SlideShare a Scribd company logo
1 of 10
Download to read offline
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายและแผน
-------------------
การจัดทําแผนงานโครงการ
แผนงาน ( Program) หมายถึง กลุ่มของโครงการหลายๆ โครงการ
โครงการ (Project) หมายถึง แผนงานย่อยที่ประกอบด้วยกิจกรรมหลายกิจกรรมที่ต้องอาศัย
ทรัพยากรในการดําเนินงาน เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมายตามแผนที่วางไว้ โดยต้องมี
ความเชื่อมโยงตั้งแต่ระดับนโยบาย แผนยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติราชการ แผนงานโครงการลงสู่กิจกรรมที่
ปฏิบัติการจัดทํา แผนงาน โครงการ จะต้องมีการดําเนินการกําหนดวัตถุประสงค์ การรวบรวม และการ
วิเคราะห์ข้อมูล การพิจารณาถึงอุปสรรคปัญหา ค้นหาโอกาส เลือกแนวทางการปฏิบัติที่เป็นไปได้ หรือวิถีทาง
ที่ดีที่สุดและกระบวนการสุดท้าย คือ การตรวจสอบ ทบทวน และการประเมินผลโครงการ ดังนั้น
โครงการจึงมีความสําคัญต่อแผนการปฏิบัติงานดังต่อไปนี้
1. ช่วยชี้ให้เห็นถึงปัญหา และภูมิหลังของการทํางาน
2. ช่วยให้การปฏิบัติงานตามแผนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
3. ช่วยให้แผนงานมีความชัดเจน โดยบุคคลที่เกี่ยวข้องมีความเข้าใจและรับรู้ถึงปัญหาร่วมกัน
4. ช่วยให้แผนงานมีทรัพยากรใช้อย่างเพียงพอ เหมาะสมกับสภาพปฏิบัติจริง เพราะมีรายละเอียด
การใช้ทรัพยากรที่ชัดเจน
5. ช่วยให้แผนงานมีความเป็นไปได้สูงเพราะมีผู้รับผิดชอบ และมีความเข้าใจในการดําเนินงาน
6. ช่วยลดความขัดแย้ง และขจัดความซ้ําซ้อนในหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงาน เพราะแต่ละ
หน่วยงาน มีโครงการที่ได้รับผิดชอบเป็นการเฉพาะเหมาะสมกับความรู้ความสามารถของบุคคลในหน่วยงาน
7. สร้างทัศนคติที่ดีต่อบุคลากรในหน่วยงานเป็นการเสริมสร้างความสามัคคี และความรับผิดชอบ
ร่วมกัน ตามความรู้ ความสามารถ และศักยภาพของแต่ละบุคคลอย่างเต็มที่
8. สร้างความมั่นคงให้กับแผนงาน และสร้างความมั่นใจในการดําเนินงานให้กับผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ
9. สามารถควบคุมการทํางานได้สะดวก ไม่ซ้ําซ้อน เพราะงานได้แยกออกเป็นส่วนๆ ตาม
ลักษณะเฉพาะของงาน กระบวนการจัดทําแผนที่ดีต้องเริ่มตั้งแต่การจัดทําแผน การตรวจสอบการดําเนินการ
การควบคุม การกํากับติดตาม การประเมินผล
ขั้นตอนการวางแผน
1. 1.การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมขององค์กร(SWOT analysis)
2. การกําหนดทิศทางในอนาคตขององค์กร(Mission & Vision)
3. การกําหนดกลยุทธ์ขององค์กร(Strategic Direction)
4. การกําหนดปัจจัยแห่งความสําเร็จและตัวชี้วัดหลัก(Key Success Factor / Key Performance
Indicator)
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมขององค์กร (SWOT analysis)
การวิเคราะห์ปัจจัยภายในองค์กร (จุดแข็ง (STRENGTHS) /จุดอ่อน (WEAKNESSES)การวิเคราะห์จุดแข็ง
จุดอ่อน (S & W) 7 ด้าน ประกอบด้วย โครงสร้างของหน่วยงาน ระบบการทํางาน สไตล์การทํางาน
จํานวนบุคลากร ความเชี่ยวชาญทักษะการทํางาน กลยุทธ์การทํางานของหน่วยงาน
เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยภายในและภายนอกองค์กรแล้วให้นําผลการวิเคราะห์มากําหนดกลยุทธ์เพื่อใช้ในการ
กําหนดเป้าหมายเพื่อจัดทําแผนงานและโครงการของหน่วย
การเขียนโครงการเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผน ที่จะทําให้หน่วยงานบรรลุผลสําเร็จตามเป้าหมายลักษณะของ
โครงการที่ดี มีดังนี้
1. ต้องมีความชัดเจน หมายถึง โครงการต้องมีเนื้อหาชัดเจน ตอบคําถามของผู้อ่านโครงการได้
2. มีความเป็นไปได้ หมายถึง วิธีการดําเนินโครงการต้องมีความชัดเจนเมื่อมีการดําเนินโครงการ
ตามลําดับขั้นแล้วมีความเป็นไปได้สูงว่าโครงการจะประสบผลสําเร็จตามที่ตั้งวัตถุประสงค์ไว้
3. ประหยัด หมายถึง การจัดทําโครงการควรเลือกวิธีการดําเนินโครงการที่ประหยัดทรัพยากร เสีย
ค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด และประหยัดเวลา
4. ประสิทธิภาพ หมายถึง การดําเนินโครงการที่ประหยัดทรัพยากร ต้องได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการหรือ
ตามที่ตั้งวัตถุประสงค์ไว้
5. ความเชื่อมั่นสูง หมายถึง โครงการที่มีความเป็นไปได้ และหากเปลี่ยนผู้รับผิดชอบการดําเนิน
โครงการ โครงการก็สามารถดําเนินการได้ประสบผลสําเร็จได้ใกล้เคียงกัน หรือได้ผลลัพธ์เท่าเดิมหากนํา
โครงการนั้นไปดําเนินการที่อื่นๆ
6. มีการประเมินผลได้ หมายถึง โครงการต้องสามารถประเมินผลได้ว่าผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการ
ดําเนินโครงการ มีความแตกต่างมากน้อยเพียงใดกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ และต้องประเมินผลสัมฤทธิ์ของ
โครงการได้
การวางแผนกลยุทธ์ หรือ Strategic Planning นั้นเป็นสิ่งที่ใช้กันแพร่หลายมาก ในกิจการด้านการทหาร ใน
ด้านการศึกการสงคราม ในด้านการเมืองระหว่างประเทศ และโดยเฉพาะในการบริหาร ในวงการธุรกิจเอกชน
นั้น ประสบความสําเร็จสูงมาก ก้าวหน้าและเป็นที่กล่าวขวัญถึงกันมาก ปัจจุบันนี้การวางแผนแบบแผนกลยุทธ์
ได้แพร่หลายเข้ามาในวงของราชการมากขึ้น แต่คําที่นิยมใช้และที่ได้รับการยอมรับกันในวงราชการ ส่วนใหญ่
นิยมเรียกว่า แผนยุทธศาสตร์การวางแผนเชิงกลยุทธ์นั้น เป็นการวางแผนที่มีการกําหนดวิสัยทัศน์ มีการ
กําหนดเป้าหมายระยะยาวที่แน่ชัด มีการวิเคราะห์อนาคตและคิดเชิงการแข่งขัน ที่ต้องการระบบการทํางานที่
มีความสามารถในการปรับตัวสูง สําหรับการทํางานในสิ่งแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ทัน
กับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ต้องการระบบการทํางานที่คล่องตัว ต้องการดําเนินงานมีประสิทธิภาพสูงในการ
นําสู่เป้าหมายในอนาคต สามารถเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต เพื่อความอยู่รอด (Survive) และ
ความก้าวหน้า (Growth) ขององค์การ ของหน่วยงาน หรือของธุรกิจของตนในอนาคตการวางแผนกลยุทธ์หรือ
การวางแผนเชิงกลยุทธ์นี้ มีส่วนเป็นอย่างมากต่อการสร้างความเป็นผู้นํา(Leadership) หรือในการสร้าง
ภาพลักษณ์ (Image) ที่แสดงถึงจุดเด่นของหน่วยงาน ขององค์การหรือของธุรกิจในการวางแผนกลยุทธ์นั้น จะ
มีการกําหนดเป้าหมายรวมขององค์การ สําหรับการดําเนินในอนาคตที่เรียกว่า วิสัยทัศน์ มีการคิดในเชิงรุก มุ่ง
เอาดี เอาเด่น เอาก้าวหน้า ก้าวไกล มุ่งเอาชนะ เอาความยิ่งใหญ่เน้นคุณภาพ เอาความเป็นเลิศ
SWOT Analysis / วิเคราะห์ “สวอท” / การวิเคราะห์จุดอ่อน-จุดแข็ง
การวางแผนเชิงกลยุทธ์ ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของเอกชนหรือในส่วนของรัฐก็ตามนั้น จะเน้น
ความสามารถในการคาดคะเนสภาพในอนาคต การคิดไปในอนาคต เพื่อจะได้กําหนดหนทางหรือกลยุทธ์การ
ทํางานในอนาคตของหน่วยงาน สู่จุดหมายที่ต้องการ เพื่อเตรียมเผชิญกับการแข่งขันหรือเผชิญกับการ
เปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น เน้นถึงความสามารถในการปรับตัวขององค์การ เพื่อนําองค์การไปสู่จุดหมายที่
ต้องการความสําคัญของการวางแผนกลยุทธ์
1. การวางแผนกลยุทธ์เป็นรูปแบบการวางแผนที่ช่วยให้หน่วยงานพัฒนาตนเองได้ทันกับสภาพการ
เปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม เพราะการวางแผนกลยุทธ์ให้ความสําคัญกับการศึกษาวิเคราะห์บริบทและ
สภาพแวดล้อมภายนอกหน่วยงานเป็นประเด็นสําคัญ
2. การวางแผนกลยุทธ์ เป็นรูปแบบการวางแผนที่ช่วยให้หน่วยงานภาครัฐในทุกระดับ มีความเป็น
ตัวเองมากขึ้น รับผิดชอบต่อความสําเร็จและความล้มเหลวของตนเองมากขึ้น ทั้งนี้ เพราะการวางแผนกลยุทธ์
เป็นการวางแผนขององค์การ โดยองค์การและเพื่อองค์การไม่ใช่เเป็นการวางแผนที่ต้องกระทําตามที่หน่วย
เหนือสั่งการ
3. การวางแผนกลยุทธ์ เป็นรูปแบบการวางแผนที่สอดรับกับการกระจายอํานาจ ซึ่งเป็นกระแสหลัก
ในการบริหารภาครัฐในปัจจุบัน และสอดคล้องกับที่สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ได้เตรียมออก
ระเบียบกําหนดให้หน่วยงานภาครัฐทุกระดับมีการจัดทําแผนกลยุทธ์ใช้เป็นเครื่องมือ ในการพัฒนางานสู่มิติ
ใหม่ของการปฏิรูประบบราชการ
4. การวางแผนกลยุทธ์ เป็นเงื่อนไขหนึ่งของการจัดทําระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน
(Performance Base Budgeting) ซึ่งสํานักงบประมาณกําหนดให้ส่วนราชการและหน่วยงานในสังกัดจัดทํา
ก่อนที่จะกระจายอํานาจด้านงบประมาณโดยการจัดสรรงบประมาณเป็นเงินก้อนลงไปให้หน่วยงาน
5. การวางแผนกลยุทธ์ เป็นการวางแผนที่ให้ความสําคัญต่อการกําหนด “กลยุทธ์” ที่ได้มาจากการคิด
วิเคราะห์แบบใหม่ ๆ ที่ไม่ผูกติดอยู่กับปัญหาเก่าในอดีตไม่เอาข้อจํากัดทางด้านทรัพยากร และงบประมาณมา
เป็นข้ออ้าง ดังนั้น การวางแผนกลยุทธ์จึงเป็นการวางแผนแบบท้าทายความสามารถ เป็นรูปแบบการวางแผนที่
ช่วยให้เกิดการริเริ่มสร้างสรรค์ทางเลือกใหม่ ได้ด้วยตนเอง จึงเป็นการวางแผนพัฒนาที่ยั่งยืน
ข้อแตกต่าง ระหว่างการวางแผนกลยุทธ์ กับการวางแผนทั่วไป
การวางแผนกลยุทธ์ เป็นการวางแผนเพื่อนําองค์การไปสู่ภาพลักษณ์ใหม่ ก้าวสู่วิสัยทัศน์ที่ต้องการในอนาคต
การวางแผนกลยุทธ์จึงเป็นการวางแผนในภาพรวมขององค์การทุกกลยุทธ์ที่กําหนดขึ้นเป็นปัจจัยที่ชี้อนาคต
ขององค์การนั้น
การวางแผนทั่วไป เป็นการวางแผนเพื่อแก้ปัญหา การป้องกันปัญหา หรือการพัฒนาผลผลิตขององค์การ
ดังนั้น การวางแผนทั่วไปจึงมีจุดมุ่งหมายเพียงเพื่อการให้ได้แนวทางในการดําเนินงานที่ทําให้งานโครงการของ
องค์การบรรลุผลสําเร็จอย่างมีประสิทธิภาพเท่านั้น
โครงสร้างของแผนกลยุทธ์ การจัดทําแผนกลยุทธ์นั้น อาจจะสรุปเป็นขั้นตอนของการจัดทําแผนกลยุทธ์ในอีก
แนวหนึ่ง เพื่อช่วยให้ขั้นตอนชัดเจน และเป็นทางเลือกในกระบวนการจัดทําแผน ภายหลังจากที่ได้ทราบถึง
แนวคิดพื้นฐานขั้นต้นแล้วได้ว่า การวางแผนกลยุทธ์ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้
1.การวิเคราะห์ภารกิจหรือพันธกิจ (Mission Analysis)
2.การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมในอนาคต (Environmental Analysis)
3.การวิเคราะห์องค์การ (SWOT หรือ Situation Analysis)
4.การกําหนดวิสัยทัศน์ (Vision)
5.การค้นหาอุปสรรคและปัญหาในการดําเนินงาน (Obstacles)
6.การกําหนดกลยุทธ์ (Strategy Decision)
7.การกําหนดนโยบาย (Policy Decision)
8.การกําหนดกิจกรรม (Activity) สําคัญตามกลยุทธ์และนโยบาย
9.การจัดทําเป็นแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning)
การกําหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์และยุทธศาสตร์ขององค์การ
วิสัยทัศน์ (Vision) คือ ภาพในอนาคตขององค์กรที่ผู้นําและสมาชิกทุกคนร่วมกันวาดฝันหรือจินตนาการขึ้น
โดยมีพื้นฐานอยู่บนความเป็นจริงในปัจจุบัน เชื่อมโยงวัตถุประสงค์ ภารกิจ ค่านิยม และความเชื่อเข้าด้วยกัน
พรรณนาให้เห็นทิศทางขององค์กรอย่างชัดเจน มีพลังท้าทาย ทะเยอทะยาน และมีความเป็นไปได้ เน้นถึง
ความมุ่งมั่นที่จะทําสิ่งที่ยิ่งใหญ่ หรือดีที่สุดให้กับลูกค้าและสังคม วิสัยทัศน์จะเกี่ยวกับการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์
เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับการกําหนดทิศทางธุรกิจ เป็นการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการอยู่รอดทางธุรกิจ ซึ่งจะ
กล่าวถึงอีกครั้งในเรื่องยุทธศาสตร์ขององค์การ
ทําไมองค์กรต้องมีวิสัยทัศน์
1. วิสัยทัศน์สร้างพลังให้กับองค์กร การจะทําให้องค์กรมีการรวมพลังมุ่งไปในทิศทางเดียวกันได้ต้อง
อาศัยองค์ประกอบหลายอย่าง ที่สําคัญประการหนึ่ง คือ ภาวะผู้นําที่จะนําคนทั้งองค์กรได้ และวิสัยทัศน์ของ
หน่วยงานหรือองค์กร
2. วิสัยทัศน์ทําให้ได้เปรียบในแข่งขัน ในโลกของการแข่งขันผู้นําที่มีวิสัยทัศน์ย่อมได้เปรียบเสมอ
เพราะสามารถคะเนเหตุการณ์ในอนาคตได้ และวิสัยทัศน์ทําให้เกิดความทะเยอทะยานหาญกล้าที่จะเป็นหนึ่ง
3.วิสัยทัศน์ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิสัยทัศน์อาจจะเขียนในรูปของร้อยแก้วแบบใดก็ได้ แต่ควร
ประกอบด้วยคุณลักษณะ 3 ประการ คือ
1.ท่านต้องการทําอะไรให้สําเร็จ (ภารกิจ)
2.ทําไมท่านจึงต้องการทําให้สําเร็จ (วัตถุประสงค์)
3.ท่านคาดหวังผล (Results) เช่นไร
กระบวนการกําหนดวิสัยทัศน์นั้นทําได้หลายรูปแบบ แต่สิ่งที่ต้องมีเหมือนกันก็คือวิสัยทัศน์ กําหนดขึ้น
โดยคณะผู้นําขององค์กร ซึ่งกําหนดร่วมกันโดยการประชุมสัมมนาระดมความคิดเห็น วิสัยทัศน์ต้องมีความ
ชัดเจน ความยาวเหมาะสมกับโครงสร้าง ขนาด และลักษณะขององค์กร บอกได้ว่าองค์กรจะเป็นอย่างไร และ
ทําอะไรในอนาคต รวมทั้งระบุความเชื่อที่เป็นพื้นฐานนําไปสู่วิสัยทัศน์นั้น วิสัยทัศน์ของแต่ละองค์กร ควรมี
เอกลักษณ์พิเศษเฉพาะตัว เพื่อจําแนกให้ความแตกต่างจากองค์กรอื่นๆ ได้ นอกจากนี้วิสัยทัศน์ของแต่ละ
หน่วยงานย่อยในองค์กรจะต้องสอดคล้องหรือสนับสนุนวิสัยทัศน์ขององค์กรด้วย
กระบวนการสร้างวิสัยทัศน์
1. ควรระบุวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน
ขั้นที่หนึ่ง ประชุมคณะทํางานออกแบบสร้างวิสัยทัศน์ให้แต่ละคนระบุเหตุการณ์ หรือการตัดสินใจใน
อดีต 4-8 อย่างที่เคยเกิดขึ้นกับองค์กร
ขั้นที่สอง ให้สมาชิกแต่ละคนเขียนวัตถุประสงค์ของเขาในการทํางานให้กับองค์กร โดยให้แสดงออก
จากส่วนลึกของจิตใจและเพิ่มความหมายให้กับงานที่ทํา การเขียนวัตถุประสงค์อาจนําด้วยคําถาม
ขั้นที่สาม เป็นกิจกรรมกลุ่ม ให้จินตนาการว่าในอนาคตอีก 20 ปีข้างหน้า เมื่อวันนั้นมาถึงองค์กรควร
จะประสบความสําเร็จในด้านใด มีชื่อเสียงด้านใด บรรลุวัตถุประสงค์ข้อใดบ้าง หรือยังบกพร่องด้านใดบ้าง
ขั้นที่สี่ กลุ่มอธิบายว่า ลักษณะขององค์กรที่คาดหวังเป็นอย่างไร และสะท้อนให้เห็นถึงวัตถุประสงค์
ขององค์กรเพียงใด
ขั้นที่ห้า นําข้อคิดที่ได้ทั้งหมดมารวมเข้าเป็นข้อความที่ระบุวัตถุประสงค์
ขั้นที่หก พิจารณาว่าจะวัดหรือประเมินวัตถุประสงค์นั้นได้อย่างไร
2. การระบุภารกิจให้ชัดเจน (Mission) เป็นการพิจารณาว่าองค์กรของท่านควรจะทําอะไรที่พิเศษหรือยิ่งใหญ่
ให้สังคม เมื่อเปรียบเทียบกับองค์กรอื่นที่มีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกันแล้ว พบว่าภารกิจองค์กรของท่านควร
แตกต่างจากองค์กรเหล่านั้นอย่างไร ให้เขียนภารกิจลงไปให้ชัดเจน
3. การวิเคราะห์องค์กร เนื่องจากวิสัยทัศน์ต้องอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง จึงจําเป็นต้องวิเคราะห์จุดแข็งและ
จุดอ่อนขององค์กรเพื่อดูความเป็นไปได้
4. การสร้างวิสัยทัศน์ ย้อนกลับไปดูวัตถุประสงค์ (Purpose) และภารกิจ (Mission) นํามากําหนดเป็น
วิสัยทัศน์พิจารณาความเป็นไปได้จากการวิเคราะห์องค์กร แล้วปรับแก้ไขอีกครั้ง จากนั้นทดสอบประสิทธิผล
ของวิสัยทัศน์ที่เขียนโดยตอบคําถามให้ได้ว่าวิสัยทัศน์นั้นเป็นที่เข้าใจของคนในองค์กร การเขียนวิสัยทัศน์ ต้อง
สั้น ง่าย ให้พลัง
สรุปได้แก่ ลักษณะของวิสัยทัศน์ต้อง : จูงใจ ระดมความคิด ระดมพลังใจ ปลุกเร้า
การเขียนวิสัยทัศน์ : สั้น ง่าย ให้พลัง
พันธกิจ (Mission) คือ จุดมุ่งหมายพื้นฐานซึ่ง
แสดงเหตุผลหรืออธิบายว่าทําไมองค์กรจึงถือกําเนิดขึ้นมาหรือดํารงอยู่ เป็นหลักการที่ใช้เป็นแนวทาง
ในการตัดสินใจ กําหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และยุทธศาสตร์การวิเคราะห์ภารกิจหรือพันธกิจขององค์กร
(Mission Aanlysis) เพื่อตรวจสอบว่า งานหลักขององค์กรที่ทําอยู่ในปัจจุบัน ยังมีความเป็นอยู่หรือไม่พันธกิจ
ใดควรยกเลิก เพราะเหตุใด พันธกิจใดควรดํารงอยู่เพราะเหตุใด และพันธกิจใดควรปรับเปลี่ยนใหม่หรือเพิ่มขึ้น
ใหม่ เพราะเหตุใด บุคลากรในองค์กรต้องตระหนักว่าภาระกิจใดคือภารกิจหลัก ภารกิจรอง ซึ่งบางหน่วยงาน
หลงบทบาทหน้าที่ ไปทําภารกิจรองแทน ภารกิจหลักก็จะทําให้องค์กรนั้นมีปัญหาในการดําเนินงานได้
