SlideShare a Scribd company logo
1 of 10
Download to read offline
1
                             แนะน�ำรังสีเอกซ์
                            (Introduction to X-rays)




_12-24 (001-016)P4.indd 1                              2/8/13 12:41 PM
… 2 …	                                                                           เทคนิคการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์เบื้องต้น


                      สเปกโทรสโกปี (spectroscopy) เป็นเทคนิคที่ศึกษาเกี่ยวกับอันตรกิริยา (interaction)
                 ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic wave) กับสสาร (matter) เมื่อคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
                 กระทบกับสสาร อันตรกิริยาที่เกิดขึ้นสามารถเกิดได้หลายปรากฏการณ์ ได้แก่
                      -			การสะท้อน (reflection)
                      -			การส่งผ่าน (transmission)
                      -			การดูดกลืน (absorption)
                      -			การเปล่งแสง (luminescence) ประกอบด้วย
                      				-			การเรืองแสง (phosphorescence)
                      				-			การวาวแสง (fluorescence)
                      -			การกระเจิง (scattering)
                      -			การหักเห (refraction)
                      -			การเลี้ยวเบน (diffraction)
                            ผู ้ เ ขี ย นขอทบทวนเนื้ อ หาเกี่ ย วกั บ รั ง สี แ ม ่ เ หล็ ก ไฟฟ ้ า ให ้ ผู ้ อ ่ า นก ่ อ นแนะน� ำ ให ้ รู ้ จั ก
                 รั ง สี เ อกซ์ หลั ง จากนั้ น จะอธิ บ ายถึ ง การน� ำ เอารั ง สี เ อกซ์ ไ ปประยุ ก ต์ ใ ช้ ใ นการวิ เ คราะห์
                 สสารด้วยเทคนิคการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ ซึ่งจะเป็นประเด็นส�ำคัญในหนังสือเล่มนี้
                         คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic wave) เป็นคลื่นตามขวาง (transverse
                                                                 r
                 wave) ประกอบด้วยสนามไฟฟ้า (electric field: E ) และสนามแม่เหล็ก (magnetic field:
                  r
                 B ) ที่มีการสั่นในแนวตั้งฉากกัน และทิศทางการเคลื่อนที่ (propagation of direction) ของ
                 คลื่นนั้นตั้งฉากกับการสั่นของสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก ดังแสดงในรูปที่ 1.1 คลื่น
                 แม่เหล็กไฟฟ้าเป็นคลื่นที่ไม่ต้องใช้ตัวกลางในการเคลื่อนที่ สามารถเคลื่อนที่ในสุญญากาศ
                 ได้ด้วยอัตราเร็วของแสง (speed of light) (c = 299,792,458 m/s ∼ 3 × 10 m/s)                             8




_12-24 (001-016)P4.indd 2                                                                                                                            2/8/13 12:41 PM
บทที่ 1 : แนะนำ�รังสีเอกซ์	                                                                   …3…




                                            รูปที่ 1.1 การสั่นและทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

                               สเปกตรัม (spectrum) ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะประกอบด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
                       ที่มีความถี่และความยาวคลื่นในช่วงต่างกัน ถ้าเรียงล�ำดับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเหล่านี้จาก
                       ความถี่ต�่ำไปยังความถี่สูง หรืออีกนัยหนึ่ง เรียงล�ำดับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากความยาวคลื่น
                       สู ง ไปยั ง ความยาวคลื่ น ต�่ ำ จะได้ เ ป็ น สเปกตรั ม คลื่ น แม่ เ หล็ ก ไฟฟ้ า ต่ อ เนื่ อ งตามรู ป ที่ 1.2
                       ได้แก่ คลื่นวิทยุ (radio waves) คลื่นไมโครเวฟ (microwaves) รังสีอินฟราเรด (infrared)
                       แสงที่มองเห็นด้วยตาเปล่า (visible light) แสงอัลตราไวโอเลต (ultraviolet light) รังสี
                       เอกซ์ (X-rays) ประกอบด้วยรังสีเอกซ์พลังงานต�่ำ หรือซอฟต์เอกซเรย์ (soft X-rays)
                       กับรังสีเอกซ์พลังงานสูง หรือฮาร์ดเอกซเรย์ (hard X-rays) และรังสีแกมมา (gamma
                       rays) ตามล�ำดับ โดยที่ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวคลื่น (wavelength: λ) ความถี่
                       (frequency: f ) และอัตราเร็วของแสง (speed of light: c) เป็นไปตามสมการ
                       ส�ำหรับความสัมพันธ์ระหว่างพลังงาน (energy: E) และความยาวคลื่น เป็นไปตามสมการ
                                    เมื่อ   h   เป็นค่าคงที่ของพลังค์ (Planck’s constant) มีค่าประมาณ 6.626 x 10-34
                       จูล-วินาที



_12-24 (001-016)P4.indd 3                                                                                                              2/8/13 12:41 PM
… 4 …	                                                          เทคนิคการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์เบื้องต้น




                                                                                                                 	
  
                                              รูปที่ 1.2 สเปกตรัมของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

                            ปั จ จุ บั น เราสามารถพบเห็ น การใช้ ง านของคลื่ น แม่ เ หล็ ก ไฟฟ้ า ในหลาย ๆ แบบ
                 ได้แก่
                          คลื่ น วิ ท ยุ (radio waves) มีความถี่ช่วง 104-109 Hz หรือความยาวคลื่นช่วง
                 ตั้ ง แต่ 10 -1-10 5 เมตร เนื่ อ งจากคลื่ น ในช่ ว งความถี่ นี้ ส ามารถหั ก เหและสะท้ อ นได้ ใ น
                 ชั้ น บรรยากาศ จึ ง น� ำ มาใช้ ป ระโยชน์ ใ นการติ ด ต่ อ สื่ อ สารจากเครื่ อ งส่ ง ของสถานี ไ ปยั ง
                 เครื่องรับตามบ้าน มีการส่งสัญญาณ 2 ระบบ คือ ระบบเอเอ็ม (amplitude modulation:
                 AM) มีช่วงความถี่ 530-1600 kHz และระบบเอฟเอ็ม (frequency modulation: FM)
                 มีช่วงความถี่ 88-108 MHz
                        คลื่นไมโครเวฟ (microwaves) มีความถี่ช่วง 108-1012 Hz หรือความยาวคลื่น
                 ช่วงตั้งแต่ 100-10-3 เมตร พบได้ในเตาไมโครเวฟท�ำอาหาร และใช้ส่งสัญญาณโทรทัศน์
                 จากการที่ ค ลื่ น ไมโครเวฟไม ่ ส ะท ้ อ นกลั บ สู ่ ผิ ว โลกที่ ชั้ น บรรยากาศไอโอโนสเฟ ี ย ร ์ (iono-
                 sphere) จึงท�ำให้สามารถทะลุผ่านชั้นบรรยากาศไปนอกโลกได้ นอกจากนี้คลื่นไมโครเวฟ
                 ยังสะท้อนกับผิวโลหะได้ดีอีกด้วย จึงน�ำไปใช้ประโยชน์ในการเป็นเรดาร์ตรวจหาต�ำแหน่ง
                 ของอากาศยาน
                        รังสีอินฟราเรด (infrared) เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า รังสีใต้แดง มีความถี่ช่วง 1011-1014 Hz
                 หรื อ ความยาวคลื่ น ตั้ ง แต่ 10 -6-10 -3 เมตร ซึ่ ง มี ช ่ ว งความถี่ ค าบเกี่ ย วกั บ คลื่ น ไมโครเวฟ




_12-24 (001-016)P4.indd 4                                                                                                  2/8/13 12:41 PM
บทที่ 1 : แนะนำ�รังสีเอกซ์	                                                                                …5…

                       วัตถุร้อนและสิ่งมีชีวิตสามารถแผ่รังสีอินฟราเรดได้ รังสีอินฟราเรดสามารถน�ำมาประยุกต์
                       ใช้ กั บ เส้ นใยน� ำ แสง ใช้ เ ป็ นรี โ มทคอนโทรลควบคุ ม การท� ำ งานของอุ ป กรณ์ จ ากระยะไกล
                       เช่น เครื่องรับโทรทัศน์ ใช้เกี่ยวกับการควบคุมอาวุธน�ำวิถีเคลื่อนที่ไปยังเป้าหมายได้แม่นย�ำ
                       ถูกต้อง
                               แสงทีมองเห็นด้วยตาเปล่า (visible light) มีชวงความถีกงกลางระหว่าง 1014-1015 Hz
                                       ่                                                     ่        ่ ึ่
                       หรือความยาวคลื่นเฉพาะเป็น 3.8 x 10 - 7.6 x 10 เมตร หรือพลังงานในช่วง 1.63-3.26 eV
                                                                            -7            -7

