SlideShare a Scribd company logo
1 of 72
Download to read offline
955
หลักการแปลมคธเป็นไทย ๘ ประการ
๑. อาลปนะ
๒. นิบาตต้นข้อความหรือกาลสัตตมี
๓. ตัวประธาน
๔. ตัวขยายประธาน
๕. กิริยาในระหว่างและบทที่เนื่องด้วยกิริยาในระหว่าง
๖. ประโยคแทรก
๗. กิริยาคุมพากย์
๘. บทที่เนื่องด้วยกิริยาคุมพากย์
๑. อาลปนะ มี ๒ คือ อาลปนะนาม และอาลปนะนิบาต
ถ้าอาลปนะนามมาคู่กับอาลปนะนิบาตให้แปลอาลปนะนามก่อน เช่น
โภ ปุริส = ปุริส ดูก่อนบุรุษ โภ ผู้เจริญ เป็นต้น ฯ
๒. นิบาตต้นข้อความหรือกาลสัตตมี เช่น กิร ขลุ สุทํ หิ จ ปน
ถ้านิบาตต้นข้อความมาคู่กับกาลสัตตมีให้แปลนิบาตต้นข้อความก่อน เช่น
อตีเต กิร = กิร ได้ยินว่า อตีเต ในกาลอันเป็นไปล่วงแล้ว หรือ ตทา จ = จ
ก็ ตทา ในกาลนั้น เป็นต้น ฯ
หมายเหตุ: กาลสัตตมี ได้แก่ ศัพท์นามนามที่เกี่ยวกับกาล เวลา และสมัย ประกอบ
ด้วยสัตตมีวิภัตติ เช่น ตสฺมึ กาเล ศัพท์ที่ลงปัจจัยในนาม เช่น ตทา, อิทานิ และนิบาต
บอกกาล เช่น อถ เป็นต้น ฯ
๓. ตัวประธาน {โดยพยัญชนะ แปลว่า อ. (อันว่า)} ได้แก่ศัพท์ต่อไปนี้ คือ
ก. นามนามทั่วไปที่เป็นปฐมาวิภัตติ เช่น ปุริโส, เสฏฺ, กุลํ เป็นต้น
ข. นามกิตก์ที่เป็นนามนาม (ภาวรูป ภาวสาธนะ) เช่น คมนํ เป็นต้น
ค. สมาสนามนาม เช่น ราชปุตฺโต เป็นต้น
ง. ตัทธิตนามนาม เช่น มนุสฺสตฺตํ เป็นต้น
จ. ตุมฺห และ อมฺห ศัพท์ ที่เป็นปฐมาวิภัตติ
ฉ. สังขยานามนาม เช่น สตานิ = อ. ร้อย ท. เป็นต้น
ช. ตทา, อิทานิ, อชฺช และศัพท์นามที่เป็นสัตตมีวิภัตติบางศัพท์ เช่น
คมนฏฺาเน เป็นต้น ฯ
956
หลักการแปลมคธเป็นไทย
๔. ตัวขยายประธาน ได้แก่ศัพท์ต่อไปนี้ คือ
ก. คุณนาม เช่น กุสโล ปุริโส = อ. บุรุษ ผู้ฉลาด
ข. สังขยาคุณนาม เช่น เอโก ภิกฺขุ = อ. ภิกษุ รูปหนึ่ง
ค. วิเสสนสัพพนาม เช่น อยํ เสฏฺ = อ. เศรษฐี นี้
ง. นามกิตก์ที่เป็นคุณนาม สมาสคุณนาม และตัทธิตคุณนาม
๕. กิริยาในระหว่างและบทที่เนื่องด้วยกิริยาในระหว่าง
กิริยาในระหว่าง ได้แก่ กิริยาดังต่อไปนี้ คือ
๑. อนฺต และ มาน ปัจจัย ที่มีลิงค์ วจนะ และวิภัตติ เสมอกับตัวประธาน
๒. ตูน ตฺวา ตฺวาน ปัจจัย ที่เรียกว่า ตูนาทิปัจจัย
บทที่เนื่องด้วยกิริยาในระหว่าง ได้แก่ ศัพท์นามนามและสัพพนาม ที่ประกอบ
ด้วยทุติยาวิภัตติ ถึงสัตตมีวิภัตติ รวมไปถึงนิบาตบางตัว เช่น ปุน เอวํ เป็นต้น
๖. ประโยคแทรก ประโยคแทรกมี ๒ ชนิด คือ
ก. ประโยคอนาทร แปลว่า เมื่อ..เช่น ปิตุ มตสฺส = เมื่อบิดา ตายแล้ว
ข. ประโยคลักขณะ แปลว่า ครั้นเมื่อ.......เช่น สตฺถริ คเต = ครั้นเมื่อ
พระศาสดา เสด็จไปแล้ว
๗. กิริยาคุมพากย์ ได้แก่ กิริยาดังต่อไปนี้ คือ
(๑) กิริยาอาขยาต
(๒) นามกิตก์ ได้แก่ ณฺย ปัจจัย ใช้คุมพากย์ เช่น คารยฺหา
(๓) กิริยากิตก์ ได้แก่ ต อนีย ตพฺพ ปัจจัยใช้คุมพากย์
(๔) ตฺวา ปัจจัย คุมพากย์ เรียกว่า “กิริยาปธานนัย”
(๕) สกฺกา และ อลํ คุมพากย์
(๖) อนฺต และ มาน ปัจจัย ประกอบด้วยฉัฏฐีวิภัตติ เป็นกิริยาของประโยค
อนาทร เรียกว่า “อนาทรกิริยา”
(๗) อนฺต และ มาน ปัจจัย ประกอบด้วยสัตตมีวิภัตติ เป็นกิริยาของประโยค
ลักขณะ เรียกว่า “ลกฺขณกิริยา”
หมายเหตุ: ณฺย ต อนีย ตพฺพ ปัจจัย สกฺกา และ อลํ ใช้คุมพากย์ได้ เมื่อตัวประธานเป็น
ประถมบุรุษเท่านั้น ถ้าตัวประธานเป็นมัธยมบุรุษกับ อุตตมบุรุษ ให้แปลเป็นวิกติกตฺตา
ในกิริยาอาขยาต ดังนี้คือ
(๑) ถ้าตัวประธานเป็น ตฺวํ ให้แปลเป็นวิกติกัตตาใน อสิ
(๒) ถ้าตัวประธานเป็น ตุมฺเห ให้แปลเป็นวิกติกัตตาใน อตฺถ
957
หลักการแปลมคธเป็นไทย
(๓) ถ้าตัวประธานเป็น อหํ ให้แปลเป็นวิกติกัตตาใน อมฺหิ
(๔) ถ้าตัวประธานเป็น มยํ ให้แปลเป็นวิกติกัตตาใน อมฺห
เช่น อุปาสโก วิหารํ คโต. (ต ปัจจัยใช้คุมพากย์ได้)
= อ. อุบาสก ไปแล้ว สู่วิหาร ฯ
อุปาสกา วิหารํ คตา. (ต ปัจจัยใช้คุมพากย์ได้)
= อ. อุบาสก ท. ไปแล้ว สู่วิหาร ฯ
ตฺวํ วิหารํ คโต (อสิ).
= อ. ท่าน เป็นผู้ไปแล้ว สู่วิหาร ย่อมเป็น ฯ
ตุมฺเห วิหารํ คตา (อตฺถ).
= อ.ท่าน ท. เป็นผู้ไปแล้ว สู่วิหาร ย่อมเป็น ฯ
อหํ วิหารํ คโต (อมฺหิ).
= อ. เรา เป็นผู้ไปแล้ว สู่วิหาร ย่อมเป็น ฯ
มยํ วิหารํ คตา (อมฺห).
= อ. เรา ท. เป็นผู้ไปแล้ว สู่วิหาร ย่อมเป็น ฯ
๘. บทที่เนื่องด้วยกิริยาคุมพากย์ ได้แก่ นามนาม หรือ สัพพนาม ที่ประกอบ
ด้วยทุติยาวิภัตติ ถึง สัตตมีวิภัตติ เช่น
โอทนํ ปจติ = ย่อมหุง ซึ่งข้าวสุก, ตสฺมึ าเน วสติ = ย่อมอยู่ ในที่นั้น
เป็นต้น และนิบาตบางตัว เช่น ปุน อาห = กล่าวแล้ว อีก, เอวํ กเถสิ = กล่าวแล้ว
อย่างนี้ เป็นต้น ฯ
ตัวอย่างการแปล
โส กิร ภนฺเต เสฏฺ ปุตฺตํ ลภิตฺวา ปุตฺเต มเต วิหารํ อคมาสิ ฯ แปลตามหลัก
การแปล ดังนี้
๑. ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
๒. กิร ได้ยินว่า
๓. เสฏฺ อ. เศรษฐี
๔. โส นั้น
๕. ปุตฺตํ ลภิตฺวา ได้แล้ว ซึ่งบุตร
๖. ปุตฺเต มเต ครั้นเมื่อบุตร ตายแล้ว
๗. อคมาสิ ได้ไปแล้ว
๘. วิหารํ สู่วิหาร
958
หลักการแปลมคธเป็นไทย
ถ้าในประโยคใดมีไม่ครบทั้ง ๘ ก็ให้เลื่อนไปตามลําดับ แต่หมายเลข ๓ คือ
ตัวประธานนั้น มีหรือไม่มีก็ให้ขึ้นมาเอง (ยกเว้นประโยคภาววาจก)
การขึ้นประธานมาเองนั้น มีหลักดังนี้ คือ
๑. กิริยาคุมพากย์เป็นประถมบุรุษ ฝ่ายเอกวจนะ ให้ขึ้นนามนาม ทั่วไปที่เป็นเอก
วจนะ เช่น ชโน
๒. กิริยาคุมพากย์เป็นประถมบุรุษ ฝ่ายพหุวจนะ ให้ขึ้นนามนาม ทั่วไปที่เป็นพหุ
วจนะ เช่น ชนา
๓. กิริยาคุมพากย์เป็นมัธยมบุรุษ ฝ่ายเอกวจนะ ให้ขึ้น ตฺวํ
๔. กิริยาคุมพากย์เป็นมัธยมบุรุษ ฝ่ายพหุวจนะ ให้ขึ้น ตุมฺเห
๕. กิริยาคุมพากย์เป็นอุตตมบุรุษ ฝ่ายเอกวจนะ ให้ขึ้น อหํ
๖. กิริยาคุมพากย์เป็นอุตตมบุรุษ ฝ่ายพหุวจนะ ให้ขึ้น มยํ
ให้ท่องจำา (ตอนหัดแปลใหม่ๆ)
ติ บอก ชโน อนฺติ บอก ชนา (เป็นตัวอย่าง)
สิ บอก ตฺวํ ถ บอก ตุมฺเห (ตายตัว)
มิ บอก อหํ ม บอก มยํ (ตายตัว)
สิ่งควรจำา
๑. เมื่อมีตัวประธานต้องมีกิริยาคุมพากย์ยกเว้นประโยคลิงคัตถะมีแต่ตัวประธาน
ไม่มีกิริยาคุมพากย์
๒. ตัวประธานกับกิริยาคุมพากย์ ต้องมีบุรุษและวจนะตรงกัน คือ ต้องขึ้นตัว
ประธานให้ถูกต้องตามบุรุษและวจนะของกิริยาคุมพากย์
๓. คําแปลของวิเสสนะ มี ๔ คํา คือ ผู้ ที่ ซึ่ง อัน ในการแปลโดยอรรถนั้นใช้ได้ทั้ง
๔ คํา ส่วนในการแปลโดยพยัญชนะนั้นใช้อยู่ ๒ คํา คือ ผู้ กับ อัน
- ผู้ ใช้แปลตัววิเสสนะของตัวประธานที่มีวิญญาณ ยกเว้นสัตว์ ใช้คําแปลว่า
ตัว เช่น
กุสโล ปุริโส = อ. บุรุษ ผู้ฉลาด
จณฺโฑ หตฺถี = อ. ช้าง ตัวดุร้าย
959
หลักการแปลมคธเป็นไทย
- อัน ใช้แปลตัววิเสสนะของตัวประธานที่ไม่มีวิญญาณ เช่น
อฑฺฒํ กุลํ = อ. ตระกูล อันมั่งคั่ง
๔. เรื่องกาล ต้องแปลให้ถูกต้องตามกาลของวิภัตติหมวดนั้นๆ เช่น กโรหิ จงทํา,
กโรนฺโต ทําอยู่ หรือ เมื่อทํา เป็นต้น
๕. เรื่องวจนะของศัพท์นามนามและสัพพนาม
๖. เรื่องคําแปลของวิเสสนสัพพนาม ฝ่ายพหุวจนะ ให้แปลว่า เหล่า...เสมอ เช่น
เย ภิกฺขู = อ. ภิกษุ ท. เหล่าใด เป็นต้น
๗. ต อนีย ตพฺพ สกฺกา และ อลํ ให้ใช้คุมพากย์ได้ ในเมื่อตัวประธานเป็นประถม
บุรุษเท่านั้น
๘. ต ปัจจัยที่ต่อกับศัพท์อื่นใช้คุมพากย์ไม่ได้ ต้องแปลเป็นวิกติกัตตาเสมอ เช่น
มยา วจนํ อสฺสุตปุพฺพํ (โหติ) ฯ
= วจนํ อ. คํา มยา อสฺสุตปุพฺพํ เป็นคําอันเราไม่เคยฟังแล้ว (เป็นคําอันเรา
ไม่ฟังแล้วในก่อน) (โหติ) ย่อมเป็น ฯ
มยา ตฺวํ น ทิฏฺปุพฺโพ (อสิ) ฯ
= อ. ท่าน เป็นผู้อันเราไม่เห็นแล้วในก่อน ย่อมเป็น ฯ
กุมารสฺส ปิตา กาลกโต (โหติ) ฯ
= อ. บิดา ของกุมาร เป็นผู้มีกาละอันกระทําแล้ว ย่อมเป็น ฯ
สิ่งที่ควรรู้ก่อนการแปล
สิ่งที่ควรรู้ก่อนการแปล มีดังนี้
๑. ศัพท์ ได้แก่ นิบาต อุปสรรค รวมทั้งนามและกิริยาที่ยังไม่ได้ประกอบวิภัตติ
๒. บท ได้แก่ นามศัพท์ (รวมถึงนิบาตบางตัว เช่น อิทานิ เป็นต้น) กิริยาอาขยาต
และกิริยากิตก์ทั้งหมดที่ประกอบวิภัตติแล้ว
๓. พากยางค์ ได้แก่ บทหลายบทรวมกัน พอจับใจความได้ แต่เนื้อความยังไม่
สมบูรณ์ เช่น รฺโ ปุตฺโต = อ. พระโอรส ของพระราชา เป็นต้น
๔. พากย์ หรือประโยค ได้แก่ ตั้งแต่เริ่มต้นประโยคจนถึงกิริยาคุมพากย์ มี
เนื้อความสมบูรณ์ คือมีตัวประธานและกิริยาคุมพากย์ (ยกเว้นประโยค ลิงฺคตฺถ) เช่น
สาวตฺถิยํ กิร มหาสุวณฺโณ นาม กุฏุมฺพิโก อโหสิ อฑฺโฒ มหทฺธโน มหาโภโค อปุตฺตโก ฯ
960
หลักการแปลมคธเป็นไทย
ตัวอย่างการแปลทั้ง ๕ วาจก
๑. ประโยคกัตตุวาจก
ปัญหา สา (ภริยา) ทสมาสจฺจเยน ปุตฺตํ วิชายิ ฯ (จกฺขุปาลตฺเถรวตฺถุ. ๑/๓)
แปล สา ภริยา อ. ภรรยานั้น วิชายิ คลอดแล้ว ปุตฺตํ ซึ่งบุตร ทสมาสจฺจเยน
โดยกาลเป็นที่ล่วงไปแห่งเดือนสิบ ฯ
๒. ประโยคกัมมวาจก
ปัญหา อิทาเนวโก คีตสทฺโท สูยิตฺถ ฯ (จกฺขุปาลตฺเถรวตฺถุ. ๑/๑๕)
แปล คีตสทฺโท อ. เสียงแห่งเพลงขับ เอโก เสียงหนึ่ง (มยา) อันเรา สูยิตฺถ ฟังแล้ว ฯ
๓. ประโยคภาววาจก
ปัญหา นนุ อปฺปมตฺเตหิ ภวิตพฺพํ ฯ (จกฺขุปาลตฺเถรวตฺถุ. ๑/๘)
แปล (อมฺเหหิ) อันเรา ท. อปฺปมตฺเตหิ พึงเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ภวิตพฺพํ พึงเป็น
นนุ มิใช่หรือ ฯ
๔. ประโยคเหตุกัตตุวาจก
ปัญหา อิมํ เตมาสํ กตีหิ อิริยาปเถหิ วีตินาเมสฺสถ ฯ (จกฺขุปาลตฺเถรวตฺถุ. ๑/๘)
แปล (ตุมฺเห) อ.ท่าน ท. เตมาสํ ยังหมวดแห่งเดือนสาม อิมํ นี้ วีตินาเมสฺสถ จักให้
น้อมล่วงไปวิเศษ อิริยาปเถหิ ด้วยอิริยาบถ ท. กตีหิ เท่าไร ฯ
๕. ประโยคเหตุกัมมวาจก
ปัญหา ภทฺเท ทสสุ กสิเณสุ ปริกมฺมํ กตฺวา ฌานํ นิพฺพตฺเตตพฺพํ ฯ (กุณฺฑลเกสีเถรีวตฺถุ.
๔/๑๐๓)
แปล ภทฺเท ดูก่อนนางผู้เจริญ ฌานํ อ. ฌานํ (ปุคฺคเลน)อันบุคคล กตฺวา กระทําแล้ว
ปริกมฺมํ ซึ่งบริกรรม กสิเณสุ ในกสิณ ท. ทสสุ สิบ นิพฺพตฺเตตพฺพํ พึงให้บังเกิด ฯ
ข้อควรระวัง
ในการแปลประโยคเหตุกัตตุวาจก กับ ประโยคเหตุกัมมวาจก ตรงกิริยา
คุมพากย์ ต้องมีคําแปลว่า “ให้” ถ้าแปล (เขียน) ตกคําว่า “ให้” จะถูกกิน ป. (๑ ประโยค =
๖ คะแนน) ทันที โดยไม่มีการอุทธรณ์ฎีกาใดๆ ทั้งสิ้น (เพราะถ้าประโยคเหตุกัตตุวาจก
ที่กิริยาไม่มีคําแปลว่า ให้ ก็จะกลายเป็นคําแปลของประโยคกัตตุวาก และประโยค
961
หลักการแปลมคธเป็นไทย
เหตุกัมมวาจก ไม่มีคําแปลว่า ให้ ก็จะกลายเป็นคําแปลของประโยคกัมมวาจก) ดังนั้น
นักศึกษาจะต้องระมัดระวังให้มากๆ
ประโยคลิงฺคตฺถ
ประโยคลิงฺคตฺถ (บางท่านพูดแบบติดตลกว่า ประโยคลิงไม่มีหาง) คือประโยค
ที่มีแต่ตัวประธาน ไม่มีกิริยาคุมพากย์ เช่น
ปัญหา ตุมฺเห ปน ภาติก ฯ
แปล ข้าแต่พี่ชาย ก็ อ. ท่านเล่า ฯ
อธิบาย ในลักษณะเช่นนี้ ไม่สามารถขึ้นกิริยาคุมพากย์มาได้ ต้องแปลเป็น
ประโยคลิงฺคตฺถ เท่านั้น แต่บางประโยคสามารถขึ้น อตฺถิ หรือ โหติ, โหนฺติ มาป็นกิริยา
คุมพากย์ทําให้เป็นประโยคกัตตุวาจกได้ เช่น
ปัญหา กิมฺเม ฆราวาเสน ฯ
แปลแบบที่ ๑ เป็นประโยคลิงฺคตฺถ อ. ประโยชน์ อะไร แก่เรา ด้วยการอยู่ครอง
ซึ่งเรือน ฯ
แปลแบบที่ ๒ เป็นประโยคกัตตุวาจก อ. ประโยชน์ อะไร ด้วยการอยู่ครอง
ซึ่งเรือน (อตฺถิ) มีอยู่ แก่เรา ฯ
ข้อควรจํา ถ้าไม่จําเป็นจริงๆ อย่าแปลเป็นประโยคลิงฺคตฺถ
การแปลรวบ
การแปลรวบ ที่นิยมมีอยู่ ๑๐ อย่าง ดังนี้
๑. รวบด้วยอํานาจ วา ศัพท์ ควบบท หรือ ควบพากย์
วา ศัพท์ ใช้ควบบทตั้งแต่ ๒ บทขึ้นไปก็ดี ใช้ควบพากย์หรือประโยค ตั้งแต่
ประธานจนถึงกิริยาคุมพากย์ก็ดี แปลเป็นคู่ๆ ตัวแรกแปลว่า “หรือ” ตัวที่สองแปลว่า
“หรือว่า” ดังนี้
วา ศัพท์ ควบบท เช่น
ปัญหา ปุตฺตํ วา ธีตรํ วา ลภิตฺวา ตุมฺหากํ มหาสกฺการํ กริสฺสามิ ฯ (จกฺขุปาลตฺเถร
วตฺถุ. ๑/๓)
แปล อหํ อ. เรา ลภิตฺวา ได้แล้ว ปุตฺตํ วา ซึ่งบุตรหรือ ธีตรํ วา หรือว่า
ซึ่งธิดา กริสฺสามิ จักกระทํา มหาสกฺการํ ซึ่งสักการะใหญ่ ตุมฺหากํ
แก่ท่าน ฯ (สนามหลวงแปล พ.ศ. ๒๕๓๘ และ ๒๕๔๐)
962
หลักการแปลมคธเป็นไทย
วา ศัพท์ ควบพากย์ เช่น
ปัญหา ตฺวํ วา ปพฺพช อหํ วา ปพฺพชิสฺสามิ ฯ (เทวทตฺตวตฺถุ. ๑/๑๒๔)
แปล ตฺวํ ปพฺพช วา๑
อ. เจ้า จงบวชหรือ อหํ ปพฺพชิสฺสามิ วา หรือว่า อ. เรา
จักบวช ฯ
๒. รวบด้วยอํานาจ จ ศัพท์ ควบบท หรือ ควบพากย์
จ ศัพท์ ใช้ควบบทตั้งแต่ ๒ บทขึ้นไปก็ดี ใช้ควบพากย์คือควบทั้งประโยค ตั้งแต่
ประธานจนถึงกิริยาคุมพากย์ก็ดี แปลว่า “ด้วย”
จ ศัพท์ ควบบท เช่น
ปัญหา สิวิกาโย จ รเถ จ คเหตฺวา คจฺฉถ. (สฺชยวตฺถุ. ๑/๘๑)
แปล (ตุมฺเห) อ. ท่าน ท. คเหตฺวา ถือเอาแล้ว สิวิกาโย จ ซึ่งวอ ท. ด้วย
รเถ จ ซึ่งรถ ท. ด้วย คจฺฉถ จงไป ฯ
จ ศัพท์ ควบพากย์ เช่น
ปัญหา อิทานิ สายฺจ เมโฆ จ อุฏฺิโต ฯ (จกฺขุปาลตฺเถรวตฺถุ. ๑/๑๘)
แปล อิทานิ สายํ (โหติ) จ อ. กาลนี้ เป็นเวลาเย็น ย่อมเป็นด้วย เมโฆ อุฏฺิโต จ
อ. เมฆ ตั้งขึ้นแล้วด้วย ฯ
๓. รวบด้วยอํานาจ ปิ หรือ อปิ ศัพท์ (ให้แปล ปิ หรือ อปิ ศัพท์ ว่า บ้าง) เช่น
ปัญหา โอวาทปฏิคฺคาหิกา ภิกฺขุนิโยปิ อารกฺขเทวตาปิ ตาสํ สนฺทิฏฺสมฺภตฺตา
อากาสฏฺเทวตาปิ ยาว พฺรหฺมโลกาปิ สพฺเพ ปุถุชฺชนา เทฺว ปกฺขา
อเหสุ ฯ (จกฺขุปาลตฺเถรวตฺถุ. ๑/๕๐)
แปล โอวาทปฏิคฺคาหิกา ภิกฺขุนิโยปิ อ. นางภิกษุณี ท. ผู้รับเอา ซึ่งโอวาทบ้าง
อารกฺขเทวตาปิ อ. เทวดาผู้อารักขา ท. บ้าง ตาสํ (อารกฺขเทวตานํ)
สนฺทิฏฺสมฺภตฺตา อากาสฏฺเทวตาปิ อ. เทวดาผู้ดํารงอยู่ในอากาศ ท.
ผู้อันตนทั้งเห็นดีแล้วทั้งคบดีแล้ว ของเทวดาผู้อารักขา ท. เหล่านั้นบ้าง
ยาว พฺรหฺมโลกา สพฺเพ ปุถุชฺชนาปิ อ. ปุถุชน ท. ทั้งปวง เพียงไร แต่
พรหมโลกบ้าง เทฺว ปกฺขา เป็นฝ่าย สอง อเหสุ ได้เป็นแล้ว ฯ
๑
วา, จ, ปิ หรือ อปิ ศัพท์ ควบถึงไหน เวลาแปลต้องย้ายไปไว้ตรงศัพท์สุดท้ายที่รวบ
963
หลักการแปลมคธเป็นไทย
๔. รวบด้วยอํานาจภาวศัพท์ และปัจจัยในภาวตัทธิต เช่น
สตฺถุ คตภาโว = อ. ความที่แห่งพระศาสดาเป็นผู้เสด็จมาแล้ว อตฺตนา ปาลิตํ
วนปฺปตึ นิสฺสาย ลทฺธตฺตา = เพราะความที่แห่งบุตรนั้นเป็นผู้อันตนอาศัยซึ่งต้นไม้อันเป็น
เจ้าแห่งป่าอันอันตนรักษาแล้ว แล้วจึงได้แล้ว
๕. รวบด้วยอํานาจ อนฺต ปัจจัย เช่น
อนุสนฺธึ ฆเฏตฺวา ธมฺมํ เทเสนฺโต = เมื่อทรงสืบต่อ ซึ่งอนุสนธิ แสดง ซึ่งธรรม
๖. รวบด้วยอํานาจวิเสสนะ เช่น
ตฺวํ มยา ปุจฺฉิโต ตมตฺถํ อาจิกฺขาหิ = ตฺวํ อ. ท่าน มยา ปุจฺฉิโต ผู้อันเราถามแล้ว
อาจิกฺขาหิ จงบอก ตํ อตฺถํ ซึ่งเนื้อความนั้น
๗. รวบด้วยอํานาจสัมพันธ์เข้าครึ่งศัพท์ เช่น
เอวรูโป ปุริโส มยา น ทิฏฺปุพฺโพ = ปุริโส อ. บุรุษ เอวรูโป ผู้มีอย่างนี้เป็นรูป
มยา น ทิฏฺปุพฺโพ เป็นผู้อันเราไม่เห็นแล้วในก่อน (หรือ เป็นผู้อันเราไม่เคยเห็นแล้ว)
โหติ ย่อมเป็น ฯ
๘. รวบด้วยอํานาจวิกติกตฺตา เช่น
อยํ มเหสกฺขาย เทวตาย ปริคฺคหิโต ภวิสฺสติ = อยํ (รุกฺโข) อ. ต้นไม้นี้ มเหสกฺขาย
เทวตาย ปริคฺคหิโต จักเป็นต้นไม้อันเทวดา ผู้มีศักดิ์ใหญ่ถือเอารอบแล้ว จักเป็น ฯ
๙. รวบด้วยอํานาจเนื้อความ เช่น
อุปาสิกา ธมฺมํ สุณนฺตี นิสีทิ = อ. อุบาสิกา นั่งฟังอยู่แล้ว ซึ่งธรรม ฯ
๑๐. รวบด้วยอํานาจ ตุํ ปัจจัย เป็นประธาน เช่น
ภิกฺขูหิ เอวํ กาตุํ วฏฺฏติ = ภิกฺขูหิ เอวํ กาตุํ อ.อันอันภิกษุ ท. กระทํา อย่างนี้
วฏฺฏติ ย่อมควร ฯ
การแปลทอด ตฺวา ปัจจัย
นิยมแปลทอด ตฺวา ปัจจัย ว่า “แล้วจึง” (ต้องเป็นกรณีที่แปลรวบ เท่านั้น) เช่น
๑. สตฺถุ สนฺติกํ คนฺตฺวา สตฺถารํ วนฺทิตฺวา อาสเน นิสินฺนกาลโต ปฏฺาย …
จําเดิม แต่กาลแห่งตนไป สู่สํานัก ของพระศาสดา แล้วจึงถวายบังคม ซึ่ง
พระศาสดา แล้วจึงนั่งแล้ว บนอาสนะ … ฯ
964
หลักการแปลมคธเป็นไทย
๒. สพฺพพุทฺธานํ กิร อวิชหิตเมว ยมกปฺปาฏิหาริยํ กตฺวา เทวโลเก วสฺสํ วสิตฺวา
สงฺกสฺสนครทฺวาเร โอตรณํ ฯ (ยมกปฺปาฏิหาริยวตฺถุ ๖/๙๑)
ได้ยินว่า อ. อันกระทํา ซึ่งยมกปาฏิหาริย์ แล้วจึงอยู่ สิ้นกาลฝน ในเทวโลก
แล้วจึงเสด็จลง ที่ประตูแห่งเมืองชื่อว่าสังกัสสะ อันพระพุทธเจ้าทั้งปวง ท. ไม่ทรงละแล้ว
นั่นเทียว ฯ
(สนามหลวงแปล พ.ศ. ๒๕๓๓)
ศัพท์ที่ต้องแปลเป็นวิกติกัตตา
ศัพท์ที่จะต้องแปลเป็นวิกติกัตตา คือ แปลว่า “เป็น” ได้แก่ศัพท์ที่อยู่ใกล้ธาตุ
๔ ธาตุ คือ หุ ธาตุ, ภู ธาตุ, อส ธาตุ และ ชน ธาตุ
หุ ธาตุ เช่น อยํ ปุตฺโต มหาปุฺโ โหติ ฯ
แปล อยํ ปุตฺโต อ. บุตรนี้ มหาปุฺโ เป็นผู้มีบุญมาก โหติ ย่อมเป็นฯ
ภู ธาตุ เช่น อยํ กุมาโร กตาภินีหาโร ภวิสฺสติ ฯ
แปล อยํ กุมาโร อ. กุมารนี้ กตาภินีหาโร จักเป็นผู้มอภินิหารอันกระทําแล้ว
ภวิสฺสติ จักเป็น ฯ
อส ธาตุ เช่น ภิกฺขู รุกฺขมูลิกา อสฺสุ ฯ
แปล ภิกฺขู อ. ภิกษุ ท. รุกฺขมูลิกา พึงเป็นผู้อยู่ที่โคนแห่งต้นไม้ อสฺสุ พึงเป็น ฯ
ชน ธาตุ เช่น ตํ กุลํ ทุคฺคตํ ชาตํ ฯ
แปล ตํ กุลํ อ. ตระกูลนั้น ทุคฺคตํ เป็นตระกูลถึงแล้วซึ่งยาก ชาตํ เกิดแล้ว ฯ
และโดยมาก “วิกติกตฺตา” จะเป็นปฐมาวิภัตติและตติยาวิภัตติ
วิกติกตฺตา ที่เป็นปฐมาวิภัตติ (มีมากในธรรมบทภาค ๑ - ๘ ) เช่น
ปัญหา อยํ กุมาโร กตาภินีหาโร ภวิสฺสติ ฯ
