SlideShare a Scribd company logo
1 of 10
Download to read offline
1        กฎหมายเบืองต้น
                    ้


ความหมายของกฎหมาย

	       กฎหมาย คือ ค�ำสั่งหรือข้อบังคับของรัฐที่ก�ำหนดขึ้น เพื่อก�ำหนดความประพฤติของพลเมือง         
ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม ย่อมมีความผิดและถูกลงโทษ กฎหมายบังคับใช้ได้กับพลเมืองทุกคน            
ไม่จ�ำกัด อายุ เพศ ชั้น วรรณะ สัญชาติ และใช้ไปจนกว่าจะมีการประกาศยกเลิก

ที่มาของกฎหมาย

	       ทุกประเทศทั่วโลกได้ตรากฎหมายขึ้นมาบังคับใช้ ซึ่งมีความแตกต่างกันตามแต่ความต้องการ
และความเหมาะสมของแต่ละประเทศ โดยทั่วไปแล้วกฎหมายจะครอบคลุมทุกด้านของสังคม ทั้งนี้       
เพื่อให้สังคมอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข เมื่อพิจารณาจากเนื้อหาแล้วจะเห็นว่ากฎหมายมีที่มาจาก
	       1.	 จารีตประเพณี
	       2.	 ศีลธรรมหรือบทบัญญัติทางศาสนา
	       3.	 ความยุติธรรม
	       4.	 ผู้มีอ�ำนาจสูงสุดของสังคม อาจเป็นบุคคลหรือคณะบุคคล
	       ส�ำหรับประเทศไทยนั้น ได้จัดท�ำระบบกฎหมายให้เป็นสากลในสมัยรัตนโกสินทร์ ในรัชสมัย
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โดยได้รับอิทธิพลจากกฎหมายชาติตะวันตก
ประเทศไทยจึงได้จัดท�ำประมวลกฎหมายขึ้นมาใช้จนถึงปัจจุบัน




          รูปที่ 1-1 พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ ทรงได้รับการยกย่องเป็น “พระบิดาแห่งกฎหมายไทย”
ระบบกฎหมาย

	       กฎหมายที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันแบ่งได้เป็น 2 ระบบ ได้แก่
	       1.	 ระบบซีวิลลอว์ (Civil law) หรือกฎหมายลายลักษณ์อักษร เป็นกฎหมายที่เขียนไว้เป็น           
ลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจน อาจจะอยู่ในรูปของพระราชบัญญัติหรือประมวลกฎหมายก็ได้ ในการ
วินิจฉัยคดีจะมีคณะผู้พิพากษาเป็นผู้ตัดสิน ระบบซีวิลลอว์ถือก�ำเนิดในทวีปยุโรป ประเทศที่ใช้ระบบนี้
เช่น เยอรมนี ฝรั่งเศส อิตาลี เบลเยียม สวิตเซอร์แลนด์ ฯลฯ
	       2.	 ระบบคอมมอนลอว์ (Common law) หรือกฎหมายจารีตประเพณี เป็นกฎหมายที่ไม่ได้
ก�ำหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่เป็นกฎหมายที่เกิดจากจารีตประเพณีหรือค�ำพิพากษาของศาล         
โดยค�ำพิพากษาของศาลจะถือเป็นบรรทัดฐาน ในการพิจารณาคดีที่เกิดขึ้นในภายหลัง การวินิจฉัยคดี
มีคณะลูกขุนเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด กฎหมายแบบคอมมอนลอว์ถือก�ำเนิดในประเทศอังกฤษ ประเทศที่ใช้
ระบบนี้ ได้แก่ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และประเทศในเครือจักรภพอังกฤษ

การตรากฎหมาย

	    ส�ำหรับในประเทศไทยนั้นกฎหมายถูกตราขึ้นมาจาก 3 ฝ่าย ได้แก่
	    1.	 การตรากฎหมายโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายนิติบัญญัติที่มีหน้าที่ตรากฎหมาย คือ รัฐสภา
กฎหมายที่ตราขึ้น เช่น รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ และประมวลกฎหมาย ฯลฯ
	    2.	 การตรากฎหมายโดยฝ่ายบริหาร ฝ่ายบริหารทีมหน้าทีตรากฎหมาย คือ คณะรัฐมนตรีประจ�ำ
                                                     ่ี   ่
กระทรวง กฎหมายที่ฝ่ายบริหารบัญญัติขึ้น ได้แก่
	    	 2.1	 พระราชก�ำหนด ตราโดย คณะรัฐมนตรี
	    	 2.2	 พระราชกฤษฎีกา ตราโดย คณะรัฐมนตรี
	    	 2.3	 กฎกระทรวง ตราโดยรัฐมนตรีผู้รักษาการตามที่ก�ำหนดในพระราชบัญญัติ
	    3.	 การตรากฎหมายโดยองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ซึ่งองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นที่มีอ�ำนาจ
ในการตรากฎหมาย เช่น เทศบาล องค์การบริหารส่วนต�ำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด ฯลฯ        
กฎหมายที่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นบัญญัติขึ้น ได้แก่
	    	 3.1	 ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนต�ำบล ตราขึ้นโดย องค์การบริหารส่วนต�ำบล
	      	 3.2	 ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด ตราขึ้นโดย องค์การบริหารส่วนจังหวัด
	    	 3.3	 เทศบัญญัติ ตราขึ้นโดย เทศบาล
	      	 3.4	 ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ตราขึ้นโดย กรุงเทพมหานคร
	      	 3.5 	ข้อบัญญัติเมืองพัทยา ตราขึ้นโดย เมืองพัทยา


2     กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมและป้องกันโรคระบาดในสัตว์เลี้ยง
การตีความกฎหมาย

	       ในการบังคับใช้กฎหมายบางครังอาจพบความไม่ชดเจนของตัวบทกฎหมาย เนืองจากมีขอความ
                                    ้             ั                       ่          ้
ที่ก�ำกวมตีความได้หลายอย่าง ดังนั้น การตีความกฎหมายจึงเป็นการค้นหาความหมายของกฎหมาย
วิธีการตีความกฎหมายมีหลักการดังต่อไปนี้
	       1.	 การตีความกฎหมายทั่วไปมี 2 วิธี ดังนี้
	       	 1.1	 ตีความตามตัวอักษร ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดไว้ว่า การตีความตาม
                                                                �
ตัวอักษรให้ยดความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน และให้พจารณาตามความหมายใน
              ึ                                                   ิ
บทวิเคราะห์ศัพท์ที่อยู่ในมาตราต้น ๆ ของกฎหมายแต่ละฉบับ
	       	 1.2	 ตีความตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย โดยพิจารณาจากชื่อของกฎหมาย ค�ำขึ้นต้น
หมายเหตุ หลักการและเหตุผลของกฎหมาย โดยพิจารณาจากหลายมาตราประกอบ รวมถึงจาก      
รายงานการประชุมในการยกร่างกฎหมายนั้น
	       2.	 การตีความกฎหมายอาญา
	       การตีความในประมวลกฎหมายอาญา จะต้องตีความตามตัวอักษรและตีความโดยเคร่งครัด จะ
ขยายความออกไปนอกกรณีที่มิได้บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งไม่ได้ และจะลงโทษจ�ำเลยได้ก็ต่อเมื่อกฎหมาย
ระบุไว้ชัดแจ้งเท่านั้น

การยกเลิกกฎหมาย

	      การยกเลิกกฎหมายมี 4 กรณี ดังนี้
	      1.	 การยกเลิกโดยกฎหมายโดยตรง เป็นการยกเลิกเพราะมีกฎหมายใหม่ออกมายกเลิกกฎหมาย
เก่า หรือยกเลิกเพราะกฎหมายได้ก�ำหนดระยะเวลาการบังคับใช้ไว้ชัดเจน
	      2.	 การยกเลิกโดยปริยาย มีหลายกรณี ดังนี้
	      	 2.1	 กฎหมายใหม่มีบทบัญญัติเหมือนกับกฎหมายเก่า ให้ใช้กฎหมายใหม่
	      	 2.2	 กฎหมายใหม่มีข้อความขัดแย้งกับกฎหมายเก่า ให้ใช้กฎหมายใหม่
	      	 2.3	 การยกเลิกพระราชบัญญัติหรือพระราชก�ำหนด ยกเลิกได้โดยกฎหมายที่มีศักดิ์เท่ากัน
	      3.	 การยกเลิกโดยศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ากฎหมายใดขัดต่อรัฐธรรมนูญ
หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ ให้กฎหมายนั้นเป็นอันตกไป
	      4.	 ยกเลิกโดยค�ำพิพากษาของศาล กฎหมายที่ตราออกมาโดยไม่ผ่านรัฐสภา หากมีบทบัญญัติ
ขัดหรือแย้งกับกฎหมายอื่นอาจมีผู้เสียหายฟ้องคดีในศาล และศาลตัดสินให้เป็นไปตามกฎหมายหลัก
และยกเลิกกฎหมายที่มีปัญหาได้