                       เป ็ น คลื่ น แม ่ เ หล็ ก ไฟฟ ้ า ที่ ม นุ ษ ย ์ ม องเห็ น ด ้ ว ยตาเปล ่ า สเปกตรั ม ของแสงที่ ม องเห็ น
                       ด้วยตาเปล่ามีความยาวคลื่นแตกต่างกัน ได้แก่ สีแดง (610-760 nm) สีส้ม (590-610 nm)
                       สีเหลือง (570-590 nm) สีเขียว (500-570 nm) สีน�้ำเงิน (450-500 nm) สีม่วง (380-450 nm)
                                  แสงอัลตราไวโอเลต (ultraviolet light) เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า รังสีเหนือม่วง มีความถี่
                       ช่วง 1015-1018 Hz หรือความยาวคลื่นช่วงตั้งแต่ 10-10-10-7 เมตร เป็นรังสีตามธรรมชาติ
                       ส่วนใหญ่มาจากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ ซึ่งท�ำให้เกิดประจุอิสระและไอออนในบรรยากาศ
                       ชั้นไอโอโนสเฟียร์ รังสีอัลตราไวโอเลตสามารถท�ำให้เชื้อโรคบางชนิดตายได้ แต่มีอันตราย
                       ต ่ อ ผิ ว หนั ง จนถึ ง ขั้ น มี ผ ลท� ำ ให ้ เ ป ็ น มะเร็ ง ผิ ว หนั ง ถ ้ า ถู ก แสงนี้ ต ่ อ เนื่ อ งเป ็ น ระยะเวลานาน
                       แสงอัลตราไวโอเลตท�ำให้อิเล็กตรอนของอะตอมเกิดการเปลี่ยนระดับพลังงาน (electronic
                       transition) ซึ่งเป็นประโยชน์กับการสร้างเซลล์แสงอาทิตย์
                              รังสีเอกซ์ (X-rays) มีความถี่ช่วง 1016-1022 Hz หรือความยาวคลื่นช่วงตั้งแต่ 10-14-
                       10-8 เมตร สามารถเคลื่อนที่ทะลุสิ่งกีดขวางหนา ๆ ได้ หลักการสร้างรังสีเอกซ์ คือ ท�ำให้
                       อิเล็กตรอนเกิดความเร่ง หากยิงอิเล็กตรอนที่มีพลังงานมากเข้าไปชนอิเล็กตรอนในชั้นลึก ๆ
                       ของอะตอมจะท�ำให้ได้รังสีที่มีพลังงานมาก เรียกว่า ฮาร์ดเอกซเรย์ (hard X-rays) มี
                       ความยาวคลื่นช่วง 0.10-0.01 นาโนเมตร ถ้าอิเล็กตรอนที่ใช้ยิงมีพลังงานน้อย อิเล็กตรอน
                       นั้นจะเข้าไปในชั้นอะตอมได้ไม่ลึกนัก จะให้รังสีที่เรียกว่า ซอฟต์เอกซเรย์ (soft X-rays)
                       มีความยาวคลื่นช่วง 10-0.10 นาโนเมตร รังสีเอกซ์มีประโยชน์ทางการแพทย์ในการฉาย
                       ผ่านร่างกายเพื่อตรวจดูความผิดปกติของอวัยวะภายใน ในวงการอุตสาหกรรมใช้ในการ
                       ตรวจหารอยร้าวภายในชิ้นส่วนโลหะ ใช้เป็นอุปกรณ์ด่านตรวจในการตรวจหาวัตถุที่น่าสงสัย
                       และใช้ส�ำหรับการวิเคราะห์สสารซึ่งจะกล่าวถึงรายละเอียดต่อไปในบทที่ 3
                              รังสีแกมมา (gamma rays) มีความถี่ช่วง 1018-1022 Hz หรือความยาวคลื่นช่วง
                       ตั้งแต่ 10-14-10-10 เมตร ความยาวคลื่นของรังสีแกมมาสั้นกว่ารังสีเอกซ์ แต่มีบางช่วง



_12-24 (001-016)P5.indd 5                                                                                                                            2/15/13 8:37 PM
… 6 …	                                                              เทคนิคการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์เบื้องต้น


                 ความยาวคลื่นที่คาบเกี่ยวกับรังสีเอกซ์ อย่างไรก็ตาม รังสีแกมมาสามารถทะลุสิ่งกีดขวาง
                 ได้ ดี ก ว่ า รั ง สี เ อกซ์ รั ง สี แ กมมามี ส ภาพเป็ น กลางทางไฟฟ้ า ต่ า งกั บ รั ง สี บี ต า (beta ray)
                 (อิเล็กตรอนพลังงานสูง มีสภาพเป็นลบทางไฟฟ้า) และรังสีแอลฟา (alpha ray) (นิวเคลียส
                 ของอนุภาคฮีเลียม มีสภาพเป็นบวกทางไฟฟ้า) รังสีแกมมาไม่เบี่ยงเบนในสนามไฟฟ้าและ
                 สนามแม่ เ หล็ ก อี ก ทั้ ง ยั ง ไม่ มี ม วลและเคลื่ อ นที่ ด ้ ว ยอั ต ราเร็ ว แสง รั ง สี แ กมมาเป็ น คลื่ น
                 แม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของนิวเคลียสของธาตุ โดยที่นิวเคลียสที่อยู่ใน
                 สถานะกระตุ ้ น กลั บ สู ่ ส ถานะพื้ น เรี ย กว ่ า การสลายตั ว (Decay) เนื่ อ งจากรั ง สี แ กมมา
                 มี อ� ำ นาจทะลุ ท ะลวงสู ง สามารถท� ำ ลายเซลล์ ข องสิ่ ง มี ชี วิ ต ได้ จึ ง น� ำ ไปใช้ ป ระโยชน์ ท าง
                 การแพทย์ในการท�ำลายเซลล์มะเร็ง
                        ในหัวข้อถัดไปในบทที่ 1 นี้ จะกล่าวถึงการค้นพบรังสีเอกซ์ ส่วนประกอบของหลอด
                 ก�ำเนิดรังสีเอกซ์ และชนิดของรังสีเอกซ์ ซึ่งโดยรวมจะเป็นการแนะน�ำให้รู้จักรังสีเอกซ์
                 อย่างละเอียดก่อนที่จะอธิบายถึงทฤษฎีของการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ในบทที่ 2 จากนั้นจะ
                 น�ำทฤษฎีดังกล่าวมาค�ำนวณหารูปแบบของการเลี้ยวเบนของสสารในบทที่ 3 และในบทที่
                 4 จะกล่าวถึงการน�ำรังสีเอกซ์ไปประยุกต์ใช้ในเทคนิคการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ที่ใช้วิเคราะห์
                 สสารจริงในงานวิจัย

                 1.1 การค้นพบรังสีเอกซ์
                         รังสีเอกซ์ (X-rays) ถูกค้นพบครั้งแรกโดย วิลเฮล์ม คอนราด เรินต์เกน (Wilhelm
                 Conrad Roentgen) นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ใน ค.ศ. 1895 (ดูรูปที่ 1.3) ขณะก�ำลังศึกษา
                 เกี่ยวกับหลอดรังสีแคโทดในห้องที่มืดสนิท เรินต์เกนสังเกตการเรืองแสงบนกระดาษที่เคลือบ
                 ด้วยสารแบเรียมแพลทิโนไซยาไนด์ (Barium platinocyanide: BaPt(CN)6) ซึ่งเป็นสาร
                 เรื อ งแสง (phosphor) ภายใต ้ รั ง สี อั ล ตราไวโอเลต แต ่ ใ นขณะที่ ท� ำ การทดลองนั้ น ไม ่ มี
                 รังสีอัลตราไวโอเลตอยู่เลย เรินต์เกนจึงสรุปว่าการเรืองแสงนั้นจะต้องมีสาเหตุมาจากรังสี
                 ชนิดใหม่ที่ออกมาจากหลอดรังสีแคโทด ผลการค้นพบที่น่าตื่นเต้นก็คือเมื่อเรินต์เกนใช้ฝ่ามือ
                 กั้นรังสีชนิดใหม่ เขาเห็นเงากระดูกมือของเขาปรากฏบนผนังห้องและเขายังได้ถ่ายภาพ
                 เอกซ์เรย์กระดูกมือของภรรยาอีกด้วยดังแสดงในรูปที่ 1.4 หลังจากทดลองประมาณ 2 เดือน
                 เขาได้ตีพิมพ์บทความที่เกี่ยวกับรังสีชนิดใหม่ซึ่งตั้งชื่อว่า รังสีเอกซ์ (X-rays) เนื่องจาก X
                 มีความหมายว่ายังไม่ระบุชนิด ผลงานการค้นพบรังสีเอกซ์ของเรินต์เกนท�ำให้ได้รับรางวัล
                 โนเบลสาขาฟิสิกส์ประจ�ำ ค.ศ. 1901



_12-24 (001-016)P4.indd 6                                                                                                        2/8/13 12:41 PM
บทที่ 1 : แนะนำ�รังสีเอกซ์	                                                     …7…




                                                                                         	
  
                                      รูปที่ 1.3 ภาพถ่าย วิลเฮล์ม คอนราด เรินต์เกน (ค.ศ. 1845-1923)




                              รูปที่ 1.4			ภาพเอกซเรย์ที่บันทึกไว้เป็นครั้งแรกของโลก เป็นภาพกระดูกมือของภรรยา
                                           ของเรินต์เกนและแหวนแต่งงาน




_12-24 (001-016)P4.indd 7                                                                                       2/8/13 12:41 PM
… 8 …	                                                  เทคนิคการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์เบื้องต้น