แปล อยํกุมาโรอ.กุมารนี้ กตาภินีหาโร จักเป็นผู้มีอภินิหารอันกระทําแล้ว
ภวิสฺสติ จักเป็น ฯ
วิกติกตฺตาที่เป็นตติยาวิภัตติ (มีบ้างในธรรมบทภาค ๑ - ๘) เช่น
ปัญหา ตสฺมา อฺเนปิ อตฺตทตฺถสทิเสน ภวิตพฺพํ ฯ
แปล ตสฺมา เพราะเหตุนั้น (ภิกฺขุนา) อันภิกษุ อฺเนปิ แม้อื่น อตฺต-
ทตฺถสทิเสน พึงเป็นผู้เช่นกับด้วยอัตตทัตถภิกษุ ภวิตพฺพํ พึงเป็น ฯ
หมายเหตุ: วิกติกตฺตา อยู่ใกล้ ตพฺพ ปัจจัย ก็ให้แปลอาบคําแปลของ ตพฺพ ปัจจัยด้วย
965
หลักการแปลมคธเป็นไทย
ข้อสังเกต
ตัวประธานเป็นมัธยมบุรุษ คือ ตฺวํ ตุมฺเห และอุตตมบุรุษ คือ อหํ มยํ ถ้าจะให้
ปลอดภัย กิริยาคุมพาย์จะต้องเป็นอาขยาตเท่านั้น ดังนั้น ถ้าปัญหาใช้ธาตุประกอบด้วย
ต ปัจจัย จะต้องแปล ต ปัจจัย เป็นวิกติกัตตา ในกิริยาอาขยาต อีกชั้นหนึ่ง ในกรณีที่เป็น
ชาต จะมีวิกติกัตตาซ้อนวิกติกัตตา (วิกติกตฺตา ๒ ชั้น) กล่าวคือ มีตัววิกติกัตตา ใน ชาต
และ ชาต วิกติกัตตา ใน กิริยาอาขยาต
วิกติกตฺตา ชั้นเดียว เช่น
ปัญหา ตฺวํ กุโต อาคโต ฯ
แปล อ. ท่าน เป็นผู้มาแล้ว แต่ที่ไหน (อสิ) ย่อมเป็น ฯ
ปัญหา อหํ สาวตฺถิโต อาคโต ฯ
แปล อ. เรา เป็นผู้มาแล้ว แต่กรุงสาวัตถี (อมฺหิ) ย่อมเป็น ฯ
ปัญหา ตุมฺเห กุโต อาคตา ฯ
แปล อ. ท่าน ท. เป็นผู้มาแล้ว แต่ที่ไหน (อตฺถ) ย่อมเป็น ฯ
ปัญหา มยํ สาวตฺถิโต อาคตา ฯ
แปล อ. เรา ท. เป็นผู้มาแล้ว แต่กรุงสาวัตถี (อมฺห) ย่อมเป็น ฯ
วิกติกตฺตา สองชั้น เช่น
ปัญหา อมฺมา กิมตฺถํ อุโปสถิกา ชาตตฺถ ฯ (อุโปสถกมฺมวตฺถุ. ๕/๕๓)
แปล ดูก่อนแม่ ท. อ. ท่าน ท. เป็นผู้รักษาซึ่งอุโบสถ เป็นผู้เกิดแล้ว ย่อมเป็น
เพื่อประโยชน์อะไร ฯ
ปัญหา อหํ อิเมสํ ปจฺจโย จ ปติฏา จ ชาโต ฯ (กุมารกสฺสปตฺเถรมาตุวตฺถุ.๖/ ๑๔)
แปล อ. เรา เป็นปัจจัยด้วย เป็นที่พึ่งด้วย ของชน ท. เหล่านี้ เป็นผู้เกิดแล้ว (อมฺหิ)
ย่อมเป็น ฯ
การแปลอาบกาลของกิริยาคุมพากย์
ในกรณีที่ตัววิกติกัตตาอยู่ใกล้กิริยาคุมพากย์ที่เป็นกิริยาอาขยาตหมวด ปฺจมี
สตฺตมี ภวิสฺสนฺติ และกาลาติปตฺติ นิยมแปลอาบกาลของกิริยาคุมพากย์
966
หลักการแปลมคธเป็นไทย
หมวดปฺจมี เช่น ตํ ตว ภาโร โหตุ ฯ
แปล ตํ (ธนํ) อ.ทรัพย์นั้น ตว ภาโร จงเป็นภาระ ของเธอ โหตุ จงเป็น ฯ
หมวดสตฺตมี เช่น ตุมฺเหหิ ทิฏฺธมฺมสฺส ภาคี อสฺสํ ฯ
แปล (อหํ) อ. กระผม ตุมฺเหหิ ทิฏฺธมฺมสฺส ภาคี พึงเป็นผู้มีส่วน แห่งธรรมอัน
ท่านเห็นแล้ว อสฺสํ พึงเป็น ฯ
หมวดภวิสฺสนฺติ เช่น อยํ มเหสกฺขาย เทวตาย ปริคฺคหิโต ภวิสฺสติ ฯ
แปล อยํ รุกฺโข อ. ต้นไม้นี้ มเหสกฺขาย เทวตาย ปริคฺคหิโต จักเป็นต้นไม้อัน
เทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่ถือเอารอบแล้ว ภวิสฺสติ จักเป็น ฯ
(สนามหลวงแปล พ.ศ. ๒๕๓๘ และ ๒๕๔๔)
หมวดกาลาติปตฺติ เช่น อยํ เสฏฺิปุตฺโต ทุติยเสฏฺ อภวิสฺส ฯ
แปล อยํ เสฏฺิปุตฺโต อ. บุตรของเศรษฐี นี้ ทุติยเสฏฺ จักเป็นเศรษฐีคน
ที่สอง อภวิสฺส จักได้เป็นแล้ว ฯ
ศัพท์ที่มักแปลผิด
๑. ต ปัจจัยและศัพท์คุณนาม ต่อกับ ภาว ศัพท์ หรือปัจจัยในภาวตัทธิต ต้อง
แปลว่า ความที่แห่ง...เป็น... เช่น
สตฺถุ อาคตภาโว = อ. ความที่แห่งพระศาสดาเป็นผู้เสด็จมาแล้ว,
ตสฺส ปุริสสฺส โกวิทภาโว = อ. ความที่แห่งบุรุษนั้นเป็นผู้ฉลาด
๒. ยุ ปัจจัยต่อกับ ภาว ศัพท์ หรือปัจจัยในภาวตัทธิต ต้องแปลว่า ความเป็นคือ
อัน… เช่น
สตฺถุ คมนภาโว = อ. ความเป็นคืออันเสด็จไปแห่งพระศาสดา
๓. นามนามต่อกับ ภาว ศัพท์ หรือปัจจัยในภาวตัทธิต ต้องแปลว่า ความเป็น
แห่ง... เช่น
สมณภาโว = อ. ความเป็นแห่งสมณะ,
สหายตา = อ . ความเป็นแห่งสหาย เป็นต้น
๔. อตฺถิ ต่อกับ ภาว ศัพท์ หรือปัจจัยในภาวตัทธิต ต้องแปลว่า ความที่แห่ง...
มีอยู่ เช่น
ธนสฺส อตฺถิภาโว = อ. ความที่แห่งทรัพย์มีอยู่ (นตฺถิ ก็เหมือนกัน)
967
หลักการแปลมคธเป็นไทย
๕. กัตตุรูปกัตตุสาธนะลงในอรรถแห่งตัสสีละ(ณีตุรูยุ)ต้องแปลว่า ผู้...โดยปกติ
เช่น สาวตฺถีวาสี ผู้อยู่ในกรุงสาวัตถีโดยปกติ
๖. ยุ ปัจจัย ต่อกับ กาล เวลา สมย าน (กาล เวลา สมัย สถานที่) ให้แปลว่า
เป็นที่... เช่น
สตฺถุ คมนกาเล = ในกาลเป็นที่เสด็จไป แห่งพระศาสดา
๗. ต ปัจจัยต่อกับศัพท์อื่น เช่น กาล ศัพท์ แปลว่า กาลแห่ง...แล้ว เช่น สตฺถุ
อาคตกาเล = ในกาลแห่งพระศาสดาเสด็จมาแล้ว
๘. มม สนฺติกํ อาคนฺตฺวา มรณโต มุจฺจิสฺสติ ฯ มักแปลผิดว่า จักมาแล้ว สู่สํานัก
ของเรา จักพ้น จากความตาย ต้องแปลว่า มาแล้ว สู่สํานัก ของเรา จักพ้น จากความตาย
๙. วุตฺถวสฺโส มักแปลผิดว่า ผู้มีกาลฝนอันตนอยู่จําแล้ว ต้องแปลว่า ผู้มีกาล
ฝนอันอยู่จําแล้ว
กิริยาคุมพากย์พิเศษ
กิริยาคุมพากย์พิเศษ คือ กิริยาที่เป็นได้ทั้งเอกวจนะและพหุวจนะ ในอาขยาต
มี ๒ ตัว คือ อตฺถิ กับ นตฺถิ เป็นประถมบุรุษ
อตฺถิ ที่เป็นเอกวจนะ เช่น ธนํ อตฺถิ = อ. ทรัพย์ มีอยู่
อตฺถิ ที่เป็นพหุวจนะ เช่น ธนานิ อตฺถิ = อ. ทรัพย์ ท. มีอยู่
นตฺถิ ที่เป็นเอกวจนะ เช่น ธนํ นตฺถิ = อ. ทรัพย์ ย่อมไม่มี
นตฺถิ ที่เป็นพหุวจนะ เช่น ธนานิ นตฺถิ = อ. ทรัพย์ ท. ย่อมไม่มี
ส่วนในกิริยากิตก์มี ๑ ตัว คือ สติ เป็นได้ ๒ วจนะ และ ๓ ลิงค์
ที่เป็น ปุํ. ฝ่ายเอก. เช่น อตฺเถ สติ ครั้นเมื่อความต้องการ มีอยู่
ที่เป็น ปุํ. ฝ่ายพหุ. เช่น อตฺเถสุ สติ ครั้นเมื่อความต้องการ ท. มีอยู่
ที่เป็น อิตฺ. เอก. เช่น ปจฺจเวกฺขณาย สติ ครั้นเมื่อสติเป็นเครื่องพิจารณา มีอยู่
ที่เป็น อิตฺ. ฝ่ายพหุ. เช่น อาณาสุ สติ ครั้นเมื่ออาชญา ท. มีอยู่
ที่เป็น นปุํ. ฝ่ายเอก. เช่น ธเน สติ ครั้นเมื่อทรัพย์ มีอยู่
ที่เป็น นปุํ. ฝ่ายพหุ. เช่น ปุปฺเผสุ สติ ครั้นเมื่อดอกไม้ ท. มีอยู่
สติ มาจาก อส ธาตุ ในความมี ความเป็น อนฺต ปัจจัย ในกิริยากิตก์ สฺมึ
สัตตมีวิภัตติ ฝ่ายเอกวจนะ (อส + อนฺต + สฺมึ) ลบต้นธาตุ แปลง นฺต กับ สฺมึ เป็น ติ
สําเร็จรูปเป็น สติ (แจกตาม ภวนฺต)
968
หลักการแปลมคธเป็นไทย
หมายเหตุ: ถ้าโยคขึ้นเอง ควรใช้ ดังนี้
ปุํ. และ นปุํ. เอก. ใช้ สนฺเต หรือ สมาเน โดยมากใช้ สนฺเต
ปุํ. และ นปุํ. พหุ. ใช้ สนฺเตสุ หรือ สมาเนสุ โดยมากใช้ สนฺเตสุ
ส่วนในอิตฺ. เอก. ใช้ สมานาย อิตฺ. พหุ. ใช้ สมานาสุ หรือจะใช้กิริยาพิเศษคือสติ
เป็นกิริยาคุมพากย์ของ อิตฺ. ที่เป็น เอก. และ พหุ. ก็ได้
การแปลมคธเป็นไทย
การแปลมคธเป็นไทย หรือการแปลธรรมบท ในชั้นประโยค ๑ - ๒ และ
ประโยค ป.ธ. ๓ นั้น มีอยู่ ๒ อย่าง คือ ๑. แปลโดยพยัญชนะ ๒. แปลโดยอรรถ เพราะ
ในการสอบสนามหลวง ข้อสอบมี ๒ ข้อ คือ ข้อ ๑. แปลโดยพยัญชนะ ข้อ ๒. แปล
โดยอรรถ (ส่วนในชั้นประโยค ป.ธ. ๔ ถึง ป.ธ. ๙ ข้อสอบวิชาแปลมคธเป็นไทยนี้ มี ๒ ข้อ
เหมือนกัน แต่มีเฉพาะแปลโดยอรรถเท่านั้น)
การแปลโดยพยัญชนะนั้น ถือว่าสําคัญที่สุด เพราะจะต้องแปลให้ถูกต้องตาม
หลักการแปลและหลักไวยากรณ์ ดังนั้น ในหนังสือเล่มนี้ ข้าพเจ้าจึงได้อธิบายเน้นหนัก
ในการแปลโดยพยัญชนะ ส่วนการแปลโดยอรรถนั้น ได้อธิบายพอเป็นหลักให้ผู้ศึกษา
ได้ยึดเป็นแนวในการแปลโดยอรรถ
การตรวจบาลี วิชาแปลมคธเป็นไทย แปลโดยพยัญชนะ
เพื่อให้ได้ทราบถึงการตรวจบาลีสนามหลวง ซึ่งไม่มีคะแนนให้มีแต่เก็บคะแนนเสีย
และการที่จะเสียคะแนน (ถูกกิน) นั้น จะมีอยู่ ๓ กรณี คือ
๑. แปลผิดศัพท์
๒. แปลผิดสัมพันธ์
๓. แปลผิดประโยค (แปลผิดวาจก)
๑. แปลผิดศัพท์ แปลผิดศัพท์ เช่น ภควา = อ. พระผู้มีพระภาคเจ้า แต่แปลผิดว่า
อ. พระศาสดา รวมถึง
๑.๑ แปลผิดสมาส เช่น ภิกฺขุสงฺฆปริวุโต = ผู้อันหมู่แห่งภิกษุแวดล้อมแล้ว
แต่แปลผิดว่า ผู้มีหมู่แห่งภิกษุแวดล้อมแล้ว
๑.๒ แปลผิดรูปและสาธนะ เช่น สาวตฺถีวาสี = ผู้อยู่ในกรุงสาวัตถีโดยปกติ
แต่แปลผิดว่า ผู้มีปกติอยู่ในกรุงสาวัตถี
๑.๓ แปลกาลของกิริยากิตก์ผิด เช่น นิกฺขนฺโต = ออกไปแล้ว แต่แปลผิดว่า
ออกไปอยู่
969
หลักการแปลมคธเป็นไทย
๑.๔ นิบาตบางตัวที่บังคับให้แปลอย่างนั้นเท่านั้น เช่น หิ จ ปน อยู่ใกล้ ยถา
ซึ่งจะต้องแปลว่า เหมือนอย่างว่า แต่แปลผิดว่า ก็
๑.๕ เขียนสะกดการันต์ผิด (เขียนภาษาไทยผิด) เช่น ธีโร = อ. นักปราชญ์
แต่เขียนผิดว่า อ. นักปราญช์
การแปล (เขียน) ผิดดังกล่าวมานี้ เรียกว่า แปลผิดศัพท์ ถูกเก็บ (กิน) ศ คือ
ศัพท์ เท่ากับ ๑ คะแนน
๒. แปลผิดสัมพันธ์ แปลผิดสัมพันธ์ เช่น เวทานํ ปคุณตาย = เพราะความที่แห่งตน
เป็นผู้คล่องแคล่ว ในเวท ท. แต่แปลผิดว่า เพราะความที่แห่งตนเป็นผู้คล่องแคล่ว
แห่งเวทท. (เพราะฉัฏฐีวิภัตติที่อยู่หน้า ปคุณ โกวิท โกสล พฺยตฺต เฉก ต้องแปลหักฉัฏฐี
เป็นสัตตมี คือแปลว่า ใน) รวมถึง
๒.๑ แปลกาลของกิริยาอาขยาตผิด เช่น เทหิ = จงให้ แต่แปลผิดว่า ย่อมให้
๒.๒ แปลผิดวจนะ เช่น ภิกฺขู = อ. ภิกษุ ท. แต่แปลผิดว่า อ. ภิกษุ
ยกเว้น ตุมฺเห ศัพท์ ฝ่ายพหุวจนะ ที่ใช้ในความเคารพ ไม่ต้องแปลออก ท. เช่น ตุมฺเห ปน
ภนฺเต กุหึ คจฺฉถ = ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ อ. พระองค์ จะเสด็จไป ณ ที่ไหนฯ โดยมาก
ใช้พูดกับพระพุทธเจ้า ฆราวาสพูดกับพระสงฆ์ หรือน้องพูดกับพี่ เช่น ตุมฺเห ปน ภาติก =
ข้าแต่พี่ชาย ก็ อ. ท่านเล่า
๒.๓ ลืมขึ้นประธาน เช่น เทหิ = อ. ท่าน จงให้ แต่แปลว่า จงให้
๒.๔ ลืมขึ้นกิริยาคุมพากย์ เช่น ตุมฺเห กุหึ คตา = อ. ท่าน เป็นผู้ไปแล้ว ณ ที่ไหน
(อตฺถ) ย่อมเป็น แต่แปลผิดว่า อ. ท่าน ท. เป็นผู้ไปแล้ว ณ ที่ไหน หรือ แปลผิดว่า อ. ท่าน ท.
ไปแล้ว ณ ที่ไหน (โดยใช้ ต ปัจจัยคุมพากย์ คือ เป็นกิริยาคุมพากย์ของ ตุมฺเห)
๒.๕ ลืมไข หรือ ลืมแปลเป็นสัญญี - สัญญา
การแปลผิดดังกล่าวมานี้ ถูกเก็บ (กิน) ส คือ สัมพันธ์ = ๒ คะแนน
หมายเหตุ: การลืมขึ้นประธานหรือกิริยาคุมพากย์ บางสํานักเก็บ ค.ป. คือ ครึ่งประโยค =
๓ คะแนน แต่สนามหลวงไม่มีเก็บ ค.ป. คงเก็บเพียง ส เท่านั้น
๓. แปลผิดประโยค (แปลผิดวาจก) แปลผิดประโยค (แปลผิดวาจก) มีอยู่ ๒ กรณี คือ
๑. กิริยาคุมพากย์เป็นกัมมวาจก แต่แปลเป็นกัตตุวาจก, กัตตุวาจก แปลเป็น
กัมมวาจก, หรือเหตุกัตตุวาจก แปลเป็นกัตตุวาจก เป็นต้น เรียกว่า แปลผิดวาจก เช่น
สตฺถา อธิวาเสสิ = อ. พระศาสดา ทรงยังคํานิมนต์ ให้อยู่ทับแล้ว
แต่แปลผิดว่า อ. พระศาสดา ทรงอยู่ทับแล้ว
970
หลักการแปลมคธเป็นไทย
เขตฺตํ กสาเปตพฺพํ = อ. นา อันท่าน พึงให้ไถ
แต่แปลผิดว่า อ. นา อันท่าน พึงไถ เป็นต้น
อย่างนี้เรียกว่า แปลผิดวาจก
๒. ขึ้นประธานกับกิริยาคุมพากย์ผิดบุรุษ เช่น
กเรยฺยุ = อ. ชน ท. พึงกระทํา แต่แปลผิดว่า อ. เรา พึงกระทํา
การแปลผิดดังกล่าวมานี้ ถูกเก็บ (กิน) ป. คือ ประโยค = ๖ คะแนน
หมายเหตุ: ต้องระมัดระวังให้ดี เพราะการแปลผิดวาจกและการขึ้นประธานผิดบุรุษ
สนามหลวงเก็บแพงมาก ถึงกับมีคําพูดติดตลกว่า “ถูกกิน ป. (ประสาท) ” เพราะถูกกิน ป.
เหมือนกับจะถูกประสาทกินเอาจริงๆ
การให้คะแนน
เมื่อกรรมการตรวจเสร็จแล้วก็จะรวมคะแนนที่นักเรียนเสียแล้วจะให้คะแนนเป็นห.
คะแนนเต็ม ๓ ห. (๓ ให้) เหตุที่ให้ ๓ ให้ เพราะในเวลาตรวจข้อสอบสนามหลวง กระดาษ
ใบตอบของนักเรียน จะใช้กรรมการ ๓ รูป รูปหนึ่งมีสิทธิ์ให้ ๑ ให้ การที่จะได้กี่ให้ มีเกณฑ์
ดังนี้
ผิด ๑ (รวมถึงไม่ผิดเลย) ถึง ๖ ให้ ให้ ให้ สอบได้
ผิด ๗ ถึง ๑๒ ให้ ให้ ๐ สอบได้
ผิด ๑๓ ถึง ๑๘ ให้ ๐ ๐ สอบตก
ผิดเกิน ๑๘ ๐ ๐ ๐ สอบตก
ทำาอย่างไรจึงจะแปลเก่ง
สมัยก่อน เวลาแปลธรรมบท นักเรียนจะแกะเผด็จของมหามกุฏ (ใช้อรรถคู่กับ
เผด็จ, อรรถคือตัวบาลี เผด็จคือตัวไทย) การแกะเผด็จนั้น นักเรียนจะต้องทําความเข้าใจ
ในเรื่องของหลักการแปล เมื่อสามารถแกะเผด็จได้ จะเกิดความเข้าใจในเรื่องการแปล
ธรรมบทได้ ทําให้นักเรียนสมัยก่อนแปลหนังสือเก่ง และสามารถเรียนบาลีในชั้นประโยค
สูงๆ ได้ แต่ปัจจุบันนี้ นักเรียนแปลธรรมบท โดยใช้หนังสือพยัญชนะที่ผู้รู้หลายท่าน
ได้แปลไว้ ทําให้เกิดความสะดวกในการแปล เพราะหนังสือพยัญชนะได้แปลไว้ครบถ้วน
ตามหลักการแปลและหลักไวยากรณ์หมดแล้ว หน้าที่ของนักเรียนมีเพียงหาตัวบาลีให้เจอ
เท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม นักเรียนจะต้องพยายามทําความเข้าใจในเรื่องหลักการแปลให้
มากๆ เพราะจะเป็นอุปการะ หรือเป็นประโยชน์ในการแปลธรรมบทเป็นอย่างมาก การที่
จะแปลได้เก่งนั้น ควรมีคุณสมบัติ ๒ ประการ คือ
971
หลักการแปลมคธเป็นไทย
๑. จําหลักไวยากรณ์ทั้ง ๔ เล่มได้
๒. เข้าใจหลักการแปล
๑. จําหลักไวยากรณ์ทั้ง ๔ เล่มได้
สาเหตุที่นักเรียนจะต้องจําหลักไวยากรณ์ทั้ง ๔ เล่มได้นั้น ก็เพราะว่าในเวลาแปล
ธรรมบท นักเรียนจะต้องรู้ ดังนี้
๑.๑ ศัพท์แต่ละศัพท์นั้น อยู่ในบาลีไวยากรณ์เล่มไหน คือ อยู่ในเล่มนาม เล่ม
อาขยาต เล่มสมาส หรือ เล่มสมัญญาภิธาน
๑.๒ เมื่อรู้ว่าอยู่ในเล่มไหนแล้ว ก็ให้ดูต่อไปว่า อยู่ตรงไหนหรือเรื่องอะไร เช่น
เมื่อรู้ว่าอยู่ในเล่มนาม หรือ อาขยาต ก็ให้ดูต่อไปว่า อยู่ตรงไหน นามศัพท์หรืออัพยยศัพท์,
อาขยาต กิตก์ หรือ กิริยากิตก์ เป็นต้น
๑.๓ เมื่อรู้ว่าอยู่ตรงเรื่องอะไรแล้ว ก็ให้ดูว่า ตรงเรื่องนั้นๆ มีหลักหรือคําแปลว่า
อย่างไร แล้วก็แปลให้ถูกต้องตามหลักหรือคําแปลของศัพท์นั้นๆ
๒. เข้าใจหลักการแปล
เมื่อจําหลักไวยากรณ์ทั้ง ๔ เล่มได้แล้ว เวลาแปลหนังสือจะต้องเข้าใจหลัก
การแปลทั้งโดยพยัญชนะและโดยอรรถ โดยเฉพาะการแปลโดยพยัญชนะนั้น ถือว่าเป็น
หัวใจของการแปลมคธเป็นไทยนักเรียนจะต้องแปลให้ถูกต้องตามหลักการแปล และข้าพเจ้า
มีความมั่นใจว่า “เมื่อนักเรียน ได้อ่านและทําความเข้าใจในหนังสือเล่มนี้แล้ว จะ
สามารถแปลหนังสือธรรมบทได้เก่งในระดับหนึ่ง”
ตอนเป็นนักเรียนชั้นประถม เราได้เรียนสระและพยัญชนะ จากสระ อะ สระ อา
จาก ก ไก่ ข ไข่ พอมาถึงปัจจุบันนี้ เราสามารถอ่านหนังสือพิมพ์ได้เป็นฉบับๆ อ่านหนังสือ
ได้เป็นเล่มๆ ถ้าจะถามว่า เราสามารถอ่านได้อย่างนี้ตั้งแต่เมื่อไหร่ เราคงไม่สามารถที่จะ
ตอบได้ เพราะมันมีวิวัฒนาการหรือพัฒนาการในตัวของมันเอง ฉันใด การแปลบาลีก็
เหมือนกัน ฉันนั้น ณ วินาทีนี้ อาจจะไม่รู้เรื่อง อาจจะไม่เข้าใจ แต่อย่าเพิ่งท้อถอย ณ
วันหนึ่ง นักเรียนจะสามารถแปลบาลีได้เป็นหน้าๆ หรือเป็นเล่มๆ ได้ โดยไม่ต้องมีหนังสือ
คู่มือ
การแปลท้องนิทาน (ท้องเรื่อง)
ในการแปลท้องนิทาน(ท้องเรื่อง)นั้นถ้าไม่มีเลขในก็ให้แปลไปตามหลักการแปล
๘ ประการดังกล่าวแล้ว แต่ถ้ามีเลขในและไม่มีศัพท์เปิด อิติ ปรากฏอยู่ นักเรียนจะต้องขึ้น
ศัพท์มาเปิด อิติ เพื่อจะเข้าไปแปลศัพท์ที่อยู่ภายใน อิติ (ศัพท์ภายใน อิติ เปรียบเหมือน
972
หลักการแปลมคธเป็นไทย
สิ่งของที่อยู่ภายในห้อง, อิติ ศัพท์ เปรียบเหมือนประตู, ศัพท์ที่ขึ้นมาเปิด อิติ เปรียบเหมือน
กุญแจที่ใช้เปิดประตู จะเข้าห้องได้ก็ต้องเปิดประตู จะเข้าแปลใน อิติ ก็ต้องเปิด อิติ ก่อน)
เมื่อเปิด อิติ แล้ว ศัพท์ภายใน อิติ ก็ให้แปลไปตามหลักการแปล ๘ ประการ
การขึ้นศัพท์มาเปิด อิติ
ในการขึ้นศัพท์มาเปิด อิติ นั้น มีหลักดังนี้
๑.ถ้าเป็นกิริยาคุมพากย์
๑.๑ ประโยคบอกเล่า
ก. ฝ่ายเอกวจนะ ให้ขึ้น อาห เช่น
ปัญหา โส (มหาปาลกุฏุมฺพิโก) “สาธูติ๒
สมฺปฏิจฺฉิตฺวา สตฺถารํ วนฺทิตฺวา
เคหํ คนฺตฺวา กนิฏฺ ปกฺโกสาเปตฺวา “ตาต ยํ อิมสฺมึ กุเล สวิฺาณกาวิฺาณกํ ธนํ
กิฺจิ อตฺถิ, สพฺพนฺตํ ตว ภาโร ปฏิปชฺชาหิ นนฺติ (อาห) ฯ (จกฺขุปาลตฺเถรวตฺถุ. ๑/๖)
แปลยกศัพท์ โส มหาปาลกุฏุมฺพิโก อ. กุฎุมพีชื่อว่ามหาปาละนั้น
สมฺปฏิจฺฉิตฺวา ทูลรับพร้อมเฉพาะแล้ว สาธุอิติ ว่า อ. ดีละ ดังนี้ วนฺทิตฺวา ถวายบังคมแล้ว
สตฺถารํ ซึ่งพระศาสดา คนฺตฺวา ไปแล้ว เคหํ สู่เรือน (ปุคฺคลํ) ยังบุคคล ปกฺโกสาเปตฺวา
ให้เรียกมาแล้ว กนิฏฺ ซึ่งน้องชายผู้น้อยที่สุด (อาห) กล่าวแล้วว่า ตาต ดูก่อนพ่อ
ธนํ อ. ทรัพย์ ยํ กิฺจิ อย่างใดอย่างหนึ่ง สวิฺาณกาวิฺาณกํ อันเป็นไปกับด้วย
วิญญาณและอันมีวิญญาณหามิได้ อตฺถิ มีอยู่ อิมสฺมึ กุเล ในตระกูลนี้, สพฺพํ ตํ (ธนํ)
อ. ทรัพย์นั้น ทั้งปวง ตวภาโร จงเป็นภาระ ของเธอ (โหตุ)จงเป็น, (ตฺวํ) อ. เธอ ปฏิปชฺชาหิ
จงปฏิบัติ นํ (ธนํ) ซึ่งทรัพย์นั้น อิติ ดังนี้ ฯ
หมายเหตุ: การแปลยกศัพท์โดยพยัญชนะนั้น เป็นเรื่องที่มีความสําคัญไม่น้อย เพราะ
จะทําให้นักเรียนได้เกิดทักษะในการอ่านภาษาบาลี ขึ้นศัพท์และโยคศัพท์ได้ถูกต้องตาม
หลักไวยากรณ์ ดังนั้น ในการแปลรอบแรก หลายสํานักจะสอนแปลแบบยกศัพท์โดย
พยัญชนะนี้ และในการแปลยกศัพท์โดยพยัญชนะนี้ มีอยู่ ๒ วิธี คือ
วิธีที่ ๑ แปลดังตัวอย่างข้างบนนี้ ซึ่งทําให้เกิดความสะดวกในการแปล เนื้อความ
ต่อเนื่อง และนักเรียนจะได้ไม่ลืมกลับมาแปล การแปลแบบวิธีที่ ๑ นี้ เป็นที่นิยมของหลาย
สํานักในปัจจุบันนี้
๒
ประโยค สาธูติ ทุกแห่ง ถ้าเป็นกิริยาในระหว่างที่ขึ้นมาเอง ต้องขึ้น สมฺปฏิจฺฉิตฺวา เท่านั้น มาเปิด
973
หลักการแปลมคธเป็นไทย
