SlideShare a Scribd company logo
1 of 32
เครื่องดนตรีไทย เครื่องดนตรีไทยแบ่งออกเป็น 4 ประเภทด้วยกันดังนี้ 1,เครื่องดนตรีทยประเภทดีด     2,เครื่องดนตรีไทยประเภทสี 3,เครื่องดนตรีไทยประเภทตี           4,เครื่องดนตรีไทยประเภทเป่า
1.เครื่องดนตรีไทยประเภทดีด เครื่องดนตรีประเภทดีด คือเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงหรือเล่นด้วยนิ้วมือ หรือ ไม้ดีด ดีดสายเครื่องดนตรี เผื่อให้เกิดเสียงที่ไพเราะ ในปัจจุบัน มีไม่กี่ชนิดที่นิยมเล่นกันได้แก่  1. กระจับปี่                                                   2 . พิณน้ำเต้า                                                         3 . จะเข้
กระจับปี่ กระจับปี่ เป็น พิณชนิดหนึ่งที่มี4สาย  กระพุ้งพิณมีลักษณะแบน  รูปทรงสี่เหลี่ยมคางหมูมุมด้านหน้าเป็นช่อง เพื่อให้เกิดเสียงกังวาน ส่วนทวนทำเป้นก้านเรียวยาวและกลมกลึงปลายมีลักษณะแบนและงอนโค้งไปทางด้านหลัง ตรงปลายทวนมีลิ่มสลักเป็นลูกบิดไม้ เพื่อเอาไว้ใช้สำหรับขึ้นสาย 4 ลูก สายส่วนมากทำด้วยเส้นเอ็น หรือลวดทองเหลือง ตามหลักถิ่นฐานพบว่า กระจับปี่ มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย
พิณน้ำเต้าสันนิษฐานว่า พิณมีกำเนิดในประเทศ ทางตะวันออก พิณโบราณเรียนพิณน้ำเต้า ซึ่งมีลักษณะเป็น พิณสายเดี่ยว สันนิษฐานว่าชาวอินเดียนำมาแพร่หลาย ในดินแดนสุวรรณภูมิ การที่เรียกว่าพิณน้ำเต้า เพราะใช้ เปลือกผลน้ำเต้ามาทำ คันพิณที่เรียกว่า ทวน ทำด้วยไม้เหลา ให้ปลายข้างหนึ่ง เรียวงอนโค้งขึ้นสำหรับผูกสาย ที่โคนทวน เจาะรูแล้วเอาไม้มาเหลาทำลูกบิด พิณน้ำเต้า
จะเข้ จะเข้เป็นเครื่องดนตรีที่วางดีดตามแนวนอน ทำด้วยไม้ท่อนขุดเป็นโพรงอยู่ภายใน นิยมใช้ไม้แก่นขนุน เพราะให้เสียงกังวาลดี ด้านล่างเป็นพื้นไม้ ซึ่งมักใช้ไม้ฉำฉา เจาะรูไว้ให้เสียงออกดีขึ้น มีขาอยู่ตอนหัว ๔ ขา ตอนท้าย ๑ ขา มีสาย ๓ สาย คือ สายเอก(เสียงสูง) สายกลาง(เสียงทุ้ม) ทั้งสองสายนี้ทำด้วยเอ็นหรือไหมฟั่นเป็นเกลียว สายที่สามเรียก สายลวด(เสียงต่ำ) ทำด้วยลวดทองเหลือง
เป็นเครื่องสายที่ทำให้เกิดเสียงด้วยการใช้คันชักสีเข้ากับสายในดนตรีไทยเรียกว่า ซอ ซึ่งมีอยู่ 3 ชนิด ด้วยกัน คือ  1. ซอด้วง                                                                       2 . ซอสามสาย                                                                          3 . ซออู้    เครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องสี
ซอด้วง  ซอด้วง เป็นซอชนิดหนึ่งของไทย ให้เสียงสูงแหลม การที่ได้ชื่อนี้เพราะส่วนที่เป็นเครื่องอุ้มเสียง มีรูปร่างคล้ายเครื่องดักสัตว์ชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า ด้วง มีส่วนประกอบ ดังนี้ - กระบอก เป็นส่วนที่อุ้มเสียงให้เกิดกังวาน รูปร่างเหมือนกระบอกไม้ไผ่ ทำด้วยไม้เนื้อแข็งบางทีทำด้วยงาช้าง ไม้ที่ใช้ทำต่างชนิดกันจะให้คุณภาพเสียงต่างกัน เช่น เสียงนุ่ม เสียงกลม เสียงแหลม
ซอสามสาย ซอสามสาย เป็นซอชนิดหนึ่งของไทย มีมาแต่โบราณ มีเสียงไพเราะ นุ่มนวล รูปร่างวิจิตรสวยงามกว่าซอชนิดอื่น ถือเป็นเครื่องดนตรีชั้นสูง ใช้ในราชสำนัก
ซออู้ ซออู้ เป็นซอที่มีเสียงทุ้มกังวาน ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายซอด้วง มีส่วนประกอบ ดังนี้ - กะโหลก ทำด้วยกะลามะพร้าว ตัดส่วนที่กว้างใกล้กับขั้ว ให้พูทั้งสามอยู่ด้านบน ใช้หนังลูกวัวหรือหนังแพะ ขึงเป็นหน้าตรงที่ตัด - คันซอ ทำด้วยไม้หรืองาช้างกลึง แบ่งเป็นสองส่วน คือ ทวนบน นับตั้งแต่ลูกบิด ไปถึงปลายคัน ทวนล่างนับตั้งแต่ลูกบิดลงมาที่ตัวคันมีลวดหรือลูกแก้วคั่นเป็นระยะ
เครื่องดนตรีไทยประเภทตี เครื่องตี เป็นเครื่องดนตรีที่ทำให้เกิด เสียงดนตรีด้วยการใช้ของสองสิ่งกระทบกัน ด้วยการตี นับว่าเป็นเครื่องดนตรีประเภท เก่าแก่ที่สุดที่ที่มนุษย์รู้จักใช้ ได้มีวิวัฒนาการจากอุปกรณ์ง่ายๆ ให้มี ความหลากหลายออกไปทั้งรูปแบบและวัสดุที่ใช้  ได้แก่    1 . ระนาดเอกไม้          5 . กลองทัด         9 . โทน        13 . กลับเสภา     2 . ระนาดทุ้มไม้           6 . ตะโพนไทย     10 . รำมะนา        3 . ระนาดเอกเหล็ก      7 . ตะโพนมอญ   11 . กลองแขก           4 . ระนาดทุ้มเหล็ก       8 . กลองตะโพน  12 . กลับพวง
