SlideShare a Scribd company logo
1 of 30
Download to read offline
หนังสือเรียน
รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี
(การออกแบบและเทคโนโลยี)
ชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ ๔
ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐)
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑
จัดทำ�โดย
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ
พิมพ์ครั้งที่ ๑
ISBN 978-616-362-689-9
จำ�นวน ๑๐๐,๐๐๐ เล่ม พ.ศ. ๒๕๖๑
จัดพิมพ์และจัดจำ�หน่ายโดย
ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ ๑๐๓๓๐
www.chulabook.com
ฝ่ายขายติดต่อ แผนกขายส่ง โทร. ๐-๒๓๗๔-๑๓๗๕-๖ โทรสาร ๐-๒๓๗๔-๑๓๗๔
พิมพ์ที่
โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โทร. ๐-๒๒๑๘-๓๕๕๑ โทรสาร ๐-๒๒๑๘-๓๕๕๐
www.cuprint.chula.ac.th
�
(นายบุญรักษ์ ยอดเพชร)
เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ประกาศสำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เรื่อง อนุญาตให้ใช้สื่อการเรียนรู้ในสถานศึกษา
		
	 ด้วยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้จัดทำ�หนังสือเรียน
รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ตามมาตรฐาน
การเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตร
แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ได้พิจารณาแล้ว อนุญาตให้ใช้ในสถานศึกษาได้
		 ประกาศ ณ วันที่ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๑
คำ�นำ�
(นายบุญรักษ์ ยอดเพชร)
เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
	 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) มีอำ�นาจหน้าที่ในการพัฒนาหลักสูตร
วิธีการเรียนรู้ การประเมินผล การจัดทำ�หนังสือเรียน แบบฝึกหัด และสื่อการเรียนรู้ทุกประเภทที่ใช้
ประกอบการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
	 หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) ชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ ๔ นี้ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จัดทำ�ขึ้นตามมาตรฐานการเรียนรู้
และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับระบบทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อน รวมถึงการเปลี่ยนแปลง
และผลกระทบของเทคโนโลยี การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม ซึ่งจะเป็นประโยชน์
ต่อการนำ�ไปใช้ในการดำ�รงชีวิตและรู้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก รวมทั้งการพัฒนาความรู้และ
ทักษะที่จำ�เป็นในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล สอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ ได้เป็นอย่างดี
	 สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเรียนเล่มนี้จะเป็นประโยชน์
ต่อการจัดการเรียนรู้ และเป็นส่วนสำ�คัญในการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์ ขอขอบคุณสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนบุคคลและ
หน่วยงานอื่น ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดทำ�ไว้ ณ โอกาสนี้
คำ�ชี้แจง
		 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้จัดทำ�ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้
แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา
ขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๕๑ โดยมีจุดเน้นเพื่อต้องการพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถที่ทัดเทียม
กับนานาชาติ ได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่เชื่อมโยงความรู้กับกระบวนการ ใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้และ
แก้ปัญหาที่หลากหลาย มีการทำ�กิจกรรมด้วยการลงมือปฏิบัติเพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้ทักษะกระบวนการ
ทางวิทยาศาสตร์ และทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งในปีการศึกษา ๒๕๖๑ เป็นต้นไปนี้โรงเรียนจะต้องใช้
หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) โดยได้มีการย้ายสาระเทคโนโลยี
ออกจากกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี มาอยู่ที่กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เนื่องจาก
ความรู้ด้านเทคโนโลยี ทั้งการออกแบบและเทคโนโลยี และวิทยาการคำ�นวณ เป็นพื้นฐานที่สำ�คัญและ
เชื่อมโยงกับวิทยาศาสตร์ได้เป็นอย่างดี สสวท. จึงได้จัดทำ�หนังสือเรียนที่เป็นไปตามมาตรฐานหลักสูตร
เพื่อให้โรงเรียนได้ใช้สำ�หรับจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน
	 หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) ชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ ๔ นี้ จัดเนื้อหาตามพัฒนาการของผู้เรียน ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับระบบทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อน
การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ผลกระทบของเทคโนโลยี วัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือพื้นฐาน กลไก ไฟฟ้า
และอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น และการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำ�คัญ
ต่อการนำ�ไปใช้ในชีวิตประจำ�วัน ผู้เรียนจะได้ทำ�กิจกรรมการเรียนรู้ การฝึกปฏิบัติ การตอบคำ�ถาม
การตรวจสอบความเข้าใจ และสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ ตลอดจนมีกิจกรรมให้ผู้เรียนได้นำ�ความรู้ที่เรียนในบท
นั้น ๆ มาประยุกต์ใช้แก้ปัญหาอีกด้วย ในการจัดทำ�หนังสือเรียนเล่มนี้ ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่ง
จากผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการอิสระ คณาจารย์ทั้งหลาย รวมทั้งครูผู้สอน นักวิชาการ จากสถาบัน
และสถานศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน จึงขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี้
	 สสวท. หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (การออกแบบและ
เทคโนโลยี) เล่มนี้ จะเป็นประโยชน์แก่ผู้เรียน และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ที่จะช่วยให้การจัดการศึกษา
ด้านวิทยาศาสตร์มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล หากมีข้อเสนอแนะใดที่จะทำ�ให้หนังสือเรียนเล่มนี้มี
ความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โปรดแจ้ง สสวท. ทราบด้วย จะขอบคุณยิ่ง
(นางพรพรรณ ไวทยางกูร)
ผู้อำ�นวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระทรวงศึกษาธิการ
คำ�แนะนำ�การใช้หนังสือเรียน
รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี)
	 หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) ชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 4 ประกอบด้วย 7 บทเรียน ซึ่งแต่ละบทเรียนมีองค์ประกอบ ดังนี้ จุดประสงค์ของบทเรียน การนำ�ไปใช้
ทบทวนความรู้ก่อนเรียน คำ�ถามชวนคิด เกร็ดน่ารู้ สื่อเสริมเพิ่มความรู้ ข้อควรระวัง เนื้อหา กิจกรรม
สรุปท้ายบท และกิจกรรมท้ายบท ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ประสิทธิภาพควรใช้ควบคู่กับคู่มือครู
รายวชิ าพน้ื ฐานวทิ ยาศาสตร์ เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลย)ี ชน้ั มธั ยมศกึ ษาปที ่ี 4 สาระ
เทคโนโลยี กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุตัวชี้วัดในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งได้แก่
	 1.	วิเคราะห์แนวคิดหลักของเทคโนโลยี ความสัมพันธ์กับศาสตร์อื่นโดยเฉพาะวิทยาศาสตร์
หรือคณิตศาสตร์ รวมทั้งประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อมนุษย์ สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็น
แนวทางในการพัฒนาเทคโนโลยี
	 2.	ระบุปัญหาหรือความต้องการที่มีผลกระทบต่อสังคม รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลและแนวคิด
ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่มีความซับซ้อนเพื่อสังเคราะห์วิธีการ เทคนิคในการแก้ปัญหา โดยคำ�นึงถึงความ
ถูกต้องด้านทรัพย์สินทางปัญญา
	 3.	ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบ และตัดสินใจเลือกข้อมูลที่จำ�เป็นภายใต้
เงื่อนไขและทรัพยากรที่มีอยู่ นำ�เสนอแนวทางการแก้ปัญหาให้ผู้อื่นเข้าใจด้วยเทคนิคหรือวิธีการที่
หลากหลาย โดยใช้ซอฟต์แวร์ช่วยในการออกแบบ วางแผนขั้นตอนการทำ�งานและดำ�เนินการแก้ปัญหา
	 4.	ทดสอบ ประเมินผล วิเคราะห์และให้เหตุผลของปัญหาหรือข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นภายใต้กรอบ
เงื่อนไข หาแนวทางการปรับปรุงแก้ไข และนำ�เสนอผลการแก้ปัญหา พร้อมทั้งเสนอแนวทางการพัฒนาต่อยอด
	 5.	ใช้ความรู้และทักษะเกี่ยวกับวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ กลไก ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และ
เทคโนโลยีที่ซับซ้อนในการแก้ปัญหาหรือพัฒนางาน ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และปลอดภัย
บทที่ เรื่อง สอดคล้องกับตัวชี้วัด
บทเรียนที่ต้องศึกษา
มาแล้วก่อนหน้า
1 ระบบทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อน 1 -
2 การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี 1 บทที่ 1
3 ผลกระทบของเทคโนโลยี 1 บทที่ 1 และ 2
4 วัสดุและเครื่องมือพื้นฐาน 5 -
5 กลไก ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ 5 -
6 กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม 2, 3, 4 บทที่ 1 2 3 4 และ 5
7
กรณีศึกษาการแก้ปัญหา
ตามกระบวนการออกแบบ
เชิงวิศวกรรม
2, 3, 4 บทที่ 1 2 3 4 5 และ 6
	 เนื้อหาและกิจกรรมในหนังสือเรียนนี้มีความสอดคล้องกับตัวชี้วัด ซึ่งบางบทเรียนจำ�เป็นต้อง
เรียนรู้บทอื่นมาก่อน รายละเอียดดังตารางต่อไปนี้
เป็นการเชื่อมโยงเนื้อหากับ
การประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
ชวนคิดเป็นคำ�ถามหรือ
กิจกรรมให้ลองคิดหรือปฏิบัติ
เนื้อหาสาระที่เป็นแนวคิด
สำ�คัญของบท
เป็นการแนะนำ�แหล่งข้อมูล
เพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา
เป็นคำ�เตือนให้คำ�นึงถึงความ
ปลอดภัยหรือประเด็นสำ�คัญ
เกี่ยวกับเนื้อหานั้น
เป็นการสรุปเนื้อหาของ
บทเรียน
กิจกรรมความร่วมมือ
หรือการคิดแบบกลุ่ม
เป็นกิจกรรมที่ให้ปฏิบัติเพื่อ
ตรวจสอบความรู้หลังจากเรียน
จบบทเรียน
การนำ�ไปใช้
จุดประสงค์ของบทเรียน ทบทวนความรู้ก่อนเรียน
สื่อเสริมเพิ่มความรู้
กิจกรรม
กิจกรรมท้ายบท
ชวนคิด
เกร็ดน่ารู้
1
3
5
7
9
2
4
6
8
10
การสื่อความหมายของรูปภาพและกรอบที่ควรรู้
ข้อควรระวัง
สรุปท้ายบท
เป็นการทบทวนความรู้เพื่อ
เชื่อมโยงเนื้อหาที่จะเรียน
ต่อไป
เป็นจุดประสงค์การเรียนรู้
ของบทเรียน
สารบัญ
บทที่ หน้าเนื้อหา
1
2
3
บทที่ 1 - 4
บทที่	 1	 ระบบทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อน		 1
			 1.1	ระบบคืออะไร				 3
			 1.2	ระบบทางเทคโนโลยี			 7
			 1.3	ระบบทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อน	 11
			 1.4	การทำ�งานผิดพลาดของระบบ	 16
			 กิจกรรมท้าทายความคิด	ไม้เท้าอัจฉริยะสำ�หรับ	 18
											 ผู้บกพร่องทางการเห็น
			 กิจกรรมท้ายบท	ระบบทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อน 	 19