วิธีที่๒เปิดอิติทิ้งไว้ก่อนแล้วแปลต่อไปเรื่อยๆจนจบประโยคแล้วจึงย้อนกลับมา
แปลภายใน อิติ ที่เปิดทิ้งไว้ แต่ถ้าข้อความภายใน อิติ สั้น เปิดแล้ว ก็ให้แปลได้เลย เช่น
สาธุ อิติ ว่า อ. ดีละ ดังนี้ (สมัยก่อนใช้วิธีแปลแบบที่ ๒ นี้) เช่น
โส มหาปาลกุฏุมฺพิโก อ. กุฎุมพีชื่อว่ามหาปาละนั้น สมฺปฏิจฺฉิตฺวา ทูลรับพร้อม
เฉพาะแล้ว สาธุ อิติ ว่า อ. ดีละ ดังนี้ วนฺทิตฺวา ถวายบังคมแล้ว สตฺถารํ ซึ่งพระศาสดา
คนฺตฺวา ไปแล้ว เคหํ สู่เรือน (ปุคฺคลํ) ยังบุคคล ปกฺโกสาเปตฺวา ให้เรียกมาแล้ว กนิฏฺ
ซึ่งน้องชายผู้น้อยที่สุด (อาห) กล่าวแล้ว “ตาต ยํ อิมสฺมึ กุเล สวิฺาณกาวิฺาณกํ ธนํ
กิฺจิ อตฺถิ สพฺพนฺตํ ตว ภาโร ปฏิปชฺชาหิ นํ อิติ* ว่า … ดังนี้
แล้วจึงกลับไปแปลข้อความใน อิติ “ตาต ดูก่อนพ่อ ธนํ อ. ทรัพย์ ยํ กิฺจิ อย่างใด
อย่างหนึ่ง สวิฺาณกาวิฺาณกํ อันเป็นไปกับด้วยวิญญาณและอันมีวิญญาณหามิได้
อตฺถิ มีอยู่ อิมสฺมึ กุเล ในตระกูลนี้ สพฺพํ** ตํ (ธนํ) อ. ทรัพย์ นั้น ทั้งปวง ตว ภาโร จงเป็น
ภาระของเธอ (โหตุ) จงเป็น, (ตฺวํ) อ. เธอ ปฏิปชฺชาหิ จงปฏิบัติ นํ (ธนํ) ซึ่งทรัพย์นั้น ฯ
ปัญหา เทวปุตฺโต “อยํ ภนฺเต สมฺปตฺติ ตุมฺเหสุ มนํ ปสาเทตฺวา ลทฺธาติ (อาห) ฯ
(มณฺกุณฺฑลิวตฺถุ. ๑/๓๒)
แปลยกศัพท์ เทวปุตฺโต อ. เทวบุตร (อาห) กราบทูลแล้วว่า ภนฺเตข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ สมฺปตฺติ อ.สมบัติ อยํ นี้ (มยา) อันข้าพระองค์ มนํ ยังใจ ปสาเทตฺวา ให้เลื่อมใส
แล้ว ตุมฺเหสุ ในพระองค์ ลทฺธา ได้แล้ว อิติ ดังนี้ ฯ
ที่พบบ่อยมาก จะเป็นการขึ้นมาทั้งตัวประธานที่เป็นประถมบุรุษและกิริยา
คุมพากย์ที่เป็น อาห มาเปิด อิติ เพราะเป็นการสนทนาหรือพูดคุยกัน (การขึ้นประธาน
ที่เป็นประถมบุรุษมา จะขึ้นอะไรมานั้น ก็สุดแล้วแต่เรื่องนั้นๆ โดยมากจะอยู่ในประโยค
ข้างหน้าก่อนแล้ว) เช่น
* การอ่านศัพท์ภายใน อิติ ถ้าเป็นประโยคที่ยาว อ่านทั้งหมดจะเสียเวลามาก ก็ให้อ่านข้างหน้า
๓ ศัพท์ (บท) แล้วพูดว่า เป (มาจาก ฯเปฯ) ; บางสํานักสอนว่า ละ (มาจาก ฯลฯ ) ดูเหมือนว่า
จะไม่ถูกต้อง เพราะถ้าย่อภาษาบาลี ให้ใช้ ฯเปฯ แต่ถ้าย่อภาษาไทย ให้ใช้ ฯลฯ : แล้วไปอ่านก่อนลง
อิติ ๒ ศัพท์ (บท) ที่ต้องอ่านข้างหน้า ๓ ศัพท์ (บท) ข้างหลัง ๒ ศัพท์ (บท) นั้น เข้าใจว่า เพื่อให้นักเรียน
รวมทั้งครูด้วย ได้ดูทัน อย่างตัวอย่างที่ยกมาให้อ่าน ดังนี้ (อาห) กล่าวแล้ว “ตาต ยํ อิมสฺมึ เป
ปฏิปชฺชาหิ นํ อิติ” ว่า … ดังนี้
** ทุกที่ เวลาอ่าน ต้องอ่านศัพท์เดิม (ก่อนที่จะเข้าสนธิ) สพฺพนฺตํ ตัดเป็น สพฺพํ + ตํ ต่อเป็น
สพฺพนฺตํ
974
หลักการแปลมคธเป็นไทย
ปัญหา โส (มหาปาลกุฏุมฺพิโก) เทสนาปริโยสาเน สตฺถารํ อุปสงฺกมิตฺวา ปพฺพชฺชํ
ยาจิฯ อถ นํ สตฺถา “นตฺถิ เต โกจิ อาปุจฺฉิตพฺพยุตฺตโก าตีติ อาหฯ “กนิฏฺภาตา เม อตฺถิ
ภนฺเตติฯ “เตนหิ ตํ อาปุจฺฉาหีติฯ (จกฺขุปาลตฺเถรวตฺถุ. ๑/๖)
แปลยกศัพท์ เทสนาปริโยสาเน ในกาลอันเป็นที่สุดลงรอบแห่งเทศนา โส
(มหาปาลกุฏุมฺพิโก) อ. กุฎุมพีชื่อว่ามหาปาละนั้น อุปสงฺกมิตฺวา เข้าไปเฝ้าแล้ว สตฺถารํ
ซึ่งพระศาสดา ยาจิ ทูลขอแล้ว ปพฺพชฺชํ ซึ่งการบวชฯ อถ ครั้งนั้น สตฺถา อ. พระศาสดา
อาห ตรัสแล้วว่า าติ อ. ญาติ โกจิ ไรๆ เต อาปุจฺฉิตพฺพยุตฺตโก ผู้ควรแล้วแก่ความเป็น
แห่งญาติอันเธอพึงอําลา นตฺถิ ย่อมไม่มี (กึ) หรือ อิติ ดังนี้ นํ มหาปาลกุฏุมฺพิกํ กะกุฏุมพี
ชื่อว่ามหาปาละนั้นฯ(มหาปาลกุฏุมฺพิโก)อ.กุฏุมพีชื่อว่ามหาปาละ(อาห)กราบทูลแล้วว่า
ภนฺเตข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กนิฏฺภาตาอ. น้องชายผู้น้อยที่สุด เมของข้าพระองค์ อตฺถิ
มีอยู่ อิติ ดังนี้ ฯ (สตฺถา) อ. พระศาสดา (อาห) ตรัสแล้วว่า เตนหิ ถ้าอย่างนั้น ตฺวํ อ. เธอ
อาปุจฺฉาหิ จงอําลา นํ กนิฏฺภาตรํ ซึ่งน้องชายผู้น้อยที่สุดนั้น อิติ ดังนี้ ฯ
ข. ฝ่ายพหุวจนะ ให้ขึ้น อาหํสุ เช่น
ปัญหาเทฺว อคฺคสาวกา ภควนฺตํ วนฺทิตฺวา ฯเปฯ โส อิทานิ มยฺหํ อนฺเตวาสิวาโส
นาม จาฏิยา อุทกจลนภาวปฺปตฺติสทิโส น สกฺขิสฺสามิ อนฺเตวาสิวาสํ วสิตุนฺติ วตฺวา …
อาคนฺตุ น อิจฺฉิ ภนฺเตติ (อาหํสุ) ฯ (สฺชยวตฺถุ. ๑/๑๐๔)
แปลยกศัพท์ เทฺว อคฺคสาวกา อ. พระอัครสาวก ท. สอง วนฺทิตฺวา
ถวายบังคมแล้ว ภควนฺตํ ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ฯลฯ (อาหํสุ) กราบทูลแล้วว่า ภนฺเต
ข้าพระองค์ผู้เจริญ โส (สฺชโย อาจริโย) อ. อาจารย์ชื่อว่าสญชัยนั้น วตฺวา กล่าวแล้วว่า
อิทานิ ในกาลนี้ อนฺเตวาสิวาโส นาม ชื่อ อ. การอยู่โดยความเป็นแห่งอันเตวาสิก มยฺหํ
แห่งเรา จาฏิยา อุทกจลนภาวปฺปตฺติสทิโส เป็นเช่นกับด้วยอันถึงซึ่งความเป็นคือ
อันหวั่นไหวแห่งนํ้า ในตุ่ม (โหติ) ย่อมเป็น (อหํ) อ. เรา น สกฺขิสฺสามิ จักไม่อาจ
อนฺเตวาสิวาสํ วสิตุ เพื่ออันอยู่ อยู่โดยความเป็นแห่งอันเตวาสิก อิติ ดังนี้ … น อิจฺฉิ
ไม่ปรารถนาแล้ว อาคนฺตุ เพื่ออันมา อิติ ดังนี้ ฯ
ที่พบบ่อยบาก จะเป็นการขึ้นมาทั้งตัวประธานที่เป็นประถมบุรุษ และกิริยา
คุมพากย์ที่เป็น อาหํสุ มาเปิด อิติ เพราะเป็นการสนทนาหรือพูดคุยกัน (การขึ้น
ประธานที่เป็นประถมบุรุษมา จะขึ้นอะไรมานั้น ก็สุดแล้วแต่เรื่องนั้นๆ โดยมากจะอยู่
ในประโยคข้างหน้าก่อนแล้ว) เช่น
ปัญหา อถสฺส เต ตํ ปวตฺตึ อาโรเจสุ ฯ โส เตสํ ปาทมูเล ปวฏฺเฏนฺโต โรทิตฺวา
ปุจฺฉิ “อิทานิ ภนฺเต กึ กาตพฺพนฺติ ฯ” เถโร อิโต กสฺสจิ คมนํ ปจฺจาสึสติ, คตกาเล เตน สทฺธึ
อาคมิสฺสตีติ ฯ (๑/๑๓)
975
หลักการแปลมคธเป็นไทย
แปลยกศัพท์ อถ ครั้งนั้น เต (ภิกฺขู) อ. ภิกษุ ท. เหล่านั้น อาโรเจสุ
บอกแจ้งแล้ว ปวตฺตึ ซึ่งเรื่องอันเป็นไปทั้ว ตํ นั้น อสฺส (กุฏุมฺพิกสฺส) แก่กุฎุมพีนั้น ฯ โส
(กุฏุมฺพิโก) อ. กุฎุมพีนั้น ปวฏฺเฏนฺโต โรทิตฺวา ร้องไห้กลิ้งเกลือกอยู่แล้ว ปาทมูเล
ณ ที่ใกล้แห่งเท้า เตสํ (ภิกฺขูนํ) ของภิกษุ ท. เหล่านั้น ปุจฺฉิ ถามแล้วว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่าน
ผู้เจริญ อิทานิ ในกาลนี้ กึ อ. อะไร (มยา) อันข้าพเจ้า กาตพฺพํ พึงกระทํา อิติ ดังนี้ ฯ
(เต ภิกฺขู) อ. ภิกษุ ท. เหล่านั้น (อาหํสุ) กล่าวแล้วว่า เถโร อ. พระเถระ ปจฺจาสึสติ
ย่อมหวังเฉพาะ คมนํ ซึ่งการไป กสฺสจิ ของใครๆ อิโต (านโต) แต่ที่นี้, (โส เถโร)
อ. พระเถระนั้น อาคมิสฺสติ จักมา เตน (ปุคฺคเลน) สทฺธึ กับ ด้วยบุคคลนั้น คตกาเล
ในกาลแห่งบุคคลนั้นไปแล้ว อิติ ดังนี้ ฯ
๑.๒ ประโยคถาม
ก. ฝ่ายเอกวจนะ ให้ขึ้น ปุจฺฉิ โดยมากจะเป็นการขึ้นมาทั้งตัวประธาน
ที่เป็นประถมบุรุษและกิริยาคุมพากย์ที่เป็น ปุจฺฉิ มาเปิด อิติ เพราะเป็นการถามตอบกัน
(การขึ้นประธานที่เป็นประถมบุรุษมา จะขึ้นอะไรมานั้น ก็สุดแล้วแต่เรื่องนั้นๆ โดยมากจะ
อยู่ในประโยคข้างหน้าก่อนแล้ว) เช่น
ปัญหา (โส มหาปาลกุฏุมฺพิโก) สตฺถุ สนฺติกํ คนฺตฺวา ฯเปฯ ปุจฺฉิ “ภนฺเต
อิมสฺมึ สาสเน กติ ธุรานีติ ฯ “คนฺถธุรํ วิปสฺสนาธุรนฺติ เทฺวเยว ธุรานิ ภิกฺขูติ ฯ
“กตมํ ปน ภนฺเต คนฺถธุรํ, กตมํ วิปสฺสนาธุรนฺติ ฯ (จกฺขุปาลตฺเถรวตฺถุ. ๑/๗)
แปลยกศัพท์ (โส มหาปาลกุฏุมฺพิโก) อ. กุฎุมพีชื่อว่ามหาปาละนั้น
คนฺตฺวา ไปแล้ว สนฺติกํ สู่สํานัก สตฺถุ ของพระศาสดา ฯลฯ ปุจฺฉิ ทูลถามแล้วว่า ภนฺเต
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธุรานิ อ. ธุระ ท. กติ เท่าไร (อตฺถิ) มีอยู่ อิมสฺมึ สาสเน
ในพระศาสนานี้ อิติ ดังนี้ ฯ (สตฺถา) อ. พระศาสดา (อาห) ตรัสแล้วว่า ภิกฺขุ ดูก่อนภิกษุ
ธุรานิ อ. ธุระ ท. เทฺว เอว สองนั่นเทียว อิติ คือ คนฺถธุรํ อ. คันถธุระ วิปสฺสนาธุรํ อ.
วิปัสสนาธุระ (อตฺถิ) มีอยู่ อิมสฺมึ สาสเน ในพระศาสนานี้ อิติ ดังนี้ ฯ (โส มหาปาลภิกฺขุ)
อ. ภิกษุชื่อว่ามหาปาละนั้น (ปุจฺฉิ) ทูลถามแล้วว่า ภนฺเต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ปน
ก็ คนฺถธุรํ อ. คันถธุระ กตมํ เป็นไฉน (โหติ) ย่อมเป็น, วิปสฺสนาธุรํ อ. วิปัสสนาธุระ กตมํ
เป็นไฉน (โหติ ) ย่อมเป็น อิติ ดังนี้ ฯ
ข. ฝ่ายพหุวจนะ ให้ขึ้น ปุจฺฉึสุ เช่น
ปัญหา มนุสฺสา เต นิสีทาเปตฺวา ภิกฺขํ ทตฺวา “กึ ภนฺเต อยฺยานํ
คมนากาโร ปฺายตีติ (ปุจฺฉึสุ) ฯ (จกฺขุปาลตฺเถรวตฺถุ. ๑/๑๓)
976
หลักการแปลมคธเป็นไทย
แปลยกศัพท์ มนุสฺสา อ. มนุษย์ ท. เต (ภิกฺขู) ยังภิกษุ ท. เหล่านั้น
นิสีทาเปตฺวา ให้นั่งแล้ว ทตฺวา ถวายแล้ว ภิกฺขํ ซึ่งภิกษา (ปุจฺฉึสุ) ถามแล้วว่า ภนฺเต
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ คมนากาโร อ. อาการคืออันไป อยฺยานํ ของพระผู้เป็นเจ้า ท.
ปฺายติ ย่อมปรากฏ (กึ) หรือ อิติ ดังนี้ ฯ
ที่พบบ่อยมาก จะเป็นการขึ้นมาทั้งตัวประธานที่เป็นประถมบุรุษ
และกิริยาคุมพากย์ที่เป็น ปุจฺฉึสุ มาเปิด อิติ เพราะเป็นการถามตอบกัน (การขึ้นประธาน
ที่เป็นประถมบุรุษมา จะขึ้นอะไรมานั้น ก็สุดแล้วแต่เรื่องนั้นๆ โดยมากจะอยู่ในประโยค
ข้างหน้าก่อนแล้ว) เช่น
ปัญหา เถโร วสฺสูปนายิกาทิวเส เต ภิกฺขู อามนฺเตตฺวา ปุจฺฉิ “อาวุโส
อิมํ เตมาสํ กตีหิ อิริยาปเถหิ วีตินาเมสฺสถาติ ฯ … ตุมฺเห ปน ภนฺเตติ ฯ (จกฺขุปาล- ๑/๘)
แปลยกศัพท์ เถโร อ. พระเถระ อามนฺเตตฺวา เรียกมาแล้ว เต ภิกฺขู
ซึ่งภิกษุ ท. เหล่านั้น วสฺสูปนายิกาทิวเส ในวันคือดิถีอันน้อมเข้าไปใกล้ซึ่งกาลฝน ปุจฺฉิ
ถามแล้วว่า อาวุโส ดูก่อนท่านผู้มีอายุ (ตุมฺเห) อ. ท่าน ท. (กาลํ) วีตินาเมสฺสถ จักยังกาล
ให้น้อมล่วงไปวิเศษ กตีหิ อิริยาปเถหิ ด้วยอิริยาบถ ท. เท่าไร อิมํ เตมาสํ ตลอดหมวด
แห่งเดือนสามนี้ อิติ ดังนี้ ฯ (เต ภิกฺขู) อ. ภิกษุ ท. เหล่านั้น (ปุจฺฉึสุ) ถามแล้วว่า ภนฺเต
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ตุมฺเห ปน ก็ อ. ท่านเล่า อิติ ดังนี้ ฯ
๑.๓ ประโยคคิด ฝ่ายเอกวจนะ ขึ้น จินฺเตสิ ฝ่ายพหุวจนะ ขึ้น จินฺเตสุ
(โดยมากจะมีปรากฏอยู่แล้ว) เช่น
ปัญหาอฺตโรนามโคตฺตวเสนอปากโฏ ภิกฺขุ“อโหวตมํปินามโคตฺตวเสน
ปคฺคณฺหนฺโต กเถตฺวา นิวตฺเตยฺยาติ (จินฺเตสิ) ฯ (สารีปุตฺตตฺเถรวตฺถุ. ๔/๖๕)
แปลยกศัพท์ ภิกฺขุ อ. ภิกษุ อฺตโร รูปใดรูปหนึ่ง อปากโฏ ผู้ไม่ปรากฏ
แล้ว นามโคตฺตวเสนด้วยสามารถแห่งนามและโคตร(จินฺเตสิ)คิดแล้วว่าอโหวต โอหนอ
(เถโร) อ. พระเถระ ปคฺคณฺหนฺโต กเถตฺวา กล่าวยกย่องอยู่แล้ว มํปิ แม้ซึ่งเรา (มํ) ยังเรา
นิวตฺเตยฺย พึงให้กลับ อิติ ดังนี้ ฯ
๒. ถ้าเป็นกิริยาในระหว่าง
๒.๑ ถ้าเป็นการบอกเล่า ให้ขึ้น วตฺวา ทั้งฝ่ายเอกวจนะและพหุวจนะ
ก. ฝ่ายเอกวจนะ เช่น
ปัญหา อถ นํ มาตา “ปุตฺต ตฺวํ อตฺตโน รุจิยา กุมาริกํ อานาเปสิ,
สา อิทานิ วฺฌา ชาตา, อปุตฺตกฺจ นาม กุลํ วินสฺสติ, ปเวณิ น ฆฏิยติ, เตน อฺ เต
977
หลักการแปลมคธเป็นไทย
กุมาริกํ อาเนสฺสามีติ (วตฺวา) เตน” อลํ อมฺมาติ วุจฺจมานาปิ ปุนปฺปุนํ กเถสิ ฯ (กาลียกฺขินิยา
อุปฺปตฺติวตฺถุ. ๑/๔๒)
แปลยกศัพท์ อถ ครั้งนั้น มาตา อ. มารดา (วตฺวา) กล่าวแล้วว่า
ปุตฺต ดูก่อนบุตร ตฺวํ อ. เจ้า (มํ) ยังเรา อานาเปสิ ให้นํามาแล้ว กุมาริกํ ซึ่งนางกุมาริกา
รุจิยา ตามความชอบใจ อตฺตโน ของตน, อิทานิ ในกาลนี้ สา (กุมาริกา) อ. นางกุมาริกา
นั้น วฺฌา เป็นหญิงหมัน ชาตา เกิดแล้ว, จ ก็ กุลํ อ. ตระกูล อปุตฺตกํ นาม ชื่ออันมีบุตร
หามิได้ วินสฺสติ ย่อมฉิบหาย, ปเวณิ อ. เชื้อสาย (ปุตฺเตน) อันบุตร น ฆฏิยติ ย่อมไม่
สืบต่อ, เตน (การเณน) เพราะเหตุนั้น (อหํ) อ. เรา อาเนสฺสามิ จักนํามา กุมาริกํ
ซึ่งนางกุมาริกา อฺ อื่น เต แก่เจ้า อิติ ดังนี้ นํ (ปุตฺตํ) กะบุตรนั้น เตน (ปุตฺเตน)
อลํ อมฺมาติ วุจฺจมานาปิ แม้ผู้อันบุตรนั้นกล่าวอยู่ว่า ข้าแต่แม่ อ. อย่าเลย ดังนี้ กเถสิ
กล่าวแล้ว ปุนปฺปุนํ บ่อยๆ ฯ
ข. ฝ่ายพหุวจนะ เช่น
ปัญหา เต (เทฺว มาณวา) “ตสฺส สนฺติเก ปพฺพชิสฺสามาติ (วตฺวา)
ปฺจมาณวกสตานิ” สิวิกาโย จ รเถ จ คเหตฺวา คจฺฉถาติ อุยฺโยเชตฺวา ปฺจหิ มาณวกสเตหิ
สทฺธึ สฺชยสฺส สนฺติเก ปพฺพชึสุ ฯ (สฺชยวตฺถุ. ๑/๘๑)
แปลยกศัพท์ เต (เทฺว มาณวา) อ. มาณพ ท. สอง เหล่านั้น (วตฺวา)
กล่าวแล้วว่า (มยํ) อ. เรา ท. ปพฺพชิสฺสาม จักบวช สนฺติเก ในสํานัก ตสฺส (สฺชยสฺส)
ของปริพาชกชื่อว่าสญชัยนั้น อิติ ดังนี้ อุยฺโยเชตฺวา ส่งไปแล้ว ปฺจมาณวกสตานิ ซึ่ง
ร้อยแห่งมาณพห้า ท. (วจเนน) ด้วยคําว่า (ตุมฺเห) อ.ท่าน ท. คเหตฺวา ถือเอาแล้ว
สิวิกาโย จ ซึ่งวอ ท. ด้วย รเถ จ ซึ่งรถ ท. ด้วย คจฺฉถ จงไป อิติ ดังนี้ ปพฺพชึสุ บวชแล้ว
สนฺติเก ในสํานัก สฺชยสฺส ของปริพาชกชื่อว่าสญชัย ปฺจหิ มาณวกสเตหิ สทฺธึ กับ
ด้วยร้อยแห่งมาณพ ท. ห้า ฯ
๒.๒ ถ้าเป็นการถาม ให้ขึ้น ปุจฺฉิตฺวา ทั้งฝ่ายเอกวจนะและพหุวจนะ เช่น
ปัญหา เต คนฺตฺวา ฯปฯ “กตรํ สุตฺตํ โสตุกาโม อุปาสกาติ (ปุจฺฉิตฺวา)”
สพฺพพุทฺธานํ อวิชหิตํ สติปฏฺานสุตฺตนฺติ วุตฺเต เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ
วิสุทฺธิยาติ สุตฺตํ ปฏฺเปสุ ฯ (ธมฺมิกอุปาสกวตฺถุ. ๑/๑๒๑)
แปลยกศัพท์ เต (ภิกฺขู) อ. ภิกษุ ท. เหล่านั้น คนฺตฺวา ไปแล้ว ฯลฯ
(ปุจฺฉิตฺวา) ถามแล้วว่า อุปาสก ดูก่อนอุบาสก (ตฺวํ) อ. ท่าน กตรํ สุตฺตํ โสตุกาโม
เป็นผู้ใคร่เพื่ออันฟัง ซึ่งพระสูตรไหน (อสิ) ย่อมเป็น อิติ ดังนี้ (วจเน) ครั้นเมื่อคําว่า (อหํ)
อ. ข้าพเจ้า สพฺพพุทฺธานํ อวิชหิตํ สติปฏฺานสุตฺตํ (โสตุกาโม) เป็นผู้ใคร่เพื่ออันฟัง
หลักการแปลบาลี 8 ประการ _  หลักการแปลมคธเป็นไทย 8 ประการ
หลักการแปลบาลี 8 ประการ _  หลักการแปลมคธเป็นไทย 8 ประการ
หลักการแปลบาลี 8 ประการ _  หลักการแปลมคธเป็นไทย 8 ประการ
หลักการแปลบาลี 8 ประการ _  หลักการแปลมคธเป็นไทย 8 ประการ
หลักการแปลบาลี 8 ประการ _  หลักการแปลมคธเป็นไทย 8 ประการ
หลักการแปลบาลี 8 ประการ _  หลักการแปลมคธเป็นไทย 8 ประการ
หลักการแปลบาลี 8 ประการ _  หลักการแปลมคธเป็นไทย 8 ประการ
หลักการแปลบาลี 8 ประการ _  หลักการแปลมคธเป็นไทย 8 ประการ
หลักการแปลบาลี 8 ประการ _  หลักการแปลมคธเป็นไทย 8 ประการ
หลักการแปลบาลี 8 ประการ _  หลักการแปลมคธเป็นไทย 8 ประการ
หลักการแปลบาลี 8 ประการ _  หลักการแปลมคธเป็นไทย 8 ประการ
หลักการแปลบาลี 8 ประการ _  หลักการแปลมคธเป็นไทย 8 ประการ
หลักการแปลบาลี 8 ประการ _  หลักการแปลมคธเป็นไทย 8 ประการ
หลักการแปลบาลี 8 ประการ _  หลักการแปลมคธเป็นไทย 8 ประการ
หลักการแปลบาลี 8 ประการ _  หลักการแปลมคธเป็นไทย 8 ประการ
หลักการแปลบาลี 8 ประการ _  หลักการแปลมคธเป็นไทย 8 ประการ
หลักการแปลบาลี 8 ประการ _  หลักการแปลมคธเป็นไทย 8 ประการ
หลักการแปลบาลี 8 ประการ _  หลักการแปลมคธเป็นไทย 8 ประการ
หลักการแปลบาลี 8 ประการ _  หลักการแปลมคธเป็นไทย 8 ประการ
หลักการแปลบาลี 8 ประการ _  หลักการแปลมคธเป็นไทย 8 ประการ
หลักการแปลบาลี 8 ประการ _  หลักการแปลมคธเป็นไทย 8 ประการ
หลักการแปลบาลี 8 ประการ _  หลักการแปลมคธเป็นไทย 8 ประการ
หลักการแปลบาลี 8 ประการ _  หลักการแปลมคธเป็นไทย 8 ประการ
หลักการแปลบาลี 8 ประการ _  หลักการแปลมคธเป็นไทย 8 ประการ
หลักการแปลบาลี 8 ประการ _  หลักการแปลมคธเป็นไทย 8 ประการ
หลักการแปลบาลี 8 ประการ _  หลักการแปลมคธเป็นไทย 8 ประการ
หลักการแปลบาลี 8 ประการ _  หลักการแปลมคธเป็นไทย 8 ประการ
หลักการแปลบาลี 8 ประการ _  หลักการแปลมคธเป็นไทย 8 ประการ
หลักการแปลบาลี 8 ประการ _  หลักการแปลมคธเป็นไทย 8 ประการ
หลักการแปลบาลี 8 ประการ _  หลักการแปลมคธเป็นไทย 8 ประการ
หลักการแปลบาลี 8 ประการ _  หลักการแปลมคธเป็นไทย 8 ประการ
หลักการแปลบาลี 8 ประการ _  หลักการแปลมคธเป็นไทย 8 ประการ
หลักการแปลบาลี 8 ประการ _  หลักการแปลมคธเป็นไทย 8 ประการ
หลักการแปลบาลี 8 ประการ _  หลักการแปลมคธเป็นไทย 8 ประการ
หลักการแปลบาลี 8 ประการ _  หลักการแปลมคธเป็นไทย 8 ประการ
หลักการแปลบาลี 8 ประการ _  หลักการแปลมคธเป็นไทย 8 ประการ
หลักการแปลบาลี 8 ประการ _  หลักการแปลมคธเป็นไทย 8 ประการ
หลักการแปลบาลี 8 ประการ _  หลักการแปลมคธเป็นไทย 8 ประการ
หลักการแปลบาลี 8 ประการ _  หลักการแปลมคธเป็นไทย 8 ประการ
หลักการแปลบาลี 8 ประการ _  หลักการแปลมคธเป็นไทย 8 ประการ
หลักการแปลบาลี 8 ประการ _  หลักการแปลมคธเป็นไทย 8 ประการ
หลักการแปลบาลี 8 ประการ _  หลักการแปลมคธเป็นไทย 8 ประการ
หลักการแปลบาลี 8 ประการ _  หลักการแปลมคธเป็นไทย 8 ประการ
หลักการแปลบาลี 8 ประการ _  หลักการแปลมคธเป็นไทย 8 ประการ
หลักการแปลบาลี 8 ประการ _  หลักการแปลมคธเป็นไทย 8 ประการ
หลักการแปลบาลี 8 ประการ _  หลักการแปลมคธเป็นไทย 8 ประการ
หลักการแปลบาลี 8 ประการ _  หลักการแปลมคธเป็นไทย 8 ประการ
หลักการแปลบาลี 8 ประการ _  หลักการแปลมคธเป็นไทย 8 ประการ
หลักการแปลบาลี 8 ประการ _  หลักการแปลมคธเป็นไทย 8 ประการ

