถึงหน้าที่ของโรงเรียนโดยทั่วไปแล้ว โรงเรียนจะทาหน้าที่สาคัญ 2ประการ
ด้วยกัน คือ
1. สอนให้มีความรู้และทักษะในการดารงชีพ
2. อบรมสั่งสอนเพื่อให้เป็นพลเมืองดี มีความจงรักภักดีต่อชาติ มีจรรยามรรยาทอันดีงาม
นอกจากนั้น โรงเรียนยังเปิดโอกาสให้เด็กได้ใกล้ชิดสังสรรค์กับเพื่อน ๆ เป็นระยะเวลานานทาให้มีโอกาส
ได้เรียนรู้ระเบียบแบบแผนของสังคม ได้มากขึ้น
4) สื่อสารมวลชนได้แก่ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ หนังสือพิมพ์สิ่งตีพิมพ์ต่างๆ วิทยุ และอื่นๆ สิ่ง
เหล่านี้จะเป็นสื่อนาให้เกิดค่านิยม ความเชื่อ ทัศนคติ และได้เรียนรู้พฤติกรรมแบบอย่างต่างๆ แล้วนา
ประพฤติปฏิบัติในสังคม ดังจะพบเห็น ได้ง่ายๆ ในหมู่เด็กที่ชมภาพยนต์แล้วนาเอาพฤติกรรมการแสดงของผู้
แสดง
มาปฏิบัติ สื่อสารมวลชนนับว่ามีอิทธิพลและมีบทบาทต่อการอบรมให้เรียนรู้ระเบียบแบบแผนของสังคม
มากเช่นกัน
5) สถาบันทางสังคมและองค์กรอื่นๆเช่น สถาบันทางศาสนา สมาคม มูลนิธิ เป็นต้น สถาบัน
ทางศาสนามีบทบาทสาคัญต่อการอบรมให้เรียนรู้ระเบียบ แบบแผนของสังคมโดยเฉพาะในสังคมไทย ซึ่งจะ
เห็นได้ว่า วัดเป็นหน่วยทางสังคมที่ใกล้ชิดกับชาวบ้าน ชาวบ้านอาศัยเป็นแหล่งอบรมทางจิตใจ แหล่ง
การศึกษาหาความรู้ เป็นแหล่งให้การอบรมลูกหลาน จึงจัดเป็นหน่วยนาทางระเบียบแบบแผนในการดาเนิน
ชีวิตที่สาคัญ นอกจากนั้น ยังมีหน่วยงานอื่น ๆ ที่มีส่วนช่วยในการอบรมให้เรียนรู้ระเบียบแบบแผนของ
สังคม เช่นยุวพุทธิกสมาคม ศูนย์พัฒนาเยาวชน
บุคคลที่จะต้องอบรมให้เรียนรู้ระเบียบแบบแผนของสังคม
บุคคลที่ควรจะได้รับการอบรม ซึ่งพอจะแบ่งตามเกณฑ์อายุดังต่อไปนี้
1) ในวัยเด็กระยะแรก ๆ จะเน้นในด้านการตอบสนองความต้องการของทารก เช่น การให้
อาหาร การให้ความอบอุ่น เมื่อเติบโตขึ้นก็จะเริ่มสอนคลาน นั่ง ยืน เดิน พูด ในช่วงระยะนี้ จะเริ่มอบรมให้รู้
ว่าอะไรผิดอะไรถูก ถ้าผิดพ่อแม่ก็จะแสดงอาการดุหรือส่งเสียงว่ากล่าว เด็กจะเรียนรู้กิริยาอาการพอใจ
หน้าที่ | 14
หรือไม่พอใจของผู้ใหญ่และจะจดจา เพื่อว่าเมื่อเห็นลักษณะอาการเช่นนั้นอีกจะได้ไม่ทาเช่นนั้น นั่นคือ เด็ก
จะเริ่มรู้จักควบคุมความต้องการและความประพฤติมากขึ้นเรื่อย ๆ
2) ในวัยหนุ่มสาวการอบรมให้เรียนรู้ระเบียบแบบแผนของสังคม ส่วนใหญ่จะได้จากกลุ่ม
เพื่อนเล่นในโรงเรียน วัยนี้มักจะเอาอย่างเลียนแบบผู้อื่น
3) วัยผู้ใหญ่การอบรมผู้ใหญ่ให้เรียนรู้ระเบียบแบบแผนของสังคม ก็มีความจาเป็นอยู่บ้าง แม้
จะเป็นผู้ที่มีประสบการณ์มากแล้วก็ตาม ทั้งนี้ เนื่องจากบางโอกาสต้องประสบกับสถานการณ์ใหม่ ๆ ใน
สังคม เช่น เป็นข้าราชการใหม่หรือ ข้าราชการย้ายจากงานลักษณะหนึ่งไปทางานในอีกลักษณะหนึ่ง
จาเป็นต้องเข้ารับการ อบรมให้เรียนรู้ระเบียบแบบแผนของงานใหม่ หรือการที่คนเราย้ายจากสังคมหนึ่งไปสู่
อีกสังคมหนึ่ง ย่อมมีความจาเป็นในการศึกษาเกี่ยวกับสังคมใหม่ที่ตนเข้าไปร่วมด้วย
สรุป
ความเป็นระเบียบของสังคมจะเกิดขึ้นได้จาต้องอาศัยบรรทัดฐานของสังคม อันเป็นแนวทางกากับ
ครรลองพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคม ซึ่งมันมีความเกี่ยวพันไปถึงตาแหน่งหน้าที่ของบุคคลด้วย
นอกจากนั้น ยังจะต้องมีการควบคุมทางสังคมอีกด้วย ตลอดถึงการจัดให้มีการอบรมเรียนรู้ระเบียบของสังคม
ด้วย เพื่อที่สังคมจะได้เป็นระเบียบเรียบร้อยและนาสันติสุขมาสู่สังคมโดยส่วนรวม
ตอนที่ 4 ระเบียบสังคม การกระทา และกระบวนการทางสังคม
การกระทาทางสังคมและกระบวนการทางสังคม (Social Action and Social Process)
โดยปกติการกระทาของมนุษย์ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของสังคม จะมีพฤติกรรมที่เรียกว่าเป็นการ
กระทาทางสังคม ซึ่งหมายถึงการกระทาที่บุคคลแสดงออกมาโดยที่การกระทานั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับคนอื่น
มีบางครั้งเหมือนกันที่พฤติกรรมของบุคคล ไม่เกี่ยวข้องสังสรรค์กับคนอื่น แต่เป็นเพียงชั่วครู่ชั่วยามเท่านั้น
เช่น การนอนหลับ ตามปกติแล้ว บุคคลมักจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะอยู่โดยไม่สังสรรค์กับคนอื่นเลย การ
เกี่ยวข้องกับผู้อื่นเห็นได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทางตรง คือ การเกี่ยวข้องระหว่างสองฝ่ายที่ติดต่อโดยตรง
เช่น การพูดคุยการโทรทัศน์ หรือทางอ้อมโดยเรานั่งอยู่ คนเดียวใช้ความนึกคิดถึงบุคคลอื่นหรือมักจะส่งผล
กระทบกระเทือนต่อผู้อื่นทั้งนี้ เพราะเราได้รับการกระตุ้นจากผู้อื่น เช่น อ่านหนังสือ ฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์ ดู
ภาพยนตร์ ในกรณีที่นักเรียนคนหนึ่งต้องดูหนังสือทั้งที่อยากไปเที่ยวกับเพื่อน ก็หมายความว่า นักเรียนผู้นี้มี
แผนการแล้วว่าจะดูหนังสือเพื่อสอบ เขาถูกกระตุ้นจากครูหรือได้รับ การคาดหวังจากพ่อแม่ว่าต้องเรียน
หนังสือให้เก่ง เป็นต้น
ปัจจัยที่เป็นตัวกาหนดการกระทาทางสังคม (Element of Social Action)
มีองค์ประกอบ 4 อย่าง คือ
1) ตัวผู้กระทา (Actor)
2) เป้าหมาย (Goal or End)
หน้าที่ | 15
3) เงื่อนไข (Condition)
4) วิธีการ (Means)
1) ตัวผู้กระทาตัวผู้กระทาขึ้นซึ่งพิจารณาจากสภาพร่างกายและสภาพจิตใจควบคู่กัน
โดยอาศัยพื้นความรู้ทางจิตวิทยาที่ว่า พฤติกรรมของบุคคลที่แสดงออกมานั้น มีจิตเป็นพื้นฐานของความรู้สึก
นึกคิด นั่นก็คือ แรงจูงใจ ซึ่งได้มาจากหลายทางด้วยกัน เช่น มาจากแรงขับภายใน ได้แก่ ความหิว ความ
กระหาย ความต้องการทางเพศ เป็นต้น หรือมาจากสภาพแวดล้อมภายนอก เช่น สภาพภูมิศาสตร์ ดินฟ้า
อากาศ สภาพสังคม รอบตัว ซึ่งกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรมแตกต่างกัน เช่น คนชนบทกับ
คนในเมืองนั้น มีความคิด ความเชื่อ ทัศนคติ การกระทาที่แตกต่างกันอย่างมาก
2) เป้าหมายการกระทาทางสังคมจะต้องมีเป้าหมายมิใช่เป็นการกระทาลอย ๆ ทั้งนี้
เพราะมนุษย์เป็น end-pursuing animal ซึ่งหมายความว่า การกระทาของมนุษย์ต้องมีจุดมุ่งหมายมิใช่กระทา
ไปโดยอัตโนมัติด้วยสัญชาตญาณอย่างสัตว์และเป้าหมายที่มนุษย์มีนั้นขึ้นอยู่กับสิ่งที่มนุษย์ได้รับการอบรม
เลี้ยงดูมาในรูปแบบลักษณะใด ๆ
3) เงื่อนไขหมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่เป็นเครื่องขัดขวางหรือสนับสนุนให้บุคคลไปสู่
เป้าหมาย เงื่อนไขอาจมาจากสิ่งต่าง ๆ หลายทางด้วยกัน เช่น สถานภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของบุคคล
อาจเป็นฐานะเศรษฐกิจของครอบครัวหรืออาจเป็นเพราะ บุคลิกภาพเฉพาะตัว ความสามารถส่วนบุคคลทั้ง
สภาพร่างกายและสติปัญญา เป็นต้นว่า บางคนอยากเป็นแพทย์แต่สอบตกประจา บางคนอยากเป็นนายทหาร
แต่กลัวเสียงปืน บางคนอยากเป็นนายตารวจแต่ตาบอดสี มนุษย์ที่อยู่ในสังคมจะพบว่า มีเงื่อนไขทางสังคม
กาหนดไว้มากมาย ถ้าคนในสังคมใหญ่ยอมรับว่าถูกต้อง แต่บุคคลไม่ยอมรับ เงื่อนไขนั้นก็มีอุปสรรค เช่น
อยากร่ารวยมีเงินมาก ๆ ถ้าไปปล้น จี้ ลักขโมยจากผู้อื่น ก็เป็นการผิดเงื่อนไขทางสังคม เพราะคนอื่นเขาไม่
ยอมรับ เงื่อนไขบางอย่างมาจาก ธรรมชาติ เราหลีกเลี่ยงไม่ได้เช่น อยากไปจังหวัดเชียงใหม่ จะหลับตา
เนรมิตให้ไป อึดใจไม่ได้จาต้องเดินทางผ่านจุดต่าง ๆ
4) วิธีการผู้กระทานั้นต้องมีวิธีการเลือกกระทาได้หลายทาง เพื่อให้ไปสู่เป้าหมายที่ตน
ต้องการได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณค่าที่ตนมีอยู่
ก. การกระทาระหว่างกันทางสังคมหรือการปะทะสังสรรค์ทางสังคม (Social Interaction)
การกระทาระหว่างกันทางสังคม เป็นการกระทาระหว่างบุคคลในกลุ่มหรือกลุ่มต่อกลุ่ม มี
ความสัมพันธ์เกี่ยวข้องซึ่งกันและกันด้วยเจตนาและมีความหมายที่เข้าใจกัน
นักสังคมวิทยาและนักมานุษยวิทยาพิจารณาการกระทาระหว่างกันทางสังคมของมนุษย์ใน
ลักษณะที่เป็น symbolic interaction ซึ่งหมายถึงการติดต่อสัมพันธ์กันอย่างมีสัญลักษณ์ ได้แก่ ความสัมพันธ์
กันในทางลายลักษณ์อักษร เช่น การเขียนจดหมายติดต่อถึงกันและกัน การกระทาทางสังคมจึงขึ้นอยู่กับการ
ติดต่อสื่อสาร (communication)
หน้าที่ | 16
โดยปกติกลุ่มคนหรือสังคมไม่ได้อยู่นิ่งเฉยกับที่ แต่จะมีการกระทาระหว่างกันทางสังคมอยู่
ตลอดเวลา แม้แต่บุคคลที่อยู่ร่วมกันเพียง 2 คน เช่น ในกรณี นาย ก กับนาย ข เป็นเพื่อนกัน คุยกันซึ่งเขียน
ออกมาได้ดังนี้
นาย ก นาย ข
การกระทาระหว่างกันและกันของ นาย ก กับนาย ข นั้นเกิดขึ้นได้อย่างไรเราอาจอธิบายได้โดย
นาแนวความคิดในเรื่อง ความคาดหวังในบทบาท (role-expectation) ซึ่งเป็นบทบาทที่บุคคลคาดคิดไว้
ล่วงหน้าว่าจะแสดงพฤติกรรม ออกมาอย่างไร กลไกที่ทาให้เราคิดได้คือ เครื่องมือทางสังคม ได้แก่ บรรทัด
ฐานและสถานภาพ บรรทัดฐานนั้น บุคคลจะได้รับการอบรมทั้งทางตรงและทางอ้อมมาตั้งแต่เยาว์วัยและ
มากขึ้นตามลาดับจากสังคมที่เขาเป็นสมาชิกอยู่ สาหรับสถานภาพนั้น บุคคลเดาหรือคิดให้ถูกต้องว่าคนอื่นที่
กาลังจะมีบทบาทติดต่อกับเรานั้นมีสถานภาพอย่างไร โดยดูได้จากสัญลักษณ์ทางสถานภาพ (status symbol)
เช่น ดูได้จากการแต่งกาย น้าเสียง คาพูด ซึ่งบุคคลจะเดาได้โดยขึ้นอยู่กับการเรียนรู้และประสบการณ์ของ
บุคคล หลังจากนั้น บุคคลก็เลือกดูว่าในสถานภาพนั้นมีบรรทัดฐานกาหนดให้ปฏิบัติอย่างไร นี่คือ ความ
คาดหวังในบทบาทของบุคคลซึ่งต้องมีทุกคน ตัวอย่างเช่น ความสัมพันธ์ของครูและนักเรียน นักเรียนก็มี
วิจารณญาณว่าตนจะมีปฏิกิริยาต่อครูอย่างไร เมื่อพวกเขามีความสัมพันธ์กับครู เช่นเดียวกัน ครูก็สามารถ
ทราบได้ล่วงหน้าว่าตนจะทาอย่างไร กับนักเรียน
มีบางครั้งซึ่งอาจเกิดปัญหาเนื่องจากความคาดหวังในบทบาทของบุคคลผิดไป ทาให้เกิด
ปรากฏการณ์ในสิ่งที่สังคมไม่ต้องการ อาจเกิดความขัดแย้ง ไม่พอใจหรือสร้างความเกลียดชังขึ้นมา ดังนั้น
สังคมจึงพยายามแก้ไขในสิ่งนี้ให้ดีที่สุดเท่าที่จะทาได้ซึ่งออกมาในแบบพฤติกรรมที่แตกต่างกันออกไป
โดยสรุป การกระทาระหว่างกันทางสังคมเป็นพฤติกรรมที่มนุษย์กระทาเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ และ
เพื่อดิ้นรนไปสู่ความสาเร็จตามเป้าหมายที่ต้องการโดยมีการติดต่อกัน แต่ละคนแต่ละกลุ่มอาจมีความ
ต้องการคุณค่าหรือสิ่งจูงใจเหมือนกันหรือต่างกัน
ข. กระบวนการทางสังคม (Social Process)
กระบวนการทางสังคมเกิดจากการกระทาระหว่างกันทางสังคม (Social Interaction) ของบุคคล
หรือกลุ่มบุคคลซึ่งมีแบบต่าง ๆ กัน อาจเป็นไปในรูปของการขัดแย้งการแข่งขัน การร่วมมือ ความเห็นพ้อง
ต้องกันหรือการกลืนกลาย กระบวนการทางสังคมมีลักษณะสาคัญ 3 ประการ คือ
1. ต้องมีการติดต่อทางสังคม (Social Contact) คือ บุคคลนับตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมี
ความสัมพันธ์ติดต่อซึ่งกันและกัน
หน่วยที่ 1 ลักษณะและการจัดระเบียบทางสังคม
หน่วยที่ 1 ลักษณะและการจัดระเบียบทางสังคม
หน่วยที่ 1 ลักษณะและการจัดระเบียบทางสังคม
หน่วยที่ 1 ลักษณะและการจัดระเบียบทางสังคม

