SlideShare a Scribd company logo
1 of 15
Download to read offline
รักประชาชนรักหมออนามัย E-Book 
วารสารหมออนามัย ปีที่ ๒๒ ฉบับที่ ๖ พฤษภาคม - มิถุนายน ๒๕๕๗ ISBN ๐๘๕๘-๒๙๑๒ 
หมออนามัย : 
ครูแห่งระบบสุขภาพในบริบทไทย
7. นวัตกรรมอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ 
เพื่อสุขภาพ กับ การพัฒนางานสาธารณสุข 
5. หมออนามัยต้องยึดประโยชน์ประชาชน 
เป็นหลัก 
12. วัณโรคหายได้ 
อาศัยชุมชนมีส่วนร่วม 
13. ผลการประกวด สสอ./รพ.สต.ดีเด่น 
ปี 2557 
ประเทศไทยอยู่ในระหว่างช่วง “เปลี่ยนผ่าน” ไม่ว่า จะเป็นกระแสการปฏิรูปของรัฐบาลใหม่ที่กำ�ลังก่อตัว, กระแส AEC ที่กำ�ลังจะมาถึงในอีก 1 ปีเศษนี้ กระแสโลกาภิวัฒน์ที่ เศรษฐกิจโลกกำ�ลังกวัดแกว่ง ไปจนถึงการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งต้องการค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพเป็นจำ�นวนมากมารองรับ... 
หมออนามัย มีความจำ�เป็นต้องมีความ “ใส่ใจ” และ “ตื่นตัว” พร้อมที่จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ซึ่งที่เห็น เป็นรูปธรรมชัดเจนคือ เทคโนโลยี่ใหม่ ๆ ด้านสุขภาพ การต้อง มีส่วนในการดูแลการเจ็บป่วยของคนต่างชาติ, ผลกระทบจาก การท่องเที่ยว, โรคอุบัติใหม่ (เช่น EBORA) และผลกระทบจาก ปัจจัยทางสังคมที่มีผลต่อสุขภาพ (Social Determinant of Health) 
ในฉบับนี้เราได้รับเกียรติจาก อาจารย์นายแพทย์ สุรเกียรติ อาชานานุภาพ ผู้ที่มีคุณูปการและให้ความสำ�คัญ ต่อการพัฒนาวิชาการให้กับหมออนามัยมาโดยตลอด สื่อสาร ให้กำ�ลังใจกับชาวหมออนามัย อีกท่านหนึ่ง คือ คุณสำ�เริง จงกล ประธานชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทย ที่จะได้มี ข้อคิดและข้อฝากให้กับชาวหมออนามัย รวมทั้งผลการประกวด สาธารณสุขอำ�เภอ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำ�บล (รพ.สต.) ดีเด่นของประเทศ 
....พบกันใหม่ในฉบับหน้า หวังใจว่าทุกท่านคงสบายดี..... 
หมออนามัย 2 
3. หมออนามัย ครูแห่งระบบสุขภาพในบริบทไทย 
Editor’Talk 
นพ.วีระวัฒน์ พันธ์ครุฑ 
.....เปลี่ยนผ่าน....
หมออนามัย 3 
มองผ่านเลนส์ (ส.ค.๕๗) 
“ผมขอส่งความขอบคุณผ่านไปยังหมออนามัย 
ที่ทำ�ให้ผมได้สร้างสรรค์ตำ�ราการตรวจ 
รักษาโรคทั่วไปมาตั้งแต่ปี ๒๕๑๙ จวบมาจนทุกวันนี้ ....” 
ผมกล่าวคำ�นี้ต่อผู้เข้าอบรมท่านหนึ่งใน “โครงการ Smart 
PM (project managers)” ของสำ�นักงานหลักประกันสุขภาพแห่ง 
ชาติ (สปสช.) ซึ่งจัดขึ้นที่โรงแรมรอยัลฮิลล์ฯ นครนายก เมื่อ ๖ – 
๘ ส.ค.ที่ผ่านมานี้ โดยถือว่าเขาเป็นตัวแทนหมออนามัย (บุคลากร 
สาธารณสุขที่สถานีอนามัย/รพ.สต.) ในฐานะที่เขาเคยทำ�งานใน 
บทบาทนั้นมาก่อนที่จะย้ายมาทำ�งานที่ สปสช. 
การกล่าว “ชื่นชม ขอบคุณ ขอโทษ” จัดขึ้นในช่วงท้าย 
ของการอบรม หลังจากที่ได้ผ่านกระบวนการเปิดใจและสร้างความ 
สนิทสนมกันมาแล้ว เมื่อคนหนึ่งรับคำ�กล่าว “ชื่นชม ขอบคุณ หรือ 
ขอโทษ” จากสมาชิกคนหนึ่งของที่ประชุมเสร็จ ก็ต้องเดินไปหา 
สมาชิกอีกคนเพื่อแสดงออกในแบบเดียวกัน กติกาย้ำ�ว่า ทุกคนจะ 
ต้องแสดงออกจากใจจริง จึงเกิดบรรยากาศที่เต็มไปด้วยความรู้สึก 
ซาบซึ้ง ตื้นตัน อบอวลด้วยมิติทางจิตวิญญาณ 
เมื่อถึงคิวผม ผมฉุกคิดถึงบุญคุณของหมออนามัยขึ้นมา 
ทันที แล้วเดินไปหาสมาชิกท่านนั้น ตอนอยู่ต่อหน้าเขา ผมรู้สึก 
มีอะไรมาจุกคอหอยด้วยความรู้สึกตื้นตันใจ และกล่าวคำ�ได้ไม่กี่ 
ประโยค ไม่สามารถสะท้อนความรู้สึกในใจผมออกมาได้ครบถ้วน 
เมื่อกลับมาทบทวนว่าทำ�ไมผมจึงมีความรู้สึกเช่นนั้น ก็ 
ตอบตัวเองว่า เป็นเพราะผมรู้สึกว่าหมออนามัยมีบุญคุณต่อผมมา 
ตลอดตั้งแต่ผมจบเป็นแพทย์เมื่อกว่า ๔ ทศวรรษนั่นเอง 
ผมเกี่ยวข้องกับหมออนามัยตั้งแต่ไปทำ�งานใช้ทุนเป็น 
แพทย์ประจำ�ที่อำ�เภอโกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม (ปี๒๕๑๕) ที่ 
บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา (ปี๒๕๑๖ – ๑๙) เรื่อยมาถึง 
หมออนามัย : 
ครูแห่งระบบสุขภาพในบริบทไทย 
การพานักศึกษาไปฝึกปฏิบัติ เรียนรู้วิชาเวชศาสตร์ชุมชนในชนบท 
เมื่อมาเป็นอาจารย์ที่คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี (ปี๒๕๒๑- 
๒๕๕๐) และมีบทบาทในการพัฒนาระบบสุขภาพระดับอำ�เภอ 
เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน 
ผมมองเห็นว่า จากประสบการณ์ในการเกี่ยวข้องสัมพันธ์ 
กับหมออนามัยมายาวนานนั้น ตัวผมเองได้เรียนรู้และเติบโตบน 
เส้นทางการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน ระบบบริการปฐมภูมิ และ 
ระบบสุขภาพระดับอำ�เภอ มาเป็นลำ�ดับ จนเป็นตัวผม (องค์ความ 
รู้ ความคิด ชีวิต และการงาน) ในปัจจุบัน 
เริ่มตั้งแต่แรกที่มองเห็นบทบาทการรักษาโรคเบื้องต้น 
(เพิ่มเติมจากงานส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค)ของหมอ 
อนามัยซึ่งเป็นหมอที่ใกล้ชิดกับชุมชนมากที่สุด จึงได้จัดโครงการ 
ฟื้นฟูความรู้ด้านนี้แก่หมออนามัยที่บางปะอิน และได้กลายเป็น 
ที่มาของการสร้างสรรค์ตำ�ราการตรวจรักษาโรคทั่วไป ซึ่งเป็น 
คู่มือสำ�หรับบุคลากรทุกสาขาที่ทำ�งานด้านบริการปฐมภูมิ 
ต่อมา จากประสบการณ์ที่คลุกคลีกับหมออนามัย ผมได้ 
เห็นหมออนามัยมีความเข้าใจและเข้าถึงประชาชน (โดยเฉพาะผู้ 
ด้อยโอกาส คนสูงอายุ คนพิการ และคนยากจน) ให้บริการแบบ 
องค์รวม (ครอบคลุมมิติทางกาย จิต และสังคม) ผสมผสาน 
(ส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และการ 
ฟื้นฟูสภาพ) และต่อเนื่อง สำ�หรับประชาชนทุกกลุ่มวัยในพื้นที่ 
รับผิดชอบ ทำ�หน้าที่เป็นหมอประจำ�ตัว ครอบครัว และชุมชน 
ทั้งหมดนี้ทำ�ให้ผมเข้าใจแนวคิดและหลักการการจัดระบบ 
บริการปฐม 
รศ.นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ
หมออนามัย 4 
ยิ่งกว่านั้น ผมได้เห็นบทบาทของหมออนามัยที่ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายในชุมชน (อปท. ผู้นำ�ทางการและผู้นำ�ธรรมชาติ ครู พระ อสม. จิตอาสา ครอบครัว และประชาชน) ในการพัฒนา ระบบสุขภาพชุมชน ผ่านโครงการจัดการปัญหาสุขภาพชุมชน ต่างๆ และเมื่อประสานเป็นเนื้อเดียวกันกับทีมสหวิชาชีพของโรง พยาบาล ก็ก่อให้เกิดคุณูปการต่อการพัฒนาสุขภาวะของประชาชน ทุกกลุ่มเป้าหมาย จนเกิดผลลัพธ์ที่ดี นี่คือพื้นฐานของแนวคิด และยุทธศาสตร์“ระบบสุขภาพระดับอำ�เภอ (district health system /DHS)” อันกลายเป็นนโยบายสำ�คัญหนึ่งของกระทรวง สาธารณสุขในปัจจุบัน 
ผมได้เรียนรู้ความหมายของคำ�ว่า “การทำ�งานเป็นยาใจ” จากหมออนามัยที่ทำ�งานในชุมชน จากการคลุกคลีใกล้ชิดกับ ชุมชน พวกเขาสามารถเรียนรู้วิถีชีวิต วัฒนธรรม ภูมิปัญญา และการดำ�เนินชีวิตแบบพอเพียงและมีคุณค่าของประชาชน จน กลายเป็นความรู้จากการปฏิบัติ (practice knowledge / tacit knowledge) ซึ่งทำ�ให้พวกเขาเกิดการปรับเปลี่ยนระบบคิด มุม มอง และกระบวนการทำ�งาน จนสามารถจัดการกับปัญหาใน ชุมชนได้สอดคล้องกับบริบทที่เป็นจริง หมออนามัยกลุ่มหนึ่ง (คุณ แทนนิตย์ นาใจ และเพื่อนๆที่จังหวัดเชียงราย) ได้ถือเอาการทำ�งาน เป็นโอกาสในการพัฒนาตนให้มีคุณค่าและความสุข จึงได้สร้าง วาทกรรม “การทำ�งานเป็นยาใจ” ซึ่งผมได้นำ�มาเผยแพร่ในช่วง ที่ผ่านมา 
อีกเรื่องหนึ่งที่ผมได้เรียนรู้ ก็คือ “การเรียนรู้แบบมีส่วน ร่วม (participatory learning)” ซึ่งเกิดมาจากการค้นหาวิธีส่ง เสริมการเรียนรู้ของหมออนามัย เริ่มต้นจากการพัฒนาความรู้ด้าน การรักษาโรคแก่หมออนามัย ครั้งแรกสุด คือการสอนนักศึกษา พนักงานอนามัยที่ส่งมาฝึกปฏิบัติกับผมที่โกสุมพิสัย และต่อมาจัด ทำ�โครงการฟื้นฟูความรู้ด้านนี้ของบุคลากรสาธารณสุขของสถานี อนามัยที่บางปะอิน ตอนนั้นเริ่มจากการวิเคราะห์ว่าพวกเขาควร มีสมรรถนะในการรักษาพยาบาลแก่ประชาชนในชุมชนอะไรบ้าง แล้วกำ�หนดเนื้อหาการสอน โดยเน้นการปฏิบัตินำ�ทฤษฎี (learning by doing) กล่าวคือ เริ่มด้วยการให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ จริง (จากการทดลองฝึกปฏิบัติ โดยมีคู่มือการเรียนให้ศึกษาเอง ประกอบ) แล้วนำ�มาพูดคุยแลกเปลี่ยนในกลุ่มกับผู้ที่เป็นครู เพื่อเสริมแนวคิด ทฤษฎี และวิชาการ แล้วจึงนำ�ไปประยุกต์ใน การปฏิบัติอีกรอบหนึ่ง ปรากฏว่าวิธีนี้สามารถส่งเสริมให้พวกเขา ทำ�งานด้านนี้ได้ดี 
ผมได้นำ�การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมนี้มาใช้สอนนักศึกษา และบุคลากรเรื่อยมาตลอดชีวิตของความเป็นครู และได้พัฒนา ต่อยอด สอดคล้องกับสิ่งที่เรียกว่า “การเรียนโดยใช้บริบทเป็น ฐาน (context-based learning / CBL)” และ “กระบวนการ ร่วมคิด ร่วมทำ� ร่วมเรียนรู้ (participatory interactive learning through action /PILA)” ซึ่งได้นำ�มาใช้ในโครงการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์หลายโครงการในปัจจุบัน ที่ผมมีส่วนร่วม 
สิ่งที่น่าสนใจอีกเรื่องหนึ่ง ก็คือ ผมมองเห็นว่าหลักสูตร การผลิตหมออนามัยในยุคก่อน (เรียน ๒ ปี) นั้นได้ใช้กระบวนการ เรียนรู้แบบมีส่วนร่วมดังกล่าว โดยแต่ละปีจะเรียนทฤษฎี ๖ เดือน ฝึกปฏิบัติในระบบงานและชุมชนที่เป็นจริง ๖ เดือน จบแล้วพวก เขาสามารถทำ�งานในสถานีอนามัยและในชุมชนได้อย่างมีคุณภาพ และเรียนรู้เพิ่มเติมจากการทำ�งานจริง เกิดปัญญาจากการปฏิบัติ (จนมีคนจำ�นวนไม่น้อยกลายเป็นคนทำ�งานที่โดดเด่น) และ สามารถเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้นไป จนบางคนจบปริญญาเอกและ เป็นนักวิชาการที่โดดเด่น ต่างจากหลักสูตรในปัจจุบันที่เพิ่มเป็น ๔ ปี แต่เน้นทฤษฎีในห้องเรียนมากกว่าการปฏิบัติ ทำ�ให้จบออก มาทำ�งานโดยเข้าไม่ถึงบริบทจริง รวมทั้งขาดเจตคติและทักษะ ในการทำ�งานในชุมชน นี้สะท้อนถึงความจริงที่ว่า “ปัญญารู้ได้ ด้วยการสนทนา” แต่ “ปัญญาย่อมเกิดเพราะใช้การ” 
ทั้งหมดนี้ นับว่าเป็นบทเรียนที่มีค่าของผมจากการ เกี่ยวข้องกับหมออนามัยมาตลอดชีวิตของการเป็นแพทย์ จน ผมรู้สึกว่าหมออนามัยเป็นผู้ที่มีบุญคุณอันใหญ่หลวงยิ่งของผม
อนามัยมากกว่า 50,000 คนทั่วประเทศ ในการทำ�งานของ หมอนามัย จะมีเครือข่ายที่ให้ความร่วมมืออยู่หลายกลุ่ม อาทิ อสม. ที่ทำ�หน้าที่ช่วยประสานงานกับชาวบ้าน เจ้าหน้าที่ แพทย์ พยาบาล รพ.สต. เป็นหน่วย ให้ความรู้ทางด้านวิชาการ ท้องถิ่นสนับสนุน งบประมาณบางส่วน ทั้งนี้การทำ�งานของ หมออนามัยมุ่งเน้นไปที่การขับเคลื่อนด้าน สุขภาวะส่วนบุคคล สร้างองค์ความรู้ให้ แก่ประชาชนในพื้นที่ให้ตระหนักถึงการ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดโรค และเรียนรู้ที่จะปฏิบัติตนเองให้ ได้ประโยชน์ด้านสุขภาพ เป็นการทำ�งานตาม แนวทางสร้างเสริมสุข ภาพ แบบ”สร้างนำ� ซ่อม” 
ขณะเดียวกัน งบ ประมาณ ยังเป็น อุปสรรคที่สำ�คัญ ของการทำ�งาน 
หมออนามัย 5 
‘สำ�เริง จงกล’ 
แม้ว่า “สำ�เริง จงกล” จะทำ�งานด้านสาธารณสุขเป็น เวลาหลายทศวรรษมาแล้ว ผ่านร้อนผ่านหนาวมา มาก ประสบการณ์ที่มีทำ�ให้เขารู้ว่า การที่จะเป็นหมอ อนามัยที่ดีได้ ต้องมีความจริงจัง จริงใจ ยึดประโยชน์ ของประชาชนเป็นหลัก ตำ�แหน่ง หน้าที่ เป็นเพียง หัวโขนอันจอมปลอมวันหนึ่งได้มา สักวันหนึ่งก็ต้อง จากไป 
คุณสำ�เริง จงกล ประธานชมรม สาธารณสุขแห่งประเทศไทย กล่าวว่า กระแสข่าว เรื่องหมออนามัยหน้าจอ ตนยอมรับว่า ในปัจจุบัน เป็นเรื่องจริง ซึ่งคนทำ�งานในพื้นที่ต้องการที่ จะให้หมออนามัยทำ�งานด้านชุมชน เหมือนเดิมจนกลายเป็นคำ�กล่าว ที่ว่า “เอาหมอหน้าจอคืนไป เอาหมออนามัยคืนมา” ทั้งนี้ ในการปฏิบัติงานในพื้นที่ต้อง เป็นการทำ�งานเชิงรุก หากมัว แต่ทำ�งานเอกสาร งานภาค ประชาชนจะหายไป 
ในปัจจุบันมีหมอ 
ขอบคุณ http://www.hfocus.org/content/2014/07/7738 เอื้อเฟื้อข้อมูล 
ต้องยึดประโยชน์ประชาชนเป็นหลัก 
ที่ดี 
อนามัย 
หมอ
หมออนามัย 6 
ของหมออนามัย ตนมองว่าทุกวันนี้งบประมาณที่มี เป็นการ 
วางหรือให้ไว้ไม่ตรงจุด ในส่วนตัวมองว่างบการสร้างเสริมสุข 
ภาพควรจะแยกออกจากงบประมาณด้านการรักษาพยาบาล 
ซึ่งจะส่งผลดีต่อการขับเคลื่อนการทำ�งานของระดับปฏิบัติ 
การ ที่จะใช้งบประมาณด้านการสร้างเสริมสุขภาพได้ตรง 
วัตถุประสงค์ และคุ้มค่า สำ�หรับคนที่จะเข้ามาทำ�งาน 
เป็นหมออนามัยนั้น สิ่งที่จะต้องมีคือ ควรจะมีความจริงจัง 
และจริงใจต่อการทำ�งาน มองถึงประโยชน์ของประชาชน 
เป็นหลักมากกว่าประโยชน์ของตนเอง 
นอกจากนี้ คุณสำ�เริง ยังได้กล่าวถึงแนวทางการงาน 
ของตนเองว่า ตนจะคอยติดตามการทำ�งานของผู้ใต้บังคับ 
บัญชาอย่างใกล้ชิดที่สุด มีการให้ความดีความชอบ โดยยึด 
หลักความเป็นธรรม ซึ่งในการทำ�งานทุกอย่างจะต้องมีการให้ 
คุณและโทษ ในเวลาเดียวกันเราต้องพร้อมที่จะเป็นที่ปรึกษา 
รวมทั้งสนับสนุนการทำ�งานของผู้ร่วมงานทุกคน โดยจะไม่มี 
เรื่องของการเมืองมายุ่งเกี่ยว ซึ่งหากเราทำ�งานแบบไม่เลือก 
ข้าง เราจะไม่ได้รับผลกระทบเช่นกัน 
ทั้งนี้ เมื่อถามถึงปัญหาความขัดแย้งระหว่างกระทรวง 
สาธารณสุข กับ สำ�นักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 
ประธานชมรมสาธารณสุขฯ ระบุว่า ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นไม่ 
ค่อยมีผลกระทบต่อหมออนามัยมากนัก ขณะเดียวกันหมอ 
อนามัยส่วนมากจะไม่ค่อยมีการต่อต้านนโยบายของผู้บริหาร 
อะไรก็ตามที่เป็นนโยบายที่มีผลดีต่อประชาชนเราก็ควร 
จะทำ�ตาม 
ส่วนที่มีการเคลื่อนไหวของกลุ่มต่างๆ ที่มีทั้งเห็นและ 
ไม่เห็นด้วยนั้น ตนมองว่าอาจเป็นการสื่อสารที่คลาดเคลื่อน 
กัน ในสภาวะที่ไร้รอยต่อเช่นนี้ ทั้งสองหน่วยงานควรจะหัน 
หน้าปรึกษา เพื่อหาช่องทางเชื่อมกับการทำ�งานของพื้นที่ เพื่อ 
ให้การทำ�งานในพื้นที่ต่างๆขับเคลื่อนไปได้ ไม่มีสะดุด 
“อยากจะฝากไปถึงผู้บริหารทุกท่านว่า ควรจะลด 
ทิฐิลงบ้าง ให้คิดว่าสักวันหนึ่งเราก็ต้องไป ควรมีความไว้เนื้อ 
เชื่อใจกัน อย่าไปหลงกับหัวโขนที่ได้มา เพราะสิ่งเหล่านั้นคือ 
สิ่งจอมปลอม สักวันหนึ่งก็หลุดหายไป ทางที่ดีควรจะระดม 
ความคิดกัน เพื่อประโยชน์ของประชาชน ซึ่งตรงกับแนวทาง 
การดำ�เนินงานที่ว่า จะทำ�งานก็ทำ�ให้ถึงที่สุด เพื่อก่อให้เกิด 
ประโยชน์ต่อองค์กร และประชาชนมากที่สุดเช่นกัน ไม่ควร 
นึกถึงประโยชน์ของตนเองเป็นที่ตั้ง” คุณสำ�เริง กล่าว
หมออนามัย 7 
นายแพทย์ ชูชัย ศรชำ�นิ 
สำ�นักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 
ระบบบริการสุขภาพที่เข้าถึงง่าย ไม่เป็นภาระค่าใช้จ่าย มี คุณภาพอันเป็นที่มั่นใจของประชาชน และ ระบบการ สาธารณสุขที่สามารถเฝ้าระวังโรค ควบคุมป้องกันสิ่งแวดล้อมและ ติดตามปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพของประชาชนที่ทันท่วงที รวดเร็ว ถูก ต้อง นับว่าเป็นปัญหาสิ่งท้าทายอย่างยิ่ง ต่อนักพัฒนาระบบการ สาธารณสุขสิ่งแวดล้อมและนักพัฒนาระบบบริการสุขภาพ 
ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมยุคทุนนิยมโลกาภิวัต น์ เรื่องเกี่ยวกับสุขภาพอันเนื่องจากปัจจัยทางสังคม (Social determinant of health) มีความเหลื่อมล้ำ� และผลกระทบต่อสุข ภาวะของประชาชนมักเกิดแก่บุคคลที่มีรายได้ปานกลาง รายได้ น้อย ด้อยโอกาสและที่อยู่ห่างไกล คนในสังคมที่มีรายได้ปานกลาง รายได้น้อยจำ�นวนมากไม่สามารถเข้ารับบริการสาธารณสุขที่มี คุณภาพ และไม่ได้รับการแจ้งเตือนที่ดีทันท่วงทีตามความต้องการ ด้านสุขภาพที่จำ�เป็นอันเนื่องจากอุปสรรคขัดขวางเรื่องค่าใช้จ่าย และข้อจำ�กัดของอุปทานด้านบริการสุขภาพ 
เทคโนโลยีการสื่อสารที่ใช้อุปกรณ์พกพาเคลื่อนที่ (Mobile technology) ที่มีพัฒนาการอย่างรวดเร็วในห้วง 15 ปีมานี้ ทั้งเครือข่ายการสื่อสาร ซอฟท์แวร์ โปรแกรมประยุกต์ และอุปกรณ์พกพา นับว่าเป็นการเปิดขอบฟ้าใหม่แห่งการแก้ ปัญหาท้าทายของความเสมอภาค (Equity) คุณภาพ (Quality) ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล (Efficiency) และความรับผิดชอบ สุขภาพร่วมกันของสังคม (Social accountability)1 
ด้วยการใช้ซอฟท์แวร์หรือโปรแกรมประยุกต์เกี่ยวกับ สุขภาพ (Mobile health applications) หรือตัวรับสัญญาณ (Sensors) เครื่องมือทางการแพทย์ที่สามารถส่งผ่านสัญญาณทาง ไกลผ่านอุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ (Medical devices) เครื่อง มื่อสื่อสารควบคุมความเสี่ยงคนไข้ในระยะไกล (Remote patient monitoring) และ ระบบการติดตามพฤติกรรมและสถานการณ์ ระบาดวิทยาของโรค หรืออุบัติภัย (Behavioral Risk Factor Surveillance System) 2ด้วยการใช้เทคโนโลยีต่างๆ ข้างต้น ทำ�ให้ ผู้คนสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพ คำ�แนะนำ�ด้านสุขภาพ หมอแม้ ไกลบ้านแต่ใกล้ใจ ในค่าใช้จ่ายที่ต่ำ�ลง นอกจากนั้นนักวิชาชีพด้าน การสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานด้านการเฝ้าระวังโรค สอบสวนโรค จัดการสภาพแวดล้อมเพื่อป้องกันภาวะคุกคามได้ง่ายขึ้น ทันท่วงที 
นวัตกรรม 
อุปกรณ์สื่อสาร 
เคลื่อนที่ 
เพื่อสุขภาพ กับ 
การพัฒนางาน 
สาธารณสุข
หมออนามัย 8 
และเป็นเครื่องมือรับผิดชอบสุขภาพร่วมกันกับสมาชิกในสังคมได้ โดยผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่และการสื่อสารไร้สาย 
ความหมายของการใช้อุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่เพื่อสุขภาพ 
การใช้อุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่เพื่อสุขภาพ (mHealth or mobile health) เป็นองค์ประกอบหนึ่งของการจัดการสุขภา พอิเลคโทรนิคส์ (eHealth) ที่บุคลากรทางการแพทย์ และวิชาชีพ ด้านการสาธารณสุข ใช้อุปกรณ์สื่อสารที่เคลื่อนที่ได้ เช่น โทรศัพท์ เคลื่อนที่ อุปกรณ์สื่อสารควบคุมกำ�กับความเสี่ยงคนไข้ทางไกล เครื่องคอมพิวเตอร์แทบเบลต และอุปกรณ์ไร้สายอื่นๆ สื่อสารกัน ด้วยเสียง ภาพ ข้อมูล ข้อความสั้น (SMS) คลื่นวิทยุความถี่สัญญา นความเร็วสูง (GPRS) ระบบการสื่อสารข้อมูลทางไกลรุ่นที่ 3, 4 (3G and 4G systems) ระบบระบุตำ�แหน่งบนพื้นโลก (GPS), และเทคโนโลยี Bluetooth 
กระแสความนิยมของ Mobile Devices ในสังคมโลกและ สังคมไทย 
ความนิยมใช้อุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ (Mobile Devices) ที่มีมากขึ้น เปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต การทำ�งาน และการใช้บริการ สุขภาพ อุปกรณ์เหล่านี้ไม่จำ�กัดเฉพาะ แลปทอป สมาร์ตโฟน และ แท็บเล็ต แต่รวมถึง Wearable Tech เทคโนโลยีสำ�หรับสวมใส่รูป แบบต่างๆ ที่จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น 
การวิเคราะห์ข้อมูลระดับโลก พบว่าในอีก 4 ปีข้างหน้า อัตราการเติบโตของกลุ่มสมาร์ตโฟน และแท็บเล็ตทั่วโลกจะสูงถึง 66% ต่อปี ในขณะที่จำ�นวนเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีมีอัตราหดตัว ลง -7%3 สำ�หรับภูมิภาคเอเซียแปซิฟิกเองก็มีทิศทางที่สอดคล้อง กับแนวโน้มนี้ด้วยเช่นกัน โดยในไตรมาสที่ 3 ของปีที่ผ่านมายอด ขายโดยรวมของเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีลดลงอย่างต่อเนื่องถึง 12% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว สวนทางกับตลาด Mobile Devices ที่โตขึ้น อย่างรวดเร็ว โดยมีการคาดการณ์ว่าจะมีอัตราเติบโตโดยเฉลี่ยปีละ 27% ในอีก 4 ปีข้างหน้า 
ข้อมูลในประเทศไทยเกี่ยวกับ การใช้งาน เฉพาะกรณี การใช้โทรศัพท์มือถือ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2556 พบว่าจำ�นวนผู้ ใช้งานโทรศัพท์มือถือ (Mobile Subscribers) จากการรายงาน ยอดผู้ใช้บริการมือถือโดยนับเฉพาะผู้ให้บริการหลักทั้ง 3 รายใหญ่ ของประเทศไทย ได้แก่ AIS, dtac และ TrueMove ในช่วงสิ้นปี 2556 นั้นยอดผู้ใช้งานรวมทั้งสิ้น 88.9 ล้านคน และ มียอดผู้ใช้ งานอินเตอร์เน็ตผ่านมือถือ จนถึงสิ้นปี 2013 ยอด 36.4 ล้านคน ส่วนยอดผู้ใช้มือถือประเภทสมาร์ทโฟนนั้นทั้ง 3 ผู้ให้บริการหลัก AIS, dtac, TrueMove มีการรายงานออกมาดังข้อมูลด้านล่างนี้ ซึ่งพบว่าเฉลี่ยแล้วคนไทยน่าจะใช้สมาร์ทโฟนราว 25% ของมือถือ ทั้งหมด (Smartphone + Feature phone) 4 
ภาพที่ 1 ยอดผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือในประเทศไทยเกินกว่ายอด ประชากรในประเทศคิดเป็น 120 % ประชากร 
การประยุกต์ใช้อุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่เพื่อบริการทางการ แพทย์ และ การขยายงานด้านสาธารณสุข5 
การศึกษา World Health Organization’s (WHO) Global Observatory for eHealth (GOe) ที่รายงานเมื่อ 2554 ในประเทศสมาชิก ที่เข้าร่วมการสำ�รวจ 114 ประเทศสมาชิก องค์การอนามัยโลก พบว่า ได้มีการประยุกต์ใช้ mHealth แบ่งได้ เป็น 6 กลุ่มการใช้ประโยชน์คือ 
1. ใช้สื่อสารระหว่างบุคคล กับ สถานบริการหรือผู้ให้ บริการ 
2. สื่อสารจากผู้ให้บริการ สู่บุคคล 
3. ใช้ปรึกษากันระหว่างวิชาชีพด้านการแพทย์ และ สาธารณสุข 
4. สื่อสารระหว่างหน่วยงานกรณีฉุกเฉิน 
5. การควบคุมกำ�กับสถานะสุขภาพและเฝ้าระวังความ เสี่ยงด้านสุขภาพ 
6. ช่วยในการเข้าถึงข้อมูลสุขภาพสำ�หรับบุคลากรวิชาชีพ ด้านสุขภาพ ณ จุดบริการ 
โปรแกรมประยุกต์ที่ใช้ในอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่เพื่อ สุขภาพ (Mobile health applications) สามารถช่วยในการฝึก อบรม ถ่ายทอดประสบการณ์ระหว่างบุคลาการสาธารณสุขและ ทีมสหสาขาวิชาชีพ และอาสาสมัครในพื้นที่, 
การจัดการโรคเรื้อรัง6, การควบคุมกำ�กับข้อมูลตัวเลข ความเสี่ยงของคนไข้ เช่น คนไข้โรคหัวใจที่อยู่นอกโรงพยาบาล7
หมออนามัย 9 
ผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียว, ใช้วัดความดันเลือด , วัดปริมาณแคลอรี่ ในรายที่มีโรคอ้วน , ช่วยคำ�นวณส่วนประกอบและปริมาณอาหาร ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง , เตือนการจ่ายยาและใช้ยาอย่างปลอดภัย, แจ้งการนัดหมาย, ให้คำ�ปรึกษาทางการแพทย์กรณีต้องการ ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ8, บอกตำ�แหน่งของที่เกิดเหตุฉุกเฉิน และบริการทางการแพทย์ที่อยู่ใกล้ที่สุด, แจ้งเหตุภัยคุกคามต่อ สุขภาพและการสาธารณสุขที่ใกล้เวลาจริง (Near real-time) ไม่ ว่าเหตุการณ์นั้นจะเกิดที่ใด เวลาใด ทำ�ให้การสอบสวนโรค เฝ้า ระวังโรคยุคใหม่ง่ายขึ้น9 
ภาพที่ 2 Lists the types of mHealth initiatives 
อุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่กับบทบาทหน้าที่ของวิชาชีพการ สาธารณสุขชุมชน 
เทคโนโลยีการสื่อสารเคลื่อนที่ได้ ที่มีราคาที่ถูกลง ความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลภาพ เสียง ข้อมูลไร้สายที่รวดเร็ว อุปกรณ์พกพาที่สะดวกกระทัดรัด และมีการพัฒนาซอฟแวร์ แอพ พลิเคลั่นอย่างต่อเนื่อง เป็นช่องทางที่นักการสาธารณสุขต้องให้ ความสนใจ เพราะจะเป็นหนทางช่วยให้ประชาชนสามารถเข้า ถึงบริการสุขภาพและข้อมูลปัจจัยเสี่ยงด้านการการสาธารณสุข โดยง่าย มีส่วนร่วม และมีค่าใช้จ่ายไม่สูง การพัฒนา หรือวิจัย และพัฒนาเชื่อมโยงข้อมูลทางคลินิก เข้ากับ มาตรการทางการ สาธารณสุขและสุขภาพชุมชน จะต้องให้ความสนใจและได้รับ การสนับสนุนทั้งทางนโยบาย การสนับสนุนเงินทุน การพัฒนา บุคลากร10 ไปพร้อมกับการสร้างความตระหนักตื่นตัวของภาค ประชาชน ที่จะมาtเป็น “อสม. โซเชียลมีเดีย” เพื่อสร้างสังคม หมู่บ้านสุขภาวะไร้พรมแดน 
การขยับขับเคลื่อนทางยุทธศาสตร์สำ�หรับ mHealth องค์การอนามัยโลกให้คำ�แนะนำ�ดังนี้ 
นักการสาธารณสุขในประเทศสมาชิก จะต้องรวบรวม ข้อมูลพื้นที่ ที่สามารถประยุกต์ใช้ mHealth best practices ที่สามารถนำ�มาปฏิบัติการเชื่อมโยงกับงานด้านการสาธารณสุข เฝ้าระวังโรค ติดตามความเสี่ยง และภัยคุกคามสุขภาพได้ดี มี ประสิทธิผล ต้นทุนต่อประสิทธิภาพดี 
องค์การอนามัยโลก และสหภาพการสื่อสารนานาชาติ (ITU) จะให้การสนับสนุนบุคลากรสาธารณสุข ให้มีความรู้ ความ สามารถ ทำ�งานวิจัย วิจัยและพัฒนา และให้ความสำ�คัญในการใช้ อุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ เพื่อจัดการปัญหาสุขภาพในพื้นที่ 
องค์การอนามัยโลก และสหภาพการสื่อสารนานาชาติ (ITU) จะต้องร่วมกับนักการสาธารณสุขพัฒนาระบบป้องกันความ เป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคล และนโยบายความปลอดภัยของ ข้อมูลบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Security policy for mobile telecommunications in health) 
บทสรุป 
เทคโนโลยีสื่อสารเคลื่อนที่ไร้สาย เพื่อสุขภาพและความอยู่ดีมีสุข ถ้วนหน้า (mHealth to improve health and well-being) 
ความท้าทายของนักพัฒนาระบบบริการสุขภาพ นักการ สาธารณสุข วิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน ในอันที่จะให้บริการ อย่างทั่วถึง เป็นธรรม ไม่เหลื่อมล้ำ� อยู่ในความสามารถที่จะจ่ายได้ มีคุณภาพที่ดี และช่วยให้ผู้ป่วย ผู้มีภาวะความเสี่ยงทางด้านการ สาธารณสุข มีชีวิตอยู่อย่างคุณภาพชีวิตดี อยู่ดีมีสุข ในครอบครัว ในสังคม เป็นความท้าทายใหญ่ในโลกที่มีภาระโรคเรื้อรัง สังคมผู้ สูงวัย ความเหลื่อมล้ำ�ด้านเศรษฐกิจและปัจจัยทางสังคม 
การประยุกต์ใช้นวัตกรรม และสิ่งประดิษฐ์ เทคโนโลยี สื่อสารเคลื่อนที่ ไร้สาย น่าจะเป็นคำ�ตอบหนึ่งในหลายคำ�ตอบของ สิ่งท้าทายข้างต้น นักการสาธารณสุขในยุคนี้จึงควรต้องให้ความ สนใจ ดัดแปลงนำ�มาประยุกต์ใช้ วิจัย วิจัยและพัฒนา ไปพร้อมๆ กับการเคลื่อนไหวกับภาคประชาชนในสังคมออนไลน์ที่ใช้สื่อทาง สังคมในแอพพลิเคชั่นชนิดต่างๆ อยู่แล้ว (เช่น facebook, line, etc.)11 เพื่อสร้างสรรค์สุขภาพและความอยู่ดีมีสุขแก่ประชาชนใน ศตวรรษที่ 21
1mHealth New horizons for health through mobile technologies. Based on the findings of the second global survey on eHealth. Global Observatory for eHealth series - Volume 3. World Health Organization 2011. 
2The BRFSS is an ongoing telephone survey of adults conducted in all 50 states and coordinated by the Centers for Disease Control and Prevention (CDC) in Atlanta, GA. Households are randomly selected and contacted by a contractor who conducts most interviews in the evenings and on weekends. Perhaps you or someone you know was called by the survey staff. Once an interviewer reaches a household, a random selection of adult household members is made to choose one person to participate in the survey. Listed and unlisted residential telephone numbers are included in the sample, but not business, Fax, modem or cell phone lines. 
10Qualcomm, “3G Wireless Technology Provides Clinical Information to Public Health Workers Through Mobile Health Information System Project,” November 10, 2010. 
6Oguz Karan, Canan Bayraktar, Haluk Gumuskaya, and Bekir Karlik, “Diagnosing Diabetes Using Neural Networks on Small Mobile Devices,” Expert Systems with Applications, Volume 39, 2012, p. 54. 
7Qualcomm, “Qualcomm and Life Care Networks Launch 3G Mobile Health Project to Help Patients with Cardiovascular Diseases,” September 7, 2011. 
8Duck Lee, Jaesoon Choi, Ahmed Rabbi, and Reza Fazel-Rezai, “Development of a Mobile Phone Based e-Health Monitoring Application,” International Journal of Advanced Computer Science and Applications, Volume 3, 2012, pp. 38-43. 
9Timothy Aungst, “Study Suggests Researchers Should Use Social Media ‘App’ Websites to Engage Patients in Disease Surveillance,” www.iMedicalApps.com, May 28, 2013. 
5Errol Ozdalga, Ark Ozdalga, and Neera Ahuja, “The Smartphone in Medicine,” Journal of Medical Internet Research, Volume 14, September 27, 2012. 
3Anton Shilov. Growing Popularity of Smartphones and Tablets Leave Special- Purpose Devices Out of Picture. http://www.xbitlabs.com/news/multimedia/display/ 20110726220951_Growing_Popularity_of_Smartphones_and_Tablets_Leave_ Special_Purpose_Devices_Out_of_Picture.html 
4ที่มา http://www.veedvil.com/news/thailand-mobile-in-review-q3-2013/ 
บรรณานุกรม
หมออนามัย 10 
เรื่องเล่า 
จากหมออนามัย 
“วัณโรคหายได้ 
อาศัยชุมชนมีส่วนร่วม” 
รพ.สต.บ้านปากนคร ได้ด�ำเนินการรักษาผู้ป่วยด้วย วัณโรคด้วยวิธีการท�ำ DOTS โดยเจ้าหน้าที่ตลอดมา ท�ำให้รู้สึก กังวลหากต้องท�ำต่อไปโดยไม่มีทีมงานที่เข้าใจในการท�ำงาน สังคมที่ไม่เข้าใจผู้ป่วยวัณโรคท�ำให้ผู้ป่วยอาจต้องกลายเป็นที่ รังเกียจของสังคม ดังนั้น รพ.สต.บ้านปากนคร จึงน�ำองค์ความรู้ ที่เกิดขึ้นจากการดูแลผู้ป่วยที่มารับการดูแลรักษาลงสู่ชุมชน เพราะขาดก�ำลังเจ้าหน้าที่ ซึ่งมีเพียง 3 คน อีกทั้งการโยกย้าย เปลี่ยนแปลงสถานที่ปฏิบัติงาน อาจเกิดขึ้นในวันใดก็ได้ การ ด�ำเนินงานในระบบ DOTS ในชุมชนจะมีแนวทางอย่างไร จาก การท�ำประชาคมหมู่บ้านและการประชุมกับคณะกรรมการ พัฒนา รพ.สต.บ้านปากนคร ได้ตระหนักถึงความจ�ำเป็นที่จะ ต้องหาแนวร่วม เพื่อสร้างทีมงานพี่เลี้ยงเข้ามาร่วมท�ำงานในการ ให้บริการโดยคัดเลือกจากบุคลากรที่มีคุณลักษณะมีความเป็นผู้น�ำ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีและมีจิตอาสาในชุมชน โดยมีการถ่ายทอด ความรู้ ทักษะ และมี เจตคติที่ดี จนสามารถเป็นแหล่งความรู้ เคลื่อนที่และแหล่งข้อมูลพูดได้ของชุมชนต่อไป 