                                         กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมและป้องกันโรคระบาดในสัตว์เลี้ยง   3
การจัดประเภทของกฎหมาย
	
	        โดยพิจารณาจากศักดิ์ของกฎหมาย ซึ่งศักดิ์ของกฎหมาย คือ ล�ำดับชั้นฐานะหรือความส�ำคัญ
ของกฎหมาย ว่ากฎหมายใดมีความส�ำคัญมากกว่า การบังคับใช้และการตีความตลอดจนการยกเลิก
กฎหมาย จะต้องยึดถือตามศักดิ์ของกฎหมาย เพราะกฎหมายที่มีศักดิ์ต�่ำกว่าจะขัดแย้งกับกฎหมายที่
มีศักดิ์สูงกว่าไม่ได้ ศักดิ์ของกฎหมายมีล�ำดับลดหลั่นกันลงไปดังนี้
	        1.	 รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
	        2.	 พระราชบัญญัติ พระราชก�ำหนด ประมวลกฎหมาย
	        3.	 พระราชกฤษฎีกา
	        4.	 กฎกระทรวง
	        5.	 กฎหมายท้องถิ่น เช่น ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนต�ำบล ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วน
จังหวัด เทศบัญญัติ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ข้อบัญญัติเมืองพัทยา ฯลฯ




          รูปที่ 1-2 กฎหมายรัฐธรรมนูญถือเป็นเป็นกฎหมายสูงสุด กฎหมายอื่นใดจะขัดหรือแย้งมิได้

พระราชบัญญัติ

	     พระราชบัญญัติ คือ กฎหมายซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้น โดยค�ำแนะน�ำและยินยอมของ
รัฐสภา รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 3 และมาตรา 92 ในการบัญญัติพระราชบัญญัติ
สาระส�ำคัญของพระราชบัญญัติ มีดังต่อไปนี้
	     1.	 ผู้มีสิทธิเสนอร่างพระราชบัญญัติทั่วไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550  
คือ คณะรัฐมนตรี หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจ�ำนวนไม่น้อยกว่ายี่สิบคน หรือศาลหรือองค์กรอิสระ

4     กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมและป้องกันโรคระบาดในสัตว์เลี้ยง
ตามรัฐธรรมนูญ หรือผู้มีสิทธิเลือกตั้งจ�ำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นรายชื่อ แต่ถ้าเป็นร่างพระราช-          
บัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินแล้ว จะเสนอได้ก็ต่อเมื่อมีค�ำรับรองของนายกรัฐมนตรี
	       2.	 ผู้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ คือ สภาผู้แทนราษฎร ประเทศไทยใช้ระบบสองสภา เมื่อ       
สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาร่างพระราชบัญญัติและมีมติเห็นชอบแล้ว สภาผู้แทนราษฎรจะต้องเสนอ
ร่างพระราชบัญญัตนนต่อไปยังวุฒสภา เพือให้วฒสภาพิจารณาร่างพระราชบัญญัตดงกล่าว ดังต่อไปนี้
                      ิ ั้        ิ       ่ ุ ิ                                ิั
	       	 2.1	 กรณีที่วุฒิสภาเห็นชอบด้วย ให้น�ำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระมหากษัตริย์เพื่อทรงลง            
พระปรมาภิไธย
	       	 2.2	 กรณีที่วุฒิสภาไม่เห็นชอบด้วย ให้ยับยั้งไว้ก่อนโดยส่งร่างพระราชบัญญัติกลับไปที่สภา
ผู้แทนราษฎร
	       	 2.3	 กรณีการแก้ไขเพิมเติม ให้แต่ละสภาแต่งตังคณะกรรมาธิการร่วมโดยให้มจำนวนเท่ากัน
                               ่                         ้                         ี�
ตามที่สภาผู้แทนราษฎรได้ก�ำหนด ถ้าทั้งสองสภาเห็นชอบด้วยร่างที่คณะกรรมาธิการร่วมพิจารณา        
ให้น�ำร่างพระราชบัญญัตินั้นขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย แต่ถ้าสภาใดสภาหนึ่งไม่เห็นชอบด้วยให้ยับยั้งไว้ก่อน
	       3. 	ผู้ตราพระราชบัญญัติ คือ พระมหากษัตริย์
	       4. 	ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้ เมื่อพระราชบัญญัติได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว

หมายเหตุ
	      1.	 ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ ถ้าหากรัฐสภาไม่เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติแล้ว ร่าง
พระราชบัญญัตินั้นเป็นอันตกไป แต่ถ้ารัฐสภาเห็นชอบด้วย นายกรัฐมนตรีสามารถน�ำร่างพระราช-
บัญญัตินั้นขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระมหากษัตริย์เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย เว้นแต่ในกรณีที่
	      	 •	 สมาชิกวุฒสภา หรือสมาชิกสภาผูแทนราษฎร หรือสมาชิกของทังสองสภารวมกันมีจำนวน
                        ิ                 ้                             ้                 �
ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจ�ำนวนสมาชิกทั้งหมดที่มีอยู่ทั้งสองสภา ใช้สิทธิเข้าชื่อเสนอความเห็นเพื่อ      
ส่งต่อไปให้คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยหรือ
	      	 •	 ถ้านายกรัฐมนตรีเห็นว่าร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ
หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ สามารถส่งความเห็นเช่นว่านี้ ไปยังคณะ
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยและในระหว่างนั้น นายกรัฐมนตรีจะต้องระงับการด�ำเนินการเพื่อ
ประกาศใช้ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวไว้ก่อน จนกว่าจะมีค�ำวินิจฉัยจากศาลรัฐธรรมนูญ ถ้าคณะ
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัตินั้น มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ร่าง
พระราชบัญญัตินั้นเป็นอันตกไป
	      2.	 ในการที่พระมหากษัตริย์จะทรงตราร่างพระราชบัญญัตินั้น ถ้าหากพระมหากษัตริย์ทรงเห็น
ชอบด้วยก็จะทรงลงพระปรมาภิไธย แต่ถ้าพระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยและพระราชทานคืน
มายังรัฐสภา หรือมิได้พระราชทานคืนมาภายในเก้าสิบวัน รัฐสภาจะต้องปรึกษาร่างพระราชบัญญัตนน     ิ ั้
ใหม่ ถ้ารัฐสภาลงมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่ตำกว่าสองในสามของจ�ำนวนสมาชิกทั้งหมด
                                                        �่

                                              กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมและป้องกันโรคระบาดในสัตว์เลี้ยง   5
ของทั้งสองสภาแล้ว นายกรัฐมนตรีจะต้องน�ำร่างพระราชบัญญัตินั้นขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายอีกครั้ง เมื่อ
พระมหากษัตริยมได้ทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานคืนมาภายในสามสิบวัน นายกรัฐมนตรีสามารถ
                 ์ิ
น�ำพระราชบัญญัตินั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษา ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้เสมือนหนึ่งว่าพระมหา-
กษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว
	      3. 	ถ้าพระราชบัญญัติที่ได้ประกาศใช้แล้วมีข้อความขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญ บทบัญญัตินั้นเป็น
อันใช้บังคับไม่ได้ ศาลรัฐธรรมนูญมีอ�ำนาจหน้าที่วินิจฉัย ว่าบทกฎหมายนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ
หรือไม่ และเมื่อวินิจฉัยไปในทางใดแล้วก็เป็นอันเด็ดขาดและใช้ได้ในคดีทั้งปวง แต่ไม่กระทบต่อ            
ค�ำพิพากษาของศาลอันถึงที่สุดแล้ว




                     รูปที่ 1-3 ตัวอย่างพระราชบัญญัติที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว

พระราชก�ำหนด
	
	     พระราชก�ำหนด คือ กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามค�ำแนะน�ำของคณะรัฐมนตรี
สาระส�ำคัญของพระราชก�ำหนด มีดังต่อไปนี้
	     1.	 ประเภทของพระราชก�ำหนด มี 2 ประเภท ได้แก่
	     	 1.1	 พระราชก�ำหนดทั่วไป
	     	 1.2	 พระราชก�ำหนดเกี่ยวด้วยภาษีอากรหรือเงินตรา
	     2.	 เงื่อนไขในการออกพระราชก�ำหนด ส�ำหรับพระราชก�ำหนดทั่วไปมีเงื่อนไข ดังนี้
	     	 2.1	ในกรณีฉุกเฉิน ที่มีความจ�ำเป็นเร่งด่วนในอันจะรักษาความปลอดภัยของประเทศ หรือ
ความปลอดภัยสาธารณะ หรือความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องกันสาธารณภัยและ
	      	 2.2	จะเรียกประชุมรัฐสภาให้ทันท่วงทีมิได้

