SlideShare a Scribd company logo
1 of 101
Download to read offline
จัดทำ�โดย
สฤณี อาชวานันทกุล และ ภัทราพร แย้มละออ
ศูนย์วิสาหกิจแบบยั่งยืน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
SROISIA
5	 บทนำ�
6	 บทที่1 	 รู้จัก “ผลลัพธ์ทางสังคม” และ “ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน”
7	 •	 ผลลัพธ์ทางสังคม (social impact) คืออะไร?
9	 •	 ผลตอบแทนทางสังคม (social return on investment) คืออะไร?
	 •	 ประโยชน์ของการประเมินผลตอบแทนทางสังคม
	 •	 ใครใช้การประเมินผลตอบแทนทางสังคมได้?
	 บทที่ 2 	หลักการประเมินผลตอบแทนทางสังคม
	 •	 ระบุผู้มีส่วนได้เสีย และดึงให้เข้ามามีส่วนร่วมมากที่สุด
	 •	 เข้าใจสิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลง
	 •	 ใช้ “ค่าแทนทางการเงิน”ตีค่าผลสำ�คัญ
	 •	 รวมเฉพาะปัจจัยสำ�คัญ
	 •	 หลีกเลี่ยงการกล่าวอ้างเกินจริง
	 •	 เน้นความโปร่งใสทุกขั้นตอน
	 •	 พร้อมรับการตรวจสอบผลลัพธ์
	 บทที่ 3	 กรอบคิดและเครื่องมือสำ�คัญในการประเมิน
	 •	 ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง (Theory of Change)
	 •	 ห่วงโซ่ผลลัพธ์ (Impact Value Chain)
	 •	 กรณีฐาน (Base Case Scenario)
	 บทที่ 4	 ขั้นตอนประเมินผลตอบแทนทางสังคม
	 •	 ขั้นที่ 1: การวางแผน
	 •	 กิจกรรมที่ 1 – เข้าใจเป้าหมายในการวิเคราะห์
	 •	 กิจกรรมที่ 2 – เข้าใจองค์กรของคุณและบอกเล่าเรื่องราวของคุณ
	 •	 กิจกรรมที่ 3 – ระบุกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย
	 •	 กิจกรรมที่ 4 – กำ�หนดขอบเขตการวิเคราะห์
	 •	 กิจกรรมที่ 5 – จัดทำ�ห่วงโซ่ผลลัพธ์ (Impact Value Chain)
	 •	 กิจกรรมที่ 6 – เลือกตัวชี้วัด
	 •	 กิจกรรมที่ 7 – พัฒนาแผนการเก็บข้อมูล
	 •	 ขั้นที่ 2: การนำ�ไปปฏิบัติ
	 •	 กิจกรรมที่ 8 – รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด
	 •	 กิจกรรมที่ 9 – รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับมาตรฐานและบรรทัดฐานเพื่อประเมินกรณีฐาน
	 	 (Base Case Scenario)
	 •	 กิจกรรมที่ 10 – แปลงค่าตัวชี้วัดเป็นมูลค่าทางการเงิน (monetization)
	 •	 กิจกรรมที่ 11 –แยกแยะระหว่าง “ค่าใช้จ่าย” กับ “เงินลงทุน”
	 •	 กิจกรรมที่ 12 – วิเคราะห์รายรับและรายจ่ายขององค์กร
	 •	 กิจกรรมที่ 13 – วิเคราะห์รายรับและรายจ่ายที่สัมพันธ์กับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย
	 •	 กิจกรรมที่ 14 – ประเมินมูลค่าในอนาคต (projection)
	 •	 กิจกรรมที่ 15 – คำ�นวณผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI)
	 •	 ขั้นที่ 3:การรายงาน
	 •	 กิจกรรมที่ 16 – การรายงาน
	 •	 ขั้นที่ 4: การแปลงเป็นกิจกรรมปกติขององค์กร
	 •	 กิจกรรมที่ 17 – การติดตามผล
	 ข้อเสนอแนะส่งท้าย
	 แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
ภาคผนวก 1: ตัวอย่างตัวชี้วัดผลลัพธ์ทางสังคม (Social Impact Indicators)
ภาคผนวก 2: ตัวอย่างการแสดงการรายงานประเมินผลลัพธ์ทางสังคม (Social Impact Assessment)
สารบัญ
5
ลองนึกถึงสถานการณ์ต่อไปนี้ –
...คุณเป็นบริษัทที่ทำ�กิจกรรม “ความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจ” (ซีเอสอาร์) อยากประเมิน
ผลโครงการซีเอสอาร์โครงการหนึ่งเทียบกับเงินลงทุนที่ใช้ไป เพื่อดูว่าควรลงทุนต่อดีหรือไม่และ
ควรปรับปรุงอย่างไร
...คุณเพิ่งก่อตั้งกิจการเพื่อสังคม ไม่แน่ใจว่าควรวางแผนการประเมินผลการดำ�เนินงานด้วย
วิธีใด
...คุณอยากให้การสนับสนุนด้านเงินทุนกับกิจการเพื่อสังคมแต่ไม่รู้ว่ากิจการไหนสร้างประโยชน์
ทางสังคมมากกว่ากัน
ธุรกิจกระแสหลักต้องมีงบกำ�ไรขาดทุนฉันใด“กิจการเพื่อสังคม” (social enterprise) ก็ต้องการ
“งบกำ�ไรขาดทุนทางสังคม” ฉันนั้น แนวทางการคำ�นวณผลตอบแทนทางสังคม (SROI: Social Return
onInvestment)นำ�เสนอกรอบวัดและการคำ�นวณผลตอบแทนด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยการแปลง
มูลค่ากิจกรรมให้เป็นตัวเลขทางการเงิน เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการลงทุน (cost effectiveness)
ของการทำ�กิจกรรมหรือดำ�เนินกิจการเพื่อสังคมเป็นส่วนหนึ่งของการทำ� “แบบประเมินผลลัพธ์ทางสังคม”
(Social Impact Assessment หรือ SIA)
วัตถุประสงค์ของคู่มือนี้คือเพื่อวางมาตรฐานการปฏิบัติพัฒนาระเบียบวิธีและแสดงข้อมูลการ
ใช้ผลตอบแทนทางสังคมจากลงทุนที่ชัดเจน สำ�หรับผู้ไม่เคยทำ�การประเมินด้านนี้มาก่อน เนื้อหาส่วน
ใหญ่ประมวลและเรียบเรียงจากคู่มือประเมินของ The SROI Network (http://www.thesroinetwork.
org) และ New Economics Foundation (http://www.neweconomics.org/)
บทนำ�
6 7
1
รู้จัก
“ผลลัพธ์ทางสังคม”
และ
“ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน”
ผลลัพธ์ทางสังคม (social impact) คืออะไร?
ประโยชน์ของการประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน
ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (social return on investment) คืออะไร?
ใครใช้การประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนได้?
ผลลัพธ์ทางสังคม
(social impact)
คืออะไร?
การประเมินผลกำ�ไรขาดทุน (profit and
loss) สำ�คัญสำ�หรับธุรกิจกระแสหลักฉันใด การ
ประเมินผลลัพธ์ทางสังคม (social impact as-
sessment) ก็สำ�คัญสำ�หรับกิจการเพื่อสังคมฉัน
นั้น เนื่องจากกิจการเพื่อสังคมมุ่งดำ�เนินกิจการ
เพื่อสร้าง “ผลลัพธ์ทางสังคม” (social impact)
บางอย่างเช่น “ลดความยากจน”  “ลดขยะ” หรือ
“ช่วยเหลือผู้พิการ”ซึ่งเป็นพันธกิจหลักขององค์กร
ถ้าหากไม่มีการติดตามวัดผลอย่างต่อเนื่อง เรา
ก็ไม่อาจรู้ได้อย่างชัดเจนว่างานที่เราทำ�ไปนั้น
บรรลุพันธกิจมากน้อยเพียงใดตรงกับความต้องการ
ของกลุ่มเป้าหมายหรือเปล่า สร้างผลเชิงลบหรือ
บวกอะไรที่คาดไม่ถึง และควรปรับปรุงแก้ไข
ตรงไหนอย่างไรบ้างเพื่อสร้างประโยชน์มากกว่า
เดิมในอนาคต ตลอดจนลดผลเชิงลบข้างเคียง
ที่ไม่ตั้งใจจะก่อ
สรุปง่ายๆได้ว่าผลลัพธ์ทางสังคมคือ
คุณค่าทางสังคมที่เกิดจากการดำ�เนินงานของ
กิจการซึ่งควรสอดคล้องกับความต้องการของ
กลุ่มเป้าหมายและพันธกิจของกิจการ
หลายครั้งเราอาจพบว่า ผู้ประกอบการ
เพื่อสังคมหรือคนที่อยากทำ�โครงการเพื่อสังคม
มีความตั้งใจอย่างแรงกล้าที่จะแก้ไขปัญหาหรือ
สร้างผลกระทบเชิงบวกให้สังคมแต่หากสอบถาม
ถึงเป้าหมายทางสังคม เช่น โครงการปลูกป่า ว่า
ต้องการจะสร้างพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้นกี่ไร่ ภายใน
ระยะเวลากี่ปี หรือถ้าเป็นเกษตรอินทรีย์ต้องการ
ช่วยให้เกษตรกรกี่คน กี่ครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้น
กี่บาทต่อเดือนหรือลดการใช้ยาฆ่าแมลงปริมาณ
เท่าไร ในระยะเวลากี่เดือนหรือกี่ปี  หากผู้ดำ�เนิน
กิจการหรือโครงการไม่สามารถตอบได้ก็แสดงว่า
ยังขาดเป้าหมายทางสังคมที่ชัดเจน ซึ่งจะส่งผล
ในการวัดผลการดำ�เนินงานการสร้างความเข้าใจ
แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่นนักลงทุน หรือลูกค้าที่
อยากให้การสนับสนุน
8 9
ในกรอบคิดไตรกำ�ไรสุทธิมนุษย์(People)
หรือทุนมนุษย์เน้นเรื่องการดำ�เนินธุรกิจที่เป็นธรรม
ต่อพนักงาน แรงงาน ชุมชน และท้องถิ่นที่
กิจการนั้นๆ ตั้งอยู่ ส่วนโลก (Planet) หรือทุน
ธรรมชาติ หมายรวมถึงการดำ�เนินธุรกิจที่ฟื้นฟู
พิทักษ์และส่งเสริมสิ่งแวดล้อม และการผลิตโดย
ใช้ทรัพยากรและก่อให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด
เท่าที่เป็นไปได้ส่วนกำ�ไร(Profit)ในแง่นี้หมายถึง
กำ�ไรทางเศรษฐศาสตร์กล่าวอีกนัยหนึ่งคือธุรกิจ
TBLจะไม่ได้มีเป้าหมายอยู่ที่กำ�ไรสูงสุดเพียงอย่าง
เดียว หากยังคำ�นึงถึง “ประโยชน์” และ “ต้นทุน”
ทางสังคมและสิ่งแวดล้อมจากการทำ�ธุรกิจ
ของตน โดยมุ่งสร้างกำ�ไรทั้งสามด้านพร้อมกัน
จึงเป็นที่มาของคำ�ว่า “ไตรกำ�ไรสุทธิ”
ผลตอบแทนทางสังคม
จากการลงทุน
(social return on investment)
คืออะไร?
การมีเป้าหมายที่ชัดเจนและแสดงออกมา
เป็นตัวเลขที่วัดได้ ช่วยสร้างความเข้าใจที่ง่ายขึ้น
และตรงกัน ยกตัวอย่างเช่น สมมุติว่านักลงทุน
รายหนึ่งกำ�ลังพิจารณาให้ทุนสนับสนุนกิจการ
ผลิตนํ้าดื่มสะอาดในแหล่งชนบทที่ขาดแคลนนํ้า
กิจการแรกไม่สามารถระบุได้ว่าจะสามารถจัดหา
และจำ�หน่ายนํ้าดื่มสะอาดได้กี่ลิตร แก่ชาวบ้าน
กี่ครัวเรือน ในขณะที่อีกกิจการมีตัวเลขชัดเจน
ว่าภายใน 1 ปี จะจัดหานํ้าสะอาด ได้ 10,000
ลิตรต่อวัน ให้กับชาวบ้านจำ�นวน 1,000 ครัว-
เรือน โอกาสที่กิจการที่สองจะได้รับเงินทุนหรือ
ความร่วมมือก็น่าจะมีมากกว่าเพราะเป้าหมายนั้น
ชัดเจนกว่าและวัดผลได้
หลายองค์กรไม่ว่าจะเป็นกิจการเพื่อสังคม
หรือธุรกิจกระแสหลักที่อยากแสดง “ความรับผิด
ชอบต่อสังคม” สนใจใช้การประเมินผลลัพธ์ทาง
สังคมเป็นเครื่องมือในการวัด “ไตรกำ�ไรสุทธิ”
(Triple Bottom Line มักย่อว่า TBL) ของกิจการ
ซึ่งเป็นแนวคิดที่ขยายการวัดเป้าหมายความสำ�เร็จ
และคุณค่าขององค์กรจากเดิมสนใจเพียงกำ�ไรที่
เป็นตัวเงิน (Profit) มาสนใจเรื่องมนุษย์ (People)
และโลก(Planet)ด้วยหรืออีกนัยหนึ่งคือให้ความ
สำ�คัญกับสิ่งแวดล้อม สังคม และแสดงความ
รับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมากขึ้น แนวคิด
นี้มักถูกเชื่อมโยงกับเป้าหมายของ “การพัฒนา
ที่ยั่งยืน”
ลักษณะกิจการ เช่น ผู้รับประโยชน์มีสุขภาพดีขึ้น
ขยะลดลง ระบบนิเวศได้รับการฟื้นฟู ฯลฯ
ผลลัพธ์หลายอย่างที่เกิดจากกิจการเพื่อ
สังคมสะท้อน “คุณค่า” ซึ่งมักเป็นนามธรรมและ
วัดเป็นตัวเลขยากมากอย่าว่าแต่จะแปลงเป็นตัว
เงิน อัตราส่วนที่เรียกว่า “ผลตอบแทนทางสังคม
จากการลงทุน” จึงแสดง “คุณค่าที่เราพยายาม
ตีมูลค่าเป็นตัวเงินอย่างใกล้เคียงที่สุด” ของ
ผลลัพธ์ทางสังคมที่สร้างเปรียบเทียบกับการลงทุน
ที่จำ�เป็นต่อการสร้างประโยชน์ดังกล่าว
นอกจากจะใช้ SROI เป็นเครื่องมือใน
การวางแผนอนาคตหรือทบทวนอดีตแล้ว การ
ประเมินผลลัพธ์ทางสังคมและผลตอบแทนทาง
สังคมจากการลงทุนยังจะทำ�ให้ “กระบวนการ”
และ“กลยุทธ์”ของกิจการเพื่อสังคมเด่นชัดขึ้นมา
เนื่องจากบางครั้งผู้ประกอบการเพื่อสังคมเน้น
การสร้างผลลัพธ์ทางสังคมจนละเลยการออกแบบ
กระบวนการและกลยุทธ์ขององค์กรอย่างเป็น
ระบบ ทั้งที่พันธกิจ กระบวนการและวิธีการย่อม
มีอยู่ในทุกองค์กร ไม่ว่าเราจะมองเห็นหรือไม่
ก็ตาม
ผลตอบแทนทางสังคม (Social Return
on Investment : SROI) หมายถึง การนำ�ผลลัพธ์
ด้านสังคม (social impact) ในด้านต่างๆ ที่
กิจการสร้างมาคำ�นวณหา “มูลค่า” (monetized
value) เป็นตัวเงิน แล้วเปรียบเทียบกับมูลค่า
ทางการเงินของต้นทุนที่ใช้ไปในการดำ�เนินกิจการ
เพื่อดูว่ากิจการสร้างผลลัพธ์ทางสังคมคิดเป็น
มูลค่าเท่าไรต่อเงิน 1 บาทที่ลงทุนไป
ผลลัพธ์ของการวิเคราะห์ผลตอบแทนทาง
สังคมจากการลงทุนแตกต่างจากการวิเคราะห์
ผลตอบแทนการลงทุน (Return on Investment :
ROI) ตรงที่การวิเคราะห์ SROI ถึงแม้จะแสดง
เป็นอัตราส่วนใช้มูลค่าทางการเงินของประโยชน์
ที่เกิดเป็นตัวตั้งและใช้ต้นทุนการลงทุนเป็นตัวหาร
เหมือนกับ ROI แต่ SROI ก็ไม่ได้แสดงเงินที่เป็น
เงินจริงๆ หากแต่เป็น “บทสรุป” ของ “ชุดคุณค่า
สำ�คัญ” (key values) ที่เชื่อมโยงกับพันธกิจของ
กิจการมากกว่าเป็นผลลัพธ์ทางอื่นโดยขึ้นอยู่กับ
10 11
มาทําความรู้จัก ROI ก่อนที่จะรู้จัก SROI
ประโยชน์ของ
การประเมินผลตอบแทน
ทางสังคมจากการลงทุน
บางคนคงสงสัยว่า ในเมื่อผลลัพธ์ทาง
สังคมมักไม่ใช่ตัวเงินตรงๆ แล้วการตีค่าออกมา
เป็นตัวเงินเพื่อวัดผลตอบแทนทางสังคมจากการ
ลงทุนจะมีประโยชน์อะไรเล่า?
การประเมินและวิเคราะห์ผลตอบแทนทาง
สังคมจากการลงทุนมีประโยชน์คล้ายกับการ
เพื่อสังคมจากการลงทุนที่มุ่ง “ยกระดับคุณภาพ
ชีวิตของผู้พิการ” เป็นเป้าหมายหลัก แต่ผล
การประเมินผลตอบแทนทางสังคมปรากฏว่าเรา
บรรลุเป้าหมายนี้ได้น้อยมากเมื่อเทียบกับการลงทุน
ที่เสียไป สมมุติว่าสร้างประโยชน์แก่ผู้พิการ
กลุ่มเป้าหมายคิดเป็นมูลค่าทางการเงินได้เพียง
5 สตางค์ (5%) ต่อเงินลงทุนทุก 1 บาทเท่านั้น
ซึ่งน้อยกว่าโครงการช่วยเหลือของภาครัฐของ
องค์กรการกุศลหรือถ้าหากเราพบว่าผู้พิการไม่ได้
ประโยชน์เท่ากับที่เราคิด หรือได้ประโยชน์ค่อน
ข้างน้อยเมื่อเทียบกับการลงทุนเราก็จะได้ทบทวน
โมเดลธุรกิจกลยุทธ์และกระบวนการดำ�เนินกิจการ
เสียใหม่
นอกจากจะประเมินผลการทำ�งานของ
องค์กรเรายังสามารถใช้อัตราส่วนผลตอบแทนทาง
สังคมจากการลงทุน(SROI)ในการสื่อสารผลงาน
ต่อนักลงทุนและสาธารณะเนื่องจาก“ตัวเลข”เป็น
สิ่งที่คนเข้าใจง่ายจดจำ�ง่าย นำ�ไปเปรียบเทียบ
กับตัวเลขอื่นๆ ได้ และเป็นภาษาทางการเงินซึ่ง
นักลงทุนมีความคุ้นเคยและนำ�ไปประกอบการ
ตัดสินใจในการลงทุนได้อย่างรวดเร็วSROI=2:1
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราประเมินได้ว่า กิจการเพื่อ
สังคมสร้างผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน
ถึง 2 บาท ต่อ 1 บาท (สร้างผลลัพธ์ทางสังคม
มูลค่า2บาทจากเงินลงทุน1บาท)เราก็จะสื่อสาร
ได้ว่าทุก 1 บาทที่ลงทุนไปนั้น “คุ้มค่า” ส่วน
ทำ�ความรู้จักกับผลตอบแทนจากการลงทุน (Return on Investment: ROI)
Return on Investment (ROI)  หมายถึง ผลตอบแทนการลงทุน คำ�นวณต่อหน่วย
ว่าเกิดผลตอบแทนเท่าไร ช่วยในการประเมินว่าการลงทุนนั้นๆ มี “ความคุ้มค่า” หรือไม่
สูตรคำ�นวน  ROI(%)=“ผลตอบแทนจากการลงทุน-ต้นทุนในการลงทุน/  ต้นทุน
ในการลงทุน x 100“
ยกตัวอย่างเช่น กิจการเพื่อสังคมด้านการฝึกอบรมผู้พิการ ลงทุนไป 1,000,000
บาทสร้างรายได้ให้กับผู้พิการรวม2,000,000บาทROIของกิจการนี้เท่ากับ((2,000,000-
1,000,000)/1,000,000 )X 100 = 200% หรือหมายความว่าการลงทุนทุก 1 บาท จะสร้าง
ผลตอบแทนจำ�นวน 2 บาท
วิเคราะห์ฐานะทางการเงินของบริษัททั่วไป ตรงที่
เราสามารถใช้มันเป็นเครื่องมือทบทวนประสิทธิภาพ
และประสิทธิผลของกิจการเพื่อสังคม เพื่อนำ�มา
ปรับปรุงกลยุทธ์ กระบวนการหรือแม้แต่โมเดล
ธุรกิจของกิจการต่อไปในอนาคต
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าหากเราก่อตั้งกิจการ
นักลงทุนที่สนใจจะลงทุนในกิจการเพื่อสังคมก็จะ
รู้ว่ากิจการของเราสร้างผลตอบแทนสูงกว่าหรือ
ตํ่ากว่ากิจการเพื่อสังคมอื่นที่ทำ�งานเรื่องเดียวกัน
จะได้ตัดสินใจลงทุนได้อย่างง่ายดายกว่าเดิม
กล่าวโดยสรุปเราสามารถใช้ผลตอบแทน
ทางสังคมจากการลงทุนเป็น “เครื่องมือ” ในการ
วางแผนกลยุทธ์และปรับปรุงองค์กรตลอดจน
สื่อสารผลลัพธ์และดึงดูดนักลงทุน
12 13
ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนช่วยในการดำ�เนินงาน
ขององค์กรด้วยการ
	
