SlideShare a Scribd company logo
1 of 42
 
               จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ถือเป็นจังหวัดของภาคตะวันตก แต่พื้นที่อยู่ตอนบนของภาคใต้ หรืออาจเรียกว่า เป็นประตูสู่ภาคใต้ สมัยรัชกาลที่  4  ได้รวมเมืองบางนางรม เมืองกุยบุรี เมืองคลองวาฬ เป็นเมืองประจวบคีรีขันธ์ มีที่ว่าการอยู่ ณ เมืองกุยบุรี จน พ . ศ . 2441  จึงย้ายมาอยู่ที่อ่าวเกาะหลักหรืออ่าวประจวบฯ ซึ่งเป็นที่ตั้ง ตัวเมืองในปัจจุบัน เป็นเมืองที่มีชายฝั่งทะเลยาวตลอดแนว ที่ขึ้นชื่อคือชายทะเลหัวหินและเขตพื้นที่ที่แคบที่สุดของประเทศไทย     จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์  “ ประจวบคีรีขันธ์ ”  เคยเป็นที่ตั้งของเมืองนารัง สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี แต่ได้ร้างไปเมื่อครั้งกรุงแตก ต่อมาในสมัยรัชกาลที่   2  จึงตั้งเมืองขึ้นใหม่
ศาลหลักเมืองจังหวัดประจวบคีรีขันธ์    เป็นหลักเมืองชัยคู่บ้าน คู่เมือง ของชาวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สร้างขึ้นในสมัย ร . ต . อำนวย    ไทยานนท์ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพล  อดุลยเดช    ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมงกุฎราชกุมารเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ทรงเปิดศาลหลักเมือง เมื่อวันที่  20  สิงหาคม พ . ศ . 2537   เพื่อให้เป็นสิริมงคลและหลักชัยคู่บ้านคู่เมืองเป็นที่สักการบูชาของชาวประจวบฯ สืบไป
[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object]
ความยาวจากทิศเหนือจรดทิศใต้ ประมาณ  212  กิโลเมตรและชายฝั่งทะเลยาวประมาณ  224.8  กิโลเมตร มีส่วนที่แคบที่สุดของประเทศอยู่ในเขตตำบลคลองวาฬอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์จากอ่าวไทยถึงเขตแดนพม่าประมาณ  12  กิโลเมตร ระยะทางจากกรุงเทพฯ ตามทางหลวงแผ่นดินสายเอเชียหมายเลข  4  ถนนเพชรเกษมประมาณ  323  กิโลเมตร ใช้  เวลาเดินทางประมาณ  4  ชั่วโมงเศษ และตาม  เส้นทางรถไฟสายใต้ ประมาณ  318  กิโลเมตร  ใช้เวลาเดินทางประมาณ  6  ชั่วโมง
หน่วยการปกครอง การปกครองแบ่งออกเป็น  8  อำเภอ  48  ตำบล  388  หมู่บ้าน 1. อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ 2. อำเภอทับสะแก 3. อำเภอบางสะพาน 4. อำเภอบางสะพานน้อย 5. อำเภอปราณบุรี 6. อำเภอหัวหิน 7. อำเภอสามร้อยยอด 8. อำเภอกุยบุรี
การเดินทางจากอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ไปยังอำเภอต่าง ๆ  1.  อำเภอเมือง  -  กิโลเมตร   2.  อำเภอกุยบุรี  30  กิโลเมตร   3.  อำเภอทับสะแก  34  กิโลเมตร   4.  อำเภอสามร้อยยอด  54  กิโลเมตร 5.  อำเภอปราณบุรี  71  กิโลเมตร 6.  อำเภอบางสะพาน  87  กิโลเมตร   7.  อำเภอหัวหิน  90  กิโลเมตร 8.  อำเภอบางสะพานน้อย  110  กิโลเมตร
ตราจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รูปพระที่นั่งคูหาคฤหาสน์และมีภาพเกาะหลักอยู่เบื้องหลัง
ธงประจำจังหวัด พระที่นั่งคูหาคฤหาสน์และมีภาพเกาะหลักอยู่เบื้องหลัง บนพื้นธงสีเหลือง ต้นไม้และดอกไม้ประจำจังหวัด ต้นเกตุ ดอกเกตุ
 
 
 