More Related Content

What's hot

ภาษาทั่วไป ภาษาราชการ
ภาษาทั่วไป ภาษาราชการภาษาทั่วไป ภาษาราชการ
ภาษาทั่วไป ภาษาราชการjustymew
 
วัฒนธรรมองค์กร (Organizational culture)
วัฒนธรรมองค์กร (Organizational culture)วัฒนธรรมองค์กร (Organizational culture)
วัฒนธรรมองค์กร (Organizational culture)Ritthiporn Lekdee
 
บทละครพูด เรื่อง มัทนะพาธา
บทละครพูด เรื่อง มัทนะพาธาบทละครพูด เรื่อง มัทนะพาธา
บทละครพูด เรื่อง มัทนะพาธาน้อง มัดไหม
 
เรียงความ Is1
เรียงความ Is1เรียงความ Is1
เรียงความ Is1panisra
 
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาThongsawan Seeha
 
แบบฝึกหัดที่ 1 รู้จักอาเซียน
แบบฝึกหัดที่ 1 รู้จักอาเซียนแบบฝึกหัดที่ 1 รู้จักอาเซียน
แบบฝึกหัดที่ 1 รู้จักอาเซียนหรร 'ษๅ
 
บริบทที่ส่งผลต่อการจัดการศึกษา
บริบทที่ส่งผลต่อการจัดการศึกษาบริบทที่ส่งผลต่อการจัดการศึกษา
บริบทที่ส่งผลต่อการจัดการศึกษาjuriporn chuchanakij
 
การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง
การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง
การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงVinz Primo
 
แบบฝึกหัดคำภาษาต่างประเทศ ม.๒ นักเรียน
แบบฝึกหัดคำภาษาต่างประเทศ ม.๒  นักเรียนแบบฝึกหัดคำภาษาต่างประเทศ ม.๒  นักเรียน
แบบฝึกหัดคำภาษาต่างประเทศ ม.๒ นักเรียนssuser456899
 
1 10+อธิบายบาลีไวยากรณ์+อาขยาต
1 10+อธิบายบาลีไวยากรณ์+อาขยาต1 10+อธิบายบาลีไวยากรณ์+อาขยาต
1 10+อธิบายบาลีไวยากรณ์+อาขยาตTongsamut vorasan
 
มาตรฐานตัวชี้วัดสังคมศึกษา
มาตรฐานตัวชี้วัดสังคมศึกษามาตรฐานตัวชี้วัดสังคมศึกษา
มาตรฐานตัวชี้วัดสังคมศึกษาkorakate
 
การบริหารงานวิชาการ
การบริหารงานวิชาการการบริหารงานวิชาการ
การบริหารงานวิชาการTwatchai Tangutairuang
 
หน้าที่พลเมือง
หน้าที่พลเมืองหน้าที่พลเมือง
หน้าที่พลเมืองkoorimkhong
 
โครงงานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
โครงงานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโครงงานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
โครงงานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงพัน พัน
 
ใบความรู้ สังคม ป.1-3 ภาคเรียนที่ 1+443+dltvsocp3+T1 p1 3-sheet
ใบความรู้  สังคม ป.1-3 ภาคเรียนที่ 1+443+dltvsocp3+T1 p1 3-sheetใบความรู้  สังคม ป.1-3 ภาคเรียนที่ 1+443+dltvsocp3+T1 p1 3-sheet
ใบความรู้ สังคม ป.1-3 ภาคเรียนที่ 1+443+dltvsocp3+T1 p1 3-sheetPrachoom Rangkasikorn
 
หน่วยที่1 เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น
หน่วยที่1 เศรษฐศาสตร์เบื้องต้นหน่วยที่1 เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น
หน่วยที่1 เศรษฐศาสตร์เบื้องต้นPaew Tongpanya
 
การพัฒนาเศรษฐกิจของไทย
การพัฒนาเศรษฐกิจของไทยการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย
การพัฒนาเศรษฐกิจของไทยPannatut Pakphichai
 
วันอาสาฬหบูชา
วันอาสาฬหบูชาวันอาสาฬหบูชา
วันอาสาฬหบูชาThongsawan Seeha
 

What's hot (20)

ภาษาทั่วไป ภาษาราชการ
ภาษาทั่วไป ภาษาราชการภาษาทั่วไป ภาษาราชการ
ภาษาทั่วไป ภาษาราชการ
 
วัฒนธรรมองค์กร (Organizational culture)
วัฒนธรรมองค์กร (Organizational culture)วัฒนธรรมองค์กร (Organizational culture)
วัฒนธรรมองค์กร (Organizational culture)
 
บทละครพูด เรื่อง มัทนะพาธา
บทละครพูด เรื่อง มัทนะพาธาบทละครพูด เรื่อง มัทนะพาธา
บทละครพูด เรื่อง มัทนะพาธา
 
เรียงความ Is1
เรียงความ Is1เรียงความ Is1
เรียงความ Is1
 
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
 
แบบฝึกหัดที่ 1 รู้จักอาเซียน
แบบฝึกหัดที่ 1 รู้จักอาเซียนแบบฝึกหัดที่ 1 รู้จักอาเซียน
แบบฝึกหัดที่ 1 รู้จักอาเซียน
 
บริบทที่ส่งผลต่อการจัดการศึกษา
บริบทที่ส่งผลต่อการจัดการศึกษาบริบทที่ส่งผลต่อการจัดการศึกษา
บริบทที่ส่งผลต่อการจัดการศึกษา
 
Korat
KoratKorat
Korat
 
การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง
การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง
การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง
 
แบบฝึกหัดคำภาษาต่างประเทศ ม.๒ นักเรียน
แบบฝึกหัดคำภาษาต่างประเทศ ม.๒  นักเรียนแบบฝึกหัดคำภาษาต่างประเทศ ม.๒  นักเรียน
แบบฝึกหัดคำภาษาต่างประเทศ ม.๒ นักเรียน
 
1 10+อธิบายบาลีไวยากรณ์+อาขยาต
1 10+อธิบายบาลีไวยากรณ์+อาขยาต1 10+อธิบายบาลีไวยากรณ์+อาขยาต
1 10+อธิบายบาลีไวยากรณ์+อาขยาต
 
มาตรฐานตัวชี้วัดสังคมศึกษา
มาตรฐานตัวชี้วัดสังคมศึกษามาตรฐานตัวชี้วัดสังคมศึกษา
มาตรฐานตัวชี้วัดสังคมศึกษา
 
การบริหารงานวิชาการ
การบริหารงานวิชาการการบริหารงานวิชาการ
การบริหารงานวิชาการ
 
หน้าที่พลเมือง
หน้าที่พลเมืองหน้าที่พลเมือง
หน้าที่พลเมือง
 
โครงงานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
โครงงานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโครงงานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
โครงงานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
 
ใบความรู้ สังคม ป.1-3 ภาคเรียนที่ 1+443+dltvsocp3+T1 p1 3-sheet
ใบความรู้  สังคม ป.1-3 ภาคเรียนที่ 1+443+dltvsocp3+T1 p1 3-sheetใบความรู้  สังคม ป.1-3 ภาคเรียนที่ 1+443+dltvsocp3+T1 p1 3-sheet
ใบความรู้ สังคม ป.1-3 ภาคเรียนที่ 1+443+dltvsocp3+T1 p1 3-sheet
 
หน่วยที่1 เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น
หน่วยที่1 เศรษฐศาสตร์เบื้องต้นหน่วยที่1 เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น
หน่วยที่1 เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น
 
วัฒนธรรมไทย
วัฒนธรรมไทยวัฒนธรรมไทย
วัฒนธรรมไทย
 
การพัฒนาเศรษฐกิจของไทย
การพัฒนาเศรษฐกิจของไทยการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย
การพัฒนาเศรษฐกิจของไทย
 
วันอาสาฬหบูชา
วันอาสาฬหบูชาวันอาสาฬหบูชา
วันอาสาฬหบูชา
 

Similar to หน่วยที่ 1 ลักษณะและการจัดระเบียบทางสังคม

โครงสร้างสังคม
โครงสร้างสังคมโครงสร้างสังคม
โครงสร้างสังคมthnaporn999
 
หน่วยที่ ๑ สังคมไทย ปวสใหม่
หน่วยที่  ๑ สังคมไทย ปวสใหม่หน่วยที่  ๑ สังคมไทย ปวสใหม่
หน่วยที่ ๑ สังคมไทย ปวสใหม่Sansanee Tooksoon
 
