SlideShare a Scribd company logo
1 of 21
Download to read offline
World
Think Tank
Monitor ปี ที่ 3 ฉบับที่ 7
กันยายน 2560
ปัญหาคาบสมุทรเกาหลี
จากมุมมองนักวิชาการจีน
การทูตรถไฟ
ความเร็วสูงของจีน
: ภาพใหญ่รถไฟไทย-จีน
3 หน้าของทรัมป์
ความสัมพันธ์
จีน-ยุโรป
ในทศวรรษหน้า
2 | WORLD THINK TANK Monitor กันยายน 2560
ที่ปรึกษา: ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์
บรรณาธิการ: คุณยุวดี คาดการณ์ไกล
เรียบเรียง: นางสาวปลายฟ้า บุนนาค
นายปาณัท ทองพ่วง
นายอุสมาน วาจิ
ภาพปก: เกาหลีเหนือทดลองยิงขีปนาวุธจากเรือดาน้า ที่มาภาพ http://www.independent.co.uk/
news/world/asia/north-korea-threat-sink-us-nuclear-submarine-uss-michigan-south-korea-
donald-trump-kim-jong-un-a7709946.html
เผยแพร่: กันยายน 2560
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.rsu-brain.com
ที่อยู่
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ อาคารพร้อมพันธุ์ 1 ชั้น 4 637/1 ถนน
ลาดพร้าว เขตจตุจักร กทม. 10900 โทรศัพท์ 02-930-0026 โทรสาร 02-930-0064
บทบรรณาธิการ
ในช่วงที่ผ่านมา เรื่องที่ “ร้อน” ที่สุดในการเมืองและความมั่นคงของโลกคงหนีไม่พ้นเรื่อง
วิกฤตนิวเคลียร์บนคาบสมุทรเกาหลีจากการทดสอบจรวดติดอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ ซึ่ง
นับวันยิ่งคืบหน้าไปทุกขณะ World Think Tank Monitor ฉบับนี้จึงหยิบเอาเนื้อหาที่กล่าวถึง
ประเด็นนี้มาพูดถึงด้วยกันสองชิ้น คือ หนึ่ง การมองปัญหาเกาหลีจากมุมมองนักวิชาการจีน ซึ่ง
น่าสนใจเพราะจีนเป็นตัวแปรที่สาคัญมากในปัญหาดังกล่าว แต่ที่ผ่านมาเรากลับไม่ค่อยได้ทราบว่าจีน
คิดอย่างไรในเรื่องนี้ มีแต่ติดตามความเห็นจากฝั่งเกาหลีเหนือ ใต้ ญี่ปุ่น หรือไม่ก็สหรัฐอเมริกา และ
สองคือ บทวิเคราะห์ความคิดของทรัมป์จากบทสุนทรพจน์ที่สหประชาชาติ ซึ่งเป็นที่ฮือฮามาก
หลังจากเขากล่าวว่าสหรัฐพร้อมที่จะ “ทาลายล้างเกาหลีเหนือ”
ใน World Think Tank Monitor ฉบับนี้ ยังมีบทความว่าด้วยเรื่องความคืบหน้า (หรือไม่
คืบหน้า) ของโครงการที่จีนเข้าไปสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อมเมืองต่างๆ ทั่วโลกอยู่ในเวลานี้ ซึ่ง
รถไฟไทยจีนของเราก็เป็นส่วนหนึ่งในสิ่งที่เรียกว่า “การทูตรถไฟความเร็วสูงของจีน” และยังมี
บทความที่ว่าด้วย ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสหภาพยุโรปในอนาคตด้วย
เชิญติดตามค่ะ
ยุวดี คาดการณ์ไกล
บรรณาธิการ
สารบัญ
หน้า
บทบรรณาธิการ
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
ปัญหาคาบสมุทรเกาหลี จากมุมมองนักวิชาการจีน 4
FINANCIAL TIMES
การทูตรถไฟความเร็วสูงของจีน : ภาพใหญ่รถไฟไทย-จีน 8
CHATHAM HOUSE
ความสัมพันธ์ระหว่างจีนและยุโรปทศวรรษหน้า 14
BROOKINGS INSTITUTION
3 หน้าของทรัมป์ 18
5 | WORLD THINK TANK Monitor กันยายน 2560
ปัญหาคาบสมุทรเกาหลี จากมุมมองนักวิชาการจีน
ที่มาภาพ http://i2.cdn.cnn.com/cnnnext/dam/assets/170905152113-north-korea-china-tease-graphic-large-169.jpg
Victory.jpg
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2560 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ ได้ต้อนรับ
ศ.ดร. Dong Xiangrong ผู้เชี่ยวชาญด้านเกาหลีศึกษา และผู้อานวยการฝ่ายรัฐศาสตร์
สานักยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศ สถาบันสังคมศาสตร์แห่งประเทศจีน (Chinese Acade-
my of Social Sciences: CASS) (Think Tank ด้านสังคมศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดของจีน) และ
รับฟังการบรรยายเรื่องการเมืองและการต่างประเทศของเกาหลีเหนือ เพื่อทาความเข้าใจ
การเมืองภายในและระหว่างประเทศของเกาหลีเหนือ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับปัญหาอาวุธ
นิวเคลียร์บนคาบสมุทรเกาหลี อันเป็นประเด็น “ร้อน” ทางการเมืองและความมั่นคง
ระหว่างประเทศของโลกอยู่ในเวลานี้
6 | WORLD THINK TANK Monitor กันยายน 2560
ศ.ดร. Dong Xiangrong เสนอว่าการ
วิเคราะห์สถานการณ์บนคาบสมุทรเกาหลี
ควรกระทาจากมุมมองทางประวัติศาสตร์
เพื่อให้เห็นที่มาที่ไปของปัญหา เข้าใจ
สถานการณ์ของแต่ละฝ่ ายเพื่อให้ ผู้ที่
พยายามจะแก้ปัญหานี้จะได้แก้อย่างถูกวิธี
ไม่ซ้าเติมให้ปัญหาทวีความยุ่งเหยิงอย่างทุก
วันนี้
ศ.ดร. Dong Xiangrong อธิบายว่า
ปัญหาคาบสมุทรเกาหลีเริ่มจากช่วงปลาย
สงครามโลกครั้งที่สองที่ชนชาติเกาหลี
พยายามเรียกร้องเอกราชจากญี่ปุ่ นที่เข้ามา
ยึดครองคาบสมุทรนี้ตั้งแต่ปี 1910-1945
อย่างไรก็ตาม ความพยายามนี้แตกเป็น
หลายฝ่ายที่มีแนวทางต่างกันในการให้ได้มา
ซึ่งเอกภาพและเอกราชของคาบสมุทรเกาหลี
ในเวลานั้น ไม่มีฝ่ ายใดที่มีอานาจทาง
การเมืองและทางทหารเพียงพอที่จะรวมชาติ
เกาหลีสาเร็จ ทาให้มหาอานาจ ตั้งแต่ช่วง
ปลายสงครามโลกครั้งที่สอง ต้องตกลงกัน
เข้ ามาบริหารจัดการเกาหลี นาโดย
ส ห รั ฐ อ เ ม ริ ก า โ ซ เ วี ย ต แ ล ะ จี น
สหรัฐอเมริกาเข้าสนับสนุนฝ่ายเกาหลีใต้ โซ
เวียตและจีนเข้าหนุนช่วยฝ่ายเกาหลีเหนือ
การรวมชาติเกาหลี ซึ่งไม่มีฝ่ายใดในเกาหลี
เองรวมได้เด็ดขาดอยู่แล้ว ยิ่งยากขึ้น เมื่อแต่
ละฝ่ายต่างมีอานาจภายนอกเข้ามาหนุนหลัง
ศ.ดร. Dong Xiangrong
7 | WORLD THINK TANK Monitor กันยายน 2560
ทุกวันนี้ ในทางทฤษฎี คาบสมุทร
เกาหลียังคงอยู่ในภาวะสงคราม เพราะการ
หยุดการสู้รบเมื่อปี 1953 ซึ่งโดยทั่วไป
เข้าใจกันว่าเป็นจุดสิ้นสุดของสงครามเกาหลี
นั้นแท้จริงเป็นเพียงการหยุดการสู้รบด้วย
ข้ อตกลงหยุ ดยิงเท่านั้ น นั่ นทาให้
สถานการณ์บนคาบสมุทรเกาหลีอ่อนไหว
มากต่อแม้เพียงการกระทาจากฝ่ายหนึ่งฝ่าย
ใด
สาหรับสาเหตุที่ทาให้เกาหลี
เหนือต้องหันมาทดลองอาวุธนิวเคลียร์นั้น
ศ.ดร. Dong อธิบายว่าเพื่อเป็น “ทางลัด”
และ “ทางรอด” เดียวของเกาหลีเหนือใน
การปกป้ องและประกันความอยู่รอดของ
ชาติ ระบอบการเมือง และผู้นาของตน และ
เพื่อถ่วงดุลอานาจบนคาบสมุทรเกาหลี ซึ่ง
เอนมาทางเกาหลีใต้นับตั้งแต่เกาหลีใต้
พัฒนาเศรษฐกิจขึ้นมาจนได้เปรียบเกาหลี
เหนือในทุกด้านไม่ว่าทางเศรษฐกิจหรือ
การทหาร ดังนั้น เกาหลีเหนือจะไม่หยุด
พัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของตน ไม่ว่าจะได้รับ
มาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจใดจากโลก
ภายนอก
ต่อประเด็นที่ผู้ติดตามปัญหาเกาหลี
สนใจกันมากคือบทบาทของจีนในการแก้ไข
ปัญหานี้ ศ.ดร. Dong ชี้ว่าจีนมีบทบาทใน
เรื่องนี้ได้น้อย กุญแจในการแก้ปัญหานี้ที่
แท้จริงอยู่ในมือสหรัฐอเมริกา เพราะ
สหรัฐอเมริกาเป็นผู้เดียวที่สามารถมอบสิ่งที่
เกาหลีเหนือต้องการที่สุดสามประการ คือ
ความปลอดภัยของชาติ ระบอบการเมือง
และผู้นา แก่เกาหลีเหนือได้ ด้วยการหันมา
ใช้สันติวิธีและการเจรจา
สาเหตุสาคัญที่จีนทาอะไรในเรื่องนี้
ไม่ได้มากนักเป็นเพราะว่าความสัมพันธ์จีน-
เกาหลีเหนือมิได้ดีและแน่นแฟ้ นพอที่จะให้
จีนใช้ไปกดดันเกาหลีเหนือให้ทาหรือไม่ทา
อะไรได้ดังที่ตะวันตกเรียกร้อง จุดขัดแย้งที่
สาคัญในความสัมพันธ์คือการที่จีนสถาปนา
ความสัมพันธ์ทางการทูตกับเกาหลีใต้ในปี
1992 ซึ่งจีนเห็นว่าเป็นเรื่องปกติแต่เกาหลี
เหนือมองว่าเป็นการหักหลังอย่างร้ายแรง
ทาให้ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับเกาหลี
เหนือมีแต่ทรงตัว ไม่พัฒนา มีการค้า การ
ไปมาหาสู่ระหว่างผู้นา และความเข้าใจใน
ความคิดของกันและกันน้อยมาก ยิ่งในยุค
ประธานาธิบดีคิม จอง อึน
8 | WORLD THINK TANK Monitor กันยายน 2560
อย่างไรก็ดี จีนยังคงให้ความช่วยเหลือ
จานวนหนึ่งแก่เกาหลีเหนือเพื่อปกป้องประเทศ
นี้จากการคุกคามของตะวันตกและเกาหลีใต้
และหวังให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในปัญหาเกาหลี
ทั้งเกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น
จีน หยุดการกระทาที่ยั่วยุและหันหน้ามาเจรจา
กัน
* * *
ที่มาภาพ https://ichef.bbci.co.uk/images/ic/720x405/p051rhp2.jpg
9 | WORLD THINK TANK Monitor กันยายน 2560
การทูตรถไฟความเร็วสูงของจีน
ภาพใหญ่รถไฟไทย-จีน
ภาพรถไฟความเร็วสูงจากกรุงอังการา นครหลวงตุรกี ไปยังอิสตันบูล ซึ่งเป็นเส้นเดียวที่สร้างโดยจีนในต่างประเทศที่สาเร็จเปิดใช้งาน
แล้ว ที่มาภาพ http://prod-upp-image-read.ft.com/18025c5a-6ae5-11e7-b9c7-15af748b60d0
ปาณัท ทองพ่วง
ช่วงที่ผ่านประเทศไทยพูดกันมากเรื่องรถไฟไทยจีน มีทั้งฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายค้าน ทั้ง
สองฝ่ายมีเหตุผลมากมายเวลากล่าวถึงเรื่องนี้ ไม่ว่าโยงไปถึงแผนยุทธศาสตร์ใหญ่ของจีน
ความได้เปรียบเสียเปรียบหรือความคุ้มทุน อย่างไรก็ดี คงจะดีหากเราได้เห็นภาพที่กว้างขึ้น
ว่าจีนไม่ได้ทาแต่รถไฟความเร็วสูงในเมืองไทย ความจริงโครงการรถไฟไทยจีนเป็นเพียงส่วน
หนึ่งของการออกไปสร้างรถไฟความเร็วสูงในที่ต่างๆ ทั่วโลกของจีน ในช่วงที่ผ่านมา หรือที่
เรียกกันว่า “การทูตรถไฟความเร็วสูง” ในการนี้ Financial Times สื่ออังกฤษ ได้ทาบท
วิเคราะห์ภาพรวมของ “การทูตรถไฟของจีน” ว่าจีนมีสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงในที่
10 | WORLD THINK TANK Monitor กันยายน 2560
ใดบ้าง ซึ่งชี้ให้เห็นว่า มิใช่โครงการรถไฟไทย
จีนที่เดียวเท่านั้นที่ติดขัดยากลาบากในการ
ผลักดัน แต่การทูตรถไฟของจีนก็กาลังเผชิญ
อุปสรรคในการขับเคลื่อนในที่อื่นๆ เช่นกัน
ด้วยเหตุผลบางประการดังที่ Financial Times
ได้วิจารณ์เอาไว้ ดังจะได้ยกมากล่าวแนะนาใน
ที่นี้บางประการ
การส่งออกเทคโนโลยีระบบรางและการ
ออกไปสร้างรถไฟความเร็วสูงในที่ต่างๆ ทั่ว
โลกของจีนในครั้งนี้ถูกคาดหวังให้เป็นหน้าเป็น
ตา นาชื่อเสียงมาสู่ประเทศจีนสมัยใหม่ และ
เป็นส่วนสาคัญยิ่งในมหายุทธศาสตร์ One Belt
One Road ที่จะเชื่อมต่อโยงใยเอเชีย ยุโรป
และแอฟริกาไว้ด้วยกัน ด้วยระบบรางเป็น
สาคัญที่สุด รวมทั้งถนน อุโมงค์ ไฮเวย์ เส้นทาง
เดินเรือ และศูนย์กลางการบิน Financial
Times อ้างผลการศึกษาของCenter for Strate-
gic and International Studies (CSIS) Think
Tank อเมริกัน ว่าโครงการสร้างรถไฟความเร็ว
สูงในที่ต่างๆ ของจีน รวม 18 โครงการ ซึ่งใน
จานวนนี้มี 1 โครงการที่สร้างสาเร็จแล้ว (คือ
สายอังการา-อิสตันบูล) 5 โครงการที่กาลัง
ก่อสร้าง และอีก 12 โครงการที่ประกาศออก
มาแล้วว่าจะสร้าง รวมมูลค่าโครงการทั้งสิ้น