1. วัดอ่าวน้อย  ( ถ้ำพระนอน )   ตั้งอยู่เชิงเขาบริเวณอ่าวน้อย ก่อนถึง      ตัวเมืองประจวบคีรีขันธ์ มีทางเข้า    แยกจากถนนเพชรเกษม กิโลเมตรที่  314  เป็นระยะทาง  3  กิโลเมตร ในบริเวณวัดมีถ้ำขนาดเล็กประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ ในอดีตถ้ำแห่งนี้เป็นสถานที่ซึ่งชาวเรือมักเข้ามาอาศัยหลบพายุฝน
2. อ่าวบ่อทองหลาง     ห่างจากอ่าวแม่รำพึงตามถนนเลียบชายหาด   ประมาณ   4  กิโลเมตร มีชายหาดโค้งเกือบจะเป็นรูป   วงกลม ยามน้ำลดจะปรากฏแนวหาดทรายขาว เป็น   ลานกว้าง ผู้คนนิยมมา เล่นน้ำ พักผ่อนหย่อนใจเพราะระดับน้ำตื้นและมีเกาะหินขนาดเล็กตั้งเรียงรายด้านหน้าอ่าว บริเวณชายหาดมีร้านขายอาหารและเครื่องดื่มบริการนักท่องเที่ยว การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข  4  กิโลเมตรที่  397  มี ทางแยกเข้าอำเภอบางสะพานทางด้านซ้ายมือ ไป ตามทางหลวงหมายเลข  3169  ต่อด้วยถนนกลางอ่าว  เลียบหาดไปจนถึงทางเข้าอ่าวบ่อทองหลาง
3. อ่าวแม่รำพึง     ห่างจากตัวเมืองประจวบฯ ประมาณ    120  กิโลเมตร ใช้ทางหลวงหมายเลข  4    ( ถนนเพชรเกษม )  แยกเข้าตัวอำเภอ   บางสะพานไปประมาณ  17  กิโลเมตร    เป็นชายหาดที่สวยงามแห่งหนึ่งหาดทรายขาว มีถนนเลาะเลียบตลอดแนวชายหาด มีร้านอาหารทะเลบริการนักท่องเที่ยวเหมาะสำหรับพักผ่อน
4. อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง   มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในเขตอำเภอเมือง อำเภอทับสะแก และอำเภอบางสะพาน มีพื้นที่ทั้งสิ้นประมาณ  161  ตารางกิโลเมตร หรือ  100,625  ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงบนเทือกเขาตะนาวศรี เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำที่เกิดจากสันเขากั้นเขตแดนระหว่างประเทศไทย กับประเทศสหภาพพม่า ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่  8  ธันวาคม พ . ศ .  2534  นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่  70  ของประเทศไทย ที่ทำการอุทยานฯตั้งอยู่บริเวณน้ำตกห้วยยาง บริเวณอุทยานฯ ร่มรื่นน่าพักผ่อน นอกจากนี้ยังมีน้ำตกอีกหลายจุด
5. อุทยานแห่งชาติหาดวนกร ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่   30  ธันวาคม พ . ศ .  2535  เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่  76  และ เป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเลลำดับที่  18  สภาพป่าเป็นป่า เบญจพรรณ สภาพโดยทั่วไปเป็นป่าโปร่งประกอบด้วยไม้ ผลัดใบหลายชนิดปะปนได้แก่ ไผ่ป่า ประดู่ มะค่าโมง เดิมพื้นที่ป่าเป็นป่าปลูกผสมผสานกับป่าธรรมชาติที่ฟื้นตัว พันธุ์ไม้ที่ปลูกได้แก่ เสลา ตะแบก สัก พะยอม สนทะเลและสนประดิพัทธ์ สัตว์ป่าพบจำนวนน้อยชนิด ส่วนใหญ่จะพบนกชนิดต่างๆได้แก่ นกขมิ้นท้ายทอยดำ นกยางทะเล นกแซงแซวหางปลา นกตะขาบทุ่ง และนกอีกหลายชนิดมากมาย อุทยานครอบคลุมพื้นน้ำประมาณ   15.36  ตารางกิโลเมตร สัตว์น้ำที่พบมีปลาน้ำจืดได้แก่ปลาดุก ปลาช่อน ปลาหมอ ปลานิลและปลาทะเลต่างๆ ชายหาดมีความยาวประมาณ  7  กิโลเมตร เรียงรายด้วยทิวสนทะเลเป็นแนวไปตามชายหาด
เป็นภูเขา  2  ลูกที่อยู่ใกล้กัน อยู่ห่างจากตัวอำเภอหัว หินไปทางทิศใต้ประมาณ  14  กิโลเมตร มีทางแยก ซ้ายมือจากถนนเพชรเกษมที่กิโลเมตร  235  เข้าไป ประมาณ  500  เมตร จากตลาดหัวหินมีรถโดยสารวิ่งระหว่างหัวหิน - เขาไกรลาส - เขาตะเกียบ เขาตะเกียบเป็นเขาที่ยื่นออกไปในทะเลมีโขดหินสวยงาม เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางห้ามญาติขนาดใหญ่หันหน้าออกสู่ทะเล บนยอดเขามีทางเดินขึ้นไปสามารถชมทิวทัศน์ของท้องทะเล และตัวเมืองหัวหินได้อย่างชัดเจน ชายหาดเขาตะเกียบมีความยาวประมาณ  1.5  กิโลเมตร มีความลาดชันน้อย ทรายขาวละเอียด บริเวณชายหาดมีร้านอาหาร ที่พัก และร้านขายของที่ระลึกมากมายไว้บริการ
อยู่หน้าเมืองประจวบฯ มีทิวทัศน์ สวยงามเหมาะต่อการออกกำลังกาย  เช่น วิ่ง ขี่จักรยานเลียบชายทะเล โดยอ่าวน้อยและอ่าวประจวบฯ มีถนนเลียบชายหาดเชื่อมโยงถึงกัน อ่าวน้อย มีทิวสนขนานไปกับถนน อ่าวประจวบฯ มีบาทวิถีให้เดินชมท้องทะเลได้อย่างใกล้ชิด และมีร้านอาหารทะเลให้เลือกสรรรับประทานหลายแห่ง
8. อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด     ตั้งอยู่ในเขตอำเภอกุยบุรีและกิ่งอำเภอสาม   ร้อยยอด ห่างจากหัวหินลงมาทางใต้    ประมาณ 63  กิโลเมตร ตามตำนานเล่ากันว่า    พื้นที่แถบนี้เคยเป็นทะเลมีเกาะใหญ่น้อยอยู่มากมาย ในสมัยนั้นมีขบวนเรือสำเภาจีนแล่นผ่านมา และประสบกับลมพายุมรสุมจนเรืออับปาง คนบนเรือที่รอดชีวิต  300  คนได้ไปอาศัยอยู่ตามเกาะต่าง ๆ จึงเรียกว่า  “ เกาะสามร้อยรอด ”  ต่อมาเพี้ยนเป็น  “ เขาสามร้อยยอด ”  จนทุกวันนี้
9. เขาธงชัย 9   เป็นจุดชมวิวที่สำคัญของชายหาดบ้าน   กรูด จาก จุดนี้จะมองเห็นเวิ้งอ่าวและทิว   มะพร้าวสุดสายตา เหมาะสำหรับชมพระ    อาทิตย์ขึ้นและตก บนเขาธงชัยเป็นที่    ประดิษฐาน  “ พระพุทธกิตติสิริชัย ”  หรือ ที่ชาวบ้านเรียกว่า หลวงพ่อใหญ่ชาวบางสะพานสร้างขึ้นเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯพระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบห้ารอบ บนเขายังเป็นที่ตั้งของ ตำหนักกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ อันเป็นที่เคารพสักการะยิ่งของชาวเรือจะเห็นตำหนักกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์สวยเด่นเป็นสง่าบนยอดเขาธงชัย
10. น้ำตกป่าละอู   ตั้งอยู่ ตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ ในพื้นที่ป่าละอู มีพื้นที่ประมาณ  273,125  ไร่ อุดมไปด้วยป่าไม้เขียวชอุ่ม และสัตว์ป่านานาชนิด ป่าละอูจัดอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน มีหน่วยพิทักษ์อุทยานน้ำตกป่าละอูของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ตั้งอยู่ใกล้อ่างเก็บน้ำก่อนถึงตัวน้ำตกประมาณ  2  กิโลเมตร เป็นผู้ดูแลน้ำตกป่าละอูประกอบด้วย น้ำตกละอูใหญ่ และน้ำตกละอูน้อย ซึ่งไหลลดหลั่นกันอย่างสวยงามถึง  11  ชั้น มีน้ำไหลตลอดทั้งปี สามารถลงเล่นน้ำได้ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีผีเสื้อชุกชุม ช่วงเวลาที่เหมาะแก่การท่องเที่ยวอยู่ระหว่างเดือน พฤศจิกายนถึงเมษายน ในช่วงเช้าตรู่เนื่อง จากอากาศเย็นสบายและมีโอกาสพบเห็น สัตว์ป่า รวมทั้งนกหายากหลายชนิด
11. สถานีรถไฟหัวหิน   สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของสถานีรถไฟแห่งนี้ คือ พลับเพลาพระมงกุฎเกล้าฯ เป็นพลับเพลาจัตุรมุขสร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีไว้ในการที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ เสด็จประทับทอดพระเนตรกองเสือป่าและลูกเสือทั่วประเทศทำการฝึกซ้อมยุทธวิธี เป็นประจำทุกปีหลังจากสิ้นรัชสมัยของพระองค์ การรถไฟแห่งประเทศไทย จึงได้รื้อถอนมาเก็บไว้ เพื่อเป็นการ รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของ พระองค์
12. เขาหินเหล็กไฟ   ตั้งอยู่ที่ตำบลหัวหิน ห่างจากตัวเมืองหัวหินไป ทางทิศตะวันตกประมาณ  3  กิโลเมตร เป็นจุด ชมวิวและชมพระอาทิตย์ขึ้นที่สวยงามมาก แห่งหนึ่ง ซึ่งสามารถชมวิวได้  4  ทิศ จุดชมวิวนี้สามารถมองเห็นตัวเมือง และอ่าวหัวหิน โดยรอบบนยอดเขาเป็นพื้นที่ราบและผาหินที่สวยงาม พร้อมกับมีศูนย์จำหน่ายสินค้าหัตถกรรมพื้นเมือง พื้นที่อเนกประสงค์ปลูกพันธุ์ไม้ในวรรณคดี สวนนก ร้านอาหาร เครื่องดื่ม นอกจากนี้แล้วยังเป็นที่ประดิษฐานพระบรมรูปพระบาทสมเด็จปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ช่วงเวลาที่เหมาะในการชมวิว คือ เช้าตรู่และช่วงค่ำ
13. อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ   เป็นสถานที่ที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ของวง การวิทยาศาสตร์ไทย เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระ จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงคำนวณไว้ล่วงหน้าถึง  2  ปี  ว่าจะมองเห็นสุริยุปราคาเต็มดวงที่หว้ากอแห่งนี้และ ได้เสด็จมาทอดพระเนตรพร้อมด้วยนักวิทยาศาสตร์ และทูตานุทูตชาว ต่างประเทศ เมื่อวันที่  18  สิงหาคม  พ . ศ .  2411  และในวันที่  3  พฤษภาคม  2533  พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานนามว่า  “ อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้าเจ้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ”  เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย
พระราชวังไกลกังวล พระบาทสมเด็จพระปก เกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นโดยใช้พระราชทรัพย์ส่วน พระองค์ สำหรับใช้เป็นที่ประทับในฤดู ร้อนและ พระราชทานแด่สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรม ราชินี โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หม่อมเจ้าอิทธิ เทพสรรค์ กฤดากร ผู้อำนวยการกรมศิลปากร ในสมัยนั้นเป็นผู้ออกแบบ และเป็นผู้อำนวยการก่อสร้าง เริ่มก่อสร้างเมื่อเดือน ตุลาคมพ . ศ .  2469  ต่อมาได้รับการซ่อมแซม และก่อสร้างเพิ่มเติมในสมัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ในบริเวณมีพระตำหนักหลายหลังมีชื่อคล้องจองกัน ได้แก่พระตำหนักเปี่ยมสุข ปลุกเกษม เอิบเปรม เอมปรีดิ์ สร้างอยู่กลางอุทยานไม้ดอกไม้ประดับนานาพันธุ์ โดยมีพื้นที่ด้านหนึ่งติดชายทะเล นอกจากนั้นยังมี พิพิธภัณฑ์หอย เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ได้รวบรวมหอยทุกชนิด
สภาพทางเศรษฐกิจและสังคม   จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีลักษณะพื้นที่ยาวเรียวจากเหนือจรดใต้ พื้นที่   2  ใน   3  เป็นป่าเขาเกษตรกรรม ประกอบกับมีทรัพยากรที่เอื้ออำนวยในทางเศรษฐกิจ ทั้งทางด้านการเพาะปลูก ประมง เหมืองแร่ และป่าไม้ นอกจากนั้นจังหวัดยังมีเขื่อนที่สำคัญ ได้แก่ เขื่อนชลประทานปราณบุรี และเขื่อนชลประทานยางชุม การประมงน้ำเค็ม เป็นอาชีพดั้งเดิมของชาวประจวบฯ ด้วยภูมิประเทศด้านตะวันออกทุกอำเภอติดกับชายฝั่งทะเล ปลาที่สำคัญทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ปลาทู และปลาลัง และจัดให้มีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอีกด้วย   เกษตรกรของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพการเลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพเสริม ควบคู่กับการประกอบอาชีพเกษตรอื่น ๆ โดยเฉพาะการเลี้ยงโคนมและโคขุน
การสาธารณูปโภค   การให้บริการสาธารณูปโภค ส่วนมากอยู่ในเมือง ในเขตชนบทกันดารที่ห่างออกไป ยังไม่สามารถ ให้บริการได้เพียงพอกับความต้องการของประชาชน การสาธารณูปโภคโภคที่สำคัญของจังหวัด มีดังนี้   1.  การประปา  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์มีกำลังผลิตน้ำวันละ   7,200  ลูกบาศก์เมตร มีการประปาไว้บริการตามอำเภอต่าง ๆ ครบทุกอำเภอ   2.  การไฟฟ้า  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีไฟฟ้าของ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สามารถให้บริการไฟฟ้า ให้แก่ราษฎรได้ครอบคลุมทุกตำบล
[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object]
การคมนาคม   ทางรถยนต์   จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีถนนเพชรเกษมเป็นเส้นทางคมนาคมสายหลัก การติดต่อระหว่างจังหวัดมีความสะดวกสูง และเป็นทางผ่านของรถยนต์โดยสารสู่ ภาคใต้ สำหรับรถยนต์โดยสารมีทั้งธรรมดาและปรับอากาศ   ทางรถไฟ   รถไฟสายใต้ทุกขบวนจะต้องผ่านจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทั้งขบวนขึ้นและล่อง มีความสะดวกในการเดินทางไปยังกรุงเทพมหานครหรือจังหวัดใกล้เคียง   ทางน้ำ   สภาพพื้นที่ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีลักษณะยาวไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข   4  ทิศตะวันตกติดกับชายแดนพม่า ด้านตะวันออก เป็นแนวชายทะเลด้านอ่าวไทยตลอดแนว การเดินทางของประชากรส่วนใหญ่เดินทางด้านคมนาคม ทางบก แต่เส้นทางเดินเรือไฮโดรฟลอร์ระหว่างหัวหิน - พัทยา ซึ่งเป็นเส้นทางเชื่อมสถานีท่องเที่ยว สำคัญในอนาคต
ทางอากาศ   จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีสนามบิน   2  แห่ง คือ   1.  สนามบินบ่อฝ้าย  ของกรมการบินพาณิชย์ อำเภอหัวหิน   2.  สนามบินกองบิน   53  ของกอง ทัพอากาศ อ่าวมะนาว อำเภอเมืองฯ เส้นทางการบิน ปัจจุบัน มีเครื่องบินของบริษัท บางกอกแอร์เวย์ จำกัด ทำการบินระหว่างกรุงเทพฯ   -  หัวหิน ออกจากกรุงเทพฯ เวลา   08.20  น . , 17.00  น .  และออกจากหัวหิน เวลา   09.20  น . , 18.00  น .  อัตราค่าโดยสาร   900  บาท
ประชากรของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในปี   2538  มีทั้งสิ้น   457,949  คน ความหนาแน่น ของประชากร   72.05  คนต่อตารางกิโลเมตร มีประชากรเพศชายมากกว่าเพศหญิง
 