More Related Content

Similar to หลักการแปลบาลี 8 ประการ _ หลักการแปลมคธเป็นไทย 8 ประการ

3 35คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๕
3 35คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๕3 35คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๕
3 35คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๕Tongsamut vorasan
 
สมาส สนธิ 2 ครบ
สมาส สนธิ 2  ครบ สมาส สนธิ 2  ครบ
สมาส สนธิ 2 ครบ Thanit Lawyer
 
สมาส สนธิ 2 ครบ
สมาส สนธิ 2  ครบ สมาส สนธิ 2  ครบ
สมาส สนธิ 2 ครบ Anan Pakhing
 
1 09+อธิบายบาลีไวยากรณ์+สมาสและตัทธิต
1 09+อธิบายบาลีไวยากรณ์+สมาสและตัทธิต1 09+อธิบายบาลีไวยากรณ์+สมาสและตัทธิต
1 09+อธิบายบาลีไวยากรณ์+สมาสและตัทธิตTongsamut vorasan
 
การสร้างคำในภาษาไทย
การสร้างคำในภาษาไทยการสร้างคำในภาษาไทย
การสร้างคำในภาษาไทยKittitus Sa-admoang
 

Similar to หลักการแปลบาลี 8 ประการ _ หลักการแปลมคธเป็นไทย 8 ประการ (20)

3 35คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๕
3 35คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๕3 35คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๕
3 35คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๕
 
สมาส สนธิ 2 ครบ
สมาส สนธิ 2  ครบ สมาส สนธิ 2  ครบ
สมาส สนธิ 2 ครบ
 
สมาส สนธิ 2 ครบ
สมาส สนธิ 2  ครบ สมาส สนธิ 2  ครบ
สมาส สนธิ 2 ครบ
 
1 09+อธิบายบาลีไวยากรณ์+สมาสและตัทธิต
1 09+อธิบายบาลีไวยากรณ์+สมาสและตัทธิต1 09+อธิบายบาลีไวยากรณ์+สมาสและตัทธิต
1 09+อธิบายบาลีไวยากรณ์+สมาสและตัทธิต
 
บาลีเสริม ๑๑
บาลีเสริม ๑๑ บาลีเสริม ๑๑
บาลีเสริม ๑๑
 
บาลีเสริม ๑๑
บาลีเสริม ๑๑ บาลีเสริม ๑๑
บาลีเสริม ๑๑
 
ทิคุสมาส
ทิคุสมาสทิคุสมาส
ทิคุสมาส
 
การสร้างคำในภาษาไทย
การสร้างคำในภาษาไทยการสร้างคำในภาษาไทย
การสร้างคำในภาษาไทย
 
แปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี
แปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลีแปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี
แปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี
 
บาลีไวยากรณ์ ๔ สมาส,ตัทธิต
บาลีไวยากรณ์ ๔ สมาส,ตัทธิตบาลีไวยากรณ์ ๔ สมาส,ตัทธิต
บาลีไวยากรณ์ ๔ สมาส,ตัทธิต
 
แปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี
แปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลีแปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี
แปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี
 
หลักการเรียงบทอาลปนะ๑
หลักการเรียงบทอาลปนะ๑หลักการเรียงบทอาลปนะ๑
หลักการเรียงบทอาลปนะ๑
 
แปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี
แปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลีแปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี
แปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี
 
Chitrapathachan
ChitrapathachanChitrapathachan
Chitrapathachan
 
บาลีไวยากรณ์ ๔ สมาส
บาลีไวยากรณ์ ๔ สมาส บาลีไวยากรณ์ ๔ สมาส
บาลีไวยากรณ์ ๔ สมาส
 
หลักการสัมพันธ์บทสัตตมีวิภัตติ ๑
หลักการสัมพันธ์บทสัตตมีวิภัตติ ๑หลักการสัมพันธ์บทสัตตมีวิภัตติ ๑
หลักการสัมพันธ์บทสัตตมีวิภัตติ ๑
 
บทที่่ ๒ การสัมพันธ์ไทย
บทที่่ ๒ การสัมพันธ์ไทย บทที่่ ๒ การสัมพันธ์ไทย
บทที่่ ๒ การสัมพันธ์ไทย
 
ชื่อสัมพันธ์
ชื่อสัมพันธ์ชื่อสัมพันธ์
ชื่อสัมพันธ์
 
หลักการสัมพันธ์บทตติยาวิภัตติ
หลักการสัมพันธ์บทตติยาวิภัตติหลักการสัมพันธ์บทตติยาวิภัตติ
หลักการสัมพันธ์บทตติยาวิภัตติ
 