เป้าประสงค์เป้าประสงค์ คือ สภาพความสําเร็จของการดําเนินงานในขั้นตอนสุดท้ายของแต่ละยุทธศาสตร์
การกําหนดอาจช่วงเวลาที่ต่างกัน 5 ปี 3 ปี หรือ 10 ปีแล้วแต่กรณี การกําหนดเป้าประสงค์ในระยะยาว
(Long term objective) อาจกําหนดสภาพความสําเร็จของการดําเนินงานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในแต่ละปีได้
หรืออาจเป็นเป้าประสงค์ลักษณะที่เป็นเป้าหมาย (Target)
เป้าประสงค์ขององค์กรเป้าประสงค์ขององค์กร หมายถึง การระบุหรือบอกให้ทราบเกี่ยวกับสิ่งที่
องค์กรจะทําให้ได้ หรือสิ่งที่องค์กรต้องการจะเป็นสําหรับระยะเวลาใดเวลาหนึ่งที่อยู่ไกลออกไป เช่น อาจจะ
เป็น 3 ปีถึง 5 ปีก็ได้เป้าประสงค์ที่กําหนดขึ้นมานี้ ในทางปฏิบัติควรจะต้องสามารถวัดผลได้ตามสมควร
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป้าประสงค์ระยะสั้น ซึ่งเป็นเป้าประสงค์จากการดําเนินงานที่เป็นผลงานประจําปี หรือที่
เรียกเป็น
ภาษาอังกฤษว่า “ annual operational ” นั้นการระบุออกมาเป็นจํานวนตัวเลขที่ชัดเจนและวัดได้
นับว่าเป็นสิ่งจําเป็นและสําคัญยิ่ง ที่จะช่วยให้การวางแผนมีคุณภาพสําหรับที่จะนํามาใช้บริหารงานในทาง
ปฏิบัติแต่สําหรับเป้าประสงค์ระยะยาวนั้น โดยที่มีลักษณะเป็นการพิจารณาในทางกลยุทธ์ และมุ่งที่จะระบุให้
เห็นถึงตําแหน่งฐานะที่ต้องการจะได้หรือต้องการจะเป็น มากกว่าการระบุถึงสิ่งที่จะทําให้เสร็จ การระบุ
เป้าประสงค์ระยะยาวจึงมีลักษณะเป็นการบรรยายความเป็นข้อความกะทัดรัด สั้น ๆ แต่ชัดเจน แต่ในเวลา
เดียวกัน ขณะที่มีการจัดทําแผนดําเนินงานที่ทําควบคู่ตามกันมานั้นเอง การระบุเป้าประสงค์ออกเป็นเป้าหมาย
ผลสําเร็จต่าง ๆ ที่แยกย่อยลงมาอย่างครบถ้วน และมีความชัดเจนในตัวเหล่านี้ ย่อมจะสามารถ
ส่งผลสนับสนุนให้องค์กรโดยส่วนรวมประสบผลสําเร็จเป็นไปตามที่ตั้งไว้ได้
วิธีการจัดทําแผนกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพ
การจัดทําแผนกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพ จะสามารถทําได้โดยวิธีการจัดประชุมคณะกรรมการวางแผน
ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร และลักษณะการประชุมจะต้องเปิดกว้างโดยมีการขยายขอบเขตทั่วถึงทุกจุดงานที่มี
ความสําคัญ พร้อมกับต้องเป็นการประชุมที่มีคุณภาพ ที่ผู้บริหารทุกคนต่างก็ทุ่มเทเอาใจใส่ในผลสําเร็จต่าง ๆ
ที่จะทําได้ด้วย ในการจัดประชุมวางแผนนี้ จะมีการจัดการประชุมเพื่อพิจารณาส่วนประกอบของการวางแผน
แต่ละส่วนหรือหลายส่วนรวมกันได้ การให้ความสําคัญต่อการประชุมวางแผนในกระบวนการวางแผนนี้ นับว่า
มีความสําคัญต่อความสําเร็จของการวางแผนได้ไม่แพ้เนื้อหาของตัวแผนกลยุทธ์ที่จัดทําขึ้นมา ทั้งนี้เพราะตาม
กระบวนการวางแผนที่มีการพัฒนาจัดทําแผนนั้น การคัดเลือกคณะกรรมการวางแผน การกําหนดบทบาท
หน้าที่ของคณะกรรมการ บทบาทหน้าที่ของสมาชิก ตลอดจนการกําหนดลักษณะการประชุมและการกํากับ
การวางแผนตามขั้นตอนต่าง ๆ เหล่านี้นับว่ามีความสําคัญเป็นพิเศษ เพราะการร่วมกันคิด การร่วมปรึกษากัน
ตลอดจนการโต้แย้งเหตุผลกัน และการปรับแก้ไขบางอย่าง รวมทั้งการหาข้อสรุปที่ต้องกระทําภายใน
กระบวนการวางแผน หากทําได้ดีแล้ว คุณค่าของแผนงานก็จะมีมากขึ้นได้ แต่อย่างไรก็ตาม เนื้อหาของแผน
กลยุทธ์ที่จัดทําขึ้นมาก็มีความสําคัญในตัวของมันเอง ซึ่งควรจะต้องจัดทําขึ้นมาอย่างเหมาะสมและเป็น
ระเบียบครบครันตามกรอบของการวางแผนทางกลยุทธ์ที่กล่าวมาแล้วด้วย
การวิเคราะห์ SWOT (SWOT Analysis)
SWOT Analysis เป็นการวิเคราะห์สภาพองค์การ หรือหน่วยงานในปัจจุบัน เพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดเด่น
จุดด้อย หรือสิ่งที่อาจเป็นปัญหาสําคัญในการดําเนินงานสู่สภาพที่ต้องการในอนาคต
SWOT เป็นตัวย่อที่มีความหมายดังนี้
Strengths - จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบ
Weaknesses - จุดอ่อนหรือข้อเสียเปรียบ
Opportunities - โอกาสที่จะดําเนินการได้
Threats - อุปสรรค ข้อจํากัด หรือปัจจัยที่คุกคามการดําเนินงานขององค์การ
หลักการสําคัญของ SWOT ก็คือการวิเคราะห์โดยการสํารวจจากสภาพการณ์ 2 ด้าน คือสภาพการณ์
ภายในและสภาพการณ์ภายนอก ดังนั้นการวิเคราะห์ SWOT จึงเรียกได้ว่าเป็น การวิเคราะห์สภาพการณ์
(Situation Analysis) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน เพื่อให้รู้ตนเอง (รู้เรา) รู้จักสภาพแวดล้อม (รู้เขา)
ชัดเจน และวิเคราะห์โอกาส-อุปสรรค การวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ทั้งภายนอกและภายในองค์กร ซึ่งจะช่วยให้
ผู้บริหารขององค์กรทราบถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายนอกองค์กร ทั้งสิ่งที่ได้เกิดขึ้นแล้วและ
แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคต รวมทั้งผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ที่มีต่อองค์กรธุรกิจ และจุด
แข็ง จุดอ่อน และความสามารถ ด้านต่าง ๆ ที่องค์กรมีอยู่ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการ
กําหนดวิสัยทัศน์ การกําหนดกลยุทธ์และการดําเนินตามกลยุทธ์ขององค์กรระดับองค์กรที่เหมาะสมต่อไป
ประโยชน์ของการวิเคราะห์ SWOT
วิเคราะห์ SWOT เป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ทั้งภายนอกและภายในองค์กร ซึ่งปัจจัย
เหล่านี้แต่ละอย่างจะช่วยให้เข้าใจได้ว่ามีอิทธิพลต่อผลการดําเนินงานขององค์กรอย่างไร จุดแข็งขององค์กรจะ
เป็นความสามารถภายในที่ถูกใช้ประโยชน์เพื่อการบรรลุเป้าหมาย ในขณะที่จุดอ่อนขององค์กรจะเป็น
คุณลักษณะภายในที่อาจจะทําลายผลการดําเนินงาน โอกาสทางสภาพแวดล้อมจะเป็นสถานการณ์ที่ให้โอกาส
เพื่อการบรรลุเป้าหมายองค์กร ในทางกลับกันอุปสรรคทางสภาพแวดล้อมจะเป็นสถานการณ์ที่ขัดขวางการ
บรรลุเป้าหมายขององค์กร ผลจากการวิเคราะห์ SWOT นี้จะใช้เป็นแนวทางในการกําหนดวิสัยทัศน์ การ
กําหนดกลยุทธ์เพื่อให้องค์กรเกิดการพัฒนาไปในทางที่เหมาะสม
ขั้นตอน / วิธีการดําเนินการทํา SWOT Analysis
การวิเคราะห์ SWOT จะครอบคลุมขอบเขตของปัจจัยที่กว้างด้วยการระบุจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและ
อุปสรรคขององค์กร ทําให้มีข้อมูล ในการกําหนดทิศทางหรือเป้าหมายที่จะถูกสร้างขึ้นมาบนจุดแข็งขององค์กร
และแสวงหาประโยชน์จากโอกาสทางสภาพแวดล้อม และสามารถกําหนด กลยุทธ์ที่มุ่งเอาชนะอุปสรรคทาง
สภาพแวดล้อมหรือลดจุดอ่อนขององค์กรให้มีน้อยที่สุดได้ ภายใต้การวิเคราะห์ SWOT นั้นจะต้องวิเคราะห์ทั้ง
สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กร โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. การประเมินสภาพแวดล้อมภายในองค์กร
การประเมินสภาพแวดล้อมภายในองค์กรจะเกี่ยวกับการวิเคราะห์และพิจารณาทรัพยากรและความสามารถ
ภายในองค์กรทุก ๆ ด้าน เพื่อที่จะระบุจุดแข็งและจุดอ่อนขององค์กรแหล่งที่มาเบื้องต้นของข้อมูลเพื่อการ
ประเมินสภาพแวดล้อมภายใน คือระบบข้อมูลเพื่อการบริหาร ที่ครอบคลุมทุกด้าน ทั้งในด้านโครงสร้างระบบ
ระเบียบ วิธีปฎิบัติงาน บรรยากาศในการทํางานและทรัพยากรในการบริหาร (คน เงิน วัสดุการจัดการ) รวมถึง
การพิจารณาผลการดําเนินงานที่ผ่านมา ขององค์กรเพื่อที่จะเข้าใจสถานการณ์และผลกลยุทธ์ก่อนหน้านี้ด้วย
- จุดแข็งขององค์กร (S-Strengths) เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยภายในจากมุมมองของผู้ที่อยู่ภายใน
องค์กรนั้นเอง ว่าปัจจัยใดภายในองค์กรที่เป็นข้อได้เปรียบหรือจุดเด่นขององค์กรที่องค์กรควรนํามาใช้ในการ
พัฒนาองค์กรได้ และควรดํารงไว้เพื่อการเสริมสร้างความเข็มแข็งขององค์กร
- จุดอ่อนขององค์กร (W-Weanesses) เป็นการวิเคราะห์ ปัจจัยภายในจากมุมมองของผู้ที่อยู่ภายใน
จากมุมมอง ของผู้ที่อยู่ภายในองค์กรนั้น ๆ เองว่าปัจจัยภายในองค์กรที่เป็นจุดด้อย ข้อเสียเปรียบขององค์กรที่
ควรปรับปรุงให้ดีขึ้นหรือขจัดให้หมดไป อันจะเป็นประโยชน์ต่อองค์กร
2. การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอก
ภายใต้การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กรนั้น สามารถค้นหาโอกาสและอุปสรรคทางการดําเนินงาน
ขององค์กรที่ได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจทั้งในและระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับการ
ดําเนินงานขององค์กร เช่น อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ นโยบาย การเงิน การงบประมาณสภาพแวดล้อม
ทางสังคม
- โอกาสทางสภาพแวดล้อม (O-Opportunities) เป็นการวิเคราะห์ว่าปัจจัยภายนอกองค์กร ปัจจัยใด
ที่สามารถส่งผลกระทบประโยชน์ ทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการดําเนินการขององค์กรในระดับมหาภาคและ
องค์กรสามารถฉกฉวยข้อดีเหล่านี้มาเสริมสร้างให้หน่วยงานเข็มแข็ง ขึ้นได้
- อุปสรรคทางสภาพแวดล้อม (T-Threats) เป็นการวิเคราะห์ว่าปัจจัยภายนอกองค์กรปัจจัยใดที่
สามารถส่งผลกระทบในระดับมหภาค ในทางที่จะก่อให้เกิดความเสียหายทั้งทางตรง และทางอ้อม ซึ่งองค์กร
จําต้องหลีกเลี่ยงหรือปรับสภาพองค์กรให้มีความแข็งแกร่งพร้อมที่จะเผชิญ แรงกระทบดังกล่าวได้การเขียน
โครงการ
ความหมายของโครงการ
“โครงการ” ภาษาอังกฤษใช้คําว่า Project (โปรเจ็ค)ซึ่งหมายถึง แผนงานที่ประกอบด้วยกิจกรรม
หลายกิจกรรม หรืองานหลายงานที่ระบุรายละเอียดชัดเจน เช่น วัตถุประสงค์ เป้าหมายระยะเวลาดําเนินการ
วิธีการหรือขั้นตอนในการดําเนินงาน พื้นที่ในการดําเนินงาน งบประมาณที่ใช้ในการดําเนินงานตลอดจน
ผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้รับ โครงการเปรียบเสมือนพาหนะที่นําแผนปฏิบัติการไปสู่การดําเนินงานให้เกิดผลเพื่อ
ไปสู่จุดหมายปลายทางตามที่ต้องการ
โครงการที่ดีมีลักษณะอย่างไร
โครงการที่ดีจะต้องมีลักษณะดังนี้
1. สามารถแก้ไขปัญหาของกลุ่มหรือชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. สามารถสนองตอบต่อความต้องการของกลุ่ม ชุมชน นโยบายของหน่วยงานและนโยบายของ
ประเทศชาติได้ดี
3. รายละเอียดของโครงการต้องเข้าใจง่ายและใช้ภาษาที่เข้าใจกันทั่วไป
4. มีวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ชัดเจน และมีลักษณะเฉพาะเจาะจง
5. รายละเอียดของโครงการต้องเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันตั้งแต่ประเด็นแรกถึงประเด็นสุดท้าย
6. กําหนดการใช้ทรัพยากรอย่างชัดเจน และเหมาะสม
7. มีวิธีการติดตาม และประเมินผลที่ชัดเจน
โครงสร้างของโครงการ
การเขียนโครงการจะต้องรู้และเข้าใจโครงสร้างของโครงการเสียก่อนว่าประกอบไปด้วยส่วนใดบ้างซึ่งโดยทั่วไป
โครงสร้างของโครงการประกอบด้วย
1. ชื่อโครงการ ส่วนใหญ่มาจากงานที่ต้องการปฏิบัติ โดยจะต้องมีความชัดเจนเหมาะสม
เฉพาะเจาะจง กะทัดรัด และสื่อความหมายได้อย่างชัดเจน
อย่างไรก็ดีบางหน่วยงานนอกจากจะมีชื่อของโครงการแล้ว ผู้เขียนโครงการอาจระบุชื่อของแผนงานไว้ด้วยก็ได้
ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความชัดเจนมากยิ่งขึ้น และเป็นการชี้ให้ทราบว่าโครงการที่กําหนดขึ้นอยู่ในแผนงานอะไร
2. หลักการและเหตุผล
เป็นการกล่าวถึงปัญหาและสาเหตุและความจําเป็นที่ต้องมีการจัดทําโครงการ โดยผู้เขียนโครงการจะต้อง
พยายามแสดงให้เห็นถึงเหตุผล ความจําเป็นที่ต้องทําโครงการ โดยหาเหตุผล หลักการ ทฤษฎีแนวทางนโยบาย
ของรัฐบาล นโยบายของกระทรวง / กรม ตลอดจนความต้องการในการพัฒนาทั้งนี้เพื่อแสดงข้อมูลที่มีน้ําหนัก
น่าเชื่อถือและให้เห็นความสําคัญของสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยมีการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลด้วยเพื่อที่
ผู้อนุมัติโครงการจะได้ตัดสินใจสนับสนุนโครงการต่อไป
3. วัตถุประสงค์ เป็นการระบุถึงความต้องการในการดําเนินงานของโครงการ โดยแสดงให้เห็นถึงผลที่
ต้องการจะทําให้สําเร็จไว้อย่างกว้างๆ มี
ลักษณะเป็นนามธรรม แต่ชัดเจนและไม่คลุมเครือ โดยโครงการหนึ่งๆ อาจมีวัตถุประสงค์มากกว่า 1 ข้อก็ได้
คือ มีวัตถุประสงค์หลัก และวัตถุประสงค์รองหรือวัตถุประสงค์ทั่วไป และวัตถุประสงค์เฉพาะก็ได้หลักการ
เขียนวัตถุประสงค์ที่ดีซึ่งในที่นี้จะเรียกว่า หลัก SMART คือ
1. Sensible and Specific คือ มีความเป็นไปได้และมีความเฉพาะเจาะจง
2. Measurable คือ วัดและประเมินผลระดับของความสําเร็จได้
3. Attainable คือ สามารถปฏิบัติได้
4. Reasonable and Realistic คือ มีความเป็นเหตุเป็นผล และสอดคล้องกับความเป็นจริง
5. Time คือ มีการกําหนดขอบเขตของเวลาที่จะกระทําให้สําเร็จได้อย่างชัดเจน
นอกจากนั้นการเขียนวัตถุประสงค์ยังต้องคํานึงถึงสิ่งต่อไปนี้ คือ
1. ใช้คํากริยาที่แสดงถึงความตั้งใจจริง เช่น เพื่อเพิ่ม... เพื่อลด...เพื่อส่งเสริม. เพื่อปรับปรุง...เพื่อ
ขยาย..เพื่อรณรงค์...... เพื่อเผยแพร่....เป็นต้น
2. ระบุผลผลิต ( Output ) หรือระบุผลลัพธ์ ( Outcome ) ที่ต้องการให้เกิดขึ้นเพียงประการเดียว
ในวัตถุประสงค์หนึ่งข้อ ถ้าเขียนวัตถุประสงค์ไว้หลายข้อ ข้อใดทําไม่สําเร็จเราสามารถประเมินผลได้ซึ่งอาจ
กําหนดเป็นวัตถุประสงค์หลัก 1 ข้อ และวัตถุประสงค์รอง 1- 2 ข้อ โดยมีเงื่อนไขว่าถ้าบรรลุวัตถุประสงค์หลัก
แต่ไม่บรรลุวัตถุประสงค์รอง ควรทําต่อไป
3. กําหนดเกณฑ์มาตรฐานของความสําเร็จที่วัดได้ในเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ
4. กําหนดช่วงเวลา พื้นที่ หรือกลุ่มเป้าหมายการเขียนวัตถุประสงค์ของโครงการจะต้องสอดคล้องกับ
ความเป็นมาและความสําคัญของปัญหา
ตลอดจนสอดคล้องกับแผนงานหลักด้วย
4. เป้าหมาย หมายถึงระบุถึงผลลัพธ์สุดท้ายที่คาดว่าจะได้จากการดําเนินโครงการ โดยจะระบุทั้งผลที่
เป็นเชิงปริมาณและผลเชิงคุณภาพ เป้าหมายจึงคล้ายกับวัตถุประสงค์แต่มีลักษณะเฉพาะเจาะจงมากกว่า มี
การระบุสิ่งที่ต้องการทําได้ชัดเจนและระบุเวลาที่ต้องการจะบรรลุ
5. วิธีการดําเนินงาน เป็นการให้รายละเอียดในการปฏิบัติ โดยปกติจะแยกเป็นกิจกรรมย่อยๆหลาย
กิจกรรม แต่เป็นกิจกรรมเด่นๆ ซึ่งจะแสดงให้เห็นความเด่นชัดตั้งแต่กิจกรรมเริ่มต้นจนถึงกิจกรรมสุดท้ายว่ามี
กิจกรรมใดที่ต้องทําบ้าง ถ้าเป็นโครงการที่ไม่ซับซ้อนมากนักก็มักจะนิยมใช้แผนภูมิแกนท์
( Gantt chart) หรือแผนภูมิแท่ง ( Bar chart )
6. ผู้รับผิดชอบโครงการ เป็นการระบุว่าใครหรือหน่วยงานใดเป็นผู้รับผิดชอบและมีขอบเขตความ
รับผิดชอบอย่างไรบ้าง ทั้งนี้เพื่อว่ามีปัญหาจะได้ติดต่อประสานงานได้ง่าย
7. งบประมาณ เป็นการระบุค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในการดําเนินกิจกรรมขั้นต่าง ๆ โดยทั่วไปจะแจกแจง
เป็นหมวดย่อย ๆ เช่น หมวดค่าวัสดุ หมวดค่าใช้สอย หมวดค่าตอบแทน หมวดค่าครุภัณฑ์ซึ่งการแจกแจง
งบประมาณจะมีประโยชน์ในการตรวจสอบความเป็นไปได้และตรวจสอบความเหมาะสมในสถานการณ์ต่าง ๆ
นอกจากนั้นควรระบุแหล่งที่มาของงบประมาณด้วยว่าเป็นงบประมาณแผ่นดิน
8. สถานที่ดําเนินการ เป็นการระบุสถานที่ตั้งของโครงการหรือระบุว่ากิจกรรมนั้นจะทําณ สถานที่
แห่งใด เพื่อสะดวกต่อการจัดเตรียมสถานที่ให้พร้อมก่อนที่จะทํากิจกรรมนั้น ๆ
9. ระยะเวลาในการดําเนินการ เป็นการระบุระยะเวลาเริ่มต้นโครงการและระยะเวลาสิ้นสุดโครงการ
โดยจะต้องระบุ วัน เดือน ปี เช่นเดียวกับการแสดงแผนภูมิแกนท์ ( Gantt Chart )
10. ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ เป็นการระบุถึงผลที่คาดว่าจะได้รับจากการดําเนินโครงการ
ประกอบด้วยผลทางตรงและผลทางอ้อม นอกจากนั้นต้องระบุด้วยว่าใครจะได้รับประโยชน์จากโครงการ
บ้าง ได้รับประโยชน์อย่างใด ระบุทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ
11. การประเมินผลโครงการ เป็นการแสดงรายละเอียดว่าจะมีวิธีการควบคุมติดตามและ
ประเมินผลโครงการอย่างไร ใช้เครื่องมืออะไรในการประเมินผล ระยะเวลาในการประเมินผลและใครเป็นผู้
ประเมินผล ฯลฯ ดัชนีชี้วัดความสําเร็จของโครงการคืออะไร
- วิธีประเมินผลโครงการ..................
- ระยะเวลาประเมินผลโครงการ...............
- ผู้ประเมินผลโครงการ...................

