SlideShare a Scribd company logo
๑
ใครสร้างศิลาจารึกหลักที่ ๑ ?
ศิลาจารึกหลักที่ ๑ หรือที่รู้จักกันในชื่อ “ศิลาจารึกพ่อขุนรามคาแหง” เป็นจารึกหลักแรกของไทย ค้นพบโดย
พระวชิรญาณภิกขุ หรือพระบาทสมเด็จพระจอเกล้าเจ้าอยู่หัวในขณะที่ทรงผนวชอยู่ (ช่วงรัชกาลที่ ๓) เมื่อปี พ.ศ.
๒๓๗๖ พระองค์ได้เสด็จไปยังเมืองสุโขทัย ทรงพบจารึกสองหลัก หลักแรกคือจารึกภาษาไทยของพ่อขุนรามคาแหง
(จารึกหลักที่ ๑) หลักที่สองคือจารึกภาษาเขมรของพระยาลิไท (จารึกหลักที่ ๔) และพระแท่นมนังคศิลาบาตร จึงโปรด
เกล้าฯ ให้นาลงมายังกรุงเทพฯ ด้วย (พิริยะ ไกรฤกษ์, ๒๕๓๒)
จารึกหลักที่ ๑ ได้รับการยกย่องว่าเป็นวรรณคดีเรื่องแรกของไทย ซึ่งทรงคุณค่าในด้านภาษา ประวัติศาสตร์
การเมือง การปกครอง และศาสนา โดยในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยแผนงานความทรงจาแห่งโลก
ประจาประเทศไทยซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในสมัยนั้นเป็นประธานได้ยื่นเรื่องต่อ องค์การศึกษา
วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก (United Nations Educational, Scientific and
Cultural Organization : UNESCO) เพื่อขอขึ้นทะเบียนศิลาจารึกหลักที่ ๑ เป็นมรดกความทรงจาแห่งโลกได้สาเร็จ
เป็นการยืนยันว่าศิลาจารึกหลักนี้มีความสาคัญต่อชนชาวไทยอย่างยิ่ง
จากการขึ้นทะเบียนมรดกความทรงจาแห่งโลกดังกล่าวทาให้มีผู้วิพากษ์วิจารณ์ว่าหน่วยงานทางราชการต้องการ
ยุติปัญหาเรื่องข้อถกเถียงว่าศิลาจารึกหลักที่ ๑ นั้นเป็นของที่ปลอมขึ้นใหม่ ไม่ได้สร้างโดยพ่อขุนรามคาแหงดังที่เข้าใจ
กัน เพราะเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียนมรดกความทรงจานั้นจะเป็นการยืนยันว่าศิลาจารึกหลักที่ ๑ นั้นเป็นของจริง ทั้งที่ใน
ความเป็นจริงยังไม่อาจหาข้อสรุปเกี่ยวกับปัญหานี้ได้อย่างชัดเจน
ส่วนของปัญหาข้อโต้แย้งเรื่องการสร้างศิลาจารึกหลักที่ ๑ นี้ เป็นการถกเถียงในวงวิชาการว่าศิลาจารึกหลักที่
๑ นั้นสร้างขึ้นในสมัยใด เพราะมีนักวิชาการบางกลุ่มได้ตั้งข้อสังเกตว่าศิลาจารึกหลักนี้ไม่ได้สร้างโดยพ่อขุนรามคาแหง
มหาราชตามที่เข้าใจกัน หากแต่สร้างโดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั่นเอง
แนวคิดดังกล่าวนี้ได้เริ่มต้นมานานแล้วก่อนที่จะมีงานวิจัยของ ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์ ออกมา แต่เป็นเพียงการ
ตั้งข้อสงสัยของนักวิชาการต่างชาติบางท่านเท่านั้น ซึ่งไม่ได้ทาการศึกษาและสรุปอย่างจริงจัง และนักวิชาการไทยบาง
ท่านก็เริ่มสงสัยด้วย แต่การจะหยิบประเด็นนี้ขึ้นมาถกเถียงหาข้อสรุปนั้นยังถือเป็นเรื่องที่สุ่มเสี่ยงต่อการหมิ่นพระบรม
เดชานุภาพของพระมหากษัตริย์ถึง ๒ พระองค์
การตั้งข้อสังเกตเรื่องนี้ยังคงอยู่ในวงแคบจนกระทั้งหม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี หรือท่านจันทร์ทรงมี
ผลงานหนังสือเรื่อง “นาเที่ยวศิลาจารึกสุโขทัย” ซึ่งตีพิมพ์โดยมหาวิทยาลัยฮาวาย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๙ (พ.ณ ประมวล
มารค, ๒๕๓๒) โดยในหนังสือได้ตั้งข้อสังเกตว่าจารึกหลักนี้สร้างขึ้นโดยพระยาลิไทไม่ใช่พ่อขุนรามคาแหง ด้วยเหตุผล
ที่ต้องการใช้ประโยชน์ในทางการเมือง
๒
เมื่อนักวิชาการท่านอื่นเห็นว่าแม้แต่ท่านจันทร์ซึ่งเป็นราชนิกุลก็ทรงออกมาพูดเรื่องนี้แล้ว และก็คงจะไม่มีใคร
ตั้งข้อกล่าวหาว่าท่านจันทร์ไม่จงรักภักดี (อโณทัย อาตมา, ๒๕๔๗) ก็เริ่มมีการแสดงความคิดเห็นกันมากขึ้นทางฝั่ง
นักวิชาการต่างชาติ ดร.ไมเคิล วิคเคอรี่ ก็ได้เสนอบทความเรื่อง “ศิลาจารึกพ่อขุนรามฯ เป็นของเก่าหรือสร้างขึ้น
ภายหลัง?” ที่มหาวิทยาลัยอัลเดอเลด ประเทศออสเตรเลีย ในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ และต่อมาในเดือนมกราคม
พ.ศ. ๒๕๓๒ ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์ก็ได้ตีพิมพ์รายงานวิจัย “จารึกพ่อขุนรามคาแหง การวิเคราะห์เชิงศิลปะ” ออกมา จน
เป็นที่ถกเถียงในวงกว้าง
เมื่องานวิจัยของ ดร. พิริยะ ไกรฤกษ์ได้ถูกเผยแพร่ไม่นาน ในเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ สยามสมาคมใน
พระบรมราชูปถัมภ์ก็ได้จัดการอภิปรายเรื่อง “ศิลาจารึกหลักที่ ๑” โดยเชิญ ดร. พิริยะ ไกรฤกษ์มาพูด ทั้งยังเชิญ
ศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ ณ นคร และ ม.ร.ว. ศุภวัฒย์ เกษมศรี ซึ่งเป็นฝั่งที่ไม่เห็นด้วยกับ ดร. พิริยะ ร่วม
อภิปราย โดยในครั้งนั้นสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จเป็นองค์
ประธานด้วย
ถึงแม้การอภิปรายจะสิ้นสุดไปแล้วแต่สุดท้ายนักวิชาการก็ยังไม่อาจสรุปผลได้ยังชัดว่าศิลาจารึกหลักที่ ๑ นั้น
สร้างขึ้นโดยใคร เพราะว่าแต่ละฝ่ายที่มาอภิปรายล้วนแต่ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจน โดยแต่ละฝ่ายทาได้เพียงแค่การแสดง
ความคิดเห็นเท่านั้น
ในประเด็นต่อไปจะเป็นการสรุปแนวคิดสาคัญของแต่ปัญหาเกี่ยวกับผู้สร้างศิลาจารึกหลักที่ ๑ ที่นักวิชาการ
หลายท่านได้แสดงแนวคิดไว้ดังนี้
แนวคิดเกี่ยวกับผู้สร้างศิลาจารึกหลักที่ ๑
เนื่องจากข้อโต้แย้งเกี่ยวกับศิลาจารึกหลักที่ ๑ นั้นมีหลายประเด็น ทั้งยังมีการโต้แย้งกันไปมาระหว่าง
นักวิชาการที่เห็นด้วยว่าไม่ได้สร้างโดยพ่อขุนรามคาแหงกับที่ไม่เห็นด้วย นอกจากนี้ยังมีกลุ่มที่เห็นต่างออกไปอีก ซึ่งผู้
ศึกษาได้จัดกลุ่มข้อโต้แย้งเหล่านั้นใหม่โดยแบ่งตามแนวคิดเกี่ยวกับคนสร้างว่ามีความเป็นไปได้ว่าศิลาจารึกอาจสร้าง
โดยพ่อขุนรามคาแหง พระยาลิไทย และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังนี้
เชื่อว่าสร้างโดยพ่อขุนรามคาแหงมหาราช
กลุ่มที่เชื่อว่าศิลาจารึกหลักที่ ๑ สร้างโดยพ่อขุนรามคาแหงแห่งกรุงสุโขทัยอย่างแน่นอนนั้น ได้แก่กลุ่ม
นักวิชาการที่ไมเคิล ไรท์ (๒๕๔๖) เรียกว่า “ค่ายพระ” ซึ่งมีท่านที่สาคัญคือ ศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ ณ นคร และ
หม่อมราชวงศ์ ศุภวัฒย์ เกษมศรี นอกจากนี้ยังมีนักวิชาการในกรมศิลปากรอีกหลายท่านร่วมด้วย
ศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ ณ นคร ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญสหศาสตร์ คือมีความรู้ความสามารถ
ที่หลากหลาย ที่ทาได้ดีที่สุดคือคณิตศาสตร์ แต่ให้ช่วยเหลือประเทศชาติมากที่สุดคือประวัติศาสตร์ และภาษาไทย
๓
โบราณ ซึ่งท่านเป็นหนึ่งในคณะกรรมการชาระประวัติศาสตร์สุโขทัยด้วย แนวคิดเกี่ยวกับปัญหาศิลาจารึกหลักที่ ๑ ของ
ท่านจึงมีความสาคัญและเป็นที่น่าเชื่อถืออย่างยิ่ง
บทบาทของศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ ณ นคร ต่อปัญหาเรื่องนี้นั้น โดยส่วนใหญ่ท่านจะเน้นไปที่การโต้แย้ง
ระเบียบวิธีการวิจัยของ ดร. พิริยะ ไกรฤกษ์ เป็นส่วนใหญ่ว่าวิธีที่ใช้นั้นไม่สามารถวิเคราะห์จารึกได้จริง ถ้าวิเคราะห์
ตามวิธีของ ดร. พิริยะ จารึกทุกหลักของไทยก็สามารถเป็นของปลอมได้ทั้งสิ้น เพราะข้อความใดในจารึกที่ไปตรงกับ
จารึกหลักอื่น หรือในวรรณคดีเรื่องยวนพ่าน ลิลิตพระลอ ก็กล่าว่าไปคัดลอกมา ถ้าคาหรือข้อความในจารึกหลักที่ ๑
ข้อใดไม่ปรากฏที่จารึกหรือเอกสารอื่นก็สรุปไปว่าคาหรือข้อความนั้นไม่มีใช้จริงในสมัยสุโขทัย ซึ่งไม่ว่าจะดูอย่างไรจารึก
ก็จะย่อมเป็นของปลอม
นอกจากนี้ศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ ณ นคร ยังได้เสนอหลักฐานหนังสือจินดามณีฉบับพระเจ้าบรมโกศที่
Royal Asiatic Society ว่า “มีข้อความเรื่องพระร่วงทรงประดิษฐ์อักษรไทยใน พ.ศ. ๑๘๒๖ ตรงกับจารึกหลักที่ ๑”
(ประเสริฐ ณ นคร, ๒๕๓๒) ซึ่งทาให้นักวิชาการส่วนใหญ่เห็นคล้อยตาม
นักวิชาการที่สาคัญท่านต่อมาคือ พลตรี ม.ร.ว. ศุภวัฒย์ เกษมศรี ซึ่งก็เป็นอีกท่านที่มีความเชี่ยวชาญ
ทางด้านประวัติศาสตร์ไทย จนได้รับยกย่องจากคณะกรรมการอานวยการอนุรักษ์มรดกไทย กระทรวงวัฒนธรรม เป็น
“ผู้อนุรักษ์มรดกไทยดีเด่น” ประจาปี ๒๕๕๔
ม.ร.ว. ศุภวัฒย์ เกษมศรี นั้นมุ่งเน้นไปที่การโต้แย้งในประเด็นทางประวัติศาสตร์ที่ ดร. พิริยะเสนออีกเช่นกัน
ว่าสิ่งต่างๆ ที่ปรากฏชื่อในศิลาจารึกหลักที่ ๑ นั้น ไม่มีในสมัยสุโขทัย เช่น ตาแหน่งพระสังฆราช ชื่อนครศรีธรรมราช
การทรงช้างเผือก ชื่อพ่อขุนรามคาแหง กระดิ่ง พระแท่น พระพุทธศาสนา เป็นต้น ซึ่ง ม.ร.ว. ศุภวัฒย์ เกษมศรี ก็ได้
แก้ข้อสงสัยเหล่านี้ทั้งสิ้น
ประเด็นต่อมาที่ ม.ร.ว. ศุภวัฒย์ เกษมศรี ได้กล่าวถึงคือเรื่องพระวชิรญารภิกขุ (รัชกาลที่ ๔) การนาจารึก
หลักที่ ๑ ลงมาจากสุโขทัยซึ่ง ดร. พิริยะได้เสนอว่ามีพิรุธหลายประการ ม.ร.ว. ศุภวัฒย์ ได้อธิบายว่าในการเสด็จไป
สุโขทัยครั้งนั้นพระวชิรญาณภิกขุมีเวลาจริงๆ เพียง ๑๒ ชั่วโมงเท่านั้นไม่เป็นไม่ได้ที่จะค้นหาศิลาจารึกหลักอื่นเพื่อนามา
ปลอมจารึกหลักที่ ๑ ได้เพราะสุโขทัยในขณะนั้นไม่เป็นอุทยานเช่นทุกวันนี้ แต่เป็นป่ารกทึบและเพิ่งได้รับการขุดแต่ง
ในช่วงรัชกาลที่ ๖ (ศุภวัฒย์ เกษมศรี, ๒๕๓๒)
นักวิชาการท่านสาคัญอีกท่านก็คือ ศาสตราจารย์ธวัช ปุณโณทก ผู้เชี่ยวชาญด้านจารึกภาษาไทยและอักขรวิธี
โบราณ ซึ่งท่านได้เสนอประเด็นโต้แย้งที่ ดร.พิริยะ กล่าวว่าอักขรวิธีที่ใช้ในศิลาจารึกหลักที่ ๑ นั้นมีความผิดปกติ มี
ลักษณะคล้ายภาษาอาริยกะที่รัชกาลที่ ๔ ทรงประดิษฐ์ขึ้น และอักขรวิธีเช่นนี้ก็ไม่ปรากฏในภาษาใดๆด้วย
ศาสตราจารย์ธวัช ปุณโณทก ได้เสนอว่าอักขรวิธีในจารึกหลักที่ ๑ นั้นไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด เพราะเป็น
ที่เข้าใจกันในวงวิชาการด้านจารึกว่าอักขรวิธีที่เขียนสระและพยัญชนะในบรรทัดเดียวกัน (เดิมจะมีตัวเชิงอย่างอักขรวิธี
๔
ขอม) ทั้งยังเขียนสระไว้หน้าพยัญชนะ ที่ปรากฏในจารึกหลักที่หนึ่งนั้นเป็นวิวัฒนาการของอักขรวิธีมาจากอักษรของ
อินเดีย (อักษรคฤนถ์) เช่นเดียวกับอักษรในตระกูลเดียวกันคืออักษรขอม มอญ เงี้ยว ซึ่งจะมีตัวเชิง สระลอย สระจม
ลักษณะการวางสระและพยัญชนะไว้บรรทัดเดียวกันนั้นมีความเป็นไปได้ที่พ่อขุนรามคาแหงเป็นผู้ประดิษฐ์ขึ้น
เพื่อให้การเขียนง่ายกว่าเดิม โดยนารูปแบบมาจากการเขียนสระลอย (สระที่ไม่ต้องเกาะกับพยัญชนะ) ที่นิยมเขียนไว้ใน
บรรทัดเดียวกันกับพยัญชนะทั้งยังวางไว้ด้านหน้าพยัญชนะด้วย และเหตุที่จารึกในสมัยถัดมาไม่ใช้อักขรวิธีแบบจารึก
หลักที่ ๑ แล้วก็เพราะว่าคนสุโขทัยนั้นคุ้นชินกับการเขียนแบบทีมีตัวเชิง และสระจม จึงได้กลับมาเขียนอย่างเดิม
แต่กระนั้นในสมัยอยุธยาก็มีการใช้อักขรวิธีเหมือนกับจารึกหลักที่ ๑ นี้เหมือนกัน
ในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ ได้มีผลการตรวจพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ออกมายืนยันแน่ชัดว่าศิลาจารึกหลักที่ ๑ นั้นสร้าง
ขึ้นในสมัยสุโขทัย ไม่ใช้ต้นรัตนโกสินทร์ แต่ผลการตรวจพิสูจน์ก็ไม่ได้ระบุชัดเจนว่าสร้างในสมัยพ่อขุนรามคาแหง
(ซึ่งจะขอกล่าวละเอียดเรื่องการตรวจพิสูจน์ในหัวข้อต่อไป) แต่ก็สามารถทาให้นักวิชาการ “ค่ายพระ” มีหลักฐานโต้แย้ง
ว่าอย่างไรก็ตามศิลาจารึกหลักนี้ไม่ได้สร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๔ ตามที่ ดร. พิริยะ ไกรฤกษ์ ได้กล่าวไว้
ถัดมานักวิชาการรุ่นหลัง อโณทัย อาตมา (๒๕๔๗) ได้โต้แย้งประเด็นนี้อีกครั้งหลังจากที่สานักพิมพ์
ศิลปวัฒนธรรมได้ตีพิมพ์หนังสือ “ศึกศิลาจารึก ที่พ่อขุนรามคาแหงไม่ได้แต่งในยุคสุโขทัย” ออกมาหลังจากที่ศิลาจารึก
หลักที่ ๑ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจาแห่งโลกในปี พ.ศ. ๒๔๔๖ ซึ่งถือเป็นการโต้แย้งครั้งใหญ่หลังจาก
ที่มีการจัดสัมมนาโดยสยามสมาคมใน พ.ศ. ๒๕๓๒
อ. อโณทัย อาตมา ได้เสนอข้อสังเกตว่า หากศิลาจารึกหลักที่ ๑ สร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๔ จริงก็จะเกิดความ
ขัดแย้งกับการมีอยู่ของโบราณสถานสาคัญในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ซึ่งโบราณสถานเหล่านั้นล้วนแต่ปรากฏชื่อ
และถูกระบุตาแหน่งอย่างชัดเจนในศิลาจารึกหลักที่ ๑ นอกจากนี้ โบราณสถานเหล่านั้นหลายแห่งถูกค้นพบหลักจากที่
ค้นพบศิลาจารึกหลักที่ ๑ แล้ว (หลัง พ.ศ. ๒๓๗๖) และบริเวณที่เป็นเมืองเก่าสุโขทัยนั้นก็เพิ่งจะได้รับการขุดแต่งโดย
กรมศิลปากรในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ ซึ่งโบราณสถานหลายแห่งยังคงถูกปกคลุมด้วยป่ารกอยู่
หากพิจารณาจากเหตุผลของนักวิชาการกลุ่มนี้จะเห็นว่าสิ่งสาคัญที่ขาดไปก็คือหลักฐานที่สามารถยืนยันได้ว่า
ศิลาจารึกหลักที่ ๑ นี้สร้างขึ้นในสมัยพ่อขุนรามคาแหงจริง ไม่ใช่สมัยใดสมัยหนึ่งยุคสุโขทัยเช่นที่ได้จากการตรวจสอบ
อายุ แต่ต้องเป็นหลักฐานที่บ่งบอกว่าศิลาจารึกนี้มีอยู่จริง เช่น จารึกอื่นที่กล่าวถึงศิลาจารึกหลักนี้
นอกจากนี้การที่ปฏิเสธแนวคิดของนักวิชาการกลุ่มอื่น และจะยืนยันว่าศิลาจารึกหลักนี้เป็นของพ่อขุน
รามคาแหงและใช้ข้อมูลจากสานวนภาษา และคาที่ปรากฏในจารึกอย่างเดียวนั้นไม่ได้เพราะเป็นที่ยอมรับการโดยทั่วไป
แล้วว่าเนื้อความในศิลาจารึกหลักที่ ๑ นั้นไม่ได้เขียนโดยบุคคลคนเดียว และที่สาคัญคือเขียนในยุคสมัยที่ต่างกันด้วย