ชื่อสัมพันธ์
ชื่อสัมพันธ์ชื่อสัมพันธ์
ชื่อสัมพันธ์
 

More from สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)

More from สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral) (20)

ทำตัวกิริยาศัพท์ ตามขั้นตอน อย่างง่าย _ Step By Step _Pali Verb Building
ทำตัวกิริยาศัพท์ ตามขั้นตอน อย่างง่าย _ Step By Step _Pali Verb Buildingทำตัวกิริยาศัพท์ ตามขั้นตอน อย่างง่าย _ Step By Step _Pali Verb Building
ทำตัวกิริยาศัพท์ ตามขั้นตอน อย่างง่าย _ Step By Step _Pali Verb Building
 
ประโยคโบราณ ในพระธัมมปทัฏฐกถา _ _การใช้ภาษาบาลี.pdf
ประโยคโบราณ ในพระธัมมปทัฏฐกถา _ _การใช้ภาษาบาลี.pdfประโยคโบราณ ในพระธัมมปทัฏฐกถา _ _การใช้ภาษาบาลี.pdf
ประโยคโบราณ ในพระธัมมปทัฏฐกถา _ _การใช้ภาษาบาลี.pdf
 
ประโยคแบบ ในภาษาบาลี _ _การใช้ภาษาบาลี.pdf
ประโยคแบบ ในภาษาบาลี _ _การใช้ภาษาบาลี.pdfประโยคแบบ ในภาษาบาลี _ _การใช้ภาษาบาลี.pdf
ประโยคแบบ ในภาษาบาลี _ _การใช้ภาษาบาลี.pdf
 
การใช้ สเจ ศัพท์ ในประโยคเงื่อนไข _ การใช้ภาษาบาลี
การใช้ สเจ ศัพท์ ในประโยคเงื่อนไข _ การใช้ภาษาบาลีการใช้ สเจ ศัพท์ ในประโยคเงื่อนไข _ การใช้ภาษาบาลี
การใช้ สเจ ศัพท์ ในประโยคเงื่อนไข _ การใช้ภาษาบาลี
 
การสร้างประโยคคำถามในภาษาบาลี_การใช้ภาษาบาลี
การสร้างประโยคคำถามในภาษาบาลี_การใช้ภาษาบาลีการสร้างประโยคคำถามในภาษาบาลี_การใช้ภาษาบาลี
การสร้างประโยคคำถามในภาษาบาลี_การใช้ภาษาบาลี
 
ประโยคที่กิริยาซ้อนกัน และหลักการแปลมคธเป็นไทย.pdf
ประโยคที่กิริยาซ้อนกัน และหลักการแปลมคธเป็นไทย.pdfประโยคที่กิริยาซ้อนกัน และหลักการแปลมคธเป็นไทย.pdf
ประโยคที่กิริยาซ้อนกัน และหลักการแปลมคธเป็นไทย.pdf
 
การแปลบทสมาสที่สัมพันธ์กับบทอื่นๆ_Samasa Relating To Other Words
การแปลบทสมาสที่สัมพันธ์กับบทอื่นๆ_Samasa Relating To Other Wordsการแปลบทสมาสที่สัมพันธ์กับบทอื่นๆ_Samasa Relating To Other Words
การแปลบทสมาสที่สัมพันธ์กับบทอื่นๆ_Samasa Relating To Other Words
 
คําเรียกญาติ (บาลี-ไทย-อังกฤษ)_Family Tree Pali.pdf
คําเรียกญาติ (บาลี-ไทย-อังกฤษ)_Family Tree Pali.pdfคําเรียกญาติ (บาลี-ไทย-อังกฤษ)_Family Tree Pali.pdf
คําเรียกญาติ (บาลี-ไทย-อังกฤษ)_Family Tree Pali.pdf
 
ประมวลศัพท์บาลี ตามหมวดหมู่ _ Pali_Vocab
ประมวลศัพท์บาลี ตามหมวดหมู่ _ Pali_Vocabประมวลศัพท์บาลี ตามหมวดหมู่ _ Pali_Vocab
ประมวลศัพท์บาลี ตามหมวดหมู่ _ Pali_Vocab
 
การแปล อนฺต, มาน, ต, ตฺวา ปัจจัย_Anta-Mana-Ta-Tva_Translation
การแปล  อนฺต,  มาน,  ต,  ตฺวา  ปัจจัย_Anta-Mana-Ta-Tva_Translationการแปล  อนฺต,  มาน,  ต,  ตฺวา  ปัจจัย_Anta-Mana-Ta-Tva_Translation
การแปล อนฺต, มาน, ต, ตฺวา ปัจจัย_Anta-Mana-Ta-Tva_Translation
 
ปัญหาและเฉลย วิชาบาลีไวยากรณ์ ป.ธ.3 พ.ศ.2550-2566 (17 ปี)_Pali grammar Exam A...
ปัญหาและเฉลย วิชาบาลีไวยากรณ์ ป.ธ.3 พ.ศ.2550-2566 (17 ปี)_Pali grammar Exam A...ปัญหาและเฉลย วิชาบาลีไวยากรณ์ ป.ธ.3 พ.ศ.2550-2566 (17 ปี)_Pali grammar Exam A...
ปัญหาและเฉลย วิชาบาลีไวยากรณ์ ป.ธ.3 พ.ศ.2550-2566 (17 ปี)_Pali grammar Exam A...
 
ปัญหาและเฉลย วิชาบาลีไวยากรณ์ ป.ย.1-2 พ.ศ.2511-2566 (56 ปี)_Pali grammar Exam...
ปัญหาและเฉลย วิชาบาลีไวยากรณ์ ป.ย.1-2 พ.ศ.2511-2566 (56 ปี)_Pali grammar Exam...ปัญหาและเฉลย วิชาบาลีไวยากรณ์ ป.ย.1-2 พ.ศ.2511-2566 (56 ปี)_Pali grammar Exam...
ปัญหาและเฉลย วิชาบาลีไวยากรณ์ ป.ย.1-2 พ.ศ.2511-2566 (56 ปี)_Pali grammar Exam...
 
ปัญหาและเฉลยข้อสอบ ป.ธ.3 วิชาไวยากรณ์ฉบับปรับปรุง_ปี ๒๕๑๑-๒๕๖๑.pdf
ปัญหาและเฉลยข้อสอบ ป.ธ.3 วิชาไวยากรณ์ฉบับปรับปรุง_ปี ๒๕๑๑-๒๕๖๑.pdfปัญหาและเฉลยข้อสอบ ป.ธ.3 วิชาไวยากรณ์ฉบับปรับปรุง_ปี ๒๕๑๑-๒๕๖๑.pdf
ปัญหาและเฉลยข้อสอบ ป.ธ.3 วิชาไวยากรณ์ฉบับปรับปรุง_ปี ๒๕๑๑-๒๕๖๑.pdf
 
ปัญหาและเฉลยบาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 ปี ๒๕๑๑-๒๕๖๑.pdf
ปัญหาและเฉลยบาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 ปี ๒๕๑๑-๒๕๖๑.pdfปัญหาและเฉลยบาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 ปี ๒๕๑๑-๒๕๖๑.pdf
ปัญหาและเฉลยบาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 ปี ๒๕๑๑-๒๕๖๑.pdf
 
ธมฺมปทฏฺฐกถา (๘ ภาค รวมเล่ม)_ธรรมบท ภาคที่ 1-8 รวมเล่ม ฉบับภาษาบาลี
ธมฺมปทฏฺฐกถา (๘ ภาค รวมเล่ม)_ธรรมบท ภาคที่ 1-8 รวมเล่ม  ฉบับภาษาบาลีธมฺมปทฏฺฐกถา (๘ ภาค รวมเล่ม)_ธรรมบท ภาคที่ 1-8 รวมเล่ม  ฉบับภาษาบาลี
ธมฺมปทฏฺฐกถา (๘ ภาค รวมเล่ม)_ธรรมบท ภาคที่ 1-8 รวมเล่ม ฉบับภาษาบาลี
 
อภิธานวรรณนา_พจนานุกรมว่าด้วยศัพท์ที่เป็นนามบัญญัติของเนื้อความที่มีปรากฏอยู่...
อภิธานวรรณนา_พจนานุกรมว่าด้วยศัพท์ที่เป็นนามบัญญัติของเนื้อความที่มีปรากฏอยู่...อภิธานวรรณนา_พจนานุกรมว่าด้วยศัพท์ที่เป็นนามบัญญัติของเนื้อความที่มีปรากฏอยู่...
อภิธานวรรณนา_พจนานุกรมว่าด้วยศัพท์ที่เป็นนามบัญญัติของเนื้อความที่มีปรากฏอยู่...
 
สำนวนแต่งไทยเป็นมคธ สำนักงานแม่กองบาลี & กองพุทธศาสนศึกษา (1)_(2).pdf
สำนวนแต่งไทยเป็นมคธ  สำนักงานแม่กองบาลี & กองพุทธศาสนศึกษา (1)_(2).pdfสำนวนแต่งไทยเป็นมคธ  สำนักงานแม่กองบาลี & กองพุทธศาสนศึกษา (1)_(2).pdf
สำนวนแต่งไทยเป็นมคธ สำนักงานแม่กองบาลี & กองพุทธศาสนศึกษา (1)_(2).pdf
 
จูฬธาตุปัจจยโชติกา _ พจนานุกรมบาลี-บาลี
จูฬธาตุปัจจยโชติกา  _  พจนานุกรมบาลี-บาลีจูฬธาตุปัจจยโชติกา  _  พจนานุกรมบาลี-บาลี
จูฬธาตุปัจจยโชติกา _ พจนานุกรมบาลี-บาลี
 
ธรรมบท ภาคที่ 8 แปลโดยพยัญชนะ ฉบับสองภาษา (ไทย-บาลี).pdf
ธรรมบท ภาคที่ 8 แปลโดยพยัญชนะ ฉบับสองภาษา (ไทย-บาลี).pdfธรรมบท ภาคที่ 8 แปลโดยพยัญชนะ ฉบับสองภาษา (ไทย-บาลี).pdf
ธรรมบท ภาคที่ 8 แปลโดยพยัญชนะ ฉบับสองภาษา (ไทย-บาลี).pdf
 
ธรรมบท ภาคที่ 7 แปลโดยพยัญชนะ ฉบับสองภาษา (ไทย-บาลี).pdf
ธรรมบท ภาคที่ 7 แปลโดยพยัญชนะ ฉบับสองภาษา (ไทย-บาลี).pdfธรรมบท ภาคที่ 7 แปลโดยพยัญชนะ ฉบับสองภาษา (ไทย-บาลี).pdf
ธรรมบท ภาคที่ 7 แปลโดยพยัญชนะ ฉบับสองภาษา (ไทย-บาลี).pdf
 

