SlideShare a Scribd company logo
1 of 13
Download to read offline
สรุปผลการวิจัยเชิงสำรวจ
Emerging Technology:
Thai IT Professional Readiness Survey
โดย สถาบันไอเอ็มซี
กันยายน 2556
IMC Institute ผลการวิจัยเชิงสำรวจ “Emerging Technology: Thai IT Professional Readiness Survey” 1
ผลการสำรวจแบบย่อ
สถาบันไอเอ็มซี (IMC Institute) ภายใต้การสนับสนุนจากสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย (ATCI) ได้
เล็งเห็นถึงความสำคัญของการเตรียมความพร้อมบุคลากรไอทีไทยเพื่อรองรับเทคโนโลยีก่อกำเนิดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
หรือที่รู้จักกันในนาม “Emerging Technology” จึงได้จัดทำโครงการวิจัยเชิงสำรวจในหัวข้อ “Emerging Technology: Thai IT
Professional Readiness Survey” ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงสภาวการณ์โดยรวมของประเทศในปัจจุบัน และเพื่อ
ประโยชน์ในการวางแผนพัฒนาบุคลากรและวงการไอทีของไทยต่อไปในอนาคตโดยเน้นในกลุ่มของบุคลากรด้านซอฟต์แวร์ใน
การพัฒนาซอฟต์แวร์ด้าน Emerging Technology โดยเฉพาะเมื่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) กำลังจะเข้ามามี
บทบาทอย่างเต็มที่ทั้งในเชิงความร่วมมือและการแข่งขันในกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ ในปี พ.ศ.2558
วิธีการสำรวจ และภาพรวมของกลุ่มตัวอย่าง
การสำรวจข้อมูลดังกล่าวได้ถูกดำเนินการขึ้น ในช่วงระหว่างวันที่ 15 มิถุนายน ถึง 31 สิงหาคม พ.ศ.2556 โดยใช้วิธี
การเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ และวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ทั้งนี้ ากกลุ่มตัวอย่างทั่วประเทศจำนวน 165 ราย
ทางทีมผู้วิจัยได้คัดเลือกตัวอย่างที่สมบูรณ์และมีความสามารถในการสะท้อนภาพรวมที่แท้จริงของวงการบุคลากรไอทีไทย
ออกมาได้เป็นจำนวนทั้งสิ้น 89 ราย แบ่งเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มบริษัท/หน่วยงานที่ประกอบธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมไอทีเป็น
หลัก จำนวน 51 ราย ซึ่งโดยมากจะเป็นบริษัทขนาดเล็กที่มีพนักงานน้อยกว่า 50 คน แต่ก็มีบางบริษัทที่มัพนักงานซอฟต์แวร์
อยู่ระหว่าง 101-500 คน ส่วนกลุ่มที่สองที่ทำการสำรวจคือบริษัท/หน่วยงานที่ประกอบธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่มี
แผนกไอทีภายในองค์กร อาทิ กลุ่มการเงินการธนาคาร, กลุ่มโทรคมนาคม, กลุ่มพลังงาน เป็นต้น จำนวน 38 ราย ซึ่งในกลุ่มนี้
โดยมากจะเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีรายได้มากกว่า 100 ล้านบาทและโดยเฉลี่ยจะมีพนักงานไอทีอยู่ประมาณช่วง 11-100 คน
โดยมีรายละเอียดข้อมูลของบริษัท/หน่วยงานที่ทำการสำรวจมาดังนี้ดังต่อไปนี้
จำแนกกลุ่มตัวอย่างตามประเภทอุตสาหกรรม
IMC Institute ผลการวิจัยเชิงสำรวจ “Emerging Technology: Thai IT Professional Readiness Survey” 2
จำแนกกลุ่มตัวอย่างในอุตสาหกรรมไอที ตามมูลค่ารายได้รวมขององค์กร
**หมายเหตุ: ผู้ตอบแบบสอบถามบางรายไม่ประสงค์จะเปิดเผยรายได้รวมขององค์กร
จำแนกกลุ่มตัวอย่างในอุตสาหกรรมอื่นๆ ตามมูลค่ารายได้รวมขององค์กร
**หมายเหตุ: ผู้ตอบแบบสอบถามบางรายไม่ประสงค์จะเปิดเผยรายได้รวมขององค์กร
จำแนกกลุ่มตัวอย่างตามจำนวนพนักงานทั้งหมดขององค์กร
IMC Institute ผลการวิจัยเชิงสำรวจ “Emerging Technology: Thai IT Professional Readiness Survey” 3
จำแนกกลุ่มตัวอย่างในอุตสาหกรรมไอที ตามจำนวนของพนักงานไอทีและพนักงานที่ทำงานเกี่ยวกับซอฟต์แวร์
ภายในองค์กร
จำแนกกลุ่มตัวอย่างในอุตสาหกรรมอื่นๆ ตามจำนวนของพนักงานไอทีและพนักงานที่ทำงานเกี่ยวกับซอฟต์แวร์
ภายในองค์กร
ผลการสำรวจความพร้อมด้านเทตโนโลยีก่อกำเนิด
การสำรวจครั้งนี้ได้ศึกษาความพร้อมของบุคลากรทางด้านซอฟต์แวร์ของหน่วยงาน/องค์กร ในประเด็นต่างที่น่าสนใจ
อันได้แก่ ทักษะของบุคลากรในด้านภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม, ด้านการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่น, ด้าน
การพัฒนาซอฟต์แวร์บนคลาวด์เทคโนโลยี และด้านการพัฒนาเทคโนโลยีก่อกำเนิดอื่นๆ รวมถึง ศึกษาทัศนคติที่มีต่อระดับ
IMC Institute ผลการวิจัยเชิงสำรวจ “Emerging Technology: Thai IT Professional Readiness Survey” 4
ความสำคัญของเทคโนโลยีต่างๆ, เหตุผลในการพัฒนาเทคโนโลยีก่อกำเนิด (Emerging Technology) ในองค์กร, ปัญหาและ
อุปสรรค, ทัศนคติที่มีต่อแหล่งการจัดหาบุคลากรด้านเทคโนโลยีก่อกำเนิด และข้อเสนอแนะอื่นๆ
Computer Programming Language
จากผลการสำรวจในหัวข้อด้านทักษะของบุคลากรไอทีไทยที่เกี่ยวข้องกับภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเขียน
โปรแกรม (Computer Programming Language) เมื่อพิจารณาโดยภาพรวมแล้วพบว่า ปัจจุบันองค์กรต่างๆมีบุคลากรในการ
พัฒนาซอฟต์แวร์โดยมากใช้ภาษาคอมพิวเตอร์หลักๆสามภาษาคือ PHP, Java และ .NET โดยภาษาทั้งสามได้รับความนิยม
เป็นจำนวนเกินกว่าครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่างนั้น ได้แก่ PHP (65.17%), Java (62.92%) และ .NET (61.80%) อีกทั้ง และยังมี
แนวโน้มความต้องการบุคลากรที่มีทักษะด้านภาษาเหล่านี้เพิ่มขึ้นในอนาคตอีกด้วย แต่เมื่อพิจารณาจำนวนนักพัฒนา
ซอฟต์แวร์ในแต่ละองค์กรจะพบว่าองค์กรโดยมากจะมีบุคลากรที่สามารถพัฒนาภาษาคอมพิวเตอร์ที่ระบุน้อยกว่า 10 คน และ
มีเพียงไม่กี่องค์กรที่ระบุว่ามีนักพัฒนามากกว่า 20 คนกล่าวคือ มีเพียง 5 องค์กรที่ระบุว่ามีนักพัฒนาซอฟต์แวร์ทางด้าน PHP
มากกว่า 20 คน และมีองค์การที่ระบุว่ามีนักพัฒนาซอฟต์แวร์ทางด้าน Java และ .NET มากกว่า 20 คนอย่างละ 10 องค์กร