6      กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมและป้องกันโรคระบาดในสัตว์เลี้ยง
ส�ำหรับพระราชก�ำหนดเกี่ยวกับภาษีอากรหรือเงินตรา มีเงื่อนไขการออกพระราชก�ำหนด คือ
ต้องอยู่ในระหว่างสมัยประชุม และมีความจ�ำเป็นต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยภาษีอากรหรือเงินตรา              
ซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาโดยด่วนและลับ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของแผ่นดิน
	      3. 	ผู้เสนอร่างพระราชก�ำหนด คือ รัฐมนตรีผู้จะรักษาการตามพระราชก�ำหนดนั้น
	      4. 	ผู้พิจารณา คือ คณะรัฐมนตรี
	      5. 	ผู้ตรา คือ พระมหากษัตริย์
	      6. 	ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้ เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว
	      พระราชก�ำหนดที่มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ย่อมเป็นอันใช้บังคับมิได้ และคณะ
ตุลาการรัฐธรรมนูญมีอ�ำนาจหน้าที่วินิจฉัย




                   รูปที่ 1-4 ตัวอย่างพระราชก�ำหนดที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว

พระราชกฤษฎีกา
	
	     พระราชกฤษฎีกา คือ กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้น โดยค�ำแนะน�ำของคณะรัฐมนตรี
สาระส�ำคัญของพระราชกฤษฎีกา มีดังต่อไปนี้
	     1.	 ประเภทของพระราชกฤษฎีกามีประเภทเดียว คือ พระราชกฤษฎีกาที่ออกตามที่ก�ำหนดใน
รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่น กล่าวคือ รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชก�ำหนดได้มีบท      
บัญญัติมอบให้ฝ่ายบริหาร คือ คณะรัฐมนตรีไปถวายค�ำแนะน�ำพระมหากษัตริย์  ให้ทรงตราพระราช-
กฤษฎีกาก�ำหนดรายละเอียด เพื่อด�ำเนินการให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราช-
ก�ำหนดนั้น ๆ แล้วแต่กรณี	
	     2.	 ผู้เสนอ ได้แก่ รัฐมนตรีที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รักษาการตามพระราชบัญญัติหรือ            
พระราชก�ำหนดที่บัญญัติให้ออกพระราชกฤษฎีกานั้น ส่วนพระราชกฤษฎีกาที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้

                                                กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมและป้องกันโรคระบาดในสัตว์เลี้ยง   7
พระราชอ�ำนาจ ทรงตราโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย ผู้เสนอ ได้แก่ รัฐมนตรีที่เป็นเจ้าของเรื่องนั้น ๆ
	    3. 	ผู้พิจารณา คือ รัฐมนตรี
	    4. 	ผู้ตรา คือ พระมหากษัตริย์
	    5. 	ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้ เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว




                   รูปที่ 1-5 ตัวอย่างพระราชกฤษฎีกาที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว


กฎกระทรวง
	
	         กฎกระทรวง คือ กฎหมายซึ่งรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติ หรือพระราชก�ำหนด         
ได้ออกเพื่อด�ำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ หรือพระราชก�ำหนดนั้น ทั้งนี้ พระราชบัญญัติ       
และพระราชก�ำหนด ได้ก�ำหนดหลักเกณฑ์กว้าง ๆ ไว้ และให้ออกกฎกระทรวงเพื่อก�ำหนดรายละเอียด
ปลีกย่อยต่อไป ส่วนเมื่อใดจะก�ำหนดให้ออกเป็นพระราชกฤษฎีกาหรือให้เป็นกฎกระทรวงนั้น ย่อม      
แล้วแต่ความส�ำคัญของเรื่อง ถ้าเป็นเรื่องที่ส�ำคัญก็ก�ำหนดให้ออกเป็นพระราชกฤษฎีกา แต่ถ้าเป็น         
เรื่องที่ไม่ส�ำคัญก็ก�ำหนดให้ออกเป็นกฎกระทรวง สาระส�ำคัญของกฎกระทรวง มีดังต่อไปนี้
	         1.	 ผู้เสนอ คือ รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติหรือพระราชก�ำหนด ซึ่งบัญญัติให้ออก
กฎกระทรวงนั้น
	         2. 	ผู้พิจารณา คือ คณะรัฐมนตรี
	         3. 	ผูตรา คือ รัฐมนตรีผรกษาการตามพระราชบัญญัตหรือพระราชก�ำหนด ซึงบัญญัตให้ออกกฎ
                ้                ู้ ั                      ิ                 ่       ิ
กระทรวงนั้น
	         4. 	ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้ เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว
	         ศาลมีอ�ำนาจพิจารณาพิพากษากฎกระทรวงที่ขัดหรือแย้งต่อกฎหมาย ซึ่งกฎกระทรวงนั้นเป็น
อันใช้บังคับมิได้

8     กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมและป้องกันโรคระบาดในสัตว์เลี้ยง
หมายเหตุ
  	 เหตุผลที่พระราชบัญญัติหรือพระราชก�ำหนด มักจะประกอบด้วยหลักการกว้าง ๆ โดยไม่มีการ
ก�ำหนดรายละเอียด แต่ให้ออกเป็นพระราชกฤษฎีกาหรือกฎกระทรวงขึ้นมาก�ำหนดรายละเอียดปลีก
ย่อยเพิ่มเติมขึ้นมาภายหลังนั้นมี 4 ประการ คือ
	      1.	 ท�ำให้กฎหมายอ่านเข้าใจง่าย เพราะมีแต่หลักการอันเป็นสาระส�ำคัญ
	      2. 	ประหยัดเวลาของผู้บัญญัติกฎหมาย โดยไม่ต้องเสียเวลาพิจารณาข้อรายละเอียดปลีกย่อย
ซึ่งสมควรมอบหมายความไว้วางใจให้ฝ่ายบริหารเป็นผู้ก�ำหนดเอง
	      3. 	พระราชกฤษฎีกาและกฎกระทรวง แก้ไขเพิ่มเติมได้ง่าย
	      4. 	เพื่อให้กฎหมายมีเหมาะสมกับกาลปัจจุบันอยู่เสมอ เพราะถ้ามีพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไป       
ก็สามารถแก้ไขได้ด้วยการออกเป็นพระราชกฤษฎีกาหรือกฎกระทรวง
	      ทั้งนี้ถ้าพระราชกฤษฎีกาหรือกฎกระทรวงมีข้อความขัดแย้งต่อกฎหมายย่อมใช้บังคับไม่ได้




                   รูปที่ 1-6 ตัวอย่างกฎกระทรวงที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว

ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนต�ำบล
	
	      จัดท�ำขึ้นเพื่อใช้บังคับเฉพาะในเขตขององค์การบริหารส่วนต�ำบลนั้น ๆ ซึ่งองค์การบริหารส่วน
ต�ำบล (อบต.) มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น จัดตั้งขึ้นเพื่อรองรับการ      
กระจายอ�ำนาจจากส่วนกลางสู่ส่วนท้องถิ่น โดยได้ยกฐานะจากสภาต�ำบลขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วน       
ต�ำบล ตามความในหมวด 2 แห่งพระราชบัญญัติสภาต�ำบลและองค์การบริหารส่วนต�ำบล พ.ศ. 2537
(แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 5 พ.ศ. 2546) สาระส�ำคัญของข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนต�ำบล มีดังนี้ต่อไป
นี้


                                             กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมและป้องกันโรคระบาดในสัตว์เลี้ยง   9
1.	 เงื่อนไขที่ออกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนต�ำบล จะต้องมีพระราชบัญญัติ คือ พระราช-
บัญญัติสภาต�ำบลและองค์การบริหารส่วนต�ำบล หรือพระราชบัญญัติอื่น ๆ ที่ให้อ�ำนาจองค์การบริหาร
ส่วนต�ำบลตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนต�ำบลได้
	        2. 	ผู้เสนอ คือ คณะกรรมการบริหาร หรือสมาชิกองค์การบริหารส่วนต�ำบล
	        3. 	ผู้พิจารณา คือ สภาองค์การบริหารส่วนต�ำบล
	        4. 	ผู้ตรา คือ ประธานกรรมการองค์การบริหารส่วนต�ำบล หรือนายกองค์การบริหารส่วนต�ำบล
	        5. 	ผู้อนุมัติ คือ นายอ�ำเภอ
	        6. 	ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้ เมื่อได้ประกาศข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนต�ำบลไว้โดยเปิดเผย
ที่ส�ำนักงานองค์การบริหารส่วนต�ำบลแล้วเป็นเวลาเจ็ดวัน