หลักการแปลบาลี 8 ประการ _ หลักการแปลมคธเป็นไทย 8 ประการ

  • 1. 955 หลักการแปลมคธเป็นไทย ๘ ประการ ๑. อาลปนะ ๒. นิบาตต้นข้อความหรือกาลสัตตมี ๓. ตัวประธาน ๔. ตัวขยายประธาน ๕. กิริยาในระหว่างและบทที่เนื่องด้วยกิริยาในระหว่าง ๖. ประโยคแทรก ๗. กิริยาคุมพากย์ ๘. บทที่เนื่องด้วยกิริยาคุมพากย์ ๑. อาลปนะ มี ๒ คือ อาลปนะนาม และอาลปนะนิบาต ถ้าอาลปนะนามมาคู่กับอาลปนะนิบาตให้แปลอาลปนะนามก่อน เช่น โภ ปุริส = ปุริส ดูก่อนบุรุษ โภ ผู้เจริญ เป็นต้น ฯ ๒. นิบาตต้นข้อความหรือกาลสัตตมี เช่น กิร ขลุ สุทํ หิ จ ปน ถ้านิบาตต้นข้อความมาคู่กับกาลสัตตมีให้แปลนิบาตต้นข้อความก่อน เช่น อตีเต กิร = กิร ได้ยินว่า อตีเต ในกาลอันเป็นไปล่วงแล้ว หรือ ตทา จ = จ ก็ ตทา ในกาลนั้น เป็นต้น ฯ หมายเหตุ: กาลสัตตมี ได้แก่ ศัพท์นามนามที่เกี่ยวกับกาล เวลา และสมัย ประกอบ ด้วยสัตตมีวิภัตติ เช่น ตสฺมึ กาเล ศัพท์ที่ลงปัจจัยในนาม เช่น ตทา, อิทานิ และนิบาต บอกกาล เช่น อถ เป็นต้น ฯ ๓. ตัวประธาน {โดยพยัญชนะ แปลว่า อ. (อันว่า)} ได้แก่ศัพท์ต่อไปนี้ คือ ก. นามนามทั่วไปที่เป็นปฐมาวิภัตติ เช่น ปุริโส, เสฏฺ, กุลํ เป็นต้น ข. นามกิตก์ที่เป็นนามนาม (ภาวรูป ภาวสาธนะ) เช่น คมนํ เป็นต้น ค. สมาสนามนาม เช่น ราชปุตฺโต เป็นต้น ง. ตัทธิตนามนาม เช่น มนุสฺสตฺตํ เป็นต้น จ. ตุมฺห และ อมฺห ศัพท์ ที่เป็นปฐมาวิภัตติ ฉ. สังขยานามนาม เช่น สตานิ = อ. ร้อย ท. เป็นต้น ช. ตทา, อิทานิ, อชฺช และศัพท์นามที่เป็นสัตตมีวิภัตติบางศัพท์ เช่น คมนฏฺาเน เป็นต้น ฯ
  • 2. 956 หลักการแปลมคธเป็นไทย ๔. ตัวขยายประธาน ได้แก่ศัพท์ต่อไปนี้ คือ ก. คุณนาม เช่น กุสโล ปุริโส = อ. บุรุษ ผู้ฉลาด ข. สังขยาคุณนาม เช่น เอโก ภิกฺขุ = อ. ภิกษุ รูปหนึ่ง ค. วิเสสนสัพพนาม เช่น อยํ เสฏฺ = อ. เศรษฐี นี้ ง. นามกิตก์ที่เป็นคุณนาม สมาสคุณนาม และตัทธิตคุณนาม ๕. กิริยาในระหว่างและบทที่เนื่องด้วยกิริยาในระหว่าง กิริยาในระหว่าง ได้แก่ กิริยาดังต่อไปนี้ คือ ๑. อนฺต และ มาน ปัจจัย ที่มีลิงค์ วจนะ และวิภัตติ เสมอกับตัวประธาน ๒. ตูน ตฺวา ตฺวาน ปัจจัย ที่เรียกว่า ตูนาทิปัจจัย บทที่เนื่องด้วยกิริยาในระหว่าง ได้แก่ ศัพท์นามนามและสัพพนาม ที่ประกอบ ด้วยทุติยาวิภัตติ ถึงสัตตมีวิภัตติ รวมไปถึงนิบาตบางตัว เช่น ปุน เอวํ เป็นต้น ๖. ประโยคแทรก ประโยคแทรกมี ๒ ชนิด คือ ก. ประโยคอนาทร แปลว่า เมื่อ..เช่น ปิตุ มตสฺส = เมื่อบิดา ตายแล้ว ข. ประโยคลักขณะ แปลว่า ครั้นเมื่อ.......เช่น สตฺถริ คเต = ครั้นเมื่อ พระศาสดา เสด็จไปแล้ว ๗. กิริยาคุมพากย์ ได้แก่ กิริยาดังต่อไปนี้ คือ (๑) กิริยาอาขยาต (๒) นามกิตก์ ได้แก่ ณฺย ปัจจัย ใช้คุมพากย์ เช่น คารยฺหา (๓) กิริยากิตก์ ได้แก่ ต อนีย ตพฺพ ปัจจัยใช้คุมพากย์ (๔) ตฺวา ปัจจัย คุมพากย์ เรียกว่า “กิริยาปธานนัย” (๕) สกฺกา และ อลํ คุมพากย์ (๖) อนฺต และ มาน ปัจจัย ประกอบด้วยฉัฏฐีวิภัตติ เป็นกิริยาของประโยค อนาทร เรียกว่า “อนาทรกิริยา” (๗) อนฺต และ มาน ปัจจัย ประกอบด้วยสัตตมีวิภัตติ เป็นกิริยาของประโยค ลักขณะ เรียกว่า “ลกฺขณกิริยา” หมายเหตุ: ณฺย ต อนีย ตพฺพ ปัจจัย สกฺกา และ อลํ ใช้คุมพากย์ได้ เมื่อตัวประธานเป็น ประถมบุรุษเท่านั้น ถ้าตัวประธานเป็นมัธยมบุรุษกับ อุตตมบุรุษ ให้แปลเป็นวิกติกตฺตา ในกิริยาอาขยาต ดังนี้คือ (๑) ถ้าตัวประธานเป็น ตฺวํ ให้แปลเป็นวิกติกัตตาใน อสิ (๒) ถ้าตัวประธานเป็น ตุมฺเห ให้แปลเป็นวิกติกัตตาใน อตฺถ
  • 3. 957 หลักการแปลมคธเป็นไทย (๓) ถ้าตัวประธานเป็น อหํ ให้แปลเป็นวิกติกัตตาใน อมฺหิ (๔) ถ้าตัวประธานเป็น มยํ ให้แปลเป็นวิกติกัตตาใน อมฺห เช่น อุปาสโก วิหารํ คโต. (ต ปัจจัยใช้คุมพากย์ได้) = อ. อุบาสก ไปแล้ว สู่วิหาร ฯ อุปาสกา วิหารํ คตา. (ต ปัจจัยใช้คุมพากย์ได้) = อ. อุบาสก ท. ไปแล้ว สู่วิหาร ฯ ตฺวํ วิหารํ คโต (อสิ). = อ. ท่าน เป็นผู้ไปแล้ว สู่วิหาร ย่อมเป็น ฯ ตุมฺเห วิหารํ คตา (อตฺถ). = อ.ท่าน ท. เป็นผู้ไปแล้ว สู่วิหาร ย่อมเป็น ฯ อหํ วิหารํ คโต (อมฺหิ). = อ. เรา เป็นผู้ไปแล้ว สู่วิหาร ย่อมเป็น ฯ มยํ วิหารํ คตา (อมฺห). = อ. เรา ท. เป็นผู้ไปแล้ว สู่วิหาร ย่อมเป็น ฯ ๘. บทที่เนื่องด้วยกิริยาคุมพากย์ ได้แก่ นามนาม หรือ สัพพนาม ที่ประกอบ ด้วยทุติยาวิภัตติ ถึง สัตตมีวิภัตติ เช่น โอทนํ ปจติ = ย่อมหุง ซึ่งข้าวสุก, ตสฺมึ าเน วสติ = ย่อมอยู่ ในที่นั้น เป็นต้น และนิบาตบางตัว เช่น ปุน อาห = กล่าวแล้ว อีก, เอวํ กเถสิ = กล่าวแล้ว อย่างนี้ เป็นต้น ฯ ตัวอย่างการแปล โส กิร ภนฺเต เสฏฺ ปุตฺตํ ลภิตฺวา ปุตฺเต มเต วิหารํ อคมาสิ ฯ แปลตามหลัก การแปล ดังนี้ ๑. ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ๒. กิร ได้ยินว่า ๓. เสฏฺ อ. เศรษฐี ๔. โส นั้น ๕. ปุตฺตํ ลภิตฺวา ได้แล้ว ซึ่งบุตร ๖. ปุตฺเต มเต ครั้นเมื่อบุตร ตายแล้ว ๗. อคมาสิ ได้ไปแล้ว ๘. วิหารํ สู่วิหาร
  • 4. 958 หลักการแปลมคธเป็นไทย ถ้าในประโยคใดมีไม่ครบทั้ง ๘ ก็ให้เลื่อนไปตามลําดับ แต่หมายเลข ๓ คือ ตัวประธานนั้น มีหรือไม่มีก็ให้ขึ้นมาเอง (ยกเว้นประโยคภาววาจก) การขึ้นประธานมาเองนั้น มีหลักดังนี้ คือ ๑. กิริยาคุมพากย์เป็นประถมบุรุษ ฝ่ายเอกวจนะ ให้ขึ้นนามนาม ทั่วไปที่เป็นเอก วจนะ เช่น ชโน ๒. กิริยาคุมพากย์เป็นประถมบุรุษ ฝ่ายพหุวจนะ ให้ขึ้นนามนาม ทั่วไปที่เป็นพหุ วจนะ เช่น ชนา ๓. กิริยาคุมพากย์เป็นมัธยมบุรุษ ฝ่ายเอกวจนะ ให้ขึ้น ตฺวํ ๔. กิริยาคุมพากย์เป็นมัธยมบุรุษ ฝ่ายพหุวจนะ ให้ขึ้น ตุมฺเห ๕. กิริยาคุมพากย์เป็นอุตตมบุรุษ ฝ่ายเอกวจนะ ให้ขึ้น อหํ ๖. กิริยาคุมพากย์เป็นอุตตมบุรุษ ฝ่ายพหุวจนะ ให้ขึ้น มยํ ให้ท่องจำา (ตอนหัดแปลใหม่ๆ) ติ บอก ชโน อนฺติ บอก ชนา (เป็นตัวอย่าง) สิ บอก ตฺวํ ถ บอก ตุมฺเห (ตายตัว) มิ บอก อหํ ม บอก มยํ (ตายตัว) สิ่งควรจำา ๑. เมื่อมีตัวประธานต้องมีกิริยาคุมพากย์ยกเว้นประโยคลิงคัตถะมีแต่ตัวประธาน ไม่มีกิริยาคุมพากย์ ๒. ตัวประธานกับกิริยาคุมพากย์ ต้องมีบุรุษและวจนะตรงกัน คือ ต้องขึ้นตัว ประธานให้ถูกต้องตามบุรุษและวจนะของกิริยาคุมพากย์ ๓. คําแปลของวิเสสนะ มี ๔ คํา คือ ผู้ ที่ ซึ่ง อัน ในการแปลโดยอรรถนั้นใช้ได้ทั้ง ๔ คํา ส่วนในการแปลโดยพยัญชนะนั้นใช้อยู่ ๒ คํา คือ ผู้ กับ อัน - ผู้ ใช้แปลตัววิเสสนะของตัวประธานที่มีวิญญาณ ยกเว้นสัตว์ ใช้คําแปลว่า ตัว เช่น กุสโล ปุริโส = อ. บุรุษ ผู้ฉลาด จณฺโฑ หตฺถี = อ. ช้าง ตัวดุร้าย
  • 5. 959 หลักการแปลมคธเป็นไทย - อัน ใช้แปลตัววิเสสนะของตัวประธานที่ไม่มีวิญญาณ เช่น อฑฺฒํ กุลํ = อ. ตระกูล อันมั่งคั่ง ๔. เรื่องกาล ต้องแปลให้ถูกต้องตามกาลของวิภัตติหมวดนั้นๆ เช่น กโรหิ จงทํา, กโรนฺโต ทําอยู่ หรือ เมื่อทํา เป็นต้น ๕. เรื่องวจนะของศัพท์นามนามและสัพพนาม ๖. เรื่องคําแปลของวิเสสนสัพพนาม ฝ่ายพหุวจนะ ให้แปลว่า เหล่า...เสมอ เช่น เย ภิกฺขู = อ. ภิกษุ ท. เหล่าใด เป็นต้น ๗. ต อนีย ตพฺพ สกฺกา และ อลํ ให้ใช้คุมพากย์ได้ ในเมื่อตัวประธานเป็นประถม บุรุษเท่านั้น ๘. ต ปัจจัยที่ต่อกับศัพท์อื่นใช้คุมพากย์ไม่ได้ ต้องแปลเป็นวิกติกัตตาเสมอ เช่น มยา วจนํ อสฺสุตปุพฺพํ (โหติ) ฯ = วจนํ อ. คํา มยา อสฺสุตปุพฺพํ เป็นคําอันเราไม่เคยฟังแล้ว (เป็นคําอันเรา ไม่ฟังแล้วในก่อน) (โหติ) ย่อมเป็น ฯ มยา ตฺวํ น ทิฏฺปุพฺโพ (อสิ) ฯ = อ. ท่าน เป็นผู้อันเราไม่เห็นแล้วในก่อน ย่อมเป็น ฯ กุมารสฺส ปิตา กาลกโต (โหติ) ฯ = อ. บิดา ของกุมาร เป็นผู้มีกาละอันกระทําแล้ว ย่อมเป็น ฯ สิ่งที่ควรรู้ก่อนการแปล สิ่งที่ควรรู้ก่อนการแปล มีดังนี้ ๑. ศัพท์ ได้แก่ นิบาต อุปสรรค รวมทั้งนามและกิริยาที่ยังไม่ได้ประกอบวิภัตติ ๒. บท ได้แก่ นามศัพท์ (รวมถึงนิบาตบางตัว เช่น อิทานิ เป็นต้น) กิริยาอาขยาต และกิริยากิตก์ทั้งหมดที่ประกอบวิภัตติแล้ว ๓. พากยางค์ ได้แก่ บทหลายบทรวมกัน พอจับใจความได้ แต่เนื้อความยังไม่ สมบูรณ์ เช่น รฺโ ปุตฺโต = อ. พระโอรส ของพระราชา เป็นต้น ๔. พากย์ หรือประโยค ได้แก่ ตั้งแต่เริ่มต้นประโยคจนถึงกิริยาคุมพากย์ มี เนื้อความสมบูรณ์ คือมีตัวประธานและกิริยาคุมพากย์ (ยกเว้นประโยค ลิงฺคตฺถ) เช่น สาวตฺถิยํ กิร มหาสุวณฺโณ นาม กุฏุมฺพิโก อโหสิ อฑฺโฒ มหทฺธโน มหาโภโค อปุตฺตโก ฯ
  • 6. 960 หลักการแปลมคธเป็นไทย ตัวอย่างการแปลทั้ง ๕ วาจก ๑. ประโยคกัตตุวาจก ปัญหา สา (ภริยา) ทสมาสจฺจเยน ปุตฺตํ วิชายิ ฯ (จกฺขุปาลตฺเถรวตฺถุ. ๑/๓) แปล สา ภริยา อ. ภรรยานั้น วิชายิ คลอดแล้ว ปุตฺตํ ซึ่งบุตร ทสมาสจฺจเยน โดยกาลเป็นที่ล่วงไปแห่งเดือนสิบ ฯ ๒. ประโยคกัมมวาจก ปัญหา อิทาเนวโก คีตสทฺโท สูยิตฺถ ฯ (จกฺขุปาลตฺเถรวตฺถุ. ๑/๑๕) แปล คีตสทฺโท อ. เสียงแห่งเพลงขับ เอโก เสียงหนึ่ง (มยา) อันเรา สูยิตฺถ ฟังแล้ว ฯ ๓. ประโยคภาววาจก ปัญหา นนุ อปฺปมตฺเตหิ ภวิตพฺพํ ฯ (จกฺขุปาลตฺเถรวตฺถุ. ๑/๘) แปล (อมฺเหหิ) อันเรา ท. อปฺปมตฺเตหิ พึงเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ภวิตพฺพํ พึงเป็น นนุ มิใช่หรือ ฯ ๔. ประโยคเหตุกัตตุวาจก ปัญหา อิมํ เตมาสํ กตีหิ อิริยาปเถหิ วีตินาเมสฺสถ ฯ (จกฺขุปาลตฺเถรวตฺถุ. ๑/๘) แปล (ตุมฺเห) อ.ท่าน ท. เตมาสํ ยังหมวดแห่งเดือนสาม อิมํ นี้ วีตินาเมสฺสถ จักให้ น้อมล่วงไปวิเศษ อิริยาปเถหิ ด้วยอิริยาบถ ท. กตีหิ เท่าไร ฯ ๕. ประโยคเหตุกัมมวาจก ปัญหา ภทฺเท ทสสุ กสิเณสุ ปริกมฺมํ กตฺวา ฌานํ นิพฺพตฺเตตพฺพํ ฯ (กุณฺฑลเกสีเถรีวตฺถุ. ๔/๑๐๓) แปล ภทฺเท ดูก่อนนางผู้เจริญ ฌานํ อ. ฌานํ (ปุคฺคเลน)อันบุคคล กตฺวา กระทําแล้ว ปริกมฺมํ ซึ่งบริกรรม กสิเณสุ ในกสิณ ท. ทสสุ สิบ นิพฺพตฺเตตพฺพํ พึงให้บังเกิด ฯ ข้อควรระวัง ในการแปลประโยคเหตุกัตตุวาจก กับ ประโยคเหตุกัมมวาจก ตรงกิริยา คุมพากย์ ต้องมีคําแปลว่า “ให้” ถ้าแปล (เขียน) ตกคําว่า “ให้” จะถูกกิน ป. (๑ ประโยค = ๖ คะแนน) ทันที โดยไม่มีการอุทธรณ์ฎีกาใดๆ ทั้งสิ้น (เพราะถ้าประโยคเหตุกัตตุวาจก ที่กิริยาไม่มีคําแปลว่า ให้ ก็จะกลายเป็นคําแปลของประโยคกัตตุวาก และประโยค
  • 7. 961 หลักการแปลมคธเป็นไทย เหตุกัมมวาจก ไม่มีคําแปลว่า ให้ ก็จะกลายเป็นคําแปลของประโยคกัมมวาจก) ดังนั้น นักศึกษาจะต้องระมัดระวังให้มากๆ ประโยคลิงฺคตฺถ ประโยคลิงฺคตฺถ (บางท่านพูดแบบติดตลกว่า ประโยคลิงไม่มีหาง) คือประโยค ที่มีแต่ตัวประธาน ไม่มีกิริยาคุมพากย์ เช่น ปัญหา ตุมฺเห ปน ภาติก ฯ แปล ข้าแต่พี่ชาย ก็ อ. ท่านเล่า ฯ อธิบาย ในลักษณะเช่นนี้ ไม่สามารถขึ้นกิริยาคุมพากย์มาได้ ต้องแปลเป็น ประโยคลิงฺคตฺถ เท่านั้น แต่บางประโยคสามารถขึ้น อตฺถิ หรือ โหติ, โหนฺติ มาป็นกิริยา คุมพากย์ทําให้เป็นประโยคกัตตุวาจกได้ เช่น ปัญหา กิมฺเม ฆราวาเสน ฯ แปลแบบที่ ๑ เป็นประโยคลิงฺคตฺถ อ. ประโยชน์ อะไร แก่เรา ด้วยการอยู่ครอง ซึ่งเรือน ฯ แปลแบบที่ ๒ เป็นประโยคกัตตุวาจก อ. ประโยชน์ อะไร ด้วยการอยู่ครอง ซึ่งเรือน (อตฺถิ) มีอยู่ แก่เรา ฯ ข้อควรจํา ถ้าไม่จําเป็นจริงๆ อย่าแปลเป็นประโยคลิงฺคตฺถ การแปลรวบ การแปลรวบ ที่นิยมมีอยู่ ๑๐ อย่าง ดังนี้ ๑. รวบด้วยอํานาจ วา ศัพท์ ควบบท หรือ ควบพากย์ วา ศัพท์ ใช้ควบบทตั้งแต่ ๒ บทขึ้นไปก็ดี ใช้ควบพากย์หรือประโยค ตั้งแต่ ประธานจนถึงกิริยาคุมพากย์ก็ดี แปลเป็นคู่ๆ ตัวแรกแปลว่า “หรือ” ตัวที่สองแปลว่า “หรือว่า” ดังนี้ วา ศัพท์ ควบบท เช่น ปัญหา ปุตฺตํ วา ธีตรํ วา ลภิตฺวา ตุมฺหากํ มหาสกฺการํ กริสฺสามิ ฯ (จกฺขุปาลตฺเถร วตฺถุ. ๑/๓) แปล อหํ อ. เรา ลภิตฺวา ได้แล้ว ปุตฺตํ วา ซึ่งบุตรหรือ ธีตรํ วา หรือว่า ซึ่งธิดา กริสฺสามิ จักกระทํา มหาสกฺการํ ซึ่งสักการะใหญ่ ตุมฺหากํ แก่ท่าน ฯ (สนามหลวงแปล พ.ศ. ๒๕๓๘ และ ๒๕๔๐)
  • 8. 962 หลักการแปลมคธเป็นไทย วา ศัพท์ ควบพากย์ เช่น ปัญหา ตฺวํ วา ปพฺพช อหํ วา ปพฺพชิสฺสามิ ฯ (เทวทตฺตวตฺถุ. ๑/๑๒๔) แปล ตฺวํ ปพฺพช วา๑ อ. เจ้า จงบวชหรือ อหํ ปพฺพชิสฺสามิ วา หรือว่า อ. เรา จักบวช ฯ ๒. รวบด้วยอํานาจ จ ศัพท์ ควบบท หรือ ควบพากย์ จ ศัพท์ ใช้ควบบทตั้งแต่ ๒ บทขึ้นไปก็ดี ใช้ควบพากย์คือควบทั้งประโยค ตั้งแต่ ประธานจนถึงกิริยาคุมพากย์ก็ดี แปลว่า “ด้วย” จ ศัพท์ ควบบท เช่น ปัญหา สิวิกาโย จ รเถ จ คเหตฺวา คจฺฉถ. (สฺชยวตฺถุ. ๑/๘๑) แปล (ตุมฺเห) อ. ท่าน ท. คเหตฺวา ถือเอาแล้ว สิวิกาโย จ ซึ่งวอ ท. ด้วย รเถ จ ซึ่งรถ ท. ด้วย คจฺฉถ จงไป ฯ จ ศัพท์ ควบพากย์ เช่น ปัญหา อิทานิ สายฺจ เมโฆ จ อุฏฺิโต ฯ (จกฺขุปาลตฺเถรวตฺถุ. ๑/๑๘) แปล อิทานิ สายํ (โหติ) จ อ. กาลนี้ เป็นเวลาเย็น ย่อมเป็นด้วย เมโฆ อุฏฺิโต จ อ. เมฆ ตั้งขึ้นแล้วด้วย ฯ ๓. รวบด้วยอํานาจ ปิ หรือ อปิ ศัพท์ (ให้แปล ปิ หรือ อปิ ศัพท์ ว่า บ้าง) เช่น ปัญหา โอวาทปฏิคฺคาหิกา ภิกฺขุนิโยปิ อารกฺขเทวตาปิ ตาสํ สนฺทิฏฺสมฺภตฺตา อากาสฏฺเทวตาปิ ยาว พฺรหฺมโลกาปิ สพฺเพ ปุถุชฺชนา เทฺว ปกฺขา อเหสุ ฯ (จกฺขุปาลตฺเถรวตฺถุ. ๑/๕๐) แปล โอวาทปฏิคฺคาหิกา ภิกฺขุนิโยปิ อ. นางภิกษุณี ท. ผู้รับเอา ซึ่งโอวาทบ้าง อารกฺขเทวตาปิ อ. เทวดาผู้อารักขา ท. บ้าง ตาสํ (อารกฺขเทวตานํ) สนฺทิฏฺสมฺภตฺตา อากาสฏฺเทวตาปิ อ. เทวดาผู้ดํารงอยู่ในอากาศ ท. ผู้อันตนทั้งเห็นดีแล้วทั้งคบดีแล้ว ของเทวดาผู้อารักขา ท. เหล่านั้นบ้าง ยาว พฺรหฺมโลกา สพฺเพ ปุถุชฺชนาปิ อ. ปุถุชน ท. ทั้งปวง เพียงไร แต่ พรหมโลกบ้าง เทฺว ปกฺขา เป็นฝ่าย สอง อเหสุ ได้เป็นแล้ว ฯ ๑ วา, จ, ปิ หรือ อปิ ศัพท์ ควบถึงไหน เวลาแปลต้องย้ายไปไว้ตรงศัพท์สุดท้ายที่รวบ
  • 9. 963 หลักการแปลมคธเป็นไทย ๔. รวบด้วยอํานาจภาวศัพท์ และปัจจัยในภาวตัทธิต เช่น สตฺถุ คตภาโว = อ. ความที่แห่งพระศาสดาเป็นผู้เสด็จมาแล้ว อตฺตนา ปาลิตํ วนปฺปตึ นิสฺสาย ลทฺธตฺตา = เพราะความที่แห่งบุตรนั้นเป็นผู้อันตนอาศัยซึ่งต้นไม้อันเป็น เจ้าแห่งป่าอันอันตนรักษาแล้ว แล้วจึงได้แล้ว ๕. รวบด้วยอํานาจ อนฺต ปัจจัย เช่น อนุสนฺธึ ฆเฏตฺวา ธมฺมํ เทเสนฺโต = เมื่อทรงสืบต่อ ซึ่งอนุสนธิ แสดง ซึ่งธรรม ๖. รวบด้วยอํานาจวิเสสนะ เช่น ตฺวํ มยา ปุจฺฉิโต ตมตฺถํ อาจิกฺขาหิ = ตฺวํ อ. ท่าน มยา ปุจฺฉิโต ผู้อันเราถามแล้ว อาจิกฺขาหิ จงบอก ตํ อตฺถํ ซึ่งเนื้อความนั้น ๗. รวบด้วยอํานาจสัมพันธ์เข้าครึ่งศัพท์ เช่น เอวรูโป ปุริโส มยา น ทิฏฺปุพฺโพ = ปุริโส อ. บุรุษ เอวรูโป ผู้มีอย่างนี้เป็นรูป มยา น ทิฏฺปุพฺโพ เป็นผู้อันเราไม่เห็นแล้วในก่อน (หรือ เป็นผู้อันเราไม่เคยเห็นแล้ว) โหติ ย่อมเป็น ฯ ๘. รวบด้วยอํานาจวิกติกตฺตา เช่น อยํ มเหสกฺขาย เทวตาย ปริคฺคหิโต ภวิสฺสติ = อยํ (รุกฺโข) อ. ต้นไม้นี้ มเหสกฺขาย เทวตาย ปริคฺคหิโต จักเป็นต้นไม้อันเทวดา ผู้มีศักดิ์ใหญ่ถือเอารอบแล้ว จักเป็น ฯ ๙. รวบด้วยอํานาจเนื้อความ เช่น อุปาสิกา ธมฺมํ สุณนฺตี นิสีทิ = อ. อุบาสิกา นั่งฟังอยู่แล้ว ซึ่งธรรม ฯ ๑๐. รวบด้วยอํานาจ ตุํ ปัจจัย เป็นประธาน เช่น ภิกฺขูหิ เอวํ กาตุํ วฏฺฏติ = ภิกฺขูหิ เอวํ กาตุํ อ.อันอันภิกษุ ท. กระทํา อย่างนี้ วฏฺฏติ ย่อมควร ฯ การแปลทอด ตฺวา ปัจจัย นิยมแปลทอด ตฺวา ปัจจัย ว่า “แล้วจึง” (ต้องเป็นกรณีที่แปลรวบ เท่านั้น) เช่น ๑. สตฺถุ สนฺติกํ คนฺตฺวา สตฺถารํ วนฺทิตฺวา อาสเน นิสินฺนกาลโต ปฏฺาย … จําเดิม แต่กาลแห่งตนไป สู่สํานัก ของพระศาสดา แล้วจึงถวายบังคม ซึ่ง พระศาสดา แล้วจึงนั่งแล้ว บนอาสนะ … ฯ