ทั้งนี้ยังพบว่าเริ่มมีหลายหน่วยงานที่ให้ความสนใจกับภาษาคอมพิวเตอร์ใหม่ๆ อย่าง Python และ Ruby มากขึ้น
นอกจากนี้ยังมีภาษาคอมพิวเตอร์อื่นๆ ที่เป็นที่ต้องการของบริษัท / หน่วยงานไทย อาทิ C++, COBOL, Delphi เป็นต้น
อย่างไรก็ตามกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ยังไม่มีการกำหนดแผนงานในการขยายบุคลากรในกลุ่มภาษาคอมพิวเตอร์ใหม่ๆอย่าง
ชัดเจนนัก
จำนวนกลุ่มตัวอย่าง จำแนกตามบุคลากรด้านภาษาคอมพิวเตอร์ต่างๆที่มีอยู่ในองค์กรในปัจจุบัน
IMC Institute ผลการวิจัยเชิงสำรวจ “Emerging Technology: Thai IT Professional Readiness Survey” 5
แนวโน้มการวางแผนงานบุคลากรด้านภาษาคอมพิวเตอร์ต่างๆ ในอนาคต
Mobile Application Development
สำหรับทักษะของบุคลากรไอทีไทยในหัวข้อการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่น (Mobile Application Development)
นั้นพบว่า ในปัจจุบันบริษัท / หน่วยงานไทย ให้ความสนใจกับการพัฒนาโดยใช้ Native Application บนระบบปฎิบัติการ iOS
และ Android ในจำนวนที่เท่าเทียมกัน คือ 51.69% ตามมาด้วย Windows (24.72%) นอกจากนี้ยังพบว่าหลายๆ หน่วยงาน
เริ่มให้ความสนใจกับการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นแบบ Cross Platform โดยใช้ HTML5 ในจำนวนถึง 50.56% อีกทั้ง ยังมี
แนวโน้มการขยายตัวของการวางแผนงานด้านบุคลากรในการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นอย่างชัดเจนมากกว่าการขยายตัวใน
Emerging Technology อื่นๆ และในกลุ่มของการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นมีความสนใจที่ขยายตัวด้าน iOS มากที่สุด
สำหรับในแง่ของจำนวนบุคลากรผลการสำรวจจะออกมาในทำนองเดียวกับจำนวนบุคลากรทางด้านภาษา
คอมพิวเตอร์ กล่าวคือองค์กรส่วนใหญรที่มีบุคลากรในการพัฒนาด้านโมบายแอพพลิเคชั่นจะมีบุคลากรทางด้านนี้น้อยกว่า 10
คนในปัจจุบัน และมีเพียงอย่างละ 1 องค์กรที่มีบุคลากรมากกว่า 20 คนในการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่น ด้าน iOS,
Android และ HTML5
IMC Institute ผลการวิจัยเชิงสำรวจ “Emerging Technology: Thai IT Professional Readiness Survey” 6
จำนวนกลุ่มตัวอย่าง จำแนกตามบุคลากรด้านการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นต่างๆ ที่มีอยู่ในองค์กรในปัจจุบัน
แนวโน้มการวางแผนงานบุคลากรด้านการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นต่างๆ ในอนาคต
Cloud Computing Technology
ในปัจจุบัน คลาวด์คอมพิวติ้งเทคโนโลยี (Cloud Computing Technology) ถือเป็นเทคโนโลยีที่กำลังเป็นที่สนใจกัน
อย่างกว้างขวางนักในกลุ่มบริษัท / หน่วยงานไทย แต่เมื่อมีการสำรวจแนวโน้มการพัฒนาซอฟต์แวร์บน Cloud Platform ก็ยัง
จัดว่ามีสัดส่วนที่ค้อนข้างน้อย โดยแพลตฟอร์มที่หน่วยงาน/บริษัทมีบุคลากรที่มีทักษะในการพัฒนามากที่สุดคือ Google App
IMC Institute ผลการวิจัยเชิงสำรวจ “Emerging Technology: Thai IT Professional Readiness Survey” 7
Engine เพียง 22.47% และ Microsoft Azure จำนวน 19.10% ตามมาด้วย Amazon Web Services (13.48%) และ Heroku
(5.62%) โดยพบว่าองค์กรต่างๆจะมีบุคลากรที่พัฒนาซอฟต์แวร์บน Cloud Computing น้อยกว่า 10 คน นอกจากนี้กลุ่ม
ตัวอย่างส่วนใหญ่ยังไม่มีการกำหนดแผนงานในการขยายบุคลากรในการพัฒนาซอฟต์แวร์บคลาวด์คอมพิวติ้งเทคโนโลยีอย่าง
ชัดเจนนัก และพบว่าความต้องการที่จะเพิ่มบุคลากรยังมีน้อยมากเมื่อเทียบกับความด้องการบุคลากรในการพัฒนาซอฟต์แวร์
ทางด้านเทคโนโลยีก่อกำเนิดอื่นๆ
จำนวนกลุ่มตัวอย่าง จำแนกตามบุคลากรด้านการพัฒนาคลาวด์คอมพิวติ้งบนแพลตฟอร์มต่างๆ ที่มีอยู่ในองค์กรใน
ปัจจุบัน
แนวโน้มการวางแผนงานบุคลากรด้านการพัฒนาคลาวด์คอมพิวติ้งบนแพลตฟอร์มต่างๆในอนาคต
IMC Institute ผลการวิจัยเชิงสำรวจ “Emerging Technology: Thai IT Professional Readiness Survey” 8
Other Emerging Technology
นอกจากนี้นยังทำการสำรวจทักษะของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาบนเทคโนโลยีก่อกำเนิด (Emerging
Technology) อื่นๆ ที่อยู่ในความสนใจของบริษัท / หน่วยงานไทย โดยผลการสำรวจพบว่าองค์กรจะมีบุคลากรที่พัฒนาทาง
ด้าน Business Intelligence (BI) มากที่สุด โดยในปัจจุบันมีองค์กรที่มีบุคลากรทางด้านนี้อยู่ถึง 58.42% ตามมาด้วย
Facebook Application Development (33.71%), noSQL (21.35%) และ Big Data (17.98%) ทั้งนี้ ความต้องการบุคลากร
ที่มีทักษะด้านเทคโนโลยีก่อกำเนิดเหล่านี้ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอนาคตอีกด้วย อย่างไรก็ตามกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ยังไม่มี
การกำหนดแผนงานในหัวข้อนี้อย่างชัดเจนนัก
จำนวนกลุ่มตัวอย่าง จำแนกตามบุคลากรทางด้านเทคโนโลยีก่อกำเนิดอื่นๆ ที่มีอยู่ในองค์กรในปัจจุบัน
แนวโน้มการวางแผนงานบุคลากรด้านเทคโนโลยีก่อกำเนิดอื่นๆ ในอนาคต
IMC Institute ผลการวิจัยเชิงสำรวจ “Emerging Technology: Thai IT Professional Readiness Survey” 9
ทัศนคติที่มีต่อความสำคัญของเทคโนโลยีก่อกำเนิดต่างๆ
ทีมงานยังได้สำรวจทางด้านการให้ความสำคัญของเทคโนโลยีก่อกำเนิดของหน่วยงาน/บริษัทต่างๆ จากผลการ
สำรวจพบว่า ค่าเฉลี่ยของทัศนคติที่กลุ่มตัวอย่างโดยรวมที่มีต่อความสำคัญของเทคโนโลยีก่อกำเนิดต่างๆ ด้วยการวัดค่าจาก
มาตรวัดคะแนน 5 ระดับ (5-Point Rating Scale) นั้น กลุ่มตัวอย่างเห็นความสำคัญของการพัฒนาซอฟต์แวร์เทคโนโลยีด้าน
Mobile Application (3.80 คะแนน) สูงที่สุด ตามมาด้วย Business Intelligence / Big Data (3.58 คะแนน), Cloud
Computing (3.57 คะแนน) และ Social Media (2.97 คะแนน) ตามลำดับ ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มอุตสาหกรรม