คือในช่วงต้นนั้นอาจเป็นสานวนของพ่อขุนรามคาแหงจริง แต่ในช่วงหลังเห็นได้ชัดว่าสานวนต่างกัน และมีการกล่าวถึง
พ่อขุนรามคาแหงโดยใช้สรรพนามบุรุษที่ ๓ ไม่ใช่บุรุษที่ ๑ เหมือนช่วงต้น ด้วยเหตุนี้การที่จะวิเคราะห์เนื้อหา สานวน
ของจารึกนั้น จะต้องมั่นใจว่าสานวนนั้นอยู่ในยุคของพ่อขุนรามจริง
๕
เชื่อว่าสร้างโดยสมเด็จพระศรีสุริยมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไทย)
จุดเริ่มต้นของปัญหาผู้สร้างศิลาจารึกหลักที่ ๑ นั้น ดร. พิริยะ ไกรฤกษ์ กล่าวว่าหนึ่งในนั้นมีแนวคิดของ
หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี หรือที่รู้จักในนามปากกา พ.ณ ประมวลมารค รวมอยู่ด้วย เพราะท่านทรงเห็นว่าจารึก
นั้นพูดถึงพ่อขุนรามคาแหงเป็นบุรุษที่ ๓ และผู้ที่สร้างก็อาจเป็นพระยาลิไทย เพราะพระองค์มีความจาเป็นในเหตุผลทาง
การเมือง
ในแนวคิดที่ว่าศิลาจารึกหลักที่ ๑ สร้างโดยพระยาลิไทยนี้สามารถกล่าวได้ว่าหม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี
ทรงเป็นผู้ริเริ่มแนวคิด และเป็นนักวิชาการเพียงคนเดียวที่เชื่อเช่นนี้ในช่วงที่ถกเถียงปัญหาเรื่องนี้ ซึ่งเหตุผลที่ท่านเชื่อว่า
พระยาลิไทยทรงสร้างนั้นเพราะต้องการสร้างสิทธิโดยชอบธรรมของการขึ้นครองราชย์ในสุโขทัย เพราะในยุคหลังจากพ่อ
ขุนรามคาแหงแล้วรัฐสุโขทัยไม่ได้เป็นปึกแผ่นดังเดิม ดังปรากฏในจารึกนครชุมบรรทัดที่ ๑๒-๓๐ ด้านที่ ๒ ว่า
“เมื่อชั่วพระยารามราช...กว้างขวางรอดทุกแห่ง เป็นเจ้าเป็นขุนเมืองขาด...หลาย
บั้นหลายท่อนแซว เมืองคนทีพระบางหาเป็นขุนหนึ่ง...เมืองเชียงทองหาเป็นขุน
หนึ่ง...เมืองบางพานหาเป็นขุนหนึ่ง...เมืองบางฉลังหาเป็นขุนหนึ่ง...ต่างทาเนื้อทา
ตนเขาอยู่ เมื่อล...ได้เสวยราชย์แทนที่ปู่ย่าพ่อแม่...เป็นเจ้าเป็นขุนนั้นด้วยกาลัง...
ราชชอบด้วยทศพิธราชธรรม...คนทีพระบางกโรมในตีนพิงนี้...ปลูกหมากพร้าว
หมากลางทุกแห่ง...เป็นป่าเป็นดงให้แผ้วให้ถาง...ธรรมิกราชนั้น บ้านเมืองอยู่
เขษมฯ”
(พ.ณ ประมวลมารค, ๒๕๓๒)
เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์แล้วพระยาลิไทยจึงมีพระราชกิจที่สาคัญคือการรวบรวมสุโขทัยให้เป็นปึกแผ่นอีกครั้ง
เมื่อรวมได้สาเร็จแล้วจึงได้สร้างจารึกหลักที่ ๑ ขึ้นพร้อมกับจารึกอีก ๓ หลัก รวมเป็น ๔ หลักขึ้น (จารึก ๓ หลักนั้นได้
ถูกกล่าวถึงในจารึกหลักที่ ๑) เพื่อเป็นการแสดงสิทธิเหนือดินแดนว่าสุโขทัยเป็นรัฐของราชวงศ์พระร่วงและรุ่งเรือง
ภายใต้พระราชอานาจของราชวงศ์พระร่วงมานานแล้ว
แนวคิดของหม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี ได้รับความสนใจมากขึ้นเมื่อผลการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์
ออกมาในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ ว่าศิลาจารึกหลักที่ ๑ นั้นสร้างขึ้นในสมัยสุโขทัยจริง ไม่ใช่สมัยรัตนโกสินทร์ต้นต้น แต่ไม่
สามารถระบุได้อย่างละเอียดได้ว่าเป็นช่วงเวลาใดของสุโขทัย ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าอาจไม่ใช่พ่อขุนรามคาแหง แต่เป็น
ช่วงเวลาอื่น ซึ่งผลการวิจัยสามารถสรุปได้ดังนี้
“การศึกษาวิจัยด้วยวิธีนี้มิได้เป็นการกาหนดอายุของศิลาจารึกแต่เป็นการ
เปรียบเทียบริ้วรอยและองค์ประกอบที่ผิวที่เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากกระบวนการสึก
กร่อน ผุพัง สลายตัว ของศิลาจารึกหลักที่ ๑ เทียบกับศิลาจารึกหลักอื่นๆ ของสุโขทัย
และศิลาจารึกของรัตนโกสินทร์ (ถ้ามี) เป็นที่น่าเสียดายที่ยังค้นไม่พบศิลาจารึกหรือวัตถุ
๖
โบราณสมัยรัตนโกสินทร์ที่ทาด้วยหินทรายแป้งชนิดเดียวกัน จึงไม่สามารถเปรียบเทียบ
ให้เห็นข้อแตกต่างได้อย่างชัดเจน”
(ชัชวาล บุญปัน, ๒๕๔๗)
ในการตรวจสอบศิลาจารึกหลักที่ ๑ นี้เป็นการเปรียบเทียบกับศิลาจารึกหลักที่ ๓, ๔๕ และหลักที่กล่าวถึง
ชีผ้าขาวเพสสันดร และพระแท่นมนังคศิลาบาตร ซึ่ง ชัชวาล บุญปัน (๒๕๔๗) ได้ตั้งข้อสังเกตว่าตัวแปรที่ผู้วิจัยนามา
ศึกษานั้นมีความขัดแย้งกับสมมติฐานการวิจัยที่ได้ตั้งไว้เพราะในสมมติฐานกล่าวว่าศิลาจารึกหลักที่ ๑ นั้นบอกว่า “ศิลา
จารึกหลักที่ ๑ ทาขึ้นในสมัยสุโขทัย จะมีระยะเวลาที่ถูกทอดทิ้งอยู่กลางแดดกลางฝนเป็นเวลานานกว่า ๕๐๐ ปี” แต่
ศิลาจารึกหลักที่ ๔๕ นั้นเป็นที่ทราบกันดีว่าหน่วยขุดแต่ง กองโบราณคดีกรมศิลปากรขุดพบใต้ร่มเสาของวิหารในวัด
มหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย ในปี พ.ศ. ๒๔๙๙
จะเห็นว่าจารึกหลักที่ ๑ นั้นอยู่กลางแจ้งมาเป็นเวลากว่า ๕๐๐ ปี แต่หลักที่นามาเปรียบเทียบนั้นเพิ่งขุดพบได้
จนถึงวันตรวจสอบเปรียบเทียบเพียง ๓๓ ปีเท่านั้น การที่จะนามาเปรียบเทียบพื้นผิวจารึกจึงไม่เหมาะสม เนื่องจาก
คุณสมบัติของวัตถุทั้งไม่เหมือนกัน
นอกจากนี้การที่จะกล่าวว่าพื้นผิวของจารึกหลักที่ ๑ มีลักษณะเหมือนกันกับจารึกหลักอื่นที่สร้างในสมัย
สุโขทัยแล้วสรุปว่าจารึกหลักที่ ๑ สร้างในสมัยสุโขทัยนั้นเป็นที่ยังทาไม่ได้เพราะการจะสรุปดังนั้นจะทราบก่อนว่าจารึก
ลักษณะเดียวกันในต้นรัตนโกสินทร์มีลักษณะอย่างไร แตกต่างจากจารึกในสมัยสุโขทัยอย่างไร จึงจะสามารถ
เปรียบเทียบได้แต่เนื่องจากว่าจารึกที่เป็นหินทรายแป้งในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ไม่มีจึงไม่มีตัวเปรียบเทียบ ทาให้งานวิจัย
ชิ้นนี้ขาดความสมบูรณ์และความน่าเชื่อถือไป
เชื่อว่าสร้างโดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
กรณีที่ถกเถียงเรื่องการปลอมศิลาจารึกหลักที่ ๑ นี้เกิดจากนักวิชาการกลุ่มที่ไมเคิล ไรท์ เรียกว่า “ค่ายยักษ์”
ซึ่งมี ดร. พิริยะ ไกรฤกษ์ เป็นนักวิชาการคนไทยคนสาคัญที่รวบรวมหลักฐานและเหตุผลเพื่ออธิบายว่าศิลาจารึกหลักที่
๑ ไม่ได้สร้างโดยพ่อขุมรามคาแหงแห่งกรุงสุโขทัย แต่สร้างโดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่งกรุง
รัตนโกสินทร์ ในครั้งที่ดารงพระยศเป็นเจ้าฟ้ามงกุฎฯ และทรงผนวชอยู่ โดยใช้วิธีการพิจารณาคา สานวนภาษา
อักขรวิธี ว่าสอดคล้องกับจารึกสมัยสุโขทัยในยุคเดียวกันหรือไม่ และหลักฐานอีกชิ้นหนึ่งที่ท่านใช้ในการตีความคือ
หนังสืออภินิหารการประจักษ์” พระนิพนธ์ในสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ซึ่งเป็นผู้ใกล้ชิด
และตามเสด็จพระวชิรญาณภิกขุอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในหนังสือเล่มนี้ก็ได้มีรายละเอียดเกี่ยวกับการค้นพบและการแปลศิลา
จารึกหลักที่ ๑ และจารึกภาษาเขมรที่ค้นพบพร้อมกันนั้นด้วย
ดร. พิริยะ ไกรฤกษ์ มุ่งที่จะพิจารณาว่าคาหรือสานวนใดที่อยู่ในจารึกหลักที่ ๑ ไม่เคยปรากฏในจารึกอื่นใน
สมัยสุโขทัยก็จะบอกว่าคาหรือสานวนนั้นไม่มีใช้ในสมัยสุโขทัย หรือถ้ามีตรงกับจารึกอื่นใดก็จะกล่าวว่าไปคัดลอกคา
หรือสานวนจากจารึกนั้นมาใส่ในจารึกหลักที่ ๑ ซึ่งไม่ว่าอย่างไรก็เห็นว่าเป็นของปลอม ไม่ได้สร้างโดยพ่อขุนรามคาแหง
๗
แต่ลงความเห็นว่าสร้างโดยพระวชิรญาณภิกขุอย่างแน่นอน และยังระบุช่วงเวลาได้ด้วยว่าเป็นช่วงที่เสด็จไปครองวัดบวร
นิเวศวิหาร
หลักฐานที่ทาให้ดร. พิริยะ ไกรฤกษ์ เชื่อว่าพระวชิรญาณภิกขุเป็นผู้สร้างศิลาจารึกหลักที่ ๑ นั้นเพราะอาศัย
หนังสืออภินิหารแห่งการประจักษ์เป็นหลักฐานว่ามีเหตุการณ์หลายอย่างในจารึกตรงกับพระราชประวัติ และเมื่อแปลง
ศักราชในจารึกมาเป็นคริสตศักราชก็จะตรงกับปีที่เกิดเหตุการณ์คล้ายๆ กันในพระราชประวัติ และที่ ดร. พิริยะ
ไกรฤกษ์ เชื่อเรื่องการแปลงศักราชนั้นเพราะได้พิรุธมาจากโคลงท้ายหนังสืออภินิหารแห่งการประจักษ์ ที่มีเนื้อหาไม่
สอดคล้องกับหนังสือเท่าไหร่นัก แต่ผู้นิพนธ์ก็จงใจที่จะใส่ไว้ดังนี้
“ศักราชคิดดั่งนี้ ชอบขยัน
มืดลับชนสามัญ ห่อนเจ้า
ไทยถือว่าสาคัญ กลเลข
แยบยนต์คนเก่าแกล้ง กล่าวอ้างคนไกล”
(สยามสมาคม, ๒๕๓๓ )
นอกจากนี้ยังมีการเชื่อมโยงไปยังเหตุผลทางการเมืองการปกครองด้วยว่าในช่วงต้นรัตนโกสินทร์นั้นเป็นช่วงที่
การล่าอาณานิคมของชาติตะวันตกและเพื่อนบ้านของไทยหลายชาติก็ตกเป็นอาณานิคมของชาติเหล่านี้ไปแล้ว ซึ่งการ
สร้างจารึกขึ้นมาจะเป็นการยืนยันให้เห็นว่าไทยมีอารยธรรมมาแต่สมัยโบราณไม่ใช่ชาติอนารยธรรมอย่างที่ชาติตะวันตก
เข้าใจ แต่ประเด็นนี้ก็ถูกหักล้างไปแล้วเช่นกัน
ถ้าพิจารณาตามที่ ดร. พิริยะ ไกรฤกษ์ กล่าวมานั้นจะเห็นว่าเหมือนเป็นการเอาข้อมูลที่ไม่สมเหตุสมผลมา
นาเสนอแต่มีการปิดบังข้อมูลสาคัญบางอย่างไว้เพราะข้อสังเกตต่างๆ เกี่ยวกับจารึกที่ท่านเสนอมานั้นล้วนแต่ถูกตีตก
โดย “ค่ายพระ” และผลการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ แต่ ดร. พิริยะ ไกรฤกษ์ ก็ยังคงเชื่อเช่นเดิมว่าศิลาจารึกหลักที่
๑ สร้างในสมัยสุโขทัย นั่นแสดงว่า ดร. พิริยะ น่าจะมีหลักฐานสาคัญที่ทาให้มั่นใจหรืออาจชี้ชัดเกี่ยวกับกรณีนี้ เพียงแต่
ท่านไม่นาออกแสดงเท่านั้น
ศิลาจารึกหลักที่ ๑ ถูกสร้างขึ้นโดยใครนั้นยังไม่อาจจะสรุปได้อย่างแน่ชัดมาจนถึงปัจจุบันนี้ ใครจะเชื่อเหตุผล
ของฝ่ายใดก็ขึ้นอยู่กับทรรศนะของท่านนั้นด้วย เพราะว่าสิ่งที่แต่ละฝ่ายยกมาโต้แย้งกันนั้นส่วนใหญ่มีแต่เหตุผลแต่ไม่มี
หลักฐานที่จะยืนยันเหตุผลนั้น ถ้าหากว่าฝ่ายใดสามารถนาหลักฐานที่ยืนยันบุคคลผู้สร้างศิลาจารึกหลักที่ ๑ ออกมา
แสดงได้นั่นก็นับว่าได้ช่วยคลี่คลายปัญหาเกี่ยวกับผู้สร้างศิลาจารึกนี้ไปได้
๘
ผลกระทบเมื่อศิลาจารึกหลักที่ ๑ เป็นของปลอม
ศิลาจารึกหลักที่ ๑ ได้ชื่อว่าเป็นโบราณวัตถุที่สาคัญอย่างยิ่งในด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี ได้รับการยก
ย่องจากนักวิชาการด้านภาษาว่าเป็นวรรณกรรมเรื่องแรกของไทย ที่มีคุณค่าทางด้านภาษาศาสตร์ เพราะตัวอักษรชุดที่ใช้
บนจารึกหลักนี้คือลายสือไทยซึ่งเป็นจุดกาหนดของตัวเขียนไทยมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้เนื้อหาในศิลาจารึกยัง
สะท้อนภาพของสังคมสุโขทัยที่รุ่งเรืองและสงบสุขอันเป็นแบบแผนการปกครองของไทยด้วย
ตั้งแต่มีการค้นพบศิลาจารึกหลักที่ ๑ และเริ่มมีการแปลความในจารึกให้เป็นที่รู้จักและเข้าใจโดยทั่วไป ส่งผล
ให้ชาวไทยเกิดความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงอารยธรรมที่รุ่งเรืองของชาติที่มีมาตั้งแต่โบราณ ซึ่งหาก
ว่าผลสรุปของปัญหาที่ถกเถียงว่าศิลาจารึกไม่ใช่ของพ่อขุนรามคาแหงออกมาเป็นความจริง ย่อมส่งผลต่อข้อมูลหลักฐาน
ทางวิชาการ 4 ด้านใหญ่ ๆ ดังนี้
๑. ประวัติศาสตร์
๑.๑ หลักศิลาจารึกหลักที่ 1 จะต้องถูกปลดจากการเป็นมรดกความทรงจาแห่งโลก (Memory of the
World) หลังจากหลักศิลาจารึกหลักที่ ๑ ที่ได้รับการคัดเลือกจากองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่ง
สหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization :
UNESCO) ให้หลักศิลาจารึกหลักที่ ๑ ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจาแห่งโลก (Memory of the World) ในปี
พ.ศ. ๒๕๔๖ ถ้าหากจากผิดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาการเป็นมรดกความทรงจาแห่งโลก ซึ่งประกอบด้วยเงื่อนไขหลัก
ด้วยกัน ๔ ประการ ดังนี้
๑. ความเป็นของแท้ (Authenticity)
๒. มีความโดดเด่นและไม่อาจทดแทนได้ (Unique and Irreplaceable)
๓. มีความสาคัญในระดับโลก ในเรื่องเวลาและอายุ (Time) สถานที่ (Place) บุคคล (People)
เนื้อหาสาระแนวคิด (Subject and Theme) และ รูปแบบและวิธีเขียน (Form and Style)
๔. ลักษณะอื่นๆ ได้แก่ ความหายาก (Rarity) ความบริบูรณ์ (Integrity) ความเสี่ยง (Threat) และ
โครงการบริหารจัดการ (Management plan)
เมื่อพิจารณาจากหลักเกณฑ์การคัดเลือกพบว่าหากหลักศิลาจารึกเป็นของปลอมขึ้นมาภายหลัง จะต้องถูกปลด
จากการเป็นมรดกความทรงจาแห่งโลก เนื่องจากข้อหนึ่งได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่าจะต้องเป็นของแท้หรือหากมีกรณีที่
กล่าวว่าหลักศิลาจารึกหลักที่ ๑ เกิดในสมัยสุโขทัยจริง แต่พ่อขุนรามคาแหงไม่ได้เป็นสร้างศิลาจารึกย่อมจะขัดต่อ
หลักเกณฑ์การคัดเลือกข้อที่สาม ด้านบุคคลผู้สร้าง
๑.๒ อาจจะต้องตัดคาว่า “มหาราช” ที่เรียกต่อท้ายชื่อพ่อขุนรามคาแหงให้เหลือเป็น “พ่อขุนรามคาแหง”
คาว่า “มหาราช” มีความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๒๕ หมายถึง คาซึ่งมหาชนถวายเพื่อ
เฉลิมพระเกียรติพระเจ้าแผ่นดินหรืออีกความหมายหนึ่งคือ ธงประจาพระองค์ พระเจ้าแผ่นดิน ที่เรียกว่า ธงมหาราช
๙
การถวายพระราชสมัญญา มหาราช แด่ พระมหากษัตริย์ของไทยในอดีตที่ผ่านมานั้น ไม่มีการประกาศอย่างเป็นทางการ
แต่เป็นมติของมหาชนในสมัยต่อมาที่สานึกในพระมหากรุณาธิคุณ จึงได้ถวายพระสมัญญาต่อท้ายพระนามว่ามหาราช
หรือพระราชสมัญญาอื่นที่แสดงถึงพระเกียรติคุณเฉพาะพระองค์ และเป็นที่ยอมรับในการขานพระนามสืบมา
การเริ่มการถวายพระราชสมัญญา “มหาราช” ต่อท้ายพระนามพระมหากษัตริย์นั้นสันนิษฐานว่าเริ่มมีขึ้นในสมัย
ต้นรัตนโกสินทร์ประมาณรัชกาลที่ ๔ หรือ ๕ เนื่องจากเป็นสมัยที่เริ่มมีการศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์ของชาติและ
บรรพบุรุษมากขึ้น ทาให้ประจักษ์ถึงวีรกรรมและพระราชอัจฉริยภาพของพระมหากษัตริย์ในสมัยนั้นๆ จึงได้มีการยก
