SlideShare a Scribd company logo
1 of 9
Download to read offline
เฉลย สังคม Ent 48
1. ตอบ 3 ค่านิยมในแต่ละอาชีพ
- วัฒนธรรมย่อยในแต่ละสถาบันเศรษฐกิจเกิด
จากค่านิยมในแต่ละอาชีพ เช่น หมอ,
ครูต้องมีจรรยาบรรณ, เกษตรกรต้องช่วยเหลือ
กัน (เก็บเกี่ยวผลผลิต)
2. ตอบ 2 จุดมุ่งหมาย รูปแบบ ความเชื่อ ค่านิยม
3. ตอบ 3 เป็นสังคมเมือง
- สังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม
คนส่วนมากเป็นเกษตรกร
- สังคมไทยเป็นสังคมศาสนาพุทธ
คนส่วนมากนับถือศาสนาพุทธ
- สังคมไทยเป็นสังคมเจ้าขุนมูลนาย
คนส่วนมากยังคงได้รับอิทธิพลจากระบอุปถัมภ์
(ระบบเจ้านาย – ลูกน้อง , ลูกพี่ – ลูกน้อง)
- สังคมไทยไม่ใช่สังคมเมือง เพราะ มีคนเพียง
ร้อยละ 20 ที่อาศัยในเขตเมือง
4. ตอบ 1 วัฒนธรรมเป็นสมบัติเฉพาะของคนชั่วรุ่น
หนึ่ง
- วัฒนธรรมเป็นมรดกของสังคม ไม่ใช่เป็นเพียง
สมบัติเฉพาะของคนชั่วรุ่นหนึ่งเท่านั้น
ข้อ 1 จึงไม่ถูกต้อง
5. ตอบ 1 สตรีไทยมีบทบาททางการเมืองมากขึ้น
- ข้อ 2, 3, 4 นับเป็นการ เปลี่ยนแปลง
วัฒนธรรมหรือวิถีชีวิตของสังคม
- ข้อ 1 เป็นการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
คือ การเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างสังคม
(สถานภาพ, บทบาท) ไม่ใช่ การเปลี่ยนแปลงทาง
วัฒนธรรม)
6. ตอบ 3 การตอบสนองความต้องการของมนุษย์
แตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่มสังคม
ข้อ 1 ผิด เพราะการที่มนุษย์สร้างบ้านเป็นไป
เพราะการเรียนรู้ ไม่ใช่ เป็นไปตาม
สัญชาตญาณ
ข้อ 2 ผิด เพราะ วัฒนธรรมกับสังคมมี
ความหมายแตกต่างกัน
- สังคม หมายถึง กลุ่มคนที่มี
ความสัมพันธ์กัน
- วัฒนธรรม หมายถึง วิถีชีวิตของ
สังคม
ข้อ 4 ผิด เพราะ มนุษย์ไม่ได้ติดต่อกันด้วย
พฤติกรรมที่เป็นลักษณะเฉพาะของตน
เท่านั้นแต่มีการติดต่อกันด้วยพฤติกรรมที่
เป็นลักษณะที่คนทั่วไปในสังคมปฏิบัติต่อ
กันด้วย
7. ตอบ 4 นเรศต้องกรวดน้ําทุกครั้งหลังจากตัก
บาตรพระแล้ว
- จารีตเป็นข้อปฏิบัติเกี่ยวกับความดี –
ความชั่ว
ข้อ 1 จารีตเป็นแบบแผนหนึ่งของสังคม จึง
เกี่ยวข้องกับข้อ 1
ข้อ 2 กฎแห่งกรรม ข้อ 3 ความเมตตากรุณา
เป็นเรื่องเกี่ยวกับความดี – ความชั่ว
จึงเกี่ยวกับจารีต
ข้อ 4 การกรวดน้ําเป็นเรื่องของวิถีชาวบ้าน
ไม่ใช่จารีต
8. ตอบ 4 คุณภาพของประชากรโดยเฉพาะในวัย
แรงงาน
- โจทย์ถามถึงผลที่กระทบมากที่สุด
- ผลเสียหายที่สุดของปัญหาสังคม คือ ผลที่
กระทบต่อมนุษย์ ข้อ 1 และข้อ 4 จึงเข้า
ข่ายที่ควรจะพิจารณา
- แต่ถ้าจะมองถึงผลเสียหายที่สุด คือ ผลระยะ
ยาว คือ ผลที่กระทบต่อคุณภาพประชากรใน
วัยแรงงาน (ซึ่งจะเป็นช่วงที่ยาวนานกว่าวัยเด็ก
และเป็นช่วงที่จะสร้างประโยชน์ต่อสังคมมาก
ที่สุด)
9. ตอบ 1 มนุษย์เกิดเพียงชาติเดียว
- ศาสนาคริสต์เชื่อว่า คนเราเกิดมาชาติเดียว
แล้วหลังจากตายไปรอวันพิพากษาโลกเลย
ส่วนศาสนาพราหมณ์เชื่อเรื่องการเวียนว่าย
ตายเกิด
- ข้ออื่น ๆ เป็นคําสอนที่ตรงกันทั้งศาสนาคริสต์
และศาสนาพราหมณ์
10. ตอบ 3 การไม่นิยมสร้างรูปเคารพของพระศาสดา
- ศาสนาอิสลามไม่มีรูปเคารพใด ๆ ทั้งสิ้น
11. ตอบ 2 ให้ตระหนักว่าเราเอาชนะทุกข์ได้
- ทั้งนี้เพราะพระพุทธเจ้าสอนเรื่องทุกข์
เพื่อให้เราพ้นทุกข์ (เอาชนะความทุกข์ได้)
12. ตอบ 3 ปิดทองหลังพระ
- กรรมโยคะ ในศาสนาพราหมณ์– ฮินดู หมายถึง
‚การกระทําที่ไม่หวังผลตอบแทน‛
จึงตรงกับ ‚ปิดทองหลังพระ‛
13. ตอบ 4 เพื่อประยุกต์คําสอนของแต่ละศาสนามา
เป็นหลักในการดําเนินชีวิต
ข้อ 1 ผิดที่ ‚หาข้อด้อยของแต่ละศาสนา‛
ข้อ 2 ที่ถูกคือ เพื่อ ‚สันติธรรม‛ ไม่ใช่ ‚ขันติ
ธรรม‛ (อดกลั้น)
ข้อ 3 เป็นการศึกษาเฉพาะศาสนาที่ตนนับถือ
แต่โจทย์ถามถึงศาสนาที่เกี่ยวข้องกับ
สังคมไทย
14. ตอบ 2 รัฐมนตรี ข. ขับรถชนคนบาดเจ็บ แต่
ไม่ผิดเพราะเป็นเหตุสุดวิสัย
ข้อ 1 ไม่เสมอภาค เพราะห้ามแต่ชาวนา
ข้อ 3 ไม่เสมอภาค เพราะเป็นการจํากัดโอกาส
ของคนมีการศึกษาน้อย
ข้อ 4 ไม่ได้แสดงเหตุผลว่าทําไมนาย ง.
จึงเสียภาษีในอัตราที่สูงกว่านาย จ.
ข้อ 2 ที่รัฐมนตรีไม่ผิด เค้าบอกว่าเพราะ ‚เป็น
เหตุสุดวิสัย‛ ไม่ใช่ ‚เพราะเป็นรัฐมนตรี‛
หมายความว่า ‚ไม่ว่าใครก็ไม่ผิดเพราะ
เป็นเหตุสุดวิสัย‛ ข้อนี้แหละที่แสดง ‚ความ
เสมอภาค‛ มากที่สุด
15. ตอบ 2 ฝ่ายทหารมีบทบาทในระบบอํานาจนิยม
- ทั้งนี้เพราะในช่วง ปี 2480 – 2514
เมืองไทยใช้ระบบเผด็จการทหารสําคัญ ๆ
โดยจอมพล 3 ท่านตามลําดับ คือ จอมพล
แปลก พิบูลสงคราม, จอมพลสฤษฎ์ ธนะรัชต์
และจอมพลถนอม กิตติขจร
16. ตอบ 3 การส่งเสริมพระราชประเพณีและพิธีการ
ทางศาสนาต่าง ๆ
- โจทย์ถามวิธีเสริมอํานาจบารมีของกษัตริย์
อยุธยา สมัยอยุธยากษัตริย์ส่งเสริมพระราช
ประเพณีและพิธีการทางศาสนาต่าง ๆ เพื่อ
เสริมความเป็นเทวราชาของพระองค์ให้มั่นคง
มากขึ้น เช่น มีพิธีบรมราชาภิเษกพิธีโสกันต์
มีการใช้ราชาศัพท์ ทําให้ทรงมีบารมีและต่าง
จากคนทั่วไปมากขึ้น
ข้อ 1 การทําสงครามในสมัยอยุธยา เพื่อแผ่ขยาย
ราชอาณาเขต มีเฉพาะกับบริเวณประเทศ
เพื่อนบ้าน ไม่ถือเป็นปัจจัยสําคัญในการ
เสริมสร้างอํานาจบารมีของพระองค์
ข้อ 2 การควบคุมประชาชนและขุนนางอย่าง
ใกล้ชิด เป็นแนวการปกครองสมัย
‚สุโขทัย‛
ข้อ 4 การเสริมสร้างความสัมพันธ์ฉันท์ญาติกับ
เพื่อนบ้าน เป็นแนวการปกครองสมัยก่อน
สุโขทัยและสุโขทัยตอนต้น
17. ตอบ 2 ฐานะของพระมหากษัตริย์
- ก่อนอื่นนักเรียนต้องเข้าใจก่อนว่าสมัยต้น
รัตนโกสินทร์ หมายถึง สมัยรัชกาลที่ 1 ถึง
รัชกาลที่ 4 สมัยนั้นการปกครองประเทศทั้ง
ส่วนกลางและภูมิภาคยังเหมือนเดิม คือ
- ส่วนกลางมีจตุสดมภ์
- ส่วนภูมิภาคก็เป็นหัวเมือง แล้วก็ยังมีการ
ใช้กฎหมายศักดินาเหมือนเดิม
* เพียงแต่สมัยรัชกาลที่ 4 พระมหากษัตริย์เริ่ม
เป็นเหมือนธรรมราชา (แบบเดียวกับสุโขทัย
ตอนปลาย) คือ รัชกาลที่ 4 ทรงร่วมดื่ม
น้ําพระพิพัฒน์สัตยากับเหล่าขุนนาง อันนี้
แสดงให้เห็นว่ากษัตริย์เริ่มเป็นอย่าง ‘มนุษย์
ธรรมดา’ มากขึ้น ไม่เหมือนสมัยอยุธยาที่
กษัตริย์เป็นเทวราชาหรือสมมติเทพ
18. ตอบ 1 ประชาชนมีส่วนร่วมในทางการเมือง
- ความเป็นประชาธิปไตยสําคัญที่การให้
ประชาชนมีส่วนร่วมในทางการเมือง
- ข้อ 2 และข้อ 4 ยังไม่ได้บ่งว่าเป็นการ
ปกครองแบบประชาธิปไตยหรือไม่
19. ตอบ 2 ศาลปกครอง
- ข้อนี้โจทย์เขาถามถึงว่า เราจะฟ้องหน่วย
ราชการที่ทําหน้าที่ไม่ดีได้ที่ไหน
คําตอบคือ ศาลปกครอง ศาลนี้จะทําหน้าที่
ตัดสินข้อพิพาทที่เราฟ้องหน่วยราชการที่
ปฏิบัติงานไม่เป็นธรรมแก่ประชาชน
- ข้อ 4 ศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินกรณี
สําคัญ เช่น กฎหมายฉบับไหนขัดต่อ
รัฐธรรมนูญหรือเปล่า
20. ตอบ 2 เป็นระบบที่ไม่มีกฎหมายเป็นลายลักษณ์
อักษร
- ‚ระบบ‛ คอมมอนลอว์ คือ ‚ระบบ‛ กฎหมาย
จารีตประเพณี แต่ไม่ได้หมายความว่า
จะไม่มีกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรเลย
ข้อ 2 จึงผิด
- ข้อ 1 จริง เพราะระบบนี้จะยึดถือคําพิพากษา
ศาลก่อน ๆ เสมือนกฎหมาย
21. ตอบ 4 ปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของ
ประชาชน
- การแยกอํานาจอธิปไตยเป็น 3 ส่วน คือ
นิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ ก็เพื่อให้
อํานาจไม่รวมศูนย์อยู่ที่จุดเดียว ทั้งนี้เพื่อให้
การปกครองเป็นไปเพื่อประชาชนมากที่สุด
- ข้อ 1 การให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการ
ปกครองประเทศเป็นเป้าหมายของระบบ
ประชาธิปไตยไม่ใช่ เป้าหมายของการแยก
อํานาจอธิปไตยเป็น 3 ส่วน
22. ตอบ 4 คณะรัฐมนตรีต้องได้รับความไว้วางใจ
จากรัฐสภา
- ข้อ 1 ผิด เพราะ รัฐสภาใช้เฉพาะอํานาจนิติ
บัญญัติเท่านั้น
- ข้อ 2 ผิด เพราะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
(ซึ่งเป็นสมาชิกรัฐสภา)
อาจเป็นฝ่ายบริหารด้วยก็ได้ เช่น ประเทศไทย
ก่อนใช้รัฐธรรมนูญปี 2540
- ข้อ 3 ผิด เพราะ นายกรัฐมนตรีมาจากการ
เลือกโดยสภาผู้แทนราษฎร
ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งโดยตรง
23. ตอบ 3 สมัชชาคนชน
- กลุ่มผลประโยชน์ คือ กลุ่มคนที่มีผลประโยชน์
ร่วมกัน และร่วมกันเรียกร้องให้รัฐบาล
ให้ประโยชน์แก่กลุ่มตนมากที่สุด
- สมัชชาคนจน จึงเข้าลักษณะของกลุ่ม
ผลประโยชน์มากที่สุด
- ข้อ 2 องค์การกลาง เป็น องค์การทาง
การเมืองที่ดูแลการเลือกตั้งให้เกิดความ
บริสุทธิ์ยุติธรรม
- ข้อ 4 พรรคแรงงาน ถือเป็นพรรค
การเมือง ไม่ใช่ กลุ่มผลประโยชน์
24. ตอบ 3 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
- ทั้งนี้เพราะ ผู้เสนอร่างพระราชบัญญัติ
ตามรัฐธรรมนูญปี 2540 มี 3 ประเภท
คือ
1. คณะรัฐมนตรี (มาตรา 169)
2. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 20 คนเข้าชื่อกัน
โดยมีมติของพรรคการเมืองที่ตนสังกัดให้เสนอ
ได้ (มาตรา 169)
3. ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 50,000
คน เข้าชื่อเสนอกัน
(มาตรา 170)
- ข้อ 3 จึงถูกต้อง
25. ตอบ 2 นาง ข ได้มรดกเป็นเงิน 1,500,000
บาท มารดาของนาย ก
ได้เงิน 500,000 บาท
- สินสมรสก่อนนํามาทํามรดก ต้องแบ่ง
ครึ่งหนึ่งให้คู่สมรสก่อน ในที่นี้คือนาง ข.
- หลังจากนั้นจึงนําส่วนที่เหลือมาแบ่งทายาท
ในที่นี้ทายาทเหลือเพียง นาง ข.
และมารดานาย ก.
วิธีทํา
สินสมรสมี 2 ล้านบาท
แบ่ง ½ ให้นาง ข. 1 ล้านบาท
เหลือ 1 ล้านบาท
ทายาท (นาง ข, มารดา) 2 คน
ได้คนละ 1 ล้าน = 5 แสนบาท
2 คน
นาง ข. ได้ส่วนแบ่ง = 1 ล้าน + 5 แสน
= 1,500,000 บาท
มารดานาย ก. ได้ = 500,000 บาท
