SlideShare a Scribd company logo
1 of 16
การสอนแบบบรรยาย(Lecture) ความหมาย        การบรรยาย คือ กระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ ที่กำหนด โดยการเตรียมเนื้อหาสาระ แล้วบรรยาย คือ พูด บอก เล่า อธิบายเนื้อหาสาระหรือสิ่งที่ต้องการสอนแก่ผู้เรียน ให้ผู้เรียนซักถามแล้วประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่ง (ทิศนา แขมมณี, 2544, หน้า 13)        การบรรยายเป็นวิธีถ่ายทอดความรู้ที่ใช้กันมานานในการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาเนื่องจากเป็นวิธีที่สะดวก สามารถสอนหรือบรรยายให้ผู้ฟังได้ทีละมากๆ โดยทั่วไปจะใช้ในกรณีที่ต้องการนำเสนอความรู้ครั้งละมากๆ โดยใช้เวลาไม่มากนักจึงจัดเป็นวิธีสอนที่ประหยัดเวลาในการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี วิธีนี้จะเหมาะสมมากหากผู้บรรยายมีความเชี่ยวชาญ มีประสบการณ์ มีความรู้ในเนื้อหานั้นเป็นพิเศษ และต้องการให้ผู้ฟังได้คำอธิบายขยายความ หรือแนวคิดที่แปลกใหม่เป็นข้อมูลที่หาอ่านจากเอกสารทั่วไปไม่ได้
วัตถุประสงค์ 1.เพื่อผู้เรียนที่มีจำนวนมากได้เรียนเนื้อหาสาระความรู้ที่มีจำนวนมากในเวลาที่จำกัด 2. เพื่อให้ความรู้ ประสบการณ์ใหม่แก่ผู้เรียน ซึ่งค้นหายากหรือเป็นประสบการณ์เฉพาะของผู้สอนเอง 3. เพื่อช่วยนำทางในการศึกษาด้วยตนเอง 4.เพื่อช่วยสรุปประเด็นสำคัญ  องค์ประกอบสำคัญของการสอน 1. มีเนื้อหาสาระ หรือ ข้อความรู้ที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ 2.มีการบรรยาย (พูด บอก เล่า อธิบาย) 3.มีผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เกิดจาการบรรยาย
ขั้นตอนสำคัญของการสอน 1.       ผู้สอนเตรียมเนื้อหาสาระที่จะบรรยาย 1.1   กำหนดจุดประสงค์ 1.2   ศึกษาภูมิหลังของผู้เรียน 1.3   เตรียมเนื้อหาสาระที่จะบรรยาย 1.4   กำหนดเค้าโครง จัดลำดับขั้นตอน 1.5   เตรียมเทคนิคการนำเสนอ 1.6   เตรียมสื่อ อุปกรณ์การสอน 1.7   เตรียมการวัดประเมินผล
2.ผู้สอนบรรยาย (พูด บอก เล่า อธิบาย ) เนื้อหาสาระที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ 2.1   ขั้นนำ 2.2   ซักถาม 2.3   นำเสนอสิ่งเร้าที่น่าสนใจ 2.4   ทดสอบก่อนเรียน 2.5   ขั้นอธิบาย 2.6   บอกเค้าโครงเรื่อง 2.7   อธิบายตามลำดับ 2.8   ใช้สายตา ใช้สื่อ ตัวอย่าง 2.9   ระดมสมอง อภิปราย คำถาม 2.10 ขั้นสรุป 2.11 เปิดโอกาให้ผู้เรียนซักถาม 2.12 ผู้สอนสรุปเอง 2.13 ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันส
 3. ผู้สอนเปิดโอกาสให้ผู้เรียนซักถาม และประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน         3.1ทดสอบหลังจากการบรรยาย         3.2มอบหมายงาน          3.3ตรวจแบบฝึกหัด         ลักษณะสำคัญของการสอนแบบบรรยาย พอสรุปได้ดังนี้        1. ผู้สอนเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้แก่ผู้เรียน โดยการบอก เล่า หรืออธิบาย        2. ผู้เรียนเป็นฝ่ายฟัง อาจมีการจดบันทึกสาระสำคัญในขณะฟังบรรยายและอาจมีโอกาสถาม หรือแสดงความคิดเห็นบ้าง ถ้าผู้สอนเปิดโอกาส        3. มุ่งถ่ายทอดความรู้ และ/หรือ มุ่งเร้าความสนใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง 		เทคนิคและข้อเสนอแนะต่างๆในการใช้วิธีสอนโดยใช้การบรรยายให้มีประสิทธิภาพ        เพื่อให้การสอนแบบบรรยายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้สอนควรมีการดำเนินการเป็น 3ขั้นตอนได้แก่ ขั้นเตรียม ขั้นบรรยาย และขั้นสรุปและประเมิน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1.  ขั้นเตรียม        การเตรียมการบรรยาย การบรรยายที่ดีต้องอาศัยการเตรียมการที่ดี ผู้สอนจำเป็นต้องศึกษาเนื้อหาสาระที่จะบรรยายให้เข้าใจแจ่มแจ้ง หากพบว่า มีจุดใดที่ตนยังไม่เข้าใจแจ่มแจ้ง หรือหากมีข้อสงสัย ควรศึกษาค้นคว้าให้กระจ่างก่อน ต่อจากนั้นควรคัดเลือกว่าเนื้อหาสาระใดมีความจำเป็นหรือมีประโยชน์ต่อผู้เรียนของตนเพียงใด เนื้อหาใดไม่จำเป็นอาจตัดออก ต่อไปควรจัดลำดับเนื้อหาสาระว่า สิ่งใดควรพูดก่อน พูดหลัง และจะเชื่อมโยงกันอย่างไร เนื้อหาสาระแต่ละส่วนมีส่วนใดที่ยังคลุมเครือ ซึ่งควรหาตัวอย่างประกอบหรือควรใช้สื่อใดช่วย และควรแสวงหาเทคนิคในการนำเสนอสาระแต่ละส่วนให้น่าสนใจ ท้าทาย ความคิด และเข้าใจได้ง่าย ซึ่งอาจจะเป็นการใช้คำถามกระตุ้น หรือการเล่าประสบการณ์ที่แปลกใหม่ หรือนำเสนอปัญหาที่ท้าทายความคิดก่อนการบรรยาย ผู้สอนควรจะมีโครงร่าง (Outline) สำหรับการบรรยาย และมีเอกสารประกอบการบรยายแจกให้แก่ผู้เรียน ,[object Object],[object Object]
2. ขั้นบรรยาย        ในการบรรยายให้มีประสิทธิภาพ มีข้อเสนอแนะสำหรับผู้สอนดังนี้ 2.1 ทำตัวให้มีชีวิตชีวา แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่น และความจริงจังของผู้สอน 2.2 ควบคุมอารมณ์ไม่ให้ตื่นเต้น ประหม่า หรือเครียด ควรแสดงความเป็นกันเองยิ้มแย้ม แจ่มใสกับผู้เรียน 2.3 พูดด้วยน้ำเสียงที่เป็นธรรมชาติ โดยใช้เสียงที่ดังพอที่ทุกคนจะฟังได้ยินอย่างฟังชัดเจน มีความชัดถ้อยชัดคำ ไม่เร็วหรือช้าเกินไป มีการแปรเปลี่ยนน้ำเสียงและจังหวะในการพูดเพื่อเน้นจุดสำคัญเพื่อให้มีความน่าสนใจ 2.4 ใช้สายตามองผู้เรียนให้ทั่วขณะบรรยาย เพื่อแสดงถึงการให้ความสำคัญกับผู้เรียนและเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดี นอกจากนี้ยังเป็นการสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนว่ายังมีความสนใจในการเรียนอยู่หรือไม่ ทั้งนี้จะต้องไม่มองเฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ควรมองให้ทั่ว 2.5 ไม่ควรเริ่มต้นด้วยการบรรยายเนื้อหาทันที ควรเริ่มด้วยการเชื่อมโยงความรู้และประสบการณ์เดิมของผู้เรียนเข้ากับเรื่องที่จะสอนเสียก่อน โดยใช้เทคนิคที่เหมาะสม เช่น การยกเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้อง การตั้งคำถามนำให้คิด เป็นต้น 2.6 ควรบอกเค้าโครงของเรื่องที่จะบรรยาย และบอกจุดประสงค์ของบทเรียนให้ผู้เรียนทราบก่อน 2.7 