ระนาดเอกไม้ เป็นเครื่องตีชนิดหนึ่ง ที่วิวัฒนาการมาจากกรับ แต่เดิมคงใช้กรับสองอันตีเป็นจังหวะ ต่อมาก็เกิดความคิดว่า ถ้าเอากรับหลายๆอันวางเรียงราดลงไป แล้วแก้ไขประดิษฐ์ให้มีขนาดลดหลั่นกัน แล้วทำรางรองอุ้มเสียง และใช้เชือกร้อยไม้กรับขนาดต่างๆกันนั้นให้ติดกัน และขึงไว้บนรางใช้ไม้ตีให้เกิดเสียง       นำตะกั่วผสมกับขี้ผึ้งมาถ่วงเสียงโดยนำมา ติดหัวท้ายของไม้กรับนั้น    ให้เกิดเสียงไพเราะยิ่งขึ้น
ระนาดทุ้มไม้ เป็นเครื่องดนตรีที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ คิดดัดแปลงจากระนาดเอก มีลูกระนาด 18 ลูก ขนาดของลูกระนาดใหญ่กว่า      ระนาดเอก ลูกต้นยาวประมาณ 42 ซม กว้าง 6 ซม และลดหลั่นลงมา      จนถึงลูกยอด ที่มีขนาดยาว 34 ซม กว้าง 5 ซม รางระนาดทุ้มนั้นประดิษฐ์  ให้มีรูปร่าง
ระนาดเอกเหล็ก ระนาดเอกเหล็ก หรือ ระนาดทอง เป็นเครื่องโลหะที่ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อเลียนแบบระนาดเอก (ไม้) และใช้ในลักษณะเดียวกัน ระนาดชนิดนี้ ประดิษฐ์ขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แต่เดิมลูกระนาดทำด้วยทองเหลือง จึงเรียกว่า “ระนาดทอง” ระนาดเอกเหล็กมีจำนวน 20 หรือ 21 ลูก โดยวางไว้บนรางที่มีไม้ระกำวางพาดไปตามของราง หากไม่มีไม้ระกำ ก็อาจใช้ผ้าพันไม้แล้วนำมารองลูกระนาดก็ได้
ระนาดทุ้มเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก เป็นเครื่องดนตรีที่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ในรัชกาลที่ 4 มีพระราชดำริให้สร้างขึ้น โดยมุ่งเลียนเสียงของหีบเพลงชักฝรั่ง ลูกระนาดทำเหมือนระนาดเอกเหล็ก แต่มีขนาดโตกว่า ทั้งนี้ เพื่อให้มีเสียงทุ้มอย่างระนาดทุ้ม แต่เสียงเครื่องโลหะ ดังไม่เหมือนกับเครื่องไม้จึงได้เสียงอีกแบบเป็นเสียงทุ้มแบบโลหะ
กลองทัด เป็นกลองที่ชาวไทยทำขึ้นใช้แต่เดิม มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงปี่พาทย์ กลองทัดเป็นกลองสองหน้าขนาดใหญ่ขึ้นหน้าทั้งสองข้างด้วยหนังวัวหรือหนังควาย ตรึงด้วยหมุด หุ่นกลองทำจากไม้เนื้อแข็ง กลึงคว้านข้างในจนเป็นโพรง ป่องตรงกลาง
ตะโพนไทย ตะโพน เป็นเครื่องดนตรีที่ขึงด้วยหนัง ตัวตะโพนทำด้วยไม้สักหรือไม้ขนุน เรียกว่า “หุ่น” ขุดแต่งให้เป็นโพรงภายใน ขึ้นหนัง 2 หน้า ดึงด้วยสายหนังโยงเร่งเสียงเรียกว่า “หนังเรียด” หน้าใหญ่มีความกว้างประมาณ 25 ซม เรียกว่าหน้า “เท่ง” ติดหน้าด้วยข้าวสุกบดผสมกับขี้เถ้าเพื่อถ่วงเสียง อีกหน้าหนึ่งเล็กกว่ามีขนาดประมาณ 22 ซม เรียกว่า “หน้ามัด”
ตะโพนมอญ มีรูปร่างคล้ายตะโพนไทย แต่มีขนาดใหญ่กว่าตัวกลองยาวประมาณ 70 เซนติเมตร มีเสียงดังกังวาลลึกกว่าตะโพนไทย หน้าใหญ่เรียกว่า "เมิกโนด" หน้าเล็กเรียกว่า "เมิกโด้ด" เป็นภาษามอญ ตะโพนมอญใช้บรรเลงผสมในวงปีพาทย์มอญ มีหน้าที่บรรเลงหน้าทับ ใช้ตีกำกับจังหวะในวงปี่พาทย์มอญ และวงปี่พาทย์ไทยเมื่อบรรเลงเพลงสำเนียงมอญ
กลองตะโพน  คือ ตะโพน แต่นำเอามาวางตีแบบกลองทัดใช้ไม้นวมตี ไม่ได้ใช้ฝ่ามือตีอย่างตะโพน กลองตะโพนนี้ได้ปรับปรุงใช้สำหรับวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ ซึ่งได้ปรับปรุงขึ้นมา ในสมัยรัชกาลที่ 5 เพื่อใช้บรรเลงประกอบการแสดงละครดึกดำบรรพ์โดยเฉพาะ กลองชนิดนี้ใช้ตะโพน 2 ลูก เสียงสูงต่ำต่างกัน
โทน  เป็นเครื่องดนตรีประเภทกลอง เดิมเรียกว่า ทับ หุ่นทำด้วยดินเผารูปร่างคล้ายกรวย ปลายบานออกเป็นดอกลำโพง ขึงด้วยหนังหน้าเดียว มีสายโยงเร่งเสียงจากขอบหนังคอ ตีด้วยมือข้างหนึ่ง มืออีกข้างหนึ่งคอยปิด-เปิดปากลำโพง เพื่อช่วยให้เป็นเสียงต่าง กัน ในวงดนตรีไทย มี 2 ชนิด คือ โทนชาตรี และ โทนมโหรี  1. โทนชาตรี ตัวกลองทำด้วยไม้ เวลาตีใช้มือหนึ่งตีมือหนึ่งปิดเปิดท้ายเพื่อช่วยให้เกิดเสียงตามต้องการใช้ในวงปี่พาทย์ชาตรี  2. โทนมโหรี ตัวกลองทำด้วยดินเผา วิธีตีเช่นเดียวกับโทนชาตรีด้วยเหตุที่กลองชนิดนี้ใช้ตีเฉพาะในวงเครื่องสายและวงมโหรี จึงเรียกว่า “โทนมโหรี”