1. งานนมัสการพระบรมสารีริกธาตุเขาช่องกระจก จัดขึ้นที่เขาช่องกระจก อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ ในวันที่  12  มิถุนายน ของทุกปี ภายในงานจะมีพิธีถวายสักการะพระบรมสารีริกธาตุและการห่มผ้ารอบเจดีย์ของข้าราชการ พ่อค้า และประชาชน นอกจากนั้นผู้เข้าร่วมงานสามารถเดินชมภูมิทัศน์ของอ่าวประจวบจากยอดภูเขากลางเมืองได้อีกด้วย
2. งานวันที่ระลึกวีรกรรม  8  ธันวาคม   2484 จัดขึ้นที่บริเวณอ่าวมะนาว ภายในพื้นที่กองบิน  53  อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ ระหว่างวันที่  7-10  ธันวาคม เพื่อเป็นการรำลึกและเชิดชูวีรกรรมของพลเรือน ตำรวจ ทหารของไทย ที่เข้าร่วมต่อสู้กับกองกำลังทหารญี่ปุ่น ซึ่งยกพลขึ้นบกที่อ่าวมะนาวในช่วงสงครามโลกครั้งที่  2  เมื่อวันที่  8  ธันวาคม  2484  ภายในงานจะมีการจัดนิทรรศการทางวิชาการของหน่วยงานทหารอากาศและส่วนราชการต่าง ๆ และมีการออกร้านจำหน่ายสินค้าพื้น - เมือง การแสดงมหรสพ เช่น ลำตัด และโขนสด
3. หัวหินแจ๊ส เฟสติวัล เป็นงานเทศกาลดนตรีแจ๊ส มีนักดนตรีจากไทยและต่างประเทศมาแสดงในงานนี้ โดยจัดบริเวณชายหาดหัวหินประมาณเดือนมิถุนายน
1. สินค้าพื้นเมือง สินค้าพื้นเมืองที่นักท่องเที่ยวมักจับจ่ายซื้อหาเมื่อมาเที่ยวประจวบคีรีขันธ์ มีอาทิของฝากจากหัวหินได้แก่ ตุ๊กตาหอย เครื่องประดับจากเปลือกหอยและกะลามะพร้าว ผ้าพิมพ์โขมพัสต์ ไม้ปัดฝุ่นทำจากป่านศรนารายณ์ เครื่องจักสานไม้ไผ่ อาหารทะเลสดและแห้ง ของฝากจากปราณบุรีได้แก่ ผลไม้ตามฤดูกาลที่วางขายริมถนน ผลิตภัณฑ์สับปะรดและผลไม้อบแห้ง ของฝากจากทับสะแก ได้แก่ กล้วยอบน้ำผึ้ง มะพร้าวอบน้ำผึ้ง และผลิตภัณฑ์ว่านหางจระเข้
2. ผ้าบาติก ผ้าพิมพ์ลายไทย ผ้าบาติกของประจวบคีรีขันธ์มีแหล่งผลิตอยู่หลายแห่ง และมีจำหน่ายที่ร้านค้าในตัวอำเภอหัวหินซึ่งเป็นเมืองท่องเที่ยวสำคัญ นอกจากนี้ยังมีผ้าพิมพ์ลายไทยจำหน่ายที่ร้านโขมพัสต์ในอำเภอหัวหิน
3. ผลิตภัณฑ์จากสับปะรด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เป็นแหล่งปลูกสับปะรดที่สำคัญแห่งหนึ่ง ซึ่งผลผลิตส่งเข้าโรงงานสับปะรดกระป๋องสำหรับเป็นผลิตภัณฑ์อาหารกระป๋องส่งออกไปต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังมีสินค้าชุมชนที่เป็นผลผลิตจากสับปะรดอีกมากทั้งของใช้และของกิน ได้แก่ กระดาษใยสับปะรด ทำเป็นของใช้ที่สวยงามได้แก่ กรอบรูป กล่องกระดาษ สมุดโน้ต เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์อาหารจากสับปะรดมากมายได้แก่ สับปะรดกวน สับปะรดอบแห้ง สับปะรดสี่รส ไวน์สับปะรด และขนมปังกรอบไส้สับปะรด เป็นต้น
[object Object],[object Object]
 