R	 ช่วยอภิปรายกลยุทธ์และช่วยให้มองเห็นมูลค่าของผลลัพธ์ทางสังคมที่เกิด
	 จากกิจกรรม
R	 ช่วยบริหารทรัพยากรอย่างเหมาะสมเพื่อจัดการกับผลลัพธ์ที่ไม่ได้คาดหวัง ทั้ง
	 ทางบวกและทางลบ
R	 แสดงความสำ�คัญของการจับมือร่วมกับองค์กรอื่นๆ ที่พยายามสร้างความ
	 เปลี่ยนแปลงในประเด็นเดียวกัน เช่น หน่วยงานภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน
	 (เอ็นจีโอ) องค์กรศาสนา และองค์กรการกุศล
R	 ระบุจุดร่วมพื้นฐานระหว่างสิ่งที่องค์กรต้องการบรรลุและสิ่งที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
	 ต้องการบรรลุ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ทางสังคมมากที่สุด
R	 สร้างกลไกการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเช่นนักลงทุนลูกค้าองค์กรพันธมิตร
	 ทำ�ให้พวกเขาเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับการออกแบบการทำ�งานของกิจการเพื่อ
	 สังคมอย่างมีความหมายและตรงต่อความต้องการมากขึ้น
ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนมีประโยชน์น้อยลงในกรณีต่อไปนี้
R	 องค์กรไม่สนใจกลยุทธ์และการวางแผนการทำ�งาน
R	 ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียไม่สนใจผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
R	 วัดผลตอบแทนทางสังคมเพียงเพื่อ “พิสูจน์” มูลค่าของงานที่ทำ� (โดยเฉพาะ
	 เมื่อ “ตั้งธง” ไว้ในใจแล้วล่วงหน้าว่าผลลัพธ์คืออะไร)ไม่มีโอกาสใดๆ ในการ
	 เปลี่ยนแปลงกลยุทธ์และกระบวนการทำ�งานในอนาคต เช่น ประเมินผล
	 ตอบแทนทางสังคมของโครงการซีเอสอาร์ตลอดระยะเวลาสองปีและปัจจุบัน
	 ปิดโครงการไปแล้ว บริษัทได้ตัดสินใจแล้วว่าจะไม่ดำ�เนินโครงการต่อ จะนำ�
	 ผลตอบแทนทางสังคมไปใช้เพื่อการประชาสัมพันธ์ของบริษัทเท่านั้น
R	 ไม่มีการเปรียบเทียบผลตอบแทนทางสังคมในช่วงเวลาต่างกัน (เช่น เปรียบเทียบ
	 ปีต่อปี) และวิเคราะห์ว่าเปลี่ยนไปเพราะอะไร รวมทั้งไม่มีการเปรียบเทียบ
	 ผลตอบแทนทางสังคมระหว่างองค์กรต่างๆ
ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนช่วยสร้างความยั่งยืนแก่องค์กร
ด้วยการ
R	 ยกระดับระบบการเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผลการดำ�เนินงานตลอดจนกระบวนการ
	 ตรวจสอบภายในองค์กร
R	 ใช้เพื่อปรับปรุง โดยเฉพาะในกรณีที่ต้องระดมทุนเพิ่มเติมจากนักลงทุนเพื่อสังคม
14 15
ใครใช้
การประเมินผลตอบแทน
ทางสังคมจากการลงทุนได้?
การประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน
มีประโยชน์ไม่เฉพาะสำ�หรับผู้ประกอบการเพื่อสังคมและ
ผู้ดำ�เนินโครงการเพื่อสังคมต่างๆ เท่านั้น แต่ภาครัฐ
ภาคเอกชน ตลอดจนภาควิชาการและภาคการกุศล
ก็ใช้ประโยชน์ได้เช่นกัน นอกจากนี้ไม่ว่าจะเป็นองค์กร
ขนาดใหญ่ ขนาดเล็กหรือองค์กรก่อตั้งใหม่(start-up) ก็
ล้วนแต่ใช้การประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการ
ลงทุนได้
เราสามารถใช้การประเมินผลลัพธ์ทางสังคมเป็น
เครื่องมือสำ�หรับ“มองไปข้างหน้า”(เพื่อวางแผนอนาคต
ขององค์กร)หรือ“มองย้อนหลัง”(การทบทวนและตรวจ
สอบสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว) หรือพร้อมกันทั้งสองกรณีก็ได้
กิจการเพื่อสังคม
และธุรกิจแสวงกำ�ไรสูงสุด
ภาครัฐ มูลนิธิ
และผู้สนับสนุนทางการเงินประเภทอื่น
ภาควิชาการ
และผู้ดำ�เนินนโยบาย
ทั้งกิจการเพื่อสังคมและธุรกิจเอกชนที่สร้างมูลค่า
ทางสังคม(เช่นผ่านการแสดงความรับผิดชอบของกิจกรรม
ธุรกิจต่อสังคมหรือ “ซีเอสอาร์” ทั้งภายในและภายนอก
องค์กร)สามารถใช้ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน
เป็นเครื่องมือเชิงบริหารในการปรับปรุงผลการปฏิบัติงาน
แสดงค่าใช้จ่ายและเน้นมูลค่าเพิ่มที่สร้างแก่ผู้มีส่วนได้
เสียฝ่ายต่างๆ
ภาคส่วนต่างๆ ที่มีพันธกิจสร้างประโยชน์ทาง
สังคมให้ทุนเพื่อสังคม หรือลงทุนในกิจการเพื่อสังคม
สามารถใช้ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนหรือSROI
ช่วยในการตัดสินใจว่าจะลงทุนในโครงการหรือกิจการใด
บ้างและใช้ประเมินผลการปฏิบัติงานและวัดความก้าวหน้า
ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งโดยสามารถแทรกการประเมิน
SROI ในขั้นตอนต่างๆ ของการให้ทุน อาทิ
R	 ขั้นตอนออกแบบโครงการ / การจัดซื้อจัดจ้าง
	 ล่วงหน้า-การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคมจาก
	 การลงทุนแบบพยากรณ์ (projection) สามารถนำ�
	 มาใช้ในขั้นตอนการวางแผนกลยุทธ์เพื่อตัดสินใจ
	 ว่าจะเริ่มโครงการอย่างไรและตัดสินขอบเขต
	 ข้อกำ�หนดของสัญญาให้ทุนหรือลงทุน
R	 ขั้นตอนประมูล-การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคม
	 จากการลงทุนแบบพยากรณ์สามารถนำ�มาใช้ประเมิน
	 ว่าผู้ประมูลคนใดมีแนวโน้มจะสร้างมูลค่ามากที่สุด
R	 ขั้นตอนติดตามและประเมินผลการดำ�เนินงานตาม
	 สัญญา-การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคมจาก
	 การลงทุนแบบประเมินผล (evaluation) สามารถใช้
	 ติดตามผลการดำ�เนินงานของผู้รับทุน
องค์กรที่พัฒนานโยบายสาธารณะสามารถใช้
ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนในการประเมิน
ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของนโยบายต่างๆ และ
เปรียบเทียบทางเลือกในการดำ�เนินนโยบาย
1716
2
หลักการประเมินผลตอบแทน
ทางสังคม
ระบุผู้มีส่วนได้เสีย และดึงให้เข้ามามีส่วนร่วมมากที่สุด
ใช้ “ค่าแทนทางการเงิน” ตีค่าผลสำ�คัญ
เน้นความโปร่งใสทุกขั้นตอน
เข้าใจสิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลง
หลีกเลี่ยงการกล่าวอ้างเกินจริง
รวมเฉพาะปัจจัยสำ�คัญ
พร้อมรับการตรวจสอบผลลัพธ์
แนวคิดการวัดผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนนั้นพัฒนามาจาก
แนวคิดเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมและการวิเคราะห์เปรียบเทียบ
ต้นทุนกับประโยชน์ (cost-benefit analysis) ทางเศรษฐศาสตร์
ก่อนที่จะไปถึงวิธีวัดผล
ลองมาดู		 ของการประเมินผลตอบแทนทางสังคม
			 จากการลงทุนกัน
และต่อให้เราประเมินอย่างถูกวิธี แต่ไม่คำ�นึงถึงหลักการเหล่านี้
รายงานผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนที่เราจัดทำ�ขึ้น
ก็ไม่อาจมีความถูกต้องรอบด้านและสุดท้ายก็ไม่อาจมีความน่าเชื่อถือได้เลย
หลักการ
หลัก 7 ข้อ
18 19
เพราะไม่ต้องสูดดมควันจากนํ้ามันก๊าดหรือ
ประสบเหตุไฟไหม้จากเทียนหรือตะเกียง (ดูราย
ละเอียดกรณีศึกษาดังกล่าวได้ในภาคผนวก 2
ของคู่มือนี้)
ในเมื่อการเปลี่ยนแปลงเกิดกับผู้มีส่วน
ได้เสียโดยตรง พวกเขาจึงน่าจะสามารถอธิบาย
การเปลี่ยนแปลงได้ดีที่สุด และช่วยเราแยกแยะ
ระหว่างผลลัพธ์ที่สำ�คัญกับผลลัพธ์ที่ไม่สำ�คัญ
(แน่นอนว่าในมุมมองของพวกเขา) หลักการข้อนี้
ครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนการ “ระบุ” ว่าผู้มีส่วน
ได้เสียมีใครบ้าง ไปจนถึงการ “หารือ” ตลอดจน
การ “วิเคราะห์” ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
กิจการเพื่อสังคมทุกกิจการย่อมมี “ผู้มี
ส่วนได้เสีย” (stakeholders) หลายฝ่ายที่มีความ
ต้องการและความคิดไม่เหมือนกันและบางครั้ง
ก็ขัดแย้งกัน ไม่ต่างจากธุรกิจแสวงกำ�ไรสูงสุด
“ผู้รับประโยชน์” (beneficiaries) ของกิจการอาจ
ไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายและผู้มีส่วนได้เสีย
บางฝ่ายก็อาจไม่มีปากไม่มีเสียงเช่นระบบนิเวศ
นอกจากนี้ ผู้มีส่วนได้เสียบางฝ่ายอาจ “เสีย”
มากกว่า “ได้” ก็เป็นได้ (เช่น หรือการผลิตสินค้า
สีเขียวของเราอาจทำ�ลายสิ่งแวดล้อมมากกว่า
ประโยชน์ที่เราตั้งใจจะสร้าง) ความแตกต่างอัน
ซับซ้อนเช่นนี้ทำ�ให้สำ�คัญที่จะดึงผู้มีส่วนได้เสีย
ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่ก่อนเริ่มกระบวนการ
ประเมินผลลัพธ์ทางสังคม และหาวิธีสื่อสาร
ผลการประเมินตามบริบท (context) ที่ตรงกับ
ผู้มีส่วนได้เสียแต่ละฝ่ายไม่ใช่สื่อสารแต่อัตราส่วน
ด้านเดียวโดดๆ เท่านั้น เช่น เวลาสื่อสารกับ
ภาครัฐเราอาจเน้นว่ามูลค่าของผลลัพธ์ทางสังคม
ที่สร้างนั้นช่วยรัฐลดค่าใช้จ่ายได้อย่างไร แต่
เวลาสื่อสารกับกลุ่มผู้รับประโยชน์โดยตรงเราจะ
เน้นเรื่องรายละเอียดผลลัพธ์ในด้านต่างๆ ที่เป็น
ประโยชน์ต่อพวกเขาแทน
ในเมื่อกิจการเพื่อสังคมยึดเป้าหมายทาง
สังคมหรือสิ่งแวดล้อมเป็นตัวตั้ง มิได้ยึดผลกำ�ไร
ของกิจการเป็นตัวตั้งและในเมื่อผลลัพธ์จากกิจการ
เพื่อสังคมอาจมีทั้งด้านบวกและด้านลบไม่ต่าง
จากกิจการประเภทอื่นการดึงให้ผู้มีส่วนได้เสียเข้า
มามีส่วนร่วมตั้งแต่ต้นและเข้าร่วมในทุกขั้นตอน
ที่ทำ�ได้โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายของพันธกิจทาง
สังคมจึงเป็นปัจจัยที่สำ�คัญอย่างยิ่งต่อการประเมิน
ผลลัพธ์อย่างเที่ยงตรงและรอบด้าน
“ผู้มีส่วนได้เสีย” (stakeholder) ในแง่นี้
หมายถึงบุคคลหรือองค์กรที่เกิด “การเปลี่ยน-
แปลง” อะไรสักอย่างจากการดำ�เนินงานของ
กิจการเพื่อสังคม ซึ่งอาจจะแตกต่างกันไปใน
แต่ละกิจการ เช่น พนักงาน ลูกค้า คู่ค้า ผู้ถือ
หุ้น นักลงทุน ภาครัฐ สื่อ ชุมชน หรือบางกรณี
อาจรวมถึงคู่แข่งด้วย
ยกตัวอย่างเช่น สมมติกรณีของกิจการ
เพื่อสังคมที่เปิดร้านขายงานฝีมือของผู้พิการ ผู้มี
หลักการ
ข้อ 1
คำ�นึงถึงผู้มีส่วนได้เสียและดึงให้เข้ามามีส่วนร่วมมากที่สุด
ส่วนได้เสียกลุ่มสำ�คัญคือ ผู้พิการที่คุณภาพชีวิต
ดีขึ้นจากการทำ�งานของกิจการ และลูกค้าที่มา
ซื้อผลงานของผู้พิการที่กิจการจัดจำ�หน่าย
นอกจากนี้ยังรวมถึงหน่วยงานภาครัฐที่ประหยัด
ทรัพยากรได้จากการทำ�งานของกิจการด้วย (เช่น
รัฐสามารถประหยัดเงินช่วยเหลือผู้พิการหลังจาก
ที่ผู้พิการมีรายได้เพิ่มขึ้นจากกิจการเพื่อสังคม)
อีกตัวอย่างหนึ่ง d.light Design กิจการ
เพื่อสังคมที่ใช้เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์มา
ให้แสงสว่างแก่ท้องถิ่นที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ ผู้มีส่วนได้
ส่วนเสียกลุ่มสำ�คัญคือลูกค้าในชุมชนที่สามารถ
ลดค่าใช้จ่ายจากการซื้อถ่านไฟฉายหรือนํ้ามันก๊าด
พวกเขามีรายได้เพิ่มขึ้นเพราะสามารถทำ�งานตอน
กลางคืนได้นานขึ้น ครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่
ดีขึ้นในระยะยาว เช่น เด็กๆ สามารถทำ�การบ้าน
หรืออ่านหนังสือได้ในตอนกลางคืน ในขณะที่
ผู้ปกครองก็ทำ�งานได้นานขึ้นหลายชั่วโมงยาม
กลางคืน ชุมชนโดยรวมมีความปลอดภัยมากขึ้น
20 21
หลักการ
ข้อ 3
ใช้ “ค่าแทนทางการเงิน” ตีค่าผลสำ�คัญ
ค่าแทนทางการเงิน(financialproxy)คือ
ค่าประมาณเพื่อแทนมูลค่าทางการเงินของผลลัพธ์
ทางสังคมในกรณีที่เราไม่ทราบค่าการเงินที่แน่นอน
ผลลัพธ์ทางสังคมหลายตัวถึงแม้จะไม่ใช่
ตัวเงินโดยตรงแต่ก็เกี่ยวโยงกับสิ่งที่มีราคาตลาด
กรณีเหล่านี้เราสามารถนำ� “ค่าแทนทางการเงิน”
(financialproxy)มาใช้ประเมินมูลค่าทางการเงิน
ของผลลัพธ์และเพื่อให้โอกาสกับบุคคลหรือองค์กร
ที่ไม่ได้อยู่ในระบบตลาด แต่ได้รับผลกระทบ
จากการดำ�เนินกิจการอย่างเช่น ชุมชนโดยรอบ
หรือสิ่งแวดล้อม ยกตัวอย่างเช่น เราอาจนำ�
ราคาคาร์บอนที่ซื้อขายกันในตลาดคาร์บอนเครดิต
มาใช้เป็น “ค่าแทน” ของต้นทุนก๊าซเรือนกระจก
ยิ่งกิจการของเราลดก๊าซเรือนกระจกได้เท่าไร
เรายิ่งสร้างมูลค่าทางสังคมได้มากเท่านั้น (นำ�
ราคาคาร์บอนมาคูณกับปริมาณก๊าซเรือนกระจก
ที่ลดได้)
หลักการ
ข้อ 2
เข้าใจสิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลง
การประเมินผลลัพธ์และผลตอบแทน
ทางสังคมจากการลงทุนเป็นการวัดสิ่งที่
“เปลี่ยนแปลง”ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งเช่น“กิจการ
นี้ช่วยให้ผู้พิการมีงานทำ� 200รายในพ.ศ.2554”
หรือ“กิจการนั้นช่วยลดขยะได้1,000ตันระหว่าง
พ.ศ. 2553-2555” ถ้าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง
ก็ไม่มีความจำ�เป็นที่จะประเมิน ดังนั้นเราจึง
ต้องให้ความสำ�คัญกับการบันทึกสิ่งต่างๆ ที่
เปลี่ยนแปลงไป พร้อมทั้งตระหนักด้วยว่าการ
เปลี่ยนแปลงมีทั้งเชิงบวกและเชิงลบ นอกจากนี้
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นก็มีทั้งที่เราตั้งใจและ
ที่ไม่ตั้งใจถ้าจะให้การประเมินผลลัพธ์และ
ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนเป็นประโยชน์
เราก็จะต้องครุ่นคิดให้ถี่ถ้วนและรอบด้านว่ากิจการ
ของเราส่งผลให้อะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้างและเรา
จะบันทึกและอธิบายกระบวนการเปลี่ยนแปลงนั้น
ได้อย่างไร
(ในเมื่อแทบเป็นไปไม่ได้ที่เราจะมองเห็น
การเปลี่ยนแปลงทุกเรื่องต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย
หลักการข้อนี้จึงขับเน้นให้หลักการข้อแรก คือ
การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย ทวีความสำ�คัญ
ยิ่งกว่าเดิม เพราะพวกเขาเป็นผู้ที่สัมผัสความ
เปลี่ยนแปลงได้โดยตรง)
ประเด็นที่พึงระวังของการใช้ค่าแทน
ทางการเงินคือ เราต้องมั่นใจได้ว่ามันจะ “แทน”
ผลลัพธ์ทางสังคมที่เราอยากวัดได้จริงๆ ไม่ใช่
ไกลเกินเลยหรือไม่เกี่ยวข้องกันและต้องคำ�นึงถึง
บริบททางสังคมและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันใน
แต่ละพื้นที่ด้วย
ยกตัวอย่างเช่นลองนึกดูว่าเราควรใช้อะไร
เป็นค่าแทนของผลลัพธ์ทางสังคม“ชีวิตสมรสดี
ขึ้น”? ถ้าเป็นประเทศในทวีปยุโรปอย่างอังกฤษ
ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่คนจะไปปรึกษาจิตแพทย์
เกี่ยวกับปัญหาในครอบครัว กิจการเพื่อสังคม
ในอังกฤษที่ช่วยให้คนมีชีวิตสมรสดีขึ้นอาจใช้
“รายได้จิตแพทย์รับปรึกษาชีวิตคู่ที่ลดลง” เป็น
ค่าแทนคุณภาพชีวิตสมรสที่ดีขึ้น (ถ้าจิตแพทย์
ชีวิตคู่มีรายได้ลดลงขณะที่เวลาทำ�งานเท่าเดิม
แปลว่าคนไปปรึกษาน้อยลง แปลว่าคนมีปัญหา
ชีวิตคู่น้อยลง) แต่ตัวเลขนี้ไม่เหมาะที่จะนำ�มาใช้
เป็นค่าแทนคุณภาพชีวิตคู่ในสังคมที่คนไม่นิยม
22 23
ไปปรึกษาจิตแพทย์เวลามีปัญหา เราต้องคิดถึง
ข้อมูลอื่นที่ใช้เป็นค่าแทน “ชีวิตสมรสดีขึ้น” ได้
ใกล้เคียงกว่าเช่นในสังคมไทยอาจใช้ค่าใช้จ่ายที่
เพิ่มขึ้นในการไปเที่ยวกันสองต่อสอง กินข้าวกัน
สองต่อสองหรือมูลค่าของเวลาที่คู่สมรสอยู่ด้วย
กันมากกว่าเดิม (อาจใช้รายได้ต่อชั่วโมงเป็น
ค่าแทนอีกที) ฯลฯ
หรือควรใช้อะไรเป็นค่าแทนของผลลัพธ์
ทางสังคม “สุขภาพที่ดีขึ้น?” จะมีการเปลี่ยน-
แปลงอะไรที่บ่งบอกถึงการที่เรามีสุขภาพที่ดีขึ้น
เราอาจจะใช้ “ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล
ที่น้อยลง”หรือ“รายได้ที่เพิ่มขึ้น”(อาจจะมีรายได้
เพิ่มขึ้นเพราะการลาป่วยลดลงและสามารถทำ�งาน
ได้เพิ่มขึ้น)
การพยายามหาค่าแทนทางการเงินสำ�หรับ
ผลลัพธ์ทางสังคมที่ไม่ใช่ตัวเงินตรงๆนั้นนอกจาก
จะเสริมให้การวิเคราะห์ของเราครบถ้วนและ
รอบด้านแล้ว ยังนับเป็นการ “เพิ่มอำ�นาจ” ให้กับ
ผู้มีส่วนได้เสียบางกลุ่มที่มักจะถูกกันให้อยู่
นอกกรอบการคำ�นวณเปรียบเทียบต้นทุนกับ
ประโยชน์เพียงเพราะผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับพวกเขา
อยู่นอกระบบตลาดและไม่มีมูลค่าทางการเงิน
โดยตรง
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราต้องเลือกระหว่าง
โครงการก่อสร้างแหล่งผลิตพลังงานสองโครงการ
โครงการแรกคุ้มค่าทางการเงินมากกว่า คืนทุน
ได้เร็วกว่า ขณะที่โครงการที่สองถึงแม้จะคืนทุน
ช้ากว่า ให้ผลตอบแทนทางการเงินตํ่ากว่า แต่ก็
สร้างผลกระทบต่อสุขภาพของคนในชุมชนน้อย
กว่า สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าให้กับคนในชุมชน
ถ้าหากเราพิจารณาแต่ผลลัพธ์ที่เป็นตัวเงินตรงๆ
เราย่อมเลือกโครงการแรกแต่ถ้าหากเราพิจารณา
มูลค่าของ “สุขภาพ” และ “คุณภาพชีวิต” ของ
คนในชุมชนประกอบด้วยโครงการที่สองอาจเป็น
โครงการที่ “ดี” กว่า และ “คุ้มค่า” เมื่อประเมิน
มูลค่าอย่างครอบคลุมมากกว่า
ในแง่นี้จึงกล่าวได้ว่า การพิจารณามูลค่า
ของ “สุขภาพ” และ “วิถีชีวิต” เท่ากับทำ�ให้คนใน
ชุมชนมีสิทธิ์มีเสียงมากกว่าเดิมในกระบวนการ
ตัดสินใจ เพราะสะท้อนความต้องการและผล
กระทบต่อพวกเขาได้ดีกว่าการพิจารณาผลตอบแทน
ที่เป็นตัวเงินตรงๆ โดยลำ�พัง
หลักการ
ข้อ 4
รวมเฉพาะสิ่งที่เป็น “สาระสำ�คัญ”
การประเมินผลลัพธ์และผลตอบแทน
ทางสังคมจากการลงทุนจะเป็นประโยชน์ก็ต่อเมื่อ
เรามีข้อมูลที่เชื่อถือได้และเก็บรวบรวมได้อย่าง
สมํ่าเสมอ แต่การเก็บข้อมูลก็มีต้นทุนดังนั้นการ