รำมะนา  เป็นกลองขึงหนังหน้าเดียว หน้ากลอง ยานผายออก หุ่นกลองนั้น รูปร่างคล้ายชามกะละมัง หรือชามอ่าง เข้าใจว่าได้แบบอย่างจากเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งของมลายู ที่เรียกว่า เรบานา รำมะนาของไทยมี 2 ชนิด คือ 1. รำมะนามโหรี มีขนาดเล็ก หุ่นกลองสูง หนังที่ขึ้น ตรึงด้วยหมุดโดยรอบ บรรเลงในวงมโหรีและวงเครื่องสายคู่กับโทน  2. รำมะนาลำตัด เป็นรำมะนาขนาดใหญ่มาก รำมะนาชนิดนี้ เดิมใช้ประกอบการร้องชนิดที่เรียกว่า”บันดน” ต่อมาใช้เล่นประกอบการแสดงลำตัดซึ่งเป็นการละเล่นชนิดหนึ่งของไทย
กลองแขก กลองแขกเป็นเครื่องดนตรีประเภทตีที่มีรูปร่างยาวเป็นรูปทรงกระบอก ขึ้นหนังสองข้างด้วยหนังลูกวัวหรือหนังแพะหน้าใหญ่ กว้างประมาณ 20 ซม เรียกว่า หน้ารุ่ย ส่วนหน้าเล็กกว้างประมาณ 17 ซม เรียกว่า หน้าด่าน ตัวกลองแขกทำด้วยไม้แก่น เช่นไม้ชิงชันหรือไม้มะริด
กลับพวง กรับพวง ทำด้วยไม้บางๆ หรือแผ่นทองเหลืองหรืองาหลายๆอัน เจาะรูร้อยเชือกประกอบไว้ 2 ข้างเหมือนพัด เวลาตีใช้มือข้างหนึ่งฟาดลงบนฝ่ามือด้านหนึ่ง
กรับเสภา กรับเสภา ทำด้วยไม้แก่น ใช้ตีกลิ้งกลอกกระทบกัน ประกอบการขับเสภา ซึ่งผู้ขับคนหนึ่งจะต้องใช้กรับ 4 อัน โดยถือในมือข้างละคู่ กล่าวขับไป มือทั้งสองข้างก็ขยับกรับแต่ละคู่ในมือแต่ละข้าง ให้กระทบกันเข้าจังหวะกับเสียงขับ สร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบการขับเสภาโดยเฉพาะ
เครื่องดนตรีไทยประเภทเป่า เครื่องเป่า เป็นเครื่องดนตรีที่ทำให้เกิดเสียงจากลมเป่า อุปกรณ์ดังเดิมได้จากพืช ได้แก่หลอดไม้ต่าง ๆ และจากสัตว์ ได้แก่ เขาสัตว์ต่างๆ ต่อมาได้มีวิวัฒนาการด้วยการเจาะรูและทำลิ้น เพื่อให้เกิดระดับเสียงได้มาก ได้แก่   1 . ขลุ่ย                      5 . ขลุ่ยอู้        2 . ขลุ่ยกรวด               6 . ปี่          3. ขลุ่ยนก                    7 . ปี่ไฉน         4 . ขลุ่ยหลืบ
ขลุ่ย ขลุ่ย เป็นเครื่องดนตรีประเภทเป่า มักทำจากไม้รวก ไม้ชิงชัน ไม้พะยูง และงาช้าง แต่ที่ทำจากไม้รวกจะให้เสียงนุ่มนวล ไพเราะกว่า  ขลุ่ยมีส่วนประกอบดังนี้ เลาขลุ่ย คือ ตัวขลุ่ย มีขนาดแตกต่างกันไปตามชนิดของขลุ่ย 2. รูเป่า เป็นรูสำหรับเป่าลมเข้าไป 3. รูปากนกแก้ว เป็นรูที่เจาะร่องรับลม จากปลายดากภายในขลุ่ย  4. รูค้ำ หรือรูนิ้วค้ำ เป็นรูสำหรับให้นิ้วหัวแม่มือปิด เพื่อบังคับเสียง  5. รูบังคับเสียง เป็นรูที่เจาะเรียงอยู่ด้านบนของเลาขลุ่ย มีอยู่ ๗ รู ด้วยกัน 6. รูร้อยเชือก มี ๔ รู หรือ ๒ รูก็ได้ อยู่ทางส่วนปลายของเลาขลุ่ย
ขลุ่ยกรวด ขลุ่ยกรวด มีขนาดเล็กกว่า ขลุ่ยเพียงออ ระดับเสียงต่ำสุดสูงกว่า ระดับเสียงของขลุ่ยเพียงอออยู่ ๑ เสียง
ขลุ่ยนก ขลุ่ยนก เป็นขลุ่ยพิเศษ ทำขึ้นเพื่อ เสียงสัตว์ต่างๆ โดยเฉพาะนก ใช้บรรเลง ประกอบในวงดนตรี เพื่อให้เกิดจินตนาการ ในการฟังเพลงได้ดียิ่งขึ้น บางครั้งยังใช้ ลิ้นปี่มาประกอบกับ ตัวขลุ่ยเพื่อเลียนเสียงไก่ ขลุ่ยพิเศษเหล่านี้นิยมใช้บรรเลง เพลงตับนก และตับภุมรินทร์
ขลุ่ยหลีบ ขลุ่ยหลีบ เป็นขลุ่ยขนาดเล็ก มีเสียงสูงแหลมเล็ก ระดับเสียงต่ำสุดสูงกว่า เสียงต่ำสุดของขลุ่ยเพียงออขึ้นมา ๓ เสียง ใช้เป่าคู่กับขลุ่ยเพียงออ หรือขลุ่ยกรวด มีอยู่สองชนิด คือ ขลุ่ยหลีบเพียงออ และขลุ่ยหลีบกรวด
ขลุ่ยอู้ ขลุ่ยอู้ เป็นขลุ่ยขนาดใหญ่ ระดับเสียงต่ำสุด ต่ำกว่าระดับเสียงต่ำสุดของขลุ่ยเพียงออ ลงไปอีก ๒ เสียง ใช้บรรเลงในวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์
ปี่ ปี่ เป็นเครื่องดนตรีประเภทเป่า ปกติ เลาปี่ ทำด้วยไม้แก่น ต่อมามีผู้คิดทำด้วยงา โดยกลึงให้เป็นรูปบานหัว และบานท้าย ช่วงกลางป่อง ภายในกลวง ทางหัวใส่ลิ้นเป็นช่องรูเล็ก ทางท้ายปากรูใหญ่
ปี่ไฉน ปี่ไฉน เป็นปี่สองท่อน ถอดออกจากกันได้ ท่อนบนเรียงยาว ปลายผายออกเล็กน้อยเรียกว่า "เลาปี่" ท่อนล่างปลายบานเรียกว่า "ลำโพง" ทำด้วยไม้หรืองา ปี่ชนิดนี้เข้าใจว่าได้แบบอย่างมาจาก เครื่องดนตรีของอินเดีย ซึ่งเป็นเครื่องเป่าที่ทำด้วยไม้
แหล่งอ้างอิง 1 .http://www.bs.ac.th/musicthai/page4.html 2 .http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/bangkok/prasong_s/thaimusic_M4/index.html  ขอขอบคุณแหล่งอ้างอิงที่กล่าวมาข้างต้นเป็นอย่างสูง