                        หลังจากการค้นพบรังสีเอกซ์ไม่นาน ก็มีการทดลองสมบัติความเป็นคลื่นของรังสีเอกซ์
                 หลายการทดลอง เช่น ใช้รังสีเอกซ์ส่องผ่านเกรตติง (grating) แต่ไม่พบการหักเหหรือเลี้ยวเบน
                 จนกระทั่ง แมกซ์ วอน เลาอี (Max Von Laue) นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน เป็นผู้ค้นพบ
                 การเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์ผ่านผลึก (crystal) ของสสาร ผลงานชิ้นนี้ท�ำให้เขาได้รับรางวัล
                 โนเบลสาขาฟิสิกส์ใน ค.ศ. 1914 จากผลงานของเขาท�ำให้ทราบภายหลังว่ารังสีเอกซ์มีสมบัติ
                 เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีช่วงความยาวคลื่นสั้นพอ ๆ กับระยะห่างระหว่างอะตอมซึ่งมีค่า
                 อยู่ในช่วง 2-4 Å อีกทั้งรังสีเอกซ์ไม่เบี่ยงเบนในสนามไฟฟ้าหรือสนามแม่เหล็ก
                       เนื่องจากรังสีเอกซ์มีอ�ำนาจทะลุทะลวงสูง แต่ไม่ผ่านสสารที่มีเลขอะตอมสูง ๆ จึงถูก
                 น�ำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวางโดยเฉพาะทางด้านการแพทย์ในการตรวจสิ่งผิดปกติ
                 ในร่างกาย เช่น กระดูกหักและสิ่งแปลกปลอมอื่น ๆ ที่อยู่ภายในร่างกาย

                 1.2 	หลอดก�ำเนิดรังสีเอกซ์
                        แหล่งก�ำเนิดรังสีเอกซ์ที่ใช้ทั่วไปในปัจจุบัน คือ หลอดก�ำเนิดรังสีเอกซ์ (X-ray tube)
                 ดังแสดงในรูปที่ 1.5 ซึ่งมีหลายแบบตามลักษณะการใช้งาน แต่ละแบบจะมีหลักการท�ำงาน
                 และส่วนประกอบพื้นฐานเหมือนกัน 4 ส่วน คือ หลอดแก้วสุญญากาศ (vacuum tube)
                 ขั้วแคโทด (cathode) แหล่งจ่ายความต่างศักย์สูง (high voltage) ระดับกิโลโวลต์ และขั้ว
                 แอโนด (anode) พอสรุปได้ดังนี้


                            		




                                       รูปที่ 1.5 ส่วนประกอบของหลอดก�ำเนิดรังสีเอกซ์




_12-24 (001-016)P4.indd 8                                                                                        2/8/13 12:41 PM
บทที่ 1 : แนะนำ�รังสีเอกซ์	                                                                          …9…

                                 1. หลอดแก้วสุญญากาศ
                                 หลอดสุญญากาศจะท�ำจากแก้วไพเร็กซ์ (pyrex glass) ภายในเป็นสุญญากาศ เพื่อ
                       ป ้ อ งกั น การสู ญ เสี ย พลั ง งานของอิ เ ล็ ก ตรอนจากการชนกั บ โมเลกุ ล ของอากาศในขณะที่
                       อิเล็กตรอนวิ่งจากขั้วแคโทดเข้าชนเป้าโลหะที่ขั้วแอโนด
                                2. ขั้วแคโทด
                                ขั้วแคโทดเป็นแหล่งก�ำเนิดอิเล็กตรอน ประกอบด้วยส่วนส�ำคัญ 2 ส่วนคือ ขดลวด
                       โลหะ (filament) และถ้วยโลหะส�ำหรับบังคับล�ำอิเล็กตรอน (metallic focusing cup) ส�ำหรับ
                       ขดลวดโลหะส่วนมากท�ำจากทังสเตน (tungsten) เนื่องจากมีจุดหลอมเหลวสูงและมีสมบัติ
                       เหนี ย วสามารถยื ด เป็ นเส้ นยาวบางได้ (ปกติ จะมี ข นาดเส้ นผ่ า นศู นย์ กลางประมาณ 0.2
                       มิลลิเมตร) จึงเกิดการระเหยกลายเป็นไอน้อย และมีอายุการใช้งานยาวนาน เมื่อกระแสไฟฟ้า
                       วิ่งผ่านเส้นลวดทังสเตน จะท�ำให้เกิดความร้อนขึ้นจนถึงจุดที่สามารถปล่อยอิเล็กตรอนออกมา
                       จากเส้นลวดทังสเตน นั่นคืออะตอมของทังสเตนได้รับพลังงานความร้อน จนกระทั่งพลังงาน
                       ที่อิเล็กตรอนได้รับมีค่ามากกว่าแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอิเล็กตรอนกับอะตอม ท�ำให้อิเล็กตรอน
                       หลุดออกจากอะตอมเป็นอิสระ เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า การปลดปล่อยอิเล็กตรอนแบบเทอร์-
                       มิออนิก (thermionic emission) เมื่อถ้วยโลหะมีศักย์ไฟฟ้า (voltage) เป็นลบจะผลัก
                       อิเล็กตรอนที่เกิดจากเส้นลวดทังสเตนให้เป็นล�ำอิเล็กตรอนแคบ ๆ วิ่งไปข้างหน้า
                               3. แหล่งจ่ายความต่างศักย์สูง
                               แหล่งจ่ายความต่างศักย์สูงเป็นส่วนที่ใช้ในการเร่งอิเล็กตรอนที่หลุดออกจากขั้วแคโทด
                       เพื่อเข้าชนกับขั้วแอโนด ความต่างศักย์จะอยู่ในช่วง 10-80 กิโลโวลต์ ถ้าความต่างศักย์น้อย
                       เกินไปจะท�ำให้เกิดแค่เพียงรังสีเอกซ์แบบต่อเนื่อง (continuous X-rays) ถ้าความต่างศักย์มาก
                       จะท�ำให้เกิดรังสีเอกซ์ลักษณะเฉพาะ (characteristic X-rays) เพิ่มเข้ามาด้วยนอกเหนือจาก
                       รังสีเอกซ์แบบต่อเนื่อง รายละเอียดของชนิดของรังสีเอกซ์จะได้อธิบายต่อไปในหัวข้อที่ 1.3
                               4. ขั้วแอโนด
                               ขั้ ว แอโนดท� ำ หน ้ า ที่ เ ป ็ น เป ้ า รั บ อิ เ ล็ ก ตรอนจากขั้ ว แคโทด ซึ่ ง ปกติ จ ะประกอบด ้ ว ย
                       เป้าโลหะ (metal target) ที่มีเลขอะตอม (atomic number) สูง เช่น ทองแดง โมลิบดีนัม
                       โรเดียม และทังสเตน เนื่องจากก�ำลังของรังสีจะแปรผันตรงกับเลขอะตอม แผ่นเป้าโลหะ
                       ซึ่ ง หนาระดั บ มิ ล ลิ เ มตรนี้ จ ะท� ำ มุ ม กั บ แนวดิ่ ง ฝั ง อยู ่ ใ นแท่ ง โลหะทองแดงซึ่ ง ท� ำ หน้ า ที่ เ ป็ น
                       ขั้วแม่เหล็กไฟฟ้าและตัวระบายความร้อนให้กับแผ่นเป้าโลหะ โดยปกติจะมีระบบระบาย



_12-24 (001-016)P5.indd 9                                                                                                                      2/15/13 8:38 PM
… 10 …	                                                                เทคนิคการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์เบื้องต้น


                 ความร ้ อ นด ้ ว ยน�้ ำ (cooling water) เพื่ อ ระบายความร ้ อ นที่ เ กิ ด ขึ้ น จากการชนของ
                 อิ เ ล็ ก ตรอนบนเป ้ า โลหะ (> 99% จะกลายเป ็ น ความร ้ อ น และ < 1% จะเกิ ด เป ็ น
                 รั ง สี เ อกซ ์ ) ป ั จ จุ บั น มี เ ป ้ า โลหะที่ ห มุ น รอบตั ว ได ้ (rotating anode) โดยมี แ กนโลหะ
                 ยึดขั้วแอโนด โดยทั่วไป ขั้วแอโนดจะหมุนรอบตัวด้วยอัตราเร็วรอบประมาณ 3000 รอบ
                 ต่ อ นาที เมื่ อ ล� ำ อิ เ ล็ ก ตรอนวิ่ ง จากขั้ ว แคโทดเข้ า ชนขั้ ว แอโนดจะเกิ ด การปล่ อ ยรั ง สี เ อกซ์
                 ออกมาทางหน้าต่างที่ท�ำจากเบริลเลียม (beryllium) โดยรังสีเอกซ์ที่ออกมามี 2 ประเภท
                 คือ รังสีเอกซ์แบบต่อเนื่อง และรังสีเอกซ์ลักษณะเฉพาะ รายละเอียดของชนิดของรังสีเอกซ์
                 จะได้กล่าวในหัวข้อถัดไป