            รูปที่ 1-7 ตัวอย่างข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนต�ำบลที่ได้รับการอนุมัติและประกาศใช้

ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด
	
	       เป็นกฎหมายที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดออกใช้ในเขตจังหวัด ในพื้นที่นอกเขตเทศบาล เขต
สุขาภิบาล และเขตต�ำบลที่มีการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนต�ำบล สาระส�ำคัญของข้อบัญญัติองค์การ
บริหารส่วนจังหวัด มีดังต่อไปนี้
	       1.	 เงื่อนไขที่ออกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัดจะต้องมีพระราชบัญญัติ คือ พระราช-
บัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือพระราชบัญญัติอื่น ๆ ที่ให้อ�ำนาจองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ตราข้อบัญญัติจังหวัดได้
	       2. 	ผูเ้ สนอ คือ ผูวาราชการจังหวัดหรือสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด การให้ผวาราชการ
                           ้่                                                          ู้ ่
จังหวัดสามารถเสนอร่างข้อบัญญัตได้นน เนืองจากผูวาราชการจังหวัดเป็นผูบริหารราชการของจังหวัด
                                    ิ ั้ ่          ้่                  ้
จึงอยูในฐานะทีทราบดีวาควรออกข้อบัญญัตใด เพือให้การบริหารงานราชการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
      ่            ่        ่                ิ ่
และมีประสิทธิภาพ
10    กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมและป้องกันโรคระบาดในสัตว์เลี้ยง

More Related Content

What's hot

กฎหมายที่ควรรู้
กฎหมายที่ควรรู้กฎหมายที่ควรรู้
กฎหมายที่ควรรู้montira
 
ความหมายและลักษณะของกฎหมาย
ความหมายและลักษณะของกฎหมายความหมายและลักษณะของกฎหมาย
ความหมายและลักษณะของกฎหมายbilly ratchadamri
 
ความรู้ เกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป
ความรู้  เกี่ยวกับกฎหมายทั่วไปความรู้  เกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป
ความรู้ เกี่ยวกับกฎหมายทั่วไปSiriyagon Pusod
 
กฎหมาย
กฎหมายกฎหมาย
กฎหมายmarena06008
 
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550Poramate Minsiri
 
ครั้งที่ 6
ครั้งที่ 6ครั้งที่ 6
ครั้งที่ 6AJ Por
 
กฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
กฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
กฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องChacrit Sitdhiwej
 
กฎหมายในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 2
กฎหมายในชีวิตประจำวัน  ครั้งที่ 2กฎหมายในชีวิตประจำวัน  ครั้งที่ 2
กฎหมายในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 2Andy Hung
 
กฎหมายในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 2
กฎหมายในชีวิตประจำวัน  ครั้งที่ 2 กฎหมายในชีวิตประจำวัน  ครั้งที่ 2
กฎหมายในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 2 AJ Por
 
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไปความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไปtanapongslide
 
ชีทสรุปกฎหมายปกครองเบื้องต้น
ชีทสรุปกฎหมายปกครองเบื้องต้นชีทสรุปกฎหมายปกครองเบื้องต้น
ชีทสรุปกฎหมายปกครองเบื้องต้นMac Legendlaw
 
สถาบันทางการเมือง
สถาบันทางการเมืองสถาบันทางการเมือง
สถาบันทางการเมืองkroobannakakok
 
ครั้งที่ 4
ครั้งที่ 4ครั้งที่ 4
ครั้งที่ 4AJ Por
 
กระบวนการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
กระบวนการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่กระบวนการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
กระบวนการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่Palida Sookjai
 
การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญกับการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญกับการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญกับการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญกับการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญNanthapong Sornkaew
 
ระบบศาลในประเทศไทย
ระบบศาลในประเทศไทยระบบศาลในประเทศไทย
ระบบศาลในประเทศไทยDookzaa Sanno
 

What's hot (20)

กฎหมายที่ควรรู้
กฎหมายที่ควรรู้กฎหมายที่ควรรู้
กฎหมายที่ควรรู้
 
อินโฟกราฟิกร่างรัฐธรรมนูญเบื้องต้น
อินโฟกราฟิกร่างรัฐธรรมนูญเบื้องต้น อินโฟกราฟิกร่างรัฐธรรมนูญเบื้องต้น
อินโฟกราฟิกร่างรัฐธรรมนูญเบื้องต้น
 
ความหมายและลักษณะของกฎหมาย
ความหมายและลักษณะของกฎหมายความหมายและลักษณะของกฎหมาย
ความหมายและลักษณะของกฎหมาย
 
ข้อ 1
ข้อ 1ข้อ 1
ข้อ 1
 
ความรู้ เกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป
ความรู้  เกี่ยวกับกฎหมายทั่วไปความรู้  เกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป
ความรู้ เกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป
 
กฎหมาย
กฎหมายกฎหมาย
กฎหมาย
 
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
 
ครั้งที่ 6
ครั้งที่ 6ครั้งที่ 6
ครั้งที่ 6
 
กฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
กฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
กฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
 
กฎหมายในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 2
กฎหมายในชีวิตประจำวัน  ครั้งที่ 2กฎหมายในชีวิตประจำวัน  ครั้งที่ 2
กฎหมายในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 2
 
กฎหมายในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 2
กฎหมายในชีวิตประจำวัน  ครั้งที่ 2 กฎหมายในชีวิตประจำวัน  ครั้งที่ 2
กฎหมายในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 2
 
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไปความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป
 
ชีทสรุปกฎหมายปกครองเบื้องต้น
ชีทสรุปกฎหมายปกครองเบื้องต้นชีทสรุปกฎหมายปกครองเบื้องต้น
ชีทสรุปกฎหมายปกครองเบื้องต้น
 
สถาบันทางการเมือง
สถาบันทางการเมืองสถาบันทางการเมือง
สถาบันทางการเมือง
 
Laws 100
Laws 100Laws 100
Laws 100
 
ครั้งที่ 4
ครั้งที่ 4ครั้งที่ 4
ครั้งที่ 4
 
Presentation3
Presentation3Presentation3
Presentation3
 
กระบวนการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
กระบวนการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่กระบวนการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
กระบวนการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
 
การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญกับการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญกับการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญกับการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญกับการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
 
ระบบศาลในประเทศไทย
ระบบศาลในประเทศไทยระบบศาลในประเทศไทย
ระบบศาลในประเทศไทย
 

Viewers also liked

97 ii jornadas de patrimonio cultural y turismo rural
97 ii jornadas de patrimonio cultural y turismo rural97 ii jornadas de patrimonio cultural y turismo rural
97 ii jornadas de patrimonio cultural y turismo ruraljuanmmmm2
 
97 پدیده شناسی هویت انسانی از آثار منتشر نشده استاد علی اکبر خانجانی
97  پدیده شناسی هویت انسانی از آثار منتشر نشده استاد علی اکبر خانجانی97  پدیده شناسی هویت انسانی از آثار منتشر نشده استاد علی اکبر خانجانی
97 پدیده شناسی هویت انسانی از آثار منتشر نشده استاد علی اکبر خانجانیalireza behbahani
 
Рабочая программа по физике 9 класс
Рабочая программа по физике 9 классРабочая программа по физике 9 класс
Рабочая программа по физике 9 классОльга Бутонакова
 

Viewers also liked (8)

97036
9703697036
97036
 
97 ii jornadas de patrimonio cultural y turismo rural
97 ii jornadas de patrimonio cultural y turismo rural97 ii jornadas de patrimonio cultural y turismo rural
97 ii jornadas de patrimonio cultural y turismo rural
 
גיליון 93
גיליון 93גיליון 93
גיליון 93
 
97 پدیده شناسی هویت انسانی از آثار منتشر نشده استاد علی اکبر خانجانی
97  پدیده شناسی هویت انسانی از آثار منتشر نشده استاد علی اکبر خانجانی97  پدیده شناسی هویت انسانی از آثار منتشر نشده استاد علی اکبر خانجانی
97 پدیده شناسی هویت انسانی از آثار منتشر نشده استاد علی اکبر خانجانی
 