ดำเนินการบรรยายตามลำดับเนื้อหาที่เตรียมการไว้ 2.8 ควรหลีกเลี่ยงการบรรยายล้วนๆ ควรมีการถามคำถามระหว่างการบรรยาย ซึ่งอาจเป็นคำถามใน 2 ลักษณะ คือ คำถามแบบที่ผู้สอนถามคำถามแล้วหยุดให้คิดชั่วขณะแล้วผู้สอนช่วยตอบปัญหานั้นเอง และคำถามที่ผู้สอนถามและให้ผู้เรียนตอบ ซึ่งคำถามแบบหลังนี้นอกจากจะกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดหาคำตอบแล้ว คำตอบที่ได้รับจะเป็นข้อมูลย้อนกลับและเป็นการประเมินอย่างไม่เป็นทางการอีกด้วย 2.9 เปิดโอกาสให้ผู้เรียนถามคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่ได้เรียน 2.10 ควรใช้เทคนิคการสอนกลุ่มย่อยและเทคนิคอื่นๆ เช่น การระดมความคิด(Brainstorming) การอภิปรายกลุ่มย่อยที่เรียกว่า Buzz Group หรือการอภิปรายแบบหนึ่งต่อหนึ่งเป็นต้น 2.11 การใช้สื่อประกอบ เช่นใช้แผ่นใส ภาพ สไลด์ เทปเสียง วีดิทัศน์ ภาพยนตร์ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น  2.12 การใช้การทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้เห็นความสามารถของตนในเรื่องนั้น
3. ขั้นการปาฐกถา        ครูเป็นผู้บรรยายให้นักเรียนฟัง นักเรียนฟังครูแล้วจดบันทึกเพื่อให้เป็นที่สนใจ ครูควรใช้วัสดุอุปกรณ์ประกอบการสอนและมีกาซักถามสลับไปด้วย พร้อมทั้งแทรกสิ่งที่ขำขันเข้าไปด้วยเพื่อให้เกิดความสนุกสนาน        4. ขั้นการติดตาม        เมื่อครูสอนจบบทเรียน ครูจะสรุปบทเรียนให้นักเรียนฟังเป็นข้อๆ แล้วเขียนสาระสำคัญบนกระดานดำให้นักเรียนอ่านพร้อมกัน หรือ จดบันทึกเอาไว้ จากนั้นก็ให้มีการอภิปรายการซักถาม การสาธิต การลงมือปฏิบัติและการทำแบบฝึกหัด เป็นต้น ในชั้นนี้เราดูถึงความสนใจของผู้เรียนเป็นหลัก        5. ขั้นสรุปและประเมินผล        ในการบรรยายแต่ละครั้ง ผู้สอนควรมีการสรุปสาระสำคัญของสิ่งที่ได้สอนหรือบรรยายไปโดยอาจนำเสนอบทสรุปในรูปขอข้อความสั้นๆ หรือการใช้ผังมโนทัศน์ (Concept Map) ของเรื่องนั้นก็ได้ นอกจากนี้ยังควรมีการประเมินผลการสอนโดยอาจดำเนินการดังนี้ 5.1 ถามคำถามให้ผู้เรียนตอบระหว่างบรรยาย หรือเมื่อบรรยายจบ 5.2 ให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบ 5.3 ให้ผู้เรียนทำแบบฝึกหัดเพิ่มเติมซึ่งเป็นเรื่องของการนำความรู้ไปใช้ 5.4 ให้ผู้เรียนตอบแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการสอนของผู้สอนหลังจากจบการบรรยายแต่ละครั้งผู้สอนควรรวบรวมข้อมูลที่ได้จากผู้เรียนมาใช้เป็นข้อมูลย้อนกลับเพื่อปรับปรุงการบรรยายครั้งต่อไปให้ดียิ่งขึ้น
วิธีการในการบรรยายอาจแบ่งแยกได้เป็น 3 รูปแบบตามลักษณะของการเสนอเรื่องดังนี้ 1. การบรรยายที่เป็นลักษณะของการเน้นปัญหา        ผู้บรรยายจะเริ่มต้นด้วยการเสนอปัญหาแล้วแนะแนวทางหรือเสนอวิธีการแก้ปัญหาและปิดท้ายด้วยวิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสมที่สุดเป็นการสรุป        2. การบรรยายที่เป็นลักษณะของการให้ข้อคิดเห็น ผู้บรรยายจะเสนอข้อคิดหรือความคิดเห็นหลายๆ แนวทาง        เพื่อให้ผู้ฟังได้เห็นแล้วปิดท้ายด้วยวิธีแก้ปัญหาที่เหมาะสมที่สุดเป็นการสรุปข้อคิดหรือความคิดเห็นและแนวทางที่เหมาะสม        3. การบรรยายในลักษณะที่เน้นการเสนอเนื้อหาความรู้ เป็นการบรรยายในชั้นเรียนทั่วไป        วิธีสอนแบบนี้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับนักเรียนระดับอุดมศึกษา หรือมัธยมศึกษาไม่เหมาะสมสำหรับนักเรียนระดับประถม          ความมุ่งหมายของวิธีสอนแบบบรรยาย        1. เป็นการสอนที่เน้นเนื้อหาสาระที่นำเสนอโดยครูผู้สอน ผู้บรรยายจะเสนอปัญหาวิธีการต่างๆในการแก้ปัญหา และสรุปด้วยว่าวิธีการใดเป็นวิธีการแก้ปัญหาทีดีที่สุดตามหลักการ        2. เพื่อให้ผู้เรียนได้รับความรู้หลายๆแนวคิดก่อนที่จะสรุปเป็นข้อคิดหรือทางเลือกที่เหมาะสม          การอภิปรายซักถาม และประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน        ก่อนยุติการบรรยายฯ ผู้บรรยายควรสรุปสาระสำคัญของการบรรยายและควรเปิดโอกาสให้ผู้ซักถาม หรือเปิดอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ต่อจากนั้นควรมีการทดสอบการเรียนในเรื่องที่บรรยายด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การสุ่มถามผู้เรียน หรือการให้ทำแบบทดสอบ เป็นต้น          สื่อการสอนสำหรับการเรียนการสอนแบบบรรยาย          ลักษณะของการเรียนการสอนแบบบรรยายนั้น ผู้สอนจะเป็นศูนย์กลาง ความสำคัญจะอยู่ที่ผู้สอน สื่อการสอนที่นำมาใช้จะมีลักษณะเป็นเครื่องช่วยสอน กล่าวคือ สื่อการสอนที่นำมาใช้จะมีลักษณะไม่สมบูรณ์ในตนเอง ผู้สอนมีหน้าที่ในการทำให้สื่อการสอนนั้นสมบูรณ์ขึ้น สื่อการสอนที่ใช้ประกอบการเรียนการสอนแบบบรรยายควรมีลักษณะ 1.1        มีขนาดเหมาะสมกับห้องเรียน 1.2        ผู้เรียนสามารถมองเห็น หรือได้ยินชัดเจนทั่ว
ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมสำหรับการสอนแบบบรรยาย 1. ถ้าต้องการแจกเอกสารประกอบการบรรยายเพื่อให้ผู้เรียนดูประกอบและขณะบรรยายควรออกแบบเอกสารให้มีเฉพาะหัวข้อที่สำคัญ และมีการเว้นที่ให้ผู้เรียนบันทึกเพิ่มเติม แต่ถ้าเป็นเอกสารที่มีรายละเอียดค่อนข้างสมบูรณ์อาจแจกหลังการบรรยาย หากผู้เรียนรู้ล่วงหน้าว่าจะมีการแจกแจงเอกสารเกี่ยวกับเนื้อหาที่จะบรรยายหลังเรียนจบอาจทำให้ผู้เรียนไม่สนใจฟังเท่าใดนักเพราะคิดว่าจะได้ข้อมูลทั้งหมดภายหลังอยู่แล้ว ในบางกรณีอาจแจกเอกสารประกอบการบรรยายให้ไปศึกษามาล่วงหน้าซึ่งก็เหมาะกับเนื้อหาที่มีความยากและซับซ้อน  2. ควรสำรวจบุคลิกโดยเฉพาะการแต่งกายของผู้สอนก่อนบรรยายเพื่อให้ดูมีความน่าเชื่อถือ น่าเลื่อมใส  3. ควรสอดแทรกอารมณ์ขันในระหว่างการบรรยายจะช่วยให้บรรยากาศการเรียนการสอนมีความเป็นกันเองมากยิ่งขึ้น   4. ใช้กิริยาท่าทางที่เหมาะสมในการบรรยาย   5. ไม่ควรอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานๆ เช่น ยืนอยู่จุดเดียว เดินกลับไปกลับมา ขยับแว่นตาขยับกางเกง ดูนาฬิกา พูดคำบางคำที่ตนชอบบ่อยๆ   6. อย่าใช้คำศัพท์ที่ยากเกินระดับสติปัญญาของผู้เรียน   7. ไม่ควรบรรยายติดต่อกันเป็นเวลานาน ควรบรรยายให้เหมาะสมกับช่วงความสนใจของผู้เรียน เช่น ในระดับมัธยมศึกษา การบรรยายไม่ควรเกิน 20-30 นาที และในระดับอุดมศึกษาไม่ควรเกิน 45-60 นาที   8. ต้องเตรียมตัวในเนื้อหาที่จะบรรยายมาให้ดี มีความแม่นยำ เพราะถ้าสอนผิดผู้เรียนอาจเกิดความเสื่อมศรัทธาในตัวผู้สอนได้
