SlideShare a Scribd company logo
1 of 34
Download to read offline
เอกสารประกอบการอบรม




    เรื่อง : ความปลอดภัยในการป้องกัน
              และควบคุมไฟป่า

สําหรับอาสาสมัครอนุรักษ์อุทยานธรรมชาติวิทยาตามพระราชดําริ
       สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
                อําเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี




                         นายสมภพ เพ็ชรเกลี้ยง
      สํานักงานโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
                           12 ธันวาคม 2555
สารบัญ
        เรื่อง                                                          หน้า

บทที่ 1 ความรู้เรื่องไฟป่า
        1. การเกิดไฟป่า                                                 1
        2.รูปร่างของไฟป่า                                               2
        3.ปัจจัยที่ส่งผลพฤติกรรมของไฟป่า                                3

บทที่ 2 การจัดองค์กรดับไฟป่าขั้นพื้นฐาน
        1 การจัดหมู่ดบไฟป่า
                     ั                                                  6
        2.องค์กรดับไฟป่าขนาดใหญ่                                        8

บทที่ 3 ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานดับไฟป่า
        1 ความปลอดภัยในเรื่องเครื่องแต่งกาย                             10
        2.ความปลอดภัยในการเดินทางด้วยรถยนต์                             10
        3.ความปลอดภัยในระหว่างการเดินเท้า                               11
        4.ความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือดับไฟป่า                         11
        5.ความปลอดภัยในระหว่างการดับไฟป่า                               14
        6.ความปลอดภัยในระหว่างการกวาดเก็บ                               22
        7.ความปลอดภัยจากสัตว์ป่าและอสรพิษ                               22
        8.อันตรายจากไฟต่ออาสาสมัครดับไฟป่า                              22
        9.การเอาชีวิตรอดในกรณีฉุกเฉิน                                   24

บทที่ 4 แนวพระราชดําริในการอนุรักษ์ป่าไม้
        1.ปลูกป่าในใจคน                                                 26
        2.การปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก                                      26
        3.ป่าเปียก                                                      26
        4.การสสร้างฝายต้นน้ําลําธารหรือฝายชะลอความชุ่มชื้น              27
        5.การปลูกหญ้าแฝก                                                28
        6.การปลูกไม้ 3 อย่าง ให้ประโยชน์ 4 อย่าง                        31



                                *************************************
คูมือ อาสาสมัครอนุรักษอุทยานธรรมชาติวิทยา

                                                       บทที่ 1
                                            ความรู้เบื้องต้น เรื่อง ไฟป่า


1.การเกิดไฟป่า
          1.1 จากธรรมชาติ ไฟป่าที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่น ฟ้าผ่า กิ่งไม้เสียดสีกัน
ภูเขาไฟระเบิด ก้อนหินกระทบกัน แสงแดดตกกระทบผลึกหิน แสงแดดส่องผ่านหยดน้ํา ปฏิกิริยาเคมีในดินป่าพรุ
การลุกไหม้ในตัวเองของสิ่งมีชีวิต แต่สาเหตุท่สําคัญ คือ
                                               ี
                  1) ฟ้าผ่า เป็นสาเหตุสําคัญของการเกิดไฟป่าในเขตอบอุ่น ในประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศ
แคนาดา พบว่ากว่าครึ่งหนึ่งของไฟป่าที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากฟ้าผ่า
                  2) กิ่งไม้เสียดสีกัน อาจเกิดขึ้นได้ในพื้นที่ป่าที่มีไม้ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นและมีสภาพอากาศแห้งจัด
เช่น ในป่าไผ่หรือป่าสน
          1.2 จากมนุษย์ ไฟป่าที่เกิดในประเทศกําลังพัฒนาในเขตร้อน ส่วนใหญ่จะมีสาเหตุมาจากกิจกรรมของ
มนุษย์ สําหรับประเทศไทยจากการเก็บสถิติไฟป่าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528-2542 ซึ่งมีสถิติไฟป่าทั้งสิ้น 73,630 ครั้ง พบว่า
เกิดจากสาเหตุตามธรรมชาติคือฟ้าผ่าเพียง 4 ครั้ง เท่านั้น คือเกิดที่ภูกระดึง จังหวัดเลย ที่ห้วยน้ําดัง จังหวัดเชียงใหม่
ที่ท่าแซะ จังหวัดชุมพร และที่เขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา แห่งละหนึ่งครั้ง ดังนั้นจึงถือได้ว่าไฟป่าในประเทศไทย
ทั้งหมดเกิดจากการกระทําของคน โดยมีสาเหตุต่างๆ กันไป ได้แก่
                  1) เก็บหาของป่า เป็นสาเหตุท่ีทําให้เกิดไฟป่ามากที่สุด การเก็บหาของป่าส่วนใหญ่ ได้แก่
ไข่มดแดง เห็ด ใบตองตึง ไม้ไผ่ น้ําผึ้ง ผักหวาน และไม้ฟืน การจุดไฟส่วนใหญ่เพื่อให้พื้นป่าโล่ง เดินสะดวก หรือให้
แสงสว่างในระหว่างการเดินทางผ่านป่าในเวลากลางคืน หรือจุดเพื่อกระตุ้นการงอกของเห็ด หรือกระตุ้นการแตกใบ
ใหม่ของผักหวานและใบตองตึง หรือจุดเพื่อไล่ตัวมดแดงออกจากรัง รมควันไล่ผึ้ง หรือไล่แมลงต่างๆ ในขณะที่อยู่ในป่า
                  2) เผาไร่ เป็นสาเหตุที่สําคัญรองลงมา การเผาไร่ก็เพื่อกําจัดวัชพืชหรือเศษซากพืชที่เหลืออยู่
ภายหลังการเก็บเกี่ยว ทั้งนี้เพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูกในรอบต่อไป ทั้งนี้โดยปราศจากการทําแนวกันไฟและปราศจาก
การควบคุม ไฟจึงลามเข้าป่าที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง
                  3) แกล้งจุด ในกรณีที่ประชาชนในพื้นที่มีปัญหาความขัดแย้งกับหน่วยงานของรัฐในพื้นที่
โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเรื่องที่ทํากินหรือถูกจับกุมจากการกระทําผิดในเรื่องป่าไม้ ก็มักจะหาทางแก้แค้นเจ้าหน้าที่
ด้วยการเผาป่า
                  4) ความประมาท เกิดจากการเข้าไปพักแรมในป่า ก่อกองไฟแล้วลืมดับ หรือทิ้งก้นบุหรี่ลงบนพื้นป่า
เป็นต้น
                  5) ล่าสัตว์ โดยจุดไฟไล่ให้สัตว์หนีออกจากที่ซ่อน หรือจุดไฟเพื่อให้แมลงบินหนีไฟ นกชนิดต่างๆ
จะบินมากินแมลง แล้วดักยิงนกอีกทอดหนึ่ง หรือจุดไฟเผาทุ่งหญ้า เพื่อให้หญ้าใหม่แตกระบัด ล่อให้สัตว์ชนิดต่างๆ
เช่น กระทิง กวาง กระต่าย มากินหญ้า แล้วดักรอยิงสัตว์นั้นๆ
                  6) เลี้ยงปศุสัตว์ ประชาชนที่เลี้ยงปศุสัตว์แบบปล่อยให้หากินเองตามธรรมชาติ มักลักลอบจุดไฟเผา
ป่าให้โล่งมีสภาพเป็นทุ่งหญ้าเพื่อเป็นแหล่งอาหารสัตว์
                  7) ความคึกคะนอง บางครั้งการจุดไฟเผาป่าเกิดจากความคึกคะนองของผู้จุด โดยไม่มีวัตถุประสงค์
ใดๆ แต่จุดเล่นเพื่อความสนุกสนาน เท่านั้น




เอกสารประกอบการฝกอบรม เรื่อง ความปลอดภัยในการปองกันและควบคุมไฟปา                                         หนาที่ 1
คูมือ อาสาสมัครอนุรักษอุทยานธรรมชาติวิทยา

2.รูปร่างของไฟป่า
          รูปร่างของไฟป่า ในสภาพความเป็นจริงมักจะเป็นรูปวงรี เนื่องจากอัตราการลุกลามของไฟในแต่ละทิศทางจะ
ไม่เท่ากัน ทั้งนี้เกิดจากอิทธิพลของลม หรืออิทธิพลของความลาดชันของพื้นที่ ซึ่งแล้วแต่กรณี โดยรูปร่างของไฟที่ไหม้
ไปตามทิศทางของลม จะเป็นไปในทํานองเดียวกับไฟที่ไหม้ขึ้นไปตามลาดเขา




                                        งามไฟ


                                   ภาพที่ 1.1 รูปร่างและส่วนต่างๆ ของไฟป่า

ส่วนต่างๆ ของไฟ ประกอบด้วย
        1) หัวไฟ คือ ส่วนของไฟที่ลุกลามไปตามทิศทางลม หรือลุกลามขึ้นไปตามความลาดชันของภูเขา เป็นส่วน
ของไฟที่มีอัตราการลุกลามรวดเร็วที่สุด มีเปลวไฟยาวที่สุด มีความรุนแรงของไฟมากที่สุด จึงเป็นส่วนของไฟที่มี
อันตรายมากที่สุดด้วยเช่นกัน
        2) หางไฟ คือ ส่วนของไฟที่ไหม้ไปในทิศทางตรงกันข้ามกับหัวไฟ คือไหม้สวนทางลม หรือไหม้ลงมาตาม
ลาดเขา ไฟจึงลุกลามไปอย่างช้าๆ เป็นส่วนของไฟที่เข้าควบคุมได้ง่ายที่สุด
        3) ปีกไฟ คือ ส่วนของไฟที่ไหม้ตั้งฉากหรือขนานไปกับทิศทางหลักของหัวไฟ ปีกไฟแบ่งเป็นปีกซ้ายและ
ปีกขวา โดยกําหนดปีกซ้ายปีกขวาจากการยืนที่หางไฟแล้วหันหน้าไปทางหัวไฟ ปีกไฟโดยทั่วไปจะมีอัตราการลุกลาม
และความรุนแรงน้อยกว่าหัวไฟ แต่มากกว่าหางไฟ
        4) นิ้วไฟ คือ ส่วนของไฟที่เป็นแนวยาวแคบๆ ยื่นออกไปจากตัวไฟหลัก นิ้วไฟแต่ละนิ้วจะมีหัวไฟและปีกไฟ
ของมันเอง นิ้วไฟเกิดจากเงื่อนไขของลักษณะเชื้อเพลิง และลักษณะความลาดชันของพื้นที่
        5) ขอบไฟ คือ ขอบเขตของไฟป่านั้นๆ ในช่วงเวลาหนึ่งๆ ซึ่งอาจจะเป็นช่วงที่ไฟกําลังไหม้ลุกลามอยู่ หรือ
เป็นช่วงที่ไฟนั้นได้ดับลงแล้วโดยสิ้นเชิง
        6) ง่ามไฟ คือ ส่วนของขอบไฟที่อยู่ระหว่างนิ้วไฟ ซึ่งจะมีอัตราการลุกลามช้ากว่านิ้วไฟ เนื่องจากเงื่อนไข
ของลักษณะเชื้อเพลิง และลักษณะความลาดชันของพื้นที่
        7) ลูกไฟ คือส่วนของไฟที่ไหม้นําหน้าตัวไฟหลัก โดยเกิดจากการที่สะเก็ดไฟจากตัวไฟหลักถูกลมพัดให้ปลิว
ไปตกหน้าแนวไฟหลักและเกิดลุกไหม้กลายเป็นไฟป่าขึ้นอีกหนึ่งไฟ

เอกสารประกอบการฝกอบรม เรื่อง ความปลอดภัยในการปองกันและควบคุมไฟปา                                    หนาที่ 2
คูมือ อาสาสมัครอนุรักษอุทยานธรรมชาติวิทยา

3.ปัจจัยทีส่งผลต่อพฤติกรรมของไฟป่า
            ่
           3.1 ลักษณะเชื้อเพลิง
                      1) ขนาดของเชื้อเพลิง หากเชื้อเพลิงมีพื้นที่ผิวต่อหน่วยปริมาตรมาก อัตราการสันดาปจะช้ากว่า
เชื้อเพลิงที่มีพื้นที่ผวต่อหน่วยปริมาตรน้อย ดังนั้นเชื้อเพลิงที่มีขนาดเล็ก เช่น ใบไม้แห้ง กิ่งก้านไม้แห้ง และหญ้าจะติด
                       ิ
ไฟง่ายกว่าและลุกลามได้รวดเร็วกว่า ในทางตรงข้ามเชื้อเพลิงขนาดใหญ่ เช่น กิ่งก้านไม้ขนาดใหญ่ ท่อนไม้ ตอไม้
ไม้ยืนตาย จะติดไฟยากกว่า และลุกลามไปอย่างช้าๆ แต่มีความรุนแรงมากกว่า
                      2) ปริมาณหรือน้ําหนักของเชื้อเพลิง หากมีเชื้อเพลิงต่อหน่วยพื้นที่มาก ไฟก็จะมีความรุนแรงมาก
และปลดปล่อยพลังงานความร้อนออกมามากด้วยเช่นกัน
                      3) ความหนาของชั้นเชื้อเพลิง หากเชื้อเพลิงมีการสะสมตัวกันมาก ชั้นของเชื้อเพลิงจะมี
ความหนามาก ทําให้เกิดน้ําหนักกดทับให้เชื้อเพลิงเกิดการอัดแน่นตัว มีปริมาณเชื้อเพลิงต่อหน่วยพื้นที่มาก ทําให้ไฟ
ที่เกิดขึ้นมีความรุนแรงมากตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม ถ้าชั้นของเชื้อเพลิงหนาเกินไปมีการอัดแน่นจนไม่มีช่องให้
ออกซิเจนแทรกตัวเข้าไป การลุกลามก็จะเป็นไปได้ยากและเป็นไปอย่างช้าๆในขณะเดียวกัน ความหนาของ
ชั้นเชื้อเพลิงมีผลโดยตรงต่อความยาวเปลวไฟ คือถ้าชั้นเชื้อเพลิงหนามาก ความยาวเปลวไฟก็จะยาวมากตามไปด้วย
                      4) การจัดเรียงตัวและความต่อเนื่องของเชื้อเพลิง เป็นปัจจัยสําคัญที่กําหนดอัตราการลุกลามและ
ความต่อเนื่องของการลุกลามของไฟ หากเชื้อเพลิงมีการกระจายตัวอยู่อย่างสม่ําเสมอและต่อเนื่องกันทั่วพื้นที่ ไฟก็จะ
สามารถลุกลามไปได้อย่างต่อเนื่องด้วยความรวดเร็ว แต่ถ้าหากเชื้อเพลิงมีการกระจายตัวไม่สม่ําเสมอ กระจัดกระจาย
เป็นหย่อมๆ การลุกลามของไฟก็จะหยุดชะงักเป็นช่วงๆ และไฟเคลื่อนที่ไปได้ค่อนข้างช้า
                      5) ความชื้นของเชื้อเพลิง มีอิทธิพลต่อการติดไฟและการลุกลามของไฟ คือถ้าเชื้อเพลิงมีความชื้นสูง
จะติดไฟยากและการลุกลามเป็นไปอย่างช้าๆ ในทางตรงข้ามถ้าเชื้อเพลิงมีความชื้นต่ําก็จะติดไฟง่ายและลุกลามไปได้
อย่างรวดเร็ว




             ภาพที่ 1.2 ลักษณะของเชื้อเพลิงในป่าเบญจพรรณ อุทยานธรรมชาติวิทยาตามพระราชดําริ




เอกสารประกอบการฝกอบรม เรื่อง ความปลอดภัยในการปองกันและควบคุมไฟปา                                         หนาที่ 3
คูมือ อาสาสมัครอนุรักษอุทยานธรรมชาติวิทยา

         3.2 ลักษณะอากาศ
                   1) ความชื้นสัมพัทธ์ โดยทั่วไปแล้วจะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับความชื้นของเชื้อเพลิง ถ้าความชื้น
สัมพัทธ์สูง (มีน้ําค้างมาก หมอกหนา) ความชื้นของเชื้อเพลิงก็จะสูงตามไปด้วยทําให้ติดไฟยาก ลุกลามได้ช้า และ
มีความรุนแรงน้อย แต่ถ้าความชื้นสัมพัทธ์ต่ํา (แห้งแล้ง ลมโกรก) ความชื้นของเชื้อเพลิงก็จะต่ําตามไปด้วย ทําให้ติด
ไฟง่าย ลุกลามรวดเร็ว และรุนแรงมาก
                   2) อุณหภูมิ มีอิทธิพลโดยตรงต่อความชื้นของเชื้อเพลิง อุณหภูมิย่งสูง เชื้อเพลิงยิ่งแห้งติดไฟง่ายขึ้น
                                                                                 ิ
                   3) ลม มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของไฟป่าอย่างมาก กล่าวคือ เป็นตัวการเพิ่มออกซิเจนให้แก่ไฟป่า
และทําให้เชื้อเพลิงแห้งอย่างรวดเร็ว เป็นตัวการพัดลูกไฟไปตกหน้าแนวไฟเดิมเกิดเป็นไฟใหม่ และเป็นตัวกําหนด
ทิศทางและอัตราการลุกลามของไฟป่าไปตามทิศทางและความเร็วของลม ในกรณีของไฟเรือนยอด หรือไฟในทุ่งหญ้า
หรือไฟผิวดินในป่าที่ค่อนข้างโล่ง ลมโดยเฉพาะลมบนจะเป็นปัจจัยสําคัญที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมความรุนแรงของไฟ
เป็นอย่างมาก แต่สําหรับไฟผิวดินในป่าที่มีต้นไม้ค่อนข้างแน่นทึบ ลมบนแทบจะไม่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของไฟป่า
เลย ทั้งนี้เนื่องจากเมื่อลมพัดผ่านเข้าไปในป่า จะถูกต้นไม้ปะทะเอาไว้ทําให้ความเร็วของลมที่พัดผ่านป่าที่ระดับใกล้
ผิวดินลดลงมาก และมีค่าค่อนข้างสม่ําเสมอ
                   ความเร็วลมจะมีค่าสูงสุดในช่วงกลางวัน และลดลงในช่วงเย็น สําหรับพื้นที่ที่เป็นลาดเขา ลมจะพัด
ขึ้นเขาในเวลากลางวัน และพัดลงเขาในเวลากลางคืน และลมที่พัดขึ้นไปตามร่องเขา จะมีกําลังและความเร็วสูงกว่า
ลมที่พดขึ้นไปตามลาดเขาปกติมาก
       ั


ข้อควรจํา         **อาสาสมัครดับไฟป่าจะต้องคํานึงไว้เสมอว่าเมื่อความเร็วลมเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า อัตราการลุกลาม
                  ของไฟตามทิศทางลมจะเพิ่มขึ้นมากกว่าสองเท่าเสมอ
                  **ไฟป่าจะมีอันตรายมากที่สุดในช่วงเวลากลางวัน ระหว่างเวลา 10.00 น. ถึง 18.00 น. เพราะเป็น
                  ช่วงที่ความเร็วลมสูง ความชื้นสัมพัทธ์ต่ํา และอุณหภูมิสูง
                  **ไฟป่าจะมีอันตรายน้อยที่สุดในช่วงเวลากลางคืน ระหว่างเวลา 02.00น. ถึง 06.00 น. เพราะเป็น
                  ช่วงที่ความเร็วลมต่ํา ความชื้นสัมพัทธ์สูง และอุณหภูมิต่ํา


