SlideShare a Scribd company logo
1 of 34
Download to read offline
๑




                       โครงการธรรมศึกษาวิจัย
           พุทธวิธีในการสอน: ศึกษาจากคัมภีร์พระไตรปิฎก
           อรรถกถา ฎีกาตลอดจนคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา

                     ธีรวัส บาเพ็ญบุญบารมี
                       ผู้อานวยการหลักสูตร
                มหาบัณฑิตสาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา
                 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย



ธรรมศึกษาวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาค้นคว้าเพื่อเป็นหลักฐานทาง
วิชาการทางพระพุทธศาสนา ตามหลักสูตรวิจัยคัมภีร์พระพุทธศาสนา
มูลนิธิเบญจนิกาย พุทธศักราช ๒๕๕๐ พิมพ์ครั้งที่ ๑ ๕๐๐ เล่ม
                     เพื่อเป็นธรรมทานไม่สงวนลิขสิทธิ์
๒

                                       คำนำ
         ในหนังสือเล่มนี้รวบรวมและสกัดขึ้น พุทธวิธีในการสอน เพื่อให้เข้าถึง
หลักการปฏิบัติธรรมอันแป็นเกี่ยวกับคาสอนที่เป็นพุทธพจน์หรือเถระ เถรีที่มี
ความสาคัญยิ่ง โดยอ้างอิงจากพระไตรปิฏกและตาราอรรถกถา
         เจตนาหนังเสือเล่มนี้ เพื่อเข้าถึงแก่นแห่งธรรม พุทธวิธีในการสอน อันสกัด
จากคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาถือว่าเป็นคัมภีร์สาคัญและเป็นที่ศึกษาของวงการ
พระพุทธศาสนา และ เพื่อให้ศาสนาพุทธได้ธารงยิ่งยืนนาน จึงศึกษาค้นคว้าหาแห่ง
ที่มาสรุปเป็นบทโดยย่อง่ายต่อความเข้าใจ และจดจา ผลของงานเขียนครั้งนี้บางจุด
ได้นามาจากข้อมูลเดิมที่ยังไม่ทราบว่าผู้ใดเขียนไว้ก็ขอให้เกิดผลบุญแก่ท่านผู้นั้น
ด้วย รวมถึงบุพการีครูอาจารย์ตลอดผู้มีคุณทุกท่านขออานาจแห่งเจตนานี้เป็นปัจจัย
ให้ทุกท่านถึงที่สุดแห่งทุกข์และสิ้นสุดแห่งกองกิเลส เข้าสู่พระนิพพานโดยทั่วหน้า
กัน

                                  ธีรเมธี
                          ธีรวัส บาเพ็ญบุญบารมี
                มหาบัณฑิตพุทธศาสน์ แห่งมหามกุฏราชวิทยาลัย
๓

                                    บทที่ ๑
                          พุทธวิธีในการสอน
      ข้อสรุปพระคุณสมบัตของพระพุทธเจ้าที่ควรสังเกต
      หลักทั่วไปในการสอน
      ลีลาการสอน
      วิธีการสอบแบบต่างๆ
      กลวิธี และอุบายประกอบการสอน
      นิเทศอาทิตตปริยายสูตร
      ข้อควรสังเกตุในแง่การสอน

ข้อสรุปพระคุณสมบัติของพระพุทธเจ้าที่ควรสังเกต
    1. ทรงสอนสิ่งที่เป็นจริง และเป็นประโยชน์แก่ผู้ฟัง
    2. ทรงรู้เข้าใจสิ่งที่สอนอย่างถ่องแท้สมบูรณ์
    3. ทรงสอนด้วยเมตตา มุ่งประโยชน์แก่ผู้รับคาสอนเป็นที่ตั้งไม่หวัง
       ผลตอบแทน
    4. ทรงทาได้จริงอย่างที่สอน เป็นตัวอย่างที่ดี
    5. ทรงมีบุคลิกภาพโน้มน้าวจิตใจให้เข้าใกล้ชิดสนิทสนม และพึงพอใจได้
       ความสุข
    6. ทรงมีหลักการสอน และวิธีสอนยอดเยี่ยม

                       หลักทั่วไปในการสอน
      เกี่ยวกับเนื้อหา หรือเรื่องที่สอน
๔
1. สอนจากสิ่งที่รู้เห็นเข้าใจง่าย หรือรู้เห็นเข้าใจอยู่แล้ว ไปหาสิ่งที่
   เห็นเข้าใจได้ยาก หรือยังไม่รู้ไม่เห็นไม่เข้าใจ
2. สอนเนื้อเรื่องที่ค่อยลุ่มลึก ยากลงไปตามลาดับขั้น และความ
   ต่อเนื่องกันเป็นสายลงไป อย่างที่เรียกว่า สอนเป็นอนุบุพพิกถา..
3. ถ้าสิ่งที่สอนเป็นสิ่งที่แสดงได้ ก็สอนด้วยของจริง ให้ผู้เรียน ได้ดู
   ได้เห็น ได้ฟังเอง อย่างที่เรียกว่าประสบการณ์ตรง
4. สอนตรงเนื้อหา ตรงเรื่อง คุมอยู่ในเรื่อง มีจุด ไม่วกวน ไม่ไขว้เขว
   ไม่ออกนอกเรื่องโดยไม่มีอะไรเกี่ยวข้องในเนื้อหา
5. สอนมีเหตุผล ตรองตามเห็นจริงได้ อย่างที่เรียกว่า สนิทาน
6. สอนเท่าที่จาเป็นพอดี สาหรับให้เกิดความเข้าใจ ให้เการเรียนรู้
   ได้ผล ไม่ใช่สอนเท่าที่ตนรู้ หรือสอนแสดงภูมิว่าผู้สอนมีความรู้
   มาก
7. สอนสิ่งที่มีความหมาย ควรที่เขาจะเรียนรู้ และเข้าใจ เป็น
   ประโยชน์แก่ตัวเขาเอง อย่างพุทธพจน์ที่ว่า พระองค์ทรงมีพระ
   เมตตา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลาย จึงตรัสพระวาจาตามหลัก
   6 ประการคือ
        1. คาพูดที่ไม่จริง ไม่ถูกต้อง ไม่เป็นประโยชน์ ไม่เป็นที่รัก ที่
              ชอบใจของผู้อื่น - ไม่ตรัส
        2. คาพูดที่จริง ถูกต้อง แต่ไม่เป็นประโยชน์ ไม่เป็นที่รักที่
              ชอบใจของผู้อื่น - ไม่ตรัส
        3. คาพูดที่จริง ถูกต้อง เป็นประโยชน์ ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจ
              ของผู้อื่น - เลือกกาลตรัส
๕
                    4. คาพูดที่ไม่จริง ไม่ถูกต้อง ไม่เป็นประโยชน์ ถึงเป็นที่รักที่
                       ชอบใจของผู้อื่น - ไม่ตรัส
                    5. คาพูดที่จริง ถูกต้อง ไม่เป็นประโยชน์ ถึงเป็นที่รักที่ชอบ
                       ใจของผู้อื่น - ไม่ตรัส
                    6. คาพูดที่จริง ถูกต้อง เป็นประโยชน์ เป็นที่รักที่ชอบใจของ
                       ผู้อื่น - เลือกกาลตรัส ลักษณะของพระพุทธเจ้าในเรื่องนี้
                       คือ ทรงเป็นกาลวาที สัจจวาที ภูตวาที อัตถวาที ธรรม
                       วาที วินัยวาที

* เกี่ยวกับตัวผู้ศึกษา

            1. รู้ คานึงถึง และสอนให้เหมาะสมตามความแตกต่างระหว่าง
               บุคคล...
            2. ปรับวิธีสอนผ่อนให้เหมาะกับบุคคล แม้สอนเรื่องเดียวกันแต่ต่าง
               บุคคล อาจใช้ต่างวิธี
            3. นอกจากคานึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลแล้ว ผู้สอนยัง
               จะต้องคานึงถึงความพร้อม ความสุกงอม ความแก่รอบแห่ง
               อินทรีย์ หรือญาณ ที่บาลี เรียกว่า ปริปากะ ของผู้เรียนแต่ละ
               บุคคลเป็นรายๆ ไปด้วย
            4. สอนโดยให้ผู้เรียนลงมือทาด้วยตนเอง ซึ่งจะช่วยให้เกิดความรู้
               ความเข้าใจชัดเจน แม่นยาและได้ผลจริง เช่น ทรงสอนพระจูฬปัน
               ถกผู้โง่เขลาด้วยการให้นาผ้าขาวไปลูบคลา...
            5. การสอนดาเนินไปในรูปที่ให้รู้สึกว่าผู้เรียน กับผู้สอนมีบทบาท
๖
    ร่วมกัน ในการแสวงความจริง ให้มีการแสดงความคิดเห็นโต้ตอบ
    เสรี หลักนี้เป็นข้อสาคัญในวิธีการแห่งปัญญา ซึ่งต้องการ
    อิสรภาพในทางความคิด และโดยวิธีนี้เมื่อเข้าถึงความจริง ผู้เรียน
    ก็จะรู้สึกว่าตนได้มองเห็นความจริงด้วยตนเอง และมีความชัดเจน
    มั่นใจ หลักนี้เป็นหลักที่พระพุทธเจ้าทรงใช้เป็นประจา และมักมา
    ในรูปการถามตอบ
6. เอาใจใส่บุคคลที่ควรได้รับความสนใจพิเศษเป็นรายๆ ไปตามควร
    แก่กาละเทศะ และเหตุการณ์...
7. ช่วยเหลือเอาใจใส่คนที่ด้อย ที่มีปัญหา...
8. ในการสอนนั้น การเริ่มต้นเป็นจุดสาคัญมากอย่างหนึ่ง เริ่มต้นที่ดี
    มีส่วนช่วยให้การสอนสาเร็จผลดีเป็นอย่างมาก อย่างน้อย ก็เป็น
    เครื่องดึงความสนใจ และนาเข้าสู่เนื้อหาได้ พระพุทธเจ้าทรงมีวิธี
    เริ่มต้นที่น่าสนใจมาก โดยปกติพระองค์จะไม่ทรงเริ่มสอนด้วยการ
    เข้าสู่เนื้อหาธรรมที่เดียว แต่จะทรงเริ่มสนทนากับผู้ทรงพบ หรือผู้
    มาเฝ้าด้วยเรื่อที่เขารู้เข้าใจดี หรือสนใจอยู่...
9. สร้างบรรยากาศในการสอนให้ปลอดโปร่ง เพลิดเพลินไม่ให้ตึง
    เครียด ไม่ให้เกิดความอึดอัดใจ และให้เกียรติแก่ผู้เรียน ให้เขามี
    ความภูมิใจในตัว
10. สอนมุ่งเนื้อหา มุ่งให้เกิดความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่สอนเป็น
    สาคัญ ไม่กระทบตนและผู้อื่น ไม่มุ่งยกต ไม่มุ่งเสียดสีใครๆ...
11. สอนโดยเคารพ คือ ตั้งใจสอน ทาจริง ด้วยความรู้สึกว่าเป็นสิ่มีค่า
    มองเห็นความสาคัญของผู้เรียน และงาสั่งสอนนั้น ไม่ใช้สักว่าทา
๗
                หรือเห็นผู้เรียนโง่เขลา หรือเห็นเป็นชั้นต่าๆ
            12. ใช้ภาษาสุภาพ นุ่มนวล ไม่หยาบคาย ชวนให้สบายใจ สละสลวย
                เข้าใจง่าย

      ขอนาพุทธพจน์แห่งหนึ่ง ที่ตรัสสอนภิกษุผู้แสดงธรรมเรียกกันว่า องค์แห่ง
พระธรรมกถึก มาแสดงไว้ดังนี้

        "อานนท์ การแสดงธรรมให้คนอื่นฟัง มิใช่สิ่งที่กระทาได้ง่าย ผู้แสดงธรรม
        แก่คนอื่น พึงตั้งธรรม 5 อย่างไว้ในใจ คือ

   1.   เราจักกล่าวชี้แจงไปตามลาดับ
   2.   เราจักกล่าวชี้แจงยกเหตุผลมาแสดงให้เข้าใจ
   3.   เราจักแสดงด้วยอาศัยเมตตา
   4.   เราจักไม่แสดงด้วยเห็นแก่อามิส
   5.   เราจักแสดงไปโดยไม่กระทบตน และผู้อื่น "

                            ลีลาการสอน
   คุณลักษณะซึ่งเรียกได้ว่าเป็นลีลาในการสอน 4 อย่าดังนี้

   1. อธิบายให้เห็นชัดเจนแจ่มแจ้ง เหมือจูงมือไปดูเห็นกับตา (สันทัสสนา)
   2. ชักจูงใจให้เห็นจริงด้วย ชวนให้คล้อยตามจนต้อยอมรับ และนาไปปฏิบัติ
      (สมาทปนา)
   3. เร้าใจให้แกล้วกล้า บังเกิดกาลังใจ ปลุกให้มีอุตสาหะแข็งขัน มั่นใจว่าจะ
      ทาให้สาเร็จได้ ไม่หวั่นระย่อต่อความเหนื่อยยาก ( สมุตตเตชนา)
๘
    4. ชโลมใจให้แช่มชื่น ร่าเริง เบิกบาน ฟังไม่เบื่อ และเปี่ยมด้วยความหวัง
       เพราะมองเห็นคุณประโยชน์ที่ตนจะพึงได้รับจากกาปฏิบัติ (สัมปหังสนา)

         อาจผูกเป็นคาสั้นๆ ได้ว่า แจ่มแจ้ง จูงใจ หาญกล้า ร่าเริง หรือชี้ชัด เชิญ
ชวน คึกคัก เบิกบาน
                             วิธีสอนแบบต่างๆ
   วิธีการสอนของพระพุทธเจ้า มีหลายแบบหลายอย่าง ที่น่าสังเกต หรือพบบ่อย
คงจะได้แก่วิธีต่อไปนี้

    1. สนทนา (แบบสากัจฉา)
    2. แบบบรรยาย
    3. แบบตอบปัญหา ท่านแยกประเภทปัญหาไว้ตามลักษณะวิธีตอบเป็น 4
       อย่างคือ
            1. ปัญหาที่พึงตอบตรงไปตรงมาตายตัว ... (เอกังสพยากรณีย
                 ปัญหา)
            2. ปัญหาที่พึงย้อนถามแล้วจึงแก้ ... (ปฎิปุจฉาพยากรณียปัญหา)
            3. ปัญหาที่จะต้องแยกความตอบ ... (วิภัชชพยากรณียปัญหา)
            4. ปัญหาที่พึงยับยั้งเสีย (ฐปนียปัญหา) ได้แก่ ปัญหาที่ถามนอก
                 เรื่อง ไร้ประโยชน์ อันจักเป็นเหตุให้เขว ยืดเยื้อ สิ้นเปลืองเวลา
                 เปล่า พึงยับยั้งเสีย แล้วชักนาผู้ถามกลับเข้าสู่แนวเรื่องที่ประสงค์
    4. แบบวางกฎข้อบังคับ เมื่อเกิดเรื่องมีภิกษุกระทาความผิดอย่างใดอย่าง
       หนึ่งขึ้นเป็นครั้งแรก
๙

                    กลวิธี และอุบายประกอบการสอน
1.   การยกอุทาหรณ์ และการเล่านิทานประกอบ การยกตัวอย่างประกอบ
     คาอธิบาย และการเล่านิทานประกอบการสอนช่วยให้เข้าใจความได้ง่าย
     และชัดเจน ช่วยให้จาแม่นยา เห็นจริง และเกิดความเพลิดเพลิน ทาให้การ
     เรียนการสอนมีรสยิ่งขึ้น...
2.   การเปรียบเทียบด้วยข้ออุปมา คาอุปมาช่วยให้เรื่องที่ลึกซึ้งเข้าใจยาก
     ปรากฏความหมายเด่นชัดออกมา และเข้าใจง่ายขึ้น โดยเฉพาะมักใช้ใน
     การอธิบายสิ่งที่เป็นนามธรรม หรือแม้เปรียบเรื่องที่เป็นรูปธรรมด้วยข้อ
     อุปมาแบบรูปธรรม ก็ช่วยให้ความหนักแน่นเข้า... การใช้อุปมานี้ น่าจะ
     เป็นกลวิธีประกอบการสอนที่พระพุทธองค์ทรงใช้มากที่สุด มากกว่ากลวิธี
     อื่นใด
3.   การใช้อุปกรณ์การสอน ในสมัยพุทธกาล ย่อมไม่มีอุปกรณ์การสอนชนิด
     ต่างๆ ที่จัดทาขึ้นไว้เพื่อการสอนโดยเฉพาะ เหมือนสมัยปัจจุบัน เพราะยัง
     ไม่มีการจัดการศึกษาเป็นระบบขึ้นมากอย่างกว้างขวาง หากจะใช้อุปกรณ์
     บ้าง ก็คงต้องอาศัยวัตถุสิ่งของที่มีในธรรมชาติ หรือเครื่องใช้ต่างๆ ที่ผู้คน
     ใช้กันอยู่
4.   การทาเป็นตัวอย่าง วิธีสอนที่ดีที่สุดอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะในทางจริยธรรม
     คือการทาเป็นตัวอย่าง ซึ่งเป็นการสอนแบบไม่ต้องกล่าวสอน เป็นทานอง
     การสาธิตให้ดู แต่ที่พระพุทธเจ้าทรงกระทานั้นเป็นไปในรูปทรงเป็นผู้นาที่ดี
     การสอนโดยทาเป็นตัวอย่าง ก็คือ พระจริยวัตรอันดีงามที่เป็นอยู่โดยปกติ
     นั้นเอง แต่ที่ทรงปฏิบัติเป็นเรื่องราวเฉพาะก็มี...
๑๐
5. การเล่นภาษา เล่นคา และใช้คาในความหมายใหม่ การเล่นภาษาและการ
   เล่นคา เป็นเรื่องของความสามารถในการใช้ภาษาผสมกับปฏิภาณ ข้อนี้ก็
   เป็นการแสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถของพระพุทธเจ้าที่มีรอบไปทุก
   ด้าน...แม้ในการสอนหลักธรรมทั่วไป พระองค์ก็ทรงรับเอาคาศัพท์ที่มีอยู่
   แต่เดิมในลัทธิศาสนาเก่ามาใช้ แต่ทรงกาหนดความหมายใหม่ ซึงเป็น
   วิธีการช่วยให้ผู้ฟังผู้เรียนหันมาสนใจ และกาหนดคาสอนได้ง่าย เพียงแต่
   มาทาความเข้าใจเสียใหม่เท่านั้น และเป็นการช่วยให้มีการพิจารณา
   เปรียบเทียบไปในตัวด้วยว่าอย่างไหนถูก อย่างไหนผิดอย่างไร จึงเห็นได้
   ว่า คาว่า พรหม พราหมณ์ อริยะ ยัญ ตบะ ไฟบูชายัญ ฯลฯ ซึ่งคาในลัทธิ
   ศาสนาเดิม ก็มีใช้ในพระพุทธศาสนาด้วยทั้งสิ้น แต่มีความหมายต่าง
   ออกไปเป็นอย่างใหม่
6. อุบายเลือกคน และการปฏิบัติรายบุคคล การเลือกคนเป็นอุบายสาคัญใน
   การเผยแพร่ศาสนา ในการประกาศธรรมของพระพุทธเจ้า เริ่มแต่ระยะแรก
   ประดิษฐานพระพุทธศาสนาจะเห็นได้ว่าพระพุทธเจ้าทรงดาเนินพุทธกิจ
   ด้วยพระพุทโธบายอย่างทีเรียกว่า การวางแผนที่ได้ผลยิ่ง ทรงพิจารณาว่า
   เมื่อจะเข้าไปประกาศพระศาสนาในถิ่นใดถิ่นหนึ่งควรไปโปรดใครก่อน
7. การรู้จักจังหวะ และโอกาส ผู้สอนต้องรู้จักใช้จังหวะ และโอกาสให้เป็น
   ประโยชน์
8. ความยืดหยุ่นในการใช้วิธีการ ถ้าผู้สอนสอนอย่างไม่มีอัตตา ตัดตัณหา
   มานะ ทิฏฐิเสียให้น้อยที่สุด ก็จะมุ่งไปยังผลสาเร็จในการเรียนรู้เป็นสาคัญ
   สุดแต่จะใช้กลวิธีใดให้การสอนได้ผลดีที่สุด ก็จะทาในทางนั้น ไม่กลัวว่า
   จะเสียเกียรติ ไม่กลัวจะถูกรู้สึกว่าแพ้
๑๑
   9. การลงโทษ และให้รางวัล การใช้อานาจลงโทษ ไม่ใช้การฝึกคนของ
       พระพุทธเจ้า แม้ในการแสดงธรรมตามปกติพระองค์ ก็แสดงไปตามเนื้อหา
       ธรรมไม่กระทบกระทั้งใคร... การสอนไม่ต้องลงโทษ          เป็นการแสดง
       ความสามารถของผู้สอนด้วย ในระดับสามัญ สาหรับผู้สอนทั่วไป อาจต้อง
       คิดคานึงว่าการลงโทษ ควรมีหรือไม่ แค่ไหน และอย่างไร แต่ผู้ที่สอนคนได้
       สาเร็จผลโดยไม่ต้องใช้อาญาโทษเลย ย่อมชื่อว่าเป็นผู้มีความสามารถใน
       การสอนมากที่สุด
   10. กลวิธีแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นต่างครั้ง ต่างคาว
       ย่อมมีลักษณะแตกต่างกันไปไม่มีที่สิ้นสุด การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าย่อม
       อาศัยปฏิภาณ คือ ความสามารถในการประยุกต์หลัก วิธีการ และกลวิธี
       ต่างๆ มาใช้ให้เหมาะสม เป็นเรื่องเฉพาะครั้ง เฉพาะคราวไป