ข้อดีของการสอนแบบบรรยาย        1. ประหยัดเวลา เพราะสามารถใช้กับผู้เรียนได้จำนวนมาก        2. ผู้สอนสามารถนำความรู้ที่เป็นจุดเด่นจากตำราหลายๆ เล่มมาประมวล บูรณาการไว้ด้วยกันในการบรรยาย        3. สำหรับเนื้อหายุ่งยากและซับซ้อน ผู้เรียนได้ฟังบรรยายแล้วจะเข้าใจง่ายกว่าไปศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ซึ่งต้องใช้เวลานานมากกว่า และอาจไม่เข้าใจ        4. ผู้เรียนได้ฟังความคิดเห็นหรือข้อชี้แนะจากผู้สอนที่มีความรู้และประสบการณ์มากกว่าทำให้เกิดแรงจูงใจที่จะเรียนดีขึ้น        5. ดำเนินการสอนได้รวดเร็ว        6. ผู้เรียนไม่ต้องทำงานมาก รับรู้เรื่องราวได้โดยตรง        7. เหมาะสมกับเนื้อหาที่มีความยุ่งยาก ซับซ้อน        8. ฟังการบรรยายก็เข้าใจง่ายกว่าค้นหาเอง  
ข้อจำกัดของการสอนแบบบรรยาย        1. ถ้าใช้บ่อยๆ โดยไม่พิจารณาความเหมาะสม อาจทำให้ผู้เรียนเบื่อหน่าย เพราะผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนด้วย        2. ไม่เอื้อต่อการคิดวิเคราะห์ และสังเคราะห์ซึ่งเป็นความสามารถทางปัญญาชั้นสูง        3. ไม่ค่อยเกิดการพัฒนาด้านเจตคติและทักษะพิสัย        4. เป็นการสอนที่เน้นครูหรือผู้สอนเป็นศูนย์กลาง        5. ความรู้ที่ได้รับจากการฟังเพียงอย่างเดียวอาจลืมง่าย เป็นความทรงจำที่ไม่ถาวร        6. ผู้สอนต้องรู้จักการสร้างบรรยากาศด้วยวาทศิลป์ เพื่อมิให้ผู้ฟังสูญเสียความสนใจ        7. ครูควรแสดงท่าทางประกอบการเคลื่อนไหวบ้างพอสมควรอย่าให้มากเกินไป        8. ครูควรบรรยายจากข้อมูลไปหาข้อสรุปหรือกฎเกณฑ์จะช่วยให้เด็กได้พัฒนาทางด้านความคิดเป็นอย่างมาก        9. ควรมีการซักถามเด็กบ้างระหว่างที่บรรยายเช่น ให้ช่วยออกความคิดเห็นต่างๆ เป็นต้น        10. เสียงดังชัดเจนมีการเน้นสูงต่ำเป็นจังหวะ        11. ใช้ภาษาและคำพูดง่ายๆ ให้เด็กฟังแล้วเข้าใจ        12. ครูควรใช้รูปภาพหรือวัสดุอื่นประกอบคำอธิบาย        13. เป็นวิธีการสอนผู้เรียนมีบทบาทน้อยจึงทำให้ผู้เรียนขาดความสนใจในการบรรยาย        14. เป็นวิธีการสอนที่ไม่สามารถสนองตอบความต้องการและความแตกต่างระหว่างบุคคล
โอกาสที่จะใช้การสอนแบบปาฐกถาได้เหมาะ คือ 1.ใช้สำหรับนำเข้าสู่บทเรียน 2.ใช้ในตอนสรุปบทเรียน การบรรยายที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเป็นวิธีการที่ ปรับปรุงวิธีการสอนแบบบรรยายที่ใช้กันอย่างแพร่หลายฃในทุกระดับชั้นเสมอมาให้สอดคล้อง กับจัดการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยรักษาข้อดีและข้อจำกัดของวิธีการบรรยายในเรื่องการเตรียมเนื้อหาการบรรยายและการประเมินผล ซึ่งผู้สอนต้องเตรียมในทุกขั้นให้ดีก่อนการปฏิบัติ        นอกจากนี้ต้องให้ผู้เรียนรู้โครงสร้างรายวิชาตั้งแต่เริ่มต้นและย้ำเป็นระยะตลอดเทอมอาจจักสาระเพิ่มโดยพิจารณาความสนใจและความสามารถของเด็ก แต่สิ่งสำคัญต้องเตรียม syllabus  อย่างละเอียดให้ผู้เรียนเปรียบเสมือนให้แผนที่เดินทางสู่จุดหมายการเรียนที่ตั้งไว้ติดตัวตลอดเส้นทางไม่หลงหรือเลือกทางเดินผิด        ขั้นต่อมาที่ต้องเตรียมงาน คือ เตรียมเอกสารการบรรยาย เพื่อให้ได้เอกสารสื่อการเรียนรู้ได้ผลดี จะต้องเตรียมการล่วงหน้าและระวังด้วยว่าอย่าเผลอจำหรืออ่านเนื้อหาสาระเหล่านั้นเหมือนละครอ่านบทเอกสารนี้ควรทดลองเสนอในหลายรูปแบบเช่นโครงสร้างเนื้อหา Outline แผนผังต้นไม้ Tree Diagram หรือสรุปจุดสำคัญ Major point เพื่อช่วยให้เข้าใจสาระสำคัญได้ดีหากจำเป็นต้องแต่งเติมให้ชัดแจ้งก็ควรทำในส่วนของสูตรหรือหลักที่ต้องการอ้างถึงก็ต้องแยกแบ่งออกจากเนื้อหาออกมาต่างหาก รวมทั้งตัวอย่างประกอบก็ควรแยกไว้เช่นกัน อย่าลืมว่าเราใช้เอกสารเพื่อประกอบการบรรยายจึงต้องสอดคล้องกับการบรรยาย
หลักการ คือ เมื่อบรรยายให้ฟังชัดคำสั้น ศัพท์ง่าย ประโยคตรง ชี้จุดและสรุปย้ำเนื้อหา เอกสารกควรเสริมส่วนที่อาจขาดไปหรือเข้าใจยากนั่นเอง        การซ้อมบรรยายเป็นสิ่งสุดท้ายที่ขาดไม่ได้ เพื่อประเมินดูว่าเตรียมเนื้อหาไว้เหมาะหรือไม่ อาจลองดูสัก 1-2 ครั้ง เพราะอาจมีปัญหา เช่น เนื้อหานั้นมากเกินเวลาที่มีหรือจัดลำดับเรื่องไม่สอดคล้องกันจริงประเด็นสุดท้ายหลังเตรียมเนื้อหาดีแล้ว คือ จะต้องจัดโครงสร้างการบรรยายตามเนื้อหาที่มี โดยตัดสินใจว่าเราจะต้องบรรยายให้ยากหรือง่ายเพียงไร เขียนกำหนดแก่น (Theme) ของเนื้อหาและเหตุผลก่อนจะจัดกระบวนการบรรยายให้ผู้เรียนเข้าใจว่า เหตุทำให้เกิดผลอย่างไรโดยต้องกำหนดโครงสร้างการบรรยายให้เข้าใจเนื้อหาที่สำคัญที่สุดให้ง่าย ๆ และจัดแบ่งการบรรยายเป็นช่วงละ 10-15 นาที        ทั้งนี้ ตามหลักจิตวิทยาช่วงความสนใจของผู้เรียนจะอยู่ระหว่าง 10-20 นาที ในขณะที่คาบเรียนทั่วไปถูกกำหนด ไว้50 นาทีดังนั้นหากจัดการเวลาให้ได้ดี การบรรยายจะไม่กลายเป็นการร่ายยาวและผู้เรียนจะยังสนใจอยู่ได้ทั้งคาบ
       การจัดโครงสร้างต้องไม่ละเลยข้อสำคัญ ช่วงท้ายของการบรรยายคือ ต้องจัดให้ผู้บรรยายมีเวลาตอบคำถามผู้ฟังเพื่อแก้ไขข้อข้องใจในเนื้อหาจนกระจ่างหรือแนะแนวทางค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเองต่อไปอีกนอกจากนี้ต้องเวลาเพื่อสรุปเนื้อหา เชื่อมโยงจากต้นเรื่องที่เริ่มบรรยาย มาสู่ตอนจบด้วย        เมื่อมีทั้งเนื้อหาโครงสร้างการบรรยายพร้อมก็มาเตรียมการนำเสนอ  ในขั้นนี้สิ่งสำคัญคือตัวผู้บรรยาย จะต้องพร้อมเสนอเพื่อให้ผู้เรียนสนองตอบ ผู้เรียนย่อมจะสนใจผู้บรรยายที่มีชื่อเสียง เป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ หรือครูผู้สอนที่มีคุณวุฒิและบุคลิกภาพน่าสนใจ สะท้อนถึงความรู้ความสามารถน่าเชื่อถือ
การสอนแบบบรรยาย(Lecture)