 

More Related Content

What's hot

การนำเสนองานIt a2003
การนำเสนองานIt a2003การนำเสนองานIt a2003
การนำเสนองานIt a2003sarunrach
 
การนำเสนองานIt a2
การนำเสนองานIt a2การนำเสนองานIt a2
การนำเสนองานIt a2sarunrach
 
การนำเสนองานIt a
การนำเสนองานIt aการนำเสนองานIt a
การนำเสนองานIt asarunrach
 
โครงการปลูกป่าชายเลน1
โครงการปลูกป่าชายเลน1โครงการปลูกป่าชายเลน1
โครงการปลูกป่าชายเลน1nananattie
 
โครงการปลูกป่าชายเลน
โครงการปลูกป่าชายเลนโครงการปลูกป่าชายเลน
โครงการปลูกป่าชายเลนMaiiTy
 
แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวทั้ง 4 ภาคในประเทศไทย
แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวทั้ง 4 ภาคในประเทศไทยแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวทั้ง 4 ภาคในประเทศไทย
แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวทั้ง 4 ภาคในประเทศไทยเกษมณี 'ฯ
 

What's hot (10)

presentation
presentationpresentation
presentation
 
การนำเสนองานIt a2003
การนำเสนองานIt a2003การนำเสนองานIt a2003
การนำเสนองานIt a2003
 
บทที่ 16
บทที่ 16บทที่ 16
บทที่ 16
 
Tourism gamebinggo57
Tourism gamebinggo57Tourism gamebinggo57
Tourism gamebinggo57
 
การนำเสนองานIt a2
การนำเสนองานIt a2การนำเสนองานIt a2
การนำเสนองานIt a2
 
การนำเสนองานIt a
การนำเสนองานIt aการนำเสนองานIt a
การนำเสนองานIt a
 
โครงการปลูกป่าชายเลน1
โครงการปลูกป่าชายเลน1โครงการปลูกป่าชายเลน1
โครงการปลูกป่าชายเลน1
 
จังหวัดชุมพร
จังหวัดชุมพรจังหวัดชุมพร
จังหวัดชุมพร
 
โครงการปลูกป่าชายเลน
โครงการปลูกป่าชายเลนโครงการปลูกป่าชายเลน
โครงการปลูกป่าชายเลน
 
แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวทั้ง 4 ภาคในประเทศไทย
แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวทั้ง 4 ภาคในประเทศไทยแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวทั้ง 4 ภาคในประเทศไทย
แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวทั้ง 4 ภาคในประเทศไทย
 

Similar to จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

สถานที่ท่องเที่ยว
สถานที่ท่องเที่ยวสถานที่ท่องเที่ยว
สถานที่ท่องเที่ยวArinrada Jabthong
 
เขาพระวิหาร
เขาพระวิหารเขาพระวิหาร
เขาพระวิหารBeebe Benjamast
 
เขาพระวิหาร
เขาพระวิหารเขาพระวิหาร
เขาพระวิหารBeebe Benjamast
 
ภูมิศาสตร์ประเทศไทย22
ภูมิศาสตร์ประเทศไทย22ภูมิศาสตร์ประเทศไทย22
ภูมิศาสตร์ประเทศไทย22Nongruk Srisukha
 
ภูมิศาสตร์ประเทศไทย22
ภูมิศาสตร์ประเทศไทย22ภูมิศาสตร์ประเทศไทย22
ภูมิศาสตร์ประเทศไทย22Nongruk Srisukha
 
งานนำเสนอ1 โครงการพระราชดำริ
งานนำเสนอ1 โครงการพระราชดำริงานนำเสนอ1 โครงการพระราชดำริ
งานนำเสนอ1 โครงการพระราชดำริPare Taepthai
 
นางสาวธมลวรรณ เทพไทย ม.4/6 เลขที่ 31
นางสาวธมลวรรณ เทพไทย ม.4/6 เลขที่ 31นางสาวธมลวรรณ เทพไทย ม.4/6 เลขที่ 31
นางสาวธมลวรรณ เทพไทย ม.4/6 เลขที่ 31Pare Taepthai
 
10 อันดับทะเลปอโอ
10 อันดับทะเลปอโอ10 อันดับทะเลปอโอ
10 อันดับทะเลปอโอOporfunJubJub
 
10 อันดับทะเลปอโอ
10 อันดับทะเลปอโอ10 อันดับทะเลปอโอ
10 อันดับทะเลปอโอOporfunJubJub
 
ท่องเที่ยว
ท่องเที่ยวท่องเที่ยว
ท่องเที่ยวToeykhanittha
 
สถานที่ท่องเที่ยว
สถานที่ท่องเที่ยวสถานที่ท่องเที่ยว
สถานที่ท่องเที่ยวArinrada Jabthong
 
การนำเสนองานIt a
การนำเสนองานIt aการนำเสนองานIt a
การนำเสนองานIt asarunrach
 
การนำเสนองานIt a
การนำเสนองานIt aการนำเสนองานIt a
การนำเสนองานIt asarunrach
 

Similar to จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (20)