More Related Content

What's hot

ข้อสอบวิทยาศาสตร์ O net (โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ)
ข้อสอบวิทยาศาสตร์ O net (โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ)ข้อสอบวิทยาศาสตร์ O net (โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ)
ข้อสอบวิทยาศาสตร์ O net (โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ)
สำเร็จ นางสีคุณ
 
ข้อสอบ เรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อม สำหรับ นักเรียน
ข้อสอบ เรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อม สำหรับ นักเรียนข้อสอบ เรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อม สำหรับ นักเรียน
ข้อสอบ เรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อม สำหรับ นักเรียน
สำเร็จ นางสีคุณ
 
วงดนตรีไทย
วงดนตรีไทยวงดนตรีไทย
วงดนตรีไทย
Surin Keawkerd
 
น้ำขึ้นน้ำลง
น้ำขึ้นน้ำลงน้ำขึ้นน้ำลง
น้ำขึ้นน้ำลง
yasotornrit
 
สถาบันทางสังคม
สถาบันทางสังคมสถาบันทางสังคม
สถาบันทางสังคม
thnaporn999
 
แบบฝึกหัดการหาสัดส่วนจีโนไทป์ฟีโนไทป์
แบบฝึกหัดการหาสัดส่วนจีโนไทป์ฟีโนไทป์แบบฝึกหัดการหาสัดส่วนจีโนไทป์ฟีโนไทป์
แบบฝึกหัดการหาสัดส่วนจีโนไทป์ฟีโนไทป์
Maikeed Tawun
 
โครงสร้างสาระวิทย์ป.5
โครงสร้างสาระวิทย์ป.5โครงสร้างสาระวิทย์ป.5
โครงสร้างสาระวิทย์ป.5
supphawan
 

What's hot (20)

ข้อสอบวิทยาศาสตร์ O net (โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ)
ข้อสอบวิทยาศาสตร์ O net (โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ)ข้อสอบวิทยาศาสตร์ O net (โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ)
ข้อสอบวิทยาศาสตร์ O net (โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ)
 
ข้อสอบ เรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อม สำหรับ นักเรียน
ข้อสอบ เรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อม สำหรับ นักเรียนข้อสอบ เรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อม สำหรับ นักเรียน
ข้อสอบ เรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อม สำหรับ นักเรียน
 
วงดนตรีไทย
วงดนตรีไทยวงดนตรีไทย
วงดนตรีไทย
 
ใบความรู้+แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม4-6 เรื่อง วรจรไฟฟ้า+ป.6+290+dltvscip6+P...
ใบความรู้+แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม4-6 เรื่อง วรจรไฟฟ้า+ป.6+290+dltvscip6+P...ใบความรู้+แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม4-6 เรื่อง วรจรไฟฟ้า+ป.6+290+dltvscip6+P...
ใบความรู้+แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม4-6 เรื่อง วรจรไฟฟ้า+ป.6+290+dltvscip6+P...
 
น้ำขึ้นน้ำลง
น้ำขึ้นน้ำลงน้ำขึ้นน้ำลง
น้ำขึ้นน้ำลง
 
คลื่นกล
คลื่นกลคลื่นกล
คลื่นกล
 
ประโยชน์ของวัสดุ
ประโยชน์ของวัสดุประโยชน์ของวัสดุ
ประโยชน์ของวัสดุ
 
สถาบันทางสังคม
สถาบันทางสังคมสถาบันทางสังคม
สถาบันทางสังคม
 
ย่อยอาหาร
ย่อยอาหารย่อยอาหาร
ย่อยอาหาร
 
ติวสบายฟิสิกส์ (เพิ่มเติม) บทที่ 03 แรงกฏการเคลื่อนที่
ติวสบายฟิสิกส์ (เพิ่มเติม) บทที่ 03 แรงกฏการเคลื่อนที่ติวสบายฟิสิกส์ (เพิ่มเติม) บทที่ 03 แรงกฏการเคลื่อนที่
ติวสบายฟิสิกส์ (เพิ่มเติม) บทที่ 03 แรงกฏการเคลื่อนที่
 
ใบงานที่ 1.1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง เครื่องมือเกษตร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ใบงานที่ 1.1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง เครื่องมือเกษตร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4ใบงานที่ 1.1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง เครื่องมือเกษตร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ใบงานที่ 1.1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง เครื่องมือเกษตร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
 
โจทย์ปัญหาการหารไม่มีเศษป.2
โจทย์ปัญหาการหารไม่มีเศษป.2โจทย์ปัญหาการหารไม่มีเศษป.2
โจทย์ปัญหาการหารไม่มีเศษป.2
 
Learning force p5
Learning force p5Learning force p5
Learning force p5
 
เพลงนันทนาการ
เพลงนันทนาการเพลงนันทนาการ
เพลงนันทนาการ
 
แบบฝึกหัดการหาสัดส่วนจีโนไทป์ฟีโนไทป์
แบบฝึกหัดการหาสัดส่วนจีโนไทป์ฟีโนไทป์แบบฝึกหัดการหาสัดส่วนจีโนไทป์ฟีโนไทป์
แบบฝึกหัดการหาสัดส่วนจีโนไทป์ฟีโนไทป์
 
โครงสร้างสาระวิทย์ป.5
โครงสร้างสาระวิทย์ป.5โครงสร้างสาระวิทย์ป.5
โครงสร้างสาระวิทย์ป.5
 
สรุปเซลล์
สรุปเซลล์สรุปเซลล์
สรุปเซลล์
 
ใบความรู้+แผนการสอน และใบกิจกรรม ประถม 4-6 เรื่อง ปรากฏการณ์ของโลกและเทคโนโลย...
ใบความรู้+แผนการสอน และใบกิจกรรม ประถม 4-6 เรื่อง ปรากฏการณ์ของโลกและเทคโนโลย...ใบความรู้+แผนการสอน และใบกิจกรรม ประถม 4-6 เรื่อง ปรากฏการณ์ของโลกและเทคโนโลย...
ใบความรู้+แผนการสอน และใบกิจกรรม ประถม 4-6 เรื่อง ปรากฏการณ์ของโลกและเทคโนโลย...
 