ไอที และกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆ พบว่าแผนกไอทีในกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆจะให้ความสำคัญในเทคโนโลยีด้าน Business
Intelligence / Big Data และ Social Media มากกว่าในกลุ่มอุตสาหกรรมไอที
ทัศนคติที่มีต่อความสำคัญของเทคโนโลยีก่อกำเนิดด้านต่างๆ ของกลุ่มตัวอย่างโดยรวม
ทัศนคติที่มีต่อความสำคัญของเทคโนโลยีก่อกำเนิดด้านต่างๆ เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มตัวอย่างในกลุ่มอุตสาหกรรม
ไอที และกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆ
IMC Institute ผลการวิจัยเชิงสำรวจ “Emerging Technology: Thai IT Professional Readiness Survey” 10
เหตุผลที่ต้องการพัฒนาเทคโนโลยีก่อกำเนิด
ทั้งนี้เหตุผลหลักที่กลุ่มตัวอย่างต้องการพัฒนาเทคโนโลยีก่อกำเนิด (Emerging Technology) ต่างๆ ภายในองค์กร
นั้น พบว่ามีสาเหตุเนื่องจากต้องการสร้างโอกาสทางธุรกิจ และต้องการก้าวให้ทันเทคโนโลยีอยู่เสมอ โดยมีผู้ตอบเป็นจำนวน
เท่ากันคือ 78.65% ตามมาด้วยความต้องการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ (60.67%) และมีความพร้อมของบุคลากรอยู่แล้ว
(28.09%) นอกจากนี้ ยังมีผู้ให้เหตุผลอื่นๆ อีกด้วย อาทิ ต้องการลดต้นทุนการบริหารงาน, ดำเนินการตามนโยบายภาครัฐ,
ดำเนินการตามข้อกำหนดของลูกค้า เป็นต้น
เหตุผลที่ต้องการพัฒนาเทคโนโลยีก่อกำเนิดในองค์กร
ปัญหาในการพัฒนาเทคโนโลยีก่อกำเนิด
ปัญหาสำคัญที่กลุ่มตัวอย่างแสดงความคิดเห็นเอาไว้เป็นจำนวนมากที่สุดอย่างโดดเด่นคือ การขาดแคลนบุคลากรที่
มีทักษะความสามารถเกี่ยวกับเทคโนโลยีก่อกำเนิด ซึ่งมีจำนวนผู้ตอบถึง 76.40% ตามมาด้วยปัญหาการขาดแคลนแหล่ง
ความรู้ / การฝึกอบรม (49.44%), ขาดงบประมาณ (42.70%), เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจนไม่สามารถก้าวตามได้
ทัน (31.46%), ขาดการสนับสนุนจากภาครัฐ (25.84%), ยังมองไม่เห็นโอกาสทางการตลาด (16.85%) ตามลำดับ ทั้งนี้ กลุ่ม
ตัวอย่างยังได้มีการระบุถึงปัญหาอื่นๆ อีกบ้าง อาทิ ผู้บริหารไม่เข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีจึงไม่ได้รับการสนับสนุน หรือลูกค้าไม่
ได้ให้ความสนใจกับเทคโลยี เป็นต้น
IMC Institute ผลการวิจัยเชิงสำรวจ “Emerging Technology: Thai IT Professional Readiness Survey” 11
ปัญหาที่พบในการพัฒนาเทคโนโลยีก่อกำเนิด
ทัศนคติที่มีต่อแหล่งการจัดหาบุคลากรด้านเทคโนโลยีก่อกำเนิด
ในการจัดหาหรือพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีก่อกำเนิดนั้น จากผลการสำรวจด้วยวิธีการวัดค่าจากมาตรวัด
คะแนน 5 ระดับ (5-Point Rating Scale) พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดว่าการพัฒนาบุคลากรไอทีที่มีอยู่เดิมในองค์กรให้มี
ทักษะความสามารถเพิ่มขึ้นนั้นเป็นวิธีการที่ดีที่สุด (3.31 คะแนน) ตามมาด้วยการจัดหาบุคลากรใหม่ด้วยตนเอง (3.22
คะแนน), การรับสมัครบุคลากรผ่านทางมหาวิทยาลัย (2.72 คะแนน) และการใช้บริการตัวแทนจัดหาบุคลากร (2.07 คะแนน)
ตามลำดับ
ทัศนคติที่มีต่อแหล่งการจัดหาและพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีก่อกำเนิด
IMC Institute ผลการวิจัยเชิงสำรวจ “Emerging Technology: Thai IT Professional Readiness Survey” 12
ข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีก่อกำเนิด
ในการสำรวจครั้งนี้ ยังได้เปิดโอกาสให้กลุ่มตัวอย่างสามารถแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับ
การพัฒนาบุคลกรด้านเทคโนโลยีก่อกำเนิด (Emerging Technology) ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเสนอแนะไปในทิศทางเดียวกัน นั่น
คือ ต้องการเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ และได้รับการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการอย่างเหมาะสม เนื่องจากในปัจจุบันนี้
ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีก่อกำเนิดของบุคลากรไทยยังมีความคลาดเคลื่อนจากสิ่งที่เป็นจริงอยู่มาก ดังนั้น จึงควรจะมี
การปูพื้นฐานอย่างจริงจังตั้งแต่การศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย และภาครัฐควรจะเข้ามามีส่วนร่วมในการให้ความสนับสนุน
ผลักดันอย่างเป็นรูปธรรม เช่น การกำหนดมาตรฐาน หรือการจัดตั้งหน่วยงานเพื่อการค้นคว้าวิจัย เป็นต้น นอกจากนี้ ยังควร
จะมีการจัดตั้งกลุ่มหรือชุมชนเพื่อเป็นศูนย์รวมการแลกเปลี่ยน แบ่งปัน และพัฒนาองค์ความรู้ระหว่างบุคลากรไอทีของไทยใน
ด้านเทคโนโลยีก่อกำเนิดโดยตรงอีกด้วย
บทสรุป
จากการสำรวจบริษัท/หน่วยงานต่างๆต่อความพร้อมของบุคลากรทางด้านซอฟต์แวร์ในการพัฒนาเทคโนโลยีก่อ
กำเนิดพบว่า องค์กรส่วนใหญ่จะมีบุคลากรทางด้านซอฟต์แวร์ไม่มากนัก และให้ความสำคัญกับการพัฒนาโปรแกรม
คอมพิวเตอร์ภาษา PHP, Java และ .NET อยู่ โดยองค์กรต่างๆเริ่มมีแผนงานที่ชัดเจนขึ้นในการพัฒนาโมบายแอปพลิเคชั่น
โดยให้ความสำคัญการพัฒนาบนแพลตฟอร์มที่หลากหลายทั้ง iOS, Android และ Windows และมีแนวโน้มที่จะให้ความ
สำคัญกับ HTML5 มากขึ้น แต่เมื่อพืจารณาความพร้อมขององค์กรในการพัฒนาเทคโนโลยีก่อกำเนิดด้านอื่นๆจะเห็นว่า
องค์กรส่วนใหญ่ยังไม่มีแผนงานที่ชัดเจน ถ้าจะความสนใจบ้างก็จะเป็นทางด้าน Business Intelligence แต่สำหรับความ
พร้อมของบุคลากรในการพัฒนาซอฟต์แวร์บน Cloud Computing ยังมีค่อนข้างน้อย ซึ่งเหตุผลหลักที่องค์กรต่างๆมาให้ความ
สนใจทางด้านเทคโนโลยีก่อกำเนิดก็เป็นเพราะเห็นโอกาสทางธุรกิจและต้องการก้าวให้ทันกับเทคโนโลยี แต่ก็มีอุปสรรคในการ
ที่จะหาบุคลากรทางด้านนี้
IMC Institute ผลการวิจัยเชิงสำรวจ “Emerging Technology: Thai IT Professional Readiness Survey” 13