26. ตอบ 2 ศาลแพ่ง
- คดีเกี่ยวกับบุคคลสาบสูญเป็นคดีที่เกี่ยวข้องกับ
สิทธิของบุคคลต้องฟ้องกันที่ศาลแพ่ง
27. ตอบ 2 กรมราชทัณฑ์กับกรมตํารวจ
- โจทย์ถามถึงการดําเนินการ ‚กักขังและจําคุก‛
ตามคําพิพากษาของศาล
- ผู้ดําเนินการ ‚กักขัง(ที่สถานีตํารวจ)‛
คือ เจ้าหน้าที่ตํารวจ
- ผู้ดําเนินการ ‚จําคุก‛ (ในเรือนจํา)
คือ เจ้าพนักงานราชทัณฑ์
28. ตอบ 1 ป่าไม้ผลัดใบ มีคุณลักษณะที่มีไม้ผสม
หลายชนิดปรากฏทั่วไปในประเทศไทย แต่ภาค
ตะวันตกมีป่าไผ่มากกว่า
- ข้อ 1 ผิด เพราะป่าไม้ผลัดใบพบบริเวณที่
แห้งแล้ง ไม่ใช่พบทั่วไป
29. ตอบ 4 ขุนตาล เพชรบูรณ์ ภูเก็ต
- ข้อ 1 เทือกเขาตะนาวศรีและดงพญาเย็น วางตัว
ในแนวเหนือ– ใต้( )
ส่วนเทือกเขาภูพาน วางตัวในแนวตะวันตกเฉียง
เหนือ – ตะวันออกเฉียงใต้ ( )
- ข้อ 2 ทิวเขาพนมดงรัก วางตัวในแนว
ตะวันตก– ตะวันออก( --)
ส่วนทิวเขาบรรทัดและแดนลาว วางตัวในแนว
เหนือ – ใต้ ( )
- ข้อ 3 ทิวเขานครศรีธรรมราชและขุนตาล
วางตัวในแนวเหนือ– ใต้ ( )
ส่วนทิวเขาสันกําแพง วางตัวในแนวตะวันตก-
ตะวันออก ( -- )
- ข้อ 4 ทิวเขาขุนตาล เพชรบูรณ์ 1 และ
ภูเก็ต วางตัวในแนวเหนือ – ใต้ ( ) ทั้งหมด
30. ตอบ 1 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือแห้งแล้งเพราะ
น้ําระเหยสู่อากาศมาก
- คําตอบคือข้อ 1 ทั้งนี้เพราะที่ภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือแห้งแล้งเกิดเพราะดิน
เป็นทรายน้ําจึงซึมลงดินได้เร็ว ไม่ใช่เพราะน้ํา
ระเหยสู่อากาศได้มาก
- ข้อ 4 เป็นจริง เพราะชายฝั่งทะเล
ฉะเชิงเทรา เป็นหาดโคลนปากแม่น้ําบางปะกงจึง
เหมาะในการทําประมงน้ํากร่อย
31. ตอบ 1 ฝนตกเป็นบริเวณกว้าง
- พายุฝนฟ้าคะนอง เกิดเป็นระยะเวลา สั้น ๆ
ในบริเวณแคบ ๆช่วงที่เกิดพายุลมจะแรง
และกระโชกและจะมีฟ้าผ่า ฟ้าร้อง ฟ้าแลบ
32. ตอบ 3 ชะวากทะเล
- ชายฝั่งยกตัวจะพบสันทรายจงอย ลากูน
(ทะเลใน) อ่าว ส่วนชะวากทะเลจะพบ
บริเวณชายฝั่งยุบตัว
33. ตอบ 1 การปลูกพืชหมุนเวียนได้แก่
การปลูกโสน แค กระถิน ถั่วเหลือง ต่อเนื่องกัน
- ทั้งนี้เพราะการปลูกพืชหมุนเวียน ไม่ใช่
การปลูกพืชอย่างต่อเนื่อง แต่เป็นการปลูก
แบบสลับ เพื่อให้ดินอุดมสมบูรณ์
- ข้อ 3 การยกร่อง (ดิน) และการเติม
อินทรียวัตถุให้ดินช่วยปรับปรุงให้ดินดีขึ้น
ข้อ 3 จึงถูกต้อง
- ข้อ 4 การปลูกป่า และขุดบ่อพักน้ํา
(พักน้ําเสีย) ช่วยทําให้สภาพแวดล้อมดีขึ้น
เป็นการบูรณะทรัพยากรอย่างหนึ่ง
34. ตอบ 2 เป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุด ได้รับ
บริการพร้อมจากภาครัฐบาลและเอกชน
- ทั้งนี้เพราะ ‚เอกนคร‛ หมายถึง เมืองที่มี
ประชากรอยู่มากที่สุด หนาแน่นที่สุด
มากกว่าเมืองอันดับ 2 ของประเทศ
อย่างเห็นได้ชัด
35. ตอบ 2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีทรัพยากรดิน
และน้ําอุดมสมบูรณ์น้อยกว่าภาคอื่นๆ ทําให้การ
เกษตรกรรมไม่ได้ผล
- ข้อ 1 ที่ถูกคือ ภาคเหนือขาดที่ดินทํากิน
เพราะพื้นที่เป็น ‚ภูเขา‛
- ข้อ 3 ที่ถูกคือ ภาคที่มีพื้นที่ติดชายฝั่งมาก
ที่สุดคือ ภาคใต้
- ข้อ 4 ผิด เพราะ ทรัพยากรธรรมชาติ
บางอย่างของภาคใต้ก็ไม่ได้อุดมสมบูรณ์
เช่น ดิน ซึ่งส่วนมากเป็นพรุ
- ข้อ 2 ถูกที่สุด เพราะภาคอีสานทําเกษตรไม่
ได้ผลเพราะดินเป็นทรายและขาดแคลนน้ํา
36. ตอบ 4 ลมพายุ พื้นดินพื้นน้ํา ตําแหน่งที่ตั้ง
- ข้อ 1 และข้อ 2 ผิด เพราะป่าไม้ไม่ได้มีผล
ต่อภูมิอากาศโดยตรง
- ข้อ 3 ความกดอากาศ ไม่ได้มีผลต่ออากาศ
โดยตรง
- ข้อ 4 ลมพายุ มีผลต่อ ความชื้นบริเวณที่ลม
ผ่านพื้นดินพื้นน้ํา มีผลต่อ ความร้อนหนาว
บริเวณพื้นที่นั้น ๆตําแหน่งที่ตั้ง (ละติจูด)
มีผลต่ออุณหภูมิของพื้นที่
37. ตอบ 4 น้ําที่ท่วมขังบริเวณนี้ระบายออกช้า
- ภาคกลางตอนล่าง หมายถึง พื้นที่ใต้จังหวัด
นครสวรรค์ลงมา มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มต่ํา
จึงน้ําท่วมง่าย ระบายออกง่าย
- ข้อ 1 ผิด เพราะ น้ําเน่าเกิดจากคนทิ้ง ไม่ใช่
ภูมิประเทศ
- ข้อ 2 ผิด เพราะ น้ําจากแม่น้ําจะท่วมเฉพาะ
บริเวณริมแม่น้ําเท่านั้น
- ข้อ 3 ผิด เพราะ น้ําทะเลหนุนเกิดเฉพาะ
บริเวณชายฝั่งของภาคกลางไม่ใช่ทุกจังหวัดของ
ภาคกลางตอนล่าง
38. ตอบ 3 จัดแบ่งที่ดินทํากินเป็นสัดส่วน เพื่อให้
เกษตรกรมีรายได้ตลอดปี
39. ตอบ 4 เป็นเขตน้ําลึกและมีเกาะแก่งกําบังคลื่น
ลม
- ข้อ 1 ผิด เพราะที่ที่เหมาะจะสร้างท่าเรือควร
จะ ‚น้ําลึก‛ ไม่ใช่ชายหาดกว้าง
- ข้อ 3 ผิด เพราะชลบุรีขาดน้ําจืด
- ข้อ 2 ถึงจะถูก แต่ไม่ใช่ลักษณะทาง
‚ภูมิศาสตร์‛ อย่าลืมว่าโจทย์ถาม ‚ลักษณะ
ทางภูมิศาสตร์‛
ข้อ 4 จึงถูกต้อง
40. ตอบ 2 ขาดแคลนแหล่งน้ําที่จะสร้างเขื่อนและ
อ่างเก็บน้ํา
- ภาคตะวันออกมีปัญหาเรื่องแม่น้ําเป็นสาย
สั้น ๆไม่เหมาะที่จะสร้างเขื่อน หรืออ่างเก็บ
น้ําเพื่อเก็บน้ําไว้ใช้ในฤดูแล้ง
- ข้อ 1,3,4 ผิดข้อเท็จจริงของภาค
41. ตอบ 3 380,000 บาท
- ผลตอบแทนของเจ้าของปัจจัยการผลิต
ได้แก่ ดอกเบี้ย ค่าเช่า เงินเดือน และกําไร
- ในที่นี้นายประกอบมีผลตอบแทนจากการ
เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต 3 ประการ คือ
1) ดอกเบี้ย (เงินฝาก) 200,000 บาท
2) ค่าเช่า (ที่ดิน) 100,000 บาท
3) กําไร 80,000 บาท
 ผลตอบแทนจากการเป็น
เจ้าของปัจจัยการผลิตรวม 380,000 บาท
42. ตอบ 4 นายแย้มตกลงขายส้มโอให้นายจอม
เพราะไม่ต่อราคา
- ปัญหาพื้นฐานเศรษฐกิจ คือ ทรัพยากรมีจํากัด
- ข้อ 1 แสดงถึงว่าทรัพยากร ‚ที่ดิน‛ มีจํากัด
- ข้อ 2 แสดงถึงว่าทรัพยากร ‚เงิน‛ มีจํากัด
- ข้อ 3 แสดงถึงว่าทรัพยากร ‚แรงงาน‛ มี
จํากัด
- ข้อ 4 ไม่ได้แสดงปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
43. ตอบ 4 การเข้าอบรมวิธีใช้เครื่องคอมพิวเตอร์
- การผลิต คือ การทํางาน การประกอบอาชีพ
ข้อ 1, 2, 3 เป็นการประกอบอาชีพจึงเป็นการ
ผลิต
- ข้อ 4 เข้าอบรมวิธีใช้คอมพิวเตอร์ ถือเป็น
การ
บริโภค (ใช้บริการ) ไม่ใช่ การผลิต
44. ตอบ 2 อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงขึ้น
อย่างมีเสถียรภาพ การกระจายรายได้เสมอภาค
มากขึ้น ทั้งนี้เพราะปัจจุบันอัตราการเจริญเติบโต
ทางเศรษฐกิจของไทยลดลงและการกระจาย
รายได้ยังไม่เป็นธรรม
45. ตอบ 2 ราคายางพาราในประเทศในปีนี้ตกต่ํากว่า
ปีที่แล้ว เศรษฐศาสตร์จุลภาคเป็นเศรษฐกิจ
เฉพาะของหน่วยย่อย ไม่ใช่ ภาคเศรษฐกิจรวม
ของทั้งประเทศ
ข้อ 1 ปัญหาการว่างงานของคนในประเทศ
ข้อ 3 ปัญหาแรงงานขาดทักษะ
(ซึ่งเป็นปัญหารวมของทั้งระบบเมืองไทย)
ข้อ 4 เกษตรกร (ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของ
ประเทศ) มีรายได้ต่ํากว่านายทุน
ทั้ง 3 ข้อจัดเป็นเรื่องของภาพรวมของประเทศ
จึงจัดเป็นเศรษฐศาสตร์มหภาค
ส่วนข้อ 2 ราคายางพารา
ทําแม้นจะมีคําว่า ‚ในประเทศ‛ แต่เป็น
เพียงสินค้าตัวเดียว จัดเป็นเศรษฐศาสตร์
จุลภาค (เพราะยางพาราราคาตกแต่ราคา
สินค้าตัวอื่นอาจจะไม่ตกก็ได้) ข้อ 2 จึง
ถูกต้องที่สุด
46. ตอบ 2 การลดลงของราคาสินค้าเมื่อเกิดอุปทาน
ส่วนเกิน
- ตามกลไกราคา ถ้าเกิดอุปสงค์ส่วนเกิน
พูดง่าย ๆ คือ คนต้องการซื้อเยอะมาก
จะทําให้ราคาของแพงขึ้นและคนขายเขาก็
ต้องผลิตของมาขายเยอะขึ้น (กําไรดีนี่)
เพราะฉะนั้น
ข้อ 1, 3, 4 ผิดพร้อมกันเลย
- ข้อ 2 ถูก เพราะเมื่อเกิดอุปทาน
ส่วนเกิน คือ คนขายมากเกินไป เขาก็ต้อง
ลด
ราคาของที่เขาจะขาย
47. ตอบ 2 เงินบาทมีค่าสูงขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยน
- 1 มกราคม 2537 200 เยน = 1 US
ดอลลาร์ = 20 บาท (10 เยน = 1 บาท)
- 1 กุมภาพันธ์ 2537 15 เยน = 1 บาท
และ 200 เยน = 1 US ดอลล่าร์
- ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ เมื่อเทียบระหว่าง
เงินเยนและเงินบาทแล้วค่าเงินบาทสูงขึ้น
(1 บาท แลกเงินเยนได้เพิ่ม5เยน) และ
ค่าเงินเยนต่ําลง ตรงกับตัวเลือกข้อ 2
- ข้อ 3 โจทย์ไม่ได้บอกค่าเงินดอลลาร์
เทียบกับเงินบาทในวันที่ 1 กุมภาพันธ์
2537 มา
- ข้อ 4 ตามโจทย์ เงินเยนกับเงินดอลลาร์
มีค่าเท่าเดิม ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2537
48. ตอบ 2 ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 2 พันล้าน
บาท
- ทั้งนี้เพราะเรามีสูตรว่า
- ในที่นี้โจทย์บอกว่า
สินค้าเข้า = - 8,000 ล้านบาท
สินค้าออก = +7,000 ล้านบาท
 ดุลการค้า = - 1,000 ล้านบาท
โจทย์บอกว่า
ดุลบริการ = + 3,000 ล้านบาท
 บัญชีเดินสะพัด = + 2,000 ล้านบาท
สรุปคือ
ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 2,000 ล้านบาท
49. ตอบ 2 GNP น้อยกว่า GDP ทุกปี
- GDP หมายถึง รายได้ที่เกิดขึ้นในประเทศ
ไทย ส่วน GNP หมายถึงรายได้ที่เกิดโดย
คนไทย
- ทุกปี GDP ของไทยจะมากกว่า GNP
ทั้งนี้เพราะรวมรายได้ที่ชาวต่างชาติมาลงทุน
ใน
เมืองไทยมีจํานวนมากกว่ารายได้ที่ไทยไป
ลงทุนในต่างประเทศ
50. ตอบ 4 ระบบทุนนิยมช่วยลดปัญหาการกระจาย
รายได้ที่ไม่เป็นธรรม
- ข้อ 4 ผิด เพราะทุนนิยมทําให้เกิดความ
แตกต่างทางเศรษฐกิจระหว่างคนรวยกับคนจน
ไม่ได้ช่วยลดปัญหาการกระจายรายได้
51. ตอบ 2 เพิ่มรายได้ประชาชาติในอัตราที่สูงกว่า
อัตราการเพิ่มของระดับราคา
- การที่อัตรารายได้ประชาชาติเพิ่มสูงกว่าอัตรา
ราคาสินค้าทั่วไป หมายความว่าประชาชนมีเงิน
ซื้อบริการมากขึ้นความเป็นอยู่ก็จะดีขึ้น
52. ตอบ 4 การลดการขยายเครดิตของธนาคาร
พาณิชย์
- นโยบายการเงินในการแก้ปัญหาเงินเฟ้อ คือ
1. เพิ่มอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางและ
ธนาคารพาณิชย์