Plant structure group 9 room 931
Plant structure group 9 room 931 Plant structure group 9 room 931
Plant structure group 9 room 931
 
สารละลายกรด-เบส
สารละลายกรด-เบสสารละลายกรด-เบส
สารละลายกรด-เบส
 

Similar to เครื่องดนตรีไทย

เครื่องดนตรีพื้นบ้านไทย 4 ภาค
เครื่องดนตรีพื้นบ้านไทย 4 ภาคเครื่องดนตรีพื้นบ้านไทย 4 ภาค
เครื่องดนตรีพื้นบ้านไทย 4 ภาค
guestec5984
 
เครื่องดนตรีพื้นบ้านไทย 4 ภาค
เครื่องดนตรีพื้นบ้านไทย 4 ภาคเครื่องดนตรีพื้นบ้านไทย 4 ภาค
เครื่องดนตรีพื้นบ้านไทย 4 ภาค
guestec5984
 
เครื่องดนตรีพื้นบ้านไทย 4 ภาค
เครื่องดนตรีพื้นบ้านไทย 4 ภาคเครื่องดนตรีพื้นบ้านไทย 4 ภาค
เครื่องดนตรีพื้นบ้านไทย 4 ภาค
guestec5984
 
เครื่องดนตรีพื้นบ้านไทย 4 ภาค
เครื่องดนตรีพื้นบ้านไทย 4 ภาคเครื่องดนตรีพื้นบ้านไทย 4 ภาค
เครื่องดนตรีพื้นบ้านไทย 4 ภาค
guest98f4132
 
เครื่องดนตรีพื้นบ้านไทย 4 ภาค
เครื่องดนตรีพื้นบ้านไทย 4 ภาคเครื่องดนตรีพื้นบ้านไทย 4 ภาค
เครื่องดนตรีพื้นบ้านไทย 4 ภาค
guest03bcafe
 
เครื่องดนตรีพื้นบ้านไทย 4 ภาค
เครื่องดนตรีพื้นบ้านไทย 4 ภาคเครื่องดนตรีพื้นบ้านไทย 4 ภาค
เครื่องดนตรีพื้นบ้านไทย 4 ภาค
guestec5984
 
เครื่องดนตรีพื้นบ้านไทย 4 ภาค
เครื่องดนตรีพื้นบ้านไทย 4 ภาคเครื่องดนตรีพื้นบ้านไทย 4 ภาค
เครื่องดนตรีพื้นบ้านไทย 4 ภาค
guestec5984
 
ทักษ์ดนัย
ทักษ์ดนัยทักษ์ดนัย
ทักษ์ดนัย
gemini_17
 
พิณ
พิณพิณ
พิณ
bawtho
 
เครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องเป่า
เครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องเป่าเครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องเป่า
เครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องเป่า
Uthaiwan Phaisayom
 

Similar to เครื่องดนตรีไทย (20)

เครื่องดนตรีพื้นบ้านไทย 4 ภาค
เครื่องดนตรีพื้นบ้านไทย 4 ภาคเครื่องดนตรีพื้นบ้านไทย 4 ภาค
เครื่องดนตรีพื้นบ้านไทย 4 ภาค
 
เครื่องดนตรีพื้นบ้านไทย 4 ภาค
เครื่องดนตรีพื้นบ้านไทย 4 ภาคเครื่องดนตรีพื้นบ้านไทย 4 ภาค
เครื่องดนตรีพื้นบ้านไทย 4 ภาค
 
เครื่องดนตรีพื้นบ้านไทย 4 ภาค
เครื่องดนตรีพื้นบ้านไทย 4 ภาคเครื่องดนตรีพื้นบ้านไทย 4 ภาค
เครื่องดนตรีพื้นบ้านไทย 4 ภาค
 
เครื่องดนตรีพื้นบ้านไทย 4 ภาค
เครื่องดนตรีพื้นบ้านไทย 4 ภาคเครื่องดนตรีพื้นบ้านไทย 4 ภาค
เครื่องดนตรีพื้นบ้านไทย 4 ภาค
 
เครื่องดนตรีพื้นบ้านไทย 4 ภาค
เครื่องดนตรีพื้นบ้านไทย 4 ภาคเครื่องดนตรีพื้นบ้านไทย 4 ภาค
เครื่องดนตรีพื้นบ้านไทย 4 ภาค
 
เครื่องดนตรีพื้นบ้านไทย 4 ภาค
เครื่องดนตรีพื้นบ้านไทย 4 ภาคเครื่องดนตรีพื้นบ้านไทย 4 ภาค
เครื่องดนตรีพื้นบ้านไทย 4 ภาค
 
เครื่องดนตรีสากล
เครื่องดนตรีสากลเครื่องดนตรีสากล
เครื่องดนตรีสากล
 
เครื่องดนตรีพื้นบ้านไทย 4 ภาค
เครื่องดนตรีพื้นบ้านไทย 4 ภาคเครื่องดนตรีพื้นบ้านไทย 4 ภาค
เครื่องดนตรีพื้นบ้านไทย 4 ภาค
 
ดนตรีอีสานเหนือ
ดนตรีอีสานเหนือดนตรีอีสานเหนือ
ดนตรีอีสานเหนือ
 
ความหมายของเครื่องดนตรี
ความหมายของเครื่องดนตรีความหมายของเครื่องดนตรี
ความหมายของเครื่องดนตรี
 
ทักษ์ดนัย
ทักษ์ดนัยทักษ์ดนัย
ทักษ์ดนัย
 
Music
MusicMusic
Music
 
ดนตรีสากล
ดนตรีสากลดนตรีสากล
ดนตรีสากล
 
งานคอมเครื่องดนตรีไทย
งานคอมเครื่องดนตรีไทยงานคอมเครื่องดนตรีไทย
งานคอมเครื่องดนตรีไทย
 
เครื่องสาย 2
เครื่องสาย 2เครื่องสาย 2
เครื่องสาย 2
 
Music drama
Music dramaMusic drama
Music drama
 
ใบความรู้ ที่ 1
ใบความรู้ ที่ 1ใบความรู้ ที่ 1
ใบความรู้ ที่ 1
 
พิณ
พิณพิณ
พิณ
 
เครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องเป่า
เครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องเป่าเครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องเป่า
เครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องเป่า
 