More Related Content

Viewers also liked

Viewers also liked (20)

IT Professionals Trends towards - AEC 2015
IT Professionals Trends  towards - AEC 2015IT Professionals Trends  towards - AEC 2015
IT Professionals Trends towards - AEC 2015
 
Innovation and Business Opportunities in Cloud Computing
Innovation and Business Opportunities  in Cloud Computing Innovation and Business Opportunities  in Cloud Computing
Innovation and Business Opportunities in Cloud Computing
 
Digital Content Format for Smart Devices
Digital Content Format for Smart DevicesDigital Content Format for Smart Devices
Digital Content Format for Smart Devices
 
Brain Shaper for Digital Revolution Era
Brain Shaper for  Digital Revolution EraBrain Shaper for  Digital Revolution Era
Brain Shaper for Digital Revolution Era
 
TheFuture of Mobile Application and Media Tablets
TheFuture of Mobile Application and Media TabletsTheFuture of Mobile Application and Media Tablets
TheFuture of Mobile Application and Media Tablets
 
Power of Social Collaboration and Business Technology Adoption
Power of Social Collaboration and Business Technology AdoptionPower of Social Collaboration and Business Technology Adoption
Power of Social Collaboration and Business Technology Adoption
 
Open Source Trends to Change
Open Source Trends to ChangeOpen Source Trends to Change
Open Source Trends to Change
 
Software Trends Towards AEC 2015
Software Trends Towards AEC 2015Software Trends Towards AEC 2015
Software Trends Towards AEC 2015
 
Cloud Computing Direction in Thailand
Cloud Computing  Direction in ThailandCloud Computing  Direction in Thailand
Cloud Computing Direction in Thailand
 
Thailand Software Park Alliance
Thailand Software Park AllianceThailand Software Park Alliance
Thailand Software Park Alliance
 
ไอซีทีกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย
ไอซีทีกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย ไอซีทีกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย
ไอซีทีกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย
 
Software Park Thailand : The New Challenge (NEC2011)
Software Park Thailand : The New Challenge (NEC2011)Software Park Thailand : The New Challenge (NEC2011)
Software Park Thailand : The New Challenge (NEC2011)
 
Software Park Thailand : Mission on Technology Trends 2011
Software Park Thailand : Mission on  Technology Trends 2011 Software Park Thailand : Mission on  Technology Trends 2011
Software Park Thailand : Mission on Technology Trends 2011
 
Mobile Technology Trends
Mobile Technology TrendsMobile Technology Trends
Mobile Technology Trends
 
ICT Vision and Technologies Adoption across Thailand
ICT Vision and Technologies Adoption across ThailandICT Vision and Technologies Adoption across Thailand
ICT Vision and Technologies Adoption across Thailand
 
SYSCON & MOBI CON2011 Press Conference
SYSCON & MOBI CON2011 Press ConferenceSYSCON & MOBI CON2011 Press Conference
SYSCON & MOBI CON2011 Press Conference
 
Technology Innovation
Technology InnovationTechnology Innovation
Technology Innovation
 
Impact of cloud computing to Asian IT Industry
Impact of cloud computing  to Asian IT IndustryImpact of cloud computing  to Asian IT Industry
Impact of cloud computing to Asian IT Industry
 
Cloud Computing "Risk Driver vs Value Driver" Two Sides of the Same Coin
Cloud Computing  "Risk Driver vs Value Driver"  Two Sides of the Same CoinCloud Computing  "Risk Driver vs Value Driver"  Two Sides of the Same Coin
Cloud Computing "Risk Driver vs Value Driver" Two Sides of the Same Coin
 
Trends of Smartphone
Trends of SmartphoneTrends of Smartphone
Trends of Smartphone
 

Similar to Summary Report on "Emerging Technology: Thai IT Professional Readiness Survey"

ใบงานที่ 8 โครงงานประเภท การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์
ใบงานที่ 8 โครงงานประเภท การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ใบงานที่ 8 โครงงานประเภท การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์
ใบงานที่ 8 โครงงานประเภท การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์
Mintra Pudprom
 
ใบงานที่ 8 โครงงานประเภท การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์
ใบงานที่ 8 โครงงานประเภท การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ใบงานที่ 8 โครงงานประเภท การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์
ใบงานที่ 8 โครงงานประเภท การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์
KaRn Tik Tok
 
ใบงานที่ 8 เรื่อง โครงงานประเภท “การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์”
ใบงานที่ 8 เรื่อง โครงงานประเภท “การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์”ใบงานที่ 8 เรื่อง โครงงานประเภท “การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์”
ใบงานที่ 8 เรื่อง โครงงานประเภท “การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์”
Justice MengKing
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2560
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2560NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2560
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2560
National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 
งานวิชาคอม
งานวิชาคอมงานวิชาคอม
งานวิชาคอม
Chanya Sangyen
 

Similar to Summary Report on "Emerging Technology: Thai IT Professional Readiness Survey" (20)

Emerging Technology: Thai IT Professional Readiness Survey
Emerging Technology: Thai IT Professional Readiness SurveyEmerging Technology: Thai IT Professional Readiness Survey
Emerging Technology: Thai IT Professional Readiness Survey
 
e Magazine ของ IMC Institute Vol.2 No. 6; May-August 2017
e Magazine ของ IMC Institute Vol.2 No. 6; May-August 2017e Magazine ของ IMC Institute Vol.2 No. 6; May-August 2017
e Magazine ของ IMC Institute Vol.2 No. 6; May-August 2017
 
การบริการลูกค้าสัมพันธ์ ในงานห้องสมุด
การบริการลูกค้าสัมพันธ์ ในงานห้องสมุดการบริการลูกค้าสัมพันธ์ ในงานห้องสมุด
การบริการลูกค้าสัมพันธ์ ในงานห้องสมุด
 
Nsc2013 booklet
Nsc2013 bookletNsc2013 booklet
Nsc2013 booklet
 
ใบงานที่ 8 โครงงานประเภท การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์
ใบงานที่ 8 โครงงานประเภท การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ใบงานที่ 8 โครงงานประเภท การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์
ใบงานที่ 8 โครงงานประเภท การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์
 
ใบงานที่ 8 โครงงานประเภท การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์
ใบงานที่ 8 โครงงานประเภท การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ใบงานที่ 8 โครงงานประเภท การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์
ใบงานที่ 8 โครงงานประเภท การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์
 
การพัฒนาและการให้บริการห้องสมุดในยุค Thailand 4.0
การพัฒนาและการให้บริการห้องสมุดในยุค Thailand 4.0การพัฒนาและการให้บริการห้องสมุดในยุค Thailand 4.0
การพัฒนาและการให้บริการห้องสมุดในยุค Thailand 4.0
 
IMC Institute Press release in Thai
IMC Institute Press release in ThaiIMC Institute Press release in Thai
IMC Institute Press release in Thai
 
3
33
3
 
Trends and Services in Modern Library
Trends and Services in Modern LibraryTrends and Services in Modern Library
Trends and Services in Modern Library
 
Fact sheet TSPA & Members
Fact sheet TSPA & MembersFact sheet TSPA & Members
Fact sheet TSPA & Members
 
IMC Institute's Press release [in Thai] "Emerging Technology: Thai IT Profes...
IMC Institute's Press release  [in Thai] "Emerging Technology: Thai IT Profes...IMC Institute's Press release  [in Thai] "Emerging Technology: Thai IT Profes...
IMC Institute's Press release [in Thai] "Emerging Technology: Thai IT Profes...
 