บทที่ 2-แก้ใหม่ครั้งที่
บทที่ 2-แก้ใหม่ครั้งที่บทที่ 2-แก้ใหม่ครั้งที่
บทที่ 2-แก้ใหม่ครั้งที่T Ton Ton
 
9789740329817
97897403298179789740329817
9789740329817CUPress
 
หน่วยที่ 2 วิชา สังคมเศรษฐกิจ..
หน่วยที่ 2 วิชา สังคมเศรษฐกิจ..หน่วยที่ 2 วิชา สังคมเศรษฐกิจ..
หน่วยที่ 2 วิชา สังคมเศรษฐกิจ..Chalit Arm'k
 
โครงสร้างทางสังคม0
โครงสร้างทางสังคม0โครงสร้างทางสังคม0
โครงสร้างทางสังคม0Parn Nichakorn
 
สังคมไทย
สังคมไทยสังคมไทย
สังคมไทยsiriwan
 
หลักสูตรสังคม
หลักสูตรสังคมหลักสูตรสังคม
หลักสูตรสังคมkorakate
 
มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
มนุษย์กับสิ่งแวดล้อมมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม0846054411
 
มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
มนุษย์กับสิ่งแวดล้อมมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม0846054411
 
สัปดาห์ที่ 4 โครงสร้างทฤษฎีสังคมวิทยา
สัปดาห์ที่ 4 โครงสร้างทฤษฎีสังคมวิทยาสัปดาห์ที่ 4 โครงสร้างทฤษฎีสังคมวิทยา
สัปดาห์ที่ 4 โครงสร้างทฤษฎีสังคมวิทยาSani Satjachaliao
 
ผู้นำขี้โอ่...โอหัง
ผู้นำขี้โอ่...โอหังผู้นำขี้โอ่...โอหัง
ผู้นำขี้โอ่...โอหังWat Thai Washington, D.C.
 
สัปดาห์ที่ 5 6 ทฤษฎีสังคมวิทยา แนวคิด
สัปดาห์ที่ 5 6 ทฤษฎีสังคมวิทยา แนวคิดสัปดาห์ที่ 5 6 ทฤษฎีสังคมวิทยา แนวคิด
สัปดาห์ที่ 5 6 ทฤษฎีสังคมวิทยา แนวคิดSani Satjachaliao
 

Similar to หน่วยที่ 1 ลักษณะและการจัดระเบียบทางสังคม (20)

โครงสร้างสังคม
โครงสร้างสังคมโครงสร้างสังคม
โครงสร้างสังคม
 
โครงสร้างสังคม
โครงสร้างสังคมโครงสร้างสังคม
โครงสร้างสังคม
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๘
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๘แผนการจัดการเรียนรู้ที่๘
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๘
 
หน่วยที่ ๑ สังคมไทย ปวสใหม่
หน่วยที่  ๑ สังคมไทย ปวสใหม่หน่วยที่  ๑ สังคมไทย ปวสใหม่
หน่วยที่ ๑ สังคมไทย ปวสใหม่
 
บทที่ 2-แก้ใหม่ครั้งที่
บทที่ 2-แก้ใหม่ครั้งที่บทที่ 2-แก้ใหม่ครั้งที่
บทที่ 2-แก้ใหม่ครั้งที่
 
9789740329817
97897403298179789740329817
9789740329817
 
หน่วยที่ 2 วิชา สังคมเศรษฐกิจ..
หน่วยที่ 2 วิชา สังคมเศรษฐกิจ..หน่วยที่ 2 วิชา สังคมเศรษฐกิจ..
หน่วยที่ 2 วิชา สังคมเศรษฐกิจ..
 
โครงสร้างทางสังคม0
โครงสร้างทางสังคม0โครงสร้างทางสังคม0
โครงสร้างทางสังคม0
 
สังคมไทย
สังคมไทยสังคมไทย
สังคมไทย
 
สังคมประกิต
สังคมประกิตสังคมประกิต
สังคมประกิต
 
หลักสูตรสังคม
หลักสูตรสังคมหลักสูตรสังคม
หลักสูตรสังคม
 
Pdf
PdfPdf
Pdf
 
มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
มนุษย์กับสิ่งแวดล้อมมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
 
มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
มนุษย์กับสิ่งแวดล้อมมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
 
สัปดาห์ที่ 4 โครงสร้างทฤษฎีสังคมวิทยา
สัปดาห์ที่ 4 โครงสร้างทฤษฎีสังคมวิทยาสัปดาห์ที่ 4 โครงสร้างทฤษฎีสังคมวิทยา
สัปดาห์ที่ 4 โครงสร้างทฤษฎีสังคมวิทยา
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๕
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๕แผนการจัดการเรียนรู้ที่๕
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๕
 
51105
5110551105
51105
 
ผู้นำขี้โอ่...โอหัง
ผู้นำขี้โอ่...โอหังผู้นำขี้โอ่...โอหัง
ผู้นำขี้โอ่...โอหัง
 
สัปดาห์ที่ 5 6 ทฤษฎีสังคมวิทยา แนวคิด
สัปดาห์ที่ 5 6 ทฤษฎีสังคมวิทยา แนวคิดสัปดาห์ที่ 5 6 ทฤษฎีสังคมวิทยา แนวคิด
สัปดาห์ที่ 5 6 ทฤษฎีสังคมวิทยา แนวคิด
 
บทความวิชาการ โยนิโสมนสิการ
บทความวิชาการ โยนิโสมนสิการบทความวิชาการ โยนิโสมนสิการ
บทความวิชาการ โยนิโสมนสิการ
 