More Related Content

What's hot

teaching 3
teaching 3teaching 3
teaching 3sangkom
 
ขอบข่ายของโครงงาน
ขอบข่ายของโครงงานขอบข่ายของโครงงาน
ขอบข่ายของโครงงานSasithorn Horprasong
 
โครงงานคอม
โครงงานคอมโครงงานคอม
โครงงานคอมthebeerbeersk
 
Chapter 4 1
Chapter 4 1Chapter 4 1
Chapter 4 1sinarack
 
ความหมายของโครงงาน
ความหมายของโครงงานความหมายของโครงงาน
ความหมายของโครงงานRachaya Smn
 
ขอบข่ายของโครงงาน
ขอบข่ายของโครงงานขอบข่ายของโครงงาน
ขอบข่ายของโครงงานdgnjamez
 
บทที่ 7 สื่อเเละเเหล่งการเรียนรู้
บทที่ 7 สื่อเเละเเหล่งการเรียนรู้บทที่ 7 สื่อเเละเเหล่งการเรียนรู้
บทที่ 7 สื่อเเละเเหล่งการเรียนรู้nan1799
 
ขอบข่ายของโครงงาน
ขอบข่ายของโครงงานขอบข่ายของโครงงาน
ขอบข่ายของโครงงานdgnjamez
 
ความหมายและความสำคัญของโครงงาน
ความหมายและความสำคัญของโครงงานความหมายและความสำคัญของโครงงาน
ความหมายและความสำคัญของโครงงานPawarit Jitakul
 
ประเภทของโครงงาน แบ่งได้เป็น 5 ประเภท
ประเภทของโครงงาน แบ่งได้เป็น 5 ประเภทประเภทของโครงงาน แบ่งได้เป็น 5 ประเภท
ประเภทของโครงงาน แบ่งได้เป็น 5 ประเภทmcf_cnx1
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์Phapawee Suksuwan
 
สื่อการเรียนรู้
สื่อการเรียนรู้สื่อการเรียนรู้
สื่อการเรียนรู้Wiparat Khangate
 

What's hot (19)

ทักษะการใช้สื่อการสอน
ทักษะการใช้สื่อการสอนทักษะการใช้สื่อการสอน
ทักษะการใช้สื่อการสอน
 
teaching 3
teaching 3teaching 3
teaching 3
 
ขอบข่ายของโครงงาน
ขอบข่ายของโครงงานขอบข่ายของโครงงาน
ขอบข่ายของโครงงาน
 
Gor3
Gor3Gor3
Gor3
 
โครงงานคอม
โครงงานคอมโครงงานคอม
โครงงานคอม
 
Chapter 4 1
Chapter 4 1Chapter 4 1
Chapter 4 1
 
บทที่ 6
บทที่ 6บทที่ 6
บทที่ 6
 
ความหมายของโครงงาน
ความหมายของโครงงานความหมายของโครงงาน
ความหมายของโครงงาน
 
Ai
AiAi
Ai
 
No42
No42No42
No42
 
ขอบข่ายของโครงงาน
ขอบข่ายของโครงงานขอบข่ายของโครงงาน
ขอบข่ายของโครงงาน
 
บทที่ 7 สื่อเเละเเหล่งการเรียนรู้
บทที่ 7 สื่อเเละเเหล่งการเรียนรู้บทที่ 7 สื่อเเละเเหล่งการเรียนรู้
บทที่ 7 สื่อเเละเเหล่งการเรียนรู้
 
ขอบข่ายของโครงงาน
ขอบข่ายของโครงงานขอบข่ายของโครงงาน
ขอบข่ายของโครงงาน
 
บทบาทและแนวโน้มของ ICT
บทบาทและแนวโน้มของ ICTบทบาทและแนวโน้มของ ICT
บทบาทและแนวโน้มของ ICT
 
ความหมายและความสำคัญของโครงงาน
ความหมายและความสำคัญของโครงงานความหมายและความสำคัญของโครงงาน
ความหมายและความสำคัญของโครงงาน
 
ประเภทของโครงงาน แบ่งได้เป็น 5 ประเภท
ประเภทของโครงงาน แบ่งได้เป็น 5 ประเภทประเภทของโครงงาน แบ่งได้เป็น 5 ประเภท
ประเภทของโครงงาน แบ่งได้เป็น 5 ประเภท
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์
 
งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1
 
สื่อการเรียนรู้
สื่อการเรียนรู้สื่อการเรียนรู้
สื่อการเรียนรู้
 

Viewers also liked

Dunder Mifflin: дизайн-проект офиса
Dunder Mifflin: дизайн-проект офисаDunder Mifflin: дизайн-проект офиса
Dunder Mifflin: дизайн-проект офисаEDS
 
Vještačka inteligencije vs. ljudska inteligencija
Vještačka inteligencije vs. ljudska inteligencijaVještačka inteligencije vs. ljudska inteligencija
Vještačka inteligencije vs. ljudska inteligencijaMunir Zahirovic
 
Horario grupal 11 b 6 grupos
Horario grupal 11 b 6 gruposHorario grupal 11 b 6 grupos
Horario grupal 11 b 6 gruposparanoico
 
창의성에 대한 신화를 깨고
창의성에 대한 신화를 깨고창의성에 대한 신화를 깨고
창의성에 대한 신화를 깨고ChansunP
 
дорога к храму
дорога к храмудорога к храму
дорога к храмуSHTERN850715
 
Newsgames navegabilidade e e o conceito de inter
Newsgames   navegabilidade e e o conceito de interNewsgames   navegabilidade e e o conceito de inter
Newsgames navegabilidade e e o conceito de interrodrigo martins
 
Sosiaalinen media opiskelijakunnan viestinnässä
Sosiaalinen media opiskelijakunnan viestinnässäSosiaalinen media opiskelijakunnan viestinnässä
Sosiaalinen media opiskelijakunnan viestinnässäPiritta Seppälä
 
Sudama charit-and-hundi-by-premanand
Sudama charit-and-hundi-by-premanandSudama charit-and-hundi-by-premanand
Sudama charit-and-hundi-by-premanandBhavesh Patel
 
徽派山村 X
徽派山村 X徽派山村 X
徽派山村 XLINWEIYUAN
 
Guida al computer - Lezione 14 - La scheda ethernet
Guida al computer - Lezione 14 - La scheda ethernetGuida al computer - Lezione 14 - La scheda ethernet
Guida al computer - Lezione 14 - La scheda ethernetcaioturtle
 

Viewers also liked (20)

Dunder Mifflin: дизайн-проект офиса
Dunder Mifflin: дизайн-проект офисаDunder Mifflin: дизайн-проект офиса
Dunder Mifflin: дизайн-проект офиса
 
Vještačka inteligencije vs. ljudska inteligencija
Vještačka inteligencije vs. ljudska inteligencijaVještačka inteligencije vs. ljudska inteligencija
Vještačka inteligencije vs. ljudska inteligencija
 
Horario grupal 11 b 6 grupos
Horario grupal 11 b 6 gruposHorario grupal 11 b 6 grupos
Horario grupal 11 b 6 grupos
 
Biodiversidade
BiodiversidadeBiodiversidade
Biodiversidade
 
E portfolio-penz
E portfolio-penzE portfolio-penz
E portfolio-penz
 
창의성에 대한 신화를 깨고
창의성에 대한 신화를 깨고창의성에 대한 신화를 깨고
창의성에 대한 신화를 깨고
 
дорога к храму
дорога к храмудорога к храму
дорога к храму
 
2011.08.12_商業周刊
2011.08.12_商業周刊2011.08.12_商業周刊
2011.08.12_商業周刊
 
ру6
ру6ру6
ру6
 
Robotica
RoboticaRobotica
Robotica
 
Newsgames navegabilidade e e o conceito de inter
Newsgames   navegabilidade e e o conceito de interNewsgames   navegabilidade e e o conceito de inter
Newsgames navegabilidade e e o conceito de inter
 
Sosiaalinen media opiskelijakunnan viestinnässä
Sosiaalinen media opiskelijakunnan viestinnässäSosiaalinen media opiskelijakunnan viestinnässä
Sosiaalinen media opiskelijakunnan viestinnässä
 
Lûn yû
Lûn yûLûn yû
Lûn yû
 
Doquintal - 4º Edição
Doquintal - 4º EdiçãoDoquintal - 4º Edição
Doquintal - 4º Edição
 
Sudama charit-and-hundi-by-premanand
Sudama charit-and-hundi-by-premanandSudama charit-and-hundi-by-premanand
Sudama charit-and-hundi-by-premanand
 
徽派山村 X
徽派山村 X徽派山村 X
徽派山村 X
 
Cead atividade
Cead   atividadeCead   atividade
Cead atividade
 
Kitching_et_al_1998_Cap3_38-69.pdf
Kitching_et_al_1998_Cap3_38-69.pdfKitching_et_al_1998_Cap3_38-69.pdf
Kitching_et_al_1998_Cap3_38-69.pdf
 