ใบงานที่ 8 เรื่อง โครงงานประเภท “การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์”
ใบงานที่ 8 เรื่อง โครงงานประเภท “การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์”ใบงานที่ 8 เรื่อง โครงงานประเภท “การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์”
ใบงานที่ 8 เรื่อง โครงงานประเภท “การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์”
 
Mobile Application for Education (โมบายแอปพลิเคชันเพื่อการศึกษา)
Mobile Application for Education (โมบายแอปพลิเคชันเพื่อการศึกษา)Mobile Application for Education (โมบายแอปพลิเคชันเพื่อการศึกษา)
Mobile Application for Education (โมบายแอปพลิเคชันเพื่อการศึกษา)
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2560
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2560NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2560
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2560
 
POWERPOINT
POWERPOINTPOWERPOINT
POWERPOINT
 
ppowerpoint
ppowerpointppowerpoint
ppowerpoint
 
8
88
8
 
งานวิชาคอม
งานวิชาคอมงานวิชาคอม
งานวิชาคอม
 
10
1010
10
 

More from IMC Institute

More from IMC Institute (20)

นิตยสาร Digital Trends ฉบับที่ 14
นิตยสาร Digital Trends ฉบับที่ 14นิตยสาร Digital Trends ฉบับที่ 14
นิตยสาร Digital Trends ฉบับที่ 14
 
Digital trends Vol 4 No. 13 Sep-Dec 2019
Digital trends Vol 4 No. 13  Sep-Dec 2019Digital trends Vol 4 No. 13  Sep-Dec 2019
Digital trends Vol 4 No. 13 Sep-Dec 2019
 
บทความ The evolution of AI
บทความ The evolution of AIบทความ The evolution of AI
บทความ The evolution of AI
 
IT Trends eMagazine Vol 4. No.12
IT Trends eMagazine  Vol 4. No.12IT Trends eMagazine  Vol 4. No.12
IT Trends eMagazine Vol 4. No.12
 
เพราะเหตุใด Digitization ไม่ตอบโจทย์ Digital Transformation
เพราะเหตุใด Digitization ไม่ตอบโจทย์ Digital Transformationเพราะเหตุใด Digitization ไม่ตอบโจทย์ Digital Transformation
เพราะเหตุใด Digitization ไม่ตอบโจทย์ Digital Transformation
 
IT Trends 2019: Putting Digital Transformation to Work
IT Trends 2019: Putting Digital Transformation to WorkIT Trends 2019: Putting Digital Transformation to Work
IT Trends 2019: Putting Digital Transformation to Work
 
มูลค่าตลาดดิจิทัลไทย 3 อุตสาหกรรม
มูลค่าตลาดดิจิทัลไทย 3 อุตสาหกรรมมูลค่าตลาดดิจิทัลไทย 3 อุตสาหกรรม
มูลค่าตลาดดิจิทัลไทย 3 อุตสาหกรรม
 
IT Trends eMagazine Vol 4. No.11
IT Trends eMagazine  Vol 4. No.11IT Trends eMagazine  Vol 4. No.11
IT Trends eMagazine Vol 4. No.11
 
แนวทางการทำ Digital transformation
แนวทางการทำ Digital transformationแนวทางการทำ Digital transformation
แนวทางการทำ Digital transformation
 
บทความ The New Silicon Valley
บทความ The New Silicon Valleyบทความ The New Silicon Valley
บทความ The New Silicon Valley
 
นิตยสาร IT Trends ของ IMC Institute ฉบับที่ 10
นิตยสาร IT Trends ของ  IMC Institute  ฉบับที่ 10นิตยสาร IT Trends ของ  IMC Institute  ฉบับที่ 10
นิตยสาร IT Trends ของ IMC Institute ฉบับที่ 10
 
แนวทางการทำ Digital transformation
แนวทางการทำ Digital transformationแนวทางการทำ Digital transformation
แนวทางการทำ Digital transformation
 
The Power of Big Data for a new economy (Sample)
The Power of Big Data for a new economy (Sample)The Power of Big Data for a new economy (Sample)
The Power of Big Data for a new economy (Sample)
 
บทความ Robotics แนวโน้มใหม่สู่บริการเฉพาะทาง
บทความ Robotics แนวโน้มใหม่สู่บริการเฉพาะทาง บทความ Robotics แนวโน้มใหม่สู่บริการเฉพาะทาง
บทความ Robotics แนวโน้มใหม่สู่บริการเฉพาะทาง
 
IT Trends eMagazine Vol 3. No.9
IT Trends eMagazine  Vol 3. No.9 IT Trends eMagazine  Vol 3. No.9
IT Trends eMagazine Vol 3. No.9
 
Thailand software & software market survey 2016
Thailand software & software market survey 2016Thailand software & software market survey 2016
Thailand software & software market survey 2016
 
Developing Business Blockchain Applications on Hyperledger
Developing Business  Blockchain Applications on Hyperledger Developing Business  Blockchain Applications on Hyperledger
Developing Business Blockchain Applications on Hyperledger
 
Digital transformation @thanachart.org
Digital transformation @thanachart.orgDigital transformation @thanachart.org
Digital transformation @thanachart.org
 
บทความ Big Data จากบล็อก thanachart.org
บทความ Big Data จากบล็อก thanachart.orgบทความ Big Data จากบล็อก thanachart.org
บทความ Big Data จากบล็อก thanachart.org
 
กลยุทธ์ 5 ด้านกับการทำ Digital Transformation
กลยุทธ์ 5 ด้านกับการทำ Digital Transformationกลยุทธ์ 5 ด้านกับการทำ Digital Transformation
กลยุทธ์ 5 ด้านกับการทำ Digital Transformation
 

Summary Report on "Emerging Technology: Thai IT Professional Readiness Survey"