                        นิเทศอาทิตตปริยายสูตร
ในการพิจารณาพระสูตรนี้ เพื่อทาความเข้าใจให้เป็นประโยชน์ในการสอน ความใน
พระสูตรนี้อาจสรุปได้เป็น 4 ตอนดังนี้

   1. สภาพที่เป็นปัญหา สิ่งที่พระองค์ตรัสว่าลุกเป็นไฟนั้นมีดังต่อไปนี้
         o จักษุ รูป จักขุวิญญาณ จักขุสัมผัส จักขุสัมผัสสชาเวทนา

         o โสตะ (หู) เสียง โสตวิญญาณ โสตสัมผัส โสตสัมผัสสชา เวทนา

         o ฆานะ (จมูก) กลิ่น ฆานวิญญาณ ฆานสัมผัส ฆานสัมผัสสชา

              เวทนา
         o ชิวหา (ลิ้น) รส ชิวหา วิญญาณ ชิวหาสัมผัส ชิวหาสัมผัสสช

              เวทนา
๑๒
           o   กาย โผฎฐัพพะ กายวิญญาณ กายสัมผัส กายสัมผัสสชาเวทนา
           o มนะ (ใจ) ธรรมะ (ความคิดคานึงต่างๆ) มโนวิญญาณ มโนสัมผัส

               มโนสัมผัสสชาเวทนา
   2. สาเหตุ เมื่อ กาหนดตัวปัญหาได้ และเข้าใจสภาพของปัญหาแล้ว ก็ค้นหา
      สาเหตุให้เกิดไป หรือตัวไฟที่เผาผลาญนั้นต่อไปได้ความว่า สิ่งที่กล่าวมา
      นั้น ลุกไหม้ด้วยกิเลส 3 อย่าง 8nv
           o ราคะ ความอยากได้ ความใคร่ ความติดใจ ความกาหนัดยินดี

           o โทสะ ความโกรธ ความขัดใจ ความเดือดแค้นชิงชังไม่พอใจต่างๆ

           o โมหะ ความหลง ความไม่รู้ ไม่เข้าใจสภาพของสิ่งทั้งหลายตาม

               ความเป็นจริง
   3. ข้อปฏิบัติเพื่อแก้ไข พระพุทธองค์ตรัสต่อไปอีกว่า อริยสาวกผู้ได้เรียนรู้แล้ว
      เมื่อเห็นอยู่แย่างนี้ ย่อมหน่ายในอายตนะภายใน ภายนอก               ตลอดถึง
      เวทนาทั้งหมดเหล่านั้น เมื่อหย่ายก็ย่อมไม่ยึดติด
   4. ผล เมื่อไม่ยึดติด ก็หลุดพ้น เมื่อหลุดพ้น ก็เกิดญาณหยั่งรู้ ว่าหลุดพ้นแล้ว
      เป็นอันสิ้นชาติ อยู่จบพรหมจรรย์ ทาสิ่งที่จะต้องทาเสร็จสิ้นแล้ว สิ่งที่
      จะต้องทาเพื่อเป็นอย่างนี้ ไม่มีเหลืออีกเลย

พระธรรมเทศนา อาทิตตปริยายสูตร ที่ทรงแสดงแก่ชฏิล มีข้อควรสังเกตในแง่การ
สอน ที่เป็นข้อสาคัญ 2 อย่างคือ

   1. ทรงสอนให้ตรงกับความถนัด และความสนใจของชฏิล พระธรรมเทศนา
      ของพระพุทธเจ้า ไม่ว่าจะทรงแสดงที่ใด และแก่ใครย่อมมีจุดหมายเป็น
      แนวเดียวกัน คือ มุ่งให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ในสภาวะของสิ่งทั้งหลาย
๑๓
   ตามความเป็นจริง แล้วให้มีทัศนคติ และ ปฎิบัติต่อสิ่งเหล่านั้นอย่าง
   ถูกต้องในทางที่เป็นประโยชน์ทั้งแก่ตน และบุคคลอื่น...
2. ทรงสอนให้ตรงกับระดับสติปัญญา และระดับชีวิตของชฏิล ข้อสาคัญยิ่ง
   อย่างหนึ่ง ที่พระพุทธเจ้าทรงคานึงถึงในการทรงสอน คือ ความยิ่ง และ
   หย่อนแห่งอินทรีย์ของผู้ฟัง ทรงพิจารณาว่าผู้ฟังมีสติปัญญาอยู่ในระดับใด
   ได้รับการศึกษาอบรมมาในทางใดมากน้อยเพียงไหน ดารงชีวิตอยู่อย่างไร
   จะต้องแสดงเรื่องอะไรเขาจึงจะรู้เข้าใจ สามารถนาไปใช้เป็นคุณประโยชน์
   แก่ชีวิตของเขาได้
๑๔
                                    บทที่ ๒

                             สาระสาคัญพุทธศาสนา
       การนาเสนอพุทธศาสนานั้นต้องศึกษาให้เข้าใจว่า พุทธศาสนาเป็นศาสนา
สอนอะไร พุทธศาสนา จึงเป็นศาสนาที่อาศัยสติปัญญา หรือ อาศัยวิชาความรู้ที่
ถูกต้องเพื่อทาลายความทุกข์ และต้นเหตุของความทุกข์เหล่านั้น
      การทาพิธีรีตอง เพื่อบูชาบวงสรวง อ้อนวอนบรรดาสิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้น ไม่ใช่พุทธ
ศาสนา พระพุทธเจ้าไม่รับเข้ามาไว้ในศาสนาของพระองค์เลย เพราะเป็นสิ่งที่น่า
ขบขัน น่าหัวเราะ และถือเอาเป็นที่พึ่งอันแท้จริงไม่ได้ พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธการ
กระทาเช่นนั้นโดยสิ้นเชิง
    มีคากล่าวในพระพุทธศาสนา "ความรู้ ความฉลาด และความสามารถ ที่จะทา
ให้สาเร็จประโยชน์นั่นแหละ เป็นตัวฤกษ์ที่ดี อยู่ในตัวมันเองแล้ว           ดวงดาวใน
ท้องฟ้าจะทาอะไรได้ ประโยชน์ที่ควรจะได้ก็ผ่านพ้นคนโง่ๆ              ที่มัวนั่งคานวณ
ดวงดาวในท้องฟ้าไปเสียสิ้น" ดังนี้ และว่า "ถ้าน้าศักดิ์สิทธ์ในแม่น้าคงคา ฯลฯ จะ
ทาให้คนหมดบาปหมดทุกข์ได้แล้ว พวกเต่า ปู ปลา หรือหอยที่อาศัยอยู่ในแม่น้า
ศักดิ์สิทธิ์นั้น ก็จะหมดบาปหมดทุกข์ไปด้วยน้านั้นเหมือนกัน" หรือ "ถ้าหากว่าคน
จะพ้นทุกข์ได้ด้วยการบวงสรวง บูชาอ้อนวอนเอาๆ แล้ว ในโลกนี้ก็จะไม่มีใครมี
ความทุกข์เลย เพราะว่า ใครๆต่างก็บูชาอ้อนวอนเป็น"
    โดยเหตุที่ ยังมีคนที่มีความทุกข์ทั้งที่ได้กราบไหว้บูชาหรือทาพิธีรีตองต่างๆอยู่
จึงถือว่าไม่เป็นหนทางที่จะเอาตัวรอดได้ ฉะนั้น เราจะต้องพิจารณาโดย
ละเอียดลออให้รู้ ให้เข้าใจว่าอะไรเป็นอะไร แล้วปฏิบัติต่อสิ่งนั้นๆให้ถูกต้อง
พุทธศาสนาไม่ประสงค์คาดคะเน หรือทาอย่างที่เรียกว่าเผื่อจะเป็นอย่างนั้น เผื่อจะ
เป็นอย่างนี้ เราจะทาไปตรงๆตามที่มองเห็นด้วยปัญญาของตัวเอง โดยไม่ต้องเชื่อ
๑๕
คนอื่นๆ แม้จะมีคนอื่นๆมาบอกให้ ก็ไม่ได้หมายความว่า จะต้องเชื่อเขาทันที เรา
จะต้องฟังและพิจารณาจนเห็นจริงเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ แล้วจึงจะเชื่อ และพยายาม
ทาให้ปรากฏผลด้วยตนเอง
ศาสนาเหมือนกับของหลายเหลี่ยม ดูเหมือนหนึ่งมันก็เป็นไปอย่างหนึ่ง ดูอีกเหลี่ยม
หนึ่งมันก็เป็นไปอีกอย่างหนึ่ง แล้วแต่ว่าบุคคลนั้นจะถือหลักการคิดในแนวไหนก็จะ
เห็นศาสนาเดียวกันในลักษณะที่แตกต่างกันได้ แม้พุทธศาสนาก็ตกอยู่ในลักษณะ
เช่นนี้
    คนเราย่อมเชื่อความคิดเห็นของตัวเอง เพราะฉะนั้น         ความจริง หรือสัจจะ
สาหรับคนหนึ่งๆนั้น มันอยู่ตรงที่ว่าเขาเข้าใจ และมองเห็นเท่าไรเท่านั้นเเอง สิ่งที่
เรียกว่า "ความจริง" ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน คนเราเข้าถึงปัญหาหนึ่งๆ ได้ตื้นลึก
กว่ากัน หรือ ด้วยลักษณะที่ต่างกัน และด้วยสติปัญญาที่ต่างกัน สิ่งใดที่อยู่เหนือ
สติปัญญาความรู้ความเข้าใจของตน หรือตนยังไม่เข้าใจ คนนั้นก็ไม่ถือว่าเป็น
ความจริงของเขา ไม่เป็นความแท้ความจริงของเขาเลย
    ความจริงของคนหนึ่งๆนั้น จะเดินคืบหน้าได้เสมอ ตามสติปัญญา ความรู้ความ
เข้าใจที่เพิ่มขึ้นทุกๆวัน จนกว่าจะถึงความจริงขั้นสุดท้าย คนเรามีการศึกษามา
ต่างกัน และมีหลักพิจารณาสาหรับจะเชื่อต่างๆกัน ฉะนั้น ถ้าจะ เอาสติปัญญาที่
ต่างกันมาดูพุทธศาสนา ก็จะเกิดความคิดเห็นต่างกันไป ทั้งนี้เพราะว่าพุทธศาสนา
ก็มีอะไรๆครบทุกอย่างที่จะให้คนดู
    ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว พุทธศาสนาคือวิธีปฏิบัติ เพื่อเอาตัวรอดจากความทุกข์
โดยการทาให้รู้ความจริงว่า อะไรเป็นอะไร ตามที่พระพุทธเจ้าท่านทรงทาได้ก่อน
และได้ทรงสอนไว้ แต่คัมภีร์ทางศาสนานั้นย่อมมีอะไรๆ เพิ่มขึ้นได้ ทุกโอกาศที่คน
ชั้นหลังเขาจะเพิ่มเติมลงไป พระไตรปิฏกของเราก็ตกอยู่ในฐานะอย่างเดียวกัน คน
๑๖
ชั้นหลังๆเพิ่มเติมข้อความเข้าไปตามที่เห็นว่าจาเป็นสาหรับยุคนั้นๆ เพื่อจะช่วยให้
คนมีศรัทธามากขึ้นๆ หรือกลัวบาป รักบุญมากขึ้น ซึ่งอาจจะมากเกินขอบเขต
จนกระทั่งเกิดการเมาบุญกันใหญ่
    เราควรยึดกายวาจาบริสุทธิ์ให้เป็นที่ตั้งของจิตบริสุทธิ์ เพื่อให้เกิดปัญญารู้ว่า
อะไรถูก แล้วประพฤติปฏิบัติไปตามนั้น อย่าได้ถือว่าถ้าเขาว่าเป็นพุทธศาสนาแล้ว
ก็เป็นพุทธศาสนา เนื้องอกนั้นได้งอกมาแล้วนับตั้งแต่วันหลังจากพระพุทธเจ้า
ปรินิพพาน และยังงอกเรื่อยๆมา กระจายไปทุกทิศทุกทางจนกระทั่งบัดนี้ เลยมีเนื้อ
งอกก้อนโตๆอย่างมากมาย (พุทธศาสนาเนื้องอก เช่นพิธีรีตองต่างๆที่เพิ่งเกิดขึ้น
และเกียวเนื่องกับพระพุทธศาสนาเพียงเล็กๆน้อยๆ ก็พลอยถูกนับเข้าเป็นพุทธ
ศาสนาไปด้วยอย่างน่าสมเพช เช่น การจัดสารับคาวหวาน ผลหมากรากไม้ เพื่อ
เซ่นวิญญาณของพระพุทธเจ้าอย่างที่เรียกว่าถวายข้าวพระ เป็นต้น มันเป็นสิ่งที่มี
ไม่ได้ตามหลักของพุทธศาสนา แต่พุทธบริษัทบางพวกเข้าใจว่านี่เป็นพุทธศาสนา
และได้สอนกันถือกัน อย่างเคร่งครัด การบวชนาคก็เกิดมีพิธีทาขวัญนาค เชื้อเชิญ
แขกมาเลี้ยงดูกันอย่างเมามายเอิกเกริก ทาพิธีทั้งที่วัดและที่บ้าน บวชไม่กี่วันก็สึก
ออกมา แล้วกลายเป็นคนเกลียดวัดยิ่งไปกว่าเดิมก็มี นี่ขอให้คิดดูเถิดว่า สิ่งไม่เคย
มีในครั้งพุทธกาลก็ได้มีขึ้น เราหลงเรียกการทาขวัญนาค และการทาพิธีต่างๆตลอด
ถึงการฉลองอะไรๆเหล่านั้น ว่าเป็นพุทธศาสนาแล้วก็นิยมทากันอย่างยิ่ง จนหมด
เปลืองทรัพย์ของตนหรือของคนอื่นเท่าไรก็ไม่ว่า พุทธศาสนาใหม่ๆอย่างนี้เกิดมี
มากมายแทบจะทั่วไปทุกแห่ง ธรรมะหรือของจริงที่เคยมีมาแต่ก่อนนั้น ถูกหุ้มห่อ
โดยพิธีรีตองจนมิด เกิดมุ่งหมายผิดเป็นอย่างอื่นไป
    พวกเราเองจะไปอ้างเอา "พุทธศาสนาเนื้องอก" มาถือว่าเป็นพุทธศาสนาไม่ได้
หรือ คนในศาสนาอื่นจะมาชี้ก้อนเนื้องอกเหล่านี้ ซึ่งมีอยู่อย่างน่าบัดสีอย่างน่า
๑๗
ละอายว่าเป็นพุทธศาสนา ก็ไม่ถูกเหมือนกัน คือไม่เป็นการยุติธรรมเพราะสิ่งนี้ไม่
ใช้พุทธศาสนา แต่เป็น "เนื้องอก" พวกเราที่จะช่วยจรรโลงพระพุทธศาสนาเพื่อให้
เป็นที่พึ่งแก่คนทั้งหลาย หรือเพื่อประโยชน์แก่ตัวเราเองก็ตาม จะต้องรู้จักฉวยให้
ถูกตัวแท้ของพุทธศาสนา ไม่ไปถูกชิ้นเนื้อร้ายเนื้องอกดังที่กล่าวมาแล้ว
     แม้พุทธศาสนาตัวแท้ก็ยังมีหลายแง่หลายมุม ที่จะทาให้เกิดการจับฉวยเอาไม่
ถูกความหมายที่แท้ของพระพุทธศาสนาก็ได้
     ถ้ามองด้วนสายตานักศิลธรรม ก็จะเห็นว่า พุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งศิลธรรม
(Moral) เพราะมีกล่าวถึงบุญบาป ความซื่อตรง ดีชั่ว ความกตัญญุกตเวที ความ
สามัคคี ความเป็นเป็นคนที่เปิดเผยตัวเอง และอะไรต่างๆ อีกมากมาย ล้วนแต่มีอยู่
ในพระไตรปิฏกทั้งนั้น แม้ชาวต่างประเทศก็มองดูในส่วนนี้อยู่มากหรือว่าชอบพุทธ
ศาสนาเพราะเหตุนี้ก็มีอยู่มาก
     พุทธศาสนาอีกส่วนหนึ่ง สูงขึ้นไปเป็นสัจธรรม (Truth) คือ กล่าวถึงความจริงที่
ลึกซึ้งเร้นลับนอกเหนือไปกว่าที่คนธรรมดาสามัญจะเห็นได้ ส่วนนี้ได้แก่ความรู้เรื่อง
ความว่างเปล่าของสรรพสิ่งทั้งปวง (สุญญตา) เรื่องความไม่เที่ยง (อนิจจัง) ความ
เป็นทุกข์ (ทุกขัง) ความไม่ใช้ตัวตน (อนัตตา) หรือเรื่องการเปิดเผยว่าทุกข์เป็น
อย่างไร เหตุให้เกิดทุกข์เป็นอย่างไร ความดับสนิทของทุกข์เป็นอย่างไร และวิธี
ปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์เป็นอย่างไร        ในฐานะเป็นความจริงอันเด็ดขาดที่
เปลี่ยนแปลงไม่ได้ (อริยสัจจ์) ซึ่งทุกคนควรจะต้องรู้ นี้เรียกว่าพุทธศาสนาในฐานะ
เป็นสัจธรรม
     พุทธศาสนาในฐานะที่เป็นศาสนา ( Religion) คือส่วนที่เป็นตัวระเบียบปฎิบัติ
ซึ่งได้แก่ ศิล สมาธิ ปัญญา กระทั่งผลที่เกิดขึ้นคือความหลุดพ้น และปัญญาที่รู้เห็น
ความหลุดพ้น ว่าเมื่อใครปฎิบัติแล้วจะหลุดพ้นไปจากทุกข์ได้จริง นี้เรียกว่า พุทธ
๑๘
ศาสนาในฐานะที่เป็นศาสนา
      เรายังมี พุทธศาสนาในเหลี่ยมที่เป็นจิตวิทยา (Psychology) เช่น คัมภีร์พระ
ไตรปิฏกภาคสุดท้าย กล่าวบรรยายถึงลักษณะจิตไว้กว้างขวางอย่างน่าอัศจรรย์
ที่สุด เป็นที่งงงันและสนใจแก่นักศึกษาทางจิตแม้แห่งยุคปัจจุบัน เป็นความรู้ทาง
จิตวิทยาที่จะอวดได้ว่าแยบคาย หรือลึกลับกว่าความรู้ทางจิตวิทยาของโลก
ปัจจุบันไปเสียอีก
      พุทธศาสนายังมีเหลี่ยมความรู้ซึ่งจัดได้ว่าเป็นปรัชญา (Philosophy) คือสิ่งที่
ทดลองไม่ได้ ยังต้องอาศัยการคานึงคานวณไปตามหลักแห่งการใช้เหตุผลแห่งการ
คานึงคานวณระบอบหนึ่ง แต่ถ้าเห็นแจ้งประจักษ์ได้ด้วยตา หรือด้วยการพิสูจน์
ทดลองตามทางวัตถุ หรือแม้เห็นชัดด้วย "ตาใน" คือญาณจักษุก็ตาม เรียกว่าเป็น
วิทยาศาสตร์ ( Science) ได้ ความรู้อันลึกซึ้ง เช่นเรื่องสุญญตาย่อมเป็นปรัชญา
สาหรับผู้ที่ยังไม่บรรลุธรรมไปพลางก่อน แต่จะกลายเป็นวิทยาศาสตร์ทันทีสาหรับ
ผู้ที่บรรลุธรรมแล้ว เช่น พระอรหันต์ เพราะท่านได้เห็นได้ประจักษ์ แล้วด้วยจิตใจ
ของท่านเองไม่ต้องคานึงคานวณตามเหตุผล
      หลักพระพุทธศาสนาบางประเภท ก็เป็นวิทยาศาสตร์ (Science) โดยส่วนเดียว
เพราะพิสูจน์ได้ชัดแจ้งด้วยความรู้สึกภายในใจของผู้มีสติปัญญา โดยเฉพาะอย่าง
ยิ่งเรื่องอริยสัจจ์เป็นต้น ถ้าผู้ใดมีสติปัญญาสนใจศึกษา ค้นคว้าแล้วจะมีเหตุผล
แสดงอยู่ในลักษณะที่เป็นวิทยาศาสตร์ ไม่มืดมัวเป็นปรัชญาเหมือนอย่างบางเรื่อง
      "ถ้าหากว่าจะมีศาสนาใดศาสนาหนึ่ง ซึ่งเข้ากันได้ดีกับแนวคิด หรือหลักการ
ทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ( The Modern Scientific mind) แล้วศาสนานั้นก็คือ
พระพุทธศาสนา นั่นเอง" "ศาสนาในอนาคตจะต้องเป็นศาสนาแห่งสากล ซึ่งล่วง
พ้นจากความเชื่อในเรื่องของพระผู้เป็นเจ้า หรือสิ่งศักดิ์ทั้งหลาย โดยมีหลักการที่
๑๙
จะต้องตั้งอยู่บนรากฐานของความศรัทธาที่เกิดจากความสะสมประสบการร์ใน
ทุกๆด้าน ทั้งในด้านธรรมชาติ และด้านจิตวิญญาณอย่างมีเหตุผล พุทธศาสนาเป็น
คาตอบสาหรับหลักการนี้"อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ( Albert Einstein) (นักฟิสิกซ์ผู้
ยิ่งใหญ่แห่งศตวรรษที่ 20) (ค.ศ. 1879-1955)
"ผมตกตะลึง และรู้สึกกระอักกระอ่วนใจที่พบว่า งานวิจัยของผมกลับกลายมาวาง
อยู่บนพื้นฐานทางความคิดที่ดูจะไม่เป็นวิทยาศาสตร์เอาเสียเลย เมื่อมันถูกนาไป
เชื่อมสัมพันธ์กับพุทธรรรมคาสอนในศาสนาพุทธ"
        จอฟฟรีย์ ชิว (Geoffrey Chew) (นักฟิสิกซ์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งศตวรรษที่ 21)
"มนุษย์ได้ฝึกฝนความเฉลียวฉลาดรอบรู้ของตนเพื่อเอาชนะธรรมชาติภายนอกด้วย
วิทยาศาสตร์ และประยุกต์วิทยา ( Science and Technology) บัดนี้ถึงเวลาแล้วที่
มนุษย์ควรแสวงหาแสงสว่าง             หรือสติปัญญาที่สูงลึกซึ้งยิ่งกว่านั้นอีก
พระพุทธศาสนาเท่านั้นที่จะช่วยให้มนุษย์ประสบความสาเร็จตามเป้าหมาย
ดังกล่าวนี้ได้