  • 10. 964 หลักการแปลมคธเป็นไทย ๒. สพฺพพุทฺธานํ กิร อวิชหิตเมว ยมกปฺปาฏิหาริยํ กตฺวา เทวโลเก วสฺสํ วสิตฺวา สงฺกสฺสนครทฺวาเร โอตรณํ ฯ (ยมกปฺปาฏิหาริยวตฺถุ ๖/๙๑) ได้ยินว่า อ. อันกระทํา ซึ่งยมกปาฏิหาริย์ แล้วจึงอยู่ สิ้นกาลฝน ในเทวโลก แล้วจึงเสด็จลง ที่ประตูแห่งเมืองชื่อว่าสังกัสสะ อันพระพุทธเจ้าทั้งปวง ท. ไม่ทรงละแล้ว นั่นเทียว ฯ (สนามหลวงแปล พ.ศ. ๒๕๓๓) ศัพท์ที่ต้องแปลเป็นวิกติกัตตา ศัพท์ที่จะต้องแปลเป็นวิกติกัตตา คือ แปลว่า “เป็น” ได้แก่ศัพท์ที่อยู่ใกล้ธาตุ ๔ ธาตุ คือ หุ ธาตุ, ภู ธาตุ, อส ธาตุ และ ชน ธาตุ หุ ธาตุ เช่น อยํ ปุตฺโต มหาปุฺโ โหติ ฯ แปล อยํ ปุตฺโต อ. บุตรนี้ มหาปุฺโ เป็นผู้มีบุญมาก โหติ ย่อมเป็นฯ ภู ธาตุ เช่น อยํ กุมาโร กตาภินีหาโร ภวิสฺสติ ฯ แปล อยํ กุมาโร อ. กุมารนี้ กตาภินีหาโร จักเป็นผู้มอภินิหารอันกระทําแล้ว ภวิสฺสติ จักเป็น ฯ อส ธาตุ เช่น ภิกฺขู รุกฺขมูลิกา อสฺสุ ฯ แปล ภิกฺขู อ. ภิกษุ ท. รุกฺขมูลิกา พึงเป็นผู้อยู่ที่โคนแห่งต้นไม้ อสฺสุ พึงเป็น ฯ ชน ธาตุ เช่น ตํ กุลํ ทุคฺคตํ ชาตํ ฯ แปล ตํ กุลํ อ. ตระกูลนั้น ทุคฺคตํ เป็นตระกูลถึงแล้วซึ่งยาก ชาตํ เกิดแล้ว ฯ และโดยมาก “วิกติกตฺตา” จะเป็นปฐมาวิภัตติและตติยาวิภัตติ วิกติกตฺตา ที่เป็นปฐมาวิภัตติ (มีมากในธรรมบทภาค ๑ - ๘ ) เช่น ปัญหา อยํ กุมาโร กตาภินีหาโร ภวิสฺสติ ฯ แปล อยํกุมาโรอ.กุมารนี้ กตาภินีหาโร จักเป็นผู้มีอภินิหารอันกระทําแล้ว ภวิสฺสติ จักเป็น ฯ วิกติกตฺตาที่เป็นตติยาวิภัตติ (มีบ้างในธรรมบทภาค ๑ - ๘) เช่น ปัญหา ตสฺมา อฺเนปิ อตฺตทตฺถสทิเสน ภวิตพฺพํ ฯ แปล ตสฺมา เพราะเหตุนั้น (ภิกฺขุนา) อันภิกษุ อฺเนปิ แม้อื่น อตฺต- ทตฺถสทิเสน พึงเป็นผู้เช่นกับด้วยอัตตทัตถภิกษุ ภวิตพฺพํ พึงเป็น ฯ หมายเหตุ: วิกติกตฺตา อยู่ใกล้ ตพฺพ ปัจจัย ก็ให้แปลอาบคําแปลของ ตพฺพ ปัจจัยด้วย
  • 11. 965 หลักการแปลมคธเป็นไทย ข้อสังเกต ตัวประธานเป็นมัธยมบุรุษ คือ ตฺวํ ตุมฺเห และอุตตมบุรุษ คือ อหํ มยํ ถ้าจะให้ ปลอดภัย กิริยาคุมพาย์จะต้องเป็นอาขยาตเท่านั้น ดังนั้น ถ้าปัญหาใช้ธาตุประกอบด้วย ต ปัจจัย จะต้องแปล ต ปัจจัย เป็นวิกติกัตตา ในกิริยาอาขยาต อีกชั้นหนึ่ง ในกรณีที่เป็น ชาต จะมีวิกติกัตตาซ้อนวิกติกัตตา (วิกติกตฺตา ๒ ชั้น) กล่าวคือ มีตัววิกติกัตตา ใน ชาต และ ชาต วิกติกัตตา ใน กิริยาอาขยาต วิกติกตฺตา ชั้นเดียว เช่น ปัญหา ตฺวํ กุโต อาคโต ฯ แปล อ. ท่าน เป็นผู้มาแล้ว แต่ที่ไหน (อสิ) ย่อมเป็น ฯ ปัญหา อหํ สาวตฺถิโต อาคโต ฯ แปล อ. เรา เป็นผู้มาแล้ว แต่กรุงสาวัตถี (อมฺหิ) ย่อมเป็น ฯ ปัญหา ตุมฺเห กุโต อาคตา ฯ แปล อ. ท่าน ท. เป็นผู้มาแล้ว แต่ที่ไหน (อตฺถ) ย่อมเป็น ฯ ปัญหา มยํ สาวตฺถิโต อาคตา ฯ แปล อ. เรา ท. เป็นผู้มาแล้ว แต่กรุงสาวัตถี (อมฺห) ย่อมเป็น ฯ วิกติกตฺตา สองชั้น เช่น ปัญหา อมฺมา กิมตฺถํ อุโปสถิกา ชาตตฺถ ฯ (อุโปสถกมฺมวตฺถุ. ๕/๕๓) แปล ดูก่อนแม่ ท. อ. ท่าน ท. เป็นผู้รักษาซึ่งอุโบสถ เป็นผู้เกิดแล้ว ย่อมเป็น เพื่อประโยชน์อะไร ฯ ปัญหา อหํ อิเมสํ ปจฺจโย จ ปติฏา จ ชาโต ฯ (กุมารกสฺสปตฺเถรมาตุวตฺถุ.๖/ ๑๔) แปล อ. เรา เป็นปัจจัยด้วย เป็นที่พึ่งด้วย ของชน ท. เหล่านี้ เป็นผู้เกิดแล้ว (อมฺหิ) ย่อมเป็น ฯ การแปลอาบกาลของกิริยาคุมพากย์ ในกรณีที่ตัววิกติกัตตาอยู่ใกล้กิริยาคุมพากย์ที่เป็นกิริยาอาขยาตหมวด ปฺจมี สตฺตมี ภวิสฺสนฺติ และกาลาติปตฺติ นิยมแปลอาบกาลของกิริยาคุมพากย์
  • 12. 966 หลักการแปลมคธเป็นไทย หมวดปฺจมี เช่น ตํ ตว ภาโร โหตุ ฯ แปล ตํ (ธนํ) อ.ทรัพย์นั้น ตว ภาโร จงเป็นภาระ ของเธอ โหตุ จงเป็น ฯ หมวดสตฺตมี เช่น ตุมฺเหหิ ทิฏฺธมฺมสฺส ภาคี อสฺสํ ฯ แปล (อหํ) อ. กระผม ตุมฺเหหิ ทิฏฺธมฺมสฺส ภาคี พึงเป็นผู้มีส่วน แห่งธรรมอัน ท่านเห็นแล้ว อสฺสํ พึงเป็น ฯ หมวดภวิสฺสนฺติ เช่น อยํ มเหสกฺขาย เทวตาย ปริคฺคหิโต ภวิสฺสติ ฯ แปล อยํ รุกฺโข อ. ต้นไม้นี้ มเหสกฺขาย เทวตาย ปริคฺคหิโต จักเป็นต้นไม้อัน เทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่ถือเอารอบแล้ว ภวิสฺสติ จักเป็น ฯ (สนามหลวงแปล พ.ศ. ๒๕๓๘ และ ๒๕๔๔) หมวดกาลาติปตฺติ เช่น อยํ เสฏฺิปุตฺโต ทุติยเสฏฺ อภวิสฺส ฯ แปล อยํ เสฏฺิปุตฺโต อ. บุตรของเศรษฐี นี้ ทุติยเสฏฺ จักเป็นเศรษฐีคน ที่สอง อภวิสฺส จักได้เป็นแล้ว ฯ ศัพท์ที่มักแปลผิด ๑. ต ปัจจัยและศัพท์คุณนาม ต่อกับ ภาว ศัพท์ หรือปัจจัยในภาวตัทธิต ต้อง แปลว่า ความที่แห่ง...เป็น... เช่น สตฺถุ อาคตภาโว = อ. ความที่แห่งพระศาสดาเป็นผู้เสด็จมาแล้ว, ตสฺส ปุริสสฺส โกวิทภาโว = อ. ความที่แห่งบุรุษนั้นเป็นผู้ฉลาด ๒. ยุ ปัจจัยต่อกับ ภาว ศัพท์ หรือปัจจัยในภาวตัทธิต ต้องแปลว่า ความเป็นคือ อัน… เช่น สตฺถุ คมนภาโว = อ. ความเป็นคืออันเสด็จไปแห่งพระศาสดา ๓. นามนามต่อกับ ภาว ศัพท์ หรือปัจจัยในภาวตัทธิต ต้องแปลว่า ความเป็น แห่ง... เช่น สมณภาโว = อ. ความเป็นแห่งสมณะ, สหายตา = อ . ความเป็นแห่งสหาย เป็นต้น ๔. อตฺถิ ต่อกับ ภาว ศัพท์ หรือปัจจัยในภาวตัทธิต ต้องแปลว่า ความที่แห่ง... มีอยู่ เช่น ธนสฺส อตฺถิภาโว = อ. ความที่แห่งทรัพย์มีอยู่ (นตฺถิ ก็เหมือนกัน)
  • 13. 967 หลักการแปลมคธเป็นไทย ๕. กัตตุรูปกัตตุสาธนะลงในอรรถแห่งตัสสีละ(ณีตุรูยุ)ต้องแปลว่า ผู้...โดยปกติ เช่น สาวตฺถีวาสี ผู้อยู่ในกรุงสาวัตถีโดยปกติ ๖. ยุ ปัจจัย ต่อกับ กาล เวลา สมย าน (กาล เวลา สมัย สถานที่) ให้แปลว่า เป็นที่... เช่น สตฺถุ คมนกาเล = ในกาลเป็นที่เสด็จไป แห่งพระศาสดา ๗. ต ปัจจัยต่อกับศัพท์อื่น เช่น กาล ศัพท์ แปลว่า กาลแห่ง...แล้ว เช่น สตฺถุ อาคตกาเล = ในกาลแห่งพระศาสดาเสด็จมาแล้ว ๘. มม สนฺติกํ อาคนฺตฺวา มรณโต มุจฺจิสฺสติ ฯ มักแปลผิดว่า จักมาแล้ว สู่สํานัก ของเรา จักพ้น จากความตาย ต้องแปลว่า มาแล้ว สู่สํานัก ของเรา จักพ้น จากความตาย ๙. วุตฺถวสฺโส มักแปลผิดว่า ผู้มีกาลฝนอันตนอยู่จําแล้ว ต้องแปลว่า ผู้มีกาล ฝนอันอยู่จําแล้ว กิริยาคุมพากย์พิเศษ กิริยาคุมพากย์พิเศษ คือ กิริยาที่เป็นได้ทั้งเอกวจนะและพหุวจนะ ในอาขยาต มี ๒ ตัว คือ อตฺถิ กับ นตฺถิ เป็นประถมบุรุษ อตฺถิ ที่เป็นเอกวจนะ เช่น ธนํ อตฺถิ = อ. ทรัพย์ มีอยู่ อตฺถิ ที่เป็นพหุวจนะ เช่น ธนานิ อตฺถิ = อ. ทรัพย์ ท. มีอยู่ นตฺถิ ที่เป็นเอกวจนะ เช่น ธนํ นตฺถิ = อ. ทรัพย์ ย่อมไม่มี นตฺถิ ที่เป็นพหุวจนะ เช่น ธนานิ นตฺถิ = อ. ทรัพย์ ท. ย่อมไม่มี ส่วนในกิริยากิตก์มี ๑ ตัว คือ สติ เป็นได้ ๒ วจนะ และ ๓ ลิงค์ ที่เป็น ปุํ. ฝ่ายเอก. เช่น อตฺเถ สติ ครั้นเมื่อความต้องการ มีอยู่ ที่เป็น ปุํ. ฝ่ายพหุ. เช่น อตฺเถสุ สติ ครั้นเมื่อความต้องการ ท. มีอยู่ ที่เป็น อิตฺ. เอก. เช่น ปจฺจเวกฺขณาย สติ ครั้นเมื่อสติเป็นเครื่องพิจารณา มีอยู่ ที่เป็น อิตฺ. ฝ่ายพหุ. เช่น อาณาสุ สติ ครั้นเมื่ออาชญา ท. มีอยู่ ที่เป็น นปุํ. ฝ่ายเอก. เช่น ธเน สติ ครั้นเมื่อทรัพย์ มีอยู่ ที่เป็น นปุํ. ฝ่ายพหุ. เช่น ปุปฺเผสุ สติ ครั้นเมื่อดอกไม้ ท. มีอยู่ สติ มาจาก อส ธาตุ ในความมี ความเป็น อนฺต ปัจจัย ในกิริยากิตก์ สฺมึ สัตตมีวิภัตติ ฝ่ายเอกวจนะ (อส + อนฺต + สฺมึ) ลบต้นธาตุ แปลง นฺต กับ สฺมึ เป็น ติ สําเร็จรูปเป็น สติ (แจกตาม ภวนฺต)
  • 14. 968 หลักการแปลมคธเป็นไทย หมายเหตุ: ถ้าโยคขึ้นเอง ควรใช้ ดังนี้ ปุํ. และ นปุํ. เอก. ใช้ สนฺเต หรือ สมาเน โดยมากใช้ สนฺเต ปุํ. และ นปุํ. พหุ. ใช้ สนฺเตสุ หรือ สมาเนสุ โดยมากใช้ สนฺเตสุ ส่วนในอิตฺ. เอก. ใช้ สมานาย อิตฺ. พหุ. ใช้ สมานาสุ หรือจะใช้กิริยาพิเศษคือสติ เป็นกิริยาคุมพากย์ของ อิตฺ. ที่เป็น เอก. และ พหุ. ก็ได้ การแปลมคธเป็นไทย การแปลมคธเป็นไทย หรือการแปลธรรมบท ในชั้นประโยค ๑ - ๒ และ ประโยค ป.ธ. ๓ นั้น มีอยู่ ๒ อย่าง คือ ๑. แปลโดยพยัญชนะ ๒. แปลโดยอรรถ เพราะ ในการสอบสนามหลวง ข้อสอบมี ๒ ข้อ คือ ข้อ ๑. แปลโดยพยัญชนะ ข้อ ๒. แปล โดยอรรถ (ส่วนในชั้นประโยค ป.ธ. ๔ ถึง ป.ธ. ๙ ข้อสอบวิชาแปลมคธเป็นไทยนี้ มี ๒ ข้อ เหมือนกัน แต่มีเฉพาะแปลโดยอรรถเท่านั้น) การแปลโดยพยัญชนะนั้น ถือว่าสําคัญที่สุด เพราะจะต้องแปลให้ถูกต้องตาม หลักการแปลและหลักไวยากรณ์ ดังนั้น ในหนังสือเล่มนี้ ข้าพเจ้าจึงได้อธิบายเน้นหนัก ในการแปลโดยพยัญชนะ ส่วนการแปลโดยอรรถนั้น ได้อธิบายพอเป็นหลักให้ผู้ศึกษา ได้ยึดเป็นแนวในการแปลโดยอรรถ การตรวจบาลี วิชาแปลมคธเป็นไทย แปลโดยพยัญชนะ เพื่อให้ได้ทราบถึงการตรวจบาลีสนามหลวง ซึ่งไม่มีคะแนนให้มีแต่เก็บคะแนนเสีย และการที่จะเสียคะแนน (ถูกกิน) นั้น จะมีอยู่ ๓ กรณี คือ ๑. แปลผิดศัพท์ ๒. แปลผิดสัมพันธ์ ๓. แปลผิดประโยค (แปลผิดวาจก) ๑. แปลผิดศัพท์ แปลผิดศัพท์ เช่น ภควา = อ. พระผู้มีพระภาคเจ้า แต่แปลผิดว่า อ. พระศาสดา รวมถึง ๑.๑ แปลผิดสมาส เช่น ภิกฺขุสงฺฆปริวุโต = ผู้อันหมู่แห่งภิกษุแวดล้อมแล้ว แต่แปลผิดว่า ผู้มีหมู่แห่งภิกษุแวดล้อมแล้ว ๑.๒ แปลผิดรูปและสาธนะ เช่น สาวตฺถีวาสี = ผู้อยู่ในกรุงสาวัตถีโดยปกติ แต่แปลผิดว่า ผู้มีปกติอยู่ในกรุงสาวัตถี ๑.๓ แปลกาลของกิริยากิตก์ผิด เช่น นิกฺขนฺโต = ออกไปแล้ว แต่แปลผิดว่า ออกไปอยู่
  • 15. 969 หลักการแปลมคธเป็นไทย ๑.๔ นิบาตบางตัวที่บังคับให้แปลอย่างนั้นเท่านั้น เช่น หิ จ ปน อยู่ใกล้ ยถา ซึ่งจะต้องแปลว่า เหมือนอย่างว่า แต่แปลผิดว่า ก็ ๑.๕ เขียนสะกดการันต์ผิด (เขียนภาษาไทยผิด) เช่น ธีโร = อ. นักปราชญ์ แต่เขียนผิดว่า อ. นักปราญช์ การแปล (เขียน) ผิดดังกล่าวมานี้ เรียกว่า แปลผิดศัพท์ ถูกเก็บ (กิน) ศ คือ ศัพท์ เท่ากับ ๑ คะแนน ๒. แปลผิดสัมพันธ์ แปลผิดสัมพันธ์ เช่น เวทานํ ปคุณตาย = เพราะความที่แห่งตน เป็นผู้คล่องแคล่ว ในเวท ท. แต่แปลผิดว่า เพราะความที่แห่งตนเป็นผู้คล่องแคล่ว แห่งเวทท. (เพราะฉัฏฐีวิภัตติที่อยู่หน้า ปคุณ โกวิท โกสล พฺยตฺต เฉก ต้องแปลหักฉัฏฐี เป็นสัตตมี คือแปลว่า ใน) รวมถึง ๒.๑ แปลกาลของกิริยาอาขยาตผิด เช่น เทหิ = จงให้ แต่แปลผิดว่า ย่อมให้ ๒.๒ แปลผิดวจนะ เช่น ภิกฺขู = อ. ภิกษุ ท. แต่แปลผิดว่า อ. ภิกษุ ยกเว้น ตุมฺเห ศัพท์ ฝ่ายพหุวจนะ ที่ใช้ในความเคารพ ไม่ต้องแปลออก ท. เช่น ตุมฺเห ปน ภนฺเต กุหึ คจฺฉถ = ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ อ. พระองค์ จะเสด็จไป ณ ที่ไหนฯ โดยมาก ใช้พูดกับพระพุทธเจ้า ฆราวาสพูดกับพระสงฆ์ หรือน้องพูดกับพี่ เช่น ตุมฺเห ปน ภาติก = ข้าแต่พี่ชาย ก็ อ. ท่านเล่า ๒.๓ ลืมขึ้นประธาน เช่น เทหิ = อ. ท่าน จงให้ แต่แปลว่า จงให้ ๒.๔ ลืมขึ้นกิริยาคุมพากย์ เช่น ตุมฺเห กุหึ คตา = อ. ท่าน เป็นผู้ไปแล้ว ณ ที่ไหน (อตฺถ) ย่อมเป็น แต่แปลผิดว่า อ. ท่าน ท. เป็นผู้ไปแล้ว ณ ที่ไหน หรือ แปลผิดว่า อ. ท่าน ท. ไปแล้ว ณ ที่ไหน (โดยใช้ ต ปัจจัยคุมพากย์ คือ เป็นกิริยาคุมพากย์ของ ตุมฺเห) ๒.๕ ลืมไข หรือ ลืมแปลเป็นสัญญี - สัญญา การแปลผิดดังกล่าวมานี้ ถูกเก็บ (กิน) ส คือ สัมพันธ์ = ๒ คะแนน หมายเหตุ: การลืมขึ้นประธานหรือกิริยาคุมพากย์ บางสํานักเก็บ ค.ป. คือ ครึ่งประโยค = ๓ คะแนน แต่สนามหลวงไม่มีเก็บ ค.ป. คงเก็บเพียง ส เท่านั้น ๓. แปลผิดประโยค (แปลผิดวาจก) แปลผิดประโยค (แปลผิดวาจก) มีอยู่ ๒ กรณี คือ ๑. กิริยาคุมพากย์เป็นกัมมวาจก แต่แปลเป็นกัตตุวาจก, กัตตุวาจก แปลเป็น กัมมวาจก, หรือเหตุกัตตุวาจก แปลเป็นกัตตุวาจก เป็นต้น เรียกว่า แปลผิดวาจก เช่น สตฺถา อธิวาเสสิ = อ. พระศาสดา ทรงยังคํานิมนต์ ให้อยู่ทับแล้ว แต่แปลผิดว่า อ. พระศาสดา ทรงอยู่ทับแล้ว
  • 16. 970 หลักการแปลมคธเป็นไทย เขตฺตํ กสาเปตพฺพํ = อ. นา อันท่าน พึงให้ไถ แต่แปลผิดว่า อ. นา อันท่าน พึงไถ เป็นต้น อย่างนี้เรียกว่า แปลผิดวาจก ๒. ขึ้นประธานกับกิริยาคุมพากย์ผิดบุรุษ เช่น กเรยฺยุ = อ. ชน ท. พึงกระทํา แต่แปลผิดว่า อ. เรา พึงกระทํา การแปลผิดดังกล่าวมานี้ ถูกเก็บ (กิน) ป. คือ ประโยค = ๖ คะแนน หมายเหตุ: ต้องระมัดระวังให้ดี เพราะการแปลผิดวาจกและการขึ้นประธานผิดบุรุษ สนามหลวงเก็บแพงมาก ถึงกับมีคําพูดติดตลกว่า “ถูกกิน ป. (ประสาท) ” เพราะถูกกิน ป. เหมือนกับจะถูกประสาทกินเอาจริงๆ การให้คะแนน เมื่อกรรมการตรวจเสร็จแล้วก็จะรวมคะแนนที่นักเรียนเสียแล้วจะให้คะแนนเป็นห. คะแนนเต็ม ๓ ห. (๓ ให้) เหตุที่ให้ ๓ ให้ เพราะในเวลาตรวจข้อสอบสนามหลวง กระดาษ ใบตอบของนักเรียน จะใช้กรรมการ ๓ รูป รูปหนึ่งมีสิทธิ์ให้ ๑ ให้ การที่จะได้กี่ให้ มีเกณฑ์ ดังนี้ ผิด ๑ (รวมถึงไม่ผิดเลย) ถึง ๖ ให้ ให้ ให้ สอบได้ ผิด ๗ ถึง ๑๒ ให้ ให้ ๐ สอบได้ ผิด ๑๓ ถึง ๑๘ ให้ ๐ ๐ สอบตก ผิดเกิน ๑๘ ๐ ๐ ๐ สอบตก ทำาอย่างไรจึงจะแปลเก่ง สมัยก่อน เวลาแปลธรรมบท นักเรียนจะแกะเผด็จของมหามกุฏ (ใช้อรรถคู่กับ เผด็จ, อรรถคือตัวบาลี เผด็จคือตัวไทย) การแกะเผด็จนั้น นักเรียนจะต้องทําความเข้าใจ ในเรื่องของหลักการแปล เมื่อสามารถแกะเผด็จได้ จะเกิดความเข้าใจในเรื่องการแปล ธรรมบทได้ ทําให้นักเรียนสมัยก่อนแปลหนังสือเก่ง และสามารถเรียนบาลีในชั้นประโยค สูงๆ ได้ แต่ปัจจุบันนี้ นักเรียนแปลธรรมบท โดยใช้หนังสือพยัญชนะที่ผู้รู้หลายท่าน ได้แปลไว้ ทําให้เกิดความสะดวกในการแปล เพราะหนังสือพยัญชนะได้แปลไว้ครบถ้วน ตามหลักการแปลและหลักไวยากรณ์หมดแล้ว หน้าที่ของนักเรียนมีเพียงหาตัวบาลีให้เจอ เท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม นักเรียนจะต้องพยายามทําความเข้าใจในเรื่องหลักการแปลให้ มากๆ เพราะจะเป็นอุปการะ หรือเป็นประโยชน์ในการแปลธรรมบทเป็นอย่างมาก การที่ จะแปลได้เก่งนั้น ควรมีคุณสมบัติ ๒ ประการ คือ
  • 17. 971 หลักการแปลมคธเป็นไทย ๑. จําหลักไวยากรณ์ทั้ง ๔ เล่มได้ ๒. เข้าใจหลักการแปล ๑. จําหลักไวยากรณ์ทั้ง ๔ เล่มได้ สาเหตุที่นักเรียนจะต้องจําหลักไวยากรณ์ทั้ง ๔ เล่มได้นั้น ก็เพราะว่าในเวลาแปล ธรรมบท นักเรียนจะต้องรู้ ดังนี้ ๑.๑ ศัพท์แต่ละศัพท์นั้น อยู่ในบาลีไวยากรณ์เล่มไหน คือ อยู่ในเล่มนาม เล่ม อาขยาต เล่มสมาส หรือ เล่มสมัญญาภิธาน ๑.๒ เมื่อรู้ว่าอยู่ในเล่มไหนแล้ว ก็ให้ดูต่อไปว่า อยู่ตรงไหนหรือเรื่องอะไร เช่น เมื่อรู้ว่าอยู่ในเล่มนาม หรือ อาขยาต ก็ให้ดูต่อไปว่า อยู่ตรงไหน นามศัพท์หรืออัพยยศัพท์, อาขยาต กิตก์ หรือ กิริยากิตก์ เป็นต้น ๑.๓ เมื่อรู้ว่าอยู่ตรงเรื่องอะไรแล้ว ก็ให้ดูว่า ตรงเรื่องนั้นๆ มีหลักหรือคําแปลว่า อย่างไร แล้วก็แปลให้ถูกต้องตามหลักหรือคําแปลของศัพท์นั้นๆ ๒. เข้าใจหลักการแปล เมื่อจําหลักไวยากรณ์ทั้ง ๔ เล่มได้แล้ว เวลาแปลหนังสือจะต้องเข้าใจหลัก การแปลทั้งโดยพยัญชนะและโดยอรรถ โดยเฉพาะการแปลโดยพยัญชนะนั้น ถือว่าเป็น หัวใจของการแปลมคธเป็นไทยนักเรียนจะต้องแปลให้ถูกต้องตามหลักการแปล และข้าพเจ้า มีความมั่นใจว่า “เมื่อนักเรียน ได้อ่านและทําความเข้าใจในหนังสือเล่มนี้แล้ว จะ สามารถแปลหนังสือธรรมบทได้เก่งในระดับหนึ่ง” ตอนเป็นนักเรียนชั้นประถม เราได้เรียนสระและพยัญชนะ จากสระ อะ สระ อา จาก ก ไก่ ข ไข่ พอมาถึงปัจจุบันนี้ เราสามารถอ่านหนังสือพิมพ์ได้เป็นฉบับๆ อ่านหนังสือ ได้เป็นเล่มๆ ถ้าจะถามว่า เราสามารถอ่านได้อย่างนี้ตั้งแต่เมื่อไหร่ เราคงไม่สามารถที่จะ ตอบได้ เพราะมันมีวิวัฒนาการหรือพัฒนาการในตัวของมันเอง ฉันใด การแปลบาลีก็ เหมือนกัน ฉันนั้น ณ วินาทีนี้ อาจจะไม่รู้เรื่อง อาจจะไม่เข้าใจ แต่อย่าเพิ่งท้อถอย ณ วันหนึ่ง นักเรียนจะสามารถแปลบาลีได้เป็นหน้าๆ หรือเป็นเล่มๆ ได้ โดยไม่ต้องมีหนังสือ คู่มือ การแปลท้องนิทาน (ท้องเรื่อง) ในการแปลท้องนิทาน(ท้องเรื่อง)นั้นถ้าไม่มีเลขในก็ให้แปลไปตามหลักการแปล ๘ ประการดังกล่าวแล้ว แต่ถ้ามีเลขในและไม่มีศัพท์เปิด อิติ ปรากฏอยู่ นักเรียนจะต้องขึ้น ศัพท์มาเปิด อิติ เพื่อจะเข้าไปแปลศัพท์ที่อยู่ภายใน อิติ (ศัพท์ภายใน อิติ เปรียบเหมือน