Buenisimo
BuenisimoBuenisimo
Buenisimo
 
Guida al computer - Lezione 14 - La scheda ethernet
Guida al computer - Lezione 14 - La scheda ethernetGuida al computer - Lezione 14 - La scheda ethernet
Guida al computer - Lezione 14 - La scheda ethernet
 

Similar to การสอนแบบบรรยาย(Lecture)

การสอนแบบบรรยาย(Lecture)
การสอนแบบบรรยาย(Lecture)การสอนแบบบรรยาย(Lecture)
การสอนแบบบรรยาย(Lecture)jaacllassic
 
สรุปบทที่ 7
สรุปบทที่ 7สรุปบทที่ 7
สรุปบทที่ 7Tsheej Thoj
 
บทที่7
บทที่7บทที่7
บทที่7josodaza
 
บทความวิชาการ
บทความวิชาการบทความวิชาการ
บทความวิชาการphonon701
 
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้wisnun
 
ความหมายและความสำคัญของโครงงาน
ความหมายและความสำคัญของโครงงานความหมายและความสำคัญของโครงงาน
ความหมายและความสำคัญของโครงงานFreshsica Chunyanuch
 
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้Anny Hotelier
 
สื่อนวตกรรมนำเสนอ
สื่อนวตกรรมนำเสนอสื่อนวตกรรมนำเสนอ
สื่อนวตกรรมนำเสนอrainacid
 
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้poms0077
 
สื่อ
สื่อสื่อ
สื่อpoms0077
 
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้poms0077
 
งานดอกเตอร์
งานดอกเตอร์งานดอกเตอร์
งานดอกเตอร์tuphung
 
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้Sujitra ComEdu
 
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้Sujitra ComEdu
 
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้Sujitra ComEdu
 
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้wisnun
 
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้wisnun
 
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้aumkpru45
 

Similar to การสอนแบบบรรยาย(Lecture) (20)

การสอนแบบบรรยาย(Lecture)
การสอนแบบบรรยาย(Lecture)การสอนแบบบรรยาย(Lecture)
การสอนแบบบรรยาย(Lecture)
 
สรุปบทที่ 7
สรุปบทที่ 7สรุปบทที่ 7
สรุปบทที่ 7
 
บทที่7
บทที่7บทที่7
บทที่7
 
บทความวิชาการ
บทความวิชาการบทความวิชาการ
บทความวิชาการ
 
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
 
บทที่ 7
บทที่ 7บทที่ 7
บทที่ 7
 
บทที่ 9
บทที่ 9บทที่ 9
บทที่ 9
 
ความหมายและความสำคัญของโครงงาน
ความหมายและความสำคัญของโครงงานความหมายและความสำคัญของโครงงาน
ความหมายและความสำคัญของโครงงาน
 
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
 
สื่อนวตกรรมนำเสนอ
สื่อนวตกรรมนำเสนอสื่อนวตกรรมนำเสนอ
สื่อนวตกรรมนำเสนอ
 
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
 
สื่อ
สื่อสื่อ
สื่อ
 
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
 
งานดอกเตอร์
งานดอกเตอร์งานดอกเตอร์
งานดอกเตอร์
 
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
 
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
 
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
 
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
 
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
 
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
 

More from jaacllassic

การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ บทที่๘Zzz
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ บทที่๘Zzzการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ บทที่๘Zzz
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ บทที่๘Zzzjaacllassic
 
สื่อและแหล่งการเรียนรู้ บทที่๗Ddd a
สื่อและแหล่งการเรียนรู้ บทที่๗Ddd aสื่อและแหล่งการเรียนรู้ บทที่๗Ddd a
สื่อและแหล่งการเรียนรู้ บทที่๗Ddd ajaacllassic
 
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ บทที่๘Zzz
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ บทที่๘Zzzการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ บทที่๘Zzz
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ บทที่๘Zzzjaacllassic
 
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ บทที่๘Zzz
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ บทที่๘Zzzการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ บทที่๘Zzz
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ บทที่๘Zzzjaacllassic
 
สื่อและแหล่งการเรียนรู้ บทที่๗Ddd a
สื่อและแหล่งการเรียนรู้ บทที่๗Ddd aสื่อและแหล่งการเรียนรู้ บทที่๗Ddd a
สื่อและแหล่งการเรียนรู้ บทที่๗Ddd ajaacllassic
 
สื่อและแหล่งการเรียนรู้ บทที่๗Ddd a
สื่อและแหล่งการเรียนรู้ บทที่๗Ddd aสื่อและแหล่งการเรียนรู้ บทที่๗Ddd a
สื่อและแหล่งการเรียนรู้ บทที่๗Ddd ajaacllassic
 
สื่อและแหล่งการเรียนรู้ บทที่๗Ddd
สื่อและแหล่งการเรียนรู้ บทที่๗Dddสื่อและแหล่งการเรียนรู้ บทที่๗Ddd
สื่อและแหล่งการเรียนรู้ บทที่๗Dddjaacllassic
 
สื่อและแหล่งการเรียนรู้ บทที่๗
สื่อและแหล่งการเรียนรู้ บทที่๗สื่อและแหล่งการเรียนรู้ บทที่๗
สื่อและแหล่งการเรียนรู้ บทที่๗jaacllassic
 
สื่อและแหล่งการเรียนรู้ บทที่๗
สื่อและแหล่งการเรียนรู้ บทที่๗สื่อและแหล่งการเรียนรู้ บทที่๗
สื่อและแหล่งการเรียนรู้ บทที่๗jaacllassic
 
ภาพวาดเอง
ภาพวาดเองภาพวาดเอง
ภาพวาดเองjaacllassic
 
จิตวิทยาการเรียนรู้ Jea
จิตวิทยาการเรียนรู้ Jeaจิตวิทยาการเรียนรู้ Jea
จิตวิทยาการเรียนรู้ Jeajaacllassic
 
จิตวิทยาการเรียนรู้ Jea
จิตวิทยาการเรียนรู้ Jeaจิตวิทยาการเรียนรู้ Jea
จิตวิทยาการเรียนรู้ Jeajaacllassic
 
จิตวิทยาการเรียนรู้ Jea
จิตวิทยาการเรียนรู้ Jeaจิตวิทยาการเรียนรู้ Jea
จิตวิทยาการเรียนรู้ Jeajaacllassic
 
จิตวิทยาการเรียนรู้ Jea
จิตวิทยาการเรียนรู้ Jeaจิตวิทยาการเรียนรู้ Jea
จิตวิทยาการเรียนรู้ Jeajaacllassic
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้jaacllassic
 
งานนำเสนอ2
งานนำเสนอ2งานนำเสนอ2
งานนำเสนอ2jaacllassic
 
9999999999999999999999999999999999999
99999999999999999999999999999999999999999999999999999999999999999999999999
9999999999999999999999999999999999999jaacllassic
 
9999999999999999999999999999999999999
99999999999999999999999999999999999999999999999999999999999999999999999999
9999999999999999999999999999999999999jaacllassic
 
ตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตต
ตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตต
ตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตjaacllassic
 

More from jaacllassic (20)

การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ บทที่๘Zzz
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ บทที่๘Zzzการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ บทที่๘Zzz
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ บทที่๘Zzz
 
สื่อและแหล่งการเรียนรู้ บทที่๗Ddd a
สื่อและแหล่งการเรียนรู้ บทที่๗Ddd aสื่อและแหล่งการเรียนรู้ บทที่๗Ddd a
สื่อและแหล่งการเรียนรู้ บทที่๗Ddd a
 
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ บทที่๘Zzz
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ บทที่๘Zzzการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ บทที่๘Zzz
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ บทที่๘Zzz
 
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ บทที่๘Zzz
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ บทที่๘Zzzการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ บทที่๘Zzz
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ บทที่๘Zzz
 
สื่อและแหล่งการเรียนรู้ บทที่๗Ddd a
สื่อและแหล่งการเรียนรู้ บทที่๗Ddd aสื่อและแหล่งการเรียนรู้ บทที่๗Ddd a
สื่อและแหล่งการเรียนรู้ บทที่๗Ddd a
 
สื่อและแหล่งการเรียนรู้ บทที่๗Ddd a
สื่อและแหล่งการเรียนรู้ บทที่๗Ddd aสื่อและแหล่งการเรียนรู้ บทที่๗Ddd a
สื่อและแหล่งการเรียนรู้ บทที่๗Ddd a
 
สื่อและแหล่งการเรียนรู้ บทที่๗Ddd
สื่อและแหล่งการเรียนรู้ บทที่๗Dddสื่อและแหล่งการเรียนรู้ บทที่๗Ddd
สื่อและแหล่งการเรียนรู้ บทที่๗Ddd
 
สื่อและแหล่งการเรียนรู้ บทที่๗
สื่อและแหล่งการเรียนรู้ บทที่๗สื่อและแหล่งการเรียนรู้ บทที่๗
สื่อและแหล่งการเรียนรู้ บทที่๗
 