143,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ถือเป็นโครงการ
ก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งวัด
จากมูลค่ารวมกันมากที่สุดเท่าที่โลกเคยเห็นมา
มากกว่าแผนการมาร์แชล ที่สหรัฐบริจาคเงิน
ฟื้ นฟูโครงสร้ างพื้ นฐานในยุโรปหลัง
สงครามโลกครั้งที่สอง มูลค่า 13,000 ล้าน
เหรียญในขณะนั้น ซึ่งเท่ากับประมาณ
130,000 ล้านเหรียญในปัจจุบัน
อย่างไรก็ดี บทความของ Financial
Times ชิ้นนี้เสนอว่าการทูตรถไฟความเร็วสูง
อันหมายถึงการใช้การเผยแพร่เทคโนโลยีรถไฟ
ความเร็วสูงเป็นตัวนาในการสร้างสัมพันธ์ทาง
เศรษฐกิจ การทูต และอิทธิพลของจีนในโลก
ไม่ได้รุดหน้าไปอย่างราบรื่นดังที่จีนหวัง ภาพ
ด้านล่างคือ ตัวอย่างของโครงการสร้างรถไฟ
ความเร็วสูงโดยจีนในประเทศต่างๆ ที่กาลัง
เผชิญอุปสรรค ล่าช้า หรือชะงักงันลง ด้วย
เหตุผลต่างๆ ทั้งที่จีนควบคุมได้และไม่ได้ เช่น
เส้นทางที่เชื่อมระหว่างเมืองตริโปลีกับเมือง
Sirte ของลิเบียที่ต้องหยุดการก่อสร้างลง
หลังจากสงครามกลางเมืองปะทุขึ้นใน ปี 2011
เพื่อล้มกัดดาฟี่ เส้นทางที่เชื่อมกรุงเม็กซิโกซิตี้
กับเมือง Queretaro ในเม็กซิโก ที่ต้องพับลง
หลังจากรัฐบาลเม็กซิโกบอกเลิกสัญญาจ้างกับ
จีน มูลค่า 3,700 ล้านเหรียญในการสร้าง
รถไฟความเร็วสูงสายดังกล่าวในปี 2014 โดย
11 | WORLD THINK TANK Monitor กันยายน 2560
ภาพแสดงเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายต่างๆ ที่จีนไปสร้างไว้ทั่วโลก แต่กาลังชะงักงัน
12 | WORLD THINK TANK Monitor กันยายน 2560
อ้างว่าเพราะขาดความโปร่งใสเป็นธรรม ใน
ปีเดียวกัน โครงการรถไฟความเร็วสูงพม่า-
จีน ระหว่างเมืองมัณฑะเลย์-ย่างกุ้ง ซึ่งเป็น
ส่วนสาคัญในการเชื่อมภาคตะวันตกเฉียงใต้
ของจีนออกอ่าวเบงกอล มหาสมุทรอินเดีย ก็
มีอันต้องระงับไปหลังมีกระแสคัดค้าน
ภายในพม่า และในปี 2016 บริษัท Xpress-
West ก็บอกเลิกโครงการที่ให้การรถไฟจีน
สร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อมเมืองลอส แองเจ
ลิส-ลาส เวกัส โดยอ้ างปัญหาเรื่อง
ประสิทธิภาพและความล่าช้ าในการ
ดาเนินงานของจีน
เราจะอธิบายปรากฏการณ์ที่
โครงการรถไฟความเร็วสูงของจีนประสบ
อุปสรรคในการขับเคลื่อนในหลายที่ทั่วโลก
อย่างไร? Financial Times ได้ ยกสาม
โครงการมาเป็นกรณีตัวอย่างในการอธิบาย
ว่าจีนยังคงต้องปรับวิธีทางานให้เข้ากับ
บริบทของประเทศอื่นๆ ที่แตกต่างจากจีน
ถ้าจะผลักดันให้โครงการประสบความสาเร็จ
คือ โครงการรถไฟความเร็วสูงของจีนในลาว
อินโดนีเซีย และในสายที่เชื่อมเซอร์เบีย-
ฮังการี ทั้งสามโครงการนี้ยังมิได้ล้มเลิกแต่
ประสบอุปสรรคในรูปแบบต่างๆ กันไป
ในกรณีโครงการรถไฟลาว-จีน ซึ่ง
เชื่อมชายแดนจีนมาถึงนครเวียงจันทน์ ความ
ยาว 417 กม. มีข้อวิตกกังวลในรัฐบาลลาว
เรื่องความคุ้มทุนของโครงการรถไฟความเร็ว
สูงสายนี้ สาหรับลาว เมื่อเทียบกับหนี้
สาธารณะที่จะเกิดจากโครงการนี้ที่ลาวจะต้อง
แบกรับ โครงการนี้ตีราคาออกมาที่ 5,800
ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งจีนเสนอว่าลาวควรเป็นผู้
ลงทุนหลักเอง ด้วยการกู้เงินจากจีน อย่างไรก็
ตาม เมื่อเทียบกับมูลค่าจีดีพีของลาวในปี
2015 ซึ่งอยู่ที่ 12,000 ล้านเหรียญ ก็จะ
เข้าใจได้ว่านี่เป็นภาระทางการเงินที่หนักหนา
เพียงใดสาหรับลาว ยิ่งเมื่อมีการประเมินว่า
ประโยชน์หลักของรถไฟความเร็วสูงสายนี้จะ
ตกแก่จีนมากกว่าลาว ทั้งในเชิงยุทธศาสตร์ที่
คาดว่ารถไฟความเร็วสูงเส้นนี้เป็นส่วนหนึ่ง
ของแผนใหญ่ของจีนที่จะเชื่อมจีนกับแผ่นดิน
อาเซียนด้วยรถไฟความเร็วสูงจากจีนตอนใต้
(คุนหมิง) เข้าลาว ผ่านไทยมาเลเซีย ไปถึง
สิงคโปร์ และในเชิงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
ของรถไฟสายนี้โดยเฉพาะ ซึ่งน่าจะเป็น
ทางผ่านรองรับการขนส่งสินค้าจากจีนสู่
อาเซียนมากกว่าที่จะอานวยความสะดวกให้
ลาวส่งสินค้าของตนไปยังจีน
กล่าวง่ายๆ คือ มีการประเมินแล้วว่าลาว
จะได้กาไรจากรถไฟความเร็วสูงสายนี้ต่า
ในขณะที่ต้องลงทุนสูงมากถึงเกือบครึ่งหนึ่ง
13 | WORLD THINK TANK Monitor กันยายน 2560
ของจีดีพีประเทศ ซึ่งแม้ว่ารถไฟความเร็วสูง
สายต่างๆ ภายในประเทศของจีนเอง ที่มี
ความยาวรวมกัน 2 หมื่นกว่ากิโลเมตร จะ
ประสบภาวะขาดทุนเช่นกัน (จนถึงปี 2015 มี
เพียง 6 สายที่กาไร จนทาให้ China Railway
Corporation รัฐวิสาหกิจของจีนที่รับผิดชอบ
เรื่องรถไฟความเร็วสูงในประเทศจีนต้องแบก
หนี้จากการขาดทุนสูงถึง 558,000 ล้าน
เหรียญอยู่ในปัจจุบัน) แต่เมื่อคานึงถึงว่าจีน
เป็นประเทศใหญ่ มีเครดิตในการกู้เงินสูงยิ่ง
และมีเงินทุนสารองระหว่างประเทศถึง 3 ล้าน
ล้านเหรียญสหรัฐ จีนจึงมีความสามารถในการ
แบกภาระหนี้ของรถไฟความเร็วสูง อาจจะ
เพื่อผลประโยชน์ระยะยาว มากกว่าประเทศ
เล็กๆ อย่างลาวอย่างเทียบไม่ได้ โดยสรุปแล้ว
กรณีรถไฟลาว-จีน จึงนามาสู่ข้อวิจารณ์ว่าจีน
กาลังพยายามผลักดันวาระและผลประโยชน์
เชิงยุทธศาสตร์ของตน โดยเอาเปรียบประเทศ
เล็กอย่างลาว
ในกรณีของอินโดนีเซีย ซึ่งจีนจะไปสร้าง
รถไฟความเร็วสูงเชื่อมเมืองจาการ์ตา-บันดุง
ความยาว 142 กม. ตีราคาโครงการที่ 5,500
ล้านเหรียญ และประสบความล่าช้าในการ
ดาเนินการนั้น Financial Times วิเคราะห์ว่า
ประเด็นอยู่ที่ความต่างของระบอบการเมือง
เพราะความล่าช้าของโครงการรถไฟความเร็ว
สูงในอินโดนีเซีย ที่สาคัญมาจากกระบวนการ
เวนคืนที่ดิน เพราะอินโดนีเซียปกครองด้วย
ระบอบประชาธิปไตย และมีกฎหมาย
กรรมสิทธิ์ที่ดินที่เข้มงวด ทาให้รัฐไม่สามารถ
เวนคืนที่ดินได้ง่าย เหมือนในจีน ดังนั้น แม้
เวลาผ่านไปกว่าหนึ่งปีหลังพิธีตอกหมุดเริ่ม
ก่อสร้างอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนมกราคม
2016 การก่อสร้างจริงก็ยังมิได้เริ่ม
ส่วนในกรณีของยุโรป Financial Times
วิเคราะห์ว่าเป็นปัญหาเรื่องวิธีทางานและการ
บริหารของจีนที่ยังต้องปรับปรุงให้เข้ากับ
บริบทของพื้นที่ โดยในปัจจุบัน โครงการสร้าง
รถไฟความเร็วสูงโดยจีนเชื่อมกรุงเบลเกรด
เมืองหลวงของเซอร์เบียกับเมืองบูดาเปสต์
เมืองหลวงของฮังการี ระยะทาง 350 กม.
มูลค่าโครงการ 2,890 ล้านเหรียญ กาลังถูก
ตรวจสอบมูลค่าของโครงการและถูกสอบสวน
จากคณะกรรมาธิการแห่งสหภาพยุโรป
(European Commission) ว่าละเมิดกฎหมาย
ของสหภาพยุโรปเกี่ยวกับความโปร่งใสในการ
ประมูลโครงการหรือไม่
เราสามารถเรียนรู้บทเรียนอะไรได้บ้าง
จากเรื่องราวเหล่านี้? ในกรณีรถไฟไทย-จีน
14 | WORLD THINK TANK Monitor กันยายน 2560
ล่าสุดคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 11 ก.ค.
2560 อนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทย
ดาเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน
ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา วงเงิน 179,413
ล้านบาท ระยะเวลาดาเนินโครงการ 4 ปี โดย
รัฐบาลไทยรับภาระค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด
100% ซึ่งกว่าจะมาถึงจุดนี้ก็ต้องพบอุปสรรค
มากมาย ไม่ว่าความล่าช้าสับสนในการ
ขับเคลื่อนโครงการ ข้อวิจารณ์ต่างๆ นานา ทั้ง
เรื่องความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ความโปร่งใส
การลัดขั้นตอนและใช้อานาจพิเศษในการ
อนุมัติโครงการ ไม่แพ้โครงการรถไฟความเร็ว
สูงของจีนในที่อื่นๆ ดังนั้น การติดตามความ
เป็ นไปของโครงการที่จีนไปสร้างรถไฟ
ความเร็วสูงหรือโครงสร้างพื้นฐานในประเทศ
อื่นๆ ก็จะทาให้เราสามารถเทียบเคียงและ
ประเมินสถานการณ์เพื่อกาหนดความร่วมมือ
ของเรากับจีนให้เหมาะสม บรรลุเป้าหมายคือ
การได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ทั้งในระดับมูลค่า
ที่คิดเป็นตัวเงินทางเศรษฐกิจ และในระดับ
ยุทธศาสตร์อย่างเท่าเทียม
ส่วนจีนเองก็ควรต้องรับฟังข้อวิจารณ์
ต่างๆ นามาปรับปรุงการทางานของตน
หากต้องการขับเคลื่อนทั้ง “การทูตรถไฟ
ความเร็วสูง” และยุทธศาสตร์ One Belt
One Road ในภาพรวมให้ราบรื่น โดย
หัวใจสาคัญคือต้องทาให้ประเทศต่างๆ ซึ่ง
เล็กกว่าจีนไม่รู้สึกว่าถูกเอาเปรียบ และมี
ความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมด้วยกับโครงการ
มิใช่เป็นความต้องการหรือการผลักดัน
จากจีนฝ่ายเดียว
* * *
อ้างอิง
James Kynge, Michael Peel and
Ben Bland. China’s railway diplomacy
hits the buffers. Financial Times. JULY
1 7 , 2 0 1 7 . อ อ น ไ ล น์ https://
www.ft.com/content/9a4aab54-624d-
11e7-8814-0ac7eb84e5f1.
15 | WORLD THINK TANK Monitor กันยายน 2560
การประชุม EU – China Summit ประจาปี 2017 ซึ่งจัดขึ้น ณ สานักงานใหญ่ของคณะกรรมาธิการยุโรป มหา นครบรัสเซลล์
ประเทศเบลเยี่ยม โดยมีนายฌอง-โคลด ยุงเคอร์ (Jean-Claude Juncker) ประธานคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป นาย หลี่ เค่อเฉียง (Li
Keqiang) นายกรัฐมนตรีจีน และนายโดนัลด์ ทุสก์ (Donald Tusk) ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป เป็นผู้แทนสาคัญของการประชุม ที่มา
ภาพ http://www.consilium.europa.eu/en/meetings/international-summit/2017/06/01-02/
ความสัมพันธ์ระหว่างจีนและยุโรปทศวรรษหน้า
อุสมาน วาจิ
ความสัมพันธ์ระหว่างจีนและสหภาพยุโรป
เป็นที่น่าจับตามองมาก เนื่องจากในอดีตนั้นจีน
เป็นประเทศยากจนที่ไม่มีผลประโยชน์อะไร
มากนักกับสหภาพยุโรป แต่ในปัจจุบันด้วย
กระแสของบูรพาภิวัตน์ที่ทาให้จีนก้าวมาเป็น
ประเทศอันดับ 2 ของโลกในด้านเศรษฐกิจเป็น
ที่เรียบร้อย ส่วนหนึ่งของความร่ารวยนี้มาจาก
การย้ายฐานการผลิตของนักลงทุนยุโรปเข้า
มายังประเทศจีน ในทางกลับกันด้ วย
วิกฤติการณ์แฮมเบอเกอร์ทาให้เศรษฐกิจของ
ยุโรปอยู่ในช่วงฝืดเคืองมาโดยตลอด ฉะนั้นการ
ผูกโยงเศรษฐกิจของตนเข้ากับจีนจึงเป็นหนทาง
หนึ่งที่จะช่วยยกระดับเศรษฐกิจให้ดีขึ้นด้วย
ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจที่มากขึ้นไม่ว่า
16 | WORLD THINK TANK Monitor กันยายน 2560
จะเป็นการค้าและการลงทุน และความสัมพันธ์
ด้านอื่นๆ เช่น การรักษาสิ่งแวดล้อม การส่งเสริม
ธรรมาภิบาล การพัฒนาวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่าง
ประชาชนจากทั้งสองฝ่าย ทาให้ทั้งสองต่างมุ่งหวัง
ที่จะยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างกันต่อไป ทาง
สถาบันคลังปัญญาทั้งฝ่ายจีนและยุโรป 4 แห่ง
ได้แก่ สถาบันบรูเกล (Bruegel) สถาบันชาทัมป์
เฮ้าส์ (Chatham House) ศูนย์จีนศึกษาเพื่อการ
แลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (the