          3.3 ลักษณะภูมิประเทศ
                    1) ความลาดชัน ความลาดชันมีอิทธิพลโดยตรงต่อทิศทางและอัตราการลุกลามของไฟ ไฟที่ลุกลาม
ขึ้นไปตามลาดเขาจะมีอัตราการลุกลามรวดเร็วและมีความรุนแรงกว่าไฟบนที่ราบเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีการพา
ความร้อนผ่านอากาศขึ้นไปทําให้เชื้อเพลิงด้านบนแห้งไว้ก่อนแล้วจึงติดไฟได้รวดเร็ว และแนวของเปลวไฟก็อยู่ใกล้
เชื้อเพลิงที่อยู่ขางหน้ามากกว่า
                  ้
                    ไฟที่ ไ หม้ ข้ึ น ไปตามลาดเขาจะมี รู ป ร่ า งและพฤติ ก รรมคล้ า ยกั บ ไฟที่ ไ หม้ ไ ปตามอิ ท ธิ พ ลของลม
โดยทั่วไปไฟจะไหม้ขึ้นเขาในเวลากลางวัน และไหม้ลงเขาในเวลากลางคืน ตามทิศทางการพัดของลมภูเขา ในกรณีที่
เกิดไฟไหม้ข้นเขาในเวลากลางคืน จะพบว่าอัตราการลุกลามช้ากว่าไฟไหม้ขึ้นเขาในเวลากลางวันมาก ทั้งนี้เนื่องจากไฟ
              ึ
ต้องไหม้ทวนทิศทางลม ในทางตรงกันข้าม ไฟที่ไหม้ลงเขาในเวลากลางคืน จะมีอัตราการลุกลามรวดเร็วกว่าไฟไหม้ลง
เขาในเวลากลางวันมาก ทั้งนี้เนื่องจากไฟจะไหม้ไปตามทิศทางลม
                    2) ทิศด้านลาด คือการบอกทิศทางของพื้นที่ที่มีความลาดชันนั้นๆ ว่าหันไปทางทิศใด พื้นที่ลาดชันที่
หันไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้จะรับแสงอาทิตย์ในเวลากลางวันทําให้พื้นที่มีความแห้งแล้งกว่าพื้นที่ในทิศด้านลาดอื่นๆ
เชื้อเพลิงจึงแห้ง ติดไฟง่ายและไฟลุกลามได้รวดเร็วกว่าบนทิศด้านลาดอื่นๆ
เอกสารประกอบการฝกอบรม เรื่อง ความปลอดภัยในการปองกันและควบคุมไฟปา                                              หนาที่ 4
คูมือ อาสาสมัครอนุรักษอุทยานธรรมชาติวิทยา




   ภาพที่ 1.3 ภูมิประเทศในอุทยานธรรมชาติวิทยาตามพระราชดําริ เป็นพื้นที่ลาดชันสูงหันไปทางทิศตะวันออก
                และมักเกิดไฟไหม้ขึ้นเขา


          นอกจากนี้แล้ว ปัจจัยภูมิประเทศด้านอื่นๆ ก็มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของไฟป่าด้วย เช่น ระดับความสูงของ
พื้นที่มีผลต่ออุณหภูมิและปริมาณน้ําฝน และชนิดของพืชพรรณ ภูมิประเทศที่ไม่สม่ําเสมอ เช่น หุบเขาทําให้เกิด
ลักษณะอากาศเฉพาะที่ ทําให้กระแสลมปั่นป่วน ทําให้เกิดลมหมุนและลมหวน หุบเขาแคบๆหรือร่องเขาทําหน้าที่
คล้ายปล่องควันที่ชวยเร่งความเร็วของกระบวนการพาความร้อน อันเป็นการเร่งอัตราการสันดาป
                  ่




เอกสารประกอบการฝกอบรม เรื่อง ความปลอดภัยในการปองกันและควบคุมไฟปา                                   หนาที่ 5
คูมือ อาสาสมัครอนุรักษอุทยานธรรมชาติวิทยา

                                                   บทที่ 2
                                        การจัดองค์กรดับไฟป่าขั้นพืนฐาน
                                                                  ้

         การจัดองค์กรดับไฟป่าถือว่าเป็นสิ่งสําคัญอันดับแรกในกระบวนการดับไฟป่า เพราะถึงแม้ว่าจะมีกําลังคนและ
อุปกรณ์การดับไฟป่าอย่างมากมายก็ตาม แต่ถ้าขาดการจัดองค์กรที่เป็นระบบแล้ว เมื่อเข้าเผชิญหน้ากับไฟป่า ซึ่งเป็น
ช่ว งสถานการณ์ ท่ี วิก ฤติ และเสี่ ย งเป็ นเสี่ ยงตาย ก็อ าจเกิ ดความสับสนวุ่นวาย และตื่ น ตระหนก จนกระทั่ง การ
ปฏิบัติงานล้มเหลว และผู้ปฏิบัติงานได้รับอันตราย ดังนั้นการดับไฟป่าจึงจําเป็นต้องมีการจัดองค์กร เพื่อให้ทราบสาย
การบังคับบัญชาที่ชัดเจน ผู้ปฏิบัติงานแต่ละคนทราบหน้าที่และภารกิจของตนเอง และมีการประสานการปฏิบัติงาน
ร่วมกันอย่างเป็นเอกภาพ จึงจะเป็นหลักประกันความสําเร็จของงาน และความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานทุกคน ในแต่
ละประเทศจะมีการจัดองค์กรดับไฟป่าที่แตกต่างกันออกไป แต่โดยทั่วไปจะแบ่งกําลังออกเป็นหมวดหมู่ คือ หมู่ดับไฟ
ป่าภาคพื้นดิน หน่วยเครื่องสูบน้ําและรถดับเพลิง หน่วยเครื่องจักรกลหนัก และหน่วยสนับสนุนทางอากาศ สําหรับ
ประเทศไทย การจัดองค์กรดับไฟป่าพื้นฐานของสถานีควบคุมไฟป่า จะประกอบด้วย หมู่ดับไฟป่า หน่วยลาดตะเวน
และสื่อสาร และหน่วยสนับสนุน (ภาพที่ 2.1)

                                          หัวหน้าหน่วยควบคุมไฟป่า

              หมู่ดับไฟป่า                   หน่วยลาดตระเวน                          หน่วยสนับสนุน
         (ตั้งแต่ 1 หมู่ ขึ้นไป)                และสื่อสาร                                 (ถ้ามี)
                                                                                - เครื่องสูบน้ํา
                                                                                - Slip-on Tank
                                                                                - รถบรรทุกน้ํา
                                                                                - รถดับเพลิง
                                                                                - รถแทรกเตอร์
                                                                                - เฮลิคอปเตอร์

                              ภาพที่ 2.1 การจัดองค์กรดับไฟป่าพื้นฐานของประเทศไทย

1.การจัดหมู่ดบไฟป่า
               ั
         หมู่ดับไฟป่าภาคพื้นดิน ถือว่าเป็นหน่วยที่มีความสําคัญที่สุดในการดับไฟป่า เพราะเป็นกําลังหลักที่จะเข้า
เผชิญหน้ากับไฟป่าโดยตรง เพื่อควบคุมและดับไฟป่าลงให้ได้อย่างสิ้นเชิงในที่สุด ซึ่งเปรียบเสมือนทหารราบอันเป็น
ราชินีแห่งสนามรบที่เป็นกําลังหลักในการเข้าประจันหน้าและทําลายล้างข้าศึกให้ได้อย่างราบคาบ เพื่อเข้ายึดพื้นที่และ
ประกาศชัยชนะในการศึกครั้งนั้นในที่สด  ุ
         หมู่ดับไฟป่าควรจะจัดให้มีขนาดเล็กแต่พอเพียงสําหรับการปฏิบัติภารกิจ ทั้งนี้เพื่อความคล่องตัวและความ
สะดวกในการบังคับบัญชาและประสานงาน ในประเทศสหรัฐอเมริกา จัดหมู่ดับไฟป่าภาคพื้นดินของหน่วย Hot Shot
โดยมีกําลังพล 20 นาย ซึ่งเท่ากับหมู่ดับไฟป่าภาคพื้นดินของประเทศแคนาดา นอกจากนั้นแคนาดายังมีการจัดหมู่ดับ
ไฟป่าพิเศษ เรียกว่า หน่วยจู่โจมเคลื่อนที่เร็ว ซึ่งมีกําลังพลเพียง 3 นาย ส่งกําลังทางเฮลิคอปเตอร์และใช้วิธีโรยตัว
จากเฮลิคอปเตอร์ลงสู่พ้ืนที่เป้าหมาย ทําให้สามารถสกัดไฟได้อย่างรวดเร็วและมีความคล่องตัวสูง สําหรับประเทศ
รัสเซีย จัดหมู่ดับไฟป่าโดยมีกําลังพล 12 นาย ส่งกําลังทางอากาศ โดยโดดร่มจากเครื่องบินปีก 6 นาย และโรยตัวจาก
เฮลิคอปเตอร์อก 6 นาย จากนั้นจึงประกอบกําลังเป็นหมู่ดับไฟป่าเดียวกันในภาคพื้นดิน
                 ี
เอกสารประกอบการฝกอบรม เรื่อง ความปลอดภัยในการปองกันและควบคุมไฟปา                                    หนาที่ 6
คูมือ อาสาสมัครอนุรักษอุทยานธรรมชาติวิทยา

         สําหรับประเทศไทย การจัดหมู่ดับไฟป่ายิ่งเล็กจะยิ่งมีประสิทธิภาพ เพราะจะมีความคล่องตัวและมีอิสระใน
การปฏิบัติงานสูง ตามธรรมชาติของคนไทยที่ไม่ถนัดกับการทํางานเป็นทีม (Teamwork) อย่างไรก็ตามในบางครั้ง
เนื่องจากมีข้อจํากัดในเรื่องอุปกรณ์การสื่อสารทําให้จําเป็นต้องจัดหมู่ดับไฟป่าที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ดังนั้นเพื่อให้เกิดความ
ยืดหยุ่นตามภารกิจและข้อจํากัด จึงจัดหมู่ดับไฟป่าไว้ 2 แบบ ดังนี้
         1) หมู่ดับไฟป่าขนาดเล็ก
         มีกาลังพล 7 นาย แบ่งหน้าที่ ดังนี้
            ํ
                   - หัวหน้าหมู่ดับไฟป่า 1 นาย
                   - ถังฉีดน้ําดับไฟป่า 2 นาย
                   - ที่ตบไฟ 4 นาย (พร้อมครอบไฟป่าหรืออุปกรณ์ทําแนวกันไฟอื่นๆ)
         ในขณะเข้าปฏิบัติงาน หมู่ดับไฟป่าขนาดเล็กนี้สามารถกระจายกําลังออกเป็น 2 หมู่ดับไฟย่อย หมู่ย่อยละ 3
นาย โดยเป็นที่ตบไฟ 2 นาย และ ถังฉีดน้ําดับไฟ 1 นาย และถือเป็นกฎเกณฑ์มาตรฐานว่า หมู่ย่อยที่เล็กที่สุดในการ
ดับไฟป่าจะต้องมีกําลังอย่างน้อย 3 นาย โดยที่ตบไฟและถังฉีดน้ําดับไฟจะต้องปฏิบัติงานร่วมกันเสมอ ในอัตราส่วน ที่
ตบไฟ 2 นาย ต่อถังฉีดน้ํา 1 นาย จะไม่มีการแยกปฏิบัติงานโดยมีแต่ที่ตบไฟอย่างเดียวทั้งหมด หรือถังฉีดน้ําดับไฟ
อย่างเดียวทั้งหมด เป็นอันขาด (ภาพที่ 2.2)




                                      ภาพที่ 2.2 การจัดหมู่ดับไฟป่าขนาดเล็ก
          2) หมู่ดับไฟป่าขนาดใหญ่
          ในกรณีที่อุปกรณ์การสื่อสารไม่เพียงพอ จําเป็นต้องประกอบกําลังหมู่ดับไฟป่าขนาดเล็ก 2 หมู่ กลายเป็นหมู่
ดับไฟป่าขนาดใหญ่ ทําให้มีกําลังพล 14 นาย โดยแบ่งหน้าที่ดังนี้
                    - หัวหน้าหมู่ดับไฟป่า 1 นาย
                    - ผู้ชวยหัวหน้าหมู่ดับไฟป่า 1 นาย (พร้อมที่ตบไฟ)
                          ่
                    - ถังฉีดน้ําดับไฟป่า 4 นาย
                    - ที่ตบไฟ 8 นาย (พร้อมครอบไฟป่าหรืออุปกรณ์ทําแนวกันไฟอื่นๆ)
          ในขณะเข้าปฏิบัติงาน หมู่ดับไฟขนาดใหญ่น้ีสามารถกระจายกําลังออกเป็น 4 หมู่ดับไฟย่อย หมู่ย่อยละ 3
นาย ในสัดส่วนที่ตบไฟ 2 นาย ต่อถังฉีดน้ําดับไฟป่า 1 นาย เช่นเดียวกับการจัดหมู่ย่อยของหมู่ดับไฟป่าขนาดเล็ก โดย
ผู้ช่วยหัวหน้าหมู่ดับไฟป่ามีหน้าที่ช่วยควบคุมการปฏิบัติงานของหมู่ย่อยตามการมอบหมายของหัวหน้าหมู่ดับไฟป่า
และเข้าช่วยเสริมการปฏิบติงานของหมู่ย่อยตามความจําเป็น (ภาพที่ 2.3)
                             ั


เอกสารประกอบการฝกอบรม เรื่อง ความปลอดภัยในการปองกันและควบคุมไฟปา                                         หนาที่ 7
คูมือ อาสาสมัครอนุรักษอุทยานธรรมชาติวิทยา




                                  ภาพที่ 2.3 การจัดหมู่ดับไฟป่าขนาดใหญ่

2.องค์กรดับไฟป่าขนาดใหญ่
          ในกรณีที่ไฟป่ามีขนาดใหญ่มาก ต้องมีการระดมกําลังคนและเครื่องมืออุปกรณ์การดับไฟป่าจํานวนมากเพื่อ
ร่วมปฏิบตงานดับไฟป่าขนาดใหญ่และจําเป็นต้องปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะทําให้การวางแผนดับไฟป่า
           ัิ
การจัดองค์กรดับไฟป่า ตลอดจนการอํานวยการและประสานงานการดับไฟป่ามีความยุ่งยากซับซ้อนมาก หากแต่ก็มี
ความสําคัญมากด้วยเช่นกัน ดังนั้นในการดับไฟป่าขนาดใหญ่ทุกครั้ง ให้ระลึกไว้เสมอว่า จะต้องมีการวางแผน มีการ
จัดองค์กร มีการอํานวยการและประสานงานดับไฟป่าที่มีประสิทธิภาพเท่านั้น งานจึงจะประสบผลสําเร็จ หากขาดสิ่ง
ที่ว่าแล้ว ถึงแม้จะมีกําลังคนและยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัยจํานวนมากมายมหาศาลเพียงใดก็ตาม ก็จะไม่สามารถควบคุม
ไฟป่าไว้ได้
          การจัดองค์กรดับไฟป่าขนาดใหญ่ จะต้องจัดในรูปของกองอํานวยการดับไฟป่า ซึ่งแบ่งเป็นฝ่ายต่างๆ โดย
แต่ละฝ่ายมีหน้าที่ความรับผิดชอบและสายการบังคับบัญชาที่ชัดเจนไม่สับสนและไม่ซ้ําซ้อน ดังนี้ (ภาพที่ 2.4)
          1) ฝ่ายแผน
          มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้
                    1.1) กําหนดแผน ประกอบด้วย
                             - แผนดับไฟป่า
                             - แผนจัดหา (กําลังพล อุปกรณ์ เครื่องจักรกล อากาศยาน ฯลฯ)
                             - แผนส่งกําลังบํารุง
                             - แผนกู้ภัย
เอกสารประกอบการฝกอบรม เรื่อง ความปลอดภัยในการปองกันและควบคุมไฟปา                                   หนาที่ 8
คูมือ อาสาสมัครอนุรักษอุทยานธรรมชาติวิทยา

                   1.2) ประสานการปฏิบัติงาน ควบคุมและติดตามสถานการณ์
                   1.3) รวบรวมข้อมูลการรายงานตลอดการปฏิบัติงาน และประเมินผล
         2) ฝ่ายปฏิบัติการ
         มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้
                   2.1) จัดรูปกําลังพล โดยแบ่งหมวดหมู่ดับไฟป่า กําหนดสายการบังคับบัญชาของหมวดหมู่ดับไฟป่าที่
มีกําลังพลมาจากที่ต่างๆ คือ
                            - กําลังหลักจากอาสาสมัครดับไฟป่า
                            - กําลังสนับสนุนจากหน่วยราชการต่างๆ
                   2.2) จัดหมวดหมู่และสายการบังคับบัญชาของหน่วยเครื่องจักรกล และหน่วยอากาศยาน
                   2.3) ควบคุมและบังคับบัญชาให้หน่วยปฏิบัติทุกหน่วยปฏิบัติงานไปตามแผนต่างๆ ที่กาหนดไว้
                                                                                               ํ
         3) ฝ่ายบริการ
         มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้
                   3.1) ประสานงานจัดหากําลังพล เครื่องจักรกลหนัก และอากาศยาน ตามที่กําหนดเอาไว้ในแผน
                   3.2) จัดหาและจัดส่งกําลังบํารุงตามแผนส่งกําลังบํารุง ตามรายการต่อไปนี้
                            - กําลังพลสับเปลี่ยน
                            - อาหารและน้ํา
                            - เครื่องมือและอุปกรณ์ดับไฟป่า
                            - อุปกรณ์การยังชีพและพักแรมในป่า
                            - เวชภัณฑ์เพื่อการปฐมพยาบาล
                   3.3) ปฏิบัตงานกู้ภัย ตามแผนกู้ภัยที่กําหนดไว้
                               ิ

                                       กองอํานวยการดับไฟป่า



       ฝ่ายแผน                             ฝ่ายปฏิบัติการ                            ฝ่ายบริการ
- กําหนดแผน                                                                   - จัดหาและส่งกําลังบํารุง
- ประสานงาน และ ประเมินผล                                                     - ปฐมพยาบาล และกู้ภัย


          หน่วยภาคพื้นดิน                   หน่วยเครื่องจักรกล                   หน่วยอากาศยาน
- กําลังจากอาสาสมัครดับไฟป่า        - Slip-on Tank                       - เฮลิคอปเตอร์
- กําลังจากหน่วยงานอื่นๆ            - รถบรรทุกน้ํา                       - เครื่องบินปีก
                                    - รถดับเพลิง
                                    - รถแทรกเตอร์