จากการด�ำเนินงานได้เกิดทีมงานพี่เลี้ยง ในการดูแลผู้ ป่วยวัณโรคเพื่อการท�ำ DOTS ในชุมชน และการค้นหาผู้ป่วย วัณโรครายใหม่ ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ รพ.สต.บ้านปากนคร, ผู้น�ำชุมชน, เทศบาล ต.ปากนคร, อบต.ท่าไร่ และ อสม. รวมทั้ง ผู้ป่วยวัณโรคที่ได้รับการรักษาจนหาย พบว่าผู้ป่วยวัณโรคมีความ กระตือรือร้นที่จะได้รับการรักษา เพราะไม่รู้สึกว่าตนเองเป็นที่น่า รังเกียจของสังคม อันเนื่องมาจากรู้ว่าตนเอง หากได้รับการรักษา อย่างถูกต้องต่อเนื่อง และความมีปฏิสัมพันธ์อันดีกับบุคคลอื่นใน ชุมชน ไม่เป็นที่รังเกียจของสังคม แต่กลับได้รับการดูแลเอาใจใส่ จากผู้น�ำชุมชน และเพื่อนบ้าน เกิดประสบการณ์กลุ่มที่น�ำมาใช้ ในการปฏิบัติเพื่อเป็นแบบแผนในการด�ำเนินการช่วยเหลือผู้ป่วย กลุ่มอื่นด้วย 
การน�ำผู้ป่วยวัณโรคกลับคืนสู่สังคมโดยการมีจิตส�ำนึก ในความเอาใจใส่ต่อตนเองและผู้อื่น จากกิจกรรมมีร่วมกันนี้ ผู้ ป่วยวัณโรคที่ได้รับการรักษาจนหายขาด จะสามารถดูแลบุคคล อื่นและคอยเป็นพี่เลี้ยงให้ค�ำแนะน�ำแก่ผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ ให้ เข้าใจถึงความจ�ำเป็นในการกินยาที่ถูกต้อง ต่อเนื่อง โดยใช้ แผนการดูแลอย่างเป็นระบบทั้งการกินยา การรับประทาน อาหาร การออกก�ำลังกาย 
มีสิ่งอื่นอีกหลายๆ ประการที่เกิดขึ้นที่เกิดขึ้นจากผลของ การด�ำเนินงาน กล่าวได้ คือ ชุมชนมีความกระตือรือร้นในการรับ ข่าวสารทางด้านสาธารณสุขมากขึ้น ประเมินได้จากการเข้าร่วม ประชุมในกิจกรรมสาธารณสุขต่างๆ การให้ความร่วมมือ กรณี ของงานวัณโรคนั้นคนในชุมชนสามารถประเมินกลุ่มเสี่ยงและ อธิบายได้ว่า อาการใดควรได้รับการส่งต่อโดยระบุว่า “ไอเกิน 2 สัปดาห์ต้องไปหาหมอ” มีการถ่ายทอดประสบการณ์ของผู้ป่วย และทีมงานมีการประสานงานหลายระดับ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ที่ เกิดขึ้นในชุมชนหลังจากการด�ำเนินโครงการท�ำให้ชุมชนมีส่วน ร่วมในการดูแลผู้ป่วยประเภทต่าง ๆ มากขึ้น จนส่งผลให้งานส่ง เสริมสุขภาพ งานป้องกันโรค งานรักษาพยาบาล มีความก้าวหน้า แต่สิ่งเหล่านี้อาจจะไม่เกิดขึ้นหากไม่ได้รับความร่วมมือและการ ให้โอกาสจาก สสจ.นครศรีธรรมราช/สสอ.เมืองนครศรีธรรมราช/
หมออนามัย 11 
รพ.มหาราชนครศรีธรรมราช/ศูนย์วัณโรค/เทศบาลต.ปากนคร 
และ อบต.ท่าไร่ และก่อให้เกิดการพัฒนางาน DOT ในชุมชน 
ช่วยดูแลกันและกันเป็นทีมงานที่รับผิดชอบและจุดมุ่งหมายร่วม 
กัน 
และเมื่อพูดถึงหน้าที่ในการดูแลเรื่องการใช้ยาของผู้ป่วย 
วัณโรค หลายๆ คนคงนึกถึง “เภสัชกร” ซึ่งเป็นบุคลากรที่จะต้อง 
มีบทบาทในการประเมินปัญหาด้านยา ให้ข้อมูลค�ำ ปรึกษาและ 
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีการใช้ยาได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย เพื่อให้ 
บรรลุตามเป้าหมายของแผนการรักษา ปัญหาในการใช้ยาของผู้ 
ป่วยมีความหลากหลาย บางครั้งซับซ้อนเชื่อมโยงกับปัญหาใน 
ด้านอื่นๆ ตามบริบทของผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งเภสัชกรเพียงฝ่าย 
เดียวอาจไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ทั้งหมด การท�ำ งานโดยทีมสห 
วิชาชีพ รวมทั้งกระตุ้นให้ผู้ป่วย ครอบครัว และชุมชนมีส่วนร่วม 
ในกระบวนการดูแลรักษา ย่อมให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า ข้าพเจ้ามี 
ประสบการณ์ในการท�ำ งานดูแลกลุ่มผู้ป่วยวัณโรคมา 
ประมาณ 10 ปี ผู้ป่วยกลุ่มนี้โดยส่วนใหญ่เป็นผู้มีภาวะ 
ภูมิคุ้มกันบกพร่อง มักจะมีโรคร่วมหลายๆ โรค จ�ำ เป็นต้องใช้ยา 
หลายรายการ ซึ่งมีโอกาสเกิดความสับสนในการใช้ยาได้มาก 
รวมทั้งการป่วยเป็นโรควัณโรค ซึ่งจ�ำ เป็นต้องใช้ยาเพื่อควบคุม 
ภาวะโรคและป้องกันภาวะแทรกซ้อนไปตลอดแผนการรักษา ไม่ 
สามารถหยุดยาเองได้ ท�ำ ให้ผู้ป่วยเกิดความเบื่อหน่ายในการใช้ 
ยา จนบางรายอาจไม่ให้ความร่วมมือในการรักษา ดังนั้น ทีมสห 
วิชาชีพจึงต้องร่วมกันขบคิดวิธีการต่างๆ มาช่วยให้ผู้ป่วยสามารถ 
ใช้ยาได้อย่างต่อเนื่องและมีความสุข (ความจริงอยากใช้ค�ำ ว่ามี 
คุณภาพชีวิตที่ดีนะคะ แต่คิดว่าการที่มีความสุขน่าจะเป็นจุดเริ่ม 
ต้นที่จะเชื่อมโยงไปถึงค�ำ ๆ นี้ค่ะ) ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติงานใน 
รพ.สต.บ้านปากนครให้การดูแลผู้ป่วยวัณโรคในชุมชน จึงขอเล่า 
เรื่องความประทับใจในตัวผู้ป่วยรายหนึ่งซึ่งเป็นความภาคภูมิใจ 
ใน การดูแลรักษาของทีมสุขภาพของ รพ.สต.บ้านปากนคร ค่ะ 
ลุงสุธี อายุ 57 ปี มีอาชีพประมงและรับจ้างทั่วไป เป็น 
อีกคนที่ได้มีอาการไอเรื้อรังมาประมาณ 3 สัปดาห์แล้ว อสม.คน 
เก่งของเรา ป้าสุนีย์พร ซึ่งเป็นพี่สาวของลุงสุธี ได้เฝ้าสังเกต 
อาการผิดปกติของน้องชายอย่างเป็นห่วงก็เลยตัดสินใจพาน้อง 
ชายมาหาเจ้าหน้าที่ รพ.สต.เพื่อปรึกษาปัญหา ทราบความว่า 
ลุงสุธีไอเรื้อรังมาประมาณ 3 สัปดาห์แล้ว และมีประวัติท�ำ งาน 
และสัมผัสกับผู้ป่วยวัณโรคที่ก�ำ ลังรักษาอยู่ จึงส่งต่อให้ไปตรวจ 
คัดกรองวัณโรคที่ รพ.มหาราชนครศรีธรรมราช ผลปรากฏว่า ลุง 
สุธีป่วยเป็นวัณโรคจริงๆ เจ้าหน้าที่รพ.มหาราชนครศรีธรรมราช 
แจ้งเจ้าหน้าที่ รพ.สต.ทราบผลการตรวจวินิจฉัย ป้าสุนีย์พร 
อาสาเป็นผู้รับผิดชอบดูแลให้น้องชายรับประทานยาเอง ป้าสุ 
นีย์พรมีความตั้งใจที่จะดูแลน้องชายให้หายจากวัณโรคโรคให้ได้ 
หลังจากนั้น เจ้าหน้าที่ก็ไปชวนลุงพร ซึ่งเคยป่วยเป็นวัณโรค 
รักษาหายแล้ว และสมาชิกในทีมงานดูแลรักษาวัณโรคของ 
รพ.สต. (ซึ่งประกอบไปด้วยผู้น�ำ ชุมชน อสม. และผู้ป่วยที่รักษา 
วัณโรคส�ำ เร็จ) ไปเยี่ยมลุงสุธีซึ่งเป็นผู้ป่วยใหม่ เพื่อสร้างก�ำ ลังใจ 
ในการรักษา ซึ่งบ้านลุงสุธีเป็นบ้านชั้นเดียวครึ่งไม้ครึ่งปูน พื้น 
บ้านยกสูง (น�้ำท่วมบ่อย) บ้านหันหน้าไปทางปากน�้ำปากนคร 
ซึ่งเป็นทางออกสู่ทะเลอ่าวไทย ลมพัดเย็นสบายมากๆ อยู่อาศัย 
ร่วมกันกับภรรยา และลูกอีก 1 คน สภาพของผู้ป่วยเมื่อแรกเจอ 
คือ ร่างกายอ่อนเพลียไม่มีแรง เวลาพูดแทบไม่ค่อยได้ยินเสียง 
เพราะยังมีอาการหอบเหนื่อยอยู่มาก ท�ำ ให้พวกเราสงสัยว่า 
ร่างกายของผู้ป่วยจะสามารถทนกับอาการข้างเคียงจากยารักษา 
วัณโรคได้ไหมหนอ 
ลุงสุธี: “เมื่อคืนหลังกินยาวัณโรคไปซองเล็กที่หมอจัด 
ชุดรวมให้ ก็รากแตก ใจไม่ดี นอนไม่หลับ คิดแค่ว่าไม่อยากจะกิน 
ยาต่อแล้ว แต่ด้วยว่าอยากหายก็อดทนฝืนกินยา นึกขึ้นได้หมอ 
เคยแนะน�ำ ให้ฝานกล้วยเป็นแผ่นบางๆ แปะกับเม็ดยาจะช่วยให้ 
กินง่ายขึ้น ไม่พะอืดพะอม ปรากฏว่าดีขึ้น และผมมีพี่สาวคอย 
ดูแลให้กินยาทุกวัน ผมเป็นคนตั้งใจนะหมอ อยากหาย” 
เป็นประโยคที่ออกมาบ่งบอกว่าผู้ป่วยน่าจะให้ความ 
ใส่ใจในการกินยา จากการพูดคุยทราบว่าระยะหลังๆ สุขภาพไม่ 
ค่อยดี จึงไม่ได้ออกทะเลหาปลาและรับจ้างเหมือนก่อน การใช้ 
จ่ายในบ้านก็ไม่คล่องตัวนัก แต่ก็พออยู่ได้ เพราะลูกชายคนโตส่ง 
เงินมาให้เป็นประจ�ำ แต่ก็กลัวรบกวนและกังวลจะเป็นภาระของ 
ลูก ทางป้าสุนีย์พรก็ให้ก�ำ ลังใจและจะคอยดูแลช่วยเหลืออีกแรง 
หากค่าใช่จ่ายในบ้านไม่พียงพอ เพราะมีพี่น้องด้วยกัน 2 คน 
เท่านั้น หลังจากนั้นก็พูดคุยแนะน�ำ ถึงความรู้เรื่องวัณโร การรับ
หมออนามัย 12 
ประทานยาให้ครบถ้วนถูกต้องตามเวลา อาการข้างเคียงจาก 
การใช้ยา การจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม การปฏิบัติตัวใน 
การดูแลตนเองของผู้ป่วยและการปฏิบัติตนเพื่อหลีกเลี่ยงการติด 
เชื้อส�ำ หรับสมาชิกในครอบครัวซึ่งเป็นผู้สัมผัสกับผู้ป่วย ให้ 
สังเกตอาการ และหากมีอาการให้ส่งตัวไปตรวจเสมหะค้นหา 
วัณโรคต่อไป 
ซึ่งหลังจากนั้นก็ได้น�ำ กรณีศึกษารายนี้ไปน�ำ เสนอในที่ 
ประชุม DOT Meeting ของอ.เมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งจัดที่ 
รพ.มหาราชนครศรีธรรมราช ซึ่งมีบุคลากรจากหลากหลาย 
หน่วยงานในเขต อ.เมืองนครศรีธรรมราชมาประชุมแลกเปลี่ยน 
เรียนรู้ในการดูแลผู้ป่วยวัณโรค ทุกวันพุธสัปดาห์ที่ 4 ของเดือน 
ในวันนั้นบุคลากรของฝ่ายเภสัชกร ก็ให้ค�ำ แนะน�ำ เรื่องยารักษา 
วัณโรค และการเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา 
รักษาวัณโรค การดูแลช่วยเหลือผู้ป่วย ตลอดจนสามารถปรึกษา 
ส่งต่อได้เมื่อต้องการ ในวันนั้นก็ได้เสนอหัวข้อการจัดการระบบ 
ยารักษาวัณโรคในรูปแบบใหม่ ให้ที่ประชุมมีมติเห็นชอบ เพื่อ 
ให้สามารถใช้ได้อย่างถูกต้อง, เข้าถึงได้ง่าย และสะดวกในการ 
รับ-ส่งยาวัณโรค ท�ำ ให้เกิดความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน 
หลังจากนั้นอีก 2 สัปดาห์ ผู้ป่วยมาหาที่ รพ.สต.ด้วย 
อาการผื่นแดง คันตามร่างกาย 
ลุงสุธี: “ผมเริ่มท้อใจแล้วหมอ มันเป็นเวรเป็นกรรมอะไร 
นักหนา กินยาก็ชวนอ๊วก กินแล้วยังมาเกิดผื่นอีก คันก็คัน ผมคง 
ตายด้วยวัณโรคแน่ ๆ แล้วละมั๊ง ...แต่จริงๆ ผมก็อยากหายนะ 
หมอ” 
เจ้าหน้าที่ : “ไม่เป็นไรจ้ะลุง อย่ากังวลไปเลย ลุงจะต้อง 
หายจากวัณโรค ผื่นแดงคัน อาจจะเป็นได้จากอาการข้างเคียง 
เดี๋ยวเอายาแก้แพ้ไปกิน ก็คงจะดีขึ้นได้ แต่ถ้ายังไม่ดีขึ้นลุงแจ้ง 
เจ้าหน้าที่ให้ทราบเลยนะคะ และที่ส�ำ คัญ อย่าเพิ่งท้อแท้กับชีวิต 
ลุกขึ้นสู้ต่อไปนะ ทุกคนจะเป็นก�ำ ลังใจให้ ถ้าลุงอยากหายก็ต้อง 
กินยาตามที่หมอสั่ง และพบหมอตามนัดด้วยนะคะ” 
ลุงสุธี รับปากด้วยน�้ำเสียงและท่าทางที่บ่งบอกถึงความ 
มุ่งมั่น ท�ำ ให้เจ้าหน้าที่รู้สึกได้ถึงความส�ำ เร็จที่ก�ำ ลังจะมาเยือน 
จากการดูแลเอาใจใส่ของสมาชิกในทีมงานดูแลรักษา 
วัณโรคของ รพ.สต.บ้านปากนคร ครอบครัวของลุงสุธี รวมถึง 
ความตั้งใจที่จะเอาชนะโรคนี้ของลุงสุธี ท�ำ ให้ลุงสุธีหายจาก 
วัณโรค ซึ่งต้องใช้เวลาในการรักษานาน แต่ “วัณโรคหายได้ 
อาศัยชุมชนมีส่วนร่วม” 
นางณัฏฐิมา ลิ่มวิจิตรวงศ์ 
รพ.สต.บ้านปากนคร ต.ท่าไร่ อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช
หมออนามัย 13 
ชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทย ได้จัดทำ�โครงการประเมินคัดเลือก การประกวด 
สำ�นักงานสาธารณสุขอำ�เภอ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำ�บลดีเด่น ประจำ�ปี 2557 
ผลการประเมิน เป็นดังนี้ 
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำ�บลดีเด่น 
1.ชนะเลิศ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำ�บลบางแก้ว อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ 
2.รองชนะเลิศ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำ�บลคลองสระ อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี 
3.รองชนะเลิศ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำ�บลปอแดง อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ 
4.รองชนะเลิศ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำ�บลบ้านมุง อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก 
สำ�นักงานสาธารณสุขอำ�เภอดีเด่น 
1.ชนะเลิศ สำ�นักงานสาธารณสุขอำ�เภอระโนด จังหวัดสงขลา 
2.รองชนะเลิศ สำ�นักงานสาธารณสุขอำ�เภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ 
3.รองชนะเลิศ สำ�นักงานสาธารณสุขอำ�เภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว 
4.รองชนะเลิศ สำ�นักงานสาธารณสุขอำ�เภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย
คณะที่ปรึกษาวารสารหมออนามัย 
นายแพทย์ไพโรจน์ นิงสานนท์ ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี ปลัดกระทรวงสาธารณสุข 
และอธิบดีทุกกรม ผู้อำ�นวยการสถาบันพระบรมราชชนก ผู้อำ�นวยการสำ�นักนโยบายและยุทธศาสตร์ 
ผู้อำ�นวยการสำ�นักพัฒนาระบบบริการสุขภาพ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด 
ผู้อำ�นวยการวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรทุกแห่ง ผู้อำ�นวยการวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีทุกแห่ง 
ผู้อำ�นวยการกองสาธารณสุขภาคประชาชน ผู้อำ�นวยการโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่ง สาธารณสุขอำ�เภอทุกแห่ง 
บรรณาธิการวิชาการ 
นายแพทย์สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ 
นายแพทย์อำ�พล จินดาวัฒนะ 
นายแพทย์ทวีเกียรติ บุณยไพศาลเจริญ 
นายแพทย์ชูชัย ศรชำ�นิ 
กองบรรณาธิการ 
นายพัฒฑนา อินทะชัย (pattana.inn@hotmail.com) 
นายจีระพงษ์ ใจวงศ์ (j_jeerapong@yahoo.co.th) 
นายมนูญ ศูนย์สิทธิ์ (manoon09@gmail.com) 
เศรษฐพงศ์ อาลีมินทร์ (Setthaphong1@ Gmail.com) 
นายเอกรินทร์ โปตะเวช (eakarin1922@hotmail.co.th) 
นายทวี ดีละ (Taweedeela@ Gmail.com) 
นายสัมพันธ์ กลิ่นนาค (Klinnak_Sum@gmail.com) 
นางสาวลาวัลย์ เวทยาวงศ์ (Pakmak205@hotmail.com) 
นายประสาทพร สีกงพลี (prasart_pron2510@hotmail.com) 
ผศ.ดร.สงครามชัย ลีทองดี (songkramchai@gmail.com) 
ผศ.ดร.วรพจน์ พรหมสัตยพรต (vorapoj_p2004@hotmail.com) 
บรรณาธิการบริหาร 
นายแพทย์วีระวัฒน์ พันธ์ครุฑ 
(weerawat.p@nhso.go.th) 
ผู้ช่วยบรรณาธิการบริหาร 
นางเอื้อมพร จันทร์ทอง (auam2702@hotmail.com) นายปริญญา ระลึก (parinya.r@nhso.go.th) 
ดร.จิรชฎา เชียงกูล (Jirachada.C@nhso.go.th) 
วัตถุประสงค์ของวารสารหมออนามัย 
เป็นแหล่งความรู้ใหม่ๆ และทบทวนความรู้เดิม ทั้งในด้านทฤษฎีและปฏิบัติสำ�หรับหมออนามัย 
เป็นเวทีแสดงผลงานและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการปฏิบัติงานของหมออนามัย 
เพื่อสร้างการยอมรับในสังคมและขวัญกำ�ลังใจแก่หมอนามัย 
เพื่อเป็นสื่อกลางในการส่งข่าวสารระหว่างหมออนามัยด้วยกันเองและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 
วารสารหมออนามัย ดำ�เนินการโดยมิได้มุ่งหวังผลกำ�ไรทางการค้า มีจุดมุ่งหมายร่วมกันที่จะถ่ายทอดความรู้ไปสู่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข 
ในชนบทให้มากที่สุด บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารหมออนามัย ยินดีให้ทุกท่านนำ�ไปเผยแพร่เป็นวิทยาทาน 
แต่ไม่อนุญาตให้นำ�ไปเผยแพร่เกี่ยวกับผลประโยชน์ทางการค้า 
สำ�นักงานของวารสารหมออนามัย 
เลขที่ 120 หมู่ 3 ชั้น 2-4 อาคารรัฐประศาสนภักดี “ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550”ถนนแจ้งวัฒนะ 
แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 โทรศัพท์ 02 141 4000 โทรสาร 02 1439730 
หมออนามัย 14