2. เพิ่มอัตราเงินสดสํารองตามกฎหมาย
3. ลดการขยายเครดิตของธนาคารพาณิชย์
53. ตอบ 4 มีการร่วมมือกันจัดตั้งกองทุนร่วมเพื่อ
พัฒนาระหว่างอาเซียนกับประชาคมยุโรป
- ข้อ 2 ผิดเพราะโครงการอุตสาหกรรม
ของอาเซียนที่ส่งเสริมในไทยคือ
‚โครงการโซดาแอช‛
54. ตอบ 4 ความสามารถในการแข่งขันของสินค้า
ไทยลดลง เงินบาทแข็งตัวเกินไป และคนไทยใช้
จ่ายเกินตัว
- สาเหตุหลักที่ประเทศไทยประสบวิฤต
เศรษฐกิจก็คือ
1. ความสามารถในการแข่งขันของสินค้า
ไทยลดลง เพราะมีคู่แข่งเยอะขึ้น
ตัวเลือก 1 และ 3 จึงผิด
2. เงินบาทแข็งตัวเกินไป ทําให้ราคา
สินค้าออกแต่เดิมแพง ตัวเลือก 2
จึงผิด
3. คนไทยใช้จ่ายเกินตัว
* มีนักเรียนหลายคนสงสัยว่า ‚ตอนนี้เงิน
บาทอ่อนตัวลงไม่ใช่หรือ ?‛ คําตอบคือ
ใช่ แต่เขาไม่ได้ถามว่าตอนนี้เกิดอะไร
ขึ้น แต่เขาถาม ‚สาเหตุของปัญหา‛นะ
เพราะฉะนั้น สาเหตุคือ ค่าเงินมันแข็ง
เกินไป ในที่สุดมันเลยเกิดปัญหาจน
ทําให้ค่าเงินตอนนี้เลยต้องอ่อนตัวลง
55. ตอบ 4 เป็นจุดเริ่มต้นของการผลิตเพื่อการตลาด
- ระบบเศรษฐกิจแบบเงินตราเป็นจุดเริ่มต้น
ที่ทําให้เกิดการผลิตเพื่อการค้า (การตลาด)
ข้อ 4 ถูกต้อง
- ข้อ 1 และ ข้อ 3 ผิด เพราะระบบ
เศรษฐกิจแบบเงินตราไม่ได้ทําลาย
โครงสร้างสังคมหรือชุมชน
56. ตอบ 4 การจัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์
- โจทย์ถามการปฏิรูปที่ส่งผลต่อความมั่นคง
ของกษัตริย์ สมัยต้นรัชกาลที่ 5
- ข้อ 2 การยกเลิกระบบเจ้าภาษีนายอากร
ทําเพื่อราษฎรไม่เดือดร้อน เพราะถูกขูด
รีดภาษีแพงเกินไป
- ข้อ 3 การจ่ายเงินเดือนข้าราชการทําเพื่อให้
ข้าราชการได้รับเงินตอบแทนตามระบบ
สมัยใหม่
- ข้อ 1 การทํางบประมาณแผ่นดิน เกิดขึ้น
พ.ศ. 2433 สมัยกลางรัชกาลที่ 5
(รัชกาลที่ 5 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2411)
- ข้อ 4 การจัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ ทํา
เพื่อให้
พระมหากษัตริย์สามารถควบคุมภาษีอากร
ทั้งปวงได้อย่างแท้จริง ตั้งใน พ.ศ. 2416
(ต้นรัชกาลที่ 5)
57. ตอบ 3 หมดภาระรับใช้บ้านเมือง
- การเลิกไพร่ทําให้ชายไทยหมดภาระในการ
เข้าเวร
(ข้อ 1) หมดภาระเสียส่วย(ข้อ 2) และหมด
ภาระ
ในระบบอุปถัมภ์(คือ ระบบมูลนาย –ไพร่
ที่ช่วยเหลือกัน)ในข้อ 4
- แต่ถึงจะยกเลิกไพร่แล้ว ประชาชนก็ยังคงมี
หน้าที่ต้องรับใช้บ้านเมืองอยู่ดี ข้อ 3 จึงถูกต้อง
58. ตอบ 2 สนธิสัญญาเบอร์นีย์เป็นสนธิสัญญาที่
ไทยเสียเปรียบอังกฤษมาก
- สนธิสัญญาเบอร์นีย์เป็นสนธิสัญญาที่ตะวันตก
เสียเปรียบไทย ดังนั้น อังกฤษจึงพยายามเข้า
มาแก้ไขสนธิสัญญานี้หลายครั้ง
- ข้อ 3 ถูกต้อง เพราะไทยเสียดินแดนแก่
ฝรั่งเศสครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2410 ในสมัยรัชกาล
ที่ 4 โดยไทยยอมรับว่าเขมร และเกาะกงเป็น
ของฝรั่งเศส
59. ตอบ 1 การปลูกฝังเรื่องค่านิยมของคนไทย
*นโยบายรัฐนิยม= นโยบายชาตินิยมของจอมพล ป.
ที่เน้นให้คนไทยมีค่านิยมรัก‚ความเป็นไทย‛
ข้อ1 จึงถูกต้อง*
- ข้อ 2 ผิดที่ ‚บางประการ‛ เพราะนโยบายนี้
เปลี่ยนแปลงชีวิต ‚หลายด้าน‛
- ข้อ 3 การให้เลื่อมใสผู้นําเป็นเรื่อง
‚ลัทธิผู้นํา‛ ไม่ใช่ ‚ลัทธิชาตินิยม‛
- ข้อ 4 ผิดจากความจริงเลย
60. ตอบ 3 ปรับปรุงตนเองให้เจริญทัดเทียมชาติ
ตะวันตก
- การปฏิวัติยุคเมจิ สมัยจักรพรรดิมัตสุหิต
โตมีจุดประสงค์หลัก คือ เพื่อปรับปรุงและ
พัฒนาญี่ปุ่นให้เจริญทัดเทียมตะวันตก
61. ตอบ 3 เจียง ไค-เช็ค กับ เหมา เจ๋อ-ตุง
- เจียง ไค เช็ค เป็นผู้นําของพรรคก๊กมินตั๋ง
ต่อสู้กับเหมา เจ๋อ ตุง ผู้นําฝ่ายคอมมิวนิสต์
ต่อมาเมื่อ ค.ศ. 1949 พรรคคอมมิวนิสต์
ชนะเจียง ไค เช็คและพลพรรคก๊กมินตั๋ง
ต้องอพยพ ไปตั้งมั่นอยู่ที่เกาะไต้หวัน
62. ตอบ 3 เป็นภูมิภาคที่สามารถผสมผสาน
วัฒนธรรมหลักจากภายนอก
- ทั้งนี้เพราะบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เป็นบริเวณที่รับวัฒนธรรมจากอินเดียและ
จีนเข้ามาผสมผสานกัน
- ข้อ 1 ผิด ที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้ มี ‚วัฒนธรรมของตัวเอง‛
- ข้อ 2 ผิด เพราะเฉพาะอินโดนีเซีย
เท่านั้นที่เป็นศูนย์กลางการค้าเครื่องเทศ
ที่สําคัญที่สุดของโลก
- ข้อ 4 ผิด เพราะบริเวณนี้ไม่ค่อยมีความ
ขัดแย้งการเมืองระหว่างประเทศ
63. ตอบ 1 การต่อสู้ของกลุ่มชาตินิยมในแต่ละ
ประเทศ
- ทั้งนี้เพราะชาติในเอเชียอาคเนย์เกิด
ความรู้สึกชาตินิยมเหมือนอย่างอินเดียจึง
ต่อสู้เพื่อเรียกร้องเอกราช จนประเทศแม่
ต้องมอบเอกราชให้
- จะเห็นว่าข้อ 4 ผิดชัดที่สุด เพราะจริง ๆ
ประเทศแถบนี้ต้องต่อสู้กว่าจะได้เอกราช
มาไม่ใช่ ประเทศแม่มอบเอกราชให้อย่างสันติ
64. ตอบ 4 การกลับไปสู่ศรัทธาในพระเจ้า เพื่อ
แสวงหาสัจธรรมแห่งชีวิต
- เพราะยุคแห่งความรู้แจ้ง(ยุคภูมิธรรม)
เป็นยุคที่มนุษย์สนใจในเรื่องเกี่ยวกับภูมิ
ปัญญา หรือเหตุผล ข้อ 4 จึงไม่ถูกต้อง
65. ตอบ 1 ความพยายามหาแหล่งวัตถุดิบและตลาด
สินค้าของประเทศแม่โดยใช้วิธีการผูกขาด
- ลัทธิพาณิชยนิยมก่อให้เกิดความขัดแย้งทาง
การเมืองได้เพราะทําให้เกิดการแย่งกันหา
เมืองขึ้น(ลัทธิอาณานิคม) เพื่อเป็นแหล่งวัตถุดิบ
และแหล่งตลาด
66. ตอบ 3 การล้อมรั้วที่ดินและการใช้ที่ดินอย่างมี
ประสิทธิภาพมากขึ้น
- การปฏิวัติการเกษตรในยุโรป คือ การใช้ระบบ
นาปิด (ล้อมรั้วที่ดิน) และใช้ที่ดินอย่างมี
ประสิทธิภาพ (ปลูกพืชหมุนเวียน,ใส่ปุ๋ย)
67. ตอบ 2 เชื่อในการปกครองระบอบกษัตริย์
- จุดเด่นของโทมัส ฮอบส์ คือเขาต้องการการ
ปกครองแบบมีพระมหากษัตริย์ แต่เป็นกษัตริย์
ที่มาจากประชาชน ข้อ 2 จึงดีที่สุด
68. ตอบ 2 ผลกระทบจากลัทธิจักรวรรดินิยม
- การปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ. 1789 มีสาเหตุสําคัญ
มาจากหลายสาเหตุ คือ
(1) สภาพเศรษฐกิจฝรั่งเศสย่ําแย่ มีการเรียก
เก็บ
ภาษีเพิ่มขึ้น ทําให้สามัญชนไม่พอใจระบบ
อภิสิทธิ์ของชนชั้นสูงที่ผลักภาระการเสียภาษีมา
ให้แก่กลุ่มตน (ข้อ 3 – 4 )
(2) ได้เห็นการทําสงครามประกาศอิสรภาพของ
ประเทศสหรัฐอเมริกา (ข้อ 1)
69. ตอบ 3 ให้ประโยชน์สูงสุดในสภาพแวดล้อมของ
ท้องถิ่นนั้น ๆ
- เทคโนโลยีที่เหมาะสมจะต้องเกิดประโยชน์
สูงสุดในสภาพแวดล้อมนั้น ๆ ข้อ 3 จึงถูก
ที่สุด
- ข้อ 1 ยังมีข้อแย้งได้ว่าแล้วเกิด
ประโยชน์สูงสุดเท่าข้อ 3 หรือไม่
(เพราะข้อ 3 ประโยชน์สูงสุด คือ เมื่อเทียบ
จากต้นทุนและผลตอบแทนที่ได้แล้ว)
- ข้อ 2 มีข้อแย้งได้ว่าถ้าประเทศนั้นมี
ฐานะจําเป็นต้องใช้เทคโนโลยีแพงหรือ ?
- ข้อ 4 ผิดที่ ‘มีราคาแพง’
70. ตอบ 3 ระบบโรงงานอัตโนมัติ
- ถ้านําคอมพิวเตอร์มาใช้ในโรงงานมาก จะทํา
ให้การทํางานในโรงงานเป็นไปตามโปรแกรม
จนเป็นระบบโรงงานอัตโนมัติ
(Factory Automation)
- ข้อ 4 ‚ระบบสายพานอัตโนมัติ‛ เป็นผล
มาจากการนํา ‚เครื่องจักร‛ มาใช้
- ข้อ 1 ‚ระบบประมวลผลกลาง‛ เป็นการ
ใช้คอมพิวเตอร์ในทาง ‚คิดคํานวณ‛
71. ตอบ 4 การลงทุนทางตรงจากประเทศเจ้าของ
เทคโนโลยี
- การถ่ายทอดเทคโนโลยีผ่านหนังสือ, ผ่าน
การสังเกตการณ์(ไปดูงาน) หรือผลิตภัณฑ์
ไม่มีประสิทธิภาพเท่าการที่ประเทศเจ้าของ
เทคโนโลยีเป็นผู้ถ่ายทอดเองด้วยการ
ลงทุนทางตรง
72. ตอบ 2 ค่าจ้างแรงงานต่ํา
- โจทย์ถามว่า ข้อไหนไม่ใช่ปัญหาการใช้
เทคโนโลยีเกษตรของไทย
- ข้อ 1 จริง เพราะใช้เทคโนโลยีเข้าช่วย
ต้นทุนการผลิตจะสูง
- ข้อ 3 จริง เพราะมีการใช้ยาฆ่าแมลง
ทําให้เกิดมลพิษ
- ข้อ 4 จริง เพราะเกษตรกรยังขาด
ความรู้เรื่องการใช้เครื่องมือทางการเกษตร
- ข้อ 2 ค่าจ้างแรงงานต่ํา น่าจะเป็นผลดี
ต่อการเกษตร (ต้นทุนต่ํา) ไม่ใช่ผลเสีย
73. ตอบ 4 ข้อ (ง) ผู้ใหญ่ไม่มีสิทธิ์ก้าวก่ายในเรื่อง
ความสัมพันธ์ทางเพศของเยาวชน
74. ตอบ 2 ปัญหาทางศาสนา
- IRA (Irish Revolution Army) เป็นกลุ่ม
คริสต์นิกายคาทอลิกที่มีปัญหาความ
ขัดแย้งกับชาวอังกฤษซึ่งเป็นกลุ่มคริสต์
นิกายโปรเตสแตนต์
75. ตอบ 2 การให้การศึกษาขั้นพื้นฐานแก่ทุกกลุ่ม
เชื้อชาติและศาสนา
- ข้อ 2 เป็นวิธีที่ดีที่สุดที่ทําให้เกิดความเข้าใจ
อันดีระหว่างทุกกลุ่มชนในสังคม
76. ตอบ 4 สงครามอ่าวเปอร์เซีย เกิดขึ้นเพราะ
ความขัดแย้งทางการเมืองของสองอภิมหาอํานาจ
- สงครามอ่าวเปอร์เซีย(อิรัก–คูเวต)เกิดเพราะ
อิรักต้องการเข้าไปยึดคูเวตเป็นดินแดนของตน
ไม่ได้เกิดจากความขัดแย้งระหว่างอเมริกากับ
โซเวียต
- ข้อ 1 สงครามครูเสต เกิดเพราะศาสนา
คริสต์
ขัดแย้งกับ ศาสนาอิสลาม
- ข้อ 2 อินเดีย – ปากีสถาน มีปัญหาแย่ง
แคว้นแคชเมียร์กัน
- ข้อ 3 เวียดนามเกิดสงคราม เพราะการ
แทรกแซงของอเมริกา และโซเวียต
77. ตอบ 2 การลดบทบาททางทหารของ
สหรัฐอเมริกา
- ประธานาธิบดีนิกสันประกาศหลักการสําคัญ
ในช่วงสงครามเย็นว่าจะลดบทบาทของ
สหรัฐอเมริกาในการทหาร
78. ตอบ 4 ชาวอิสราเอลแปรสภาพทะเลทรายให้
อุดมสมบูรณ์
79. ตอบ 3 ประชากรวัยเด็กมีสัดส่วนต่ํากว่า
ประชากรวัยทํางาน
- การพัฒนาประเทศได้มาก–น้อยขึ้นกับช่วงอายุ
ของคนในประเทศไม่ใช่ด้านเพศ
ข้อ 2 จึงไม่ถูกต้องประเทศที่จะพัฒนาได้มาก
คือ ประเทศที่มีประชากรวัยแรงงานมาก
ข้อ 3 จึงดีที่สุด
80. ตอบ 3 ประชากรขาดการศึกษา
- การพัฒนาประชากรจะมีอุปสรรคที่สุดถ้าคน
ขาดการศึกษา
- ข้อ 2 ประชากรยึดค่านิยมโบราณก็เกิดเพราะ
ประชากรขาดการศึกษา ดังนั้นคําตอบข้อ 3
จึงถือว่าดีที่สุดแล้ว
- การแปรสภาพทะเลทรายให้อุดมสมบูรณ์
แสดงให้เห็น ‚ความสามารถ‛ ของ‚มนุษย์‛
- ข้อ 1 เน้นไปที่ ‚กําลังกาย‛
- ข้อ 2 เน้นไปที่ ‚ทรัพยากร‛
- ข้อ 3 จะเน้นไปเฉพาะที่ ‚ผู้นํา‛ คือ
‚พระมหากษัตริย์‛ เท่านั้น