                                 ภาพที่ 2.4 การจัดองค์กรดับไฟป่าขนาดใหญ่


เอกสารประกอบการฝกอบรม เรื่อง ความปลอดภัยในการปองกันและควบคุมไฟปา                                   หนาที่ 9
คูมือ อาสาสมัครอนุรักษอุทยานธรรมชาติวิทยา

                                                  บทที่ 3
                                     ความปลอดภัยในการปฏิบติงานดับไฟป่า
                                                          ั

          งานดับไฟป่า เป็นงานที่หนัก เหน็ดเหนื่อย และเสี่ยงอันตรายเป็นอย่างยิ่ง อันตรายในระหว่างปฏิบัติงาน
เกิดขึ้นได้ในทุกเสี้ยววินาที ทั้งจากเปลวไฟโดยตรง จากรังสีความร้อน จากหมอกควันและก๊าซพิษ รวมไปถึงอันตราย
อันเกิดขึ้นได้ในทุกขั้นตอนของการปฏิบัติงาน โดยปกติแล้วหากมีการวางมาตรการในเรื่องความปลอดภัยเป็นอย่างดี
มีความระมัดระวังไม่ประมาทอยู่ตลอดเวลา โอกาสเกิดอันตรายหรืออุบัติเหตุก็จะมีน้อยลง แต่เนื่องจากงานดับไฟป่า
เป็นงานหนัก ใช้ระยะเวลาปฏิบัติงานยาวนาน ทําให้เกิดความอ่อนล้าเกิดความเครียด มีผลให้สมองสั่งการและ
ตอบสนองช้าลง ความระมัดระวังภัยจึงลดลงตามไปด้วย โดยยิ่งปฏิบัติงานยืดเยื้อยาวนานเท่าไร โอกาสที่จะเกิด
อันตรายและอุบัติเหตุก็ยิ่งมีมากขึ้น ดังนั้นการเรียนรู้เรื่องความปลอดภัยในการปฏิบัติงานและการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์
ความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด จึงเป็นหนทางเดียวที่จะลดอันตรายและอุบัติเหตุในระหว่างการดับไฟป่าให้มีน้อยที่สุด

1.ความปลอดภัยในเรื่องเครื่องแต่งกาย
         เครื่องแต่งกายที่เหมาะสมสําหรับการปฏิบัติงานดับไฟป่า จะต้องสามารถป้องกันหรือลดอันตรายที่จะเกิด
ระหว่างการดับไฟป่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งอันตรายจากรังสีความร้อนได้มากที่สุด
         1) ใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว สีฉูดฉานเห็นได้ชัดแต่ไกล เช่น สีแดง ส้ม หรือ เหลือง ที่ทําจากผ้าหนา ควร
เป็นผ้าทนไฟถ้าสามารถจัดหาได้ ถ้าไม่มีอาจใช้ผ้าฝ้ายธรรมดา แต่ห้ามใช้ผ้าที่ทอจากวัสดุไวไฟ เช่น ผ้าไนลอน โดย
เด็ดขาด ในกรณีของประเทศไทยใช้เสื้อผ้าสีแดง เป็นต้น
         2) สวมรองเท้าหนังหุ้มน่องหรือหุ้มข้อ ชนิดร้อยเชือก ห้ามใช้ชนิดมีซิปโลหะเพราะโลหะจะร้อนจัดเมื่อย่ําลง
ไปบนพื้นที่ไฟไหม้ ในกรณีที่ไม่มีอาจใช้รองเท้าผ้าใบได้ แต่ห้ามสวมรองเท้ายางหรือรองเท้าแตะ โดยเด็ดขาด
         3) ควรมีผ้าพันคอสามเหลี่ยม เพื่อใช้เช็ดเหงื่อ ใช้ในการปฐมพยาบาล และใช้ชุบน้ําปิดปากและจมูกในกรณี
ฉุกเฉิน
         4) สวมหมวกนิรภัย ที่ทําจากวัสดุแข็ง เช่น ไฟเบอร์กลาส หรืออลูมิเนียม มีสายรัดคาง และมีสีฉูดฉาด
เช่นเดียวกับเสื้อผ้า
         5) ใส่แว่นกันควัน เพื่อป้องกันควันไฟ ฝุ่นขี้เถ้า สะเก็ดไฟ หรือชิ้นไม้เล็กๆ ที่กระเด็นมาจากบริเวณที่ตัดต้นไม้
ทําแนวกันไฟ
         6) ห้ามสวมใส่เครื่องประดับที่ทําจากโลหะหรือพลาสติก เพราะโลหะหรือพลาสติกจะรับความร้อนได้อย่าง
รวดเร็วและทําอันตรายต่อผิวหนัง ในกรณีของนาฬิกาซึ่งมีความจําเป็นในระหว่างการปฏิบัติงาน ควรถอดเก็บไว้ใน
กระเป๋ากางเกง และนําออกมาดูเมื่อต้องการ

2.ความปลอดภัยในการเดินทางด้วยรถยนต์
           โดยหลักการแล้ว การเดินทางไปถึงบริเวณไฟไหม้ได้เร็วเท่าไร ก็จะสามารถควบคุมไฟได้ง่ายขึ้นเท่านั้น
หากแต่ความปลอดภัยในการเดินทางมีความสําคัญมากยิ่งกว่า เพราะหากเกิดอุบัติเหตุระหว่างทางเสียก่อน ภารกิจก็
จะล้มเหลวลงโดยสิ้นเชิง และการเดินทางที่ฉุกละหุกหรือรีบร้อนลนลานจนเกินไป จะทําให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ดังนั้น
จึงต้องมีการวางแผนในเรื่องการเดินทางให้เกิดความปลอดภัยที่สุด แต่ให้รวดเร็วที่สุดด้วยเช่นกัน ดังนี้
           1) พนักงานขับรถยนต์ จะต้องมีทักษะและความชํานาญในการขับขี่ในสภาพภูมิประเทศนั้นๆ ต้องคุ้นเคยกับ
พื้นที่ ขับรถด้วยความระมัดระวังไม่ประมาท และไม่ดื่มของมึนเมาก่อนทําหน้าที่
           2) ตรวจสอบสภาพรถยนต์ให้พร้อมสําหรับการเดินทางอย่างปลอดภัยอยู่เสมอ
           3) ก่อนออกรถต้องแน่ใจว่าทุกคนขึ้นรถและนั่งประจําที่อย่างเรียบร้อยและปลอดภัยแล้ว
เอกสารประกอบการฝกอบรม เรื่อง ความปลอดภัยในการปองกันและควบคุมไฟปา                                        หนาที่ 10
คูมือ อาสาสมัครอนุรักษอุทยานธรรมชาติวิทยา

        4) หากเป็นรถยนต์กระบะที่ไม่ได้ต่อที่นั่งพิเศษ จะต้องให้ทุกคนนั่งในกระบะรถ ห้ามนั่งบนขอบกระบะหรือ
ยืนโดยเด็ดขาด
        5) ในระหว่างการเดินทางทุกคนต้องคอยระมัดระวังอยู่ตลอดเวลา เพราะอาจเกิดการเหวี่ยงเมื่อรถเข้าโค้ง
หรือเกิดการกระดอนอันเนื่องมาจากหลุมบ่อบนถนน ซึ่งอาจทําให้พลัดตกลงจากรถได้
        6) การลงจากรถต้องรอให้รถหยุดสนิท และทยอยกันลงอย่างเป็นระเบียบ
        7) การนํารถยนต์เข้าไปในใกล้พื้นที่ไฟไหม้ ต้องมั่นใจว่าจะมีที่กลับรถในกรณีฉุกเฉิน
        8) การจอดรถต้องเลือกพื้นที่โล่งที่ไม่มีเชื้อเพลิง หรือถางเชื้อเพลิงรอบๆ ออกให้หมด และหันหัวรถออกไปใน
ทิศทางขาออก
        9) อย่าจอดรถกีดขวางเส้นทางของรถคันอื่นอย่างเด็ดขาด

3.ความปลอดภัยในระหว่างการเดินเท้า
          เนื่องจากสภาพป่าส่วนใหญ่ในประเทศไทยเป็นภูเขาสลับซับซ้อน เส้นทางที่รถเข้าถึงมีน้อยมาก และไฟป่ามัก
เกิดขึ้นในพื้นที่หางไกลเส้นทางคมนาคม ดังนั้นในการดับไฟป่าทุกครั้ง อาสาสมัครดับไฟป่าจําเป็นต้องเดินเท้าจากจุดที่
                  ่
หมดเส้นทางรถยนต์เข้าไปยังบริเวณที่เกิดไฟไหม้ ซึ่งในช่วงของการเดินทางด้วยเท้านี้ มีข้อปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย
ดังนี้
          1) หัวหน้าหมู่ดับไฟป่าจะต้องรู้จักและคุ้นเคยกับพื้นที่เป็นอย่างดี และต้องมีแผนที่และเข็มทิศไปด้วยเสมอ
หากเป็นไปได้ควรมีเครื่องบอกพิกัดบนพื้นโลกด้วยดาวเทียม (GPS) ไปด้วย
          2) พยายามใช้เส้นทางเดินเท้าที่มีอยู่แล้ว เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเดินทาง และหลีกเลี่ยงอันตรายจาก
พื้นที่ป่าทึบ หุบเหว และหน้าผา
          3) เดินในลักษณะแถวตอนเรียงหนึ่ง ทิ้งระยะห่างระหว่างบุคคลพอสมควร ในระยะที่มองเห็นหลังคนเดินหน้า
อยู่ตลอดเวลา เพื่อป้องกันการพลัดหลง
          4) นําพาเครื่องมือดับไฟป่าในลักษณะที่ปลอดภัย โดยถ้าเป็นถังน้ําดับไฟป่าต้องสะพายหลังและถือหัวฉีดใน
ท่าเฉียงอาวุธ หากเป็นเครื่องมือที่มีด้าม ให้ถือเครื่องมือในลักษณะที่สมดุล โดยให้หัวของเครื่องมืออยู่ด้านหน้า ปล่อย
แขนที่ถือเครื่องมือลงแนบลําตัว เพื่อให้เครื่องมืออยู่ที่ระดับต่ํากว่าเอว ห้ามใช้วิธีแบกเครื่องมือโดยเด็ดขาด และเว้น
ระยะห่างระหว่างบุคคลให้พอเหมาะ เพราะหัวและปลายเครื่องมือจะทิ่มตําคนที่เดินข้างหน้าและข้างหลังได้โดยง่าย
          5) การเดินในเวลากลางคืนจะต้องมีไฟฉาย และต้องใช้ความระมัดระวังเพิ่มมากขึ้น พยายามจดจําเส้นทางให้
ดี เผื่อกรณีพลัดหลง
          6) หากระยะทางไกลมาก จะต้องวางแผนบริหารกําลังของอาสาสมัครดับไฟป่า โดยกําหนดการหยุดพักเป็น
ระยะๆ ตามความเหมาะสม
          7) หากเป็นการเดินขึ้นเขา จะต้องทิ้งระยะระหว่างบุคคลให้ไกลขึ้นกว่าปกติ เพราะหากมีหินหรือท่อนไม้กลิ้ง
ลงมา จะได้หลบได้ทัน เดินโดยค้อมหลังไปข้างหน้าเพื่อลดการต้านแรงโน้มถ่วงของโลก และควรเดินในลักษณะสลับ
ฟันปลาเพื่อลดความชันของพื้นที่
          8) ตรวจเช็คตําแหน่งให้ทราบว่าอยู่บริเวณใดอยู่ตลอดเวลา เพื่อป้องกันการหลงทาง
          9) การค้นหาไฟ ถ้าเป็นเวลากลางคืนอาจเห็นแสงไฟได้แต่ไกล แต่ถ้าเป็นเวลากลางวันอาจต้องใช้วิธีดมกลิ่น
ฟังเสียง หรือปีนขึ้นต้นไม้เพื่อสังเกตควันไฟ

4.ความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือดับไฟป่า
      เครื่องมือดับไฟป่าดับไฟป่า มีหลายอย่างตามความเหมาะสมของการปฏิบัติงานที่แตกต่างกันออกไป ในที่นี้
จะแนะนําเฉพาะเครื่องมือดับไฟป่าที่สําคัญและมีใช้ในกลุ่มอาสาสมัครดับไฟป่าของอุทยานธรรมชาติวิทยา ดังนี้
เอกสารประกอบการฝกอบรม เรื่อง ความปลอดภัยในการปองกันและควบคุมไฟปา                                      หนาที่ 11
คูมือ อาสาสมัครอนุรักษอุทยานธรรมชาติวิทยา

        4.1 ไม้ตบไฟ
                  ไม้ตบไฟ เป็นเครื่องมือดับไฟป่าที่ใช้หลักการแยกออกซิเจนออกจากองค์ประกอบของสามเหลี่ยมไฟ
โดยการตบคลุมไฟป้องกันไม่ให้ออกซิเจนเข้าไปทําปฏิกิริยาสันดาปได้ไฟจึงดับลง ไม้ตบไฟนี้พัฒนามาจากภูมิปัญญา
ชาวบ้านที่ใช้กิ่งไม้ซึ่งมีใบหนาแน่นมาตบดับไฟลักษณะคล้ายกับไม้กวาด ประกอบด้วย ส่วนหัว ซึ่งทําจากผ้าใบหนา
เคลือบด้วยยาง (สายพาน) ขนาด 30 x 40 ซม. ส่วนด้าม ยาวประมาณ 2-2.5 เมตร




                                              ภาพที่ 3.1 ไม้ตบไฟ

        การใช้งาน
                  ใช้ในการดับไฟทางตรง โดยการตบคลุมลงไปบนเปลวไฟ เพื่อป้องกันไม่ให้อากาศเข้าไปทําปฏิกิริยา
กับไฟ ไฟก็จะดับลงเหมาะสําหรับการดับไฟที่ไหม้เชื้อเพลิงเบา ได้แก่ หญ้า และใบไม้แห้ง เป็นต้น
        การบํารุงรักษา
                  1) ตรวจสอบให้เหล็กประกับที่ยึดแผ่นตบไฟให้ติดกับตัวด้ามมีความแน่นหนาอยู่เสมอ
                  2) แผ่นตบไฟที่ใช้งานมานานจะบางลงและอ่อนนิ่ม ลดประสิทธิภาพในการทํางาน ต้องเปลี่ยนใหม่
        4.2 ถังฉีดน้ําดับไฟ
                  การลําเลียงน้ําเข้าไปในพื้นที่ไฟไหม้ ที่เป็นป่าเขาสลับซับซ้อนเป็นเรื่องยากลําบาก จึงต้องออกแบบ
ถังบรรจุน้ําสําหรับสะพายหลังเพื่อความสะดวกในการเดินทาง ซึ่งมี 2 ประเภท คือ




                                          ภาพที่ 3.2 ถังฉีดน้ําดับไฟป่า
เอกสารประกอบการฝกอบรม เรื่อง ความปลอดภัยในการปองกันและควบคุมไฟปา                                       หนาที่ 12
คูมือ อาสาสมัครอนุรักษอุทยานธรรมชาติวิทยา

                  1) ถังแข็งคงรูป ทําจากอลูมิเนียมหรือพลาสติก โดยทรงถังจะโค้งเข้ารูปกับแผ่นหลัง มีสายสะพาย
สําหรับสะพายคล้องไหล่ ด้านล่างของถังหรือที่ฐานของถังจะมีรูให้นํ้าออกเพื่อต่อเชื่อมด้วยสายยางมายังที่สูบมือ
ด้านบนถังจะมีฝาเปิด-ปิด ใช้สําหรับเป็นช่องทางในการเติมน้ํา โดยปกติถังจะออกแบบให้บรรจุน้ําได้ประมาณ 15-20
ลิตร และที่สูบมือสามารถฉีดน้ําไปได้ไกลประมาณ 5-8 เมตร โดยทั่วไปสามารถนําถังที่ใช้พ่นยาฆ่าแมลง หรือ
พ่นปุ๋ยเคมีในทางการเกษตรมาใช้แทนถังน้ําดับไฟป่าได้
                  2) ถังอ่อนพับเก็บได้ ตัวถังทําจากแผ่นยาง หรือแผ่นผ้าใบเคลือบยาง จึงมีลักษณะเหมือนถุงใส่น้ํา
ที่จะโป่งออกเมื่อเติมน้ําเต็ม แต่จะยุบตัวลงเมื่อน้ําหมด จึงสามารถม้วนหรือพับให้เหลือขนาดเล็ก
          การใช้งาน
                  1) ใช้สําหรับฉีดลดความร้อนของไฟในการดับไฟทางตรง เพื่อให้เครื่องมือดับไฟป่าชนิดอื่นสามารถ
เข้าไปทํางานที่ขอบกองไฟได้
                  2) ใช้ในการกวาดเก็บ โดยฉีดพรมแนวดํา ฉีดดับไฟที่ยังเหลือค้างอยู่ในโพรงไม้ ในรอยแตกของไม้
หรือในฐานกอไผ่ ที่เครื่องมืออย่างอื่นเข้าไปทํางานไม่ได้
                  3) ใช้เป็นที่สํารองน้ําสําหรับการยังชีพในป่าของอาสาสมัครดับไฟป่า
          การบํารุงรักษา
                  1) ตรวจสอบรอยต่อของสายยางกับตัวถัง และรอยต่อของสายยางกับที่สบมือ ให้แน่นสนิทไม่รั่วซึม
                                                                                     ู
                  2) ตรวจสอบลูกยาง แผ่นปะเก็นในกระบอกของที่สูบมือ เปลี่ยนใหม่ทันทีเมื่อชํารุด/หมดอายุการใช้งาน
                  3) หากคันชักของที่สบมือเริ่มฝืด จะต้องชโลมด้วยน้ํามันหล่อลื่นทันที
                                         ู
                  4) อย่าวางถังฉีดน้ําดับไฟป่าไว้ในที่ที่ถูกแสงแดด เพราะจะทําให้ตัวถังที่ทําจากพลาสติก หรือผ้าใบ
เคลือบยางแห้งกรอบ อายุการใช้งานจะลดลงมาก
          4.3 ครอบไฟ
                  ครอบไฟ หรือ ราโค่ เป็นเครื่องมือที่ออกแบบมาเพื่อใช้ในงานดับไฟป่าโดยเฉพาะ โดยการนํา
เครื่องมือทางการเกษตรสองชนิด คือ คราด และจอบ มาเชื่อมต่อให้เป็นเครื่องมือชิ้นเดียวกัน โดยส่วนหัวของ
เครื่องมือด้านหนึ่งมีลักษณะเป็นหน้าจอบ ส่วนอีกด้านหนึ่งเป็นคราด




                                              ภาพที่ 3.3 ครอบไฟ



เอกสารประกอบการฝกอบรม เรื่อง ความปลอดภัยในการปองกันและควบคุมไฟปา                                    หนาที่ 13
คูมือ อาสาสมัครอนุรักษอุทยานธรรมชาติวิทยา