China Center for International Economic Ex-
changes) และสถาบันเศรษฐกิจและการเงินโลก
แห่งมหาวิทยาลัยจีน ณ ฮ่องกง (the Institute of
Global Economics and Finance at The Chinese
University of Hong Kong) จึงได้ร่วมกันวิจัย
เป็นเวลากว่า 18 เดือน ในหัวข้อ EU–China
Economic Relations to 2025: Building a
Common Future เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของทั้ง
สองในโนทศวรรษหน้า โดยมีข้อสรุปจากรายงาน
ถึงผลประโยชน์ที่ทั้งสองฝ่ายจะได้รับหากยังคง
ร่วมมือกันต่อไปดังนี้
ประการแรก ต้องเร่งยกระดับการเจรจา
ด้านการค้าการลงทุนของทั้งสองฝ่ าย
โดยเฉพาะในภาคบริการและธุรกิจใหม่ๆ เช่น
การลงทุนในกิจการรัฐวิสาหกิจ การสร้าง
ข้อตกลงการค้าเสรีและเพิ่มความเสรีในการ
ลงทุนให้มากขึ้น การเพิ่มการลงทุนในกิจการ
ที่เกี่ยวข้ องกับการดูแลรักษาสุขภาพ
เนื่องจากโครงสร้างประชากรของจีนและยุโรป
ล้วนมีแนวโน้มมุ่งสู่การเป็นสังคมสูงอายุมาก
ขึ้น การที่ทั้งสองฝ่ายมีส่วนในการยกระดับ
การค้าการลงทุนเช่นนี้จะเพิ่มมูลค่าการค้า
ระหว่างทั้งสองฝ่ายได้มาก
การสร้างธรรมาภิบาลและสันติภาพใน
ระดับโลกก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ทั้งสองฝ่ าย
สามารถร่วมกันพัฒนาได้ เพราะจีนและ
สหภาพยุโรปนั้นไม่ใช่คู่ขัดแย้งโดยตรงในทาง
ความมั่นคง ฉะนั้น ด้วยความสัมพันธ์ทาง
เศรษฐกิจที่มีระหว่างกันจะช่วยเสริมสร้าง
สันติภาพได้ เพราะสันติภาพเป็นปัจจัยสาคัญ
ที่จะทาให้การค้าระหว่างกันเป็นไปอย่าง
ราบรื่น ซึ่งในปัจจุบันมีองค์กรและความ
ร่วมมือต่าง ๆ ที่สามารถใช้เป็นเวทีในการ
สร้างความเข้าใจระหว่างกันอยู่แล้ว เช่น
องค์การการค้าโลก (WTO) และความร่วมมือ
กลุ่ มประเทศขนาดใหญ่จี20 ( G20)
โดยเฉพาะหากสหภาพยุโรปและ สหราช
อาณาจักรสามารถรักษาความสัมพันธ์ที่ดี
ระหว่างกันได้ภายหลังการแยกตัวออกจาก
สหภาพยุโรป (Brexit) ก็จะเป็นประโยชน์กับ
ทุกฝ่ าย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการค้าการ
ลงทุนที่มีต่อสหรัฐฯ อีกทอดหนึ่งด้วย
17 | WORLD THINK TANK Monitor กันยายน 2560
โครงการยุทธศาสตร์ความริเริ่มแถบและ
เส้นทาง (Belt & Road Initiative) สามารถเป็น
ฐานสาคัญที่จะต่อยอดความสัมพันธ์ระหว่างจีน
และสหภาพยุโรปในทุก ๆ ด้าน ซึ่งภูมิภาคยุโรป
นั้นเป็นหมุดหมายสาคัญที่จะเชื่อมต่อเส้นทางนี้
ต่อไปยังประเทศโลกตะวันตกอื่น ๆ ต่อไป การ
ที่สหภาพยุโรปเข้าร่วมยุทธศาสตร์ความริเริ่ม
แถบและเส้นทางนี้จะเป็นประโยชน์ต่อทั้งจีนและ
สหภาพยุโรปในการลดต้นทุนค่าขนส่งสินค้า
ระหว่างกัน อีกทั้งฝ่ายจีนจะได้รับประโยชน์จาก
การเป็นผู้สร้างโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ส่วนฝ่าย
ยุโรปที่เป็นผู้ร่วมลงทุนในโครงการนี้จะได้
ประโยชน์จากการจัดการด้านการเงินซึ่งเป็นเรื่อง
ที่เชี่ยวชาญอยู่แล้ว โดยเฉพาะในปัจจุบันที่
เงินทุนจากจีนหลั่งไหลเข้าสู่ยุโรปอย่างมาก
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันปัญหา
สิ่งแวดล้อมมีมากขึ้นเรื่อยๆ จากมลพิษที่เกิดขึ้น
จากภาคอุตสาหกรรม และในท้ายที่สุดปัญหา
สิ่งแวดล้อมที่ไม่ได้รับการจัดการจะทาให้การ
พัฒนานั้นไม่มีทางยั่งยืนได้ ด้วยเหตุนี้จีนและ
สหภาพยุโรปในฐานะผู้ลงทุนและเจ้าของกิจการ
รายใหญ่ของโลกจึงควรที่จะร่วมมือกันเพื่อแก้ไข
ปัญหาเหล่านี้ เช่น การแลกเปลี่ยนข้อมูลทาง
วิทยาศาสตร์ การแลกเปลี่ยนแนวทางการใช้
พลังงานทดแทน การแลกเปลี่ยนแนวทางการลด
การปล่อยก๊าซเรือนกระจก การให้งบประมาณ
สนับสนุนแก่ประเทศต่าง ๆ ที่ลดมลภาวะได้
สาเร็จ แม้แต่ละประเทศจะมีบริบทและความ
พร้อมที่ต่างกันแต่ก็สามารถร่วมกันลดมลภาวะ
อย่างค่อยเป็นค่อยไปได้ โดยเฉพาะการดาเนิน
ตามกรอบปฏิญญาปารีสที่นานาชาติได้ลงนาม
ร่วมกันให้เป็นผลสาเร็จ
ไม่เพียงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐ
เท่านั้น ต้องเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง
ประชาชนต่อประชาชนโดยตรงในทุกๆ ด้าน ทั้ง
ในด้านการลงทุน การพัฒนาวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี ซึ่งปัจจัยสาคัญคือการอานวยความ
สะดวกในการเดินทางเข้า – ออกประเทศ เช่น
การผ่อนปรนการกดเกณฑ์ในการออกวีซ่าให้ง่าย
มากขึ้นและมีอายุนานขึ้น โดยเฉพาะแก่บุคลากร
ที่เป็นที่ต้องการควรที่จะได้รับสิทธิพิเศษ
สุดท้ายคือการให้ ความสาคัญกับ
นวัตกรรมที่มีฐานจากวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี จีนนั้นแม้จะไม่มีความก้าวหน้าใน
เรื่องนี้เท่าชาติยุโรปชั้นนา แต่จีนก็เป็นชาติที่มี
การเติบโตทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่าง
รวดเร็ว เนื่องจากเศรษฐกิจที่ขยายตัวทาให้
รัฐบาลและภาคเอกชนมีงบประมาณสาหรับ
อุดหนุนการวิจัยมากขึ้นเพื่อนาไปสู่การสร้าง
นวัตกรรมและสินค้าใหม่ ๆ ส่วนยุโรปนั้นแม้จะ
เป็นเจ้าแห่งนวัตกรรมของโลกมาตลอดด้วยการ
ที่มีนักวิทยาศาสตร์และสถาบันด้านวิทยาศาสตร์
18 | WORLD THINK TANK Monitor กันยายน 2560
จานวนมาก อย่างไรก็ตามในปัจจุบันด้วยภาวะ
เศรษฐกิจที่ถดถอยทาให้การวิจัยเผชิญปัญหาถูก
ตัดงบประมาณลง ด้วยเหตุนี้เองหากการพัฒนา
วิทยาศาสตร์ของทั้งสองฝ่ายมีการร่วมมือกันแล้ว
ย่อมทาให้การวิจัยและการพัฒนานวัตกรรมใหม่
ๆ เกิดขึ้นอย่างราบรื่นได้ต่อไป
อ้างอิง
Tim Summers, Alicia Garcí a-Herrero,
K. C. Kwok. EU–China Economic Relations
to 2025: Building a Common Future.
ออนไลน์ https://www.chathamhouse.org/
publication/eu-china-economic-relations-
2025-building-common-future.
19 | WORLD THINK TANK Monitor กันยายน 2560
3 หน้าของทรัมป์
ปลายฟ้ า บุนนาค
สถาบัน Brookings ได้ เผยแพร่
บทความเรื่อง A tale of three Trumps ซึ่ง
ได้วิเคราะห์ถึงแนวคิดของทรัมป์ ที่แตกต่าง
กัน 3 แนวทาง จากสุนทรพจน์ในการประชุม
สมัชชาใหญ่สหประชาชาติ (UN) ครั้งแรก
ของทรัมป์ ในการประชุมดังกล่าวทรัมป์ ได้
กล่าวคาเตือนต่อเกาหลีเหนือว่าสหรัฐพร้อม
ที่จะ “ทาลายล้างเกาหลีเหนือโดยสิ้นเชิง” คา
เตือนดังกล่าวได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก
นักวิเคราะห์ของ Brookings คลังปัญญาชั้น
นาของสหรัฐได้ ชี้ ให้ เห็นถึงโฉมหน้ า
ของทรัมป์ 3 หน้าที่แตกต่างกันออกไป จาก
การวิเคราะห์บทสุนทรพจน์ของเขาอย่าง
ละเอียด ดังนี้
หน้าที่ 1 : ทรัมป์ ในหน้า Nikki
Harley
การเดินทางมาสหประชาชาติครั้งแรก
ของทรัมป์ เพื่อมาสนับสนุนการปฏิรูป
สหประชาชาติ ก่อนหน้านี้เพียงหนึ่ง
สัปดาห์ ยังไม่มีใครเห็นด้วยกับการปฏิรูป
สหประชาชาติที่ทรัมป์พยายามผลักดัน แต่
สุดท้าย การพูดโน้มน้าวใจของเขาก็ได้ผล
กว่า 100 ประเทศได้ลงนามในข้อตกลง
การปฏิรูปดังกล่าว ผู้นาของประเทศต่างๆ
ทึ่งกับความเห็นของทรัมป์ เขาแสดงให้
เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่าง
นโยบายต่างประเทศหลักของเขา
(นโยบายลดการแบกรับภาระของสหรัฐ :
20 | WORLD THINK TANK Monitor กันยายน 2560
สหรัฐจะไม่เป็นตารวจโลกแต่เพียงผู้
เดียว) กับหน้าที่ของสหประชาชาติ ทรัมป์ ยัง
สนับสนุน อันโตนิโอ กุเตอเรส เลขาธิการ
สหประชาชาติคนปัจจุบันในการปฏิรูป
สหประชาชาติอย่างเต็มที่ ในตอนท้ายของ
สุนทรพจน์ ทรัมป์ กล่าวชื่นชมบทบาทของ
สหประชาชาติและองค์การระหว่างประเทศ
ต่างๆ ในการรักษาสันติภาพและการช่วยเหลือ
ด้านมนุษยธรรม ทรัมป์ระบุว่าสหรัฐเป็นผู้แบก
รับภาระค่าใช้จ่ายในกิจการเหล่านี้ ของ
สหประชาชาติกว่า 22% อย่างไรก็ตาม
เป้ าหมายของสหประชาชาติเป็นสิ่งที่คุ้มค่ากับ
ค่าใช้จ่าย นี่คือหน้าแรกของทรัมป์ ที่เล่น
บทบาทเป็น Nikki Harley (ทูตสหรัฐประจา
สหประชาชาติตนปัจจุบัน)
หน้าที่ 2 : ทรัมป์ ในหน้า H.R.
McMaster
ในช่วงแรกของสุนทรพจน์ ทรัมป์
กล่าวสนับสนุนอย่างหนักแน่นในแนวคิดที่ว่า
อานาจของสหรัฐเป็นสิ่งที่ช่วยรักษาสันติภาพ
ระหว่างมหาอานาจต่างๆ และช่วยสร้างความ
เจริญรุ่งเรืองของโลกในภาพรวม ตลอดมา
ในประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นวาทกรรมที่ทรัมป์
ไม่เคยกล่าวมาก่อน ทรัมป์ยอมรับว่ารัฐเผด็จ
การก่อให้เกิดภัยคุกคามต่อค่านิยมแบบ
อเมริกัน เขาถึงกับปลุกจิตวิญญาณของ
แผนการมาร์แชลขึ้นมา ทรัมป์ ได้กล่าวว่าที่
ผ่านมา แม้จะเป็นผู้ชนะในสงครามโลกครั้งที่
สอง สหรัฐไม่เคยขยายอาณาเขต หรือ
พยายามเข้าไปกาหนดวิถีชีวิตของผู้คนในที่
อื่นๆ แต่พยายามที่จะสร้างสถาบัน ดังเช่น
สหประชาชาติขึ้นมาเพื่อปกป้ องอธิปไตย
ความมั่นคงและเจริญรุ่งเรืองของทุกคน
(แนวคิดนี้อาจเป็นทิศทางยุทธศาสตร์ความ
มั่นคงของชาติของทรัมป์ในอนาคตได้) นี่คือ
หน้าที่สองของทรัมป์ ที่กล่าวในลักษณะที่
เป็น H.R. McMaster (ที่ปรึกษาสภาความ
มั่นคงแห่งชาติสหรัฐคนปัจจุบัน)
หน้าที่สาม : ทรัมป์ ที่เป็ นตัว
ของทรัมป์เอง
ในตอนกลางของสุนทรพจน์ ทรัมป์
กล่าวว่าเขาได้ตัดสินใจไปแล้วเกี่ยวกับ
บทบาทของสหรัฐต่อข้อตกลงนิวเคลียร์ของ
อิหร่าน เขาเรียกคิมจองอึนว่า “rocket man”
และประกาศว่าสหรัฐพร้อมที่จะทาลายล้าง
เกาหลีเหนือให้สิ้นซาก หากสหรัฐถูกบังคับ
ให้ ต้ องปกป้ องตนเองหรือพันธมิตร
ขณะเดียวกัน ทรัมป์ ยังกล่าวว่าการลดการ
สะสมอาวุธนิวเคลียร์เป็นเพียงทางออกเดียว
ต่อปัญหาเกาหลีที่จาเป็นต้องทาให้สาเร็จ หา
ไม่แล้วโลกจะต้องเผชิญกับหายนะ นี่
คือทรัมป์ ในหน้าที่สาม ทรัมป์ ที่เป็นทรัมป์
เอง
สุดท้ายแล้ว ผู้เขียนบทความนี้ต้องการ
ชี้ให้เห็นว่าไม่มีประธานาธิบดีคนใดทาอะไร
สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันหมดทุกอย่าง
การกระทาและคาพูดของประธานาธิบดีทุก
คนนั้นในแง่หนึ่งก็เป็นภาพสะท้อนตัวตนและ
21 | WORLD THINK TANK Monitor กันยายน 2560
ความคิดของที่ปรึกษาหลายๆ คนที่อยู่รายรอบ
ยกตัวอย่างเช่น ความขัดแย้ งกันในตัว
ประธานาธิบดีโอบามาเอง ระหว่างการที่เขาถอน
กาลังทหารออกจากอัฟกานิสถาน ในขณะที่เข้าไป
แทรกแซงในลิเบีย แต่กระนั้นแทบจะไม่เคย
ปรากฏความขัดแย้งในตัวเองของประธานาธิบดี
คนใดที่ชัดเจนและมากมายเท่ากับที่ทรัมป์ แสดง
ออกมาในสุนทรพจน์ของเขาที่สหประชาชาติมา
ก่อน ความคิดแบบ Harley กับ McMaster ได้เข้า
มายึดกุมพื้นที่ทางความคิดของทรัมป์ได้ส่วนหนึ่ง
แต่ในสุนทรพจน์นั้นก็ยังมีความคิดแบบทรัมป์เอง
อยู่เช่นกัน
อ้างอิง
Bruce Jones. A tale of three Trumps.
Brookings. อ อ น ไ ล น์ https://
www.brookings.edu/blog/order-from-
chaos/2 0 1 7 / 0 9 / 2 1 / a-tale-of-three-
trumps/.

