SlideShare a Scribd company logo
1 of 40
Download to read offline
รายงาน
ดุลอํานาจใหม่ของโลก:
ยุทธศาสตร์จีนและสหรัฐอเมริกาในทศวรรษ 2020
จัดโดย สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ เวทียุทธศาสตร์
ร่วมกับ ศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน
22 มกราคม 2563
รายงานถอดความ (Transcript)
ดุลอํานาจใหม่ของโลก:
ยุทธศาสตร์จีนและสหรัฐอเมริกาในทศวรรษ 2020
ผู้นําเสนอหลัก
ดร. วิวัฒน์ มุ่งการดี
ดร. สารสิน วีระผล
รายงานฉบับนี้ถอดความจากเวทียุทธศาสตร์ เรื่อง "ดุลอํานาจใหม่ของโลก: ยุทธศาสตร์จีนและ
สหรัฐอเมริกาในทศวรรษ 2020" จัดโดย สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ ร่วมกับ ศูนย์วิจัย
ยุทธศาสตร์ไทย-จีน เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2563 ณ โรงแรมแมนดาริน สามย่าน กรุงเทพมหานคร
ที่ปรึกษา: ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์
บรรณาธิการ: ยุวดี คาดการณ์ไกล
กองบรรณาธิการ: เสกสรร อานันทศิริเกียรติ ปาณัท ทองพ่วง ณัฐธิดา เย็นบํารุง
อํานวยการผลิตโดย: สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
ปีที่เผยแพร่: กุมภาพันธ์ 2563
www.klangpanya.in.th
ที่อยู่
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ อาคารพร้อมพันธุ์ 1 637/1 ถนนลาดพร้าว เขตจตุจักร
กทม. 10900 โทรศัพท์ 02-938-8826 โทรสาร 02-938-8864
2
สารบัญ
หน้า
คํานํา
กล่าวนํา 6-8
ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์
ยุทธศาสตร์สหรัฐอเมริกาในทศวรรษ 2020 8-15
ดร. วิวัฒน์ มุ่งการดี
ยุทธศาสตร์จีนในทศวรรษ 2020 16-19
ดร. สารสิน วีระผล
บทอภิปราย 20-37
ภาคผนวก รายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม 38-40
3
คํานํา
เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2563 เวลา 13.30-17.00 น. สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
ร่วมกับศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน จัดประชุมเวทียุทธศาสตร์ เรื่อง "ดุลอํานาจใหม่ของโลก:
ยุทธศาสตร์จีนและสหรัฐอเมริกาในทศวรรษ 2020" ณ ห้องประชุมการะเกด โรงแรมแมนดาริน สาม
ย่าน ถนนพระราม 4 กรุงเทพมหานคร โดยมีนักคิด นักยุทธศาสตร์ นักวิชาการ อดีตเอกอัครราชทูต
และผู้ทรงคุณวุฒิร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นการเผชิญหน้าระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีน
ในปัจจุบัน การเผชิญหน้าระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนมีแนวโน้มเข้มข้นมากขึ้น และอาจพัฒนา
จากสงครามการค้าไปเป็นความขัดแย้งในประเด็นอื่น เช่น เทคโนโลยี การเงิน รวมถึงสงครามตัวแทน
ดังที่ปรากฏในยุคสงครามเย็น บริบทเช่นนี้สร้างเงื่อนไขให้ประเทศไทยต้องกําหนดท่าทีและยุทธศาสตร์
ที่เหมาะสมเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งควรเกิดจากการวิเคราะห์
ภาพรวมยุทธศาสตร์การต่างประเทศและการเมืองภายในของทั้งสองมหาอํานาจ เพื่อประเมินบทบาท
และท่าทีของไทยในการตอบสนองยุทธศาสตร์ทั้งสองมหาอํานาจให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ
ในการนี้ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ ได้จัดทํารายงานสรุปและถอดความเนื้อหาการ
ประชุมครั้งนี้ขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้สู่ผู้กําหนดและตัดสินใจเชิงนโยบาย ภาคส่วนต่าง ๆ นิสิตนักศึกษา
และประชาชนทั่วไปที่สนใจการกําหนดยุทธศาสตร์การต่างประเทศของไทยในดุลอํานาจโลกที่กําลัง
เปลี่ยนแปลงนี้
4
5
ดุลอํานาจใหม่ของโลก:
ยุทธศาสตร์จีนและสหรัฐอเมริกาในทศวรรษ 2020
กล่าวนํา
ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์
วันนี้เป็นการจัดเวทียุทธศาสตร์เรื่อง "ดุลอํานาจใหม่ของโลก: ยุทธศาสตร์จีนและสหรัฐอเมริกา
ในทศวรรษ 2020" จัดโดยสถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ ร่วมกับศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน
เราก็ได้คุยกันเรื่องยุทธศาสตร์ของมหาอํานาจต่าง ๆ ที่มีต่อโลก ในการจัดเวทีคราวที่แล้ว เราเริ่มด้วย
การพูดถึงความท้าทายทางการต่างประเทศและความท้าทายทางยุทธศาสตร์ความมั่นคงที่มีต่อประเทศ
ไทย คุยกันสนุกมาก คราวนี้จะมาพูดถึงเรื่อง ดุลอํานาจใหม่ของโลก: ยุทธศาสตร์จีนและสหรัฐอเมริกาใน
ทศวรรษ 2020
วิทยากรในวันนี้ท่านที่นั่งอยู่ทางขวามือของผม ก็คือ ดร. วิวัฒน์ มุ่งการดี ผมเรียกท่านว่า
อาจารย์นะครับ อาจารย์วิวัฒน์ มุ่งการดีท่านเป็นนักเรียนเรียนดีของกระทรวงธรรมการ ไปเรียนที่
สหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ชั้นไฮสกูล แล้วก็เรียนระดับปริญญาตรีทางวิศวกรรมศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยคอร์แนล
แล้วจากนั้นท่านอาจารย์ก็ย้ายสาขามาศึกษาทางประวัติศาสตร์การเมืองโลกที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดใน
ระดับปริญญาโทและเอก ท่านเรียนกับนักปราชญ์หลายท่าน ท่านอาจารย์วิวัฒน์เป็นที่ปรึกษาทางด้าน
การต่างประเทศที่ใกล้ชิดของท่านนายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย และปัจจุบันท่านก็ยังเป็นที่ปรึกษาใกล้ชิด
ของท่านประธานรัฐสภาชวน หลีกภัย เพราะฉะนั้นท่านคงมีอะไรดี ๆ มาเล่าให้เราฟังเยอะ
ส่วนวิทยากรอีกท่านหนึ่งก็คือท่านอาจารย์ ดร. สารสิน วีระผล ท่านเคยเป็นเอกอัครราชทูตไทย
ประจํากรุงมะนิลา แล้วก็ออกจากราชการในยามที่ยังเหลืออายุราชการอีกเป็นสิบปี มาช่วยบริหารบริษัท
ซีพี เป็นผู้บริหารอาวุโสของทางบริษัทซีพี ทางซีพีก็ยกย่องให้เกียรติและเชื่อถือมาก ก็ทําให้บริษัทซีพี
เวลานี้เป็นบริษัทที่มีวิสัยทัศน์อะไรต่าง ๆ มากทีเดียว
อาจารย์วิวัฒน์บอกผมว่าท่านอยากจะให้อาจารย์สารสินเริ่มก่อน อาจารย์สารสินก็บอกว่าอยาก
ให้อาจารย์วิวัฒน์เริ่มก่อน เพราะว่าอาจารย์วิวัฒน์ท่านพูดเรื่องอเมริกา ถึงอย่างไรอเมริกาก็ยังเป็น
มหาอํานาจหมายเลขหนึ่งอยู่ ส่วนจีนของท่านสารสินยังเป็นมหาอํานาจหมายเลขสอง ความจริงแล้ว
พวกเราก็เป็นลูกผสมทั้งนั้น เพราะว่าอาจารย์วิวัฒน์ก็ดี อาจารย์สารสินก็ดี เป็นนักเรียนปริญญาเอกจาก
ฮาร์วาร์ดทั้งคู่ เรียนรู้จากฝรั่งมามิใช่น้อย และพวกเราที่อยู่ในที่นี้จํานวนไม่น้อยก็เรียนที่สหรัฐอเมริกา
ผมเองก็ใช่ ลูกผมสี่คนก็เรียนที่อเมริกาหมด แต่ขณะเดียวกันเมืองไทยเราก็อยู่ใกล้ชิดจีนมาตั้งแต่ปี
6
1978-1979 ก็พูดได้ เพราะฉะนั้น วันนี้สหรัฐกับจีนก็กําลังตึงเครียดกัน จึงจําเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องมา
คุยกันในเรื่องนี้ ไทยเราก็ยังใกล้ชิดกับทั้งจีนและอเมริกา
โลกหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นโลกที่มีสองขั้วอํานาจ คือเป็นสงครามเย็น มีขั้วตะวันตกที่นํา
โดยสหรัฐอเมริกา กับขั้วสังคมนิยมซึ่งนําโดยโซเวียตรัสเซีย ทีแรกจีนก็อยู่ในขั้วหลังนี้ ต่อมาไม่นาน
ผ่านมาจนถึงทศวรรษ 1970 กลาง ๆ สหรัฐอเมริกาก็สามารถดึงจีนข้ามค่ายมาอยู่ช่วยสหรัฐในการ
ถ่วงดุลโซเวียตรัสเซียเอาไว้ และเราก็สนิทสนมกับจีนอย่างรวดเร็ว เพราะมันมีเหตุการณ์ที่เวียดนามบุก
กัมพูชา และจีนนั้นทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ร่วมอุดมการณ์กับเรา ก่อนหน้านี้เคยเหมือนกับเป็นศัตรูกับเราในทาง
อุดมการณ์และทางยุทธศาสตร์ก็หันมาคบกับเราและอาเซียนอย่างสนิทสนมในเวลาอันรวดเร็ว ไทยเราก็
เปลี่ยนจากที่มองจีนเป็นยักษ์เป็นมาร กลายมาเป็นมิตรกับจีน ทั้งจีนและไทยก็ร่วมกันต้านอิทธิพลของ
เวียดนามเอาไว้ เหตุการณ์ก็เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ จนในที่สุดแล้วกําแพงเบอร์ลินก็ล่ม โซเวียตก็แตก
สลายกลายเป็นรัสเซียอย่างทุกวันนี้ จีน ซึ่งเติบโตอย่างรวดเร็วแต่โตอย่างเงียบ ๆ ก็เติบโตขึ้นมาไม่หยุด
ตอนที่กําแพงเบอร์ลินล่มนั้นยังไม่มีใครคิดเลยว่าจีนจะขึ้นมาเป็นคู่ปรับกับอเมริกาได้ คนแทบทั้งโลกมอง
ว่าโลกอยู่ในยุคที่เรียกว่า Unipolar คือมีแต่สหรัฐอยู่ขั้วเดียวที่เป็นยิ่งกว่า Superpower เพราะเหลืออยู่
ชาติเดียว ส่วนโซเวียตก็อ่อนเปลี้ย จีนก็ยังเพิ่งจะโตขึ้นมาเท่านั้นเอง
แต่เมื่อเวลาผ่านไปไม่นาน จีนก็เข้มแข็งอย่างรวดเร็ว ประเทศตะวันตกก็ประสบปัญหาไม่
เข้มแข็งดังเดิม แม้ว่ายังอยู่เหนือแต่ก็ไม่ห่างมากนัก ก็เป็นเช่นนี้ต่อมา สหรัฐก็ยังไม่ได้มีอะไรกับไทยเรา
ในทางที่จะทําให้เรามีปัญหา จนกระทั่งในยุคปลาย ๆ ของโอบามา สหรัฐก็เริ่มคิดว่าจะต้องกลับมาสู่
เอเชีย หลังจากที่ประธานาธิบดีสหรัฐหลายคนได้ไปเผชิญภัยอยู่ในตะวันออกกลาง ทั้งในอัฟกานิสถาน
อิรัก ฯลฯ ความสนใจก็เลยยังคาอยู่ในดินแดนเหล่านั้น ซึ่งพอมาถึงสมัยโอบามานั้น ชนชั้นนําสหรัฐรู้กัน
แล้วว่าสิ่งที่สหรัฐควรจะสนใจไม่ใช่ตะวันออกกลาง ไม่ใช่อิรัก ไม่ใช่โลกมุสลิม แต่ว่าคือจีน สหรัฐจึง
พยายามที่จะหันมาสู่เอเชีย แต่ว่าคนที่จะทําให้สหรัฐหันมาสู่เอเชียมาก ๆ ใช้คําพูดนี้จริง ๆ คือฮิลลารี
คลินตัน แต่ว่าเธอไม่ได้เป็นประธานาธิบดี กลายเป็นทรัมป์ ทรัมป์ก็ใช้นโยบาย America First แต่
ว่าทรัมป์ก็มองจีนเป็นคู่ปรับแล้ว บางคนก็บอกว่าสหรัฐมองว่าขณะนี้โลกอยู่ในยุคสงครามเย็นครั้งใหม่
แล้ว โดยมีคู่ขัดแย้งคือสหรัฐกับจีนเป็นต้น แล้วที่เคยปล่อยให้ประเทศต่าง ๆ สามารถที่จะคบกับจีนได้
อย่างสะดวกสบาย สหรัฐก็เริ่มที่จะส่งสัญญาณว่าอยากที่จะให้ประเทศต่าง ๆ ปรับได้แล้ว เอาให้ชัด กับ
บางประเทศ สหรัฐก็บอกว่าเลือกให้ชัดว่าจะอยู่ฝ่ายใด สหรัฐไม่กังวล ประเทศเหล่านั้นจะอยู่ฝ่ายใดก็ได้
แต่สหรัฐก็ประกาศชัดเจนแล้วว่าจะทอนกําลังจีน จะสกัดจีน จะขัดขวางการผงาดขึ้นมาของจีน ซึ่ง
ประเด็นนี้ผมว่าคนไทยเราระมัดระวังมาก เพราะว่าเราก็ไม่อยากเป็นศัตรูกับใคร แล้วเราก็มีธรรมเนียม
การทูต การต่างประเทศที่เป็นมิตรกับทุก ๆ ฝ่าย แล้วคนไทยก็เป็นมิตรกับทุก ๆ ฝ่าย พูดถึงฝรั่งเราก็ยัง
ชอบฝรั่ง เรายังเอาความคิดของฝรั่งมาใช้ แต่ว่าพูดถึงจีน เราก็ไม่ได้รังเกียจจีน เราก็ชอบจีน
7
เพราะฉะนั้น ตอนนี้เราจะปรับตัวอย่างไร หลายที่ก็ได้จัดพูดคุยในเรื่องนี้ไปแล้ว ทางเราวันนี้ก็ได้
เชิญวิทยากรที่เราคิดว่าเอกอุสองท่าน ท่านอาจารย์วิวัฒน์ท่านคงจะพูดจากมุมมองของสหรัฐ แต่ก็ถ้าจะ
พูดจากมุมของจีนด้วยก็ได้นะครับ ถ้าจะพูดถึงจีนด้วยก็ได้ และเราก็อยากฟังด้วย ส่วนท่านอาจารย์สาร
สิน ท่านก็คงจะพูดจากด้านของจีนเป็นหลัก แต่ว่าถ้าจะพูดถึงสหรัฐด้วย แล้วก็ควรจะต้องพูดด้วย เราก็
ยินดีมาก
ยุทธศาสตร์สหรัฐอเมริกาในทศวรรษ 2020
ดร. วิวัฒน์ มุ่งการดี
ครับ ท่านผู้ใหญ่ที่เคารพ ท่านอนันต์ท่านก็เป็นผู้อาวุโสที่ผมรู้จักมานาน แล้ววันนี้เราก็มีทั้งราช
บัณฑิต ทั้งข่าวกรอง ทั้งทหาร ทั้งทูต รู้สึกว่าแต่ละคนน่าจะมานั่งตรงนี้มากกว่า ผมก็เลยกลายเป็นเชลย
ศึกที่จะต้องให้ท่านทั้งหลายมาซักถาม แต่ว่าผมก็ยินดีครับ ผมก็อยากจะเสนอว่าให้มีการถกเถียง
อภิปรายกันในที่สุด เมื่อสักครู่ท่านอาจารย์เอนกก็บอกว่าเรามีผู้เชี่ยวชาญทางเลือด เรื่องที่จะพูดต่อไปนี้
อาจจะเป็นการนองเลือดก็ได้ มันเป็นไปได้นะครับ ไม่ใช่เป็นไปไม่ได้
ผมอยากจะบอกว่ามีความพยายามที่จะสุ่มตัวอย่างว่าคนไทยชอบอเมริกาหรือชอบจีนมากกว่า
กัน ผมบอกว่าแทบจะไม่ต้องสุ่มเลย เพราะเวลานี้จีนก็ต้องมามากกว่าแน่ และที่จริงก็มากกว่ามาหลายปี