          การใช้งาน
                  1) ใช้ในการทําแนวกันไฟ ซึ่งเป็นภารกิจที่เครื่องมือชนิดนี้ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะ โดยใช้ด้านที่
เป็นจอบในการถาก ถาง ขุด ตัด สับ เชื้อเพลิงที่เป็นวัชพืช ใบไม้ กิ่งไม้ ลูกไม้กอหญ้า ตอไม้ และรากไม้ จากนั้นจึงใช้
ด้านที่เป็นคราด คราดเอาเชื้อเพลิงเหล่านี้ออกไปทิ้งนอกแนวกันไฟ ซึ่งสามารถปฏิบัติงานได้รวดเร็วกว่าการใช้จอบ
และคราดแยกกัน
                  2) ใช้ในการรวมกองเชื้อเพลิงเพื่อเผากําจัด โดยใช้ด้านจอบถากถางเชื้อเพลิง และใช้ด้านคราด
คราดเชื้อเพลิงมารวมกองเพื่อเผากําจัดทิ้ง
          การบํารุงรักษา
                  1) ตรวจสอบให้ส่วนหัวของเครื่องมือติดยึดกับส่วนด้ามอย่างมั่นคงแน่นหนาอยู่เสมอ
                  2) ส่วนคมของเครื่องมือ ทั้งด้านที่เป็นจอบ และที่ซี่คราด จะต้องหมั่นลับให้คมอยู่เสมอ
                  3) ตรวจสอบด้ามเครื่องมือให้มีความมั่นคงแข็งแรงอยู่เสมอ หากพบรอยแตกร้าวหรือถูกมอดเจาะ
จะต้องรีบเปลี่ยนด้ามทันที
                  4) หลังการใช้งานทุกครั้งจะต้องทําความสะอาด เช็ดให้แห้ง แล้วชโลมด้วยน้ํามันเพื่อป้องกันสนิม

          เครื่องมือดับไฟป่าเปรียบเสมือนอาวุธที่ใช้ในการต่อสู้และเอาชนะไฟป่า ในขณะเดียวกันก็ใช้เป็นเครื่องมือ
ป้องกันตัวและเอาชีวิตรอดจากไฟป่าได้อีกด้วย แต่ถ้าเครื่องมือไม่อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน หรือใช้งานไม่ถูกวิธี
เครื่องมือดับไฟป่าก็สามารถทําอันตรายต่อตัวอาสาสมัครดับไฟป่าได้เช่นกัน
          1) ตรวจตราเครื่องมือดับไฟป่าให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์แน่นหนาและพร้อมใช้งานอยู่เสมอ
          2) เครื่องมือที่มีคมต้องมีปลอกหรือมีที่ปิดคมในระหว่างการเดินเท้า และต้องระมัดระวังในระหว่างการ
เดินทางอยู่ตลอดเวลา เพื่อไม่ให้ส่วนมีคมทําอันตรายตัวเองหรือผู้อื่น
          3) การวางเครื่องมือที่มีคมลงบนพื้น จะต้องวางด้านมีคมลงพื้นเสมอ เพื่อป้องกันอันตรายในกรณีมีผู้เผลอไป
เหยียบเข้าในระหว่างการทํางานด้วยเครื่องมือที่มีคม จะต้องเว้นระยะระหว่างบุคคลให้เพียง พอ เพื่อมิให้เครื่องมือ
เป็นอันตรายต่อผู้ที่ทํางานอยู่ใกล้เคียง

5.ความปลอดภัยในระหว่างการดับไฟป่า
           5.1 ข้อบังคับในระหว่างการดับไฟป่า
                    1) เชื่อฟังและปฏิบติตามคําสั่งและคําแนะนําของผู้ซึ่งควบคุมการดับไฟป่าอย่างเคร่งครัด
                                      ั
                    2) จะต้องทํางานเกาะกลุ่มอย่างน้อยที่สุด 3 นาย เสมอ เพราะหากเกิดเหตุฉุกเฉินจะสามารถ
ช่วยเหลือกันได้ทันท่วงที ห้ามแยกตัวออกไปทํางานคนเดียวห่างไกลจากสายตาของผู้ร่วมงานเป็นอันขาด
                    3) ในระหว่างการทํางาน จะต้องเว้นระยะห่างระหว่างบุคคลให้พอเหมาะ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจ
เกิดจากเครื่องมือดับไฟป่า เช่นในกรณีที่ ที่ตบไฟ คราด หรือขวานหลุดจากด้าม
           5.2 การระวังอันตรายจากสภาพภูมิประเทศ
                    1) หากเป็นที่ลาดชัน ให้หลีกเลี่ยงการดับไฟจากด้านบนของไฟ เนื่องจากควันไฟ เปลวไฟ และความ
ร้อนที่พุ่งขึ้นมาจะทําให้หายใจลําบาก และทําให้การมองเห็นลดลง และไฟที่ลุกลามขึ้นเขาจะมีความเร็วมากกว่าที่
อาสาสมัครดับไฟป่าจะวิ่งหนีได้ทัน ยิ่งไปกว่านั้นยังอาจมีโอกาสที่ลูกไฟที่ลอยไปตกด้านบน จะพัฒนากลายเป็นไฟป่า
อีกแนวหนึ่ง ทําให้อาสาสมัครดับไฟป่าติดอยู่ในวงล้อมของไฟสองแนว (ภาพที่ 3.4)
                    2) ในที่ลาดชันต้องทํางานจากด้านใต้ของไฟ ทั้งนี้จะต้องระวังหิน ท่อนไม้ ที่จะกลิ้งลงมาทําอันตราย
ทั้งยังต้องระวังเชื้อเพลิงติดไฟที่อาจกลิ้งผ่านลงไปข้างล่าง เกิดเป็นแนวไฟอีกหนึ่งแนว และทําให้อาสาสมัครดับไฟป่า
ติดอยู่ในวงล้อมของไฟสองแนว
เอกสารประกอบการฝกอบรม เรื่อง ความปลอดภัยในการปองกันและควบคุมไฟปา                                      หนาที่ 14
คูมือ อาสาสมัครอนุรักษอุทยานธรรมชาติวิทยา

                 3) การทํางานดับไฟบนที่ลาดชันอาสาสมัครดับไฟป่าจะต้องระมัดระวังการเคลื่อนที่เพราะอาจทําให้
มีหินหรือท่อนไม้กลิ้งลงไปทําอันตรายอาสาสมัครดับไฟป่าที่ปฏิบัติงานอยู่ต่ํากว่า
                 4) ให้หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีอันตรายสูง เช่น หน้าผา ซึ่งอาจเกิดอุบัติเหตุพลัดตกลงมา และบริเวณร่อง
เขาซึ่งจะเกิดปรากฏการณ์ปล่องควันไฟ ได้ตลอดเวลา




                                     ภาพที่ 3.4 การดับไฟป่าบนพื้นที่ลาดชัน

        5.3 การระวังอันตรายจากสภาพเชื้อเพลิง
                1) พื้นที่ป่าที่แน่นทึบทําให้การเดินทางยากลําบาก พลัดหลงกันได้ง่าย ตรวจหาลูกไฟได้ยาก การหนี
ไฟในกรณีฉกเฉินไม่สะดวก ดังนั้น หากเป็นไปได้ ควรหลีกเลี่ยงการต้องผ่านพื้นที่ดังกล่าว
           ุ
                2) เชื้อเพลิงที่เป็นไม้ยืนต้น อาจถูกไฟไหม้ที่โคน หากโคนเป็นโพรงต้นไม้จะล้มโค่นลงได้ง่าย จะต้อง
ระมัดระวังการเข้าใกล้
                3) ไฟไหม้ในป่าดิบแล้ง ดิบชื้น ดิบเขา ซึ่งต้นไม้มักอวบน้ําจึงหักโค่นได้ง่าย ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
        5.4 การระวังอันตรายจากสภาพอากาศ
                1) ในพื้นที่ภูเขาสลับซับซ้อน ความเร็วและทิศทางของลมสามารถเปลี่ยนแปลงได้อยู่ตลอดเวลา ทํา
ให้พฤติกรรมของไฟเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาตามไปด้วย
                2) ในที่ลมแรง ให้ระวังอันตรายจากเปลวไฟและควันไฟ พยายามหลีกเลี่ยงการสูดดมควันไฟหรือให้
ควันไฟเข้าปอดน้อยที่สุด และระวังอย่าให้ขี้เถ้าเข้าตา ถ้าเป็นไปได้ให้ทํางานจากด้านเหนือลมจะปลอดภัยกว่ามาก




                                   ภาพที่ 3.5 อันตรายจากเปลวไฟและควันไฟ
เอกสารประกอบการฝกอบรม เรื่อง ความปลอดภัยในการปองกันและควบคุมไฟปา                                      หนาที่ 15
คู่มืออบรมอาสาสมัครดับไฟป่า เรื่องความปลอดภัยในการป้องกันและควบคุมไฟป่า
คู่มืออบรมอาสาสมัครดับไฟป่า เรื่องความปลอดภัยในการป้องกันและควบคุมไฟป่า
คู่มืออบรมอาสาสมัครดับไฟป่า เรื่องความปลอดภัยในการป้องกันและควบคุมไฟป่า
คู่มืออบรมอาสาสมัครดับไฟป่า เรื่องความปลอดภัยในการป้องกันและควบคุมไฟป่า
คู่มืออบรมอาสาสมัครดับไฟป่า เรื่องความปลอดภัยในการป้องกันและควบคุมไฟป่า
คู่มืออบรมอาสาสมัครดับไฟป่า เรื่องความปลอดภัยในการป้องกันและควบคุมไฟป่า
คู่มืออบรมอาสาสมัครดับไฟป่า เรื่องความปลอดภัยในการป้องกันและควบคุมไฟป่า
คู่มืออบรมอาสาสมัครดับไฟป่า เรื่องความปลอดภัยในการป้องกันและควบคุมไฟป่า
คู่มืออบรมอาสาสมัครดับไฟป่า เรื่องความปลอดภัยในการป้องกันและควบคุมไฟป่า
คู่มืออบรมอาสาสมัครดับไฟป่า เรื่องความปลอดภัยในการป้องกันและควบคุมไฟป่า
คู่มืออบรมอาสาสมัครดับไฟป่า เรื่องความปลอดภัยในการป้องกันและควบคุมไฟป่า
คู่มืออบรมอาสาสมัครดับไฟป่า เรื่องความปลอดภัยในการป้องกันและควบคุมไฟป่า
คู่มืออบรมอาสาสมัครดับไฟป่า เรื่องความปลอดภัยในการป้องกันและควบคุมไฟป่า
คู่มืออบรมอาสาสมัครดับไฟป่า เรื่องความปลอดภัยในการป้องกันและควบคุมไฟป่า
คู่มืออบรมอาสาสมัครดับไฟป่า เรื่องความปลอดภัยในการป้องกันและควบคุมไฟป่า
คู่มืออบรมอาสาสมัครดับไฟป่า เรื่องความปลอดภัยในการป้องกันและควบคุมไฟป่า
คู่มืออบรมอาสาสมัครดับไฟป่า เรื่องความปลอดภัยในการป้องกันและควบคุมไฟป่า

More Related Content

What's hot

พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ22
พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ22พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ22
พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ22phornphan1111
 
สูตรการหาพื้นที่
สูตรการหาพื้นที่สูตรการหาพื้นที่
สูตรการหาพื้นที่guest63819e
 
ข้อสอบ O net ภาษาไทย ม.๓ ชุด ๑
ข้อสอบ O net ภาษาไทย ม.๓ ชุด ๑ข้อสอบ O net ภาษาไทย ม.๓ ชุด ๑
ข้อสอบ O net ภาษาไทย ม.๓ ชุด ๑Manas Panjai
 
ปัญหาสิ่งแวดล้อม
ปัญหาสิ่งแวดล้อมปัญหาสิ่งแวดล้อม
ปัญหาสิ่งแวดล้อมKiratika Tongdee
 
หน้าปก บทคัดย่อ สารบัญ ภาคผนวก บรรณานุกรม Is
หน้าปก บทคัดย่อ สารบัญ ภาคผนวก บรรณานุกรม Isหน้าปก บทคัดย่อ สารบัญ ภาคผนวก บรรณานุกรม Is
หน้าปก บทคัดย่อ สารบัญ ภาคผนวก บรรณานุกรม IsSasiyada Promsuban
 
เอกสารประกอบการพิจารณาส่งเสริมและคัดเลือกนวัตกรรมสร้างสรรค์คนดี
เอกสารประกอบการพิจารณาส่งเสริมและคัดเลือกนวัตกรรมสร้างสรรค์คนดีเอกสารประกอบการพิจารณาส่งเสริมและคัดเลือกนวัตกรรมสร้างสรรค์คนดี
เอกสารประกอบการพิจารณาส่งเสริมและคัดเลือกนวัตกรรมสร้างสรรค์คนดีSophinyaDara
 
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศPongsatorn Sirisakorn
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1suchinmam
 
1.ตัวอย่างแผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
1.ตัวอย่างแผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง1.ตัวอย่างแผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
1.ตัวอย่างแผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงWareerut Hunter
 
โครงงานไอเอส1
โครงงานไอเอส1โครงงานไอเอส1
โครงงานไอเอส1Ocean'Funny Haha
 
Is 2 เรื่องร้านค้าสหกรณ์
Is 2 เรื่องร้านค้าสหกรณ์Is 2 เรื่องร้านค้าสหกรณ์
Is 2 เรื่องร้านค้าสหกรณ์Ocean'Funny Haha
 
ปกรายงาน
ปกรายงานปกรายงาน
ปกรายงานJane Janjira
 
แบบฝึกหัดทบทวนตามตัวชี้วัดหน่วยที่ 2 งานและพลังงาน
แบบฝึกหัดทบทวนตามตัวชี้วัดหน่วยที่ 2 งานและพลังงานแบบฝึกหัดทบทวนตามตัวชี้วัดหน่วยที่ 2 งานและพลังงาน
แบบฝึกหัดทบทวนตามตัวชี้วัดหน่วยที่ 2 งานและพลังงานkrupornpana55
 
แบบทดสอบพร้อมเฉลยรายตัวชี้วัดร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ..Docx 40 ข้อ
แบบทดสอบพร้อมเฉลยรายตัวชี้วัดร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ..Docx 40 ข้อแบบทดสอบพร้อมเฉลยรายตัวชี้วัดร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ..Docx 40 ข้อ
แบบทดสอบพร้อมเฉลยรายตัวชี้วัดร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ..Docx 40 ข้อkrupornpana55
 
แบบฝึกทักษะเรื่องคำสมาสสนธิ
แบบฝึกทักษะเรื่องคำสมาสสนธิแบบฝึกทักษะเรื่องคำสมาสสนธิ
แบบฝึกทักษะเรื่องคำสมาสสนธิSurapong Klamboot
 
ภาคผนวกโครงงานกล้อง
ภาคผนวกโครงงานกล้องภาคผนวกโครงงานกล้อง
ภาคผนวกโครงงานกล้องkrupornpana55
 

What's hot (20)

ประโยคที่ซับซ้อน
ประโยคที่ซับซ้อนประโยคที่ซับซ้อน
ประโยคที่ซับซ้อน
 
พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ22
พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ22พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ22
พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ22
 
สูตรการหาพื้นที่
สูตรการหาพื้นที่สูตรการหาพื้นที่
สูตรการหาพื้นที่
 
ข้อสอบ O net ภาษาไทย ม.๓ ชุด ๑
ข้อสอบ O net ภาษาไทย ม.๓ ชุด ๑ข้อสอบ O net ภาษาไทย ม.๓ ชุด ๑
ข้อสอบ O net ภาษาไทย ม.๓ ชุด ๑
 
ปัญหาสิ่งแวดล้อม
ปัญหาสิ่งแวดล้อมปัญหาสิ่งแวดล้อม
ปัญหาสิ่งแวดล้อม
 
หน้าปก บทคัดย่อ สารบัญ ภาคผนวก บรรณานุกรม Is
หน้าปก บทคัดย่อ สารบัญ ภาคผนวก บรรณานุกรม Isหน้าปก บทคัดย่อ สารบัญ ภาคผนวก บรรณานุกรม Is
หน้าปก บทคัดย่อ สารบัญ ภาคผนวก บรรณานุกรม Is
 
เอกสารประกอบการพิจารณาส่งเสริมและคัดเลือกนวัตกรรมสร้างสรรค์คนดี
เอกสารประกอบการพิจารณาส่งเสริมและคัดเลือกนวัตกรรมสร้างสรรค์คนดีเอกสารประกอบการพิจารณาส่งเสริมและคัดเลือกนวัตกรรมสร้างสรรค์คนดี
เอกสารประกอบการพิจารณาส่งเสริมและคัดเลือกนวัตกรรมสร้างสรรค์คนดี
 
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
 
โวหาร
โวหารโวหาร
โวหาร
 
ความยืดหยุ่น
ความยืดหยุ่นความยืดหยุ่น
ความยืดหยุ่น
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
 
1.ตัวอย่างแผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
1.ตัวอย่างแผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง1.ตัวอย่างแผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
1.ตัวอย่างแผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
 
โครงงานไอเอส1
โครงงานไอเอส1โครงงานไอเอส1
โครงงานไอเอส1
 
Copy of 00000564 1 20121226-145401
Copy of 00000564 1 20121226-145401Copy of 00000564 1 20121226-145401
Copy of 00000564 1 20121226-145401
 
Is 2 เรื่องร้านค้าสหกรณ์
Is 2 เรื่องร้านค้าสหกรณ์Is 2 เรื่องร้านค้าสหกรณ์
Is 2 เรื่องร้านค้าสหกรณ์
 
ปกรายงาน
ปกรายงานปกรายงาน
ปกรายงาน
 
แบบฝึกหัดทบทวนตามตัวชี้วัดหน่วยที่ 2 งานและพลังงาน
แบบฝึกหัดทบทวนตามตัวชี้วัดหน่วยที่ 2 งานและพลังงานแบบฝึกหัดทบทวนตามตัวชี้วัดหน่วยที่ 2 งานและพลังงาน
แบบฝึกหัดทบทวนตามตัวชี้วัดหน่วยที่ 2 งานและพลังงาน
 
แบบทดสอบพร้อมเฉลยรายตัวชี้วัดร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ..Docx 40 ข้อ
แบบทดสอบพร้อมเฉลยรายตัวชี้วัดร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ..Docx 40 ข้อแบบทดสอบพร้อมเฉลยรายตัวชี้วัดร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ..Docx 40 ข้อ
แบบทดสอบพร้อมเฉลยรายตัวชี้วัดร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ..Docx 40 ข้อ
 
แบบฝึกทักษะเรื่องคำสมาสสนธิ
แบบฝึกทักษะเรื่องคำสมาสสนธิแบบฝึกทักษะเรื่องคำสมาสสนธิ
แบบฝึกทักษะเรื่องคำสมาสสนธิ
 
ภาคผนวกโครงงานกล้อง
ภาคผนวกโครงงานกล้องภาคผนวกโครงงานกล้อง
ภาคผนวกโครงงานกล้อง
 

Viewers also liked

ประวัติศาสตร์พม่า
ประวัติศาสตร์พม่าประวัติศาสตร์พม่า
ประวัติศาสตร์พม่าSompop Petkleang
 
คู่มือเป็นเจ้าของธุรกิจ
คู่มือเป็นเจ้าของธุรกิจคู่มือเป็นเจ้าของธุรกิจ
คู่มือเป็นเจ้าของธุรกิจSompop Petkleang
 