สื่อและแหล่งการเรียนรู้ บทที่๗
สื่อและแหล่งการเรียนรู้ บทที่๗สื่อและแหล่งการเรียนรู้ บทที่๗
สื่อและแหล่งการเรียนรู้ บทที่๗
 
ภาพวาดเอง
ภาพวาดเองภาพวาดเอง
ภาพวาดเอง
 
จิตวิทยาการเรียนรู้ Jea
จิตวิทยาการเรียนรู้ Jeaจิตวิทยาการเรียนรู้ Jea
จิตวิทยาการเรียนรู้ Jea
 
จิตวิทยาการเรียนรู้ Jea
จิตวิทยาการเรียนรู้ Jeaจิตวิทยาการเรียนรู้ Jea
จิตวิทยาการเรียนรู้ Jea
 
จิตวิทยาการเรียนรู้ Jea
จิตวิทยาการเรียนรู้ Jeaจิตวิทยาการเรียนรู้ Jea
จิตวิทยาการเรียนรู้ Jea
 
จิตวิทยาการเรียนรู้ Jea
จิตวิทยาการเรียนรู้ Jeaจิตวิทยาการเรียนรู้ Jea
จิตวิทยาการเรียนรู้ Jea
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้
 
Text
TextText
Text
 
งานนำเสนอ2
งานนำเสนอ2งานนำเสนอ2
งานนำเสนอ2
 
9999999999999999999999999999999999999
99999999999999999999999999999999999999999999999999999999999999999999999999
9999999999999999999999999999999999999
 
9999999999999999999999999999999999999
99999999999999999999999999999999999999999999999999999999999999999999999999
9999999999999999999999999999999999999
 
ตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตต
ตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตต
ตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตตต
 

การสอนแบบบรรยาย(Lecture)