บทที่	 2 	การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี	 21
			 2.1	สาเหตุหรือปัจจัยการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี	 23
			 2.1	ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี	 28
			 กิจกรรมท้าทายความคิด	 การพัฒนาไม้เท้าสำ�หรับ	 32
											 ผู้บกพร่องทางการเห็น	
			 กิจกรรมท้ายบท	วิเคราะห์สาเหตุปัจจัยของการเปลี่ยนแปลง	 33
									 ของเทคโนโลยีทางการแพทย์
บทที่	 3	 ผลกระทบของเทคโนโลยี			 35
			 3.1	ผลกระทบของเทคโนโลยีต่อมนุษย์ และสังคม	 36
			 3.2	ผลกระทบของเทคโนโลยีต่อเศรษฐกิจ	 40
			 3.3	ผลกระทบของเทคโนโลยีต่อสิ่งแวดล้อม	 42	
			 3.4	ตัวอย่างการวิเคราะห์ผลกระทบของเทคโนโลยี	 43
			 กิจกรรมท้าทายความคิด	วิเคราะห์ผลกระทบของไม้เท้า	 47
											 สำ�หรับผู้บกพร่องทางการเห็น
			 กิจกรรมท้ายบท	สำ�รวจ วิเคราะห์ผลกระทบของเทคโนโลยี	 48
									 และเสนอแนวทางป้องกันและแก้ไข
4
บทที่	 4 	วัสดุและเครื่องมือพื้นฐาน		 49	
			 4.1 	วัสดุ							 51
			 4.2	เครื่องมือพื้นฐาน				 68
			 4.3	การตัด ต่อ และขึ้นรูปวัสดุ		 76
		 	 กิจกรรมท้าทายความคิด	 อธิบายและเลือกใช้วัสดุและ	 80
											 อุปกรณ์ในการสร้างไม้เท้า
			 กิจกรรมท้ายบท 	ออกแบบอุปกรณ์และนำ�เสนอแนวทาง	 81
									 การเลือกใช้วัสดุ และเครื่องมือพื้นฐาน
สารบัญ
บทที่ หน้าเนื้อหา
บทที่ 5-7
5
6
7
บทที่ 	5	 กลไก ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์		 83
			 5.1	กลไก							 85
			 5.2	อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์	 91
			 5.3	แผงควบคุมขนาดเล็ก			 98
			 กิจกรรมท้าทายความคิด	 เลือกใช้กลไก อุปกรณ์ไฟฟ้า	 101
										 	 และอิเล็กทรอนิกส์เพื่อสร้างไม้เท้า
			 กิจกรรมท้ายบท ออกแบบเทคโนโลยีที่มีองค์ประกอบ	 102
									 ของกลไก อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
บทที่	 6	 กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม 	 103
			 6.1	ขั้นระบุปัญหา				 107
			 6.2	ขั้นรวบรวมข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหา	 117
			 6.3	ขั้นออกแบบวิธีการแก้ปัญหา	 124
			 6.4	ขั้นวางแผนและดำ�เนินการแก้ปัญหา	 138
			 6.5	ขั้นทดสอบ ประเมินผล และปรับปรุงแก้ไขวิธีการ	 140	
				 แก้ปัญหาหรือชิ้นงาน
			 6.6	ขั้นนำ�เสนอวิธีการแก้ปัญหา ผลการแก้ปัญหาหรือชิ้นงาน	 144
			 กิจกรรมท้ายบท	วิเคราะห์ชิ้นงานหรือวิธีการแก้ปัญหา	 147
									 ตามกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม
บทที่	 7	 กรณีศึกษาการแก้ปัญหาตามกระบวนการออกแบบ	 149
			 เชิงวิศวกรรม
			 	กรณีศึกษาที่ 1	 การออกแบบชุดอุปกรณ์รับประทานอาหาร	 152
							 สำ�หรับผู้สูงอายุที่ข้อนิ้วมือเสื่อม
			 	กรณีศึกษาที่ 2	 การพัฒนาขั้นตอนการให้บริการ	 158
							 สำ�หรับโรงพยาบาลทางจิตเวช
			 	กรณีศึกษาที่ 3	 ขาเทียมสำ�หรับคนพิการ	 164
							 แบบปรับอัตราหน่วงได้	
			 กิจกรรมท้ายบท	การแก้ปัญหาหรือพัฒนางาน	 171
							 ตามกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม
1
ระบบทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อน
	 จุดประสงค์ของบทเรียน
บทที่
1.	 วิเคราะห์ระบบเทคโนโลยีและระบบย่อยของเทคโนโลยี
	 และอธิบายความสัมพันธ์ของระบบย่อย
2.	 วิเคราะห์ระบบทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อน
  ระบบคืออะไร
  ระบบทางเทคโนโลยี
  ระบบทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อน
  การทำ�งานผิดพลาดของระบบ
ระบบทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อนบทที่ 1
	 	 ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อนช่วยให้เราเข้าใจระบบการทำ�งาน      
ของเทคโนโลยีที่ใช้หรือสร้าง สามารถวิเคราะห์สาเหตุและนำ�ไปสู่การแก้ไขข้อผิดพลาด เพื่อให้
เทคโนโลยีนั้นทำ�งานได้ตามวัตถุประสงค์ เช่น เครื่องปรับอากาศจะมีระบบย่อยหลายส่วนทำ�งาน   
ร่วมกัน ทั้งระบบการทำ�ความเย็น ระบบกรองอากาศ ระบบรีโมทควบคุม หากเครื่องทำ�งานผิด
ปกติหรือไม่สามารถทำ�ให้อุณหภูมิห้องลดลงได้ตามต้องการ เราสามารถตรวจสอบระบบการ
ทำ�งานเพื่อแก้ไขปัญหาเบื้องต้นได้ โดยการตรวจสอบระบบย่อยแต่ละส่วน เช่น อาจตรวจสอบ
ระบบการกรองอากาศ หากพบว่ามีฝุ่นอุดตัน สามารถแก้ไขเบื้องต้นได้ด้วยการทำ�ความสะอาด
แผ่นกรองอากาศ นอกจากนี้ การเข้าใจการทำ�งานของระบบยังช่วยให้เราสามารถดูแลรักษาเพื่อ
ยืดอายุการใช้งานเทคโนโลยีได้อีกด้วย
การนำ�ไปใช้
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2
บทนำ�
	 	 บ่อยครั้งที่เราได้ยินคำ�ว่า “ระบบ” เช่น การทำ�งานอย่างเป็นระบบ การคิดอย่างเป็นระบบ บางครั้ง
เราพูดถึงระบบต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์ ทั้งระบบย่อยอาหาร ระบบขับถ่าย ระบบหายใจ หรือระบบของ      
สิ่งต่าง ๆ ที่เราใช้งานในชีวิตประจำ�วัน เช่น ระบบการทำ�งานของรถยนต์ เครื่องเสียง เครื่องปรับอากาศ      
ซึ่งจะเห็นได้ว่า “ระบบ” มีหลายอย่างและเกี่ยวข้องกับการดำ�เนินชีวิตของมนุษย์อยู่ตลอดเวลา ในบทนี้
นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับระบบทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อนซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ประกอบไปด้วยระบบย่อย
ตั้งแต่สองระบบขึ้นไปทำ�งานสัมพันธ์กัน
1.1	 ระบบคืออะไร
	 	 ระบบ (system) โดยทั่วไปแล้ว
เป็นคำ�ที่ใช้เรียกแทนสิ่งต่าง ๆ ที่มี            
ส่วนประกอบตั้งแต่สองส่วนขึ้นไปรวม   
เข้าด้วยกัน และทำ�งานสัมพันธ์กัน เพื่อให้
สามารถทำ�งานได้ตามหน้าที่ (function)
ที่กำ�หนด ซึ่งมีได้หลากหลาย เช่น ปากกา
ประกอบไปด้วยส่วนประกอบหลัก ๆ
ได้แก่ ด้ามจับ น้ำ�หมึก ไส้ปากกา และ
หัวปากกา ซึ่งส่วนประกอบต่าง ๆ ของ
ปากกาล้วนมีหน้าที่เฉพาะอย่างเพื่อให้
ปากกาสามารถทำ�งานได้ตามวัตถุประสงค์ รูป 1.1 ส่วนประกอบของปากกา
ด้ามปากกา-ท่อนบน
หัวปากกา
ไส้ปากกา
สปริง
	 	 เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างหรือพัฒนาขึ้น ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งชิ้นงานหรือวิธีการ เพื่อใช้       
แก้ปัญหา สนองความต้องการ หรือเพิ่มความสามารถในการทำ�งานของมนุษย์ การทำ�งานของ
เทคโนโลยีแต่ละอย่างมีลักษณะแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ ซึ่งเทคโนโลยีมีการพัฒนาและ
เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาโดยมีสาเหตุหรือปัจจัยมาจากหลายอย่าง ทั้งด้านความก้าวหน้าของ
ศาสตร์ต่าง ๆ สภาพเศรษฐกิจ สังคม ช่วยให้สามารถอำ�นวยความสะดวกให้กับมนุษย์ได้มากขึ้น
ทบทวนความรู้ก่อนเรียน
บทที่ 1 | ระบบทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อน 3หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี)
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โทรศัพท์มือถือมีส่วนประกอบหลายส่วน
เช่น หน้าจอ แบตเตอรี่ แผงวงจร อุปกรณ์บันทึก
ข้อมูล กล้อง ลำ�โพง ไมโครโฟน แต่ละ                 
ส่วนประกอบมีหน้าที่เฉพาะของตัวเอง และ  
ส่วนประกอบเหล่านั้นล้วนแล้วแต่ทำ�งาน
สัมพันธ์กัน หากส่วนประกอบใดทำ�งาน               
ผิดพลาดหรือเกิดความเสียหายขึ้นอาจทำ�ให้
โทรศัพท์มือถือไม่สามารถใช้งานได้ หรืออาจ
ทำ�งานได้ไม่สมบูรณ์
รูป 1.2 ส่วนประกอบของโทรศัพท์มือถือ
หน่วยประมวลผล
หน่วยควบคุมหน้าจอสัมผัสหน่วยควบคุมระบบเสียง
หน่วยความจำ�แบตเตอรี่ชุดกล้อง
บทที่ 1 | ระบบทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อน4 หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี)
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ระบบย่อยอาหารของมนุษย์
	 	 ประกอบด้วยอวัยวะที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
ปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำ�ไส้เล็ก
ลำ�ไส้ใหญ่ และทวารหนัก ทำ�งานสัมพันธ์กัน
เพื่อย่อยอาหารที่รับประทานให้ละเอียด     
และดูดซึมสารอาหารไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ     
ของร่างกาย
ระบบลำ�เลียงน้ำ�ของพืช
	 	 ประกอบด้วย ราก ท่อลำ�เลียง ใบ
ทำ�งานสัมพันธ์กัน เพื่อลำ�เลียงน้ำ�ในดิน
จากรากลำ�ต้นถึงใบไปใช้ในกระบวนการ
สังเคราะห์ด้วยแสงต่อไป
แสง
CO2
O2
น�้ำ
ใบแก่
น�้ำและแร่ธาตุ
ถูกส่งไปตามท่อล�ำเลียง
ยอดอ่อน
ราก
แร่ธาตุ
	 	 โดยทั่วไปแล้ว “ระบบ” พบได้ทั้งในธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งระบบทางธรรมชาติ (natural    
system) เป็นระบบที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีอยู่หลายอย่างทั้งในพืชและสัตว์ เช่น ระบบลำ�เลียงน้ำ�หรือ
อาหารของพืช ระบบหายใจหรือระบบย่อยอาหารของมนุษย์
รูป 1.3 ระบบย่อยอาหารของมนุษย์
รูป 1.4 ระบบลำ�เลียงน้ำ�ของพืช
ปาก
ต่อมน้ำ�ลาย
คอหอย
หลอดอาหาร
กระเพาะอาหาร
ลำ�ไส้เล็ก
ลำ�ไส้ใหญ่ทวารหนัก
ตับอ่อน
ถุงน้ำ�ดี
ตับ
บทที่ 1 | ระบบทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อน 5หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี)
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
แพทย�สั่งยา
จ�ายยาเตรียม
รวบรวมใบสั่งยา
คัดกรอง
ใบสั่งยา
คัดกรอง
ใบสั่งยา
ไม�ชัดเจน
ไม�ถูกต�อง
ถูกต�อง
เตรียมยา จ�ายยาเตรียม
เตรียมยา
แพทย�สั่งยา
สแกนใบสั่งยาทันที
ไม�ถูกต�องไม�ถูกต�อง
	 	 ระบบทางเทคโนโลยี (technological system) เป็นระบบที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหาหรือ         
อำ�นวยความสะดวกให้กับมนุษย์ ซึ่งสามารถพบเห็นได้ในชีวิตประจำ�วัน เช่น ระบบการคมนาคมขนส่ง     
ระบบงานบริการ ระบบการผลิตในอุตสาหกรรม
ตัวอย่างระบบงานบริการ เช่น ระบบจ่ายยาในโรงพยาบาล
	 	 ระบบการจ่ายยาในโรงพยาบาลเป็นตัวอย่าง
ของระบบงานบริการชนิดหนึ่งที่ต้องมีการจัดระบบ
การบริการ โดยมีแผนภาพแสดงลำ�ดับขั้นตอนการ
รับบริการเพื่อให้ผู้ใช้บริการเข้าใจลำ�ดับขั้นตอน   
ก่อนการรับบริการ ซึ่งจะช่วยอำ�นวยความสะดวก
และมีความรวดเร็วในการบริการอีกด้วย
รูป 1.5 ระบบการจ่ายยาในโรงพยาบาล
บทที่ 1 | ระบบทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อน6 หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี)
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
1.2 ระบบทางเทคโนโลยี
	 	 ระบบการทำ�งานของปากกาหรือดินสอกด           
ที่นักเรียนได้ศึกษาถือได้ว่าเป็น “ระบบทางเทคโนโลยี”
ซึ่งหมายถึง กลุ่มของส่วนต่าง ๆ ตั้งแต่สองส่วนขึ้นไป
ประกอบเข้าด้วยกันและทำ�งานร่วมกันเพื่อให้บรรลุ
วัตถุประสงค์ โดยในการทำ�งานของระบบทางเทคโนโลยี
จะประกอบไปด้วย ตัวป้อน (input) กระบวนการ     
(process) และผลผลิต (output) ที่สัมพันธ์กัน นอกจากนี้
ระบบทางเทคโนโลยีอาจมีข้อมูลย้อนกลับ (feedback)
เพื่อใช้ปรับปรุงการทำ�งานได้ตามวัตถุประสงค์                    
ซึ่งสามารถเขียนเป็นแผนภาพแสดงการทำ�งานของ
ระบบทางเทคโนโลยี ได้ดังรูป
ตัวอย่างระบบการคมนาคมขนส่ง เช่น ระบบรถไฟฟ้า
	 	 ระบบรถไฟฟ้าเป็นระบบการคมนาคมขนส่งรูปแบบหนึ่งที่ช่วยอำ�นวยความสะดวกในการเดินทาง
ของผู้คน ซึ่งการบริการจะต้องอาศัยองค์ประกอบหลายส่วนในการทำ�งานทั้งในด้านการจัดขบวนรถ รางรถ
การจำ�หน่ายตั๋ว องค์ประกอบต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาต้องอาศัยการทำ�งานสัมพันธ์กัน เพื่อให้การบริการ            