ฟรานซิส สตอรี่ (Francis Story) (นักวิทยาศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงชาวอังกฤษ)
สาหรับบุคคลผู้บูชาวัฒนธรรม ก็จะพบว่ามีคาสั่งสอนในพระพุทธศาสนาหลายข้อ
ที่ตรงกับหลักวัฒนธรรมสากล และมีคาสอนอีกมากที่เป็นวัฒนธรรมของชาวพุทธ
โดยฌฉพาะ ซึ่งดีกว่าสูงกว่าวัฒนธรรมสากลอย่างมากมาย
    แม้พุทธศาสนาส่วนที่เป็นตรรกวิทยา (Logic) ซึ่งเป็นศาสตร์ที่โยกโคลงที่สุด ก็มี
มากด้วยเหมือนกัน โดยเฉพาะในพวกพระอภิธรรมบางคัมภีร์ เช่นคัมภีร์กถาวัตถุ
เป็นต้นฯ
    แต่อย่างไรก็ตามอยากจะขอยืนยันว่า พุทธศาสนาเหลี่ยมซึ่งชาวพุทธจะต้อง
๒๐
สนใจที่สุด นั้นคือ เหลี่ยมที่เป็นศาสนา ซึ่งหมายถึงวิธีปฏิบัติโดยรวบรัด เพื่อให้รู้
ความจริงว่าสิ่งทั้งปวงเป็นอะไร จนถอนความยึดถือหลงใหลต่างๆออกมาเสียจาก
สิ่งทั้งปวงได้ การกระทาเช่นนี้เรียกว่า เราเข้าถึงตัวพระพุทธศาสนา ในฐานะเป็น
พุทธศาสนา มีผลดียิ่งกว่าไปกว่าที่จะถือเป็นเพียงศิลธรรมขั้นพื้นฐาน และสัจธรรม
อันเป็นความรู้ที่ลึกซึ้งอย่างเดียวโดยไม่ปฏิบัติอะไร และเป็นผลดีกว่าที่จะถือเป็น
ปรัชญา ที่มีไว้คิดไว้นึกไว้เถียงกันอย่างสนุกๆ แล้วไม่ละกิเลสอะไรได้ หรือดีกว่าที่
จะถือเป็นเพียงวัฒนธรรมสาหรับการประพฤติที่ดีงามน่าเลื่อมใสในด้านสังคมแต่
อย่างเดียว
      อย่างน้อยที่สุด เราทั้งหลายควรถือ พุทธศาสนาในฐานะเป็นศิลปะ ( Art) ซึ่งใน
ที่นี้หมายถึงศิลปะแห่งการครองชีวิต คือเป็นการกระทาที่แยบคายสุขุม ในการที่จะ
มีชีวิตอยู่เป็นมนุษย์ให้น่าดูชมน่าเลื่อมใส น่าบูชาเป็นที่จับอกจับใจแก่คนทั้งหลาย
จนคนอื่นพอใจทาตามเราด้วยความสมัครใจไม่ต้องแค่นเข็นกัน เราจะมี ความ
งดงามในเบื้องต้น ด้วยศิลบริสุทธิ์ มีความงดงามในท่ามกลาง ด้วยการมีจิตใจสงบ
เย็น เหมาะสมที่จะทางานในด้านจิต มี ความงดงามในเบื้องปลาย                 ด้วยความ
สมบูรณ์แห่งปัญญา คือรู้แจ้งสิ่งทั้งปวงว่าอะไรเป็นอะไร จนไม่มีความทุกข์ เกิดขึ้น
เพราะสิ่งทั้งปวงนั้น
      เมื่อใครมีชีวิตอยู่ด้วยความงาม 3 ประการ เช่นนี้แล้ว ถือว่าเป็นผู้มีศิลปะแห่ง
การดารงชีวิตอย่างสูงสุด ชาวตะวันตกหันมาสนใจพุทธศาสนา ในฐานะเป็นศิลปะ
แห่งชีวิตโดยนัยนี้เป็นอันมาก และกล่าวขวัญกันมากกว่าแง่อื่นๆ
      การที่เราเข้าถึงตัวแท้ของพระพุทธศาสนา จนถึงกับนามาใช้เป็นแบบแห่งการ
ครองชีวิตนั้น มันทาให้เกิด ความบันเทิงรื่นเริงตามทางธรรมะ ไม่เหงาหงอยไม่น่า
เบื่อหน่าย หรือหวาดกลัวดังที่เกรงกันอยู่ว่า ถ้าละกิเลสเสียแล้วชีวิตนี้จะแห้งแล้งไม่
๒๑
มีรสชาติอะไรเลย หรือถ้าปราศจากตัณหาต่างๆ โดยสิ้นเชิงแล้วคนเราจะทาอะไร
ไม่ได้ หรือไม่คิดทาอะไรอย่างนี้เป็นต้น แต่โดยที่แท้จริงแล้ว ผู้ดารงชีวิตอยู่อย่าง
ถูกต้อง ตามศิลปะแห่งการครองชีวิตของพระพุทธเจ้านั้น คือผู้มีชัยชนะอยู่เหนือสิ่ง
ทั้งปวงที่เข้ามาแวดล้อมตน ไม่ว่าจะเป็นสัตว์บุคคลสิ่งของ หรืออะไรก็ตาม ย่อมจะ
เข้ามาในฐานะผู้แพ้ ไม่อาจจะทาให้เกิดความมืดมัว สกปรก เร่าร้อนให้แก่ผู้นั้นได้
อากัปกิริยาที่เป็นฝ่ายชนะอารมณ์ทั้งปวงนี้ ย่อมเป็นที่บันเทิงเริงรื่นอย่างแท้จริง
และนี่คือข้อที่ควรถือเป็นศิลปะในพุทธศาสนา
    ธรรมะในพระพุทธศาสนา จะให้ความเพลิดเพลินแก่จิตใจที่ต้องการธรรมะ นับ
ได้ว่าเป็นอาหารจาเป็นอย่างหนึ่งเหมือนกัน คนที่ตกอยู่ในอานาจของกิเลสยัง
ต้องการอาหารทางตา หู จมูก ลิ้น กาย แสวงหากันไปตามวิสัยปุถูชนนั้นก็ถูกแล้ว
แต่ยังมีอีกสิ่งหนึ่งซึ่งอยู่ลึก และไม่ต้องการอาหารอย่างนั้น สิ่งนี้คือวิญญาณซึ่งเป็น
อิสระหรือบริสุทธิ์ ต้องการความบันเทิงเริงรื่น คืออาหารทางธรรมะ นับตั้งแต่ความ
ยินดีปรีดาที่รู้สึกว่าตนได้ทาอะไรอย่างถูกต้อง เป็นที่พอใจของผู้รู้ทั้งหลาย มีความ
สงบระงับในใจชนิดดที่กิเลสมารบกวนไม่ได้ มีความเห็นแจ่มแจ้งรู้เท่าทันสิ่งทั่งปวง
ว่าอะไรเป็นอะไร ไม่ทะเยอทะยานในสิ่งใด มีอาการเหมือนกับนั่งลงได้ ไม่ต้องวิ่งง
ไปวิ่งมาเหมือนคนทั้งหลาย ชนิดที่ท่านให้คาเปรียบไว้ว่า "กลางคืนอัดควัน
กลางวันเป็นไฟ"
    "กลางคืนอัดควัน" นั่น หมายถึงการนอนไม่หลับกระสับกระส่ายมือก่าย
หน้าผาก คิดจะแสวงหาอย่างนั้นอย่างนี้คิดจะกระทาเพื่อให้ได้เงิน ได้ลาภหรือสิ่ง
ต่างๆที่ตนปราถนา อันเป็นควันกลุ้มอยู่ในใจ เพราะมันยังมือค่า              ลุกไปไหนไม่
สะดวก ต้องทนอดนอนอัดควันอยู่ ครั้นถึงวันรุ่งขึ้น ก็ออกวิ่งไปตามความต้องการ
ของ "ควัน" ที่อัดไว้เมื่อคืน นี่เรียกว่า "กลางวันเป็นไฟ" เป็นอาการของจิตใจที่ไม่ได้
๒๒
รับความสงบ ไม่ได้รับอาหารทางธรรมเป็นความกระหาย ไปตามอานาจของกิเลส
และตัณหา "กลางคืนอัดควัน" ร้อนรุ่มอยู่แล้วตลอดคืน "กลางวันยังเป็นไฟ" คือทั้ง
ร้อนทั้งไหม้อะไรไปในตัวเสร็จตลอดทั้งวันแล้วจะหาความสงบเยือกเย็นอย่างไรได้
ถ้าคนเราต้อง "กลางวันอัดควัน กลางวันเป็นไฟ" ไปจนตลอดชีวิต ถึงตายแล้ว จะ
เป็นอย่างไรบ้าง ขอให้ลองคิดดู เขาเกิดมาทนทุกข์ทรมานจนตลอดชีวิต                 คือ
นับตั้งแต่เกิดจนกระทั่งเน่าเข้าโลกไปทีเดียว โดยไม่มีสติปัญญาที่จะระงับดับไฟ
ดับควันนั้นเสียเลย บุคคลชนิดนี้จะต้องอาศัยสติปัญญาของบุคคลประเภท
พระพุทธเจ้า สาหรับช่วยแก้ไขให้เบาบางลงตามส่วน เมื่อเขาได้เข้าใจสิ่งทั้งหลาย
ทั้งปวงถูกต้องตามความเป็นจริงมากขึ้นเท่าไรควันหรือไฟก็จะลดน้อยลงเท่านั้น
    ทั้งหมดนี้เป็นการชี้ให้เห็นว่า สิ่งที่เรียกว่าพุทธศาสนานั้นมีลักษณะหลาย
เหลี่ยมหลายมุม เหมือนกับภูเขาลูกเดียวมองจากทิศต่างๆกัน ก็เห็นรูปต่างๆกัน ได้
ประโยขน์ต่างๆกัน แล้วแต่ใครจะมองอย่างไร แม้พระพุทธศาสนา จะมีมูลมาจาก
ความกลัว ก็ไม่ใช้ความกลัวที่โง่เขลา ของคนป่าเถื่อน จนถึงกับนั่งไหว้รูปเคารพ
หรือไหว้สิ่งที่มีปรากฏแปลกๆ แต่เป็นความกลัวชนิดที่สูงด้วยสติปัญญา คือกลัวว่า
จะไม่ได้รอดพ้นไปจากการบีบคั้นของความเกิด แก่ เจ็บ ตาย               หรือความทุกข์
ทั้งหลายที่เรามองเห็นๆ กันอยู่
    พุทธศาสนาตัวแท้ ไม่ใช่หนังสือ          ไม่ใช่คัมภีร์ ไม่ใช่เสียงบอก เล่าตาม
พระไตรปิฎก หรือตัวพิธีรีตองต่างๆ ซึ่งไม่ใช้ตัวแท้ของพระพุทธศาสนา ตัวแท้ต้อง
เป็น ตัวการปฎิบัติด้วยกายวาจาใจ ชนิดที่จะทาลายกิเลสให้ร่อยหรอ หรือหมดสิ้น
ไปในที่สุด ไม่จาเป็นต้องเนื่องด้วยหนังสือ ด้วยตารา ไม่ต้องอาศัยพิธีรีตอง หรือสิ่ง
ภายนอก เช่นผีสางเทวดา แต่ต้องเนื่องด้วยกาย วาจา ใจ โดยตรง คือจะต้องบาก
บั่นกาจัดกิเลสให้หมดสิ้นไป จนเกิดความรู้แจ่มแจ้ง สามารถทาอะไรให้ถูกต้องได้
๒๓
ด้วยตนเอง ไม่มีความทุกข์เกิดขึ้นตั้งแต่ต้นจนอวสาน               นี่แหละคือตัวแท้ของ
พระพุทธศาสนา ในส่วนที่เราจะต้องเข้าถึงให้จงได้ อย่าได้ไปหลงยึดเอาเนื้องอกที่
หุ้มห่อพระพุทธศาสนามาถือว่าเป็นตัวพระพุทธศาสนากันเลย
     พุทธศาสนิก แปลว่า ผู้ปฏิบัติตามศาสนาของผู้รู้ ที่ว่ารู้นั้น หมายถึงรู้อะไร ? ก็
คือรู้สิ่งทั้งปวงที่เป็นจริงนั่นเอง จึงกล่าวได้ว่าพุทธศาสนาก็คือ ศาสนาที่ทาให้รู้ว่า
อะไรเป็นอะไร เป็นศาสนาเกี่ยวกับความรู้จริง เราจึงต้องปฏิบัติจรเรารู้ได้เอง เมื่อรู้
ถึงที่สุด แล้วไม่ต้องกลัว กิเลสตัณหาต่างๆ จะถูกความรู้นั้นทาลายให้สิ้นไป ความ
ไม่รู้ (อวิชชา) ก็จะดับไปทันที ในเมื่อความรู้ได้เกิดขึ้นมาก ฉะนั้นข้อปฏิบัติต่างๆจึง
มีไว้เพื่อให้วิชชาเกิด
     สรุปความว่า พุทธศาสนา คือวิชาและระเบียบปฏิบัติเพื่อให้รู้ว่า อะไรเป็นอะไร
เมื่อเรารู้ว่า อะไรเป็นอะไรถูกต้องจริงๆแล้วไม่ต้องมีใครมาสอนเรา หรือมาแนะนา
เรา เราก็ปฏิบัติต่อสิ่งนั้นๆถูกต้องได้ด้วยตนเอง แล้วกิเลสก็จะหมดไปเอก เราเป็น
อริยบุคคลขั้นใดขั้นหนึ่งขึ้นมาทันที หรือที่ชอบเรียกกันว่า มรรคผลนิพพาน นี้ได้
ด้วยตนเอง เพระาการที่เรามีความรู้อะไรเป็นอะไรโดยถูกต้องถึงที่สุดอย่างแท้จริง
เท่านั้น
รัตนตรัย หมายถึง สิ่งลาค่า 3 ประการ หลักที่เคารพบูชาสูงสุดของพุทธศาสนิกชน
3 อย่าง

    1. พระพุทธเจ้า หมายถึง พระผู้ตรัสรู้เองและสอนผู้อื่นให้รู้ตาม
    2. พระธรรม หมายถึง คาสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ทั้งหลักความประพฤติ
    3. พระสงฆ์ หมายถึง หมู่สาวกผู้ปฏิบัติตามคาสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
๒๔

วิธีการสอนตามแนวทางแห่งพุทธศาสตร์ เป็นที่ประจักษ์ชัดในปัจจุบันว่า
นักการศึกษาเกือบทั่วโลก ต่างยอมรับนับถือคาสอนของพระพุทธเจ้าว่าประเสริฐ
และยอดเยี่ยมจริง ทั้งยังมีวิธีการสอนที่ทันสมัยอยู่เสมอ และใช้ได้ผลดีมาตั้งแต่
โบราณกาล ดังนั้นนักวิชาการและนักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความคิดเห็น
เกี่ยวกับวิธีการสอนตามแนวพุทธศาสตร์ไว้อย่างหลากหลาย ซึ่งล้วนแต่เป็นวิธีการ
ที่น่าสนใจยิ่ง ในที่นี้จะขอเสนอความคิดเห็นเฉพาะบางท่านที่มีสาระต่อการเรียน
การสอนโดยตรง มากล่าวโดยย่อ ดังต่อไปนี้

       ๑. การสอนด้วยการยึด ๔ โก การสอนที่ได้ผลดีนั้น ต้องเป็นวิธีการสอน
ที่ประกอบด้วยวาทศิลป์ ซึ่งเป็นศิลปะในการสอนของพระพุทธเจ้าในการสั่งสอน
สาวกทุกครั้ง อันประกอบด้วยคุณลักษณะ ๔ ประการ                           คือ
        ๑. สันทัสสโก สอนให้เห็นคือให้รู้แจ้งเห็นจริงด้วยใจเหมือนตาเห็น
        ๒.สมาทปโก          สอนให้เชื่อคือชักชวนให้ปฏิบัติตาม
        ๓. สมุตตเตชโก สอนให้กล้าคือเร้าให้ผู้ฟังมีความกล้าหาญในการปฏิบัติ
ตามนั้น

      ๔. สัมปหังสโก สอนให้สนุกคือให้ผู้ฟังมีความร่าเริงแจ่มใส แช่มชื่นในการ
ฟังและปฏิบัติตาม ๑

      ๒. การสอนแบบโบราณ ที่เรียกกันว่าหัวใจนักปราชญ์ ๔
ประการ คือ ดังต่อไปนี้

๑. สุ (สุตตะ) คือสอนให้รู้จักฟัง
๒๕
        ๒. จิ (จิตตะ) คือสอนให้รู้จักคิด
        ๓. ปุ (ปุจฉา) คือสอนให้รู้จักถาม
        ๔. ลิ (ลิขิตะ) คือสอนให้รู้จักเขียน ๒

         ๓. การสอนแบบอริยสัจ คือสอนแบบตั้งปัญหา และ
แก้ปัญหา ๔ ประการ คือ
         ๑. ทุกข์ คือสอนให้รู้จักปัญหา ให้เห็นปัญหา คือตัวทุกข์
         ๒. สมุทัย คือสอนให้รู้จักสาเหตุของปัญหา คือเหตุเกิดทุกข์
         ๓. นิโรธ คือสอนให้รู้จักวิธีการแก้ปัญหาด้วยการทดลอง เก็บข้อมูลเพื่อ
นามาแก้ปัญหาให้ได้จนหมดปัญหา
         ๔. มรรค สอนให้รู้จักสรุปผลที่เป็นแนวทางในการแก้ปัญหา แล้ว
สามารถนาไปใช้ในชีวิตประจาวันได้ ๓
          สาโรช บัวศรี ได้กล่าวถึงวิธีการสอนตามขั้นทั้ง ๔ ของอริยสัจ ไว้
ว่า “ด้านพุทธประวัติ ได้ปรากฏชัดว่าในการแก้ปัญหาชีวิตของพระพุทธองค์นั้น
ได้ทรงคิดแก้ปัญหาด้วยพระองค์เอง ทรงทดลองและทรงปฏิบัติหรือกระทาด้วย
พระองค์เองทั้งสิ้นผลก็คือทรงตรัสรู้ได้เรียนรู้อย่างแจ่มชัดหรือรู้แจ้งซึ่งเป็นการ
ยืนยันว่า การคิดหรือคิดแก้ปัญหาด้วยตนเองนั้น ทาให้รู้แจ้งหรือเกิดการเรียนรู้ขึ้น
เป็นอย่างดี ๔

       พระราชวรมุนี ได้กล่าวถึงเรื่องวิธีการสอนตามขั้นทั้ง ๔ ของอริยสัจ นี้ว่า
“การคิดแก้ปัญหาและการกระทาควบคู่กันไปนั้น ได้ปรากฏอย่างชัดเจนในขั้นตอน
ของอริยสัจ ๔ โดยเฉพาะในกิจของอริยสัจ ซึ่งเป็นหน้าที่ที่จะพึงกระทาต่ออริยสัจ
๔ แต่ละอย่าง ที่จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องและเสร็จสิ้นในอริยสัจ ๔ แต่ละอย่าง
๒๖
ด้วย จึงจะได้ชื่อว่ารู้อริยสัจ หรือเป็นผู้ตรัสรู้แล้ว๕

       วิธีการสอนนั้น เป็นการกระทาอย่างหนึ่งที่จะทาอย่างไร ผู้เรียนจึงจะเกิด
ความเข้าใจ หรือเกิดการเรียนรู้ขึ้นมาได้ ดังนั้นวิธีการสอนจะต้องประยุกต์จากกิจ
ในอริยสัจ ๔ เป็นส่วนใหญ่ เพราะเป็นเรื่องของการปฏิบัติหรือการกระทา มิได้
ประยุกต์จากตัวอริยสัจ ๔ โดยตรง จึงเป็นวิธีสอนที่เรียกว่า “วิธีสอนทั้ง ๔ ขั้นขั้น
ของอริยสัจ”

          ๑. ขั้นกาหนดปัญหา (ขั้นทุกข์)
 ครูช่วยให้นักเรียนให้ได้ศึกษาพิจารณาดูปัญหา ที่เกิดขึ้นด้วยตนเอง ด้วยความ
รอบครอบ และพยายามกาหนดขอบเขตของปัญหาซึ่งนักเรียนจะต้องคิดแก้ไขให้
จงได้

