SlideShare a Scribd company logo
1 of 18
Download to read offline
บทที่ ๕ 
สรุปผลการศึกษา อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ 
 
การศึกษาเรื่องความพึงพอใจต่อการใช้อาคารและสถานที่ของนักศึกษาหน่วยวิทยบริการ
คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์อาคารและสถานที่ของ
หน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง เพื่อศึกษาสภาพการใช้อาคารและสถานที่ของ
หน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง และเพื่อศึกษาความพึงพอใจในการใช้อาคารและ
สถานที่ของนักศึกษาหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง โดยมี
สมมติฐานของการวิจัย คือสถานภาพนักศึกษาที่แตกต่างกันส่งผลต่อระดับความพึงพอใจต่อการใช้
อาคารและสถานที่ของหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิงแตกต่างกัน
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรีของหน่วยวิทยบริการคณะ
สังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง ทั้งสองกลุ่มการเรียน คือ กลุ่มการเรียนปกติ และกลุ่ม
การเรียนภาคสมทบเสาร์-อาทิตย์ประจําปีการศึกษา ๒๕๕๖ แบ่งเป็นสาขาวิชาดังนี้ คือ หลักสูตรปกา
ศนียบัตรการบริหารกิจการคณะสงฆ์ (ปบ.ส.) สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ และสาขาวิชาการจัดการ
เชิงพุทธ สังกัดคณะสังคมศาสตร์ จํานวน ๒๕๒ แต่แบบสอบถามได้รับกลับคืนเพียง ๒๕๐ ฉบับ
หรือ คิดเป็น ร้อยละ ๙๙.๒๐% เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทาง
ประชากร สภาพการใช้อาคารและสถานที่ การใช้ประโยชน์อาคารและสถานที่ ข้อคําถามในส่วนนี้ใช้
เครื่องมือชนิดมาตราส่วนประมาณค่า ๓ ระดับ แบ่งเป็นสภาพสมบูรณ์ใช้การได้ดี สภาพไม่สมบูรณ์
แต่พอใช้การได้และควรปรับปรุงแก้ไข ส่วนการใช้ประโยชน์มี ๓ ระดับ แบ่งเป็น การใช้ประโยชน์
ในระดับมาก น้อย และไม่มีการใช้ประโยชน์ สําหรับข้อคําถามความพึงพอใจในการใช้อาคารสถานที่
ใช้คําถามแบบมาตรส่วนประมาณค่าเช่นกันแบ่งเป็น ๕ ระดับ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และ
น้อยที่สุด ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามจํานวน ๓๐ ชุด เพื่อหาค่าความเที่ยงตรง (Reliability) โดยการ
คํานวณหาค่าความเชื่อมั่นตามสูตรสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient)
ได้ค่าสัมประสิทธ์เท่ากับ ๐.๘๙. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย
และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างโดยใช้สถิติ t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวน
พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๕ สรุปผลการศึกษา อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ/ ๙๔ 
 
ทางเดียว (One – way Analysis of Variance) เมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ
๐.๐๕
การศึกษาในบทนี้เป็นการสรุปข้อค้นพบที่ได้จากผลการศึกษา การอภิปรายผล และ
ข้อเสนอแนะอันจะเป็นประโยชน์ต่อการใช้อาคารและสถานที่ของหน่วยวิทยบริการคณะ
สังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง รวมถึงผู้สนใจศึกษาค้นคว้าในงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ
การศึกษาครั้งนี้ต่อไป 
 
๕. ๑. สรุปผลการศึกษา
ผลการศึกษาเรื่องความพึงพอใจต่อการใช้อาคารและสถานที่ของนักศึกษาหน่วยวิทยบริการ
คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ. สามพราน จ. นครปฐม มีรายละเอียดโดยสรุป
ดังนี้
๕.๑.๑. ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม
ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดมี ๒๕๐ รูป/รายบุคคล แยกเป็นบรรพชิต ๑๙๒ รูปคิด
เป็นร้อยละ ๗๖.๘๐ เป็นคฤหัสถ์ ๕๘ราย คิดเป็นร้อยละ ๒๓.๒ เป็นเพศชาย ๒๐๑ รูป/คน คิดเป็น
ร้อยละ ๘๐.๔ เป็นเพศหญิง ๔๙ รูป/คน คิดเป็นร้อยละ ๑๙.๖๐ กําลังศึกษาอยู่ในช่วงชั้นที่ ๑ มีจํานวน
๑๑๒ รายคิดเป็นร้อยละ ๔๔.๘๐ กําลังศึกษาอยู่ในช่วงชั้นที่ ๒ มีจํานวน ๖๕ รายคิดเป็นร้อยละ
๒๖.๐๐ กําลังศึกษาอยู่ในช่วงชั้นที่ ๓ มีจํานวน ๗๓ รายคิดเป็นร้อยละ ๒๙.๒ ผู้ตอบแบบสอบถาม
สังกัดสาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ ๑๑๖ราย คิดเป็นร้อยละ ๔๖.๔ สังกัดสาขาวิชารัฐประศาสน
ศาสตร์ ๑๐๔ ราย คิดเป็นร้อยละ ๔๑.๖ สังกัดสาขาวิชารัฐหลักสูตรประกาศนียบัตร (ป.บส.) ๓๐ ราย
คิดเป็นร้อยละ ๑๒ รวมทั้งสิ้น ๒๕๐ รูป/รายบุคคล
๕.๑.๒. แผนการใช้ประโยชน์อาคารและสถานที่ ในหน่วยวิทยบริการ มจร. วัดไร่ขิง พระ
อารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม
แผนการใช้ประโยชน์อาคารสถานที่โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก หากพิจารณา
ถึงรายละเอียดปัจจัยแผนการใช้ประโยชน์อาคารสถานที่ระดับมากได้แก่ อาคารเรียน, ห้อง เรียน และ
สภาพพื้นที่บริเวณสถานศึกษา  แต่ที่น่าแปลกใจมี ถึง ๓ ปัจจัยที่มีแผนการใช้ประโยชน์อยู่ในระดับ
พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๕ สรุปผลการศึกษา อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ/ ๙๕ 
 
น้อยได้แก่ห้องแนะแนว/ศูนย์ให้คําปรึกษาแนะนํา, ห้องปฏิบัติการ / โรงฝึกงาน/พื้นที่แสดงผลงาน
และห้องพยาบาล/จุดให้บริการด้านการพยาบาล 
 
๕.๑.๓. สภาพการใช้งานจริงด้านอาคารและสถานที่ ในหน่วยวิทยบริการ มจร. วัดไร่ขิง
พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม
สภาพการใช้งานอาคารสถานที่จริงนั้น โดยภาพรวม มีการใช้ประโยชน์อยู่ใน
ระดับมากเมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดสภาพการใช้งานจริงกับอาคารสถานที่ เรียงตามอันดับได้แก่
อาคารเรียน, สภาพพื้นที่บริเวณสถานศึกษา, ห้องเรียน และสํานักงานให้บริการนักศึกษา เช่น สํานัก
ทะเบียน การเงิน  แต่ สภาพการใช้งานจริงกับอาคารสถานที่ ในระดับกลางได้แก่ห้องผลิตสื่อศูนย์
คอมพิวเตอร์บริการ, โรงอาหาร/จุดบริการอาหารเครื่องดื่ม, ห้องแนะแนว/ศูนย์ให้คําปรึกษาแนะนํา,
ห้องปฏิบัติการ / โรงฝึกงาน/พื้นที่แสดงผลงาน และ ห้องพยาบาล/จุดให้บริการด้านการพยาบาล 
 
๕.๑.๔. ความพึงพอใจในการใช้อาคารและสถานที่ของนิสิตนักศึกษาหน่วยวิทยบริการ มจร.
วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม
ความพึงพอใจต่อการใช้อาคารและสถานที่ของนิสิตนักศึกษาหน่วยวิทยบริการ คณะ
สังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม ในภาพรวมทุกปัจจัยอยู่ใน
ระดับความพึงพอใจมากจากอันดับมากสูงสุดไปหาอันดับมากน้อยสุด อันได้แก่ ห้องเรียน
ห้องปฏิบัติการห้องคอมพิวเตอร์ และห้องบริการต่างๆ ตามด้วย อาคารเรียน , บริเวณสถานศึกษา ,
การจัดสภาพแวดล้อมและระบบสาธารณูปโภคของหน่วยวิทยบริการ, ห้องประชุมและห้องสัมมนา,
ห้องกิจกรรม, ห้องสมุดและห้องผลิตสื่อศูนย์คอมพิวเตอร์บริการ,โรงอาหารหรือสถานที่
รับประทานอาหาร และ การรักษาความปลอดภัยภายในหน่วยวิทยบริการ ตามลําดับ 
 
  ๕.๑.๕. ผลการทดสอบ t-test 
    สมมติฐาน: สถานภาพนักศึกษาที่แตกต่างกันส่งผลต่อระดับความพึงพอใจต่อการ
ใช้อาคารและสถานที่ของหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิงแตกต่างกัน 
    ๑. สถานภาพ (บรรพชิต และ คฤหัสถ์)
พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๕ สรุปผลการศึกษา อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ/ ๙๖ 
 
พบว่า สถานภาพ ของผู้ตอบแบบสอบถามต่างสถานภาพกันมีความพึง
พอใจต่อการใช้อาคารและสถานที่ของหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิงแตกต่างกัน
อย่างมีนัยสําคัญใน๑๒ ปัจจัยจากทั้งหมด ๕๕ ปัจจัย ซึ่งได้แก่ การรักษาความสะอาดและการ
บํารุงรักษาห้องตามห้องเรียน ห้องปฏิบัติการห้องคอมพิวเตอร์ และห้องบริการต่างๆ(Sig.๐๐๐), การ
จัดหนังสือ สื่อโสตทัศน์ วัสดุ อุปกรณ์ ภายในสํานักหอสมุดและห้องผลิตสื่อศูนย์คอมพิวเตอร์บริการ
(Sig.๐๐๐), มีแสงสว่างเพียงพอและระบายอากาศที่ดีตามห้องเรียน ห้องปฏิบัติการห้องคอมพิวเตอร์
และห้องบริการต่างๆ (Sig.๐๐๒), ความหลากหลายของหนังสือและเอกสารในห้องสมุดและห้องผลิต
สื่อศูนย์คอมพิวเตอร์บริการ(Sig.๐๑๓), ระบบระบายนํ้าตามแนวถนนในการจัดสภาพแวดล้อมและ
ระบบสาธารณูปโภคของหน่วยวิทยบริการ(Sig.๐๑๙), มีแสงสว่างเพียงพอและระบายอากาศที่ดีใน
โรงอาหารหรือสถานที่รับประทานอาหาร(Sig.๐๒๐), โต๊ะเก้าอี้มีการจัดวางอย่างเป็นระเบียบใน
ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการห้องคอมพิวเตอร์ และห้องบริการต่างๆ(Sig.๐๒๑), ความสะดวกในการใช้
ประโยชน์อาคารเรียน (Sig.๐๒๒), การจัดระบบติดต่อสื่อสารภายในสถานศึกษา เช่น ระบบโทรศัพท์
บอร์ดประชาสัมพันธ์ในการจัดสภาพแวดล้อมและระบบสาธารณูปโภคของหน่วยวิทยบริการ
(Sig.๐๒๔),สถานที่พักผ่อนในบริเวณสถานศึกษา(Sig.๐๓๕), พื้นที่จอดรถยนต์และรถจักรยานยนต์
ในบริเวณสถานศึกษา(Sig.๐๓๙), และบรรยากาศทางวิชาการที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในห้องเรียน
ห้องปฏิบัติการห้องคอมพิวเตอร์ และห้องบริการต่างๆ(Sig.๐๔๕), ตามลําดับ(บทที่ ๔ หน้า ๕๙) 
๒. เพศ (ชาย และ หญิง)
ผู้ตอบแบบสอบถามต่างเพศกันมีความพึงพอใจต่อการใช้อาคารและสถานที่
ของหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิงแตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญใน๑๒ ปัจจัยจาก
ทั้งหมด ๕๕ ปัจจัย ๑๐ ปัจจัยจากทั้งหมด ๕๕ ปัจจัย ซึ่งได้แก่การจัดระบบติดต่อสื่อสารภายใน
สถานศึกษา เช่น ระบบโทรศัพท์ บอร์ดประชาสัมพันธ์ในการจัดสภาพแวดล้อมและระบบ
สาธารณูปโภคของหน่วยวิทยบริการ(Sig. ๐๐๐), การรักษาความสะอาดและการบํารุงรักษาห้องใน
ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการห้องคอมพิวเตอร์ และห้องบริการต่างๆ (Sig. ๐๐๑), ความหลากหลายของ
หนังสือและเอกสารในห้องสมุดและห้องผลิตสื่อศูนย์คอมพิวเตอร์บริการ(Sig. ๐๐๖), มีแสงสว่าง
เพียงพอและระบายอากาศที่ดีในห้องสมุดและห้องผลิตสื่อศูนย์คอมพิวเตอร์บริการ (Sig. ๐๐๗),
จํานวนหนังสือและเอกสารในห้องสมุดและห้องผลิตสื่อศูนย์คอมพิวเตอร์บริการ (Sig. ๐๑๐), มีแสง
สว่างเพียงพอและระบายอากาศที่ดีในโรงอาหารหรือสถานที่รับประทานอาหาร (Sig. ๐๑๓), ระบบ
พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๕ สรุปผลการศึกษา อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ/ ๙๗ 
 
ระบายนํ้าตามแนวถนนในการจัดสภาพแวดล้อมและระบบสาธารณูปโภคของหน่วยวิทยบริการ (Sig.
๐๑๙), ห้องเรียนมีจํานวนโต๊ะเก้าอี้เพียงพอกับนิสิตนักศึกษาในห้องเรียน ห้องปฏิบัติการห้อง
คอมพิวเตอร์ และห้องบริการต่างๆ (Sig. ๐๒๓), มีแสงสว่างเพียงพอและระบายอากาศที่ดีใน
ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการห้องคอมพิวเตอร์ และห้องบริการต่างๆ (Sig. ๐๓๔), สถานที่พักผ่อนใน
บริเวณสถานศึกษา (Sig. ๐๔๖) (บทที่ ๔ หน้า ๕๙) 
 
๓. ชั้นปีของนักศึกษา
 ๓ - ก. เมื่อพิจารณาด้านอาคารเรียน โดยรวม นักศึกษามีความพึงพอใจ
มาก ( = ๓.๘๒, S.D. = .๘๔๓) นักศึกษาต่างชั้นปีมีความพึงพอใจต่างกันในการใช้อาคารและ
สถานที่ของหน่วยวิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ.
นครปฐม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติอยู่ ๓ปัจจัยได้แก่ การจัดระบบแสงสว่างภายในอาคาร(Sig =  .
๐๐๓), การจัดสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ ในอาคารเรียน (Sig =  .๐๐๓) และการจัดทําแผนผังอาคาร (Sig =  .
๐๒๗) เป็นการยอมรับสมมติฐาน 
๓ - ข. เมื่อพิจารณาด้าน ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการห้องคอมพิวเตอร์ และห้อง
บริการต่างๆ โดยรวม นักศึกษามีความพึงพอใจมาก( = ๓.๘๘, S.D. =. ๘๔๑ ) นักศึกษาต่าง
ชั้นปีมีความพึงพอใจต่างกันในการใช้ ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการห้องคอมพิวเตอร์ และห้องบริการ
ต่างๆ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติเพียงปัจจัยเดียวคือห้องเรียนมีจํานวนโต๊ะเก้าอี้เพียงพอกับนิสิต
นักศึกษา(Sig = .๐๐๑) เป็นการยอมรับสมมติฐาน 
๓ - ค. เมื่อพิจารณาด้าน บริเวณสถานศึกษาโดยรวม นักศึกษามีความพึงพอใจมาก
( = ๓.๗๐, S.D. =. ๙๔๓ ) นักศึกษาต่างชั้นปีมีความพึงพอใจไม่ต่างกันกับบริเวณสถานศึกษา
ในหน่วยวิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม
เป็นการปฎิเสธสมมติฐาน 
๓ - ง. เมื่อพิจารณาด้าน ห้องสมุดและห้องผลิตสื่อศูนย์คอมพิวเตอร์บริการ
โดยรวม นักศึกษามีความพึงพอใจมาก( = ๓.๖๕, S.D. = . ๙๑๑ ) นักศึกษาต่างชั้นปีมีความพึง
พอใจต่างกันกับห้องสมุดและห้องผลิตสื่อศูนย์คอมพิวเตอร์บริการในหน่วยวิทยบริการ คณะ
สังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติถึง
พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๕ สรุปผลการศึกษา อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ/ ๙๘ 
 