More Related Content

What's hot

ฟิสิกส์ 5 ไฟฟ้าสถิตย์ ตอนที่ 1
ฟิสิกส์ 5 ไฟฟ้าสถิตย์ ตอนที่ 1ฟิสิกส์ 5 ไฟฟ้าสถิตย์ ตอนที่ 1
ฟิสิกส์ 5 ไฟฟ้าสถิตย์ ตอนที่ 1Wijitta DevilTeacher
 
นิทานเวตาล พร้อมแบบฝึกหัด
นิทานเวตาล พร้อมแบบฝึกหัดนิทานเวตาล พร้อมแบบฝึกหัด
นิทานเวตาล พร้อมแบบฝึกหัดNam M'fonn
 
แบบทดสอบ ภาษาไทย(วรรณคดี) ม.3
แบบทดสอบ ภาษาไทย(วรรณคดี) ม.3แบบทดสอบ ภาษาไทย(วรรณคดี) ม.3
แบบทดสอบ ภาษาไทย(วรรณคดี) ม.3teerachon
 
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 2
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 2แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 2
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 2dnavaroj
 
แบบฝึกท้ายบทบทที่ 8 ชุดที่ 2
แบบฝึกท้ายบทบทที่ 8 ชุดที่ 2แบบฝึกท้ายบทบทที่ 8 ชุดที่ 2
แบบฝึกท้ายบทบทที่ 8 ชุดที่ 2sukanya petin
 
เตรียมตัวก่อนสอบกลางภาค 2 วิทย์ ม
เตรียมตัวก่อนสอบกลางภาค 2 วิทย์ มเตรียมตัวก่อนสอบกลางภาค 2 วิทย์ ม
เตรียมตัวก่อนสอบกลางภาค 2 วิทย์ มkrupornpana55
 
ประวัติศาสตร์นันทนาการ
ประวัติศาสตร์นันทนาการประวัติศาสตร์นันทนาการ
ประวัติศาสตร์นันทนาการteaw-sirinapa
 
สรุปหัวใจชายหนุ่ม
สรุปหัวใจชายหนุ่มสรุปหัวใจชายหนุ่ม
สรุปหัวใจชายหนุ่มNattha-aoy Unchai
 
สุขฯ ม.2 หน่วย 6
สุขฯ ม.2 หน่วย 6สุขฯ ม.2 หน่วย 6
สุขฯ ม.2 หน่วย 6supap6259
 
ใบงานที่ 14สารพันธุกรรม
ใบงานที่ 14สารพันธุกรรมใบงานที่ 14สารพันธุกรรม
ใบงานที่ 14สารพันธุกรรมAomiko Wipaporn
 
การถ่ายละอองเรณู (T)
การถ่ายละอองเรณู (T)การถ่ายละอองเรณู (T)
การถ่ายละอองเรณู (T)Thitaree Samphao
 
วิธีการลงบัญชีคุม สป.3 ระดับหน่วยใช้
วิธีการลงบัญชีคุม สป.3 ระดับหน่วยใช้ วิธีการลงบัญชีคุม สป.3 ระดับหน่วยใช้
วิธีการลงบัญชีคุม สป.3 ระดับหน่วยใช้ ตะหลึ่ง' ตึ่งโป๊ะ
 
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศSaran Srimee
 
ข้อสอบโอเน็ตวิทยาศาสตร์ปี 53 พร้อมเฉลย
ข้อสอบโอเน็ตวิทยาศาสตร์ปี 53 พร้อมเฉลยข้อสอบโอเน็ตวิทยาศาสตร์ปี 53 พร้อมเฉลย
ข้อสอบโอเน็ตวิทยาศาสตร์ปี 53 พร้อมเฉลยสิปป์แสง สุขผล
 
G biology bio2
G biology bio2G biology bio2
G biology bio2Bios Logos
 
แบบทดสอบเรื่องคลื่น
แบบทดสอบเรื่องคลื่นแบบทดสอบเรื่องคลื่น
แบบทดสอบเรื่องคลื่นChakkrawut Mueangkhon
 

What's hot (20)

ฟิสิกส์ 5 ไฟฟ้าสถิตย์ ตอนที่ 1
ฟิสิกส์ 5 ไฟฟ้าสถิตย์ ตอนที่ 1ฟิสิกส์ 5 ไฟฟ้าสถิตย์ ตอนที่ 1
ฟิสิกส์ 5 ไฟฟ้าสถิตย์ ตอนที่ 1
 
นิทานเวตาล พร้อมแบบฝึกหัด
นิทานเวตาล พร้อมแบบฝึกหัดนิทานเวตาล พร้อมแบบฝึกหัด
นิทานเวตาล พร้อมแบบฝึกหัด
 
แบบทดสอบ ภาษาไทย(วรรณคดี) ม.3
แบบทดสอบ ภาษาไทย(วรรณคดี) ม.3แบบทดสอบ ภาษาไทย(วรรณคดี) ม.3
แบบทดสอบ ภาษาไทย(วรรณคดี) ม.3
 
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 2
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 2แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 2
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 2
 
นาฏศิลป์พื้นเมือง
นาฏศิลป์พื้นเมืองนาฏศิลป์พื้นเมือง
นาฏศิลป์พื้นเมือง
 
แบบฝึกท้ายบทบทที่ 8 ชุดที่ 2
แบบฝึกท้ายบทบทที่ 8 ชุดที่ 2แบบฝึกท้ายบทบทที่ 8 ชุดที่ 2
แบบฝึกท้ายบทบทที่ 8 ชุดที่ 2
 
เตรียมตัวก่อนสอบกลางภาค 2 วิทย์ ม
เตรียมตัวก่อนสอบกลางภาค 2 วิทย์ มเตรียมตัวก่อนสอบกลางภาค 2 วิทย์ ม
เตรียมตัวก่อนสอบกลางภาค 2 วิทย์ ม
 
ประวัติศาสตร์นันทนาการ
ประวัติศาสตร์นันทนาการประวัติศาสตร์นันทนาการ
ประวัติศาสตร์นันทนาการ
 
สรุปหัวใจชายหนุ่ม
สรุปหัวใจชายหนุ่มสรุปหัวใจชายหนุ่ม
สรุปหัวใจชายหนุ่ม
 
สุขฯ ม.2 หน่วย 6
สุขฯ ม.2 หน่วย 6สุขฯ ม.2 หน่วย 6
สุขฯ ม.2 หน่วย 6
 
บทที่ 3
บทที่ 3บทที่ 3
บทที่ 3
 
ใบงานที่ 14สารพันธุกรรม
ใบงานที่ 14สารพันธุกรรมใบงานที่ 14สารพันธุกรรม
ใบงานที่ 14สารพันธุกรรม
 
การถ่ายละอองเรณู (T)
การถ่ายละอองเรณู (T)การถ่ายละอองเรณู (T)
การถ่ายละอองเรณู (T)
 
วิธีการลงบัญชีคุม สป.3 ระดับหน่วยใช้
วิธีการลงบัญชีคุม สป.3 ระดับหน่วยใช้ วิธีการลงบัญชีคุม สป.3 ระดับหน่วยใช้
วิธีการลงบัญชีคุม สป.3 ระดับหน่วยใช้
 
คลื่นกล
คลื่นกลคลื่นกล
คลื่นกล
 
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ
 
ข้อสอบโอเน็ตวิทยาศาสตร์ปี 53 พร้อมเฉลย
ข้อสอบโอเน็ตวิทยาศาสตร์ปี 53 พร้อมเฉลยข้อสอบโอเน็ตวิทยาศาสตร์ปี 53 พร้อมเฉลย
ข้อสอบโอเน็ตวิทยาศาสตร์ปี 53 พร้อมเฉลย
 
G biology bio2
G biology bio2G biology bio2
G biology bio2
 
แบบทดสอบเรื่องคลื่น
แบบทดสอบเรื่องคลื่นแบบทดสอบเรื่องคลื่น
แบบทดสอบเรื่องคลื่น
 
ประชากร1
ประชากร1ประชากร1
ประชากร1
 

Similar to เฉลย สังคม Ent 48

บทที่1
บทที่1บทที่1
บทที่1Ziro Anu
 
ข้อสอบสังคม วิทย์
ข้อสอบสังคม วิทย์ข้อสอบสังคม วิทย์
ข้อสอบสังคม วิทย์Siriprapa Prapaluk
 