คู่มือจัดกิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ตามพระราชดำริ
คู่มือจัดกิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ตามพระราชดำริคู่มือจัดกิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ตามพระราชดำริ
คู่มือจัดกิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ตามพระราชดำริSompop Petkleang
 
การจัดกิจกรรมอนุรักษ์ป่าไม้
การจัดกิจกรรมอนุรักษ์ป่าไม้การจัดกิจกรรมอนุรักษ์ป่าไม้
การจัดกิจกรรมอนุรักษ์ป่าไม้Sompop Petkleang
 
คู่มือโลจิสติก Aec
คู่มือโลจิสติก Aecคู่มือโลจิสติก Aec
คู่มือโลจิสติก AecSompop Petkleang
 
คู่มือการค้าการลงทุนในพม่า
คู่มือการค้าการลงทุนในพม่าคู่มือการค้าการลงทุนในพม่า
คู่มือการค้าการลงทุนในพม่าSompop Petkleang
 
คู่มือจัดการประชุมระหว่างประเทศ
คู่มือจัดการประชุมระหว่างประเทศคู่มือจัดการประชุมระหว่างประเทศ
คู่มือจัดการประชุมระหว่างประเทศSompop Petkleang
 
GOTHIC ARCHITECTURE
GOTHIC ARCHITECTUREGOTHIC ARCHITECTURE
GOTHIC ARCHITECTUREKymie Perez
 

Viewers also liked (9)

Flood r7 sainoi
Flood r7 sainoiFlood r7 sainoi
Flood r7 sainoi
 
ประวัติศาสตร์พม่า
ประวัติศาสตร์พม่าประวัติศาสตร์พม่า
ประวัติศาสตร์พม่า
 
คู่มือเป็นเจ้าของธุรกิจ
คู่มือเป็นเจ้าของธุรกิจคู่มือเป็นเจ้าของธุรกิจ
คู่มือเป็นเจ้าของธุรกิจ
 
คู่มือจัดกิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ตามพระราชดำริ
คู่มือจัดกิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ตามพระราชดำริคู่มือจัดกิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ตามพระราชดำริ
คู่มือจัดกิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ตามพระราชดำริ
 
การจัดกิจกรรมอนุรักษ์ป่าไม้
การจัดกิจกรรมอนุรักษ์ป่าไม้การจัดกิจกรรมอนุรักษ์ป่าไม้
การจัดกิจกรรมอนุรักษ์ป่าไม้
 
คู่มือโลจิสติก Aec
คู่มือโลจิสติก Aecคู่มือโลจิสติก Aec
คู่มือโลจิสติก Aec
 
คู่มือการค้าการลงทุนในพม่า
คู่มือการค้าการลงทุนในพม่าคู่มือการค้าการลงทุนในพม่า
คู่มือการค้าการลงทุนในพม่า
 
คู่มือจัดการประชุมระหว่างประเทศ
คู่มือจัดการประชุมระหว่างประเทศคู่มือจัดการประชุมระหว่างประเทศ
คู่มือจัดการประชุมระหว่างประเทศ
 
GOTHIC ARCHITECTURE
GOTHIC ARCHITECTUREGOTHIC ARCHITECTURE
GOTHIC ARCHITECTURE
 

Similar to คู่มืออบรมอาสาสมัครดับไฟป่า เรื่องความปลอดภัยในการป้องกันและควบคุมไฟป่า

คู่มือการทำข่าวภัยพิบัติ
คู่มือการทำข่าวภัยพิบัติคู่มือการทำข่าวภัยพิบัติ
คู่มือการทำข่าวภัยพิบัติPoramate Minsiri
 
คู่มือจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
คู่มือจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้คู่มือจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
คู่มือจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้Sompop Petkleang
 
สิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมสิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมkasarin rodsi
 
โครงการในพระราชดำริ ป่าสงวนขุนแม่กวง
โครงการในพระราชดำริ ป่าสงวนขุนแม่กวงโครงการในพระราชดำริ ป่าสงวนขุนแม่กวง
โครงการในพระราชดำริ ป่าสงวนขุนแม่กวง0857099227
 
ส่วนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐาน 11
ส่วนที่ 1   ข้อมูลพื้นฐาน 11ส่วนที่ 1   ข้อมูลพื้นฐาน 11
ส่วนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐาน 11aj_moo
 
นักสืบสายลม
นักสืบสายลมนักสืบสายลม
นักสืบสายลมTaweesak Poochai
 
รายงานผลการวิจัย ปี 2553 การจัดกิจกรรมปลูกป่าชายเลน ครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
รายงานผลการวิจัย ปี 2553 การจัดกิจกรรมปลูกป่าชายเลน ครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์รายงานผลการวิจัย ปี 2553 การจัดกิจกรรมปลูกป่าชายเลน ครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
รายงานผลการวิจัย ปี 2553 การจัดกิจกรรมปลูกป่าชายเลน ครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์Kobwit Piriyawat
 
สมุดบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ชุดวิชาการเรียนรู้สู้ภัยธรรมชาติ 1 สค12022
สมุดบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ชุดวิชาการเรียนรู้สู้ภัยธรรมชาติ 1 สค12022สมุดบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ชุดวิชาการเรียนรู้สู้ภัยธรรมชาติ 1 สค12022
สมุดบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ชุดวิชาการเรียนรู้สู้ภัยธรรมชาติ 1 สค12022Kasem Boonlaor
 
ตอนที่2 ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง1
ตอนที่2 ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง1ตอนที่2 ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง1
ตอนที่2 ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง1Muk52
 

Similar to คู่มืออบรมอาสาสมัครดับไฟป่า เรื่องความปลอดภัยในการป้องกันและควบคุมไฟป่า (15)

คู่มือการทำข่าวภัยพิบัติ
คู่มือการทำข่าวภัยพิบัติคู่มือการทำข่าวภัยพิบัติ
คู่มือการทำข่าวภัยพิบัติ
 
คู่มือจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
คู่มือจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้คู่มือจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
คู่มือจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
 
ม.6 นิเวศ
ม.6 นิเวศม.6 นิเวศ
ม.6 นิเวศ
 
Thailand gogreen cavaw_ts
Thailand gogreen cavaw_tsThailand gogreen cavaw_ts
Thailand gogreen cavaw_ts
 
สิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมสิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อม
 
โครงการในพระราชดำริ ป่าสงวนขุนแม่กวง
โครงการในพระราชดำริ ป่าสงวนขุนแม่กวงโครงการในพระราชดำริ ป่าสงวนขุนแม่กวง
โครงการในพระราชดำริ ป่าสงวนขุนแม่กวง
 
Hydroelectric power
Hydroelectric powerHydroelectric power
Hydroelectric power
 
at 1
at 1at 1
at 1
 
ส่วนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐาน 11
ส่วนที่ 1   ข้อมูลพื้นฐาน 11ส่วนที่ 1   ข้อมูลพื้นฐาน 11
ส่วนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐาน 11
 
นักสืบสายลม
นักสืบสายลมนักสืบสายลม
นักสืบสายลม
 
รายงานผลการวิจัย ปี 2553 การจัดกิจกรรมปลูกป่าชายเลน ครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
รายงานผลการวิจัย ปี 2553 การจัดกิจกรรมปลูกป่าชายเลน ครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์รายงานผลการวิจัย ปี 2553 การจัดกิจกรรมปลูกป่าชายเลน ครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
รายงานผลการวิจัย ปี 2553 การจัดกิจกรรมปลูกป่าชายเลน ครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
 
สมุดบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ชุดวิชาการเรียนรู้สู้ภัยธรรมชาติ 1 สค12022
สมุดบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ชุดวิชาการเรียนรู้สู้ภัยธรรมชาติ 1 สค12022สมุดบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ชุดวิชาการเรียนรู้สู้ภัยธรรมชาติ 1 สค12022
สมุดบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ชุดวิชาการเรียนรู้สู้ภัยธรรมชาติ 1 สค12022
 
Project3
Project3Project3
Project3
 
Project3
Project3Project3
Project3
 
ตอนที่2 ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง1
ตอนที่2 ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง1ตอนที่2 ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง1
ตอนที่2 ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง1
 

More from Sompop Petkleang

เอกสารประกอบการอบรม เรื่อง การปลูกกล้วยน้ำว้าผสมผสาน
เอกสารประกอบการอบรม เรื่อง การปลูกกล้วยน้ำว้าผสมผสานเอกสารประกอบการอบรม เรื่อง การปลูกกล้วยน้ำว้าผสมผสาน
เอกสารประกอบการอบรม เรื่อง การปลูกกล้วยน้ำว้าผสมผสานSompop Petkleang
 
การเตรียมดินส่งวิเคราะห์
การเตรียมดินส่งวิเคราะห์การเตรียมดินส่งวิเคราะห์
การเตรียมดินส่งวิเคราะห์Sompop Petkleang
 
การเตรียมดินส่งวิเคราะห์
การเตรียมดินส่งวิเคราะห์การเตรียมดินส่งวิเคราะห์
การเตรียมดินส่งวิเคราะห์Sompop Petkleang
 
สรุปกิจกรรมค่ายดิน
สรุปกิจกรรมค่ายดินสรุปกิจกรรมค่ายดิน
สรุปกิจกรรมค่ายดินSompop Petkleang
 
ค่ายสิ่งแวดล้อมศึกษา หลักสูตร “เพื่อนสายน้ำ”
ค่ายสิ่งแวดล้อมศึกษา หลักสูตร “เพื่อนสายน้ำ”ค่ายสิ่งแวดล้อมศึกษา หลักสูตร “เพื่อนสายน้ำ”
ค่ายสิ่งแวดล้อมศึกษา หลักสูตร “เพื่อนสายน้ำ”Sompop Petkleang
 
สิ่งแวดล้อมศึกษาเบื้องต้น
สิ่งแวดล้อมศึกษาเบื้องต้นสิ่งแวดล้อมศึกษาเบื้องต้น
สิ่งแวดล้อมศึกษาเบื้องต้นSompop Petkleang
 

More from Sompop Petkleang (14)

เอกสารประกอบการอบรม เรื่อง การปลูกกล้วยน้ำว้าผสมผสาน
เอกสารประกอบการอบรม เรื่อง การปลูกกล้วยน้ำว้าผสมผสานเอกสารประกอบการอบรม เรื่อง การปลูกกล้วยน้ำว้าผสมผสาน
เอกสารประกอบการอบรม เรื่อง การปลูกกล้วยน้ำว้าผสมผสาน
 
AEC Blue Print
AEC Blue PrintAEC Blue Print
AEC Blue Print
 
Flood r6 bangyai
Flood r6 bangyaiFlood r6 bangyai
Flood r6 bangyai
 
Flood r5 bangkroi
Flood r5 bangkroiFlood r5 bangkroi
Flood r5 bangkroi
 
Flood r4 bangbuathong
Flood r4 bangbuathongFlood r4 bangbuathong
Flood r4 bangbuathong
 
Flood r3 paked
Flood r3 pakedFlood r3 paked
Flood r3 paked
 
Flood r2 nont
Flood r2 nontFlood r2 nont
Flood r2 nont
 
Flood r1
Flood r1Flood r1
Flood r1
 
Flood management
Flood managementFlood management
Flood management
 
การเตรียมดินส่งวิเคราะห์
การเตรียมดินส่งวิเคราะห์การเตรียมดินส่งวิเคราะห์
การเตรียมดินส่งวิเคราะห์
 
การเตรียมดินส่งวิเคราะห์
การเตรียมดินส่งวิเคราะห์การเตรียมดินส่งวิเคราะห์
การเตรียมดินส่งวิเคราะห์
 
สรุปกิจกรรมค่ายดิน
สรุปกิจกรรมค่ายดินสรุปกิจกรรมค่ายดิน
สรุปกิจกรรมค่ายดิน
 
ค่ายสิ่งแวดล้อมศึกษา หลักสูตร “เพื่อนสายน้ำ”
ค่ายสิ่งแวดล้อมศึกษา หลักสูตร “เพื่อนสายน้ำ”ค่ายสิ่งแวดล้อมศึกษา หลักสูตร “เพื่อนสายน้ำ”
ค่ายสิ่งแวดล้อมศึกษา หลักสูตร “เพื่อนสายน้ำ”
 
สิ่งแวดล้อมศึกษาเบื้องต้น
สิ่งแวดล้อมศึกษาเบื้องต้นสิ่งแวดล้อมศึกษาเบื้องต้น
สิ่งแวดล้อมศึกษาเบื้องต้น
 