                 1.3			ชนิดของรังสีเอกซ์
                         รั ง สี เ อกซ์ ส ามารถเกิ ด จากการเร่ ง อนุ ภ าคอิ เ ล็ ก ตรอนให้ วิ่ ง ชนอะตอมของเป้ า
                 โลหะ ซึ่ ง เมื่ อ อิ เ ล็ ก ตรอนมี ค วามเร็ ว (ทั้ ง ขนาดและทิ ศ ทาง) เปลี่ ย นแปลงอย่ า งฉั บ พลั น
                 จะให้ พ ลั ง งานออกมาในรู ป ของรั ง สี เ อกซ์ แ บบต่ อ เนื่ อ ง (continuous X-rays) หรื อ
                 อาจจะเกิ ด ในเครื่ อ งเร ่ ง อนุ ภ าคพลั ง งานสู ง ซึ่ ง เป ็ น เครื่ อ งมื อ ชนิ ด หนึ่ ง ที่ อ าศั ย สนาม
                 แม่ เ หล็ ก ไฟฟ้ า ในการเร่ ง ให้ อ นุ ภ าคที่ มี ป ระจุ เ คลื่ อ นที่ ไ ปจนกระทั่ ง มี ค วามเร่ ง ปลดปล่ อ ย
                 คลื่ น แม่ เ หล็ ก ไฟฟ้ า ในท่ อ สุ ญ ญากาศ นอกจากนี้ รั ง สี เ อกซ์ ยั ง สามารถเกิ ด จากการ
                 เปลี่ยนชั้น (transition) ของอิเล็กตรอนวงนอก (outer orbit) ลงมาที่วงใน (inner orbit)
                 แล้วคายพลังงานออกมาในรูปรังสีเอกซ์ลักษณะเฉพาะ (characteristic X-rays)
                          1.3.1		รังสีเอกซ์แบบต่อเนื่อง
                          										ในที่ นี้ จ ะอธิ บ ายถึ ง การเกิ ด รั ง สี เ อกซ์ แ บบต่ อ เนื่ อ งในหลอดรั ง สี แ คโทด รั ง สี
                 เอกซ์แบบต่อเนื่องเกิดจากการชนแบบไม่ยืดหยุ่น (inelastic collision) ของอิเล็กตรอน
                 กั บ อะตอมของสสาร เมื่ อ อิ เ ล็ ก ตรอนวิ่ ง ผ ่ า นใกล ้ นิ ว เคลี ย ส (เรี ย กอิ เ ล็ ก ตรอนนั้ น ว ่ า
                 incoming electron) อิ เ ล็ ก ตรอนตั ว นั้ น จะถู ก ดู ด โดยแรงทางไฟฟ ้ า (coulomb
                 force) ที่ เ กิ ด จากประจุ บ วกในนิ ว เคลี ย ส ท� ำ ให ้ ทิ ศ ทางการเคลื่ อ นที่ ข องอิ เ ล็ ก ตรอนที่ วิ่ ง
                 เข ้ า ชนนี้ เ บนเปลี่ ย นไปจากเดิ ม ความเร็ ว ของอิ เ ล็ ก ตรอนที่ วิ่ ง เข ้ า ชนลดลงอย ่ า งรวดเร็ ว
                 (เรี ย กอิ เ ล็ ก ตรอนที่ เ บนไปหรื อ ถู ก กระเจิ ง ว ่ า scattered electron) อิ เ ล็ ก ตรอนที่ มี
                 ความหน ่ ว งจะปลดปล ่ อ ยพลั ง งานออกมาในรู ป ของรั ง สี เ อกซ ์ แ บบต ่ อ เนื่ อ ง ดั ง รู ป ที่ 1.6
                 ตามทฤษฎีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ถ้าอนุภาคมีประจุเคลื่อนที่ด้วยความเร่งจะแผ่พลังงานออกมา




_12-24 (001-016)P4.indd 10                                                                                                            2/8/13 12:41 PM

More Related Content

What's hot

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าuntika
 
03 คลื่นและสมบัติของคลื่นสเปกตรัมของธาตุ
03 คลื่นและสมบัติของคลื่นสเปกตรัมของธาตุ03 คลื่นและสมบัติของคลื่นสเปกตรัมของธาตุ
03 คลื่นและสมบัติของคลื่นสเปกตรัมของธาตุkruannchem
 
เรื่อง คลื่นไมโครเวฟ
เรื่อง  คลื่นไมโครเวฟเรื่อง  คลื่นไมโครเวฟ
เรื่อง คลื่นไมโครเวฟSomporn Laothongsarn
 
Electro magnetic Waves Group 2 6/1 BM
Electro magnetic Waves Group 2 6/1 BMElectro magnetic Waves Group 2 6/1 BM
Electro magnetic Waves Group 2 6/1 BMDechatorn Devaphalin
 
เรื่อง รังสีอินฟราเรด
เรื่อง  รังสีอินฟราเรดเรื่อง  รังสีอินฟราเรด
เรื่อง รังสีอินฟราเรดSomporn Laothongsarn
 
ไมโครเวฟ
ไมโครเวฟไมโครเวฟ
ไมโครเวฟPram Pu-ngoen
 
คลื่นไมโครเวฟ (ยุวภรณ์+พิชญานิษฐ์)402
คลื่นไมโครเวฟ (ยุวภรณ์+พิชญานิษฐ์)402คลื่นไมโครเวฟ (ยุวภรณ์+พิชญานิษฐ์)402
คลื่นไมโครเวฟ (ยุวภรณ์+พิชญานิษฐ์)402Pitchayanis Kittichaovanun
 
ไมโครเวฟ(จุธาภัค+กมลรัตน์)405
ไมโครเวฟ(จุธาภัค+กมลรัตน์)405ไมโครเวฟ(จุธาภัค+กมลรัตน์)405
ไมโครเวฟ(จุธาภัค+กมลรัตน์)405Jutapak Mahapaskorn
 
ทวิภาวะของคลื่นและอนุภาค
ทวิภาวะของคลื่นและอนุภาคทวิภาวะของคลื่นและอนุภาค
ทวิภาวะของคลื่นและอนุภาคChanthawan Suwanhitathorn
 
อินฟาเรด(ธัชนนท์+ธีม)403
อินฟาเรด(ธัชนนท์+ธีม)403อินฟาเรด(ธัชนนท์+ธีม)403
อินฟาเรด(ธัชนนท์+ธีม)403Theem N. Veokeki
 
เรื่องที่12เสียง
เรื่องที่12เสียงเรื่องที่12เสียง
เรื่องที่12เสียงApinya Phuadsing
 
คลื่น ไมโครเวฟ 2003
คลื่น ไมโครเวฟ 2003คลื่น ไมโครเวฟ 2003
คลื่น ไมโครเวฟ 2003Peerapas Trungtreechut
 
คลื่นไมโครเวฟ(เจตน์+ศุภณัฐ)403
คลื่นไมโครเวฟ(เจตน์+ศุภณัฐ)403คลื่นไมโครเวฟ(เจตน์+ศุภณัฐ)403
คลื่นไมโครเวฟ(เจตน์+ศุภณัฐ)403Supanut Maiyos
 

What's hot (17)

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
 
03 คลื่นและสมบัติของคลื่นสเปกตรัมของธาตุ
03 คลื่นและสมบัติของคลื่นสเปกตรัมของธาตุ03 คลื่นและสมบัติของคลื่นสเปกตรัมของธาตุ
03 คลื่นและสมบัติของคลื่นสเปกตรัมของธาตุ
 
P12
P12P12
P12
 
เรื่อง คลื่นไมโครเวฟ
เรื่อง  คลื่นไมโครเวฟเรื่อง  คลื่นไมโครเวฟ
เรื่อง คลื่นไมโครเวฟ
 
P13
P13P13
P13
 
Electro magnetic Waves Group 2 6/1 BM
Electro magnetic Waves Group 2 6/1 BMElectro magnetic Waves Group 2 6/1 BM
Electro magnetic Waves Group 2 6/1 BM
 
เรื่อง รังสีอินฟราเรด
เรื่อง  รังสีอินฟราเรดเรื่อง  รังสีอินฟราเรด
เรื่อง รังสีอินฟราเรด
 
ไมโครเวฟ
ไมโครเวฟไมโครเวฟ
ไมโครเวฟ
 
คลื่นไมโครเวฟ (ยุวภรณ์+พิชญานิษฐ์)402
คลื่นไมโครเวฟ (ยุวภรณ์+พิชญานิษฐ์)402คลื่นไมโครเวฟ (ยุวภรณ์+พิชญานิษฐ์)402
คลื่นไมโครเวฟ (ยุวภรณ์+พิชญานิษฐ์)402
 
ไมโครเวฟ(จุธาภัค+กมลรัตน์)405
ไมโครเวฟ(จุธาภัค+กมลรัตน์)405ไมโครเวฟ(จุธาภัค+กมลรัตน์)405
ไมโครเวฟ(จุธาภัค+กมลรัตน์)405
 
ทวิภาวะของคลื่นและอนุภาค
ทวิภาวะของคลื่นและอนุภาคทวิภาวะของคลื่นและอนุภาค
ทวิภาวะของคลื่นและอนุภาค
 
อินฟาเรด(ธัชนนท์+ธีม)403
อินฟาเรด(ธัชนนท์+ธีม)403อินฟาเรด(ธัชนนท์+ธีม)403
อินฟาเรด(ธัชนนท์+ธีม)403
 