        ๒. ขั้นตั้งสมมิฐาน (ขั้นสมุทัย)
       ๑. ครูช่วยให้นักเรียนให้ได้พิจารณาด้วยตนเองว่า สาเหตุของปัญหาที่
ยกขึ้นมากล่าวในขั้นที่ ๑ มีอะไรบ้าง
       ๒. ครูช่วยนักเรียนให้ได้เกิดความเข้าใจว่า ในการแก้ปัญหาใด
ๆ นั้น จะต้องกาจัดหรือดับที่ต้นตอ หรือแก้ที่สาเหตุของปัญหาเหล่านั้น
       ๓. ครูช่วยนักเรียนให้คิดว่า ในการแก้ที่สาเหตุนั้น อาจกระทาอะไรได้
บ้าง คือให้กาหนดสิ่งจะกระทานี้เป็นข้อ ๆ ไป

          ๓.ขั้นทดลองและเก็บข้อมูล (ขั้นนิโรธ)
เป็นขั้นการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูลหรือขั้นนิโรธมีวิธีการขั้นตอน ดังต่อไปนี้
        ๑. สัจฉิกิริยา หมายถึงการทาให้แจ้ง หรือให้บรรลุจุดหมายที่ต้องการทา
๒๗
อย่างไรจึงจะทาให้แจ้งได้ ถ้าเจริญรอยตามพระพุทธองค์ก็ต้องกระทาด้วย
ตนเอง จะเห็นว่าพระพุทธองค์ทรงทดลองวิธีการต่างๆ ๆ ด้วยพระองค์
เอง เช่น โยคะ ตบะ และทรงอดพระกระยาหาร เป็นต้น เมื่อทรงเห็นว่าไม่
สามารถบรรลุจุดหมายปลายทางที่ต้องการได้ จึงใช้วิธีการของสมถะและวิปัสสนา
กรรมฐาน ดังนั้นในการสอนขั้นนี้ ครูต้องช่วยให้นักเรียนได้กระทาหรือทาการ
ทดลองด้วยตนเองตามหัวข้อต่างๆ ที่ได้กาหนดไว้ว่า จะกระทากันดังในข้อที่ ๒
ข้อที่ ๓
         ๒. เมื่อทดลองได้ผลประการใด ต้องบันทึกผลของการทดลองแต่ละ
อย่าง หรือที่เรียกว่า “ข้อมูล” ไว้เพื่อพิจารณาในขั้นต่อไป

         ๔. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล (ขั้นมรรค)
ขั้นวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผลหรือขั้นมรรค มีวิธีการและขั้นตอน ดังต่อไปนี้
        ๑. จากการทดลองกระทาด้วยตนเองหลาย ๆ อย่างนั้น ย่อมจะได้ผล
ออกมาให้เห็นชัด ผลบางประการชี้ให้เห็นว่า แก้ปัญหาได้บางประการ แต่ไม่ค่อย
ชัดเจนนัก ผลที่ถูกต้องจะชี้ให้เห็นว่า แก้ปัญหาได้แน่นอนแล้วและได้บรรลุ
จุดหมายแล้ว ได้แนวทางหรือข้อปฏิบัติที่เราต้องการแล้ว เหล่านี้หมายความว่า
จะต้องวิเคราะห์และเปรียบเทียบข้อมูลที่ได้บันทึกไว้ในขั้นที่ ๓ ข้อ ๒ นั้นจนเห็น
แจ่มแจ้งว่าทาอย่างไรจึงจะแก้ปัญหาที่กาหนดในขั้นที่ ๑ ได้สาเร็จ
        ๒. จากากรวิเคราะห์ดังกล่าวแล้วนั้น จะทาให้เห็นว่าสิ่งใดแก้ปัญหาได้
จริง ต่อไปก็ให้สรุปการกระทาที่ได้ผลนั้นๆ ไว้เป็นข้อๆ หรือเป็นระบบ หรือเป็น
แนวทางปฏิบัติแล้วให้ลงมือกระทาหรือปฏิบัติอย่างเต็มที่ตามแนวทางนั้นโดยทั่ว
กัน วิธีการสอนตามขั้นทั้ง ๔ ของอริยสัจนั้น ถือว่าเป็นแม่บท แต่โดยแท้จริงแล้ว
๒๘
เป็นวิธีการแก้ปัญหานั้นเอง จึงกล่าวได้ว่าเป็นวิธีการสอนที่สาคัญยิ่งและเป็น
เครื่องมือที่มีศักยภาพสูงในวิชาชีพครูด้วย สมควรที่ครูไทยทั้งหลายจงได้ตระหนัก
และภาคภูมิใจว่า เรามีวิธีสอนแม่บทของเราเอง และเป็นวิธีการสอนที่ได้ยึแนวคิด
และวิธีการสอนของพระพุทธองค์เป็นหลัก
 สุมน อมรวิวัฒน์ ได้นาเสนอแนวคิดจากหนังสือพุทธธรรมของพระราชวร
มุนี ซึ่งได้เขียนเกี่ยวกับการสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการมาสร้างเป็นหลักการ
และขั้นตอนการสอนตามแนวพุทธวิธีขึ้น เรียกหลักการและขั้นตอนการสอนนี้
ว่า การสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ มีวิธีการดังต่อไปนี้ ๗

           ๑) หลักการ           ครูเป็นบุคคลสาคัญที่สามารถจัด
สภาพแวดล้อม แรงจูงใจ และวิธีการสอนให้ศิษย์เกิดศรัทธาที่จะเรียนรู้ และได้
ฝึกฝนวิธีการคิดโดยแยบคาย นาไปสู่การปฏิบัติจนประจักษ์จริง การสอนโดยการ
สร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการนี้ใช้สอนได้ทุกระดับการศึกษา       มุ่งให้ครูเป็น
กัลยาณมิตรของศิษย์ ครูและศิษย์มีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน และศิษย์ได้มี
โอกาสคิดแสดงออกปฏิบัติอย่างถูกวิธีจนสามารถใช้ปัญญาแก้ปัญหาได้อย่าง
เหมาะสม

       (๒) ขั้นตอนการสอน
        ๒.๑ ขั้นนา การสร้างเจตคติที่ดีต่อครู วิธีการเรียนและบทเรียน
        ๑. เหมาะกับระดับชั้นเรียน
        ๒. เหมาะกับวัยและภูมิของผู้เรียน
        ๓. เหมาะกับวิธีการเรียนการสอน
        ๔. เหมาะกับบทเรียนที่สอนและเนื้อหาวิชา
๒๙
         ๒.๒ บุคลิกภาพของครูและการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูกับ
ศิษย์ ในการสอนแบบสร้างศรัทธานี้ ครูควรคงบุคลิกภาพของการเป็นครูไว้ ซึ่ง
พอจะสรุปเป็นข้อ ๆ ดังต่อไปนี้
         ๑. บุคลิกภาพทางกาย มีความสะอาด แจ่มใส สงบและสารวม
         ๒. เป็นผู้มีสุขภาพจิตดี กล่าวคือ มีจิตใจเป็นอิสระ ไม่ตกเป็นทาสของ
ปัญหาและอามิส เพราะผู้ที่มีจิตใจเป็นอิสระ ปลอดโปร่งจากปัญหาเท่านั้นที่จะ
ชี้แนะช่วยเหลือผู้อื่นได้
         ๓. มีความมั่นใจในตนเอง เนื่องจากเป็นผู้ที่รู้จริงและปฏิบัติจริงในสิ่งที่
สอนผู้อื่น ครูที่ดีจึงไม่มีปมด้อยหรือปมเด่น เป็นผู้ที่มีความเรียบง่ายฉันคน
ธรรมดา
        ๒.๓ การเสนอสิ่งเร้าและแรงจูงใจ พระพุทธเจ้าได้ทรงใช้วิธีการตรวจสอบ
ความคิดและความสามารถของผู้เรียนก่อนที่จะทรงสอนเพื่อให้เหมาะกับ
บุคคล ทรงใช้เทคนิควิธีอุปกรณ์จากธรรมชาติและเหตุการณ์ต่างๆ มาเร้าให้เกิด
ความมานะพากเพียร ฝึกหัดอบรมตน การสอนโดยสร้างศรัทธาได้จัดขั้นตอนใน
การเสนอสิ่งเร้าและสร้างแรงจูงใจดังนี้
        ๑. ใช้สื่อการเรียนการสอนหรืออุปกรณ์ และวิธีการต่างๆ เพื่อเร้าความ
สนใจ
        ๒. จัดกิจกรรมขั้นนาที่สนุกน่าสนใจ
        ๓. ให้นักเรียนได้ตรวจสอบความรู้ความสามารถของตนและได้ทราบผล
ทันท่วงทีเป็นการเสริมแรงกระตุ้นที่น่าสนใจ
พุทธวิธีในการสอน(ศึกษาวิจัยจากพระไตรปิฎก)
พุทธวิธีในการสอน(ศึกษาวิจัยจากพระไตรปิฎก)
พุทธวิธีในการสอน(ศึกษาวิจัยจากพระไตรปิฎก)
พุทธวิธีในการสอน(ศึกษาวิจัยจากพระไตรปิฎก)
พุทธวิธีในการสอน(ศึกษาวิจัยจากพระไตรปิฎก)

More Related Content

What's hot

สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus of The True Law)
สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus of The True Law)สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus of The True Law)
สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus of The True Law)Padvee Academy
 
วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในสมัยสุโขทัย
วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในสมัยสุโขทัยวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในสมัยสุโขทัย
วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในสมัยสุโขทัยพระอภิชัช ธมฺมโชโต
 
ศาสนาเชน
ศาสนาเชนศาสนาเชน
ศาสนาเชนPadvee Academy
 
ปริศนาธรรมในพุทธปรัชญา
ปริศนาธรรมในพุทธปรัชญาปริศนาธรรมในพุทธปรัชญา
ปริศนาธรรมในพุทธปรัชญาpentanino
 
พุทธศาสนามหายาน ตอน นิกายมาธยมิกะ
พุทธศาสนามหายาน ตอน นิกายมาธยมิกะพุทธศาสนามหายาน ตอน นิกายมาธยมิกะ
พุทธศาสนามหายาน ตอน นิกายมาธยมิกะPadvee Academy
 
เทศกาลและพิธีกรรมทางศาสนา
เทศกาลและพิธีกรรมทางศาสนาเทศกาลและพิธีกรรมทางศาสนา
เทศกาลและพิธีกรรมทางศาสนาCC Nakhon Pathom Rajabhat University
 
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๔ ญาณวิทยา
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๔ ญาณวิทยาปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๔ ญาณวิทยา
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๔ ญาณวิทยาPadvee Academy
 
พระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนาพระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนาPadvee Academy
 
ธรรมนิเทศ Dhamma Communication
ธรรมนิเทศ Dhamma Communicationธรรมนิเทศ Dhamma Communication
ธรรมนิเทศ Dhamma CommunicationPadvee Academy
 
ศาสนาชินโต
ศาสนาชินโตศาสนาชินโต
ศาสนาชินโตPadvee Academy
 
บทที่ 2 วิวัฒนาการของการบริหารราชการไทย
บทที่ 2 วิวัฒนาการของการบริหารราชการไทยบทที่ 2 วิวัฒนาการของการบริหารราชการไทย
บทที่ 2 วิวัฒนาการของการบริหารราชการไทยSaiiew
 
บทที่ 6 นิพพาน
บทที่ 6 นิพพานบทที่ 6 นิพพาน
บทที่ 6 นิพพานOnpa Akaradech
 
หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่
หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่
หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่Theeraphisith Candasaro
 
วิชาพุทธปรัชญา : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและปรัชญา
วิชาพุทธปรัชญา : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและปรัชญาวิชาพุทธปรัชญา : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและปรัชญา
วิชาพุทธปรัชญา : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและปรัชญาPadvee Academy
 
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๖ ปรัชญาตะวันออก
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๖ ปรัชญาตะวันออกปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๖ ปรัชญาตะวันออก
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๖ ปรัชญาตะวันออกPadvee Academy
 

What's hot (20)

กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๒
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๒กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๒
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๒
 
กรรมฐาน (เอกสาร ๑)
กรรมฐาน (เอกสาร ๑)กรรมฐาน (เอกสาร ๑)
กรรมฐาน (เอกสาร ๑)
 
สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus of The True Law)
สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus of The True Law)สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus of The True Law)
สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus of The True Law)
 
วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในสมัยสุโขทัย
วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในสมัยสุโขทัยวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในสมัยสุโขทัย
วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในสมัยสุโขทัย
 
ศาสนาเชน
ศาสนาเชนศาสนาเชน
ศาสนาเชน
 
ปริศนาธรรมในพุทธปรัชญา
ปริศนาธรรมในพุทธปรัชญาปริศนาธรรมในพุทธปรัชญา
ปริศนาธรรมในพุทธปรัชญา
 
พุทธศาสนามหายาน ตอน นิกายมาธยมิกะ
พุทธศาสนามหายาน ตอน นิกายมาธยมิกะพุทธศาสนามหายาน ตอน นิกายมาธยมิกะ
พุทธศาสนามหายาน ตอน นิกายมาธยมิกะ
 
เทศกาลและพิธีกรรมทางศาสนา
เทศกาลและพิธีกรรมทางศาสนาเทศกาลและพิธีกรรมทางศาสนา
เทศกาลและพิธีกรรมทางศาสนา
 
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๔ ญาณวิทยา
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๔ ญาณวิทยาปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๔ ญาณวิทยา
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๔ ญาณวิทยา
 
พระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนาพระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนา
 
ธรรมนิเทศ Dhamma Communication
ธรรมนิเทศ Dhamma Communicationธรรมนิเทศ Dhamma Communication
ธรรมนิเทศ Dhamma Communication
 
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๑) สัปดาห์ที่ ๑
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๑) สัปดาห์ที่ ๑กรรมฐาน (สื่อการสอน ๑) สัปดาห์ที่ ๑
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๑) สัปดาห์ที่ ๑
 
การปกครองคณะสงฆ์
การปกครองคณะสงฆ์การปกครองคณะสงฆ์
การปกครองคณะสงฆ์
 
ศาสนาชินโต
ศาสนาชินโตศาสนาชินโต
ศาสนาชินโต
 
พระไตรปิฎก
พระไตรปิฎกพระไตรปิฎก
พระไตรปิฎก
 
บทที่ 2 วิวัฒนาการของการบริหารราชการไทย
บทที่ 2 วิวัฒนาการของการบริหารราชการไทยบทที่ 2 วิวัฒนาการของการบริหารราชการไทย
บทที่ 2 วิวัฒนาการของการบริหารราชการไทย
 
บทที่ 6 นิพพาน
บทที่ 6 นิพพานบทที่ 6 นิพพาน
บทที่ 6 นิพพาน
 
หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่
หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่
หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่
 
วิชาพุทธปรัชญา : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและปรัชญา
วิชาพุทธปรัชญา : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและปรัชญาวิชาพุทธปรัชญา : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและปรัชญา
วิชาพุทธปรัชญา : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและปรัชญา
 
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๖ ปรัชญาตะวันออก
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๖ ปรัชญาตะวันออกปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๖ ปรัชญาตะวันออก
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๖ ปรัชญาตะวันออก
 

Viewers also liked

พุทธวิธีในการสอน พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต)
พุทธวิธีในการสอน พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต) พุทธวิธีในการสอน พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต)
พุทธวิธีในการสอน พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต) niralai
 
พุทธศาสนากับการบริหาร
พุทธศาสนากับการบริหารพุทธศาสนากับการบริหาร
พุทธศาสนากับการบริหารAnchalee BuddhaBucha
 
345สถานการณ์วัยรุ่นไทย
345สถานการณ์วัยรุ่นไทย345สถานการณ์วัยรุ่นไทย
345สถานการณ์วัยรุ่นไทยniralai
 
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธตเธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธตGawewat Dechaapinun
 
013แนวคิดการจัดการเรียนรู้ตามแนววิถีพุทธ วัดไร่ขิง
013แนวคิดการจัดการเรียนรู้ตามแนววิถีพุทธ  วัดไร่ขิง013แนวคิดการจัดการเรียนรู้ตามแนววิถีพุทธ  วัดไร่ขิง
013แนวคิดการจัดการเรียนรู้ตามแนววิถีพุทธ วัดไร่ขิงniralai
 
บทสวดมนตร์จากพระโอษฐ์
บทสวดมนตร์จากพระโอษฐ์บทสวดมนตร์จากพระโอษฐ์
บทสวดมนตร์จากพระโอษฐ์niralai
 
กำเนิดจักรวาล
กำเนิดจักรวาลกำเนิดจักรวาล
กำเนิดจักรวาลniralai
 
ความหมายของครู
ความหมายของครูความหมายของครู
ความหมายของครูniralai
 
บทสวดมนต์แปลสามเณรภาคฤดูร้อน
บทสวดมนต์แปลสามเณรภาคฤดูร้อนบทสวดมนต์แปลสามเณรภาคฤดูร้อน
บทสวดมนต์แปลสามเณรภาคฤดูร้อนniralai
 
อาจาระของพระภิกษุสามเณร
อาจาระของพระภิกษุสามเณรอาจาระของพระภิกษุสามเณร
อาจาระของพระภิกษุสามเณรniralai
 
สัญญาใจค่ายจริยธรรม
สัญญาใจค่ายจริยธรรมสัญญาใจค่ายจริยธรรม
สัญญาใจค่ายจริยธรรมniralai
 
สมุดประจำตัวกิจกรรมเยาวชนภาคฤดูร้อน
สมุดประจำตัวกิจกรรมเยาวชนภาคฤดูร้อนสมุดประจำตัวกิจกรรมเยาวชนภาคฤดูร้อน
สมุดประจำตัวกิจกรรมเยาวชนภาคฤดูร้อนniralai
 
หน้าที่ของเลขานุการ
หน้าที่ของเลขานุการหน้าที่ของเลขานุการ
หน้าที่ของเลขานุการniralai
 
คู่มืออบรมยุวพุทธ
คู่มืออบรมยุวพุทธคู่มืออบรมยุวพุทธ
คู่มืออบรมยุวพุทธniralai
 
บทสวดมนต์แปลภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 7 บทสำหรับแข่งทักษะ
บทสวดมนต์แปลภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 7 บทสำหรับแข่งทักษะบทสวดมนต์แปลภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 7 บทสำหรับแข่งทักษะ
บทสวดมนต์แปลภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 7 บทสำหรับแข่งทักษะอุษณีษ์ ศรีสม
 
คลอด
คลอดคลอด
คลอดniralai
 
คู่มือพระวิทยากร
คู่มือพระวิทยากรคู่มือพระวิทยากร
คู่มือพระวิทยากรniralai
 

Viewers also liked (20)

พุทธวิธีในการสอน พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต)
พุทธวิธีในการสอน พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต) พุทธวิธีในการสอน พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต)
พุทธวิธีในการสอน พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต)
 
พุทธศาสนากับการบริหาร
พุทธศาสนากับการบริหารพุทธศาสนากับการบริหาร
พุทธศาสนากับการบริหาร
 
345สถานการณ์วัยรุ่นไทย
345สถานการณ์วัยรุ่นไทย345สถานการณ์วัยรุ่นไทย
345สถานการณ์วัยรุ่นไทย
 
บทท 7
บทท   7บทท   7
บทท 7
 
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธตเธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
 
013แนวคิดการจัดการเรียนรู้ตามแนววิถีพุทธ วัดไร่ขิง
013แนวคิดการจัดการเรียนรู้ตามแนววิถีพุทธ  วัดไร่ขิง013แนวคิดการจัดการเรียนรู้ตามแนววิถีพุทธ  วัดไร่ขิง
013แนวคิดการจัดการเรียนรู้ตามแนววิถีพุทธ วัดไร่ขิง
 
บทสวดมนตร์จากพระโอษฐ์
บทสวดมนตร์จากพระโอษฐ์บทสวดมนตร์จากพระโอษฐ์
บทสวดมนตร์จากพระโอษฐ์
 
กำเนิดจักรวาล
กำเนิดจักรวาลกำเนิดจักรวาล
กำเนิดจักรวาล
 
ความหมายของครู
ความหมายของครูความหมายของครู
ความหมายของครู
 
บทสวดมนต์แปลสามเณรภาคฤดูร้อน
บทสวดมนต์แปลสามเณรภาคฤดูร้อนบทสวดมนต์แปลสามเณรภาคฤดูร้อน
บทสวดมนต์แปลสามเณรภาคฤดูร้อน
 
อาจาระของพระภิกษุสามเณร
อาจาระของพระภิกษุสามเณรอาจาระของพระภิกษุสามเณร
อาจาระของพระภิกษุสามเณร
 
สัญญาใจค่ายจริยธรรม
สัญญาใจค่ายจริยธรรมสัญญาใจค่ายจริยธรรม
สัญญาใจค่ายจริยธรรม
 
วิธีการสอนแบบบรรยาย
วิธีการสอนแบบบรรยายวิธีการสอนแบบบรรยาย
วิธีการสอนแบบบรรยาย
 
สมุดประจำตัวกิจกรรมเยาวชนภาคฤดูร้อน
สมุดประจำตัวกิจกรรมเยาวชนภาคฤดูร้อนสมุดประจำตัวกิจกรรมเยาวชนภาคฤดูร้อน
สมุดประจำตัวกิจกรรมเยาวชนภาคฤดูร้อน
 