ย่องพระมหากษัตริย์บางพระองค์ที่ทรงมีพระเกียรติคุณเด่นกว่า พระองค์อื่นขึ้นเป็น มหาราช ในเรื่องของการริเริ่มถวาย
พระราชสมัญญามหาราชต่อท้ายพระนามพระมหากษัตริย์ในยุคสมัยต่างๆ นั้นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยา
ดารงราชานุภาพทรงอธิบายไว้ในลายพระหัตถ์ที่ทรงมีถึงพระบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ดังนี้
“… ที่เพิ่มคา “มหาราช” เข้าต่อท้ายพระนามพระเจ้าแผ่นดินนั้น ในหนังสือไทยมีหนังสือ
พระราชพงศาวดาร เรียก “สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ” ก่อนที่ใช้คา “มหาราช” หมาย
อย่าง The Great ของฝรั่ง คนอื่นเขาก็ใช้มาก่อนหม่อมฉัน เป็นแต่ตามเขาหาได้เป็นผู้ริใช้
ไม่ สังเกตดูพระเจ้าแผ่นดินฝรั่งที่มีคาธีเกรตอยู่หลังพระนาม คานั้นย่อมเพิ่มเข้าต่อเมื่อ
พระเจ้าแผ่นดินพระองค์นั้นล่วงลับไปแล้วบางที่ ก็ช้านาน และเพิ่มเข้าต่อเมื่อมีพระเจ้า
แผ่นดินพระนามพ้องกัน โดยปกติมักเรียกพระองค์ก่อนว่า “ที่ ๑” พระองค์หลังว่า “ที่ ๒”
และเปลี่ยนตัวเลขต่อไปตามลาดับ ถ้าพระองค์ใดเป็นอัจฉริยบุรุษจึงใช้คาธีเกรตแทนที่เลข
จะยกตัวอย่างดังเช่น เอมเปอเรอวิลเฮมเยอรมัน เมื่อพระเจ้าวิลเฮม (ไกเซอ) เสวยราชย์
ก็เรียกพระองค์แรกว่า ที่ ๑ พระองค์หลังว่าที่ ๒ มาหลายปี จนเยอรมันต่อเรือใหญ่ลาหนึ่ง
อย่างวิเศษสาหรับพาคนข้ามมหาสมุทรแอตแลนติค พระเจ้าไกเซอ ประทานนามเรือนั้นว่า
เอมเปอเรอวิลเฮม ธีเกรต แต่นั้นมาจึงเรียกเอมเปอเรอ พระองค์นั้นว่า ธีเกรต คือ
มหาราช ที่ไทยเราเอามาใช้ไม่ตรงตามแบบฝรั่ง เพราะไม่ได้เรียกพระนามซ้ากัน เรียก
เพราะเป็นอัจฉริยบุรุษอย่างเดียว…”
ในส่วนของ พ่อขุนรามคาแหง พระมหากษัตริย์ผู้ทรงสร้างความเจริญรุ่งเรือง ให้แก่อาณาจักรสุโขทัย ทรงขยาย
อาณาจักรให้กว้างขวาง ปกครองประชาราษฎร์ ให้ได้รับความสุข ยุติธรรมเสมือน “พ่อปกครองลูก” ทรงส่งเสริมการค้า
โดยเสรี ทรงริเริ่มประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นใช้เอง และทรงรับเอาพระพุทธศาสนาจากลังกาเข้ามา เป็นศาสนาประจาชาติ
ซึ่งข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้นเป็นข้อมูลที่อ้างอิงเนื้อหาจากศิลาจารึกหลักที่ ๑ ซึ่งเมื่อศิลาจารึกนี้เป็นของปลอม จะมีพระราช
ประวัติของพ่อขุนรามคาแหงในศิลาจารึกหลักที่ 2 (วัดศรีชุม) ว่าพ่อขุนรามราช ทรงได้รับการยกย่องว่า เป็น “ปราชญ์รู้
ธรรม” และทรงก่อพระศรีรัตนมหาธาตุอันหนึ่งในศรีสัชนาลัย ต่อมาพบพระราชประวัติในจารึกหลักที่ ๕ (วัดป่ามะม่วง)
ที่กล่าวถึงพญารามราช (พ่อขุนรามคาแหง) ปลูกตันมะม่วง ณ วัดป่ามะม่วง และการพบพระพุทธรูปศิลปะแบบสุวรรณ
ภูมิจากราชบุรี คือมีลักษณะศิลปะคล้ายขอมขนาดใกล้เคียงมนุษย์ ๓ องค์ ซึ่งทั้ง ๓ องค์มีลักษณะคล้ายกัน ยกเว้นแต่
พระศกเป็นลอน องค์หนึ่งชั้นเดียว อีกองค์สองชั้น และองค์ที่สามสามชั้น ทั้งสมองค์มีจารึกไว้ด้านหน้าที่ฐานเขียงมีแต่
๑๐
เลข ๑๒๐๗ เป็นมหาศักราชตรงกับ พ.ศ. ๑๘๒๘ หรือสองปีหลังจากที่พ่อขุนรามคาแหงสร้างหลักศิลาจารึก และมีการ
จารึกไว้ใต้ฐานองค์พระว่า “อุทิศแม่นางเสือง” องค์ที่มีเมาลีสามชั้น “อุทิศพ่อขุนศรีอินทราทิตย์” องค์ที่มีเมาลีสองชั้น
และ “พ่อขุนรามคาแหง พ่อเมืองแหง” องค์ที่มีเมาลีชั้นเดียว ดังนั้น จะเห็นได้ว่ากรณียกิจส่วนใหญ่ของพ่อขุน
รามคาแหงจะอยู่ที่พระพุทธศาสนา ซึ่งยังไม่โดดเด่นพอที่จะกล่าวยอพระเกียรติ โดยการเติมสามัญนาม “มหาราช”
ต่อท้ายชื่อพระองค์
อย่างไรก็ตามนาม “มหาราช” ที่พ่อขุนรามคาแหงได้รับ เกิดจากพระราชกรณียกิจที่ปรากฏในหลักศิลาจารึก
หากพ่อขุนรามไม่ได้เป็นผู้สร้างหลักศิลาจารึกหลักที่ ๑ จริง ซึ่งแบ่งออกได้เป็นสองกรณี คือ
๑. พญาลิไทยเป็นผู้สร้างหลักศิลาหลักที่ ๑ ก็แสดงให้เห็นถึงความน่าเชื่อถือเนื้อความในหลักศิลา
จารึก เนื่องจากเวลาผ่านมาเพียงสองรัชสมัย ซึ่งพญาลิไทยอาจได้พบหรือรับรู้พระราชกรณียกิจที่พ่อขุนราคาแหงทรง
ปฏิบัติแล้วบันทึกลงในหลักศิลาจารึก ก็ทาให้ข้อมูลเนื้อหามีความน่าเชื่อถือพอสมควร
๒. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นผู้สร้างหลักศิลาจารึกหลักที่ ๑ ข้อมูลชั้นรอง คือ
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นนักปราชญ์ทางประวัติศาสตร์ ทางภาษา ทางศาสนา ทางดาราศาสตร์และ
ทางการคานวณ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความรอบรู้และการรวบรวมข้อมูลทางประวัติศาสตร์และภาษาในการการสร้างหลัก
ศิลาจารึกหลักที่ ๑ นี้
จากข้อมูลข้างต้นที่ได้กล่าวมาผู้เขียนจึงไม่อาจตัดสินได้ว่าการจะเพิ่มเติมสมัญญานาม “มหาราช” ต่อท้ายพระ
นามของพ่อขุนรามคาแหง คงต้องอยู่ที่ความสะดวกใจของประชาชนและมติประชาชนที่จะเพิ่มเติมเข้าไปตามความ
สมัครใจเอง
๒. วรรณกรรม
๒.๑ การเปลี่ยนแปลงวรรณคดีเรื่องแรกของไทย หากมีการตัดสินช่วงเวลาในการสร้างหลักศิลาจารึก
หลักที่ ๑ ว่าเกิดขึ้นในสมัยของพญาลิไทยหรือพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะทาให้มีการเปลี่ยนแปลงในด้าน
วงการการวรรณคดีวรรณกรรม กล่าวคือ วรรณคดีเรื่องแรกเดิมคือศิลาจารึกหลักที่ ๑ จะกล่าวได้ว่าเป็นไตรภูมิพระร่วง
ที่เป็นวรรณคดีที่เก่าที่สุดในบรรดาวรรณคดีสุโขทัย ดังนั้นหากหลักศิลาจารึกพ่อขุนราคาแหงเป็นของปลอมไตรภูมิพระ
ร่วงก็จะกลายเป็นวรรณคดีเรื่องแรกของไทย
๒.๒ ไม่ปรากฏชื่อผู้สร้างอักษรไทย เข้าใจกันว่าอักษรไทยหรือลายสือไทยนั้นพ่อขุนรามเป็นผู้คิดประดิษฐ์จาก
อักษรมอญและอักษรขอมให้เป็นลายสือไทยที่มีลักษณะเฉพาะตัวดังที่ปรากฏในหลักศิลาจารึกหลักที่ ๑ ซึ่งมีลักษณะอยู่
ในบรรทัดเดียวกัน ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะที่ที่พ่อขุนรามคาแหงประดิษฐ์ขึ้น หากไม่มีหลักศิลาจารึกหลักที่ 1 การ
สันนิษฐานเกี่ยวกับอักษรไทย คงเป็นการยืมอักขระจากชาติอื่นแล้วนามาปรับปรุงให้สมบูรณ์ขึ้นเพื่อใช้ในกลุ่มสังคมของ
ตนเองเท่านั้น
๑๑
๓. ปรัชญา
ปรัชญาการปกครองแบบธรรมราชา ในด้านการปกครองในหลักศิลาจารึกได้กล่าวว่า “ในปากปตูมีกดึงอันณิ่ง
แขวนไว้หั้น ไพร่ฝ้าหน้าปก กลางบ้านกลางเมือง มีถ้อยมีความ เจ็บท้องข้องใจ มันจักกล่าวเถิงเจ้าเถิงขุนบ่ไร้ ไปลันกดึง
อันท่านแขวนไว้พ่อขุนรามคาแหงเจ้าเมืองใต้” (หลักศิลาจารึกหลักที่ ๑, ด้านที่ ๑ : บรรทัดที่ ๓๑-๓๕) ซึ่งถือว่าเป็น
ต้นแบบในการปกครองแบบธรรมราชา ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพระมหากษัตริย์ใกล้ชิดประชาชน มากกว่าสมัยอยุธยาธนบุรี
และรัตนโกสินทร์ตอนต้น ที่มีการปกครองแบบเทวราชา คือพระมหากษัตริย์เป็นผู้มีอานาจสิทธิ์ขาดในการดาเนินการ
ซึ่งหากศิลาจารึกเป็นของปลอมจะทาให้เกิดความสงสัยในการปกครองในสมัยสุโขทัย ซึ่งอาจจะตีความได้ว่ามีความ
คล้ายคลึงกับการปกครองในสมัยอยุธยาคือกาปกครองในรูปแบบเทวราชานั่นเอง
๔. วัฒนธรรม
วัฒนธรรมที่ปรากฏในหลักศิลาจารึกหลักที่ ๑ เช่น ประเพณีเผาเทียนเล่นไฟ ธรรมเนียมการรักษาศีลการให้
ทาน การค้าขายเสรีไม่มีการเก็บจังกอบ และความอุดมสมบูรณ์ของบ้านเมืองที่ได้กล่าวไว้ในศิลาจารึกหลักที่ ๑ เมื่อถูก
ตัดสินว่าหลักศิลาจารึกเป็นของปลอมย่อมทาให้ประวัติศาสตร์ในทางด้านศาสนา การค้าขายและประเพณีเปลี่ยนไป
กล่าวคือ การอ้างอิงข้อมูลจากเดิมที่เคยอ้างจากหลักศิลาจารึกหลักที่ ๑ ก็ย่อมต้องเปลี่ยนแปลงข้อมูลอื่นที่มีความ
น่าเชื่อถือกว่า เพราะเมื่อหลักศิลาจารึกหลักที่ ๑ ถูกตัดสินว่าเป็นของปลอมความน่าเชื่อถือในข้อมูลทางวิชาการย่อม
ลดลงตามไปด้วย
หากศิลาจารึกเป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยบุคคลที่ไม่ใช่บุคคลอื่นจริงไม่ว่าด้วยเจตนาใดและส่งผลกระทบต่อ
หลายๆ ด้าน นั่นก็เพราะศิลาจารึกหลักที่ ๑ มีความสาคัญต่อชาติไทยอย่างมาก แต่ที่ส่งผลมากที่สุดก็คือต่อจิตใจของ
ชาวไทยที่เชื่อและศรัทธาในคุณค่าของศิลาจารึกหลักนี้ ถึงแม้ว่าผู้ที่สร้างขึ้นมาจะมีเจตนาดีแต่ก็ถือว่าเป็น “คาโกหก” ที่
จะเปลี่ยนความเชื่อให้กลายเป็นความ “ไม่ไว้ใจ” ในทันที
แนวโน้มความเป็นไปได้ของหลักศิลาจารึกหลักที่ ๑
จากเหตุการณ์การโต้แย้งเรื่องศิลาจารึกหลักที่ ๑ ทาให้มีนักวิชาการแบ่งแยกเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายที่ให้ความเห็นว่า
ศิลาจารึกเป็นของเก่าที่ถูกสร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย และฝ่ายที่มีความเห็นว่าศิลาจารึกเป็นของใหม่สร้างขึ้นในสมัย
รัตนโกสินทร์ จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าหลักศิลาจารึกสร้างขึ้นในสมัยสุโขทัยจริง เช่น การตรวจพิสูจน์ศิลาจารึก
หลักที่ ๑ ด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ อักขรวิธี และข้อมูลทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับสถานที่ที่ระบุในหลักศิลาจารึก
ซึ่งสามารถค้นพบได้ตรงตามที่ระบุไว้ในหลักศิลาจารึกหลักที่ ๑ เป็นต้น อย่างไรก็ตามได้เกิดประเด็นถกเถียงในหมู่
นักวิชาการว่าแท้จริงแล้วใครเป็นผู้สร้างศิลาจารึกนี้ระหว่างพ่อขุนรามคาแหงมหาราชกับพระยาลิไท เนื่องจาก
ม.จ. จันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี ให้ความเห็นว่าศิลาจารึกหลักที่ ๑ สร้างขึ้นในสมัยพระยาลิไท ซึ่งเห็นได้จากในจารึกหลักที่
๑ กล่าวถึงพ่อขุนรามคาแหงในลักษณะที่เป็นบุรุษที่สาม และพระยาลิไทต้องการใช้จารึกหลักที่ ๑ และหลักอื่นที่
เหมือนกันอีก ๓ หลักเพื่อประโยชน์ในการโฆษณาชวนเชื่อนั้นเอง
๑๒
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าศิลาจารึกหลักที่ ๑ อาจสร้างในสมัยสุโขทัยจริง แต่ไม่อาจสรุปได้ว่าผู้ใดเป็นผู้สร้างหลักศิลา
จารึกระหว่างพ่อขุนรามคาแหงมหาราชกับพระยาลิไท อย่างไรก็ตามปัจจุบันคนส่วนใหญ่ก็เชื่อสนิทใจว่าพ่อขุนราม
คาแหงมหาราชเป็นผู้สร้างหลักศิลาจารึกหลักที่ ๑
๑๓
บรรณานุกรม
กัลยาณิวัฒนา,สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้า. (๒๕๓๒). มีผู้ถามว่า ไม่กลัวหรือถ้าหลัก ๑ นี้เป็นของปลอม
ข้าพเจ้าไม่กลัว เพราะ.... ศิลปวัฒนธรรม, ๑๐(๖), ๒๑ – ๒๙.
จรราภรณ์ อรัณยะนาคและศรีโสภา มาระเนตร์. (๒๕๓๔). การตรวจพิสูจน์ศิลาจารึกหลักที่ ๑ ด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์.
ศิลปากร, ๓๔(๒), ๘๗ – ๑๐๑.
จิรายุ นพวงศ์. (๒๕๕๐). อักขรวิธีในศิลาจารึกหลักที่ ๑. วารสารภาษาและวรรณคดีไทย, ๒๔(๑),๗๑ – ๘๔.
ชัชวาล ปุญปัน. (๒๕๔๗). ข้อสงสัยการตรวจพิสูจน์ศิลาจารึกหลักที่ ๑ ด้วยวิธีวิทยาศาสตร์. ศิลปวัฒนธรรม, ๒๕(๔),
๓๕ – ๓๙.
ธวัช ปุณโณทก. (๒๕๓๒). ทาไม? จึงต้องปลอมศิลาจารึกพ่อขุนรามคาแหง. ศิลปวัฒนธรรม, ๑๐(๔), ๑๐๐ – ๑๐๗.
___________. (๒๕๔๓). ศิลาจารึกพ่อขุนรามคาแหง (หลักที่ ๑) ไม่มีปัญญาชนผู้ใดปลอมได้. ศิลปวัฒนธรรม,
๒๑(๑๒), ๗๒ – ๘๐.
___________. (๒๕๓๔). หลักเกณฑ์ในการพิสูจน์อายุสมัยของศิลาจารึกพ่อขุนรามคาแหง. วารสารรามคาแหง,
๑๔ (๔), ๔๖ – ๕๔.
ประเสริฐ ณ นคร. (๒๕๓๒). ศิลาจารึกพ่อขุนรามคาแหงแต่งสมัยสุโขทัยแน่ ๆ . ศิลปวัฒนธรรม, ๑๐(๕), ๒๐ – ๒๖.
___________. (๒๕๕๑). ศิลาจารึกพ่อขุนรามคาแหงมหาราช. วารสารไทย, ๒๙(๑๐๕), ๕๐ – ๕๘.
พ. ณ ประมวญมารค. (๒๕๓๒). ใครปลอม? ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ . ศิลปวัฒนธรรม, ๑๐(๓), ๖๘ – ๗๕.
___________. (๒๕๓๒). ใครปลอม? ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ จารึกพระมหาธรรมราชาลิไทย.
ศิลปวัฒนธรรม, ๑๐(๔), ๙๒ – ๙๙.
___________. (๒๕๓๒). ใครปลอม? ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ ใครปลอมลายสือไทยของพ่อขุนรามคาแหง?.
ศิลปวัฒนธรรม, ๑๐(๕), ๕๒ – ๕๙.
พิริยะ ไกรกฤษ์. (๒๕๓๒). จารึกพ่อขุนรามคาแหงการวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ศิลปะ. กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์.
___________. (๒๕๓๒). ศิลาจารึกพ่อขุนรามคาแหง. ภาษาและภาษาศาสตร์, ๘(๑), ๒ – ๑๒.
ไมเคิล ไรท์. . (๒๔๔๐). ฝ่ายยักษ์มองจารึกหลักที่ ๑ ในแง่วรรณกรรม, สยามอารยะ, ๔๘(๕), ๑๓ – ๒๔.
___________. (๒๕๔๖). ที่มาของอักษรไทยและปริศนาจารึกหลักที่ ๑. ศิลปวัฒนธรรม, ๒๕(๒), ๑๖๒ – ๑๖๗.
___________. (๒๔๓๔). ไม่ใช่ศิลาจารึกพ่อขุนรามคาแหง. ศิลปวัฒนธรรม, ๑๒(๗), ๕๔ – ๖๘.
___________. (๒๔๔๘). Language Anomalies in Inscription One (ความผิดปกติทางภาษาในศิลาจารึก
หลักที่ ๑). วารสารไทยคดีศึกษา, ๒(๑), ๑๗๕ – ๑๘๕.
สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์. (๒๕๓๓). คาอภิปรายเรื่อง ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑. กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์
สุธี หริมเทพาธิป. (๒๕๔๓). กว่าจะเป็นศิลาจารึกพ่อขุนรามคาแหง. ศิลปวัฒนธรรม, ๒๔(๑๑), ๕๓.
ศุภวัฒน์ เกษมศรี. (๒๕๓๒). โต้– ดร. พิริยะ ไกรฤกษ์ เรื่องจารึกพ่อขุนรามคาแหงแต่งสมัยสุโขทัยแน่ ๆ .
ศิลปวัฒนธรรม, ๑๐(๓), ๕๘ – ๖๗.
อโณทัย อาตมา. (๒๕๔๗). วิพากษ์คดี ‘ศิลาจารึกพ่อขุนรามฯ’ บ้างก็ว่าปลอม – บ้างก็ว่าจริง. กรุงเทพมหานคร :
สุขภาพใจ.