แยกแยะระหว่างปัจจัยที่สำ�คัญกับปัจจัยที่ไม่สำ�คัญ
จึงเป็นสิ่งจำ�เป็น
ยกตัวอย่าง เช่น สมมุติว่าเราทำ�กิจการ
เพื่อสังคมเพื่อเด็กไร้บ้าน  พันธกิจหลักคือมุ่งปรับปรุง
คุณภาพชีวิตของเด็กไร้บ้านด้วยการหางานให้
พวกเขา ปีที่ผ่านมาเด็กที่เราช่วยจำ�นวนหนึ่งไป
ทำ�งานเก็บ คัดแยก และกำ�จัดขยะ และพวกเขา
ก็ทำ�ได้มีประสิทธิภาพสูงกว่าเทศบาล ส่งผลให้
ขยะในชุมชนลดลงจริงๆ คำ�ถามคือในเมื่อ “ขยะ
ที่ลดลง” เป็นประโยชน์ต่อสังคมอย่างชัดเจน แต่
ไม่ใช่เป้าหมายหลักของเราเราควรนับรวมผลลัพธ์
ที่ไม่ได้ตั้งใจข้อนี้ในการประเมินของเราหรือไม่?
คำ�ตอบขึ้นอยู่กับว่าขยะที่ลดลงนั้นมี
ปริมาณมากน้อยเพียงใดเมื่อเทียบกับผลลัพธ์ทาง
สังคมอื่นๆ ที่กิจการเพื่อสังคมของเราสร้าง ถ้า
งานของเราช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของเด็ก
ได้ 1,000 คน แต่เด็กที่ไปทำ�งานเก็บและกำ�จัด
ขยะมีจำ�นวนเพียง10คน(ร้อยละ1)ผลลัพธ์ทาง
สังคมที่เกิดขึ้นก็ไม่สำ�คัญพอที่จะนับรวมในการ
วิเคราะห์ของเรา ภาษีทางบัญชีเรียกว่า ไม่ใช่
“สาระสำ�คัญ” (materiality)
ถ้าเราอยากให้ผลการประเมินนำ�ไปใช้ได้
จริง เราก็ต้องคัดสรรแต่เฉพาะผลลัพธ์ทางสังคม
ข้อสำ�คัญ จะได้เน้นการจัดการไปยังประเด็นที่มี
ความสำ�คัญจริงๆ การตัดสินว่าผลลัพธ์อะไรบ้าง
สำ�คัญนั้นต้องอาศัยการอ้างอิงพันธกิจขององค์กร
(กระบวนการภายใน)และการรับฟังความคิดเห็น
ของผู้มีส่วนได้เสียฝ่ายต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่ม
เป้าหมายที่เราอยากสร้างประโยชน์ให้(กระบวนการ
ภายนอก) โดยพยายามสร้าง “สมดุล” ระหว่าง
กระบวนการภายในและภายนอก เพราะวิธีขอให้
ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายบรรยายผลลัพธ์ทั้งหมดที่
เกิดจากกิจการ ทั้งเชิงบวกและเชิงลบ ให้เราฟัง
โดยไม่สนใจพันธกิจและเป้าหมายองค์กรจะเป็น
24 25
การเสียเวลาและผลที่ได้คือรายการ(รวมทั้งเสียง
บ่น) ยาวเป็นหางว่าวที่ไม่เป็นระบบและยากแก่
การจัดการดังนั้นเราจึงควรตั้งต้นจากกระบวนการ
ภายในก่อน คือดูว่าเป้าหมายของเราคืออะไร
ประเมินว่าเราทำ�อะไรเพื่อบรรลุเป้าหมายนั้นบ้าง
แล้วรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียประกอบ
ถ้าไม่รับฟังเลยก็ไม่ดีเพราะสุ่มเสี่ยงที่จะเจออคติ
“เลือกแต่ผลลัพธ์ที่เราชอบ” (selectivity bias)
ส่งผลให้มองข้ามผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงแต่เราไม่ได้
วางแผนเอาไว้ ไม่ว่าจะบวกหรือลบ
กฎจำ�ง่าย (rule of thumb) ที่เราอาจใช้
คือ เลือกประเมินผลลัพธ์ไม่เกิน 5 รายการที่
สำ�คัญที่สุดเท่านั้นหรือประเมินเฉพาะผลลัพธ์
ที่ผู้มีส่วนได้เสียเกินครึ่งหนึ่ง (จากการสุ่ม
สัมภาษณ์หรือสำ�รวจ)ยืนยันว่าเป็นประโยชน์
ที่พวกเขาได้รับจากกิจการ
หลักสำ�คัญคือควรนับเฉพาะประโยชน์
ทางตรง ที่ชัดเจนว่าเกิดจากกิจการเพื่อป้องกัน
หลักการ
ข้อ 5
หลีกเลี่ยงการกล่าวอ้างเกินจริง
เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 500 บาท เท่ากับว่าผลลัพธ์
“ผู้ชรามีรายได้เพิ่มขึ้น” ที่เรามีส่วนสร้างคือ
900-500 = 400 บาทต่อคนต่อเดือน หรือร้อยละ
44 ของผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น (400 / 900) ไม่ใช่ 900
ต่อคน ต่อเดือน ฉะนั้นตัวเลขที่เราควรใช้ใน
การประเมินผลตอบแทนทางสังคมคือ400ต่อคน
ต่อเดือน ไม่ใช่ 900 เพราะต่อให้เราไม่ทำ�กิจการ
นี้เลย ผู้ชราทุกคนจะยังมีรายได้เพิ่มขึ้นเดือนละ
500บาทจากนโยบายของรัฐบาลที่เริ่มในปีที่แล้ว
(และปีที่แล้วก็เป็นกรอบเวลาในการประเมินของ
เรา)
หลายครั้งยากที่เราจะคำ�นวณเป๊ะๆ ว่า
ผลลัพธ์ทางสังคมที่เรามีส่วนสร้างนั้นคิดเป็นสัดส่วน
เท่าไรของผลลัพธ์ทั้งหมด (หลายคนบ่นว่าลำ�พัง
จะวัดผลลัพธ์ทั้งหมดก็ยากพอดูอยู่แล้ว!) โดย
เฉพาะกรณีที่เราไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับผลลัพธ์ที่
เกิดขึ้นจากหน่วยงานอื่นตรงๆ ในกรณีเหล่านี้
เราอาจต้องอ้างอิงแนวโน้มในอดีตและตัวชี้วัด
กิจการหรือโครงการเพื่อสังคมของเราอาจ
มีเป้าหมายที่น่าชื่นชม แต่เราต้องยอมรับว่ามัน
ไม่ใช่กิจการหรือโครงการเพียงหนึ่งเดียวที่พยายาม
แก้ปัญหาสังคมหรือสิ่งแวดล้อมยกเว้นว่าเราจะ
ทำ�งานในประเด็นที่ยังไม่มีใครแตะต้องจริงๆ ซึ่ง
เป็นไปได้ยากมาก เพราะทุกปัญหาล้วนมีหน่วย
งานภาครัฐ องค์กรการกุศลมูลนิธิ และองค์กร
อื่นๆ ที่พยายามแก้ไข ผลลัพธ์เชิงบวกที่เกิดขึ้น
หลังจากที่เราก่อตั้งกิจการอาจเป็น “ฝีมือ” ของ
เราเพียงส่วนเดียวก็ได้ ดังนั้นการระบุว่าคนหรือ
องค์กรอื่น (attribution) มีส่วนแก้ปัญหาอย่างไร
จึงเป็นปัจจัยสำ�คัญ
ยกตัวอย่างเช่น สมมุติว่ากิจการเพื่อ
สังคมของเราตั้งเป้าที่การช่วยให้ผู้ชราที่มีรายได้
น้อยมีรายได้เสริมหลังจากผ่านไปหนึ่งปี ผลลัพธ์
สำ�คัญที่สุดที่เกิดขึ้นคือผู้ชราที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย
ของเรามีรายได้เพิ่มเฉลี่ยคนละ900บาทต่อเดือน
แต่ในช่วงเวลาเดียวกันรัฐบาลเพิ่งเริ่มใช้นโยบาย
ความเสี่ยงที่จะกล่าวอ้างเกินจริง (ดูหลักการข้อ
ถัดไป)ไม่นับประโยชน์อีกทอดหรือสองทอดถัดไป
เช่น ถ้ากิจการของเราจ้างคนจนในชุมชนที่อาศัย
ติดกับกองขยะมาคัดแยกขยะ นำ�ขยะบางชนิด
กลับไปรีไซเคิลใหม่ ส่งเสริมให้พวกเขามีอาชีพ
ผลลัพธ์ทางตรงที่ควรพิจารณาได้แก่ “รายได้ที่
เพิ่มขึ้น”“ปริมาณขยะที่ลดได้”ส่วนผลทอดต่อไป
เช่น“ก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้”(สมมุติว่าขยะส่วน
ใหญ่นำ�ไปผลิตไฟฟ้า) หรือ “ความสุขของคนใน
ชุมชนเพิ่มขึ้น” (จากการที่ขยะลดลง) เป็นสิ่งที่
ควรพิจารณาก็ต่อเมื่อเรามีหลักฐานที่พิสูจน์ได้ว่า
เกิดจากกิจการจริงๆ เท่านั้น
26 27
ในเมื่อผลลัพธ์ทางสังคมมักจะเป็น
คุณค่าเชิงนามธรรมที่วัดยาก หลากหลายและ
แต่ละคนก็มีมุมมองที่แตกต่างกัน การประเมิน
ทุกขั้นตอนอย่างโปร่งใสที่สุดเท่าที่จะทำ�ได้จึงเป็น
หลักการพื้นฐานที่จำ�เป็น ภายใต้หลักการข้อนี้
เราควรจัดทำ�เอกสารประกอบการตัดสินใจทุกครั้ง
โดยเฉพาะปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้เสีย
บันทึกผลลัพธ์ ตัวชี้วัดและมาตรฐานที่ใช้ รวมถึง
แจกแจงแหล่งที่มาวิธีเก็บข้อมูลและวิธีพิจารณา
ทางเลือกต่างๆ ในการประเมินเมื่อการประเมิน
เสร็จสิ้นแล้วก็ควรสื่อสารผลการประเมินให้ผู้มี
ส่วนได้เสียได้รับทราบและแสดงข้อคิดเห็นตลอด
จนเสนอคำ�อธิบายว่าองค์กรของเราจะนำ�ผล
การประเมินไปปรับปรุงการดำ�เนินงานอย่างไร
ในอนาคต
หลักการ
ข้อ 6
เน้นความโปร่งใสทุกขั้นตอน
ถึงแม้การวิเคราะห์ SROI จะมีความเป็น
“วิทยาศาสตร์” ในระดับหนึ่งและช่วยสร้างความ
เข้าใจต่อคุณค่าที่เกิดจากการดำ�เนินงานได้
มากขึ้น แต่การมีทัศนคติส่วนตัวก็เป็นสิ่งที่หลีก
เลี่ยงไม่ได้ บางคนอาจมองว่าเราประเมิน SROI
ออกมาสูงเกินจริง บางคนมองว่าตํ่าเกินไป
บางคนอาจตั้งคำ�ถามกับวิธีเก็บข้อมูลของเรา
หรือความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลที่เราใช้
เป็นค่าแทน ฯลฯ ด้วยเหตุนั้นเราจึงควรพร้อมรับ
การตรวจสอบผลการประเมิน SROI จากบุคคล
ภายนอกด้วยความยินดี ถ้าเป็นไปได้ควรให้
ผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกเป็นผู้ประเมินหรือเขียน
ความเห็น ไม่ต่างจากรายงานของผู้สอบบัญชีใน
องค์กรธุรกิจแสวงกำ�ไรสูงสุดการแสดงความพร้อม
ที่จะรับการตรวจสอบและการแสดงความเห็น
ของผู้ประเมินอิสระจะช่วยให้ผู้มีส่วนได้เสีย
สามารถตัดสินใจได้ว่าการประเมินของเราทำ�อย่าง
ตรงไปตรงมาและสมเหตุสมผลหรือไม่
หลักการ
ข้อ 7
พร้อมรับการตรวจสอบ
มาตรฐาน(benchmark)เพื่อช่วยประเมินสัดส่วน
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากงานของเรา เช่น ใน
ตัวอย่างข้างต้น สมมุติถ้าเราไม่รู้ว่ารัฐบาลเริ่ม
จ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเมื่อไร แต่เรารู้จากสถิติ
4-5 ปีที่ผ่านมาว่า รายได้ของผู้สูงอายุเพิ่มเฉลี่ย
เดือนละ150บาทต่อคนกรณีนี้เราก็พอจะอนุมาน
ได้ว่าผลลัพธ์ที่เราสร้างน่าจะประมาณ 900-150
= 750 บาทต่อคนต่อเดือน เนื่องจากต่อให้
เราไม่ทำ�อะไรเลยผู้สูงอายุก็น่าจะยังมีรายได้เพิ่ม
เฉลี่ยเดือนละ 150 บาทต่อคน อันเป็นผลมาจาก
ปัจจัยที่เราไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น เงินโอนจาก
ลูกหลาน ฯลฯ
28 29
3
กรอบคิด
และ
เครื่องมือสำ�คัญในการประเมิน
ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง (Theory of Change)
กรณีฐาน (Base Case Scenario)
ห่วงโซ่ผลลัพธ์ (Impact Value Chain)
	ก่อนจะอธิบายขั้นตอนการประเมินผลลัพธ์และผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนในราย
ละเอียด เราลองมาทำ�ความรู้จักกับกรอบการประเมิน และ “เครื่องมือ” สำ�คัญสามอย่าง นั่นคือ
ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง (Theory of Change)
ห่วงโซ่ผลลัพธ์ (Impact Value Chain)
และกรณีฐาน (Base Case Scenario)
กรอบคิดในการประเมินผลลัพธ์และผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน
การประเมินผลลัพธ์ทางสังคม (social impact assessment) และการคำ�นวณผลตอบแทนทาง
สังคมจากการลงทุน (social return on investment) อยู่ภายใต้กรอบการประเมินเดียวกัน นั่นคือ ก่อน
อื่นเราต้อง  “นิยาม”เป้าหมายและพันธกิจขององค์กรให้ชัด(Define)เสร็จแล้วก็ต้องระบุผลลัพธ์ที่วัดได้
(Quantify) เพื่อประเมินผลลัพธ์ทางสังคม และสุดท้ายก็ต้องแปลงผลลัพธ์เหล่านั้นออกมาเป็นมูลค่า
ทางการเงิน (Monetize)  เพื่อนำ�ไปเปรียบเทียบกับต้นทุน คำ�นวณอัตราส่วนผลตอบแทนทางสังคมจาก
การลงทุนต่อไป
เราสามารถสรุปกรอบคิดข้างต้นเป็นแผนภาพได้ดังต่อไปนี้
นิยาม
(Define)
ระบุผลลัพธ์
ที่วัดได้
(Quantify)
แปลงเป็นมูลค่า
ทางการเงิน
(Monetize)
30 31
ผลผลิต
(output)
คืออะไร?
เครื่องมือหลัก
ที่ใช้
คืออะไร?
ตรงกับ
กิจกรรมอะไร
ในคู่มือเล่มนี้?
เป้าหมายและพันธกิจ
ขององค์กรที่ชัดเจน
รู้ว่าจะสร้างคุณค่า
ทางสังคมให้กับใคร
กิจกรรมที่ 1-4 กิจกรรมที่ 5-9 กิจกรรมที่ 9-15
ทฤษฎี
การเปลี่ยนแปลง
(Theory of Change)
ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง หมายถึง การ
ตอบคำ�ถาม “กิจการนี้มอบคุณค่าอะไรให้กับ
สังคมบ้าง?” คือ “ถ้าไม่มีกิจการนี้อยู่ ผลลัพธ์
ทางสังคมนี้จะไม่เกิดขึ้น” อย่างชัดเจนที่สุด
และเป็นรูปธรรมปกติจะสื่อสารเป็นประโยคในรูป
“ถ้า...แล้ว” จะมีอะไรเปลี่ยนแปลงโดยเพิ่มขึ้น
หรือลดลง
เช่น ถ้ากิจการเพื่อสังคมของเราก่อตั้งขึ้น
เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโรคเอดส์ด้วยการผลิตพยาบาล
ที่มีความรู้เรื่องนี้มากขึ้นและกระจายไปตาม
คลีนิกต่างๆ ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงของกิจการ
เราก็จะเท่ากับ
“ถ้าประเทศไทยมีผู้ช่วยแพทย์ที่มีความรู้
เกี่ยวกับโรคเอดส์มากขึ้น แล้วผู้ป่วยโรคเอดส์
จะมีชีวิตยืนยาวขึ้น มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น” หรือ
ถ้ากิจการเพื่อสังคมของเราพุ่งเป้าไปที่
การฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมแถบจังหวัดน่านด้วยการ
หาแหล่งรายได้อื่นให้กับเกษตรกร จะได้ไม่ต้อง
ปลูกและเผาซังข้าวโพดปริมาณมหาศาล พร้อม
ทั้งสร้างแรงจูงใจให้ดูแลรักษาป่าเราก็เขียนทฤษฎี
การเปลี่ยนแปลงของกิจการนี้ได้ว่า
“ถ้าเกษตรกรน่านมีรายได้เพียงพอจากวิถี
การเกษตรที่ไม่ทำ�ลายสิ่งแวดล้อม แล้วภูเขาหัว
โล้นของน่านจะกลับกลายเป็นสีเขียวมากขึ้น
ระบบนิเวศจะฟื้นคืน ชาวน่านจะมีความสุข
มากกว่าเดิม”
สังเกตว่าส่วนแรกของประโยคที่แสดง
ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็น “ปัจจัยนำ�เข้า”
(Input)ที่กิจการเพื่อสังคมของเราจะสร้าง(พยาบาล
ที่รู้เรื่องโรคเอดส์, เกษตรกรที่ไม่ปลูกข้าวโพด)
ส่วนหลังเป็น “ผลลัพธ์ (Outcome หรือ Impact)
ที่เราปรารถนาว่าจะบรรลุจากการดำ�เนินกิจการ
(ผู้ป่วยโรคเอดส์มีชีวิตยืนยาวและมีคุณภาพชีวิต
ที่ดีกว่าเดิม, ภูเขาหัวโล้นจะกลายเป็นภูเขา
สีเขียวมากขึ้น คนน่านจะมีความสุขมากขึ้น) ซึ่ง
ผลลัพธ์นี้จะต้องสะท้อน “การเปลี่ยนแปลง” ที่
เราคาดหวังหรือเชื่อมั่นว่าจะเกิดภายในกรอบ
เวลาที่ประเมินจะได้สามารถเชื่อมโยงระหว่าง
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับการดำ�เนินงาน
ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง
(Theory of Change)
ห่วงโซ่ผลลัพธ์
(Impact Value Chain)
กรณีฐาน (Base Case)
การคำ�นวณเปรียบเทียบ
ต้นทุนกับประโยชน์
(Cost-Benefit Analysis)
ชุดตัวชี้วัด
ที่สะท้อนผลลัพธ์
ทางสังคม
(social impact)
ผลตอบแทนทางสังคม
จากการลงทุน
(SROI)
32 33
ของกิจการ ไม่ใช่เขียนผลลัพธ์ที่พึงปรารถนาราว
กับว่ามันเป็นจุดสัมบูรณ์ ไม่สะท้อนการเปลี่ยน-
แปลงใดๆ เลย เพราะถ้าทำ�อย่างนั้นเราจะไม่
สามารถแม้แต่จะเริ่มประเมินว่าการดำ�เนินงาน
ของเราสร้างความเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างเช่น
ถ้าทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงข้างต้นเขียนว่า “คน
น่านจะมีความสุข” หรือ “สิ่งแวดล้อมน่านจะดี”
จะก่อให้เกิดคำ�ถามต่อไปว่า ก่อนหน้าที่เรา
เปิดกิจการเพื่อสังคม คนน่าน “ไม่มีความสุข”
หรือไม่อย่างไร และสิ่งแวดล้อมน่าน “ไม่ดี”
ตรงไหนอย่างไร
ควรอธิบายให้ชัดเจนว่าเมื่อกิจการตั้ง
ขึ้นมาแล้ว ปัญหาสังคมด้านใดที่จะเปลียนไป
อย่างชัดเจน ถ้าอธิบายไม่ได้แสดงว่ากิจการ
นั้นไม่ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงใดต่อสังคม
นอกจากเราควรเขียนทฤษฎีการเปลี่ยน-
แปลงให้เชื่อมโยงกับเป้าหมายของกิจการเพื่อ
แสดง“การเปลี่ยนแปลง”จริงๆแล้วปัจจัยนำ�เข้า
หรืองานที่เราจะทำ�นั้นก็สำ�คัญไม่แพ้กันยิ่งเราเขียน
เป็นรูปธรรมได้เท่าไรยิ่งดีกับการออกแบบโมเดล
ธุรกิจวางกลยุทธ์ขององค์กรและประเมินผลลัพธ์
ทางสังคมในขั้นต่อไปเท่านั้นยกตัวอย่างเช่น ถ้า
ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงเริ่มต้นจาก
“ถ้าเกษตรกรน่านมีรายได้เพียงพอจาก
วิถีการเกษตรที่ไม่ทำ�ลายสิ่งแวดล้อม” ยังไม่
ชัดเจนว่า วิถีการเกษตรที่ไม่ทำ�ลายสิ่งแวดล้อม”
คืออะไร บ่งชี้ว่าเราอาจยังไม่มีโมเดลธุรกิจที่
ชัดเจนถ้าชัดเจนเราจะเขียนให้เจาะจงกว่านั้นเช่น
“ถ้าเกษตรกรน่านมีรายได้เพียงพอจาก
การปลูกข้าวแบบเกษตรอินทรีย์” (สมมติ
เราค้นพบแล้วว่าน่านปลูกข้าวออร์แกนิกได้ และ
โมเดลธุรกิจของเรารวมถึงการหาตลาดให้กับ
เกษตรกร) หรือ
“ถ้าเกษตรกรน่านมีรายได้เพียงพอ
จากการปลูกข้าวโพดโดยไม่ต้องเผาซังทิ้ง”(สมมุติ
เราค้นพบวิธีปลูกข้าวโพดได้ปีละหลายครั้งโดย
ไม่ต้องทำ�ลายซังหรือสมมุติว่าโมเดลธุรกิจของเรา
คือรับจ้างโครงการซีเอสอาร์ของบริษัทผู้รับซื้อ
ข้าวโพดรายใหญ่ตรวจสอบการเพาะปลูกของ
เกษตรกร โดยบริษัทจะยินดีจ่ายเพิ่มสำ�หรับ
เกษตรกรที่ไม่เผาซัง)
ในส่วนของผลลัพธ์ทางสังคม ยิ่งเขียนได้
เป็นรูปธรรมและระบุอย่างชัดเจนได้มากเท่าไรเรา
ก็จะยิ่งสามารถตีค่าการเปลี่ยนแปลงนั้นออกมา
เป็นตัวเลขได้อย่างชัดเจนมากเท่านั้น อีกทั้งเรา
ควรเขียนทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงให้คนอ่านเข้าใจ
ง่าย แม้สำ�หรับคนที่ไม่เคยรู้จักกิจการนี้มาก่อน
ตัวอย่างการเขียนทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง (Theory of Change) เพิ่มเติม
P ถ้าเด็กๆ จากครอบครัว
รายได้น้อยได้รับอาหารที่
มีสารอาหารครบถ้วน
แล้ว พวกเขาจะก็จะมี
พัฒนาการและการเจริญ
เติบโตที่ดีขึ้น
P ถ้าโรงอาหารในโรงเรียน
จำ�หน่ายแต่อาหารที่มี
ประโยชน์ต่อสุขภาพ และให้
พลังงานและนํ้าตาลตํ่า
แล้ว ปัญหาโรคอ้วนของ
นักเรียนก็จะลดลง
P ถ้าชุมชนได้ประโยชน์
เพิ่มเติมจากการแยกขยะ
ก่อนทิ้ง
แล้ว พวกเขาก็จะแยกขยะ
มากขึ้น
P ถ้าผู้ให้บริการทางเพศ
สามารถหาซื้อหาถุงยางอนามัย
ในราคาย่อมเยาได้
แล้ว พวกเขาก็จะใช้ถุงยาง
อนามัยมากขึ้นและอัตราการแพร่
กระจายของโรคเอดส์และโรคอื่นที่
ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ก็จะลดลง
P ถ้าคนจนมีโอกาสกู้เงินใน
อัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมเพื่อนำ�ไป
เป็นทุนตั้งต้นในการประกอบอาชีพ
แล้ว พวกเขาก็จะมีโอกาสสร้างรายได้เพิ่ม
ขึ้นและมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook
Social impact assessment sia handbook