หน้าที่ของเลขานุการ
หน้าที่ของเลขานุการหน้าที่ของเลขานุการ
หน้าที่ของเลขานุการ
 
คู่มืออบรมยุวพุทธ
คู่มืออบรมยุวพุทธคู่มืออบรมยุวพุทธ
คู่มืออบรมยุวพุทธ
 
สวดมนต์แปล(ตัวใหญ่)
สวดมนต์แปล(ตัวใหญ่)สวดมนต์แปล(ตัวใหญ่)
สวดมนต์แปล(ตัวใหญ่)
 
บทสวดมนต์แปลภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 7 บทสำหรับแข่งทักษะ
บทสวดมนต์แปลภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 7 บทสำหรับแข่งทักษะบทสวดมนต์แปลภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 7 บทสำหรับแข่งทักษะ
บทสวดมนต์แปลภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 7 บทสำหรับแข่งทักษะ
 
คลอด
คลอดคลอด
คลอด
 
คู่มือพระวิทยากร
คู่มือพระวิทยากรคู่มือพระวิทยากร
คู่มือพระวิทยากร
 

Similar to พุทธวิธีในการสอน(ศึกษาวิจัยจากพระไตรปิฎก)

บทที่ 2วิจัยการอ่าน
บทที่ 2วิจัยการอ่านบทที่ 2วิจัยการอ่าน
บทที่ 2วิจัยการอ่านKanjana Pothinam
 
เทคนิคการสอน
เทคนิคการสอนเทคนิคการสอน
เทคนิคการสอนkittitach06709
 
Unit1-2_คุณธรรมของครูและนักเรียน
Unit1-2_คุณธรรมของครูและนักเรียนUnit1-2_คุณธรรมของครูและนักเรียน
Unit1-2_คุณธรรมของครูและนักเรียนKasem S. Mcu
 
โพธิยาลัย เดือน กุมภาพันธ์ 2555
โพธิยาลัย เดือน กุมภาพันธ์ 2555โพธิยาลัย เดือน กุมภาพันธ์ 2555
โพธิยาลัย เดือน กุมภาพันธ์ 2555Panda Jing
 
การอสอนประวัติศาสตร์
การอสอนประวัติศาสตร์การอสอนประวัติศาสตร์
การอสอนประวัติศาสตร์teacherhistory
 
Jerome bruner
Jerome  brunerJerome  bruner
Jerome brunersofia-m15
 
Jerome bruner
Jerome  brunerJerome  bruner
Jerome brunersoh26
 
ครูผู้ช่วย ภารกิจ
ครูผู้ช่วย ภารกิจครูผู้ช่วย ภารกิจ
ครูผู้ช่วย ภารกิจShe's Kukkik Kanokporn
 
4 การอ่านอย่างมีประสิทธิภาพ(108-147)
4 การอ่านอย่างมีประสิทธิภาพ(108-147)4 การอ่านอย่างมีประสิทธิภาพ(108-147)
4 การอ่านอย่างมีประสิทธิภาพ(108-147)อัมพร ศรีพิทักษ์
 
5 การฟังและการดูอย่างมีประสิทธิภาพ(154-183)
5 การฟังและการดูอย่างมีประสิทธิภาพ(154-183)5 การฟังและการดูอย่างมีประสิทธิภาพ(154-183)
5 การฟังและการดูอย่างมีประสิทธิภาพ(154-183)อัมพร ศรีพิทักษ์
 
โรงเรียนคุณธรรมชั้นนำ (Good practice)
โรงเรียนคุณธรรมชั้นนำ (Good practice)โรงเรียนคุณธรรมชั้นนำ (Good practice)
โรงเรียนคุณธรรมชั้นนำ (Good practice)yana54
 

Similar to พุทธวิธีในการสอน(ศึกษาวิจัยจากพระไตรปิฎก) (20)

บทที่ 2วิจัยการอ่าน
บทที่ 2วิจัยการอ่านบทที่ 2วิจัยการอ่าน
บทที่ 2วิจัยการอ่าน
 
เทคนิคการสอน
เทคนิคการสอนเทคนิคการสอน
เทคนิคการสอน
 
Unit1-2_คุณธรรมของครูและนักเรียน
Unit1-2_คุณธรรมของครูและนักเรียนUnit1-2_คุณธรรมของครูและนักเรียน
Unit1-2_คุณธรรมของครูและนักเรียน
 
โพธิยาลัย เดือน กุมภาพันธ์ 2555
โพธิยาลัย เดือน กุมภาพันธ์ 2555โพธิยาลัย เดือน กุมภาพันธ์ 2555
โพธิยาลัย เดือน กุมภาพันธ์ 2555
 
ระดับครูผู้ช่วย
ระดับครูผู้ช่วยระดับครูผู้ช่วย
ระดับครูผู้ช่วย
 
บทที่ 2.ใหม่
บทที่ 2.ใหม่บทที่ 2.ใหม่
บทที่ 2.ใหม่
 
การอสอนประวัติศาสตร์
การอสอนประวัติศาสตร์การอสอนประวัติศาสตร์
การอสอนประวัติศาสตร์
 
การอสอนประวัติศาสตร์
การอสอนประวัติศาสตร์การอสอนประวัติศาสตร์
การอสอนประวัติศาสตร์
 
Jerome bruner
Jerome  brunerJerome  bruner
Jerome bruner
 
Jerome bruner
Jerome  brunerJerome  bruner
Jerome bruner
 
Jerome bruner
Jerome  brunerJerome  bruner
Jerome bruner
 
Socratic method
Socratic methodSocratic method
Socratic method
 
Socratic method
Socratic methodSocratic method
Socratic method
 
ระดับครูผู้ช่วยนวัตกรรม
ระดับครูผู้ช่วยนวัตกรรมระดับครูผู้ช่วยนวัตกรรม
ระดับครูผู้ช่วยนวัตกรรม
 
ระดับครูผู้ช่วยนวัตกรรม
ระดับครูผู้ช่วยนวัตกรรมระดับครูผู้ช่วยนวัตกรรม
ระดับครูผู้ช่วยนวัตกรรม
 
ครูผู้ช่วย ภารกิจ
ครูผู้ช่วย ภารกิจครูผู้ช่วย ภารกิจ
ครูผู้ช่วย ภารกิจ
 
4 การอ่านอย่างมีประสิทธิภาพ(108-147)
4 การอ่านอย่างมีประสิทธิภาพ(108-147)4 การอ่านอย่างมีประสิทธิภาพ(108-147)
4 การอ่านอย่างมีประสิทธิภาพ(108-147)
 
ทดลองส่ง 538144213
ทดลองส่ง 538144213ทดลองส่ง 538144213
ทดลองส่ง 538144213
 
5 การฟังและการดูอย่างมีประสิทธิภาพ(154-183)
5 การฟังและการดูอย่างมีประสิทธิภาพ(154-183)5 การฟังและการดูอย่างมีประสิทธิภาพ(154-183)
5 การฟังและการดูอย่างมีประสิทธิภาพ(154-183)
 
โรงเรียนคุณธรรมชั้นนำ (Good practice)
โรงเรียนคุณธรรมชั้นนำ (Good practice)โรงเรียนคุณธรรมชั้นนำ (Good practice)
โรงเรียนคุณธรรมชั้นนำ (Good practice)
 

More from niralai

334กุศลกรรมบถ10
334กุศลกรรมบถ10334กุศลกรรมบถ10
334กุศลกรรมบถ10niralai
 
332วันอาสาฬหบูชา
332วันอาสาฬหบูชา332วันอาสาฬหบูชา
332วันอาสาฬหบูชาniralai
 
331วันเข้าพรรษา
331วันเข้าพรรษา331วันเข้าพรรษา
331วันเข้าพรรษาniralai
 
338มารยาทไทย
338มารยาทไทย338มารยาทไทย
338มารยาทไทยniralai
 
337ประวัติพระพุทธศาสนา
337ประวัติพระพุทธศาสนา337ประวัติพระพุทธศาสนา
337ประวัติพระพุทธศาสนาniralai
 
335เข้าใจในมิตร(มิตรแท้ มิตรเทียม)
335เข้าใจในมิตร(มิตรแท้ มิตรเทียม)335เข้าใจในมิตร(มิตรแท้ มิตรเทียม)
335เข้าใจในมิตร(มิตรแท้ มิตรเทียม)niralai
 
336เบญจศีล
336เบญจศีล336เบญจศีล
336เบญจศีลniralai
 
340วัฒนธรรมชาวพุทธ
340วัฒนธรรมชาวพุทธ340วัฒนธรรมชาวพุทธ
340วัฒนธรรมชาวพุทธniralai
 
339ระวังอย่าให้อาย!
339ระวังอย่าให้อาย!339ระวังอย่าให้อาย!
339ระวังอย่าให้อาย!niralai
 
344สถานการณ์เด็กและเยาวชน ดร.อมรวิศ
344สถานการณ์เด็กและเยาวชน ดร.อมรวิศ344สถานการณ์เด็กและเยาวชน ดร.อมรวิศ
344สถานการณ์เด็กและเยาวชน ดร.อมรวิศniralai
 
343ศิลปการพูด
343ศิลปการพูด343ศิลปการพูด
343ศิลปการพูดniralai
 
342วิธีสร้างสุข5
342วิธีสร้างสุข5342วิธีสร้างสุข5
342วิธีสร้างสุข5niralai
 
341วันออกพรรษา
341วันออกพรรษา341วันออกพรรษา
341วันออกพรรษาniralai
 
346สังคมศึกษา ป.3 เรื่องวันเข้าพรรษา
346สังคมศึกษา ป.3 เรื่องวันเข้าพรรษา346สังคมศึกษา ป.3 เรื่องวันเข้าพรรษา
346สังคมศึกษา ป.3 เรื่องวันเข้าพรรษาniralai
 
347สังคมศึกษา ป.5สมบัติของผู้ดี
347สังคมศึกษา ป.5สมบัติของผู้ดี347สังคมศึกษา ป.5สมบัติของผู้ดี
347สังคมศึกษา ป.5สมบัติของผู้ดีniralai
 
348สังคมศึกษา วันสำคัญทางศาสนาพุทธ12
348สังคมศึกษา วันสำคัญทางศาสนาพุทธ12348สังคมศึกษา วันสำคัญทางศาสนาพุทธ12
348สังคมศึกษา วันสำคัญทางศาสนาพุทธ12niralai
 
350สารานิยธรรม6
350สารานิยธรรม6350สารานิยธรรม6
350สารานิยธรรม6niralai
 
349สังคหวัตถุ4
349สังคหวัตถุ4349สังคหวัตถุ4
349สังคหวัตถุ4niralai
 
351หน้าที่ชาวพุทธ3
351หน้าที่ชาวพุทธ3351หน้าที่ชาวพุทธ3
351หน้าที่ชาวพุทธ3niralai
 
098ชีวิตวัยรุ่น
098ชีวิตวัยรุ่น098ชีวิตวัยรุ่น
098ชีวิตวัยรุ่นniralai
 

More from niralai (20)

334กุศลกรรมบถ10
334กุศลกรรมบถ10334กุศลกรรมบถ10
334กุศลกรรมบถ10
 
332วันอาสาฬหบูชา
332วันอาสาฬหบูชา332วันอาสาฬหบูชา
332วันอาสาฬหบูชา
 
331วันเข้าพรรษา
331วันเข้าพรรษา331วันเข้าพรรษา
331วันเข้าพรรษา
 
338มารยาทไทย
338มารยาทไทย338มารยาทไทย
338มารยาทไทย
 
337ประวัติพระพุทธศาสนา
337ประวัติพระพุทธศาสนา337ประวัติพระพุทธศาสนา
337ประวัติพระพุทธศาสนา
 
335เข้าใจในมิตร(มิตรแท้ มิตรเทียม)
335เข้าใจในมิตร(มิตรแท้ มิตรเทียม)335เข้าใจในมิตร(มิตรแท้ มิตรเทียม)
335เข้าใจในมิตร(มิตรแท้ มิตรเทียม)
 
336เบญจศีล
336เบญจศีล336เบญจศีล
336เบญจศีล
 
340วัฒนธรรมชาวพุทธ
340วัฒนธรรมชาวพุทธ340วัฒนธรรมชาวพุทธ
340วัฒนธรรมชาวพุทธ
 
339ระวังอย่าให้อาย!
339ระวังอย่าให้อาย!339ระวังอย่าให้อาย!
339ระวังอย่าให้อาย!
 
344สถานการณ์เด็กและเยาวชน ดร.อมรวิศ
344สถานการณ์เด็กและเยาวชน ดร.อมรวิศ344สถานการณ์เด็กและเยาวชน ดร.อมรวิศ
344สถานการณ์เด็กและเยาวชน ดร.อมรวิศ
 
343ศิลปการพูด
343ศิลปการพูด343ศิลปการพูด
343ศิลปการพูด
 
342วิธีสร้างสุข5
342วิธีสร้างสุข5342วิธีสร้างสุข5
342วิธีสร้างสุข5
 
341วันออกพรรษา
341วันออกพรรษา341วันออกพรรษา
341วันออกพรรษา
 
346สังคมศึกษา ป.3 เรื่องวันเข้าพรรษา
346สังคมศึกษา ป.3 เรื่องวันเข้าพรรษา346สังคมศึกษา ป.3 เรื่องวันเข้าพรรษา
346สังคมศึกษา ป.3 เรื่องวันเข้าพรรษา
 
347สังคมศึกษา ป.5สมบัติของผู้ดี
347สังคมศึกษา ป.5สมบัติของผู้ดี347สังคมศึกษา ป.5สมบัติของผู้ดี
347สังคมศึกษา ป.5สมบัติของผู้ดี
 
348สังคมศึกษา วันสำคัญทางศาสนาพุทธ12
348สังคมศึกษา วันสำคัญทางศาสนาพุทธ12348สังคมศึกษา วันสำคัญทางศาสนาพุทธ12
348สังคมศึกษา วันสำคัญทางศาสนาพุทธ12
 
350สารานิยธรรม6
350สารานิยธรรม6350สารานิยธรรม6
350สารานิยธรรม6
 
349สังคหวัตถุ4
349สังคหวัตถุ4349สังคหวัตถุ4
349สังคหวัตถุ4
 
351หน้าที่ชาวพุทธ3
351หน้าที่ชาวพุทธ3351หน้าที่ชาวพุทธ3
351หน้าที่ชาวพุทธ3
 
098ชีวิตวัยรุ่น
098ชีวิตวัยรุ่น098ชีวิตวัยรุ่น
098ชีวิตวัยรุ่น
 

พุทธวิธีในการสอน(ศึกษาวิจัยจากพระไตรปิฎก)