หน่วยที่ 1 ลักษณะและการจัดระเบียบทางสังคม

  • 1. หน้าที่ | 1 หน่วยที่ 1 ลักษณะและการจัดระเบียบทางสังคม ตอนที่1 ลักษณะของสังคม ตอนที่2 ความหมาย ความสาคัญ และบรรทัดฐานของสังคม ตอนที่3 สถานภาพ บทบาท และการควบคุมทางสังคม ตอนที่4 ระเบียบสังคม การกระทา และกระบวนการทางสังคม ตอนที่ 1 ลักษณะของสังคม ความหมายของสังคม เสถียรโกเศส ให้ความหมายไว้ว่า “มนุษย์ที่รวมกันอยู่เป็นหมู่คณะที่มีทั้งหญิงและชายตั้งภูมิลาเนา เป็นหลักแหล่ง ณ ที่ใดที่หนึ่งเป็นประจาเป็นเวลานานพอสมควร พอเรียนรู้และปรับปรุงตนเองแต่ละคนได้ และประกอบการงานเข้ากันได้ดี มีความสนใจร่วมกันในสิ่งอันเป็นมูลฐานแห่งชีวิต มีการครองชีพ ความ ปลอดภัยทางร่างกายก็เป็นส่วนหนึ่งของส่วนรวม มนุษย์ที่ร่วมกันเป็นคณะตามเงื่อนไขที่กล่าวมานี้ เรียกว่า “สังคม” ตามความเห็น ดร.ประสาท หลักศิลา “สังคม คือ การที่มนุษย์พวกหนึ่ง ๆ ที่มีอะไรส่วนใหญ่เหมือน หรือคล้ายคลึงกัน เช่น ทัศนคติ คุณธรรม ธรรมเนียมประเพณีได้มาอยู่รวมกันด้วยความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน มีความสัมพันธ์กันและมาอยู่ในเขต เดียวกันอย่างถาวร” ตามความเห็น John F. Cuber “สังคมอาจให้คาจากัดความว่า ในฐานะเป็นกลุ่มของประชาชนที่อาศัย อยู่รวมกันเป็นเวลานานพอที่มีการจัดระเบียบร่วมกันและเห็นว่าพวกเขาแตกต่างไปจากกลุ่มอื่น” ตามความเห็นของ Gidding “สังคม คือ สมาคม, การจัดระเบียบ, ผลของความสัมพันธ์กันอย่างมี ระเบียบที่แต่ละคนได้ก่อตั้งขึ้นร่วมกัน” ตามความเห็นของ Mores Ginberge “สังคม คือ การรวมกลุ่มของบุคคลที่ก่อตั้งขึ้นโดยการสัมพันธ์ อันมั่นคง หรือแบบอย่างแห่งพฤติกรรมที่ทาให้พวกเขาแตกต่างไปจากลุ่มอื่นเป็นในรูปของความสัมพันธ์กัน หรือผู้อื่นแตกต่างไปจากพวกเขาในเรื่องของพฤติกรรม” ลักษณะทั่วไปของสังคม (General Characteristic of Society) 1. สังคมเป็นนามธรรม (Abstractness of Society) สังคมได้ถึงความสัมพันธ์ของคนในสังคม ซึ่งเป็นเพียงชื่อ Reuter กล่าวว่า“สังคมเป็นสิ่งไม่มีชีวิต แต่เป็นแนวทางปฏิบัติของสิ่งมีชีวิต คือ วิธีการของ การคบหาสมาคมกัน ซึ่งหมายถึงสภาพหรือความสัมพันธ์อันเหมาะสม นั่นคือ สังคมเป็นเพียงนามธรรม”
  • 2. หน้าที่ | 2 2. การพึ่งพาอาศัยกันมีอยู่ในสังคม (Interdependence in Society)ในสังคมแต่ละบุคคลต้องพึ่งพา อาศัยกันในฐานะเป็นสมาชิกของสังคม Maciverกล่าวว่า “ประวัติศาสตร์มนุษยชาติในแง่หนึ่ง คือ ประวัติ ของความก้าวหน้าของการจัดระเบียบในการทางานร่วมกันของแต่ละคนในสังคม เพื่อความสาเร็จตาม จุดมุ่งหมายอันเดียวกัน” 3. สังคมเกี่ยวข้องกับความเหมือนและความแตกต่างกัน (Society Involves Likeness and Difference)สมาชิกทั้งหมดในสังคมไม่เหมือนกัน ในท้องถิ่นต่าง ๆ พวกเขามีความแตกต่างกัน ดังนั้น สังคม จึงเกี่ยวข้องกับความเหมือนกันและความ แตกต่างกัน ตามความเห็นของ Maciverการแสดงออกที่เป็น นามธรรมของพวกแต่ละคนที่ปรากฏชัด คือ ความเหมือนกันและแตกต่างกันทางด้านสังคมวิทยาและ จิตวิทยา สรุปเข้าใจง่าย ๆ การพึ่งพาอาศัยกันอันหนึ่ง คือ ความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น 4. สังคมมีทั้งการร่วมกันและการขัดแย้งกัน (Society Involves Both Co-operation and Conflict) สังคมไม่ใช่ว่าจะมีแต่การร่วมมือกันหรือขัดแย้งกันอย่างใดอย่างหนึ่ง สังคมมีทั้ง 2 อย่างทั้ง การร่วมมือกันและการขัดแย้งกันซึ่งจะเห็นได้ชัด มองในฐานะเป็นพฤติกรรมของมนุษย์ที่แสดงในการ ติดต่อกันและการปรับปรุงตัว Gisbertให้ข้อสังเกตว่า “การร่วมมือกันเป็นวิธีการอันสาคัญของสังคมมนุษย์ หากปราศจากการร่วมมือกันแล้ว สังคมก็อยู่ไม่ได้ในมุมกลับกัน มันก็มีการขัดแย้ง เกิดขึ้นในสังคม เมื่อสิ่งที่ คนสนใจร่วมกันถูกสรุปลงอย่างไม่กลมกลืนกัน การขัดแย้ง มีอยู่ในทุกสังคม เพราะทุกคนจะมีชีวิตอยู่ได้ก็ ด้วยการต่อสู้เท่านั้น” หน้าที่ของสังคม เมื่อผู้คนได้มาอยู่ร่วมกันเป็นสังคม มีการสัมพันธ์ติดต่อกันแล้ว ย่อมจะมีปัญหาเกิดขึ้นเนื่องจาก ความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ซึ่งจะก่อความไม่สงบขึ้นในสังคม ดังนั้น สังคมในฐานะเป็นวิธีการแห่ง ความสัมพันธ์กันของมนุษย์ในสังคมจึงต้องมีภาระหนักดังต่อไปนี้ 1. กาหนดระเบียบแบบแผน เพื่อให้ผู้คนในสังคมได้ใช้เป็นวิถีในการดาเนินชีวิตร่วมกัน เช่น กาหนดว่าใครมีตาแหน่งหน้าที่อะไร มีกฎหมายขนบธรรมเนียมประเพณีที่จะต้องปฏิบัติหรือห้ามมิให้ปฏิบัติ 2. จัดให้มีการอบรมเรียนรู้ระเบียบแบบแผนของสังคมเพื่อให้ผู้คนในสังคมปฏิบัติตนให้ถูกต้อง เป็นไปตามบรรทัดฐานของสังคม 3. สร้างวัฒนธรรมและพัฒนาวัฒนธรรมของสังคมทั้งในด้านที่เป็นวัตถุและวัฒนธรรมมิใช่วัตถุ 4. ผลิตสมาชิกใหม่ทดแทนสมาชิกเดิมที่ล้มตายไปเพื่อให้สังคมดารงอยู่ต่อไป 5. ผลิตแจกแจงสินค้าและบริการเพื่อสนองความต้องการของคนในสังคม 6. ให้บริการและสวัสดิการแก่สมาชิกในสังคมเช่น บริการทางด้านสุขภาพอนามัย บริการเกี่ยวกับ สาธารณูปโภค สวัสดิการในการเลี้ยงดูผู้ที่ไม่สามารถช่วยตนเองได้ รวมทั้งการรักษาความปลอดภัย รักษา ความสงบภายในและการป้องกันภัยจาก ภายนอกสังคม 7. การควบคุมสังคมเพื่อให้ผู้คนดาเนินไปตามบรรทัดฐานของสังคมจะได้อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
  • 3. หน้าที่ | 3 8. การธารงไว้ซึ่งความหมายและมูลเหตุจูงใจคือ การเสริมสร้างให้สมาชิกของสังคมตระหนักถึง คุณค่าแห่งความหมายของการเป็นสมาชิกของสังคม อันเป็น มูลเหตุจูงใจ กระตุ้นให้มวลสมาชิกมีความ รับผิดชอบต่อสังคม กล่าวคือ ปลูกฝังให้เขาเหล่านั้นปฏิบัติตนในสิ่งที่เป็นประโยชน์สุขของสังคมโดย ส่วนรวม มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงานและต่อครอบครัว โครงสร้างทางสังคม ศาสตราจารย์ดร. ประสาท หลักศิลา ได้เปรียบเทียบลักษณะโครงสร้างของสังคมมนุษย์ไว้ เหมือนกับลักษณะโครงสร้างของบ้านแต่ละหลัง หมายความว่า สังคมมนุษย์แต่ละแห่งย่อมประกอบด้วย ผู้คนที่มารวมกลุ่มกันมากมายหลายกลุ่มแต่ละกลุ่มต่างก็มีหน้าที่ที่แตกต่างกัน ทานองเดียวกัน บ้านแต่ละ หลังก็ต้องประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ คือ เสา หลังคา ฝา พื้น และอื่น ๆ ไม้แต่ละชิ้นและกระดานแต่ละแผ่น ประกอบกันเข้าเป็นส่วนต่าง ๆ ของบ้านแต่ละหลัง เหมือนคนแต่ละคนเป็นส่วนหนึ่งของแต่ละกลุ่มลักษณะ ความสัมพันธ์ต่อกันของไม้แต่ละชิ้น ทาให้เราทราบว่า เป็นฝาหรือเป็นพื้น เช่นเดียวกัน การมารวมของแต่ละ คนทาให้เราทราบว่า กลุ่มใดเป็นครอบครัว เป็นโรงเรียน เป็นร้านค้า หรือเป็นวัด ลักษณะความสัมพันธ์ต่อ กันของส่วนต่าง ๆ ของบ้านทาให้เรามองเห็นรูปโครงของบ้านแต่ละหลัง ทานองเดียวกัน โครงสร้างของ สังคมมนุษย์แต่ละแห่งย่อมเห็นได้จากลักษณะความสัมพันธ์ต่อกันของกลุ่มต่าง ๆ ที่ประกอบกันเข้าเป็น สังคมมนุษย์ตามทัศนะของศาสตราจารย์ดร. ประสาท หลักศิลา โครงสร้างของสังคมมนุษย์ประกอบด้วย ส่วนที่สาคัญดังต่อไปนี้ 1. คน (Population)สังคมมนุษย์ใดจะแข็งแรงเพียงไรหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่าง ๆ ดังกล่าวมาแล้วนี้ ถ้าสังคมใดประกอบด้วยประชากรที่มีพอเหมาะกับทรัพยากรธรรมชาติ มีความขยันขันแข็ง มานะอดทน กระตือรือร้นในการทางาน มีเหตุผลและมีความรับผิดชอบงานในหน้าที่สูง สังคมนั้นย่อมมี โอกาสที่จะเจริญ ก้าวหน้าและผู้คนก็จะมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุข 2. กลุ่มคน (Group)ถ้าสังคมใดประกอบด้วยกลุ่มคนที่แต่ละกลุ่มต่างก็มี หน้าที่และรับผิดชอบงาน ในหน้าที่สูง เช่น กลุ่มนักศึกษาก็พยายามค้นคว้าหาความรู้เพื่อความเจริญงอกงามในด้านต่าง ๆ กลุ่มทาง การปกครองทาหน้าที่รับผิดชอบงานในหน้าที่ของตนเป็นอย่างดี ฯลฯ สังคมนั้นย่อมดารงอยู่เป็นปึกแผ่น และมั่นคงถาวร 3. สถาบันสังคม (Social Institution)ถ้าสังคมใดมีสถาบันหรือมีแบบอย่างการกระทาเพื่อให้ถึงซึ่ง จุดมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่งที่ดีและเหมาะสม ที่จะใช้กับสังคมนั้น ย่อมจะนาให้สังคมนั้น ๆ ดาเนินสู่ จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4. สถานภาพและบทบาท (Status and Role)ถ้าสังคมใดมีการจัดระเบียบสังคมที่ดีมีระเบียบแบบ แผนที่คนในสังคมยึดถือเป็นแนวปฏิบัติที่เหมาะสมและคน แต่ละสถานภาพหรือตาแหน่งปฏิบัติหน้าที่หรือ แสดงบทบาทของตนได้ถูกต้องและเหมาะสมกับตาแหน่งของตน สังคมนั้นย่อมก้าวหน้าไปได้รวดเร็วและ ไม่เกิดปัญหาสังคมขึ้น