More Related Content

Similar to World Think Tank Monitor ฉบับที่ 25 ประจำเดือนกันยายน 2560

บทบาทของจีนในเอเชียกลาง
บทบาทของจีนในเอเชียกลางบทบาทของจีนในเอเชียกลาง
บทบาทของจีนในเอเชียกลางUSMAN WAJI
 
บทบาทของจีนในเอเชียกลาง
บทบาทของจีนในเอเชียกลางบทบาทของจีนในเอเชียกลาง
บทบาทของจีนในเอเชียกลางKlangpanya
 
World Think Tank Monitor ธันวาคม 2559
World Think Tank Monitor ธันวาคม 2559World Think Tank Monitor ธันวาคม 2559
World Think Tank Monitor ธันวาคม 2559Klangpanya
 
จีน : อเมริกา การขับเคี่ยวแห่งศตวรรษและผลกระทบที่มีต่อประเทศไทย
จีน : อเมริกา การขับเคี่ยวแห่งศตวรรษและผลกระทบที่มีต่อประเทศไทยจีน : อเมริกา การขับเคี่ยวแห่งศตวรรษและผลกระทบที่มีต่อประเทศไทย
จีน : อเมริกา การขับเคี่ยวแห่งศตวรรษและผลกระทบที่มีต่อประเทศไทยKlangpanya
 
World Think Tank Monitor มกราคม 2561
World Think Tank Monitor มกราคม 2561World Think Tank Monitor มกราคม 2561
World Think Tank Monitor มกราคม 2561Klangpanya
 
เอกสาร East & South East Asia Monitor ครั้งที่ ุ9 ประจำเดือน กันยายน 2558
เอกสาร East & South East Asia Monitor ครั้งที่ ุ9 ประจำเดือน กันยายน 2558เอกสาร East & South East Asia Monitor ครั้งที่ ุ9 ประจำเดือน กันยายน 2558
เอกสาร East & South East Asia Monitor ครั้งที่ ุ9 ประจำเดือน กันยายน 2558Klangpanya
 