More Related Content

What's hot

3 กิตติกรรมประกาศ
3 กิตติกรรมประกาศ3 กิตติกรรมประกาศ
3 กิตติกรรมประกาศkasetpcc
 
เล่มที่ 8 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
เล่มที่ 8 สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเล่มที่ 8 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
เล่มที่ 8 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
Choengchai Rattanachai
 
Key of 3 การสถาปนาสุโขทัย-57
Key of 3 การสถาปนาสุโขทัย-57Key of 3 การสถาปนาสุโขทัย-57
Key of 3 การสถาปนาสุโขทัย-57Pracha Wongsrida
 
เฉลยแบบฝึกหัดเรื่อง การเขียนบรรณานุกรมออนไลน์
เฉลยแบบฝึกหัดเรื่อง การเขียนบรรณานุกรมออนไลน์เฉลยแบบฝึกหัดเรื่อง การเขียนบรรณานุกรมออนไลน์
เฉลยแบบฝึกหัดเรื่อง การเขียนบรรณานุกรมออนไลน์
Supaporn Khiewwan
 
หัวข้อที่ ๕ ประวัติศาสตร์ไทยก่อนสมัยสุโขทัย
หัวข้อที่ ๕  ประวัติศาสตร์ไทยก่อนสมัยสุโขทัยหัวข้อที่ ๕  ประวัติศาสตร์ไทยก่อนสมัยสุโขทัย
หัวข้อที่ ๕ ประวัติศาสตร์ไทยก่อนสมัยสุโขทัย
chakaew4524
 
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน
เพ็ญลักษณ์ สุวรรณาโชติ
 
รายงานทางวิชาการเรื่อง หัวใจชายหนุ่ม
รายงานทางวิชาการเรื่อง หัวใจชายหนุ่มรายงานทางวิชาการเรื่อง หัวใจชายหนุ่ม
รายงานทางวิชาการเรื่อง หัวใจชายหนุ่มGuntima NaLove
 
ประวัติศาสตร์สุโขทัย
ประวัติศาสตร์สุโขทัยประวัติศาสตร์สุโขทัย
ประวัติศาสตร์สุโขทัย
chatsawat265
 
ข้อสอบปลายภาคเรียนที่ 2 (ม.4).1
ข้อสอบปลายภาคเรียนที่ 2 (ม.4).1ข้อสอบปลายภาคเรียนที่ 2 (ม.4).1
ข้อสอบปลายภาคเรียนที่ 2 (ม.4).1Sivagon Soontong
 
เฉลยแบบฝึกวิเคราะห์หมวดหมู่.Docx
เฉลยแบบฝึกวิเคราะห์หมวดหมู่.Docxเฉลยแบบฝึกวิเคราะห์หมวดหมู่.Docx
เฉลยแบบฝึกวิเคราะห์หมวดหมู่.Docx
Supaporn Khiewwan
 
การปกครองคณะสงฆ์
การปกครองคณะสงฆ์การปกครองคณะสงฆ์
การปกครองคณะสงฆ์
พระอภิชัช ธมฺมโชโต
 
สิทธิคุ้มครองผู้บริโภค
สิทธิคุ้มครองผู้บริโภคสิทธิคุ้มครองผู้บริโภค
สิทธิคุ้มครองผู้บริโภค
krupeem
 
โครงงาน แนะนำโรงเรียนฝางวิทยายน
โครงงาน แนะนำโรงเรียนฝางวิทยายนโครงงาน แนะนำโรงเรียนฝางวิทยายน
โครงงาน แนะนำโรงเรียนฝางวิทยายน
Withyou shop
 
Key of 4 การสถาปนาอยุธยา-57
Key of 4 การสถาปนาอยุธยา-57Key of 4 การสถาปนาอยุธยา-57
Key of 4 การสถาปนาอยุธยา-57
Pracha Wongsrida
 
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ถอดความบางบท
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ถอดความบางบทคัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ถอดความบางบท
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ถอดความบางบท
Visanu Khumoun
 
การจัดการศึกษาคณะสงฆ์ไทยในสมัยล้านนา
การจัดการศึกษาคณะสงฆ์ไทยในสมัยล้านนาการจัดการศึกษาคณะสงฆ์ไทยในสมัยล้านนา
การจัดการศึกษาคณะสงฆ์ไทยในสมัยล้านนา
พระอภิชัช ธมฺมโชโต
 
ชุดกิจกรรม เรื่อง รายงานการศึกษาค้นคว้า ชุด รูปแบบและจุดมุ่งหมายของรายงาน
ชุดกิจกรรม เรื่อง รายงานการศึกษาค้นคว้า  ชุด รูปแบบและจุดมุ่งหมายของรายงานชุดกิจกรรม เรื่อง รายงานการศึกษาค้นคว้า  ชุด รูปแบบและจุดมุ่งหมายของรายงาน
ชุดกิจกรรม เรื่อง รายงานการศึกษาค้นคว้า ชุด รูปแบบและจุดมุ่งหมายของรายงาน
SAKANAN ANANTASOOK
 

What's hot (20)

3 กิตติกรรมประกาศ
3 กิตติกรรมประกาศ3 กิตติกรรมประกาศ
3 กิตติกรรมประกาศ
 
เล่มที่ 8 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
เล่มที่ 8 สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเล่มที่ 8 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
เล่มที่ 8 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
 
Key of 3 การสถาปนาสุโขทัย-57
Key of 3 การสถาปนาสุโขทัย-57Key of 3 การสถาปนาสุโขทัย-57
Key of 3 การสถาปนาสุโขทัย-57
 
เฉลยแบบฝึกหัดเรื่อง การเขียนบรรณานุกรมออนไลน์
เฉลยแบบฝึกหัดเรื่อง การเขียนบรรณานุกรมออนไลน์เฉลยแบบฝึกหัดเรื่อง การเขียนบรรณานุกรมออนไลน์
เฉลยแบบฝึกหัดเรื่อง การเขียนบรรณานุกรมออนไลน์
 
หัวข้อที่ ๕ ประวัติศาสตร์ไทยก่อนสมัยสุโขทัย
หัวข้อที่ ๕  ประวัติศาสตร์ไทยก่อนสมัยสุโขทัยหัวข้อที่ ๕  ประวัติศาสตร์ไทยก่อนสมัยสุโขทัย
หัวข้อที่ ๕ ประวัติศาสตร์ไทยก่อนสมัยสุโขทัย
 
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน
 
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรายงาน
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรายงานความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรายงาน
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรายงาน
 
ใบงาน2
ใบงาน2ใบงาน2
ใบงาน2
 
รายงานทางวิชาการเรื่อง หัวใจชายหนุ่ม
รายงานทางวิชาการเรื่อง หัวใจชายหนุ่มรายงานทางวิชาการเรื่อง หัวใจชายหนุ่ม
รายงานทางวิชาการเรื่อง หัวใจชายหนุ่ม
 
ประวัติศาสตร์สุโขทัย
ประวัติศาสตร์สุโขทัยประวัติศาสตร์สุโขทัย
ประวัติศาสตร์สุโขทัย
 
ข้อสอบปลายภาคเรียนที่ 2 (ม.4).1
ข้อสอบปลายภาคเรียนที่ 2 (ม.4).1ข้อสอบปลายภาคเรียนที่ 2 (ม.4).1
ข้อสอบปลายภาคเรียนที่ 2 (ม.4).1
 
เฉลยแบบฝึกวิเคราะห์หมวดหมู่.Docx
เฉลยแบบฝึกวิเคราะห์หมวดหมู่.Docxเฉลยแบบฝึกวิเคราะห์หมวดหมู่.Docx
เฉลยแบบฝึกวิเคราะห์หมวดหมู่.Docx
 
การปกครองคณะสงฆ์
การปกครองคณะสงฆ์การปกครองคณะสงฆ์
การปกครองคณะสงฆ์
 
สิทธิคุ้มครองผู้บริโภค
สิทธิคุ้มครองผู้บริโภคสิทธิคุ้มครองผู้บริโภค
สิทธิคุ้มครองผู้บริโภค
 
โครงงาน แนะนำโรงเรียนฝางวิทยายน
โครงงาน แนะนำโรงเรียนฝางวิทยายนโครงงาน แนะนำโรงเรียนฝางวิทยายน
โครงงาน แนะนำโรงเรียนฝางวิทยายน
 
Key of 4 การสถาปนาอยุธยา-57
Key of 4 การสถาปนาอยุธยา-57Key of 4 การสถาปนาอยุธยา-57
Key of 4 การสถาปนาอยุธยา-57
 
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ถอดความบางบท
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ถอดความบางบทคัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ถอดความบางบท
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ถอดความบางบท
 
การจัดการศึกษาคณะสงฆ์ไทยในสมัยล้านนา
การจัดการศึกษาคณะสงฆ์ไทยในสมัยล้านนาการจัดการศึกษาคณะสงฆ์ไทยในสมัยล้านนา
การจัดการศึกษาคณะสงฆ์ไทยในสมัยล้านนา
 
หมอบรัดเลย์
หมอบรัดเลย์หมอบรัดเลย์
หมอบรัดเลย์
 
ชุดกิจกรรม เรื่อง รายงานการศึกษาค้นคว้า ชุด รูปแบบและจุดมุ่งหมายของรายงาน
ชุดกิจกรรม เรื่อง รายงานการศึกษาค้นคว้า  ชุด รูปแบบและจุดมุ่งหมายของรายงานชุดกิจกรรม เรื่อง รายงานการศึกษาค้นคว้า  ชุด รูปแบบและจุดมุ่งหมายของรายงาน
ชุดกิจกรรม เรื่อง รายงานการศึกษาค้นคว้า ชุด รูปแบบและจุดมุ่งหมายของรายงาน
 

Similar to ใครสร้างศิลาจารึกหลักที่ 1

ธนบุรี 2
ธนบุรี 2ธนบุรี 2
ธนบุรี 2sangworn
 
ประวัติศาสตร์ ม.2
ประวัติศาสตร์ ม.2ประวัติศาสตร์ ม.2
ประวัติศาสตร์ ม.2Krusangworn
 
ทดสอบก่อนเรียน+567+55t2his p04 f17-4page
ทดสอบก่อนเรียน+567+55t2his p04 f17-4pageทดสอบก่อนเรียน+567+55t2his p04 f17-4page
ทดสอบก่อนเรียน+567+55t2his p04 f17-4page
Prachoom Rangkasikorn
 
