SlideShare a Scribd company logo
1 of 13
Download to read offline
โรคเรื้อรังที่พบบ่อย
โรคความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูง หรือแพทย์บางท่านเรียกว่า ภาวะความดันโลหิตสูง (Hypertension หรือ High
blood pressure) เป็นโรคพบได้บ่อยมากอีกโรคหนึ่งในผู้ใหญ่ พบได้สูงถึง ประมาณ 25-30% ของประชากร
โลกที่เป็นผู้ใหญ่ทั้งหมด โดยพบในผู้ชายบ่อยกว่าในผู้หญิง และพบได้สูงขึ้นในผู้สูงอายุ ในบางประเทศ พบโรค
นี้ได้สูงถึง 50% ของผู้มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ส่วนในเด็กพบโรคนี้ได้เช่นกัน แต่พบได้น้อยกว่าในผู้ใหญ่มาก
โรคความดันโลหิตสูง คือ ภาวะมีความดันโลหิต วัดได้สูงตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตร –ปรอท ขึ้นไป ทั้งนี้ความดัน
โลหิตปกติ คือ 90-119/60-79 มม.ปรอท
โรคความดันโลหิตสูงแบ่งตามสาเหตุได้เป็น 2 ชนิด คือ ชนิดไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด (Essential hypertension)
ซึ่งพบได้สูงถึง 90-95%ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงทั้งหมด และชนิดทราบสาเหตุ (Secondary
hypertension) ซึ่งพบได้ประมาณ 5-10% ของโรคนี้ ดังนั้น โดยทั่วไป เมื่อกล่าวถึง “โรคความดันโลหิตสูง”
จึงหมายถึง “โรคความดันโลหิตสูงชนิดยังไม่ทราบสาเหตุ
โรคความดันโลหิตสูงเกิดได้อย่างไร?
โรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ เชื่อว่า น่าเกิดจากหลายๆปัจจัยร่วมกัน ที่สาคัญ คือ อิทธิพล
ของเอ็นไซม์ (Enzyme, สารเคมีที่มีหน้าที่เร่งปฏิกิริยาเคมีต่างๆ) ที่เรียกว่า เรนิน (Renin) และฮอร์โมนแองจิ
โอเท็นซิน ( Angiotensin) จากไต ซึ่งสารทั้งสองชนิดนี้จะทางานร่วมกับต่อมหมวกไต และกับต่อมใต้สมองใน
การควบคุม น้า เกลือแร่โซเดียม และการบีบตัวของหลอดเลือด ในร่างกาย ทั้งหมดเพื่อการควบคุมความดัน
โลหิต ซึ่งเรียกว่า กระบวนการ Renin-Angiotensin system
นอกจากนั้น กลไกการเกิดความดันโลหิตสูงยังขึ้นกับ
 พันธุกรรม เพราะพบโรคได้สูงขึ้นในคนที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคนี้
 เชื้อชาติ เพราะ พบโรคได้สูงในคนอเมริกันผิวดา เมื่อเปรียบเทียบกับคนอเมริกันผิวขาว และชาวแมก
ซิกันอเมริกัน
 การกินอาหารเค็ม เพราะเกลือโซเดียม หรือ เกลือทะเลเป็นตัวอุ้มน้าในเลือด จึงช่วยเพิ่มปริมาตรของ
เลือดที่ไหลเวียน จึงส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้น
 กระบวนการของร่างกายที่ส่งผลต่อสมดุลและการทางานของเกลือแร่แคลเซียมในร่างกาย
ส่วนโรคความดันโลหิตสูงชนิดรู้สาเหตุ มักเกิดจากโรคต่างๆที่ส่งผลต่อหลอดเลือด ต่อหัวใจ และต่อสมดุล
ของ ฮอร์โมนและ/หรือ เกลือแร่ในร่างกาย ที่พบบ่อย เช่น จากโรคไตเรื้อรัง จากโรคของหลอดเลือดที่หล่อ
เลี้ยงไต เช่น อักเสบ หรือ ตีบ จากการติดสุรา จากมีฮอร์โมนบางชนิดในร่างกายผิดปกติ เช่น จากเนื้องอกบาง
ชนิดของต่อมหมวกไต หรือ ของต่อมใต้สมอง
อะไรเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง?
ปัจจัยเสี่ยงสาคัญที่ทาให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง ได้แก่
 พันธุกรรม โอกาสมีความดันโลหิตสูง จะสูงขึ้นเมื่อมีคนในครอบครัวเป็นโรคนี้
 โรคเบาหวาน เพราะก่อให้เกิดการอักเสบ ตีบแคบของหลอดเลือดต่างๆ รวมทั้งของไต
 โรคอ้วน และน้าหนักตัวเกิน เพราะเป็นสาเหตุสาคัญของโรคเบาหวาน และโรคหลอดเลือดต่างๆตีบ
จากภาวะไขมันเกาะผนังหลอดเลือด
2โรคเรื้อรังที่พบบ่อย รายวิชาครอบครัวศึกษา
 โรคไตเรื้อรัง เพราะจะส่งผลถึงการสร้างเอ็นไซม์และฮอร์โมนที่ควบคุมความดันโลหิตดังกล่าวแล้ว
 โรคนอนหลับแล้วหยุดหายใจ (Sleep apnea)
 สูบบุหรี่ เพราะสารพิษในควันบุหรี่ส่งผลให้เกิดการอักเสบ ตีบตันของหลอดเลือดต่าง รวมทั้งหลอด
เลือดไต และหลอดเลือดหัวใจ
 การติดสุรา ซึ่งยังไม่ทราบชัดเจนถึงกลไกว่าทาไมดื่มสุราแล้วจึงเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดความดัน
โลหิตสูง แต่การศึกษาต่างๆให้ผลตรงกันว่า คนที่ติดสุรา จะส่งผลให้หัวใจเต้นแรงกว่าปกติ และมี
โอกาสเป็นโรคความดันโลหิตสูง ถึงประมาณ 50%ของผู้ติดสุราทั้งหมด
 กินอาหารเค็มสม่าเสมอ ต่อเนื่อง ดังเหตุผลดังได้กล่าวแล้ว
 ขาดการออกกาลังกาย เพราะเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคอ้วนและโรคเบาหวาน
 ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยาในกลุ่มสเตียรอยด์
โรคความดันโลหิตสูงมีอาการอย่างไร?
ความสาคัญของโรคความดันโลหิตสูงคือ เป็นโรคที่มักไม่มีอาการ และจากการที่เป็นโรคเรื้อรังที่
รุนแรงถ้าไม่สามารถควบคุมโรคได้ แต่มักไม่มีอาการ แพทย์บางท่านจึงเรียกโรคความดันโลหิตสูงว่า
“เพชฌฆาตเงียบ (Silent killer)” ทั้งนี้ส่วนใหญ่ของอาการจากโรคความดันโลหิตสูง เป็นอาการจาก
ผลข้างเคียง เช่น จากโรคหัวใจ และจากโรคหลอดเลือดในสมอง หรือ เป็นอาการจากโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยง
เช่น อาการจากโรคเบาหวาน หรือ จากโรคอ้วน หรือเป็นอาการจากโรคที่เป็นสาเหตุ เช่น โรคเนื้องอกต่อมใต้
สมอง (ปวดศีรษะ และตาเห็นภาพไม่ชัด)
อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการจากตัวความดันโลหิตสูงเองได้ โดยอาการที่อาจพบได้ เช่น ปวด
ศีรษะ มึนงง วิงเวียน สับสน และเมื่อมีอาการมากอาจโคมา และเสียชีวิตได้
รักษาโรคความดันโลหิตสูงอย่างไร?
แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง คือ การให้ยาลดความดันโลหิต การรักษาควบคุมโรคที่เป็น
ปัจจัยเสี่ยงและเป็นสาเหตุ การรักษาและป้องกันผลข้างเคียงจากโรคความดันโลหิตสูง และการรักษา
ประคับประคองตามอาการ การให้ยาลดความดันโลหิต ซึ่งมีหลากหลายชนิด ทั้งชนิดกินและชนิดฉีด ขึ้นกับ
ความรุนแรงของอาการ การรักษาโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยง เช่น รักษาโรคเบาหวาน การรักษาโรคที่เป็นสาเหตุ
เช่น รักษาโรคไตเรื้อรัง หรือ รักษาโรคเนื้องอกต่อมใต้สมอง การรักษาผลข้างเคียงจากโรคความดันโลหิต
สูง เช่น การรักษาโรคไตเรื้อรัง (โรคไตเป็นได้ทั้งสาเหตุ และผลข้างเคียงจากโรคความดันโลหิตสูง)
การรักษาประคบประคองตามอาการ เช่น กินยาคลายเครียด และการพักผ่อนอย่างพอเพียง เป็นต้น
โรคความดันโลหิตสูงรุนแรงไหม? มีผลข้างเคียงไหม?
โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรัง ซึ่งหมายถึงเป็นโรคที่รักษาให้หายยาก แต่สามารถรักษาควบคุมได้
เสมอเมื่อรักษาควบคุมอาการตั้งแต่แรก ปฏิบัติตามแพทย์ พยาบาลแนะนา และกินยาอย่างถูกต้อง ครบถ้วน
ไม่ขาดยา
แต่ถ้า ดูแล รักษา ควบคุมโรคได้ไม่ดี ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นมักรุนแรง เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือด
สมอง โรคไตเรื้อรัง ซึ่งส่งผลถึงความพิการและเสียชีวิตได้ นอกจากนั้นคือ โรคหลอดเลือดของจอตา และของ
ประสาทตาซึ่งอาจส่งผลให้ตาบอดได้
อนึ่ง โรคความดันโลหิตสูงแบ่งตามความรุนแรงของโรค (ตามความดันโลหิต) จากรุนแรงน้อยไปหามาก ได้ดังนี้้
3โรคเรื้อรังที่พบบ่อย รายวิชาครอบครัวศึกษา
 ความดันโลหิตในผู้มีแนวโน้มจะเป็นโรคความดันโลหิตสูง คือ 120-139/80-89 มม.ปรอท (แนว
ทางการรักษา คือการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต ทั้งนี้แพทย์มักยังไม่ให้ลดความดันโลหิต)
 โรคความดันโลหิตสูงระยะ 1 คือ ความดันโลหิตอยู่ในช่วง 140-159/90-99 มม.ปรอท
 โรคความดันโลหิตสูงระยะ 2 คือ ความดันโลหิตตั้งแต่ 160/100 มม.ปรอทขึ้นไป
 โรคความดันโลหิตสูงที่ต้องพบแพทย์ใน 24 ชั่วโมง คือ ความดันโลหิตสูงตั้งแต่ 180/110 มม.ปรอท
ขึ้นไป เพราะอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ อาจจากโรคหัวใจ สมอง ไต ล้มเหลว
 โรคความดันโลหิตสูงที่ต้องพบแพทย์ฉุกเฉิน คือ ความดันโลหิตสูงตั้งแต่ 220/140 มม.ปรอทขึ้นไป
เพราะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ จากการทางานล้มเหลวของอวัยวะสาคัญต่างๆ เช่น หัวใจ สมอง และไต
ดูแลตนเองอย่างไร? ควรพบแพทย์เมื่อไร?
การดูแลตนเอง การพบแพทย์เมื่อเป็นโรคความดันโลหิตสูง ได้แก่
 ปฏิบัติตามแพทย์ พยาบาล แนะนาอย่างเคร่งครัด ถูกต้อง
 กินยาต่างๆให้ครบถ้วน ถูกต้อง ไม่ขาดยา
 จากัดอาหาร แป้ง น้าตาล ไขมัน และอาหารเค็ม
 จากัดอาหารไม่ให้เกิดโรคอ้วนและน้าหนักตัวเกิน
 ออกกาลังกายตามสุขภาพสม่าเสมอทุกวัน
 รักษาสุขภาพจิต ไม่เครียด เข้าใจและยอมรับชีวิต
 เลิกบุหรี่ ไม่สูบบุหรี่ เลิกสุรา
 พบแพทย์ตามนัดเสมอ และรีบพบแพทย์ก่อนนัดเมื่อมีอาการผิดปกติไปจากเดิม หรือ เมื่ออาการต่างๆ
เลวลง หรือ เมื่อกังวลในอาการ
 รีบพบแพทย์ภายใน 24 ชั่วโมง หรือ ฉุกเฉิน ขึ้นกับความรุนแรงของอาการเมื่อ
o ปวดศีรษะมาก
o เหนื่อยมากกว่าปกติมาก เท้าบวม (อาการของโรคหัวใจล้มเหลว)
o เจ็บแน่นหน้าอก ใจสั่น เหงื่อออกมาก จะเป็นลม (อาการจากโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งต้องพบ
แพทย์ฉุกเฉิน)
o แขน ขาอ่อนแรง พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว คลื่นไส้ อาเจียน (อาการจากโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่ง
ต้องพบแพทย์ฉุกเฉิน)
ป้องกันโรคความดันโลหิตสูงได้อย่างไร?
การป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ที่สาคัญ คือ การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต โดย
 กินอาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ให้ครบทุกวัน ในปริมาณที่เหมาะสม กล่าวคือ ไม่ให้เกิดโรคอ้วน และ
น้าหนักตัวเกิน และจากัดอาหารไขมัน แป้ง น้าตาล และอาหารเค็ม เพิ่มผัก และผลไม้ชนิดไม่หวานให้
มากๆ
 ออกกาลังกายสม่าเสมอทุกวัน ตามสุขภาพ
 พักผ่อนให้เพียงพอ
 รักษาสุขภาพจิต
 ตรวจสุขภาพประจาปี (การตรวจสุขภาพ) ซึ่งรวมถึงตรวจวัดความดันโลหิต เริ่มได้ตั้งแต่อายุ 18-20 ปี
หลังจากนั้นตรวจสุขภาพบ่อยตามแพทย์ พยาบาลแนะนา
4โรคเรื้อรังที่พบบ่อย รายวิชาครอบครัวศึกษา
โรคผิวหนังอักเสบติดเชื้อ
ผิวหนังเป็นเนื้อเยื่อส่วนนอกสุดของร่างกายที่ห่อหุ้มโครงสร้างและอวัยวะทุกอย่างไว้ ซึ่งในแต่ละ
บริเวณจะมีความหนา-บางแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่ต้องรองรับ และถูกเสียดสี ผิวหนังของเราแบ่งเป็น 2
ชั้นใหญ่ ๆ คือ
1.ชั้นหนังกาพร้า (Epidermis) เป็นชั้นที่อยู่บนสุด บางและหลุดลอกออกไปได้ง่าย หรือที่เรียกว่าขี้
ไคลนั่นเอง ในชั้นนี้จะไม่มีเลือดและเส้นประสาทหล่อเลี้ยงครับ แต่มีเซลล์ที่ชื่อ เมลาโนไซด์ (Melanocyte) ซึ่ง
ทาหน้าที่สร้างเม็ดสีเมลานิน (Melanin) ที่ทาให้แต่ละคนมีสีผิวที่แตกต่างกันออกไป
2.ชั้นหนังแท้ (Dermis) เป็นชั้นที่อยู่ลึกถัดจากชั้นหนังกาพร้าลงมา มีความหนากว่าชั้นแรกมาก เป็น
ที่อยู่ของเซลล์ ต่อม หลอดเลือด และระบบประสาทที่มาหล่อเลี้ยง
หน้าที่ของผิวหนังนอกจากปกป้องอวัยวะภายในไม่ได้ได้รับอันตรายแล้ว ยังมีความสาคัญในการรักษา
ระดับอุณหภูมิร่างกาย ขับของเสียออกทางเหงื่อ รับความรู้สึกสัมผัสต่าง ๆ ทั้งยังมีส่วนช่วยในการสร้างวิตามิน
ดี และป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายอีกด้วย
ความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับผิวหนังของเรามีได้หลายอย่างครับ สาหรับวันนี้จะกล่าวถึงโรคติดเชื้อที่เกิด
ขึ้นกับระบบผิวหนัง ซึ่งมีด้วยกันหลายโรคตามตาแหน่งที่เกิดการติดเชื้อ โดยเชื้อที่ก่อโรคมี 3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่
แบคทีเรีย รา และไวรัส
1. โรคผิวหนังอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย
อันที่จริงแล้วผิวหนังของคนเราก็มีเชื้อแบคทีเรียอาศัยอยู่นะครับ เรียกว่าเป็นเชื้อประจาถิ่น (Normal
Flora) ซึ่งโดยปกติจะไม่ทาให้เกิดโรคครับ แต่ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงสภาพของผิวหนังไปจากเดิม เช่น มี
บาดแผล มีโรคผิวหนังอื่น ๆ อยู่ก่อน สุขอนามัยไม่ดี หรือผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานต่า เชื้อเหล่านี้ก็มีโอกาสทาให้
เกิดโรคได้ ตัวที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อมากที่สุด ได้แก่ Staphylococcus aureus และ Staphylococcus
pyogenes โรคผิวหนังอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียที่พบมาก ได้แก่
แผลพุพอง (impetiongo)
เป็นการติดเชื้อของชั้นหนังกาพร้า ส่วนใหญ่เกิดจากสุขอนามัยไม่ดี หรือละเลยบาดแผลเล็ก ๆ จะ
ลุกลามจึงพบได้บ่อยในเด็กเล็ก ส่วนมากบาดแผลเกิดขึ้นที่ใบหน้าบริเวณรอบจมูก เนื่องจากการแกะ เกา และ
ตามแขน-ขาทั่วไป เริ่มแรกเป็นเพียงผื่นแดงเล็ก ๆ มีอาการคัน แล้วกลายเป็นตุ่มน้าพองใส เมื่อแตกออกพื้น
แผลจะเป็นสีแดง มีน้าเหลืองไหล พอแห้งจะตกเป็นสะเก็ดเหลืองเกาะที่แผล ถ้าเกิดที่หนังศีรษะมีชื่อเรียกว่า
ชันนะตุ หากปล่อยไว้นานแผลอาจลุกลามขยายใหญ่ขึ้น หรือกินลึกลงไปมากขึ้น และเข้าสู่กระแสเลือดได้
การรักษา เริ่มต้นด้วยการล้างทาความสะอาดบาดแผล และใช้ยาทาฆ่าเชื้อ Mupiroxin ประมาณ 7-
10 วัน ก็เพียงพอ แต่หากบาดแผลกว้างและลึกมาก อาจต้องใช้ยา Dicloxacillin รับประทานร่วมด้วย
รูขุมขนอักเสบ (Folliculitis, Furuncles Carbuncler)
เป็นการติดเชื้อของรูขุมขนจนเกิดเป็นผื่นแดง ไม่มีอาการหรืออาจคัน หรือเจ็บเล็กน้อย พบได้ใน
บริเวณที่มีต่อมขนเยอะ เช่น หนวด เครา รักแร้ เป็นต้น ส่วนมากมักจะหายเอง แต่บางครั้งอาจเกิดการอักเสบ
มาก จนเป็นตุ่มหนอง แดงและเจ็บ เมื่อแตกออกจะมีหนองไหลออกมาได้ เรียกว่าฝี (Furuncles) ถ้าแผลลึก
และกว้างมากจนมีรูหนองที่เชื่อต่อกันหลาย ๆ รู เรียกว่า Carbuncles หรือฝีฝักบัวนั่นเอง ซึ่งมักจะมีใช้ร่วม
ด้วย เนื่องจากการอักเสบที่มากขึ้น
5โรคเรื้อรังที่พบบ่อย รายวิชาครอบครัวศึกษา
การรักษา ในขั้นต้นหากมีอาการ ให้ใช้ยาทาฆ่าเชื้อ 1% Clindamycin ทาบริเวณแผลวันละ 2-3 ครั้ง
สาหรับ Furuncies และ Carbuncles จาเป็นต้องผ่าระบายหนองออก และใช้ยา Dicloxacillin รับประทาน
ร่วมด้วย
ไฟลามทุ่ง (Erysipelas)
เป็นการอักเสบของผิวหนังร่วมกับหลอดน้าเหลือง เริ่มจากตุ่มแดงแล้วกระจายลามออกไปอย่าง
รวดเร็วแผลมีสีแดงจัด กดเจ็บ ผิวบริเวณนั้นยกขึ้นมาจากบริเวณที่ปกติอย่างชัดเจน ผู้ป่วยจะมีใช้ร่วมด้วย
การรักษา รับประทานยา Dicloxacillin ประมาณ 5-7 วัน ร่วมกับการประคบร้อน
ผิวหนังอักเสบ (Cellulitis)
เป็นการอักเสบของเนื้อเยื่อชั้นหนังแท้และลึกลงไปยังชั้นได้ผิวหนัง ลักษณะเป็นผื่นแดงจัด ลามอย่าง
รวดเร็ว กดเจ็บและออกร้อน แยกจากไฟลามทุ่งได้จากขอบเขตที่ไม่ชัดเจน มักพบว่ามีอาการใช้และต่อม
น้าเหลืองโตร่วมด้วย พบได้บ่อยในรายที่ประสบอุบัติเหตุ ผู้ป่วยเบาหวาน อ้วน หรือติดสุรา