๑๐ ปัจจัยได้แก่ การจัดหนังสือ สื่อโสตทัศน์ วัสดุ อุปกรณ์ ภายในสํานักหอสมุด (Sig = .๐๐๐), ความ
สะดวกในการค้นหาหนังสือและสิ่งพิมพ์ในห้องสมุด (Sig =  .๐๐๐), ความเพียงพอของจํานวน
คอมพิวเตอร์ (Sig =  .๐๐๐), ความหลากหลายของหนังสือและเอกสารในห้องสมุด (Sig =  .๐๐๐),
ห้องสมุดมีความสะอาด และเป็นระเบียบเรียบร้อย (Sig =  .๐๐๐), ความทันสมัยของหนังสือและ
เอกสารในห้องสมุด (Sig =  .๐๐๐), จํานวนหนังสือและเอกสารในห้องสมุด (Sig =  .๐๐๐), ความ
รวดเร็วของระบบอินเทอร์เน็ต (Sig =  .๐๐๐), ประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ (Sig =  .๐๐๐),
และ มีโต๊ะเก้าอี้เพียงพอกับนิสิตนักศึกษา (Sig = .๐๐๑), ตามลําดับ จึงเป็นการยอมรับสมมติฐาน 
๓ - จ. เมื่อพิจารณาด้าน โรงอาหารหรือสถานที่รับประทานอาหารโดยรวม
นักศึกษามีความพึงพอใจมาก( = ๓.๕๗, S.D. = . ๙๘๐ ) นักศึกษาต่างชั้นปีมีความพึงพอใจ
ต่างกันกับการใช้โรงอาหารหรือสถานที่รับประทานอาหารในหน่วยวิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์
มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติทั้งสามปัจจัย
ได้แก่มีแสงสว่างเพียงพอและระบายอากาศที่ดี(Sig = .๐๐๔), การจัดโต๊ะ เก้าอี้ภายในโรงอาหาร (Sig
=  .๐๑๒), และ การจัดวัสดุ อุปกรณ์ และการรักษาความสะอาด (Sig =  .๐๔๙) จึงเป็นการยอมรับ
สมมติฐาน 
๓ - ฉ. เมื่อพิจารณาด้าน ห้องประชุมและห้องสัมมนาโดยรวม นักศึกษามีความพึง
พอใจมาก( = ๓.๖๗, S.D. = . ๘๙๐ ) นักศึกษาต่างชั้นปีมีความพึงพอใจต่างกันกับห้องประชุม
และห้องสัมมนาในหน่วยวิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สาม
พราน จ. นครปฐม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติทั้ง ๗ ปัจจัยได้แก่สิ่งอํานวยความสะดวกมีประสิทธิภาพ
มีความทันสมัย และมีจํานวน เพียงพอต่อการใช้งาน(Sig =  .๐๐๐), ห้องประชุมและห้องสัมมนามี
ความสะอาดเป็นระเบียบ (Sig =  .๐๐๐) ความพร้อมของห้องประชุมและห้องสัมมนา (Sig =  .๐๐๐)
ห้องประชุมและห้องสัมมนามีจํานวนเพียงพอต่อการใช้งาน และ สามารถรองรับการจัดกิจกรรม
ประเภทต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม (Sig = .๐๐๑), การรักษาความสะอาดและการบํารุงรักษาห้องประชุม
(Sig = .๐๐๑) ความสะดวกในการใช้วัสดุ อุปกรณ์ (Sig = .๐๐๑) และ มีแสงสว่างเพียงพอและระบาย
อากาศที่ดี (Sig = .๐๐๓) จึงเป็นการยอมรับสมมติฐาน 
๓ - ช. เมื่อพิจารณาด้าน ห้องกิจกรรมโดยรวม นักศึกษามีความพึงพอใจมาก
( = ๓.๖๖, S.D. = . ๙๕๗ ) นักศึกษาต่างชั้นปีมีความพึงพอใจต่างกันกับห้องกิจกรรมในหน่วย
พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๕ สรุปผลการศึกษา อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ/ ๙๙ 
 
วิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม อย่างมี
นัยสําคัญทางสถิติถึง ๕ ปัจจัยได้แก่ การรักษาความสะอาดและการบํารุงรักษาห้อง(Sig = .๐๐๐), การ
จัดวัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ และสิ่งอํานวยความสะดวก (Sig =  .๐๐๐), มีแสงสว่างเพียงพอและระบาย
อากาศที่ดี (Sig = .๐๒๙), และ ความสะดวกในการใช้วัสดุ อุปกรณ์และการใช้บริการ (Sig = .๐๔๒),
จึงเป็นการยอมรับสมมติฐาน 
๓ - ซ. เมื่อพิจารณาด้าน การจัดสภาพแวดล้อมและระบบสาธารณูปโภคของหน่วย
วิทยบริการโดยรวม นักศึกษามีความพึงพอใจมาก( = ๓.๗๐, S.D. = . ๙๖๘ ) นักศึกษาต่างชั้น
ปีมีความพึงพอใจต่างกันกับการจัดสภาพแวดล้อมและระบบสาธารณูปโภคของหน่วยวิทยบริการใน
หน่วยวิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม อย่าง
มีนัยสําคัญทางสถิติ ทั้ง ๗ ปัจจัยได้แก่ การจัดที่นั่งให้นักศึกษาพักผ่อนในเวลาว่าง(Sig = .๐๐๐), การ
จัดนํ้าเพื่อบริโภคในสถานศึกษา (Sig =  .๐๐๐), การดูแลรักษาห้องนํ้า ห้องส้วมให้สะอาด (Sig =  .
๐๐๐), การจัดระบบติดต่อสื่อสารภายในสถานศึกษา เช่น ระบบโทรศัพท์ บอร์ดประชาสัมพันธ์ (Sig
=  .๐๐๐), ระบบระบายนํ้าตามแนวถนน (Sig =  .๐๐๑), การจัดการไฟฟ้ าภายในอาคาร
เครื่องปรับอากาศ หรือพัดลม (Sig = .๐๐๒), และ การมีถังขยะที่แยกตามประเภทขยะ (Sig = .๐๑๒)
ตามลําดับ จึงเป็นการยอมรับสมมติฐาน 
๓ - ฐ. เมื่อพิจารณาด้านการรักษาความปลอดภัยภายในหน่วยวิทยบริการโดยรวม
นักศึกษามีความพึงพอใจมาก( = ๓.๔๕, S.D. = ๑. ๐๘๑ ) นักศึกษาต่างชั้นปีมีความพึงพอใจ
ไม่ต่างกันกับด้าน การรักษาความปลอดภัยภายในหน่วยวิทยบริการในหน่วยวิทยบริการ คณะ
สังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม จึงเป็นการปฎิเสธสมมติ
ฐาน
๔. สาขาวิชาที่สังกัด
๔ – ก. เมื่อพิจารณาด้านอาคารเรียน โดยรวม นักศึกษามีความพึงพอใจ
มาก ( = ๓.๘๒, S.D. = .๘๔๓), นักศึกษาต่างสาขาวิชาที่สังกัดมีความพึงพอใจไม่ต่างกัน
ในการใช้อาคารและสถานที่ของหน่วยวิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง
อ.สามพราน จ. นครปฐมจึงเป็นการปฎิเสธสมมติฐาน 
พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๕ สรุปผลการศึกษา อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ/ ๑๐๐ 
 
๔ – ข. เมื่อพิจารณาด้าน ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการห้องคอมพิวเตอร์ และห้อง
บริการต่างๆ โดยรวม นักศึกษามีความพึงพอใจมาก( = ๓.๘๘, S.D. =. ๘๔๑ ) นักศึกษาต่าง
สาขาวิชาที่สังกัดมีความพึงพอใจต่างกันกับการใช้ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการห้องคอมพิวเตอร์ และ
ห้องบริการต่างๆที่หน่วยวิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน
จ. นครปฐมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ทั้ง ในปัจจัยการรักษาความสะอาดและการบํารุงรักษาห้อง(Sig
= .๐๐๐), และห้องเรียนมีจํานวนโต๊ะเก้าอี้เพียงพอกับนิสิตนักศึกษา (Sig = .๐๐๗) จึงเป็นการยอมรับ
สมมติฐาน
๔ – ค. เมื่อพิจารณาด้าน บริเวณสถานศึกษาโดยรวม นักศึกษามีความพึงพอใจมาก
( = ๓.๗๐, S.D. =. ๙๔๓ ) นักศึกษาต่างสาขาวิชาที่สังกัดมีความพึงพอใจไม่ต่างกันกับ บริเวณ
สถานศึกษาในหน่วยวิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ.
นครปฐม จึงเป็นการปฎิเสธสมมติฐาน
๔ – ง.  เมื่อพิจารณาด้าน ห้องสมุดและห้องผลิตสื่อศูนย์คอมพิวเตอร์บริการโดย
รวม นักศึกษามีความพึงพอใจมาก ( = ๓.๖๕, S.D. = . ๙๑๑ ) นักศึกษาต่างสาขาวิชาที่สังกัดมี
ความพึงพอใจต่างกันกับห้องสมุดและห้องผลิตสื่อศูนย์คอมพิวเตอร์บริการในหน่วยวิทยบริการ คณะ
สังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติอยู่
๓ ปัจจัยได้แก่มีโต๊ะเก้าอี้เพียงพอกับนิสิตนักศึกษา(Sig =  .๐๐๙), ความหลากหลายของหนังสือและ
เอกสารในห้องสมุด (Sig = .๐๑๗), และ ความเพียงพอของจํานวนคอมพิวเตอร์ (Sig = .๐๒๕)จึงเป็น
การยอมรับสมมติฐาน 
๔ – จ. เมื่อพิจารณาด้านโรงอาหารหรือสถานที่รับประทานอาหารโดยรวม
นักศึกษามีความพึงพอใจมาก( = ๓.๕๗, S.D. = . ๙๘๐ ) นักศึกษาต่างสาขาวิชาที่สังกัดมีความ
พึงพอใจต่างกัน กับโรงอาหารหรือสถานที่รับประทานอาหารในหน่วยวิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์
มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม เอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ พียงปัจจัยเดียว
ได้แก่ การจัดวัสดุ อุปกรณ์ และการรักษาความสะอาด(Sig = .๐๐๘) จึงเป็นการยอมรับสมมติฐาน
๔ – ฉ เมื่อพิจารณาด้านห้องประชุมและห้องสัมมนาโดยรวม นักศึกษามีความพึง
พอใจมาก( = ๓.๖๗, S.D. = . ๘๙๐ ) นักศึกษาต่างสาขาวิชาที่สังกัดมีความพึงพอใจต่างกัน
กับห้องประชุมและห้องสัมมนาในหน่วยวิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอาราม
พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๕ สรุปผลการศึกษา อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ/ ๑๐๑ 
 
หลวง อ.สามพราน จ. นครปฐมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ กับ ๕ ปัจจัยได้แก่ ห้องประชุมและ
ห้องสัมมนามีจํานวนเพียงพอต่อการใช้งาน และ สามารถรองรับการจัดกิจกรรมประเภทต่างๆ ได้
อย่างเหมาะสม(Sig = .๐๐๐), ห้องประชุมและห้องสัมมนามีความสะอาดเป็นระเบียบ (Sig = .๐๐๑),
ความพร้อมของห้องประชุมและห้องสัมมนา (Sig = .๐๐๓), มีแสงสว่างเพียงพอและระบายอากาศที่ดี
(Sig = .๐๑๔), และ การรักษาความสะอาดและการบํารุงรักษาห้องประชุม (Sig = .๐๑๗) ตามลําดับ
จึงเป็นการยอมรับสมมติฐาน
๔ – ช. เมื่อพิจารณาด้าน ห้องกิจกรรมโดยรวม นักศึกษามีความพึงพอใจมาก
( = ๓.๖๖, S.D. = . ๙๕๗ ) นักศึกษาต่างสาขาวิชาที่สังกัดมีความพึงพอใจต่างกันกับห้อง
กิจกรรม ในหน่วยวิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ.
นครปฐม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ กับ ๓ ปัจจัย ได้แก่การรักษาความสะอาดและการบํารุงรักษาห้อง
(Sig = .๐๐๐), การจัดวัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ และสิ่งอํานวยความสะดวก (Sig = .๐๐๐), และ การจัด
บรรยากาศภายในห้องที่เอื้อต่อการใช้บริการ (Sig = .๐๐๘) จึงเป็นการยอมรับสมมติฐาน 
๔ – ซ เมื่อพิจารณาด้าน การจัดสภาพแวดล้อมและระบบสาธารณูปโภคของหน่วย
วิทยบริการโดยรวม นักศึกษามีความพึงพอใจมาก ( = ๓.๗๐, S.D. = . ๙๖๘ ) นักศึกษาต่าง
สาขาวิชาที่สังกัดมีความพึงพอใจต่างกันกับ การจัดสภาพแวดล้อมและระบบสาธารณูปโภคของ
หน่วยวิทยบริการในหน่วยวิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สาม
พราน จ. นครปฐม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ทั้ง ๗ ปัจจัยได้แก่ การจัดที่นั่งให้นักศึกษาพักผ่อนใน
เวลาว่าง, (Sig = .๐๐๐), การมีถังขยะที่แยกตามประเภทขยะ, (Sig = .๐๐๐), การจัดการไฟฟ้าภายใน
อาคาร เครื่องปรับอากาศ หรือพัดลม, (Sig = .๐๐๐), การดูแลรักษาห้องนํ้า ห้องส้วมให้สะอาด, (Sig = 
.๐๐๐), ระบบระบายนํ้าตามแนวถนน, (Sig =  .๐๐๐), การจัดระบบติดต่อสื่อสารภายในสถานศึกษา
เช่น ระบบโทรศัพท์ บอร์ดประชาสัมพันธ์, (Sig =  .๐๐๖), และ การจัดนํ้าเพื่อบริโภคในสถานศึกษา
(Sig = .๐๔๖) จึงเป็นการยอมรับสมมติฐาน 
๔ – ฐ เมื่อพิจารณาด้าน การรักษาความปลอดภัยภายในหน่วยวิทยบริการโดยรวม
นักศึกษามีความพึงพอใจมาก( = ๓.๔๕, S.D. = ๑. ๐๘๑ ) นักศึกษาต่างสาขาวิชาที่สังกัดมี
ความพึงพอใจต่างกันกับ กับการรักษาความปลอดภัยภายในหน่วยวิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์
มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ทั้ง ๓ ปัจจัย
พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๕ สรุปผลการศึกษา อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ/ ๑๐๒ 
 
ได้แก่ การให้บริการของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (Sig = .๐๐๐), ระบบการดูแลรักษาความ
ปลอดภัยในหน่วยวิทยบริการสร้างความมั่นใจ ในความปลอดภัยให้แก่นักศึกษา(Sig = .๐๐๑), และ มี
ระบบป้องกันเพลิงไหม้และสัญญาณเตือนภัยต่างๆ อย่างเพียงพอ (Sig = .๐๐๒) จึงเป็นการยอมรับ
สมมติฐาน 
สรุปความพึงพอใจมี่ต่างและไม่แตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ ๐.๐๕
ตาราง ๕.๑ สรุปความพึงพอใจมี่ต่างและไม่แตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ ๐.๐๕
สถานภาพ เพศ ระดับชั้นปี สาขาวิชาที่สังกัด
Dif.withSig.
No-dif.
Dif.withSig.
No-dif.
Dif.withSig.
No-dif.
Dif.withSig.
No-dif.
ก/A: ก/A: ก/A: ก/A:
ข/B: ข/B: ข/B: ข/B:
ค/C: ค/C: ค/C: ค/C:
ง/D: ง/D: ง/D: ง/D:
จ/E: จ/E: จ/E: จ/E:
ฉ/F: ฉ/F: ฉ/F: ฉ/F:
ช/G: ช/G: ช/G: ช/G:
ซ/H: ซ/H: ซ/H: ซ/H:
ฐ/I: ฐ/I: ฐ/I: ฐ/I:
หมายเหตุ
ก/A: ด้านอาคารเรียน
ข/B: ด้านห้องเรียน ห้องปฏิบัติการห้องคอมพิวเตอร์ และห้องบริการต่างๆ
ค/C: ด้านบริเวณสถานศึกษา
ง/D: ด้านห้องสมุดและห้องผลิตสื่อศูนย์คอมพิวเตอร์บริการ
จ/E: ด้านโรงอาหารหรือสถานที่รับประทานอาหาร
ฉ/F: ด้านห้องประชุมและห้องสัมมนา
ช/G: ด้านห้องกิจกรรม
ซ/H: ด้านการจัดสภาพแวดล้อมและระบบสาธารณูปโภคของหน่วยวิทยบริการ
ฐ/I: ด้านการรักษาความปลอดภัยภายในหน่วยวิทยบริการ
พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๕ สรุปผลการศึกษา อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ/ ๑๐๓ 
 