สาระที่ ๒ หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม
สาระที่ ๒     หน้าที่พลเมือง  วัฒนธรรม  และการดำเนินชีวิตในสังคมสาระที่ ๒     หน้าที่พลเมือง  วัฒนธรรม  และการดำเนินชีวิตในสังคม
สาระที่ ๒ หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคมระย้า สพานทอง
 
สังคม 53
สังคม 53สังคม 53
สังคม 53suparada
 
ข้อสอบ O net วิชาสังคมศึกษา
ข้อสอบ O net วิชาสังคมศึกษาข้อสอบ O net วิชาสังคมศึกษา
ข้อสอบ O net วิชาสังคมศึกษาPerm Ton
 
03bb7948b0ecfc6376c61960fe8d8be3
03bb7948b0ecfc6376c61960fe8d8be303bb7948b0ecfc6376c61960fe8d8be3
03bb7948b0ecfc6376c61960fe8d8be3Noot Ting Tong
 
สังคมศึกษา
สังคมศึกษาสังคมศึกษา
สังคมศึกษาMintra Pudprom
 
ข้อสอบสังคมศึกษา ONET 52
ข้อสอบสังคมศึกษา  ONET  52ข้อสอบสังคมศึกษา  ONET  52
ข้อสอบสังคมศึกษา ONET 52Jinwara Sriwichai
 
แนวข้อสอบวิชาสังคมศึกษา
แนวข้อสอบวิชาสังคมศึกษาแนวข้อสอบวิชาสังคมศึกษา
แนวข้อสอบวิชาสังคมศึกษาiamaomkitt
 
สังคมศึกษา
สังคมศึกษาสังคมศึกษา
สังคมศึกษาikwanz
 

Similar to เฉลย สังคม Ent 48 (20)

บทที่1
บทที่1บทที่1
บทที่1
 
G สังคมไทย social3
G สังคมไทย social3G สังคมไทย social3
G สังคมไทย social3
 
มนุษย์ สังคม วัฒนธรรม
มนุษย์ สังคม วัฒนธรรมมนุษย์ สังคม วัฒนธรรม
มนุษย์ สังคม วัฒนธรรม
 
ม.2 ภาคเรียนที่ 1
ม.2 ภาคเรียนที่ 1ม.2 ภาคเรียนที่ 1
ม.2 ภาคเรียนที่ 1
 
การเปลี่ยนแปลงสังคมไทย
การเปลี่ยนแปลงสังคมไทยการเปลี่ยนแปลงสังคมไทย
การเปลี่ยนแปลงสังคมไทย
 
ข้อสอบสังคม วิทย์
ข้อสอบสังคม วิทย์ข้อสอบสังคม วิทย์
ข้อสอบสังคม วิทย์
 
P6social+science2552
P6social+science2552P6social+science2552
P6social+science2552
 
สาระที่ ๒ หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม
สาระที่ ๒     หน้าที่พลเมือง  วัฒนธรรม  และการดำเนินชีวิตในสังคมสาระที่ ๒     หน้าที่พลเมือง  วัฒนธรรม  และการดำเนินชีวิตในสังคม
สาระที่ ๒ หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม
 
สังคม 53
สังคม 53สังคม 53
สังคม 53
 
ข้อสอบ O net วิชาสังคมศึกษา
ข้อสอบ O net วิชาสังคมศึกษาข้อสอบ O net วิชาสังคมศึกษา
ข้อสอบ O net วิชาสังคมศึกษา
 
03bb7948b0ecfc6376c61960fe8d8be3
03bb7948b0ecfc6376c61960fe8d8be303bb7948b0ecfc6376c61960fe8d8be3
03bb7948b0ecfc6376c61960fe8d8be3
 
สังคมศึกษา
สังคมศึกษาสังคมศึกษา
สังคมศึกษา
 
03bb7948b0ecfc6376c61960fe8d8be3
03bb7948b0ecfc6376c61960fe8d8be303bb7948b0ecfc6376c61960fe8d8be3
03bb7948b0ecfc6376c61960fe8d8be3
 
ข้อสอบสังคมศึกษา ONET 52
ข้อสอบสังคมศึกษา  ONET  52ข้อสอบสังคมศึกษา  ONET  52
ข้อสอบสังคมศึกษา ONET 52
 
สังคม
สังคมสังคม
สังคม
 
แนวข้อสอบวิชาสังคมศึกษา
แนวข้อสอบวิชาสังคมศึกษาแนวข้อสอบวิชาสังคมศึกษา
แนวข้อสอบวิชาสังคมศึกษา
 
ข้อสอบO-NET
ข้อสอบO-NETข้อสอบO-NET
ข้อสอบO-NET
 
M6social2552
M6social2552M6social2552
M6social2552
 
สังคมศึกษา
สังคมศึกษาสังคมศึกษา
สังคมศึกษา
 
M6social2552
M6social2552M6social2552
M6social2552
 

More from Unity' Aing

โครงงาน Smart ruller
โครงงาน Smart rullerโครงงาน Smart ruller
โครงงาน Smart rullerUnity' Aing
 
ใบงานที่ 2-16 _น.ส.อังคณา นันตาดี ม6/9 เลขที่17
ใบงานที่ 2-16 _น.ส.อังคณา  นันตาดี  ม6/9 เลขที่17ใบงานที่ 2-16 _น.ส.อังคณา  นันตาดี  ม6/9 เลขที่17
ใบงานที่ 2-16 _น.ส.อังคณา นันตาดี ม6/9 เลขที่17Unity' Aing
 
สัสังคม Ent 48
สัสังคม Ent 48สัสังคม Ent 48
สัสังคม Ent 48Unity' Aing
 
ฟิสิกส์ Ent 48
ฟิสิกส์ Ent 48ฟิสิกส์ Ent 48
ฟิสิกส์ Ent 48Unity' Aing
 
ชีวะ Ent48
ชีวะ Ent48ชีวะ Ent48
ชีวะ Ent48Unity' Aing
 
เฉลยภาษาไทย Ent 48f
เฉลยภาษาไทย Ent 48fเฉลยภาษาไทย Ent 48f
เฉลยภาษาไทย Ent 48fUnity' Aing
 
เฉลย Ent48 คณิตศาสตร์1
เฉลย Ent48 คณิตศาสตร์1เฉลย Ent48 คณิตศาสตร์1
เฉลย Ent48 คณิตศาสตร์1Unity' Aing
 
เฉลย ฟิสิกส์ Ent 48
เฉลย ฟิสิกส์ Ent 48เฉลย ฟิสิกส์ Ent 48
เฉลย ฟิสิกส์ Ent 48Unity' Aing
 
เฉลย ชีวะ Ent48
เฉลย ชีวะ Ent48เฉลย ชีวะ Ent48
เฉลย ชีวะ Ent48Unity' Aing
 
เฉลย เคมี Ent 48
เฉลย เคมี Ent 48เฉลย เคมี Ent 48
เฉลย เคมี Ent 48Unity' Aing
 
เคมี Ent48
เคมี Ent48เคมี Ent48
เคมี Ent48Unity' Aing
 
ภาษาไทย Ent 48
ภาษาไทย Ent 48ภาษาไทย Ent 48
ภาษาไทย Ent 48Unity' Aing
 

More from Unity' Aing (18)

โครงงาน Smart ruller
โครงงาน Smart rullerโครงงาน Smart ruller
โครงงาน Smart ruller
 
Onet53
Onet53Onet53
Onet53
 
Onet52
Onet52Onet52
Onet52
 
Onet51
Onet51Onet51
Onet51
 
Onet50
Onet50Onet50
Onet50
 
ใบงานที่ 2-16 _น.ส.อังคณา นันตาดี ม6/9 เลขที่17
ใบงานที่ 2-16 _น.ส.อังคณา  นันตาดี  ม6/9 เลขที่17ใบงานที่ 2-16 _น.ส.อังคณา  นันตาดี  ม6/9 เลขที่17
ใบงานที่ 2-16 _น.ส.อังคณา นันตาดี ม6/9 เลขที่17
 
Blog
BlogBlog
Blog
 
สัสังคม Ent 48
สัสังคม Ent 48สัสังคม Ent 48
สัสังคม Ent 48
 
ฟิสิกส์ Ent 48
ฟิสิกส์ Ent 48ฟิสิกส์ Ent 48
ฟิสิกส์ Ent 48
 
ชีวะ Ent48
ชีวะ Ent48ชีวะ Ent48
ชีวะ Ent48
 
เฉลยภาษาไทย Ent 48f
เฉลยภาษาไทย Ent 48fเฉลยภาษาไทย Ent 48f
เฉลยภาษาไทย Ent 48f
 
เฉลย Ent48 คณิตศาสตร์1
เฉลย Ent48 คณิตศาสตร์1เฉลย Ent48 คณิตศาสตร์1
เฉลย Ent48 คณิตศาสตร์1
 