More Related Content

What's hot

โครงสร้างสาธารณสุขไทย
โครงสร้างสาธารณสุขไทยโครงสร้างสาธารณสุขไทย
โครงสร้างสาธารณสุขไทยSurasak Tumthong
 
การพัฒนารูปแบบและระบบบริการปฐมภูมิเขตเมือง
การพัฒนารูปแบบและระบบบริการปฐมภูมิเขตเมืองการพัฒนารูปแบบและระบบบริการปฐมภูมิเขตเมือง
การพัฒนารูปแบบและระบบบริการปฐมภูมิเขตเมืองThira Woratanarat
 
หนังสือหมอครอบครัว
หนังสือหมอครอบครัวหนังสือหมอครอบครัว
หนังสือหมอครอบครัวChuchai Sornchumni
 
คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน
คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้านคู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน
คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้านUtai Sukviwatsirikul
 
หนังสือผนึก บูรณาการ สานพลัง ลดความเสี่ยงโรคเรื้อรัง
หนังสือผนึก บูรณาการ สานพลัง ลดความเสี่ยงโรคเรื้อรังหนังสือผนึก บูรณาการ สานพลัง ลดความเสี่ยงโรคเรื้อรัง
หนังสือผนึก บูรณาการ สานพลัง ลดความเสี่ยงโรคเรื้อรังโรงพยาบาลสารภี
 
การปฏิรูประบบสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ
การปฏิรูประบบสุขภาพและหลักประกันสุขภาพการปฏิรูประบบสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ
การปฏิรูประบบสุขภาพและหลักประกันสุขภาพsoftganz
 
คู่มือมาตรฐานคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพ
คู่มือมาตรฐานคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพ คู่มือมาตรฐานคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพ
คู่มือมาตรฐานคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพ โปรตอน บรรณารักษ์
 
การวินิจฉัยชุมชน อ.สมเกียรติ
การวินิจฉัยชุมชน อ.สมเกียรติการวินิจฉัยชุมชน อ.สมเกียรติ
การวินิจฉัยชุมชน อ.สมเกียรติSambushi Kritsada
 
แนวทางการขับเคลื่อน DHS ที่เชื่อมโยงกับ Service plan และการดูแลสุขภาพกลุ่มวัย...
แนวทางการขับเคลื่อน DHS ที่เชื่อมโยงกับ Service plan และการดูแลสุขภาพกลุ่มวัย...แนวทางการขับเคลื่อน DHS ที่เชื่อมโยงกับ Service plan และการดูแลสุขภาพกลุ่มวัย...
แนวทางการขับเคลื่อน DHS ที่เชื่อมโยงกับ Service plan และการดูแลสุขภาพกลุ่มวัย...กันย์ สมรักษ์
 
ระบบบริการสุขภาพภาครัฐ
ระบบบริการสุขภาพภาครัฐระบบบริการสุขภาพภาครัฐ
ระบบบริการสุขภาพภาครัฐWC Triumph
 
หมออนามัยVol.5
หมออนามัยVol.5หมออนามัยVol.5
หมออนามัยVol.5Chuchai Sornchumni
 
โครงร่างวิจัยเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยประยุกต์
โครงร่างวิจัยเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยประยุกต์โครงร่างวิจัยเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยประยุกต์
โครงร่างวิจัยเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยประยุกต์Apichat kon
 
ทีมหมอครอบครัว เขตสุขภาพที่ 10
ทีมหมอครอบครัว เขตสุขภาพที่ 10ทีมหมอครอบครัว เขตสุขภาพที่ 10
ทีมหมอครอบครัว เขตสุขภาพที่ 10Dr.Suradet Chawadet
 
คู่มือ PCA เล่มฟ้า
คู่มือ PCA  เล่มฟ้าคู่มือ PCA  เล่มฟ้า
คู่มือ PCA เล่มฟ้าDr.Suradet Chawadet
 

What's hot (20)

โครงสร้างสาธารณสุขไทย
โครงสร้างสาธารณสุขไทยโครงสร้างสาธารณสุขไทย
โครงสร้างสาธารณสุขไทย
 
การพัฒนารูปแบบและระบบบริการปฐมภูมิเขตเมือง
การพัฒนารูปแบบและระบบบริการปฐมภูมิเขตเมืองการพัฒนารูปแบบและระบบบริการปฐมภูมิเขตเมือง
การพัฒนารูปแบบและระบบบริการปฐมภูมิเขตเมือง
 
หนังสือหมอครอบครัว
หนังสือหมอครอบครัวหนังสือหมอครอบครัว
หนังสือหมอครอบครัว
 
คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน
คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้านคู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน
คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน
 
หนังสือผนึก บูรณาการ สานพลัง ลดความเสี่ยงโรคเรื้อรัง
หนังสือผนึก บูรณาการ สานพลัง ลดความเสี่ยงโรคเรื้อรังหนังสือผนึก บูรณาการ สานพลัง ลดความเสี่ยงโรคเรื้อรัง
หนังสือผนึก บูรณาการ สานพลัง ลดความเสี่ยงโรคเรื้อรัง
 
การปฏิรูประบบสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ
การปฏิรูประบบสุขภาพและหลักประกันสุขภาพการปฏิรูประบบสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ
การปฏิรูประบบสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ
 
คู่มือมาตรฐานคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพ
คู่มือมาตรฐานคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพ คู่มือมาตรฐานคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพ
คู่มือมาตรฐานคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพ
 
การวินิจฉัยชุมชน อ.สมเกียรติ
การวินิจฉัยชุมชน อ.สมเกียรติการวินิจฉัยชุมชน อ.สมเกียรติ
การวินิจฉัยชุมชน อ.สมเกียรติ
 
แนวทางการขับเคลื่อน DHS ที่เชื่อมโยงกับ Service plan และการดูแลสุขภาพกลุ่มวัย...
แนวทางการขับเคลื่อน DHS ที่เชื่อมโยงกับ Service plan และการดูแลสุขภาพกลุ่มวัย...แนวทางการขับเคลื่อน DHS ที่เชื่อมโยงกับ Service plan และการดูแลสุขภาพกลุ่มวัย...
แนวทางการขับเคลื่อน DHS ที่เชื่อมโยงกับ Service plan และการดูแลสุขภาพกลุ่มวัย...
 
ระบบบริการสุขภาพภาครัฐ
ระบบบริการสุขภาพภาครัฐระบบบริการสุขภาพภาครัฐ
ระบบบริการสุขภาพภาครัฐ
 
การพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน
การพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน
การพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน
 
หมออนามัยVol.5
หมออนามัยVol.5หมออนามัยVol.5
หมออนามัยVol.5
 
Asa kilantham
Asa kilanthamAsa kilantham
Asa kilantham
 
Primary Health Care System_Padkao T
Primary Health Care System_Padkao TPrimary Health Care System_Padkao T
Primary Health Care System_Padkao T
 
Thamasart uni
Thamasart uniThamasart uni
Thamasart uni
 
โครงร่างวิจัยเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยประยุกต์
โครงร่างวิจัยเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยประยุกต์โครงร่างวิจัยเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยประยุกต์
โครงร่างวิจัยเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยประยุกต์
 
การจัดการโรคDm&htใน อปท.
การจัดการโรคDm&htใน อปท.การจัดการโรคDm&htใน อปท.
การจัดการโรคDm&htใน อปท.
 
ทีมหมอครอบครัว เขตสุขภาพที่ 10
ทีมหมอครอบครัว เขตสุขภาพที่ 10ทีมหมอครอบครัว เขตสุขภาพที่ 10
ทีมหมอครอบครัว เขตสุขภาพที่ 10
 
Alter medpart2 n
Alter medpart2 n Alter medpart2 n
Alter medpart2 n
 
คู่มือ PCA เล่มฟ้า
คู่มือ PCA  เล่มฟ้าคู่มือ PCA  เล่มฟ้า
คู่มือ PCA เล่มฟ้า
 

Similar to หมออนามัยVol.6

แถลงข่าว โครงการศึกษาดูงานการจัดระบบการเรียนรู้ โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน มหาวิทยาลั...
แถลงข่าว โครงการศึกษาดูงานการจัดระบบการเรียนรู้ โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน มหาวิทยาลั...แถลงข่าว โครงการศึกษาดูงานการจัดระบบการเรียนรู้ โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน มหาวิทยาลั...
แถลงข่าว โครงการศึกษาดูงานการจัดระบบการเรียนรู้ โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน มหาวิทยาลั...Pattie Pattie
 
แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในชุมชน
แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในชุมชนแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในชุมชน
แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในชุมชนCAPD AngThong
 
ระบบบริการปฐมภูมิหมออนามัย
ระบบบริการปฐมภูมิหมออนามัยระบบบริการปฐมภูมิหมออนามัย
ระบบบริการปฐมภูมิหมออนามัยChuchai Sornchumni
 
หลักสูตร Mini MM in Health 55
หลักสูตร Mini MM in Health 55หลักสูตร Mini MM in Health 55
หลักสูตร Mini MM in Health 55sivapong klongpanich
 
Hpe 21 มศก. 600815
Hpe 21 มศก. 600815Hpe 21 มศก. 600815
Hpe 21 มศก. 600815Pattie Pattie
 
การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมความร่วมมือในการจัดการศึกษาภาคปฏิบัติในชุมชน
การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมความร่วมมือในการจัดการศึกษาภาคปฏิบัติในชุมชนการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมความร่วมมือในการจัดการศึกษาภาคปฏิบัติในชุมชน
การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมความร่วมมือในการจัดการศึกษาภาคปฏิบัติในชุมชนYumisnow Manoratch
 
Newsphlibv2n1
Newsphlibv2n1Newsphlibv2n1
Newsphlibv2n1Yuwadee
 
ความท้าทาย...นโยบายหลักประกันสุขภาพ
ความท้าทาย...นโยบายหลักประกันสุขภาพความท้าทาย...นโยบายหลักประกันสุขภาพ
ความท้าทาย...นโยบายหลักประกันสุขภาพweeraboon wisartsakul
 
รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2559
รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2559รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2559
รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2559Utai Sukviwatsirikul
 
รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2559
รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2559รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2559
รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2559Utai Sukviwatsirikul
 
หลักในการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด
หลักในการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดหลักในการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด
หลักในการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดpluakdeang Hospital
 
จุดประกายการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ การสร้างเสริมสุขภาพรร.เอเชียแอพอร์ท28มีค 53
จุดประกายการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ การสร้างเสริมสุขภาพรร.เอเชียแอพอร์ท28มีค 53จุดประกายการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ การสร้างเสริมสุขภาพรร.เอเชียแอพอร์ท28มีค 53
จุดประกายการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ การสร้างเสริมสุขภาพรร.เอเชียแอพอร์ท28มีค 53Yumisnow Manoratch
 
การดำเนินงานทันตปี2555
การดำเนินงานทันตปี2555การดำเนินงานทันตปี2555
การดำเนินงานทันตปี2555dentalfund
 

Similar to หมออนามัยVol.6 (20)

แถลงข่าว โครงการศึกษาดูงานการจัดระบบการเรียนรู้ โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน มหาวิทยาลั...
แถลงข่าว โครงการศึกษาดูงานการจัดระบบการเรียนรู้ โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน มหาวิทยาลั...แถลงข่าว โครงการศึกษาดูงานการจัดระบบการเรียนรู้ โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน มหาวิทยาลั...
แถลงข่าว โครงการศึกษาดูงานการจัดระบบการเรียนรู้ โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน มหาวิทยาลั...
 
แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในชุมชน
แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในชุมชนแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในชุมชน
แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในชุมชน
 
ระบบบริการปฐมภูมิหมออนามัย
ระบบบริการปฐมภูมิหมออนามัยระบบบริการปฐมภูมิหมออนามัย
ระบบบริการปฐมภูมิหมออนามัย
 
006 7 cupชนบท
006 7 cupชนบท006 7 cupชนบท
006 7 cupชนบท
 
หลักสูตร Mini MM in Health 55
หลักสูตร Mini MM in Health 55หลักสูตร Mini MM in Health 55
หลักสูตร Mini MM in Health 55
 
Hpe 21 มศก. 600815
Hpe 21 มศก. 600815Hpe 21 มศก. 600815
Hpe 21 มศก. 600815
 
การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมความร่วมมือในการจัดการศึกษาภาคปฏิบัติในชุมชน
การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมความร่วมมือในการจัดการศึกษาภาคปฏิบัติในชุมชนการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมความร่วมมือในการจัดการศึกษาภาคปฏิบัติในชุมชน
การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมความร่วมมือในการจัดการศึกษาภาคปฏิบัติในชุมชน
 
Newsphlibv2n1
Newsphlibv2n1Newsphlibv2n1
Newsphlibv2n1
 
ความท้าทาย...นโยบายหลักประกันสุขภาพ
ความท้าทาย...นโยบายหลักประกันสุขภาพความท้าทาย...นโยบายหลักประกันสุขภาพ
ความท้าทาย...นโยบายหลักประกันสุขภาพ
 
รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2559
รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2559รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2559
รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2559
 
รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2559
รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2559รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2559
รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2559
 
551212 moph policy
551212 moph policy551212 moph policy
551212 moph policy
 
หลักในการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด
หลักในการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดหลักในการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด
หลักในการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด
 
Simenar Project
Simenar ProjectSimenar Project
Simenar Project
 
การทำแผนของ Cup ปี 2559
การทำแผนของ Cup ปี 2559การทำแผนของ Cup ปี 2559
การทำแผนของ Cup ปี 2559
 
Rx communication
Rx communicationRx communication
Rx communication
 
จุดประกายการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ การสร้างเสริมสุขภาพรร.เอเชียแอพอร์ท28มีค 53
จุดประกายการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ การสร้างเสริมสุขภาพรร.เอเชียแอพอร์ท28มีค 53จุดประกายการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ การสร้างเสริมสุขภาพรร.เอเชียแอพอร์ท28มีค 53
จุดประกายการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ การสร้างเสริมสุขภาพรร.เอเชียแอพอร์ท28มีค 53
 
G health system.pdf
G health system.pdfG health system.pdf
G health system.pdf
 
การดำเนินงานทันตปี2555
การดำเนินงานทันตปี2555การดำเนินงานทันตปี2555
การดำเนินงานทันตปี2555
 
อบต
อบตอบต
อบต
 

More from Chuchai Sornchumni

Priorities with PHC (chuchai jun2018)
Priorities with PHC (chuchai jun2018)Priorities with PHC (chuchai jun2018)
Priorities with PHC (chuchai jun2018)Chuchai Sornchumni
 
ระบบประกันการดูแลระยะยาว
ระบบประกันการดูแลระยะยาว ระบบประกันการดูแลระยะยาว
ระบบประกันการดูแลระยะยาว Chuchai Sornchumni
 
New perspectives on global healthspending UHC
New perspectives on global healthspending UHCNew perspectives on global healthspending UHC
New perspectives on global healthspending UHCChuchai Sornchumni
 
2561จอร์แดนบันทึกการเดินทาง
2561จอร์แดนบันทึกการเดินทาง2561จอร์แดนบันทึกการเดินทาง
2561จอร์แดนบันทึกการเดินทางChuchai Sornchumni
 
ChronicDzMntRespiratoryIllness
ChronicDzMntRespiratoryIllnessChronicDzMntRespiratoryIllness
ChronicDzMntRespiratoryIllnessChuchai Sornchumni
 
Thailand situational assessment2015
Thailand situational assessment2015Thailand situational assessment2015
Thailand situational assessment2015Chuchai Sornchumni
 
ทบทวนประสบการณ์ Universal Health Coverage 11 ประเทศ
ทบทวนประสบการณ์ Universal Health Coverage 11 ประเทศทบทวนประสบการณ์ Universal Health Coverage 11 ประเทศ
ทบทวนประสบการณ์ Universal Health Coverage 11 ประเทศChuchai Sornchumni
 
พระปกเกล้า20170527
พระปกเกล้า20170527พระปกเกล้า20170527
พระปกเกล้า20170527Chuchai Sornchumni
 
ร่วมจ่ายทบทวนประสบการณ์ระบบสุขภาพอเมริกา
ร่วมจ่ายทบทวนประสบการณ์ระบบสุขภาพอเมริการ่วมจ่ายทบทวนประสบการณ์ระบบสุขภาพอเมริกา
ร่วมจ่ายทบทวนประสบการณ์ระบบสุขภาพอเมริกาChuchai Sornchumni
 
นักโภชนาการนักกำหนดอาหาร2017
นักโภชนาการนักกำหนดอาหาร2017นักโภชนาการนักกำหนดอาหาร2017
นักโภชนาการนักกำหนดอาหาร2017Chuchai Sornchumni
 
ช่วงนี้ มีประเด็น
ช่วงนี้ มีประเด็นช่วงนี้ มีประเด็น
ช่วงนี้ มีประเด็นChuchai Sornchumni
 
สาธารณสุขเชิงรุก
สาธารณสุขเชิงรุกสาธารณสุขเชิงรุก
สาธารณสุขเชิงรุกChuchai Sornchumni
 

More from Chuchai Sornchumni (20)

Precision medicine
Precision medicinePrecision medicine
Precision medicine
 
Priorities with PHC (chuchai jun2018)
Priorities with PHC (chuchai jun2018)Priorities with PHC (chuchai jun2018)
Priorities with PHC (chuchai jun2018)
 
UHC lesson learn Thailand
UHC lesson learn ThailandUHC lesson learn Thailand
UHC lesson learn Thailand
 
ระบบประกันการดูแลระยะยาว
ระบบประกันการดูแลระยะยาว ระบบประกันการดูแลระยะยาว
ระบบประกันการดูแลระยะยาว
 
New perspectives on global healthspending UHC
New perspectives on global healthspending UHCNew perspectives on global healthspending UHC
New perspectives on global healthspending UHC
 
2561จอร์แดนบันทึกการเดินทาง
2561จอร์แดนบันทึกการเดินทาง2561จอร์แดนบันทึกการเดินทาง
2561จอร์แดนบันทึกการเดินทาง
 
Introduction2 publichealth
Introduction2 publichealthIntroduction2 publichealth
Introduction2 publichealth
 
Public finance
Public financePublic finance
Public finance
 
DiseaseMntChrRespSyst
DiseaseMntChrRespSystDiseaseMntChrRespSyst
DiseaseMntChrRespSyst
 
ChronicDzMntRespiratoryIllness
ChronicDzMntRespiratoryIllnessChronicDzMntRespiratoryIllness
ChronicDzMntRespiratoryIllness
 
Thailand situational assessment2015
Thailand situational assessment2015Thailand situational assessment2015
Thailand situational assessment2015
 
ทบทวนประสบการณ์ Universal Health Coverage 11 ประเทศ
ทบทวนประสบการณ์ Universal Health Coverage 11 ประเทศทบทวนประสบการณ์ Universal Health Coverage 11 ประเทศ
ทบทวนประสบการณ์ Universal Health Coverage 11 ประเทศ
 
Welfare analysis for uhc
Welfare analysis for uhcWelfare analysis for uhc
Welfare analysis for uhc
 
พระปกเกล้า20170527
พระปกเกล้า20170527พระปกเกล้า20170527
พระปกเกล้า20170527
 
ร่วมจ่ายทบทวนประสบการณ์ระบบสุขภาพอเมริกา
ร่วมจ่ายทบทวนประสบการณ์ระบบสุขภาพอเมริการ่วมจ่ายทบทวนประสบการณ์ระบบสุขภาพอเมริกา
ร่วมจ่ายทบทวนประสบการณ์ระบบสุขภาพอเมริกา
 
นักโภชนาการนักกำหนดอาหาร2017
นักโภชนาการนักกำหนดอาหาร2017นักโภชนาการนักกำหนดอาหาร2017
นักโภชนาการนักกำหนดอาหาร2017
 
Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559Final annual report nhso 2559
Final annual report nhso 2559
 