Similar to World Think Tank Monitor ฉบับที่ 25 ประจำเดือนกันยายน 2560 (6)

บทบาทของจีนในเอเชียกลาง
บทบาทของจีนในเอเชียกลางบทบาทของจีนในเอเชียกลาง
บทบาทของจีนในเอเชียกลาง
 
บทบาทของจีนในเอเชียกลาง
บทบาทของจีนในเอเชียกลางบทบาทของจีนในเอเชียกลาง
บทบาทของจีนในเอเชียกลาง
 
World Think Tank Monitor ธันวาคม 2559
World Think Tank Monitor ธันวาคม 2559World Think Tank Monitor ธันวาคม 2559
World Think Tank Monitor ธันวาคม 2559
 
จีน : อเมริกา การขับเคี่ยวแห่งศตวรรษและผลกระทบที่มีต่อประเทศไทย
จีน : อเมริกา การขับเคี่ยวแห่งศตวรรษและผลกระทบที่มีต่อประเทศไทยจีน : อเมริกา การขับเคี่ยวแห่งศตวรรษและผลกระทบที่มีต่อประเทศไทย
จีน : อเมริกา การขับเคี่ยวแห่งศตวรรษและผลกระทบที่มีต่อประเทศไทย
 
World Think Tank Monitor มกราคม 2561
World Think Tank Monitor มกราคม 2561World Think Tank Monitor มกราคม 2561
World Think Tank Monitor มกราคม 2561
 
เอกสาร East & South East Asia Monitor ครั้งที่ ุ9 ประจำเดือน กันยายน 2558
เอกสาร East & South East Asia Monitor ครั้งที่ ุ9 ประจำเดือน กันยายน 2558เอกสาร East & South East Asia Monitor ครั้งที่ ุ9 ประจำเดือน กันยายน 2558
เอกสาร East & South East Asia Monitor ครั้งที่ ุ9 ประจำเดือน กันยายน 2558
 

More from Klangpanya

ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยKlangpanya
 
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคKlangpanya
 
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยKlangpanya
 
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท Klangpanya
 
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนKlangpanya
 
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...Klangpanya
 
World-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsWorld-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsKlangpanya
 
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Klangpanya
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...Klangpanya
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...Klangpanya
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนKlangpanya
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...Klangpanya
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationKlangpanya
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Klangpanya
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...Klangpanya
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนKlangpanya
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...Klangpanya
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...Klangpanya
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfKlangpanya
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdfKlangpanya
 

More from Klangpanya (20)

ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
 
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
 
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
 
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
 
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
 
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
 
World-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsWorld-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese Relations
 