แล้ว แต่นั่นก็ยังไม่ได้เป็นจุดที่จะตัดสินใดๆ ประเด็นสําคัญก็คือคนที่ไม่ชอบประธานาธิบดีทรัมป์ และที่
จริงค่อนข้างจะมีความรู้สึกเกลียดชังทรัมป์ในบุคลิกของเขา แล้วก็เกลียดนโยบายทั้งหมดของเขาด้วย
แต่ผมก็ต้องอยู่ในโลกของความเป็นจริงครับ ก็ถ้าเราจะวิเคราะห์นโยบายของสหรัฐ เราจะไม่วิเคราะห์
นโยบายของทรัมป์ได้อย่างไร ก็เขาเป็นประธานาธิบดีอยู่ แล้วเขาก็เริ่มนโยบายหลายประการ
เพราะฉะนั้นผมก็อยากจะเริ่มด้วยการกล่าวถึงนโยบายของทรัมป์
แต่ก่อนที่ผมจะเข้าเรื่องนั้น ผมขอออกนอกเรื่องสักนิด แต่ว่ามันอาจจะเกี่ยวข้อง คือเมื่อหลายปี
มาแล้ว มีข้อสอบเข้าที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ให้เวลานักเรียนสามชั่วโมง ให้เขียนเรียงความตอบว่าเหตุ
ใดผู้นําโลกบางคนมีผู้ตามเป็นหมื่น เป็นแสน เป็นล้าน เขามีอะไรดี คําถามมีแค่นั้นครับ ก็คงจะตอบได้
หลายอย่าง แล้วก็มีคนเฉลยมาบ้างแล้ว แต่คําเฉลยที่ผมเห็นว่าค่อนข้างจะเข้าทีหน่อยเป็นของนักคิด
นักเขียนที่โด่งดังคนหนึ่ง เขาบอกว่า ถ้าจะให้สรุปก็คือว่า เพราะคนเหล่านั้นเขามีอะไรดีมากกว่าการเป็น
ผู้นํา ยกตัวอย่าง เช่น สตาลิน ซึ่งต้องการที่จะขยายลัทธิมาร์กซิสต์-เลนินนิสต์ ไปทั่วโลก นั่นคือความ
ต้องการของเขา ฮิตเลอร์ต้องการให้ชาวอารยันเป็นใหญ่ในโลก มีคนติดตาม แสดงความนิยมชมชื่นเป็น
ล้านคน เชอร์ชิลต้องการรักษาจักรวรรดิของอังกฤษให้อยู่รอดหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ทั้งสามคน
ล้มเหลว แต่ว่าความเชื่อมั่นศรัทธาในความเป็นผู้นําของทั้งสามคนนี้ยังคงอยู่ตลอดไป ถึงแม้พวกเขาจะ
ไม่ประสบความสําเร็จตามจินตนาการของเขา เดอโกลต้องการให้ฝรั่งเศส ซึ่งพ่ายแพ้เยอรมนีมาสองครั้ง
8
กลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง ก็ประสบความสําเร็จ ไอเซนฮาวร์ (Dwight D. Eisenhower) ซึ่งเป็นผู้รักษายุโรป
ตะวันตก และเป็นผู้พิชิตยุโรป และตอนมาเป็นประธานาธิบดีก็ต้องการให้ประเทศตะวันตกเหล่านี้เป็น
ประชาธิปไตย เพราะฉะนั้นเขาเป็นมากกว่าผู้นํา พอพูดถึงไอเซนฮาวร์ ประเดี๋ยวจะพูดถึงการเลือกตั้ง
สหรัฐด้วยนะครับ ที่ว่าในเวลานั้นพรรครีพับลิกันจนแต้มไม่รู้จะเอาใครมาสู้กับสตีเวนสัน (Adlai
Stevenson) เพราะไม่มีใครเก่งเท่าสตีเวนสัน ก็ต้องเอาไอเซนฮาวร์มา (เหมือนกับคราวนี้ที่เดโมแครตไม่
รู้จะเอาใครมาสู้กับทรัมป์ กําลังหาตัวอยู่)
สตีเวนสันเป็นคนที่ได้ชื่อว่าเป็น "The Great Wit of the United States" เป็นนักพูด มีปฏิภาณ
สูง แต่แพ้คะแนนเสียงไอเซนฮาวร์สิบล้านเสียงในการเลือกครั้งที่สอง คนไปถามสตีเวนสันว่าท่านรู้สึก
อย่างไรที่แพ้สิบล้านเสียง สตีเวนสันบอกว่า "I’m too old to cry, but it’s too much to laugh." คือคําพูด
ของเขาเกือบจะเอาไปเก็บไว้ในหอจดหมายเหตุได้เลย แล้วจอห์น เอฟ เคนเนดี ซึ่งอยากจะมาเป็นรอง
ประธานาธิบดีของสตีเวนสัน แต่สตีเวนสันไม่ได้เลือกเคนเนดี ไปเลือกคีฟาวเวอร์ (Estes Kefauver)
เคนเนดีจึงยังเจ็บใจ เมื่อเขาได้เป็นประธานาธิบดีจึงไม่ได้ตั้งสตีเวนสันให้เป็นรัฐมนตรีต่างประเทศ ให้
เป็นเอกอัครราชทูตประจําสหประชาชาติเท่านั้น เป็นความเสียใจอย่างหนึ่ง ตอนหลังเขาไปตายที่
ลอนดอน หัวใจวาย
กลับมาเรื่องผู้นํา ผมก็อยากจะตั้งคําถามว่าทรัมป์หรือสีจิ้นผิงนั้นมีลักษณะอะไรมากไปกว่าผู้นํา
หรือเปล่า ผมยังไม่ขอตอบ ผมคิดว่าทุกคนคงมีคําตอบอยู่บ้างแล้ว
ผมก็อยากจะเข้าเรื่อง ผมอยากจะขยายความนิดนึงว่าทรัมป์ที่ขึ้นมานั้น บอกว่าจะให้อเมริกามา
ก่อน (America First) ด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่เป็นหลักใหญ่ ๆ คือ เขาต้องการลดดุลการค้าซึ่งสหรัฐ
เสียเปรียบอยู่หลายประเทศ และโดยเฉพาะเสียเปรียบจีนเป็นจํานวนมาก และการที่จีนรวยขึ้นมาอย่าง
รวดเร็วก็เพราะอเมริกา โดยที่เริ่มต้นจากสมัยคลินตันที่มีความรู้สึกว่าถ้าจีนรํ่ารวยขึ้น จีนจะกลายเป็น
ประชาธิปไตย ซึ่งเวลานี้ได้พิสูจน์แล้วว่าสมมติฐานนั้นไม่เป็นความจริง จีนไม่ได้เป็นประชาธิปไตยขึ้นมา
เลย แต่เป็น Authoritarian อย่างสมบูรณ์แบบเสียอีก แต่ไม่ได้หมายความว่าเขาไม่ได้ช่วยเหลือ
ประชาชนนะครับ เขามีโครงการช่วยเหลือประชาชนอีกมากมาย เรื่องนโยบายอเมริกามาก่อน โดยสั้น ๆ
ก็มีสามสี่มาตรการ หนึ่งคือ การลดการเสียดุลการค้ากับประเทศต่าง ๆ ที่เกินดุลการค้ากับสหรัฐ
โดยเฉพาะกับจีนเพื่อให้อเมริกาไม่เสียเปรียบ ซึ่งอเมริกาบอกว่าเขาเสียเปรียบจีนมาเป็นเวลากว่ายี่สิบปี
แล้ว
มาตรการประการที่สองของนโยบายอเมริกามาก่อนคือ Burden-sharing คือประเทศที่เป็นภาคี
นาโต้ หรือประเทศอื่น ๆ ที่มีสนธิสัญญาที่อเมริกาจะต้องปกป้องนั้น ที่ผ่านมาอเมริกาต้องออกเงินเป็น
จํานวนมากเกินไป ในขณะที่ประเทศที่รํ่ารวยแล้วอย่างเยอรมนี ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส หรืออังกฤษ ออกเงินน้อย
9
ไม่ได้สัดส่วนกับที่อเมริกาต้องออก เพราะฉะนั้น อเมริกาจึงต้องการปรับตรงนี้ ถึงแม้ว่าจะเป็นประเทศ
ประชาธิปไตยก็ตาม
มาตรการประการที่สามคือ เขาสนับสนุนลัทธิชาตินิยม คือไม่เอาโลกาภิวัตน์ แต่เอารัฐชาติ
(Nation-state) เป็นใหญ่ เราจะเห็นว่าเดี๋ยวนี้มีการเปลี่ยนแปลงที่ว่าประเทศต่าง ๆ กลับหันไปสู่ปัญหา
ภายในมากกว่าปัญหาภายนอก เช่น เยอรมนี อังกฤษก็ทํา Brexit ไม่อยากจะอยู่กับยุโรปซึ่งหมายความ
ว่าจะต้องไปยุ่งกับการเมืองภายนอกประเทศมาก และต้องเสียค่าใช้จ่ายเลี้ยงระบบราชการในสหภาพ
ยุโรปมากมาย และมีกฎระเบียบมากมาย อังกฤษจึงอยากออกมาดูแลตัวเอง ฝ่ายอเมริกา ทรัมป์เองก็
ปลีกตัวออกมาและคิดว่าต้องมาทํานุบํารุงประเทศของเขา โดยที่เขามีความเห็นว่าถ้าอเมริกาเข้มแข็ง
ขึ้นมา ทุกประเทศก็ต้องมาหาเขาเอง แต่ถ้าอเมริกาทําอย่างเดิมไปเรื่อย ๆ อเมริกาก็จะเสียเปรียบไป
เรื่อย ๆ อเมริกาก็จะจมดิ่งไปเรื่อย ๆ เพราะฉะนั้น ทรัมป์ก็เป็น Transformative Figure คือเป็นคนที่
เปลี่ยนทิศทางการเมืองระหว่างประเทศของอเมริกา
ที่จริง นักวิชาการอเมริกัน โดยเฉพาะที่มหาวิทยาลัยจอนส์ ฮอปกินส์ ก็พูดมานานแล้วว่า
ประธานาธิบดีสหรัฐหลายคนตั้งแต่คลินตัน บุช และโอบามาไปไม่ถูกทาง นักวิชาการเหล่านั้นบอกว่า
เมื่อเสร็จสงครามเย็นแล้ว เหตุใดปล่อยให้อเมริกายังต้องรับภาระในกิจการภายนอกประเทศ ยิ่งกว่านั้น
บุชผู้ลูกที่ไปบุกอิรัก ยังขยายนาโต้เข้าไปติดกับรัสเซีย คือไปยังประเทศลัตเวีย ลิทัวเนีย และเอสโตเนีย
ซึ่งทั้งสามประเทศมีดินแดนติดกับรัสเซีย ประเทศเหล่านี้เป็นประเทศเล็กมาก รัสเซียบุกไม่กี่วันก็จบแล้ว
แล้วอเมริกาหรือนาโต้จะเข้าไปช่วยอะไรได้ เพราะในมาตราที่ 5 ของสนธิสัญญานาโต้บอกว่าถ้าใครมา
โจมตีประเทศสมาชิกนาโต้ประเทศใดประเทศหนึ่งก็เท่ากับโจมตีสมาชิกนาโต้ทั้งหมด ดังนั้นถ้ารัสเซีย
โจมตีสามประเทศข้างต้น อเมริกาก็จะต้องเข้าไปรับผิดชอบด้วย ซึ่งทรัมป์ก็บอกว่าในกรณีอย่างนี้
อเมริกาไม่อาจจะเข้าไปช่วยได้ นี่ก็คือชาตินิยม เขาพูดที่สหประชาชาติว่าเขาต้องมาดูแลประเทศของเขา
เอง และเขาก็อยากให้ทุก ๆ ประเทศทําอย่างเขา คือทุกประเทศต้องเอาประเทศของตัวมาก่อน การทํา
อย่างนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องที่แปลกประหลาด และเขาก็กีดกันผู้อพยพมายังสหรัฐอเมริกาโดยถือว่ามาแย่งงาน
คนอเมริกัน เขาพยายามสร้างงานให้คนขาวยากจนที่อยู่ในรัฐเล็ก ๆ น้อย ๆ ต่าง ๆ ที่ไม่ค่อยเจริญเท่าไร
และก็เรียกบริษัทอเมริกันซึ่งไปลงทุนในต่างประเทศมากมาย รวมถึงประเทศจีน ให้กลับมาลงทุนยัง
สหรัฐอเมริกา โดยรัฐบาลจะลดภาษีให้ เพื่อให้คนอเมริกันมีงานทํา คําว่า "งาน" เป็นหลักชัยในการหา
เสียงเลือกตั้งในสหรัฐทุกวันนี้ ถ้าใครหางานให้คนได้มาก คนนั้นก็จะชนะเลือกตั้ง
ประการสุดท้ายในข้อที่เกี่ยวกับการสนับสนุนลัทธิชาตินิยมของทรัมป์ก็คือเรื่องการสร้างกําลัง
ทหารของเขา ปีนี้งบประมาณด้านการทหารของอเมริกาอยู่ที่ 750,000 ล้านเหรียญสหรัฐ สูงกว่าประเทศ
อื่นมาก และสมรรถนะในทางเทคโนโลยีก็สูงกว่ามาก เพราะฉะนั้นก็มีคนเปรียบมานานแล้วว่าอเมริกา
คล้ายโรม เหตุที่ตลอดช่วงเวลาที่โรมเป็นใหญ่มีสันติภาพ ที่เรียกว่า Pax Romana ก็เพราะว่าในเวลานั้น
โรมเป็นรัฐที่มีกองทัพขนาดใหญ่ที่สุด รัฐอื่นจะสร้างกองทัพไม่ได้เลย ถ้าสร้างกองทัพเมื่อใดโรมก็จะเข้า
10
ไปปราบ เพราะฉะนั้น จึงไม่มีใครกล้ารบกับโรม และไม่กล้าจะไปรบกันเอง เพราะไม่มีกําลัง จึงมี
สันติภาพ อเมริกาก็ต้องการสร้าง Pax Americana แต่ก็พลาดโอกาสไป ทั้งที่ในปี ค.ศ. 1945 ที่
สหรัฐอเมริกาคิดระเบิดปรมาณูได้ 1949 รัสเซียจึงจะคิดระเบิดปรมาณูได้ ตอนหลังนักประวัติศาสตร์มา
ถามว่า 4 ปีนั้นอเมริกาทําอะไรอยู่ หลังจากที่อเมริกาทิ้งระเบิดปรมาณูสองแห่งที่ญี่ปุ่นแล้วก็ไม่ได้ใช้
ระเบิดปรมาณูอีกเลย เพราะฉะนั้น อเมริกาได้สูญเสียโอกาสที่จะจัดการกับรัสเซีย ในขณะที่รัสเซียยังไม่
มีระเบิดปรมาณู และจึงได้เกิดสงครามเย็นเป็นเวลากว่า 40 ปีต่อมา ต่อมาทั้งสหรัฐอเมริกากับรัสเซีย
ต่างคนต่างก็มีระเบิดไฮโดรเจน ในปี 1951 และ 1952 ตามลําดับ ยิ่งกว่านั้นในปี 1957 รัสเซียยังส่ง
ดาวเทียมสปุตนิกขึ้นไป ผมจําได้ว่าในปีนั้นผมเป็นนักเรียนอยู่ที่อเมริกา (ผมเดินทางไปสหรัฐในปี 1956)
อาจารย์บอกให้ทุกคนเขียนเรียงความว่ามองเรื่องดังกล่าวอย่างไร ให้เขียนหนึ่งหน้าเท่านั้น ก็มีเด็กคน
หนึ่งซึ่งอาจารย์เห็นว่าเขียนดีมาก และได้มาอ่านเรียงความนั้นให้ชั้นเรียนฟัง โดยเขียนว่าตอนนี้รัสเซีย
ได้ก้าวหน้าไปกว่าอเมริกาแล้ว ถ้ารบกันอเมริกาก็จะแพ้รัสเซีย และรัสเซียก็จะมาปกครองอเมริกา แต่
รัสเซียจะปกครองไม่ได้เพราะอเมริกาเป็นประชาธิปไตย จะไม่มีคนออกไปทํางานเลย ทุกคนจะอยู่ใน
บ้านหมด อย่างไรก็ตามที นั่นเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับนโยบาย America First ซึ่งมีความหมายถึงมาตรการ
ต่าง ๆ 4-5 ประการ ได้แก่ การขาดดุลการค้าของสหรัฐกับประเทศอื่น การร่วมกันแบกรับภาระในทาง
ทหารให้ได้สัดส่วนมากขึ้นระหว่างสหรัฐกับชาติพันธมิตร การมีลักษณะชาตินิยมของสหรัฐ และการเพิ่ม
กําลังทหารอย่างมากของสหรัฐเพื่อเป็นการป้องปราม (Deterrence) ประเทศอื่น ๆ
ผมมาดูแล้วว่าคนในที่นี้คงจะมีความรู้มากมาย ผมไม่อยากจะมาบรรยาย แต่ผมจะตั้งคําถาม
หรือข้อคิดเพื่อกระตุ้นให้เกิดการอภิปรายต่อไป ซึ่งมีอยู่ 6 ข้อด้วยกัน
ข้อที่หนึ่ง ทั้งจีนและอเมริกาเป็นประเทศที่น่าชื่นชม อเมริกานั้นตั้งประเทศมาเมื่อปี 1776
หลังจากประกาศอิสรภาพจากอังกฤษ พอถึงปี 1945 ก็เป็นมหาอํานาจของโลกแล้ว ใช้เวลา 170 ปีจาก
ตั้งประเทศมาเป็นมหาอํานาจอันดับหนึ่งของโลก ส่วนจีนนั้นใช้เวลา 30-40 ปี ตั้งแต่เติ้งเสี่ยวผิงเปิด
ประเทศ เจริญก้าวรุดหน้าอย่างที่ไม่มีใครทําได้ในปัจจุบัน ความเจริญก้าวหน้าของจีนนั้นรวดเร็วและ
รุนแรง และเป็นที่น่าชื่นชม แต่ผมก็มีความสงสัยว่าทั้งสองประเทศนั้นกําลังตกเป็นตัวประกันของ
ประวัติศาสตร์ของตน (Hostage of History) หรือไม่ คือหมายความว่าโดนประวัติศาสตร์ของตัวเองบง
การหรือกําหนดชะตากรรมหรือนโยบายของตัว อเมริกาเป็นชาติที่ประสบความสําเร็จมาตลอด อเมริกา
ประกาศสงครามชนะอังกฤษ (ด้วยความช่วยเหลือของฝรั่งเศส เพราะว่าเมื่ออเมริกาประกาศอิสรภาพ
จากอังกฤษ ฝรั่งเศสก็ประกาศสงครามกับอังกฤษทันที ทําให้อังกฤษต้องรบกับทั้งฝรั่งเศสและอเมริกา