๑. นักศึกษาต่างสถานภาพมีความพึงพอใจต่างกันกับการใช้ด้านอาคารเรียน, ด้าน
ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการห้องคอมพิวเตอร์ และห้องบริการต่างๆ, ด้านบริเวณสถานศึกษา, ด้าน
ห้องสมุดและห้องผลิตสื่อศูนย์คอมพิวเตอร์บริการ, ด้านโรงอาหารหรือสถานที่รับประทานอาหาร
และ ด้านการจัดสภาพแวดล้อมและระบบสาธารณูปโภคของหน่วยวิทยบริการอย่างมีนัยสําคัญทาง
สถิติ เว้นแต่ ด้านห้องประชุมและห้องสัมมนา, ด้านห้องกิจกรรม และด้านการรักษาความปลอดภัย
ภายในหน่วยวิทยบริการ ในหน่วยวิทยบริการที่หน่วยวิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง
พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ
๒.  นักศึกษาต่างเพศมีความพึงพอใจต่างกันกับด้านห้องเรียน ด้านห้องปฏิบัติการห้อง
คอมพิวเตอร์ และห้องบริการต่างๆ, ด้านบริเวณสถานศึกษา, ด้านห้องสมุดและห้องผลิตสื่อศูนย์
คอมพิวเตอร์บริการ, ด้านโรงอาหารหรือสถานที่รับประทานอาหาร, ด้านการจัดสภาพแวดล้อมและ
ระบบสาธารณูปโภคของหน่วยวิทยบริการ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ เว้นแต่ ด้านอาคารเรียน, ด้าน
ห้องประชุมและห้องสัมมนา, ด้านห้องกิจกรรม และด้านการรักษาความปลอดภัยภายในหน่วยวิทย
บริการในหน่วยวิทยบริการที่หน่วยวิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.
สามพราน จ. นครปฐมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ  
๓.  นักศึกษาต่างระดับชั้นปีมีความพึงพอใจต่างกันกับด้านอาคารเรียน, ด้าน ห้องเรียน
ห้องปฏิบัติการห้องคอมพิวเตอร์ และห้องบริการต่างๆ, ด้าน ห้องสมุดและห้องผลิตสื่อศูนย์
คอมพิวเตอร์บริการ, ด้านโรงอาหารหรือสถานที่รับประทานอาหาร, ด้านห้องประชุมและ
ห้องสัมมนา, ด้าน ห้องกิจกรรม, และ ด้าน การจัดสภาพแวดล้อมและระบบสาธารณูปโภคอย่างมี
นัยสําคัญทางสถิติ เว้นแต่ ด้าน บริเวณสถานศึกษา และ ด้าน การรักษาความปลอดภัยภายในหน่วย
วิทยบริการในหน่วยวิทยบริการที่หน่วยวิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอาราม
หลวง อ.สามพราน จ. นครปฐมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ
๔. นักศึกษาต่างสาขาวิชาที่สังกัดมีความพึงพอใจต่างกันกับการใช้ห้องเรียน
ห้องปฏิบัติการห้องคอมพิวเตอร์ และห้องบริการต่างๆ, ด้านห้องสมุดและห้องผลิตสื่อศูนย์
คอมพิวเตอร์, ด้านโรงอาหารหรือสถานที่รับประทานอาหาร, ด้านห้องประชุมและห้องสัมมนา, ด้าน
ห้องกิจกรรม, ด้าน การจัดสภาพแวดล้อมและระบบสาธารณูปโภค และ ด้าน การรักษาความ
ปลอดภัยภายในหน่วยวิทยบริการอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ เว้นแต่ ด้านอาคารเรียน และด้าน บริเวณ
พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๕ สรุปผลการศึกษา อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ/ ๑๐๔ 
 
สถานศึกษาที่หน่วยวิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ.
นครปฐมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ 
๕.๒ อภิปรายผล
ผลการศึกษาเรื่องความพึงพอใจต่อการใช้อาคารและสถานที่ของนักศึกษาหน่วยวิทยบริการ
คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาที่ผู้วิจัยจะนํามา
อภิปรายดังนี้
๕.๒.๑. แผนการใช้ประโยชน์อาคารและสถานที่ในหน่วยวิทยบริการคณะ
สังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ. สามพราน จ. นครปฐม
แผนการใช้อาคารสถานที่เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่บ่งชี้ถึงประสิทธิภาพการบริหารงานอาคาร
และสถานที่ของผู้บริหาร ความสําเร็จในการบริหารงานดังกล่าวก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนการ
สอนภายในห้องเรียน และต่อการเรียนรู้นอกห้องเรียนของผู้เรียนและต่อชุมชนภายนอกที่เข้ามาใช้
บริการอีกด้วย จากการศึกษาในครั้งนี้พบว่า มีแผนการใช้ประโยชน์จากอาคารและสถานที่อยู่ใน
ระดับมากในทุกด้าน แต่เป็นที่น่าแปลกใจที่มี ๓ ปัจจัยแผนการใช้ประโยชน์อาคารสถานที่ระดับน้อย
หรือมีการวางแผนไม่ใช้งานเต็มที่ได้แก่ห้องแนะแนว/ศูนย์ให้คําปรึกษาแนะนํา, ห้องปฏิบัติการ / โรง
ฝึกงาน/พื้นที่แสดงผลงาน และห้องพยาบาล/จุดให้บริการด้านการพยาบาล ( = ๒.๒๘,  =
๒.๒๒,  = ๒.๒๒) ตามลําดับ. สะท้อนให้เห็นว่าการก่อให้เกิดความรู้ภายนอกห้องเรียนของ
นักศึกษายังมีน้อย กระบวนการเรียนรู้ยังมุ่งไปที่การรับความรู้ภายในห้องเรียนจากอาจารย์ผู้สอน
โดยตรง ซึ่งการทํากิจกรรมก็จัดเป็นกระบวนการเรียนรู้ภายนอกอย่างหนึ่ง เป็นการเรียนรู้ทางสังคมที่
ควรส่งเสริมให้นักศึกษาเป็นผู้ใฝ่หาความรู้ด้วนตนเอง สอดคล้องกับผลการศึกษาของ จํานง ประสาน
วงค์(๒๕๔๕)๑
ได้ทําการศึกษาถึงสภาพและปัญหาการบริหารอาคารสถานที่ในโรงเรียนมัธยมศึกษา
สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดสกลนคร ผลการศึกษาพบว่า อาคารสถานที่ยังไม่มีการใช้ประโยชน์
                                                            
๑
จํานง ประสานวงค์, (๒๕๔๕). สภาพและปัญหาการบริหารอาคารสถานที่ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัด
กรมสามัญศึกษา จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา สถาบันราชภัฏ
สกลนคร.
 
พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๕ สรุปผลการศึกษา อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ/ ๑๐๕ 
 
อย่างเต็มที่ทั้งยังสอดคล้องกับการศึกษาของฐิติยา เนตรวงษ์ (๒๕๕๑)๒
ที่ศึกษาเรื่องการศึกษาความ
พึงพอใจของนักศึกษาต่อการใช้อาคารสถานที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต โดยพบว่า การใช้
ประโยชน์อาคารและสถานที่ในภาพรวมยังมีการใช้ประโยชน์น้อย  
๕.๒.๒.  สภาพการใช้อาคารและสถานที่จริงที่หน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์
มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ. สามพราน จ. นครปฐม 
แต่ สภาพการใช้งานจริงกับอาคารสถานที่ ในระดับกลางหรือแบบพอใช้ได้แก่ห้องผลิตสื่อ
ศูนย์คอมพิวเตอร์บริการ, โรงอาหาร/จุดบริการอาหารเครื่องดื่ม, ห้องแนะแนว/ศูนย์ให้คําปรึกษา
แนะนํา, ห้องปฏิบัติการ / โรงฝึกงาน/พื้นที่แสดงผลงาน และ ห้องพยาบาล/จุดให้บริการด้านการ
พยาบาล  ซึ่งเป็นการยืนยันว่าขาดการวางแผนใช้งานให้เต็มที่กับห้องแนะแนว/ศูนย์ให้คําปรึกษา
แนะนํา, ห้องปฏิบัติการ / โรงฝึกงาน/พื้นที่แสดงผลงาน และห้องพยาบาล/จุดให้บริการด้านการ
พยาบาล  หรือแม้แต่วางแผนใช้งานเต็มที่แต่ใช้งานจริงกับห้องผลิตสื่อศูนย์คอมพิวเตอร์บริการ, โรง
อาหาร/จุดบริการอาหารเครื่องดื่มในระดับหนึ่งเท่านั้น
งานทุกงานและกิจกรรมทุกกิจกรรมดําเนินไปได้ต้องอาศัยอาคารสถานที่ทั้งสิ้น อาคาร
สถานที่จึงควรจะมีการวางแผนใช้ประโยชน์เต็มที่ พร้อมวางแผนการดูแลซ่อมแซม บํารุงรักษาให้อยู่
ในสภาพดีและใช้งานได้ตลอดเวลาอีกด้วย การดูแลอาคารและสถานที่ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
ได้ดี จึงเป็นองค์ประกอบหนึ่งของการวัดประสิทธิภาพการบริหารงานของสถาบันการศึกษาได้
ประการหนึ่ง ผลการศึกษาจึงสอดคล้องกับการศึกษาของวัลลภ กันทรัพย์(๒๕๓๕)๓
ที่มีแนวคิดว่า
สถานที่ในสถาบันการศึกษาที่มีความจําเป็นและมีความเป็นรูปธรรม คือ เห็นได้ด้วยตาเปล่า เช่น โรง
อาหาร สถานที่เล่นกีฬา และห้องสมุด สถานที่เหล่านี้ควรให้ความเอาใจใส่เป็นอันดับแรก ผล
การศึกษาในครั้งนี้พบว่า สถานที่ดังกล่าวอยู่ในสภาพไม่สมบูรณ์แต่พอใช้การได้ทั้งนี้อาจเนื่องมาจาก
ขาดคุณลักษณะของสถานที่พึงประสงค์ที่สามารถตอบสนองความต้องการในการใช้สอยได้ เช่น
                                                            
๒
ฐิติยา เนตรวงษ์, (๒๕๕๑). การศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการใช้อาคารสถานที่ของ
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. งานวิจัยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
๓
วัลลภ กันทรัพย์, (๒๕๓๕). “ความต้องการพื้นฐานของโรงเรียน”. วิจัยสนเทศ. 12(136), กองร้อย
ทางการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. 
 
พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๕ สรุปผลการศึกษา อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ/ ๑๐๖ 
 
ความเพียงพอ (adequacy) ความเหมาะสม (suitability) ความมีสุขลักษณะ (healthfulness) และการมี
ประสิทธิภาพ (efficiency) เป็นต้น (เมธี ปิลันธนานนท์, ๒๕๒๘)๔
นอกจากนี้ นโยบายการปฏิรูปการศึกษาด้านอาคารสถานที่ของกระทรวงศึกษาธิการ (กรม
สามัญศึกษา, ๒๕๔๐)๕
ได้กําหนดนโยบายปฏิบัติในการจัดการสถานศึกษาให้มีการบํารุงรักษาอาคาร
สถานที่ อาคารเรียน อาคารประกอบ และสิ่งก่อสร้างต่างๆ ให้มีสภาพพร้อมใช้งาน โดยมีการ
ซ่อมแซม ตกแต่ง บํารุงรักษาให้สวยงามมีสภาพใหม่ ใช้การได้ดีตลอดเวลา เช่น ห้องสมุด ควรมี
สถานที่จัดแยกต่างหาก มีความสะอาดสวยงาม มีการจัดหนังสือเข้าห้องสมุดอย่างเพียงพอและ
ครบถ้วนต่อการเรียนการสอน หน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง
อ. สามพราน จ. นครปฐม จึงควรเล็งเห็นความสําคัญของห้องสมุดโดยต้องมีตําราเรียนครบและ
เพียงพอต่อจํานวนนักศึกษาและควรเปิดบริการให้มีครอบคลุมทั้ง ๒ กลุ่มการเรียน (ภาคปกติ และ
เสาร์-อาทิตย์) อีกทั้งควรมีการจัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ใช้ประโยชน์จากห้องผลิตสื่อศูนย์
คอมพิวเตอร์บริการ, โรงอาหาร/จุดบริการอาหารเครื่องดื่ม, ห้องแนะแนว/ศูนย์ให้คําปรึกษาแนะนํา,
ห้องปฏิบัติการ / โรงฝึกงาน/พื้นที่แสดงผลงาน และ ห้องพยาบาล/จุดให้บริการด้านการพยาบาล และ
น่าจะเพิ่มห้องสมุดเพื่อสนับสนุนให้นักศึกษาสามารถหาความรู้ด้วยตนเองและเป็นการใช้ประโยชน์
จากสถานที่ดังกล่าวอย่างคุ้มค่า ห้องคอมพิวเตอร์ เป็นห้องที่ปรับปรุงขึ้นใช้เฉพาะกิจกรรมการเรียน
การสอนคอมพิวเตอร์เป็นพิเศษ ห้องเรียนต้องสะอาด ปราศจากฝุ่นละอองและคอมพิวเตอร์ ควรมี
จํานวนเพียงพอเหมาะสมกับจํานวนนักศึกษา และคอมพิวเตอร์ควรมีสภาพใหม่มีความทันสมัยเหมาะ
ต่อการใช้งานในปัจจุบัน ห้องปฏิบัติการทางภาษาควรเป็นห้องที่ปรับปรุงขึ้นใช้เฉพาะกิจกรรมการ
สอนภาษาต่างประเทศ เนื่องจากต้องใช้การสอนผ่านเครื่องเสียง เทป วิดีโอ โดยผ่านหูฟัง อุปกรณ์ที่
ใช้จึงควรมีความสะอาดและใช้งานได้ดีมีหูฟังเพียงพอกับผู้เรียน ห้องพยาบาลสภาพห้องควรมีความ
สงบ สะอาด สวยงาม อากาศถ่ายเทได้ดี มีป้ายนิเทศโปสเตอร์เกี่ยวกับสุขภาพ ห้องนํ้าห้องส้วมควรอยู่
ในห้องเดียวกัน ยาปฐมพยาบาลพื้นฐานมีครบถ้วนและเพียงพอ และในห้องควรมีโทรศัพท์สําหรับ
                                                            
๔
เมธี ปิลันธนานนท์, (๒๕๒๘). การบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: พิทักษ์อักษร.
๕
กรมสามัญศึกษา, (๒๕๔๐). แนวทางปฏิรูปโรงเรียนและสถานศึกษาตามนโยบายการปฏิรูป การศึกษา.
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ลาดพร้าว.
  
พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๕ สรุปผลการศึกษา อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ/ ๑๐๗ 
 
เหตุฉุกเฉิน ห้องพยาบาลควรมีสถานที่ที่นักศึกษาสามารถเข้าถึงง่าย หาง่าย และเป็นสถานที่สําคัญ
ควรเปิดบริการรองรับนักศึกษาให้ครอบคลุมทุกกลุ่มการเรียน  
๕.๒.๓. ความพึงพอใจในการใช้อาคารและสถานที่ของนักศึกษาหน่วยวิทยบริการ
คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ. สามพราน จ. นครปฐม
ปัจจุบันนักศึกษามองภาพของสถาบันการศึกษาไม่ได้เป็นแต่เพียงอาคารก่อสร้างทรง
สี่เหลี่ยมเท่านั้น แต่เป็นดังอุทยานการเรียนรู้ที่มีสภาพสวยงามเป็นที่เก็บเกี่ยววิชาความรู้ มีอุปกรณ์
ครบครัน และยังเป็นที่สถานที่พักผ่อนกับกลุ่มเพื่อนท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่สวยงาม สะดวกสบาย
เหมือนกับสวนสาธารณะ 
ผลการศึกษาในครั้งนี้พบว่า นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการใช้อาคารและสถานที่ที่เกี่ยวกับ
ด้านห้องเรียน ด้านห้องปฏิบัติการห้องคอมพิวเตอร์ และห้องบริการต่างๆ, ด้านบริเวณสถานศึกษา,
ด้านห้องสมุดและห้องผลิตสื่อศูนย์คอมพิวเตอร์บริการ, ด้านโรงอาหารหรือสถานที่รับประทาน
อาหาร, ด้านการจัดสภาพแวดล้อมและระบบสาธารณูปโภคของหน่วยวิทยบริการ ในภาพรวมอยู่ใน
ระดับปานกลาง สอดคล้องกับผลการศึกษาของอภิรดี กิจธนะเสรี (๒๕๔๕)๖
ที่พบว่าผู้มาใช้งาน
ศูนย์บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยรามคําแหงมีความพึงพอใจในการใช้บริการปานกลาง
เมื่อจําแนกตามเพศ พบว่าเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้โดยเพศที่แตกต่างกันส่งผลต่อความพึงพอใจ
ในการใช้อาคารและสถานที่ของวิทยาลัยราชพฤกษ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ
๐.๐๕ สอดคล้องกับผลการศึกษาของประสงค์ อุทัยและคณะ (๒๕๕๒)๗
ที่พบว่านักศึกษาหญิงมี
ความพึงพอใจต่อการใช้อาคารสถานที่มากกว่าเพศชายอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕
เมื่อจําแนกตามชั้นปี พบว่าเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ในบางด้าน โดยชั้นปีที่แตกต่างกัน
ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้อาคารและสถานที่ของหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัด
ไร่ขิง พระอารามหลวง อ. สามพราน จ. นครปฐม แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕
                                                            
๖
อภิรดี กิจธนะเสรี, (๒๕๔๕). ประสิทธิภาพในการให้บริการต่อปัญหาและความต้องการของผู้ใช้ใน
ศูนย์บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยรามคําแหง. การค้นคว้าแบบอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา
รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง.
๗
ประสงค์ อุทัย, (๒๕๕๒). ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการให้บริการมหาวิทยาลัยธนบุรี ๒๕๕๑.
เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ ธนบุรีวิจัย ครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยธนบุรี.
 
พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๕ สรุปผลการศึกษา อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ/ ๑๐๘ 
 
สอดคล้องกับการศึกษาของธนารี เพ็ชรรัตน์ (๒๕๕๑ หน้า ๑๐๒)๘
ที่พบว่านักศึกษาที่อยู่ในคณะ
แตกต่างกันมีความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนการเรียนการสอนในด้านอาคารและ
สถานที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ทั้งสถานภาพ, เพศ, ชั้นปี และ สาขาวิชาที่
สังกัด ที่แตกต่างกันสามารถชี้ให้เห็นถึงความรู้สึกนึกคิด ทัศนคติที่มาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงและ
พัฒนาการทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และประสบการณ์ที่ได้รับในแต่ละช่วงวัยที่แตกต่าง
กัน  
เมื่อจําแนกตามคณะที่สังกัด พบว่าเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้โดยคณะที่แตกต่างกันส่งผล
ต่อความพึงพอใจในการใช้อาคารและสถานที่ที่เกี่ยวกับ ด้านห้องเรียน ห้องปฏิบัติการห้อง
คอมพิวเตอร์ และห้องบริการต่างๆ, ด้านห้องสมุดและห้องผลิตสื่อศูนย์คอมพิวเตอร์บริการ, ด้านโรง
อาหารหรือสถานที่รับประทานอาหาร, ด้านห้องประชุมและห้องสัมมนา, ด้านห้องกิจกรรม, ด้านการ
จัดสภาพแวดล้อมและระบบสาธารณูปโภคของหน่วยวิทยบริการ และ ด้านการรักษาความปลอดภัย
ภายในหน่วยวิทยบริการของหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง
แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ผลการศึกษาสอดคล้องกับการศึกษาของธนารี
เพ็ชรรัตน์ (๒๕๕๑ หน้า ๑๐๐)๙
ที่พบว่านักศึกษาที่มีคณะแตกต่างกันมีผลต่อความพึงพอใจใน
สภาพแวดล้อมที่สนับสนุนการเรียนการสอนด้านอาคารสถานที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ
ที่ระดับ ๐.๐๕ อาจเนื่องมาจากการที่นักศึกษาจะเลือกเข้าศึกษาในคณะใดนั้นย่อมมาจากพื้นฐาน
การศึกษา ความรู้ ประสบการณ์ ความชอบที่สามารถเป็นปัจจัยหนึ่งซึ่งส่งผลกระทบต่อความพึงพอใจ
ที่แสดงออกมา และการศึกษาของอภิวันท์ วีระเดโช (๒๕๕๒ หน้า ๗๙)๑๐
ที่พบว่าลักษณะงานที่
แตกต่างกันส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการสถานที่แตกต่างกัน ทั้งนี้เนื่องจากความรู้
ประสบการณ์ ภาระหน้าที่ความรับผิดชอบที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อภาวะอารมณ์ในการตัดสินใจ
รวมถึงความพึงพอใจที่แตกต่างกัน 
                                                            
๘
ธนารี เพ็ชรรัตน์, (๒๕๕๑). “ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนการเรียน การ
สอนของกองงานวิทยาเขตบางนา มหาวิทยาลัยรามคําแหง” วารสารมหาวิทยาลัย รามคําแหง ปีที่ ๑๑ ฉบับพิเศษ ๑
กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๑: ๙๕-๑๐๖.
๙
Ibid/ เรื่องเดียวกัน
๑๐
อภิวันท์ วีระเดโช, (2552). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อการจัดกิจกรรมนันทนาการของ ศูนย์
เยาวชนกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการนันทนาการ มหาวิทยาลัยศรี
นครินทรวิโรฒ.
พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๕ สรุปผลการศึกษา อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ/ ๑๐๙ 
 
เป็นที่น่าสังเกตว่า ในการศึกษาครั้งนี้พบมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสําคัญตรงกันถึง ๗ ปัจจัย
ระหว่างสถาน ภาพ และเพศของผู้ตอบแบบสอบถามได้แก่มีแสงสว่างเพียงพอและระบายอากาศที่ดี
ในห้องเรียน ห้องปฏิบัติการห้องคอมพิวเตอร์ และห้องบริการต่างๆ (ข้อ ๖), การรักษาความสะอาด
และการบํารุงรักษาห้องในห้องเรียน ห้องปฏิบัติการห้องคอมพิวเตอร์ และห้องบริการต่างๆ(ข้อ ๗),
สถานที่พักผ่อนในบริเวณสถานศึกษา (ข้อ ๑๕), ความหลากหลายของหนังสือและเอกสารใน
ห้องสมุดและห้องผลิตสื่อศูนย์คอมพิวเตอร์บริการ (ข้อ ๒๒), มีแสงสว่างเพียงพอและระบายอากาศที่
ดีในโรงอาหารหรือสถานที่รับประทานอาหาร (ข้อ ๓๑), ระบบระบายนํ้าตามแนวถนนในการจัด
สภาพแวดล้อมและระบบสาธารณูปโภคของหน่วยวิทยบริการ (ข้อ ๔๙), และ การจัดระบบ
ติดต่อสื่อสารภายในสถานศึกษา เช่น ระบบโทรศัพท์ บอร์ดประชาสัมพันธ์ในการจัดสภาพแวดล้อม
และระบบสาธารณูปโภคของหน่วยวิทยบริการ (ข้อ ๕๒)
นักศึกษาต่างสถานภาพ ต่างเพศ ต่างช่วงชั้นปี และต่างสาขาวิชาที่สังกัดมีความพึงพอใจ
ต่างกันอย่างมีนัยสําคัญเกี่ยวกับด้านเดียวกันซึ่งได้แก่ด้านห้องเรียน ด้านห้องปฏิบัติการห้อง
คอมพิวเตอร์ และห้องบริการต่างๆ, ด้านห้องสมุดและห้องผลิตสื่อศูนย์คอมพิวเตอร์บริการ,ด้านโรง
อาหารหรือสถานที่รับประทานอาหาร, และด้านการจัดสภาพแวดล้อมและระบบสาธารณูปโภคของ
หน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม 
(ตาราง ๕.๑ หน้า ๑๐๒)
 
๕.๓. ข้อเสนอแนะ
๕.๓.๑. ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา มีดังนี้
๑. ควรพิจารณานําผลการศึกษานี้ไปใช้เป็นข้อมูลเพื่อวางแผน ปรับปรุงและ
พัฒนาอาคารและสถานที่ เช่น ในการจัดตารางการเรียนการสอน การวางแผนงบประมาณ การ
วางแผนโครงการสนับสนุนการศึกษาต่างๆให้มีประสิทธิภาพในการใช้ประโยชน์ต่อไปในหน่วยวิทย
บริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง 
๒. ควรพิจารณาเปิ ดโอกาสให้ผู้ใช้อาคารและสถานที่ คือ บุคลากร และ
นักศึกษาของหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง ได้มีส่วนร่วมใน
การดําเนินงานกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานอาคารและสถานที่ และสภาพแวดล้อมของหน่วยวิทย
บริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง เพื่อเป็นการส่งเสริมความเข้าใจอันดีมีส่วน
ร่วมในการกําหนดระเบียบการใช้อาคารและสถานที่ และการวางแผน การประเมินผลการใช้ร่วมกัน
พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๕ สรุปผลการศึกษา อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ/ ๑๑๐ 
 
ทั้งนี้เพื่อเป็นการฝึกการบริหารจัดการจริงทั้งจากการประยุกต์จากตําราเรียน และนอกเหนือจากตํารา
เรียน ทั้งยังเป็นการสร้างประสบการณ์ตรงให้กับนิสิตนักศึกษา
๕.๓.๒. ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป มีดังนี้ 
๑. ในการศึกษาครั้งต่อไปควรมีการศึกษาด้านการบริการและการบริหารการ
ทําประโยชน์ใช้สอยจริง(Utilization of Service Administration Room) จากค่าอัตราการใช้ห้อง
(Room Utilization Rate) และอัตราการใช้พื้นที่ (Space Utilization Rate) เพื่อเป็นการวิเคราะห์หา
ประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์และเป็นแนวทางในการวางแผนนโยบายขยายการจัดการศึกษาให้เกิด
ประโยชน์อย่างเต็มที่ ไม่ก่อให้เกิดความสูญเปล่า และให้สอดคล้องกับความต้องการในปัจจุบันและ
อนาคต ซึ่งหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร วัดไร่ขิง พระอารามหลวง มีนโยบายปรับเปลี่ยน
สถานะจากหน่วยวิทยบริการสู่วิทยาลัย จึงจําเป็นต้องมีการศึกษาในด้านดังกล่าวต่อไป
๒. ควรมีการศึกษาในเชิงลึกถึงปัญหาและสาเหตุที่ทําให้การใช้อาคารและ
สถานที่ที่สมบูรณ์เหมาะสมต่อการใช้งานเพียงในระดับหนึ่งเท่านั้น โดยเฉพาะสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับ
คุณภาพการศึกษาและสุขภาพอนามัย เช่น สํานักหอสมุด ห้องปฏิบัติการ ห้องพยาบาล โรงอาหาร
และห้องนํ้าห้องส้วม เป็นต้น 
๓. ควรมีการศึกษารูปแบบการดําเนินงานอาคารและสถานที่ของ
สถาบันการศึกษาภายนอกที่มีการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อนํามาใช้เป็น
แนวทางในการปรับปรุงแก้ไขและการวางนโยบายแผนงานอาคารและสถานที่ให้มีประสิทธิภาพ
ต่อไป 
๔. การศึกษาครั้งต่อไปควรครอบคลุมกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้งานอาคารและสถานที่
ทั้งคณาจารย์เจ้าหน้าที่ และนักศึกษา และในกลุ่มนักศึกษาควรศึกษาการใช้งานอาคารและสถานที่ให้
วิเคราะห์ลึกลงไปในกลุ่มการเรียนแต่ละกลุ่มว่ามีการใช้งานแตกต่างกันอย่างไร 

More Related Content

What's hot

บทที่ 4 งาน พลังงาน และเครื่องกลอย่างง่าย
บทที่ 4 งาน  พลังงาน  และเครื่องกลอย่างง่ายบทที่ 4 งาน  พลังงาน  และเครื่องกลอย่างง่าย
บทที่ 4 งาน พลังงาน และเครื่องกลอย่างง่ายThepsatri Rajabhat University
 
กำหนดการ ค่าย
กำหนดการ ค่ายกำหนดการ ค่าย
กำหนดการ ค่ายphunbuppha jinawong
 
สถานะของสาร ม.1
สถานะของสาร ม.1สถานะของสาร ม.1
สถานะของสาร ม.1Wuttipong Tubkrathok
 
ตัวอย่าง ปกรายงาน
ตัวอย่าง ปกรายงานตัวอย่าง ปกรายงาน
ตัวอย่าง ปกรายงานSamorn Tara
 
บทที่ 2 การจัดซื้อกับโลจิสติกส์
บทที่ 2 การจัดซื้อกับโลจิสติกส์บทที่ 2 การจัดซื้อกับโลจิสติกส์
บทที่ 2 การจัดซื้อกับโลจิสติกส์Teetut Tresirichod
 
06แบบฝึกเครื่องกล
06แบบฝึกเครื่องกล06แบบฝึกเครื่องกล
06แบบฝึกเครื่องกลPhanuwat Somvongs
 
โครงงานเกมหมูคิดเลขเร็ว
โครงงานเกมหมูคิดเลขเร็วโครงงานเกมหมูคิดเลขเร็ว
โครงงานเกมหมูคิดเลขเร็วAdithun Sukprasert
 
ตัวอย่างการประเมินแบบสอบถาม
ตัวอย่างการประเมินแบบสอบถามตัวอย่างการประเมินแบบสอบถาม
ตัวอย่างการประเมินแบบสอบถามpingkung
 
รูปแบบวิจัย 5 บท
รูปแบบวิจัย 5 บทรูปแบบวิจัย 5 บท
รูปแบบวิจัย 5 บทKannika Kerdsiri
 
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 11 เรื่องกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 11 เรื่องกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 11 เรื่องกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 11 เรื่องกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงWann Rattiya
 
ใบความรู้ สังคม ป.1-3 ภาคเรียนที่ 1+443+dltvsocp3+T1 p1 3-sheet
ใบความรู้  สังคม ป.1-3 ภาคเรียนที่ 1+443+dltvsocp3+T1 p1 3-sheetใบความรู้  สังคม ป.1-3 ภาคเรียนที่ 1+443+dltvsocp3+T1 p1 3-sheet
ใบความรู้ สังคม ป.1-3 ภาคเรียนที่ 1+443+dltvsocp3+T1 p1 3-sheetPrachoom Rangkasikorn
 
IS1 การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ กลุ่ม1
IS1  การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ กลุ่ม1IS1  การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ กลุ่ม1
IS1 การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ กลุ่ม1พัน พัน
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 เรื่องความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 เรื่องความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 เรื่องความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 เรื่องความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตMam Chongruk
 
โครงสร้างโลก บท1
โครงสร้างโลก บท1โครงสร้างโลก บท1
โครงสร้างโลก บท1PornPimon Kwang
 
ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก
ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดกร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก
ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดกRuangrat Watthanasaowalak
 
ใบกิจกรรมที่ 2 เรื่อง กล้องจุลทรรศน์
ใบกิจกรรมที่ 2 เรื่อง กล้องจุลทรรศน์ใบกิจกรรมที่ 2 เรื่อง กล้องจุลทรรศน์
ใบกิจกรรมที่ 2 เรื่อง กล้องจุลทรรศน์Aomiko Wipaporn
 
สรุปผลการศึกษาค้นคว้า
สรุปผลการศึกษาค้นคว้าสรุปผลการศึกษาค้นคว้า
สรุปผลการศึกษาค้นคว้าGamonros
 

What's hot (20)

บทที่ 4 งาน พลังงาน และเครื่องกลอย่างง่าย
บทที่ 4 งาน  พลังงาน  และเครื่องกลอย่างง่ายบทที่ 4 งาน  พลังงาน  และเครื่องกลอย่างง่าย
บทที่ 4 งาน พลังงาน และเครื่องกลอย่างง่าย
 
กำหนดการ ค่าย
กำหนดการ ค่ายกำหนดการ ค่าย
กำหนดการ ค่าย
 
คำนำ
คำนำคำนำ
คำนำ
 
Physics atom part 1
Physics atom part 1Physics atom part 1
Physics atom part 1
 
สถานะของสาร ม.1
สถานะของสาร ม.1สถานะของสาร ม.1
สถานะของสาร ม.1
 
ตัวอย่าง ปกรายงาน
ตัวอย่าง ปกรายงานตัวอย่าง ปกรายงาน
ตัวอย่าง ปกรายงาน
 
บทที่ 2 การจัดซื้อกับโลจิสติกส์
บทที่ 2 การจัดซื้อกับโลจิสติกส์บทที่ 2 การจัดซื้อกับโลจิสติกส์
บทที่ 2 การจัดซื้อกับโลจิสติกส์
 
06แบบฝึกเครื่องกล
06แบบฝึกเครื่องกล06แบบฝึกเครื่องกล
06แบบฝึกเครื่องกล
 
โครงงานเกมหมูคิดเลขเร็ว
โครงงานเกมหมูคิดเลขเร็วโครงงานเกมหมูคิดเลขเร็ว
โครงงานเกมหมูคิดเลขเร็ว
 
ตัวอย่างการประเมินแบบสอบถาม
ตัวอย่างการประเมินแบบสอบถามตัวอย่างการประเมินแบบสอบถาม
ตัวอย่างการประเมินแบบสอบถาม
 
รูปแบบวิจัย 5 บท
รูปแบบวิจัย 5 บทรูปแบบวิจัย 5 บท
รูปแบบวิจัย 5 บท
 
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 11 เรื่องกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 11 เรื่องกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 11 เรื่องกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 11 เรื่องกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
 
ใบความรู้ สังคม ป.1-3 ภาคเรียนที่ 1+443+dltvsocp3+T1 p1 3-sheet
ใบความรู้  สังคม ป.1-3 ภาคเรียนที่ 1+443+dltvsocp3+T1 p1 3-sheetใบความรู้  สังคม ป.1-3 ภาคเรียนที่ 1+443+dltvsocp3+T1 p1 3-sheet
ใบความรู้ สังคม ป.1-3 ภาคเรียนที่ 1+443+dltvsocp3+T1 p1 3-sheet
 
IS1 การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ กลุ่ม1
IS1  การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ กลุ่ม1IS1  การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ กลุ่ม1
IS1 การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ กลุ่ม1
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 เรื่องความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 เรื่องความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 เรื่องความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 เรื่องความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต
 
โครงสร้างโลก บท1
โครงสร้างโลก บท1โครงสร้างโลก บท1
โครงสร้างโลก บท1
 
ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก
ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดกร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก
ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก
 
ใบกิจกรรมที่ 2 เรื่อง กล้องจุลทรรศน์
ใบกิจกรรมที่ 2 เรื่อง กล้องจุลทรรศน์ใบกิจกรรมที่ 2 เรื่อง กล้องจุลทรรศน์
ใบกิจกรรมที่ 2 เรื่อง กล้องจุลทรรศน์
 
สรุปผลการศึกษาค้นคว้า
สรุปผลการศึกษาค้นคว้าสรุปผลการศึกษาค้นคว้า
สรุปผลการศึกษาค้นคว้า
 
คลื่น
คลื่นคลื่น
คลื่น
 

Viewers also liked

English for management
English for managementEnglish for management
English for managementYota Bhikkhu
 
ศิลปการพูด 5
ศิลปการพูด 5ศิลปการพูด 5
ศิลปการพูด 5Yota Bhikkhu
 
ปรัชญาพุทธศาสนา
ปรัชญาพุทธศาสนาปรัชญาพุทธศาสนา
ปรัชญาพุทธศาสนาYota Bhikkhu
 
Basic english powerpoint
Basic english powerpointBasic english powerpoint
Basic english powerpointYota Bhikkhu
 
Form of government 4
Form of government 4Form of government 4
Form of government 4Yota Bhikkhu
 
Advanced contents ปรับใหม่
Advanced contents  ปรับใหม่Advanced contents  ปรับใหม่
Advanced contents ปรับใหม่Yota Bhikkhu
 
Types of governments 3
Types of governments 3Types of governments 3
Types of governments 3Yota Bhikkhu
 
Advanced teaching plain
Advanced teaching plainAdvanced teaching plain
Advanced teaching plainYota Bhikkhu
 
การพูดอย่างเป็นทางการ 5
การพูดอย่างเป็นทางการ 5การพูดอย่างเป็นทางการ 5
การพูดอย่างเป็นทางการ 5Yota Bhikkhu
 
4. language and communication
4. language and communication4. language and communication
4. language and communicationYota Bhikkhu
 
Parties and elections 2
Parties and elections 2Parties and elections 2
Parties and elections 2Yota Bhikkhu
 
การเขียนหนังสือราชการ 8.3
การเขียนหนังสือราชการ 8.3การเขียนหนังสือราชการ 8.3
การเขียนหนังสือราชการ 8.3Yota Bhikkhu
 