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
 

World Think Tank Monitor ฉบับที่ 25 ประจำเดือนกันยายน 2560

  • 1. World Think Tank Monitor ปี ที่ 3 ฉบับที่ 7 กันยายน 2560 ปัญหาคาบสมุทรเกาหลี จากมุมมองนักวิชาการจีน การทูตรถไฟ ความเร็วสูงของจีน : ภาพใหญ่รถไฟไทย-จีน 3 หน้าของทรัมป์ ความสัมพันธ์ จีน-ยุโรป ในทศวรรษหน้า
  • 2. 2 | WORLD THINK TANK Monitor กันยายน 2560 ที่ปรึกษา: ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ บรรณาธิการ: คุณยุวดี คาดการณ์ไกล เรียบเรียง: นางสาวปลายฟ้า บุนนาค นายปาณัท ทองพ่วง นายอุสมาน วาจิ ภาพปก: เกาหลีเหนือทดลองยิงขีปนาวุธจากเรือดาน้า ที่มาภาพ http://www.independent.co.uk/ news/world/asia/north-korea-threat-sink-us-nuclear-submarine-uss-michigan-south-korea- donald-trump-kim-jong-un-a7709946.html เผยแพร่: กันยายน 2560 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.rsu-brain.com ที่อยู่ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ อาคารพร้อมพันธุ์ 1 ชั้น 4 637/1 ถนน ลาดพร้าว เขตจตุจักร กทม. 10900 โทรศัพท์ 02-930-0026 โทรสาร 02-930-0064
  • 3. บทบรรณาธิการ ในช่วงที่ผ่านมา เรื่องที่ “ร้อน” ที่สุดในการเมืองและความมั่นคงของโลกคงหนีไม่พ้นเรื่อง วิกฤตนิวเคลียร์บนคาบสมุทรเกาหลีจากการทดสอบจรวดติดอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ ซึ่ง นับวันยิ่งคืบหน้าไปทุกขณะ World Think Tank Monitor ฉบับนี้จึงหยิบเอาเนื้อหาที่กล่าวถึง ประเด็นนี้มาพูดถึงด้วยกันสองชิ้น คือ หนึ่ง การมองปัญหาเกาหลีจากมุมมองนักวิชาการจีน ซึ่ง น่าสนใจเพราะจีนเป็นตัวแปรที่สาคัญมากในปัญหาดังกล่าว แต่ที่ผ่านมาเรากลับไม่ค่อยได้ทราบว่าจีน คิดอย่างไรในเรื่องนี้ มีแต่ติดตามความเห็นจากฝั่งเกาหลีเหนือ ใต้ ญี่ปุ่น หรือไม่ก็สหรัฐอเมริกา และ สองคือ บทวิเคราะห์ความคิดของทรัมป์จากบทสุนทรพจน์ที่สหประชาชาติ ซึ่งเป็นที่ฮือฮามาก หลังจากเขากล่าวว่าสหรัฐพร้อมที่จะ “ทาลายล้างเกาหลีเหนือ” ใน World Think Tank Monitor ฉบับนี้ ยังมีบทความว่าด้วยเรื่องความคืบหน้า (หรือไม่ คืบหน้า) ของโครงการที่จีนเข้าไปสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อมเมืองต่างๆ ทั่วโลกอยู่ในเวลานี้ ซึ่ง รถไฟไทยจีนของเราก็เป็นส่วนหนึ่งในสิ่งที่เรียกว่า “การทูตรถไฟความเร็วสูงของจีน” และยังมี บทความที่ว่าด้วย ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสหภาพยุโรปในอนาคตด้วย เชิญติดตามค่ะ ยุวดี คาดการณ์ไกล บรรณาธิการ
  • 4. สารบัญ หน้า บทบรรณาธิการ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ ปัญหาคาบสมุทรเกาหลี จากมุมมองนักวิชาการจีน 4 FINANCIAL TIMES การทูตรถไฟความเร็วสูงของจีน : ภาพใหญ่รถไฟไทย-จีน 8 CHATHAM HOUSE ความสัมพันธ์ระหว่างจีนและยุโรปทศวรรษหน้า 14 BROOKINGS INSTITUTION 3 หน้าของทรัมป์ 18
  • 5. 5 | WORLD THINK TANK Monitor กันยายน 2560 ปัญหาคาบสมุทรเกาหลี จากมุมมองนักวิชาการจีน ที่มาภาพ http://i2.cdn.cnn.com/cnnnext/dam/assets/170905152113-north-korea-china-tease-graphic-large-169.jpg Victory.jpg สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2560 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ ได้ต้อนรับ ศ.ดร. Dong Xiangrong ผู้เชี่ยวชาญด้านเกาหลีศึกษา และผู้อานวยการฝ่ายรัฐศาสตร์ สานักยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศ สถาบันสังคมศาสตร์แห่งประเทศจีน (Chinese Acade- my of Social Sciences: CASS) (Think Tank ด้านสังคมศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดของจีน) และ รับฟังการบรรยายเรื่องการเมืองและการต่างประเทศของเกาหลีเหนือ เพื่อทาความเข้าใจ การเมืองภายในและระหว่างประเทศของเกาหลีเหนือ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับปัญหาอาวุธ นิวเคลียร์บนคาบสมุทรเกาหลี อันเป็นประเด็น “ร้อน” ทางการเมืองและความมั่นคง ระหว่างประเทศของโลกอยู่ในเวลานี้
  • 6. 6 | WORLD THINK TANK Monitor กันยายน 2560 ศ.ดร. Dong Xiangrong เสนอว่าการ วิเคราะห์สถานการณ์บนคาบสมุทรเกาหลี ควรกระทาจากมุมมองทางประวัติศาสตร์ เพื่อให้เห็นที่มาที่ไปของปัญหา เข้าใจ สถานการณ์ของแต่ละฝ่ ายเพื่อให้ ผู้ที่ พยายามจะแก้ปัญหานี้จะได้แก้อย่างถูกวิธี ไม่ซ้าเติมให้ปัญหาทวีความยุ่งเหยิงอย่างทุก วันนี้ ศ.ดร. Dong Xiangrong อธิบายว่า ปัญหาคาบสมุทรเกาหลีเริ่มจากช่วงปลาย สงครามโลกครั้งที่สองที่ชนชาติเกาหลี พยายามเรียกร้องเอกราชจากญี่ปุ่ นที่เข้ามา ยึดครองคาบสมุทรนี้ตั้งแต่ปี 1910-1945 อย่างไรก็ตาม ความพยายามนี้แตกเป็น หลายฝ่ายที่มีแนวทางต่างกันในการให้ได้มา ซึ่งเอกภาพและเอกราชของคาบสมุทรเกาหลี ในเวลานั้น ไม่มีฝ่ ายใดที่มีอานาจทาง การเมืองและทางทหารเพียงพอที่จะรวมชาติ เกาหลีสาเร็จ ทาให้มหาอานาจ ตั้งแต่ช่วง ปลายสงครามโลกครั้งที่สอง ต้องตกลงกัน เข้ ามาบริหารจัดการเกาหลี นาโดย ส ห รั ฐ อ เ ม ริ ก า โ ซ เ วี ย ต แ ล ะ จี น สหรัฐอเมริกาเข้าสนับสนุนฝ่ายเกาหลีใต้ โซ เวียตและจีนเข้าหนุนช่วยฝ่ายเกาหลีเหนือ การรวมชาติเกาหลี ซึ่งไม่มีฝ่ายใดในเกาหลี เองรวมได้เด็ดขาดอยู่แล้ว ยิ่งยากขึ้น เมื่อแต่ ละฝ่ายต่างมีอานาจภายนอกเข้ามาหนุนหลัง ศ.ดร. Dong Xiangrong
  • 7. 7 | WORLD THINK TANK Monitor กันยายน 2560 ทุกวันนี้ ในทางทฤษฎี คาบสมุทร เกาหลียังคงอยู่ในภาวะสงคราม เพราะการ หยุดการสู้รบเมื่อปี 1953 ซึ่งโดยทั่วไป เข้าใจกันว่าเป็นจุดสิ้นสุดของสงครามเกาหลี นั้นแท้จริงเป็นเพียงการหยุดการสู้รบด้วย ข้ อตกลงหยุ ดยิงเท่านั้ น นั่ นทาให้ สถานการณ์บนคาบสมุทรเกาหลีอ่อนไหว มากต่อแม้เพียงการกระทาจากฝ่ายหนึ่งฝ่าย ใด สาหรับสาเหตุที่ทาให้เกาหลี เหนือต้องหันมาทดลองอาวุธนิวเคลียร์นั้น ศ.ดร. Dong อธิบายว่าเพื่อเป็น “ทางลัด” และ “ทางรอด” เดียวของเกาหลีเหนือใน การปกป้ องและประกันความอยู่รอดของ ชาติ ระบอบการเมือง และผู้นาของตน และ เพื่อถ่วงดุลอานาจบนคาบสมุทรเกาหลี ซึ่ง เอนมาทางเกาหลีใต้นับตั้งแต่เกาหลีใต้ พัฒนาเศรษฐกิจขึ้นมาจนได้เปรียบเกาหลี เหนือในทุกด้านไม่ว่าทางเศรษฐกิจหรือ การทหาร ดังนั้น เกาหลีเหนือจะไม่หยุด พัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของตน ไม่ว่าจะได้รับ มาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจใดจากโลก ภายนอก ต่อประเด็นที่ผู้ติดตามปัญหาเกาหลี สนใจกันมากคือบทบาทของจีนในการแก้ไข ปัญหานี้ ศ.ดร. Dong ชี้ว่าจีนมีบทบาทใน เรื่องนี้ได้น้อย กุญแจในการแก้ปัญหานี้ที่ แท้จริงอยู่ในมือสหรัฐอเมริกา เพราะ สหรัฐอเมริกาเป็นผู้เดียวที่สามารถมอบสิ่งที่ เกาหลีเหนือต้องการที่สุดสามประการ คือ ความปลอดภัยของชาติ ระบอบการเมือง และผู้นา แก่เกาหลีเหนือได้ ด้วยการหันมา ใช้สันติวิธีและการเจรจา สาเหตุสาคัญที่จีนทาอะไรในเรื่องนี้ ไม่ได้มากนักเป็นเพราะว่าความสัมพันธ์จีน- เกาหลีเหนือมิได้ดีและแน่นแฟ้ นพอที่จะให้ จีนใช้ไปกดดันเกาหลีเหนือให้ทาหรือไม่ทา อะไรได้ดังที่ตะวันตกเรียกร้อง จุดขัดแย้งที่ สาคัญในความสัมพันธ์คือการที่จีนสถาปนา ความสัมพันธ์ทางการทูตกับเกาหลีใต้ในปี 1992 ซึ่งจีนเห็นว่าเป็นเรื่องปกติแต่เกาหลี เหนือมองว่าเป็นการหักหลังอย่างร้ายแรง ทาให้ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับเกาหลี เหนือมีแต่ทรงตัว ไม่พัฒนา มีการค้า การ ไปมาหาสู่ระหว่างผู้นา และความเข้าใจใน ความคิดของกันและกันน้อยมาก ยิ่งในยุค ประธานาธิบดีคิม จอง อึน
  • 8. 8 | WORLD THINK TANK Monitor กันยายน 2560 อย่างไรก็ดี จีนยังคงให้ความช่วยเหลือ จานวนหนึ่งแก่เกาหลีเหนือเพื่อปกป้องประเทศ นี้จากการคุกคามของตะวันตกและเกาหลีใต้ และหวังให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในปัญหาเกาหลี ทั้งเกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน หยุดการกระทาที่ยั่วยุและหันหน้ามาเจรจา กัน * * * ที่มาภาพ https://ichef.bbci.co.uk/images/ic/720x405/p051rhp2.jpg
  • 9. 9 | WORLD THINK TANK Monitor กันยายน 2560 การทูตรถไฟความเร็วสูงของจีน ภาพใหญ่รถไฟไทย-จีน ภาพรถไฟความเร็วสูงจากกรุงอังการา นครหลวงตุรกี ไปยังอิสตันบูล ซึ่งเป็นเส้นเดียวที่สร้างโดยจีนในต่างประเทศที่สาเร็จเปิดใช้งาน แล้ว ที่มาภาพ http://prod-upp-image-read.ft.com/18025c5a-6ae5-11e7-b9c7-15af748b60d0 ปาณัท ทองพ่วง ช่วงที่ผ่านประเทศไทยพูดกันมากเรื่องรถไฟไทยจีน มีทั้งฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายค้าน ทั้ง สองฝ่ายมีเหตุผลมากมายเวลากล่าวถึงเรื่องนี้ ไม่ว่าโยงไปถึงแผนยุทธศาสตร์ใหญ่ของจีน ความได้เปรียบเสียเปรียบหรือความคุ้มทุน อย่างไรก็ดี คงจะดีหากเราได้เห็นภาพที่กว้างขึ้น ว่าจีนไม่ได้ทาแต่รถไฟความเร็วสูงในเมืองไทย ความจริงโครงการรถไฟไทยจีนเป็นเพียงส่วน หนึ่งของการออกไปสร้างรถไฟความเร็วสูงในที่ต่างๆ ทั่วโลกของจีน ในช่วงที่ผ่านมา หรือที่ เรียกกันว่า “การทูตรถไฟความเร็วสูง” ในการนี้ Financial Times สื่ออังกฤษ ได้ทาบท วิเคราะห์ภาพรวมของ “การทูตรถไฟของจีน” ว่าจีนมีสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงในที่
  • 10. 10 | WORLD THINK TANK Monitor กันยายน 2560 ใดบ้าง ซึ่งชี้ให้เห็นว่า มิใช่โครงการรถไฟไทย จีนที่เดียวเท่านั้นที่ติดขัดยากลาบากในการ ผลักดัน แต่การทูตรถไฟของจีนก็กาลังเผชิญ อุปสรรคในการขับเคลื่อนในที่อื่นๆ เช่นกัน ด้วยเหตุผลบางประการดังที่ Financial Times ได้วิจารณ์เอาไว้ ดังจะได้ยกมากล่าวแนะนาใน ที่นี้บางประการ การส่งออกเทคโนโลยีระบบรางและการ ออกไปสร้างรถไฟความเร็วสูงในที่ต่างๆ ทั่ว โลกของจีนในครั้งนี้ถูกคาดหวังให้เป็นหน้าเป็น ตา นาชื่อเสียงมาสู่ประเทศจีนสมัยใหม่ และ เป็นส่วนสาคัญยิ่งในมหายุทธศาสตร์ One Belt One Road ที่จะเชื่อมต่อโยงใยเอเชีย ยุโรป และแอฟริกาไว้ด้วยกัน ด้วยระบบรางเป็น สาคัญที่สุด รวมทั้งถนน อุโมงค์ ไฮเวย์ เส้นทาง เดินเรือ และศูนย์กลางการบิน Financial Times อ้างผลการศึกษาของCenter for Strate- gic and International Studies (CSIS) Think Tank อเมริกัน ว่าโครงการสร้างรถไฟความเร็ว สูงในที่ต่างๆ ของจีน รวม 18 โครงการ ซึ่งใน จานวนนี้มี 1 โครงการที่สร้างสาเร็จแล้ว (คือ สายอังการา-อิสตันบูล) 5 โครงการที่กาลัง ก่อสร้าง และอีก 12 โครงการที่ประกาศออก มาแล้วว่าจะสร้าง รวมมูลค่าโครงการทั้งสิ้น 143,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ถือเป็นโครงการ ก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งวัด จากมูลค่ารวมกันมากที่สุดเท่าที่โลกเคยเห็นมา มากกว่าแผนการมาร์แชล ที่สหรัฐบริจาคเงิน ฟื้ นฟูโครงสร้ างพื้ นฐานในยุโรปหลัง สงครามโลกครั้งที่สอง มูลค่า 13,000 ล้าน เหรียญในขณะนั้น ซึ่งเท่ากับประมาณ 130,000 ล้านเหรียญในปัจจุบัน อย่างไรก็ดี บทความของ Financial Times ชิ้นนี้เสนอว่าการทูตรถไฟความเร็วสูง อันหมายถึงการใช้การเผยแพร่เทคโนโลยีรถไฟ ความเร็วสูงเป็นตัวนาในการสร้างสัมพันธ์ทาง เศรษฐกิจ การทูต และอิทธิพลของจีนในโลก ไม่ได้รุดหน้าไปอย่างราบรื่นดังที่จีนหวัง ภาพ ด้านล่างคือ ตัวอย่างของโครงการสร้างรถไฟ ความเร็วสูงโดยจีนในประเทศต่างๆ ที่กาลัง เผชิญอุปสรรค ล่าช้า หรือชะงักงันลง ด้วย เหตุผลต่างๆ ทั้งที่จีนควบคุมได้และไม่ได้ เช่น เส้นทางที่เชื่อมระหว่างเมืองตริโปลีกับเมือง Sirte ของลิเบียที่ต้องหยุดการก่อสร้างลง หลังจากสงครามกลางเมืองปะทุขึ้นใน ปี 2011 เพื่อล้มกัดดาฟี่ เส้นทางที่เชื่อมกรุงเม็กซิโกซิตี้ กับเมือง Queretaro ในเม็กซิโก ที่ต้องพับลง หลังจากรัฐบาลเม็กซิโกบอกเลิกสัญญาจ้างกับ จีน มูลค่า 3,700 ล้านเหรียญในการสร้าง รถไฟความเร็วสูงสายดังกล่าวในปี 2014 โดย
  • 11. 11 | WORLD THINK TANK Monitor กันยายน 2560 ภาพแสดงเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายต่างๆ ที่จีนไปสร้างไว้ทั่วโลก แต่กาลังชะงักงัน
  • 12. 12 | WORLD THINK TANK Monitor กันยายน 2560 อ้างว่าเพราะขาดความโปร่งใสเป็นธรรม ใน ปีเดียวกัน โครงการรถไฟความเร็วสูงพม่า- จีน ระหว่างเมืองมัณฑะเลย์-ย่างกุ้ง ซึ่งเป็น ส่วนสาคัญในการเชื่อมภาคตะวันตกเฉียงใต้ ของจีนออกอ่าวเบงกอล มหาสมุทรอินเดีย ก็ มีอันต้องระงับไปหลังมีกระแสคัดค้าน ภายในพม่า และในปี 2016 บริษัท Xpress- West ก็บอกเลิกโครงการที่ให้การรถไฟจีน สร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อมเมืองลอส แองเจ ลิส-ลาส เวกัส โดยอ้ างปัญหาเรื่อง ประสิทธิภาพและความล่าช้ าในการ ดาเนินงานของจีน เราจะอธิบายปรากฏการณ์ที่ โครงการรถไฟความเร็วสูงของจีนประสบ อุปสรรคในการขับเคลื่อนในหลายที่ทั่วโลก อย่างไร? Financial Times ได้ ยกสาม โครงการมาเป็นกรณีตัวอย่างในการอธิบาย ว่าจีนยังคงต้องปรับวิธีทางานให้เข้ากับ บริบทของประเทศอื่นๆ ที่แตกต่างจากจีน ถ้าจะผลักดันให้โครงการประสบความสาเร็จ คือ โครงการรถไฟความเร็วสูงของจีนในลาว อินโดนีเซีย และในสายที่เชื่อมเซอร์เบีย- ฮังการี ทั้งสามโครงการนี้ยังมิได้ล้มเลิกแต่ ประสบอุปสรรคในรูปแบบต่างๆ กันไป ในกรณีโครงการรถไฟลาว-จีน ซึ่ง เชื่อมชายแดนจีนมาถึงนครเวียงจันทน์ ความ ยาว 417 กม. มีข้อวิตกกังวลในรัฐบาลลาว เรื่องความคุ้มทุนของโครงการรถไฟความเร็ว สูงสายนี้ สาหรับลาว เมื่อเทียบกับหนี้ สาธารณะที่จะเกิดจากโครงการนี้ที่ลาวจะต้อง แบกรับ โครงการนี้ตีราคาออกมาที่ 5,800 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งจีนเสนอว่าลาวควรเป็นผู้ ลงทุนหลักเอง ด้วยการกู้เงินจากจีน อย่างไรก็ ตาม เมื่อเทียบกับมูลค่าจีดีพีของลาวในปี 2015 ซึ่งอยู่ที่ 12,000 ล้านเหรียญ ก็จะ เข้าใจได้ว่านี่เป็นภาระทางการเงินที่หนักหนา เพียงใดสาหรับลาว ยิ่งเมื่อมีการประเมินว่า ประโยชน์หลักของรถไฟความเร็วสูงสายนี้จะ ตกแก่จีนมากกว่าลาว ทั้งในเชิงยุทธศาสตร์ที่ คาดว่ารถไฟความเร็วสูงเส้นนี้เป็นส่วนหนึ่ง ของแผนใหญ่ของจีนที่จะเชื่อมจีนกับแผ่นดิน อาเซียนด้วยรถไฟความเร็วสูงจากจีนตอนใต้ (คุนหมิง) เข้าลาว ผ่านไทยมาเลเซีย ไปถึง สิงคโปร์ และในเชิงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ของรถไฟสายนี้โดยเฉพาะ ซึ่งน่าจะเป็น ทางผ่านรองรับการขนส่งสินค้าจากจีนสู่ อาเซียนมากกว่าที่จะอานวยความสะดวกให้ ลาวส่งสินค้าของตนไปยังจีน กล่าวง่ายๆ คือ มีการประเมินแล้วว่าลาว จะได้กาไรจากรถไฟความเร็วสูงสายนี้ต่า ในขณะที่ต้องลงทุนสูงมากถึงเกือบครึ่งหนึ่ง
  • 13. 13 | WORLD THINK TANK Monitor กันยายน 2560 ของจีดีพีประเทศ ซึ่งแม้ว่ารถไฟความเร็วสูง สายต่างๆ ภายในประเทศของจีนเอง ที่มี ความยาวรวมกัน 2 หมื่นกว่ากิโลเมตร จะ ประสบภาวะขาดทุนเช่นกัน (จนถึงปี 2015 มี เพียง 6 สายที่กาไร จนทาให้ China Railway Corporation รัฐวิสาหกิจของจีนที่รับผิดชอบ เรื่องรถไฟความเร็วสูงในประเทศจีนต้องแบก หนี้จากการขาดทุนสูงถึง 558,000 ล้าน เหรียญอยู่ในปัจจุบัน) แต่เมื่อคานึงถึงว่าจีน เป็นประเทศใหญ่ มีเครดิตในการกู้เงินสูงยิ่ง และมีเงินทุนสารองระหว่างประเทศถึง 3 ล้าน ล้านเหรียญสหรัฐ จีนจึงมีความสามารถในการ แบกภาระหนี้ของรถไฟความเร็วสูง อาจจะ เพื่อผลประโยชน์ระยะยาว มากกว่าประเทศ เล็กๆ อย่างลาวอย่างเทียบไม่ได้ โดยสรุปแล้ว กรณีรถไฟลาว-จีน จึงนามาสู่ข้อวิจารณ์ว่าจีน กาลังพยายามผลักดันวาระและผลประโยชน์ เชิงยุทธศาสตร์ของตน โดยเอาเปรียบประเทศ เล็กอย่างลาว ในกรณีของอินโดนีเซีย ซึ่งจีนจะไปสร้าง รถไฟความเร็วสูงเชื่อมเมืองจาการ์ตา-บันดุง ความยาว 142 กม. ตีราคาโครงการที่ 5,500 ล้านเหรียญ และประสบความล่าช้าในการ ดาเนินการนั้น Financial Times วิเคราะห์ว่า ประเด็นอยู่ที่ความต่างของระบอบการเมือง เพราะความล่าช้าของโครงการรถไฟความเร็ว สูงในอินโดนีเซีย ที่สาคัญมาจากกระบวนการ เวนคืนที่ดิน เพราะอินโดนีเซียปกครองด้วย ระบอบประชาธิปไตย และมีกฎหมาย กรรมสิทธิ์ที่ดินที่เข้มงวด ทาให้รัฐไม่สามารถ เวนคืนที่ดินได้ง่าย เหมือนในจีน ดังนั้น แม้ เวลาผ่านไปกว่าหนึ่งปีหลังพิธีตอกหมุดเริ่ม ก่อสร้างอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนมกราคม 2016 การก่อสร้างจริงก็ยังมิได้เริ่ม ส่วนในกรณีของยุโรป Financial Times วิเคราะห์ว่าเป็นปัญหาเรื่องวิธีทางานและการ บริหารของจีนที่ยังต้องปรับปรุงให้เข้ากับ บริบทของพื้นที่ โดยในปัจจุบัน โครงการสร้าง รถไฟความเร็วสูงโดยจีนเชื่อมกรุงเบลเกรด เมืองหลวงของเซอร์เบียกับเมืองบูดาเปสต์ เมืองหลวงของฮังการี ระยะทาง 350 กม. มูลค่าโครงการ 2,890 ล้านเหรียญ กาลังถูก ตรวจสอบมูลค่าของโครงการและถูกสอบสวน จากคณะกรรมาธิการแห่งสหภาพยุโรป (European Commission) ว่าละเมิดกฎหมาย ของสหภาพยุโรปเกี่ยวกับความโปร่งใสในการ ประมูลโครงการหรือไม่ เราสามารถเรียนรู้บทเรียนอะไรได้บ้าง จากเรื่องราวเหล่านี้? ในกรณีรถไฟไทย-จีน
  • 14. 14 | WORLD THINK TANK Monitor กันยายน 2560 ล่าสุดคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 11 ก.ค. 2560 อนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ดาเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา วงเงิน 179,413 ล้านบาท ระยะเวลาดาเนินโครงการ 4 ปี โดย รัฐบาลไทยรับภาระค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด 100% ซึ่งกว่าจะมาถึงจุดนี้ก็ต้องพบอุปสรรค มากมาย ไม่ว่าความล่าช้าสับสนในการ ขับเคลื่อนโครงการ ข้อวิจารณ์ต่างๆ นานา ทั้ง เรื่องความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ความโปร่งใส การลัดขั้นตอนและใช้อานาจพิเศษในการ อนุมัติโครงการ ไม่แพ้โครงการรถไฟความเร็ว สูงของจีนในที่อื่นๆ ดังนั้น การติดตามความ เป็ นไปของโครงการที่จีนไปสร้างรถไฟ ความเร็วสูงหรือโครงสร้างพื้นฐานในประเทศ อื่นๆ ก็จะทาให้เราสามารถเทียบเคียงและ ประเมินสถานการณ์เพื่อกาหนดความร่วมมือ ของเรากับจีนให้เหมาะสม บรรลุเป้าหมายคือ การได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ทั้งในระดับมูลค่า ที่คิดเป็นตัวเงินทางเศรษฐกิจ และในระดับ ยุทธศาสตร์อย่างเท่าเทียม ส่วนจีนเองก็ควรต้องรับฟังข้อวิจารณ์ ต่างๆ นามาปรับปรุงการทางานของตน หากต้องการขับเคลื่อนทั้ง “การทูตรถไฟ ความเร็วสูง” และยุทธศาสตร์ One Belt One Road ในภาพรวมให้ราบรื่น โดย หัวใจสาคัญคือต้องทาให้ประเทศต่างๆ ซึ่ง เล็กกว่าจีนไม่รู้สึกว่าถูกเอาเปรียบ และมี ความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมด้วยกับโครงการ มิใช่เป็นความต้องการหรือการผลักดัน จากจีนฝ่ายเดียว * * * อ้างอิง James Kynge, Michael Peel and Ben Bland. China’s railway diplomacy hits the buffers. Financial Times. JULY 1 7 , 2 0 1 7 . อ อ น ไ ล น์ https:// www.ft.com/content/9a4aab54-624d- 11e7-8814-0ac7eb84e5f1.
  • 15. 15 | WORLD THINK TANK Monitor กันยายน 2560 การประชุม EU – China Summit ประจาปี 2017 ซึ่งจัดขึ้น ณ สานักงานใหญ่ของคณะกรรมาธิการยุโรป มหา นครบรัสเซลล์ ประเทศเบลเยี่ยม โดยมีนายฌอง-โคลด ยุงเคอร์ (Jean-Claude Juncker) ประธานคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป นาย หลี่ เค่อเฉียง (Li Keqiang) นายกรัฐมนตรีจีน และนายโดนัลด์ ทุสก์ (Donald Tusk) ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป เป็นผู้แทนสาคัญของการประชุม ที่มา ภาพ http://www.consilium.europa.eu/en/meetings/international-summit/2017/06/01-02/ ความสัมพันธ์ระหว่างจีนและยุโรปทศวรรษหน้า อุสมาน วาจิ ความสัมพันธ์ระหว่างจีนและสหภาพยุโรป เป็นที่น่าจับตามองมาก เนื่องจากในอดีตนั้นจีน เป็นประเทศยากจนที่ไม่มีผลประโยชน์อะไร มากนักกับสหภาพยุโรป แต่ในปัจจุบันด้วย กระแสของบูรพาภิวัตน์ที่ทาให้จีนก้าวมาเป็น ประเทศอันดับ 2 ของโลกในด้านเศรษฐกิจเป็น ที่เรียบร้อย ส่วนหนึ่งของความร่ารวยนี้มาจาก การย้ายฐานการผลิตของนักลงทุนยุโรปเข้า มายังประเทศจีน ในทางกลับกันด้ วย วิกฤติการณ์แฮมเบอเกอร์ทาให้เศรษฐกิจของ ยุโรปอยู่ในช่วงฝืดเคืองมาโดยตลอด ฉะนั้นการ ผูกโยงเศรษฐกิจของตนเข้ากับจีนจึงเป็นหนทาง หนึ่งที่จะช่วยยกระดับเศรษฐกิจให้ดีขึ้นด้วย ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจที่มากขึ้นไม่ว่า