ของระบบรถไฟฟ้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
รูป 1.6 ระบบรถไฟฟ้า
ชวนคิด
นักเรียนลองถอดชิ้นส่วนของปากกา
หรือดินสอแบบกดแล้วศึกษาหน้าที่
ของแต่ละชิ้นส่วนที่ทำ�ให้ปากกา
หรือดินสอนั้นมีกลไกการทำ�งาน
ได้ตามต้องการ
บทที่ 1 | ระบบทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อน 7หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี)
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
รูป 1.7 ระบบทางเทคโนโลยี
รูป 1.8 โครงสร้างหม้อหุงข้าวไฟฟ้า
ตัวป�อน
(input)
กระบวนการ
(process)
ข�อมูลย�อนกลับ
(feedback)
ผลผลิต
(output)
	 	 เทคโนโลยีที่เราพบเห็นกันทั่วไป เช่น หม้อหุงข้าวไฟฟ้า มีส่วนประกอบหลัก ๆ ได้แก่ ตัวเครื่อง        
แผ่นความร้อน ขวดลวดสปริง แม่เหล็ก สวิตช์ รวมเข้าด้วยกันเป็นระบบ ซึ่งส่วนประกอบต่าง ๆ เหล่านี้มี
หน้าที่ต่างกันไป และทำ�งานสัมพันธ์กันเพื่อให้หม้อหุงข้าวสามารถใช้งานได้ตามต้องการ
แผ่นความร้อน
สวิตช์
ตัวเครื่อง
แม่เหล็กและขดลวดสปริง
บทที่ 1 | ระบบทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อน8 หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี)
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
รูป 1.9 ระบบทางเทคโนโลยีหม้อหุงข้าวไฟฟ้า
ระบบทางเทคโนโลยีของหม้อหุงข้าวไฟฟ้าข้างต้นสามารถเขียนสรุปเป็นแผนภาพได้ดังนี้
	 	 หม้อหุงข้าวไฟฟ้าให้ความร้อนในการหุงข้าวโดยอาศัยแผ่นความร้อนที่ก้นหม้อซึ่งทำ�จากอะลูมิเนียม
แผ่นความร้อนนี้มีขดลวดไฟฟ้าอยู่ภายในซึ่งควบคุมโดยระบบเปิดปิดอัตโนมัติ ซึ่งอยู่บริเวณตรงกลางของ           
แผ่นความร้อนมีรูกลมที่มีส่วนประกอบหลักคือ ขดลวดสปริง  แม่เหล็กถาวร และแม่เหล็กเฟอร์โรที่มีสภาพ
ความเป็นแม่เหล็กลดลงเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น
รูป 1.10 โครงสร้างระบบควบคุมไฟฟ้าของหม้อหุงข้าว
พลังงานไฟฟ�า
ข�าว น้ำ
ตัวป�อน (input)
การทำงานของหม�อหุงข�าว
โดยเปลี่ยนพลังงานไฟฟ�า
เป�นความร�อน เพื่อทำให�
น้ำเดือด
กระบวนการ (process) ผลผลิต (output)
ข�าวที่หุงสุก
ข�อมูลย�อนกลับ (feedback)
เป�นข�อมูลเพื่อส�งให�ระบบ
การตัดไฟทำงานเมื่อน้ำแห�ง
สวิตช์แม่เหล็กถาวรแผ่นความร้อน ขดลวดสปริง
จุดสัมผัส
แม่เหล็กเฟอร์โร
บทที่ 1 | ระบบทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อน 9หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี)
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
การทำ�งานของหม้อหุงข้าวไฟฟ้าเริ่มจากเมื่อกด
สวิตช์ แกนของสวิตช์จะดึงให้จุดสัมผัสเชื่อมต่อกันพร้อม
ทั้งอัดให้สปริงหดตัวและดีดให้แม่เหล็กถาวรดูดติดกับ         
แม่เหล็กเฟอร์โร โดยแรงดูดระหว่างแม่เหล็ก มีค่ามากกว่า
แรงดันกลับของสปริงสวิตช์หม้อหุงข้าวจึงติดค้างอยู่ได้ทำ�ให้
กระแสไฟฟ้าไหลผ่านจุดสัมผัสเข้าสู่ขดลวดความร้อน      
เมื่อน้ำ�ในหม้อหุงข้าวเดือด น้ำ�จะค่อย ๆ ลดลงและระเหย
จนแห้ง อุณหภูมิภายในหม้อหุงข้าวจะสูงขึ้น จนทำ�ให้แม่เหล็กเฟอร์โรสูญเสียความเป็นแม่เหล็ก ส่งผลให้
แรงดูดระหว่างแม่เหล็กมีค่าลดลง แกนของสวิตช์จึงถูกดันลงมาเนื่องจากแรงดันกลับของขดสปริง                      
มีค่ามากกว่าแรงระหว่างแม่เหล็ก และทำ�ให้จุดสัมผัสแยกออกจากกัน ส่งผลให้กระแสไฟฟ้าไม่สามารถ     
ผ่านเข้าสู่ขดลวดความร้อนได้
	 การใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ นักเรียนต้องค�ำนึงถึงความปลอดภัยในการใช้งาน
เป็นอันดับแรก เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าต้องอยู่ในสภาพสมบูรณ์ไม่เสี่ยงต่อการเกิดไฟฟ้ารั่ว
การติดตั้งเครื่องท�ำน�้ำอุ่นจ�ำเป็นต้องมีการติดตั้งสายดินกับเครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อป้องกันไฟฟ้ารั่ว
ประเภทของแม่เหล็ก
	 แม่เหล็กแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ แม่เหล็กถาวร (permanent
magnet) กับแม่เหล็กชั่วคราว (temporary magnet) ซึ่ง
นอกจากเหล็กแล้ว ยังมีวัสดุอื่น ๆ เช่น นิกเกิล โคบอลต์ โลหะผสมของธาตุแรร์เอิทท์ (rare
earth) บางชนิดก็สามารถกระตุ้นหรือเหนี่ยวนำ�ให้เกิดสมบัติแม่เหล็กได้เช่นกัน เรียกกลุ่ม
วัสดุที่สามารถกระตุ้นให้กลายเป็นแม่เหล็กได้ว่า แม่เหล็กเฟอร์โร (ferromagnetic)
ข้อควรระวัง
ON
OFF
ON
OFF
สืบค้นเพิ่มเติมเกี่ยวกับแม่เหล็กได้ที่
www.scimath.org/weblink/7775.php
เกร็ดน่ารู้
สื่อเสริม
เพิ่มความรู้
บทที่ 1 | ระบบทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อน10 หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี)
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
รูป 1.12 ระบบทางเทคโนโลยีของเครื่องปรับอากาศ
พลังงานไฟฟ�า
ตัวป�อน (input)
การทำงานของเครื่อง
เพื่อปรับอุณหภูมิของห�อง
ให�ลดลง
กระบวนการ (process) ผลผลิต (output)
อากาศที่มีอุณหภูมิ
ลดลง
ข�อมูลย�อนกลับ (feedback)
การส�งค�าอุณหภูมิห�อง
เพื่อปรับให�ตัวเครื่องทำงาน
1.3 ระบบทางเทคโนโลยีท่ีซับซ้อน
	 	 เทคโนโลยีบางอย่างอาจประกอบไปด้วยระบบย่อย
หลายระบบ (subsystems) ทำ�งานสัมพันธ์กันอยู่                
หากระบบย่อยใดทำ�งานผิดพลาด จะส่งผลต่อการทำ�งาน
ของเทคโนโลยีนั้นไม่สามารถทำ�งานได้ตามวัตถุประสงค์
หรืออาจทำ�งานได้ไม่สมบูรณ์ ซึ่งเทคโนโลยีที่ประกอบไป
ด้วยระบบย่อยตั้งแต่สองระบบขึ้นไปทำ�งานร่วมกัน เรียกระบบนั้นว่า ระบบที่ซับซ้อน (complex system)
	 	 ตัวอย่างเทคโนโลยีที่ประกอบไปด้วยระบบย่อยหลายส่วนทำ�งานร่วมกันเป็นระบบที่ซับซ้อน เช่น
ระบบของเครื่องปรับอากาศ ระบบของรถยนต์ ระบบของเครื่องปรับอากาศโดยทั่วไปเราอาจมองเห็น       
เพียงส่วนประกอบหลัก ๆ ของเครื่องปรับอากาศ เช่น ตัวเครื่อง ฝาครอบ แผ่นกรองอากาศ สายไฟ สวิตช์
หากพิจารณาระบบทางเทคโนโลยีของเครื่องปรับอากาศ จะพบว่า ตัวป้อนของระบบเครื่องปรับอากาศ        
มีไฟฟ้าเป็นแหล่งพลังงานและการป้อนข้อมูลด้วยการกดเปิด เพื่อให้เครื่องสามารถทำ�งานผ่านกระบวนการ
ภายในของเครื่องปรับอากาศ ซึ่งมีระบบย่อยอยู่ภายใน
หลายส่วนทำ�งานร่วมกันให้ได้อากาศที่มีอุณหภูมิลดลงแล้ว
ส่งออกมาเป็นอากาศเย็น ซึ่งอาจเรียกว่าเป็น ผลผลิตของ
การทำ�งานของเครื่องปรับอากาศ ในขณะเดียวกัน ระบบ
การทำ�งานของเครื่องปรับอากาศจะมีข้อมูลย้อนกลับ    
เพื่อช่วยในการตัดไฟเมื่ออุณหภูมิห้องอยู่ในระดับที่   
เหมาะสมตามที่ตั้งค่าไว้ ซึ่งมีข้อดีในการช่วยประหยัด
นักเรียนคิดว่าเทคโนโลยี
ในชีวิตประจำ�วัน มีระบบย่อยหลาย
ระบบที่ทำ�งานร่วมกันได้หรือไม่
อย่างไร
รูป 1.11 เครื่องปรับอากาศ
พลังงานไฟฟ้าอีกด้วย และนอกจากนี้ หากผู้ใช้งานต้องการปรับเปลี่ยนอุณหภูมิหรือระดับความแรงของลม
ก็สามารถปรับระดับได้ด้วยการป้อนข้อมูลผ่านปุ่มควบคุม ซึ่งการให้ข้อมูลของผู้ใช้ในลักษณะนี้ อาจเรียกได้ว่า
เป็นข้อมูลย้อนกลับสู่ระบบการทำ�งานเพื่อให้ได้อุณหภูมิห้องตามที่ต้องการ
ชวนคิด
บทที่ 1 | ระบบทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อน 11หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี)
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หากวิเคราะห์ระบบการทำ�งานของเครื่องปรับอากาศโดยละเอียดแล้วจะพบว่า เครื่องปรับอากาศ     
มีส่วนประกอบอื่น ๆ อีกหลายอย่างอยู่ภายใน ทำ�หน้าที่แตกต่างกันไป เช่น ระบบปรับอากาศเป็นระบบ      
ที่มีสารพาความร้อนจากภายในห้องไปนอกห้อง ซึ่งมีระบบย่อยที่สำ�คัญทำ�งานร่วมกัน ได้แก่ ระบบอัดความดัน
(compressor system) ระบบคอยล์ร้อน (condenser system) ระบบลดความดัน (expansion system)
และระบบคอยล์เย็น (evaporator system)
รูป 1.13 องค์ประกอบและความสัมพันธ์ของระบบย่อยเครื่องปรับอากาศ
ระบบคอยล�เย็น (evaporator system)
ระบบอัดความดัน (compressor system)
สารทำความเย็น การเพิ่ม
ความดันให�
สารทำ
ความเย็น
สารทำความเย็น
มีความดันสูง
และเปลี่ยน
สถานะเป�น
ของเหลว
ระบบลดความดัน (expansion system)
สารทำความเย็น การทำงานเพื่อ
ลดความดัน
สารทำความ
เย็น
สารทำความเย็น
ที่มีอุณหภูมิ
ลดลงและส�งต�อ
ไปในตัวเครื่อง
ระบบ
การทำงาน
ของเครื่อง
ปรับอากาศ
ระบบคอยล�ร�อน (condenser system)
ระบายความร�อน
ออกไปภายนอก
สารทำความเย็น
มีอุณหภูมิลดลงและ
ความร�อนถูกถ�ายเท
ไปนอกห�อง
สารทำความเย็นที่ร�อน
input
input input
process
process process
output
outputoutput
input process output
สารทำความเย็น
ที่มีอุณหภูมิต่ำ
และเป�นแก�ส
การดูดความร�อนของ
สารทำความเย็นจาก
อากาศภายในห�อง
สารทำความเย็น
ที่ได�รับความร�อน
จากในห�องเพื่อ
ส�งต�อไปภายนอกห�อง
ส่งผ่านสาร
ทำ�ความเย็นที่
ระบบความร้อน
ส่งสารทำ�
ความเย็น
ในสถานะแก๊ส
ส่งสารทำ�
ความเย็น
ที่ดูดความร้อน
ภายในห้อง
เพิ่มความดัน
และขับสารทำ�
ความเย็น
บทที่ 1 | ระบบทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อน12 หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี)
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ระบบย่อยของเครื่องปรับอากาศแต่ละส่วนจะมี
การทำ�งานที่เกี่ยวข้องกัน กล่าวคือ ระบบคอยล์เย็น
(evaporator system) ซึ่งมีสารทำ�ความเย็นอยู่ภายใน
จะดูดความร้อนจากอากาศภายในห้องส่งผ่านไปยัง
ระบบอัดความดัน หรือที่เรียกว่า คอมเพรสเซอร์    
(compressor system) เพื่อเพิ่มความดันสารทำ�    
ความเย็นก่อนส่งต่อไปยังระบบคอยล์ร้อน (condenser
system) เพื่อถ่ายเทความร้อนออกสู่ภายนอกห้อง     
โดยมีพัดลมช่วยระบบความร้อนอยู่ด้วย จากนั้นสาร
ทำ�ความเย็นจะถูกลดความดันโดยระบบลดความดัน
(expansion system) ทำ�ให้อุณหภูมิลดลงและ             
ส่งต่อไปยังระบบคอยล์เย็นภายในตัวเครื่องอีกครั้ง        
ซึ่งการทำ�งานลักษณะนี้จะเกิดขึ้นต่อเนื่องกันไป               
ซึ่งจะเห็นได้ว่าแต่ละระบบย่อยของเครื่องปรับอากาศ
จะมีการทำ�งานที่เกี่ยวข้องกัน และหากระบบใด             
ผิดพลาดจะส่งผลต่อการทำ�งานของเครื่อง
เทคโนโลยีของเครื่องปรับอากาศ
	ปัจจุบันมีการพัฒนาเครื่องปรับ
อากาศให้มีคุณภาพ ประหยัดพลังงาน
ไฟฟ้า และอำ�นวยความสะดวกให้กับ
มนุษย์หลายรูปแบบ เช่น เทคโนโลยี
inverter ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการ
ควบคุมการทำ�งานคอมเพรสเซอร์รักษา
ความเย็นในห้องให้คงที่ หรือระบบ
ทำ�ความสะอาดแผ่นกรองอัตโนมัติ
(auto filter cleaning) ที่มีระบบการ
เก็บฝุ่นไว้ในกล่องโดยไม่ต้องถอดมาล้าง
บ่อยครั้ง
เกร็ดน่ารู้
บทที่ 1 | ระบบทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อน 13หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี)
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ระบบย่อยของเทคโนโลยีกิจกรรม 1.1
		ให้นักเรียนเลือกเทคโนโลยีที่สนใจ 1 อย่าง จากตัวอย่างที่กำ�หนดให้ เพื่อวิเคราะห์การทำ�งาน
ของเทคโนโลยี แล้วเขียนแผนภาพแสดงการทำ�งานในรูปแบบของระบบทางเทคโนโลยี โดยระบุระบบ
ย่อยที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 3 ระบบ พร้อมอธิบายความสัมพันธ์ของระบบย่อยเหล่านั้น
แผนภาพแสดงระบบทางเทคโนโลยีของ 			
รถจักรยานยนต์ หม้อหุงข้าวดิจิทัล
ตัวป�อน (input) กระบวนการ (process) ผลผลิต (output)
ข�อมูลย�อนกลับ (feedback)
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
14
อธิบายความสัมพันธ์ของระบบย่อย
													