  • 1. โครงการธรรมศึกษาวิจัย พุทธวิธีในการสอน: ศึกษาจากคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกาตลอดจนคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ธีรวัส บาเพ็ญบุญบารมี ผู้อานวยการหลักสูตร มหาบัณฑิตสาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ธรรมศึกษาวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาค้นคว้าเพื่อเป็นหลักฐานทาง วิชาการทางพระพุทธศาสนา ตามหลักสูตรวิจัยคัมภีร์พระพุทธศาสนา มูลนิธิเบญจนิกาย พุทธศักราช ๒๕๕๐ พิมพ์ครั้งที่ ๑ ๕๐๐ เล่ม เพื่อเป็นธรรมทานไม่สงวนลิขสิทธิ์
  • 2. คำนำ ในหนังสือเล่มนี้รวบรวมและสกัดขึ้น พุทธวิธีในการสอน เพื่อให้เข้าถึง หลักการปฏิบัติธรรมอันแป็นเกี่ยวกับคาสอนที่เป็นพุทธพจน์หรือเถระ เถรีที่มี ความสาคัญยิ่ง โดยอ้างอิงจากพระไตรปิฏกและตาราอรรถกถา เจตนาหนังเสือเล่มนี้ เพื่อเข้าถึงแก่นแห่งธรรม พุทธวิธีในการสอน อันสกัด จากคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาถือว่าเป็นคัมภีร์สาคัญและเป็นที่ศึกษาของวงการ พระพุทธศาสนา และ เพื่อให้ศาสนาพุทธได้ธารงยิ่งยืนนาน จึงศึกษาค้นคว้าหาแห่ง ที่มาสรุปเป็นบทโดยย่อง่ายต่อความเข้าใจ และจดจา ผลของงานเขียนครั้งนี้บางจุด ได้นามาจากข้อมูลเดิมที่ยังไม่ทราบว่าผู้ใดเขียนไว้ก็ขอให้เกิดผลบุญแก่ท่านผู้นั้น ด้วย รวมถึงบุพการีครูอาจารย์ตลอดผู้มีคุณทุกท่านขออานาจแห่งเจตนานี้เป็นปัจจัย ให้ทุกท่านถึงที่สุดแห่งทุกข์และสิ้นสุดแห่งกองกิเลส เข้าสู่พระนิพพานโดยทั่วหน้า กัน ธีรเมธี ธีรวัส บาเพ็ญบุญบารมี มหาบัณฑิตพุทธศาสน์ แห่งมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • 3. บทที่ ๑ พุทธวิธีในการสอน  ข้อสรุปพระคุณสมบัตของพระพุทธเจ้าที่ควรสังเกต  หลักทั่วไปในการสอน  ลีลาการสอน  วิธีการสอบแบบต่างๆ  กลวิธี และอุบายประกอบการสอน  นิเทศอาทิตตปริยายสูตร  ข้อควรสังเกตุในแง่การสอน ข้อสรุปพระคุณสมบัติของพระพุทธเจ้าที่ควรสังเกต 1. ทรงสอนสิ่งที่เป็นจริง และเป็นประโยชน์แก่ผู้ฟัง 2. ทรงรู้เข้าใจสิ่งที่สอนอย่างถ่องแท้สมบูรณ์ 3. ทรงสอนด้วยเมตตา มุ่งประโยชน์แก่ผู้รับคาสอนเป็นที่ตั้งไม่หวัง ผลตอบแทน 4. ทรงทาได้จริงอย่างที่สอน เป็นตัวอย่างที่ดี 5. ทรงมีบุคลิกภาพโน้มน้าวจิตใจให้เข้าใกล้ชิดสนิทสนม และพึงพอใจได้ ความสุข 6. ทรงมีหลักการสอน และวิธีสอนยอดเยี่ยม หลักทั่วไปในการสอน  เกี่ยวกับเนื้อหา หรือเรื่องที่สอน
  • 4. ๔ 1. สอนจากสิ่งที่รู้เห็นเข้าใจง่าย หรือรู้เห็นเข้าใจอยู่แล้ว ไปหาสิ่งที่ เห็นเข้าใจได้ยาก หรือยังไม่รู้ไม่เห็นไม่เข้าใจ 2. สอนเนื้อเรื่องที่ค่อยลุ่มลึก ยากลงไปตามลาดับขั้น และความ ต่อเนื่องกันเป็นสายลงไป อย่างที่เรียกว่า สอนเป็นอนุบุพพิกถา.. 3. ถ้าสิ่งที่สอนเป็นสิ่งที่แสดงได้ ก็สอนด้วยของจริง ให้ผู้เรียน ได้ดู ได้เห็น ได้ฟังเอง อย่างที่เรียกว่าประสบการณ์ตรง 4. สอนตรงเนื้อหา ตรงเรื่อง คุมอยู่ในเรื่อง มีจุด ไม่วกวน ไม่ไขว้เขว ไม่ออกนอกเรื่องโดยไม่มีอะไรเกี่ยวข้องในเนื้อหา 5. สอนมีเหตุผล ตรองตามเห็นจริงได้ อย่างที่เรียกว่า สนิทาน 6. สอนเท่าที่จาเป็นพอดี สาหรับให้เกิดความเข้าใจ ให้เการเรียนรู้ ได้ผล ไม่ใช่สอนเท่าที่ตนรู้ หรือสอนแสดงภูมิว่าผู้สอนมีความรู้ มาก 7. สอนสิ่งที่มีความหมาย ควรที่เขาจะเรียนรู้ และเข้าใจ เป็น ประโยชน์แก่ตัวเขาเอง อย่างพุทธพจน์ที่ว่า พระองค์ทรงมีพระ เมตตา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลาย จึงตรัสพระวาจาตามหลัก 6 ประการคือ 1. คาพูดที่ไม่จริง ไม่ถูกต้อง ไม่เป็นประโยชน์ ไม่เป็นที่รัก ที่ ชอบใจของผู้อื่น - ไม่ตรัส 2. คาพูดที่จริง ถูกต้อง แต่ไม่เป็นประโยชน์ ไม่เป็นที่รักที่ ชอบใจของผู้อื่น - ไม่ตรัส 3. คาพูดที่จริง ถูกต้อง เป็นประโยชน์ ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจ ของผู้อื่น - เลือกกาลตรัส
  • 5. 4. คาพูดที่ไม่จริง ไม่ถูกต้อง ไม่เป็นประโยชน์ ถึงเป็นที่รักที่ ชอบใจของผู้อื่น - ไม่ตรัส 5. คาพูดที่จริง ถูกต้อง ไม่เป็นประโยชน์ ถึงเป็นที่รักที่ชอบ ใจของผู้อื่น - ไม่ตรัส 6. คาพูดที่จริง ถูกต้อง เป็นประโยชน์ เป็นที่รักที่ชอบใจของ ผู้อื่น - เลือกกาลตรัส ลักษณะของพระพุทธเจ้าในเรื่องนี้ คือ ทรงเป็นกาลวาที สัจจวาที ภูตวาที อัตถวาที ธรรม วาที วินัยวาที * เกี่ยวกับตัวผู้ศึกษา 1. รู้ คานึงถึง และสอนให้เหมาะสมตามความแตกต่างระหว่าง บุคคล... 2. ปรับวิธีสอนผ่อนให้เหมาะกับบุคคล แม้สอนเรื่องเดียวกันแต่ต่าง บุคคล อาจใช้ต่างวิธี 3. นอกจากคานึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลแล้ว ผู้สอนยัง จะต้องคานึงถึงความพร้อม ความสุกงอม ความแก่รอบแห่ง อินทรีย์ หรือญาณ ที่บาลี เรียกว่า ปริปากะ ของผู้เรียนแต่ละ บุคคลเป็นรายๆ ไปด้วย 4. สอนโดยให้ผู้เรียนลงมือทาด้วยตนเอง ซึ่งจะช่วยให้เกิดความรู้ ความเข้าใจชัดเจน แม่นยาและได้ผลจริง เช่น ทรงสอนพระจูฬปัน ถกผู้โง่เขลาด้วยการให้นาผ้าขาวไปลูบคลา... 5. การสอนดาเนินไปในรูปที่ให้รู้สึกว่าผู้เรียน กับผู้สอนมีบทบาท
  • 6. ร่วมกัน ในการแสวงความจริง ให้มีการแสดงความคิดเห็นโต้ตอบ เสรี หลักนี้เป็นข้อสาคัญในวิธีการแห่งปัญญา ซึ่งต้องการ อิสรภาพในทางความคิด และโดยวิธีนี้เมื่อเข้าถึงความจริง ผู้เรียน ก็จะรู้สึกว่าตนได้มองเห็นความจริงด้วยตนเอง และมีความชัดเจน มั่นใจ หลักนี้เป็นหลักที่พระพุทธเจ้าทรงใช้เป็นประจา และมักมา ในรูปการถามตอบ 6. เอาใจใส่บุคคลที่ควรได้รับความสนใจพิเศษเป็นรายๆ ไปตามควร แก่กาละเทศะ และเหตุการณ์... 7. ช่วยเหลือเอาใจใส่คนที่ด้อย ที่มีปัญหา... 8. ในการสอนนั้น การเริ่มต้นเป็นจุดสาคัญมากอย่างหนึ่ง เริ่มต้นที่ดี มีส่วนช่วยให้การสอนสาเร็จผลดีเป็นอย่างมาก อย่างน้อย ก็เป็น เครื่องดึงความสนใจ และนาเข้าสู่เนื้อหาได้ พระพุทธเจ้าทรงมีวิธี เริ่มต้นที่น่าสนใจมาก โดยปกติพระองค์จะไม่ทรงเริ่มสอนด้วยการ เข้าสู่เนื้อหาธรรมที่เดียว แต่จะทรงเริ่มสนทนากับผู้ทรงพบ หรือผู้ มาเฝ้าด้วยเรื่อที่เขารู้เข้าใจดี หรือสนใจอยู่... 9. สร้างบรรยากาศในการสอนให้ปลอดโปร่ง เพลิดเพลินไม่ให้ตึง เครียด ไม่ให้เกิดความอึดอัดใจ และให้เกียรติแก่ผู้เรียน ให้เขามี ความภูมิใจในตัว 10. สอนมุ่งเนื้อหา มุ่งให้เกิดความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่สอนเป็น สาคัญ ไม่กระทบตนและผู้อื่น ไม่มุ่งยกต ไม่มุ่งเสียดสีใครๆ... 11. สอนโดยเคารพ คือ ตั้งใจสอน ทาจริง ด้วยความรู้สึกว่าเป็นสิ่มีค่า มองเห็นความสาคัญของผู้เรียน และงาสั่งสอนนั้น ไม่ใช้สักว่าทา
  • 7. หรือเห็นผู้เรียนโง่เขลา หรือเห็นเป็นชั้นต่าๆ 12. ใช้ภาษาสุภาพ นุ่มนวล ไม่หยาบคาย ชวนให้สบายใจ สละสลวย เข้าใจง่าย ขอนาพุทธพจน์แห่งหนึ่ง ที่ตรัสสอนภิกษุผู้แสดงธรรมเรียกกันว่า องค์แห่ง พระธรรมกถึก มาแสดงไว้ดังนี้ "อานนท์ การแสดงธรรมให้คนอื่นฟัง มิใช่สิ่งที่กระทาได้ง่าย ผู้แสดงธรรม แก่คนอื่น พึงตั้งธรรม 5 อย่างไว้ในใจ คือ 1. เราจักกล่าวชี้แจงไปตามลาดับ 2. เราจักกล่าวชี้แจงยกเหตุผลมาแสดงให้เข้าใจ 3. เราจักแสดงด้วยอาศัยเมตตา 4. เราจักไม่แสดงด้วยเห็นแก่อามิส 5. เราจักแสดงไปโดยไม่กระทบตน และผู้อื่น " ลีลาการสอน คุณลักษณะซึ่งเรียกได้ว่าเป็นลีลาในการสอน 4 อย่าดังนี้ 1. อธิบายให้เห็นชัดเจนแจ่มแจ้ง เหมือจูงมือไปดูเห็นกับตา (สันทัสสนา) 2. ชักจูงใจให้เห็นจริงด้วย ชวนให้คล้อยตามจนต้อยอมรับ และนาไปปฏิบัติ (สมาทปนา) 3. เร้าใจให้แกล้วกล้า บังเกิดกาลังใจ ปลุกให้มีอุตสาหะแข็งขัน มั่นใจว่าจะ ทาให้สาเร็จได้ ไม่หวั่นระย่อต่อความเหนื่อยยาก ( สมุตตเตชนา)
  • 8. 4. ชโลมใจให้แช่มชื่น ร่าเริง เบิกบาน ฟังไม่เบื่อ และเปี่ยมด้วยความหวัง เพราะมองเห็นคุณประโยชน์ที่ตนจะพึงได้รับจากกาปฏิบัติ (สัมปหังสนา) อาจผูกเป็นคาสั้นๆ ได้ว่า แจ่มแจ้ง จูงใจ หาญกล้า ร่าเริง หรือชี้ชัด เชิญ ชวน คึกคัก เบิกบาน วิธีสอนแบบต่างๆ วิธีการสอนของพระพุทธเจ้า มีหลายแบบหลายอย่าง ที่น่าสังเกต หรือพบบ่อย คงจะได้แก่วิธีต่อไปนี้ 1. สนทนา (แบบสากัจฉา) 2. แบบบรรยาย 3. แบบตอบปัญหา ท่านแยกประเภทปัญหาไว้ตามลักษณะวิธีตอบเป็น 4 อย่างคือ 1. ปัญหาที่พึงตอบตรงไปตรงมาตายตัว ... (เอกังสพยากรณีย ปัญหา) 2. ปัญหาที่พึงย้อนถามแล้วจึงแก้ ... (ปฎิปุจฉาพยากรณียปัญหา) 3. ปัญหาที่จะต้องแยกความตอบ ... (วิภัชชพยากรณียปัญหา) 4. ปัญหาที่พึงยับยั้งเสีย (ฐปนียปัญหา) ได้แก่ ปัญหาที่ถามนอก เรื่อง ไร้ประโยชน์ อันจักเป็นเหตุให้เขว ยืดเยื้อ สิ้นเปลืองเวลา เปล่า พึงยับยั้งเสีย แล้วชักนาผู้ถามกลับเข้าสู่แนวเรื่องที่ประสงค์ 4. แบบวางกฎข้อบังคับ เมื่อเกิดเรื่องมีภิกษุกระทาความผิดอย่างใดอย่าง หนึ่งขึ้นเป็นครั้งแรก
  • 9. กลวิธี และอุบายประกอบการสอน 1. การยกอุทาหรณ์ และการเล่านิทานประกอบ การยกตัวอย่างประกอบ คาอธิบาย และการเล่านิทานประกอบการสอนช่วยให้เข้าใจความได้ง่าย และชัดเจน ช่วยให้จาแม่นยา เห็นจริง และเกิดความเพลิดเพลิน ทาให้การ เรียนการสอนมีรสยิ่งขึ้น... 2. การเปรียบเทียบด้วยข้ออุปมา คาอุปมาช่วยให้เรื่องที่ลึกซึ้งเข้าใจยาก ปรากฏความหมายเด่นชัดออกมา และเข้าใจง่ายขึ้น โดยเฉพาะมักใช้ใน การอธิบายสิ่งที่เป็นนามธรรม หรือแม้เปรียบเรื่องที่เป็นรูปธรรมด้วยข้อ อุปมาแบบรูปธรรม ก็ช่วยให้ความหนักแน่นเข้า... การใช้อุปมานี้ น่าจะ เป็นกลวิธีประกอบการสอนที่พระพุทธองค์ทรงใช้มากที่สุด มากกว่ากลวิธี อื่นใด 3. การใช้อุปกรณ์การสอน ในสมัยพุทธกาล ย่อมไม่มีอุปกรณ์การสอนชนิด ต่างๆ ที่จัดทาขึ้นไว้เพื่อการสอนโดยเฉพาะ เหมือนสมัยปัจจุบัน เพราะยัง ไม่มีการจัดการศึกษาเป็นระบบขึ้นมากอย่างกว้างขวาง หากจะใช้อุปกรณ์ บ้าง ก็คงต้องอาศัยวัตถุสิ่งของที่มีในธรรมชาติ หรือเครื่องใช้ต่างๆ ที่ผู้คน ใช้กันอยู่ 4. การทาเป็นตัวอย่าง วิธีสอนที่ดีที่สุดอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะในทางจริยธรรม คือการทาเป็นตัวอย่าง ซึ่งเป็นการสอนแบบไม่ต้องกล่าวสอน เป็นทานอง การสาธิตให้ดู แต่ที่พระพุทธเจ้าทรงกระทานั้นเป็นไปในรูปทรงเป็นผู้นาที่ดี การสอนโดยทาเป็นตัวอย่าง ก็คือ พระจริยวัตรอันดีงามที่เป็นอยู่โดยปกติ นั้นเอง แต่ที่ทรงปฏิบัติเป็นเรื่องราวเฉพาะก็มี...
  • 10. ๑๐ 5. การเล่นภาษา เล่นคา และใช้คาในความหมายใหม่ การเล่นภาษาและการ เล่นคา เป็นเรื่องของความสามารถในการใช้ภาษาผสมกับปฏิภาณ ข้อนี้ก็ เป็นการแสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถของพระพุทธเจ้าที่มีรอบไปทุก ด้าน...แม้ในการสอนหลักธรรมทั่วไป พระองค์ก็ทรงรับเอาคาศัพท์ที่มีอยู่ แต่เดิมในลัทธิศาสนาเก่ามาใช้ แต่ทรงกาหนดความหมายใหม่ ซึงเป็น วิธีการช่วยให้ผู้ฟังผู้เรียนหันมาสนใจ และกาหนดคาสอนได้ง่าย เพียงแต่ มาทาความเข้าใจเสียใหม่เท่านั้น และเป็นการช่วยให้มีการพิจารณา เปรียบเทียบไปในตัวด้วยว่าอย่างไหนถูก อย่างไหนผิดอย่างไร จึงเห็นได้ ว่า คาว่า พรหม พราหมณ์ อริยะ ยัญ ตบะ ไฟบูชายัญ ฯลฯ ซึ่งคาในลัทธิ ศาสนาเดิม ก็มีใช้ในพระพุทธศาสนาด้วยทั้งสิ้น แต่มีความหมายต่าง ออกไปเป็นอย่างใหม่ 6. อุบายเลือกคน และการปฏิบัติรายบุคคล การเลือกคนเป็นอุบายสาคัญใน การเผยแพร่ศาสนา ในการประกาศธรรมของพระพุทธเจ้า เริ่มแต่ระยะแรก ประดิษฐานพระพุทธศาสนาจะเห็นได้ว่าพระพุทธเจ้าทรงดาเนินพุทธกิจ ด้วยพระพุทโธบายอย่างทีเรียกว่า การวางแผนที่ได้ผลยิ่ง ทรงพิจารณาว่า เมื่อจะเข้าไปประกาศพระศาสนาในถิ่นใดถิ่นหนึ่งควรไปโปรดใครก่อน 7. การรู้จักจังหวะ และโอกาส ผู้สอนต้องรู้จักใช้จังหวะ และโอกาสให้เป็น ประโยชน์ 8. ความยืดหยุ่นในการใช้วิธีการ ถ้าผู้สอนสอนอย่างไม่มีอัตตา ตัดตัณหา มานะ ทิฏฐิเสียให้น้อยที่สุด ก็จะมุ่งไปยังผลสาเร็จในการเรียนรู้เป็นสาคัญ สุดแต่จะใช้กลวิธีใดให้การสอนได้ผลดีที่สุด ก็จะทาในทางนั้น ไม่กลัวว่า จะเสียเกียรติ ไม่กลัวจะถูกรู้สึกว่าแพ้
  • 11. ๑๑ 9. การลงโทษ และให้รางวัล การใช้อานาจลงโทษ ไม่ใช้การฝึกคนของ พระพุทธเจ้า แม้ในการแสดงธรรมตามปกติพระองค์ ก็แสดงไปตามเนื้อหา ธรรมไม่กระทบกระทั้งใคร... การสอนไม่ต้องลงโทษ เป็นการแสดง ความสามารถของผู้สอนด้วย ในระดับสามัญ สาหรับผู้สอนทั่วไป อาจต้อง คิดคานึงว่าการลงโทษ ควรมีหรือไม่ แค่ไหน และอย่างไร แต่ผู้ที่สอนคนได้ สาเร็จผลโดยไม่ต้องใช้อาญาโทษเลย ย่อมชื่อว่าเป็นผู้มีความสามารถใน การสอนมากที่สุด 10. กลวิธีแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นต่างครั้ง ต่างคาว ย่อมมีลักษณะแตกต่างกันไปไม่มีที่สิ้นสุด การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าย่อม อาศัยปฏิภาณ คือ ความสามารถในการประยุกต์หลัก วิธีการ และกลวิธี ต่างๆ มาใช้ให้เหมาะสม เป็นเรื่องเฉพาะครั้ง เฉพาะคราวไป นิเทศอาทิตตปริยายสูตร ในการพิจารณาพระสูตรนี้ เพื่อทาความเข้าใจให้เป็นประโยชน์ในการสอน ความใน พระสูตรนี้อาจสรุปได้เป็น 4 ตอนดังนี้ 1. สภาพที่เป็นปัญหา สิ่งที่พระองค์ตรัสว่าลุกเป็นไฟนั้นมีดังต่อไปนี้ o จักษุ รูป จักขุวิญญาณ จักขุสัมผัส จักขุสัมผัสสชาเวทนา o โสตะ (หู) เสียง โสตวิญญาณ โสตสัมผัส โสตสัมผัสสชา เวทนา o ฆานะ (จมูก) กลิ่น ฆานวิญญาณ ฆานสัมผัส ฆานสัมผัสสชา เวทนา o ชิวหา (ลิ้น) รส ชิวหา วิญญาณ ชิวหาสัมผัส ชิวหาสัมผัสสช เวทนา
  • 12. ๑๒ o กาย โผฎฐัพพะ กายวิญญาณ กายสัมผัส กายสัมผัสสชาเวทนา o มนะ (ใจ) ธรรมะ (ความคิดคานึงต่างๆ) มโนวิญญาณ มโนสัมผัส มโนสัมผัสสชาเวทนา 2. สาเหตุ เมื่อ กาหนดตัวปัญหาได้ และเข้าใจสภาพของปัญหาแล้ว ก็ค้นหา สาเหตุให้เกิดไป หรือตัวไฟที่เผาผลาญนั้นต่อไปได้ความว่า สิ่งที่กล่าวมา นั้น ลุกไหม้ด้วยกิเลส 3 อย่าง 8nv o ราคะ ความอยากได้ ความใคร่ ความติดใจ ความกาหนัดยินดี o โทสะ ความโกรธ ความขัดใจ ความเดือดแค้นชิงชังไม่พอใจต่างๆ o โมหะ ความหลง ความไม่รู้ ไม่เข้าใจสภาพของสิ่งทั้งหลายตาม ความเป็นจริง 3. ข้อปฏิบัติเพื่อแก้ไข พระพุทธองค์ตรัสต่อไปอีกว่า อริยสาวกผู้ได้เรียนรู้แล้ว เมื่อเห็นอยู่แย่างนี้ ย่อมหน่ายในอายตนะภายใน ภายนอก ตลอดถึง เวทนาทั้งหมดเหล่านั้น เมื่อหย่ายก็ย่อมไม่ยึดติด 4. ผล เมื่อไม่ยึดติด ก็หลุดพ้น เมื่อหลุดพ้น ก็เกิดญาณหยั่งรู้ ว่าหลุดพ้นแล้ว เป็นอันสิ้นชาติ อยู่จบพรหมจรรย์ ทาสิ่งที่จะต้องทาเสร็จสิ้นแล้ว สิ่งที่ จะต้องทาเพื่อเป็นอย่างนี้ ไม่มีเหลืออีกเลย พระธรรมเทศนา อาทิตตปริยายสูตร ที่ทรงแสดงแก่ชฏิล มีข้อควรสังเกตในแง่การ สอน ที่เป็นข้อสาคัญ 2 อย่างคือ 1. ทรงสอนให้ตรงกับความถนัด และความสนใจของชฏิล พระธรรมเทศนา ของพระพุทธเจ้า ไม่ว่าจะทรงแสดงที่ใด และแก่ใครย่อมมีจุดหมายเป็น แนวเดียวกัน คือ มุ่งให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ในสภาวะของสิ่งทั้งหลาย