เฉลย ฟิสิกส์ Ent 48
เฉลย ฟิสิกส์ Ent 48เฉลย ฟิสิกส์ Ent 48
เฉลย ฟิสิกส์ Ent 48
 
เฉลย ชีวะ Ent48
เฉลย ชีวะ Ent48เฉลย ชีวะ Ent48
เฉลย ชีวะ Ent48
 
เฉลย เคมี Ent 48
เฉลย เคมี Ent 48เฉลย เคมี Ent 48
เฉลย เคมี Ent 48
 
เคมี Ent48
เคมี Ent48เคมี Ent48
เคมี Ent48
 
002 eng
002 eng002 eng
002 eng
 
ภาษาไทย Ent 48
ภาษาไทย Ent 48ภาษาไทย Ent 48
ภาษาไทย Ent 48
 

เฉลย สังคม Ent 48

  • 1. เฉลย สังคม Ent 48 1. ตอบ 3 ค่านิยมในแต่ละอาชีพ - วัฒนธรรมย่อยในแต่ละสถาบันเศรษฐกิจเกิด จากค่านิยมในแต่ละอาชีพ เช่น หมอ, ครูต้องมีจรรยาบรรณ, เกษตรกรต้องช่วยเหลือ กัน (เก็บเกี่ยวผลผลิต) 2. ตอบ 2 จุดมุ่งหมาย รูปแบบ ความเชื่อ ค่านิยม 3. ตอบ 3 เป็นสังคมเมือง - สังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม คนส่วนมากเป็นเกษตรกร - สังคมไทยเป็นสังคมศาสนาพุทธ คนส่วนมากนับถือศาสนาพุทธ - สังคมไทยเป็นสังคมเจ้าขุนมูลนาย คนส่วนมากยังคงได้รับอิทธิพลจากระบอุปถัมภ์ (ระบบเจ้านาย – ลูกน้อง , ลูกพี่ – ลูกน้อง) - สังคมไทยไม่ใช่สังคมเมือง เพราะ มีคนเพียง ร้อยละ 20 ที่อาศัยในเขตเมือง 4. ตอบ 1 วัฒนธรรมเป็นสมบัติเฉพาะของคนชั่วรุ่น หนึ่ง - วัฒนธรรมเป็นมรดกของสังคม ไม่ใช่เป็นเพียง สมบัติเฉพาะของคนชั่วรุ่นหนึ่งเท่านั้น ข้อ 1 จึงไม่ถูกต้อง 5. ตอบ 1 สตรีไทยมีบทบาททางการเมืองมากขึ้น - ข้อ 2, 3, 4 นับเป็นการ เปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมหรือวิถีชีวิตของสังคม - ข้อ 1 เป็นการเปลี่ยนแปลงทางสังคม คือ การเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างสังคม (สถานภาพ, บทบาท) ไม่ใช่ การเปลี่ยนแปลงทาง วัฒนธรรม) 6. ตอบ 3 การตอบสนองความต้องการของมนุษย์ แตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่มสังคม ข้อ 1 ผิด เพราะการที่มนุษย์สร้างบ้านเป็นไป เพราะการเรียนรู้ ไม่ใช่ เป็นไปตาม สัญชาตญาณ ข้อ 2 ผิด เพราะ วัฒนธรรมกับสังคมมี ความหมายแตกต่างกัน - สังคม หมายถึง กลุ่มคนที่มี ความสัมพันธ์กัน - วัฒนธรรม หมายถึง วิถีชีวิตของ สังคม ข้อ 4 ผิด เพราะ มนุษย์ไม่ได้ติดต่อกันด้วย พฤติกรรมที่เป็นลักษณะเฉพาะของตน เท่านั้นแต่มีการติดต่อกันด้วยพฤติกรรมที่ เป็นลักษณะที่คนทั่วไปในสังคมปฏิบัติต่อ กันด้วย 7. ตอบ 4 นเรศต้องกรวดน้ําทุกครั้งหลังจากตัก บาตรพระแล้ว - จารีตเป็นข้อปฏิบัติเกี่ยวกับความดี – ความชั่ว ข้อ 1 จารีตเป็นแบบแผนหนึ่งของสังคม จึง เกี่ยวข้องกับข้อ 1 ข้อ 2 กฎแห่งกรรม ข้อ 3 ความเมตตากรุณา เป็นเรื่องเกี่ยวกับความดี – ความชั่ว จึงเกี่ยวกับจารีต ข้อ 4 การกรวดน้ําเป็นเรื่องของวิถีชาวบ้าน ไม่ใช่จารีต 8. ตอบ 4 คุณภาพของประชากรโดยเฉพาะในวัย แรงงาน - โจทย์ถามถึงผลที่กระทบมากที่สุด - ผลเสียหายที่สุดของปัญหาสังคม คือ ผลที่ กระทบต่อมนุษย์ ข้อ 1 และข้อ 4 จึงเข้า ข่ายที่ควรจะพิจารณา - แต่ถ้าจะมองถึงผลเสียหายที่สุด คือ ผลระยะ ยาว คือ ผลที่กระทบต่อคุณภาพประชากรใน วัยแรงงาน (ซึ่งจะเป็นช่วงที่ยาวนานกว่าวัยเด็ก และเป็นช่วงที่จะสร้างประโยชน์ต่อสังคมมาก ที่สุด) 9. ตอบ 1 มนุษย์เกิดเพียงชาติเดียว - ศาสนาคริสต์เชื่อว่า คนเราเกิดมาชาติเดียว แล้วหลังจากตายไปรอวันพิพากษาโลกเลย ส่วนศาสนาพราหมณ์เชื่อเรื่องการเวียนว่าย ตายเกิด - ข้ออื่น ๆ เป็นคําสอนที่ตรงกันทั้งศาสนาคริสต์ และศาสนาพราหมณ์ 10. ตอบ 3 การไม่นิยมสร้างรูปเคารพของพระศาสดา
  • 2. - ศาสนาอิสลามไม่มีรูปเคารพใด ๆ ทั้งสิ้น 11. ตอบ 2 ให้ตระหนักว่าเราเอาชนะทุกข์ได้ - ทั้งนี้เพราะพระพุทธเจ้าสอนเรื่องทุกข์ เพื่อให้เราพ้นทุกข์ (เอาชนะความทุกข์ได้) 12. ตอบ 3 ปิดทองหลังพระ - กรรมโยคะ ในศาสนาพราหมณ์– ฮินดู หมายถึง ‚การกระทําที่ไม่หวังผลตอบแทน‛ จึงตรงกับ ‚ปิดทองหลังพระ‛ 13. ตอบ 4 เพื่อประยุกต์คําสอนของแต่ละศาสนามา เป็นหลักในการดําเนินชีวิต ข้อ 1 ผิดที่ ‚หาข้อด้อยของแต่ละศาสนา‛ ข้อ 2 ที่ถูกคือ เพื่อ ‚สันติธรรม‛ ไม่ใช่ ‚ขันติ ธรรม‛ (อดกลั้น) ข้อ 3 เป็นการศึกษาเฉพาะศาสนาที่ตนนับถือ แต่โจทย์ถามถึงศาสนาที่เกี่ยวข้องกับ สังคมไทย 14. ตอบ 2 รัฐมนตรี ข. ขับรถชนคนบาดเจ็บ แต่ ไม่ผิดเพราะเป็นเหตุสุดวิสัย ข้อ 1 ไม่เสมอภาค เพราะห้ามแต่ชาวนา ข้อ 3 ไม่เสมอภาค เพราะเป็นการจํากัดโอกาส ของคนมีการศึกษาน้อย ข้อ 4 ไม่ได้แสดงเหตุผลว่าทําไมนาย ง. จึงเสียภาษีในอัตราที่สูงกว่านาย จ. ข้อ 2 ที่รัฐมนตรีไม่ผิด เค้าบอกว่าเพราะ ‚เป็น เหตุสุดวิสัย‛ ไม่ใช่ ‚เพราะเป็นรัฐมนตรี‛ หมายความว่า ‚ไม่ว่าใครก็ไม่ผิดเพราะ เป็นเหตุสุดวิสัย‛ ข้อนี้แหละที่แสดง ‚ความ เสมอภาค‛ มากที่สุด 15. ตอบ 2 ฝ่ายทหารมีบทบาทในระบบอํานาจนิยม - ทั้งนี้เพราะในช่วง ปี 2480 – 2514 เมืองไทยใช้ระบบเผด็จการทหารสําคัญ ๆ โดยจอมพล 3 ท่านตามลําดับ คือ จอมพล แปลก พิบูลสงคราม, จอมพลสฤษฎ์ ธนะรัชต์ และจอมพลถนอม กิตติขจร 16. ตอบ 3 การส่งเสริมพระราชประเพณีและพิธีการ ทางศาสนาต่าง ๆ - โจทย์ถามวิธีเสริมอํานาจบารมีของกษัตริย์ อยุธยา สมัยอยุธยากษัตริย์ส่งเสริมพระราช ประเพณีและพิธีการทางศาสนาต่าง ๆ เพื่อ เสริมความเป็นเทวราชาของพระองค์ให้มั่นคง มากขึ้น เช่น มีพิธีบรมราชาภิเษกพิธีโสกันต์ มีการใช้ราชาศัพท์ ทําให้ทรงมีบารมีและต่าง จากคนทั่วไปมากขึ้น ข้อ 1 การทําสงครามในสมัยอยุธยา เพื่อแผ่ขยาย ราชอาณาเขต มีเฉพาะกับบริเวณประเทศ เพื่อนบ้าน ไม่ถือเป็นปัจจัยสําคัญในการ เสริมสร้างอํานาจบารมีของพระองค์ ข้อ 2 การควบคุมประชาชนและขุนนางอย่าง ใกล้ชิด เป็นแนวการปกครองสมัย ‚สุโขทัย‛ ข้อ 4 การเสริมสร้างความสัมพันธ์ฉันท์ญาติกับ เพื่อนบ้าน เป็นแนวการปกครองสมัยก่อน สุโขทัยและสุโขทัยตอนต้น 17. ตอบ 2 ฐานะของพระมหากษัตริย์ - ก่อนอื่นนักเรียนต้องเข้าใจก่อนว่าสมัยต้น รัตนโกสินทร์ หมายถึง สมัยรัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 4 สมัยนั้นการปกครองประเทศทั้ง ส่วนกลางและภูมิภาคยังเหมือนเดิม คือ - ส่วนกลางมีจตุสดมภ์ - ส่วนภูมิภาคก็เป็นหัวเมือง แล้วก็ยังมีการ ใช้กฎหมายศักดินาเหมือนเดิม * เพียงแต่สมัยรัชกาลที่ 4 พระมหากษัตริย์เริ่ม เป็นเหมือนธรรมราชา (แบบเดียวกับสุโขทัย ตอนปลาย) คือ รัชกาลที่ 4 ทรงร่วมดื่ม น้ําพระพิพัฒน์สัตยากับเหล่าขุนนาง อันนี้ แสดงให้เห็นว่ากษัตริย์เริ่มเป็นอย่าง ‘มนุษย์ ธรรมดา’ มากขึ้น ไม่เหมือนสมัยอยุธยาที่ กษัตริย์เป็นเทวราชาหรือสมมติเทพ 18. ตอบ 1 ประชาชนมีส่วนร่วมในทางการเมือง - ความเป็นประชาธิปไตยสําคัญที่การให้ ประชาชนมีส่วนร่วมในทางการเมือง - ข้อ 2 และข้อ 4 ยังไม่ได้บ่งว่าเป็นการ ปกครองแบบประชาธิปไตยหรือไม่ 19. ตอบ 2 ศาลปกครอง - ข้อนี้โจทย์เขาถามถึงว่า เราจะฟ้องหน่วย ราชการที่ทําหน้าที่ไม่ดีได้ที่ไหน คําตอบคือ ศาลปกครอง ศาลนี้จะทําหน้าที่
  • 3. ตัดสินข้อพิพาทที่เราฟ้องหน่วยราชการที่ ปฏิบัติงานไม่เป็นธรรมแก่ประชาชน - ข้อ 4 ศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินกรณี สําคัญ เช่น กฎหมายฉบับไหนขัดต่อ รัฐธรรมนูญหรือเปล่า 20. ตอบ 2 เป็นระบบที่ไม่มีกฎหมายเป็นลายลักษณ์ อักษร - ‚ระบบ‛ คอมมอนลอว์ คือ ‚ระบบ‛ กฎหมาย จารีตประเพณี แต่ไม่ได้หมายความว่า จะไม่มีกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรเลย ข้อ 2 จึงผิด - ข้อ 1 จริง เพราะระบบนี้จะยึดถือคําพิพากษา ศาลก่อน ๆ เสมือนกฎหมาย 21. ตอบ 4 ปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของ ประชาชน - การแยกอํานาจอธิปไตยเป็น 3 ส่วน คือ นิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ ก็เพื่อให้ อํานาจไม่รวมศูนย์อยู่ที่จุดเดียว ทั้งนี้เพื่อให้ การปกครองเป็นไปเพื่อประชาชนมากที่สุด - ข้อ 1 การให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการ ปกครองประเทศเป็นเป้าหมายของระบบ ประชาธิปไตยไม่ใช่ เป้าหมายของการแยก อํานาจอธิปไตยเป็น 3 ส่วน 22. ตอบ 4 คณะรัฐมนตรีต้องได้รับความไว้วางใจ จากรัฐสภา - ข้อ 1 ผิด เพราะ รัฐสภาใช้เฉพาะอํานาจนิติ บัญญัติเท่านั้น - ข้อ 2 ผิด เพราะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ซึ่งเป็นสมาชิกรัฐสภา) อาจเป็นฝ่ายบริหารด้วยก็ได้ เช่น ประเทศไทย ก่อนใช้รัฐธรรมนูญปี 2540 - ข้อ 3 ผิด เพราะ นายกรัฐมนตรีมาจากการ เลือกโดยสภาผู้แทนราษฎร ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งโดยตรง 23. ตอบ 3 สมัชชาคนชน - กลุ่มผลประโยชน์ คือ กลุ่มคนที่มีผลประโยชน์ ร่วมกัน และร่วมกันเรียกร้องให้รัฐบาล ให้ประโยชน์แก่กลุ่มตนมากที่สุด - สมัชชาคนจน จึงเข้าลักษณะของกลุ่ม ผลประโยชน์มากที่สุด - ข้อ 2 องค์การกลาง เป็น องค์การทาง การเมืองที่ดูแลการเลือกตั้งให้เกิดความ บริสุทธิ์ยุติธรรม - ข้อ 4 พรรคแรงงาน ถือเป็นพรรค การเมือง ไม่ใช่ กลุ่มผลประโยชน์ 24. ตอบ 3 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร - ทั้งนี้เพราะ ผู้เสนอร่างพระราชบัญญัติ ตามรัฐธรรมนูญปี 2540 มี 3 ประเภท คือ 1. คณะรัฐมนตรี (มาตรา 169) 2. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 20 คนเข้าชื่อกัน โดยมีมติของพรรคการเมืองที่ตนสังกัดให้เสนอ ได้ (มาตรา 169) 3. ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 50,000 คน เข้าชื่อเสนอกัน (มาตรา 170) - ข้อ 3 จึงถูกต้อง 25. ตอบ 2 นาง ข ได้มรดกเป็นเงิน 1,500,000 บาท มารดาของนาย ก ได้เงิน 500,000 บาท - สินสมรสก่อนนํามาทํามรดก ต้องแบ่ง ครึ่งหนึ่งให้คู่สมรสก่อน ในที่นี้คือนาง ข. - หลังจากนั้นจึงนําส่วนที่เหลือมาแบ่งทายาท ในที่นี้ทายาทเหลือเพียง นาง ข. และมารดานาย ก. วิธีทํา สินสมรสมี 2 ล้านบาท แบ่ง ½ ให้นาง ข. 1 ล้านบาท เหลือ 1 ล้านบาท ทายาท (นาง ข, มารดา) 2 คน ได้คนละ 1 ล้าน = 5 แสนบาท 2 คน นาง ข. ได้ส่วนแบ่ง = 1 ล้าน + 5 แสน = 1,500,000 บาท มารดานาย ก. ได้ = 500,000 บาท 26. ตอบ 2 ศาลแพ่ง