More Related Content

What's hot

9 การให้สุขศึกษา
9 การให้สุขศึกษา9 การให้สุขศึกษา
9 การให้สุขศึกษาWatcharin Chongkonsatit
 
6.1 การผลิตสินค้าและบริการ
6.1 การผลิตสินค้าและบริการ6.1 การผลิตสินค้าและบริการ
6.1 การผลิตสินค้าและบริการkrupeem
 
T test แบบกลุ่มเดียว
T test แบบกลุ่มเดียวT test แบบกลุ่มเดียว
T test แบบกลุ่มเดียวBanbatu Mittraphap
 
โครงงานกระถางรีไซเคิล
โครงงานกระถางรีไซเคิลโครงงานกระถางรีไซเคิล
โครงงานกระถางรีไซเคิลพัน พัน
 
บทที่ 2 ระบบต่างๆในร่างกายมนุษย์ ย่อยอาหาร
บทที่  2  ระบบต่างๆในร่างกายมนุษย์   ย่อยอาหารบทที่  2  ระบบต่างๆในร่างกายมนุษย์   ย่อยอาหาร
บทที่ 2 ระบบต่างๆในร่างกายมนุษย์ ย่อยอาหารPinutchaya Nakchumroon
 
การศึกษาโครงสร้างของหัวใจหมู โครงสร้างอวัยวะแลกเปลี่ยนแก๊ส และการวัดปริมาตรปอด
การศึกษาโครงสร้างของหัวใจหมู โครงสร้างอวัยวะแลกเปลี่ยนแก๊ส และการวัดปริมาตรปอดการศึกษาโครงสร้างของหัวใจหมู โครงสร้างอวัยวะแลกเปลี่ยนแก๊ส และการวัดปริมาตรปอด
การศึกษาโครงสร้างของหัวใจหมู โครงสร้างอวัยวะแลกเปลี่ยนแก๊ส และการวัดปริมาตรปอดpitsanu duangkartok
 
บันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัยWichai Likitponrak
 
ตารางการแจกแจง F
ตารางการแจกแจง Fตารางการแจกแจง F
ตารางการแจกแจง FJaturapad Pratoom
 
ตัวอย่างผลงาน Obec awards ด้านวิชาการ
ตัวอย่างผลงาน Obec awards  ด้านวิชาการตัวอย่างผลงาน Obec awards  ด้านวิชาการ
ตัวอย่างผลงาน Obec awards ด้านวิชาการptv534224
 
การพัฒนาเศรษฐกิจของไทย
การพัฒนาเศรษฐกิจของไทยการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย
การพัฒนาเศรษฐกิจของไทยPannatut Pakphichai
 
ใบความรู้ การจัดนันทนาการ
ใบความรู้ การจัดนันทนาการใบความรู้ การจัดนันทนาการ
ใบความรู้ การจัดนันทนาการteaw-sirinapa
 
8.สื่อสารสัตว์ ฟีโรโมน
8.สื่อสารสัตว์ ฟีโรโมน8.สื่อสารสัตว์ ฟีโรโมน
8.สื่อสารสัตว์ ฟีโรโมนWichai Likitponrak
 
1 การวิเคราะห์เส้นทาง path analysis
1 การวิเคราะห์เส้นทาง path analysis1 การวิเคราะห์เส้นทาง path analysis
1 การวิเคราะห์เส้นทาง path analysiskhuwawa2513
 
สอนเด็ก ม3
สอนเด็ก ม3สอนเด็ก ม3
สอนเด็ก ม3Sukanda Panpetch
 
O net อนุกรมเรขาคณิต
O net อนุกรมเรขาคณิตO net อนุกรมเรขาคณิต
O net อนุกรมเรขาคณิตToongneung SP
 
แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์เรื่องการบวกและการลบพหุนาม
แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์เรื่องการบวกและการลบพหุนามแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์เรื่องการบวกและการลบพหุนาม
แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์เรื่องการบวกและการลบพหุนามวชิรญาณ์ พูลศรี
 
ตัวอย่างแบบสอบถามงานวิจัย
ตัวอย่างแบบสอบถามงานวิจัยตัวอย่างแบบสอบถามงานวิจัย
ตัวอย่างแบบสอบถามงานวิจัยrubtumproject.com
 
คู่มือดูแลสุขภาพจิตเด็กวัยเรียน
คู่มือดูแลสุขภาพจิตเด็กวัยเรียนคู่มือดูแลสุขภาพจิตเด็กวัยเรียน
คู่มือดูแลสุขภาพจิตเด็กวัยเรียนUtai Sukviwatsirikul
 

What's hot (20)

9 การให้สุขศึกษา
9 การให้สุขศึกษา9 การให้สุขศึกษา
9 การให้สุขศึกษา
 
Bakery businessplan
Bakery businessplanBakery businessplan
Bakery businessplan
 
6.1 การผลิตสินค้าและบริการ
6.1 การผลิตสินค้าและบริการ6.1 การผลิตสินค้าและบริการ
6.1 การผลิตสินค้าและบริการ
 
T test แบบกลุ่มเดียว
T test แบบกลุ่มเดียวT test แบบกลุ่มเดียว
T test แบบกลุ่มเดียว
 
CKD for 2019
CKD for 2019 CKD for 2019
CKD for 2019
 
โครงงานกระถางรีไซเคิล
โครงงานกระถางรีไซเคิลโครงงานกระถางรีไซเคิล
โครงงานกระถางรีไซเคิล
 
บทที่ 2 ระบบต่างๆในร่างกายมนุษย์ ย่อยอาหาร
บทที่  2  ระบบต่างๆในร่างกายมนุษย์   ย่อยอาหารบทที่  2  ระบบต่างๆในร่างกายมนุษย์   ย่อยอาหาร
บทที่ 2 ระบบต่างๆในร่างกายมนุษย์ ย่อยอาหาร
 
การศึกษาโครงสร้างของหัวใจหมู โครงสร้างอวัยวะแลกเปลี่ยนแก๊ส และการวัดปริมาตรปอด
การศึกษาโครงสร้างของหัวใจหมู โครงสร้างอวัยวะแลกเปลี่ยนแก๊ส และการวัดปริมาตรปอดการศึกษาโครงสร้างของหัวใจหมู โครงสร้างอวัยวะแลกเปลี่ยนแก๊ส และการวัดปริมาตรปอด
การศึกษาโครงสร้างของหัวใจหมู โครงสร้างอวัยวะแลกเปลี่ยนแก๊ส และการวัดปริมาตรปอด
 
บันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัย
 
ตารางการแจกแจง F
ตารางการแจกแจง Fตารางการแจกแจง F
ตารางการแจกแจง F
 
ตัวอย่างผลงาน Obec awards ด้านวิชาการ
ตัวอย่างผลงาน Obec awards  ด้านวิชาการตัวอย่างผลงาน Obec awards  ด้านวิชาการ
ตัวอย่างผลงาน Obec awards ด้านวิชาการ
 
การพัฒนาเศรษฐกิจของไทย
การพัฒนาเศรษฐกิจของไทยการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย
การพัฒนาเศรษฐกิจของไทย
 
ใบความรู้ การจัดนันทนาการ
ใบความรู้ การจัดนันทนาการใบความรู้ การจัดนันทนาการ
ใบความรู้ การจัดนันทนาการ
 
8.สื่อสารสัตว์ ฟีโรโมน
8.สื่อสารสัตว์ ฟีโรโมน8.สื่อสารสัตว์ ฟีโรโมน
8.สื่อสารสัตว์ ฟีโรโมน
 
1 การวิเคราะห์เส้นทาง path analysis
1 การวิเคราะห์เส้นทาง path analysis1 การวิเคราะห์เส้นทาง path analysis
1 การวิเคราะห์เส้นทาง path analysis
 
สอนเด็ก ม3
สอนเด็ก ม3สอนเด็ก ม3
สอนเด็ก ม3
 
O net อนุกรมเรขาคณิต
O net อนุกรมเรขาคณิตO net อนุกรมเรขาคณิต
O net อนุกรมเรขาคณิต
 
แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์เรื่องการบวกและการลบพหุนาม
แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์เรื่องการบวกและการลบพหุนามแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์เรื่องการบวกและการลบพหุนาม
แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์เรื่องการบวกและการลบพหุนาม
 
ตัวอย่างแบบสอบถามงานวิจัย
ตัวอย่างแบบสอบถามงานวิจัยตัวอย่างแบบสอบถามงานวิจัย
ตัวอย่างแบบสอบถามงานวิจัย
 
คู่มือดูแลสุขภาพจิตเด็กวัยเรียน
คู่มือดูแลสุขภาพจิตเด็กวัยเรียนคู่มือดูแลสุขภาพจิตเด็กวัยเรียน
คู่มือดูแลสุขภาพจิตเด็กวัยเรียน
 

Viewers also liked

แผนเขียน ครั้งที่ 5
แผนเขียน ครั้งที่ 5แผนเขียน ครั้งที่ 5
แผนเขียน ครั้งที่ 5Pianolittlegirl
 
Lesson 4 การสร้าง query
Lesson 4 การสร้าง queryLesson 4 การสร้าง query
Lesson 4 การสร้าง queryErrorrrrr
 
Tbl ครั้งที่ 4
Tbl ครั้งที่ 4Tbl ครั้งที่ 4
Tbl ครั้งที่ 4Pianolittlegirl
 
How to teach english with technology - Chapter 7 (Part 1)
How to teach english with technology - Chapter 7 (Part 1)How to teach english with technology - Chapter 7 (Part 1)
How to teach english with technology - Chapter 7 (Part 1)marinatorres74
 
Task-Based Instruction (TBI)
Task-Based Instruction (TBI) Task-Based Instruction (TBI)
Task-Based Instruction (TBI) Sunan Fathet
 
History Of Language Teaching
History Of Language TeachingHistory Of Language Teaching
History Of Language TeachingIsabel
 
TBLT Lesson Planning
 TBLT Lesson Planning TBLT Lesson Planning
TBLT Lesson PlanningRobert Dickey
 

Viewers also liked (10)

แผนเขียน ครั้งที่ 5
แผนเขียน ครั้งที่ 5แผนเขียน ครั้งที่ 5
แผนเขียน ครั้งที่ 5
 
Lesson 4 การสร้าง query
Lesson 4 การสร้าง queryLesson 4 การสร้าง query
Lesson 4 การสร้าง query
 
Tbl
TblTbl
Tbl
 
Tbl ครั้งที่ 4
Tbl ครั้งที่ 4Tbl ครั้งที่ 4
Tbl ครั้งที่ 4
 
How to teach english with technology - Chapter 7 (Part 1)
How to teach english with technology - Chapter 7 (Part 1)How to teach english with technology - Chapter 7 (Part 1)
How to teach english with technology - Chapter 7 (Part 1)
 
Teaching Method
Teaching MethodTeaching Method
Teaching Method
 
Task Based Approach
Task Based ApproachTask Based Approach
Task Based Approach
 
Task-Based Instruction (TBI)
Task-Based Instruction (TBI) Task-Based Instruction (TBI)
Task-Based Instruction (TBI)
 
History Of Language Teaching
History Of Language TeachingHistory Of Language Teaching
History Of Language Teaching
 
TBLT Lesson Planning
 TBLT Lesson Planning TBLT Lesson Planning
TBLT Lesson Planning
 

Similar to Social impact assessment sia handbook

Similar to Social impact assessment sia handbook (20)

SROI of Community Development
SROI of Community DevelopmentSROI of Community Development
SROI of Community Development
 
Chapter1 องค์การและการพัฒนาองค์การ
Chapter1 องค์การและการพัฒนาองค์การChapter1 องค์การและการพัฒนาองค์การ
Chapter1 องค์การและการพัฒนาองค์การ
 
e-commerce
e-commercee-commerce
e-commerce
 
Balancescorecard
BalancescorecardBalancescorecard
Balancescorecard
 
Organization measurement
Organization measurementOrganization measurement
Organization measurement
 
Stratege why and how #Bangkok University
Stratege why and how  #Bangkok UniversityStratege why and how  #Bangkok University
Stratege why and how #Bangkok University
 
Responsible / Sustainable Finance
Responsible / Sustainable FinanceResponsible / Sustainable Finance
Responsible / Sustainable Finance
 
การบริหารการเปลี่ยนแปลง
การบริหารการเปลี่ยนแปลงการบริหารการเปลี่ยนแปลง
การบริหารการเปลี่ยนแปลง
 
Sepo 54
Sepo 54Sepo 54
Sepo 54
 
Sepo 54
Sepo 54Sepo 54
Sepo 54
 
Sepo 54
Sepo 54Sepo 54
Sepo 54
 
คำศัพท์ ต้องรู้
คำศัพท์ ต้องรู้คำศัพท์ ต้องรู้
คำศัพท์ ต้องรู้
 
toos
toostoos
toos
 
Plan 21072011181254
Plan 21072011181254Plan 21072011181254
Plan 21072011181254
 
Po
PoPo
Po
 
Po
PoPo
Po
 
No1
No1No1
No1
 
Watsubsamosorn
WatsubsamosornWatsubsamosorn
Watsubsamosorn
 
D:\2
D:\2D:\2
D:\2
 
บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) 
บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) 
บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) 
 

More from Aumm Sermsiri

ปรัชญาชีวิต The prophet
ปรัชญาชีวิต The prophetปรัชญาชีวิต The prophet
ปรัชญาชีวิต The prophetAumm Sermsiri
 
Service design workbook by tcdc
Service design workbook by tcdcService design workbook by tcdc
Service design workbook by tcdcAumm Sermsiri
 
Operational guide for_the_m4_p_approach
Operational guide for_the_m4_p_approachOperational guide for_the_m4_p_approach
Operational guide for_the_m4_p_approachAumm Sermsiri
 
Valuelinks manual en
Valuelinks manual enValuelinks manual en
Valuelinks manual enAumm Sermsiri
 
Scb เส้นทางสู่ aec-smes
Scb เส้นทางสู่ aec-smesScb เส้นทางสู่ aec-smes
Scb เส้นทางสู่ aec-smesAumm Sermsiri
 
Social business-model-canvas-example
Social business-model-canvas-exampleSocial business-model-canvas-example
Social business-model-canvas-exampleAumm Sermsiri
 

More from Aumm Sermsiri (7)

ปรัชญาชีวิต The prophet
ปรัชญาชีวิต The prophetปรัชญาชีวิต The prophet
ปรัชญาชีวิต The prophet
 
Dangjaithawin
DangjaithawinDangjaithawin
Dangjaithawin
 
Service design workbook by tcdc
Service design workbook by tcdcService design workbook by tcdc
Service design workbook by tcdc
 
Operational guide for_the_m4_p_approach
Operational guide for_the_m4_p_approachOperational guide for_the_m4_p_approach
Operational guide for_the_m4_p_approach
 
Valuelinks manual en
Valuelinks manual enValuelinks manual en
Valuelinks manual en
 
Scb เส้นทางสู่ aec-smes
Scb เส้นทางสู่ aec-smesScb เส้นทางสู่ aec-smes
Scb เส้นทางสู่ aec-smes
 
Social business-model-canvas-example
Social business-model-canvas-exampleSocial business-model-canvas-example
Social business-model-canvas-example
 