แสง และการมองเห็น
แสง และการมองเห็นแสง และการมองเห็น
แสง และการมองเห็น
 
เรื่องที่12เสียง
เรื่องที่12เสียงเรื่องที่12เสียง
เรื่องที่12เสียง
 
คลื่น ไมโครเวฟ 2003
คลื่น ไมโครเวฟ 2003คลื่น ไมโครเวฟ 2003
คลื่น ไมโครเวฟ 2003
 
คลื่นกล
คลื่นกลคลื่นกล
คลื่นกล
 
คลื่นไมโครเวฟ(เจตน์+ศุภณัฐ)403
คลื่นไมโครเวฟ(เจตน์+ศุภณัฐ)403คลื่นไมโครเวฟ(เจตน์+ศุภณัฐ)403
คลื่นไมโครเวฟ(เจตน์+ศุภณัฐ)403
 

Similar to 9789740330721

บทที่ 18 ฟิสิกส์อะตอม
บทที่ 18 ฟิสิกส์อะตอมบทที่ 18 ฟิสิกส์อะตอม
บทที่ 18 ฟิสิกส์อะตอมPakawan Sonna
 
012 fundamental of thermal radiation thai
012 fundamental of thermal radiation thai012 fundamental of thermal radiation thai
012 fundamental of thermal radiation thaiSaranyu Pilai
 
Atomic model ruth &amp; bohr
Atomic model ruth &amp; bohrAtomic model ruth &amp; bohr
Atomic model ruth &amp; bohrSaipanya school
 
ไมโครเวฟ(มนัสชยา+ศวิตา)404
ไมโครเวฟ(มนัสชยา+ศวิตา)404ไมโครเวฟ(มนัสชยา+ศวิตา)404
ไมโครเวฟ(มนัสชยา+ศวิตา)404Sawita Jiravorasuk
 
การค้นพบอิเล็กตรอน
การค้นพบอิเล็กตรอนการค้นพบอิเล็กตรอน
การค้นพบอิเล็กตรอนkrupatcharee
 
คลื่นวิทยุ(สิทธิกานต์+วรุตม์)404
คลื่นวิทยุ(สิทธิกานต์+วรุตม์)404คลื่นวิทยุ(สิทธิกานต์+วรุตม์)404
คลื่นวิทยุ(สิทธิกานต์+วรุตม์)404Pom Ruangtham
 
คลื่นวิทยุ(ธีรวีร์+ภคพล)405
คลื่นวิทยุ(ธีรวีร์+ภคพล)405คลื่นวิทยุ(ธีรวีร์+ภคพล)405
คลื่นวิทยุ(ธีรวีร์+ภคพล)405Peammavit Supavivat
 
คลื่นวิทยุ(ธีรวีร์+ภคพล)405
คลื่นวิทยุ(ธีรวีร์+ภคพล)405คลื่นวิทยุ(ธีรวีร์+ภคพล)405
คลื่นวิทยุ(ธีรวีร์+ภคพล)405Peammavit Supavivat
 
คลื่นเเม่เหล็กไฟฟ้า กลุ่มที่ 1 ม.6/2
คลื่นเเม่เหล็กไฟฟ้า กลุ่มที่ 1 ม.6/2คลื่นเเม่เหล็กไฟฟ้า กลุ่มที่ 1 ม.6/2
คลื่นเเม่เหล็กไฟฟ้า กลุ่มที่ 1 ม.6/2GanKotchawet
 

Similar to 9789740330721 (20)

Physics atom part 3
Physics atom part 3Physics atom part 3
Physics atom part 3
 
AnalChem : Basic of Spectroscopy
AnalChem : Basic of SpectroscopyAnalChem : Basic of Spectroscopy
AnalChem : Basic of Spectroscopy
 
Applications of infrared ray for drying agricultural products
Applications of infrared ray for drying agricultural productsApplications of infrared ray for drying agricultural products
Applications of infrared ray for drying agricultural products
 
บทที่ 18 ฟิสิกส์อะตอม
บทที่ 18 ฟิสิกส์อะตอมบทที่ 18 ฟิสิกส์อะตอม
บทที่ 18 ฟิสิกส์อะตอม
 
มิ่ง111
มิ่ง111มิ่ง111
มิ่ง111
 
มิ่ง111
มิ่ง111มิ่ง111
มิ่ง111
 
มิ่ง111
มิ่ง111มิ่ง111
มิ่ง111
 
มิ่ง111
มิ่ง111มิ่ง111
มิ่ง111
 
012 fundamental of thermal radiation thai
012 fundamental of thermal radiation thai012 fundamental of thermal radiation thai
012 fundamental of thermal radiation thai
 
Atomic model ruth &amp; bohr
Atomic model ruth &amp; bohrAtomic model ruth &amp; bohr
Atomic model ruth &amp; bohr
 
Physics atom part 4
Physics atom part 4Physics atom part 4
Physics atom part 4
 
ไมโครเวฟ(มนัสชยา+ศวิตา)404
ไมโครเวฟ(มนัสชยา+ศวิตา)404ไมโครเวฟ(มนัสชยา+ศวิตา)404
ไมโครเวฟ(มนัสชยา+ศวิตา)404
 
Physics atom part 3
Physics atom part 3Physics atom part 3
Physics atom part 3
 
การค้นพบอิเล็กตรอน
การค้นพบอิเล็กตรอนการค้นพบอิเล็กตรอน
การค้นพบอิเล็กตรอน
 
คลื่นวิทยุ(สิทธิกานต์+วรุตม์)404
คลื่นวิทยุ(สิทธิกานต์+วรุตม์)404คลื่นวิทยุ(สิทธิกานต์+วรุตม์)404
คลื่นวิทยุ(สิทธิกานต์+วรุตม์)404
 
คลื่นวิทยุ(ธีรวีร์+ภคพล)405
คลื่นวิทยุ(ธีรวีร์+ภคพล)405คลื่นวิทยุ(ธีรวีร์+ภคพล)405
คลื่นวิทยุ(ธีรวีร์+ภคพล)405
 
คลื่นวิทยุ(ธีรวีร์+ภคพล)405
คลื่นวิทยุ(ธีรวีร์+ภคพล)405คลื่นวิทยุ(ธีรวีร์+ภคพล)405
คลื่นวิทยุ(ธีรวีร์+ภคพล)405
 
คลื่นวิทยุ(ธีรวีร์+ภคพล)405
คลื่นวิทยุ(ธีรวีร์+ภคพล)405คลื่นวิทยุ(ธีรวีร์+ภคพล)405
คลื่นวิทยุ(ธีรวีร์+ภคพล)405
 
คลื่นวิทยุ(ธีรวีร์+ภคพล)405
คลื่นวิทยุ(ธีรวีร์+ภคพล)405คลื่นวิทยุ(ธีรวีร์+ภคพล)405
คลื่นวิทยุ(ธีรวีร์+ภคพล)405
 
คลื่นเเม่เหล็กไฟฟ้า กลุ่มที่ 1 ม.6/2
คลื่นเเม่เหล็กไฟฟ้า กลุ่มที่ 1 ม.6/2คลื่นเเม่เหล็กไฟฟ้า กลุ่มที่ 1 ม.6/2
คลื่นเเม่เหล็กไฟฟ้า กลุ่มที่ 1 ม.6/2
 

More from CUPress

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737CUPress
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560CUPress
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478CUPress
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270CUPress
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102CUPress
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096CUPress
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072CUPress
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027CUPress
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914CUPress
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907CUPress
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686CUPress
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457CUPress
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440CUPress
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389CUPress
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280CUPress
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365CUPress
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303CUPress
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242CUPress
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235CUPress
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099CUPress
 

More from CUPress (20)