99047303
9904730399047303
99047303
 
98 34
98 3498 34
98 34
 
Рабочая программа по физике 9 класс
Рабочая программа по физике 9 классРабочая программа по физике 9 класс
Рабочая программа по физике 9 класс
 
КО ДНЮ ПОБЕДЫ В ВЕЛИКОЙ ОТЕЧЕСТВЕННОЙ ВОЙНЕ
КО ДНЮ ПОБЕДЫ В ВЕЛИКОЙ ОТЕЧЕСТВЕННОЙ ВОЙНЕКО ДНЮ ПОБЕДЫ В ВЕЛИКОЙ ОТЕЧЕСТВЕННОЙ ВОЙНЕ
КО ДНЮ ПОБЕДЫ В ВЕЛИКОЙ ОТЕЧЕСТВЕННОЙ ВОЙНЕ
 

Similar to 9789740329954

พรบ.ข้อมูลข่าวสาร 2540
พรบ.ข้อมูลข่าวสาร 2540พรบ.ข้อมูลข่าวสาร 2540
พรบ.ข้อมูลข่าวสาร 2540Sarod Paichayonrittha
 
สรุปกฎหมายปกครองฉบับเข้าใจง่าย ข้อ 1
สรุปกฎหมายปกครองฉบับเข้าใจง่าย ข้อ 1สรุปกฎหมายปกครองฉบับเข้าใจง่าย ข้อ 1
สรุปกฎหมายปกครองฉบับเข้าใจง่าย ข้อ 1Puy Chappuis
 
สรุปกฎหมายปกครองข้อ 1
สรุปกฎหมายปกครองข้อ 1สรุปกฎหมายปกครองข้อ 1
สรุปกฎหมายปกครองข้อ 1PolCriminalJustice
 
แนวทางแก้ไขปัญหาความรับผิดของ อปท.
แนวทางแก้ไขปัญหาความรับผิดของ อปท.แนวทางแก้ไขปัญหาความรับผิดของ อปท.
แนวทางแก้ไขปัญหาความรับผิดของ อปท.ภัฏ พงศ์ธามัน
 
Thailaw3 48
Thailaw3 48Thailaw3 48
Thailaw3 48skwtngps
 
Thailaw3 48
Thailaw3 48Thailaw3 48
Thailaw3 48skwtngps
 
Thailaw3 48
Thailaw3 48Thailaw3 48
Thailaw3 48skwtngps
 
พรบ อบจ 2540 และแก้ไขเพิ่มเติม
พรบ อบจ 2540 และแก้ไขเพิ่มเติมพรบ อบจ 2540 และแก้ไขเพิ่มเติม
พรบ อบจ 2540 และแก้ไขเพิ่มเติมJoli Joe
 
กฎหมายในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 2
กฎหมายในชีวิตประจำวัน  ครั้งที่ 2กฎหมายในชีวิตประจำวัน  ครั้งที่ 2
กฎหมายในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 2AJ Por
 
41201สรุปย่อกฎหมายมหาชน หน่วย 1-5 นิติ มสธ. (ชลบุรี).pdf
41201สรุปย่อกฎหมายมหาชน หน่วย 1-5 นิติ มสธ. (ชลบุรี).pdf41201สรุปย่อกฎหมายมหาชน หน่วย 1-5 นิติ มสธ. (ชลบุรี).pdf
41201สรุปย่อกฎหมายมหาชน หน่วย 1-5 นิติ มสธ. (ชลบุรี).pdfssuser04a0ab
 
สมรรถนะ
สมรรถนะสมรรถนะ
สมรรถนะmarena06008
 
ระบอบประชาธิปไตย 3
ระบอบประชาธิปไตย 3ระบอบประชาธิปไตย 3
ระบอบประชาธิปไตย 3thnaporn999
 
พระราชบัญัญัติข้อมูลข่าวสารทางราชการ2540
พระราชบัญัญัติข้อมูลข่าวสารทางราชการ2540พระราชบัญัญัติข้อมูลข่าวสารทางราชการ2540
พระราชบัญัญัติข้อมูลข่าวสารทางราชการ2540por
 
การศาล
การศาลการศาล
การศาลthnaporn999
 

Similar to 9789740329954 (20)

T1 b1
T1 b1T1 b1
T1 b1
 
พรบ.ข้อมูลข่าวสาร 2540
พรบ.ข้อมูลข่าวสาร 2540พรบ.ข้อมูลข่าวสาร 2540
พรบ.ข้อมูลข่าวสาร 2540
 
สรุปกฎหมายปกครองฉบับเข้าใจง่าย ข้อ 1
สรุปกฎหมายปกครองฉบับเข้าใจง่าย ข้อ 1สรุปกฎหมายปกครองฉบับเข้าใจง่าย ข้อ 1
สรุปกฎหมายปกครองฉบับเข้าใจง่าย ข้อ 1
 
สรุปกฎหมายปกครองข้อ 1
สรุปกฎหมายปกครองข้อ 1สรุปกฎหมายปกครองข้อ 1
สรุปกฎหมายปกครองข้อ 1
 
แนวทางแก้ไขปัญหาความรับผิดของ อปท.
แนวทางแก้ไขปัญหาความรับผิดของ อปท.แนวทางแก้ไขปัญหาความรับผิดของ อปท.
แนวทางแก้ไขปัญหาความรับผิดของ อปท.
 
Thailaw3 48
Thailaw3 48Thailaw3 48
Thailaw3 48
 
Thailaw3 48
Thailaw3 48Thailaw3 48
Thailaw3 48
 
Thailaw3 48
Thailaw3 48Thailaw3 48
Thailaw3 48
 
พรบ อบจ 2540 และแก้ไขเพิ่มเติม
พรบ อบจ 2540 และแก้ไขเพิ่มเติมพรบ อบจ 2540 และแก้ไขเพิ่มเติม
พรบ อบจ 2540 และแก้ไขเพิ่มเติม
 
พรบ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540
พรบ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540พรบ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540
พรบ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540
 
กฎหมายในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 2
กฎหมายในชีวิตประจำวัน  ครั้งที่ 2กฎหมายในชีวิตประจำวัน  ครั้งที่ 2
กฎหมายในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 2
 
41201สรุปย่อกฎหมายมหาชน หน่วย 1-5 นิติ มสธ. (ชลบุรี).pdf
41201สรุปย่อกฎหมายมหาชน หน่วย 1-5 นิติ มสธ. (ชลบุรี).pdf41201สรุปย่อกฎหมายมหาชน หน่วย 1-5 นิติ มสธ. (ชลบุรี).pdf
41201สรุปย่อกฎหมายมหาชน หน่วย 1-5 นิติ มสธ. (ชลบุรี).pdf
 
สมรรถนะ
สมรรถนะสมรรถนะ
สมรรถนะ
 
สมรรถนะ
สมรรถนะสมรรถนะ
สมรรถนะ
 
ระบอบประชาธิปไตย 3
ระบอบประชาธิปไตย 3ระบอบประชาธิปไตย 3
ระบอบประชาธิปไตย 3
 
พระราชบัญัญัติข้อมูลข่าวสารทางราชการ2540
พระราชบัญัญัติข้อมูลข่าวสารทางราชการ2540พระราชบัญัญัติข้อมูลข่าวสารทางราชการ2540
พระราชบัญัญัติข้อมูลข่าวสารทางราชการ2540
 
การศาล
การศาลการศาล
การศาล
 
พรบ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551
พรบ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551พรบ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551
พรบ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551
 
รพ.สต.ปี 2554 6 ชม.
รพ.สต.ปี 2554   6 ชม.รพ.สต.ปี 2554   6 ชม.
รพ.สต.ปี 2554 6 ชม.
 