วงดนตรีสากล
วงดนตรีสากลวงดนตรีสากล
วงดนตรีสากล
 

เครื่องดนตรีไทย

  • 1. เครื่องดนตรีไทย เครื่องดนตรีไทยแบ่งออกเป็น 4 ประเภทด้วยกันดังนี้ 1,เครื่องดนตรีทยประเภทดีด 2,เครื่องดนตรีไทยประเภทสี 3,เครื่องดนตรีไทยประเภทตี 4,เครื่องดนตรีไทยประเภทเป่า
  • 2. 1.เครื่องดนตรีไทยประเภทดีด เครื่องดนตรีประเภทดีด คือเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงหรือเล่นด้วยนิ้วมือ หรือ ไม้ดีด ดีดสายเครื่องดนตรี เผื่อให้เกิดเสียงที่ไพเราะ ในปัจจุบัน มีไม่กี่ชนิดที่นิยมเล่นกันได้แก่ 1. กระจับปี่ 2 . พิณน้ำเต้า 3 . จะเข้
  • 3. กระจับปี่ กระจับปี่ เป็น พิณชนิดหนึ่งที่มี4สาย กระพุ้งพิณมีลักษณะแบน รูปทรงสี่เหลี่ยมคางหมูมุมด้านหน้าเป็นช่อง เพื่อให้เกิดเสียงกังวาน ส่วนทวนทำเป้นก้านเรียวยาวและกลมกลึงปลายมีลักษณะแบนและงอนโค้งไปทางด้านหลัง ตรงปลายทวนมีลิ่มสลักเป็นลูกบิดไม้ เพื่อเอาไว้ใช้สำหรับขึ้นสาย 4 ลูก สายส่วนมากทำด้วยเส้นเอ็น หรือลวดทองเหลือง ตามหลักถิ่นฐานพบว่า กระจับปี่ มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย
  • 4. พิณน้ำเต้าสันนิษฐานว่า พิณมีกำเนิดในประเทศ ทางตะวันออก พิณโบราณเรียนพิณน้ำเต้า ซึ่งมีลักษณะเป็น พิณสายเดี่ยว สันนิษฐานว่าชาวอินเดียนำมาแพร่หลาย ในดินแดนสุวรรณภูมิ การที่เรียกว่าพิณน้ำเต้า เพราะใช้ เปลือกผลน้ำเต้ามาทำ คันพิณที่เรียกว่า ทวน ทำด้วยไม้เหลา ให้ปลายข้างหนึ่ง เรียวงอนโค้งขึ้นสำหรับผูกสาย ที่โคนทวน เจาะรูแล้วเอาไม้มาเหลาทำลูกบิด พิณน้ำเต้า
  • 5. จะเข้ จะเข้เป็นเครื่องดนตรีที่วางดีดตามแนวนอน ทำด้วยไม้ท่อนขุดเป็นโพรงอยู่ภายใน นิยมใช้ไม้แก่นขนุน เพราะให้เสียงกังวาลดี ด้านล่างเป็นพื้นไม้ ซึ่งมักใช้ไม้ฉำฉา เจาะรูไว้ให้เสียงออกดีขึ้น มีขาอยู่ตอนหัว ๔ ขา ตอนท้าย ๑ ขา มีสาย ๓ สาย คือ สายเอก(เสียงสูง) สายกลาง(เสียงทุ้ม) ทั้งสองสายนี้ทำด้วยเอ็นหรือไหมฟั่นเป็นเกลียว สายที่สามเรียก สายลวด(เสียงต่ำ) ทำด้วยลวดทองเหลือง
  • 6. เป็นเครื่องสายที่ทำให้เกิดเสียงด้วยการใช้คันชักสีเข้ากับสายในดนตรีไทยเรียกว่า ซอ ซึ่งมีอยู่ 3 ชนิด ด้วยกัน คือ 1. ซอด้วง 2 . ซอสามสาย 3 . ซออู้ เครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องสี
  • 7. ซอด้วง ซอด้วง เป็นซอชนิดหนึ่งของไทย ให้เสียงสูงแหลม การที่ได้ชื่อนี้เพราะส่วนที่เป็นเครื่องอุ้มเสียง มีรูปร่างคล้ายเครื่องดักสัตว์ชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า ด้วง มีส่วนประกอบ ดังนี้ - กระบอก เป็นส่วนที่อุ้มเสียงให้เกิดกังวาน รูปร่างเหมือนกระบอกไม้ไผ่ ทำด้วยไม้เนื้อแข็งบางทีทำด้วยงาช้าง ไม้ที่ใช้ทำต่างชนิดกันจะให้คุณภาพเสียงต่างกัน เช่น เสียงนุ่ม เสียงกลม เสียงแหลม
  • 8. ซอสามสาย ซอสามสาย เป็นซอชนิดหนึ่งของไทย มีมาแต่โบราณ มีเสียงไพเราะ นุ่มนวล รูปร่างวิจิตรสวยงามกว่าซอชนิดอื่น ถือเป็นเครื่องดนตรีชั้นสูง ใช้ในราชสำนัก
  • 9. ซออู้ ซออู้ เป็นซอที่มีเสียงทุ้มกังวาน ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายซอด้วง มีส่วนประกอบ ดังนี้ - กะโหลก ทำด้วยกะลามะพร้าว ตัดส่วนที่กว้างใกล้กับขั้ว ให้พูทั้งสามอยู่ด้านบน ใช้หนังลูกวัวหรือหนังแพะ ขึงเป็นหน้าตรงที่ตัด - คันซอ ทำด้วยไม้หรืองาช้างกลึง แบ่งเป็นสองส่วน คือ ทวนบน นับตั้งแต่ลูกบิด ไปถึงปลายคัน ทวนล่างนับตั้งแต่ลูกบิดลงมาที่ตัวคันมีลวดหรือลูกแก้วคั่นเป็นระยะ
  • 10. เครื่องดนตรีไทยประเภทตี เครื่องตี เป็นเครื่องดนตรีที่ทำให้เกิด เสียงดนตรีด้วยการใช้ของสองสิ่งกระทบกัน ด้วยการตี นับว่าเป็นเครื่องดนตรีประเภท เก่าแก่ที่สุดที่ที่มนุษย์รู้จักใช้ ได้มีวิวัฒนาการจากอุปกรณ์ง่ายๆ ให้มี ความหลากหลายออกไปทั้งรูปแบบและวัสดุที่ใช้ ได้แก่ 1 . ระนาดเอกไม้ 5 . กลองทัด 9 . โทน 13 . กลับเสภา 2 . ระนาดทุ้มไม้ 6 . ตะโพนไทย 10 . รำมะนา 3 . ระนาดเอกเหล็ก 7 . ตะโพนมอญ 11 . กลองแขก 4 . ระนาดทุ้มเหล็ก 8 . กลองตะโพน 12 . กลับพวง