Parties and elections 2
Parties and elections 2Parties and elections 2
Parties and elections 2Yota Bhikkhu
 
งานธุรการสารบรรณ 8.4
งานธุรการสารบรรณ 8.4งานธุรการสารบรรณ 8.4
งานธุรการสารบรรณ 8.4Yota Bhikkhu
 
Advanced text book advanced english 1 12 chapters
Advanced text book advanced english 1 12 chaptersAdvanced text book advanced english 1 12 chapters
Advanced text book advanced english 1 12 chaptersYota Bhikkhu
 

Viewers also liked (18)

A.0.2 contents
A.0.2 contentsA.0.2 contents
A.0.2 contents
 
English for management
English for managementEnglish for management
English for management
 
ศิลปการพูด 5
ศิลปการพูด 5ศิลปการพูด 5
ศิลปการพูด 5
 
ปรัชญาพุทธศาสนา
ปรัชญาพุทธศาสนาปรัชญาพุทธศาสนา
ปรัชญาพุทธศาสนา
 
Advanced contents
Advanced contentsAdvanced contents
Advanced contents
 
Democracy 5
Democracy 5Democracy 5
Democracy 5
 
Basic english powerpoint
Basic english powerpointBasic english powerpoint
Basic english powerpoint
 
Form of government 4
Form of government 4Form of government 4
Form of government 4
 
Advanced contents ปรับใหม่
Advanced contents  ปรับใหม่Advanced contents  ปรับใหม่
Advanced contents ปรับใหม่
 
Types of governments 3
Types of governments 3Types of governments 3
Types of governments 3
 
Advanced teaching plain
Advanced teaching plainAdvanced teaching plain
Advanced teaching plain
 
การพูดอย่างเป็นทางการ 5
การพูดอย่างเป็นทางการ 5การพูดอย่างเป็นทางการ 5
การพูดอย่างเป็นทางการ 5
 
4. language and communication
4. language and communication4. language and communication
4. language and communication
 
Parties and elections 2
Parties and elections 2Parties and elections 2
Parties and elections 2
 
การเขียนหนังสือราชการ 8.3
การเขียนหนังสือราชการ 8.3การเขียนหนังสือราชการ 8.3
การเขียนหนังสือราชการ 8.3
 
Parties and elections 2
Parties and elections 2Parties and elections 2
Parties and elections 2
 
งานธุรการสารบรรณ 8.4
งานธุรการสารบรรณ 8.4งานธุรการสารบรรณ 8.4
งานธุรการสารบรรณ 8.4
 
Advanced text book advanced english 1 12 chapters
Advanced text book advanced english 1 12 chaptersAdvanced text book advanced english 1 12 chapters
Advanced text book advanced english 1 12 chapters
 

Similar to 5.บทที่.5 สรุปผล-อภิปรายผล-ข้อเสนอแนะ

0.ปก คัดย่อ-กิติกรรมฯ-สารบัญ ฯลฯ
0.ปก คัดย่อ-กิติกรรมฯ-สารบัญ ฯลฯ0.ปก คัดย่อ-กิติกรรมฯ-สารบัญ ฯลฯ
0.ปก คัดย่อ-กิติกรรมฯ-สารบัญ ฯลฯYota Bhikkhu
 
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์Yota Bhikkhu
 
ขอบข่ายเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
ขอบข่ายเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาขอบข่ายเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
ขอบข่ายเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาapostrophe0327
 
4.บทที่ 4 ผลวิจัย-ตารางแผนการใช้ประโยชน์และสภาพการใช้งานจริงกับอาคารสถานที่
4.บทที่ 4 ผลวิจัย-ตารางแผนการใช้ประโยชน์และสภาพการใช้งานจริงกับอาคารสถานที่4.บทที่ 4 ผลวิจัย-ตารางแผนการใช้ประโยชน์และสภาพการใช้งานจริงกับอาคารสถานที่
4.บทที่ 4 ผลวิจัย-ตารางแผนการใช้ประโยชน์และสภาพการใช้งานจริงกับอาคารสถานที่Yota Bhikkhu
 
วิจัย 29 ม.ค 1
วิจัย 29 ม.ค 1วิจัย 29 ม.ค 1
วิจัย 29 ม.ค 1nakaenoi
 
(มคอ 03-1-statics 542)
(มคอ 03-1-statics 542)(มคอ 03-1-statics 542)
(มคอ 03-1-statics 542)etcenterrbru
 
สารนิพนธ์02
สารนิพนธ์02สารนิพนธ์02
สารนิพนธ์02Wes Yod
 
ความต้องการของนิสิตชั้นปีที่ 1 วส.เลย
ความต้องการของนิสิตชั้นปีที่ 1 วส.เลยความต้องการของนิสิตชั้นปีที่ 1 วส.เลย
ความต้องการของนิสิตชั้นปีที่ 1 วส.เลยpentanino
 
บทความกลุ่มการศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อโซเชียลแคม
บทความกลุ่มการศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อโซเชียลแคมบทความกลุ่มการศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อโซเชียลแคม
บทความกลุ่มการศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อโซเชียลแคมZ'Zui Masze
 
เผยแพร่ผลงาน
เผยแพร่ผลงานเผยแพร่ผลงาน
เผยแพร่ผลงานNunnaphat Chadajit
 
ตัวอย่างโครงร่างวิจัย
ตัวอย่างโครงร่างวิจัยตัวอย่างโครงร่างวิจัย
ตัวอย่างโครงร่างวิจัยguest41395d
 
ประเมินหลักสูตร
ประเมินหลักสูตรประเมินหลักสูตร
ประเมินหลักสูตรpaween
 
มาตรฐานการปฏิบัติงานโรงเรียนมัธยมศึกษา 2552
มาตรฐานการปฏิบัติงานโรงเรียนมัธยมศึกษา 2552มาตรฐานการปฏิบัติงานโรงเรียนมัธยมศึกษา 2552
มาตรฐานการปฏิบัติงานโรงเรียนมัธยมศึกษา 2552Nang Ka Nangnarak
 
มาตรฐานปฎิบัติงานมัธยมศึกษา
มาตรฐานปฎิบัติงานมัธยมศึกษามาตรฐานปฎิบัติงานมัธยมศึกษา
มาตรฐานปฎิบัติงานมัธยมศึกษาkruthai40
 
การวิจัยสถาบัน
การวิจัยสถาบันการวิจัยสถาบัน
การวิจัยสถาบันNU
 
แบบเสนอโครงร่างคอม -----
แบบเสนอโครงร่างคอม  -----แบบเสนอโครงร่างคอม  -----
แบบเสนอโครงร่างคอม -----Alatreon Deathqz
 

Similar to 5.บทที่.5 สรุปผล-อภิปรายผล-ข้อเสนอแนะ (20)

0.ปก คัดย่อ-กิติกรรมฯ-สารบัญ ฯลฯ
0.ปก คัดย่อ-กิติกรรมฯ-สารบัญ ฯลฯ0.ปก คัดย่อ-กิติกรรมฯ-สารบัญ ฯลฯ
0.ปก คัดย่อ-กิติกรรมฯ-สารบัญ ฯลฯ
 
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
 
ขอบข่ายเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
ขอบข่ายเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาขอบข่ายเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
ขอบข่ายเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
 
งาน
งานงาน
งาน
 
4.บทที่ 4 ผลวิจัย-ตารางแผนการใช้ประโยชน์และสภาพการใช้งานจริงกับอาคารสถานที่
4.บทที่ 4 ผลวิจัย-ตารางแผนการใช้ประโยชน์และสภาพการใช้งานจริงกับอาคารสถานที่4.บทที่ 4 ผลวิจัย-ตารางแผนการใช้ประโยชน์และสภาพการใช้งานจริงกับอาคารสถานที่
4.บทที่ 4 ผลวิจัย-ตารางแผนการใช้ประโยชน์และสภาพการใช้งานจริงกับอาคารสถานที่
 
วิจัย 29 ม.ค 1
วิจัย 29 ม.ค 1วิจัย 29 ม.ค 1
วิจัย 29 ม.ค 1
 
(มคอ 03-1-statics 542)
(มคอ 03-1-statics 542)(มคอ 03-1-statics 542)
(มคอ 03-1-statics 542)
 
สารนิพนธ์02
สารนิพนธ์02สารนิพนธ์02
สารนิพนธ์02
 
ความต้องการของนิสิตชั้นปีที่ 1 วส.เลย
ความต้องการของนิสิตชั้นปีที่ 1 วส.เลยความต้องการของนิสิตชั้นปีที่ 1 วส.เลย
ความต้องการของนิสิตชั้นปีที่ 1 วส.เลย
 
Report it541 trainfreshy_v2.2
Report it541 trainfreshy_v2.2Report it541 trainfreshy_v2.2
Report it541 trainfreshy_v2.2
 
บทความกลุ่มการศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อโซเชียลแคม
บทความกลุ่มการศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อโซเชียลแคมบทความกลุ่มการศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อโซเชียลแคม
บทความกลุ่มการศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อโซเชียลแคม
 
2552 high school performance standards.9
2552 high school performance standards.92552 high school performance standards.9
2552 high school performance standards.9
 
เผยแพร่ผลงาน
เผยแพร่ผลงานเผยแพร่ผลงาน
เผยแพร่ผลงาน
 
ตัวอย่างโครงร่างวิจัย
ตัวอย่างโครงร่างวิจัยตัวอย่างโครงร่างวิจัย
ตัวอย่างโครงร่างวิจัย
 
ประเมินหลักสูตร
ประเมินหลักสูตรประเมินหลักสูตร
ประเมินหลักสูตร
 
มาตรฐานการปฏิบัติงานโรงเรียนมัธยมศึกษา 2552
มาตรฐานการปฏิบัติงานโรงเรียนมัธยมศึกษา 2552มาตรฐานการปฏิบัติงานโรงเรียนมัธยมศึกษา 2552
มาตรฐานการปฏิบัติงานโรงเรียนมัธยมศึกษา 2552
 
มาตรฐานปฎิบัติงานมัธยมศึกษา
มาตรฐานปฎิบัติงานมัธยมศึกษามาตรฐานปฎิบัติงานมัธยมศึกษา
มาตรฐานปฎิบัติงานมัธยมศึกษา
 
การวิจัยสถาบัน
การวิจัยสถาบันการวิจัยสถาบัน
การวิจัยสถาบัน
 
แบบเสนอโครงร่างคอม -----
แบบเสนอโครงร่างคอม  -----แบบเสนอโครงร่างคอม  -----
แบบเสนอโครงร่างคอม -----
 
งานนำเสนอวิจัย(แฟ้มงาน)
งานนำเสนอวิจัย(แฟ้มงาน)งานนำเสนอวิจัย(แฟ้มงาน)
งานนำเสนอวิจัย(แฟ้มงาน)
 