สถานที่ท่องเที่ยว
สถานที่ท่องเที่ยวสถานที่ท่องเที่ยว
สถานที่ท่องเที่ยว
 
เขาพระวิหาร
เขาพระวิหารเขาพระวิหาร
เขาพระวิหาร
 
เขาพระวิหาร
เขาพระวิหารเขาพระวิหาร
เขาพระวิหาร
 
ภูมิศาสตร์ประเทศไทย22
ภูมิศาสตร์ประเทศไทย22ภูมิศาสตร์ประเทศไทย22
ภูมิศาสตร์ประเทศไทย22
 
ภูมิศาสตร์ประเทศไทย22
ภูมิศาสตร์ประเทศไทย22ภูมิศาสตร์ประเทศไทย22
ภูมิศาสตร์ประเทศไทย22
 
งานนำเสนอ1 โครงการพระราชดำริ
งานนำเสนอ1 โครงการพระราชดำริงานนำเสนอ1 โครงการพระราชดำริ
งานนำเสนอ1 โครงการพระราชดำริ
 
นางสาวธมลวรรณ เทพไทย ม.4/6 เลขที่ 31
นางสาวธมลวรรณ เทพไทย ม.4/6 เลขที่ 31นางสาวธมลวรรณ เทพไทย ม.4/6 เลขที่ 31
นางสาวธมลวรรณ เทพไทย ม.4/6 เลขที่ 31
 
10 อันดับทะเลปอโอ
10 อันดับทะเลปอโอ10 อันดับทะเลปอโอ
10 อันดับทะเลปอโอ
 
10 อันดับทะเลปอโอ
10 อันดับทะเลปอโอ10 อันดับทะเลปอโอ
10 อันดับทะเลปอโอ
 
The Tree in Thailand
The Tree in ThailandThe Tree in Thailand
The Tree in Thailand
 
Pp
PpPp
Pp
 
ท่องเที่ยว
ท่องเที่ยวท่องเที่ยว
ท่องเที่ยว
 
ชัยภุม
ชัยภุมชัยภุม
ชัยภุม
 
จังหวัดน่าน
จังหวัดน่านจังหวัดน่าน
จังหวัดน่าน
 
สถานที่ท่องเที่ยว
สถานที่ท่องเที่ยวสถานที่ท่องเที่ยว
สถานที่ท่องเที่ยว
 
โบ
โบโบ
โบ
 
โบ
โบโบ
โบ
 
จังหวัดกระบี่
จังหวัดกระบี่ จังหวัดกระบี่
จังหวัดกระบี่
 
การนำเสนองานIt a
การนำเสนองานIt aการนำเสนองานIt a
การนำเสนองานIt a
 
การนำเสนองานIt a
การนำเสนองานIt aการนำเสนองานIt a
การนำเสนองานIt a
 

More from SRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL

เตชินท์ประเทศอัฟกานิสถาน
เตชินท์ประเทศอัฟกานิสถานเตชินท์ประเทศอัฟกานิสถาน
เตชินท์ประเทศอัฟกานิสถานSRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 
นางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมาน
นางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมานนางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมาน
นางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมานSRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 
สอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนา
สอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนาสอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนา
สอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนาSRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 

More from SRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL (20)

Is
IsIs
Is
 
นัทธพงศ์ ดอนศรี.
นัทธพงศ์ ดอนศรี.นัทธพงศ์ ดอนศรี.
นัทธพงศ์ ดอนศรี.
 
นายคงศักดิ์ สงสุรีย์
นายคงศักดิ์ สงสุรีย์นายคงศักดิ์ สงสุรีย์
นายคงศักดิ์ สงสุรีย์
 
ปวีณ์ธิดา สีหวาด
ปวีณ์ธิดา สีหวาดปวีณ์ธิดา สีหวาด
ปวีณ์ธิดา สีหวาด
 
จารุวรรณ ลำพองชาติ
จารุวรรณ ลำพองชาติจารุวรรณ ลำพองชาติ
จารุวรรณ ลำพองชาติ
 
Isมิ้น
Isมิ้นIsมิ้น
Isมิ้น
 
เตชินท์ประเทศอัฟกานิสถาน
เตชินท์ประเทศอัฟกานิสถานเตชินท์ประเทศอัฟกานิสถาน
เตชินท์ประเทศอัฟกานิสถาน
 
Isประเทศบังกลาเทศ
IsประเทศบังกลาเทศIsประเทศบังกลาเทศ
Isประเทศบังกลาเทศ
 
อาเซอร์ไบจาน
อาเซอร์ไบจานอาเซอร์ไบจาน
อาเซอร์ไบจาน
 
คองโก
คองโกคองโก
คองโก
 
Is1
Is1Is1
Is1
 
ตุรกี
ตุรกีตุรกี
ตุรกี
 
มัลดีฟ
มัลดีฟมัลดีฟ
มัลดีฟ
 
อาร์เมเนีย
อาร์เมเนียอาร์เมเนีย
อาร์เมเนีย
 
นางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมาน
นางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมานนางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมาน
นางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมาน
 
สอบกลางภาค
สอบกลางภาคสอบกลางภาค
สอบกลางภาค
 
สอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนา
สอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนาสอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนา
สอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนา
 