Social impact assessment sia handbook

  • 1. จัดทำ�โดย สฤณี อาชวานันทกุล และ ภัทราพร แย้มละออ ศูนย์วิสาหกิจแบบยั่งยืน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ SROISIA
  • 2. 5 บทนำ� 6 บทที่1 รู้จัก “ผลลัพธ์ทางสังคม” และ “ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน” 7 • ผลลัพธ์ทางสังคม (social impact) คืออะไร? 9 • ผลตอบแทนทางสังคม (social return on investment) คืออะไร? • ประโยชน์ของการประเมินผลตอบแทนทางสังคม • ใครใช้การประเมินผลตอบแทนทางสังคมได้? บทที่ 2 หลักการประเมินผลตอบแทนทางสังคม • ระบุผู้มีส่วนได้เสีย และดึงให้เข้ามามีส่วนร่วมมากที่สุด • เข้าใจสิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลง • ใช้ “ค่าแทนทางการเงิน”ตีค่าผลสำ�คัญ • รวมเฉพาะปัจจัยสำ�คัญ • หลีกเลี่ยงการกล่าวอ้างเกินจริง • เน้นความโปร่งใสทุกขั้นตอน • พร้อมรับการตรวจสอบผลลัพธ์ บทที่ 3 กรอบคิดและเครื่องมือสำ�คัญในการประเมิน • ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง (Theory of Change) • ห่วงโซ่ผลลัพธ์ (Impact Value Chain) • กรณีฐาน (Base Case Scenario) บทที่ 4 ขั้นตอนประเมินผลตอบแทนทางสังคม • ขั้นที่ 1: การวางแผน • กิจกรรมที่ 1 – เข้าใจเป้าหมายในการวิเคราะห์ • กิจกรรมที่ 2 – เข้าใจองค์กรของคุณและบอกเล่าเรื่องราวของคุณ • กิจกรรมที่ 3 – ระบุกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย • กิจกรรมที่ 4 – กำ�หนดขอบเขตการวิเคราะห์ • กิจกรรมที่ 5 – จัดทำ�ห่วงโซ่ผลลัพธ์ (Impact Value Chain) • กิจกรรมที่ 6 – เลือกตัวชี้วัด • กิจกรรมที่ 7 – พัฒนาแผนการเก็บข้อมูล • ขั้นที่ 2: การนำ�ไปปฏิบัติ • กิจกรรมที่ 8 – รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด • กิจกรรมที่ 9 – รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับมาตรฐานและบรรทัดฐานเพื่อประเมินกรณีฐาน (Base Case Scenario) • กิจกรรมที่ 10 – แปลงค่าตัวชี้วัดเป็นมูลค่าทางการเงิน (monetization) • กิจกรรมที่ 11 –แยกแยะระหว่าง “ค่าใช้จ่าย” กับ “เงินลงทุน” • กิจกรรมที่ 12 – วิเคราะห์รายรับและรายจ่ายขององค์กร • กิจกรรมที่ 13 – วิเคราะห์รายรับและรายจ่ายที่สัมพันธ์กับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย • กิจกรรมที่ 14 – ประเมินมูลค่าในอนาคต (projection) • กิจกรรมที่ 15 – คำ�นวณผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) • ขั้นที่ 3:การรายงาน • กิจกรรมที่ 16 – การรายงาน • ขั้นที่ 4: การแปลงเป็นกิจกรรมปกติขององค์กร • กิจกรรมที่ 17 – การติดตามผล ข้อเสนอแนะส่งท้าย แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม ภาคผนวก 1: ตัวอย่างตัวชี้วัดผลลัพธ์ทางสังคม (Social Impact Indicators) ภาคผนวก 2: ตัวอย่างการแสดงการรายงานประเมินผลลัพธ์ทางสังคม (Social Impact Assessment) สารบัญ
  • 3. 5 ลองนึกถึงสถานการณ์ต่อไปนี้ – ...คุณเป็นบริษัทที่ทำ�กิจกรรม “ความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจ” (ซีเอสอาร์) อยากประเมิน ผลโครงการซีเอสอาร์โครงการหนึ่งเทียบกับเงินลงทุนที่ใช้ไป เพื่อดูว่าควรลงทุนต่อดีหรือไม่และ ควรปรับปรุงอย่างไร ...คุณเพิ่งก่อตั้งกิจการเพื่อสังคม ไม่แน่ใจว่าควรวางแผนการประเมินผลการดำ�เนินงานด้วย วิธีใด ...คุณอยากให้การสนับสนุนด้านเงินทุนกับกิจการเพื่อสังคมแต่ไม่รู้ว่ากิจการไหนสร้างประโยชน์ ทางสังคมมากกว่ากัน ธุรกิจกระแสหลักต้องมีงบกำ�ไรขาดทุนฉันใด“กิจการเพื่อสังคม” (social enterprise) ก็ต้องการ “งบกำ�ไรขาดทุนทางสังคม” ฉันนั้น แนวทางการคำ�นวณผลตอบแทนทางสังคม (SROI: Social Return onInvestment)นำ�เสนอกรอบวัดและการคำ�นวณผลตอบแทนด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยการแปลง มูลค่ากิจกรรมให้เป็นตัวเลขทางการเงิน เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการลงทุน (cost effectiveness) ของการทำ�กิจกรรมหรือดำ�เนินกิจการเพื่อสังคมเป็นส่วนหนึ่งของการทำ� “แบบประเมินผลลัพธ์ทางสังคม” (Social Impact Assessment หรือ SIA) วัตถุประสงค์ของคู่มือนี้คือเพื่อวางมาตรฐานการปฏิบัติพัฒนาระเบียบวิธีและแสดงข้อมูลการ ใช้ผลตอบแทนทางสังคมจากลงทุนที่ชัดเจน สำ�หรับผู้ไม่เคยทำ�การประเมินด้านนี้มาก่อน เนื้อหาส่วน ใหญ่ประมวลและเรียบเรียงจากคู่มือประเมินของ The SROI Network (http://www.thesroinetwork. org) และ New Economics Foundation (http://www.neweconomics.org/) บทนำ�
  • 4. 6 7 1 รู้จัก “ผลลัพธ์ทางสังคม” และ “ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน” ผลลัพธ์ทางสังคม (social impact) คืออะไร? ประโยชน์ของการประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (social return on investment) คืออะไร? ใครใช้การประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนได้? ผลลัพธ์ทางสังคม (social impact) คืออะไร? การประเมินผลกำ�ไรขาดทุน (profit and loss) สำ�คัญสำ�หรับธุรกิจกระแสหลักฉันใด การ ประเมินผลลัพธ์ทางสังคม (social impact as- sessment) ก็สำ�คัญสำ�หรับกิจการเพื่อสังคมฉัน นั้น เนื่องจากกิจการเพื่อสังคมมุ่งดำ�เนินกิจการ เพื่อสร้าง “ผลลัพธ์ทางสังคม” (social impact) บางอย่างเช่น “ลดความยากจน” “ลดขยะ” หรือ “ช่วยเหลือผู้พิการ”ซึ่งเป็นพันธกิจหลักขององค์กร ถ้าหากไม่มีการติดตามวัดผลอย่างต่อเนื่อง เรา ก็ไม่อาจรู้ได้อย่างชัดเจนว่างานที่เราทำ�ไปนั้น บรรลุพันธกิจมากน้อยเพียงใดตรงกับความต้องการ ของกลุ่มเป้าหมายหรือเปล่า สร้างผลเชิงลบหรือ บวกอะไรที่คาดไม่ถึง และควรปรับปรุงแก้ไข ตรงไหนอย่างไรบ้างเพื่อสร้างประโยชน์มากกว่า เดิมในอนาคต ตลอดจนลดผลเชิงลบข้างเคียง ที่ไม่ตั้งใจจะก่อ สรุปง่ายๆได้ว่าผลลัพธ์ทางสังคมคือ คุณค่าทางสังคมที่เกิดจากการดำ�เนินงานของ กิจการซึ่งควรสอดคล้องกับความต้องการของ กลุ่มเป้าหมายและพันธกิจของกิจการ หลายครั้งเราอาจพบว่า ผู้ประกอบการ เพื่อสังคมหรือคนที่อยากทำ�โครงการเพื่อสังคม มีความตั้งใจอย่างแรงกล้าที่จะแก้ไขปัญหาหรือ สร้างผลกระทบเชิงบวกให้สังคมแต่หากสอบถาม ถึงเป้าหมายทางสังคม เช่น โครงการปลูกป่า ว่า ต้องการจะสร้างพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้นกี่ไร่ ภายใน ระยะเวลากี่ปี หรือถ้าเป็นเกษตรอินทรีย์ต้องการ ช่วยให้เกษตรกรกี่คน กี่ครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้น กี่บาทต่อเดือนหรือลดการใช้ยาฆ่าแมลงปริมาณ เท่าไร ในระยะเวลากี่เดือนหรือกี่ปี หากผู้ดำ�เนิน กิจการหรือโครงการไม่สามารถตอบได้ก็แสดงว่า ยังขาดเป้าหมายทางสังคมที่ชัดเจน ซึ่งจะส่งผล ในการวัดผลการดำ�เนินงานการสร้างความเข้าใจ แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่นนักลงทุน หรือลูกค้าที่ อยากให้การสนับสนุน
  • 5. 8 9 ในกรอบคิดไตรกำ�ไรสุทธิมนุษย์(People) หรือทุนมนุษย์เน้นเรื่องการดำ�เนินธุรกิจที่เป็นธรรม ต่อพนักงาน แรงงาน ชุมชน และท้องถิ่นที่ กิจการนั้นๆ ตั้งอยู่ ส่วนโลก (Planet) หรือทุน ธรรมชาติ หมายรวมถึงการดำ�เนินธุรกิจที่ฟื้นฟู พิทักษ์และส่งเสริมสิ่งแวดล้อม และการผลิตโดย ใช้ทรัพยากรและก่อให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด เท่าที่เป็นไปได้ส่วนกำ�ไร(Profit)ในแง่นี้หมายถึง กำ�ไรทางเศรษฐศาสตร์กล่าวอีกนัยหนึ่งคือธุรกิจ TBLจะไม่ได้มีเป้าหมายอยู่ที่กำ�ไรสูงสุดเพียงอย่าง เดียว หากยังคำ�นึงถึง “ประโยชน์” และ “ต้นทุน” ทางสังคมและสิ่งแวดล้อมจากการทำ�ธุรกิจ ของตน โดยมุ่งสร้างกำ�ไรทั้งสามด้านพร้อมกัน จึงเป็นที่มาของคำ�ว่า “ไตรกำ�ไรสุทธิ” ผลตอบแทนทางสังคม จากการลงทุน (social return on investment) คืออะไร? การมีเป้าหมายที่ชัดเจนและแสดงออกมา เป็นตัวเลขที่วัดได้ ช่วยสร้างความเข้าใจที่ง่ายขึ้น และตรงกัน ยกตัวอย่างเช่น สมมุติว่านักลงทุน รายหนึ่งกำ�ลังพิจารณาให้ทุนสนับสนุนกิจการ ผลิตนํ้าดื่มสะอาดในแหล่งชนบทที่ขาดแคลนนํ้า กิจการแรกไม่สามารถระบุได้ว่าจะสามารถจัดหา และจำ�หน่ายนํ้าดื่มสะอาดได้กี่ลิตร แก่ชาวบ้าน กี่ครัวเรือน ในขณะที่อีกกิจการมีตัวเลขชัดเจน ว่าภายใน 1 ปี จะจัดหานํ้าสะอาด ได้ 10,000 ลิตรต่อวัน ให้กับชาวบ้านจำ�นวน 1,000 ครัว- เรือน โอกาสที่กิจการที่สองจะได้รับเงินทุนหรือ ความร่วมมือก็น่าจะมีมากกว่าเพราะเป้าหมายนั้น ชัดเจนกว่าและวัดผลได้ หลายองค์กรไม่ว่าจะเป็นกิจการเพื่อสังคม หรือธุรกิจกระแสหลักที่อยากแสดง “ความรับผิด ชอบต่อสังคม” สนใจใช้การประเมินผลลัพธ์ทาง สังคมเป็นเครื่องมือในการวัด “ไตรกำ�ไรสุทธิ” (Triple Bottom Line มักย่อว่า TBL) ของกิจการ ซึ่งเป็นแนวคิดที่ขยายการวัดเป้าหมายความสำ�เร็จ และคุณค่าขององค์กรจากเดิมสนใจเพียงกำ�ไรที่ เป็นตัวเงิน (Profit) มาสนใจเรื่องมนุษย์ (People) และโลก(Planet)ด้วยหรืออีกนัยหนึ่งคือให้ความ สำ�คัญกับสิ่งแวดล้อม สังคม และแสดงความ รับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมากขึ้น แนวคิด นี้มักถูกเชื่อมโยงกับเป้าหมายของ “การพัฒนา ที่ยั่งยืน” ลักษณะกิจการ เช่น ผู้รับประโยชน์มีสุขภาพดีขึ้น ขยะลดลง ระบบนิเวศได้รับการฟื้นฟู ฯลฯ ผลลัพธ์หลายอย่างที่เกิดจากกิจการเพื่อ สังคมสะท้อน “คุณค่า” ซึ่งมักเป็นนามธรรมและ วัดเป็นตัวเลขยากมากอย่าว่าแต่จะแปลงเป็นตัว เงิน อัตราส่วนที่เรียกว่า “ผลตอบแทนทางสังคม จากการลงทุน” จึงแสดง “คุณค่าที่เราพยายาม ตีมูลค่าเป็นตัวเงินอย่างใกล้เคียงที่สุด” ของ ผลลัพธ์ทางสังคมที่สร้างเปรียบเทียบกับการลงทุน ที่จำ�เป็นต่อการสร้างประโยชน์ดังกล่าว นอกจากจะใช้ SROI เป็นเครื่องมือใน การวางแผนอนาคตหรือทบทวนอดีตแล้ว การ ประเมินผลลัพธ์ทางสังคมและผลตอบแทนทาง สังคมจากการลงทุนยังจะทำ�ให้ “กระบวนการ” และ“กลยุทธ์”ของกิจการเพื่อสังคมเด่นชัดขึ้นมา เนื่องจากบางครั้งผู้ประกอบการเพื่อสังคมเน้น การสร้างผลลัพธ์ทางสังคมจนละเลยการออกแบบ กระบวนการและกลยุทธ์ขององค์กรอย่างเป็น ระบบ ทั้งที่พันธกิจ กระบวนการและวิธีการย่อม มีอยู่ในทุกองค์กร ไม่ว่าเราจะมองเห็นหรือไม่ ก็ตาม ผลตอบแทนทางสังคม (Social Return on Investment : SROI) หมายถึง การนำ�ผลลัพธ์ ด้านสังคม (social impact) ในด้านต่างๆ ที่ กิจการสร้างมาคำ�นวณหา “มูลค่า” (monetized value) เป็นตัวเงิน แล้วเปรียบเทียบกับมูลค่า ทางการเงินของต้นทุนที่ใช้ไปในการดำ�เนินกิจการ เพื่อดูว่ากิจการสร้างผลลัพธ์ทางสังคมคิดเป็น มูลค่าเท่าไรต่อเงิน 1 บาทที่ลงทุนไป ผลลัพธ์ของการวิเคราะห์ผลตอบแทนทาง สังคมจากการลงทุนแตกต่างจากการวิเคราะห์ ผลตอบแทนการลงทุน (Return on Investment : ROI) ตรงที่การวิเคราะห์ SROI ถึงแม้จะแสดง เป็นอัตราส่วนใช้มูลค่าทางการเงินของประโยชน์ ที่เกิดเป็นตัวตั้งและใช้ต้นทุนการลงทุนเป็นตัวหาร เหมือนกับ ROI แต่ SROI ก็ไม่ได้แสดงเงินที่เป็น เงินจริงๆ หากแต่เป็น “บทสรุป” ของ “ชุดคุณค่า สำ�คัญ” (key values) ที่เชื่อมโยงกับพันธกิจของ กิจการมากกว่าเป็นผลลัพธ์ทางอื่นโดยขึ้นอยู่กับ
  • 6. 10 11 มาทําความรู้จัก ROI ก่อนที่จะรู้จัก SROI ประโยชน์ของ การประเมินผลตอบแทน ทางสังคมจากการลงทุน บางคนคงสงสัยว่า ในเมื่อผลลัพธ์ทาง สังคมมักไม่ใช่ตัวเงินตรงๆ แล้วการตีค่าออกมา เป็นตัวเงินเพื่อวัดผลตอบแทนทางสังคมจากการ ลงทุนจะมีประโยชน์อะไรเล่า? การประเมินและวิเคราะห์ผลตอบแทนทาง สังคมจากการลงทุนมีประโยชน์คล้ายกับการ เพื่อสังคมจากการลงทุนที่มุ่ง “ยกระดับคุณภาพ ชีวิตของผู้พิการ” เป็นเป้าหมายหลัก แต่ผล การประเมินผลตอบแทนทางสังคมปรากฏว่าเรา บรรลุเป้าหมายนี้ได้น้อยมากเมื่อเทียบกับการลงทุน ที่เสียไป สมมุติว่าสร้างประโยชน์แก่ผู้พิการ กลุ่มเป้าหมายคิดเป็นมูลค่าทางการเงินได้เพียง 5 สตางค์ (5%) ต่อเงินลงทุนทุก 1 บาทเท่านั้น ซึ่งน้อยกว่าโครงการช่วยเหลือของภาครัฐของ องค์กรการกุศลหรือถ้าหากเราพบว่าผู้พิการไม่ได้ ประโยชน์เท่ากับที่เราคิด หรือได้ประโยชน์ค่อน ข้างน้อยเมื่อเทียบกับการลงทุนเราก็จะได้ทบทวน โมเดลธุรกิจกลยุทธ์และกระบวนการดำ�เนินกิจการ เสียใหม่ นอกจากจะประเมินผลการทำ�งานของ องค์กรเรายังสามารถใช้อัตราส่วนผลตอบแทนทาง สังคมจากการลงทุน(SROI)ในการสื่อสารผลงาน ต่อนักลงทุนและสาธารณะเนื่องจาก“ตัวเลข”เป็น สิ่งที่คนเข้าใจง่ายจดจำ�ง่าย นำ�ไปเปรียบเทียบ กับตัวเลขอื่นๆ ได้ และเป็นภาษาทางการเงินซึ่ง นักลงทุนมีความคุ้นเคยและนำ�ไปประกอบการ ตัดสินใจในการลงทุนได้อย่างรวดเร็วSROI=2:1 ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราประเมินได้ว่า กิจการเพื่อ สังคมสร้างผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน ถึง 2 บาท ต่อ 1 บาท (สร้างผลลัพธ์ทางสังคม มูลค่า2บาทจากเงินลงทุน1บาท)เราก็จะสื่อสาร ได้ว่าทุก 1 บาทที่ลงทุนไปนั้น “คุ้มค่า” ส่วน ทำ�ความรู้จักกับผลตอบแทนจากการลงทุน (Return on Investment: ROI) Return on Investment (ROI) หมายถึง ผลตอบแทนการลงทุน คำ�นวณต่อหน่วย ว่าเกิดผลตอบแทนเท่าไร ช่วยในการประเมินว่าการลงทุนนั้นๆ มี “ความคุ้มค่า” หรือไม่ สูตรคำ�นวน ROI(%)=“ผลตอบแทนจากการลงทุน-ต้นทุนในการลงทุน/ ต้นทุน ในการลงทุน x 100“ ยกตัวอย่างเช่น กิจการเพื่อสังคมด้านการฝึกอบรมผู้พิการ ลงทุนไป 1,000,000 บาทสร้างรายได้ให้กับผู้พิการรวม2,000,000บาทROIของกิจการนี้เท่ากับ((2,000,000- 1,000,000)/1,000,000 )X 100 = 200% หรือหมายความว่าการลงทุนทุก 1 บาท จะสร้าง ผลตอบแทนจำ�นวน 2 บาท วิเคราะห์ฐานะทางการเงินของบริษัททั่วไป ตรงที่ เราสามารถใช้มันเป็นเครื่องมือทบทวนประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของกิจการเพื่อสังคม เพื่อนำ�มา ปรับปรุงกลยุทธ์ กระบวนการหรือแม้แต่โมเดล ธุรกิจของกิจการต่อไปในอนาคต ยกตัวอย่างเช่น ถ้าหากเราก่อตั้งกิจการ นักลงทุนที่สนใจจะลงทุนในกิจการเพื่อสังคมก็จะ รู้ว่ากิจการของเราสร้างผลตอบแทนสูงกว่าหรือ ตํ่ากว่ากิจการเพื่อสังคมอื่นที่ทำ�งานเรื่องเดียวกัน จะได้ตัดสินใจลงทุนได้อย่างง่ายดายกว่าเดิม กล่าวโดยสรุปเราสามารถใช้ผลตอบแทน ทางสังคมจากการลงทุนเป็น “เครื่องมือ” ในการ วางแผนกลยุทธ์และปรับปรุงองค์กรตลอดจน สื่อสารผลลัพธ์และดึงดูดนักลงทุน
  • 7. 12 13 ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนช่วยในการดำ�เนินงาน ขององค์กรด้วยการ R ช่วยอภิปรายกลยุทธ์และช่วยให้มองเห็นมูลค่าของผลลัพธ์ทางสังคมที่เกิด จากกิจกรรม R ช่วยบริหารทรัพยากรอย่างเหมาะสมเพื่อจัดการกับผลลัพธ์ที่ไม่ได้คาดหวัง ทั้ง ทางบวกและทางลบ R แสดงความสำ�คัญของการจับมือร่วมกับองค์กรอื่นๆ ที่พยายามสร้างความ เปลี่ยนแปลงในประเด็นเดียวกัน เช่น หน่วยงานภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน (เอ็นจีโอ) องค์กรศาสนา และองค์กรการกุศล R ระบุจุดร่วมพื้นฐานระหว่างสิ่งที่องค์กรต้องการบรรลุและสิ่งที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ต้องการบรรลุ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ทางสังคมมากที่สุด R สร้างกลไกการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเช่นนักลงทุนลูกค้าองค์กรพันธมิตร ทำ�ให้พวกเขาเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับการออกแบบการทำ�งานของกิจการเพื่อ สังคมอย่างมีความหมายและตรงต่อความต้องการมากขึ้น ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนมีประโยชน์น้อยลงในกรณีต่อไปนี้ R องค์กรไม่สนใจกลยุทธ์และการวางแผนการทำ�งาน R ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียไม่สนใจผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น R วัดผลตอบแทนทางสังคมเพียงเพื่อ “พิสูจน์” มูลค่าของงานที่ทำ� (โดยเฉพาะ เมื่อ “ตั้งธง” ไว้ในใจแล้วล่วงหน้าว่าผลลัพธ์คืออะไร)ไม่มีโอกาสใดๆ ในการ เปลี่ยนแปลงกลยุทธ์และกระบวนการทำ�งานในอนาคต เช่น ประเมินผล ตอบแทนทางสังคมของโครงการซีเอสอาร์ตลอดระยะเวลาสองปีและปัจจุบัน ปิดโครงการไปแล้ว บริษัทได้ตัดสินใจแล้วว่าจะไม่ดำ�เนินโครงการต่อ จะนำ� ผลตอบแทนทางสังคมไปใช้เพื่อการประชาสัมพันธ์ของบริษัทเท่านั้น R ไม่มีการเปรียบเทียบผลตอบแทนทางสังคมในช่วงเวลาต่างกัน (เช่น เปรียบเทียบ ปีต่อปี) และวิเคราะห์ว่าเปลี่ยนไปเพราะอะไร รวมทั้งไม่มีการเปรียบเทียบ ผลตอบแทนทางสังคมระหว่างองค์กรต่างๆ ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนช่วยสร้างความยั่งยืนแก่องค์กร ด้วยการ R ยกระดับระบบการเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผลการดำ�เนินงานตลอดจนกระบวนการ ตรวจสอบภายในองค์กร R ใช้เพื่อปรับปรุง โดยเฉพาะในกรณีที่ต้องระดมทุนเพิ่มเติมจากนักลงทุนเพื่อสังคม