  • 18. 972 หลักการแปลมคธเป็นไทย สิ่งของที่อยู่ภายในห้อง, อิติ ศัพท์ เปรียบเหมือนประตู, ศัพท์ที่ขึ้นมาเปิด อิติ เปรียบเหมือน กุญแจที่ใช้เปิดประตู จะเข้าห้องได้ก็ต้องเปิดประตู จะเข้าแปลใน อิติ ก็ต้องเปิด อิติ ก่อน) เมื่อเปิด อิติ แล้ว ศัพท์ภายใน อิติ ก็ให้แปลไปตามหลักการแปล ๘ ประการ การขึ้นศัพท์มาเปิด อิติ ในการขึ้นศัพท์มาเปิด อิติ นั้น มีหลักดังนี้ ๑.ถ้าเป็นกิริยาคุมพากย์ ๑.๑ ประโยคบอกเล่า ก. ฝ่ายเอกวจนะ ให้ขึ้น อาห เช่น ปัญหา โส (มหาปาลกุฏุมฺพิโก) “สาธูติ๒ สมฺปฏิจฺฉิตฺวา สตฺถารํ วนฺทิตฺวา เคหํ คนฺตฺวา กนิฏฺ ปกฺโกสาเปตฺวา “ตาต ยํ อิมสฺมึ กุเล สวิฺาณกาวิฺาณกํ ธนํ กิฺจิ อตฺถิ, สพฺพนฺตํ ตว ภาโร ปฏิปชฺชาหิ นนฺติ (อาห) ฯ (จกฺขุปาลตฺเถรวตฺถุ. ๑/๖) แปลยกศัพท์ โส มหาปาลกุฏุมฺพิโก อ. กุฎุมพีชื่อว่ามหาปาละนั้น สมฺปฏิจฺฉิตฺวา ทูลรับพร้อมเฉพาะแล้ว สาธุอิติ ว่า อ. ดีละ ดังนี้ วนฺทิตฺวา ถวายบังคมแล้ว สตฺถารํ ซึ่งพระศาสดา คนฺตฺวา ไปแล้ว เคหํ สู่เรือน (ปุคฺคลํ) ยังบุคคล ปกฺโกสาเปตฺวา ให้เรียกมาแล้ว กนิฏฺ ซึ่งน้องชายผู้น้อยที่สุด (อาห) กล่าวแล้วว่า ตาต ดูก่อนพ่อ ธนํ อ. ทรัพย์ ยํ กิฺจิ อย่างใดอย่างหนึ่ง สวิฺาณกาวิฺาณกํ อันเป็นไปกับด้วย วิญญาณและอันมีวิญญาณหามิได้ อตฺถิ มีอยู่ อิมสฺมึ กุเล ในตระกูลนี้, สพฺพํ ตํ (ธนํ) อ. ทรัพย์นั้น ทั้งปวง ตวภาโร จงเป็นภาระ ของเธอ (โหตุ)จงเป็น, (ตฺวํ) อ. เธอ ปฏิปชฺชาหิ จงปฏิบัติ นํ (ธนํ) ซึ่งทรัพย์นั้น อิติ ดังนี้ ฯ หมายเหตุ: การแปลยกศัพท์โดยพยัญชนะนั้น เป็นเรื่องที่มีความสําคัญไม่น้อย เพราะ จะทําให้นักเรียนได้เกิดทักษะในการอ่านภาษาบาลี ขึ้นศัพท์และโยคศัพท์ได้ถูกต้องตาม หลักไวยากรณ์ ดังนั้น ในการแปลรอบแรก หลายสํานักจะสอนแปลแบบยกศัพท์โดย พยัญชนะนี้ และในการแปลยกศัพท์โดยพยัญชนะนี้ มีอยู่ ๒ วิธี คือ วิธีที่ ๑ แปลดังตัวอย่างข้างบนนี้ ซึ่งทําให้เกิดความสะดวกในการแปล เนื้อความ ต่อเนื่อง และนักเรียนจะได้ไม่ลืมกลับมาแปล การแปลแบบวิธีที่ ๑ นี้ เป็นที่นิยมของหลาย สํานักในปัจจุบันนี้ ๒ ประโยค สาธูติ ทุกแห่ง ถ้าเป็นกิริยาในระหว่างที่ขึ้นมาเอง ต้องขึ้น สมฺปฏิจฺฉิตฺวา เท่านั้น มาเปิด
  • 19. 973 หลักการแปลมคธเป็นไทย วิธีที่๒เปิดอิติทิ้งไว้ก่อนแล้วแปลต่อไปเรื่อยๆจนจบประโยคแล้วจึงย้อนกลับมา แปลภายใน อิติ ที่เปิดทิ้งไว้ แต่ถ้าข้อความภายใน อิติ สั้น เปิดแล้ว ก็ให้แปลได้เลย เช่น สาธุ อิติ ว่า อ. ดีละ ดังนี้ (สมัยก่อนใช้วิธีแปลแบบที่ ๒ นี้) เช่น โส มหาปาลกุฏุมฺพิโก อ. กุฎุมพีชื่อว่ามหาปาละนั้น สมฺปฏิจฺฉิตฺวา ทูลรับพร้อม เฉพาะแล้ว สาธุ อิติ ว่า อ. ดีละ ดังนี้ วนฺทิตฺวา ถวายบังคมแล้ว สตฺถารํ ซึ่งพระศาสดา คนฺตฺวา ไปแล้ว เคหํ สู่เรือน (ปุคฺคลํ) ยังบุคคล ปกฺโกสาเปตฺวา ให้เรียกมาแล้ว กนิฏฺ ซึ่งน้องชายผู้น้อยที่สุด (อาห) กล่าวแล้ว “ตาต ยํ อิมสฺมึ กุเล สวิฺาณกาวิฺาณกํ ธนํ กิฺจิ อตฺถิ สพฺพนฺตํ ตว ภาโร ปฏิปชฺชาหิ นํ อิติ* ว่า … ดังนี้ แล้วจึงกลับไปแปลข้อความใน อิติ “ตาต ดูก่อนพ่อ ธนํ อ. ทรัพย์ ยํ กิฺจิ อย่างใด อย่างหนึ่ง สวิฺาณกาวิฺาณกํ อันเป็นไปกับด้วยวิญญาณและอันมีวิญญาณหามิได้ อตฺถิ มีอยู่ อิมสฺมึ กุเล ในตระกูลนี้ สพฺพํ** ตํ (ธนํ) อ. ทรัพย์ นั้น ทั้งปวง ตว ภาโร จงเป็น ภาระของเธอ (โหตุ) จงเป็น, (ตฺวํ) อ. เธอ ปฏิปชฺชาหิ จงปฏิบัติ นํ (ธนํ) ซึ่งทรัพย์นั้น ฯ ปัญหา เทวปุตฺโต “อยํ ภนฺเต สมฺปตฺติ ตุมฺเหสุ มนํ ปสาเทตฺวา ลทฺธาติ (อาห) ฯ (มณฺกุณฺฑลิวตฺถุ. ๑/๓๒) แปลยกศัพท์ เทวปุตฺโต อ. เทวบุตร (อาห) กราบทูลแล้วว่า ภนฺเตข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ สมฺปตฺติ อ.สมบัติ อยํ นี้ (มยา) อันข้าพระองค์ มนํ ยังใจ ปสาเทตฺวา ให้เลื่อมใส แล้ว ตุมฺเหสุ ในพระองค์ ลทฺธา ได้แล้ว อิติ ดังนี้ ฯ ที่พบบ่อยมาก จะเป็นการขึ้นมาทั้งตัวประธานที่เป็นประถมบุรุษและกิริยา คุมพากย์ที่เป็น อาห มาเปิด อิติ เพราะเป็นการสนทนาหรือพูดคุยกัน (การขึ้นประธาน ที่เป็นประถมบุรุษมา จะขึ้นอะไรมานั้น ก็สุดแล้วแต่เรื่องนั้นๆ โดยมากจะอยู่ในประโยค ข้างหน้าก่อนแล้ว) เช่น * การอ่านศัพท์ภายใน อิติ ถ้าเป็นประโยคที่ยาว อ่านทั้งหมดจะเสียเวลามาก ก็ให้อ่านข้างหน้า ๓ ศัพท์ (บท) แล้วพูดว่า เป (มาจาก ฯเปฯ) ; บางสํานักสอนว่า ละ (มาจาก ฯลฯ ) ดูเหมือนว่า จะไม่ถูกต้อง เพราะถ้าย่อภาษาบาลี ให้ใช้ ฯเปฯ แต่ถ้าย่อภาษาไทย ให้ใช้ ฯลฯ : แล้วไปอ่านก่อนลง อิติ ๒ ศัพท์ (บท) ที่ต้องอ่านข้างหน้า ๓ ศัพท์ (บท) ข้างหลัง ๒ ศัพท์ (บท) นั้น เข้าใจว่า เพื่อให้นักเรียน รวมทั้งครูด้วย ได้ดูทัน อย่างตัวอย่างที่ยกมาให้อ่าน ดังนี้ (อาห) กล่าวแล้ว “ตาต ยํ อิมสฺมึ เป ปฏิปชฺชาหิ นํ อิติ” ว่า … ดังนี้ ** ทุกที่ เวลาอ่าน ต้องอ่านศัพท์เดิม (ก่อนที่จะเข้าสนธิ) สพฺพนฺตํ ตัดเป็น สพฺพํ + ตํ ต่อเป็น สพฺพนฺตํ
  • 20. 974 หลักการแปลมคธเป็นไทย ปัญหา โส (มหาปาลกุฏุมฺพิโก) เทสนาปริโยสาเน สตฺถารํ อุปสงฺกมิตฺวา ปพฺพชฺชํ ยาจิฯ อถ นํ สตฺถา “นตฺถิ เต โกจิ อาปุจฺฉิตพฺพยุตฺตโก าตีติ อาหฯ “กนิฏฺภาตา เม อตฺถิ ภนฺเตติฯ “เตนหิ ตํ อาปุจฺฉาหีติฯ (จกฺขุปาลตฺเถรวตฺถุ. ๑/๖) แปลยกศัพท์ เทสนาปริโยสาเน ในกาลอันเป็นที่สุดลงรอบแห่งเทศนา โส (มหาปาลกุฏุมฺพิโก) อ. กุฎุมพีชื่อว่ามหาปาละนั้น อุปสงฺกมิตฺวา เข้าไปเฝ้าแล้ว สตฺถารํ ซึ่งพระศาสดา ยาจิ ทูลขอแล้ว ปพฺพชฺชํ ซึ่งการบวชฯ อถ ครั้งนั้น สตฺถา อ. พระศาสดา อาห ตรัสแล้วว่า าติ อ. ญาติ โกจิ ไรๆ เต อาปุจฺฉิตพฺพยุตฺตโก ผู้ควรแล้วแก่ความเป็น แห่งญาติอันเธอพึงอําลา นตฺถิ ย่อมไม่มี (กึ) หรือ อิติ ดังนี้ นํ มหาปาลกุฏุมฺพิกํ กะกุฏุมพี ชื่อว่ามหาปาละนั้นฯ(มหาปาลกุฏุมฺพิโก)อ.กุฏุมพีชื่อว่ามหาปาละ(อาห)กราบทูลแล้วว่า ภนฺเตข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กนิฏฺภาตาอ. น้องชายผู้น้อยที่สุด เมของข้าพระองค์ อตฺถิ มีอยู่ อิติ ดังนี้ ฯ (สตฺถา) อ. พระศาสดา (อาห) ตรัสแล้วว่า เตนหิ ถ้าอย่างนั้น ตฺวํ อ. เธอ อาปุจฺฉาหิ จงอําลา นํ กนิฏฺภาตรํ ซึ่งน้องชายผู้น้อยที่สุดนั้น อิติ ดังนี้ ฯ ข. ฝ่ายพหุวจนะ ให้ขึ้น อาหํสุ เช่น ปัญหาเทฺว อคฺคสาวกา ภควนฺตํ วนฺทิตฺวา ฯเปฯ โส อิทานิ มยฺหํ อนฺเตวาสิวาโส นาม จาฏิยา อุทกจลนภาวปฺปตฺติสทิโส น สกฺขิสฺสามิ อนฺเตวาสิวาสํ วสิตุนฺติ วตฺวา … อาคนฺตุ น อิจฺฉิ ภนฺเตติ (อาหํสุ) ฯ (สฺชยวตฺถุ. ๑/๑๐๔) แปลยกศัพท์ เทฺว อคฺคสาวกา อ. พระอัครสาวก ท. สอง วนฺทิตฺวา ถวายบังคมแล้ว ภควนฺตํ ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ฯลฯ (อาหํสุ) กราบทูลแล้วว่า ภนฺเต ข้าพระองค์ผู้เจริญ โส (สฺชโย อาจริโย) อ. อาจารย์ชื่อว่าสญชัยนั้น วตฺวา กล่าวแล้วว่า อิทานิ ในกาลนี้ อนฺเตวาสิวาโส นาม ชื่อ อ. การอยู่โดยความเป็นแห่งอันเตวาสิก มยฺหํ แห่งเรา จาฏิยา อุทกจลนภาวปฺปตฺติสทิโส เป็นเช่นกับด้วยอันถึงซึ่งความเป็นคือ อันหวั่นไหวแห่งนํ้า ในตุ่ม (โหติ) ย่อมเป็น (อหํ) อ. เรา น สกฺขิสฺสามิ จักไม่อาจ อนฺเตวาสิวาสํ วสิตุ เพื่ออันอยู่ อยู่โดยความเป็นแห่งอันเตวาสิก อิติ ดังนี้ … น อิจฺฉิ ไม่ปรารถนาแล้ว อาคนฺตุ เพื่ออันมา อิติ ดังนี้ ฯ ที่พบบ่อยบาก จะเป็นการขึ้นมาทั้งตัวประธานที่เป็นประถมบุรุษ และกิริยา คุมพากย์ที่เป็น อาหํสุ มาเปิด อิติ เพราะเป็นการสนทนาหรือพูดคุยกัน (การขึ้น ประธานที่เป็นประถมบุรุษมา จะขึ้นอะไรมานั้น ก็สุดแล้วแต่เรื่องนั้นๆ โดยมากจะอยู่ ในประโยคข้างหน้าก่อนแล้ว) เช่น ปัญหา อถสฺส เต ตํ ปวตฺตึ อาโรเจสุ ฯ โส เตสํ ปาทมูเล ปวฏฺเฏนฺโต โรทิตฺวา ปุจฺฉิ “อิทานิ ภนฺเต กึ กาตพฺพนฺติ ฯ” เถโร อิโต กสฺสจิ คมนํ ปจฺจาสึสติ, คตกาเล เตน สทฺธึ อาคมิสฺสตีติ ฯ (๑/๑๓)
  • 21. 975 หลักการแปลมคธเป็นไทย แปลยกศัพท์ อถ ครั้งนั้น เต (ภิกฺขู) อ. ภิกษุ ท. เหล่านั้น อาโรเจสุ บอกแจ้งแล้ว ปวตฺตึ ซึ่งเรื่องอันเป็นไปทั้ว ตํ นั้น อสฺส (กุฏุมฺพิกสฺส) แก่กุฎุมพีนั้น ฯ โส (กุฏุมฺพิโก) อ. กุฎุมพีนั้น ปวฏฺเฏนฺโต โรทิตฺวา ร้องไห้กลิ้งเกลือกอยู่แล้ว ปาทมูเล ณ ที่ใกล้แห่งเท้า เตสํ (ภิกฺขูนํ) ของภิกษุ ท. เหล่านั้น ปุจฺฉิ ถามแล้วว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่าน ผู้เจริญ อิทานิ ในกาลนี้ กึ อ. อะไร (มยา) อันข้าพเจ้า กาตพฺพํ พึงกระทํา อิติ ดังนี้ ฯ (เต ภิกฺขู) อ. ภิกษุ ท. เหล่านั้น (อาหํสุ) กล่าวแล้วว่า เถโร อ. พระเถระ ปจฺจาสึสติ ย่อมหวังเฉพาะ คมนํ ซึ่งการไป กสฺสจิ ของใครๆ อิโต (านโต) แต่ที่นี้, (โส เถโร) อ. พระเถระนั้น อาคมิสฺสติ จักมา เตน (ปุคฺคเลน) สทฺธึ กับ ด้วยบุคคลนั้น คตกาเล ในกาลแห่งบุคคลนั้นไปแล้ว อิติ ดังนี้ ฯ ๑.๒ ประโยคถาม ก. ฝ่ายเอกวจนะ ให้ขึ้น ปุจฺฉิ โดยมากจะเป็นการขึ้นมาทั้งตัวประธาน ที่เป็นประถมบุรุษและกิริยาคุมพากย์ที่เป็น ปุจฺฉิ มาเปิด อิติ เพราะเป็นการถามตอบกัน (การขึ้นประธานที่เป็นประถมบุรุษมา จะขึ้นอะไรมานั้น ก็สุดแล้วแต่เรื่องนั้นๆ โดยมากจะ อยู่ในประโยคข้างหน้าก่อนแล้ว) เช่น ปัญหา (โส มหาปาลกุฏุมฺพิโก) สตฺถุ สนฺติกํ คนฺตฺวา ฯเปฯ ปุจฺฉิ “ภนฺเต อิมสฺมึ สาสเน กติ ธุรานีติ ฯ “คนฺถธุรํ วิปสฺสนาธุรนฺติ เทฺวเยว ธุรานิ ภิกฺขูติ ฯ “กตมํ ปน ภนฺเต คนฺถธุรํ, กตมํ วิปสฺสนาธุรนฺติ ฯ (จกฺขุปาลตฺเถรวตฺถุ. ๑/๗) แปลยกศัพท์ (โส มหาปาลกุฏุมฺพิโก) อ. กุฎุมพีชื่อว่ามหาปาละนั้น คนฺตฺวา ไปแล้ว สนฺติกํ สู่สํานัก สตฺถุ ของพระศาสดา ฯลฯ ปุจฺฉิ ทูลถามแล้วว่า ภนฺเต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธุรานิ อ. ธุระ ท. กติ เท่าไร (อตฺถิ) มีอยู่ อิมสฺมึ สาสเน ในพระศาสนานี้ อิติ ดังนี้ ฯ (สตฺถา) อ. พระศาสดา (อาห) ตรัสแล้วว่า ภิกฺขุ ดูก่อนภิกษุ ธุรานิ อ. ธุระ ท. เทฺว เอว สองนั่นเทียว อิติ คือ คนฺถธุรํ อ. คันถธุระ วิปสฺสนาธุรํ อ. วิปัสสนาธุระ (อตฺถิ) มีอยู่ อิมสฺมึ สาสเน ในพระศาสนานี้ อิติ ดังนี้ ฯ (โส มหาปาลภิกฺขุ) อ. ภิกษุชื่อว่ามหาปาละนั้น (ปุจฺฉิ) ทูลถามแล้วว่า ภนฺเต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ปน ก็ คนฺถธุรํ อ. คันถธุระ กตมํ เป็นไฉน (โหติ) ย่อมเป็น, วิปสฺสนาธุรํ อ. วิปัสสนาธุระ กตมํ เป็นไฉน (โหติ ) ย่อมเป็น อิติ ดังนี้ ฯ ข. ฝ่ายพหุวจนะ ให้ขึ้น ปุจฺฉึสุ เช่น ปัญหา มนุสฺสา เต นิสีทาเปตฺวา ภิกฺขํ ทตฺวา “กึ ภนฺเต อยฺยานํ คมนากาโร ปฺายตีติ (ปุจฺฉึสุ) ฯ (จกฺขุปาลตฺเถรวตฺถุ. ๑/๑๓)
  • 22. 976 หลักการแปลมคธเป็นไทย แปลยกศัพท์ มนุสฺสา อ. มนุษย์ ท. เต (ภิกฺขู) ยังภิกษุ ท. เหล่านั้น นิสีทาเปตฺวา ให้นั่งแล้ว ทตฺวา ถวายแล้ว ภิกฺขํ ซึ่งภิกษา (ปุจฺฉึสุ) ถามแล้วว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ คมนากาโร อ. อาการคืออันไป อยฺยานํ ของพระผู้เป็นเจ้า ท. ปฺายติ ย่อมปรากฏ (กึ) หรือ อิติ ดังนี้ ฯ ที่พบบ่อยมาก จะเป็นการขึ้นมาทั้งตัวประธานที่เป็นประถมบุรุษ และกิริยาคุมพากย์ที่เป็น ปุจฺฉึสุ มาเปิด อิติ เพราะเป็นการถามตอบกัน (การขึ้นประธาน ที่เป็นประถมบุรุษมา จะขึ้นอะไรมานั้น ก็สุดแล้วแต่เรื่องนั้นๆ โดยมากจะอยู่ในประโยค ข้างหน้าก่อนแล้ว) เช่น ปัญหา เถโร วสฺสูปนายิกาทิวเส เต ภิกฺขู อามนฺเตตฺวา ปุจฺฉิ “อาวุโส อิมํ เตมาสํ กตีหิ อิริยาปเถหิ วีตินาเมสฺสถาติ ฯ … ตุมฺเห ปน ภนฺเตติ ฯ (จกฺขุปาล- ๑/๘) แปลยกศัพท์ เถโร อ. พระเถระ อามนฺเตตฺวา เรียกมาแล้ว เต ภิกฺขู ซึ่งภิกษุ ท. เหล่านั้น วสฺสูปนายิกาทิวเส ในวันคือดิถีอันน้อมเข้าไปใกล้ซึ่งกาลฝน ปุจฺฉิ ถามแล้วว่า อาวุโส ดูก่อนท่านผู้มีอายุ (ตุมฺเห) อ. ท่าน ท. (กาลํ) วีตินาเมสฺสถ จักยังกาล ให้น้อมล่วงไปวิเศษ กตีหิ อิริยาปเถหิ ด้วยอิริยาบถ ท. เท่าไร อิมํ เตมาสํ ตลอดหมวด แห่งเดือนสามนี้ อิติ ดังนี้ ฯ (เต ภิกฺขู) อ. ภิกษุ ท. เหล่านั้น (ปุจฺฉึสุ) ถามแล้วว่า ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ตุมฺเห ปน ก็ อ. ท่านเล่า อิติ ดังนี้ ฯ ๑.๓ ประโยคคิด ฝ่ายเอกวจนะ ขึ้น จินฺเตสิ ฝ่ายพหุวจนะ ขึ้น จินฺเตสุ (โดยมากจะมีปรากฏอยู่แล้ว) เช่น ปัญหาอฺตโรนามโคตฺตวเสนอปากโฏ ภิกฺขุ“อโหวตมํปินามโคตฺตวเสน ปคฺคณฺหนฺโต กเถตฺวา นิวตฺเตยฺยาติ (จินฺเตสิ) ฯ (สารีปุตฺตตฺเถรวตฺถุ. ๔/๖๕) แปลยกศัพท์ ภิกฺขุ อ. ภิกษุ อฺตโร รูปใดรูปหนึ่ง อปากโฏ ผู้ไม่ปรากฏ แล้ว นามโคตฺตวเสนด้วยสามารถแห่งนามและโคตร(จินฺเตสิ)คิดแล้วว่าอโหวต โอหนอ (เถโร) อ. พระเถระ ปคฺคณฺหนฺโต กเถตฺวา กล่าวยกย่องอยู่แล้ว มํปิ แม้ซึ่งเรา (มํ) ยังเรา นิวตฺเตยฺย พึงให้กลับ อิติ ดังนี้ ฯ ๒. ถ้าเป็นกิริยาในระหว่าง ๒.๑ ถ้าเป็นการบอกเล่า ให้ขึ้น วตฺวา ทั้งฝ่ายเอกวจนะและพหุวจนะ ก. ฝ่ายเอกวจนะ เช่น ปัญหา อถ นํ มาตา “ปุตฺต ตฺวํ อตฺตโน รุจิยา กุมาริกํ อานาเปสิ, สา อิทานิ วฺฌา ชาตา, อปุตฺตกฺจ นาม กุลํ วินสฺสติ, ปเวณิ น ฆฏิยติ, เตน อฺ เต
  • 23. 977 หลักการแปลมคธเป็นไทย กุมาริกํ อาเนสฺสามีติ (วตฺวา) เตน” อลํ อมฺมาติ วุจฺจมานาปิ ปุนปฺปุนํ กเถสิ ฯ (กาลียกฺขินิยา อุปฺปตฺติวตฺถุ. ๑/๔๒) แปลยกศัพท์ อถ ครั้งนั้น มาตา อ. มารดา (วตฺวา) กล่าวแล้วว่า ปุตฺต ดูก่อนบุตร ตฺวํ อ. เจ้า (มํ) ยังเรา อานาเปสิ ให้นํามาแล้ว กุมาริกํ ซึ่งนางกุมาริกา รุจิยา ตามความชอบใจ อตฺตโน ของตน, อิทานิ ในกาลนี้ สา (กุมาริกา) อ. นางกุมาริกา นั้น วฺฌา เป็นหญิงหมัน ชาตา เกิดแล้ว, จ ก็ กุลํ อ. ตระกูล อปุตฺตกํ นาม ชื่ออันมีบุตร หามิได้ วินสฺสติ ย่อมฉิบหาย, ปเวณิ อ. เชื้อสาย (ปุตฺเตน) อันบุตร น ฆฏิยติ ย่อมไม่ สืบต่อ, เตน (การเณน) เพราะเหตุนั้น (อหํ) อ. เรา อาเนสฺสามิ จักนํามา กุมาริกํ ซึ่งนางกุมาริกา อฺ อื่น เต แก่เจ้า อิติ ดังนี้ นํ (ปุตฺตํ) กะบุตรนั้น เตน (ปุตฺเตน) อลํ อมฺมาติ วุจฺจมานาปิ แม้ผู้อันบุตรนั้นกล่าวอยู่ว่า ข้าแต่แม่ อ. อย่าเลย ดังนี้ กเถสิ กล่าวแล้ว ปุนปฺปุนํ บ่อยๆ ฯ ข. ฝ่ายพหุวจนะ เช่น ปัญหา เต (เทฺว มาณวา) “ตสฺส สนฺติเก ปพฺพชิสฺสามาติ (วตฺวา) ปฺจมาณวกสตานิ” สิวิกาโย จ รเถ จ คเหตฺวา คจฺฉถาติ อุยฺโยเชตฺวา ปฺจหิ มาณวกสเตหิ สทฺธึ สฺชยสฺส สนฺติเก ปพฺพชึสุ ฯ (สฺชยวตฺถุ. ๑/๘๑) แปลยกศัพท์ เต (เทฺว มาณวา) อ. มาณพ ท. สอง เหล่านั้น (วตฺวา) กล่าวแล้วว่า (มยํ) อ. เรา ท. ปพฺพชิสฺสาม จักบวช สนฺติเก ในสํานัก ตสฺส (สฺชยสฺส) ของปริพาชกชื่อว่าสญชัยนั้น อิติ ดังนี้ อุยฺโยเชตฺวา ส่งไปแล้ว ปฺจมาณวกสตานิ ซึ่ง ร้อยแห่งมาณพห้า ท. (วจเนน) ด้วยคําว่า (ตุมฺเห) อ.ท่าน ท. คเหตฺวา ถือเอาแล้ว สิวิกาโย จ ซึ่งวอ ท. ด้วย รเถ จ ซึ่งรถ ท. ด้วย คจฺฉถ จงไป อิติ ดังนี้ ปพฺพชึสุ บวชแล้ว สนฺติเก ในสํานัก สฺชยสฺส ของปริพาชกชื่อว่าสญชัย ปฺจหิ มาณวกสเตหิ สทฺธึ กับ ด้วยร้อยแห่งมาณพ ท. ห้า ฯ ๒.๒ ถ้าเป็นการถาม ให้ขึ้น ปุจฺฉิตฺวา ทั้งฝ่ายเอกวจนะและพหุวจนะ เช่น ปัญหา เต คนฺตฺวา ฯปฯ “กตรํ สุตฺตํ โสตุกาโม อุปาสกาติ (ปุจฺฉิตฺวา)” สพฺพพุทฺธานํ อวิชหิตํ สติปฏฺานสุตฺตนฺติ วุตฺเต เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยาติ สุตฺตํ ปฏฺเปสุ ฯ (ธมฺมิกอุปาสกวตฺถุ. ๑/๑๒๑) แปลยกศัพท์ เต (ภิกฺขู) อ. ภิกษุ ท. เหล่านั้น คนฺตฺวา ไปแล้ว ฯลฯ (ปุจฺฉิตฺวา) ถามแล้วว่า อุปาสก ดูก่อนอุบาสก (ตฺวํ) อ. ท่าน กตรํ สุตฺตํ โสตุกาโม เป็นผู้ใคร่เพื่ออันฟัง ซึ่งพระสูตรไหน (อสิ) ย่อมเป็น อิติ ดังนี้ (วจเน) ครั้นเมื่อคําว่า (อหํ) อ. ข้าพเจ้า สพฺพพุทฺธานํ อวิชหิตํ สติปฏฺานสุตฺตํ (โสตุกาโม) เป็นผู้ใคร่เพื่ออันฟัง