จิราภา ธรรมรักษ์
จิราภา ธรรมรักษ์จิราภา ธรรมรักษ์
จิราภา ธรรมรักษ์
 
ณัฎฐณิชา
ณัฎฐณิชาณัฎฐณิชา
ณัฎฐณิชา
 
กลางภาค
กลางภาคกลางภาค
กลางภาค
 

จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

  • 1.  
  • 2.            จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ถือเป็นจังหวัดของภาคตะวันตก แต่พื้นที่อยู่ตอนบนของภาคใต้ หรืออาจเรียกว่า เป็นประตูสู่ภาคใต้ สมัยรัชกาลที่ 4 ได้รวมเมืองบางนางรม เมืองกุยบุรี เมืองคลองวาฬ เป็นเมืองประจวบคีรีขันธ์ มีที่ว่าการอยู่ ณ เมืองกุยบุรี จน พ . ศ . 2441 จึงย้ายมาอยู่ที่อ่าวเกาะหลักหรืออ่าวประจวบฯ ซึ่งเป็นที่ตั้ง ตัวเมืองในปัจจุบัน เป็นเมืองที่มีชายฝั่งทะเลยาวตลอดแนว ที่ขึ้นชื่อคือชายทะเลหัวหินและเขตพื้นที่ที่แคบที่สุดของประเทศไทย   จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ “ ประจวบคีรีขันธ์ ” เคยเป็นที่ตั้งของเมืองนารัง สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี แต่ได้ร้างไปเมื่อครั้งกรุงแตก ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 2 จึงตั้งเมืองขึ้นใหม่
  • 3. ศาลหลักเมืองจังหวัดประจวบคีรีขันธ์   เป็นหลักเมืองชัยคู่บ้าน คู่เมือง ของชาวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สร้างขึ้นในสมัย ร . ต . อำนวย   ไทยานนท์ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพล อดุลยเดช   ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมงกุฎราชกุมารเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ทรงเปิดศาลหลักเมือง เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ . ศ . 2537   เพื่อให้เป็นสิริมงคลและหลักชัยคู่บ้านคู่เมืองเป็นที่สักการบูชาของชาวประจวบฯ สืบไป
  • 4.
  • 5. ความยาวจากทิศเหนือจรดทิศใต้ ประมาณ 212 กิโลเมตรและชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 224.8 กิโลเมตร มีส่วนที่แคบที่สุดของประเทศอยู่ในเขตตำบลคลองวาฬอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์จากอ่าวไทยถึงเขตแดนพม่าประมาณ 12 กิโลเมตร ระยะทางจากกรุงเทพฯ ตามทางหลวงแผ่นดินสายเอเชียหมายเลข 4 ถนนเพชรเกษมประมาณ 323 กิโลเมตร ใช้ เวลาเดินทางประมาณ 4 ชั่วโมงเศษ และตาม เส้นทางรถไฟสายใต้ ประมาณ 318 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 6 ชั่วโมง
  • 6. หน่วยการปกครอง การปกครองแบ่งออกเป็น 8 อำเภอ 48 ตำบล 388 หมู่บ้าน 1. อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ 2. อำเภอทับสะแก 3. อำเภอบางสะพาน 4. อำเภอบางสะพานน้อย 5. อำเภอปราณบุรี 6. อำเภอหัวหิน 7. อำเภอสามร้อยยอด 8. อำเภอกุยบุรี
  • 7. การเดินทางจากอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ไปยังอำเภอต่าง ๆ 1. อำเภอเมือง - กิโลเมตร 2. อำเภอกุยบุรี 30 กิโลเมตร 3. อำเภอทับสะแก 34 กิโลเมตร 4. อำเภอสามร้อยยอด 54 กิโลเมตร 5. อำเภอปราณบุรี 71 กิโลเมตร 6. อำเภอบางสะพาน 87 กิโลเมตร 7. อำเภอหัวหิน 90 กิโลเมตร 8. อำเภอบางสะพานน้อย 110 กิโลเมตร
  • 10.  
  • 11.  
  • 12.  
  • 13. 1. วัดอ่าวน้อย ( ถ้ำพระนอน ) ตั้งอยู่เชิงเขาบริเวณอ่าวน้อย ก่อนถึง ตัวเมืองประจวบคีรีขันธ์ มีทางเข้า แยกจากถนนเพชรเกษม กิโลเมตรที่ 314 เป็นระยะทาง 3 กิโลเมตร ในบริเวณวัดมีถ้ำขนาดเล็กประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ ในอดีตถ้ำแห่งนี้เป็นสถานที่ซึ่งชาวเรือมักเข้ามาอาศัยหลบพายุฝน
  • 14. 2. อ่าวบ่อทองหลาง ห่างจากอ่าวแม่รำพึงตามถนนเลียบชายหาด ประมาณ 4 กิโลเมตร มีชายหาดโค้งเกือบจะเป็นรูป วงกลม ยามน้ำลดจะปรากฏแนวหาดทรายขาว เป็น ลานกว้าง ผู้คนนิยมมา เล่นน้ำ พักผ่อนหย่อนใจเพราะระดับน้ำตื้นและมีเกาะหินขนาดเล็กตั้งเรียงรายด้านหน้าอ่าว บริเวณชายหาดมีร้านขายอาหารและเครื่องดื่มบริการนักท่องเที่ยว การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข 4 กิโลเมตรที่ 397 มี ทางแยกเข้าอำเภอบางสะพานทางด้านซ้ายมือ ไป ตามทางหลวงหมายเลข 3169 ต่อด้วยถนนกลางอ่าว เลียบหาดไปจนถึงทางเข้าอ่าวบ่อทองหลาง
  • 15. 3. อ่าวแม่รำพึง ห่างจากตัวเมืองประจวบฯ ประมาณ 120 กิโลเมตร ใช้ทางหลวงหมายเลข 4 ( ถนนเพชรเกษม ) แยกเข้าตัวอำเภอ บางสะพานไปประมาณ 17 กิโลเมตร เป็นชายหาดที่สวยงามแห่งหนึ่งหาดทรายขาว มีถนนเลาะเลียบตลอดแนวชายหาด มีร้านอาหารทะเลบริการนักท่องเที่ยวเหมาะสำหรับพักผ่อน
  • 16. 4. อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในเขตอำเภอเมือง อำเภอทับสะแก และอำเภอบางสะพาน มีพื้นที่ทั้งสิ้นประมาณ 161 ตารางกิโลเมตร หรือ 100,625 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงบนเทือกเขาตะนาวศรี เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำที่เกิดจากสันเขากั้นเขตแดนระหว่างประเทศไทย กับประเทศสหภาพพม่า ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ . ศ . 2534 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 70 ของประเทศไทย ที่ทำการอุทยานฯตั้งอยู่บริเวณน้ำตกห้วยยาง บริเวณอุทยานฯ ร่มรื่นน่าพักผ่อน นอกจากนี้ยังมีน้ำตกอีกหลายจุด
  • 17. 5. อุทยานแห่งชาติหาดวนกร ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ . ศ . 2535 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 76 และ เป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเลลำดับที่ 18 สภาพป่าเป็นป่า เบญจพรรณ สภาพโดยทั่วไปเป็นป่าโปร่งประกอบด้วยไม้ ผลัดใบหลายชนิดปะปนได้แก่ ไผ่ป่า ประดู่ มะค่าโมง เดิมพื้นที่ป่าเป็นป่าปลูกผสมผสานกับป่าธรรมชาติที่ฟื้นตัว พันธุ์ไม้ที่ปลูกได้แก่ เสลา ตะแบก สัก พะยอม สนทะเลและสนประดิพัทธ์ สัตว์ป่าพบจำนวนน้อยชนิด ส่วนใหญ่จะพบนกชนิดต่างๆได้แก่ นกขมิ้นท้ายทอยดำ นกยางทะเล นกแซงแซวหางปลา นกตะขาบทุ่ง และนกอีกหลายชนิดมากมาย อุทยานครอบคลุมพื้นน้ำประมาณ 15.36 ตารางกิโลเมตร สัตว์น้ำที่พบมีปลาน้ำจืดได้แก่ปลาดุก ปลาช่อน ปลาหมอ ปลานิลและปลาทะเลต่างๆ ชายหาดมีความยาวประมาณ 7 กิโลเมตร เรียงรายด้วยทิวสนทะเลเป็นแนวไปตามชายหาด