การรักษา รับประทานยา Dicloxacillin ประมาณ 5-7 วัน ร่วมกับการประคบร้อน
ข้อควรระวัง ไฟลามทุ่งและโรคผิวหนังอักเสบ เป็นโรคที่มีความรุนแรงมากขึ้น เชื้อจะแพร่กระจายเข้า
สู่กระแสเลือดได้ง่าย ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์
2. โรคผิวหนังอักเสบจากเชื้อรา
เชื้อราเป็นเชื้ออีกกลุ่มที่พบได้ทั่วไปในทุกภูมิอากาศ แต่มักก่อโรคในสภาวะที่อับชื้น และพบได้มากขึ้น
ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานต่า หรือกินยาปฏิชีวนะนาน ๆ หรือเป็นเบาหวาน เป็นต้น โรคติดเชื้อผิวหนังที่เกิด
จากเชื้อราที่รู้จักและเป็นกันมาก ได้แก่
กลาก
ธรรมชาติของราชนิดนี้มักเกิดขึ้นในบริเวณที่มีเคอราติน ซึ่งเป็นโปรตีนโครงสร้างชนิดหนึ่ง พบที่
ผิวหนัง เล็บ ขน และผม อาการที่เกิดขึ้นจะแตกต่างกันไปตามอวัยวะที่ติดเชื้อ อาทิ
กลากที่ผิวหนัง เช่น ลาตัว แขน ขา รักแร้ ขาหนีบ ผื่นจะเป็นตุ่มแดงเล็ก ๆ แล้วขยายวงกว้างออก
เรื่อย ๆ ขอบนูนแดง มีขุยสีขาว คันมาก
กลากที่ง่ามเท้า เรียกว่าฮ่องกงฟุต หรือน้ากัดเท้า ผิวหนังบริเวณนั้นจะเป็นแผ่นขาวยุ่ย ลอกออกเป็น
แผ่นได้ส่งกลิ่นเหม็นและคันมาก
กลากที่เล็บ มักเกิดบริเวณข้างเล็บเข้ามา จะเห็นเป็นสีน้าตาล หรือขาวขุ่น ด้าน ขรุขระ หรืออาจ
เปื่อยยุ่ยได้ ไม่มีอาการเจ็บหรือคัน แต่มักเป็นเรื้อรัง
กลากที่หนังศีรษะ ผื่นเป็นวงเหมือนที่เกิดตามลาตัว แต่พบร่วมกับอาการผมร่วงเป็นหย่อม ๆ เส้นผม
หัก ซึ่งเกิดจากเชื้อราทาลาย
การรักษา สาหรับแผลเฉพาะที่เพียงใช้ยาฆ่าเชื้อทาจนแผลหาย อาจจะประมาณ 4-8 สัปดาห์ ขึ้นอยู่
กับบริเวณที่ติดเชื้อ แต่ถ้าแผลกว้างมาก เป็นหลายจุด หรือผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันต่า อาจใช้วิธีรับประทานยาฆ่าเชื้อ
แทน
6โรคเรื้อรังที่พบบ่อย รายวิชาครอบครัวศึกษา
เกลื้อน
เชื้อราชนิดนี้โดยปกติอาศัยอยู่ที่รูขุมขนของทุกคน โดยได้ไขมันจากรูขุมขนเป็นอาหาร ต่อเมื่อภูมิ
ต้านทานลดลง จึงทาให้เกิดโรค โดยมีลักษณะเป็นต่างขาว มีขุยขอบเขตชัดเจน หรือบางคนอาจเป็นสีเข้มขึ้นก็
ได้ แต่มักไม่มีอาการอื่น บริเวณที่พบมาก ได้แก่ ส่วนที่มีต่อมไขมันมาก เช่น ใบหน้า คอ หน้าอก หลัง
การรักษา มีทั้งยาทา ยาสระหรือสบู่ ใช้แค่ 3-5 วัน และซ้าทุกเดือน รวมไปถึงยากินในรายที่มีอาการ
มาก และต้องใช้อย่างต่อเนื่องจนครบกาหนด แต่ด่างขาวที่เกิดขึ้นอาจต้องรอจนเซลล์ผิวสร้างเม็ดสีขึ้นมาใหม่
จึงจะหายไป ถึงแม้ว่าเชื้อจะถูกกาจัดไปหมดแล้วก็ตาม
การป้องกัน วิธีที่ดีที่สุดคือ การหมั่นดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายอย่างสม่าเสมอ ต้องแยกเสื้อผ้า
รวมทั้งอุปกรณ์ของใช้ออกจากผู้อื่นเพื่อป้องกันการติดต่อ
3. โรคผิวหนังอักเสบจากเชื้อไวรัส
ไวรัสเป็นเชื้อกลุ่มใหญ่อีกกลุ่มที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อในทุกระบบ รวมไปถึงการติดเชื้อที่ผิวหนัง เชื่อว่า
หลายท่านคงเคยเป็น หรือมีคนใกล้ตัวเป็นโรคเหล่านี้กันบ้างแน่ ๆ และไม่ต้องแปลกใจนะครับ หากพบว่าเป็น
โรคเหล่านี้อยู่บ่อย ๆ เพราะเป็นธรรมชาติของไวรัส ซึ่งเมื่อร่างกายได้รับเชื้อมาแล้วจะมีการสร้างภูมิคุ้มกันต่อ
ตัวเชื้อเพื่อพยายามกาจัด และปกป้องตนเองไม่ให้เป็นโรค แต่ตัวเชื้อก็จะยังคงหลบซ่อนและอาศัยอยู่ใน
ร่างกายนี่ล่ะครับ จนวันดีคืนดีเมื่อภูมิต้านทานต่าลงก็จะเกิดอาการของโรคขึ้นมาได้ โรคติดเชื้อผิวหนังจากเชื้อ
ไวรัสที่สาคัญ ได้แก่
เริม (Herpes Simplex)
เชื้อเริมเป็นตัวอย่างที่ดีครับว่าสามารถเป็นได้อยู่บ่อย ๆ ถ้าร่างกายอ่อนแอลง เช่น อดนอน ทางาน
หนัก เครียด เชื้อนี้มีด้วยกัน 2 ชนิด มักทาให้เกิดอาการในบริเวณที่แตกต่างกันคือ
เชื้อชนิดที่ 1 (Herpes Simplex Vinus2) มักเกิดบริเวณปากและผิวหนังเหนือสะดือขึ้นไป ถ้าเกิดที่
ปากเรียกว่า Herpes Labialis ไม่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แต่ติดจากการดื่มน้าหรือทานอาหารร่วมกัน
เชื้อชนิดที่ 2 (Hepes Simplex Virus2) มักเกิดบริเวณอวัยวะเพศ เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ลักษณะของแผลเริมคือ เป็นตุ่มน้าพองใสเล็ก ๆ ขึ้นเป็นกลุ่ม เมื่อแตกออกจะเป็นแผลตื้น ๆ อยู่บน
ฐานสีแดง เจ็บและแสบมาก โดยปกติโรคจะดาเนินไปจนหายเองภายใน 10 วัน แต่มีโอกาสเกิดซ้าถึง 40
เปอร์เซ็นต์ หรืออาจใช้ยา Acyclovir รับประทานต่อเนื่อง 1 สัปดาห์
งูสวัด (Herpes Zoster)
เชื้อก่อโรคคือ Hepes Varicella Zoster คือเชื้อชนิดเดียวกับที่ทาให้เกิดโรคสุกใส แผลที่เกิดขึ้นจึงมี
ลักษณะเดียวกันคือตุ่มพองใสบนฐานแดง ขึ้นชิดกัน มักกลายเป็นหนองแห้ง และตกสะเก็ดภายใน 10 วัน
ลักษณะที่ต่างจากสุกใส คือ ผื่นจะขึ้นเป็นแนวตามแนวของเส้นประสาท มีไข้ และอ่อนเพลียร่วมด้วย หลายคน
ถามว่าจริงหรือไม่ ที่บอกว่า ถ้างูสวัดพันครบรอบแล้วจะเสียชีวิต ก็อาจเป็นได้นะครับ เพราะภูมิคุ้มกันของ
ผู้ป่วยต้องต่ามากจริง ๆ เชื้อถึงแพร่กระจายเร็ว
การรักษา รับประทานยา Acyclovir ตามแพทย์สั่ง
7โรคเรื้อรังที่พบบ่อย รายวิชาครอบครัวศึกษา
หูด (Wart)
หูดคือก้อนที่ผิวหนัง อาจจะผิวเรียบ หรือขรุขระ สีขาว ชมพู หรือน้าตาล เกิดขึ้นบริเวณใดก็ได้ แต่มัก
พบบ่อยที่นิ้วมือ แขน ขา เกิดจากเชื้อ Human Papilloma Vinus หูดมีลักษณะที่ต่างกันออกไปในแต่ละชนิด
คือ
Verrucus Vulgairs หูดธรรมดา เป็นเม็ดเดียว หรือหลายเม็ด ขรุขระ กระจายทั่วไป มักพบบ่อยที่
บริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้า
Verrucus Plana หูดราบ เป็นเม็ดผิวแบนราบ สีเดียวกับผิวหนัง มักพบที่บริเวณใบหน้า
Condyloma Accuminata หูดหงอนไก่ เป็นติ่งเนื้อนุ่ม สีชมพู พบที่อวัยวะเพศ
Plantar Wart เป็นเม็ดแข็ง ขึ้นที่ได้ฝ่าเท้า
Filitorm and Digitate Wart เป็นติ่งยื่นออกจากผิวหนัง พบบ่อยที่คอและใบหน้า
การรักษา มีหลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับชนิดของหูด แต่ที่พบบ่อยที่สุดอย่าง Verrucus Vulgaris มัก
รักษาด้วยการจี้ด้วยกรดซาลิไซลิก จี้ไฟฟ้าหรือผ่าตัดออก
ทั้งหมดที่กล่าวมานี้คือโรคผิวหนังอักเสบชนิดที่เกิดจากการติดเชื้อครับ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นชนิดใด
หลักการสาคัญในการป้องกันก็คือ หมั่นดูแลรักษาสุขอนามัยของผิวหนังให้สะอาดอยู่เสมอ และที่สาคัญ
มากกว่านั้น ก็คือ หากพบว่ามีแผล หรืออาการผิดปกติของผิวหนัง ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทาการรักษาทันที
ไม่ควรปล่อยให้เชื้อลุกลาม เพราะจะทาให้การรักษายากขึ้น หรืออาจเกิดโรคแทรกซ้อนตามมาได้
โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ
โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ หมายถึง การเกิดการอักเสบของระบบขับปัสสาวะ ซึ่งเริ่มตั้งแต่ท่อ
ปัสสาวะจนถึงไต สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อโรคแถวบริเวณท่อปัสสาวะ ระบบทางเดินปัสสาวะของคนเรา
ประกอบด้วย ไต(kidney) ท่อไต (ureter) 2 ข้าง กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ (urethra) ไตทาหน้าที่
กรองของเสียออกในรูปปัสสาวะ นาออกท่อไต ไป กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ ภาวะติดเชื้อทางเดิน
ปัสสาวะเป็นปัญหาที่พบบ่อย ทั้งในผู้ใหญ่ และเด็ก ผู้หญิงจะพบบ่อยกว่าผู้ชาย 8-10 เท่าประมาณว่าคุณ
ผู้หญิง1ใน 5 คนเป็นคนที่เคยเป็นโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ แพทย์บางท่านวินิจฉัยการติดเชื้อทางเดิน
ปัสสาวะว่าติดเชื้อทางเดินปัสสาวะส่วนบน หรือส่วนล่าง โดยทั่วไปการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะส่วนบนมักจะมี
ไข้ หนาวสั่น แต่ทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง มักจะไม่มีไข้ ระบบทางเดินปัสสาวะแบ่งออกเป็น
 ระบบทางเดินปัสสาวะตอนบน (Upper urinary tract) หมายถึงไต และท่อไต
 ระบบทางเดินปัสสาวะตอนล่าง (Lower urinary tract) หมายถึง กระเพาะปัสสาวะ และท่อ
ปัสสาวะการตอดเชื้อทางเดินปัสสาวะส่วนบนจะหมายถึงกรวยไตอักเสบ ส่วนการติดเชื้อทางเดิน
ปัสสาวะส่วนล่างหมายถึง กระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือท่อปัสสาวะอักเสบ
สาเหตุของทางเดินปัสสาวะอักเสบ
ปัสสาวะปกติจะประกอบด้วยน้า และเกลือ ไม่มีเชื้อโรค การติดเชื้อเกิดเมื่อมีเชื้อโรคมาจากทางเดิน
อาหาร หรือจากอุจาระ มาทางท่อปัสสาวะ ทาให้ท่อปัสสาวะอักเสบ เรียก Urethritis หากเชื้อลามเข้า
กระเพาะปัสสาวะเรียกกระเพาะปัสสาวะอักเสบ Cystittis หากเชื้อลามเข้าท่อไต และกรวยไตทาให้เกิดกรวย
ไตอักเสบ Pyelonephritis
8โรคเรื้อรังที่พบบ่อย รายวิชาครอบครัวศึกษา
เชื้อที่เป็นสาเหตุสาคัญคือ E coli เป็นเชื้อที่มาจากอุจาระเชื้อที่พบรองลงมาได้แก่ Staphylococcus
นอกจากนั้นยังพบเชื้อที่เกิดจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น Clamydia และ Mycoplasma ก็สามารถทา
ให้เกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เชื้อดังกล่าวเกิดจากเพศสัมพันธ์จะต้องรักษาทั้งคู่
ใครมีโอกาสเกิดโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ
 ผู้ที่มีนิ่วทางเดินปัสสาวะ
 ผู้ที่มีต่อมลูกหมากโตเพราะก่อให้เกิดการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ
 ผู้ที่คาสายสวนปัสสาวะ
 ผู้ที่ระบบประสาทควบคุมการปัสสาวะเสียมีภาวะที่กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือ ปัสสาวะแต่ละครั้งไม่หมด
เช่นโรคเบาหวาน ประสาทไขสันหลังอักเสบมีโรคที่ภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่า ร่างกายจึงติดเชื้อได้ง่าย
เช่น โรคเบาหวาน โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต เพราะจะมีปัญหาในการถ่ายปัสสาวะ มักเกิดการแช่ค้างของ
ปัสสาวะ แบคทีเรียในปัสสาวะจึงเจริญเติบโตได้ดี
 การนั่งนานๆ เช่น เมื่อรถติดมาก การกลั้นปัสสาวะนานๆ เพราะส่งผลให้เกิดการแช่คั่งของปัสสาวะ
เชื้อโรคในปัสสาวะจึงเจริญได้ดีผู้หญิงมีโอกาสเกิดทางเดินปัสสาวะอักเสบได้ง่ายกว่าผู้ชาย
เนื่องจาก ท่อปัสสาวะของผู้หญิงสั้น เชื้อโรคบริเวณปากท่อปัสสาวะ จึงเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะได้ง่าย
และตาแหน่งที่เปิดอยู่ใกล้กับทวารหนัก และช่องคลอดทาให้เชื้อลุกลามมาที่ท่อปัสสาวะได้ง่าย
ช่วงมีประจาเดือน บริเวณปากช่องคลอดและท่อปัสสาวะจะมีเชื้อแบคทีเรียมากจึงเกิดการติดเชื้อได้ง่าย
การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เช่นช่วงการตั้งครรภ์หรือวัยทองจะทาให้ติดเชื้อได้ง่าย
ภาวะตั้งครรภ์ มดลูกมีการกดทับกระเพาะปัสสาวะ ทาให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย
 วัยเจริญพันธ์มีกิจกรรมทางเพศทาให้เกดการติดเชื้อได้ง่าย
 การคุมกาเนิดโดยการใช้ยาฆ่าเชื้ออสุจิ หรือการใช้ฝาครอบซึ่งไม่สะอาดจะเป็นปัจจัยเสี่ยงทาให้เกิด
การติดเชื้อ
ผู้ทางเดินปัสสาวะอักเสบจะมีอาการอะไรบ้าง
 ผู้ที่ท่อปัสสาวะอักเสบ Urethritis จะมีอาการปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะจะสุดแล้วมีอาการปวด บางรายมี
คราบหนองติดกางเกงใน
 ผู้ที่มีกระเพาะปัสสาวะอักเสบจะมีอาการปวดหน่วงๆท้องน้อย ปัสสาวะออกครั้งละน้อยๆ ปวดมาก
เมื่อปัสสาวะจะสุด บางรายมีเลือดปนและเลือดออก
 ผู้ที่มีกรวยไตอักเสบ Pyelonephritis จะมีอาการเหมือนกระเพาะปัสสาวะอักเสบ แต่จะมีไข้ ปวดเอว
ปัสสาวะขุ่น
การวินิจฉัยทางเดินปัสสาวะอักเสบ
หากท่านมีอาการเหมือนทางเดินปัสสาวะอักเสบ แพทย์จะสั่งให้เก็บปัสสาวะไปตรวจ โดยก่อนการ
เก็บปัสสาวะจะต้องทาความสะอาดบริเวณนั้น แล้วจึงเก็บปัสสาวะช่วงกลางๆของปัสสาวะ บางรายอาจจะต้อง
เก็บปัสสาวะโดยการใส่สายสวนปัสสาวะ เพื่อให้ได้ปัสสาวะที่สะอาด และนาไปเพาะเชื้อเพื่อหาสาเหตุ แพทย์
จะนาปัสสาวะไปตรวจหาเม็ดเลือดขาว และเม็ดเลือดแดง และเพาะเชื้อ
9โรคเรื้อรังที่พบบ่อย รายวิชาครอบครัวศึกษา
ถ้าท่านติดเชื้อทางเดินปัสสาวะบ่อย หรือหลังการรักษาแล้วไม่หาย แพทย์จะตรวจไตโดยการฉีดสีเข้าเส้นเลือด
และให้สีขับออกทางไต [intravenous pyelography IVP] หรือนัดตรวจ ultrasound ที่ไตซึ่งจะได้ภาพของ
ไต บางรายแพทย์จะส่งตรวจ cystoscope คือการใช้กล้องส่องเข้าไปดูในกระเพาะปัสสาวะ
การรักษาทางเดินปัสสาวะอักเสบ
ผู้ป่วยที่มีอาการไม่นาน ไม่มีไข้ ไม่ปวดเอว ไม่มีโรคประจาตัว อาจจะเลือกใช้ยา trimethoprim/
sulfamethoxazole,amoxicillin,ampicillin,ofloxacin,norfloxacin,ciprofloxacin โดยทั่วไปอาจจะรักษา
1-2 วันก็ทาให้หายได้ แต่แพทย์มักจะแนะนาให้รับประทานยาให้ครบ 7 วัน เพื่อให้แน่ใจว่าหายขาด การรักษา
1-2 วันไม่ควรใช้ในผู้ป่วยที่เป็นมานาน มีอาการรุนแรง หรือมีโรคประจาตัวเช่นเบาหวาน หรือต่อมลูกหมากโต
ผู้ที่มีอาการมาก มีไข้สูง ปวดเอวมาก ควรจะรับไว้ในโรงพยาบาล และให้ยาปฏิชีวนะเข้าทางหลอดเลือด
ผู้ป่วยที่เป็นหญิงและมีทางเดินปัสสาวะอักเสบซ้า Recurrent Infections in Women หมายถึงเป็นทางเดิน
ปัสสาวะอักเสบมากกว่า 3 ครั้งใน 1 ปี ประมาณว่า 4/5 ของผู้ป่วยจะเป็นทางเดินปัสสาวะอักเสบอีกใน 18
เดือน ดังนั้นจึงต้องป้องกันโดยรับประทานยา trimethoprim/sulfamethoxazole เป็นเวลา 6 เดือน
รับประทานยาปฏิชีวนะหลังมีเพศสัมพันธ์ ให้ยาปฏิชีวนะ 1-2 วันเมื่อมีอาการ
วิธีป้องกันการติดเชื้อซ้้า
 ดื่มน้าให้มากเข้าไว้ ดื่มน้าสะอาดให้มากกว่าเดิม อย่างน้อยวันละ 8-10แก้ว
 ห้ามกลั้นปัสสาวะ
 ให้เช็ดก้นจากหน้าไปหลัง
 ให้ทาความสะอาดอวัยวะเพศก่อนที่จะมีกิจกรรมทางเพศ
 พยายามเคลื่อนไหวร่างกายเสมอ ไม่นั่งนานๆ เช่น เมื่อรถติดมาก
 งดใช้ spray และการใช้สายสวน
 สวมใส่กางเกงในเป็นผ้าฝ้าย100% ไม่รัดแน่นเกินไป เพิ่มการระบายอากาศไม่ให้บริเวณนั้นอับชื้น
 ควรจะอาบน้าจากฝักบัว
 ไม่ใช้ยาดับกลิ่นบริเวณอวัยวะเพศ
 ให้ปัสสาวะก่อนและหลังการมีเพศสัมพันธ์ จะช่วยลดปริมาณเชื้อโรคในปัสสาวะลง
 การคลิบอวัยวะเพศจะลดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะไม่ใช่โรคติดต่อ
โรคกระเพาะอาหาร
ลักษณะทั่วไป
คาว่า "โรคกระเพาะ" ตามความหมายของแพทย์ หมายถึง แผลที่เกิดบนเยื่อบุกระเพาะอาหาร
(stomach) หรือลาไส้เล็กส่วนต้นหรือดูโอดีนัม (duodenum) ตรงกับคาว่า แผลเพ็ปติก (Peptic ulcer) แต่
เนื่องจากเรามักจะวินิจฉัย ผู้ที่มีอาการปวดท้องตรงยอดอกหรือใต้ลิ้นปี่ที่เกิดก่อนหรือหลังกินอาหารว่าเป็น
"โรคกระเพาะ" โดยไม่มีการตรวจยืนยันด้วยการส่องกล้องตรวจ หรือเอกซเรย์โดยการกลืนแป้งแบเรียม ดังนั้น
จึงมีความหมาย ครอบคลุมกว้างขวางมากกว่า แผลเพ็ปติกเพียงอย่างเดียว และคงใกล้เคียงกับความหมายของ
10โรคเรื้อรังที่พบบ่อย รายวิชาครอบครัวศึกษา
คาว่า "อาหารไม่ย่อย" ซึ่งมีสาเหตุอันหลากหลายดังนั้นในที่นี้ จะขอใช้คาว่า แผลเพ็ปติก เมื่อกล่าวถึงโรค