ในที่สุดก็แพ้อเมริกา) ชนะอินเดียนแดง ชนะเม็กซิโกและยึดดินแดนแถบรัฐแคลิฟอร์เนีย (ซึ่งแต่ก่อนอยู่
ใต้สเปน เรายังเห็นสถาปัตยกรรมสเปนมากมายได้ในแคลิฟอร์เนีย) ชนะสเปนในการรบเมื่อปี 1898
ชนะสงครามโลกครั้งที่ 1 ชนะสงครามโลกครั้งที่ 2 ชนะสงครามเย็น เพราะฉะนั้น อเมริกาจึงมีความรู้สึก
ว่าตัวเองนั้นไม่เคยแพ้ใคร นอกจากอาจจะแพ้เวียดนาม แต่อเมริกาก็ถือว่าไม่ได้แพ้ เพราะถือว่าเขาถอน
ทหารออกมาเองเพราะปัญหาภายในประเทศสหรัฐ แล้วในที่สุดเขาก็ชนะสงครามเย็น) ดังนั้น อเมริกาจึง
11
มีลักษณะเหมือนเด็กที่ถูกตามใจ (spoiled child) คือรู้สึกว่าฉันประสบความสําเร็จมาตลอด เพราะฉะนั้น
ถ้าทําอะไรก็น่าจะสําเร็จ เพราะเป็นอเมริกาเสียอย่าง
นี่คือจุดที่อเมริกาจะต้องระวัง เพราะจะเห็นว่าจักรวรรดิต่าง ๆ ล้มมาแล้วไม่รู้กี่แห่ง อาร์โนลด์
ทอยน์บี (Arnold Toynbee) ซึ่งเป็นนักประวัติศาสตร์ใหญ่ที่ได้รางวัลโนเบลทางด้านวรรณกรรม ได้
ศึกษาอารยธรรมต่าง ๆ 22 แห่งพบว่าเหตุที่จักรวรรดิต่าง ๆ ต้องล่มสลายล้วนมาจากเหตุการณ์ภายใน
ทั้งสิ้น คือแทบจะสรุปได้เลย อาจจะมีข้อยกเว้นบ้างเล็กน้อย เพราะฉะนั้น อเมริกาก็อาจจะมีปัญหาใน
เวลาต่อไปถ้าไม่ระมัดระวัง โดยเฉพาะเรื่องความแตกแยกและแบ่งเป็นฝักเป็นฝ่าย (Polarization) ใน
อเมริกา แล้วที่อเมริกาแพ้สงครามเวียดนาม จนกระทั่งนิกสันออกมาพูดว่าที่เราแพ้ เพราะว่าคนอเมริกัน
ทะเลาะกันเอง และอเมริกาเดี๋ยวนี้ก็ยิ่งแตกแยกเป็นสองขั้ว แต่ก่อนมีการโหวตข้ามพรรค ผู้แทนจาก
พรรครีพับลิกันอาจจะไปโหวตให้ประธานาธิบดีซึ่งมาจากพรรคเดโมแครตก็ได้ หรือในทางกลับกัน แต่
เดี๋ยวนี้เกือบจะไม่มี พรรคใครพรรคมัน
ในเวลาเดียวกัน จีนเองก็เช่นกันที่เป็นเชลยของประวัติศาสตร์ คือจีนเคยยิ่งใหญ่มาตลอดจน
กระทั่งศตวรรษที่ 18-19 โดยเฉพาะศตวรรษที่ 19 ที่ตะวันตกเข้ามาครอบครองจีน จีนจึงมีความเจ็บใจ
ต้องการที่จะยิ่งใหญ่ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง เวลานี้จีนก็ขยายตัวไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในเอเชียใต้
เช่น บังกลาเทศ ปากีสถาน ศรีลังกา ในตะวันออกกลาง เช่น จิบูตี ไปลาตินอเมริกา ไปแอฟริกา ฯลฯ
นักประวัติศาสตร์ชี้ให้เห็นว่า อย่าลืมว่านี่เหมือนกับกรณีของเยอรมันซึ่งเจ็บใจเมื่อก่อนสงครามโลกครั้งที่
หนึ่งและสงครามโลกครั้งที่สอง และในที่สุดเราก็ทราบกันดีว่าอะไรเกิดขึ้นกับเยอรมัน โดยที่เพราะตก
เป็นเชลยของประวัติศาสตร์ เอาประวัติศาสตร์มาเป็นตัวขับเคลื่อนด้วยความเจ็บใจ และนักวิเคราะห์ยัง
ชี้ให้เห็นด้วยว่าเมื่อใดจีนอ่อนแอ จีนอาจจะแตกเป็นเสี่ยงเหมือนกับยูโกสลาเวีย ทิเบต ซินเจียง ไต้หวัน
ฮ่องกง อาจจะแยกตัวออกไป ซึ่งเรื่องนี้ไม่ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ ถ้าเมื่อใดที่จีนอ่อนแอ นี่คือประการที่หนึ่ง
ที่ผมอยากให้ลองอภิปรายกันดูว่าสิ่งเหล่านี้มีความเป็นไปได้เพียงใด
ข้อที่สอง ก็คือว่า เวลานี้กลายเป็นคู่ชนกันไปแล้วระหว่างอเมริกากับจีน ที่เขาเรียกว่าสงคราม
เย็นครั้งใหม่ (The New Cold War) ในฐานะประเทศอันดับที่หนึ่งและสองของโลก สภาพการณ์นี้เขา
เรียกว่ากับดักของธูสิดีดิส (Thucydides Trap) ธูสิดีดิสเป็นนักประวัติศาสตร์ใหญ่ที่เขียนเรื่องสงคราม
ระหว่างสปาร์ตากับเอเธนส์ สปาร์ตากับเอเธนส์นั้นความจริงเป็นเพียงเมืองเท่านั้น แต่เปรียบเป็นเหมือน
สองประเทศ ขณะที่สปาร์ตาเข้มแข็งกว่าเอเธนส์อยู่แต่เดิม ต่อมาเอเธนส์เจริญขึ้นเรื่อย ๆ ค้าขายจน
รํ่ารวยขึ้นมาก สร้างเรือสินค้า และสร้างเรือรบคุมเรือสินค้า สร้างอะไรต่อมิอะไร ด้วยความกลัวว่า
เอเธนส์จะแซงหน้า สปาร์ตาจึงเปิดฉากรบกับเอเธนส์ก่อน แล้วสปาร์ตาก็ชนะ เอเธนส์ก็ล่มสลายไป (แต่
แนวความคิดต่าง ๆ ที่รุ่งโรจน์มากของเอเธนส์ ตั้งแต่ก่อนและหลังสมัยของโสกราตีส เพลโต และ
อริสโตเติลนั้น โรมก็ยังเอามาใช้ต่อมามากมาย)
12
เรื่องดังกล่าวหมายถึงว่าเมื่อประเทศที่เป็นที่หนึ่งเห็นว่าประเทศที่เป็นที่สองกําลังจะตามทัน
ประเทศที่เป็นที่หนึ่งก็จะต้องเริ่มทําสงครามก่อน แต่ก็มีอีกทฤษฎีหนึ่งโดยจอห์น เมียร์ไชเมอร์ (John
Mearsheimer) ศาสตราจารย์ด้านการเมืองระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยชิคาโก ซึ่งมีหลายคนบอกว่า
เขาผู้นี้เป็นคนที่ปราดเปรื่อง ได้รับเชิญไปพูดที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เยล ฯลฯ และอาจจะเป็นคนที่มา
แทนเฮนรี คิสซิงเจอร์ได้ ส่วนเกรแฮม อัลลิสัน (Graham Allison) ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ด้านรัฐศาสตร์ที่
มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้ศึกษาเรื่องนี้และบอกว่าเหตุการณ์ระหว่างสองประเทศอันดับหนึ่งและสองที่
เข้ามาเป็นคู่แข่งกัน มี 16 ครั้งแล้วในประวัติศาสตร์ และในจํานวนนี้ ประเทศอันดับหนึ่งและสองต้องรบ
กันเองถึง 12 ครั้ง มียกเว้นอยู่ 4 ครั้งที่ไม่ได้รบกัน สองครั้งสุดท้ายคือตอนที่มหาอํานาจเปลี่ยนจาก
อังกฤษมาเป็นอเมริกา และอังกฤษจนลงทันที และอีกครั้งคือตอนที่สหภาพโซเวียตแข่งกับอเมริกา ซึ่ง
สุดท้ายโซเวียตก็ล่มสลายไป เพราะฉะนั้น เมียร์ไชเมอร์จึงมีความเห็นว่าอเมริกากับจีนในที่สุดแล้วคง
จะต้องปะทะกัน และสถานที่ปะทะกันก็คือทะเลจีนใต้และทะเลจีนตะวันออก นั่นคือจุดที่อเมริกาอาจจะ
เลือกว่าจะรบในทางนํ้าหรือทางอากาศ แต่อเมริกาจะไม่ขึ้นบก ข้อนี้ทําให้น่าหวั่นไหว เราก็ไม่อยากเห็น
สงครามและเราก็ไม่อยากเห็นว่าเราต้องเลือกข้าง ข้อนี้เป็นไปได้หรือไม่ ผมอยากจะถามท่าน
การที่จีนขยายตัวอย่างมากมาย รํ่ารวยขึ้นมาและเจริญด้วยเทคโนโลยี มันเป็นการสมควรแค่
ไหนที่อเมริกาต้องปรับดุลกับจีน บางคนก็ปรักปรําอเมริกามากในเรื่องนี้ สําหรับอเมริกาเอง เขาก็คิดว่า
มันไม่ยุติธรรมสําหรับเขาที่จะต้องมาเสียดุลมากมายอย่างนี้ แต่ว่าคนอเมริกันเองก็ไม่ได้เป็นอันหนึ่งอัน
เดียวกัน คนที่ไม่เห็นด้วยกับทรัมป์ก็เยอะ การเกิดสงครามการค้านี้ในที่สุดจะนําไปสู่การปะทะกันหรือไม่
นี่คือข้อที่สามที่คนกล่าวถึง แต่เมื่อเร็ว ๆ นี้ก็มีการตกลงกันได้ แต่เพียงขั้นแรกเท่านั้น ยังมีขั้นที่สอง
ขั้นที่สาม โดยเฉพาะยังมีประเด็นเรื่องการลอกหรือขโมยเทคโนโลยีที่อเมริกาไม่พอใจจีน
ข้อที่สี่ เกี่ยวกับกรณีอิหร่านและเกาหลีเหนือ ซึ่งผมเรียกว่าเป็นการแสดงประกอบ (side
shows) ไม่ใช่การแสดงหลัก การแสดงหลักคือสหรัฐกับจีน กรณีอิหร่านนั้น มีคนพูดมากว่าการที่อเมริกา
ไปฆ่านายพลกาเซ็ม สุไลมานี (Qasem Suleimani) นั้นเป็นการฉลาดแล้วเหรอ เพราะทําให้อิหร่าน
รวมตัวกันมากขึ้น ทั้ง ๆ ที่อิหร่านกําลังจะมีปัญหาอยู่แล้ว เพราะมีคนประท้วงรัฐบาลจากการขึ้นค่า
นํ้ามัน ความเป็นอยู่ก็เริ่มแร้นแค้นเพราะถูกควํ่าบาตร แต่การที่อเมริกาไปฆ่านายพลคนนี้สวนทางกับ
นโยบายใหญ่ของตน ซึ่งคือการออกมาจากตะวันออกกลาง แล้วมาสู้กับจีน หรือมาทางเอเชียมากขึ้น
เพราะเอเชียเป็นถิ่นที่เจริญทางเศรษฐกิจ อีกเหตุผลหนึ่งที่สนับสนุนให้อเมริกาออกมาจากตะวันออก
กลางคือ เดิมสิ่งที่อเมริกาพึ่งตะวันออกกลางก็คือนํ้ามัน แต่ตอนนี้ทรัมป์ประกาศแล้วว่าอเมริกามีนํ้ามัน
พอเพียงแล้ว เพราะได้ค้นพบนํ้ามันในประเทศ และที่ถอนตัวจากข้อตกลงโลกร้อนก็เพื่อจะมาขุดนํ้ามัน
ในประเทศนี้เอง นโยบายใหญ่บอกว่าจะต้องถอนตัวจากตะวันออกกลาง แล้วให้ตัวแทนต่าง ๆ เช่น
ซาอุดิอาระเบีย อิสราเอล ฯลฯ สู้กับอิหร่านไป อเมริกาก็อาจช่วยเหลือบางสิ่งบางอย่าง เช่น ช่วยฝึก
ทหาร และยังได้ขายอาวุธในช่วงแรกอีก ให้ประเทศต่าง ๆ เหล่านี้รบพุ่งกันเอง อเมริกาอยากจะออกมา
แต่การฆ่านายพลคนนี้ทําให้อเมริกาออกจากตะวันออกกลางยากขึ้น จึงมีคอลัมน์ใน New York Times
13
ถามว่า Was it wise? ผมก็จะถามคุณว่า Was it wise? และที่จริงนั้น การที่อเมริกาถล่มนายพลคนนี้มัน
เหมือนตอนสงครามอ่าวในปี 1991 ที่ซัดดัม ฮุสเซนเข้าไปยึดครองคูเวต แล้วจอร์จ บุชผู้พ่อต้องรวมกัน
กับประเทศต่าง ๆ ไล่ซัดดัมออกไป โดยถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์อยู่ตลอดเวลาของสงครามเพื่อให้
ประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะจีนได้เห็นถึงแสนยานุภาพของอเมริกา การฆ่านายพลคนนี้ ก็ต้องการให้จีน
และเกาหลีเหนือเห็นถึงแสนยานุภาพของอเมริกา ซึ่งผมก็จะถามท่านทั้งหลายว่าท่านเห็นในเรื่องนี้
อย่างไร มีการพูดถึงว่านายพลอเมริกันเสนอทางเลือกขึ้นไปสี่ข้อ ข้อที่สี่คือให้ฆ่านายพลอิหร่านคนนี้ ซึ่ง
เขาไม่นึกว่าทรัมป์จะเลือก แต่ที่สุด ใน New York Times เขียนว่าทรัมป์ไปเลือกข้อที่สี่ และไปฆ่านาย
พลคนนี้ แล้ววันนี้ก็มีข่าวออกมาว่า ส.ส. อิหร่านประกาศออกมาแล้วว่าจะให้รางวัลสามล้านเหรียญ
อเมริกันถ้าใครฆ่าทรัมป์ได้ นี่ก็เป็นเรื่องที่จะต้องถกเถียงกันว่าอเมริกาจะเอาอย่างไรกันแน่ จะออก
หรือไม่ออกจากตะวันออกกลาง จะให้ประเทศอื่นเข้ามารบแทน หรือต้องการแสดงแสนยานุภาพของ
ตนเอง
ในเรื่องเกาหลีเหนือผมก็ถือว่าเป็นการแสดงประกอบ หลังจากทรัมป์กับคิมจองอึนเจอกันสอง
ครั้ง ครั้งหนึ่งที่สิงคโปร์ อีกครั้งหนึ่งที่เวียดนาม เกาหลีกลับไปพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์อีก อเมริกาบอกให้
เกาหลีเหนือเลิกทําหัวกระสุนนิวเคลียร์ข้ามทวีป แต่ว่าอเมริกาก็คงจะไม่ได้บอกว่าอเมริกาจะให้อะไร
เกาหลีเหนือก็คงคิดว่าถ้าเกาหลีเหนือเลิกพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์แล้วก็ต้องมีการช่วยเหลือจากอเมริกา
เพื่อพัฒนาประเทศ แต่ก็ไม่มีสิ่งนั้น นี่อาจจะเป็นกลยุทธ์ของทรัมป์ก็ได้ที่ว่าจะรอจนกระทั่งถึงการ
เลือกตั้งประธานาธิบดีคราวหน้า แล้วก็มาบอกว่า ผมเท่านั้นที่จะเจรจากับคิมได้ แต่ผมยังค้างเอาไว้
เช่นเดียวกับในเรื่องอิหร่านและจีน นี่อาจจะเป็นกลยุทธ์ของผู้ที่จะต้องลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น
ประธานาธิบดีครั้งที่สอง
ข้อที่ห้า ใครจะชนะเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในปี 2020 มีหลายคน หลายวารสารที่ออกมา
วิเคราะห์ว่าทรัมป์ต้องแพ้ เพราะไม่สามารถควบคุม มีบุคลิกไม่เหมาะกับการเป็นผู้นําที่ดี มีนโยบายที่
แข็งกระด้าง ด้วยการกระทําเช่นถอนทหารเคิร์ดออกจากซีเรีย หรือการไปบอกให้ยูเครนสืบสวนลูกของ
โจ ไบเดน (Joe Biden) ไปบอกรัฐบาลยูเครนว่าถ้าไม่ช่วยสอบสวนอเมริกาก็จะไม่ช่วยเหลือทางการ
ทหาร ทั้งที่นี่เป็นเรื่องส่วนตัว เพราะโจ ไบเดนเป็นคู่แข่งชิงตําแหน่งประธานาธิบดี ก็เลยจะไปสอบสวน
ให้ไบเดนมีราคีขึ้นมา รวมทั้งเรื่องการถอดถอนประธานาธิบดี (Impeachment) ซึ่งตอนนี้กําลังเข้าสู่
วุฒิสภา ทรัมป์ก็อาจจะมีโอกาสเพลี่ยงพลํ้า ยิ่งกว่านั้น เดโมแครตก็กําลังหาคนลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น
ประธานาธิบดีแข่งกับทรัมป์ ซึ่งคนที่จะลงชิงคนสําคัญอีกคนหนึ่งก็คือ ไมเคิล บลูมเบิร์ก (Michael
Bloomberg) ซึ่งเป็นมหาเศรษฐีหนึ่งในสิบของอเมริกา ซึ่งนี่ก็อาจจะเป็นคลื่นอีกลูกหนึ่งที่ทรัมป์ต้อง
เผชิญ แต่ในขณะเดียวกัน ผมก็จะบอกว่าประธานาธิบดีที่อยู่ในตําแหน่งนั้น ตั้งแต่เสร็จสงครามโลกครั้งที่
สองมาจนถึงปัจจุบัน ไม่เคยแพ้การเลือกตั้งเลยนอกจากคาร์เตอร์ (Jimmy Carter) คนเดียว เพราะ
ประธานาธิบดีที่อยู่ในตําแหน่งแล้วนั้น จะบินไปกี่รัฐ กี่สิบกี่ร้อยครั้งใช้เงินของรัฐบาล ไปแต่ละแห่งก็ไป