													
													
เทคโนโลยีที่เลือก มีระบบย่อยที่เกี่ยวข้องและองค์ประกอบของระบบย่อย ดังนี้
แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ของระบบย่อย
ระบบย่อย
ตัวป้อน
(input)
กระบวนการ
(process)
ผลผลิต
(output)
ข้อมูลย้อนกลับ
(feedback)
ระบบย่อยที่ 1
				
ระบบย่อยที่ 2
				
ระบบย่อยที่ 3
				
ระบบย่อยที่ 4
				
บทที่ 1 | ระบบทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อน 15หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี)
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
25o
C
36o
C
ปัญหาที่พบ คือ อุณหภูมิของอากาศภายในห้อง ไม่ตรงกับอุณหภูมิที่ตั้งไว้กับเครื่องปรับอากาศ
		ระบบที่ผิดพลาดหรือสาเหตุของปัญหา
	 	 การทำ�งานผิดพลาดของระบบเครื่องปรับอากาศอาจเกิดขึ้นได้หลายส่วน โดยอาจพิจารณาได้ดังนี้
		 	 แผ่นกรองอากาศอุดตัน ทำ�ให้การไหลเวียนของอากาศจากภายในห้องเพื่อผ่านเข้าไปในตัวเครื่อง
สู่ระบบทำ�ความเย็นไม่สะดวก มีผลทำ�ให้การทำ�งานของเครื่องได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งทำ�ให้อุณหภูมิ         
ในห้องไม่เป็นไปตามต้องการ
	 ตัวอย่างการทำ�งานผิดพลาดของ
ระบบทางเทคโนโลยีเครื่องปรับอากาศ
ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหา เช่น อุณหภูมิ
ของอากาศภายในห้องไม่เป็นไปตาม
ต้องการ สามารถวิเคราะห์ระบบ      
การทำ�งานเพื่อหาสาเหตุและสิ่งที่เกิด
ข้อผิดพลาดอันจะนำ�ไปสู่การแก้ไข    
ได้ถูกต้อง
รูป 1.14 เครื่องปรับอากาศไม่ทำ�ให้อุณหภูมิห้องลดลงได้ตามที่ต้องการ
1.4 การทำ�งานผิดพลาดของระบบ (system failure)
	 	 ระบบทางเทคโนโลยีทั้งที่เป็นระบบอย่างง่ายและระบบที่ซับซ้อน หากมีส่วนประกอบใดหรือระบบ
ย่อยใดทำ�งานผิดพลาด อาจส่งผลกระทบต่อการทำ�งานของเทคโนโลยีนั้นได้ เช่น พัดลม หากปุ่มปรับระดับ
ความแรงของพัดลมเสียหาย จะทำ�ให้ผู้ใช้ไม่สามารถปรับระดับความแรงของพัดลมได้ตามต้องการจึงจำ�เป็น
ต้องมีการดูแลรักษาและซ่อมบำ�รุง (maintenance) เพื่อให้สามารถใช้งานได้ตามปกติ
	 ในบางครั้ง เทคโนโลยีบางอย่างมีความซับซ้อน มีระบบย่อยหลายส่วนทำ�งานร่วมกัน และหากระบบย่อย
อันหนึ่งเกิดทำ�งานผิดพลาดหรือเสียหาย จะส่งผลต่อการทำ�งานของระบบใหญ่ได้ด้วย เช่น ระบบเครื่องปรับ
อากาศที่มีองค์ประกอบของระบบย่อยหลายส่วน ทั้งรีโมท ตัวเครื่อง ระบบตัดไฟอัตโนมัติ และอื่น ๆ หากมี           
ระบบย่อยใดเสียหายหรือมีสิ่งรบกวนการทำ�งาน ย่อมส่งผลต่อการทำ�งานของเครื่องปรับอากาศที่จะทำ�ให้
ไม่สามารถทำ�งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จำ�เป็นต้องมีการดูแลรักษาและซ่อมบำ�รุง ซึ่งบางอย่างผู้ใช้สามารถ
ทำ�ได้เอง เช่น การซ่อมแซมอุปกรณ์พื้นฐาน หรือการล้างแผ่นกรองฝุ่นให้สะอาดอย่างน้อย 6 เดือนครั้ง       
แต่หากเป็นการเสียหายของอุปกรณ์ภายในที่ซับซ้อน จำ�เป็นต้องให้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาซ่อมแซมแทน
เพื่อป้องกัน อันตรายที่อาจเกิดขึ้นทั้งกับผู้ใช้หรือความเสียหายที่อาจมีต่อระบบเครื่องปรับอากาศเองด้วย
บทที่ 1 | ระบบทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อน16 หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี)
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
แนวทางการแก้ไขปัญหาความผิดพลาดของระบบ
	 	 ในกรณีที่ความผิดพลาดของระบบ
มีความซับซ้อน หรืออาจเป็นอันตรายหาก
แก้ไขด้วยตนเอง จำ�เป็นต้องอาศัย                 
ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาแก้ไข เช่น       
ส า ร ทำ � ค ว า ม เ ย็ น เ กิ ด ก า ร รั่ ว ไ ห ล
คอมเพรสเซอร์ไม่ทำ�งาน
	 	 เมื่อพบความผิดพลาดของระบบ เราสามารถตรวจสอบเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง โดยใช้ความรู้เกี่ยวกับ
ระบบการทำ�งานของเทคโนโลยี และเมื่อพบจุดบกพร่องของระบบที่ไม่ยากหรือซับซ้อนเกินไป นักเรียน
สามารถแก้ไขปัญหาได้เอง เช่น แผ่นกรองอากาศในเครื่องปรับอากาศมีฝุ่นอุดตัน ทำ�ให้เครื่องทำ�งาน             
ได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ นักเรียนสามารถแก้ไขโดยการถอดแผ่นกรองอากาศเพื่อล้างทำ�ความสะอาดได้
		 	 คอมเพรสเซอร์ ไม่ทำ�งาน มีผลทำ�ให้สารทำ�ความเย็นจากคอยล์เย็นไม่สามารถไหลไปสู่คอยล์ร้อน
เพื่อการระบายความร้อนออกไปยังภายนอกห้องได้
		 	 ระบบลดความดัน (expansion valve) เกิดการอุดตันหรือเกิดความเสียหาย มีผลทำ�ให้สารทำ�ความเย็น
ไม่สามารถไหลผ่านเข้าไปยังคอยล์เย็นได้ หรือไหลผ่านได้น้อยกว่าปกติ ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำ�         
ความเย็นของเครื่องลดลง หรือไม่สามารถทำ�งานได้
		 	 คอยล์ร้อนจะมีพัดลมระบายความร้อนทำ�งานร่วมกันอยู่กรณีพัดลมไม่ทำ�งานหรือเกิดความเสียหาย
ทำ�ให้ไม่สามารถระบายความร้อนออกไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกัน ถ้าแผ่นกรองอากาศมีฝุ่น
อุดตันจะทำ�ให้อากาศไหลผ่านเข้าไปสัมผัสกับคอยล์เย็นได้ไม่ดีทำ�ให้การแลกเปลี่ยนความร้อนระหว่างอากาศ
กับสารทำ�ความเย็นไม่มีประสิทธิภาพ
1.15 การทำ�ความสะอาดแผ่นกรองฝุ่นเครื่องปรับอากาศ
	 ระบบทางเทคโนโลยีหนึ่ง ๆ อาจประกอบไปด้วยระบบย่อยหลายระบบ (subsystems)       
ทำ�งานสัมพันธ์กัน เพื่อให้เทคโนโลยีนั้นสามารถทำ�งานได้บรรลุตามวัตถุประสงค์ เรียกว่า               
ระบบทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อน ซึ่งความรู้เกี่ยวกับระบบทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อนช่วยให้เข้าใจ      
การทำ�งานและสามารถแก้ไขหรือพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
สรุปท้ายบท
บทที่ 1 | ระบบทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อน 17หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี)
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
น้องโรบอท อาศัยอยู่บ้านที่ใกล้กับโรงเรียนสอนผู้บกพร่องทางการเห็น น้องโรบอทสังเกตเห็น
นักเรียนที่เดินทางมาโรงเรียนจะใช้ไม้เท้าช่วยในการเดินทาง โดยการกวัดแกว่งและเคาะไปตามพื้นถนน
เพื่อให้รับรู้ถึงสิ่งกีดขวางที่อยู่รอบตัว แต่จากการสังเกต ยังพบว่ามีนักเรียนบางคนเกิดอุบัติเหตุ   
สะดุดล้ม เนื่องจากระยะที่กวัดแกว่งและเคาะไม้เท้าไม่เหมาะสม และไม่ทราบว่ามีอุปสรรคอยู่ ด้านหน้า
ดังนั้นน้องโรบอทจึงต้องการหาวิธีช่วยผู้บกพร่องทางการเห็นโดยการพัฒนาไม้เท้าแบบใหม่
	 ถ้านักเรียนเป็นน้องโรบอท จะมีวิธีการพัฒนาปรับปรุงไม้เท้าให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นได้อย่างไร
เพื่อช่วยเหลือผู้บกพร่องทางการเห็น ลดอุบัติเหตุจากการเดินทาง
ช่วยกันคิด
	 1.	 นักเรียนช่วยกันสืบค้นข้อมูลของไม้เท้าสำ�หรับผู้บกพร่องทางการเห็น จากนั้นช่วยกัน
วิเคราะห์และสรุปว่าไม้เท้าควรมีองค์ประกอบ ลักษณะ และการใช้งานอย่างไร
	 2.	 จากข้อมูลที่ได้สืบค้นเกี่ยวกับไม้เท้าที่ช่วยผู้บกพร่องทางการเห็นในการเดิน นักเรียนมีแนวคิด
ในการปรับปรุงไม้เท้าสำ�หรับผู้บกพร่องทางการเห็นนี้อย่างไร โดยใช้แสดงในรูปแบบของ
ระบบการทำ�งานที่ช่วยให้ไม้เท้ามีประสิทธิภาพในการใช้งานดีขึ้น และนำ�เสนอ
ไม้เท้าอัจฉริยะสำ�หรับผู้บกพร่องทางการเห็น
กิจกรรมท้าทายความคิด
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
18
ระบบทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อนกิจกรรมท้ายบท
	 ให้นักเรียนวิเคราะห์ระบบการทำ�งานของตู้เย็น พร้อมเขียนแผนภาพแสดงการทำ�งานในรูปแบบ
ของระบบทางเทคโนโลยี โดยระบุระบบย่อยที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 3 ระบบ เขียนแสดงความสัมพันธ์
ของระบบย่อยเหล่านั้น และความผิดพลาดของระบบที่อาจเกิดขึ้น
แผนภาพแสดงระบบการทำ�งานของตู้เย็น
ระบบย่อย
ตัวป้อน
(input)
กระบวนการ
(process)
ผลผลิต
(output)
ข้อมูลย้อนกลับ
(feedback)
ระบบย่อยที่ 1
				
ระบบย่อยที่ 2
				
ระบบย่อยที่ 3
				
ระบบย่อยที่ 4
				
ตัวป�อน (input) กระบวนการ (process) ผลผลิต (output)
ข�อมูลย�อนกลับ (feedback)
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
19
อธิบายความสัมพันธ์ของระบบย่อยของตู้เย็น
													
													
													
													
													
อธิบายความผิดพลาดของระบบการทำ�งานของตู้เย็น
													
													
													
													
แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ของระบบย่อยของตู้เย็น
บทที่ 1 | ระบบทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อน20 หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี)
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

More Related Content

What's hot

บันทึกข้อความ
บันทึกข้อความบันทึกข้อความ
บันทึกข้อความHom Rim
 
โครงงานชีววิทยา
โครงงานชีววิทยาโครงงานชีววิทยา
โครงงานชีววิทยาCheve Jirattiwat
 
แบบทดสอบ บทที่ 4 ระบบนิเวศ
แบบทดสอบ บทที่ 4 ระบบนิเวศแบบทดสอบ บทที่ 4 ระบบนิเวศ
แบบทดสอบ บทที่ 4 ระบบนิเวศdnavaroj
 
โวหารการเขียน ม.6
โวหารการเขียน ม.6โวหารการเขียน ม.6
โวหารการเขียน ม.6WijittraSreepraram
 
บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓
บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓
บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓kruthai40
 
แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาประวัติศาสตร์ ม.1 หน่วยที่ 1
แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาประวัติศาสตร์ ม.1 หน่วยที่ 1แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาประวัติศาสตร์ ม.1 หน่วยที่ 1
แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาประวัติศาสตร์ ม.1 หน่วยที่ 1Sokoy_jj
 
ศึกษารายการณี
ศึกษารายการณีศึกษารายการณี
ศึกษารายการณีSunisa199444
 
แบบประเมินการนำเสนอผลงาน
แบบประเมินการนำเสนอผลงานแบบประเมินการนำเสนอผลงาน
แบบประเมินการนำเสนอผลงานKhemjira_P
 
ทักษะการอ่าน
ทักษะการอ่านทักษะการอ่าน
ทักษะการอ่าน0872191189
 
วิธีการสอนแบบเรียนปนเล่น
วิธีการสอนแบบเรียนปนเล่นวิธีการสอนแบบเรียนปนเล่น
วิธีการสอนแบบเรียนปนเล่นJindarat JB'x Kataowwy
 
คัมภีร์แพทย์ฉันทศาสตร์
คัมภีร์แพทย์ฉันทศาสตร์คัมภีร์แพทย์ฉันทศาสตร์
คัมภีร์แพทย์ฉันทศาสตร์tanakornsonic
 
ใบงานวิเศรษฐกิจพอเพียง ม.ปลาย
ใบงานวิเศรษฐกิจพอเพียง ม.ปลายใบงานวิเศรษฐกิจพอเพียง ม.ปลาย
ใบงานวิเศรษฐกิจพอเพียง ม.ปลายpongtum
 
ประวัติการสังเคราะห์ด้วยแสง
ประวัติการสังเคราะห์ด้วยแสงประวัติการสังเคราะห์ด้วยแสง
ประวัติการสังเคราะห์ด้วยแสงThanyamon Chat.
 
เรียงความ Is1
เรียงความ Is1เรียงความ Is1
เรียงความ Is1panisra
 

What's hot (20)

บันทึกข้อความ
บันทึกข้อความบันทึกข้อความ
บันทึกข้อความ
 
ลิลิตตะเลงพ่าย (สอน Ppt)[1]
ลิลิตตะเลงพ่าย (สอน Ppt)[1]ลิลิตตะเลงพ่าย (สอน Ppt)[1]
ลิลิตตะเลงพ่าย (สอน Ppt)[1]
 
โครงงานชีววิทยา
โครงงานชีววิทยาโครงงานชีววิทยา
โครงงานชีววิทยา
 
แบบทดสอบ บทที่ 4 ระบบนิเวศ
แบบทดสอบ บทที่ 4 ระบบนิเวศแบบทดสอบ บทที่ 4 ระบบนิเวศ
แบบทดสอบ บทที่ 4 ระบบนิเวศ
 
โวหารการเขียน ม.6
โวหารการเขียน ม.6โวหารการเขียน ม.6
โวหารการเขียน ม.6
 
แผนการจัดการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้แผนการจัดการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้
 
บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓
บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓
บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓
 
ไตรสิกขา
ไตรสิกขาไตรสิกขา
ไตรสิกขา
 
แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาประวัติศาสตร์ ม.1 หน่วยที่ 1
แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาประวัติศาสตร์ ม.1 หน่วยที่ 1แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาประวัติศาสตร์ ม.1 หน่วยที่ 1
แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาประวัติศาสตร์ ม.1 หน่วยที่ 1
 
ศึกษารายการณี
ศึกษารายการณีศึกษารายการณี
ศึกษารายการณี
 
แบบประเมินการนำเสนอผลงาน
แบบประเมินการนำเสนอผลงานแบบประเมินการนำเสนอผลงาน
แบบประเมินการนำเสนอผลงาน
 
ทักษะการอ่าน
ทักษะการอ่านทักษะการอ่าน
ทักษะการอ่าน
 
วิธีการสอนแบบเรียนปนเล่น
วิธีการสอนแบบเรียนปนเล่นวิธีการสอนแบบเรียนปนเล่น
วิธีการสอนแบบเรียนปนเล่น
 
คัมภีร์แพทย์ฉันทศาสตร์
คัมภีร์แพทย์ฉันทศาสตร์คัมภีร์แพทย์ฉันทศาสตร์
คัมภีร์แพทย์ฉันทศาสตร์
 