  • 13. ๑๓ ตามความเป็นจริง แล้วให้มีทัศนคติ และ ปฎิบัติต่อสิ่งเหล่านั้นอย่าง ถูกต้องในทางที่เป็นประโยชน์ทั้งแก่ตน และบุคคลอื่น... 2. ทรงสอนให้ตรงกับระดับสติปัญญา และระดับชีวิตของชฏิล ข้อสาคัญยิ่ง อย่างหนึ่ง ที่พระพุทธเจ้าทรงคานึงถึงในการทรงสอน คือ ความยิ่ง และ หย่อนแห่งอินทรีย์ของผู้ฟัง ทรงพิจารณาว่าผู้ฟังมีสติปัญญาอยู่ในระดับใด ได้รับการศึกษาอบรมมาในทางใดมากน้อยเพียงไหน ดารงชีวิตอยู่อย่างไร จะต้องแสดงเรื่องอะไรเขาจึงจะรู้เข้าใจ สามารถนาไปใช้เป็นคุณประโยชน์ แก่ชีวิตของเขาได้
  • 14. ๑๔ บทที่ ๒ สาระสาคัญพุทธศาสนา การนาเสนอพุทธศาสนานั้นต้องศึกษาให้เข้าใจว่า พุทธศาสนาเป็นศาสนา สอนอะไร พุทธศาสนา จึงเป็นศาสนาที่อาศัยสติปัญญา หรือ อาศัยวิชาความรู้ที่ ถูกต้องเพื่อทาลายความทุกข์ และต้นเหตุของความทุกข์เหล่านั้น การทาพิธีรีตอง เพื่อบูชาบวงสรวง อ้อนวอนบรรดาสิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้น ไม่ใช่พุทธ ศาสนา พระพุทธเจ้าไม่รับเข้ามาไว้ในศาสนาของพระองค์เลย เพราะเป็นสิ่งที่น่า ขบขัน น่าหัวเราะ และถือเอาเป็นที่พึ่งอันแท้จริงไม่ได้ พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธการ กระทาเช่นนั้นโดยสิ้นเชิง มีคากล่าวในพระพุทธศาสนา "ความรู้ ความฉลาด และความสามารถ ที่จะทา ให้สาเร็จประโยชน์นั่นแหละ เป็นตัวฤกษ์ที่ดี อยู่ในตัวมันเองแล้ว ดวงดาวใน ท้องฟ้าจะทาอะไรได้ ประโยชน์ที่ควรจะได้ก็ผ่านพ้นคนโง่ๆ ที่มัวนั่งคานวณ ดวงดาวในท้องฟ้าไปเสียสิ้น" ดังนี้ และว่า "ถ้าน้าศักดิ์สิทธ์ในแม่น้าคงคา ฯลฯ จะ ทาให้คนหมดบาปหมดทุกข์ได้แล้ว พวกเต่า ปู ปลา หรือหอยที่อาศัยอยู่ในแม่น้า ศักดิ์สิทธิ์นั้น ก็จะหมดบาปหมดทุกข์ไปด้วยน้านั้นเหมือนกัน" หรือ "ถ้าหากว่าคน จะพ้นทุกข์ได้ด้วยการบวงสรวง บูชาอ้อนวอนเอาๆ แล้ว ในโลกนี้ก็จะไม่มีใครมี ความทุกข์เลย เพราะว่า ใครๆต่างก็บูชาอ้อนวอนเป็น" โดยเหตุที่ ยังมีคนที่มีความทุกข์ทั้งที่ได้กราบไหว้บูชาหรือทาพิธีรีตองต่างๆอยู่ จึงถือว่าไม่เป็นหนทางที่จะเอาตัวรอดได้ ฉะนั้น เราจะต้องพิจารณาโดย ละเอียดลออให้รู้ ให้เข้าใจว่าอะไรเป็นอะไร แล้วปฏิบัติต่อสิ่งนั้นๆให้ถูกต้อง พุทธศาสนาไม่ประสงค์คาดคะเน หรือทาอย่างที่เรียกว่าเผื่อจะเป็นอย่างนั้น เผื่อจะ เป็นอย่างนี้ เราจะทาไปตรงๆตามที่มองเห็นด้วยปัญญาของตัวเอง โดยไม่ต้องเชื่อ
  • 15. ๑๕ คนอื่นๆ แม้จะมีคนอื่นๆมาบอกให้ ก็ไม่ได้หมายความว่า จะต้องเชื่อเขาทันที เรา จะต้องฟังและพิจารณาจนเห็นจริงเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ แล้วจึงจะเชื่อ และพยายาม ทาให้ปรากฏผลด้วยตนเอง ศาสนาเหมือนกับของหลายเหลี่ยม ดูเหมือนหนึ่งมันก็เป็นไปอย่างหนึ่ง ดูอีกเหลี่ยม หนึ่งมันก็เป็นไปอีกอย่างหนึ่ง แล้วแต่ว่าบุคคลนั้นจะถือหลักการคิดในแนวไหนก็จะ เห็นศาสนาเดียวกันในลักษณะที่แตกต่างกันได้ แม้พุทธศาสนาก็ตกอยู่ในลักษณะ เช่นนี้ คนเราย่อมเชื่อความคิดเห็นของตัวเอง เพราะฉะนั้น ความจริง หรือสัจจะ สาหรับคนหนึ่งๆนั้น มันอยู่ตรงที่ว่าเขาเข้าใจ และมองเห็นเท่าไรเท่านั้นเเอง สิ่งที่ เรียกว่า "ความจริง" ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน คนเราเข้าถึงปัญหาหนึ่งๆ ได้ตื้นลึก กว่ากัน หรือ ด้วยลักษณะที่ต่างกัน และด้วยสติปัญญาที่ต่างกัน สิ่งใดที่อยู่เหนือ สติปัญญาความรู้ความเข้าใจของตน หรือตนยังไม่เข้าใจ คนนั้นก็ไม่ถือว่าเป็น ความจริงของเขา ไม่เป็นความแท้ความจริงของเขาเลย ความจริงของคนหนึ่งๆนั้น จะเดินคืบหน้าได้เสมอ ตามสติปัญญา ความรู้ความ เข้าใจที่เพิ่มขึ้นทุกๆวัน จนกว่าจะถึงความจริงขั้นสุดท้าย คนเรามีการศึกษามา ต่างกัน และมีหลักพิจารณาสาหรับจะเชื่อต่างๆกัน ฉะนั้น ถ้าจะ เอาสติปัญญาที่ ต่างกันมาดูพุทธศาสนา ก็จะเกิดความคิดเห็นต่างกันไป ทั้งนี้เพราะว่าพุทธศาสนา ก็มีอะไรๆครบทุกอย่างที่จะให้คนดู ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว พุทธศาสนาคือวิธีปฏิบัติ เพื่อเอาตัวรอดจากความทุกข์ โดยการทาให้รู้ความจริงว่า อะไรเป็นอะไร ตามที่พระพุทธเจ้าท่านทรงทาได้ก่อน และได้ทรงสอนไว้ แต่คัมภีร์ทางศาสนานั้นย่อมมีอะไรๆ เพิ่มขึ้นได้ ทุกโอกาศที่คน ชั้นหลังเขาจะเพิ่มเติมลงไป พระไตรปิฏกของเราก็ตกอยู่ในฐานะอย่างเดียวกัน คน
  • 16. ๑๖ ชั้นหลังๆเพิ่มเติมข้อความเข้าไปตามที่เห็นว่าจาเป็นสาหรับยุคนั้นๆ เพื่อจะช่วยให้ คนมีศรัทธามากขึ้นๆ หรือกลัวบาป รักบุญมากขึ้น ซึ่งอาจจะมากเกินขอบเขต จนกระทั่งเกิดการเมาบุญกันใหญ่ เราควรยึดกายวาจาบริสุทธิ์ให้เป็นที่ตั้งของจิตบริสุทธิ์ เพื่อให้เกิดปัญญารู้ว่า อะไรถูก แล้วประพฤติปฏิบัติไปตามนั้น อย่าได้ถือว่าถ้าเขาว่าเป็นพุทธศาสนาแล้ว ก็เป็นพุทธศาสนา เนื้องอกนั้นได้งอกมาแล้วนับตั้งแต่วันหลังจากพระพุทธเจ้า ปรินิพพาน และยังงอกเรื่อยๆมา กระจายไปทุกทิศทุกทางจนกระทั่งบัดนี้ เลยมีเนื้อ งอกก้อนโตๆอย่างมากมาย (พุทธศาสนาเนื้องอก เช่นพิธีรีตองต่างๆที่เพิ่งเกิดขึ้น และเกียวเนื่องกับพระพุทธศาสนาเพียงเล็กๆน้อยๆ ก็พลอยถูกนับเข้าเป็นพุทธ ศาสนาไปด้วยอย่างน่าสมเพช เช่น การจัดสารับคาวหวาน ผลหมากรากไม้ เพื่อ เซ่นวิญญาณของพระพุทธเจ้าอย่างที่เรียกว่าถวายข้าวพระ เป็นต้น มันเป็นสิ่งที่มี ไม่ได้ตามหลักของพุทธศาสนา แต่พุทธบริษัทบางพวกเข้าใจว่านี่เป็นพุทธศาสนา และได้สอนกันถือกัน อย่างเคร่งครัด การบวชนาคก็เกิดมีพิธีทาขวัญนาค เชื้อเชิญ แขกมาเลี้ยงดูกันอย่างเมามายเอิกเกริก ทาพิธีทั้งที่วัดและที่บ้าน บวชไม่กี่วันก็สึก ออกมา แล้วกลายเป็นคนเกลียดวัดยิ่งไปกว่าเดิมก็มี นี่ขอให้คิดดูเถิดว่า สิ่งไม่เคย มีในครั้งพุทธกาลก็ได้มีขึ้น เราหลงเรียกการทาขวัญนาค และการทาพิธีต่างๆตลอด ถึงการฉลองอะไรๆเหล่านั้น ว่าเป็นพุทธศาสนาแล้วก็นิยมทากันอย่างยิ่ง จนหมด เปลืองทรัพย์ของตนหรือของคนอื่นเท่าไรก็ไม่ว่า พุทธศาสนาใหม่ๆอย่างนี้เกิดมี มากมายแทบจะทั่วไปทุกแห่ง ธรรมะหรือของจริงที่เคยมีมาแต่ก่อนนั้น ถูกหุ้มห่อ โดยพิธีรีตองจนมิด เกิดมุ่งหมายผิดเป็นอย่างอื่นไป พวกเราเองจะไปอ้างเอา "พุทธศาสนาเนื้องอก" มาถือว่าเป็นพุทธศาสนาไม่ได้ หรือ คนในศาสนาอื่นจะมาชี้ก้อนเนื้องอกเหล่านี้ ซึ่งมีอยู่อย่างน่าบัดสีอย่างน่า
  • 17. ๑๗ ละอายว่าเป็นพุทธศาสนา ก็ไม่ถูกเหมือนกัน คือไม่เป็นการยุติธรรมเพราะสิ่งนี้ไม่ ใช้พุทธศาสนา แต่เป็น "เนื้องอก" พวกเราที่จะช่วยจรรโลงพระพุทธศาสนาเพื่อให้ เป็นที่พึ่งแก่คนทั้งหลาย หรือเพื่อประโยชน์แก่ตัวเราเองก็ตาม จะต้องรู้จักฉวยให้ ถูกตัวแท้ของพุทธศาสนา ไม่ไปถูกชิ้นเนื้อร้ายเนื้องอกดังที่กล่าวมาแล้ว แม้พุทธศาสนาตัวแท้ก็ยังมีหลายแง่หลายมุม ที่จะทาให้เกิดการจับฉวยเอาไม่ ถูกความหมายที่แท้ของพระพุทธศาสนาก็ได้ ถ้ามองด้วนสายตานักศิลธรรม ก็จะเห็นว่า พุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งศิลธรรม (Moral) เพราะมีกล่าวถึงบุญบาป ความซื่อตรง ดีชั่ว ความกตัญญุกตเวที ความ สามัคคี ความเป็นเป็นคนที่เปิดเผยตัวเอง และอะไรต่างๆ อีกมากมาย ล้วนแต่มีอยู่ ในพระไตรปิฏกทั้งนั้น แม้ชาวต่างประเทศก็มองดูในส่วนนี้อยู่มากหรือว่าชอบพุทธ ศาสนาเพราะเหตุนี้ก็มีอยู่มาก พุทธศาสนาอีกส่วนหนึ่ง สูงขึ้นไปเป็นสัจธรรม (Truth) คือ กล่าวถึงความจริงที่ ลึกซึ้งเร้นลับนอกเหนือไปกว่าที่คนธรรมดาสามัญจะเห็นได้ ส่วนนี้ได้แก่ความรู้เรื่อง ความว่างเปล่าของสรรพสิ่งทั้งปวง (สุญญตา) เรื่องความไม่เที่ยง (อนิจจัง) ความ เป็นทุกข์ (ทุกขัง) ความไม่ใช้ตัวตน (อนัตตา) หรือเรื่องการเปิดเผยว่าทุกข์เป็น อย่างไร เหตุให้เกิดทุกข์เป็นอย่างไร ความดับสนิทของทุกข์เป็นอย่างไร และวิธี ปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์เป็นอย่างไร ในฐานะเป็นความจริงอันเด็ดขาดที่ เปลี่ยนแปลงไม่ได้ (อริยสัจจ์) ซึ่งทุกคนควรจะต้องรู้ นี้เรียกว่าพุทธศาสนาในฐานะ เป็นสัจธรรม พุทธศาสนาในฐานะที่เป็นศาสนา ( Religion) คือส่วนที่เป็นตัวระเบียบปฎิบัติ ซึ่งได้แก่ ศิล สมาธิ ปัญญา กระทั่งผลที่เกิดขึ้นคือความหลุดพ้น และปัญญาที่รู้เห็น ความหลุดพ้น ว่าเมื่อใครปฎิบัติแล้วจะหลุดพ้นไปจากทุกข์ได้จริง นี้เรียกว่า พุทธ
  • 18. ๑๘ ศาสนาในฐานะที่เป็นศาสนา เรายังมี พุทธศาสนาในเหลี่ยมที่เป็นจิตวิทยา (Psychology) เช่น คัมภีร์พระ ไตรปิฏกภาคสุดท้าย กล่าวบรรยายถึงลักษณะจิตไว้กว้างขวางอย่างน่าอัศจรรย์ ที่สุด เป็นที่งงงันและสนใจแก่นักศึกษาทางจิตแม้แห่งยุคปัจจุบัน เป็นความรู้ทาง จิตวิทยาที่จะอวดได้ว่าแยบคาย หรือลึกลับกว่าความรู้ทางจิตวิทยาของโลก ปัจจุบันไปเสียอีก พุทธศาสนายังมีเหลี่ยมความรู้ซึ่งจัดได้ว่าเป็นปรัชญา (Philosophy) คือสิ่งที่ ทดลองไม่ได้ ยังต้องอาศัยการคานึงคานวณไปตามหลักแห่งการใช้เหตุผลแห่งการ คานึงคานวณระบอบหนึ่ง แต่ถ้าเห็นแจ้งประจักษ์ได้ด้วยตา หรือด้วยการพิสูจน์ ทดลองตามทางวัตถุ หรือแม้เห็นชัดด้วย "ตาใน" คือญาณจักษุก็ตาม เรียกว่าเป็น วิทยาศาสตร์ ( Science) ได้ ความรู้อันลึกซึ้ง เช่นเรื่องสุญญตาย่อมเป็นปรัชญา สาหรับผู้ที่ยังไม่บรรลุธรรมไปพลางก่อน แต่จะกลายเป็นวิทยาศาสตร์ทันทีสาหรับ ผู้ที่บรรลุธรรมแล้ว เช่น พระอรหันต์ เพราะท่านได้เห็นได้ประจักษ์ แล้วด้วยจิตใจ ของท่านเองไม่ต้องคานึงคานวณตามเหตุผล หลักพระพุทธศาสนาบางประเภท ก็เป็นวิทยาศาสตร์ (Science) โดยส่วนเดียว เพราะพิสูจน์ได้ชัดแจ้งด้วยความรู้สึกภายในใจของผู้มีสติปัญญา โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งเรื่องอริยสัจจ์เป็นต้น ถ้าผู้ใดมีสติปัญญาสนใจศึกษา ค้นคว้าแล้วจะมีเหตุผล แสดงอยู่ในลักษณะที่เป็นวิทยาศาสตร์ ไม่มืดมัวเป็นปรัชญาเหมือนอย่างบางเรื่อง "ถ้าหากว่าจะมีศาสนาใดศาสนาหนึ่ง ซึ่งเข้ากันได้ดีกับแนวคิด หรือหลักการ ทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ( The Modern Scientific mind) แล้วศาสนานั้นก็คือ พระพุทธศาสนา นั่นเอง" "ศาสนาในอนาคตจะต้องเป็นศาสนาแห่งสากล ซึ่งล่วง พ้นจากความเชื่อในเรื่องของพระผู้เป็นเจ้า หรือสิ่งศักดิ์ทั้งหลาย โดยมีหลักการที่
  • 19. ๑๙ จะต้องตั้งอยู่บนรากฐานของความศรัทธาที่เกิดจากความสะสมประสบการร์ใน ทุกๆด้าน ทั้งในด้านธรรมชาติ และด้านจิตวิญญาณอย่างมีเหตุผล พุทธศาสนาเป็น คาตอบสาหรับหลักการนี้"อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ( Albert Einstein) (นักฟิสิกซ์ผู้ ยิ่งใหญ่แห่งศตวรรษที่ 20) (ค.ศ. 1879-1955) "ผมตกตะลึง และรู้สึกกระอักกระอ่วนใจที่พบว่า งานวิจัยของผมกลับกลายมาวาง อยู่บนพื้นฐานทางความคิดที่ดูจะไม่เป็นวิทยาศาสตร์เอาเสียเลย เมื่อมันถูกนาไป เชื่อมสัมพันธ์กับพุทธรรรมคาสอนในศาสนาพุทธ" จอฟฟรีย์ ชิว (Geoffrey Chew) (นักฟิสิกซ์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งศตวรรษที่ 21) "มนุษย์ได้ฝึกฝนความเฉลียวฉลาดรอบรู้ของตนเพื่อเอาชนะธรรมชาติภายนอกด้วย วิทยาศาสตร์ และประยุกต์วิทยา ( Science and Technology) บัดนี้ถึงเวลาแล้วที่ มนุษย์ควรแสวงหาแสงสว่าง หรือสติปัญญาที่สูงลึกซึ้งยิ่งกว่านั้นอีก พระพุทธศาสนาเท่านั้นที่จะช่วยให้มนุษย์ประสบความสาเร็จตามเป้าหมาย ดังกล่าวนี้ได้ ฟรานซิส สตอรี่ (Francis Story) (นักวิทยาศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงชาวอังกฤษ) สาหรับบุคคลผู้บูชาวัฒนธรรม ก็จะพบว่ามีคาสั่งสอนในพระพุทธศาสนาหลายข้อ ที่ตรงกับหลักวัฒนธรรมสากล และมีคาสอนอีกมากที่เป็นวัฒนธรรมของชาวพุทธ โดยฌฉพาะ ซึ่งดีกว่าสูงกว่าวัฒนธรรมสากลอย่างมากมาย แม้พุทธศาสนาส่วนที่เป็นตรรกวิทยา (Logic) ซึ่งเป็นศาสตร์ที่โยกโคลงที่สุด ก็มี มากด้วยเหมือนกัน โดยเฉพาะในพวกพระอภิธรรมบางคัมภีร์ เช่นคัมภีร์กถาวัตถุ เป็นต้นฯ แต่อย่างไรก็ตามอยากจะขอยืนยันว่า พุทธศาสนาเหลี่ยมซึ่งชาวพุทธจะต้อง
  • 20. ๒๐ สนใจที่สุด นั้นคือ เหลี่ยมที่เป็นศาสนา ซึ่งหมายถึงวิธีปฏิบัติโดยรวบรัด เพื่อให้รู้ ความจริงว่าสิ่งทั้งปวงเป็นอะไร จนถอนความยึดถือหลงใหลต่างๆออกมาเสียจาก สิ่งทั้งปวงได้ การกระทาเช่นนี้เรียกว่า เราเข้าถึงตัวพระพุทธศาสนา ในฐานะเป็น พุทธศาสนา มีผลดียิ่งกว่าไปกว่าที่จะถือเป็นเพียงศิลธรรมขั้นพื้นฐาน และสัจธรรม อันเป็นความรู้ที่ลึกซึ้งอย่างเดียวโดยไม่ปฏิบัติอะไร และเป็นผลดีกว่าที่จะถือเป็น ปรัชญา ที่มีไว้คิดไว้นึกไว้เถียงกันอย่างสนุกๆ แล้วไม่ละกิเลสอะไรได้ หรือดีกว่าที่ จะถือเป็นเพียงวัฒนธรรมสาหรับการประพฤติที่ดีงามน่าเลื่อมใสในด้านสังคมแต่ อย่างเดียว อย่างน้อยที่สุด เราทั้งหลายควรถือ พุทธศาสนาในฐานะเป็นศิลปะ ( Art) ซึ่งใน ที่นี้หมายถึงศิลปะแห่งการครองชีวิต คือเป็นการกระทาที่แยบคายสุขุม ในการที่จะ มีชีวิตอยู่เป็นมนุษย์ให้น่าดูชมน่าเลื่อมใส น่าบูชาเป็นที่จับอกจับใจแก่คนทั้งหลาย จนคนอื่นพอใจทาตามเราด้วยความสมัครใจไม่ต้องแค่นเข็นกัน เราจะมี ความ งดงามในเบื้องต้น ด้วยศิลบริสุทธิ์ มีความงดงามในท่ามกลาง ด้วยการมีจิตใจสงบ เย็น เหมาะสมที่จะทางานในด้านจิต มี ความงดงามในเบื้องปลาย ด้วยความ สมบูรณ์แห่งปัญญา คือรู้แจ้งสิ่งทั้งปวงว่าอะไรเป็นอะไร จนไม่มีความทุกข์ เกิดขึ้น เพราะสิ่งทั้งปวงนั้น เมื่อใครมีชีวิตอยู่ด้วยความงาม 3 ประการ เช่นนี้แล้ว ถือว่าเป็นผู้มีศิลปะแห่ง การดารงชีวิตอย่างสูงสุด ชาวตะวันตกหันมาสนใจพุทธศาสนา ในฐานะเป็นศิลปะ แห่งชีวิตโดยนัยนี้เป็นอันมาก และกล่าวขวัญกันมากกว่าแง่อื่นๆ การที่เราเข้าถึงตัวแท้ของพระพุทธศาสนา จนถึงกับนามาใช้เป็นแบบแห่งการ ครองชีวิตนั้น มันทาให้เกิด ความบันเทิงรื่นเริงตามทางธรรมะ ไม่เหงาหงอยไม่น่า เบื่อหน่าย หรือหวาดกลัวดังที่เกรงกันอยู่ว่า ถ้าละกิเลสเสียแล้วชีวิตนี้จะแห้งแล้งไม่