14
หาเสียงทั้งนั้น ตลอดปีนี้ ส่วนผู้สมัครคนอื่นต้องออกเงินด้วยตนเอง เพราะฉะนั้น โอกาสที่ประธานาธิบดี
ที่อยู่ในตําแหน่งจะแพ้เลือกตั้งจึงน้อย ทรัมป์มีโอกาสหาเสียงได้มากกว่าใคร
ข้อสุดท้าย ถามว่าไทยจะเอาอย่างไร คือผมลองตรึกตรองดู ผมได้ยินมามากเลยว่า ไทยต้อง
เอาสองประเทศนี้ คืออเมริกากับจีนมาคานดุลอํานาจ แต่ผมบอกว่า ไอ้พูดอย่างนั้นมันพูดง่าย แต่
มหาอํานาจเขาไม่ทําหรอก เขาจะทําตามผลประโยชน์ของเขา เรื่องอะไรเขาจะมาถ่วงดุลอํานาจเพื่อให้
เรารอด แต่เราต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีกับเขาแล้วชี้ให้เห็นว่าเขาจะเสียอะไร จะได้อะไร ไม่ใช่ว่าเรา
สามารถที่จะไปคานดุลอํานาจ เราต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีกับเขา แล้วเอาเขามาเจรจา แล้วที่จริงเราเป็น
ASEAN Centrality คือหมายความว่าเราอยู่ใน Driving Seat เราเป็นผู้กําหนดการประชุมต่าง ๆ เรามี
East Asia Summit ซึ่งตั้งแต่ปี 2011 มา ได้เชิญอเมริกากับรัสเซียเข้าร่วม ส่วนจีนอยู่ในวงนี้อยู่แล้ว
อเมริกากับจีนก็มีโอกาสที่จะเจอกันทุกปี ซึ่งจะช่วยผ่อนหนักเป็นเบาได้ หรือการประชุม ARF ของ
อาเซียนเอง ซึ่งเราจัดให้มหาอํานาจมาเจอกันหมด เราก็อาจจะให้อเมริกากับจีนมาเจอกัน เพื่อจะได้ผ่อน
หนักเป็นเบาไปตลอด แล้วเท่าที่อ่านดู จีนเองก็บอกว่าเขาไม่ต้องการเป็นใหญ่จนกระทั่งปี 2049 คืออีก
30 ปี เพราะเขาก็ยังไม่พร้อม และก็อาจจะเป็นโอกาสของเราที่จะต้องเดินหน้าในเรื่องนี้
อีกประการหนึ่ง คือ เราอาจจะต้องไม่ให้มี Only one preponderant power คือประเทศที่มี
อํานาจสูงสุด อยู่ประเทศเดียว อย่าลืมนะครับว่าก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศที่มีอํานาจสูงสุดใน
เอเชียคือญี่ปุ่น แล้วเราก็เข้าข้างญี่ปุ่น ประกาศสงครามกับอเมริกาและอังกฤษ แล้วเราก็แพ้สงคราม
หลังจากนั้นอังกฤษก็ยื่นข้อเรียกร้อง 21 ประการ ซึ่งลอร์ดหลุยส์ (Lord Louise Mountbatten) ให้เราไป
เซ็น จนกระทั่งเราต้องไปวิ่งเต้น จนกระทั่งดีน อาชีสัน (Dean Acheson) โทรศัพท์ไปถึงเอกอัครราชทูต
Wingnut เอกอัครราชทูตสหรัฐประจําเซนต์เจมส์ ลอนดอน บอกว่าขอให้ระงับเรื่องนี้ วินอานต์ (John G.
Winant) วินอานต์ติดต่อรัฐมนตรีต่างประเทศเบวิน (Ernest Bevin) เบวินออกไปต่างจังหวัด สมัยก่อนไม่
มีโทรศัพท์มือถือ เลยติดต่อไม่ได้ วินอานต์เลยต้องไปหานายกรัฐมนตรีแอตลี (Clement Attlee) แอตลี
กําลังนอนอยู่ ปลุกแอตลี (เมื่อเสร็จสงครามนั้น เชอร์ชิลแพ้เลือกตั้งแอตลี ซึ่งประหลาดมาก คล้ายกับว่า
หมดหน้าที่แล้ว) แอตลีเลยต้องสั่งลอร์ดหลุยส์ เมาท์แบทแทนให้ ซึ่งที่จริงลอร์ดหลุยส์ เมาท์แบทแทนกับ
จีนมีนโยบายที่จะบุกไทยอยู่แล้ว คือวางแผนว่าเดือนพฤศจิกายน 1945 อังกฤษจะบุกมาจากสิงคโปร์
แล้วจะให้มาถึงคอคอดกระ แล้วจีนโดยเจียงไคเช็กจะบุกมาทางเหนือ แล้วตกลงกันว่าใครบุกได้เท่าไร
เมื่อสงครามเลิก ก็ยึดที่นั้นไป แต่นั่นคือแผนที่วางว่าจะใช้ในเดือนพฤศจิกายน 1945 แต่ระเบิดนิวเคลียร์
ลงญี่ปุ่นในเดือนสิงหาคม 1945 เสียก่อน แผนการดังกล่าวจึงไม่ได้ใช้ เรายังมีพระสยามเทวาธิราช
คุ้มครองอยู่ เพราะฉะนั้น ผมเลยคิดว่า การที่เรามี Preponderance power อยู่ประเทศเดียว เวลานี้เรา
กําลังจะมีจีนเป็น Preponderance power ผมว่าเราก็ต้องพยายามคิดว่า เราจะอยู่ใต้อํานาจของจีนแค่
ไหนอย่างไร
15
สุดท้ายคือว่า ไม่ต้องดูที่ไหน ให้ดูเวียดนามกับฟินแลนด์ เวียดนามไม่ถูกกับจีน เขายอมรับจีน
เป็นมหาอํานาจ แต่เขาเอาออสเตรเลีย ญี่ปุ่น อินเดีย อเมริกา เข้ามา ให้มีผลประโยชน์อยู่ในเวียดนาม
พอจีนทําอะไรสี่ประเทศนี้จะได้โวยวายขึ้นมาด้วย ดูฟินแลนด์ ฟินแลนด์อยู่ติดกับรัสเซีย ยอมรับรัสเซีย
เป็นมหาอํานาจ แต่ติดต่อกับยุโรปตะวันตกตลอด เพื่อเอาความรู้วิชาการ ฟินแลนด์ถึงได้ไปไกล มี
Nokia มีอะไรต่าง ๆ ถ้าไปฟินแลนด์ก็จะเห็นความก้าวหน้าทางนวัตกรรมของเขาที่มีมากมาย ในขั้นนี้
ผมขอพูดแค่นี้ก่อน ผมเลยเสนอว่าในคําถามทั้งหกข้อนี้ ท่านมีความเห็นอย่างไร ผมเองมีความเห็นส่วน
หนึ่งแล้ว เพราะทุกท่านล้วนเป็นผู้ที่มีพื้นฐานมาสูงแล้วทั้งนั้น ขอบคุณครับ
ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์
ผมคิดว่าท่านวิวัฒน์ให้อะไรเรามาคิดเยอะ แต่ว่าเอาที่สั้น ๆ ที่ผมคิดว่าผมเข้าใจได้ทันทีก็คือ
ท่านมีความรู้สึกว่าเวลานี้จีนมีสิ่งที่ท่านเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Preponderant Power คือเป็น
มหาอํานาจที่ใหญ่ที่สุด มีบทบาทที่สุดในความสัมพันธ์ที่ไทยมีกับบรรดามหาอํานาจทั้งหลายในโลกนี้ ซึ่ง
อันนี้ผมว่าถกเถียงกันได้ แต่ว่าสมมติฐานของท่านเป็นอย่างนั้น ว่าตอนนี้เราคบกับจีน เราอยู่กับจีน
อาจจะพูดว่าเรายอมจีนมากไปแล้ว (ท่านไม่ได้พูดคํานี้ ผมพูดแทนท่าน) ซึ่งท่านคิดว่ามันไม่ Healthy
(อันนี้ท่านก็ไม่ได้พูดอีก) เพราะฉะนั้น น่าจะต้องปรับให้สมดุลกว่านี้ ท่านยกตัวอย่างเวียดนามและ
ฟินแลนด์ เวียดนามนั้นก็ยังคบกับจีน และจีนก็มีความสัมพันธ์ทางการค้าการลงทุนกับเวียดนามมาก แต่
เวียดนามก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ เวียดนามก็เชิญชวนให้มหาอํานาจอื่น ๆ เช่น ญี่ปุ่น อินเดีย อเมริกา เข้ามา
เพื่อจะดุลจีน ซึ่งคล้าย ๆ กับเป็น Preponderant Power ในความสัมพันธ์กับเวียดนาม ส่วนฟินแลนด์
Preponderant Power ของฟินแลนด์ก็คือโซเวียต แต่ฟินแลนด์ก็ดึงเอาสแกนดิเนเวียและตะวันตกเข้ามา
ถ่วงดุลโซเวียตตอนนั้นและรัสเซียในตอนนี้ นี่อาจจะเป็นอะไรที่ท้าทายเรา ท่านเสนอให้คิดแบบนี้ เป็น
อะไรที่ฟังขึ้น แต่จีนจะไม่มองอย่างนั้น
และมีอีกเรื่องหนึ่งที่ผมคิดว่าท้าทายเราอยู่คือที่ท่านบอกว่าการทําอะไรต้องไม่เป็นเชลยของ
ความคิด ในกรณีนี้คือเป็นเชลยของประวัติศาสตร์ของตนเอง คือคิดถึงประวัติศาสตร์แล้วก็อยากจะรักษา
หรือฟื้นประวัติศาสตร์ เช่น จีนเคยยิ่งใหญ่ การคิดถึงความสัมพันธ์ที่จีนมีต่ออเมริกาก็อาจจะพยายาม
คิดถึงว่าจีนจะต้องกลับมายิ่งใหญ่ ส่วนอเมริกาก็เคยยิ่งใหญ่เป็นหมายเลขหนึ่งของโลก คิดเป็นอย่างอื่น
ไม่ได้ จะต้องเป็นหมายเลขหนึ่งต่อไป ผมว่าเรื่องนี้ก็น่าคิด ความจริงไม่ใช่เฉพาะประวัติศาสตร์ แต่
ทฤษฎีหลายทฤษฎีก็ทําให้คนเป็นเชลยได้เช่นกัน เช่น ทฤษฎีว่าด้วยสงครามเย็นครั้งใหม่ หรือทฤษฏีว่า
ด้วยกับดักของธูสิดีดิสที่ว่ามหาอํานาจอันดับหนึ่งและสองต้องรบกันแน่นอน จากสถิติรบกัน 12 ใน 16
ครั้ง เพราะฉะนั้น ถ้าไปติดกับทฤษฎีนี้มาก ก็จะต้องทําให้ทุกอย่างเป็นไปตามทฤษฎี นี่ก็เป็นอะไรที่
อันตรายเหมือนกัน กับทฤษฎี Balance of Power ก็เช่นกัน คือคิดว่ามีสิ่งที่เรียกว่าดุลแห่งอํานาจ และ
เมื่อรู้สึกว่าอํานาจไม่สมดุล ก็พยายามทําให้สมดุล ถ้าคิดเรื่องนี้บ้างคงไม่เป็นไร แต่ถ้าคิดมากเกินไป คิด
เอาอย่างเดียว ก็อาจจะเป็นความไม่สมดุลได้ สุขภาพทางความคิดอาจจะไม่ค่อยดีนัก
16
นอกจากนี้ ท่านยังได้พูดถึงปัจจัยที่ทําให้สหรัฐต้องลุกขึ้นมาจัดการกับจีน ส่วนหนึ่งก็เป็น
เพราะว่าสหรัฐมีความคิดของทรัมป์ ซึ่งเราอาจจะดูว่าทรัมป์เหลวไหล ไม่ค่อยจะเต็ม ก็พูดไป แต่เมื่อมัน
เป็นนโยบายแล้ว ถึงอย่างไรก็เป็นนโยบายของท่านประธานาธิบดี แล้วถึงอย่างไรทรัมป์ก็จะต้องทําเรื่อง
นี้ ผมว่าทรัมป์เป็นคนคงเส้นคงวา เขาพูดอะไรเขาทําหมด แต่ว่าเวลานี้ทรัมป์ก็ทําอะไรหลายอย่างที่ท่าน
อาจารย์มองว่าเหมือนกับมีแผน เช่น ความสัมพันธ์กับจีนที่มันยุ่ง ๆ และทําให้จีนปั่นป่วนแบบนี้ ทรัมป์ก็
อาจจะยกเป็นข้อที่เอามาบอกตอนเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งหน้าว่า ถ้าอยากจะจัดการกับจีนได้สนุก
เหมือนที่ทรัมป์ทํา ก็ต้องเลือกทรัมป์เข้ามาใหม่ หรือว่ากับเกาหลีเหนือก็เป็นการแสดงประกอบ ไม่ใช่
การแสดงที่เป็นหลัก แต่ทําให้คนมีความรู้สึกว่าถ้าอยากจะจัดการกับเกาหลีเหนือได้แบบคนที่รู้ใจกับ
เกาหลีเหนือ คุยกับเกาหลีเหนือได้ถึงสองครั้งแล้ว ก็ต้องเลือกทรัมป์อีก กับอิหร่านก็เช่นกัน ท่านก็ตั้ง
คําถามให้เราว่าการที่อเมริกาไปฆ่านายพลกาเซ็มนั้นฉลาดหรือไม่ หรือยิ่งทําให้อเมริกาออกจาก
ตะวันออกกลางได้ยาก แต่ท่านอาจารย์บอกว่าทรัมป์อาจจะยังคิดที่จะออกจากตะวันออกกลางอยู่ แต่จะ
เอาเรื่องอิหร่านมาเป็นตัวที่บอกว่าถ้าจะจัดการกับอิหร่านได้ ต้องจัดการแบบทรัมป์ และต้องเลือกทรัมป์
อีกครั้งหนึ่ง เพราะทรัมป์สามารถสังหารนายพลอิหร่านได้ ผมคิดว่าแทนที่ท่านจะพูดกับเราตรง ๆ ท่านก็
พูดกับเราแบบที่ท่านคิดว่าเรารู้อะไรมากแล้ว แต่ความจริงแล้วผมคิดว่าท่านกําลังพยายามที่จะให้เราได้
คิดอะไรหลาย ๆ อย่าง
ยุทธศาสตร์จีนในทศวรรษ 2020
ดร. สารสิน วีระผล
ผมก็ฟังอาจารย์วิวัฒน์มาแล้วก็ได้ประโยชน์ทางความคิดหลายอย่าง ผมอยากจะนําเราไปสู่ 6
คําถามที่อาจารย์ตั้งไว้โดยไม่เสียเวลา และโดยพยายามที่จะกระตุ้นพวกเรามากขึ้น โดยเฉพาะ 2
ประเด็นสําคัญ
ประเด็นแรก คือเรื่องที่ว่าประเทศไทยควรจะเข้าข้างไหน ประเทศไทยควรจะวางตัวอย่างไร
ผมคิดว่า ผมพูดในฐานะที่จะพยายามใกล้ไปทางจีนมากขึ้นเพื่อกระตุ้นให้เกิดการถกเถียง ประเทศไทย
จริง ๆ ง่ายนิดเดียว คุณมองดูสิ ทุกวันนี้ใครเป็นฝ่ายที่ระราน? ใครเป็นฝ่ายที่พูดอย่างเดียวแต่ไม่ทํา
อะไรเลย จะขอยกภาษิตอเมริกันบทหนึ่งที่ว่า "รสชาติของขนมพุดดิ้งอยู่ที่การรับประทาน" คนรุ่นผมนี่จะ
ได้ยินอยู่เรื่อย แต่คนรุ่นใหม่อาจจะไม่คุ้น ความหมายก็คือ คุณมาพูดอะไรมาก ๆ แต่ในที่สุดแล้วมันก็
ขึ้นอยู่กับว่าคุณมีอะไรที่จับต้องได้เสนอให้เราหรือไม่ ที่เป็นของที่เราสัมผัสได้ สหรัฐอเมริกาพูดอะไร
มากมาย แต่วันนี้ประเทศไทยได้อะไรจากสหรัฐอเมริกาบ้างนอกจากปัญหาที่พยายามเอามากองอยู่
ข้างหน้าเรา ให้ทําอย่างนั้นอย่างนี้ เพื่ออะไร? ก็เพื่อรักษาผลประโยชน์ของสหรัฐอเมริกา เพราะ
สหรัฐอเมริกาทนไม่ได้ที่จะต้องเสียตําแหน่งประเทศที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกไปให้คนอื่นในไม่กี่ปีข้างหน้า
อย่างน้อยที่สุด สหรัฐอเมริกากําลังถูกท้าทาย ไม่ว่าจะเป็น 5G หรือ 6G จีนนําไปแล้ว เรื่องนี้มันคุกคาม
17
ยุทธศาสตร์จีนและสหรัฐอเมริกาในทศวรรษ 2020
ยุทธศาสตร์จีนและสหรัฐอเมริกาในทศวรรษ 2020
ยุทธศาสตร์จีนและสหรัฐอเมริกาในทศวรรษ 2020
ยุทธศาสตร์จีนและสหรัฐอเมริกาในทศวรรษ 2020
ยุทธศาสตร์จีนและสหรัฐอเมริกาในทศวรรษ 2020
ยุทธศาสตร์จีนและสหรัฐอเมริกาในทศวรรษ 2020
ยุทธศาสตร์จีนและสหรัฐอเมริกาในทศวรรษ 2020
ยุทธศาสตร์จีนและสหรัฐอเมริกาในทศวรรษ 2020
ยุทธศาสตร์จีนและสหรัฐอเมริกาในทศวรรษ 2020
ยุทธศาสตร์จีนและสหรัฐอเมริกาในทศวรรษ 2020
ยุทธศาสตร์จีนและสหรัฐอเมริกาในทศวรรษ 2020
ยุทธศาสตร์จีนและสหรัฐอเมริกาในทศวรรษ 2020
ยุทธศาสตร์จีนและสหรัฐอเมริกาในทศวรรษ 2020
ยุทธศาสตร์จีนและสหรัฐอเมริกาในทศวรรษ 2020
ยุทธศาสตร์จีนและสหรัฐอเมริกาในทศวรรษ 2020
ยุทธศาสตร์จีนและสหรัฐอเมริกาในทศวรรษ 2020
ยุทธศาสตร์จีนและสหรัฐอเมริกาในทศวรรษ 2020
ยุทธศาสตร์จีนและสหรัฐอเมริกาในทศวรรษ 2020
ยุทธศาสตร์จีนและสหรัฐอเมริกาในทศวรรษ 2020
ยุทธศาสตร์จีนและสหรัฐอเมริกาในทศวรรษ 2020
ยุทธศาสตร์จีนและสหรัฐอเมริกาในทศวรรษ 2020
ยุทธศาสตร์จีนและสหรัฐอเมริกาในทศวรรษ 2020
ยุทธศาสตร์จีนและสหรัฐอเมริกาในทศวรรษ 2020