  • 4. - คดีเกี่ยวกับบุคคลสาบสูญเป็นคดีที่เกี่ยวข้องกับ สิทธิของบุคคลต้องฟ้องกันที่ศาลแพ่ง 27. ตอบ 2 กรมราชทัณฑ์กับกรมตํารวจ - โจทย์ถามถึงการดําเนินการ ‚กักขังและจําคุก‛ ตามคําพิพากษาของศาล - ผู้ดําเนินการ ‚กักขัง(ที่สถานีตํารวจ)‛ คือ เจ้าหน้าที่ตํารวจ - ผู้ดําเนินการ ‚จําคุก‛ (ในเรือนจํา) คือ เจ้าพนักงานราชทัณฑ์ 28. ตอบ 1 ป่าไม้ผลัดใบ มีคุณลักษณะที่มีไม้ผสม หลายชนิดปรากฏทั่วไปในประเทศไทย แต่ภาค ตะวันตกมีป่าไผ่มากกว่า - ข้อ 1 ผิด เพราะป่าไม้ผลัดใบพบบริเวณที่ แห้งแล้ง ไม่ใช่พบทั่วไป 29. ตอบ 4 ขุนตาล เพชรบูรณ์ ภูเก็ต - ข้อ 1 เทือกเขาตะนาวศรีและดงพญาเย็น วางตัว ในแนวเหนือ– ใต้( ) ส่วนเทือกเขาภูพาน วางตัวในแนวตะวันตกเฉียง เหนือ – ตะวันออกเฉียงใต้ ( ) - ข้อ 2 ทิวเขาพนมดงรัก วางตัวในแนว ตะวันตก– ตะวันออก( --) ส่วนทิวเขาบรรทัดและแดนลาว วางตัวในแนว เหนือ – ใต้ ( ) - ข้อ 3 ทิวเขานครศรีธรรมราชและขุนตาล วางตัวในแนวเหนือ– ใต้ ( ) ส่วนทิวเขาสันกําแพง วางตัวในแนวตะวันตก- ตะวันออก ( -- ) - ข้อ 4 ทิวเขาขุนตาล เพชรบูรณ์ 1 และ ภูเก็ต วางตัวในแนวเหนือ – ใต้ ( ) ทั้งหมด 30. ตอบ 1 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือแห้งแล้งเพราะ น้ําระเหยสู่อากาศมาก - คําตอบคือข้อ 1 ทั้งนี้เพราะที่ภาค ตะวันออกเฉียงเหนือแห้งแล้งเกิดเพราะดิน เป็นทรายน้ําจึงซึมลงดินได้เร็ว ไม่ใช่เพราะน้ํา ระเหยสู่อากาศได้มาก - ข้อ 4 เป็นจริง เพราะชายฝั่งทะเล ฉะเชิงเทรา เป็นหาดโคลนปากแม่น้ําบางปะกงจึง เหมาะในการทําประมงน้ํากร่อย 31. ตอบ 1 ฝนตกเป็นบริเวณกว้าง - พายุฝนฟ้าคะนอง เกิดเป็นระยะเวลา สั้น ๆ ในบริเวณแคบ ๆช่วงที่เกิดพายุลมจะแรง และกระโชกและจะมีฟ้าผ่า ฟ้าร้อง ฟ้าแลบ 32. ตอบ 3 ชะวากทะเล - ชายฝั่งยกตัวจะพบสันทรายจงอย ลากูน (ทะเลใน) อ่าว ส่วนชะวากทะเลจะพบ บริเวณชายฝั่งยุบตัว 33. ตอบ 1 การปลูกพืชหมุนเวียนได้แก่ การปลูกโสน แค กระถิน ถั่วเหลือง ต่อเนื่องกัน - ทั้งนี้เพราะการปลูกพืชหมุนเวียน ไม่ใช่ การปลูกพืชอย่างต่อเนื่อง แต่เป็นการปลูก แบบสลับ เพื่อให้ดินอุดมสมบูรณ์ - ข้อ 3 การยกร่อง (ดิน) และการเติม อินทรียวัตถุให้ดินช่วยปรับปรุงให้ดินดีขึ้น ข้อ 3 จึงถูกต้อง - ข้อ 4 การปลูกป่า และขุดบ่อพักน้ํา (พักน้ําเสีย) ช่วยทําให้สภาพแวดล้อมดีขึ้น เป็นการบูรณะทรัพยากรอย่างหนึ่ง 34. ตอบ 2 เป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุด ได้รับ บริการพร้อมจากภาครัฐบาลและเอกชน - ทั้งนี้เพราะ ‚เอกนคร‛ หมายถึง เมืองที่มี ประชากรอยู่มากที่สุด หนาแน่นที่สุด มากกว่าเมืองอันดับ 2 ของประเทศ อย่างเห็นได้ชัด 35. ตอบ 2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีทรัพยากรดิน และน้ําอุดมสมบูรณ์น้อยกว่าภาคอื่นๆ ทําให้การ เกษตรกรรมไม่ได้ผล - ข้อ 1 ที่ถูกคือ ภาคเหนือขาดที่ดินทํากิน เพราะพื้นที่เป็น ‚ภูเขา‛ - ข้อ 3 ที่ถูกคือ ภาคที่มีพื้นที่ติดชายฝั่งมาก ที่สุดคือ ภาคใต้ - ข้อ 4 ผิด เพราะ ทรัพยากรธรรมชาติ บางอย่างของภาคใต้ก็ไม่ได้อุดมสมบูรณ์ เช่น ดิน ซึ่งส่วนมากเป็นพรุ - ข้อ 2 ถูกที่สุด เพราะภาคอีสานทําเกษตรไม่ ได้ผลเพราะดินเป็นทรายและขาดแคลนน้ํา 36. ตอบ 4 ลมพายุ พื้นดินพื้นน้ํา ตําแหน่งที่ตั้ง - ข้อ 1 และข้อ 2 ผิด เพราะป่าไม้ไม่ได้มีผล ต่อภูมิอากาศโดยตรง
  • 5. - ข้อ 3 ความกดอากาศ ไม่ได้มีผลต่ออากาศ โดยตรง - ข้อ 4 ลมพายุ มีผลต่อ ความชื้นบริเวณที่ลม ผ่านพื้นดินพื้นน้ํา มีผลต่อ ความร้อนหนาว บริเวณพื้นที่นั้น ๆตําแหน่งที่ตั้ง (ละติจูด) มีผลต่ออุณหภูมิของพื้นที่ 37. ตอบ 4 น้ําที่ท่วมขังบริเวณนี้ระบายออกช้า - ภาคกลางตอนล่าง หมายถึง พื้นที่ใต้จังหวัด นครสวรรค์ลงมา มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มต่ํา จึงน้ําท่วมง่าย ระบายออกง่าย - ข้อ 1 ผิด เพราะ น้ําเน่าเกิดจากคนทิ้ง ไม่ใช่ ภูมิประเทศ - ข้อ 2 ผิด เพราะ น้ําจากแม่น้ําจะท่วมเฉพาะ บริเวณริมแม่น้ําเท่านั้น - ข้อ 3 ผิด เพราะ น้ําทะเลหนุนเกิดเฉพาะ บริเวณชายฝั่งของภาคกลางไม่ใช่ทุกจังหวัดของ ภาคกลางตอนล่าง 38. ตอบ 3 จัดแบ่งที่ดินทํากินเป็นสัดส่วน เพื่อให้ เกษตรกรมีรายได้ตลอดปี 39. ตอบ 4 เป็นเขตน้ําลึกและมีเกาะแก่งกําบังคลื่น ลม - ข้อ 1 ผิด เพราะที่ที่เหมาะจะสร้างท่าเรือควร จะ ‚น้ําลึก‛ ไม่ใช่ชายหาดกว้าง - ข้อ 3 ผิด เพราะชลบุรีขาดน้ําจืด - ข้อ 2 ถึงจะถูก แต่ไม่ใช่ลักษณะทาง ‚ภูมิศาสตร์‛ อย่าลืมว่าโจทย์ถาม ‚ลักษณะ ทางภูมิศาสตร์‛ ข้อ 4 จึงถูกต้อง 40. ตอบ 2 ขาดแคลนแหล่งน้ําที่จะสร้างเขื่อนและ อ่างเก็บน้ํา - ภาคตะวันออกมีปัญหาเรื่องแม่น้ําเป็นสาย สั้น ๆไม่เหมาะที่จะสร้างเขื่อน หรืออ่างเก็บ น้ําเพื่อเก็บน้ําไว้ใช้ในฤดูแล้ง - ข้อ 1,3,4 ผิดข้อเท็จจริงของภาค 41. ตอบ 3 380,000 บาท - ผลตอบแทนของเจ้าของปัจจัยการผลิต ได้แก่ ดอกเบี้ย ค่าเช่า เงินเดือน และกําไร - ในที่นี้นายประกอบมีผลตอบแทนจากการ เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต 3 ประการ คือ 1) ดอกเบี้ย (เงินฝาก) 200,000 บาท 2) ค่าเช่า (ที่ดิน) 100,000 บาท 3) กําไร 80,000 บาท  ผลตอบแทนจากการเป็น เจ้าของปัจจัยการผลิตรวม 380,000 บาท 42. ตอบ 4 นายแย้มตกลงขายส้มโอให้นายจอม เพราะไม่ต่อราคา - ปัญหาพื้นฐานเศรษฐกิจ คือ ทรัพยากรมีจํากัด - ข้อ 1 แสดงถึงว่าทรัพยากร ‚ที่ดิน‛ มีจํากัด - ข้อ 2 แสดงถึงว่าทรัพยากร ‚เงิน‛ มีจํากัด - ข้อ 3 แสดงถึงว่าทรัพยากร ‚แรงงาน‛ มี จํากัด - ข้อ 4 ไม่ได้แสดงปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ 43. ตอบ 4 การเข้าอบรมวิธีใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ - การผลิต คือ การทํางาน การประกอบอาชีพ ข้อ 1, 2, 3 เป็นการประกอบอาชีพจึงเป็นการ ผลิต - ข้อ 4 เข้าอบรมวิธีใช้คอมพิวเตอร์ ถือเป็น การ บริโภค (ใช้บริการ) ไม่ใช่ การผลิต 44. ตอบ 2 อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงขึ้น อย่างมีเสถียรภาพ การกระจายรายได้เสมอภาค มากขึ้น ทั้งนี้เพราะปัจจุบันอัตราการเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจของไทยลดลงและการกระจาย รายได้ยังไม่เป็นธรรม 45. ตอบ 2 ราคายางพาราในประเทศในปีนี้ตกต่ํากว่า ปีที่แล้ว เศรษฐศาสตร์จุลภาคเป็นเศรษฐกิจ เฉพาะของหน่วยย่อย ไม่ใช่ ภาคเศรษฐกิจรวม ของทั้งประเทศ ข้อ 1 ปัญหาการว่างงานของคนในประเทศ ข้อ 3 ปัญหาแรงงานขาดทักษะ (ซึ่งเป็นปัญหารวมของทั้งระบบเมืองไทย) ข้อ 4 เกษตรกร (ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของ ประเทศ) มีรายได้ต่ํากว่านายทุน ทั้ง 3 ข้อจัดเป็นเรื่องของภาพรวมของประเทศ จึงจัดเป็นเศรษฐศาสตร์มหภาค ส่วนข้อ 2 ราคายางพารา ทําแม้นจะมีคําว่า ‚ในประเทศ‛ แต่เป็น เพียงสินค้าตัวเดียว จัดเป็นเศรษฐศาสตร์
  • 6. จุลภาค (เพราะยางพาราราคาตกแต่ราคา สินค้าตัวอื่นอาจจะไม่ตกก็ได้) ข้อ 2 จึง ถูกต้องที่สุด 46. ตอบ 2 การลดลงของราคาสินค้าเมื่อเกิดอุปทาน ส่วนเกิน - ตามกลไกราคา ถ้าเกิดอุปสงค์ส่วนเกิน พูดง่าย ๆ คือ คนต้องการซื้อเยอะมาก จะทําให้ราคาของแพงขึ้นและคนขายเขาก็ ต้องผลิตของมาขายเยอะขึ้น (กําไรดีนี่) เพราะฉะนั้น ข้อ 1, 3, 4 ผิดพร้อมกันเลย - ข้อ 2 ถูก เพราะเมื่อเกิดอุปทาน ส่วนเกิน คือ คนขายมากเกินไป เขาก็ต้อง ลด ราคาของที่เขาจะขาย 47. ตอบ 2 เงินบาทมีค่าสูงขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยน - 1 มกราคม 2537 200 เยน = 1 US ดอลลาร์ = 20 บาท (10 เยน = 1 บาท) - 1 กุมภาพันธ์ 2537 15 เยน = 1 บาท และ 200 เยน = 1 US ดอลล่าร์ - ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ เมื่อเทียบระหว่าง เงินเยนและเงินบาทแล้วค่าเงินบาทสูงขึ้น (1 บาท แลกเงินเยนได้เพิ่ม5เยน) และ ค่าเงินเยนต่ําลง ตรงกับตัวเลือกข้อ 2 - ข้อ 3 โจทย์ไม่ได้บอกค่าเงินดอลลาร์ เทียบกับเงินบาทในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2537 มา - ข้อ 4 ตามโจทย์ เงินเยนกับเงินดอลลาร์ มีค่าเท่าเดิม ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2537 48. ตอบ 2 ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 2 พันล้าน บาท - ทั้งนี้เพราะเรามีสูตรว่า - ในที่นี้โจทย์บอกว่า สินค้าเข้า = - 8,000 ล้านบาท สินค้าออก = +7,000 ล้านบาท  ดุลการค้า = - 1,000 ล้านบาท โจทย์บอกว่า ดุลบริการ = + 3,000 ล้านบาท  บัญชีเดินสะพัด = + 2,000 ล้านบาท สรุปคือ ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 2,000 ล้านบาท 49. ตอบ 2 GNP น้อยกว่า GDP ทุกปี - GDP หมายถึง รายได้ที่เกิดขึ้นในประเทศ ไทย ส่วน GNP หมายถึงรายได้ที่เกิดโดย คนไทย - ทุกปี GDP ของไทยจะมากกว่า GNP ทั้งนี้เพราะรวมรายได้ที่ชาวต่างชาติมาลงทุน ใน เมืองไทยมีจํานวนมากกว่ารายได้ที่ไทยไป ลงทุนในต่างประเทศ 50. ตอบ 4 ระบบทุนนิยมช่วยลดปัญหาการกระจาย รายได้ที่ไม่เป็นธรรม - ข้อ 4 ผิด เพราะทุนนิยมทําให้เกิดความ แตกต่างทางเศรษฐกิจระหว่างคนรวยกับคนจน ไม่ได้ช่วยลดปัญหาการกระจายรายได้ 51. ตอบ 2 เพิ่มรายได้ประชาชาติในอัตราที่สูงกว่า อัตราการเพิ่มของระดับราคา - การที่อัตรารายได้ประชาชาติเพิ่มสูงกว่าอัตรา ราคาสินค้าทั่วไป หมายความว่าประชาชนมีเงิน ซื้อบริการมากขึ้นความเป็นอยู่ก็จะดีขึ้น 52. ตอบ 4 การลดการขยายเครดิตของธนาคาร พาณิชย์ - นโยบายการเงินในการแก้ปัญหาเงินเฟ้อ คือ 1. เพิ่มอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางและ ธนาคารพาณิชย์ 2. เพิ่มอัตราเงินสดสํารองตามกฎหมาย 3. ลดการขยายเครดิตของธนาคารพาณิชย์ 53. ตอบ 4 มีการร่วมมือกันจัดตั้งกองทุนร่วมเพื่อ พัฒนาระหว่างอาเซียนกับประชาคมยุโรป - ข้อ 2 ผิดเพราะโครงการอุตสาหกรรม ของอาเซียนที่ส่งเสริมในไทยคือ ‚โครงการโซดาแอช‛