More Related Content

What's hot

แบบทดสอบ Powerpoint
แบบทดสอบ Powerpointแบบทดสอบ Powerpoint
แบบทดสอบ Powerpointpoomarin
 
ตย.ปกงานวิจัย (การรายงาน)
ตย.ปกงานวิจัย (การรายงาน) ตย.ปกงานวิจัย (การรายงาน)
ตย.ปกงานวิจัย (การรายงาน) i_cavalry
 
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ การประดิษฐ์ท่ารำ รำคุ่ รำหมู่
เอกสารประกอบการเรียน  วิชานาฏศิลป์  การประดิษฐ์ท่ารำ  รำคุ่  รำหมู่เอกสารประกอบการเรียน  วิชานาฏศิลป์  การประดิษฐ์ท่ารำ  รำคุ่  รำหมู่
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ การประดิษฐ์ท่ารำ รำคุ่ รำหมู่Panomporn Chinchana
 
Portfolio (แฟ้มผลงาน) ที่ดี
Portfolio (แฟ้มผลงาน) ที่ดีPortfolio (แฟ้มผลงาน) ที่ดี
Portfolio (แฟ้มผลงาน) ที่ดีTanchanok Pps
 
กฎหมาย2552
กฎหมาย2552กฎหมาย2552
กฎหมาย2552puangpaka
 
ประวัติผู้วิจัย
ประวัติผู้วิจัยประวัติผู้วิจัย
ประวัติผู้วิจัยYanee Chaiwongsa
 
Construct 2 Manual (คู่มือ Construct 2 ฉบับภาษาไทย)
Construct 2 Manual (คู่มือ Construct 2 ฉบับภาษาไทย)Construct 2 Manual (คู่มือ Construct 2 ฉบับภาษาไทย)
Construct 2 Manual (คู่มือ Construct 2 ฉบับภาษาไทย)Khunakon Thanatee
 