  • 16. 16 | WORLD THINK TANK Monitor กันยายน 2560 จะเป็นการค้าและการลงทุน และความสัมพันธ์ ด้านอื่นๆ เช่น การรักษาสิ่งแวดล้อม การส่งเสริม ธรรมาภิบาล การพัฒนาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่าง ประชาชนจากทั้งสองฝ่าย ทาให้ทั้งสองต่างมุ่งหวัง ที่จะยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างกันต่อไป ทาง สถาบันคลังปัญญาทั้งฝ่ายจีนและยุโรป 4 แห่ง ได้แก่ สถาบันบรูเกล (Bruegel) สถาบันชาทัมป์ เฮ้าส์ (Chatham House) ศูนย์จีนศึกษาเพื่อการ แลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (the China Center for International Economic Ex- changes) และสถาบันเศรษฐกิจและการเงินโลก แห่งมหาวิทยาลัยจีน ณ ฮ่องกง (the Institute of Global Economics and Finance at The Chinese University of Hong Kong) จึงได้ร่วมกันวิจัย เป็นเวลากว่า 18 เดือน ในหัวข้อ EU–China Economic Relations to 2025: Building a Common Future เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของทั้ง สองในโนทศวรรษหน้า โดยมีข้อสรุปจากรายงาน ถึงผลประโยชน์ที่ทั้งสองฝ่ายจะได้รับหากยังคง ร่วมมือกันต่อไปดังนี้ ประการแรก ต้องเร่งยกระดับการเจรจา ด้านการค้าการลงทุนของทั้งสองฝ่ าย โดยเฉพาะในภาคบริการและธุรกิจใหม่ๆ เช่น การลงทุนในกิจการรัฐวิสาหกิจ การสร้าง ข้อตกลงการค้าเสรีและเพิ่มความเสรีในการ ลงทุนให้มากขึ้น การเพิ่มการลงทุนในกิจการ ที่เกี่ยวข้ องกับการดูแลรักษาสุขภาพ เนื่องจากโครงสร้างประชากรของจีนและยุโรป ล้วนมีแนวโน้มมุ่งสู่การเป็นสังคมสูงอายุมาก ขึ้น การที่ทั้งสองฝ่ายมีส่วนในการยกระดับ การค้าการลงทุนเช่นนี้จะเพิ่มมูลค่าการค้า ระหว่างทั้งสองฝ่ายได้มาก การสร้างธรรมาภิบาลและสันติภาพใน ระดับโลกก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ทั้งสองฝ่ าย สามารถร่วมกันพัฒนาได้ เพราะจีนและ สหภาพยุโรปนั้นไม่ใช่คู่ขัดแย้งโดยตรงในทาง ความมั่นคง ฉะนั้น ด้วยความสัมพันธ์ทาง เศรษฐกิจที่มีระหว่างกันจะช่วยเสริมสร้าง สันติภาพได้ เพราะสันติภาพเป็นปัจจัยสาคัญ ที่จะทาให้การค้าระหว่างกันเป็นไปอย่าง ราบรื่น ซึ่งในปัจจุบันมีองค์กรและความ ร่วมมือต่าง ๆ ที่สามารถใช้เป็นเวทีในการ สร้างความเข้าใจระหว่างกันอยู่แล้ว เช่น องค์การการค้าโลก (WTO) และความร่วมมือ กลุ่ มประเทศขนาดใหญ่จี20 ( G20) โดยเฉพาะหากสหภาพยุโรปและ สหราช อาณาจักรสามารถรักษาความสัมพันธ์ที่ดี ระหว่างกันได้ภายหลังการแยกตัวออกจาก สหภาพยุโรป (Brexit) ก็จะเป็นประโยชน์กับ ทุกฝ่ าย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการค้าการ ลงทุนที่มีต่อสหรัฐฯ อีกทอดหนึ่งด้วย
  • 17. 17 | WORLD THINK TANK Monitor กันยายน 2560 โครงการยุทธศาสตร์ความริเริ่มแถบและ เส้นทาง (Belt & Road Initiative) สามารถเป็น ฐานสาคัญที่จะต่อยอดความสัมพันธ์ระหว่างจีน และสหภาพยุโรปในทุก ๆ ด้าน ซึ่งภูมิภาคยุโรป นั้นเป็นหมุดหมายสาคัญที่จะเชื่อมต่อเส้นทางนี้ ต่อไปยังประเทศโลกตะวันตกอื่น ๆ ต่อไป การ ที่สหภาพยุโรปเข้าร่วมยุทธศาสตร์ความริเริ่ม แถบและเส้นทางนี้จะเป็นประโยชน์ต่อทั้งจีนและ สหภาพยุโรปในการลดต้นทุนค่าขนส่งสินค้า ระหว่างกัน อีกทั้งฝ่ายจีนจะได้รับประโยชน์จาก การเป็นผู้สร้างโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ส่วนฝ่าย ยุโรปที่เป็นผู้ร่วมลงทุนในโครงการนี้จะได้ ประโยชน์จากการจัดการด้านการเงินซึ่งเป็นเรื่อง ที่เชี่ยวชาญอยู่แล้ว โดยเฉพาะในปัจจุบันที่ เงินทุนจากจีนหลั่งไหลเข้าสู่ยุโรปอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันปัญหา สิ่งแวดล้อมมีมากขึ้นเรื่อยๆ จากมลพิษที่เกิดขึ้น จากภาคอุตสาหกรรม และในท้ายที่สุดปัญหา สิ่งแวดล้อมที่ไม่ได้รับการจัดการจะทาให้การ พัฒนานั้นไม่มีทางยั่งยืนได้ ด้วยเหตุนี้จีนและ สหภาพยุโรปในฐานะผู้ลงทุนและเจ้าของกิจการ รายใหญ่ของโลกจึงควรที่จะร่วมมือกันเพื่อแก้ไข ปัญหาเหล่านี้ เช่น การแลกเปลี่ยนข้อมูลทาง วิทยาศาสตร์ การแลกเปลี่ยนแนวทางการใช้ พลังงานทดแทน การแลกเปลี่ยนแนวทางการลด การปล่อยก๊าซเรือนกระจก การให้งบประมาณ สนับสนุนแก่ประเทศต่าง ๆ ที่ลดมลภาวะได้ สาเร็จ แม้แต่ละประเทศจะมีบริบทและความ พร้อมที่ต่างกันแต่ก็สามารถร่วมกันลดมลภาวะ อย่างค่อยเป็นค่อยไปได้ โดยเฉพาะการดาเนิน ตามกรอบปฏิญญาปารีสที่นานาชาติได้ลงนาม ร่วมกันให้เป็นผลสาเร็จ ไม่เพียงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐ เท่านั้น ต้องเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง ประชาชนต่อประชาชนโดยตรงในทุกๆ ด้าน ทั้ง ในด้านการลงทุน การพัฒนาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี ซึ่งปัจจัยสาคัญคือการอานวยความ สะดวกในการเดินทางเข้า – ออกประเทศ เช่น การผ่อนปรนการกดเกณฑ์ในการออกวีซ่าให้ง่าย มากขึ้นและมีอายุนานขึ้น โดยเฉพาะแก่บุคลากร ที่เป็นที่ต้องการควรที่จะได้รับสิทธิพิเศษ สุดท้ายคือการให้ ความสาคัญกับ นวัตกรรมที่มีฐานจากวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี จีนนั้นแม้จะไม่มีความก้าวหน้าใน เรื่องนี้เท่าชาติยุโรปชั้นนา แต่จีนก็เป็นชาติที่มี การเติบโตทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่าง รวดเร็ว เนื่องจากเศรษฐกิจที่ขยายตัวทาให้ รัฐบาลและภาคเอกชนมีงบประมาณสาหรับ อุดหนุนการวิจัยมากขึ้นเพื่อนาไปสู่การสร้าง นวัตกรรมและสินค้าใหม่ ๆ ส่วนยุโรปนั้นแม้จะ เป็นเจ้าแห่งนวัตกรรมของโลกมาตลอดด้วยการ ที่มีนักวิทยาศาสตร์และสถาบันด้านวิทยาศาสตร์
  • 18. 18 | WORLD THINK TANK Monitor กันยายน 2560 จานวนมาก อย่างไรก็ตามในปัจจุบันด้วยภาวะ เศรษฐกิจที่ถดถอยทาให้การวิจัยเผชิญปัญหาถูก ตัดงบประมาณลง ด้วยเหตุนี้เองหากการพัฒนา วิทยาศาสตร์ของทั้งสองฝ่ายมีการร่วมมือกันแล้ว ย่อมทาให้การวิจัยและการพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ เกิดขึ้นอย่างราบรื่นได้ต่อไป อ้างอิง Tim Summers, Alicia Garcí a-Herrero, K. C. Kwok. EU–China Economic Relations to 2025: Building a Common Future. ออนไลน์ https://www.chathamhouse.org/ publication/eu-china-economic-relations- 2025-building-common-future.
  • 19. 19 | WORLD THINK TANK Monitor กันยายน 2560 3 หน้าของทรัมป์ ปลายฟ้ า บุนนาค สถาบัน Brookings ได้ เผยแพร่ บทความเรื่อง A tale of three Trumps ซึ่ง ได้วิเคราะห์ถึงแนวคิดของทรัมป์ ที่แตกต่าง กัน 3 แนวทาง จากสุนทรพจน์ในการประชุม สมัชชาใหญ่สหประชาชาติ (UN) ครั้งแรก ของทรัมป์ ในการประชุมดังกล่าวทรัมป์ ได้ กล่าวคาเตือนต่อเกาหลีเหนือว่าสหรัฐพร้อม ที่จะ “ทาลายล้างเกาหลีเหนือโดยสิ้นเชิง” คา เตือนดังกล่าวได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก นักวิเคราะห์ของ Brookings คลังปัญญาชั้น นาของสหรัฐได้ ชี้ ให้ เห็นถึงโฉมหน้ า ของทรัมป์ 3 หน้าที่แตกต่างกันออกไป จาก การวิเคราะห์บทสุนทรพจน์ของเขาอย่าง ละเอียด ดังนี้ หน้าที่ 1 : ทรัมป์ ในหน้า Nikki Harley การเดินทางมาสหประชาชาติครั้งแรก ของทรัมป์ เพื่อมาสนับสนุนการปฏิรูป สหประชาชาติ ก่อนหน้านี้เพียงหนึ่ง สัปดาห์ ยังไม่มีใครเห็นด้วยกับการปฏิรูป สหประชาชาติที่ทรัมป์พยายามผลักดัน แต่ สุดท้าย การพูดโน้มน้าวใจของเขาก็ได้ผล กว่า 100 ประเทศได้ลงนามในข้อตกลง การปฏิรูปดังกล่าว ผู้นาของประเทศต่างๆ ทึ่งกับความเห็นของทรัมป์ เขาแสดงให้ เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่าง นโยบายต่างประเทศหลักของเขา (นโยบายลดการแบกรับภาระของสหรัฐ :
  • 20. 20 | WORLD THINK TANK Monitor กันยายน 2560 สหรัฐจะไม่เป็นตารวจโลกแต่เพียงผู้ เดียว) กับหน้าที่ของสหประชาชาติ ทรัมป์ ยัง สนับสนุน อันโตนิโอ กุเตอเรส เลขาธิการ สหประชาชาติคนปัจจุบันในการปฏิรูป สหประชาชาติอย่างเต็มที่ ในตอนท้ายของ สุนทรพจน์ ทรัมป์ กล่าวชื่นชมบทบาทของ สหประชาชาติและองค์การระหว่างประเทศ ต่างๆ ในการรักษาสันติภาพและการช่วยเหลือ ด้านมนุษยธรรม ทรัมป์ระบุว่าสหรัฐเป็นผู้แบก รับภาระค่าใช้จ่ายในกิจการเหล่านี้ ของ สหประชาชาติกว่า 22% อย่างไรก็ตาม เป้ าหมายของสหประชาชาติเป็นสิ่งที่คุ้มค่ากับ ค่าใช้จ่าย นี่คือหน้าแรกของทรัมป์ ที่เล่น บทบาทเป็น Nikki Harley (ทูตสหรัฐประจา สหประชาชาติตนปัจจุบัน) หน้าที่ 2 : ทรัมป์ ในหน้า H.R. McMaster ในช่วงแรกของสุนทรพจน์ ทรัมป์ กล่าวสนับสนุนอย่างหนักแน่นในแนวคิดที่ว่า อานาจของสหรัฐเป็นสิ่งที่ช่วยรักษาสันติภาพ ระหว่างมหาอานาจต่างๆ และช่วยสร้างความ เจริญรุ่งเรืองของโลกในภาพรวม ตลอดมา ในประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นวาทกรรมที่ทรัมป์ ไม่เคยกล่าวมาก่อน ทรัมป์ยอมรับว่ารัฐเผด็จ การก่อให้เกิดภัยคุกคามต่อค่านิยมแบบ อเมริกัน เขาถึงกับปลุกจิตวิญญาณของ แผนการมาร์แชลขึ้นมา ทรัมป์ ได้กล่าวว่าที่ ผ่านมา แม้จะเป็นผู้ชนะในสงครามโลกครั้งที่ สอง สหรัฐไม่เคยขยายอาณาเขต หรือ พยายามเข้าไปกาหนดวิถีชีวิตของผู้คนในที่ อื่นๆ แต่พยายามที่จะสร้างสถาบัน ดังเช่น สหประชาชาติขึ้นมาเพื่อปกป้ องอธิปไตย ความมั่นคงและเจริญรุ่งเรืองของทุกคน (แนวคิดนี้อาจเป็นทิศทางยุทธศาสตร์ความ มั่นคงของชาติของทรัมป์ในอนาคตได้) นี่คือ หน้าที่สองของทรัมป์ ที่กล่าวในลักษณะที่ เป็น H.R. McMaster (ที่ปรึกษาสภาความ มั่นคงแห่งชาติสหรัฐคนปัจจุบัน) หน้าที่สาม : ทรัมป์ ที่เป็ นตัว ของทรัมป์เอง ในตอนกลางของสุนทรพจน์ ทรัมป์ กล่าวว่าเขาได้ตัดสินใจไปแล้วเกี่ยวกับ บทบาทของสหรัฐต่อข้อตกลงนิวเคลียร์ของ อิหร่าน เขาเรียกคิมจองอึนว่า “rocket man” และประกาศว่าสหรัฐพร้อมที่จะทาลายล้าง เกาหลีเหนือให้สิ้นซาก หากสหรัฐถูกบังคับ ให้ ต้ องปกป้ องตนเองหรือพันธมิตร ขณะเดียวกัน ทรัมป์ ยังกล่าวว่าการลดการ สะสมอาวุธนิวเคลียร์เป็นเพียงทางออกเดียว ต่อปัญหาเกาหลีที่จาเป็นต้องทาให้สาเร็จ หา ไม่แล้วโลกจะต้องเผชิญกับหายนะ นี่ คือทรัมป์ ในหน้าที่สาม ทรัมป์ ที่เป็นทรัมป์ เอง สุดท้ายแล้ว ผู้เขียนบทความนี้ต้องการ ชี้ให้เห็นว่าไม่มีประธานาธิบดีคนใดทาอะไร สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันหมดทุกอย่าง การกระทาและคาพูดของประธานาธิบดีทุก คนนั้นในแง่หนึ่งก็เป็นภาพสะท้อนตัวตนและ
  • 21. 21 | WORLD THINK TANK Monitor กันยายน 2560 ความคิดของที่ปรึกษาหลายๆ คนที่อยู่รายรอบ ยกตัวอย่างเช่น ความขัดแย้ งกันในตัว ประธานาธิบดีโอบามาเอง ระหว่างการที่เขาถอน กาลังทหารออกจากอัฟกานิสถาน ในขณะที่เข้าไป แทรกแซงในลิเบีย แต่กระนั้นแทบจะไม่เคย ปรากฏความขัดแย้งในตัวเองของประธานาธิบดี คนใดที่ชัดเจนและมากมายเท่ากับที่ทรัมป์ แสดง ออกมาในสุนทรพจน์ของเขาที่สหประชาชาติมา ก่อน ความคิดแบบ Harley กับ McMaster ได้เข้า มายึดกุมพื้นที่ทางความคิดของทรัมป์ได้ส่วนหนึ่ง แต่ในสุนทรพจน์นั้นก็ยังมีความคิดแบบทรัมป์เอง อยู่เช่นกัน อ้างอิง Bruce Jones. A tale of three Trumps. Brookings. อ อ น ไ ล น์ https:// www.brookings.edu/blog/order-from- chaos/2 0 1 7 / 0 9 / 2 1 / a-tale-of-three- trumps/.