More Related Content

What's hot

การผงาดขึ้นของชาติมุสลิม
การผงาดขึ้นของชาติมุสลิม การผงาดขึ้นของชาติมุสลิม
การผงาดขึ้นของชาติมุสลิม USMAN WAJI
 
World Think Tank Monitor พฤศจิกายน 2560
World Think Tank Monitor พฤศจิกายน 2560World Think Tank Monitor พฤศจิกายน 2560
World Think Tank Monitor พฤศจิกายน 2560Klangpanya
 
World Think Thank Monitors กรกฎาคม พ.ศ.2558
World Think Thank Monitors กรกฎาคม พ.ศ.2558World Think Thank Monitors กรกฎาคม พ.ศ.2558
World Think Thank Monitors กรกฎาคม พ.ศ.2558Klangpanya
 
World Think Tank Monitor ฉบับที่ 25 ประจำเดือนกันยายน 2560
World Think Tank Monitor ฉบับที่ 25 ประจำเดือนกันยายน 2560World Think Tank Monitor ฉบับที่ 25 ประจำเดือนกันยายน 2560
World Think Tank Monitor ฉบับที่ 25 ประจำเดือนกันยายน 2560Klangpanya
 
World Think Tank Monitors l กันยายน 2559
World Think Tank Monitors l กันยายน 2559World Think Tank Monitors l กันยายน 2559
World Think Tank Monitors l กันยายน 2559Klangpanya
 
ข้อจำกัดการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของญี่ปุ่น
ข้อจำกัดการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของญี่ปุ่นข้อจำกัดการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของญี่ปุ่น
ข้อจำกัดการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของญี่ปุ่นKlangpanya
 
World Think Tank Monitors l สิงหาคม 2559
World Think Tank Monitors l สิงหาคม 2559World Think Tank Monitors l สิงหาคม 2559
World Think Tank Monitors l สิงหาคม 2559Klangpanya
 
World Think Tank Monitors l ตุลาคม 2559
World Think Tank Monitors l ตุลาคม 2559World Think Tank Monitors l ตุลาคม 2559
World Think Tank Monitors l ตุลาคม 2559Klangpanya
 

What's hot (9)

การผงาดขึ้นของชาติมุสลิม
การผงาดขึ้นของชาติมุสลิม การผงาดขึ้นของชาติมุสลิม
การผงาดขึ้นของชาติมุสลิม
 
World Think Tank Monitor พฤศจิกายน 2560
World Think Tank Monitor พฤศจิกายน 2560World Think Tank Monitor พฤศจิกายน 2560
World Think Tank Monitor พฤศจิกายน 2560
 
World Think Thank Monitors กรกฎาคม พ.ศ.2558
World Think Thank Monitors กรกฎาคม พ.ศ.2558World Think Thank Monitors กรกฎาคม พ.ศ.2558
World Think Thank Monitors กรกฎาคม พ.ศ.2558
 
more then
more thenmore then
more then
 
World Think Tank Monitor ฉบับที่ 25 ประจำเดือนกันยายน 2560
World Think Tank Monitor ฉบับที่ 25 ประจำเดือนกันยายน 2560World Think Tank Monitor ฉบับที่ 25 ประจำเดือนกันยายน 2560
World Think Tank Monitor ฉบับที่ 25 ประจำเดือนกันยายน 2560
 
World Think Tank Monitors l กันยายน 2559
World Think Tank Monitors l กันยายน 2559World Think Tank Monitors l กันยายน 2559
World Think Tank Monitors l กันยายน 2559
 
ข้อจำกัดการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของญี่ปุ่น
ข้อจำกัดการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของญี่ปุ่นข้อจำกัดการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของญี่ปุ่น
ข้อจำกัดการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของญี่ปุ่น
 
World Think Tank Monitors l สิงหาคม 2559
World Think Tank Monitors l สิงหาคม 2559World Think Tank Monitors l สิงหาคม 2559
World Think Tank Monitors l สิงหาคม 2559
 
World Think Tank Monitors l ตุลาคม 2559
World Think Tank Monitors l ตุลาคม 2559World Think Tank Monitors l ตุลาคม 2559
World Think Tank Monitors l ตุลาคม 2559
 

More from Klangpanya

ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยKlangpanya
 
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคKlangpanya
 
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยKlangpanya
 
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท Klangpanya
 
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนKlangpanya
 
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...Klangpanya
 
World-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsWorld-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsKlangpanya
 
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Klangpanya
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...Klangpanya
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...Klangpanya
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนKlangpanya
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...Klangpanya
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationKlangpanya
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Klangpanya
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...Klangpanya
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนKlangpanya
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...Klangpanya
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...Klangpanya
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfKlangpanya
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdfKlangpanya
 

More from Klangpanya (20)

ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
 
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
 
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
 
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
 
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
 
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
 
World-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsWorld-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese Relations
 