  • 1. สรุปผลการวิจัยเชิงสำรวจ Emerging Technology: Thai IT Professional Readiness Survey โดย สถาบันไอเอ็มซี กันยายน 2556 IMC Institute ผลการวิจัยเชิงสำรวจ “Emerging Technology: Thai IT Professional Readiness Survey” 1
  • 2. ผลการสำรวจแบบย่อ สถาบันไอเอ็มซี (IMC Institute) ภายใต้การสนับสนุนจากสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย (ATCI) ได้ เล็งเห็นถึงความสำคัญของการเตรียมความพร้อมบุคลากรไอทีไทยเพื่อรองรับเทคโนโลยีก่อกำเนิดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หรือที่รู้จักกันในนาม “Emerging Technology” จึงได้จัดทำโครงการวิจัยเชิงสำรวจในหัวข้อ “Emerging Technology: Thai IT Professional Readiness Survey” ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงสภาวการณ์โดยรวมของประเทศในปัจจุบัน และเพื่อ ประโยชน์ในการวางแผนพัฒนาบุคลากรและวงการไอทีของไทยต่อไปในอนาคตโดยเน้นในกลุ่มของบุคลากรด้านซอฟต์แวร์ใน การพัฒนาซอฟต์แวร์ด้าน Emerging Technology โดยเฉพาะเมื่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) กำลังจะเข้ามามี บทบาทอย่างเต็มที่ทั้งในเชิงความร่วมมือและการแข่งขันในกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ ในปี พ.ศ.2558 วิธีการสำรวจ และภาพรวมของกลุ่มตัวอย่าง การสำรวจข้อมูลดังกล่าวได้ถูกดำเนินการขึ้น ในช่วงระหว่างวันที่ 15 มิถุนายน ถึง 31 สิงหาคม พ.ศ.2556 โดยใช้วิธี การเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ และวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ทั้งนี้ ากกลุ่มตัวอย่างทั่วประเทศจำนวน 165 ราย ทางทีมผู้วิจัยได้คัดเลือกตัวอย่างที่สมบูรณ์และมีความสามารถในการสะท้อนภาพรวมที่แท้จริงของวงการบุคลากรไอทีไทย ออกมาได้เป็นจำนวนทั้งสิ้น 89 ราย แบ่งเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มบริษัท/หน่วยงานที่ประกอบธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมไอทีเป็น หลัก จำนวน 51 ราย ซึ่งโดยมากจะเป็นบริษัทขนาดเล็กที่มีพนักงานน้อยกว่า 50 คน แต่ก็มีบางบริษัทที่มัพนักงานซอฟต์แวร์ อยู่ระหว่าง 101-500 คน ส่วนกลุ่มที่สองที่ทำการสำรวจคือบริษัท/หน่วยงานที่ประกอบธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่มี แผนกไอทีภายในองค์กร อาทิ กลุ่มการเงินการธนาคาร, กลุ่มโทรคมนาคม, กลุ่มพลังงาน เป็นต้น จำนวน 38 ราย ซึ่งในกลุ่มนี้ โดยมากจะเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีรายได้มากกว่า 100 ล้านบาทและโดยเฉลี่ยจะมีพนักงานไอทีอยู่ประมาณช่วง 11-100 คน โดยมีรายละเอียดข้อมูลของบริษัท/หน่วยงานที่ทำการสำรวจมาดังนี้ดังต่อไปนี้ จำแนกกลุ่มตัวอย่างตามประเภทอุตสาหกรรม IMC Institute ผลการวิจัยเชิงสำรวจ “Emerging Technology: Thai IT Professional Readiness Survey” 2
  • 3. จำแนกกลุ่มตัวอย่างในอุตสาหกรรมไอที ตามมูลค่ารายได้รวมขององค์กร **หมายเหตุ: ผู้ตอบแบบสอบถามบางรายไม่ประสงค์จะเปิดเผยรายได้รวมขององค์กร จำแนกกลุ่มตัวอย่างในอุตสาหกรรมอื่นๆ ตามมูลค่ารายได้รวมขององค์กร **หมายเหตุ: ผู้ตอบแบบสอบถามบางรายไม่ประสงค์จะเปิดเผยรายได้รวมขององค์กร จำแนกกลุ่มตัวอย่างตามจำนวนพนักงานทั้งหมดขององค์กร IMC Institute ผลการวิจัยเชิงสำรวจ “Emerging Technology: Thai IT Professional Readiness Survey” 3
  • 4. จำแนกกลุ่มตัวอย่างในอุตสาหกรรมไอที ตามจำนวนของพนักงานไอทีและพนักงานที่ทำงานเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ ภายในองค์กร จำแนกกลุ่มตัวอย่างในอุตสาหกรรมอื่นๆ ตามจำนวนของพนักงานไอทีและพนักงานที่ทำงานเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ ภายในองค์กร ผลการสำรวจความพร้อมด้านเทตโนโลยีก่อกำเนิด การสำรวจครั้งนี้ได้ศึกษาความพร้อมของบุคลากรทางด้านซอฟต์แวร์ของหน่วยงาน/องค์กร ในประเด็นต่างที่น่าสนใจ อันได้แก่ ทักษะของบุคลากรในด้านภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม, ด้านการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่น, ด้าน การพัฒนาซอฟต์แวร์บนคลาวด์เทคโนโลยี และด้านการพัฒนาเทคโนโลยีก่อกำเนิดอื่นๆ รวมถึง ศึกษาทัศนคติที่มีต่อระดับ IMC Institute ผลการวิจัยเชิงสำรวจ “Emerging Technology: Thai IT Professional Readiness Survey” 4
  • 5. ความสำคัญของเทคโนโลยีต่างๆ, เหตุผลในการพัฒนาเทคโนโลยีก่อกำเนิด (Emerging Technology) ในองค์กร, ปัญหาและ อุปสรรค, ทัศนคติที่มีต่อแหล่งการจัดหาบุคลากรด้านเทคโนโลยีก่อกำเนิด และข้อเสนอแนะอื่นๆ Computer Programming Language จากผลการสำรวจในหัวข้อด้านทักษะของบุคลากรไอทีไทยที่เกี่ยวข้องกับภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเขียน โปรแกรม (Computer Programming Language) เมื่อพิจารณาโดยภาพรวมแล้วพบว่า ปัจจุบันองค์กรต่างๆมีบุคลากรในการ พัฒนาซอฟต์แวร์โดยมากใช้ภาษาคอมพิวเตอร์หลักๆสามภาษาคือ PHP, Java และ .NET โดยภาษาทั้งสามได้รับความนิยม เป็นจำนวนเกินกว่าครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่างนั้น ได้แก่ PHP (65.17%), Java (62.92%) และ .NET (61.80%) อีกทั้ง และยังมี แนวโน้มความต้องการบุคลากรที่มีทักษะด้านภาษาเหล่านี้เพิ่มขึ้นในอนาคตอีกด้วย แต่เมื่อพิจารณาจำนวนนักพัฒนา ซอฟต์แวร์ในแต่ละองค์กรจะพบว่าองค์กรโดยมากจะมีบุคลากรที่สามารถพัฒนาภาษาคอมพิวเตอร์ที่ระบุน้อยกว่า 10 คน และ มีเพียงไม่กี่องค์กรที่ระบุว่ามีนักพัฒนามากกว่า 20 คนกล่าวคือ มีเพียง 5 องค์กรที่ระบุว่ามีนักพัฒนาซอฟต์แวร์ทางด้าน PHP มากกว่า 20 คน และมีองค์การที่ระบุว่ามีนักพัฒนาซอฟต์แวร์ทางด้าน Java และ .NET มากกว่า 20 คนอย่างละ 10 องค์กร ทั้งนี้ยังพบว่าเริ่มมีหลายหน่วยงานที่ให้ความสนใจกับภาษาคอมพิวเตอร์ใหม่ๆ อย่าง Python และ Ruby มากขึ้น นอกจากนี้ยังมีภาษาคอมพิวเตอร์อื่นๆ ที่เป็นที่ต้องการของบริษัท / หน่วยงานไทย อาทิ C++, COBOL, Delphi เป็นต้น อย่างไรก็ตามกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ยังไม่มีการกำหนดแผนงานในการขยายบุคลากรในกลุ่มภาษาคอมพิวเตอร์ใหม่ๆอย่าง ชัดเจนนัก จำนวนกลุ่มตัวอย่าง จำแนกตามบุคลากรด้านภาษาคอมพิวเตอร์ต่างๆที่มีอยู่ในองค์กรในปัจจุบัน IMC Institute ผลการวิจัยเชิงสำรวจ “Emerging Technology: Thai IT Professional Readiness Survey” 5