แผลที่ลาไส้เล็กส่วนต้นหรือแผล ดียู (Duodenal ulcer/DU) และโรคแผลที่กระเพาะอาหาร หรือแผลจียู
(Gastric ulcer/GU) แผลเพ็ปติก เป็นโรคที่พบได้บ่อย ประมาณ 10-20% ของคนทั่วไปจะมีโอกาสเป็นโรคนี้
ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต แผลที่ลาไส้เล็กส่วนต้น (ดียู) พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ประมาณ 2-4 เท่า และพบ
มากในช่วงอายุประมาณ 30-55 ปี ขณะที่แผลที่กระเพาะอาหาร พบในผู้ชายพอ ๆ กับผู้หญิง และพบในช่วง
อายุประมาณ 55-70 ปี แต่ทั้ง 2 โรคนี้ก็สามารถพบได้ในคนทุกวัย
สาเหตุ
แผลเพ็ปติก เกิดจากความเสียสมดุลระหว่าง ปริมาณกรดที่หลั่งในกระเพาะอาหาร กับความ
ต้านทานต่อกรดของเยื่อบุกระเพาะอาหารและลาไส้ ถ้าหากมีการหลั่งกรดมากเกิน หรือความต้านทานต่อกร
ดลดลง ก็ทาให้เกิดแผลเพ็ปติกขึ้นได้ ในปัจจุบัน พบว่าสาเหตุสาคัญของการเกิดแผลเพ็ปติก ได้แก่
1. การติดเชื้อเอชไพโลไร (H. pylori) ซึ่งเป็นแบคทีเรียแกรมลบ สันนิษฐานว่า ติดต่อโดยการกิน
อาหาร หรือน้าดื่มที่ปนเปื้อนเชื้อจากอุจจาระของผู้ติดเชื้อ แล้วเข้าไปฝังตัวอยู่ใต้เยื่อบุกระเพาะ ในระยะแรก
อาจทาให้เกิดกระเพาะอาหารอักเสบ ซึ่งจะเป็นเรื้อรังนานเป็นแรมปี หรือนับเป็นสิบ ๆ ปี ต่อมา ทาให้
กลายเป็นแผลที่ลาไส้เล็กส่วนต้น (พบเชื้อนี้ในผู้ที่เป็นแผลชนิดนี้ ถึง 95-100%) และแผลที่กระเพาะอาหาร
(พบเชื้อนี้ในผู้ที่เป็นแผลชนิดนี้ถึง 75-85%) ในการติดตามผลการรักษาผู้ป่วยแผลเพ็ปติกด้วยการส่องกล้อง
ตรวจกระเพาะอาหารและลาไส้ พบว่า การรักษาโรคแผลเพ็ปติกโดยวิธีดั้งเดิม (ให้ยาลดกรด และยาลดการ
สร้างกรดนั้น ผู้ป่วยจะมีแผลกาเริบถึง 70-85% ใน 1 ปี แต่ในกลุ่มที่ได้ยาปฏิชีวนะกาจัดเชื้อเอชไพโลไร
ตามวิธีการรักษาแนวใหม่ จะมีแผลกาเริบน้อยกว่า 5% ใน 1 ปัดังนั้นในวงการแพทย์ปัจจุบัน จึงยอมรับว่าเชื้อ
นี้เป็นตัวการสาคัญของโรคแผลเพ็ปติก ถึงแม้จะยังไม่มีความชัดเจน ในกลไกของการทาให้เกิดแผลเพ็ปติก
จากเชื้อนี้ก็ตาม (บ้างสันนิษฐานว่า เชื้อชนิดนี้ ทาให้กลไกในการต้านทานต่อกรดของเยื่อบุกระเพาะอาหาร
ลดลง)
2. การใช้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ ได้แก่ แอสไพริน และกลุ่มยาแก้ปวดข้อ (เช่น อินโดเมทา
ซิน, ไอบูโพรเฟน, นาโพรเซน ฯลฯ) พบว่าผู้ที่ใช้ยากลุ่มนี้เป็นประจา จะมีโอกาสเป็น แผลที่กระเพาะอาหาร
10-30% และแผลที่ลาไส้ส่วนต้น 2-20% และมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เลือดออก แผลทะลุ
มากกว่าผู้ที่ไม่ได้ใช้ยากลุ่มนี้ถึง 3 เท่า ประมาณ 1-2% ของผู้ใช้ยากลุ่มนี้เป็นประจา จะเกิดภาวะ
แทรกซ้อนภายใน 1 ปี ยานี้จะระคายต่อเยื่อบุกระเพาะอาหารโดยตรง และทาลายกลไกในการต้านทาน
ต่อกรด ของเยื่อบุกระเพาะอาหารและลาไส้ กลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิดแผลเพ็ปติกจากยากลุ่มนี้ ได้แก่ ผู้สูงอายุ, ผู้
ที่ใช้ยากลุ่มนี้ในขนาดสูง, ผู้ที่ใช้ยากลุ่มนี้นาน ๆ, ผู้ที่ใช้ยากลุ่มนี้ร่วมกับสเตอรอยด์, ผู้ที่มีประวัติเป็นแผลเพ็ป
ติกมาก่อน, ผู้ที่มีภาวะเจ็บป่วยรุนแรง
3. ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ บางอย่างอาจมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคนี้ แต่บางอย่างอาจไม่มีความสัมพันธ์
โดยตรง เช่น
- ประวัติการมีญาติพี่น้องเป็นแผลเพ็ปติก (อาจเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์) ทาให้มีโอกาสเป็นโรคนี้มากขึ้น
เป็น 3 เท่า
- การสูบบุหรี่ เพิ่มโอกาสของการเป็นแผลที่ลาไส้เล็กส่วนต้น ทาให้การรักษาได้ผลช้า และทาให้เกิดภาวะ
แทรกซ้อนได้มากขึ้น
- ผู้ที่มีเลือดกลุ่มโอ อาจเสี่ยงต่อการเป็นแผลที่ลาไส้เล็กส่วนต้นมากกว่าปกติ
11โรคเรื้อรังที่พบบ่อย รายวิชาครอบครัวศึกษา
- ความเครียดทางอารมณ์ ยังไม่มีข้อสรุปชัดเจนว่า เป็นสาเหตุของการเกิดแผลเพ็ปติกโดยฃตรง แต่เป็น
ปัจจัยที่ทาให้ผู้ป่วยโรคนี้เป็นแผลกาเริบได้
- แผลที่ลาไส้เล็กส่วนต้น ยังอาจพบร่วมกับโรคอื่น ๆ เช่น ภาวะต่อมพาราไทรอยด์ทางานมากเกิน
(Hyperparathyroidism) ซึ่งจะมีภาวะแคลเซียมสูง และแคลเซียมกระตุ้นให้กระเพาะ
อาหารหลั่งกรดมาก, กลุ่มอาการซอลลิงเกอร์-เอลลิสัน (Zollinger-Ellison syndrome) ซึ่ง
เป็นเนื้องอกในตับอ่อนและลาไส้เล็กส่วนต้น ทาให้มีการหลั่งกรดและน้าย่อยมากเกิน, ภาวะไตวาย
เรื้อรัง, ตับแข็งจากพิษแอลกอฮอล์, ถุงลมพอง เป็นต้น
- แอลกอฮอล์ (ซึ่งเป็นสาเหตุของกระเพาะอักเสบชนิดเยื่อบุกร่อน ทาให้มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร)
สเตอรอยด์และกาเฟอีน ยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่าเป็นสาเหตุของแผลเพ็ปติกโดยตรง แต่ก็อาจทาให้
ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้เป็นแผลกาเริบได้ จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้สารเหล่านี้ในผู้ป่วยแผลเพ็ปติก
- อาหารทุกชนิด ไม่เป็นสาเหตุโดยตรงของการเกิดแผลเพ็ปติก แต่ถ้ากินแล้วทาให้มีอาการกาเริบ
(เช่นอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด น้าส้ม น้าผลไม้) ก็ควรจะหลีกเลี่ยง
อาการ
มักมีอาการปวดท้องเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง ตรงบริเวณกลางยอดอก หรือใต้ลิ้นปี่ บางคนอาจค่อนมา
ทางขวาหรือซ้ายก็ได้ เวลาที่ปวดมักจะสัมพันธ์กับมื้ออาหาร เช่น ก่อนหรือหลังอาหาร ลักษณะการ
ปวด อาจปวดแสบ ปวดตื้อ จุกเสียด หรือมีความรู้สึกหิวข้าวก่อนเวลาอาหาร บางครั้งอาจมีอาการ
คลื่นไส้อาเจียน หรือเรอเปรี้ยวร่วมด้วย ในผู้ป่วยที่มีแผลที่ลาไส้เล็กส่วนต้น มักมีอาการปวดท้อง หลังอาหาร
ประมาณ 1-3 ชั่วโมง หรือขณะท้องว่าง โดยมากจะเริ่มปวดตอนสาย ๆ หลังกินข้าวแล้ว จะปวดมากขึ้น
ในช่วงบ่าย ๆ เย็น ๆ และอาจปวดมากตอนดึก ๆ จนต้องตื่นนอนหรือนอนไม่หลับ อาการปวดมักจะดีขึ้น
ทันทีหลังกินอาหาร ดื่มนม กินยาลดกรด หรืออาเจียน ถ้าแผลลุกลามไปที่ตับอ่อนอาจทาให้มีอาการปวดหลัง
ร่วมด้วย และไม่หายปวดท้องหลังกินอาหาร ในผู้ป่วยที่มีแผลที่กระเพาะอาหาร มักมีอาการปวดท้องหลัง
อาหาร ประมาณ 1/2-1 ชั่วโมง บางคนอาจมีอาการเบื่ออาหาร(ไม่อยากกิน เพราะกลัวปวดท้อง) และน้าหนัก
ลด อาการปวดท้องมักเป็นอยู่นานหลายสัปดาห์ แล้วอาจหายไปได้เอง แต่ก็มักจะมีอาการกาเริบภายใน 1-2 ปี
เป็นส่วนใหญ่อย่างไรก็ตาม ลักษณะอาการของผู้ป่วยแผลที่ลาไส้เล็กส่วนต้น กับแผลที่กระเพาะอาหาร
บางครั้งก็อาจจะแยกกันไม่ได้ชัดเจนเช่น อาการปวดท้องตอนดึก ก็อาจเกิดในผู้ป่วยแผลที่กระเพาะอาหารก็ได้
เช่นกัน ผู้ป่วยบางคนอาจเป็นแผลเพ็ปติกโดยไม่มีอาการแสดงก็ได้ เช่น พบว่า กลุ่มที่เป็นแผลจาก
ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ มีประมาณ 50% ที่ไม่ปรากฏอาการ หรือผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อน
(เช่น ถ่ายดา) โดยไม่มีอาการปวดท้องมาก่อนก็ได้ การวินิจฉัยที่แน่นอน ต้องอาศัยการส่องกล้องตรวจ
กระเพาะอาหารและลาไส้ หรือเอกซเรย์โดยการกลืนแป้งแบเรียม
สิ่งตรวจพบ
ส่วนมากมักตรวจไม่พบสิ่งผิดปกติอะไร บางคนอาจรู้สึกกดเจ็บเล็กน้อย ตรงบริเวณลิ้นปี่
ในรายที่มีเลือดออก (เช่น ถ่ายดา) อาจตรวจพบอาการซีด
อาการแทรกซ้อน
ถ้าปล่อยให้เป็นเรื้อรัง อาจมีอาการแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้ ที่พบบ่อย ก็คือ ภาวะเลือดออกใน
กระเพาะอาหาร หรือ ลาไส้เล็กส่วนต้น ผู้ป่วยจะมีอาการอาเจียนเป็นเลือด หรือถ่ายอุจจาระดาส่วนมากเลือด
จะออกไม่มากและหยุดได้เอง ส่วนน้อยอาจมีเลือดออกมาก จนบางครั้งเกิดภาวะช็อก ถ้าเลือดออกเรื้อรัง ก็
12โรคเรื้อรังที่พบบ่อย รายวิชาครอบครัวศึกษา
อาจเกิดภาวะโลหิตจางจากภาวะขาดธาตุเหล็กได้ บางรายแผลอาจกินลึกจนเป็นรูทะลุเรียกว่า แผลเพ็ปติก
ทะลุ (Peptic perforation) ซึ่งอาจทาฃให้มีเยื่อบุช่องท้องอักเสบร่วมด้วยได้ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องรุนแรง
และหน้าท้องแข็ง ควรได้รับการผ่าตัด แก้ไขโดยด่วน บางรายอาจมีภาวะกระเพาะหรือลาไส้ตีบตัน มีอาการ
ปวดท้องรุนแรง อาเจียนรุนแรง และท้องผูกในรายที่แผลกินลึกไปถึงตับอ่อน อาจทาให้มีอาการปวดหลัง หรือ
มีอาการของตับอ่อนอักเสบร่วมด้วย ผู้ที่เป็นแผลที่กระเพาะอาหารเรื้อรังจากเชื้อเอชไพโลไร ก็อาจมีโอกาส
กลายเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร ได้
การรักษา
1. ถ้ามีอาการอาเจียนเป็นเลือดหรือถ่ายดา ควรส่งโรงพยาบาลภายใน 24 ชั่วโมง (ถ้ามีอาการหน้ามืด
เป็นลม หรือช็อก ควรส่งโรงพยาบาลทันที) ถ้าเสียเลือดมาก อาจต้องให้เลือดแล้วทาการตรวจหาสาเหตุและให้
การรักษาตามสาเหตุที่พบ
2. ถ้ามีอาการปวดท้องรุนแรง ปวดท้องติดต่อกันนานเกิน 6 ชั่วโมง อาเจียนรุนแรง หรือมีอาการท้อง
แข็งควรส่งโรงพยาบาลด่วน ถ้าตรวจพบว่ามีภาวะแผลเพ็ปติกทะลุ หรือ กระเพาะหรือลาไส้ตีบตัน จาเป็นต้อง
ผ่าตัดด่วน
3. ถ้ามีอาการปวดแสบ หรือจุกเสียดตรงใต้ลิ้นปี่ก่อนหรือหลังอาหาร หรือตอนดึก ๆ เป็นครั้งแรก ให้
ยาลดกรด ร่วมกับยาลดการสร้างกรด-ไซเมทิดีน นาน 2 สัปดาห์ ถ้าดีขึ้นกินต่อจนครบ 6-8 สัปดาห์ ถ้าไม่ดี
ขึ้น หรือมีอาการกาเริบ หรือน้าหนักลด ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจหาสาเหตุในการวินิจฉัยแผล
เพ็ปติก จาเป็นต้องอาศัยการตรวจพิเศษ เช่น การส่องกล้อง (endoscope) ตรวจดูกระเพาะอาหาร และลาไส้,
การเอกซเรย์กระเพาะลาไส้โดยการกลืนแป้งแบเรียม, การตัดชิ้นเนื้อพิสูจน์ (biopsy),การเพาะเชื้อหาเชื้อเอช
ไพโลไร เป็นต้น การรักษานอกจากให้ยาลดกรด บรรเทาอาการแล้ว ยังต้องให้ยารักษาแผลเพ็ปติกกลุ่มอื่น ๆ
ซึ่งขึ้นกับสาเหตุของ การเกิดโรค ตามแนวทางโดยคร่าว ๆ ดังนี้
ก. แผลเพ็ปติกที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไพโลไร การรักษามีจุดมุ่งหมายเพื่อบรรเทาอาการ
ปวดท้องรักษาแผลให้หายและกาจัดเชื้อเอชไพโลไร โดยให้ยาดังนี้
(1) ยาลดการสร้างกรดออกฤทธิ์แรง (กลุ่ม proton pump inhibitors) ได้แก่ โอเมพราโซล
(Omeprazole) มีชื่อทางการค้า เช่น โลเซก (Losec), ไมราซิด (Miracid) ครั้งละ 20 มก. (1 แคปซูล) วันละ
2 ครั้ง ก่อนอาหารเช้าและเย็นร่วมกัน
(2) ยาปฏิชีวนะ 2 ชนิดร่วมกัน สูตรใดสูตรหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (โดยกินพร้อมอาหาร)
(2.1) เมโทรไนดาโซล ครั้งละ 500 มก. วันละ 2 ครั้ง และคลาริโทรไมซิน (Clarithromycin) ครั้งละ
500 มก. วันละ 2 ครั้ง
(2.2) อะม็อกซีซิลลิน ครั้งละ 1,000 มก. วันละ 2 ครั้ง และคลาริโทรไมซิน ครั้งละ 500 มก. วันละ
2 ครั้งหรือ
(2.3) อะม็อกซีซิลลิน ครั้งละ 1,000 มก. วันละ 2 ครั้ง และเมโทรไนดาโซล ครั้งละ 500 มก. วันละ 2 ครั้ง
(2.4) เตตราไซคลีน 500 มก. วันละ 4 ครั้ง และเมโทรไนดาโซล ครั้งละ 250 มก. วันละ 4 ครั้ง ร่วมกับ
บิสมัท ซับซาลิไซเลต (Bismuth subsalicylate) ครั้งละ 2 เม็ด วันละ 4 ครั้ง ทั้งหมดนี้ กินทุกวัน ติดต่อกัน
นาน 7 วัน หลังจากนั้น ให้กินโอเมพราโซล หรือ ยาต้านเอช-2 (เช่น ไซเมทิดีน, รานิทิดีน) นาน 4-8 สัปดาห์
ข. แผลเพ็ปติกที่ไม่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไพโลไร เป็นแผลเพ็ปติกที่ตรวจไม่พบการอักเสบจากเชื้อ
เอชไพโลไร อาจมีสาเหตุจากการใช้ยาแอสไพริน หรือยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ ควรให้การ
รักษาด้วยยาชนิดใดชนิดหนึ่ง ดังต่อไปนี้
13โรคเรื้อรังที่พบบ่อย รายวิชาครอบครัวศึกษา
(1) โอเมพราโซล 20 มก. วันละครั้ง นาน 4 สัปดาห์ (สาหรับแผลที่ลาไส้เล็กส่วนต้น ที่ไม่มี
ภาวะแทรกซ้อน) หรือ 20 มก. วันละ 2 ครั้ง นาน 6-8 สัปดาห์ (สาหรับแผลที่กระเพาะอาหาร หรือแผลเพ็ป
ติกที่มีภาวะแทรกซ้อน)
(2) ยาต้านเอช-2 เช่น ไซเมทิดีน 800 มก. หรือรานิทิดีน (Ranitidine) 300 มก. วันละครั้ง ก่อนนอน
นาน 6 สัปดาห์ (สาหรับแผลที่ลาไส้เล็กส่วนต้นที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน) หรือไซเมทิดีน400 มก. หรือรานิทิดีน
150 มก. วันละ 2 ครั้ง นาน 8-12 สัปดาห์ (สาหรับแผลที่กระเพาะอาหาร) ส่วนแผลเพ็ปติกที่มี
ภาวะแทรกซ้อน ไม่แนะนาให้ใช้ยากลุ่มนี้
(3) ซูคราลเฟต (Sucralfate) ซึ่งเป็นยาปกป้องเยื่อบุกระเพาะลาไส้ ให้ครั้งละ 1 กรัม วันละ 4 ครั้ง
สาหรับแผลที่ลาไส้เล็กส่วนต้นที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน
ค. ในรายที่เป็นเรื้อรัง หรือเคยมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น หรือผู้สูงอายุ หรือยังสูบบุหรี่ อาจจาเป็นต้อง
กินยาต้านเอช-2 เช่น ไซเมทิดีน 400-800 มก. หรือรานิทิดีน 150-300 มก. วันละครั้ง ก่อนนอน
ทุกวันติดต่อกันไปอีกสักระยะหนึ่ง (3-6 เดือนหรือเป็นปี) และอาจต้องใช้กล้องส่องตรวจ
และตัดชิ้นเนื้อพิสูจน์ซ้า จนกว่าแผลจะหายดี ถ้าแผลเรื้อรัง ไม่ยอมหาย อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัด
ข้อแนะน้า
1. ผู้ป่วยที่เริ่มให้การรักษาด้วยยารักษาแผลเพ็ปติก ถ้ายังมีอาการปวดท้อง ควรให้ยาลดกรด ช่วยบรรเทา
อาการครั้งละ 15-30 มล. เวลามีอาการ ร่วมกับยารักษาแผลเพ็ปติกกลุ่มอื่น ๆ จนกว่าจะหายปวดท้อง
2. สาหรับผู้ป่วย ควรมีข้อปฏิบัติ ดังนี้
2.1 กินอาหารให้ตรงเวลาทุกมื้อ อย่าปล่อยให้หิว
2.2 งดบุหรี่ แอลกอฮอล์ ชา กาแฟหรือเครื่องดื่มกาเฟอีน น้าอัดลม
2.3 หลีกเลี่ยงการใช้แอสไพริน ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่เสตอรอยด์, ยาสเตอรอยด์
2.4 อาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด น้าส้ม น้าผลไม้ ถ้ากินแล้วมีอาการปวดท้องกาเริบ ควรงดจนกว่าจะหายดี
2.5 ออกกาลังกายเป็นประจา และหาวิธีผ่อนคลายความเครียด (ถ้าเครียด)
2.6 ควรกินยาอย่างต่อเนื่อง และพบแพทย์ตามนัด การกินยาไม่ต่อเนื่อง อาจทาให้กลายเป็นแผลเรื้อรังและ
รักษายาก หรือมีภาวะแทรกซ้อนได้
การป้องกัน
ผู้ป่วยที่กินยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดแผลเพ็ปติก (เช่น ผู้สูงอายุ,ผู้ที่
ต้องใช้ยานี้ในขนาดสูง หรือนาน ๆ หรือใช้ร่วมกับยาสเตอรอยด์, ผู้ที่เคยเป็นแผลเพ็ปติกมาก่อน )ควรให้กินยา
ป้องกันควบคู่ด้วย เช่น ไมโซพรอสตอล (Misoprostol) 100- 200 ไมโครกรัมวันละ 4 ครั้ง ยานี้จัดอยู่ในกลุ่ม
พรอสตาแกลนดิน กินแล้วอาจทาให้ปวดท้อง ท้องเดิน และไม่ควรใช้ในหญิงตั้งครรภ์ เพราะอาจทาให้แท้งได้
ในกรณีที่ผู้ป่วยกินยาดังกล่าวไม่ได้ หรือมีผลข้างเคียงมาก ให้ใช้โอเมพราโซลครั้งละ 20 มก. วันละ 2 ครั้ง หรือ
กินยาลดกรด 30 มล. วันละ 7 ครั้งนอกจากนี้ ยังอาจจาเป็นต้องเปลี่ยนไปใช้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์
ตัวใหม่ ๆ ที่มีผลต่อการเกิดแผลเพ็ปติกน้อย เช่นซาลซาเลต (Salsalate), อีโทโดแล็ก (Etodolac), นาบูมีโทน
(Nabumetone) เป็นต้น