การค้าชายแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อน
การค้าชายแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อน การค้าชายแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อน
การค้าชายแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อน Dr.Choen Krainara
 
วิทยาการคำนวณ ม.5 - บทที่ 1 ข้อมูลมีคุณค่า
วิทยาการคำนวณ ม.5 - บทที่ 1 ข้อมูลมีคุณค่าวิทยาการคำนวณ ม.5 - บทที่ 1 ข้อมูลมีคุณค่า
วิทยาการคำนวณ ม.5 - บทที่ 1 ข้อมูลมีคุณค่าCoco Tan
 
5การวางแผนโครงการ
5การวางแผนโครงการ5การวางแผนโครงการ
5การวางแผนโครงการpop Jaturong
 
ปกนวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ
ปกนวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศปกนวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ
ปกนวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศsomdetpittayakom school
 
ตัวอย่างโครงการสอน
ตัวอย่างโครงการสอนตัวอย่างโครงการสอน
ตัวอย่างโครงการสอนKrupol Phato
 
การวัดและประเมินผลตามการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน
การวัดและประเมินผลตามการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานการวัดและประเมินผลตามการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน
การวัดและประเมินผลตามการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานPrachyanun Nilsook
 
ความหลากหลายของระบบนิเวศ
ความหลากหลายของระบบนิเวศความหลากหลายของระบบนิเวศ
ความหลากหลายของระบบนิเวศKittiya GenEnjoy
 
บทที่ 4 การพยากรณ์
บทที่ 4 การพยากรณ์บทที่ 4 การพยากรณ์
บทที่ 4 การพยากรณ์Dr.Krisada [Hua] RMUTT
 
หนังสือรับรอง(เด็กศูนย์ฯ)
หนังสือรับรอง(เด็กศูนย์ฯ)หนังสือรับรอง(เด็กศูนย์ฯ)
หนังสือรับรอง(เด็กศูนย์ฯ)cm carent
 

What's hot (20)

แบบทดสอบ Powerpoint
แบบทดสอบ Powerpointแบบทดสอบ Powerpoint
แบบทดสอบ Powerpoint
 
ตย.ปกงานวิจัย (การรายงาน)
ตย.ปกงานวิจัย (การรายงาน) ตย.ปกงานวิจัย (การรายงาน)
ตย.ปกงานวิจัย (การรายงาน)
 
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ การประดิษฐ์ท่ารำ รำคุ่ รำหมู่
เอกสารประกอบการเรียน  วิชานาฏศิลป์  การประดิษฐ์ท่ารำ  รำคุ่  รำหมู่เอกสารประกอบการเรียน  วิชานาฏศิลป์  การประดิษฐ์ท่ารำ  รำคุ่  รำหมู่
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ การประดิษฐ์ท่ารำ รำคุ่ รำหมู่
 
Portfolio (แฟ้มผลงาน) ที่ดี
Portfolio (แฟ้มผลงาน) ที่ดีPortfolio (แฟ้มผลงาน) ที่ดี
Portfolio (แฟ้มผลงาน) ที่ดี
 
แนวทางสอบสัมภาษณ์
แนวทางสอบสัมภาษณ์แนวทางสอบสัมภาษณ์
แนวทางสอบสัมภาษณ์
 
กฎหมาย2552
กฎหมาย2552กฎหมาย2552
กฎหมาย2552
 
ประวัติผู้วิจัย
ประวัติผู้วิจัยประวัติผู้วิจัย
ประวัติผู้วิจัย
 
Construct 2 Manual (คู่มือ Construct 2 ฉบับภาษาไทย)
Construct 2 Manual (คู่มือ Construct 2 ฉบับภาษาไทย)Construct 2 Manual (คู่มือ Construct 2 ฉบับภาษาไทย)
Construct 2 Manual (คู่มือ Construct 2 ฉบับภาษาไทย)
 
การค้าชายแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อน
การค้าชายแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อน การค้าชายแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อน
การค้าชายแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อน
 
วิทยาการคำนวณ ม.5 - บทที่ 1 ข้อมูลมีคุณค่า
วิทยาการคำนวณ ม.5 - บทที่ 1 ข้อมูลมีคุณค่าวิทยาการคำนวณ ม.5 - บทที่ 1 ข้อมูลมีคุณค่า
วิทยาการคำนวณ ม.5 - บทที่ 1 ข้อมูลมีคุณค่า
 
ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์
ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์
ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์
 
5การวางแผนโครงการ
5การวางแผนโครงการ5การวางแผนโครงการ
5การวางแผนโครงการ
 
ปกนวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ
ปกนวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศปกนวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ
ปกนวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ
 
LPA ด้าน 4 การบริการสาธารณะ
LPA ด้าน 4 การบริการสาธารณะLPA ด้าน 4 การบริการสาธารณะ
LPA ด้าน 4 การบริการสาธารณะ
 
บท2
บท2บท2
บท2
 
ตัวอย่างโครงการสอน
ตัวอย่างโครงการสอนตัวอย่างโครงการสอน
ตัวอย่างโครงการสอน
 
การวัดและประเมินผลตามการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน
การวัดและประเมินผลตามการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานการวัดและประเมินผลตามการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน
การวัดและประเมินผลตามการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน
 
ความหลากหลายของระบบนิเวศ
ความหลากหลายของระบบนิเวศความหลากหลายของระบบนิเวศ
ความหลากหลายของระบบนิเวศ
 
บทที่ 4 การพยากรณ์
บทที่ 4 การพยากรณ์บทที่ 4 การพยากรณ์
บทที่ 4 การพยากรณ์
 
หนังสือรับรอง(เด็กศูนย์ฯ)
หนังสือรับรอง(เด็กศูนย์ฯ)หนังสือรับรอง(เด็กศูนย์ฯ)
หนังสือรับรอง(เด็กศูนย์ฯ)
 

Viewers also liked

แนวข้อสอบภาค ก. เล่มที่ 2 ความรู้ความสามารถทั่วไป
แนวข้อสอบภาค ก. เล่มที่ 2 ความรู้ความสามารถทั่วไปแนวข้อสอบภาค ก. เล่มที่ 2 ความรู้ความสามารถทั่วไป
แนวข้อสอบภาค ก. เล่มที่ 2 ความรู้ความสามารถทั่วไปประพันธ์ เวารัมย์
 
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติสภาตําบลและองค์การบริหารส่วนตําบล พ.ศ. 2537แก้ไขเพิ่มเต...
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติสภาตําบลและองค์การบริหารส่วนตําบล พ.ศ. 2537แก้ไขเพิ่มเต...แนวข้อสอบพระราชบัญญัติสภาตําบลและองค์การบริหารส่วนตําบล พ.ศ. 2537แก้ไขเพิ่มเต...
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติสภาตําบลและองค์การบริหารส่วนตําบล พ.ศ. 2537แก้ไขเพิ่มเต...ประพันธ์ เวารัมย์
 
แนวข้อสอบกรมสรรพากร (แนวข้อสอบเ่ก่า) ชุดที่ 2 แบ่งปันความรู้ สู่ความก้าวหน้า
แนวข้อสอบกรมสรรพากร (แนวข้อสอบเ่ก่า) ชุดที่ 2 แบ่งปันความรู้ สู่ความก้าวหน้าแนวข้อสอบกรมสรรพากร (แนวข้อสอบเ่ก่า) ชุดที่ 2 แบ่งปันความรู้ สู่ความก้าวหน้า
แนวข้อสอบกรมสรรพากร (แนวข้อสอบเ่ก่า) ชุดที่ 2 แบ่งปันความรู้ สู่ความก้าวหน้าประพันธ์ เวารัมย์
 
คู่มือการบริหารงานบุคคล สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ของ กศจ.
คู่มือการบริหารงานบุคคล สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ของ กศจ. คู่มือการบริหารงานบุคคล สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ของ กศจ.
คู่มือการบริหารงานบุคคล สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ของ กศจ. ประพันธ์ เวารัมย์
 
แนวข้อสอบนักวิเคราะห์นโยบายและแผน และตำแหน่งอื่นๆ
แนวข้อสอบนักวิเคราะห์นโยบายและแผน และตำแหน่งอื่นๆแนวข้อสอบนักวิเคราะห์นโยบายและแผน และตำแหน่งอื่นๆ
แนวข้อสอบนักวิเคราะห์นโยบายและแผน และตำแหน่งอื่นๆประพันธ์ เวารัมย์
 
สรุประเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ...
สรุประเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ...สรุประเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ...
สรุประเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ...ประพันธ์ เวารัมย์
 
แนวข้อสอบนิติกร เตรียมสอบท้องถิ่น
แนวข้อสอบนิติกร เตรียมสอบท้องถิ่นแนวข้อสอบนิติกร เตรียมสอบท้องถิ่น
แนวข้อสอบนิติกร เตรียมสอบท้องถิ่นประพันธ์ เวารัมย์
 
แนวข้อสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทึ่เคยออก
แนวข้อสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทึ่เคยออกแนวข้อสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทึ่เคยออก
แนวข้อสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทึ่เคยออกประพันธ์ เวารัมย์
 
แนวข้อสอบภาค ก. เล่มที่ 1 ความรู้ความสามารถทั่วไป
แนวข้อสอบภาค ก. เล่มที่ 1 ความรู้ความสามารถทั่วไปแนวข้อสอบภาค ก. เล่มที่ 1 ความรู้ความสามารถทั่วไป
แนวข้อสอบภาค ก. เล่มที่ 1 ความรู้ความสามารถทั่วไปประพันธ์ เวารัมย์
 
ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง พ.ศ. 2560
ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง พ.ศ. 2560ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง พ.ศ. 2560
ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง พ.ศ. 2560ประพันธ์ เวารัมย์
 
ตอบข้อหารือการเรียกคืนเงินทุนโครงการเศรษฐกิจชุมชน พ.ศ.2541 จ.อุดรธานี
ตอบข้อหารือการเรียกคืนเงินทุนโครงการเศรษฐกิจชุมชน พ.ศ.2541 จ.อุดรธานีตอบข้อหารือการเรียกคืนเงินทุนโครงการเศรษฐกิจชุมชน พ.ศ.2541 จ.อุดรธานี
ตอบข้อหารือการเรียกคืนเงินทุนโครงการเศรษฐกิจชุมชน พ.ศ.2541 จ.อุดรธานีประพันธ์ เวารัมย์
 
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแนวข้อสอบเจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยประพันธ์ เวารัมย์
 

Viewers also liked (20)

K04
K04K04
K04
 
คู่มือสมรรถนะหลัก
คู่มือสมรรถนะหลักคู่มือสมรรถนะหลัก
คู่มือสมรรถนะหลัก
 
แนวข้อสอบภาค ก. เล่มที่ 2 ความรู้ความสามารถทั่วไป
แนวข้อสอบภาค ก. เล่มที่ 2 ความรู้ความสามารถทั่วไปแนวข้อสอบภาค ก. เล่มที่ 2 ความรู้ความสามารถทั่วไป
แนวข้อสอบภาค ก. เล่มที่ 2 ความรู้ความสามารถทั่วไป
 
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติสภาตําบลและองค์การบริหารส่วนตําบล พ.ศ. 2537แก้ไขเพิ่มเต...
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติสภาตําบลและองค์การบริหารส่วนตําบล พ.ศ. 2537แก้ไขเพิ่มเต...แนวข้อสอบพระราชบัญญัติสภาตําบลและองค์การบริหารส่วนตําบล พ.ศ. 2537แก้ไขเพิ่มเต...
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติสภาตําบลและองค์การบริหารส่วนตําบล พ.ศ. 2537แก้ไขเพิ่มเต...
 
แนวข้อสอบกรมสรรพากร (แนวข้อสอบเ่ก่า) ชุดที่ 2 แบ่งปันความรู้ สู่ความก้าวหน้า
แนวข้อสอบกรมสรรพากร (แนวข้อสอบเ่ก่า) ชุดที่ 2 แบ่งปันความรู้ สู่ความก้าวหน้าแนวข้อสอบกรมสรรพากร (แนวข้อสอบเ่ก่า) ชุดที่ 2 แบ่งปันความรู้ สู่ความก้าวหน้า
แนวข้อสอบกรมสรรพากร (แนวข้อสอบเ่ก่า) ชุดที่ 2 แบ่งปันความรู้ สู่ความก้าวหน้า
 
คู่มือการบริหารงานบุคคล สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ของ กศจ.
คู่มือการบริหารงานบุคคล สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ของ กศจ. คู่มือการบริหารงานบุคคล สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ของ กศจ.
คู่มือการบริหารงานบุคคล สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ของ กศจ.
 
คู่มืออบรม แผนพัฒนาท้องถิ่น 4 ปี
คู่มืออบรม แผนพัฒนาท้องถิ่น 4 ปีคู่มืออบรม แผนพัฒนาท้องถิ่น 4 ปี
คู่มืออบรม แผนพัฒนาท้องถิ่น 4 ปี
 
แนวข้อสอบนักวิเคราะห์นโยบายและแผน และตำแหน่งอื่นๆ
แนวข้อสอบนักวิเคราะห์นโยบายและแผน และตำแหน่งอื่นๆแนวข้อสอบนักวิเคราะห์นโยบายและแผน และตำแหน่งอื่นๆ
แนวข้อสอบนักวิเคราะห์นโยบายและแผน และตำแหน่งอื่นๆ
 
สรุประเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ...
สรุประเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ...สรุประเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ...
สรุประเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ...
 