  • 8. 14 15 ใครใช้ การประเมินผลตอบแทน ทางสังคมจากการลงทุนได้? การประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน มีประโยชน์ไม่เฉพาะสำ�หรับผู้ประกอบการเพื่อสังคมและ ผู้ดำ�เนินโครงการเพื่อสังคมต่างๆ เท่านั้น แต่ภาครัฐ ภาคเอกชน ตลอดจนภาควิชาการและภาคการกุศล ก็ใช้ประโยชน์ได้เช่นกัน นอกจากนี้ไม่ว่าจะเป็นองค์กร ขนาดใหญ่ ขนาดเล็กหรือองค์กรก่อตั้งใหม่(start-up) ก็ ล้วนแต่ใช้การประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการ ลงทุนได้ เราสามารถใช้การประเมินผลลัพธ์ทางสังคมเป็น เครื่องมือสำ�หรับ“มองไปข้างหน้า”(เพื่อวางแผนอนาคต ขององค์กร)หรือ“มองย้อนหลัง”(การทบทวนและตรวจ สอบสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว) หรือพร้อมกันทั้งสองกรณีก็ได้ กิจการเพื่อสังคม และธุรกิจแสวงกำ�ไรสูงสุด ภาครัฐ มูลนิธิ และผู้สนับสนุนทางการเงินประเภทอื่น ภาควิชาการ และผู้ดำ�เนินนโยบาย ทั้งกิจการเพื่อสังคมและธุรกิจเอกชนที่สร้างมูลค่า ทางสังคม(เช่นผ่านการแสดงความรับผิดชอบของกิจกรรม ธุรกิจต่อสังคมหรือ “ซีเอสอาร์” ทั้งภายในและภายนอก องค์กร)สามารถใช้ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน เป็นเครื่องมือเชิงบริหารในการปรับปรุงผลการปฏิบัติงาน แสดงค่าใช้จ่ายและเน้นมูลค่าเพิ่มที่สร้างแก่ผู้มีส่วนได้ เสียฝ่ายต่างๆ ภาคส่วนต่างๆ ที่มีพันธกิจสร้างประโยชน์ทาง สังคมให้ทุนเพื่อสังคม หรือลงทุนในกิจการเพื่อสังคม สามารถใช้ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนหรือSROI ช่วยในการตัดสินใจว่าจะลงทุนในโครงการหรือกิจการใด บ้างและใช้ประเมินผลการปฏิบัติงานและวัดความก้าวหน้า ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งโดยสามารถแทรกการประเมิน SROI ในขั้นตอนต่างๆ ของการให้ทุน อาทิ R ขั้นตอนออกแบบโครงการ / การจัดซื้อจัดจ้าง ล่วงหน้า-การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคมจาก การลงทุนแบบพยากรณ์ (projection) สามารถนำ� มาใช้ในขั้นตอนการวางแผนกลยุทธ์เพื่อตัดสินใจ ว่าจะเริ่มโครงการอย่างไรและตัดสินขอบเขต ข้อกำ�หนดของสัญญาให้ทุนหรือลงทุน R ขั้นตอนประมูล-การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคม จากการลงทุนแบบพยากรณ์สามารถนำ�มาใช้ประเมิน ว่าผู้ประมูลคนใดมีแนวโน้มจะสร้างมูลค่ามากที่สุด R ขั้นตอนติดตามและประเมินผลการดำ�เนินงานตาม สัญญา-การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคมจาก การลงทุนแบบประเมินผล (evaluation) สามารถใช้ ติดตามผลการดำ�เนินงานของผู้รับทุน องค์กรที่พัฒนานโยบายสาธารณะสามารถใช้ ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนในการประเมิน ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของนโยบายต่างๆ และ เปรียบเทียบทางเลือกในการดำ�เนินนโยบาย
  • 9. 1716 2 หลักการประเมินผลตอบแทน ทางสังคม ระบุผู้มีส่วนได้เสีย และดึงให้เข้ามามีส่วนร่วมมากที่สุด ใช้ “ค่าแทนทางการเงิน” ตีค่าผลสำ�คัญ เน้นความโปร่งใสทุกขั้นตอน เข้าใจสิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลง หลีกเลี่ยงการกล่าวอ้างเกินจริง รวมเฉพาะปัจจัยสำ�คัญ พร้อมรับการตรวจสอบผลลัพธ์ แนวคิดการวัดผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนนั้นพัฒนามาจาก แนวคิดเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมและการวิเคราะห์เปรียบเทียบ ต้นทุนกับประโยชน์ (cost-benefit analysis) ทางเศรษฐศาสตร์ ก่อนที่จะไปถึงวิธีวัดผล ลองมาดู ของการประเมินผลตอบแทนทางสังคม จากการลงทุนกัน และต่อให้เราประเมินอย่างถูกวิธี แต่ไม่คำ�นึงถึงหลักการเหล่านี้ รายงานผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนที่เราจัดทำ�ขึ้น ก็ไม่อาจมีความถูกต้องรอบด้านและสุดท้ายก็ไม่อาจมีความน่าเชื่อถือได้เลย หลักการ หลัก 7 ข้อ
  • 10. 18 19 เพราะไม่ต้องสูดดมควันจากนํ้ามันก๊าดหรือ ประสบเหตุไฟไหม้จากเทียนหรือตะเกียง (ดูราย ละเอียดกรณีศึกษาดังกล่าวได้ในภาคผนวก 2 ของคู่มือนี้) ในเมื่อการเปลี่ยนแปลงเกิดกับผู้มีส่วน ได้เสียโดยตรง พวกเขาจึงน่าจะสามารถอธิบาย การเปลี่ยนแปลงได้ดีที่สุด และช่วยเราแยกแยะ ระหว่างผลลัพธ์ที่สำ�คัญกับผลลัพธ์ที่ไม่สำ�คัญ (แน่นอนว่าในมุมมองของพวกเขา) หลักการข้อนี้ ครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนการ “ระบุ” ว่าผู้มีส่วน ได้เสียมีใครบ้าง ไปจนถึงการ “หารือ” ตลอดจน การ “วิเคราะห์” ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น กิจการเพื่อสังคมทุกกิจการย่อมมี “ผู้มี ส่วนได้เสีย” (stakeholders) หลายฝ่ายที่มีความ ต้องการและความคิดไม่เหมือนกันและบางครั้ง ก็ขัดแย้งกัน ไม่ต่างจากธุรกิจแสวงกำ�ไรสูงสุด “ผู้รับประโยชน์” (beneficiaries) ของกิจการอาจ ไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายและผู้มีส่วนได้เสีย บางฝ่ายก็อาจไม่มีปากไม่มีเสียงเช่นระบบนิเวศ นอกจากนี้ ผู้มีส่วนได้เสียบางฝ่ายอาจ “เสีย” มากกว่า “ได้” ก็เป็นได้ (เช่น หรือการผลิตสินค้า สีเขียวของเราอาจทำ�ลายสิ่งแวดล้อมมากกว่า ประโยชน์ที่เราตั้งใจจะสร้าง) ความแตกต่างอัน ซับซ้อนเช่นนี้ทำ�ให้สำ�คัญที่จะดึงผู้มีส่วนได้เสีย ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่ก่อนเริ่มกระบวนการ ประเมินผลลัพธ์ทางสังคม และหาวิธีสื่อสาร ผลการประเมินตามบริบท (context) ที่ตรงกับ ผู้มีส่วนได้เสียแต่ละฝ่ายไม่ใช่สื่อสารแต่อัตราส่วน ด้านเดียวโดดๆ เท่านั้น เช่น เวลาสื่อสารกับ ภาครัฐเราอาจเน้นว่ามูลค่าของผลลัพธ์ทางสังคม ที่สร้างนั้นช่วยรัฐลดค่าใช้จ่ายได้อย่างไร แต่ เวลาสื่อสารกับกลุ่มผู้รับประโยชน์โดยตรงเราจะ เน้นเรื่องรายละเอียดผลลัพธ์ในด้านต่างๆ ที่เป็น ประโยชน์ต่อพวกเขาแทน ในเมื่อกิจการเพื่อสังคมยึดเป้าหมายทาง สังคมหรือสิ่งแวดล้อมเป็นตัวตั้ง มิได้ยึดผลกำ�ไร ของกิจการเป็นตัวตั้งและในเมื่อผลลัพธ์จากกิจการ เพื่อสังคมอาจมีทั้งด้านบวกและด้านลบไม่ต่าง จากกิจการประเภทอื่นการดึงให้ผู้มีส่วนได้เสียเข้า มามีส่วนร่วมตั้งแต่ต้นและเข้าร่วมในทุกขั้นตอน ที่ทำ�ได้โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายของพันธกิจทาง สังคมจึงเป็นปัจจัยที่สำ�คัญอย่างยิ่งต่อการประเมิน ผลลัพธ์อย่างเที่ยงตรงและรอบด้าน “ผู้มีส่วนได้เสีย” (stakeholder) ในแง่นี้ หมายถึงบุคคลหรือองค์กรที่เกิด “การเปลี่ยน- แปลง” อะไรสักอย่างจากการดำ�เนินงานของ กิจการเพื่อสังคม ซึ่งอาจจะแตกต่างกันไปใน แต่ละกิจการ เช่น พนักงาน ลูกค้า คู่ค้า ผู้ถือ หุ้น นักลงทุน ภาครัฐ สื่อ ชุมชน หรือบางกรณี อาจรวมถึงคู่แข่งด้วย ยกตัวอย่างเช่น สมมติกรณีของกิจการ เพื่อสังคมที่เปิดร้านขายงานฝีมือของผู้พิการ ผู้มี หลักการ ข้อ 1 คำ�นึงถึงผู้มีส่วนได้เสียและดึงให้เข้ามามีส่วนร่วมมากที่สุด ส่วนได้เสียกลุ่มสำ�คัญคือ ผู้พิการที่คุณภาพชีวิต ดีขึ้นจากการทำ�งานของกิจการ และลูกค้าที่มา ซื้อผลงานของผู้พิการที่กิจการจัดจำ�หน่าย นอกจากนี้ยังรวมถึงหน่วยงานภาครัฐที่ประหยัด ทรัพยากรได้จากการทำ�งานของกิจการด้วย (เช่น รัฐสามารถประหยัดเงินช่วยเหลือผู้พิการหลังจาก ที่ผู้พิการมีรายได้เพิ่มขึ้นจากกิจการเพื่อสังคม) อีกตัวอย่างหนึ่ง d.light Design กิจการ เพื่อสังคมที่ใช้เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์มา ให้แสงสว่างแก่ท้องถิ่นที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ ผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียกลุ่มสำ�คัญคือลูกค้าในชุมชนที่สามารถ ลดค่าใช้จ่ายจากการซื้อถ่านไฟฉายหรือนํ้ามันก๊าด พวกเขามีรายได้เพิ่มขึ้นเพราะสามารถทำ�งานตอน กลางคืนได้นานขึ้น ครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ ดีขึ้นในระยะยาว เช่น เด็กๆ สามารถทำ�การบ้าน หรืออ่านหนังสือได้ในตอนกลางคืน ในขณะที่ ผู้ปกครองก็ทำ�งานได้นานขึ้นหลายชั่วโมงยาม กลางคืน ชุมชนโดยรวมมีความปลอดภัยมากขึ้น
  • 11. 20 21 หลักการ ข้อ 3 ใช้ “ค่าแทนทางการเงิน” ตีค่าผลสำ�คัญ ค่าแทนทางการเงิน(financialproxy)คือ ค่าประมาณเพื่อแทนมูลค่าทางการเงินของผลลัพธ์ ทางสังคมในกรณีที่เราไม่ทราบค่าการเงินที่แน่นอน ผลลัพธ์ทางสังคมหลายตัวถึงแม้จะไม่ใช่ ตัวเงินโดยตรงแต่ก็เกี่ยวโยงกับสิ่งที่มีราคาตลาด กรณีเหล่านี้เราสามารถนำ� “ค่าแทนทางการเงิน” (financialproxy)มาใช้ประเมินมูลค่าทางการเงิน ของผลลัพธ์และเพื่อให้โอกาสกับบุคคลหรือองค์กร ที่ไม่ได้อยู่ในระบบตลาด แต่ได้รับผลกระทบ จากการดำ�เนินกิจการอย่างเช่น ชุมชนโดยรอบ หรือสิ่งแวดล้อม ยกตัวอย่างเช่น เราอาจนำ� ราคาคาร์บอนที่ซื้อขายกันในตลาดคาร์บอนเครดิต มาใช้เป็น “ค่าแทน” ของต้นทุนก๊าซเรือนกระจก ยิ่งกิจการของเราลดก๊าซเรือนกระจกได้เท่าไร เรายิ่งสร้างมูลค่าทางสังคมได้มากเท่านั้น (นำ� ราคาคาร์บอนมาคูณกับปริมาณก๊าซเรือนกระจก ที่ลดได้) หลักการ ข้อ 2 เข้าใจสิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลง การประเมินผลลัพธ์และผลตอบแทน ทางสังคมจากการลงทุนเป็นการวัดสิ่งที่ “เปลี่ยนแปลง”ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งเช่น“กิจการ นี้ช่วยให้ผู้พิการมีงานทำ� 200รายในพ.ศ.2554” หรือ“กิจการนั้นช่วยลดขยะได้1,000ตันระหว่าง พ.ศ. 2553-2555” ถ้าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ก็ไม่มีความจำ�เป็นที่จะประเมิน ดังนั้นเราจึง ต้องให้ความสำ�คัญกับการบันทึกสิ่งต่างๆ ที่ เปลี่ยนแปลงไป พร้อมทั้งตระหนักด้วยว่าการ เปลี่ยนแปลงมีทั้งเชิงบวกและเชิงลบ นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นก็มีทั้งที่เราตั้งใจและ ที่ไม่ตั้งใจถ้าจะให้การประเมินผลลัพธ์และ ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนเป็นประโยชน์ เราก็จะต้องครุ่นคิดให้ถี่ถ้วนและรอบด้านว่ากิจการ ของเราส่งผลให้อะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้างและเรา จะบันทึกและอธิบายกระบวนการเปลี่ยนแปลงนั้น ได้อย่างไร (ในเมื่อแทบเป็นไปไม่ได้ที่เราจะมองเห็น การเปลี่ยนแปลงทุกเรื่องต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย หลักการข้อนี้จึงขับเน้นให้หลักการข้อแรก คือ การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย ทวีความสำ�คัญ ยิ่งกว่าเดิม เพราะพวกเขาเป็นผู้ที่สัมผัสความ เปลี่ยนแปลงได้โดยตรง) ประเด็นที่พึงระวังของการใช้ค่าแทน ทางการเงินคือ เราต้องมั่นใจได้ว่ามันจะ “แทน” ผลลัพธ์ทางสังคมที่เราอยากวัดได้จริงๆ ไม่ใช่ ไกลเกินเลยหรือไม่เกี่ยวข้องกันและต้องคำ�นึงถึง บริบททางสังคมและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันใน แต่ละพื้นที่ด้วย ยกตัวอย่างเช่นลองนึกดูว่าเราควรใช้อะไร เป็นค่าแทนของผลลัพธ์ทางสังคม“ชีวิตสมรสดี ขึ้น”? ถ้าเป็นประเทศในทวีปยุโรปอย่างอังกฤษ ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่คนจะไปปรึกษาจิตแพทย์ เกี่ยวกับปัญหาในครอบครัว กิจการเพื่อสังคม ในอังกฤษที่ช่วยให้คนมีชีวิตสมรสดีขึ้นอาจใช้ “รายได้จิตแพทย์รับปรึกษาชีวิตคู่ที่ลดลง” เป็น ค่าแทนคุณภาพชีวิตสมรสที่ดีขึ้น (ถ้าจิตแพทย์ ชีวิตคู่มีรายได้ลดลงขณะที่เวลาทำ�งานเท่าเดิม แปลว่าคนไปปรึกษาน้อยลง แปลว่าคนมีปัญหา ชีวิตคู่น้อยลง) แต่ตัวเลขนี้ไม่เหมาะที่จะนำ�มาใช้ เป็นค่าแทนคุณภาพชีวิตคู่ในสังคมที่คนไม่นิยม
  • 12. 22 23 ไปปรึกษาจิตแพทย์เวลามีปัญหา เราต้องคิดถึง ข้อมูลอื่นที่ใช้เป็นค่าแทน “ชีวิตสมรสดีขึ้น” ได้ ใกล้เคียงกว่าเช่นในสังคมไทยอาจใช้ค่าใช้จ่ายที่ เพิ่มขึ้นในการไปเที่ยวกันสองต่อสอง กินข้าวกัน สองต่อสองหรือมูลค่าของเวลาที่คู่สมรสอยู่ด้วย กันมากกว่าเดิม (อาจใช้รายได้ต่อชั่วโมงเป็น ค่าแทนอีกที) ฯลฯ หรือควรใช้อะไรเป็นค่าแทนของผลลัพธ์ ทางสังคม “สุขภาพที่ดีขึ้น?” จะมีการเปลี่ยน- แปลงอะไรที่บ่งบอกถึงการที่เรามีสุขภาพที่ดีขึ้น เราอาจจะใช้ “ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ที่น้อยลง”หรือ“รายได้ที่เพิ่มขึ้น”(อาจจะมีรายได้ เพิ่มขึ้นเพราะการลาป่วยลดลงและสามารถทำ�งาน ได้เพิ่มขึ้น) การพยายามหาค่าแทนทางการเงินสำ�หรับ ผลลัพธ์ทางสังคมที่ไม่ใช่ตัวเงินตรงๆนั้นนอกจาก จะเสริมให้การวิเคราะห์ของเราครบถ้วนและ รอบด้านแล้ว ยังนับเป็นการ “เพิ่มอำ�นาจ” ให้กับ ผู้มีส่วนได้เสียบางกลุ่มที่มักจะถูกกันให้อยู่ นอกกรอบการคำ�นวณเปรียบเทียบต้นทุนกับ ประโยชน์เพียงเพราะผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับพวกเขา อยู่นอกระบบตลาดและไม่มีมูลค่าทางการเงิน โดยตรง ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราต้องเลือกระหว่าง โครงการก่อสร้างแหล่งผลิตพลังงานสองโครงการ โครงการแรกคุ้มค่าทางการเงินมากกว่า คืนทุน ได้เร็วกว่า ขณะที่โครงการที่สองถึงแม้จะคืนทุน ช้ากว่า ให้ผลตอบแทนทางการเงินตํ่ากว่า แต่ก็ สร้างผลกระทบต่อสุขภาพของคนในชุมชนน้อย กว่า สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าให้กับคนในชุมชน ถ้าหากเราพิจารณาแต่ผลลัพธ์ที่เป็นตัวเงินตรงๆ เราย่อมเลือกโครงการแรกแต่ถ้าหากเราพิจารณา มูลค่าของ “สุขภาพ” และ “คุณภาพชีวิต” ของ คนในชุมชนประกอบด้วยโครงการที่สองอาจเป็น โครงการที่ “ดี” กว่า และ “คุ้มค่า” เมื่อประเมิน มูลค่าอย่างครอบคลุมมากกว่า ในแง่นี้จึงกล่าวได้ว่า การพิจารณามูลค่า ของ “สุขภาพ” และ “วิถีชีวิต” เท่ากับทำ�ให้คนใน ชุมชนมีสิทธิ์มีเสียงมากกว่าเดิมในกระบวนการ ตัดสินใจ เพราะสะท้อนความต้องการและผล กระทบต่อพวกเขาได้ดีกว่าการพิจารณาผลตอบแทน ที่เป็นตัวเงินตรงๆ โดยลำ�พัง หลักการ ข้อ 4 รวมเฉพาะสิ่งที่เป็น “สาระสำ�คัญ” การประเมินผลลัพธ์และผลตอบแทน ทางสังคมจากการลงทุนจะเป็นประโยชน์ก็ต่อเมื่อ เรามีข้อมูลที่เชื่อถือได้และเก็บรวบรวมได้อย่าง สมํ่าเสมอ แต่การเก็บข้อมูลก็มีต้นทุนดังนั้นการ แยกแยะระหว่างปัจจัยที่สำ�คัญกับปัจจัยที่ไม่สำ�คัญ จึงเป็นสิ่งจำ�เป็น ยกตัวอย่าง เช่น สมมุติว่าเราทำ�กิจการ เพื่อสังคมเพื่อเด็กไร้บ้าน พันธกิจหลักคือมุ่งปรับปรุง คุณภาพชีวิตของเด็กไร้บ้านด้วยการหางานให้ พวกเขา ปีที่ผ่านมาเด็กที่เราช่วยจำ�นวนหนึ่งไป ทำ�งานเก็บ คัดแยก และกำ�จัดขยะ และพวกเขา ก็ทำ�ได้มีประสิทธิภาพสูงกว่าเทศบาล ส่งผลให้ ขยะในชุมชนลดลงจริงๆ คำ�ถามคือในเมื่อ “ขยะ ที่ลดลง” เป็นประโยชน์ต่อสังคมอย่างชัดเจน แต่ ไม่ใช่เป้าหมายหลักของเราเราควรนับรวมผลลัพธ์ ที่ไม่ได้ตั้งใจข้อนี้ในการประเมินของเราหรือไม่? คำ�ตอบขึ้นอยู่กับว่าขยะที่ลดลงนั้นมี ปริมาณมากน้อยเพียงใดเมื่อเทียบกับผลลัพธ์ทาง สังคมอื่นๆ ที่กิจการเพื่อสังคมของเราสร้าง ถ้า งานของเราช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของเด็ก ได้ 1,000 คน แต่เด็กที่ไปทำ�งานเก็บและกำ�จัด ขยะมีจำ�นวนเพียง10คน(ร้อยละ1)ผลลัพธ์ทาง สังคมที่เกิดขึ้นก็ไม่สำ�คัญพอที่จะนับรวมในการ วิเคราะห์ของเรา ภาษีทางบัญชีเรียกว่า ไม่ใช่ “สาระสำ�คัญ” (materiality) ถ้าเราอยากให้ผลการประเมินนำ�ไปใช้ได้ จริง เราก็ต้องคัดสรรแต่เฉพาะผลลัพธ์ทางสังคม ข้อสำ�คัญ จะได้เน้นการจัดการไปยังประเด็นที่มี ความสำ�คัญจริงๆ การตัดสินว่าผลลัพธ์อะไรบ้าง สำ�คัญนั้นต้องอาศัยการอ้างอิงพันธกิจขององค์กร (กระบวนการภายใน)และการรับฟังความคิดเห็น ของผู้มีส่วนได้เสียฝ่ายต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่ม เป้าหมายที่เราอยากสร้างประโยชน์ให้(กระบวนการ ภายนอก) โดยพยายามสร้าง “สมดุล” ระหว่าง กระบวนการภายในและภายนอก เพราะวิธีขอให้ ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายบรรยายผลลัพธ์ทั้งหมดที่ เกิดจากกิจการ ทั้งเชิงบวกและเชิงลบ ให้เราฟัง โดยไม่สนใจพันธกิจและเป้าหมายองค์กรจะเป็น