More Related Content

What's hot

คู่มือการดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง แบบบูรณาการ
คู่มือการดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง แบบบูรณาการคู่มือการดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง แบบบูรณาการ
คู่มือการดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง แบบบูรณาการUtai Sukviwatsirikul
 
Guidelines for management of dyslipidemia
Guidelines for management of dyslipidemiaGuidelines for management of dyslipidemia
Guidelines for management of dyslipidemiaUtai Sukviwatsirikul
 
Thai guidelines on the treatment of hypertension update 2015
Thai guidelines on the treatment of hypertension update 2015Thai guidelines on the treatment of hypertension update 2015
Thai guidelines on the treatment of hypertension update 2015Utai Sukviwatsirikul
 
คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง Handbook for hype...
คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง Handbook for hype...คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง Handbook for hype...
คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง Handbook for hype...Utai Sukviwatsirikul
 
การประเมินควบคุมความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดในสตรีวัยหมดระดู
การประเมินควบคุมความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดในสตรีวัยหมดระดูการประเมินควบคุมความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดในสตรีวัยหมดระดู
การประเมินควบคุมความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดในสตรีวัยหมดระดูUtai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงของไทย ปี 2558
แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงของไทย ปี 2558แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงของไทย ปี 2558
แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงของไทย ปี 2558Utai Sukviwatsirikul
 

What's hot (9)

Ppt. HT
Ppt. HTPpt. HT
Ppt. HT
 
2008guideline ht
2008guideline ht2008guideline ht
2008guideline ht
 
คู่มือการดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง แบบบูรณาการ
คู่มือการดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง แบบบูรณาการคู่มือการดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง แบบบูรณาการ
คู่มือการดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง แบบบูรณาการ
 
Guidelines for management of dyslipidemia
Guidelines for management of dyslipidemiaGuidelines for management of dyslipidemia
Guidelines for management of dyslipidemia
 
Chf
ChfChf
Chf
 
Thai guidelines on the treatment of hypertension update 2015
Thai guidelines on the treatment of hypertension update 2015Thai guidelines on the treatment of hypertension update 2015
Thai guidelines on the treatment of hypertension update 2015
 
คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง Handbook for hype...
คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง Handbook for hype...คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง Handbook for hype...
คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง Handbook for hype...
 
การประเมินควบคุมความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดในสตรีวัยหมดระดู
การประเมินควบคุมความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดในสตรีวัยหมดระดูการประเมินควบคุมความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดในสตรีวัยหมดระดู
การประเมินควบคุมความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดในสตรีวัยหมดระดู
 
แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงของไทย ปี 2558
แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงของไทย ปี 2558แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงของไทย ปี 2558
แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงของไทย ปี 2558
 

Viewers also liked

Guildline thai atherosclerosis_update_16_07_50
Guildline thai atherosclerosis_update_16_07_50Guildline thai atherosclerosis_update_16_07_50
Guildline thai atherosclerosis_update_16_07_50Utai Sukviwatsirikul
 
ยารักษาโรคเบาหวาน
ยารักษาโรคเบาหวานยารักษาโรคเบาหวาน
ยารักษาโรคเบาหวานUtai Sukviwatsirikul
 
Current Pharmacotherapy in Diabetes
Current Pharmacotherapy in DiabetesCurrent Pharmacotherapy in Diabetes
Current Pharmacotherapy in DiabetesUtai Sukviwatsirikul
 
ความเป็นไปได้ของร้านยาในการนำ (ร่าง) ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องการกำหนดรายล...
ความเป็นไปได้ของร้านยาในการนำ (ร่าง) ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องการกำหนดรายล...ความเป็นไปได้ของร้านยาในการนำ (ร่าง) ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องการกำหนดรายล...
ความเป็นไปได้ของร้านยาในการนำ (ร่าง) ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องการกำหนดรายล...Parun Rutjanathamrong
 
ยารักษาโรคเบาหวาน โดย ฉัตรเลิศ พงษ์ไชยกุล
ยารักษาโรคเบาหวาน  โดย ฉัตรเลิศ พงษ์ไชยกุล ยารักษาโรคเบาหวาน  โดย ฉัตรเลิศ พงษ์ไชยกุล
ยารักษาโรคเบาหวาน โดย ฉัตรเลิศ พงษ์ไชยกุล Utai Sukviwatsirikul
 
Pharmacotherapy in patient with stroke 2555
Pharmacotherapy in patient with stroke 2555Pharmacotherapy in patient with stroke 2555
Pharmacotherapy in patient with stroke 2555Utai Sukviwatsirikul
 
หลักการออกแบบร้านค้าปลีกสมัยใหม่
หลักการออกแบบร้านค้าปลีกสมัยใหม่หลักการออกแบบร้านค้าปลีกสมัยใหม่
หลักการออกแบบร้านค้าปลีกสมัยใหม่Utai Sukviwatsirikul
 
คู่มือแปลผลการตรวจร่างกายฉบับประชาชน
คู่มือแปลผลการตรวจร่างกายฉบับประชาชนคู่มือแปลผลการตรวจร่างกายฉบับประชาชน
คู่มือแปลผลการตรวจร่างกายฉบับประชาชนSurapol Imi
 
บทที่ 5 ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง
บทที่ 5 ยารักษาโรคความดันโลหิตสูงบทที่ 5 ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง
บทที่ 5 ยารักษาโรคความดันโลหิตสูงPa'rig Prig
 
แนวทางการรักษาสิว 2010
แนวทางการรักษาสิว 2010แนวทางการรักษาสิว 2010
แนวทางการรักษาสิว 2010Utai Sukviwatsirikul
 
วิธีอ่านผลตรวจสุขภาพ
วิธีอ่านผลตรวจสุขภาพวิธีอ่านผลตรวจสุขภาพ
วิธีอ่านผลตรวจสุขภาพUtai Sukviwatsirikul
 
บทที่ 4 ยารักษาโรคเบาหวาน
บทที่ 4 ยารักษาโรคเบาหวานบทที่ 4 ยารักษาโรคเบาหวาน
บทที่ 4 ยารักษาโรคเบาหวานPa'rig Prig
 
คู่มือการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องสำหรับประชาชน 2557
คู่มือการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องสำหรับประชาชน 2557คู่มือการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องสำหรับประชาชน 2557
คู่มือการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องสำหรับประชาชน 2557Utai Sukviwatsirikul
 

Viewers also liked (20)

Guildline thai atherosclerosis_update_16_07_50
Guildline thai atherosclerosis_update_16_07_50Guildline thai atherosclerosis_update_16_07_50
Guildline thai atherosclerosis_update_16_07_50
 
ยารักษาโรคเบาหวาน
ยารักษาโรคเบาหวานยารักษาโรคเบาหวาน
ยารักษาโรคเบาหวาน
 
Cpg hyperlipidemia 2558
Cpg hyperlipidemia 2558Cpg hyperlipidemia 2558
Cpg hyperlipidemia 2558
 
Ag 16 in_1.2.4_896(2555)
Ag 16 in_1.2.4_896(2555)Ag 16 in_1.2.4_896(2555)
Ag 16 in_1.2.4_896(2555)
 
Current Pharmacotherapy in Diabetes
Current Pharmacotherapy in DiabetesCurrent Pharmacotherapy in Diabetes
Current Pharmacotherapy in Diabetes
 
ความเป็นไปได้ของร้านยาในการนำ (ร่าง) ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องการกำหนดรายล...
ความเป็นไปได้ของร้านยาในการนำ (ร่าง) ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องการกำหนดรายล...ความเป็นไปได้ของร้านยาในการนำ (ร่าง) ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องการกำหนดรายล...
ความเป็นไปได้ของร้านยาในการนำ (ร่าง) ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องการกำหนดรายล...
 