ช่วงนี้ มีประเด็น
ช่วงนี้ มีประเด็นช่วงนี้ มีประเด็น
ช่วงนี้ มีประเด็น
 
สาธารณสุขเชิงรุก
สาธารณสุขเชิงรุกสาธารณสุขเชิงรุก
สาธารณสุขเชิงรุก
 
Ncd nhes v_2016
Ncd nhes v_2016Ncd nhes v_2016
Ncd nhes v_2016
 

หมออนามัยVol.6

  • 1. รักประชาชนรักหมออนามัย E-Book วารสารหมออนามัย ปีที่ ๒๒ ฉบับที่ ๖ พฤษภาคม - มิถุนายน ๒๕๕๗ ISBN ๐๘๕๘-๒๙๑๒ หมออนามัย : ครูแห่งระบบสุขภาพในบริบทไทย
  • 2. 7. นวัตกรรมอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ เพื่อสุขภาพ กับ การพัฒนางานสาธารณสุข 5. หมออนามัยต้องยึดประโยชน์ประชาชน เป็นหลัก 12. วัณโรคหายได้ อาศัยชุมชนมีส่วนร่วม 13. ผลการประกวด สสอ./รพ.สต.ดีเด่น ปี 2557 ประเทศไทยอยู่ในระหว่างช่วง “เปลี่ยนผ่าน” ไม่ว่า จะเป็นกระแสการปฏิรูปของรัฐบาลใหม่ที่กำ�ลังก่อตัว, กระแส AEC ที่กำ�ลังจะมาถึงในอีก 1 ปีเศษนี้ กระแสโลกาภิวัฒน์ที่ เศรษฐกิจโลกกำ�ลังกวัดแกว่ง ไปจนถึงการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งต้องการค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพเป็นจำ�นวนมากมารองรับ... หมออนามัย มีความจำ�เป็นต้องมีความ “ใส่ใจ” และ “ตื่นตัว” พร้อมที่จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ซึ่งที่เห็น เป็นรูปธรรมชัดเจนคือ เทคโนโลยี่ใหม่ ๆ ด้านสุขภาพ การต้อง มีส่วนในการดูแลการเจ็บป่วยของคนต่างชาติ, ผลกระทบจาก การท่องเที่ยว, โรคอุบัติใหม่ (เช่น EBORA) และผลกระทบจาก ปัจจัยทางสังคมที่มีผลต่อสุขภาพ (Social Determinant of Health) ในฉบับนี้เราได้รับเกียรติจาก อาจารย์นายแพทย์ สุรเกียรติ อาชานานุภาพ ผู้ที่มีคุณูปการและให้ความสำ�คัญ ต่อการพัฒนาวิชาการให้กับหมออนามัยมาโดยตลอด สื่อสาร ให้กำ�ลังใจกับชาวหมออนามัย อีกท่านหนึ่ง คือ คุณสำ�เริง จงกล ประธานชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทย ที่จะได้มี ข้อคิดและข้อฝากให้กับชาวหมออนามัย รวมทั้งผลการประกวด สาธารณสุขอำ�เภอ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำ�บล (รพ.สต.) ดีเด่นของประเทศ ....พบกันใหม่ในฉบับหน้า หวังใจว่าทุกท่านคงสบายดี..... หมออนามัย 2 3. หมออนามัย ครูแห่งระบบสุขภาพในบริบทไทย Editor’Talk นพ.วีระวัฒน์ พันธ์ครุฑ .....เปลี่ยนผ่าน....
  • 3. หมออนามัย 3 มองผ่านเลนส์ (ส.ค.๕๗) “ผมขอส่งความขอบคุณผ่านไปยังหมออนามัย ที่ทำ�ให้ผมได้สร้างสรรค์ตำ�ราการตรวจ รักษาโรคทั่วไปมาตั้งแต่ปี ๒๕๑๙ จวบมาจนทุกวันนี้ ....” ผมกล่าวคำ�นี้ต่อผู้เข้าอบรมท่านหนึ่งใน “โครงการ Smart PM (project managers)” ของสำ�นักงานหลักประกันสุขภาพแห่ง ชาติ (สปสช.) ซึ่งจัดขึ้นที่โรงแรมรอยัลฮิลล์ฯ นครนายก เมื่อ ๖ – ๘ ส.ค.ที่ผ่านมานี้ โดยถือว่าเขาเป็นตัวแทนหมออนามัย (บุคลากร สาธารณสุขที่สถานีอนามัย/รพ.สต.) ในฐานะที่เขาเคยทำ�งานใน บทบาทนั้นมาก่อนที่จะย้ายมาทำ�งานที่ สปสช. การกล่าว “ชื่นชม ขอบคุณ ขอโทษ” จัดขึ้นในช่วงท้าย ของการอบรม หลังจากที่ได้ผ่านกระบวนการเปิดใจและสร้างความ สนิทสนมกันมาแล้ว เมื่อคนหนึ่งรับคำ�กล่าว “ชื่นชม ขอบคุณ หรือ ขอโทษ” จากสมาชิกคนหนึ่งของที่ประชุมเสร็จ ก็ต้องเดินไปหา สมาชิกอีกคนเพื่อแสดงออกในแบบเดียวกัน กติกาย้ำ�ว่า ทุกคนจะ ต้องแสดงออกจากใจจริง จึงเกิดบรรยากาศที่เต็มไปด้วยความรู้สึก ซาบซึ้ง ตื้นตัน อบอวลด้วยมิติทางจิตวิญญาณ เมื่อถึงคิวผม ผมฉุกคิดถึงบุญคุณของหมออนามัยขึ้นมา ทันที แล้วเดินไปหาสมาชิกท่านนั้น ตอนอยู่ต่อหน้าเขา ผมรู้สึก มีอะไรมาจุกคอหอยด้วยความรู้สึกตื้นตันใจ และกล่าวคำ�ได้ไม่กี่ ประโยค ไม่สามารถสะท้อนความรู้สึกในใจผมออกมาได้ครบถ้วน เมื่อกลับมาทบทวนว่าทำ�ไมผมจึงมีความรู้สึกเช่นนั้น ก็ ตอบตัวเองว่า เป็นเพราะผมรู้สึกว่าหมออนามัยมีบุญคุณต่อผมมา ตลอดตั้งแต่ผมจบเป็นแพทย์เมื่อกว่า ๔ ทศวรรษนั่นเอง ผมเกี่ยวข้องกับหมออนามัยตั้งแต่ไปทำ�งานใช้ทุนเป็น แพทย์ประจำ�ที่อำ�เภอโกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม (ปี๒๕๑๕) ที่ บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา (ปี๒๕๑๖ – ๑๙) เรื่อยมาถึง หมออนามัย : ครูแห่งระบบสุขภาพในบริบทไทย การพานักศึกษาไปฝึกปฏิบัติ เรียนรู้วิชาเวชศาสตร์ชุมชนในชนบท เมื่อมาเป็นอาจารย์ที่คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี (ปี๒๕๒๑- ๒๕๕๐) และมีบทบาทในการพัฒนาระบบสุขภาพระดับอำ�เภอ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ผมมองเห็นว่า จากประสบการณ์ในการเกี่ยวข้องสัมพันธ์ กับหมออนามัยมายาวนานนั้น ตัวผมเองได้เรียนรู้และเติบโตบน เส้นทางการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน ระบบบริการปฐมภูมิ และ ระบบสุขภาพระดับอำ�เภอ มาเป็นลำ�ดับ จนเป็นตัวผม (องค์ความ รู้ ความคิด ชีวิต และการงาน) ในปัจจุบัน เริ่มตั้งแต่แรกที่มองเห็นบทบาทการรักษาโรคเบื้องต้น (เพิ่มเติมจากงานส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค)ของหมอ อนามัยซึ่งเป็นหมอที่ใกล้ชิดกับชุมชนมากที่สุด จึงได้จัดโครงการ ฟื้นฟูความรู้ด้านนี้แก่หมออนามัยที่บางปะอิน และได้กลายเป็น ที่มาของการสร้างสรรค์ตำ�ราการตรวจรักษาโรคทั่วไป ซึ่งเป็น คู่มือสำ�หรับบุคลากรทุกสาขาที่ทำ�งานด้านบริการปฐมภูมิ ต่อมา จากประสบการณ์ที่คลุกคลีกับหมออนามัย ผมได้ เห็นหมออนามัยมีความเข้าใจและเข้าถึงประชาชน (โดยเฉพาะผู้ ด้อยโอกาส คนสูงอายุ คนพิการ และคนยากจน) ให้บริการแบบ องค์รวม (ครอบคลุมมิติทางกาย จิต และสังคม) ผสมผสาน (ส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และการ ฟื้นฟูสภาพ) และต่อเนื่อง สำ�หรับประชาชนทุกกลุ่มวัยในพื้นที่ รับผิดชอบ ทำ�หน้าที่เป็นหมอประจำ�ตัว ครอบครัว และชุมชน ทั้งหมดนี้ทำ�ให้ผมเข้าใจแนวคิดและหลักการการจัดระบบ บริการปฐม รศ.นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ
  • 4. หมออนามัย 4 ยิ่งกว่านั้น ผมได้เห็นบทบาทของหมออนามัยที่ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายในชุมชน (อปท. ผู้นำ�ทางการและผู้นำ�ธรรมชาติ ครู พระ อสม. จิตอาสา ครอบครัว และประชาชน) ในการพัฒนา ระบบสุขภาพชุมชน ผ่านโครงการจัดการปัญหาสุขภาพชุมชน ต่างๆ และเมื่อประสานเป็นเนื้อเดียวกันกับทีมสหวิชาชีพของโรง พยาบาล ก็ก่อให้เกิดคุณูปการต่อการพัฒนาสุขภาวะของประชาชน ทุกกลุ่มเป้าหมาย จนเกิดผลลัพธ์ที่ดี นี่คือพื้นฐานของแนวคิด และยุทธศาสตร์“ระบบสุขภาพระดับอำ�เภอ (district health system /DHS)” อันกลายเป็นนโยบายสำ�คัญหนึ่งของกระทรวง สาธารณสุขในปัจจุบัน ผมได้เรียนรู้ความหมายของคำ�ว่า “การทำ�งานเป็นยาใจ” จากหมออนามัยที่ทำ�งานในชุมชน จากการคลุกคลีใกล้ชิดกับ ชุมชน พวกเขาสามารถเรียนรู้วิถีชีวิต วัฒนธรรม ภูมิปัญญา และการดำ�เนินชีวิตแบบพอเพียงและมีคุณค่าของประชาชน จน กลายเป็นความรู้จากการปฏิบัติ (practice knowledge / tacit knowledge) ซึ่งทำ�ให้พวกเขาเกิดการปรับเปลี่ยนระบบคิด มุม มอง และกระบวนการทำ�งาน จนสามารถจัดการกับปัญหาใน ชุมชนได้สอดคล้องกับบริบทที่เป็นจริง หมออนามัยกลุ่มหนึ่ง (คุณ แทนนิตย์ นาใจ และเพื่อนๆที่จังหวัดเชียงราย) ได้ถือเอาการทำ�งาน เป็นโอกาสในการพัฒนาตนให้มีคุณค่าและความสุข จึงได้สร้าง วาทกรรม “การทำ�งานเป็นยาใจ” ซึ่งผมได้นำ�มาเผยแพร่ในช่วง ที่ผ่านมา อีกเรื่องหนึ่งที่ผมได้เรียนรู้ ก็คือ “การเรียนรู้แบบมีส่วน ร่วม (participatory learning)” ซึ่งเกิดมาจากการค้นหาวิธีส่ง เสริมการเรียนรู้ของหมออนามัย เริ่มต้นจากการพัฒนาความรู้ด้าน การรักษาโรคแก่หมออนามัย ครั้งแรกสุด คือการสอนนักศึกษา พนักงานอนามัยที่ส่งมาฝึกปฏิบัติกับผมที่โกสุมพิสัย และต่อมาจัด ทำ�โครงการฟื้นฟูความรู้ด้านนี้ของบุคลากรสาธารณสุขของสถานี อนามัยที่บางปะอิน ตอนนั้นเริ่มจากการวิเคราะห์ว่าพวกเขาควร มีสมรรถนะในการรักษาพยาบาลแก่ประชาชนในชุมชนอะไรบ้าง แล้วกำ�หนดเนื้อหาการสอน โดยเน้นการปฏิบัตินำ�ทฤษฎี (learning by doing) กล่าวคือ เริ่มด้วยการให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ จริง (จากการทดลองฝึกปฏิบัติ โดยมีคู่มือการเรียนให้ศึกษาเอง ประกอบ) แล้วนำ�มาพูดคุยแลกเปลี่ยนในกลุ่มกับผู้ที่เป็นครู เพื่อเสริมแนวคิด ทฤษฎี และวิชาการ แล้วจึงนำ�ไปประยุกต์ใน การปฏิบัติอีกรอบหนึ่ง ปรากฏว่าวิธีนี้สามารถส่งเสริมให้พวกเขา ทำ�งานด้านนี้ได้ดี ผมได้นำ�การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมนี้มาใช้สอนนักศึกษา และบุคลากรเรื่อยมาตลอดชีวิตของความเป็นครู และได้พัฒนา ต่อยอด สอดคล้องกับสิ่งที่เรียกว่า “การเรียนโดยใช้บริบทเป็น ฐาน (context-based learning / CBL)” และ “กระบวนการ ร่วมคิด ร่วมทำ� ร่วมเรียนรู้ (participatory interactive learning through action /PILA)” ซึ่งได้นำ�มาใช้ในโครงการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์หลายโครงการในปัจจุบัน ที่ผมมีส่วนร่วม สิ่งที่น่าสนใจอีกเรื่องหนึ่ง ก็คือ ผมมองเห็นว่าหลักสูตร การผลิตหมออนามัยในยุคก่อน (เรียน ๒ ปี) นั้นได้ใช้กระบวนการ เรียนรู้แบบมีส่วนร่วมดังกล่าว โดยแต่ละปีจะเรียนทฤษฎี ๖ เดือน ฝึกปฏิบัติในระบบงานและชุมชนที่เป็นจริง ๖ เดือน จบแล้วพวก เขาสามารถทำ�งานในสถานีอนามัยและในชุมชนได้อย่างมีคุณภาพ และเรียนรู้เพิ่มเติมจากการทำ�งานจริง เกิดปัญญาจากการปฏิบัติ (จนมีคนจำ�นวนไม่น้อยกลายเป็นคนทำ�งานที่โดดเด่น) และ สามารถเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้นไป จนบางคนจบปริญญาเอกและ เป็นนักวิชาการที่โดดเด่น ต่างจากหลักสูตรในปัจจุบันที่เพิ่มเป็น ๔ ปี แต่เน้นทฤษฎีในห้องเรียนมากกว่าการปฏิบัติ ทำ�ให้จบออก มาทำ�งานโดยเข้าไม่ถึงบริบทจริง รวมทั้งขาดเจตคติและทักษะ ในการทำ�งานในชุมชน นี้สะท้อนถึงความจริงที่ว่า “ปัญญารู้ได้ ด้วยการสนทนา” แต่ “ปัญญาย่อมเกิดเพราะใช้การ” ทั้งหมดนี้ นับว่าเป็นบทเรียนที่มีค่าของผมจากการ เกี่ยวข้องกับหมออนามัยมาตลอดชีวิตของการเป็นแพทย์ จน ผมรู้สึกว่าหมออนามัยเป็นผู้ที่มีบุญคุณอันใหญ่หลวงยิ่งของผม
  • 5. อนามัยมากกว่า 50,000 คนทั่วประเทศ ในการทำ�งานของ หมอนามัย จะมีเครือข่ายที่ให้ความร่วมมืออยู่หลายกลุ่ม อาทิ อสม. ที่ทำ�หน้าที่ช่วยประสานงานกับชาวบ้าน เจ้าหน้าที่ แพทย์ พยาบาล รพ.สต. เป็นหน่วย ให้ความรู้ทางด้านวิชาการ ท้องถิ่นสนับสนุน งบประมาณบางส่วน ทั้งนี้การทำ�งานของ หมออนามัยมุ่งเน้นไปที่การขับเคลื่อนด้าน สุขภาวะส่วนบุคคล สร้างองค์ความรู้ให้ แก่ประชาชนในพื้นที่ให้ตระหนักถึงการ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดโรค และเรียนรู้ที่จะปฏิบัติตนเองให้ ได้ประโยชน์ด้านสุขภาพ เป็นการทำ�งานตาม แนวทางสร้างเสริมสุข ภาพ แบบ”สร้างนำ� ซ่อม” ขณะเดียวกัน งบ ประมาณ ยังเป็น อุปสรรคที่สำ�คัญ ของการทำ�งาน หมออนามัย 5 ‘สำ�เริง จงกล’ แม้ว่า “สำ�เริง จงกล” จะทำ�งานด้านสาธารณสุขเป็น เวลาหลายทศวรรษมาแล้ว ผ่านร้อนผ่านหนาวมา มาก ประสบการณ์ที่มีทำ�ให้เขารู้ว่า การที่จะเป็นหมอ อนามัยที่ดีได้ ต้องมีความจริงจัง จริงใจ ยึดประโยชน์ ของประชาชนเป็นหลัก ตำ�แหน่ง หน้าที่ เป็นเพียง หัวโขนอันจอมปลอมวันหนึ่งได้มา สักวันหนึ่งก็ต้อง จากไป คุณสำ�เริง จงกล ประธานชมรม สาธารณสุขแห่งประเทศไทย กล่าวว่า กระแสข่าว เรื่องหมออนามัยหน้าจอ ตนยอมรับว่า ในปัจจุบัน เป็นเรื่องจริง ซึ่งคนทำ�งานในพื้นที่ต้องการที่ จะให้หมออนามัยทำ�งานด้านชุมชน เหมือนเดิมจนกลายเป็นคำ�กล่าว ที่ว่า “เอาหมอหน้าจอคืนไป เอาหมออนามัยคืนมา” ทั้งนี้ ในการปฏิบัติงานในพื้นที่ต้อง เป็นการทำ�งานเชิงรุก หากมัว แต่ทำ�งานเอกสาร งานภาค ประชาชนจะหายไป ในปัจจุบันมีหมอ ขอบคุณ http://www.hfocus.org/content/2014/07/7738 เอื้อเฟื้อข้อมูล ต้องยึดประโยชน์ประชาชนเป็นหลัก ที่ดี อนามัย หมอ
  • 6. หมออนามัย 6 ของหมออนามัย ตนมองว่าทุกวันนี้งบประมาณที่มี เป็นการ วางหรือให้ไว้ไม่ตรงจุด ในส่วนตัวมองว่างบการสร้างเสริมสุข ภาพควรจะแยกออกจากงบประมาณด้านการรักษาพยาบาล ซึ่งจะส่งผลดีต่อการขับเคลื่อนการทำ�งานของระดับปฏิบัติ การ ที่จะใช้งบประมาณด้านการสร้างเสริมสุขภาพได้ตรง วัตถุประสงค์ และคุ้มค่า สำ�หรับคนที่จะเข้ามาทำ�งาน เป็นหมออนามัยนั้น สิ่งที่จะต้องมีคือ ควรจะมีความจริงจัง และจริงใจต่อการทำ�งาน มองถึงประโยชน์ของประชาชน เป็นหลักมากกว่าประโยชน์ของตนเอง นอกจากนี้ คุณสำ�เริง ยังได้กล่าวถึงแนวทางการงาน ของตนเองว่า ตนจะคอยติดตามการทำ�งานของผู้ใต้บังคับ บัญชาอย่างใกล้ชิดที่สุด มีการให้ความดีความชอบ โดยยึด หลักความเป็นธรรม ซึ่งในการทำ�งานทุกอย่างจะต้องมีการให้ คุณและโทษ ในเวลาเดียวกันเราต้องพร้อมที่จะเป็นที่ปรึกษา รวมทั้งสนับสนุนการทำ�งานของผู้ร่วมงานทุกคน โดยจะไม่มี เรื่องของการเมืองมายุ่งเกี่ยว ซึ่งหากเราทำ�งานแบบไม่เลือก ข้าง เราจะไม่ได้รับผลกระทบเช่นกัน ทั้งนี้ เมื่อถามถึงปัญหาความขัดแย้งระหว่างกระทรวง สาธารณสุข กับ สำ�นักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประธานชมรมสาธารณสุขฯ ระบุว่า ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นไม่ ค่อยมีผลกระทบต่อหมออนามัยมากนัก ขณะเดียวกันหมอ อนามัยส่วนมากจะไม่ค่อยมีการต่อต้านนโยบายของผู้บริหาร อะไรก็ตามที่เป็นนโยบายที่มีผลดีต่อประชาชนเราก็ควร จะทำ�ตาม ส่วนที่มีการเคลื่อนไหวของกลุ่มต่างๆ ที่มีทั้งเห็นและ ไม่เห็นด้วยนั้น ตนมองว่าอาจเป็นการสื่อสารที่คลาดเคลื่อน กัน ในสภาวะที่ไร้รอยต่อเช่นนี้ ทั้งสองหน่วยงานควรจะหัน หน้าปรึกษา เพื่อหาช่องทางเชื่อมกับการทำ�งานของพื้นที่ เพื่อ ให้การทำ�งานในพื้นที่ต่างๆขับเคลื่อนไปได้ ไม่มีสะดุด “อยากจะฝากไปถึงผู้บริหารทุกท่านว่า ควรจะลด ทิฐิลงบ้าง ให้คิดว่าสักวันหนึ่งเราก็ต้องไป ควรมีความไว้เนื้อ เชื่อใจกัน อย่าไปหลงกับหัวโขนที่ได้มา เพราะสิ่งเหล่านั้นคือ สิ่งจอมปลอม สักวันหนึ่งก็หลุดหายไป ทางที่ดีควรจะระดม ความคิดกัน เพื่อประโยชน์ของประชาชน ซึ่งตรงกับแนวทาง การดำ�เนินงานที่ว่า จะทำ�งานก็ทำ�ให้ถึงที่สุด เพื่อก่อให้เกิด ประโยชน์ต่อองค์กร และประชาชนมากที่สุดเช่นกัน ไม่ควร นึกถึงประโยชน์ของตนเองเป็นที่ตั้ง” คุณสำ�เริง กล่าว