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
 

ยุทธศาสตร์จีนและสหรัฐอเมริกาในทศวรรษ 2020

  • 2. รายงานถอดความ (Transcript) ดุลอํานาจใหม่ของโลก: ยุทธศาสตร์จีนและสหรัฐอเมริกาในทศวรรษ 2020 ผู้นําเสนอหลัก ดร. วิวัฒน์ มุ่งการดี ดร. สารสิน วีระผล รายงานฉบับนี้ถอดความจากเวทียุทธศาสตร์ เรื่อง "ดุลอํานาจใหม่ของโลก: ยุทธศาสตร์จีนและ สหรัฐอเมริกาในทศวรรษ 2020" จัดโดย สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ ร่วมกับ ศูนย์วิจัย ยุทธศาสตร์ไทย-จีน เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2563 ณ โรงแรมแมนดาริน สามย่าน กรุงเทพมหานคร ที่ปรึกษา: ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ บรรณาธิการ: ยุวดี คาดการณ์ไกล กองบรรณาธิการ: เสกสรร อานันทศิริเกียรติ ปาณัท ทองพ่วง ณัฐธิดา เย็นบํารุง อํานวยการผลิตโดย: สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ ปีที่เผยแพร่: กุมภาพันธ์ 2563 www.klangpanya.in.th ที่อยู่ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ อาคารพร้อมพันธุ์ 1 637/1 ถนนลาดพร้าว เขตจตุจักร กทม. 10900 โทรศัพท์ 02-938-8826 โทรสาร 02-938-8864 2
  • 3. สารบัญ หน้า คํานํา กล่าวนํา 6-8 ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ยุทธศาสตร์สหรัฐอเมริกาในทศวรรษ 2020 8-15 ดร. วิวัฒน์ มุ่งการดี ยุทธศาสตร์จีนในทศวรรษ 2020 16-19 ดร. สารสิน วีระผล บทอภิปราย 20-37 ภาคผนวก รายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม 38-40 3
  • 4. คํานํา เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2563 เวลา 13.30-17.00 น. สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ ร่วมกับศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน จัดประชุมเวทียุทธศาสตร์ เรื่อง "ดุลอํานาจใหม่ของโลก: ยุทธศาสตร์จีนและสหรัฐอเมริกาในทศวรรษ 2020" ณ ห้องประชุมการะเกด โรงแรมแมนดาริน สาม ย่าน ถนนพระราม 4 กรุงเทพมหานคร โดยมีนักคิด นักยุทธศาสตร์ นักวิชาการ อดีตเอกอัครราชทูต และผู้ทรงคุณวุฒิร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นการเผชิญหน้าระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีน ในปัจจุบัน การเผชิญหน้าระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนมีแนวโน้มเข้มข้นมากขึ้น และอาจพัฒนา จากสงครามการค้าไปเป็นความขัดแย้งในประเด็นอื่น เช่น เทคโนโลยี การเงิน รวมถึงสงครามตัวแทน ดังที่ปรากฏในยุคสงครามเย็น บริบทเช่นนี้สร้างเงื่อนไขให้ประเทศไทยต้องกําหนดท่าทีและยุทธศาสตร์ ที่เหมาะสมเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งควรเกิดจากการวิเคราะห์ ภาพรวมยุทธศาสตร์การต่างประเทศและการเมืองภายในของทั้งสองมหาอํานาจ เพื่อประเมินบทบาท และท่าทีของไทยในการตอบสนองยุทธศาสตร์ทั้งสองมหาอํานาจให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ ในการนี้ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ ได้จัดทํารายงานสรุปและถอดความเนื้อหาการ ประชุมครั้งนี้ขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้สู่ผู้กําหนดและตัดสินใจเชิงนโยบาย ภาคส่วนต่าง ๆ นิสิตนักศึกษา และประชาชนทั่วไปที่สนใจการกําหนดยุทธศาสตร์การต่างประเทศของไทยในดุลอํานาจโลกที่กําลัง เปลี่ยนแปลงนี้ 4
  • 5. 5
  • 6. ดุลอํานาจใหม่ของโลก: ยุทธศาสตร์จีนและสหรัฐอเมริกาในทศวรรษ 2020 กล่าวนํา ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ วันนี้เป็นการจัดเวทียุทธศาสตร์เรื่อง "ดุลอํานาจใหม่ของโลก: ยุทธศาสตร์จีนและสหรัฐอเมริกา ในทศวรรษ 2020" จัดโดยสถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ ร่วมกับศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน เราก็ได้คุยกันเรื่องยุทธศาสตร์ของมหาอํานาจต่าง ๆ ที่มีต่อโลก ในการจัดเวทีคราวที่แล้ว เราเริ่มด้วย การพูดถึงความท้าทายทางการต่างประเทศและความท้าทายทางยุทธศาสตร์ความมั่นคงที่มีต่อประเทศ ไทย คุยกันสนุกมาก คราวนี้จะมาพูดถึงเรื่อง ดุลอํานาจใหม่ของโลก: ยุทธศาสตร์จีนและสหรัฐอเมริกาใน ทศวรรษ 2020 วิทยากรในวันนี้ท่านที่นั่งอยู่ทางขวามือของผม ก็คือ ดร. วิวัฒน์ มุ่งการดี ผมเรียกท่านว่า อาจารย์นะครับ อาจารย์วิวัฒน์ มุ่งการดีท่านเป็นนักเรียนเรียนดีของกระทรวงธรรมการ ไปเรียนที่ สหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ชั้นไฮสกูล แล้วก็เรียนระดับปริญญาตรีทางวิศวกรรมศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยคอร์แนล แล้วจากนั้นท่านอาจารย์ก็ย้ายสาขามาศึกษาทางประวัติศาสตร์การเมืองโลกที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดใน ระดับปริญญาโทและเอก ท่านเรียนกับนักปราชญ์หลายท่าน ท่านอาจารย์วิวัฒน์เป็นที่ปรึกษาทางด้าน การต่างประเทศที่ใกล้ชิดของท่านนายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย และปัจจุบันท่านก็ยังเป็นที่ปรึกษาใกล้ชิด ของท่านประธานรัฐสภาชวน หลีกภัย เพราะฉะนั้นท่านคงมีอะไรดี ๆ มาเล่าให้เราฟังเยอะ ส่วนวิทยากรอีกท่านหนึ่งก็คือท่านอาจารย์ ดร. สารสิน วีระผล ท่านเคยเป็นเอกอัครราชทูตไทย ประจํากรุงมะนิลา แล้วก็ออกจากราชการในยามที่ยังเหลืออายุราชการอีกเป็นสิบปี มาช่วยบริหารบริษัท ซีพี เป็นผู้บริหารอาวุโสของทางบริษัทซีพี ทางซีพีก็ยกย่องให้เกียรติและเชื่อถือมาก ก็ทําให้บริษัทซีพี เวลานี้เป็นบริษัทที่มีวิสัยทัศน์อะไรต่าง ๆ มากทีเดียว อาจารย์วิวัฒน์บอกผมว่าท่านอยากจะให้อาจารย์สารสินเริ่มก่อน อาจารย์สารสินก็บอกว่าอยาก ให้อาจารย์วิวัฒน์เริ่มก่อน เพราะว่าอาจารย์วิวัฒน์ท่านพูดเรื่องอเมริกา ถึงอย่างไรอเมริกาก็ยังเป็น มหาอํานาจหมายเลขหนึ่งอยู่ ส่วนจีนของท่านสารสินยังเป็นมหาอํานาจหมายเลขสอง ความจริงแล้ว พวกเราก็เป็นลูกผสมทั้งนั้น เพราะว่าอาจารย์วิวัฒน์ก็ดี อาจารย์สารสินก็ดี เป็นนักเรียนปริญญาเอกจาก ฮาร์วาร์ดทั้งคู่ เรียนรู้จากฝรั่งมามิใช่น้อย และพวกเราที่อยู่ในที่นี้จํานวนไม่น้อยก็เรียนที่สหรัฐอเมริกา ผมเองก็ใช่ ลูกผมสี่คนก็เรียนที่อเมริกาหมด แต่ขณะเดียวกันเมืองไทยเราก็อยู่ใกล้ชิดจีนมาตั้งแต่ปี 6
  • 7. 1978-1979 ก็พูดได้ เพราะฉะนั้น วันนี้สหรัฐกับจีนก็กําลังตึงเครียดกัน จึงจําเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องมา คุยกันในเรื่องนี้ ไทยเราก็ยังใกล้ชิดกับทั้งจีนและอเมริกา โลกหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นโลกที่มีสองขั้วอํานาจ คือเป็นสงครามเย็น มีขั้วตะวันตกที่นํา โดยสหรัฐอเมริกา กับขั้วสังคมนิยมซึ่งนําโดยโซเวียตรัสเซีย ทีแรกจีนก็อยู่ในขั้วหลังนี้ ต่อมาไม่นาน ผ่านมาจนถึงทศวรรษ 1970 กลาง ๆ สหรัฐอเมริกาก็สามารถดึงจีนข้ามค่ายมาอยู่ช่วยสหรัฐในการ ถ่วงดุลโซเวียตรัสเซียเอาไว้ และเราก็สนิทสนมกับจีนอย่างรวดเร็ว เพราะมันมีเหตุการณ์ที่เวียดนามบุก กัมพูชา และจีนนั้นทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ร่วมอุดมการณ์กับเรา ก่อนหน้านี้เคยเหมือนกับเป็นศัตรูกับเราในทาง อุดมการณ์และทางยุทธศาสตร์ก็หันมาคบกับเราและอาเซียนอย่างสนิทสนมในเวลาอันรวดเร็ว ไทยเราก็ เปลี่ยนจากที่มองจีนเป็นยักษ์เป็นมาร กลายมาเป็นมิตรกับจีน ทั้งจีนและไทยก็ร่วมกันต้านอิทธิพลของ เวียดนามเอาไว้ เหตุการณ์ก็เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ จนในที่สุดแล้วกําแพงเบอร์ลินก็ล่ม โซเวียตก็แตก สลายกลายเป็นรัสเซียอย่างทุกวันนี้ จีน ซึ่งเติบโตอย่างรวดเร็วแต่โตอย่างเงียบ ๆ ก็เติบโตขึ้นมาไม่หยุด ตอนที่กําแพงเบอร์ลินล่มนั้นยังไม่มีใครคิดเลยว่าจีนจะขึ้นมาเป็นคู่ปรับกับอเมริกาได้ คนแทบทั้งโลกมอง ว่าโลกอยู่ในยุคที่เรียกว่า Unipolar คือมีแต่สหรัฐอยู่ขั้วเดียวที่เป็นยิ่งกว่า Superpower เพราะเหลืออยู่ ชาติเดียว ส่วนโซเวียตก็อ่อนเปลี้ย จีนก็ยังเพิ่งจะโตขึ้นมาเท่านั้นเอง แต่เมื่อเวลาผ่านไปไม่นาน จีนก็เข้มแข็งอย่างรวดเร็ว ประเทศตะวันตกก็ประสบปัญหาไม่ เข้มแข็งดังเดิม แม้ว่ายังอยู่เหนือแต่ก็ไม่ห่างมากนัก ก็เป็นเช่นนี้ต่อมา สหรัฐก็ยังไม่ได้มีอะไรกับไทยเรา ในทางที่จะทําให้เรามีปัญหา จนกระทั่งในยุคปลาย ๆ ของโอบามา สหรัฐก็เริ่มคิดว่าจะต้องกลับมาสู่ เอเชีย หลังจากที่ประธานาธิบดีสหรัฐหลายคนได้ไปเผชิญภัยอยู่ในตะวันออกกลาง ทั้งในอัฟกานิสถาน อิรัก ฯลฯ ความสนใจก็เลยยังคาอยู่ในดินแดนเหล่านั้น ซึ่งพอมาถึงสมัยโอบามานั้น ชนชั้นนําสหรัฐรู้กัน แล้วว่าสิ่งที่สหรัฐควรจะสนใจไม่ใช่ตะวันออกกลาง ไม่ใช่อิรัก ไม่ใช่โลกมุสลิม แต่ว่าคือจีน สหรัฐจึง พยายามที่จะหันมาสู่เอเชีย แต่ว่าคนที่จะทําให้สหรัฐหันมาสู่เอเชียมาก ๆ ใช้คําพูดนี้จริง ๆ คือฮิลลารี คลินตัน แต่ว่าเธอไม่ได้เป็นประธานาธิบดี กลายเป็นทรัมป์ ทรัมป์ก็ใช้นโยบาย America First แต่ ว่าทรัมป์ก็มองจีนเป็นคู่ปรับแล้ว บางคนก็บอกว่าสหรัฐมองว่าขณะนี้โลกอยู่ในยุคสงครามเย็นครั้งใหม่ แล้ว โดยมีคู่ขัดแย้งคือสหรัฐกับจีนเป็นต้น แล้วที่เคยปล่อยให้ประเทศต่าง ๆ สามารถที่จะคบกับจีนได้ อย่างสะดวกสบาย สหรัฐก็เริ่มที่จะส่งสัญญาณว่าอยากที่จะให้ประเทศต่าง ๆ ปรับได้แล้ว เอาให้ชัด กับ บางประเทศ สหรัฐก็บอกว่าเลือกให้ชัดว่าจะอยู่ฝ่ายใด สหรัฐไม่กังวล ประเทศเหล่านั้นจะอยู่ฝ่ายใดก็ได้ แต่สหรัฐก็ประกาศชัดเจนแล้วว่าจะทอนกําลังจีน จะสกัดจีน จะขัดขวางการผงาดขึ้นมาของจีน ซึ่ง ประเด็นนี้ผมว่าคนไทยเราระมัดระวังมาก เพราะว่าเราก็ไม่อยากเป็นศัตรูกับใคร แล้วเราก็มีธรรมเนียม การทูต การต่างประเทศที่เป็นมิตรกับทุก ๆ ฝ่าย แล้วคนไทยก็เป็นมิตรกับทุก ๆ ฝ่าย พูดถึงฝรั่งเราก็ยัง ชอบฝรั่ง เรายังเอาความคิดของฝรั่งมาใช้ แต่ว่าพูดถึงจีน เราก็ไม่ได้รังเกียจจีน เราก็ชอบจีน 7
  • 8. เพราะฉะนั้น ตอนนี้เราจะปรับตัวอย่างไร หลายที่ก็ได้จัดพูดคุยในเรื่องนี้ไปแล้ว ทางเราวันนี้ก็ได้ เชิญวิทยากรที่เราคิดว่าเอกอุสองท่าน ท่านอาจารย์วิวัฒน์ท่านคงจะพูดจากมุมมองของสหรัฐ แต่ก็ถ้าจะ พูดจากมุมของจีนด้วยก็ได้นะครับ ถ้าจะพูดถึงจีนด้วยก็ได้ และเราก็อยากฟังด้วย ส่วนท่านอาจารย์สาร สิน ท่านก็คงจะพูดจากด้านของจีนเป็นหลัก แต่ว่าถ้าจะพูดถึงสหรัฐด้วย แล้วก็ควรจะต้องพูดด้วย เราก็ ยินดีมาก ยุทธศาสตร์สหรัฐอเมริกาในทศวรรษ 2020 ดร. วิวัฒน์ มุ่งการดี ครับ ท่านผู้ใหญ่ที่เคารพ ท่านอนันต์ท่านก็เป็นผู้อาวุโสที่ผมรู้จักมานาน แล้ววันนี้เราก็มีทั้งราช บัณฑิต ทั้งข่าวกรอง ทั้งทหาร ทั้งทูต รู้สึกว่าแต่ละคนน่าจะมานั่งตรงนี้มากกว่า ผมก็เลยกลายเป็นเชลย ศึกที่จะต้องให้ท่านทั้งหลายมาซักถาม แต่ว่าผมก็ยินดีครับ ผมก็อยากจะเสนอว่าให้มีการถกเถียง อภิปรายกันในที่สุด เมื่อสักครู่ท่านอาจารย์เอนกก็บอกว่าเรามีผู้เชี่ยวชาญทางเลือด เรื่องที่จะพูดต่อไปนี้ อาจจะเป็นการนองเลือดก็ได้ มันเป็นไปได้นะครับ ไม่ใช่เป็นไปไม่ได้ ผมอยากจะบอกว่ามีความพยายามที่จะสุ่มตัวอย่างว่าคนไทยชอบอเมริกาหรือชอบจีนมากกว่า กัน ผมบอกว่าแทบจะไม่ต้องสุ่มเลย เพราะเวลานี้จีนก็ต้องมามากกว่าแน่ และที่จริงก็มากกว่ามาหลายปี แล้ว แต่นั่นก็ยังไม่ได้เป็นจุดที่จะตัดสินใดๆ ประเด็นสําคัญก็คือคนที่ไม่ชอบประธานาธิบดีทรัมป์ และที่ จริงค่อนข้างจะมีความรู้สึกเกลียดชังทรัมป์ในบุคลิกของเขา แล้วก็เกลียดนโยบายทั้งหมดของเขาด้วย แต่ผมก็ต้องอยู่ในโลกของความเป็นจริงครับ ก็ถ้าเราจะวิเคราะห์นโยบายของสหรัฐ เราจะไม่วิเคราะห์ นโยบายของทรัมป์ได้อย่างไร ก็เขาเป็นประธานาธิบดีอยู่ แล้วเขาก็เริ่มนโยบายหลายประการ เพราะฉะนั้นผมก็อยากจะเริ่มด้วยการกล่าวถึงนโยบายของทรัมป์ แต่ก่อนที่ผมจะเข้าเรื่องนั้น ผมขอออกนอกเรื่องสักนิด แต่ว่ามันอาจจะเกี่ยวข้อง คือเมื่อหลายปี มาแล้ว มีข้อสอบเข้าที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ให้เวลานักเรียนสามชั่วโมง ให้เขียนเรียงความตอบว่าเหตุ ใดผู้นําโลกบางคนมีผู้ตามเป็นหมื่น เป็นแสน เป็นล้าน เขามีอะไรดี คําถามมีแค่นั้นครับ ก็คงจะตอบได้ หลายอย่าง แล้วก็มีคนเฉลยมาบ้างแล้ว แต่คําเฉลยที่ผมเห็นว่าค่อนข้างจะเข้าทีหน่อยเป็นของนักคิด นักเขียนที่โด่งดังคนหนึ่ง เขาบอกว่า ถ้าจะให้สรุปก็คือว่า เพราะคนเหล่านั้นเขามีอะไรดีมากกว่าการเป็น ผู้นํา ยกตัวอย่าง เช่น สตาลิน ซึ่งต้องการที่จะขยายลัทธิมาร์กซิสต์-เลนินนิสต์ ไปทั่วโลก นั่นคือความ ต้องการของเขา ฮิตเลอร์ต้องการให้ชาวอารยันเป็นใหญ่ในโลก มีคนติดตาม แสดงความนิยมชมชื่นเป็น ล้านคน เชอร์ชิลต้องการรักษาจักรวรรดิของอังกฤษให้อยู่รอดหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ทั้งสามคน ล้มเหลว แต่ว่าความเชื่อมั่นศรัทธาในความเป็นผู้นําของทั้งสามคนนี้ยังคงอยู่ตลอดไป ถึงแม้พวกเขาจะ ไม่ประสบความสําเร็จตามจินตนาการของเขา เดอโกลต้องการให้ฝรั่งเศส ซึ่งพ่ายแพ้เยอรมนีมาสองครั้ง 8
  • 9. กลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง ก็ประสบความสําเร็จ ไอเซนฮาวร์ (Dwight D. Eisenhower) ซึ่งเป็นผู้รักษายุโรป ตะวันตก และเป็นผู้พิชิตยุโรป และตอนมาเป็นประธานาธิบดีก็ต้องการให้ประเทศตะวันตกเหล่านี้เป็น ประชาธิปไตย เพราะฉะนั้นเขาเป็นมากกว่าผู้นํา พอพูดถึงไอเซนฮาวร์ ประเดี๋ยวจะพูดถึงการเลือกตั้ง สหรัฐด้วยนะครับ ที่ว่าในเวลานั้นพรรครีพับลิกันจนแต้มไม่รู้จะเอาใครมาสู้กับสตีเวนสัน (Adlai Stevenson) เพราะไม่มีใครเก่งเท่าสตีเวนสัน ก็ต้องเอาไอเซนฮาวร์มา (เหมือนกับคราวนี้ที่เดโมแครตไม่ รู้จะเอาใครมาสู้กับทรัมป์ กําลังหาตัวอยู่) สตีเวนสันเป็นคนที่ได้ชื่อว่าเป็น "The Great Wit of the United States" เป็นนักพูด มีปฏิภาณ สูง แต่แพ้คะแนนเสียงไอเซนฮาวร์สิบล้านเสียงในการเลือกครั้งที่สอง คนไปถามสตีเวนสันว่าท่านรู้สึก อย่างไรที่แพ้สิบล้านเสียง สตีเวนสันบอกว่า "I’m too old to cry, but it’s too much to laugh." คือคําพูด ของเขาเกือบจะเอาไปเก็บไว้ในหอจดหมายเหตุได้เลย แล้วจอห์น เอฟ เคนเนดี ซึ่งอยากจะมาเป็นรอง ประธานาธิบดีของสตีเวนสัน แต่สตีเวนสันไม่ได้เลือกเคนเนดี ไปเลือกคีฟาวเวอร์ (Estes Kefauver) เคนเนดีจึงยังเจ็บใจ เมื่อเขาได้เป็นประธานาธิบดีจึงไม่ได้ตั้งสตีเวนสันให้เป็นรัฐมนตรีต่างประเทศ ให้ เป็นเอกอัครราชทูตประจําสหประชาชาติเท่านั้น เป็นความเสียใจอย่างหนึ่ง ตอนหลังเขาไปตายที่ ลอนดอน หัวใจวาย กลับมาเรื่องผู้นํา ผมก็อยากจะตั้งคําถามว่าทรัมป์หรือสีจิ้นผิงนั้นมีลักษณะอะไรมากไปกว่าผู้นํา หรือเปล่า ผมยังไม่ขอตอบ ผมคิดว่าทุกคนคงมีคําตอบอยู่บ้างแล้ว ผมก็อยากจะเข้าเรื่อง ผมอยากจะขยายความนิดนึงว่าทรัมป์ที่ขึ้นมานั้น บอกว่าจะให้อเมริกามา ก่อน (America First) ด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่เป็นหลักใหญ่ ๆ คือ เขาต้องการลดดุลการค้าซึ่งสหรัฐ เสียเปรียบอยู่หลายประเทศ และโดยเฉพาะเสียเปรียบจีนเป็นจํานวนมาก และการที่จีนรวยขึ้นมาอย่าง รวดเร็วก็เพราะอเมริกา โดยที่เริ่มต้นจากสมัยคลินตันที่มีความรู้สึกว่าถ้าจีนรํ่ารวยขึ้น จีนจะกลายเป็น ประชาธิปไตย ซึ่งเวลานี้ได้พิสูจน์แล้วว่าสมมติฐานนั้นไม่เป็นความจริง จีนไม่ได้เป็นประชาธิปไตยขึ้นมา เลย แต่เป็น Authoritarian อย่างสมบูรณ์แบบเสียอีก แต่ไม่ได้หมายความว่าเขาไม่ได้ช่วยเหลือ ประชาชนนะครับ เขามีโครงการช่วยเหลือประชาชนอีกมากมาย เรื่องนโยบายอเมริกามาก่อน โดยสั้น ๆ ก็มีสามสี่มาตรการ หนึ่งคือ การลดการเสียดุลการค้ากับประเทศต่าง ๆ ที่เกินดุลการค้ากับสหรัฐ โดยเฉพาะกับจีนเพื่อให้อเมริกาไม่เสียเปรียบ ซึ่งอเมริกาบอกว่าเขาเสียเปรียบจีนมาเป็นเวลากว่ายี่สิบปี แล้ว มาตรการประการที่สองของนโยบายอเมริกามาก่อนคือ Burden-sharing คือประเทศที่เป็นภาคี นาโต้ หรือประเทศอื่น ๆ ที่มีสนธิสัญญาที่อเมริกาจะต้องปกป้องนั้น ที่ผ่านมาอเมริกาต้องออกเงินเป็น จํานวนมากเกินไป ในขณะที่ประเทศที่รํ่ารวยแล้วอย่างเยอรมนี ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส หรืออังกฤษ ออกเงินน้อย 9