ยารักษาโรคเบาหวาน โดย ฉัตรเลิศ พงษ์ไชยกุล
ยารักษาโรคเบาหวาน  โดย ฉัตรเลิศ พงษ์ไชยกุล ยารักษาโรคเบาหวาน  โดย ฉัตรเลิศ พงษ์ไชยกุล
ยารักษาโรคเบาหวาน โดย ฉัตรเลิศ พงษ์ไชยกุล
 
Pharmacotherapy in patient with stroke 2555
Pharmacotherapy in patient with stroke 2555Pharmacotherapy in patient with stroke 2555
Pharmacotherapy in patient with stroke 2555
 
หลักการออกแบบร้านค้าปลีกสมัยใหม่
หลักการออกแบบร้านค้าปลีกสมัยใหม่หลักการออกแบบร้านค้าปลีกสมัยใหม่
หลักการออกแบบร้านค้าปลีกสมัยใหม่
 
คู่มือแปลผลการตรวจร่างกายฉบับประชาชน
คู่มือแปลผลการตรวจร่างกายฉบับประชาชนคู่มือแปลผลการตรวจร่างกายฉบับประชาชน
คู่มือแปลผลการตรวจร่างกายฉบับประชาชน
 
บทที่ 5 ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง
บทที่ 5 ยารักษาโรคความดันโลหิตสูงบทที่ 5 ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง
บทที่ 5 ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง
 
Pharmacotherapy stroke
Pharmacotherapy strokePharmacotherapy stroke
Pharmacotherapy stroke
 
Cpg for acne
Cpg for acneCpg for acne
Cpg for acne
 
แนวทางการรักษาสิว 2010
แนวทางการรักษาสิว 2010แนวทางการรักษาสิว 2010
แนวทางการรักษาสิว 2010
 
วิธีอ่านผลตรวจสุขภาพ
วิธีอ่านผลตรวจสุขภาพวิธีอ่านผลตรวจสุขภาพ
วิธีอ่านผลตรวจสุขภาพ
 
บทที่ 4 ยารักษาโรคเบาหวาน
บทที่ 4 ยารักษาโรคเบาหวานบทที่ 4 ยารักษาโรคเบาหวาน
บทที่ 4 ยารักษาโรคเบาหวาน
 
Cpg topical steroid usage
Cpg topical steroid usageCpg topical steroid usage
Cpg topical steroid usage
 
คู่มือการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องสำหรับประชาชน 2557
คู่มือการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องสำหรับประชาชน 2557คู่มือการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องสำหรับประชาชน 2557
คู่มือการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องสำหรับประชาชน 2557
 
Laboratory Testing
Laboratory TestingLaboratory Testing
Laboratory Testing
 
Drug Therapy of Hypertension
Drug Therapy of HypertensionDrug Therapy of Hypertension
Drug Therapy of Hypertension
 

Similar to โรคเรื้อรังที่พบบ่อย

Guidelines for management of dyslipidemia
Guidelines for management of dyslipidemiaGuidelines for management of dyslipidemia
Guidelines for management of dyslipidemiaUtai Sukviwatsirikul
 
Diabetic mellitus 02
Diabetic mellitus 02Diabetic mellitus 02
Diabetic mellitus 02vora kun
 
งานวิชาสุขศึกษา
งานวิชาสุขศึกษางานวิชาสุขศึกษา
งานวิชาสุขศึกษาKasipat_Nalinthom
 
งานวิชาสุขศึกษา
งานวิชาสุขศึกษางานวิชาสุขศึกษา
งานวิชาสุขศึกษาKasipat_Nalinthom
 
งานวิชาสุขศึกษา
งานวิชาสุขศึกษางานวิชาสุขศึกษา
งานวิชาสุขศึกษาKasipat_Nalinthom
 
โรคความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูงโรคความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูงklomza501
 
วันที่2 การบันทึกข้อมูล ncd เพื่อส่งออก 43 แฟ้ม
วันที่2 การบันทึกข้อมูล ncd เพื่อส่งออก 43 แฟ้มวันที่2 การบันทึกข้อมูล ncd เพื่อส่งออก 43 แฟ้ม
วันที่2 การบันทึกข้อมูล ncd เพื่อส่งออก 43 แฟ้มKomen Chawarit
 
งานสุขะ เรื่อง ความดันโลหิตสูง
งานสุขะ เรื่อง ความดันโลหิตสูงงานสุขะ เรื่อง ความดันโลหิตสูง
งานสุขะ เรื่อง ความดันโลหิตสูงappcheeze
 
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงUtai Sukviwatsirikul
 
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงTuang Thidarat Apinya
 
อาจารย์ สุมน
อาจารย์ สุมนอาจารย์ สุมน
อาจารย์ สุมนBeigecolor
 
อาจารย์ สุมน
อาจารย์ สุมนอาจารย์ สุมน
อาจารย์ สุมนBeigecolor
 
ความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูงความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูงBeigecolor
 
อาจารย์ สุมน
อาจารย์ สุมนอาจารย์ สุมน
อาจารย์ สุมนBeigecolor
 
Thai guidelines on the treatment of hypertension 2015
Thai guidelines on the treatment of hypertension 2015Thai guidelines on the treatment of hypertension 2015
Thai guidelines on the treatment of hypertension 2015Utai Sukviwatsirikul
 
Thai guideline on the hypertension 2015
Thai  guideline on the hypertension 2015Thai  guideline on the hypertension 2015
Thai guideline on the hypertension 2015Utai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง 2558
แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง 2558แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง 2558
แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง 2558Utai Sukviwatsirikul
 
ขั้นตอนการประเมินความเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง
ขั้นตอนการประเมินความเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูงขั้นตอนการประเมินความเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง
ขั้นตอนการประเมินความเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูงTuang Thidarat Apinya
 

Similar to โรคเรื้อรังที่พบบ่อย (20)

2008guideline ht
2008guideline ht2008guideline ht
2008guideline ht
 
Guidelines for management of dyslipidemia
Guidelines for management of dyslipidemiaGuidelines for management of dyslipidemia
Guidelines for management of dyslipidemia
 
Diabetic mellitus 02
Diabetic mellitus 02Diabetic mellitus 02
Diabetic mellitus 02
 
งานวิชาสุขศึกษา
งานวิชาสุขศึกษางานวิชาสุขศึกษา
งานวิชาสุขศึกษา
 
งานวิชาสุขศึกษา
งานวิชาสุขศึกษางานวิชาสุขศึกษา
งานวิชาสุขศึกษา
 
งานวิชาสุขศึกษา
งานวิชาสุขศึกษางานวิชาสุขศึกษา
งานวิชาสุขศึกษา
 
โรคความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูงโรคความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูง
 
วันที่2 การบันทึกข้อมูล ncd เพื่อส่งออก 43 แฟ้ม
วันที่2 การบันทึกข้อมูล ncd เพื่อส่งออก 43 แฟ้มวันที่2 การบันทึกข้อมูล ncd เพื่อส่งออก 43 แฟ้ม
วันที่2 การบันทึกข้อมูล ncd เพื่อส่งออก 43 แฟ้ม
 
งานสุขะ เรื่อง ความดันโลหิตสูง
งานสุขะ เรื่อง ความดันโลหิตสูงงานสุขะ เรื่อง ความดันโลหิตสูง
งานสุขะ เรื่อง ความดันโลหิตสูง
 
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
 
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
 
อาจารย์ สุมน
อาจารย์ สุมนอาจารย์ สุมน
อาจารย์ สุมน
 
อาจารย์ สุมน
อาจารย์ สุมนอาจารย์ สุมน
อาจารย์ สุมน
 
ความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูงความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูง
 
อาจารย์ สุมน
อาจารย์ สุมนอาจารย์ สุมน
อาจารย์ สุมน
 
Thai guidelines on the treatment of hypertension 2015
Thai guidelines on the treatment of hypertension 2015Thai guidelines on the treatment of hypertension 2015
Thai guidelines on the treatment of hypertension 2015
 
Thai guideline on the hypertension 2015
Thai  guideline on the hypertension 2015Thai  guideline on the hypertension 2015
Thai guideline on the hypertension 2015
 
แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง 2558
แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง 2558แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง 2558
แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง 2558
 
Htn
HtnHtn
Htn
 
ขั้นตอนการประเมินความเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง
ขั้นตอนการประเมินความเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูงขั้นตอนการประเมินความเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง
ขั้นตอนการประเมินความเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง
 