  • 4. หน้าที่ | 4 ดังนั้น สังคมที่จะเจริญก้าวหน้านั้น ต้องมีคนในสังคมมีคุณภาพ กลุ่มคนที่สามัคคี มีความรับผิดชอบ ในหน้าที่ตาแหน่งของตนและมีการจัดระเบียบที่ดี ตอนที่ 2 ความหมาย ความสาคัญ และบรรทัดฐานของสังคม ความหมาย การจัดระเบียบทางสังคมชี้ไปถึงการกระทาร่วมกันอย่างสงบในหมู่ชนที่แตกต่างกันในสังคม คน ส่วนมากทางานโดยมีจุดมุ่งหมายที่เป็นอุปสรรคและการยอมรับตามบทบาทและตาแหน่งอันมีอยู่ เพื่อความ เป็นระเบียบเรียบร้อยทางสังคม นอกจากนั้น สมาชิกของสังคมควรมีรูปแบบในจุดประสงค์ จุดมุ่งหมาย และ แผนต่าง ๆ ร่วมกันตามความเห็นของ Ogburn and Nimkoff “การจัดระเบียบทางสังคมเป็นการรวมส่วนที่ แตกต่างกันของคนให้ปฏิบัติหน้าที่กันเป็นกลุ่ม การกระทาที่คิดขึ้นเพื่อการได้มาบางสิ่งที่เราทา” ความสาคัญของการจัดระเบียบทางสังคม มนุษย์กับสังคมเป็นสิ่งที่ควบคู่กันไป กล่าวคือ เมื่อมนุษย์เกิดขึ้นในโลก มนุษย์ก็ได้รวมอยู่เป็นสังคม แต่เนื่องจากมนุษย์มีความต้องการไม่มีที่สิ้นสุด ฉะนั้น จึงมีความจาเป็นต้องมีการจัดระเบียบทางสังคม เพื่อ ควบคุมแบบแผนแห่งพฤติกรรมของมนุษย์หากปล่อยให้มนุษย์แต่ละคนทาการตามอาเภอใจโดยปราศจาก การควบคุมแล้ว สังคมก็ย่อมจะเกิดความปั่นป่วนยุ่งเหยิงและขาดระเบียบแบบแผน ดังนั้น จึงจาเป็นต้องมี การจัดระเบียบทางสังคม เพื่อสังคมจะเกิดสันติสุข สิ่งที่น่าจะนามาใช้เป็นเครื่องมือในการจัดระเบียบทางสังคม ก็คือ 1) บรรทัดฐานทางสังคม (Norm) 2) สถานภาพ (Status) 3) บทบาท (Role) 4) การควบคุมทางสังคม บรรทัดฐานของสังคม (Norm) ความหมาย บรรทัดฐาน คือ ระเบียบหรือแบบแผนแห่งพฤติกรรมซึ่งเกิดจากการปฏิบัติตามนิยามของสังคมนั้น ประเสริฐ แย้มกลิ่นฟุ้ง ได้อธิบายว่า “บรรทัดฐาน หมายถึง ระเบียบ กฎเกณฑ์ แบบพฤติกรรม หรือ คตินิยมที่สังคมวางได้เพื่อกาหนดแนวทางสาหรับบุคคลยึดถือปฏิบัติในสถานการณ์ต่าง ๆ การที่สมาชิกใน สังคมมีการติดต่อสัมพันธ์กันราบรื่น ก็เพราะแต่ละฝ่ายต่างปฏิบัติตามบรรทัดฐานที่ทุกคนมีความเข้าใจ ร่วมกัน ทาให้เกิดความแน่นอนและความเป็นระเบียบในชีวิตสังคม ตามความเห็นของ ดร.ไพฑูรย์เครือแก้ว “บรรทัดฐาน คือ ตัวกาหนด พฤติกรรมหรือกริยา (Action) ในชีวิตประจาวันของคนในสังคม หมายความว่า บรรทัดฐานจาเป็นต้องแสดงมาตรฐานหรือบ่งบอกมาเลยว่า
  • 5. หน้าที่ | 5 ในสถานการณ์หรือ เหตุการณ์เฉพาะอย่างยิ่งในชีวิตประจาวันของแต่ละบุคคลนั้น เขาควรจะปฏิบัติหรือมี กิริยาอาการเช่นใดบ้าง” 1. ความสาคัญของบรรทัดฐาน บรรทัดฐานมีบทบาทสาคัญต่อการควบคุมสัมพันธ์ภาพของบุคคล ในสังคมช่วยทาหน้าที่ควบคุมพฤติกรรมของบุคคลให้เป็นไปตามที่สังคมปรารถนา ทาให้เกิดแบบแผนอันดี งาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วยกากับมนุษย์ในสังคมหนึ่งสามารถประพฤติได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องโดยไม่ ต้องเสียเวลาไตร่ตรองนึกคิดว่าในสถานการณ์เช่นนั้น ตนควรจะทาอะไรหรือทาอย่างไร 2. ที่มาของบรรทัดฐานบรรทัดฐานเกิดขึ้นจากการที่มนุษย์ในสังคมหนึ่ง ๆ ปฏิบัติหรืองดเว้น การปฏิบัติตามคตินิยมของสังคมนั้น ๆ จนกลายเป็นระเบียบแบบแผนหรือประเพณีนิยมคตินิยม มักมี รากฐานสาคัญมาจากลัทธิความเชื่อถือในทางศาสนา ตัวอย่างเช่น สังคมหนึ่งอาจมีประเพณีฆ่าแพะบูชาพระ เจ้า ทาให้เกิดบรรทัดฐานดังกล่าวขึ้น นอกจากนั้น ค่านิยมก็เป็นรากฐานสาคัญอันเป็นที่มาของบรรทัดฐาน เช่น สังคมไทยมีค่านิยมทางยกย่องเคารพนับถือผู้ใหญ่ ก็ทาให้เกิดการนับถือผู้ใหญ่ และการที่มนุษย์ปฏิบัติ ตามบรรทัดฐานก็เพราะมนุษย์ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ได้มีชีวิตอยู่ในสังคมนั้น 3. ประเภทของบรรทัดฐาน การจาแนกประเภทของบรรทัดฐานทางสังคมวิทยานั้น แยกเป็น 3 ประเภท คือ 1) วิถีประชา (Folkways) 2) วินัยแห่งจรรยา (Mores) 3) กฎหมาย (Laws) 1) วิถีประชา (Folkways)เป็นแนวทางสาหรับการปฏิบัติหน้าที่ ไม่ค่อยมีความสาคัญต่อการดาเนิน ชีวิตของมนุษย์มากนัก มักเป็นเรื่องเกี่ยวกับการที่มนุษย์ในสังคมหนึ่ง ๆ ได้ปฏิบัติกันทุกวัน จนกลายเป็น ความเคยชินและเป็นขนบธรรมเนียมประเพณี หากบุคคลใดละเมิดฝ่าฝืนก็ไม่ได้รับโทษรุนแรงแต่ประการใด เพียงแต่ได้รับคาติฉินนินทาว่าประพฤติปฏิบัติในทางไม่ชอบไม่ควรเท่านั้น เช่น มรรยาทในการรับประทาน อาหารบนโต๊ะ การแต่งกายไปในโอกาสต่าง ๆ โดยเหมาะสม หรือพูดภาษาที่สุภาพซึ่งบุคคลในสังคมนั้น นิยมใช้กันวิถีประชาแบ่งออกเป็นประเภทได้ดังนี้ 1. สมัยนิยม (Fashion)เป็นวิถีประชาซึ่งแสดงออกถึงความนิยมของหมู่ชนในช่วงระยะเวลา หนึ่ง “สมัยนิยม” อาจเกิดขึ้นแพร่หลายไปอย่างรวดเร็วและเมื่อถึงจุด ๆ หนึ่งก็จะเสื่อมความนิยมลงไป เช่น สมัยนิยมของการแต่งกาย 2. ความนิยมชั่วครู่ (Fad)เป็นแบบของพฤติกรรมบางอย่าง ซึ่งมีลักษณะผิวเผิน คือ ไม่จริงจัง อะไรนัก เพราะฉะนั้น “ความนิยมชั่วครู่” จึงเปลี่ยนแปลงได้ง่ายและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว กล่าวคือ ความเป็นที่นิยมเพียงชั่วครู่ชั่วยามแล้วก็ส่างซาไป เช่น สมัยหนึ่งนิยมพูดว่า “ไม่สน” “อย่าให้เซด” หรือ “เพลียฮาร์ด” เป็นต้น
  • 6. หน้าที่ | 6 3. ความคลั่งไคล้ (Craze) เป็นเรื่องของความไม่มีเหตุผล อธิบายได้ว่า เมื่อ “ความคลั่งไคล้” เข้าครอบงาสิงสู่ผู้ใดแล้ว ผู้นั้นมักประพฤติปฏิบัติไปในทานอง โง่เขลาปัญญา กล่าวคือ จะหมกมุ่นอยู่แต่ เรื่องที่ตนคลั่งไคล้จนไม่มีกะจิตกะใจที่จะทาอะไรอื่น เช่น คลั่งไคล้เรื่องโป่งข่ามหรือเรื่องว่านต่าง ๆ จะใช้ เวลาทั้งหมดเสาะแสวงหาโป่งข่ามหรือว่าน พบใครคุยกับใครมักจะพูดแต่เรื่องที่ตนคลั่งไคล้ 4. งานพิธี (Ceremony)เป็นเรื่องที่แสดงออกซึ่งเกียรติหรือความมีหน้ามีตา (ซึ่งใครจะปฏิบัติ หรือไม่ปฏิบัติก็ได้) เช่น งานฉลองวันเกิด พิธีฉลองวันแต่งงาน เป็นต้น 5. พิธีการ (Rites or Rituals)เป็นแบบเรื่องของกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องเท่านั้นและมักจะระบุซึ่ง วิธีการนั้นไว้ด้วย เช่น พิธีจรดพระนังคัลล์แรกนาขวัญ หรือพิธีต้อนรับน้องใหม่ เป็นต้น พิธีการดังกล่าวมี ส่วนสาคัญในการสร้างความศักดิ์สิทธิ์หรือเพิ่มกาลังภายในให้แก่พิธีการนั้น ๆ เป็นอย่างดี 6. มรรยาททางสังคม (Etiquette)เป็นเรื่องของการปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับกาลเทศะใน การสมาคม เช่น มรรยาทในการรับประทานอาหารหรือการกล่าวคาขอบคุณเมื่อได้รับสิ่งของหรือ ความช่วยเหลือจากบุคคลอื่นเหล่านี้ เป็นต้น 2) วินัยจรรยาหรือกฎศีลธรรม (Mores)เป็นแบบแผนความประพฤติ ที่ถือว่ามีความสาคัญกว่าวิถี ประชา เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสวัสดิภาพหรือความดี ความชั่ว ซึ่งผู้ไม่ปฏิบัติตามจะได้รับปฏิกิริยาโต้ตอบ จากสมาชิกของสังคมอย่างรุนแรงกว่าวิธีประชา ขอยกตัวอย่างเช่น คนไทยมีกฎศีลธรรมไม่บริโภคเนื้อสุนัข และเนื้อแมว เพราะถือว่าเป็นสัตว์เลี้ยงในบ้าน หากทราบว่าบุคคลใดบริโภค ผู้นั้นจะได้รับปฏิกิริยาโต้ตอบ ในทางลง กล่าวคือ จะไม่มีใครอยากคบค้าสมาคมด้วย โดยเกรงว่าผู้นั้นมีจิตใจขาดศีลธรรมและเหี้ยมโหด จึง ได้บริโภคเนื้อสุนัขและเนื้อแมว 3) กฎหมาย (Laws)เนื่องจากสังคมมนุษย์มีแนวโน้มไปในเชิงซ้อน จึงเกิดปัญหาข้อโต้แย้งเกี่ยวกับ แบบแผนพฤติกรรมของมนุษย์จึงเป็นหน้าที่ของสังคมที่จะต้องตราบทบัญญัติและกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์ อักษร เพื่อควบคุมสังคมให้มีความสงบเรียบร้อย ตลอดจนจัดเจ้าหน้าที่คอยควบคุมตรวจตราจับกุมผู้ละเมิด ฝ่าฝืนมาลงโทษตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ฉะนั้น กฎหมายจึงเป็นเรื่องของบ้านเมืองหรือรัฐบาล มิใช่เป็นเรื่องระหว่างปัจเจกชนต่อปัจเจกชน อนึ่งกฎหมายที่ออกใช้บังคับแล้ว อาจถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไขหรือยกเลิกและมีการออกใช้บังคับใหม่อยู่เสมอ ตามความเหมาะสมและจาเป็น กฎหมายมักมีรากฐานมาจากวิถีประชาหรือวินัยแห่งจรรยา เพราะฉะนั้น กฎหมายที่ดีจึงควร สอดคล้องหรือไม่ขัดกับวิถีประชาและวินัยแห่งจรรยา 4. การบังคับใช้ (Sanction) การบังคับใช้บรรทัดฐานในสังคมนั้น ก็โดยมีวัตถุประสงค์จะให้นามาซึ่งการปฏิบัติตามความเป็นน้า หนึ่งใจเดียวกันและการสืบต่อเนื่องของกลุ่มการบังคับใช้นั้นกระทาได้2 วิธี คือ 1) การให้ปูนบาเหน็จ (Reward) เช่น การยกย่องชมเชยและการให้ เหรียญตรา เป็นต้น