ทบทวนบทเรียนและทดสอบหลังเรียน +567+dltvp4+55t2his p04 f17-4page
ทบทวนบทเรียนและทดสอบหลังเรียน +567+dltvp4+55t2his p04 f17-4pageทบทวนบทเรียนและทดสอบหลังเรียน +567+dltvp4+55t2his p04 f17-4page
ทบทวนบทเรียนและทดสอบหลังเรียน +567+dltvp4+55t2his p04 f17-4page
Prachoom Rangkasikorn
 
072+hisp4+dltv54+550229+a+สไลด์ ทบทวนบทเรียนและทดสอบหลังเรียน (1 หน้า)
072+hisp4+dltv54+550229+a+สไลด์ ทบทวนบทเรียนและทดสอบหลังเรียน (1 หน้า)072+hisp4+dltv54+550229+a+สไลด์ ทบทวนบทเรียนและทดสอบหลังเรียน (1 หน้า)
072+hisp4+dltv54+550229+a+สไลด์ ทบทวนบทเรียนและทดสอบหลังเรียน (1 หน้า)
Prachoom Rangkasikorn
 
ทบทวนบทเรียนและทดสอบหลังเรียน +567+dltvp4+55t2his p04 f17-1page
ทบทวนบทเรียนและทดสอบหลังเรียน +567+dltvp4+55t2his p04 f17-1pageทบทวนบทเรียนและทดสอบหลังเรียน +567+dltvp4+55t2his p04 f17-1page
ทบทวนบทเรียนและทดสอบหลังเรียน +567+dltvp4+55t2his p04 f17-1page
Prachoom Rangkasikorn
 
ทดสอบบทเรียนและทดสอบหลังเรียน+567+55t2his p04 f17-1page
ทดสอบบทเรียนและทดสอบหลังเรียน+567+55t2his p04 f17-1pageทดสอบบทเรียนและทดสอบหลังเรียน+567+55t2his p04 f17-1page
ทดสอบบทเรียนและทดสอบหลังเรียน+567+55t2his p04 f17-1page
Prachoom Rangkasikorn
 
เรื่องที่ 1 การนับเวลาและการเทียบศักราช
เรื่องที่ 1 การนับเวลาและการเทียบศักราชเรื่องที่ 1 การนับเวลาและการเทียบศักราช
เรื่องที่ 1 การนับเวลาและการเทียบศักราชnumattapon
 
การประยุกต์ดนตรีไทยและดนตรีสากล
การประยุกต์ดนตรีไทยและดนตรีสากลการประยุกต์ดนตรีไทยและดนตรีสากล
การประยุกต์ดนตรีไทยและดนตรีสากล
Thanakrit Muangjun
 

Similar to ใครสร้างศิลาจารึกหลักที่ 1 (11)

ธนบุรี 2
ธนบุรี 2ธนบุรี 2
ธนบุรี 2
 
ประวัติศาสตร์ ม.2
ประวัติศาสตร์ ม.2ประวัติศาสตร์ ม.2
ประวัติศาสตร์ ม.2
 
ทดสอบก่อนเรียน+567+55t2his p04 f17-4page
ทดสอบก่อนเรียน+567+55t2his p04 f17-4pageทดสอบก่อนเรียน+567+55t2his p04 f17-4page
ทดสอบก่อนเรียน+567+55t2his p04 f17-4page
 
ทบทวนบทเรียนและทดสอบหลังเรียน +567+dltvp4+55t2his p04 f17-4page
ทบทวนบทเรียนและทดสอบหลังเรียน +567+dltvp4+55t2his p04 f17-4pageทบทวนบทเรียนและทดสอบหลังเรียน +567+dltvp4+55t2his p04 f17-4page
ทบทวนบทเรียนและทดสอบหลังเรียน +567+dltvp4+55t2his p04 f17-4page
 
072+hisp4+dltv54+550229+a+สไลด์ ทบทวนบทเรียนและทดสอบหลังเรียน (1 หน้า)
072+hisp4+dltv54+550229+a+สไลด์ ทบทวนบทเรียนและทดสอบหลังเรียน (1 หน้า)072+hisp4+dltv54+550229+a+สไลด์ ทบทวนบทเรียนและทดสอบหลังเรียน (1 หน้า)
072+hisp4+dltv54+550229+a+สไลด์ ทบทวนบทเรียนและทดสอบหลังเรียน (1 หน้า)
 
ทบทวนบทเรียนและทดสอบหลังเรียน +567+dltvp4+55t2his p04 f17-1page
ทบทวนบทเรียนและทดสอบหลังเรียน +567+dltvp4+55t2his p04 f17-1pageทบทวนบทเรียนและทดสอบหลังเรียน +567+dltvp4+55t2his p04 f17-1page
ทบทวนบทเรียนและทดสอบหลังเรียน +567+dltvp4+55t2his p04 f17-1page
 
ทดสอบบทเรียนและทดสอบหลังเรียน+567+55t2his p04 f17-1page
ทดสอบบทเรียนและทดสอบหลังเรียน+567+55t2his p04 f17-1pageทดสอบบทเรียนและทดสอบหลังเรียน+567+55t2his p04 f17-1page
ทดสอบบทเรียนและทดสอบหลังเรียน+567+55t2his p04 f17-1page
 
1 2 introduction
1 2 introduction1 2 introduction
1 2 introduction
 
เรื่องที่ 1 การนับเวลาและการเทียบศักราช
เรื่องที่ 1 การนับเวลาและการเทียบศักราชเรื่องที่ 1 การนับเวลาและการเทียบศักราช
เรื่องที่ 1 การนับเวลาและการเทียบศักราช
 
การประยุกต์ดนตรีไทยและดนตรีสากล
การประยุกต์ดนตรีไทยและดนตรีสากลการประยุกต์ดนตรีไทยและดนตรีสากล
การประยุกต์ดนตรีไทยและดนตรีสากล
 
สมเด็จพระนาราย์มหาราช
สมเด็จพระนาราย์มหาราชสมเด็จพระนาราย์มหาราช
สมเด็จพระนาราย์มหาราช
 

More from Chinnakorn Pawannay

สรุปบทความ เรื่อง ลักษณนามบางคำในภาษากฎหมายไทย
สรุปบทความ เรื่อง ลักษณนามบางคำในภาษากฎหมายไทยสรุปบทความ เรื่อง ลักษณนามบางคำในภาษากฎหมายไทย
สรุปบทความ เรื่อง ลักษณนามบางคำในภาษากฎหมายไทยChinnakorn Pawannay
 
บบทละคร เรื่อง คาวี (Kaveebook)
บบทละคร เรื่อง คาวี (Kaveebook)บบทละคร เรื่อง คาวี (Kaveebook)
บบทละคร เรื่อง คาวี (Kaveebook)Chinnakorn Pawannay
 
ใบความรู้เรื่อมัทนะพาธา
ใบความรู้เรื่อมัทนะพาธาใบความรู้เรื่อมัทนะพาธา
ใบความรู้เรื่อมัทนะพาธาChinnakorn Pawannay
 
วิเคาะห์รสวรรณคดีในนิทานเวตาล
วิเคาะห์รสวรรณคดีในนิทานเวตาลวิเคาะห์รสวรรณคดีในนิทานเวตาล
วิเคาะห์รสวรรณคดีในนิทานเวตาลChinnakorn Pawannay
 
ธรรมราชาและเทวราชาในวรรณคดีลิลิตตะเลงพ่าย
ธรรมราชาและเทวราชาในวรรณคดีลิลิตตะเลงพ่ายธรรมราชาและเทวราชาในวรรณคดีลิลิตตะเลงพ่าย
ธรรมราชาและเทวราชาในวรรณคดีลิลิตตะเลงพ่ายChinnakorn Pawannay
 
ไตรภูมิพระร่วง
ไตรภูมิพระร่วงไตรภูมิพระร่วง
ไตรภูมิพระร่วงChinnakorn Pawannay
 
สุนทรียรสในเสภาขุนช้างขุนแผน ตอนฆ่านางวันทอง
สุนทรียรสในเสภาขุนช้างขุนแผน ตอนฆ่านางวันทองสุนทรียรสในเสภาขุนช้างขุนแผน ตอนฆ่านางวันทอง
สุนทรียรสในเสภาขุนช้างขุนแผน ตอนฆ่านางวันทองChinnakorn Pawannay
 
สัพพัญญุตญาณ พื้นที่ความรู้แจ้งในไตรภูมิพระร่วง
สัพพัญญุตญาณ พื้นที่ความรู้แจ้งในไตรภูมิพระร่วงสัพพัญญุตญาณ พื้นที่ความรู้แจ้งในไตรภูมิพระร่วง
สัพพัญญุตญาณ พื้นที่ความรู้แจ้งในไตรภูมิพระร่วงChinnakorn Pawannay
 

More from Chinnakorn Pawannay (9)

สรุปบทความ เรื่อง ลักษณนามบางคำในภาษากฎหมายไทย
สรุปบทความ เรื่อง ลักษณนามบางคำในภาษากฎหมายไทยสรุปบทความ เรื่อง ลักษณนามบางคำในภาษากฎหมายไทย
สรุปบทความ เรื่อง ลักษณนามบางคำในภาษากฎหมายไทย
 
Social media with Thailand
Social media with ThailandSocial media with Thailand
Social media with Thailand
 
บบทละคร เรื่อง คาวี (Kaveebook)
บบทละคร เรื่อง คาวี (Kaveebook)บบทละคร เรื่อง คาวี (Kaveebook)
บบทละคร เรื่อง คาวี (Kaveebook)
 
ใบความรู้เรื่อมัทนะพาธา
ใบความรู้เรื่อมัทนะพาธาใบความรู้เรื่อมัทนะพาธา
ใบความรู้เรื่อมัทนะพาธา
 
วิเคาะห์รสวรรณคดีในนิทานเวตาล
วิเคาะห์รสวรรณคดีในนิทานเวตาลวิเคาะห์รสวรรณคดีในนิทานเวตาล
วิเคาะห์รสวรรณคดีในนิทานเวตาล
 
ธรรมราชาและเทวราชาในวรรณคดีลิลิตตะเลงพ่าย
ธรรมราชาและเทวราชาในวรรณคดีลิลิตตะเลงพ่ายธรรมราชาและเทวราชาในวรรณคดีลิลิตตะเลงพ่าย
ธรรมราชาและเทวราชาในวรรณคดีลิลิตตะเลงพ่าย
 
ไตรภูมิพระร่วง
ไตรภูมิพระร่วงไตรภูมิพระร่วง
ไตรภูมิพระร่วง
 
สุนทรียรสในเสภาขุนช้างขุนแผน ตอนฆ่านางวันทอง
สุนทรียรสในเสภาขุนช้างขุนแผน ตอนฆ่านางวันทองสุนทรียรสในเสภาขุนช้างขุนแผน ตอนฆ่านางวันทอง
สุนทรียรสในเสภาขุนช้างขุนแผน ตอนฆ่านางวันทอง
 
สัพพัญญุตญาณ พื้นที่ความรู้แจ้งในไตรภูมิพระร่วง
สัพพัญญุตญาณ พื้นที่ความรู้แจ้งในไตรภูมิพระร่วงสัพพัญญุตญาณ พื้นที่ความรู้แจ้งในไตรภูมิพระร่วง
สัพพัญญุตญาณ พื้นที่ความรู้แจ้งในไตรภูมิพระร่วง
 