  • 10. ไม่ได้สัดส่วนกับที่อเมริกาต้องออก เพราะฉะนั้น อเมริกาจึงต้องการปรับตรงนี้ ถึงแม้ว่าจะเป็นประเทศ ประชาธิปไตยก็ตาม มาตรการประการที่สามคือ เขาสนับสนุนลัทธิชาตินิยม คือไม่เอาโลกาภิวัตน์ แต่เอารัฐชาติ (Nation-state) เป็นใหญ่ เราจะเห็นว่าเดี๋ยวนี้มีการเปลี่ยนแปลงที่ว่าประเทศต่าง ๆ กลับหันไปสู่ปัญหา ภายในมากกว่าปัญหาภายนอก เช่น เยอรมนี อังกฤษก็ทํา Brexit ไม่อยากจะอยู่กับยุโรปซึ่งหมายความ ว่าจะต้องไปยุ่งกับการเมืองภายนอกประเทศมาก และต้องเสียค่าใช้จ่ายเลี้ยงระบบราชการในสหภาพ ยุโรปมากมาย และมีกฎระเบียบมากมาย อังกฤษจึงอยากออกมาดูแลตัวเอง ฝ่ายอเมริกา ทรัมป์เองก็ ปลีกตัวออกมาและคิดว่าต้องมาทํานุบํารุงประเทศของเขา โดยที่เขามีความเห็นว่าถ้าอเมริกาเข้มแข็ง ขึ้นมา ทุกประเทศก็ต้องมาหาเขาเอง แต่ถ้าอเมริกาทําอย่างเดิมไปเรื่อย ๆ อเมริกาก็จะเสียเปรียบไป เรื่อย ๆ อเมริกาก็จะจมดิ่งไปเรื่อย ๆ เพราะฉะนั้น ทรัมป์ก็เป็น Transformative Figure คือเป็นคนที่ เปลี่ยนทิศทางการเมืองระหว่างประเทศของอเมริกา ที่จริง นักวิชาการอเมริกัน โดยเฉพาะที่มหาวิทยาลัยจอนส์ ฮอปกินส์ ก็พูดมานานแล้วว่า ประธานาธิบดีสหรัฐหลายคนตั้งแต่คลินตัน บุช และโอบามาไปไม่ถูกทาง นักวิชาการเหล่านั้นบอกว่า เมื่อเสร็จสงครามเย็นแล้ว เหตุใดปล่อยให้อเมริกายังต้องรับภาระในกิจการภายนอกประเทศ ยิ่งกว่านั้น บุชผู้ลูกที่ไปบุกอิรัก ยังขยายนาโต้เข้าไปติดกับรัสเซีย คือไปยังประเทศลัตเวีย ลิทัวเนีย และเอสโตเนีย ซึ่งทั้งสามประเทศมีดินแดนติดกับรัสเซีย ประเทศเหล่านี้เป็นประเทศเล็กมาก รัสเซียบุกไม่กี่วันก็จบแล้ว แล้วอเมริกาหรือนาโต้จะเข้าไปช่วยอะไรได้ เพราะในมาตราที่ 5 ของสนธิสัญญานาโต้บอกว่าถ้าใครมา โจมตีประเทศสมาชิกนาโต้ประเทศใดประเทศหนึ่งก็เท่ากับโจมตีสมาชิกนาโต้ทั้งหมด ดังนั้นถ้ารัสเซีย โจมตีสามประเทศข้างต้น อเมริกาก็จะต้องเข้าไปรับผิดชอบด้วย ซึ่งทรัมป์ก็บอกว่าในกรณีอย่างนี้ อเมริกาไม่อาจจะเข้าไปช่วยได้ นี่ก็คือชาตินิยม เขาพูดที่สหประชาชาติว่าเขาต้องมาดูแลประเทศของเขา เอง และเขาก็อยากให้ทุก ๆ ประเทศทําอย่างเขา คือทุกประเทศต้องเอาประเทศของตัวมาก่อน การทํา อย่างนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องที่แปลกประหลาด และเขาก็กีดกันผู้อพยพมายังสหรัฐอเมริกาโดยถือว่ามาแย่งงาน คนอเมริกัน เขาพยายามสร้างงานให้คนขาวยากจนที่อยู่ในรัฐเล็ก ๆ น้อย ๆ ต่าง ๆ ที่ไม่ค่อยเจริญเท่าไร และก็เรียกบริษัทอเมริกันซึ่งไปลงทุนในต่างประเทศมากมาย รวมถึงประเทศจีน ให้กลับมาลงทุนยัง สหรัฐอเมริกา โดยรัฐบาลจะลดภาษีให้ เพื่อให้คนอเมริกันมีงานทํา คําว่า "งาน" เป็นหลักชัยในการหา เสียงเลือกตั้งในสหรัฐทุกวันนี้ ถ้าใครหางานให้คนได้มาก คนนั้นก็จะชนะเลือกตั้ง ประการสุดท้ายในข้อที่เกี่ยวกับการสนับสนุนลัทธิชาตินิยมของทรัมป์ก็คือเรื่องการสร้างกําลัง ทหารของเขา ปีนี้งบประมาณด้านการทหารของอเมริกาอยู่ที่ 750,000 ล้านเหรียญสหรัฐ สูงกว่าประเทศ อื่นมาก และสมรรถนะในทางเทคโนโลยีก็สูงกว่ามาก เพราะฉะนั้นก็มีคนเปรียบมานานแล้วว่าอเมริกา คล้ายโรม เหตุที่ตลอดช่วงเวลาที่โรมเป็นใหญ่มีสันติภาพ ที่เรียกว่า Pax Romana ก็เพราะว่าในเวลานั้น โรมเป็นรัฐที่มีกองทัพขนาดใหญ่ที่สุด รัฐอื่นจะสร้างกองทัพไม่ได้เลย ถ้าสร้างกองทัพเมื่อใดโรมก็จะเข้า 10
  • 11. ไปปราบ เพราะฉะนั้น จึงไม่มีใครกล้ารบกับโรม และไม่กล้าจะไปรบกันเอง เพราะไม่มีกําลัง จึงมี สันติภาพ อเมริกาก็ต้องการสร้าง Pax Americana แต่ก็พลาดโอกาสไป ทั้งที่ในปี ค.ศ. 1945 ที่ สหรัฐอเมริกาคิดระเบิดปรมาณูได้ 1949 รัสเซียจึงจะคิดระเบิดปรมาณูได้ ตอนหลังนักประวัติศาสตร์มา ถามว่า 4 ปีนั้นอเมริกาทําอะไรอยู่ หลังจากที่อเมริกาทิ้งระเบิดปรมาณูสองแห่งที่ญี่ปุ่นแล้วก็ไม่ได้ใช้ ระเบิดปรมาณูอีกเลย เพราะฉะนั้น อเมริกาได้สูญเสียโอกาสที่จะจัดการกับรัสเซีย ในขณะที่รัสเซียยังไม่ มีระเบิดปรมาณู และจึงได้เกิดสงครามเย็นเป็นเวลากว่า 40 ปีต่อมา ต่อมาทั้งสหรัฐอเมริกากับรัสเซีย ต่างคนต่างก็มีระเบิดไฮโดรเจน ในปี 1951 และ 1952 ตามลําดับ ยิ่งกว่านั้นในปี 1957 รัสเซียยังส่ง ดาวเทียมสปุตนิกขึ้นไป ผมจําได้ว่าในปีนั้นผมเป็นนักเรียนอยู่ที่อเมริกา (ผมเดินทางไปสหรัฐในปี 1956) อาจารย์บอกให้ทุกคนเขียนเรียงความว่ามองเรื่องดังกล่าวอย่างไร ให้เขียนหนึ่งหน้าเท่านั้น ก็มีเด็กคน หนึ่งซึ่งอาจารย์เห็นว่าเขียนดีมาก และได้มาอ่านเรียงความนั้นให้ชั้นเรียนฟัง โดยเขียนว่าตอนนี้รัสเซีย ได้ก้าวหน้าไปกว่าอเมริกาแล้ว ถ้ารบกันอเมริกาก็จะแพ้รัสเซีย และรัสเซียก็จะมาปกครองอเมริกา แต่ รัสเซียจะปกครองไม่ได้เพราะอเมริกาเป็นประชาธิปไตย จะไม่มีคนออกไปทํางานเลย ทุกคนจะอยู่ใน บ้านหมด อย่างไรก็ตามที นั่นเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับนโยบาย America First ซึ่งมีความหมายถึงมาตรการ ต่าง ๆ 4-5 ประการ ได้แก่ การขาดดุลการค้าของสหรัฐกับประเทศอื่น การร่วมกันแบกรับภาระในทาง ทหารให้ได้สัดส่วนมากขึ้นระหว่างสหรัฐกับชาติพันธมิตร การมีลักษณะชาตินิยมของสหรัฐ และการเพิ่ม กําลังทหารอย่างมากของสหรัฐเพื่อเป็นการป้องปราม (Deterrence) ประเทศอื่น ๆ ผมมาดูแล้วว่าคนในที่นี้คงจะมีความรู้มากมาย ผมไม่อยากจะมาบรรยาย แต่ผมจะตั้งคําถาม หรือข้อคิดเพื่อกระตุ้นให้เกิดการอภิปรายต่อไป ซึ่งมีอยู่ 6 ข้อด้วยกัน ข้อที่หนึ่ง ทั้งจีนและอเมริกาเป็นประเทศที่น่าชื่นชม อเมริกานั้นตั้งประเทศมาเมื่อปี 1776 หลังจากประกาศอิสรภาพจากอังกฤษ พอถึงปี 1945 ก็เป็นมหาอํานาจของโลกแล้ว ใช้เวลา 170 ปีจาก ตั้งประเทศมาเป็นมหาอํานาจอันดับหนึ่งของโลก ส่วนจีนนั้นใช้เวลา 30-40 ปี ตั้งแต่เติ้งเสี่ยวผิงเปิด ประเทศ เจริญก้าวรุดหน้าอย่างที่ไม่มีใครทําได้ในปัจจุบัน ความเจริญก้าวหน้าของจีนนั้นรวดเร็วและ รุนแรง และเป็นที่น่าชื่นชม แต่ผมก็มีความสงสัยว่าทั้งสองประเทศนั้นกําลังตกเป็นตัวประกันของ ประวัติศาสตร์ของตน (Hostage of History) หรือไม่ คือหมายความว่าโดนประวัติศาสตร์ของตัวเองบง การหรือกําหนดชะตากรรมหรือนโยบายของตัว อเมริกาเป็นชาติที่ประสบความสําเร็จมาตลอด อเมริกา ประกาศสงครามชนะอังกฤษ (ด้วยความช่วยเหลือของฝรั่งเศส เพราะว่าเมื่ออเมริกาประกาศอิสรภาพ จากอังกฤษ ฝรั่งเศสก็ประกาศสงครามกับอังกฤษทันที ทําให้อังกฤษต้องรบกับทั้งฝรั่งเศสและอเมริกา ในที่สุดก็แพ้อเมริกา) ชนะอินเดียนแดง ชนะเม็กซิโกและยึดดินแดนแถบรัฐแคลิฟอร์เนีย (ซึ่งแต่ก่อนอยู่ ใต้สเปน เรายังเห็นสถาปัตยกรรมสเปนมากมายได้ในแคลิฟอร์เนีย) ชนะสเปนในการรบเมื่อปี 1898 ชนะสงครามโลกครั้งที่ 1 ชนะสงครามโลกครั้งที่ 2 ชนะสงครามเย็น เพราะฉะนั้น อเมริกาจึงมีความรู้สึก ว่าตัวเองนั้นไม่เคยแพ้ใคร นอกจากอาจจะแพ้เวียดนาม แต่อเมริกาก็ถือว่าไม่ได้แพ้ เพราะถือว่าเขาถอน ทหารออกมาเองเพราะปัญหาภายในประเทศสหรัฐ แล้วในที่สุดเขาก็ชนะสงครามเย็น) ดังนั้น อเมริกาจึง 11
  • 12. มีลักษณะเหมือนเด็กที่ถูกตามใจ (spoiled child) คือรู้สึกว่าฉันประสบความสําเร็จมาตลอด เพราะฉะนั้น ถ้าทําอะไรก็น่าจะสําเร็จ เพราะเป็นอเมริกาเสียอย่าง นี่คือจุดที่อเมริกาจะต้องระวัง เพราะจะเห็นว่าจักรวรรดิต่าง ๆ ล้มมาแล้วไม่รู้กี่แห่ง อาร์โนลด์ ทอยน์บี (Arnold Toynbee) ซึ่งเป็นนักประวัติศาสตร์ใหญ่ที่ได้รางวัลโนเบลทางด้านวรรณกรรม ได้ ศึกษาอารยธรรมต่าง ๆ 22 แห่งพบว่าเหตุที่จักรวรรดิต่าง ๆ ต้องล่มสลายล้วนมาจากเหตุการณ์ภายใน ทั้งสิ้น คือแทบจะสรุปได้เลย อาจจะมีข้อยกเว้นบ้างเล็กน้อย เพราะฉะนั้น อเมริกาก็อาจจะมีปัญหาใน เวลาต่อไปถ้าไม่ระมัดระวัง โดยเฉพาะเรื่องความแตกแยกและแบ่งเป็นฝักเป็นฝ่าย (Polarization) ใน อเมริกา แล้วที่อเมริกาแพ้สงครามเวียดนาม จนกระทั่งนิกสันออกมาพูดว่าที่เราแพ้ เพราะว่าคนอเมริกัน ทะเลาะกันเอง และอเมริกาเดี๋ยวนี้ก็ยิ่งแตกแยกเป็นสองขั้ว แต่ก่อนมีการโหวตข้ามพรรค ผู้แทนจาก พรรครีพับลิกันอาจจะไปโหวตให้ประธานาธิบดีซึ่งมาจากพรรคเดโมแครตก็ได้ หรือในทางกลับกัน แต่ เดี๋ยวนี้เกือบจะไม่มี พรรคใครพรรคมัน ในเวลาเดียวกัน จีนเองก็เช่นกันที่เป็นเชลยของประวัติศาสตร์ คือจีนเคยยิ่งใหญ่มาตลอดจน กระทั่งศตวรรษที่ 18-19 โดยเฉพาะศตวรรษที่ 19 ที่ตะวันตกเข้ามาครอบครองจีน จีนจึงมีความเจ็บใจ ต้องการที่จะยิ่งใหญ่ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง เวลานี้จีนก็ขยายตัวไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในเอเชียใต้ เช่น บังกลาเทศ ปากีสถาน ศรีลังกา ในตะวันออกกลาง เช่น จิบูตี ไปลาตินอเมริกา ไปแอฟริกา ฯลฯ นักประวัติศาสตร์ชี้ให้เห็นว่า อย่าลืมว่านี่เหมือนกับกรณีของเยอรมันซึ่งเจ็บใจเมื่อก่อนสงครามโลกครั้งที่ หนึ่งและสงครามโลกครั้งที่สอง และในที่สุดเราก็ทราบกันดีว่าอะไรเกิดขึ้นกับเยอรมัน โดยที่เพราะตก เป็นเชลยของประวัติศาสตร์ เอาประวัติศาสตร์มาเป็นตัวขับเคลื่อนด้วยความเจ็บใจ และนักวิเคราะห์ยัง ชี้ให้เห็นด้วยว่าเมื่อใดจีนอ่อนแอ จีนอาจจะแตกเป็นเสี่ยงเหมือนกับยูโกสลาเวีย ทิเบต ซินเจียง ไต้หวัน ฮ่องกง อาจจะแยกตัวออกไป ซึ่งเรื่องนี้ไม่ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ ถ้าเมื่อใดที่จีนอ่อนแอ นี่คือประการที่หนึ่ง ที่ผมอยากให้ลองอภิปรายกันดูว่าสิ่งเหล่านี้มีความเป็นไปได้เพียงใด ข้อที่สอง ก็คือว่า เวลานี้กลายเป็นคู่ชนกันไปแล้วระหว่างอเมริกากับจีน ที่เขาเรียกว่าสงคราม เย็นครั้งใหม่ (The New Cold War) ในฐานะประเทศอันดับที่หนึ่งและสองของโลก สภาพการณ์นี้เขา เรียกว่ากับดักของธูสิดีดิส (Thucydides Trap) ธูสิดีดิสเป็นนักประวัติศาสตร์ใหญ่ที่เขียนเรื่องสงคราม ระหว่างสปาร์ตากับเอเธนส์ สปาร์ตากับเอเธนส์นั้นความจริงเป็นเพียงเมืองเท่านั้น แต่เปรียบเป็นเหมือน สองประเทศ ขณะที่สปาร์ตาเข้มแข็งกว่าเอเธนส์อยู่แต่เดิม ต่อมาเอเธนส์เจริญขึ้นเรื่อย ๆ ค้าขายจน รํ่ารวยขึ้นมาก สร้างเรือสินค้า และสร้างเรือรบคุมเรือสินค้า สร้างอะไรต่อมิอะไร ด้วยความกลัวว่า เอเธนส์จะแซงหน้า สปาร์ตาจึงเปิดฉากรบกับเอเธนส์ก่อน แล้วสปาร์ตาก็ชนะ เอเธนส์ก็ล่มสลายไป (แต่ แนวความคิดต่าง ๆ ที่รุ่งโรจน์มากของเอเธนส์ ตั้งแต่ก่อนและหลังสมัยของโสกราตีส เพลโต และ อริสโตเติลนั้น โรมก็ยังเอามาใช้ต่อมามากมาย) 12
  • 13. เรื่องดังกล่าวหมายถึงว่าเมื่อประเทศที่เป็นที่หนึ่งเห็นว่าประเทศที่เป็นที่สองกําลังจะตามทัน ประเทศที่เป็นที่หนึ่งก็จะต้องเริ่มทําสงครามก่อน แต่ก็มีอีกทฤษฎีหนึ่งโดยจอห์น เมียร์ไชเมอร์ (John Mearsheimer) ศาสตราจารย์ด้านการเมืองระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยชิคาโก ซึ่งมีหลายคนบอกว่า เขาผู้นี้เป็นคนที่ปราดเปรื่อง ได้รับเชิญไปพูดที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เยล ฯลฯ และอาจจะเป็นคนที่มา แทนเฮนรี คิสซิงเจอร์ได้ ส่วนเกรแฮม อัลลิสัน (Graham Allison) ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ด้านรัฐศาสตร์ที่ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้ศึกษาเรื่องนี้และบอกว่าเหตุการณ์ระหว่างสองประเทศอันดับหนึ่งและสองที่ เข้ามาเป็นคู่แข่งกัน มี 16 ครั้งแล้วในประวัติศาสตร์ และในจํานวนนี้ ประเทศอันดับหนึ่งและสองต้องรบ กันเองถึง 12 ครั้ง มียกเว้นอยู่ 4 ครั้งที่ไม่ได้รบกัน สองครั้งสุดท้ายคือตอนที่มหาอํานาจเปลี่ยนจาก อังกฤษมาเป็นอเมริกา และอังกฤษจนลงทันที และอีกครั้งคือตอนที่สหภาพโซเวียตแข่งกับอเมริกา ซึ่ง สุดท้ายโซเวียตก็ล่มสลายไป เพราะฉะนั้น เมียร์ไชเมอร์จึงมีความเห็นว่าอเมริกากับจีนในที่สุดแล้วคง จะต้องปะทะกัน และสถานที่ปะทะกันก็คือทะเลจีนใต้และทะเลจีนตะวันออก นั่นคือจุดที่อเมริกาอาจจะ เลือกว่าจะรบในทางนํ้าหรือทางอากาศ แต่อเมริกาจะไม่ขึ้นบก ข้อนี้ทําให้น่าหวั่นไหว เราก็ไม่อยากเห็น สงครามและเราก็ไม่อยากเห็นว่าเราต้องเลือกข้าง ข้อนี้เป็นไปได้หรือไม่ ผมอยากจะถามท่าน การที่จีนขยายตัวอย่างมากมาย รํ่ารวยขึ้นมาและเจริญด้วยเทคโนโลยี มันเป็นการสมควรแค่ ไหนที่อเมริกาต้องปรับดุลกับจีน บางคนก็ปรักปรําอเมริกามากในเรื่องนี้ สําหรับอเมริกาเอง เขาก็คิดว่า มันไม่ยุติธรรมสําหรับเขาที่จะต้องมาเสียดุลมากมายอย่างนี้ แต่ว่าคนอเมริกันเองก็ไม่ได้เป็นอันหนึ่งอัน เดียวกัน คนที่ไม่เห็นด้วยกับทรัมป์ก็เยอะ การเกิดสงครามการค้านี้ในที่สุดจะนําไปสู่การปะทะกันหรือไม่ นี่คือข้อที่สามที่คนกล่าวถึง แต่เมื่อเร็ว ๆ นี้ก็มีการตกลงกันได้ แต่เพียงขั้นแรกเท่านั้น ยังมีขั้นที่สอง ขั้นที่สาม โดยเฉพาะยังมีประเด็นเรื่องการลอกหรือขโมยเทคโนโลยีที่อเมริกาไม่พอใจจีน ข้อที่สี่ เกี่ยวกับกรณีอิหร่านและเกาหลีเหนือ ซึ่งผมเรียกว่าเป็นการแสดงประกอบ (side shows) ไม่ใช่การแสดงหลัก การแสดงหลักคือสหรัฐกับจีน กรณีอิหร่านนั้น มีคนพูดมากว่าการที่อเมริกา ไปฆ่านายพลกาเซ็ม สุไลมานี (Qasem Suleimani) นั้นเป็นการฉลาดแล้วเหรอ เพราะทําให้อิหร่าน รวมตัวกันมากขึ้น ทั้ง ๆ ที่อิหร่านกําลังจะมีปัญหาอยู่แล้ว เพราะมีคนประท้วงรัฐบาลจากการขึ้นค่า นํ้ามัน ความเป็นอยู่ก็เริ่มแร้นแค้นเพราะถูกควํ่าบาตร แต่การที่อเมริกาไปฆ่านายพลคนนี้สวนทางกับ นโยบายใหญ่ของตน ซึ่งคือการออกมาจากตะวันออกกลาง แล้วมาสู้กับจีน หรือมาทางเอเชียมากขึ้น เพราะเอเชียเป็นถิ่นที่เจริญทางเศรษฐกิจ อีกเหตุผลหนึ่งที่สนับสนุนให้อเมริกาออกมาจากตะวันออก กลางคือ เดิมสิ่งที่อเมริกาพึ่งตะวันออกกลางก็คือนํ้ามัน แต่ตอนนี้ทรัมป์ประกาศแล้วว่าอเมริกามีนํ้ามัน พอเพียงแล้ว เพราะได้ค้นพบนํ้ามันในประเทศ และที่ถอนตัวจากข้อตกลงโลกร้อนก็เพื่อจะมาขุดนํ้ามัน ในประเทศนี้เอง นโยบายใหญ่บอกว่าจะต้องถอนตัวจากตะวันออกกลาง แล้วให้ตัวแทนต่าง ๆ เช่น ซาอุดิอาระเบีย อิสราเอล ฯลฯ สู้กับอิหร่านไป อเมริกาก็อาจช่วยเหลือบางสิ่งบางอย่าง เช่น ช่วยฝึก ทหาร และยังได้ขายอาวุธในช่วงแรกอีก ให้ประเทศต่าง ๆ เหล่านี้รบพุ่งกันเอง อเมริกาอยากจะออกมา แต่การฆ่านายพลคนนี้ทําให้อเมริกาออกจากตะวันออกกลางยากขึ้น จึงมีคอลัมน์ใน New York Times 13