โรคเรื้อรังที่พบบ่อย

  • 1. โรคเรื้อรังที่พบบ่อย โรคความดันโลหิตสูง โรคความดันโลหิตสูง หรือแพทย์บางท่านเรียกว่า ภาวะความดันโลหิตสูง (Hypertension หรือ High blood pressure) เป็นโรคพบได้บ่อยมากอีกโรคหนึ่งในผู้ใหญ่ พบได้สูงถึง ประมาณ 25-30% ของประชากร โลกที่เป็นผู้ใหญ่ทั้งหมด โดยพบในผู้ชายบ่อยกว่าในผู้หญิง และพบได้สูงขึ้นในผู้สูงอายุ ในบางประเทศ พบโรค นี้ได้สูงถึง 50% ของผู้มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ส่วนในเด็กพบโรคนี้ได้เช่นกัน แต่พบได้น้อยกว่าในผู้ใหญ่มาก โรคความดันโลหิตสูง คือ ภาวะมีความดันโลหิต วัดได้สูงตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตร –ปรอท ขึ้นไป ทั้งนี้ความดัน โลหิตปกติ คือ 90-119/60-79 มม.ปรอท โรคความดันโลหิตสูงแบ่งตามสาเหตุได้เป็น 2 ชนิด คือ ชนิดไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด (Essential hypertension) ซึ่งพบได้สูงถึง 90-95%ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงทั้งหมด และชนิดทราบสาเหตุ (Secondary hypertension) ซึ่งพบได้ประมาณ 5-10% ของโรคนี้ ดังนั้น โดยทั่วไป เมื่อกล่าวถึง “โรคความดันโลหิตสูง” จึงหมายถึง “โรคความดันโลหิตสูงชนิดยังไม่ทราบสาเหตุ โรคความดันโลหิตสูงเกิดได้อย่างไร? โรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ เชื่อว่า น่าเกิดจากหลายๆปัจจัยร่วมกัน ที่สาคัญ คือ อิทธิพล ของเอ็นไซม์ (Enzyme, สารเคมีที่มีหน้าที่เร่งปฏิกิริยาเคมีต่างๆ) ที่เรียกว่า เรนิน (Renin) และฮอร์โมนแองจิ โอเท็นซิน ( Angiotensin) จากไต ซึ่งสารทั้งสองชนิดนี้จะทางานร่วมกับต่อมหมวกไต และกับต่อมใต้สมองใน การควบคุม น้า เกลือแร่โซเดียม และการบีบตัวของหลอดเลือด ในร่างกาย ทั้งหมดเพื่อการควบคุมความดัน โลหิต ซึ่งเรียกว่า กระบวนการ Renin-Angiotensin system นอกจากนั้น กลไกการเกิดความดันโลหิตสูงยังขึ้นกับ  พันธุกรรม เพราะพบโรคได้สูงขึ้นในคนที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคนี้  เชื้อชาติ เพราะ พบโรคได้สูงในคนอเมริกันผิวดา เมื่อเปรียบเทียบกับคนอเมริกันผิวขาว และชาวแมก ซิกันอเมริกัน  การกินอาหารเค็ม เพราะเกลือโซเดียม หรือ เกลือทะเลเป็นตัวอุ้มน้าในเลือด จึงช่วยเพิ่มปริมาตรของ เลือดที่ไหลเวียน จึงส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้น  กระบวนการของร่างกายที่ส่งผลต่อสมดุลและการทางานของเกลือแร่แคลเซียมในร่างกาย ส่วนโรคความดันโลหิตสูงชนิดรู้สาเหตุ มักเกิดจากโรคต่างๆที่ส่งผลต่อหลอดเลือด ต่อหัวใจ และต่อสมดุล ของ ฮอร์โมนและ/หรือ เกลือแร่ในร่างกาย ที่พบบ่อย เช่น จากโรคไตเรื้อรัง จากโรคของหลอดเลือดที่หล่อ เลี้ยงไต เช่น อักเสบ หรือ ตีบ จากการติดสุรา จากมีฮอร์โมนบางชนิดในร่างกายผิดปกติ เช่น จากเนื้องอกบาง ชนิดของต่อมหมวกไต หรือ ของต่อมใต้สมอง อะไรเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง? ปัจจัยเสี่ยงสาคัญที่ทาให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง ได้แก่  พันธุกรรม โอกาสมีความดันโลหิตสูง จะสูงขึ้นเมื่อมีคนในครอบครัวเป็นโรคนี้  โรคเบาหวาน เพราะก่อให้เกิดการอักเสบ ตีบแคบของหลอดเลือดต่างๆ รวมทั้งของไต  โรคอ้วน และน้าหนักตัวเกิน เพราะเป็นสาเหตุสาคัญของโรคเบาหวาน และโรคหลอดเลือดต่างๆตีบ จากภาวะไขมันเกาะผนังหลอดเลือด
  • 2. 2โรคเรื้อรังที่พบบ่อย รายวิชาครอบครัวศึกษา  โรคไตเรื้อรัง เพราะจะส่งผลถึงการสร้างเอ็นไซม์และฮอร์โมนที่ควบคุมความดันโลหิตดังกล่าวแล้ว  โรคนอนหลับแล้วหยุดหายใจ (Sleep apnea)  สูบบุหรี่ เพราะสารพิษในควันบุหรี่ส่งผลให้เกิดการอักเสบ ตีบตันของหลอดเลือดต่าง รวมทั้งหลอด เลือดไต และหลอดเลือดหัวใจ  การติดสุรา ซึ่งยังไม่ทราบชัดเจนถึงกลไกว่าทาไมดื่มสุราแล้วจึงเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดความดัน โลหิตสูง แต่การศึกษาต่างๆให้ผลตรงกันว่า คนที่ติดสุรา จะส่งผลให้หัวใจเต้นแรงกว่าปกติ และมี โอกาสเป็นโรคความดันโลหิตสูง ถึงประมาณ 50%ของผู้ติดสุราทั้งหมด  กินอาหารเค็มสม่าเสมอ ต่อเนื่อง ดังเหตุผลดังได้กล่าวแล้ว  ขาดการออกกาลังกาย เพราะเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคอ้วนและโรคเบาหวาน  ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยาในกลุ่มสเตียรอยด์ โรคความดันโลหิตสูงมีอาการอย่างไร? ความสาคัญของโรคความดันโลหิตสูงคือ เป็นโรคที่มักไม่มีอาการ และจากการที่เป็นโรคเรื้อรังที่ รุนแรงถ้าไม่สามารถควบคุมโรคได้ แต่มักไม่มีอาการ แพทย์บางท่านจึงเรียกโรคความดันโลหิตสูงว่า “เพชฌฆาตเงียบ (Silent killer)” ทั้งนี้ส่วนใหญ่ของอาการจากโรคความดันโลหิตสูง เป็นอาการจาก ผลข้างเคียง เช่น จากโรคหัวใจ และจากโรคหลอดเลือดในสมอง หรือ เป็นอาการจากโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยง เช่น อาการจากโรคเบาหวาน หรือ จากโรคอ้วน หรือเป็นอาการจากโรคที่เป็นสาเหตุ เช่น โรคเนื้องอกต่อมใต้ สมอง (ปวดศีรษะ และตาเห็นภาพไม่ชัด) อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการจากตัวความดันโลหิตสูงเองได้ โดยอาการที่อาจพบได้ เช่น ปวด ศีรษะ มึนงง วิงเวียน สับสน และเมื่อมีอาการมากอาจโคมา และเสียชีวิตได้ รักษาโรคความดันโลหิตสูงอย่างไร? แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง คือ การให้ยาลดความดันโลหิต การรักษาควบคุมโรคที่เป็น ปัจจัยเสี่ยงและเป็นสาเหตุ การรักษาและป้องกันผลข้างเคียงจากโรคความดันโลหิตสูง และการรักษา ประคับประคองตามอาการ การให้ยาลดความดันโลหิต ซึ่งมีหลากหลายชนิด ทั้งชนิดกินและชนิดฉีด ขึ้นกับ ความรุนแรงของอาการ การรักษาโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยง เช่น รักษาโรคเบาหวาน การรักษาโรคที่เป็นสาเหตุ เช่น รักษาโรคไตเรื้อรัง หรือ รักษาโรคเนื้องอกต่อมใต้สมอง การรักษาผลข้างเคียงจากโรคความดันโลหิต สูง เช่น การรักษาโรคไตเรื้อรัง (โรคไตเป็นได้ทั้งสาเหตุ และผลข้างเคียงจากโรคความดันโลหิตสูง) การรักษาประคบประคองตามอาการ เช่น กินยาคลายเครียด และการพักผ่อนอย่างพอเพียง เป็นต้น โรคความดันโลหิตสูงรุนแรงไหม? มีผลข้างเคียงไหม? โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรัง ซึ่งหมายถึงเป็นโรคที่รักษาให้หายยาก แต่สามารถรักษาควบคุมได้ เสมอเมื่อรักษาควบคุมอาการตั้งแต่แรก ปฏิบัติตามแพทย์ พยาบาลแนะนา และกินยาอย่างถูกต้อง ครบถ้วน ไม่ขาดยา แต่ถ้า ดูแล รักษา ควบคุมโรคได้ไม่ดี ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นมักรุนแรง เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือด สมอง โรคไตเรื้อรัง ซึ่งส่งผลถึงความพิการและเสียชีวิตได้ นอกจากนั้นคือ โรคหลอดเลือดของจอตา และของ ประสาทตาซึ่งอาจส่งผลให้ตาบอดได้ อนึ่ง โรคความดันโลหิตสูงแบ่งตามความรุนแรงของโรค (ตามความดันโลหิต) จากรุนแรงน้อยไปหามาก ได้ดังนี้้
  • 3. 3โรคเรื้อรังที่พบบ่อย รายวิชาครอบครัวศึกษา  ความดันโลหิตในผู้มีแนวโน้มจะเป็นโรคความดันโลหิตสูง คือ 120-139/80-89 มม.ปรอท (แนว ทางการรักษา คือการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต ทั้งนี้แพทย์มักยังไม่ให้ลดความดันโลหิต)  โรคความดันโลหิตสูงระยะ 1 คือ ความดันโลหิตอยู่ในช่วง 140-159/90-99 มม.ปรอท  โรคความดันโลหิตสูงระยะ 2 คือ ความดันโลหิตตั้งแต่ 160/100 มม.ปรอทขึ้นไป  โรคความดันโลหิตสูงที่ต้องพบแพทย์ใน 24 ชั่วโมง คือ ความดันโลหิตสูงตั้งแต่ 180/110 มม.ปรอท ขึ้นไป เพราะอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ อาจจากโรคหัวใจ สมอง ไต ล้มเหลว  โรคความดันโลหิตสูงที่ต้องพบแพทย์ฉุกเฉิน คือ ความดันโลหิตสูงตั้งแต่ 220/140 มม.ปรอทขึ้นไป เพราะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ จากการทางานล้มเหลวของอวัยวะสาคัญต่างๆ เช่น หัวใจ สมอง และไต ดูแลตนเองอย่างไร? ควรพบแพทย์เมื่อไร? การดูแลตนเอง การพบแพทย์เมื่อเป็นโรคความดันโลหิตสูง ได้แก่  ปฏิบัติตามแพทย์ พยาบาล แนะนาอย่างเคร่งครัด ถูกต้อง  กินยาต่างๆให้ครบถ้วน ถูกต้อง ไม่ขาดยา  จากัดอาหาร แป้ง น้าตาล ไขมัน และอาหารเค็ม  จากัดอาหารไม่ให้เกิดโรคอ้วนและน้าหนักตัวเกิน  ออกกาลังกายตามสุขภาพสม่าเสมอทุกวัน  รักษาสุขภาพจิต ไม่เครียด เข้าใจและยอมรับชีวิต  เลิกบุหรี่ ไม่สูบบุหรี่ เลิกสุรา  พบแพทย์ตามนัดเสมอ และรีบพบแพทย์ก่อนนัดเมื่อมีอาการผิดปกติไปจากเดิม หรือ เมื่ออาการต่างๆ เลวลง หรือ เมื่อกังวลในอาการ  รีบพบแพทย์ภายใน 24 ชั่วโมง หรือ ฉุกเฉิน ขึ้นกับความรุนแรงของอาการเมื่อ o ปวดศีรษะมาก o เหนื่อยมากกว่าปกติมาก เท้าบวม (อาการของโรคหัวใจล้มเหลว) o เจ็บแน่นหน้าอก ใจสั่น เหงื่อออกมาก จะเป็นลม (อาการจากโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งต้องพบ แพทย์ฉุกเฉิน) o แขน ขาอ่อนแรง พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว คลื่นไส้ อาเจียน (อาการจากโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่ง ต้องพบแพทย์ฉุกเฉิน) ป้องกันโรคความดันโลหิตสูงได้อย่างไร? การป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ที่สาคัญ คือ การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต โดย  กินอาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ให้ครบทุกวัน ในปริมาณที่เหมาะสม กล่าวคือ ไม่ให้เกิดโรคอ้วน และ น้าหนักตัวเกิน และจากัดอาหารไขมัน แป้ง น้าตาล และอาหารเค็ม เพิ่มผัก และผลไม้ชนิดไม่หวานให้ มากๆ  ออกกาลังกายสม่าเสมอทุกวัน ตามสุขภาพ  พักผ่อนให้เพียงพอ  รักษาสุขภาพจิต  ตรวจสุขภาพประจาปี (การตรวจสุขภาพ) ซึ่งรวมถึงตรวจวัดความดันโลหิต เริ่มได้ตั้งแต่อายุ 18-20 ปี หลังจากนั้นตรวจสุขภาพบ่อยตามแพทย์ พยาบาลแนะนา
  • 4. 4โรคเรื้อรังที่พบบ่อย รายวิชาครอบครัวศึกษา โรคผิวหนังอักเสบติดเชื้อ ผิวหนังเป็นเนื้อเยื่อส่วนนอกสุดของร่างกายที่ห่อหุ้มโครงสร้างและอวัยวะทุกอย่างไว้ ซึ่งในแต่ละ บริเวณจะมีความหนา-บางแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่ต้องรองรับ และถูกเสียดสี ผิวหนังของเราแบ่งเป็น 2 ชั้นใหญ่ ๆ คือ 1.ชั้นหนังกาพร้า (Epidermis) เป็นชั้นที่อยู่บนสุด บางและหลุดลอกออกไปได้ง่าย หรือที่เรียกว่าขี้ ไคลนั่นเอง ในชั้นนี้จะไม่มีเลือดและเส้นประสาทหล่อเลี้ยงครับ แต่มีเซลล์ที่ชื่อ เมลาโนไซด์ (Melanocyte) ซึ่ง ทาหน้าที่สร้างเม็ดสีเมลานิน (Melanin) ที่ทาให้แต่ละคนมีสีผิวที่แตกต่างกันออกไป 2.ชั้นหนังแท้ (Dermis) เป็นชั้นที่อยู่ลึกถัดจากชั้นหนังกาพร้าลงมา มีความหนากว่าชั้นแรกมาก เป็น ที่อยู่ของเซลล์ ต่อม หลอดเลือด และระบบประสาทที่มาหล่อเลี้ยง หน้าที่ของผิวหนังนอกจากปกป้องอวัยวะภายในไม่ได้ได้รับอันตรายแล้ว ยังมีความสาคัญในการรักษา ระดับอุณหภูมิร่างกาย ขับของเสียออกทางเหงื่อ รับความรู้สึกสัมผัสต่าง ๆ ทั้งยังมีส่วนช่วยในการสร้างวิตามิน ดี และป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายอีกด้วย ความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับผิวหนังของเรามีได้หลายอย่างครับ สาหรับวันนี้จะกล่าวถึงโรคติดเชื้อที่เกิด ขึ้นกับระบบผิวหนัง ซึ่งมีด้วยกันหลายโรคตามตาแหน่งที่เกิดการติดเชื้อ โดยเชื้อที่ก่อโรคมี 3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ แบคทีเรีย รา และไวรัส 1. โรคผิวหนังอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย อันที่จริงแล้วผิวหนังของคนเราก็มีเชื้อแบคทีเรียอาศัยอยู่นะครับ เรียกว่าเป็นเชื้อประจาถิ่น (Normal Flora) ซึ่งโดยปกติจะไม่ทาให้เกิดโรคครับ แต่ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงสภาพของผิวหนังไปจากเดิม เช่น มี บาดแผล มีโรคผิวหนังอื่น ๆ อยู่ก่อน สุขอนามัยไม่ดี หรือผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานต่า เชื้อเหล่านี้ก็มีโอกาสทาให้ เกิดโรคได้ ตัวที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อมากที่สุด ได้แก่ Staphylococcus aureus และ Staphylococcus pyogenes โรคผิวหนังอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียที่พบมาก ได้แก่ แผลพุพอง (impetiongo) เป็นการติดเชื้อของชั้นหนังกาพร้า ส่วนใหญ่เกิดจากสุขอนามัยไม่ดี หรือละเลยบาดแผลเล็ก ๆ จะ ลุกลามจึงพบได้บ่อยในเด็กเล็ก ส่วนมากบาดแผลเกิดขึ้นที่ใบหน้าบริเวณรอบจมูก เนื่องจากการแกะ เกา และ ตามแขน-ขาทั่วไป เริ่มแรกเป็นเพียงผื่นแดงเล็ก ๆ มีอาการคัน แล้วกลายเป็นตุ่มน้าพองใส เมื่อแตกออกพื้น แผลจะเป็นสีแดง มีน้าเหลืองไหล พอแห้งจะตกเป็นสะเก็ดเหลืองเกาะที่แผล ถ้าเกิดที่หนังศีรษะมีชื่อเรียกว่า ชันนะตุ หากปล่อยไว้นานแผลอาจลุกลามขยายใหญ่ขึ้น หรือกินลึกลงไปมากขึ้น และเข้าสู่กระแสเลือดได้ การรักษา เริ่มต้นด้วยการล้างทาความสะอาดบาดแผล และใช้ยาทาฆ่าเชื้อ Mupiroxin ประมาณ 7- 10 วัน ก็เพียงพอ แต่หากบาดแผลกว้างและลึกมาก อาจต้องใช้ยา Dicloxacillin รับประทานร่วมด้วย รูขุมขนอักเสบ (Folliculitis, Furuncles Carbuncler) เป็นการติดเชื้อของรูขุมขนจนเกิดเป็นผื่นแดง ไม่มีอาการหรืออาจคัน หรือเจ็บเล็กน้อย พบได้ใน บริเวณที่มีต่อมขนเยอะ เช่น หนวด เครา รักแร้ เป็นต้น ส่วนมากมักจะหายเอง แต่บางครั้งอาจเกิดการอักเสบ มาก จนเป็นตุ่มหนอง แดงและเจ็บ เมื่อแตกออกจะมีหนองไหลออกมาได้ เรียกว่าฝี (Furuncles) ถ้าแผลลึก และกว้างมากจนมีรูหนองที่เชื่อต่อกันหลาย ๆ รู เรียกว่า Carbuncles หรือฝีฝักบัวนั่นเอง ซึ่งมักจะมีใช้ร่วม ด้วย เนื่องจากการอักเสบที่มากขึ้น