  • 13. 24 25 การเสียเวลาและผลที่ได้คือรายการ(รวมทั้งเสียง บ่น) ยาวเป็นหางว่าวที่ไม่เป็นระบบและยากแก่ การจัดการดังนั้นเราจึงควรตั้งต้นจากกระบวนการ ภายในก่อน คือดูว่าเป้าหมายของเราคืออะไร ประเมินว่าเราทำ�อะไรเพื่อบรรลุเป้าหมายนั้นบ้าง แล้วรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียประกอบ ถ้าไม่รับฟังเลยก็ไม่ดีเพราะสุ่มเสี่ยงที่จะเจออคติ “เลือกแต่ผลลัพธ์ที่เราชอบ” (selectivity bias) ส่งผลให้มองข้ามผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงแต่เราไม่ได้ วางแผนเอาไว้ ไม่ว่าจะบวกหรือลบ กฎจำ�ง่าย (rule of thumb) ที่เราอาจใช้ คือ เลือกประเมินผลลัพธ์ไม่เกิน 5 รายการที่ สำ�คัญที่สุดเท่านั้นหรือประเมินเฉพาะผลลัพธ์ ที่ผู้มีส่วนได้เสียเกินครึ่งหนึ่ง (จากการสุ่ม สัมภาษณ์หรือสำ�รวจ)ยืนยันว่าเป็นประโยชน์ ที่พวกเขาได้รับจากกิจการ หลักสำ�คัญคือควรนับเฉพาะประโยชน์ ทางตรง ที่ชัดเจนว่าเกิดจากกิจการเพื่อป้องกัน หลักการ ข้อ 5 หลีกเลี่ยงการกล่าวอ้างเกินจริง เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 500 บาท เท่ากับว่าผลลัพธ์ “ผู้ชรามีรายได้เพิ่มขึ้น” ที่เรามีส่วนสร้างคือ 900-500 = 400 บาทต่อคนต่อเดือน หรือร้อยละ 44 ของผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น (400 / 900) ไม่ใช่ 900 ต่อคน ต่อเดือน ฉะนั้นตัวเลขที่เราควรใช้ใน การประเมินผลตอบแทนทางสังคมคือ400ต่อคน ต่อเดือน ไม่ใช่ 900 เพราะต่อให้เราไม่ทำ�กิจการ นี้เลย ผู้ชราทุกคนจะยังมีรายได้เพิ่มขึ้นเดือนละ 500บาทจากนโยบายของรัฐบาลที่เริ่มในปีที่แล้ว (และปีที่แล้วก็เป็นกรอบเวลาในการประเมินของ เรา) หลายครั้งยากที่เราจะคำ�นวณเป๊ะๆ ว่า ผลลัพธ์ทางสังคมที่เรามีส่วนสร้างนั้นคิดเป็นสัดส่วน เท่าไรของผลลัพธ์ทั้งหมด (หลายคนบ่นว่าลำ�พัง จะวัดผลลัพธ์ทั้งหมดก็ยากพอดูอยู่แล้ว!) โดย เฉพาะกรณีที่เราไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับผลลัพธ์ที่ เกิดขึ้นจากหน่วยงานอื่นตรงๆ ในกรณีเหล่านี้ เราอาจต้องอ้างอิงแนวโน้มในอดีตและตัวชี้วัด กิจการหรือโครงการเพื่อสังคมของเราอาจ มีเป้าหมายที่น่าชื่นชม แต่เราต้องยอมรับว่ามัน ไม่ใช่กิจการหรือโครงการเพียงหนึ่งเดียวที่พยายาม แก้ปัญหาสังคมหรือสิ่งแวดล้อมยกเว้นว่าเราจะ ทำ�งานในประเด็นที่ยังไม่มีใครแตะต้องจริงๆ ซึ่ง เป็นไปได้ยากมาก เพราะทุกปัญหาล้วนมีหน่วย งานภาครัฐ องค์กรการกุศลมูลนิธิ และองค์กร อื่นๆ ที่พยายามแก้ไข ผลลัพธ์เชิงบวกที่เกิดขึ้น หลังจากที่เราก่อตั้งกิจการอาจเป็น “ฝีมือ” ของ เราเพียงส่วนเดียวก็ได้ ดังนั้นการระบุว่าคนหรือ องค์กรอื่น (attribution) มีส่วนแก้ปัญหาอย่างไร จึงเป็นปัจจัยสำ�คัญ ยกตัวอย่างเช่น สมมุติว่ากิจการเพื่อ สังคมของเราตั้งเป้าที่การช่วยให้ผู้ชราที่มีรายได้ น้อยมีรายได้เสริมหลังจากผ่านไปหนึ่งปี ผลลัพธ์ สำ�คัญที่สุดที่เกิดขึ้นคือผู้ชราที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ของเรามีรายได้เพิ่มเฉลี่ยคนละ900บาทต่อเดือน แต่ในช่วงเวลาเดียวกันรัฐบาลเพิ่งเริ่มใช้นโยบาย ความเสี่ยงที่จะกล่าวอ้างเกินจริง (ดูหลักการข้อ ถัดไป)ไม่นับประโยชน์อีกทอดหรือสองทอดถัดไป เช่น ถ้ากิจการของเราจ้างคนจนในชุมชนที่อาศัย ติดกับกองขยะมาคัดแยกขยะ นำ�ขยะบางชนิด กลับไปรีไซเคิลใหม่ ส่งเสริมให้พวกเขามีอาชีพ ผลลัพธ์ทางตรงที่ควรพิจารณาได้แก่ “รายได้ที่ เพิ่มขึ้น”“ปริมาณขยะที่ลดได้”ส่วนผลทอดต่อไป เช่น“ก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้”(สมมุติว่าขยะส่วน ใหญ่นำ�ไปผลิตไฟฟ้า) หรือ “ความสุขของคนใน ชุมชนเพิ่มขึ้น” (จากการที่ขยะลดลง) เป็นสิ่งที่ ควรพิจารณาก็ต่อเมื่อเรามีหลักฐานที่พิสูจน์ได้ว่า เกิดจากกิจการจริงๆ เท่านั้น
  • 14. 26 27 ในเมื่อผลลัพธ์ทางสังคมมักจะเป็น คุณค่าเชิงนามธรรมที่วัดยาก หลากหลายและ แต่ละคนก็มีมุมมองที่แตกต่างกัน การประเมิน ทุกขั้นตอนอย่างโปร่งใสที่สุดเท่าที่จะทำ�ได้จึงเป็น หลักการพื้นฐานที่จำ�เป็น ภายใต้หลักการข้อนี้ เราควรจัดทำ�เอกสารประกอบการตัดสินใจทุกครั้ง โดยเฉพาะปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้เสีย บันทึกผลลัพธ์ ตัวชี้วัดและมาตรฐานที่ใช้ รวมถึง แจกแจงแหล่งที่มาวิธีเก็บข้อมูลและวิธีพิจารณา ทางเลือกต่างๆ ในการประเมินเมื่อการประเมิน เสร็จสิ้นแล้วก็ควรสื่อสารผลการประเมินให้ผู้มี ส่วนได้เสียได้รับทราบและแสดงข้อคิดเห็นตลอด จนเสนอคำ�อธิบายว่าองค์กรของเราจะนำ�ผล การประเมินไปปรับปรุงการดำ�เนินงานอย่างไร ในอนาคต หลักการ ข้อ 6 เน้นความโปร่งใสทุกขั้นตอน ถึงแม้การวิเคราะห์ SROI จะมีความเป็น “วิทยาศาสตร์” ในระดับหนึ่งและช่วยสร้างความ เข้าใจต่อคุณค่าที่เกิดจากการดำ�เนินงานได้ มากขึ้น แต่การมีทัศนคติส่วนตัวก็เป็นสิ่งที่หลีก เลี่ยงไม่ได้ บางคนอาจมองว่าเราประเมิน SROI ออกมาสูงเกินจริง บางคนมองว่าตํ่าเกินไป บางคนอาจตั้งคำ�ถามกับวิธีเก็บข้อมูลของเรา หรือความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลที่เราใช้ เป็นค่าแทน ฯลฯ ด้วยเหตุนั้นเราจึงควรพร้อมรับ การตรวจสอบผลการประเมิน SROI จากบุคคล ภายนอกด้วยความยินดี ถ้าเป็นไปได้ควรให้ ผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกเป็นผู้ประเมินหรือเขียน ความเห็น ไม่ต่างจากรายงานของผู้สอบบัญชีใน องค์กรธุรกิจแสวงกำ�ไรสูงสุดการแสดงความพร้อม ที่จะรับการตรวจสอบและการแสดงความเห็น ของผู้ประเมินอิสระจะช่วยให้ผู้มีส่วนได้เสีย สามารถตัดสินใจได้ว่าการประเมินของเราทำ�อย่าง ตรงไปตรงมาและสมเหตุสมผลหรือไม่ หลักการ ข้อ 7 พร้อมรับการตรวจสอบ มาตรฐาน(benchmark)เพื่อช่วยประเมินสัดส่วน การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากงานของเรา เช่น ใน ตัวอย่างข้างต้น สมมุติถ้าเราไม่รู้ว่ารัฐบาลเริ่ม จ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเมื่อไร แต่เรารู้จากสถิติ 4-5 ปีที่ผ่านมาว่า รายได้ของผู้สูงอายุเพิ่มเฉลี่ย เดือนละ150บาทต่อคนกรณีนี้เราก็พอจะอนุมาน ได้ว่าผลลัพธ์ที่เราสร้างน่าจะประมาณ 900-150 = 750 บาทต่อคนต่อเดือน เนื่องจากต่อให้ เราไม่ทำ�อะไรเลยผู้สูงอายุก็น่าจะยังมีรายได้เพิ่ม เฉลี่ยเดือนละ 150 บาทต่อคน อันเป็นผลมาจาก ปัจจัยที่เราไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น เงินโอนจาก ลูกหลาน ฯลฯ
  • 15. 28 29 3 กรอบคิด และ เครื่องมือสำ�คัญในการประเมิน ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง (Theory of Change) กรณีฐาน (Base Case Scenario) ห่วงโซ่ผลลัพธ์ (Impact Value Chain) ก่อนจะอธิบายขั้นตอนการประเมินผลลัพธ์และผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนในราย ละเอียด เราลองมาทำ�ความรู้จักกับกรอบการประเมิน และ “เครื่องมือ” สำ�คัญสามอย่าง นั่นคือ ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง (Theory of Change) ห่วงโซ่ผลลัพธ์ (Impact Value Chain) และกรณีฐาน (Base Case Scenario) กรอบคิดในการประเมินผลลัพธ์และผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน การประเมินผลลัพธ์ทางสังคม (social impact assessment) และการคำ�นวณผลตอบแทนทาง สังคมจากการลงทุน (social return on investment) อยู่ภายใต้กรอบการประเมินเดียวกัน นั่นคือ ก่อน อื่นเราต้อง “นิยาม”เป้าหมายและพันธกิจขององค์กรให้ชัด(Define)เสร็จแล้วก็ต้องระบุผลลัพธ์ที่วัดได้ (Quantify) เพื่อประเมินผลลัพธ์ทางสังคม และสุดท้ายก็ต้องแปลงผลลัพธ์เหล่านั้นออกมาเป็นมูลค่า ทางการเงิน (Monetize) เพื่อนำ�ไปเปรียบเทียบกับต้นทุน คำ�นวณอัตราส่วนผลตอบแทนทางสังคมจาก การลงทุนต่อไป เราสามารถสรุปกรอบคิดข้างต้นเป็นแผนภาพได้ดังต่อไปนี้ นิยาม (Define) ระบุผลลัพธ์ ที่วัดได้ (Quantify) แปลงเป็นมูลค่า ทางการเงิน (Monetize)
  • 16. 30 31 ผลผลิต (output) คืออะไร? เครื่องมือหลัก ที่ใช้ คืออะไร? ตรงกับ กิจกรรมอะไร ในคู่มือเล่มนี้? เป้าหมายและพันธกิจ ขององค์กรที่ชัดเจน รู้ว่าจะสร้างคุณค่า ทางสังคมให้กับใคร กิจกรรมที่ 1-4 กิจกรรมที่ 5-9 กิจกรรมที่ 9-15 ทฤษฎี การเปลี่ยนแปลง (Theory of Change) ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง หมายถึง การ ตอบคำ�ถาม “กิจการนี้มอบคุณค่าอะไรให้กับ สังคมบ้าง?” คือ “ถ้าไม่มีกิจการนี้อยู่ ผลลัพธ์ ทางสังคมนี้จะไม่เกิดขึ้น” อย่างชัดเจนที่สุด และเป็นรูปธรรมปกติจะสื่อสารเป็นประโยคในรูป “ถ้า...แล้ว” จะมีอะไรเปลี่ยนแปลงโดยเพิ่มขึ้น หรือลดลง เช่น ถ้ากิจการเพื่อสังคมของเราก่อตั้งขึ้น เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโรคเอดส์ด้วยการผลิตพยาบาล ที่มีความรู้เรื่องนี้มากขึ้นและกระจายไปตาม คลีนิกต่างๆ ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงของกิจการ เราก็จะเท่ากับ “ถ้าประเทศไทยมีผู้ช่วยแพทย์ที่มีความรู้ เกี่ยวกับโรคเอดส์มากขึ้น แล้วผู้ป่วยโรคเอดส์ จะมีชีวิตยืนยาวขึ้น มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น” หรือ ถ้ากิจการเพื่อสังคมของเราพุ่งเป้าไปที่ การฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมแถบจังหวัดน่านด้วยการ หาแหล่งรายได้อื่นให้กับเกษตรกร จะได้ไม่ต้อง ปลูกและเผาซังข้าวโพดปริมาณมหาศาล พร้อม ทั้งสร้างแรงจูงใจให้ดูแลรักษาป่าเราก็เขียนทฤษฎี การเปลี่ยนแปลงของกิจการนี้ได้ว่า “ถ้าเกษตรกรน่านมีรายได้เพียงพอจากวิถี การเกษตรที่ไม่ทำ�ลายสิ่งแวดล้อม แล้วภูเขาหัว โล้นของน่านจะกลับกลายเป็นสีเขียวมากขึ้น ระบบนิเวศจะฟื้นคืน ชาวน่านจะมีความสุข มากกว่าเดิม” สังเกตว่าส่วนแรกของประโยคที่แสดง ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็น “ปัจจัยนำ�เข้า” (Input)ที่กิจการเพื่อสังคมของเราจะสร้าง(พยาบาล ที่รู้เรื่องโรคเอดส์, เกษตรกรที่ไม่ปลูกข้าวโพด) ส่วนหลังเป็น “ผลลัพธ์ (Outcome หรือ Impact) ที่เราปรารถนาว่าจะบรรลุจากการดำ�เนินกิจการ (ผู้ป่วยโรคเอดส์มีชีวิตยืนยาวและมีคุณภาพชีวิต ที่ดีกว่าเดิม, ภูเขาหัวโล้นจะกลายเป็นภูเขา สีเขียวมากขึ้น คนน่านจะมีความสุขมากขึ้น) ซึ่ง ผลลัพธ์นี้จะต้องสะท้อน “การเปลี่ยนแปลง” ที่ เราคาดหวังหรือเชื่อมั่นว่าจะเกิดภายในกรอบ เวลาที่ประเมินจะได้สามารถเชื่อมโยงระหว่าง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับการดำ�เนินงาน ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง (Theory of Change) ห่วงโซ่ผลลัพธ์ (Impact Value Chain) กรณีฐาน (Base Case) การคำ�นวณเปรียบเทียบ ต้นทุนกับประโยชน์ (Cost-Benefit Analysis) ชุดตัวชี้วัด ที่สะท้อนผลลัพธ์ ทางสังคม (social impact) ผลตอบแทนทางสังคม จากการลงทุน (SROI)
  • 17. 32 33 ของกิจการ ไม่ใช่เขียนผลลัพธ์ที่พึงปรารถนาราว กับว่ามันเป็นจุดสัมบูรณ์ ไม่สะท้อนการเปลี่ยน- แปลงใดๆ เลย เพราะถ้าทำ�อย่างนั้นเราจะไม่ สามารถแม้แต่จะเริ่มประเมินว่าการดำ�เนินงาน ของเราสร้างความเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างเช่น ถ้าทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงข้างต้นเขียนว่า “คน น่านจะมีความสุข” หรือ “สิ่งแวดล้อมน่านจะดี” จะก่อให้เกิดคำ�ถามต่อไปว่า ก่อนหน้าที่เรา เปิดกิจการเพื่อสังคม คนน่าน “ไม่มีความสุข” หรือไม่อย่างไร และสิ่งแวดล้อมน่าน “ไม่ดี” ตรงไหนอย่างไร ควรอธิบายให้ชัดเจนว่าเมื่อกิจการตั้ง ขึ้นมาแล้ว ปัญหาสังคมด้านใดที่จะเปลียนไป อย่างชัดเจน ถ้าอธิบายไม่ได้แสดงว่ากิจการ นั้นไม่ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงใดต่อสังคม นอกจากเราควรเขียนทฤษฎีการเปลี่ยน- แปลงให้เชื่อมโยงกับเป้าหมายของกิจการเพื่อ แสดง“การเปลี่ยนแปลง”จริงๆแล้วปัจจัยนำ�เข้า หรืองานที่เราจะทำ�นั้นก็สำ�คัญไม่แพ้กันยิ่งเราเขียน เป็นรูปธรรมได้เท่าไรยิ่งดีกับการออกแบบโมเดล ธุรกิจวางกลยุทธ์ขององค์กรและประเมินผลลัพธ์ ทางสังคมในขั้นต่อไปเท่านั้นยกตัวอย่างเช่น ถ้า ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงเริ่มต้นจาก “ถ้าเกษตรกรน่านมีรายได้เพียงพอจาก วิถีการเกษตรที่ไม่ทำ�ลายสิ่งแวดล้อม” ยังไม่ ชัดเจนว่า วิถีการเกษตรที่ไม่ทำ�ลายสิ่งแวดล้อม” คืออะไร บ่งชี้ว่าเราอาจยังไม่มีโมเดลธุรกิจที่ ชัดเจนถ้าชัดเจนเราจะเขียนให้เจาะจงกว่านั้นเช่น “ถ้าเกษตรกรน่านมีรายได้เพียงพอจาก การปลูกข้าวแบบเกษตรอินทรีย์” (สมมติ เราค้นพบแล้วว่าน่านปลูกข้าวออร์แกนิกได้ และ โมเดลธุรกิจของเรารวมถึงการหาตลาดให้กับ เกษตรกร) หรือ “ถ้าเกษตรกรน่านมีรายได้เพียงพอ จากการปลูกข้าวโพดโดยไม่ต้องเผาซังทิ้ง”(สมมุติ เราค้นพบวิธีปลูกข้าวโพดได้ปีละหลายครั้งโดย ไม่ต้องทำ�ลายซังหรือสมมุติว่าโมเดลธุรกิจของเรา คือรับจ้างโครงการซีเอสอาร์ของบริษัทผู้รับซื้อ ข้าวโพดรายใหญ่ตรวจสอบการเพาะปลูกของ เกษตรกร โดยบริษัทจะยินดีจ่ายเพิ่มสำ�หรับ เกษตรกรที่ไม่เผาซัง) ในส่วนของผลลัพธ์ทางสังคม ยิ่งเขียนได้ เป็นรูปธรรมและระบุอย่างชัดเจนได้มากเท่าไรเรา ก็จะยิ่งสามารถตีค่าการเปลี่ยนแปลงนั้นออกมา เป็นตัวเลขได้อย่างชัดเจนมากเท่านั้น อีกทั้งเรา ควรเขียนทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงให้คนอ่านเข้าใจ ง่าย แม้สำ�หรับคนที่ไม่เคยรู้จักกิจการนี้มาก่อน ตัวอย่างการเขียนทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง (Theory of Change) เพิ่มเติม P ถ้าเด็กๆ จากครอบครัว รายได้น้อยได้รับอาหารที่ มีสารอาหารครบถ้วน แล้ว พวกเขาจะก็จะมี พัฒนาการและการเจริญ เติบโตที่ดีขึ้น P ถ้าโรงอาหารในโรงเรียน จำ�หน่ายแต่อาหารที่มี ประโยชน์ต่อสุขภาพ และให้ พลังงานและนํ้าตาลตํ่า แล้ว ปัญหาโรคอ้วนของ นักเรียนก็จะลดลง P ถ้าชุมชนได้ประโยชน์ เพิ่มเติมจากการแยกขยะ ก่อนทิ้ง แล้ว พวกเขาก็จะแยกขยะ มากขึ้น P ถ้าผู้ให้บริการทางเพศ สามารถหาซื้อหาถุงยางอนามัย ในราคาย่อมเยาได้ แล้ว พวกเขาก็จะใช้ถุงยาง อนามัยมากขึ้นและอัตราการแพร่ กระจายของโรคเอดส์และโรคอื่นที่ ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ก็จะลดลง P ถ้าคนจนมีโอกาสกู้เงินใน อัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมเพื่อนำ�ไป เป็นทุนตั้งต้นในการประกอบอาชีพ แล้ว พวกเขาก็จะมีโอกาสสร้างรายได้เพิ่ม ขึ้นและมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น