คู่มืออบรมอาสาสมัครดับไฟป่า เรื่องความปลอดภัยในการป้องกันและควบคุมไฟป่า

  • 1. เอกสารประกอบการอบรม เรื่อง : ความปลอดภัยในการป้องกัน และควบคุมไฟป่า สําหรับอาสาสมัครอนุรักษ์อุทยานธรรมชาติวิทยาตามพระราชดําริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี อําเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี นายสมภพ เพ็ชรเกลี้ยง สํานักงานโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี 12 ธันวาคม 2555
  • 2. สารบัญ เรื่อง หน้า บทที่ 1 ความรู้เรื่องไฟป่า 1. การเกิดไฟป่า 1 2.รูปร่างของไฟป่า 2 3.ปัจจัยที่ส่งผลพฤติกรรมของไฟป่า 3 บทที่ 2 การจัดองค์กรดับไฟป่าขั้นพื้นฐาน 1 การจัดหมู่ดบไฟป่า ั 6 2.องค์กรดับไฟป่าขนาดใหญ่ 8 บทที่ 3 ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานดับไฟป่า 1 ความปลอดภัยในเรื่องเครื่องแต่งกาย 10 2.ความปลอดภัยในการเดินทางด้วยรถยนต์ 10 3.ความปลอดภัยในระหว่างการเดินเท้า 11 4.ความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือดับไฟป่า 11 5.ความปลอดภัยในระหว่างการดับไฟป่า 14 6.ความปลอดภัยในระหว่างการกวาดเก็บ 22 7.ความปลอดภัยจากสัตว์ป่าและอสรพิษ 22 8.อันตรายจากไฟต่ออาสาสมัครดับไฟป่า 22 9.การเอาชีวิตรอดในกรณีฉุกเฉิน 24 บทที่ 4 แนวพระราชดําริในการอนุรักษ์ป่าไม้ 1.ปลูกป่าในใจคน 26 2.การปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก 26 3.ป่าเปียก 26 4.การสสร้างฝายต้นน้ําลําธารหรือฝายชะลอความชุ่มชื้น 27 5.การปลูกหญ้าแฝก 28 6.การปลูกไม้ 3 อย่าง ให้ประโยชน์ 4 อย่าง 31 *************************************
  • 3. คูมือ อาสาสมัครอนุรักษอุทยานธรรมชาติวิทยา บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้น เรื่อง ไฟป่า 1.การเกิดไฟป่า 1.1 จากธรรมชาติ ไฟป่าที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่น ฟ้าผ่า กิ่งไม้เสียดสีกัน ภูเขาไฟระเบิด ก้อนหินกระทบกัน แสงแดดตกกระทบผลึกหิน แสงแดดส่องผ่านหยดน้ํา ปฏิกิริยาเคมีในดินป่าพรุ การลุกไหม้ในตัวเองของสิ่งมีชีวิต แต่สาเหตุท่สําคัญ คือ ี 1) ฟ้าผ่า เป็นสาเหตุสําคัญของการเกิดไฟป่าในเขตอบอุ่น ในประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศ แคนาดา พบว่ากว่าครึ่งหนึ่งของไฟป่าที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากฟ้าผ่า 2) กิ่งไม้เสียดสีกัน อาจเกิดขึ้นได้ในพื้นที่ป่าที่มีไม้ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นและมีสภาพอากาศแห้งจัด เช่น ในป่าไผ่หรือป่าสน 1.2 จากมนุษย์ ไฟป่าที่เกิดในประเทศกําลังพัฒนาในเขตร้อน ส่วนใหญ่จะมีสาเหตุมาจากกิจกรรมของ มนุษย์ สําหรับประเทศไทยจากการเก็บสถิติไฟป่าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528-2542 ซึ่งมีสถิติไฟป่าทั้งสิ้น 73,630 ครั้ง พบว่า เกิดจากสาเหตุตามธรรมชาติคือฟ้าผ่าเพียง 4 ครั้ง เท่านั้น คือเกิดที่ภูกระดึง จังหวัดเลย ที่ห้วยน้ําดัง จังหวัดเชียงใหม่ ที่ท่าแซะ จังหวัดชุมพร และที่เขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา แห่งละหนึ่งครั้ง ดังนั้นจึงถือได้ว่าไฟป่าในประเทศไทย ทั้งหมดเกิดจากการกระทําของคน โดยมีสาเหตุต่างๆ กันไป ได้แก่ 1) เก็บหาของป่า เป็นสาเหตุท่ีทําให้เกิดไฟป่ามากที่สุด การเก็บหาของป่าส่วนใหญ่ ได้แก่ ไข่มดแดง เห็ด ใบตองตึง ไม้ไผ่ น้ําผึ้ง ผักหวาน และไม้ฟืน การจุดไฟส่วนใหญ่เพื่อให้พื้นป่าโล่ง เดินสะดวก หรือให้ แสงสว่างในระหว่างการเดินทางผ่านป่าในเวลากลางคืน หรือจุดเพื่อกระตุ้นการงอกของเห็ด หรือกระตุ้นการแตกใบ ใหม่ของผักหวานและใบตองตึง หรือจุดเพื่อไล่ตัวมดแดงออกจากรัง รมควันไล่ผึ้ง หรือไล่แมลงต่างๆ ในขณะที่อยู่ในป่า 2) เผาไร่ เป็นสาเหตุที่สําคัญรองลงมา การเผาไร่ก็เพื่อกําจัดวัชพืชหรือเศษซากพืชที่เหลืออยู่ ภายหลังการเก็บเกี่ยว ทั้งนี้เพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูกในรอบต่อไป ทั้งนี้โดยปราศจากการทําแนวกันไฟและปราศจาก การควบคุม ไฟจึงลามเข้าป่าที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง 3) แกล้งจุด ในกรณีที่ประชาชนในพื้นที่มีปัญหาความขัดแย้งกับหน่วยงานของรัฐในพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเรื่องที่ทํากินหรือถูกจับกุมจากการกระทําผิดในเรื่องป่าไม้ ก็มักจะหาทางแก้แค้นเจ้าหน้าที่ ด้วยการเผาป่า 4) ความประมาท เกิดจากการเข้าไปพักแรมในป่า ก่อกองไฟแล้วลืมดับ หรือทิ้งก้นบุหรี่ลงบนพื้นป่า เป็นต้น 5) ล่าสัตว์ โดยจุดไฟไล่ให้สัตว์หนีออกจากที่ซ่อน หรือจุดไฟเพื่อให้แมลงบินหนีไฟ นกชนิดต่างๆ จะบินมากินแมลง แล้วดักยิงนกอีกทอดหนึ่ง หรือจุดไฟเผาทุ่งหญ้า เพื่อให้หญ้าใหม่แตกระบัด ล่อให้สัตว์ชนิดต่างๆ เช่น กระทิง กวาง กระต่าย มากินหญ้า แล้วดักรอยิงสัตว์นั้นๆ 6) เลี้ยงปศุสัตว์ ประชาชนที่เลี้ยงปศุสัตว์แบบปล่อยให้หากินเองตามธรรมชาติ มักลักลอบจุดไฟเผา ป่าให้โล่งมีสภาพเป็นทุ่งหญ้าเพื่อเป็นแหล่งอาหารสัตว์ 7) ความคึกคะนอง บางครั้งการจุดไฟเผาป่าเกิดจากความคึกคะนองของผู้จุด โดยไม่มีวัตถุประสงค์ ใดๆ แต่จุดเล่นเพื่อความสนุกสนาน เท่านั้น เอกสารประกอบการฝกอบรม เรื่อง ความปลอดภัยในการปองกันและควบคุมไฟปา หนาที่ 1
  • 4. คูมือ อาสาสมัครอนุรักษอุทยานธรรมชาติวิทยา 2.รูปร่างของไฟป่า รูปร่างของไฟป่า ในสภาพความเป็นจริงมักจะเป็นรูปวงรี เนื่องจากอัตราการลุกลามของไฟในแต่ละทิศทางจะ ไม่เท่ากัน ทั้งนี้เกิดจากอิทธิพลของลม หรืออิทธิพลของความลาดชันของพื้นที่ ซึ่งแล้วแต่กรณี โดยรูปร่างของไฟที่ไหม้ ไปตามทิศทางของลม จะเป็นไปในทํานองเดียวกับไฟที่ไหม้ขึ้นไปตามลาดเขา งามไฟ ภาพที่ 1.1 รูปร่างและส่วนต่างๆ ของไฟป่า ส่วนต่างๆ ของไฟ ประกอบด้วย 1) หัวไฟ คือ ส่วนของไฟที่ลุกลามไปตามทิศทางลม หรือลุกลามขึ้นไปตามความลาดชันของภูเขา เป็นส่วน ของไฟที่มีอัตราการลุกลามรวดเร็วที่สุด มีเปลวไฟยาวที่สุด มีความรุนแรงของไฟมากที่สุด จึงเป็นส่วนของไฟที่มี อันตรายมากที่สุดด้วยเช่นกัน 2) หางไฟ คือ ส่วนของไฟที่ไหม้ไปในทิศทางตรงกันข้ามกับหัวไฟ คือไหม้สวนทางลม หรือไหม้ลงมาตาม ลาดเขา ไฟจึงลุกลามไปอย่างช้าๆ เป็นส่วนของไฟที่เข้าควบคุมได้ง่ายที่สุด 3) ปีกไฟ คือ ส่วนของไฟที่ไหม้ตั้งฉากหรือขนานไปกับทิศทางหลักของหัวไฟ ปีกไฟแบ่งเป็นปีกซ้ายและ ปีกขวา โดยกําหนดปีกซ้ายปีกขวาจากการยืนที่หางไฟแล้วหันหน้าไปทางหัวไฟ ปีกไฟโดยทั่วไปจะมีอัตราการลุกลาม และความรุนแรงน้อยกว่าหัวไฟ แต่มากกว่าหางไฟ 4) นิ้วไฟ คือ ส่วนของไฟที่เป็นแนวยาวแคบๆ ยื่นออกไปจากตัวไฟหลัก นิ้วไฟแต่ละนิ้วจะมีหัวไฟและปีกไฟ ของมันเอง นิ้วไฟเกิดจากเงื่อนไขของลักษณะเชื้อเพลิง และลักษณะความลาดชันของพื้นที่ 5) ขอบไฟ คือ ขอบเขตของไฟป่านั้นๆ ในช่วงเวลาหนึ่งๆ ซึ่งอาจจะเป็นช่วงที่ไฟกําลังไหม้ลุกลามอยู่ หรือ เป็นช่วงที่ไฟนั้นได้ดับลงแล้วโดยสิ้นเชิง 6) ง่ามไฟ คือ ส่วนของขอบไฟที่อยู่ระหว่างนิ้วไฟ ซึ่งจะมีอัตราการลุกลามช้ากว่านิ้วไฟ เนื่องจากเงื่อนไข ของลักษณะเชื้อเพลิง และลักษณะความลาดชันของพื้นที่ 7) ลูกไฟ คือส่วนของไฟที่ไหม้นําหน้าตัวไฟหลัก โดยเกิดจากการที่สะเก็ดไฟจากตัวไฟหลักถูกลมพัดให้ปลิว ไปตกหน้าแนวไฟหลักและเกิดลุกไหม้กลายเป็นไฟป่าขึ้นอีกหนึ่งไฟ เอกสารประกอบการฝกอบรม เรื่อง ความปลอดภัยในการปองกันและควบคุมไฟปา หนาที่ 2
  • 5. คูมือ อาสาสมัครอนุรักษอุทยานธรรมชาติวิทยา 3.ปัจจัยทีส่งผลต่อพฤติกรรมของไฟป่า ่ 3.1 ลักษณะเชื้อเพลิง 1) ขนาดของเชื้อเพลิง หากเชื้อเพลิงมีพื้นที่ผิวต่อหน่วยปริมาตรมาก อัตราการสันดาปจะช้ากว่า เชื้อเพลิงที่มีพื้นที่ผวต่อหน่วยปริมาตรน้อย ดังนั้นเชื้อเพลิงที่มีขนาดเล็ก เช่น ใบไม้แห้ง กิ่งก้านไม้แห้ง และหญ้าจะติด ิ ไฟง่ายกว่าและลุกลามได้รวดเร็วกว่า ในทางตรงข้ามเชื้อเพลิงขนาดใหญ่ เช่น กิ่งก้านไม้ขนาดใหญ่ ท่อนไม้ ตอไม้ ไม้ยืนตาย จะติดไฟยากกว่า และลุกลามไปอย่างช้าๆ แต่มีความรุนแรงมากกว่า 2) ปริมาณหรือน้ําหนักของเชื้อเพลิง หากมีเชื้อเพลิงต่อหน่วยพื้นที่มาก ไฟก็จะมีความรุนแรงมาก และปลดปล่อยพลังงานความร้อนออกมามากด้วยเช่นกัน 3) ความหนาของชั้นเชื้อเพลิง หากเชื้อเพลิงมีการสะสมตัวกันมาก ชั้นของเชื้อเพลิงจะมี ความหนามาก ทําให้เกิดน้ําหนักกดทับให้เชื้อเพลิงเกิดการอัดแน่นตัว มีปริมาณเชื้อเพลิงต่อหน่วยพื้นที่มาก ทําให้ไฟ ที่เกิดขึ้นมีความรุนแรงมากตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม ถ้าชั้นของเชื้อเพลิงหนาเกินไปมีการอัดแน่นจนไม่มีช่องให้ ออกซิเจนแทรกตัวเข้าไป การลุกลามก็จะเป็นไปได้ยากและเป็นไปอย่างช้าๆในขณะเดียวกัน ความหนาของ ชั้นเชื้อเพลิงมีผลโดยตรงต่อความยาวเปลวไฟ คือถ้าชั้นเชื้อเพลิงหนามาก ความยาวเปลวไฟก็จะยาวมากตามไปด้วย 4) การจัดเรียงตัวและความต่อเนื่องของเชื้อเพลิง เป็นปัจจัยสําคัญที่กําหนดอัตราการลุกลามและ ความต่อเนื่องของการลุกลามของไฟ หากเชื้อเพลิงมีการกระจายตัวอยู่อย่างสม่ําเสมอและต่อเนื่องกันทั่วพื้นที่ ไฟก็จะ สามารถลุกลามไปได้อย่างต่อเนื่องด้วยความรวดเร็ว แต่ถ้าหากเชื้อเพลิงมีการกระจายตัวไม่สม่ําเสมอ กระจัดกระจาย เป็นหย่อมๆ การลุกลามของไฟก็จะหยุดชะงักเป็นช่วงๆ และไฟเคลื่อนที่ไปได้ค่อนข้างช้า 5) ความชื้นของเชื้อเพลิง มีอิทธิพลต่อการติดไฟและการลุกลามของไฟ คือถ้าเชื้อเพลิงมีความชื้นสูง จะติดไฟยากและการลุกลามเป็นไปอย่างช้าๆ ในทางตรงข้ามถ้าเชื้อเพลิงมีความชื้นต่ําก็จะติดไฟง่ายและลุกลามไปได้ อย่างรวดเร็ว ภาพที่ 1.2 ลักษณะของเชื้อเพลิงในป่าเบญจพรรณ อุทยานธรรมชาติวิทยาตามพระราชดําริ เอกสารประกอบการฝกอบรม เรื่อง ความปลอดภัยในการปองกันและควบคุมไฟปา หนาที่ 3
  • 6. คูมือ อาสาสมัครอนุรักษอุทยานธรรมชาติวิทยา 3.2 ลักษณะอากาศ 1) ความชื้นสัมพัทธ์ โดยทั่วไปแล้วจะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับความชื้นของเชื้อเพลิง ถ้าความชื้น สัมพัทธ์สูง (มีน้ําค้างมาก หมอกหนา) ความชื้นของเชื้อเพลิงก็จะสูงตามไปด้วยทําให้ติดไฟยาก ลุกลามได้ช้า และ มีความรุนแรงน้อย แต่ถ้าความชื้นสัมพัทธ์ต่ํา (แห้งแล้ง ลมโกรก) ความชื้นของเชื้อเพลิงก็จะต่ําตามไปด้วย ทําให้ติด ไฟง่าย ลุกลามรวดเร็ว และรุนแรงมาก 2) อุณหภูมิ มีอิทธิพลโดยตรงต่อความชื้นของเชื้อเพลิง อุณหภูมิย่งสูง เชื้อเพลิงยิ่งแห้งติดไฟง่ายขึ้น ิ 3) ลม มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของไฟป่าอย่างมาก กล่าวคือ เป็นตัวการเพิ่มออกซิเจนให้แก่ไฟป่า และทําให้เชื้อเพลิงแห้งอย่างรวดเร็ว เป็นตัวการพัดลูกไฟไปตกหน้าแนวไฟเดิมเกิดเป็นไฟใหม่ และเป็นตัวกําหนด ทิศทางและอัตราการลุกลามของไฟป่าไปตามทิศทางและความเร็วของลม ในกรณีของไฟเรือนยอด หรือไฟในทุ่งหญ้า หรือไฟผิวดินในป่าที่ค่อนข้างโล่ง ลมโดยเฉพาะลมบนจะเป็นปัจจัยสําคัญที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมความรุนแรงของไฟ เป็นอย่างมาก แต่สําหรับไฟผิวดินในป่าที่มีต้นไม้ค่อนข้างแน่นทึบ ลมบนแทบจะไม่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของไฟป่า เลย ทั้งนี้เนื่องจากเมื่อลมพัดผ่านเข้าไปในป่า จะถูกต้นไม้ปะทะเอาไว้ทําให้ความเร็วของลมที่พัดผ่านป่าที่ระดับใกล้ ผิวดินลดลงมาก และมีค่าค่อนข้างสม่ําเสมอ ความเร็วลมจะมีค่าสูงสุดในช่วงกลางวัน และลดลงในช่วงเย็น สําหรับพื้นที่ที่เป็นลาดเขา ลมจะพัด ขึ้นเขาในเวลากลางวัน และพัดลงเขาในเวลากลางคืน และลมที่พัดขึ้นไปตามร่องเขา จะมีกําลังและความเร็วสูงกว่า ลมที่พดขึ้นไปตามลาดเขาปกติมาก ั ข้อควรจํา **อาสาสมัครดับไฟป่าจะต้องคํานึงไว้เสมอว่าเมื่อความเร็วลมเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า อัตราการลุกลาม ของไฟตามทิศทางลมจะเพิ่มขึ้นมากกว่าสองเท่าเสมอ **ไฟป่าจะมีอันตรายมากที่สุดในช่วงเวลากลางวัน ระหว่างเวลา 10.00 น. ถึง 18.00 น. เพราะเป็น ช่วงที่ความเร็วลมสูง ความชื้นสัมพัทธ์ต่ํา และอุณหภูมิสูง **ไฟป่าจะมีอันตรายน้อยที่สุดในช่วงเวลากลางคืน ระหว่างเวลา 02.00น. ถึง 06.00 น. เพราะเป็น ช่วงที่ความเร็วลมต่ํา ความชื้นสัมพัทธ์สูง และอุณหภูมิต่ํา 3.3 ลักษณะภูมิประเทศ 1) ความลาดชัน ความลาดชันมีอิทธิพลโดยตรงต่อทิศทางและอัตราการลุกลามของไฟ ไฟที่ลุกลาม ขึ้นไปตามลาดเขาจะมีอัตราการลุกลามรวดเร็วและมีความรุนแรงกว่าไฟบนที่ราบเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีการพา ความร้อนผ่านอากาศขึ้นไปทําให้เชื้อเพลิงด้านบนแห้งไว้ก่อนแล้วจึงติดไฟได้รวดเร็ว และแนวของเปลวไฟก็อยู่ใกล้ เชื้อเพลิงที่อยู่ขางหน้ามากกว่า ้ ไฟที่ ไ หม้ ข้ึ น ไปตามลาดเขาจะมี รู ป ร่ า งและพฤติ ก รรมคล้ า ยกั บ ไฟที่ ไ หม้ ไ ปตามอิ ท ธิ พ ลของลม โดยทั่วไปไฟจะไหม้ขึ้นเขาในเวลากลางวัน และไหม้ลงเขาในเวลากลางคืน ตามทิศทางการพัดของลมภูเขา ในกรณีที่ เกิดไฟไหม้ข้นเขาในเวลากลางคืน จะพบว่าอัตราการลุกลามช้ากว่าไฟไหม้ขึ้นเขาในเวลากลางวันมาก ทั้งนี้เนื่องจากไฟ ึ ต้องไหม้ทวนทิศทางลม ในทางตรงกันข้าม ไฟที่ไหม้ลงเขาในเวลากลางคืน จะมีอัตราการลุกลามรวดเร็วกว่าไฟไหม้ลง เขาในเวลากลางวันมาก ทั้งนี้เนื่องจากไฟจะไหม้ไปตามทิศทางลม 2) ทิศด้านลาด คือการบอกทิศทางของพื้นที่ที่มีความลาดชันนั้นๆ ว่าหันไปทางทิศใด พื้นที่ลาดชันที่ หันไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้จะรับแสงอาทิตย์ในเวลากลางวันทําให้พื้นที่มีความแห้งแล้งกว่าพื้นที่ในทิศด้านลาดอื่นๆ เชื้อเพลิงจึงแห้ง ติดไฟง่ายและไฟลุกลามได้รวดเร็วกว่าบนทิศด้านลาดอื่นๆ เอกสารประกอบการฝกอบรม เรื่อง ความปลอดภัยในการปองกันและควบคุมไฟปา หนาที่ 4