  • 7. หน้าที่ | 7 2) การลงโทษ (Punishment) คือ มีการกาหนดโทษทัณฑ์แก่ผู้ฝ่าฝืนหรือละเมิดบรรทัดฐาน ซึ่งมี ตั้งแต่การซุบซิบนินทา การปรับ การจองจา ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับ ความผิดอันเกิดจากการละเมิดหรือฝ่าฝืน ซึ่ง กาหนดไว้ในวิถีประชา วินัยแห่งจรรยา หรือกฎหมายของสังคมนั้น ๆ อนึ่งในกลุ่มปฐมภูมินั้น การลงโทษมักเป็นแบบอรูปนัย (Informal) เช่น การซุบซิบนินทาหรือ การไม่คบค้าสมาคมด้วย ส่วนกลุ่มทุติยภูมินั้น การลงโทษมักเป็นในแบบรูปนัย (Formal) คือ เป็นไปตาม กฎหมายบ้านเมือง 5. การขัดกันของบรรทัดฐาน ในบางสถานการณ์อาจเกิดการขัดกันของบรรทัดฐาน (Norm-conflict) กล่าวคือ บุคคลจะต้องเลือก ปฏิบัติตามบรรทัดฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ขอยกตัวอย่างเช่น นาง ค. เป็นแม่ของลูก 4 คน นาง ค. มีหน้าที่ต้อง ปฏิบัติตามบรรทัดฐานบางอย่าง เช่น ต้องเคารพในกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของผู้อื่น (คือ ต้องไม่ขโมยสิ่งของ ของคนอื่น) ในขณะเดียวกัน นาง ค. มีหน้าที่ปฏิบัติตามบรรทัดฐานของแม่ที่พึงมีต่อลูกตน จึงต้องเลี้ยงดูลูกๆ แต่เพราะความยากจน นาง ค. จาต้องขโมยทรัพย์สินของบุคคลอื่น เพื่อนามาเลี้ยงดูลูกของตน เป็นต้น ตอนที่ 3 สถานภาพ บทบาท และการควบคุมทางสังคม ปรากฏการณ์อีกอย่างหนึ่งที่มีความเกี่ยวพันกับบรรทัดฐาน ก็คือ “สถานภาพ” ทั้งนี้ก็เพราะว่า บรรทัดฐานมิได้ลอยตัวโดยอิสระ ในสังคมหากมีความผูกพันธ์อยู่กับสถานภาพ กล่าวได้ว่า สังคมมนุษย์ก็ คือ “ตาข่ายของสถานภาพ” ซึ่งเป็นกุญแจไขทาให้ทราบถึงกิจกรรมของกลุ่มคนและสมาคม ความหมายของสถานภาพ เพื่อที่จะให้เข้าใจถึงความหมายของสถานภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ใคร่ขอเสนอความคิดของนักสังคม วิทยาดังต่อไปนี้ Young and Mack อธิบายว่า “สถานภาพ คือ ตาแหน่ง (Position) ในโครงสร้างทางสังคม” Ogburn and Nimkoffอธิบายว่า “สถานภาพ คือ ตาแหน่งของบุคคลที่ กลุ่มสังคมวางไว้ใน การสัมพันธ์กับบุคคลอื่นในสังคม” ประสาท หลักศิลา อธิบายว่า คือ ตาแหน่งหรือหน้าที่การงานซึ่งกาหนดขึ้นในโครงรูปหรือระบบ ของสังคม ในแต่ละระบบของสังคมย่อมมีตาแหน่งหรือสถานภาพต่าง ๆ และมีระเบียบหรือบรรทัดฐาน สาหรับแนวทางปฏิบัติของตาแหน่งหรือสถานภาพนั้น ๆ คู่กันไปด้วยเสมอ ความสาคัญของสถานภาพ สถานภาพ ก็คือ ตาแหน่งของบุคคลในสังคมหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ทุกสังคมหรือกลุ่มคนย่อมมี ตาแหน่งมากมายและบุคคลคนเดียวอาจดารงตาแหน่งหลายตาแหน่ง เช่น นาย ก. เป็นลูกชายของพ่อ เป็น นักศึกษา เป็นสมาชิกของชมรม เป็นต้น
  • 8. หน้าที่ | 8 ในสังคมเชิงซ้อน คือ สังคมที่ประกอบด้วยคนกลุ่มใหญ่ ๆ หลายกลุ่มและคนเหล่านั้นมีความ แตกต่างกันในด้านชีวิตความเป็นอยู่ การอาชีพ และมีอัตราการย้าย ถิ่นฐานสูงนั้น การปะทะสังสรรค์ทาง ตาแหน่งมิใช่เป็นไปในทางส่วนตัวและนี่เองทาให้ “สถานภาพมีความสาคัญยิ่งต่อการศึกษาทางสังคมวิทยา” ขอยกตัวอย่างเช่น นิสิตใหม่คนหนึ่งของมหาวิทยาลัยต้องติดต่อกับเจ้าหน้าที่ลงทะเบียนและอาจารย์ ผู้บรรยายต่าง ๆ โดยที่นิสิตคนนั้นไม่รู้จักหรือเห็นหน้าค่าตาของบุคคลดังกล่าวมาก่อนเลย แต่การ ดาเนินการ ลงทะเบียนและการเข้าชั้นเรียนก็เป็นไปตามตาแหน่งซึ่งมีบรรทัดฐาน กากับไว้ เพราะฉะนั้น บรรทัดฐานหรือตาแหน่งช่วยให้นิสิตใหม่คนนั้นรู้ว่า เขาควรประพฤติหรือปฏิบัติ อย่างไร บรรทัดฐานซึ่งเกี่ยวพันกับสถานภาพเหล่านั้นก็คือ สิทธิหน้าที่ อภิสิทธิ์ และภาวะจายอม ซึ่งวินิจฉัย พฤติกรรมของมนุษย์ในการปะทะสังสรรค์ทางสังคม สถานภาพและบทบาท เมื่อบุคคลดารงตาแหน่งในสังคมหรือกลุ่มคน บุคคลนั้นย่อมแสดงบทบาท (Role) ตามตาแหน่งนั้น ๆ เพราะฉะนั้นโดยปกติวิสัยแล้ว สถานภาพและบทบาทจึงเป็นสิ่งที่ควบคู่กันไป อย่างไรก็ดี บทบาทหรือการปฏิบัติหน้าที่ย่อมขึ้นอยู่กับบุคคลที่เข้าดารงตาแหน่งนั้น ๆ เพราะฉะนั้น บทบาทจึงเป็นรูปแบบที่เคลื่อนไหว หรือรูปการทางพฤติกรรมของตาแหน่ง ขอยกตัวอย่างเช่น นายกรัฐมนตรีของประเทศไทยย่อมมี บรรทัดฐานหรือแนวทางปฏิบัติบางประการ กล่าวคือ มีสิทธิหน้าที่ และอภิสิทธิ์ต่าง ๆ แต่บทบาทหรือการปฏิบัติหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีของแต่ละคนย่อมแตกต่างกันออกไป ความแตกต่างระหว่างบทบาทและตาแหน่งที่เกิดขึ้นนั้น ก็เพราะว่า “ตาแหน่ง” เป็นแนวความคิดทาง สังคมวิทยา ส่วน “บทบาท” นั้น เป็นแนวความคิดทางจิตวิทยาทางสังคม เพราะฉะนั้น บทบาทจึง เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอในเมื่อมีการ เปลี่ยนแปลงคนใหม่ที่มาดารงตาแหน่งนั้น ตาแหน่งที่ไม่มีบทบาท ในบางสถานการณ์จะมีแต่ตาแหน่ง แต่ไม่มีบทบาท ขอยกตัวอย่างเช่น ในสหรัฐอเมริกา รัฐธรรมนูญ กาหนดให้รองประธานาธิบดีเข้าดารงตาแหน่งแทนประธานาธิบดีในกรณีที่ประธานาธิบดีถึงแก่อสัญกรรม ในระหว่างดารงตาแหน่งอยู่ เมื่อรองประธานาธิบดีเข้าดารงตาแหน่งสืบแทนตาแหน่งประธานาธิบดีในกรณี ดังกล่าว ทาให้ตาแหน่งรองประธานาธิบดีว่างลง กล่าวได้ว่า ตาแหน่งรองประธานาธิบดีว่างลงโดยไม่มี บทบาท บทบาทที่ไม่มีตาแหน่ง ในทานองเดียวกัน อาจมีบทบาทแต่ไม่มีตาแหน่ง เช่น ในกรณีผู้หญิง (ซึ่งมิใช่พยาบาล) แสดง บทบาทของนางพยาบาลในเมื่อสมาชิกคนใดคนหนึ่งในครอบครัวเจ็บป่วย (นางพยาบาลเป็นตาแหน่งใน โรงพยาบาล แต่ก็อาจจะมีบทบาทของนางพยาบาลภายในบ้านดังกล่าว)
  • 9. หน้าที่ | 9 สถานภาพโดยกาเนิดและสถานภาพโดยการกระทา สังคมวิทยาได้แบ่งสถานภาพออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1) สถานภาพโดยกาเนิด (Ascribed status) 2) สถานภาพโดยการกระทา (Achieved status) 1) สถานภาพโดยกาเนิดเป็นเรื่องของการที่บุคคลนั้นได้รับสถานภาพมาโดยเงื่อนไขทาง ชีวภาพ นั่นคือ พอเกิดขึ้นมาในโลกก็ได้รับเลย ซึ่งพอแยกอธิบาย ดังต่อไปนี้ 1. สถานภาพทางวงศาคณาญาติ (Kinship Status) คือ บุคคลย่อมมีความผูกพันกับ ครอบครัว เช่น เป็นลูกของพ่อแม่ เป็นพี่ของน้อง เป็นต้น 2. สถานภาพทางเพศ (Sex Status)คือ บุคคลเกิดมาเป็นเพศใด เป็นชายหรือหญิง บุคคล นั้นก็จะย่อมได้รับสถานภาพทางเพศ ซึ่งย่อมมีบทบาท (สิทธิหน้าที่)ที่ต่างกัน 3. สถานภาพทางอายุ (Age Status)คือ บุคคลได้รับสถานภาพตามเกณฑ์อายุของตน เช่น กฎหมายไทยบัญญัติไว้ว่า ชายและหญิงจะบรรลุนิติภาวะเมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ เพราะฉะนั้นสิทธิและ หน้าที่ของบุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้ว กับบุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะย่อมแตกต่างกัน 4. สถานภาพทางเชื้อชาติ (Race Status)คือ บุคคลที่เกิดมาจากชาติใดก็มีสถานภาพตาม บรรทัดฐานของเชื้อชาตินั้น ๆ เช่น เชื้อชาติไทยและเชื้อชาติจีน เป็นต้น 5. สถานภาพทางท้องถิ่น (Regional Status)คือ บุคคลที่เกิดมาใน ถิ่นฐานใด เช่น คนที่ เกิดทางภาคเหนือของไทยก็ได้รับสถานภาพเป็นคนเหนือ เกิดที่ภาคใต้ก็ ได้รับสถานภาพเป็นคนใต้เป็นต้น 6. สถานภาพทางชนชั้น (Class Status)บุคคลที่เกิดมาจากครอบครัวของชนชั้นสูง คือ มี ฐานะดี ย่อมได้รับการศึกษาสูงอีกด้วย และได้รับสถานภาพเป็นชนชั้นสูง 2) สถานภาพโดยการกระทาสถานภาพประเภทนี้เป็นสถานภาพที่ได้มาภายหลังอันเป็นผล สืบเนื่องมาจากความสาเร็จของการกระทาของตน ดังจะอธิบาย ดังต่อไปนี้ 1. สถานภาพทางสมรส (Marital Status)คือ บุคคลจะได้รับสถานภาพของความเป็นสามี – ภรรยาภายหลังที่ได้ทาการสมรสแล้ว 2. สถานภาพทางบิดามารดา (Parental Status)บุคคลจะได้รับ สถานภาพของ ความเป็นบิดา – มารดา ก็ต่อเมื่อบุคคลนั้น ๆ มีบุตร 3. สถานภาพทางการศึกษา (Educational Status)บุคคลที่ได้รับ การศึกษาสูงๆ เช่น ใน ชั้นอุดมศึกษา ย่อมได้รับสถานภาพทางการศึกษาตามวุฒิที่ตน ได้มา เช่น เป็นบัณฑิต เป็นมหาบัณฑิต หรือ ดุษฎีบัณฑิต 4. สถานภาพทางอาชีพ (Occupational Status)สังคมประชาธิปไตยเปิดโอกาสให้บุคคล ได้มีโอกาสแข่งขันกันในด้านความสามารถเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ บุคคลย่อมได้รับสถานภาพตาม ประเภทอาชีพ เช่น ช่างฝีมือ ความเป็นหมอ
  • 10. หน้าที่ | 10 5. สถานภาพทางการเมือง (Political Status)บุคคลที่สนใจและอยู่ในวงการเมือง ย่อม ได้รับสถานภาพทางการเมือง เช่น เป็นสมาชิกของพรรค ตาแหน่งขัดกัน (Status conflict) ในบางสถานการณ์อาจเกิดตาแหน่งขัดกันได้เช่น นาย ก. เป็นตารวจมี หน้าที่ต้องจับกุมผู้กระทาผิด ตามกฎหมาย แต่ นาย ข. ซึ่งเป็นผู้ต้องหานั้น เป็นเพื่อนสนิทของนาย ก. ต้องเลือกปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง (คือ จับหรือไม่จับ) ทาให้เกิดบทบาท ขัดกัน (Role conflict) สัญลักษณ์ของตาแหน่ง ตาแหน่งบางตาแหน่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวกับอายุ เพศ และ สีของผิว ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ ของตาแหน่งและสามารถมองเห็นได้อย่างชัดแจ้ง กล่าวคือ พอเห็นก็ทราบได้ทันทีว่าเป็นคนหนุ่มหรือคนแก่ เป็นผู้ชายหรือผู้หญิง เป็นฝรั่งหรือแขก การควบคุมทางสังคม (Social control) ความหมาย ตามความเห็นของGillin and Gillinการควบคุมทางสังคมเป็นเรื่องของ การบังคับให้สังคม (คน) ได้ พยายามปฏิบัติตามคาสั่งหรือระเบียบที่สังคมวางไว้ Gillin and Gillinอธิบายว่า การควบคุมทางสังคมเป็นระบบของมาตรการ ข้อแนะนา ข้อโอ้โรม ข้อห้ามปราม และข้อบังคับ ซึ่งพฤติกรรมหรือกลุ่มย่อยจะเป็น การบังคับทางพลังกายหรือบังคับทางสังคมก็ ตามให้ยอมรับกฎเกณฑ์ที่สมาชิกของสังคมกาหนดขึ้น ตามความเห็นของผู้เขียน การควบคุมทางสังคมน่าจะเป็นวิธีการใดวิธีการหนึ่ง บังคับให้คนในสังคม กระทาตามบรรทัดฐานของสังคม เครื่องมือในการควบคุมทางสังคม (Agencies of social control) การอยู่ร่วมกันเป็นสังคมมนุษย์และมีการวางระเบียบกฎเกณฑ์ขึ้นเป็น แนวทางสาหรับทุกคนใน สังคมปฏิบัติตามเพื่อความสงบสุข ความราบรื่นตลอดถึง ความมั่นคงของสังคมนั้น ก็มิได้หมายความว่า ทุก คนในสังคมจะปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนนี้อย่างเข้มงวดจริงจังปกติมักจะมีผู้ฝ่าฝืนและหลีกเลี่ยงกฎเกณฑ์ ต่าง ๆ ของสังคมอยู่เสมอ จาเป็นที่สังคมต้องหาทางบังคับควบคุมให้บุคคลรักษาระเบียบของสังคมให้ได้ การที่จะควบคุมสังคมให้ได้นั้นต้องมีเครื่องมือหรือตัวแทนของการควบคุมสังคมดังต่อไปนี้ 1) การควบคุมโดยผ่านความเชื่อ (Control Through Belief)ในสังคม หนึ่ง ๆ ย่อมมีความ เชื่อถือไม่เหมือนกัน เช่น ในเรื่องความเชื่อต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ไม่มี ตัวตน แต่คนก็ย่อมเกรงกลัวในอิทธิฤทธิ์ อภินิหารของสิ่งเหล่านั้น เช่น เทพเจ้า เจ้าพ่อ เจ้าแม่ศพพระภูมิ รวมทั้งต้นโพธิ์ ต้นไม้ใหญ่ หรือคนกราบไหว้ บูชา ความเชื่อใน สิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้ อาจทาให้คนเกรงกลัวไม่กล้ากระทาผิดได้