  • 7. หมออนามัย 7 นายแพทย์ ชูชัย ศรชำ�นิ สำ�นักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ระบบบริการสุขภาพที่เข้าถึงง่าย ไม่เป็นภาระค่าใช้จ่าย มี คุณภาพอันเป็นที่มั่นใจของประชาชน และ ระบบการ สาธารณสุขที่สามารถเฝ้าระวังโรค ควบคุมป้องกันสิ่งแวดล้อมและ ติดตามปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพของประชาชนที่ทันท่วงที รวดเร็ว ถูก ต้อง นับว่าเป็นปัญหาสิ่งท้าทายอย่างยิ่ง ต่อนักพัฒนาระบบการ สาธารณสุขสิ่งแวดล้อมและนักพัฒนาระบบบริการสุขภาพ ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมยุคทุนนิยมโลกาภิวัต น์ เรื่องเกี่ยวกับสุขภาพอันเนื่องจากปัจจัยทางสังคม (Social determinant of health) มีความเหลื่อมล้ำ� และผลกระทบต่อสุข ภาวะของประชาชนมักเกิดแก่บุคคลที่มีรายได้ปานกลาง รายได้ น้อย ด้อยโอกาสและที่อยู่ห่างไกล คนในสังคมที่มีรายได้ปานกลาง รายได้น้อยจำ�นวนมากไม่สามารถเข้ารับบริการสาธารณสุขที่มี คุณภาพ และไม่ได้รับการแจ้งเตือนที่ดีทันท่วงทีตามความต้องการ ด้านสุขภาพที่จำ�เป็นอันเนื่องจากอุปสรรคขัดขวางเรื่องค่าใช้จ่าย และข้อจำ�กัดของอุปทานด้านบริการสุขภาพ เทคโนโลยีการสื่อสารที่ใช้อุปกรณ์พกพาเคลื่อนที่ (Mobile technology) ที่มีพัฒนาการอย่างรวดเร็วในห้วง 15 ปีมานี้ ทั้งเครือข่ายการสื่อสาร ซอฟท์แวร์ โปรแกรมประยุกต์ และอุปกรณ์พกพา นับว่าเป็นการเปิดขอบฟ้าใหม่แห่งการแก้ ปัญหาท้าทายของความเสมอภาค (Equity) คุณภาพ (Quality) ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล (Efficiency) และความรับผิดชอบ สุขภาพร่วมกันของสังคม (Social accountability)1 ด้วยการใช้ซอฟท์แวร์หรือโปรแกรมประยุกต์เกี่ยวกับ สุขภาพ (Mobile health applications) หรือตัวรับสัญญาณ (Sensors) เครื่องมือทางการแพทย์ที่สามารถส่งผ่านสัญญาณทาง ไกลผ่านอุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ (Medical devices) เครื่อง มื่อสื่อสารควบคุมความเสี่ยงคนไข้ในระยะไกล (Remote patient monitoring) และ ระบบการติดตามพฤติกรรมและสถานการณ์ ระบาดวิทยาของโรค หรืออุบัติภัย (Behavioral Risk Factor Surveillance System) 2ด้วยการใช้เทคโนโลยีต่างๆ ข้างต้น ทำ�ให้ ผู้คนสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพ คำ�แนะนำ�ด้านสุขภาพ หมอแม้ ไกลบ้านแต่ใกล้ใจ ในค่าใช้จ่ายที่ต่ำ�ลง นอกจากนั้นนักวิชาชีพด้าน การสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานด้านการเฝ้าระวังโรค สอบสวนโรค จัดการสภาพแวดล้อมเพื่อป้องกันภาวะคุกคามได้ง่ายขึ้น ทันท่วงที นวัตกรรม อุปกรณ์สื่อสาร เคลื่อนที่ เพื่อสุขภาพ กับ การพัฒนางาน สาธารณสุข
  • 8. หมออนามัย 8 และเป็นเครื่องมือรับผิดชอบสุขภาพร่วมกันกับสมาชิกในสังคมได้ โดยผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่และการสื่อสารไร้สาย ความหมายของการใช้อุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่เพื่อสุขภาพ การใช้อุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่เพื่อสุขภาพ (mHealth or mobile health) เป็นองค์ประกอบหนึ่งของการจัดการสุขภา พอิเลคโทรนิคส์ (eHealth) ที่บุคลากรทางการแพทย์ และวิชาชีพ ด้านการสาธารณสุข ใช้อุปกรณ์สื่อสารที่เคลื่อนที่ได้ เช่น โทรศัพท์ เคลื่อนที่ อุปกรณ์สื่อสารควบคุมกำ�กับความเสี่ยงคนไข้ทางไกล เครื่องคอมพิวเตอร์แทบเบลต และอุปกรณ์ไร้สายอื่นๆ สื่อสารกัน ด้วยเสียง ภาพ ข้อมูล ข้อความสั้น (SMS) คลื่นวิทยุความถี่สัญญา นความเร็วสูง (GPRS) ระบบการสื่อสารข้อมูลทางไกลรุ่นที่ 3, 4 (3G and 4G systems) ระบบระบุตำ�แหน่งบนพื้นโลก (GPS), และเทคโนโลยี Bluetooth กระแสความนิยมของ Mobile Devices ในสังคมโลกและ สังคมไทย ความนิยมใช้อุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ (Mobile Devices) ที่มีมากขึ้น เปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต การทำ�งาน และการใช้บริการ สุขภาพ อุปกรณ์เหล่านี้ไม่จำ�กัดเฉพาะ แลปทอป สมาร์ตโฟน และ แท็บเล็ต แต่รวมถึง Wearable Tech เทคโนโลยีสำ�หรับสวมใส่รูป แบบต่างๆ ที่จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น การวิเคราะห์ข้อมูลระดับโลก พบว่าในอีก 4 ปีข้างหน้า อัตราการเติบโตของกลุ่มสมาร์ตโฟน และแท็บเล็ตทั่วโลกจะสูงถึง 66% ต่อปี ในขณะที่จำ�นวนเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีมีอัตราหดตัว ลง -7%3 สำ�หรับภูมิภาคเอเซียแปซิฟิกเองก็มีทิศทางที่สอดคล้อง กับแนวโน้มนี้ด้วยเช่นกัน โดยในไตรมาสที่ 3 ของปีที่ผ่านมายอด ขายโดยรวมของเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีลดลงอย่างต่อเนื่องถึง 12% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว สวนทางกับตลาด Mobile Devices ที่โตขึ้น อย่างรวดเร็ว โดยมีการคาดการณ์ว่าจะมีอัตราเติบโตโดยเฉลี่ยปีละ 27% ในอีก 4 ปีข้างหน้า ข้อมูลในประเทศไทยเกี่ยวกับ การใช้งาน เฉพาะกรณี การใช้โทรศัพท์มือถือ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2556 พบว่าจำ�นวนผู้ ใช้งานโทรศัพท์มือถือ (Mobile Subscribers) จากการรายงาน ยอดผู้ใช้บริการมือถือโดยนับเฉพาะผู้ให้บริการหลักทั้ง 3 รายใหญ่ ของประเทศไทย ได้แก่ AIS, dtac และ TrueMove ในช่วงสิ้นปี 2556 นั้นยอดผู้ใช้งานรวมทั้งสิ้น 88.9 ล้านคน และ มียอดผู้ใช้ งานอินเตอร์เน็ตผ่านมือถือ จนถึงสิ้นปี 2013 ยอด 36.4 ล้านคน ส่วนยอดผู้ใช้มือถือประเภทสมาร์ทโฟนนั้นทั้ง 3 ผู้ให้บริการหลัก AIS, dtac, TrueMove มีการรายงานออกมาดังข้อมูลด้านล่างนี้ ซึ่งพบว่าเฉลี่ยแล้วคนไทยน่าจะใช้สมาร์ทโฟนราว 25% ของมือถือ ทั้งหมด (Smartphone + Feature phone) 4 ภาพที่ 1 ยอดผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือในประเทศไทยเกินกว่ายอด ประชากรในประเทศคิดเป็น 120 % ประชากร การประยุกต์ใช้อุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่เพื่อบริการทางการ แพทย์ และ การขยายงานด้านสาธารณสุข5 การศึกษา World Health Organization’s (WHO) Global Observatory for eHealth (GOe) ที่รายงานเมื่อ 2554 ในประเทศสมาชิก ที่เข้าร่วมการสำ�รวจ 114 ประเทศสมาชิก องค์การอนามัยโลก พบว่า ได้มีการประยุกต์ใช้ mHealth แบ่งได้ เป็น 6 กลุ่มการใช้ประโยชน์คือ 1. ใช้สื่อสารระหว่างบุคคล กับ สถานบริการหรือผู้ให้ บริการ 2. สื่อสารจากผู้ให้บริการ สู่บุคคล 3. ใช้ปรึกษากันระหว่างวิชาชีพด้านการแพทย์ และ สาธารณสุข 4. สื่อสารระหว่างหน่วยงานกรณีฉุกเฉิน 5. การควบคุมกำ�กับสถานะสุขภาพและเฝ้าระวังความ เสี่ยงด้านสุขภาพ 6. ช่วยในการเข้าถึงข้อมูลสุขภาพสำ�หรับบุคลากรวิชาชีพ ด้านสุขภาพ ณ จุดบริการ โปรแกรมประยุกต์ที่ใช้ในอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่เพื่อ สุขภาพ (Mobile health applications) สามารถช่วยในการฝึก อบรม ถ่ายทอดประสบการณ์ระหว่างบุคลาการสาธารณสุขและ ทีมสหสาขาวิชาชีพ และอาสาสมัครในพื้นที่, การจัดการโรคเรื้อรัง6, การควบคุมกำ�กับข้อมูลตัวเลข ความเสี่ยงของคนไข้ เช่น คนไข้โรคหัวใจที่อยู่นอกโรงพยาบาล7
  • 9. หมออนามัย 9 ผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียว, ใช้วัดความดันเลือด , วัดปริมาณแคลอรี่ ในรายที่มีโรคอ้วน , ช่วยคำ�นวณส่วนประกอบและปริมาณอาหาร ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง , เตือนการจ่ายยาและใช้ยาอย่างปลอดภัย, แจ้งการนัดหมาย, ให้คำ�ปรึกษาทางการแพทย์กรณีต้องการ ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ8, บอกตำ�แหน่งของที่เกิดเหตุฉุกเฉิน และบริการทางการแพทย์ที่อยู่ใกล้ที่สุด, แจ้งเหตุภัยคุกคามต่อ สุขภาพและการสาธารณสุขที่ใกล้เวลาจริง (Near real-time) ไม่ ว่าเหตุการณ์นั้นจะเกิดที่ใด เวลาใด ทำ�ให้การสอบสวนโรค เฝ้า ระวังโรคยุคใหม่ง่ายขึ้น9 ภาพที่ 2 Lists the types of mHealth initiatives อุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่กับบทบาทหน้าที่ของวิชาชีพการ สาธารณสุขชุมชน เทคโนโลยีการสื่อสารเคลื่อนที่ได้ ที่มีราคาที่ถูกลง ความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลภาพ เสียง ข้อมูลไร้สายที่รวดเร็ว อุปกรณ์พกพาที่สะดวกกระทัดรัด และมีการพัฒนาซอฟแวร์ แอพ พลิเคลั่นอย่างต่อเนื่อง เป็นช่องทางที่นักการสาธารณสุขต้องให้ ความสนใจ เพราะจะเป็นหนทางช่วยให้ประชาชนสามารถเข้า ถึงบริการสุขภาพและข้อมูลปัจจัยเสี่ยงด้านการการสาธารณสุข โดยง่าย มีส่วนร่วม และมีค่าใช้จ่ายไม่สูง การพัฒนา หรือวิจัย และพัฒนาเชื่อมโยงข้อมูลทางคลินิก เข้ากับ มาตรการทางการ สาธารณสุขและสุขภาพชุมชน จะต้องให้ความสนใจและได้รับ การสนับสนุนทั้งทางนโยบาย การสนับสนุนเงินทุน การพัฒนา บุคลากร10 ไปพร้อมกับการสร้างความตระหนักตื่นตัวของภาค ประชาชน ที่จะมาtเป็น “อสม. โซเชียลมีเดีย” เพื่อสร้างสังคม หมู่บ้านสุขภาวะไร้พรมแดน การขยับขับเคลื่อนทางยุทธศาสตร์สำ�หรับ mHealth องค์การอนามัยโลกให้คำ�แนะนำ�ดังนี้ นักการสาธารณสุขในประเทศสมาชิก จะต้องรวบรวม ข้อมูลพื้นที่ ที่สามารถประยุกต์ใช้ mHealth best practices ที่สามารถนำ�มาปฏิบัติการเชื่อมโยงกับงานด้านการสาธารณสุข เฝ้าระวังโรค ติดตามความเสี่ยง และภัยคุกคามสุขภาพได้ดี มี ประสิทธิผล ต้นทุนต่อประสิทธิภาพดี องค์การอนามัยโลก และสหภาพการสื่อสารนานาชาติ (ITU) จะให้การสนับสนุนบุคลากรสาธารณสุข ให้มีความรู้ ความ สามารถ ทำ�งานวิจัย วิจัยและพัฒนา และให้ความสำ�คัญในการใช้ อุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ เพื่อจัดการปัญหาสุขภาพในพื้นที่ องค์การอนามัยโลก และสหภาพการสื่อสารนานาชาติ (ITU) จะต้องร่วมกับนักการสาธารณสุขพัฒนาระบบป้องกันความ เป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคล และนโยบายความปลอดภัยของ ข้อมูลบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Security policy for mobile telecommunications in health) บทสรุป เทคโนโลยีสื่อสารเคลื่อนที่ไร้สาย เพื่อสุขภาพและความอยู่ดีมีสุข ถ้วนหน้า (mHealth to improve health and well-being) ความท้าทายของนักพัฒนาระบบบริการสุขภาพ นักการ สาธารณสุข วิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน ในอันที่จะให้บริการ อย่างทั่วถึง เป็นธรรม ไม่เหลื่อมล้ำ� อยู่ในความสามารถที่จะจ่ายได้ มีคุณภาพที่ดี และช่วยให้ผู้ป่วย ผู้มีภาวะความเสี่ยงทางด้านการ สาธารณสุข มีชีวิตอยู่อย่างคุณภาพชีวิตดี อยู่ดีมีสุข ในครอบครัว ในสังคม เป็นความท้าทายใหญ่ในโลกที่มีภาระโรคเรื้อรัง สังคมผู้ สูงวัย ความเหลื่อมล้ำ�ด้านเศรษฐกิจและปัจจัยทางสังคม การประยุกต์ใช้นวัตกรรม และสิ่งประดิษฐ์ เทคโนโลยี สื่อสารเคลื่อนที่ ไร้สาย น่าจะเป็นคำ�ตอบหนึ่งในหลายคำ�ตอบของ สิ่งท้าทายข้างต้น นักการสาธารณสุขในยุคนี้จึงควรต้องให้ความ สนใจ ดัดแปลงนำ�มาประยุกต์ใช้ วิจัย วิจัยและพัฒนา ไปพร้อมๆ กับการเคลื่อนไหวกับภาคประชาชนในสังคมออนไลน์ที่ใช้สื่อทาง สังคมในแอพพลิเคชั่นชนิดต่างๆ อยู่แล้ว (เช่น facebook, line, etc.)11 เพื่อสร้างสรรค์สุขภาพและความอยู่ดีมีสุขแก่ประชาชนใน ศตวรรษที่ 21
  • 10. 1mHealth New horizons for health through mobile technologies. Based on the findings of the second global survey on eHealth. Global Observatory for eHealth series - Volume 3. World Health Organization 2011. 2The BRFSS is an ongoing telephone survey of adults conducted in all 50 states and coordinated by the Centers for Disease Control and Prevention (CDC) in Atlanta, GA. Households are randomly selected and contacted by a contractor who conducts most interviews in the evenings and on weekends. Perhaps you or someone you know was called by the survey staff. Once an interviewer reaches a household, a random selection of adult household members is made to choose one person to participate in the survey. Listed and unlisted residential telephone numbers are included in the sample, but not business, Fax, modem or cell phone lines. 10Qualcomm, “3G Wireless Technology Provides Clinical Information to Public Health Workers Through Mobile Health Information System Project,” November 10, 2010. 6Oguz Karan, Canan Bayraktar, Haluk Gumuskaya, and Bekir Karlik, “Diagnosing Diabetes Using Neural Networks on Small Mobile Devices,” Expert Systems with Applications, Volume 39, 2012, p. 54. 7Qualcomm, “Qualcomm and Life Care Networks Launch 3G Mobile Health Project to Help Patients with Cardiovascular Diseases,” September 7, 2011. 8Duck Lee, Jaesoon Choi, Ahmed Rabbi, and Reza Fazel-Rezai, “Development of a Mobile Phone Based e-Health Monitoring Application,” International Journal of Advanced Computer Science and Applications, Volume 3, 2012, pp. 38-43. 9Timothy Aungst, “Study Suggests Researchers Should Use Social Media ‘App’ Websites to Engage Patients in Disease Surveillance,” www.iMedicalApps.com, May 28, 2013. 5Errol Ozdalga, Ark Ozdalga, and Neera Ahuja, “The Smartphone in Medicine,” Journal of Medical Internet Research, Volume 14, September 27, 2012. 3Anton Shilov. Growing Popularity of Smartphones and Tablets Leave Special- Purpose Devices Out of Picture. http://www.xbitlabs.com/news/multimedia/display/ 20110726220951_Growing_Popularity_of_Smartphones_and_Tablets_Leave_ Special_Purpose_Devices_Out_of_Picture.html 4ที่มา http://www.veedvil.com/news/thailand-mobile-in-review-q3-2013/ บรรณานุกรม
  • 11. หมออนามัย 10 เรื่องเล่า จากหมออนามัย “วัณโรคหายได้ อาศัยชุมชนมีส่วนร่วม” รพ.สต.บ้านปากนคร ได้ด�ำเนินการรักษาผู้ป่วยด้วย วัณโรคด้วยวิธีการท�ำ DOTS โดยเจ้าหน้าที่ตลอดมา ท�ำให้รู้สึก กังวลหากต้องท�ำต่อไปโดยไม่มีทีมงานที่เข้าใจในการท�ำงาน สังคมที่ไม่เข้าใจผู้ป่วยวัณโรคท�ำให้ผู้ป่วยอาจต้องกลายเป็นที่ รังเกียจของสังคม ดังนั้น รพ.สต.บ้านปากนคร จึงน�ำองค์ความรู้ ที่เกิดขึ้นจากการดูแลผู้ป่วยที่มารับการดูแลรักษาลงสู่ชุมชน เพราะขาดก�ำลังเจ้าหน้าที่ ซึ่งมีเพียง 3 คน อีกทั้งการโยกย้าย เปลี่ยนแปลงสถานที่ปฏิบัติงาน อาจเกิดขึ้นในวันใดก็ได้ การ ด�ำเนินงานในระบบ DOTS ในชุมชนจะมีแนวทางอย่างไร จาก การท�ำประชาคมหมู่บ้านและการประชุมกับคณะกรรมการ พัฒนา รพ.สต.บ้านปากนคร ได้ตระหนักถึงความจ�ำเป็นที่จะ ต้องหาแนวร่วม เพื่อสร้างทีมงานพี่เลี้ยงเข้ามาร่วมท�ำงานในการ ให้บริการโดยคัดเลือกจากบุคลากรที่มีคุณลักษณะมีความเป็นผู้น�ำ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีและมีจิตอาสาในชุมชน โดยมีการถ่ายทอด ความรู้ ทักษะ และมี เจตคติที่ดี จนสามารถเป็นแหล่งความรู้ เคลื่อนที่และแหล่งข้อมูลพูดได้ของชุมชนต่อไป จากการด�ำเนินงานได้เกิดทีมงานพี่เลี้ยง ในการดูแลผู้ ป่วยวัณโรคเพื่อการท�ำ DOTS ในชุมชน และการค้นหาผู้ป่วย วัณโรครายใหม่ ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ รพ.สต.บ้านปากนคร, ผู้น�ำชุมชน, เทศบาล ต.ปากนคร, อบต.ท่าไร่ และ อสม. รวมทั้ง ผู้ป่วยวัณโรคที่ได้รับการรักษาจนหาย พบว่าผู้ป่วยวัณโรคมีความ กระตือรือร้นที่จะได้รับการรักษา เพราะไม่รู้สึกว่าตนเองเป็นที่น่า รังเกียจของสังคม อันเนื่องมาจากรู้ว่าตนเอง หากได้รับการรักษา อย่างถูกต้องต่อเนื่อง และความมีปฏิสัมพันธ์อันดีกับบุคคลอื่นใน ชุมชน ไม่เป็นที่รังเกียจของสังคม แต่กลับได้รับการดูแลเอาใจใส่ จากผู้น�ำชุมชน และเพื่อนบ้าน เกิดประสบการณ์กลุ่มที่น�ำมาใช้ ในการปฏิบัติเพื่อเป็นแบบแผนในการด�ำเนินการช่วยเหลือผู้ป่วย กลุ่มอื่นด้วย การน�ำผู้ป่วยวัณโรคกลับคืนสู่สังคมโดยการมีจิตส�ำนึก ในความเอาใจใส่ต่อตนเองและผู้อื่น จากกิจกรรมมีร่วมกันนี้ ผู้ ป่วยวัณโรคที่ได้รับการรักษาจนหายขาด จะสามารถดูแลบุคคล อื่นและคอยเป็นพี่เลี้ยงให้ค�ำแนะน�ำแก่ผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ ให้ เข้าใจถึงความจ�ำเป็นในการกินยาที่ถูกต้อง ต่อเนื่อง โดยใช้ แผนการดูแลอย่างเป็นระบบทั้งการกินยา การรับประทาน อาหาร การออกก�ำลังกาย มีสิ่งอื่นอีกหลายๆ ประการที่เกิดขึ้นที่เกิดขึ้นจากผลของ การด�ำเนินงาน กล่าวได้ คือ ชุมชนมีความกระตือรือร้นในการรับ ข่าวสารทางด้านสาธารณสุขมากขึ้น ประเมินได้จากการเข้าร่วม ประชุมในกิจกรรมสาธารณสุขต่างๆ การให้ความร่วมมือ กรณี ของงานวัณโรคนั้นคนในชุมชนสามารถประเมินกลุ่มเสี่ยงและ อธิบายได้ว่า อาการใดควรได้รับการส่งต่อโดยระบุว่า “ไอเกิน 2 สัปดาห์ต้องไปหาหมอ” มีการถ่ายทอดประสบการณ์ของผู้ป่วย และทีมงานมีการประสานงานหลายระดับ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ที่ เกิดขึ้นในชุมชนหลังจากการด�ำเนินโครงการท�ำให้ชุมชนมีส่วน ร่วมในการดูแลผู้ป่วยประเภทต่าง ๆ มากขึ้น จนส่งผลให้งานส่ง เสริมสุขภาพ งานป้องกันโรค งานรักษาพยาบาล มีความก้าวหน้า แต่สิ่งเหล่านี้อาจจะไม่เกิดขึ้นหากไม่ได้รับความร่วมมือและการ ให้โอกาสจาก สสจ.นครศรีธรรมราช/สสอ.เมืองนครศรีธรรมราช/
  • 12. หมออนามัย 11 รพ.มหาราชนครศรีธรรมราช/ศูนย์วัณโรค/เทศบาลต.ปากนคร และ อบต.ท่าไร่ และก่อให้เกิดการพัฒนางาน DOT ในชุมชน ช่วยดูแลกันและกันเป็นทีมงานที่รับผิดชอบและจุดมุ่งหมายร่วม กัน และเมื่อพูดถึงหน้าที่ในการดูแลเรื่องการใช้ยาของผู้ป่วย วัณโรค หลายๆ คนคงนึกถึง “เภสัชกร” ซึ่งเป็นบุคลากรที่จะต้อง มีบทบาทในการประเมินปัญหาด้านยา ให้ข้อมูลค�ำ ปรึกษาและ ส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีการใช้ยาได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย เพื่อให้ บรรลุตามเป้าหมายของแผนการรักษา ปัญหาในการใช้ยาของผู้ ป่วยมีความหลากหลาย บางครั้งซับซ้อนเชื่อมโยงกับปัญหาใน ด้านอื่นๆ ตามบริบทของผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งเภสัชกรเพียงฝ่าย เดียวอาจไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ทั้งหมด การท�ำ งานโดยทีมสห วิชาชีพ รวมทั้งกระตุ้นให้ผู้ป่วย ครอบครัว และชุมชนมีส่วนร่วม ในกระบวนการดูแลรักษา ย่อมให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า ข้าพเจ้ามี ประสบการณ์ในการท�ำ งานดูแลกลุ่มผู้ป่วยวัณโรคมา ประมาณ 10 ปี ผู้ป่วยกลุ่มนี้โดยส่วนใหญ่เป็นผู้มีภาวะ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง มักจะมีโรคร่วมหลายๆ โรค จ�ำ เป็นต้องใช้ยา หลายรายการ ซึ่งมีโอกาสเกิดความสับสนในการใช้ยาได้มาก รวมทั้งการป่วยเป็นโรควัณโรค ซึ่งจ�ำ เป็นต้องใช้ยาเพื่อควบคุม ภาวะโรคและป้องกันภาวะแทรกซ้อนไปตลอดแผนการรักษา ไม่ สามารถหยุดยาเองได้ ท�ำ ให้ผู้ป่วยเกิดความเบื่อหน่ายในการใช้ ยา จนบางรายอาจไม่ให้ความร่วมมือในการรักษา ดังนั้น ทีมสห วิชาชีพจึงต้องร่วมกันขบคิดวิธีการต่างๆ มาช่วยให้ผู้ป่วยสามารถ ใช้ยาได้อย่างต่อเนื่องและมีความสุข (ความจริงอยากใช้ค�ำ ว่ามี คุณภาพชีวิตที่ดีนะคะ แต่คิดว่าการที่มีความสุขน่าจะเป็นจุดเริ่ม ต้นที่จะเชื่อมโยงไปถึงค�ำ ๆ นี้ค่ะ) ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติงานใน รพ.สต.บ้านปากนครให้การดูแลผู้ป่วยวัณโรคในชุมชน จึงขอเล่า เรื่องความประทับใจในตัวผู้ป่วยรายหนึ่งซึ่งเป็นความภาคภูมิใจ ใน การดูแลรักษาของทีมสุขภาพของ รพ.สต.บ้านปากนคร ค่ะ ลุงสุธี อายุ 57 ปี มีอาชีพประมงและรับจ้างทั่วไป เป็น อีกคนที่ได้มีอาการไอเรื้อรังมาประมาณ 3 สัปดาห์แล้ว อสม.คน เก่งของเรา ป้าสุนีย์พร ซึ่งเป็นพี่สาวของลุงสุธี ได้เฝ้าสังเกต อาการผิดปกติของน้องชายอย่างเป็นห่วงก็เลยตัดสินใจพาน้อง ชายมาหาเจ้าหน้าที่ รพ.สต.เพื่อปรึกษาปัญหา ทราบความว่า ลุงสุธีไอเรื้อรังมาประมาณ 3 สัปดาห์แล้ว และมีประวัติท�ำ งาน และสัมผัสกับผู้ป่วยวัณโรคที่ก�ำ ลังรักษาอยู่ จึงส่งต่อให้ไปตรวจ คัดกรองวัณโรคที่ รพ.มหาราชนครศรีธรรมราช ผลปรากฏว่า ลุง สุธีป่วยเป็นวัณโรคจริงๆ เจ้าหน้าที่รพ.มหาราชนครศรีธรรมราช แจ้งเจ้าหน้าที่ รพ.สต.ทราบผลการตรวจวินิจฉัย ป้าสุนีย์พร อาสาเป็นผู้รับผิดชอบดูแลให้น้องชายรับประทานยาเอง ป้าสุ นีย์พรมีความตั้งใจที่จะดูแลน้องชายให้หายจากวัณโรคโรคให้ได้ หลังจากนั้น เจ้าหน้าที่ก็ไปชวนลุงพร ซึ่งเคยป่วยเป็นวัณโรค รักษาหายแล้ว และสมาชิกในทีมงานดูแลรักษาวัณโรคของ รพ.สต. (ซึ่งประกอบไปด้วยผู้น�ำ ชุมชน อสม. และผู้ป่วยที่รักษา วัณโรคส�ำ เร็จ) ไปเยี่ยมลุงสุธีซึ่งเป็นผู้ป่วยใหม่ เพื่อสร้างก�ำ ลังใจ ในการรักษา ซึ่งบ้านลุงสุธีเป็นบ้านชั้นเดียวครึ่งไม้ครึ่งปูน พื้น บ้านยกสูง (น�้ำท่วมบ่อย) บ้านหันหน้าไปทางปากน�้ำปากนคร ซึ่งเป็นทางออกสู่ทะเลอ่าวไทย ลมพัดเย็นสบายมากๆ อยู่อาศัย ร่วมกันกับภรรยา และลูกอีก 1 คน สภาพของผู้ป่วยเมื่อแรกเจอ คือ ร่างกายอ่อนเพลียไม่มีแรง เวลาพูดแทบไม่ค่อยได้ยินเสียง เพราะยังมีอาการหอบเหนื่อยอยู่มาก ท�ำ ให้พวกเราสงสัยว่า ร่างกายของผู้ป่วยจะสามารถทนกับอาการข้างเคียงจากยารักษา วัณโรคได้ไหมหนอ ลุงสุธี: “เมื่อคืนหลังกินยาวัณโรคไปซองเล็กที่หมอจัด ชุดรวมให้ ก็รากแตก ใจไม่ดี นอนไม่หลับ คิดแค่ว่าไม่อยากจะกิน ยาต่อแล้ว แต่ด้วยว่าอยากหายก็อดทนฝืนกินยา นึกขึ้นได้หมอ เคยแนะน�ำ ให้ฝานกล้วยเป็นแผ่นบางๆ แปะกับเม็ดยาจะช่วยให้ กินง่ายขึ้น ไม่พะอืดพะอม ปรากฏว่าดีขึ้น และผมมีพี่สาวคอย ดูแลให้กินยาทุกวัน ผมเป็นคนตั้งใจนะหมอ อยากหาย” เป็นประโยคที่ออกมาบ่งบอกว่าผู้ป่วยน่าจะให้ความ ใส่ใจในการกินยา จากการพูดคุยทราบว่าระยะหลังๆ สุขภาพไม่ ค่อยดี จึงไม่ได้ออกทะเลหาปลาและรับจ้างเหมือนก่อน การใช้ จ่ายในบ้านก็ไม่คล่องตัวนัก แต่ก็พออยู่ได้ เพราะลูกชายคนโตส่ง เงินมาให้เป็นประจ�ำ แต่ก็กลัวรบกวนและกังวลจะเป็นภาระของ ลูก ทางป้าสุนีย์พรก็ให้ก�ำ ลังใจและจะคอยดูแลช่วยเหลืออีกแรง หากค่าใช่จ่ายในบ้านไม่พียงพอ เพราะมีพี่น้องด้วยกัน 2 คน เท่านั้น หลังจากนั้นก็พูดคุยแนะน�ำ ถึงความรู้เรื่องวัณโร การรับ
  • 13. หมออนามัย 12 ประทานยาให้ครบถ้วนถูกต้องตามเวลา อาการข้างเคียงจาก การใช้ยา การจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม การปฏิบัติตัวใน การดูแลตนเองของผู้ป่วยและการปฏิบัติตนเพื่อหลีกเลี่ยงการติด เชื้อส�ำ หรับสมาชิกในครอบครัวซึ่งเป็นผู้สัมผัสกับผู้ป่วย ให้ สังเกตอาการ และหากมีอาการให้ส่งตัวไปตรวจเสมหะค้นหา วัณโรคต่อไป ซึ่งหลังจากนั้นก็ได้น�ำ กรณีศึกษารายนี้ไปน�ำ เสนอในที่ ประชุม DOT Meeting ของอ.เมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งจัดที่ รพ.มหาราชนครศรีธรรมราช ซึ่งมีบุคลากรจากหลากหลาย หน่วยงานในเขต อ.เมืองนครศรีธรรมราชมาประชุมแลกเปลี่ยน เรียนรู้ในการดูแลผู้ป่วยวัณโรค ทุกวันพุธสัปดาห์ที่ 4 ของเดือน ในวันนั้นบุคลากรของฝ่ายเภสัชกร ก็ให้ค�ำ แนะน�ำ เรื่องยารักษา วัณโรค และการเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา รักษาวัณโรค การดูแลช่วยเหลือผู้ป่วย ตลอดจนสามารถปรึกษา ส่งต่อได้เมื่อต้องการ ในวันนั้นก็ได้เสนอหัวข้อการจัดการระบบ ยารักษาวัณโรคในรูปแบบใหม่ ให้ที่ประชุมมีมติเห็นชอบ เพื่อ ให้สามารถใช้ได้อย่างถูกต้อง, เข้าถึงได้ง่าย และสะดวกในการ รับ-ส่งยาวัณโรค ท�ำ ให้เกิดความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน หลังจากนั้นอีก 2 สัปดาห์ ผู้ป่วยมาหาที่ รพ.สต.ด้วย อาการผื่นแดง คันตามร่างกาย ลุงสุธี: “ผมเริ่มท้อใจแล้วหมอ มันเป็นเวรเป็นกรรมอะไร นักหนา กินยาก็ชวนอ๊วก กินแล้วยังมาเกิดผื่นอีก คันก็คัน ผมคง ตายด้วยวัณโรคแน่ ๆ แล้วละมั๊ง ...แต่จริงๆ ผมก็อยากหายนะ หมอ” เจ้าหน้าที่ : “ไม่เป็นไรจ้ะลุง อย่ากังวลไปเลย ลุงจะต้อง หายจากวัณโรค ผื่นแดงคัน อาจจะเป็นได้จากอาการข้างเคียง เดี๋ยวเอายาแก้แพ้ไปกิน ก็คงจะดีขึ้นได้ แต่ถ้ายังไม่ดีขึ้นลุงแจ้ง เจ้าหน้าที่ให้ทราบเลยนะคะ และที่ส�ำ คัญ อย่าเพิ่งท้อแท้กับชีวิต ลุกขึ้นสู้ต่อไปนะ ทุกคนจะเป็นก�ำ ลังใจให้ ถ้าลุงอยากหายก็ต้อง กินยาตามที่หมอสั่ง และพบหมอตามนัดด้วยนะคะ” ลุงสุธี รับปากด้วยน�้ำเสียงและท่าทางที่บ่งบอกถึงความ มุ่งมั่น ท�ำ ให้เจ้าหน้าที่รู้สึกได้ถึงความส�ำ เร็จที่ก�ำ ลังจะมาเยือน จากการดูแลเอาใจใส่ของสมาชิกในทีมงานดูแลรักษา วัณโรคของ รพ.สต.บ้านปากนคร ครอบครัวของลุงสุธี รวมถึง ความตั้งใจที่จะเอาชนะโรคนี้ของลุงสุธี ท�ำ ให้ลุงสุธีหายจาก วัณโรค ซึ่งต้องใช้เวลาในการรักษานาน แต่ “วัณโรคหายได้ อาศัยชุมชนมีส่วนร่วม” นางณัฏฐิมา ลิ่มวิจิตรวงศ์ รพ.สต.บ้านปากนคร ต.ท่าไร่ อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช
  • 14. หมออนามัย 13 ชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทย ได้จัดทำ�โครงการประเมินคัดเลือก การประกวด สำ�นักงานสาธารณสุขอำ�เภอ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำ�บลดีเด่น ประจำ�ปี 2557 ผลการประเมิน เป็นดังนี้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำ�บลดีเด่น 1.ชนะเลิศ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำ�บลบางแก้ว อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ 2.รองชนะเลิศ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำ�บลคลองสระ อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี 3.รองชนะเลิศ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำ�บลปอแดง อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ 4.รองชนะเลิศ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำ�บลบ้านมุง อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก สำ�นักงานสาธารณสุขอำ�เภอดีเด่น 1.ชนะเลิศ สำ�นักงานสาธารณสุขอำ�เภอระโนด จังหวัดสงขลา 2.รองชนะเลิศ สำ�นักงานสาธารณสุขอำ�เภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ 3.รองชนะเลิศ สำ�นักงานสาธารณสุขอำ�เภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว 4.รองชนะเลิศ สำ�นักงานสาธารณสุขอำ�เภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย
  • 15. คณะที่ปรึกษาวารสารหมออนามัย นายแพทย์ไพโรจน์ นิงสานนท์ ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และอธิบดีทุกกรม ผู้อำ�นวยการสถาบันพระบรมราชชนก ผู้อำ�นวยการสำ�นักนโยบายและยุทธศาสตร์ ผู้อำ�นวยการสำ�นักพัฒนาระบบบริการสุขภาพ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด ผู้อำ�นวยการวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรทุกแห่ง ผู้อำ�นวยการวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีทุกแห่ง ผู้อำ�นวยการกองสาธารณสุขภาคประชาชน ผู้อำ�นวยการโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่ง สาธารณสุขอำ�เภอทุกแห่ง บรรณาธิการวิชาการ นายแพทย์สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ นายแพทย์อำ�พล จินดาวัฒนะ นายแพทย์ทวีเกียรติ บุณยไพศาลเจริญ นายแพทย์ชูชัย ศรชำ�นิ กองบรรณาธิการ นายพัฒฑนา อินทะชัย (pattana.inn@hotmail.com) นายจีระพงษ์ ใจวงศ์ (j_jeerapong@yahoo.co.th) นายมนูญ ศูนย์สิทธิ์ (manoon09@gmail.com) เศรษฐพงศ์ อาลีมินทร์ (Setthaphong1@ Gmail.com) นายเอกรินทร์ โปตะเวช (eakarin1922@hotmail.co.th) นายทวี ดีละ (Taweedeela@ Gmail.com) นายสัมพันธ์ กลิ่นนาค (Klinnak_Sum@gmail.com) นางสาวลาวัลย์ เวทยาวงศ์ (Pakmak205@hotmail.com) นายประสาทพร สีกงพลี (prasart_pron2510@hotmail.com) ผศ.ดร.สงครามชัย ลีทองดี (songkramchai@gmail.com) ผศ.ดร.วรพจน์ พรหมสัตยพรต (vorapoj_p2004@hotmail.com) บรรณาธิการบริหาร นายแพทย์วีระวัฒน์ พันธ์ครุฑ (weerawat.p@nhso.go.th) ผู้ช่วยบรรณาธิการบริหาร นางเอื้อมพร จันทร์ทอง (auam2702@hotmail.com) นายปริญญา ระลึก (parinya.r@nhso.go.th) ดร.จิรชฎา เชียงกูล (Jirachada.C@nhso.go.th) วัตถุประสงค์ของวารสารหมออนามัย เป็นแหล่งความรู้ใหม่ๆ และทบทวนความรู้เดิม ทั้งในด้านทฤษฎีและปฏิบัติสำ�หรับหมออนามัย เป็นเวทีแสดงผลงานและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการปฏิบัติงานของหมออนามัย เพื่อสร้างการยอมรับในสังคมและขวัญกำ�ลังใจแก่หมอนามัย เพื่อเป็นสื่อกลางในการส่งข่าวสารระหว่างหมออนามัยด้วยกันเองและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วารสารหมออนามัย ดำ�เนินการโดยมิได้มุ่งหวังผลกำ�ไรทางการค้า มีจุดมุ่งหมายร่วมกันที่จะถ่ายทอดความรู้ไปสู่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในชนบทให้มากที่สุด บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารหมออนามัย ยินดีให้ทุกท่านนำ�ไปเผยแพร่เป็นวิทยาทาน แต่ไม่อนุญาตให้นำ�ไปเผยแพร่เกี่ยวกับผลประโยชน์ทางการค้า สำ�นักงานของวารสารหมออนามัย เลขที่ 120 หมู่ 3 ชั้น 2-4 อาคารรัฐประศาสนภักดี “ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550”ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 โทรศัพท์ 02 141 4000 โทรสาร 02 1439730 หมออนามัย 14