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099
 

9789740330721

  • 1. 1 แนะน�ำรังสีเอกซ์ (Introduction to X-rays) _12-24 (001-016)P4.indd 1 2/8/13 12:41 PM
  • 2. … 2 … เทคนิคการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์เบื้องต้น สเปกโทรสโกปี (spectroscopy) เป็นเทคนิคที่ศึกษาเกี่ยวกับอันตรกิริยา (interaction) ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic wave) กับสสาร (matter) เมื่อคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า กระทบกับสสาร อันตรกิริยาที่เกิดขึ้นสามารถเกิดได้หลายปรากฏการณ์ ได้แก่ - การสะท้อน (reflection) - การส่งผ่าน (transmission) - การดูดกลืน (absorption) - การเปล่งแสง (luminescence) ประกอบด้วย - การเรืองแสง (phosphorescence) - การวาวแสง (fluorescence) - การกระเจิง (scattering) - การหักเห (refraction) - การเลี้ยวเบน (diffraction) ผู ้ เ ขี ย นขอทบทวนเนื้ อ หาเกี่ ย วกั บ รั ง สี แ ม ่ เ หล็ ก ไฟฟ ้ า ให ้ ผู ้ อ ่ า นก ่ อ นแนะน� ำ ให ้ รู ้ จั ก รั ง สี เ อกซ์ หลั ง จากนั้ น จะอธิ บ ายถึ ง การน� ำ เอารั ง สี เ อกซ์ ไ ปประยุ ก ต์ ใ ช้ ใ นการวิ เ คราะห์ สสารด้วยเทคนิคการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ ซึ่งจะเป็นประเด็นส�ำคัญในหนังสือเล่มนี้ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic wave) เป็นคลื่นตามขวาง (transverse r wave) ประกอบด้วยสนามไฟฟ้า (electric field: E ) และสนามแม่เหล็ก (magnetic field: r B ) ที่มีการสั่นในแนวตั้งฉากกัน และทิศทางการเคลื่อนที่ (propagation of direction) ของ คลื่นนั้นตั้งฉากกับการสั่นของสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก ดังแสดงในรูปที่ 1.1 คลื่น แม่เหล็กไฟฟ้าเป็นคลื่นที่ไม่ต้องใช้ตัวกลางในการเคลื่อนที่ สามารถเคลื่อนที่ในสุญญากาศ ได้ด้วยอัตราเร็วของแสง (speed of light) (c = 299,792,458 m/s ∼ 3 × 10 m/s) 8 _12-24 (001-016)P4.indd 2 2/8/13 12:41 PM
  • 3. บทที่ 1 : แนะนำ�รังสีเอกซ์ …3… รูปที่ 1.1 การสั่นและทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สเปกตรัม (spectrum) ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะประกอบด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ที่มีความถี่และความยาวคลื่นในช่วงต่างกัน ถ้าเรียงล�ำดับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเหล่านี้จาก ความถี่ต�่ำไปยังความถี่สูง หรืออีกนัยหนึ่ง เรียงล�ำดับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากความยาวคลื่น สู ง ไปยั ง ความยาวคลื่ น ต�่ ำ จะได้ เ ป็ น สเปกตรั ม คลื่ น แม่ เ หล็ ก ไฟฟ้ า ต่ อ เนื่ อ งตามรู ป ที่ 1.2 ได้แก่ คลื่นวิทยุ (radio waves) คลื่นไมโครเวฟ (microwaves) รังสีอินฟราเรด (infrared) แสงที่มองเห็นด้วยตาเปล่า (visible light) แสงอัลตราไวโอเลต (ultraviolet light) รังสี เอกซ์ (X-rays) ประกอบด้วยรังสีเอกซ์พลังงานต�่ำ หรือซอฟต์เอกซเรย์ (soft X-rays) กับรังสีเอกซ์พลังงานสูง หรือฮาร์ดเอกซเรย์ (hard X-rays) และรังสีแกมมา (gamma rays) ตามล�ำดับ โดยที่ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวคลื่น (wavelength: λ) ความถี่ (frequency: f ) และอัตราเร็วของแสง (speed of light: c) เป็นไปตามสมการ ส�ำหรับความสัมพันธ์ระหว่างพลังงาน (energy: E) และความยาวคลื่น เป็นไปตามสมการ เมื่อ h เป็นค่าคงที่ของพลังค์ (Planck’s constant) มีค่าประมาณ 6.626 x 10-34 จูล-วินาที _12-24 (001-016)P4.indd 3 2/8/13 12:41 PM
  • 4. … 4 … เทคนิคการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์เบื้องต้น   รูปที่ 1.2 สเปกตรัมของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ปั จ จุ บั น เราสามารถพบเห็ น การใช้ ง านของคลื่ น แม่ เ หล็ ก ไฟฟ้ า ในหลาย ๆ แบบ ได้แก่ คลื่ น วิ ท ยุ (radio waves) มีความถี่ช่วง 104-109 Hz หรือความยาวคลื่นช่วง ตั้ ง แต่ 10 -1-10 5 เมตร เนื่ อ งจากคลื่ น ในช่ ว งความถี่ นี้ ส ามารถหั ก เหและสะท้ อ นได้ ใ น ชั้ น บรรยากาศ จึ ง น� ำ มาใช้ ป ระโยชน์ ใ นการติ ด ต่ อ สื่ อ สารจากเครื่ อ งส่ ง ของสถานี ไ ปยั ง เครื่องรับตามบ้าน มีการส่งสัญญาณ 2 ระบบ คือ ระบบเอเอ็ม (amplitude modulation: AM) มีช่วงความถี่ 530-1600 kHz และระบบเอฟเอ็ม (frequency modulation: FM) มีช่วงความถี่ 88-108 MHz คลื่นไมโครเวฟ (microwaves) มีความถี่ช่วง 108-1012 Hz หรือความยาวคลื่น ช่วงตั้งแต่ 100-10-3 เมตร พบได้ในเตาไมโครเวฟท�ำอาหาร และใช้ส่งสัญญาณโทรทัศน์ จากการที่ ค ลื่ น ไมโครเวฟไม ่ ส ะท ้ อ นกลั บ สู ่ ผิ ว โลกที่ ชั้ น บรรยากาศไอโอโนสเฟ ี ย ร ์ (iono- sphere) จึงท�ำให้สามารถทะลุผ่านชั้นบรรยากาศไปนอกโลกได้ นอกจากนี้คลื่นไมโครเวฟ ยังสะท้อนกับผิวโลหะได้ดีอีกด้วย จึงน�ำไปใช้ประโยชน์ในการเป็นเรดาร์ตรวจหาต�ำแหน่ง ของอากาศยาน รังสีอินฟราเรด (infrared) เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า รังสีใต้แดง มีความถี่ช่วง 1011-1014 Hz หรื อ ความยาวคลื่ น ตั้ ง แต่ 10 -6-10 -3 เมตร ซึ่ ง มี ช ่ ว งความถี่ ค าบเกี่ ย วกั บ คลื่ น ไมโครเวฟ _12-24 (001-016)P4.indd 4 2/8/13 12:41 PM
  • 5. บทที่ 1 : แนะนำ�รังสีเอกซ์ …5… วัตถุร้อนและสิ่งมีชีวิตสามารถแผ่รังสีอินฟราเรดได้ รังสีอินฟราเรดสามารถน�ำมาประยุกต์ ใช้ กั บ เส้ นใยน� ำ แสง ใช้ เ ป็ นรี โ มทคอนโทรลควบคุ ม การท� ำ งานของอุ ป กรณ์ จ ากระยะไกล เช่น เครื่องรับโทรทัศน์ ใช้เกี่ยวกับการควบคุมอาวุธน�ำวิถีเคลื่อนที่ไปยังเป้าหมายได้แม่นย�ำ ถูกต้อง แสงทีมองเห็นด้วยตาเปล่า (visible light) มีชวงความถีกงกลางระหว่าง 1014-1015 Hz ่ ่ ่ ึ่ หรือความยาวคลื่นเฉพาะเป็น 3.8 x 10 - 7.6 x 10 เมตร หรือพลังงานในช่วง 1.63-3.26 eV -7 -7 เป ็ น คลื่ น แม ่ เ หล็ ก ไฟฟ ้ า ที่ ม นุ ษ ย ์ ม องเห็ น ด ้ ว ยตาเปล ่ า สเปกตรั ม ของแสงที่ ม องเห็ น ด้วยตาเปล่ามีความยาวคลื่นแตกต่างกัน ได้แก่ สีแดง (610-760 nm) สีส้ม (590-610 nm) สีเหลือง (570-590 nm) สีเขียว (500-570 nm) สีน�้ำเงิน (450-500 nm) สีม่วง (380-450 nm) แสงอัลตราไวโอเลต (ultraviolet light) เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า รังสีเหนือม่วง มีความถี่ ช่วง 1015-1018 Hz หรือความยาวคลื่นช่วงตั้งแต่ 10-10-10-7 เมตร เป็นรังสีตามธรรมชาติ ส่วนใหญ่มาจากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ ซึ่งท�ำให้เกิดประจุอิสระและไอออนในบรรยากาศ ชั้นไอโอโนสเฟียร์ รังสีอัลตราไวโอเลตสามารถท�ำให้เชื้อโรคบางชนิดตายได้ แต่มีอันตราย ต ่ อ ผิ ว หนั ง จนถึ ง ขั้ น มี ผ ลท� ำ ให ้ เ ป ็ น มะเร็ ง ผิ ว หนั ง ถ ้ า ถู ก แสงนี้ ต ่ อ เนื่ อ งเป ็ น ระยะเวลานาน แสงอัลตราไวโอเลตท�ำให้อิเล็กตรอนของอะตอมเกิดการเปลี่ยนระดับพลังงาน (electronic transition) ซึ่งเป็นประโยชน์กับการสร้างเซลล์แสงอาทิตย์ รังสีเอกซ์ (X-rays) มีความถี่ช่วง 1016-1022 Hz หรือความยาวคลื่นช่วงตั้งแต่ 10-14- 10-8 เมตร สามารถเคลื่อนที่ทะลุสิ่งกีดขวางหนา ๆ ได้ หลักการสร้างรังสีเอกซ์ คือ ท�ำให้ อิเล็กตรอนเกิดความเร่ง หากยิงอิเล็กตรอนที่มีพลังงานมากเข้าไปชนอิเล็กตรอนในชั้นลึก ๆ ของอะตอมจะท�ำให้ได้รังสีที่มีพลังงานมาก เรียกว่า ฮาร์ดเอกซเรย์ (hard X-rays) มี ความยาวคลื่นช่วง 0.10-0.01 นาโนเมตร ถ้าอิเล็กตรอนที่ใช้ยิงมีพลังงานน้อย อิเล็กตรอน นั้นจะเข้าไปในชั้นอะตอมได้ไม่ลึกนัก จะให้รังสีที่เรียกว่า ซอฟต์เอกซเรย์ (soft X-rays) มีความยาวคลื่นช่วง 10-0.10 นาโนเมตร รังสีเอกซ์มีประโยชน์ทางการแพทย์ในการฉาย ผ่านร่างกายเพื่อตรวจดูความผิดปกติของอวัยวะภายใน ในวงการอุตสาหกรรมใช้ในการ ตรวจหารอยร้าวภายในชิ้นส่วนโลหะ ใช้เป็นอุปกรณ์ด่านตรวจในการตรวจหาวัตถุที่น่าสงสัย และใช้ส�ำหรับการวิเคราะห์สสารซึ่งจะกล่าวถึงรายละเอียดต่อไปในบทที่ 3 รังสีแกมมา (gamma rays) มีความถี่ช่วง 1018-1022 Hz หรือความยาวคลื่นช่วง ตั้งแต่ 10-14-10-10 เมตร ความยาวคลื่นของรังสีแกมมาสั้นกว่ารังสีเอกซ์ แต่มีบางช่วง _12-24 (001-016)P5.indd 5 2/15/13 8:37 PM
  • 6. … 6 … เทคนิคการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์เบื้องต้น ความยาวคลื่นที่คาบเกี่ยวกับรังสีเอกซ์ อย่างไรก็ตาม รังสีแกมมาสามารถทะลุสิ่งกีดขวาง ได้ ดี ก ว่ า รั ง สี เ อกซ์ รั ง สี แ กมมามี ส ภาพเป็ น กลางทางไฟฟ้ า ต่ า งกั บ รั ง สี บี ต า (beta ray) (อิเล็กตรอนพลังงานสูง มีสภาพเป็นลบทางไฟฟ้า) และรังสีแอลฟา (alpha ray) (นิวเคลียส ของอนุภาคฮีเลียม มีสภาพเป็นบวกทางไฟฟ้า) รังสีแกมมาไม่เบี่ยงเบนในสนามไฟฟ้าและ สนามแม่ เ หล็ ก อี ก ทั้ ง ยั ง ไม่ มี ม วลและเคลื่ อ นที่ ด ้ ว ยอั ต ราเร็ ว แสง รั ง สี แ กมมาเป็ น คลื่ น แม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของนิวเคลียสของธาตุ โดยที่นิวเคลียสที่อยู่ใน สถานะกระตุ ้ น กลั บ สู ่ ส ถานะพื้ น เรี ย กว ่ า การสลายตั ว (Decay) เนื่ อ งจากรั ง สี แ กมมา มี อ� ำ นาจทะลุ ท ะลวงสู ง สามารถท� ำ ลายเซลล์ ข องสิ่ ง มี ชี วิ ต ได้ จึ ง น� ำ ไปใช้ ป ระโยชน์ ท าง การแพทย์ในการท�ำลายเซลล์มะเร็ง ในหัวข้อถัดไปในบทที่ 1 นี้ จะกล่าวถึงการค้นพบรังสีเอกซ์ ส่วนประกอบของหลอด ก�ำเนิดรังสีเอกซ์ และชนิดของรังสีเอกซ์ ซึ่งโดยรวมจะเป็นการแนะน�ำให้รู้จักรังสีเอกซ์ อย่างละเอียดก่อนที่จะอธิบายถึงทฤษฎีของการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ในบทที่ 2 จากนั้นจะ น�ำทฤษฎีดังกล่าวมาค�ำนวณหารูปแบบของการเลี้ยวเบนของสสารในบทที่ 3 และในบทที่ 4 จะกล่าวถึงการน�ำรังสีเอกซ์ไปประยุกต์ใช้ในเทคนิคการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ที่ใช้วิเคราะห์ สสารจริงในงานวิจัย 1.1 การค้นพบรังสีเอกซ์ รังสีเอกซ์ (X-rays) ถูกค้นพบครั้งแรกโดย วิลเฮล์ม คอนราด เรินต์เกน (Wilhelm Conrad Roentgen) นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ใน ค.ศ. 1895 (ดูรูปที่ 1.3) ขณะก�ำลังศึกษา เกี่ยวกับหลอดรังสีแคโทดในห้องที่มืดสนิท เรินต์เกนสังเกตการเรืองแสงบนกระดาษที่เคลือบ ด้วยสารแบเรียมแพลทิโนไซยาไนด์ (Barium platinocyanide: BaPt(CN)6) ซึ่งเป็นสาร เรื อ งแสง (phosphor) ภายใต ้ รั ง สี อั ล ตราไวโอเลต แต ่ ใ นขณะที่ ท� ำ การทดลองนั้ น ไม ่ มี รังสีอัลตราไวโอเลตอยู่เลย เรินต์เกนจึงสรุปว่าการเรืองแสงนั้นจะต้องมีสาเหตุมาจากรังสี ชนิดใหม่ที่ออกมาจากหลอดรังสีแคโทด ผลการค้นพบที่น่าตื่นเต้นก็คือเมื่อเรินต์เกนใช้ฝ่ามือ กั้นรังสีชนิดใหม่ เขาเห็นเงากระดูกมือของเขาปรากฏบนผนังห้องและเขายังได้ถ่ายภาพ เอกซ์เรย์กระดูกมือของภรรยาอีกด้วยดังแสดงในรูปที่ 1.4 หลังจากทดลองประมาณ 2 เดือน เขาได้ตีพิมพ์บทความที่เกี่ยวกับรังสีชนิดใหม่ซึ่งตั้งชื่อว่า รังสีเอกซ์ (X-rays) เนื่องจาก X มีความหมายว่ายังไม่ระบุชนิด ผลงานการค้นพบรังสีเอกซ์ของเรินต์เกนท�ำให้ได้รับรางวัล โนเบลสาขาฟิสิกส์ประจ�ำ ค.ศ. 1901 _12-24 (001-016)P4.indd 6 2/8/13 12:41 PM
  • 7. บทที่ 1 : แนะนำ�รังสีเอกซ์ …7…   รูปที่ 1.3 ภาพถ่าย วิลเฮล์ม คอนราด เรินต์เกน (ค.ศ. 1845-1923) รูปที่ 1.4 ภาพเอกซเรย์ที่บันทึกไว้เป็นครั้งแรกของโลก เป็นภาพกระดูกมือของภรรยา ของเรินต์เกนและแหวนแต่งงาน _12-24 (001-016)P4.indd 7 2/8/13 12:41 PM
  • 8. … 8 … เทคนิคการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์เบื้องต้น หลังจากการค้นพบรังสีเอกซ์ไม่นาน ก็มีการทดลองสมบัติความเป็นคลื่นของรังสีเอกซ์ หลายการทดลอง เช่น ใช้รังสีเอกซ์ส่องผ่านเกรตติง (grating) แต่ไม่พบการหักเหหรือเลี้ยวเบน จนกระทั่ง แมกซ์ วอน เลาอี (Max Von Laue) นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน เป็นผู้ค้นพบ การเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์ผ่านผลึก (crystal) ของสสาร ผลงานชิ้นนี้ท�ำให้เขาได้รับรางวัล โนเบลสาขาฟิสิกส์ใน ค.ศ. 1914 จากผลงานของเขาท�ำให้ทราบภายหลังว่ารังสีเอกซ์มีสมบัติ เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีช่วงความยาวคลื่นสั้นพอ ๆ กับระยะห่างระหว่างอะตอมซึ่งมีค่า อยู่ในช่วง 2-4 Å อีกทั้งรังสีเอกซ์ไม่เบี่ยงเบนในสนามไฟฟ้าหรือสนามแม่เหล็ก เนื่องจากรังสีเอกซ์มีอ�ำนาจทะลุทะลวงสูง แต่ไม่ผ่านสสารที่มีเลขอะตอมสูง ๆ จึงถูก น�ำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวางโดยเฉพาะทางด้านการแพทย์ในการตรวจสิ่งผิดปกติ ในร่างกาย เช่น กระดูกหักและสิ่งแปลกปลอมอื่น ๆ ที่อยู่ภายในร่างกาย 1.2 หลอดก�ำเนิดรังสีเอกซ์ แหล่งก�ำเนิดรังสีเอกซ์ที่ใช้ทั่วไปในปัจจุบัน คือ หลอดก�ำเนิดรังสีเอกซ์ (X-ray tube) ดังแสดงในรูปที่ 1.5 ซึ่งมีหลายแบบตามลักษณะการใช้งาน แต่ละแบบจะมีหลักการท�ำงาน และส่วนประกอบพื้นฐานเหมือนกัน 4 ส่วน คือ หลอดแก้วสุญญากาศ (vacuum tube) ขั้วแคโทด (cathode) แหล่งจ่ายความต่างศักย์สูง (high voltage) ระดับกิโลโวลต์ และขั้ว แอโนด (anode) พอสรุปได้ดังนี้ รูปที่ 1.5 ส่วนประกอบของหลอดก�ำเนิดรังสีเอกซ์ _12-24 (001-016)P4.indd 8 2/8/13 12:41 PM