ใครสร้างศิลาจารึกหลักที่ 1

  • 1. ๑ ใครสร้างศิลาจารึกหลักที่ ๑ ? ศิลาจารึกหลักที่ ๑ หรือที่รู้จักกันในชื่อ “ศิลาจารึกพ่อขุนรามคาแหง” เป็นจารึกหลักแรกของไทย ค้นพบโดย พระวชิรญาณภิกขุ หรือพระบาทสมเด็จพระจอเกล้าเจ้าอยู่หัวในขณะที่ทรงผนวชอยู่ (ช่วงรัชกาลที่ ๓) เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๗๖ พระองค์ได้เสด็จไปยังเมืองสุโขทัย ทรงพบจารึกสองหลัก หลักแรกคือจารึกภาษาไทยของพ่อขุนรามคาแหง (จารึกหลักที่ ๑) หลักที่สองคือจารึกภาษาเขมรของพระยาลิไท (จารึกหลักที่ ๔) และพระแท่นมนังคศิลาบาตร จึงโปรด เกล้าฯ ให้นาลงมายังกรุงเทพฯ ด้วย (พิริยะ ไกรฤกษ์, ๒๕๓๒) จารึกหลักที่ ๑ ได้รับการยกย่องว่าเป็นวรรณคดีเรื่องแรกของไทย ซึ่งทรงคุณค่าในด้านภาษา ประวัติศาสตร์ การเมือง การปกครอง และศาสนา โดยในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยแผนงานความทรงจาแห่งโลก ประจาประเทศไทยซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในสมัยนั้นเป็นประธานได้ยื่นเรื่องต่อ องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization : UNESCO) เพื่อขอขึ้นทะเบียนศิลาจารึกหลักที่ ๑ เป็นมรดกความทรงจาแห่งโลกได้สาเร็จ เป็นการยืนยันว่าศิลาจารึกหลักนี้มีความสาคัญต่อชนชาวไทยอย่างยิ่ง จากการขึ้นทะเบียนมรดกความทรงจาแห่งโลกดังกล่าวทาให้มีผู้วิพากษ์วิจารณ์ว่าหน่วยงานทางราชการต้องการ ยุติปัญหาเรื่องข้อถกเถียงว่าศิลาจารึกหลักที่ ๑ นั้นเป็นของที่ปลอมขึ้นใหม่ ไม่ได้สร้างโดยพ่อขุนรามคาแหงดังที่เข้าใจ กัน เพราะเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียนมรดกความทรงจานั้นจะเป็นการยืนยันว่าศิลาจารึกหลักที่ ๑ นั้นเป็นของจริง ทั้งที่ใน ความเป็นจริงยังไม่อาจหาข้อสรุปเกี่ยวกับปัญหานี้ได้อย่างชัดเจน ส่วนของปัญหาข้อโต้แย้งเรื่องการสร้างศิลาจารึกหลักที่ ๑ นี้ เป็นการถกเถียงในวงวิชาการว่าศิลาจารึกหลักที่ ๑ นั้นสร้างขึ้นในสมัยใด เพราะมีนักวิชาการบางกลุ่มได้ตั้งข้อสังเกตว่าศิลาจารึกหลักนี้ไม่ได้สร้างโดยพ่อขุนรามคาแหง มหาราชตามที่เข้าใจกัน หากแต่สร้างโดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั่นเอง แนวคิดดังกล่าวนี้ได้เริ่มต้นมานานแล้วก่อนที่จะมีงานวิจัยของ ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์ ออกมา แต่เป็นเพียงการ ตั้งข้อสงสัยของนักวิชาการต่างชาติบางท่านเท่านั้น ซึ่งไม่ได้ทาการศึกษาและสรุปอย่างจริงจัง และนักวิชาการไทยบาง ท่านก็เริ่มสงสัยด้วย แต่การจะหยิบประเด็นนี้ขึ้นมาถกเถียงหาข้อสรุปนั้นยังถือเป็นเรื่องที่สุ่มเสี่ยงต่อการหมิ่นพระบรม เดชานุภาพของพระมหากษัตริย์ถึง ๒ พระองค์ การตั้งข้อสังเกตเรื่องนี้ยังคงอยู่ในวงแคบจนกระทั้งหม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี หรือท่านจันทร์ทรงมี ผลงานหนังสือเรื่อง “นาเที่ยวศิลาจารึกสุโขทัย” ซึ่งตีพิมพ์โดยมหาวิทยาลัยฮาวาย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๙ (พ.ณ ประมวล มารค, ๒๕๓๒) โดยในหนังสือได้ตั้งข้อสังเกตว่าจารึกหลักนี้สร้างขึ้นโดยพระยาลิไทไม่ใช่พ่อขุนรามคาแหง ด้วยเหตุผล ที่ต้องการใช้ประโยชน์ในทางการเมือง
  • 2. ๒ เมื่อนักวิชาการท่านอื่นเห็นว่าแม้แต่ท่านจันทร์ซึ่งเป็นราชนิกุลก็ทรงออกมาพูดเรื่องนี้แล้ว และก็คงจะไม่มีใคร ตั้งข้อกล่าวหาว่าท่านจันทร์ไม่จงรักภักดี (อโณทัย อาตมา, ๒๕๔๗) ก็เริ่มมีการแสดงความคิดเห็นกันมากขึ้นทางฝั่ง นักวิชาการต่างชาติ ดร.ไมเคิล วิคเคอรี่ ก็ได้เสนอบทความเรื่อง “ศิลาจารึกพ่อขุนรามฯ เป็นของเก่าหรือสร้างขึ้น ภายหลัง?” ที่มหาวิทยาลัยอัลเดอเลด ประเทศออสเตรเลีย ในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ และต่อมาในเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๓๒ ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์ก็ได้ตีพิมพ์รายงานวิจัย “จารึกพ่อขุนรามคาแหง การวิเคราะห์เชิงศิลปะ” ออกมา จน เป็นที่ถกเถียงในวงกว้าง เมื่องานวิจัยของ ดร. พิริยะ ไกรฤกษ์ได้ถูกเผยแพร่ไม่นาน ในเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ สยามสมาคมใน พระบรมราชูปถัมภ์ก็ได้จัดการอภิปรายเรื่อง “ศิลาจารึกหลักที่ ๑” โดยเชิญ ดร. พิริยะ ไกรฤกษ์มาพูด ทั้งยังเชิญ ศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ ณ นคร และ ม.ร.ว. ศุภวัฒย์ เกษมศรี ซึ่งเป็นฝั่งที่ไม่เห็นด้วยกับ ดร. พิริยะ ร่วม อภิปราย โดยในครั้งนั้นสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จเป็นองค์ ประธานด้วย ถึงแม้การอภิปรายจะสิ้นสุดไปแล้วแต่สุดท้ายนักวิชาการก็ยังไม่อาจสรุปผลได้ยังชัดว่าศิลาจารึกหลักที่ ๑ นั้น สร้างขึ้นโดยใคร เพราะว่าแต่ละฝ่ายที่มาอภิปรายล้วนแต่ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจน โดยแต่ละฝ่ายทาได้เพียงแค่การแสดง ความคิดเห็นเท่านั้น ในประเด็นต่อไปจะเป็นการสรุปแนวคิดสาคัญของแต่ปัญหาเกี่ยวกับผู้สร้างศิลาจารึกหลักที่ ๑ ที่นักวิชาการ หลายท่านได้แสดงแนวคิดไว้ดังนี้ แนวคิดเกี่ยวกับผู้สร้างศิลาจารึกหลักที่ ๑ เนื่องจากข้อโต้แย้งเกี่ยวกับศิลาจารึกหลักที่ ๑ นั้นมีหลายประเด็น ทั้งยังมีการโต้แย้งกันไปมาระหว่าง นักวิชาการที่เห็นด้วยว่าไม่ได้สร้างโดยพ่อขุนรามคาแหงกับที่ไม่เห็นด้วย นอกจากนี้ยังมีกลุ่มที่เห็นต่างออกไปอีก ซึ่งผู้ ศึกษาได้จัดกลุ่มข้อโต้แย้งเหล่านั้นใหม่โดยแบ่งตามแนวคิดเกี่ยวกับคนสร้างว่ามีความเป็นไปได้ว่าศิลาจารึกอาจสร้าง โดยพ่อขุนรามคาแหง พระยาลิไทย และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังนี้ เชื่อว่าสร้างโดยพ่อขุนรามคาแหงมหาราช กลุ่มที่เชื่อว่าศิลาจารึกหลักที่ ๑ สร้างโดยพ่อขุนรามคาแหงแห่งกรุงสุโขทัยอย่างแน่นอนนั้น ได้แก่กลุ่ม นักวิชาการที่ไมเคิล ไรท์ (๒๕๔๖) เรียกว่า “ค่ายพระ” ซึ่งมีท่านที่สาคัญคือ ศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ ณ นคร และ หม่อมราชวงศ์ ศุภวัฒย์ เกษมศรี นอกจากนี้ยังมีนักวิชาการในกรมศิลปากรอีกหลายท่านร่วมด้วย ศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ ณ นคร ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญสหศาสตร์ คือมีความรู้ความสามารถ ที่หลากหลาย ที่ทาได้ดีที่สุดคือคณิตศาสตร์ แต่ให้ช่วยเหลือประเทศชาติมากที่สุดคือประวัติศาสตร์ และภาษาไทย
  • 3. ๓ โบราณ ซึ่งท่านเป็นหนึ่งในคณะกรรมการชาระประวัติศาสตร์สุโขทัยด้วย แนวคิดเกี่ยวกับปัญหาศิลาจารึกหลักที่ ๑ ของ ท่านจึงมีความสาคัญและเป็นที่น่าเชื่อถืออย่างยิ่ง บทบาทของศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ ณ นคร ต่อปัญหาเรื่องนี้นั้น โดยส่วนใหญ่ท่านจะเน้นไปที่การโต้แย้ง ระเบียบวิธีการวิจัยของ ดร. พิริยะ ไกรฤกษ์ เป็นส่วนใหญ่ว่าวิธีที่ใช้นั้นไม่สามารถวิเคราะห์จารึกได้จริง ถ้าวิเคราะห์ ตามวิธีของ ดร. พิริยะ จารึกทุกหลักของไทยก็สามารถเป็นของปลอมได้ทั้งสิ้น เพราะข้อความใดในจารึกที่ไปตรงกับ จารึกหลักอื่น หรือในวรรณคดีเรื่องยวนพ่าน ลิลิตพระลอ ก็กล่าว่าไปคัดลอกมา ถ้าคาหรือข้อความในจารึกหลักที่ ๑ ข้อใดไม่ปรากฏที่จารึกหรือเอกสารอื่นก็สรุปไปว่าคาหรือข้อความนั้นไม่มีใช้จริงในสมัยสุโขทัย ซึ่งไม่ว่าจะดูอย่างไรจารึก ก็จะย่อมเป็นของปลอม นอกจากนี้ศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ ณ นคร ยังได้เสนอหลักฐานหนังสือจินดามณีฉบับพระเจ้าบรมโกศที่ Royal Asiatic Society ว่า “มีข้อความเรื่องพระร่วงทรงประดิษฐ์อักษรไทยใน พ.ศ. ๑๘๒๖ ตรงกับจารึกหลักที่ ๑” (ประเสริฐ ณ นคร, ๒๕๓๒) ซึ่งทาให้นักวิชาการส่วนใหญ่เห็นคล้อยตาม นักวิชาการที่สาคัญท่านต่อมาคือ พลตรี ม.ร.ว. ศุภวัฒย์ เกษมศรี ซึ่งก็เป็นอีกท่านที่มีความเชี่ยวชาญ ทางด้านประวัติศาสตร์ไทย จนได้รับยกย่องจากคณะกรรมการอานวยการอนุรักษ์มรดกไทย กระทรวงวัฒนธรรม เป็น “ผู้อนุรักษ์มรดกไทยดีเด่น” ประจาปี ๒๕๕๔ ม.ร.ว. ศุภวัฒย์ เกษมศรี นั้นมุ่งเน้นไปที่การโต้แย้งในประเด็นทางประวัติศาสตร์ที่ ดร. พิริยะเสนออีกเช่นกัน ว่าสิ่งต่างๆ ที่ปรากฏชื่อในศิลาจารึกหลักที่ ๑ นั้น ไม่มีในสมัยสุโขทัย เช่น ตาแหน่งพระสังฆราช ชื่อนครศรีธรรมราช การทรงช้างเผือก ชื่อพ่อขุนรามคาแหง กระดิ่ง พระแท่น พระพุทธศาสนา เป็นต้น ซึ่ง ม.ร.ว. ศุภวัฒย์ เกษมศรี ก็ได้ แก้ข้อสงสัยเหล่านี้ทั้งสิ้น ประเด็นต่อมาที่ ม.ร.ว. ศุภวัฒย์ เกษมศรี ได้กล่าวถึงคือเรื่องพระวชิรญารภิกขุ (รัชกาลที่ ๔) การนาจารึก หลักที่ ๑ ลงมาจากสุโขทัยซึ่ง ดร. พิริยะได้เสนอว่ามีพิรุธหลายประการ ม.ร.ว. ศุภวัฒย์ ได้อธิบายว่าในการเสด็จไป สุโขทัยครั้งนั้นพระวชิรญาณภิกขุมีเวลาจริงๆ เพียง ๑๒ ชั่วโมงเท่านั้นไม่เป็นไม่ได้ที่จะค้นหาศิลาจารึกหลักอื่นเพื่อนามา ปลอมจารึกหลักที่ ๑ ได้เพราะสุโขทัยในขณะนั้นไม่เป็นอุทยานเช่นทุกวันนี้ แต่เป็นป่ารกทึบและเพิ่งได้รับการขุดแต่ง ในช่วงรัชกาลที่ ๖ (ศุภวัฒย์ เกษมศรี, ๒๕๓๒) นักวิชาการท่านสาคัญอีกท่านก็คือ ศาสตราจารย์ธวัช ปุณโณทก ผู้เชี่ยวชาญด้านจารึกภาษาไทยและอักขรวิธี โบราณ ซึ่งท่านได้เสนอประเด็นโต้แย้งที่ ดร.พิริยะ กล่าวว่าอักขรวิธีที่ใช้ในศิลาจารึกหลักที่ ๑ นั้นมีความผิดปกติ มี ลักษณะคล้ายภาษาอาริยกะที่รัชกาลที่ ๔ ทรงประดิษฐ์ขึ้น และอักขรวิธีเช่นนี้ก็ไม่ปรากฏในภาษาใดๆด้วย ศาสตราจารย์ธวัช ปุณโณทก ได้เสนอว่าอักขรวิธีในจารึกหลักที่ ๑ นั้นไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด เพราะเป็น ที่เข้าใจกันในวงวิชาการด้านจารึกว่าอักขรวิธีที่เขียนสระและพยัญชนะในบรรทัดเดียวกัน (เดิมจะมีตัวเชิงอย่างอักขรวิธี
  • 4. ๔ ขอม) ทั้งยังเขียนสระไว้หน้าพยัญชนะ ที่ปรากฏในจารึกหลักที่หนึ่งนั้นเป็นวิวัฒนาการของอักขรวิธีมาจากอักษรของ อินเดีย (อักษรคฤนถ์) เช่นเดียวกับอักษรในตระกูลเดียวกันคืออักษรขอม มอญ เงี้ยว ซึ่งจะมีตัวเชิง สระลอย สระจม ลักษณะการวางสระและพยัญชนะไว้บรรทัดเดียวกันนั้นมีความเป็นไปได้ที่พ่อขุนรามคาแหงเป็นผู้ประดิษฐ์ขึ้น เพื่อให้การเขียนง่ายกว่าเดิม โดยนารูปแบบมาจากการเขียนสระลอย (สระที่ไม่ต้องเกาะกับพยัญชนะ) ที่นิยมเขียนไว้ใน บรรทัดเดียวกันกับพยัญชนะทั้งยังวางไว้ด้านหน้าพยัญชนะด้วย และเหตุที่จารึกในสมัยถัดมาไม่ใช้อักขรวิธีแบบจารึก หลักที่ ๑ แล้วก็เพราะว่าคนสุโขทัยนั้นคุ้นชินกับการเขียนแบบทีมีตัวเชิง และสระจม จึงได้กลับมาเขียนอย่างเดิม แต่กระนั้นในสมัยอยุธยาก็มีการใช้อักขรวิธีเหมือนกับจารึกหลักที่ ๑ นี้เหมือนกัน ในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ ได้มีผลการตรวจพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ออกมายืนยันแน่ชัดว่าศิลาจารึกหลักที่ ๑ นั้นสร้าง ขึ้นในสมัยสุโขทัย ไม่ใช้ต้นรัตนโกสินทร์ แต่ผลการตรวจพิสูจน์ก็ไม่ได้ระบุชัดเจนว่าสร้างในสมัยพ่อขุนรามคาแหง (ซึ่งจะขอกล่าวละเอียดเรื่องการตรวจพิสูจน์ในหัวข้อต่อไป) แต่ก็สามารถทาให้นักวิชาการ “ค่ายพระ” มีหลักฐานโต้แย้ง ว่าอย่างไรก็ตามศิลาจารึกหลักนี้ไม่ได้สร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๔ ตามที่ ดร. พิริยะ ไกรฤกษ์ ได้กล่าวไว้ ถัดมานักวิชาการรุ่นหลัง อโณทัย อาตมา (๒๕๔๗) ได้โต้แย้งประเด็นนี้อีกครั้งหลังจากที่สานักพิมพ์ ศิลปวัฒนธรรมได้ตีพิมพ์หนังสือ “ศึกศิลาจารึก ที่พ่อขุนรามคาแหงไม่ได้แต่งในยุคสุโขทัย” ออกมาหลังจากที่ศิลาจารึก หลักที่ ๑ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจาแห่งโลกในปี พ.ศ. ๒๔๔๖ ซึ่งถือเป็นการโต้แย้งครั้งใหญ่หลังจาก ที่มีการจัดสัมมนาโดยสยามสมาคมใน พ.ศ. ๒๕๓๒ อ. อโณทัย อาตมา ได้เสนอข้อสังเกตว่า หากศิลาจารึกหลักที่ ๑ สร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๔ จริงก็จะเกิดความ ขัดแย้งกับการมีอยู่ของโบราณสถานสาคัญในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ซึ่งโบราณสถานเหล่านั้นล้วนแต่ปรากฏชื่อ และถูกระบุตาแหน่งอย่างชัดเจนในศิลาจารึกหลักที่ ๑ นอกจากนี้ โบราณสถานเหล่านั้นหลายแห่งถูกค้นพบหลักจากที่ ค้นพบศิลาจารึกหลักที่ ๑ แล้ว (หลัง พ.ศ. ๒๓๗๖) และบริเวณที่เป็นเมืองเก่าสุโขทัยนั้นก็เพิ่งจะได้รับการขุดแต่งโดย กรมศิลปากรในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ ซึ่งโบราณสถานหลายแห่งยังคงถูกปกคลุมด้วยป่ารกอยู่ หากพิจารณาจากเหตุผลของนักวิชาการกลุ่มนี้จะเห็นว่าสิ่งสาคัญที่ขาดไปก็คือหลักฐานที่สามารถยืนยันได้ว่า ศิลาจารึกหลักที่ ๑ นี้สร้างขึ้นในสมัยพ่อขุนรามคาแหงจริง ไม่ใช่สมัยใดสมัยหนึ่งยุคสุโขทัยเช่นที่ได้จากการตรวจสอบ อายุ แต่ต้องเป็นหลักฐานที่บ่งบอกว่าศิลาจารึกนี้มีอยู่จริง เช่น จารึกอื่นที่กล่าวถึงศิลาจารึกหลักนี้ นอกจากนี้การที่ปฏิเสธแนวคิดของนักวิชาการกลุ่มอื่น และจะยืนยันว่าศิลาจารึกหลักนี้เป็นของพ่อขุน รามคาแหงและใช้ข้อมูลจากสานวนภาษา และคาที่ปรากฏในจารึกอย่างเดียวนั้นไม่ได้เพราะเป็นที่ยอมรับการโดยทั่วไป แล้วว่าเนื้อความในศิลาจารึกหลักที่ ๑ นั้นไม่ได้เขียนโดยบุคคลคนเดียว และที่สาคัญคือเขียนในยุคสมัยที่ต่างกันด้วย คือในช่วงต้นนั้นอาจเป็นสานวนของพ่อขุนรามคาแหงจริง แต่ในช่วงหลังเห็นได้ชัดว่าสานวนต่างกัน และมีการกล่าวถึง พ่อขุนรามคาแหงโดยใช้สรรพนามบุรุษที่ ๓ ไม่ใช่บุรุษที่ ๑ เหมือนช่วงต้น ด้วยเหตุนี้การที่จะวิเคราะห์เนื้อหา สานวน ของจารึกนั้น จะต้องมั่นใจว่าสานวนนั้นอยู่ในยุคของพ่อขุนรามจริง