  • 7. 54. ตอบ 4 ความสามารถในการแข่งขันของสินค้า ไทยลดลง เงินบาทแข็งตัวเกินไป และคนไทยใช้ จ่ายเกินตัว - สาเหตุหลักที่ประเทศไทยประสบวิฤต เศรษฐกิจก็คือ 1. ความสามารถในการแข่งขันของสินค้า ไทยลดลง เพราะมีคู่แข่งเยอะขึ้น ตัวเลือก 1 และ 3 จึงผิด 2. เงินบาทแข็งตัวเกินไป ทําให้ราคา สินค้าออกแต่เดิมแพง ตัวเลือก 2 จึงผิด 3. คนไทยใช้จ่ายเกินตัว * มีนักเรียนหลายคนสงสัยว่า ‚ตอนนี้เงิน บาทอ่อนตัวลงไม่ใช่หรือ ?‛ คําตอบคือ ใช่ แต่เขาไม่ได้ถามว่าตอนนี้เกิดอะไร ขึ้น แต่เขาถาม ‚สาเหตุของปัญหา‛นะ เพราะฉะนั้น สาเหตุคือ ค่าเงินมันแข็ง เกินไป ในที่สุดมันเลยเกิดปัญหาจน ทําให้ค่าเงินตอนนี้เลยต้องอ่อนตัวลง 55. ตอบ 4 เป็นจุดเริ่มต้นของการผลิตเพื่อการตลาด - ระบบเศรษฐกิจแบบเงินตราเป็นจุดเริ่มต้น ที่ทําให้เกิดการผลิตเพื่อการค้า (การตลาด) ข้อ 4 ถูกต้อง - ข้อ 1 และ ข้อ 3 ผิด เพราะระบบ เศรษฐกิจแบบเงินตราไม่ได้ทําลาย โครงสร้างสังคมหรือชุมชน 56. ตอบ 4 การจัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ - โจทย์ถามการปฏิรูปที่ส่งผลต่อความมั่นคง ของกษัตริย์ สมัยต้นรัชกาลที่ 5 - ข้อ 2 การยกเลิกระบบเจ้าภาษีนายอากร ทําเพื่อราษฎรไม่เดือดร้อน เพราะถูกขูด รีดภาษีแพงเกินไป - ข้อ 3 การจ่ายเงินเดือนข้าราชการทําเพื่อให้ ข้าราชการได้รับเงินตอบแทนตามระบบ สมัยใหม่ - ข้อ 1 การทํางบประมาณแผ่นดิน เกิดขึ้น พ.ศ. 2433 สมัยกลางรัชกาลที่ 5 (รัชกาลที่ 5 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2411) - ข้อ 4 การจัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ ทํา เพื่อให้ พระมหากษัตริย์สามารถควบคุมภาษีอากร ทั้งปวงได้อย่างแท้จริง ตั้งใน พ.ศ. 2416 (ต้นรัชกาลที่ 5) 57. ตอบ 3 หมดภาระรับใช้บ้านเมือง - การเลิกไพร่ทําให้ชายไทยหมดภาระในการ เข้าเวร (ข้อ 1) หมดภาระเสียส่วย(ข้อ 2) และหมด ภาระ ในระบบอุปถัมภ์(คือ ระบบมูลนาย –ไพร่ ที่ช่วยเหลือกัน)ในข้อ 4 - แต่ถึงจะยกเลิกไพร่แล้ว ประชาชนก็ยังคงมี หน้าที่ต้องรับใช้บ้านเมืองอยู่ดี ข้อ 3 จึงถูกต้อง 58. ตอบ 2 สนธิสัญญาเบอร์นีย์เป็นสนธิสัญญาที่ ไทยเสียเปรียบอังกฤษมาก - สนธิสัญญาเบอร์นีย์เป็นสนธิสัญญาที่ตะวันตก เสียเปรียบไทย ดังนั้น อังกฤษจึงพยายามเข้า มาแก้ไขสนธิสัญญานี้หลายครั้ง - ข้อ 3 ถูกต้อง เพราะไทยเสียดินแดนแก่ ฝรั่งเศสครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2410 ในสมัยรัชกาล ที่ 4 โดยไทยยอมรับว่าเขมร และเกาะกงเป็น ของฝรั่งเศส 59. ตอบ 1 การปลูกฝังเรื่องค่านิยมของคนไทย *นโยบายรัฐนิยม= นโยบายชาตินิยมของจอมพล ป. ที่เน้นให้คนไทยมีค่านิยมรัก‚ความเป็นไทย‛ ข้อ1 จึงถูกต้อง* - ข้อ 2 ผิดที่ ‚บางประการ‛ เพราะนโยบายนี้ เปลี่ยนแปลงชีวิต ‚หลายด้าน‛ - ข้อ 3 การให้เลื่อมใสผู้นําเป็นเรื่อง ‚ลัทธิผู้นํา‛ ไม่ใช่ ‚ลัทธิชาตินิยม‛ - ข้อ 4 ผิดจากความจริงเลย 60. ตอบ 3 ปรับปรุงตนเองให้เจริญทัดเทียมชาติ ตะวันตก - การปฏิวัติยุคเมจิ สมัยจักรพรรดิมัตสุหิต โตมีจุดประสงค์หลัก คือ เพื่อปรับปรุงและ พัฒนาญี่ปุ่นให้เจริญทัดเทียมตะวันตก 61. ตอบ 3 เจียง ไค-เช็ค กับ เหมา เจ๋อ-ตุง
  • 8. - เจียง ไค เช็ค เป็นผู้นําของพรรคก๊กมินตั๋ง ต่อสู้กับเหมา เจ๋อ ตุง ผู้นําฝ่ายคอมมิวนิสต์ ต่อมาเมื่อ ค.ศ. 1949 พรรคคอมมิวนิสต์ ชนะเจียง ไค เช็คและพลพรรคก๊กมินตั๋ง ต้องอพยพ ไปตั้งมั่นอยู่ที่เกาะไต้หวัน 62. ตอบ 3 เป็นภูมิภาคที่สามารถผสมผสาน วัฒนธรรมหลักจากภายนอก - ทั้งนี้เพราะบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นบริเวณที่รับวัฒนธรรมจากอินเดียและ จีนเข้ามาผสมผสานกัน - ข้อ 1 ผิด ที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ มี ‚วัฒนธรรมของตัวเอง‛ - ข้อ 2 ผิด เพราะเฉพาะอินโดนีเซีย เท่านั้นที่เป็นศูนย์กลางการค้าเครื่องเทศ ที่สําคัญที่สุดของโลก - ข้อ 4 ผิด เพราะบริเวณนี้ไม่ค่อยมีความ ขัดแย้งการเมืองระหว่างประเทศ 63. ตอบ 1 การต่อสู้ของกลุ่มชาตินิยมในแต่ละ ประเทศ - ทั้งนี้เพราะชาติในเอเชียอาคเนย์เกิด ความรู้สึกชาตินิยมเหมือนอย่างอินเดียจึง ต่อสู้เพื่อเรียกร้องเอกราช จนประเทศแม่ ต้องมอบเอกราชให้ - จะเห็นว่าข้อ 4 ผิดชัดที่สุด เพราะจริง ๆ ประเทศแถบนี้ต้องต่อสู้กว่าจะได้เอกราช มาไม่ใช่ ประเทศแม่มอบเอกราชให้อย่างสันติ 64. ตอบ 4 การกลับไปสู่ศรัทธาในพระเจ้า เพื่อ แสวงหาสัจธรรมแห่งชีวิต - เพราะยุคแห่งความรู้แจ้ง(ยุคภูมิธรรม) เป็นยุคที่มนุษย์สนใจในเรื่องเกี่ยวกับภูมิ ปัญญา หรือเหตุผล ข้อ 4 จึงไม่ถูกต้อง 65. ตอบ 1 ความพยายามหาแหล่งวัตถุดิบและตลาด สินค้าของประเทศแม่โดยใช้วิธีการผูกขาด - ลัทธิพาณิชยนิยมก่อให้เกิดความขัดแย้งทาง การเมืองได้เพราะทําให้เกิดการแย่งกันหา เมืองขึ้น(ลัทธิอาณานิคม) เพื่อเป็นแหล่งวัตถุดิบ และแหล่งตลาด 66. ตอบ 3 การล้อมรั้วที่ดินและการใช้ที่ดินอย่างมี ประสิทธิภาพมากขึ้น - การปฏิวัติการเกษตรในยุโรป คือ การใช้ระบบ นาปิด (ล้อมรั้วที่ดิน) และใช้ที่ดินอย่างมี ประสิทธิภาพ (ปลูกพืชหมุนเวียน,ใส่ปุ๋ย) 67. ตอบ 2 เชื่อในการปกครองระบอบกษัตริย์ - จุดเด่นของโทมัส ฮอบส์ คือเขาต้องการการ ปกครองแบบมีพระมหากษัตริย์ แต่เป็นกษัตริย์ ที่มาจากประชาชน ข้อ 2 จึงดีที่สุด 68. ตอบ 2 ผลกระทบจากลัทธิจักรวรรดินิยม - การปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ. 1789 มีสาเหตุสําคัญ มาจากหลายสาเหตุ คือ (1) สภาพเศรษฐกิจฝรั่งเศสย่ําแย่ มีการเรียก เก็บ ภาษีเพิ่มขึ้น ทําให้สามัญชนไม่พอใจระบบ อภิสิทธิ์ของชนชั้นสูงที่ผลักภาระการเสียภาษีมา ให้แก่กลุ่มตน (ข้อ 3 – 4 ) (2) ได้เห็นการทําสงครามประกาศอิสรภาพของ ประเทศสหรัฐอเมริกา (ข้อ 1) 69. ตอบ 3 ให้ประโยชน์สูงสุดในสภาพแวดล้อมของ ท้องถิ่นนั้น ๆ - เทคโนโลยีที่เหมาะสมจะต้องเกิดประโยชน์ สูงสุดในสภาพแวดล้อมนั้น ๆ ข้อ 3 จึงถูก ที่สุด - ข้อ 1 ยังมีข้อแย้งได้ว่าแล้วเกิด ประโยชน์สูงสุดเท่าข้อ 3 หรือไม่ (เพราะข้อ 3 ประโยชน์สูงสุด คือ เมื่อเทียบ จากต้นทุนและผลตอบแทนที่ได้แล้ว) - ข้อ 2 มีข้อแย้งได้ว่าถ้าประเทศนั้นมี ฐานะจําเป็นต้องใช้เทคโนโลยีแพงหรือ ? - ข้อ 4 ผิดที่ ‘มีราคาแพง’ 70. ตอบ 3 ระบบโรงงานอัตโนมัติ - ถ้านําคอมพิวเตอร์มาใช้ในโรงงานมาก จะทํา ให้การทํางานในโรงงานเป็นไปตามโปรแกรม จนเป็นระบบโรงงานอัตโนมัติ (Factory Automation) - ข้อ 4 ‚ระบบสายพานอัตโนมัติ‛ เป็นผล มาจากการนํา ‚เครื่องจักร‛ มาใช้ - ข้อ 1 ‚ระบบประมวลผลกลาง‛ เป็นการ ใช้คอมพิวเตอร์ในทาง ‚คิดคํานวณ‛
  • 9. 71. ตอบ 4 การลงทุนทางตรงจากประเทศเจ้าของ เทคโนโลยี - การถ่ายทอดเทคโนโลยีผ่านหนังสือ, ผ่าน การสังเกตการณ์(ไปดูงาน) หรือผลิตภัณฑ์ ไม่มีประสิทธิภาพเท่าการที่ประเทศเจ้าของ เทคโนโลยีเป็นผู้ถ่ายทอดเองด้วยการ ลงทุนทางตรง 72. ตอบ 2 ค่าจ้างแรงงานต่ํา - โจทย์ถามว่า ข้อไหนไม่ใช่ปัญหาการใช้ เทคโนโลยีเกษตรของไทย - ข้อ 1 จริง เพราะใช้เทคโนโลยีเข้าช่วย ต้นทุนการผลิตจะสูง - ข้อ 3 จริง เพราะมีการใช้ยาฆ่าแมลง ทําให้เกิดมลพิษ - ข้อ 4 จริง เพราะเกษตรกรยังขาด ความรู้เรื่องการใช้เครื่องมือทางการเกษตร - ข้อ 2 ค่าจ้างแรงงานต่ํา น่าจะเป็นผลดี ต่อการเกษตร (ต้นทุนต่ํา) ไม่ใช่ผลเสีย 73. ตอบ 4 ข้อ (ง) ผู้ใหญ่ไม่มีสิทธิ์ก้าวก่ายในเรื่อง ความสัมพันธ์ทางเพศของเยาวชน 74. ตอบ 2 ปัญหาทางศาสนา - IRA (Irish Revolution Army) เป็นกลุ่ม คริสต์นิกายคาทอลิกที่มีปัญหาความ ขัดแย้งกับชาวอังกฤษซึ่งเป็นกลุ่มคริสต์ นิกายโปรเตสแตนต์ 75. ตอบ 2 การให้การศึกษาขั้นพื้นฐานแก่ทุกกลุ่ม เชื้อชาติและศาสนา - ข้อ 2 เป็นวิธีที่ดีที่สุดที่ทําให้เกิดความเข้าใจ อันดีระหว่างทุกกลุ่มชนในสังคม 76. ตอบ 4 สงครามอ่าวเปอร์เซีย เกิดขึ้นเพราะ ความขัดแย้งทางการเมืองของสองอภิมหาอํานาจ - สงครามอ่าวเปอร์เซีย(อิรัก–คูเวต)เกิดเพราะ อิรักต้องการเข้าไปยึดคูเวตเป็นดินแดนของตน ไม่ได้เกิดจากความขัดแย้งระหว่างอเมริกากับ โซเวียต - ข้อ 1 สงครามครูเสต เกิดเพราะศาสนา คริสต์ ขัดแย้งกับ ศาสนาอิสลาม - ข้อ 2 อินเดีย – ปากีสถาน มีปัญหาแย่ง แคว้นแคชเมียร์กัน - ข้อ 3 เวียดนามเกิดสงคราม เพราะการ แทรกแซงของอเมริกา และโซเวียต 77. ตอบ 2 การลดบทบาททางทหารของ สหรัฐอเมริกา - ประธานาธิบดีนิกสันประกาศหลักการสําคัญ ในช่วงสงครามเย็นว่าจะลดบทบาทของ สหรัฐอเมริกาในการทหาร 78. ตอบ 4 ชาวอิสราเอลแปรสภาพทะเลทรายให้ อุดมสมบูรณ์ 79. ตอบ 3 ประชากรวัยเด็กมีสัดส่วนต่ํากว่า ประชากรวัยทํางาน - การพัฒนาประเทศได้มาก–น้อยขึ้นกับช่วงอายุ ของคนในประเทศไม่ใช่ด้านเพศ ข้อ 2 จึงไม่ถูกต้องประเทศที่จะพัฒนาได้มาก คือ ประเทศที่มีประชากรวัยแรงงานมาก ข้อ 3 จึงดีที่สุด 80. ตอบ 3 ประชากรขาดการศึกษา - การพัฒนาประชากรจะมีอุปสรรคที่สุดถ้าคน ขาดการศึกษา - ข้อ 2 ประชากรยึดค่านิยมโบราณก็เกิดเพราะ ประชากรขาดการศึกษา ดังนั้นคําตอบข้อ 3 จึงถือว่าดีที่สุดแล้ว - การแปรสภาพทะเลทรายให้อุดมสมบูรณ์ แสดงให้เห็น ‚ความสามารถ‛ ของ‚มนุษย์‛ - ข้อ 1 เน้นไปที่ ‚กําลังกาย‛ - ข้อ 2 เน้นไปที่ ‚ทรัพยากร‛ - ข้อ 3 จะเน้นไปเฉพาะที่ ‚ผู้นํา‛ คือ ‚พระมหากษัตริย์‛ เท่านั้น