  • 1. การสอนแบบบรรยาย(Lecture) ความหมาย        การบรรยาย คือ กระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ ที่กำหนด โดยการเตรียมเนื้อหาสาระ แล้วบรรยาย คือ พูด บอก เล่า อธิบายเนื้อหาสาระหรือสิ่งที่ต้องการสอนแก่ผู้เรียน ให้ผู้เรียนซักถามแล้วประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่ง (ทิศนา แขมมณี, 2544, หน้า 13)        การบรรยายเป็นวิธีถ่ายทอดความรู้ที่ใช้กันมานานในการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาเนื่องจากเป็นวิธีที่สะดวก สามารถสอนหรือบรรยายให้ผู้ฟังได้ทีละมากๆ โดยทั่วไปจะใช้ในกรณีที่ต้องการนำเสนอความรู้ครั้งละมากๆ โดยใช้เวลาไม่มากนักจึงจัดเป็นวิธีสอนที่ประหยัดเวลาในการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี วิธีนี้จะเหมาะสมมากหากผู้บรรยายมีความเชี่ยวชาญ มีประสบการณ์ มีความรู้ในเนื้อหานั้นเป็นพิเศษ และต้องการให้ผู้ฟังได้คำอธิบายขยายความ หรือแนวคิดที่แปลกใหม่เป็นข้อมูลที่หาอ่านจากเอกสารทั่วไปไม่ได้
  • 2. วัตถุประสงค์ 1.เพื่อผู้เรียนที่มีจำนวนมากได้เรียนเนื้อหาสาระความรู้ที่มีจำนวนมากในเวลาที่จำกัด 2. เพื่อให้ความรู้ ประสบการณ์ใหม่แก่ผู้เรียน ซึ่งค้นหายากหรือเป็นประสบการณ์เฉพาะของผู้สอนเอง 3. เพื่อช่วยนำทางในการศึกษาด้วยตนเอง 4.เพื่อช่วยสรุปประเด็นสำคัญ  องค์ประกอบสำคัญของการสอน 1. มีเนื้อหาสาระ หรือ ข้อความรู้ที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ 2.มีการบรรยาย (พูด บอก เล่า อธิบาย) 3.มีผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เกิดจาการบรรยาย
  • 3. ขั้นตอนสำคัญของการสอน 1.       ผู้สอนเตรียมเนื้อหาสาระที่จะบรรยาย 1.1   กำหนดจุดประสงค์ 1.2   ศึกษาภูมิหลังของผู้เรียน 1.3   เตรียมเนื้อหาสาระที่จะบรรยาย 1.4   กำหนดเค้าโครง จัดลำดับขั้นตอน 1.5   เตรียมเทคนิคการนำเสนอ 1.6   เตรียมสื่อ อุปกรณ์การสอน 1.7   เตรียมการวัดประเมินผล
  • 4. 2.ผู้สอนบรรยาย (พูด บอก เล่า อธิบาย ) เนื้อหาสาระที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ 2.1   ขั้นนำ 2.2   ซักถาม 2.3   นำเสนอสิ่งเร้าที่น่าสนใจ 2.4   ทดสอบก่อนเรียน 2.5   ขั้นอธิบาย 2.6   บอกเค้าโครงเรื่อง 2.7   อธิบายตามลำดับ 2.8   ใช้สายตา ใช้สื่อ ตัวอย่าง 2.9   ระดมสมอง อภิปราย คำถาม 2.10 ขั้นสรุป 2.11 เปิดโอกาให้ผู้เรียนซักถาม 2.12 ผู้สอนสรุปเอง 2.13 ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันส
  • 5. 3. ผู้สอนเปิดโอกาสให้ผู้เรียนซักถาม และประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน 3.1ทดสอบหลังจากการบรรยาย 3.2มอบหมายงาน 3.3ตรวจแบบฝึกหัด        ลักษณะสำคัญของการสอนแบบบรรยาย พอสรุปได้ดังนี้        1. ผู้สอนเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้แก่ผู้เรียน โดยการบอก เล่า หรืออธิบาย        2. ผู้เรียนเป็นฝ่ายฟัง อาจมีการจดบันทึกสาระสำคัญในขณะฟังบรรยายและอาจมีโอกาสถาม หรือแสดงความคิดเห็นบ้าง ถ้าผู้สอนเปิดโอกาส        3. มุ่งถ่ายทอดความรู้ และ/หรือ มุ่งเร้าความสนใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เทคนิคและข้อเสนอแนะต่างๆในการใช้วิธีสอนโดยใช้การบรรยายให้มีประสิทธิภาพ        เพื่อให้การสอนแบบบรรยายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้สอนควรมีการดำเนินการเป็น 3ขั้นตอนได้แก่ ขั้นเตรียม ขั้นบรรยาย และขั้นสรุปและประเมิน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
  • 6.
  • 7. 2. ขั้นบรรยาย        ในการบรรยายให้มีประสิทธิภาพ มีข้อเสนอแนะสำหรับผู้สอนดังนี้ 2.1 ทำตัวให้มีชีวิตชีวา แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่น และความจริงจังของผู้สอน 2.2 ควบคุมอารมณ์ไม่ให้ตื่นเต้น ประหม่า หรือเครียด ควรแสดงความเป็นกันเองยิ้มแย้ม แจ่มใสกับผู้เรียน 2.3 พูดด้วยน้ำเสียงที่เป็นธรรมชาติ โดยใช้เสียงที่ดังพอที่ทุกคนจะฟังได้ยินอย่างฟังชัดเจน มีความชัดถ้อยชัดคำ ไม่เร็วหรือช้าเกินไป มีการแปรเปลี่ยนน้ำเสียงและจังหวะในการพูดเพื่อเน้นจุดสำคัญเพื่อให้มีความน่าสนใจ 2.4 ใช้สายตามองผู้เรียนให้ทั่วขณะบรรยาย เพื่อแสดงถึงการให้ความสำคัญกับผู้เรียนและเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดี นอกจากนี้ยังเป็นการสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนว่ายังมีความสนใจในการเรียนอยู่หรือไม่ ทั้งนี้จะต้องไม่มองเฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ควรมองให้ทั่ว 2.5 ไม่ควรเริ่มต้นด้วยการบรรยายเนื้อหาทันที ควรเริ่มด้วยการเชื่อมโยงความรู้และประสบการณ์เดิมของผู้เรียนเข้ากับเรื่องที่จะสอนเสียก่อน โดยใช้เทคนิคที่เหมาะสม เช่น การยกเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้อง การตั้งคำถามนำให้คิด เป็นต้น 2.6 ควรบอกเค้าโครงของเรื่องที่จะบรรยาย และบอกจุดประสงค์ของบทเรียนให้ผู้เรียนทราบก่อน 2.7 ดำเนินการบรรยายตามลำดับเนื้อหาที่เตรียมการไว้ 2.8 ควรหลีกเลี่ยงการบรรยายล้วนๆ ควรมีการถามคำถามระหว่างการบรรยาย ซึ่งอาจเป็นคำถามใน 2 ลักษณะ คือ คำถามแบบที่ผู้สอนถามคำถามแล้วหยุดให้คิดชั่วขณะแล้วผู้สอนช่วยตอบปัญหานั้นเอง และคำถามที่ผู้สอนถามและให้ผู้เรียนตอบ ซึ่งคำถามแบบหลังนี้นอกจากจะกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดหาคำตอบแล้ว คำตอบที่ได้รับจะเป็นข้อมูลย้อนกลับและเป็นการประเมินอย่างไม่เป็นทางการอีกด้วย 2.9 เปิดโอกาสให้ผู้เรียนถามคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่ได้เรียน 2.10 ควรใช้เทคนิคการสอนกลุ่มย่อยและเทคนิคอื่นๆ เช่น การระดมความคิด(Brainstorming) การอภิปรายกลุ่มย่อยที่เรียกว่า Buzz Group หรือการอภิปรายแบบหนึ่งต่อหนึ่งเป็นต้น 2.11 การใช้สื่อประกอบ เช่นใช้แผ่นใส ภาพ สไลด์ เทปเสียง วีดิทัศน์ ภาพยนตร์ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น  2.12 การใช้การทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้เห็นความสามารถของตนในเรื่องนั้น
  • 8. 3. ขั้นการปาฐกถา        ครูเป็นผู้บรรยายให้นักเรียนฟัง นักเรียนฟังครูแล้วจดบันทึกเพื่อให้เป็นที่สนใจ ครูควรใช้วัสดุอุปกรณ์ประกอบการสอนและมีกาซักถามสลับไปด้วย พร้อมทั้งแทรกสิ่งที่ขำขันเข้าไปด้วยเพื่อให้เกิดความสนุกสนาน        4. ขั้นการติดตาม        เมื่อครูสอนจบบทเรียน ครูจะสรุปบทเรียนให้นักเรียนฟังเป็นข้อๆ แล้วเขียนสาระสำคัญบนกระดานดำให้นักเรียนอ่านพร้อมกัน หรือ จดบันทึกเอาไว้ จากนั้นก็ให้มีการอภิปรายการซักถาม การสาธิต การลงมือปฏิบัติและการทำแบบฝึกหัด เป็นต้น ในชั้นนี้เราดูถึงความสนใจของผู้เรียนเป็นหลัก        5. ขั้นสรุปและประเมินผล        ในการบรรยายแต่ละครั้ง ผู้สอนควรมีการสรุปสาระสำคัญของสิ่งที่ได้สอนหรือบรรยายไปโดยอาจนำเสนอบทสรุปในรูปขอข้อความสั้นๆ หรือการใช้ผังมโนทัศน์ (Concept Map) ของเรื่องนั้นก็ได้ นอกจากนี้ยังควรมีการประเมินผลการสอนโดยอาจดำเนินการดังนี้ 5.1 ถามคำถามให้ผู้เรียนตอบระหว่างบรรยาย หรือเมื่อบรรยายจบ 5.2 ให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบ 5.3 ให้ผู้เรียนทำแบบฝึกหัดเพิ่มเติมซึ่งเป็นเรื่องของการนำความรู้ไปใช้ 5.4 ให้ผู้เรียนตอบแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการสอนของผู้สอนหลังจากจบการบรรยายแต่ละครั้งผู้สอนควรรวบรวมข้อมูลที่ได้จากผู้เรียนมาใช้เป็นข้อมูลย้อนกลับเพื่อปรับปรุงการบรรยายครั้งต่อไปให้ดียิ่งขึ้น