Thai gov-sarabun-policy
Thai gov-sarabun-policyThai gov-sarabun-policy
Thai gov-sarabun-policy
 

More from CUPress

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737CUPress
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560CUPress
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478CUPress
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270CUPress
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102CUPress
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096CUPress
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072CUPress
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027CUPress
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914CUPress
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907CUPress
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686CUPress
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457CUPress
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440CUPress
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389CUPress
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280CUPress
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365CUPress
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303CUPress
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242CUPress
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235CUPress
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099CUPress
 

More from CUPress (20)

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099
 

9789740329954

  • 1. 1 กฎหมายเบืองต้น ้ ความหมายของกฎหมาย กฎหมาย คือ ค�ำสั่งหรือข้อบังคับของรัฐที่ก�ำหนดขึ้น เพื่อก�ำหนดความประพฤติของพลเมือง ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม ย่อมมีความผิดและถูกลงโทษ กฎหมายบังคับใช้ได้กับพลเมืองทุกคน ไม่จ�ำกัด อายุ เพศ ชั้น วรรณะ สัญชาติ และใช้ไปจนกว่าจะมีการประกาศยกเลิก ที่มาของกฎหมาย ทุกประเทศทั่วโลกได้ตรากฎหมายขึ้นมาบังคับใช้ ซึ่งมีความแตกต่างกันตามแต่ความต้องการ และความเหมาะสมของแต่ละประเทศ โดยทั่วไปแล้วกฎหมายจะครอบคลุมทุกด้านของสังคม ทั้งนี้ เพื่อให้สังคมอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข เมื่อพิจารณาจากเนื้อหาแล้วจะเห็นว่ากฎหมายมีที่มาจาก 1. จารีตประเพณี 2. ศีลธรรมหรือบทบัญญัติทางศาสนา 3. ความยุติธรรม 4. ผู้มีอ�ำนาจสูงสุดของสังคม อาจเป็นบุคคลหรือคณะบุคคล ส�ำหรับประเทศไทยนั้น ได้จัดท�ำระบบกฎหมายให้เป็นสากลในสมัยรัตนโกสินทร์ ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โดยได้รับอิทธิพลจากกฎหมายชาติตะวันตก ประเทศไทยจึงได้จัดท�ำประมวลกฎหมายขึ้นมาใช้จนถึงปัจจุบัน รูปที่ 1-1 พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ ทรงได้รับการยกย่องเป็น “พระบิดาแห่งกฎหมายไทย”
  • 2. ระบบกฎหมาย กฎหมายที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันแบ่งได้เป็น 2 ระบบ ได้แก่ 1. ระบบซีวิลลอว์ (Civil law) หรือกฎหมายลายลักษณ์อักษร เป็นกฎหมายที่เขียนไว้เป็น ลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจน อาจจะอยู่ในรูปของพระราชบัญญัติหรือประมวลกฎหมายก็ได้ ในการ วินิจฉัยคดีจะมีคณะผู้พิพากษาเป็นผู้ตัดสิน ระบบซีวิลลอว์ถือก�ำเนิดในทวีปยุโรป ประเทศที่ใช้ระบบนี้ เช่น เยอรมนี ฝรั่งเศส อิตาลี เบลเยียม สวิตเซอร์แลนด์ ฯลฯ 2. ระบบคอมมอนลอว์ (Common law) หรือกฎหมายจารีตประเพณี เป็นกฎหมายที่ไม่ได้ ก�ำหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่เป็นกฎหมายที่เกิดจากจารีตประเพณีหรือค�ำพิพากษาของศาล โดยค�ำพิพากษาของศาลจะถือเป็นบรรทัดฐาน ในการพิจารณาคดีที่เกิดขึ้นในภายหลัง การวินิจฉัยคดี มีคณะลูกขุนเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด กฎหมายแบบคอมมอนลอว์ถือก�ำเนิดในประเทศอังกฤษ ประเทศที่ใช้ ระบบนี้ ได้แก่ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และประเทศในเครือจักรภพอังกฤษ การตรากฎหมาย ส�ำหรับในประเทศไทยนั้นกฎหมายถูกตราขึ้นมาจาก 3 ฝ่าย ได้แก่ 1. การตรากฎหมายโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายนิติบัญญัติที่มีหน้าที่ตรากฎหมาย คือ รัฐสภา กฎหมายที่ตราขึ้น เช่น รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ และประมวลกฎหมาย ฯลฯ 2. การตรากฎหมายโดยฝ่ายบริหาร ฝ่ายบริหารทีมหน้าทีตรากฎหมาย คือ คณะรัฐมนตรีประจ�ำ ่ี ่ กระทรวง กฎหมายที่ฝ่ายบริหารบัญญัติขึ้น ได้แก่ 2.1 พระราชก�ำหนด ตราโดย คณะรัฐมนตรี 2.2 พระราชกฤษฎีกา ตราโดย คณะรัฐมนตรี 2.3 กฎกระทรวง ตราโดยรัฐมนตรีผู้รักษาการตามที่ก�ำหนดในพระราชบัญญัติ 3. การตรากฎหมายโดยองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ซึ่งองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นที่มีอ�ำนาจ ในการตรากฎหมาย เช่น เทศบาล องค์การบริหารส่วนต�ำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด ฯลฯ กฎหมายที่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นบัญญัติขึ้น ได้แก่ 3.1 ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนต�ำบล ตราขึ้นโดย องค์การบริหารส่วนต�ำบล 3.2 ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด ตราขึ้นโดย องค์การบริหารส่วนจังหวัด 3.3 เทศบัญญัติ ตราขึ้นโดย เทศบาล 3.4 ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ตราขึ้นโดย กรุงเทพมหานคร 3.5 ข้อบัญญัติเมืองพัทยา ตราขึ้นโดย เมืองพัทยา 2 กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมและป้องกันโรคระบาดในสัตว์เลี้ยง
  • 3. การตีความกฎหมาย ในการบังคับใช้กฎหมายบางครังอาจพบความไม่ชดเจนของตัวบทกฎหมาย เนืองจากมีขอความ ้ ั ่ ้ ที่ก�ำกวมตีความได้หลายอย่าง ดังนั้น การตีความกฎหมายจึงเป็นการค้นหาความหมายของกฎหมาย วิธีการตีความกฎหมายมีหลักการดังต่อไปนี้ 1. การตีความกฎหมายทั่วไปมี 2 วิธี ดังนี้ 1.1 ตีความตามตัวอักษร ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดไว้ว่า การตีความตาม � ตัวอักษรให้ยดความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน และให้พจารณาตามความหมายใน ึ ิ บทวิเคราะห์ศัพท์ที่อยู่ในมาตราต้น ๆ ของกฎหมายแต่ละฉบับ 1.2 ตีความตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย โดยพิจารณาจากชื่อของกฎหมาย ค�ำขึ้นต้น หมายเหตุ หลักการและเหตุผลของกฎหมาย โดยพิจารณาจากหลายมาตราประกอบ รวมถึงจาก รายงานการประชุมในการยกร่างกฎหมายนั้น 2. การตีความกฎหมายอาญา การตีความในประมวลกฎหมายอาญา จะต้องตีความตามตัวอักษรและตีความโดยเคร่งครัด จะ ขยายความออกไปนอกกรณีที่มิได้บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งไม่ได้ และจะลงโทษจ�ำเลยได้ก็ต่อเมื่อกฎหมาย ระบุไว้ชัดแจ้งเท่านั้น การยกเลิกกฎหมาย การยกเลิกกฎหมายมี 4 กรณี ดังนี้ 1. การยกเลิกโดยกฎหมายโดยตรง เป็นการยกเลิกเพราะมีกฎหมายใหม่ออกมายกเลิกกฎหมาย เก่า หรือยกเลิกเพราะกฎหมายได้ก�ำหนดระยะเวลาการบังคับใช้ไว้ชัดเจน 2. การยกเลิกโดยปริยาย มีหลายกรณี ดังนี้ 2.1 กฎหมายใหม่มีบทบัญญัติเหมือนกับกฎหมายเก่า ให้ใช้กฎหมายใหม่ 2.2 กฎหมายใหม่มีข้อความขัดแย้งกับกฎหมายเก่า ให้ใช้กฎหมายใหม่ 2.3 การยกเลิกพระราชบัญญัติหรือพระราชก�ำหนด ยกเลิกได้โดยกฎหมายที่มีศักดิ์เท่ากัน 3. การยกเลิกโดยศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ากฎหมายใดขัดต่อรัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ ให้กฎหมายนั้นเป็นอันตกไป 4. ยกเลิกโดยค�ำพิพากษาของศาล กฎหมายที่ตราออกมาโดยไม่ผ่านรัฐสภา หากมีบทบัญญัติ ขัดหรือแย้งกับกฎหมายอื่นอาจมีผู้เสียหายฟ้องคดีในศาล และศาลตัดสินให้เป็นไปตามกฎหมายหลัก และยกเลิกกฎหมายที่มีปัญหาได้ กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมและป้องกันโรคระบาดในสัตว์เลี้ยง 3