  • 9. บทที่ 1 : แนะนำ�รังสีเอกซ์ …9… 1. หลอดแก้วสุญญากาศ หลอดสุญญากาศจะท�ำจากแก้วไพเร็กซ์ (pyrex glass) ภายในเป็นสุญญากาศ เพื่อ ป ้ อ งกั น การสู ญ เสี ย พลั ง งานของอิ เ ล็ ก ตรอนจากการชนกั บ โมเลกุ ล ของอากาศในขณะที่ อิเล็กตรอนวิ่งจากขั้วแคโทดเข้าชนเป้าโลหะที่ขั้วแอโนด 2. ขั้วแคโทด ขั้วแคโทดเป็นแหล่งก�ำเนิดอิเล็กตรอน ประกอบด้วยส่วนส�ำคัญ 2 ส่วนคือ ขดลวด โลหะ (filament) และถ้วยโลหะส�ำหรับบังคับล�ำอิเล็กตรอน (metallic focusing cup) ส�ำหรับ ขดลวดโลหะส่วนมากท�ำจากทังสเตน (tungsten) เนื่องจากมีจุดหลอมเหลวสูงและมีสมบัติ เหนี ย วสามารถยื ด เป็ นเส้ นยาวบางได้ (ปกติ จะมี ข นาดเส้ นผ่ า นศู นย์ กลางประมาณ 0.2 มิลลิเมตร) จึงเกิดการระเหยกลายเป็นไอน้อย และมีอายุการใช้งานยาวนาน เมื่อกระแสไฟฟ้า วิ่งผ่านเส้นลวดทังสเตน จะท�ำให้เกิดความร้อนขึ้นจนถึงจุดที่สามารถปล่อยอิเล็กตรอนออกมา จากเส้นลวดทังสเตน นั่นคืออะตอมของทังสเตนได้รับพลังงานความร้อน จนกระทั่งพลังงาน ที่อิเล็กตรอนได้รับมีค่ามากกว่าแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอิเล็กตรอนกับอะตอม ท�ำให้อิเล็กตรอน หลุดออกจากอะตอมเป็นอิสระ เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า การปลดปล่อยอิเล็กตรอนแบบเทอร์- มิออนิก (thermionic emission) เมื่อถ้วยโลหะมีศักย์ไฟฟ้า (voltage) เป็นลบจะผลัก อิเล็กตรอนที่เกิดจากเส้นลวดทังสเตนให้เป็นล�ำอิเล็กตรอนแคบ ๆ วิ่งไปข้างหน้า 3. แหล่งจ่ายความต่างศักย์สูง แหล่งจ่ายความต่างศักย์สูงเป็นส่วนที่ใช้ในการเร่งอิเล็กตรอนที่หลุดออกจากขั้วแคโทด เพื่อเข้าชนกับขั้วแอโนด ความต่างศักย์จะอยู่ในช่วง 10-80 กิโลโวลต์ ถ้าความต่างศักย์น้อย เกินไปจะท�ำให้เกิดแค่เพียงรังสีเอกซ์แบบต่อเนื่อง (continuous X-rays) ถ้าความต่างศักย์มาก จะท�ำให้เกิดรังสีเอกซ์ลักษณะเฉพาะ (characteristic X-rays) เพิ่มเข้ามาด้วยนอกเหนือจาก รังสีเอกซ์แบบต่อเนื่อง รายละเอียดของชนิดของรังสีเอกซ์จะได้อธิบายต่อไปในหัวข้อที่ 1.3 4. ขั้วแอโนด ขั้ ว แอโนดท� ำ หน ้ า ที่ เ ป ็ น เป ้ า รั บ อิ เ ล็ ก ตรอนจากขั้ ว แคโทด ซึ่ ง ปกติ จ ะประกอบด ้ ว ย เป้าโลหะ (metal target) ที่มีเลขอะตอม (atomic number) สูง เช่น ทองแดง โมลิบดีนัม โรเดียม และทังสเตน เนื่องจากก�ำลังของรังสีจะแปรผันตรงกับเลขอะตอม แผ่นเป้าโลหะ ซึ่ ง หนาระดั บ มิ ล ลิ เ มตรนี้ จ ะท� ำ มุ ม กั บ แนวดิ่ ง ฝั ง อยู ่ ใ นแท่ ง โลหะทองแดงซึ่ ง ท� ำ หน้ า ที่ เ ป็ น ขั้วแม่เหล็กไฟฟ้าและตัวระบายความร้อนให้กับแผ่นเป้าโลหะ โดยปกติจะมีระบบระบาย _12-24 (001-016)P5.indd 9 2/15/13 8:38 PM
  • 10. … 10 … เทคนิคการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์เบื้องต้น ความร ้ อ นด ้ ว ยน�้ ำ (cooling water) เพื่ อ ระบายความร ้ อ นที่ เ กิ ด ขึ้ น จากการชนของ อิ เ ล็ ก ตรอนบนเป ้ า โลหะ (> 99% จะกลายเป ็ น ความร ้ อ น และ < 1% จะเกิ ด เป ็ น รั ง สี เ อกซ ์ ) ป ั จ จุ บั น มี เ ป ้ า โลหะที่ ห มุ น รอบตั ว ได ้ (rotating anode) โดยมี แ กนโลหะ ยึดขั้วแอโนด โดยทั่วไป ขั้วแอโนดจะหมุนรอบตัวด้วยอัตราเร็วรอบประมาณ 3000 รอบ ต่ อ นาที เมื่ อ ล� ำ อิ เ ล็ ก ตรอนวิ่ ง จากขั้ ว แคโทดเข้ า ชนขั้ ว แอโนดจะเกิ ด การปล่ อ ยรั ง สี เ อกซ์ ออกมาทางหน้าต่างที่ท�ำจากเบริลเลียม (beryllium) โดยรังสีเอกซ์ที่ออกมามี 2 ประเภท คือ รังสีเอกซ์แบบต่อเนื่อง และรังสีเอกซ์ลักษณะเฉพาะ รายละเอียดของชนิดของรังสีเอกซ์ จะได้กล่าวในหัวข้อถัดไป 1.3 ชนิดของรังสีเอกซ์ รั ง สี เ อกซ์ ส ามารถเกิ ด จากการเร่ ง อนุ ภ าคอิ เ ล็ ก ตรอนให้ วิ่ ง ชนอะตอมของเป้ า โลหะ ซึ่ ง เมื่ อ อิ เ ล็ ก ตรอนมี ค วามเร็ ว (ทั้ ง ขนาดและทิ ศ ทาง) เปลี่ ย นแปลงอย่ า งฉั บ พลั น จะให้ พ ลั ง งานออกมาในรู ป ของรั ง สี เ อกซ์ แ บบต่ อ เนื่ อ ง (continuous X-rays) หรื อ อาจจะเกิ ด ในเครื่ อ งเร ่ ง อนุ ภ าคพลั ง งานสู ง ซึ่ ง เป ็ น เครื่ อ งมื อ ชนิ ด หนึ่ ง ที่ อ าศั ย สนาม แม่ เ หล็ ก ไฟฟ้ า ในการเร่ ง ให้ อ นุ ภ าคที่ มี ป ระจุ เ คลื่ อ นที่ ไ ปจนกระทั่ ง มี ค วามเร่ ง ปลดปล่ อ ย คลื่ น แม่ เ หล็ ก ไฟฟ้ า ในท่ อ สุ ญ ญากาศ นอกจากนี้ รั ง สี เ อกซ์ ยั ง สามารถเกิ ด จากการ เปลี่ยนชั้น (transition) ของอิเล็กตรอนวงนอก (outer orbit) ลงมาที่วงใน (inner orbit) แล้วคายพลังงานออกมาในรูปรังสีเอกซ์ลักษณะเฉพาะ (characteristic X-rays) 1.3.1 รังสีเอกซ์แบบต่อเนื่อง ในที่ นี้ จ ะอธิ บ ายถึ ง การเกิ ด รั ง สี เ อกซ์ แ บบต่ อ เนื่ อ งในหลอดรั ง สี แ คโทด รั ง สี เอกซ์แบบต่อเนื่องเกิดจากการชนแบบไม่ยืดหยุ่น (inelastic collision) ของอิเล็กตรอน กั บ อะตอมของสสาร เมื่ อ อิ เ ล็ ก ตรอนวิ่ ง ผ ่ า นใกล ้ นิ ว เคลี ย ส (เรี ย กอิ เ ล็ ก ตรอนนั้ น ว ่ า incoming electron) อิ เ ล็ ก ตรอนตั ว นั้ น จะถู ก ดู ด โดยแรงทางไฟฟ ้ า (coulomb force) ที่ เ กิ ด จากประจุ บ วกในนิ ว เคลี ย ส ท� ำ ให ้ ทิ ศ ทางการเคลื่ อ นที่ ข องอิ เ ล็ ก ตรอนที่ วิ่ ง เข ้ า ชนนี้ เ บนเปลี่ ย นไปจากเดิ ม ความเร็ ว ของอิ เ ล็ ก ตรอนที่ วิ่ ง เข ้ า ชนลดลงอย ่ า งรวดเร็ ว (เรี ย กอิ เ ล็ ก ตรอนที่ เ บนไปหรื อ ถู ก กระเจิ ง ว ่ า scattered electron) อิ เ ล็ ก ตรอนที่ มี ความหน ่ ว งจะปลดปล ่ อ ยพลั ง งานออกมาในรู ป ของรั ง สี เ อกซ ์ แ บบต ่ อ เนื่ อ ง ดั ง รู ป ที่ 1.6 ตามทฤษฎีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ถ้าอนุภาคมีประจุเคลื่อนที่ด้วยความเร่งจะแผ่พลังงานออกมา _12-24 (001-016)P4.indd 10 2/8/13 12:41 PM