  • 5. 5โรคเรื้อรังที่พบบ่อย รายวิชาครอบครัวศึกษา การรักษา ในขั้นต้นหากมีอาการ ให้ใช้ยาทาฆ่าเชื้อ 1% Clindamycin ทาบริเวณแผลวันละ 2-3 ครั้ง สาหรับ Furuncies และ Carbuncles จาเป็นต้องผ่าระบายหนองออก และใช้ยา Dicloxacillin รับประทาน ร่วมด้วย ไฟลามทุ่ง (Erysipelas) เป็นการอักเสบของผิวหนังร่วมกับหลอดน้าเหลือง เริ่มจากตุ่มแดงแล้วกระจายลามออกไปอย่าง รวดเร็วแผลมีสีแดงจัด กดเจ็บ ผิวบริเวณนั้นยกขึ้นมาจากบริเวณที่ปกติอย่างชัดเจน ผู้ป่วยจะมีใช้ร่วมด้วย การรักษา รับประทานยา Dicloxacillin ประมาณ 5-7 วัน ร่วมกับการประคบร้อน ผิวหนังอักเสบ (Cellulitis) เป็นการอักเสบของเนื้อเยื่อชั้นหนังแท้และลึกลงไปยังชั้นได้ผิวหนัง ลักษณะเป็นผื่นแดงจัด ลามอย่าง รวดเร็ว กดเจ็บและออกร้อน แยกจากไฟลามทุ่งได้จากขอบเขตที่ไม่ชัดเจน มักพบว่ามีอาการใช้และต่อม น้าเหลืองโตร่วมด้วย พบได้บ่อยในรายที่ประสบอุบัติเหตุ ผู้ป่วยเบาหวาน อ้วน หรือติดสุรา การรักษา รับประทานยา Dicloxacillin ประมาณ 5-7 วัน ร่วมกับการประคบร้อน ข้อควรระวัง ไฟลามทุ่งและโรคผิวหนังอักเสบ เป็นโรคที่มีความรุนแรงมากขึ้น เชื้อจะแพร่กระจายเข้า สู่กระแสเลือดได้ง่าย ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์ 2. โรคผิวหนังอักเสบจากเชื้อรา เชื้อราเป็นเชื้ออีกกลุ่มที่พบได้ทั่วไปในทุกภูมิอากาศ แต่มักก่อโรคในสภาวะที่อับชื้น และพบได้มากขึ้น ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานต่า หรือกินยาปฏิชีวนะนาน ๆ หรือเป็นเบาหวาน เป็นต้น โรคติดเชื้อผิวหนังที่เกิด จากเชื้อราที่รู้จักและเป็นกันมาก ได้แก่ กลาก ธรรมชาติของราชนิดนี้มักเกิดขึ้นในบริเวณที่มีเคอราติน ซึ่งเป็นโปรตีนโครงสร้างชนิดหนึ่ง พบที่ ผิวหนัง เล็บ ขน และผม อาการที่เกิดขึ้นจะแตกต่างกันไปตามอวัยวะที่ติดเชื้อ อาทิ กลากที่ผิวหนัง เช่น ลาตัว แขน ขา รักแร้ ขาหนีบ ผื่นจะเป็นตุ่มแดงเล็ก ๆ แล้วขยายวงกว้างออก เรื่อย ๆ ขอบนูนแดง มีขุยสีขาว คันมาก กลากที่ง่ามเท้า เรียกว่าฮ่องกงฟุต หรือน้ากัดเท้า ผิวหนังบริเวณนั้นจะเป็นแผ่นขาวยุ่ย ลอกออกเป็น แผ่นได้ส่งกลิ่นเหม็นและคันมาก กลากที่เล็บ มักเกิดบริเวณข้างเล็บเข้ามา จะเห็นเป็นสีน้าตาล หรือขาวขุ่น ด้าน ขรุขระ หรืออาจ เปื่อยยุ่ยได้ ไม่มีอาการเจ็บหรือคัน แต่มักเป็นเรื้อรัง กลากที่หนังศีรษะ ผื่นเป็นวงเหมือนที่เกิดตามลาตัว แต่พบร่วมกับอาการผมร่วงเป็นหย่อม ๆ เส้นผม หัก ซึ่งเกิดจากเชื้อราทาลาย การรักษา สาหรับแผลเฉพาะที่เพียงใช้ยาฆ่าเชื้อทาจนแผลหาย อาจจะประมาณ 4-8 สัปดาห์ ขึ้นอยู่ กับบริเวณที่ติดเชื้อ แต่ถ้าแผลกว้างมาก เป็นหลายจุด หรือผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันต่า อาจใช้วิธีรับประทานยาฆ่าเชื้อ แทน
  • 6. 6โรคเรื้อรังที่พบบ่อย รายวิชาครอบครัวศึกษา เกลื้อน เชื้อราชนิดนี้โดยปกติอาศัยอยู่ที่รูขุมขนของทุกคน โดยได้ไขมันจากรูขุมขนเป็นอาหาร ต่อเมื่อภูมิ ต้านทานลดลง จึงทาให้เกิดโรค โดยมีลักษณะเป็นต่างขาว มีขุยขอบเขตชัดเจน หรือบางคนอาจเป็นสีเข้มขึ้นก็ ได้ แต่มักไม่มีอาการอื่น บริเวณที่พบมาก ได้แก่ ส่วนที่มีต่อมไขมันมาก เช่น ใบหน้า คอ หน้าอก หลัง การรักษา มีทั้งยาทา ยาสระหรือสบู่ ใช้แค่ 3-5 วัน และซ้าทุกเดือน รวมไปถึงยากินในรายที่มีอาการ มาก และต้องใช้อย่างต่อเนื่องจนครบกาหนด แต่ด่างขาวที่เกิดขึ้นอาจต้องรอจนเซลล์ผิวสร้างเม็ดสีขึ้นมาใหม่ จึงจะหายไป ถึงแม้ว่าเชื้อจะถูกกาจัดไปหมดแล้วก็ตาม การป้องกัน วิธีที่ดีที่สุดคือ การหมั่นดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายอย่างสม่าเสมอ ต้องแยกเสื้อผ้า รวมทั้งอุปกรณ์ของใช้ออกจากผู้อื่นเพื่อป้องกันการติดต่อ 3. โรคผิวหนังอักเสบจากเชื้อไวรัส ไวรัสเป็นเชื้อกลุ่มใหญ่อีกกลุ่มที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อในทุกระบบ รวมไปถึงการติดเชื้อที่ผิวหนัง เชื่อว่า หลายท่านคงเคยเป็น หรือมีคนใกล้ตัวเป็นโรคเหล่านี้กันบ้างแน่ ๆ และไม่ต้องแปลกใจนะครับ หากพบว่าเป็น โรคเหล่านี้อยู่บ่อย ๆ เพราะเป็นธรรมชาติของไวรัส ซึ่งเมื่อร่างกายได้รับเชื้อมาแล้วจะมีการสร้างภูมิคุ้มกันต่อ ตัวเชื้อเพื่อพยายามกาจัด และปกป้องตนเองไม่ให้เป็นโรค แต่ตัวเชื้อก็จะยังคงหลบซ่อนและอาศัยอยู่ใน ร่างกายนี่ล่ะครับ จนวันดีคืนดีเมื่อภูมิต้านทานต่าลงก็จะเกิดอาการของโรคขึ้นมาได้ โรคติดเชื้อผิวหนังจากเชื้อ ไวรัสที่สาคัญ ได้แก่ เริม (Herpes Simplex) เชื้อเริมเป็นตัวอย่างที่ดีครับว่าสามารถเป็นได้อยู่บ่อย ๆ ถ้าร่างกายอ่อนแอลง เช่น อดนอน ทางาน หนัก เครียด เชื้อนี้มีด้วยกัน 2 ชนิด มักทาให้เกิดอาการในบริเวณที่แตกต่างกันคือ เชื้อชนิดที่ 1 (Herpes Simplex Vinus2) มักเกิดบริเวณปากและผิวหนังเหนือสะดือขึ้นไป ถ้าเกิดที่ ปากเรียกว่า Herpes Labialis ไม่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แต่ติดจากการดื่มน้าหรือทานอาหารร่วมกัน เชื้อชนิดที่ 2 (Hepes Simplex Virus2) มักเกิดบริเวณอวัยวะเพศ เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ลักษณะของแผลเริมคือ เป็นตุ่มน้าพองใสเล็ก ๆ ขึ้นเป็นกลุ่ม เมื่อแตกออกจะเป็นแผลตื้น ๆ อยู่บน ฐานสีแดง เจ็บและแสบมาก โดยปกติโรคจะดาเนินไปจนหายเองภายใน 10 วัน แต่มีโอกาสเกิดซ้าถึง 40 เปอร์เซ็นต์ หรืออาจใช้ยา Acyclovir รับประทานต่อเนื่อง 1 สัปดาห์ งูสวัด (Herpes Zoster) เชื้อก่อโรคคือ Hepes Varicella Zoster คือเชื้อชนิดเดียวกับที่ทาให้เกิดโรคสุกใส แผลที่เกิดขึ้นจึงมี ลักษณะเดียวกันคือตุ่มพองใสบนฐานแดง ขึ้นชิดกัน มักกลายเป็นหนองแห้ง และตกสะเก็ดภายใน 10 วัน ลักษณะที่ต่างจากสุกใส คือ ผื่นจะขึ้นเป็นแนวตามแนวของเส้นประสาท มีไข้ และอ่อนเพลียร่วมด้วย หลายคน ถามว่าจริงหรือไม่ ที่บอกว่า ถ้างูสวัดพันครบรอบแล้วจะเสียชีวิต ก็อาจเป็นได้นะครับ เพราะภูมิคุ้มกันของ ผู้ป่วยต้องต่ามากจริง ๆ เชื้อถึงแพร่กระจายเร็ว การรักษา รับประทานยา Acyclovir ตามแพทย์สั่ง
  • 7. 7โรคเรื้อรังที่พบบ่อย รายวิชาครอบครัวศึกษา หูด (Wart) หูดคือก้อนที่ผิวหนัง อาจจะผิวเรียบ หรือขรุขระ สีขาว ชมพู หรือน้าตาล เกิดขึ้นบริเวณใดก็ได้ แต่มัก พบบ่อยที่นิ้วมือ แขน ขา เกิดจากเชื้อ Human Papilloma Vinus หูดมีลักษณะที่ต่างกันออกไปในแต่ละชนิด คือ Verrucus Vulgairs หูดธรรมดา เป็นเม็ดเดียว หรือหลายเม็ด ขรุขระ กระจายทั่วไป มักพบบ่อยที่ บริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้า Verrucus Plana หูดราบ เป็นเม็ดผิวแบนราบ สีเดียวกับผิวหนัง มักพบที่บริเวณใบหน้า Condyloma Accuminata หูดหงอนไก่ เป็นติ่งเนื้อนุ่ม สีชมพู พบที่อวัยวะเพศ Plantar Wart เป็นเม็ดแข็ง ขึ้นที่ได้ฝ่าเท้า Filitorm and Digitate Wart เป็นติ่งยื่นออกจากผิวหนัง พบบ่อยที่คอและใบหน้า การรักษา มีหลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับชนิดของหูด แต่ที่พบบ่อยที่สุดอย่าง Verrucus Vulgaris มัก รักษาด้วยการจี้ด้วยกรดซาลิไซลิก จี้ไฟฟ้าหรือผ่าตัดออก ทั้งหมดที่กล่าวมานี้คือโรคผิวหนังอักเสบชนิดที่เกิดจากการติดเชื้อครับ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นชนิดใด หลักการสาคัญในการป้องกันก็คือ หมั่นดูแลรักษาสุขอนามัยของผิวหนังให้สะอาดอยู่เสมอ และที่สาคัญ มากกว่านั้น ก็คือ หากพบว่ามีแผล หรืออาการผิดปกติของผิวหนัง ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทาการรักษาทันที ไม่ควรปล่อยให้เชื้อลุกลาม เพราะจะทาให้การรักษายากขึ้น หรืออาจเกิดโรคแทรกซ้อนตามมาได้ โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ หมายถึง การเกิดการอักเสบของระบบขับปัสสาวะ ซึ่งเริ่มตั้งแต่ท่อ ปัสสาวะจนถึงไต สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อโรคแถวบริเวณท่อปัสสาวะ ระบบทางเดินปัสสาวะของคนเรา ประกอบด้วย ไต(kidney) ท่อไต (ureter) 2 ข้าง กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ (urethra) ไตทาหน้าที่ กรองของเสียออกในรูปปัสสาวะ นาออกท่อไต ไป กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ ภาวะติดเชื้อทางเดิน ปัสสาวะเป็นปัญหาที่พบบ่อย ทั้งในผู้ใหญ่ และเด็ก ผู้หญิงจะพบบ่อยกว่าผู้ชาย 8-10 เท่าประมาณว่าคุณ ผู้หญิง1ใน 5 คนเป็นคนที่เคยเป็นโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ แพทย์บางท่านวินิจฉัยการติดเชื้อทางเดิน ปัสสาวะว่าติดเชื้อทางเดินปัสสาวะส่วนบน หรือส่วนล่าง โดยทั่วไปการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะส่วนบนมักจะมี ไข้ หนาวสั่น แต่ทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง มักจะไม่มีไข้ ระบบทางเดินปัสสาวะแบ่งออกเป็น  ระบบทางเดินปัสสาวะตอนบน (Upper urinary tract) หมายถึงไต และท่อไต  ระบบทางเดินปัสสาวะตอนล่าง (Lower urinary tract) หมายถึง กระเพาะปัสสาวะ และท่อ ปัสสาวะการตอดเชื้อทางเดินปัสสาวะส่วนบนจะหมายถึงกรวยไตอักเสบ ส่วนการติดเชื้อทางเดิน ปัสสาวะส่วนล่างหมายถึง กระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือท่อปัสสาวะอักเสบ สาเหตุของทางเดินปัสสาวะอักเสบ ปัสสาวะปกติจะประกอบด้วยน้า และเกลือ ไม่มีเชื้อโรค การติดเชื้อเกิดเมื่อมีเชื้อโรคมาจากทางเดิน อาหาร หรือจากอุจาระ มาทางท่อปัสสาวะ ทาให้ท่อปัสสาวะอักเสบ เรียก Urethritis หากเชื้อลามเข้า กระเพาะปัสสาวะเรียกกระเพาะปัสสาวะอักเสบ Cystittis หากเชื้อลามเข้าท่อไต และกรวยไตทาให้เกิดกรวย ไตอักเสบ Pyelonephritis
  • 8. 8โรคเรื้อรังที่พบบ่อย รายวิชาครอบครัวศึกษา เชื้อที่เป็นสาเหตุสาคัญคือ E coli เป็นเชื้อที่มาจากอุจาระเชื้อที่พบรองลงมาได้แก่ Staphylococcus นอกจากนั้นยังพบเชื้อที่เกิดจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น Clamydia และ Mycoplasma ก็สามารถทา ให้เกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เชื้อดังกล่าวเกิดจากเพศสัมพันธ์จะต้องรักษาทั้งคู่ ใครมีโอกาสเกิดโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ  ผู้ที่มีนิ่วทางเดินปัสสาวะ  ผู้ที่มีต่อมลูกหมากโตเพราะก่อให้เกิดการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ  ผู้ที่คาสายสวนปัสสาวะ  ผู้ที่ระบบประสาทควบคุมการปัสสาวะเสียมีภาวะที่กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือ ปัสสาวะแต่ละครั้งไม่หมด เช่นโรคเบาหวาน ประสาทไขสันหลังอักเสบมีโรคที่ภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่า ร่างกายจึงติดเชื้อได้ง่าย เช่น โรคเบาหวาน โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต เพราะจะมีปัญหาในการถ่ายปัสสาวะ มักเกิดการแช่ค้างของ ปัสสาวะ แบคทีเรียในปัสสาวะจึงเจริญเติบโตได้ดี  การนั่งนานๆ เช่น เมื่อรถติดมาก การกลั้นปัสสาวะนานๆ เพราะส่งผลให้เกิดการแช่คั่งของปัสสาวะ เชื้อโรคในปัสสาวะจึงเจริญได้ดีผู้หญิงมีโอกาสเกิดทางเดินปัสสาวะอักเสบได้ง่ายกว่าผู้ชาย เนื่องจาก ท่อปัสสาวะของผู้หญิงสั้น เชื้อโรคบริเวณปากท่อปัสสาวะ จึงเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะได้ง่าย และตาแหน่งที่เปิดอยู่ใกล้กับทวารหนัก และช่องคลอดทาให้เชื้อลุกลามมาที่ท่อปัสสาวะได้ง่าย ช่วงมีประจาเดือน บริเวณปากช่องคลอดและท่อปัสสาวะจะมีเชื้อแบคทีเรียมากจึงเกิดการติดเชื้อได้ง่าย การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เช่นช่วงการตั้งครรภ์หรือวัยทองจะทาให้ติดเชื้อได้ง่าย ภาวะตั้งครรภ์ มดลูกมีการกดทับกระเพาะปัสสาวะ ทาให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย  วัยเจริญพันธ์มีกิจกรรมทางเพศทาให้เกดการติดเชื้อได้ง่าย  การคุมกาเนิดโดยการใช้ยาฆ่าเชื้ออสุจิ หรือการใช้ฝาครอบซึ่งไม่สะอาดจะเป็นปัจจัยเสี่ยงทาให้เกิด การติดเชื้อ ผู้ทางเดินปัสสาวะอักเสบจะมีอาการอะไรบ้าง  ผู้ที่ท่อปัสสาวะอักเสบ Urethritis จะมีอาการปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะจะสุดแล้วมีอาการปวด บางรายมี คราบหนองติดกางเกงใน  ผู้ที่มีกระเพาะปัสสาวะอักเสบจะมีอาการปวดหน่วงๆท้องน้อย ปัสสาวะออกครั้งละน้อยๆ ปวดมาก เมื่อปัสสาวะจะสุด บางรายมีเลือดปนและเลือดออก  ผู้ที่มีกรวยไตอักเสบ Pyelonephritis จะมีอาการเหมือนกระเพาะปัสสาวะอักเสบ แต่จะมีไข้ ปวดเอว ปัสสาวะขุ่น การวินิจฉัยทางเดินปัสสาวะอักเสบ หากท่านมีอาการเหมือนทางเดินปัสสาวะอักเสบ แพทย์จะสั่งให้เก็บปัสสาวะไปตรวจ โดยก่อนการ เก็บปัสสาวะจะต้องทาความสะอาดบริเวณนั้น แล้วจึงเก็บปัสสาวะช่วงกลางๆของปัสสาวะ บางรายอาจจะต้อง เก็บปัสสาวะโดยการใส่สายสวนปัสสาวะ เพื่อให้ได้ปัสสาวะที่สะอาด และนาไปเพาะเชื้อเพื่อหาสาเหตุ แพทย์ จะนาปัสสาวะไปตรวจหาเม็ดเลือดขาว และเม็ดเลือดแดง และเพาะเชื้อ
  • 9. 9โรคเรื้อรังที่พบบ่อย รายวิชาครอบครัวศึกษา ถ้าท่านติดเชื้อทางเดินปัสสาวะบ่อย หรือหลังการรักษาแล้วไม่หาย แพทย์จะตรวจไตโดยการฉีดสีเข้าเส้นเลือด และให้สีขับออกทางไต [intravenous pyelography IVP] หรือนัดตรวจ ultrasound ที่ไตซึ่งจะได้ภาพของ ไต บางรายแพทย์จะส่งตรวจ cystoscope คือการใช้กล้องส่องเข้าไปดูในกระเพาะปัสสาวะ การรักษาทางเดินปัสสาวะอักเสบ ผู้ป่วยที่มีอาการไม่นาน ไม่มีไข้ ไม่ปวดเอว ไม่มีโรคประจาตัว อาจจะเลือกใช้ยา trimethoprim/ sulfamethoxazole,amoxicillin,ampicillin,ofloxacin,norfloxacin,ciprofloxacin โดยทั่วไปอาจจะรักษา 1-2 วันก็ทาให้หายได้ แต่แพทย์มักจะแนะนาให้รับประทานยาให้ครบ 7 วัน เพื่อให้แน่ใจว่าหายขาด การรักษา 1-2 วันไม่ควรใช้ในผู้ป่วยที่เป็นมานาน มีอาการรุนแรง หรือมีโรคประจาตัวเช่นเบาหวาน หรือต่อมลูกหมากโต ผู้ที่มีอาการมาก มีไข้สูง ปวดเอวมาก ควรจะรับไว้ในโรงพยาบาล และให้ยาปฏิชีวนะเข้าทางหลอดเลือด ผู้ป่วยที่เป็นหญิงและมีทางเดินปัสสาวะอักเสบซ้า Recurrent Infections in Women หมายถึงเป็นทางเดิน ปัสสาวะอักเสบมากกว่า 3 ครั้งใน 1 ปี ประมาณว่า 4/5 ของผู้ป่วยจะเป็นทางเดินปัสสาวะอักเสบอีกใน 18 เดือน ดังนั้นจึงต้องป้องกันโดยรับประทานยา trimethoprim/sulfamethoxazole เป็นเวลา 6 เดือน รับประทานยาปฏิชีวนะหลังมีเพศสัมพันธ์ ให้ยาปฏิชีวนะ 1-2 วันเมื่อมีอาการ วิธีป้องกันการติดเชื้อซ้้า  ดื่มน้าให้มากเข้าไว้ ดื่มน้าสะอาดให้มากกว่าเดิม อย่างน้อยวันละ 8-10แก้ว  ห้ามกลั้นปัสสาวะ  ให้เช็ดก้นจากหน้าไปหลัง  ให้ทาความสะอาดอวัยวะเพศก่อนที่จะมีกิจกรรมทางเพศ  พยายามเคลื่อนไหวร่างกายเสมอ ไม่นั่งนานๆ เช่น เมื่อรถติดมาก  งดใช้ spray และการใช้สายสวน  สวมใส่กางเกงในเป็นผ้าฝ้าย100% ไม่รัดแน่นเกินไป เพิ่มการระบายอากาศไม่ให้บริเวณนั้นอับชื้น  ควรจะอาบน้าจากฝักบัว  ไม่ใช้ยาดับกลิ่นบริเวณอวัยวะเพศ  ให้ปัสสาวะก่อนและหลังการมีเพศสัมพันธ์ จะช่วยลดปริมาณเชื้อโรคในปัสสาวะลง  การคลิบอวัยวะเพศจะลดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะไม่ใช่โรคติดต่อ โรคกระเพาะอาหาร ลักษณะทั่วไป คาว่า "โรคกระเพาะ" ตามความหมายของแพทย์ หมายถึง แผลที่เกิดบนเยื่อบุกระเพาะอาหาร (stomach) หรือลาไส้เล็กส่วนต้นหรือดูโอดีนัม (duodenum) ตรงกับคาว่า แผลเพ็ปติก (Peptic ulcer) แต่ เนื่องจากเรามักจะวินิจฉัย ผู้ที่มีอาการปวดท้องตรงยอดอกหรือใต้ลิ้นปี่ที่เกิดก่อนหรือหลังกินอาหารว่าเป็น "โรคกระเพาะ" โดยไม่มีการตรวจยืนยันด้วยการส่องกล้องตรวจ หรือเอกซเรย์โดยการกลืนแป้งแบเรียม ดังนั้น จึงมีความหมาย ครอบคลุมกว้างขวางมากกว่า แผลเพ็ปติกเพียงอย่างเดียว และคงใกล้เคียงกับความหมายของ