แนวข้อสอบนิติกร เตรียมสอบท้องถิ่น
แนวข้อสอบนิติกร เตรียมสอบท้องถิ่นแนวข้อสอบนิติกร เตรียมสอบท้องถิ่น
แนวข้อสอบนิติกร เตรียมสอบท้องถิ่น
 
K04
K04K04
K04
 
แนวข้อสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทึ่เคยออก
แนวข้อสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทึ่เคยออกแนวข้อสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทึ่เคยออก
แนวข้อสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทึ่เคยออก
 
แนวข้อสอบภาค ก. เล่มที่ 1 ความรู้ความสามารถทั่วไป
แนวข้อสอบภาค ก. เล่มที่ 1 ความรู้ความสามารถทั่วไปแนวข้อสอบภาค ก. เล่มที่ 1 ความรู้ความสามารถทั่วไป
แนวข้อสอบภาค ก. เล่มที่ 1 ความรู้ความสามารถทั่วไป
 
นักพัฒนาสังคม
นักพัฒนาสังคมนักพัฒนาสังคม
นักพัฒนาสังคม
 
ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง พ.ศ. 2560
ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง พ.ศ. 2560ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง พ.ศ. 2560
ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง พ.ศ. 2560
 
หลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขัน (31)
หลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขัน (31)หลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขัน (31)
หลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขัน (31)
 
K06
K06K06
K06
 
ข้อสอบ กทม. 60
ข้อสอบ กทม. 60ข้อสอบ กทม. 60
ข้อสอบ กทม. 60
 
ตอบข้อหารือการเรียกคืนเงินทุนโครงการเศรษฐกิจชุมชน พ.ศ.2541 จ.อุดรธานี
ตอบข้อหารือการเรียกคืนเงินทุนโครงการเศรษฐกิจชุมชน พ.ศ.2541 จ.อุดรธานีตอบข้อหารือการเรียกคืนเงินทุนโครงการเศรษฐกิจชุมชน พ.ศ.2541 จ.อุดรธานี
ตอบข้อหารือการเรียกคืนเงินทุนโครงการเศรษฐกิจชุมชน พ.ศ.2541 จ.อุดรธานี
 
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแนวข้อสอบเจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
 

Similar to ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายและแผน

Strategic management
Strategic managementStrategic management
Strategic managementTum Aditap
 
2การบริหารองค์การด้วยโครงการ
2การบริหารองค์การด้วยโครงการ2การบริหารองค์การด้วยโครงการ
2การบริหารองค์การด้วยโครงการpop Jaturong
 
Presentation 2012-11-13 การพัฒนาประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ด้วยตัวชี้วัด
Presentation 2012-11-13 การพัฒนาประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ด้วยตัวชี้วัดPresentation 2012-11-13 การพัฒนาประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ด้วยตัวชี้วัด
Presentation 2012-11-13 การพัฒนาประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ด้วยตัวชี้วัดNopporn Thepsithar
 
Strategy กลยุทธ์ หรือ ยุทธศาสตร์องค์กร
Strategy  กลยุทธ์ หรือ ยุทธศาสตร์องค์กรStrategy  กลยุทธ์ หรือ ยุทธศาสตร์องค์กร
Strategy กลยุทธ์ หรือ ยุทธศาสตร์องค์กรmaruay songtanin
 
การจัดการเชิงยุทธศาสตร์
การจัดการเชิงยุทธศาสตร์การจัดการเชิงยุทธศาสตร์
การจัดการเชิงยุทธศาสตร์jeabjeabloei
 
แผนกลยุทธ์ในการบริหารงาน
แผนกลยุทธ์ในการบริหารงานแผนกลยุทธ์ในการบริหารงาน
แผนกลยุทธ์ในการบริหารงานguest7530ba
 
ตัวอย่างงานบริหาร
ตัวอย่างงานบริหารตัวอย่างงานบริหาร
ตัวอย่างงานบริหารNithimar Or
 
Project planning - Workshop
Project planning - WorkshopProject planning - Workshop
Project planning - Workshopinanza
 

Similar to ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายและแผน (20)

Po
PoPo
Po
 
Po
PoPo
Po
 
No1
No1No1
No1
 
Watsubsamosorn
WatsubsamosornWatsubsamosorn
Watsubsamosorn
 
D:\2
D:\2D:\2
D:\2
 
Strategic management
Strategic managementStrategic management
Strategic management
 
Swot(sk)
Swot(sk)Swot(sk)
Swot(sk)
 
2การบริหารองค์การด้วยโครงการ
2การบริหารองค์การด้วยโครงการ2การบริหารองค์การด้วยโครงการ
2การบริหารองค์การด้วยโครงการ
 
Plan 21072011181254
Plan 21072011181254Plan 21072011181254
Plan 21072011181254
 
e-commerce
e-commercee-commerce
e-commerce
 
Chapter 4
Chapter 4Chapter 4
Chapter 4
 
Presentation 2012-11-13 การพัฒนาประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ด้วยตัวชี้วัด
Presentation 2012-11-13 การพัฒนาประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ด้วยตัวชี้วัดPresentation 2012-11-13 การพัฒนาประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ด้วยตัวชี้วัด
Presentation 2012-11-13 การพัฒนาประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ด้วยตัวชี้วัด
 
Strategy กลยุทธ์ หรือ ยุทธศาสตร์องค์กร
Strategy  กลยุทธ์ หรือ ยุทธศาสตร์องค์กรStrategy  กลยุทธ์ หรือ ยุทธศาสตร์องค์กร
Strategy กลยุทธ์ หรือ ยุทธศาสตร์องค์กร
 
การจัดการเชิงยุทธศาสตร์
การจัดการเชิงยุทธศาสตร์การจัดการเชิงยุทธศาสตร์
การจัดการเชิงยุทธศาสตร์
 
แผนกลยุทธ์ในการบริหารงาน
แผนกลยุทธ์ในการบริหารงานแผนกลยุทธ์ในการบริหารงาน
แผนกลยุทธ์ในการบริหารงาน
 
ตัวอย่างงานบริหาร
ตัวอย่างงานบริหารตัวอย่างงานบริหาร
ตัวอย่างงานบริหาร
 
การวางแผนกลยุทธ์
การวางแผนกลยุทธ์การวางแผนกลยุทธ์
การวางแผนกลยุทธ์
 
Project planning - Workshop
Project planning - WorkshopProject planning - Workshop
Project planning - Workshop
 
แผนธุรกิจ
แผนธุรกิจแผนธุรกิจ
แผนธุรกิจ
 
บทนำ แผนพัฒนา 3 ปี
บทนำ แผนพัฒนา 3 ปีบทนำ แผนพัฒนา 3 ปี
บทนำ แผนพัฒนา 3 ปี
 

More from ประพันธ์ เวารัมย์

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560ประพันธ์ เวารัมย์
 
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้และนักวิชาการจัดเก็บรายได้
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้และนักวิชาการจัดเก็บรายได้แนวข้อสอบเจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้และนักวิชาการจัดเก็บรายได้
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้และนักวิชาการจัดเก็บรายได้ประพันธ์ เวารัมย์
 
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานธุรการ และนักจัดการงานทั่วไป สอบท้องถิ่น
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานธุรการ และนักจัดการงานทั่วไป สอบท้องถิ่นแนวข้อสอบเจ้าพนักงานธุรการ และนักจัดการงานทั่วไป สอบท้องถิ่น
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานธุรการ และนักจัดการงานทั่วไป สอบท้องถิ่นประพันธ์ เวารัมย์
 
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการประเมินครั้งที่ 2 เพื่อคัดเลือกพนักงานราชกา...
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการประเมินครั้งที่ 2 เพื่อคัดเลือกพนักงานราชกา...ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการประเมินครั้งที่ 2 เพื่อคัดเลือกพนักงานราชกา...
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการประเมินครั้งที่ 2 เพื่อคัดเลือกพนักงานราชกา...ประพันธ์ เวารัมย์
 
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติวิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติวิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539แนวข้อสอบพระราชบัญญัติวิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติวิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539ประพันธ์ เวารัมย์
 
แนวข้อสอบข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ชุดที่ 2
แนวข้อสอบข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น  ชุดที่ 2แนวข้อสอบข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น  ชุดที่ 2
แนวข้อสอบข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ชุดที่ 2ประพันธ์ เวารัมย์
 
แนวข้อสอบเจ้าพนักงาน/นักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
แนวข้อสอบเจ้าพนักงาน/นักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแนวข้อสอบเจ้าพนักงาน/นักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
แนวข้อสอบเจ้าพนักงาน/นักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยประพันธ์ เวารัมย์
 
สรุปแผนยุทธศาสตร์แผนกรมพัฒนาชุมชน
สรุปแผนยุทธศาสตร์แผนกรมพัฒนาชุมชนสรุปแผนยุทธศาสตร์แผนกรมพัฒนาชุมชน
สรุปแผนยุทธศาสตร์แผนกรมพัฒนาชุมชนประพันธ์ เวารัมย์
 
ประกาศรายชื่อมีสิทธิเข้ารับการประเมินฯ กำหนดวัน เวลา สถานที่ และระเบียบฯ เพื่...
ประกาศรายชื่อมีสิทธิเข้ารับการประเมินฯ กำหนดวัน เวลา สถานที่ และระเบียบฯ เพื่...ประกาศรายชื่อมีสิทธิเข้ารับการประเมินฯ กำหนดวัน เวลา สถานที่ และระเบียบฯ เพื่...
ประกาศรายชื่อมีสิทธิเข้ารับการประเมินฯ กำหนดวัน เวลา สถานที่ และระเบียบฯ เพื่...ประพันธ์ เวารัมย์
 
รวมแนวข้อสอบทีเคยออกชุดพิเศษ (แนวข้อสอบเก่า)
รวมแนวข้อสอบทีเคยออกชุดพิเศษ (แนวข้อสอบเก่า)รวมแนวข้อสอบทีเคยออกชุดพิเศษ (แนวข้อสอบเก่า)
รวมแนวข้อสอบทีเคยออกชุดพิเศษ (แนวข้อสอบเก่า)ประพันธ์ เวารัมย์
 
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแนวข้อสอบเจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยประพันธ์ เวารัมย์
 
หัวข้อสอบเตรียมสอบ นักวิเคราะห์นโยบายบายและแผน สังกัดท้องถิ่น
หัวข้อสอบเตรียมสอบ นักวิเคราะห์นโยบายบายและแผน สังกัดท้องถิ่น หัวข้อสอบเตรียมสอบ นักวิเคราะห์นโยบายบายและแผน สังกัดท้องถิ่น
หัวข้อสอบเตรียมสอบ นักวิเคราะห์นโยบายบายและแผน สังกัดท้องถิ่น ประพันธ์ เวารัมย์
 
แนวข้อสอบท้องถิ่น บรรจุแต่งตั้งสังกัดอบต. เทศบาล อบจ. และเมืองพัทยา จำนวน 211...
แนวข้อสอบท้องถิ่น บรรจุแต่งตั้งสังกัดอบต. เทศบาล อบจ. และเมืองพัทยา จำนวน 211...แนวข้อสอบท้องถิ่น บรรจุแต่งตั้งสังกัดอบต. เทศบาล อบจ. และเมืองพัทยา จำนวน 211...
แนวข้อสอบท้องถิ่น บรรจุแต่งตั้งสังกัดอบต. เทศบาล อบจ. และเมืองพัทยา จำนวน 211...ประพันธ์ เวารัมย์
 
สรุปพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และแก้ไขเพิ่มเติม ถึง ฉบ...
สรุปพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และแก้ไขเพิ่มเติม ถึง ฉบ...สรุปพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และแก้ไขเพิ่มเติม ถึง ฉบ...
สรุปพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และแก้ไขเพิ่มเติม ถึง ฉบ...ประพันธ์ เวารัมย์
 
แนวข้อสอบ เตรียมสอบจังหวัดศรีสะเกษ (แนวข้อสอบเก่า)
แนวข้อสอบ เตรียมสอบจังหวัดศรีสะเกษ (แนวข้อสอบเก่า)แนวข้อสอบ เตรียมสอบจังหวัดศรีสะเกษ (แนวข้อสอบเก่า)
แนวข้อสอบ เตรียมสอบจังหวัดศรีสะเกษ (แนวข้อสอบเก่า)ประพันธ์ เวารัมย์
 
นักวิชาการเกษตร(ปฏิบัติการ เชี่ยวชาญ)
นักวิชาการเกษตร(ปฏิบัติการ เชี่ยวชาญ)นักวิชาการเกษตร(ปฏิบัติการ เชี่ยวชาญ)
นักวิชาการเกษตร(ปฏิบัติการ เชี่ยวชาญ)ประพันธ์ เวารัมย์
 
นักวิชาการตรวจสอบภายใน(ปฏิบัติการ เชี่ยวชาญ)
นักวิชาการตรวจสอบภายใน(ปฏิบัติการ เชี่ยวชาญ)นักวิชาการตรวจสอบภายใน(ปฏิบัติการ เชี่ยวชาญ)
นักวิชาการตรวจสอบภายใน(ปฏิบัติการ เชี่ยวชาญ)ประพันธ์ เวารัมย์
 

More from ประพันธ์ เวารัมย์ (20)

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
 
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้และนักวิชาการจัดเก็บรายได้
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้และนักวิชาการจัดเก็บรายได้แนวข้อสอบเจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้และนักวิชาการจัดเก็บรายได้
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้และนักวิชาการจัดเก็บรายได้
 
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานธุรการ และนักจัดการงานทั่วไป สอบท้องถิ่น
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานธุรการ และนักจัดการงานทั่วไป สอบท้องถิ่นแนวข้อสอบเจ้าพนักงานธุรการ และนักจัดการงานทั่วไป สอบท้องถิ่น
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานธุรการ และนักจัดการงานทั่วไป สอบท้องถิ่น
 
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการประเมินครั้งที่ 2 เพื่อคัดเลือกพนักงานราชกา...
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการประเมินครั้งที่ 2 เพื่อคัดเลือกพนักงานราชกา...ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการประเมินครั้งที่ 2 เพื่อคัดเลือกพนักงานราชกา...
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการประเมินครั้งที่ 2 เพื่อคัดเลือกพนักงานราชกา...
 
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติวิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติวิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539แนวข้อสอบพระราชบัญญัติวิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติวิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
 
แนวข้อสอบข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ชุดที่ 2
แนวข้อสอบข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น  ชุดที่ 2แนวข้อสอบข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น  ชุดที่ 2
แนวข้อสอบข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ชุดที่ 2
 
แนวข้อสอบเจ้าพนักงาน/นักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
แนวข้อสอบเจ้าพนักงาน/นักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแนวข้อสอบเจ้าพนักงาน/นักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
แนวข้อสอบเจ้าพนักงาน/นักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
 
สรุปแผนยุทธศาสตร์แผนกรมพัฒนาชุมชน
สรุปแผนยุทธศาสตร์แผนกรมพัฒนาชุมชนสรุปแผนยุทธศาสตร์แผนกรมพัฒนาชุมชน
สรุปแผนยุทธศาสตร์แผนกรมพัฒนาชุมชน
 
แนวข้อสอบระเบียบงานสารบรรณ
แนวข้อสอบระเบียบงานสารบรรณแนวข้อสอบระเบียบงานสารบรรณ
แนวข้อสอบระเบียบงานสารบรรณ
 
ประกาศรายชื่อมีสิทธิเข้ารับการประเมินฯ กำหนดวัน เวลา สถานที่ และระเบียบฯ เพื่...
ประกาศรายชื่อมีสิทธิเข้ารับการประเมินฯ กำหนดวัน เวลา สถานที่ และระเบียบฯ เพื่...ประกาศรายชื่อมีสิทธิเข้ารับการประเมินฯ กำหนดวัน เวลา สถานที่ และระเบียบฯ เพื่...
ประกาศรายชื่อมีสิทธิเข้ารับการประเมินฯ กำหนดวัน เวลา สถานที่ และระเบียบฯ เพื่...
 
แนวข้อสอบท้องถิ่น 407 ข้อ
แนวข้อสอบท้องถิ่น 407 ข้อแนวข้อสอบท้องถิ่น 407 ข้อ
แนวข้อสอบท้องถิ่น 407 ข้อ
 
แนวข้อสอบท้องถิ่น
แนวข้อสอบท้องถิ่นแนวข้อสอบท้องถิ่น
แนวข้อสอบท้องถิ่น
 
รวมแนวข้อสอบทีเคยออกชุดพิเศษ (แนวข้อสอบเก่า)
รวมแนวข้อสอบทีเคยออกชุดพิเศษ (แนวข้อสอบเก่า)รวมแนวข้อสอบทีเคยออกชุดพิเศษ (แนวข้อสอบเก่า)
รวมแนวข้อสอบทีเคยออกชุดพิเศษ (แนวข้อสอบเก่า)
 
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแนวข้อสอบเจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
แนวข้อสอบเจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
 
หัวข้อสอบเตรียมสอบ นักวิเคราะห์นโยบายบายและแผน สังกัดท้องถิ่น
หัวข้อสอบเตรียมสอบ นักวิเคราะห์นโยบายบายและแผน สังกัดท้องถิ่น หัวข้อสอบเตรียมสอบ นักวิเคราะห์นโยบายบายและแผน สังกัดท้องถิ่น
หัวข้อสอบเตรียมสอบ นักวิเคราะห์นโยบายบายและแผน สังกัดท้องถิ่น
 
แนวข้อสอบท้องถิ่น บรรจุแต่งตั้งสังกัดอบต. เทศบาล อบจ. และเมืองพัทยา จำนวน 211...
แนวข้อสอบท้องถิ่น บรรจุแต่งตั้งสังกัดอบต. เทศบาล อบจ. และเมืองพัทยา จำนวน 211...แนวข้อสอบท้องถิ่น บรรจุแต่งตั้งสังกัดอบต. เทศบาล อบจ. และเมืองพัทยา จำนวน 211...
แนวข้อสอบท้องถิ่น บรรจุแต่งตั้งสังกัดอบต. เทศบาล อบจ. และเมืองพัทยา จำนวน 211...
 
สรุปพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และแก้ไขเพิ่มเติม ถึง ฉบ...
สรุปพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และแก้ไขเพิ่มเติม ถึง ฉบ...สรุปพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และแก้ไขเพิ่มเติม ถึง ฉบ...
สรุปพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และแก้ไขเพิ่มเติม ถึง ฉบ...
 
แนวข้อสอบ เตรียมสอบจังหวัดศรีสะเกษ (แนวข้อสอบเก่า)
แนวข้อสอบ เตรียมสอบจังหวัดศรีสะเกษ (แนวข้อสอบเก่า)แนวข้อสอบ เตรียมสอบจังหวัดศรีสะเกษ (แนวข้อสอบเก่า)
แนวข้อสอบ เตรียมสอบจังหวัดศรีสะเกษ (แนวข้อสอบเก่า)
 
นักวิชาการเกษตร(ปฏิบัติการ เชี่ยวชาญ)
นักวิชาการเกษตร(ปฏิบัติการ เชี่ยวชาญ)นักวิชาการเกษตร(ปฏิบัติการ เชี่ยวชาญ)
นักวิชาการเกษตร(ปฏิบัติการ เชี่ยวชาญ)
 
นักวิชาการตรวจสอบภายใน(ปฏิบัติการ เชี่ยวชาญ)
นักวิชาการตรวจสอบภายใน(ปฏิบัติการ เชี่ยวชาญ)นักวิชาการตรวจสอบภายใน(ปฏิบัติการ เชี่ยวชาญ)
นักวิชาการตรวจสอบภายใน(ปฏิบัติการ เชี่ยวชาญ)
 

ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายและแผน

  • 1. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายและแผน ------------------- การจัดทําแผนงานโครงการ แผนงาน ( Program) หมายถึง กลุ่มของโครงการหลายๆ โครงการ โครงการ (Project) หมายถึง แผนงานย่อยที่ประกอบด้วยกิจกรรมหลายกิจกรรมที่ต้องอาศัย ทรัพยากรในการดําเนินงาน เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมายตามแผนที่วางไว้ โดยต้องมี ความเชื่อมโยงตั้งแต่ระดับนโยบาย แผนยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติราชการ แผนงานโครงการลงสู่กิจกรรมที่ ปฏิบัติการจัดทํา แผนงาน โครงการ จะต้องมีการดําเนินการกําหนดวัตถุประสงค์ การรวบรวม และการ วิเคราะห์ข้อมูล การพิจารณาถึงอุปสรรคปัญหา ค้นหาโอกาส เลือกแนวทางการปฏิบัติที่เป็นไปได้ หรือวิถีทาง ที่ดีที่สุดและกระบวนการสุดท้าย คือ การตรวจสอบ ทบทวน และการประเมินผลโครงการ ดังนั้น โครงการจึงมีความสําคัญต่อแผนการปฏิบัติงานดังต่อไปนี้ 1. ช่วยชี้ให้เห็นถึงปัญหา และภูมิหลังของการทํางาน 2. ช่วยให้การปฏิบัติงานตามแผนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 3. ช่วยให้แผนงานมีความชัดเจน โดยบุคคลที่เกี่ยวข้องมีความเข้าใจและรับรู้ถึงปัญหาร่วมกัน 4. ช่วยให้แผนงานมีทรัพยากรใช้อย่างเพียงพอ เหมาะสมกับสภาพปฏิบัติจริง เพราะมีรายละเอียด การใช้ทรัพยากรที่ชัดเจน 5. ช่วยให้แผนงานมีความเป็นไปได้สูงเพราะมีผู้รับผิดชอบ และมีความเข้าใจในการดําเนินงาน 6. ช่วยลดความขัดแย้ง และขจัดความซ้ําซ้อนในหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงาน เพราะแต่ละ หน่วยงาน มีโครงการที่ได้รับผิดชอบเป็นการเฉพาะเหมาะสมกับความรู้ความสามารถของบุคคลในหน่วยงาน 7. สร้างทัศนคติที่ดีต่อบุคลากรในหน่วยงานเป็นการเสริมสร้างความสามัคคี และความรับผิดชอบ ร่วมกัน ตามความรู้ ความสามารถ และศักยภาพของแต่ละบุคคลอย่างเต็มที่ 8. สร้างความมั่นคงให้กับแผนงาน และสร้างความมั่นใจในการดําเนินงานให้กับผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ 9. สามารถควบคุมการทํางานได้สะดวก ไม่ซ้ําซ้อน เพราะงานได้แยกออกเป็นส่วนๆ ตาม ลักษณะเฉพาะของงาน กระบวนการจัดทําแผนที่ดีต้องเริ่มตั้งแต่การจัดทําแผน การตรวจสอบการดําเนินการ การควบคุม การกํากับติดตาม การประเมินผล ขั้นตอนการวางแผน 1. 1.การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมขององค์กร(SWOT analysis) 2. การกําหนดทิศทางในอนาคตขององค์กร(Mission & Vision) 3. การกําหนดกลยุทธ์ขององค์กร(Strategic Direction) 4. การกําหนดปัจจัยแห่งความสําเร็จและตัวชี้วัดหลัก(Key Success Factor / Key Performance Indicator) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมขององค์กร (SWOT analysis) การวิเคราะห์ปัจจัยภายในองค์กร (จุดแข็ง (STRENGTHS) /จุดอ่อน (WEAKNESSES)การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน (S & W) 7 ด้าน ประกอบด้วย โครงสร้างของหน่วยงาน ระบบการทํางาน สไตล์การทํางาน จํานวนบุคลากร ความเชี่ยวชาญทักษะการทํางาน กลยุทธ์การทํางานของหน่วยงาน
  • 2. เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยภายในและภายนอกองค์กรแล้วให้นําผลการวิเคราะห์มากําหนดกลยุทธ์เพื่อใช้ในการ กําหนดเป้าหมายเพื่อจัดทําแผนงานและโครงการของหน่วย การเขียนโครงการเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผน ที่จะทําให้หน่วยงานบรรลุผลสําเร็จตามเป้าหมายลักษณะของ โครงการที่ดี มีดังนี้ 1. ต้องมีความชัดเจน หมายถึง โครงการต้องมีเนื้อหาชัดเจน ตอบคําถามของผู้อ่านโครงการได้ 2. มีความเป็นไปได้ หมายถึง วิธีการดําเนินโครงการต้องมีความชัดเจนเมื่อมีการดําเนินโครงการ ตามลําดับขั้นแล้วมีความเป็นไปได้สูงว่าโครงการจะประสบผลสําเร็จตามที่ตั้งวัตถุประสงค์ไว้ 3. ประหยัด หมายถึง การจัดทําโครงการควรเลือกวิธีการดําเนินโครงการที่ประหยัดทรัพยากร เสีย ค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด และประหยัดเวลา 4. ประสิทธิภาพ หมายถึง การดําเนินโครงการที่ประหยัดทรัพยากร ต้องได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการหรือ ตามที่ตั้งวัตถุประสงค์ไว้ 5. ความเชื่อมั่นสูง หมายถึง โครงการที่มีความเป็นไปได้ และหากเปลี่ยนผู้รับผิดชอบการดําเนิน โครงการ โครงการก็สามารถดําเนินการได้ประสบผลสําเร็จได้ใกล้เคียงกัน หรือได้ผลลัพธ์เท่าเดิมหากนํา โครงการนั้นไปดําเนินการที่อื่นๆ 6. มีการประเมินผลได้ หมายถึง โครงการต้องสามารถประเมินผลได้ว่าผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการ ดําเนินโครงการ มีความแตกต่างมากน้อยเพียงใดกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ และต้องประเมินผลสัมฤทธิ์ของ โครงการได้ การวางแผนกลยุทธ์ หรือ Strategic Planning นั้นเป็นสิ่งที่ใช้กันแพร่หลายมาก ในกิจการด้านการทหาร ใน ด้านการศึกการสงคราม ในด้านการเมืองระหว่างประเทศ และโดยเฉพาะในการบริหาร ในวงการธุรกิจเอกชน นั้น ประสบความสําเร็จสูงมาก ก้าวหน้าและเป็นที่กล่าวขวัญถึงกันมาก ปัจจุบันนี้การวางแผนแบบแผนกลยุทธ์ ได้แพร่หลายเข้ามาในวงของราชการมากขึ้น แต่คําที่นิยมใช้และที่ได้รับการยอมรับกันในวงราชการ ส่วนใหญ่ นิยมเรียกว่า แผนยุทธศาสตร์การวางแผนเชิงกลยุทธ์นั้น เป็นการวางแผนที่มีการกําหนดวิสัยทัศน์ มีการ
  • 3. กําหนดเป้าหมายระยะยาวที่แน่ชัด มีการวิเคราะห์อนาคตและคิดเชิงการแข่งขัน ที่ต้องการระบบการทํางานที่ มีความสามารถในการปรับตัวสูง สําหรับการทํางานในสิ่งแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ทัน กับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ต้องการระบบการทํางานที่คล่องตัว ต้องการดําเนินงานมีประสิทธิภาพสูงในการ นําสู่เป้าหมายในอนาคต สามารถเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต เพื่อความอยู่รอด (Survive) และ ความก้าวหน้า (Growth) ขององค์การ ของหน่วยงาน หรือของธุรกิจของตนในอนาคตการวางแผนกลยุทธ์หรือ การวางแผนเชิงกลยุทธ์นี้ มีส่วนเป็นอย่างมากต่อการสร้างความเป็นผู้นํา(Leadership) หรือในการสร้าง ภาพลักษณ์ (Image) ที่แสดงถึงจุดเด่นของหน่วยงาน ขององค์การหรือของธุรกิจในการวางแผนกลยุทธ์นั้น จะ มีการกําหนดเป้าหมายรวมขององค์การ สําหรับการดําเนินในอนาคตที่เรียกว่า วิสัยทัศน์ มีการคิดในเชิงรุก มุ่ง เอาดี เอาเด่น เอาก้าวหน้า ก้าวไกล มุ่งเอาชนะ เอาความยิ่งใหญ่เน้นคุณภาพ เอาความเป็นเลิศ SWOT Analysis / วิเคราะห์ “สวอท” / การวิเคราะห์จุดอ่อน-จุดแข็ง การวางแผนเชิงกลยุทธ์ ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของเอกชนหรือในส่วนของรัฐก็ตามนั้น จะเน้น ความสามารถในการคาดคะเนสภาพในอนาคต การคิดไปในอนาคต เพื่อจะได้กําหนดหนทางหรือกลยุทธ์การ ทํางานในอนาคตของหน่วยงาน สู่จุดหมายที่ต้องการ เพื่อเตรียมเผชิญกับการแข่งขันหรือเผชิญกับการ เปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น เน้นถึงความสามารถในการปรับตัวขององค์การ เพื่อนําองค์การไปสู่จุดหมายที่ ต้องการความสําคัญของการวางแผนกลยุทธ์ 1. การวางแผนกลยุทธ์เป็นรูปแบบการวางแผนที่ช่วยให้หน่วยงานพัฒนาตนเองได้ทันกับสภาพการ เปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม เพราะการวางแผนกลยุทธ์ให้ความสําคัญกับการศึกษาวิเคราะห์บริบทและ สภาพแวดล้อมภายนอกหน่วยงานเป็นประเด็นสําคัญ 2. การวางแผนกลยุทธ์ เป็นรูปแบบการวางแผนที่ช่วยให้หน่วยงานภาครัฐในทุกระดับ มีความเป็น ตัวเองมากขึ้น รับผิดชอบต่อความสําเร็จและความล้มเหลวของตนเองมากขึ้น ทั้งนี้ เพราะการวางแผนกลยุทธ์ เป็นการวางแผนขององค์การ โดยองค์การและเพื่อองค์การไม่ใช่เเป็นการวางแผนที่ต้องกระทําตามที่หน่วย เหนือสั่งการ 3. การวางแผนกลยุทธ์ เป็นรูปแบบการวางแผนที่สอดรับกับการกระจายอํานาจ ซึ่งเป็นกระแสหลัก ในการบริหารภาครัฐในปัจจุบัน และสอดคล้องกับที่สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ได้เตรียมออก ระเบียบกําหนดให้หน่วยงานภาครัฐทุกระดับมีการจัดทําแผนกลยุทธ์ใช้เป็นเครื่องมือ ในการพัฒนางานสู่มิติ ใหม่ของการปฏิรูประบบราชการ 4. การวางแผนกลยุทธ์ เป็นเงื่อนไขหนึ่งของการจัดทําระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน (Performance Base Budgeting) ซึ่งสํานักงบประมาณกําหนดให้ส่วนราชการและหน่วยงานในสังกัดจัดทํา ก่อนที่จะกระจายอํานาจด้านงบประมาณโดยการจัดสรรงบประมาณเป็นเงินก้อนลงไปให้หน่วยงาน 5. การวางแผนกลยุทธ์ เป็นการวางแผนที่ให้ความสําคัญต่อการกําหนด “กลยุทธ์” ที่ได้มาจากการคิด วิเคราะห์แบบใหม่ ๆ ที่ไม่ผูกติดอยู่กับปัญหาเก่าในอดีตไม่เอาข้อจํากัดทางด้านทรัพยากร และงบประมาณมา เป็นข้ออ้าง ดังนั้น การวางแผนกลยุทธ์จึงเป็นการวางแผนแบบท้าทายความสามารถ เป็นรูปแบบการวางแผนที่ ช่วยให้เกิดการริเริ่มสร้างสรรค์ทางเลือกใหม่ ได้ด้วยตนเอง จึงเป็นการวางแผนพัฒนาที่ยั่งยืน ข้อแตกต่าง ระหว่างการวางแผนกลยุทธ์ กับการวางแผนทั่วไป การวางแผนกลยุทธ์ เป็นการวางแผนเพื่อนําองค์การไปสู่ภาพลักษณ์ใหม่ ก้าวสู่วิสัยทัศน์ที่ต้องการในอนาคต การวางแผนกลยุทธ์จึงเป็นการวางแผนในภาพรวมขององค์การทุกกลยุทธ์ที่กําหนดขึ้นเป็นปัจจัยที่ชี้อนาคต ขององค์การนั้น
  • 4. การวางแผนทั่วไป เป็นการวางแผนเพื่อแก้ปัญหา การป้องกันปัญหา หรือการพัฒนาผลผลิตขององค์การ ดังนั้น การวางแผนทั่วไปจึงมีจุดมุ่งหมายเพียงเพื่อการให้ได้แนวทางในการดําเนินงานที่ทําให้งานโครงการของ องค์การบรรลุผลสําเร็จอย่างมีประสิทธิภาพเท่านั้น โครงสร้างของแผนกลยุทธ์ การจัดทําแผนกลยุทธ์นั้น อาจจะสรุปเป็นขั้นตอนของการจัดทําแผนกลยุทธ์ในอีก แนวหนึ่ง เพื่อช่วยให้ขั้นตอนชัดเจน และเป็นทางเลือกในกระบวนการจัดทําแผน ภายหลังจากที่ได้ทราบถึง แนวคิดพื้นฐานขั้นต้นแล้วได้ว่า การวางแผนกลยุทธ์ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้ 1.การวิเคราะห์ภารกิจหรือพันธกิจ (Mission Analysis) 2.การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมในอนาคต (Environmental Analysis) 3.การวิเคราะห์องค์การ (SWOT หรือ Situation Analysis) 4.การกําหนดวิสัยทัศน์ (Vision) 5.การค้นหาอุปสรรคและปัญหาในการดําเนินงาน (Obstacles) 6.การกําหนดกลยุทธ์ (Strategy Decision) 7.การกําหนดนโยบาย (Policy Decision) 8.การกําหนดกิจกรรม (Activity) สําคัญตามกลยุทธ์และนโยบาย 9.การจัดทําเป็นแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning) การกําหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์และยุทธศาสตร์ขององค์การ วิสัยทัศน์ (Vision) คือ ภาพในอนาคตขององค์กรที่ผู้นําและสมาชิกทุกคนร่วมกันวาดฝันหรือจินตนาการขึ้น โดยมีพื้นฐานอยู่บนความเป็นจริงในปัจจุบัน เชื่อมโยงวัตถุประสงค์ ภารกิจ ค่านิยม และความเชื่อเข้าด้วยกัน พรรณนาให้เห็นทิศทางขององค์กรอย่างชัดเจน มีพลังท้าทาย ทะเยอทะยาน และมีความเป็นไปได้ เน้นถึง ความมุ่งมั่นที่จะทําสิ่งที่ยิ่งใหญ่ หรือดีที่สุดให้กับลูกค้าและสังคม วิสัยทัศน์จะเกี่ยวกับการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับการกําหนดทิศทางธุรกิจ เป็นการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการอยู่รอดทางธุรกิจ ซึ่งจะ กล่าวถึงอีกครั้งในเรื่องยุทธศาสตร์ขององค์การ ทําไมองค์กรต้องมีวิสัยทัศน์ 1. วิสัยทัศน์สร้างพลังให้กับองค์กร การจะทําให้องค์กรมีการรวมพลังมุ่งไปในทิศทางเดียวกันได้ต้อง อาศัยองค์ประกอบหลายอย่าง ที่สําคัญประการหนึ่ง คือ ภาวะผู้นําที่จะนําคนทั้งองค์กรได้ และวิสัยทัศน์ของ หน่วยงานหรือองค์กร 2. วิสัยทัศน์ทําให้ได้เปรียบในแข่งขัน ในโลกของการแข่งขันผู้นําที่มีวิสัยทัศน์ย่อมได้เปรียบเสมอ เพราะสามารถคะเนเหตุการณ์ในอนาคตได้ และวิสัยทัศน์ทําให้เกิดความทะเยอทะยานหาญกล้าที่จะเป็นหนึ่ง 3.วิสัยทัศน์ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิสัยทัศน์อาจจะเขียนในรูปของร้อยแก้วแบบใดก็ได้ แต่ควร ประกอบด้วยคุณลักษณะ 3 ประการ คือ 1.ท่านต้องการทําอะไรให้สําเร็จ (ภารกิจ) 2.ทําไมท่านจึงต้องการทําให้สําเร็จ (วัตถุประสงค์) 3.ท่านคาดหวังผล (Results) เช่นไร กระบวนการกําหนดวิสัยทัศน์นั้นทําได้หลายรูปแบบ แต่สิ่งที่ต้องมีเหมือนกันก็คือวิสัยทัศน์ กําหนดขึ้น โดยคณะผู้นําขององค์กร ซึ่งกําหนดร่วมกันโดยการประชุมสัมมนาระดมความคิดเห็น วิสัยทัศน์ต้องมีความ ชัดเจน ความยาวเหมาะสมกับโครงสร้าง ขนาด และลักษณะขององค์กร บอกได้ว่าองค์กรจะเป็นอย่างไร และ ทําอะไรในอนาคต รวมทั้งระบุความเชื่อที่เป็นพื้นฐานนําไปสู่วิสัยทัศน์นั้น วิสัยทัศน์ของแต่ละองค์กร ควรมี
  • 5. เอกลักษณ์พิเศษเฉพาะตัว เพื่อจําแนกให้ความแตกต่างจากองค์กรอื่นๆ ได้ นอกจากนี้วิสัยทัศน์ของแต่ละ หน่วยงานย่อยในองค์กรจะต้องสอดคล้องหรือสนับสนุนวิสัยทัศน์ขององค์กรด้วย กระบวนการสร้างวิสัยทัศน์ 1. ควรระบุวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน ขั้นที่หนึ่ง ประชุมคณะทํางานออกแบบสร้างวิสัยทัศน์ให้แต่ละคนระบุเหตุการณ์ หรือการตัดสินใจใน อดีต 4-8 อย่างที่เคยเกิดขึ้นกับองค์กร ขั้นที่สอง ให้สมาชิกแต่ละคนเขียนวัตถุประสงค์ของเขาในการทํางานให้กับองค์กร โดยให้แสดงออก จากส่วนลึกของจิตใจและเพิ่มความหมายให้กับงานที่ทํา การเขียนวัตถุประสงค์อาจนําด้วยคําถาม ขั้นที่สาม เป็นกิจกรรมกลุ่ม ให้จินตนาการว่าในอนาคตอีก 20 ปีข้างหน้า เมื่อวันนั้นมาถึงองค์กรควร จะประสบความสําเร็จในด้านใด มีชื่อเสียงด้านใด บรรลุวัตถุประสงค์ข้อใดบ้าง หรือยังบกพร่องด้านใดบ้าง ขั้นที่สี่ กลุ่มอธิบายว่า ลักษณะขององค์กรที่คาดหวังเป็นอย่างไร และสะท้อนให้เห็นถึงวัตถุประสงค์ ขององค์กรเพียงใด ขั้นที่ห้า นําข้อคิดที่ได้ทั้งหมดมารวมเข้าเป็นข้อความที่ระบุวัตถุประสงค์ ขั้นที่หก พิจารณาว่าจะวัดหรือประเมินวัตถุประสงค์นั้นได้อย่างไร 2. การระบุภารกิจให้ชัดเจน (Mission) เป็นการพิจารณาว่าองค์กรของท่านควรจะทําอะไรที่พิเศษหรือยิ่งใหญ่ ให้สังคม เมื่อเปรียบเทียบกับองค์กรอื่นที่มีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกันแล้ว พบว่าภารกิจองค์กรของท่านควร แตกต่างจากองค์กรเหล่านั้นอย่างไร ให้เขียนภารกิจลงไปให้ชัดเจน 3. การวิเคราะห์องค์กร เนื่องจากวิสัยทัศน์ต้องอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง จึงจําเป็นต้องวิเคราะห์จุดแข็งและ จุดอ่อนขององค์กรเพื่อดูความเป็นไปได้ 4. การสร้างวิสัยทัศน์ ย้อนกลับไปดูวัตถุประสงค์ (Purpose) และภารกิจ (Mission) นํามากําหนดเป็น วิสัยทัศน์พิจารณาความเป็นไปได้จากการวิเคราะห์องค์กร แล้วปรับแก้ไขอีกครั้ง จากนั้นทดสอบประสิทธิผล ของวิสัยทัศน์ที่เขียนโดยตอบคําถามให้ได้ว่าวิสัยทัศน์นั้นเป็นที่เข้าใจของคนในองค์กร การเขียนวิสัยทัศน์ ต้อง สั้น ง่าย ให้พลัง สรุปได้แก่ ลักษณะของวิสัยทัศน์ต้อง : จูงใจ ระดมความคิด ระดมพลังใจ ปลุกเร้า การเขียนวิสัยทัศน์ : สั้น ง่าย ให้พลัง พันธกิจ (Mission) คือ จุดมุ่งหมายพื้นฐานซึ่ง แสดงเหตุผลหรืออธิบายว่าทําไมองค์กรจึงถือกําเนิดขึ้นมาหรือดํารงอยู่ เป็นหลักการที่ใช้เป็นแนวทาง ในการตัดสินใจ กําหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และยุทธศาสตร์การวิเคราะห์ภารกิจหรือพันธกิจขององค์กร (Mission Aanlysis) เพื่อตรวจสอบว่า งานหลักขององค์กรที่ทําอยู่ในปัจจุบัน ยังมีความเป็นอยู่หรือไม่พันธกิจ ใดควรยกเลิก เพราะเหตุใด พันธกิจใดควรดํารงอยู่เพราะเหตุใด และพันธกิจใดควรปรับเปลี่ยนใหม่หรือเพิ่มขึ้น ใหม่ เพราะเหตุใด บุคลากรในองค์กรต้องตระหนักว่าภาระกิจใดคือภารกิจหลัก ภารกิจรอง ซึ่งบางหน่วยงาน หลงบทบาทหน้าที่ ไปทําภารกิจรองแทน ภารกิจหลักก็จะทําให้องค์กรนั้นมีปัญหาในการดําเนินงานได้ เป้าประสงค์เป้าประสงค์ คือ สภาพความสําเร็จของการดําเนินงานในขั้นตอนสุดท้ายของแต่ละยุทธศาสตร์ การกําหนดอาจช่วงเวลาที่ต่างกัน 5 ปี 3 ปี หรือ 10 ปีแล้วแต่กรณี การกําหนดเป้าประสงค์ในระยะยาว (Long term objective) อาจกําหนดสภาพความสําเร็จของการดําเนินงานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในแต่ละปีได้ หรืออาจเป็นเป้าประสงค์ลักษณะที่เป็นเป้าหมาย (Target) เป้าประสงค์ขององค์กรเป้าประสงค์ขององค์กร หมายถึง การระบุหรือบอกให้ทราบเกี่ยวกับสิ่งที่ องค์กรจะทําให้ได้ หรือสิ่งที่องค์กรต้องการจะเป็นสําหรับระยะเวลาใดเวลาหนึ่งที่อยู่ไกลออกไป เช่น อาจจะ