  • 11. หน้าที่ | 11 2) การควบคุมโดยการเสนอแนะแนวทาง (Control by Social Suggestion)การเสนอแนะเป็น มาตรการอันหนึ่งในการควบคุมสังคม เมื่อผู้เสนอแนะเป็นผู้มีชื่อเสียงหรือผู้ที่สังคมเคารพนับถือ 3) การควบคุมโดยศาสนา (Control by Religion) ศาสนากับการบังคับแบบเหนือธรรมชาติได้ เป็นปัจจัยอันสาคัญในการควบคุมสังคม ศาสนาได้โยงความสัมพันธ์ของมนุษย์เข้ากับพลังเหนือธรรมชาติที่ รู้กันในฐานะพระเจ้า และแนะนามนุษย์ให้กระทาตามจุดมุ่งหมายหรือกฎเพื่อเข้าถึงพระเจ้า แบบอย่างของ สังคมส่วนมากจะค้านศีลธรรมหรือพฤติกรรมอันมีส่วนสร้างขึ้นมาโดยศาสนา สถาบันทางศาสนาจึงเป็น สิ่ง สาคัญในการควบคุมทางสังคม 4) การควบคุมโดยอุดมคติทางสังคม (Control by Social Ideals)อุดมคติทางสังคมก็เป็น มาตรการอันหนึ่งที่จะควบคุมสังคมได้ในเมื่อผู้นาของประเทศได้ปลุกระดมให้ประชาชนของประเทศมีอุดม คติอันแน่วแน่ เช่น ฮิตเลอร์ เลนิน และคานธี เป็นต้น 5) การควบคุมโดยงานพิธี (Control of Ceremony)ในชีวิตของมนุษย์ได้เกี่ยวข้องกับงานพิธี ต่าง ๆ มากมาย เช่น งานวันเกิด งานแต่งงาน หรือแม้แต่งานพิธีของคนตาย Maciver and Page เชื่อว่า “รูปแบบงานพิธี เป็นงานการสร้างวิธีการอย่างมี รูปแบบให้มนุษย์ประทับใจถึงความสาคัญของเรื่องราวหรือ โอกาสแห่งการประกอบ พิธีการนั้น พิธีกรรมยังเร่งเร้าความรู้สึกในหัวใจของมนุษย์ทั้งหมดให้มีความ ปรารถนาอันสูงส่งจนกระทั่งกลายมาเป็นสัญลักษณ์แห่งคุณค่าของชีวิต ซึ่งก็เป็นวิธีการอย่างหนึ่งที่จะ ควบคุมสังคมได้ 6) การควบคุมโดยศิลปะ (Control by Arts)ความเป็นศิลปะต่าง ๆ เป็นเครื่องมือควบคุมทาง สังคมชนิดหนึ่ง เพราะศิลปะมีรูปแบบของการกระทาของคน เช่น ในชีวิตประจาวันของพวกเรา ศิลปะได้ แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของกันอย่างลึกซึ้ง เมื่อเสียงดนตรีทาให้กลายเป็นเครื่องผ่อนคลายอารมณ์ได้อีกอย่าง หนึ่ง เพลงมาร์ชในยามสงครามยังเร่งเร้าปลุกอารมณ์ให้คิดที่จะฆ่ากันได้ 7) การควบคุมโดยผ่านความเป็นผู้นา (Control Through Leadership)ความสามารถในการ ให้การแนะนาเรื่องคุณภาพส่วนบุคคลตามสถานที่ทางานต่าง ๆ สมาคมหรือบริษัทจะใหญ่หรือเล็กมีความ จาเป็น ผู้นาที่มีความสามารถในหน้าที่การงาน ยิ่งในสังคมสมัยใหม่อันสลับซับซ้อน ความเป็นผู้นามีความ จาเป็นอย่างยิ่งที่จะควบคุมสังคมให้เป็นระเบียบเรียบร้อย 8) การควบคุมทางสังคมโดยผ่านกฎหมายและการบริหารงาน (Social Control Through Law and Administration)กฎหมายเป็นเรื่องกฎข้อบังคับให้บุคคลยอมรับการปฏิบัติตาม หากใครฝ่าฝืนหรือ ละเมิดกฎหมายย่อมได้รับโทษานุโทษ บุคคลมีความเกรงกลัวกฎหมาย นอกจากนั้น กฎหมายยังอ้างถึงตัวแทนพลังอีกอย่างหนึ่ง นั่นคือ กลไกการบริหารของรัฐ ซึ่งก็ใช้ บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนทางสังคมได้ด้วย 9) การควบคุมโดยผ่านศีลธรรม (Control Through Morals) การที่บุคคลมีความรับผิดชอบ ในหน้าที่จะทาอะไรลงไปก็รู้ว่าสิ่งนั้นดี สิ่งนั้นไม่ดี ทุกคนตั้งอยู่ในศีลธรรมอันดี ย่อมก่อให้เกิดความเป็น ระเบียบเรียบร้อย นั่นคือ การควบคุมทางสังคมอย่างหนึ่งนั่นเอง
  • 12. หน้าที่ | 12 การอบรมให้เรียนรู้ระเบียบของสังคม (Socialization) ความหมาย ตามความหมายของ Bogadus การอบรมให้เรียนรู้ระเบียบของสังคมเป็นกระบวนการการทางาน ร่วมกันหรือเป็นกระบวนการกลุ่มที่พัฒนาความรับผิดชอบ ให้กับคนในสังคม เพื่อความอยู่รอดในการ ดาเนินชีวิต ประสาท หลักศิลา ได้อธิบายไว้ว่า “เป็นกระบวนการที่ทาให้คนซึ่งใน ตอนแรกมีสภาพเป็นอินทรีย์ ทางชีววิทยาเปลี่ยนแปลงมาเป็นคนซึ่งมีความรู้สึกในเรื่องพวกเดียวกัน มีความสามารถในการอยู่เป็นระเบียบ มีคุณธรรมต่าง ๆ และมีความทะเยอทะยาน เมื่อมองในแง่ของสังคมแล้ว การอบรมให้เรียนรู้ระเบียบสังคม ก็คือ การถ่ายทอดวิถีวัฒนธรรมและ การทาให้ปัจเจกชน สามารถดาเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสมในสังคมที่ได้มีการจัดระเบียบอย่างดีแล้ว การ อบรมให้เรียนรู้ระเบียบของสังคมเป็นกระบวนการที่จะต้องกระทาตลอดอายุขัยของชีวิตมนุษย์เลยทีเดียว คือ เริ่มตั้งแต่วัยเด็กจนถึงผู้ใหญ่ นอกจากนั้นในขณะที่ปัจเจกชนเข้าไปมีส่วนร่วมในรูปของสังคมใหม่และ สถาบันใหม่ เขาก็จะต้องเรียนรู้กฎเกณฑ์ใหม่และยอมรับค่านิยมใหม่และในขณะเดียวกับที่พ่อแม่ทาหน้าที่ เป็นตัวแทนสาคัญในการเลี้ยงดูเด็ก ตัวพ่อแม่เองก็ต้องได้รับการเรียนรู้ในบทบาทของพ่อแม่และคุณค่าของ ความเป็นพ่อแม่อีกด้วย จุดมุ่งหมายของการอบรมให้เรียนรู้ระเบียบของสังคม 1) เพื่อให้มวลสมาชิกได้รู้จักปฏิบัติตนตามบรรทัดฐานและตระหนักถึงสถานภาพและบทบาท อย่างถูกต้อง เพื่อจะได้ปฏิบัติตนในฐานะสมาชิกที่ดีของสังคม 2) เพื่อปลูกฝังทักษะที่จะร่วมกิจกรรมกับผู้อื่นในสังคม เช่น การมี มนุษยสัมพันธ์ 3) เพื่อปลูกฝังระเบียบวินัยหรือพฤติกรรมที่จากัดความพอในปัจจุบัน เพื่อการยอมรับของ สังคม เช่น วิธีการรับประทานอาหาร นิสัยการอาบน้าชาระร่างกาย 4) ปลูกฝังความมุ่งหวังและค่านิยมแก่สมาชิกในสังคม เช่น แรงจูงใจในความสาเร็จใน การประกอบอาชีพ ซึ่งจะทาให้บุคคลยอมรับที่จะดาเนินชีวิตตามกติกาและปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของ สังคมที่ได้วางไว้ องค์กรที่อบรมให้เรียนรู้ระเบียบแบบแผนของสังคม 1) ครอบครัวครอบครัวจัดเป็นองค์กรในการให้การอบรมให้เรียนรู้ระเบียบของสังคมที่สาคัญ ทั้งนี้เพราะมีความใกล้ชิดกับเด็กและสมาชิกของครอบครัวและอยู่ร่วมกันเป็นเวลานาน จึงทาหน้าที่อบรมสั่ง สอนได้ตลอดเวลา ประกอบกับ ครอบครัวมีหน้าที่สาคัญในการอบรมเลี้ยงดูเด็กอยู่ด้วยและวัยเด็กเป็นวัยที่มี ผลมาก ต่อการสร้างบุคลิกภาพรวมทั้งอารมณ์และจิตใจของเด็กครอบครัวจะเป็นแหล่งอบรมสั่งสอน ถ่ายทอดวัฒนธรรม ค่านิยม ทัศนคติ และหลักการดาเนินชีวิตเบื้องต้น 2) กลุ่มเพื่อนเมื่อเด็กโตขึ้นก็จะเข้าร่วมสังคมกับเพื่อน ๆ เช่น กับเพื่อนบ้าน เพื่อนที่สนามเด็ก เล่น เพื่อนที่โรงเรียน กลุ่มเพื่อนมีอิทธิพลสาคัญต่อพฤติกรรมของเด็กเช่นกัน เด็กอาจเรียนแบบอย่างเพื่อน
  • 13. หน้าที่ | 13 ดังนั้น ถ้าเด็กได้คบกับเพื่อนดีจะได้รับ แบบอย่างที่ดี ในทางตรงกันข้าม หากคบเพื่อนไม่ดีย่อมมีพฤติกรรม ไม่ดีด้วย กลุ่มเพื่อนจะช่วยให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ที่อาจไม่ได้รับจากครอบครัวหรือผู้ใหญ่ เช่น เพศศึกษา ความเสมอภาค ความเป็นตัวของตัวเอง ความเป็นผู้นา ซึ่งเด็กอาจนาเอาพฤติกรรมต่าง ๆ ของเพื่อนมาใช้เป็น แนวทางปฏิบัติของตนเอง 3) โรงเรียนโรงเรียนเป็นหน่วยอบรมสั่งสอนระเบียบแบบแผนของสังคมอย่างเป็นทางการ ปัจจุบันโรงเรียนมีอิทธิพลต่อการพัฒนาบุคลิกภาพของเด็กมาก เพราะเด็กในปัจจุบันนี้มีชีวิตอยู่ในโรงเรียน เป็นเวลานาน วันละหลาย ๆ ชั่วโมงและหลายปี เมื่อพิจารณาถึงหน้าที่ของโรงเรียนโดยทั่วไปแล้ว โรงเรียนจะทาหน้าที่สาคัญ 2ประการ ด้วยกัน คือ 1. สอนให้มีความรู้และทักษะในการดารงชีพ 2. อบรมสั่งสอนเพื่อให้เป็นพลเมืองดี มีความจงรักภักดีต่อชาติ มีจรรยามรรยาทอันดีงาม นอกจากนั้น โรงเรียนยังเปิดโอกาสให้เด็กได้ใกล้ชิดสังสรรค์กับเพื่อน ๆ เป็นระยะเวลานานทาให้มีโอกาส ได้เรียนรู้ระเบียบแบบแผนของสังคม ได้มากขึ้น 4) สื่อสารมวลชนได้แก่ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ หนังสือพิมพ์สิ่งตีพิมพ์ต่างๆ วิทยุ และอื่นๆ สิ่ง เหล่านี้จะเป็นสื่อนาให้เกิดค่านิยม ความเชื่อ ทัศนคติ และได้เรียนรู้พฤติกรรมแบบอย่างต่างๆ แล้วนา ประพฤติปฏิบัติในสังคม ดังจะพบเห็น ได้ง่ายๆ ในหมู่เด็กที่ชมภาพยนต์แล้วนาเอาพฤติกรรมการแสดงของผู้ แสดง มาปฏิบัติ สื่อสารมวลชนนับว่ามีอิทธิพลและมีบทบาทต่อการอบรมให้เรียนรู้ระเบียบแบบแผนของสังคม มากเช่นกัน 5) สถาบันทางสังคมและองค์กรอื่นๆเช่น สถาบันทางศาสนา สมาคม มูลนิธิ เป็นต้น สถาบัน ทางศาสนามีบทบาทสาคัญต่อการอบรมให้เรียนรู้ระเบียบ แบบแผนของสังคมโดยเฉพาะในสังคมไทย ซึ่งจะ เห็นได้ว่า วัดเป็นหน่วยทางสังคมที่ใกล้ชิดกับชาวบ้าน ชาวบ้านอาศัยเป็นแหล่งอบรมทางจิตใจ แหล่ง การศึกษาหาความรู้ เป็นแหล่งให้การอบรมลูกหลาน จึงจัดเป็นหน่วยนาทางระเบียบแบบแผนในการดาเนิน ชีวิตที่สาคัญ นอกจากนั้น ยังมีหน่วยงานอื่น ๆ ที่มีส่วนช่วยในการอบรมให้เรียนรู้ระเบียบแบบแผนของ สังคม เช่นยุวพุทธิกสมาคม ศูนย์พัฒนาเยาวชน บุคคลที่จะต้องอบรมให้เรียนรู้ระเบียบแบบแผนของสังคม บุคคลที่ควรจะได้รับการอบรม ซึ่งพอจะแบ่งตามเกณฑ์อายุดังต่อไปนี้ 1) ในวัยเด็กระยะแรก ๆ จะเน้นในด้านการตอบสนองความต้องการของทารก เช่น การให้ อาหาร การให้ความอบอุ่น เมื่อเติบโตขึ้นก็จะเริ่มสอนคลาน นั่ง ยืน เดิน พูด ในช่วงระยะนี้ จะเริ่มอบรมให้รู้ ว่าอะไรผิดอะไรถูก ถ้าผิดพ่อแม่ก็จะแสดงอาการดุหรือส่งเสียงว่ากล่าว เด็กจะเรียนรู้กิริยาอาการพอใจ