  • 10. 10โรคเรื้อรังที่พบบ่อย รายวิชาครอบครัวศึกษา คาว่า "อาหารไม่ย่อย" ซึ่งมีสาเหตุอันหลากหลายดังนั้นในที่นี้ จะขอใช้คาว่า แผลเพ็ปติก เมื่อกล่าวถึงโรค แผลที่ลาไส้เล็กส่วนต้นหรือแผล ดียู (Duodenal ulcer/DU) และโรคแผลที่กระเพาะอาหาร หรือแผลจียู (Gastric ulcer/GU) แผลเพ็ปติก เป็นโรคที่พบได้บ่อย ประมาณ 10-20% ของคนทั่วไปจะมีโอกาสเป็นโรคนี้ ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต แผลที่ลาไส้เล็กส่วนต้น (ดียู) พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ประมาณ 2-4 เท่า และพบ มากในช่วงอายุประมาณ 30-55 ปี ขณะที่แผลที่กระเพาะอาหาร พบในผู้ชายพอ ๆ กับผู้หญิง และพบในช่วง อายุประมาณ 55-70 ปี แต่ทั้ง 2 โรคนี้ก็สามารถพบได้ในคนทุกวัย สาเหตุ แผลเพ็ปติก เกิดจากความเสียสมดุลระหว่าง ปริมาณกรดที่หลั่งในกระเพาะอาหาร กับความ ต้านทานต่อกรดของเยื่อบุกระเพาะอาหารและลาไส้ ถ้าหากมีการหลั่งกรดมากเกิน หรือความต้านทานต่อกร ดลดลง ก็ทาให้เกิดแผลเพ็ปติกขึ้นได้ ในปัจจุบัน พบว่าสาเหตุสาคัญของการเกิดแผลเพ็ปติก ได้แก่ 1. การติดเชื้อเอชไพโลไร (H. pylori) ซึ่งเป็นแบคทีเรียแกรมลบ สันนิษฐานว่า ติดต่อโดยการกิน อาหาร หรือน้าดื่มที่ปนเปื้อนเชื้อจากอุจจาระของผู้ติดเชื้อ แล้วเข้าไปฝังตัวอยู่ใต้เยื่อบุกระเพาะ ในระยะแรก อาจทาให้เกิดกระเพาะอาหารอักเสบ ซึ่งจะเป็นเรื้อรังนานเป็นแรมปี หรือนับเป็นสิบ ๆ ปี ต่อมา ทาให้ กลายเป็นแผลที่ลาไส้เล็กส่วนต้น (พบเชื้อนี้ในผู้ที่เป็นแผลชนิดนี้ ถึง 95-100%) และแผลที่กระเพาะอาหาร (พบเชื้อนี้ในผู้ที่เป็นแผลชนิดนี้ถึง 75-85%) ในการติดตามผลการรักษาผู้ป่วยแผลเพ็ปติกด้วยการส่องกล้อง ตรวจกระเพาะอาหารและลาไส้ พบว่า การรักษาโรคแผลเพ็ปติกโดยวิธีดั้งเดิม (ให้ยาลดกรด และยาลดการ สร้างกรดนั้น ผู้ป่วยจะมีแผลกาเริบถึง 70-85% ใน 1 ปี แต่ในกลุ่มที่ได้ยาปฏิชีวนะกาจัดเชื้อเอชไพโลไร ตามวิธีการรักษาแนวใหม่ จะมีแผลกาเริบน้อยกว่า 5% ใน 1 ปัดังนั้นในวงการแพทย์ปัจจุบัน จึงยอมรับว่าเชื้อ นี้เป็นตัวการสาคัญของโรคแผลเพ็ปติก ถึงแม้จะยังไม่มีความชัดเจน ในกลไกของการทาให้เกิดแผลเพ็ปติก จากเชื้อนี้ก็ตาม (บ้างสันนิษฐานว่า เชื้อชนิดนี้ ทาให้กลไกในการต้านทานต่อกรดของเยื่อบุกระเพาะอาหาร ลดลง) 2. การใช้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ ได้แก่ แอสไพริน และกลุ่มยาแก้ปวดข้อ (เช่น อินโดเมทา ซิน, ไอบูโพรเฟน, นาโพรเซน ฯลฯ) พบว่าผู้ที่ใช้ยากลุ่มนี้เป็นประจา จะมีโอกาสเป็น แผลที่กระเพาะอาหาร 10-30% และแผลที่ลาไส้ส่วนต้น 2-20% และมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เลือดออก แผลทะลุ มากกว่าผู้ที่ไม่ได้ใช้ยากลุ่มนี้ถึง 3 เท่า ประมาณ 1-2% ของผู้ใช้ยากลุ่มนี้เป็นประจา จะเกิดภาวะ แทรกซ้อนภายใน 1 ปี ยานี้จะระคายต่อเยื่อบุกระเพาะอาหารโดยตรง และทาลายกลไกในการต้านทาน ต่อกรด ของเยื่อบุกระเพาะอาหารและลาไส้ กลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิดแผลเพ็ปติกจากยากลุ่มนี้ ได้แก่ ผู้สูงอายุ, ผู้ ที่ใช้ยากลุ่มนี้ในขนาดสูง, ผู้ที่ใช้ยากลุ่มนี้นาน ๆ, ผู้ที่ใช้ยากลุ่มนี้ร่วมกับสเตอรอยด์, ผู้ที่มีประวัติเป็นแผลเพ็ป ติกมาก่อน, ผู้ที่มีภาวะเจ็บป่วยรุนแรง 3. ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ บางอย่างอาจมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคนี้ แต่บางอย่างอาจไม่มีความสัมพันธ์ โดยตรง เช่น - ประวัติการมีญาติพี่น้องเป็นแผลเพ็ปติก (อาจเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์) ทาให้มีโอกาสเป็นโรคนี้มากขึ้น เป็น 3 เท่า - การสูบบุหรี่ เพิ่มโอกาสของการเป็นแผลที่ลาไส้เล็กส่วนต้น ทาให้การรักษาได้ผลช้า และทาให้เกิดภาวะ แทรกซ้อนได้มากขึ้น - ผู้ที่มีเลือดกลุ่มโอ อาจเสี่ยงต่อการเป็นแผลที่ลาไส้เล็กส่วนต้นมากกว่าปกติ
  • 11. 11โรคเรื้อรังที่พบบ่อย รายวิชาครอบครัวศึกษา - ความเครียดทางอารมณ์ ยังไม่มีข้อสรุปชัดเจนว่า เป็นสาเหตุของการเกิดแผลเพ็ปติกโดยฃตรง แต่เป็น ปัจจัยที่ทาให้ผู้ป่วยโรคนี้เป็นแผลกาเริบได้ - แผลที่ลาไส้เล็กส่วนต้น ยังอาจพบร่วมกับโรคอื่น ๆ เช่น ภาวะต่อมพาราไทรอยด์ทางานมากเกิน (Hyperparathyroidism) ซึ่งจะมีภาวะแคลเซียมสูง และแคลเซียมกระตุ้นให้กระเพาะ อาหารหลั่งกรดมาก, กลุ่มอาการซอลลิงเกอร์-เอลลิสัน (Zollinger-Ellison syndrome) ซึ่ง เป็นเนื้องอกในตับอ่อนและลาไส้เล็กส่วนต้น ทาให้มีการหลั่งกรดและน้าย่อยมากเกิน, ภาวะไตวาย เรื้อรัง, ตับแข็งจากพิษแอลกอฮอล์, ถุงลมพอง เป็นต้น - แอลกอฮอล์ (ซึ่งเป็นสาเหตุของกระเพาะอักเสบชนิดเยื่อบุกร่อน ทาให้มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร) สเตอรอยด์และกาเฟอีน ยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่าเป็นสาเหตุของแผลเพ็ปติกโดยตรง แต่ก็อาจทาให้ ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้เป็นแผลกาเริบได้ จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้สารเหล่านี้ในผู้ป่วยแผลเพ็ปติก - อาหารทุกชนิด ไม่เป็นสาเหตุโดยตรงของการเกิดแผลเพ็ปติก แต่ถ้ากินแล้วทาให้มีอาการกาเริบ (เช่นอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด น้าส้ม น้าผลไม้) ก็ควรจะหลีกเลี่ยง อาการ มักมีอาการปวดท้องเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง ตรงบริเวณกลางยอดอก หรือใต้ลิ้นปี่ บางคนอาจค่อนมา ทางขวาหรือซ้ายก็ได้ เวลาที่ปวดมักจะสัมพันธ์กับมื้ออาหาร เช่น ก่อนหรือหลังอาหาร ลักษณะการ ปวด อาจปวดแสบ ปวดตื้อ จุกเสียด หรือมีความรู้สึกหิวข้าวก่อนเวลาอาหาร บางครั้งอาจมีอาการ คลื่นไส้อาเจียน หรือเรอเปรี้ยวร่วมด้วย ในผู้ป่วยที่มีแผลที่ลาไส้เล็กส่วนต้น มักมีอาการปวดท้อง หลังอาหาร ประมาณ 1-3 ชั่วโมง หรือขณะท้องว่าง โดยมากจะเริ่มปวดตอนสาย ๆ หลังกินข้าวแล้ว จะปวดมากขึ้น ในช่วงบ่าย ๆ เย็น ๆ และอาจปวดมากตอนดึก ๆ จนต้องตื่นนอนหรือนอนไม่หลับ อาการปวดมักจะดีขึ้น ทันทีหลังกินอาหาร ดื่มนม กินยาลดกรด หรืออาเจียน ถ้าแผลลุกลามไปที่ตับอ่อนอาจทาให้มีอาการปวดหลัง ร่วมด้วย และไม่หายปวดท้องหลังกินอาหาร ในผู้ป่วยที่มีแผลที่กระเพาะอาหาร มักมีอาการปวดท้องหลัง อาหาร ประมาณ 1/2-1 ชั่วโมง บางคนอาจมีอาการเบื่ออาหาร(ไม่อยากกิน เพราะกลัวปวดท้อง) และน้าหนัก ลด อาการปวดท้องมักเป็นอยู่นานหลายสัปดาห์ แล้วอาจหายไปได้เอง แต่ก็มักจะมีอาการกาเริบภายใน 1-2 ปี เป็นส่วนใหญ่อย่างไรก็ตาม ลักษณะอาการของผู้ป่วยแผลที่ลาไส้เล็กส่วนต้น กับแผลที่กระเพาะอาหาร บางครั้งก็อาจจะแยกกันไม่ได้ชัดเจนเช่น อาการปวดท้องตอนดึก ก็อาจเกิดในผู้ป่วยแผลที่กระเพาะอาหารก็ได้ เช่นกัน ผู้ป่วยบางคนอาจเป็นแผลเพ็ปติกโดยไม่มีอาการแสดงก็ได้ เช่น พบว่า กลุ่มที่เป็นแผลจาก ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ มีประมาณ 50% ที่ไม่ปรากฏอาการ หรือผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อน (เช่น ถ่ายดา) โดยไม่มีอาการปวดท้องมาก่อนก็ได้ การวินิจฉัยที่แน่นอน ต้องอาศัยการส่องกล้องตรวจ กระเพาะอาหารและลาไส้ หรือเอกซเรย์โดยการกลืนแป้งแบเรียม สิ่งตรวจพบ ส่วนมากมักตรวจไม่พบสิ่งผิดปกติอะไร บางคนอาจรู้สึกกดเจ็บเล็กน้อย ตรงบริเวณลิ้นปี่ ในรายที่มีเลือดออก (เช่น ถ่ายดา) อาจตรวจพบอาการซีด อาการแทรกซ้อน ถ้าปล่อยให้เป็นเรื้อรัง อาจมีอาการแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้ ที่พบบ่อย ก็คือ ภาวะเลือดออกใน กระเพาะอาหาร หรือ ลาไส้เล็กส่วนต้น ผู้ป่วยจะมีอาการอาเจียนเป็นเลือด หรือถ่ายอุจจาระดาส่วนมากเลือด จะออกไม่มากและหยุดได้เอง ส่วนน้อยอาจมีเลือดออกมาก จนบางครั้งเกิดภาวะช็อก ถ้าเลือดออกเรื้อรัง ก็
  • 12. 12โรคเรื้อรังที่พบบ่อย รายวิชาครอบครัวศึกษา อาจเกิดภาวะโลหิตจางจากภาวะขาดธาตุเหล็กได้ บางรายแผลอาจกินลึกจนเป็นรูทะลุเรียกว่า แผลเพ็ปติก ทะลุ (Peptic perforation) ซึ่งอาจทาฃให้มีเยื่อบุช่องท้องอักเสบร่วมด้วยได้ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องรุนแรง และหน้าท้องแข็ง ควรได้รับการผ่าตัด แก้ไขโดยด่วน บางรายอาจมีภาวะกระเพาะหรือลาไส้ตีบตัน มีอาการ ปวดท้องรุนแรง อาเจียนรุนแรง และท้องผูกในรายที่แผลกินลึกไปถึงตับอ่อน อาจทาให้มีอาการปวดหลัง หรือ มีอาการของตับอ่อนอักเสบร่วมด้วย ผู้ที่เป็นแผลที่กระเพาะอาหารเรื้อรังจากเชื้อเอชไพโลไร ก็อาจมีโอกาส กลายเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร ได้ การรักษา 1. ถ้ามีอาการอาเจียนเป็นเลือดหรือถ่ายดา ควรส่งโรงพยาบาลภายใน 24 ชั่วโมง (ถ้ามีอาการหน้ามืด เป็นลม หรือช็อก ควรส่งโรงพยาบาลทันที) ถ้าเสียเลือดมาก อาจต้องให้เลือดแล้วทาการตรวจหาสาเหตุและให้ การรักษาตามสาเหตุที่พบ 2. ถ้ามีอาการปวดท้องรุนแรง ปวดท้องติดต่อกันนานเกิน 6 ชั่วโมง อาเจียนรุนแรง หรือมีอาการท้อง แข็งควรส่งโรงพยาบาลด่วน ถ้าตรวจพบว่ามีภาวะแผลเพ็ปติกทะลุ หรือ กระเพาะหรือลาไส้ตีบตัน จาเป็นต้อง ผ่าตัดด่วน 3. ถ้ามีอาการปวดแสบ หรือจุกเสียดตรงใต้ลิ้นปี่ก่อนหรือหลังอาหาร หรือตอนดึก ๆ เป็นครั้งแรก ให้ ยาลดกรด ร่วมกับยาลดการสร้างกรด-ไซเมทิดีน นาน 2 สัปดาห์ ถ้าดีขึ้นกินต่อจนครบ 6-8 สัปดาห์ ถ้าไม่ดี ขึ้น หรือมีอาการกาเริบ หรือน้าหนักลด ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจหาสาเหตุในการวินิจฉัยแผล เพ็ปติก จาเป็นต้องอาศัยการตรวจพิเศษ เช่น การส่องกล้อง (endoscope) ตรวจดูกระเพาะอาหาร และลาไส้, การเอกซเรย์กระเพาะลาไส้โดยการกลืนแป้งแบเรียม, การตัดชิ้นเนื้อพิสูจน์ (biopsy),การเพาะเชื้อหาเชื้อเอช ไพโลไร เป็นต้น การรักษานอกจากให้ยาลดกรด บรรเทาอาการแล้ว ยังต้องให้ยารักษาแผลเพ็ปติกกลุ่มอื่น ๆ ซึ่งขึ้นกับสาเหตุของ การเกิดโรค ตามแนวทางโดยคร่าว ๆ ดังนี้ ก. แผลเพ็ปติกที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไพโลไร การรักษามีจุดมุ่งหมายเพื่อบรรเทาอาการ ปวดท้องรักษาแผลให้หายและกาจัดเชื้อเอชไพโลไร โดยให้ยาดังนี้ (1) ยาลดการสร้างกรดออกฤทธิ์แรง (กลุ่ม proton pump inhibitors) ได้แก่ โอเมพราโซล (Omeprazole) มีชื่อทางการค้า เช่น โลเซก (Losec), ไมราซิด (Miracid) ครั้งละ 20 มก. (1 แคปซูล) วันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารเช้าและเย็นร่วมกัน (2) ยาปฏิชีวนะ 2 ชนิดร่วมกัน สูตรใดสูตรหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (โดยกินพร้อมอาหาร) (2.1) เมโทรไนดาโซล ครั้งละ 500 มก. วันละ 2 ครั้ง และคลาริโทรไมซิน (Clarithromycin) ครั้งละ 500 มก. วันละ 2 ครั้ง (2.2) อะม็อกซีซิลลิน ครั้งละ 1,000 มก. วันละ 2 ครั้ง และคลาริโทรไมซิน ครั้งละ 500 มก. วันละ 2 ครั้งหรือ (2.3) อะม็อกซีซิลลิน ครั้งละ 1,000 มก. วันละ 2 ครั้ง และเมโทรไนดาโซล ครั้งละ 500 มก. วันละ 2 ครั้ง (2.4) เตตราไซคลีน 500 มก. วันละ 4 ครั้ง และเมโทรไนดาโซล ครั้งละ 250 มก. วันละ 4 ครั้ง ร่วมกับ บิสมัท ซับซาลิไซเลต (Bismuth subsalicylate) ครั้งละ 2 เม็ด วันละ 4 ครั้ง ทั้งหมดนี้ กินทุกวัน ติดต่อกัน นาน 7 วัน หลังจากนั้น ให้กินโอเมพราโซล หรือ ยาต้านเอช-2 (เช่น ไซเมทิดีน, รานิทิดีน) นาน 4-8 สัปดาห์ ข. แผลเพ็ปติกที่ไม่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไพโลไร เป็นแผลเพ็ปติกที่ตรวจไม่พบการอักเสบจากเชื้อ เอชไพโลไร อาจมีสาเหตุจากการใช้ยาแอสไพริน หรือยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ ควรให้การ รักษาด้วยยาชนิดใดชนิดหนึ่ง ดังต่อไปนี้
  • 13. 13โรคเรื้อรังที่พบบ่อย รายวิชาครอบครัวศึกษา (1) โอเมพราโซล 20 มก. วันละครั้ง นาน 4 สัปดาห์ (สาหรับแผลที่ลาไส้เล็กส่วนต้น ที่ไม่มี ภาวะแทรกซ้อน) หรือ 20 มก. วันละ 2 ครั้ง นาน 6-8 สัปดาห์ (สาหรับแผลที่กระเพาะอาหาร หรือแผลเพ็ป ติกที่มีภาวะแทรกซ้อน) (2) ยาต้านเอช-2 เช่น ไซเมทิดีน 800 มก. หรือรานิทิดีน (Ranitidine) 300 มก. วันละครั้ง ก่อนนอน นาน 6 สัปดาห์ (สาหรับแผลที่ลาไส้เล็กส่วนต้นที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน) หรือไซเมทิดีน400 มก. หรือรานิทิดีน 150 มก. วันละ 2 ครั้ง นาน 8-12 สัปดาห์ (สาหรับแผลที่กระเพาะอาหาร) ส่วนแผลเพ็ปติกที่มี ภาวะแทรกซ้อน ไม่แนะนาให้ใช้ยากลุ่มนี้ (3) ซูคราลเฟต (Sucralfate) ซึ่งเป็นยาปกป้องเยื่อบุกระเพาะลาไส้ ให้ครั้งละ 1 กรัม วันละ 4 ครั้ง สาหรับแผลที่ลาไส้เล็กส่วนต้นที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน ค. ในรายที่เป็นเรื้อรัง หรือเคยมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น หรือผู้สูงอายุ หรือยังสูบบุหรี่ อาจจาเป็นต้อง กินยาต้านเอช-2 เช่น ไซเมทิดีน 400-800 มก. หรือรานิทิดีน 150-300 มก. วันละครั้ง ก่อนนอน ทุกวันติดต่อกันไปอีกสักระยะหนึ่ง (3-6 เดือนหรือเป็นปี) และอาจต้องใช้กล้องส่องตรวจ และตัดชิ้นเนื้อพิสูจน์ซ้า จนกว่าแผลจะหายดี ถ้าแผลเรื้อรัง ไม่ยอมหาย อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัด ข้อแนะน้า 1. ผู้ป่วยที่เริ่มให้การรักษาด้วยยารักษาแผลเพ็ปติก ถ้ายังมีอาการปวดท้อง ควรให้ยาลดกรด ช่วยบรรเทา อาการครั้งละ 15-30 มล. เวลามีอาการ ร่วมกับยารักษาแผลเพ็ปติกกลุ่มอื่น ๆ จนกว่าจะหายปวดท้อง 2. สาหรับผู้ป่วย ควรมีข้อปฏิบัติ ดังนี้ 2.1 กินอาหารให้ตรงเวลาทุกมื้อ อย่าปล่อยให้หิว 2.2 งดบุหรี่ แอลกอฮอล์ ชา กาแฟหรือเครื่องดื่มกาเฟอีน น้าอัดลม 2.3 หลีกเลี่ยงการใช้แอสไพริน ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่เสตอรอยด์, ยาสเตอรอยด์ 2.4 อาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด น้าส้ม น้าผลไม้ ถ้ากินแล้วมีอาการปวดท้องกาเริบ ควรงดจนกว่าจะหายดี 2.5 ออกกาลังกายเป็นประจา และหาวิธีผ่อนคลายความเครียด (ถ้าเครียด) 2.6 ควรกินยาอย่างต่อเนื่อง และพบแพทย์ตามนัด การกินยาไม่ต่อเนื่อง อาจทาให้กลายเป็นแผลเรื้อรังและ รักษายาก หรือมีภาวะแทรกซ้อนได้ การป้องกัน ผู้ป่วยที่กินยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดแผลเพ็ปติก (เช่น ผู้สูงอายุ,ผู้ที่ ต้องใช้ยานี้ในขนาดสูง หรือนาน ๆ หรือใช้ร่วมกับยาสเตอรอยด์, ผู้ที่เคยเป็นแผลเพ็ปติกมาก่อน )ควรให้กินยา ป้องกันควบคู่ด้วย เช่น ไมโซพรอสตอล (Misoprostol) 100- 200 ไมโครกรัมวันละ 4 ครั้ง ยานี้จัดอยู่ในกลุ่ม พรอสตาแกลนดิน กินแล้วอาจทาให้ปวดท้อง ท้องเดิน และไม่ควรใช้ในหญิงตั้งครรภ์ เพราะอาจทาให้แท้งได้ ในกรณีที่ผู้ป่วยกินยาดังกล่าวไม่ได้ หรือมีผลข้างเคียงมาก ให้ใช้โอเมพราโซลครั้งละ 20 มก. วันละ 2 ครั้ง หรือ กินยาลดกรด 30 มล. วันละ 7 ครั้งนอกจากนี้ ยังอาจจาเป็นต้องเปลี่ยนไปใช้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ ตัวใหม่ ๆ ที่มีผลต่อการเกิดแผลเพ็ปติกน้อย เช่นซาลซาเลต (Salsalate), อีโทโดแล็ก (Etodolac), นาบูมีโทน (Nabumetone) เป็นต้น