  • 6. แนวโน้มการวางแผนงานบุคลากรด้านภาษาคอมพิวเตอร์ต่างๆ ในอนาคต Mobile Application Development สำหรับทักษะของบุคลากรไอทีไทยในหัวข้อการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่น (Mobile Application Development) นั้นพบว่า ในปัจจุบันบริษัท / หน่วยงานไทย ให้ความสนใจกับการพัฒนาโดยใช้ Native Application บนระบบปฎิบัติการ iOS และ Android ในจำนวนที่เท่าเทียมกัน คือ 51.69% ตามมาด้วย Windows (24.72%) นอกจากนี้ยังพบว่าหลายๆ หน่วยงาน เริ่มให้ความสนใจกับการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นแบบ Cross Platform โดยใช้ HTML5 ในจำนวนถึง 50.56% อีกทั้ง ยังมี แนวโน้มการขยายตัวของการวางแผนงานด้านบุคลากรในการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นอย่างชัดเจนมากกว่าการขยายตัวใน Emerging Technology อื่นๆ และในกลุ่มของการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นมีความสนใจที่ขยายตัวด้าน iOS มากที่สุด สำหรับในแง่ของจำนวนบุคลากรผลการสำรวจจะออกมาในทำนองเดียวกับจำนวนบุคลากรทางด้านภาษา คอมพิวเตอร์ กล่าวคือองค์กรส่วนใหญรที่มีบุคลากรในการพัฒนาด้านโมบายแอพพลิเคชั่นจะมีบุคลากรทางด้านนี้น้อยกว่า 10 คนในปัจจุบัน และมีเพียงอย่างละ 1 องค์กรที่มีบุคลากรมากกว่า 20 คนในการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่น ด้าน iOS, Android และ HTML5 IMC Institute ผลการวิจัยเชิงสำรวจ “Emerging Technology: Thai IT Professional Readiness Survey” 6
  • 7. จำนวนกลุ่มตัวอย่าง จำแนกตามบุคลากรด้านการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นต่างๆ ที่มีอยู่ในองค์กรในปัจจุบัน แนวโน้มการวางแผนงานบุคลากรด้านการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นต่างๆ ในอนาคต Cloud Computing Technology ในปัจจุบัน คลาวด์คอมพิวติ้งเทคโนโลยี (Cloud Computing Technology) ถือเป็นเทคโนโลยีที่กำลังเป็นที่สนใจกัน อย่างกว้างขวางนักในกลุ่มบริษัท / หน่วยงานไทย แต่เมื่อมีการสำรวจแนวโน้มการพัฒนาซอฟต์แวร์บน Cloud Platform ก็ยัง จัดว่ามีสัดส่วนที่ค้อนข้างน้อย โดยแพลตฟอร์มที่หน่วยงาน/บริษัทมีบุคลากรที่มีทักษะในการพัฒนามากที่สุดคือ Google App IMC Institute ผลการวิจัยเชิงสำรวจ “Emerging Technology: Thai IT Professional Readiness Survey” 7
  • 8. Engine เพียง 22.47% และ Microsoft Azure จำนวน 19.10% ตามมาด้วย Amazon Web Services (13.48%) และ Heroku (5.62%) โดยพบว่าองค์กรต่างๆจะมีบุคลากรที่พัฒนาซอฟต์แวร์บน Cloud Computing น้อยกว่า 10 คน นอกจากนี้กลุ่ม ตัวอย่างส่วนใหญ่ยังไม่มีการกำหนดแผนงานในการขยายบุคลากรในการพัฒนาซอฟต์แวร์บคลาวด์คอมพิวติ้งเทคโนโลยีอย่าง ชัดเจนนัก และพบว่าความต้องการที่จะเพิ่มบุคลากรยังมีน้อยมากเมื่อเทียบกับความด้องการบุคลากรในการพัฒนาซอฟต์แวร์ ทางด้านเทคโนโลยีก่อกำเนิดอื่นๆ จำนวนกลุ่มตัวอย่าง จำแนกตามบุคลากรด้านการพัฒนาคลาวด์คอมพิวติ้งบนแพลตฟอร์มต่างๆ ที่มีอยู่ในองค์กรใน ปัจจุบัน แนวโน้มการวางแผนงานบุคลากรด้านการพัฒนาคลาวด์คอมพิวติ้งบนแพลตฟอร์มต่างๆในอนาคต IMC Institute ผลการวิจัยเชิงสำรวจ “Emerging Technology: Thai IT Professional Readiness Survey” 8
  • 9. Other Emerging Technology นอกจากนี้นยังทำการสำรวจทักษะของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาบนเทคโนโลยีก่อกำเนิด (Emerging Technology) อื่นๆ ที่อยู่ในความสนใจของบริษัท / หน่วยงานไทย โดยผลการสำรวจพบว่าองค์กรจะมีบุคลากรที่พัฒนาทาง ด้าน Business Intelligence (BI) มากที่สุด โดยในปัจจุบันมีองค์กรที่มีบุคลากรทางด้านนี้อยู่ถึง 58.42% ตามมาด้วย Facebook Application Development (33.71%), noSQL (21.35%) และ Big Data (17.98%) ทั้งนี้ ความต้องการบุคลากร ที่มีทักษะด้านเทคโนโลยีก่อกำเนิดเหล่านี้ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอนาคตอีกด้วย อย่างไรก็ตามกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ยังไม่มี การกำหนดแผนงานในหัวข้อนี้อย่างชัดเจนนัก จำนวนกลุ่มตัวอย่าง จำแนกตามบุคลากรทางด้านเทคโนโลยีก่อกำเนิดอื่นๆ ที่มีอยู่ในองค์กรในปัจจุบัน แนวโน้มการวางแผนงานบุคลากรด้านเทคโนโลยีก่อกำเนิดอื่นๆ ในอนาคต IMC Institute ผลการวิจัยเชิงสำรวจ “Emerging Technology: Thai IT Professional Readiness Survey” 9