ใบงานวิเศรษฐกิจพอเพียง ม.ปลาย
ใบงานวิเศรษฐกิจพอเพียง ม.ปลายใบงานวิเศรษฐกิจพอเพียง ม.ปลาย
ใบงานวิเศรษฐกิจพอเพียง ม.ปลาย
 
O-net วิทยาศาสตร์ 2557
O-net วิทยาศาสตร์ 2557O-net วิทยาศาสตร์ 2557
O-net วิทยาศาสตร์ 2557
 
ประวัติการสังเคราะห์ด้วยแสง
ประวัติการสังเคราะห์ด้วยแสงประวัติการสังเคราะห์ด้วยแสง
ประวัติการสังเคราะห์ด้วยแสง
 
การอ่านวรรณคดี ม.๕[1]
การอ่านวรรณคดี ม.๕[1]การอ่านวรรณคดี ม.๕[1]
การอ่านวรรณคดี ม.๕[1]
 
เรียงความ Is1
เรียงความ Is1เรียงความ Is1
เรียงความ Is1
 
ระดับภาษา 2
ระดับภาษา 2ระดับภาษา 2
ระดับภาษา 2
 

Similar to Book design example

การเปรียบเทียบ หลักสูตรแกนกลางปี พ.ศ. 2551 กับกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์...
การเปรียบเทียบ หลักสูตรแกนกลางปี พ.ศ. 2551 กับกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์...การเปรียบเทียบ หลักสูตรแกนกลางปี พ.ศ. 2551 กับกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์...
การเปรียบเทียบ หลักสูตรแกนกลางปี พ.ศ. 2551 กับกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์...natthasarttier
 
The Development of Web-based Training to Develop Job Competencies for Instruc...
The Development of Web-based Training to Develop Job Competencies for Instruc...The Development of Web-based Training to Develop Job Competencies for Instruc...
The Development of Web-based Training to Develop Job Competencies for Instruc...Panita Wannapiroon Kmutnb
 
ผลของการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้เครื่องมือทางปัญญาเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์...
ผลของการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้เครื่องมือทางปัญญาเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์...ผลของการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้เครื่องมือทางปัญญาเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์...
ผลของการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้เครื่องมือทางปัญญาเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์...Panita Wannapiroon Kmutnb
 
เปรียบเทียบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 กับ มาตรฐานการเรียนรู...
เปรียบเทียบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 กับ มาตรฐานการเรียนรู...เปรียบเทียบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 กับ มาตรฐานการเรียนรู...
เปรียบเทียบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 กับ มาตรฐานการเรียนรู...Atigarn Tingchart
 
ภารกิจการเปรียบเทียบหลักสูตร
ภารกิจการเปรียบเทียบหลักสูตรภารกิจการเปรียบเทียบหลักสูตร
ภารกิจการเปรียบเทียบหลักสูตรNong Earthiiz
 
งานกลุ่มเทคโนโลยีการศึกษา
งานกลุ่มเทคโนโลยีการศึกษางานกลุ่มเทคโนโลยีการศึกษา
งานกลุ่มเทคโนโลยีการศึกษาThitaporn Chobsanchon
 
เปรียบเทียบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑
เปรียบเทียบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑เปรียบเทียบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑
เปรียบเทียบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑suwanna champasak
 
เปรียบเทียบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ และหลักสูตรแกนก...
เปรียบเทียบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ และหลักสูตรแกนก...เปรียบเทียบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ และหลักสูตรแกนก...
เปรียบเทียบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ และหลักสูตรแกนก...Meenarat Bunkanha
 
รายงาน
รายงานรายงาน
รายงานNuTty Quiz
 
รายวิชา การออกแบบการจัดการเรียนรู้
รายวิชา การออกแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชา การออกแบบการจัดการเรียนรู้
รายวิชา การออกแบบการจัดการเรียนรู้visanu murijun
 
บทที่ 6
บทที่ 6บทที่ 6
บทที่ 6Tar Bt
 
วิเคราะห์ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์(ฉ...
วิเคราะห์ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์(ฉ...วิเคราะห์ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์(ฉ...
วิเคราะห์ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์(ฉ...Ham Had
 

Similar to Book design example (20)

ออกแบบและเทคโนโลยี ม.5
ออกแบบและเทคโนโลยี ม.5ออกแบบและเทคโนโลยี ม.5
ออกแบบและเทคโนโลยี ม.5
 
การเปรียบเทียบ หลักสูตรแกนกลางปี พ.ศ. 2551 กับกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์...
การเปรียบเทียบ หลักสูตรแกนกลางปี พ.ศ. 2551 กับกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์...การเปรียบเทียบ หลักสูตรแกนกลางปี พ.ศ. 2551 กับกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์...
การเปรียบเทียบ หลักสูตรแกนกลางปี พ.ศ. 2551 กับกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์...
 
The Development of Web-based Training to Develop Job Competencies for Instruc...
The Development of Web-based Training to Develop Job Competencies for Instruc...The Development of Web-based Training to Develop Job Competencies for Instruc...
The Development of Web-based Training to Develop Job Competencies for Instruc...
 
ผลของการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้เครื่องมือทางปัญญาเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์...
ผลของการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้เครื่องมือทางปัญญาเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์...ผลของการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้เครื่องมือทางปัญญาเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์...
ผลของการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้เครื่องมือทางปัญญาเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์...
 
เปรียบเทียบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 กับ มาตรฐานการเรียนรู...
เปรียบเทียบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 กับ มาตรฐานการเรียนรู...เปรียบเทียบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 กับ มาตรฐานการเรียนรู...
เปรียบเทียบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 กับ มาตรฐานการเรียนรู...
 
Keydesign
KeydesignKeydesign
Keydesign
 
ภารกิจการเปรียบเทียบหลักสูตร
ภารกิจการเปรียบเทียบหลักสูตรภารกิจการเปรียบเทียบหลักสูตร
ภารกิจการเปรียบเทียบหลักสูตร
 
Ast.c2560.6tp
Ast.c2560.6tpAst.c2560.6tp
Ast.c2560.6tp
 
Book st chapter1
Book st chapter1Book st chapter1
Book st chapter1
 
55 กำหนดการเชิงเส้น บทนำ
55 กำหนดการเชิงเส้น บทนำ55 กำหนดการเชิงเส้น บทนำ
55 กำหนดการเชิงเส้น บทนำ
 
บทที่6
บทที่6บทที่6
บทที่6
 
งานกลุ่มเทคโนโลยีการศึกษา
งานกลุ่มเทคโนโลยีการศึกษางานกลุ่มเทคโนโลยีการศึกษา
งานกลุ่มเทคโนโลยีการศึกษา
 
เปรียบเทียบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑
เปรียบเทียบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑เปรียบเทียบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑
เปรียบเทียบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑
 
เปรียบเทียบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ และหลักสูตรแกนก...
เปรียบเทียบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ และหลักสูตรแกนก...เปรียบเทียบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ และหลักสูตรแกนก...
เปรียบเทียบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ และหลักสูตรแกนก...
 
รายงาน
รายงานรายงาน
รายงาน
 
รายวิชา การออกแบบการจัดการเรียนรู้
รายวิชา การออกแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชา การออกแบบการจัดการเรียนรู้
รายวิชา การออกแบบการจัดการเรียนรู้
 
บทที่ 6
บทที่ 6บทที่ 6
บทที่ 6
 
วิเคราะห์ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์(ฉ...
วิเคราะห์ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์(ฉ...วิเคราะห์ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์(ฉ...
วิเคราะห์ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์(ฉ...
 