5.บทที่.5 สรุปผล-อภิปรายผล-ข้อเสนอแนะ

  • 1. บทที่ ๕  สรุปผลการศึกษา อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ    การศึกษาเรื่องความพึงพอใจต่อการใช้อาคารและสถานที่ของนักศึกษาหน่วยวิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์อาคารและสถานที่ของ หน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง เพื่อศึกษาสภาพการใช้อาคารและสถานที่ของ หน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง และเพื่อศึกษาความพึงพอใจในการใช้อาคารและ สถานที่ของนักศึกษาหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง โดยมี สมมติฐานของการวิจัย คือสถานภาพนักศึกษาที่แตกต่างกันส่งผลต่อระดับความพึงพอใจต่อการใช้ อาคารและสถานที่ของหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิงแตกต่างกัน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรีของหน่วยวิทยบริการคณะ สังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง ทั้งสองกลุ่มการเรียน คือ กลุ่มการเรียนปกติ และกลุ่ม การเรียนภาคสมทบเสาร์-อาทิตย์ประจําปีการศึกษา ๒๕๕๖ แบ่งเป็นสาขาวิชาดังนี้ คือ หลักสูตรปกา ศนียบัตรการบริหารกิจการคณะสงฆ์ (ปบ.ส.) สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ และสาขาวิชาการจัดการ เชิงพุทธ สังกัดคณะสังคมศาสตร์ จํานวน ๒๕๒ แต่แบบสอบถามได้รับกลับคืนเพียง ๒๕๐ ฉบับ หรือ คิดเป็น ร้อยละ ๙๙.๒๐% เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทาง ประชากร สภาพการใช้อาคารและสถานที่ การใช้ประโยชน์อาคารและสถานที่ ข้อคําถามในส่วนนี้ใช้ เครื่องมือชนิดมาตราส่วนประมาณค่า ๓ ระดับ แบ่งเป็นสภาพสมบูรณ์ใช้การได้ดี สภาพไม่สมบูรณ์ แต่พอใช้การได้และควรปรับปรุงแก้ไข ส่วนการใช้ประโยชน์มี ๓ ระดับ แบ่งเป็น การใช้ประโยชน์ ในระดับมาก น้อย และไม่มีการใช้ประโยชน์ สําหรับข้อคําถามความพึงพอใจในการใช้อาคารสถานที่ ใช้คําถามแบบมาตรส่วนประมาณค่าเช่นกันแบ่งเป็น ๕ ระดับ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และ น้อยที่สุด ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามจํานวน ๓๐ ชุด เพื่อหาค่าความเที่ยงตรง (Reliability) โดยการ คํานวณหาค่าความเชื่อมั่นตามสูตรสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) ได้ค่าสัมประสิทธ์เท่ากับ ๐.๘๙. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างโดยใช้สถิติ t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวน
  • 2. พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๕ สรุปผลการศึกษา อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ/ ๙๔    ทางเดียว (One – way Analysis of Variance) เมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ การศึกษาในบทนี้เป็นการสรุปข้อค้นพบที่ได้จากผลการศึกษา การอภิปรายผล และ ข้อเสนอแนะอันจะเป็นประโยชน์ต่อการใช้อาคารและสถานที่ของหน่วยวิทยบริการคณะ สังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง รวมถึงผู้สนใจศึกษาค้นคว้าในงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ การศึกษาครั้งนี้ต่อไป    ๕. ๑. สรุปผลการศึกษา ผลการศึกษาเรื่องความพึงพอใจต่อการใช้อาคารและสถานที่ของนักศึกษาหน่วยวิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ. สามพราน จ. นครปฐม มีรายละเอียดโดยสรุป ดังนี้ ๕.๑.๑. ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดมี ๒๕๐ รูป/รายบุคคล แยกเป็นบรรพชิต ๑๙๒ รูปคิด เป็นร้อยละ ๗๖.๘๐ เป็นคฤหัสถ์ ๕๘ราย คิดเป็นร้อยละ ๒๓.๒ เป็นเพศชาย ๒๐๑ รูป/คน คิดเป็น ร้อยละ ๘๐.๔ เป็นเพศหญิง ๔๙ รูป/คน คิดเป็นร้อยละ ๑๙.๖๐ กําลังศึกษาอยู่ในช่วงชั้นที่ ๑ มีจํานวน ๑๑๒ รายคิดเป็นร้อยละ ๔๔.๘๐ กําลังศึกษาอยู่ในช่วงชั้นที่ ๒ มีจํานวน ๖๕ รายคิดเป็นร้อยละ ๒๖.๐๐ กําลังศึกษาอยู่ในช่วงชั้นที่ ๓ มีจํานวน ๗๓ รายคิดเป็นร้อยละ ๒๙.๒ ผู้ตอบแบบสอบถาม สังกัดสาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ ๑๑๖ราย คิดเป็นร้อยละ ๔๖.๔ สังกัดสาขาวิชารัฐประศาสน ศาสตร์ ๑๐๔ ราย คิดเป็นร้อยละ ๔๑.๖ สังกัดสาขาวิชารัฐหลักสูตรประกาศนียบัตร (ป.บส.) ๓๐ ราย คิดเป็นร้อยละ ๑๒ รวมทั้งสิ้น ๒๕๐ รูป/รายบุคคล ๕.๑.๒. แผนการใช้ประโยชน์อาคารและสถานที่ ในหน่วยวิทยบริการ มจร. วัดไร่ขิง พระ อารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม แผนการใช้ประโยชน์อาคารสถานที่โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก หากพิจารณา ถึงรายละเอียดปัจจัยแผนการใช้ประโยชน์อาคารสถานที่ระดับมากได้แก่ อาคารเรียน, ห้อง เรียน และ สภาพพื้นที่บริเวณสถานศึกษา  แต่ที่น่าแปลกใจมี ถึง ๓ ปัจจัยที่มีแผนการใช้ประโยชน์อยู่ในระดับ
  • 3. พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๕ สรุปผลการศึกษา อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ/ ๙๕    น้อยได้แก่ห้องแนะแนว/ศูนย์ให้คําปรึกษาแนะนํา, ห้องปฏิบัติการ / โรงฝึกงาน/พื้นที่แสดงผลงาน และห้องพยาบาล/จุดให้บริการด้านการพยาบาล    ๕.๑.๓. สภาพการใช้งานจริงด้านอาคารและสถานที่ ในหน่วยวิทยบริการ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม สภาพการใช้งานอาคารสถานที่จริงนั้น โดยภาพรวม มีการใช้ประโยชน์อยู่ใน ระดับมากเมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดสภาพการใช้งานจริงกับอาคารสถานที่ เรียงตามอันดับได้แก่ อาคารเรียน, สภาพพื้นที่บริเวณสถานศึกษา, ห้องเรียน และสํานักงานให้บริการนักศึกษา เช่น สํานัก ทะเบียน การเงิน  แต่ สภาพการใช้งานจริงกับอาคารสถานที่ ในระดับกลางได้แก่ห้องผลิตสื่อศูนย์ คอมพิวเตอร์บริการ, โรงอาหาร/จุดบริการอาหารเครื่องดื่ม, ห้องแนะแนว/ศูนย์ให้คําปรึกษาแนะนํา, ห้องปฏิบัติการ / โรงฝึกงาน/พื้นที่แสดงผลงาน และ ห้องพยาบาล/จุดให้บริการด้านการพยาบาล    ๕.๑.๔. ความพึงพอใจในการใช้อาคารและสถานที่ของนิสิตนักศึกษาหน่วยวิทยบริการ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม ความพึงพอใจต่อการใช้อาคารและสถานที่ของนิสิตนักศึกษาหน่วยวิทยบริการ คณะ สังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม ในภาพรวมทุกปัจจัยอยู่ใน ระดับความพึงพอใจมากจากอันดับมากสูงสุดไปหาอันดับมากน้อยสุด อันได้แก่ ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการห้องคอมพิวเตอร์ และห้องบริการต่างๆ ตามด้วย อาคารเรียน , บริเวณสถานศึกษา , การจัดสภาพแวดล้อมและระบบสาธารณูปโภคของหน่วยวิทยบริการ, ห้องประชุมและห้องสัมมนา, ห้องกิจกรรม, ห้องสมุดและห้องผลิตสื่อศูนย์คอมพิวเตอร์บริการ,โรงอาหารหรือสถานที่ รับประทานอาหาร และ การรักษาความปลอดภัยภายในหน่วยวิทยบริการ ตามลําดับ      ๕.๑.๕. ผลการทดสอบ t-test      สมมติฐาน: สถานภาพนักศึกษาที่แตกต่างกันส่งผลต่อระดับความพึงพอใจต่อการ ใช้อาคารและสถานที่ของหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิงแตกต่างกัน      ๑. สถานภาพ (บรรพชิต และ คฤหัสถ์)
  • 4. พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๕ สรุปผลการศึกษา อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ/ ๙๖    พบว่า สถานภาพ ของผู้ตอบแบบสอบถามต่างสถานภาพกันมีความพึง พอใจต่อการใช้อาคารและสถานที่ของหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิงแตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญใน๑๒ ปัจจัยจากทั้งหมด ๕๕ ปัจจัย ซึ่งได้แก่ การรักษาความสะอาดและการ บํารุงรักษาห้องตามห้องเรียน ห้องปฏิบัติการห้องคอมพิวเตอร์ และห้องบริการต่างๆ(Sig.๐๐๐), การ จัดหนังสือ สื่อโสตทัศน์ วัสดุ อุปกรณ์ ภายในสํานักหอสมุดและห้องผลิตสื่อศูนย์คอมพิวเตอร์บริการ (Sig.๐๐๐), มีแสงสว่างเพียงพอและระบายอากาศที่ดีตามห้องเรียน ห้องปฏิบัติการห้องคอมพิวเตอร์ และห้องบริการต่างๆ (Sig.๐๐๒), ความหลากหลายของหนังสือและเอกสารในห้องสมุดและห้องผลิต สื่อศูนย์คอมพิวเตอร์บริการ(Sig.๐๑๓), ระบบระบายนํ้าตามแนวถนนในการจัดสภาพแวดล้อมและ ระบบสาธารณูปโภคของหน่วยวิทยบริการ(Sig.๐๑๙), มีแสงสว่างเพียงพอและระบายอากาศที่ดีใน โรงอาหารหรือสถานที่รับประทานอาหาร(Sig.๐๒๐), โต๊ะเก้าอี้มีการจัดวางอย่างเป็นระเบียบใน ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการห้องคอมพิวเตอร์ และห้องบริการต่างๆ(Sig.๐๒๑), ความสะดวกในการใช้ ประโยชน์อาคารเรียน (Sig.๐๒๒), การจัดระบบติดต่อสื่อสารภายในสถานศึกษา เช่น ระบบโทรศัพท์ บอร์ดประชาสัมพันธ์ในการจัดสภาพแวดล้อมและระบบสาธารณูปโภคของหน่วยวิทยบริการ (Sig.๐๒๔),สถานที่พักผ่อนในบริเวณสถานศึกษา(Sig.๐๓๕), พื้นที่จอดรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ในบริเวณสถานศึกษา(Sig.๐๓๙), และบรรยากาศทางวิชาการที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในห้องเรียน ห้องปฏิบัติการห้องคอมพิวเตอร์ และห้องบริการต่างๆ(Sig.๐๔๕), ตามลําดับ(บทที่ ๔ หน้า ๕๙)  ๒. เพศ (ชาย และ หญิง) ผู้ตอบแบบสอบถามต่างเพศกันมีความพึงพอใจต่อการใช้อาคารและสถานที่ ของหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิงแตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญใน๑๒ ปัจจัยจาก ทั้งหมด ๕๕ ปัจจัย ๑๐ ปัจจัยจากทั้งหมด ๕๕ ปัจจัย ซึ่งได้แก่การจัดระบบติดต่อสื่อสารภายใน สถานศึกษา เช่น ระบบโทรศัพท์ บอร์ดประชาสัมพันธ์ในการจัดสภาพแวดล้อมและระบบ สาธารณูปโภคของหน่วยวิทยบริการ(Sig. ๐๐๐), การรักษาความสะอาดและการบํารุงรักษาห้องใน ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการห้องคอมพิวเตอร์ และห้องบริการต่างๆ (Sig. ๐๐๑), ความหลากหลายของ หนังสือและเอกสารในห้องสมุดและห้องผลิตสื่อศูนย์คอมพิวเตอร์บริการ(Sig. ๐๐๖), มีแสงสว่าง เพียงพอและระบายอากาศที่ดีในห้องสมุดและห้องผลิตสื่อศูนย์คอมพิวเตอร์บริการ (Sig. ๐๐๗), จํานวนหนังสือและเอกสารในห้องสมุดและห้องผลิตสื่อศูนย์คอมพิวเตอร์บริการ (Sig. ๐๑๐), มีแสง สว่างเพียงพอและระบายอากาศที่ดีในโรงอาหารหรือสถานที่รับประทานอาหาร (Sig. ๐๑๓), ระบบ
  • 5. พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๕ สรุปผลการศึกษา อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ/ ๙๗    ระบายนํ้าตามแนวถนนในการจัดสภาพแวดล้อมและระบบสาธารณูปโภคของหน่วยวิทยบริการ (Sig. ๐๑๙), ห้องเรียนมีจํานวนโต๊ะเก้าอี้เพียงพอกับนิสิตนักศึกษาในห้องเรียน ห้องปฏิบัติการห้อง คอมพิวเตอร์ และห้องบริการต่างๆ (Sig. ๐๒๓), มีแสงสว่างเพียงพอและระบายอากาศที่ดีใน ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการห้องคอมพิวเตอร์ และห้องบริการต่างๆ (Sig. ๐๓๔), สถานที่พักผ่อนใน บริเวณสถานศึกษา (Sig. ๐๔๖) (บทที่ ๔ หน้า ๕๙)    ๓. ชั้นปีของนักศึกษา  ๓ - ก. เมื่อพิจารณาด้านอาคารเรียน โดยรวม นักศึกษามีความพึงพอใจ มาก ( = ๓.๘๒, S.D. = .๘๔๓) นักศึกษาต่างชั้นปีมีความพึงพอใจต่างกันในการใช้อาคารและ สถานที่ของหน่วยวิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติอยู่ ๓ปัจจัยได้แก่ การจัดระบบแสงสว่างภายในอาคาร(Sig =  . ๐๐๓), การจัดสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ ในอาคารเรียน (Sig =  .๐๐๓) และการจัดทําแผนผังอาคาร (Sig =  . ๐๒๗) เป็นการยอมรับสมมติฐาน  ๓ - ข. เมื่อพิจารณาด้าน ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการห้องคอมพิวเตอร์ และห้อง บริการต่างๆ โดยรวม นักศึกษามีความพึงพอใจมาก( = ๓.๘๘, S.D. =. ๘๔๑ ) นักศึกษาต่าง ชั้นปีมีความพึงพอใจต่างกันในการใช้ ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการห้องคอมพิวเตอร์ และห้องบริการ ต่างๆ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติเพียงปัจจัยเดียวคือห้องเรียนมีจํานวนโต๊ะเก้าอี้เพียงพอกับนิสิต นักศึกษา(Sig = .๐๐๑) เป็นการยอมรับสมมติฐาน  ๓ - ค. เมื่อพิจารณาด้าน บริเวณสถานศึกษาโดยรวม นักศึกษามีความพึงพอใจมาก ( = ๓.๗๐, S.D. =. ๙๔๓ ) นักศึกษาต่างชั้นปีมีความพึงพอใจไม่ต่างกันกับบริเวณสถานศึกษา ในหน่วยวิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม เป็นการปฎิเสธสมมติฐาน  ๓ - ง. เมื่อพิจารณาด้าน ห้องสมุดและห้องผลิตสื่อศูนย์คอมพิวเตอร์บริการ โดยรวม นักศึกษามีความพึงพอใจมาก( = ๓.๖๕, S.D. = . ๙๑๑ ) นักศึกษาต่างชั้นปีมีความพึง พอใจต่างกันกับห้องสมุดและห้องผลิตสื่อศูนย์คอมพิวเตอร์บริการในหน่วยวิทยบริการ คณะ สังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติถึง
  • 6. พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๕ สรุปผลการศึกษา อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ/ ๙๘    ๑๐ ปัจจัยได้แก่ การจัดหนังสือ สื่อโสตทัศน์ วัสดุ อุปกรณ์ ภายในสํานักหอสมุด (Sig = .๐๐๐), ความ สะดวกในการค้นหาหนังสือและสิ่งพิมพ์ในห้องสมุด (Sig =  .๐๐๐), ความเพียงพอของจํานวน คอมพิวเตอร์ (Sig =  .๐๐๐), ความหลากหลายของหนังสือและเอกสารในห้องสมุด (Sig =  .๐๐๐), ห้องสมุดมีความสะอาด และเป็นระเบียบเรียบร้อย (Sig =  .๐๐๐), ความทันสมัยของหนังสือและ เอกสารในห้องสมุด (Sig =  .๐๐๐), จํานวนหนังสือและเอกสารในห้องสมุด (Sig =  .๐๐๐), ความ รวดเร็วของระบบอินเทอร์เน็ต (Sig =  .๐๐๐), ประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ (Sig =  .๐๐๐), และ มีโต๊ะเก้าอี้เพียงพอกับนิสิตนักศึกษา (Sig = .๐๐๑), ตามลําดับ จึงเป็นการยอมรับสมมติฐาน  ๓ - จ. เมื่อพิจารณาด้าน โรงอาหารหรือสถานที่รับประทานอาหารโดยรวม นักศึกษามีความพึงพอใจมาก( = ๓.๕๗, S.D. = . ๙๘๐ ) นักศึกษาต่างชั้นปีมีความพึงพอใจ ต่างกันกับการใช้โรงอาหารหรือสถานที่รับประทานอาหารในหน่วยวิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติทั้งสามปัจจัย ได้แก่มีแสงสว่างเพียงพอและระบายอากาศที่ดี(Sig = .๐๐๔), การจัดโต๊ะ เก้าอี้ภายในโรงอาหาร (Sig =  .๐๑๒), และ การจัดวัสดุ อุปกรณ์ และการรักษาความสะอาด (Sig =  .๐๔๙) จึงเป็นการยอมรับ สมมติฐาน  ๓ - ฉ. เมื่อพิจารณาด้าน ห้องประชุมและห้องสัมมนาโดยรวม นักศึกษามีความพึง พอใจมาก( = ๓.๖๗, S.D. = . ๘๙๐ ) นักศึกษาต่างชั้นปีมีความพึงพอใจต่างกันกับห้องประชุม และห้องสัมมนาในหน่วยวิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สาม พราน จ. นครปฐม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติทั้ง ๗ ปัจจัยได้แก่สิ่งอํานวยความสะดวกมีประสิทธิภาพ มีความทันสมัย และมีจํานวน เพียงพอต่อการใช้งาน(Sig =  .๐๐๐), ห้องประชุมและห้องสัมมนามี ความสะอาดเป็นระเบียบ (Sig =  .๐๐๐) ความพร้อมของห้องประชุมและห้องสัมมนา (Sig =  .๐๐๐) ห้องประชุมและห้องสัมมนามีจํานวนเพียงพอต่อการใช้งาน และ สามารถรองรับการจัดกิจกรรม ประเภทต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม (Sig = .๐๐๑), การรักษาความสะอาดและการบํารุงรักษาห้องประชุม (Sig = .๐๐๑) ความสะดวกในการใช้วัสดุ อุปกรณ์ (Sig = .๐๐๑) และ มีแสงสว่างเพียงพอและระบาย อากาศที่ดี (Sig = .๐๐๓) จึงเป็นการยอมรับสมมติฐาน  ๓ - ช. เมื่อพิจารณาด้าน ห้องกิจกรรมโดยรวม นักศึกษามีความพึงพอใจมาก ( = ๓.๖๖, S.D. = . ๙๕๗ ) นักศึกษาต่างชั้นปีมีความพึงพอใจต่างกันกับห้องกิจกรรมในหน่วย
  • 7. พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๕ สรุปผลการศึกษา อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ/ ๙๙    วิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม อย่างมี นัยสําคัญทางสถิติถึง ๕ ปัจจัยได้แก่ การรักษาความสะอาดและการบํารุงรักษาห้อง(Sig = .๐๐๐), การ จัดวัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ และสิ่งอํานวยความสะดวก (Sig =  .๐๐๐), มีแสงสว่างเพียงพอและระบาย อากาศที่ดี (Sig = .๐๒๙), และ ความสะดวกในการใช้วัสดุ อุปกรณ์และการใช้บริการ (Sig = .๐๔๒), จึงเป็นการยอมรับสมมติฐาน  ๓ - ซ. เมื่อพิจารณาด้าน การจัดสภาพแวดล้อมและระบบสาธารณูปโภคของหน่วย วิทยบริการโดยรวม นักศึกษามีความพึงพอใจมาก( = ๓.๗๐, S.D. = . ๙๖๘ ) นักศึกษาต่างชั้น ปีมีความพึงพอใจต่างกันกับการจัดสภาพแวดล้อมและระบบสาธารณูปโภคของหน่วยวิทยบริการใน หน่วยวิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม อย่าง มีนัยสําคัญทางสถิติ ทั้ง ๗ ปัจจัยได้แก่ การจัดที่นั่งให้นักศึกษาพักผ่อนในเวลาว่าง(Sig = .๐๐๐), การ จัดนํ้าเพื่อบริโภคในสถานศึกษา (Sig =  .๐๐๐), การดูแลรักษาห้องนํ้า ห้องส้วมให้สะอาด (Sig =  . ๐๐๐), การจัดระบบติดต่อสื่อสารภายในสถานศึกษา เช่น ระบบโทรศัพท์ บอร์ดประชาสัมพันธ์ (Sig =  .๐๐๐), ระบบระบายนํ้าตามแนวถนน (Sig =  .๐๐๑), การจัดการไฟฟ้ าภายในอาคาร เครื่องปรับอากาศ หรือพัดลม (Sig = .๐๐๒), และ การมีถังขยะที่แยกตามประเภทขยะ (Sig = .๐๑๒) ตามลําดับ จึงเป็นการยอมรับสมมติฐาน  ๓ - ฐ. เมื่อพิจารณาด้านการรักษาความปลอดภัยภายในหน่วยวิทยบริการโดยรวม นักศึกษามีความพึงพอใจมาก( = ๓.๔๕, S.D. = ๑. ๐๘๑ ) นักศึกษาต่างชั้นปีมีความพึงพอใจ ไม่ต่างกันกับด้าน การรักษาความปลอดภัยภายในหน่วยวิทยบริการในหน่วยวิทยบริการ คณะ สังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม จึงเป็นการปฎิเสธสมมติ ฐาน ๔. สาขาวิชาที่สังกัด ๔ – ก. เมื่อพิจารณาด้านอาคารเรียน โดยรวม นักศึกษามีความพึงพอใจ มาก ( = ๓.๘๒, S.D. = .๘๔๓), นักศึกษาต่างสาขาวิชาที่สังกัดมีความพึงพอใจไม่ต่างกัน ในการใช้อาคารและสถานที่ของหน่วยวิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐมจึงเป็นการปฎิเสธสมมติฐาน 
  • 8. พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๕ สรุปผลการศึกษา อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ/ ๑๐๐    ๔ – ข. เมื่อพิจารณาด้าน ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการห้องคอมพิวเตอร์ และห้อง บริการต่างๆ โดยรวม นักศึกษามีความพึงพอใจมาก( = ๓.๘๘, S.D. =. ๘๔๑ ) นักศึกษาต่าง สาขาวิชาที่สังกัดมีความพึงพอใจต่างกันกับการใช้ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการห้องคอมพิวเตอร์ และ ห้องบริการต่างๆที่หน่วยวิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ทั้ง ในปัจจัยการรักษาความสะอาดและการบํารุงรักษาห้อง(Sig = .๐๐๐), และห้องเรียนมีจํานวนโต๊ะเก้าอี้เพียงพอกับนิสิตนักศึกษา (Sig = .๐๐๗) จึงเป็นการยอมรับ สมมติฐาน ๔ – ค. เมื่อพิจารณาด้าน บริเวณสถานศึกษาโดยรวม นักศึกษามีความพึงพอใจมาก ( = ๓.๗๐, S.D. =. ๙๔๓ ) นักศึกษาต่างสาขาวิชาที่สังกัดมีความพึงพอใจไม่ต่างกันกับ บริเวณ สถานศึกษาในหน่วยวิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม จึงเป็นการปฎิเสธสมมติฐาน ๔ – ง.  เมื่อพิจารณาด้าน ห้องสมุดและห้องผลิตสื่อศูนย์คอมพิวเตอร์บริการโดย รวม นักศึกษามีความพึงพอใจมาก ( = ๓.๖๕, S.D. = . ๙๑๑ ) นักศึกษาต่างสาขาวิชาที่สังกัดมี ความพึงพอใจต่างกันกับห้องสมุดและห้องผลิตสื่อศูนย์คอมพิวเตอร์บริการในหน่วยวิทยบริการ คณะ สังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติอยู่ ๓ ปัจจัยได้แก่มีโต๊ะเก้าอี้เพียงพอกับนิสิตนักศึกษา(Sig =  .๐๐๙), ความหลากหลายของหนังสือและ เอกสารในห้องสมุด (Sig = .๐๑๗), และ ความเพียงพอของจํานวนคอมพิวเตอร์ (Sig = .๐๒๕)จึงเป็น การยอมรับสมมติฐาน  ๔ – จ. เมื่อพิจารณาด้านโรงอาหารหรือสถานที่รับประทานอาหารโดยรวม นักศึกษามีความพึงพอใจมาก( = ๓.๕๗, S.D. = . ๙๘๐ ) นักศึกษาต่างสาขาวิชาที่สังกัดมีความ พึงพอใจต่างกัน กับโรงอาหารหรือสถานที่รับประทานอาหารในหน่วยวิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม เอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ พียงปัจจัยเดียว ได้แก่ การจัดวัสดุ อุปกรณ์ และการรักษาความสะอาด(Sig = .๐๐๘) จึงเป็นการยอมรับสมมติฐาน ๔ – ฉ เมื่อพิจารณาด้านห้องประชุมและห้องสัมมนาโดยรวม นักศึกษามีความพึง พอใจมาก( = ๓.๖๗, S.D. = . ๘๙๐ ) นักศึกษาต่างสาขาวิชาที่สังกัดมีความพึงพอใจต่างกัน กับห้องประชุมและห้องสัมมนาในหน่วยวิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอาราม
  • 9. พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๕ สรุปผลการศึกษา อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ/ ๑๐๑    หลวง อ.สามพราน จ. นครปฐมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ กับ ๕ ปัจจัยได้แก่ ห้องประชุมและ ห้องสัมมนามีจํานวนเพียงพอต่อการใช้งาน และ สามารถรองรับการจัดกิจกรรมประเภทต่างๆ ได้ อย่างเหมาะสม(Sig = .๐๐๐), ห้องประชุมและห้องสัมมนามีความสะอาดเป็นระเบียบ (Sig = .๐๐๑), ความพร้อมของห้องประชุมและห้องสัมมนา (Sig = .๐๐๓), มีแสงสว่างเพียงพอและระบายอากาศที่ดี (Sig = .๐๑๔), และ การรักษาความสะอาดและการบํารุงรักษาห้องประชุม (Sig = .๐๑๗) ตามลําดับ จึงเป็นการยอมรับสมมติฐาน ๔ – ช. เมื่อพิจารณาด้าน ห้องกิจกรรมโดยรวม นักศึกษามีความพึงพอใจมาก ( = ๓.๖๖, S.D. = . ๙๕๗ ) นักศึกษาต่างสาขาวิชาที่สังกัดมีความพึงพอใจต่างกันกับห้อง กิจกรรม ในหน่วยวิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ กับ ๓ ปัจจัย ได้แก่การรักษาความสะอาดและการบํารุงรักษาห้อง (Sig = .๐๐๐), การจัดวัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ และสิ่งอํานวยความสะดวก (Sig = .๐๐๐), และ การจัด บรรยากาศภายในห้องที่เอื้อต่อการใช้บริการ (Sig = .๐๐๘) จึงเป็นการยอมรับสมมติฐาน  ๔ – ซ เมื่อพิจารณาด้าน การจัดสภาพแวดล้อมและระบบสาธารณูปโภคของหน่วย วิทยบริการโดยรวม นักศึกษามีความพึงพอใจมาก ( = ๓.๗๐, S.D. = . ๙๖๘ ) นักศึกษาต่าง สาขาวิชาที่สังกัดมีความพึงพอใจต่างกันกับ การจัดสภาพแวดล้อมและระบบสาธารณูปโภคของ หน่วยวิทยบริการในหน่วยวิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สาม พราน จ. นครปฐม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ทั้ง ๗ ปัจจัยได้แก่ การจัดที่นั่งให้นักศึกษาพักผ่อนใน เวลาว่าง, (Sig = .๐๐๐), การมีถังขยะที่แยกตามประเภทขยะ, (Sig = .๐๐๐), การจัดการไฟฟ้าภายใน อาคาร เครื่องปรับอากาศ หรือพัดลม, (Sig = .๐๐๐), การดูแลรักษาห้องนํ้า ห้องส้วมให้สะอาด, (Sig =  .๐๐๐), ระบบระบายนํ้าตามแนวถนน, (Sig =  .๐๐๐), การจัดระบบติดต่อสื่อสารภายในสถานศึกษา เช่น ระบบโทรศัพท์ บอร์ดประชาสัมพันธ์, (Sig =  .๐๐๖), และ การจัดนํ้าเพื่อบริโภคในสถานศึกษา (Sig = .๐๔๖) จึงเป็นการยอมรับสมมติฐาน  ๔ – ฐ เมื่อพิจารณาด้าน การรักษาความปลอดภัยภายในหน่วยวิทยบริการโดยรวม นักศึกษามีความพึงพอใจมาก( = ๓.๔๕, S.D. = ๑. ๐๘๑ ) นักศึกษาต่างสาขาวิชาที่สังกัดมี ความพึงพอใจต่างกันกับ กับการรักษาความปลอดภัยภายในหน่วยวิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ทั้ง ๓ ปัจจัย
  • 10. พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๕ สรุปผลการศึกษา อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ/ ๑๐๒    ได้แก่ การให้บริการของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (Sig = .๐๐๐), ระบบการดูแลรักษาความ ปลอดภัยในหน่วยวิทยบริการสร้างความมั่นใจ ในความปลอดภัยให้แก่นักศึกษา(Sig = .๐๐๑), และ มี ระบบป้องกันเพลิงไหม้และสัญญาณเตือนภัยต่างๆ อย่างเพียงพอ (Sig = .๐๐๒) จึงเป็นการยอมรับ สมมติฐาน  สรุปความพึงพอใจมี่ต่างและไม่แตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ ๐.๐๕ ตาราง ๕.๑ สรุปความพึงพอใจมี่ต่างและไม่แตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ ๐.๐๕ สถานภาพ เพศ ระดับชั้นปี สาขาวิชาที่สังกัด Dif.withSig. No-dif. Dif.withSig. No-dif. Dif.withSig. No-dif. Dif.withSig. No-dif. ก/A: ก/A: ก/A: ก/A: ข/B: ข/B: ข/B: ข/B: ค/C: ค/C: ค/C: ค/C: ง/D: ง/D: ง/D: ง/D: จ/E: จ/E: จ/E: จ/E: ฉ/F: ฉ/F: ฉ/F: ฉ/F: ช/G: ช/G: ช/G: ช/G: ซ/H: ซ/H: ซ/H: ซ/H: ฐ/I: ฐ/I: ฐ/I: ฐ/I: หมายเหตุ ก/A: ด้านอาคารเรียน ข/B: ด้านห้องเรียน ห้องปฏิบัติการห้องคอมพิวเตอร์ และห้องบริการต่างๆ ค/C: ด้านบริเวณสถานศึกษา ง/D: ด้านห้องสมุดและห้องผลิตสื่อศูนย์คอมพิวเตอร์บริการ จ/E: ด้านโรงอาหารหรือสถานที่รับประทานอาหาร ฉ/F: ด้านห้องประชุมและห้องสัมมนา ช/G: ด้านห้องกิจกรรม ซ/H: ด้านการจัดสภาพแวดล้อมและระบบสาธารณูปโภคของหน่วยวิทยบริการ ฐ/I: ด้านการรักษาความปลอดภัยภายในหน่วยวิทยบริการ
  • 11. พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๕ สรุปผลการศึกษา อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ/ ๑๐๓    ๑. นักศึกษาต่างสถานภาพมีความพึงพอใจต่างกันกับการใช้ด้านอาคารเรียน, ด้าน ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการห้องคอมพิวเตอร์ และห้องบริการต่างๆ, ด้านบริเวณสถานศึกษา, ด้าน ห้องสมุดและห้องผลิตสื่อศูนย์คอมพิวเตอร์บริการ, ด้านโรงอาหารหรือสถานที่รับประทานอาหาร และ ด้านการจัดสภาพแวดล้อมและระบบสาธารณูปโภคของหน่วยวิทยบริการอย่างมีนัยสําคัญทาง สถิติ เว้นแต่ ด้านห้องประชุมและห้องสัมมนา, ด้านห้องกิจกรรม และด้านการรักษาความปลอดภัย ภายในหน่วยวิทยบริการ ในหน่วยวิทยบริการที่หน่วยวิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ๒.  นักศึกษาต่างเพศมีความพึงพอใจต่างกันกับด้านห้องเรียน ด้านห้องปฏิบัติการห้อง คอมพิวเตอร์ และห้องบริการต่างๆ, ด้านบริเวณสถานศึกษา, ด้านห้องสมุดและห้องผลิตสื่อศูนย์ คอมพิวเตอร์บริการ, ด้านโรงอาหารหรือสถานที่รับประทานอาหาร, ด้านการจัดสภาพแวดล้อมและ ระบบสาธารณูปโภคของหน่วยวิทยบริการ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ เว้นแต่ ด้านอาคารเรียน, ด้าน ห้องประชุมและห้องสัมมนา, ด้านห้องกิจกรรม และด้านการรักษาความปลอดภัยภายในหน่วยวิทย บริการในหน่วยวิทยบริการที่หน่วยวิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ. สามพราน จ. นครปฐมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ   ๓.  นักศึกษาต่างระดับชั้นปีมีความพึงพอใจต่างกันกับด้านอาคารเรียน, ด้าน ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการห้องคอมพิวเตอร์ และห้องบริการต่างๆ, ด้าน ห้องสมุดและห้องผลิตสื่อศูนย์ คอมพิวเตอร์บริการ, ด้านโรงอาหารหรือสถานที่รับประทานอาหาร, ด้านห้องประชุมและ ห้องสัมมนา, ด้าน ห้องกิจกรรม, และ ด้าน การจัดสภาพแวดล้อมและระบบสาธารณูปโภคอย่างมี นัยสําคัญทางสถิติ เว้นแต่ ด้าน บริเวณสถานศึกษา และ ด้าน การรักษาความปลอดภัยภายในหน่วย วิทยบริการในหน่วยวิทยบริการที่หน่วยวิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอาราม หลวง อ.สามพราน จ. นครปฐมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ๔. นักศึกษาต่างสาขาวิชาที่สังกัดมีความพึงพอใจต่างกันกับการใช้ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการห้องคอมพิวเตอร์ และห้องบริการต่างๆ, ด้านห้องสมุดและห้องผลิตสื่อศูนย์ คอมพิวเตอร์, ด้านโรงอาหารหรือสถานที่รับประทานอาหาร, ด้านห้องประชุมและห้องสัมมนา, ด้าน ห้องกิจกรรม, ด้าน การจัดสภาพแวดล้อมและระบบสาธารณูปโภค และ ด้าน การรักษาความ ปลอดภัยภายในหน่วยวิทยบริการอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ เว้นแต่ ด้านอาคารเรียน และด้าน บริเวณ
  • 12. พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๕ สรุปผลการศึกษา อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ/ ๑๐๔    สถานศึกษาที่หน่วยวิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ  ๕.๒ อภิปรายผล ผลการศึกษาเรื่องความพึงพอใจต่อการใช้อาคารและสถานที่ของนักศึกษาหน่วยวิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาที่ผู้วิจัยจะนํามา อภิปรายดังนี้ ๕.๒.๑. แผนการใช้ประโยชน์อาคารและสถานที่ในหน่วยวิทยบริการคณะ สังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ. สามพราน จ. นครปฐม แผนการใช้อาคารสถานที่เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่บ่งชี้ถึงประสิทธิภาพการบริหารงานอาคาร และสถานที่ของผู้บริหาร ความสําเร็จในการบริหารงานดังกล่าวก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนการ สอนภายในห้องเรียน และต่อการเรียนรู้นอกห้องเรียนของผู้เรียนและต่อชุมชนภายนอกที่เข้ามาใช้ บริการอีกด้วย จากการศึกษาในครั้งนี้พบว่า มีแผนการใช้ประโยชน์จากอาคารและสถานที่อยู่ใน ระดับมากในทุกด้าน แต่เป็นที่น่าแปลกใจที่มี ๓ ปัจจัยแผนการใช้ประโยชน์อาคารสถานที่ระดับน้อย หรือมีการวางแผนไม่ใช้งานเต็มที่ได้แก่ห้องแนะแนว/ศูนย์ให้คําปรึกษาแนะนํา, ห้องปฏิบัติการ / โรง ฝึกงาน/พื้นที่แสดงผลงาน และห้องพยาบาล/จุดให้บริการด้านการพยาบาล ( = ๒.๒๘,  = ๒.๒๒,  = ๒.๒๒) ตามลําดับ. สะท้อนให้เห็นว่าการก่อให้เกิดความรู้ภายนอกห้องเรียนของ นักศึกษายังมีน้อย กระบวนการเรียนรู้ยังมุ่งไปที่การรับความรู้ภายในห้องเรียนจากอาจารย์ผู้สอน โดยตรง ซึ่งการทํากิจกรรมก็จัดเป็นกระบวนการเรียนรู้ภายนอกอย่างหนึ่ง เป็นการเรียนรู้ทางสังคมที่ ควรส่งเสริมให้นักศึกษาเป็นผู้ใฝ่หาความรู้ด้วนตนเอง สอดคล้องกับผลการศึกษาของ จํานง ประสาน วงค์(๒๕๔๕)๑ ได้ทําการศึกษาถึงสภาพและปัญหาการบริหารอาคารสถานที่ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดสกลนคร ผลการศึกษาพบว่า อาคารสถานที่ยังไม่มีการใช้ประโยชน์                                                              ๑ จํานง ประสานวงค์, (๒๕๔๕). สภาพและปัญหาการบริหารอาคารสถานที่ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัด กรมสามัญศึกษา จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา สถาบันราชภัฏ สกลนคร.  
  • 13. พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๕ สรุปผลการศึกษา อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ/ ๑๐๕    อย่างเต็มที่ทั้งยังสอดคล้องกับการศึกษาของฐิติยา เนตรวงษ์ (๒๕๕๑)๒ ที่ศึกษาเรื่องการศึกษาความ พึงพอใจของนักศึกษาต่อการใช้อาคารสถานที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต โดยพบว่า การใช้ ประโยชน์อาคารและสถานที่ในภาพรวมยังมีการใช้ประโยชน์น้อย   ๕.๒.๒.  สภาพการใช้อาคารและสถานที่จริงที่หน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ. สามพราน จ. นครปฐม  แต่ สภาพการใช้งานจริงกับอาคารสถานที่ ในระดับกลางหรือแบบพอใช้ได้แก่ห้องผลิตสื่อ ศูนย์คอมพิวเตอร์บริการ, โรงอาหาร/จุดบริการอาหารเครื่องดื่ม, ห้องแนะแนว/ศูนย์ให้คําปรึกษา แนะนํา, ห้องปฏิบัติการ / โรงฝึกงาน/พื้นที่แสดงผลงาน และ ห้องพยาบาล/จุดให้บริการด้านการ พยาบาล  ซึ่งเป็นการยืนยันว่าขาดการวางแผนใช้งานให้เต็มที่กับห้องแนะแนว/ศูนย์ให้คําปรึกษา แนะนํา, ห้องปฏิบัติการ / โรงฝึกงาน/พื้นที่แสดงผลงาน และห้องพยาบาล/จุดให้บริการด้านการ พยาบาล  หรือแม้แต่วางแผนใช้งานเต็มที่แต่ใช้งานจริงกับห้องผลิตสื่อศูนย์คอมพิวเตอร์บริการ, โรง อาหาร/จุดบริการอาหารเครื่องดื่มในระดับหนึ่งเท่านั้น งานทุกงานและกิจกรรมทุกกิจกรรมดําเนินไปได้ต้องอาศัยอาคารสถานที่ทั้งสิ้น อาคาร สถานที่จึงควรจะมีการวางแผนใช้ประโยชน์เต็มที่ พร้อมวางแผนการดูแลซ่อมแซม บํารุงรักษาให้อยู่ ในสภาพดีและใช้งานได้ตลอดเวลาอีกด้วย การดูแลอาคารและสถานที่ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ได้ดี จึงเป็นองค์ประกอบหนึ่งของการวัดประสิทธิภาพการบริหารงานของสถาบันการศึกษาได้ ประการหนึ่ง ผลการศึกษาจึงสอดคล้องกับการศึกษาของวัลลภ กันทรัพย์(๒๕๓๕)๓ ที่มีแนวคิดว่า สถานที่ในสถาบันการศึกษาที่มีความจําเป็นและมีความเป็นรูปธรรม คือ เห็นได้ด้วยตาเปล่า เช่น โรง อาหาร สถานที่เล่นกีฬา และห้องสมุด สถานที่เหล่านี้ควรให้ความเอาใจใส่เป็นอันดับแรก ผล การศึกษาในครั้งนี้พบว่า สถานที่ดังกล่าวอยู่ในสภาพไม่สมบูรณ์แต่พอใช้การได้ทั้งนี้อาจเนื่องมาจาก ขาดคุณลักษณะของสถานที่พึงประสงค์ที่สามารถตอบสนองความต้องการในการใช้สอยได้ เช่น                                                              ๒ ฐิติยา เนตรวงษ์, (๒๕๕๑). การศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการใช้อาคารสถานที่ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. งานวิจัยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. ๓ วัลลภ กันทรัพย์, (๒๕๓๕). “ความต้องการพื้นฐานของโรงเรียน”. วิจัยสนเทศ. 12(136), กองร้อย ทางการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.   
  • 14. พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๕ สรุปผลการศึกษา อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ/ ๑๐๖    ความเพียงพอ (adequacy) ความเหมาะสม (suitability) ความมีสุขลักษณะ (healthfulness) และการมี ประสิทธิภาพ (efficiency) เป็นต้น (เมธี ปิลันธนานนท์, ๒๕๒๘)๔ นอกจากนี้ นโยบายการปฏิรูปการศึกษาด้านอาคารสถานที่ของกระทรวงศึกษาธิการ (กรม สามัญศึกษา, ๒๕๔๐)๕ ได้กําหนดนโยบายปฏิบัติในการจัดการสถานศึกษาให้มีการบํารุงรักษาอาคาร สถานที่ อาคารเรียน อาคารประกอบ และสิ่งก่อสร้างต่างๆ ให้มีสภาพพร้อมใช้งาน โดยมีการ ซ่อมแซม ตกแต่ง บํารุงรักษาให้สวยงามมีสภาพใหม่ ใช้การได้ดีตลอดเวลา เช่น ห้องสมุด ควรมี สถานที่จัดแยกต่างหาก มีความสะอาดสวยงาม มีการจัดหนังสือเข้าห้องสมุดอย่างเพียงพอและ ครบถ้วนต่อการเรียนการสอน หน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ. สามพราน จ. นครปฐม จึงควรเล็งเห็นความสําคัญของห้องสมุดโดยต้องมีตําราเรียนครบและ เพียงพอต่อจํานวนนักศึกษาและควรเปิดบริการให้มีครอบคลุมทั้ง ๒ กลุ่มการเรียน (ภาคปกติ และ เสาร์-อาทิตย์) อีกทั้งควรมีการจัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ใช้ประโยชน์จากห้องผลิตสื่อศูนย์ คอมพิวเตอร์บริการ, โรงอาหาร/จุดบริการอาหารเครื่องดื่ม, ห้องแนะแนว/ศูนย์ให้คําปรึกษาแนะนํา, ห้องปฏิบัติการ / โรงฝึกงาน/พื้นที่แสดงผลงาน และ ห้องพยาบาล/จุดให้บริการด้านการพยาบาล และ น่าจะเพิ่มห้องสมุดเพื่อสนับสนุนให้นักศึกษาสามารถหาความรู้ด้วยตนเองและเป็นการใช้ประโยชน์ จากสถานที่ดังกล่าวอย่างคุ้มค่า ห้องคอมพิวเตอร์ เป็นห้องที่ปรับปรุงขึ้นใช้เฉพาะกิจกรรมการเรียน การสอนคอมพิวเตอร์เป็นพิเศษ ห้องเรียนต้องสะอาด ปราศจากฝุ่นละอองและคอมพิวเตอร์ ควรมี จํานวนเพียงพอเหมาะสมกับจํานวนนักศึกษา และคอมพิวเตอร์ควรมีสภาพใหม่มีความทันสมัยเหมาะ ต่อการใช้งานในปัจจุบัน ห้องปฏิบัติการทางภาษาควรเป็นห้องที่ปรับปรุงขึ้นใช้เฉพาะกิจกรรมการ สอนภาษาต่างประเทศ เนื่องจากต้องใช้การสอนผ่านเครื่องเสียง เทป วิดีโอ โดยผ่านหูฟัง อุปกรณ์ที่ ใช้จึงควรมีความสะอาดและใช้งานได้ดีมีหูฟังเพียงพอกับผู้เรียน ห้องพยาบาลสภาพห้องควรมีความ สงบ สะอาด สวยงาม อากาศถ่ายเทได้ดี มีป้ายนิเทศโปสเตอร์เกี่ยวกับสุขภาพ ห้องนํ้าห้องส้วมควรอยู่ ในห้องเดียวกัน ยาปฐมพยาบาลพื้นฐานมีครบถ้วนและเพียงพอ และในห้องควรมีโทรศัพท์สําหรับ                                                              ๔ เมธี ปิลันธนานนท์, (๒๕๒๘). การบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: พิทักษ์อักษร. ๕ กรมสามัญศึกษา, (๒๕๔๐). แนวทางปฏิรูปโรงเรียนและสถานศึกษาตามนโยบายการปฏิรูป การศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ลาดพร้าว.   
  • 15. พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๕ สรุปผลการศึกษา อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ/ ๑๐๗    เหตุฉุกเฉิน ห้องพยาบาลควรมีสถานที่ที่นักศึกษาสามารถเข้าถึงง่าย หาง่าย และเป็นสถานที่สําคัญ ควรเปิดบริการรองรับนักศึกษาให้ครอบคลุมทุกกลุ่มการเรียน   ๕.๒.๓. ความพึงพอใจในการใช้อาคารและสถานที่ของนักศึกษาหน่วยวิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ. สามพราน จ. นครปฐม ปัจจุบันนักศึกษามองภาพของสถาบันการศึกษาไม่ได้เป็นแต่เพียงอาคารก่อสร้างทรง สี่เหลี่ยมเท่านั้น แต่เป็นดังอุทยานการเรียนรู้ที่มีสภาพสวยงามเป็นที่เก็บเกี่ยววิชาความรู้ มีอุปกรณ์ ครบครัน และยังเป็นที่สถานที่พักผ่อนกับกลุ่มเพื่อนท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่สวยงาม สะดวกสบาย เหมือนกับสวนสาธารณะ  ผลการศึกษาในครั้งนี้พบว่า นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการใช้อาคารและสถานที่ที่เกี่ยวกับ ด้านห้องเรียน ด้านห้องปฏิบัติการห้องคอมพิวเตอร์ และห้องบริการต่างๆ, ด้านบริเวณสถานศึกษา, ด้านห้องสมุดและห้องผลิตสื่อศูนย์คอมพิวเตอร์บริการ, ด้านโรงอาหารหรือสถานที่รับประทาน อาหาร, ด้านการจัดสภาพแวดล้อมและระบบสาธารณูปโภคของหน่วยวิทยบริการ ในภาพรวมอยู่ใน ระดับปานกลาง สอดคล้องกับผลการศึกษาของอภิรดี กิจธนะเสรี (๒๕๔๕)๖ ที่พบว่าผู้มาใช้งาน ศูนย์บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยรามคําแหงมีความพึงพอใจในการใช้บริการปานกลาง เมื่อจําแนกตามเพศ พบว่าเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้โดยเพศที่แตกต่างกันส่งผลต่อความพึงพอใจ ในการใช้อาคารและสถานที่ของวิทยาลัยราชพฤกษ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ สอดคล้องกับผลการศึกษาของประสงค์ อุทัยและคณะ (๒๕๕๒)๗ ที่พบว่านักศึกษาหญิงมี ความพึงพอใจต่อการใช้อาคารสถานที่มากกว่าเพศชายอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ เมื่อจําแนกตามชั้นปี พบว่าเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ในบางด้าน โดยชั้นปีที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้อาคารและสถานที่ของหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัด ไร่ขิง พระอารามหลวง อ. สามพราน จ. นครปฐม แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕                                                              ๖ อภิรดี กิจธนะเสรี, (๒๕๔๕). ประสิทธิภาพในการให้บริการต่อปัญหาและความต้องการของผู้ใช้ใน ศูนย์บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยรามคําแหง. การค้นคว้าแบบอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง. ๗ ประสงค์ อุทัย, (๒๕๕๒). ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการให้บริการมหาวิทยาลัยธนบุรี ๒๕๕๑. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ ธนบุรีวิจัย ครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยธนบุรี.  
  • 16. พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๕ สรุปผลการศึกษา อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ/ ๑๐๘    สอดคล้องกับการศึกษาของธนารี เพ็ชรรัตน์ (๒๕๕๑ หน้า ๑๐๒)๘ ที่พบว่านักศึกษาที่อยู่ในคณะ แตกต่างกันมีความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนการเรียนการสอนในด้านอาคารและ สถานที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ทั้งสถานภาพ, เพศ, ชั้นปี และ สาขาวิชาที่ สังกัด ที่แตกต่างกันสามารถชี้ให้เห็นถึงความรู้สึกนึกคิด ทัศนคติที่มาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงและ พัฒนาการทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และประสบการณ์ที่ได้รับในแต่ละช่วงวัยที่แตกต่าง กัน   เมื่อจําแนกตามคณะที่สังกัด พบว่าเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้โดยคณะที่แตกต่างกันส่งผล ต่อความพึงพอใจในการใช้อาคารและสถานที่ที่เกี่ยวกับ ด้านห้องเรียน ห้องปฏิบัติการห้อง คอมพิวเตอร์ และห้องบริการต่างๆ, ด้านห้องสมุดและห้องผลิตสื่อศูนย์คอมพิวเตอร์บริการ, ด้านโรง อาหารหรือสถานที่รับประทานอาหาร, ด้านห้องประชุมและห้องสัมมนา, ด้านห้องกิจกรรม, ด้านการ จัดสภาพแวดล้อมและระบบสาธารณูปโภคของหน่วยวิทยบริการ และ ด้านการรักษาความปลอดภัย ภายในหน่วยวิทยบริการของหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ผลการศึกษาสอดคล้องกับการศึกษาของธนารี เพ็ชรรัตน์ (๒๕๕๑ หน้า ๑๐๐)๙ ที่พบว่านักศึกษาที่มีคณะแตกต่างกันมีผลต่อความพึงพอใจใน สภาพแวดล้อมที่สนับสนุนการเรียนการสอนด้านอาคารสถานที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ที่ระดับ ๐.๐๕ อาจเนื่องมาจากการที่นักศึกษาจะเลือกเข้าศึกษาในคณะใดนั้นย่อมมาจากพื้นฐาน การศึกษา ความรู้ ประสบการณ์ ความชอบที่สามารถเป็นปัจจัยหนึ่งซึ่งส่งผลกระทบต่อความพึงพอใจ ที่แสดงออกมา และการศึกษาของอภิวันท์ วีระเดโช (๒๕๕๒ หน้า ๗๙)๑๐ ที่พบว่าลักษณะงานที่ แตกต่างกันส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการสถานที่แตกต่างกัน ทั้งนี้เนื่องจากความรู้ ประสบการณ์ ภาระหน้าที่ความรับผิดชอบที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อภาวะอารมณ์ในการตัดสินใจ รวมถึงความพึงพอใจที่แตกต่างกัน                                                               ๘ ธนารี เพ็ชรรัตน์, (๒๕๕๑). “ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนการเรียน การ สอนของกองงานวิทยาเขตบางนา มหาวิทยาลัยรามคําแหง” วารสารมหาวิทยาลัย รามคําแหง ปีที่ ๑๑ ฉบับพิเศษ ๑ กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๑: ๙๕-๑๐๖. ๙ Ibid/ เรื่องเดียวกัน ๑๐ อภิวันท์ วีระเดโช, (2552). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อการจัดกิจกรรมนันทนาการของ ศูนย์ เยาวชนกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการนันทนาการ มหาวิทยาลัยศรี นครินทรวิโรฒ.
  • 17. พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๕ สรุปผลการศึกษา อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ/ ๑๐๙    เป็นที่น่าสังเกตว่า ในการศึกษาครั้งนี้พบมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสําคัญตรงกันถึง ๗ ปัจจัย ระหว่างสถาน ภาพ และเพศของผู้ตอบแบบสอบถามได้แก่มีแสงสว่างเพียงพอและระบายอากาศที่ดี ในห้องเรียน ห้องปฏิบัติการห้องคอมพิวเตอร์ และห้องบริการต่างๆ (ข้อ ๖), การรักษาความสะอาด และการบํารุงรักษาห้องในห้องเรียน ห้องปฏิบัติการห้องคอมพิวเตอร์ และห้องบริการต่างๆ(ข้อ ๗), สถานที่พักผ่อนในบริเวณสถานศึกษา (ข้อ ๑๕), ความหลากหลายของหนังสือและเอกสารใน ห้องสมุดและห้องผลิตสื่อศูนย์คอมพิวเตอร์บริการ (ข้อ ๒๒), มีแสงสว่างเพียงพอและระบายอากาศที่ ดีในโรงอาหารหรือสถานที่รับประทานอาหาร (ข้อ ๓๑), ระบบระบายนํ้าตามแนวถนนในการจัด สภาพแวดล้อมและระบบสาธารณูปโภคของหน่วยวิทยบริการ (ข้อ ๔๙), และ การจัดระบบ ติดต่อสื่อสารภายในสถานศึกษา เช่น ระบบโทรศัพท์ บอร์ดประชาสัมพันธ์ในการจัดสภาพแวดล้อม และระบบสาธารณูปโภคของหน่วยวิทยบริการ (ข้อ ๕๒) นักศึกษาต่างสถานภาพ ต่างเพศ ต่างช่วงชั้นปี และต่างสาขาวิชาที่สังกัดมีความพึงพอใจ ต่างกันอย่างมีนัยสําคัญเกี่ยวกับด้านเดียวกันซึ่งได้แก่ด้านห้องเรียน ด้านห้องปฏิบัติการห้อง คอมพิวเตอร์ และห้องบริการต่างๆ, ด้านห้องสมุดและห้องผลิตสื่อศูนย์คอมพิวเตอร์บริการ,ด้านโรง อาหารหรือสถานที่รับประทานอาหาร, และด้านการจัดสภาพแวดล้อมและระบบสาธารณูปโภคของ หน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม  (ตาราง ๕.๑ หน้า ๑๐๒)   ๕.๓. ข้อเสนอแนะ ๕.๓.๑. ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา มีดังนี้ ๑. ควรพิจารณานําผลการศึกษานี้ไปใช้เป็นข้อมูลเพื่อวางแผน ปรับปรุงและ พัฒนาอาคารและสถานที่ เช่น ในการจัดตารางการเรียนการสอน การวางแผนงบประมาณ การ วางแผนโครงการสนับสนุนการศึกษาต่างๆให้มีประสิทธิภาพในการใช้ประโยชน์ต่อไปในหน่วยวิทย บริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง  ๒. ควรพิจารณาเปิ ดโอกาสให้ผู้ใช้อาคารและสถานที่ คือ บุคลากร และ นักศึกษาของหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง ได้มีส่วนร่วมใน การดําเนินงานกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานอาคารและสถานที่ และสภาพแวดล้อมของหน่วยวิทย บริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง เพื่อเป็นการส่งเสริมความเข้าใจอันดีมีส่วน ร่วมในการกําหนดระเบียบการใช้อาคารและสถานที่ และการวางแผน การประเมินผลการใช้ร่วมกัน
  • 18. พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๕ สรุปผลการศึกษา อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ/ ๑๑๐    ทั้งนี้เพื่อเป็นการฝึกการบริหารจัดการจริงทั้งจากการประยุกต์จากตําราเรียน และนอกเหนือจากตํารา เรียน ทั้งยังเป็นการสร้างประสบการณ์ตรงให้กับนิสิตนักศึกษา ๕.๓.๒. ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป มีดังนี้  ๑. ในการศึกษาครั้งต่อไปควรมีการศึกษาด้านการบริการและการบริหารการ ทําประโยชน์ใช้สอยจริง(Utilization of Service Administration Room) จากค่าอัตราการใช้ห้อง (Room Utilization Rate) และอัตราการใช้พื้นที่ (Space Utilization Rate) เพื่อเป็นการวิเคราะห์หา ประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์และเป็นแนวทางในการวางแผนนโยบายขยายการจัดการศึกษาให้เกิด ประโยชน์อย่างเต็มที่ ไม่ก่อให้เกิดความสูญเปล่า และให้สอดคล้องกับความต้องการในปัจจุบันและ อนาคต ซึ่งหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร วัดไร่ขิง พระอารามหลวง มีนโยบายปรับเปลี่ยน สถานะจากหน่วยวิทยบริการสู่วิทยาลัย จึงจําเป็นต้องมีการศึกษาในด้านดังกล่าวต่อไป ๒. ควรมีการศึกษาในเชิงลึกถึงปัญหาและสาเหตุที่ทําให้การใช้อาคารและ สถานที่ที่สมบูรณ์เหมาะสมต่อการใช้งานเพียงในระดับหนึ่งเท่านั้น โดยเฉพาะสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับ คุณภาพการศึกษาและสุขภาพอนามัย เช่น สํานักหอสมุด ห้องปฏิบัติการ ห้องพยาบาล โรงอาหาร และห้องนํ้าห้องส้วม เป็นต้น  ๓. ควรมีการศึกษารูปแบบการดําเนินงานอาคารและสถานที่ของ สถาบันการศึกษาภายนอกที่มีการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อนํามาใช้เป็น แนวทางในการปรับปรุงแก้ไขและการวางนโยบายแผนงานอาคารและสถานที่ให้มีประสิทธิภาพ ต่อไป  ๔. การศึกษาครั้งต่อไปควรครอบคลุมกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้งานอาคารและสถานที่ ทั้งคณาจารย์เจ้าหน้าที่ และนักศึกษา และในกลุ่มนักศึกษาควรศึกษาการใช้งานอาคารและสถานที่ให้ วิเคราะห์ลึกลงไปในกลุ่มการเรียนแต่ละกลุ่มว่ามีการใช้งานแตกต่างกันอย่างไร