  • 21. ๒๑ มีรสชาติอะไรเลย หรือถ้าปราศจากตัณหาต่างๆ โดยสิ้นเชิงแล้วคนเราจะทาอะไร ไม่ได้ หรือไม่คิดทาอะไรอย่างนี้เป็นต้น แต่โดยที่แท้จริงแล้ว ผู้ดารงชีวิตอยู่อย่าง ถูกต้อง ตามศิลปะแห่งการครองชีวิตของพระพุทธเจ้านั้น คือผู้มีชัยชนะอยู่เหนือสิ่ง ทั้งปวงที่เข้ามาแวดล้อมตน ไม่ว่าจะเป็นสัตว์บุคคลสิ่งของ หรืออะไรก็ตาม ย่อมจะ เข้ามาในฐานะผู้แพ้ ไม่อาจจะทาให้เกิดความมืดมัว สกปรก เร่าร้อนให้แก่ผู้นั้นได้ อากัปกิริยาที่เป็นฝ่ายชนะอารมณ์ทั้งปวงนี้ ย่อมเป็นที่บันเทิงเริงรื่นอย่างแท้จริง และนี่คือข้อที่ควรถือเป็นศิลปะในพุทธศาสนา ธรรมะในพระพุทธศาสนา จะให้ความเพลิดเพลินแก่จิตใจที่ต้องการธรรมะ นับ ได้ว่าเป็นอาหารจาเป็นอย่างหนึ่งเหมือนกัน คนที่ตกอยู่ในอานาจของกิเลสยัง ต้องการอาหารทางตา หู จมูก ลิ้น กาย แสวงหากันไปตามวิสัยปุถูชนนั้นก็ถูกแล้ว แต่ยังมีอีกสิ่งหนึ่งซึ่งอยู่ลึก และไม่ต้องการอาหารอย่างนั้น สิ่งนี้คือวิญญาณซึ่งเป็น อิสระหรือบริสุทธิ์ ต้องการความบันเทิงเริงรื่น คืออาหารทางธรรมะ นับตั้งแต่ความ ยินดีปรีดาที่รู้สึกว่าตนได้ทาอะไรอย่างถูกต้อง เป็นที่พอใจของผู้รู้ทั้งหลาย มีความ สงบระงับในใจชนิดดที่กิเลสมารบกวนไม่ได้ มีความเห็นแจ่มแจ้งรู้เท่าทันสิ่งทั่งปวง ว่าอะไรเป็นอะไร ไม่ทะเยอทะยานในสิ่งใด มีอาการเหมือนกับนั่งลงได้ ไม่ต้องวิ่งง ไปวิ่งมาเหมือนคนทั้งหลาย ชนิดที่ท่านให้คาเปรียบไว้ว่า "กลางคืนอัดควัน กลางวันเป็นไฟ" "กลางคืนอัดควัน" นั่น หมายถึงการนอนไม่หลับกระสับกระส่ายมือก่าย หน้าผาก คิดจะแสวงหาอย่างนั้นอย่างนี้คิดจะกระทาเพื่อให้ได้เงิน ได้ลาภหรือสิ่ง ต่างๆที่ตนปราถนา อันเป็นควันกลุ้มอยู่ในใจ เพราะมันยังมือค่า ลุกไปไหนไม่ สะดวก ต้องทนอดนอนอัดควันอยู่ ครั้นถึงวันรุ่งขึ้น ก็ออกวิ่งไปตามความต้องการ ของ "ควัน" ที่อัดไว้เมื่อคืน นี่เรียกว่า "กลางวันเป็นไฟ" เป็นอาการของจิตใจที่ไม่ได้
  • 22. ๒๒ รับความสงบ ไม่ได้รับอาหารทางธรรมเป็นความกระหาย ไปตามอานาจของกิเลส และตัณหา "กลางคืนอัดควัน" ร้อนรุ่มอยู่แล้วตลอดคืน "กลางวันยังเป็นไฟ" คือทั้ง ร้อนทั้งไหม้อะไรไปในตัวเสร็จตลอดทั้งวันแล้วจะหาความสงบเยือกเย็นอย่างไรได้ ถ้าคนเราต้อง "กลางวันอัดควัน กลางวันเป็นไฟ" ไปจนตลอดชีวิต ถึงตายแล้ว จะ เป็นอย่างไรบ้าง ขอให้ลองคิดดู เขาเกิดมาทนทุกข์ทรมานจนตลอดชีวิต คือ นับตั้งแต่เกิดจนกระทั่งเน่าเข้าโลกไปทีเดียว โดยไม่มีสติปัญญาที่จะระงับดับไฟ ดับควันนั้นเสียเลย บุคคลชนิดนี้จะต้องอาศัยสติปัญญาของบุคคลประเภท พระพุทธเจ้า สาหรับช่วยแก้ไขให้เบาบางลงตามส่วน เมื่อเขาได้เข้าใจสิ่งทั้งหลาย ทั้งปวงถูกต้องตามความเป็นจริงมากขึ้นเท่าไรควันหรือไฟก็จะลดน้อยลงเท่านั้น ทั้งหมดนี้เป็นการชี้ให้เห็นว่า สิ่งที่เรียกว่าพุทธศาสนานั้นมีลักษณะหลาย เหลี่ยมหลายมุม เหมือนกับภูเขาลูกเดียวมองจากทิศต่างๆกัน ก็เห็นรูปต่างๆกัน ได้ ประโยขน์ต่างๆกัน แล้วแต่ใครจะมองอย่างไร แม้พระพุทธศาสนา จะมีมูลมาจาก ความกลัว ก็ไม่ใช้ความกลัวที่โง่เขลา ของคนป่าเถื่อน จนถึงกับนั่งไหว้รูปเคารพ หรือไหว้สิ่งที่มีปรากฏแปลกๆ แต่เป็นความกลัวชนิดที่สูงด้วยสติปัญญา คือกลัวว่า จะไม่ได้รอดพ้นไปจากการบีบคั้นของความเกิด แก่ เจ็บ ตาย หรือความทุกข์ ทั้งหลายที่เรามองเห็นๆ กันอยู่ พุทธศาสนาตัวแท้ ไม่ใช่หนังสือ ไม่ใช่คัมภีร์ ไม่ใช่เสียงบอก เล่าตาม พระไตรปิฎก หรือตัวพิธีรีตองต่างๆ ซึ่งไม่ใช้ตัวแท้ของพระพุทธศาสนา ตัวแท้ต้อง เป็น ตัวการปฎิบัติด้วยกายวาจาใจ ชนิดที่จะทาลายกิเลสให้ร่อยหรอ หรือหมดสิ้น ไปในที่สุด ไม่จาเป็นต้องเนื่องด้วยหนังสือ ด้วยตารา ไม่ต้องอาศัยพิธีรีตอง หรือสิ่ง ภายนอก เช่นผีสางเทวดา แต่ต้องเนื่องด้วยกาย วาจา ใจ โดยตรง คือจะต้องบาก บั่นกาจัดกิเลสให้หมดสิ้นไป จนเกิดความรู้แจ่มแจ้ง สามารถทาอะไรให้ถูกต้องได้
  • 23. ๒๓ ด้วยตนเอง ไม่มีความทุกข์เกิดขึ้นตั้งแต่ต้นจนอวสาน นี่แหละคือตัวแท้ของ พระพุทธศาสนา ในส่วนที่เราจะต้องเข้าถึงให้จงได้ อย่าได้ไปหลงยึดเอาเนื้องอกที่ หุ้มห่อพระพุทธศาสนามาถือว่าเป็นตัวพระพุทธศาสนากันเลย พุทธศาสนิก แปลว่า ผู้ปฏิบัติตามศาสนาของผู้รู้ ที่ว่ารู้นั้น หมายถึงรู้อะไร ? ก็ คือรู้สิ่งทั้งปวงที่เป็นจริงนั่นเอง จึงกล่าวได้ว่าพุทธศาสนาก็คือ ศาสนาที่ทาให้รู้ว่า อะไรเป็นอะไร เป็นศาสนาเกี่ยวกับความรู้จริง เราจึงต้องปฏิบัติจรเรารู้ได้เอง เมื่อรู้ ถึงที่สุด แล้วไม่ต้องกลัว กิเลสตัณหาต่างๆ จะถูกความรู้นั้นทาลายให้สิ้นไป ความ ไม่รู้ (อวิชชา) ก็จะดับไปทันที ในเมื่อความรู้ได้เกิดขึ้นมาก ฉะนั้นข้อปฏิบัติต่างๆจึง มีไว้เพื่อให้วิชชาเกิด สรุปความว่า พุทธศาสนา คือวิชาและระเบียบปฏิบัติเพื่อให้รู้ว่า อะไรเป็นอะไร เมื่อเรารู้ว่า อะไรเป็นอะไรถูกต้องจริงๆแล้วไม่ต้องมีใครมาสอนเรา หรือมาแนะนา เรา เราก็ปฏิบัติต่อสิ่งนั้นๆถูกต้องได้ด้วยตนเอง แล้วกิเลสก็จะหมดไปเอก เราเป็น อริยบุคคลขั้นใดขั้นหนึ่งขึ้นมาทันที หรือที่ชอบเรียกกันว่า มรรคผลนิพพาน นี้ได้ ด้วยตนเอง เพระาการที่เรามีความรู้อะไรเป็นอะไรโดยถูกต้องถึงที่สุดอย่างแท้จริง เท่านั้น รัตนตรัย หมายถึง สิ่งลาค่า 3 ประการ หลักที่เคารพบูชาสูงสุดของพุทธศาสนิกชน 3 อย่าง 1. พระพุทธเจ้า หมายถึง พระผู้ตรัสรู้เองและสอนผู้อื่นให้รู้ตาม 2. พระธรรม หมายถึง คาสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ทั้งหลักความประพฤติ 3. พระสงฆ์ หมายถึง หมู่สาวกผู้ปฏิบัติตามคาสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
  • 24. ๒๔ วิธีการสอนตามแนวทางแห่งพุทธศาสตร์ เป็นที่ประจักษ์ชัดในปัจจุบันว่า นักการศึกษาเกือบทั่วโลก ต่างยอมรับนับถือคาสอนของพระพุทธเจ้าว่าประเสริฐ และยอดเยี่ยมจริง ทั้งยังมีวิธีการสอนที่ทันสมัยอยู่เสมอ และใช้ได้ผลดีมาตั้งแต่ โบราณกาล ดังนั้นนักวิชาการและนักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความคิดเห็น เกี่ยวกับวิธีการสอนตามแนวพุทธศาสตร์ไว้อย่างหลากหลาย ซึ่งล้วนแต่เป็นวิธีการ ที่น่าสนใจยิ่ง ในที่นี้จะขอเสนอความคิดเห็นเฉพาะบางท่านที่มีสาระต่อการเรียน การสอนโดยตรง มากล่าวโดยย่อ ดังต่อไปนี้ ๑. การสอนด้วยการยึด ๔ โก การสอนที่ได้ผลดีนั้น ต้องเป็นวิธีการสอน ที่ประกอบด้วยวาทศิลป์ ซึ่งเป็นศิลปะในการสอนของพระพุทธเจ้าในการสั่งสอน สาวกทุกครั้ง อันประกอบด้วยคุณลักษณะ ๔ ประการ คือ ๑. สันทัสสโก สอนให้เห็นคือให้รู้แจ้งเห็นจริงด้วยใจเหมือนตาเห็น ๒.สมาทปโก สอนให้เชื่อคือชักชวนให้ปฏิบัติตาม ๓. สมุตตเตชโก สอนให้กล้าคือเร้าให้ผู้ฟังมีความกล้าหาญในการปฏิบัติ ตามนั้น ๔. สัมปหังสโก สอนให้สนุกคือให้ผู้ฟังมีความร่าเริงแจ่มใส แช่มชื่นในการ ฟังและปฏิบัติตาม ๑ ๒. การสอนแบบโบราณ ที่เรียกกันว่าหัวใจนักปราชญ์ ๔ ประการ คือ ดังต่อไปนี้ ๑. สุ (สุตตะ) คือสอนให้รู้จักฟัง
  • 25. ๒๕ ๒. จิ (จิตตะ) คือสอนให้รู้จักคิด ๓. ปุ (ปุจฉา) คือสอนให้รู้จักถาม ๔. ลิ (ลิขิตะ) คือสอนให้รู้จักเขียน ๒ ๓. การสอนแบบอริยสัจ คือสอนแบบตั้งปัญหา และ แก้ปัญหา ๔ ประการ คือ ๑. ทุกข์ คือสอนให้รู้จักปัญหา ให้เห็นปัญหา คือตัวทุกข์ ๒. สมุทัย คือสอนให้รู้จักสาเหตุของปัญหา คือเหตุเกิดทุกข์ ๓. นิโรธ คือสอนให้รู้จักวิธีการแก้ปัญหาด้วยการทดลอง เก็บข้อมูลเพื่อ นามาแก้ปัญหาให้ได้จนหมดปัญหา ๔. มรรค สอนให้รู้จักสรุปผลที่เป็นแนวทางในการแก้ปัญหา แล้ว สามารถนาไปใช้ในชีวิตประจาวันได้ ๓ สาโรช บัวศรี ได้กล่าวถึงวิธีการสอนตามขั้นทั้ง ๔ ของอริยสัจ ไว้ ว่า “ด้านพุทธประวัติ ได้ปรากฏชัดว่าในการแก้ปัญหาชีวิตของพระพุทธองค์นั้น ได้ทรงคิดแก้ปัญหาด้วยพระองค์เอง ทรงทดลองและทรงปฏิบัติหรือกระทาด้วย พระองค์เองทั้งสิ้นผลก็คือทรงตรัสรู้ได้เรียนรู้อย่างแจ่มชัดหรือรู้แจ้งซึ่งเป็นการ ยืนยันว่า การคิดหรือคิดแก้ปัญหาด้วยตนเองนั้น ทาให้รู้แจ้งหรือเกิดการเรียนรู้ขึ้น เป็นอย่างดี ๔ พระราชวรมุนี ได้กล่าวถึงเรื่องวิธีการสอนตามขั้นทั้ง ๔ ของอริยสัจ นี้ว่า “การคิดแก้ปัญหาและการกระทาควบคู่กันไปนั้น ได้ปรากฏอย่างชัดเจนในขั้นตอน ของอริยสัจ ๔ โดยเฉพาะในกิจของอริยสัจ ซึ่งเป็นหน้าที่ที่จะพึงกระทาต่ออริยสัจ ๔ แต่ละอย่าง ที่จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องและเสร็จสิ้นในอริยสัจ ๔ แต่ละอย่าง
  • 26. ๒๖ ด้วย จึงจะได้ชื่อว่ารู้อริยสัจ หรือเป็นผู้ตรัสรู้แล้ว๕ วิธีการสอนนั้น เป็นการกระทาอย่างหนึ่งที่จะทาอย่างไร ผู้เรียนจึงจะเกิด ความเข้าใจ หรือเกิดการเรียนรู้ขึ้นมาได้ ดังนั้นวิธีการสอนจะต้องประยุกต์จากกิจ ในอริยสัจ ๔ เป็นส่วนใหญ่ เพราะเป็นเรื่องของการปฏิบัติหรือการกระทา มิได้ ประยุกต์จากตัวอริยสัจ ๔ โดยตรง จึงเป็นวิธีสอนที่เรียกว่า “วิธีสอนทั้ง ๔ ขั้นขั้น ของอริยสัจ” ๑. ขั้นกาหนดปัญหา (ขั้นทุกข์) ครูช่วยให้นักเรียนให้ได้ศึกษาพิจารณาดูปัญหา ที่เกิดขึ้นด้วยตนเอง ด้วยความ รอบครอบ และพยายามกาหนดขอบเขตของปัญหาซึ่งนักเรียนจะต้องคิดแก้ไขให้ จงได้ ๒. ขั้นตั้งสมมิฐาน (ขั้นสมุทัย) ๑. ครูช่วยให้นักเรียนให้ได้พิจารณาด้วยตนเองว่า สาเหตุของปัญหาที่ ยกขึ้นมากล่าวในขั้นที่ ๑ มีอะไรบ้าง ๒. ครูช่วยนักเรียนให้ได้เกิดความเข้าใจว่า ในการแก้ปัญหาใด ๆ นั้น จะต้องกาจัดหรือดับที่ต้นตอ หรือแก้ที่สาเหตุของปัญหาเหล่านั้น ๓. ครูช่วยนักเรียนให้คิดว่า ในการแก้ที่สาเหตุนั้น อาจกระทาอะไรได้ บ้าง คือให้กาหนดสิ่งจะกระทานี้เป็นข้อ ๆ ไป ๓.ขั้นทดลองและเก็บข้อมูล (ขั้นนิโรธ) เป็นขั้นการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูลหรือขั้นนิโรธมีวิธีการขั้นตอน ดังต่อไปนี้ ๑. สัจฉิกิริยา หมายถึงการทาให้แจ้ง หรือให้บรรลุจุดหมายที่ต้องการทา
  • 27. ๒๗ อย่างไรจึงจะทาให้แจ้งได้ ถ้าเจริญรอยตามพระพุทธองค์ก็ต้องกระทาด้วย ตนเอง จะเห็นว่าพระพุทธองค์ทรงทดลองวิธีการต่างๆ ๆ ด้วยพระองค์ เอง เช่น โยคะ ตบะ และทรงอดพระกระยาหาร เป็นต้น เมื่อทรงเห็นว่าไม่ สามารถบรรลุจุดหมายปลายทางที่ต้องการได้ จึงใช้วิธีการของสมถะและวิปัสสนา กรรมฐาน ดังนั้นในการสอนขั้นนี้ ครูต้องช่วยให้นักเรียนได้กระทาหรือทาการ ทดลองด้วยตนเองตามหัวข้อต่างๆ ที่ได้กาหนดไว้ว่า จะกระทากันดังในข้อที่ ๒ ข้อที่ ๓ ๒. เมื่อทดลองได้ผลประการใด ต้องบันทึกผลของการทดลองแต่ละ อย่าง หรือที่เรียกว่า “ข้อมูล” ไว้เพื่อพิจารณาในขั้นต่อไป ๔. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล (ขั้นมรรค) ขั้นวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผลหรือขั้นมรรค มีวิธีการและขั้นตอน ดังต่อไปนี้ ๑. จากการทดลองกระทาด้วยตนเองหลาย ๆ อย่างนั้น ย่อมจะได้ผล ออกมาให้เห็นชัด ผลบางประการชี้ให้เห็นว่า แก้ปัญหาได้บางประการ แต่ไม่ค่อย ชัดเจนนัก ผลที่ถูกต้องจะชี้ให้เห็นว่า แก้ปัญหาได้แน่นอนแล้วและได้บรรลุ จุดหมายแล้ว ได้แนวทางหรือข้อปฏิบัติที่เราต้องการแล้ว เหล่านี้หมายความว่า จะต้องวิเคราะห์และเปรียบเทียบข้อมูลที่ได้บันทึกไว้ในขั้นที่ ๓ ข้อ ๒ นั้นจนเห็น แจ่มแจ้งว่าทาอย่างไรจึงจะแก้ปัญหาที่กาหนดในขั้นที่ ๑ ได้สาเร็จ ๒. จากากรวิเคราะห์ดังกล่าวแล้วนั้น จะทาให้เห็นว่าสิ่งใดแก้ปัญหาได้ จริง ต่อไปก็ให้สรุปการกระทาที่ได้ผลนั้นๆ ไว้เป็นข้อๆ หรือเป็นระบบ หรือเป็น แนวทางปฏิบัติแล้วให้ลงมือกระทาหรือปฏิบัติอย่างเต็มที่ตามแนวทางนั้นโดยทั่ว กัน วิธีการสอนตามขั้นทั้ง ๔ ของอริยสัจนั้น ถือว่าเป็นแม่บท แต่โดยแท้จริงแล้ว
  • 28. ๒๘ เป็นวิธีการแก้ปัญหานั้นเอง จึงกล่าวได้ว่าเป็นวิธีการสอนที่สาคัญยิ่งและเป็น เครื่องมือที่มีศักยภาพสูงในวิชาชีพครูด้วย สมควรที่ครูไทยทั้งหลายจงได้ตระหนัก และภาคภูมิใจว่า เรามีวิธีสอนแม่บทของเราเอง และเป็นวิธีการสอนที่ได้ยึแนวคิด และวิธีการสอนของพระพุทธองค์เป็นหลัก สุมน อมรวิวัฒน์ ได้นาเสนอแนวคิดจากหนังสือพุทธธรรมของพระราชวร มุนี ซึ่งได้เขียนเกี่ยวกับการสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการมาสร้างเป็นหลักการ และขั้นตอนการสอนตามแนวพุทธวิธีขึ้น เรียกหลักการและขั้นตอนการสอนนี้ ว่า การสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ มีวิธีการดังต่อไปนี้ ๗ ๑) หลักการ ครูเป็นบุคคลสาคัญที่สามารถจัด สภาพแวดล้อม แรงจูงใจ และวิธีการสอนให้ศิษย์เกิดศรัทธาที่จะเรียนรู้ และได้ ฝึกฝนวิธีการคิดโดยแยบคาย นาไปสู่การปฏิบัติจนประจักษ์จริง การสอนโดยการ สร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการนี้ใช้สอนได้ทุกระดับการศึกษา มุ่งให้ครูเป็น กัลยาณมิตรของศิษย์ ครูและศิษย์มีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน และศิษย์ได้มี โอกาสคิดแสดงออกปฏิบัติอย่างถูกวิธีจนสามารถใช้ปัญญาแก้ปัญหาได้อย่าง เหมาะสม (๒) ขั้นตอนการสอน ๒.๑ ขั้นนา การสร้างเจตคติที่ดีต่อครู วิธีการเรียนและบทเรียน ๑. เหมาะกับระดับชั้นเรียน ๒. เหมาะกับวัยและภูมิของผู้เรียน ๓. เหมาะกับวิธีการเรียนการสอน ๔. เหมาะกับบทเรียนที่สอนและเนื้อหาวิชา
  • 29. ๒๙ ๒.๒ บุคลิกภาพของครูและการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูกับ ศิษย์ ในการสอนแบบสร้างศรัทธานี้ ครูควรคงบุคลิกภาพของการเป็นครูไว้ ซึ่ง พอจะสรุปเป็นข้อ ๆ ดังต่อไปนี้ ๑. บุคลิกภาพทางกาย มีความสะอาด แจ่มใส สงบและสารวม ๒. เป็นผู้มีสุขภาพจิตดี กล่าวคือ มีจิตใจเป็นอิสระ ไม่ตกเป็นทาสของ ปัญหาและอามิส เพราะผู้ที่มีจิตใจเป็นอิสระ ปลอดโปร่งจากปัญหาเท่านั้นที่จะ ชี้แนะช่วยเหลือผู้อื่นได้ ๓. มีความมั่นใจในตนเอง เนื่องจากเป็นผู้ที่รู้จริงและปฏิบัติจริงในสิ่งที่ สอนผู้อื่น ครูที่ดีจึงไม่มีปมด้อยหรือปมเด่น เป็นผู้ที่มีความเรียบง่ายฉันคน ธรรมดา ๒.๓ การเสนอสิ่งเร้าและแรงจูงใจ พระพุทธเจ้าได้ทรงใช้วิธีการตรวจสอบ ความคิดและความสามารถของผู้เรียนก่อนที่จะทรงสอนเพื่อให้เหมาะกับ บุคคล ทรงใช้เทคนิควิธีอุปกรณ์จากธรรมชาติและเหตุการณ์ต่างๆ มาเร้าให้เกิด ความมานะพากเพียร ฝึกหัดอบรมตน การสอนโดยสร้างศรัทธาได้จัดขั้นตอนใน การเสนอสิ่งเร้าและสร้างแรงจูงใจดังนี้ ๑. ใช้สื่อการเรียนการสอนหรืออุปกรณ์ และวิธีการต่างๆ เพื่อเร้าความ สนใจ ๒. จัดกิจกรรมขั้นนาที่สนุกน่าสนใจ ๓. ให้นักเรียนได้ตรวจสอบความรู้ความสามารถของตนและได้ทราบผล ทันท่วงทีเป็นการเสริมแรงกระตุ้นที่น่าสนใจ