  • 11. ระนาดเอกไม้ เป็นเครื่องตีชนิดหนึ่ง ที่วิวัฒนาการมาจากกรับ แต่เดิมคงใช้กรับสองอันตีเป็นจังหวะ ต่อมาก็เกิดความคิดว่า ถ้าเอากรับหลายๆอันวางเรียงราดลงไป แล้วแก้ไขประดิษฐ์ให้มีขนาดลดหลั่นกัน แล้วทำรางรองอุ้มเสียง และใช้เชือกร้อยไม้กรับขนาดต่างๆกันนั้นให้ติดกัน และขึงไว้บนรางใช้ไม้ตีให้เกิดเสียง นำตะกั่วผสมกับขี้ผึ้งมาถ่วงเสียงโดยนำมา ติดหัวท้ายของไม้กรับนั้น ให้เกิดเสียงไพเราะยิ่งขึ้น
  • 12. ระนาดทุ้มไม้ เป็นเครื่องดนตรีที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ คิดดัดแปลงจากระนาดเอก มีลูกระนาด 18 ลูก ขนาดของลูกระนาดใหญ่กว่า ระนาดเอก ลูกต้นยาวประมาณ 42 ซม กว้าง 6 ซม และลดหลั่นลงมา จนถึงลูกยอด ที่มีขนาดยาว 34 ซม กว้าง 5 ซม รางระนาดทุ้มนั้นประดิษฐ์ ให้มีรูปร่าง
  • 13. ระนาดเอกเหล็ก ระนาดเอกเหล็ก หรือ ระนาดทอง เป็นเครื่องโลหะที่ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อเลียนแบบระนาดเอก (ไม้) และใช้ในลักษณะเดียวกัน ระนาดชนิดนี้ ประดิษฐ์ขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แต่เดิมลูกระนาดทำด้วยทองเหลือง จึงเรียกว่า “ระนาดทอง” ระนาดเอกเหล็กมีจำนวน 20 หรือ 21 ลูก โดยวางไว้บนรางที่มีไม้ระกำวางพาดไปตามของราง หากไม่มีไม้ระกำ ก็อาจใช้ผ้าพันไม้แล้วนำมารองลูกระนาดก็ได้
  • 14. ระนาดทุ้มเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก เป็นเครื่องดนตรีที่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ในรัชกาลที่ 4 มีพระราชดำริให้สร้างขึ้น โดยมุ่งเลียนเสียงของหีบเพลงชักฝรั่ง ลูกระนาดทำเหมือนระนาดเอกเหล็ก แต่มีขนาดโตกว่า ทั้งนี้ เพื่อให้มีเสียงทุ้มอย่างระนาดทุ้ม แต่เสียงเครื่องโลหะ ดังไม่เหมือนกับเครื่องไม้จึงได้เสียงอีกแบบเป็นเสียงทุ้มแบบโลหะ
  • 15. กลองทัด เป็นกลองที่ชาวไทยทำขึ้นใช้แต่เดิม มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงปี่พาทย์ กลองทัดเป็นกลองสองหน้าขนาดใหญ่ขึ้นหน้าทั้งสองข้างด้วยหนังวัวหรือหนังควาย ตรึงด้วยหมุด หุ่นกลองทำจากไม้เนื้อแข็ง กลึงคว้านข้างในจนเป็นโพรง ป่องตรงกลาง
  • 16. ตะโพนไทย ตะโพน เป็นเครื่องดนตรีที่ขึงด้วยหนัง ตัวตะโพนทำด้วยไม้สักหรือไม้ขนุน เรียกว่า “หุ่น” ขุดแต่งให้เป็นโพรงภายใน ขึ้นหนัง 2 หน้า ดึงด้วยสายหนังโยงเร่งเสียงเรียกว่า “หนังเรียด” หน้าใหญ่มีความกว้างประมาณ 25 ซม เรียกว่าหน้า “เท่ง” ติดหน้าด้วยข้าวสุกบดผสมกับขี้เถ้าเพื่อถ่วงเสียง อีกหน้าหนึ่งเล็กกว่ามีขนาดประมาณ 22 ซม เรียกว่า “หน้ามัด”
  • 17. ตะโพนมอญ มีรูปร่างคล้ายตะโพนไทย แต่มีขนาดใหญ่กว่าตัวกลองยาวประมาณ 70 เซนติเมตร มีเสียงดังกังวาลลึกกว่าตะโพนไทย หน้าใหญ่เรียกว่า "เมิกโนด" หน้าเล็กเรียกว่า "เมิกโด้ด" เป็นภาษามอญ ตะโพนมอญใช้บรรเลงผสมในวงปีพาทย์มอญ มีหน้าที่บรรเลงหน้าทับ ใช้ตีกำกับจังหวะในวงปี่พาทย์มอญ และวงปี่พาทย์ไทยเมื่อบรรเลงเพลงสำเนียงมอญ
  • 18. กลองตะโพน คือ ตะโพน แต่นำเอามาวางตีแบบกลองทัดใช้ไม้นวมตี ไม่ได้ใช้ฝ่ามือตีอย่างตะโพน กลองตะโพนนี้ได้ปรับปรุงใช้สำหรับวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ ซึ่งได้ปรับปรุงขึ้นมา ในสมัยรัชกาลที่ 5 เพื่อใช้บรรเลงประกอบการแสดงละครดึกดำบรรพ์โดยเฉพาะ กลองชนิดนี้ใช้ตะโพน 2 ลูก เสียงสูงต่ำต่างกัน
  • 19. โทน เป็นเครื่องดนตรีประเภทกลอง เดิมเรียกว่า ทับ หุ่นทำด้วยดินเผารูปร่างคล้ายกรวย ปลายบานออกเป็นดอกลำโพง ขึงด้วยหนังหน้าเดียว มีสายโยงเร่งเสียงจากขอบหนังคอ ตีด้วยมือข้างหนึ่ง มืออีกข้างหนึ่งคอยปิด-เปิดปากลำโพง เพื่อช่วยให้เป็นเสียงต่าง กัน ในวงดนตรีไทย มี 2 ชนิด คือ โทนชาตรี และ โทนมโหรี 1. โทนชาตรี ตัวกลองทำด้วยไม้ เวลาตีใช้มือหนึ่งตีมือหนึ่งปิดเปิดท้ายเพื่อช่วยให้เกิดเสียงตามต้องการใช้ในวงปี่พาทย์ชาตรี 2. โทนมโหรี ตัวกลองทำด้วยดินเผา วิธีตีเช่นเดียวกับโทนชาตรีด้วยเหตุที่กลองชนิดนี้ใช้ตีเฉพาะในวงเครื่องสายและวงมโหรี จึงเรียกว่า “โทนมโหรี”