  • 14. หน้าที่ | 14 หรือไม่พอใจของผู้ใหญ่และจะจดจา เพื่อว่าเมื่อเห็นลักษณะอาการเช่นนั้นอีกจะได้ไม่ทาเช่นนั้น นั่นคือ เด็ก จะเริ่มรู้จักควบคุมความต้องการและความประพฤติมากขึ้นเรื่อย ๆ 2) ในวัยหนุ่มสาวการอบรมให้เรียนรู้ระเบียบแบบแผนของสังคม ส่วนใหญ่จะได้จากกลุ่ม เพื่อนเล่นในโรงเรียน วัยนี้มักจะเอาอย่างเลียนแบบผู้อื่น 3) วัยผู้ใหญ่การอบรมผู้ใหญ่ให้เรียนรู้ระเบียบแบบแผนของสังคม ก็มีความจาเป็นอยู่บ้าง แม้ จะเป็นผู้ที่มีประสบการณ์มากแล้วก็ตาม ทั้งนี้ เนื่องจากบางโอกาสต้องประสบกับสถานการณ์ใหม่ ๆ ใน สังคม เช่น เป็นข้าราชการใหม่หรือ ข้าราชการย้ายจากงานลักษณะหนึ่งไปทางานในอีกลักษณะหนึ่ง จาเป็นต้องเข้ารับการ อบรมให้เรียนรู้ระเบียบแบบแผนของงานใหม่ หรือการที่คนเราย้ายจากสังคมหนึ่งไปสู่ อีกสังคมหนึ่ง ย่อมมีความจาเป็นในการศึกษาเกี่ยวกับสังคมใหม่ที่ตนเข้าไปร่วมด้วย สรุป ความเป็นระเบียบของสังคมจะเกิดขึ้นได้จาต้องอาศัยบรรทัดฐานของสังคม อันเป็นแนวทางกากับ ครรลองพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคม ซึ่งมันมีความเกี่ยวพันไปถึงตาแหน่งหน้าที่ของบุคคลด้วย นอกจากนั้น ยังจะต้องมีการควบคุมทางสังคมอีกด้วย ตลอดถึงการจัดให้มีการอบรมเรียนรู้ระเบียบของสังคม ด้วย เพื่อที่สังคมจะได้เป็นระเบียบเรียบร้อยและนาสันติสุขมาสู่สังคมโดยส่วนรวม ตอนที่ 4 ระเบียบสังคม การกระทา และกระบวนการทางสังคม การกระทาทางสังคมและกระบวนการทางสังคม (Social Action and Social Process) โดยปกติการกระทาของมนุษย์ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของสังคม จะมีพฤติกรรมที่เรียกว่าเป็นการ กระทาทางสังคม ซึ่งหมายถึงการกระทาที่บุคคลแสดงออกมาโดยที่การกระทานั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับคนอื่น มีบางครั้งเหมือนกันที่พฤติกรรมของบุคคล ไม่เกี่ยวข้องสังสรรค์กับคนอื่น แต่เป็นเพียงชั่วครู่ชั่วยามเท่านั้น เช่น การนอนหลับ ตามปกติแล้ว บุคคลมักจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะอยู่โดยไม่สังสรรค์กับคนอื่นเลย การ เกี่ยวข้องกับผู้อื่นเห็นได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทางตรง คือ การเกี่ยวข้องระหว่างสองฝ่ายที่ติดต่อโดยตรง เช่น การพูดคุยการโทรทัศน์ หรือทางอ้อมโดยเรานั่งอยู่ คนเดียวใช้ความนึกคิดถึงบุคคลอื่นหรือมักจะส่งผล กระทบกระเทือนต่อผู้อื่นทั้งนี้ เพราะเราได้รับการกระตุ้นจากผู้อื่น เช่น อ่านหนังสือ ฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์ ดู ภาพยนตร์ ในกรณีที่นักเรียนคนหนึ่งต้องดูหนังสือทั้งที่อยากไปเที่ยวกับเพื่อน ก็หมายความว่า นักเรียนผู้นี้มี แผนการแล้วว่าจะดูหนังสือเพื่อสอบ เขาถูกกระตุ้นจากครูหรือได้รับ การคาดหวังจากพ่อแม่ว่าต้องเรียน หนังสือให้เก่ง เป็นต้น ปัจจัยที่เป็นตัวกาหนดการกระทาทางสังคม (Element of Social Action) มีองค์ประกอบ 4 อย่าง คือ 1) ตัวผู้กระทา (Actor) 2) เป้าหมาย (Goal or End)
  • 15. หน้าที่ | 15 3) เงื่อนไข (Condition) 4) วิธีการ (Means) 1) ตัวผู้กระทาตัวผู้กระทาขึ้นซึ่งพิจารณาจากสภาพร่างกายและสภาพจิตใจควบคู่กัน โดยอาศัยพื้นความรู้ทางจิตวิทยาที่ว่า พฤติกรรมของบุคคลที่แสดงออกมานั้น มีจิตเป็นพื้นฐานของความรู้สึก นึกคิด นั่นก็คือ แรงจูงใจ ซึ่งได้มาจากหลายทางด้วยกัน เช่น มาจากแรงขับภายใน ได้แก่ ความหิว ความ กระหาย ความต้องการทางเพศ เป็นต้น หรือมาจากสภาพแวดล้อมภายนอก เช่น สภาพภูมิศาสตร์ ดินฟ้า อากาศ สภาพสังคม รอบตัว ซึ่งกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรมแตกต่างกัน เช่น คนชนบทกับ คนในเมืองนั้น มีความคิด ความเชื่อ ทัศนคติ การกระทาที่แตกต่างกันอย่างมาก 2) เป้าหมายการกระทาทางสังคมจะต้องมีเป้าหมายมิใช่เป็นการกระทาลอย ๆ ทั้งนี้ เพราะมนุษย์เป็น end-pursuing animal ซึ่งหมายความว่า การกระทาของมนุษย์ต้องมีจุดมุ่งหมายมิใช่กระทา ไปโดยอัตโนมัติด้วยสัญชาตญาณอย่างสัตว์และเป้าหมายที่มนุษย์มีนั้นขึ้นอยู่กับสิ่งที่มนุษย์ได้รับการอบรม เลี้ยงดูมาในรูปแบบลักษณะใด ๆ 3) เงื่อนไขหมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่เป็นเครื่องขัดขวางหรือสนับสนุนให้บุคคลไปสู่ เป้าหมาย เงื่อนไขอาจมาจากสิ่งต่าง ๆ หลายทางด้วยกัน เช่น สถานภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของบุคคล อาจเป็นฐานะเศรษฐกิจของครอบครัวหรืออาจเป็นเพราะ บุคลิกภาพเฉพาะตัว ความสามารถส่วนบุคคลทั้ง สภาพร่างกายและสติปัญญา เป็นต้นว่า บางคนอยากเป็นแพทย์แต่สอบตกประจา บางคนอยากเป็นนายทหาร แต่กลัวเสียงปืน บางคนอยากเป็นนายตารวจแต่ตาบอดสี มนุษย์ที่อยู่ในสังคมจะพบว่า มีเงื่อนไขทางสังคม กาหนดไว้มากมาย ถ้าคนในสังคมใหญ่ยอมรับว่าถูกต้อง แต่บุคคลไม่ยอมรับ เงื่อนไขนั้นก็มีอุปสรรค เช่น อยากร่ารวยมีเงินมาก ๆ ถ้าไปปล้น จี้ ลักขโมยจากผู้อื่น ก็เป็นการผิดเงื่อนไขทางสังคม เพราะคนอื่นเขาไม่ ยอมรับ เงื่อนไขบางอย่างมาจาก ธรรมชาติ เราหลีกเลี่ยงไม่ได้เช่น อยากไปจังหวัดเชียงใหม่ จะหลับตา เนรมิตให้ไป อึดใจไม่ได้จาต้องเดินทางผ่านจุดต่าง ๆ 4) วิธีการผู้กระทานั้นต้องมีวิธีการเลือกกระทาได้หลายทาง เพื่อให้ไปสู่เป้าหมายที่ตน ต้องการได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณค่าที่ตนมีอยู่ ก. การกระทาระหว่างกันทางสังคมหรือการปะทะสังสรรค์ทางสังคม (Social Interaction) การกระทาระหว่างกันทางสังคม เป็นการกระทาระหว่างบุคคลในกลุ่มหรือกลุ่มต่อกลุ่ม มี ความสัมพันธ์เกี่ยวข้องซึ่งกันและกันด้วยเจตนาและมีความหมายที่เข้าใจกัน นักสังคมวิทยาและนักมานุษยวิทยาพิจารณาการกระทาระหว่างกันทางสังคมของมนุษย์ใน ลักษณะที่เป็น symbolic interaction ซึ่งหมายถึงการติดต่อสัมพันธ์กันอย่างมีสัญลักษณ์ ได้แก่ ความสัมพันธ์ กันในทางลายลักษณ์อักษร เช่น การเขียนจดหมายติดต่อถึงกันและกัน การกระทาทางสังคมจึงขึ้นอยู่กับการ ติดต่อสื่อสาร (communication)
  • 16. หน้าที่ | 16 โดยปกติกลุ่มคนหรือสังคมไม่ได้อยู่นิ่งเฉยกับที่ แต่จะมีการกระทาระหว่างกันทางสังคมอยู่ ตลอดเวลา แม้แต่บุคคลที่อยู่ร่วมกันเพียง 2 คน เช่น ในกรณี นาย ก กับนาย ข เป็นเพื่อนกัน คุยกันซึ่งเขียน ออกมาได้ดังนี้ นาย ก นาย ข การกระทาระหว่างกันและกันของ นาย ก กับนาย ข นั้นเกิดขึ้นได้อย่างไรเราอาจอธิบายได้โดย นาแนวความคิดในเรื่อง ความคาดหวังในบทบาท (role-expectation) ซึ่งเป็นบทบาทที่บุคคลคาดคิดไว้ ล่วงหน้าว่าจะแสดงพฤติกรรม ออกมาอย่างไร กลไกที่ทาให้เราคิดได้คือ เครื่องมือทางสังคม ได้แก่ บรรทัด ฐานและสถานภาพ บรรทัดฐานนั้น บุคคลจะได้รับการอบรมทั้งทางตรงและทางอ้อมมาตั้งแต่เยาว์วัยและ มากขึ้นตามลาดับจากสังคมที่เขาเป็นสมาชิกอยู่ สาหรับสถานภาพนั้น บุคคลเดาหรือคิดให้ถูกต้องว่าคนอื่นที่ กาลังจะมีบทบาทติดต่อกับเรานั้นมีสถานภาพอย่างไร โดยดูได้จากสัญลักษณ์ทางสถานภาพ (status symbol) เช่น ดูได้จากการแต่งกาย น้าเสียง คาพูด ซึ่งบุคคลจะเดาได้โดยขึ้นอยู่กับการเรียนรู้และประสบการณ์ของ บุคคล หลังจากนั้น บุคคลก็เลือกดูว่าในสถานภาพนั้นมีบรรทัดฐานกาหนดให้ปฏิบัติอย่างไร นี่คือ ความ คาดหวังในบทบาทของบุคคลซึ่งต้องมีทุกคน ตัวอย่างเช่น ความสัมพันธ์ของครูและนักเรียน นักเรียนก็มี วิจารณญาณว่าตนจะมีปฏิกิริยาต่อครูอย่างไร เมื่อพวกเขามีความสัมพันธ์กับครู เช่นเดียวกัน ครูก็สามารถ ทราบได้ล่วงหน้าว่าตนจะทาอย่างไร กับนักเรียน มีบางครั้งซึ่งอาจเกิดปัญหาเนื่องจากความคาดหวังในบทบาทของบุคคลผิดไป ทาให้เกิด ปรากฏการณ์ในสิ่งที่สังคมไม่ต้องการ อาจเกิดความขัดแย้ง ไม่พอใจหรือสร้างความเกลียดชังขึ้นมา ดังนั้น สังคมจึงพยายามแก้ไขในสิ่งนี้ให้ดีที่สุดเท่าที่จะทาได้ซึ่งออกมาในแบบพฤติกรรมที่แตกต่างกันออกไป โดยสรุป การกระทาระหว่างกันทางสังคมเป็นพฤติกรรมที่มนุษย์กระทาเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ และ เพื่อดิ้นรนไปสู่ความสาเร็จตามเป้าหมายที่ต้องการโดยมีการติดต่อกัน แต่ละคนแต่ละกลุ่มอาจมีความ ต้องการคุณค่าหรือสิ่งจูงใจเหมือนกันหรือต่างกัน ข. กระบวนการทางสังคม (Social Process) กระบวนการทางสังคมเกิดจากการกระทาระหว่างกันทางสังคม (Social Interaction) ของบุคคล หรือกลุ่มบุคคลซึ่งมีแบบต่าง ๆ กัน อาจเป็นไปในรูปของการขัดแย้งการแข่งขัน การร่วมมือ ความเห็นพ้อง ต้องกันหรือการกลืนกลาย กระบวนการทางสังคมมีลักษณะสาคัญ 3 ประการ คือ 1. ต้องมีการติดต่อทางสังคม (Social Contact) คือ บุคคลนับตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมี ความสัมพันธ์ติดต่อซึ่งกันและกัน