  • 18. เป็นภูเขา 2 ลูกที่อยู่ใกล้กัน อยู่ห่างจากตัวอำเภอหัว หินไปทางทิศใต้ประมาณ 14 กิโลเมตร มีทางแยก ซ้ายมือจากถนนเพชรเกษมที่กิโลเมตร 235 เข้าไป ประมาณ 500 เมตร จากตลาดหัวหินมีรถโดยสารวิ่งระหว่างหัวหิน - เขาไกรลาส - เขาตะเกียบ เขาตะเกียบเป็นเขาที่ยื่นออกไปในทะเลมีโขดหินสวยงาม เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางห้ามญาติขนาดใหญ่หันหน้าออกสู่ทะเล บนยอดเขามีทางเดินขึ้นไปสามารถชมทิวทัศน์ของท้องทะเล และตัวเมืองหัวหินได้อย่างชัดเจน ชายหาดเขาตะเกียบมีความยาวประมาณ 1.5 กิโลเมตร มีความลาดชันน้อย ทรายขาวละเอียด บริเวณชายหาดมีร้านอาหาร ที่พัก และร้านขายของที่ระลึกมากมายไว้บริการ
  • 19. อยู่หน้าเมืองประจวบฯ มีทิวทัศน์ สวยงามเหมาะต่อการออกกำลังกาย เช่น วิ่ง ขี่จักรยานเลียบชายทะเล โดยอ่าวน้อยและอ่าวประจวบฯ มีถนนเลียบชายหาดเชื่อมโยงถึงกัน อ่าวน้อย มีทิวสนขนานไปกับถนน อ่าวประจวบฯ มีบาทวิถีให้เดินชมท้องทะเลได้อย่างใกล้ชิด และมีร้านอาหารทะเลให้เลือกสรรรับประทานหลายแห่ง
  • 20. 8. อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด ตั้งอยู่ในเขตอำเภอกุยบุรีและกิ่งอำเภอสาม ร้อยยอด ห่างจากหัวหินลงมาทางใต้ ประมาณ 63 กิโลเมตร ตามตำนานเล่ากันว่า พื้นที่แถบนี้เคยเป็นทะเลมีเกาะใหญ่น้อยอยู่มากมาย ในสมัยนั้นมีขบวนเรือสำเภาจีนแล่นผ่านมา และประสบกับลมพายุมรสุมจนเรืออับปาง คนบนเรือที่รอดชีวิต 300 คนได้ไปอาศัยอยู่ตามเกาะต่าง ๆ จึงเรียกว่า “ เกาะสามร้อยรอด ” ต่อมาเพี้ยนเป็น “ เขาสามร้อยยอด ” จนทุกวันนี้
  • 21. 9. เขาธงชัย 9 เป็นจุดชมวิวที่สำคัญของชายหาดบ้าน กรูด จาก จุดนี้จะมองเห็นเวิ้งอ่าวและทิว มะพร้าวสุดสายตา เหมาะสำหรับชมพระ อาทิตย์ขึ้นและตก บนเขาธงชัยเป็นที่ ประดิษฐาน “ พระพุทธกิตติสิริชัย ” หรือ ที่ชาวบ้านเรียกว่า หลวงพ่อใหญ่ชาวบางสะพานสร้างขึ้นเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯพระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบห้ารอบ บนเขายังเป็นที่ตั้งของ ตำหนักกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ อันเป็นที่เคารพสักการะยิ่งของชาวเรือจะเห็นตำหนักกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์สวยเด่นเป็นสง่าบนยอดเขาธงชัย
  • 22. 10. น้ำตกป่าละอู ตั้งอยู่ ตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ ในพื้นที่ป่าละอู มีพื้นที่ประมาณ 273,125 ไร่ อุดมไปด้วยป่าไม้เขียวชอุ่ม และสัตว์ป่านานาชนิด ป่าละอูจัดอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน มีหน่วยพิทักษ์อุทยานน้ำตกป่าละอูของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ตั้งอยู่ใกล้อ่างเก็บน้ำก่อนถึงตัวน้ำตกประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นผู้ดูแลน้ำตกป่าละอูประกอบด้วย น้ำตกละอูใหญ่ และน้ำตกละอูน้อย ซึ่งไหลลดหลั่นกันอย่างสวยงามถึง 11 ชั้น มีน้ำไหลตลอดทั้งปี สามารถลงเล่นน้ำได้ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีผีเสื้อชุกชุม ช่วงเวลาที่เหมาะแก่การท่องเที่ยวอยู่ระหว่างเดือน พฤศจิกายนถึงเมษายน ในช่วงเช้าตรู่เนื่อง จากอากาศเย็นสบายและมีโอกาสพบเห็น สัตว์ป่า รวมทั้งนกหายากหลายชนิด
  • 23. 11. สถานีรถไฟหัวหิน สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของสถานีรถไฟแห่งนี้ คือ พลับเพลาพระมงกุฎเกล้าฯ เป็นพลับเพลาจัตุรมุขสร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีไว้ในการที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ เสด็จประทับทอดพระเนตรกองเสือป่าและลูกเสือทั่วประเทศทำการฝึกซ้อมยุทธวิธี เป็นประจำทุกปีหลังจากสิ้นรัชสมัยของพระองค์ การรถไฟแห่งประเทศไทย จึงได้รื้อถอนมาเก็บไว้ เพื่อเป็นการ รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของ พระองค์
  • 24. 12. เขาหินเหล็กไฟ ตั้งอยู่ที่ตำบลหัวหิน ห่างจากตัวเมืองหัวหินไป ทางทิศตะวันตกประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นจุด ชมวิวและชมพระอาทิตย์ขึ้นที่สวยงามมาก แห่งหนึ่ง ซึ่งสามารถชมวิวได้ 4 ทิศ จุดชมวิวนี้สามารถมองเห็นตัวเมือง และอ่าวหัวหิน โดยรอบบนยอดเขาเป็นพื้นที่ราบและผาหินที่สวยงาม พร้อมกับมีศูนย์จำหน่ายสินค้าหัตถกรรมพื้นเมือง พื้นที่อเนกประสงค์ปลูกพันธุ์ไม้ในวรรณคดี สวนนก ร้านอาหาร เครื่องดื่ม นอกจากนี้แล้วยังเป็นที่ประดิษฐานพระบรมรูปพระบาทสมเด็จปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ช่วงเวลาที่เหมาะในการชมวิว คือ เช้าตรู่และช่วงค่ำ
  • 25. 13. อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ เป็นสถานที่ที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ของวง การวิทยาศาสตร์ไทย เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระ จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงคำนวณไว้ล่วงหน้าถึง 2 ปี ว่าจะมองเห็นสุริยุปราคาเต็มดวงที่หว้ากอแห่งนี้และ ได้เสด็จมาทอดพระเนตรพร้อมด้วยนักวิทยาศาสตร์ และทูตานุทูตชาว ต่างประเทศ เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ . ศ . 2411 และในวันที่ 3 พฤษภาคม 2533 พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานนามว่า “ อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้าเจ้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ” เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย
  • 26. พระราชวังไกลกังวล พระบาทสมเด็จพระปก เกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นโดยใช้พระราชทรัพย์ส่วน พระองค์ สำหรับใช้เป็นที่ประทับในฤดู ร้อนและ พระราชทานแด่สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรม ราชินี โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หม่อมเจ้าอิทธิ เทพสรรค์ กฤดากร ผู้อำนวยการกรมศิลปากร ในสมัยนั้นเป็นผู้ออกแบบ และเป็นผู้อำนวยการก่อสร้าง เริ่มก่อสร้างเมื่อเดือน ตุลาคมพ . ศ . 2469 ต่อมาได้รับการซ่อมแซม และก่อสร้างเพิ่มเติมในสมัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ในบริเวณมีพระตำหนักหลายหลังมีชื่อคล้องจองกัน ได้แก่พระตำหนักเปี่ยมสุข ปลุกเกษม เอิบเปรม เอมปรีดิ์ สร้างอยู่กลางอุทยานไม้ดอกไม้ประดับนานาพันธุ์ โดยมีพื้นที่ด้านหนึ่งติดชายทะเล นอกจากนั้นยังมี พิพิธภัณฑ์หอย เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ได้รวบรวมหอยทุกชนิด