  • 14. ถามว่า Was it wise? ผมก็จะถามคุณว่า Was it wise? และที่จริงนั้น การที่อเมริกาถล่มนายพลคนนี้มัน เหมือนตอนสงครามอ่าวในปี 1991 ที่ซัดดัม ฮุสเซนเข้าไปยึดครองคูเวต แล้วจอร์จ บุชผู้พ่อต้องรวมกัน กับประเทศต่าง ๆ ไล่ซัดดัมออกไป โดยถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์อยู่ตลอดเวลาของสงครามเพื่อให้ ประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะจีนได้เห็นถึงแสนยานุภาพของอเมริกา การฆ่านายพลคนนี้ ก็ต้องการให้จีน และเกาหลีเหนือเห็นถึงแสนยานุภาพของอเมริกา ซึ่งผมก็จะถามท่านทั้งหลายว่าท่านเห็นในเรื่องนี้ อย่างไร มีการพูดถึงว่านายพลอเมริกันเสนอทางเลือกขึ้นไปสี่ข้อ ข้อที่สี่คือให้ฆ่านายพลอิหร่านคนนี้ ซึ่ง เขาไม่นึกว่าทรัมป์จะเลือก แต่ที่สุด ใน New York Times เขียนว่าทรัมป์ไปเลือกข้อที่สี่ และไปฆ่านาย พลคนนี้ แล้ววันนี้ก็มีข่าวออกมาว่า ส.ส. อิหร่านประกาศออกมาแล้วว่าจะให้รางวัลสามล้านเหรียญ อเมริกันถ้าใครฆ่าทรัมป์ได้ นี่ก็เป็นเรื่องที่จะต้องถกเถียงกันว่าอเมริกาจะเอาอย่างไรกันแน่ จะออก หรือไม่ออกจากตะวันออกกลาง จะให้ประเทศอื่นเข้ามารบแทน หรือต้องการแสดงแสนยานุภาพของ ตนเอง ในเรื่องเกาหลีเหนือผมก็ถือว่าเป็นการแสดงประกอบ หลังจากทรัมป์กับคิมจองอึนเจอกันสอง ครั้ง ครั้งหนึ่งที่สิงคโปร์ อีกครั้งหนึ่งที่เวียดนาม เกาหลีกลับไปพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์อีก อเมริกาบอกให้ เกาหลีเหนือเลิกทําหัวกระสุนนิวเคลียร์ข้ามทวีป แต่ว่าอเมริกาก็คงจะไม่ได้บอกว่าอเมริกาจะให้อะไร เกาหลีเหนือก็คงคิดว่าถ้าเกาหลีเหนือเลิกพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์แล้วก็ต้องมีการช่วยเหลือจากอเมริกา เพื่อพัฒนาประเทศ แต่ก็ไม่มีสิ่งนั้น นี่อาจจะเป็นกลยุทธ์ของทรัมป์ก็ได้ที่ว่าจะรอจนกระทั่งถึงการ เลือกตั้งประธานาธิบดีคราวหน้า แล้วก็มาบอกว่า ผมเท่านั้นที่จะเจรจากับคิมได้ แต่ผมยังค้างเอาไว้ เช่นเดียวกับในเรื่องอิหร่านและจีน นี่อาจจะเป็นกลยุทธ์ของผู้ที่จะต้องลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ประธานาธิบดีครั้งที่สอง ข้อที่ห้า ใครจะชนะเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในปี 2020 มีหลายคน หลายวารสารที่ออกมา วิเคราะห์ว่าทรัมป์ต้องแพ้ เพราะไม่สามารถควบคุม มีบุคลิกไม่เหมาะกับการเป็นผู้นําที่ดี มีนโยบายที่ แข็งกระด้าง ด้วยการกระทําเช่นถอนทหารเคิร์ดออกจากซีเรีย หรือการไปบอกให้ยูเครนสืบสวนลูกของ โจ ไบเดน (Joe Biden) ไปบอกรัฐบาลยูเครนว่าถ้าไม่ช่วยสอบสวนอเมริกาก็จะไม่ช่วยเหลือทางการ ทหาร ทั้งที่นี่เป็นเรื่องส่วนตัว เพราะโจ ไบเดนเป็นคู่แข่งชิงตําแหน่งประธานาธิบดี ก็เลยจะไปสอบสวน ให้ไบเดนมีราคีขึ้นมา รวมทั้งเรื่องการถอดถอนประธานาธิบดี (Impeachment) ซึ่งตอนนี้กําลังเข้าสู่ วุฒิสภา ทรัมป์ก็อาจจะมีโอกาสเพลี่ยงพลํ้า ยิ่งกว่านั้น เดโมแครตก็กําลังหาคนลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ประธานาธิบดีแข่งกับทรัมป์ ซึ่งคนที่จะลงชิงคนสําคัญอีกคนหนึ่งก็คือ ไมเคิล บลูมเบิร์ก (Michael Bloomberg) ซึ่งเป็นมหาเศรษฐีหนึ่งในสิบของอเมริกา ซึ่งนี่ก็อาจจะเป็นคลื่นอีกลูกหนึ่งที่ทรัมป์ต้อง เผชิญ แต่ในขณะเดียวกัน ผมก็จะบอกว่าประธานาธิบดีที่อยู่ในตําแหน่งนั้น ตั้งแต่เสร็จสงครามโลกครั้งที่ สองมาจนถึงปัจจุบัน ไม่เคยแพ้การเลือกตั้งเลยนอกจากคาร์เตอร์ (Jimmy Carter) คนเดียว เพราะ ประธานาธิบดีที่อยู่ในตําแหน่งแล้วนั้น จะบินไปกี่รัฐ กี่สิบกี่ร้อยครั้งใช้เงินของรัฐบาล ไปแต่ละแห่งก็ไป 14
  • 15. หาเสียงทั้งนั้น ตลอดปีนี้ ส่วนผู้สมัครคนอื่นต้องออกเงินด้วยตนเอง เพราะฉะนั้น โอกาสที่ประธานาธิบดี ที่อยู่ในตําแหน่งจะแพ้เลือกตั้งจึงน้อย ทรัมป์มีโอกาสหาเสียงได้มากกว่าใคร ข้อสุดท้าย ถามว่าไทยจะเอาอย่างไร คือผมลองตรึกตรองดู ผมได้ยินมามากเลยว่า ไทยต้อง เอาสองประเทศนี้ คืออเมริกากับจีนมาคานดุลอํานาจ แต่ผมบอกว่า ไอ้พูดอย่างนั้นมันพูดง่าย แต่ มหาอํานาจเขาไม่ทําหรอก เขาจะทําตามผลประโยชน์ของเขา เรื่องอะไรเขาจะมาถ่วงดุลอํานาจเพื่อให้ เรารอด แต่เราต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีกับเขาแล้วชี้ให้เห็นว่าเขาจะเสียอะไร จะได้อะไร ไม่ใช่ว่าเรา สามารถที่จะไปคานดุลอํานาจ เราต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีกับเขา แล้วเอาเขามาเจรจา แล้วที่จริงเราเป็น ASEAN Centrality คือหมายความว่าเราอยู่ใน Driving Seat เราเป็นผู้กําหนดการประชุมต่าง ๆ เรามี East Asia Summit ซึ่งตั้งแต่ปี 2011 มา ได้เชิญอเมริกากับรัสเซียเข้าร่วม ส่วนจีนอยู่ในวงนี้อยู่แล้ว อเมริกากับจีนก็มีโอกาสที่จะเจอกันทุกปี ซึ่งจะช่วยผ่อนหนักเป็นเบาได้ หรือการประชุม ARF ของ อาเซียนเอง ซึ่งเราจัดให้มหาอํานาจมาเจอกันหมด เราก็อาจจะให้อเมริกากับจีนมาเจอกัน เพื่อจะได้ผ่อน หนักเป็นเบาไปตลอด แล้วเท่าที่อ่านดู จีนเองก็บอกว่าเขาไม่ต้องการเป็นใหญ่จนกระทั่งปี 2049 คืออีก 30 ปี เพราะเขาก็ยังไม่พร้อม และก็อาจจะเป็นโอกาสของเราที่จะต้องเดินหน้าในเรื่องนี้ อีกประการหนึ่ง คือ เราอาจจะต้องไม่ให้มี Only one preponderant power คือประเทศที่มี อํานาจสูงสุด อยู่ประเทศเดียว อย่าลืมนะครับว่าก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศที่มีอํานาจสูงสุดใน เอเชียคือญี่ปุ่น แล้วเราก็เข้าข้างญี่ปุ่น ประกาศสงครามกับอเมริกาและอังกฤษ แล้วเราก็แพ้สงคราม หลังจากนั้นอังกฤษก็ยื่นข้อเรียกร้อง 21 ประการ ซึ่งลอร์ดหลุยส์ (Lord Louise Mountbatten) ให้เราไป เซ็น จนกระทั่งเราต้องไปวิ่งเต้น จนกระทั่งดีน อาชีสัน (Dean Acheson) โทรศัพท์ไปถึงเอกอัครราชทูต Wingnut เอกอัครราชทูตสหรัฐประจําเซนต์เจมส์ ลอนดอน บอกว่าขอให้ระงับเรื่องนี้ วินอานต์ (John G. Winant) วินอานต์ติดต่อรัฐมนตรีต่างประเทศเบวิน (Ernest Bevin) เบวินออกไปต่างจังหวัด สมัยก่อนไม่ มีโทรศัพท์มือถือ เลยติดต่อไม่ได้ วินอานต์เลยต้องไปหานายกรัฐมนตรีแอตลี (Clement Attlee) แอตลี กําลังนอนอยู่ ปลุกแอตลี (เมื่อเสร็จสงครามนั้น เชอร์ชิลแพ้เลือกตั้งแอตลี ซึ่งประหลาดมาก คล้ายกับว่า หมดหน้าที่แล้ว) แอตลีเลยต้องสั่งลอร์ดหลุยส์ เมาท์แบทแทนให้ ซึ่งที่จริงลอร์ดหลุยส์ เมาท์แบทแทนกับ จีนมีนโยบายที่จะบุกไทยอยู่แล้ว คือวางแผนว่าเดือนพฤศจิกายน 1945 อังกฤษจะบุกมาจากสิงคโปร์ แล้วจะให้มาถึงคอคอดกระ แล้วจีนโดยเจียงไคเช็กจะบุกมาทางเหนือ แล้วตกลงกันว่าใครบุกได้เท่าไร เมื่อสงครามเลิก ก็ยึดที่นั้นไป แต่นั่นคือแผนที่วางว่าจะใช้ในเดือนพฤศจิกายน 1945 แต่ระเบิดนิวเคลียร์ ลงญี่ปุ่นในเดือนสิงหาคม 1945 เสียก่อน แผนการดังกล่าวจึงไม่ได้ใช้ เรายังมีพระสยามเทวาธิราช คุ้มครองอยู่ เพราะฉะนั้น ผมเลยคิดว่า การที่เรามี Preponderance power อยู่ประเทศเดียว เวลานี้เรา กําลังจะมีจีนเป็น Preponderance power ผมว่าเราก็ต้องพยายามคิดว่า เราจะอยู่ใต้อํานาจของจีนแค่ ไหนอย่างไร 15
  • 16. สุดท้ายคือว่า ไม่ต้องดูที่ไหน ให้ดูเวียดนามกับฟินแลนด์ เวียดนามไม่ถูกกับจีน เขายอมรับจีน เป็นมหาอํานาจ แต่เขาเอาออสเตรเลีย ญี่ปุ่น อินเดีย อเมริกา เข้ามา ให้มีผลประโยชน์อยู่ในเวียดนาม พอจีนทําอะไรสี่ประเทศนี้จะได้โวยวายขึ้นมาด้วย ดูฟินแลนด์ ฟินแลนด์อยู่ติดกับรัสเซีย ยอมรับรัสเซีย เป็นมหาอํานาจ แต่ติดต่อกับยุโรปตะวันตกตลอด เพื่อเอาความรู้วิชาการ ฟินแลนด์ถึงได้ไปไกล มี Nokia มีอะไรต่าง ๆ ถ้าไปฟินแลนด์ก็จะเห็นความก้าวหน้าทางนวัตกรรมของเขาที่มีมากมาย ในขั้นนี้ ผมขอพูดแค่นี้ก่อน ผมเลยเสนอว่าในคําถามทั้งหกข้อนี้ ท่านมีความเห็นอย่างไร ผมเองมีความเห็นส่วน หนึ่งแล้ว เพราะทุกท่านล้วนเป็นผู้ที่มีพื้นฐานมาสูงแล้วทั้งนั้น ขอบคุณครับ ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ผมคิดว่าท่านวิวัฒน์ให้อะไรเรามาคิดเยอะ แต่ว่าเอาที่สั้น ๆ ที่ผมคิดว่าผมเข้าใจได้ทันทีก็คือ ท่านมีความรู้สึกว่าเวลานี้จีนมีสิ่งที่ท่านเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Preponderant Power คือเป็น มหาอํานาจที่ใหญ่ที่สุด มีบทบาทที่สุดในความสัมพันธ์ที่ไทยมีกับบรรดามหาอํานาจทั้งหลายในโลกนี้ ซึ่ง อันนี้ผมว่าถกเถียงกันได้ แต่ว่าสมมติฐานของท่านเป็นอย่างนั้น ว่าตอนนี้เราคบกับจีน เราอยู่กับจีน อาจจะพูดว่าเรายอมจีนมากไปแล้ว (ท่านไม่ได้พูดคํานี้ ผมพูดแทนท่าน) ซึ่งท่านคิดว่ามันไม่ Healthy (อันนี้ท่านก็ไม่ได้พูดอีก) เพราะฉะนั้น น่าจะต้องปรับให้สมดุลกว่านี้ ท่านยกตัวอย่างเวียดนามและ ฟินแลนด์ เวียดนามนั้นก็ยังคบกับจีน และจีนก็มีความสัมพันธ์ทางการค้าการลงทุนกับเวียดนามมาก แต่ เวียดนามก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ เวียดนามก็เชิญชวนให้มหาอํานาจอื่น ๆ เช่น ญี่ปุ่น อินเดีย อเมริกา เข้ามา เพื่อจะดุลจีน ซึ่งคล้าย ๆ กับเป็น Preponderant Power ในความสัมพันธ์กับเวียดนาม ส่วนฟินแลนด์ Preponderant Power ของฟินแลนด์ก็คือโซเวียต แต่ฟินแลนด์ก็ดึงเอาสแกนดิเนเวียและตะวันตกเข้ามา ถ่วงดุลโซเวียตตอนนั้นและรัสเซียในตอนนี้ นี่อาจจะเป็นอะไรที่ท้าทายเรา ท่านเสนอให้คิดแบบนี้ เป็น อะไรที่ฟังขึ้น แต่จีนจะไม่มองอย่างนั้น และมีอีกเรื่องหนึ่งที่ผมคิดว่าท้าทายเราอยู่คือที่ท่านบอกว่าการทําอะไรต้องไม่เป็นเชลยของ ความคิด ในกรณีนี้คือเป็นเชลยของประวัติศาสตร์ของตนเอง คือคิดถึงประวัติศาสตร์แล้วก็อยากจะรักษา หรือฟื้นประวัติศาสตร์ เช่น จีนเคยยิ่งใหญ่ การคิดถึงความสัมพันธ์ที่จีนมีต่ออเมริกาก็อาจจะพยายาม คิดถึงว่าจีนจะต้องกลับมายิ่งใหญ่ ส่วนอเมริกาก็เคยยิ่งใหญ่เป็นหมายเลขหนึ่งของโลก คิดเป็นอย่างอื่น ไม่ได้ จะต้องเป็นหมายเลขหนึ่งต่อไป ผมว่าเรื่องนี้ก็น่าคิด ความจริงไม่ใช่เฉพาะประวัติศาสตร์ แต่ ทฤษฎีหลายทฤษฎีก็ทําให้คนเป็นเชลยได้เช่นกัน เช่น ทฤษฎีว่าด้วยสงครามเย็นครั้งใหม่ หรือทฤษฏีว่า ด้วยกับดักของธูสิดีดิสที่ว่ามหาอํานาจอันดับหนึ่งและสองต้องรบกันแน่นอน จากสถิติรบกัน 12 ใน 16 ครั้ง เพราะฉะนั้น ถ้าไปติดกับทฤษฎีนี้มาก ก็จะต้องทําให้ทุกอย่างเป็นไปตามทฤษฎี นี่ก็เป็นอะไรที่ อันตรายเหมือนกัน กับทฤษฎี Balance of Power ก็เช่นกัน คือคิดว่ามีสิ่งที่เรียกว่าดุลแห่งอํานาจ และ เมื่อรู้สึกว่าอํานาจไม่สมดุล ก็พยายามทําให้สมดุล ถ้าคิดเรื่องนี้บ้างคงไม่เป็นไร แต่ถ้าคิดมากเกินไป คิด เอาอย่างเดียว ก็อาจจะเป็นความไม่สมดุลได้ สุขภาพทางความคิดอาจจะไม่ค่อยดีนัก 16
  • 17. นอกจากนี้ ท่านยังได้พูดถึงปัจจัยที่ทําให้สหรัฐต้องลุกขึ้นมาจัดการกับจีน ส่วนหนึ่งก็เป็น เพราะว่าสหรัฐมีความคิดของทรัมป์ ซึ่งเราอาจจะดูว่าทรัมป์เหลวไหล ไม่ค่อยจะเต็ม ก็พูดไป แต่เมื่อมัน เป็นนโยบายแล้ว ถึงอย่างไรก็เป็นนโยบายของท่านประธานาธิบดี แล้วถึงอย่างไรทรัมป์ก็จะต้องทําเรื่อง นี้ ผมว่าทรัมป์เป็นคนคงเส้นคงวา เขาพูดอะไรเขาทําหมด แต่ว่าเวลานี้ทรัมป์ก็ทําอะไรหลายอย่างที่ท่าน อาจารย์มองว่าเหมือนกับมีแผน เช่น ความสัมพันธ์กับจีนที่มันยุ่ง ๆ และทําให้จีนปั่นป่วนแบบนี้ ทรัมป์ก็ อาจจะยกเป็นข้อที่เอามาบอกตอนเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งหน้าว่า ถ้าอยากจะจัดการกับจีนได้สนุก เหมือนที่ทรัมป์ทํา ก็ต้องเลือกทรัมป์เข้ามาใหม่ หรือว่ากับเกาหลีเหนือก็เป็นการแสดงประกอบ ไม่ใช่ การแสดงที่เป็นหลัก แต่ทําให้คนมีความรู้สึกว่าถ้าอยากจะจัดการกับเกาหลีเหนือได้แบบคนที่รู้ใจกับ เกาหลีเหนือ คุยกับเกาหลีเหนือได้ถึงสองครั้งแล้ว ก็ต้องเลือกทรัมป์อีก กับอิหร่านก็เช่นกัน ท่านก็ตั้ง คําถามให้เราว่าการที่อเมริกาไปฆ่านายพลกาเซ็มนั้นฉลาดหรือไม่ หรือยิ่งทําให้อเมริกาออกจาก ตะวันออกกลางได้ยาก แต่ท่านอาจารย์บอกว่าทรัมป์อาจจะยังคิดที่จะออกจากตะวันออกกลางอยู่ แต่จะ เอาเรื่องอิหร่านมาเป็นตัวที่บอกว่าถ้าจะจัดการกับอิหร่านได้ ต้องจัดการแบบทรัมป์ และต้องเลือกทรัมป์ อีกครั้งหนึ่ง เพราะทรัมป์สามารถสังหารนายพลอิหร่านได้ ผมคิดว่าแทนที่ท่านจะพูดกับเราตรง ๆ ท่านก็ พูดกับเราแบบที่ท่านคิดว่าเรารู้อะไรมากแล้ว แต่ความจริงแล้วผมคิดว่าท่านกําลังพยายามที่จะให้เราได้ คิดอะไรหลาย ๆ อย่าง ยุทธศาสตร์จีนในทศวรรษ 2020 ดร. สารสิน วีระผล ผมก็ฟังอาจารย์วิวัฒน์มาแล้วก็ได้ประโยชน์ทางความคิดหลายอย่าง ผมอยากจะนําเราไปสู่ 6 คําถามที่อาจารย์ตั้งไว้โดยไม่เสียเวลา และโดยพยายามที่จะกระตุ้นพวกเรามากขึ้น โดยเฉพาะ 2 ประเด็นสําคัญ ประเด็นแรก คือเรื่องที่ว่าประเทศไทยควรจะเข้าข้างไหน ประเทศไทยควรจะวางตัวอย่างไร ผมคิดว่า ผมพูดในฐานะที่จะพยายามใกล้ไปทางจีนมากขึ้นเพื่อกระตุ้นให้เกิดการถกเถียง ประเทศไทย จริง ๆ ง่ายนิดเดียว คุณมองดูสิ ทุกวันนี้ใครเป็นฝ่ายที่ระราน? ใครเป็นฝ่ายที่พูดอย่างเดียวแต่ไม่ทํา อะไรเลย จะขอยกภาษิตอเมริกันบทหนึ่งที่ว่า "รสชาติของขนมพุดดิ้งอยู่ที่การรับประทาน" คนรุ่นผมนี่จะ ได้ยินอยู่เรื่อย แต่คนรุ่นใหม่อาจจะไม่คุ้น ความหมายก็คือ คุณมาพูดอะไรมาก ๆ แต่ในที่สุดแล้วมันก็ ขึ้นอยู่กับว่าคุณมีอะไรที่จับต้องได้เสนอให้เราหรือไม่ ที่เป็นของที่เราสัมผัสได้ สหรัฐอเมริกาพูดอะไร มากมาย แต่วันนี้ประเทศไทยได้อะไรจากสหรัฐอเมริกาบ้างนอกจากปัญหาที่พยายามเอามากองอยู่ ข้างหน้าเรา ให้ทําอย่างนั้นอย่างนี้ เพื่ออะไร? ก็เพื่อรักษาผลประโยชน์ของสหรัฐอเมริกา เพราะ สหรัฐอเมริกาทนไม่ได้ที่จะต้องเสียตําแหน่งประเทศที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกไปให้คนอื่นในไม่กี่ปีข้างหน้า อย่างน้อยที่สุด สหรัฐอเมริกากําลังถูกท้าทาย ไม่ว่าจะเป็น 5G หรือ 6G จีนนําไปแล้ว เรื่องนี้มันคุกคาม 17