  • 7. คูมือ อาสาสมัครอนุรักษอุทยานธรรมชาติวิทยา ภาพที่ 1.3 ภูมิประเทศในอุทยานธรรมชาติวิทยาตามพระราชดําริ เป็นพื้นที่ลาดชันสูงหันไปทางทิศตะวันออก และมักเกิดไฟไหม้ขึ้นเขา นอกจากนี้แล้ว ปัจจัยภูมิประเทศด้านอื่นๆ ก็มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของไฟป่าด้วย เช่น ระดับความสูงของ พื้นที่มีผลต่ออุณหภูมิและปริมาณน้ําฝน และชนิดของพืชพรรณ ภูมิประเทศที่ไม่สม่ําเสมอ เช่น หุบเขาทําให้เกิด ลักษณะอากาศเฉพาะที่ ทําให้กระแสลมปั่นป่วน ทําให้เกิดลมหมุนและลมหวน หุบเขาแคบๆหรือร่องเขาทําหน้าที่ คล้ายปล่องควันที่ชวยเร่งความเร็วของกระบวนการพาความร้อน อันเป็นการเร่งอัตราการสันดาป ่ เอกสารประกอบการฝกอบรม เรื่อง ความปลอดภัยในการปองกันและควบคุมไฟปา หนาที่ 5
  • 8. คูมือ อาสาสมัครอนุรักษอุทยานธรรมชาติวิทยา บทที่ 2 การจัดองค์กรดับไฟป่าขั้นพืนฐาน ้ การจัดองค์กรดับไฟป่าถือว่าเป็นสิ่งสําคัญอันดับแรกในกระบวนการดับไฟป่า เพราะถึงแม้ว่าจะมีกําลังคนและ อุปกรณ์การดับไฟป่าอย่างมากมายก็ตาม แต่ถ้าขาดการจัดองค์กรที่เป็นระบบแล้ว เมื่อเข้าเผชิญหน้ากับไฟป่า ซึ่งเป็น ช่ว งสถานการณ์ ท่ี วิก ฤติ และเสี่ ย งเป็ นเสี่ ยงตาย ก็อ าจเกิ ดความสับสนวุ่นวาย และตื่ น ตระหนก จนกระทั่ง การ ปฏิบัติงานล้มเหลว และผู้ปฏิบัติงานได้รับอันตราย ดังนั้นการดับไฟป่าจึงจําเป็นต้องมีการจัดองค์กร เพื่อให้ทราบสาย การบังคับบัญชาที่ชัดเจน ผู้ปฏิบัติงานแต่ละคนทราบหน้าที่และภารกิจของตนเอง และมีการประสานการปฏิบัติงาน ร่วมกันอย่างเป็นเอกภาพ จึงจะเป็นหลักประกันความสําเร็จของงาน และความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานทุกคน ในแต่ ละประเทศจะมีการจัดองค์กรดับไฟป่าที่แตกต่างกันออกไป แต่โดยทั่วไปจะแบ่งกําลังออกเป็นหมวดหมู่ คือ หมู่ดับไฟ ป่าภาคพื้นดิน หน่วยเครื่องสูบน้ําและรถดับเพลิง หน่วยเครื่องจักรกลหนัก และหน่วยสนับสนุนทางอากาศ สําหรับ ประเทศไทย การจัดองค์กรดับไฟป่าพื้นฐานของสถานีควบคุมไฟป่า จะประกอบด้วย หมู่ดับไฟป่า หน่วยลาดตะเวน และสื่อสาร และหน่วยสนับสนุน (ภาพที่ 2.1) หัวหน้าหน่วยควบคุมไฟป่า หมู่ดับไฟป่า หน่วยลาดตระเวน หน่วยสนับสนุน (ตั้งแต่ 1 หมู่ ขึ้นไป) และสื่อสาร (ถ้ามี) - เครื่องสูบน้ํา - Slip-on Tank - รถบรรทุกน้ํา - รถดับเพลิง - รถแทรกเตอร์ - เฮลิคอปเตอร์ ภาพที่ 2.1 การจัดองค์กรดับไฟป่าพื้นฐานของประเทศไทย 1.การจัดหมู่ดบไฟป่า ั หมู่ดับไฟป่าภาคพื้นดิน ถือว่าเป็นหน่วยที่มีความสําคัญที่สุดในการดับไฟป่า เพราะเป็นกําลังหลักที่จะเข้า เผชิญหน้ากับไฟป่าโดยตรง เพื่อควบคุมและดับไฟป่าลงให้ได้อย่างสิ้นเชิงในที่สุด ซึ่งเปรียบเสมือนทหารราบอันเป็น ราชินีแห่งสนามรบที่เป็นกําลังหลักในการเข้าประจันหน้าและทําลายล้างข้าศึกให้ได้อย่างราบคาบ เพื่อเข้ายึดพื้นที่และ ประกาศชัยชนะในการศึกครั้งนั้นในที่สด ุ หมู่ดับไฟป่าควรจะจัดให้มีขนาดเล็กแต่พอเพียงสําหรับการปฏิบัติภารกิจ ทั้งนี้เพื่อความคล่องตัวและความ สะดวกในการบังคับบัญชาและประสานงาน ในประเทศสหรัฐอเมริกา จัดหมู่ดับไฟป่าภาคพื้นดินของหน่วย Hot Shot โดยมีกําลังพล 20 นาย ซึ่งเท่ากับหมู่ดับไฟป่าภาคพื้นดินของประเทศแคนาดา นอกจากนั้นแคนาดายังมีการจัดหมู่ดับ ไฟป่าพิเศษ เรียกว่า หน่วยจู่โจมเคลื่อนที่เร็ว ซึ่งมีกําลังพลเพียง 3 นาย ส่งกําลังทางเฮลิคอปเตอร์และใช้วิธีโรยตัว จากเฮลิคอปเตอร์ลงสู่พ้ืนที่เป้าหมาย ทําให้สามารถสกัดไฟได้อย่างรวดเร็วและมีความคล่องตัวสูง สําหรับประเทศ รัสเซีย จัดหมู่ดับไฟป่าโดยมีกําลังพล 12 นาย ส่งกําลังทางอากาศ โดยโดดร่มจากเครื่องบินปีก 6 นาย และโรยตัวจาก เฮลิคอปเตอร์อก 6 นาย จากนั้นจึงประกอบกําลังเป็นหมู่ดับไฟป่าเดียวกันในภาคพื้นดิน ี เอกสารประกอบการฝกอบรม เรื่อง ความปลอดภัยในการปองกันและควบคุมไฟปา หนาที่ 6
  • 9. คูมือ อาสาสมัครอนุรักษอุทยานธรรมชาติวิทยา สําหรับประเทศไทย การจัดหมู่ดับไฟป่ายิ่งเล็กจะยิ่งมีประสิทธิภาพ เพราะจะมีความคล่องตัวและมีอิสระใน การปฏิบัติงานสูง ตามธรรมชาติของคนไทยที่ไม่ถนัดกับการทํางานเป็นทีม (Teamwork) อย่างไรก็ตามในบางครั้ง เนื่องจากมีข้อจํากัดในเรื่องอุปกรณ์การสื่อสารทําให้จําเป็นต้องจัดหมู่ดับไฟป่าที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ดังนั้นเพื่อให้เกิดความ ยืดหยุ่นตามภารกิจและข้อจํากัด จึงจัดหมู่ดับไฟป่าไว้ 2 แบบ ดังนี้ 1) หมู่ดับไฟป่าขนาดเล็ก มีกาลังพล 7 นาย แบ่งหน้าที่ ดังนี้ ํ - หัวหน้าหมู่ดับไฟป่า 1 นาย - ถังฉีดน้ําดับไฟป่า 2 นาย - ที่ตบไฟ 4 นาย (พร้อมครอบไฟป่าหรืออุปกรณ์ทําแนวกันไฟอื่นๆ) ในขณะเข้าปฏิบัติงาน หมู่ดับไฟป่าขนาดเล็กนี้สามารถกระจายกําลังออกเป็น 2 หมู่ดับไฟย่อย หมู่ย่อยละ 3 นาย โดยเป็นที่ตบไฟ 2 นาย และ ถังฉีดน้ําดับไฟ 1 นาย และถือเป็นกฎเกณฑ์มาตรฐานว่า หมู่ย่อยที่เล็กที่สุดในการ ดับไฟป่าจะต้องมีกําลังอย่างน้อย 3 นาย โดยที่ตบไฟและถังฉีดน้ําดับไฟจะต้องปฏิบัติงานร่วมกันเสมอ ในอัตราส่วน ที่ ตบไฟ 2 นาย ต่อถังฉีดน้ํา 1 นาย จะไม่มีการแยกปฏิบัติงานโดยมีแต่ที่ตบไฟอย่างเดียวทั้งหมด หรือถังฉีดน้ําดับไฟ อย่างเดียวทั้งหมด เป็นอันขาด (ภาพที่ 2.2) ภาพที่ 2.2 การจัดหมู่ดับไฟป่าขนาดเล็ก 2) หมู่ดับไฟป่าขนาดใหญ่ ในกรณีที่อุปกรณ์การสื่อสารไม่เพียงพอ จําเป็นต้องประกอบกําลังหมู่ดับไฟป่าขนาดเล็ก 2 หมู่ กลายเป็นหมู่ ดับไฟป่าขนาดใหญ่ ทําให้มีกําลังพล 14 นาย โดยแบ่งหน้าที่ดังนี้ - หัวหน้าหมู่ดับไฟป่า 1 นาย - ผู้ชวยหัวหน้าหมู่ดับไฟป่า 1 นาย (พร้อมที่ตบไฟ) ่ - ถังฉีดน้ําดับไฟป่า 4 นาย - ที่ตบไฟ 8 นาย (พร้อมครอบไฟป่าหรืออุปกรณ์ทําแนวกันไฟอื่นๆ) ในขณะเข้าปฏิบัติงาน หมู่ดับไฟขนาดใหญ่น้ีสามารถกระจายกําลังออกเป็น 4 หมู่ดับไฟย่อย หมู่ย่อยละ 3 นาย ในสัดส่วนที่ตบไฟ 2 นาย ต่อถังฉีดน้ําดับไฟป่า 1 นาย เช่นเดียวกับการจัดหมู่ย่อยของหมู่ดับไฟป่าขนาดเล็ก โดย ผู้ช่วยหัวหน้าหมู่ดับไฟป่ามีหน้าที่ช่วยควบคุมการปฏิบัติงานของหมู่ย่อยตามการมอบหมายของหัวหน้าหมู่ดับไฟป่า และเข้าช่วยเสริมการปฏิบติงานของหมู่ย่อยตามความจําเป็น (ภาพที่ 2.3) ั เอกสารประกอบการฝกอบรม เรื่อง ความปลอดภัยในการปองกันและควบคุมไฟปา หนาที่ 7
  • 10. คูมือ อาสาสมัครอนุรักษอุทยานธรรมชาติวิทยา ภาพที่ 2.3 การจัดหมู่ดับไฟป่าขนาดใหญ่ 2.องค์กรดับไฟป่าขนาดใหญ่ ในกรณีที่ไฟป่ามีขนาดใหญ่มาก ต้องมีการระดมกําลังคนและเครื่องมืออุปกรณ์การดับไฟป่าจํานวนมากเพื่อ ร่วมปฏิบตงานดับไฟป่าขนาดใหญ่และจําเป็นต้องปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะทําให้การวางแผนดับไฟป่า ัิ การจัดองค์กรดับไฟป่า ตลอดจนการอํานวยการและประสานงานการดับไฟป่ามีความยุ่งยากซับซ้อนมาก หากแต่ก็มี ความสําคัญมากด้วยเช่นกัน ดังนั้นในการดับไฟป่าขนาดใหญ่ทุกครั้ง ให้ระลึกไว้เสมอว่า จะต้องมีการวางแผน มีการ จัดองค์กร มีการอํานวยการและประสานงานดับไฟป่าที่มีประสิทธิภาพเท่านั้น งานจึงจะประสบผลสําเร็จ หากขาดสิ่ง ที่ว่าแล้ว ถึงแม้จะมีกําลังคนและยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัยจํานวนมากมายมหาศาลเพียงใดก็ตาม ก็จะไม่สามารถควบคุม ไฟป่าไว้ได้ การจัดองค์กรดับไฟป่าขนาดใหญ่ จะต้องจัดในรูปของกองอํานวยการดับไฟป่า ซึ่งแบ่งเป็นฝ่ายต่างๆ โดย แต่ละฝ่ายมีหน้าที่ความรับผิดชอบและสายการบังคับบัญชาที่ชัดเจนไม่สับสนและไม่ซ้ําซ้อน ดังนี้ (ภาพที่ 2.4) 1) ฝ่ายแผน มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้ 1.1) กําหนดแผน ประกอบด้วย - แผนดับไฟป่า - แผนจัดหา (กําลังพล อุปกรณ์ เครื่องจักรกล อากาศยาน ฯลฯ) - แผนส่งกําลังบํารุง - แผนกู้ภัย เอกสารประกอบการฝกอบรม เรื่อง ความปลอดภัยในการปองกันและควบคุมไฟปา หนาที่ 8
  • 11. คูมือ อาสาสมัครอนุรักษอุทยานธรรมชาติวิทยา 1.2) ประสานการปฏิบัติงาน ควบคุมและติดตามสถานการณ์ 1.3) รวบรวมข้อมูลการรายงานตลอดการปฏิบัติงาน และประเมินผล 2) ฝ่ายปฏิบัติการ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้ 2.1) จัดรูปกําลังพล โดยแบ่งหมวดหมู่ดับไฟป่า กําหนดสายการบังคับบัญชาของหมวดหมู่ดับไฟป่าที่ มีกําลังพลมาจากที่ต่างๆ คือ - กําลังหลักจากอาสาสมัครดับไฟป่า - กําลังสนับสนุนจากหน่วยราชการต่างๆ 2.2) จัดหมวดหมู่และสายการบังคับบัญชาของหน่วยเครื่องจักรกล และหน่วยอากาศยาน 2.3) ควบคุมและบังคับบัญชาให้หน่วยปฏิบัติทุกหน่วยปฏิบัติงานไปตามแผนต่างๆ ที่กาหนดไว้ ํ 3) ฝ่ายบริการ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้ 3.1) ประสานงานจัดหากําลังพล เครื่องจักรกลหนัก และอากาศยาน ตามที่กําหนดเอาไว้ในแผน 3.2) จัดหาและจัดส่งกําลังบํารุงตามแผนส่งกําลังบํารุง ตามรายการต่อไปนี้ - กําลังพลสับเปลี่ยน - อาหารและน้ํา - เครื่องมือและอุปกรณ์ดับไฟป่า - อุปกรณ์การยังชีพและพักแรมในป่า - เวชภัณฑ์เพื่อการปฐมพยาบาล 3.3) ปฏิบัตงานกู้ภัย ตามแผนกู้ภัยที่กําหนดไว้ ิ กองอํานวยการดับไฟป่า ฝ่ายแผน ฝ่ายปฏิบัติการ ฝ่ายบริการ - กําหนดแผน - จัดหาและส่งกําลังบํารุง - ประสานงาน และ ประเมินผล - ปฐมพยาบาล และกู้ภัย หน่วยภาคพื้นดิน หน่วยเครื่องจักรกล หน่วยอากาศยาน - กําลังจากอาสาสมัครดับไฟป่า - Slip-on Tank - เฮลิคอปเตอร์ - กําลังจากหน่วยงานอื่นๆ - รถบรรทุกน้ํา - เครื่องบินปีก - รถดับเพลิง - รถแทรกเตอร์ ภาพที่ 2.4 การจัดองค์กรดับไฟป่าขนาดใหญ่ เอกสารประกอบการฝกอบรม เรื่อง ความปลอดภัยในการปองกันและควบคุมไฟปา หนาที่ 9
  • 12. คูมือ อาสาสมัครอนุรักษอุทยานธรรมชาติวิทยา บทที่ 3 ความปลอดภัยในการปฏิบติงานดับไฟป่า ั งานดับไฟป่า เป็นงานที่หนัก เหน็ดเหนื่อย และเสี่ยงอันตรายเป็นอย่างยิ่ง อันตรายในระหว่างปฏิบัติงาน เกิดขึ้นได้ในทุกเสี้ยววินาที ทั้งจากเปลวไฟโดยตรง จากรังสีความร้อน จากหมอกควันและก๊าซพิษ รวมไปถึงอันตราย อันเกิดขึ้นได้ในทุกขั้นตอนของการปฏิบัติงาน โดยปกติแล้วหากมีการวางมาตรการในเรื่องความปลอดภัยเป็นอย่างดี มีความระมัดระวังไม่ประมาทอยู่ตลอดเวลา โอกาสเกิดอันตรายหรืออุบัติเหตุก็จะมีน้อยลง แต่เนื่องจากงานดับไฟป่า เป็นงานหนัก ใช้ระยะเวลาปฏิบัติงานยาวนาน ทําให้เกิดความอ่อนล้าเกิดความเครียด มีผลให้สมองสั่งการและ ตอบสนองช้าลง ความระมัดระวังภัยจึงลดลงตามไปด้วย โดยยิ่งปฏิบัติงานยืดเยื้อยาวนานเท่าไร โอกาสที่จะเกิด อันตรายและอุบัติเหตุก็ยิ่งมีมากขึ้น ดังนั้นการเรียนรู้เรื่องความปลอดภัยในการปฏิบัติงานและการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ ความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด จึงเป็นหนทางเดียวที่จะลดอันตรายและอุบัติเหตุในระหว่างการดับไฟป่าให้มีน้อยที่สุด 1.ความปลอดภัยในเรื่องเครื่องแต่งกาย เครื่องแต่งกายที่เหมาะสมสําหรับการปฏิบัติงานดับไฟป่า จะต้องสามารถป้องกันหรือลดอันตรายที่จะเกิด ระหว่างการดับไฟป่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งอันตรายจากรังสีความร้อนได้มากที่สุด 1) ใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว สีฉูดฉานเห็นได้ชัดแต่ไกล เช่น สีแดง ส้ม หรือ เหลือง ที่ทําจากผ้าหนา ควร เป็นผ้าทนไฟถ้าสามารถจัดหาได้ ถ้าไม่มีอาจใช้ผ้าฝ้ายธรรมดา แต่ห้ามใช้ผ้าที่ทอจากวัสดุไวไฟ เช่น ผ้าไนลอน โดย เด็ดขาด ในกรณีของประเทศไทยใช้เสื้อผ้าสีแดง เป็นต้น 2) สวมรองเท้าหนังหุ้มน่องหรือหุ้มข้อ ชนิดร้อยเชือก ห้ามใช้ชนิดมีซิปโลหะเพราะโลหะจะร้อนจัดเมื่อย่ําลง ไปบนพื้นที่ไฟไหม้ ในกรณีที่ไม่มีอาจใช้รองเท้าผ้าใบได้ แต่ห้ามสวมรองเท้ายางหรือรองเท้าแตะ โดยเด็ดขาด 3) ควรมีผ้าพันคอสามเหลี่ยม เพื่อใช้เช็ดเหงื่อ ใช้ในการปฐมพยาบาล และใช้ชุบน้ําปิดปากและจมูกในกรณี ฉุกเฉิน 4) สวมหมวกนิรภัย ที่ทําจากวัสดุแข็ง เช่น ไฟเบอร์กลาส หรืออลูมิเนียม มีสายรัดคาง และมีสีฉูดฉาด เช่นเดียวกับเสื้อผ้า 5) ใส่แว่นกันควัน เพื่อป้องกันควันไฟ ฝุ่นขี้เถ้า สะเก็ดไฟ หรือชิ้นไม้เล็กๆ ที่กระเด็นมาจากบริเวณที่ตัดต้นไม้ ทําแนวกันไฟ 6) ห้ามสวมใส่เครื่องประดับที่ทําจากโลหะหรือพลาสติก เพราะโลหะหรือพลาสติกจะรับความร้อนได้อย่าง รวดเร็วและทําอันตรายต่อผิวหนัง ในกรณีของนาฬิกาซึ่งมีความจําเป็นในระหว่างการปฏิบัติงาน ควรถอดเก็บไว้ใน กระเป๋ากางเกง และนําออกมาดูเมื่อต้องการ 2.ความปลอดภัยในการเดินทางด้วยรถยนต์ โดยหลักการแล้ว การเดินทางไปถึงบริเวณไฟไหม้ได้เร็วเท่าไร ก็จะสามารถควบคุมไฟได้ง่ายขึ้นเท่านั้น หากแต่ความปลอดภัยในการเดินทางมีความสําคัญมากยิ่งกว่า เพราะหากเกิดอุบัติเหตุระหว่างทางเสียก่อน ภารกิจก็ จะล้มเหลวลงโดยสิ้นเชิง และการเดินทางที่ฉุกละหุกหรือรีบร้อนลนลานจนเกินไป จะทําให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ดังนั้น จึงต้องมีการวางแผนในเรื่องการเดินทางให้เกิดความปลอดภัยที่สุด แต่ให้รวดเร็วที่สุดด้วยเช่นกัน ดังนี้ 1) พนักงานขับรถยนต์ จะต้องมีทักษะและความชํานาญในการขับขี่ในสภาพภูมิประเทศนั้นๆ ต้องคุ้นเคยกับ พื้นที่ ขับรถด้วยความระมัดระวังไม่ประมาท และไม่ดื่มของมึนเมาก่อนทําหน้าที่ 2) ตรวจสอบสภาพรถยนต์ให้พร้อมสําหรับการเดินทางอย่างปลอดภัยอยู่เสมอ 3) ก่อนออกรถต้องแน่ใจว่าทุกคนขึ้นรถและนั่งประจําที่อย่างเรียบร้อยและปลอดภัยแล้ว เอกสารประกอบการฝกอบรม เรื่อง ความปลอดภัยในการปองกันและควบคุมไฟปา หนาที่ 10