  • 5. ๕ เชื่อว่าสร้างโดยสมเด็จพระศรีสุริยมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไทย) จุดเริ่มต้นของปัญหาผู้สร้างศิลาจารึกหลักที่ ๑ นั้น ดร. พิริยะ ไกรฤกษ์ กล่าวว่าหนึ่งในนั้นมีแนวคิดของ หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี หรือที่รู้จักในนามปากกา พ.ณ ประมวลมารค รวมอยู่ด้วย เพราะท่านทรงเห็นว่าจารึก นั้นพูดถึงพ่อขุนรามคาแหงเป็นบุรุษที่ ๓ และผู้ที่สร้างก็อาจเป็นพระยาลิไทย เพราะพระองค์มีความจาเป็นในเหตุผลทาง การเมือง ในแนวคิดที่ว่าศิลาจารึกหลักที่ ๑ สร้างโดยพระยาลิไทยนี้สามารถกล่าวได้ว่าหม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี ทรงเป็นผู้ริเริ่มแนวคิด และเป็นนักวิชาการเพียงคนเดียวที่เชื่อเช่นนี้ในช่วงที่ถกเถียงปัญหาเรื่องนี้ ซึ่งเหตุผลที่ท่านเชื่อว่า พระยาลิไทยทรงสร้างนั้นเพราะต้องการสร้างสิทธิโดยชอบธรรมของการขึ้นครองราชย์ในสุโขทัย เพราะในยุคหลังจากพ่อ ขุนรามคาแหงแล้วรัฐสุโขทัยไม่ได้เป็นปึกแผ่นดังเดิม ดังปรากฏในจารึกนครชุมบรรทัดที่ ๑๒-๓๐ ด้านที่ ๒ ว่า “เมื่อชั่วพระยารามราช...กว้างขวางรอดทุกแห่ง เป็นเจ้าเป็นขุนเมืองขาด...หลาย บั้นหลายท่อนแซว เมืองคนทีพระบางหาเป็นขุนหนึ่ง...เมืองเชียงทองหาเป็นขุน หนึ่ง...เมืองบางพานหาเป็นขุนหนึ่ง...เมืองบางฉลังหาเป็นขุนหนึ่ง...ต่างทาเนื้อทา ตนเขาอยู่ เมื่อล...ได้เสวยราชย์แทนที่ปู่ย่าพ่อแม่...เป็นเจ้าเป็นขุนนั้นด้วยกาลัง... ราชชอบด้วยทศพิธราชธรรม...คนทีพระบางกโรมในตีนพิงนี้...ปลูกหมากพร้าว หมากลางทุกแห่ง...เป็นป่าเป็นดงให้แผ้วให้ถาง...ธรรมิกราชนั้น บ้านเมืองอยู่ เขษมฯ” (พ.ณ ประมวลมารค, ๒๕๓๒) เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์แล้วพระยาลิไทยจึงมีพระราชกิจที่สาคัญคือการรวบรวมสุโขทัยให้เป็นปึกแผ่นอีกครั้ง เมื่อรวมได้สาเร็จแล้วจึงได้สร้างจารึกหลักที่ ๑ ขึ้นพร้อมกับจารึกอีก ๓ หลัก รวมเป็น ๔ หลักขึ้น (จารึก ๓ หลักนั้นได้ ถูกกล่าวถึงในจารึกหลักที่ ๑) เพื่อเป็นการแสดงสิทธิเหนือดินแดนว่าสุโขทัยเป็นรัฐของราชวงศ์พระร่วงและรุ่งเรือง ภายใต้พระราชอานาจของราชวงศ์พระร่วงมานานแล้ว แนวคิดของหม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี ได้รับความสนใจมากขึ้นเมื่อผลการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ ออกมาในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ ว่าศิลาจารึกหลักที่ ๑ นั้นสร้างขึ้นในสมัยสุโขทัยจริง ไม่ใช่สมัยรัตนโกสินทร์ต้นต้น แต่ไม่ สามารถระบุได้อย่างละเอียดได้ว่าเป็นช่วงเวลาใดของสุโขทัย ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าอาจไม่ใช่พ่อขุนรามคาแหง แต่เป็น ช่วงเวลาอื่น ซึ่งผลการวิจัยสามารถสรุปได้ดังนี้ “การศึกษาวิจัยด้วยวิธีนี้มิได้เป็นการกาหนดอายุของศิลาจารึกแต่เป็นการ เปรียบเทียบริ้วรอยและองค์ประกอบที่ผิวที่เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากกระบวนการสึก กร่อน ผุพัง สลายตัว ของศิลาจารึกหลักที่ ๑ เทียบกับศิลาจารึกหลักอื่นๆ ของสุโขทัย และศิลาจารึกของรัตนโกสินทร์ (ถ้ามี) เป็นที่น่าเสียดายที่ยังค้นไม่พบศิลาจารึกหรือวัตถุ
  • 6. ๖ โบราณสมัยรัตนโกสินทร์ที่ทาด้วยหินทรายแป้งชนิดเดียวกัน จึงไม่สามารถเปรียบเทียบ ให้เห็นข้อแตกต่างได้อย่างชัดเจน” (ชัชวาล บุญปัน, ๒๕๔๗) ในการตรวจสอบศิลาจารึกหลักที่ ๑ นี้เป็นการเปรียบเทียบกับศิลาจารึกหลักที่ ๓, ๔๕ และหลักที่กล่าวถึง ชีผ้าขาวเพสสันดร และพระแท่นมนังคศิลาบาตร ซึ่ง ชัชวาล บุญปัน (๒๕๔๗) ได้ตั้งข้อสังเกตว่าตัวแปรที่ผู้วิจัยนามา ศึกษานั้นมีความขัดแย้งกับสมมติฐานการวิจัยที่ได้ตั้งไว้เพราะในสมมติฐานกล่าวว่าศิลาจารึกหลักที่ ๑ นั้นบอกว่า “ศิลา จารึกหลักที่ ๑ ทาขึ้นในสมัยสุโขทัย จะมีระยะเวลาที่ถูกทอดทิ้งอยู่กลางแดดกลางฝนเป็นเวลานานกว่า ๕๐๐ ปี” แต่ ศิลาจารึกหลักที่ ๔๕ นั้นเป็นที่ทราบกันดีว่าหน่วยขุดแต่ง กองโบราณคดีกรมศิลปากรขุดพบใต้ร่มเสาของวิหารในวัด มหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย ในปี พ.ศ. ๒๔๙๙ จะเห็นว่าจารึกหลักที่ ๑ นั้นอยู่กลางแจ้งมาเป็นเวลากว่า ๕๐๐ ปี แต่หลักที่นามาเปรียบเทียบนั้นเพิ่งขุดพบได้ จนถึงวันตรวจสอบเปรียบเทียบเพียง ๓๓ ปีเท่านั้น การที่จะนามาเปรียบเทียบพื้นผิวจารึกจึงไม่เหมาะสม เนื่องจาก คุณสมบัติของวัตถุทั้งไม่เหมือนกัน นอกจากนี้การที่จะกล่าวว่าพื้นผิวของจารึกหลักที่ ๑ มีลักษณะเหมือนกันกับจารึกหลักอื่นที่สร้างในสมัย สุโขทัยแล้วสรุปว่าจารึกหลักที่ ๑ สร้างในสมัยสุโขทัยนั้นเป็นที่ยังทาไม่ได้เพราะการจะสรุปดังนั้นจะทราบก่อนว่าจารึก ลักษณะเดียวกันในต้นรัตนโกสินทร์มีลักษณะอย่างไร แตกต่างจากจารึกในสมัยสุโขทัยอย่างไร จึงจะสามารถ เปรียบเทียบได้แต่เนื่องจากว่าจารึกที่เป็นหินทรายแป้งในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ไม่มีจึงไม่มีตัวเปรียบเทียบ ทาให้งานวิจัย ชิ้นนี้ขาดความสมบูรณ์และความน่าเชื่อถือไป เชื่อว่าสร้างโดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กรณีที่ถกเถียงเรื่องการปลอมศิลาจารึกหลักที่ ๑ นี้เกิดจากนักวิชาการกลุ่มที่ไมเคิล ไรท์ เรียกว่า “ค่ายยักษ์” ซึ่งมี ดร. พิริยะ ไกรฤกษ์ เป็นนักวิชาการคนไทยคนสาคัญที่รวบรวมหลักฐานและเหตุผลเพื่ออธิบายว่าศิลาจารึกหลักที่ ๑ ไม่ได้สร้างโดยพ่อขุมรามคาแหงแห่งกรุงสุโขทัย แต่สร้างโดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่งกรุง รัตนโกสินทร์ ในครั้งที่ดารงพระยศเป็นเจ้าฟ้ามงกุฎฯ และทรงผนวชอยู่ โดยใช้วิธีการพิจารณาคา สานวนภาษา อักขรวิธี ว่าสอดคล้องกับจารึกสมัยสุโขทัยในยุคเดียวกันหรือไม่ และหลักฐานอีกชิ้นหนึ่งที่ท่านใช้ในการตีความคือ หนังสืออภินิหารการประจักษ์” พระนิพนธ์ในสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ซึ่งเป็นผู้ใกล้ชิด และตามเสด็จพระวชิรญาณภิกขุอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในหนังสือเล่มนี้ก็ได้มีรายละเอียดเกี่ยวกับการค้นพบและการแปลศิลา จารึกหลักที่ ๑ และจารึกภาษาเขมรที่ค้นพบพร้อมกันนั้นด้วย ดร. พิริยะ ไกรฤกษ์ มุ่งที่จะพิจารณาว่าคาหรือสานวนใดที่อยู่ในจารึกหลักที่ ๑ ไม่เคยปรากฏในจารึกอื่นใน สมัยสุโขทัยก็จะบอกว่าคาหรือสานวนนั้นไม่มีใช้ในสมัยสุโขทัย หรือถ้ามีตรงกับจารึกอื่นใดก็จะกล่าวว่าไปคัดลอกคา หรือสานวนจากจารึกนั้นมาใส่ในจารึกหลักที่ ๑ ซึ่งไม่ว่าอย่างไรก็เห็นว่าเป็นของปลอม ไม่ได้สร้างโดยพ่อขุนรามคาแหง
  • 7. ๗ แต่ลงความเห็นว่าสร้างโดยพระวชิรญาณภิกขุอย่างแน่นอน และยังระบุช่วงเวลาได้ด้วยว่าเป็นช่วงที่เสด็จไปครองวัดบวร นิเวศวิหาร หลักฐานที่ทาให้ดร. พิริยะ ไกรฤกษ์ เชื่อว่าพระวชิรญาณภิกขุเป็นผู้สร้างศิลาจารึกหลักที่ ๑ นั้นเพราะอาศัย หนังสืออภินิหารแห่งการประจักษ์เป็นหลักฐานว่ามีเหตุการณ์หลายอย่างในจารึกตรงกับพระราชประวัติ และเมื่อแปลง ศักราชในจารึกมาเป็นคริสตศักราชก็จะตรงกับปีที่เกิดเหตุการณ์คล้ายๆ กันในพระราชประวัติ และที่ ดร. พิริยะ ไกรฤกษ์ เชื่อเรื่องการแปลงศักราชนั้นเพราะได้พิรุธมาจากโคลงท้ายหนังสืออภินิหารแห่งการประจักษ์ ที่มีเนื้อหาไม่ สอดคล้องกับหนังสือเท่าไหร่นัก แต่ผู้นิพนธ์ก็จงใจที่จะใส่ไว้ดังนี้ “ศักราชคิดดั่งนี้ ชอบขยัน มืดลับชนสามัญ ห่อนเจ้า ไทยถือว่าสาคัญ กลเลข แยบยนต์คนเก่าแกล้ง กล่าวอ้างคนไกล” (สยามสมาคม, ๒๕๓๓ ) นอกจากนี้ยังมีการเชื่อมโยงไปยังเหตุผลทางการเมืองการปกครองด้วยว่าในช่วงต้นรัตนโกสินทร์นั้นเป็นช่วงที่ การล่าอาณานิคมของชาติตะวันตกและเพื่อนบ้านของไทยหลายชาติก็ตกเป็นอาณานิคมของชาติเหล่านี้ไปแล้ว ซึ่งการ สร้างจารึกขึ้นมาจะเป็นการยืนยันให้เห็นว่าไทยมีอารยธรรมมาแต่สมัยโบราณไม่ใช่ชาติอนารยธรรมอย่างที่ชาติตะวันตก เข้าใจ แต่ประเด็นนี้ก็ถูกหักล้างไปแล้วเช่นกัน ถ้าพิจารณาตามที่ ดร. พิริยะ ไกรฤกษ์ กล่าวมานั้นจะเห็นว่าเหมือนเป็นการเอาข้อมูลที่ไม่สมเหตุสมผลมา นาเสนอแต่มีการปิดบังข้อมูลสาคัญบางอย่างไว้เพราะข้อสังเกตต่างๆ เกี่ยวกับจารึกที่ท่านเสนอมานั้นล้วนแต่ถูกตีตก โดย “ค่ายพระ” และผลการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ แต่ ดร. พิริยะ ไกรฤกษ์ ก็ยังคงเชื่อเช่นเดิมว่าศิลาจารึกหลักที่ ๑ สร้างในสมัยสุโขทัย นั่นแสดงว่า ดร. พิริยะ น่าจะมีหลักฐานสาคัญที่ทาให้มั่นใจหรืออาจชี้ชัดเกี่ยวกับกรณีนี้ เพียงแต่ ท่านไม่นาออกแสดงเท่านั้น ศิลาจารึกหลักที่ ๑ ถูกสร้างขึ้นโดยใครนั้นยังไม่อาจจะสรุปได้อย่างแน่ชัดมาจนถึงปัจจุบันนี้ ใครจะเชื่อเหตุผล ของฝ่ายใดก็ขึ้นอยู่กับทรรศนะของท่านนั้นด้วย เพราะว่าสิ่งที่แต่ละฝ่ายยกมาโต้แย้งกันนั้นส่วนใหญ่มีแต่เหตุผลแต่ไม่มี หลักฐานที่จะยืนยันเหตุผลนั้น ถ้าหากว่าฝ่ายใดสามารถนาหลักฐานที่ยืนยันบุคคลผู้สร้างศิลาจารึกหลักที่ ๑ ออกมา แสดงได้นั่นก็นับว่าได้ช่วยคลี่คลายปัญหาเกี่ยวกับผู้สร้างศิลาจารึกนี้ไปได้
  • 8. ๘ ผลกระทบเมื่อศิลาจารึกหลักที่ ๑ เป็นของปลอม ศิลาจารึกหลักที่ ๑ ได้ชื่อว่าเป็นโบราณวัตถุที่สาคัญอย่างยิ่งในด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี ได้รับการยก ย่องจากนักวิชาการด้านภาษาว่าเป็นวรรณกรรมเรื่องแรกของไทย ที่มีคุณค่าทางด้านภาษาศาสตร์ เพราะตัวอักษรชุดที่ใช้ บนจารึกหลักนี้คือลายสือไทยซึ่งเป็นจุดกาหนดของตัวเขียนไทยมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้เนื้อหาในศิลาจารึกยัง สะท้อนภาพของสังคมสุโขทัยที่รุ่งเรืองและสงบสุขอันเป็นแบบแผนการปกครองของไทยด้วย ตั้งแต่มีการค้นพบศิลาจารึกหลักที่ ๑ และเริ่มมีการแปลความในจารึกให้เป็นที่รู้จักและเข้าใจโดยทั่วไป ส่งผล ให้ชาวไทยเกิดความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงอารยธรรมที่รุ่งเรืองของชาติที่มีมาตั้งแต่โบราณ ซึ่งหาก ว่าผลสรุปของปัญหาที่ถกเถียงว่าศิลาจารึกไม่ใช่ของพ่อขุนรามคาแหงออกมาเป็นความจริง ย่อมส่งผลต่อข้อมูลหลักฐาน ทางวิชาการ 4 ด้านใหญ่ ๆ ดังนี้ ๑. ประวัติศาสตร์ ๑.๑ หลักศิลาจารึกหลักที่ 1 จะต้องถูกปลดจากการเป็นมรดกความทรงจาแห่งโลก (Memory of the World) หลังจากหลักศิลาจารึกหลักที่ ๑ ที่ได้รับการคัดเลือกจากองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่ง สหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization : UNESCO) ให้หลักศิลาจารึกหลักที่ ๑ ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจาแห่งโลก (Memory of the World) ในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ถ้าหากจากผิดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาการเป็นมรดกความทรงจาแห่งโลก ซึ่งประกอบด้วยเงื่อนไขหลัก ด้วยกัน ๔ ประการ ดังนี้ ๑. ความเป็นของแท้ (Authenticity) ๒. มีความโดดเด่นและไม่อาจทดแทนได้ (Unique and Irreplaceable) ๓. มีความสาคัญในระดับโลก ในเรื่องเวลาและอายุ (Time) สถานที่ (Place) บุคคล (People) เนื้อหาสาระแนวคิด (Subject and Theme) และ รูปแบบและวิธีเขียน (Form and Style) ๔. ลักษณะอื่นๆ ได้แก่ ความหายาก (Rarity) ความบริบูรณ์ (Integrity) ความเสี่ยง (Threat) และ โครงการบริหารจัดการ (Management plan) เมื่อพิจารณาจากหลักเกณฑ์การคัดเลือกพบว่าหากหลักศิลาจารึกเป็นของปลอมขึ้นมาภายหลัง จะต้องถูกปลด จากการเป็นมรดกความทรงจาแห่งโลก เนื่องจากข้อหนึ่งได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่าจะต้องเป็นของแท้หรือหากมีกรณีที่ กล่าวว่าหลักศิลาจารึกหลักที่ ๑ เกิดในสมัยสุโขทัยจริง แต่พ่อขุนรามคาแหงไม่ได้เป็นสร้างศิลาจารึกย่อมจะขัดต่อ หลักเกณฑ์การคัดเลือกข้อที่สาม ด้านบุคคลผู้สร้าง ๑.๒ อาจจะต้องตัดคาว่า “มหาราช” ที่เรียกต่อท้ายชื่อพ่อขุนรามคาแหงให้เหลือเป็น “พ่อขุนรามคาแหง” คาว่า “มหาราช” มีความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๒๕ หมายถึง คาซึ่งมหาชนถวายเพื่อ เฉลิมพระเกียรติพระเจ้าแผ่นดินหรืออีกความหมายหนึ่งคือ ธงประจาพระองค์ พระเจ้าแผ่นดิน ที่เรียกว่า ธงมหาราช