  • 20. รำมะนา เป็นกลองขึงหนังหน้าเดียว หน้ากลอง ยานผายออก หุ่นกลองนั้น รูปร่างคล้ายชามกะละมัง หรือชามอ่าง เข้าใจว่าได้แบบอย่างจากเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งของมลายู ที่เรียกว่า เรบานา รำมะนาของไทยมี 2 ชนิด คือ 1. รำมะนามโหรี มีขนาดเล็ก หุ่นกลองสูง หนังที่ขึ้น ตรึงด้วยหมุดโดยรอบ บรรเลงในวงมโหรีและวงเครื่องสายคู่กับโทน 2. รำมะนาลำตัด เป็นรำมะนาขนาดใหญ่มาก รำมะนาชนิดนี้ เดิมใช้ประกอบการร้องชนิดที่เรียกว่า”บันดน” ต่อมาใช้เล่นประกอบการแสดงลำตัดซึ่งเป็นการละเล่นชนิดหนึ่งของไทย
  • 21. กลองแขก กลองแขกเป็นเครื่องดนตรีประเภทตีที่มีรูปร่างยาวเป็นรูปทรงกระบอก ขึ้นหนังสองข้างด้วยหนังลูกวัวหรือหนังแพะหน้าใหญ่ กว้างประมาณ 20 ซม เรียกว่า หน้ารุ่ย ส่วนหน้าเล็กกว้างประมาณ 17 ซม เรียกว่า หน้าด่าน ตัวกลองแขกทำด้วยไม้แก่น เช่นไม้ชิงชันหรือไม้มะริด
  • 22. กลับพวง กรับพวง ทำด้วยไม้บางๆ หรือแผ่นทองเหลืองหรืองาหลายๆอัน เจาะรูร้อยเชือกประกอบไว้ 2 ข้างเหมือนพัด เวลาตีใช้มือข้างหนึ่งฟาดลงบนฝ่ามือด้านหนึ่ง
  • 23. กรับเสภา กรับเสภา ทำด้วยไม้แก่น ใช้ตีกลิ้งกลอกกระทบกัน ประกอบการขับเสภา ซึ่งผู้ขับคนหนึ่งจะต้องใช้กรับ 4 อัน โดยถือในมือข้างละคู่ กล่าวขับไป มือทั้งสองข้างก็ขยับกรับแต่ละคู่ในมือแต่ละข้าง ให้กระทบกันเข้าจังหวะกับเสียงขับ สร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบการขับเสภาโดยเฉพาะ
  • 24. เครื่องดนตรีไทยประเภทเป่า เครื่องเป่า เป็นเครื่องดนตรีที่ทำให้เกิดเสียงจากลมเป่า อุปกรณ์ดังเดิมได้จากพืช ได้แก่หลอดไม้ต่าง ๆ และจากสัตว์ ได้แก่ เขาสัตว์ต่างๆ ต่อมาได้มีวิวัฒนาการด้วยการเจาะรูและทำลิ้น เพื่อให้เกิดระดับเสียงได้มาก ได้แก่ 1 . ขลุ่ย 5 . ขลุ่ยอู้ 2 . ขลุ่ยกรวด 6 . ปี่ 3. ขลุ่ยนก 7 . ปี่ไฉน 4 . ขลุ่ยหลืบ
  • 25. ขลุ่ย ขลุ่ย เป็นเครื่องดนตรีประเภทเป่า มักทำจากไม้รวก ไม้ชิงชัน ไม้พะยูง และงาช้าง แต่ที่ทำจากไม้รวกจะให้เสียงนุ่มนวล ไพเราะกว่า ขลุ่ยมีส่วนประกอบดังนี้ เลาขลุ่ย คือ ตัวขลุ่ย มีขนาดแตกต่างกันไปตามชนิดของขลุ่ย 2. รูเป่า เป็นรูสำหรับเป่าลมเข้าไป 3. รูปากนกแก้ว เป็นรูที่เจาะร่องรับลม จากปลายดากภายในขลุ่ย 4. รูค้ำ หรือรูนิ้วค้ำ เป็นรูสำหรับให้นิ้วหัวแม่มือปิด เพื่อบังคับเสียง 5. รูบังคับเสียง เป็นรูที่เจาะเรียงอยู่ด้านบนของเลาขลุ่ย มีอยู่ ๗ รู ด้วยกัน 6. รูร้อยเชือก มี ๔ รู หรือ ๒ รูก็ได้ อยู่ทางส่วนปลายของเลาขลุ่ย
  • 26. ขลุ่ยกรวด ขลุ่ยกรวด มีขนาดเล็กกว่า ขลุ่ยเพียงออ ระดับเสียงต่ำสุดสูงกว่า ระดับเสียงของขลุ่ยเพียงอออยู่ ๑ เสียง
  • 27. ขลุ่ยนก ขลุ่ยนก เป็นขลุ่ยพิเศษ ทำขึ้นเพื่อ เสียงสัตว์ต่างๆ โดยเฉพาะนก ใช้บรรเลง ประกอบในวงดนตรี เพื่อให้เกิดจินตนาการ ในการฟังเพลงได้ดียิ่งขึ้น บางครั้งยังใช้ ลิ้นปี่มาประกอบกับ ตัวขลุ่ยเพื่อเลียนเสียงไก่ ขลุ่ยพิเศษเหล่านี้นิยมใช้บรรเลง เพลงตับนก และตับภุมรินทร์
  • 28. ขลุ่ยหลีบ ขลุ่ยหลีบ เป็นขลุ่ยขนาดเล็ก มีเสียงสูงแหลมเล็ก ระดับเสียงต่ำสุดสูงกว่า เสียงต่ำสุดของขลุ่ยเพียงออขึ้นมา ๓ เสียง ใช้เป่าคู่กับขลุ่ยเพียงออ หรือขลุ่ยกรวด มีอยู่สองชนิด คือ ขลุ่ยหลีบเพียงออ และขลุ่ยหลีบกรวด
  • 29. ขลุ่ยอู้ ขลุ่ยอู้ เป็นขลุ่ยขนาดใหญ่ ระดับเสียงต่ำสุด ต่ำกว่าระดับเสียงต่ำสุดของขลุ่ยเพียงออ ลงไปอีก ๒ เสียง ใช้บรรเลงในวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์
  • 30. ปี่ ปี่ เป็นเครื่องดนตรีประเภทเป่า ปกติ เลาปี่ ทำด้วยไม้แก่น ต่อมามีผู้คิดทำด้วยงา โดยกลึงให้เป็นรูปบานหัว และบานท้าย ช่วงกลางป่อง ภายในกลวง ทางหัวใส่ลิ้นเป็นช่องรูเล็ก ทางท้ายปากรูใหญ่
  • 31. ปี่ไฉน ปี่ไฉน เป็นปี่สองท่อน ถอดออกจากกันได้ ท่อนบนเรียงยาว ปลายผายออกเล็กน้อยเรียกว่า "เลาปี่" ท่อนล่างปลายบานเรียกว่า "ลำโพง" ทำด้วยไม้หรืองา ปี่ชนิดนี้เข้าใจว่าได้แบบอย่างมาจาก เครื่องดนตรีของอินเดีย ซึ่งเป็นเครื่องเป่าที่ทำด้วยไม้
  • 32. แหล่งอ้างอิง 1 .http://www.bs.ac.th/musicthai/page4.html 2 .http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/bangkok/prasong_s/thaimusic_M4/index.html ขอขอบคุณแหล่งอ้างอิงที่กล่าวมาข้างต้นเป็นอย่างสูง