  • 13. คูมือ อาสาสมัครอนุรักษอุทยานธรรมชาติวิทยา 4) หากเป็นรถยนต์กระบะที่ไม่ได้ต่อที่นั่งพิเศษ จะต้องให้ทุกคนนั่งในกระบะรถ ห้ามนั่งบนขอบกระบะหรือ ยืนโดยเด็ดขาด 5) ในระหว่างการเดินทางทุกคนต้องคอยระมัดระวังอยู่ตลอดเวลา เพราะอาจเกิดการเหวี่ยงเมื่อรถเข้าโค้ง หรือเกิดการกระดอนอันเนื่องมาจากหลุมบ่อบนถนน ซึ่งอาจทําให้พลัดตกลงจากรถได้ 6) การลงจากรถต้องรอให้รถหยุดสนิท และทยอยกันลงอย่างเป็นระเบียบ 7) การนํารถยนต์เข้าไปในใกล้พื้นที่ไฟไหม้ ต้องมั่นใจว่าจะมีที่กลับรถในกรณีฉุกเฉิน 8) การจอดรถต้องเลือกพื้นที่โล่งที่ไม่มีเชื้อเพลิง หรือถางเชื้อเพลิงรอบๆ ออกให้หมด และหันหัวรถออกไปใน ทิศทางขาออก 9) อย่าจอดรถกีดขวางเส้นทางของรถคันอื่นอย่างเด็ดขาด 3.ความปลอดภัยในระหว่างการเดินเท้า เนื่องจากสภาพป่าส่วนใหญ่ในประเทศไทยเป็นภูเขาสลับซับซ้อน เส้นทางที่รถเข้าถึงมีน้อยมาก และไฟป่ามัก เกิดขึ้นในพื้นที่หางไกลเส้นทางคมนาคม ดังนั้นในการดับไฟป่าทุกครั้ง อาสาสมัครดับไฟป่าจําเป็นต้องเดินเท้าจากจุดที่ ่ หมดเส้นทางรถยนต์เข้าไปยังบริเวณที่เกิดไฟไหม้ ซึ่งในช่วงของการเดินทางด้วยเท้านี้ มีข้อปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย ดังนี้ 1) หัวหน้าหมู่ดับไฟป่าจะต้องรู้จักและคุ้นเคยกับพื้นที่เป็นอย่างดี และต้องมีแผนที่และเข็มทิศไปด้วยเสมอ หากเป็นไปได้ควรมีเครื่องบอกพิกัดบนพื้นโลกด้วยดาวเทียม (GPS) ไปด้วย 2) พยายามใช้เส้นทางเดินเท้าที่มีอยู่แล้ว เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเดินทาง และหลีกเลี่ยงอันตรายจาก พื้นที่ป่าทึบ หุบเหว และหน้าผา 3) เดินในลักษณะแถวตอนเรียงหนึ่ง ทิ้งระยะห่างระหว่างบุคคลพอสมควร ในระยะที่มองเห็นหลังคนเดินหน้า อยู่ตลอดเวลา เพื่อป้องกันการพลัดหลง 4) นําพาเครื่องมือดับไฟป่าในลักษณะที่ปลอดภัย โดยถ้าเป็นถังน้ําดับไฟป่าต้องสะพายหลังและถือหัวฉีดใน ท่าเฉียงอาวุธ หากเป็นเครื่องมือที่มีด้าม ให้ถือเครื่องมือในลักษณะที่สมดุล โดยให้หัวของเครื่องมืออยู่ด้านหน้า ปล่อย แขนที่ถือเครื่องมือลงแนบลําตัว เพื่อให้เครื่องมืออยู่ที่ระดับต่ํากว่าเอว ห้ามใช้วิธีแบกเครื่องมือโดยเด็ดขาด และเว้น ระยะห่างระหว่างบุคคลให้พอเหมาะ เพราะหัวและปลายเครื่องมือจะทิ่มตําคนที่เดินข้างหน้าและข้างหลังได้โดยง่าย 5) การเดินในเวลากลางคืนจะต้องมีไฟฉาย และต้องใช้ความระมัดระวังเพิ่มมากขึ้น พยายามจดจําเส้นทางให้ ดี เผื่อกรณีพลัดหลง 6) หากระยะทางไกลมาก จะต้องวางแผนบริหารกําลังของอาสาสมัครดับไฟป่า โดยกําหนดการหยุดพักเป็น ระยะๆ ตามความเหมาะสม 7) หากเป็นการเดินขึ้นเขา จะต้องทิ้งระยะระหว่างบุคคลให้ไกลขึ้นกว่าปกติ เพราะหากมีหินหรือท่อนไม้กลิ้ง ลงมา จะได้หลบได้ทัน เดินโดยค้อมหลังไปข้างหน้าเพื่อลดการต้านแรงโน้มถ่วงของโลก และควรเดินในลักษณะสลับ ฟันปลาเพื่อลดความชันของพื้นที่ 8) ตรวจเช็คตําแหน่งให้ทราบว่าอยู่บริเวณใดอยู่ตลอดเวลา เพื่อป้องกันการหลงทาง 9) การค้นหาไฟ ถ้าเป็นเวลากลางคืนอาจเห็นแสงไฟได้แต่ไกล แต่ถ้าเป็นเวลากลางวันอาจต้องใช้วิธีดมกลิ่น ฟังเสียง หรือปีนขึ้นต้นไม้เพื่อสังเกตควันไฟ 4.ความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือดับไฟป่า เครื่องมือดับไฟป่าดับไฟป่า มีหลายอย่างตามความเหมาะสมของการปฏิบัติงานที่แตกต่างกันออกไป ในที่นี้ จะแนะนําเฉพาะเครื่องมือดับไฟป่าที่สําคัญและมีใช้ในกลุ่มอาสาสมัครดับไฟป่าของอุทยานธรรมชาติวิทยา ดังนี้ เอกสารประกอบการฝกอบรม เรื่อง ความปลอดภัยในการปองกันและควบคุมไฟปา หนาที่ 11
  • 14. คูมือ อาสาสมัครอนุรักษอุทยานธรรมชาติวิทยา 4.1 ไม้ตบไฟ ไม้ตบไฟ เป็นเครื่องมือดับไฟป่าที่ใช้หลักการแยกออกซิเจนออกจากองค์ประกอบของสามเหลี่ยมไฟ โดยการตบคลุมไฟป้องกันไม่ให้ออกซิเจนเข้าไปทําปฏิกิริยาสันดาปได้ไฟจึงดับลง ไม้ตบไฟนี้พัฒนามาจากภูมิปัญญา ชาวบ้านที่ใช้กิ่งไม้ซึ่งมีใบหนาแน่นมาตบดับไฟลักษณะคล้ายกับไม้กวาด ประกอบด้วย ส่วนหัว ซึ่งทําจากผ้าใบหนา เคลือบด้วยยาง (สายพาน) ขนาด 30 x 40 ซม. ส่วนด้าม ยาวประมาณ 2-2.5 เมตร ภาพที่ 3.1 ไม้ตบไฟ การใช้งาน ใช้ในการดับไฟทางตรง โดยการตบคลุมลงไปบนเปลวไฟ เพื่อป้องกันไม่ให้อากาศเข้าไปทําปฏิกิริยา กับไฟ ไฟก็จะดับลงเหมาะสําหรับการดับไฟที่ไหม้เชื้อเพลิงเบา ได้แก่ หญ้า และใบไม้แห้ง เป็นต้น การบํารุงรักษา 1) ตรวจสอบให้เหล็กประกับที่ยึดแผ่นตบไฟให้ติดกับตัวด้ามมีความแน่นหนาอยู่เสมอ 2) แผ่นตบไฟที่ใช้งานมานานจะบางลงและอ่อนนิ่ม ลดประสิทธิภาพในการทํางาน ต้องเปลี่ยนใหม่ 4.2 ถังฉีดน้ําดับไฟ การลําเลียงน้ําเข้าไปในพื้นที่ไฟไหม้ ที่เป็นป่าเขาสลับซับซ้อนเป็นเรื่องยากลําบาก จึงต้องออกแบบ ถังบรรจุน้ําสําหรับสะพายหลังเพื่อความสะดวกในการเดินทาง ซึ่งมี 2 ประเภท คือ ภาพที่ 3.2 ถังฉีดน้ําดับไฟป่า เอกสารประกอบการฝกอบรม เรื่อง ความปลอดภัยในการปองกันและควบคุมไฟปา หนาที่ 12
  • 15. คูมือ อาสาสมัครอนุรักษอุทยานธรรมชาติวิทยา 1) ถังแข็งคงรูป ทําจากอลูมิเนียมหรือพลาสติก โดยทรงถังจะโค้งเข้ารูปกับแผ่นหลัง มีสายสะพาย สําหรับสะพายคล้องไหล่ ด้านล่างของถังหรือที่ฐานของถังจะมีรูให้นํ้าออกเพื่อต่อเชื่อมด้วยสายยางมายังที่สูบมือ ด้านบนถังจะมีฝาเปิด-ปิด ใช้สําหรับเป็นช่องทางในการเติมน้ํา โดยปกติถังจะออกแบบให้บรรจุน้ําได้ประมาณ 15-20 ลิตร และที่สูบมือสามารถฉีดน้ําไปได้ไกลประมาณ 5-8 เมตร โดยทั่วไปสามารถนําถังที่ใช้พ่นยาฆ่าแมลง หรือ พ่นปุ๋ยเคมีในทางการเกษตรมาใช้แทนถังน้ําดับไฟป่าได้ 2) ถังอ่อนพับเก็บได้ ตัวถังทําจากแผ่นยาง หรือแผ่นผ้าใบเคลือบยาง จึงมีลักษณะเหมือนถุงใส่น้ํา ที่จะโป่งออกเมื่อเติมน้ําเต็ม แต่จะยุบตัวลงเมื่อน้ําหมด จึงสามารถม้วนหรือพับให้เหลือขนาดเล็ก การใช้งาน 1) ใช้สําหรับฉีดลดความร้อนของไฟในการดับไฟทางตรง เพื่อให้เครื่องมือดับไฟป่าชนิดอื่นสามารถ เข้าไปทํางานที่ขอบกองไฟได้ 2) ใช้ในการกวาดเก็บ โดยฉีดพรมแนวดํา ฉีดดับไฟที่ยังเหลือค้างอยู่ในโพรงไม้ ในรอยแตกของไม้ หรือในฐานกอไผ่ ที่เครื่องมืออย่างอื่นเข้าไปทํางานไม่ได้ 3) ใช้เป็นที่สํารองน้ําสําหรับการยังชีพในป่าของอาสาสมัครดับไฟป่า การบํารุงรักษา 1) ตรวจสอบรอยต่อของสายยางกับตัวถัง และรอยต่อของสายยางกับที่สบมือ ให้แน่นสนิทไม่รั่วซึม ู 2) ตรวจสอบลูกยาง แผ่นปะเก็นในกระบอกของที่สูบมือ เปลี่ยนใหม่ทันทีเมื่อชํารุด/หมดอายุการใช้งาน 3) หากคันชักของที่สบมือเริ่มฝืด จะต้องชโลมด้วยน้ํามันหล่อลื่นทันที ู 4) อย่าวางถังฉีดน้ําดับไฟป่าไว้ในที่ที่ถูกแสงแดด เพราะจะทําให้ตัวถังที่ทําจากพลาสติก หรือผ้าใบ เคลือบยางแห้งกรอบ อายุการใช้งานจะลดลงมาก 4.3 ครอบไฟ ครอบไฟ หรือ ราโค่ เป็นเครื่องมือที่ออกแบบมาเพื่อใช้ในงานดับไฟป่าโดยเฉพาะ โดยการนํา เครื่องมือทางการเกษตรสองชนิด คือ คราด และจอบ มาเชื่อมต่อให้เป็นเครื่องมือชิ้นเดียวกัน โดยส่วนหัวของ เครื่องมือด้านหนึ่งมีลักษณะเป็นหน้าจอบ ส่วนอีกด้านหนึ่งเป็นคราด ภาพที่ 3.3 ครอบไฟ เอกสารประกอบการฝกอบรม เรื่อง ความปลอดภัยในการปองกันและควบคุมไฟปา หนาที่ 13
  • 16. คูมือ อาสาสมัครอนุรักษอุทยานธรรมชาติวิทยา การใช้งาน 1) ใช้ในการทําแนวกันไฟ ซึ่งเป็นภารกิจที่เครื่องมือชนิดนี้ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะ โดยใช้ด้านที่ เป็นจอบในการถาก ถาง ขุด ตัด สับ เชื้อเพลิงที่เป็นวัชพืช ใบไม้ กิ่งไม้ ลูกไม้กอหญ้า ตอไม้ และรากไม้ จากนั้นจึงใช้ ด้านที่เป็นคราด คราดเอาเชื้อเพลิงเหล่านี้ออกไปทิ้งนอกแนวกันไฟ ซึ่งสามารถปฏิบัติงานได้รวดเร็วกว่าการใช้จอบ และคราดแยกกัน 2) ใช้ในการรวมกองเชื้อเพลิงเพื่อเผากําจัด โดยใช้ด้านจอบถากถางเชื้อเพลิง และใช้ด้านคราด คราดเชื้อเพลิงมารวมกองเพื่อเผากําจัดทิ้ง การบํารุงรักษา 1) ตรวจสอบให้ส่วนหัวของเครื่องมือติดยึดกับส่วนด้ามอย่างมั่นคงแน่นหนาอยู่เสมอ 2) ส่วนคมของเครื่องมือ ทั้งด้านที่เป็นจอบ และที่ซี่คราด จะต้องหมั่นลับให้คมอยู่เสมอ 3) ตรวจสอบด้ามเครื่องมือให้มีความมั่นคงแข็งแรงอยู่เสมอ หากพบรอยแตกร้าวหรือถูกมอดเจาะ จะต้องรีบเปลี่ยนด้ามทันที 4) หลังการใช้งานทุกครั้งจะต้องทําความสะอาด เช็ดให้แห้ง แล้วชโลมด้วยน้ํามันเพื่อป้องกันสนิม เครื่องมือดับไฟป่าเปรียบเสมือนอาวุธที่ใช้ในการต่อสู้และเอาชนะไฟป่า ในขณะเดียวกันก็ใช้เป็นเครื่องมือ ป้องกันตัวและเอาชีวิตรอดจากไฟป่าได้อีกด้วย แต่ถ้าเครื่องมือไม่อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน หรือใช้งานไม่ถูกวิธี เครื่องมือดับไฟป่าก็สามารถทําอันตรายต่อตัวอาสาสมัครดับไฟป่าได้เช่นกัน 1) ตรวจตราเครื่องมือดับไฟป่าให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์แน่นหนาและพร้อมใช้งานอยู่เสมอ 2) เครื่องมือที่มีคมต้องมีปลอกหรือมีที่ปิดคมในระหว่างการเดินเท้า และต้องระมัดระวังในระหว่างการ เดินทางอยู่ตลอดเวลา เพื่อไม่ให้ส่วนมีคมทําอันตรายตัวเองหรือผู้อื่น 3) การวางเครื่องมือที่มีคมลงบนพื้น จะต้องวางด้านมีคมลงพื้นเสมอ เพื่อป้องกันอันตรายในกรณีมีผู้เผลอไป เหยียบเข้าในระหว่างการทํางานด้วยเครื่องมือที่มีคม จะต้องเว้นระยะระหว่างบุคคลให้เพียง พอ เพื่อมิให้เครื่องมือ เป็นอันตรายต่อผู้ที่ทํางานอยู่ใกล้เคียง 5.ความปลอดภัยในระหว่างการดับไฟป่า 5.1 ข้อบังคับในระหว่างการดับไฟป่า 1) เชื่อฟังและปฏิบติตามคําสั่งและคําแนะนําของผู้ซึ่งควบคุมการดับไฟป่าอย่างเคร่งครัด ั 2) จะต้องทํางานเกาะกลุ่มอย่างน้อยที่สุด 3 นาย เสมอ เพราะหากเกิดเหตุฉุกเฉินจะสามารถ ช่วยเหลือกันได้ทันท่วงที ห้ามแยกตัวออกไปทํางานคนเดียวห่างไกลจากสายตาของผู้ร่วมงานเป็นอันขาด 3) ในระหว่างการทํางาน จะต้องเว้นระยะห่างระหว่างบุคคลให้พอเหมาะ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจ เกิดจากเครื่องมือดับไฟป่า เช่นในกรณีที่ ที่ตบไฟ คราด หรือขวานหลุดจากด้าม 5.2 การระวังอันตรายจากสภาพภูมิประเทศ 1) หากเป็นที่ลาดชัน ให้หลีกเลี่ยงการดับไฟจากด้านบนของไฟ เนื่องจากควันไฟ เปลวไฟ และความ ร้อนที่พุ่งขึ้นมาจะทําให้หายใจลําบาก และทําให้การมองเห็นลดลง และไฟที่ลุกลามขึ้นเขาจะมีความเร็วมากกว่าที่ อาสาสมัครดับไฟป่าจะวิ่งหนีได้ทัน ยิ่งไปกว่านั้นยังอาจมีโอกาสที่ลูกไฟที่ลอยไปตกด้านบน จะพัฒนากลายเป็นไฟป่า อีกแนวหนึ่ง ทําให้อาสาสมัครดับไฟป่าติดอยู่ในวงล้อมของไฟสองแนว (ภาพที่ 3.4) 2) ในที่ลาดชันต้องทํางานจากด้านใต้ของไฟ ทั้งนี้จะต้องระวังหิน ท่อนไม้ ที่จะกลิ้งลงมาทําอันตราย ทั้งยังต้องระวังเชื้อเพลิงติดไฟที่อาจกลิ้งผ่านลงไปข้างล่าง เกิดเป็นแนวไฟอีกหนึ่งแนว และทําให้อาสาสมัครดับไฟป่า ติดอยู่ในวงล้อมของไฟสองแนว เอกสารประกอบการฝกอบรม เรื่อง ความปลอดภัยในการปองกันและควบคุมไฟปา หนาที่ 14
  • 17. คูมือ อาสาสมัครอนุรักษอุทยานธรรมชาติวิทยา 3) การทํางานดับไฟบนที่ลาดชันอาสาสมัครดับไฟป่าจะต้องระมัดระวังการเคลื่อนที่เพราะอาจทําให้ มีหินหรือท่อนไม้กลิ้งลงไปทําอันตรายอาสาสมัครดับไฟป่าที่ปฏิบัติงานอยู่ต่ํากว่า 4) ให้หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีอันตรายสูง เช่น หน้าผา ซึ่งอาจเกิดอุบัติเหตุพลัดตกลงมา และบริเวณร่อง เขาซึ่งจะเกิดปรากฏการณ์ปล่องควันไฟ ได้ตลอดเวลา ภาพที่ 3.4 การดับไฟป่าบนพื้นที่ลาดชัน 5.3 การระวังอันตรายจากสภาพเชื้อเพลิง 1) พื้นที่ป่าที่แน่นทึบทําให้การเดินทางยากลําบาก พลัดหลงกันได้ง่าย ตรวจหาลูกไฟได้ยาก การหนี ไฟในกรณีฉกเฉินไม่สะดวก ดังนั้น หากเป็นไปได้ ควรหลีกเลี่ยงการต้องผ่านพื้นที่ดังกล่าว ุ 2) เชื้อเพลิงที่เป็นไม้ยืนต้น อาจถูกไฟไหม้ที่โคน หากโคนเป็นโพรงต้นไม้จะล้มโค่นลงได้ง่าย จะต้อง ระมัดระวังการเข้าใกล้ 3) ไฟไหม้ในป่าดิบแล้ง ดิบชื้น ดิบเขา ซึ่งต้นไม้มักอวบน้ําจึงหักโค่นได้ง่าย ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ 5.4 การระวังอันตรายจากสภาพอากาศ 1) ในพื้นที่ภูเขาสลับซับซ้อน ความเร็วและทิศทางของลมสามารถเปลี่ยนแปลงได้อยู่ตลอดเวลา ทํา ให้พฤติกรรมของไฟเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาตามไปด้วย 2) ในที่ลมแรง ให้ระวังอันตรายจากเปลวไฟและควันไฟ พยายามหลีกเลี่ยงการสูดดมควันไฟหรือให้ ควันไฟเข้าปอดน้อยที่สุด และระวังอย่าให้ขี้เถ้าเข้าตา ถ้าเป็นไปได้ให้ทํางานจากด้านเหนือลมจะปลอดภัยกว่ามาก ภาพที่ 3.5 อันตรายจากเปลวไฟและควันไฟ เอกสารประกอบการฝกอบรม เรื่อง ความปลอดภัยในการปองกันและควบคุมไฟปา หนาที่ 15