  • 9. ๙ การถวายพระราชสมัญญา มหาราช แด่ พระมหากษัตริย์ของไทยในอดีตที่ผ่านมานั้น ไม่มีการประกาศอย่างเป็นทางการ แต่เป็นมติของมหาชนในสมัยต่อมาที่สานึกในพระมหากรุณาธิคุณ จึงได้ถวายพระสมัญญาต่อท้ายพระนามว่ามหาราช หรือพระราชสมัญญาอื่นที่แสดงถึงพระเกียรติคุณเฉพาะพระองค์ และเป็นที่ยอมรับในการขานพระนามสืบมา การเริ่มการถวายพระราชสมัญญา “มหาราช” ต่อท้ายพระนามพระมหากษัตริย์นั้นสันนิษฐานว่าเริ่มมีขึ้นในสมัย ต้นรัตนโกสินทร์ประมาณรัชกาลที่ ๔ หรือ ๕ เนื่องจากเป็นสมัยที่เริ่มมีการศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์ของชาติและ บรรพบุรุษมากขึ้น ทาให้ประจักษ์ถึงวีรกรรมและพระราชอัจฉริยภาพของพระมหากษัตริย์ในสมัยนั้นๆ จึงได้มีการยก ย่องพระมหากษัตริย์บางพระองค์ที่ทรงมีพระเกียรติคุณเด่นกว่า พระองค์อื่นขึ้นเป็น มหาราช ในเรื่องของการริเริ่มถวาย พระราชสมัญญามหาราชต่อท้ายพระนามพระมหากษัตริย์ในยุคสมัยต่างๆ นั้นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยา ดารงราชานุภาพทรงอธิบายไว้ในลายพระหัตถ์ที่ทรงมีถึงพระบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ดังนี้ “… ที่เพิ่มคา “มหาราช” เข้าต่อท้ายพระนามพระเจ้าแผ่นดินนั้น ในหนังสือไทยมีหนังสือ พระราชพงศาวดาร เรียก “สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ” ก่อนที่ใช้คา “มหาราช” หมาย อย่าง The Great ของฝรั่ง คนอื่นเขาก็ใช้มาก่อนหม่อมฉัน เป็นแต่ตามเขาหาได้เป็นผู้ริใช้ ไม่ สังเกตดูพระเจ้าแผ่นดินฝรั่งที่มีคาธีเกรตอยู่หลังพระนาม คานั้นย่อมเพิ่มเข้าต่อเมื่อ พระเจ้าแผ่นดินพระองค์นั้นล่วงลับไปแล้วบางที่ ก็ช้านาน และเพิ่มเข้าต่อเมื่อมีพระเจ้า แผ่นดินพระนามพ้องกัน โดยปกติมักเรียกพระองค์ก่อนว่า “ที่ ๑” พระองค์หลังว่า “ที่ ๒” และเปลี่ยนตัวเลขต่อไปตามลาดับ ถ้าพระองค์ใดเป็นอัจฉริยบุรุษจึงใช้คาธีเกรตแทนที่เลข จะยกตัวอย่างดังเช่น เอมเปอเรอวิลเฮมเยอรมัน เมื่อพระเจ้าวิลเฮม (ไกเซอ) เสวยราชย์ ก็เรียกพระองค์แรกว่า ที่ ๑ พระองค์หลังว่าที่ ๒ มาหลายปี จนเยอรมันต่อเรือใหญ่ลาหนึ่ง อย่างวิเศษสาหรับพาคนข้ามมหาสมุทรแอตแลนติค พระเจ้าไกเซอ ประทานนามเรือนั้นว่า เอมเปอเรอวิลเฮม ธีเกรต แต่นั้นมาจึงเรียกเอมเปอเรอ พระองค์นั้นว่า ธีเกรต คือ มหาราช ที่ไทยเราเอามาใช้ไม่ตรงตามแบบฝรั่ง เพราะไม่ได้เรียกพระนามซ้ากัน เรียก เพราะเป็นอัจฉริยบุรุษอย่างเดียว…” ในส่วนของ พ่อขุนรามคาแหง พระมหากษัตริย์ผู้ทรงสร้างความเจริญรุ่งเรือง ให้แก่อาณาจักรสุโขทัย ทรงขยาย อาณาจักรให้กว้างขวาง ปกครองประชาราษฎร์ ให้ได้รับความสุข ยุติธรรมเสมือน “พ่อปกครองลูก” ทรงส่งเสริมการค้า โดยเสรี ทรงริเริ่มประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นใช้เอง และทรงรับเอาพระพุทธศาสนาจากลังกาเข้ามา เป็นศาสนาประจาชาติ ซึ่งข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้นเป็นข้อมูลที่อ้างอิงเนื้อหาจากศิลาจารึกหลักที่ ๑ ซึ่งเมื่อศิลาจารึกนี้เป็นของปลอม จะมีพระราช ประวัติของพ่อขุนรามคาแหงในศิลาจารึกหลักที่ 2 (วัดศรีชุม) ว่าพ่อขุนรามราช ทรงได้รับการยกย่องว่า เป็น “ปราชญ์รู้ ธรรม” และทรงก่อพระศรีรัตนมหาธาตุอันหนึ่งในศรีสัชนาลัย ต่อมาพบพระราชประวัติในจารึกหลักที่ ๕ (วัดป่ามะม่วง) ที่กล่าวถึงพญารามราช (พ่อขุนรามคาแหง) ปลูกตันมะม่วง ณ วัดป่ามะม่วง และการพบพระพุทธรูปศิลปะแบบสุวรรณ ภูมิจากราชบุรี คือมีลักษณะศิลปะคล้ายขอมขนาดใกล้เคียงมนุษย์ ๓ องค์ ซึ่งทั้ง ๓ องค์มีลักษณะคล้ายกัน ยกเว้นแต่ พระศกเป็นลอน องค์หนึ่งชั้นเดียว อีกองค์สองชั้น และองค์ที่สามสามชั้น ทั้งสมองค์มีจารึกไว้ด้านหน้าที่ฐานเขียงมีแต่
  • 10. ๑๐ เลข ๑๒๐๗ เป็นมหาศักราชตรงกับ พ.ศ. ๑๘๒๘ หรือสองปีหลังจากที่พ่อขุนรามคาแหงสร้างหลักศิลาจารึก และมีการ จารึกไว้ใต้ฐานองค์พระว่า “อุทิศแม่นางเสือง” องค์ที่มีเมาลีสามชั้น “อุทิศพ่อขุนศรีอินทราทิตย์” องค์ที่มีเมาลีสองชั้น และ “พ่อขุนรามคาแหง พ่อเมืองแหง” องค์ที่มีเมาลีชั้นเดียว ดังนั้น จะเห็นได้ว่ากรณียกิจส่วนใหญ่ของพ่อขุน รามคาแหงจะอยู่ที่พระพุทธศาสนา ซึ่งยังไม่โดดเด่นพอที่จะกล่าวยอพระเกียรติ โดยการเติมสามัญนาม “มหาราช” ต่อท้ายชื่อพระองค์ อย่างไรก็ตามนาม “มหาราช” ที่พ่อขุนรามคาแหงได้รับ เกิดจากพระราชกรณียกิจที่ปรากฏในหลักศิลาจารึก หากพ่อขุนรามไม่ได้เป็นผู้สร้างหลักศิลาจารึกหลักที่ ๑ จริง ซึ่งแบ่งออกได้เป็นสองกรณี คือ ๑. พญาลิไทยเป็นผู้สร้างหลักศิลาหลักที่ ๑ ก็แสดงให้เห็นถึงความน่าเชื่อถือเนื้อความในหลักศิลา จารึก เนื่องจากเวลาผ่านมาเพียงสองรัชสมัย ซึ่งพญาลิไทยอาจได้พบหรือรับรู้พระราชกรณียกิจที่พ่อขุนราคาแหงทรง ปฏิบัติแล้วบันทึกลงในหลักศิลาจารึก ก็ทาให้ข้อมูลเนื้อหามีความน่าเชื่อถือพอสมควร ๒. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นผู้สร้างหลักศิลาจารึกหลักที่ ๑ ข้อมูลชั้นรอง คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นนักปราชญ์ทางประวัติศาสตร์ ทางภาษา ทางศาสนา ทางดาราศาสตร์และ ทางการคานวณ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความรอบรู้และการรวบรวมข้อมูลทางประวัติศาสตร์และภาษาในการการสร้างหลัก ศิลาจารึกหลักที่ ๑ นี้ จากข้อมูลข้างต้นที่ได้กล่าวมาผู้เขียนจึงไม่อาจตัดสินได้ว่าการจะเพิ่มเติมสมัญญานาม “มหาราช” ต่อท้ายพระ นามของพ่อขุนรามคาแหง คงต้องอยู่ที่ความสะดวกใจของประชาชนและมติประชาชนที่จะเพิ่มเติมเข้าไปตามความ สมัครใจเอง ๒. วรรณกรรม ๒.๑ การเปลี่ยนแปลงวรรณคดีเรื่องแรกของไทย หากมีการตัดสินช่วงเวลาในการสร้างหลักศิลาจารึก หลักที่ ๑ ว่าเกิดขึ้นในสมัยของพญาลิไทยหรือพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะทาให้มีการเปลี่ยนแปลงในด้าน วงการการวรรณคดีวรรณกรรม กล่าวคือ วรรณคดีเรื่องแรกเดิมคือศิลาจารึกหลักที่ ๑ จะกล่าวได้ว่าเป็นไตรภูมิพระร่วง ที่เป็นวรรณคดีที่เก่าที่สุดในบรรดาวรรณคดีสุโขทัย ดังนั้นหากหลักศิลาจารึกพ่อขุนราคาแหงเป็นของปลอมไตรภูมิพระ ร่วงก็จะกลายเป็นวรรณคดีเรื่องแรกของไทย ๒.๒ ไม่ปรากฏชื่อผู้สร้างอักษรไทย เข้าใจกันว่าอักษรไทยหรือลายสือไทยนั้นพ่อขุนรามเป็นผู้คิดประดิษฐ์จาก อักษรมอญและอักษรขอมให้เป็นลายสือไทยที่มีลักษณะเฉพาะตัวดังที่ปรากฏในหลักศิลาจารึกหลักที่ ๑ ซึ่งมีลักษณะอยู่ ในบรรทัดเดียวกัน ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะที่ที่พ่อขุนรามคาแหงประดิษฐ์ขึ้น หากไม่มีหลักศิลาจารึกหลักที่ 1 การ สันนิษฐานเกี่ยวกับอักษรไทย คงเป็นการยืมอักขระจากชาติอื่นแล้วนามาปรับปรุงให้สมบูรณ์ขึ้นเพื่อใช้ในกลุ่มสังคมของ ตนเองเท่านั้น
  • 11. ๑๑ ๓. ปรัชญา ปรัชญาการปกครองแบบธรรมราชา ในด้านการปกครองในหลักศิลาจารึกได้กล่าวว่า “ในปากปตูมีกดึงอันณิ่ง แขวนไว้หั้น ไพร่ฝ้าหน้าปก กลางบ้านกลางเมือง มีถ้อยมีความ เจ็บท้องข้องใจ มันจักกล่าวเถิงเจ้าเถิงขุนบ่ไร้ ไปลันกดึง อันท่านแขวนไว้พ่อขุนรามคาแหงเจ้าเมืองใต้” (หลักศิลาจารึกหลักที่ ๑, ด้านที่ ๑ : บรรทัดที่ ๓๑-๓๕) ซึ่งถือว่าเป็น ต้นแบบในการปกครองแบบธรรมราชา ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพระมหากษัตริย์ใกล้ชิดประชาชน มากกว่าสมัยอยุธยาธนบุรี และรัตนโกสินทร์ตอนต้น ที่มีการปกครองแบบเทวราชา คือพระมหากษัตริย์เป็นผู้มีอานาจสิทธิ์ขาดในการดาเนินการ ซึ่งหากศิลาจารึกเป็นของปลอมจะทาให้เกิดความสงสัยในการปกครองในสมัยสุโขทัย ซึ่งอาจจะตีความได้ว่ามีความ คล้ายคลึงกับการปกครองในสมัยอยุธยาคือกาปกครองในรูปแบบเทวราชานั่นเอง ๔. วัฒนธรรม วัฒนธรรมที่ปรากฏในหลักศิลาจารึกหลักที่ ๑ เช่น ประเพณีเผาเทียนเล่นไฟ ธรรมเนียมการรักษาศีลการให้ ทาน การค้าขายเสรีไม่มีการเก็บจังกอบ และความอุดมสมบูรณ์ของบ้านเมืองที่ได้กล่าวไว้ในศิลาจารึกหลักที่ ๑ เมื่อถูก ตัดสินว่าหลักศิลาจารึกเป็นของปลอมย่อมทาให้ประวัติศาสตร์ในทางด้านศาสนา การค้าขายและประเพณีเปลี่ยนไป กล่าวคือ การอ้างอิงข้อมูลจากเดิมที่เคยอ้างจากหลักศิลาจารึกหลักที่ ๑ ก็ย่อมต้องเปลี่ยนแปลงข้อมูลอื่นที่มีความ น่าเชื่อถือกว่า เพราะเมื่อหลักศิลาจารึกหลักที่ ๑ ถูกตัดสินว่าเป็นของปลอมความน่าเชื่อถือในข้อมูลทางวิชาการย่อม ลดลงตามไปด้วย หากศิลาจารึกเป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยบุคคลที่ไม่ใช่บุคคลอื่นจริงไม่ว่าด้วยเจตนาใดและส่งผลกระทบต่อ หลายๆ ด้าน นั่นก็เพราะศิลาจารึกหลักที่ ๑ มีความสาคัญต่อชาติไทยอย่างมาก แต่ที่ส่งผลมากที่สุดก็คือต่อจิตใจของ ชาวไทยที่เชื่อและศรัทธาในคุณค่าของศิลาจารึกหลักนี้ ถึงแม้ว่าผู้ที่สร้างขึ้นมาจะมีเจตนาดีแต่ก็ถือว่าเป็น “คาโกหก” ที่ จะเปลี่ยนความเชื่อให้กลายเป็นความ “ไม่ไว้ใจ” ในทันที แนวโน้มความเป็นไปได้ของหลักศิลาจารึกหลักที่ ๑ จากเหตุการณ์การโต้แย้งเรื่องศิลาจารึกหลักที่ ๑ ทาให้มีนักวิชาการแบ่งแยกเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายที่ให้ความเห็นว่า ศิลาจารึกเป็นของเก่าที่ถูกสร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย และฝ่ายที่มีความเห็นว่าศิลาจารึกเป็นของใหม่สร้างขึ้นในสมัย รัตนโกสินทร์ จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าหลักศิลาจารึกสร้างขึ้นในสมัยสุโขทัยจริง เช่น การตรวจพิสูจน์ศิลาจารึก หลักที่ ๑ ด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ อักขรวิธี และข้อมูลทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับสถานที่ที่ระบุในหลักศิลาจารึก ซึ่งสามารถค้นพบได้ตรงตามที่ระบุไว้ในหลักศิลาจารึกหลักที่ ๑ เป็นต้น อย่างไรก็ตามได้เกิดประเด็นถกเถียงในหมู่ นักวิชาการว่าแท้จริงแล้วใครเป็นผู้สร้างศิลาจารึกนี้ระหว่างพ่อขุนรามคาแหงมหาราชกับพระยาลิไท เนื่องจาก ม.จ. จันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี ให้ความเห็นว่าศิลาจารึกหลักที่ ๑ สร้างขึ้นในสมัยพระยาลิไท ซึ่งเห็นได้จากในจารึกหลักที่ ๑ กล่าวถึงพ่อขุนรามคาแหงในลักษณะที่เป็นบุรุษที่สาม และพระยาลิไทต้องการใช้จารึกหลักที่ ๑ และหลักอื่นที่ เหมือนกันอีก ๓ หลักเพื่อประโยชน์ในการโฆษณาชวนเชื่อนั้นเอง
  • 12. ๑๒ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าศิลาจารึกหลักที่ ๑ อาจสร้างในสมัยสุโขทัยจริง แต่ไม่อาจสรุปได้ว่าผู้ใดเป็นผู้สร้างหลักศิลา จารึกระหว่างพ่อขุนรามคาแหงมหาราชกับพระยาลิไท อย่างไรก็ตามปัจจุบันคนส่วนใหญ่ก็เชื่อสนิทใจว่าพ่อขุนราม คาแหงมหาราชเป็นผู้สร้างหลักศิลาจารึกหลักที่ ๑
  • 13. ๑๓ บรรณานุกรม กัลยาณิวัฒนา,สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้า. (๒๕๓๒). มีผู้ถามว่า ไม่กลัวหรือถ้าหลัก ๑ นี้เป็นของปลอม ข้าพเจ้าไม่กลัว เพราะ.... ศิลปวัฒนธรรม, ๑๐(๖), ๒๑ – ๒๙. จรราภรณ์ อรัณยะนาคและศรีโสภา มาระเนตร์. (๒๕๓๔). การตรวจพิสูจน์ศิลาจารึกหลักที่ ๑ ด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์. ศิลปากร, ๓๔(๒), ๘๗ – ๑๐๑. จิรายุ นพวงศ์. (๒๕๕๐). อักขรวิธีในศิลาจารึกหลักที่ ๑. วารสารภาษาและวรรณคดีไทย, ๒๔(๑),๗๑ – ๘๔. ชัชวาล ปุญปัน. (๒๕๔๗). ข้อสงสัยการตรวจพิสูจน์ศิลาจารึกหลักที่ ๑ ด้วยวิธีวิทยาศาสตร์. ศิลปวัฒนธรรม, ๒๕(๔), ๓๕ – ๓๙. ธวัช ปุณโณทก. (๒๕๓๒). ทาไม? จึงต้องปลอมศิลาจารึกพ่อขุนรามคาแหง. ศิลปวัฒนธรรม, ๑๐(๔), ๑๐๐ – ๑๐๗. ___________. (๒๕๔๓). ศิลาจารึกพ่อขุนรามคาแหง (หลักที่ ๑) ไม่มีปัญญาชนผู้ใดปลอมได้. ศิลปวัฒนธรรม, ๒๑(๑๒), ๗๒ – ๘๐. ___________. (๒๕๓๔). หลักเกณฑ์ในการพิสูจน์อายุสมัยของศิลาจารึกพ่อขุนรามคาแหง. วารสารรามคาแหง, ๑๔ (๔), ๔๖ – ๕๔. ประเสริฐ ณ นคร. (๒๕๓๒). ศิลาจารึกพ่อขุนรามคาแหงแต่งสมัยสุโขทัยแน่ ๆ . ศิลปวัฒนธรรม, ๑๐(๕), ๒๐ – ๒๖. ___________. (๒๕๕๑). ศิลาจารึกพ่อขุนรามคาแหงมหาราช. วารสารไทย, ๒๙(๑๐๕), ๕๐ – ๕๘. พ. ณ ประมวญมารค. (๒๕๓๒). ใครปลอม? ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ . ศิลปวัฒนธรรม, ๑๐(๓), ๖๘ – ๗๕. ___________. (๒๕๓๒). ใครปลอม? ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ จารึกพระมหาธรรมราชาลิไทย. ศิลปวัฒนธรรม, ๑๐(๔), ๙๒ – ๙๙. ___________. (๒๕๓๒). ใครปลอม? ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ ใครปลอมลายสือไทยของพ่อขุนรามคาแหง?. ศิลปวัฒนธรรม, ๑๐(๕), ๕๒ – ๕๙. พิริยะ ไกรกฤษ์. (๒๕๓๒). จารึกพ่อขุนรามคาแหงการวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ศิลปะ. กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์. ___________. (๒๕๓๒). ศิลาจารึกพ่อขุนรามคาแหง. ภาษาและภาษาศาสตร์, ๘(๑), ๒ – ๑๒. ไมเคิล ไรท์. . (๒๔๔๐). ฝ่ายยักษ์มองจารึกหลักที่ ๑ ในแง่วรรณกรรม, สยามอารยะ, ๔๘(๕), ๑๓ – ๒๔. ___________. (๒๕๔๖). ที่มาของอักษรไทยและปริศนาจารึกหลักที่ ๑. ศิลปวัฒนธรรม, ๒๕(๒), ๑๖๒ – ๑๖๗. ___________. (๒๔๓๔). ไม่ใช่ศิลาจารึกพ่อขุนรามคาแหง. ศิลปวัฒนธรรม, ๑๒(๗), ๕๔ – ๖๘. ___________. (๒๔๔๘). Language Anomalies in Inscription One (ความผิดปกติทางภาษาในศิลาจารึก หลักที่ ๑). วารสารไทยคดีศึกษา, ๒(๑), ๑๗๕ – ๑๘๕. สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์. (๒๕๓๓). คาอภิปรายเรื่อง ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑. กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์ สุธี หริมเทพาธิป. (๒๕๔๓). กว่าจะเป็นศิลาจารึกพ่อขุนรามคาแหง. ศิลปวัฒนธรรม, ๒๔(๑๑), ๕๓. ศุภวัฒน์ เกษมศรี. (๒๕๓๒). โต้– ดร. พิริยะ ไกรฤกษ์ เรื่องจารึกพ่อขุนรามคาแหงแต่งสมัยสุโขทัยแน่ ๆ . ศิลปวัฒนธรรม, ๑๐(๓), ๕๘ – ๖๗. อโณทัย อาตมา. (๒๕๔๗). วิพากษ์คดี ‘ศิลาจารึกพ่อขุนรามฯ’ บ้างก็ว่าปลอม – บ้างก็ว่าจริง. กรุงเทพมหานคร : สุขภาพใจ.