  • 9. วิธีการในการบรรยายอาจแบ่งแยกได้เป็น 3 รูปแบบตามลักษณะของการเสนอเรื่องดังนี้ 1. การบรรยายที่เป็นลักษณะของการเน้นปัญหา        ผู้บรรยายจะเริ่มต้นด้วยการเสนอปัญหาแล้วแนะแนวทางหรือเสนอวิธีการแก้ปัญหาและปิดท้ายด้วยวิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสมที่สุดเป็นการสรุป        2. การบรรยายที่เป็นลักษณะของการให้ข้อคิดเห็น ผู้บรรยายจะเสนอข้อคิดหรือความคิดเห็นหลายๆ แนวทาง        เพื่อให้ผู้ฟังได้เห็นแล้วปิดท้ายด้วยวิธีแก้ปัญหาที่เหมาะสมที่สุดเป็นการสรุปข้อคิดหรือความคิดเห็นและแนวทางที่เหมาะสม        3. การบรรยายในลักษณะที่เน้นการเสนอเนื้อหาความรู้ เป็นการบรรยายในชั้นเรียนทั่วไป        วิธีสอนแบบนี้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับนักเรียนระดับอุดมศึกษา หรือมัธยมศึกษาไม่เหมาะสมสำหรับนักเรียนระดับประถม          ความมุ่งหมายของวิธีสอนแบบบรรยาย        1. เป็นการสอนที่เน้นเนื้อหาสาระที่นำเสนอโดยครูผู้สอน ผู้บรรยายจะเสนอปัญหาวิธีการต่างๆในการแก้ปัญหา และสรุปด้วยว่าวิธีการใดเป็นวิธีการแก้ปัญหาทีดีที่สุดตามหลักการ        2. เพื่อให้ผู้เรียนได้รับความรู้หลายๆแนวคิดก่อนที่จะสรุปเป็นข้อคิดหรือทางเลือกที่เหมาะสม          การอภิปรายซักถาม และประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน        ก่อนยุติการบรรยายฯ ผู้บรรยายควรสรุปสาระสำคัญของการบรรยายและควรเปิดโอกาสให้ผู้ซักถาม หรือเปิดอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ต่อจากนั้นควรมีการทดสอบการเรียนในเรื่องที่บรรยายด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การสุ่มถามผู้เรียน หรือการให้ทำแบบทดสอบ เป็นต้น          สื่อการสอนสำหรับการเรียนการสอนแบบบรรยาย          ลักษณะของการเรียนการสอนแบบบรรยายนั้น ผู้สอนจะเป็นศูนย์กลาง ความสำคัญจะอยู่ที่ผู้สอน สื่อการสอนที่นำมาใช้จะมีลักษณะเป็นเครื่องช่วยสอน กล่าวคือ สื่อการสอนที่นำมาใช้จะมีลักษณะไม่สมบูรณ์ในตนเอง ผู้สอนมีหน้าที่ในการทำให้สื่อการสอนนั้นสมบูรณ์ขึ้น สื่อการสอนที่ใช้ประกอบการเรียนการสอนแบบบรรยายควรมีลักษณะ 1.1        มีขนาดเหมาะสมกับห้องเรียน 1.2        ผู้เรียนสามารถมองเห็น หรือได้ยินชัดเจนทั่ว
  • 10. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมสำหรับการสอนแบบบรรยาย 1. ถ้าต้องการแจกเอกสารประกอบการบรรยายเพื่อให้ผู้เรียนดูประกอบและขณะบรรยายควรออกแบบเอกสารให้มีเฉพาะหัวข้อที่สำคัญ และมีการเว้นที่ให้ผู้เรียนบันทึกเพิ่มเติม แต่ถ้าเป็นเอกสารที่มีรายละเอียดค่อนข้างสมบูรณ์อาจแจกหลังการบรรยาย หากผู้เรียนรู้ล่วงหน้าว่าจะมีการแจกแจงเอกสารเกี่ยวกับเนื้อหาที่จะบรรยายหลังเรียนจบอาจทำให้ผู้เรียนไม่สนใจฟังเท่าใดนักเพราะคิดว่าจะได้ข้อมูลทั้งหมดภายหลังอยู่แล้ว ในบางกรณีอาจแจกเอกสารประกอบการบรรยายให้ไปศึกษามาล่วงหน้าซึ่งก็เหมาะกับเนื้อหาที่มีความยากและซับซ้อน  2. ควรสำรวจบุคลิกโดยเฉพาะการแต่งกายของผู้สอนก่อนบรรยายเพื่อให้ดูมีความน่าเชื่อถือ น่าเลื่อมใส  3. ควรสอดแทรกอารมณ์ขันในระหว่างการบรรยายจะช่วยให้บรรยากาศการเรียนการสอนมีความเป็นกันเองมากยิ่งขึ้น   4. ใช้กิริยาท่าทางที่เหมาะสมในการบรรยาย   5. ไม่ควรอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานๆ เช่น ยืนอยู่จุดเดียว เดินกลับไปกลับมา ขยับแว่นตาขยับกางเกง ดูนาฬิกา พูดคำบางคำที่ตนชอบบ่อยๆ   6. อย่าใช้คำศัพท์ที่ยากเกินระดับสติปัญญาของผู้เรียน   7. ไม่ควรบรรยายติดต่อกันเป็นเวลานาน ควรบรรยายให้เหมาะสมกับช่วงความสนใจของผู้เรียน เช่น ในระดับมัธยมศึกษา การบรรยายไม่ควรเกิน 20-30 นาที และในระดับอุดมศึกษาไม่ควรเกิน 45-60 นาที   8. ต้องเตรียมตัวในเนื้อหาที่จะบรรยายมาให้ดี มีความแม่นยำ เพราะถ้าสอนผิดผู้เรียนอาจเกิดความเสื่อมศรัทธาในตัวผู้สอนได้
  • 11. ข้อดีของการสอนแบบบรรยาย        1. ประหยัดเวลา เพราะสามารถใช้กับผู้เรียนได้จำนวนมาก        2. ผู้สอนสามารถนำความรู้ที่เป็นจุดเด่นจากตำราหลายๆ เล่มมาประมวล บูรณาการไว้ด้วยกันในการบรรยาย        3. สำหรับเนื้อหายุ่งยากและซับซ้อน ผู้เรียนได้ฟังบรรยายแล้วจะเข้าใจง่ายกว่าไปศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ซึ่งต้องใช้เวลานานมากกว่า และอาจไม่เข้าใจ        4. ผู้เรียนได้ฟังความคิดเห็นหรือข้อชี้แนะจากผู้สอนที่มีความรู้และประสบการณ์มากกว่าทำให้เกิดแรงจูงใจที่จะเรียนดีขึ้น        5. ดำเนินการสอนได้รวดเร็ว        6. ผู้เรียนไม่ต้องทำงานมาก รับรู้เรื่องราวได้โดยตรง        7. เหมาะสมกับเนื้อหาที่มีความยุ่งยาก ซับซ้อน        8. ฟังการบรรยายก็เข้าใจง่ายกว่าค้นหาเอง  
  • 12. ข้อจำกัดของการสอนแบบบรรยาย        1. ถ้าใช้บ่อยๆ โดยไม่พิจารณาความเหมาะสม อาจทำให้ผู้เรียนเบื่อหน่าย เพราะผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนด้วย        2. ไม่เอื้อต่อการคิดวิเคราะห์ และสังเคราะห์ซึ่งเป็นความสามารถทางปัญญาชั้นสูง        3. ไม่ค่อยเกิดการพัฒนาด้านเจตคติและทักษะพิสัย        4. เป็นการสอนที่เน้นครูหรือผู้สอนเป็นศูนย์กลาง        5. ความรู้ที่ได้รับจากการฟังเพียงอย่างเดียวอาจลืมง่าย เป็นความทรงจำที่ไม่ถาวร        6. ผู้สอนต้องรู้จักการสร้างบรรยากาศด้วยวาทศิลป์ เพื่อมิให้ผู้ฟังสูญเสียความสนใจ        7. ครูควรแสดงท่าทางประกอบการเคลื่อนไหวบ้างพอสมควรอย่าให้มากเกินไป        8. ครูควรบรรยายจากข้อมูลไปหาข้อสรุปหรือกฎเกณฑ์จะช่วยให้เด็กได้พัฒนาทางด้านความคิดเป็นอย่างมาก        9. ควรมีการซักถามเด็กบ้างระหว่างที่บรรยายเช่น ให้ช่วยออกความคิดเห็นต่างๆ เป็นต้น        10. เสียงดังชัดเจนมีการเน้นสูงต่ำเป็นจังหวะ        11. ใช้ภาษาและคำพูดง่ายๆ ให้เด็กฟังแล้วเข้าใจ        12. ครูควรใช้รูปภาพหรือวัสดุอื่นประกอบคำอธิบาย        13. เป็นวิธีการสอนผู้เรียนมีบทบาทน้อยจึงทำให้ผู้เรียนขาดความสนใจในการบรรยาย        14. เป็นวิธีการสอนที่ไม่สามารถสนองตอบความต้องการและความแตกต่างระหว่างบุคคล
  • 13. โอกาสที่จะใช้การสอนแบบปาฐกถาได้เหมาะ คือ 1.ใช้สำหรับนำเข้าสู่บทเรียน 2.ใช้ในตอนสรุปบทเรียน การบรรยายที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเป็นวิธีการที่ ปรับปรุงวิธีการสอนแบบบรรยายที่ใช้กันอย่างแพร่หลายฃในทุกระดับชั้นเสมอมาให้สอดคล้อง กับจัดการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยรักษาข้อดีและข้อจำกัดของวิธีการบรรยายในเรื่องการเตรียมเนื้อหาการบรรยายและการประเมินผล ซึ่งผู้สอนต้องเตรียมในทุกขั้นให้ดีก่อนการปฏิบัติ        นอกจากนี้ต้องให้ผู้เรียนรู้โครงสร้างรายวิชาตั้งแต่เริ่มต้นและย้ำเป็นระยะตลอดเทอมอาจจักสาระเพิ่มโดยพิจารณาความสนใจและความสามารถของเด็ก แต่สิ่งสำคัญต้องเตรียม syllabus  อย่างละเอียดให้ผู้เรียนเปรียบเสมือนให้แผนที่เดินทางสู่จุดหมายการเรียนที่ตั้งไว้ติดตัวตลอดเส้นทางไม่หลงหรือเลือกทางเดินผิด        ขั้นต่อมาที่ต้องเตรียมงาน คือ เตรียมเอกสารการบรรยาย เพื่อให้ได้เอกสารสื่อการเรียนรู้ได้ผลดี จะต้องเตรียมการล่วงหน้าและระวังด้วยว่าอย่าเผลอจำหรืออ่านเนื้อหาสาระเหล่านั้นเหมือนละครอ่านบทเอกสารนี้ควรทดลองเสนอในหลายรูปแบบเช่นโครงสร้างเนื้อหา Outline แผนผังต้นไม้ Tree Diagram หรือสรุปจุดสำคัญ Major point เพื่อช่วยให้เข้าใจสาระสำคัญได้ดีหากจำเป็นต้องแต่งเติมให้ชัดแจ้งก็ควรทำในส่วนของสูตรหรือหลักที่ต้องการอ้างถึงก็ต้องแยกแบ่งออกจากเนื้อหาออกมาต่างหาก รวมทั้งตัวอย่างประกอบก็ควรแยกไว้เช่นกัน อย่าลืมว่าเราใช้เอกสารเพื่อประกอบการบรรยายจึงต้องสอดคล้องกับการบรรยาย
  • 14. หลักการ คือ เมื่อบรรยายให้ฟังชัดคำสั้น ศัพท์ง่าย ประโยคตรง ชี้จุดและสรุปย้ำเนื้อหา เอกสารกควรเสริมส่วนที่อาจขาดไปหรือเข้าใจยากนั่นเอง        การซ้อมบรรยายเป็นสิ่งสุดท้ายที่ขาดไม่ได้ เพื่อประเมินดูว่าเตรียมเนื้อหาไว้เหมาะหรือไม่ อาจลองดูสัก 1-2 ครั้ง เพราะอาจมีปัญหา เช่น เนื้อหานั้นมากเกินเวลาที่มีหรือจัดลำดับเรื่องไม่สอดคล้องกันจริงประเด็นสุดท้ายหลังเตรียมเนื้อหาดีแล้ว คือ จะต้องจัดโครงสร้างการบรรยายตามเนื้อหาที่มี โดยตัดสินใจว่าเราจะต้องบรรยายให้ยากหรือง่ายเพียงไร เขียนกำหนดแก่น (Theme) ของเนื้อหาและเหตุผลก่อนจะจัดกระบวนการบรรยายให้ผู้เรียนเข้าใจว่า เหตุทำให้เกิดผลอย่างไรโดยต้องกำหนดโครงสร้างการบรรยายให้เข้าใจเนื้อหาที่สำคัญที่สุดให้ง่าย ๆ และจัดแบ่งการบรรยายเป็นช่วงละ 10-15 นาที        ทั้งนี้ ตามหลักจิตวิทยาช่วงความสนใจของผู้เรียนจะอยู่ระหว่าง 10-20 นาที ในขณะที่คาบเรียนทั่วไปถูกกำหนด ไว้50 นาทีดังนั้นหากจัดการเวลาให้ได้ดี การบรรยายจะไม่กลายเป็นการร่ายยาวและผู้เรียนจะยังสนใจอยู่ได้ทั้งคาบ
  • 15.        การจัดโครงสร้างต้องไม่ละเลยข้อสำคัญ ช่วงท้ายของการบรรยายคือ ต้องจัดให้ผู้บรรยายมีเวลาตอบคำถามผู้ฟังเพื่อแก้ไขข้อข้องใจในเนื้อหาจนกระจ่างหรือแนะแนวทางค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเองต่อไปอีกนอกจากนี้ต้องเวลาเพื่อสรุปเนื้อหา เชื่อมโยงจากต้นเรื่องที่เริ่มบรรยาย มาสู่ตอนจบด้วย        เมื่อมีทั้งเนื้อหาโครงสร้างการบรรยายพร้อมก็มาเตรียมการนำเสนอ  ในขั้นนี้สิ่งสำคัญคือตัวผู้บรรยาย จะต้องพร้อมเสนอเพื่อให้ผู้เรียนสนองตอบ ผู้เรียนย่อมจะสนใจผู้บรรยายที่มีชื่อเสียง เป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ หรือครูผู้สอนที่มีคุณวุฒิและบุคลิกภาพน่าสนใจ สะท้อนถึงความรู้ความสามารถน่าเชื่อถือ