  • 6. เป็น 3 ปีถึง 5 ปีก็ได้เป้าประสงค์ที่กําหนดขึ้นมานี้ ในทางปฏิบัติควรจะต้องสามารถวัดผลได้ตามสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป้าประสงค์ระยะสั้น ซึ่งเป็นเป้าประสงค์จากการดําเนินงานที่เป็นผลงานประจําปี หรือที่ เรียกเป็น ภาษาอังกฤษว่า “ annual operational ” นั้นการระบุออกมาเป็นจํานวนตัวเลขที่ชัดเจนและวัดได้ นับว่าเป็นสิ่งจําเป็นและสําคัญยิ่ง ที่จะช่วยให้การวางแผนมีคุณภาพสําหรับที่จะนํามาใช้บริหารงานในทาง ปฏิบัติแต่สําหรับเป้าประสงค์ระยะยาวนั้น โดยที่มีลักษณะเป็นการพิจารณาในทางกลยุทธ์ และมุ่งที่จะระบุให้ เห็นถึงตําแหน่งฐานะที่ต้องการจะได้หรือต้องการจะเป็น มากกว่าการระบุถึงสิ่งที่จะทําให้เสร็จ การระบุ เป้าประสงค์ระยะยาวจึงมีลักษณะเป็นการบรรยายความเป็นข้อความกะทัดรัด สั้น ๆ แต่ชัดเจน แต่ในเวลา เดียวกัน ขณะที่มีการจัดทําแผนดําเนินงานที่ทําควบคู่ตามกันมานั้นเอง การระบุเป้าประสงค์ออกเป็นเป้าหมาย ผลสําเร็จต่าง ๆ ที่แยกย่อยลงมาอย่างครบถ้วน และมีความชัดเจนในตัวเหล่านี้ ย่อมจะสามารถ ส่งผลสนับสนุนให้องค์กรโดยส่วนรวมประสบผลสําเร็จเป็นไปตามที่ตั้งไว้ได้ วิธีการจัดทําแผนกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพ การจัดทําแผนกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพ จะสามารถทําได้โดยวิธีการจัดประชุมคณะกรรมการวางแผน ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร และลักษณะการประชุมจะต้องเปิดกว้างโดยมีการขยายขอบเขตทั่วถึงทุกจุดงานที่มี ความสําคัญ พร้อมกับต้องเป็นการประชุมที่มีคุณภาพ ที่ผู้บริหารทุกคนต่างก็ทุ่มเทเอาใจใส่ในผลสําเร็จต่าง ๆ ที่จะทําได้ด้วย ในการจัดประชุมวางแผนนี้ จะมีการจัดการประชุมเพื่อพิจารณาส่วนประกอบของการวางแผน แต่ละส่วนหรือหลายส่วนรวมกันได้ การให้ความสําคัญต่อการประชุมวางแผนในกระบวนการวางแผนนี้ นับว่า มีความสําคัญต่อความสําเร็จของการวางแผนได้ไม่แพ้เนื้อหาของตัวแผนกลยุทธ์ที่จัดทําขึ้นมา ทั้งนี้เพราะตาม กระบวนการวางแผนที่มีการพัฒนาจัดทําแผนนั้น การคัดเลือกคณะกรรมการวางแผน การกําหนดบทบาท หน้าที่ของคณะกรรมการ บทบาทหน้าที่ของสมาชิก ตลอดจนการกําหนดลักษณะการประชุมและการกํากับ การวางแผนตามขั้นตอนต่าง ๆ เหล่านี้นับว่ามีความสําคัญเป็นพิเศษ เพราะการร่วมกันคิด การร่วมปรึกษากัน ตลอดจนการโต้แย้งเหตุผลกัน และการปรับแก้ไขบางอย่าง รวมทั้งการหาข้อสรุปที่ต้องกระทําภายใน กระบวนการวางแผน หากทําได้ดีแล้ว คุณค่าของแผนงานก็จะมีมากขึ้นได้ แต่อย่างไรก็ตาม เนื้อหาของแผน กลยุทธ์ที่จัดทําขึ้นมาก็มีความสําคัญในตัวของมันเอง ซึ่งควรจะต้องจัดทําขึ้นมาอย่างเหมาะสมและเป็น ระเบียบครบครันตามกรอบของการวางแผนทางกลยุทธ์ที่กล่าวมาแล้วด้วย การวิเคราะห์ SWOT (SWOT Analysis) SWOT Analysis เป็นการวิเคราะห์สภาพองค์การ หรือหน่วยงานในปัจจุบัน เพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดเด่น จุดด้อย หรือสิ่งที่อาจเป็นปัญหาสําคัญในการดําเนินงานสู่สภาพที่ต้องการในอนาคต SWOT เป็นตัวย่อที่มีความหมายดังนี้ Strengths - จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบ Weaknesses - จุดอ่อนหรือข้อเสียเปรียบ Opportunities - โอกาสที่จะดําเนินการได้ Threats - อุปสรรค ข้อจํากัด หรือปัจจัยที่คุกคามการดําเนินงานขององค์การ หลักการสําคัญของ SWOT ก็คือการวิเคราะห์โดยการสํารวจจากสภาพการณ์ 2 ด้าน คือสภาพการณ์ ภายในและสภาพการณ์ภายนอก ดังนั้นการวิเคราะห์ SWOT จึงเรียกได้ว่าเป็น การวิเคราะห์สภาพการณ์ (Situation Analysis) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน เพื่อให้รู้ตนเอง (รู้เรา) รู้จักสภาพแวดล้อม (รู้เขา) ชัดเจน และวิเคราะห์โอกาส-อุปสรรค การวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ทั้งภายนอกและภายในองค์กร ซึ่งจะช่วยให้ ผู้บริหารขององค์กรทราบถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายนอกองค์กร ทั้งสิ่งที่ได้เกิดขึ้นแล้วและ
  • 7. แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคต รวมทั้งผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ที่มีต่อองค์กรธุรกิจ และจุด แข็ง จุดอ่อน และความสามารถ ด้านต่าง ๆ ที่องค์กรมีอยู่ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการ กําหนดวิสัยทัศน์ การกําหนดกลยุทธ์และการดําเนินตามกลยุทธ์ขององค์กรระดับองค์กรที่เหมาะสมต่อไป ประโยชน์ของการวิเคราะห์ SWOT วิเคราะห์ SWOT เป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ทั้งภายนอกและภายในองค์กร ซึ่งปัจจัย เหล่านี้แต่ละอย่างจะช่วยให้เข้าใจได้ว่ามีอิทธิพลต่อผลการดําเนินงานขององค์กรอย่างไร จุดแข็งขององค์กรจะ เป็นความสามารถภายในที่ถูกใช้ประโยชน์เพื่อการบรรลุเป้าหมาย ในขณะที่จุดอ่อนขององค์กรจะเป็น คุณลักษณะภายในที่อาจจะทําลายผลการดําเนินงาน โอกาสทางสภาพแวดล้อมจะเป็นสถานการณ์ที่ให้โอกาส เพื่อการบรรลุเป้าหมายองค์กร ในทางกลับกันอุปสรรคทางสภาพแวดล้อมจะเป็นสถานการณ์ที่ขัดขวางการ บรรลุเป้าหมายขององค์กร ผลจากการวิเคราะห์ SWOT นี้จะใช้เป็นแนวทางในการกําหนดวิสัยทัศน์ การ กําหนดกลยุทธ์เพื่อให้องค์กรเกิดการพัฒนาไปในทางที่เหมาะสม ขั้นตอน / วิธีการดําเนินการทํา SWOT Analysis การวิเคราะห์ SWOT จะครอบคลุมขอบเขตของปัจจัยที่กว้างด้วยการระบุจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและ อุปสรรคขององค์กร ทําให้มีข้อมูล ในการกําหนดทิศทางหรือเป้าหมายที่จะถูกสร้างขึ้นมาบนจุดแข็งขององค์กร และแสวงหาประโยชน์จากโอกาสทางสภาพแวดล้อม และสามารถกําหนด กลยุทธ์ที่มุ่งเอาชนะอุปสรรคทาง สภาพแวดล้อมหรือลดจุดอ่อนขององค์กรให้มีน้อยที่สุดได้ ภายใต้การวิเคราะห์ SWOT นั้นจะต้องวิเคราะห์ทั้ง สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กร โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1. การประเมินสภาพแวดล้อมภายในองค์กร การประเมินสภาพแวดล้อมภายในองค์กรจะเกี่ยวกับการวิเคราะห์และพิจารณาทรัพยากรและความสามารถ ภายในองค์กรทุก ๆ ด้าน เพื่อที่จะระบุจุดแข็งและจุดอ่อนขององค์กรแหล่งที่มาเบื้องต้นของข้อมูลเพื่อการ ประเมินสภาพแวดล้อมภายใน คือระบบข้อมูลเพื่อการบริหาร ที่ครอบคลุมทุกด้าน ทั้งในด้านโครงสร้างระบบ ระเบียบ วิธีปฎิบัติงาน บรรยากาศในการทํางานและทรัพยากรในการบริหาร (คน เงิน วัสดุการจัดการ) รวมถึง การพิจารณาผลการดําเนินงานที่ผ่านมา ขององค์กรเพื่อที่จะเข้าใจสถานการณ์และผลกลยุทธ์ก่อนหน้านี้ด้วย - จุดแข็งขององค์กร (S-Strengths) เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยภายในจากมุมมองของผู้ที่อยู่ภายใน องค์กรนั้นเอง ว่าปัจจัยใดภายในองค์กรที่เป็นข้อได้เปรียบหรือจุดเด่นขององค์กรที่องค์กรควรนํามาใช้ในการ พัฒนาองค์กรได้ และควรดํารงไว้เพื่อการเสริมสร้างความเข็มแข็งขององค์กร - จุดอ่อนขององค์กร (W-Weanesses) เป็นการวิเคราะห์ ปัจจัยภายในจากมุมมองของผู้ที่อยู่ภายใน จากมุมมอง ของผู้ที่อยู่ภายในองค์กรนั้น ๆ เองว่าปัจจัยภายในองค์กรที่เป็นจุดด้อย ข้อเสียเปรียบขององค์กรที่ ควรปรับปรุงให้ดีขึ้นหรือขจัดให้หมดไป อันจะเป็นประโยชน์ต่อองค์กร 2. การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอก ภายใต้การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กรนั้น สามารถค้นหาโอกาสและอุปสรรคทางการดําเนินงาน ขององค์กรที่ได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจทั้งในและระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับการ ดําเนินงานขององค์กร เช่น อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ นโยบาย การเงิน การงบประมาณสภาพแวดล้อม ทางสังคม - โอกาสทางสภาพแวดล้อม (O-Opportunities) เป็นการวิเคราะห์ว่าปัจจัยภายนอกองค์กร ปัจจัยใด ที่สามารถส่งผลกระทบประโยชน์ ทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการดําเนินการขององค์กรในระดับมหาภาคและ องค์กรสามารถฉกฉวยข้อดีเหล่านี้มาเสริมสร้างให้หน่วยงานเข็มแข็ง ขึ้นได้
  • 8. - อุปสรรคทางสภาพแวดล้อม (T-Threats) เป็นการวิเคราะห์ว่าปัจจัยภายนอกองค์กรปัจจัยใดที่ สามารถส่งผลกระทบในระดับมหภาค ในทางที่จะก่อให้เกิดความเสียหายทั้งทางตรง และทางอ้อม ซึ่งองค์กร จําต้องหลีกเลี่ยงหรือปรับสภาพองค์กรให้มีความแข็งแกร่งพร้อมที่จะเผชิญ แรงกระทบดังกล่าวได้การเขียน โครงการ ความหมายของโครงการ “โครงการ” ภาษาอังกฤษใช้คําว่า Project (โปรเจ็ค)ซึ่งหมายถึง แผนงานที่ประกอบด้วยกิจกรรม หลายกิจกรรม หรืองานหลายงานที่ระบุรายละเอียดชัดเจน เช่น วัตถุประสงค์ เป้าหมายระยะเวลาดําเนินการ วิธีการหรือขั้นตอนในการดําเนินงาน พื้นที่ในการดําเนินงาน งบประมาณที่ใช้ในการดําเนินงานตลอดจน ผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้รับ โครงการเปรียบเสมือนพาหนะที่นําแผนปฏิบัติการไปสู่การดําเนินงานให้เกิดผลเพื่อ ไปสู่จุดหมายปลายทางตามที่ต้องการ โครงการที่ดีมีลักษณะอย่างไร โครงการที่ดีจะต้องมีลักษณะดังนี้ 1. สามารถแก้ไขปัญหาของกลุ่มหรือชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. สามารถสนองตอบต่อความต้องการของกลุ่ม ชุมชน นโยบายของหน่วยงานและนโยบายของ ประเทศชาติได้ดี 3. รายละเอียดของโครงการต้องเข้าใจง่ายและใช้ภาษาที่เข้าใจกันทั่วไป 4. มีวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ชัดเจน และมีลักษณะเฉพาะเจาะจง 5. รายละเอียดของโครงการต้องเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันตั้งแต่ประเด็นแรกถึงประเด็นสุดท้าย 6. กําหนดการใช้ทรัพยากรอย่างชัดเจน และเหมาะสม 7. มีวิธีการติดตาม และประเมินผลที่ชัดเจน โครงสร้างของโครงการ การเขียนโครงการจะต้องรู้และเข้าใจโครงสร้างของโครงการเสียก่อนว่าประกอบไปด้วยส่วนใดบ้างซึ่งโดยทั่วไป โครงสร้างของโครงการประกอบด้วย 1. ชื่อโครงการ ส่วนใหญ่มาจากงานที่ต้องการปฏิบัติ โดยจะต้องมีความชัดเจนเหมาะสม เฉพาะเจาะจง กะทัดรัด และสื่อความหมายได้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ดีบางหน่วยงานนอกจากจะมีชื่อของโครงการแล้ว ผู้เขียนโครงการอาจระบุชื่อของแผนงานไว้ด้วยก็ได้ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความชัดเจนมากยิ่งขึ้น และเป็นการชี้ให้ทราบว่าโครงการที่กําหนดขึ้นอยู่ในแผนงานอะไร 2. หลักการและเหตุผล เป็นการกล่าวถึงปัญหาและสาเหตุและความจําเป็นที่ต้องมีการจัดทําโครงการ โดยผู้เขียนโครงการจะต้อง พยายามแสดงให้เห็นถึงเหตุผล ความจําเป็นที่ต้องทําโครงการ โดยหาเหตุผล หลักการ ทฤษฎีแนวทางนโยบาย ของรัฐบาล นโยบายของกระทรวง / กรม ตลอดจนความต้องการในการพัฒนาทั้งนี้เพื่อแสดงข้อมูลที่มีน้ําหนัก น่าเชื่อถือและให้เห็นความสําคัญของสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยมีการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลด้วยเพื่อที่ ผู้อนุมัติโครงการจะได้ตัดสินใจสนับสนุนโครงการต่อไป 3. วัตถุประสงค์ เป็นการระบุถึงความต้องการในการดําเนินงานของโครงการ โดยแสดงให้เห็นถึงผลที่ ต้องการจะทําให้สําเร็จไว้อย่างกว้างๆ มี ลักษณะเป็นนามธรรม แต่ชัดเจนและไม่คลุมเครือ โดยโครงการหนึ่งๆ อาจมีวัตถุประสงค์มากกว่า 1 ข้อก็ได้ คือ มีวัตถุประสงค์หลัก และวัตถุประสงค์รองหรือวัตถุประสงค์ทั่วไป และวัตถุประสงค์เฉพาะก็ได้หลักการ เขียนวัตถุประสงค์ที่ดีซึ่งในที่นี้จะเรียกว่า หลัก SMART คือ
  • 9. 1. Sensible and Specific คือ มีความเป็นไปได้และมีความเฉพาะเจาะจง 2. Measurable คือ วัดและประเมินผลระดับของความสําเร็จได้ 3. Attainable คือ สามารถปฏิบัติได้ 4. Reasonable and Realistic คือ มีความเป็นเหตุเป็นผล และสอดคล้องกับความเป็นจริง 5. Time คือ มีการกําหนดขอบเขตของเวลาที่จะกระทําให้สําเร็จได้อย่างชัดเจน นอกจากนั้นการเขียนวัตถุประสงค์ยังต้องคํานึงถึงสิ่งต่อไปนี้ คือ 1. ใช้คํากริยาที่แสดงถึงความตั้งใจจริง เช่น เพื่อเพิ่ม... เพื่อลด...เพื่อส่งเสริม. เพื่อปรับปรุง...เพื่อ ขยาย..เพื่อรณรงค์...... เพื่อเผยแพร่....เป็นต้น 2. ระบุผลผลิต ( Output ) หรือระบุผลลัพธ์ ( Outcome ) ที่ต้องการให้เกิดขึ้นเพียงประการเดียว ในวัตถุประสงค์หนึ่งข้อ ถ้าเขียนวัตถุประสงค์ไว้หลายข้อ ข้อใดทําไม่สําเร็จเราสามารถประเมินผลได้ซึ่งอาจ กําหนดเป็นวัตถุประสงค์หลัก 1 ข้อ และวัตถุประสงค์รอง 1- 2 ข้อ โดยมีเงื่อนไขว่าถ้าบรรลุวัตถุประสงค์หลัก แต่ไม่บรรลุวัตถุประสงค์รอง ควรทําต่อไป 3. กําหนดเกณฑ์มาตรฐานของความสําเร็จที่วัดได้ในเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ 4. กําหนดช่วงเวลา พื้นที่ หรือกลุ่มเป้าหมายการเขียนวัตถุประสงค์ของโครงการจะต้องสอดคล้องกับ ความเป็นมาและความสําคัญของปัญหา ตลอดจนสอดคล้องกับแผนงานหลักด้วย 4. เป้าหมาย หมายถึงระบุถึงผลลัพธ์สุดท้ายที่คาดว่าจะได้จากการดําเนินโครงการ โดยจะระบุทั้งผลที่ เป็นเชิงปริมาณและผลเชิงคุณภาพ เป้าหมายจึงคล้ายกับวัตถุประสงค์แต่มีลักษณะเฉพาะเจาะจงมากกว่า มี การระบุสิ่งที่ต้องการทําได้ชัดเจนและระบุเวลาที่ต้องการจะบรรลุ 5. วิธีการดําเนินงาน เป็นการให้รายละเอียดในการปฏิบัติ โดยปกติจะแยกเป็นกิจกรรมย่อยๆหลาย กิจกรรม แต่เป็นกิจกรรมเด่นๆ ซึ่งจะแสดงให้เห็นความเด่นชัดตั้งแต่กิจกรรมเริ่มต้นจนถึงกิจกรรมสุดท้ายว่ามี กิจกรรมใดที่ต้องทําบ้าง ถ้าเป็นโครงการที่ไม่ซับซ้อนมากนักก็มักจะนิยมใช้แผนภูมิแกนท์ ( Gantt chart) หรือแผนภูมิแท่ง ( Bar chart ) 6. ผู้รับผิดชอบโครงการ เป็นการระบุว่าใครหรือหน่วยงานใดเป็นผู้รับผิดชอบและมีขอบเขตความ รับผิดชอบอย่างไรบ้าง ทั้งนี้เพื่อว่ามีปัญหาจะได้ติดต่อประสานงานได้ง่าย 7. งบประมาณ เป็นการระบุค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในการดําเนินกิจกรรมขั้นต่าง ๆ โดยทั่วไปจะแจกแจง เป็นหมวดย่อย ๆ เช่น หมวดค่าวัสดุ หมวดค่าใช้สอย หมวดค่าตอบแทน หมวดค่าครุภัณฑ์ซึ่งการแจกแจง งบประมาณจะมีประโยชน์ในการตรวจสอบความเป็นไปได้และตรวจสอบความเหมาะสมในสถานการณ์ต่าง ๆ นอกจากนั้นควรระบุแหล่งที่มาของงบประมาณด้วยว่าเป็นงบประมาณแผ่นดิน 8. สถานที่ดําเนินการ เป็นการระบุสถานที่ตั้งของโครงการหรือระบุว่ากิจกรรมนั้นจะทําณ สถานที่ แห่งใด เพื่อสะดวกต่อการจัดเตรียมสถานที่ให้พร้อมก่อนที่จะทํากิจกรรมนั้น ๆ 9. ระยะเวลาในการดําเนินการ เป็นการระบุระยะเวลาเริ่มต้นโครงการและระยะเวลาสิ้นสุดโครงการ โดยจะต้องระบุ วัน เดือน ปี เช่นเดียวกับการแสดงแผนภูมิแกนท์ ( Gantt Chart ) 10. ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ เป็นการระบุถึงผลที่คาดว่าจะได้รับจากการดําเนินโครงการ ประกอบด้วยผลทางตรงและผลทางอ้อม นอกจากนั้นต้องระบุด้วยว่าใครจะได้รับประโยชน์จากโครงการ บ้าง ได้รับประโยชน์อย่างใด ระบุทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ 11. การประเมินผลโครงการ เป็นการแสดงรายละเอียดว่าจะมีวิธีการควบคุมติดตามและ ประเมินผลโครงการอย่างไร ใช้เครื่องมืออะไรในการประเมินผล ระยะเวลาในการประเมินผลและใครเป็นผู้
  • 10. ประเมินผล ฯลฯ ดัชนีชี้วัดความสําเร็จของโครงการคืออะไร - วิธีประเมินผลโครงการ.................. - ระยะเวลาประเมินผลโครงการ............... - ผู้ประเมินผลโครงการ...................