  • 4. การจัดประเภทของกฎหมาย โดยพิจารณาจากศักดิ์ของกฎหมาย ซึ่งศักดิ์ของกฎหมาย คือ ล�ำดับชั้นฐานะหรือความส�ำคัญ ของกฎหมาย ว่ากฎหมายใดมีความส�ำคัญมากกว่า การบังคับใช้และการตีความตลอดจนการยกเลิก กฎหมาย จะต้องยึดถือตามศักดิ์ของกฎหมาย เพราะกฎหมายที่มีศักดิ์ต�่ำกว่าจะขัดแย้งกับกฎหมายที่ มีศักดิ์สูงกว่าไม่ได้ ศักดิ์ของกฎหมายมีล�ำดับลดหลั่นกันลงไปดังนี้ 1. รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ 2. พระราชบัญญัติ พระราชก�ำหนด ประมวลกฎหมาย 3. พระราชกฤษฎีกา 4. กฎกระทรวง 5. กฎหมายท้องถิ่น เช่น ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนต�ำบล ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วน จังหวัด เทศบัญญัติ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ข้อบัญญัติเมืองพัทยา ฯลฯ รูปที่ 1-2 กฎหมายรัฐธรรมนูญถือเป็นเป็นกฎหมายสูงสุด กฎหมายอื่นใดจะขัดหรือแย้งมิได้ พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ คือ กฎหมายซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้น โดยค�ำแนะน�ำและยินยอมของ รัฐสภา รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 3 และมาตรา 92 ในการบัญญัติพระราชบัญญัติ สาระส�ำคัญของพระราชบัญญัติ มีดังต่อไปนี้ 1. ผู้มีสิทธิเสนอร่างพระราชบัญญัติทั่วไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 คือ คณะรัฐมนตรี หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจ�ำนวนไม่น้อยกว่ายี่สิบคน หรือศาลหรือองค์กรอิสระ 4 กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมและป้องกันโรคระบาดในสัตว์เลี้ยง
  • 5. ตามรัฐธรรมนูญ หรือผู้มีสิทธิเลือกตั้งจ�ำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นรายชื่อ แต่ถ้าเป็นร่างพระราช- บัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินแล้ว จะเสนอได้ก็ต่อเมื่อมีค�ำรับรองของนายกรัฐมนตรี 2. ผู้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ คือ สภาผู้แทนราษฎร ประเทศไทยใช้ระบบสองสภา เมื่อ สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาร่างพระราชบัญญัติและมีมติเห็นชอบแล้ว สภาผู้แทนราษฎรจะต้องเสนอ ร่างพระราชบัญญัตนนต่อไปยังวุฒสภา เพือให้วฒสภาพิจารณาร่างพระราชบัญญัตดงกล่าว ดังต่อไปนี้ ิ ั้ ิ ่ ุ ิ ิั 2.1 กรณีที่วุฒิสภาเห็นชอบด้วย ให้น�ำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระมหากษัตริย์เพื่อทรงลง พระปรมาภิไธย 2.2 กรณีที่วุฒิสภาไม่เห็นชอบด้วย ให้ยับยั้งไว้ก่อนโดยส่งร่างพระราชบัญญัติกลับไปที่สภา ผู้แทนราษฎร 2.3 กรณีการแก้ไขเพิมเติม ให้แต่ละสภาแต่งตังคณะกรรมาธิการร่วมโดยให้มจำนวนเท่ากัน ่ ้ ี� ตามที่สภาผู้แทนราษฎรได้ก�ำหนด ถ้าทั้งสองสภาเห็นชอบด้วยร่างที่คณะกรรมาธิการร่วมพิจารณา ให้น�ำร่างพระราชบัญญัตินั้นขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย แต่ถ้าสภาใดสภาหนึ่งไม่เห็นชอบด้วยให้ยับยั้งไว้ก่อน 3. ผู้ตราพระราชบัญญัติ คือ พระมหากษัตริย์ 4. ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้ เมื่อพระราชบัญญัติได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว หมายเหตุ 1. ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ ถ้าหากรัฐสภาไม่เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติแล้ว ร่าง พระราชบัญญัตินั้นเป็นอันตกไป แต่ถ้ารัฐสภาเห็นชอบด้วย นายกรัฐมนตรีสามารถน�ำร่างพระราช- บัญญัตินั้นขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระมหากษัตริย์เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย เว้นแต่ในกรณีที่ • สมาชิกวุฒสภา หรือสมาชิกสภาผูแทนราษฎร หรือสมาชิกของทังสองสภารวมกันมีจำนวน ิ ้ ้ � ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจ�ำนวนสมาชิกทั้งหมดที่มีอยู่ทั้งสองสภา ใช้สิทธิเข้าชื่อเสนอความเห็นเพื่อ ส่งต่อไปให้คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยหรือ • ถ้านายกรัฐมนตรีเห็นว่าร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ สามารถส่งความเห็นเช่นว่านี้ ไปยังคณะ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยและในระหว่างนั้น นายกรัฐมนตรีจะต้องระงับการด�ำเนินการเพื่อ ประกาศใช้ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวไว้ก่อน จนกว่าจะมีค�ำวินิจฉัยจากศาลรัฐธรรมนูญ ถ้าคณะ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัตินั้น มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ร่าง พระราชบัญญัตินั้นเป็นอันตกไป 2. ในการที่พระมหากษัตริย์จะทรงตราร่างพระราชบัญญัตินั้น ถ้าหากพระมหากษัตริย์ทรงเห็น ชอบด้วยก็จะทรงลงพระปรมาภิไธย แต่ถ้าพระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยและพระราชทานคืน มายังรัฐสภา หรือมิได้พระราชทานคืนมาภายในเก้าสิบวัน รัฐสภาจะต้องปรึกษาร่างพระราชบัญญัตนน ิ ั้ ใหม่ ถ้ารัฐสภาลงมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่ตำกว่าสองในสามของจ�ำนวนสมาชิกทั้งหมด �่ กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมและป้องกันโรคระบาดในสัตว์เลี้ยง 5
  • 6. ของทั้งสองสภาแล้ว นายกรัฐมนตรีจะต้องน�ำร่างพระราชบัญญัตินั้นขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายอีกครั้ง เมื่อ พระมหากษัตริยมได้ทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานคืนมาภายในสามสิบวัน นายกรัฐมนตรีสามารถ ์ิ น�ำพระราชบัญญัตินั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษา ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้เสมือนหนึ่งว่าพระมหา- กษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว 3. ถ้าพระราชบัญญัติที่ได้ประกาศใช้แล้วมีข้อความขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญ บทบัญญัตินั้นเป็น อันใช้บังคับไม่ได้ ศาลรัฐธรรมนูญมีอ�ำนาจหน้าที่วินิจฉัย ว่าบทกฎหมายนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ และเมื่อวินิจฉัยไปในทางใดแล้วก็เป็นอันเด็ดขาดและใช้ได้ในคดีทั้งปวง แต่ไม่กระทบต่อ ค�ำพิพากษาของศาลอันถึงที่สุดแล้ว รูปที่ 1-3 ตัวอย่างพระราชบัญญัติที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว พระราชก�ำหนด พระราชก�ำหนด คือ กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามค�ำแนะน�ำของคณะรัฐมนตรี สาระส�ำคัญของพระราชก�ำหนด มีดังต่อไปนี้ 1. ประเภทของพระราชก�ำหนด มี 2 ประเภท ได้แก่ 1.1 พระราชก�ำหนดทั่วไป 1.2 พระราชก�ำหนดเกี่ยวด้วยภาษีอากรหรือเงินตรา 2. เงื่อนไขในการออกพระราชก�ำหนด ส�ำหรับพระราชก�ำหนดทั่วไปมีเงื่อนไข ดังนี้ 2.1 ในกรณีฉุกเฉิน ที่มีความจ�ำเป็นเร่งด่วนในอันจะรักษาความปลอดภัยของประเทศ หรือ ความปลอดภัยสาธารณะ หรือความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องกันสาธารณภัยและ 2.2 จะเรียกประชุมรัฐสภาให้ทันท่วงทีมิได้ 6 กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมและป้องกันโรคระบาดในสัตว์เลี้ยง