  • 27. สภาพทางเศรษฐกิจและสังคม จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีลักษณะพื้นที่ยาวเรียวจากเหนือจรดใต้ พื้นที่ 2 ใน 3 เป็นป่าเขาเกษตรกรรม ประกอบกับมีทรัพยากรที่เอื้ออำนวยในทางเศรษฐกิจ ทั้งทางด้านการเพาะปลูก ประมง เหมืองแร่ และป่าไม้ นอกจากนั้นจังหวัดยังมีเขื่อนที่สำคัญ ได้แก่ เขื่อนชลประทานปราณบุรี และเขื่อนชลประทานยางชุม การประมงน้ำเค็ม เป็นอาชีพดั้งเดิมของชาวประจวบฯ ด้วยภูมิประเทศด้านตะวันออกทุกอำเภอติดกับชายฝั่งทะเล ปลาที่สำคัญทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ปลาทู และปลาลัง และจัดให้มีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอีกด้วย เกษตรกรของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพการเลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพเสริม ควบคู่กับการประกอบอาชีพเกษตรอื่น ๆ โดยเฉพาะการเลี้ยงโคนมและโคขุน
  • 28. การสาธารณูปโภค การให้บริการสาธารณูปโภค ส่วนมากอยู่ในเมือง ในเขตชนบทกันดารที่ห่างออกไป ยังไม่สามารถ ให้บริการได้เพียงพอกับความต้องการของประชาชน การสาธารณูปโภคโภคที่สำคัญของจังหวัด มีดังนี้ 1. การประปา จังหวัดประจวบคีรีขันธ์มีกำลังผลิตน้ำวันละ 7,200 ลูกบาศก์เมตร มีการประปาไว้บริการตามอำเภอต่าง ๆ ครบทุกอำเภอ 2. การไฟฟ้า จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีไฟฟ้าของ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สามารถให้บริการไฟฟ้า ให้แก่ราษฎรได้ครอบคลุมทุกตำบล
  • 29.
  • 30. การคมนาคม ทางรถยนต์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีถนนเพชรเกษมเป็นเส้นทางคมนาคมสายหลัก การติดต่อระหว่างจังหวัดมีความสะดวกสูง และเป็นทางผ่านของรถยนต์โดยสารสู่ ภาคใต้ สำหรับรถยนต์โดยสารมีทั้งธรรมดาและปรับอากาศ ทางรถไฟ รถไฟสายใต้ทุกขบวนจะต้องผ่านจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทั้งขบวนขึ้นและล่อง มีความสะดวกในการเดินทางไปยังกรุงเทพมหานครหรือจังหวัดใกล้เคียง ทางน้ำ สภาพพื้นที่ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีลักษณะยาวไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ทิศตะวันตกติดกับชายแดนพม่า ด้านตะวันออก เป็นแนวชายทะเลด้านอ่าวไทยตลอดแนว การเดินทางของประชากรส่วนใหญ่เดินทางด้านคมนาคม ทางบก แต่เส้นทางเดินเรือไฮโดรฟลอร์ระหว่างหัวหิน - พัทยา ซึ่งเป็นเส้นทางเชื่อมสถานีท่องเที่ยว สำคัญในอนาคต
  • 31. ทางอากาศ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีสนามบิน 2 แห่ง คือ 1. สนามบินบ่อฝ้าย ของกรมการบินพาณิชย์ อำเภอหัวหิน 2. สนามบินกองบิน 53 ของกอง ทัพอากาศ อ่าวมะนาว อำเภอเมืองฯ เส้นทางการบิน ปัจจุบัน มีเครื่องบินของบริษัท บางกอกแอร์เวย์ จำกัด ทำการบินระหว่างกรุงเทพฯ - หัวหิน ออกจากกรุงเทพฯ เวลา 08.20 น . , 17.00 น . และออกจากหัวหิน เวลา 09.20 น . , 18.00 น . อัตราค่าโดยสาร 900 บาท
  • 32. ประชากรของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในปี 2538 มีทั้งสิ้น 457,949 คน ความหนาแน่น ของประชากร 72.05 คนต่อตารางกิโลเมตร มีประชากรเพศชายมากกว่าเพศหญิง
  • 33.  
  • 34. 1. งานนมัสการพระบรมสารีริกธาตุเขาช่องกระจก จัดขึ้นที่เขาช่องกระจก อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ ในวันที่ 12 มิถุนายน ของทุกปี ภายในงานจะมีพิธีถวายสักการะพระบรมสารีริกธาตุและการห่มผ้ารอบเจดีย์ของข้าราชการ พ่อค้า และประชาชน นอกจากนั้นผู้เข้าร่วมงานสามารถเดินชมภูมิทัศน์ของอ่าวประจวบจากยอดภูเขากลางเมืองได้อีกด้วย
  • 35. 2. งานวันที่ระลึกวีรกรรม 8 ธันวาคม 2484 จัดขึ้นที่บริเวณอ่าวมะนาว ภายในพื้นที่กองบิน 53 อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ ระหว่างวันที่ 7-10 ธันวาคม เพื่อเป็นการรำลึกและเชิดชูวีรกรรมของพลเรือน ตำรวจ ทหารของไทย ที่เข้าร่วมต่อสู้กับกองกำลังทหารญี่ปุ่น ซึ่งยกพลขึ้นบกที่อ่าวมะนาวในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2484 ภายในงานจะมีการจัดนิทรรศการทางวิชาการของหน่วยงานทหารอากาศและส่วนราชการต่าง ๆ และมีการออกร้านจำหน่ายสินค้าพื้น - เมือง การแสดงมหรสพ เช่น ลำตัด และโขนสด
  • 36. 3. หัวหินแจ๊ส เฟสติวัล เป็นงานเทศกาลดนตรีแจ๊ส มีนักดนตรีจากไทยและต่างประเทศมาแสดงในงานนี้ โดยจัดบริเวณชายหาดหัวหินประมาณเดือนมิถุนายน
  • 37. 1. สินค้าพื้นเมือง สินค้าพื้นเมืองที่นักท่องเที่ยวมักจับจ่ายซื้อหาเมื่อมาเที่ยวประจวบคีรีขันธ์ มีอาทิของฝากจากหัวหินได้แก่ ตุ๊กตาหอย เครื่องประดับจากเปลือกหอยและกะลามะพร้าว ผ้าพิมพ์โขมพัสต์ ไม้ปัดฝุ่นทำจากป่านศรนารายณ์ เครื่องจักสานไม้ไผ่ อาหารทะเลสดและแห้ง ของฝากจากปราณบุรีได้แก่ ผลไม้ตามฤดูกาลที่วางขายริมถนน ผลิตภัณฑ์สับปะรดและผลไม้อบแห้ง ของฝากจากทับสะแก ได้แก่ กล้วยอบน้ำผึ้ง มะพร้าวอบน้ำผึ้ง และผลิตภัณฑ์ว่านหางจระเข้
  • 38. 2. ผ้าบาติก ผ้าพิมพ์ลายไทย ผ้าบาติกของประจวบคีรีขันธ์มีแหล่งผลิตอยู่หลายแห่ง และมีจำหน่ายที่ร้านค้าในตัวอำเภอหัวหินซึ่งเป็นเมืองท่องเที่ยวสำคัญ นอกจากนี้ยังมีผ้าพิมพ์ลายไทยจำหน่ายที่ร้านโขมพัสต์ในอำเภอหัวหิน
  • 39. 3. ผลิตภัณฑ์จากสับปะรด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เป็นแหล่งปลูกสับปะรดที่สำคัญแห่งหนึ่ง ซึ่งผลผลิตส่งเข้าโรงงานสับปะรดกระป๋องสำหรับเป็นผลิตภัณฑ์อาหารกระป๋องส่งออกไปต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังมีสินค้าชุมชนที่เป็นผลผลิตจากสับปะรดอีกมากทั้งของใช้และของกิน ได้แก่ กระดาษใยสับปะรด ทำเป็นของใช้ที่สวยงามได้แก่ กรอบรูป กล่องกระดาษ สมุดโน้ต เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์อาหารจากสับปะรดมากมายได้แก่ สับปะรดกวน สับปะรดอบแห้ง สับปะรดสี่รส ไวน์สับปะรด และขนมปังกรอบไส้สับปะรด เป็นต้น
  • 40.
  • 41.  
  • 42.