  • 10. ทัศนคติที่มีต่อความสำคัญของเทคโนโลยีก่อกำเนิดต่างๆ ทีมงานยังได้สำรวจทางด้านการให้ความสำคัญของเทคโนโลยีก่อกำเนิดของหน่วยงาน/บริษัทต่างๆ จากผลการ สำรวจพบว่า ค่าเฉลี่ยของทัศนคติที่กลุ่มตัวอย่างโดยรวมที่มีต่อความสำคัญของเทคโนโลยีก่อกำเนิดต่างๆ ด้วยการวัดค่าจาก มาตรวัดคะแนน 5 ระดับ (5-Point Rating Scale) นั้น กลุ่มตัวอย่างเห็นความสำคัญของการพัฒนาซอฟต์แวร์เทคโนโลยีด้าน Mobile Application (3.80 คะแนน) สูงที่สุด ตามมาด้วย Business Intelligence / Big Data (3.58 คะแนน), Cloud Computing (3.57 คะแนน) และ Social Media (2.97 คะแนน) ตามลำดับ ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มอุตสาหกรรม ไอที และกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆ พบว่าแผนกไอทีในกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆจะให้ความสำคัญในเทคโนโลยีด้าน Business Intelligence / Big Data และ Social Media มากกว่าในกลุ่มอุตสาหกรรมไอที ทัศนคติที่มีต่อความสำคัญของเทคโนโลยีก่อกำเนิดด้านต่างๆ ของกลุ่มตัวอย่างโดยรวม ทัศนคติที่มีต่อความสำคัญของเทคโนโลยีก่อกำเนิดด้านต่างๆ เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มตัวอย่างในกลุ่มอุตสาหกรรม ไอที และกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆ IMC Institute ผลการวิจัยเชิงสำรวจ “Emerging Technology: Thai IT Professional Readiness Survey” 10
  • 11. เหตุผลที่ต้องการพัฒนาเทคโนโลยีก่อกำเนิด ทั้งนี้เหตุผลหลักที่กลุ่มตัวอย่างต้องการพัฒนาเทคโนโลยีก่อกำเนิด (Emerging Technology) ต่างๆ ภายในองค์กร นั้น พบว่ามีสาเหตุเนื่องจากต้องการสร้างโอกาสทางธุรกิจ และต้องการก้าวให้ทันเทคโนโลยีอยู่เสมอ โดยมีผู้ตอบเป็นจำนวน เท่ากันคือ 78.65% ตามมาด้วยความต้องการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ (60.67%) และมีความพร้อมของบุคลากรอยู่แล้ว (28.09%) นอกจากนี้ ยังมีผู้ให้เหตุผลอื่นๆ อีกด้วย อาทิ ต้องการลดต้นทุนการบริหารงาน, ดำเนินการตามนโยบายภาครัฐ, ดำเนินการตามข้อกำหนดของลูกค้า เป็นต้น เหตุผลที่ต้องการพัฒนาเทคโนโลยีก่อกำเนิดในองค์กร ปัญหาในการพัฒนาเทคโนโลยีก่อกำเนิด ปัญหาสำคัญที่กลุ่มตัวอย่างแสดงความคิดเห็นเอาไว้เป็นจำนวนมากที่สุดอย่างโดดเด่นคือ การขาดแคลนบุคลากรที่ มีทักษะความสามารถเกี่ยวกับเทคโนโลยีก่อกำเนิด ซึ่งมีจำนวนผู้ตอบถึง 76.40% ตามมาด้วยปัญหาการขาดแคลนแหล่ง ความรู้ / การฝึกอบรม (49.44%), ขาดงบประมาณ (42.70%), เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจนไม่สามารถก้าวตามได้ ทัน (31.46%), ขาดการสนับสนุนจากภาครัฐ (25.84%), ยังมองไม่เห็นโอกาสทางการตลาด (16.85%) ตามลำดับ ทั้งนี้ กลุ่ม ตัวอย่างยังได้มีการระบุถึงปัญหาอื่นๆ อีกบ้าง อาทิ ผู้บริหารไม่เข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีจึงไม่ได้รับการสนับสนุน หรือลูกค้าไม่ ได้ให้ความสนใจกับเทคโลยี เป็นต้น IMC Institute ผลการวิจัยเชิงสำรวจ “Emerging Technology: Thai IT Professional Readiness Survey” 11
  • 12. ปัญหาที่พบในการพัฒนาเทคโนโลยีก่อกำเนิด ทัศนคติที่มีต่อแหล่งการจัดหาบุคลากรด้านเทคโนโลยีก่อกำเนิด ในการจัดหาหรือพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีก่อกำเนิดนั้น จากผลการสำรวจด้วยวิธีการวัดค่าจากมาตรวัด คะแนน 5 ระดับ (5-Point Rating Scale) พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดว่าการพัฒนาบุคลากรไอทีที่มีอยู่เดิมในองค์กรให้มี ทักษะความสามารถเพิ่มขึ้นนั้นเป็นวิธีการที่ดีที่สุด (3.31 คะแนน) ตามมาด้วยการจัดหาบุคลากรใหม่ด้วยตนเอง (3.22 คะแนน), การรับสมัครบุคลากรผ่านทางมหาวิทยาลัย (2.72 คะแนน) และการใช้บริการตัวแทนจัดหาบุคลากร (2.07 คะแนน) ตามลำดับ ทัศนคติที่มีต่อแหล่งการจัดหาและพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีก่อกำเนิด IMC Institute ผลการวิจัยเชิงสำรวจ “Emerging Technology: Thai IT Professional Readiness Survey” 12
  • 13. ข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีก่อกำเนิด ในการสำรวจครั้งนี้ ยังได้เปิดโอกาสให้กลุ่มตัวอย่างสามารถแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับ การพัฒนาบุคลกรด้านเทคโนโลยีก่อกำเนิด (Emerging Technology) ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเสนอแนะไปในทิศทางเดียวกัน นั่น คือ ต้องการเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ และได้รับการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการอย่างเหมาะสม เนื่องจากในปัจจุบันนี้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีก่อกำเนิดของบุคลากรไทยยังมีความคลาดเคลื่อนจากสิ่งที่เป็นจริงอยู่มาก ดังนั้น จึงควรจะมี การปูพื้นฐานอย่างจริงจังตั้งแต่การศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย และภาครัฐควรจะเข้ามามีส่วนร่วมในการให้ความสนับสนุน ผลักดันอย่างเป็นรูปธรรม เช่น การกำหนดมาตรฐาน หรือการจัดตั้งหน่วยงานเพื่อการค้นคว้าวิจัย เป็นต้น นอกจากนี้ ยังควร จะมีการจัดตั้งกลุ่มหรือชุมชนเพื่อเป็นศูนย์รวมการแลกเปลี่ยน แบ่งปัน และพัฒนาองค์ความรู้ระหว่างบุคลากรไอทีของไทยใน ด้านเทคโนโลยีก่อกำเนิดโดยตรงอีกด้วย บทสรุป จากการสำรวจบริษัท/หน่วยงานต่างๆต่อความพร้อมของบุคลากรทางด้านซอฟต์แวร์ในการพัฒนาเทคโนโลยีก่อ กำเนิดพบว่า องค์กรส่วนใหญ่จะมีบุคลากรทางด้านซอฟต์แวร์ไม่มากนัก และให้ความสำคัญกับการพัฒนาโปรแกรม คอมพิวเตอร์ภาษา PHP, Java และ .NET อยู่ โดยองค์กรต่างๆเริ่มมีแผนงานที่ชัดเจนขึ้นในการพัฒนาโมบายแอปพลิเคชั่น โดยให้ความสำคัญการพัฒนาบนแพลตฟอร์มที่หลากหลายทั้ง iOS, Android และ Windows และมีแนวโน้มที่จะให้ความ สำคัญกับ HTML5 มากขึ้น แต่เมื่อพืจารณาความพร้อมขององค์กรในการพัฒนาเทคโนโลยีก่อกำเนิดด้านอื่นๆจะเห็นว่า องค์กรส่วนใหญ่ยังไม่มีแผนงานที่ชัดเจน ถ้าจะความสนใจบ้างก็จะเป็นทางด้าน Business Intelligence แต่สำหรับความ พร้อมของบุคลากรในการพัฒนาซอฟต์แวร์บน Cloud Computing ยังมีค่อนข้างน้อย ซึ่งเหตุผลหลักที่องค์กรต่างๆมาให้ความ สนใจทางด้านเทคโนโลยีก่อกำเนิดก็เป็นเพราะเห็นโอกาสทางธุรกิจและต้องการก้าวให้ทันกับเทคโนโลยี แต่ก็มีอุปสรรคในการ ที่จะหาบุคลากรทางด้านนี้ IMC Institute ผลการวิจัยเชิงสำรวจ “Emerging Technology: Thai IT Professional Readiness Survey” 13