  • 7. ส�ำหรับพระราชก�ำหนดเกี่ยวกับภาษีอากรหรือเงินตรา มีเงื่อนไขการออกพระราชก�ำหนด คือ ต้องอยู่ในระหว่างสมัยประชุม และมีความจ�ำเป็นต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยภาษีอากรหรือเงินตรา ซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาโดยด่วนและลับ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของแผ่นดิน 3. ผู้เสนอร่างพระราชก�ำหนด คือ รัฐมนตรีผู้จะรักษาการตามพระราชก�ำหนดนั้น 4. ผู้พิจารณา คือ คณะรัฐมนตรี 5. ผู้ตรา คือ พระมหากษัตริย์ 6. ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้ เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว พระราชก�ำหนดที่มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ย่อมเป็นอันใช้บังคับมิได้ และคณะ ตุลาการรัฐธรรมนูญมีอ�ำนาจหน้าที่วินิจฉัย รูปที่ 1-4 ตัวอย่างพระราชก�ำหนดที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว พระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา คือ กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้น โดยค�ำแนะน�ำของคณะรัฐมนตรี สาระส�ำคัญของพระราชกฤษฎีกา มีดังต่อไปนี้ 1. ประเภทของพระราชกฤษฎีกามีประเภทเดียว คือ พระราชกฤษฎีกาที่ออกตามที่ก�ำหนดใน รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่น กล่าวคือ รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชก�ำหนดได้มีบท บัญญัติมอบให้ฝ่ายบริหาร คือ คณะรัฐมนตรีไปถวายค�ำแนะน�ำพระมหากษัตริย์ ให้ทรงตราพระราช- กฤษฎีกาก�ำหนดรายละเอียด เพื่อด�ำเนินการให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราช- ก�ำหนดนั้น ๆ แล้วแต่กรณี 2. ผู้เสนอ ได้แก่ รัฐมนตรีที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รักษาการตามพระราชบัญญัติหรือ พระราชก�ำหนดที่บัญญัติให้ออกพระราชกฤษฎีกานั้น ส่วนพระราชกฤษฎีกาที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้ กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมและป้องกันโรคระบาดในสัตว์เลี้ยง 7
  • 8. พระราชอ�ำนาจ ทรงตราโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย ผู้เสนอ ได้แก่ รัฐมนตรีที่เป็นเจ้าของเรื่องนั้น ๆ 3. ผู้พิจารณา คือ รัฐมนตรี 4. ผู้ตรา คือ พระมหากษัตริย์ 5. ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้ เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว รูปที่ 1-5 ตัวอย่างพระราชกฤษฎีกาที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว กฎกระทรวง กฎกระทรวง คือ กฎหมายซึ่งรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติ หรือพระราชก�ำหนด ได้ออกเพื่อด�ำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ หรือพระราชก�ำหนดนั้น ทั้งนี้ พระราชบัญญัติ และพระราชก�ำหนด ได้ก�ำหนดหลักเกณฑ์กว้าง ๆ ไว้ และให้ออกกฎกระทรวงเพื่อก�ำหนดรายละเอียด ปลีกย่อยต่อไป ส่วนเมื่อใดจะก�ำหนดให้ออกเป็นพระราชกฤษฎีกาหรือให้เป็นกฎกระทรวงนั้น ย่อม แล้วแต่ความส�ำคัญของเรื่อง ถ้าเป็นเรื่องที่ส�ำคัญก็ก�ำหนดให้ออกเป็นพระราชกฤษฎีกา แต่ถ้าเป็น เรื่องที่ไม่ส�ำคัญก็ก�ำหนดให้ออกเป็นกฎกระทรวง สาระส�ำคัญของกฎกระทรวง มีดังต่อไปนี้ 1. ผู้เสนอ คือ รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติหรือพระราชก�ำหนด ซึ่งบัญญัติให้ออก กฎกระทรวงนั้น 2. ผู้พิจารณา คือ คณะรัฐมนตรี 3. ผูตรา คือ รัฐมนตรีผรกษาการตามพระราชบัญญัตหรือพระราชก�ำหนด ซึงบัญญัตให้ออกกฎ ้ ู้ ั ิ ่ ิ กระทรวงนั้น 4. ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้ เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ศาลมีอ�ำนาจพิจารณาพิพากษากฎกระทรวงที่ขัดหรือแย้งต่อกฎหมาย ซึ่งกฎกระทรวงนั้นเป็น อันใช้บังคับมิได้ 8 กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมและป้องกันโรคระบาดในสัตว์เลี้ยง
  • 9. หมายเหตุ เหตุผลที่พระราชบัญญัติหรือพระราชก�ำหนด มักจะประกอบด้วยหลักการกว้าง ๆ โดยไม่มีการ ก�ำหนดรายละเอียด แต่ให้ออกเป็นพระราชกฤษฎีกาหรือกฎกระทรวงขึ้นมาก�ำหนดรายละเอียดปลีก ย่อยเพิ่มเติมขึ้นมาภายหลังนั้นมี 4 ประการ คือ 1. ท�ำให้กฎหมายอ่านเข้าใจง่าย เพราะมีแต่หลักการอันเป็นสาระส�ำคัญ 2. ประหยัดเวลาของผู้บัญญัติกฎหมาย โดยไม่ต้องเสียเวลาพิจารณาข้อรายละเอียดปลีกย่อย ซึ่งสมควรมอบหมายความไว้วางใจให้ฝ่ายบริหารเป็นผู้ก�ำหนดเอง 3. พระราชกฤษฎีกาและกฎกระทรวง แก้ไขเพิ่มเติมได้ง่าย 4. เพื่อให้กฎหมายมีเหมาะสมกับกาลปัจจุบันอยู่เสมอ เพราะถ้ามีพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไป ก็สามารถแก้ไขได้ด้วยการออกเป็นพระราชกฤษฎีกาหรือกฎกระทรวง ทั้งนี้ถ้าพระราชกฤษฎีกาหรือกฎกระทรวงมีข้อความขัดแย้งต่อกฎหมายย่อมใช้บังคับไม่ได้ รูปที่ 1-6 ตัวอย่างกฎกระทรวงที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนต�ำบล จัดท�ำขึ้นเพื่อใช้บังคับเฉพาะในเขตขององค์การบริหารส่วนต�ำบลนั้น ๆ ซึ่งองค์การบริหารส่วน ต�ำบล (อบต.) มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น จัดตั้งขึ้นเพื่อรองรับการ กระจายอ�ำนาจจากส่วนกลางสู่ส่วนท้องถิ่น โดยได้ยกฐานะจากสภาต�ำบลขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วน ต�ำบล ตามความในหมวด 2 แห่งพระราชบัญญัติสภาต�ำบลและองค์การบริหารส่วนต�ำบล พ.ศ. 2537 (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 5 พ.ศ. 2546) สาระส�ำคัญของข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนต�ำบล มีดังนี้ต่อไป นี้ กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมและป้องกันโรคระบาดในสัตว์เลี้ยง 9
  • 10. 1. เงื่อนไขที่ออกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนต�ำบล จะต้องมีพระราชบัญญัติ คือ พระราช- บัญญัติสภาต�ำบลและองค์การบริหารส่วนต�ำบล หรือพระราชบัญญัติอื่น ๆ ที่ให้อ�ำนาจองค์การบริหาร ส่วนต�ำบลตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนต�ำบลได้ 2. ผู้เสนอ คือ คณะกรรมการบริหาร หรือสมาชิกองค์การบริหารส่วนต�ำบล 3. ผู้พิจารณา คือ สภาองค์การบริหารส่วนต�ำบล 4. ผู้ตรา คือ ประธานกรรมการองค์การบริหารส่วนต�ำบล หรือนายกองค์การบริหารส่วนต�ำบล 5. ผู้อนุมัติ คือ นายอ�ำเภอ 6. ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้ เมื่อได้ประกาศข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนต�ำบลไว้โดยเปิดเผย ที่ส�ำนักงานองค์การบริหารส่วนต�ำบลแล้วเป็นเวลาเจ็ดวัน รูปที่ 1-7 ตัวอย่างข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนต�ำบลที่ได้รับการอนุมัติและประกาศใช้ ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นกฎหมายที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดออกใช้ในเขตจังหวัด ในพื้นที่นอกเขตเทศบาล เขต สุขาภิบาล และเขตต�ำบลที่มีการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนต�ำบล สาระส�ำคัญของข้อบัญญัติองค์การ บริหารส่วนจังหวัด มีดังต่อไปนี้ 1. เงื่อนไขที่ออกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัดจะต้องมีพระราชบัญญัติ คือ พระราช- บัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือพระราชบัญญัติอื่น ๆ ที่ให้อ�ำนาจองค์การบริหารส่วนจังหวัด ตราข้อบัญญัติจังหวัดได้ 2. ผูเ้ สนอ คือ ผูวาราชการจังหวัดหรือสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด การให้ผวาราชการ ้่ ู้ ่ จังหวัดสามารถเสนอร่างข้อบัญญัตได้นน เนืองจากผูวาราชการจังหวัดเป็นผูบริหารราชการของจังหวัด ิ ั้ ่ ้่ ้ จึงอยูในฐานะทีทราบดีวาควรออกข้อบัญญัตใด เพือให้การบริหารงานราชการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ่ ่ ่ ิ ่ และมีประสิทธิภาพ 10 กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมและป้องกันโรคระบาดในสัตว์เลี้ยง