Add m6-2-link
Add m6-2-linkAdd m6-2-link
Add m6-2-link
 
ฐานข้อมูล
ฐานข้อมูลฐานข้อมูล
ฐานข้อมูล
 

Book design example

  • 1. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ ๔ ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ จัดทำ�โดย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ พิมพ์ครั้งที่ ๑ ISBN 978-616-362-689-9 จำ�นวน ๑๐๐,๐๐๐ เล่ม พ.ศ. ๒๕๖๑ จัดพิมพ์และจัดจำ�หน่ายโดย ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ ๑๐๓๓๐ www.chulabook.com ฝ่ายขายติดต่อ แผนกขายส่ง โทร. ๐-๒๓๗๔-๑๓๗๕-๖ โทรสาร ๐-๒๓๗๔-๑๓๗๔ พิมพ์ที่ โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โทร. ๐-๒๒๑๘-๓๕๕๑ โทรสาร ๐-๒๒๑๘-๓๕๕๐ www.cuprint.chula.ac.th
  • 2.
  • 3. (นายบุญรักษ์ ยอดเพชร) เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกาศสำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรื่อง อนุญาตให้ใช้สื่อการเรียนรู้ในสถานศึกษา ด้วยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้จัดทำ�หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ตามมาตรฐาน การเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้พิจารณาแล้ว อนุญาตให้ใช้ในสถานศึกษาได้ ประกาศ ณ วันที่ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๑
  • 4. คำ�นำ� (นายบุญรักษ์ ยอดเพชร) เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) มีอำ�นาจหน้าที่ในการพัฒนาหลักสูตร วิธีการเรียนรู้ การประเมินผล การจัดทำ�หนังสือเรียน แบบฝึกหัด และสื่อการเรียนรู้ทุกประเภทที่ใช้ ประกอบการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ ๔ นี้ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จัดทำ�ขึ้นตามมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับระบบทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อน รวมถึงการเปลี่ยนแปลง และผลกระทบของเทคโนโลยี การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ ต่อการนำ�ไปใช้ในการดำ�รงชีวิตและรู้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก รวมทั้งการพัฒนาความรู้และ ทักษะที่จำ�เป็นในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล สอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ ได้เป็นอย่างดี สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเรียนเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ ต่อการจัดการเรียนรู้ และเป็นส่วนสำ�คัญในการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ขอขอบคุณสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนบุคคลและ หน่วยงานอื่น ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดทำ�ไว้ ณ โอกาสนี้
  • 5. คำ�ชี้แจง สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้จัดทำ�ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๕๑ โดยมีจุดเน้นเพื่อต้องการพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถที่ทัดเทียม กับนานาชาติ ได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่เชื่อมโยงความรู้กับกระบวนการ ใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้และ แก้ปัญหาที่หลากหลาย มีการทำ�กิจกรรมด้วยการลงมือปฏิบัติเพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้ทักษะกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์ และทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งในปีการศึกษา ๒๕๖๑ เป็นต้นไปนี้โรงเรียนจะต้องใช้ หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) โดยได้มีการย้ายสาระเทคโนโลยี ออกจากกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี มาอยู่ที่กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เนื่องจาก ความรู้ด้านเทคโนโลยี ทั้งการออกแบบและเทคโนโลยี และวิทยาการคำ�นวณ เป็นพื้นฐานที่สำ�คัญและ เชื่อมโยงกับวิทยาศาสตร์ได้เป็นอย่างดี สสวท. จึงได้จัดทำ�หนังสือเรียนที่เป็นไปตามมาตรฐานหลักสูตร เพื่อให้โรงเรียนได้ใช้สำ�หรับจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ ๔ นี้ จัดเนื้อหาตามพัฒนาการของผู้เรียน ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับระบบทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อน การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ผลกระทบของเทคโนโลยี วัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือพื้นฐาน กลไก ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น และการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำ�คัญ ต่อการนำ�ไปใช้ในชีวิตประจำ�วัน ผู้เรียนจะได้ทำ�กิจกรรมการเรียนรู้ การฝึกปฏิบัติ การตอบคำ�ถาม การตรวจสอบความเข้าใจ และสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ ตลอดจนมีกิจกรรมให้ผู้เรียนได้นำ�ความรู้ที่เรียนในบท นั้น ๆ มาประยุกต์ใช้แก้ปัญหาอีกด้วย ในการจัดทำ�หนังสือเรียนเล่มนี้ ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่ง จากผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการอิสระ คณาจารย์ทั้งหลาย รวมทั้งครูผู้สอน นักวิชาการ จากสถาบัน และสถานศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน จึงขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี้ สสวท. หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (การออกแบบและ เทคโนโลยี) เล่มนี้ จะเป็นประโยชน์แก่ผู้เรียน และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ที่จะช่วยให้การจัดการศึกษา ด้านวิทยาศาสตร์มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล หากมีข้อเสนอแนะใดที่จะทำ�ให้หนังสือเรียนเล่มนี้มี ความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โปรดแจ้ง สสวท. ทราบด้วย จะขอบคุณยิ่ง (นางพรพรรณ ไวทยางกูร) ผู้อำ�นวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ
  • 6. คำ�แนะนำ�การใช้หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 ประกอบด้วย 7 บทเรียน ซึ่งแต่ละบทเรียนมีองค์ประกอบ ดังนี้ จุดประสงค์ของบทเรียน การนำ�ไปใช้ ทบทวนความรู้ก่อนเรียน คำ�ถามชวนคิด เกร็ดน่ารู้ สื่อเสริมเพิ่มความรู้ ข้อควรระวัง เนื้อหา กิจกรรม สรุปท้ายบท และกิจกรรมท้ายบท ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ประสิทธิภาพควรใช้ควบคู่กับคู่มือครู รายวชิ าพน้ื ฐานวทิ ยาศาสตร์ เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลย)ี ชน้ั มธั ยมศกึ ษาปที ่ี 4 สาระ เทคโนโลยี กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุตัวชี้วัดในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งได้แก่ 1. วิเคราะห์แนวคิดหลักของเทคโนโลยี ความสัมพันธ์กับศาสตร์อื่นโดยเฉพาะวิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์ รวมทั้งประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อมนุษย์ สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็น แนวทางในการพัฒนาเทคโนโลยี 2. ระบุปัญหาหรือความต้องการที่มีผลกระทบต่อสังคม รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลและแนวคิด ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่มีความซับซ้อนเพื่อสังเคราะห์วิธีการ เทคนิคในการแก้ปัญหา โดยคำ�นึงถึงความ ถูกต้องด้านทรัพย์สินทางปัญญา 3. ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบ และตัดสินใจเลือกข้อมูลที่จำ�เป็นภายใต้ เงื่อนไขและทรัพยากรที่มีอยู่ นำ�เสนอแนวทางการแก้ปัญหาให้ผู้อื่นเข้าใจด้วยเทคนิคหรือวิธีการที่ หลากหลาย โดยใช้ซอฟต์แวร์ช่วยในการออกแบบ วางแผนขั้นตอนการทำ�งานและดำ�เนินการแก้ปัญหา 4. ทดสอบ ประเมินผล วิเคราะห์และให้เหตุผลของปัญหาหรือข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นภายใต้กรอบ เงื่อนไข หาแนวทางการปรับปรุงแก้ไข และนำ�เสนอผลการแก้ปัญหา พร้อมทั้งเสนอแนวทางการพัฒนาต่อยอด 5. ใช้ความรู้และทักษะเกี่ยวกับวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ กลไก ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และ เทคโนโลยีที่ซับซ้อนในการแก้ปัญหาหรือพัฒนางาน ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และปลอดภัย
  • 7. บทที่ เรื่อง สอดคล้องกับตัวชี้วัด บทเรียนที่ต้องศึกษา มาแล้วก่อนหน้า 1 ระบบทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อน 1 - 2 การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี 1 บทที่ 1 3 ผลกระทบของเทคโนโลยี 1 บทที่ 1 และ 2 4 วัสดุและเครื่องมือพื้นฐาน 5 - 5 กลไก ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ 5 - 6 กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม 2, 3, 4 บทที่ 1 2 3 4 และ 5 7 กรณีศึกษาการแก้ปัญหา ตามกระบวนการออกแบบ เชิงวิศวกรรม 2, 3, 4 บทที่ 1 2 3 4 5 และ 6 เนื้อหาและกิจกรรมในหนังสือเรียนนี้มีความสอดคล้องกับตัวชี้วัด ซึ่งบางบทเรียนจำ�เป็นต้อง เรียนรู้บทอื่นมาก่อน รายละเอียดดังตารางต่อไปนี้
  • 8. เป็นการเชื่อมโยงเนื้อหากับ การประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง ชวนคิดเป็นคำ�ถามหรือ กิจกรรมให้ลองคิดหรือปฏิบัติ เนื้อหาสาระที่เป็นแนวคิด สำ�คัญของบท เป็นการแนะนำ�แหล่งข้อมูล เพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา เป็นคำ�เตือนให้คำ�นึงถึงความ ปลอดภัยหรือประเด็นสำ�คัญ เกี่ยวกับเนื้อหานั้น เป็นการสรุปเนื้อหาของ บทเรียน กิจกรรมความร่วมมือ หรือการคิดแบบกลุ่ม เป็นกิจกรรมที่ให้ปฏิบัติเพื่อ ตรวจสอบความรู้หลังจากเรียน จบบทเรียน การนำ�ไปใช้ จุดประสงค์ของบทเรียน ทบทวนความรู้ก่อนเรียน สื่อเสริมเพิ่มความรู้ กิจกรรม กิจกรรมท้ายบท ชวนคิด เกร็ดน่ารู้ 1 3 5 7 9 2 4 6 8 10 การสื่อความหมายของรูปภาพและกรอบที่ควรรู้ ข้อควรระวัง สรุปท้ายบท เป็นการทบทวนความรู้เพื่อ เชื่อมโยงเนื้อหาที่จะเรียน ต่อไป เป็นจุดประสงค์การเรียนรู้ ของบทเรียน
  • 9. สารบัญ บทที่ หน้าเนื้อหา 1 2 3 บทที่ 1 - 4 บทที่ 1 ระบบทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อน 1 1.1 ระบบคืออะไร 3 1.2 ระบบทางเทคโนโลยี 7 1.3 ระบบทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อน 11 1.4 การทำ�งานผิดพลาดของระบบ 16 กิจกรรมท้าทายความคิด ไม้เท้าอัจฉริยะสำ�หรับ 18 ผู้บกพร่องทางการเห็น กิจกรรมท้ายบท ระบบทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อน 19 บทที่ 2 การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี 21 2.1 สาเหตุหรือปัจจัยการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี 23 2.1 ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี 28 กิจกรรมท้าทายความคิด การพัฒนาไม้เท้าสำ�หรับ 32 ผู้บกพร่องทางการเห็น กิจกรรมท้ายบท วิเคราะห์สาเหตุปัจจัยของการเปลี่ยนแปลง 33 ของเทคโนโลยีทางการแพทย์ บทที่ 3 ผลกระทบของเทคโนโลยี 35 3.1 ผลกระทบของเทคโนโลยีต่อมนุษย์ และสังคม 36 3.2 ผลกระทบของเทคโนโลยีต่อเศรษฐกิจ 40 3.3 ผลกระทบของเทคโนโลยีต่อสิ่งแวดล้อม 42 3.4 ตัวอย่างการวิเคราะห์ผลกระทบของเทคโนโลยี 43 กิจกรรมท้าทายความคิด วิเคราะห์ผลกระทบของไม้เท้า 47 สำ�หรับผู้บกพร่องทางการเห็น กิจกรรมท้ายบท สำ�รวจ วิเคราะห์ผลกระทบของเทคโนโลยี 48 และเสนอแนวทางป้องกันและแก้ไข 4 บทที่ 4 วัสดุและเครื่องมือพื้นฐาน 49 4.1 วัสดุ 51 4.2 เครื่องมือพื้นฐาน 68 4.3 การตัด ต่อ และขึ้นรูปวัสดุ 76 กิจกรรมท้าทายความคิด อธิบายและเลือกใช้วัสดุและ 80 อุปกรณ์ในการสร้างไม้เท้า กิจกรรมท้ายบท ออกแบบอุปกรณ์และนำ�เสนอแนวทาง 81 การเลือกใช้วัสดุ และเครื่องมือพื้นฐาน
  • 10. สารบัญ บทที่ หน้าเนื้อหา บทที่ 5-7 5 6 7 บทที่ 5 กลไก ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 83 5.1 กลไก 85 5.2 อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 91 5.3 แผงควบคุมขนาดเล็ก 98 กิจกรรมท้าทายความคิด เลือกใช้กลไก อุปกรณ์ไฟฟ้า 101 และอิเล็กทรอนิกส์เพื่อสร้างไม้เท้า กิจกรรมท้ายบท ออกแบบเทคโนโลยีที่มีองค์ประกอบ 102 ของกลไก อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ บทที่ 6 กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม 103 6.1 ขั้นระบุปัญหา 107 6.2 ขั้นรวบรวมข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหา 117 6.3 ขั้นออกแบบวิธีการแก้ปัญหา 124 6.4 ขั้นวางแผนและดำ�เนินการแก้ปัญหา 138 6.5 ขั้นทดสอบ ประเมินผล และปรับปรุงแก้ไขวิธีการ 140 แก้ปัญหาหรือชิ้นงาน 6.6 ขั้นนำ�เสนอวิธีการแก้ปัญหา ผลการแก้ปัญหาหรือชิ้นงาน 144 กิจกรรมท้ายบท วิเคราะห์ชิ้นงานหรือวิธีการแก้ปัญหา 147 ตามกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม บทที่ 7 กรณีศึกษาการแก้ปัญหาตามกระบวนการออกแบบ 149 เชิงวิศวกรรม กรณีศึกษาที่ 1 การออกแบบชุดอุปกรณ์รับประทานอาหาร 152 สำ�หรับผู้สูงอายุที่ข้อนิ้วมือเสื่อม กรณีศึกษาที่ 2 การพัฒนาขั้นตอนการให้บริการ 158 สำ�หรับโรงพยาบาลทางจิตเวช กรณีศึกษาที่ 3 ขาเทียมสำ�หรับคนพิการ 164 แบบปรับอัตราหน่วงได้ กิจกรรมท้ายบท การแก้ปัญหาหรือพัฒนางาน 171 ตามกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม
  • 11. 1 ระบบทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อน จุดประสงค์ของบทเรียน บทที่ 1. วิเคราะห์ระบบเทคโนโลยีและระบบย่อยของเทคโนโลยี และอธิบายความสัมพันธ์ของระบบย่อย 2. วิเคราะห์ระบบทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อน ระบบคืออะไร ระบบทางเทคโนโลยี ระบบทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อน การทำ�งานผิดพลาดของระบบ
  • 12. ระบบทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อนบทที่ 1 ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อนช่วยให้เราเข้าใจระบบการทำ�งาน ของเทคโนโลยีที่ใช้หรือสร้าง สามารถวิเคราะห์สาเหตุและนำ�ไปสู่การแก้ไขข้อผิดพลาด เพื่อให้ เทคโนโลยีนั้นทำ�งานได้ตามวัตถุประสงค์ เช่น เครื่องปรับอากาศจะมีระบบย่อยหลายส่วนทำ�งาน ร่วมกัน ทั้งระบบการทำ�ความเย็น ระบบกรองอากาศ ระบบรีโมทควบคุม หากเครื่องทำ�งานผิด ปกติหรือไม่สามารถทำ�ให้อุณหภูมิห้องลดลงได้ตามต้องการ เราสามารถตรวจสอบระบบการ ทำ�งานเพื่อแก้ไขปัญหาเบื้องต้นได้ โดยการตรวจสอบระบบย่อยแต่ละส่วน เช่น อาจตรวจสอบ ระบบการกรองอากาศ หากพบว่ามีฝุ่นอุดตัน สามารถแก้ไขเบื้องต้นได้ด้วยการทำ�ความสะอาด แผ่นกรองอากาศ นอกจากนี้ การเข้าใจการทำ�งานของระบบยังช่วยให้เราสามารถดูแลรักษาเพื่อ ยืดอายุการใช้งานเทคโนโลยีได้อีกด้วย การนำ�ไปใช้ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2
  • 13. บทนำ� บ่อยครั้งที่เราได้ยินคำ�ว่า “ระบบ” เช่น การทำ�งานอย่างเป็นระบบ การคิดอย่างเป็นระบบ บางครั้ง เราพูดถึงระบบต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์ ทั้งระบบย่อยอาหาร ระบบขับถ่าย ระบบหายใจ หรือระบบของ สิ่งต่าง ๆ ที่เราใช้งานในชีวิตประจำ�วัน เช่น ระบบการทำ�งานของรถยนต์ เครื่องเสียง เครื่องปรับอากาศ ซึ่งจะเห็นได้ว่า “ระบบ” มีหลายอย่างและเกี่ยวข้องกับการดำ�เนินชีวิตของมนุษย์อยู่ตลอดเวลา ในบทนี้ นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับระบบทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อนซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ประกอบไปด้วยระบบย่อย ตั้งแต่สองระบบขึ้นไปทำ�งานสัมพันธ์กัน 1.1 ระบบคืออะไร ระบบ (system) โดยทั่วไปแล้ว เป็นคำ�ที่ใช้เรียกแทนสิ่งต่าง ๆ ที่มี ส่วนประกอบตั้งแต่สองส่วนขึ้นไปรวม เข้าด้วยกัน และทำ�งานสัมพันธ์กัน เพื่อให้ สามารถทำ�งานได้ตามหน้าที่ (function) ที่กำ�หนด ซึ่งมีได้หลากหลาย เช่น ปากกา ประกอบไปด้วยส่วนประกอบหลัก ๆ ได้แก่ ด้ามจับ น้ำ�หมึก ไส้ปากกา และ หัวปากกา ซึ่งส่วนประกอบต่าง ๆ ของ ปากกาล้วนมีหน้าที่เฉพาะอย่างเพื่อให้ ปากกาสามารถทำ�งานได้ตามวัตถุประสงค์ รูป 1.1 ส่วนประกอบของปากกา ด้ามปากกา-ท่อนบน หัวปากกา ไส้ปากกา สปริง เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างหรือพัฒนาขึ้น ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งชิ้นงานหรือวิธีการ เพื่อใช้ แก้ปัญหา สนองความต้องการ หรือเพิ่มความสามารถในการทำ�งานของมนุษย์ การทำ�งานของ เทคโนโลยีแต่ละอย่างมีลักษณะแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ ซึ่งเทคโนโลยีมีการพัฒนาและ เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาโดยมีสาเหตุหรือปัจจัยมาจากหลายอย่าง ทั้งด้านความก้าวหน้าของ ศาสตร์ต่าง ๆ สภาพเศรษฐกิจ สังคม ช่วยให้สามารถอำ�นวยความสะดวกให้กับมนุษย์ได้มากขึ้น ทบทวนความรู้ก่อนเรียน บทที่ 1 | ระบบทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อน 3หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • 14. โทรศัพท์มือถือมีส่วนประกอบหลายส่วน เช่น หน้าจอ แบตเตอรี่ แผงวงจร อุปกรณ์บันทึก ข้อมูล กล้อง ลำ�โพง ไมโครโฟน แต่ละ ส่วนประกอบมีหน้าที่เฉพาะของตัวเอง และ ส่วนประกอบเหล่านั้นล้วนแล้วแต่ทำ�งาน สัมพันธ์กัน หากส่วนประกอบใดทำ�งาน ผิดพลาดหรือเกิดความเสียหายขึ้นอาจทำ�ให้ โทรศัพท์มือถือไม่สามารถใช้งานได้ หรืออาจ ทำ�งานได้ไม่สมบูรณ์ รูป 1.2 ส่วนประกอบของโทรศัพท์มือถือ หน่วยประมวลผล หน่วยควบคุมหน้าจอสัมผัสหน่วยควบคุมระบบเสียง หน่วยความจำ�แบตเตอรี่ชุดกล้อง บทที่ 1 | ระบบทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อน4 หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • 15. ระบบย่อยอาหารของมนุษย์ ประกอบด้วยอวัยวะที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำ�ไส้เล็ก ลำ�ไส้ใหญ่ และทวารหนัก ทำ�งานสัมพันธ์กัน เพื่อย่อยอาหารที่รับประทานให้ละเอียด และดูดซึมสารอาหารไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ระบบลำ�เลียงน้ำ�ของพืช ประกอบด้วย ราก ท่อลำ�เลียง ใบ ทำ�งานสัมพันธ์กัน เพื่อลำ�เลียงน้ำ�ในดิน จากรากลำ�ต้นถึงใบไปใช้ในกระบวนการ สังเคราะห์ด้วยแสงต่อไป แสง CO2 O2 น�้ำ ใบแก่ น�้ำและแร่ธาตุ ถูกส่งไปตามท่อล�ำเลียง ยอดอ่อน ราก แร่ธาตุ โดยทั่วไปแล้ว “ระบบ” พบได้ทั้งในธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งระบบทางธรรมชาติ (natural system) เป็นระบบที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีอยู่หลายอย่างทั้งในพืชและสัตว์ เช่น ระบบลำ�เลียงน้ำ�หรือ อาหารของพืช ระบบหายใจหรือระบบย่อยอาหารของมนุษย์ รูป 1.3 ระบบย่อยอาหารของมนุษย์ รูป 1.4 ระบบลำ�เลียงน้ำ�ของพืช ปาก ต่อมน้ำ�ลาย คอหอย หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำ�ไส้เล็ก ลำ�ไส้ใหญ่ทวารหนัก ตับอ่อน ถุงน้ำ�ดี ตับ บทที่ 1 | ระบบทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อน 5หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • 16. แพทย�สั่งยา จ�ายยาเตรียม รวบรวมใบสั่งยา คัดกรอง ใบสั่งยา คัดกรอง ใบสั่งยา ไม�ชัดเจน ไม�ถูกต�อง ถูกต�อง เตรียมยา จ�ายยาเตรียม เตรียมยา แพทย�สั่งยา สแกนใบสั่งยาทันที ไม�ถูกต�องไม�ถูกต�อง ระบบทางเทคโนโลยี (technological system) เป็นระบบที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหาหรือ อำ�นวยความสะดวกให้กับมนุษย์ ซึ่งสามารถพบเห็นได้ในชีวิตประจำ�วัน เช่น ระบบการคมนาคมขนส่ง ระบบงานบริการ ระบบการผลิตในอุตสาหกรรม ตัวอย่างระบบงานบริการ เช่น ระบบจ่ายยาในโรงพยาบาล ระบบการจ่ายยาในโรงพยาบาลเป็นตัวอย่าง ของระบบงานบริการชนิดหนึ่งที่ต้องมีการจัดระบบ การบริการ โดยมีแผนภาพแสดงลำ�ดับขั้นตอนการ รับบริการเพื่อให้ผู้ใช้บริการเข้าใจลำ�ดับขั้นตอน ก่อนการรับบริการ ซึ่งจะช่วยอำ�นวยความสะดวก และมีความรวดเร็วในการบริการอีกด้วย รูป 1.5 ระบบการจ่ายยาในโรงพยาบาล บทที่ 1 | ระบบทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อน6 หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • 17. 1.2 ระบบทางเทคโนโลยี ระบบการทำ�งานของปากกาหรือดินสอกด ที่นักเรียนได้ศึกษาถือได้ว่าเป็น “ระบบทางเทคโนโลยี” ซึ่งหมายถึง กลุ่มของส่วนต่าง ๆ ตั้งแต่สองส่วนขึ้นไป ประกอบเข้าด้วยกันและทำ�งานร่วมกันเพื่อให้บรรลุ วัตถุประสงค์ โดยในการทำ�งานของระบบทางเทคโนโลยี จะประกอบไปด้วย ตัวป้อน (input) กระบวนการ (process) และผลผลิต (output) ที่สัมพันธ์กัน นอกจากนี้ ระบบทางเทคโนโลยีอาจมีข้อมูลย้อนกลับ (feedback) เพื่อใช้ปรับปรุงการทำ�งานได้ตามวัตถุประสงค์ ซึ่งสามารถเขียนเป็นแผนภาพแสดงการทำ�งานของ ระบบทางเทคโนโลยี ได้ดังรูป ตัวอย่างระบบการคมนาคมขนส่ง เช่น ระบบรถไฟฟ้า ระบบรถไฟฟ้าเป็นระบบการคมนาคมขนส่งรูปแบบหนึ่งที่ช่วยอำ�นวยความสะดวกในการเดินทาง ของผู้คน ซึ่งการบริการจะต้องอาศัยองค์ประกอบหลายส่วนในการทำ�งานทั้งในด้านการจัดขบวนรถ รางรถ การจำ�หน่ายตั๋ว องค์ประกอบต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาต้องอาศัยการทำ�งานสัมพันธ์กัน เพื่อให้การบริการ ของระบบรถไฟฟ้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รูป 1.6 ระบบรถไฟฟ้า ชวนคิด นักเรียนลองถอดชิ้นส่วนของปากกา หรือดินสอแบบกดแล้วศึกษาหน้าที่ ของแต่ละชิ้นส่วนที่ทำ�ให้ปากกา หรือดินสอนั้นมีกลไกการทำ�งาน ได้ตามต้องการ บทที่ 1 | ระบบทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อน 7หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • 18. รูป 1.7 ระบบทางเทคโนโลยี รูป 1.8 โครงสร้างหม้อหุงข้าวไฟฟ้า ตัวป�อน (input) กระบวนการ (process) ข�อมูลย�อนกลับ (feedback) ผลผลิต (output) เทคโนโลยีที่เราพบเห็นกันทั่วไป เช่น หม้อหุงข้าวไฟฟ้า มีส่วนประกอบหลัก ๆ ได้แก่ ตัวเครื่อง แผ่นความร้อน ขวดลวดสปริง แม่เหล็ก สวิตช์ รวมเข้าด้วยกันเป็นระบบ ซึ่งส่วนประกอบต่าง ๆ เหล่านี้มี หน้าที่ต่างกันไป และทำ�งานสัมพันธ์กันเพื่อให้หม้อหุงข้าวสามารถใช้งานได้ตามต้องการ แผ่นความร้อน สวิตช์ ตัวเครื่อง แม่เหล็กและขดลวดสปริง บทที่ 1 | ระบบทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อน8 หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • 19. รูป 1.9 ระบบทางเทคโนโลยีหม้อหุงข้าวไฟฟ้า ระบบทางเทคโนโลยีของหม้อหุงข้าวไฟฟ้าข้างต้นสามารถเขียนสรุปเป็นแผนภาพได้ดังนี้ หม้อหุงข้าวไฟฟ้าให้ความร้อนในการหุงข้าวโดยอาศัยแผ่นความร้อนที่ก้นหม้อซึ่งทำ�จากอะลูมิเนียม แผ่นความร้อนนี้มีขดลวดไฟฟ้าอยู่ภายในซึ่งควบคุมโดยระบบเปิดปิดอัตโนมัติ ซึ่งอยู่บริเวณตรงกลางของ แผ่นความร้อนมีรูกลมที่มีส่วนประกอบหลักคือ ขดลวดสปริง แม่เหล็กถาวร และแม่เหล็กเฟอร์โรที่มีสภาพ ความเป็นแม่เหล็กลดลงเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น รูป 1.10 โครงสร้างระบบควบคุมไฟฟ้าของหม้อหุงข้าว พลังงานไฟฟ�า ข�าว น้ำ ตัวป�อน (input) การทำงานของหม�อหุงข�าว โดยเปลี่ยนพลังงานไฟฟ�า เป�นความร�อน เพื่อทำให� น้ำเดือด กระบวนการ (process) ผลผลิต (output) ข�าวที่หุงสุก ข�อมูลย�อนกลับ (feedback) เป�นข�อมูลเพื่อส�งให�ระบบ การตัดไฟทำงานเมื่อน้ำแห�ง สวิตช์แม่เหล็กถาวรแผ่นความร้อน ขดลวดสปริง จุดสัมผัส แม่เหล็กเฟอร์โร บทที่ 1 | ระบบทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อน 9หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • 20. การทำ�งานของหม้อหุงข้าวไฟฟ้าเริ่มจากเมื่อกด สวิตช์ แกนของสวิตช์จะดึงให้จุดสัมผัสเชื่อมต่อกันพร้อม ทั้งอัดให้สปริงหดตัวและดีดให้แม่เหล็กถาวรดูดติดกับ แม่เหล็กเฟอร์โร โดยแรงดูดระหว่างแม่เหล็ก มีค่ามากกว่า แรงดันกลับของสปริงสวิตช์หม้อหุงข้าวจึงติดค้างอยู่ได้ทำ�ให้ กระแสไฟฟ้าไหลผ่านจุดสัมผัสเข้าสู่ขดลวดความร้อน เมื่อน้ำ�ในหม้อหุงข้าวเดือด น้ำ�จะค่อย ๆ ลดลงและระเหย จนแห้ง อุณหภูมิภายในหม้อหุงข้าวจะสูงขึ้น จนทำ�ให้แม่เหล็กเฟอร์โรสูญเสียความเป็นแม่เหล็ก ส่งผลให้ แรงดูดระหว่างแม่เหล็กมีค่าลดลง แกนของสวิตช์จึงถูกดันลงมาเนื่องจากแรงดันกลับของขดสปริง มีค่ามากกว่าแรงระหว่างแม่เหล็ก และทำ�ให้จุดสัมผัสแยกออกจากกัน ส่งผลให้กระแสไฟฟ้าไม่สามารถ ผ่านเข้าสู่ขดลวดความร้อนได้ การใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ นักเรียนต้องค�ำนึงถึงความปลอดภัยในการใช้งาน เป็นอันดับแรก เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าต้องอยู่ในสภาพสมบูรณ์ไม่เสี่ยงต่อการเกิดไฟฟ้ารั่ว การติดตั้งเครื่องท�ำน�้ำอุ่นจ�ำเป็นต้องมีการติดตั้งสายดินกับเครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อป้องกันไฟฟ้ารั่ว ประเภทของแม่เหล็ก แม่เหล็กแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ แม่เหล็กถาวร (permanent magnet) กับแม่เหล็กชั่วคราว (temporary magnet) ซึ่ง นอกจากเหล็กแล้ว ยังมีวัสดุอื่น ๆ เช่น นิกเกิล โคบอลต์ โลหะผสมของธาตุแรร์เอิทท์ (rare earth) บางชนิดก็สามารถกระตุ้นหรือเหนี่ยวนำ�ให้เกิดสมบัติแม่เหล็กได้เช่นกัน เรียกกลุ่ม วัสดุที่สามารถกระตุ้นให้กลายเป็นแม่เหล็กได้ว่า แม่เหล็กเฟอร์โร (ferromagnetic) ข้อควรระวัง ON OFF ON OFF สืบค้นเพิ่มเติมเกี่ยวกับแม่เหล็กได้ที่ www.scimath.org/weblink/7775.php เกร็ดน่ารู้ สื่อเสริม เพิ่มความรู้ บทที่ 1 | ระบบทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อน10 หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • 21. รูป 1.12 ระบบทางเทคโนโลยีของเครื่องปรับอากาศ พลังงานไฟฟ�า ตัวป�อน (input) การทำงานของเครื่อง เพื่อปรับอุณหภูมิของห�อง ให�ลดลง กระบวนการ (process) ผลผลิต (output) อากาศที่มีอุณหภูมิ ลดลง ข�อมูลย�อนกลับ (feedback) การส�งค�าอุณหภูมิห�อง เพื่อปรับให�ตัวเครื่องทำงาน 1.3 ระบบทางเทคโนโลยีท่ีซับซ้อน เทคโนโลยีบางอย่างอาจประกอบไปด้วยระบบย่อย หลายระบบ (subsystems) ทำ�งานสัมพันธ์กันอยู่ หากระบบย่อยใดทำ�งานผิดพลาด จะส่งผลต่อการทำ�งาน ของเทคโนโลยีนั้นไม่สามารถทำ�งานได้ตามวัตถุประสงค์ หรืออาจทำ�งานได้ไม่สมบูรณ์ ซึ่งเทคโนโลยีที่ประกอบไป ด้วยระบบย่อยตั้งแต่สองระบบขึ้นไปทำ�งานร่วมกัน เรียกระบบนั้นว่า ระบบที่ซับซ้อน (complex system) ตัวอย่างเทคโนโลยีที่ประกอบไปด้วยระบบย่อยหลายส่วนทำ�งานร่วมกันเป็นระบบที่ซับซ้อน เช่น ระบบของเครื่องปรับอากาศ ระบบของรถยนต์ ระบบของเครื่องปรับอากาศโดยทั่วไปเราอาจมองเห็น เพียงส่วนประกอบหลัก ๆ ของเครื่องปรับอากาศ เช่น ตัวเครื่อง ฝาครอบ แผ่นกรองอากาศ สายไฟ สวิตช์ หากพิจารณาระบบทางเทคโนโลยีของเครื่องปรับอากาศ จะพบว่า ตัวป้อนของระบบเครื่องปรับอากาศ มีไฟฟ้าเป็นแหล่งพลังงานและการป้อนข้อมูลด้วยการกดเปิด เพื่อให้เครื่องสามารถทำ�งานผ่านกระบวนการ ภายในของเครื่องปรับอากาศ ซึ่งมีระบบย่อยอยู่ภายใน หลายส่วนทำ�งานร่วมกันให้ได้อากาศที่มีอุณหภูมิลดลงแล้ว ส่งออกมาเป็นอากาศเย็น ซึ่งอาจเรียกว่าเป็น ผลผลิตของ การทำ�งานของเครื่องปรับอากาศ ในขณะเดียวกัน ระบบ การทำ�งานของเครื่องปรับอากาศจะมีข้อมูลย้อนกลับ เพื่อช่วยในการตัดไฟเมื่ออุณหภูมิห้องอยู่ในระดับที่ เหมาะสมตามที่ตั้งค่าไว้ ซึ่งมีข้อดีในการช่วยประหยัด นักเรียนคิดว่าเทคโนโลยี ในชีวิตประจำ�วัน มีระบบย่อยหลาย ระบบที่ทำ�งานร่วมกันได้หรือไม่ อย่างไร รูป 1.11 เครื่องปรับอากาศ พลังงานไฟฟ้าอีกด้วย และนอกจากนี้ หากผู้ใช้งานต้องการปรับเปลี่ยนอุณหภูมิหรือระดับความแรงของลม ก็สามารถปรับระดับได้ด้วยการป้อนข้อมูลผ่านปุ่มควบคุม ซึ่งการให้ข้อมูลของผู้ใช้ในลักษณะนี้ อาจเรียกได้ว่า เป็นข้อมูลย้อนกลับสู่ระบบการทำ�งานเพื่อให้ได้อุณหภูมิห้องตามที่ต้องการ ชวนคิด บทที่ 1 | ระบบทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อน 11หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • 22. หากวิเคราะห์ระบบการทำ�งานของเครื่องปรับอากาศโดยละเอียดแล้วจะพบว่า เครื่องปรับอากาศ มีส่วนประกอบอื่น ๆ อีกหลายอย่างอยู่ภายใน ทำ�หน้าที่แตกต่างกันไป เช่น ระบบปรับอากาศเป็นระบบ ที่มีสารพาความร้อนจากภายในห้องไปนอกห้อง ซึ่งมีระบบย่อยที่สำ�คัญทำ�งานร่วมกัน ได้แก่ ระบบอัดความดัน (compressor system) ระบบคอยล์ร้อน (condenser system) ระบบลดความดัน (expansion system) และระบบคอยล์เย็น (evaporator system) รูป 1.13 องค์ประกอบและความสัมพันธ์ของระบบย่อยเครื่องปรับอากาศ ระบบคอยล�เย็น (evaporator system) ระบบอัดความดัน (compressor system) สารทำความเย็น การเพิ่ม ความดันให� สารทำ ความเย็น สารทำความเย็น มีความดันสูง และเปลี่ยน สถานะเป�น ของเหลว ระบบลดความดัน (expansion system) สารทำความเย็น การทำงานเพื่อ ลดความดัน สารทำความ เย็น สารทำความเย็น ที่มีอุณหภูมิ ลดลงและส�งต�อ ไปในตัวเครื่อง ระบบ การทำงาน ของเครื่อง ปรับอากาศ ระบบคอยล�ร�อน (condenser system) ระบายความร�อน ออกไปภายนอก สารทำความเย็น มีอุณหภูมิลดลงและ ความร�อนถูกถ�ายเท ไปนอกห�อง สารทำความเย็นที่ร�อน input input input process process process output outputoutput input process output สารทำความเย็น ที่มีอุณหภูมิต่ำ และเป�นแก�ส การดูดความร�อนของ สารทำความเย็นจาก อากาศภายในห�อง สารทำความเย็น ที่ได�รับความร�อน จากในห�องเพื่อ ส�งต�อไปภายนอกห�อง ส่งผ่านสาร ทำ�ความเย็นที่ ระบบความร้อน ส่งสารทำ� ความเย็น ในสถานะแก๊ส ส่งสารทำ� ความเย็น ที่ดูดความร้อน ภายในห้อง เพิ่มความดัน และขับสารทำ� ความเย็น บทที่ 1 | ระบบทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อน12 หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • 23. ระบบย่อยของเครื่องปรับอากาศแต่ละส่วนจะมี การทำ�งานที่เกี่ยวข้องกัน กล่าวคือ ระบบคอยล์เย็น (evaporator system) ซึ่งมีสารทำ�ความเย็นอยู่ภายใน จะดูดความร้อนจากอากาศภายในห้องส่งผ่านไปยัง ระบบอัดความดัน หรือที่เรียกว่า คอมเพรสเซอร์ (compressor system) เพื่อเพิ่มความดันสารทำ� ความเย็นก่อนส่งต่อไปยังระบบคอยล์ร้อน (condenser system) เพื่อถ่ายเทความร้อนออกสู่ภายนอกห้อง โดยมีพัดลมช่วยระบบความร้อนอยู่ด้วย จากนั้นสาร ทำ�ความเย็นจะถูกลดความดันโดยระบบลดความดัน (expansion system) ทำ�ให้อุณหภูมิลดลงและ ส่งต่อไปยังระบบคอยล์เย็นภายในตัวเครื่องอีกครั้ง ซึ่งการทำ�งานลักษณะนี้จะเกิดขึ้นต่อเนื่องกันไป ซึ่งจะเห็นได้ว่าแต่ละระบบย่อยของเครื่องปรับอากาศ จะมีการทำ�งานที่เกี่ยวข้องกัน และหากระบบใด ผิดพลาดจะส่งผลต่อการทำ�งานของเครื่อง เทคโนโลยีของเครื่องปรับอากาศ ปัจจุบันมีการพัฒนาเครื่องปรับ อากาศให้มีคุณภาพ ประหยัดพลังงาน ไฟฟ้า และอำ�นวยความสะดวกให้กับ มนุษย์หลายรูปแบบ เช่น เทคโนโลยี inverter ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการ ควบคุมการทำ�งานคอมเพรสเซอร์รักษา ความเย็นในห้องให้คงที่ หรือระบบ ทำ�ความสะอาดแผ่นกรองอัตโนมัติ (auto filter cleaning) ที่มีระบบการ เก็บฝุ่นไว้ในกล่องโดยไม่ต้องถอดมาล้าง บ่อยครั้ง เกร็ดน่ารู้ บทที่ 1 | ระบบทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อน 13หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • 24. ระบบย่อยของเทคโนโลยีกิจกรรม 1.1 ให้นักเรียนเลือกเทคโนโลยีที่สนใจ 1 อย่าง จากตัวอย่างที่กำ�หนดให้ เพื่อวิเคราะห์การทำ�งาน ของเทคโนโลยี แล้วเขียนแผนภาพแสดงการทำ�งานในรูปแบบของระบบทางเทคโนโลยี โดยระบุระบบ ย่อยที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 3 ระบบ พร้อมอธิบายความสัมพันธ์ของระบบย่อยเหล่านั้น แผนภาพแสดงระบบทางเทคโนโลยีของ รถจักรยานยนต์ หม้อหุงข้าวดิจิทัล ตัวป�อน (input) กระบวนการ (process) ผลผลิต (output) ข�อมูลย�อนกลับ (feedback) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 14
  • 25. อธิบายความสัมพันธ์ของระบบย่อย เทคโนโลยีที่เลือก มีระบบย่อยที่เกี่ยวข้องและองค์ประกอบของระบบย่อย ดังนี้ แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ของระบบย่อย ระบบย่อย ตัวป้อน (input) กระบวนการ (process) ผลผลิต (output) ข้อมูลย้อนกลับ (feedback) ระบบย่อยที่ 1 ระบบย่อยที่ 2 ระบบย่อยที่ 3 ระบบย่อยที่ 4 บทที่ 1 | ระบบทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อน 15หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • 26. 25o C 36o C ปัญหาที่พบ คือ อุณหภูมิของอากาศภายในห้อง ไม่ตรงกับอุณหภูมิที่ตั้งไว้กับเครื่องปรับอากาศ ระบบที่ผิดพลาดหรือสาเหตุของปัญหา การทำ�งานผิดพลาดของระบบเครื่องปรับอากาศอาจเกิดขึ้นได้หลายส่วน โดยอาจพิจารณาได้ดังนี้ แผ่นกรองอากาศอุดตัน ทำ�ให้การไหลเวียนของอากาศจากภายในห้องเพื่อผ่านเข้าไปในตัวเครื่อง สู่ระบบทำ�ความเย็นไม่สะดวก มีผลทำ�ให้การทำ�งานของเครื่องได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งทำ�ให้อุณหภูมิ ในห้องไม่เป็นไปตามต้องการ ตัวอย่างการทำ�งานผิดพลาดของ ระบบทางเทคโนโลยีเครื่องปรับอากาศ ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหา เช่น อุณหภูมิ ของอากาศภายในห้องไม่เป็นไปตาม ต้องการ สามารถวิเคราะห์ระบบ การทำ�งานเพื่อหาสาเหตุและสิ่งที่เกิด ข้อผิดพลาดอันจะนำ�ไปสู่การแก้ไข ได้ถูกต้อง รูป 1.14 เครื่องปรับอากาศไม่ทำ�ให้อุณหภูมิห้องลดลงได้ตามที่ต้องการ 1.4 การทำ�งานผิดพลาดของระบบ (system failure) ระบบทางเทคโนโลยีทั้งที่เป็นระบบอย่างง่ายและระบบที่ซับซ้อน หากมีส่วนประกอบใดหรือระบบ ย่อยใดทำ�งานผิดพลาด อาจส่งผลกระทบต่อการทำ�งานของเทคโนโลยีนั้นได้ เช่น พัดลม หากปุ่มปรับระดับ ความแรงของพัดลมเสียหาย จะทำ�ให้ผู้ใช้ไม่สามารถปรับระดับความแรงของพัดลมได้ตามต้องการจึงจำ�เป็น ต้องมีการดูแลรักษาและซ่อมบำ�รุง (maintenance) เพื่อให้สามารถใช้งานได้ตามปกติ ในบางครั้ง เทคโนโลยีบางอย่างมีความซับซ้อน มีระบบย่อยหลายส่วนทำ�งานร่วมกัน และหากระบบย่อย อันหนึ่งเกิดทำ�งานผิดพลาดหรือเสียหาย จะส่งผลต่อการทำ�งานของระบบใหญ่ได้ด้วย เช่น ระบบเครื่องปรับ อากาศที่มีองค์ประกอบของระบบย่อยหลายส่วน ทั้งรีโมท ตัวเครื่อง ระบบตัดไฟอัตโนมัติ และอื่น ๆ หากมี ระบบย่อยใดเสียหายหรือมีสิ่งรบกวนการทำ�งาน ย่อมส่งผลต่อการทำ�งานของเครื่องปรับอากาศที่จะทำ�ให้ ไม่สามารถทำ�งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จำ�เป็นต้องมีการดูแลรักษาและซ่อมบำ�รุง ซึ่งบางอย่างผู้ใช้สามารถ ทำ�ได้เอง เช่น การซ่อมแซมอุปกรณ์พื้นฐาน หรือการล้างแผ่นกรองฝุ่นให้สะอาดอย่างน้อย 6 เดือนครั้ง แต่หากเป็นการเสียหายของอุปกรณ์ภายในที่ซับซ้อน จำ�เป็นต้องให้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาซ่อมแซมแทน เพื่อป้องกัน อันตรายที่อาจเกิดขึ้นทั้งกับผู้ใช้หรือความเสียหายที่อาจมีต่อระบบเครื่องปรับอากาศเองด้วย บทที่ 1 | ระบบทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อน16 หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • 27. แนวทางการแก้ไขปัญหาความผิดพลาดของระบบ ในกรณีที่ความผิดพลาดของระบบ มีความซับซ้อน หรืออาจเป็นอันตรายหาก แก้ไขด้วยตนเอง จำ�เป็นต้องอาศัย ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาแก้ไข เช่น ส า ร ทำ � ค ว า ม เ ย็ น เ กิ ด ก า ร รั่ ว ไ ห ล คอมเพรสเซอร์ไม่ทำ�งาน เมื่อพบความผิดพลาดของระบบ เราสามารถตรวจสอบเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง โดยใช้ความรู้เกี่ยวกับ ระบบการทำ�งานของเทคโนโลยี และเมื่อพบจุดบกพร่องของระบบที่ไม่ยากหรือซับซ้อนเกินไป นักเรียน สามารถแก้ไขปัญหาได้เอง เช่น แผ่นกรองอากาศในเครื่องปรับอากาศมีฝุ่นอุดตัน ทำ�ให้เครื่องทำ�งาน ได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ นักเรียนสามารถแก้ไขโดยการถอดแผ่นกรองอากาศเพื่อล้างทำ�ความสะอาดได้ คอมเพรสเซอร์ ไม่ทำ�งาน มีผลทำ�ให้สารทำ�ความเย็นจากคอยล์เย็นไม่สามารถไหลไปสู่คอยล์ร้อน เพื่อการระบายความร้อนออกไปยังภายนอกห้องได้ ระบบลดความดัน (expansion valve) เกิดการอุดตันหรือเกิดความเสียหาย มีผลทำ�ให้สารทำ�ความเย็น ไม่สามารถไหลผ่านเข้าไปยังคอยล์เย็นได้ หรือไหลผ่านได้น้อยกว่าปกติ ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำ� ความเย็นของเครื่องลดลง หรือไม่สามารถทำ�งานได้ คอยล์ร้อนจะมีพัดลมระบายความร้อนทำ�งานร่วมกันอยู่กรณีพัดลมไม่ทำ�งานหรือเกิดความเสียหาย ทำ�ให้ไม่สามารถระบายความร้อนออกไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกัน ถ้าแผ่นกรองอากาศมีฝุ่น อุดตันจะทำ�ให้อากาศไหลผ่านเข้าไปสัมผัสกับคอยล์เย็นได้ไม่ดีทำ�ให้การแลกเปลี่ยนความร้อนระหว่างอากาศ กับสารทำ�ความเย็นไม่มีประสิทธิภาพ 1.15 การทำ�ความสะอาดแผ่นกรองฝุ่นเครื่องปรับอากาศ ระบบทางเทคโนโลยีหนึ่ง ๆ อาจประกอบไปด้วยระบบย่อยหลายระบบ (subsystems) ทำ�งานสัมพันธ์กัน เพื่อให้เทคโนโลยีนั้นสามารถทำ�งานได้บรรลุตามวัตถุประสงค์ เรียกว่า ระบบทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อน ซึ่งความรู้เกี่ยวกับระบบทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อนช่วยให้เข้าใจ การทำ�งานและสามารถแก้ไขหรือพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สรุปท้ายบท บทที่ 1 | ระบบทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อน 17หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • 28. น้องโรบอท อาศัยอยู่บ้านที่ใกล้กับโรงเรียนสอนผู้บกพร่องทางการเห็น น้องโรบอทสังเกตเห็น นักเรียนที่เดินทางมาโรงเรียนจะใช้ไม้เท้าช่วยในการเดินทาง โดยการกวัดแกว่งและเคาะไปตามพื้นถนน เพื่อให้รับรู้ถึงสิ่งกีดขวางที่อยู่รอบตัว แต่จากการสังเกต ยังพบว่ามีนักเรียนบางคนเกิดอุบัติเหตุ สะดุดล้ม เนื่องจากระยะที่กวัดแกว่งและเคาะไม้เท้าไม่เหมาะสม และไม่ทราบว่ามีอุปสรรคอยู่ ด้านหน้า ดังนั้นน้องโรบอทจึงต้องการหาวิธีช่วยผู้บกพร่องทางการเห็นโดยการพัฒนาไม้เท้าแบบใหม่ ถ้านักเรียนเป็นน้องโรบอท จะมีวิธีการพัฒนาปรับปรุงไม้เท้าให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นได้อย่างไร เพื่อช่วยเหลือผู้บกพร่องทางการเห็น ลดอุบัติเหตุจากการเดินทาง ช่วยกันคิด 1. นักเรียนช่วยกันสืบค้นข้อมูลของไม้เท้าสำ�หรับผู้บกพร่องทางการเห็น จากนั้นช่วยกัน วิเคราะห์และสรุปว่าไม้เท้าควรมีองค์ประกอบ ลักษณะ และการใช้งานอย่างไร 2. จากข้อมูลที่ได้สืบค้นเกี่ยวกับไม้เท้าที่ช่วยผู้บกพร่องทางการเห็นในการเดิน นักเรียนมีแนวคิด ในการปรับปรุงไม้เท้าสำ�หรับผู้บกพร่องทางการเห็นนี้อย่างไร โดยใช้แสดงในรูปแบบของ ระบบการทำ�งานที่ช่วยให้ไม้เท้ามีประสิทธิภาพในการใช้งานดีขึ้น และนำ�เสนอ ไม้เท้าอัจฉริยะสำ�หรับผู้บกพร่องทางการเห็น กิจกรรมท้าทายความคิด สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 18
  • 29. ระบบทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อนกิจกรรมท้ายบท ให้นักเรียนวิเคราะห์ระบบการทำ�งานของตู้เย็น พร้อมเขียนแผนภาพแสดงการทำ�งานในรูปแบบ ของระบบทางเทคโนโลยี โดยระบุระบบย่อยที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 3 ระบบ เขียนแสดงความสัมพันธ์ ของระบบย่อยเหล่านั้น และความผิดพลาดของระบบที่อาจเกิดขึ้น แผนภาพแสดงระบบการทำ�งานของตู้เย็น ระบบย่อย ตัวป้อน (input) กระบวนการ (process) ผลผลิต (output) ข้อมูลย้อนกลับ (feedback) ระบบย่อยที่ 1 ระบบย่อยที่ 2 ระบบย่อยที่ 3 ระบบย่อยที่ 4 ตัวป�อน (input) กระบวนการ (process) ผลผลิต (output) ข�อมูลย�อนกลับ (feedback) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 19
  • 30. อธิบายความสัมพันธ์ของระบบย่อยของตู้เย็น อธิบายความผิดพลาดของระบบการทำ�งานของตู้เย็น แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ของระบบย่อยของตู้เย็น บทที่ 1 | ระบบทางเทคโนโลยีที่ซับซ้อน20 หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ | เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี